-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-สารพัดพิษภัยของสารเคมีฆ่าแมลง...
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - สารพัดพิษภัยของสารเคมีฆ่าแมลง...
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

สารพัดพิษภัยของสารเคมีฆ่าแมลง...

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 30/06/2011 7:46 pm    ชื่อกระทู้: สารพัดพิษภัยของสารเคมีฆ่าแมลง... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลำดับเรื่อง...

1. แห่นำเข้า ยาฆ่าแมลงอันตราย 11 ชนิด 7 ล้าน ก.ก. มูลค่า 6,000 ล้านบาท
2. สารเคมีที่ฉีดพ่นออกไป 1% เท่านั้น ที่ทำลายแมลงศัตรูพืช
3. ผลเสียจาการใช้สารเคมีทางการเกษตร
4. จี้รัฐแบน 4 สารเคมี
5. สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และต้นทุนที่แท้จริง

6. ไทยติดโผปนเปื้อนสารเคมี ในพืชผักผลไม้ สูงที่สุดในโลก
7. ปุ๋ยเคมี-ยาฆ่าแมลง ทำเกษตรกรไทยป่วยปีละ 4 แสน
8. วิกฤตสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ความเป็นจริงจากมุมมองของสหภาพยุโรป
9. สารพิษไซเปอร์เมทริน
10. ภัยในสารปนเปื้อนจากอาหาร




-----------------------------------------------------------------------------------------------

1. แห่นำเข้า ยาฆ่าแมลงอันตราย 11 ชนิด 7 ล้าน ก.ก. มูลค่า 6,000 ล้านบาท

วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2554 ปีที่ 34 ฉบับที่ 4281 ประชาชาติธุรกิจ


สารเคมีทางการเกษตรอันตรายร้ายแรง 11 รายการ (Watch List) กำลังท่วมประเทศ จากสถิตินำเข้าล่าสุดระหว่าง เดือนมกราคม-
ธันวาคม 2552 มีการนำเข้าวัตถุอันตรายเหล่านี้เข้ามาภายในประเทศ คิดเป็นปริมาณ 7,022 ตัน (6,192,961 กก.) มูลค่ารวม
5,858,452,005 บาท (ตารางประกอบ)

ทั้งนี้วัตถุอันตรายทางการเกษตรเหล่านี้จะถูกบริษัทผู้นำเข้า ซึ่งมีทั้งบริษัทไทยและบริษัทข้ามชาติ ผลิตเป็น "ยาฆ่าแมลง" ชนิดที่มีอันตราย
ร้ายแรง จนประเทศผู้นำเข้าผัก/ผลไม้ทั้งในสหรัฐ-สห
ภาพยุโรป-เอเชีย มีคำสั่งห้ามใช้และนำเข้าพืชผักผลไม้ที่มียาฆ่าแมลงทั้ง 11 ชนิดตกค้างอยู่ ยกตัวอย่าง

1) อัลดีคาร์บ (Aldicarb) ระดับพิษ Ia (พิษร้ายแรงมาก) บริษัทไบเออร์จะเลิกผลิตโดยเด็ดขาดภายในปี 2015 ส่วนสหรัฐจะห้ามใช้
ในส้ม-มันฝรั่ง หลังปี 2011

2) คาร์โบฟูราน (Carbofuran) ระดับพิษ Ib 2007 สหภาพยุโรปห้ามใช้สารชนิดนี้ พร้อมทั้งห้ามการนำเข้าสินค้าพืชผักที่มีส่วนผสมหรือ
ปนเปื้อน ส่วนสหรัฐ EPA ห้ามไม่ให้มีการตกค้างในผลิตภัณฑ์อาหารและเกษตรทุกชนิด



3) ไดโครโตฟอส (Dicrotophos) ระดับพิษ Ib อินเดีย-ปากีสถานประกาศห้ามใช้

4) อีพีเอ็น (EPN) ระดับพิษ Ia สหรัฐ-ออสเตรเลีย-เนเธอร์แลนด์-อังกฤษ-แคนาดา-อินเดีย-พม่า ห้ามใช้และไม่อนุญาตให้มีการ
ขึ้นทะเบียน

5) เมทิดาไทออน (Methidathion) ระดับพิษ Ib สหภาพยุโรปจะประกาศห้ามใช้ในเดือนมิถุนายน 2011 และ

6) เมโทมิล (Methomyl) ระดับพิษ Ib อังกฤษ-เยอรมนี-ฟินแลนด์-อินเดีย ห้ามใช้และห้ามขึ้นทะเบียนแล้ว


ขณะที่กรมวิชาการเกษตรของไทยยังคงยอมให้มีการจำหน่ายวัตถุอันตรายทางการเกษตรทั้ง 11 รายการ ในรูปของยาฆ่าแมลง/ยากำจัด
ศัตรูพืชต่อไป ทั้ง ๆ ที่กรมวิชาการเกษตรก็ทราบดีถึงพิษร้ายแรงของสารเคมีการเกษตรเหล่านี้ จนถึงกับทำการขึ้นบัญชีให้เป็นวัตถุอันตราย
ทางการเกษตรที่ต้องเฝ้าระวัง (Watch List) แต่ก็ยังยอมให้มีการจำหน่ายภายใต้ชื่อทางการค้าต่าง ๆ



โดยเกษตรกรจะใช้สารเคมีทางการเกษตรในรูปของยากำจัดศัตรูพืชในกลุ่ม...

- พืชผักผลไม้จำพวกข้าว ..................... (คาร์โบฟูราน)
- มันสำปะหลัง ................................ (โอเมโทเอต)
- มันเทศ ...................................... (ไตรอะโซฟอส)
- มันฝรั่ง ...................................... (คาร์บาริล)
- ฝ้าย ......................................... (โอเมโทเอต)

- อ้อย ........................................ (คาร์โบฟูราน)
- แตงโม ..................................... (คาร์โบฟูราน-คาร์บาริล-โพรไทโอฟอส)
- กะหล่ำ ...................................... (โพรไทโอฟอส-โพรฟีโนฟอส)
- มะเขือ/มะเขือเปราะ/มะเขือยาว ............ (โพรไทโอฟอส)
- มะเขือเทศ .................................. (คาร์โบฟูราน)

- ถั่วเหลือง ................................... (คาร์โบฟูราน)
- ถั่วฝักยาว ................................... (คาร์โบฟูราน)
- พริก ........................................ (คาร์บาริล-โพรไทโอฟอส)


อย่างไรก็ตามมีความพยายามที่จะผลักดันให้กรมสั่งห้ามนำเข้า-ห้ามขึ้นทะเบียน และห้ามใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตรทั้ง 11 รายการ
มาตั้งนานแล้ว แต่ไม่ประสบความสำเร็จ

เนื่องจากผู้นำเข้า/จำหน่ายสารเคมีอันตรายที่นำมาผลิตเป็นยาจำกัดศัตรูพืชเหล่านี้ล้วนเป็นบริษัทข้ามชาติและบริษัทที่มีนักการเมืองหนุน
หลังทั้งสิ้น





http://www.skyscrapercity.com/showthread.php?t=1292511&page=6


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 01/07/2011 10:56 am, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 30/06/2011 9:57 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

2. สารเคมีที่ฉีดพ่นออกไป 1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ทำลายแมลงศัตรูพืช


รายงานการสำรวจขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) เมื่อเร็วๆนี้ ระบุว่าประเทศไทยมีพื้นที่เกษตรกรรมมากเป็น
อันดับที่ 48 ของโลก แต่ใช้ยาฆ่าแมลงมากเป็นอันดับ 5 ของโลก และแน่นอนว่าแปลงดอกไม้สวยๆ เป็นพื้นที่เกษตรกรรมประเภทหนึ่ง
ที่มีการใช้ยาฆ่าแมลงอย่างกว้างขวางและเข้มข้น

ข้อมูลจากกรมวิชาการเกษตรของไทยชี้ว่า

สารเคมีกำจัดแมลงที่ฉีดพ่นออกไป

1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ออกฤทธิ์ทำลายแมลงศัตรูพืช
41 เปอร์เซ็นต์ตกค้างอยู่บนพืช
30 เปอร์เซ็นต์ปลิวไปในอากาศ
15 เปอร์เซ็นต์พ่นไม่ถูกพืชเป้าหมาย ระเหยไปเฉยๆ
10 เปอร์เซ็นต์ และอีก
3 เปอร์เซ็นต์โดนแมลงเพียงบางส่วน แต่ไม่สามารถกำจัดได้


นั่นหมายความว่า การมอบช่อดอกไม้สวยๆ สักช่อแก่คนที่คุณรักในโอกาสพิเศษ อาจเป็นการหยิบยื่นพิษร้ายจนถึงมือ พร้อมๆ กับทำ
ร้ายโลกโดยไม่รู้ตัว

• มอบดอกไม้แบบไทยๆ สดใสตามฤดูกาล ใดอกไม้สวยๆที่จำหน่ายตามท้องตลาด อย่างเช่น กุหลาบ โดยมากมาจากแปลงเกษตร
อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ต้องใช้สารเคมีปริมาณมหาศาลในการปลูกและบำรุงรักษา เปลี่ยนมามอบดอกไม้แบบไทยๆ ที่ออกดอกตามฤดู
กาล เช่น ดาหลา กระเจียว น่าจะรับประกันได้ในระดับหนึ่งว่าปลอดสารเคมีมีพิษ

• ของนอกใช่ว่าจะดีกว่า ดอกไม้ที่นำเข้าจากต่างประเทศนอกจากจะแพงระยับแล้ว ยังไม่พ้นการใช้สารเคมีมีพิษในการปลูกเช่นกัน แถม
การขนส่งข้ามน้ำข้ามทะเลด้วยเครื่องบิน ยังปล่อยคาร์บอนปริมาณมหาศาล ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของภาวะโลกร้อน

