-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ข้าวไรซ์เบอรี่ Riceberry .... TUTA
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ข้าวไรซ์เบอรี่ Riceberry .... TUTA
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ข้าวไรซ์เบอรี่ Riceberry .... TUTA

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 13/06/2011 8:49 pm    ชื่อกระทู้: ข้าวไรซ์เบอรี่ Riceberry .... TUTA ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ข้าวไรซ์เบอรี่ Riceberry


ได้จากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างข้าวเจ้าหอมนิลกับข้าวขาวดอกมะลิ 105 ลักษณะเป็นข้าวเจ้าสีม่วงเข้ม รูปร่างเมล็ดเรียวยาว ข้าวกล้องมีความนุ่มนวลมาก สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี ให้ผลผลิตต่อไร่สูง ต้านทานต่อโรคไหม้ได้เป็นอย่างดี

คุณสมบัติเด่นทางด้านโภชนาการของข้าวไรซ์เบอรี่ คือมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ได้แก่ เบต้าแคโรทีน, แกมมาโอไรซานอล, วิตามินอี, แทนนิน, สังกะสี, โฟเลตสูง, มีดัชนีน้ำตาลต่ำ-ปานกลาง

นอกจากนี้รำข้าวและน้ำมันรำข้าว ยังมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระที่ดีเหมาะสำหรับใช้ทำผลิตภัณฑ์อาหารเชิงบำบัดอีกด้วย








ลักษณะประจำพันธุ์ข้าวไรซ์เบอรี่ Riceberry
ความสูง.............................................. 105-110 ซม.
อายุเก็บเกี่ยว......................................... 130 วัน
ผลผลิต............................................... 750-1,000 กก. / ไร่
% ข้าวกล้อง (Brown rice)....................... 76 %
% ต้นข้าวหรือข้าวเต็มเมล็ด (head rice)......... 50 %

ความยาวของเมล็ด
ข้าวเปลือก 11 ม.ม. ....... ข้าวกล้อง 7.5 ม.ม. .... ข้าวขัด 7.0 ม.ม.



คุณสมบัติทางโภชนาการในข้าวกล้องไรซ์เบอรี่ Riceberry
ปริมาณ Amylose........................... 15.6 %
อุณหภูมิแป้งสุก............................... < 70 & deg ; C
ธาตุเหล็ก...................................... 13-18 mg/kg
ธาตุสังกะสี..................................... 31.9 mg/kg
โอเมกา-3 .................................... 25.51 mg/100 g
วิตามิน อี ...................................... 678 ug /100 g
โฟเลต ......................................... 48.1 ug/100 g
เบต้าแคโรทีน .................................. 63 ug/100 g
โพลีฟีนอล ......................................113.5 mg/100 g
แทนนิน ......................................... 89.33 mg/100 g
แกมมา-โอไรซานอล ........................... 462 ug/100 g

สารต้านอนุมูลอิสระ
ชนิดละลายในน้ำ ............ 47.5 mg ascorbic acid quivalent/100 g
ชนิดละลายในน้ำมัน ......... 33.4 mg trolox equivalent/100 g


http://dna.kps.ku.ac.th/index.php/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7/%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B8%8B%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%87.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 25/02/2014 10:14 pm, แก้ไขทั้งหมด 7 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 13/06/2011 8:54 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ไรซ์เบอรี่ 2 ต้านโรคมะเร็ง

ข้าวไรซ์เบอรี่ | Riceberry ได้มาจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างข้าวเจ้าหอมนิล กับ ข้าวขาวดอกมะลิ 105 เช่นเดียวกับพันธุ์ไรซ์เบอรี่ ปลูกได้ทั้งปี รูปร่างเมล็ดเรียวยาว ต้านทานโรคไหม้ดีมาก ทนทานต่อสภาพธาตุเหล็กเป็นพิษในดิน Acid sulfate soil #2 ข้าวเจ้าสีม่วงเข้มมากและมีกลิ่นหอมมะลิ นอกจากนี้ยังมีสารต้านอนุมูลอิสระในเมล็ดสูงมาก โดยเฉพาะสารประกอบโพลีฟีนอล










ลักษณะพิเศษของข้าวพันธุ์ไรซ์เบอรี่ Riceberry

ลักษณะประจำพันธุ์ :

ความสูง 145 ซม.

อายุเก็บเกี่ยว 127 วัน

ผลผลิต 600-700 กก./ไร่

% ข้าวกล้อง (brown rice) 78%
% ต้นข้าวหรือข้าวเต็มเมล็ด (head rice) 50%
ความยาวของเมล็ด ข้าวเปลือก 11 ม.ม.

ข้าวกล้อง 7.8 ม.ม. ข้าวขัด 7.0 ม.ม.




คุณสมบัติทางโภชนาการในข้าวกล้องไรซ์เบอรี่ Riceberry :

ปริมาณ Amylose 18.3 %

วิตามิน อี 577 ug/100 g

เบต้าแคโรทีน 21.61 ug/100 g

คุณสมบัติต่อต้านอนุมูลอิสระ (FRAP) 30.91 umole TE/g

คุณสมบัติต่อต้านอนุมูลอิสระ (ORAC) 134.29 umole TE/g

ฟัยเตท 659.24 mg/100 g

โพลีฟีนอล 202.5 mg/100 g

แทนนิน 66.78 mg/100 g




http://dna.kps.ku.ac.th/index.php/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B9%8C/%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B8%8B%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%882-%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%87.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/06/2011 8:12 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 13/06/2011 9:38 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ข้าวธาตุเหล็กสูง, ความเป็นประโยชน์ของธาตุเหล็ก





การปรับปรุงความหนาแน่นของธาตุเหล็กในเมล็ดข้าว
ความหนาแน่นของธาตุเหล็กในเมล็ดข้าว เมื่อเทียบกับธัญพืชอื่นๆ ถือว่าอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า ถ้าการบริโภคข้าวเฉลี่ยของคนไทยอยู่ระหว่าง 200-250 กรัมต่อวัน และความต้องการธาตุเหล็กของร่างกายเฉลี่ยเท่ากับ 15 มก.ต่อวัน (RDA)

ดังนั้นถ้าต้องการให้ข้าวสามารถให้ธาตุเหล็กระดับ 1 ใน 3 ของ RDA เมล็ดข้าวจะต้องมีความหนาแน่นของธาตุเหล็กถึง 5 มก.ต่อ 100 กรัม พันธุ์ข้าวที่นิยมบริโภคโดยทั่วไปมีธาตุเหล็กต่ำกว่า 1.3-1.5 มก./100 ก.

ขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ ได้ดำเนินการค้นหาข้าวที่มีธาตุเหล็กสูงจากข้าวพื้นเมือง เพื่อใช้เป็นพันธุ์สำหรับให้ลักษณะธาตุเหล็กสูง ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วมักพบในข้าวที่มีเมล็ดสีดำ

แต่อย่างไรก็ตามการใช้ข้าวจากฐานพันธุกรรมธรรมชาติยังมีข้อจำกัดเกี่ยวกับปริมาณสารยับยั้งการดูดซึมธาตุเหล็กพวก polyphenol และ phytic acid ซึ่งมีอยู่มากในส่วนของรำ ในขณะที่ข้าวสีขาวมีสารยับยั้งการดูดซึมในปริมาณที่ต่ำกว่า จึงได้มีความพยายามที่จะผสมข้ามพันธุ์ระหว่างข้าวสีขาวกับข้าวสีม่วง-ดำ เพื่อถ่ายทอดลักษณะธาตุเหล็กสูงให้กับข้าวสีขาว


ความสำเร็จในก้าวแรกได้ค้นพบข้าวสีขาวที่มีธาตุเหล็กในข้าวกล้อง 2.1 มก./100 ก. พันธุ์บริสุทธิ์ที่ได้ให้ชื่อว่า 313-19-1-1 เป็นข้าวที่มีกลิ่นหอม มีอมัยโลสปานกลาง

ต่อมาได้ค้นพบข้าวเจ้าสีขาวธาตุเหล็กสูงระดับ 2.8 มก./100 ก. จากคู่ผสมระหว่างข้าวไร่ หอมพม่าและก่ำดอยช้าง ส่วนพันธุ์ข้าวที่มีธาตุเหล็กสูงสุดระดับ 5 มก./100 ก. ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างข้าวป่านิวาราและเจ้าหอมนิล การปรับปรุงพันธุ์ในขั้นต่อไปคือการเพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุเหล็กในเมล็ดให้สูงขึ้น


ความเป็นประโยชน์ของธาตุเหล็กเป็นเรื่องยากในการปรับปรุงธาตุเหล็กในเมล็ดธัญพืชให้มีความเป็นประโยชน์เพิ่มขึ้น เนื่องจากความเป็นประโยชน์มีความเกี่ยวข้องกับ รูปแบบการสะสมเหล็ก, สัดส่วนของสารกระตุ้นและสารยับยั้งการดูดซึม โดยธาตุเหล็กจะดูดซึมได้ดีเมื่อจับอยู่กับ ferritin หรือ frataxin ดังนั้นจึงแน่ใจได้ว่าความหนาแน่นของ ferritin หรือ frataxin มีผลต่อความหนาแน่นของธาตุเหล็กและการดูดซึมธาตุเหล็ก

สำหรับสารที่พบในธรรมชาติ คือ polyphenol, condensed tannin และ phytic acid นับว่ามีผลต่อการยับยั้งการดูดซึมธาตุเหล็กเป็นอย่างมาก การลดสารเหล่านี้ถือเป็นวัตถุประสงค์หลักของการผสมข้ามพันธุ์ ในปัจจุบันยังไม่สามารถเข้าใจถึงปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมการดูดซึมธาตุเหล็กได้ชัดเจนทั้งหมด รู้แต่เพียงว่าตัวส่งเสริมการดูดซึม คือ วิตามินซี กรดอะมิโน เช่น methionine, cysteine และ oligosaccharide สายสั้นๆ พวก inulin หรือใช้ polysaccharide fraction สำหรับช่วยส่งเสริมการดูดซึมธาตุเหล็กในข้าวขัดให้มี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น



http://dna.kps.ku.ac.th/index.php/บทความของศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว/ข้าวธาตุเหล็กสูงความเป็นประโยชน์ของธาตุเหล็ก.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 13/06/2011 9:48 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

รำข้าวสีดำ คือ แหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระ (Riceberry | ไรซเบอรี่)





ข้าวที่มีสีดำมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระที่ดีเนื่องจากมี สารจับอนุมูลอิสระ ทั้ง quinolone alkaloid, vitamin E, phytate, g-oryzonol, polyphenol และ anthocyanin อยู่สูง ในข้าวสีดำพันธุ์ไรซ์เบอรี่ พบว่า มีปริมาณ polyphenolic ถึง 752.1 mg/100g, anthocyanin 250.36 mg/100g และ beta carotene 63.3 ug/100g ซึ่งพบอยู่มากในส่วน pericarp สารทั้งสามชนิดมีความสัมพันธ์กับความสามารถ ในการต้านอนุมูลอิสระโดยเฉพาะ polyphenolic ดังนั้นรำข้าวสีดำจึงเป็นแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระ


กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังซึ่งรวมถึงโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับ 3 ของคนไทยในทุกกลุ่มอายุ อวัยวะสำคัญที่พบคือ มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด เต้านม และมะเร็งทางเดินอาหารอัตราตายด้วยโรคมะเร็งต่อประชากร 100,000 คน เพิ่มขึ้นจาก 12.6 คน เป็น 68.8 คน ในช่วงปี พ.ศ. 2510- 2544 (กระทรวงสาธารณสุข) อนุมูลอิสระของออกซิเจน หรือ reactive oxygen species (ROS) เกิดขึ้นได้จากกระบวนการปกติของร่างกายและเพิ่มขึ้นจากการอักเสบ การได้รับสารเคมีจากมลพิษ ยาบางชนิด การสูบบุหรี่หรือการได้รับรังสี ROS ทำให้เกิด ปฏิกิริยา lipid peroxidation ซึ่งส่งผลทำให้สารพิษสามารถเข้าไปทำให้เกิดความเสียหายกับเยื่อหุ้มเซลล์, โครงสร้าง DNA และ RNA ตลอดจนชีวโมเลกุลในเซลล์ ซึ่งเป็นสาเหตุที่สำคัญของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหลายชนิดเช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคไต, โรคข้อ รวมทั้งโรคมะเร็ง


การศึกษาทางระบาดวิทยาพบว่าการรับประทานผัก ผลไม้ รวมทั้งธัญพืช ซึ่งมีสารต้านอนุมูลอิสระสูงสามารถลดอัตราการเกิดโรคเรื้อรังดังกล่าวได้ นอกจากนี้การได้รับสารต้านอนุมูลอิสระจากอาหารหลายๆประเภทจะให้ผลในการป้องกันมากกว่าการได้รับจากแหล่งใดแหล่งหนึ่งเนื่องจากมีฤทธิ์สร้างเสริมกัน ธัญพืชให้สารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิดซึ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อได้รับร่วมกับสารกลุ่มที่มาจากผักและผลไม้ โดยฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระในข้าวมาจากกลุ่มสารประกอบฟีนอล (Phenolic acid derivatives) พบได้มากในส่วนของรำข้าว



ประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระ
จากการศึกษาพบว่าข้าวยิ่งมีสีม่วงเข้มมากประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระยิ่งมีมากขึ้นโดยมีค่าอยู่ระหว่าง 35.3 ถึง 214.7 umole/g จากการศึกษาด้วยวิธี ORAC (Oxygen Radical Absorbance Capacity)โดยเฉพาะในรำข้าวเจ้าหอมนิลและรำข้าวไรซ์เบอรี่มีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระสูง ถึง 229 ถึง 304.7 umole/g และเมื่อนำข้าวสายพันธุ์ต่างๆ มาเปรียบเทียบกับน้ำผลไม้พร้อมดื่มหรือน้ำชาเขียว พบว่ามีประสิทธิภาพในการต้าน อนุมูลอิสระมาก กว่า เกือบ 100 เท่า สำหรับกระบวนการหุงต้มข้าวที่มีสีม่วงเข้ม ด้วยหม้อหุงข้าวไฟฟ้า พบว่ามีผลทำให้ ประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระลดลงประมาณร้อยละ 50 หรือลดประสิทธิภาพลงประมาณครึ่งหนึ่งของข้าวดิบ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาแล้วข้าวสีม่วง ยังมีคุณภาพและมีประสิทธิสูงกว่าน้ำผลไม้พร้อมดื่ม หรือน้ำดื่มชาเขียวที่ขายตามท้องตลาด ซึ่ง ข้าวยิ่งสีเมล็ดมีความเข้มเท่าไรยิ่งทำให้มีผลในการต้านอนุมูลอิสระได้สูงขึ้นเท่านั้น


จากงานวิจัยพบว่า ข้าวกล้องพันธุ์ไรซ์เบอรี่และพันธุ์สินเหล็กเมื่อหุงสุกแล้ว ยังมีสารต้านอนุมูลอิสระเหลืออยู่ ไม่ได้ถูกความร้อนทำลายหมด จึงเป็นแหล่งอาหาร ที่ให้สารต้านอนุมูลอิสระสูง การที่ร่างกายได้รับสารต้านอนุมูลอิสระพอเพียงต่อความต้องการในแต่ละวัน จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด และ โรคมะเร็งได้


สารต้านอนุมูลอิสระในน้ำมันรำข้าว
รำข้าวเป็นแหล่งของน้ำมันที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น วิตามินอี, โทโคฟีรอล, แคโรทีนอยด์ และ แกมมา ออไรซานอล คุณสมบัติที่โดดเด่นซึ่งแตกต่างจาก น้ำมันพืช อื่นๆ คือ การมีส่วนประกอบเป็นสารสำคัญคือ แกมมา ออไรซานอล และโทโคไตรอีนอล ซึ่งพบว่าสามารถ ช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือด และลดอัตราการเสี่ยงต่อการเกิด โรคหัวใจได้ นอกจากนี้น้ำมันรำข้าวยังสามารถใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อาหารสัตว์ การใช้กรดไขมันอิสระในการผลิตสบู่ การใช้ไขเป็นส่วนผสมในการขัดเงา ต่าง ๆ และ เครื่องสำอางค์


จากการสกัดน้ำมันจากรำข้าวด้วยวิธี supercritical fluid extraction (SFE) และตรวจสอบ ด้วยวิธี LC-ESI-MS/MS เพื่อตรวจสอบสารที่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระในน้ำมันรำข้าว เบื้อง ต้น พบว่า ในน้ำมันรำข้าวพันธุ์ไรซ์เบอรี่มี beta-carotene สูงถึง 36.8 ug/รำข้าว 1 กรัม และ flavonoid หลายชนิดที่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระสูง ซึ่งมีรายงานที่พบแคโรทีนอยด์ ใน น้ำมันจากพืชหลายชนิด เช่น corn oil, groundnut oil, soy-bean oil, rapeseed oil, linseed oil, olive oil, barley oil, sunflower-seed oil และ cotton-seed oil โดยน้ำมัน เหล่า นี้นับรวมอนุพันธ์ทั้งหมดของแคโรทีนแล้วมีปริมาณประมาณ 100 ppm.





ผลิตภัณฑ์จากข้าวที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง
เนื่องจากปัจจุบันประชาชนให้ความสนใจในผลของสารต้านอนุมูลอิสระต่อสุขภาพมากขึ้น และจากการศึกษาพบว่าข้าวพันธุ์ ไรซ์เบอรี่ และรำมีประสิทธิภาพ ในการต้านสารอนุมูลอิสระได้ดี ดังนั้นจึงได้นำข้าวไรซ์เบอรี่ และรำข้าวมาพัฒนา เป็น อาหารว่างเพื่อสุขภาพ และเป็นอีกทางหนึ่ง ให้แก่ผู้บริโภค ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ จากข้าวได้เลือกหมั่นโถวและขนมปังใส่ไส้ซึ่งมีส่วนผสมของรำข้าวและถั่วแดง เนื่องจาก เป็นอาหารที่บุคคลทุกเพศทุกวัยสามารถรับประทานได้


เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการต้านสารอนุมูลอิสระของขนมปังใส่ไส้และหมั่นโถว กับเครื่องดื่มชาเขียว ที่ได้รับความนิยมจากท้องตลาดต่อหนึ่งหน่วยบริโภค จะเห็นได้ว่าขนมปังใส่ไส้และหมั่นโถว มีประสิทธิภาพ ในการต้านสารอนุมูลอิสระได้ดี โดยเฉพาะขนมปังใส่ไส้มีประสิทธิภาพ ในการต้านสารอนุมูลอิสระ มากกว่า เครื่องดื่มชาเขียวอย่างเห็นได้ชัด ดังนั้นอาหารว่างทั้งสองจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้บริโภค




http://dna.kps.ku.ac.th/index.php/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B0.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 13/06/2011 9:53 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การวิจัยข้าวยาอายุวัฒนะธรรมชาติ กับการพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ข้าว


การวิจัยพันธุ์ข้าวหอมมะลิ มีการค้นพบยีนความหอมในข้าวและแนวทางการใช้ประโยชน์ โดยนักวิจัยจากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ข้าวหอมที่คนทั่วโลกรู้จักมี 2 พันธุ์ คือ ข้าวบาสมาติ (Basmati) และข้าวขาวดอกมะลิ 105 (Jasmine) ปัจจุบันตลาดข้าวหอมโลกมีการปรับปรุงพันธุ์ข้าว เริ่มดำเนินการเป็นทีมงานพัฒนาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493-2497 และเมื่อ 2-3 ปี ที่ผ่านมา นักวิชาการปรับปรุงพันธุ์พืช 2 ท่าน จากมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ ได้หารือว่า ความสัมพันธ์ด้านความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ทำงานร่วมกันอย่างยาวนาน ก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อชาวนาและเกษตรกรของไทย ตลอดจนผู้บริโภคทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ นักวิชาการทั้งไทยและมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ ได้รับประโยชน์ร่วมกัน


