-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ปรัชญา "ลดรายจ่าย-เพิ่มรายได้-ขยายโอกาส" นาข้าว..
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ปรัชญา "ลดรายจ่าย-เพิ่มรายได้-ขยายโอกาส" นาข้าว..
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ปรัชญา "ลดรายจ่าย-เพิ่มรายได้-ขยายโอกาส" นาข้าว..

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 16/06/2011 7:31 am    ชื่อกระทู้: ปรัชญา "ลดรายจ่าย-เพิ่มรายได้-ขยายโอกาส" นาข้าว.. ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ปรัชญา "ลดรายจ่าย-เพิ่มรายได้-ขยายโอกาส" นาข้าว..


**** ลดรายจ่าย หมายถึง มาตรการในการลดค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น
- ลดค่าปุ๋ยเคมี โดยยึดหลักการให้ปุ๋ยนาข้าว ถูกสูตร ถูกอัตรา ถูกระยะ ถูกวิธี
- ลดค่าปุ๋ยอินทรีย์ โดยการแปลงฟางให้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ และมีการปรับปรุงบำรุงดินด้วยปุ๋ยพืชสด
- ลดค่าสารเคมี โดยการใช้สารสกัดสมุนไพร และระบบ ไอพีเอ็ม.
- ลดค่าน้ำมันเชื้อเพลิง โดยการใช้แรงงานสัตว์ แรงงานคน หรืออาศัยหลักธรรมชาติ
- ลดค่าเมล็ดพันธุ์ โดยผลิตเมล็ดพันธุ์เอง ใช้เมล็ดพันธุ์อย่างถูกต้อง และใช้ในอัตราที่เหมาะสม
- ลดค่าใช้จ่ายเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ โดยการเปลี่ยนหรือใช้ร่วมกับเทคโนโลยีธรรมชาติ
- ลดค่าจ้างแรงงานโดยการทำเอง หรือลงแขก
- ฯลฯ




***** เพิ่มรายได้ หมายถึง ใช้เทคโนโลยีการผลิตอย่างเหมาะสม เช่น
- บำรุงนาข้าวให้ได้คุณภาพและสายพันธุ์ตรงตามความต้องการที่แท้จริงของตลาด
- ใช้เทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสมต่อการผลิตให้ได้ปริมาณสูงสุดด้วยต้นทุนต่ำสุด รวมทั้งตัดรายการต้นทุนที่สูญเปล่า
- ขจัดและป้องกันปัญหาที่ทำให้ข้าวถูกตัดราคา (พันธุ์ ความชื้น สิ่งเจือปน ข้าวหัก ฯลฯ)
- นำของเหลือจากการผลิต (แกลบ ฟาง รำ ข้าวปลาย) มาสร้างมูลค่าเพิ่ม เช่น ทำปุ๋ยอินทรีย์ เพาะเห็ด เลี้ยงสัตว์ ฯลฯ
- แบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งสำหรับเลี้ยงปลาในนาข้าว หรือปลูกผักบนคันนา
- ปลูกพืชอายุสั้น (แคนตาลูป แตงโม ถั่ว ฯลฯ) สลับรุ่นนาข้าว เพื่อสร้างรายได้ บำรุงดิน และตัดวงจรชีวิตศัตรูข้าว
- ฯลฯ




**** ขยายโอกาส หมายถึง มาตรการต่างๆที่ทำให้เกิด "ธุรกิจเกษตร" ในอันที่จะพัฒนาไปสู่ความก้าวหน้า เช่น
- รวมกลุ่มแลกเปลี่ยนความคิด ความรู้ เทคโนโลยี ประสบการณ์
- รวมกลุ่มผลิต ปุ๋ย/ฮอร์โมน/สารสมุนไพร/อื่นๆ ใช้เอง แทนการซื้อแบบสำเร็จรูป
- รวมกลุ่มจัดซื้อผลิตภัณท์เพื่อการเกษตร (นาข้าว) แบบซื้อตรงจากบริษัทขายส่ง
- รวมกลุ่มขายผลผลิตเพื่อให้เกิดพลังในการต่อรองราคากับคนรับซื้อ
- รวมกลุ่มแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม เช่น ข้าวกล้อง ข้าวกล้องงอก ข้าวถุงขายผ่านร้านค้าสหกรณ์ ขายส่งห้าง หรือส่งออก
- รวมกลุ่มใช้งบ อบต.จัดซื้อรถดำนา, รถหยอดเมล็ดข้าว, รถเก็บฟาง, เป็นเครื่องจักรกลกลาง ให้สมาชิกเช่าใช้งาน
- รวมกลุ่มเป็นแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์จำหน่ายในเขต หรือทั่วประเทศ
- รวมกลุ่มสร้างโรงสี
- รวมกลุ่มตั้งสหกรณ์ หรือร้านค้าขายตรงผู้บริโภค
- รวมกลุ่มจัดกิจกรรมเพื่อโฆษณา ประชาสัมพันธ์
- รวมกลุ่มสร้างเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ชม-ชิม-ซื้อ หรือโฮมสเตย์
- รวมกลุ่มหรือจัดตั้งแกนนำ เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ด้อยโอกาสกว่าหรือยังช่วยตัวเองไม่ได้
- ฯลฯ


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 24/06/2011 7:25 pm, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 18/06/2011 7:59 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เครื่องสีข้าวเล็ก....





นวัตกรรมใหม่ 'เครื่องสีข้าวขนาดเล็ก' ฝีมือคนไทย


สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร ได้ดำเนินการวิจัยและพัฒนาเครื่องสีข้าวขนาดเล็กที่เหมาะสำหรับเกษตรกร
โดยออกแบบให้ใช้ต้นกำลังต่ำ สามารถลดการสูญเสียจากการแตกหักระหว่างการสี ทำให้ได้ข้าวสารที่มีคุณภาพ ซึ่งสามารถ
นำไปส่งเสริมให้โรงงานผลิตเพื่อจำหน่ายให้เกษตรกรใช้ในท้องถิ่นได้

นายนิทัศน์ ตั้งพินิจกุล วิศวกรการเกษตร 7 กลุ่มวิจัยวิศวกรรมหลังการเก็บเกี่ยว สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการ
เกษตร กล่าวว่า เดิมได้มีการวิจัยและพัฒนาเครื่องสีข้าวระดับหมู่บ้านขึ้นมาเมื่อปี 2525 เป็นแบบลูกหินแนวนอน 2 ลูก
มีความสามารถในการสีข้าว 150 กก./ชั่วโมง ต่อมาปี 2536 ได้ทำการออกแบบเครื่องสีข้าวขนาด 300 กก./ชั่วโมง
โดยใช้ลูกยางเป็นตัวกะเทาะข้าวเปลือกได้ข้าวกล้อง และขัดขาวด้วยลูกหินแนวนอน ซึ่งมีความสามารถการทำงานเพิ่ม
ขึ้น แต่เครื่องทั้งสองแบบต้องใช้ต้นกำลังมาก โดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 5 และ 7.5 แรงม้า หรือเทียบได้กับเครื่องยนต์
ดีเซลขนาด 8-12 แรงม้า ทำให้สิ้นเปลืองพลังงานมาก

ดังนั้น จึงได้ออกแบบและพัฒนาประสิทธิภาพ เครื่องสีข้าวขนาดเล็กแบบลูกหินขัดสีและแบบแกนโลหะ ขึ้นมาใหม่ โดยแบบ
ลูกหินขัดสีจะเป็นลูกหินเดี่ยว ประกอบด้วยลูกหินแนวนอนขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 164 มม. ยาว 470 มม. มีแท่งยาง
ควบคุมการขัดสีจำนวน 3 แท่ง พัดลมดูดรำ พัดลมดูดแกลบ ไซโคลนดักรำ ไซโคลนดักแกลบ ตะแกรงโยกคัด
ปลายข้าวและทำความสะอาดข้าวเปลือก โดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้า 3 แรงม้าเป็นต้นกำลัง มีความเร็วของลูกหินขัดสี 9.5
เมตร/วินาที

เครื่องสีข้าวขนาดเล็กแบบลูกหินขัดสีนี้ สามารถสีข้าวเปลือกได้ 85 กก./ชั่วโมง โดยการสีเที่ยวเดียว ได้ปริมาณต้นข้าว
และปริมาณรำสูง อีกทั้งยังสามารถทำความสะอาดข้าวเปลือกและสีข้าวได้ในเวลาเดียวกัน มีไซโคลนดักแกลบและรำไม่
ให้ฟุ้งกระจาย และสามารถสีข้าวกล้องปนข้าวเปลือกในอัตรา 22% ได้ 145 กก./ชั่วโมง ซึ่งเครื่องดังกล่าวจะมีราคาประมาณ
40,000 บาท จุดคุ้มทุนของการใช้เครื่องเท่ากับ 626 ชั่วโมง/ปี จากผลการทดลองสีข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ด้วยเครื่อง
สีข้าวขนาดเล็กแบบลูกหินขัดสี พบว่า ได้ข้าวสารรวม 65.2 % ได้ต้นข้าว 48.1 % รำ 28.0% โดยมีอัตราการสี 87
กก./ชั่วโมง

ส่วนเครื่องสีข้าวขนาดเล็กแบบแกนโลหะจะประกอบด้วยลูกขัดสีแกนโลหะขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 38 มม. ยาว 132 มม.
หมุนอยู่ภายในตะแกรงรูยาวรูปทรงหกเหลี่ยม ใช้ ตุ้มน้ำหนักถ่วงในการปรับระดับการขัดสี มีพัดลมดูดรำและไซโคลนดักรำ
ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 1.5 แรงม้าเป็นต้นกำลัง มีความเร็วของลูกขัดสี 4.56 เมตร/วินาที สามารถขัดขาวข้าว กล้อง
ได้ 98 กก./ชั่วโมง โดยที่เปอร์เซ็นต์ต้นข้าวต่ำกว่าแบบลูกหินเล็กน้อย และสามารถสีข้าวกล้องปนข้าวเปลือกในอัตรา 22%
ได้ โดยให้ผลการสีข้าวใกล้เคียงกับแบบลูกหิน แต่การทำงานลดลงเหลือ 61 กก./ชั่วโมง ไม่สามารถสีข้าวเปลือกได้

ทั้งนี้ เปอร์เซ็นต์ต้นข้าวและความสามารถในการทำงานจะเพิ่มสูงขึ้น ตามความเร็วของลูกขัดสีแบบแกนโลหะ ถ้าปรับตุ้ม
น้ำหนักให้ถ่วงมากขึ้นจะทำให้ความสามารถการทำงานและเปอร์เซ็นต์ต้นข้าวลดลง ดังนั้นระดับความเร็วของลูกขัดสีที่เหมาะ
สมจะอยู่ที่ 4.56 เมตร/วินาที จะได้ต้นข้าวเฉลี่ยประมาณ 53% ซึ่งต่ำกว่าแบบลูกหินได้ต้นข้าวเฉลี่ย 57.8% โดยมีความ
สามารถการทำงานประมาณ 118 กก./ชั่วโมง

สำหรับเกษตรกรหรือผู้ประกอบการที่สนใจเครื่องสีข้าวขนาดเล็กแบบลูกหินขัดสีและแบบแกนโลหะ สามารถติดต่อสอบ
ถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มวิจัยวิศวกรรมหลังการเก็บเกี่ยว สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร
โทรศัพท์ 0-2529-0663-4.


ที่มา: http://www.dailynews.co.th/agriculture/each.asp?newsid=39448


http://www.google.co.th/imgres?imgurl=http://news.cedis.or.th/images/pic_upload/1101089712_39448_1.jpg&imgrefurl=http://www.news.cedis.or.th/detail.php%3Fid%3D1924%26lang%3Den%26group_id%3D1&usg=__tz2pgONRX7BLddvKF1StGA6cwDI=&h=153&w=230&sz=19&hl=th&start=7&zoom=1&itbs=1&tbnid=HvsN5WXlCbR-TM:&tbnh=72&tbnw=108&prev=/search%3Fq%3D%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B7%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25B5%25E0%25B8%2582%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A7%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25A5%25E0%25B9%2587%25E0%25B8%2581%26hl%3Dth%26sa%3DX%26biw%3D1003%26bih%3D562%26tbm%3Disch%26prmd%3Divns&ei=rKH9TZOpNIWIrAfDucDTDw


--------------------------------------------------------------------------------------------------





ผลิตเครื่องสีข้าวหมู่บ้านรุ่นใหม่ประสิทธิภาพดี 3 ปี คืนทุน

เกษตรกรในชนบทส่วนใหญ่ หลัง จากเก็บเกี่ยว ผลผลิตข้าวในนาแล้ว มักจะเก็บข้าวเปลือกไว้ เพื่อนำไปทำข้าวซ้อมมือ...
ไว้บริโภคกันในครอบครัว...

...หรือนำข้าวเปลือกไปแลก ข้าวสารกับโรงสี โดยทางโรงสี จะขอเก็บรำและปลายข้าว ไว้แทนเงินค่าจ้างสีข้าว เกษตรกรเหลือ
เฉพาะ ข้าวสารกลับบ้านเท่านั้น... ทุกวันนี้ถือว่าใครมีเครื่องสีข้าว ก็ได้เปรียบผู้อื่น...

...เครื่องสีข้าวมีการพัฒนาย่อขนาดให้เล็กลงมา จนสามารถนำมาใช้กันตามหมู่บ้านอย่าง แพร่หลายทาง กองเกษตรวิศวกรรม
หรือ สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชา การเกษตร ได้ ร่วมกันลงมือวิจัย “เครื่องสีข้าวระดับหมู่บ้าน”ขึ้น

นายนิทัศน์ ตั้งพินิจกุล วิศวกรการเกษตร 7 หัวหน้าทีมวิจัยและพัฒนา เผยว่า ในปี พ.ศ. 2525 สามารถวิจัยออกมาเป็นผลงาน
เครื่องสีข้าวแบบลูกหินแนวนอน 2 ลูก มีความสามารถในการสีข้าว 150 กิโลกรัมต่อชั่วโมง ต่อมาในปี พ.ศ. 2536 ได้ออก
แบบเครื่องสีข้าวโดยใช้ลูกยางเป็นตัวกะเทาะเปลือก ได้ข้าวกล้องและขัดข้าวด้วยลูกหินแนวนอน ทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น...

... แต่เครื่องสีข้าวทั้งสองแบบต้องใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 5 และ 7 แรงม้าเป็นต้นกำลัง เทียบเท่ากับเครื่องยนต์ดีเซลขนาด
8-12 แรงม้า จากการทดลองพบว่าสิ้นเปลืองพลังงานมาก ...




ปัจจุบันมีการนำเข้าเครื่องสีข้าวจาก ประเทศเกาหลีและ ไต้หวันเข้ามาจำหน่าย ส่วนใหญ่เป็นแบบจานเหวี่ยง ในการกะเทาะเปลือก
และ มีชุดขัดขาวแบบแกนโลหะ เป็นเครื่องขนาดเล็กกะทัดรัดและ ใช้ต้นกำลังต่ำ ทำให้ข้าวหักมีปริมาณมาก... ที่สำคัญยังต้อง
นำเข้า ชิ้นส่วนอะไหล่จากต่างประเทศ...!!

...และเหตุนี้เอง...เพื่อลดต้นทุนให้แก่ เกษตรกร กลุ่มวิจัยวิศวกรรมหลังการเก็บเกี่ยว ได้ดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนาต้นแบบ
เครื่องสีข้าวให้มีขนาดเล็ก ใช้ต้นกำลังต่ำ จนสามารถ สร้างและผลิตได้โดยโรงงานในท้องถิ่น

“กลายเป็นเครื่อง สีข้าวแบบลูกหินขัดสีพอกด้วยหินกากเพชร ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 164 มิลลิเมตร ยาว 470 มิลลิเมตร
มีแท่งยางควบคุมการขัดสี 3 แท่ง มีพัดลมดูดแกลบและรำ ไซโคลนดักรำดักแกลบและตะแกรงโยกคัดปลายข้าว และทำ
ความสะอาดข้าวเปลือก เครื่องสีข้าวที่พัฒนาใหม่นี้ใช้มอเตอร์ไฟฟ้า 3 แรงม้าเป็นต้นกำลัง ใช้ไฟ 220 โวลต์ มีความเร็ว
ของลูกหินขัดสี 9.5 เมตรต่อวินาทีสามารถสีข้าวได้ 85 กิโลกรัมต่อชั่วโมง ได้ปริมาณข้าวและรำสูง ข้าวสารที่ได้สะอาด
ปราศจากละอองรำและความขาวสม่ำเสมอ และใช้ได้ดีไม่ค่อยมีปัญหาเครื่องพังก่อนเวลาอันควร อีกทั้งชิ้นส่วนและอะ
ไหล่ก็หาได้ง่ายภายในประเทศของเรานี่เอง”

...สนนราคาอยู่ที่ 50,000 บาทเมื่อวิเคราะห์ จุดคุ้มทุนพบว่าอยู่ที่ 350 ชั่วโมงต่อปี ต้นทุนอยู่ที่ 62 สตางค์ต่อกิโลกรัม ระยะ
เวลาคืนทุนเมื่อทำการสีข้าวอยู่ที่ 720 ชั่วโมงต่อปีและไม่เกิน 3 ปี...เกษตรกรสามารถเรียกทุนคืนได้หมดแล้ว หากสนใจ
สอบถามที่กรมวิชาการเกษตร 0-2579-0663 ในเวลาราชการ.

ไชยรัตน์ ส้มฉุน

ที่มา: http://www.thairath.co.th/thairath1/2548/farming/may/30/farm1.php

http://www.google.co.th/imgres?imgurl=http://news.cedis.or.th/images/pic_upload/1117421506_farm33.jpg&imgrefurl=http://www.news.cedis.or.th/detail.php%3Fid%3D2191%26lang%3Den%26group_id%3D1&usg=__0Vy4zy0GV7fEd-8K5eFxEV306K8=&h=168&w=220&sz=13&hl=th&start=8&zoom=1&itbs=1&tbnid=fMsc0PQgw4JWuM:&tbnh=82&tbnw=107&prev=/search%3Fq%3D%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B7%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25B5%25E0%25B8%2582%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A7%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25A5%25E0%25B9%2587%25E0%25B8%2581%26hl%3Dth%26sa%3DX%26biw%3D1003%26bih%3D562%26tbm%3Disch%26prmd%3Divns&ei=rKH9TZOpNIWIrAfDucDTDw

--------------------------------------------------------------------------------------------------






รับทำเครื่องสีข้าวโบราณ ไทยแท้ เหมาะมากในเรื่องเกษตรพอเพียง การสีข้าวใช้แรงน้อย ได้ออกกำลังกายไปในตัว ตั้งไว้โชว์
ในบริเวณ บ้านหรือสวน ก็ให้บรรยากาศของความเป็นเกษตรลูกทุ่งไทย มิได้ทำขายในเชิงธุรกิจ เพียงแต่ต้องการอนุรักษ์เครื่อง
มือเกษตรกรไว้ มิให้สูญหาย และหารายได้เพื่อจุนเจือครอบครัวยามว่างงานเท่านั้น ที่เห็นในภาพเป็นเครื่องขนาดเล็ก (ขณะนี้
เลิกผลิตแล้วเพราะเกษตรกรไม่นิยม) จึงผลิตเฉพาะขนาดมาตรฐาน (สีข้าวได้เร็วกว่าแต่ใช้แรงพอๆ กับเครื่องขนาดเล็ก)
ราคาเครื่องสีข้าวขนาดมาตรฐาน เครื่องละ 1,900 บาท (หนึ่งพันเก้าร้อยบาทถ้วน)

ท่านที่สนใจจะสั่งทำหรือเยี่ยมชม เชิญชมได้ที่บ้านลุงเสาร์ บ้านแหลมยาง(ทางเข้าตรงข้าม วัดหนองกรด) ต.หนองกรด อ.
บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ (ทางหลวงหมายเลข 117 สาย นครสวรรค์-พิษณุโลก กม.30) แยกจากถนนใหญ่ประมาณ 3
กม. ลุงเสาร์ยินดีต้อนรับ ทุกท่านด้วยความเต็มใจครับ

หรือโทรศัพท์สอบถามรายละเอียดก่อนได้ ที่ (087)196-6212 (สายใจ) ซึ่งเป็นลูกสาวลุงเสาร์ครับ

จากกระทู้ ของ อาประเวส ลงไว้ที่ www.kaset4you.com

http://www.google.co.th/imgres?imgurl=http://image.ohozaa.com/ix/img_09571%255D.jpg&imgrefurl=http://www.kasetloongkim.com/modules.php%3Fname%3DForums%26file%3Dviewtopic%26t%3D1099&usg=__Pc1MeT2ZyBbHVLEca3p9Y5jh5pU=&h=480&w=640&sz=59&hl=th&start=20&zoom=1&itbs=1&tbnid=4FBXysxaT3k1uM:&tbnh=103&tbnw=137&prev=/search%3Fq%3D%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B7%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25B5%25E0%25B8%2582%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A7%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25A5%25E0%25B9%2587%25E0%25B8%2581%26hl%3Dth%26sa%3DX%26biw%3D1003%26bih%3D562%26tbm%3Disch%26prmd%3Divns&ei=rKH9TZOpNIWIrAfDucDTDw

-------------------------------------------------------------------------------------------------






เครื่องสีข้าว 2 ลูกหิน เสากระพ้อ 1 เสา
เครื่องสีข้าว รุ่นยอดนิยม เครื่องสีข้าว ติดตั้งให้ฟรี
เครื่องสีข้าว ขนาดไม่ใหญ่ มาก เครื่องสีาว รับประกัน 1 ปีเต็มๆ
เครื่องสีข้าว มีล้อ เคลื่อนย้ายสะดวก ราคาประหยัด
เครื่องสีข้าว คุ้มค่ากับการลงทุน

เหมาะสำหรับกลุ่มหมู่บ้าน กลุ่มเกษตร และผู้ที่สนใจจะเริ่มต้นลงทุนทำโรงสีข้าวขนาดย่อมใว้ใช้ในกลุ่ม และขายได้