• ดอกไม้จากบ้าน ลองปลูกดอกไม้เองที่บ้าน มั่นใจได้แน่นอนว่าปลอดสารพิษ ถ้าปลูกแล้ว แต่ไม่รู้จะมอบความปรารถนาดีนี้ให้ใคร
ปล่อยให้ดอกบานอยู่กับต้น ก็ชื่นชูใจทั้งผู้ปลูกและผู้พบเห็น

• ให้ดอกไม้พร้อมกระถาง ให้ดอกไม้อย่างเดียว ไม่กี่วันก็เหี่ยวเฉาแล้ว สู้ให้ทั้งต้นทั้งดอกที่ปลูกอยู่ในกระถาง เรียกว่าสานสัมพันธ์ยาว
นาน แถมเป็นการเพิ่มจำนวนต้นไม้ให้โลกใบนี้น่าอยู่ขึ้นอีกต่างหาก

• ต้นไม้แทนใจ ปีใหม่นี้แทนที่หาของขวัญแพงๆ ลองหาเวลาว่างไปเดินตลาดต้นไม้ เลือกต้นไม้สวยๆมอบเป็นของขวัญแทนใจ ประหยัด
ทั้งเงินในกระเป๋า และชื่นใจทั้งผู้ให้ผู้รับ ขอฝากสักนิดว่า เลือกต้นไม้ให้เหมาะ เช่น ไม้ดอกหอม เช่น โมก มะลิ ลีลาวดี มักต้องอาศัยแดด
จัดเพื่อออกดอกให้ชื่นชม ส่วนไม้ใบสวยๆ เช่น เฟิน บอนสี อโกลนีมา (จำพวกสาวน้อยประแป้ง) ชอบแดดรำไรหรือในร่ม หรือจะให้ไม้
ยืนต้นทั้งไม้ผล ไม้ดอก หรือไม้มงคล ให้ผู้รับไปปลูกลงดินก็ไม่ผิดกติกา



cwweb.tu.ac.th/oth/org/rangsit/Data/1249011474.doc - -


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/07/2011 7:55 pm, แก้ไขทั้งหมด 5 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 30/06/2011 10:05 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

3. ผลเสียจาการใช้สารเคมีทางการเกษตร






ในโลกของเรานี้ มีสารเคมีที่มนุษย์เราผลิตขึ้นประมาณ 600,000 ชนิด ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ หรือ 60,000 ชนิด ใช้ในชีวิตประจำวัน
และมีสารเคมีเกิดขึ้นใหม่ปีละ 1,000 ชนิด สารเคมีที่ใช้ทางการเกษตรพบว่าเป็นยาป้องกันกำจัดศัตรูพืชมากกว่า 150 ชนิด

องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติได้สำรวจพบว่า มีคนป่วยด้วยสารเคมีปีละ 750,000 คน และเสียชีวิตปีละประมาณ 50,000
คน เสียชีวิตเนื่องจากน้ำไม่สะอาดปีละ 25,000 คน ผลเสียที่พบว่าเกิดจากการใช้สารเคมี คือ ทำให้ภูมิต้านทานลดลงอันเป็นสาเหตุก่อให้
เกิดโรคมะเร็ง

จากข้อมูลการเสียชีวิตในประเทศไทย ปี 2540 พบว่า คนไทยเสียชีวิตด้วยสาเหตูต่างๆ เรียงตามลำดับได้ดั้งนี้

อันดับ 1 อุบัติเหตุ 18 เปอร์เซ็นต์
อันดับ 2 โรคหัวใจ 14 เปอร์เซ็นต์
อันดับ 3 โรคมะเร็ง 9 เปอร์เซ็นต์
อันดับ 4 โรคตับ 3 เปอร์เซ็นต์


แต่ในระยะสองปีที่ผ่านมา (2544-2545) พบว่าคนไทยเสียชีวิตด้วยสาเหตุจากมะเร็งมาเป็นอันดับ 1 สองปีติดต่อกันแล้ว ปีละประมาณ
50,000 ราย โดยสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการรับประทานอาหารที่ผิดๆ และมีสารปนเปื้อน นอกจากสารเคมีหลายชนิดเป็นสารก่อมะเร็งแล้ว
ยังมีพิษต่อระบบประสาทและการทำงานของกล้ามเนื้อ และอาจทำให้ผู้ชายมีอสุจิอ่อนแอ ทำให้มีบุตรยาก


นอกจากมีผลเสียต่อสุขภาพและชีวิตแล้วการใช้เคมีนานๆ ยังทำให้แมลงมีความต้าน ทานต่อยาปราบศัตรูพืชอีกด้วย โดยเมื่อวันที่ 31
มกราคม 2539 ประเทศอังกฤษได้รายงานว่าพบ

แมลงมากกว่า 500 ชนิด ต้านทานต่อยาฆ่าแมลงที่ฉีด ทำให้ต้องใช้ยาฆ่าแมลงในปริมาณที่มากขึ้น


ผลเสียอีกประการที่ตามมาคือทำให้พันธุ์พืชดั่งเดิมสูญหายโดยในประเทศสหรัฐ อเมริการายงานว่าจากเดิมมีพันธ์พืชดั่งเดิม อยู่ประมาณ
80,000 ชนิด ปัจจุบันพบเหลืออยู่เพียง 150 ชนิด อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการทำเกษตรแบบสมัยใหม่ ในประเทศเยอรมัน ตลอดระยะ 20 ปี
ที่ผ่านมาไม่พบสาหร่ายน้ำในแม่น้ำเกิดขึ้นเลย ในประเทศแคนนาดาในพื้นที่ 6 ไร่ 1 งาน จะพบว่ามีต้นไม้ขึ้นอยู่เพียง 1-5 ชนิด เท่านั้น


ประเทศออสเตรเลีย ปี พ.ศ. 2537 พบโลหะหนักปนเปื้อนในผักและผลไม้ที่ปลูกในนครซีดนีย์สูงกว่าปริมาณที่ยอมรับได้ 11 เท่า


นอกเหนือจากนั้น ยังมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม คือสารเคมีบางอยางตกค้างอยู่ในระบบนิเวศนาน บางชนิดอยู่นานถึง 3 ปี




เรียบเรียงโดย สุพจน์ ชัยวิมล ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาเกษตรอินทรีย์ สำนักพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร

http://www.dspinnovation.com/m-m-s/29/140-organics3.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/07/2011 7:53 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 01/07/2011 7:04 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เครือข่ายวิชาการเตือนภัยสารเคมี 4. จี้รัฐแบน 4 สารเคมี การเกษตรสุดอันตราย





ชื่อผู้แต่ง : ฝ่ายข้อมูล มูลนิธิชีววิถี


เครือข่ายวิชาการเตือนภัยสารเคมีเกษตร ประเทศไทย (คสท) ชี้ปัญหาสารเคมีการเกษตรตกค้างในพืชผักผลไม้ของไทยอยู่ในขั้นวิกฤติ
เผยการขาดมาตรการกำกับการใช้สารเคมีของภาครัฐ เป็นเหตุให้ไทยต้องแบนตัวเอง ไม่ส่งสินค้าเกษตรไป อียู. แนะรัฐบาลให้ความ
สำคัญกับผู้บริโภคในประเทศ เพราะยอดคนตายจากโรคมะเร็งสูง กว่าโรคเอดส์และอุบัติเหตุหลายปีติดต่อกันแล้ว

จี้รัฐแบนสารเคมีการเกษตร 4 ชนิด ได้แก่ carbofuran, dicrotophos, EPN และ methomyl


พร้อมใช้โอกาสขึ้นทะเบียนสารเคมีเกษตรใหม่ทั้งหมดกวดขันการขึ้นทะเบียนสาร เคมีที่ไร้การควบคุมมานาน

เคยู.โฮม ม.เกษตรศาสตร์ (25 มกราคม 2554) - เครือข่ายวิชาการเตือนภัยสารเคมีเกษตร ประเทศไทย (คสท) ซึ่งมีสมาชิกที่ประกอบ
ด้วย นักวิชาการด้านสารเคมีการเกษตร นักการแพทย์ และองค์กรด้านสาธารณะประโยชน์ ได้แถลงข่าวเกี่ยวกับกรณีการระงับการส่ง
ออกสินค้าเกษตร 16 ชนิด ไปยังตลาดสหภาพยุโรปว่า เกิดขึ้นจากความปล่อยปละละเลยของหน่วยงานภาครัฐ และควรให้ความสำคัญ
กับการคุ้มครองสุขภาพของผู้บริโภคด้วยเพราะสถานการณ์การ ปนเปื้อนของสารเคมีการเกษตรในผลผลิตอาหารปัจจุบันอยู่ในขั้นวิกฤตแล้ว

นายแพทย์ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์ ผู้ประสานงานเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีเกษตร ประเทศไทย (คสท) กล่าวว่า นอกเหนือจากการเร่งรีบ
แก้ปัญหาการส่งออกไม่ให้ส่งผลกระทบต่อเกษตรกร หรือผู้ส่งออกสินค้าเกษตรแล้ว รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกระ
ทรวงเกษตรฯ ต้องปฏิรูปการควบคุมสารเคมีการเกษตรอย่างเร่งด่วนเพื่อไม่ให้กระทบต่อสุขภาพ ประชาชนในประเทศ ด้วยขณะนี้
ปัญหาสารเคมีเกษตรเข้าสู่ขั้นวิกฤตแล้ว