ผลงานการวิจัยและพัฒนาพืชผลทางการเกษตรของไทย อาทิ การวิจัยและพัฒนามันสำปะหลังพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 และพันธุ์เกษตรศาสตร์ 60 การพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดต้านทานราน้ำค้าง ข้าวโพดพันธุ์สุวรรณ 1 และสุวรรณ 2 เพาะปลูกที่ไร่สุวรรณ จังหวัดนครราชสีมา จึงต้องมีการพัฒนาพันธุ์เฉพาะขึ้นมาให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดผู้บริโภคในต่างประเทศ เหมาะสำหรับผลิตอาหารสัตว์ ทำให้เกิดอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ และการเกษตรผลิตเนื้อสัตว์เพื่อการส่งออกตามมา ดังนั้น ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ทำให้รู้เขารู้เรา รู้ว่าอะไรเป็นความต้องการของตลาดต่างประเทศ


การพัฒนาพันธุ์ข้าวหอมมะลิ 105 ที่เหมาะสำหรับการปลูกในพื้นที่ราบลุ่มภาคกลาง พันธุ์ข้าวที่มียีนกำหนดความหอม และพันธุ์ข้าวทนน้ำท่วม ที่ได้จากการผสมพันธุ์ข้าวหลากหลายสายพันธุ์ กำลังอยู่ในช่วงทดลองปลูกต้องใช้เวลาอีก 1-2 ปี จึงจะเห็นผลผลิตที่ได้ จากการวิจัยและพัฒนาเป็นระยะเวลา 4-5 ปี ที่ผ่านมา ได้พันธุ์ข้าวทนน้ำท่วม แต่ต้องรอดูผลผลิตว่าเป็นที่น่าพอใจหรือไม่ นักวิจัยจะต้องมีความอดทนสูงในการทำงานที่ต้องใช้เวลายาวนาน อินเดียและจีนมีการวิจัยและพัฒนาเพื่อปรับปรุงพันธุ์ข้าวเป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวแหล่งใหญ่ แต่มุ่งเน้นปลูกข้าวเพื่อการบริโภคภายในประเทศ ไม่ได้มุ่งเพื่อการส่งออก สำหรับประเทศไทยมีการส่งออกข้าวเป็นอันดับที่ 8 ของโลก ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกข้าวน้อยกว่า แต่เป็นแหล่งผลิตที่ใหญ่กว่าเพราะผลิตทั้งบริโภคภายในประเทศและเพื่อการส่งออกด้วย


พันธุ์ข้าวทนน้ำท่วมมีลักษณะเหมือนข้าวป่า เป็นข้าวพันธุ์ที่เพิ่มยีนพันธุ์ทนน้ำท่วมเข้าไป เป็นข้าวพันธุ์ผสมที่ได้จากพันธุ์ข้าวทนน้ำท่วมของประเทศอินเดีย เป็นพันธุ์ข้าวหอมมะลิพันธุ์ผสมที่มีความไวแสงสูงและทนน้ำท่วม ข้าวหอมมะลิ 105 เป็นข้าวพันธุ์ทนน้ำท่วมที่เกิดจากการรู้ตำแหน่งยีน ส่วนการวิจัยข้าวพันธุ์สีเหล็กปรากฏว่าเป็นพันธุ์ข้าวที่มีคุณสมบัติต้านทานการป่วยเป็นโรคเบาหวานเพราะมีธาตุเหล็กสูง


ข้าวพันธุ์ใหม่ที่คิดค้นวิจัยได้สำเร็จคือ ข้าวพันธุ์ไรส์เบอรี่ (Rice Berry) เป็นข้าวต้านอนุมูลอิสระซึ่งได้จากการสกัดน้ำมันจากรำข้าวดำ (Rice Berry) และข้าวกล้องจะช่วยลดระดับน้ำตาลในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ปัจจุบันมีการสกัดคุณค่าทางอาหารของเมล็ดข้าวกล้องผลิตแคปซูลเป็นอาหารเสริมอีกรูปแบบหนึ่ง


ประเทศไทย โดยการนำของ รองศาสตราจารย์ ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2549 สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นผู้ทำวิจัยเกี่ยวกับพันธุ์ข้าว การปรับปรุงพันธุ์ข้าว ผลผลิตแปรรูปเพื่อขยายสู่ผู้ผลิตและผู้บริโภคศึกษาความหลากหลายของสายพันธุ์ข้าวทางโภชนาการ เป็นผู้ที่มีความเพียร ความอุตสาหะ เป็นแบบอย่างของผู้อุทิศตนเพื่องาน ทำงานโดยไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติ ผลงานจำนวนมากเกี่ยวกับพันธุ์ข้าวสามารถนำมาใช้ในงานปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้มองเห็นเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น โดยได้เข้าร่วมกับ The International Rice Genome Project เพื่อหาลำดับเบสจีโนมในข้าวโดยประเทศไทยได้ให้คำมั่นในการหาลำดับเบสในโครโมโซมที่ 9 จึงเป็นโอกาสครั้งแรกของประเทศไทยในการเข้าร่วมโครงการจีโนมขนาดใหญ่เป็นการเพิ่มศักยภาพ การวิจัยด้าน Whole-Genome-Sequencing ของประเทศไทยให้สูงขึ้น และสามารถใช้โอกาสในการเข้าร่วมกับกลุ่มวิจัยจีโนมข้าวนานาชาติเพื่อพัฒนาองค์ความรู้เทคโนโลยีต่างๆ ในการหายีนจากจีโนมขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นแนวทางทำให้ประเทศไทยมีขีดความสามารถในการดำเนินโครงการในลักษณะเดียวกันนี้ได้ด้วยตนเอง งานวิจัยจีโนมข้าวนี้ จึงเป็นการส่งเสริมการเชื่อมโยงข้อมูลทุกระดับอันเป็นการเปิดโลกทรรศน์แก่นักวิชาการ นิสิตและนักศึกษา ให้ออกไปใช้ข้อมูลสาธารณะเพื่อการวิจัยและพัฒนาให้มากขึ้น เป็นผลทำให้เกิดการพัฒนาบุคลากรด้านนี้เพิ่มมากขึ้นในประเทศไทยด้วย ทำให้นักวิจัยไทยมีความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลลำดับเบสของจีโนมข้าว และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างรวดเร็ว ได้มีส่วนร่วมในการเข้าถึงข้อมูลลำดับเบสของจีโนมข้าว และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างรวดเร็ว ได้มีส่วนร่วมในการคิดค้น Rice Gene Thresher (http://rice.kps.ku.ac.th) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลข้าวที่เชื่อมโยงกันทั้งหมด สำหรับให้นักวิจัยได้เข้าถึงข้อมูลเหล่านี้และนำไปใช้ในการพัฒนาพันธุ์ข้าวต่อไป


