-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-มหัศจรรย์ ............. ธาตุแคลเซียม
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - มหัศจรรย์ ............. ธาตุแคลเซียม
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

มหัศจรรย์ ............. ธาตุแคลเซียม

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 18/06/2011 9:05 pm    ชื่อกระทู้: มหัศจรรย์ ............. ธาตุแคลเซียม ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลำดับเรื่อง....

1. หน้าที่สำคัญของธาตุแคลเซียม
2. บทบาทของแคลเซียม
3. ธาตุแคลเซียม
4. หน้าที่ธาตุแคลเซียม ต่อพืช
5. ธาตุแคลเซียมในดิน

6. ธาตุแคลเซียม – CALCIUM
7. ความสำคัญของธาตุแคลเซี่ยม

----------------------------------------------------------------------------------------------




1. หน้าที่สำคัญของธาตุแคลเซียม

หน้าที่สำคัญของธาตุแคลเซียมในพืช มีหน้าที่โดยตรงเกี่ยวกับโครงสร้างของผลไม้
- ช่วยเสริมสร้างเซลล์และการแบ่งเซลล์ของพืช ซึ่งพืชต้องการอย่างต่อเนื่อง
- ช่วยในการสร้างเซลล์และโครงสร้างของเซลล์ของพืช
- ช่วยให้เซลล์ติดต่อกัน ช่วยเชื่อมผนังเซลล์ให้เป็นรูปร่างและขนาดให้เป็นไปตามลักษณะของพืช
- ช่วยเพิ่มการติดผล
- ช่วยให้สีเนื้อและสีผิวของผลสดใส
- ช่วยลดการเกิดเนื้อของผลแข็งกระด้าง และเนื้อแฉะ
- ช่วยป้องกัน ผลร่วง ผลแตก

- มีบาทบาทที่สำคัญในระยะการเจริญเติบโตและการออกดอกของพืช
- มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการย่อยธาตุไนโตรเจน
- เป็นตัวช่วยลดการหายในของพืช
- เป็นตัวช่วยเคลื่อนย้ายน้ำตาลจากใบไปสู่ผล

การแสดงอาการของพืชที่ขาดธาตุแคลเซียม
ใบอ่อนที่แตกออกมาใหม่จะหดสั้นและเหี่ยว แม้ว่าใบเก่าจะมีธาตุแคลเซียมอยู่ เนื่องจากธาตุแคลเซียมไม่เคลื่อนย้ายจากใบเก่าสู่ใบใหม่ ใบอ่อนที่ขาดธาตุแคลเซียมจะมีสีเขียวแต่ปลายใบจะเหลือง และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและจะตายในที่สุด

ถ้าขาดธาตุแคลเซียมที่บริเวณขั้วหรือข้อต่อของผลจะทำให้เกิดแก๊สเอธีลีน(Ethylene) ทำให้ผลร่วง

พืชหลายชนิดที่ขาดธาตุแคลเซียม เช่น มะเขือเทศ แตงโม พริก แตงกวา จะเกิดการ
- เน่าที่ส่วนล่างผล,
- ในผักขึ้นฉ่ายจะแสดงอาการไส้ดำ,
- ในแครอดจะแสดงอาการฟ่ามที่หัว,
- ในแอปเปิลจะมีรสขม,
- ในมันฝรั่งจะแสดงอาการเป็นสีน้ำตาลบริเวณกลางหัว,
- ในพืชลงหัวต่าง ๆ เช่น ผักกาดหัว (หัวไชเท้า) หอม กระเทียม จะแสดงอาการไม่ลงหัว หรือลงหัวแต่หัวจะไม่สมบูรณ์

ในพืชไร่ ต้นจะแตกเป็นพุ่มแคระเหมือนพัด แสดงอาการที่ราก คือ รากจะสั้น โตหนามีสีน้ำตาล ดูดอาหารไม่ปกติ

ในระยะพืชออกดอก ติดผล ถ้าพืชขาดธาตุแคลเซียม ตาดอกและกลีบดอกจะไม่พัฒนา ดอกและผลจะร่วง

