-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ ...... 5 ก.ค.
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - สมุนไพรกำจัดโรคและแมลง
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

สมุนไพรกำจัดโรคและแมลง

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 28/06/2011 6:01 am    ชื่อกระทู้: สมุนไพรกำจัดโรคและแมลง ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลำดับเรื่อง....

1. ชนิดสมุนไพรกำจัดโรคและแมลง
2. เกษตรกรยุคใหม่ – สมุนไพรกำจัดศัตรูพืช
3. ส่วนของสมุนไพรกำจัดศัตรูพืช
4. หางไหล สมุนไพรกำจัดศัตรูพืช ทางเลือกในการผลิตพืชปลอดภัย
5. พืชสมุนไพรไล่แมลง งานค้นคว้าสำนักฟาร์มแม่โจ้

6. น้ำต้มสมุนไพร กำจัดศัตรูพืช ลดต้นทุน ที่ชัยนาท
7. "13 สมุนไพรไทย วัตถุอันตราย"
8. "13 สมุนไพรอันตราย นัยแห่ง "ผลประโยชน์" ซ่อนไม่มิด"
9. สารธรรมชาติควบคุมศัตรูพืช ที่สกัดจากสมุนไพร ....
10. สารสกัดสมุนไพร ป้องกันกำจัดแอนเทร็คโนสในมะม่วงสุก...

11. ความรู้เบื้องต้นในการใช้สมุนไพรไล่แมลง
12. คนช่างคิดกับสารออกฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย สมุนไพร
13. ใช้พริกเลี้ยงไก่กระทง
14. สารสกัดเมล็ดมันแกว ผลงานวิจัยของ วว.
15. สมุนไพรกำจัดแมลง ใช้แบบพื้นบ้านไม่เข้าข่ายวัตถุอันตราย

16. สมุนไพร : ทางเลือกใหม่สำหรับการเลี้ยงสัตว์
17. สมุนไพรไก่ชน
18. การนำสมุนไพรมาเป็นยาสัตว์
19. เครื่องสกัดสารป้องกันและกำจัดศัตรูพืช โดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์
20. การวิเคราะห์แลคโตนรวมในฟ้าทะลายโจร







----------------------------------------------------------------------------------------



ผลิตพืชอินทรีย์ / 1. ชนิดสมุนไพรกำจัดโรคและแมลง


หลักการผลิตพืชอินทรีย์
• ไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ในกระบวนการผลิต

• มีการพัฒนาระบบการผลิตไปสู่แนวทางเกษตรผสมผสานที่มีความหลากหลาย
ของพืชและสัตว์

• มีการพัฒนาระบบการผลิตที่พึ่งพาตนเองในเรื่องของอินทรีย์วัตถุและธาตุอาหาร
ภายในฟาร์ม

• มีการฟื้นฟูและรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินด้วยอินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก
ปุ๋ยหมักและปุ๋ยพืชสดอย่างต่อเนื่อง

• โดยใช้ทรัพยากรในฟาร์ม หมุนเวียนให้เกิดประโยชน์สูงสุด

• ส่งเสริมให้มีการแพร่ขยายชนิดของสัตว์และแมลงที่มีประโยชน์ (ตัวห้ำ ตัว
เบียน) เช่น การปลูกพืชให้เป็นที่อยู่ของสัตว์ และแมลงที่เป็นประโยชน์ เพื่อรักษา
ความสมดุลของระบบนิเวศในฟาร์ม และลดปัญหาการระบาดศัตรูพืช

• เลือกใช้พันธุ์พืชที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นและมีความต้านทานต่อ
โรคและแมลง เจ้าของไร่นา หรือผู้ทำการผลิต มีความพยายามอย่างเต็มที่ในการ
ป้องกันและหลีกเลี่ยงการปนเปื้อนของสารเคมี และมลพิษจากภายนอก

• สนับสนุนการเลี้ยงสัตว์ที่คำนึงถึงหลักมนุษยธรรม ควรได้รับการเลี้ยงดูอย่าง
เหมาะสมตามพฤติกรรมธรรมชาติ ไม่ควรเลี้ยงในที่คับแคบแออัด

• การแปรรูปผลิตผลเกษตรอินทรีย์ ควรเลือกวิธีการแปรรูปที่คงคุณค่าทาง
โภชนาการให้มากที่สุด โดยไม่ต้องใช้สารปรุงแต่งหรือใช้น้อยที่สุด

• การผลิตและการจัดการผลิตผลเกษตรอินทรีย์ ควรคำนึงถึงวิธีที่ประหยัด
พลังงานและควรพยายามเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด



สมุนไพรกำจัดโรค-แมลง
กระเทียม ดีปรี พริก มันแกว ขมิ้นชัน ตะไคร้หอม พริก
ไทย ยี่โถ ข่า น้อยหน่า ไพล ละหุ่ง คูณ บอระเพ็ด
มะรุม ลางสาด ดาวเรือง ผกากรอง มะละกอ เลี่ยน กระเทียม




กระเทียม
- เพลี้ยอ่อน
- เพลี้ยไฟ
- หนอนกระทู้ผัก
- ด้วงปีกแข็ง
- ราน้ำค้าง
- ราสนิม

1. ใช้กระเทียม 1 กิโลกรัม โขลกให้เป็นชิ้นเล็กๆ แช่ในน้ำมันก๊าดหรือน้ำมัน
เบนซิน 200 ซีซี. ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง หลังจากนั้นน้ำสบู่ ละลายน้ำเล็กน้อยเติมลงไป
คนให้เข้ากัน แล้วกรองเอาแต่น้ำใส ก่อนนำไปใช้เติมน้ำลงไปอีก 20 เท่า หรือ
ประมาณ 5 ปี๊บ (100 ลิตร)

2. บดกระเทียม 3 หัวใหญ่ให้ละเอียด แช่ลงในน้ำมันก๊าดประมาณ 2 วัน แล้วกรอง
เอาสารละลายมาผสมกับน้ำสบู่ 1 ช้อนโต๊ะ คนให้เข้ากัน ก่อนนำไปใช้ให้เติมน้ำลง
ไปอีก ครึ่งปี๊บ (10 ลิตร)

3. ใช้กระเทียม 1 กำมือ โขลกให้ละเอียด เติมน้ำร้อนครึ่งลิตร แช่ทิ้งไว้ 24
ชั่วโมง แล้วกรองเอาแต่น้ำ ผสมน้ำ 4 ลิตร เติมสบู่ครึ่งช้อนโต๊ะ ฉีดพ่นวันละ 2 ครั้ง
ติดต่อกัน 2 วัน ในตอนเช้า

4. บดกระเทียมแกะกลีบ 1 กำมือ ตากแดดให้แห้งเพื่อนำไปโขลกให้เป็นผง ใช้โรย
บนพืชผักที่มีปัญหา โดยโรยตอนพืชผักไม่เปียก


ขมิ้นชัน
• หนอนกระทู้ผัก
• หนอนผีเสื้อ
• ด้วงงวงช้าง
• ด้วงเจาะเมล็ดถั่ว
• มอด
• ไรแดง

เหง้ามีน้ำมันหอมระเหย ขับไล่และกำจัดแมลงได้หลายชนิด
1. ขมิ้นครึ่งกิโลกรัม ตำให้ละเอียด ผสมกับน้ำ 1 ปี๊บ หมักทิ้งไว้ 1-2 วัน กรองเอา
แต่น้ำไปฉีดพ่นกำจัดแมลง

2. ตำขมิ้นให้ละเอียด ผสมกับน้ำปัสสาวะวัว (ใช้ว่านน้ำตำละเอียดแทนได้) อัตรา
ส่วน 1 ต่อ 2

3. กรองเอาแต่น้ำไปฉีดพ่นกำจัดแมลง ถ้าจะใช้กำจัดหนอนให้เติมน้ำผสมลงไปอีก 6 เท่า

4. บดขมิ้นให้เป็นผง ผสมเมล็ดถั่วในอัตรา ขมิ้น 1 กก. ต่อเมล็ดถั่ว 50 กก.

5. เพื่อช่วยในการเก็บรักษาเมล็ดถั่วป้องกันไม่ให้แมลงมาทำลายเม็ดถั่ว



ข่า
• แมลงวันทอง
น้ำคั้นจากเหง้า มีสารดึงดูด สารไล่แมลง สารฆ่าแมลง สามารถไล่แมลงวันทองไม่
ให้วางไข่ได้ 99.21% และทำให้โรคใบจุดสีน้ำตาลในนาข้าวหายไป
1. นำเหง้าแก่สดหรือแห้ง มาบดเป็นผง ละลายน้ำ
2. กรองเอาแต่น้ำไปฉีดพ่นกำจัดแมลง



คูน
• หนอนกระทู้ผัก
• หนอนกระทู้หอม
• ด้วง
เนื้อฝักคูนจะมีสารประเภท Antraquinounes เช่น Aloin, Rhein Sennoside
A, B และมี Organic acid สาร Antra quinone มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทของ
แมลง

1. นำฝักคูนมาบดให้ละเอียด แล้วผสมกับน้ำในอัตราส่วน 1 กก. ต่อน้ำ 20 ลิตร
2. หมักทิ้งไว้ 3–4 วัน นำมากรองเอาแต่น้ำ ฉีดพ่นกำจัดแมลง



ดาวเรือง
• เพลี้ยกระโดด
• เพลี้ยจักจั่น
• เพลี้ยหอย เพลี้ยอ่อน
• เพลี้ยไฟ
• แมลงหวี่ขาว
• แมลงวันผลไม้
• หนอนใยผัก
• หนอนผีเสื้อ
• หนอนกะหล่ำ
• ด้วยปีกแข็ง
• ไส้เดือนฝอย

1. นำดอกมาคั้นเอาน้ำผสมน้ำ 3 ต่อ 1 ส่วน สามารถกำจัดหนอนใยผักได้ดี
2. นำดอกมาคั้นเอาน้ำ ผสมน้ำ 1 ต่อ 1 ส่วน สามารถกำจัดเพลี้ยอ่อนได้ผลดี
3. นำดอกดาวเรือง 500 กรัม ต้มในน้ำ 4 ลิตร ทิ้งไว้ให้เย็น กรองเอาแต่น้ำ ไป
ผสมน้ำเปล่าอีก 4 ลิตร น้ำสบู่ 1 ช้อนโต๊ะ ฉีดพ่นวันละ 2 ครั้งติดต่อกัน 2 วัน




ดีปลี
• แมลงศัตรูข้าวในโรงเก็บ

1. นำดีปลีไปอบในอุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส จำนวน 450 กรัม
2. แล้วนำไปบดให้ละเอียด แช่ในแอลกอฮอล์ 1,500 ซีซี. หมักทิ้งไว้ 1 คืน
กรองเอาแต่น้ำไปฉีดพ่น



ตะไคร้หอม
• หนอนกระทู้ผัก
• หนอนไยผัก
• ไล่ยุง / แมลงสาป

มีสาร Verbena oil, Lemon oil, Indian molissa oil มีฤทธิ์ในการไล่แมลง
1. ** สูตรกำจัดหนอน ** นำตะไคร้หอมทั้งต้น มาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ บดหรือตำ
ให้ละเอียด
2. ** สูตรสำหรับไล่แมลงและยุง ** นำตะไคร้หอมมาบดหรือตำให้ละเอียด
นำไปวางไว้ตามมุมห้องหรือตู้เสื้อผ้า



น้อยหน้า
• ตั๊กแตน
• เพลี้ยอ่อน
• เพลี้ยจักจั่น
• เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
• เพลี้ยหอย
• ด้วยเต่า
• หนอนใยผัก มวน

มีพิษต่อแมลงทางสัมผัสและทางกระเพาะอาหาร
1. นำเมล็ดน้อยหน่าแห้ง 1 กก. ตำให้ละเอียด ผสมน้ำ 10 ลิตร หมักไว้นาน 24 ชม.
2. ใช้ใบสด 2 กก. ตำให้ละเอียด ผสมน้ำ 10 ลิตร หมักนาน 24 ชม. นำมากรอง
เอาแต่น้ำ
3. แล้วนำมาผสมน้ำสบู่ 1 ช้อนโต๊ะ ฉีดพ่นทุก 6-10 วัน ช่วงเวลาเย็น



บอระเพ็ด
• เพลี้ยกระโดดน้ำตาล
• เพลี้ยจักจั่น
• หนอนกอ
• โรคข้าวตายพราย
• โรคยอดเหี่ยว
• โรคข้าวลีบ

ใช้ได้ดีกับนาข้าวรสขมเมื่อถูกดูดซึมเข้าไปในพืช จะทำให้แมลงไม่ชอบ
1. ใช้เถาหนัก 5 กก. สับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ทุบให้แหลก แช่ในน้ำ 12 ลิตร นาน 1-2
ชม. กรองเอาแต่น้ำฉีดพ่นแปลงเพาะกล้า
2. ใช้เถา 1 กก. สับหว่านลงไปในแปลงเพาะกล้าขนาด 4 ตารางเมตร
3. ใช้เถาตัดเป็นท่อน ๆ ขนาด 6-10 นิ้ว ประมาณ 10 กก. หว่านในนาข้าวพื้นที่ 1
ไร่ หลังปักดำหรือหว่านข้าวแล้ว 7 วัน ควรทำอีกครั้งหลังข้าวอายุ 2 เดือน



ผกากรอง
• หนอนกระทู้ผัก

เมล็ดมีสาร Lantadene มีผลต่อระบบประสาทของแมลง
1. บดเมล็ด 1 กก. ผสมกับน้ำ 2 ลิตร แช่ทิ้งไว้ 24 ชม. กรองเอาแต่น้ำนำไปฉีด
พ่นกำจัดแมลงไม่ให้มาวางไข่ในแปลงผัก
2. ใช้ดอกและใบบดละเอียด หนัก 50 กรัม ผสมน้ำ 400 ซีซี แช่ทิ้งไว้ 1 คืน
กรองเอาแต่น้ำ นำมาผสมน้ำ 1 : 5 ส่วน ใช้ฉีดพ่นกำจัดแมลง




พริก
• มด
• เพลี้ยอ่อน
• หนอนผีเสื้อกะหล่ำ
• ไวรัส
• ด้วงงวงช้าง
• แมลงในโรงเก็บ

ผลสุกมีคุณสมบัติในการฆ่าแมลง เมล็ดมีสารฆ่าเชื้อรา ใบและดอกมีสารยับยั้งการ
ขยายตัวของไวรัส
1. นำพริกแห้งป่นละเอียด 100 กรัม ผสมน้ำ 1 ลิตร หมักทิ้งไว้ 1 คืน
2. กรองเอาแต่น้ำ นำมาผสมน้ำสบู่ 1 : 5 ส่วน ใช้ฉีดพ่นทุก 7 วัน
3. ควรทดลองแต่น้อย ๆ ก่อน และให้ใช้อย่างระมัดระวังเพราะอาจระคายเคืองต่อ
ผิวหนังของผู้ใช้
4. ใบและดอกของพริก นำมาคั้นผสมน้ำไปฉีดพ่น เพื่อป้องกันการระบาดของ
ไวรัส โดยฉีดก่อนที่จะมีการระบาดของไวรัส




พริกไทย
• มด
• เพลี้ยอ่อน
• หนอนผีเสื้อกะหล่ำ
• ด้วยปีกแข็ง
• หนอนกะหล่ำปลี
• ด้วงในข้าวไวรัส

น้ำมันหอมระเหย และอัลกาลอยด์ มีฤทธิ์กระตุ้นประสาท
1. ใช้เมล็ด 100 กรัม บดละเอียด ผสมน้ำ 1 ลิตร คนให้เข้ากัน
2. หมักทิ้งไว้ 24 ชม. กรองเอาแต่น้ำ นำมาผสมแชมพูซันไลต์ 1 หยด
3. ใช้ฉีดพ่นกำจัดแมลง ทุกๆ 7 วัน



ไพร
• เชื้อรา

ใช้ยับยั้งการเติบโตของเชื้อราในข้าวบาร์เลย์
1. บดไพลแห้งให้ละเอียด แล้วละลายในแอลกอฮอล์ ในอัตราส่วนร้อยละ 15 โดย
น้ำหนัก แล้วนำไปฉีดพ่น




มะรุม
• เชื้อรา
• แบคทีเรีย
• โรคเน่า

ในใบจะสารพวกผลึกของอัลคาลอยด์ ซึ่งสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา
ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Pythium debangemum กำจัดเชื้อราและแบคทีเรีย
ได้แก่ โรคโคนต้น และผลเน่าของตระกูลแตง โรคผลเน่าใกล้พื้นดินของมะเขือเทศ
โรคเน่าคอดินของคะน้ โรงแง่งขิงเน่า
1. นำใบมะรุมรูดเอาแต่ใบมาคลุกเคล้ากับดินที่เตรียมไว้ สำหรับเพาะกล้าหรือ
ปลูกพืชผัก
2. ทิ้งไว้ 1 อาทิตย์ เพื่อให้ใบมะรุมย่อยสลายไปกับดิน
3. สารที่อยู่ในใบของมะรุมจะออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราได้ดี




มะละกอ
• โรคราสนิม
• โรคราแป้ง

ใบของมะละกอมีสารออกฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อรา เช่น โรคราสนิม และโรคราแป้ง
1. นำใบมะละกอมาหั่นประมาณ 1 กก. แล้วนำไปผสมกับน้ำ 1 ลิตร
2. จากนั้นให้คั้นเอาน้ำและกรองโดยใช้ผ้าขาวบาง แล้วเติมน้ำ 4 ลิตร
3. เติมสบู่ลงไปประมาณ 16 กรัม ละลายให้เข้ากัน แล้วนำไปฉีดพ่น




มันแกว
• เพลี้ยอ่อน
• หนอนกระทู้
• หนอนกะหล่ำ
• หนอนใยผัก
• ด้วงหมัดกระโดด
• มวนเขียว
• หนอนผีเสื้อ
• แมลงวัน

เมล็ดแก่มีสาร Pachyrrhrgin เป็นพิษต่อแมลงทางสัมผัสและทางกระเพาะอาหาร
1. นำเมล็ดมาบดให้เป็นผง ประมาณ 0.5 กก. ละลายในน้ำ 20 ลิตร แช่ทิ้งไว้ 1–2 วัน
2. ใช้เมล็ดมันแกว 2 กก. บดให้ละเอียด ละลายกับน้ำ 400 ลิตร แช่ทิ้งไว้ 1 วัน
3. กรองเอาแต่น้ำ ใช้ฉีดพ่นกำจัดเพลี้ยและหนอน




ยี่โถ
• มด
• แมลงผลไม้
• หนอน

เปลือกและเมล็ดจะมีสาร glycocid, neriodorin ซึ่งมีฤทธิ์ในการกำจัดแมลง
1. ใช้ดอกและใบมาบดให้ละเอียด นำมาผสมน้ำในอัตราส่วน 1 : 10 หมักทิ้งไว้ 2 วัน
2. นำมากรองเอาแต่น้ำ ฉีดพ่นกำจัดแมลง ใช้ใบและเปลือกไม้ ไปแช่น้ำนาน 30 นาที
3. นำมากรองเอาแต่น้ำไปฉีดพ่นกำจัดแมลง



ละหุ่ง
• ปลวก
• แมงกะชอน
• ไส้เดือนฝอย
• หนู

มีประสิทธิภาพในการป้องกันศัตรูพืช
1. เพียงแค่ปลูกละหุ่งเป็นแนวรอบสวนก็สามารถป้องกันหรือขับไล่ศัตรูพืช เช่น
แมลกะชอน หนู ปลวก และไส้เดือนฝอย
2. หรือปลูกหมุนเวียนในไร่ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไส้เดือนฝอย



ลางสาด
• หนอนหลอดลม

เมล็ดมีสาร Acid Alkaloid ซึ่งเป็นพิษกับแมลงและหนอน
1. นำเมล็ดครึ่ง กก. บดให้ละเอียด ผสมกับน้ำ 20 ลิตร แช่ทิ้งไว้ 24 ชม.
2. นำมากรองเอาแต่น้ำไปฉีดพ่นกำจัดแมลง



เลี่ยน
• หนอนกระทู้
• หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด
• หนอนเจาะผลโกโก้
• ด้วงงวง
• เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
• ไรแดงส้ม
• เพลี้ยอ่อนกะหล่ำ
• หนอนผีเสื้อกะหล่ำ

เปลือกของต้น ใบ ผล เมล็ด มีสารที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดแมลง ขับไล่แมลง
ยับยั้งการดูดกินการเจริญเติบโต
1. นำใบเลี่ยนสด 150 กรัม หรือใบแห้ง 50 กรัม นำมาแช่น้ำ 1 ลิตร หมักทิ้งไว้ 24 ชม.
2. นำมากรองเอาแต่น้ำไปฉีดพ่นกำจัดแมลง




ว่านน้ำ
• ด้วงหมัดผัก
• หนอนกระทู้ผัก
• แมลงวันทอง
• แมลงในโรงเก็บ
• ด้วงงวงช้าง
• ด้วงเจาะเมล็ดถั่ว

เหง้าจะมีน้ำมันหอมระเหย ชนิด Calamol aldehyde มีพิษต่อระบบประสาทของแมลง
1. นำเหง้ามาบดเป็นผง 30 กรัม ผสมกับน้ำ 4 ลิตร หมักทิ้งไว้ 24 ชม. หรือต้มนาน 45 นาที
2. นำมาผสมน้ำสบู่ 1 ช้อนโต๊ะ นำไปฉีดพ่น 2 วัน ๆ ละ 1 ครั้ง




http://www.oknation.net/blog/chawsaun/2008/09/10/entry-1


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 05/07/2011 9:39 pm, แก้ไขทั้งหมด 11 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/07/2011 9:45 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

2. เกษตรกรยุคใหม่ – สมุนไพรกำจัดศัตรูพืช

ในยุคที่ผู้คนกำลังสนใจเรื่องสุขภาพและกลัวตายอย่างทุกวันนี้ เรื่องการลดการใช้สารเคมีในการผลิตพืช ก็เป็นประเด็นร้อนอีก
เรื่องหนึ่งที่นักวิจัยทั้งหลายให้ความสนใจและพยายาม พัฒนาหาวิธีการต่างๆ มาใช้แทนสารเคมีที่เคยใช้กันอยู่ซึ่งก่อให้เกิดปัญหา
สารพิษตกค้างและมีผลเสียต่อสุขภาพอย่างที่รู้กันอยู่

วิธีการลดการใช้สารเคมีทางหนึ่งก็ คือ การใช้เชื้อจุลินทรีย์เข้ามาช่วย ซึ่งก็เคยเล่าให้ฟังหลายครั้งแล้วเหมือนกัน นอกจากจุลินทรีย์
แล้วก็มีการใช้สมุนไพร ไม่ว่าจะเป็นพวก ข่า ตะไคร้หอม ว่านน้ำ โล่ติ๊น หรือ ใบยาสูบ ที่เคยใช้กันมานานในอดีต

ทว่าพืช เหล่านี้มีสารบางอย่างที่สามารถฆ่าแมลงได้ หรือบางอย่างสามารถหยุดยั้งการเติบโตของเชื้อโรคได้ แต่ความจริงแล้วก็ยัง
ไม่เพียงพอ เพราะว่าการนำสมุนไพรมาใช้ในการกำจัดโรคหรือแมลงนั้น ต้องมีความจำเพาะพอสมควร ดังนั้นจึงยังต้องหาสมุนไพรอื่นๆ
มาทดลองอีก เพื่อจะได้เลือกหาตัวที่ดีที่สุดออกมาใช้ให้ได้

ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ซึ่งมี รศ.ดร.ไสว บูรณพานิชพันธุ์ และ ผศ.ดร.เกวลิน คุณาศักดากุล จึงได้ร่วมกันศึกษา โดยคราว
นี้ได้นำสารสกัดจากพริกและพริกไทยมาใช้เป็นยากำจัดโรคและแมลงในผัก ตระกูลกะหล่ำ ซึ่งก็มีขั้นตอนการทดสอบหลายขั้นตอน
ตั้งแต่ในห้องทดลองไปจนถึงนำไปพ่นในแปลง ปลูกผัก เพื่อดูว่าจะช่วยกำจัดโรคและแมลงได้หรือไม่

อย่างแรกก็คือ นำมาทดสอบดูว่าทั้งสารสกัดจากพริกและพริกไทยจะช่วยป้องกันรักษาโรคเน่าดำได้ หรือไม่ ผลก็คือทั้งสองอย่าง
ช่วยยับยั้งการเติบโตของเชื้อดังกล่าวได้เมื่อทดลองใน ห้องทดลอง แต่น่าเสียดายที่ยังไม่มีผลทดสอบจริงในแปลง และข้อสำคัญ คือ
ความเข้มข้นที่ใช้ในการยับยั้งเชื้อโรคเหล่านี้ยังค่อนข้าง สูงเกินไป ซึ่งอาจไม่ค่อยคุ้มค่าหากเอามาใช้จริง ที่น่าสนใจคือการนำมาใช้
กำจัดหนอน ซึ่งผักตระกูลกะหล่ำมีหนอนหลายชนิดที่เป็นศัตรูตัวร้าย และทำให้ต้องใช้สารเคมีต่างๆ ในปริมาณมาก

จากการทดลองกับ หนอนใยผัก ปรากฏว่าสารสกัดจากพริกและพริกไทยถ้านำมาพ่นถูกตัวหนอน ก็สามารถฆ่าหนอนได้ดีพอสมควร แต่
ถ้าเป็น หนอนกระทู้ผัก สารสกัดจากพริกได้ผลดีกว่าพริกไทย

อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาตาม ความเข้มข้นที่ใช้ในการกำจัดหนอนแล้ว ดูท่าทางจะไม่ค่อยคุ้ม เพราะว่าต้องใช้ความเข้มข้นสูงถึงประมาณ
3-5% ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วทำได้ยาก

นอกจากนี้ ถึงแม้จะพบว่าสารสกัดทั้งสองพืชนี้จะฆ่าหนอนได้ แต่ว่าเมื่อเทียบกับสมุนไพรอย่างอื่น เช่น ดีปลีผสมกับหางไหล ซึ่งใช้
ในอัตราที่ต่ำกว่า แต่ว่าฆ่าหนอนใยผักได้มากเกือบ 100%

ดังนั้น ความเป็นไปได้ในการใช้สารสกัดจากพริกหรือพริกไทยมาเป็นยาฆ่าหนอนอย่างที่หวังไว้ จึงยังไม่ค่อยชัดเจนนัก

อย่างไรก็ตาม ถือได้ว่าเป็นความพยายามก้าวหนึ่งของนักวิจัยที่จะต้องเสาะหาวิธีการหรือหา สมุนไพรต่างๆ ใกล้ตัวมาใช้ในวัตถุประสงค์
ของการฆ่าแมลง หรือกำจัดโรคพืชกันต่อไป !

พีรเดช ทองอำไพ



http://news.enterfarm.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/09/2016 6:00 am, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/07/2011 3:22 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

3. ส่วนของสมุนไพรกำจัดศัตรูพืช


สมุนไพรไล่แมลง เป็นพืชที่มีส่วนต่าง ๆ เช่น ใบ ราก เปลือก ดอก ผล ที่มีสารออกฤทธิ์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ในการป้องกันกำจัด
แมลงศัตรูพืช

มีผลกระทบต่อระบบประสาท และระบบหายใจ ทำให้แมลงตายทันที

มีผลต่อระบบอื่น ๆ โดยการไปยับยั้งการกินอาหาร การลอกคราบ การเจริญเติบโตของแมลง


การใช้สมุนไพรไล่แมลงหรือกำจัดศัตรูพืชควรใช้ให้เหมาะสม คือ เลือกใช้ส่วนต่าง ๆ ของพืชสมุนไพรในช่วงเวลาที่เหมาะสม

ดอก ............. ควรเก็บในระยะดอกตูมเพิ่งจะบาน

ผล .............. ควรเก็บในระยะที่ผลยังไม่สุก เพราะสารต่างยังไม่ถูกส่งไปเลี้ยงเมล็ด

เมล็ด ............ ควรเก็บในระยะที่ผลสุกงอมเต็มที่ ซึ่งจะมีระยะที่เมล็ดแก่เต็มที่ และจะมีสารต่าง ๆ สะสมอยู่ในปริมาณมาก

หัวและราก ...... ควรเก็บในระยะที่เริ่มมีดอก เพราะระยะนี้ต้นพืชจะมีการสะสมสารต่าง ๆ ไว้ที่รากและควรเก็บในฤดูหนาวปลายฤดูร้อน
เพราะเป็นช่วงที่กระบวนสังเคราะห์แสงหยุดทำงาน

เปลือก ........ ควรเก็บก่อนที่จะมีการผลิใบใหม่และควรเก็บในฤดูร้อนและฤดูฝน



http://www.tungsong.com/samunpai/insect/Index.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/06/2013 8:46 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/07/2011 3:36 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

4. หางไหล สมุนไพรกำจัดศัตรูพืชทางเลือกในการผลิตพืชปลอดภัย

ปัจจุบันรัฐบาลให้ความสำคัญกับคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าสำหรับผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศกฏเกณฑ์ การค้านับวัน
จะให้ความสำคัญกับคุณภาพมากยิ่งขึ้น โดยมีมาตรการต่าง ๆ มาบังคับในเชิงระบบ เกษตรกรจึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนการดำเนินกิจกรรม
ต่าง ๆ ในกระบวนการผลิตที่จำเป็น โดยเฉพาะในเรื่องของการใช้สารเคมีได้ไม่ว่าจะเป็นด้านการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ หรือประมง ชนิดพืช
สมุนไพรที่นำมาใช้มีความหลากหลาย เช่น

เหง้าขมิ้นชัน ใบฟ้าทะลายโจร ใช้ป้องกันกำจัดศัตรูพืช หรือใช้ผสมในอาหารไก่และสุกร เพื่อทดแทนยาปฏิชีวนะ

ว่านน้ำใช้เหง้าป้องกันกำจัดด้วงหมัด ผักและโรคแอนแทรกโนสในมะม่วง และผัก

หางไหลเป็นพืชฆ่าแมลงพื้นบ้านที่รู้จักกันตั้งแต่โบราณ ชาวจีนใช้ส่วนรากทุบไปแช่น้ำค้างคืน น้ำที่แช่หางไหลขุ่นขาวคล้ายน้ำซาวข้าว
ก็จะนำไปรดสวนผัก เพื่อฆ่าหนอน หรือฆ่าแมลงที่มากัดกินผัก

สารสำคัญที่ออกฤทธิ์ในหางไหล เรียกว่า โรตีโนน (Rotenone) มีประสิทธิภาพในการฆ่าแมลง โดยแมลงจะดูดซึมเข้าไปในกระเพาะ

การใช้รากหางไหลใช้ได้ทั้งในรูปผง และสารละลาย สามารถพ่นโดยตรงบนต้นอ่อนและใบอ่อนของพืช โดยไม่เกิดอันตรายกับพืชและเมื่อ
สกัดสารออามาแล้วสมควรใช้ทันที เพราะสารในหางไหลจะสลายตัวได้ง่ายเมื่อถูกแสงแดด


นอกจากชื่อ หางไหล หรือ โล่ติ้น แล้วยังมีชื่อตามท้องถิ่น เช่น อวดน้ำ ไหลน้ำ บ้านเรามีหางไหลอยู่ 2 ชนิดที่มีสารโรตีดนนสูง คือ ชนิดแดง
และชนิดขาว ซึ่งพบว่ามีสารพิษอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ย 4-5 เปอร์เซนต์ จึงมีงานศึกษาวิจัยเพื่อปลูกเป็นการค้า ศึกษาช่วงอายุที่สารสำคัญใน
เหง้าสูงสุด และพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปสารสกัด

การปลูกหางไหลใช้เถาที่มีสีน้ำตาลเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร ตัดเฉียงเป็นท่อน ๆ ละ 20-30 เซนติเมตร หรือแต่ละท่อนมีข้อ 2-4
ข้อ ปักชำซึ่งจะขึ้นง่ายและโตเร็วกว่าการใช้เมล็ด ควรปักถุงก่อนลงแปลง ใช้ขี้เถ้าแกลบผสมดินอัตราส่วน 2 : 1 ปักชำกิ่งทำมุม 45 องศา
กับผิวดินภายใน 3 สัปดาห์ จะมีรากงอกออกมาและมีตุ่มขึ้นตรงข้อ ซึ่งจะแตกเป็นต้นอ่อนเจริญเติบโตต่อไป กิ่งปักชำสามารถย้ายลงแปลง
ปลูกภายใน 6-9 สัปดาห์ และเนื่องจากหางไหลเป็นพืชกระกูลถั่ว

การปลูกพืชชนิดนี้สามารถไถกลบเป็นพืชคลุมดิน ป้องกันการสูญเสียความชื้นจากดินและป้องกันการชะล้างของดินได้อีกด้วย ข้อจำกัด
ของหางไหล คือ เป็นพิษกับสัตว์เลือดเย็นเกษตรกรจึงต้องระมัดระวังการใช้ใกล้แหล่งน้ำ

สมุนไพรที่ใช้ป้องกันกำจัดศัตรูพืชและใช้ในภาคการเกษตรหลายชนิดมีความต้องการใช้มากขึ้นในปัจจุบันแต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือสมุนไพร
บางชนิดหายากหรือขาดแคลน ในบางแหล่งเกือบทั้งหมดเก็บจากธรรมชาติ อายุการปลูกยาวนานกว่าจะได้สารสำคัญ

ดังนั้นการสร้างแหล่งผลิตที่เพียงพอจึงมีความจำเป็นซึ่งจะต้องส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถผลิตพันธุ์เพื่อใช้เอง ไม่เก็บจากธรรมชาติ
สามารถหาได้ง่าย เลือกใช้ได้อย่างถูกต้องตรงกับศัตรูพืช และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม




http://www.talaadthai.com/web/resource/detail.asp?groupid=10&subjectid=394


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/06/2013 8:47 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/07/2011 3:49 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

5. พืชสมุนไพรไล่แมลง งานค้นคว้าสำนักฟาร์มแม่โจ้


มนุษย์รู้จักการใช้สมุนไพรป้องกันกำจัดศัตรูพืชมานานแล้ว แต่สิ่งเหล่านี้กลับถูกมองข้าม ขาดการเผยแพร่ ประกอบกับสารเคมีทาง
การเกษตรในปัจจุบันหาได้ง่าย ใช้ได้ง่าย และเห็นผลรวดเร็วกว่า

แต่เมื่อมีการใช้ในระยะเวลานานๆ ก็จะเริ่มส่งผลเสียออกมาให้เห็น มีทั้งผลกระทบต่อมนุษย์ สัตว์ พืช รวมทั้งสิ่งแวดล้อมด้วย

จึงเป็นสาเหตุให้บรรดาเกษตรกรเริ่มหันมาให้ความสนใจกับการปลูกพืชผักผลไม้ปลอดสารพิษ และหาวิธีการต่างๆ เพื่อที่จะนำ
มาใช้ทดแทนสารเคมี

อาจารย์แสงเดือน อินชนบท สำนักฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับคุณสมบัติต่างๆ ของสมุนไพรเพื่อให้มีการ
นำไปใช้ได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กล่าวว่า สำหรับผู้ที่กำลังใช้หรือต้องการใช้พืชสมุนไพร ต้องทำความเข้า
ใจกันเสียก่อนว่าการใช้พืชสมุนไพรเพื่อป้องกันและกำจัดศัตรูพืชไม่ได้เป็นวิธีการสำเร็จรูปที่จะช่วยป้องกันหรือแก้ไขปัญหาของ
ศัตรูพืชได้อย่างเบ็ดเสร็จสมบูรณ์

เนื่องจากการใช้สมุนไพรในรูปแบบนี้แท้จริงแล้วเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการกลับไปหาวิธีการสร้างสมดุลธรรมชาติ เพื่อให้เกิด
การระบาดของแมลงศัตรูพืชน้อยที่สุด แต่ถ้าจะให้ดีเราควรจะมีการจัดการและการป้องกันแมลงศัตรูพืชตั้งแต่เริ่มต้นที่ทำการเพาะ
ปลูก

แต่หากเกิดปัญหาการระบาดของแมลงศัตรูพืชขึ้น การใช้สมุนไพรก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ปัญหาโรคและแมลงลดลงได้ แถมยัง
ไม่เกิดสารพิษตกค้างที่สำคัญยังมีต้นทุนในการดำเนินงานน้อยกว่าสารเคมีอยู่มาก

สมุนไพรที่มีประสิทธิภาพป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช ได้แก่ :
หางไหลขาว (โล่ติ้น) หางไหลแดง (กะเพียด) ยาสูบ (ยาฉุน) เถาบอระเพ็ด สาบเสือ พริกไทย ข่าแก่ ขมิ้นชัน ตะไคร้หอม ตะไคร้แกง
ดีปลี พริก โหระพา สะระแหน่ กระเทียม กระชาย กะเพรา ใบผกากรอง ใบดาวเรือง ใบมะเขือเทศ ใบคำแสด ใบน้อยหน่า ใบยอ ใบลูก
สบู่ต้น ใบลูกเทียนหยด ใบมะระขี้นก เปลือกว่านหางจระเข้ ว่านน้ำ เมล็ดโพธิ์ เมล็ดแตงไทย เปลือกมะม่วงหิมพานต์ ดอกลำโพง ดอก
เฟื่องฟ้าสด กลีบดอกชบา ลูกทุเรียนเทศ รากเจตมูลเพลิงแดง


สมุนไพรที่มีประสิทธิภาพป้องกัน กำจัดหนอนชนิดต่างๆ ได้แก่ :
สะเดา (ใบ+ผล) หางไหลขาว (โล่ติ้น) หางไหลแดง (กะเพียด) หนอนตายหยาก สาบเสือ ยาสูบ (ยาฉุน) ขมิ้นชัน ว่านน้ำ หัวกลอย
เมล็ดละหุ่ง ใบและเมล็ดสบู่ต้น ดาวเรือง ฝักคูนแก่ ใบเลี่ยน ใบควินิน ลูกควินิน ใบมะเขือเทศ เถาบอระเพ็ด ใบลูกเทียนหยด เปลือกใบ
เข็มป่า เปลือกต้นจิกและจิกสวน ต้นส้มเช้า เมล็ดมันแกว ใบยอ ลูกเปลือกต้นมังตาน เถาวัลย์ยาง เครือบักแตก คอแลน มุยเลือด
ส้มกบ ตีนตั่งน้อย ปลีขาว เกล็ดลิ้น ย่านสำเภา พ่วงพี เข็มขาว ข่าบ้าน บัวตอง สบู่ดำ แสยก พญาไร้ใบ ใบแก่-ผลยี่โถ

อย่างไรก็ดี ก่อนที่จะนำสมุนไพรแต่ละชนิดมาใช้ในการป้องกัน กำจัดหรือไล่แมลงศัตรูพืช ควรศึกษาหาข้อมูลให้ดีเสียก่อนว่าจะนำ
ส่วนไหนมาใช้และใช้ในช่วงเวลาใดจึงจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันกำจัดแมลง



ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสด
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?


http://www.phtnet.org/news53/view-news.asp?nID=268


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/06/2013 8:51 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/07/2011 4:10 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

6. น้ำต้มสมุนไพร กำจัดศัตรูพืช ลดต้นทุน ที่ ชัยนาท

กำไรจากการทำนาของเกษตรกรเกิดความแตกต่าง เนื่องจากเทคโนโลยีการผลิตและการบริหารจัดการของเกษตรกร ส่งผลให้
ต้นทุนการผลิตของกลุ่มเกษตรกรที่ใช้สารเคมีเพื่อการป้องกันกำจัดศัตรูพืชสูงมาก บางรายอาจมีต้นทุนสูงมากกว่า 5,000 บาท/ไร่

ในขณะที่เกษตรกรบางส่วนได้ประยุกต์ใช้องค์ความรู้ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น เพื่อการป้องกันและกำจัดศัตรู
พืชแบบผสมผสานตามที่ได้รับการถ่ายทอดความรู้แบบโรงเรียนเกษตรกรจากนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร สอดคล้องกับคำที่
กล่าวว่า "เพียงเปลี่ยนความคิด ชีวิตก็เปลี่ยน"

เกษตรกรนิยมใช้สารเคมี เพราะยังคงติดกับการแข่งขันการทำนาที่ตัดสินกันด้วยปริมาณผลผลิตที่ได้รับ ต่างจากเกษตรกรบาง
ส่วนที่มีต้นทุนต่ำ ตัดสินผลลัพธ์ความสำเร็จของการทำนาด้วยกำไร ด้วยการนำสมุนไพรมาใช้ประโยชน์เพื่อใช้ในการป้องกัน
และกำจัดโรค-แมลง ศัตรูพืชได้ดีไม่แพ้สารเคมี อย่างประหยัด และปลอดภัย ไม่มีผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ฉะนั้น การใช้สมุนไพรใน
การเกษตร น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในปัจจุบันและอนาคต ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของเกษตรกรดีขึ้น

คุณสัมฤทธิ์ ไม่ยาก เกษตรกรทำนา วัย 57 ปี บ้านเลขที่ 58 หมู่ที่ 11 ตำบลนางลือ อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท เปิดเผยว่า
ได้ทำนาข้าว 28 ไร่ มานานแล้ว ตั้งแต่จบการศึกษาภาคบังคับ แต่พบว่ายิ่งทำนา ยิ่งมีต้นทุนมากขึ้น เนื่องจากแมลงศัตรูพืชดื้อยา
"สร้างภูมิต้านทานต่อสารเคมี บางครั้งสารเคมี 3-4 ชนิด ผสมกันฉีดพ่น แต่ไม่สามารถกำจัดแมลงศัตรูพืชได้ จึงได้ศึกษาการ
ป้องกันและกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสานตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรร่วมกับเพื่อนเกษตรกรในกลุ่มศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อการ
ผลิตข้าวให้ได้มาตรฐานและปลอดภัยจากสารพิษ จากสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองชัยนาท สำนักงานเกษตรจังหวัดชัยนาท ศูนย์
วิจัยข้าวชัยนาท และศูนย์บริหารศัตรูพืชชัยนาท

จากการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ ตั้งแต่การเตรียมดินด้วยลดการเผาตอซังและฟางข้าว หมักด้วยน้ำหมักชีวภาพ อัตราเมล็ดพันธุ์
ไม่เกิน 20 กิโลกรัม/ไร่ ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ (ตัวห้ำ-ตัวเบียน) ด้วยการใช้สาร
สมุนไพร ผลที่ได้รับเป็นที่น่าพอใจ เพราะต้นทุนการผลิตในปีที่ผ่านมาประมาณ 3,200 บาท/ไร่ ในขณะที่ผลผลิตประมาณ 850 กิโลกรัม/
ไร่ รอดพ้นจากการเข้าทำลายของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลด้วยน้ำสมุนไพรต้ม แต่ต้องพ่นซ้ำบ่อยๆ คือ 7-10 วัน/ครั้ง ในขณะที่เพื่อนเกษตรกร
บางส่วนใช้สารเคมีจำนวนมาก แต่ผลผลิตเสียหายอย่างน่าเสียดาย

การทำน้ำต้มสมุนไพรไม่ยุ่งยากนัก เตรียมวัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่น คือ ใบน้อยหน่า หรือ ใบน้อยโหน่ง ใบต้นรัก สาบเสือ เถามะระขี้นก
อย่างละ 1 กิโลกรัม และใบสะเดา 5 กิโลกรัม ส่วนผสมสมุนไพรแต่ละชนิดมีทั้งสารที่เป็นอันตรายต่อแมลงศัตรูพืช ทำลายตัวอ่อน ตัวแก่
และไข่ อีกทั้งกลิ่นที่แรงไล่แมลงศัตรูพืชไม่ให้เข้าในแปลงนา แต่ไม่เป็นอันตรายต่อแมลงศัตรูธรรมชาติของแมลงศัตรูพืช (ตัวห้ำและ
ตัวเบียน)

เมื่อได้สมุนไพรดังกล่าวแล้ว นำมาสับให้แหลกละเอียด นำไปใส่ในถังก่อนเทน้ำส้มสายชู 5% และเหล้าขาว อย่างละ 1 ขวด เทลง
ไปคนให้ทั่ว ปิดฝาทิ้งไว้ อย่างน้อย 5 ชั่วโมง เทลงปี๊บเติมน้ำให้เต็ม นำไปต้มด้วยไฟกลาง จนน้ำเดือดทิ้งไว้รอจนน้ำเหลือครึ่งปี๊บ ทิ้ง
ให้เย็นนำไปกรอง ควรใช้ให้หมด แต่ถ้าจะเก็บควรเก็บในที่เย็นๆ ไม่ควรเก็บนานเกินไป อัตราส่วนที่ใช้ 50 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 7-10 วัน

เวลาที่เหมาะสมในการฉีดพ่นคือ เวลาเช้าหรือเวลาเย็น แดดไม่ร้อนมากนัก เพื่อป้องกันการสลายตัวของสารสมุนไพร สามารถป้องกัน
แมลงศัตรูพืชได้เป็นที่น่าพอใจ ไม่แพ้สารเคมีที่มีราคาแพง ในขณะที่น้ำต้มสมุนไพรมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่เหล้าขาว น้ำส้มสายชู และค่าก๊าซ
สำหรับต้มเท่านั้น ซึ่งสามารถผสมน้ำฉีดพ่นได้หลายพันลิตร นำไปฉีดพ่นในพื้นที่นาหลายไร่

การใช้สารเคมีเพื่อการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชนั้น เกษตรกรต้องมีความมั่นใจ แต่ถ้าไม่เชื่อก็ขอให้ลองทำก่อน อย่าเพิ่งปฏิเสธ แต่ขอ
ให้ศึกษารายละเอียดจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรหรือเกษตรกรที่ทำแล้วประสบผลสำเร็จ ก็จะสามารถทำนาให้ได้กำไรงาม ไม่ต้อง
รอให้ขายข้าวได้ราคาเป็นหมื่นบาท เพราะถ้าลงทุนในอัตรา 3,200 บาท ผลผลิตข้าว 800 กิโลกรัม/ไร่ นั่นหมายถึง มีต้นทุนที่ 4 บาท/
กิโลกรัม ถ้าราคาข้าวเพียง 6 บาท/กิโลกรัม ก็จะมีกำไรที่ 2 บาท/กิโลกรัม หรือ 1,600 บาท/ไร่

คุณวีระศักดิ์ อัตถะไพศาล เกษตรจังหวัดชัยนาท กล่าวเสริมถึงการป้องกันและกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลว่า ได้ดำเนินการตามนโยบาย
ของกรมส่งเสริมการเกษตร ในการส่งเสริมการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสานด้วยการจัดตั้งศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนที่กระจาย
อยู่ในพื้นที่

ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน เป็นสถานที่สำหรับเรียนรู้และฝึกปฏิบัติด้านการจัดการศัตรูพืชของเกษตรกรและชุมชน โดยจัดทำแปลงติดตาม
สถานการณ์ศัตรู



http://www.moac-info.net/modules/news/news_view.php?News_id=137897&action=edit&joomla=1


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/06/2013 8:55 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/07/2011 4:14 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

7. "13 สมุนไพรไทย วัตถุอันตราย"

ชื่อ: ชูเกียรติ โกแมน


13 สมุนไพรไทย วัตถุอันตราย ?
ในเดือนกุมภาพันธุ์ที่ผ่านมา มีเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นมา และเป็นที่กล่าวถึงกันอย่างแพร่หลายในทุก ๆ สังคม ไม่ว่าจะเป็น
นักวิชาการ สื่อมวลชน กลุ่มเครือข่ายต่างๆ และปฏิเสธไม่ได้เลยว่าไม่เกี่ยวข้องกับพวกเราชาวเกษตรอินทรีย์

นั้นก็คือการประกาศให้สมุนไพรไทยจำนวน 13 ชนิดขึ้นบัญชีเป็นวัตถุอันตราย ประเภทที่ 1 บัญชี ข.ได้แก่ สะเดา ตะไคร้หอม ขมิ้น
ชัน ขิง ข่า ดาวเรือง สาบเสือ กากเมล็ดชา พริก ขึ้นฉ่าย ชุมเห็ดเทศ ดอกดึง และหนอนตายหยาก

การขึ้นทะเบียนดังกล่าว กล่าวถึงเฉพาะ การนำเอาชิ้นส่วนของพืชสมุนไพรทั้ง 13 ชนิด นำไปใช้ในการป้องกัน กำจัด วัชพืช
และศัตรูพืช

ซึ่งผู้เขียนขออนุญาตไม่ลงลึกในรายละเอียดมากนัก เนื่องจากมีความเข้าใจในภาษาทางกฎหมายค่อนข้างน้อย หากลงลึกไป
อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิด และสับสนได้ ดังนั้นคงจะพูดถึงในมุมมองของผู้เขียนเองอย่างกว้างๆ

จากประกาศดังกล่าว หมายความว่าผู้ใดที่จะทำการผลิตเพื่อจำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครอง ต้องไปแจ้งให้กับเจ้าพนักงานทราบ
ถึงจำนวนที่ผลิต หรือมีไว้ในครอบครอง ซึ่งหากไม่ปฏิบัติตามมีโทษจำคุก 6 เดือน หรือปรับ 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

กรมวิชาการเกษตร ได้ชี้แจงว่าสาเหตุที่ออกประกาศดังกล่าว กรมวิชาการเกษตรต้องการให้ใช้สารกำจัดศัตรูพืชที่ผลิตจากพืช
มากขึ้น เพื่อลดการใช้สารเคมี ที่ขณะนี้ต้องนำเข้ากว่าปีละ 20,000 ล้านบาท และที่ต้องให้มีการประกาศพืชที่นำมาใช้เป็นสาร
กำจัดศัตรูพืช เพื่อต้องการเข้าไปควบคุมและจัดระบบ เนื่องจากมีการหลอกลวงเกษตรกรจำนวนมาก โดยนำผลิตภัณฑ์
กำจัดศัตรูพืช ที่อ้างว่าผลิตจากสมุนไพร แต่ไม่ได้มาตรฐานมาหลอกขายให้เกษตรกร เมื่อใช้ไม่ได้ผล ไม่สามารถตรวจสอบกลับ
ได้ว่าผลิตจากไหน ใครเป็นผู้ผลิต ดังนั้น เมื่อมีการกำหนดให้ต้องแจ้งกับเจ้าหน้าที่เพื่อการจำหน่าย ทำให้ สามารถตรวจสอบ
กลับได้ว่าใครผลิต, มีพืชอะไรและมีสารออกฤทธิ์อย่างไร หากมีการหลอกลวงจะสามารถเอาผิดกับผู้กระทำผิดได้ ซึ่งจาก
การสุ่มตรวจพบว่า ผลิตภัณฑ์กำจัดศัตรูพืชที่ผลิตจากพืชสมุนไพร มีประสิทธิภาพตามมาตรฐานที่งานวิจัยรองรับไม่ถึง 10% อีก
กว่า 90% ไม่ได้มาตรฐาน

ในความเป็นจริงแล้วประกาศดังกล่าวคงไม่ได้สนับสนุนให้เกิดการใช้สารสกัดจากสมุนไพร เพื่อป้องกัน และกำจัดศัตรูพืช
ให้เกิดการใช้อย่างแพร่หลายใน ทางตรงข้าม กลับทำให้การใช้สมุนไพรเป็นเรื่องที่เข้าถึงได้ยากยิ่งขึ้น

โดยเฉพาะภาคของการนำไปใช้ของเกษตรกร เนื่องจาก การนำพืชสมุนไพรมาใช้เป็นสารป้องกันและกำจัดศัตรูพืชนั้น เกษตรกร
ส่วนใหญ่ได้มีการผลิตใช้มาเป็นระยะเวลานานแล้ว จนเกิดเป็นองค์ความรู้ เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ถ่ายทอดกันมาจากรุ่น
สู่รุ่น นำไปสู่การผลิตเพื่อใช้และ จำหน่ายให้กับเกษตรกรด้วยกันเองในชุมชน เมื่อสินค้าที่ผลิตและจำหน่ายกันเองในชุมชน คนใน
ชุมชนก็จะทราบว่าใครเป็นผู้ผลิต ทำให้เกิดการควบคุมกันเองอย่างง่ายๆ เช่น เมื่อนำไปใช้แล้วไม่ได้ผลก็ต่อว่ากันเอง หรืออาจถึง
ขั้นเลิกซื้อไปเลย

สำหรับประกาศดังกล่าว กรมวิชาการเกษตรควรจะกำหนดขอบเขตให้แคบลง หรือจำเพาะเจาะจงกับกลุ่มของเป้าหมายที่ต้อง
การควบคุม ซึ่งควรหาวิธีการสำหรับควบคุมผู้ผลิต ที่ผลิตในระดับอุตสาหกรรม เนื่องจากมีการส่งสินค้าไปขายในหลาย ๆ จังหวัด
ในรูปแบบของตัวแทนจัดจำหน่าย หากสินค้าที่จำหน่ายไม่มีคุณภาพ ตามที่กรมวิชาการเกษตรเป็นกังวล ผลเสียจะตกกับเกษตรกร
ผู้ใช้เป็นวงกว้างมากกว่าการที่เกษตรกรผลิตและจำหน่ายกันเองในชุมชน

ซึ่งเกษตรกรผู้ผลิตแบบอุตสาหกรรมในครัวเรือน คงไม่มีใครทราบว่าพืชสมุนไพรที่ใช้นั้นมีสารออกฤทธิ์อย่างไร ได้คุณภาพตาม
มาตรฐานงานวิจัยหรือไม่ เนื่องจากการเข้าถึงข้อมูลของเกษตรกรนั้นเป็นเรื่องที่ยาก และไกลตัวมาก ไม่ว่าจะเป็นการส่งวิเคราะห์
ที่ไหน ? จะทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดที่ผลิตยังไงให้ตรงตามมาตรฐานงานวิจัย ในเมื่อบางคนยังไม่รู้ว่างานวิจัยคืออะไร ?
หาดูได้ที่ไหน?

เนื่องจากการผลิตสารสมุนไพรเพื่อกำจัดแมลงศัตรูพืช เป็นองค์ความรู้ เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่สั่งสม และถ่ายทอดกันมา ผ่าน
การนำไปใช้งานครั้งแล้วครั้งเล่า เรื่องสารออกฤทธิ์ที่มีอยู่ในสมุนไพรคงไม่ใช่เรื่องสำคัญที่จำเป็นต้องรู้

ดังนั้นประกาศดังกล่าวคงไม่ได้ช่วยสนับสนุนให้เกิดการใช้ที่แพร่หลายเพิ่มขึ้น กลับกัน อาจทำให้การใช้งานถูกจำกัดให้แคบลง
และเพิ่มโอกาสให้กับบริษัทที่ผลิตสารเคมีทางการเกษตร หรือผลิตสารสกัดสมุนไพร ในรูปแบบการผลิตที่เป็นอุตสาหกรรม
เนื่องจากตามเนื้อหาของประกาศ ฯ หากเกษตรกรต้องการผลิตแค่ใช้เองก็ต้องไปแจ้งให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้ทราบ โดยมี
รายละเอียดและขั้นตอนต่างๆ เป็นไปตามกรมวิชาการเกษตรกำหนดไว้ เป็นการสร้างความยุ่งยากให้กับเกษตรกร ทำให้เกษตร
กรต้องหันไปซื้อสินค้าจากบริษัทที่ขายสารเคมีเกษตร หรือสารสกัดสมุนไพร เนื่องจากหาซื้อได้ง่ายกว่าผลิตใช้เองที่ขั้นตอนเพิ่ม
ขึ้น เป็นการเพิ่มต้นทุนในการผลิตให้เพิ่มขึ้น

ประกาศดังกล่าวคงเป็นเรื่องที่ดี หากเจ้าหน้าที่รัฐมีเจตนาทำเพื่อปกป้องผลประโยชน์ให้กับเกษตรกร แต่ผู้ออกประกาศฯ ควรพิจาร
ณาให้รอบคอบ กำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจนและตรงจุด เนื่องจาก หากประกาศดังกล่าวมีผลบังคับใช้จริง ย่อมมีผู้ที่ได้รับ
ประโยชน์ และเสียผลประโยชน์ ซึ่งผลประโยชน์ดังกล่าวมีมูลค่าในแต่ละปีเป็นหมื่นล้านบาท
หากผู้ที่เสียผลประโยชน์เป็นเกษตรกร
คงเป็นเรื่องเศร้าอีกเรื่องหนึ่งที่สอนให้รู้ว่าอาชีพเกษตรกร เป็นอาชีพที่ถูกกดขี่ ถูกเอารัดเอาเปรียบมากที่สุด และสุดท้ายคงต้อง
สอนลูกหลานว่าโตขึ้นอย่าเดินตามรอย...พ่อ


ชูเกียรติ โกแมน

http://www.thaigreenmarket.com/webboard_topic.php?mid=144







คิดได้ไง...ประกาศ พริก ข่า ตะไคร้หอม สะเดาฯ เป็นวัตถุอันตราย ! !

ไม่น่าเชื่อว่า คณะกรรมการวัตถุอันตรายและกรมวิชาการเกษตร ประกาศขึ้นทะเบียนพืชสมุนไพรไทย 13 ชนิด ประกอบด้วย
สะเดา ตะไคร้หอม ขมิ้นชัน ขิง ข่า ดาวเรือง สาบเสือ กากเมล็ดชา พริก ขึ้นฉ่าย ชุมเห็นเทศ ตองตึง และหนอนตายหยาก เป็นวัตถุอันตราย

ถึงแม้ว่านายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ออกมาชี้แจง

ว่าความจริงประกาศฉบับนี้ควบคุมเฉพาะการนำสมุนไพรเหล่านี้ไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้กำจัดแมลงหรือยาฆ่าแมลง และต้อง
ทำเพื่อการค้าเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับการปลูก การจำหน่าย หรือนำมาเป็นยาสมุนไพรรักษาโรค และไม่กระทบต่อวิถีชีวิตของคนไทย
ที่ใช้สมุนไพรเหล่านี้ประกอบอาหาร ทั้งนี้สมุนไพรทั้ง 13 ชนิดเดิมอยู่บัญชี 2 ซึ่งหมายถึงสมุนไพรไทยทุกตัวที่อยู่ในบัญชีนี้ต้อง
บังคับให้ขึ้นทะเบียน แต่ไม่ต้องขออนุญาตผลิต ได้ย้ายมาอยู่ในบัญชี 1 ทำให้ง่ายขึ้นกว่าเดิม คือเพียงแจ้งให้ทราบว่าจะผลิต
โดยไม่ต้องขออนุญาตหรือขึ้นทะเบียนใดๆ ประชาชนจึงไม่ควรตื่นตระหนักกับข่าวนี้ เพราะวัตถุประสงค์สำคัญของการขึ้นทะเบียน
เป็นวัตถุอันตราย เพื่อคุ้มครองเกษตรกรให้รอดพ้นจากการถูกการหลอกขายยาฆ่าแมลงและปุ๋ยชีวภาพที่ไม่มีคุณภาพที่ผลิตจาก
สมุนไพรเหล่านี้ ซึ่งเป็นปัญหามากในช่วงที่ผ่านมา

ประกาศออกมาเพื่อคุ้มครองเกษตรกรให้รอดพ้นจากการถูกหลอกลวงขายยาฆ่าแมลงและปุ่ยชีวะภาพ ฟังดูแล้วเหตุผลแทบจะฟัง
ไม่ขึ้นเลยกลายเป็นว่าชาวนาชาวสวนเป็นคนโง่หรือไง

ท่านอธิบดี ท่านกำลังดูถูกดูแคลนเกษตรกร ปกติเกษตรกรจะเป็นผู้เชียวชาญด้านนี้อยู่แล้วเรื่องศัตรูพืชเพราะว่าอาชีพเกษตรกร
เป็นอาชีพที่สืบทอดมากันจากบรรพบุรุษ เขารู้ดีว่าควรจะใช้อะไรในการกำจัดศัตรูพืช

การประกาศออกมาเพื่อแก้ปัญหาอีกอย่างหนึ่ง บางทีผู้บริโภคเข้าใจผิดคิดว่าที่ประกาศออกมาเป็นอันตรายต่อการบริโภคสินค้ากลาย
เป็นไม่มีคนซื้อราคาตกลงใครจะรับผิดชอบ ทั้งๆที่เกษตรกรผลิตสินค้าเหล่านี้ออกมาก็ได้ราคาต่ำอยู่แล้วพ่อค้าคนกลางเสียส่วนใหญ่
ที่ได้เงิน ผู้ผลิตแทบจะไม่คุ้มทุนที่ปลูกมาขาย

ฟังเสียงคนส่วนใหญ่และกระแสที่ออกมาตอนประกาศทุกคน งงๆไปหมดว่า พืชทั้ง13 รายการนี้เป็นวัตถุอันตรายได้ไง คนส่วนใหญ่
ไม่เข้าใจระงับการซื้อใว้ชั่วขนาด สามารถตรวจสอบได้เลยว่าพืช 13 รายการนี้วันนี้ขายได้น้อยกว่าทุกวันหรือไม่ และใครจะรับผิดชอบ

ไม่รู้เหมือนกันว่า คณะกรรมการวัตถุอันตรายและกรมวิชาการเกษตร คิดได้ไง........ถึงประกาศพืชพวกนี้เป็นวัตถุอันตราย.......
เพื่อแก้ปัญหาการหลอกขายย่าฆ่าแมลงและปุ๋ยชีวภาพ....หรือว่าไม่มีงานจะทำ..นะครับ



http://www.oknation.net/blog/print.php?id=395880


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/06/2013 9:00 pm, แก้ไขทั้งหมด 7 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/07/2011 4:16 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

8. "13 สมุนไพรอันตราย นัยแห่ง "ผลประโยชน์" ซ่อนไม่มิด"



การประกาศให้พืชสมุนไพร 13 ชนิดที่เคยเห็นเคยกินกันแต่อ้อนแต่ออก มาขึ้นบัญชีให้เป็นวัตถุอันตรายประเภทที่ 1
ของกระทรวงอุตสาหกรรมและกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่จับมือกันผุด พ.ร.บ.ฉบับนี้ออกมา
สร้างความแตกตื่นตกใจให้กับคนไทยไม่น้อย อย่างแรกเพราะสังคมไม่เคยระแคะระคายมาก่อนว่ามีกฎหมายฉบับนี้

อย่างที่สอง คือ ความสับสนแปลกใจ และคาดไม่ถึงว่า สมุนไพรที่อยู่ใกล้ตัว ไม่ว่าสะเดา ข่า พริก ขมิ้น ขึ้นฉ่าย (ที่
เราบริโภคอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน และเป็นวัตถุดิบหลักของต้มยำกุ้งอาหารเลื่องชื่อระดับโลก) หรือตะไคร้หอม ที่เคยเอามา
ฉีดกันยุง หรือหนอนตายหยาก ที่พวกเกษตรกรเคยเอามาจำกัดแมลงศัตรูพืชมานมนาน จะมากลายเป็น "วัตถุอันตราย"
ได้

