-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 18 ก.ค
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - การใช้ประโยชน์จากสวนปาล์มน้ำมัน...
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

การใช้ประโยชน์จากสวนปาล์มน้ำมัน...

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 17/07/2011 11:03 am    ชื่อกระทู้: การใช้ประโยชน์จากสวนปาล์มน้ำมัน... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การใช้ประโยชน์จากสวนปาล์มน้ำมัน


ปาล์มน้ำมันให้ผลผลิตและเก็บเกี่ยวทะลายได้เมื่อปาล์มอายุ 2.5-3 ปีหลังปลูก ดังนั้น เกษตรกรที่ปลูกปาล์มน้ำมันจะไม่มีรายได้จากสวนปาล์มในช่วง 1-2 ปีแรก แต่มีแนวทางในการเพิ่มรายได้ โดยการปลูกพืชอื่นร่วมกับการปลูกปาล์มในพื้นที่ว่างระหว่างแถวปาล์มน้ำมัน อายุ 1-2 ปี ได้แก่ การปลูกผัก พืชล้มลุก หรือพืชอื่นที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น ซึ่งนอกจากจะเพิ่มรายได้จากการขายผลผลิตแล้ว การรดน้ำและใส่ปุ๋ยพืชเหล่านี้ต้นปาล์มน้ำมันก็ได้ประโยชน์ด้วย แต่เมื่อ ต้นปาล์มอายุมากขึ้นทางใบปาล์มแผ่เต็มพื้นที่ระหว่างแถวทำให้แสงแดดส่องผ่าน น้อยลงสวนปาล์มร่มขึ้น สามารถเปลี่ยนมาปลูกพืชที่ใช้แสงน้อยลง เช่น การเพาะเห็ดหรือเกษตรกรบางรายเลี้ยงปลาในร่องระหว่างแถวปาล์มที่มีน้ำไหล เวียนเพื่อเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่งการปลูกพืชผักและพืชล้มลุกพืชผักหรือพืช ล้มลุกเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สามารถเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรที่ทำสวนปาล์ม น้ำมันในระยะแรกเนื่องจากพืชเหล่านี้ต้องการแสงแดดจัดสำหรับการเจริญเติบโต มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นจึงสามารถปลูกได้ 3-4 ครั้ง ใน 1 ปี และเงินที่ใช้ในการลงทุนไม่มากนัก ต้นทุนส่วนใหญ่อยู่ที่ค่าใช้จ่ายในการวางระบบน้ำในครั้งแรกประมาณ 6,000-7,000 บาทต่อไร่ ซึ่งเมื่อคำนวณต้นทุนในครั้งแรก (ค่าไถพรวน ค่าระบบน้ำ เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ยและสารเคมี) มีค่าใช้จ่าย 10,000-15,000 บาท ผักที่นิยมปลูกได้แก่ ถั่วฝักยาว แตงกวา มะเขือ คะน้า กวางตุ้ง พริก เป็นต้น ในกรณีปลูกถั่วฝักยาวเกษตรกรจะมีรายได้จากการขายผลผลิตประมาณ 30,000-40,000 บาทต่อไร่ต่อครั้ง ซึ่งโดยทั่วไปจะมีกำไรจากการปลูกผักแต่ละชนิดไร่ละ 10,000-15,000 บาทต่อครั้ง





การปลูกผักและพืชล้มลุก




นอกจากนี้ก็ในบางพื้นที่ ยังมีการปลูกแตงโมสลับกับการปลูกข้าวโพดหวานในแปลงปาล์มน้ำมันอายุ 0-2 ปีหลังย้ายปลูก โดยสามารถปลูกแตงโมได้ 3 ครั้งใน 1 ปี คือ

ช่วงแรกปลูกเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคมและเก็บเกี่ยวในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์
ช่วงที่สองเดือนมีนาคม-เมษายนและเก็บเกี่ยวในเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน
สุดท้ายเดือนกรกฎาคม-สิงหาคมและเก็บเกี่ยวเดือนกันยายน-ตุลาคม

โดยทั่วไปจะสลับปลูกข้าวโพดช่วงที่ 2 เพื่อพักแปลง และช่วงเดือนพฤษภาคม- มิถุนายนแตงโมราคาถูก เนื่องจากผลไม้หลายชนิดให้ผลผลิตในช่วงนี้