สภาพแวดล้อมที่พืชขาดธาตุแคลเซียม
ในดินที่มีค่าของความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ระหว่าง 4.0-7.0 และ 8.5 ขึ้นไป เมื่อให้ธาตุไนโตรเจนมาก เมื่อให้ธาตุโพแทสเซียมมาก เมื่อพืชแตกใบอ่อน แม้ว่าใบแก่จะมีธาตุแคลเซียม ทั้งนี้เนื่องจากธาตุแคลเซียมไม่เคลื่อนย้ายในพืช เมื่อพืชแตกใบอ่อนต้องให้ธาตุแคลเซียมอยู่เสมอ

ธาตุแคลเซียมจะมีความสมดุลกับธาตุโบรอนและธาตุแมกนีเซียมในพืช ถ้าไม่มีความสมดุลระหว่างธาตุทั้ง 3 ชนิด พืชจะแสดงอาการผิดปกติ

ธาตุแคลเซียมจะสูญเสียไปในดิน กลายเป็นแคลเซียมคาร์บอเนต ซึ่งพืชไม่สามารถดูดไปใช้ได้

ในดินที่เป็นกรด จะตรึงธาตุแคลเซียมไว้ ทำให้พืชไม่สามารถดูดไปใช้ได้


http://www.thaigoodview.com/node/31278

----------------------------------------------------------------------------------------------



2. บทบาทของแคลเซียม

เซลล์พืชดูดแคลเซียมเข้าไปในรูปของแคลเซียมไอออน (Ca2+) และอยู่ในเซลล์สองลักษณะ คือ
1) เป็นองค์ประกอบของสารต่างๆ และ
2) คงอยู่ในรูปของไอออน

สำหรับบทบาทของแคลเซียมในพืช มีดังนี้
2.2.1 เป็นองค์ประกอบในผนังเซลล์
แคลเซียมเป็นองค์ประกอบของสารในมิดเดิลลาเมลลาซึ่งเป็นชั้นบาง ๆ และอยู่กึ่งกลางระหว่างผนังเซลล์ของเซลล์ที่ติดกัน แต่มีองค์ประกอบทางเคมีแตกต่างจากผนังซึ่งเป็นเซลลูโลส มิดเดิลลาเมลลามีสารเพ็กทิกอยู่ส่วนหนึ่ง สารในกลุ่มนี้คือกรดเพ็กทิกกับอนุพันธ์ของกรดดังกล่าว แต่ที่มากที่สุดคือเกลือเพ็กเทต ซึ่งได้แก่เกลือแคลเซียมเพ็กเทตและแมกนีเซียมเพ็กเทต โดยไอออนทั้งสองทำหน้าที่เชื่อมไขว้และยึดโยงโมเลกุลของกรดเพกทิกเข้าด้วยกัน ดังนั้นแคลเซียมร่วมกับแมกนีเซียมจึงช่วยให้ผนังเซลล์แข็งแรง และมีความยืดหยุ่นด้วย

ภาพที่ 12 แคลเซียมในมิดเดิลลาเมลลา

2.2.2 ส่งเสริมการปฏิสนธิ (fertilization)
หลังจากการถ่ายเรณูบนยอดเกสรเพศเมีย เรณูเจริญและยืดตัวหลอดเรณูในก้านเกสรเพศเมียได้ตามปรกติ เมื่อมีแคลเซียมในก้านเกสรเพศเมีย เพิ่มขึ้นตามระยะทางจากยอดเกสรเพศเมีย เนื่องจากหลอดเรณูยืดตัวไปยังทิศที่ความเข้มข้นของแคลเซียมสูงขึ้นเป็นลำดับ

