-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-มหัศจรรย์ ............. ธาตุแมกนีเซียม
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - มหัศจรรย์ ............. ธาตุแมกนีเซียม
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

มหัศจรรย์ ............. ธาตุแมกนีเซียม

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 18/06/2011 9:07 pm    ชื่อกระทู้: มหัศจรรย์ ............. ธาตุแมกนีเซียม ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลำดับเรื่อง.....

1. ธาตุแมกนีเซียม
2. บทบาทของแมกนีเซียม
3. ธาตุแมกนีเซ๊ยม
4. ธาตุแมกนีเซี่ยม

------------------------------------------------------------------------------------------------





1. ธาตุแมกนีเซียม


ธาตุแมกนีเซียม มีความสำคัญต่อพืช คน และสัตว์ ร่างกายของคนต้องการธาตุแมกนีเซียมประมาณ 0.3-0.4 มิลิกรัมต่อวัน สัตว์ เช่น วัว ควาย ต้องการสูงถึง 10 เท่า คือ ประมาณ 3-6 กรัมต่อวัน

ถ้าคนขาดธาตุแมกนีเซียม จะทำให้ความจำเสื่อม กล้ามเนื้อเป็นตะคริวเป็นสาเหตุของโรคหัวใจ ในวัวถ้าขาดธาตุแมกนีเซียมจะเป็นโรคกระแตเวียน

หน้าที่สำคัญของธาตุแมกนีเซียมในพืช เป็นตัวจักรสำคัญในการ...
- ช่วยเสริมสร้างสารคลอโรฟีลล์ หรือความเขียวในพืช
- ช่วยให้พืชปรุงอาหารได้ดีขึ้
- ช่วยในการเคลื่อนย้ายธาตุฟอสฟอรัสได้ดีขึ้น
- มีส่วนสำคัญในการสังเคราะห์แสง
- มีส่วนสำคัญเกี่ยวกับการสุกการแก่ของผลผลิต
- ช่วยให้พืชเพิ่มการใช้ธาตุเหล็กมากยิ่งขึ้น
- เป็นตัวกระตุ้นการทำงานของน้ำย่อยต่าง ๆ ของพืช เคลื่อนย้ายภายในพืชได้ดี
- ช่วยเสริมสร้างให้พืชไม่ชะงักการเจริญเติบโตในช่วงที่มีอากาศหนาวเย็น
- ช่วยเสริมสร้างให้พืช มีความต้านทานต่อโรคพืชต่าง ๆ พืชอาหารสัตว์


ถ้าขาดธาตุแมกนีเซียม จะเป็นสาเหตุของพืชอาหารสัตว์เป็นพิษ การแสดงอาการของพืชที่ขาดธาตุแมกนีเซียม จะทำให้ต้นเล็กแคระแกรน ใบเหลือง ในใบแก่จะมีสีซีดจาง ไม่เขียวสดใส และเมื่อแตกใบอ่อนก็จะมีสีซีดจางเช่นเดียวกัน และธาตุแมกนีเซียม

สามารถเคลื่อนย้ายในพืชได้ เมื่อใบแก่ขาดธาตุแมกนีเซียม ใบอ่อนที่แตกออกมาใหม่ก็จะขาดด้วย ใบจะเป็นสีเหลืองและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและตายไปในที่สุด ผลจะสุกแก่ช้ากว่าปกติ ในพืชตระกูลถั่วจะทำให้พืชไม่ค่อยจะลงฝัก และจะทำให้แบคทีเรียที่รากถั่ว ไม่จับธาตุไนโตรเจนไว้ได้ดีเท่าที่ควร

ในพืชอาหารสัตว์จะให้ผลผลิตต่ำ และทำให้พืชอาหารสัตว์เป็นพิษ สภาพแวดล้อมที่พืชขาดธาตุแมกนีเซียม ในดินที่มีค่าของความเป็นกรดเป็นด่าง(pH) ระหว่าง 4.0-7.0 และ 8.5 ขึ้นไป ในดินที่มีปริมาณของธาตุแมกนีเซียมต่ำ ในดินที่มีธาตุแคลเซียม โพแทสเซียม และโซเดียมมาก ในดินที่มีปริมาณของเกลือมาก เช่น พวกเกลือโซเดียม ในช่วงที่มีอากาศหนาวเย็น ดินเย็น หรือมีอุณหภูมิต่ำ ในระยะที่พืชแตกใบอ่อน ในระยะที่พืชดูดใช้ธาตุไนโตรเจนมาก

