-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 3 SEP
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 3 SEP
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 3 SEP

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 03/09/2011 7:41 am    ชื่อกระทู้: ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 3 SEP ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 3 SEP



**********************************************************

สร้างสรรสังคม....ส่งเสริมคนดี....พัฒนาชีวิต ให้มีคุณภาพ...

กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม
ทางวิทยุ พล.ปตอ. เอเอ็ม 594 เวลา 08.10–09.00 และ 20.05-20.30 ทุกวัน

เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 สายด่วน 4 ตัว ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว
ก่อนเริ่มรายการที่ โทรศัพท์มือถือส่วนตัว (081) 913-4986

*********************************************************



จาก : (083) 879-19xx
ข้อความ : โรคราเมล็ดด่าง โรคดอกกระถิน ในข้าวพิษณุโลก 2 หน้าฝนเป็นมาก ฉีดสารป้องกันราแล้วก็ไม่หาย
สาเหตุเกิดจากเชื้อราอะไร ? มีสมุนไพรตัวไหนที่มีฤทธิ์ตรงต่อโรค ? ให้อาจารย์ช่วยอธิบายด้วย ......

ขอบคุณครับ


ตอบ :

เกษตรานุสิติ :
- ไมมีพืชใดในโลกนี้ที่ไม่มีศัตรูพืชประจำตระกูล
- จากเอกสารโรคพืชที่มี สรุปได้ว่า ข้าวเป็นพืชที่มีศัตรูพืชมากที่สุด
- ไม่มีสารเคมียาหรือสารสมุนไพรใดในโลกนี้ สามารถทำให้ส่วนของพืชที่ถูกทำลายไปแล้ว คืนสภาพดีอย่างเดิมได้

- โรคข้าวทุกโรค เคยเกิดกับตัวเองมาแล้ว........................................ กี่ครั้ง
- โรคข้าวทุกโรค เคยเกิดกับแปลงข้าวข้างเคียงมาแล้ว.......................... กี่ครั้ง
- โรคข้าวทุกโรค เคยเกิดกับแปลงนาทั่วประเทศมาแล้ว......................... กี่ครั้ง

ทำไมชาวนาไทยจึงไม่เก็บมาเป็น บทเรียน/กรณีศึกษา/ประสบการณ์/แรงจูงใจ ในการที่จะเอาชนะศัตรูข้าวเหล่านี้


แนวแก้ไขปัญหาปลายเหตุ ทำดังนี้...
1. ทัมใจ ที่เสียหายแล้วให้เสียหายไป หันมารักษาที่ยังอยู่ให้ได้คุณภาพดีที่สุด
2. บำรุงทางใบด้วย "ปู๋ย/ฮอร์โมน + สารสมุนไพร" ทุก 7-10 วัน
3. ฉีดพ่น "สารสมุนไพรเดี่ยวๆ 2 รอบ สลับด้วย สารสมุนไพร+สารเคมี 1 รอบ" ห่างกันรอบละ 3 วัน
4. สมุนไพรที่มีสารออกฤทธิ์สู้กับรา ได้แก่ สมุนไพรที่มีรสเผ็ดร้อน พริก พริกไทย ขมิ้นชัน ขิง ข่า กระเทียม กะเพรา ฯลฯ
5. บำรุงต้นให้สมบูรณ์ด้วยสารอาหารทางใบและทางดินสูตรตรงกับข้าวอย่างแท้จริง เพื่อสร้างภูมิต้านทานให้กับต้น

หมายเหตุ :
เลือกใช้สารเคมีที่ตรงกับโรคจริงๆ (อย่ามั่ว อย่าเชื่อใครง่ายๆ....)
เลือกใช้สารสมุนไพรที่ตรงกับโรคจริงๆ (อย่ามั่ว อย่าเชื่อใครง่ายๆ...)

คำแนะนำอย่างตรงไปตรงมา คือ ความจริงใจ ต้องการสอนให้คิดเป็น วิเคราะห์เป็น วางแผนเป็น
แก้ปัญหาเป็น และปฏิบัติเป็น



อ้างอิง :

สภาพอากาศเปลี่ยนระวังโรคไหม้คอรวง-เมล็ดด่าง.