ขณะที่ เอ็นจีโอ ที่มาแฉเรื่องนี้ ก็ยืนยันแล้วยืนยันอีกว่า เรื่องนี้มี "นัยซ่อนเร้น" มีบริษัทผลิตสารเคมีเอี่ยวผลประโยชน์
ท่ามกลางการรู้เห็นเป็นใจของทางการไทย และนี่ยังไม่นับถึงความสูญเสียใหญ่หลวงในการต่อยอดใช้ภูมิปัญญาบรรพบุรุษ
ที่สั่งสมมากาลนาน เพราะการมีพ.ร.บ.ฉบับนี้ก็เท่ากับเป็นการปฏิเสธการใช้สมุนไพรไทย และปฏิเสธภูมิปัญญาท้องถิ่นดั้ง
เดิมของชาตินั่นเอง

ท่ามกลางเสียงคัดค้าน ไม่เห็นด้วยกึกก้อง แต่ก็มีเพียง 2 เสียงเท่านั้น คือ กรมวิชาการเกษตร กับกระทรวงอุตสาห
กรรมเท่านั้น ที่ยืนหยัดคอเป็นเอ็นว่า การออกกฎหมายฉบับนี้เป็นเรื่องถูกต้อง ส่วนกระแสคัดค้านที่เป็นอยู่ เป็นเรื่องของ
คน "ไม่เข้าใจ" กฎหมาย

ความคิดเห็นของภาคส่วนอื่นๆ จะเป็นอย่างไร ลองฟังความเห็นดู

เดชา ศิริภัทร ประธานมูลนิธิข้าวขวัญ กล่าวว่า ก่อนประกาศฉบับนี้ออกมาเคยพูดคุยกับกรมวิชาการเกษตร กระทรวงอุต
สาหกรรม กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ทางกรมวิชาการเกษตรชี้แจงว่าทำตามนโยบายลดการนำเข้าสารเคมีและ
ส่งเสริมการใช้สมุนไพรในการกำจัดศัตรูพืช มองว่าเป้าหมายตรงกัน แต่การปฏิบัติไม่ถูกต้อง และคิดว่าไม่มีความโปร่งใส
คณะกรรมการวัตถุอันตรายชุดนี้มีบทบาทมาก แม้จะครบวาระในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2552 ที่ผ่านมา แต่เร่ง
รีบจัดทำประกาศนี้ให้เสร็จให้ได้ ทั้งๆ ที่ก็รู้ว่าคณะกรรมการวัตถุอันตรายชุดใหม่ที่จะเข้ามา จะมีผู้แทนเพิ่ม 3 ฝ่ายจาก
ทางองค์กรผู้คุ้มครองผู้บริโภค จากฝ่ายเกษตรกรรมยั่งยืน และฝ่ายวัถตุมีพิษในชนบท ถ้าจะให้มีธรรมาภิบาลจริง
ต้องรอคณะกรรมการชุดใหม่

"สธ.มีตัวแทนในคณะกรรมการชุดเก่า ไม่ยอมรับมติ 13 พืชสมุนไพรเป็นวัตถุอันตราย ขอเวลาปรึกษาหารือในวงกว้าง
ปรากฏไม่ทันประชุม ประกาศออกมาเสียก่อน ขาดการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ไม่ฟังเสียงทักท้วง แล้วยังใช้วิธีทำหนังสือเวียน
แทนการประชุมด้วย ทำแบบนี้ถือว่าเร่งรีบ รวบหัวรวบหาง อ้างไม่ได้ด้วยว่าจำเป็นเร่งด่วน เพราะไม่มีใครขอร้องให้ทำ สธ.
เคยทำเรื่องพืชสมุนไพรกวาวเครือ จะป้องกันการหลอกขายผลิตภัณฑ์และสินค้าที่ไม่มีคุณภาพ กว่าจะประกาศใช้กฎหมาย
ควบคุมกวาวเครือได้ต้องใช้เวลา 3 ปีเต็ม เพื่อศึกษาข้อมูลผลดี-ผลเสีย และให้ผ่านการมีส่วนร่วมของฝ่ายต่างๆ นี่แค่กวาว
เครือชนิดเดียว แต่นี่พืชสมุนไพรถึง 13 ชนิด รอไม่ได้ แสดงว่ามีเบื้องหลัง ถ้ากรมวิชาการเกษตรบริสุทธิ์ใจจริง ถอนประ
กาศฉบับนี้ออกไปเลย"

ประธานมูลนิธิข้าวขวัญกล่าวอีกว่า อยากให้ยกเลิกประกาศฉบับดังกล่าว โดยให้คณะกรรมการวัตถุอันตรายเข้ามาดำเนินงาน
ทำประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็น เพื่อให้ได้มติซึ่งเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ที่ผ่านมาฝ่ายเกษตรกรรมยั่งยืนเคยเสนอรัฐบาล
มาแล้วตั้งแต่ปี 2545 หากรัฐมีนโยบาย "ลดการใช้สารเคมี" และเพิ่มการใช้สมุนไพรกำจัดแมลง จะต้องประกาศ
มาตรการต่างๆ ออกมา เช่น ห้ามโฆษณาสารเคมีกำจัดแมลง เก็บภาษีจากธุรกิจเคมีการเกษตร แล้วนำเงินภาษีเหล่านั้น
มาจัดตั้งกองทุนส่งเสริมการใช้สมุนไพรกำจัดศัตรูพืช มั่นใจว่ามาตรการเหล่านี้ช่วยลดการใช้สารเคมีได้แน่นอน เป็นข้อเสนอ
ที่เกิดจากการมีระดมความคิดเห็นพี่น้องเกษตรกร ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไม่เคยให้ความสนใจหรือสนับสนุนแต่อย่าง
ใด แต่กลับมาผลักดันออกประกาศพืชสมุนไพรวัตถุอันตรายที่ไม่ช่วยแก้ปัญหา อ้างเกษตรกรคนยากคนจน นักการเมืองไทย
ข้าราชการไทยทำแบบนี้มาตลอด

จากประสบการณ์ทำงานด้านเกษตรกรรมยั่งยืนมานาน 20 ปี นักพัฒนาองค์กรเอกชนคนเดิมยืนยันว่า การเกษตรทุก
วันนี้ที่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีและปัจจัยการผลิตจากภายนอก โดยไม่สนใจความรู้ดั้งเดิมในการทำเกษตรของคนไทย เป็นกลไก
ให้มีเงินสะพัดมหาศาล แต่หาใบเสร็จไม่ได้ เรื่องนี้ไม่อยากจะพูดเรื่องทุจริต แต่อยากจะเน้นเรื่องธรรมาภิบาลที่ไม่โปร่งใสตั้ง
แต่ต้น ยังไม่พูดถึงผลกระทบต่างๆ ถ้ามีการกีดกันการค้าผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ใช้กำจัดแมลง ส่งเสริมสารเคมีมาใช้ในการเกษตร
ทำให้ปัญหาต้นทุนการผลิตสูง สุขภาพทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคเสื่อมโทรม น้ำเสียอากาศเป็นพิษ อาหารตามธรรมชาติ
หมดไป กระทบกันไปหมด แล้วที่ชาวบ้านฟื้นฟูความรู้ดั้งเดิม นำสมุนไพรที่มีประโยชน์มาหมักใช้ในการกำจัดแมลง
จะปฏิบัติตัวยังไง ไม่กล้าใช้ เพราะสวนทางกับประกาศฉบับนี้

รศ.พร้อมจิต ศรลัมพ์ อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า การนำราย
ชื่อสมุนไพรทั้ง 13 ชนิด ประกาศเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 สร้างผลกระทบในวงกว้างกับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกระดับ ที่เห็นได้
ชัดที่สุดก็คือประชาชน คนที่ไม่มีความรู้ลึกซึ้งในเรื่องสมุนไพร จากที่ไม่เคยมีความสงสัยก็เกิดความสงสัยว่า สมุนไพรที่กิน
อยู่ทุกวัน ทำไมจึงเป็นวัตถุอันตรายเหมือนยาฆ่าแมลงได้ สาเหตุก็มาจากคำประกาศของรัฐที่ควรมีความน่าเชื่อถือสูงสุด
แต่กลับสร้างความสับสนให้ประชาชนและสังคมมากที่สุดในขณะนี้ และแม้ว่าจะมีการทบทวนประกาศดังกล่าว คาดว่าความ
รู้สึกของผู้คนที่มีต่อสมุนไพรก็คงไม่กลับมาเป็นเช่นเดิม

ในด้านงานวิจัยก็ประสบปัญหา นักวิชาการหลายคนบ่นไม่รู้จะเดินหน้าไปทางไหน ยกตัวอย่างสารสกัดขมิ้นชัน ขิง พริก ที่
บรรจุอยู่ในบัญชียาหลักของชาติ เดิมแพทย์สามารถสั่งจ่ายยาได้เลย เพราะรัฐมีนโยบายใช้สมุนไพรทดแทนการนำเข้ายา
จากต่างประเทศ ทว่าตอนนี้เกิดความชะงักงันไม่รู้ว่าการสั่งจ่ายจะมีความผิดหรือไม่ หรือจะเป็นในแง่ของฟาร์มออแกนิก
ที่กำลังมาแรง เพราะผู้คนบนโลกเน้นการบริโภคอาหารที่ปลอดสารพิษ และผลิตผลของไทยก็อยู่ในเกณฑ์ดี แต่ก็ต้อง
ประสบปัญหาในเรื่องดังกล่าว เหมือนกับว่านโยบายของรัฐต่างหน่วยงานต่างประกาศกันไปคนละทิศทาง จึงควรถอน
พ.ร.บ.ดังกล่าวออก ไม่ใช่แค่มีทบทวนเฉยๆ

รศ.พร้อมจิตกล่าวต่อว่า หากจำแนกสมุนไพรทั้ง 13 ชนิด จะแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกคือ ขิง ขมิ้นชัน ข่า
ขึ้นฉ่าย และพริก กลุ่มนี้คนไทยกินอยู่ทุกวันในจานอาหาร สรรพคุณของสมุนไพรมีกลิ่นจะช่วยขับลม ช่วยย่อยอาหาร
ลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ มีฤทธิ์รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ฯลฯ ทำให้คนในแถบเอเชียเป็นมะเร็งลำไส้น้อยกว่า
ทางยุโรป กลุ่มที่ 2 ได้แก่ ชุมเห็ดเทศ และสะเดา กลุ่มนี้จะเป็นยา โดยชุมเห็ดเทศมีฤทธิ์เพิ่มการบีบตัวของลำไส้ใหญ่
องค์การเภสัชกรรมนำไปทำเป็นชาสมุนไพรช่วยในการระบาย ส่วนสะเดาจะกินยอดอ่อนและดอก เมล็ดสะเดามีน้ำมันที่
เป็นสารพิษฆ่าแมลงอยู่

กลุ่มที่ 3 ไม่นิยมนำมากิน แต่นำสารสกัดที่ได้มาใช้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ ตะไคร้หอมสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย ดาวเรือง
สกัดเอาสารสีเหลืองมาผสมกับเครื่องประทินผิว หรือนำไปผสมเป็นอาหารเป็ดไก่ หนอนตายหยาก นำมาวางบนไหลปลาร้า
ไหน้ำปลา มีฤทธิ์ไล่แมลงและฆ่าไข่แมลง สาบเสือใช้ห้ามเลือด ดองดึงแม้จะมีพิษอยู่ แต่ทางวิชาการเกษตรก็นำพิษดัง
กล่าวมาใช้ปรับปรุงพันธุ์พืช เว้นแต่กากเมล็ดชาที่ต้องนำเข้าจากเมืองจีน ซึ่ง 2 ชนิดหลัง ถ้าประกาศเป็นวัตถุอันตราย
ก็ไม่แปลกใจเท่าไร เพราะไม่ส่งผลกระทบกับผู้คน

"เดิมมีข้อกักกันไว้บ้างสำหรับสารสกัดจากพริก ตะไคร้หอม และดองดึง แต่ปัจจุบันเปลี่ยนจากสารสกัดมาเป็นชิ้นส่วนพืชเลย
ก็ไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น และประกาศบนพื้นฐานอะไร ถ้ายังเป็นอยู่อย่างนี้ เมืองนอกที่ใช้สมุนไพร หรือประเทศคู่แข่งที่ส่งออกสิน
ค้าสมุนไพรเหมือนประเทศไทยคงขำตาย เพราะเขารู้ดีว่า สมุนไพรไทยดีและมีศักยภาพในการรักษาโรคขนาดไหน"

รศ.พร้อมจิตกล่าวต่ออีกว่า สำหรับคำอธิบายที่บอกว่า หากย้ายสมุนไพรทั้ง 13 ชนิดมาเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 จะช่วย
ให้เกษตรกรผลิตและจัดจำหน่ายน้ำหมักชีวภาพไล่แมลงได้ง่ายขึ้น ในเรื่องนี้ตนไม่รู้ว่ามีเบื้องหน้าเบื้องหลังมีอะไรหรือไม่ ถึง
แม้จะไม่มีเบื้องหลังจริงก็คือการกระทำที่ไม่ฉลาดอยู่ดี เป็นการแก้ปัญหาที่มองอะไรใกล้ตัวเกินไป ไม่รอบด้าน ซึ่งถ้าหวังดี
จริง การผลิตขึ้นทะเบียนทำเป็นผลิตภัณฑ์ขายในปัจจุบันไม่มีการควบคุมคุณภาพ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหันมาช่วยกันทำ
ตรงนี้จะดีกว่า โดยนำเอาภูมิปัญหาท้องถิ่นของชาวบ้านมาวิจัยให้ชัดเจนว่า สมุนไพรหลักๆ 3 ตัว สะเดา ข่า ตะไคร้หอม
ที่นำมาเป็นยาฆ่าแมลงนั้น ควรให้ปริมาณสัดส่วนเท่าไร ระยะเวลาในการนำมาใช้ช่วงไหนให้ผลดีที่สุด ฯลฯ ให้ชาวบ้านผลิต
ใช้เอง เหลือก็แบ่งขายบ้างตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ที่สำคัญคือ ราคาถูกและไม่ปนเปื้อนสารเคมี ไม่ใช่ว่ามีของดีอยู่กับ
ตัว แต่ต้องกลัวถูกจับหากนำมาใช้

ด้าน วริสร รักษ์พันธุ์ กรรมการผู้จัดการชุมพรคาบาน่า รีสอร์ต ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติเพลิน แสดงทัศนะต่อการขึ้น
ทะเบียนพืชสมุนไพรเป็นวัตถุอันตราย ลงประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมว่า ต่อไปเกษตรกรจะไม่สามารถใช้ภูมิปัญญาชาว
บ้านที่นำพืชสมุนไพรมาหมัก จนเป็นสารอินทรีย์กำจัดศัตรูพืชได้เอง แต่ต้องไปขึ้นทะเบียนการผลิต ซึ่งเป็นกระบวนการ
ที่ยุ่งยาก ทำให้ไม่สามารถพึ่งพาตนเองและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มี สวนทางกับแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ที่ผ่านมาประเทศไทยได้ยึดหลักการเศรษฐกิจพอเพียง ใช้ทฤษฎีเกษตรแบบพึ่งตนเองในการเพาะปลูกพืชสมุนไพรเหล่านี้ อย่าง
สะเดา สาบเสือ และหนอนตายหยาก มีส่วนไปควบคุมแมลงและกำจัดศัตรูพืช ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อพืชและคน แนวคิด
เช่นนี้ไม่ควรเกิดขึ้นในสังคมบ้านเราที่เป็นประเทศร้อนชื้น อยากตั้งข้อสังเกตว่าเป็นประกาศที่มีวาระซ่อนเร้น เอื้อประโยชน์
ต่อผู้ผลิตสารเคมีจำกัดศัตรูพืชหรือไม่

"ที่ผ่านมาชาวบ้านเป็นเครืองมืออันหอมหวานของพ่อค้าที่ขายของสนองกิเลส ปัญหาคือชาวบ้านไม่รู้เท่าทันและมีกิเลส ต้อง
การความรวดเร็ว เห็นผลเร็ว ซึ่งปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืชสนองกิเลสดีมาก แต่พอพวกเขาเห็นว่า มันไม่ยั่งยืน อยาก
พึ่งพาตัวเอง กลับมาใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทำให้การใช้สารเคมีหายไปมาก มีตัวอย่างความสำเร็จเกิดขึ้นทั่วประเทศ เหมือน
ขัดขวางผลประโยชน์ของกลุ่มพ่อค้า ผู้ผลิตเกษตรเคมี" นายวริสรกล่าว

พร้อมระบุว่า ไม่รู้สึกแปลกใจกับประกาศดังกล่าวมากนัก และคิดว่าเบื้องลึกน่าจะมีกลุ่มบริษัทข้ามชาติเข้ามาเกี่ยวข้องผลัก
ดันให้หน่วยราชการออกประกาศฉบับนี้ เป็นวิธีการล่าอาณานิคมแบบใหม่ ไม่ต้องใช้อาวุธสงคราม แต่ล่าด้วยการครอบงำ
ความคิด ซึ่งพี่ไทยก็ยินยอมพร้อมใจเป็นผู้ถูกล่าเสียด้วย คิดว่าควรยกเลิกประกาศไปเลย.



http://www.thaipost.net/sunday/280209/1003


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/06/2013 9:05 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/07/2011 6:46 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

9. สารธรรมชาติควบคุมศัตรูพืช ที่สกัดจากสมุนไพร ....


สารธรรมชาติควบคุมศัตรูพืช
สารธรรมชาติที่นำมาใช้ในระบบการปลูกพืช เป็นสิ่งหนึ่งที่เกษตรกรควรพิจารณาในการ
นำมาใช้ทดแทนสารเคมี เพราะสารธรรมชาติมีความหลากหลาย มี 2 ประเภท คือ
สารธรรมชาติที่สกัดจากพืชสมุนไพร และสารธรรมชาติที่สกัดได้จากกุ้ง ปู หอย ปลา
หมึก ยีสต์ เห็ดราและเชื้อจุลินทรีย์อื่น ๆ

สารธรรมชาติที่สกัดจากพืชสมุนไพร
พืชสมุนไพรมีหลายชนิดที่เกษตรกรสามารถนำสารมาสกัดใช้ได้เอง ได้โดยง่าย เนื่อง
จากขั้นตอนไม่ยุ่งยากและช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย และต้นทุนในการผลิตพืชลงได้ ซึ่งพืช
สมุนไพรแต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติการควบคุมศัตรูพืชแต่ละชนิดแตกต่างกันไป แล้วแต่
วัตถุประสงค์ของเกษตรกรว่าจะใช้ควบคุมศัตรูพืชชนิดใด ก็เลือกพืชสมุนไพรที่มี
คุณสมบัติให้ตรงกับศัตรูพืชชนิดนั้นๆ ซึ่งการใช้สารสกัดจากพืชสมุนไพรก็อาจมีผล
กระทบต่อแมลงที่มีประโยฃน์ พวกตัวห้ำ ตัวเบียบนด้วย แต่มีความเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิต
และสภาพแวดล้อมน้อยกว่าสารเคมี ดังนั้น เมื่อเวลาผ่านไปถึงระยะเวลาที่เราสามารถ
อนุรักษ์และเพิ่มจำนวนศัตรูธรรมชาติที่มีประโยชน์เพิ่มมากขึ้นภายในพื้นที่จนถึงจุดที่
สมดุลแล้ว ธรรมชาติจะสามารถควบคุมกันเองได้ ตัวอย่างพืชสมุนไพรที่สามารถใช้
สารธรรมชาติควบคุมศัตรูพืช เช่น สะเดา โลติ้น สาบเสือ ยาสูบ บอระเพ็ด ตะไคร้หอม
ขมิ้นชัน





ตะไคร้หอม (Cymbopogon nardus L.)
Rendle สารที่ออกฤทธิ์ในการควบคุมแมลงศัตรูพืชที่พบในตะไคร้หอม ได้แก่
Gerniol, citronellal, Tinalool, neral, Limonene จะพบมากในใบตะไคร้
หอมมากกว่าลำต้น ควรนำเอาใบตะไคร้หอมที่มีอายุ 7-11 เดือน มาใช้ ใช้ได้ผลในการ
ไล่หนอนกระทู้ผัก หนอนใยผัก ด้วงถั่วเขียว และเพลี้ยจั๊กจั่น

วิธีการใช้ ใช้ใบ ตะไคร้หอม 1 กก. ต่อน้ำ 20 ลิตร (บดใบตะไคร้หอมแล้วหมักด้วยน้ำ
ทิ้งไว้ 1 วัน)







สะเดา
สารสกัดที่พบในสะเดาและมีฤทธิ์ในการป้องกันกำจัดแมลง คือ สาร Azadirachtin
A พบมากในเนื้อในของเมล็ด (seed kernel) สะเดาอินเดีย พบปริมาณสารสูงกว่า
พันธุ์ไทย สารอะซาดิแลกติน มีคุณสมบัติในการยับยั้ง การลอกคราบ การวางไข่ และไล่
แมลง ใช้ได้ผลดีกับหนอนเจาะยอดกะหล่ำ หนอนกระทู้หอม หนอนกะทู้ผัก หนอนเจาะ
สมอฝ้าย หนอนเจาะดอกมะลิ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยจั๊กจั่น เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยไฟและไรแดง
ได้ผลปานกลาง

วิธีการใช้ นำเมล็ดสะเดาที่ผึ่งแห้งมาบดหรือตำในอัตรา 1 กก. ต่อน้ำ 20 ลิตร ทิ้งไว้
1-2 คืน แล้วกรองเอากากออก นำสารสกัดที่ได้ไปฉีดพ่นโลติ้น

มีชื่อเรียกทั่วไปว่า หางไหล สารสกัดที่ได้จากหางไหลและมีผลในการป้องกันกำจัด
แมลง ได้แก่สารโรติโนน พบมีปริมาณมากในส่วนรากของต้นหางไหล สารโร ติโนนจะ
ออกฤทธิ์เป็นพิษโดยการกินหรือการสัมผัส นำมาใช้ป้องกันกำจัดแมลงหลายชนิด เช่น
แมลงวัน ด้วงถั่ว เพลี้ยอ่อน ตัวอ่อนเพลี้ยจั๊กจั่นฝ้าย หนอนกะทู้ผักและหนอนใยผัก

วิธีการใช้ นำส่่วนรากของโลติ้นที่มีอายุ 2 ปีขึ้นไป มาบดหรือตำให้แหลกละเอียด โดย
ใช้ราก 0.5-1 กก./ น้ำ 20 ลิตร หมักทิ้งไว้ 1 คืน ระหว่างหมักควรใช้ไม้กวนอย่าง
น้อย 3 ครั้ง แล้วนำมากรองเอาน้ำที่สกัดได้ไปฉีดพ่น







สาบเสือ (Eupstorium odoratum L.) สารสกัดที่ ออกฤทธิ์ในการควบคุมแมลง
ศัตรูพืชที่พบในสาบเสือ ได้แก่ pinene, Limonene และ nepthaquinone พบทั้ง
ในส่วนดอกและใบ แต่ในใบจะมีสารนี้มากกว่าในดอก ใช้ได้ผลดีกับ หนอนใยผัก
หนอนกระทู้ผัก เพลี้ยอ่อน และด้วงถั่วเขียว

วิธีการใช้ นำใบสาบเสือแห้ง 2 กก. ตำให้ละเอียดผสมกับน้ำ 20 ลิตร ต้ม 10 นาที ทิ้ง
ให้เย็นแล้วกรองเอากากทิ้ง นำน้ำที่ได้ไปฉีดพ่น







ยาสูบ ZNicotiana tobacum N. glutinosa) ้
สารออกฤทธิ์ในการควบคุมแมลงศัตรูพืชที่พบในยาสูบได้แก่ สารนิโคติน พบในทุกส่วน
ของต้นพืช แต่่จะพบมากที่สุดในใบและก้านใบ นิโคตินเป็นสารที่สลายตัวได้ง่าย และมี
พิษกับมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เวลาฉีดพ่น ควรระมัดระวังอย่าให้ละอองยาถูก
ตัว หลังฉีดพ่นพืชแล้วทิ้งไว้ 3-4 วัน จึงสามารถเก็บผลผลิตบริโภคได้ ใช้ได้ผลดีกับ
ด้วงหมัดผัก ด้วงเจาะเมล็ดฝ้าย เพลี้ยอ่อน เพลี้ยจั๊กจั่น มวน ไรแดง หนอนกอ หนอน
กะหล่ำปลี หนอนชอนใบ และหนอนทั่วไป

วิธีการใช้ ใช้ยาฉุน 1 กก. ผสมน้ำ 2 ลิตร ต้มนาน 1 ชม. หรือแช่ทิ้งไว้ 1 คืน กรองเอา
น้ำยาฉุนไปผสมน้ำ 100 ลิตร และใส่น้ำปูนใสหรือน้ำสบู่เล็กน้อยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
แล้วนำไปฉีดพ่นทันที หรือใช้ใบสด 1 กก. ตำละเอียดผสมน้ำ 15 ลิตร ทิ้งไว้นาน 1
วัน การฉีดพ่นให้ได้ผลดีควรฉีดพ่นในช่วงเวลาอากาศร้อนจัด






บอระเพ็ด (Tinospora rumphii) สารที่พบในเถาบอระเพ็ด พืชสามารถซึมเข้าไปอยู่
ในส่วนต่าง ๆ ของพืชได้ จัดเป็นสารสกัดประเภทดูดซึม ใช้ได้ผลกับแมลงหลายชนิด
รวมทั้งเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและเพลี้ยจั๊กจั่นสีเขียว

วิธีการใช้ นำส่วนของลำต้น (เถา) 2 กก. ตำให้ละเีอียดผสมน้ำ 20 ลิตร ทิ้งไว้ 1
คืน กรองเอาน้ำไปฉีดพ่น







ขมิ้นชัน (Curcuma longa L.) สารออกฤทธิ์ในการควบคุมแมลงศัตรูพืชที่พบใน
เหง้าขมิ้นชัน ได้แก่ pinene , phellandrene, borneol และ turmerene ขมิ้นชัน
พันธุ์อินเดียพบสารมากกว่าขมิ้นชันพันธุ์ไทย และควรนำเอาขมิ้นชันที่มีอายุระหว่าง
10 - 16 เดือน มาสกัดสาร มีประสิทธิภาพทั้งขับไล่และกำจัดแมลง ได้แก่ ด้วงงวง
ด้วงถั่วเขียว มอดข้าวเปลือก มอดแป้ง ขับไล่หนอนใยผัก หนอนหลอดหอม
หนอนกระทู้ผัก และแมลงวัน

วิธีการใช้ นำแง่งขมิ้น 1 กก. บดเป็นผงผสมน้ำ 20 ลิตร ทิ้งไว้ 1 คืน กรองเอาน้ไปฉีด
พ่น ผงขมิ้น 10 กรัมต่อถั่วเขียว 100 กรัม (เมล็ด) ออกฤทธิ์เป็นสารไล่ได้นาน 3 เดือน




http://www.khonkaen.doae.go.th/data/bio/bio1.htm


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/06/2013 9:08 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/07/2011 6:55 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

10. สารสกัดสมุนไพร ป้องกันกำจัดแอนเทร็คโนสในมะม่วงสุก...


การหาแนวทางในการป้องกันกำจัดโรคแอนแทรคโนส โดยหาสารจากธรรมชาติมาใช้
ควบคุมโรคแอนแทรคโนสของมะม่วงแทนการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืช จะเป็น
การช่วยลดปัญหาสารเคมีตกค้างในสภาพแวดล้อมดี จากการศึกษาของวัชระ (2535)

พบว่าสารสกัดของ "ทองพันชั่ง" ที่ระดับความเข้มข้น 10เปอร์เซ็นต์ บนอาหาร PDA
สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ C. gloeosporioides ที่ระยะเวลา 10 วัน ได้66.77
เปอร์เซ็นต์

สำหรับสารสกัดจากพืชชนิดอื่นๆ ผ่องเพ็ญและคณะ (2542) พบว่าสารสกัด "ว่านน้ำ
โป๊ยกั๊ก ยาสูบ และหมากสง" สามารถยับยั้งการเจริญของเส้นใยและการงอกของสปอร์
เชื้อรา C. gloeosporioides ได้ โดยจะแสดงผลในการยับยั้งการงอกของสปอร์ได้ดี
กว่าการเจริญของเส้นใย และจากผลการวิจัยของจรัส (2537) ได้ใช้สมุนไพรผง
"กานพลู และโป๊ยกั๊ก" เพื่อการยับยั้งการเจริญของเชื้อราสาเหตุโรคหลังเก็บเกี่ยวของ
มะม่วง พบว่ากานพลูสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อรา C. gloeosporioides สาเหตุ
โรคแอนแทรคโนสได้ถึง100 เปอร์เซ็นต์ ที่ความเข้มข้นตั้งแต่ 5,000 ppm ขึ้นไป
(กรรณิกา 2540) ได้

ทดสอบประสิทธิภาพของฤทธิ์ของสารสำคัญจากพืชสมุนไพรในการควบคุมโรคแอน
แทรคโนสในมะม่วง โดย "กระเทียม หอมแดง สาบเสือ มะกรูด และหอมใหญ่" ใน
การยับยั้งการเจริญและการงอกของสปอร์ของเชื้อราสองชนิด คือ C.
gloeosporioides และ Fusarium sp. โดยใช้น้ำหนักสดของพืชสมุนไพรแต่ละ
ชนิด 1, 5 และ 10 กรัม ต่อน้ำ 100 มิลลิลิตร สารละลายที่ได้เมื่อนำไปทดสอบฤทธิ์ใน
การยับยั้งการเจริญและการงอกของสปอร์เชื้อราพบว่าสารสกัดที่แสดงประสิทธิภาพใน
การควบคุมเชื้อราทดสอบได้ดีที่สุด คือ "กระเทียม" รองมา คือ "หอมใหญ่"

ในงานวิจัยครั้งนี้ ทางผู้วิจัยได้รวบรวมสารสกัดจากพืชที่มีรายงานด้านประสิทธิภาพใน
การควบคุมเชื้อราสาเหตุโรค หรือ สามารถควบคุมอาการของโรคแอนแทรคโนสได้
ผลดี พืชสมุนไพรในกลุ่มดังกล่าวจะนำมาเปรียบเทียบเพื่อคัดเลือกหาชนิดที่สามารถ
ควบคุมเชื้อรา C. gloeosporioides สาเหตุโรคแอนแทรคโนสของมะม่วงน้ำดอกไม้
และศึกษาองค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญจากพืชสมุนไพรที่สามารถออกฤทธิ์ในการควบ
คุมเชื้อรา C. gloeosporioides


http://www.phtnet.org/download/phtic-research/119.pdf


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/06/2013 9:10 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/07/2011 7:16 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลำดับเรื่อง....