การปลูกแตงโมมีต้นทุนการผลิตค่อนข้างสูง โดยมีต้นทุนการผลิต 12,500 บาทต่อไร่ (ค่ารถไถพรวน 250 บาท ค่ายกร่อง 150 บาท ค่าวางระบบน้ำหยด 2,500 บาท ค่าพลาสติกคลุมแปลง 1,500 บาท ค่าจ้างคลุมพลาสติก 200 บาท ค่าเมล็ดพันธุ์ 2,000 บาท ค่าจ้างย้ายกล้า 100 บาท ปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมี 2,300 บาท สารป้องกันกำจัดเชื้อรา แมลง และยาผสมเทียม 1,300 บาท) ซึ่งพื้นที่ 1 ไร่ สามารถปลูกแตงโมได้ 600 หลุม ระยะปลูก 60 x 60 เซนติเมตร

การปลูกแตงโมร่วมกับปาล์มให้ผลผลิต 6,000-6,500 กิโลกรัมต่อไร่ เกษตรกรจะมีรายได้จากการขายผลผลิตไร่ละประมาณ 32,000-58,000 บาท (ราคารับซื้อที่ 6 และ 9 บาท) ซึ่งจะเห็นได้ว่าการปลูกแตงโมมีกำไรค่อนข้างสูง แต่เนื่องจากราคารับซื้อไม่แน่นอนส่งผลให้เกษตรกรมีความเสี่ยงในการปลูก



การปลูกข้าว
ในกรณีที่ปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่นาเดิมหรือนาร้าง ซึ่งสภาพพื้นที่เป็นที่ลุ่มและมีน้ำสำหรับใช้เพาะปลูกข้าว และพื้นที่ดังกล่าวมีน้ำท่วมในช่วงฤดูฝนประมาณ 7-10 วัน เกษตรกรสามารถปลูกข้าวร่วมกับการทำสวนปาล์มน้ำมันในช่วงที่ปาล์มน้ำมันอายุ 1-2 ปีแรกหลังย้ายปลูก โดยสามารถปลูกข้าวปีละ 2 ครั้ง คือ

ช่วงเดือนมกราคม-เมษายน และ
เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม

พันธุ์ข้าวที่นิยมปลูกได้แก่ พันธุ์ชัยนาท และ กข 7 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีอายุุเก็บเกี่ยว 3 เดือน

ขั้นตอนในการปลูกเริ่มจากการยกร่องหรือพูนโคนเพื่อปลูกปาล์มน้ำมันโดยใช้ ระยะปลูก 9 x 9 เมตร และทำการปลูกปาล์มน้ำมัน เมื่อถึงฤดูทำนาจึงเตรียมพื้นที่นา โดยไถพรวนพื้นที่ระหว่างแถวปาล์มและปล่อยน้ำเข้า จากนั้นจึงหว่านเมล็ด พันธุ์ข้าวดูแลและใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0 ในอัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ จนกระทั่งเก็บเกี่ยวรวงข้าวเมื่อถึงระยะสุกแก่ทางสรีรวิทยา ซึ่งผลผลิตข้าวที่ได้ประมาณ 80 ถังต่อไร่ (ถ้าไม่มีสวนปาล์มจะได้ผลผลิต 90 ถังต่อไร่)

จากการคำนวณต้นทุนการผลิตข้าว พบว่า ในพื้นที่ 10 ไร่ ถ้าปลูกข้าวร่วมกับปาล์มน้ำมันได้ผลผลิตข้าว 8 เกวียน คิดเป็นจำนวนเงิน 72,000 บาท (ข้าวเกวียนละ 9,000 บาท) เมื่อลบกับต้นทุนการผลิต 21,000 บาท (ค่ารถไถพรวนไร่ละ 600 บาท ค่ารถเก็บเกี่ยวไร่ละ 600 บาท และค่าปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0 จำนวน 1 กระสอบต่อไร่ ราคา 900 บาทต่อกระสอบ) เกษตรกรจะมีรายได้จากการปลูกข้าว 102,000 บาทต่อปี