ข้อมูลลำดับเบสนี้เป็นประโยชน์ต่อการหายีนทุกชนิดในข้าว โดยเฉพาะข้าวพื้นเมืองและข้าวป่า เช่น ยีนที่เกี่ยวข้องกับความทนแล้งและทนน้ำท่วม ความหอม คุณภาพหุงต้ม ความต้านทาน โรคไหม้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและความทนทานดินเค็มและใช้เป็นต้นแบบสำหรับการค้นหายีนในพืชเศรษฐกิจอื่นๆ เช่น ข้าวโพด อ้อย ซึ่งเป็นเครือญาติของข้าวในอนาคต อีกทั้งสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการสร้างเครื่องหมายโมเลกุลที่ดีที่สุด สำหรับช่วยในการปรับปรุงพันธุ์ โดยการเคลื่อนย้ายยีนเหล่านี้ด้วยวิธีการผสมข้ามตามธรรมชาติ หรือโดยวิธีการถ่ายยีน ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาพันธุ์ข้าวเพื่อให้ได้พันธุ์ข้าวซึ่งให้ผลผลิตสูง คุณภาพดี สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ ซึ่งผลลัพธ์สุดท้ายก็คือ การยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวให้ดีขึ้นโดยตรง


การค้นพบและศึกษาหน้าที่ของยีนความหอม มีคุณค่าที่โดดเด่นของข้าวขาวดอกมะลิคือ ความหอม กลิ่นหอมข้าวขาวดอกมะลิคือ ความหอม กลิ่นหอมข้าวขาวดอกมะลิ 105 มีลักษณะคล้ายกลิ่นใบเตย สารหอมระเหยหลักนี้มีชื่อทางเคมีว่า 2-อะเซทิล-1-ไพโรลีนหรือเรียกสั้นๆ ว่า 2 เอพี (2-aectyl-1-pyrroline;2AP) ข้าวขาวดอกมะลิ 105 และข้าวหอมอื่นๆ ผลิต 2 เอพี และเก็บไว้ในทุกส่วนยกเว้นราก ข้าวไม่หอมผลิตสารชนิดนี้ได้เล็กน้อย


ในปี พ.ศ. 2548 รองศาสตราจารย์ ดร.อภิชาติ ได้เป็นผู้นำทีมวิจัยจนค้นพบยีนความหอมที่สามารถพบได้ในข้าวหอมทุกชนิด และตั้งชื่อว่า โอเอส 2 เอพี (OS2AP) จากการศึกษาโครงสร้างและการทำงานของยีนนี้พบว่าในข้าวหอม ยีนนี้มีความผิดปกติแตกต่างไปจากยีนรูปแบบที่พบในข้าวไม่หอม (เกิดกลายพันธุ์ในข้าวขาวดอกมะลิ 105) ความผิดปกตินี้กลับเป็นประโยชน์ต่อข้าวหอมโดยการสร้างสารหอมขึ้น ในขณะที่ข้าวสายพันธุ์ไม่หอม ยีนปกติกลับเปลี่ยนไปสร้างสารอื่น ทำให้สร้างสารหอมได้น้อยลง เพื่อเป็นการพิสูจน์ว่า ถ้ายีน OS2AP ของข้าวนิพพอนบาเรได้ผลสำเร็จและพบว่า ข้าวนิพพอนบาเรที่ยีนดังกล่าวถูกยับยั้งสร้างสารหอมได้มากกว่าข้าวนิพพอนบาเรปกติ เทคโนโลยีการยับยั้งหรือกฎการทำงานของยีนโอเอส 2 เอพี สามารถนำไปใช้ในการเปลี่ยนข้าวไม่หอมอีกหลายๆ สายพันธุ์ได้ นอกจากนี้ ยังสามารถนำยีนนี้ไปใช้ประโยชน์ในการผลิตสารหอมในสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ได้อีกด้วย จึงเป็นเครื่องมือในการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา รศ.ดร.อภิชาติ ได้เป็นผู้นำในการจดสิทธิบัตรยีน OS2AP ในประเทศที่เป็นคู่แข่งในการส่งออกข้าวและคู่ค้าประเทศที่ส่งข้าว จำนวน 9 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส จีน เวียดนาม ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น อินเดีย ฟิลิปปินส์และไทย โดยได้ยื่นจดสิทธิบัตรยีนความหอมกับ USPTO (United State Patent Office) เป็นแห่งแรกในชื่อ กรดนิวคลีอิก ที่ส่งเสริมการสร้าง 2AP ในพืชและพืชชั้นต่ำ (Fungi) เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2548 และยื่นจดสิทธิบัตร ณ ประเทศออสเตรเลีย เมื่อเดือนกันยายน 2548 และจะดำเนินการยื่นจดสิทธิบัตรดังกล่าวในประเทศที่เหลือให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2549 ยีนเป็นสิทธิบัตรยีนในต่างประเทศชิ้นแรกของไทย



การค้นพบและศึกษาหน้าที่ของยีนทนน้ำท่วม
น้ำท่วมแบบฉับพลันมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการทำเกษตรกรรมทั้งในภูมิภาคแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศไทย ในทุกๆ ปี พื้นที่ที่ใช้ในการทำนาข้าวต้องเผชิญกับปัญหาดังกล่าวเสมอมา ซึ่งผลต่อปริมาณการผลิตข้าว จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า การตอบสนองของข้าวทนน้ำท่วมต่อสภาวะน้ำท่วมเกิดขึ้นจากการทำงานของกลุ่มยีนที่วางตัวอยู่บริเวณโครโมโซมคู่ที่ 9 โดย รองศาสตราจารย์ ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร เป็นผู้นำในการศึกษามานานกว่า 10 ปี พบว่ามากกว่าล้านเบส ของข้อมูลลำดับเบสที่อยู่ในตำแหน่ง QTL หลัก ของลักษณะทนน้ำท่วมในข้าวมีขนาดครอบคลุมประมาณ 1,350 กิโลเบส ประกอบด้วยยีนมากกว่า 200 ยีน เป็นตัวควบคุมหรือการแสดงออกของกลุ่มยีนดังกล่าว นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาให้กำเนิดสายพันธุ์คู่แฝดที่ใช้เป็นข้อมูลส่งเสริมในการเลือกยีนที่คาดหมาย ซึ่งความแปรปรวนเหล่านี้ยังมีความสัมพันธ์กันอย่างมากกับลักษณะทางกายภาพของข้าวในการทนน้ำท่วมฉับพลัน ได้แก่ การยับยั้งการยืดตัว ความสามารถในการคงความเขียวของใบ และการเจริญเติบโตได้อีกครั้งหลังน้ำลดเข้าสู่สภาวะปกติ จากการตรวจสอบพบว่ามีเพียง 2 ยีน เท่านั้น จากข้าวพันธุ์ทนน้ำท่วม (FR13A) ให้ผลการแสดงออกของยีนที่แตกต่างกันภายใต้สภาวะน้ำท่วมด้วยวิธีการถ่ายยีนในข้าวที่อ่อนแอต่อน้ำท่วมแบบฉับพลันด้วยเทคนิคใช้ข้าวจำลองพันธุ์แบบมีการแสดงออกของยีนเป้าหมายมากกว่าปกติและแสดงออกตลอดเวลา (Over-expression) ของยีนเป้าหมายคือ ยีน OsRAS และ OsEREBP1 ในข้าวที่อ่อนแอต่อสภาวะน้ำท่วม