2.2.3 ส่งเสริมการงอกของเมล็ด
แคลเซียมร่วมกับกรดจิบเบอร์เรลลิก ส่งเสริมการงอกของเมล็ดในสองด้านคือ
- เป็นโคแฟกเตอร์ของเอนไซม์แอลฟา-อะไมเลสซึ่งมีหน้าที่ย่อยแป้ง โดยทำให้โมเลกุลของแป้งถูกทอนให้สั้นลง จึงนับเป็นเอนไซม์ชนิดหนึ่งมีบทบาทสำคัญในการย่อยแป้งในเอนโดสเปอร์มของเมล็ด ให้มีขนาดของโมเลกุลเล็กเพื่อใช้ในกระบวนการหายใจ ต่อจากนั้นก็นำเอทีพีที่ได้มาเป็นประโยชน์เพื่อสังเคราะห์สารต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการงอกของเมล็ดและการเจริญเติบโตของต้นอ่อน และ

- ช่วยในการยืดตัวของโคลีออพไทล์ ที่งอกมาจากเมล็ดพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ซึ่งเป็นบทบาทร่วมกันของออกซินกับแคลเซียม

2.2.4 ทำให้เยื่อมีเสถียรภาพ
แคลเซียมทำให้เยื่อหุ้มเซลล์และออแกเนลล์ต่างๆมีเสถียรภาพ โดยเป็นสะพานเชื่อมระหว่างฟอสเฟตกับหมู่คาร์บอกซิลของฟอสโฟลิพิดและโปรตีนตรงบริเวณผิวของเยื่อ จึงช่วย
- กำหนดการคัดเลือกชนิดและปริมาณไอออนที่ยอมให้ผ่านเยื่อ
- ป้องกันการรั่วไหลของสารออกจากเซลล์ หากพืชขาดธาตุนี้รุนแรงจนโครงสร้างของเยื่อเสื่อมสลาย จะมีสารต่าง ๆ ที่มีขนาดโมเลกุลเล็กรั่วไหลออกมาจากเซลล์มากจนเซลล์ตาย และ
- ป้องกันความเสื่อมของเยื่อเมื่อพืชประสบกับภาวะหนาวจัดหรือขาดออกซิเจน

2.2.5 รักษาสมดุลของแคตไอออน-แอนไอออน
แคลเซียมในใบพืชส่วนใหญ่อยู่ในแวคิวโอล ทำหน้าที่รักษาดุลยภาพของแคตไอออนกับแอนไอออนทั้งประเภทอนินทรีย์และอินทรีย์ สำหรับพืชที่ชอบสังเคราะห์ออกซาเลตเมื่อมีการรีดิวซ์ไนเทรตก็สะสมแคลเซียมออกซาเลตไว้ในแวคิวโอลเช่นเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อรักษาความเข้มข้นของแคลเซียมอิสระในไซโทซอล(cytosol) ให้ต่ำอยู่เสมอ

2.2.6 การควบคุมศักย์ออสโมซิส
แคลเซียมมีบทบาทในการควบคุมศักย์ออสโมซิสของเซลล์ดังนี้
- การสังเคราะห์แคลเซียมออกซาเลตซึ่งละลายได้น้อยไว้ในแวคิวโอลเป็นวิธีควบคุมมิให้ความดันออสโมซิส ของแวคิวโอลเพิ่มมากเกินไป
- ควบคุมศักย์ออสโมซิสโดยทางอ้อมในการปิดและเปิดปากใบ กล่าวคือแคลเซียมกระตุ้นการผ่านของโพแทสเซียมเข้าสู่เซลล์คุมเมื่อใบพืชได้รับแสง และให้โพแทสเซียมออกจากเซลล์คุมเมื่อใบอยู่ในที่มืด
- แคลเซียมและโพแทสเซียมเกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ใบเข้านอน (nyctinastic movement) ของใบพืชตระกูลถั่ว และใบสะดุ้ง (seismonastic movement) ของใบไมยราพย์

