-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 25 ก.ค
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 26 ก.ค
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 26 ก.ค

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 26/07/2011 4:09 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 26 ก.ค ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 26 ก.ค


***********************************************

สร้างสรรสังคม....ส่งเสริมคนดี....พัฒนาชีวิต ให้มีคุณภาพ....

กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม
ทางวิทยุ พล.ปตอ. เอเอ็ม 594 เวลา 08.10–09.00 และ 20.05-20.30 ทุกวัน

เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 สายด่วน 4 ตัว ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว
ก่อนเริ่มรายการที่ โทรศัพท์มือถือส่วนตัว (081) 913-4986

***********************************************




จาก : (081) 978-65xx
ข้อความ : ขอให้ลุงคิมอธิบายความหมายของคำว่า "ต้นน้ำ ปลายน้ำ กลางน้ำ" การเกษตร ตามแบบของลุงคิม....ขอบคุณครับ จาก เกษตรกร ปวช.พิษณุโลก


ตอบ :
* ต้นน้ำ - กลางน้ำ - ปลายน้ำ โดยนัยแล้ว คือ การผลิตแล้วขาย นั่นเอง
* ได้ผลผลิตมาแล้วขายทันทีเลย เรียกว่า "ต้นน้ำ"
* ได้ผลผลิตมาแล้วแปรรูปขั้นตอนที่ 1 เรียกว่า "กลางน้ำ"
* ได้ผลผลิตมาแล้วแปรรูปขั้นตอนที่ 2 เรียกว่า "ปลายน้ำ"

เช่น.....
- ปลูกมะพร้าวขายมะพร้าวแก่ทั้งลูกแบบยกสวน ราคาหน้าสวน เรียกว่า "ต้นน้ำ"
- เก็บมะพร้าวแก่ลงมาแล้ว แกะเฉพาะเนื้อขาย เป็นการแปรรูปขั้นตอนที่ 1 เรียกว่า "กลางน้ำ"
- แกะเนื้อมะพร้าวแก่มาแล้ว สกัดน้ำมันมะพร้าว เป็นการแปรรูปขั้นตอนที่ 2 นอกจากนี้ยังได้ BIPRODUCT ได้แก่ กาบมะพร้าวทำปุ๋ยอินทรีย์/วัสดุปลูกพืช, กะลาทำถ่านกัมมันต์, น้ำมะพร้าวทำน้ำส้มสายชู/วุ้นน้ำมะพร้าว เรียกว่า "ปลายน้ำ"

เทคโนการผลิตทุกขั้นตอนไม่ยาก แต่เทคโนโลยีการตลาดนี่สิ ยากกว่าเป็นร้อยเป็นพันเท่า ทำแล้วขายที่ไหน ? ขายอย่างไร ? ขายเท่าไหร่ ?

ตัวผลิตภัณท์แค่ "คุณภาพ" อย่างเดียวไม่พอ เรื่องบรรจุภัณท์ การออกแบบต้องถึงระดับอินเตอร์ ไม่ใช่แค่ใส่ถุงพลาสติกท้องถิ่นธรรมดาๆ

เรื่องการตลาดสำคัญที่สุด จะต้องมี "โฆษณา-ประชาสัมพันธ์" เป็นหลัก โฆษณาผ่านสื่อประเภทไหน ต้นทุนค่าโฆษณา

รู้ไหม การตลาดเนี่ย เรียน 4 ปีจบปริญญาตรี เรียน 6 ปีจบปริญญาโท เรียน 8 ปีจบปริญญาเอก ผลิตสินค้าออกมาขายได้ แต่พอถึงขั้นตอนการตลาดเท่านั้นแหละ ปริญญาก็ปริญญาเถอะ เจ๊งมาแล้วนักต่อนัก

ลุงคิมครับผม

--------------------------------------------------------------------------



จาก : (083) 435-5543
ข้อความ : (โทรศัพท์....)