การให้ปุ๋ยโพแทสเซียม ต้องให้ธาตุแมกนีเซียมควบคู่กันไป ถ้าให้ปุ๋ยโพแทสเซียมมากจะเป็นปัญหาการขาดธาตุแมกนีเซียม

การให้ธาตุแคลเซียม ต้องให้ธาตุแมกนีเซียมควบคู่กันไปเพื่อให้เกิดความสมดุลกัน ถ้าธาตุแคลเซียมมาก อาจทำให้ขาดธาตุแมกนีเซียม

การให้ปุ๋ยไนโตรเจน ต้องให้ธาตุแมกนีเซียม และธาตุแคลเซียมควบคู่กันไปด้วยเพื่อให้เกิดความสมดุลกัน โดยเฉพาะพืชอาหารสัตว์ เช่น หญ้าเลี้ยงสัตว์ จะเกิดอาการเป็นพิษจากสารไนเตรท(Nitrate Poisoning) ดังนั้นเมื่อให้ปุ๋ยไนโตรเจนต้องให้ธาตุแมกนีเซียมและธาตุแคลเซียมควบคู่ไปด้วย


http://www.thaigoodview.com/node/31278

-----------------------------------------------------------------------------------------------------



2. บทบาทของแมกนีเซียม

เซลล์พืชดูดแมกนีเซียมเข้าไปในรูปของแมกนีเซียมไอออน (Mg2+) และอยู่ในเซลล์สองลักษณะคือ เป็นองค์ประกอบของสารต่างๆ และ 2) คงอยู่ในรูปของไอออน สำหรับบทบาทของแมกนีเซียมในพืช มีดังนี้

2.3.1 เป็นองค์ประกอบของคลอโรฟีลล์
แต่ละโมเลกุลของคลอโรฟีลล์มีไนโตรเจน 4 อะตอมและแมกนีเซียม 1 อะตอม โดยอะตอมของแมกนีเซียมอยู่กึ่งกลาง และมีพันธะเคมีกับไนโตรเจนทั้ง 4 อะตอมซึ่งอยู่โดยรอบ (ภาพที่ 2)

ภาพที่ 2 โครงสร้างของโมเลกุลคลอโรฟีลล์ เอ. และ บี

2.3.2 การตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ในการสังเคราะห์แสง
นอกจากแมกนีเซียมจะเป็นองค์ประกอบของคลอโรฟีลล์ อันเป็นสารที่มีบทบาทสำคัญในปฏิกิริยาแสง (light reaction) ของกระบวนการสังเคราะห์แสงแล้ว ธาตุนี้ยังกระตุ้นกิจกรรมของเอนไซม์ไรบูโลสบีสฟอสเฟต-คาร์บอกซีเลส/ออกซีจีเนส(Rubisco) ซึ่งทำหน้าที่ในการตรึงคาร์บอนไดออก ไซด์ ในปฏิกิริยามืด (dark reaction) ของพืชพวกซีสาม (C 3 plant) ดังสมการ

ribulose-1,5-bisphosphate + CO2 + H2O → 3-phosphoglyceric acid (2 โมเลกุล)

สำหรับธาตุอาหารอื่นๆที่มีบทบาทในกระบวนการสังเคราะห์แสง แสดงไว้ในตารางที่

2.3.3 การสังเคราะห์โปรตีน
แมกนีเซียมมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์โปรตีน 3 ขั้นตอนด้วยกัน คือ
1) เป็นธาตุที่ช่วยเชื่อมหน่วยย่อยของไรโบโซมให้เกาะกลุ่มกัน
2) เป็นโคแฟกเตอร์ของ RNA polymerases ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่เร่งปฏิกิริยาการสร้าง RNA ในนิวเคลียส และ
3) ช่วยให้สายเชื้อดีเอ็นเออยู่ในสภาพที่ทำงานได้ดี

