-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-จะปลูกข้าวหอมที่เชียงรายครับ .............. Sombutt
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - อย่างไรที่เรียกว่าอาหารออร์แกนิค ............. Sap 14
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

อย่างไรที่เรียกว่าอาหารออร์แกนิค ............. Sap 14

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 24/05/2011 10:34 am    ชื่อกระทู้: อย่างไรที่เรียกว่าอาหารออร์แกนิค ............. Sap 14 ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

จาก : Sap14
ถึง : kimzagass

ตอบ : 24/05/2011 10:26 am
ชื่อกระทู้ : อาหารออร์แกนิค

อย่างไรที่เรียกว่าอาหารออร์แกนิค

http://bit.ly/il8kWA




ลุงคิมคะ อาหารออร์แกนิคมาแรงจริงมั้ย เห็นโปร์ชัวร์ของ Tops market นำเสนอสินค้าออร์แกนิคตลอด
ลุงคิมมีความเห็นอย่างไร เขาไม่ใช้ปุ๋ยเคมี

http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Private_Messages&file=index&folder=inbox&mode=read&p=1533&sid=08759b015aec03e7e87fec89a131c133


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 09/06/2011 9:02 pm, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 24/05/2011 10:50 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Life Style : กรุงเทพชวนชิม
วันที่ 21 พฤษภาคม 2554 10:00

อย่างไรที่เรียกว่าอาหารออร์แกนิค

โดย : วลัญช์ สุภากร





โครงการฟาร์มออร์แกนิค โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณฯ ที่ อ.วังน้ำเขียว



ผู้บริโภคให้ความสนใจกับการเลือกรับประทาน อาหารออร์แกนิค มากขึ้น ผู้ประกอบธุรกิจให้บริการอาหารก็ตอบสนองความต้องการ
นี้เช่นกัน


ดังนั้น ในระยะหลังมานี้ ผู้บริโภคจึงให้ความสนใจกับการเลือกรับประทาน อาหารออร์แกนิค มากขึ้น ผู้ประกอบธุรกิจให้บริการ
อาหารก็ตอบสนองความต้องการนี้เช่นกัน มีการเลือกสั่งวัตถุดิบออร์แกนิคมาบริการลูกค้าของตัวเองมากขึ้น เริ่มด้วยร้านอาหารเฉพาะ
ทางที่ระบุว่าทุกเมนูปรุงด้วยวัตถุดิบออร์แกนิค หรืออย่างน้อยก็บรรจุเมนูออร์แกนิคไว้ในรายการอาหารให้ลูกค้าเลือก เริ่มมีร้าน
จำหน่ายวัตถุดิบออร์แกนิค จนกระทั่งเข้าไปวางจำหน่ายในซูเปอร์มาร์เก็ต


ล่าสุด ธุรกิจโรงแรมขนาดใหญ่ของไทย โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพฯ เปิดรับแนวคิดอาหารออร์แกนิคเต็มตัว
ด้วยการจัดทำ โครงการฟาร์มออร์แกนิค ของโรงแรม เพื่อนำพืชผักผลไม้ออร์แกนิคจากโครงการนี้มาปรุงเป็นอาหารหลายรายการ
เช่น มะเขือม่วงอบชีส (Eggplant Parmigiana) ราวิโอลีกับซิลเวอร์บีทออร์แกนิค (Ravioli with Organic Silver Beet,
Ricotta, Walnut and Sage Sauce) ชิคคะรี่พันแฮมรมควัน (Gratinated chicory leaves and Smoked Ham)
ข้าวโพดทอด บร็อคโคลีหมูกรอบ ส้มตำ ฯลฯ บริการในแต่ละห้องอาหารของโรงแรมฯ และประกาศผลสำเร็จของโครงการนี้แล้ว

มร.ริชาร์ด กรีฟส์ ผู้จัดการทั่วไป โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณฯ กล่าวว่า ทีมเชฟของโรงแรมฯ ได้ริเริ่ม โครงการฟาร์มออร์
แกนิค ในปี พ.ศ.2548 ซึ่งโครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย โรงแรมสีเขียว ที่แกรนด์ ไฮแอท เอราวัณฯ ดำเนินการมาตั้งแต่
ปี พ.ศ.2536 ด้วยจุดประสงค์ที่ต้องการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สนับสนุนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในชีวิตประจำวัน
อย่างรู้คุณค่า เพื่อสุขภาพของทุกคนในสังคมรอบตัว

ก่อนหน้านี้ โรงแรมฯ นำเข้าวัตถุดิบหลายอย่างจากต่างประเทศ แต่ผักและผลไม้ที่นำเข้ามามักอายุสั้น แม้คุณภาพยังอยู่ในเกณฑ์ดี
แต่ก็ดีไม่พออย่างที่เชฟต้องการ ทีมเชฟจึงพยายามค้นหาวิธีอยู่นานแต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ จนกระทั่งพบคุณ ปริญญา พรศิริชัยวัฒนา
เจ้าของ 'รังสิต ฟาร์ม' ฟาร์มออร์แกนิคสูงจากระดับน้ำทะเล 500 เมตร ในอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา โดยมี มะเขือเทศอิตาลี
เป็นผักสวนครัวชนิดแรกที่เป็นแรงบันดาลใจ

“เชฟเฟรเดอริค ฟารีนา พยายามหามะเขือเทศสดมาปรุงในอาหารอิตาเลียนของเขา แต่ก็หาคุณภาพอย่างที่ต้องการไม่ได้ จึงนำเข้า
เมล็ดพันธุ์มะเขือเทศจากอิตาลีมาให้คุณปริญญาปลูกที่วังน้ำเขียว” มร.ริชาร์ด เล่า

คุณปริญญากล่าวว่า โครงการฟาร์มออร์แกนิคที่ทำร่วมกับโรงแรมแกรนด์ ไฮแอทฯ โครงการนี้ท้าทายมากสำหรับเขาและเมืองไทย
เนื่องจากเมล็ดพืชที่โรงแรมฯ นำมา เป็นพืชอากาศเย็นจากยุโรป จะทำอย่างไรให้ปลูกในเมืองไทยได้

“ใน 3 ปีแรก หลายพืชพันธุ์ไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่เราคิด” คุณปริญญากล่าวและเล่าถึงวิธีการทำงานในระยะสามปีแรกว่า นอก
จากศึกษาวิธีการปลูกและธรรมชาติของพืชผักแต่ละชนิดที่ได้รับเมล็ดพันธุ์มา เขาใช้วิธีทดลองปลูกพืชแต่ละชนิดตลอดทั้งปี ค่อยๆ
สังเกตปัญหาและการเจริญเติบโต เพื่อดูว่าพืชผักเมืองหนาวแต่ละชนิดควรปลูกในช่วงเวลาใดของปีที่วังน้ำเขียวของไทยจึงจะเหมาะ
สมที่สุด ให้ผลผลิตดีและงามที่สุด

จากการทดลองปลูกพืชผัก 60 ชนิด ซึ่งเป็นเมล็ดพันธุ์ออร์แกนิคจากหลายประเทศในยุโรปและออสเตรเลียตาม โครงการฟาร์มออร์
แกนิค ของโรงแรมแกรนด์ ไฮแอทฯ โดยใช้กระบวนการเพาะปลูกแบบออร์แกนิค คือไม่ใช้สารเคมี ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ไม่ใช้ยาฆ่าแมลง
ขณะนี้คุณปริญญาประสบความสำเร็จเก็บเกี่ยวผลผลิตที่มีคุณภาพตามมาตรฐานที่โรงแรมฯ กำหนดได้ 17 ชนิด เช่น

มะเขือเทศ ข้าวโพดหวานเคอเนล แบล็คแค็บเบจ โอลิเวอร์ บรัสเซียนใบแดง บัทเทอร์เฮด ผักกาดโรเมน เกรทเลคไอซ์เบิร์ก เฟนเนล
โหระพาอิตาเลียน พาสลีย์อิตาเลียน โรสแมรี่ ซิลเวอร์บีทกรีน ซิโคเรียรอสซา ฯลฯ


แต่ละชนิดให้ผลผลิตต่อเนื่องและสม่ำเสมอตามฤดูกาล และจะมีเมล็ดพันธุ์ใหม่ๆ ต่อเนื่องต่อไป

ด้วยวิธีการปลูกแบบธรรมชาติ พืชจะได้ธาตุอาหารครบจากกระบวนการย่อยสลายอย่างช้าๆ ของจุลินทรีย์ในดิน ไม่ใช่การเร่ง
ด้วยปุ๋ยเคมี 2-3 ชนิดที่เร่งให้ต้นและใบสวยงามเท่านั้น ลองเด็ดผักในกลุ่มสมุนไพรที่ปลูกแบบออร์แกนิคมาดม กลิ่นจะหอมมาก

“ในกระบวนการของธรรมชาติ พืชจะได้ความสมบูรณ์ของธาตุครบ พืชจะมีกลิ่นหอม รสชาติดี ถ้าเราสังเกตสมัยโบราณ อาหาร
ที่ปู่ย่าตายายทำ รสชาติดีมาก เนื่องจากวัตถุดิบสมัยก่อนได้จากธรรมชาติ เป็นหัวใจหลักในการปรุงอาหาร การปรุงอาหารไม่ได้เริ่ม
ที่ห้องครัว แต่เริ่มที่ดิน เพื่อให้วัตถุดิบที่พร้อมปรุงอาหารรสชาติที่ดีในครัว”
คุณปริญญากล่าว

