-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-มหัศจรรย์ .............. ธาตุกำมะถัน
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - มหัศจรรย์ .............. ธาตุกำมะถัน
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

มหัศจรรย์ .............. ธาตุกำมะถัน

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 18/06/2011 9:32 pm    ชื่อกระทู้: มหัศจรรย์ .............. ธาตุกำมะถัน ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลำดับเรื่อง.....

1. ธาตุกำมะถัน
2. ธาตุกำมะถันความจำเป็นสร้างโปรตีน
3. การขาดกำมะถันในข้าว
4. ธาตุกำมะถันองค์ประกอบของโปรตีน
5. ความสำคัญของธาตุกำมะถันต่อการเจริญเติบโตของพืช



------------------------------------------------------------------------------------------------


1. ธาตุกำมะถัน


ธาตุกำมะถัน เป็นวัตถุดิบที่มีความสำคัญในเชิงอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในการผลิตปุ๋ยเคมี จะต้องมีกำมะถันเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ

นอกจากนี้ธาตุกำมะถัน ยังมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืชหลายชนิด และมีพืชหลายชนิดที่ต้องการธาตุกำมะถันมากเป็นพิเศษ เช่น กาแฟ ปาล์มน้ำมัน อ้อย พืชตระกูลถั่วที่เป็นอาหารสัตว์ และพืชผักต่าง ๆ หน้าที่สำคัญของธาตุกำมะถัน ธาตุกำมะถันเป็นส่วนประกอบของกรดอะมิโน (Amino acids) พืชต้องการธาตุกำมะถันเพื่อสังเคราะห์กรดอะมิโนที่สำคัญ 3 ชนิด คือ ซีสตีน (Cystine) ซีสเตอีน (Cysteine) และเมทธิโอนีน (Methionine) ดังนั้นจึงมีส่วนสำคัญในการสร้างโปรตีน,

กรดอะมิโนเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของพืช รวมทั้งคนและสัตว์ด้วย ธาตุกำมะถันจะช่วยในการควบคุมชนิดและโครงสร้างของเม็ดสีคลอโรพลาสต์ ซึ่งภายในประกอบด้วยคลอโรฟีลล์เป็นแหล่งที่พบกำมะถันสะสมอยู่มาก เมื่อพืชขาดธาตุกำมะถันปริมาณของคลอโรฟีลล์จะลดลง ทำให้พืชมีสีเหลืองซีด

- ช่วยส่งเสริมความแข็งแรงในการเจริญเติบโตของพืช
- ช่วยให้พืชทนทานต่ออุณหภูมิที่เย็นและต้านทานต่อโรคพืชหลายชนิด
- ช่วยสนับสนุนการเกิดปมที่รากของพืชตระกูลถั่วและกระตุ้นการสร้างเมล็ด
- มีส่วนสำคัญในการเกิดน้ำมันพืชและสารระเหยให้หัวหอมและกระเทียม

การแสดงอาการของพืชที่ขาดธาตุกำมะถัน พืชจะแคระแกรนหยุดการเจริญเติบโต ใบอ่อนมีสีเขียวจางลง รวมทั้งเส้นใบจะมีสีจางลงด้วย แต่ในใบแก่จะยังคงมีสีเขียวเข้ม

ถ้าพืชขาดธาตุกำมะถันมาก พืชจะพัฒนาการเจริญเติบโตได้ช้า ลำต้นพืชจะสั้นและแคบเข้า ใบยอดจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ในพืชตระกูลถั่ว การตรึงธาตุไนโตรเจนที่ปมรากจะลดลงทั้งขนาดและจำนวนปมสภาพแวดล้อมที่พืชขาดธาตุกำมะถัน ในดินที่มีของความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) 4.0-6.0 ในดินที่มีค่าอินทรีย์วัตถุต่ำกว่า 1%อินทรีย์วัตถุเป็นแหล่งสำรองของธาตุกำมะถัน ได้แก่ ซากพืช ซากสัตว์ ผลจากการหักล้างถางพงป่ามาเป็นพื้นที่เพาะปลูกการเกษตรจะทำให้ดินสูญเสียอินทรีย์วัตถุเร็วขึ้น

การใช้ปุ๋ยสูตรที่มีความเข้มข้นของธาตุอาหารสูง จะทำให้เกิดการขาดธาตุกำมะถัน เช่น ปุ๋ยแอมโมเนียม ฟอสเฟต (MAP) ไดแอมโมเนียมฟอสเฟต (DAP) หรือ ทริปเปิลซูเปอร์ฟอสเฟต (TSP)



http://www.thaigoodview.com/node/31278

----------------------------------------------------------------------------------------------


2. ธาตุกำมะถันความจำเป็นสร้างโปรตีน

กำมะถันมีความจำเป็นต่อการสร้างโปรตีนพืช เป็นองค์ประกอบของวิตามินบางตัวที่มีผลทางอ้อมต่อการสร้างสีเขียวของพืช ซึ่งจะช่วยให้เกิดการหายใจและการปรุงอาหารพืช

