-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 19 ก.ค
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 19 ก.ค
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 19 ก.ค

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 19/07/2011 11:06 am    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 19 ก.ค ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 19 ก.ค


***********************************************

สร้างสรรสังคม....ส่งเสริมคนดี....พัฒนาชีวิต ให้มีคุณภาพ.....

กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม
ทางวิทยุ พล.ปตอ. เอเอ็ม 594 เวลา 08.10–09.00 และ 20.05-20.30 ทุก2วัน

เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 สายด่วน 4 ตัว ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว
ก่อนเริ่มรายการที่ โทรศัพท์มือถือส่วนตัว (081) 913-4986

**********************************************



จาก : (085) 396-52--
ข้อความ : ลุงคิม มีสมุนไพรตัวไหนแก้ไวรัสมะละกอได้บ้างครับ จะรอฟัง 2 โมงครับ


ตอบ :
ปัจจุบันยังไม่มีสารเคมียาฆ่าแมลง หรือสารสกัดสมุนไพร ชนิดใดสามารถ "กำจัด" เชื้อไวรัสในพืชโดยตรงอย่างเด็ดขาดได้ เมื่อไม่สามารถกำจัดได้จึงต้องใช้มาตรการ "ป้องกัน" เท่านั้น ดังนี้
- ป้องกันแมลงพาพะไม่ให้เข้าสู่ต้นพืช โดยการฉีดพ่นสารสมุนไพร หรือสารสมุนไพร + สารเคมี อย่างสม่ำเสมอ
- บำรุงต้นพืชให้สมบูรณ์ แข็งแรง เพื่อให้เกิดภูมิต้านทานภายในต้นพืช โดยการบริหารจัดการปัจจัยพื้นฐานเพื่อการเพาะปลูก (ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร-สายพันธุ์-โรค) ควบคู่กับการบำรุงด้วยสารอาหารทั้งทางรากและทางใบด้วย "ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม และฮอร์โมน" อย่างเหมาะสมต่อมะละกอ
- ใช้มาตรการป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน (IPM) อย่างเคร่งครัด

หมายเหตุ :
พืชสมุนไพรที่มีสารออกฤทธิ์ในการป้องกันเชื้อไวรัสในสัตว์ปีกได้แก่ ฟ้าทะลายโจร. ลูกใต้ใบ. เสลดพังพอน. ขอบชะนาง. เหงือกปลาหมอ. .... งานวิจัยในฟาร์มไก่ในสหรัฐ พบว่าสามารถป้องกันเชื้อไวรัสในไก่ได้ โดยไม่ต้องให้วัคซีนไก่เลยตั้งแต่เกิดถึงจับ .... แต่นี่เป็นไวรัสในสัตว์เท่านั้น ส่วนไวรัสในพืชยังไม่พบงานวิจัย




อ้างอิง :

โรคที่สำคัญของมะละกอในประเทศไทย
โรคใบด่างจุดวงแหวน ถือได้ว่าเป็นโรคที่มีความสำคัญมากที่สุด เป็นมหันตภัยร้ายของการปลูกมะละกอทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทยด้วย โรคนี้มีการระบาดรุนแรงครั้งแรกเมื่อปี 2492 ที่หมู่เกาะฮาวาย หลังจากานั้นก็ระบาดไปทั่วโลกในแหล่งปลูกที่สำคัญ เช่น บราซิล เม็กซิโก ประเทศในแถบแคริบเบียน ฟิลิปปินส์ บังคลาเทศ ไต้หวัน เป็นต้น

สำหรับในประเทศไทยพบการระบาดครั้งแรกในปี 2518 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และขยายความรุนแรงขึ้นทุกปี จนทำลายล้างมะละกอในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างสิ้นเชิงในปี 2524

