-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-พันธุ์ข้าว กข 15 (RD 15) น้อง กข 105 .....
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - พันธุ์ข้าว กข 15 (RD 15) น้อง กข 105 .....
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

พันธุ์ข้าว กข 15 (RD 15) น้อง กข 105 .....

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 17/06/2011 6:29 pm    ชื่อกระทู้: พันธุ์ข้าว กข 15 (RD 15) น้อง กข 105 ..... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

พันธุ์ข้าว กข 15 (RD 15)


ชื่อพันธุ์ - กข15 (RD15)
ชนิด - ข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์

ได้จากการปรับปรุงพันธุ์ โดยการใช้รังสีชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ โดยใช้รังสีแกมมาปริมาณ 15 กิโลแรด อาบเมล็ดพันธุ์ข้าว
ขาวดอกมะลิ 105 ในปี พ.ศ. 2508 แล้วนำมาปลูกคัดเลือกที่สถานีทดลองข้าวต่างๆ ในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จนได้สายพันธุ์ KDML 105'65G1U-45


การรับรองพันธุ์
คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2521





ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 140 เซนติเมตร
- ไวต่อช่วงแสง
- อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 10 พฤศจิกายน
- ลำต้นและใบสีเขียวอ่อน ใบธงทำมุมกับคอรวง รวงอยู่เหนือใบ ใบยาว ค่อนข้างแคบ
- เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ปลายบิดงอเล็กน้อย
- ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 7 สัปดาห์
- เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.1 x 7.5 x 1.7 มิลลิเมตร
- ปริมาณอมิโลส 14-17 %
- คุณภาพข้าวสุก นุ่ม มีกลิ่นหอม

ผลผลิต
- ประมาณ 560 กิโลกรัมต่อไร่

ลักษณะเด่น
- ทนแล้งได้ดีพอสมควร
- อายุเบา เก็บเกี่ยวได้เร็ว
- คุณภาพการหุงต้ม นุ่ม มีกลิ่นหอม
- คุณภาพการสีดี เมล็ดข้าวสารใส แกร่ง เรียวยาว
- นวดง่าย
- ต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล

ข้อควรระวัง
- ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง โรคไหม้
- ไม่ต้านทานแมลงบั่ว เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและหนอนกอ
- ล้มง่าย ฟางอ่อน เมล็ดร่วงง่าย
-

ไม่เหมาะกับนาลุ่ม ซึ่งระบายน้ำไม่ได้ เพราะข้าวจะสุกในระยะที่น้ำยังขังอยู่ในนา ทำให้เก็บเกี่ยวลำบาก

พื้นที่แนะนำ
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ






http://kkn-rsc.ricethailand.go.th/rice/pedigree/01/RD15.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 17/06/2011 6:43 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 17/06/2011 6:42 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ประวัติ-ข้าวหอมมะลิ





ข้าวหอมมะลิ (Thai jasmine rice) (Official name "Thai Hom Mali") เป็นสายพันธุ์ข้าวที่มีถิ่นกำเนิดในไทย มีลักษณะกลิ่นหอม
คล้ายใบเตย เป็นพันธุ์ข้าวที่ปลูกที่ไหนในโลกไม่ได้คุณภาพดีเท่ากับปลูกในไทย และเป็นพันธุ์ข้าวที่ทำให้ข้าวไทยเป็นสินค้าส่งออกที่รู้
จักไปทั่วโลก


ประวัติ
เมื่อปี พ.ศ. 2497 นายสุนทร สีหเนิน พนักงานข้าว จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้รวบรวมพันธุ์ข้าวหอมในเขตอำเภอบางคล้า ได้จำนวน 199 รวง
แล้ว ดร.ครุย บุณยสิงห์ (ผู้อำนวยการกองบำรุงพันธุ์ข้าวในขณะนั้น)ได้ส่งไปปลูกคัดพันธุ์บริสุทธิ์และเปรียบเทียบพันธุ์ที่ สถานีทดลอง
ข้าวโคกสำโรง (ขณะนี้เป็นสถานีข้าวลพบุรี) ดำเนินการคัดพันธุ์โดยนักวิชาการเกษตรชื่อนายมังกร จูมทอง ภายใต้การดูและของ
นายโอภาส พลศิลป์ หัวหน้าสถานีทดลองข้าวโคกสำโรง