ข้อมูลทั่วไป เครื่องสีข้าว ขนาด 2 ลูกหิน เสากระพ้อ 1 เสา
- ขนาด : ก150 x ย150 x ส280 CM.
- ขนาดลูกหิน : 18 / 24 นิ้ว (ลูกหินวางซ้อน)
- กำลังผลิต : 2 ตัน / วัน (ข้าวสาร)
- กำลังขับเคลื่อน : มอเตอร์ MITSUBISHI 5HP 220V. ไฟบ้าน 15 แอมป์ขึ้นไป
- มีล้อเลื่อนติดกับตัวเครื่อง เพื่อเคลื่อนย้ายได้สะดวก



http://www.google.co.th/imgres?imgurl=http://www.pui-thai.com/images/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7-2%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%991%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B2.jpg&imgrefurl=http://classified.sanook.com/item/7561295/&usg=__AlLv7S2LxxHNXbOynce27D22MNA=&h=368&w=300&sz=39&hl=th&start=38&zoom=1&itbs=1&tbnid=KnuZgCj53QVHBM:&tbnh=122&tbnw=99&prev=/search%3Fq%3D%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B7%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25B5%25E0%25B8%2582%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A7%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25A5%25E0%25B9%2587%25E0%25B8%2581%26start%3D20%26hl%3Dth%26sa%3DN%26biw%3D1003%26bih%3D562%26ndsp%3D20%26tbm%3Disch%26prmd%3Divns&ei=EKn9Tez8NJCKvQPv18yoAw

---------------------------------------------------------------------------------------------------


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 19/06/2011 2:51 pm, แก้ไขทั้งหมด 8 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 18/06/2011 8:00 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เครื่องอัดฟ่อนฟางข้าว





เครื่องอัดฟ่อนใช้รถแทรกเตอร์ขนาด30 แรงม้าเป็นต้นกำลัง ความเร็วในการทำงานที่เหมาะสม 0.36-0.42 เมตร/วินาที

ประสิทธิภาพในการโกยฟางใกล้เคียงกับเครื่องของต่างประเทศ ความเร็วในการทำงานของเพลาอำนวยกำลังน้อยกว่าร้อยละ 50
และใช้กำลังงานน้อยกว่าประมาณ 2-4 กิโลวัตต์

เครื่องอัดฟ่อนฟางและฟางก้อนเหลี่ยมพัฒนาขึ้นจากการนำเอาข้อดีของเครื่องจากต่างประเทศมาวิเคราะห์ให้มีความเหมาะสมกับ
สภาพแวดล้อมภายในประเทศ และมีราคาที่เหมาะสม

โดยมีคุณสมบัติดังนี้
1. ทำแบบอัดฟ่อนสี่เหลี่ยมมัดเชือก ใช้ต้นกำลังจากรถแทรกเตอร์ขนาด 30 HP ขึ้นไป ในการอัดและลากจูง

2. องค์ประกอบชิ้นส่วนมีน้อยชิ้นและมีกลไกการทำงานที่สามารถเรียนรู้ได้ง่าย

3. ชิ้นงาน อุปกรณ์และวัสดุต่าง ๆ ที่นำมาประกอบสามารถซื้อได้ภายในประเทศ

4. สามารถวิ่งเก็บฟางหรือหญ้าในสภาพแปลงนา ที่ค่อนข้างขรุขระได้ดี โดยที่ช่วงล่างและชุดโดยฟางจากพื้นสามารถปรับความสูงจาก
พื้นและเก็บฟางได้

5. จังหวะการอัดของลูกกระทุ้ง ชุดส้อมโกยฟางเข้าห้องอัดและการควบคุมจังหวะการมัดของเชือก ใช้โซ่และสายพานเป็นตัวขับและ
ควบคุมจังหวะให้มีการทำงานสัมพันธ์กัน

6. กลไกการควบคุมจังหวะการมัด ปรับความแน่นของฟางที่อัด และชุดมัดดัดแปลงจากยี่ห้อ New Holland และ Bamford โดยเน้น
การทำงานที่ง่าย ชิ้นส่วนของชุดมัดที่ช่างในประเทศสามารถทำชิ้นกลไกได้



เครื่องอัดฟ่อนฟาง ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ
1. ชุดโกยฟางจากพื้น และช่วงล่าง
2. ชุดกลไกการอัด
3. ชุดกลไกการขับลูกกระทุ้ง และวงล้อโกยฟาง

ประโยชน์
ค่าใช้จ่ายในการอัดฟ่อนฟางโดยใช้เครื่องนี้ กิโลกรัมละ 0.52 บาท มูลค่าฟางที่ยังไม่อัด กิโลกรัมละ 0.40 บาท ในขณะที่ราคาขาย
ฟางฟ่อนรวมค่าขนส่งแล้ว กิโลกรัมละ 1-2 บาท

ชื่อผู้วิจัย : นายประยุทธ์ สุวรรณชีวะกร
ที่อยู่ : ภาควิชาวิศวกรรมอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์
วิทยาเขตกำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จ.นครปฐม73140
ผู้ติดต่อ : คุณสุคนธา โทรศัพท์ : (034) 351-896 แฟกส์ (034)351896




ที่มา : สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี โครงการประดิษฐกรรมเพื่อการพัฒนาชนบท

บันทึกข้อมูลโดย : นาย วิทยา สุวรรณสุข, http://www.ttc.most.go.th, วันที่ 22 สิงหาคม 2546

http://www.clinictech.most.go.th/techlist/0214/agriculture/00000-56.html

--------------------------------------------------------------------------------------------------------




เครื่องอัดฟาง หญ้าแห้ง และใบอ้อย

เครื่องอัดฟางสิงห์สยาม
อัดได้มากกว่าใช้เวลานิดเดียว

เครื่องอัดฟาง หญ้าแห้ง และใบอ้อย "สิงห์สยาม" ใช้ได้กับรถแทรกเตอร์ทุกยี่ห้อตั้งแต่ 25 แรงม้าขึ้นไป ผลิตด้วยเครื่องมือ
ที่ทันสมัย ใหม่ทุกชิ้นส่วน ขนย้ายสะดวก คล่องตัว อัดฟางได้สูงถึงวันละ 800 - 1500 ก้อน ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่และการ
ทำงาน มีให้เลือก 2 ขนาด ตามความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่
นำเข้าจากต่างประเทศใหม่ทุกชิ้น
พิเศษ ยอยท์ขนาด 60 แรงม้า
เครื่องนับจำนวนก้อนฟาง
ฐานยึดชุดมัดใหม่แข็งแรงทนทาน ช่วยให้ชุดมัดมีอายุการใช้งานยาวนาน
ชุดเก็บฟางใช้สายพานในการขับเคลื่อน ง่ายต่อการบำรุงรักษา
ส้อมป้อนแบบแขนกล ช่วยให้การป้อนฟางรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ





http://www.minsen.co.th/pickup_baler.html

-------------------------------------------------------------------------------------------------------


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 19/06/2011 5:32 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 18/06/2011 8:01 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

รถเกี่ยวข้าวเดินตาม...






http://www.truck2hand.com/index.php?module=InnoForum&func=list&ctrl=posts&id=63600

------------------------------------------------------------------------------------------------------






http://www.thaionlinemarket.org/picproduct/14-170/thumbnailshow425581.jpg

----------------------------------------------------------------------------------------------------





http://www.nanagarden.com/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7-120293-4.html

------------------------------------------------------------------------------------------------------





รถเกี่ยวข้าวใหญ่




.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/06/2011 5:53 am, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 18/06/2011 8:02 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

รถดำนา....




http://www.kubotaphet.com/product/208887/SPW48c.html


-----------------------------------------------------------------------------------------------------














http://www.oknation.net/blog/print.php?id=260153

-------------------------------------------------------------------------------------------------


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 19/06/2011 8:46 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 18/06/2011 8:03 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เครื่องหยอดเมล็ดข้าว....






สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม ได้ร่วมมือกับโรงงานผลิตเครื่องหยอดเมล็ดเอกชน และเครื่องหยอดข้าวแห้งแบบโรยเป็นแถวแบบ 7 แถว
และ 11 แถว เพื่อใช้ทดแทนการปลูกข้าวแบบการหว่านสำรวยการปลูกข้าวโดยใช้เครื่องหยอดข้าว ทำให้การเจริญเติบโตของข้าวเป็นแถว
สะดวกในการควบคุมศัตรูพืชและการเก็บเกี่ยว ข้าวที่ปลูกด้วยเครื่องหยอดจะทนต่อความแห้งแล้งได้ดีกว่าการปลูกโดยวิธีหว่าน เนื่อง
จาก เครื่องหยอดเมล็ดข้าวจะมีตัวเปิดร่องทำให้เมล็ดลงในร่องดินรากข้าว ซึ่งจะรับความชื้นในดินมากกว่าวิธีหว่านเมล็ดจะอยู่บนผิว
ดินที่มีความชื้นน้อยกว่า ความสามารถของเครื่องหยอดข้าวแห้งประมาณวันละ 30 – 40 ไร่


http://www.google.co.th/imgres?imgurl=http://www.brrd.in.th/rkb/data_009/images/rice_mach07.jpg&imgrefurl=http://www.brrd.in.th/rkb/data_009/rice_xx2-09_machine007.html&usg=__4mSSV4zLCd5raT39KXth1Mv9q_w=&h=325&w=499&sz=199&hl=th&start=1&zoom=1&itbs=1&tbnid=3cmkmRLZzlqk0M:&tbnh=85&tbnw=130&prev=/search%3Fq%3D%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B7%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2594%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25A5%25E0%25B9%2587%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%2582%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A7%26hl%3Dth%26sa%3DX%26biw%3D877%26bih%3D554%26tbm%3Disch%26prmd%3Divns&ei=tf_9Tdz5BIXqvQPDu5iaAw


-----------------------------------------------------------------------------------------------------













http://www.google.co.th/imgres?imgurl=http://blog.taradkaset.com/wp-content/uploads/2010/11/2312.jpg&imgrefurl=http://blog.taradkaset.com/%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B7%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%2588%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A5%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A9%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25B3%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%25A3/&usg=__gQTsEhtC4HdUjMFPWtJvP6zr_Xw=&h=331&w=490&sz=283&hl=th&start=3&zoom=1&itbs=1&tbnid=FBexaxU9gUwwDM:&tbnh=88&tbnw=130&prev=/search%3Fq%3D%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B7%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2594%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25A5%25E0%25B9%2587%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%2582%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A7%26hl%3Dth%26sa%3DX%26biw%3D877%26bih%3D554%26tbm%3Disch%26prmd%3Divns&ei=tf_9Tdz5BIXqvQPDu5iaAw

------------------------------------------------------------------------------------------------





http://www.google.co.th/imgres?imgurl=http://www.shoppingmall21.com/Tcao%2520Asia%2520Resources/images_product/1285822102.jpg&imgrefurl=http://www.shoppingmall21.com/shop/User/%3FUser%3D2009000393%26MODULE%3Dm_catproduct%26page%3D1%26SearchProduct%3D103042&usg=__3dXpZrNX4gbHoUMKHImtAWl6Z2A=&h=184&w=240&sz=27&hl=th&start=4&zoom=1&itbs=1&tbnid=2ssPi1-JLq-lZM:&tbnh=84&tbnw=110&prev=/search%3Fq%3D%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B7%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2594%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25A5%25E0%25B9%2587%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%2582%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A7%26hl%3Dth%26sa%3DX%26biw%3D877%26bih%3D554%26tbm%3Disch%26prmd%3Divns&ei=tf_9Tdz5BIXqvQPDu5iaAw

----------------------------------------------------------------------------------------------------






http://s645.photobucket.com/albums/uu177/changdee199/no%20till%20seeder/?action=view&current=seeding3.jpg

-----------------------------------------------------------------------------------------------------






http://www.google.co.th/imgres?imgurl=http://xn--k3cl4a1an1e9g.com/imageproduct/SDC12745.jpg&imgrefurl=http://xn--k3cl4a1an1e9g.com/CornBigtractor.html&usg=__CT1KaxWvb74Ysmh0Y4Zk_VBcNlM=&h=300&w=400&sz=166&hl=th&start=69&zoom=1&itbs=1&tbnid=rQcYvYPp-lvNCM:&tbnh=93&tbnw=124&prev=/search%3Fq%3D%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B7%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2594%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25A5%25E0%25B9%2587%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%2582%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A7%26start%3D54%26hl%3Dth%26sa%3DN%26biw%3D877%26bih%3D554%26ndsp%3D18%26tbm%3Disch%26prmd%3Divns&ei=2w7-TcaWOousvgPts-m3CQ

---------------------------------------------------------------------------------------------------
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 20/06/2011 5:38 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การเลี้ยงปลาในนาข้าว


ประเทศไทยเป็นประเทศ ที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรนานาชนิดสมดังคำกล่าวของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชที่ ว่า "ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว"
แต่ปัจจุบันคำกล่าวนี้กำลังจะสูญสิ้นความหมายไป ทั้งนี้เพราะสภาพบ้านเมืองได้พัฒนาขึ้นตามกาลสมัย ทำให้สภาพของแหล่งน้ำธรรม
ชาติ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยและเป็นแหล่งขยายพันธุ์ของปลาและสัตว์น้ำเปลี่ยนสภาพ เสื่อมโทรมและตื้นเขิน
ยิ่งขึ้นทุกวัน อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปริมาณปลาลดน้อยลง ไม่เพียงพอแก่ความต้องการของพลเมืองที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

นอกจากนี้ปลายังเป็นอาหารจำพวกเนื้อที่สำคัญประจำมื้อประจำวันของคนไทย ควบคู่ไปกับข้าว ทั้งยังเป็นอาหารโปรตีนจำพวกเดียวเท่านั้น
ที่พี่น้องชาวไทยได้พึ่งพาอาศัย เป็นอาหารหลักอยู่ เพราะอาหารประเภทเนื้อสัตว์อื่นๆ เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว และ เป็ด ไก่ นับวันจะหายาก
และทั้งราคาแพงยิ่งขึ้น

หากเปรียบเทียบในด้านคุณค่าของอาหารประเภทเนื้อสัตว์แล้ว เนื้อปลามีคุณค่าทางโภชนาการสูง อีกทั้งยังเป็นอาหารที่ย่อยง่ายที่สุด
นอกจากนี้ยังมีส่วนประกอบบางอย่าง เช่น กรดอะมิโน ซึ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างการสูงกว่าอาหารในจำพวกโปรตีนชนิดอื่น
อีกด้วย

กรมประมงได้พิจารณาเห็นความจำเป็นที่จะต้องเร่งผลิตสัตว์น้ำให้มีปริมาณ เพียงพอกับความต้องการประจำวันของประชาชน โดยได้
ค้นคว้า ทดลอง และส่งเสริมให้มีการเลี้ยงปลาในนาขึ้น ทั้งนี้ เพื่อมุ่งที่จะเพิ่มอาหารโปรตีนจากปลาและเพิ่มรายได้ให้แก่ชาวนา โดย
ดัดแปลงผืนนาเดิมที่เคยทำอยู่เพียงเล็กน้อย ก็สามารถเลี้ยงปลาควบคู่ไปกับการปลูกข้าวได้

ปกติระหว่างฤดูทำนาในระยะนี้น้ำเอ่อนองเข้าผืนนา ปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติจะแพร่กระจายจากแม่น้ำ ลำคลอง เข้า
ไปอาศัยเลี้ยงตัวและเจริญเติบโตในแปลงนาปีหนึ่ง ๆ เฉลี่ยแล้วประมาณ 4 กิโลกรัมเศษต่อไร่


ดังนั้น หากชาวนาจะคิดดัดแปลงผืนนาของตนที่ใช้ปลูกข้าวอยู่ให้มีการเลี้ยงปลา ในผืนนาควบคู่ไปด้วยแล้ว นาข้าวซึ่งเคยได้ปลาเป็น
ผลพลอยได้พิเศษอยู่ก่อนเพียงเล็กน้อย ก็จะให้ผลผลิตปลาเพิ่มขึ้นเป็น 20 กิโลกรัมต่อไร่หรือกว่านั้น

โดยที่ประเทศไทยมีเนื้อที่นาทั่วทั้งประเทศประมาณ 43 ล้านไร่ หากสามารถคิดใช้ผืนนาให้เป็นประโยชน์นอกเหนือจากการปลูกข้าว
แต่อย่างเดียว เพียงแค่ 1 ใน 100 ของเนื้อที่นาทั่วประเทศ โดยคัดเลือกแปลงนาที่เหมาะสม ดัดแปลงและปรับปรุงเพื่อใช้เลี้ยงปลา
ควบคู่ไปกับการทำนา โดยปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักวิชาแล้วในปีหนึ่ง ๆ จะได้ผลผลิตจากปลาเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนหมื่นๆ ตัน ซึ่งวิธี
การนี้เป็นการเพิ่มอาหาร และรายได้บนผืนนาเดิมของพี่น้องชาวไทยนั่นเอง และจากวิธีการดังกล่าวนี้ก็จะเป็นการเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำ
ให้ได้มากพอกับความ ต้องการของประเทศอีกด้วย

การเลี้ยงปลาในนานั้นมิใช่เป็นของใหม่ ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียเลี้ยงปลาในนาข้าวได้ผลดีกันมาเป็นเวลา
นานแล้ว เช่น ที่ประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน และอินโดนีเซีย ในประเทศเราได้เริ่มทำกันมาตั้งแต่ พ.ศ. 2491 แต่เพิ่งจะสนใจเลี้ยงกันอย่าง
แพร่หลายเพียงไม่กี่ปีมานี้เอง



ประโยชน์จากการเลี้ยงปลาในนาข้าว
1. ชาวนาสามารถใช้ประโยชน์จากผืนนาได้เต็มที่ ตามปกติในผืนนาจะมีอาหารธรรมชาติ ซึ่งได้แก่ พืชและสัตว์เล็ก ๆ ทั้งที่ไม่
สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าและที่ปรากฏอยู่ทั่วไป อาหารธรรมชาติเหล่านี้ตามปกติแล้วมิได้มีการใช้ประโยชน์แต่อย่างใด ยิ่ง
ถ้าหากชาวนาทำนาตามแบบที่ทางราชการแนะนำ คือ มีการใส่ปุ๋ยในแปลงนาด้วยแล้วอาหารธรรมชาติจะยิ่งสมบูรณ์มากขึ้น แต่
อาหารธรรมชาติอันมีคุณค่านี้ถูกทอดทิ้งโดยมิได้ใช้ให้เป็นประโยชน์แต่อย่างใด

หากชาวนาสนใจหันมาเลี้ยงปลาในนาข้าว ปลาที่เลี้ยงก็จะสามารถใช้อาหารธรรมชาติอันเป็นอาหารของปลาโดยเฉพาะให้
เป็น ประโยชน์อย่างคุ้มค่า โดยเปลี่ยนเป็นอาหารจำพวกโปรตีนในรูปของเนื้อปลาให้แก่เจ้าของนาและผู้ เลี้ยงตลอดจนอาจเพิ่มราย
ได้ให้อีกทางหนึ่งด้วย


2. ปลาช่วยกำจัดวัชพืช ชาวนาย่อมตระหนักดีถึงความยุ่งยากในการกำจัดวัชพืชที่ขึ้นรกในแปลงนาใน ระหว่างทำนา วัชพืชจะแย่ง
อาหารจากต้นข้าวทำให้ต้นข้าวเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ นาจะให้ผลผลิตต่ำ ชาวนาจะต้องเสียทั้งเวลาและเหน็ดเหนื่อยในการกำจัด
วัชพืชดังกล่าว หากมีการเลี้ยงปลาในนาข้าวแล้วปลาจะช่วยกำจัดโดยกินวัชพืชนานาชนิดในแปลงนา เป็นอาหาร โดยชาวนาไม่ต้อง
เหน็ดเหนื่อยอีกด้วย


3. ปลาช่วยกำจัดศัตรูของต้นข้าว หนอน และตัวอ่อนของแมลงชนิดที่อยู่ในน้ำและที่ร่วงหล่นลงไปในนาอันเป็นศัตรูร้ายแรงของ
ต้นข้าว จะกลับเป็นอาหารวิเศษสุดของปลา


4. ปลาช่วยพรวนดินในนา จากการที่ปลาว่ายวนเวียนในน้ำรอบ ๆ กอข้าวบนผืนนา การเคลื่อนไหวของครีบและหางปลาจะช่วย
พัดโบกมวลดินในผืนนามิให้ทับอัดกันแน่น อันเป็นเสมือนการพรวนดินให้แก่ต้นข้าว ซึ่งจะช่วยทำให้ต้นข้าวเจริญงอกงามขึ้นกว่าปกติ


5. ปลาช่วยเพิ่มปุ๋ย มูลและสิ่งขับถ่ายจากปลาซึ่งประกอบด้วยธาตุไนโตรเจน และอื่น ๆ จะเป็นปุ๋ยโดยตรงสำหรับต้นข้าว


6. การเลี้ยงปลาในนาข้าว ช่วยเพิ่มผลผลิตข้าวให้สูงขึ้นกว่าการปลูกข้าวแต่เพียงอย่างเดียว



การเลือกสถานที่
ผืนนาทุกแห่งมิใช่จะเหมาะสมต่อการเลี้ยงปลาในนาเสมอไปการเลี้ยงปลาในนาข้าว จึงมักจะมีอุปสรรคอยู่เสมอ โดยเฉพาะในเรื่องน้ำ
เช่น ในบางท้องที่อาศัยเฉพาะน้ำฝน หรือบางที่ชาวนาไม่สามารถรักษาระดับน้ำในผืนนาไว้ได้ตลอดระยะเวลาที่ต้องการ ดังนั้น
หากเพียงแต่นาที่จะเลี้ยงปลาสามารถเก็บกักน้ำในผืนนาไว้ให้ได้มากกว่าปกติ เพียงประมาณ 1-2 คืบ (30 เซนติเมตร) เป็นอย่าง
น้อยตลอดฤดูกาลทำนาและทั้งสามารถควบคุมปริมาณน้ำโดยไม่ให้ท่วมผืน นาได้อีกด้วยแล้ว นาแปลงนั้นก็สามารถที่จะเลี้ยงปลา
ในนาได้ผลดี จึงควรที่จะยึดหลักในการเลือกผืนนาให้มีสภาพ ดังนี้