2.2.7 เป็นตัวนำรหัสที่สอง (second messenger)
แคลเซียมเป็นตัวนำรหัสที่สองของซลล์ เนื่องจาก
- ตามปรกติแคลเซียมไอออนอิสระในไซโทซอลมีความเข้มข้นระหว่าง 0.1-0.2 ไมโครโมลาร์ แต่ในส่วนอื่น ๆ ของเซลล์เดียวกันต้องมีความเข้มข้นสูง
- เมื่อมีสัญญาณจากภายนอก เช่น IAA แสง เชื้อโรค การขาดน้ำ หรือการเกิดบาดแผล ไอออนนี้จากส่วนอื่นจะเข้าสู่ไซโทซอลทำให้ความเข้มข้นสูงขึ้น โปรตีนชนิดหนึ่งในไซโทซอล ชื่อแคลโมดูลิน (calmodulin) จะจับแคลเซียมไอออนดังกล่าวไว้ ทำให้แคลโมดูลินกลายเป็นฟอร์มที่มีฤทธิ์ สามารถกระตุ้นกิจกรรมของเอนไซม์บางชนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นเมแทบอลิซึมของเซลล์จึงเปลี่ยนแปลง เพื่อตอบสนองต่อสัญญาณจากสิ่งเร้าภายนอก จึงถือว่าแคลเซียมเป็นตัวนำรหัสที่สอง

2.2.8 ควบคุมการตอบสนองต่อความถ่วง
แคลเซียมและออกซินมีบทบาทในการควบคุม ให้รากพืชมีทิศทางในการเจริญลงไปในดิน โดยปรับให้การยืดตัวของเซลล์คอร์เท็กซ์ในรากมีความสมดุล ดังนั้น รากจึงไชชอนลงไปถึงดินล่างอย่างต่อเนื่อง



http://www.dryongyuth.com/journal/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8.pdf

------------------------------------------------------------------------------------------


3. ธาตุแคลเซียม

เป็นธาตุที่ต้นพืชนำไปใช้เพื่อการเจริญเติบโตในตัวพืช ช่วยส่งเสริมการนำธาตุไนโตรเจนจากดินมาใช้เห้เป็นประโยชน์มากขึ้น ในระยะออกดอกและระยะที่สร้างเมล็ดพืชจะมีความจำเป็นมาก เพราะธาตุแคลเซียมจะมีส่วนในการเคลื่อนย้ายและเก็บรักษาคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนในพืช เพื่อนำไปใช้ในการสร้างผลและเมล็ดต่อไป

อาการของพืชที่ขาดแคลเซียมจะพบมากในบริเวณยอด และปลายราก ยอดอ่อนจะแห้งตาย และใบจะมีการการม้วนงอไปข้างหน้าและขาดเป็นริ้ว ๆ ซึ่งจะเกิดที่ใบอ่อนก่อน แก้ไขโดยการใส่ปูนขาว หินปูนบด หินปูนเผา เพื่อปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของดิน หรือการใส่ปุ๋ยคอกบำรุงดิน


http://www.trgreen.co.th/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=21

--------------------------------------------------------------------------------------------------


4. หน้าที่ธาตุแคลเซียม ต่อพืช

หน้าที่ของ Ca (แคลเซียม) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของผนังเซลล์ ทำหน้าทีคล้ายกาวเชื่อมผนังเซลล์ให้ติดกัน ซึ่งทำให้เซลล์มีความแข็งแรง ดังนั้น เป็นตัวทำให้ผลและใบแข็ง ถ้าขาดธาตุนี้จะทำให้ส่วนของเซลล์หลวมอ่อนแอ และตายเป็นสีน้ำตาลหรือดำ

http://www.art2bempire.com/board/index.php?topic=55320.0;wap2

---------------------------------------------------------------------------------------------------


5. ธาตุแคลเซียมในดิน (Ca)