จนกระทั่งปี พ.ศ. 2502 ได้พันธุ์บริสุทธิ์ข้าวขาวดอกมะลิ 4-2-105 และคณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ข้าวได้อนุมัติให้เป็นพันธุ์ส่งเสริม
แก่เกษตรกร เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ.2502 โดยเกษตรกรทั่วไปเรียกว่า [ขาวดอกมะลิ 105] ต่อมาได้มีการปรับ
ปรุงพันธุ์ข้าว [ขาวดอกมะลิ 105] จนได้ข้าวพันธุ์ [กข 15] ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ประกาศให้ ข้าวทั้ง 2 พันธุ์เป็นข้าวหอมมะลิไทย





หอมมะลิในปัจจุบัน



ที่นิยมปลูกและบริโภคกันอย่างแพร่หลายคือพันธุ์ ขาวดอกมะลิ 105 และ พันธุ์ กข.15 ซึ่งปัจจุบันราคาข้าวหอมมะลิราคาตกต่ำลงมา
เรื่อยๆ เนื่องจาก ข้าวพันธุ์ปทุมธานี1 ให้ผลผลิตสูงกว่าข้าวหอมมะลิ 105 โดยผลผลิตต่อไร่เฉลี่ย 80-100 ถัง/ไร่ ปลูกได้หลายครั้ง
ต่อปี และสามารถปลูกได้ดีในที่ลุ่มบริเวณที่ราบภาคกลาง ขณะที่ข้าวหอมมะลิ 105 นั้นจะให้ผลผลิตต่อไร่เพียง 30-40 ถัง/ไร่ และปลูก
ได้ดีในบางพื้นที่เท่านั้น ทางรัฐบาลจึงส่งเสริมให้ชาวนา เน้นการปลูกข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 มากกว่าพันธุ์ปทุมธานี 1 แม้ว่าจะมีความ
หอมคล้ายข้าวหอมมะลิ แต่ไม่ใช่ข้าวหอมมะลิ

ลักษณะจำเพาะของกลิ่นหอมมะลิ
ความหอมของข้าวหอมมะลิ เกิดจากสารระเหยชื่อ 2-acetyl-1-pyroline ซึ่งเป็นสารที่ระเหยหายไปได้ การรักษาความหอมของ
ข้าวหอมมะลิให้คงอยู่นานนั้นจึงควรเก็บข้าวไว้ในที่เย็น อุณหภูมิประมาณ 15 องศาเซลเซียส เก็บ ข้าวเปลือกที่มีความชื้นต่ำ 14-15%
ลดความชื้นข้าวเปลือกที่อุณหภูมิไม่สูงเกินไป นักการเกษตรกรทางท่านกล่าวว่า การใช้ปุ๋ยโปตัสเซียมในการปลูก มีแนวโน้มช่วยให้
ข้าวมีกลิ่นหอมมากขึ้น (ยังไม่มีข้อมูลยืนยัน)



เกรดในการจำหน่าย
กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ได้แบ่งชั้นของข้าวหอมมะลิดังนี้
1. ข้าวหอมมะลิ ชั้น 1 (ดีพิเศษ) มีข้าวชนิดอื่นปนได้ไม่เกิน 5%
2. ข้าวหอมมะลิ ชั้น 2 (ดี) มีข้าวชนิดอื่นปนได้ไม่เกิน 15%
3. ข้าวหอมมะลิ ชั้น 3 (ธรรมดา) มีข้าวชนิดอื่นปนได้ไม่เกิน 30%






การส่งออก
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2470 เป็นต้นมา ปริมาณการส่งออกข้าวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงระดับ 2 ล้านตันในปี พ.ศ. 2520 (ช่วง 50 ปี) หรือมีอัตรา
เพิ่มเฉลี่ย 1 ล้านตันต่อ 25 ปี

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521-2545 การส่งออกข้าวเพิ่มขึ้นเป็น 5 ล้านตัน หรือเฉลี่ย 1 ล้านตันทุก ๆ 5 ปี

การส่งออกข้าวไทยที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะนี้ดำเนินไปพร้อมกับการเพิ่มขึ้นของประชากรจาก 1 ล้านคนในปี พ.ศ. 2470 มา
เป็น 63 ล้านคนในปี พ.ศ. 2547 และ

พื้นที่ปลูกข้าวของไทยก็เพิ่มขึ้น 16 ล้านไร่ในปี พ.ศ. 2470 มาเป็น 61 ล้านไร่ในปี พ.ศ. 2547