1. อยู่ใกล้แหล่งน้ำ หนอง บึง ลำราง ทางน้ำไหลที่สามารถนำน้ำเข้าแปลงนาได้ แปลงนาที่อาศัยน้ำฝนทำนาแต่เพียงอย่างเดียว
ควรเก็บกักน้ำได้ไม่น้อยกว่า 90 วัน

2. ไม่เป็นที่ลุ่มจนน้ำท่วม หรือที่ดอนเกินไปจนไม่สามารถเก็บกักน้ำได้

3. สะดวกต่อการดูแลรักษา

4. พื้นที่ที่ปลูกข้าวได้ผลดีจะสามารถดัดแปลงมาทำการเลี้ยงปลาควบคู่กับการปลูกข้าวได้



ขนาดของแปลงนาข้าว
แปลงนาที่เลี้ยงปลาในนาข้าว จะมีขนาดและรูปร่างอย่างไรก็ได้ แล้วแต่ความเหมาะสมของพื้นที่ และความพร้อมของผู้เลี้ยง แต่แปลง
ขนาดตั้งแต่ 5 ไร่ขึ้นไปจะมีความเหมาะสมและให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า


การเตรียมแปลงนาข้าว
การเตรียมแปลงนาเพื่อใช้เลี้ยงปลาในผืนนาไปด้วยนั้น ควรเตรียมให้เสร็จก่อนระยะเตรียมดินและไถคราด โดยปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้

1. แปลงนาที่เป็นที่ลุ่มและสามารถเก็บกักน้ำได้ลึกอย่างน้อย 1 ศอก (50 เซนติเมตร) ตลอดฤดูทำนา ควรเสริมคันนาให้สูง
ขึ้นจากระดับพื้นนาเดิมประมาณ 3 คืบ (80 เซนติเมตร) และมีความมั่นคงแข็งแรงเพียงพอ เพื่อป้องกันน้ำท่วมและการพังทลายของ
คันนา

2. แปลงนาที่มีบ่อล่อปลาอยู่แล้ว ก็ให้ดัดแปลงโดยเสริมคันนาให้แข็งแรงสามารถเก็บน้ำได้ลึกอย่างต่ำ 1-2 คืบ (30 เซนติเมตร)
โดยให้พื้นที่ของแปลงนามีขนาดประมาณ 10 เท่า ของพื้นที่บ่อล่อปลา

3. และเพื่อความสะดวกในการจับปลา จึงสมควรขุดบ่อปลาบริเวณที่ลึกที่สุดของแปลงนา เพื่อให้ปลามารวมกันในขณะที่ลดระดับ
น้ำในแปลงนาข้าว โดยมีพื้นที่ประมาณ 5-10 ตารางวา (20-40 ตารางเมตร) แล้วแต่ขนาดของแปลงนาและลึกกว่าร่องนาประมาณ
1 ศอก (50 เซนติเมตร)

4. บ่อรวมปลานี้ยังใช้เป็นบ่ออนุบาลลูกปลาที่มีขนาดเล็กให้มีขนาดใหญ่ คือ มีความยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร ซึ่งเหมาะที่จะ
ปล่อยเลี้ยงในแปลงนาได้ดี โดยการอนุบาลลูกปลาไว้ล่วงหน้าประมาณ 1 เดือนก่อนถึงฤดูทำนา

5. พันธุ์ข้าว ใช้พันธุ์ข้าวที่กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำในแต่ละท้องถิ่นหากเป็นไปได้ ควรเลือกใช้ข้าวพันธุ์หนักที่สามารถอยู่ในนา
ได้นานวัน



พันธุ์ปลาที่ควรเลี้ยงในนาข้าว
พันธุ์ปลาที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงในนาข้าว ควรมีคุณสมบัติดังนี้
1. เลี้ยงง่าย
2. เติบโตเร็ว
3. อดทน
4. หาพันธุ์ได้ง่าย
5. ไม่ทำลายต้นข้าว
6. เนื้อมีรสดีเป็นที่นิยมของท้องถิ่น


พันธุ์ ปลาดังกล่าว ได้แก่ ปลาไน ปลาตะเพียนขาว ปลานิล ปลานวลจันทร์เทศ และปลาหัวโต หรือปลาซ่ง ซึ่งปลาต่าง ๆ เหล่านี้กิน
อาหารธรรมชาติที่เกิดขึ้นในแปลงนา ประเภทพืชและสัตว์เล็ก ๆ ได้ดีจึงโตเร็ว และนอกจากนี้ยังกินอาหารเสริมต่าง ๆ ที่หาได้ใน
ท้องถิ่นอีกด้วย

แปลงนาซึ่งเป็นที่ลุ่มและพื้นนาลาดเอียงบางด้าน ก็ให้ใช้ด้านต่ำเป็นที่พักปลาโดยขุดดินด้านนี้มาเสริมคันนาให้สูงขึ้นมาก พอที่จะเก็บ
กักน้ำให้ท่วมที่ดอนได้ ประมาณ 1-2 คืบ (30 เซนติเมตร)

แปลงนาที่อยู่ในพื้นที่ราบและไม่เป็นที่ลุ่มเกินไป ควรขุดร่องรอบผืนนาให้มีความกว้าง 2 ศอก (1 เมตร) ลึก 3-4 คืบ (80 เซนติเมตร
- 1 เมตร) แล้วนำดินที่ขุดขึ้นเสริมคันนาให้สูงจากระดับผืนนาเดิมประมาณ 1 ศอก (50 เซนติเมตร) เพื่อเก็บกักน้ำให้ท่วมแปลงนาได้
ลึก 1-2 คืบ (30 เซนติเมตร)


ช่วงเวลาการปล่อยปลา
หลังจากไถคราดและปักดำเสร็จเรียบร้อยแล้วประมาณ 15-20 วัน เมื่อเห็นว่าต้นข้าวแข็งแรง และรากยึดติดดินดีแล้ว จึงนำปลาไป
ปล่อยลงเลี้ยง


ขนาดและจำนวนพันธุ์ปลา
ขนาดและจำนวนปลาที่จะปล่อยลงเลี้ยงในนาแปลงหนึ่ง ๆ นั้นควรใช้ปลาขนาดความยาว 5-10 เซนติเมตร เพราะเป็นปลาขนาดที่เติบโต
ได้รวดเร็ว และพอที่จะเลี้ยงตัวหลบหลีกศัตรูได้ดี

จำนวนปลาที่จะปล่อยลงเลี้ยงนั้น ควรปล่อยในอัตราที่เหมาะสมต่อเนื้อที่นาอย่าให้มากหรือน้อยเกินไป หากมากเกินแล้วปลาจะเจริญ
เติบโตช้า เพราะปลาจะแย่งที่อยู่อาศัยและแย่งอาหารกันเอง ในเนื้อที่นา 1 ไร่ควรปล่อยปลาลงเลี้ยงประมาณ 400-800 ตัว แล้วแต่
ขนาดของปลาหรือถ้าจะเลี้ยงปลาหลายชนิดรวมกันควรใช้สัดส่วนของปลาไน ต่อปลาตะเพียนต่อปลานิล เท่ากับ 4 ต่อ 2 ต่อ 2 จะ
ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นหรือปล่อยปลาไน ปลาตะเพียน และปลานิลขนาด 3-5 เซนติเมตร อัตรา 500 ตัวต่อไร่ รวมกับปลาจีน
30-50 ตัวต่อไร่ ใช้เวลาเลี้ยง 6 เดือน จะได้ขนาดตลาดต้องการ และหากแปลงนามีน้ำสมบูรณ์อาจพิจารณาปล่อยปลาหัวโตหรือปลา
นวลจันทร์เทศอย่าง หนึ่งอย่างใดหรือรวมกันเสริมลงไป ไม่เกิน 10-20 ตัวต่อพื้นที่ 1 ไร่ก็ได้ หลังจากปล่อยพันธุ์ปลาลงในแปลงนา
แล้วในสัปดาห์ที่ 1-2 ควรให้อาหารสมทบแก่ลูกปลาขนาดเล็ก พวกรำละเอียดโปรยให้บริเวณที่ปล่อยปลาหลังจากนั้นจึงปล่อยให้ปลา
หาอาหารกิน เองในแปลงนา


อาหารและการให้อาหาร
การเลี้ยงปลาในนาเป็นการให้อาหารธรรมชาติในผืนนาที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ แต่อาหารธรรมชาตินี้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ
ของปลา จำเป็นต้องเร่งให้เกิดอาหารธรรมชาติ โดยการใส่ปุ๋ยและให้อาหารสมทบ

ปุ๋ยที่เหมาะสมได้แก่ มูลสัตว์ที่หาได้ในท้องถิ่นใส่ในอัตราเดือนละ 50-80 กิโลกรัมต่อไร่ โดยการหว่านในร่องนาหรือกองไว้ที่มุม
แปลงนาด้านใดด้านหนึ่งแล้วแต่ความสะดวก หรือผสมใช้ทำเป็นปุ๋ยหมักก็ได้ ส่วนการใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์นั้นสามารถใส่ได้ตามที่
กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำ


อาหารสมทบ ได้แก่ รำ ปลายข้าวต้มผสมรำ ปลวก แมลง ผัก และหญ้า ชนิดที่ปลากินได้ จะทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้การปลูกสร้างคอกสัตว์ เช่น ไก่ เป็ด ไว้บนแปลงนาจะเป็นการเพิ่มอาหารปลาเนื่องจากมูลสัตว์สามารถใช้เป็นปุ๋ยแก่ปลา
ได้ด้วย


การดูแลรักษา
1. ศัตรู โดยทั่วไปได้แก่ ปลาช่อน งู กบ เขียด หนู และนกกินปลา ก่อนปล่อยปลาจึงควรกำจัดศัตรูภายในผืนนาออกให้หมดเสียก่อน
และควรระมัดระวังโดยพยายามหาทางป้องกันศัตรูที่จะมาภายหลังอีกด้วย

2. ระดับน้ำ ควรจะรักษาระดับน้ำให้ท่วมผืนนาหลังจากปล่อยปลาแล้วจนถึงระยะเก็บเกี่ยว อย่างน้อยประมาณ 1-2 คืบ (30 เซน
ติเมตร) เพื่อปลาจะได้หากินบนผืนนาได้ทั่วถึง

3. หมั่นตรวจสอบคันนาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันคันนารั่วซึมและพังทลาย สาเหตุมักเกิดจากการเจาะทำลายของปูนา และฝนตกหนัก

4. ยาปราบศัตรูพืช ไม่ควรใช้ยาปราบศัตรูพืชในแปลงนาที่มีการเลี้ยงปลาร่วมอยู่ด้วย เพราะยาฆ่าแมลงหรือยาปราบศัตรูพืชส่วน
ใหญ่เป็นอันตรายต่อปลาแม้ใช้เพียงเล็ก น้อยก็อาจทำให้ปลาถึงตายได้ แต่ในกรณีที่ต้นข้าวเกิดโรคระบาดจำเป็นจะต้องฉีดยาฆ่า
แมลง ควรจับปลาออกให้หมดเสียก่อน

5. การใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ชนิดเม็ดที่ละลายได้ยากจะต้องระมัดระวังให้มากเพราะ ปลาอาจจะกินปุ๋ยทำให้ตายได้ ควรละลายน้ำ
แล้วสาดให้ทั่วผืนนา



ผลผลิตที่ได้
การเลี้ยงปลาในนาข้าวนอกจากจะได้ข้าวตามปกติแล้ว จากผลการทดลองพบว่าแปลงนาที่มีการเลี้ยงปลาควบคู่กับการปลูกข้าว
จะได้ข้าวเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณไร่ละ 5 ถัง นอกจากนี้ยังได้ปลาอีกอย่างน้อยประมาณไร่ละ 20 กิโลกรัม ซึ่งถ้าหากมีการใส่
ปุ๋ยและให้อาหารสมทบด้วยแล้วจะได้ผลผลิตปลาเพิ่มขึ้นอีก ประมาณ 5 เท่า
การเลี้ยงปลาในนาข้าวเป็นอาชีพที่ชาวนาสามารถ
ปฏิบัติได้เกือบตลอดปีเพราะ นอกจากจะเลี้ยงปลาในนาในระยะที่ทำนาตามปกติแล้วหลังจากที่เก็บเกี่ยวข้าวใน นาเสร็จ ชาวนายัง
สามารถใช้ผืนนาเดิมเลี้ยงปลาในระยะหลังการเก็บเกี่ยวได้อีกในกรณีที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์ โดยเพิ่มระดับน้ำให้ท่วมผืนนาอย่างน้อย
ประมาณ 1-2 คืบ (30 เซนติเมตร)

ตลอดระยะเวลาที่เลี้ยงปลา ผืนนาที่เคยถูกทอดทิ้งให้แห้งแล้งปราศจากประโยชน์จะกลับกลายสภาพเป็นบ่อ เลี้ยงปลา ซังข้าวและวัช
พืชบนผืนนาจะเน่าสลายกลายเป็นอาหารอย่างอุดมสมบูรณ์แก่ปลา เป็นการใช้ประโยชน์จากผืนนาอีกครั้งหนึ่งจนกว่าจะถึงฤดู
ทำนาตามปกติ

การเลี้ยงปลาในนาข้าวเป็นการเพิ่มผลผลิตแก่พี่น้องชาวนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะสามารถช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนอาหารได้
เป็นอย่างดี หรืออย่างน้อยที่สุดก็จะช่วยให้ชาวนามีการกินดีอยู่ดี กับทั้งจะเป็นการเสริมสร้างรายได้ของครอบครัวเพิ่มขึ้นอีกด้วย

ยิ่งกว่านั้นยังทำให้ชาวนาใช้ผืนนาในฤดูทำนาให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ และแม้แต่หลังฤดูเก็บเกี่ยวแล้ว ชาวนายังสามารถใช้ผืน
นาให้เป็นประโยชน์ด้วยการเลี้ยงปลาได้อีก จึงควรที่พี่น้องชาวนาจะได้ริเริ่มดัดแปลงผืนนาของตนให้เกิดประโยชน์แก่ ครอบครัว อัน
จะเป็นการช่วยเสริมสร้างเศรษฐกิจของประเทศให้พัฒนายิ่ง ๆ ขึ้นไป



คำแนะนำ
การป้องกันสัตว์น้ำจากภัยธรรมชาติ
"ภัยธรรมชาติ" หมายถึง อันตรายจากสิ่งที่เกิดมีและเป็นอยู่ตามธรรมชาติ ของสิ่งนั้น ๆ โดยมิได้มีการปรับปรุง อาทิ อุทกภัย และ
ฝนแล้ง เป็นต้น กรมประมง จึงขอเสนอแนวทางป้องกันหรือลดความสูญเสียและความเสียหายแก่เกษตรกรผู้เพาะ เลี้ยงสัตว์น้ำ
จากการประสบภาวะฝนแล้ง ฝนต้นฤดูและอุทกภัย ดังนี้


ภาวะฝนแล้ง
ภาวะฝนแล้งและฝนทิ้งช่วงทำให้ปริมาณน้ำมีน้อยทั้งในแหล่งน้ำธรรมชาติและแหล่งน้ำ ชลประทานซึ่งเป็นแหล่งน้ำสำคัญที่ใช้ในการ
เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและเกิดผลกระทบ ต่อการประมง ตลอดจนสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมต่อการแพร่ขยายพันธุ์และการเจริญเติบ
โตของสัตว์ น้ำ โดยมีวิธีการปฏิบัติดังนี้
1. ควบคุมการใช้น้ำและรักษาปริมาณน้ำในที่เลี้ยงสัตว์น้ำให้มีการสูญเสียน้อย เช่น การรั่วซึม การกำจัดวัชพืช

2. ทำร่มเงาให้สัตว์น้ำเข้าพักและป้องกันการระเหยน้ำบางส่วน

3. ลดปริมาณการให้อาหารสัตว์น้ำที่มากเกินความจำเป็นจะทำให้น้ำเสีย

4. เพิ่มปริมาณออกซิเจนโดยใช้เครื่องสูบน้ำจากก้นบ่อพ่นให้สัมผัสอากาศแล้วไหลคืนลงบ่อ

5. ปรับสภาพดินและคุณสมบัติของน้ำ เช่น น้ำลึก 1 เมตร ใส่ปูนขาว 50 กก./ไร่ ถ้าพื้นบ่อตะไคร่หรือแก๊สมากเกินไปควรใส่เกลือ 50
กก./ไร่ เพื่อปรับสภาพผิวดินให้ดีขึ้น

6. จับสัตว์น้ำที่ได้ขนาดขึ้นจำหน่ายหรือบริโภคในเวลาเช้าหรือเย็น เพื่อลดปริมาณสัตว์น้ำในบ่อ

7. ตรวจสอบคุณสมบัติของน้ำจากภายนอกที่จะสูบเข้าบ่อเลี้ยง เช่น พบว่ามีตะกอนและแร่ธาตุต่าง ๆ เข้มข้น ควรงดการสูบน้ำเข้าบ่อ

8. งดเว้นการรบกวนสัตว์น้ำเพราะการตกใจจะทำให้สัตว์น้ำสูญเสียพลังงานและอาจตายได้

9. งดเว้นการขนย้ายสัตว์น้ำโดยเด็ดขาด หากจำเป็นต้องทำอย่างระมัดระวัง

10. แจ้งความเสียหายตามแบบฟอร์มกรมประมง เพื่อการขอรับความช่วยเหลืออย่างถูกต้อง และรวดเร็ว


ภาวะฝนต้นฤดู
การเตรียมการรับภาวะฝนต้นฤดู เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควรปฏิบัติ ดังนี้
1. ไม่ควรสูบน้ำฝนแรกเข้าบ่อ เพราะน้ำจะพัดพาสิ่ง
สกปรกจากผิวดินลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ควรปล่อยให้น้ำมีปริมาณเพิ่มขึ้น จึงนำน้ำไปใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

2. ควรสูบน้ำในบ่อให้สัมผัสอากาศจะช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนและป้องกันการแบ่งชั้นของน้ำ

3. ป้องกันการไหลของน้ำฝนที่จะชะล้างแร่ธาตุและสารเคมีจากผิวดินลงสู่บ่อ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำได้

4. งดการรบกวน การจับและขนย้ายสัตว์น้ำ ควรรอจนกว่าคุณสมบัติของน้ำมีสภาพดีเป็นปกติ

5. งดจับสัตว์น้ำเพื่อการอนุรักษ์ เนื่องจากสัตว์น้ำจะผสมพันธุ์หลังจากฝนตกใหม่ ๆ


ภาวะอุทกภัย
การป้องกันสัตว์น้ำสูญหายจากภาวะอุทกภัยควรปฏิบัติตามสภาวะการณ์ก่อนเกิด ภาวะอุทกภัย คือให้จับสัตว์น้ำที่ได้ขนาดตลาดต้อง
การออกจำหน่าย ก่อนช่วงมรสุมในฤดูฝน พร้อมทั้งสร้างกระชังไนลอน กระชังเนื้ออวน บ่อซีเมนต์ หรือขึงอวนไนลอน เพื่อกักขังสัตว์น้ำ

"สัตว์น้ำจะปลอดภัย ให้ป้องกันหมั่นดูแล"




อ้างอิง : nicaonline.com
http://store.farmkaset.net/index.php?option=com_kunena&Itemid=90&func=view&catid=10&id=143
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 20/06/2011 5:46 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ปลูกเผือกในนา



เผือกกับน้ำเป็นของคู่กัน


http://search.babylon.com/imageres.php?iu=http://www.bloggang.com/data/klongrongmoo/picture/1301494060.jpg&ir=http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=klongrongmoo&month=03-2011&date=31&group=12&gblog=82&ig=http://images.google.com/images?q=tbn:ANd9GcRWaGju2MWrMejT9Uxjd58E7CDGyuZS6ZfyJLGT5H1FvMOIia59_6F7GBk:www.bloggang.com/data/klongrongmoo/picture/1301494060.jpg&h=533&w=493&q=ปลูกเผือกในนา&babsrc=HP_ss

-----------------------------------------------------------------------------------------------------


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 21/06/2011 9:19 am, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 20/06/2011 5:46 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ปลูกแตงโมหลังนา

-----------------------------------------------------------------------------------------------------


ชาวพิจิตรเริงร่า แตงโมสร้างเงิน ๓๒ ล้านบาท

แตงโมวังทรายพูน เนื้อแน่น รสชาดดี ตลาดผลไม้ไทยยอมรับ สร้างรายได้แก่เกษตรกรวังทรายพูนกว่า ๓๒ ล้านบาท

วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ นายชาติชาย เจียมศรีพงษ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตร เป็นประธานเปิดงาน
“วันแตงโมโ ชว์กรงนก” ครั้งที่ ๒๑ ประจำปี ๒๕๕๔ ณ สนามที่ว่าการอำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร




สำหรับการจัดงาน “วันแตงโม โชว์กรงนก” นั้นถือเป็นงานประจำปีของอำเภอวังทรายพูนที่จัดติดต่อกันมาเป็นปีที่ ๒๑
เพื่อส่งเสริมการปลูกพืชฤดูแล้ง เพิ่มรายได้ให้เกษตรกร ลดการใช้สารเคมี เน้นปลูกแตงโมปลอดสารพิษ ใช้สารสกัดจาก
ธรรมชาติ พร้อมทั้งเป็นการสนับสนุนการท่องเที่ยวจังหวัดพิจิตร