ธาตุแคลเซียมเป็นธาตุที่มีความจำเป็นต่อพืชธาตุหนึ่ง โดยถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มของธาตุรอง ซึ่งมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช รองมาจากธาตุอาหารหลัก เนื่องจากธาตุแคลเซียมเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของผนังเซลล์ ที่อยู่ในรูปของแคลเซียมเพคเตต (calcium pectate) ช่วยในการแบ่งเซลล์ ช่วยในการสร้างโปรตีนและช่วยในการทำงานของเอนไซม์หลายชนิดเช่น ฟอสฟอไลเปส (phospholipase) รูปของแคลเซียมในดิน แคลเซียมที่อยู่ในดินแบ่งออกเป็น 2 รูปใหญ่ๆคือ อินทรีย์แคลเซียม พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้น้อย ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของไพตินและ แคลเซียมเพคเตต ถ้าพืชสามารถนำเอาไปใช้ประโยชน์ได้จะต้องถูกจุลินทรีย์ย่อยสลายเปลี่ยนจากอินทรีย์แคลเซียมไปเป็นอนินทรีย์แคลเซียมซึ่งอยู่ในรูปของแคลเซียมไอออน และ อนินทรีย์แคลเซียมประกอบด้วย

1. คัลเซียมที่ละลายยากได้แก่คัลเซียมที่มาจากหินและแร่ เช่น แร่ เฟลด์สปาร์ (Na – Ca AlSi3O8) อะพาไทต์ [Ca5(PO4)3 (F Cl ,OH)] แคลไซต์ (CaCO3), โดโลไมต์ [CaMg (CO3)2] และยิปซั่ม (CaSO4) เป็นต้น เมื่อแร่ผุพังสลายตัวจะให้คัลเซียมไอออน ( Ca2+ ) ลงไปในดิน พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

2. คัลเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ คัลเซียมประเภทนี้จะถูกยึดติดบริเวณผิวของคอลลอยด์ เมื่อคัลเซียมไอออนในสารละลายในดินสูญหายไปโดยพืชหรือจุลินทรีย์คัลเซียมชนิดนี้จะถูกปลดปล่อยออกมาเพื่อรักษาภาวะสมดุล ดังสมการ

3. สารละลายคัลเซียมไอออนในดิน พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ดินที่มีโดยตรง ดินที่มีธาตุคัลเซียมสะสมอยู่มาก ได้แก่ ดินเหนียวประเภทดินด่างจัด (calcareous soil) ส่วนใหญ่พบในรูปของคัลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) ซึ่งละลายน้ำได้ยาก พืชนำเอาไปใช้ประโยชน์ได้น้อย แต่ถ้าดินมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อยู่มาก และมีความชื้น คัลเซียมคาร์บอเนตก็จะเปลี่ยนไปอยู่ในรูปที่ละลายน้ำได้ง่ายขึ้น ดังสมการ

คาร์บอนไดออกไซด์บางส่วนไปทำปฏิกิริยากับน้ำได้แก่ กรดคาร์บอนิก ดังสมการ

ไฮโดรเจนไอออน ที่ได้จะไปไล่ที่คัลเซียมไอออน ที่ดูดซับบริเวณผิวของคอลลอยด์ดินให้หลุดออกมาอยู่ในสารละลาย ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อพืช ในดินทรายที่เป็นกรดจัดหรือดินพีต (peat) ที่เป็นกรดจัดจะมีคัลเซียมไอออนอยู่น้อยมาก


ปัจจัยที่ควบคุมความเป็นประโยชน์ต่อพืชของคัลเซียม
คัลเซียมที่เป็นประโยชน์ต่อพืชจะอยู่ในรูปของคัลเซียมไอออน ซึ่งสามารถแลกเปลี่ยนระหว่างคัลเซียมในสารละลายและคัลเซียมที่ยึดเหนียวอยู่บริเวณผิวของแร่ดินเหนียว ปัจจัยที่ควบคุมความเป็นประโยชน์ต่อพืชของคัลเซียมมีดังต่อไปนี้

1. ปริมาณของคัลเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ในดิน พบในดินที่มีเนื้อค่อนข้างละเอียด เช่น ดินเหนียว และดินเหนียวร่วน

2. ชนิดและปริมาณของแร่ดินเหนียว ดินเหนียวประเภท 1 : 1 สามารถดูดยึดคัลเซียมไอออนและ รูปที่ตรึงไว้ ด้วยแรงที่น้อยกว่าดินเหนียวประเภท 2 : 1 ทำให้ คัลเซียมไอออนละลายอยู่ในสารละลายได้มากกว่า