พืชที่ขาดกำมะถันจะมีเสียเขียวอ่อน หรือเหลืองคล้าย ๆ อาการขาดไนโตรเจน ใบขนาดเล็กลง ยอดของพืชจะชะงักการเจริญเติบโต ลำต้นและกิ่งก้านลีบเล็ก อาการขาดธาตุกำมะถันจะมีอาการแตกต่างจากขาดธาตุไนโตรเจน คือจะปรากฏที่ยอดอ่อนก่อน ส่วนใบล่างยังคงปกติ ถ้าอาการรุนแรงใบล่างก็จะมีอาการด้วยเช่นกัน ซึ่งจะตรงข้ามกับอาการของการขาดไนโตรเจน จะแสดงอาการที่ใบล่างก่อน

ดินที่มักพบเสมอว่าขาดธาตุกำมะถันคือ ดินทราย ซึ่งมีอินทรีย์วัตถุน้อย การเพิ่มกำมะถันในดิน นอกจากจะมีการใส่กำมะถันผงโดยตรงแล้ว การใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยพืชสด ก็เป็นวิธีการแก้ปัญหาการขาดธาตุกำมะถันในดินได้เช่นกัน

แต่ข้อควรระวังในการใส่กำมะถันก็คืน หากใส่มากเกินความจำเป็นจะทำให้ดินเป็นกรดได้



http://www.trgreen.co.th/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=21

------------------------------------------------------------------------------------------------------


3. การขาดกำมะถันในข้าว (Sulfur deficiency)

กำมะถัน (S) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของกรดอะมิโนและโคเอนไซม์ ที่ช่วยในการสร้างคลอโรฟิลล์และสังเคราะห์โปรตีน กำมะถันไม่ค่อยเคลื่อนย้ายในพืชทำให้อาการขาดเกิดกับใบอ่อนก่อน

ต้นข้าวที่ขาดกำมะถันจะมีอาการคล้ายกับการขาดไนโตรเจน ต่างกันตรงที่การขาดไนโตรเจนจะเกิดที่ใบแก่ก่อน แต่การขาดกำมะถันจะเกิดที่ใบอ่อนก่อนแล้วตามด้วยใบแก่ โดยเริ่มแรกที่กาบใบจะมีสีเหลืองแล้วลุกลามสู่ใบ อาจพบต้นข้าวมีสีเหลืองทั้งต้นในระยะแตกกอ ความสูงและการแตกกอลดลง ต้นข้าวและใบข้าวเล็กลง นอกจากนี้การขาดกำมะถันยังทำให้การเจริญเติบโตและการพัฒนาของข้าวช้าลง รวงข้าวจะน้อยและสั้น จำนวนเมล็ดต่อรวงลดลง จำนวนท้องไข่ของเมล็ดเพิ่มขึ้น ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าข้าวที่ขาดกำมะถันจะแสดงอาการใกล้เคียงกับการขาดไนโตรเจนมาก จนบางครั้งไม่สามารถบอกความแตกต่างได้ชัดเจน การวินิจฉัยที่แม่นยำอาจต้องใช้ผลจากการวิเคราะห์ตัวอย่างดินและพืช มาประกอบด้วย

การขาดกำมะถันมีสาเหตุมาจากหลายประการ ที่สำคัญคือดินมีปริมาณกำมะถันไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต การใช้ปุ๋ยเคมีที่ไม่มีกำมะถันเป็นส่วนประกอบ เช่น ยูเรีย, 0-46-0 เป็นต้น รวมทั้งการเผาฟางข้าวหลังเก็บเกี่ยว การขาดกำมะถันมักพบในดินที่มีการผุพังอยู่กับที่ (Weathering) สูง โดยแร่ที่อยู่ในรูปออกไซด์จะดูดยึดซัลเฟตไว้ หรือพบในดินที่มีอินทรียวัตถุต่ำ เนื้อดินเป็นทรายจัด หรือพื้นที่ที่มีการเผาฟางข้าวเป็นประจำ

การจัดการเพื่อการป้องกันและแก้ไขการขาดกำมะถันสามารถทำได้โดย ในการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนหรือฟอสเฟต ควรเลือกใส่ชนิดที่มีกำมะถันเป็นส่วนประกอบ เช่นปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (26% S), ซิงเกิลซูเปอร์ฟอสเฟต (12% S), โพแทสเซียมซัลเฟต (18% S) เป็นต้น

ควรไถกลบฟางหลังเก็บเกี่ยว ไม่ควรเผาเพราะการเผาทำให้กำมะถันในฟางข้าวสูญเสียถึงร้อยละ 40–60