ผลการตรวจเลือดของเกษตรกรใน จ.เชียงใหม่จำนวน 924 คน เมื่อปี 2551 พบว่าอยู่ในขั้นไม่ปลอดภัยถึงร้อยละ 38 และผลการตรวจ
เลือดของกลุ่มผู้บริโภคจำนวน 1,412 คน พบว่ามีระดับไม่ปลอดภัยสูงถึงร้อยละ 60.9 รวมถึงจำนวนผู้ป่วยจากสารเคมีเกษตรอาจสูง
ถึง 200,000–400,000 คน จากการการประเมินของแผนงานวิจัยและพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพและระบบการ ประเมิน
ผลกระทบทางสุขภาพ สถาบันวิจัยระบบสาธารณะสุข ในปี 2548

“เหตุการณ์นี้สะท้อนถึงความตื่นตัวของนานาชาติต่อปัญหาด้านสารเคมีเกษตร เพราะจากการศึกษาในประเทศต่างๆ พบว่า สารเคมี
กำจัดศัตรูพืชหลายชนิดเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเกิดโรค มะเร็งและอีกหลายๆโรค โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่ง
ของหลายประเทศ เช่น แคนาดาที่ประชาชนจำนวนถึงร้อยละ 44 จะป่วยด้วยโรคมะเร็งในช่วงชีวิต สำหรับประเทศไทยสถิติการป่วย
ด้วยโรคมะเร็งก็พุ่งสูงมาก จนเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งแซงหน้าโรคเอดส์และอุบัติเหตุหลายปีติดต่อกัน จากสถิติของสถาบันมะเร็ง
แห่งชาติพบว่าในแต่ละปีจะมีผู้เสียชีวิตจากโรค มะเร็งมากถึง 55,000 คน สังคมไทยไม่ควรเพิกเฉยกับปัญหานี้” นายแพทย์ปัตพงษ์กล่าว

นายแพทย์ปัตพงษ์ ยังดล่าวต่อว่า ปัญหาวิกฤตพิษภัยจากสารเคมีการเกษตรทำให้นักวิชาการ นักการแพทย์ และเครือข่ายภาคประชา
สังคมที่ตระหนักในเรื่องนี้ได้รวมตัวกันภายใต้ชื่อ เครือข่ายวิชาการเตือนภัยสารเคมีเกษตร ประเทศไทย (คสท) หรือ Thailand Pesticide
Alert Network – ThaiPAN ขึ้น โดยภารกิจแรกคือ การตรวจสอบติดตามการขึ้นทะเบียนสารเคมีการเกษตรของคณะ กรรมการวัตถุ
อันตราย และผลักดันให้มีการแบนสารเคมีการเกษตรอันตราย 4 รายชื่อที่หลายประเทศเลิกใช้แล้ว พร้อมทั้งเตรียมจัดประชุมวิชาการ
เรื่องสารเคมีเกษตรในประเทศไทยภายในเดือน พฤษภาคมนี้


ด้านนางสาวรพิจันทร์ ภูริสัมบรรณ นักวิจัยมูลนิธิชีววิถี (BIOTHAI) แถลงเพิ่มเติมว่า ประเทศสมาชิก อียู.ได้แจ้งเตือนเกี่ยวกับปัญหาสาร
เคมีตกค้าง ในผักและผลไม้มาแล้วหลายครั้ง แม้ว่าจำนวนการแจ้งเตือนเรื่องสารเคมีเกษตรจะน้อยกว่าการปนเปื้อนของแมลง ศัตรูพืช และ
เชื้อแซลโมเนลลา (samonella) แต่ทาง อียู.ก็ให้ความสำคัญกับปัญหานี้อย่างยิ่ง เพราะระบบเตือนภัย RASFF (rapid alert system
for food and feed) ของทาง อียู.ระบุว่ามีการตกค้างของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในผักส่งออกจากไทยถึง 55 รายการในปี 2553 ซึ่ง
เป็นการก้าวกระโดดจากการตรวจพบในปี 2552 และ 2551 ที่อยู่ที่ 26 และ 25 ครั้งตามลำดับ

“ในช่วงต้นเดือนมีนาคม 2553 อียู.ได้ส่งหน่วยงานมายังประเทศไทยเพื่อประเมินมาตรการการควบคุมและป้องกัน ปัญหาจากสารเคมีเกษตร
ตกค้างและเชื้อจุลินทรีย์ปนเปื้อน และมีรายงานสรุปใน DG (SANCO) 2010-8575 – MR Final ว่ากรมวิชาการเกษตรและโรงงาน
บรรจุสินค้าส่งออกให้ข้อมูลต่อเกษตรกรไม่เพียง พอที่จะป้องกันการตกค้างของสารเคมีเกษตรที่เกินค่ามาตรฐาน EU MRLs ในผักผลไม้
พร้อมกับประกาศแก้ไขข้อกำหนดเรื่องการตรวจหาสารเคมีเกษตร 22 ชนิด ซึ่งมี monocrotophos สารเคมีที่ประเทศไทยแบนแล้ว
ตั้งแต่ปี 2543 รวมอยู่ด้วย ในผักส่งออกจากไทย 3 ชนิด คือ มะเขือม่วง ถั่วฝักยาว และผักประเภทกะหล่ำ ซึ่งมีอัตราการตรวจแล้ว
ที่ร้อยละ 50 และขณะนี้ทางอียูกำลังเตรียมการที่จะแบนการนำเข้าพืชผักจากประเทศไทย”

นักวิจัยมูลนิธิชีววิถีกล่าวต่อว่า ทั้งนี้ระเทศไทยยังมีระบบการขึ้นทะเบียน สารและชื่อการค้าของสารเคมีการเกษตรที่ย่อหย่อนมาก โดยอนุ
ญาตให้มีการขึ้นทะเบียนการค้าและสารออกฤทธิ์กว่า 27,000 รายการ ซึ่งอาจจะมากที่สุดในโลก ขณะที่ประเทศมาเลเซียและเวียดนาม
มีการอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนเพียง 917 และ 1,743 รายชื่อตามลำดับเท่านั้น ขณะนี้จึงเป็นโอกาสดีที่หน่วยงานรัฐจะกวดขันระบบการขึ้น
ทะเบียนเพราะประกาศ การทรวงเกษตรฯ เรื่องการขึ้นทะเบียนฯ ที่กรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบ ภายใต้ พ.ร.บ.วัตถุอันตราย ฉบับปรับ
ปรุง พ.ศ.2551 กำหนดให้
บริษัทต่างๆ ต้องขึ้นทะเบียนสารเคมีเกษตรใหม่ทั้งหมด โดยต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2554 ที่จะถึงนี้ พร้อมกัน
นั้นควรปฏิเสธการขึ้นทะเบียนสารเคมีเกษตรบางชนิดที่มีความเป็นพิษ สูง เช่น carbofuran, dicrotophos, EPN และ methomyl




http://www.biothai.net/node/7121


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 01/07/2011 9:49 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 01/07/2011 7:18 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

5. สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และต้นทุนที่แท้จริง





ชื่อผู้แต่ง : ฝ่ายข้อมูล มูลนิธิชีววิถี



หากพิจารณาในมิติเศรษฐศาสตร์ ต้นทุนของการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชคงไม่จำกัดอยู่แค่ราคาที่เกษตรกรลงทุนในการซื้อสารเคมี
แต่รวมถึงค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพที่เกิดจากโรคพิษเฉียบพลันและพิษสะสม ต้นทุนต่อความเสียหายในระบบนิเวศ และผลกระทบกรณี
สารตกค้างในสินค้าเกษตรส่งออก การค้นหาข้อมูลต้นทุนที่แท้จริงจะช่วยสร้างความตระหนักว่าสังคมไทยต้องแลกอะไรกับการรักษา
ผลผลิตและการเติบโตของเศรษฐกิจทางการเกษตรในระยะสั้น

ในแต่ละปีประเทศไทยนำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเป็นมูลค่าหลายหมื่นล้านบาทโดยที่ไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า และหากพิจารณามูลค่า
ของสารเคมีเหล่านี้ในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา จะพบว่าแนวโน้มมูลค่าการนำเข้าได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามแนวโน้มของราคาน้ำมันที่เป็น
ปัจจัยการผลิตที่สำคัญของสารเคมีสังเคราะห์ทุกประเภท โดยเฉพาะช่วงปี 2552 และ 2553 ปริมาณการนำเข้ารวมลดลงเกือบ
สองหมื่นตัน แต่มูลค่าการนำเข้ารวมกลับสวนทางตัวเลขดังกล่าว


ราคาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเป็นต้นทุนที่สำคัญของการทำการเกษตรของเกษตรกร โดยที่นับวันจะยิ่งเพิ่มภาระซ้ำเติมปัญหาด้านหนี้
สินให้กับเกษตรกรที่ทำเกษตรเคมีมากขึ้นเป็นลำดับ กล่าวคือสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมีสัดส่วนประมาณ 10% ของต้นทุนการผลิตต่อไร่
(กรณีการปลูกข้าวเชิงพาณิชย์) และอาจมีสัดส่วนมูลค่าสูงถึง 30% ของต้นทุนการผลิต (ในกรณีการปลูกสตรอเบอรี่ เป็นต้น) ยิ่ง
กว่านั้น การที่

เกษตรกรในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงจากการทำเกษตรด้วยตนเองเป็น “ผู้จัดการไร่นา”


มากขึ้น ทำให้ต้องบวกเพิ่มค่าใช้จ่ายการว่าจ้างฉีดพ่นสารเคมี ทำให้ต้นทุนเกี่ยวกับสารเคมีในการทำการเกษตรยิ่งมีมูลค่าสูงขึ้น
กว่าเดิมมาก