ต่อมาการระบาดได้ลุกลามไปยังพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ โดยในปี 2528 ระบาดรุนแรงในพื้นที่ปลูกมะละกอในเขตภาคกลาง เช่น ราชบุรี นครปฐม ต่อมาในปี 2535 ระบาดรุนแรงในแหล่งปลูกมะละกอของภาคใต้ ที่ผลิตมะละกอป้อนโรงงานจนสร้างความเสียหายให้กับโรงงานผลไม้กระป๋อง เช่น ชุมพร สุราษฏร์ธานี

และในปี 2542 ได้ระบาดรุนแรงในเขตจังหวัดจันทบุรี ปี 2545 โรคนี้ระบาดไปทั่วประเทศไทย สร้างความเสียหายให้กับพื้นที่ปลูกมะละกอทั่วประเทศกว่า 80% ของพื้นที่ปลูกทั้งหมด

ปัจจุบันโรคใบด่างจุดวงแหวนยังเป็นมหันตภัยร้ายของการปลูกมะละกอที่ยังไม่สามารถหาทางออกได้ แม้มะละกอ จีเอ็มโอ จะสามารถเข้ามาแก้ปัญหานี้ได้แต่ก็ยังไม่เป็นที่ยอมรับจากสังคมโดยเฉพาะในบ้านเราที่ยังมีข้อถกเถียงกันอยู่ และยังไม่อนุญาตให้มีการปลูกพืช จีเอ็มโอ ขณะที่งานวิจัยก็ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้และยังอยู่ในขั้นตอนของการทดลองในแปลงทดลองเท่านั้น เราจึงต้องใช้วิธีการอื่นเพื่อเผชิญกับปัญหานี้ก่อน

สาเหตุของโรค
เกิดจากเชื้อไวรัส (papaya ringspot) จากการศึกษา พบว่าเชื้อนี้สามารถถ่ายทอดจากมะละกอต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่งด้วยวิธีสัมผัส โดยมีแมลงคือเพลี้ยอ่อนชนิดต่าง ๆ เป็นตัวพาหะนำโรค อาทิเช่น เพลี้ยอ่อนถั่ว(Aphis craccivora Koek) เพลี้ยอ่อนฝ้าย (Ahis gossypii) และเพลี้ยอ่อนท้อ (Myzus persicae Sulzer)

ลักษณะอาการของโรค
มะละกอทุกขนาดทุกอายุสามารถเป็นโรคนี้ได้ เชื้อไวรัสนี้สามารถเข้าทำลายมะละกอได้ทุกระยะการเจริญเติบโตและจะแสดงให้เห็นชัดเมื่อมะละกอมีอายุได้ 1 ปี

โดยธรรมชาติแล้วมะละกอจะเป็นเชื้อนี้ได้ โดยมีแมลงเป็นพาหนะนำโรคมาสัมผัสหรือกัดดูดน้ำเลี้ยงจากใบมะละกอ โดยเฉพาะใบอ่อนๆ ของมะละกอจะติดโรคนี้ได้ง่าย มะละกอที่เป็นโรคจะพบเห็นอาการใบด่างเหลืองชัดเจนในส่วนยอด ต่อมาใบแก่ก็แสดงอาการของโรคเช่นกัน โดยใบจะพุพองและบิดเบี้ยว ขนาดของใบจะเล็กกว่าปกติ ผิวใบจะมีสีเขียวอมเหลือง ใต้ใบจะมีเส้นเขียวแก่ปรากฏให้เห็นทั่วๆ ไป ใบแก่อ่อนพับและทิ้งใบเหลือแต่ใบยอดติดอยู่กับลำต้น ถ้าเชื้อเข้าทำลายในต้นอ่อนจะทำให้ต้นแคระแกร็น ไม่เจริญเติบโต ใบจะด่างและมีกลีบเล็ก เรียว ถ้าเชื้อเข้าทำลายในต้นโตจะทำให้มีจุดขนาดเล็กหรือรอยยาวๆ สีเขียวเข้ม ปรากฏตามบริเวณผล ใบ ก้านใบและลำต้น ผลมีจุดเป็นแผลวงแหวน บางครั้งจะเป็นสะเก็ดวงแหวน เนื้อแข็งเป็นไต มีรสขม ทำให้คุณภาพของผลผลิตลดลงไ ม่มีคุณภาพ และเมื่อเป็นโรคแล้วช่อดอกในชุดต่อไปมักจะหลุดร่วงไม่ติดผล โรคนี้จัดเป็นโรคที่สำคัญที่สุดของมะละกอที่ปลูกในประเทศไทย และในประเทศที่ปลูกมะละกอทั่วไป