นายประเสริฐ โกศัลวิตร อธิบดีกรมการข้าว เปิดเผยว่า เนื่องจากในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนนี้เป็นช่วงรอยต่อปลายฤดูการทำนาปี
และต้นฤดูการทำนาปรัง ในบางพื้นที่ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยข้าวที่ปลูกจะอยู่ในช่วงออกรวง ในระยะนี้ข้าวจะมีความ
อ่อนแอต่อโรคไหม้ โดยเฉพาะข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105, พันธุ์ กข 29, พันธุ์พวงเงิน-พวงทอง, พันธุ์โพธิ์เงิน-โพธิ์ทอง, พันธุ์
พวงแก้ว, พันธุ์ข้าว 75 วันหรือข้าวเบา, โดยเกษตรกรอาจพบอาการไหม้คอรวง ซึ่งจะเห็นคอรวงเป็นสีน้ำตาลดำ เนื่องจากสภาพ
อากาศชื้นและเย็น


สำหรับเกษตรกรที่ปลูกข้าวพันธุ์ดังกล่าวข้างต้นควรตรวจแปลงนาอย่างใกล้ชิด หากพบอาการไหม้คอรวงควรพ่นสารป้องกันโรคไหม้
คอรวงในระยะ 2-3 วันก่อนรวงโผล่ เช่น สารชื่อสามัญว่า ไตรไซคลาโซล (เช่น บีม หรือ บลาสแบน) ไอโซโพรไทโอเลน (เช่น
ฟูจิ-วัน หรือ บลาสต๊อป) หรือ อีดิเฟนฟอส (เช่น ฮีโนซาน) แต่ถ้าเกษตรกรได้ปลูกพันธุ์พิษณุโลก 2 และสภาพอากาศชื้นและ
เย็นในระยะใกล้ออกรวง เมื่อรวงโผล่เกษตรกรอาจพบโรคเมล็ดด่าง ซึ่งจะทำให้เมล็ดข้าวมีสีด่างดำ หรือโรคดอกกระถิน มี
ลักษณะเป็นกลุ่มผงรวมเป็นก้อนสีเขียวขี้ม้าหรือเหลืองหรือส้มอยู่แทนที่เมล็ด ป้องกันโดยพ่นสารโพรพิโคนาโซล (เช่น ฮาโก้)
จากนั้นคอยสังเกตสภาพอากาศหากยังชื้นและเย็นอยู่ประกอบกับข้าวอยู่ในระยะน้ำนมและพบโรคไหม้คอรวง หรือเมล็ดด่าง ถือ
ว่ายังมีความเสี่ยงเกษตรกรอาจพ่นสารตามคำแนะนำข้างต้นอีกครั้ง เมื่อเมล็ดข้าวแข็งแล้วก็ไม่จำเป็นต้องใช้สารใดๆ อีก

อธิบดีกรมการข้าวกล่าวอีกว่า เกษตรกรควรติดตามข้อมูลข่าวสารการพยากรณ์อากาศจากทางราชการอย่างใกล้ชิด หรือ
อาจสังเกตจากเทอร์โมมิเตอร์ที่ใช้วัดอุณหภูมิก็ได้ โดยหากก่อนและหลังออกรวงประมาณ 10 วัน สภาพอากาศมีอุณหภูมิต่ำ
สุดของแต่ละวันประมาณ 20 องศาเซลเซียส

http://www.ryt9.com/s/nnd/1029037

หมายเหตุ :
สารเคมีที่ทางราชการแนะนำตามข่าว ได้ถูกสั่งเลิกใช้ (ห้ามใช้/ห้ามจำหน่าย) มานานกว่า 20 ปีแล้ว .... ชี้ให้เห็นว่า ข่าวเผยแพร่ผ่านสื่อ
เป็นข้อมูลเก่า อายุกว่า 20 ปี หรือข่าวตั้งแต่ยังไม่มีกฏหมาย ห้ามใช้/ห้ามจำหน่าย

ด้วยเทคโนโลยี ไอที หน่วยราชการได้เปลี่ยนระบบการเก็บข้อมูลต่างๆที่เป็นตัวอักษรในกระดาษลงในไฟล์คอมพิวเตอร์ โดยไม่มีการ
UP DATE ข้อมูล เมื่อต้องการเผยแพร่ข่าวใดก็ COPY ข้อมูลนั้นแล้วส่งไปยัง WEB ของสื่อที่ต้องการ จากนั้นสื่อก็นำไปเผยแพร่ต่อ
ทันที....ที่กล้าพูดเช่นนี้เพราะ ตัวเองเคยรับราชขการตำแหน่งประชาสัมพันธ์ ที่ต้องสัมผัสกับหลากหลายสื่อสาธาณะ แต่ไม่เคย "ชุ่ยกี่"
อย่างนี้ .... สาบาล