ในความเห็นของคุณปริญญา การปลูกพืชออร์แกนิค หรือการทำ เกษตรอินทรีย์ เป็นองค์ประกอบซึ่งเกิดจากแนวคิด Healthy Respect

“หมายถึงความเคารพต่อสิ่งที่เรากำลังทำ คือ งานทั้งกระบวนการที่จะไปถึงผู้บริโภค สิ่งที่ออกมาจะเป็นอาหารที่ดีที่สุด ดีต่อ
สุขภาพ ผมเชื่อว่าดีที่สุดในโลก เพราะจากที่เราทำ เราพบว่า จริงๆ การปลูกพืช ไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยสารเคมีสังเคราะห์เท่านั้น ที่ฟาร์ม
เราไม่เคยสเปรย์อะไรลงไปที่ใบพืชเลย แม้แต่สารสกัดจากธรรมชาติก็ไม่จำเป็น ในกลุ่มผักสลัดเป็นผักที่ผู้บริโภคมักไปบริโภคด้วย
วิธีรับประทานสด ไม่ผ่านกระบวนการความร้อนเลย เพราะฉะนั้นแม้กระทั่ง ปุ๋ยที่เราจะนำไปใช้ในดินก็จะต้องผ่านกระบวนการความ
ร้อนเพื่อทำลายเชื้อ และบอกได้ว่าเป็นปุ๋ยที่สะอาดและบริสุทธิ์ ปุ๋ยที่เราใช้เราผลิตเอง”

พืชผักที่ตัดมาจากแปลงในการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์อย่างแท้จริง ในแนวทางดังกล่าว สามารถบริโภคสดแม้ในแปลงด้วยซ้ำ

“ยืนยันได้อย่างนั้น เพราะเรื่องนี้ผมทำมาด้วยตัวเอง และพยายามถ่ายทอดความรู้นี้ไปในกระบวนการศึกษาของสถาบันการศึกษา
บรรยายในเวทีต่างๆ ก็พยายามบอกว่า ให้เกษตรกรระมัดระวังในการทำงานด้านเกษตร เราเองไม่เพียงแต่ต้องการผลิตพืชไม่ใช้
สารเคมีเท่านั้น ในองค์ความรู้และปรัชญาที่เรามีกับผืนดิน โดยเฉพาะสุดท้ายผลผลิตที่ไปถึงมือผู้บริโภค ต้องมีความปลอดภัยในการบริโภค”

ที่สำคัญ “ในมาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ ถ้าจะปลูกพืชและการรับรองมาตรฐาน จะต้องไม่เคยใช้สารเคมีในกระบวนการปลูก
และในพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 3 ปี จริงๆ เราทำมา 10 กว่าปีแล้ว เรื่องราวเหล่านี้คนที่ทำเกษตรอินทรีย์ต้องเรียนรู้”
คุณปริญญากล่าว

นอกเหนือจากการไม่ใช้สารเคมีในกระบวนการเพาะปลูก มร.ริชาร์ดกล่าวด้วยว่า ผลผลิตที่ได้จากฟาร์มผักออร์แกนิคของโรงแรมฯ
ทดแทนการนำเข้าผักและสมุนไพรต่างประเทศที่โรงแรมฯ ต้องใช้ ในปริมาณ 250 กิโลกรัม/สัปดาห์ สร้างรายได้สร้างงานให้ชุมชน
เกษตรกรไทย และเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยลดประมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกระบวน
การผลิตและการขนส่ง (Carbon Foot print) ของสินค้าและวัตถุดิบที่นำเข้า

“การนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศมาพร้อมบรรจุภัณฑ์มากมายที่จะกลายเป็นขยะ แต่หลังจากโรงแรมฯ ใช้ผลผลิตจากโครงการฟาร์ม
ผักออร์แกนิค ทำให้ลดการใช้กล่องกระดาษได้ 3,600 กล่อง/ปี ลดการใช้โฟมกันกระแทกได้ 180 กิโลกรัม/ปี ลดการใช้ถุงพลาสติก
720 กิโลกรัม/ปี” มร.ริชาร์ด แสดงตัวเลข

การบริโภคพืชผักออร์แกนิคเป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพ เชฟมาร์ค ฮาเกนแบค พ่อครัวใหญ่ โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กล่าวว่า เวลา
ที่เรารับประทานอาหารที่ไม่สารเคมีและสารพิษใดๆ เราไม่ต้องกังวลว่าจะบริโภคของที่ปนเปื้อนสารพิษหรือสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย ถ้ารับประ
ทานพืชผักที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการเพาะปลูกแบบออร์แกนิค ก็อาจมีความเสี่ยงที่จะได้รับสารปนเปื้อน สารเหล่านี้ไปสะสมอยู่ที่ตับ เมื่อ
สะสมในปริมาณมากจะมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเสียสมดุล ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยได้ง่าย ทีมเชฟของโรงแรมฯ ยินดีและ
ภูมิใจที่ได้มีโอกาสปรุงอาหารด้วยวัตถุดิบคุณภาพสำหรับแขกที่เข้าพักและมาใช้บริการห้องอาหาร

ผักผลไม้ออร์แกนิคมีเอนไซม์ วิตามิน สารอาหาร สูงกว่าผักที่ผ่านกระบวนการปลูกโดยใช้สารเคมีถึง 50% หากต้องการเพิ่มเมนูผักและผลไม้แต่ละมื้อเพื่อช่วยรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ผู้บริโภคสามารถเปลี่ยนมารับประทานผักผลไม้ออร์แกนิค เพื่อให้แต่ละมื้ออาหารปลอดสารพิษ

อย่างไรก็ตาม การบริโภคออร์แกนิค ไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันว่า จะเป็นการช่วยป้องกันโรคภัยไข้เจ็บและโรคมะเร็ง เพราะโรคภัยเหล่า
นี้เกิดได้จากหลากหลายปัจจัย

หากแต่การบริโภคอาหารออร์แกนิคสามารถช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง

Tags : อาหาร • ออร์แกนิค • แกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพฯ


http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/life-style/food/20110521/391562/%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%84.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 10/06/2011 8:03 am, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 24/05/2011 10:53 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

(http://www.ktc.co.th/upload/nonktc/library/Image/trendyscoop_Feb_07/wholefood_1.jpg)


ออร์แกนิกส์คืออะไร....

คำว่า "ออร์แกนิกส์" นั้น ภาษาไทยใช้คำแปลว่า "เกษตรอินทรีย์" ซึ่งมีแนวคิดพื้นฐานอยู่ที่การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างยั่งยืน
ด้วยความเคารพในศักยภาพของธรรมชาติ ดังนั้น ออร์แกนิกส์ หรือ เกษตรอินทรีย์ จึงปฏิเสธการใช้สารเคมีในการบำรุง หรือ
กำจัดศัตรูพืชอันจะส่งผลต่อระบบนิเวศน์ตามธรรมชาติในระยะยาว รวมทั้งจะไม่มีการใช้เมล็ดพันธุ์ที่ผ่านการตัดแต่งพันธุ์กรรมแต่
เน้นการประยุกต์ใช้กลไก และวัฎจักรต่างๆ ของธรรมชาติ ส่งผลให้ได้ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพ และปราศจากสารตกค้างที่เป็นอันตราย..


"ผักปลอดสาร" ชนิดต่างๆ มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปอีก ชื่อเหล่านี้มาจากการจัดหมวดหมู่อย่างกว้างๆ โดยกรมส่งเสริมการเกษตร
ซึ่งได้แก่


- ผักปลอดภัยจากสารพิษ หรือ ผักอนามัย
หมายถึง ผักที่ปลูกโดยทั่วไป มีการใช้ปุ๋ยเคมี ใช้ยาป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ใช้ฮอร์โมน
สังเคราะห์ตามปกติแต่จะทิ้งระยะเวลาให้สารเคมีสลายไปก่อนจึงเก็บเกี่ยว


- ผักปลอดสารพิษ
ได้แก่ ผักที่ปลูกโดยทั่วไป มีการใช้ปุ๋ยเคมีตามปกติ แต่จะไม่มีการใช้สารเคมีกำจัดโรคและแมลง โดยหันไปใช้ชีววิธี
แทน เช่น การใช้แมลงกำจัดแมลง เป็นต้น ฉะนั้นผักในกลุ่มนี้จะเป็นผักที่ปลอดจากสารเคมีที่ใช้กำจัดศัตรูพืชโดยสิ้นเชิง


- ผักอินทรีย์ หรือ ผักออร์แกนิกส์ (Organics)
เป็นผักที่ปลูกด้วยวิธีธรรมชาติ ไม่ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ผ่านการตัดต่อพันธุกรรม (จีเอ็มโอ)
และไม่ใช้สารเคมีใดๆ ทั้งสิ้น ผักชนิดนี้บางครั้งก็เรียกว่า ผักไร้สารพิษ


- ผักไฮโดรโปนิกส์ หรือ ผักไร้ดิน (Hydroponics)
คือ ผักที่มีวิธีการปลูกโดยใช้วัสดุต่างๆ เช่น น้ำ ทราย กรวด ดินเผา หรือวัสดุอื่นที่
ไม่ใช่ดิน ผักประเภทนี้มีข้อดีคือ ปลอดจากจุลินทรีย์ที่ อาจตกค้างอยู่ในดิน ส่วนเรื่องของยากำจัดศัตรูพืช มักจะใช้วิธีป้อง กันโดยปลูกใน
โรงเรือนป้องกันแมลงและใช้สารชีวภาพ อาจมีการใช้สารเคมีบ้างในช่วงแรก แต่เมื่อใกล้ถึงระยะเก็บเกี่ยวจะงดใช้ ผักไฮโดรโปนิกส์ส่วน
ใหญ่จึงมักไม่มีปัญหาเรื่องของสารพิษตกค้าง ...