11. ความรู้เบื้องต้นในการใช้สมุนไพรไล่แมลง
12. คนช่างคิดกับสารออกฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย สมุนไพร
13. ใช้พริกเลี้ยงไก่กระทง
14. สารสกัดเมล็ดมันแกว ผลงานวิจัยของ วว.
15. สมุนไพรกำจัดแมลง ใช้แบบพื้นบ้านไม่เข้าข่ายวัตถุอันตราย

16. สมุนไพร : ทางเลือกใหม่สำหรับการเลี้ยงสัตว์
17. สมุนไพรไก่ชน
18. การนำสมุนไพรมาเป็นยาสัตว์
19. เครื่องสกัดสารป้องกันและกำจัดศัตรูพืช โดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์
20. การวิเคราะห์แลคโตนรวมในฟ้าทะลายโจร




*****************************************************************




11. ความรู้เบื้องต้นในการใช้สมุนไพรไล่แมลง


สมุนไพรไล่แมลงเป็นพืชที่มีส่วนต่างๆ เช่น ใบ ราก เปลือก ดอก ผล มีสารอกฤทธิ์ที่มี
คุณสมบัติในการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์น่ารังเกียจภายในบ้าน การออกฤทธิ์
ของสมุนไพรต่อแมลงและสัตว์น่ารังเกียจภายในบ้านนั้นมีทั้งทางตรงและทางอ้อม

ผลทางตรงต่อแมลงและสัตว์น่ารังเกียจภายในบ้าน
เมื่อแมลงและสัตว์น่ารังเกียจภายในบ้านโดนสารออกฤทธิ์จากพืชสมุนไพรจะตายทันที
โดยสารออกฤทธิ์มักจะมีผลต่อระบบประสาทและระบบหายใจของแมลง


ผลทางอ้อม
เมื่อแมลงและสัตว์น่ารังเกียจภายในบ้านโดนพืชสมุนไพรจะไม่ตายทันที แต่สารออก
ฤทธิ์จะมีผลต่อระบบอื่นๆของแมลงเช่น ยับยั้งการกินอาหารของแมลงและสัตว์น่า
รังเกียจภายในบ้าน ยับยั้งการลอกคราบของแมลงและสัตว์น่ารังเกียจภายในบ้าน ทำให้
แมลงและสัตว์น่ารังเกียจไม่เจริญเติบโตเป็นตัวแก่ ไม่สามารถวางไข่ได้เป็นต้น

ดังนั้นการเลือกสมุนไพรเพื่อใช้ในการไล่แมลงจึงควรรู้ว่า สมุนไพรใดมีคุณสมบัติอย่าง
ไร มีผลต่อการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์น่ารังเกียจภายในบ้านอย่างไร และควร
เลือกใช้ส่วนต่างๆของพืชสมุนไพรที่จะนำมาทำเป็นสารสมุนไพรกำจัดแมลงและสัตว์น่า
รังเกียจภายในบ้านอย่างเหมาะสม เพราะส่วนต่างๆของพืชไม่ว่าจะเป็น ใบ ราก เปลือก
ดอก ผล อาจจะมีคุณสมบัติและประสิทธิภาพในการไล่แมลงและสัตว์น่ารังเกียจภายใน
บ้านไม่เท่ากัน

นอกจากนั้นแล้ว การเก็บเกี่ยวส่วนต่างๆของพืชในช่วงเวลาที่เหมาะสม ก็จะช่วยให้
สมุนไพรมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนี้คือ

พืชที่ใช้ส่วนดอก........ควรเก็บในช่วงที่ดอกตูมเริ่มจะบาน
พืชที่ใช้ส่วนผล..........ควรเก็บในระยะที่ผลยังไม่สุก

พืชที่ใช้ส่วนเมล็ด.......ควรเก็บในระยะที่ผลสุกงอมเต็มที่
พืชที่ใช้ส่วนราก/หัว....ควรเก็บในระยะที่พืชเริ่มมีดอก หรือในช่วงฤดูหนาวถึงปลายฤดูร้อน

พืชที่ใช้ส่วนเปลือก.....ควรเก็บก่อนที่จะมีการผลิใบใหม่ ควรเก็บในช่วงฤดูร้อนและฤดูฝน


อย่างที่กล่าวแล้วข้างต้นว่า การใช้สมุนไพรไล่แมลงและสัตว์น่ารังเกียจภายในบ้านนั้น
เป็นวิธีการที่ไม่สำเร็จรูปเหมือนการใช้สารเคมี และบางครั้งแมลงและสัตว์น่ารังเกียจ
ภายในบ้านก็จะไม่ตายในทันทีที่ใช้ การใช้สมุนไพรส่วนใหญ่ต้องใช้ปริมาณที่มีความ
เข้มข้นค่อนข้างสูง เนื่องจากปริมาณสารออกฤทธิ์ที่ได้จากสารสกัดจากแบบพื้นบ้าน
เช่น การแช่น้ำหรือแอลกอฮอล์จะได้ปริมาณต่ำ การใช้สมุนไพรไล่แมลงและสัตว์น่า
รังเกียจภายในบ้านต้องใช้ต่อเนื่องในช่วงแรกและใช้ในเวลาสถานที่ที่เหมาะสม การใช้
สมุนไพรไล่แมลงและสัตว์น่ารังเกียจภายในบ้านไม่มีผลข้างเคียงต่อคนใช้ สิ่งมีชีวิตอื่นๆ
และสภาพแวดล้อม


ดังนั้น หากมีความรู้ความเข้าใจที่ถูต้องแล้วการใช้สมุนไพรก็จะเป็นวิธีป้องกันและกำจัด
แมลงและสัตว์น่ารังเกียจภายในบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่มีผลดีกว่าการใช้สาร
เคมีอย่างมากมายในด้านความปลอดภัยต่อผู้ผลิต ต่อผู้บริโภค และต่อสภาพแวดล้อม


สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการเตรียมสารสมุนไพรและการใช้
*เมื่อบดหรือแช่สมุนไพรแล้วจะเก็บไว้ได้ไม่นาน ควรใช้ในวันเดียว

*ไม่ควรฉีดพ่นสารสมุนไพรเมื่อมีแสงแดดจัดหรือฝนตกมาก หลังการฉีดพ่นอาจต้อง
รอ 2-3 วัน หรืออาจต้องฉีดพ่นซ้ำติดต่อกันอีกหลายวัน แมลงและสัตว์น่ารังเกียจจึงจะ
ตาย เพราะสารสมุนไพรมีฤทธิ์ในการทำลายแมลงทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม

*ควรผสมสารในการคงกลิ่นทุกครั้งที่ใช้สารสมุนไพร เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการ
รักษาของสมุนไพรในบ้านเรือน



http://www.nsam2006.com/index.asp?autherid=5&ContentID=10000024&title=%A4%C7%D2%C1%C3%D9%E9%E0%BA%D7%E9%CD%A7%B5%E9%B9%E3%B9%A1%D2%C3%E3%AA%E9%CA%C1%D8%B9%E4%BE%C3%E4%C5%E8%E1%C1%C5%A7


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/06/2013 9:28 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/07/2011 7:54 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

12. คนช่างคิดกับสารออกฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย สมุนไพร

ของ นพนิธิ ทองหิน

สมุนไพรเป็นพืชที่นำมาใช้รักษาโรคนิยมแพร่หลาย ส่วนใหญ่เป็นพืชผักใช้บริโภคเป็น
อาหารหรือส่วนประกอบของอาหารต่างๆ จากการค้นคว้า รวบรวมข้อมูลสมุนไพรพื้น
บ้านหลายชนิด มีสมุนไพรบางชนิดรักษาโรคสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียได้ ทำให้ นาย
นพนิธิ ทองหิน นักเรียนทุนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทาง
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) จากโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จ.เชียงใหม่ ชั้น
มัธยม 6 สนใจทำโครงการศึกษาการออกฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus
aureus และ Escherichia coli โดยเลือก ข่า ตะไคร้ ชะพลู มะระ แค ดูว่าสารสกัด
จากสมุนไพรกลุ่มนี้สามารถออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียมากน้อยเพียง
ใด เทียบกับยาแผนปัจจุบัน Gentamycin ความเข้มข้นที่ 75



วิธีการนำข่า ตะไคร้ ชะพลู มะระ แคใช้ส่วนใบมาหั่นละเอียดแช่แอลกอฮอล์ แล้ว
ระเหยออก นำสารที่สกัดไปทดสอบการยับยั้งแบคทีเรีย พบว่า มะระ ชะพลู ข่า ออก
ฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ส่วนแค ตะไคร้ ยับยั้งไม่ได้

ผลศึกษาเรื่องนี้ จะเป็นการนำความรู้ไปต่อยอดประยุกต์สร้างคุณค่าให้การรักษาโรค
โดยเฉพาะสารสกัดจากมะระ ชะพลู และข่า นำไปทำยาต่อไป



http://www.measwatch.org/autopage/show_page.php?t=27&s_id=482&d_id=478


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/06/2013 9:30 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/07/2011 8:02 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

13. ใช้พริกเลี้ยงไก่กระทง


นอกจากจะใช้ในการประกอบอาหารหลายอย่างของคนไทยแล้ว ยังมีการวิจัยพบว่า
สามารถนำพริกมาใช้ในการเลี้ยงสัตว์ได้ด้วย

ตัวอย่างแรกก็คือ การใช้พริกในการเลี้ยงไก่กระทง โดยเป็นงานวิจัยของ ดร.นวลจันทร์
พารักษา และทีมงานอีก 4 คน จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน ได้ศึกษา
เรื่องการใช้สารสกัดหยาบจากพริกแดงในไก่กระทงที่เลี้ยงภายใต้สภาพ โรงเรือนปิด
ซึ่งเป็นสภาพการเลี้ยงทั่วไปในปัจจุบันนี้ วิธีการก็คือ เอาสารสกัดจากพริกแดงมาผสม
ในอาหารเลี้ยงสัตว์ในอัตราส่วนต่าง ๆ กัน โดยใช้ปริมาณสารแคบไซซิน ซึ่งเป็น
สารออกฤทธิ์ในพริกแดงเป็นเกณฑ์ นอกจากนี้ก็ยังมีการใช้น้ำมันกะเพรามาร่วมด้วย

ก่อนที่จะเล่าให้ฟัง ว่าเมื่อมีการใช้สารสกัดของทั้งสองอย่างมาเลี้ยงไก่แล้วได้ผลเป็น
อย่างไร ก็คงจะต้องเล่าที่มาที่ไป และหลักคิดในการเลือกพืชทั้งสองอย่างนี้มาใช้ใน
ลักษณะของสมุนไพรในไก่กันก่อน ประการแรกก็คือ ในอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่มีการ
เติมสารปฏิชีวนะลงไปในอาหาร สัตว์ด้วยเพื่อเร่งการเติบโต นอกจากนี้ก็ยังมีการเติม
สารอื่นๆ เข้าไปอีกเพื่อช่วยลดอัตราการตาย ลดการเจ็บป่วย

แต่ว่าสารเหล่านี้ อาจมีผลเสียต่อคน ซึ่งนำเนื้อไก่มากินอีกทอดหนึ่งได้ และที่สำคัญคือ
เรื่องการเติมสารปฏิชีวนะลงไปในอาหารสัตว์นั้น ทางยุโรปก็มีกติกาออกมาห้ามไม่ให้
ใช้ นั่นก็หมายความว่าเราต้องหาวิธีการอื่นมาทดแทน เมืองไทยโชคดีที่อยู่ในเขตร้อน
และมีพืชสมุนไพรหลายชนิดที่มีคุณสมบัติดีเด่นหลายอย่าง และมีโอกาสนำมาใช้แทน
สารปฏิชีวนะได้เป็นอย่างดี

ที่สำคัญคือพืช บางอย่างได้ใช้ในอาหารประจำวันของเราอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นพริก
กระเทียม กะเพรา เป็นต้น ดังนั้น การที่นักวิจัยเลือกที่จะนำพริกและกะเพรามาศึกษา
จึงเป็นเรื่องที่ถูกต้องเป็นอย่างยิ่ง เพราะว่าสามารถลดความกังวลของผู้บริโภคในเรื่อง
ของสารพิษหรือผลข้างเคียงจาก สมุนไพรลงได้ในระดับหนึ่ง คงต้องไม่ลืมว่าสมุนไพร
หรือสารสกัดที่ได้มาจากพืชบางชนิดก็เป็นพิษต่อคนได้ ยกตัวอย่างเช่นเห็ดพิษ หากกิน
เข้าไปก็มีโอกาสถึงตายได้เช่นกัน

ทั้งพริกและน้ำมันกะเพรามีศักยภาพสูงในการนำมาใช้ในอุตสาหกรรมเลี้ยงไก่ก็เพราะ
ว่าสรรพคุณที่มีอยู่ คือ

- กระตุ้นการกินอาหาร ช่วยเพิ่มการหลั่งน้ำย่อย
- ยับยั้งการเติบโตของจุลินทรีย์ที่เป็นโทษได้หลายชนิด

ซึ่งดูแล้วน่าจะนำมาใช้ทดแทนสารปฏิชีวนะที่ต้องใส่ในอาหารสัตว์ได้เป็นอย่างดี อย่าง
น้ำมันกะเพรานั้น ก็มีความคล้ายคลึงกับน้ำมันจากใบออริกาโน ที่เราใช้เป็นเครื่องปรุง
โรยหน้าพิซซ่า และในต่างประเทศก็มีการใช้น้ำมันจากออริกาโนผสมในอาหารเลี้ยง
สัตว์และได้ ผลดี สำหรับเมืองไทยซึ่งมีการปลูกและใช้กะเพรามากกว่าออริกาโน

จึงได้ลองใช้น้ำมันจากกะเพราเพื่อแทนน้ำมันจากออริกาโนดังกล่าว ส่วนผลการ
ทดลองใช้เป็นอย่างไร และมีวิธีการทำอย่างไรนั้น จะมาเล่าให้ฟังต่อในคราวหน้าครับ


รศ.ดร.พีรเดช ทองอำไพ




http://news.enterfarm.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/06/2013 9:31 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/07/2011 8:36 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

14. สารสกัดเมล็ดมันแกว ผลงานวิจัยของ วว.


แมลงศัตรูพืชนับเป็นปัญหาสำคัญต่อการทำเกษตรกรรมของเกษตรกร ซึ่งการป้องกัน
และกำจัดศัตรูพืชนั้น จำเป็นต้องพึ่งวัตถุมีพิษทางการเกษตร อันได้แก่ ยาฆ่าแมลง ที่มี
ราคาแพงและต้องนำเข้าจากต่างประเทศ อีกทั้งการใช้สารดังกล่าวเป็นระยะเวลานาน
จะส่งผลก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เช่น เป็นพิษต่อคนและสัตว์ ทำให้เกิดการดื้อยา
ของแมลง และยังทำลายแมลงที่มีประโยชน์ในระบบนิเวศวิทยา ก่อให้เกิดการตกค้าง
ของสารพิษต่อผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งส่งผลกระทบทั้งสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต

ด้วยตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว วว. โดย ศูนย์เทคโนโลยีปุ๋ย จึงได้ทำการศึกษาวิธีการ
สกัดสารออกฤทธิ์จากพืช / สมุนไพร และทำการทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดต่อ
แมลงศัตรูพืชขึ้น เพื่อนำสารสกัดธรรมชาติโดยเฉพาะจากพืชมาใช้ทดแทนสารเคมีใน
การป้องกันกำจัดศัตรูพืช

"ประเทศไทยจำเป็นต้องนำเข้าสารปราบศัตรูพืชมากกว่าร้อยชนิด ทั้งในลักษณะเดี่ยวๆ
หรือสูตรผสมเป็นปริมาณประมาณ 20,000 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1,000 ล้านบาท
ต่อปีสารเหล่านี้อาจเป็นสารเคมีชนิดใหม่ๆ ที่ถูกนำมาใช้โดยที่ยังไม่ผ่านขั้นตอนการ
ตรวจสอบความเป็นพิษ จึงอาจก่อให้เกิดโทษมากกว่าคุณประโยชน์ ปัจจุบันจึงมีการ
เสาะหาสารเคมีจากธรรมชาติ เช่น พืช มาใช้แทนสารสังเคราะห์ เนื่องจากมีข้อดีที่
สามารถสลายตัวเองตามกระบวนการชีวภาพในสิ่งแวดล้อมและกลายเป็นสารไม่มีพิษ
จึงไม่มีพิษตกค้างหรือพิษสะสมเหมือนกับสารเคมีกำจัดแมลงที่เป็นสารเคมีสังเคราะห์

ในการศึกษาวิธีการสกัดสารออกฤทธิ์และการทดสอบประสิทธิภาพของสารต่อแมลง
ศัตรูพืชนั้น ดร.สุริยา สาสนรักกิจ ผู้อำนวยการ ศูนย์เทคโนโลยีปุ๋ย วว. และคณะ ได้ทำ
การทดสอบกับพืช 4 ชนิด คือ หนอนตายหยาก ข่าลิง เมล็ดมันแกว และ
หางไหล
ซึ่งเป็นพืชที่สามารถนำมาสกัดเป็นสารป้องกันกำจัดแมลงได้ จาก
ผลการทดสอบของ วว. พบว่าเมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืชทั้ง 4
ชนิดดังกล่าว โดยวิธีการสกัดแบบลำดับส่วนด้วยตัวทำละลายที่มีความแรงของขั้วแตก
ต่างกัน 3 ชนิด คือ เฮกเซน เมทานอล และน้ำ พบว่า สารสกัดจากเมล็ดมันแกว ซึ่งมี
สาร rotenone และ saponins ที่มีสารออกฤทธิ์เป็นยาฆ่าแมลง ได้ส่งผลต่ออัตรา
การตายของหนอนกระทู้ผักสูงที่สุด ในระดับความเข้มข้นของสารตั้งแต่ 0.1% ขึ้นไป
จะส่งผลต่ออัตราการตายของหนอนกระทู้ในผักมากกว่า 90%

ทั้งนี้ วว. ได้นำผลิตภัณฑ์ไปทำการทดสอบในระดับเรือนทดลองและระดับภาคสนาม
แปลงปลูกผักกาดขาวปลีและผักคะน้า พบว่าอัตราที่เหมาะสมในการฉีดพ่นเพื่อป้องกัน
และกำจัดแมลง ควรใช้ความเข้มข้น 0.25-1%

ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์กำจัดศัตรูพืชจากสารสกัดเมล็ดมันแกว ผลงานวิจัยของ วว. นี้ สามารถ
เก็บรักษาได้อย่างน้อย 8 สัปดาห์ ด้วยการเก็บในขวดสีชา หรือไม่ให้โดนแสงแดด และ
เก็บที่อุณหภูมิห้อง โดยที่ผลิตภัณฑ์ยังมีปริมาณสารออกฤทธิ์คงเดิม…ซึ่งการดำเนิน
โครงการในขณะนี้ วว. ได้พัฒนาเครื่องจักรและอุปกรณ์ต้นแบบกระบวนการผลิต
สารสกัดจากเมล็ดมันแกว เพื่อให้ได้กระบวนการผลิตสารอย่างมีประสิทธิภาพและ
สามารถผลิตได้อย่างเพียงพอกับความต้องการของเกษตรกร

สำหรับการทดสอบความเป็นพิษของผลิตภัณฑ์กำจัดศัตรูพืชจากสารสกัดเมล็ดมันแกว
นั้น ดร. ประไพภัทร คลังทรัพย์ นักวิชาการ ฝ่ายเภสัชและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ วว.
กล่าวว่า

เนื่องจากผลิตภัณฑ์กำจัดศัตรูพืชจากสารสกัดเมล็ดมันแกว ผลงานของ วว. นี้ จะถูกนำ
ไปใช้ในรูปสารละลายและพ่นฝอยสู่พืช อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังและ
ดวงตาได้ วว. จึงทำการทดสอบตามมาตรการทดสอบของทั้งประเทศสหรัฐอเมริกา
และยุโรป โดยใช้สัตว์ทดลองในการศึกษาความเป็นพิษเฉียบพลัน ทั้งการกินและการ
ซึมผ่านผิวหนัง โดยทำการเจือจางผลิตภัณฑ์ 100 เท่าตามวิธีการที่นำไปใช้จริง ปราก
ฎว่าตรวจไม่พบอาการผิดปกติใดๆ และความผิดปกติของอวัยวะภายในต่างๆ นอกจาก
นั้นผลิตภัณฑ์ยังไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อดวงตาและผิวหนังเมื่อทดสอบใน
กระต่าย

ทั้งนี้ วว. จะดำเนินการทดสอบเพิ่มเติม เพื่อศึกษาฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ซึ่งเป็นการเปลี่ยน
แปลงต่อสารพันธุกรรมหรือ DNA และการทดสอบพิษตกค้างต่อสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำ
ต่อไป


ศูนย์เทคโนโลยีปุ๋ย วว. เลขที่ 35 หมู่ 3 เทคโนโธานี ตำบลคลองห้า อำเภอคลอง
หลวง จังหวัดปทุมธานี 12120 โทรศัพท์ 0 2577 9281-2 โทรสาร 0 2577 9009
ในวันเวลาราชการ


ที่มา : สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
บันทึกข้อมูลโดย : นาย เอกพงศ์ มุสิกะเจริญ,
http://www.clinictech.most.go.th



http://www.clinictech.most.go.th/techlist/0214/agriculture/00000-398.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/06/2013 9:33 pm, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/07/2011 10:27 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

15. สมุนไพรกำจัดแมลง ใช้แบบพื้นบ้านไม่เข้าข่ายวัตถุอันตราย

นับตั้งแต่เกิดกรณีการประกาศให้พืชสมุนไพร 13 ชนิดเป็นวัตถุอันตรายในบัญชี ข ก็ได้
นำเสนอสมุนไพรแต่ละตัวที่ใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันอย่างกว้างขวาง เพื่อเสนอมุม
มองของการใช้สอยที่แตกต่างจากอาหารและยา แต่ก็ไม่ได้สร้างผลกระทบและอันตราย
ต่อสุขภาพของประชาชนแต่อย่างใด

สัปดาห์นี้นำเสนอสมุนไพร 5 ชนิดที่ไม่ได้ใช้เป็นอาหาร แต่ในตำรายาไทยก็มีการนำไป
เข้าตำรับยา และเป็นที่นิยมนำไปใช้กำจัดแมลงศัตรูพืช ได้แก่ ดาวเรือง, ตะไคร้หอม,
หนอนตายหยาก, กากเมล็ดชา และหญ้าสาบเสือ

ดาวเรือง นิยมปลูกเป็นไม้ประดับตามที่สาธารณะ ชื่อดาวเรืองถือเป็นนามมงคลจึงนิยม
นำไปร้อยมาลัยไหว้พระ หรือใช้เป็นมาลัยต้อนรับผู้มีชื่อเสียงทางการเมือง และตอนหา
เสียงเลือกตั้งทุกสนามต้องเห็นคนใช้มาลัยดอกดาวเรืองคล้องคอกันทั้งขบวน เป็นเคล็ด
ส่งเสริมความรุ่งเรืองและข่มนามฝ่ายตรงข้ามไปในตัว

ดอกดาวเรืองมีสรรพคุณ เป็นยาบำรุงสายตา เป็นยาฟอกเลือด ละลายเสมหะ ขับลม แก้
เวียนหัว ไอหวัด ไอกรน เต้านมอักเสบ คางทูม หลอดลมอักเสบ ใบ ถ้านำมาคั้นน้ำจะ
แก้หูเจ็บ ถ้านำมาทาจะแก้แผลเปื่อยเน่าได้ แก้ฝีต่างๆ ใช้ทั้งต้นนำมาทาเป็นยารักษา
โรคไส้ติ่งอักเสบ หรือมีอาการปวดท้องขนาดหนักคล้ายกับไส้ติ่ง และเป็นยารักษาแก้ฝี
ลมด้วย น้ำคั้นจากดอกจะได้สีเหลือง นำมาใช้แต่งอาหารเป็นสีธรรมชาติ แต่ปัจจุบันไม่
นิยมใช้ สารสกัดจากดอกมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ต้านการเจริญของเชื้อแบคทีเรียและ
ไวรัส จึงนำมาใช้ในวงการเครื่องสำอาง สำหรับรักษาอาการอักเสบของผิวหนัง แผลไฟ
ไหม้ น้ำร้อนลวก และช่วยชะลอความเหี่ยวย่นของผิวพรรณ เกษตรกรมักปลูกแซมตาม
แปลงผักเพื่อใช้กลิ่นไล่แมลงไม่ให้รบกวนแปลงผัก

ตะไคร้หอม มีน้ำมันหอมระเหย มีฤทธิ์ขับลม สารสกัดนิยมใช้ทำสเปรย์ไล่ยุงและแมลง
บางบ้านปลูกตะไคร้หอมริมรั้ว หรือใส่กระถางตั้งเรียงรายริมระเบียงเพื่อช่วยไล่ยุง หรือ
เอาใบตัดเป็นท่อนๆ ขนาดพอเหมาะไปวางไว้ตามมุมอับหรือที่ยุงชอบเข้าไปอยู่ก็ช่วยไล่
ยุงได้ เกษตรกรใช้ใบหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ หรือไม่ก็โขลกให้แหลก นำไปแช่น้ำทิ้งไว้สักคืน
จากนั้นกรองเอาน้ำไปใช้ฉีดพ่น ช่วยกำจัดพวกแมลง หนอนกระทู้ หนอนใยผัก ก่อน
หน้านี้ ตะไคร้หอมจัดอยู่ในบัญชีวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ซึ่งเป็นกลุ่มสารสกัด

ตะไคร้หอมทั้งต้นมีสรรพคุณแก้ริดสีดวงในปาก ใช้เป็นยาแก้ปากแตกระแหง ขับโลหิต
ระดู ผู้ที่ตั้งครรภ์ทานเข้าไปจะแท้งได้ ต้น แก้ลมพานไส้ แก้ธาตุ แก้ลมไม่ปกติ รากแก้
ลมจิตรวาต หัวใจกระวนกระวายฟุ้งซ่าน ใบใช้เป็นยาคุมกำเนิด ชำระล้างลำไส้มิให้เกิด
ซาง น้ำมันหอมระเหยนำไปใช้ทาขนสุนัขและแมวป้องกันพวกหมัดได้

หนอนตายหยาก เป็นสมุนไพรที่มีรสเบื่อเมา หนอนตายหยากมี 2 ชนิด คือ หนอนตาย
หยากตัวผู้ (กะเพียดหนู) และหนอนตายหยากตัวเมีย (กะเพียดช้าง) ซึ่งมีรสหวานขม
รสชาติไม่แรงเท่าตัวผู้ ใช้ได้ดีที่สุดในการรักษาโรคภายนอก และใช้ในการประกอบยา
ใช้ภายนอกมากกว่ายาใช้ภายใน ทั้งสองชนิดสามารถใช้แทนกันได้ในการรักษาโรคผื่น
คัน รักษาโรคเกาต์ โรคปวดข้อ เป็นยาเบื่อขับพยาธิเส้นด้าย แก้ปวด เจ็บคอเรื้อรัง
รักษาโรคมะเร็งคุดทะเรื้อน และใช้ตัวผู้รมหัวริดสีดวงให้ยุบ

สรรพคุณทางยาจากส่วนต่างๆ ราก ฆ่าเหา หิด รักษาโรคผิวหนัง รักษาริดสีดวง ทำให้
หัวริดสีดวงฝ่อ ฆ่าแมลงและหนอน แก้แมงกินฟัน แก้ปวดฟันหัว แก้พยาธิต่างๆ ใบ แก้
ปวดฟัน ฆ่าแมลง หนอนและเหา ทั้งต้น ฆ่าพยาธิตัวกลม ไม่ระบุส่วนที่ใช้ รักษาโรคผิว
หนัง แก้พยาธิต่างๆ ขับประจำเดือน ทำให้หัวริดสีดวงทวารหนักฝ่อ แก้พิษน้ำเหลือง
เกษตรกรใช้หนอนตายหยากตำให้ละเอียดผสมกับน้ำมันมะพร้าว กรองเอาน้ำไปใช้ฉีด
พ่นกำจัดแมลง หนอนผีเสื้อ หนอนกระทู้ หนอนหลอดหอม และแมลงวันทอง
ภูมิปัญญาไทยเขาใช้หนอนตายหยากวางบนปากไหหมักปลาร้าหมักน้ำปลา เพื่อป้องกัน
ไข่หนอนแมลงวันลงไห

กากเมล็ดชา หรือ tea seed cake เป็นส่วนเหลือจากการหีบน้ำมันจากเมล็ดชา มี
ลักษณะเป็นก้อนแข็ง มีการนำเข้าก้อนกากเมล็ดชาจากประเทศจีนเพื่อใช้กำจัดปลา
ต่างๆ ในนากุ้ง เป็นเวลานานกว่า 20 ปีแล้ว ในเมล็ดชานี้มีสารซาโปนิน (saponin) อยู่
ประมาณ 10-13% ซึ่งมีความเป็นพิษรุนแรงเฉพาะสัตว์เลือดเย็นหรือสัตว์ชั้นต่ำ เช่น
ปลา กุ้ง และหอยเท่านั้น ซาโปนินจะมีผลต่อศูนย์ประสาทที่ควบคุมการหายใจของสัตว์
ชั้นต่ำ ทำให้ขาดออกซิเจนและทำให้เกิดการสลายตัวของเม็ดเลือดแดง พิษของเมล็ด
ชาสลายตัวได้ง่าย จะหมดไปหลังการใช้สารละลายเป็นเวลา 7-14 วัน

มีการนำกากเมล็ดชามาใช้กำจัดหอยเชอร์รี่ในนาข้าว เนื่องจากที่ผ่านมามีการระบาดใน
นาข้าวสูง และเกษตรกรใช้สารเคมีซึ่งส่งผลให้ปลาปูและสัตว์อื่นๆ ตายจำนวนมาก และ
ยังมีสารตกค้างในสิ่งแวดล้อมและข้าวอีกด้วย กากเมล็ดชาจึงเป็นทางเลือกในการกำ
จัดหอยเชอร์รี่ที่มีประสิทธิภาพ และสลายตัวได้เร็วจึงไม่มีพิษตกค้าง ไม่เป็นอันตรายต่อ
คนและสิ่งแวดล้อม

สาบเสือ หรือชาวบ้านนิยมเรียกว่าหญ้าสาบเสือ พบได้ทั่วไปตามที่รกชัฏ สมัยก่อนตอน
เป็นเด็ก ไปวิ่งเล่นจนได้แผลหรือใครได้แผลมา ผู้ใหญ่จะเด็ดใบสาบเสือขนาดไม่แก่ไม่
อ่อนขยี้ให้แหลกแล้วโปะปากแผลห้ามเลือดและฆ่าเชื้อได้ ต้องทนแสบหน่อยแต่ใช้ได้
ผลดี วิธีใช้กำจัดศัตรูพืชจะใช้ใบสดหรือแห้งก็ได้ เอาไปโขลกให้ละเอียดหมักกับน้ำทิ้ง
ไว้สักหนึ่งคืน แล้วกรองเอาแต่น้ำไว้ใช้ฉีดพ่น สามารถฆ่าแมลงและไล่หนอน เช่น
เพลี้ยกระโดด เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยหอย เพลี้ยไฟ หนอนกระทู้ควาย หนอนใยผัก

สมุนไพรดังกล่าวไม่มีรายงานว่าเป็นพิษต่อคน อาจมีการระคายเคืองบ้างในคนที่อาจแพ้
สารเหล่านั้น แต่จะสลายไปในเวลาไม่นาน ซึ่งเหมาะสำหรับการส่งเสริมทางการเกษตร
ในระบบเกษตรพอเพียงและเกษตรอินทรีย์เป็นอย่างยิ่ง.


http://herbs-in-manman.blogspot.com/2009/10/blog-post_8348.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 15/06/2013 5:45 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/07/2011 10:44 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

16. สมุนไพร : ทางเลือกใหม่สำหรับการเลี้ยงสัตว์


ตำรับยาถ่ายพยาธิ วัว-ควาย

ตำรับที่ 1.1 ตัวยา บอระเพ็ด 1 กก. เกลือ 2 กำมือ
วิธีปรุงยา บอระเพ็ดผสมกับน้ำ คั้นเอาน้ำ
วิธีใช้ กรอกให้ควายกิน
สรรพคุณ ถ่ายพยาธิ และ รักษาอาการสัตว์ไม่กินหญ้า เบื่ออาหาร