เนื่องด้วยอำเภอวังทรายพูนเป็นพื้นที่ราบเป็นส่วนใหญ่ ประชาชนประกอบอาชีพทำนาเป็นหลัก หลังการเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว
น้ำที่ใช้ในการเพาะปลูกจะเหลือน้อย การปลูกแตงโมหลังเก็บเกี่ยวข้าวเป็นทางเลือกในการสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรชาว
วังทรายพูน ในปี ๒๕๕๔ มีเกษตรกรปลูกแตงโมรวมทั้งสิ้นกว่า ๑ พันไร่ จะได้ผลผลิตไร่ละ ๔ ตัน ซึ่งแตงโมวังทรายพูน
มีคุณภาพดี เนื้อแน่น รสชาติดี หวาน กรอบ อร่อย เป็นที่นิยมของผู้บริโภคทั่วประเทศ ทำให้แตงโมจากอำเภอวังทราย
พูนส่งออกจากไร่ไปสู่ตลาดค้าผลไม้ได้ทั่วประเทศกว่า ๔ พันตัน ราคาขายส่งจากไร่ขณะนี้อยู่ที่กิโลกรัมละ ๘-๑๐ บาท ทำ
ให้เกษตรกรมีรายได้จากการปลูกแตงโมไร่ละ ๓๒,๐๐๐ บาท รวมมูลค่าจากการจำหน่ายแตงโมกว่า ๓๒ ล้านบาท



http://www.oknation.net/blog/print.php?id=688327

------------------------------------------------------------------------------------------------------



เกษตรกรบ้านปากน้ำบุ่งสะพรัง ปลูกแตงโมขายเมล็ดพันธุ์ สร้างรายได้หลังฤดูเก็บเกี่ยว

เกษตรกรบ้านปากน้ำบุ่งสะพรัง อำเภอเมือง อุบลราชธานี ได้ปรับเปลี่ยนแนวคิดการปลูกแตงโมเพื่อขายเมล็ด สร้างรายได้
แทนการปลูกขายผลปลูกแตงโม

คุณลุงสมเดช แสงสว่าง เกษตรกรบ้านปากน้ำบุ่งสะพรัง เปิดเผยว่า หลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวนาปี เสร็จเรียบร้อยแล้ว จะพา
ครอบครอบครัวปลูกแตงโม พันธุ์ที่ขายเมล็ด โดยมีภาคเอกชนเข้ามาส่งเสริมให้ปลูกเพื่อนำขยายพันธุ์ โดยมีการรับซื้อเมล็ด
แตงโมกลับคืนในราคากิโลกรัมละ 700-2,000 บาท แล้วแต่พันธุ์ที่จะส่งเสริมในแต่ละปี

โดยในปีนี้ได้นำเมล็ดพันธ์แตงโม พันธุ์จินตหรา เข้ามาส่งเสริมให้ปลูก ในปีนี้ ปลูกแตงโมในพื้นที่นา จำนวน 5 ไร่ จะได้
เมล็ดแตงโม ประมาณ 70-80 กิโลกรัม คาดว่าหลังจากที่หักค่าใช้จ่ายแล้วจะมีเงินเหลือประมาณ 3-4 หมื่นบาท

ซึ่งคุณลุงบอกว่าพออยู่ได้อย่างมีความสุข เพราะครอบครัวไม่ต้องอพยพไปทำงานต่างถิ่น ทั้งยังได้อยู่พร้อมหน้าทั้งครอบครัว

คุณลุงสมเดชฯ เล่าถึงวิธีการปลูกแตงโมเพื่อขายเมล็ดกับการปลูกเพื่อขายผลนั้น มีวิธีการปลูกที่ไม่แตกต่างกันนัก ซึ่งเมื่อ
แตงโม อายุได้ 75-80 วัน ผลแตงจะแก่ได้ที่ สามารถเก็บเกี่ยวได้ จะนำมาผ่าซีก ควักเอาเนื้อแตงออกมาใส่ถัง แล้วร่อน
เอาแต่เมล็ดนำมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วจึงนำเมล็ดพันธุ์ไปตากแดดจัด ๆ ประมาณ 4 ชั่วโมง ซึ่งถือว่าเป็นขั้นตอนที่มีความ
สำคัญ เพราะหากแดดไม่จัด อาจจำเป็นต้องตากนาน 2-3 วัน และต้องหมั่นกลับด้านมิฉะนั้นเมล็ดจะบิดงอ เมล็ดแตงที่
ตากได้ที่แล้ว ทดสอบได้โดยเอามือกำเมล็ดดู หากเมล็ดติดมือแสดงว่ายังใช้ไม่ได้ต้องตากแดดต่อ แต่หากไม่ติดมือแสดง
ว่าใช้ได้แล้ว นำไปบรรจุใส่กระสอบเพื่อจำหน่ายต่อไป


นิลา สิงห์คีรี /ข่าว Rewriter: อังกฤษ ทองสัมฤทธิ์ / ทีมข่าว สวท.อุบลราชธานี สปข. 2 รายงาน / 7 เม.ย.54
e-mail : angkeets_t@prd.go.th , bigapp3838@hotmail.com , lungapp@hotmail.com http://radio.prd.go.th/ubonratchathani/main.php?filename=index

http://region2.prd.go.th/ewt_news.php?nid=6901&filename=intro

-----------------------------------------------------------------------------------------------------








แตงโมสี่เหลี่ยมและแตงโมรูปหัวใจของจริงจากประเทศไทย



http://www.surin.rmuti.ac.th/websurin/suriyon/index.php?option=com_content&view=article&id=20&Itemid=30

-----------------------------------------------------------------------------------------------------


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 21/06/2011 7:46 am, แก้ไขทั้งหมด 5 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 20/06/2011 4:33 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ปลูกผักบนคันนา

-----------------------------------------------------------------------------------------------------






กรมข้าวผุดไอเดียสร้างกองทหารปราบเพลี้ย

กรมข้าวไอเดียบรรเจิดสร้าง"กองทหารปราบเพลี้ย" ด้วยการจัดระบบนิเวศในนาข้าว ปลูกพืชบนคันนา เพิ่มปริมาณ
แมลงศัตรูธรรมชาติ-สร้างความสมดุลธรรมชาติ

นางสำลี บุญญาวิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการข้าว เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากในช่วงปี 2551-2553 ที่ผ่านมานับ
เป็นปีทองของชาวนาที่ขายข้าวเปลือกได้ในราคาสูง ทำให้ชาวนาเพิ่มปัจจัยการผลิตมากขึ้นทั้งในด้านพื้นที่ปลูก
จำนวนครั้งของการปลูก เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย สารเคมี และน้ำ เป็นเหตุให้ไม่มีการพักดินเพื่อฟื้นฟูหรือบำรุงดิน ทำ
ให้มีแมลงศัตรูข้าว เช่น เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมีอาหารกินตลอดปี และขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้
การใช้สารเคมีอย่างไม่ถูกต้อง ผิดชนิด ผิดวิธี และใช้มากเกินความจำเป็น ทำให้แมลงศัตรูธรรมชาติ และ
แมลงที่มีประโยชน์มีจำนวนลดลงอย่างมาก จึงเกิดการระบาดของแมลงศัตรูพืช

กรมการข้าวจึงมีแนวคิดที่จะเพิ่มปริมาณแมลงศัตรูธรรมชาติและแมลงที่เป็นประโยชน์กลับคืนสู่นาข้าว
อีกครั้งโดยการจัดระบบนิเวศในนาข้าว (Ecological engineering) ซึ่งเป็นแนวความคิดใหม่เพื่อสร้างความ
สมดุลทางธรรมชาติกลับคืนสู่นาข้าว ด้วยการ ปลูกพืชอื่นๆ หลากหลายชนิดบนคันนา หรือตามคู คลอง
รอบๆ แปลงนาข้าว โดยเฉพาะพืชที่มีดอกสีเหลืองหรือสีขาว เช่น ดาวเรือง กระดุมทอง เดซี่ ทานตะวัน ตีนตุ๊กแก

เป็นต้น หรือเป็นจำพวกผัก เช่น บวบ ฟักทอง งา กระเจี๊ยบ พริก ถั่วฝักยาว มะระ แตง เป็นต้น เพื่อให้แมลง
ศัตรูธรรมชาติหรือแมลงที่มีประโยชน์ใช้เป็นแหล่งอาหาร เป็นที่อยู่อาศัยและขยายแพร่พันธุ์

โดยแมลงศัตรูธรรมชาติเหล่านี้ อาทิ แมลงจำพวกช่วยผสมเกสร เช่น แมลงภู่ ผึ้ง แมลงจำพวกตัวห้ำตัวเบียน
ได้แก่ มวนเขียวดูดไข่ ด้วงเต่า แมลงปอ แมงมุม ต่อแตน และจำพวกสัตว์น้ำในนาข้าว เช่น กบ เขียด ปลา ซึ่ง
เปรียบเสมือน “การสร้างกองทหาร” เพื่อคอยควบคุมและทำลายแมลงศัตรูข้าวที่เข้ามาในนาข้าว ลดความเสีย
หายจากการทำลายของแมลงศัตรูข้าว และลดการใช้สารฆ่าแมลงในนาข้าว เป็นการเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับระบบ
นิเวศในนาข้าวอย่างยั่งยืน และเพิ่มรายได้ให้ชาวนาอีกทางหนึ่ง

"ในส่วนของประเทศไทย ขณะนี้กรมการข้าวได้ร่วมกับสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (IRRI) ดำเนินการศึกษา
เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2552 และขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างดำเนินการรายละเอียด



http://www.rd1677.com/rd_sarabury/top_sarabury.php?id=71952

------------------------------------------------------------------------------------------------------




สหกรณ์แปดริ้ว ดันข่า-ตะไคร้ ผ่าน GAP เพิ่มรายได้ให้สมาชิก

นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ สหกรณ์จังหวัดฉะเชิงเทรา เผยว่า สมาชิกสหกรณ์การเกษตรปฏิรูปที่ดินเมืองฉะเชิงเทรา จำกัด
กว่า 400 คน ทำอาชีพเสริมรายได้ในการ ปลูกข่า ตะไคร้ ตามคันนา หรือ รอบบ่อกุ้ง ในบ้าน และตามร่องสวน ซึ่งมีพ่อค้ามารับ
ซื้อจึงมีการปลูกเพื่อจำหน่ายมากขึ้น ซึ่งเป็นการปลูกแบบธรรมชาติไม่ใช้ยาฆ่าแมลง ขณะนี้มีสมาชิกสหกรณ์จำนวน
10 ราย ประสงค์จะขอมาตรฐาน GAP เพื่อให้ได้การรับรองผลผลิตปลอดสารพิษ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดฉะเชิงเทรา
ได้จัดทำข้อมูล พร้อมส่งรายชื่อให้กรมวิชาการเกษตรเพื่อตรวจสอบและรับรองมาตรฐาน GAP จะทำให้ผลผลิต
สามารถส่งจำหน่ายบนห้างได้และช่วยให้สมาชิกขายผลผลิตได้ราคาสูงขึ้น

สำหรับระยะเวลาการปลูกตะไคร้ประมาณ 5-7 เดือน ส่วนข่าประมาณ 8 เดือน สามารถเก็บผลผลิตจำหน่ายได้ การ
จำหน่ายสมาชิกจะเก็บตะไคร้ตัดใบแล้วมัดเป็นกำ กำละ 1 กก. แล้วนำมารวมกันเป็นมัดใหญ่ 10 กก. ใส่ถุงเพื่อสะดวก
ในการขนย้าย ส่วนข่าทำความสะอาดตัดรากแล้วใส่ถุง ถุงละ 5-10 กก. พ่อค้าจะมารับซื้อและจ่ายเงินเมื่อได้รับของแล้ว
ราคาจะไม่แน่นอนขึ้นกับปริมาณของผลผลิต โดยราคาข่าอยู่ที่ 20 บาทต่อกิโลกรัม ตะไคร้ราคาประมาณ 10-12 บาท


http://bbznet.pukpik.com/scripts/view.php?user=zsuwan34&board=1&id=27&c=1&order=numview

-------------------------------------------------------------------------------------------------------




ศูนย์เรียนรู้การผลิตพืชตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่ พัทลุง

นอกจากนั้น มีการปรับพื้นที่นา ทำการ ยกคันนากว้างประมาณ 2 เมตร เพื่อใช้ปลูกพืชอื่น ๆ และขุดคูใน
แปลงนา 1 ข้างกว้าง 2 เมตร เพื่อใช้เลี้ยงปลาในนาข้าว มีการปลูกพืช บนคันนาได้แก่ มะพร้าว ตะไคร้
กล้วย ฟักทอง และฟักเขียว บนคันคูปลูก คูน ข่าแดง ข่าเหลือง ปลูกบัวในคูน้ำ
ปลูกปอเทืองในนาเพื่อบำรุงดิน

พื้นที่พืชไร่พืชสวนใช้แนวคิดการปลูกพืชผสมผสาน เน้นพันธุ์พืชของกรมวิชาการเกษตร มีความหลากหลาย
ของกลุ่มพืชที่ทำให้เกิดความพอเพียง และจัดรูปแบบการปลูกในเชิงการท่องเที่ยวเน้นเพื่อการศึกษาดูงาน

หลักการจัดการพื้นที่อยู่อาศัย เน้นการดำเนินชีวิตที่ทำให้เกิดความพอเพียง คือ การใช้ภูมิปัญญาเพื่อการพึ่ง
ตนเอง การดำรงชีพตามวิถีพอเพียง บริเวณพื้นที่บ้านปลูกพืชผักสวนครัว พร้อมสร้างโรงเพาะเห็ด เลี้ยงผึ้ง
ทำปุ๋ยหมัก และสารสกัดเพื่อป้องกันกำจัดศัตรูพืชด้วย


http://www.soard8.com//?cid=592234

--------------------------------------------------------------------------------------------------




ตำบลบางขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา

สภาพทั่วไปของตำบล :
เป็นที่ราบลุ่ม เหมาะแก่การทำนา ทำสวน ประชาชนจึงนิยมทำนาและปลูกพืชสวนครัว (ข่า ตะไคร้) เป็นส่วนใหญ่
พื้นที่จึงมีลักษณะเป็นที่นาสวนผสม โดย ปลูกข่า ตะไคร้ไว้ริมคันนา



http://www.thaitambon.com/tambon/ttambon.asp?ID=240109

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------




40. การดัดแปลงคันนาให้กว้าง 3-4 ม. แล้วปลูกพืชสวนครัว เช่น พริก มะเขือ ข่า ตะไคร้ ฯลฯ บนคันนานั้น
ผลผลิตที่ได้เมื่อเทียบกับจำนวนเนื้อที่แล้วจะได้มากกว่าข้าว



http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=1698&page=2

-----------------------------------------------------------------------------------------------------



อดิศร พวงชมภู ประธาน ได้นำหลักคิดทฤษฎีใหม่ไปสู่การพัฒนาการเกษตรที่เรียกโครงการภูมิปัญญาไทย 1 ไร่
ได้เงิน 1 แสน โดยจัดทำการเกษตรแบบองค์รวมดังแผนภูมิข้างล่างนี้

ในแปลงนา 1 ไร่จะถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ

ส่วนที่ 1 เป็นคันนากว้าง 1-1.5 เมตร ไว้สำหรับปลูกพืช เช่น มะรุม พริก ตะไคร้
มะนาว หรือปลูกผักสวนครัว
ที่กินได้ พืชที่ปลูกบนคันนาจะเป็นพืชที่เกษตรกรเก็บกินได้ ไม่ต้องซื้อ ถ้าเหลือก็สามารถนำไปขาย ทำพืช
สมุนไพรใช้ป้องกันกำจัดศัตรูพืช


ส่วนที่ 2 คือ ร่องน้ำ ขุดร่องน้ำรอบแปลงนาขนาดกว้าง 1 เมตร ลึก 1 เมตร สำหรับทำประมง เช่น เลี้ยงปลา
เลี้ยงกบ เลี้ยงหอย เลี้ยงกุ้ง มูลสัตว์ทั้งหลายจะเป็นปุ๋ยให้กับต้นข้าวต่อไป


ส่วนที่ 3 พื้นที่ปลูกข้าวหอมนิล และเลี้ยง
สัตว์เสริมบริเวณแปลงนา เช่น เป็ดไข่ ซึ่งปล่อยเป็ดให้ไปหาอาหารตามแปลงนา และกบ แต่ล้อมด้วยมุ้ง
สีฟ้ารอบขอบนาเพื่อป้องกันกบกระโดดออกนอกแปลงนา



http://www.ryt9.com/s/tpd/1122220

--------------------------------------------------------------------------------------------------




ระบบการปลูกพืชบนคันนา

การปลูกไม้ยืนต้นและไม้เศรษฐกิจยังคำนึงถึงรายได้ที่จะต้องมีในการใช้จ่ายภายในครอบครัวในยามที่จำเป็น เช่น ยามเจ็บไข้

การปลูกพืชบนคันนาในหน้าแล้ง ควรเลือกพืชผักที่สามารถทนทานต่อความแห้งแล้ง หรือมีการปรับสภาพให้เข้ากับสภาพ
ของสิ่งแวดล้อมได้ ทั้งนี้ก็เพราะว่า เป็นการลดการใช้น้ำ และทำให้มีพืชผักบริโภคได้ตลอดปีนั่นเอง อย่างเช่น มะเขือพวง
ที่สามารถทนต่อสภาพแห้งแล้งได้เป็นอย่างดี ตะไคร้ ส่วนพืชที่มีหัวอยู่ไต้ดินเช่น มันเทศ นอกจากนี้พืชที่พื้นฐาน ได้แก่
กล้วย ซึ่งจะเห็นได้ว่า ถึงแม้สภาพอากาศจะแห้งแล้งสักเพียงใด กล้วยก็ยังสามารถ
อยู่ได้




การปลูกไม้ยืนต้นและไม้เศรษฐกิจยังคำนึงถึงรายได้ที่จะต้องมีในการใช้จ่ายภายในครอบครัวในยามที่จำเป็นเช่น ยามเจ็บไข้
เป็นต้น คำนึงทั้งรายได้และการได้บริโภคพืชผัก จะมีการวางแผนที่จะให้มีรายได้ในแต่ละวัน แต่ละสัปดาห์ แต่ละเดือนจนถึง
รายๆได้เป็นปี รายได้เป็นวันก็มาจากพืชผักที่สามารถจะเก็บขายได้ทุกวันโดยหมุนเวียนแต่ละชนิด รายได้เป็นสัปดาห์และ
รายเดือนเป็นพวกไม้ผล ส่วนรายได้เป็นปีจะเป็นไม้เศรษฐกิจ




http://www.gotoknow.org/blog/laipilai/51969

-----------------------------------------------------------------------------------------------
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 21/06/2011 9:39 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การปลูกถั่วเหลืองหลังนา

โดยไม่ไถเตรียมดินใช้การคราดล้มตอซัง หรือ ตัดตอซังคลุมดิน

การปลูกถั่วเหลืองหลังนาในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน มีพื้นที่ปลูกในแต่ละปีประมาณ 2 แสนไร่เศษ แหล่งปลูกที่สำคัญ
ได้แก่ จังหวัดชัยภูมิ ขอนแก่น เลยและหนองบัวลำภู ประวัติการปลูกถั่วเหลืองในเขตนี้เริ่มมีมาก่อนปี พ.ศ. 2530 ในระยะแรก
มีการปลูกโดยการไถเตรียมดินแล้วกระทุ้งหลุมหยอดเมล็ด ซึ่งต่อมาได้มีการพัฒนาการปลูกเพื่อลดต้นทุนและลดความ
เสี่ยงด้านต่างๆ โดยเกษตรกรผู้ปลูกได้อาศัยประสบการณ์จากการเรียนรู้และสะสมมา จนในปัจจุบันนี้ได้มีเทคโนโลยีการผลิต
ถั่วเหลืองหลังนา หลายรูปแบบ แตกต่างกันตามเงื่อนไขของพื้นที่และทรัพยากร ซึ่งเกษตรกรผู้ปลูกมีอยู่ วิธีการปลูกรูปแบบ
หนึ่งที่มีการปฏิบัติมากในแหล่งปลูก อำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น และเริ่มมีการขยายผลไปยังแหล่งปลูกใกล้เคียง คือ
การปลูกโดยไม่ไถเตรียมดินไม่เผาฟางแต่ใช้ฟางกลบเมล็ด ซึ่งเป็นรูปแบบที่เกษตรกรเห็นว่าได้ผลดี ลงทุนต่ำ ทำ
ให้เกษตรกรมีผลตอบแทน

คุณลักษณะดีเด่นของเทคโนโลยี
1. ไม่ต้องไถเตรียมดินทำให้ลดต้นทุนในการผลิต โครงสร้างดินไม่เสียและสามารถปลูกถั่วเหลืองได้เร็วขึ้น ซึ่งเป็นผลดี
ในแง่การเจริญเติบโตและทำให้ผลผลิตลดความเสี่ยงจากฝนในช่วงเก็บเกี่ยว

2. ต้องมีการเผาฟางซึ่งเป็นเศษซากพืชที่มีประโยชน์ในการปรับปรุงบำรุงดิน ไม่ส่งผลเสียต่อสภาพแวดล้อมต่างๆ เมื่อ
เปรียบเทียบกับวิธีการปลูกโดยทั่วไปของเกษตรกร ซึ่งนิยการเผาฟางก่อนปลูก

3. การกลบฟางทำให้เกิดผลดีในการรักษาความชื้นภายในดินลดจำนวนครั้งของการให้น้ำแก่พืช

4. การกลบฟางทำให้ลดต้นทุนในการกำจัดวัชพืชเนื่องจากมีปริมาณวัชพืชน้อย อันเป็นผลจากากรกลบของฟาง

5. ทำให้เมล็ดถั่วเหลืองงอกได้ดีขึ้น เนื่องจากเมล็ดที่มีฟางคลุมจะไม่โดนแดดเผามีความชื้นพอสำหรับการงอก จึงมีจำนวน
ต้นต่อพื้นที่สูงกว่าการปลูกแบบหว่าน ซึ่งเมล็ดไม่มีอะไรมาคลุมทำให้ผลผลิตต่อพื้นที่สูงกว่าด้วย


คำแนะนำวิธีการใช้
หลักการสำคัญของการปลูกถั่วเหลืองรูปแบบนี้ คือ การไม่ไถเตรียมดิน ไม่เผาตอซังข้าว ใช้ตอซังกลบเมล็ดถั่วเหลือง
ที่หว่าน รูปแบบการปฏิบัติของเกษตรกรแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ


รูปแบบที่ 1
การปลูกโดยวิธีไม่ไถเตรียมดิน ไม่เผาฟาง หว่าน แล้วคราดล้มตอซังกลบเมล็ด วิธีการปฏิบัติมีดังนี้คือ หลังจากเก็บเกี่ยว
ข้าวนาปีแล้ว จะสูบน้ำเข้าแปลงปลูกให้ระดับน้ำท่วมสูง ประมาณ 10 ซม. ทำร่องน้ำในแปลงปลูกโดยใช้รถไถเดินตามกรีด
ร่องตามแหล่งปลูก ซึ่งระยะห่างของร่างไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับสภาพแปลงปลูก ว่ามีความสม่ำเสมอเพียงใด ซึ่งเกษตรกร
เจ้าของแปลงปลูกจะรู้สภาพพื้นที่ของแต่ละแปลงเป็นอย่างดี กล่าวคือ ถ้าแปลงปลูกมีความสม่ำเสมอก็ไม่ต้องทำร่องน้ำ
มาก หรือทำให้ห่างขึ้นได้ แต่ถ้าแปลงไม่สม่ำเสมอจำเป็นต้องกรีดร่องน้ำจำนวนมาก และถี่เพื่อระบายน้ำออกจากจุด
ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มเพราะ ถ้าระบายน้ำออกได้ไม่ดีการงอกจากการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตของถั่วเหลืองจะไม่ดีด้วย
(บางรายจะทำร่องน้ำภายหลังจากหว่านและคราดกลบเมล็ดแล้ว) จากนั้นจึงเริ่มหว่านเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองหลังจากหว่าน
เสร็จ จึงทำการคราดล้มตอซังข้าว โดยใช้คราดเหล็กติดรถไถเดินตาม คราดจำนวน 1 รอบเพื่อให้ตอซังข้าวล้มลง
และกลบเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองที่หว่าน แล้วแช่น้ำขังเมล็ดไว้ในแปลงนาน 6-12 ชั่วโมง ให้เมล็ดถั่วดูดน้ำจนอิ่มจึง
ระบายน้ำตามร่องที่ได้ไว้ในตอนแรก ให้น้ำแห้งและไม่มีน้ำท่วมขังเมล็ดเพราะอาจทำให้เมล็ดเน่าได้ สรุปขั้นตอนการ
ปลูกได้ดังนี้


รูปแบบที่ 2
การปลูกโดยไม่ไถเตรียมดิน หว่านแล้วตัดต่อซังคลุมเมล็ด หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวนาปีแล้ว สูบน้ำเข้าแปลงปลูกให้
น้ำท่วมสูง ประมาณ 5 ซ.ม.แล้วไถ กรีดร่องน้ำ โดยใช้รถไถเดินตาม เช่นเดียวกับรูปแบบที่ 1 จากนั้นจึงเริ่มหว่านเมล็ด
พันธุ์ถั่วเหลืองลงในแปลงขณะเดียวกันก็ใช้รถไถเดินตาม ซึ่งติดใบมีดที่ประดิษฐ์ขึ้นสำหรับใช้ตัดต่อซังหรือหญ้า (มีลักษณะ
คล้ายใบมีดของเครื่องตัดหญ้าสนามโดยทั่วไป) หรือใช้เครื่องตัดหญ้าชนิดสะพายไหล่หรือใช้แรงงานคนตัดตอซังให้ล้ม
และกลบเมล็ด ให้น้ำแช่ขังเมล็ดนาน 6-12 ชั่วโมง จึงระบายน้ำออกเช่นเดียวกับรูป



เงื่อนไขประกอบ
เพื่อให้ได้ผลดีเกษตรกรผู้ปลูกควรมีข้อคำนึงและการปฏิบัติดังนี้
1. ดินปลูกควรมีความสามารถในการ
อุ้มน้ำดี เช่น ดินเหนียว หรือ เหนียวปนทราย

2. ตอซังที่ได้จากต้นข้าวที่มีการเจริญเติบโตดี จะทำให้การคราดล้ม หรือกลบเมล็ดถั่วเหลืองได้ดีกว่าตอซังข้าวที่สั้น
จากต้นข้าวที่เจริญเติบโตไม่ดีพอ ถ้าเป็นตอซังที่เตี้ยสั้นจะคราดล้มไม่ดจึงควรใช้การตัดคลุมแทน

3. การเอาน้ำเข้าแปลงปลูกภายหลังจากการเก็บเกี่ยวข้าว เพื่อทำร่องน้ำไปจนถึงขั้นตอนสุดท้ายของการปลูกไม่ควรจะมาก
เกินไป เพราะจะทำให้การคราดล้มตอซังหรือตัดฟาง มีความยุ่งยากเนื่องจากปฏิบัติงานไม่สะดวก

4. อัตราการหว่านเมล็ดพันธุ์ที่เกษตรกรใช้ 20-30 กิโลกรัมต่อไร่ ขึ้นอยู่กับคุณภาพเมล็ดพันธุ์

5. การคราดล้มตอซังมากกว่า 1 รอบ อาจจะทำให้เมล็ดเน่าเสียมีการงอกไม่ดี

6. ระยะเวลาในการแช่ขังน้ำของเมล็ดพันธุ์ ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของอากาศ กล่าวคือถ้าอุณหภูมิต่ำจะสามารถแช่ขังเมล็ดใน
น้ำได้นานกว่าสภาวะที่มีอุณหภูมิสูง (อากาศร้อน) นอกจากนั้น ยังขึ้นอยู่กับคุณภาพของเมล็ด ถ้าเป็นเมล็ดที่แห้งสนิทดี
จะสามารถแช่ขังน้ำได้เป็นเวลานานกว่าเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองที่ตากยังไม่แห้งสนิทดี

7. หลังจากการแช่ขังเมล็ดในน้ำจนเมล็ดดูดน้ำอิ่มแล้วต้องระบายน้ำออกจากแปลงให้หมดอย่าให้มีบริเวณที่น้ำท่วมขัง
เพราะจะทำให้เมล็ดในจุดนั้นเน่าเสียได้ วิธีการแก้ไขปัญหานี้ทำโดยมีความพิถีพิถันในการทำร่องน้ำ โดยเฉพาะจุดที่เป็นที่ลุ่ม
ควรมีร่องน้ำจำนวนมากเพื่อระบายน้ำออก

8. ต้นทุนในการคราดล้มตอซัง กรณีจ้างคนคราดล้มโดยใช้รถไถเดินตามของเจ้าของ 150 บาท สามารถทำได้ประมาณ
10 ไร่ต่อวัน กรณีใช้เครื่องตัดฟางที่ติดรถเดินตามสามารถตัดฟางได้ประมาณ 3-5 ไร่ต่อวัน และถ้าใช้เครื่องตัดหญ้าชนิด
สะพายไหล่สามารถตัดฟางได้วัน



http://kbi.iwebland.com/toudin.htm

---------------------------------------------------------------------------------------------------
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 21/06/2011 9:46 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ปลูกงาหลังนา



แนะเกษตรกรโคราช เล็งช่องทางปลูกงาดำหลังทำนา

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 นครราชสีมา ปูพรมถิ่นโคราช สำรวจพืชเศรษฐกิจงาดำ เผย ปี 52 มีพื้นที่ปลูกกว่า 4 หมื่นไร่
ผลผลิตไร่ละ 72 กก. ให้ราคาขาย กก.ละ 40-50 บาท แนะช่องทางเกษตรกรเพาะปลูกงาดำหลังทำนา โดยการันตีพันธุ์ มก.18
แย้ม เป็นพืชทนแล้ง และเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ

นายยรรค์ยง แสนสิงห์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 (สศข.5) จังหวัดนครราชสีมา สำนักงานการเกษตร (สศก.)
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากการสำรวจพื้นที่งาดำปีเพาะปลูก 2552 ในจังหวัดนครราชสีมา พบว่า มีพื้นที่ปลูก
งาดำทั้งสิ้นประมาณกว่า 40,000 ไร่ แต่สามารถเก็บเกี่ยวได้ 10,000 ไร่ เนื่องจากประสบกับปัญหาภาวะน้ำท่วม โดยพื้นที่ปลูก
งาดำมีมากในอำเภอห้วยแถลง และอำเภอจักราช ซึ่งผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้นั้น จะได้ผลผลิตต่อไร่โดยเฉลี่ยประมาณ 72 กิโลกรัม
ส่วนราคาที่เกษตรกรขายได้จะอยู่ประมาณ 45-50 บาท/กิโลกรัม มีแหล่งรับซื้อเมล็ดงาดำที่สำคัญอยู่ที่อำเภอห้วยแถลง ซึ่งเป็น
อำเภอที่มีการปลูกงาดำมากที่สุดของจังหวัดนครราชสีมา

สำหรับงาดำนั้น นอกจากจะเป็นพืชเศรษฐกิจท้องถิ่นที่ขึ้นชื่อของนครราชสีมาแล้ว ยังเหมาะเป็นพืชเศรษฐกิจที่สามารถเสริมรายได้
ให้กับเกษตรกรภายหลังการเก็บเกี่ยวข้าวนาปีด้วย เนื่องจากงาดำ เป็นพืชที่ต้องการน้ำน้อย และสามารถทนแล้งได้ดี อีกทั้งยังมีต้น
ทุนการผลิตที่ค่อนข้างต่ำ แต่ให้ราคาค่อนข้างสูง

หากเกษตรกรที่สนใจเพาะปลูกงาดำ ควรจะเป็นงาดำพันธุ์ มก.18 เนื่องจากเป็นพันธุ์ที่สามารถทนแล้งได้ดี และเป็นที่ต้องการของ
ตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น ซึ่งช่วงปลูก (Planting Dates) งาดำที่เหมาะสมคือ การเพาะปลูกในช่วงเดือนกุมภา
พันธ์ ถึง มีนาคม และช่วงเก็บเกี่ยว (Harvesting Dates) ที่มีความสุกแก่ทางสรีรวิทยา (Physiology Maturity) ที่เหมาะสม
คือ การเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนพฤษภาคม ถึง มิถุนายน เนื่องจากการปลูกและการเก็บเกี่ยวงาดำในช่วงเวลาดังกล่าวจะทำให้เกษตรกร
ได้ผลผลิตต่อไร่สูงและได้เมล็ดคุณภาพที่ดี เป็นที่ต้องการของตลาดอยู่มาก นายยรรค์ยง กล่าว



ข่าว : ฝ่ายประชาสัมพันธ์
ข้อมูล : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 จังหวัดนครราชสีมา
http://www.oae.go.th/ewt_news.php?nid=6821


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 24/06/2011 5:32 am, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 21/06/2011 9:55 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ปลูกพริกหลังนา....รายได้เสริมอย่างงาม

วันที่ 02 มีนาคม 2554 เดิมหลังเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จแล้ว เกษตรกรในพื้นที่บ้านก๋ง ต.ยม อ.ท่าวังผา จ.น่าน ส่วนใหญ่มักจะว่างงาน
หลายคนอพยพเข้าสู่กรุงเทพฯและเมืองใหญ่ ๆ เพื่อหางานทำ จนกระทั่งเมื่อปี 2544 สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตร
กรรม (ส.ป.ก.) ได้ทำโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำเพื่อการเกษตรด้วยระบบน้ำหยด จึงมีการรวบรวมสมาชิกเข้าร่วมโครง
การฯ แรกเริ่มมี 21 ราย เลือกกิจกรรมปลูกไม้ผลและไม้ยืนต้น ช่วงแรกก็จะปลูกไม้ผลแต่บางปีได้ผลผลิตน้อย ทำให้ไม่คุ้มค่าต่อ
การลงทุน อีกทั้งประสบปัญหาเรื่องขาดแคลนน้ำ จึงปรับเปลี่ยนมาปลูกพืชอายุเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อยแทนซึ่งสมาชิกสามารถ
ทำได้หลังฤดูทำนา พืชที่ปลูกได้แก่ พริก ผักกาด คะน้า และหอม ทำให้มีรายได้ดีขึ้น

กำนันทองคำ มินทร ประธานวิสาหกิจชุมชนกสิกรรมไร้สารพิษบ้านก๋ง เล่าว่า กระทั่งปี 2546 เริ่มสังเกตเห็นว่า เกษตรกรและชาว
บ้านหลายรายในพื้นที่ป่วยโดยไม่ทราบสาเหตุ บางรายเสียชีวิตก่อนวัยอันควร จึงได้สรุปว่าน่าจะเกิดจากการบริโภคอาหารที่มีสาร
พิษปนเปื้อนสะสมในร่างกาย ประกอบกับมีเจ้าหน้าที่จากสถานีพัฒนาที่ดินน่าน เข้ามารณรงค์ให้ลด ละ เลิกใช้สารเคมีในการผลิต
สินค้าเกษตร ผมจึงเห็นความสำคัญในเรื่องดังกล่าว และได้ร่วมรณรงค์ส่งเสริมให้สมาชิกกลุ่ม รวมทั้งคนในชุมชนให้เข้าใจเรื่อง
ลด ละ เลิก การใช้สารเคมี และชี้ให้เห็นถึงอันตรายของสารเคมีที่มีผลต่อสุขภาพ พร้อมกันนี้ยังได้ปรับเปลี่ยนแนวคิดชาวบ้าน
ให้หันมาใช้สารชีวภาพ และปุ๋ยอินทรีย์ ทดแทนสารเคมีด้วย ซึ่งใช้ระยะเวลากว่า 2 ปี จึงสามารถเปลี่ยนแนวคิดได้

ปัจจุบันวิสาหกิจชุมชนกสิกรรมไร้สารพิษบ้านก๋ง ได้ส่งเสริมสมาชิกกว่า 40 ราย ให้ปลูกพริกปลอดสารพิษป้อนตลาดโดยมีพื้นที่
เพาะปลูกทั้งหมดประมาณ 160 ไร่ เฉลี่ยรายละ 4 ไร่ ทุกปีสมาชิกจะนำกล้าพริกอายุ 1 เดือนลงปลูกในนาข้าวที่ไถปรับพื้นที่
ไว้แล้ว พริกเป็นพืชที่ดูแลง่าย ไม่ยุ่งยาก และยังใช้น้ำน้อยกว่าการปลูกข้าวโพด ในระยะแรกเมื่อปลูกลงแปลงต้องให้น้ำทุกวัน
เมื่อต้นพริกโตขึ้นต้องสังเกตความชื้นของดิน ถ้าดินอุ้มน้ำดีอาจเว้นระยะการให้น้ำได้หลายวัน แต่ต้องระวังไม่ให้ดินชื้นมาก เพราะ
อาจเกิดโรคโคนเน่าสร้างความเสียหายได้

การใช้สารชีวภาพและปุ๋ยอินทรีย์ทดแทนสารเคมี ส่งผลให้สมาชิกได้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น เม็ดพริกโตขึ้น และสามารถเก็บเกี่ยวผล
ผลิตได้ยาวนานขึ้น อีกทั้งยังช่วยประหยัดต้นทุนได้ค่อนข้างมาก ปกติต้นทุนเฉลี่ยอยู่ที่ 2,500-3,500 บาท/ไร่ ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่
กับค่าน้ำมันเครื่องสูบน้ำ หลังปลูกพริก 4 เดือนก็สามารถเก็บเกี่ยวพริกสดสีแดง ป้อนตลาดได้ โดยพ่อค้าคนกลางจะมารับซื้อถึง
หน้าฟาร์ม ซึ่งราคาจำหน่ายขึ้นอยู่กับภาวะตลาดแต่ละช่วง พ่อค้าคนกลางจะรับซื้อผลผลิตของกลุ่มทั้งหมด เนื่องจากสินค้ามีคุณภาพ
ทั้งยังมีความปลอดภัย และไร้สารพิษตกค้างปนเปื้อน หลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว สมาชิกกลุ่มจะมีกำไรจากการจำหน่ายพริกสดแดงหลัง
ฤดูทำนา เฉลี่ยรายละกว่า 100,000 บาท ซึ่งช่วงหน้าแล้งของปีที่ผ่านมา ตำบลยมมีเงินสะพัดจากการค้าพริกสดแดงหลายล้านบาท
นับว่าเป็นรายได้เสริมที่คุ้มค่ากว่าการปลูกข้าวโพด...

อย่างไรก็ตาม การแข่งขันทางการค้าที่ทวีความรุนแรงขึ้น เกษตรกรคงต้องงัดกลยุทธ์เด็ดขึ้นมาสร้างจุดแข็งเป็นจุดขายให้กับ
สินค้าของตนเอง โดยเฉพาะเรื่องคุณภาพ และมาตรฐานสินค้าถือเป็นเรื่องสำคัญ และต้องไม่ลืมใส่ใจถึงเรื่องความปลอดภัยทาง
ด้านอาหารด้วย.


http://www.rd1677.com/rd_sarabury/open_sarabury.php?id=78089
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 21/06/2011 9:59 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

กระทรวงเกษตรฯ เร่งเดินหน้าโครงการจัดระบบการปลูกข้าวอย่างต่อเนื่อง
ชู "ถั่วเขียว" เป็นพืชปลูกฤดูแล้งหลังนา ให้เกษตรกร


นายเฉลิมพร พิรุณสาร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารและกำกับ
ดูแลโครงการจัดระบบการปลูกข้าว ว่า จากการสำรวจความต้องการของเกษตรกรในการเข้าร่วมโครงการจัดระบบการปลูกข้าว พบว่า
เดิมมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 51,000 ราย มีพื้นที่เข้าร่วมโครงการฯ ประมาณ 1,300,000 ไร่ แต่ภายหลังที่ได้ทำการ
ประชาคมในบางพื้นที่ ได้มีเกษตรกรขอเข้าร่วมโครงการฯ เพิ่มเป็น จำนวน 60,000 ราย มีพื้นที่เข้าร่วมโครงการฯ เพิ่มเป็น
1,500,000 ไร่ ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรฯ ได้ให้ความสำคัญกับโครงการดังกล่าว พร้อมทั้งได้ดำเนินงานตามแผนงานที่วางไว้มาโดย
ตลอด


นายเฉลิมพร กล่าวต่อไปว่า สำหรับความคืบหน้าจากการหารือในที่ประชุม คือ ขณะนี้กระทรวงเกษตรฯ ยังไม่ได้รับการอนุมัติงบประมาณ
จากสำนักงบประมาณในโครงการดังกล่าว ซึ่งได้เสนอขอไว้ จำนวน 253 ล้านบาท โดยเป็นงบประมาณที่ต้องใช้ในการจัดหาเมล็ดพันธุ์
ที่จะสนับสนุนในการปลูกพืชฤดูแล้งหลังนาให้แก่เกษตรกร เช่น ถั่วเขียว ข้าวโพดฝักอ่อน ข้าวโพดหวาน อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรฯ
จะยังคงดำเนินการในโครงการฯ อย่างต่อเนื่องระหว่างการรออนุมัติงบประมาณ โดยในเบื้องต้นกระทรวงเกษตรฯ โดยกรมวิชาการเกษตร
จะสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวที่มีอยู่เดิมแล้วให้เกษตรกร จำนวน 18 ตัน สามารถนำมาปลูกได้ในพื้นที่ 3,600 ไร่ นอกจากนี้ กรมพัฒนา
ที่ดินยังได้จัดหาพันธุ์พืชปุ๋ยสด เช่น ปอเทียม และถั่วต่างๆ ให้เกษตรกรอีกประมาณ 50,000 ไร่ ทั้งนี้ การดำเนินงานดังกล่าว เป็นการเจียด
จ่ายงบประมาณของหน่วยงานดำเนินการไปก่อน เพื่อให้โครงการฯ สามารถเดินหน้าได้อย่างต่อเนื่อง


http://www.ryt9.com/s/nnd/1087382
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 21/06/2011 10:06 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ปลูกดอกสลิดหลังนา


การทำเกษตรเชิงเดี่ยวในปัจจุบัน หากเกษตรกรไม่สามารถลดต้นทุนการผลิตลงได้ ก็อยู่รอดได้ยากนะครับ ทางออกหนึ่งที่เกษตรกร
จำนวนมากนำมาปรับใช้กันก็คือ การปลูกพืชอายุสั้น ที่ตลาดต้องการ เป็นรายได้เสริม

ตามทันเกษตรวันนี้ มีตัวอย่างกลุ่มเกษตรกรที่จังหวัดอุบลราชธานี เค้าเลือกปลูกดอกสลิดขายเป็นรายได้เสริม ในช่วงว่างจากการ
ทำนา เนื่องจากตลาดต้องการ ใช้พื้นที่น้อย อีกทั้งปลูกและดูแลไม่ยาก

การปลูกดอกสลิด หรือดอกขจร ของเกษตรกรที่บ้านหนองสิมมาใต้ บลนาดี อำเภอนาเยีย เค้าใช้วิธีนำต้นกล้าที่ได้จากการปักชำ อายุ
2 เดือน มาปลูกโดยจะเลือกช่วงปลูกเฉพาะในเดือนมีนาคมถึงเมษายนเท่านั้น ซึ่งจะใช้เวลาปลูกเพียง1-2 เดือนก็จะเริ่มทยอยเก็บดอกได้

พื้นที่ปลูกควรทำค้างไว้ให้ต้นสลิดเลื้อย ก่อนปลูกให้รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก คลุกเคล้าให้เข้ากัน หลังจากนั้นให้ดูแลรดน้ำอย่างสม่ำ
เสมอ และเมื่อต้นตั้งตัวได้แล้ว ระยะแรกต้องคอยจัดแต่งเถาให้พันกับค้างปลูก เมื่อเริ่มเก็บดอกได้จะต้องดูแลใส่ปุ๋ยบำรุงต้น ทุกๆ 15
วัน หรือ 1 เดือน โดยอาจใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยเคมี
สูตร 15 หรือใช้ทั้งสองอย่างควบคู่กันก็ได้ โดยจะเก็บดอกขายได้ ตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคม ถึงพฤศจิกายนของทุกปี ทั้งนี้ต้นสลิดจะพัก
ตัวในช่วงฤดูหนาว จะไม่ออกดอกในช่วงดังกล่าวส่วนการเก็บดอกสลิด ให้ขายได้ราคาดี เกษตรกรจะเก็บในระยะที่เป็นดอกตูม
เพราะจะขายได้ราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 50-80 บาท แต่ถ้าดอกบานแล้วจะเหลือเพียงกิโลกรัมละ 20 บาทเท่านั้น