"ออริจินส์ ออร์แกนิกส์ (Origins Organics)" สร้างคุณค่าและความรู้สึกที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อความสมดุลของโลก..


(http://www.ktc.co.th/upload/nonktc/library/Image/trendyscoop_Feb_07/wholefood_2.jpg)



http://www.sabyesmiles.com/webboard/index.php?action=printpage;topic=6547.0


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 25/05/2011 8:41 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 24/05/2011 11:04 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในสหราชอาณาจักร


1. ภาพรวมตลาด
Soil Association ซึ่งเป็นองค์กรเพื่อการกุศล (charity) ที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อส่งเสริมการเกษตรและอาหารที่เป็นมิตรต่อสิ่ง
แวดล้อมโลก และเป็นองค์กรรับรองมาตรฐานการผลิตและการค้าสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่สาคัญในสหราชอาณาจักร ได้จัด
ทำรายงานเกี่ยวกับสภาวะตลาดสินค้าเกษตร
อินทรีย์ในสหราชอาณาจักรในปี 2553 สรุปสาระสาคัญได้ ดังนี้

- สหราชอาณาจักรเป็นตลาดผลิตภัณฑ์ออแกนิกใหญ่เป็นอันดับ 3 ของยุโรป รองจากเยอรมัน และฝรั่งเศส ตามลาดับ

- ยอดขายสินค้าออแกนิกในสหราชอาณาจักรมีมูลค่ารวม 1.84 พันล้านปอนด์ ในปี 2552 ลดลงในอัตราร้อยละ 12.9 จากปี
ก่อนหน้า โดยเป็นปีแรกที่ยอดขายสินค้าเกษตรอินทรีย์ในสหราชอาณาจักรเริ่มตก จากปัญหาการหดตัวทางเศรษฐกิจและการ
ว่างงานที่สูงมาก ทาให้ผู้บริโภคต้องจากัดรายจ่าย และลดการซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่มีราคาแพงกว่าสินค้าธรรมดาลง
นอกจากนี้ ร้านค้าปลีกรายใหญ่ลดพื้นที่จาหน่ายและลดจานวนประเภทสินค้าออแกนิกที่ขายภายในร้านลง อย่างไรก็ดี สินค้า
บางรายการสามารถต้านทานแนวโน้วการชะลอตัวของตลาด ซึ่งในส่วนของสินค้าอาหาร คือ นมออแกนิก อาหารสาหรับทารก
และ home cooking ingredients โดยเฉพาะอาหารสาหรับทารกที่มีอัตราการขยายตัวของยอดขายสูงถึงร้อยละ 20.8
เนื่องจากพ่อแม่ให้ความสาคัญกับอาหารที่ให้กับลูกและพร้อมที่จะจ่ายราคาแพงสาหรับอาหารที่มีคุณภาพมาตรฐานและปลอดภัย
นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ความงามและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพออแกนิกก็มีอัตราการขยายตัวสูง

- ในปี 2553 ตลาดมีแนวโน้มกลับมากระเตื้องขึ้น โดยตัวเลขยอดขายล่าสุด ในรอบ 3 เดือนสิ้นสุด 31 ตุลาคม 2553 ลด
ลงร้อยละ 1 เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นแนวโน้มที่ดีตรงกับคาดการณ์ที่ว่าการหดตัวของตลาดได้ผ่าน
จุดต่าสุดไปแล้ว และ Soil Association คาดว่า ตลาดจะโตทั้งปีประมาณร้อยละ 2-5

- ประเภทสินค้าที่มียอดขายสูงสุดในปี 2552 คือ ผลิตภัณฑ์นม (มีสัดส่วนร้อยละ 33 ของยอดขายสินค้าออแกนิกทั้งหมด)
ตามด้วยผักและผลไม้สด (มีสัดส่วนร้อยละ 26) home cooking ingredients (ร้อยละ 6) และเครื่องดื่ม (ร้อยละ 6)



2. พฤติกรรมการบริโภค
- ผู้บริโภคที่มีพฤติกรรมการบริโภคสินค้าออแกนิกอย่างสม่าเสมอ (มากกว่า 1 ครั้งใน 2 สัปดาห์)คิดเป็นร้อยละ 9 ของผู้บริโภค
ทั้งหมด แต่มียอดการซื้อสินค้าสูงถึงร้อยละ 56 ซึ่งหมายความว่า กว่าร้อยละ 50 ของยอดขายสินค้าออแกนิกทั้งหมด พึ่งพา
ผู้บริโภคกลุ่มนี้

- รองลงมา คือ กลุ่มผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าออแกนิก มากกว่า 1 ครั้งใน 1 เดือน คิดเป็นร้อยละ 14 ของผู้บริโภคทั้งหมด และ
ร้อยละ 21 ของยอดขาย

- ผู้บริโภคสินค้าออแกนิกส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้บริโภคที่ให้ความสาคัญกับการอ่านฉลากสินค้าและเน้นซื้อสินค้าที่มีคุณภาพดี
และเลือกซื้อสินค้าโดยให้ความสาคัญกับสินค้าที่ผลิตในประเทศ สินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่มีส่วนประกอบที่เป็น GMO
สินค้าที่ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้ผลิตในประเทศด้อยพัฒนา (fair trade) มากกว่าผู้บริโภคสินค้าทั่วไปอย่างมาก

- ร้อยละ 64 ของผู้บริโภคซื้อสินค้าอาหารออแกนิกจากซุปเปอร์มาเก็ต



http://www.thaitradelondon.com/download/54Natural_and_Organic_Products.pdf


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 25/05/2011 8:42 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 24/05/2011 11:11 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

โอกาสตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ ในสหภาพยุโรป (ตอนจบ)



Trade Update ฉบับนี้ ขอแนะนำให้ท่านรู้จักกับตลาดสินค้าอาหารอินทรีย์ (Organic Food) ในสหภาพยุโรปต่อจากฉบับที่แล้ว
(ฐานเศรษฐกิจฉบับ 2424) ซึ่งระบุถึงเรื่องน่ารู้ 3 ข้อแรกที่ผู้ส่งออกของไทยควรให้ความสนใจ เพื่อจะสามารถเตรียมความพร้อมในการ
ผลิตและส่งออกสินค้าอาหารเกษตรอินทรีย์ไปยังตลาดดังกล่าวได้อย่างเหมาะสม ข้อแนะนำอีก 2 ข้อได้แก่

4. หากเจาะเฉพาะตลาดสแกนดิเนเวีย (ซึ่งประกอบด้วย ประเทศสวีเดน นอร์เวย์ และเดนมาร์ก) ซึ่งเป็นตลาดสินค้าออร์แกนิกที่สำคัญ
และมีศักยภาพแห่งหนึ่งในทวีปยุโรปตามที่ได้รับข้อมูล จากสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโคเปนเฮเกน กล่าวคือ ในช่วง
2 ปีที่ผ่านมามีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ประมาณ 20-30% ต่อปี และคาดว่าน่าจะขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอนาคต เนื่องจากผู้บริโภค
คำนึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวกับคุณภาพและสุขภาพเพิ่มมากขึ้น โดยเดนมาร์กมีอัตราการบริโภคสูงสุด รองลงมาคือ สวีเดนและนอร์เวย์

ทั้งนี้ ลักษณะภูมิอากาศของประเทศแถบสแกนดิเนเวียมีข้อจำกัดในการผลิตอาหารหลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกาแฟ ชา โกโก้ เครื่อง
เทศต่างๆ เมล็ดธัญพืช ผักและผลไม้บางชนิด ทำให้การขยายตลาดออร์แกนิกจำเป็นต้องอาศัยการนำเข้าสินค้าออร์แกนิกจากต่างประเทศ



นอกจากนี้ การนำเข้าสินค้ายังขึ้นอยู่กับปริมาณการผลิตภายในประเทศนั้นๆ หากไม่เพียงพอ ก็ต้องนำเข้า โดยเฉพาะอาหารสดชนิดต่างๆ
ซึ่งสินค้าออร์แกนิกนำเข้าที่สำคัญ ประกอบด้วย ผักและผลไม้ต่างๆ น้ำตาล เมล็ดพืช กาแฟ เนื้อสัตว์ ขนมขบเคี้ยว เครื่องเทศ และ
เครื่องดื่มชนิดต่างๆ ผู้ประกอบการไทย จึงมีโอกาสและลู่ทางในการส่งออกสินค้าออร์แกนิกไปยังตลาดสแกนดิเนเวีย โดยสินค้าของ
ไทยที่มีศักยภาพในการแข่งขัน ได้แก่ ผักและผลไม้สด โดยเฉพาะข้าวโพดอ่อนและหน่อไม้ฝรั่ง ข้าว กาแฟ เครื่องเทศ ผลิตภัณฑ์
อาหาร และเครื่องดื่มชนิดต่างๆ