ตำรับที่ 1.2 ตัวยา เมล็ดน้อยหน่า น้ำ
วิธีปรุงยา ตำเมล็ดน้อยหน่าให้ละเอียดผสมน้ำ
วิธีใช้ กรอกให้วัว- ควายกิน
สรรพคุณ ฆ่าพยาธิภายใน
หมายเหตุ เมล็ดน้อยหน่า มีสารออกฤทธิ์ คือ squamocin ซึ่งฆ่าเห็บเหาและแมลงได้

ตำรับที่ 1.3 ตัวยา มะเกลือ น้ำ
วิธีปรุงยา ตำมะเกลือ 10 เม็ด พอแหลกคั้นกับน้ำ 1 ลิตร กรองเอาน้ำ
วิธีใช้ กรอกให้ควายกินตอนเช้าครั้งเดียว ควรใช้คั้นสดแล้วกรอกให้กินทันที
สรรพคุณ ถ่ายพยาธิ

หมายเหตุ มะเกลือมีสารสำคัญในการออกฤทธิ์ขับพยาธิ คือ diospyrol diglucoside
ซึ่งละลายน้ำได้ดี จึงไม่ดูดซึมผ่านลำไส้ แต่ถูกพยาธิในลำไส้กินเข้าไป ทำให้พยาธิตาย


ตำรับที่ 1.4 ตัวยา ใบขี้เหล็ก 5 กำมือ กะทิ ? กก เกลือ 3 กำมือ และน้ำ
วิธีปรุงยา นำใบขี้เหล็กมาบดให้แหลกกับเกลือและหัวกะทิ
วิธีใช้ ใส่กระบอกไม้ไผ่กรอกให้สัตว์กิน
สรรพคุณ รักษาพยาธิ


ตำรับที่ 1.5 ตัวยา เปลือกสะเดา น้ำซาวข้าว
วิธีปรุงยา โขลกเปลือกสะเดาซึ่งมีรสขม แล้วแช่ในน้ำซาวข้าว คั้นเอาแต่น้ำ
วิธีใช้ กรอกตอนเช้าหรือตอนเย็นก็ได้วันละ 3-4 กระบอกไม้ไผ่ ให้กิน 3-4 วัน
สรรพคุณ รักษาพยาธิยาถ่ายพยาธิเส้นด้าย


ตำรับที่ 1.6 ตัวยา ลูกสะแก เกลือ
วิธีปรุงยา ลูกสะแกประมาณ 2-3 กำมือ ตำกับเกลือพอเค็ม เติมน้ำ 1 ลิตร
ใช้กระบอกไม้ไผ่กรอกทันทีครั้งละ 1 ลิตร
วิธีใช้ ใช้กรอก เป็นยาถ่ายพยาธิ
สรรพคุณ ยาถ่ายพยาธิตัวกลมในควาย



2. ตำรับยาบำรุงวัว-ควาย กินหญ้าดีอ้วนขึ้น
ตำรับที่ 2.1 ตัวยา บอระเพ็ด 1 กก. เกลือ 3 กำมือ ปัสสาวะคน น้ำซาวข้าว (ไข่ไก่ ไข่เป็ด)

วิธีปรุงยา เอาบอระเพ็ดมาหมักกับเกลือ 3 กำมือ และน้ำปัสสาวะพอท่วมกับน้ำซาข้าว ทิ้งไว้ 7 วัน

วิธีใช้ รินเอาน้ำมาผสมกับไข่ 1 ฟอง (อาจไม่ผสมไข่ก็ได้) กรอกให้สัตว์กินตอนเช้า หรือตั้งไว้ให้สัตว์กิน
สรรพคุณ ทำให้วัว – ควายอ้วนขึ้น รักษาอาการเบื่ออาหารไม่กินหญ้า


ตำรับที่ 2.2 ตัวยา ลูกยอสุก ข้าวบูด เกลือ น้ำ
วิธีปรุงยา นำลูกยอสุกดองกับข้าวบูดกับเกลือผสมน้ำ
วิธีใช้ รินเอาน้ำกรอกให้สัตว์กินตอนเช้า หรือตั้งไว้ให้กินทั้งเนื้อและน้ำ
สรรพคุณ รักษาอาการสัตว์ไม่กินหญ้าเบื่ออาหาร

ตำรับที่ 2.3 ตัวยา เปลือกสะเดา น้ำซาวข้าว เกลือ ไพล ขมิ้น มะกรูด
วิธีปรุงยา นำเปลือกสะเดามาตีให้แตก ตำรวมกับขมิ้น ไพล ให้แหลก ผ่ามะกรูด
นำทุกอย่างมาผสมกันแช่ในถังกรองเอาน้ำ
วิธีใช้ รินเอาน้ำกรอกให้สัตว์กิน
สรรพคุณ รักษาอาการสัตว์ไม่กินหญ้าเบื่ออาหาร

ตำรับที่ 2.4 ตัวยา ยาดำ ไพล ส้มมะขามเปียก
วิธีปรุงยา ใช้ยาดำขนาด 2 เท่าหัวแม่มือผสมกับส้มมะขามเปียกหรือไพลขนาด
2 ก้อนเท่าหัวแม่มือ แล้วละลายน้ำ
วิธีใช้ กรอกขนาด 1 กระบอกไม้ไผ่ เวลาไหนก็ได้
สรรพคุณ ควายจะมีระบบขับถ่ายเป็นปกติด



3 ตำรับยาแก้เส้นตึง เดินไม่ได้ ท้องแข็ง หลังโก่ง
ตำรับที่ 3.1 ตัวยา ต้นโคลาน เถาเอ็นอ่อน รากกำลังหนุมาน กำลังช้างสาร
โด่ไม่รู้ล้ม รากหญ้าคา รากหมาก ตาไม้ไผ่สามตา

วิธีปรุงยา ต้มทุกอย่างรวมกัน
วิธีใช้ รินเอาน้ำกรอกให้กินทุกเข้า
สรรพคุณ รักษาโรคเส้นตึง

ตำรับที่ 3.2 ตัวยา หญ้างวงช้างทั้ง 5 ตะไคร้ทั้ง 5 น้ำมันก๊าด
วิธีปรุงยา ตำยาแล้วผสมน้ำมันก๊าด
วิธีใช้ ทาตามตัว
สรรพคุณ เส้นตึงจะหาย

ตำรับที่ 3.3 ตัวยา เสล็ดพังพอน ข่า ตะไคร้ น้ำ
วิธีปรุงยา ตำเสล็ดพังพอน ข่า ตะไคร้ ให้ละเอียดนำไปห่อผ้าต้ม
วิธีใช้ นำไปประคบตรงที่เป็น
สรรพคุณ แก้โรคตัวแข็ง ขาแข็ง หลังแข็ง

ตำรับที่ 3.4 ตัวยา ใบหนาด บอระเพ็ด ไพล เกลือ ต้นตายปลายเป็น
วิธีปรุงยา นำทุกอย่างตำรวมกันคั้นเอาน้ำ
วิธีใช้ เอาน้ำกรอกให้สัตว์กิน
สรรพคุณ รักษาโรคไข้สามวัน หรือไข้ขา



4. ตำรับยารักษาโรคผิวหนัง เห็บ เหา วัว-ควาย
ตำรับที่ 4.1 เมล็ดน้อยหน่า
วิธีปรุงยา บดเมล็ดน้อยหน่าเป็นผงไว้ แช่ผงเมล็ดน้อยหน่าด้วยน้ำที่มีแฮลกอฮอล์
10% ใช้น้ำ 2 เท่าของผงเมล็ดน้อยหน่า แช่ทิ้งค้างไว้หนึ่งคืน

วิธีใช้
1. กรองคั้นเก็บส่วนน้ำไว้เป็นหัวเชื้อ
2. นำหัวเชื้อ ไปผสมน้ำที่มีแอลกอฮอร์ 10 % เพื่อเจือจางอีก 6 เท่าของหัวเชื้อ
แล้วกรองคั้นส่วนน้ำมารวมกัน
3. ใช้ฉีดพ่นให้โดนเห็บบนตัววัว หรือสุนัข จะฆ่าเห็บได้ทั้งตัวอ่อน เห็บตัวรุ่น และเห็บตัวแก่
4. สัปดาห์ต่อมาจะมีเฉพาะเห็บตัวอ่อนขึ้นใหม่ ให้ใช้สารสกัดเมล็ดน้อยหน่า หัวเชื้อ มา
เจือจางด้วย 10 % แอลกอฮอล์อีก 300 เท่า พ่นฆ่าเห็บตัวอ่อน เป็นประจำทุก
สัปดาห์ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง อย่างน้อย 8-16 สัปดาห์ ขึ้นไป เพื่อไม่ให้เห็บตัว
อ่อนขึ้นมาใหม่
สรรพคุณ ใช้ฆ่าเห็บ วัว และสุนัข

หมายเหตุ
1. น้อยหน่า 1 ลูก ได้เมล็ดเฉลี่ย 36 เมล็ด จะทำหัวเชื้อได้ 7 ซีซี. ถ้าผสมน้ำอีก
300 เท่า จะได้สารสกัด 2.1 ลิตร ฉีดพ่นโคนมได้ 4 ตัว โคพื้นเมือง 6 ตัว หรือ โค
หนึ่งตัวใช้เมล็ดน้อยหน่า 10 เมล็ด ต่อหนึ่งสัปดาห์

2. สารสกัดต้องเก็บไว้ในตู้เย็น และเก็บได้นานถึง 3 ปี แต่ไม่ควรสกัดเก็บไว้จะเปลือง
ไฟ ควรเก็บไว้ในสภาพเมล็ดไว้จะดีที่สุด เมื่อจะใช้ถึงนำมาแช่

3. แหล่งข้อมูล รศ.ดร.ณรงค์ จึงสมานญาติ คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์


ตำรับที่ 4.2 ตัวยา ใบน้อยหน่า ยาเส้น กำมะถัน น้ำมันพืช
วิธีปรุงยา นำทุกอย่างตำรวมกันผสมน้ำมันพืช
วิธีใช้ ใช้ทาตามตัว
สรรพคุณ รักษาขี้เรื้อน ได้ทั้ง วัว-ควาย สุนัข

ตำรับที่ 4.3 ตัวยา เมล็ดน้อยหน่า 10 เมล็ด เหล้าขาว
วิธีปรุงยา เมล็ดน้อยหน่า ตำ ผสมเหล้าขาว
วิธีใช้ ทาตามตัว
สรรพคุณ รักษาโรคขี้เรื้อน

ตำรับที่ 4.4 ตัวยา น้ำหน่อไม้ดอง
วิธีใช้ นำน้ำหน่อไม้ดองมาทาบริเวณผิวหนังที่เป็นด่าง ดวง ขนหลุด
สรรพคุณ รักษาโรคผิวหนังใน วัว-ควาย ให้หายได้



5. ตำรับรักษาโรคกีบใน วัว-ควาย
ตำรับที่ 5.1 ตัวยา เปลือกประดู่
วิธีปรุงยา นำเปลือกประดู่จำนวนมากมาต้มจนน้ำข้น ทิ้งไว้พออุ่น
วิธีใช้ ใช้ราดแผลที่กีบกันแมลงวันตอม
สรรพคุณ รักษาแผลเน่าเปื่อย

ตำรับที่ 5.2 ตัวยา เปลือกต้นเฮว เปลือกต้นประดู่ เปลือกต้นซ้อ
วิธีปรุงยา นำตัวยาทั้ง 3 อย่าง มาอย่างละ 2 กก. หรือใช้เปลือกคู่ใดคู่หนึ่งเอาใส่ปี๊บ
เติมน้ำให้เต็ม ต้มประมาณ 1 ชั่วโมงยกลง

วิธีใช้
พอน้ำยาอุ่นๆ นำมาเทในซองที่ขุดหลุมไว้ อาจจะเทคอนกรีตให้เท้าแช่น้ำนาน
1 ชั่วโมง
สรรพคุณ ทำ 3-4 วัน กีบที่เป็นแผลหรือเล็บหลุดก็จะหาย



6. ตำรับรักษาแผลมีหนอน
ตำรับที่ 6.1 ตัวยา ต้น (ราก) หนามเกี่ยวไก่ ยาสูบ น้ำมันเบนซิน
วิธีปรุงยา ขูดรากหรือต้นหนามเกี่ยวไก่ผสมกับยาสูบและน้ำมันเบนซินเล็กน้อย
วิธีใช้ ใส่บริเวณที่เป็นแผล
สรรพคุณ ทำให้หนอนเมา ตาย รักษาแผลที่มีหนอน

ตำรับที่ 6.2 ตัวยา ยาสูบ ปูนแดง
วิธีปรุงยา นำยาสูบผสมกับปูนแดง
วิธีใช้ อุดรูแผล ก่อนใส่ยา ให้เอาตัวหนอนออกก่อน
สรรพคุณ รักษาโรคแผลเน่ามีหนอน



7. ตำรับยารักษาโรคเต้านมอักเสบโคนม
ตำรับที่ 7.1 ตัวยา หญ้างวงช้าง 1 กก. น้ำตาลทรายแดง 1 กก. น้ำ 1 ปีบ
วิธีปรุงยา นำทุกอย่างมาต้มรวมกันกรองเอาน้ำ
วิธีใช้ กรอกให้สัตว์กินวันละขวดลิโพ
สรรพคุณ หญ้างวงช้าง มีสารออกฤทธิ์ที่ต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เชื้อไวรัสพวกเริม
และมีฤทธิ์ไล่แมลง ผู้ให้ข้อมูลเล่าว่า โคนมที่เป็นเต้านมอักเสบระยะต้น กิน 3 วัน จะหาย

ตำรับที่ 7.2 ตัวยา หญ้างวงช้าง เถาตูดหมูตูดหมา น้ำ 1 ปีบ หรืออาจเพิ่มน้ำตาลทรายแดง
วิธีปรุงยา นำทุกอย่างมาต้มรวมกันกรองเอาน้ำ
วิธีใช้ กรอกให้สัตว์กิน และควรรีดน้ำนมทิ้งด้วย
สรรพคุณ รักษาเต้านมอักเสบ

ตำรับที่ 7.3 ตัวยา พันงูเขียวทั้ง 5 น้ำตาลทรายแดง
วิธีปรุงยา นำมาต้มรวมกัน
วิธีใช้
1. กรอกให้กิน 3-4 วัน จะหาย ร่วมกับให้กินเจตมูลเพลิงแดงสถ้าสัตว์ไม่อยากกินจะ
ไม่กิน หรือเมื่อหายแล้วจะไม่กินด
2. ถ้าเป็นน้อย ให้พันงูเขียวกินสดจะหาย
สรรพคุณ รักษาเต้านมอักเสบ

หมายเหตุ
พันงูเขียว มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ มีสารออกฤทธิ์ที่มีผลต่อการต้านเชื้อแบคทีเรีย
และเร่งให้กล้ามเนื้อคลายตัวได้ดี

(สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล)


ตำรับที่ 7.4 ตัวยา หัวไพล น้ำอุ่น
วิธีปรุงยา นำหัวไพลมาตำละเอียดห่อผ้าขาวบางแช่น้ำอุ่น
วิธีใช้ นำมาปะคบเต้านมที่อักเสบ
สรรพคุณ ลดการบวม เต้านมอักเสบ




การนำสมุนไพรมาใช้เลี้ยงสัตว์
การทำสมุนไพรต่างๆมาใช้ประโยชน์ปัจจุบันการใช้สมุนไพรเพื่อการป้องกันกำจัด
หนอน แมลงโรคพืชต่างๆ สามารถผลิตสมุนไพรที่มีอยู่หลากหลายในประเทศไทย นำ
มาใช้แทนสารเคมีได้ โดยการเตรียมสมุนไพรด้วยวิธีสับสมุนไพรให้ละเอียด แล้วแช่น้ำ
1-2 วัน หรือแช่ด้วยแอลกอฮอล์ น้ำส้มสายชู หรือการกลั่น

วิธีการกลั่นสมุนไพรของจีนโบราณ เป็นวิธีที่ใช้ได้ผลดี แต่มีความยุ่งยากซับซ้อน
อุปกรณ์เครื่องมือราคาแพง สมุนไพรที่ได้จากการมีความเข้มข้นมาก แต่จากการ
ประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาไทย ได้คิดค้นวิธีที่จะนำสมุนไพรมาใช้โดยการใช้หม้อต้มชนิดควบ
คุมอุณหภูมิ และเมื่อนำสมุนไพรที่ได้จากการต้มไปทดสอบ ผลที่ได้สมุนไพรมีความเข้ม
ข้นและมีคุณภาพสูง ใช้ได้ผลดีมาก เป็นวิธีการที่ควบคุมอุณหภูมิ ใช้ง่าย เหมาะที่
เกษตรกรจะรวมกลุ่มกันผลิตใช้เนื่องจาก

1. ต้นทุนต่ำ ทำง่าย ไม่ยุ่งยาก
2. ปริมาณสารสมุนไพรเข้มข้น
3. มีประสิทธิภาพในการใช้งาน
4. ควบคุมปริมาณการใช้ได้ง่าย
5. สามารถรักษาคุณภาพการผลิตแต่ละครั้งได้มาตรฐานเดียวกัน


ขั้นตอนการต้มสมุนไพร
1. ย่อยสมุนไพรเป็นชิ้นเล็กๆ ไม้เนื้อแข็งต้องสับให้ชิ้นเล็กมาก
2. นำสมุนไพรที่ย่อยใส่หม้อต้มเติมน้ำให้ท่วมสมุนไพร
3. นำขึ้นตั้งไฟ คอยสังเกตอย่าให้น้ำในภาชนะเดือด เมื่อเดือดให้ลดความร้อนลง
4. เมื่ออุณหภูมิลดลงก็ให้เร่งไฟให้ควบคุมอุณหภูมิอยู่ที่ไม่เกิน 90 องศาเซลเซียส
5. ใช้เวลาในการต้มนาน 10-12 ชั่วโมงจึงจะได้น้ำสมุนไพรที่มีความเข้มข้น
6. ตั้งทิ้งไว้ให้เย็นแล้วจึงกรอง ส่วนที่เป็นน้ำใสตักใส่แกลลอนไว้ใช้หรือจำหน่ายต่อไป


การทำสมุนไพรสูตรรวมมิตร ป้องกันกำจัดหนอนแมลง ไล่ เห็บ หมัดสมุนไพรที่ใช้
ได้แก่ ว่านน้ำ สาบเสือ น้อยหน่า หนอนตายหยาก หางไหล ละหุ่ง ขมิ้นชัน ชะพลู สบู่
ต้น ขอบชะนาง ยาสูบ บอระเพ็ด ดีปรี พริกไทย ขิง ข่า กระเทียม หางจระเข้ ตะไคร้
หอม แสยะ กะบูร มังคุด เงาะ แค งวงกล้วย ประทัดจีน ยี่โถ ดาวเรือง พริกสด สะเดา
การหมักสมุนไพร

สูตร 1. หมักในเอททิลแอลกอฮอล์
สูตร 2. เหล้าขาว 750 ซีซี.+ หัวน้ำส้มสายซู 150 ซีซี.
สูตร 3. น้ำ 20 ลิตร + เหล้าขาว 750 ซีซี. + หัวน้ำส้มสายซู 150 ซีซี.
สูตร 4. น้ำ 20 ลิตร + กากน้ำตาล 500 ซีซี. + จุลินทรีย์ 100 ซีซี.
สูตร 5. หมักด้วยน้ำเปล่า

ขั้นตอนและวิธีการหมัก
1. บด สับ โขลกสมุนไพรทั้งหมด แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน
2. บรรจุภาชนะที่ไม่ใช่โลหะ เติมสารหมักสมุนไพรให้ท่วม 2-5 เท่า คนหรือเขย่าให้
เข้ากันอีกครั้ง กดให้จมตลอดเวลา เก็บในที่ร่ม คนหรือเขย่าบ่อยๆ หมักนาน 7-10 วัน
เริ่มนำมาใช้โดยน้ำหมักที่ได้ คือ หัวเชื้อ

การนำไปใช้ ใช้สารจับใบเช่นสบู่หรือน้ำยาล้างจานผสมขณะฉีดพ่นการใช้สมุนไพรจะมี
ประสิทธิภาพเต็มที่

อัตราการใช้ปกติ 20-50 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่ม ทุก 3-5 วัน หัวเชื้อ
ใหม่ๆมีสารออกฤทธิ์แรงมาก หากใช้อัตราเข้มข้นเกินไปอาจทำให้ใบไหม้ได้ต้อง
ทดลองใช้ก่อน 1-2 วัน แล้วดูอาการของพืช ในสัตว์ใช้พ่นตามตัวสัตว์และบริเวณโรง
เรือนเพื่อไล่แมลง ไร เห็บ หมัดได้เช่นกัน




เขียนโดย มนัส ชุมทอง

http://manus11.blogspot.com/2010_02_01_archive.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/06/2013 9:14 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 02/07/2011 5:48 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

17. สมุนไพรไก่ชน





ยาถ่ายโบราณคนนิยมใช้กันมากมีส่วนผสมดังนี้
เกลือประมาณ 1 ช้อนคาว
มะขามเปียก 1 หยิบมือ
ไพลประมาณ 5 แว่น
บอระเพ็ดยาวประมาณ 2 นิ้ว หั่นเป็นแว่นบาง ๆ
น้ำตาลปีบประมาณ 1 ช้อนคาว
ใบจากเผาไฟเอาถ่าน (ใช้ใบจากประมาณ 1 กำวงแหวน)
ใช้ครกตำให้ละเอียดเข้า ด้วยกัน เวลาใช้ยาควรให้ไก่กินเวลาเช้าท้องว่าง ปั้นเป็นลูกกลอนขนาดหัวแม่มือ 2 เม็ด ให้น้ำกินมาก ๆ หน่อย แล้วครอบผึ่งแดดไว้รอจนกว่ายาจะออกฤทธิ์ ถ่ายเป็นน้ำ 3 ครั้ง ก็พอแล้วเอาข้าวให้กินเพื่อให้ยาหยุดเดิน



น้ำสำหรับอาบไก่
ปกติไก่เลี้ยงจะต้องอาบน้ำยาจนกว่าไก่จะชน เครื่องยาที่ใส่น้ำต้มมีดังนี้
ไพลประมาณ 5 แว่น
ใบส้มป่อยประมาณ 1 กำมือ
ใบตะไคร้ ต้นตะไคร้ 3 ต้น
ใบมะกรูด 5 ใบ
ใบมะนาว 5 ใบ
เอา 5 อย่างมารวมกันใส่หม้อต้มให้เดือดแล้วทิ้งไว้ให้อุ่น พออุ่น ๆ แล้วค่อยอาบน้ำไก่ แล้ว นำไปผึ่งแดดให้ขนแห้ง



สมุนไพรเกี่ยวกับโรคผิวหนัง บาดแผล เห็บ หมัด ไรไก่
สมุนไพรเดี่ยว
รากหนอนตายอยาก........ แผลติดเชื้อ มีหนอง มีหนอน ตำให้แหลก พอก หรือคั้นน้ำ ทาแผล
ตะเคียน ................... ต้มเคี่ยวใช้ทาแผล หรือตำให้แหลกแช่น้ำ ใช้แช่เท้าเปื่อย
ประดู่ ...................... ต้มเคี่ยวใช้ทาแผล
หนามคนทา ............... ใช้ฝนทาแผล หนอง
ลูกหนามแท่ง .............. ต้มใช้น้ำชะล้างแผล หรือชำระล้าง
ลูกมะคำดีควาย ............ ต้ม ใช้น้ำชำระล้าง
กำมะถันแดง ............... โรยบนเตาไฟใช้รมบาดแผล
หนามกำจาย ............... ฝนทาแผล ติดเชื้อ
เปลือกสีเสียด ............. ต้มเคี่ยว ใช้ล้างแผล แช่เท้าเปื่อย
ว่านมหากาฬ .............. ตำพอกแผล
ฟ้าทะลายโจร ............. ต้มเคี่ยวใช้ชะล้าง
ยาฉุน แช่น้ำ .............. ไล่เห็บ เหา หมัด ไรไก่
แมงลักคา ................. ขยี้สดๆวางไว้ในเล้าไก่ไล่ไรไก่
น้ำยาอาบไก่ชน ........... รักษาผิว และทำให้ไก่แข็งแรง
น้ำยาอาบไก่ชน ........... รักษาผิว และทำให้ไก่แข็งแรง


น้ำยาอาบไก่ชน รักษาผิว และทำให้ไก่แข็งแรง
ไม้กระดูกไก่ทั้ง ๒
เปลือกสมอทะเล
ยอดส้มป่อย
ขมิ้น
ใบหนาด
ต้มรวมทั้งหมดเอาน้ำใช้อาบ




น้ำยาอาบไก่ชน รักษาผิว และทำให้ไก่แข็งแรง
ไพล
ขมิ้น (ขมิ้นอ้อย หรือขมิ้นก็ได้)
ตำใช้ประคบ




พืชสมุนไพรป้องกันหวัดไก่
พืชสมุนไพรป้องกันหวัดไก่ ภูมิปัญญาไทยแท้แต่โบราณ จากสถานะการณ์ไข้หว้ดนกที่ผ่านมา ในขณะที่ฟาร์มไก่เป็นโรค ระบาดตายหมดเล้า แต่เรากลับพบว่า "ฟาร์มไพบูลย์" ตั้งอยู่เลขที่ 23 หมู่ 3 ตำบลบ้านสร้าง อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีไก่ไข่ที่เลี้ยงไว้ประมาณ 20,000 ตัว ในพื้นที่ 5 ไร่ กลับไม่เป็นอะไรเลย ยังมีอาการปกติดีทุกอย่างไ

พบูลย์ รักษาพงษ์พานิชย์ อายุ 55 ปี เจ้าของฟาร์มไก่ไข่ เล่าว่า เขามีเทคนิคในการเลี้ยงไก่ที่ไม่เหมือนกับฟาร์มอื่นๆ กล่าวคือเ ขาได้ใช้สมุนไพรไทย เข้ามาช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน ให้กับไก่ไข่ภายในเล้า โดยเคล็ดลับในการเลี้ยงและดูแลรักษาไก่ ให้มีสุขภาพแข็งแรง ไม่เป็นโรคระบาด โดยเฉพาะโรคไข้หวัด และโรคอหิวาต์นั้น ใช้ ฟ้าทะลายโจรผง และบอระเพ็ด ผสมให้ไก่กิน ซึ่งฟ้าทะลายโจรนี้ใช้ได้ทั้งก้าน และใบนำมาบดผสมเข้ากับบอระเพ็ด อัตราส่วนโดยประมาณ ฟ้าทะลายโจร 1 ตัน ผสมบอระเพ็ด 2 กิโลกรัม แล้วนำสมุนไพรที่ว่านี้ผสมลงในอาหารอีกครั้ง อัตราส่วนสมุนไพร 15 กิโลกรัมต่ออาหารไก่ 1,000 กิโลกรัม คลุกเคล้าผสมให้เข้ากัน ก่อนนำเอาไปให้ไก่กินทุกวัน

ฟ้าทะลายโจรจะช่วยในเรื่องของการป้องกันในเรื่องของหวัดไก่และคุมเรื่องโรคอหิวาต์ หรือโรคท้องร่วงที่มักเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงหน้าหนาว เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับไก่ ทำให้ไก่มีสุขภาพแข็งแรง ไม่เป็นโรคหรือติดโรคง่ายเวลาที่มีการระบาด เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่สืบทอดกันมานาน และค่อนข้างใช้ได้ผล ซึ่งนอกจากสมุนไพรแล้ว เรื่องของ "น้ำ" ก็สำคัญ เพราะเชื้อมักมากับน้ำ ฉะนั้น การใช้น้ำคลองหรือน้ำบาดาลให้ไก่กิน ควรใส่ยาฆ่าเชื้อพวกคลอรีนหรือเพนนิซิลลินเสียก่อนอีกวิธีที่ใช้กันมานาน ก็คือ การใช้ ตะไคร้ วิธีการก็คือ นำตะไคร้ทั้งกอมาต้มให้ไก่กินแทนน้ำ (การต้มน้ำก็เป็นการฆ่าเชื้อโรคได้ทางหนึ่ง)

ส่วนไอน้ำตะไคร้ที่ต้มก็ให้ใช้วิธีต่อท่อพ่นเข้าไปในเล้าไก่ แต่ทั้งนี้ต้องทำความสะอาดเล้าไก่ให้ดีเสียก่อน เชื่อว่าเป็นการไล่หวัดไก่ได้ วิธีการนี้เคยใช้เมื่อครั้งเกิดโรคระบาดไก่สมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม แม้เกษตรกรบางรายอาจจะมองว่าเป็นการไปเพิ่มต้นทุน แต่ถ้าสามารถป้องกันโรค และไม่เกิดความเสียหายจากโรคระบาดที่เกิดขึ้นก็ถือว่าคุ้มที่จะลงทุน ตามสำนวนไทยที่ว่า ป้องกันไว้ดีกว่าแก้ แย่แล้วจะแก้ไม่ทัน แนะใช้ "สมุนไพร" แทนยาปฏิชีวนะ เสริมสร้างสุขภาพ ป้องกันโรคระบาดในไก่



วิจัยพบสมุนไพรหลายชนิด เช่น ฟ้าทลายโจร ขมิ้นชัน พริก ฝรั่ง มีฤทธิ์เสริมภูมิคุ้มกันโรคติดต่อในไก่ สามารถใช้ทดแทนยาปฏิชีวนะที่กำลังเป็นปัญหาในการส่งออกได้

สกว. หนุนวิจัยเชิงลึก ทั้งสร้างมาตรฐานการใช้สมุนไพร การผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ รวมถึงวิธีการปลูก ที่นอกจากจะช่วยรักษาตลาดส่งออกไก่เนื้อ มูลค่าสี่หมื่นล้านบาทต่อปี และเปิดตลาดอาหารสุขภาพแล้ว ยังเป็นทางเลือกใหม่ให้เกษตรกรไทยที่จะหันมายึดอาชีพปลูกสมุนไพรอีกด้วย

หนึ่งในปัญหาที่เกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่ก็คือ "โรคระบาด" เพราะทุกครั้งที่มีโรคระบาดเกิดขึ้นจะสร้างความสูญเสียกับผู้เลี้ยงเป็นอย่างมาก และเป็นการยากที่จะป้องกันไม่ให้โรคลุกลามไปยังไก่ที่เหลือในเล้าและฟาร์มใกล้เคียง ดังที่เกิดขึ้นกับเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่หลายจังหวัดในขณะนี้

สาเหตุสำคัญของการระบาดก็คือ สภาพของการเลี้ยงไก่จำนวนมากในพื้นที่น้อย ๆ ซึ่งนอกจากสร้างความเครียดให้กับไก่แล้ว ยังทำให้ไก่กินอาหารน้อยลงและมีภูมิต้านทานโรคลดต่ำลง จนเป็นเหตุให้เกิดโรคระบาดได้ง่าย ซึ่งแนวทางหนึ่งในการดูแลสุขภาพไก่ก็คือ การใช้ยาหรือสารปฏิชีวนะผสมในน้ำหรืออาหารที่ไก่กิน เพื่อช่วยลดความเครียดและกินอาหารได้มากขึ้น ซึ่งทำให้ภูมิต้านทานโรคดีขึ้น

น.สพ.ยุคล ลิ้มแหลมทอง อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวในการประชุมวิชาการ "สมุนไพรไทย : โอกาสและทางเลือกใหม่ ของอุตสาหกรรมผลิตสัตว์ ครั้งที่ 2 " ว่าขณะนี้นโยบายของกระทรวงเกษตรฯ คือ การสร้างความปลอดภัยด้านอาหารเพื่อผู้บริโภคในประเทศและการส่งออก แต่ปัจจุบันยังมีการใช้ยาปฏิชีวนะในอาหาร เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตของไก่อยู่ค่อนข้างมาก แต่ขณะเดียวกันมีการศึกษาวิจัยในด้านการใช้สมุนไพรอย่างจริงจังในหลายหน่วยงาน ซึ่งหากพบว่าสามารถใช้ทดแทนได้จริง ทางกระทรวงโดยกรมปศุสัตว์ก็พร้อมให้การสนับสนุน