นอกเหนือจากต้นทุนโดยตรงของการใช้แล้วยังมีต้นทุนแฝงในค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่ารักษาพยาบาลของเกษตรกรและครอบครัว
เป็นต้น จากการประเมินค่าใช้จ่ายเหล่านี้ พบว่าเกษตรกรมีต้นทุนด้านสุขภาพเฉลี่ย 1,138.67 บาท/คน/ปี และเพิ่มขึ้น 1,081 บาท/ปี

สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงจากการรับจ้างฉีดพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ข้อมูลนี้คล้ายคลึงกับมูลค่าต้นทุนจากงานวิจัยอื่นๆ ซึ่งระบุว่า
ค่าใช่จ่ายต่างๆของเกษตรกรที่ใช้สารเคมีเฉลี่ยที่ 1,292.04 บาท/ครัวเรือน/ปี








ข้อมูลเหล่านี้เป็นการพิจารณาจากมุมมองของเกษตรกรผู้ใช้ แต่หากจะประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจที่แท้จริงแล้ว ต้องพิจารณา
ถึงต้นทุนความเสียหายภายนอกอื่นๆ งานวิจัยของ Frauke Jungbluth (1996) ได้วิเคราะห์ถึงต้นทุนต่างๆของการใช้สารเคมีกำจัด
ศัตรูพืชเหล่านี้ รวมถึงการปนเปื้อนในอาหาร งบประมาณที่เกี่ยวข้องกับภาครัฐ และปัญหาจากการต้านทานของศัตรูพืช ซึ่งพบว่าต้น
ทุนรวมเฉลี่ยประมาณ 462.80 – 5,491.80 ล้านบาท/ปี

แต่เนื่องจากว่างานวิจัยดังกล่าว ค่อนข้างเก่า ต้นทุนภายนอกจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในปัจจุบันจึงอาจสูงกว่ามาก และที่
สำคัญยังไม่มีการคำนวณมูลค่าผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว เช่น มูลค่าความเสียหายต่อสัตว์น้ำ และแมลงที่มีประโยชน์
ต่อพืช การเป็นพิษต่อผึ้งซึ่งก่อความเสียหายต่อผลผลิตเมื่อการผสมเกสรดอกไม้ลดลง การปนเปื้อนในระบบนิเวศ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ต้นทุนภายนอกโดยรวมของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชนั้น เกิดขึ้นจากทั้งการส่งเสริมการวิจัย การตรวจสอบประสิทธิภาพ
และการควบคุมดูแลของรัฐเป็นส่วนใหญ่

ดังนั้นภาครัฐต้องมีบทบาทสำคัญในการจำกัดการใช้สารเคมีซึ่งส่งผลทั้งต่อเศรษฐกิจและสุข





ภาวะของประชาชน ไม่ใช่สนับสนุนและส่งเสริมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม เช่น การอนุมัติงบประมาณ
หลายพันล้านบาท เพื่อซื้อสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในกรณี การระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว และการระบาดของ
เพลี้ยแป้งในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง

ในขณะเดียวกัน วิกฤตสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างยังส่งผลกระทบอย่างมากต่อการส่งออกสินค้าเกษตรไปยังสหภาพยุโรป ซึ่งได้มี
การเตรียมการที่จะระงับการนำเข้าผักส่งออกของไทย 16 ชนิด ในช่วงต้นปี 2554 เพราะการตรวจพบอัตราการปรากฏการตกค้าง
ของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมากที่สุดในโลกในปี 2553 ที่ผ่านมา (ตรวจพบมากถึง 55 ครั้ง) และสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจจาก
การส่งออกผักมูลค่า 2,785 ล้านบาทต่อปี ทั้งนี้ สหภาพยุโรปเคยมีมาตรการกีดกันสินค้าพริกส่งออกจากไทยที่ทำให้เกิดความเสีย
หายปีละประมาณ 800-900 ล้านบาท มาตรการเหล่านี้สามารถส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ไปยังการส่งออกผักไทยไปยังประเทศอื่นๆ
เช่น สหรัฐอเมริกา ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้นไปอีก

ด้วยข้อจำกัดทางเศรษฐศาสตร์ที่ไม่อาจคำนวณตัวเลขต้นทุนที่แท้จริงของการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้อย่างชัดเจนและครอบ
คลุมเพียงพอ แต่ข้อมูลเบื้องต้นได้บ่งชี้ให้เห็นแล้วว่า งบประมาณประเทศและค่าใช้จ่ายของเกษตรกรเกี่ยวกับสารเคมีนั้นสูงมาก
เพียงใด ท้ายที่สุดแล้ว สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีต้นทุนมหาศาลอาจไม่ใช่คำตอบที่แท้จริงสู่การพัฒนาประเทศไทยที่ยั่งยืน



http://www.biothai.net/node/8692


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/07/2011 7:52 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 01/07/2011 7:29 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

6. ไทยติดโผปนเปื้อนสารเคมี ในพืชผักผลไม้ สูงที่สุดในโลก


วิกฤตสารเคมีกำจัดศัตรูพืช : ความเป็นจริงจากมุมมองของสหภาพยุโรปข้อมูล
โดย : มูลนิธิชีววิถี (BioThai) “มูลนิธิชีววิถี”



เผยข้อมูลวิกฤตสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของไทยที่ชี้ถึงนโยบายและมาตรการความ ปลอดภัย “สองมาตรฐาน” ระหว่างพืชผักที่บริโภค
ในไทยกับที่ส่งไปขายยังสหภาพยุโรป รวมถึงรากเหง้าของปัญหาที่ถูกระงับการนำเข้าซึ่งไม่ใช่เพียงแค่การตรวจพบสาร เคมีปนเปื้อน
สูงมากเท่านั้น เอกสารเรื่อง “วิกฤตสารเคมีกำจัดศัตรูพืช: ความเป็นจริงจากมุมมองของสหภาพยุโรป” ยังสะท้อนปัญหาแท้จริงที่ดำรง
อยู่คู่สังคมไทยที่ว่า เราไม่เคยมีมาตรการควบคุมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลเลย ทั้งๆ ที่สถานการณ์
สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่ในขั้นวิกฤตแล้วการใช้สารเคมีของไทยเข้าขั้นวิกฤติและไทยถูกเตือนการปนเปื้อนสารเคมีจาก
อียู.สูงที่สุดในโลก

มากกว่านี้เอกสารชิ้นนี้ยังเน้นย้ำให้เห็นถึงความสำคัญที่ทุกภาคส่วนจะ ต้องช่วยกันกำกับควบคุมการขึ้นทะเบียนสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
นับหมื่นรายการ ที่จะต้องกระทำให้แล้วเสร็จภายในเดือนสิงหาคมปีนี้ด้วย

จากมาตรการแบนตัวเองในการส่งออกพืชผัก 16 ชนิดไปยังกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป (อียู) และต่อมาได้เปลี่ยนเป็นมาตรการ
ตรวจเช็คคุณภาพผักและผลไม้ส่งออก 100% ของกรมวิชาการเกษตร ในช่วงต้นปี 2554 ได้บ่งชี้ถึงวิกฤตเกี่ยวกับปัญหาด้านความ
ปลอดภัยของอาหารที่ผลิตในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรณีการตกค้างของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่เกินค่ามาตรฐาน (MRLs)
ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ และผลกระทบต่อเศรษฐกิจการส่งออกผักผลไม้ของไทยไปยังสหภาพยุโรป ที่มีมูลค่ากว่า 58
ล้านยูโร (2,785 ล้านบาท) ต่อปี [1] อีกทั้งยังส่งผลต่อความเชื่อมั่นของประเทศผู้นำเข้าอื่นๆ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เป็นต้น

วิกฤตปัญหาที่เกิดขึ้นได้ถูกส่งสัญญาณจากสหภาพยุโรปตลอดหลายปีที่ผ่าน มา เฉพาะอย่างยิ่งหากวิเคราะห์จากฐานข้อมูลของ
ระบบเตือนภัยด้านอาหาร (Rapid Alert System for Food and Feed: RASFF) ที่มีการบันทึกข้อมูลการตรวจพบสาร
เคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในผักที่ส่งมายัง สหภาพยุโรป พบว่า ปัญหาสารเคมีการเกษตรตกค้างในผักและผลไม้ของไทยได้เพิ่ม
ขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยจำนวนการแจ้งเตือนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในปี 2553 ได้เพิ่มสูงกว่าสถิติในปี 2552 เกือบ 3
เท่าตัว แซงหน้าจำนวนการแจ้งเตือนของสหภาพยุโรปต่อประเทศตุรกี และประเทศไทยได้กลายเป็นแชมป์ผู้ส่งออกผักผลไม้ที่มี
สารเคมีกำจัดศัตรูพืชปน เปื้อนเกินค่ามาตรฐานของสหภาพยุโรป

ยิ่งไปกว่านั้น ยังพบว่าประเทศไทยมีการส่งออกพืชผักและผลไม้ไปยังสหภาพยุโรปในปริมาณน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลการ
ส่งออกของประเทศอื่นๆที่มีความรุนแรงของปัญหา สารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างที่ใกล้เคียงหรือน้อยกว่า เช่น ในปี 2552 ไทย
มีปริมาณการส่งออกผักและผลไม้ประมาณ 27,000 ตัน ในขณะที่ตุรกีส่งออกสูงถึง 1,249,000 ตัน (มากกว่าไทยถึง 46 เท่า)
แต่มีการตรวจพบสารเคมีเกษตรตกค้างมากกว่าไทยเพียง 11 ครั้ง ส่วนจีนซึ่งเป็นประเทศที่มีการผลิตและใช้สารเคมีกำจัดศัตรู
พืชในปริมาณสูง ต่อปี ได้มีการตรวจพบสารเคมีเกษตรตกค้างเพียง 1 ครั้งในปี 2552 และ 2 ครั้งในปี 2553 แม้ว่ามีการส่ง
ออกผักผลไม้ไปยังสหภาพยุโรปประมาณ 800,000 ตันต่อปี [2]

สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ถูกตรวจพบจากพืชผักส่งออกของไทยในปี 2553 มีถึง 23 ชนิด โดยสารเคมีที่พบมากที่สุดคือ omethoate
ที่มีการพบถึง 9 ครั้ง รองลงมาคือ dimethoate และ indoxacarb 6 ครั้ง ส่วน carbofuran และdicrotophos ซึ่งมีพิษร้าย
แรงนั้นถูกตรวจพบมากถึง 5 ครั้ง และที่เลวร้ายยิ่งกว่านั้นคือ ในปี 2552 ยังมีการตรวจพบสาร EPN ที่ไม่เคยมีการอนุญาตให้จด
ทะเบียนในสหภาพยุโรปเลยถึง 7 ครั้ง

รายงานของสหภาพยุโรป สะท้อนปัญหาระบบการควบคุมสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของไทย

การพบการตกค้างของสารเคมีเกษตรในปริมาณมากของผักและผลไม้ส่งออกของไทย ทำให้หน่วยงาน Food and Veterinary
Office ของสหภาพยุโรป จัดส่งคณะเจ้าหน้าที่มายังประเทศไทย เพื่อประเมินมาตรการการจัดการและควบคุมปัญหาสารเคมี
กำจัดศัตรูพืชตกค้าง โดยมีการเดินมายังประเทศไทยครั้งแรกในช่วงต้นปี 2549 และได้ระบุไว้ในรายงาน DG (SANCO)/8002
/2006–MR Final ถึงการควบคุมการตลาดและการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในประเทศไทยว่า ยังขาดความเข้มงวด ไม่มีระบบ
การจดบันทึก และไม่มีการตรวจสอบติดตามอย่างต่อเนื่อง

ในรายงานดังกล่าว ยังได้กล่าวถึงความหละหลวมในการควบคุมระบบการขึ้นทะเบียนการค้าสารเคมีกำจัด ศัตรูพืช ซึ่งในปี
2549 มีจำนวนกว่า 16,900 ทะเบียนจากสารออกฤทธิ์ประมาณ 400 ชนิด และอนุญาตให้มีการขึ้นทะเบียนสารเคมีกำจัดศัตรู
พืชใหม่ประมาณ 2,500-4,850 ครั้งต่อปี นับตั้งแต่ปี 2541 เป็นต้นมา [3]

คณะทำงานดังกล่าวยังได้วิพากษ์ วิจารณ์การทำงานของกรมวิชาการเกษตรที่ขาดแผนการที่ชัดเจนและเพียงพอในการควบ คุมการ
ตลาดและการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น แม้ว่าจะได้รับคำอธิบาย [4] แต่ก็ไม่เพียงพอและไม่มีอะไร
เป็นลายลักษณ์อักษรที่จะทำให้คณะทำงานดังกล่าวมั่นใจต่อมาตรการและการแก้ปัญหาจากฝ่ายไทย




ในส่วนของผู้ค้าปลีกสารเคมีกำจัดศัตรูพืชนั้น ส่วนใหญ่พึ่งพาข้อมูลจากแผ่นพับโฆษณาสินค้าของบริษัทขายสารเคมีในการแนะนำ
ผลิตภัณฑ์ต่อเกษตรกรมากกว่าจากการฝึกอบรมโดยหน่วยงานรัฐ ในกรณีที่มีการทำผิดกฎระเบียบ เจ้าหน้าที่ในพื้นที่จะรายงานต่อหัว
หน้าของตน แต่มิได้มีระบบการจดบันทึกใดๆ การจำหน่ายสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในประเทศไทยจึงไม่มีการควบคุมที่ชัดเจนแต่ อย่าง
ใด ยกเว้นกรณีที่มีการตรวจพบการนำเข้าผลิตภัณฑ์เคมีเกษตรที่ไม่ได้มาตรฐาน ณ จุดนำเข้า เท่านั้น ที่ผู้ประกอบการจะถูกยึดใบอนุ
ญาตการนำเข้า

ข้อสรุปสำคัญจากการประเมินผลของคณะทำงานจากสหภาพยุโรปคือ การที่ประเทศไทยมีระบบตรวจสอบหาสารตกค้างในพืชผักที่
จำกัด มีการตรวจสอบเพียงพืชเศรษฐกิจบางรายการ และวิเคราะห์หาสารเคมีเกษตรตกค้างไม่กี่ชนิด อีกทั้งยังมีช่องโหว่ในกลไก
การควบคุมทั้งการให้ข้อมูลต่อเกษตรกร การค้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืช รวมถึงการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายที่หละหลวม ส่งผลให้มี
การขึ้นทะเบียนสารกำจัดศัตรูพืชเป็นจำนวนมาก

สำหรับการเดินทางเข้ามาประเมินระบบการควบคุมปัญหาสารเคมีเกษตรตกค้าง ของคณะทำงานของสหภาพยุโรปครั้งที่สองในช่วง
ต้นปี 2551 นั้น คณะทำงานเห็นความก้าว หน้าบางส่วน เช่น การจัดฝึกอบรมผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด (stakeholders) และการ
พัฒนาและเพิ่มระบบการควบคุมเกษตรกรผู้ใช้ โรงบรรจุผักส่งออก และผู้ส่งออก [5] แต่ความก้าวหน้าดังกล่าวก็มิได้ทำให้ทำให้
ปัญหาการปนเปื้อนของสารเคมีกำจัด ศัตรูพืชลดลงแต่อย่างใด เพราะหากพิจารณาเฉพาะช่วงเวลาที่คณะผู้ตรวจจากสหภาพยุโรป
เดินทางมาตรวจสอบใน ครั้งแรกจนถึงครั้งที่สอง มีการตรวจพบสารเคมีตกค้างถึง 24 ครั้ง โดยสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่พบนั้น ล้วน
แล้วแต่มีพิษภัยร้ายแรงแทบทั้งสิ้น


** แม้ว่าจะมีการระบุถึงปัญหาด้านทะเบียนสารเคมีเกษตรในรายงานครั้งก่อน แต่คณะทำงานของสหภาพยุโรปยังพบว่า กรมวิชาการ
เกษตรยังคงปล่อยให้มีการขึ้นทะเบียนการค้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เพิ่มขึ้น 3,400 ทะเบียน รวมเป็นจำนวนสารเคมีที่ขึ้นทะเบียนทั้ง
หมดเป็น 19,300 ทะเบียนในปี 2551

ยิ่งไปกว่านั้น สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ตรวจพบในผักส่งออกจากประเทศไทย ยังมีการพบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ได้ห้ามใช้ในประเทศ
หรือห้ามใช้ในพืชบาง ชนิด และยังไม่มีการกำหนดค่า MRLs สำหรับการตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างให้ครอบคลุมพืชผัก
หลากชนิดในตลาด ภายในประเทศ

ความอ่อนแอของระบบการควบคุมการขึ้นทะเบียน การควบคุมผู้จัดจำหน่าย และการขาดการให้ความรู้และข้อมูลที่เพียงพอต่อเกษตรกร
ทำให้ไม่น่าแปลกใจที่การประเมินระบบการควบคุมปัญหาของไทยโดยคณะทำงานของ สหภาพยุโรปครั้งที่ 3 ในเดือนมีนาคม 2553
ยังคงพบช่องโหว่และความหละหลวมในระบบการควบคุม [6] ซึ่งทางคณะผู้ประเมินจากสหภาพยุโรปได้ระบุอย่างชัดเจนว่ากรมวิชาการ
เกษตรและ โรงบรรจุผักส่งออกให้ข้อมูลต่อเกษตรกรไม่เพียงพอที่จะป้องกันการตกค้างของ สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่เกินค่า EU MRLs




http://supercheng.tv/blog/2011/02/19/%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%82%E0%B8%9C%E0%B8%9B%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3/


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 01/07/2011 10:59 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 01/07/2011 9:08 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

7. ปุ๋ยเคมี-ยาฆ่าแมลง ทำเกษตรกรไทยป่วย ปีละ 4 แสน





ไบโอไทย เผย เกษตรกรไทยป่วย จากการใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง ทั้งมะเร็ง เบาหวาน ต่อมไร้ท่อ ปีละ 4 แสนราย

นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี (BioThai) เผย สถานการณ์ปัญหาสุขภาพของเกษตรกรและการควบคุมสารกำจัด
ศัตรูพืชว่า ปัจจุบันมีเกตรกร จำนวนมากที่มีผลตรวจเลือดอยู่ในเกณฑ์ไม่ปลอดภัยและเสี่ยงต่อการเกิดโรคจากการใช้ปุ๋ยเคมีและ
สารเคมีกำจัดศัตรูพืช อาทิ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคต่อมไร้ท่อ ฯลฯ ซึ่งจากฐานข้อมูลผู้ป่วยจากระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ
พบว่าปัจจุบันมีผู้ป่วยจากสารเคมีดังกล่าวประมาณ 8,546 ราย และมีการประมาณการว่าในความเป็นจริงตัวเลขผู้ป่วยจากสารเคมี
อาจสูงถึง 200,000 ถึง 400,000 รายต่อปี