5. ผู้ส่งออกไทยจะต้องคำนึงถึงคุณสมบัติหลักที่อาหารออร์แกนิกจำเป็นต้องมี คือ

เรื่องของคุณภาพ ส่วนผสมที่มีไขมันต่ำและมีผลดีต่อสุขภาพ รสชาติดี ง่ายต่อการจัดเตรียม รวมทั้งต้องมีการจัดเตรียมอย่างระมัดระวัง
ในขั้นตอนการผลิต และการขนส่งในทุกกระบวนการ


ทั้งนี้ มีแนวโน้มว่า ผู้บริโภคจะหันมาให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำเกษตรและกระบวนการผลิตมากขึ้น ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม
และสังคม ที่จะต้องไม่เป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม หรือใช้สารเคมีในการเกษตรและยาฆ่าแมลง

ซึ่งผู้บริโภคบางกลุ่มยินดีที่จะจ่ายเงินแพงกว่า ถ้าสินค้านั้นๆได้รับตรารับรองว่าผ่านขั้นตอนและวิธีการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
และสังคม


การนำเข้าสินค้าอาหารออร์แกนิกของประเทศสแกนดิเนเวียจะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับของสหภาพยุโรป และยัง
ต้องคำนึงถึงข้อกำหนดพิเศษ (Special requirements) ของแต่ละประเทศสำหรับสินค้าออร์แกนิก

นอกจากนี้ องค์กรการค้าในแต่ละประเทศยังมีการพัฒนามาตรฐานและข้อกำหนดต่างๆ เป็นของตัวเองอีกด้วย

ผู้สนใจสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้าเกษตรอินทรีย์และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องของ

สหภาพยุโรปได้ที่ www.thaieurope.net


http://www.measwatch.org/autopage/show_page.php?t=27&s_id=3335&d_id=3332


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 25/05/2011 8:46 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 24/05/2011 11:17 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

‘อโณทัย’ – ‘ไร่ปลูกรัก’ คลังออร์แกนิค เต็มเติมสุขภาพ 360 องศา



















http://www.thaismefranchise.com/?p=11706
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 24/05/2011 11:27 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ชวนกันไปท็อปส์ ช็อปผักผลไม้ออร์แกนิค






http://www.green.in.th/blog/lifestyle/1222
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 24/05/2011 11:42 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


สวนผักลุงไกร





































http://www.212cafe.com/freewebboard/view.php?user=plddd&id=259
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 24/05/2011 11:53 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


ฟาร์มผักออร์แกนิคของโรงแรม Grand Hyatt Erawan

http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9540000055631






http://www.toonne.com/news.php?idpage=587






http://variety.thaiza.com/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81-205294.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 24/05/2011 12:02 pm    ชื่อกระทู้: Re: อย่างไรที่เรียกว่าอาหารออร์แกนิค ................. Sap 1 ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

kimzagass บันทึก:
จาก : Sap14
ถึง : kimzagass

ตอบ : 24/05/2011 10:26 am
ชื่อกระทู้ : อาหารออร์แกนิค

อย่างไรที่เรียกว่าอาหารออร์แกนิค

http://bit.ly/il8kWA




ลุงคิมคะ
- อาหารออร์แกนิคมาแรงจริงมั้ย เห็นโปร์ชัวร์ของ Tops market นำเสนอสินค้าออร์แกนิคตลอด

ตอบ :
มาแรงจริงๆครับ นี่คือส่วนหนึ่งของ "กลยุทธการตลาด" ก็อยู่ที่ ของใครแท้ ของใครเทียม ..... นี่ไง ที่มาของสโลแกน "การตลาด นำ การผลิต" ..... เรื่องของออร์แกนิคส์ วันนี้มันไประดับโลกแล้ว ในเมืองไทยก็ขึ้นห้างนั่นแหละ สินค้าตัวนี้เป็นตลาดของคนมีเงิน คนปลูกหรือเกษตรกรอยากได้เงินมากๆ อยากได้ราคาดีๆ ก็ต้องทำให้ได้ มันไม่ใช่เรื่องที่ทำไม่ได้ หรือเป็นไปไม่ได้ อยู่แต่ว่าจะทำหรือไม่ วันนี้ถึงเวลาแล้วที่ผู้ผลิตหรือเกษตรกรต้อง ปรับปรุง/เปลี่ยนแปลง/พัฒนา เทคโนโลยีการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริงของตลาดให้ได้






- ลุงคิมมีความเห็นอย่างไร เขาไม่ใช้ปุ๋ยเคมี

ตอบ :
สำหรับผักสวนครัว อายุสั้นฤดูกาลเดียวต่อปุ๋ยเคมีน่ะ ใช้ก็ได้ ไม่ใช้ก็ได้ เรื่องปุ๋ยเคมี "ปัญหาโลกแตก" ที่มีทั้งถูกและผิด ในปุ๋ยเคมี มีทั้งคุณและโทษ หรือมีทั้งดีและเสีย หรือจะเรียกว่า ดาบสองคม ก็ไม่ผิด อยู่ที่ใครจะมองมุมไหน เกษตรกรจำนวนไม่น้อยที่ใส่ปุ๋ยเคมีด้วยความเคยชิน ใส่ตามข้างบ้าน ใส่ตามคำบอกของร้านขายปุ๋ย ใส่ตามโฆษณา ใส่โดยไม่มีความรู้เรื่องปุ๋ยเคมี ใส่ผิดสูตร ผิดอัตรา ผิดวิธี ผิดชนิดพืช ...... ใช้ดี + ใช้เป็น = ดี, ใช้ไม่ดี + ใช้ไม่เป็น = เสีย. ก็แค่นี้แหละ

คำว่า "ปุ๋ย" โดยเนื้อแท้แล้วมันคือสารอาหารของพืช เมื่อพืชได้รับก็จะเจริญเติบโต ถ้าไม่ได้รับก็ไม่เจริญเติบโต เป็นธรรมดา

ปุ๋ย เท่าที่เห็นมี 2 อย่าง คือ ปุ๋ยอินทรีย์ กับ ปุ๋ยเคมี ซึ่งทั้ง 2 อย่างต่างก็คือ อาหารสำหรับพืชเหมือนๆกัน

บนความเหมือนย่อมมีความต่างแฝงอยู่ โดยทั้ง 2 อย่าง ต่างก็มี ข้อดี-ข้อเสีย ของตัวเอง อยู่แต่ว่าจะนำข้อดีมาใช้แล้วกำจัดข้อเสีย ก่อนการใช้ได้อย่างไร

ระหว่างปุ๋ยอินทรีย์ กับปุ๋ยเคมี ระวังจะเข้าข่าย เคมีบ้าเลือด - อินทีรีย์ตกขอบ ก็แล้วกัน

ที่ไตเติ้ลมาซะยาวเหยียดก็เพื่อทำความเข้าใจก่อนว่า เจ้าปุ๋ย 2 ตัวนี้ คืออะไร ต่างกันอย่างไร จงอย่าเชื่ออะไรทันทีทันใดโดยไม่มีเงื่อนไข และจงอย่าไม่เชื่ออะไรชนิดหัวชนฝา ไม่ใช่ เป็นไปไม่ได้ ก.ไม่เชื่อเด็ดขาด ทุกอย่างต้องมีหลักการและเหตุผล ตั้งอยู่บนพื้นฐานทางวิชาการ และตรงตามวัตถุประสงค์

ถ้าคิดจะทำเพื่อขาย ก็ต้องตามใจคนรับซื้อ เช่น คนซื้อต้องการผักอินทรีย์หรือออร์แกนิคส์แท้ๆ ที่คุณภาพเกรด เอ. ขนาดจัมโบ้. ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี. ไม่ใช้สารเคมี. อย่างเด็ดขาด เมื่อคนรับซื้อตั้งเงื่อนไขอย่างนี้ หากคนปลูกผักต้องการขายก็ต้องทำตามเงื่อนไขให้ได้ เรื่องอย่างนี้บางทีคนปลูกก็ไม่มีสิทธิ์ต่อรองเหมือนกัน ขืนต่อรองมากๆ คนซื้อไม่รับซื้อ คนปลูกก็เดือดร้อน เสียหาย

ปัญหาจริงๆอยู่ที่ ผักที่จะได้คุณภาพเกรด เอ. ขนาดจัมใบ้. นั้น ต้องได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ ทั้งชนิด ปริมาณ และระยะพัฒนาการของผัก ถ้าได้รับสารอาหารไม่เพียงพอก็ไม่ได้ เกรด-ขนาด ตามต้องการ แล้วทีนี้จะทำอย่างไรล่ะ ในเมื่อในปุ๋ยอินทรีย์มีปริมาณและชนิดของสารอาหารน้อยมาก ไม่เพียงพอแน่ แนวทางแก้ไขก็คือ ปรับปรุง/พัฒนา ปุ๋ยอินทรีย์ให้มีสารอาหาร ทั้งชนิดและปริมาณให้มากขึ้น กระทั่งเพียงพอต่อความต้องการของผักที่ปลูกให้ได้ นั่นเอง

อันที่จริง ผักสวนครัว อายุสั้นฤดูกาลเดียว มีความต้องการสารอาหารไม่มากนัก เพียงประเภทผักกินผลอาจจะต้องการมากกว่าผักกินใบอยู่บ้างเท่านั้น เช่น ผักกาด ผักคะน้า เปรียบเทียบกับ มะเขือ พริก แต่หากจะเอาพริก มะเขือ ไปเปรียบเทียบกับทุเรียน มะม่วง คงไม่ได้

ประสบการณ์ตรงหนึ่งที่ลุงคิมเคยประสบ ผักกาดขาวปลี ผักคะน้า ผักกาดหอม ผักชี ใช้ปุ๋ยเคมีเพียง 1.2 กก./ไร่/รุ่น ก็สามารถทำเกรด เอ. ได้ ขนาดแม่ค้าคนกลางมารับถึงสวน หากเกษตรอินทรีย์มีการปรับปรุงรูปแบบน้ำหมักชีวภาพ โดยเลือกสรรค์วัสดุส่วนผสมที่เป็นอินทรีย์วัตถุที่มีสารอาหารมากๆ ใช้กรรมวิธีในการหมักแบบพิเศษ ด้วยเครื่องมือหรือเทคโนโลยีสมัยใหม่ ก็จะได้ทั้งชนิดและปริมาณสารอาหารที่เพียงพอต่อพืชผักสวนครัวอายุสั้นฤดูกาลเดียวได้อย่างแน่นอน




มีเรื่องจะเล่าให้ฟัง....