วัคซีนเลียนแบบ.....แนวทางสู่การพิชิตโรคใบด่างจุดวงแหวน
แนวทางการป้องกันโรคใบด่างจุดวงแหวนของมะละกอ ได้มีความพยายามที่จะหาวิธีการต่างๆ มาใช้ ซึ่งพบว่าการใช้สารเคมีกำจัดเพลี้ยอ่อนซึ่งเป็นแมลงพาหะนำโรคใบด่างจุดวงแหวนมะละกอไม่ให้ผลในการควบคุมโรค เนื่องจากเพลี้ยอ่อนใช้เวลาที่สั้นมาก (30 วินาที) ในการถ่ายทอดโรค ไม่มีสารเคมีชนิดใดที่มีประสิทธิภาพในการฆ่าเพลี้ยอ่อนในทันทีทันใด สารฆ่าแมลงที่มีผลเฉียบพลันจึงไม่สามารถที่จะป้องกันการถ่ายทอดโรคได้ ประกอบกับเพลี้ยอ่อนในธรรมชาติไม่ใช่แมลงศัตรูของมะละกอแต่อย่างใด เนื่องจากมะละกอไม่ใช่พืชอาศัยของเพลี้ยอ่อนเหมือนกับแตง ถั่วฝักยาว พริก ผักกาดต่าง ๆ ซึ่งจะมีเพลี้ยอ่อนมาเกาะกิน การทดสอบหาพันธุ์มะละกอที่ต้านทานต่อโรคนี้ยังไม่พบมะละกอสายพันธุ์ใดต้านทานต่อโรคนี้

การป้องกันกำจัดแบบถอนรากถอนโคน โดยขุดทำลายมะละกอที่เป็นโรค ทำลายให้หมดไปจากพื้นที่นั้น แล้วปลูกมะละกอที่ปราศจากโรคใหม่ พบว่าไม่ให้ผลในการป้องกัน เนื่องจากเชื้อไวรัสสามารถจะอาศัยอยู่ในพืชตระกูลแตง เช่น ฟักทอง บวบ ได้ และในทางปฏิบัติไม่สามารถกำจัดพืชเหล่านี้และมะละกอที่เป็นโรคให้หมดสิ้น ดังนั้นเชื้อไวรัสจึงสามารถกลับเข้ามาทำลายมะละกอที่ปลูกใหม่ได้ โดยมีเพลี้ยอ่อนเป็นพาหะนำโรค การป้องกันควบคุมโรคโดยวิธีการสร้างภูมิคุ้มกันโดยการปลูกวัคซีนให้กับมะละกอจึงเป็นวิธีที่น่าจะใช้แก้ปัญหานี้ได้ในระยะหนึ่ง จนกว่าจะมีวิธีการที่ดีกว่า



ไวรัสพืช คือ สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ที่สร้างความเสียหายให้กับพืชโดยเข้าทำลายเซลล์ต่างๆของพืช ซึ่งจะทำให้ต้นพืชแสดงลักษณะที่ผิดปกติออกมา เช่น ลำต้นแคระแกรน ใบหงิกงอ ลำต้นหรือผลเป็นแผล ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลง หรืออาจทำให้ต้นพืชตายในที่สุด