ซึ่งเกษตรกรสามารถปลูกข้าวร่วมกับปาล์มน้ำมันจนกระทั่งปาล์มอายุ 2 ปี จากนั้นจึงทำการไถพลิกดินยกร่องปาล์มน้ำมันให้สูงขึ้นปัญหาที่พบคือใน ขั้นตอนการเก็บเกี่ยวรถเก็บเกี่ยวข้าวทำงานไม่สะดวก








การเพาะเห็ดฟาง




การเพาะเห็ดฟางนอกจากจะช่วยเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ววัสดุที่ใช้ในการเพาะเห็ดฟาง คือทะลายปาล์มเปล่าสามารถใช้คลุมโคนปาล์มเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุ

ให้แก่แปลงปาล์มน้ำมันอีกทางหนึ่ง ขั้นตอนในการผลิตเริ่มจากกองทะลายปาล์มและรดน้ำให้ชุ่ม ใช้ผ้ายางคลุมกองทะลายปาล์มอบไว้ 5-7 วัน จากนั้นวางทะลายปาล์มเรียงเป็นแถวให้ชิดกัน (กว้าง 0.75 เมตร ยาว 6-8 เมตร) รดน้ำ และโรยเชื้อเห็ดให้ทั่ว เปิดระบายความร้อน จากนั้นประมาณ 10 วัน ก็สามารถเก็บเกี่ยวเห็ดฟางได้ เก็บผลผลิตทุกวันจนเก็บเกี่ยวหมดประมาณ 15 วัน และจากการคำนวณต้นทุนการผลิตเห็ดฟาง พบว่า ในพื้นที่ 1 ไร่ ได้เงินจากการขายผลผลิตเห็ดฟาง 13,500-15,000 บาทต่อเดือน เมื่อลบกับต้นทุนการผลิตประมาณ 4,500 บาท (ค่าทะลายปาล์มเปล่า 900 บาท ค่าหัวเชื้อเห็ด 2,040 บาท ค่าแป้งข้าวเหนียว 90 บาท ค่าอาหารเสริม 450 บาท และค่าผ้าพลาสติกสีดำ 1,000 บาท) เกษตรกรจะมีรายได้จากการเพาะเห็ดฟางประมาณ 9,000-10,000 บาทต่อเดือน





การเลี้ยงปลา



การเลี้ยงปลาหรือการเลี้ยงปลาในกระชังในสวนปาล์มน้ำมันเหมาะกับแปลงปาล์มน้ำมันที่มีน้ำตลอดทั้งปี หรืออยู่ใกล้แหล่งน้ำธรรมชาติ ซึ่งปลาส่วนใหญ่ที่นิยมเลี้ยงกันได้แก่ ปลาทับทิมและปลานิลจิตรลัดดา ซึ่งต้นทุนส่วนใหญ่อยู่ที่การปรับพื้นที่สำหรับปลูกปาล์มน้ำมัน และการเตรียมบ่อให้มีระบบน้ำไหลเวียนระหว่างแถวปาล์ม โดยปลูกปาล์มระยะปลูก 9 x 9 เมตร ปลูก 2 แถวคู่ และขุดบ่อลึก 2 เมตรกว้างประมาณ 4 เมตร ระหว่างแถวปาล์ม และมีทางระบายน้ำเชื่อมต่อในแต่ละบ่อสลับหัวท้าย เพื่อให้น้ำไหลเวียนทั่วทั้งสวน ซึ่งการปรับพื้นที่ขนาด 10 ไร่ มีค่าใช้จ่ายประมาณ 110,000 บาท ในพื้นที่ 10 ไร่ สามารถเลี้ยงปลาในกระชังได้ทั้งหมด 50 กระชัง (แถวละ 5 กระชัง) โดยไม่ทำให้ ้น้ำเสีย กระชังขนาด 3 x 3 เมตร สามารถเลี้ยงปลาได้ 400-450 ตัว