"สมุนไพร" เป็นทางเลือกใหม่ในอุตสาหกรรมผลิตสัตว์ ในการแก้ปัญหาการตกค้างของสารต่าง ๆ ซึ่งขณะนี้มีงานวิจัยอยู่มากพอสมควร และเราได้กำหนดมาตรการการเลี้ยงสัตว์ในบ้านเราให้ยาปฏิชีวนะน้อยที่สุด หากใช้ ต้องใช้เพื่อการรักษาเท่านั้น และหากจะใช้ต้องมีระยะหยดยาด้วย ซึ่งทำให้สมุนไพรอาจเป็นคำตอบของเรื่องนี้ก็ได้ และหากมีงานวิจัยที่ยืนยันได้ว่าใช้สมุนไพรแทนได้จริง ทั้งเรื่องประสิทธิภาพและความคุ้มค่า เราก็พร้อมสนับสนุน เพราะจะมีประโยชน์มาก โดยเฉพาะตลาดสินค้าอินทรีย์ที่ยุโรป ซึ่งเขาต้องการสินค้าพวกนี้ โดยไม่เกี่ยงเรื่องราคา

รศ.ดร.จันทร์จรัส เรี่ยวเดชะ ผู้อำนวยการฝ่ายเกษตร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สกว. กล่าวเสริมว่า การใช้ยาปฏิชีวนะในการเลี้ยงสัตว์ไม่ได้รับการยอมรับจากตลาดต่างประเทศ เนื่องจากเกรงผลตกค้างที่อาจทำให้เกิดการดื้อยาในผู้บริโภค โดยหลังปี 2006 สหภาพยุโรปจะห้ามใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อเร่งการเจริญเติบโตในสัตว์ทุกชนิด รวมถึงไก่เนื้อส่งออกของไทย ที่ขณะนี้ส่งออกเป็นอันดับ 4 ของโลก มีมูลค่าส่งออกทั่วโลกกว่าสี่หมื่นล้านบาทในปี 2546 ภาคอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่ของไทยจึงต้องเตรียมความพร้อมและปรับตัวเพื่อรับมาตรการดังกล่าว เพราะมาตรฐานด้านความปลอดภัยของผู้บริโภคทุกประเทศจะมีแนวโน้มไปในทางเดียวกัน

"ปัญหาคือ มีรายงานในยุโรปพบว่า สัตว์ที่ได้รับสารปฏิชีวนะในระดับต่ำๆ ต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน จะทำให้ร่างกายเกิดการดื้อยาปฏิชีวนะนั้น เพราะฉะนั้น การบริโภคเนื้อสัตว์ที่มีการใช้สารเหล่านี้เข้าไปเป็นประจำ ก็อาจมีผลให้เกิดการดื้อยาปฏิชีวนะในมนุษย์ได้เช่นกัน สิ่งเหล่านี้จึงกลายเป็นแรงผลักดันให้หลายประเทศในตะวันตกนำมาตรการต่างๆ มาใช้เป็นกลยุทธ์ป้องกัน เพื่อไม่ให้ประชาชนได้รับสารเหล่านี้ และหนึ่งในนั้นคือ มาตรการห้ามนำเข้าไก่ที่มีการเลี้ยงโดยเติมสารปฏิชีวนะ"

ในเรื่องดังกล่าว ภาคอุตสาหกรรมส่งออกไก่เนื้อของไทย ทั้งในรูปไข่ไก่แช่แข็งและแปรรูป ก็มิได้นิ่งนอนใจ หลายบริษัทเริ่มหันมาศึกษาหาแนวทางในการลดละเลิกการใช้สารปฏิชีวนะเหล่านี้ ซึ่งหนึ่งในคำตอบนี้คือ "สมุนไพร" รศ.ดร. จันทร์จรัส กล่าวว่า งานวิจัยภายใต้ชุดโครงการ "การใช้สมุนไพรในการผลิตสัตว์" โดยการสนับสนุนของ สกว. ที่ผ่านมา ได้พบสมุนไพรหลายตัว เช่น ฟ้าทลายโจร ขมิ้นชัน พริก ใบหรือผลฝรั่งอ่อน มีคุณสมบัติช่วยให้ไก่ที่เลี้ยงไว้มีอัตราการรอด และการเจริญเติบโตไม่แพ้การเลี้ยงโดยเติมสารปฏิชีวนะ ซึ่งสิ่งที่ สกว. กำลังทำอยู่ในปัจจุบันคือ การพยายามหาตัวเลข หรือค่าบางตัวที่จะบอกได้อย่างชัดเจนว่า สมุนไพรมีผลดีต่อสัตว์จริง ในเชิงวิชาการนำปัญหาจากภาคอุตสาหกรรมมาแปลงเป็นโจทย์วิจัย เพื่อให้นักวิจัยสาขาต่าง ๆ ได้ช่วยกันศึกษาและสรุปผล ให้คำตอบที่ถูกต้องแก่ผู้เลี้ยงสัตว์

ศ.ดร. นันทวัน บุณยะประภัคร จากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะผู้ประสานงานโครงการชุดนี้ กล่าวว่า จากผลการวิจัยที่ผ่านมา แม้จะพบว่า มีพืชหลายชนิดมีศักยภาพในการนำมาใช้เป็นสารเติมในอาหารสัตว์ เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ยาปฏิชีวนะ หากยังอยู่ในระดับการศึกษาเพื่อดูผลจากการนำไปใช้ แต่สิ่งที่จะดำเนินการต่อในช่วง 2 ปี ข้างหน้านี้ คือ การวิจัยเพื่อสร้างระบบในการนำสมุนไพรเหล่านี้มาใช้อย่างเป็นรูปธรรม

"ขณะนี้ งานวิจัยถึงผลของการใช้พืชเหล่านี้กับกระบวนการออกฤทธิ์ในสัตว์ เช่น ลดความเครียด หรือช่วยในการย่อย ได้ผลในเบื้องต้นแล้วพบว่า การใช้ ฟ้าทลายโจร และขมิ้นชัน มีผลในทางบวกต่อไก่อย่างเห็นได้ชัด ส่วนการวิจัยในพืชชนิดอื่น เช่น พริก ใบฝรั่ง กระเทียม ก็ยังพบว่ามีผลต่ออัตราการโตและอัตราการรอดของสัตว์เหล่านี้ และนอกจากงานวิจัยทั้งสองส่วนนี้แล้ว เรายังได้สนับสนุนให้นักเภสัชศาสตร์ทำการวิจัยเพื่อหาวิธีการนำสมุนไพรเหล่านี้ มาทำเป็นผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม ง่ายต่อการผสมในอาหาร ที่เก็บได้นาน ทนต่อความชื้น และคงตัวต่อสภาพแวดล้อม ซึ่งงานนี้จะดำเนินไปพร้อมกับการนำผลิตภัณฑ์ที่ได้ไปทดสอบใช้กับการเลี้ยงไก่เนื้อและหมู เพื่อหาส่วนผสมที่เหมาะสมที่สุด คุ้มค่าที่สุด ซึ่งคาดว่าภายในปีหน้า จะมีผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรสำหรับการเลี้ยงไก่และสุกรออกมาทดลองตลาดอย่างจริงจัง ซึ่งล่าสุด มีภาคเอกชนแสดงความสนใจจะเข้าร่วมทุนวิจัยและพัฒนาแล้ว"

นอกเหนือจากการวิจัยถึงผลการใช้ต่อสัตว์ หรือการพัฒนาผลิตภัณฑ์แล้ว ศ.ดร.นันทวัน กล่าวว่า งานวิจัยอีกส่วนหนึ่งกำลังดำเนินการภายใต้ชุดโครงการวิจัยนี้อคือ การวิจัยเพื่อหารูปแบบการปลูกพืชสมุนไพรที่เหมาะสม ทั้งระดับเกษตรและระดับอุตสาหกรรมไทย เพราะหากขาดส่วนนี้ไป แม้สมุนไพรชนิดนั้นจะดีอย่างไร หากเราปลูกขึ้นมาไม่ได้ก็ไม่มีประโยชน์ ซึ่งงานวิจัยส่วนนั้นนอกจากช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมผลิตสัตว์แล้ว ยังอาจเป็นทางเลือกใหม่ในการประกอบอาชีพของเกษตรกรไทยยุคหน้าได้อีกด้วย

ท่ามกลางปัญหาโรคระบาดไก่ที่เกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน นอกเหนือจากการแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว การป้องกันในระยะยาวด้วยการประยุกต์ภูมิปัญญาไทย และภูมิความรู้ด้านสมุนไพร มาใช้ทดแทนสารที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ อาจกลายเป็นทางเลือกหรือคำตอบใหม่ของการดูแลสุขภาพไก่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่ายิ่งขึ้น

ในปัจจุบันมีการแพร่ระบาดของโรคที่เกี่ยวกับไก่รุนแรงและสร้างความเสียหายให้กับกลุ่มผู้เลี้ยงไก่ เป็นอันมาก เกษตรกรบางรายสงสัยว่า ทำวัคซีนแล้วแต่ไก่ก็ยังตายหมดทั้งฟาร์ม ซึ่งกระแสข่าวที่ผ่านมาทำให้คนไทยกลัวที่จะรับประทานไก่ เพราะกลัวโรคระบาดนั้นจะติดต่อมาสู่คน

ส่วนใหญ่การรักษาโรคไก่มักจะใช้กลุ่มยาปฏิชีวนะ โดยเฉพาะกลุ่มของไก่พื้นเมือง ซึ่งอาจมีผลให้เกิดสารตกค้างถึงมนุษย์ และการรักษาดังกล่าวก็อาจทำให้ไก่ที่เหลืออยู่เป็นพาหะของโรคต่อไปหรือส่งผลให้เชื้อโรคที่ยังอยู่มีพัฒนาการต่อก็ได้ ซึ่งล้วนเป็นปัญหาหรือก่อให้เกิดความหวาดกลัวต่อไป

การแก้ปัญหาดังกล่าวด้วยพืชสมุนไพรเป็นอีกลู่ทางหนึ่งที่กำลังได้รับความสนใจและมีการสนับสนุน เช่น การใช้สมุนไพรฟ้าทลายโจร (Andrographis paniculata Wall. Ex Nees) เป็นพืชสมุนไพรทางการแพทย์ มีส่วนประกอบทางเคมีเป็นสารพวก diterpene lactones ออกฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคระบบทางเดินอาหาร เช่น Esherichia coli และ Salmonella typhi ยับยั้งเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคทางเดินหายใจ เช่น Staphylococcus aureus และมีสรรพคุณแก้ไข้ แก้หวัด แก้โรคบิด โรคท้องร่วง และแก้แผลบวมอักเสบ ซึ่งสรรพคุณที่ดีเหล่านี้น่าจะเป็นประโยชน์มากยิ่งขึ้นในด้านการป้องกันรักษาโรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับไก่ เช่น โรคอุจจาระขาว ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียพวก Salmonella pullorum และในปัจจุบัน (ปี 2547) ได้มีโรคระบาดที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ระบุว่าเป็นโรคนิวคาสเซิล สายพันธุ์ใหม่ ซึ่งสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครสวรรค์ระบุว่า เกิดจากโรค แซลโมเนลลา (Salmonellasis) หรือโรคขี้ขาว และโรคอหิวาห์เป็ดไก่ที่ชื่อ Fowl Cholera

ผู้รายงานได้มีโอกาสเข้าศึกษาระดับปริญญาโทที่คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร และทำการศึกษาหาระดับที่เหมาะสมและศึกษาผลของสมุนไพรฟ้าทลายโจร (Andrographis paniculata) ในสูตรอาหารไก่ ต่อประสิทธิภาพการผลิตและลดปัญหาโรคอุจจาระขาวในไก่พื้นเมือง โดยใช้ไก่พื้นเมืองคละเพศ อายุแรกเกิด จำนวน 160 ตัว โดยมี ดร.โอภาส พิมพา และ รศ.เดช วัฒนชัยยิ่งเจริญ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ภายใต้ทุนสนับสนุนการวิจัยของมหาวิทยาลัยนเรศวร

ในการทดลองเก็บข้อมูลเป็นระยะเวลา 14 สัปดาห์ ซึ่งในช่วงการทดลองนั้นไก่จะถูกสุ่มแบ่งออกเป็นกลุ่ม จำนวน 16 กลุ่ม กลุ่มละ 10 ตัว แต่ละกลุ่มจะถูกสุ่มแบบอิสระ ให้ได้รับอาหารทดลองที่มีสมุนไพรฟ้าทลายโจรในส่วนประกอบมากขึ้น 4 ระดับ คือ 0% 0.5% 1.0% และ 1.5% ในสูตรอาหารตามลำดับ

ไก่แต่ละกลุ่มที่ได้รับอาหารในแต่ละสูตรจะให้กินได้อย่างเต็มที่ เพื่อวัดปริมาณการกินได้ ในแต่ละคอกจะมีน้ำสะอาดให้กินตลอดเวลา

ในช่วงสัปดาห์ที่ 8 ครึ่งหนึ่งของไก่ที่ได้รับอาหารทดลองแต่ละสูตร จะถูกสุ่มให้ได้รับเชื้อ Salmonella pullorum ซึ่งเชื้อจะถูกฉีดเข้าปากสู่ทางเดินอาหารโดยตรง

วัดอัตราการเจริญเติบโต ประสิทธิภาพการใช้อาหาร ศึกษาอาการเครียดและเหงาซึม ตลอดทั้งวัดคุณภาพซากเมื่อเลี้ยงครบ 14 สัปดาห์ ซึ่งไก่จะมีอายุ 16 สัปดาห์ จากการศึกษาพบว่าระดับของฟ้าทลายโจรที่เหมาะสมในสูตรอาหารคือ 1.0% เพราะมีผลให้ไก่กินอาหารได้มากที่สุด และมีแนวโน้มให้ไก่มีน้ำหนักตัวสูงที่สุด ตลอดทั้งอัตราการเจริญเติบโตสูงที่สุดด้วย

นอกจากนี้ ยังช่วยป้องกันผลเสียอันเกิดจากเชื้อ Salmonella pullorum ที่มีต่อไก่ เช่น อาการเครียด ส่งผลต่อการกินอาหารที่ลดลงและอัตราการเจริญเติบโตที่ลดลง ซึ่งระดับฟ้าทลายโจร 1.0% ในสูตรอาหารยังสามารถทำให้อัตราการแลกเนื้อดีที่สุดในช่วงที่ไก่ได้รับเชื้อ Salmonella pullorum

สมุนไพรฟ้าทลายโจรในสูตรอาหารจะช่วยทำให้เปอร์เซ็นต์ซากดีขึ้น และมีผลให้เปอร์เซ็นต์เนื้อหน้าอกมากด้วย ซึ่งในไก่พื้นเมืองสามารถย่อยสมุนไพรได้ดีกว่าไก่พันธุ์เนื้อในระบบฟาร์ม

หลังจากเสร็จสิ้นการศึกษาในเดือนพฤศจิกายน 2546 จึงได้ใช้อาหารที่มีระดับฟ้าทลายโจรในสูตรอาหารระดับ 1% เรื่อยมา และหลังจากนั้นไก่ในฟาร์มที่เลี้ยงไม่มีอาการป่วยแสดงให้เห็น รวมทั้งในช่วงที่มีการระบาดที่รุนแรงและเฉียบพลันยังได้นำฟ้าทลายโจรน้ำหนักแห้งจำนวน 10 กรัม ผสมน้ำ 2.5 ลิตร ให้ไก่กินทุกวันอย่างสม่ำเสมอ พบว่าสามารถลดอัตราการตายของไก่พื้นเมืองลูกผสม 5 สายพันธุ์ ลงได้ (มีอัตราการตายประมาณ 7%)

ทั้งนี้ไก่ทุกตัวต้องได้รับการทำวัคซีนตรงตามโปรแกรมที่กรมปศุสัตว์กำหนด จึงได้ทดสอบง่ายๆ ในช่วงที่ 2 โดยเริ่มจากแบ่งไก่ออกเป็น 16 คอก คอกละ 6 ตัว ซึ่งไก่ทุกตัวมีสุขภาพที่สมบูรณ์ แข็งแรง หลังจากนั้น ได้นำไก่ชาวบ้านที่ป่วยเป็นโรคระบาดดังกล่าว มาใส่รวมไว้ในคอกที่ 2 ให้น้ำเปล่าตามปกติ

หลังจากนั้นสังเกตอาการป่วย ปรากฏว่าไก่คอกที่ 2 มีอาการป่วยอย่างเห็นได้ชัดเจน จึงเริ่มให้ฟ้าทลายโจรน้ำหนักแห้ง 10 กรัม ผสมน้ำ 2.5 ลิตร ให้ไก่กินตั้งแต่คอกที่ 5-16 ปรากฏว่า ไก่คอกที่ 1-4 ตายหมด คอกที่ 5-16 ไม่ตายและยังมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง

หลังจากนั้นอีก 1 สัปดาห์ หยุดให้ฟ้าทลายโจร และนำน้ำฉีดลงที่พื้นคอกให้เปียกแฉะ (พื้นคอกปูด้วยแกลบ) สังเกตอาการของไก่ที่เหลือพบว่ามีไก่ป่วยแต่อาการไม่รุนแรง จึงให้ฟ้าทลายโจรอีกครั้งหนึ่งผสมลงในน้ำอัตรา 10 กรัม ต่อน้ำ 2.5 ลิตร พบว่าสามารถลดอัตราการตายของไก่พื้นเมืองลูกผสม 5 สายพันธุ์ ลงได้ ซึ่งถ้าหากได้มีการทดลอง วิจัยในระดับที่ละเอียดและชัดเจน อาจจะมีประโยชน์ต่อวงการปศุสัตว์ได้มากขึ้น ดังนั้น การให้อาหารที่มีพืชสมุนไพรฟ้าทลายโจร 1.0% ในสูตรอาหารจึงยังคงสร้างกำไรและลดอัตราเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคในฟาร์มได้ และหากเกษตรกรมีการปลูกพืชสมุนไพรฟ้าทลายโจรใช้เองจะทำให้การเลี้ยงไก่ได้กำไรมากยิ่งขึ้น เพราะสมุนไพรฟ้าทลายโจรมีราคาแพง หากจะจัดซื้อมาผสมอาหารไก่เอง ซึ่งมีราคาประมาณ 200 บาท ต่อกิโลกรัม



http://www.gaichon.com/herb.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 02/07/2011 6:35 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 02/07/2011 6:33 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

18. การนำสมุนไพรมาเป็นยาสัตว์


โดย ผศ. สุปรียา ยืนยงสวัสดิ์
ภาควิชาเภสัชเวทและเภสัชพฤกษศาสตร์
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


การใช้สมุนไพรนอกจากใช้เป็นยารักษาโรคในคนแล้ว ยังมีการนำสมุนไพรมาใช้รักษา
โรคในสัตว์ ทั้งสัตว์บก เช่น ช้าง สุกร สัตว์ปีก เช่น ไก่ และสัตว์น้ำเช่น กุ้ง เป็นต้น ข้อดี
ของการใช้ยา สมุนไพรคือ ราคาถูกกว่ายาแผนปัจจุบัน ทำให้ลดต้นทุนในการผลิตสัตว์
ในเชิงธุรกิจ และยาที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นยาปฏิชีวนะเช่น Kanamycin ซึ่งใช้รักษาโรคลำ
ไส้อักเสบ ลดจำนวนเชื้อแบคทีเรียในทางเดินอาหาร ใช้รักษาโรคบิดมูกเลือดในลูก
สุกร โรคติดเชื้อในลำไส้ไก่ เมื่อใช้กับสัตว์ที่ใช้เนื้อเป็นอาหาร ยาส่วนที่ตกค้างจะเป็น
อันตรายต่อผู้บริโภค ยาอีกชนิดหนึ่งคือ chloramphenical เป็นยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ
แบคทีเรีย แต่ทำให้เกิดพิษต่อระบบการสร้างเม็ดเลือดโดยกดไขกระดูก จึงไม่ควรใช้กับ
สัตว์เศรษฐกิจเพราะมีพิษตกค้างต่อผู้บริโภคเช่นกัน การเกิดโรคในสัตว์โดยทั่วไปเกิด
จาก 2 สาเหตุใหญ่ คือ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อ ได้แก่ เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อ
รา และโปรโตซัว อีกสาเหตุคือโรคที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ ได้แก่ การจัดการที่ไม่ดี
และการได้รับอาหารไม่เพียงพอ การใช้สมุนไพรจะนิยมใช้รักษาโรคติดเชื้อใน ระบบ
ต่างๆ เช่นระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ โรคผิวหนัง เป็นต้น นอกจากนี้ยัง
ใช้เป็นยาบำรุงอีกด้วย



สมุนไพรที่นิยมใช้
ขมิ้นชัน มีฤทธิ์ลดการอักเสบ รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา
เหง้าขมิ้นตำผสมกับพลูคลุกกับปูนกินหมาก ใช้รักษาแผลให้ช้างทั้งแผลสด แผลมี
หนองและกันแมลงบริเวณแผล ผู้เลี้ยงไก่ชนใช้ขมิ้นกับสมุนไพรอื่นๆ เช่น ส่วนผสมของ
สมุนไพรที่ใช้ต้มเป็นน้ำยาสมุนไพรอาบให้ไก่ชน ประกอบด้วย ใบมะขาม ใบส้มป่อย ไม้
ฤาษีผสม ใบคุระ ขมิ้นชัน ขมิ้นอ้อย ไม้กระดูกไก่ เปลือกไม้ โอน ต้มรวมกันในน้ำ
เดือด นำน้ำที่ต้มได้มาอาบให้ไก่ชนเพื่อให้ไก่มีหนังเหนียว ไม่ฉีกง่ายเวลาโดน จิกหรือตี

สูตรแก้ไก่เป็นหวัด บิด ท้องเสีย จะใช้ขมิ้นชัน 7 กรัม ผสมฟ้าทะลายโจร 144 กรัม
ไพล 29 กรัม บดผสมอาหารลูกไก่ 100 กิโลกรัม


ฟ้าทะลายโจร แก้หวัด ทอนซิลอักเสบ มีการทดลองนำฟ้าทะลายโจร ขมิ้นและไพล
มา ผสมอาหารให้ไก่กินในอัตราส่วน 50-75 กรัมต่ออาหาร 3 กิโลกรัม พบว่าสามารถ
ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคต่างๆในสัตว์

ไพล มีฤทธิ์ขยายหลอดลม ใช้ภายนอกเป็นยาประคบร้อน พอกแก้ฟกช้ำ บวม ลดการ
อักเสบ ทำให้ประสาทชาช่วยลดอาการปวดได้ ควาญช้างในภาคเหนือใช้หัวไพลเป็นยา
บำรุง แก้อาการช้างเหนื่อยจากการทำงานหนัก

บอระเพ็ด ต้นและเถาเป็นยาบำรุงกำลัง ลดไข้ ลดการอักเสบ กระตุ้นกล้ามเนื้อเรียบ ไล่
แมลง ควาญช้างภาคเหนือใช้เถาบอระเพ็ดบำรุงแก้ช้างเหนื่อย เป็นยาเจริญอาหาร แก้
อาการท้องผูกโดยใช้ร่วมกับมะขามเปียกและเกลือ ผู้เลี้ยงไก่ชนนำเถามาแช่ให้ไก่กิน
เพื่อให้มีเนื้อแข็ง เรี่ยว แรงดีและเจริญอาหาร

พลู ในใบมีสารที่มีฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่ ในการชนไก่ ผู้ให้น้ำไก่จะนำพลูไปนาบกับ
กระเบื้องร้อนพอให้น้ำมันหอมระเหยออกมา แล้วนำไปประคบบริเวณลำตัวหรือหน้าอก
เพื่อบรรเทาอาการเคล็ดขัดยอกหรือระงับอาการปวดแก่ไก่ชนหลังการต่อสู้

พญายอ สารสกัดพญายอสามารถป้องกันเชื้อไวรัส (Yellow Head Baculovirus)
ที่ทำให้เกิดโรคหัวเหลืองในกุ้งกุลาดำได้อย่างดีและมีความปลอดภัยสูง นอกจากนั้นยัง
กระตุ้นขบวนการทำลายเชื้อโรคให้เพิ่มขึ้น

ส้มป่อย นำมาต้มอาบให้ไก่สดชื่น กระปรี้กระเปร่า กล้ามเนื้อคลายตัว ช่วยรักษาโรค
กลากเกลื้อนและเชื้อรา น้ำต้มใบส้มป่อยและฝักใช้หยอดให้ไก่กินช่วยขับเสลด เมล็ดนำ
มาตำหรือบดให้ละเอียดผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอนให้ไก่กินเป็นยาถ่ายได้ นอกจากนี้ใบ
ส้มป่อยยังใช้ แก้ท้องอืด ท้องผูก ถ่ายพยาธิให้ช้าง กระเทียม แก้จุกเสียด แน่นเฟ้อขับ
ลม ขับลมเสมหะน้ำลายเหนียวและรักษาอาการบวมช้ำภายในของไก่ชนใบ

มะขาม ต้มรวมกับตะไคร้ ใบส้มป่อย ทำให้ไก่คึกคัก สบายตัว แก้หวัดทำให้หายใจ
คล่อง รูขนเปิด

กวาวเครือ มีการศึกษาการใช้กวาวเครือในสุกรโดยนำกวาวเครือบดแห้งมาผสมอาหาร
ในอัตราส่วน 20 กรัมต่ออาหาร 100 กิโลกรัม ให้สุกรน้ำหนัก 30-100 กิโลกรัมกิน
นาน 2.5-3 เดือน พบว่าสุกรทั้งเพศผู้และเพศเมียมีการเจริญเติบโตดีขึ้น สุกรที่กิน
กวาวเครือมีการกินอาหารได้ดีกว่ากลุ่มที่ไม่ได้กินและช่วยชะลอการเป็นสัด เมื่อหยุดให้
กวาวเครือ 1.5-2 เดือน สุกรตัวเมียกลับมาเป็นสัดตามปกติและสามารถผสมพันธ์ให้ลูก
ได้ การทดลองในสุกรเพศผู้เมื่อให้กินกวาวเครือผสมอาหารขนาด 20 กรัมต่ออาหาร
100 กิโลกรัม ปรากฏว่าให้เนื้อแดงสูง มีการเจริญเติบโตดีขึ้น



ผู้ที่เลี้ยงไก่ชนจะมีสูตรยาสมุนไพรต่างๆสำหรับไก่ชน เช่น

สูตรยาบำรุงกำลัง
สูตรที่ 1
ประกอบด้วย โสม เหง้ากระชาย พริกไทดำอย่างละ 1 ส่วน ปลาช่อนย่าง
ป่น 3 ส่วน นกกระจอกย่างป่น 1 ส่วน ไวตามิน เกลือแร่ น้ำผึ้ง บดผสม
ปั้นเป็นก้อนให้กินวันละ 2 มื้อ

สูตรที่ 2
ประกอบด้วย เปลือกตะโกนา 2 ส่วน กระชาย กระเทียม พริกไทอย่างละ1 ส่วน ปลา
ช่อนย่าง 1 ส่วน ผสมข้าวสุกคลุกไข่อบแห้ง 1 ส่วน ให้กินวันละ 2 มื้อ


ยาบำรุงธาตุ
ประกอบด้วย เปลือกตะโกนา ขิงแห้ง ว่านน้ำ ใบตำลึง เปลือกแคอย่างละ 1 ส่วน นำ
ตัว ยาทั้งหมดใส่หม้อเติมน้ำพอท่วม ต้มเคี่ยวประมาณ 15 นาที นำน้ำยาที่ได้ให้ไก่กิน
ครั้งละ 2 ช้อนชา วันละ 2 ครั้ง เช้า- เย็น

ยาถ่ายพยาธิลุของเสีย
สูตรที่ 1 ประกอบด้วย หัวไพล 2 ส่วน ขมิ้นชัน 1 ส่วน กะเม็ง 1 ส่วน หมากดิบ 1 ส่วน
กะปิ 1ส่วน มะขามเปียก 1ส่วน บดหรือตำให้ละเอียดผสมกันให้ไก่กินก่อนอาหารจน
กว่าจะถ่ายหมด

สูตรที่ 2 ประกอบด้วย หมากดิบ 1 ลูก มะขามเปียก 1 ก้อน ปลาทูนึ่ง 1 ชิ้น นมผง 1
ส่วน ตำหรือบดให้เข้ากันกินตอนเช้า 1 ก้อนให้กินน้ำมากๆ พอไก่ถ่ายพยาธิมาจุกก้น
ให้รีบดึงออก พยาธิจะติดออกมาเป็นพวงจนหมดท้อง สมุนไพรที่ใช้ในสัตว์จะมี
สรรพคุณคล้ายคลึงกับที่ใช้ในคน เช่น ใช้บระเพ็ดเป็นยาเจริญอาหารเป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีสมุนไพรอื่นที่นำมาใช้ซึ่งสมุนไพรที่มีชื่อไปในทางบำรุงก็มักจะใช้เป็นยา
บำรุงกำลังทั้งคนและสัตว์ เช่น กำลังวัวเถลิง กำลังเสือโคร่ง กำลังช้างสาร เป็นต้น
เปลือกต้น นมนาง ใช้บำรุงวัวนม เป็นต้น

ในการเลี้ยงสัตว์เพื่อการค้า การรักษาโรคที่เกิดขึ้น มีผลเสีย มากกว่าการป้องกันไม่ให้
เกิดโรค เพราะทำให้สิ้นเปลืองเวลาและค่ารักษา นอกจากนั้นยังสูญเสียสัตว์จากการ
ตาย ยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษาโรคต่างๆในสัตว์มีผลทำให้เกิดการตกค้างและการดื้อยา มี
ผลเสียต่อการใช้ยานั้นในวงการแพทย์ สำหรับคนซึ่งนำเนื้อสัตว์เหล่านั้นมาบริโภค
สมุนไพรจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ผู้เลี้ยงสัตว์ควรนำมาพิจารณา หากสามารถหาสมุนไพร
ทีใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพจะเป็นการลดต้นทุนการผลิต มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค
และเป็นที่ยอมรับของตลาดต่างประเทศ




http://herbal.pharmacy.psu.ac.th/index.php?option=com_content&task=view&id=115&Itemid=43


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/06/2013 9:17 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 05/07/2011 7:19 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

19. เครื่องสกัดสารป้องกันและกำจัดศัตรูพืช โดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์





ศัตรูพืช นับเป็นปัญหาใหญ่ของเกษตรกร เนื่องจากประเทศไทยตั้งอยู่ ในเขตร้อนชื้น
ทำให้เกิดศัตรูพืชนานาชนิดโดยเฉพาะพวกหนอน เพลี้ย และแมลงต่างๆ ในอดีตที่ผ่าน
มา ประเทศไทยต้องนำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดผลกระทบต่อ
สิ่งแวดล้อม เนื่องจากสารเคมีที่ตกค้างสลายตัวได้ยาก ทำให้มีความพยายามที่จะนำ
พืชสมุนไพรมาทดแทน โดยการสกัดสารจากพืชสมุนไพรด้วยวิธีต่างๆ ทั้งกลั่นและต้ม
ซึ่งปัจจุบันนับว่าได้ผลพอสมควร มีการส่งเสริมให้เกษตรกรทำการเพาะปลูกพืช
สมุนไพร เช่น ตะไคร้หอม แล้วนำมากลั่นสกัดใช้เองในแต่ละหมู่บ้านหรือครัวเรือน โดย
เฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้ในการกลั่น ส่วนใหญ่ออกแบบโดย
ใช้ก๊าซหุงต้มเป็นเชื้อเพลิง การกลั่นแต่ละครั้งต้องใช้เวลานาน 3-4 ชั่วโมง ทำให้มีค่า
ใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงสูง ต่อมาได้มีการทดลองโดยใช้การต้ม ซึ่งต้องใช้เวลานานเช่น
กัน แต่ผลที่ได้รับ คือ สารทีต้องการมีเปอร์เซนต์ต่ำและจะถูกความร้อนเปลี่ยนรูปไป มี
ยางและตะกอนขุ่นปนออกมา เป็นผลให้หัวฉีดพ่นน้ำยาอุดตัน


การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ศึกษา วิจัยและพัฒนาการนำพลังงาน
แสงอาทิตย์มาใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการผลิตกระแสไฟฟ้า หรือการ
ผลิตน้ำร้อน รวมทั้งนำมาประยุกต์ให้เพื่อประโยชน์ของเกษตรกร ด้วยเหตุนี้เอง กฟผ.
จึงได้แนวเกิดความคิดในการทดลองออกแบบถังต้มหุ้มฉนวนป้องกันความร้อน มี
ตะแกรงกรองเศษผงมาต่อร่วมกับแผงรับแสงอาทิตย์ชนิดเคลือบสารเลือกรังสี
(Selective Surface) ผลิตน้ำร้อนอุณหภูมิ 70-90 องศาเซลเซียส และจากการ
ทดลองใช้งานนับว่าได้ผลดีเป็นที่น่าพอใจ เนื่องจากระบบนี้จะทำให้อุณหภูมิสูงสุดไม่
เกิน 90 องศาเซลเซียส ช่วยทำให้สารสมุนไพรที่สกัดได้มีปริมาณมาก และมีความเข้ม
ข้นสูง ได้น้ำยาสกัดใส ไม่มียาง สามารถนำไปทดลองใช้กับแปลงพืชผัก ได้ผลเป็น
อย่างดี จึงได้จัดทำโครงการสาธิตเครื่องสกัดสารป้องกันและกำจัดศัตรูพืชโดยใช้
พลังงานแสงอาทิตย์ ให้เกษตรกรนำไปทดลองใช้งาน โดยครั้งแรกได้จัดตั้งเป็นศูนย์
สาธิต จำนวน 20 แห่ง [ ศูนย์สาธิต ] และต่อมาได้รับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการอีก
200 ราย โดยผู้เข้าร่วมโครงการฯ จะได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการ
อนุรักษ์พลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ออกเงินสนับสนุนเป็นค่า
ใช้จ่ายให้เครื่องละ 15,000 บาท จากราคา 33,000 บาท (ส่วนที่เหลือผู้เข้าร่วม
โครงการฯ เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเอง)







สภาพปัญหาในอดีต
- ขาดความรู้และความมั่นใจในการใช้งาน รวมทั้งวิธีการสกัดสารจากพืชสมุนไพรต่าง
ๆ เช่น ตะไคร้หอม, แมงลัก, สะเดา ฯ
- การใช้เครื่องยุ่งยาก ต้องคอยควบคุมเชื้อเพลิง และอุณหภูมิตลอดเวลา
- ใช้เชื้อเพลิงมากในการผลิตไอน้ำที่ใช้สกัดสารฯ
- มีต้นทุนการผลิตสูง- ไม่สามารถทำใช้เองได้






วิธีการแก้ไขปัญหา
- ลดการใช้แก๊สหุงต้ม มาเป็นการใช้พลังงานแสงอาทิตย์แทน
- ช่วยลดต้นทุนการผลิต
- ลดการใช้เครื่องกลั่นอุณหภูมิสูง โดยหันมาใช้เครื่องต้มที่มีอุณหภูมิต่ำแทน
- ลดความยุ่งยากในการใช้งาน โดยใช้การสกัดสารจากธรรมชาติด้วยวิธีธรรมชาติแทน



หลักการทำงานของเครื่องสกัดสารฯ
เมื่อแสงอาทิตย์ตกกระทบแผงรับแสงอาทิตย์ (Solar Collectors) พลังงานจะถูกดูด
ซับและส่งถ่ายความร้อนให้กับน้ำที่อยู่ในระบบ น้ำจะเริ่มร้อนและลอยตัวขึ้นที่สูงไหลไป
ตามท่อหุ้มฉนวนเข้าสู่ถังสกัดสารกำจัดศัตรูพืชหรือหม้อต้ม ซึ่งใส่พืชสมุนไพรไว้ น้ำ
ส่วนล่างของหม้อต้มจะไหลไปตามท่อหุ้มฉนวนด้านตรงข้ามเข้าสู่แผงรับแสงอาทิตย์รับ
พลังงานความร้อนจากแผงเป็นวัฎจักรซึ่งเรียกว่า ระบบไหลเวียนตามธรรมชาติ
(Thermosyphon System) น้ำในหม้อต้มจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อย ๆ สูงสุดประมาณ
90 องศาเซลเซียส สารชีวภาพในพืชสมุนไพรจะถูกสกัดออกมาละลายอยู่ในน้ำซึ่งจะใช้
เวลาวันละ 6-8 ชั่วโมง




การเตรียมพืชสมุนไพรและการนำไปใช้งาน
1. เตรียมพืชสมุนไพรที่ต้องการสกัด เช่น เม็ดสะเดา, ใบตะไคร้หอม
สะเดา นำเม็ดมาบดหรือตำให้ละเอียดพอประมาณใส่ถุงผ้าบาง
ใบตะไคร้หอม นำใบมาหั่นเป็นท่อนๆ ยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร ใส่ถุงผ้าบาง

2. ใส่น้ำในถังต้มซึ่งสามารถเลือกได้ 3 ระดับ
50 ลิตร เติมน้ำถึงระดับท่อน้ำเข้าถัง
75 ลิตร เติมน้ำถึงระดับวาล์วน้ำล้น
100 ลิตร เติมน้ำถึงระดับคอถัง

3. ใส่พืชสมุนไพรที่เตรียมไว้ลงในถังต้ม ใช้สะเดาหรือตะไคร้หอม 1-1.5 กิโลกรัมต่อน้ำ 10 ลิตร
น้ำ 50 ลิตร ใช้พืชสมุน 5-7 กิโลกรัม
น้ำ 75 ลิตร ใช้พืชสมุน 7.5-11 กิโลกรัม
น้ำ 100 ลิตร ใช้พืชสมุน 10-15 กิโลกรัม
ปิดฝาถังต้มให้เรียบร้อย


ควรเตรียมงานให้เสร็จเรียบร้อยก่อนเวลา 09.00 น. เพื่อให้เครื่องทำงานได้ดี ในขณะ
ที่มีแสงอาทิตย์ อุณหภูมิของน้ำในถังจะสูงขึ้นเรื่อยๆ สารชีวภาพในพืชสมุนไพรจะ
ละลายออกมาอยู่ในน้ำที่ต้มตลอดเวลา จะได้น้ำสารสกัด 75-100 ลิตร/วัน เมื่อหมด
แสงอาทิตย์เวลาประมาณ 18.30 น. นำภาชนะมารองรับ เปิดวาล์วด้านข้างถังต้มจน
หมดปล่อยทิ้งไว้ให้เย็น ผสมน้ำยาเกาะใบ 1 มิลลิลิตรต่อน้ำต้ม 20 ลิตร นำไปใช้ฉีดพ่น
พืชผักและผลไม้ ควรฉีดพ่นตอนเย็นหรือตอนเช้าทุก ๆ 5-7 วัน จะปราศจากศัตรูพืช
รบกวน เกษตรกร จะได้พืชผักผลไม้ปลอดสารพิษ ปลอดภัยทั้งเกษตรกรและผู้บริโภค
ประหยัดเงินตรา ลงทุนครั้งเดียว ชีวิตสดใส เพิ่มผลกำไร ถูกสุขอนามัยทุกคน


การดูแลรักษาเครื่องสกัดสารฯ
1. ถอดไส้กรองในถังทั้งทางเข้าและทางออกของน้ำออกมาทำความสะอาดเป็นครั้ง
คราว เพื่อให้ระบบการไหลเวียนของน้ำต้มสะดวก
2. ทำความสะอาดกระจกบนแผงรับแสงอาทิตย์ให้สะอาดอยู่เสมอ
3. เครื่องสกัดสารจะต้มสมุนไพรโดยอัตโนมัติที่อุณหภูมิไม่เกิน 90 องศาเซลเซียส จึง
ไม่ต้องมีคนคอยระวังอันตรายจากการที่ไฟและน้ำแห้ง

สรุปผลการนำเครื่องสกัดสารฯ ไปใช้งาน
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ร่วมมือกับ สำนักวิจัยและพัฒนาการ
ผลิตสารธรรมชาติ กรมวิชาการเกษตร ทำการทดสอบ หาปริมาณสารสำคัญที่สกัดได้
จากเครื่องดังกล่าว โดยใช้ตะไคร้หอมในปริมาณต่างๆ กัน คือ ใช้จำนวน 2 กิโลกรัม,
4 กิโลกรัม, 5 กิโลกรัม, 6 กิโลกรัม และ 8 กิโลกรัม กับน้ำจำนวน 75 ลิตรเท่ากัน
โดยเก็บตัวอย่างจากการต้ม 1 วัน และ 2 วัน จะพบว่าการใช้ตะไคร้หอมจำนวน 8
กิโลกรัมกับน้ำ 75 ลิตร ใช้เวลาสกัด 1 วัน จะให้น้ำมันที่สกัดได้ 260 ppm. ซึ่งสูงกว่า
ความเข้มข้นที่ใช้จริง ทั่วไป คือ 50-100 ppm. ผลการทดสอบหาสารต่างๆ ดังแสดง
ในตาราง [ คลิ้กที่นี่ ]

จากผลการทดลองดังกล่าวกับเครื่องสกัดสารป้องกันและกำจัดศัตรูพืชโดยใช้พลังงาน
แสงอาทิตย์ โดยเติมน้ำที่ระดับ 75 ลิตรซึ่งเป็นระดับที่เครื่องทำงานได้ดีที่สุดนั้น
สามารถนำมาสรุปผล ได้ดังนี้

ปริมาณพืชสมุนไพรที่ใช้ สามารถใช้ได้ตั้งแต่ 4-8 กิโลกรัมต่อน้ำ 75 ลิตร ขึ้นอยู่กับ
ความต้องการใช้งานของกลุ่มเกษตรกรและปริมาณพืชสมุนไพรที่มีอยู่ เช่น ถ้าใช้ตะไคร้
หอม 4 กิโลกรัมต่อน้ำ 75 ลิตร น้ำยาที่สกัดได้จะมีความเข้มข้นเฉลี่ย 100 ppm. ก็
สามารถนำไปฉีดพ่นได้เลยโดยไม่ต้องผสมน้ำ แต่ถ้าใช้ ตะไคร้หอม 8 กิโลกรัมต่อน้ำ
75 ลิตร น้ำยาที่สกัดได้จะมีความเข้มข้นเฉลี่ย 200-300 ppm. ในการนำไปใช้งานจะ
ต้องผสมน้ำเพิ่มอีกให้ได้ปริมาณรวม 2-3 เท่าจากของเดิม ซึ่งสามารถปรับใช้ให้สอด
คล้องกับความต้องการในแต่ละท้องถิ่นได้

ระยะเวลาในการสกัด จากการทดลองเครื่องสกัดสารป้องกันและกำจัดศัตรูพืช โดยใช้
พลังงานแสงอาทิตย์ ได้ผลสรุปว่า เครื่องดังกล่าวสามารถสกัดสารที่มีอยู่ใน ตะไคร้
หอมได้เร็ว ภายใน 1 วัน ตั้งแต่เช้าถึงเย็นก็ได้สารดังกล่าวเพียงพอแล้ว ถึงแม้จะสกัด
ต่อในวันที่สองก็ได้สารเพิ่มขึ้นน้อยมากไม่คุ้มค่า แต่ถ้าเป็นเมล็ดสะเดาบด ควรเพิ่ม
เวลา โดยแช่ต่อตั้งแต่เย็นถึงเช้าแล้วจึงกรองน้ำยาไปใช้ฉีดพ่นต่อไป

ช่วงเวลาในการฉีดพ่น เนื่องจากสารที่สกัดได้ทุกชนิดจะมีปฏิกริยากับแสงอาทิตย์โดย
ตรง ดังนั้นควรเลี่ยงเวลาฉีดพ่นที่มีแสงแดดจัด ควรฉีดพ่นตอนเย็นหรือตอนเช้ามืด จะ
เหมาะสมกว่า


บทบาทของเครื่องสกัดสารป้องกันและกำจัดศัตรูพืชโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ มาใช้
สกัดสารจากพืช โดยเฉพาะพืชสมุนไพรนั้น ในอนาคตจะถูกนำมาใช้ในการเกษตรมาก
ขึ้น เพราะในปัจจุบันทุกประเทศตระหนักถึงอันตรายที่เกิดจากสารตกค้างในพืช และผล
ผลิตอันเนื่องมาจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ตลอดจนผลกระทบของสารเคมีเหล่านี้
ต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นหากเกษตรกรสามารถใช้เครื่องดังกล่าวสกัดสารจากพืช แล้วนำ
ไปใช้ได้ทันทีจะเป็นการสะดวกและประหยัดค่าใช้จ่าย แต่เนื่องจากเครื่องสกัดสาร
ป้องกันและกำจัดศัตรูพืชโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์นี้ ยังเป็นเทคโนโลยีที่ใหม่สำหรับ
เกษตรกร การนำไปใช้งานจึงต้องอาศัยเวลาในการเผยแพร่ และรวบรวมวิธีการในการ
แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่พบในการใช้งานจริงต่อไป ด้วยเหตุนี้ เกษตรกรผู้ร่วมโครงการ
ทุกท่าน จึงมีส่วนสำคัญที่จะให้ข้อมูลต่างๆ ที่เป็นประโยชน์และร่วมกันเผยแพร่ให้เกิด
การใช้อย่างแพร่หลาย ต่อไป




สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่.
กองพัฒนาพลังงานทดแทน ฝ่ายพัฒนาและแผนงานโครงการ
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
โทรศัพท์ 0-2436-1644 โทรสาร 0-2436-1694

http://www2.egat.co.th/re/egat_business/egat_herb/egat_herb.htm


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/06/2013 9:20 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 05/07/2011 7:45 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

20. การวิเคราะห์แลคโตนรวมในฟ้าทะลายโจร
Total lactone analysis of Fah Talai Joan


ศิริวัลย์ บุญสุข, พัชราภรณ์ ภู่ไพบูลย,์ นันทนา ชื่นอื่ม , พินิจ ไพรสนธิ์ และ มนชิดา รุ่งสาย

งานวิเคราะห์และสิ่งแวดล้อม ฝ่ายเครื่องมือวิทยาศาสตร์
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์



ปัจจุบันคนส่วนใหญ่ให้ความสนใจดูแลรักษาสุขภาพตนเองโดยอาศัยวิธีการทางธรรมชาติมากขึ้น สมุนไพรจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่มีการนำมาใช้อย่างแพร่หลาย ในการนำสมุนไพรมาใช้ควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้

สารสกัดสมุนไพรที่ได้จากการสกัดโดยวิธีแตกต่างกัน จะได้สารออกฤทธิ์ที่แตกต่างกัน

สมุนไพรที่ได้จากเพาะปลูกโดยวิธีการที่แตกต่างกัน (ได้รับสารอาหารในระหว่างการเพาะปลูกที่แตกต่างกัน) หรือเพาะปลูกในฤดูกาลที่แตกต่างกัน เมื่อนำมาสกัด สารออกฤทธิ์ที่ได้อาจจะแตกต่างกัน

ส่วนต่าง ๆ ของพืชสมุนไพร เมื่อนำมาสกัดสารออกฤทธิ์ จะได้ปริมาณและชนิดของสารออกฤทธิ์ที่แตกต่างกัน

สารสกัดสมุนไพรที่ผลิตจากแหล่งผลิตที่ไม่ได้มาตรฐาน ในแต่ละรอบการผลิต จะได้สารออกฤทธิ์ที่มีปริมาณแตกต่างกันทั้งที่ผลิตในโรงงานเดียวกัน

ดังนั้นในการนำสมุนไพรมาใช้จะต้องควบคุมมาตรฐาน และคุณภาพของสารสำคัญในสมุนไพร เพื่อให้ได้ชนิดและปริมาณเป็นไปตามความต้องการที่จะนำไปพัฒนาใช้ประโยชน์ต่อไป

ฟ้าทะลายโจร เป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่ใช้กันมานานแล้ว โดยใช้เป็นยารักษา โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน เช่น เจ็บคอ ทอมซิลอักเสบ เป็นยาเจริญอาหาร แก้ท้องร่วงแก้ไข้ นอกจากนี้ฟ้าทะลายโจรยังได้นำไปใช้ในทางเกษตรโดยใช้ผสมในอาหารไก่ ซึ่งทำให้ไก่แข็งแรง และได้มีการวิจัยสรรพคุณและความเป็นพิษ ทั้งในสัตว์ทดลองและในคนไข้แล้ว พบว่าไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษหรือความผิดปกติใดๆ จึงนับว่าเป็นสมุนไพรที่มีความปลอดภัยและยังอาจลดการนำเข้ายาจากต่างประเทศด้วยในอนาคต

ปัจจุบันหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการวิเคราะห์หาปริมาณสารสำคัญในพืชสมุนไพรยังมีค่อนข้างจำกัด แต่ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์และสิ่งแวดล้อม ฝ่ายเครื่องมือวิทยาศาสตร์กลาง สถาบันวิจัยและพัฒนาซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีศักยภาพในการวิเคราะห์สารสำคัญในพืชสมุนไพรฟ้าทะลายโจรเพื่อตอบสนองความต้องการในการวิเคราะห์จากหน่วยงานต่างๆที่ศึกษาวิจัยทางด้านสมุนไพรรวมทั้งผู้ผลิตและประกอบการ ซึ่งในการวิเคราะห์สารสำคัญในฟ้าทะลายโจรนั้นจะวิเคราะห์ในรูปปริมาณแลคโตนรวมโดยใช้การ reflux และสกัดตัวอย่างด้วย 85% เอทธานอล จากนั้นไทเทรทด้วยกรด HCl

ผู้สนใจขอรับบริการหรือคำแนะนำสามารถติดต่อได้ที่โทร 02-942-8740 ต่อ 502, 503, 505 ทุกวันเวลาราชการ



http://www.rdi.ku.ac.th/kasetfair49/Plant/p_01_02/p_01_02.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 05/07/2011 9:58 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลำดับเรื่อง....


21. การประยุกต์ใช้สมุนไพรในการป้องกันและกำจัดแมลง
22. วว.โชว์ผลิตภัณฑ์กำจัดศัตรูพืชจ ากสารสกัดเมล็ดมันแกว
23. กระบวนการสกัดซาโปนินในสมุนไพรหางไหลแดง



*****************************************************************





21. การประยุกต์ใช้สมุนไพรในการป้องกันและกำจัดแมลง
The Application of Herbs to repellent


สมชาย ผลดีนานา
Somchai Pholdeenana

ภาควิชาสรีรวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Department of Physiology, Faculty of Veterinary Science, Chulalongkorn University


บทคัดย่อ

ปัญหาการควบคุมแมลง เป็นปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นในทุกสถานที่ ของทุกประเทศ และยิ่งมีการใช้ สารเคมีมากขึ้นเท่าใด ก็พบว่ายิ่งทำให้เกิดผลข้างเคียงเกิดขึ้นกับสัตว์ และมนุษย์มากขึ้นเท่านั้น ผลของสารเคมียังทำให้สภาพแวดล้อมเสียหายไปด้วย

จากปัญหาเหล่านี้ทำให้คนเราเริ่มตระหนักถึงความปลอดภัยมากขึ้น และหันมาสนใจกับธรรมชาติ ดังนั้นสมุนไพร จึงเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งที่มนุษย์เราให้ความสำคัญ

มนุษย์รู้จักสมุนไพรกันมานานแล้ว และสกัดสารที่อยู่ในสมุนไพรมาใช้ ในด้านการป้องกันแมลงก็โดยอาศัยกลิ่นที่แมลงไม่ชอบ ซึ่งมักจะเป็นน้ำมันหอมระเหย เช่น น้ำมันยูคาลิปตัส ส่วนด้านการกำจัดแมลงมีสารหลายตัว เช่น โรติโนน ไพรีทริน สารเหล่านี้มักออกฤทธิ์ในด้านการสัมผัส

ในปัจจุบันมีการสังเคราะห์สารไพรีทรอยด์เลียนแบบสารไพรีทริน ทั้งนี้เนื่องจากความต้องการมีมากไม่พอใช้ เช่น สารเปอร์มีธริน ฟลูมิธริน และนำมาใช้ในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเกษตร ปศุสัตว์ หรือผลิตภัณฑ์ทางด้านสัตว์เลี้ยง

การประยุกต์ใช้สมุนไพรในการป้องกันและกำจัดแมลง

สมุนไพรตามพระราชบัญญัติ หมายถึง ยาที่ได้จากพืช สัตว์ แร่ธาตุ จากธรรมชาติที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพโครงสร้างภายใน สามารถนำมาใช้เป็นยารักษาโรคต่าง ๆ และบำรุงร่างกายได้

การใช้ประโยชน์จากสมุนไพร ก็โดยการใช้สารเคมีที่อยู่ในสมุนไพร ซึ่งสามารถนำประโยชน์มาใช้ไม่ว่าจะเป็นด้านอาหารและยา ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการต้องศึกษาให้เข้าใจเกี่ยวกับสมุนไพร ซึ่งเราควรจะต้องเข้าใจ

1. ด้านพฤกษศาสตร์ ( Morphology and anatomy ) ควรรู้จักส่วนต่าง ๆ ของสมุนไพรโดย

- รู้จักลักษณะภายนอก (Organoleptic examination) ต้องสังเกตุดูรูปร่าง (Shape) ขนาด (Size) สี (Color) กลิ่น (Odor) และ รส (Taste) เพื่อให้คุ้นเคยและชำนาญกับ สมุนไพรนั้นทั้งสดและแห้ง

- รู้ลักษณะเนื้อเยื่อภายใน (Microscopic Examination) โดยการตัดชิ้นส่วนแต่ละส่วนมาศึกษา อาจทำโดยการส่องกล้อง หรือบดแล้วทดสอบ

2. องค์ประกอบต่าง ๆ ของสารภายในพืชสมุนไพร (Constituents in crude drugs) ซึ่งปัจจุบันมีการศึกษาหาส่วนประกอบในพืชสมุนไพรได้หลายชนิด โดยที่องค์ประกอบเหล่านี้ส่วนใหญ่จะสอดคล้องกับรส และสรรพคุณของสมุนไพรนั้น อย่างไรก็ตาม ถ้าสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป ส่วนประกอบก็อาจเปลี่ยนแปลงไปบ้างเช่นกัน ตามปกติหรือตามธรรมชาติของพืชนั้นในแต่ละต้นจะมีสรรพคุณไม่เท่ากันอาจเป็นเพราะลำต้นมีน้ำหล่อเลี้ยงลำต้นที่ไม่สม่ำเสมอกันโดยพบว่า

- ราก สรรพคุณ แรงกว่าต้น

- แก่น สรรพคุณ แรงกว่าเปลือกต้น

- เปลือกต้น สรรพคุณ แรงกว่ากระพี้

- กระพี้ สรรพคุณ แรงกว่าใบแก่

- ใบแก่ สรรพคุณ แรงกว่าใบอ่อน

- ดอกแก่ สรรพคุณ แรงกว่าดอกอ่อนแต่เสมอใบอ่อน

- ลูก(ฝัก)แก่ สรรพคุณ แรงกว่าลูก (ฝัก) อ่อนแต่เสมอเปลือกต้น

3. ควรรู้ชื่อวิทยาศาสตร์ของสมุนไพรนั้น (Scientific names) ประกอบด้วย จีนัส (Genus) สปีซีส์ (Species) เนื่องจากการใช้ชื่อพื้นเมืองอาจเกิดความสับสนได้ เพราะแต่ละประเทศหรือแม้แต่ประเทศเดียวกัน ซึ่งอาจเรียกแตกต่างกันก็ได้

4. ควรรู้วิธีการเก็บพืชสมุนไพร (Preparation of crude drugs) การเก็บควรมีความรู้ทางสรีรวิทยา และขบวนการชีวะสังเคราะห์ในพืช ซึ่งจะทำให้สารสำคัญที่มีคุณค่าในทางบำบัด และบรรเทาอาการของโรคในปริมาณที่สูงสด เช่น ต้นมินท์ ควรเก็บขณะที่ดอกกำลังบานเพื่อให้ได้ปริมาณน้ำหอมระเหยสูง

- ถ้าพืชสมุนไพรส่วนราก เก็บตอนที่หยุดสร้างอาหารแล้ว โดยมีการสะสมอาหารที่รากหรือในขณะที่มีดอก

- ถ้าพืชสมุนไพร ที่เป็นเปลือก เก็บตอนก่อนที่จะเริ่มผลิใบใหม่ ถ้ากิ่งหรือใบใหม่ผลิออกสารที่เปลือกจะถูกลำเลียงใบเลี้ยงส่วนใหม่

- ถ้าพืชสมุนไพรที่เป็นใบ เก็บก่อนหรือเริ่มออกดอก และเก็บในเวลากลางวัน อากาศ เนื่องจากมีปฏิบัติกิริยาการสงเคราะห์สูงสุดสารต่าง ๆ ยังสะสมอยู่ที่ใบไม่ทันได้ลำเลียงไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืช

- ถ้าพืชสมุนไพรที่เป็นดอก ให้เก็บเมื่อดอกเจริญเต็มที่ก่อนหรือหลังการปฏิสนธิ คือ ดอกตูมหรือแรกแย้ม

- ถ้าพืชสมุนไพรที่เป็นผล เก็บเมื่อผลโตเต็มที่แล้วแต่ยังไม่สุก ถ้าผลสุกงอมสารต่าง ๆ อาจถูกทำลายไป และนำไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของเมล็ดซึ่งจะเจริญต่อไป เป็นตัวอ่อน

- ถ้าพืชสมุนไพรที่เป็นเมล็ด เก็บเวลาที่ผลสุกงอมเต็มที่ ซึ่งเป็นตอนที่เป็นเมล็ดแก่มีสารสำคัญสะสมอยู่มาก

- หลังจากเก็บส่วนต่าง ๆ ของพืชสมุนไพร ควรทำความสะอาดให้หมด (Garbling) เช่น ส่วนราก หัว เหง้า เวลาขุดหรือถอนจากดินต้องระวัง ไม่ให้ช้ำ ล้างดินหรือโคลนที่ติดมาออกให้หมด และเอาส่วนที่ไม่ต้องการออก เช่น รากฝอย

5. ต้องรู้จักวิธีทำให้พืชสมุนไพรแห้ง (Drying of Crude Drugs) จุดประสงค์ของการทำก็เพื่อให้ตัวยาที่มีประสิทธิภาพ ไม่ให้สลายตัว หรือ เสื่อมประสิทธิภาพ

วิธีง่าย ๆ ก็ทำได้โดยการตากแดดให้แห้งหรือใช้เตาอบประมาณ 50-60 องศาเซลเซียล แต่ถ้าเป็นพืชที่มีสารพวกน้ำมันหอมระเหยต้องผึ่งลม และถ้าเป็นพืชที่อวบน้ำ ถ้าใช้เตาอบไม่ควรเกิน 60 องศาเซลเซียล

6. วิธีการเก็บรักษาพืชสมุนไพร (Storage of crude drugs ) ควรเก็บในสภาวะที่เหมาะสมกับพืชสมุนไพรนั้น ๆ การเก็บที่เหมาะสมควรเก็บในที่ปราศจากความชื้น เพื่อให้พืชมีคุณค่าในการออกฤทธิ์และเก็บได้นาน แต่ถ้าเป็นพืชที่มีคุณสมบัติ ในการดูดความชื้น ก็ควรปิดฝาให้สนิท และถ้าสมุนไพรบางชนิดมีอาหารสะสมมาก เช่น มีแป้งมาก แมลงชอบกัดกิน ก็ควรต้องป้องกันอย่างระมัดระวังด้วย



องค์ประกอบของสารภายในพืชสมุนไพร (Constituents in crude drugs ) ประกอบด้วย

1. สารประกอบพื้นฐาน (Primary constituents) เป็นองค์ประกอบทั่ว ๆ ไปที่มีอยู่ในพืช เช่น คาร์โบไฮเดรท น้ำตาล และ แป้ง

2. สารประกอบเชิงซ้อน (Secondary constituents) คือ ส่วนประกอบที่มีอยู่ในพืชบางชนิด ซึ่งอาจจะมีมากและน้อย หรือไม่มีในพืชนั้น ๆ เช่น กรด แทนนิน อัลคอลลอยด์ ไกลโคซายด์ น้ำมันหอมระเหย เรซิน กัม โอลิโอเรซิน สารเมือก ลาเท๊ส

- กรด (Acid) มักพบในผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว มักเป็นกรดอินทรีย์ เช่น Ascorbic acid (Vitamin Citric acid)

- แทนนิน (Tannin) พบในพืชทั่ว ๆ ไป มีรสฝาด สำหรับใช้สมานแผล มีฤทธิ์ช่วยบรรเทาอาการท้องร่วงหรือกันไม่ให้สารบางชนิดบูด

- อัลคอลลอยด์ (Alkaloid) เช่น พวกมอร์ฟีน นิโคติน

- ไกลโคซายด์ (Glycosides) เป็นสารเคมีที่มีฤทธิ์รุนแรง มีส่วนประกอบของน้ำตาลและส่วนที่ไม่ใช่น้ำตาล ถ้าใช้ในขนาดที่เหมาะสมจะเป็นยารักษาโรค ถ้ามากเกินไปอาจทำให้เสียชีวิตได้ เช่น ไดโจโทซิน (Digitoxin) พวกไกลโคซายด์ จะถูกสลายตัวโดยเอ็นไซด์ ให้กรด ซึ่งเป็นอันตราย ทำให้มึนงงหรือสลบได้ ดังนั้นก่อนจะรับประทานพืชที่มีสารนี้ต้องนำมาดองหรือหุงต้มก่อน เพื่อทำลายเอ็นซายด์ให้หมด เช่น ผักเสี้ยน

- น้ำมันหอมระเหย (Volatile oils) มีอยู่ในพืชบางชนิด มีกลิ่นหอม สามารถนำมาแต่งกลิ่นอาหาร ยา หรือเป็นยาค่าเชื้อโรคได้ เช่น ยูคาลิปตัส

- เรซิน (Resin) เป็นสารสีเหลืองโปร่งใสและโปร่งแสงที่พบในเซลล์พืช

- กัม (Gum) เป็นสารพวกไฮโดรคอลลอยด์ (Hydrocolloid) ที่ถูกขับออกจากพืช เมื่อพืชถูกรบกวน

- โอลิโอเรซิน (Oleoresins) เป็นสารผสมที่เกิดขึ้นระหว่างเรซินและ น้ำมันหอยระเหย เป็นเนื้อเดียวกัน

- สารเมือก (Mucillages) เป็นสารที่พืชสร้างขึ้นมีลักษณะ เป็นยางสีขาวคล้ายน้ำนม

- ลาเท็ก (Latex) เป็นสารธรรมชาติ (Natural products) ที่พืชบางชนิด ให้ยางออกมา มีลักษณะขาวคล้ายน้ำนม ได้มาจากส่วนของพืชที่เรียกว่า แลคทิซิเฟอรัสเวสเซลส์ (Lacticiferous uessels)