การค้นพบข้าวโภชนาการสูง
ข้าวเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนไทยมายาวนาน ดังจะเห็นได้จากวัฒนธรรมของไทยและแนวความคิดที่มักมีข้าวหรือส่วนประกอบของข้าวเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในทางโภชนาการข้าวเป็นธัญพืช 1 ใน 3 ชนิด ที่คนบริโภคมากที่สุด และธัญพืชชนิดเดียวที่คนนิยมบริโภค "เมล็ดข้าว" โดยตรง ดังนั้น "เมล็ดข้าว" จึงเปรียบเสมือน "เม็ดยา" ที่ทุกคนยินดีรับประทาน ดังนั้น จึงมีความพยายามในการปรับปรุงโภชนาการที่เกี่ยวกับข้าวและพันธุ์ข้าวเพื่อให้ประสบผลสำเร็จอย่างจริงจัง


รศ.ดร.อภิชาติ ได้เป็นผู้นำในงานด้านการปรับปรุงพันธุ์ข้าว ได้ประสบความสำเร็จในการสร้างพันธุ์ข้าวธาตุเหล็กสูงระดับ 1.6-2.1 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม ที่มีลักษณะดีและคุณภาพการหุงต้มดีและมีกลิ่นหอมจากคู่ผสมข้าวขาวดอกมะลิ 105 กับข้าวเจ้าหอมนิล พันธุ์บริสุทธิ์เหล่านี้มีทั้งสีขาวและสีม่วง นับเป็นครั้งแรกที่มีการสร้างพันธุ์ข้าวสีขาวให้มีความหนาแน่นของธาตุเหล็กสูงถึง 2.1 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม ที่มีกลิ่นหอมคล้ายข้าวหอมมะลิได้สำเร็จ ได้มีการปรับปรุงข้าวสีม่วงขึ้นมาใหม่เป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่มีปริมาณธาตุเหล็กสูงกว่าข้าวหอมนิลเดิม และให้ผลผลิตดีอีกด้วย นอกจากนี้ ข้าวสีม่วงยังมีข้อได้เปรียบจากข้าวพันธุ์อื่นๆ คือมีปริมาณสารเบต้าแคโรทีนสูงที่สุดและมีวิตามินอี ซึ่งน่าจะมีผลให้ข้าวสีม่วงนี้มีความสามารถในการกำจัดสารอนุมูลอิสระ (antioxidant) ที่มีมาก โดยเฉพาะเมื่อศึกษาเฉพาะรำพบว่า อัตราการยับยั้งอนุมูลอิสระสูงกว่าน้ำองุ่นสีม่วง 100% และน้ำส้ม 100% อีกด้วย


ด้านโภชนาการ ได้มีการพัฒนาการตรวจความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร การวิเคราะห์ทางด้านโภชนาการในสายพันธุ์ข้าวจำนวนมาก พบว่า มีข้าวที่มีลักษณะพิเศษเป็นที่ต้องการทั้งในพันธุ์ข้าวสีขาวและสีม่วงเพื่อทำการทดสอบกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน พบว่า ในข้าวกล้องของข้าวทั้งสองนี้มีค่า glycemic index ต่ำกว่า glucose อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติแสดงให้เห็นว่าในผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 polysaccharides หรือคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน (complex carbohydrate) ของข้าวช่วยชะลอกระบวนการย่อยและดูดซึมของอาหารได้เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำตาลเชิงเดี่ยว (glucose) มีการสูญเสียคุณค่าทางอาหารนับเป็นประเด็นที่สำคัญทางโภชนาการ ซึ่งทำให้ผู้บริโภคไม่ได้รับสารอาหารจากข้าวที่มีโภชนาการสูง ดังนั้น ความเข้าใจถึงสาเหตุของความสูญเสียจะนำไปสู่แนวทางป้องกันที่เหมาะสม เพื่อให้ธาตุอาหารถึงผู้บริโภคมากที่สุด สารอาหารส่วนใหญ่สูญเสียไปกับการขัดสี เนื่องจากแหล่งสะสมสารอาหารที่สำคัญอยู่ในส่วนของ pericarp นอกจากนี้ กระบวนการหุงต้มก็ทำให้เกิดการสูญเสียสารอาหารที่ไวต่อความร้อน ได้แก่ เบต้าแคโรทีนและวิตามินอี การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อลดการสูญเสียสารอาหารจากการขัดสี จึงได้เปรียบเทียบวิธีการนำข้าวไปแช่น้ำเพื่อกระตุ้นให้มีการกระจายของสารอาหารเข้าไปภายในเนื้อแป้งก่อนการขัดสี ทำให้พบว่า ปริมาณสารบางตัว เช่น เบต้าแคโรทีนและวิตามินอีในข้าวขัดที่ผ่านการแช่น้ำเพิ่มสูงขึ้น



ผลงานวิจัยเด่นของ รศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร
- การค้นพบยีนความหอมและศึกษาหน้าที่ของยีนในการกำหนดปริมาณสารหอมในข้าว ขณะนี้อยู่ระหว่างจดสิทธิบัตรในสหรัฐอเมริกา ยุโรป จีน ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เวียดนาม ฟิลิปปินส์

- การค้นพบยีนที่ทำให้ข้าวทนน้ำท่วมและนำมาใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมมะลิ 105 ให้สามารถทนน้ำท่วมได้นานกว่า 2 สัปดาห์ และเป็นผู้ที่ทำให้งานวิจัยด้านกระบวนการที่ทำให้ข้าวทนน้ำท่วมเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

- การค้นพบพันธุ์ข้าวที่มีโภชนาการสูง มีกลิ่นหอม มีคุณภาพหุงต้มดี เช่น ข้าวธาตุเหล็กสูงที่มีสีขาวและหอมแบบข้าวขาวดอกมะลิ 105 ข้าวสีม่วงดำที่มีการสะสมสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูงสุด และมี Provitamin A ในระดับสูงที่สุดเท่าที่เคยมีมา ข้าวเหล่านี้มี Glycemic index อยู่ในระดับที่ต่ำปานกลาง พันธุ์ข้าวเหล่านี้เป็นที่ต้องการของผู้ประกอบการแปรรูปและผู้ผลิตข้าวคุณภาพสูงพิเศษ



www.moac-info.net/modules/news/.../70_4_33678_เทคโนโลยีการเกษตร.doc
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 14/06/2011 7:53 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

จาก : tuta
ถึง : kimzagass

ตอบ : 14/06/2011 12:01 am
ชื่อกระทู้ : ข้าว rice burry




ลุงคร๊าบ...