ลุงคิมครับ ผมอยากได้ข้อมูลเรื่อง "กากเมล็ดยางพาราทำอาหารสัตว์" จะอาไปทำโครงงานเรื่องอาหารเป็ดครับ


ตอบ :

ฟังเสียงคุยทางโทรศัพท์ พอจะเดาได้ว่ายังเป็นเด็ก ขอชมเชยว่าเก่งมากที่โทรหาลุงคิม....ให้กำลังใจนะ

ก็เพิ่งรู้ว่า "เมล็ดยางพารา" นำมาแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นอาหารสัตว์ได้ เลยท่องไปในโลกเน็ต เห็นจึงรู้ ..... ขอบคุณในประกายความคิดนี้



การพัฒนาอาหารสัตว์ในภาคใต้

กากเมล็ดยางพารา มีทั้งชนิดกระเทาะเปลือกและไม่กระเทาะเปลือกซึ่งจะมีคุณสมบัติต่างกัน

คุณสมบัติ
- ส่วนของเมล็ดยางที่ผ่านการอัดน้ำมันหรือสกัดน้ำมันด้วยสารเคมี มีกลิ่นหอมชวนกิน
- ชนิดกระเทาะเปลือกออกมีโปรตีน 28-30% เยื่อใย 9% และยอดโภชนะย่อยได้ 63% ชนิดไม่กระเทาะเปลือกมีโปรตีน 16% เยื่อใย 42% และยอดโภชนะย่อยได้ประมาณ 58%
- ชนิดกระเทาะเปลือกจะมีคุณค่าทางอาหารดีกว่า และคุณสมบัติใกล้เคียงกับกากถั่วลิสงและกากเมล็ดฝ้าย

การใช้เลี้ยงสัตว์และข้อจำกัด
- ใช้ผสมอาหารข้น โดยทั่วไปในอาหารโคนม โคเนื้อ ควรใช้ไม่เกิน 25% หากสูงกว่านี้จะมีผลทำให้ปริมาณโปรตีนในน้ำนมต่ำและมีผลต่อสุขภาพของโคนม

ข้อแนะนำในการใช้
- กากเมล็ดยางพารามีสารพิษ คือกรดไฮโดรไซยานิคอยู่ซึ่งสามารถทำให้ปริมาณสารพิษนี้ลดได้โดยการเก็บกากเมล็ดยางพาราทิ้งไว้เฉย ๆ นาน 1 เดือน หรือนำไปอบด้วยความร้อน 100 องศาเซนติเกรด นาน 18 ชั่วโมง หรือผึ่งกลางแดดดี ๆ เป็นเวลา 2 แดด

http://www.dld.go.th/nutrition/Nutrition_Knowlage/ARTICLE/Pro40.htm



ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์จากเมล็ดยางพารา

1. ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ ซึ่งมีส่วนผสมของเมล็ดยางพารา หรือกากเมล็ดยางพาราที่สกัดน้ำมันออกแล้ว ทดแทนกากถั่วเหลืองในอัตราส่วน 30-40 เปอร์เซ็นต์

2. ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ ตามข้อถือสิทธิที่ 1 ซึ่งมีอัตราส่วนของกากถั่วเหลือง : เมล็ดยางพาราในอัตราส่วน 7:3

3. ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ ตามข้อถือสิทธิที่ 1 ซึ่งมีส่วนผสมของกากถั่วเหลือง : กากเมล็ดยางพาราที่สกัดน้ำมันออกแล้ว ในอัตราส่วน 6 : 4

4. กรรมวิธีการทำผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ ตามข้อถือสิทธิที่ 1 - 3 ข้อ ข้อใดข้อหนึ่ง ซึ่งมีกรรมวิธีการทำ คือ นำเมล็ดยางพารามากะเทาะเปลือกออก แล้วนำเนื้อในเมล็ดยางพาราที่ได้ หรือกากเมล็ดยางพาราที่สกัดน้ำมันออกแล้ว มาอบด้วยไอร้อนที่อุณหภูมิ 60-70 องศาเซลเซียส นานประมาณ 30-60 นาที เพื่อลดกรดไฮโดรไซยานิกจากนั้นนำมาป่นให้ละเอียด ซึ่งสามารถใช้เมล็ดยางพารานี้นำไปผสมเป็นอาหารสัตว์ได้ทันทีจะมีโปรตีนรวมสูงถึง 26.8 เปอร์เซ็นต์

http://patentsearch.moc.go.th/DIPSearch/PatentSearch/DipData.aspx?apptype=th&Appno=210040403000361





กากเมล็ดยางพารา (Para rubber seed meal)




เป็นผลพลอยได้จากการสกัดน้ำมันออกจากเมล็ดยางพาราของโรงงานผลิตน้ำมันพืช

คุณสมบัติ
กากเมล็ดยางพาราชนิดมีเปลือกมีโปรตีน 16 เปอร์เซ็นต์
กากเมล็ดยางพาราชนิดกระเทาะเปลือก มีโปรตีน 26-29 เปอร์เซ็นต์
โปรตีนในกากเมล็ดยางพารามีคุณภาพใกล้เคียงกับกากถั่วลิสง เนื่องจากมีกรดอะมิโนเมทไธโอนีนต่ำ แต่มีไลซีนสูง

ข้อจำกัดในการใช้
กากเมล็ดยางพารามีสารพิษกรดไฮโดรไซยานิค เช่นเดียวกับในมันสำปะหลังสดถ้าใช้มากในสูตรอาหารจะทำให้สัตว์โตช้า
กากเมล็ดยางพาราที่มีเปลือกมีเยื่อใยสูง

ข้อแนะนำในการใช้
ควรใช้กากเมล็ดยางพาราที่ผ่านขั้นตอนการลดสารพิษดังกล่าวโดยวิธีการ เช่นใช้กากเมล็ดยางพาราที่ได้จากการเก็บเมล็ดสดไว้เป็นเวลานานก่อนนำมาบีบน้ำมันหรือ การให้ความร้อนแก่เมล็ดยางพาราก่อนบีบน้ำมัน
ควรใช้กากเมล็ดยางพาราระดับต่ำในสูตรอาหาร คือ 10% ในสัตว์เล็ก และ 20-30% ในสัตว์ระยะรุ่น-ขุน และต้องเสริมไขมันหรือปรับระดับพลังงานให้พอเพียงด้วย

ส่วนประกอบทางเคมี
ส่วนประกอบ (%).....กากเมล็ดยางพาราชนิดมีเปลือก...กากเมล็ดยางพาราชนิดกระเทาะเปลือก

ความชื้น.............................. 8 ................................... 8
โปรตีน............................... 16 .................................. 27.0
ไขมัน............................... 6.33 ................................. 11.5
เยื่อใย .............................. 41.52................................ 14.0
เถ้า................................... 4.01 ................................ 4.50
แคลเซียม ........................... 0.22 ................................ 0.13
ฟอสฟอรัสใช้ประโยชน์ได้ ........ 0.09 ................................. 0.20




พลังงาน(กิโลแคลอรี่/กก.).... กากเมล็ดยางพาราชนิดมีเปลือก...กากเมล็ดยางพาราชนิด
ในสุกร ................................... 1,800 ......................... 2,400
ในสัตว์ปีก ................................ 1,800 ........................ 2,550