จากการคำนวณ ต้นทุนการเลี้ยงปลาในพื้นที่ 10 ไร่ มีค่าใช้จ่ายทั้งหมด จำนวน 370,500 บาท (ค่าใช้จ่ายในการปรับพื้นที่ 110,000 บาท ค่าไม้ไผ่่กระชังละ 4 ลำ ลำละ 10 บาท จำนวน 2,000 บาท ค่าตาข่ายทำกระชัง 17,500 บาท ค่าลูกปลา จำนวน 450 ตัวต่อกระชัง 18,000 บาท ค่าอาหารปลา 153,000 บาท (อาหารปลา อายุ 1 เดือน 20 กิโลกรัม ต่อวัน x 30 วัน กระสอบละ 900 บาท จำนวน 27,000 บาท ค่าอาหารปลาเล็ก กระสอบละ 400 บาท จำนวน 72,000 บาทค่าอาหารปลาใหญ่ วันละ 3 กระสอบ กระสอบละ 300 บาท 54,000 บาท) ค่าแรงงาน จำนวน 2 คน คนละ 7,000 ต่อเดือน x 5 เดือน จำนวน 70,000 บาท) ซึ่งค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนเงินค่อนข้างสูง แต่เมื่อเทียบกับจำนวนเงินที่ได้ จากการขายปลาที่เลี้ยงไว้ 5 เดือน (ปลาหนักประมาณ 6-7 ขีด) พบว่ากระชังหนึ่งได้น้ำหนักปลาประมาณ 300 กิโลกรัม x 50 บาท/กิโลกรัม x 50 กระชังเป็นเงิน 750,000 บาท



ดังนั้นเกษตรกรได้กำไรประมาณ 379,500 บาท ซึ่งในรอบต่อไปของการเลี้ยงจะได้กำไรถึง 509,000 บาท และเกษตรกรยังได้รายได้้อีกส่วนหนึ่งจากสวนปาล์มน้ำมัน ปัญหาที่พบในการเลี้ยงปลาในกระชัง คือ ค่าใช้จ่ายในส่วนค่าอาหารค่อนข้างสูง อาหารปลามีราคาแพง ปลาตาย เนื่องจากการจัดการไม่ดีทำให้น้ำเสีย และปัญหาทางด้านสังคมมีการขโมยปลา ส่วนการขายผลผลิตปลาที่ได้ไม่มีปัญหา เนื่องจากมีพ่อค้ามาซื้อถึงบ่อโดยตรง


หมายเหตุ :
- จากปลากระชังในร่องน้ำ ปรับ/เพิ่ม เป็นเลี้ยง กบกระชัง
- บนสันร่อง ล้อมรั้วให้มั่นคงแล้วเลี้ยง ห่าน. เป็ดเทศ.
- บนสันร่องปลูกพืชใช้แดดน้อย เช่น ข่า. ขมิ้น. กระชาย. หรือไม้ดอกอย่างหน้าวัว

ลุงคิมครับผม




ที่มา : ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฏร์ธานี
http://www.agri-develop.com/article-th-78841-การปลูกพืชแซมในสวนปาล์มน้ำมัน.html
http://www.agri-develop.com/index.php?lang=th&headername=%CB%B9%E9%D2%E1%C3%A1&headername=


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 17/07/2011 8:52 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 17/07/2011 7:50 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ปลูกสะละแซมในสวนยางพาราและปาล์มน้ำมัน

งานได้ผลดี ของ ลุงห้อม จันทร์คง

ศุภชัย นิลวานิช

ในสวนยางพาราและปาล์มน้ำมันมีเนื้อที่ว่างระหว่างต้นและแถวมาก และส่วนใหญ่ทิ้งไว้เฉยๆ ปล่อยให้วัชพืชขึ้นเต็มพื้นที่

แต่สำหรับสวนยางพาราและปาล์มน้ำมันของ ลุงห้อม และ ป้าแผ่ว จันทร์คง อยู่บ้านเลขที่ 13 หมู่ 8 ตำบลตะกุกใต้ กิ่งอำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี โทร. (06) 267-1919 ไม่ได้ปล่อยพื้นที่ว่างเหมือนกับสวนทั่วๆ ไป กล่าวคือ ลุงและป้าได้นำสะละสายน้ำผึ้งมาทดลองปลูกระหว่างแถวของสวนยางพาราและปาล์มน้ำมัน