3. ชนิดของไอออนบวกที่ดูดยึดที่ผิวของคอลลอยด์ในดินไอออนบวก จะถูกคอลลอยด์ดูดยึดด้วยแรงจากมากไปหาน้อย ดังนี้ คือ ไฮโดรเจนไอออน (H+) อลูมิเนียมไอออน (Al3+) มากกว่า คัลเซียมไอออน (Ca2+) มากกว่า แมกนีเซียม ( Mg2+) มากกว่า โปตัสเซียมไอออน (K+) มากกว่า โซเดียมไอออน (Na+)

กรณีที่อนุภาคของดินเหนียวมีไอออนพวก ไฮโดรเจน อลูมิเนียม และ คัลเซียม ถูกดูดยึดอยู่บริเวณผิว เมื่อสารละลายดินได้รับไอออนบวกเพิ่มขึ้น เช่น ใส่ปุ๋ยโปตัสเซียมทำให้ดินมีความเป็นไปของ โปตัสเซียมไอออนสูงขึ้น โปตัสเซียมไอออนบางส่วนจะไปไล่ที่หรือแทนที่ไอออนบวกที่ยึดติดกับอนุภาคของดินเหนียว โดยไปไล่ไอออนที่มีแรงดูดยึดน้อยที่สุด ดังรูปภาพที่ 9.2

ภาพที่ 9. 2 โปตัสเซียม ไอออน เข้าไปไล่ที่ไอออนบวกชนิดอื่นบริเวณผิวของ
อนุภาคดินเหนียว


อาการที่พืชขาดธาตุคัลเซียม
จะทำให้ใบอ่อนเกิดการบิดเบี้ยว ม้วนงอ ใบจะเหลืองซีด และใบจะเล็ก การเจริญเติบโตของรากลดลง และทำให้โครงสร้างของลำต้นอ่อนแอลง ปกติดินจะไม่ค่อยขาดธาตุคัลเซียมอยู่แล้ว กรณีที่ดินมีคัลเซียมอยู่มากเกินไป อาจจะไปยับยั้งความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืชบางชนิดในดินได้ เช่น ธาตุโปตัสเซียม และจุลธาตุอีกหลายธาตุ


การจัดการเกี่ยวกับธาตุคัลเซียมในดิน
ธาตุคัลเซียมพืชต้องการในปริมาณที่น้อยกว่า ธาตุอาหารหลักประกอบด้วยไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโปตัสเซียม โดยปกติแล้วดินมักจะไม่ค่อยขาด เนื่องจากธาตุคัลเซียมมาจากการสลายตัวและผุพังของหินและแร่ ตะกอนที่ทับถมมากับน้ำ หรือติดมากับปุ๋ยที่ใส่ให้พืช ตลอดจนการปรับดินกรดโดยใช้ปูนขาวและปูนโดโลไมต์ (CaCO3) , [Ca Mg ( CO3)2 ] และธาตุคัลเซียมอาจจะสูญเสียไปจากดินในส่วนที่ติดไปกับผลผลิตของพืชหรือกระบวนการชะล้าง (leaching) เมื่อดินขาดธาตุคัลเซียม วิธีที่นิยมใช้ในการแก้ไขดินที่ขาดธาตุคัลเซียมในปัจจุบันได้แก่ ใส่ปุ๋ยเคมีประเภทคัลเซียมไนเตรต [Ca(NO3)2] มีคัลเซียมเป็นองค์ประกอบ 19 เปอร์เซ็นต์ ซิงค์เกิ้ลซูเปอร์ฟอสเฟต (Single superphosphate) มีคัลเซียมเป็นองค์ประกอบ 18 – 21 เปอร์เซนต์ ทริปเบิ้ลซูเปอร์ฟอสเฟต (Triple superphosphate) มีคัลเซียมเป็นองค์ประกอบ 12 – 14 เปอร์เซนต์