สอดคล้องกับผลสำรวจเกษตรกร 6 จังหวัด จำนวน 606 รายในโครงการเสริมสร้าง ความเข้มแข็งแก่เกษตรกรด้านการป้องกันและ
กำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสานในพื้นที่ ที่มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในปริมาณมาก (IPM.DANIDA) ล่าสุด ที่พบว่าเกษตรกรทั้ง
หมด 100 % เคยมีอาการเนื่องจากพิษของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดย 15% ใช้สารเคมีระดับความเป็นพิษร้ายแรงมาก 39%
อยู่ในระดับความเป็นพิษร้ายแรง และ 14% มีการใช้สารเคมีที่เคยถูกห้ามนำเข้า ผลิต ส่งออก หรือมีไว้ครอบครอง

นายวิฑูรย์ กล่าว ปัจจุบันเกษตรกรใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเป็นจำนวนมาก เพราะได้ผลผลิตเร็ว ปริมาณมาก เจริญ
เติบโตได้ดี กำจัดศัตรูพืชเห็นผลเร็ว และเพิ่มผลผลิตทันกับความต้องการของผู้บริโภค นอกจากนี้การขายสารเคมี มีการโฆษณา
จูงใจถึงผลดีต่างๆ ทำให้เกษตรกรมีความต้องการใช้สารเคมี ทำให้เกษตรกรไม่สามารถปรับเปลี่ยนการผลิต และลดการใช้
สารเคมีลงได้ พิษภัยจึงตกอยู่กับผู้บริโภค สอดคล้องกับอัตราการเจ็บป่วยของคนไทยในปัจจุบัน ที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งสูงขึ้น
แซงหน้าโรคอื่นๆ ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากอาหารสูงถึง 60%

พร้อมแนะว่า....
รัฐบาลควรเร่งแก้ปัญหาโดยส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาใช้ปุ๋ยและสารชีวภาพกำจัดศัตรูพืชอย่างแพร่หลาย โดยอาจเป็นหน่วยงาน
หลักผลิตและจำหน่ายให้กับเกษตรใช้แทนการใช้สารเคมี



เพราะขณะนี้ไทยสูญเงินจากการนำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชประเภทต่างๆ ปีละ 137,594,393 กิโลกรัม คิดเป็นมูลค่า
ประมาณ 16,815,769,077 ล้านบาท



ส่วนใหญ่มาจากบริษัทยักษ์ใหญ่ข้ามชาติ 6 แห่ง โดยไม่ต้องเสียภาษี เพราะเข้าใจว่าจะทำให้เกษตรกรซื้อ
ได้ในราคาถูกลง ซึ่งไม่เป็นความจริง เพราะบริษัทท้องถิ่นของไทยจะนำสารออกฤทธิ์มาผสมและบรรจุ
ขายไปยังร้านปลีกอีกทอด ทำให้ราคาที่เกษตรกรซื้อจะมีมูลค่าสูงกว่าราคาวัตถุดิบที่นำเข้ามาหลาย เท่าตัว
จึงควรยกเลิกมาตรการนี้



นายวิฑูรย์ กล่าวว่า นอกจากนี้ต้องพัฒนาระบบการควบคุมการใช้สารเคมี ตั้งแต่การนำเข้า การขึ้นทะเบียน การผลิต การโฆษณา
และส่งเสริมการขาย ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะปัจจุบันมีการอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนการค้าสารเคมีไปแล้วถึง 27,000 ชื่อ
ซึ่งสูงมากที่สุดในโลกและสูงกว่าจีนที่มี 20,000 ชื่อ โดยการขึ้นทะเบียนดังกล่าวขาดกลไกการควบคุม การตรวจสอบ ทั้งใน
ด้านความเสี่ยงของผู้ใช้และสารตกค้างในผลผลิต รวมไปถึงขาดกลไกควบคุมการจัดจำหน่าย และในระยะยาว เห็นว่าคณะกรรม
การปฏิรูปควรนำเรื่องนี้ไปพิจารณาเพื่อหาทางแก้ไข เพราะเป็นเรื่องใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนไทยทั้งประเทศ




Source : NewsCenter/matichon/flickr.com (Image)
by wanwan
29 มีนาคม 2554 เวลา 14:25 น.


http://news.voicetv.co.th/business/7110.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 01/07/2011 10:59 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 01/07/2011 9:28 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

8. วิกฤตสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ความเป็นจริงจากมุมมองของสหภาพยุโรป

วันที่ 15 ก.พ. 2554 เวลา : 12:54 น.
ผู้เขียน : มูลนิธิชีววิถี (BIOTHAI)








จากมาตรการแบนตัวเองในการส่งออกพืชผัก 16 ชนิดไปยัง สหภาพยุโรป (อียู) และต่อมาได้มาตรการตรวจเช็คคุณภาพผัก
และผลไม้ส่งออก 100% ของกรมวิชาการเกษตร ในช่วงต้นปี 2554 ได้บ่งชี้ถึงวิกฤตปัญหาด้านความปลอดภัยของอาหาร
ทีผลิตในประเทศไทย โดยเฉพาะกรณีการตกค้างของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่เกินค่ามาตรฐาน (MRLs) ซึ่งทำให้เกิดกระทบ
ต่อสุขภาพ และผลเศรษฐกิจการส่งออกผักผลไม้ของไทยไปยังสหภาพยุโรปที่มีมูลค่ากว่า(2,785 ล้านบาท) ต่อปี[i]
อีกทั้งยังส่งผลต่อความเชื่อมั่นของประเทศผู้นำเข้าอื่นๆ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เป็นต้น

วิกฤตปัญหาที่เกิดขึ้นได้ถูกส่งสัญญาณจากสหภาพยุโรปตลอดหลายปีที่ผ่านมาผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากวิเคราะห์จาก
ฐานข้อมูลของระบบเตือนภัยด้านอาหาร(Rapid Alert System for Food and Feed: RASFF) ที่มีการบันทึกข้อมูล
การตรวจพบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ส่งมายังสหภาพยุโรป พบว่า


ปัญหาสารเคมีการเกษตรตกค้างในผักและผลไม้ของไทยได้เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยจำนวนการแจ้งเตือนสาร
เคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในปี 2553 ได้เพิ่มสูงขึ้นกว่าปี 2552 เกือบ 3 เท่าตัว แซงหน้าจำนวนแจ้งเตือนของสหภาพ
ยุโรปต่อประเทศตุรกี และประเทศไทยได้กลายเป็นแชมป์ส่งออกผักผลไม้ที่มีสารเคมีปนเปือนเกินค่ามาตรฐานของ
สหภาพยุโรป


ยิ่งไปกว่านั้นยังพบว่าประเทศไทยมีการส่งออกพืชผักและผลไม้ไปยังสหภาพยุโรปในปริมาณน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูล
การส่งออกของประเทศอื่นๆที่มีความรุนแรงของปัญหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างที่ใกล้เคียงหรือน้อยกว่า เช่น ในปี 2552


ไทยมีปริมาณการส่งออกผักและผลไม้ประมาณ 27,000 ตัน ในขณะที่ตุรกีส่งออกสูงถึง 1,249,000 ตัน (มากกว่าไทยถึง
46 เท่า) แต่มีการตรวจพบสารเคมีเกษตรตกค้างมากกว่าไทยเพียง 11 ครั้ง ส่วน

จีนซึ่งเป็นประเทศที่มีการผลิตและใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในปริมาณสูงต่อปี ได้มีการตรวจพบสารเคมีเกษตรตกค้างเพียง
1 ครั้งในปี 2552 และ 2 ครั้งในปี 2553 แม้ว่ามีการส่งออกผักผลไม้ไปยังสหภาพยุโรปประมาณ 800,000 ตันต่อปี[ii]



สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ถูกตรวจพบจากพืชผักส่งออกของไทยในปี 2553 มีถึง23 ชนิด โดยสารเคมีที่พบมากที่สุด คือ omethoate
ที่มีการพบถึง 9 ครั้ง รองลงมาคือ dimethoate และ indoxacarb 6 ครั้ง ส่วนcarbofuran และdicrotophos ซึ่งมี
พิษร้ายแรงนั้น ถูกตรวจพบมากถึง 5 ครั้ง และที่เลวร้ายยิ่วกว่านั้นคือ ในปี 2552 ยังมีการตรวจพบสาร EPN ที่ไม่เคยมีการ
อนุญาตให้จดทะเบียนในสหภาพยุโรปเลยถึง 7 ครั้ง





รายงานของสหภาพยุโรปสะท้อนปัญหาระบบการควบคุมสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของไทย

การพบการตกค้างของสารเคมีเกษตรในปริมาณมากของผักและผลไม้ส่งออกของไทย ทำให้หน่วยงาน Food andVeterinary
Office ของสหภาพยุโรป จัดส่งคณะเจ้าหน้าที่มายังประเทศไทย เพื่อประเมินมาตรการการจัดการและควบคุมปัญหาสาร
เคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้าง โดยมีการเดินมายังประเทศไทยครั้งแรกในช่วงต้นปี 2549 และได้ระบุไว้ในรายงานDG
(SANCO)/8002/2006-MR Final ถึงการควบคุมการตลาดและการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในประเทศไทยว่า ยังขาด
ความเข้มงวด ไม่มีระบบการจดบันทึก และไม่มีการตรวจสอบติดตามอย่างต่อเนื่อง