แม้ว่าเริ่มดำเนินการมาได้เพียง 3 ปี เท่านั้น แต่ปรากฏว่าได้ผลดีมาก ทั้งยางพาราและปาล์มน้ำมันไม่มีแนวโน้มว่าผลผลิตลดลง ส่วนสะละนั้นให้ผลค่อนข้างดีเช่นกัน


ลุงห้อม และป้าแผ่ว มีเนื้อที่ปลูกยางพารา 10 ไร่ และปาล์มน้ำมัน 80 ไร่
"เดิมนั้นผมมีสวนยางมากกว่าปาล์มน้ำมัน แต่เมื่อยางราคาตกก็โค่นทิ้งแล้วหันไปปลูกปาล์ม ซึ่งตอนนี้พืชทั้ง 2 ชนิด ราคารับซื้อค่อนข้างสูง ทำรายได้ให้ผมเยอะมาก แต่ผมก็ยังดิ้นรนเสาะหาอาชีพใหม่มาเสริม เนื่องจากทั้งยางและปาล์มราคารับมีขึ้นและลดตลอด เป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน ผมจึงทดลองปลูกสะละเสริมไปด้วย เกิดวันไหนราคาลดลง สะละที่ปลูกเสริมไว้อาจทำรายได้เข้ามาจุนเจือได้อีกทางหนึ่งด้วย" ลุงห้อม กล่าว


สะละ สายพันธุ์นำเข้า 8 ลูก ต่อกิโลกรัม
"ผมคิดอยู่ตลอดว่า เรามีพื้นที่ว่างระหว่างแถวของยางและปาล์ม ควรจะหาพืชชนิดไหนมาปลูกแซมดี ที่สุดความคิดมาอยู่ที่สะละ เนื่องจากพืชตระกูลนี้ โดยเฉพาะระกำชอบแสงรำไรและอยู่อาศัยในสวนยางได้ จึงได้เสาะหาพืชตระกูลนี้มาปลูก ช่วงแรกๆ คิดจะซื้อสะละพันธุ์เนินวงมาปลูกเหมือนกัน แต่เมื่อเช็กไปเช็กมาสะละพันธุ์นี้ยังมีจุดด้อยอยู่ จึงเสาะหาพันธุ์ๆ ใหม่มาปลูกดีกว่า" ลุงห้อม กล่าว

เขาเสาะหาสายพันธุ์สะละที่มีคุณภาพมาปลูกอยู่ค่อนข้างนาน ก็ยังไม่พบ จึงได้สอบถามเพื่อนชาวมาเลเชียดูว่า มีสะละสายพันธุ์ดีๆ จำหน่ายหรือไม่

ไม่กี่วันหลังจากสอบถามไป เพื่อนชาวมาเลเซียก็ติดต่อกลับมาว่า ที่ประเทศมาเลเซียมีสะละสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้น รสชาติ หวาน หอม และผลใหญ่มาก

"ผมจึงทดลองซื้อมาปลูก 540 ต้น ในราคาต้นละ 230 บาท โดยปลูกแซมในสวนยางและปาล์ม นอกจากนี้ ทดลองปลูกในพื้นที่ว่างเปล่าข้างบ้านด้วย ปรากฏว่า มันให้ผลไม่แตกต่างกันเลย"

เขาบอกว่า สะละพันธุใหม่ที่นำมาปลูกนี้ใช้ระยะเพียง 1 ปีครึ่ง ออกดอกผสมเกสรกันแล้ว หลังจากนั้นอีก 6 เดือน ก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตออกจำหน่ายได้เลย

"ปีนี้ผลผลิตสะละหลังจากแจกจ่ายเพื่อนๆ บ้านและกินเองแล้ว ยังเหลือไว้อีก 300 กิโลกรัม ทดลองขายราคาสูงถึง 200 บาท ต่อกิโลกรัม ก็มีคนเข้ามาอุดหนุนกันมาก จนสินค้าหมดเกลี้ยงในเวลารวดเร็ว และมีการสั่งจองล่วงหน้าด้วย เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่ารสชาติของสะละสายพันธุ์นี้ หวาน และหอมมากกว่าสายพันธุ์เดิมๆ มาก อีกทั้งผลผลิตที่ได้ก็ใหญ่ด้วย คือ ประมาณ 8 ลูก ต่อกิโลกรัม" ลุงห้อม กล่าว