ปูนขาวจะมีธาตุแคลเซียมอยู่ปริมาณมาก
ปูนขาว มีชื่อเรียกทางเคมีว่า แคลเซียมออกไซด์ (calcium oxide) และมีสูตรทางเคมีคือ CaO ลักษณะโดยทั่วไปเป็นผงสีขาว มีฤทธิ์เป็นด่าง กัดกร่อนได้ โดยปกติแล้วจะผลิตแคลเซียมออกไซด์, CaO จากการเผาวัสดุใดๆ ที่มีส่วนผสมของหินปูน (แคลเซียมคาร์บอเนต, CaCO3) เป็นองค์ประกอบ ณ อุณหภูมิมากกว่า 825 องศาเซลเซียส เรียกกระบวนการเผานี้ว่า calcination และจะมีการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ออกมา ปูนขาวนี้ สามารถทำปฏิกิริยากับ CO2 ที่อยู่ในอากาศ โดยอาศัยระยะเวลาที่นานพอ กลับกลายเป็น CaCO3 ได้ ดังนั้นการเก็บรักษาต้องระวังไม่ให้อากาศสามารถผ่านเข้าไปในภาชนะที่ใช้จัดเก็บได้


http://charitphomkum-amin999.blogspot.com/2011/09/blog-post_3017.html

--------------------------------------------------------------------------------------------------

6. ธาตุแคลเซียม – CALCIUM

หน้าที่สำคัญของธาตุแคลเซียมในพืช มีหน้าที่โดยตรงเกี่ยวกับโครงสร้างของผลไม้
- ช่วยเสริมสร้างเซลล์และการแบ่งเซลล์ของพืช ซึ่งพืชต้องการอย่างต่อเนื่อง
- ช่วยในการสร้างเซลล์และโครงสร้างของเซลล์ของพืช
- ช่วยให้เซลล์ติดต่อกัน และจะช่วยเชื่อมผนังเซลล์ให้เป็นรูปร่าง และขนาดให้เป็นไปตามลักษณะของพืชแต่ละชนิด
- ช่วยเพิ่มการติดผล
- ช่วยให้สีเนื้อและสีผิวของผลสดใส
- ช่วยลดการเกิดเนื้อของผลแข็งกระด้าง และเนื้อแฉะ
- ช่วยป้องกัน ผลร่วง ผลแตก
- มีบาทบาทที่สำคัญในระยะการเจริญเติบโตและการออกดอกของพืช
- มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการย่อยธาตุไนโตรเจน
- เป็นตัวช่วยลดการหายในของพืช
- เป็นตัวช่วยเคลื่อนย้ายน้ำตาลจากใบไปสู่ผล

การแสดงอาการของพืชที่ขาดธาตุแคลเซียม
- ใบอ่อนที่แตกออกมาใหม่จะหดสั้นและเหี่ยว แม้ว่าใบเก่าจะมีธาตุแคลเซียมอยู่ เนื่องจากธาตุแคลเซียมไม่เคลื่อนย้ายจากใบเก่าสู่ใบใหม่

- ใบอ่อนที่ขาดธาตุแคลเซียมจะมีสีเขียวแต่ปลายใบจะเหลือง และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและจะตายในที่สุด

ถ้าขาดธาตุแคลเซียมที่บริเวณขั้วหรือข้อต่อของผลจะทำให้เกิดแก๊สเอธีลีน(Ethylene) เป็นเหตุให้ผลร่วง

พืชหลายชนิดที่ขาดธาตุแคลเซียม เช่น มะเขือเทศ แตงโม พริก แตงกวา จะเกิดการเน่าที่ส่วนล่างผล, ในผักขึ้นฉ่ายจะแสดงอาการไส้ดำ, ในแครอดจะแสดงอาการฟ่ามที่หัว, ในแอปเปิลจะมีรสขม, ในมันฝรั่งจะแสดงอาการเป็นสีน้ำตาลบริเวณกลางหัว,

ในพืชลงหัวต่าง ๆ เช่น ผักกาดหัว(หัวไชเท้า) หอม กระเทียม จะแสดงอาการไม่ลงหัว หรือลงหัวแต่หัวจะไม่สมบูรณ์