กาลครั้งนั้น ราว 2 ปีที่แล้ว สตรีงามนางหนึ่งเยื้องย่างจากบ่อพลอย กาญจนบุรี จรรีมาหาลุงคิมที่ไร่กล้อมแกล้ม ...... สอบถามเรื่องราวเบื้องต้นแล้ว

สาวเล่าว่า......"ปลูกคะน้าอินทรีย์ 100% ไม่ปุ๋ยเคมี ไม่สารเคมี ไม่สารสมุนไพร เด็ดขาด ไซส์ขนาดคืบมือรับซื้อ กก.ละ 35 บาท ไซส์ขนาดศอกแขนรับซื้อ กก.ละ 55 บาท รอยแมลง รอยหนอนกัดกินบ้างไม่เป็นไร มีเท่าไหร่รับซื้อทั้งหมด ของชาวบ้านย่านนั้น เป็นคะน้าเคมีแท้ๆ ต้นโตเพราะปุ๋ยเคมี ได้ราคา กก.ละ 12 บาท บางที่ก็ไม่ถึง......"

ลุงคิมก็ว่า ..... "อืมมมม..... 35 บาทก็น่าจะพอแล้วนะ"

สาวว่า ........ "อยากให้มันดีกว่านี้อีก พอมีทางไหม ?"

ลุงคิมคิด...... "ปลูกคะน้าอินทรีย์ แล้วใช้ปุ๋ยอินทรีย์อะไรบ้างล่ะ ?"

สาวตอบ....... "ก็ใช้แต่ขี้วัว กับปุ๋ยน้ำชีวภาพ เท่านั้นแหละ สองอย่างนี้เขาไม่ห้าม"

ลุงคิมเห็นช่อง.. "ขี้วัว O.K. .... แล้วปุ๋ยน้ำชีวภาพที่ว่านั้น ทำมาจากอะไร ?"

สาวตอบ ...... "ก็ทำอย่างที่เขาสอนนั่นแหละ...."

ลุงคิมแย้ง...... "เดี๋ยว เดี๋ยว เขาสอน เขาสอน เขาน่ะคือใคร ?"

สาวตอบ....... "บริษัทที่รับซื้อผัก....

ลุงคิม.......... "เขาสอนยังไง ?"

สาวตอบ....... "เขาให้เอาเศษผักมาหมักกับกากน้ำตาล 3 ต่อ 1 หมักนาน 3 เดือนใช้ได้"

ลุงคิม......... "เอาละ เอาละ....ไม่ว่าจะเป็นผักอินทรีย์ ผักเคมี ก็ต้องกินอาหาร ที่เรียกว่าสารอาหารเหมือนกันหมด เมื่อไม่ให้เขากินสารอาหารจากเคมี ก็ต้องให้กินสารอาหารจากอินทรีย์แทน....เรื่องปุ๋ยอินทรีย์ ผักอินทรีย์ เกษตรอินทรีย์ นี่คงต้องทำความเข้าใจกันใหม่ซะแล้วแหละนะ.....

ปุ๋ยอินทรีย์ ก็คือ ปุ๋ยที่ทำมาจากเศษซากพืช เศษซากสัตว์โดยตรง กับอาหารคนอาหารสัตว์ที่ทำมาจากอินทรีย์ อย่าง นม. ไข่. แม้แต่น้ำซาวข้าว น้ำล้างชาม ก็ใช่

ในเศษซากพืชมีสารอาหารพืชน้อยมากๆ เมื่อเทียบกับเศษซากสัตว์ แล้วทำไมถึงทำแต่เศษซากพืชล่ะ

รู้ไหม ปลา. ปู. หอย. กุ้ง. ไก่. วัว. ควาย. เลือด. น้ำมะพร้าว. น้ำคั้นผลไม้. ขี้วัว. ขี้หมู. ขี้ไก่. ขี้เป็ด. ขี้นก. กระดูกป่น. ยิบซั่ม. พวกนี้ก็อินทรีย์ทั้งนั้น แถมมีสารอาหารมากกว่าเศษซากพืชด้วย ถ้าให้คะน้าก็เป็นคะน้าอินทรีย์เหมือนกัน

จะดีกว่าไหม ถ้าเปลี่ยนปุ๋ยน้ำชีวภาพที่หมักเศษซากพืช มาเป็นหมักเศษซากสัตว์แทน มันน่าจะได้สารอาหารพืชมากกว่านะ อยู่แต่ว่าจะไปหาเศษซากอินทรีย์วัตถุพวกนี้มาจากที่ไหนเท่านั้นแหละ

สาวไม่ตอบ....... อ้าปากหวอ จ้องหน้าลุงคิมเขม็ง

ลุงคิมร่ายต่อ..... น้ำหมักชีวภาพจากเศษซากสัตว์ควรใช้ปลาทาะเล เพราะนอกจากจะมีสารอาหารมากกว่าปลาน้ำจืดแล้ว ยังสารอาหารมีมากกว่าซากสัตว์อื่นๆ อีกด้วย

น้ำหมักชีวภาพที่ทำให้ใช้ ปลาทะเล. เลือด. ไขกระดูก. ขี้ค้างคาว. นม. สาหร่ายทะเล. ไคโตซาน. น้ำมะพร้าว. กากน้ำตาล. ส่วนผสมพวกนี้เป็นอินทรีย์ทั้งนั้น

การหมักต้องหมักนานข้ามปี 2 ปี 3 ปี ขนาดนี้ยังได้แค่โปรตีนเท่านั้น ต้องทำต่ออีก ทำให้โปรตีนธรรมดาๆ แตกตัวเป็นอะมิโนโปรตีน. เป็นฟลาโวนอยด์. เป็นควินนอยด์. โพลิตินอล. ไซโตไคนิน. ออร์แกนิก แอซิด. กับจุลินทรีย์อีกสารพัด นั่นแหละถึงจะได้สุดยอดสารอาหารพืช

ในน้ำหมักที่หมักนานข้ามหลายๆปีแบบนี้ จะมีสารท็อกซิก. สารตัวนี้เป็นพิษต่อแมลง ทำให้ไข่แมลงฝ่อฟักออกมาเป็นตัวหนอนไม่ได้ ทำให้หนอนไม่ลอกคราบแล้วตายในคราบได้ด้วย

ให้น้ำหมักชีวภาพ ให้ตอนฝนกำลังตกซี่ดี ต้นพืชเอาไปกินได้เร็ว ถ้าฝนไม่ตกก็ให้ตอนเย็นหลังค่ำ ไม่มีแสง อันนี้นอกจากพืชจะเอาไปกินได้เร็วแล้ว กลิ่นน้ำหมักยังช่วยขับไล่แมลงแม่ผีเสื้อที่จะมาตอนกลางคืนได้อีกด้วย ..... ไม่ใช่แค่นี้นะ

นอกจากปุ๋ยแล้ว คะน้าหรือจะเป็นผักอะไรก็แล้วแต่ ยังต้องการฮอร์โมนอีก เอาคะน้ามาทำฮอร์โมนอินทรีย์ แล้วให้คะน้ากินโดยตรงเลย จะดีไหม

น้ำคั้นผักใบ น้ำคั้นผักหัว น้ำคั้นเมล็ดงอก กลูโคส น้ำตาลสดจากต้นตาล น้ำตาลสดจากต้นมะพร้าว พวกนี้เป็นฮอร์โมนพืชทั้งนั้น แล้วก็เป็นฮอร์โมนอินทรีย์ด้วย

คิดจะทำคะน้าอินทรีย์แท้ๆ ชนิด 100% เลยน่ะ ต้องเริ่มจากดินก่อน ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีส่วนผสม ขี้วัว-เศษพืชแห้ง-แกลบดิบ-แกลบดำ-รำละเอียด-ขุยมะพร้าว-กระดูกป่น-ยิบซั่ม-กากถั่วเหลือง หมักกับน้ำหมักชีวภาพนานข้ามปี ใส่ลงไปในดินที่แปลงปลูก อัตราส่วน ปุ๋ยอินทรีย์กับดิน 1:1 คลุกเคล้าให้เข้ากันดี พรมด้วยนำหมักชีวภาพ คลุมแปลงด้วยฟางหนาๆ หมักดินทิ้งไว้ 2-3 เดือน ระหว่างนี้ก็ให้น้ำหมักชีวภาพ ซักเดือนละครั้งจะดีมากๆ