พืชได้รับเชื้อไวรัสได้หลายทาง อันได้แก่ ทางบาดแผล ทางท่อลำเลียงน้ำท่อลำเลียงอาหาร ทางเมล็ดพันธุ์ เป็นต้น แต่ส่วนใหญ่แล้วการระบาดของเชื้อไวรัสพืชจะมีแมลงเป็นตัวพาหะนำพาเชื้อไวรัสมาสู่ต้นพืช ซึ่งแมลงสามารถทำให้ต้นพืชเกิดบาดแผลได้ง่ายจากการกัดกินหรือการดูดน้ำเลี้ยงจากใบและผลของพืช

อาการของพืชเมื่อได้รับเชื้อไวรัส จะมีอาหารแตกต่างกันไปตามชนิดของไวรัสที่เข้าทำลายพืช เช่น

- โรคใบด่างในพืชตระกูลแตง
- โรคใบด่างวงแหวนมะละกอ
- อาการใบหงิกในพริก
- อาการเขียวเตี้ยในข้าว
- อาการใบหดยาสูบ
- อาการยอดกรุด (ไอ้โต้ง) ในแตงโม
- อาการใบเหลืองส้มในข้าว
- อาการใบขาวในอ้อย
- อาการใบด่างในกระเจี๊ยบ

ซึ่งอาการที่เกิดจากการทำลายของเชื้อไวรัสชนิดต่างๆจะทำให้พืช เสียสมดุลในการทำงานของฮอร์โมน มีการสังเคราะห์แสงผิดปกติ รบกวนกระบวนการดูดซึมและเคลื่อนย้ายธาตุอาหาร และทำให้การแสดงออกของยีนส์พืชไม่ปกติ


http://www.organellelife.com/article_view.php?id=22


------------------------------------------------------------------------------


จาก : (089) 703-63--
ข้อความ : ผักกินผลตระกูลเถา ผักกินผลพุ่มเตี้ย ให้ เอ็นเอเอ. - โบรอน เท่าไหร่ กี่ครั้งครับ

ตอบ :
บางงานวิจัยแนะนำ เอ็นเอเอ. บางงานวิจัยแนะนำจิ๊บเบอเรลลิน. ในขณะที่บางงานวิจัยแนะนำ โบรอน. ทางแก้ คือ ใช้ทั้งสองย่าง เพราะธาตุอาหารพืชทั้งสองตัวนี้สามารถใช้ร่วมกันได้อยู่แล้ว.....กรณีไม่มีโบรอน.เดี่ยวๆ สามารถใช้แคลเซียม โบรอน.ที่มีขายตามท้องตลาดได้

ใช้กับ "ผักกินผลตระกูลเถา" เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับผักกินผลพุ่มเตี้ย หรือไม้อื่นๆ

อัตราใช้ อย่างละ 5-10 ซีซี./น้ำ (พีเอช 6.0) 20 ล. เริ่มให้เมื่อต้น (เถา) โตได้ 8-10 ใบ 1-2 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 5-7 วัน....ให้เพียง 1 หรือ 2 ครั้ง ตลอดอายุขัย

วิเคราะห์สภาพแวดล้อม (แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล) ในเมืองไทยแล้ว จิ๊บเบอเรลลิน.อย่างเดียวเดี่ยวๆน่าจะได้ผลที่สุด

ประโยชน์ จะช่วยให้ผักกินผลตระกูลเถาให้ดอกตัวเมียมากกว่าดอกตัวผู้ (8 : 2)




อ้างอิง :