ขอเสริมสำหรับข้าว rice burry เพราะหนูได้ยินชื่อข้าวพันธุ์นี้ครั้งแรก เมื่อปลายเดือน พ.ค. ตอนไปอบรมที่กำแพงแสน อาจารย์ท่านหนึ่งเกริ่นๆ ให้ฟัง และเลยได้มีโอกาสไปเยี่ยมแปลงเพาะเมล็ดพันธุ์ และโรงสีในศูนย์ ฯ

อาจารย์บอกว่าข้าว rice burry นี้ ได้มีการส่งออกไปยัง อเมริกาแล้วด้วย โล.ละเกือบร้อย ฟังแล้วฮึ่มๆ และเท่าที่ได้ข้อมูลเพิ่มมาจากท่านอื่นก็คือ ด้วยสภาพดินที่กำแพงแสนนั้น ทำให้สีม่วงเกือบดำของข้าวนั้นไม่สม่ำเสมอในทุกๆเมล็ด อาจทำให้มีปัญหาเมื่อตอนส่งออก เพราะเข้าใจผิดว่าข้าวมีการปลอมปน

ณ ขณะนี้ เท่าที่ได้ทดลองมา พื้นที่ที่ปลูกแล้วให้ผลผลิตดีสุด คือ ที่อุบลฯ ข้าวให้สีม่วงดำสม่ำเสมอที่สุด มีการรวมกลุ่มกันของเกษตรกรที่ผ่านการรับรองในเรื่องการทำนาระบบอินทรีย์ ปลูกข้าวชนิดนี้ แล้วส่งมาสีที่กำแพงแสน

เมื่อได้ฟัง หนูสนใจมาก เพราะมองเห็นช่องทางในการทำตลาด และ by product อีกหลายๆอย่างที่จะทำตลาดได้ดี ทำไมเราจะต้องปลูกแล้วส่งออกข้าวแบบพื้นๆ แข่งกับเวียตนาม ทำไมเราไม่ทำข้าว premium นี่คือ สิ่งที่หนูบอกเพื่อนไป จะว่าไป ข้าว rice burry ยังถูกกว่าข้าวบาสมาติและข้าวญี่ปุ่นตั้งเยอะ

หลานต๊ะ



http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Private_Messages&file=index&folder=inbox&mode=read&p=1579&sid=5b88ae9a5f9e32b51832bd222c80cecf



TUTA ตัวจริงเสียงจริง ผันชีวิตจากมนุษย์เงินเดือนหลักแสนถึงหลายๆแสน ด้วยมันสมองและประสบการณ์
"นักการเงิน" มาสู่อาชีพเกษตร ท่ามกลางสายตาตะลึงของเพื่อพ้อง แต่ไม่มีใครหยุดได้ เพราะใจไปเกิน
ร้อยแล้ว....




เริ่มจาก "จินตนาการ" ที่มีอยู่เพียบ ยังขาดก็แต่ "วิชาการ + ประสบการณ์" เท่านั้น จึงต้องตระเวนตักตวง
มาสะสมไว้ ในเมื่อมีแหล่ง "ลองถูก" ให้เรียนรู้อยู่แล้ว ใยต้อง "ลองผิด" ให้เสียเวลา กฏเหล็กการเกษตร
ประการหนึ่ง "COPY ไม่ได้แต่ APPLY ได้" นั่นคือสิ่งท้าทายแสนยิ่งใหญ่....ทำได้ ทำได้ และทำได้




ยกตัวอย่าง....ส่งเสริม (สอน) ชาวบ้านย่านละแวกใกล้เคียงให้เพาะเห็ด แล้วรับซื้อ
ดอกเห็ดในราคาประกัน ได้มาแล้วแปรรูปเป็น "เห็ดทอดสูญญากาศ" ขายตรงนัก
ท่องเที่ยว ที่สวน ในห้างที่หนองคาย เลยไปถึงเวียงจันทน์ รูปแบบ "สวนเกษตร
เพื่อการท่องเที่ยวและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม" นั่นคือแสงตะเกียงที่ปากถ้ำอย่างแท้จริง




.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 10/07/2011 10:00 pm, แก้ไขทั้งหมด 8 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 14/06/2011 9:36 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

[quote="kimzagass"]


จาก : tuta

ถึง : kimzagass

ตอบ : 14/06/2011 12:01 am
ชื่อกระทู้ : ข้าว rice burry




ลุงคร๊าบ...

ขอเสริมสำหรับข้าว rice burry เพราะหนูได้ยินชื่อข้าวพันธุ์นี้ครั้งแรก เมื่อปลายเดือน พ.ค. ตอนไปอบรมที่กำแพงแสน อาจารย์ท่านหนึ่งเกริ่นๆ ให้ฟัง และเลยได้มีโอกาสไปเยี่ยมแปลงเพาะเมล็ดพันธุ์ และโรงสีในศูนย์ ฯ

อาจารย์บอกว่าข้าว rice burry นี้ ได้มีการส่งออกไปยัง อเมริกาแล้วด้วย โล.ละเกือบร้อย ฟังแล้วฮึ่มๆ และเท่าที่ได้ข้อมูลเพิ่มมาจากท่านอื่นก็คือ ด้วยสภาพดินที่กำแพงแสนนั้น ทำให้สีม่วงเกือบดำของข้าวนั้นไม่สม่ำเสมอในทุกๆเมล็ด อาจทำให้มีปัญหาเมื่อตอนส่งออก เพราะเข้าใจผิดว่าข้าวมีการปลอมปน

ณ ขณะนี้ เท่าที่ได้ทดลองมา พื้นที่ที่ปลูกแล้วให้ผลผลิตดีสุด คือ ที่อุบลฯ ข้าวให้สีม่วงดำสม่ำเสมอที่สุด มีการรวมกลุ่มกันของเกษตรกรที่ผ่านการรับรองในเรื่องการทำนาระบบอินทรีย์ ปลูกข้าวชนิดนี้ แล้วส่งมาสีที่กำแพงแสน

เมื่อได้ฟัง หนูสนใจมาก เพราะมองเห็นช่องทางในการทำตลาด และ ผลิตภัณท์ต่อเนื่องอีกหลายๆอย่างที่จะทำตลาดได้ดี ทำไมเราจะต้องปลูกแล้วส่งออกข้าวแบบพื้นๆ แข่งกับเวียตนาม ทำไมเราไม่ทำข้าว premium นี่คือ สิ่งที่หนูบอกเพื่อนไป จะว่าไป ข้าว rice burry ย้งถูกกว่าข้าวบาสมาติและข้าวญี่ปุ่นตั้งเยอะ

หลานต๊ะ



-------------------------------------------------------------------------------------------



ข้อคิดเห็น :

- โล.ละเกือบร้อย
100 โล. คูนด้วย 100 บาท = ? .... 1,000 โล.(1 ตัน) คูนด้วย 100 = ?
แล้วถ้า 100,000 โล. (100 ตัน) คูนด้วย 100 = ? ...... ทำไม ชาวนาข้าว/ผู้ส่งเสริมนาข้าว จึงมองไม่เห็นจุดนี้....