หลังจากต้นกล้าโตได้ 2-3 ใบ เริ่มให้น้ำหมักชีวภาพที่ทำมาจากส่วนผสมที่เป็นอินทรีย์ล้วนๆ และเปลี่ยนสภาพเป็นอะมิโนโปรตีนแล้ว ทุก 3-5 วัน.....ให้ฮอร์โมนอินทรีย์ที่ทำมาจากพืชสด ทุก 5-7 วัน แค่นี้ก็ใหญ่เกินจัมโบ้ เป็นจัมบ้าแล้ว


เรื่องสารเคมียาฆ่าแมลง แม้แต่สารสกัดสมุนไพรก็เหมือนกัน คนรับซื้อเขาห้ามใช้ก็ไม่ต้องใช้ ในเมื่อใช้วิธีกำจัดไม่ได้ ก็ใช้วิธีป้องกันแทนซี่...เอาระบบ ไอพีเอ็ม.มาใช้

- ปรับปรุงบำรุงดินดีๆ อย่าให้เป็นกรด อันนี้นอกจากป้องกันการเกิดโรคในดินได้แล้ว ยังบำรุงต้นให้สมบูรณ์ เกิดเป็นภูมิต้านทานโรคทั้งในดิน เหนือดินได้อีกด้วย

- ปลูกดาวเรือง ผักกาดหอม แทรกระหว่างแถวคะน้า อันนี้จะช่วยไล่แม่ผีเสื้อไม่ให้เข้ามาวางไข่แล้วเกิดหนอนที่คะน้าได้ แถมยังได้ผลผลิตผักกาดหอม ดาวเรือง อีกต่างหากแน่ะ

- ใช้ลูกเหม็น ใส่ถุงพลาสติกเจาะรู แขวนกระจายให้ทั่วแปลง กลิ่นลูกเหม็นจะช่วยไล่แม่ผีเสื้อไม่ให้เข้ามาวางไข่ได้

- ใช้กับดักกาวเหนียวดักจับแมลงตอนกลางวัน

- ใช้แสงไฟสีม่วง แขวนไว้ในบ่อน้ำ ล่อแมลงเข้ามาเล่นไฟแล้วตกลงไปในน้ำ หรือติดหลอดไฟสีม่วงร่วมกับกับดักกาวเหนียว เมื่อแมลงมาเล่นไฟก็จะติดกับดักกาวเหนียวเอง


**** งานนี้ .... ยาก/ง่าย-ได้/ไม่ได้ .... อยู่ที่ใจเท่านั้น

ลุงคิมครับผม

ปล.
1 ปี 2 ปี ผ่านไป ทราบว่า ป่านนี้ยังทำไม่ได้เลย เพราะหาส่วนผสมแบบเลือกสรรค์เฉพาะอย่างไม่ได้ แล้วก็ไม่มีข้อมูลความรู้ด้านเทคโนโลยีการทำอีกด้วย
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 24/05/2011 10:27 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ผักอินทรีย์ PURE-PURE


หลักการและเหตุผล :
ปุ๋ย-ธาตุอาหาร-สารอาหาร ทั้ง 3 คำนี้คือ สิ่งเดียวกัน หมายถึงสิ่งที่พืชใช้เพื่อการดำรงชีวิต ประกอบด้วย ธาตุหลัก-
ธาตุรอง-ธาตุเสริม-ฮอร์โมน-วิตามิน และอื่นๆ..แบ่งประเภทหรือชนิดได้เป็น 2 คือ อินทรีย์ (ธรรมชาติ) กับ สังเคราะห์ (เคมี)

การจะ "รับ" หรือ "ปฏิเสธ" อย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียวระหว่าง อินทรีย์ กับ เคมี นั้นสามารถทำได้ แต่เมื่อต้อง
การให้พืชมีพัฒนาการที่ดีจึงจำเป็นต้องให้และต้องให้ในปริมาณที่พอเพียงด้วย

กรณีที่เราต้องการปฏิเสธ "ปุ๋ยเคมี" อย่างเด็ดขาด ก็ต้องใช้ "ปุ๋ยอินทรีย์" แทน และการแทนก็จะต้องแทนอย่างเหมาะ
สมถูกต้องตรงตามความต้องการของพืช อย่างแท้จริง มิเช่นนั้น พืชหรือผักที่ปลูกก็จะไม่เจริญเติบโต แคระแกร็น ไม่
มีคุณภาพ ไม่เป็นที่ต้องการของตลาดหรือขายไม่ออกเลย ถึงขนาดบางครั้งเจ้าของหรือคนปลูกยังไม่อยากกินด้วยซ้ำ

ทำเล :
ห่างไกลแหล่งมลภาวะ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม, โรงไฟฟ้า, คอกปศุสัตว์ที่ใช้สารสังเคราะห์ (ฮอร์โมน-ยา-ฯลฯ),
แปลงเพาะปลูกพืชด้วยระบบเคมี, แปลงปลูกพืชตัดแต่งพันธุกรรม (จีเอ็มโอ)

น้ำ :
เป็นน้ำธรรมชาติที่ปราศจาการเจือปนสารพิษ เช่น น้ำเสียจากครัวเรือน. น้ำจากเหมืองแร่, น้ำจากคอกปศุสัตว์ที่
ใช้สารสังเคราะห์, น้ำที่ไหลผ่านมาจากแปลงเกษตรระบบเคมี, น้ำที่ไหลผ่านมาจากกองขยะ,

ปุ๋ยอินทรีย์ :
ปุ๋ยคอก :

ใช้มูลสัตว์ประเภทเลี้ยงปล่อยหากินอิสระ ไม่มีโรคระบาด ไม่กินฮอร์โมนสังเคราะห์ ตากแห้งเก็บนานข้าม
ปี ใช้มูลสัตว์กินพืช (เพื่อให้ได้ธาตุไนโตรเจน) และมูลสัตว์ปีก (เพื่อให้ได้ธาตุฟอสฟอรัสและโปแตสเซียม) ที่
พักสัตว์ต้องไม่มีการใช้โซดาไฟฆ่าเชื้อโรคหรือดับกลิ่น


ปุ๋ยพิชสด :

เลือกใช้พืชตระกูลถั่วเพื่อให้ได้ธาตุไนโตรเจนมากๆ เป็นพืชที่ไม่ผ่านการบำรุงด้วยปุ๋ยเคมี ฮอร์โมนสังเคราะห์ และไม่
ผ่านการให้สารเคมีฆ่าแมลง แห้งหมักนานข้ามปี เพื่อให้ได้ธาตุอาหารหลากหลายควรใช้ทุกส่วนของพืชต่างๆ เช่น หัว
ราก ต้น ใบ ดอก ผลดิบ ผลสุก

หมายเหตุ :
เทคนิคการทำปุ๋ยอินทรีย์เพื่อให้ได้ ชนิดและปริมาณ ธาตุอาหารมากๆ ควรใช้วัสดุส่วนผสมหลายๆ ประเภท เช่น

ปุ๋ยคอก :
มูลวัว/ควาย/หมู/แพะ. มูลไก่/นกกระทา/เป็ด/ค้างคาว.

เศษซากพืช :
ฟาง. ต้นถั่ว. เปลือกถั่ว. ขุยมะพร้าว. แกลบดิบ/ดำ. รำหยาบ/ละเอียด.

อื่นๆ :
น้ำมะพร้าว. นมสด. น้ำซาวข้าว. น้ำผักดอง. น้ำล้างชาม. น้ำล้างเขียงทำปลาสด. สาโท. เศษอาหารจากครัวเรือน.
มูลวัว/หมู สดใหม่ขณะตั้งท้อง (ในมูลสัตว์ตั้งท้องมีฮอร์โมนเอสโตรเจน) . ขี้เพี้ยในลำไส้เล็กวัว/ควาย (ในขี้เพี้ยมี
อะมิโนโปรตีน).




จุลินทรีย์ :
จุลินทรีย์เพื่อการเกษตรที่ดีที่สึสุด คือ จุลินทรีย์ประจำถิ่น (ฟูกูโอกะ) เทคนิคการทำกองปุ๋ยอินทรีย์ ณ ใจกลางแปลง
เกษตร เพื่อเปิดโอกาสให้จุลินทรีย์ภายในแปลงบริเวณรอบข้างหรือใกล้เคียงกองปุ๋ยอินทรีย์ เข้าไปอยู่ในกองปุ๋ยอินทรีย์
แล้วเจริญพัฒนาอยู่ในกองปุ๋ยอินทรีย์นั้น เมื่อนำปุ๋ยอินทรีย์ใส่กองนี้ไปใช้ในแปลง จึงเท่ากับส่งจุลินทรีย์ในกองให้กลับ
ไปอยู่ยังที่เดิม ข้อดีก็คือ จุลินทรีย์กลุ่มนี้ไม่ต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่อยู่ใหม่ เมื่อลงไปอยู่ในดินแล้วสามารถ
เจริญพัฒนาต่อได้เลยนั่นเอง

เทคนิคการบำรุงจุลินทรีย์ประจำถิ่น.... ใช้กากน้ำตาลต้มร้อน 70 องศาเซลเซียส นาน 1 ชม. เพื่อขจัดสารปนเปื้อนจาก
กระบวนการทำน้ำตาลทรายซึ่งติดมากับกากน้ำตาลนั้น ต้มแล้วปล่อยให้เย็น....