หวาน หอม ใหญ่ คือคุณสมบัติพิเศษของสะละสายพันธุ์นี้ มิแปลกที่สามารถจำหน่ายได้ราคาสูงถึง 200 บาท ต่อกิโลกรัม

สะละดังกล่าวลุงห้อมตั้งชื่อพันธุ์ว่า สะละน้ำผึ้งไวท์ ตามคุณสมบัติพิเศษ หวาน หอม ใหญ่ นอกจากนี้ สีของผลยังเป็นสีขาวน่ารับประทานด้วย


ขยายพันธุ์ขายและปลูกเอง
"ตอนนี้ผมได้ขยายพันธุ์ โดยการนำเมล็ดพันธุ์มาเพาะไว้ในถุงจำนวนมากเลย จุดประสงค์ทั้งขายพันธุ์และปลูกเอง ซึ่งขณะนี้ได้นำต้นพันธุ์สะละที่ขยายพันธุ์ได้ไปปลูกระหว่างแถวปาล์มและยางหลายแปลงแล้ว อีกสัก 1-2 ปี คงจะมีผลผลิตออกวางขายตามท้องตลาด และราคาอาจจะลดลงบ้างเล็กน้อยตามปริมาณที่ผลิตได้" ลุงห้อม กล่าว

เมล็ดพันธุ์ที่เขามาขยายพันธุ์นั้น ได้จากต้นพันธุ์ที่ปลูกเอาไว้ โดยนำเมล็ดพันธุ์ที่ยังไม่แก่จัดหรือรสชาติอมเปรี้ยว อมหวาน มาขยายพันธุ์ในถุงเพาะชำ ภายในโรงเรือนที่มีซาแรนพรางแสงแดด

"ผมเคยนำเมล็ดพันธุ์ที่แก่จัดมาขยายพันธุ์ปรากฏว่าเสียหายเกือบทั้งหมด เพราะว่าไม่มีรากออกมา แต่เมื่อนำเมล็ดพันธุ์ที่ยังไม่สุกหรือแก่มากนักมาขยายพันธุ์ พบว่า ออกรากได้ดี และเสียหายน้อยไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้นเอง"


ดินที่ใช้เพาะขยายพันธุ์เป็นดินปลวกผสมกับแกลบ
สำหรับขั้นตอนการขยายพันธุ์นั้น ลุงห้อม บอกว่า เมื่อเตรียมวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ พร้อมแล้ว นำเมล็ดสะละมาแช่น้ำไว้ 2 วัน จากนั้นนำไปฝังดินอีก 15 วัน รดน้ำให้ชุ่มอยู่ตลอด

เมล็ดสะละจะออกรากยาว แล้วนำมาปลูกในถุงเพาะชำอีก 4 เดือน หรือจนกว่าแตกใบประมาณ 4 ใบ จากนั้นก็นำไปปลูกได้เลย

"ธรรมชาติของสะละพันธุ์นี้จะแตกใบเดือนละ 1 ใบ และหลังจากปลูกได้ 1 ปีครึ่ง ก็ออกดอกและอีก 6 เดือน ต่อมาก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้ว ซึ่งถือว่าเป็นผลไม้ที่คืนทุนได้เร็วทีเดียว" ลุงห้อม กล่าว


ปลูกง่าย เจริญเติบโตดี
สะละนอกจากเป็นพืชให้ผลผลิตเร็วแล้ว ยังเจริญเติบโตได้ดีในทุกๆ สภาพพื้นที่ด้วย แต่ในการปลูกช่วงแรกๆ จำเป็นต้องรดน้ำบ้าง เพื่อให้รากยึดดินได้เร็วขึ้น

"ผมจะปลูกสะละในช่วงฤดูฝน เพราะว่าไม่ต้องเสียเวลาและแรงงานมารดน้ำ ส่วนใหญ่รดน้ำครั้งเดียวในวันปลูก จากนั้นก็จะปล่อยให้ธรรมชาติเลี้ยง ยกเว้นช่วงฝนหยุดตกหลายวัน อาจจะเสียเวลาตักน้ำไปรดบ้าง แต่หลัง 6 เดือนไปแล้ว ไม่ต้องดูแลอะไรให้มากเลย ปล่อยให้ธรรมชาติเลี้ยงอย่างเดียว"