การส่งออกข้าวไทยในปัจจุบัน เป็นการค้าแบบเสรีในลักษณะที่ผู้ส่งออกตกลงกับผู้ซื้อใน ต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีลักษณะการส่งออก
ข้าวแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล แต่ก็ไม่มากนักเมื่อเปรียบเทียบกับเอกชน โดยในปี พ.ศ. 2544 เอกชนส่งออกถึง 7,237,708 ตัน คิดเป็น
96.24 เปอร์เซ็นต์ของการส่งออกข้าวทั้งหมด ขณะที่รัฐบาลส่งออกเพียง 282,970 ตัน คิดเป็น 3.76 เปอร์เซ็นต์ของการส่ง
ออก และในปี พ.ศ. 2546 ปริมาณการส่งออกข้าวไทยทำสถิติสูงที่สุดถึง 7.597 ล้านตัน ทำรายได้ให้ประเทศ 76,368 ล้านบาท โดย
ส่งไปขายทั่วโลก 173 ประเทศ ตลาดหลักของ ข้าวไทยอยู่ในทวีปเอเชีย แอฟริกา ตะวันออกกลาง อเมริกา ยุโรป และโอเชียเนีย ตามลำดับ


http://www.hommali.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538856187&Ntype=1
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 17/06/2011 6:53 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สาระประโยชน์จากข้าวหอมมะลิ





สาระประโยชน์จากข้าวหอมมะลิ
คนไทยรับประทานข้าวเป็นอาหารหลักมาช้านาน ข้าวไทยมีมากมายหลายชนิดให้เลือกรับประทานตามความชอบของแต่ละบุคคล แต่มี
ข้าวไทยชนิดหนึ่งที่หลายคนอาจจะคิดว่าหารับประทานได้ยาก เพราะเนื่องด้วยราคาข้าวหอมมะลิมักจะถูกมองว่าจะอยู่ในกลุ่มผู้มีฐานะและ
ร้านอาหารหรูหราเท่านั้น

ซึ่งข้าวชนิดนี้ถูกขนามนามว่าข้าวหอมมะลิ ที่ถือได้ว่า มีคุณค่าทางสารอาหารและคุณค่าทางเมล็ดข้าวโดยเฉพาะข้าวที่มีชื่อว่า ข้าวสีนิล เป็น
ข้าวที่เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างลูกของข้าวเจ้าหอมนิล กับ ข้าวขาวดอกมะลิ 105

โดยการบริโภคข้าวไทยในปัจจุบัน คนไทยอาจไม่รู้และไม่เคยทราบว่าคนไทยบริโภคข้าวโดยเฉลี่ย 100 กิโลกรัมต่อปีต่อคน ถ้า
เราซื้อข้าวทั่วไปกิโลกรัมละ 15 บาท เราก็บริโภคข้าว 1,500 บาทต่อปี ซึ่งน้อยมากถ้าเรามาบริโภคข้าวหอมมะลิ กิโลกรัมละ 24
บาท ก็ 2,400 บาทต่อปี เพิ่มขึ้นมาเพียง 1,000 บาท หนึ่งพันนี้ไปอยู่กับชาวนาที่ได้ราคาข้าวที่ดีขึ้น"

ดังนั้น "ข้าวไทยถือเป็นสุดยอดของคุณภาพระดับโลกไม่มีประเทศไหนที่มีข้าวหอมมะลิเหมือนอย่างประเทศไทยไม่มีประเทศไหนที่มี
ข้าวเมล็ดยาวที่มีกลิ่นหอม ซึ่งเราตั้งชื่อว่าข้าวหอมมะลิ ถ้าพวกเราคนไทยร่วมกันบริโภคข้าวหอมมะลิมากขึ้น เกษตรกรก็จะปลูกข้าว
หอมมะลิมากขึ้น เขาก็จะมีรายได้สูงขึ้น และจะรักษาคุณภาพของข้าวได้ในระยะยาวถ้าเราพึ่งแต่ตลาดส่งออก แล้วคนไทยในประเทศ
ไม่บริโภคข้าวหอมมะลิ เกิดตลาดส่งออกมีปัญหาข้าวก็ขายไม่ออก แต่ถ้าคนไทยบริโภคข้าวหอมมะลิเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว ส่งออก
มากส่งออกน้อยตลาดของผู้ผลิตก็ไม่มีปัญหา