เกษตรกรที่นี่แนะนำนะครับว่า การปลูกดอกสลิด มีพื้นที่เพียง 1 งาน ก็ปลูกขายเป็นอาชีพเสริมได้ ซึ่งลงทุนสูงในช่วงปีแรกเท่านั้น
แต่สามารถเก็บดอกขายได้นาน 4-5 ปี จึงจะรื้อปลูกใหม่ ถ้าเกษตรกรท่านใดสนใจ ก็ลองศึกษาการปลูกก่อนได้



ข้อมูลเพิ่มเติม : คุณเฉลิม ยาดี, โทร.081-073-5328


http://www.ch7.com/news/news_thailand_detail.aspx?c=2&p=8&d=137901
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 21/06/2011 10:29 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เห็ดฟางกองเตี้ยหลังนา


เมื่อเกี่ยวข้าวและนวดข้าวเสร็จแล้ว พื้นที่ปลูก 1 ไร่ ถ้าได้ข้าวเปลือก 100 ถัง จะมีฟางเหลือ ประมาณ 3,000 กก.
การเพาะเห็ดฟางโดยทั่วไปถ้าใช้ฟางแห้ง 10 กก. จะผลิตเห็ดฟางสดได้ 1 กก. ดังนั้น ฟาง 3,000 กก. จะได้เห็ด
สด 300 กก. ซึ่งขายได้ กก.ละ 20-30 บาท จะได้เงินอีก 6,000-9,000 บาท

ดังนั้น การส่งเสริมการเพาะเห็ดฟางเพื่อเป็นอาชีพหลัก หรือใช้เป็นอาชีพเสริมหลังฤดูทำนา เพื่อเพิ่มรายได้แก่
เกษตรกร จึงเป็นสิ่งที่ควรสนับสนุนมากด้านหนึ่ง

ลักษณะของการเพาะเห็ดฟางในปัจจุบันนี้มีอยู่หลายวิธี คือ การเพาะเห็ดฟาง แบบกองสูง, การเพาะเห็ดฟางแบบ
กองเตี้ย, การเพาะเห็ดฟางจากเปลือกฝักถั่ว, การเพาะเห็ดฟางแบบ โรงเรือน หรืออุตสาหกรรม เป็นต้น

การเพาะเห็ดฟางแบบกองสูงนั้น ในปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมทำกันนัก เพราะใช้เวลาการเพาะนาน อีกทั้งต้องเสียเวลา
ในการดูแลรักษานานอีกด้วย

ส่วนวิธีการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ยนั้น กำลังเป็นที่นิยมมาก เพราะมีวิธีการทำที่ง่าย ทั้งวัสดุที่ใช้เพาะก็หาได้
ง่าย และผลผลิตที่ได้อยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ ในที่นี้จะกล่าวรายละเอียด เฉพาะการเพาะแบบกองเตี้ยเท่านั้น


สิ่งจำเป็นในการเพาะเห็ดฟาง
วัตถุดิบที่ใช้ในการเพาะ ใช้ฟางตากแห้งสนิทซึ่งเก็บไว้โดยไม่เปียกชื้น หรือขึ้นรามาก่อน ใช้ได้ทั้งฟางข้าวเหนียว
ฟางข้าวจ้าว ฟางข้าวที่นวดเอาเมล็ดออกแล้ว และส่วนของตอซังเกี่ยว หรือถอนก็ใช้ได้ดี ถ้าเปรียบเทียบวัสดุที่ใช้
ในการ เพาะต่าง ๆ แล้ว ตอซังจะดีกว่าปลายฟางข้าวนวด และวัสดุอื่น ๆ มาก เนื่องจากตอซังมีอาหารมากกว่า
และอุ้มน้ำได้ดี กว่าปลายฟาง

อาหารเสริม การใส่อาหารเสริมเป็นส่วนช่วยให้เส้นใยของเห็ดฟาง เจริญได้ดี และทำให้ได้ดอกเห็ดมากกว่าที่ ไม่
ได้ใส่ถึงประมาณเท่าตัว อาหารเสริมที่นิยมใช้อยู่เป็นประจำ ได้แก่ ละอองข้าว ปุ๋ยมูลสัตว์หรือปุ๋ยคอกแห้ง ไส้นุ่น
ไส้ฝ้าย ผักตบชวาตากแห้งแล้วสับให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ จอกแห้ง และเศษพืชชิ้นเล็ก ๆ ที่นิ่ม และอุ้มน้ำได้ดี เหล่านี้ก็มี
ส่วนใช้เป็นอาหารเสริมได้เช่นกัน

เชื้อเห็ดฟางที่จะใช้เพาะ การเลือกซื้อเชื้อเห็ดฟาง เพื่อให้ได้เชื้อเห็ดที่มีคุณภาพดี และเหมาะสมกับราคามี หลัก
เกณฑการพิจารณาประกอบดังนี้ คือ

- เมื่อจับดูที่ถุงเชื้อเห็ด ควรจะต้องมีลักษณะเป็นก้อนแน่น มีเส้นใยของเชื้อเห็ดเดินเต็มก้อนแล้ว

- ไม่มีเชื้อราชนิดอื่น ๆ หรือเป็นพวกแมลง หนอน หรือตัวไร เหล่านี้เจือปน และไม่ควรจะมีน้ำอยู่ก้นถุง ซึ่งแสดง
ว่าชื้นเกินไป ความงอกจะไม่ดี

- ไม่มีดอกเห็ดอยู่ในถุงเชื้อเห็ดนั้น เพราะนั่นหมายความว่า เชื้อเริ่มแก่เกินไปแล้ว

- ควรผลิตจากปุ๋ยหมักของเปลือกเมล็ดบัวผสมกับขี้ม้า หรือไส้นุ่นกับขี้ม้า

- เส้นใยไม่ฟูจัดหรือละเอียดเล็กเป็นฝอยจนผิดธรรมดา ลักษณะของเส้นใยควรเป็นสีขาวนวล เจริญคลุมทั่วทั้งก้อน
เชื้อเห็ดนั้น

- ต้องมีกลิ่นหอมของเห็ดฟางด้วย จึงจะเป็นก้อนเชื้อเห็ดฟางที่ดี

- เชื้อเห็ดฟางที่ซื้อต้องไม่ถูกแดด หรือรอการขายไว้นานจนเกินไป

- เชื้อเห็ดฟางที่ซื้อมานั้น ควรจะทำการเพาะภายใน 7 วัน

- อย่าหลงเชื่อคำโฆษณาใด ๆ ของผู้ขาย ควรสอบถามจากผู้ที่เคยทดลอง เพาะมาก่อนจะดีกว่า นอกจากนี้ควรมี
การตรวจสอบเชื้อเห็ดฟางจากหลายยี่ห้อ เชื้อเห็ดฟางยี่ห้อใดให้ผลผลิตสูง ก็ควรเลือกใช้ยี่ห้อนั้น มาเพาะจะดีกว่า

- ราคาของเชื้อเห็ดฟางไม่ควรจะแพงจนเกินไป ควรสืบราคาจากเชื้อเห็ดหลาย ๆ ยี่ห้อ เพื่อเปรียบเทียบดูด้วย


สถานที่เพาะเห็ด เนื่องจากการเพาะเห็ดฟางเป็นการเพาะบนดิน ดังนั้นเราต้องคำนึง ถึงสภาพแวดล้อมแปลงเพาะ
นั้นด้วยเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะต้องเป็นบริเวณ ที่ไม่มียาฆ่าแมลง หรือยากันเชื้อรา น้ำไม่ท่วมขัง มีการระบายน้ำ
ได้ดี และต้องเป็นที่ไม่เคยใช้เพาะเห็ฟางมาก่อน ถ้าเคยเพาะเห็ดฟางมาก่อนก็ควรจะทำความสะอาด ที่บริเวณนั้น
โดยการขุด ผลึกดินตากแดดจัด ๆ ไว้สัก 1 อาทิตย์ เพื่อฆ่าเชื้อโรคต่าง ๆ บนดินที่จะเป็นพาหะ ของโรคและแมลง
ต่อเชื้อเห็ดที่เรา จะเพาะในที่ดินนั้นได้ดีขึ้น

สรุปแล้วที่กองเพาะเห็ดควรเป็นสถานที่ที่โล่งแจ้ง และที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ สภาพดินบริเวณนั้นจะต้อง
ไม่เค็ม เพราะความเค็มของดิน จะทำให้เส้นใยเห็ด ไม่รวมตัวกัน เป็นดอกเห็ดได้

ไม้แบบ ไม้แบบที่ใช้ในการเพาะเห็ดฟางกองเตี้ย ทำจากไม้กระดานตอก เป็นกรอบแบบลังไม้ รูปสี่เหลี่ยมคางหมู
ขนาดของไม้แบบ หรือกรอบลังไม้นี้ ไม่ควรใหญ่หรือเล็กจนเกินไป ขนาดของไม้แบบ หรือกรอบลังไม้ที่ปกติ
ใช้กันก็คือ มีฐานกว้าง 35-40 เซนติเมตร ด้านบนกว้าง 25-30 เซนติเมตร สูง 35-40 เซนติเมตร


http://www.oknation.net/blog/print.php?id=251786

------------------------------------------------------------------------------------------------------





การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย

ในช่วงฤดูร้อน เราจะมีเห็ดฟางที่เหลือจากการทำนาเป็นจำนวนมาก เรามีปัญหาเกษตรไม่น้อยที่มีรายได้ไม่เพียงพอ
เรามีเกษตรที่เผาฟางทิ้งไป ดังนั้นเราจึงมีการดำเนินการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ว่าจะเป็นด้านเห็ดฟาง,
รายได้ของเกษตรกร รวมไปถึงความอุดมสมบูรณ์ของดิน มีรูปแบบการทำงานหลายอย่าง อย่างหนึ่งก็คือ การเพาะ
เห็ดฟางแบบกองเตี้ย

เป็นวิธีการที่ได้ประยุกต์มาจากการเพาะเห็ดฟางแบบกองสูง ข้อดีของการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย ก็คือ สามารถจะใช้
วัสดุเพาะได้หลายอย่าง เช่น ฟาง ผักตบชวา ต้นถั่ว ต้นกล้วย ขี้เลื่อยที่ผุแล้ว ชานอ้อย เหล่านี้เป็นต้น เป็นการเพาะที่ใช้
วัสดุน้อยแต่ได้ผลผลิตดอกเห็ดได้สูง แต่เมื่อเห็ดออกดอกแล้วใช้เวลาการเก็บผลผลิตทั้งหมดได้ในระยะเวลาสั้นมาก
สามารถรู้ผลผลิตค่อนข้างแน่นอน และเหมาะในการเพาะเป็นอาชีพหรือทำไว้เพื่อใช้กินเองในครัวเรือน เนื่องจากการเพาะ
เห็ดฟางแบบกองเตี้ยนี้ขนาดกองเล็กมาก ดังนั้นเพื่อสะดวกในการเพาะ จึงนิยมทำไม้แบบเพื่อจะอัดวัสดุที่จะเพาะให้เป็น
รูปกองเล็ก ๆ ได้


สิ่งจำเป็นในการเพาะเห็ดฟาง
วัตถุดิบที่ใช้ในการเพาะ ใช้ฟางตากแห้งสนิทซึ่งเก็บไว้โดยไม่เปียกชื้นหรือขึ้นรามาก่อน ใช้ได้ทั้งฟางข้าวเหนียว ฟางข้าวจ้าว
ฟางข้าวที่นวดเอาเมล็ดออกแล้ว และส่วนของตอซังเกี่ยวหรือถอนก็ใช้ได้ดีถ้าเปรียบเทียบวัสดุที่ใช้ในการ เพาะต่างๆ
แล้ว ตอซังจะดีกว่าปลายฟางข้าวนวด
และวัสดุอื่น ๆ มาก เนื่องจากตอซังมีอาหารมากกว่าและอุ้มน้ำได้ดี กว่าปลายฟาง

อาหารเสริม การใส่อาหารเสริมเป็นส่วนช่วยให้เส้นใยของเห็ดฟางเจริญได้ดี และทำให้ได้ดอกเห็ดมากกว่าที่ไม่ได้ใส่ถึง
ประมาณเท่าตัว อาหารเสริมที่นิยมใช้อยู่เป็นประจำได้แก่ ละอองข้าว ปุ๋ยมูลสัตว์หรือปุ๋ยคอกแห้ง ไส้นุ่น ไส้ฝ้าย ผักตบชวา
ตากแห้งแล้วสับให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ จอกแห้ง และเศษพืชชิ้นเล็ก ๆ ที่นิ่มและอุ้มน้ำได้ดี เหล่านี้ก็มีส่วนใช้เป็นอาหารเสริมได้
เช่นกัน

เชื้อเห็ดฟางที่จะใช้เพาะ การเลือกซื้อเชื้อเห็ดฟางเพื่อให้ได้เชื้อเห็ดที่มีคุณภาพดีและเหมาะสมกับราคามีหลักเกณฑ์
การพิจารณาประกอบดังนี้ คือ
- เมื่อจับดูที่ถุงเชื้อเห็ด ควรจะต้องมีลักษณะเป็นก้อนแน่นมีเส้นใยของเชื้อเห็ดเดินเต็มก้อนแล้ว
- ไม่มีเชื้อราชนิดอื่น ๆ หรือเป็นพวกแมลง หนอน หรือตัวไร เหล่านี้เจือปน และไม่ควรจะมีน้ำอยู่ก้นถุง ซึ่งแสดงว่าชื้น
เกินไป ความงอกจะไม่ดี
- ไม่มีดอกเห็ดอยู่ในถุงเชื้อเห็ดนั้น เพราะนั่นหมายความว่าเชื้อเริ่มแก่เกินไปแล้ว
- ควรผลิตจากปุ๋ยหมักของเปลือกเมล็ดบัวผสมกับขี้ม้า หรือไส้นุ่นกับขี้ม้า
- เส้นใยไม่ฟูจัดหรือละเอียดเล็กเป็นฝอยจนผิดธรรมดาลักษณะของเส้นใยควรเป็นสีขาวนวล เจริญคลุมทั่วทั้งก้อนเชื้อ
เห็ดนั้น
- ต้องมีกลิ่นหอมของเห็ดฟางด้วย จึงจะเป็นก้อนเชื้อเห็ดฟางที่ดี
- เชื้อเห็ดฟางที่ซื้อต้องไม่ถูกแดด หรือรอการขายไว้นานจนเกินไป
- เชื้อเห็ดฟางที่ซื้อมานั้น ควรจะทำการเพาะภายใน 7 วัน
- อย่าหลงเชื่อคำโฆษณาใด ๆ ของผู้ขาย ควรสอบถามจากผู้ที่เคยทดลองเพาะมาก่อนจะดีกว่า นอกจากนี้ควรมีการ
ตรวจสอบเชื้อเห็ดฟางจากหลายยี่ห้อ เชื้อเห็ดฟางยี่ห้อใดให้ผลผลิตสูงก็ควรเลือกใช้ยี่ห้อนั้นมาเพาะจะดีกว่า
- ราคาของเชื้อเห็ดฟางไม่ควรจะแพงจนเกินไป ควรสืบราคาจากเชื้อเห็ดหลาย ๆ ยี่ห้อ เพื่อเปรียบเทียบดูด้วย

สถานที่เพาะเห็ด เนื่องจากการเพาะเห็ดฟางเป็นการเพาะบนดิน ดังนั้นเราต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมแปลงเพาะนั้นด้วย
เป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะต้องเป็นบริเวณที่ไม่มียาฆ่าแมลงหรือยากันเชื้อรา น้ำไม่ท่วมขัง มีการระบายน้ำได้ดี และต้องเป็น
ที่ไม่เคยใช้เพาะเห็ดฟางมาก่อน ถ้าเคยเพาะเห็ดฟางมาก่อนก็ควรจะทำความสะอาดที่บริเวณนั้น โดยการขุดผลึกดินตาก
แดดจัด ๆ ไว้สัก 1 อาทิตย์ เพื่อฆ่าเชื้อโรคต่าง ๆ บนดินที่จะเป็นพาหะของโรคและแมลงต่อเชื้อเห็ดที่เราจะเพาะในที่ดิน
นั้นได้ดีขึ้น

สรุปแล้วที่กองเพาะเห็ดควรเป็นสถานที่ที่โล่งแจ้ง และที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ สภาพดินบริเวณนั้นจะต้องไม่เค็ม
เพราะความเค็มของดินจะทำให้เส้นใยเห็ดไม่รวมตัวกันเป็นดอกเห็ดได้

ปัจจัยที่สำคัญในการเพาะเห็ดฟาง
1. สภาพอากาศที่เหมาะสมในการเพาะเห็ดฟาง เห็ดฟางชอบอากาศร้อน อุณหภูมิ 35-37 องศาเซลเซียส ขึ้นได้ดีทั้ง
ในฤดูฝนและในฤดูร้อน เพราะอากาศร้อนจะช่วยเร่งการเจริญเติบโตของดอกเห็ดได้ดีอยู่แล้ว ส่วนในช่วงอากาศหนาวไม่
ค่อยจะดีนัก เพราะอากาศที่เย็นเกินไปไม่เอื้ออำนวยต่อการเติบโตของดอกเห็ดฟาง สำหรับทางภาคใต้ก็สามารถจะเพาะ
เห็ดฟางได้ตลอดทั้งปี ถ้ามีฝนตกไม่มากเกินไปนัก

จึงเห็นได้ว่า การเพาะเห็ดฟางของประเทศไทยเราสามารถเพาะได้ตลอดปี แต่หน้าหนาวผลผลิตจะลดน้อยลงเนื่องจาก
อุณหภูมิต่ำ จึงทำให้ราคาสูง หลังฤดูเกี่ยวข้าวอากาศร้อน ฟางและแรงงานมีมากมีคนเพาะมากจึงเป็นธรรมดาที่เห็ดจะมี
ราคาต่ำลง ในฤดูฝนชาวนาส่วนมากทำนา การเพาะเห็ดน้อยลง ราคาเห็ดฟางนั้นก็จะดีขึ้น

2. เรื่องความชื้น ความชื้นเป็นส่วนสำคัญในการเพาะเห็ดฟางมากเป็นตัวกำหนดการเจริญของเส้นใยเห็ดที่สำคัญถ้าความ
ชื้นมีน้อยเกินไปเส้นใยของเห็ดจะเดินช้า และรวมตัวเป็นดอกไม่ได้ ถ้าความชื้นมากเกินไปการระบายอากาศภายในกอง
ไม่ดี ถ้าเส้นใยขาดออกซิเจนก็จะทำให้เส้นใยฝ่อหรือเน่าตายไป

น้ำที่จะแช่หรือทำให้ฟางชุ่มควรต้องเป็นน้ำสะอาด ไม่มีเกลือเจือปนหรือเค็ม หรือเป็นน้ำเน่าเสียที่หมักอยู่ในบ่อนาน ๆ
จนมีกลิ่นเหม็น ก็ไม่ควรจะนำมาใช้ในการเพาะเห็ดฟางที่ดีนั้น น้ำที่ใช้ในการงอกเส้นใยเห็ดจะมาจากในฟางที่อุ้มเอาไว้และ
ความชื้นจากพื้นแปลงเพาะนั้นก็เพียงพอแล้ว ปกติขณะที่เพาะไว้เป็นกองเรียบร้อยแล้วนั้นจึงไม่ควรจะมีการให้น้ำอีก
ควรจะรดเพียงครั้งเดียวคือระหว่างการหมักฟางเพาะทำกองเท่านั้น หรืออาจจะช่วยบ้างเฉพาะในกรณีที่ความชื้นมีน้อย
หรือแห้งจนเกินไป การให้ความชื้นนี้โดยการโปรยน้ำจากฝักบัวรอบบริเวณข้าง ๆ แปลงเพาะเท่านั้นก็พอ

3. แสงแดด เห็ดฟางไม่ชอบแสงแดดโดยตรงนัก ถ้าถูกแสงแดดมากเกินไปเส้นใยเห็ดอาจจะตายได้ง่าย กองเห็ดฟาง
เพาะเห็ดหลังจากทำกองเพาะเรียบร้อยแล้ว จึงควรจะทำการคลุมกองด้วยผ้าพลาสติกและใช้ฟางแห้งหรือหญ้า
คาปิดคลุมทับอีก เพื่อพรางแสงแดดให้ด้วยดอกเห็ดฟางที่ไม่โดนแสงแดดจัดมีสีขาวนวลสวย ถ้าดอกเห็ดฟางโดนแดด
แล้วจะเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีดำเร็วขึ้นกว่าปกติ


วิธีการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย
การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย เป็นวิธีการที่ได้ประยุกต์มาจากการเพาะเห็ดฟางแบบกองสูง ข้อดีของการเพาะเห็ดฟาง
แบบกองเตี้ยก็คือ สามารถจะใช้วัสดุเพาะได้หลายอย่าง เช่น ฟาง ผักตบชวา ต้นถั่ว ต้นกล้วย ขี้เลื่อยที่ผุแล้ว ชานอ้อย
เหล่านี้เป็นต้น เป็นการเพาะที่ใช้วัสดุน้อยแต่ได้ผลผลิตดอกเห็ดได้สูง แต่เมื่อเห็ดออกดอกแล้วใช้เวลาการเก็บผล
ผลิตทั้งหมดได้ในระยะเวลาสั้นมาก สามารถรู้ผลผลิตค่อนข้างแน่นอน และเหมาะในการเพาะเป็นอาชีพหรือทำไว้เพื่อ
ใช้กินเองในครัวเรือน เนื่องจากการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ยนี้ขนาดกองเล็กมาก ดังนั้นเพื่อสะดวกในการเพาะจึงนิยม
ทำไม้แบบเพื่อจะอัดวัสดุที่จะเพาะให้เป็นรูปกองเล็ก ๆ ได้