โรคเมล็ดด่าง (Dirty Panicle) เชื้อสาเหตุ

เกิดจากเชื้อรา Cercospora oryzae



โรคเมล็ดด่างเป็นระยะข้าวให้รวง-ใกล้เก็บเกี่ยว โรคเมล็ดด่างเป็นโรคร้ายแรงโรคหนึ่ง โดยเฉพาะกับข้าวต้นเตี้ยที่ใช้ปุ๋ยสูง พบระบาด
แพร่หลายกับข้าวนาปรัง โดยเฉพาะกับพันธุ์ กข 9 เคยพบว่าเป็นโรคนี้ติดต่อกันเป็นเนื้อที่กว่าพันไร่

ลักษณะอาการ
เกิดอาการรวงไหม้ทั้งรวง แต่แตกต่างจากโรคไหม้คอรวงตรงที่โรคนี้ไม่เกิดแผลที่คอรวงและคอรวงไม่หัก เมล็ดลีบเป็นบางส่วน บน
เมล็ดเต็มส่วนใหญ่จะมีแผลเป็นจุดสีน้ำตาล-ดำ บางส่วนก็มีลายสีน้ำตาล และบางพวกมีสีเทา หรือสีปนชมพู ทั้งนี้ เพราะมีเชื้อรา
หลายชนิดที่สามารถเข้าทำลายและทำให้เกิดอาการแตกต่างกันไป การเข้าทำลายของเชื้อรา มักจะเกิดในช่วงที่ดอกข้าวผสมแล้ว
อยู่ในช่วงเป็นน้ำนมและกำลังจะสุก หลังจากนั้นประมาณเกือบเดือน (ใกล้เกี่ยว) อาการเมล็ดด่างจะปรากฏเด่นชัด โรคนี้สามารถ
แพร่กระจายไปกับลม และติดไปกับเมล็ด และอาจทำให้เชื้อราแพร่กระจายในยุ้งฉางได้

การป้องกันและกำจัด
1. ในระยะที่ข้าวกำลังจะให้รวง หรือให้รวงเป็นเมล็ดแล้ว ถ้ามีฝนตกชุก ควรวางมาตรการป้องกันแต่ต้นมือ โดยใช้ยาเคมี อาทิ
เช่น โพลีอ๊อกซิน, ซีสเทน, ฮีโนซาน หรือเดลซีน ฉีดพ่นตามคำแนะนำของนักวิชาการ

2. อย่าใช้เมล็ดพันธุ์จากแปลงที่เป็นโรค




โรคดอกกระถิน (False Smut) เชื้อสาเหตุ

เกิดจากเชื้อรา Ustilaginoidea virens



ในอดีตชาวนาบางท้องที่จะรู้สึกพึงพอใจมากที่พบเห็นรวงข้าวในนามีเมล็ดข้าว ที่เป็นโรคดอกกระถินขึ้นประปราย เพราะนั้นคือ
สัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ ท้องนาให้ผลผลิตดี ในปีนั้น นั่นคือข้าวที่เป็นโรคดอกกระถินไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย
แต่ปัจจุบันเริ่มพบเห็นแล้วว่า บางท้องที่โดยเฉพาะในเขตภาคใต้ จังหวัดพัทลุง ปัตตานี และนครศรีธรรมราช และเขต
ภาคเหนือ โดยเฉพาะชาวไร่ในเขตจังหวัดลำปาง, เชียงใหม่และเชียงราย โรคดอกกระถินเป็นโรคสำคัญที่ก่อเกิดความเสีย
หายค่อนข้างรุนแรง และมีแนวโน้มว่าจะแพร่ระบาดเพิ่มเนื้อที่มากขึ้นเรื่อย ๆ

ลักษณะอาการ
เริ่มเป็นโรคระยะตั้ง ท้อง-ออกรวง เชื้อราเข้าทำลายที่เมล็ดข้าว สร้างกลุ่มเส้นใยและ สปอร์ปกคลุมเมล็ดข้าว ทำให้เมล็ด
ข้าวเสียหาย มีอาการบวมโตคล้ายดอกกระถิน กลุ่มเส้นใยและ สปอร์จะพัฒนาผนึกแน่นเป็นชั้น ๆ เริ่มต้นจะมีสีเหลือง (ชั้น
ในสุด) ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีส้ม (ชั้นกลาง) และในที่สุดจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้ม (ชั้นนอกสุด) ซึ่งจะมีลักษณะเป็นฝุ่น
ละอองของสปอร์เชื้อรา ปกติจะเกิดเพียง 2-3 เมล็ดใน 1 รวง ในกรณีรุนแรงอาจพบมากกว่า 100 เมล็ดต่อรวง