ในรายงานดังกล่าว ยังได้กล่าวถึงความหละหลวมในการควบคุมระบบการขึ้นทะเบียนการค้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ซึ่ง
ในปี 2549 มีจำนวนกว่า 16,900 ทะเบียนจากสารออกฤทธิ์ประมาณ 400 ชนิด และอนุญาตให้มีการขึ้นทะเบียนสารเคมี
กำจัดศัตรูพืชใหม่ประมาณ 2,500-4,850 ครั้ง ต่อปี นับตั้งแต่ปี 2541 เป็นต้นมา[iii]

คณะทำงานดังกล่าวยังได้วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของกรมวิชาการเกษตรที่ขาดแผนการที่ชัดเจนและเพียงพอในการควบ
คุมการตลาดและการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น แม้ว่าจะได้รับคำอธิบาย[iv] แต่ก็ไม่เพียงพอ
และไม่มีอะไรเป็นลายลักษณ์อักษรที่จะทำให้คณะทำงานดังกล่าวมั่นใจต่อมาตรการและการแก้ปัญหาจากฝ่ายไทย

ในส่วนของผู้ค้าปลีกสารเคมีกำจัดศัตรูพืชนั้น ส่วนใหญ่พึ่งพาข้อมูลจากแผ่นพับโฆษณาสินค้าของบริษัทขายสารเคมีใน
การแนะนำผลิตภัณฑ์ต่อเกษตรกรมากกว่า จากการฝึกอบรมโดยหน่วยงานรัฐ ในกรณีที่มีการทำผิดกฎระเบียบ เจ้าหน้าที่ใน
พื้นที่จะรายงานต่อหัวหน้าของตน แต่มิได้มีระบบการจดบันทึกใดๆ การจำหน่ายสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในประเทศไทยจึงไม่มี
การควบคุมที่ชัดเจนแต่อย่างใด ยกเว้นกรณีที่มีการตรวจพบการนำเข้าผลิตภัณฑ์เคมีเกษตรที่ไม่ได้มาตรฐาน ณ จุดนำเข้า
เท่านั้นที่ผ็ประกอบการจะถูกยึดใบอนุญาตการนำเข้า

ข้อสรุปสำคัญจากการประเมินผลของคณะทำงานจากสหภาพยุโรปคือ การที่ประเทศไทยมีระบบตรวจสอบหาสารตกค้างในพืช
ผักที่จำกัด มีการตรวจสอบเพียงพืชเศรษฐกิจบางรายการ และวิเคราะห์หาสารเคมีเกษตรตกค้างไม่กี่ชนิดอีกทั้ง ยังมีช่อง
โหว่ในกลไกการควบคุมทั้งการให้ข้อมูลต่อเกษตรกร การค้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืช รวมถึงการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายที่หละ
หลวม ส่งผลให้มีการขึ้นทะเบียนสารกำจัดศัตรูพืชเป็นจำนวนมาก

สำหรับการเดินทางเข้ามาประเมินระบบการควบคุมปัญหาสารเคมีเกษตรตกค้างของคณะทำงานของสหภาพยุโรปครั้งที่สอง
ในช่วงต้นปี 2551 นั้น คณะทำงานเห็นความก้าวหน้าบางส่วน เช่นการจัดฝึกอบรมผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด(stakeholders)
และการพัฒนาและเพิ่มระบบการควบคุมเกษตรกรผู้ใช้ โรงบรรจุผักส่งออก และผู้ส่งออก[v] แต่ความก้าวหน้าดังกล่าวก็มิ
ได้ทำให้ปัญหาการปนเปือนของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชลดลงแต่อย่างใด เพราะหากพิจารณาเฉพาะช่วงเวลาที่คณะผู้ตรวจ
จากสหภาพยุโรปเดินทางมาตรวจสอบในครั้งแรกจนถึงครั้งสอง มีการตรวจพบสารเคมีตกค้างถึง 24ครั้ง โดยสารเคมีกำจัด
ศัตรูพืชที่พบนั้นล้วนแล้วแต่มีพิษภัยร้ายแรงแทบทั้งสิ้น

แม้ว่าจะมีการระบุถึงปัญหาด้านทะเบียนสารเคมีเกษตรในรายงานครั้งก่อนแต่คณะทำงานของสหภาพยุโรปยังพบว่ากรม
วิชาการเกษตรยังคงปล่อยให้มีการขึ้นทะเบียนการค้าสารเคมีกำ จัดศัตรูพืชเพิ่มขึ้น 3,400 ทะเบียน รวมเป็นจำนวนสารเคมี
ที่ขึ้นทะเบียนทั้งหมดเป็น 19,300ทะเบียนในปี 2551

ยิ่งไปกว่านั้นสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ที่ตรวจพบในผักส่งออกจากประเทศไทย ยังมีการพบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ได้ห้าม
ใช้ในประเทศหรือห้ามใช้ในพืชบางชนิด และยังไม่มีการกำหนดค่า MRLs สำหรับการตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตก
ค้างให้ครอบคลุมพืชผักหลากชนิดในตลาดภายในประเทศ

ความอ่อนแอของระบบการควบคุมการขึ้นทะเบียน การควบคุมผู้จัดจำหน่ายและการขาดการให้ความรู้และข้อมูลที่เพียงพอ
ต่อเกษตรกร ทำให้ไม่น่าแปลกใจที่การประเมินระบบการควบคุมปัญหาของไทยโดยคณะทำงานของสหภาพยุโรปครั้งที่ 3
ในเดือนมีนาคม 2553 ยังคงพบช่องโหว่และความหละหลวมในระบบการควบคุม[vi] ซึ่งทางคณะผู้ประเมินจากสหภาพ
ยุโรปได้ระบุอย่างชัดเจนว่ากรมวิชาการเกษตรและโรงบรรจุผักส่งออกให้ข้อมูลต่อเกษตรกรไม่เพียงพอที่จะป้องกันการ
ตกค้างของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่เกินค่า EU MRLs



บทสรุป

ปัญหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชกำลังอยู่ในขั้นวิกฤต โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อดูจากตัวเลขการแจ้งเตือนผักและผลไม้ปนเปือนสาร
เคมีของสหภาพยุโรปที่พบว่าสินค้าจากประเทศไทยมีจำนวนสูงที่สุดในโลก ทั้งๆที่มีปริมาณ การส่งออกผักผลไม้ที่น้อยมาก
เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ

ปัญหาของสารเคมีตกค้างในผักผลไม้ส่งออกยุโรปเป็นเพียงสัญญาณเตือนภัยของวิกฤตเรื่องความไม่ปลอดภัยในอาหาร
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ส่งผลกระทบ ทั้งต่อเกษตรกรและผู้บริโภคคนไทยสังคมไทยควรแปรคำ
เตือนและมุมมองของสหภาพยุโรปเพื่อนำมาเป็นจุดเริ่มต้นในการปฏิรูประบบการควบคุมสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ซึ่งครอบคลุม
ตั้งแต่การทำงานของหน่วยงานในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ บริษัทสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ผู้ค้าปลีก รวมถึงเกษตรกร และ
ผู้บริโภคอย่างตลอดสาย

ทั้งนี มิใช่เพียงเพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากการส่งออกเท่านั้น แต่เพื่อฟื้นฟูสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชน
คนไทยทุกคน



http://www.prachatham.com/detail.htm?code=n7_15022011_01


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 01/07/2011 9:52 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 01/07/2011 9:41 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

9. สารพิษไซเปอร์เมทริน


สารพิษไซเปอร์เมทริน เป็นยาฆ่าแมลงกลุ่มไพเรทรอยด์ ซึ่งออกฤทธิ์กำจัดศัตรูพืชได้หลายชนิด จากการที่ผู้ประดิษฐ์ชุด
ตรวจสอบสารพิษตกค้างไซเปอร์เมทรินเบื้องต้นออกไป สำรวจ พบว่าแปลงผักของเกษตรกรที่ปลูกผักในภาคกลางและ
ภาคตะวันออกเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ ใช้สารพิษไซเปอร์เมทรินฉีดพ่นกำจัดศัตรูพืช สารพิษดังกล่าวจึงเป็นปัญหาที่ตรวจ
พบตกค้างในผักและผลไม้ส่งออกตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา จนถึงปี 2549 โดยปี 2546, 2547, 2548 ตรวจพบไซ
เปอร์เมทรินมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ และจากศูนย์ข้อมูลบริการแบบเบ็ดเสร็จของกรมวิชาการเกษตรปีล่าสุด 2551
พบสารไซเปอร์เมทรินมากถึง 70 เปอร์เซ็นต์ของผักและผลไม้ที่ส่งออก โดยเฉพาะพวกสมุนไพร เช่น ใบกะเพรา และ
ใบโหระพา พบสูงถึง 9 ppm สูงกว่าค่าความปลอดภัย ซึ่งกำหนดโดย CODEX MRL ซึ่งเป็นมาตรฐานสากล

นางอุดมลักษณ์ อุ่นจิตวรรธนะ นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานวิจัยวัตถุมีพิษ สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิต
ทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร ผู้ประดิษฐ์ชุดตรวจสอบสารพิษตกค้างไซเปอร์เมทรินเบื้องต้น กล่าวว่า สารไซเปอร์
เมทรินจะออกฤทธิ์กับแมลงหรือคน ทำให้ระบบประสาทผิดปกติ เพราะสารนี้จะไประงับการทำงานเซลล์เมนเบรนใน
ระบบประสาท ซึ่งมีผลต่อการทรงตัวของแมลงหรือคน แต่เนื่องจากแมลงมีรูปร่างเล็กกว่าคนมาก ถ้าได้รับสารนี้ในปริ
มาณมากอาจหมดสติหรือที่เรียกว่า น็อกดาวน์ สำหรับคนอาจมีอาการมึนซึมหรือการเคลื่อนไหวร่างกายมีอาการผิดปกติ
เล็กน้อย เนื่องจากคนมีน้ำหนักตัวมากกว่าแมลง จึงไม่ถึงขั้นเป็นอันตราย นอกจากจะได้รับสารเข้าไปเป็นปริมาณมาก