ขั้นตอนในการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย
1. เตรียมดินให้เรียบ พลิกหน้าดินตากแดดไว้ 3-4 วัน เพื่อฆ่าเชื้อโรค

2. การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ยใช้ได้ทั้งตอซังและปลายฟางถ้าเป็นตอซังแช่น้ำพออ่อนตัวก็นำมาเพาะได้ ปกติ
ประมาณ 1 ชั่วโมง แต่ถ้าเป็นปลายฟางแข็ง ๆ ควรแช่น้ำประมาณ 1-2 วัน หรือจุ่มน้ำแล้วนำมากองสุมกันไว้ประมาณ
1 คืน ให้อิ่มตัวนิ่มดีเสียก่อนจึงจะใช้ได้ดี ถ้าเป็นผักตบชวาหรือต้นกล้วยจะสับหรือไม่สับก็ได้ แต่ต้องแช่น้ำพอนิ่ม
ปกติแช่น้ำประมาณ 1-2 ชั่วโมง แล้วนำมาใช้กองได้เลย

3. หลังจากแช่น้ำวัสดุที่จะใช้เพาะได้ที่แล้ว ให้นำวัสดุที่ใช้เพาะนั้น ใส่ลงในกระบะไม้ที่วางเอาด้านกว้างซึ่งมีลักษณะ
ป้านลงสัมผัสพื้น ให้ด้านแคบอยู่ข้างบนใส่ให้สูงประมาณ 4-6 นิ้ว ถ้าเป็นตอซังให้วางโคนตอซังหันออกด้านนอก
ส่วนปลายอยู่ด้านในใช้มือกดฟางให้แน่นพอสมควร แต่ถ้าเป็นปลายฟางควรขึ้นไปย่ำพร้อมทั้งรดน้ำให้ชุ่ม ข้อควร
ระวังอย่าให้แฉะหรือแห้งจนเกินไป

4. นำอาหารเสริมที่ชุบน้ำแล้วโรยเป็นแถบกว้างประมาณ 2 นิ้ว รอบ ๆ ด้านทั้งสี่ด้านหนาประมาณ 1 นิ้ว

5. แบ่งเชื้อเห็ดฟางจากถุงซึ่งปกติเชื้อเห็ดฟาง 1 ถุง หนักประมาณ 200 กรัม ออกเป็น 3-4 ส่วน เท่า ๆ กันจากนั้นโรย
เชื้อเห็ดฟาง 1 ส่วน โดยโรยลงบนอาหารเสริมให้ทั่วและชิดกับขอบของแบบไม้ทั้งสี่ด้านก็เป็นการเสร็จชั้นที่ 1

6. ทำชั้นที่ 2 และ 3 หรือ 4 ต่อไปก็ทำเช่นเดียวกับชั้นที่ 1 ทุกอย่าง เมื่อทำมาถึงขั้นสุดท้าย ให้โรยอาหารเสริมและ
เชื้อเห็ดให้เต็มทั่วหลังแปลง

7. นำฟางที่แช่น้ำมาปิดทับให้หนา 1-2 นิ้ว แล้วเอาแบบไม้ออกโดยใช้มือข้างหนึ่งกดกองฟางไว้และทำกองอื่นต่อ ๆ ไป

8. ทำกองอื่น ๆ ต่อไปให้ขนานกบกองแรก โดยเว้นระยะห่างประมาณ 6-12 นิ้ว

9. ช่องว่างระหว่างกองแต่ละกองสามารถใช้ให้เกิดประโยชน์ในการเพิ่มผลผลิตได้อีก โดยอาจจะโรยเชื้อเห็ดฟางลง
ไปบนช่องว่างระหว่างกอง เพราะบริเวณนี้ก็สามารถทำให้เกิดดอกเห็ดได้ จากนั้น รดน้ำดินรอบ ๆ กองให้เปียกชื้น

10. คลุมกองฟางด้วยผ้าพลาสติก โดยใช้ 2 ผืนเกยทับกันตรงกลางคลุมให้สูงกว่ากองฟางเล็กน้อยโดยคลุมเป็นแถว ๆ
ถ้าอากาศร้อน ให้คลุมห่าง อากาศเย็นให้คลุมชิดหรืออาจคลุมติดกองเลย ในกรณี อากาศเย็นจัด การคลุมพลาสติกเป็น
เรื่องสำคัญที่แต่ละแห่งในแต่ละ ฤดูจะต้องดัดแปลงไปตามความต้องการของเห็ด คือ ช่วงระยะแรก ราววันที่ 1-2 เชื้อ
เห็ดต้องการอุณหภูมิประมาณ 35-38 ํซ. และ ในวันต่อ ๆ มาต้องการอุณหภูมิต่ำลงเรื่อย ๆ จนราววันที่ 8-10 ซึ่ง เป็นวัน
ที่เก็บผลผลิตนั้นต้องการอุณหภูมิราว 30 องศาเซลเซียส

11. นำฟางแห้งมาคลุม ทับผ้าพลาสติกอีกครั้งหนึ่งจนมิดเพื่อป้องกันแสงแดด แล้วใช้ของหนัก ๆ ทับปลายผ้าให้ติดพื้นกันลมตี



การเตรียมดิน
กรมวิชาการเกษตรได้ทำการศึกษาและพบว่า ถ้าปลูกเห็ดฟางลงไปโดยไม่ได้ขุดดินและทำให้ดินร่วน นอกจากจะได้เห็น
เห็ดฟางบนกองแล้ว จะได้เห็นเห็ดอีกเล็กน้อยบนพื้นดินรอบๆ กอง ต่อมาได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบ ถ้าขุดดินแล้ว
ตากแดดทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน หลังจากนั้นก็ย่อยดินให้ละเอียด แล้วจึงเพาะเห็ด พบว่าได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น เพราะมีเห็ด
อีกจำนวนมากขึ้นอยู่บนดินรอบๆกองนั่นเอง บางครั้งได้เพิ่มขึ้น 1 ใน 3 ของจำนวนผลผลิตทั้งหมดในปัจจุบันจึง
นิยมส่งเสริมให้มีการขุดดิน เตรียมแปลงดินไว้ล่วงหน้า เมื่อจะเพาะก็ย่อยดินให้ละเอียดขึ้น

ไม้แบบ
ใช้ไม้กระดานนำมาตอกเป็นกรอบแบบลังไม้รูปสี่เหลี่ยมคางหมูเพื่อทำเป็นแม่พิมพ์ ในปัจจุบันนิยมให้ด้านกว้าง 30
เซนติเมตร ด้านยาว 120 เซนติเมตร ด้านสูง 30 เซนติเมตร ส่วนหนึ่งนิยมทำให้ด้านบนสอบเข้าคือ แคบลงหรือ
เอียงเข้ากันเล็กน้อย เพื่อไม้แบบยกออกจากกอง คือ ทำเสร็จแล้วก็จะทำได้ง่ายกรอบไม้นี้ควรจะมีขนาด 1-
1.5 เมตร

อีกแบบหนึ่งมีผู้ได้ทำไม้แบบโดยการทำเป็นชิ้น ชนิดที่ถอดออกวางเป็นแผ่นได้เมื่อจะใช้นำมาประกบกันก็กลายเป็น
แม่พิมพ์ แบบนี้สะดวกต่อการเก็บ คือสามารถวางซ้อนๆ กัน และไม่เปลืองเนื้อที่



บัวรดน้ำ
จะเป็นบัวพลาสติกหรือบัวสังกะสีก็ใช้ได้ทั้งนั้นขอให้ใช้ตักน้ำได้และรดน้ำแล้วได้น้ำเป็นฝอย ๆ ก็ใช้ได้แล้ว ปัจจุบันที่
ทำมาก ๆ จะใช้เครื่องสูบไดโว่หรือเครื่องสูบน้ำฉีดน้ำเป็นฝอยรดกองฟางให้เปียกชุ่มก่อนเริ่มการหมักได้ก็จะสะดวกดี

วัตถุดิบ
ตัวหลักคือเห็ดฟาง ที่ถอนมาหลังจากปล่อยให้ดินแตกระแหง จะได้รากและเศษดินติดมาด้วย หรือจะเกี่ยวที่โคนต้น
หรือเป็นเห็ดฟางที่ได้จาการนวดข้าวแล้วเป็นปลายฟาง หรือแม้แต่ลำโคนข้าง คือ เศษข้าวที่พ่นออกมาจากเครื่องนวดข้าว

นอกจากนี้ ยังมีการใช้เปลือกของฝักถั่วเขียว เป็นอาหารเสริม ช่วยในการเพาะเห็ด แต่หลายแห่งของภาคอีสาน ก็ได้
เปลี่ยนของการใช้เปลือกถั่วเขียว เปลือกของฝักถั่วเหลืองในการเพาะเห็ด แต่ใช้เป็นฐานะวัตถุดิบ

การทำให้เห็ดฟางเปียก
นำฟางลงแช่ในน้ำเช้าใช้ตอนเย็น หรือแช่ตอนเย็นทำตอนเช้า หรือว่าจะนำลงใส่ภาชนะขึ้นไปย่ำ หรือใส่ลงถัง หรือ
ใส่ในแปลงนา สูบน้ำเข้าแล้วนำไปย้ำเพื่อให้เปียกเต็มที่

การเพาะเห็ดฟางในชั้นแรก
เราจะใส่พวกวัตถุดิบ นั่นคือฟางได้แช่น้ำเอาไว้หรือเป็นวัตถุอื่น เช่นพวกก้านกล้วย ใบตองแห้ง หรือขี้เลื่อย ที่แช่น้ำ
เอาไว้แล้ว ใส่ลงไป จากนั้นก็ขึ้นไปย้ำพร้อมกับรดน้ำ เพื่อให้วัตถุดิบนี้อุ้มน้ำได้เต็มที่ ในปัจจุบันนิยมให้ความสูงของ
ชั้นแรกนี้ สูงประมาณ 10 เซนติเมตร

การใส่อาหารเสริม
นำอาหารเสริม มาแช่น้ำให้เปียกชุ่มชื้นดีเสียก่อน อาหารเสริมตั้งแต่เริ่มต้นใช้ ไส้นุ่น ต่อมามีการเปลี่ยน ไปอีกหลาย
อย่าง เช่น เมล็ดที่ได้นำไปสกัดเอาน้ำมัน เอาส่วนอื่นๆ ออกไปแล้ว ส่วนที่เหลืออยู่ก็เป็นเศษฝ้าย บางคนก็เรียกว่า
ขี้ฝ้าย หรืออาจจะใช้ เปลือกของฝักถั่วเขียว เปลือกของฝักถั่วเหลือง ใบถั่วเขียว ใบแคฝรั่ง ใช้ได้ทั้งอย่างแห้งและ
ใบสด ผักตบชวาและจอก หรือจอกหูหนู ใช้ได้ทั้งอย่างแห้งและอย่างสด ถ้าเป็นชิ้นใหญ่ก็นำมาสับหรือหั่นให้เป็น
ชิ้นเล็กเสียก่อน ก้านกล้วย ใบตองแห้ง บางครั้งเอาหยวกกล้วย เอามาสับให้ชิ้นเล็ก ก็ได้เช่นกัน

หรือแม้แต่มูลสัตว์ที่แห้ง อาจจะใช้ขี้วัว ขี้ควายแห้งป่น สามารถดัดแปลงที่เป็นชิ้นเล็ก อุ้มน้ำได้ง่าย และเห็ดชอบกิน
ใส่ลงไปภายในแม่แบบที่เราเพาะเห็ดอยู่ โดยใส่ริมๆด้านในและกดติดกับวัตถุดิบ หรือเนื้ออาหารนั้น

เชื้อเห็ด
เชื้อเห็ดที่แนะนำมักมีอายุ 1-2 สัปดาห์ อย่างน้อยที่สุดเจริญเต็มทั้งถุงนั้นแล้ว อย่างมากต้องไม่แก่จนเกินไป
ถ้าแก่มากๆ เส้นใยมักจะรวมกันและสร้างเป็นดอกเห็ดให้เห็นอยู่ ถ้าแก่เกินกว่านั้นอีก ดอกเห็ดก็จะยุบ เส้นใยก็จะ
ยุบเป็นน้ำเหลือง แสดงว่าแก่เกินไป

เชื้อเห็ดที่ดีไม่ควรจะมีศัตรูตกค้างอยู่ในนั้น เช่น ตัวไร ขนาดเล็กๆที่มากินเส้นใยเห็ด ไม่ควรจะมีหนอนของพวก
แมลงหวี่ แมลงวัน ไม่ควรจะมีเชื้อราชนิดอื่น ไม่ว่าจะเป็นราสีเขียว ราเหลือง หรือเป็นเชื้อราชนิดอื่น และไม่ควร
จะมีเห็ดอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเห็ดเยี่ยวม้าอาจจะปนติดมาได้

การแบ่งเชื้อ
เมื่อซื้อเชื้อมาถุงหนึ่ง ก็จะใช้กับกองเห็ดมาตรฐาน 1 กอง นำเชื้อมาแบ่งเป็น 4 ส่วน เพื่อจะได้ใส่ส่วนละ 1 ชั้น
ชั้นที่1 และชั้นที่ 2 โรยทับลงไปบนอาหารเสริมส่วนนั้นเก็บเอาไว้เพื่อจะใช้ไว้โรยบนพื้นดิน

การใส่เชื้อ
เชื้อที่เราแบ่งไว้นั้น นำมาบิแยกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยเสียก่อนมิฉะนั้นการใส่เชื้อบางครั้งติดเป็นก้อน ทำให้จุดหนึ่งได้
เชื้อมาก อีกจุดหนึ่งแทบจะไม่ได้เชื้อเลย ส่วนในกรณีของการที่จะใส่เชื้อลงไปในดินนั้น เราก็จะใช้หลังจากที่ซุยดิน
รอบกองเสียก่อน ดังนั้นใส่ชั้น 1 ชั้น2 ชั้น3 ให้เรียบร้อยเสียก่อน เหลืออีกส่วนหนึ่งเพื่อจะใส่ให้แก่ดินรอบกองต่อไปนี้

การเก็บเห็ดฟาง
เมื่อกองฟางเพาะเห็ดไปแล้ว 5-7 วัน จะเริ่มเห็นตุ่มสีขาวเล็ก ๆ เกิดขึ้น ตุ่มสีขาวเหล่านี้จะเจริญเติบโตเป็นเห็ดต่อไป
เกษตรกรจะเริ่มเก็บเห็ดได้เมื่อเพาะไปแล้วประมาณ 7-10 วัน แล้วแต่ความร้อน และการที่จะเก็บเห็ดได้เร็วหรือช้า
ขึ้นอยู่กับวิธีการเพาะและฤดูกาล คือ ฤดูร้อนและฤดูฝนจะเก็บเห็ดได้เร็วกว่าฤดูหนาว เพราะความร้อน ช่วยเร่งการ
เจริญเติบโตของเห็ด นอกจากนั้นถ้าใส่อาหารเสริมด้วยแล้ว จะทำให้เกิดดอกเห็ดเร็วกว่าไม่ใส่อีกด้วย ดอกเห็ดที่ขึ้นเป็น
กระจุก มีทั้งอ่อนและแก่ ถ้ามีดอกเล็ก ๆ มากกว่าดอกใหญ่ ควรรอเก็บเมื่อดอกเล็กโตหรือรอเก็บชุดหลัง เก็บดอกเห็ด
ขึ้นทั้งกระจุกโดยใช้มือจับ ทั้งกระจุกอย่างเบาๆ แล้วหมุนซ้ายและขวาเล็กน้อย ดึงขึ้นมาพยายามอย่าให้เส้นใยกระทบ
กระเทือน

การเก็บดอกเห็ด
ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสมและมีการดูแลเป็นอย่างดีแล้ว ประมาณวันที่2 ใยเห็ดจะเจริญแผ่ในกองฟาง และจะเจริญ
แผ่ไปทั่วในวันที่ 6 วันที่ 7 หรือ 8 เส้นใยที่อยู่ริมกองและด้านบนก็จะเริ่มปรากฎเป็นตุ่มเล็กๆ นี้จะค่อยๆ โตขึ้น
จนถึงวันที่ 9-10 ก็จะโตขึ้นพอเก็บได้

วิธีการเก็บดอกเห็ด ให้ใช้นิ้วชี้กับหัวแม่มือกดดอกเห็ดแล้วหมุนเล็กน้อย ยกขึ้นเบาๆ ดอกเห็ดจะหลุดลงมา ใน
กรณีที่ดอกเห็ดมีลักษณะเป็นหัวแป้นอยู่ ก็ควรรอไว้ได้อีกวันหนึ่งหรือครึ่งวัน แต่เมื่อดอกเห็ดมีลักษณะหัวยืดขึ้น
แบบหัวพุ่ง ก็ต้องเก็บทันที มิฉะนั้นดอกเห็ดจะบานออก ทำให้ขายไม่ได้ราคา


การให้น้ำแก่ดิน
การคลุมกองและไม่รดน้ำไปที่กองนั้น มีหลายแห่งที่นิยมปฏิบัติอยู่ แต่ให้กองฟางได้รับความชุ่มชื้น โดยการรดน้ำ
ลงไปที่ดิน หรือถ้ามีจำนวนมากก็ฉีดน้ำพ่น เพื่อให้น้ำลงไปเปียกที่ดิน น้ำจะระเหยจากดินออกมา แล้วถูกพลาสติก
ภายในเก็บเอาความชื้นเอาไว้ เป็นไอน้ำทำให้มีความชุ่มชื้นเพียงพอ ความชุ่มชื้นพอแต่การคลุมตลอดอย่างนั้น อาจจะ
ทำให้การถ่ายเทอากาศไม่ดี เมื่อถ่ายเทอากาศไม่ดี คาร์บอนไดออกไซด์มาก ถ้าประกอบกับความร้อน ก็จะทำให้
ดอกเห็ดที่เกิดภายในวันที่ 6-7 นั้น บานเร็วขึ้น


การดูแลรักษา
1. การดูแลรักษากองเห็ด ให้ใช้ผ้าพลาสติกใสหรือสีก็ได้ ถ้า เป็นผ้าพลาสติกยิ่งเก่าก็ยิ่งดีคลุม แล้วใช้ฟางแห้งคลุมกัน
แดดกันลม ให้อีกชั้นหนึ่ง ควรระวังในช่วงวันที่ 1-3 หลังการกองเพาะเห็ด ถ้า ภายในกองร้อนเกินไปให้เปิดผ้าพลาสติก
เพื่อระบายความร้อนที่ร้อน จัดจนเกินไป และให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกขึ้น ดูแลให้ดีก็จะเก็บ ดอกเห็ดได้ประมาณใน
วันที่ 8-10 โดยไม่ต้องรดน้ำเลย ผลผลิต โดยเฉลี่ยจะได้ดอกเห็ดประมาณ 1-2 กิโลกรัมต่อกอง

2. การตรวจดูความร้อนในกองเห็ด โดยปกติเราจะรักษา อุณหภูมิในกองเห็ดโดยเปิดตากลม 5-10 นาที แล้วปิด
ตามเดิม ทุกวันเช้าเย็น ถ้าวันไหนแดดจัดอุณหภูมิสูงความร้อนในกองเห็ดมาก ก็ควรเปิดชายผ้าพลาสติกให้นานหน่อย
เพื่อระบายความร้อนใน กองเห็ด วิธีตรวจสอบความชื้นทำได้โดยดึงฟางออกจากกองเพาะ แล้วลองบิดดู ถ้าน้ำไหล
ออกมาเป็นสายแสดงว่าแฉะไป แต่ถ้ากองฟาง แห้งไปเวลาบิดจะไม่มีน้ำซึมออกมาเลย ถ้าพบว่ากองเห็ดแห้งเกินไป
ก็ควรเพิ่มความชื้นโดยใช้บัวรดน้ำเป็นฝอยเพียงเบา ๆ ให้ชื้น หลังจากทำการเพาะเห็ดประมาณ 1 อาทิตย์ จะเริ่มมี
ตุ่มดอกเห็ดสีขาว เล็ก ๆ ในช่วงนี้ต้องงดการให้น้ำโดยตรงกับดอกเห็ด ถ้าดอกเห็ด ถูกน้ำในช่วงนี้ดอกเห็ดจะฝ่อและ
เน่าเสียหาย ให้รดน้ำที่ดินรอบกอง

ศัตรูและการป้องกันกำจัด
1. แมลง ได้แก่ มด ปลวก จะมาทำรังและกัดกิน เชื้อเห็ด และรบกวนเวลาทำงาน การป้องกันนอกจากเลือกสถาน
ที่เพาะเห็ด ไม่ให้มีมด ปลวก แล้วอาจจะใช้ ยาฆ่าแมลง เช่น คลอเดน หรือเฮพต้าคลอร์ โรยบนดินรอบกองฟาง
หรือโรยทั่วพื้นที่ก่อนที่จะทำการเพาะเห็ดฟางก็ได้ อย่าโรยยาฆ่าแมลงลงบนกองฟางจะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
สัตว์ชนิดอื่น ได้แก่ หนู คางคก กิ้งกือ และจิ้งเหลน จะมากัดกินเชื้อเห็ดและขุดคุ้ยลายแปลงเพาะบ้าง แต่ไม่มากนัก
เห็ดราชนิดอื่น ได้แก่ เห็ดขี้ม้า เห็ดหมึก เห็ดด้าน จะเจริญแข่งขันและแย่งอาหารเห็ดฟาง ป้องกันได้โดยใช้ฟางที่
แห้งที่สะอาดยังไม่มีเชื้อราอื่นขึ้น ใช้ที่ดีและดูแลรักษากองฟางให้ถูกวิธี

วิธีแก้คือ การเก็บฟางไม่ควรให้ถูกฝน และถ้ามีราขึ้นให้หยิบฟางขยุ้มนั้นทิ้งให้ไกลกองเพาะ

การย้ายที่เพาะ
คือการเลื่อนไปปลูกเห็ดลงพื้นที่ซึ่งไม่เพาะเห็ดมาก่อน วิธีนี้ลดปัญหาพวกเชื้อราได้