จิ๊บเบอเรลลิน ต่อพัฒนาการของดอก

ประโยชน์ทางด้านอื่น ๆ ของจิบเบอเรลลินได้แก่ ใช้ในการเปลี่ยนแปลงดอกของพืชบางชนิด เช่น พืชตระกูลแตง และข้าวโพดหวาน ให้มีดอกตัวผู้มากขึ้น เพื่อประโยชน์ในการถ่ายละอองเกสรและยังใช้ทำลายการพักตัวของหัวมันฝรั่งและเมล็ดพืชบางชนิดได้

http://web.ku.ac.th/agri/hormone/hormone3.htm

------------------------------------------------------------------------------


จาก : (089) 809-76--
ข้อความ : สวัสดีครับลุงคิม อยากทราบว่า ถ้านำ 46-0-0 ผสมกับ 8-24-24 จะได้สูตรอะไร นำใส่พืชสวนครัวอายุข้ามปีกินผล ผิดสูตรหรือไม่ ขอบคุณครับ .... จากคนโง่

ตอบ :
46-0-0 + 8-24-24 = 54-24-24
54-24-24 หาร 2 (เฉลี่ย) = 27-12-12

กรณี 2 สูตรรวมกันแล้วหาค่าเฉลี่ยโดยการหารด้วย 2
กรณี 3 สูตรรวมกันแล้วหาค่าเฉลี่ยโดยการหารด้วย 3
หาค่าเฉลี่ยได้แล้ว วิเคราะห์อัตราส่วน (เรโช) ระหว่างปุ๋ยทั้ง 3 ตัว ว่าเหมาะสมกับพืชอย่างไร ..... หลักการนี้ใช้ได้เฉพาะปุ๋ยทางรากเท่านั้น

กรณี 27-12-12 น่าจะเหมาะสมกับ "นาข้าว หรือ ข้าวโพด" มากกว่าพืชสวนครัวข้ามปีกินผล เพราะอาจจะทำให้บ้าใบได้.....

สำหรับพืชสวนครัวข้ามปีกินผล แนะนำทางราก 8-24-24 และทางใบ 21-7-14 สลับด้วย 0-52-34 + 13-0-46 น่าจะ (เน้นย้ำ....น่าจะ) ดีกว่านะ


------------------------------------------------------------------------------


จาก : (089) 524-04-- / ดำเนินสดวก ราชบุรี
ข้อความ : (คุยทางโทรศัพท์....ไม่ได้ถามชื่อ)


ตอบ :
สมช. : ลุงคิมครับ....ปูนกินหมาก กับปูนขาว อย่างไหนดีกว่ากันครับ
ลุงคิม : จะเอาไปใช้กับอะไรล่ะ

สมช. : มะนาวครับ แคงเคอร์มะนาวครับ
ลุงคิม : ถ้างั้น ปูนกินหมากดีกว่าเพราะมันมีสีเสียดด้วย แต่ปูนขาวไม่มีสีเสียด

สมช. : ขอบคุณครับ
ลุงคิม : ดูดีๆนะ ปูนกินหมากของคนอิสานเป็นสีขาว แต่ของคนภาพกลางเป็นสีแดง

สมช. : ผมเอาปูนกินหมากแถวๆดำเนินสะดวกนี่แหละครับ
ลุงคิม : ก็ดี ลงมะนาวไว้เยอะไหมล่ะ

สมช. : แค่ 10 ไร่เองครับ ผมใช้สหประชาชาติมา 6 เดือนแล้ว ได้ไซส์จัมโบ้เยอะจริงๆครับ
ลุงคิม : ที่จริงปูนกินหมากน่ะ ถ้าเราจะใส่เพิ่มน้อยหน่า ฟ้าทะลายโจร บอระเพ็ดด้วยก็ดีนะ ช่วงนี้หนอนชอนใบเยอะ

สมช. : ขอบคุณรับ ผมเอาแน่ ว่าแต่สูตรสหประชาชาตินี่ ผสมรวมกันเลยได้ใช่ไหมครับ
ลุงคิม : ด้ายยยย ไปพร้อมกันเลย ม้วนเดียวจบ

สมช. : ขอบคุณครับลุง
ลุงคิม : โอ.เค. ขอบคุณ ได้เรื่องยังไง ส่งข่าวด้วยก็แล้วกัน

สมช. : ขอบคุณครับ


------------------------------------------------------------------------------
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©