การป้องกันและกำจัด
1. พยายามหลีกเลี่ยงปลูกข้าวในช่วงที่ให้รวงตอนที่มีฝนชุก หรือความชื้นสูง
2. คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยยาเคมีก่อนปลูก
3. ใช้ยาเคมีฉีด หรือพ่นก่อนข้าวออกรวง 2-3 วัน ตามคำแนะนำของนักวิชาการ


ผู้เรียบเรียง
สมศักดิ์ วรรณศิริ และ เสรี กิตติไชย
กลุ่มงานป้องกันและกำจัดศัตรูอ้อย กองป้องกันและกำจัดศัตรูพืช
กรมส่งเสริมการเกษตร


http://forecast.doae.go.th/web/rice/34-rice-diseases/53-false-smut.html





หนีน้ำท่วม ไปดำนาด้วยเครื่องกัน

ความคิดเห็นที่ 56

นาแถวบ้าน เป็นนาหว่านเกือบทั้งท้องทุ่งเลยนะคะ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะประเพณีตามตามกันไป...

ส่วนหนึ่งของชาวนาส่วนใหญ่ คือ ไม่ค่อยกล้าลองของใหม่ เสียก็เสียด้วยกัน ไม่อยากแตกต่าง และไม่ชอบเป็นผู้นำ

เราเคยไปนั่งแทนพ่อ ฟังเกษตรจังหวัดมาอบรมให้ความรู้ค่ะ
เห็นได้ชัดเลยว่า ช่องว่างแตกต่างกันมาก ระหว่างชาวนากับวิทยากร
เกษตรจังหวัดที่เป็นวิทยากรก็บรรยายไป ศัพท์แสงทางวิชาการอธิบายเข้าไปอีก
ชาวนาก็นั่งหงออยู่ด้านหลัง สงสัยก็ไม่กล้าถาม ไม่เข้าใจก็ไม่กล้าพูด
ชาวนาสูงอายุบางคน ยกมือไหว้วิทยากรอย่างนบน้อม ด้วยความเคารพด้วยซ้ำไปค่ะ
นั่งกันเงียบเงียบถ้าไม่เงียบก็คุยเรื่องละครช่อง ทีวี เพื่อคุณเมื่อคืนนี้...น้อยคนมากที่นั่งฟังจริงจัง และน้อยคนยิ่งกว่าที่เข้าใจ
สิ่งที่วิทยากรพูดจริงจริง

กลับมาถึงบ้าน ก็ไม่ได้เข้าใจหรือเรียนรู้อะไรแปลกใหม่เลย
นาแปลงข้างข้างทำอย่างไร ก็ทำไปตามนั้น
คอยลุ้นว่า หว่านแล้วข้าวงอกดี แมลงไม่ลง ข้าวดีดไม่เยอะ ข้าวสุกแล้วฝนไม่ตก น้ำไม่ท่วมข้าว ราคาข้าวดี....แค่นี้เอง.

ความเห็นส่วนตัว ตราบใดที่ช่องว่างระหว่างข้าราชการกับชาวนายังคงเยอะอยู่ วิทยาการใหม่ใหม่ก็คงเข้าไปได้ยากค่ะ...


ปล..เราชอบบรรยากาศทุ่งนาตอนเย็นที่ข้าวเขียวเสมอกันกันไปทั้งแปลงที่สุด สวยเหมือนปูพรมเลยทีเดียว

จากคุณ : primjang





ความคิดเห็นที่ 57

ต้นทุนนาหว่าน....... 4,000-4,500 ..... ผลผลิตต่อไร่ 800-1,000 กก.
ต้นทุนนาดำ ......... 3,700-4,300 ..... ผลผลิตต่อไร่ 800-1,200 กก.
แต่สรุปว่านาดำกำไรมากกว่าประมาณ 1000-1500 บาทต่อไร่....

พิมพ์ผิดหรือเปล่าครับ หรือว่ามันมีวิธีการคำนวนราคาตามคุณภาพของข้าวอีกทีนึง ?