ในกรณีที่พืชแสดงอาการขาดให้ใส่ปุ๋ยกำมะถัน เช่นยิปซัม (17% S) หรือ Elemental S (97% S) ในอัตราประมาณ 1.5 กก. S/ไร่


อาการขาดธาตุกำมะถันในข้าว

.......
....................ใบอ่อนของต้นข้าวมีสีเหลืองซีด ความสูงและการแตกกอลดลง


......
ใบอ่อนของข้าวมีสีออกเหลืองเพราะมีคลอโรฟิลล์ต่ำ ปลายใบมีสีออกขาว


http://kkn-rsc.ricethailand.go.th/rice/plant/nutrient-fail.html

--------------------------------------------------------------------------------------------


4. ธาตุกำมะถันองค์ประกอบของโปรตีน (S)

เป็นองค์ประกอบของโปรตีน ช่วยยึดเอนไซม์หรือโปรตีนเข้าไว้ด้วยกัน ทำให้เกิดเป็นโมเลกุลใหญ่ขึ้น และเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของสารหลายชนิดที่จำเป็นสำหรับ Metabolism ของเซลล์ เป็นธาตุที่พบในอินทรียสารเป็นส่วนใหญ่ หลังการสลายตัวแล้วพืชจึงจะนำไปใช้ได้

ถ้าขาดธาตุกำมะถัน พืชจะแสดงอาการในส่วนที่ยังอ่อนอยู่ ใบอ่อนจะมีสีเขียวซีด ลำต้น แคระแกรน บางครั้งต้นอาจจะมีสีแดง หรือสีม่วงคล้ายอาการขาดธาตุฟอสฟอรัส สำหรับในพวกธัญพืช อาการคล้ายคลึงกับการขาดธาตุแมกนีเซียม คือมีทางสีขาวหรือสีเหลืองเกิดขึ้นเป็นลายขนานไปกับ แกนใบ แตกกอน้อย พืชที่ขาดธาตุกำมะถัน จะมีธาตุไนโตรเจนสะสมอยู่ค่อนข้างสูง และการสุกจะ ช้ากว่าปกติในพวกธัญพืชเมล็ดจะแก่ช้า เมล็ดติดไม่สมบูรณ์ และมักมีเมล็ดลีบ


http://oldweb.ocsb.go.th/udon/All%20text/1.Article/01-Article%20P8.7b.htm

---------------------------------------------------------------------------------------------


5. ความสำคัญของธาตุกำมะถันต่อการเจริญเติบโตของพืช

ความสำคัญของกำมะถันที่มีต่อการเจริญเติบโตของพืช
1) จำเป็นในการสร้างโปรตีนและกรดอะมิโนบางชนิด เช่น cystine , cysteine
2) เป็นองค์ประกอบของวิตามิน B1 (Thiamine)
3) เป็นองค์ประกอบของสารที่ระเหยได้ (volatile oil) ในพืช เช่นสารที่ทำให้เกิดกลิ่นเฉพาะตัวของ หอม กระเทียม กล่ำปลี เป็นต้น
4) เพิ่มปริมาณน้ำมันใน oil crop ต่างๆ เช่น ถั่วเหลือง


อาการขาดกำมะถันของพืช
พืชที่ขาดกำมะถัน ใบจะมีสีเขียวอ่อนหรือเหลืองคล้ายกับอาการขาดไนโตรเจน ใบอาจมีขนาดเล็กลง ยอดจะชะงักการเจริญเติบโต ลำต้นลีบเล็ก เนื้อไม้จะแข็งและรากยาวผิดปกติ อาการขาดกำมะถันต่างกับการขาดไนโตรเจน คือ การขาดกำมะถันจะเริ่มแสดงอาการขาดจากส่วนยอดลงไป ทั้งนี้เพราะกำมะถันเป็นธาตุที่เคลื่อนย้ายไม่ได้ (immobile element)


รูปของกำมะถันในดิน
ก) เป็นองค์ประกอบในหินและแร่ เช่น หินดินดาน แร่ไพไรท์ แร่ยิปซั่ม
ข) อยู่ในรูปอินทรียวัตถุต่างๆโดยเป็นองค์ประกอบของโปรตีน
ค) อยู่ในรูป ซัลไฟท์ ( SO3 = )
ง) อยู่ในรูป ซัลเฟต ( SO4 =)
รูปที่เป็นประโยชน์ของกำมะถัน คือ SO4 = หรือ soluble SO4 =


การแก้ไขดินที่ขาดกำมะถัน
1) ใส่สารอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด
2) ใส่กำมะถันผง
3) ใส่ยิปซั่ม ( CaSO4.2H2O)
4) ใส่ปุ๋ยที่มีกำมะถัน เช่น (NH4) 2 SO4



http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=0acd30efb70db5eb

------------------------------------------------------------------------------------------------


.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 31/12/2011 7:17 pm, แก้ไขทั้งหมด 7 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 27/12/2011 4:47 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

...
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©