2.3.4 เป็นโคแฟกเตอร์ของเอนไซม์
มีเอนไซม์มากมายหลายชนิดที่ใช้ Mg2+ เป็นโคแฟกเตอร์ เอนไซม์เหล่านั้นส่วนมากมีบทบาทในการถ่ายโอนฟอสเฟตหรือหมู่คาร์บอกซิล เช่น

1) เอนไซม์กลูโคคิเนส ซึ่งเร่งปฏิกิริยาการเพิ่มหมู่ฟอสเฟตให้กลูโคส ดังสมการต่อไปนี้ glucose + ATP → glucose-6-P

2) ประมาณ 90% ของ ATP ในไซโทพลาซึมจับอยู่กับแมกนีเซียม โดยเอนไซม์ ATPase ในเยื่อหุ้มเซลล์ของรากใช้ Mg.ATP เป็นซับสเทรต ดังนั้นแมกนีเซียมจึงช่วยให้เอนไซม์ ATPase ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ตารางที่ 1 บทบาทโดยตรงและโดยอ้อมของธาตุอาหารในกระบวนการสังเคราะห์แสง


http://www.dryongyuth.com/journal/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8.pdf

---------------------------------------------------------------------------------------------------

3. ธาตุแมกนีเซ๊ยม

เป็นองค์ประกอบของส่วนที่เป็นสีเขีย ทั้งที่ใบและส่วนอื่น ๆ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสร้างอาหารและโปรตีนพืช

อาการขาดแมกนีเซียมจะสั่งเกตได้จาบใบพืช ที่เหลืองซีดบริเวณเส้นกลางใบที่อยู่ใกล้กับผล ถ้าหากอาการขาดรุ่นแรงใบแก่จะมีอาการมากกว่าใบอ่อน

การขาดธาตุแมกนีเซียม จะทำให้ผลผลิตลดน้อยลงและต้นพืชทรุดโทรมอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งสาเหตุที่พืชขาดธาตุแมกนีเซียมนั้น เพราะปริมาณแมกนีเซียมที่อยู่ในดินถูกชะล้างลึกลงไปเกินกว่าที่รากพืชจะดึงดูดมาใช้ได้ และการที่มีปริมาณโปแตสเซียมสะสมในดินมากเกินไปก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่สำคัญ

การแก้ไข สามารถทำได้โดยการปรับปรุงสภาพดิน ความเป็นกรด ด่างของดินให้เหมาะสมต่อการดูดเข้าไปใช้ของพืช และมีการใช้ปุ๋ยโปแตสเซียมที่พอเหมาะ ที่สำคัญก็คือ การฉีดพ่นทางใบด้วยธาตุอาหารเสริม ซึ่งมีธาตุแมกนีเซียมในรูปที่พืชสามารถนำปใช้ได้ทันที


http://www.trgreen.co.th/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=21

------------------------------------------------------------------------------------------------

4. ธาตุแมกนีเซี่ยม

ความสำคัญของแมกนีเซี่ยมต่อการเจริญเติบโตของพืชคือ
1) เป็นองค์ประกอบของคลอโรฟีลล์ ประมาณกันว่าในคลอโรฟีลล์มีแมกนีเซี่ยมอยู่ถึง 2.7 %
2) มีบทบาทเกี่ยวกับการสร้างน้ำมันในพืชเมื่ออยู่ร่วมกับธาตุกำมะถัน


รูปของแมกนีเซี่ยมในดิน
ก) อยู่ในรูปองค์ประกอบของแร่ เช่น โดโลไมท์
ข) อยู่ในรูป soluble salt ต่างๆ เช่น MgSO4 MgCl2
ค) อยู่ในรูป adsorbed Mg
ง) อยู่ในรูป Mg++ ใน soil solution
รูปของแมกนีเซี่ยมที่เป็นประโยชน์ คือ Magnesium ion (Mg++)



http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=0acd30efb70db5eb

--------------------------------------------------------------------------------------------------



.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 31/12/2011 7:10 pm, แก้ไขทั้งหมด 7 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©