ในพืชไร่ ต้นจะแตกเป็นพุ่มแคระเหมือนพัด แสดงอาการที่ราก คือ รากจะสั้น โตหนามีสีน้ำตาล ดูดอาหารไม่ปกติในระยะพืชออกดอก ติดผล ถ้าพืชขาดธาตุแคลเซียม ตาดอกและกลีบดอกจะไม่พัฒนา ดอกและผลจะร่วง

สภาพแวดล้อมที่พืชขาดธาตุแคลเซียม
ในดินที่มีค่าของความเป็นกรดเป็นด่าง(pH) ระหว่าง 4.0-7.0 และ 8.5 ขึ้นไป
- เมื่อให้ธาตุไนโตรเจนมาก
- เมื่อให้ธาตุโพแทสเซียมมาก
-เมื่อพืชแตกใบอ่อน แม้ว่าใบแก่จะมีธาตุแคลเซียม ทั้งนี้เนื่องจากธาตุแคลเซียมไม่เคลื่อนย้ายในพืช
- เมื่อพืชแตกใบอ่อนต้องให้ธาตุแคลเซียมอยู่เสมอ

ธาตุแคลเซียมจะมีความสมดุลกับธาตุโบรอนและธาตุแมกนีเซียมในพืช ถ้าไม่มีความสมดุลระหว่างธาตุทั้ง 3 ชนิด พืชจะแสดงอาการผิดปกติ

ธาตุแคลเซียมจะสูญเสียไปในดิน กลายเป็นแคลเซียมคาร์บอเนต ซึ่งพืชไม่สามารถดูดไปใช้ได้ในดินที่เป็นกรด จะตรึงธาตุแคลเซียมไว้ ทำให้พืชไม่สามารถดูดไปใช้ได้



http://kasetonline.com/2011/05/04/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B9%83%E0%B8%99/

--------------------------------------------------------------------------------------------

7. ความสำคัญของธาตุแคลเซี่ยม


ธาตุแคลเซี่ยม มีหน้าที่ต่างๆในพืชดังนี้คือ
1) เป็นองค์ประกอบในสาร calcium pectate ซึ่งจำเป็นในการแบ่งเซลล์ของพืช
2) เป็นตัวแก้ฤทธิ์ของสารพิษต่างๆ เช่น กรดอินทรีย์
3) เป็นตัวต่อต้านฤทธิ์ของสารออกซิน (auxin) ซึ่งเป็นสารเร่งการขยายตัวของเซลล์ให้ยาวออก ถ้าไม่มีแคลเซียมแล้ว จะทำให้เซลล์ยาวผิดปกติ
4) ช่วยในการสร้างโปรตีน เนื่องจากแคลเซี่ยมทำให้พืชดูดไนโตรเจนได้มากขึ้น
5) ช่วยในการเคลื่อนย้ายแป้งและโปรตีนในขณะที่พืชกำลังสร้างเมล็ด
6) ส่งเสริมการเกิดปมของรากถั่ว

รูปของธาตุแคลเซี่ยมในดิน
ก) Mineral forms ได้แก่แคลเซี่ยมที่เป็นองค์ประกอบในหินแร่ต่างๆ เช่น แคลไซท์ โดโลไมท์
ข) แคลเซี่ยมในรูปของเกลือ เช่น CaCO3 CaSO4 Ca(PO4) 2 เป็นต้น
ค) Adsorbed calcium ได้แก่แคลเซี่ยมที่ถูกดูดยึดไว้ที่ผิวของสารคอลลอยด์ ซึ่งเป็นส่วนที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ หรือถูกไล่ที่ออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชได้
ง) Ca++ ใน soil solution

รูปของแคลเซี่ยมที่พืชใช้ได้ คือ Calcium ion (Ca++) ใน soil solution

การแก้ไขดินที่ขาดแคลเซี่ยม
- ใส่ปุ๋ยคอก
- ใส่ปูน


http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=0acd30efb70db5eb

----------------------------------------------------------------------------------------------





.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 31/12/2011 7:09 pm, แก้ไขทั้งหมด 10 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 27/12/2011 4:51 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

...
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©