กรดอะมิโน (%)................ กากเมล็ดยางพาราชนิดมีเปลือก........กากเมล็ดยางพาราชนิด
ไลซีน....................................... 0.32 ......................... 0.65
เมทไธโอนีน ................................ 0.06 ......................... 0.22
เมทไธโอนีน + ซีสตีน..................... 0.22 ........................ -
ทริปโตเฟน .................................. - ........................... 0.33
ทรีโอนีน ..................................... 0.42 ........................ 0.62
ไอโซลูซีน ................................... 0.44 ........................ 0.68
อาร์จินีน ..................................... 1.53 ........................ 1.85
ลูซีน ......................................... 0.91 ........................ 1.39
เฟนิลอะลานีน+ไทโรซีน ................... 0.86 ........................ 0.76
อิสติดีน ....................................... 0.47 ....................... 0.51
เวลีน ......................................... 0.84 ........................ 1.36
ไกลซีน ....................................... 0.77 ........................ -

http://www.thailivestock.com/cattle_handling/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2-para-rubber-seed-meal




เป็นไปได้ไหมที่จะเลี้ยงเป็ดในสวนยาง

เลี้ยงเป็ดกำจัดวัชพืชในสวนยางพารา (โดยไม่ใช้สารเคมี)
เกษตรกร ในตำบลทุ่งใหญ่ มีอาชีพการทำสวนยางพารา บางเครัวเรือนจะเลี้ยงสัตว์ควบคู่ไปด้วย เช่นเลี้ยงวัว แพะ เป็ด ไก่ หมู ฯลฯ ซึ่งจากประสบการณ์จริงของเกษตรกร พบว่าการเลี้ยงเป็ดในสวนยางพาราอายุ 2-3 ปี ให้ประโยชน์สูงสุด เพราะเป็ดจะช่วยกำจัดวัชพืช และเพิ่มความชื้น และปุ๋ยอินทรีย์ให้แก่ต้นยางพาราด้วย สามารถควบคุมวัพืชทั่ว ๆ ไปได้ โดยเฉพาะหญ้าคาได้เป็นอย่างดีทั้งในฤดูฝน และฤดูแล้ง โดยไม่ต้องใช้สารเคมี เพราะมูลเป็ดเป็นการเพิ่มปุ๋ยและให้ความชื้นแก่ดิน (หากสามารถเลี้ยงห่านร่วมด้วยก็จะสามารถป้องกันงูพิษได้อีกทางหนึ่งด้วย)

ขั้นตอนและวิธีการ
1. ใช้ลวดตาข่ายหรืออวนล้อมบริเวณสวนยางพารา (อายุ 2-3 ปี) ที่มีวัชพืชมากและต้องการกำจัด
2. นำเป็ดรุ่นเดียวกันประมาณ 50-100 ตัว ปล่อยในบริเวณตาข่ายที่ล้อมไว้
3. จัดรางน้ำ-อาหาร ให้อยู่รอบ ๆ พื้นที่บริเวณตาข่าย และสามารถย้ายรางน้ำ - อาหารได้ตามความเหมาะสม
4. ทำจากพื้นที่บริเวณเล็ก ๆ แล้วจึงค่อย ๆ เพิ่มเป็นวงกว้าง จนทั่วทั้งบริเวณ

ปัญหาอุปสรรค
1. ต้องมีมาตราการจัดการกับอันตรายจากสิ่งรบกวน เช่น สุนัข
2. ต้องอยู่ในบริเวณใกล้กับที่พักอาศัยเพราะดูแลได้ง่าย
3. มีเสียงและกลิ่นรบกวน
4. หาแหล่งน้ำยาก

http://www.live-rubber.com/rubberforum/viewtopic.php?f=2&t=103





สูตร "ไข่อร่อยปากพนัง" ลงมือทำกันเลยนะครับ ประหยัดต้นทุนและที่สำคัญใช้วัตถุดิบที่หาง่าย ...

นมที่หมดอายุแล้ว ผสมกับน้ำตาลทรายกับเกลือเม็ด อัตราส่วนเท่าๆ กัน แล้วเติมน้ำผสมให้ได้ดังภาพ

http://www.ubmthai.com/leksoundsmf3/index.php?topic=77129.0


---------------------------------------------------------------------------
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©