จากคุณ : yield (zeralf)
เขียนเมื่อ : 30 ส.ค. 54 13:53:05

ไม่ผิดหรอกครับ เพราะในแต่ละฤดูที่ทำนามันมีปัจจัยเยอะครับ

เช่น ล่าสุดที่เข้าไป ราคาขายข้าว วันต่อวันราคาวิ่งตลอด จาก ๙,๐๐๐ - ๑๑,๐๐๐ และราคาปุ๋ยเองก็ไม่เคยนิ่ง ขยับขึ้นๆ ลงๆ ครับ

>>>นาหว่าน บางครั้งก็ได้เยอะ บางฤดูโดนข้าวดีดก็แทบไม่เหลือ นาหว่านนี้แปรผันมากกว่านาดำครับ เช่น
>>>นาดำนี้ต้นทุนและผลผลิตค่อนข้างคงที่ครับ

แต่ก็ใช่ว่าจะทำนาดำกันได้ทุกฤดูครับ บางฤดูก็ทำไม่ได้เพราะดินหล่มก็ต้องสลับมาทำนาหว่านเหมือนกันครับ

ผมยกตัวอย่างนะครับ รายที่ผมไปเก็บข้อมูล ทำนาดำนาหว่านสลับกันไป แต่ส่วนใหญ่ถ้าพื้นที่อำนวยจะทำนาดำ
ซึ่งทำให้เราได้ข้อมูลทั้งนาหว่านกับนาดำเปรียบเทียบกัน

นาดำ ๒๑ ไร่
- ต้นทุน ๘๑,๘๓๐ บาทต่อ ๒๑ ไร่ หรือ ๓,๘๙๗ บาทต่อไร่
- ผลผลิต ๒๕,๐๐๐ กิโลกรัม (๒๕ เกวียน) ผลผลิตเมื่อฤดูกาลที่แล้ว
- ราคาขายที่เกษตรกรขายได้ ๘,๔๐๐ บาทต่อเกวียน เป็นเงิน ๒๑๐,๐๐๐ บาท
- รายได้หักค่าใช้จ่าย ๑๒๘,๑๗๐ บาทต่อ ๒๑ ไร่ หรือ ๖,๑๐๔ บาทต่อไร่

นาหว่าน ๒๑ ไร่
- ต้นทุน ๘๔,๔๔๐ บาท หรือ ๔,๐๒๑ บาทต่อไร่
- ผลผลิต ๒๑,๕๐๐ กิโลกรัม (๒๑.๕ เกวียน) สูงสุดที่เคยได้ไม่เกิน ๒๒ เกวียน
- ราคาขายที่เกษตรกรขายได้ประมาณ ๘,๔๐๐ บาทต่อเกวียน เป็นเงิน ๑๘๐,๖๐๐ บาท
- รายได้หักค่าใช้จ่าย ๙๖,๑๖๐ บาทต่อ ๒๑ ไร่ หรือ ๔,๕๗๙ บาทต่อไร่

*** ผลต่างของผลกำไรในการทำนาหว่านและนาดำของเกษตรกรรายนี้ คือ นาดำได้กำไรสุทธิมากกว่า ๑,๕๒๕ บาทต่อไร่
เกษตรกรรายนี้ทำนาดำโดยใช้เครื่องดำนามาแล้วทั้งสิ้น ๘ ฤดูกาล ถ้าดินไม่เป็นหล่มจนรถดำนาลงไม่ได้ จะไม่ทำนาหว่านเลย

ข้อมูลข้างต้นเป็นเพียงเกษตรกรรายเดียวครับ ซึ่งผมก็กำลังตามเก็บให้ได้มากรายที่สุด แต่ทั้งนี้จากการสอบถามรายอื่นๆ ก็
ถือว่าใกล้เคียงกันครับ ต่างกันไม่มากนัก ขึ้นอยู่กับวิธีการทำนาซึ่งแต่ละคนไม่เหมือนกันเลย ทั้งการฉีดยาและใส่ปุ๋ย

จากคุณ : ผมเอง (ฟ้าสีหมอก)
เขียนเมื่อ : 30 ส.ค. 54 14:45:23
ถูกใจ : BonaPart




http://www.pantip.com/cafe/wahkor/topic/X10997804/X10997804.html





โรคเมล็ดด่างเริ่มต้นที่ใบ คือ โรคใบจุดสีน้ำตาลแล้วลามไปที่เมล็ด ถ้าจะป้องกันต้องรักษาใบก่อน ......
จาก (087) 529-2540
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©