“ในการส่งพืชผักผลไม้ไปจำหน่ายต่างประเทศ ถ้าพบว่ามีสารไซเปอร์เมทรินตกค้าง สูงกว่าค่าความปลอดภัย คือ เกินกว่า
ค่า CODEX MRL หรือ MRL ของแต่ละประเทศที่นำเข้าจะถูกส่งกลับคืนมา แต่เนื่องจากค่าความปลอดภัยของแต่
ละประเทศมีค่าไม่เท่ากัน ถ้าเป็น EU หรือกลุ่มสหภาพยุโรปและประเทศญี่ปุ่น ได้กำหนดค่าความปลอดภัย (MRL)
ไว้ต่ำมาก แสดงว่าพืชผักนั้นมีความปลอดภัยสูง ซึ่งเขากำหนดค่าความปลอดภัยไว้ 0.01 ppm สำหรับหน่อไม้ฝรั่งถ้า
ตรวจพบสูงกว่านี้จะถูกส่งกลับทันที ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละ ประเทศจะกำหนด และขึ้นอยู่กับพืชผักแต่ละชนิดด้วย”

นางอุดมลักษณ์ กล่าวอีกว่า พืชผักที่มีปัญหาทุกวันนี้ คือ หน่อไม้ฝรั่ง ซึ่งกำหนดค่าความปลอดภัยไว้ 0.01 ppm
ซึ่งเป็นค่าที่ต่ำมาก แต่ประเทศไทยไม่มีการใช้สารพิษไซเปอร์เมทรินในหน่อไม้ฝรั่ง เพราะเกรงว่าถ้าใช้แล้ว พบตก
ค้างเกินค่าที่กำหนด จะส่งออกไปยังสหภาพยุโรปและประเทศญี่ปุ่นไม่ได้

จากปัญหาที่พบสารไซเปอร์เมทรินตกค้างในพืชผักผลไม้ตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา และประเทศผู้นำเข้าสินค้าจาก
ประเทศไทยได้ส่งสินค้ากลับคืนมา ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายในเรื่องความปลอดภัยด้านอาหาร กระทรวง
เกษตรและสหกรณ์จึงได้มอบหมายให้กรมวิชาการเกษตรคิดค้นอุปกรณ์การตรวจ สอบสารพิษอย่างง่าย ๆ รวดเร็ว
และมีประสิทธิภาพ เป็นโครงการเร่งด่วนเพื่อนำไปใช้ในการแก้ปัญหาสารพิษตกค้างในพืชผักผลไม้ และผลิตผล
การเกษตรอื่น ๆ เพื่อตรวจสอบปริมาณการปนเปื้อนสารพิษก่อนออกสู่แหล่งจำหน่ายและก่อนออกสู่ ผู้บริโภค ทำให้
สามารถจำแนกได้ว่า ผลิตผลหรือสินค้านั้นมีการปนเปื้อนสารพิษไซเปอร์เมทริน มีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ระดับความ
ปลอดภัยที่ได้กำหนดเป็นมาตรฐานสากลและมาตรฐาน ภายในประเทศอย่างไรหรือไม่

การประดิษฐ์ชุดตรวจสอบนี้ได้มาจากการวิจัยและพัฒนาวิธีการตรวจสอบสารพิษตก ค้างอย่างง่ายและรวดเร็วโดย
วิธีเคมี โดยพัฒนามาจากการวิเคราะห์ด้วยทินเลเยอร์โครมาโตกราฟฟี่ แต่นำมาย่อขนาดและลดขั้นตอนยุ่งยากต่าง ๆ
ลง แต่ยังคงมีประสิทธิภาพใช้ได้ตามวัตถุประสงค์

ชุดตรวจสอบนี้ทำเป็นกล่องกระดาษ น้ำหนักไม่เกิน 1 กิโลกรัม หลังจากบรรจุอุปกรณ์ทุกอย่างลงไปในกล่อง
เรียกว่า ชุดตรวจสอบสารพิษตกค้างไซเปอร์เมทริน หรือ Test Kit for Cypermethrin Residue ชุด
ตรวจสอบนี้สะดวกในการนำไปใช้ตรวจที่แปลงเกษตรกรและลดขั้นตอนยุ่งยากที่ทำ ในห้องปฏิบัติการ คือ ไม่มี
ขั้นตอนการฉีดพ่นสารที่เป็นสี โดยผสมสีลงไปพร้อมกับสารซิลิกาชนิดพิเศษตอนเริ่มต้น การแปลผลใช้เปรียบเทียบ
กับรูปที่ให้มากับคู่มือการใช้งานซึ่งบรรจุอยู่ภายใน กล่องชุดตรวจสอบ ขั้นตอนและวิธีทำจะบอกอย่างละเอียดในคู่มือ
ที่ให้มา อ่านเข้าใจง่าย สามารถทำเองได้

“ประโยชน์ของชุดตรวจสอบสารพิษตกค้างไซเปอร์เมทรินเบื้องต้นที่ประดิษฐ์คิด ค้นขึ้นมานี้ ก็คือ ประหยัดเงินและเวลา
ในการวิเคราะห์ สะดวกในการพกพาไปใช้ตรวจในแปลงผักของเกษตรกร ทำให้ผลผลิตที่แปลงก่อนจะออกสู่แหล่ง
จำหน่ายปลอดภัยในระดับหนึ่ง” นางอุดมลักษณ์ กล่าว

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มวิจัยวัตถุมีพิษการเกษตร สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
กรมวิชาการเกษตร โทร. 0-2579-6123 โทรสาร 0-2940-5420.

นวลศรี โชตินันทน์



http://news.enterfarm.com/content/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%95%E0%B8%A3
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 01/07/2011 9:56 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

10. ภัยในสารปนเปื้อนจากอาหาร



สารปนเปื้อนในอาหาร เป็นสารพิษที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติและจากการกระทำของมนุษย์ ซึ่งมีผลทำให้เกิดอันตรายต่อ
ร่างกายจนถึงเสียชีวิตได้ สารปนเปื้อนในอาหารแบ่งตามลักษณะการเกิดได้ 2 ประเภทคือ

1. สารพิษที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แบ่งออกตามชนิดของสารพิษได้ดังนี้

สารพิษจากเชื้อจุลินทรีย์ เช่น สารอะฟลาทอกซิน (aflagoxin) ซึ่งเป็นสารสร้างจากเชื้อราพวก แอสเพอร์จิลลัส
(aspergillus spp) รานี้เจริญได้ดีในถั่วลิสงและเมล็ดพืชที่ชื้น ซึ่งความร้อนสูงไม่สามารถทำลายสาร อะฟลาทอกซิน
ได้ ส่วนใหญ่สารนี้จะตกค้างที่ตับทำให้เกิดเป็นมะเร็งตับ



2. สารพิษที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ส่วนให้เป็นผลมาจากความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีที่
เรานำมาใช้ในชีวิตประจำวัน มีดังนี้

สารตกค้างจากการเกษตร เช่น ดีดีที ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช ซึ่งอาจสะสมในอาหาร เมื่อรับประทานเข้าไปจะเกิด
อันตรายต่อสิ่งมีชีวิต



สิ่งเจือปนในอาหาร แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. สารกันอาหารเสีย เป็นสารที่ช่วยให้อาหารคงสภาพ รส กลิ่น เหมือนเมื่อแรกผลิตและเก็บไว้ได้นาน เช่น สารกัน
บูด สารกันหืน เป็นต้น

2. สารแต่งกลิ่นหรือรส เป็นสารที่ช่วยให้อาหารมีรสและกลิ่นถูกใจผู้บริโภค หรือใช้แต่งกลิ่นรส ผู้บริโภคเข้าใจผิดคิด
ว่าเป็นของแท้ หรือมีส่วนผสมอยู่มากหรือน้อยทั้งที่เป็นของเทียม

สารเหล่านี้ได้แก่ เครื่องเทศ สารกลิ่นผลไม้ สารรสหวานประเภทน้ำตาลเทียม ซึ่งเป็นสารที่ให้ความหวานแต่ไม่
ใช่น้ำตาล ผงชูรสเป็นสารประกอบที่เรียกว่ามอโนโซเดียมกลูตาเมต ถ้าเป็นผงชูรสปลอมจะใส่ สารโซเดียมเมตา
ฟอสเฟตและบอแรกซ์ ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิตมาก

3. สีผสมอาหาร เป็นสีที่ใส่เพื่อจะช่วยแต่งเติมให้อาหารน่ารับประทานยิ่งขึ้น มีทั้งสีจากธรรมชาติซึ่งเป็นสีที่ได้จาก
พืชและสัตว์ ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต เช่น สีดำจากถ่าน สีแดงจากครั่ง และสีสังเคราะห์ส่วนมากจะเป็นสารพิษ
ที่ร้ายแรงต่อร่างกาย มักมีตะกั่วและโครเมียมอยู่ เช่น สีย้อมผ้า

จะเลือกซื้ออาหารมารับประทานเห็นทีผู้บริโภคอย่างเราๆ คงต้องระมัดระวังและใส่ใจกับสุขภาพกันให้มากยิ่งขึ้น.



เอื้อเฟื้อข้อมูลจาก อาจารย์นงคราญ ธาราทิพยกุล



http://news.enterfarm.com/content/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%95%E0%B8%A3
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©