สำหรับขั้นตอนการปลูกนั้นเขาจะขุดหลุมกว้าง 1 เมตร ยาว 1 เมตร และลึก 1 เมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก ขี้ไก่หรือขี้วัว จากนั้นนำหน้าดินถมทับลงไป

นำต้นสะละลงปลูก โดยแหวกหน้าดินให้เท่ากับดินในถุงเพาะชำ แล้วโรยปุ๋ยคอกรอบโคนต้นอีกครั้ง

ปลูกเสร็จรดน้ำเล็กน้อย และทุกๆ 3 เดือน จะนำปุ๋ยคอกมาโรยบริเวณโคนต้น เพื่อเพิ่มธาตุอาหาร ส่งผลให้ต้นสะละเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว

"ผมจะปลูกสะละระหว่างแถวของต้นยางหรือปาล์ม โดยห่างกันแต่ละต้นประมาณ 3 เมตร ซึ่งเป็นระยะที่ค่อนข้างเหมาะสม ไม่ชิดหรือห่างเกินไป" ลุงห้อม กล่าว


ช่วยผสมเกสร เพื่อเพิ่มผลิต
หลังปลูกสะละได้ 1 ปีครึ่งแล้ว สะละตัวเมียออกดอก ตัวผู้ก็ออกเกสร หากปล่อยให้ผสมพันธุ์กันเองหรือใช้แบบธรรมชาติมันจะให้ผลผลิตค่อนข้างน้อย เนื่องจากแมลงที่นำพาเกสรมาผสมกับดอกตัวเมียมีปริมาณน้อย อีกทั้งสายพันธุ์ที่ซื้อมาจากประเทศมาเลเซียส่วนใหญ่เป็นตัวเมียเสียมากกว่า

"เราจะไม่ปล่อยให้มันผสมกันเอง เพราะว่าไม่ทั่วถึง และอาจส่งผลให้ผลผลิตออกจำนวนน้อย ทุกเช้าผมจะชวนภรรยาออกไปเช็กความสมบูรณ์ดอก หากว่ามีดอกเริ่มบาน เราก็นำเกสรตัวผู้ที่เก็บไว้ไปป้ายติด โดยใช้พู่กันวาดรูปเป็นอุปกรณ์นำเกสรสัมผัสดอก จากนั้นหาใบตองมาปิด เพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งไม่พึงประสงค์ไปรบกวน"

ลุงห้อม บอกว่า ตอนนี้เรามีต้นพันธุ์ตัวผู้ประมาณ 10 ต้น เท่านั้น ซึ่งถือว่าน้อยมาก แต่ก็เพียงพอ หากใช้วิธีการดังกล่าว

"นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของผมเท่านั้น เราต้องศึกษากันอีกมาก เพราะว่าที่ผ่านมาผมไม่มีความรู้ด้านนี้เลย ลองผิด ลองถูกมาตลอด อาศัยเราใจสู้ ขยัน และรู้จักสังเกต ทำให้มีวันนี้ได้"

3 ปีที่ทดลองปลูกสะละ เขาบอกว่า ประสบความสำเร็จระดับหนึ่งเท่านั้นเอง เนื่องจากเรายังไม่รู้ข้อมูลหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นผลผลิตหรือค่าใช้จ่ายต่อต้นเท่าไร และระยะเวลาที่ให้ผลเต็มที่เมื่อไร เรารู้เพียงแต่ว่าปลูกแซมในสวนยางและปาล์มได้ และมีรสชาติ หวาน หอม ผลผลิตใหญ่ นอกจากนี้ เป็นที่ต้องการของตลาดหรือผู้บริโภคด้วย

"นับจากนี้ไปผมจะศึกษาลงลึกให้ได้ เพื่อที่จะมีคำตอบให้กับผู้สนใจได้ทุกๆ เรื่อง" ลุงห้อม กล่าวทิ้งท้าย



ที่มา :http://www.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=0508151047&srcday=2004/10/15&search=no

http://www.news.cedis.or.th/detail.php?id=1757&lang=en&group_id=1
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©