สมุนไพรที่ใช้ฆ่าและไล่แมลง
แมลงจัดเป็นสัตว์ที่มีมากที่สุดในบรรดาสัตว์ที่มีในโลกนี้ แมลงมีทั้งที่มีประโยชน์ และมีโทษต่อมนุษย์แต่ส่วนใหญ่แล้วมนุษย์มักจะมองไม่ค่อยเห็นประโยชน์ของแมลง จึงมีการกำจัดแมลงเสียเป็นส่วนใหญ่ มนุษย์รู้จักการใช้สารเคมีต่างๆเพื่อไล่หรือกำจัดแมลง มานานกว่า 100 ปี มาแล้ว ก่อนที่จะคิดค้นสารเคมีที่มีประสิทธิภาพสูงและอันตรายสูง อย่างในปัจจุบันนี้



สมุนไพรขับไล่แมลง
สำหรับสารที่ไล่แมลง (Insect repellants) เป็นสารที่ไล่แมลงเข้ามาไกล้ สัตว์ คน หรือพืช สารเหล่านี้มีรส และ กลิ่นที่แมลงไม่ชอบ



ตะไคร้หอม (Cymbopogon nardus rendle)
ลักษณะต้นคล้ายตะไคร้ (Lemon grass) แต่มีใบขนาดกว้างและยาวกว่ามาก

สารที่ได้จะเป็นน้ำมันหอมระเหยพวก Geraniol ประมาณ 55-92% พวกนั้นเป็น Citronellal citronellol และ borneol สารที่ได้พวกนี้เรานำมาใช้ในการไล่แมลง และไล่ยุงได้ดี
สูตรไล่ยุงที่มีการสอนโดยโรงเรียนสารพัดช่าง บางพลัด (น้ำหอมกันยุง)

1. การบูร 15 กรัม
2. เอทานอล 30 ซีซี
3. น้ำมันตะไคร้หอม 15 ซีซี

วิธีทำ เอาการบูนละลายในเอทานอลให้หมด แล้วเติมน้ำมันตะไคร้ลงไปผสมให้เข้ากัน (ถ้าต้องการให้มีกลิ่นอื่น ๆ ด้วย ก็เติมหัวน้ำหอมเล็กน้อย)

หมายเหตุ คุณสมบัติของสารการบูนและน้ำมันตะไคร้มีกลิ่นที่ทำให้ยุงเกลียดจึงไม่มาเข้าไกล้ ส่วนแอลกอฮอล์ช่วยเป็นตัวละลาย ถ้าการบูนกลิ่นไม่แรงพอที่ยุงจะหนี เพิ่มการบูนลงไปอีกก็ได้




กะเพรา (Sacred basil)
กะเพราเป็นพืชล้มลุกมีลักษณะเป็นพุ่มลำต้นเป็นสีเหลี่ยม แตกกิ่งก้านสาขาออกมากมายเป็นรูปไข่ ขอบใบหยักเป็นซี่ฟัน ตามลำดับกิ่งก้าน และใบมีขนอ่อน ๆ ปกคลุม ออกดอกเป็นช่อที่ยอดหรือปลายกิ่งดอกมี
สีม่วง เมล็ดมีสีดำ

สารที่พบในใบกระเพราคือ น้ำมันหอมระเหยสีเหลืองซึ่งจะมีกลิ่นหอมฉุนคล้ายกลิ่นน้ำมันของน้ำมันกานพลู ส่วนในเมล็ด มีน้ำมันระเหยยากสีเหลืองอมเขียว ประกอบด้วยด้วยกรดไขมันปาล์มมิติค (Palmitic) ฯลฯ คุณภาพของน้ำมันหอมระเหยเหล่านี้จะขึ้นอยู่กับ อายุ สภาพภูมิประเทศ และ สภาพภูมิอากาศ

ซึ่งพบว่าน้ำมันหอมระเหยในใบสามารถที่จะใช้ไล่ยุง และถ้ามีปริมาณมากพอก็สามารถฆ่ายุงได้ วิธีการง่าย ๆ สำหรับชาวบ้านก็เพียงแต่นำใบสดมาขยี้ ให้พอมีกลิ่น ยุงก็จะไม่เข้าใกล้แล้ว




ยูคาลิปตัส (Eucalyptus citriodora hook)
เป็นไม้ยืนต้น เติบโตได้เร็ว มีใบยาวสีเขียว มีดอกเป็นช่อ พันธุ์ที่มีในประเทศไทย เมื่อกลั่นใบแล้วจะให้น้ำมันยูคาลิปตัสน้อย ดังนั้นจึงมักจะใช้พันธุ์ที่นำเข้าเพื่อกลั่น น้ำมันยูคาลิปตัสมีฤทธิ์ช่วยไล่แมลงโดยเฉพาะยุงได้ดี วิธีใช้แบบง่าย ๆ เพียงแต่ใช้ใบสด 1 กำมือ ขยี้กลิ่นน้ำมันจะออกมาช่วยไล่แมลงได้

สารที่ใช้ฆ่าแมลง ( insecticides ) แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
1. สารที่ฆ่าแมลงหลังจากแมลงกินเข้าไป (stomachpoisons)
2. สารที่ฆ่าแมลงโดยการสัมผัสกับตัวแมลง (contact poisons)
3. สารที่ฆ่าแมลงโดยแมลงสูดดมเข้าไป (fumigants)

มีสารหลายชนิดมีฤทธิ์ไม่แน่นอนว่าจะจัดอยู่ในพวกใด หรือบางชนิดอาจฆ่าแมลงโดอออกฤทธิ์มากกว่า 1 อย่าง

- สารที่ฆ่าแมลงหลังจากแมลงกินเข้าไป ส่วนใหญ่จะเป็นแมลงที่กัดแทะ สุมนไพรพวกนี้ เช่น โลติ๊น

- สารที่ฆ่าแมลงโดยการสัมผัสกับแมลง แมลงพวกนี้ตายเราะสารฆ่าแมลงซึมผ่านผิว หรือผ่าน connective tissue หรือผ่านหลอดลมเข้าไป เช่น ไพรีทริน โลติ๊น นิโครติน

สารฆ่าแมลงโดยแมลงสูดดมเข้าไป เป็นสารที่สามารถระเหยอยู่ในรูปของก๊าซได้โดยเฉพาะที่อุณหภูมิธรรมดา และถ้ามีความเข้มข้นและปริมาณที่สูงมากพอก็จะทำให้แมลงตายได้ เช่น นิโครติน




น้อยหน่า (Annona squamosa linn)
เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ใบเดี่ยวออกสลับกัน ผลมีลักษณะค่อนข้างกลม ผลที่ออกใหม่ ๆ จะมีสีเขียวเมื่อแก่เต็มที่จะมีสีเขียวปนสีแดงอ่อน ๆ เล็กน้อย ในหนึ่งผลจะแบ่งเป็นช่อง ๆ จำนวนมากเรียกว่า “ ตา “ ในแต่ละตาจะมีเมล็ดสีดำหนึ่งเมล็ด และเนื้อหุ้มเมล็ดจะมีสีขาว

สารออกฤทธิ์จะมีมากที่เมล็ดและใบซึ่งจะเป็นพวกอัลคาลอย (Anonaine) เวลาใช้ให้ตำเมล็ดหรือใช้ใบผสมกับน้ำมันมะพร้าว และ ชะโลมศรีษะทิ้งไว้สามารถฆ่าเหาได้ดี อย่างไรก็ตาม มีผู้นำมาทดสอบใช้กำจัดเห็บหมัดในสุนัข ในการใช้ต้องระวังมิให้ถูกนัยน์ตา เปลือกตา ริมฝีปาก และรูจมูก เพราะจะทำให้เกิดอาการแสบร้อน การออกฤทธิ์ของน้อยหน่าจะเป็นพิษทางสัมผัส และทางกระเพาะอาหาร เป็นทั้งสารฆ่าแมลง ขับไล่แมลง และ ขัดขวางการกิน

ณรง จึงสมานญาติ ได้สกัดสารจากพืชจำนวน 7 ชนิด ประกอบด้วย ใบเหงือกปลาหมอ เหง้าว่านน้ำ เมล็ดน้อยหน่า ใบคว่ำตายหงายเป็น เมล็ดบวบเหลี่ยม เมล็ดมันแกว และ รากหนอนตายอยาก ซึ่งพบว่ามีฤทธิ์ฆ่าเห็บตัวอ่อนตาย 90-100% ส่วนการทดสอบฤทธิ์ฆ่าเห็บตัวแก่ กระทำโดยวิธีจุ่มเห็บลงในสารสกัดที่มีความเข้มข้น 10% นับเปอร์เซ็นต์ตายของเห็บหลังการจุ่ม พบว่ามีฤทธิ์ฆ่าเห็บตัวแก่ตาย 86-100% ที่ 48 ชั่วโมง ได้แก่สารสกัดจากเมล็ดน้อยหนาและใบข่อย นอกจากนี้ยังพบว่าสารสกัดจากเมล็ดน้อยหน่าที่ความเข้มข้น 2% ยังมีฤทธิ์ฆ่าเห็บตัวแก่ตายถึง 92.50%

และจากผลการสกัดสารจากเมล็ดน้อยหน่าพบว่าสามารถสกัดโดยใช้ 10%แอลกอฮอล์ หรือโดยการต้มกับน้ำก็ได้ ซึ่งจะเหมาะกับเกษตรกรในการนำไปใช้ฆ่าเห็บในโค ( การประชุมวิชาการครั้งที่ 8 เทคนิควิชาการทางวิทยาศาสตร์ ชีวภาพ 14-18 พ.ค. 2533 )




หนอนตายหยาก (Stemona tuberosa lour)
เป็นพืชจำพวกไม้เลื้อย ที่มีรากใต้ดินจำนวนมาก มีรูปลักษณะคล้ายกระสวย หรือทรงกระบอกอยู่กันเป็นพวงอาจยาวถึง 10-30 ซ.ม ใบเดี่ยวติดกับลำต้นแบบตรงกันข้าม ก้านใบยาว ฐานใบมน ปลายใบเรียว แหลม คล้ายใบพลู เส้นใบมีหลายเส้นออกในแนวขนานกับขอบใบ พืชพวกนี้พอถืงฤดูแล้ว จะเหลือแต่เหง้าและรากไว้ใต้ดิน แต่เมื่อเริ่มฤดูฝนใหม่ใบจะงอกออกมาอีกพร้อมทั้งออกดอกด้วย ดอกจะออกเป็นช่อประกอบด้วยดอกย่อย ๆ สีขาวหรือสีม่วงอ่อนจำนวนมาก ผลค่อนข้างแข็งสีน้ำตาลขนาดเล็ก หนอนตายหยากมีหลายspecies แต่ชื่อไทยเหมือนกันหมด

ส่วนที่ใช้จะเป็นราก ซึ่งประกอบด้วยสารอัลคาลอยด์ stemonine, tuberostemonine, stemonidine และ isostemonidine

ที่จังหวัดจันทบุรี จะใช้รากตำให้ละเอียดแลัวแช่น้ำมันมะพร้าว ฉีดเป็นยาฆ่าแมลงที่มารบกวนต้นพริกไทย ในจังหวัดพัทลุงใช้รากลงโขลก ผสมน้ำ ทาตามแผลสัตว์ป้องกันแมลงมาตอมหรือวางไข่ สำหรับกองเภสัชกรรมได้ใช้รากสด ๆ ทดลองกับตัวไรน้ำ และลูกน้ำ พบว่าทำให้เกิดอาการอ่อนเปลี้ยและตายได้

เทพ เชียงทอง และวิจิตร ภัคเกษม ได้ทำการวิจัยสารประกอบที่มีในรากหนอนตายหยากชนิด stemona collinsae ได้สารประกอบ 3 ชนิด และทดสอบพิษของหนอนตายหยากที่มีต่อหนอนแมลงวันบ้าน โดยผสมสารละลายหนอนตายหยากกับอาหารเลี้ยงหนอนแมลงวัน ปรากฏว่าสามารถทำให้หนอนแมลงวันตายได้ สำหรับส่วนที่ไม่ตาย ก็อาจเป็นดักแด้ได้ แต่จะมีลักษณะผิดปกติ และไม่สามารถเจริญต่อเป็นตัวเต็มวัยได้




โลติ้น (หางไหล ,อวดน้ำ Derris elliptica bentham)
หางไหลเป็นไม้เลื้อยชนิดเนื้อแข็ง ใบประกอบแบบขนนก ออกดอกเป็นช่อมีขนาดเล็ก สีแดงอ่อน รูปร่างของดอกเหมือนดอกถั่ว ผลจะเป็นฝัก

ในสมัยโบราณนิยมใช้โลติ้น เป็นยาเบื่อปลา ต่อมาพบว่า ถ้าใช้รากโล่ติ้นทุบแช่น้ำแล้วนำไปพ่น หรือทำเป็นฝุ่น ผสมทาลคั้ม (Talcum) สามารถฆ่าแมลง เห็บ หมัด ในสุนัขและแมวได้ แต่ไม่ควรใช้ร่วมกับสารที่เป็นด่าง เช่น ปูนขาว จะทำให้สารภายในโลติ้นเสื่อมลง

สารสำคัญที่อยู่ในโลติ้นที่ใช้เบื่อปลาและฆ่าแมลง คือ โรติโนน (Rotenone) และดีกิวลิน (Deguelin)ซื่งมีฤทธิ์ฆ่าแมลงมากที่สุดภายในรากของโลติ้น และควรใช้รากที่มีอายุมากกว่า 2 ปีขื้นไป ฤทธิ์ของโลติ้นจะไปมีผลต่อกระบวนการหายใจ โดยจะขัดขวางการส่งผ่านของอิเลคตรอนในไมโตคอนเดรีย ซื่งผลอันนี้ จะเกิดเฉพาะกับแมลงและปลา แต่จะไม่เป็นพิษต่อสัตว๋เลือดอ่น ยกเว้นหมู

โลติ้นไม่เป็นพิษต่อพืชและสัตว์เลือดอุ่น จืงปลอดภัยในการใช้เป็นสารฆ่าแมลง แต่ถ้ากินโรติโนนเข้าไปพร้อมน้ำมัน สารจะถูกดูดซืมทำให้มีพิษต่อสัตว์เลือดอุ่นและคนได้ อย่างไรก็ตามถ้าสารนี้ถูกแสงและอากาศก็จะหมดฤทธิ์ไปอย่างรวดเร็ว




ไพรีทรินส์ (Pyrethrins , Chrysanthemum cineriaefolicem Bocc.)
ลักษณะเป็นไม้ล้มลุกสูงประมาณ 1 เมตร ขอบใบลึกเป็นรูปขนนก ดอกคล้ายเบญจมาศ มีสีเหลืองหรือสีครีม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 ซ.ม.

สารที่ออกฤทธิ์จะอยู่ในดอก ซึ่งที่ดอกจะให้ปริมาณสารมากที่สุด จะอยู่ในช่วงที่ดอกบานได้ 2 ใน 3 หรือ ระยะใน 3 สัปดาห์ แล้วนำไปทำให้แห้ง ประกอบด้วย ไพรีทริน I ไพรีทริน II ไซเนอริน I ไซเนอริน II พบมากที่สุดในผลของดอก สารเหล่านี้จะมีฤทธิ์น้อยลงเมื่อถูกความร้อน แสงและอากาศ เพราะไพรีทรินจะถูกเปลี่ยนเป็น ไอโซไรรีทริน ถ้าอุณหภูมิสูงขึ้น

เวลาใช้จะต้องทำให้ละเอียด สามารถฆ่าแมลงได้เป็นอย่างดี ออกฤทธิ์กับแมลงโดยสัมผัสใช้ในรูปที่เป็นผงหรือสั่งสกัดจากดอกแล้วละลายในตัวทำละลายที่เหมาะสมใช้ฉีดหรือพ่นกลไกการออกฤทธิ์ ยังไม่เป็นที่เข้าใจอย่างแน่ชัด แต่สารเหล่านี้จะออกฤทธิ์โดยตรงต่อระบบประสาทของแมลง โดยอาจจะเกี่ยวข้องกับการส่งผ่านของโซเดียม และโปแตสเซียมไอออนในเซลประสาทเมื่อแมลงสัมผัสกับสารเปล่านี้ แมลงอาจมีอาการตื่นเต้นสั่น และเป็นอัมพาตอย่างรวดเร็ว

ในยาฆ่าแมลงที่มีไพรีทรินสีเป็นสารออกฤทธิ์นั้น ส่วนใหญ่มักนิยมผสมสารเพิ่มฤทธิ์ เช่น sesamin (แยกได้จากน้ำมันงา ) เพื่อให้ฤทธิ์เพิ่มขึ้น ปัจจุบันใช้ piperonyl butoxide ( สารสังเคราะห์เลียนแบบ sesamin )

ปัจจุบันนักเคมีสามารถสังเคราะห์สารคล้ายพวกไพรีทรินขึ้นมาแล้วหลายชนิดด้วยกัน เช่น แอลเลอร์- ฮวิน (Allerthrin) เรสเมธริน (resmetrin ) ไบโอเรสเมธริน (bioresmethrin ) เททราเมธริน (tetramethrin ) เปอร์มีธริน (permethrin ) ฟลูมิธริน (fumethrin ) สารเหล่านี้มีประสิทธิภาพในการฆ่าแมลง สูงกว่าที่ผลิตจากธรรมชาติ

สารสังเคราะห์ที่กล่าวมา มีหลายตัวที่ไม่ได้นำมาผสมกับแชมพู เพื่อกำจัดเห็บหมัดในสัตว์เลี้ยงซึ่งก็ได้ผลดี แต่ควรระวัง หากสารไพรีทรินสังเคราะห์เหล่านี้ ผสมในความเข้มข้นมากไป อาจทำให้ผิวหนังและขนของสัตว์เลี้ยงเสียหายได้

ยังมีสมุนไพรที่มีการประยุกต์มาใช้กำจัดแมลงอีกหลายชนิด เช่น มะคำดีควาย ขอบชะนาง (หญ้าหนอนตาย )

อย่างไรก็ตาม การค้นคว้าสมุนไพรส่วนใหญ่ยังเน้นไปอยู่ที่การใช้ฆ่าแมลงในทางเกษตรเป็นส่วนมาก ดังนั้นถ้าหากเรานำสมุนไพรที่มีผลต่อแมลงเหล่านี้มาทดสอบกับแมลงที่มารบกวนสัตว์เศรษฐกิจ หรือสัตว์เลี้ยง ก็น่าจะเป็นประโยชน์ ช่วยให้สัตว์รวมทั้งคนได้ปลอดภัยจากโรคที่อาจนำมาโดยแมลงเหล่านี้





เอกสารอ้างอิง
กองทะเบียนการวิจัย. 2523. เอกสารการวิจัยปริทัศน์ สมุนไพรสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงาน

โครงการวิจัยปลูกและรวบรวมพันธ์พืชและสมุนไพร. 2542. สวนนานาพฤกษสมุนไพร เภสัช-มหิดล

นิจศิริ เรืองรังษี และ พยอม ตันติวัฒน์. 2532. พืชสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย. 2534. ยาและผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

สมพร หิรัญรามเดช. 2525. สมุนไพรใกล้ตัวตอนที่ 3 ภาควิชาเภสัชเวท คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สุพจนน์ ดิลานเภสัช. 2543. สมุนไพรเครื่องเทศและพืชปรุงแต่งกลิ่นรส สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น

อภิชาต สุติคา. 2535. สวนสมุนไพรเกษตรภาคกลางและการประยุกต์ใช้การสกัดจากพืชสมุนไพรเพื่อป้องกันกำจัดfแมลงศัตรูพืช สำนักงานเกษตรภาคกลาง

Herber N. Nigg and David Seiger (1992) Phytochemica Resoreces for Medicine and Agriculture Plenum Press New York and London


http://www.vet.chula.ac.th/~nuclear/symposium44/Somchai.htm


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 05/07/2011 10:21 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 05/07/2011 10:10 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

22. วว.โชว์ผลิตภัณฑ์กำจัดศัตรูพืชจ ากสารสกัดเมล็ดมันแกว


สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี ประสบความสำเร็จในการวิจัยและพัฒนาสารสกัธรรมชาติ "ผลิตภัณฑ์
กำจัดศัตรูพืชจากสารสกัดเมล็ดมันแกว" สามารถกำจัดหนอนกระทู้ในผัก หนอนใยผัก
และแมลงอื่นๆ ได้กว่า 90% ระบุไม่ก่อให้เกิดสารพิษตกค้างในพืชและสิ่งแวดล้อม
ช่วยลดการใช้สารเคมีของเกษตรกรอย่างมีประสิทธิภาพ


นางสาวสุมาลัย ศรีกำไลทอง รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนา วว. กล่าวชี้แจงว่า แมลง
ศัตรูพืชนับเป็นปัญหาสำคัญต่อการทำเกษตรกรรมของเกษตรกร ซึ่งการป้องกันและ
กำจัดศัตรูพืชนั้น จำเป็นต้องพึ่งวัตถุมีพิษทางการเกษตร อันได้แก่ ยาฆ่าแมลง ที่มี
ราคาแพงและต้องนำเข้าจากต่างประเทศ อีกทั้งการใช้สารดังกล่าวเป็นระยะเวลานาน
จะส่งผลก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เช่น เป็นพิษต่อคนและสัตว์ ทำให้เกิดการดื้อยา
ของแมลง และยังทำลายแมลงที่มีประโยชน์ในระบบนิเวศวิทยา ก่อให้เกิดการตกค้าง
ของสารพิษต่อผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งส่งผลกระทบทั้งสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต
ด้วยตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว วว. โดย ศูนย์เทคโนโลยีปุ๋ย จึงได้ทำการศึกษา " วิธี
การสกัดสารออกฤทธิ์จากพืช / สมุนไพร และทำการทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัด
ต่อแมลงศัตรูพืช " ขึ้น เพื่อนำสารสกัดธรรมชาติโดยเฉพาะจากพืชมาใช้ทดแทนสาร
เคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช

" ประเทศไทยจำเป็นต้องนำเข้าสารปราบศัตรูพืชมากกว่าร้อยชนิด ทั้งในลักษณะเดี่ยวๆ
หรือสูตรผสมเป็นปริมาณประมาณ 20,000 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1,000 ล้านบาท
ต่อปีสารเหล่านี้อาจเป็นสารเคมีชนิดใหม่ๆ ที่ถูกนำมาใช้โดยที่ยังไม่ผ่านขั้นตอนการ
ตรวจสอบความเป็นพิษ จึงอาจก่อให้เกิดโทษมากกว่าคุณประโยชน์ ปัจจุบันจึงมีการ
เสาะหาสารเคมีจากธรรมชาติ เช่น พืช มาใช้แทนสารสังเคราะห์ เนื่องจากมีข้อดีที่
สามารถสลายตัวเองตามกระบวนการชีวภาพในสิ่งแวดล้อมและกลายเป็นสารไม่มีพิษ
จึงไม่มีพิษตกค้างหรือพิษสะสมเหมือนกับสารเคมีกำจัดแมลงที่เป็นสารเคมีสังเคราะห์…
ความสำเร็จของ วว. ในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อภาคเกษตรกรรมของ
ประเทศ ในการช่วยลดการใช้สารเคมีซึ่งมีราคาสูงและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดย
รวม…ผลิตภัณฑ์กำจัดศัตรูพืชจากสารสกัดเมล็ดมันแกวนับเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ
ของเกษตรกรในการช่วยเพิ่มผลผลิตและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม" รองผู้ว่าการวิจัยและ
พัฒนา วว. กล่าว

ดร.สุริยา สาสนรักกิจ ผู้อำนวยการ ศูนย์เทคโนโลยีปุ๋ย วว. กล่าวเพิ่มเติมว่า วว.
ได้ทำการศึกษาวิธีการสกัดสารออกฤทธิ์และการทดสอบประสิทธิภาพของสารต่อแมลง
ศัตรูพืชของพืช 4 ชนิด คือ หนอนตายหยาก ข่าลิง เมล็ดมันแกว และหางไหล พบว่า
เมื่อเปรียบเทียบผลการทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืชทั้ง 4 ชนิดดังกล่าว
โดยวิธีการสกัดแบบลำดับส่วนด้วยตัวทำละลายที่มีความแรงของขั้วแตกต่างกัน 3
ชนิด คือ เฮกเซน เมทานอล และน้ำ พบว่า สารสกัดจากเมล็ดมันแกว ซึ่งมีสาร
rotenone และ saponins ที่มีสารออกฤทธิ์เป็นยาฆ่าแมลง ที่ได้จากการสกัดด้วย
ตัวทำละลายที่เหมาะสม และส่งผลต่ออัตราการตายของหนอนกระทู้ผักสูงที่สุด กล่าว
คือ ความเข้มข้นตั้งแต่ 0.1% ขึ้นไปจะส่งผลต่ออัตราการตายของหนอนกระทู้ในผัก
มากกว่า 90%

" วว. ได้นำผลิตภัณฑ์ไปทำการทดสอบในระดับเรือนทดลองและระดับภาคสนามแปลง
ปลูกผักกาดขาวปลีและผักคะน้า พบว่าอัตราที่เหมาะสมในการฉีดพ่นเพื่อป้องกันและ
กำจัดแมลง ควรใช้ความเข้มข้น 0.25-1% ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์กำจัดศัตรูพืชจากสารสกัด
เมล็ดมันแกว ผลงานวิจัยของ วว. นี้ สามารถเก็บรักษาได้อย่างน้อย 8 สัปดาห์ ด้วยการ
เก็บในขวดสีชา หรือไม่ให้โดนแสงแดด และเก็บที่อุณหภูมิห้อง โดยที่ผลิตภัณฑ์ยังมี
ปริมาณสารออกฤทธิ์คงเดิม…ซึ่งการดำเนินโครงการในขณะนี้ วว. ได้พัฒนาเครื่องจักร
และอุปกรณ์ต้นแบบกระบวนการผลิตสารสกัดจากเมล็ดมันแกว เพื่อให้ได้กระบวนการ
ผลิตสารอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถผลิตได้อย่างเพียงพอกับความต้องการของ
เกษตรกร " ดร.สุริยากล่าว

ดร. ประไพภัทร คลังทรัพย์ นักวิชาการ ฝ่ายเภสัชและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ วว. กล่าวถึง
การทดสอบความเป็นพิษของผลิตภัณฑ์กำจัดศัตรูพืชจากสารสกัดเมล็ดมันแกวว่า เนื่อง
จากผลิตภัณฑ์จะถูกนำไปใช้ในรูปสารละลายและพ่นฝอยสู่พืช อาจก่อให้เกิดการระคาย
เคืองต่อผิวหนังและดวงตาได้ วว. จึงทำการทดสอบตามมาตรการทดสอบของทั้ง
ประเทศสหรัฐอเมริกาและยุโรป โดยใช้สัตว์ทดลองในการศึกษาความเป็นพิษเฉียบ
พลัน ทั้งการกินและการซึมผ่านผิวหนัง โดยทำการเจือจางผลิตภัณฑ์ 100 เท่าตามวิธี
การที่นำไปใช้จริง ปรากฎว่าตรวจไม่พบอาการผิดปกติใดๆ และความผิดปกติของอวัยวะ
ภายในต่างๆ นอกจากนั้นผลิตภัณฑ์ยังไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อดวงตาและผิว
หนังเมื่อทดสอบในกระต่าย ทั้งนี้ วว. จะดำเนินการทดสอบเพิ่มเติม เพื่อศึกษาฤทธิ์ก่อ
กลายพันธุ์ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงต่อสารพันธุกรรมหรือ DNA และการทดสอบพิษตก
ค้างต่อสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำต่อไป

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ได้ที่ ศูนย์เทคโนโลยีปุ๋ย วว.

เลขที่ 35 หมู่ 3 เทคโนโธานี ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
12120 โทรศัพท์ 0 2577 9000 โทรสาร 0 2577 9009 ในวันเวลาราชการ


http://www.newswit.com/gen/2005-01-31/7d140abfa502022ed66aa598a7d09352/


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 15/06/2013 5:50 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 05/07/2011 10:16 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

23. กระบวนการสกัดซาโปนินในสมุนไพรหางไหลแดงเชิงพาณิชย์

SAPONIN EXTRACTION PROCESS OF Derris elliptica Benth in COMMERCIAL SCALE

สุชาดา ไชยสวัสดิ์1, วราภรณ์ เมธาวิริยะศิลป์1, สรเสกข์ กุลมัย1 และ ณัฐพร กะการดี




บทคัดย่อ :
กระบวนการสกัดสารจากพืชและสมุนไพรเพื่อใช้ในผลิตภัณฑ์ธรรมชาติเชิงพาณิชย์ถือ
เป็นขั้นตอนที่สำคัญและเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการประเมินความคุ้มทุนเชิงพาณิชย์

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์พัฒนากระบวนการสกัดสารซาโปนินจากสมุนไพรหางไหลแดง
(Derris elliptica Benth) ให้เหมาะสมกับการผลิตเชิงพาณิชย์ คณะผู้วิจัยได้เปรียบ
เทียบกระบวนการสกัดซาโปนินจากสมุนไพรหางไหลแดงโดยกระบวนการที่พัฒนาขึ้น
ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนการล้าง อบแห้ง สมุนไพร และบดให้เป็นผงเพื่อนำผงที่ได้
มาสกัดซาโปนินโดยใช้น้ำ (water extraction) และแอลกอฮอล์ (solvent
extraction) เป็นตัวทำละลาย และนำสารสกัดที่ได้ทำให้เป็นผงด้วยเครื่อง Rotary
evaporator จากนั้นสารสกัดผงที่ได้นำมาวิเคราะห์ปริมาณซาโปนิน

จากผลการศึกษาพบว่ากระบวนการสกัดโดยใช้น้ำเป็นตัวทำละลายเมื่อสกัดส่วนของ
รากและลำต้นของหางไหลแดงสด 100 กิโลกรัม ได้ปริมาณสารสกัดผง 1,016 กรัม มี
ปริมาณซาโปนิน 13.1 มิลลิกรัมต่อกรัมผง หรือคิดเป็นปริมาณซาโปนิน 164 กรัมต่อ
100 กิโลกรัมสด ซึ่งผลผลิตซาโปนินที่ได้คิดเป็นร้อยละ 0.16 ในขณะที่กระบวนการ
สกัดโดยใช้แอลกอฮอร์เป็นตัวทำละลายได้สารสกัดผง 1,585 กรัมและมีปริมาณซาโป
นิน 26.9 มิลลิกรัมต่อกรัมผง หรือคิดเป็นปริมาณซาโปนิน 336 กรัมต่อ 100 กิโลกรัม
สด ซึ่งผลผลิตซาโปนินที่ได้คิดเป็นร้อยละ 0.34

ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถสรุปได้ว่ากระบวนการสกัดซาโปนินโดยใช้แอลกอฮอล์เป็น
ตัวทำละลายสกัดสารซาโปนินได้สูงกว่ากระบวนการสกัดโดยใช้น้ำเป็นตัวทำละลายถึง
3.2 เท่า

ซึ่งคณะผู้วิจัยจะทำการศึกษาต่อในการหาสภาวะที่เหมาะสมในกระบวนการสกัดซาโปนิ
นโดยใช้น้ำในระดับเชิงพาณิชย์ และวิเคราะห์หาองค์ประกอบของสารสำคัญในซาโปนิ
นที่สกัดจากสมุนไพรหางไหลแดงต่อไป



http://www.scisoc.or.th/stt/34/sec_o/paper/STT34_O2_O0013.pdf
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©