ข้อดี ของการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย
- การเพาะกองเตี้ยสามารถใช้วัสดุเพาะได้มาก เช่น ตอซัง กองฟาง ผักตบชวา ต้นกล้วย ฝักถั่วลิสง ไส้นุ่น เปลือก
ถั่วเขียว ฯลฯ
- ใช้แรงงานน้อย
- วิธีการเพาะง่าย สะดวกและดูแลรักษาง่าย
- ไม่จำเป็นต้องใช้เชื้อเห็ดฟางมาก แต่ได้ผลผลิตคุ้มค่า
- ระยะเวลาในการผลิตสั้นและสามารถกำหนดวันที่ให้ผลผลิตได้แน่นอน
- สามารถเพาะในเนื้อที่ที่จำกัดได้
- ใช้อุปกรณ์ในการเพาะเห็ด ค่อนข้างมาก
- ต้องใช้อาหารเสริม
- เพาะในฤดูหนาวมักมีปัญหาเรื่อความร้อนไม่พอ
- ผลผลิตจะออกมามากครั้งเดียว โดยเก็บติดต่อกัน 2-3 วันก็หมด


ข้อเสีย ของการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย
ข้อแนะนำเพิ่มเติม
1. ในการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ยนั้น หากมีการเพาะหลาย ๆ กองเรียงกันแล้ว จะสามารถใช้ประโยชน์จากเนื้อที่ระหว่าง
กองแต่ละกองได้อีกด้วย เนื่องจากขณะรดน้ำก็จะมีธาตุอาหาร อาหารเสริม เส้นใยเห็ดที่ถูกน้ำชะไหลลงไปรวมอยู่บริเวณ
พื้นที่ระหว่างกอง จึง ทำให้บริเวณนั้นมีอาหารครบถ้วนต่อการเกิดดอกเห็ด และยิ่งถ้าให้ ความเอาใจใส่ดูแลอย่างดี หมั่น
ตรวจดูความชื้น อุณหภูมิ ให้เหมาะสม ต่อการเกิดดอกด้วยแล้ว พื้นที่ระหว่างกองนั้นก็จะให้ดอกเห็ดได้ อีกด้วย

2. ฟางที่จะใช้สำหรับการเพาะนั้นจะใช้ตอซัง หรือจะใช้ฟางที่ ได้จากเครื่องนวดข้าวก็ได้

3. หลังจากเก็บดอกเห็ดหมดแล้ว ควรเอากองเห็ดหลาย ๆ กอง มาสุมรวมกันเป็นกองใหม่ให้กว้างประมาณ 80 ซม.
ทำแบบการเพาะ เห็ดกองสูง แล้วรดน้ำพอชุ่มคลุมฟางได้สัก 6-8 วัน ก็จะเกิดดอกเห็ด ได้อีกมากพอสมควรเก็บได้
ประมาณ 10-15 วันจึงจะหมด วัสดุที่ใช้นี้ หลังจากเพาะเห็ดฟางแล้วสามารถนำไปเพาะเห็ดอย่างอื่นได้อีกด้วยโดยแทบ
ไม่ต้องผสมอาหารเสริมอื่น ๆ ลงไปอีกเลย หรือจะใช้เป็น ปุ๋ยหมักสำหรับต้นไม้ก็ได้ มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับปุ๋ยอินทรีย์
ที่ กทม. ขายอยู่นั้นมาก

4. เมื่อเก็บดอกเห็ดหมดแล้ว นำฟางจากกองเห็ดเก่านี้ไปหมักเป็นปุ๋ยหมักใช้กับพืชอื่น ๆ ต่อไป หรือนำฟางที่ได้จากการ
เพาะเห็ด ไปเพาะเห็ดนางรม เป๋าฮื้อ ก็ได้

5. การขุดดินตากแดด 1 สัปดาห์ ย่อยให้ดินร่วนละเอียด จะทำให้ผลผลิตเห็ดได้มากกว่าเดิมอีก 10-20% เพราะเห็ด
เกิดบนดิน รอบ ๆ ฟางได้

6.การเปลี่ยนวิธีคลุมกองเห็ดตั้งแต่วันที่ 4 นับจากการเพาะ เป็นต้นไป ให้เป็นแบบหลังคาประทุนเรือจะทำให้ได้เห็ดเพิ่มขึ้น



ที่มา : วารสารเห็ด 2(1) : 40-41 (2525)

http://kasetonline.com/tag/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B8%9F%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2/

--------------------------------------------------------------------------------------------------




http://search.babylon.com/imageres.php?iu=http://thanapat99.igetweb.com/private_folder/artical/Conversion20mushroom.jpg&ir=http://thanapat99.igetweb.com/index.php?mo=59&action=page&id=298966&ig=http://images.google.com/images?q=tbn:ANd9GcTaS7Me7jNGHsFe68nbukKM7bpb-G_wQDzVT4K0bLIkBi5eFfQsZHm_BEU:thanapat99.igetweb.com/private_folder/artical/Conversion20mushroom.jpg&h=312&w=450&q=เห็ดฟางกองเตี้ยหลังนา&babsrc=HP_ss






http://search.babylon.com/imageres.php?iu=http://blog.taradkaset.com/wp-content/uploads/2011/01/937_1.jpg&ir=http://blog.taradkaset.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B8%9F%E0%B8%B2%E0%B8%87/&ig=http://images.google.com/images?q=tbn:ANd9GcRkiLuKFhmWV2HNblv58az91NIwQclbvZ00G2vjp-Dyn57MlqVEJTGV2w:blog.taradkaset.com/wp-content/uploads/2011/01/937_1.jpg&h=301&w=400&q=เห็ดฟางกองเตี้ยหลังนา&babsrc=HP_ss





http://search.babylon.com/imageres.php?iu=http://www.rakbankerd.com/ckfinder/userfiles/images/PLANT/Propagation/13227_1.jpg&ir=http://www.rakbankerd.com/agriculture/print.php?id=1621&s=tblareablog&ig=http://images.google.com/images?q=tbn:ANd9GcS1syBO_1JPArlIzHK1f9HQNy3i2LxDByQy_ZdPRCdMOQgK5G3P3g94sw:www.rakbankerd.com/ckfinder/userfiles/images/PLANT/Propagation/13227_1.jpg&h=404&w=404&q=เห็ดฟางกองเตี้ยหลังนา&babsrc=HP_ss


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 21/06/2011 6:33 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 21/06/2011 10:32 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ปลูกดาวเรืองหลังนา




ปลูกดาวเรืองขายสร้างรายได้ หลังเสร็จจากทำนาปี

ดาวเรือง เป็นไม้ดอกที่คนไทยรู้จักกันดีชนิดหนึ่งเนื่องจากปลูกง่าย โตเร็ว คงทนต่อสภาพแวดล้อม มีสีสันสดใสสะดุดตา
ดอกมีลักษณะกลมสวยงาม กลีบดอกจัดเรียงเป็นระเบียบ กลีบดอกยึดแน่นกับฐานดอกไม่หลุดง่าย อายุการใช้งานนาน
ประมาณ 7-10 วัน นอกจากนี้ดาวเรืองยังเป็นพืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น ประมาณ 60-70 วัน ก็สามารถตัดจำหน่ายได้
รวมทั้งดาวเรืองยังเป็นพืชที่ขึ้นได้ดีทุกสภาพพื้นที่และทุกฤดูกาลของประเทศ และเป็นไม้ดอกสามารถทำรายได้ให้กับ
ผู้ปลูกสูง

สามารถปลูกลงกระถางหรือถุงพลาสติกเพื่อใช้ประดับตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ต่างๆ ในปัจจุบันการปลูก
ดาวเรืองนอกจากจะปลูกเพื่อตัดดอกขายแล้ว รวมทั้งมีการปลูกเพื่อเก็บเมล็ดส่งโรงงานอาหารสัตว์อีกด้วย แหล่งปลูก
ดาวเรืองที่สำคัญของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดพะเยา ลำปาง นนทบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี สมุทรสาคร อุดรธานี
และกรุงเทพฯ ในขณะที่พื้นที่ทางภาคใต้ยังไม่เป็นที่นิยมปลูกกันมากนัก จนทำให้ชาวนาบ้านไสนาขัน ท้องที่หมู่ที่ 9
รวมกลุ่มกันปลูกหลังเก็บข้าวนาปี เสร็จจนสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัวอย่างเป็นกอบเป็นกำ

นายเสริมสิน กลิ่นจันทร์ อายุ 45 ปี ประธานกลุ่มผู้ปลูกดาวเรืองบ้านไสนาขัน เปิดเผยว่า หลังจากที่ได้ลาออกมาจา
การทำงานบริษัทที่กรุงเทพฯแล้วกลับมาอยู่ที่บ้านเกิดพบว่า เกษตรกรชาวนาในละแวกใกล้เคียง เมื่อเสร็จจากการ
ทำนาปีแล้วก็ปล่อยให้พื้นที่นาว่าง จึงได้ชวนเพื่อนฝูงรวมกลุ่มกันปลูกดาวเรื่องเพื่อตัดดอกขาย ประมาณ 20 คน
โดยปลูกรวมกันบนพื้นที่ 30 ไร่ และปลูกดาวเรือง พันธุ์ดับเบิล อีเกิล (Double Egle) ดับบลูน (Doubloon)
ซอฟเวอร์เรน (Sovereign) ดอกสีเหลือง ขนาดประมาณ 8.5 ซ.ม และมีก้านดอกแข็ง

ซึ่งการปลูกดาวเรืองเริ่มขึ้นตอนตั้งแต่การเตรียมแปลงปลูก การย้ายกล้ามาปลูกในแปลง รวมถึงการปฏิบัติดูแล
ขั้นตอนในการปฏิบัติดูแลรักษา โดยดินที่จะใช้ปลูกดาวเรืองควรเป็นดินที่ระบายน้ำได้ดี เก็บรักษาความชื้นได้สูง
และควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักลงไปด้วยเพื่อเพิ่มธาตุอาหารและปรับโครงสร้างให้ดินโปร่ง และขุดพลิกหน้าดินไว้
ประมาณ 1-2 สัปดาห์ เพื่อทำลายเชื้อโรคและแมลงศัตรูพืช ซึ่งแปลงควรมีขนาดกว้างประมาณ 1 เมตร ความยาว
ตามความเหมาะสมของพื้นที่ จากนั้นจึงย่อยดินให้ละเอียดและปรับหน้าแปลงให้เรียบ แล้วจึงปลูกดาวเรืองโดย
ให้แต่ละแถวห่างกัน 30 ซ.ม และระยะระหว่างต้นห่างกัน 30 ซ.ม เช่นกัน และหากพื้นที่ปลูกเป็นแปลงขนาดใหญ่
ให้เว้นทางเดินระหว่างแปลงประมาณ 80 ซ.ม แต่ถ้าเป็นที่ลุ่มและยกร่องปลูกก็ไม่ต้องเว้นทางเดินไว้ เพียงแต่เว้น
ขอบแปลงริมร่องน้ำไว้เล็กน้อยเพื่อใช้เป็นทางเดิน รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟตหรือปุ๋ยสูตร 15-15-15
อัตราหลุมละ1 ช้อนชา แล้วเกลี่ยดินกลบปุ๋ยเพื่อป้องกันไม่ให้รากดาวเรืองสัมผัสปุ๋ยโดยตรง และให้น้ำในช่วงแรก คือ
ตั้งแต่เริ่มปลูกถึงอายุ 7 วัน ควรรดน้ำวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็นหลังจากนั้นรดน้ำวันละครั้งในตอนเช้าก็พอ และใน
ช่วงที่ดอกเริ่มบานจะต้องระวังอย่าให้น้ำถูกดอกดาวเรืองเพราะจะทำให้ดอกเสียหายและถูกเชื้อโรคเข้าทำลายได้ง่าย

การใส่ปุ๋ยเมื่อดาวเรืองมีอายุ 15 และ 25 วัน ควรใส่ปุ๋ย สูตร 15-15-15 อัตรา 1 ช้อนชาต่อหลุม และเมื่อดาวเรือง
มีอายุ 35 และ 45 วัน ควรใส่ปุ๋ยสูตร15-24-12 อัตรา 1 ช้อนชาต่อหลุม เช่นกัน การใส่ปุ๋ยควรใส่ให้ห่างโคนต้น
ประมาณ 6 นิ้ว โดยฝังลงในดินประมาณครึ่งนิ้ว จากนั้นควรพรวนดินรอบๆ โคนต้นและกลบโคนต้นไว้ การใส่ปุ๋ย
ทุกครั้งจะต้องรดน้ำให้โชกเสมอ

ก่อนตัดดอกดาวเรืองเพื่อนำไปจำหน่ายประมาณ 2-3 วัน ควรใช้น้ำตาลทราย จำนวน 15 ลิตร ฉีดพ่นใบดาวเรือง
ทั้งด้านบนและด้านล่างจะทำให้ก้านดอกแข็งแรงขึ้น จากนั้นจึงทยอยตัดดอก อายุของดาวเรืองที่สามารถตัดดอก
ขายได้คือประมาณ 55-65 วัน หรือให้สังเกตจากดอกที่ยังมีกลีบดอกตรงกลางเป็นสีเขียวอยู่ได้นานกว่าดอกที่บาน
ทั้งหมด ในการตัดดอกนั้นควรตัดให้ชิดโคนกิ่งให้มากที่สุดจะทำให้ก้านดอกที่ติดมามีขนาดยาว

นายเสริมสิน ยังกล่าวอีกว่า การปลูกดาวเรืองในแปลงปลูกโดยทั่วไปต้นทุนการผลิตส่วนใหญ่ประกอบด้วยค่าเมล็ด
พันธุ์เมล็ดละประมาณ 60 สตางค์ 1 บาท ปุ๋ย สารเคมี และแรงงาน โดยเฉลี่ยต้นทุนในการผลิตดาวเรืองประมาณไร่
ละ 19,120 บาท ซึ่งผลตอบแทนและราคาจำหน่ายการปลูกดาวเรืองในแปลงพื้นที่ 1 ไร่ จะเก็บผลผลิตได้ประมาณ
37,258 ดอก ราคาโดยเฉลี่ยประมาณดอกละ 1 บาท ดังนั้นผลตอบแทนในการปลูกดาวเรืองประมาณไร่ละ
37,258 บาท ซึ่งจากการที่สมาชิกได้รวมกลุ่มกันปลูกสามารถสร้างรายได้เสริมให้กับครอบครัวอีกทางหนึ่ง และ
ตลาดรับซื้อดาวเรืองของกลุ่มคือตลาดเมืองพัทลุง ตลาดในจังหวัดตรังและจังหวัดสงขลา โดยจะมีพ่อค้าเข้ามารับ
ซื้อถึงที่ที่ปลูกดาวเรือง จากนั้นพ่อค้าก็จะนำไปจำหน่ายต่อไป


ไสว รุยันต์/พัทลุง

http://www.ryt9.com/s/bmnd/699263

---------------------------------------------------------------------------------------------------
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 24/06/2011 5:47 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ปลูกพืชตระกูลถั่วหลังนา ... สร้างรายได้ ปรับปรุงบำรุงดิน


ปัจจุบันนี้ข้าวมีราคาอยู่ในเกณฑ์สูง ประกอบกับรัฐบาลได้จัดทำโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว เป็นแรงจูงใจให้เกษตรกร
หันมาทำนาปรังมากขึ้นในช่วงเพาะปลูกพืชฤดูแล้งปี 2552/53 นี้ ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์คาดการณ์ว่าจะมีพื้นที่ปลูก
ข้าวนาปรังประมาณ 9.50 ล้านไร่ แยกเป็นในเขตชลประทาน 7.50 ล้านไร่ และนอกเขตชลประทาน 2 ล้านไร่ ซึ่งหลายพื้นที่
ได้เกิดปัญหาการแย่งชิงน้ำเพื่อการเพาะปลูก เพราะการปลูกข้าวหนึ่งรอบการผลิตต้องใช้น้ำปริมาณมากทำให้น้ำไม่พอเพียงกับ
ความต้องการ เป็นอีกหนึ่งประเด็นร้อนที่กำลังถูกจับตามอง กระทรวงเกษตรฯ จึงเร่งรณรงค์ให้งดปลูกข้าวนาปรังรอบ 2 และให้
ปลูกพืชไร่-ผักที่มีช่องทางการตลาดดีทดแทน

นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า หลังเก็บเกี่ยวข้าวนาปรังรอบที่ 1 แล้ว เกษตรกรควรพัก
ดินและงดทำนาปรังรอบ 2 และควรปลูกพืชชนิดอื่นที่มีลู่ทางการตลาดดีทดแทนข้าวนาปรัง เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว และถั่วลิสง
ซึ่งมีแนวโน้มราคาอยู่ในเกณฑ์ดี นอกจากเป็นพืชอายุเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อยที่สามารถช่วยประหยัดน้ำ และลดปัญหาการ
แย่งชิงน้ำเพื่อการเกษตรแล้ว ยังช่วยตัดวงจรปัญหาเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าวได้อีกทางหนึ่งด้วย

เกษตรกรควรจัดระบบการปลูกพืชในนาข้าวใหม่ โดยปลูกพืชตระกูลถั่วสลับกับการทำนาปี-นาปรัง เช่น ปลูกถั่วเหลืองหลังนา
สามารถที่จะช่วยปรับโครงสร้างดินให้สมบูรณ์ขึ้นได้ ถ้าไถกลบต้นถั่วเหลืองลงดินจะมีปริมาณธาตุไนโตรเจนที่ได้จากการสลาย
ตัวของถั่วเหลือง 7 กก.ไนโตรเจน/ไร่ คิดเป็นปริมาณไนโตรเจนในปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) 15 กก./ไร่ หรือไนโตรเจนในปุ๋ย
แอมโมเนียมไนเตรท (21-0-0) 34 กก./ไร่

เมื่อกลับไปปลูกข้าว เกษตรกรไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอีกเลย คาดว่าจะสามารถช่วยลดต้นทุนค่าปุ๋ยไนโตรเจน
ในนาข้าวทั้งประเทศได้ปีละกว่า 4,000 ล้านบาท ขณะเดียวกันยังจะมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายผลผลิตถั่วเหลือง
และมีรายได้เพิ่มขึ้นจากผลผลิตข้าว คิดเป็นมูลค่า รวมกว่า 12,032 ล้านบาท นอกจากถั่วเหลืองแล้ว อาจปลูกถั่วเขียวหรือ
ถั่วลิสง ซึ่งเกษตรกรจะได้รับผลตอบแทนใกล้เคียงกัน และที่สำคัญ ยังได้ปรับปรุงโครงสร้างดินในแปลงนาไปในตัวด้วย

นายเทวา เมาลานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร แนะนำว่าการเพาะปลูกพืชในช่วงฤดูแล้ง เกษตรกร
ควรคำนึงถึงปริมาณน้ำต้นทุนที่จะหล่อเลี้ยงพื้นที่เพาะปลูกว่ามีเพียงพอหรือไม่ เพราะน้ำถือเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อ
ระบบการผลิต หากปริมาณน้ำไม่เพียงพอเกษตรกรไม่ควรทำนาปรังแต่ควรปลูกพืชอายุสั้นและใช้น้ำน้อยแทน โดยเลือก
ปลูกพืชไร่ที่มีราคาดี เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลิสง และถั่วเขียว ซึ่งจะใช้น้ำประมาณ 400-600 ลบ.ม./ไร่/รอบการผลิต ทั้งยัง
ต้องมองถึงช่องทางตลาดด้วยว่าพืชชนิดใดที่ตลาดมีความต้องการมากเพื่อลดความเสี่ยงในการลงทุน

ขณะเดียวกันยังต้องเลือกใช้เมล็ดพันธุ์พืชพันธุ์ดีที่มีคุณภาพ ให้ผลผลิตสูงและเหมาะกับสภาพพื้นที่ อาทิ ถั่วเหลืองพันธุ์
เชียงใหม่ 60 เชียงใหม่ 2 เชียงใหม่ 5 นครสวรรค์ 1 พันธุ์ขอนแก่น ถั่วเขียวพันธุ์ชัยนาท 72 กำแพงแสน 1 กำแพงแสน 2
และพันธุ์ชัยนาท 36 ถั่วลิสงพันธุ์ขอนแก่น 6 ขอนแก่น 5 พันธุ์กาฬสินธุ์ 1 และกาฬสินธุ์ 2 เป็นต้น

การให้น้ำเป็นเรื่องสำคัญมาก ในช่วงอุณหภูมิสูงไม่ควรให้ขาดน้ำจนพืชเหี่ยวเฉา เพื่อให้การปลูกถั่วเหลือง และถั่วเขียวได้ผล
ผลิตดีควรให้น้ำทุก 10-14 วัน พยายามอย่าให้ขาดน้ำ โดยเฉพาะระยะที่พืชออกดอกติดฝักไม่ควรให้ขาดน้ำอย่างเด็ดขาด
เพราะจะทำให้ดอกร่วงไม่ติดฝัก ส่งผลให้ได้ผลผลิตลดลงและเสียหายได้ ส่วนถั่วลิสงควรให้น้ำเมื่อความชื้นในดินลดลง
หรือสังเกตต้นถั่วเมื่อใบเริ่มเหี่ยวในตอนกลางวัน การให้น้ำควรมีช่วงห่างระยะ 10-15 วัน ต่อครั้ง ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นแนว
ทางช่วยพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตพืชฤดูแล้งหลังนาได้.

แต่โดยทั่วไปแล้วเกษตรกรผู้ทำนาส่วนใหญ่ เห็นว่าข้าวได้ราคาดีจึงมักมีกรรมวิธีการปลูกที่เน้นแต่ผลผลิตไม่สนใจสิ่งแวดล้อม
แต่ก็ไม่สามารถไปบังคับท้วงติงเกษตรกรเหล่านั้นได้ จิตสำนึกเท่านั้นที่จะตัดสินได้ว่า การกระทำใดๆ ที่ส่งผลต่อลูกหลาน
ในอนาคต



ที่มา หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
http://www.kasetorganic.com/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B8%8A%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%96%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©