ซึ่งปัจจุบันข้าวหอมมะลิที่นิยมปลูกและบริโภคกันอย่างแพร่หลายคือ พันธุ์ ขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์ กข.15 แต่ราคาข้าวหอมมะลิ
ค่อนข้างตกต่ำลงมาเรื่อยๆ เนื่องจากข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 ให้ผลผลิตสูงกว่าข้าวหอมมะลิ 105 โดยให้ผลผลิตเฉลี่ย 80-100 ถังต่อไร่
ปลูกได้หลายครั้งต่อปี และสามารถปลูกได้ดีในที่ลุ่มบริเวณที่ราบภาคกลางขณะที่ข้าวหอมมะลิ 105 ให้ผลผลิตต่อไร่เพียง 30-40
ถังและปลูกได้ดีในบางพื้นที่เท่านั้น ทางรัฐบาลจึงส่งเสริมให้ชาวนาเน้นการปลูกข้าวพันธุ์ ปทุมธานี 1 มากกว่า

ซึ่งข้าวพันธุ์ 'ปทุมธานี 1' แม้ว่าจะมีความหอมคล้ายข้าวหอมมะลิ แต่ 'ไม่ใช่' ข้าวหอมมะลิ

นอกจากนี้เกรดในการจำหน่ายข้าวหอมมะลิที่ได้รับอนุญาตจาก กรมการค้าภายในกระทรวงพาณิชย์ ยังแบ่งชั้นข้าวหอมมะลิออกเป็น

ข้าวหอมมะลิชั้น 1 (ดีพิเศษ) มีข้าวชนิดอื่นปนได้ไม่เกิน 5%
ข้าวหอมมะลิชั้น 2 (ดี) มีข้าวชนิดอื่นปนได้ไม่เกิน 15%
ข้าวหอมมะลิชั้น 3 (ธรรมดา) มีข้าวชนิดอื่นปนได้ไม่เกิน 30%

ผู้บริโภคซึ่งต้องการข้าวหอมมะลิแท้ร้อยเปอร์เซ็นต์ จึงยังอาจไม่ถูกใจเมื่อซื้อไป
หุงรับประทาน


ข้าวหอมมะลิถือได้ว่ามีคุณค่าทางสารอาหารและคุณค่าทางเมล็ดข้าวโดยเฉพาะข้าวเมล็ดสีม่วงเข้มจนเกือบดำที่กำลังมีผู้ให้ความสนใจ
มากขึ้นเรื่อยๆมีชื่อว่า ข้าวสีนิล เป็นข้าวที่เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างลูกของข้าวเจ้าหอมนิล กับข้าวขาวดอกมะลิ 105 ทำให้ได้ข้าว
พันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะเป็นเมล็ดเรียวยาว สีม่วงเข้ม กลิ่นหอม เรียกว่าข้าวสีนิล และเป็นข้าวหอมมะลิ เมื่อหุงสุกมีสีม่วงอ่อน เมล็ดข้าวมี
ความนุ่มและมีกลิ่นหอม คุณสมบัติพิเศษ คือ มีโปรตีนสูงเป็นสองเท่าของข้าวขาวดอกมะลิ 105 และยังประกอบไปด้วยธาตุเหล็ก สังกะสี
ทองแดง แคลเซียม โพแทสเซียมและวิตามินบีหลายชนิด




ซึ่งการวิเคราะห์สีม่วงดำของข้าวสีนิล พบว่าเป็นสีที่มีสารกลุ่ม ฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) ที่เรียกว่า สารแอนไทไซยานิน ซึ่ง
เป็นสารแอนตี้ออกซิแดนท์ในปริมาณที่สูงกว่าที่พบในองุ่นแดง ลูกพรุน

โดยคุณค่าทางอาหารของข้าวอยู่ที่เยื่อหุ้มเมล็ดและสีของข้าว การบริโภคข้าวสีนิลจึงเป็นวิถีทางหนึ่งของการบริโภคเพื่อสุขภาพเยื่อใย
ของเยื่อหุ้มเมล็ดข้าวมีส่วนช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่และกระเพาะอาหารช่วยป้องกันการดูดซึมไขมันชนิดอิ่มตัวเข้าสู่กระเพาะ
อาหารได้เป็นอย่างดี สารแอนไทไซยานินช่วยลดการอักเสบของเนื้อเยื่อ ลดไขมันอุดตันในเส้นเลือด บรรเทาโรคเบาหวาน บำรุงสาย
ตา ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านม-ปอด-กระเพาะอาหาร-เม็ดเลือดขาว

ข้าวนับว่ายังเป็นอาหารที่สำคัญสำหรับการบริโภคอาหารของคนไทยที่ทานข้าวเป็นอาหารหลัก


ที่มาhttp://www.thaihealth.or.th/cms/detail.php?id=1334


http://www.hommali.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538839492&Ntype=1
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©