- ผลิตภัณท์ต่อเนื่องอีกหลายๆอย่างที่จะทำตลาดได้ดี

ได้ข้าวเปลือกมาแล้วแทนที่จะขายข้าวเปลือกให้โรงสี หรือขายให้โรงงานแปรรูป แบบนี้ทำไมไม่แปรรูปซะเอง ทำคนเดียวไม่ไหวก็รวมกลุ่ม SME หรือ OTOP งานแปรรูปทำได้ทั้งข้าวกล้องธรรมดาๆ. ข้าวกล้องงอก. ข้าวกาบา. แป้งข้าวกล้อง. แม้แต่ได้ข้าวเปลิอกมาแล้วขายเป็นข้าวปลูก ได้ทั้งน้านนนนน.....



- ทำไมเราไม่ทำข้าว premium

ซึ่งก็คือ "นาข้าวแบบประณีต" นั่นเอง ผู้ผลิต (เกษตรกร) รู้ดีแล้วก็ยอมรับว่าผลผลิตทางการเกษตร อะไร/อย่างไร/เพราะอะไร ราคาแพง แต่ก็ไม่ยอมผลิต อ้างอย่างเดียวว่า "ยุ่งยาก-ย่านนี้ไม่มีใครทำ-พ่อแม่ไม่เคยนำทำมาก่อน-ไม่มีใครมาส่งเสริม-ฯลฯ" ..... เกษตรกรไทยส่วนใหญ่ๆไม่ยอมรับเทคโนโลยีสมัยใหม่ (การผลิต การตลาด) ที่ทำๆกันอยู่นี้เป็นการ "ทำตามประเพณี-ทำตามความเคยชิน-ทำตามข้างบ้าน-ทำตามโฆษณา-ทำตามกระแส" หากวิเคราะห์ลึกๆแล้วจะพบว่า เกษตรกร (ชาวนา-ชาวไร่-ชาวสวน) ทำเพื่อใช้หนี้มากกว่าทำเพื่อการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืน





- ข้าว rice burry ย้งถูกกว่าข้าวบาสมาติและข้าวญี่ปุ่น

ข้าวบาสมาติแพงแต่ในอินเดีย ข้าวญี่ปุ่นแพงแต่ในญี่ปุ่น. ข้าวประเภทนี้กินแต่ในอินเดีย ญี่ปุ่น เท่านั้น ที่แพงเพราะรัฐบาลเขาตั้งราคาให้แพงเพื่อช่วยชาวนา ในขณะที่ทั่วโลก ยุโรป อเมริกา อาฟริกา เอเซีย ออสเตรเลีย อาร์คติก แอนตาร์คติก กินข้าวจ้าวกันทั้งนั้น......ทั้งบาสมาติในอินเดีย จาปอนนิก้าในญี่ปุ่น ที่ผลิตในประเทศของเขา ยังไม่เพียงพอให้คนของเขากิน ในขณะที่ประเทศไทยปลูกบาสมาติ ปลูกจาปอนนิก้าได้ กลับไม่มีใครคิดปลูกแล้วส่งไปขายให้อินเดีย ญี่ปุ่น....ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า ทำไมจึงไม่มีการส่งเสริมใอย่างจริงๆ จังๆ ส่งเสริมอย่างบูรณาการ ทั้งๆที่มีตลาดรอรองรับอยู่แล้ว

มีงานวิจัยระบุว่า "ข้าวไทยคุณภาพดีที่สุดในโลก (ทั่วโลกยอมรับ) แต่ข้าวไทยกลับมีต้นทุนการผลิตสูงที่สุดในโลก...."


ลุงคิมครับผม


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 21/03/2014 7:47 am, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 14/06/2011 3:22 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เปลี่ยนความคิด ชีวิตจึงแตกต่าง





คนเราถ้าคิดไม่ถูกต้อง จะไม่มีวันประสบความสำเร็จได้เลยชั่วชีวิต ความคิดที่ผิดจะนำไปสู่ความล้มเหลวความตกต่ำยากจนข้นแค้น กับสภาวะที่ประสบอยู่นั้นเปลี่ยนกันได้แค่เสี้ยววินาทีเท่านั้น ด้วยการเปลี่ยนความคิดของคุณเองเท่านั้น “ความคิดเปลี่ยนโลกของคุณก็เปลี่ยน”

ดังนั้น สิ่งแรกที่คุณจะต้องทำก็คือ “คิดอย่างผู้ชนะ” คิดอย่างคนมีวิสัยทัศน์ คิดอย่างมีหลักการ คิดอย่างมีเหตุผล คิดอย่างสร้างสรรค์ คิดอย่างรอบคอบ คิดด้วยความมั่นใจและ คิดอย่างมีความสุข

ทุกรูปแบบความคิดดังกล่าวนี้ล้วนแล้วแต่เป็น ความคิดในแง่บวก ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ผลักดันคุณไปสู่ความสำเร็จ ความเจริญก้าวหน้า และความร่ำรวยได้ในที่สุด” ความคิดในแง่บวก “จะทำให้คุณมีแรงมีพลังมีกำลังใจ” ที่จะฝ่าฟันในอุปสรรคกล้าเผชิญหน้ากับปัญหา

ทุกอย่างไม่ว่าจะเกิดเรื่องราวเลวร้ายอะไรก็ตามที ความคิดในแง่บวกจะช่วยให้ คุณรอดพ้นจากสภาวะวิกฤตินั้นๆได้เสมอ

ถ้าคนที่มี “ความคิดในแง่ลบ” อยู่ตลอดเวลา ชีวิตเต็มไปด้วยความหดหู่เศร้าหมอง มองทุกอย่างในมุมที่เลวร้ายย่ำแย่ จะเอาเรี่ยวแรงกำลังใจจากที่ไหน ที่มาผลักดันขับเคลื่อนตัวเอง เพื่อให้เอาชนะกับอุปสรรคปัญหาที่สามารถเกิด ขึ้นได้ตลาดเวลา สิ่งที่เลวร้ายที่สุดของมนุษย์คือ “ความคิด” ถ้าคิดบวกก็เป็นผลดีกับคุณ แต่ถ้าคิดแต่ในแง่ลบอยู่ตลอดชีวิต ก็จะมีแต่ตกต่ำและเลวร้าย

ต้องถามตัวคุณเองว่าจะเป็นคนอย่างไร อยากเป็นคนที่คิดในแง่บวกที่คนเขาประสบความสำเร็จ และคนที่ร่ำรวยเขาคิดกัน หรือจะเป็นคนที่ล้มเหลวที่มีแต่ความคิดในแง่ลบ คุณจะสำเร็จในธุรกิจเครือข่าย MLM หรือธุรกิจออนไลน์หรือไม่นั้น สิ่งแรกต้องเกิดจากความคิดของคุณนั้นเอง



http://www.freedomlifeplus.com/business-school/think-different/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Rice_manager
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 29/12/2013
ตอบ: 34
ที่อยู่: อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท

ตอบตอบ: 25/02/2014 9:30 pm    ชื่อกระทู้: ขอบคุณมากครับ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Embarassed
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว เข้าชมเว็บไซต์
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©