ใช้งาน :
กากน้ำตาลต้มแล้ว 40 ซีซี./น้ำ 20 ล. ฉีดพ่นลงดินในแปลง กากน้ำตาลตัวนี้จะไปเป็นอาหารแหล่งพลังงานแก่จุลินทรีย์
ดั้งเดิมที่แฝงตัวอยู่ในเนื้อดินให้เจริญพัฒนาขึ้นเองตามธรรมชาติ

จุลินทรีย์ภายนอก หมายถึงจุลินทรีย์ที่มีจำหน่ายตามท้องตลาด หรือจุลินทรีย์ของ พด. ที่เกษตรกรนำมาใช้ ได้แก่ จุลินทรีย์
ในกองปุ๋ยหมักอินทรีย์. จุลินทรีย์ในถังหมักน้ำหมักชีวภาพ. การใช้จุลินทรีย์ประเภทนี้ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง
เพราะอาจมีจุลินทรีย์ชนิดเชื้อโรคแฝงเข้าไปอยู่ในกองหรือในถังได้

การนำจุลินทรีย์ต่างถิ่นมาใช้ แม้จะเป็นจุลินทรีย์ดีมีประโยชน์ เมื่อจุลินทรีย์พวกนี้ลงไปอยู่ในแปลงซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่ใหม่
แล้ว จำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ แต่เนื่องจากจุลินทรีย์เป็นสัตว์เซลล์เดียว มีความแข็งแรงน้อยมาก
อาจปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมของแหล่งที่อยู่ใหม่ไม่ได้หรือไม่ทัน จุลินทรีย์พวกนี้ก็ต้องตาย




พันธุ์ :

ไม่ใช่พืชตัดแต่งพันธุกรรม (จีเอ็มโอ), ควรเน้นพืชพื้นเมืองมากว่าพันธุ์ลูกผสม,



น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง
ส่วนผสม :

ปลาทะเล. กากน้ำตาล(ต้ม). น้ำมะพร้าว. สับปะรด. เลือด. นม. ไข่. ไขกระดูก. ขี้ค้างคาว.




เตรียมดิน :

(1) ไถดิน ขี้ไถขนาดใหญ่ ตากแดดจัด 15 แดด ถ้าฝนตกให้ไถใหม่เริ่มนับ 1 ตากแดดใหม่
(2) ใส่อินทรีย์วัตถุ "ยิบซั่ม. กระดูกป่น. ขี้วัว+ขี้ไก่. แกลบเก่า. รำละเอียด." ผสมเข้ากันแล้วหว่านทั่วแปลง
(3) ไถพรวน ปรับสันแปลงให้เป็นหลังเต่า
(4) คลุมหน้าแปลงด้วยฟางหรือหญ้าแห้งหนาๆ
(5) รดด้วย "น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง" รอบที่ 1 ทิ้งไว้ 7-10 วัน
(6) รดด้วยน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง รอบที่ 2 ก่อนลงกล้า 1-2 วัน
(7) โครงสร้างดินชื้นสม่ำเสมอแต่ต้องไม่อุ้มน้ำ



หมายเหตุ :
- ระยะเวลาให้น้ำหมักระเบิดเถิดเทิงจากรอบที่ 1 ถึงรอบที่ 2 เป็นการบ่มดิน เพื่อให้เวลาแก่จุลินทรีย์เข้าทำการย่อยสลาย
อินทรีย์วัตถุและปรับสภาพดิน

- น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิงหม้กนานข้าม 1-2-3 ปี ส่วนผสมทุกอย่างเป็น "อินทรีย์" แท้ๆ

- ปุ๋ยอินทรีย์แห้งหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง (ส่วนผสมของน้ำหมักระเบิดเถิดเทิง + อินทรีย์วัตถุ) หมักนานข้ามปี ดีที่สุด

- น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิงสูตรดังกล่าวข้างต้นมีสารอารแต่ละตัวระดับกลางๆ ซึ่งเหมาะสำหรับปรับปรุงบำรุงดินโดย
เฉพาะ แต่หากต้องการใช้กับผักกินใบก็ต้องปรับสูตร โดยเพิ่มเลือด. นม. มากขึ้นจากปกติ 25-50% และหากต้องการ
ใช้กับผักกินผลก็ต้องปรับสูตร โดยเพิ่มขี้ค้างคาว. ไข่. 25-50% เช่นกัน



เตรียมเมล็ดพันธุ์ :

- แช่เมล็ดในน้ำหมักชีวภาพระบิดเถิดเทิง 3-6 ชม.
- แช่ครบกำหนดเวลาแล้วนำขึ้นผึ่งลมให้แห้ง เมื่อแห้งแล้วนำไปหว่านในแปลงเพาะกล้าได้เลย


ฮอร์โมน :
- ฮอร์โมนธรรมชาติ ได้แก่ น้ำมะพร้าวแก่+อ่อน, น้ำคั้นไชเท้า+น้ำคั้นเมล็ดเริ่มงอก, น้ำคั้นผักที่ปลูกให้แก่ผักที่ปลูก,
น้ำคั้นเมล็ดอ่อนข้าวโพดหวาน, น้ำคั้นข้าวน้ำนม. นมเหลืองแม่วัว,

- ฮอร์โมนธรรมชาติอื่นๆ ได้แก่ น้ำเต้าหู้. น้ำมูลวัว/หมูตั้งท้องสดใหม่. น้ำล้างเขียงทำปลา. เลือดสด. น้ำนึ่งปลาทะเล.
น้ำหอยเผา. น้ำคั้นผล/เมล็ดอ่อน.

ฮอร์โมนพืชสด :
วิธีทำและวิธีใช้ :

(1) เลือกผักกินใบ ต้นสมบูรณ์แข็งแรง ไม่มีโรคแมลงรบกวน ใช้ทั้งต้น เก็บตอน ตี.5
(2) เก็บมาแล้วไม่ต้องล้างน้ำ เพียงสลัดเศษดินออก
(3) นำเข้าเครื่องปั่นแบบแยกกากแยกน้ำ (จุ๊ยเซอร์) ทันที ใช้ส่วนที่เป็นน้ำ
(4) การเก็บและการปั่นในเครื่องปั่นควรทำในที่มืด
(5) น้ำค้นที่ได้เก็บในภาชนะทึบแสง
(6) นำเก็บในตู้เย็น

อัตราใช้ :
น้ำคั้นผักสด 100-200 ซีซี./น้ำ 20 ล.ให้ตอนมืดหรือไม่มีแสงแดดเท่านั้น

เหตุผล :
เพราะฮอร์โมนธรรมชาติไม่สู้แสง ยูวี.


การบำรุง :
- ให้ "น้ำ 100 ล.+ น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 200 ซีซี." ทุกวัน ช่วงหลังค่ำ
- ให้ "ฮอร์โมนธรรมชาติ" ที่เหมาะสม
กับผักที่ปลูก 2-3 อย่างแบบสลับกัน ทุกวันเว้นวัน ช่วงหลังค่ำ




http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=1403


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 25/05/2011 7:42 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 25/05/2011 5:49 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การจัดการคุณภาพการผลิตเกษตรอินทรีย์

การรับรองมาตรฐานการผลิตผักอินทรีย์ จะให้ความสำคัญถึงระบบการผลิต ปัจจัยการผลิต และการจัดการผลิตเป็นหลักสำคัญ
ดังนั้น เกษตรกรจำเป็นต้องศึกษาข้อกำหนดต่างๆ ให้เข้าใจ ถึงเรื่องที่ต้องเตรียมพื้นที่สำหรับปลูกผักอินทรีย์ดังนี้



การเลือกพื้นที่ผลิตพืชอินทรีย์
ประวัติการทำเกษตรของพื้นที่
- ก่อนเลือกพื้นที่ผลิตพืชอินทรีย์จะต้องทราบประวัติการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ ให้มากที่สุด โดยเฉพาะด้านการเกษตร เช่น เคย
ปลูกพืชอะไร การใช้ปุ๋ย สารเคมี และความสำเร็จของการใช้พื้นที่ เป็นต้น เพื่อใช้ตัดสินใจวางแผนการผลิต


ที่ตั้งของพื้นที่
- ควรเลือกพื้นที่ห่างจากถนนหลวง โรงงาน เพื่อป้องกันมลพิษและไม่ควรอยู่ติดแปลงปลูกพืชที่มีการใช้สารเคมี

http://www.greenlattes.com/green-variety-story/oragnic-agriculture/66-organic-farm-managment-system

ความเหมาะสมของพื้นที่ต่อพืชที่ปลูก
- ผู้ที่จะผลิตพืชอินทรีย์จะต้องทราบแล้วว่าจะปลูกพืชล้มลุกหรือพืชยืนต้น การปลูกพืชล้มลุกไม่มีปัญหาเกี่ยวกับความลึกของหน้าดิน
แต่ไม้ยืนต้นต้องการหน้าดินที่ลึกและต้องมีแหล่งน้ำเพียงพอ


แหล่งน้ำ
- น้ำที่้ใช้ต้องเป็นน้ำสะอาด ไม่มีสารพิษเจือปน จะเป็นน้ำใต้ดิน สระ แม่น้ำ ลำคลอง หรือน้ำชลประทานก็ได้ ควรวิเคราะห์คุณ
สมบัติของน้ำก่อน


ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่
- ดินที่มีความสมบูรณ์โดยธรรมชาติ เช่น การใช้พื้นที่เปิดใหม่ก็จะประสบความสำเร็จในผลิตพืชอินทรีย์สูง สำหรับพื้นที่ที่ดิน
ขาดความอุดมสมบูรณ์ ความปรับปรุงบำรุงดินโดยการปลูกพืชที่ให้ธาตุอาหารแก่ดิน ประกอบกับการใส่ปุ๋ยอินทรีย์


ติดตามเรื่อง "การวางแผนจัดการ" ได้ในตอนต่อไป



ขอขอบคุณ :
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุพจน์ บุญแรง คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่


http://www.greenlattes.com/green-variety-story/oragnic-agriculture/66-organic-farm-managment-system
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 25/05/2011 7:58 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หลักการป้องกันและกำจัดโรคและแมลงศัตรูผักโดยไม่ใช้สารเคมี

• การป้องกันและกำจัดโดยวิธีกล โดยไม่ใช้สารเคมี เช่น การใช้มือจับแมลงมาทำลาย การใช้มุ้งตาข่าย การใช้กับดักแสงไฟ
การใช้กับดักกาวเหนียวเป็นต้น


• การใช้ตาข่ายไนล่อนสีขาว หรือสีฟ้าคลุมแปลงผัก เพื่อป้องกันผีเสื้อกลางคืนมาวางไข่ที่ใบพืชผักสามารถป้องกันแมลงประเภท
หนอนใยผัก หนอนกระทู้ และหนอนผีเสื้ออื่นๆ ได้ แต่ด้วงหมัดผักกาดและเพลี้ยอ่อนยังเข้าไปทำลายพืชผักได้ ให้ใช้สารควบคุม
แมลงจากดอกไพรีทรินฉีดพ่น การปลูกผักในมุ้งมีข้อเสียตรงที่ไม่มีต้นไม้บังลม เมื่อมีลมพายุขนาดย่อมพัดมาอย่างรุนแรงในฤดูแล้ง
มุ้งไนล่อนซึ่งใหญ่มากจะถูกลมตีแตกเสียหายทั้งหลัง การใช้มุ้งตาขายครอบแปลงขนาดเล็ก หรือขนาดผ้าคลุมแปลงเพาะกล้าจะไม่
เกิดปัญหามุ้งแตกเพราะลมแต่อย่างใด


• การใช้กับดักแมลงสีเหลืองเคลือบวัสดุเหนียว
แมลงศัตรูพืชจะชอบบินเข้าหาวัตถุสีเหลืองมากที่สุด หากใช้วัสดุที่มีลักษณะข้นเหนียวไปทาเคลือบวัสดุสีเหลือง เช่น แกลลอน
น้ำมันเครื่องสีเหลือง ถังพลาสติกสีเหลือง แผ่นพลาสติกสีเหลือง แผ่นไม้ทาสีเหลืองหรือแผ่นสังกะสีทาสีเหลือง วางติดตั้งบนหลักไม้
ให้อยู่เหนือต้นพืชเล็กน้อย หรือติดตั้งในแปลงปลูกผักห่างกันทุก 3 ตารางเมตร ให้แผ่นสีเหลืองสูงประมาณ 1 เมตร ขนาดแผ่นสีเหลือง
ควรมีขนาด 1 ตารางฟุต ก็จะลดอันตรายการทำลายของแมลงกับพืชผักของเราได้อย่างมากแมลงศัตรูพืชที่เข้ามาติดกับดักสีเหลอง
ได้แก่ แมลงวัน หนอนชอนใบ ผีเสื้อกลางคืนของหนอนกระทู้หลอดหอม ผีเสื้อกลางคืนของหนอนใบผัก ผีเสื้อกลางคืนของหนอน
กระทู้ผัก ผีเสื้อกาลางคืนของหนอนคืบกะหล่ำ แมลงวันทอง แลงหวี่ขาว เพลี้ยไฟ เพลี้ยจั๊กจั่น และเพลี้ยอ่อน กาวเหนียวที่มีขายใน
ท้องตลาด มีชื่อว่า “อพอลโล่” หรือ “คันริว” ป้ายกาวเหนียวครั้งหนึ่งจะอยู่ทนได้นาน 10-15 วัน ส่วนผสมของกาวเหนียวที่กรมวิชา
การเกษตรทำร่วมกับผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่นและใช้ได้ผลดีในประเทศไทย คือ น้ำมันละหุ่ง 150 ซีซี. ผงยางสน 100 กรัม ไขคาร์นาบัว 10-12
กรัม อุ่นให้ร้อน กวนให้เช้ากันตั้งทิ้งให้เย็น แล้วนำไปใช้ได้เลย


หลักการป้องกันและกำจัดวัชพืชโดยไม่ให้ใช้สารเคมี
• ใช้วิธีการถอนด้วยมือ ใช้จอบถาง ใช้วิธีการไถพรวนพลิกดินตากแดดไว้
• ใช้วัสดุคลุมดิน ซึ่งเป็นการปกคลุมผิวดินช่วยอนุรักษ์ดินและน้ำและเป็นการเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้กับดินอีกด้วยโดยส่วนใหญ่มักใช้วัสดุ
ตามธรรมชาติ ได้แก่ เศษวากพืชหรือวัสดุเหลอใช้ในการเกษตร เช่น ฟางข้าว ตอซังพืช หญ้าแห้ง ต้นถัว ขุยมะพร้าว กากอ้อย แกลบ
เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีพลาสติกที่ผลิตขึ้นสำหรับการคลุมดินโดยเฉพาะซึ่งสามารถนำมาใช้ได้เช่นกัน


• ปลูกพืชสมุนไพรไล่แมลง ให้ปลูกก่อนที่จะปลูกพืชหลักคือพืชผักต่างๆ (เสริมกับการป้องกัน) พืชสมุนไพรที่กันแมลงรอบนอก เช่น
สะเดา ชะอม ตะไคร้ หอม ข่า ปลูกห่างกัน 2 เมตร โดยรอบพื้นที่ ส่วนต้นด้านในกันแมลงในระดับต่ำโดยปลูกพืชสมุนไพรเตี้ยลงมา เช่น
ดาวเรือง กระเพรา โหระพา ตะไคร้หอม พริกต่างๆ ปลูกห่างกัน 1 เมตร และที่จะลืมไม่ได้เลยก็คือจะต้องปลูกตะไคร้หอมทุกๆ 3 เมตร
แซมโดยรอบพื้นที่ด้านในด้วย



ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 26/05/2011 3:16 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เทคโนโลยีการผลิตข้าวอินทรีย์


หลังการเก็บเกี่ยวและนวดข้าว เมล็ดข้าวเปลือกยังคงมีความชื้นสูง เมล็ดซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิต มีการหายใจ ทำให้เกิดความร้อน ในสภาพร้อนชื้นดังกล่าว ทำให้เกิดการเจริญของเชื้อราเป็นผลให้เมล็ดเสื่อมคุณภาพได้ง่าย ดังนั้นจึงควรลดความชื้น ก่อนการเก็บรักษาข้าว


วิธีปฏิบัติ
1. พันธุ์ข้าว
เป็นพันธุ์ข้าวและแมลงศัตรูพืชสำคัญในพื้นที่แข่งขันกับวัชพืชได้ดีมีลักษณะเมล็ดและคุณภาพการหุงต้มและรับประทาน ตรงต่อความต้องการของตลาดพันธุ์ข้าวที่นิยใช้ในการผลิตข้าวอินทรีย์ในปัจจุบัน คือขาวดอกมะลิ 105 และกข 15

2. เมล็ดพันธุ์ข้าว
เป็นเมล็ดพันธุ์ที่ได้มาตรฐานของเมล็ดพันธุ์ และผลิตโดยระบบเกษตรอินทรีย์ ปราศจากโรคแมลงและเมล็ดวัชพืช หากจำเป็นต้องป้องกันกำจัดโรคที่ติดมากับเมล็ด ให้ใช้เฉพาะสารที่อนุญาตให้ใช้ได้

3. การเตรียมดินและวิธีปลูกพันธุ์ข้าว
ควรเตรียมดินอย่างดีเพื่อลดปัญหาวัชพืช และสร้างสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของข้าว แต่ไม่ใช้สารกำจัดวัชพืชร่วมกับการเตรียมดิน การเตรียมดินจะต้องสอดคล้องกับวิธีการปลูกข้าว

- วิธีปักดำ เหมาะกับการทำนาในนิเวศน์นาชลประทาน เตรียมดินอย่างดี โดยไถดะตากดินไว้ เพื่อกำจัดวัชพืชที่กำลังเจริญเติบโตปล่อยน้ำท่วมแปลง เพื่อกำจัดวัชพืชที่กำลังจะงอก ไถแปร และคราดปรับระดับผิวดินให้สม่ำเสมอ เพื่อความสะดวกในการควบคุมระดับน้ำและควบคุมวัชพืช

- ตกกล้าโดยใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ประมาณ 100 กรัมต่อพื้นที่แปลงกล้า1 ตารางเมตร จะได้ได้ต้นกล้าที่มีความอุดมสมบูรณ์แข็งแรง (ใช้เมล็ดพันธุ์ตกกล้า ประมาณ 7 กิโลกรัมต่อพื้นที่ปักดำ 1 ไร่ ปักดำระยะ 20 x 20 เซนติเมตร จำนวน 3-5 ต้นต่อกอ โดยใช้อายุกล้าระหว่าง 25-30 วัน

- วิธีหว่านน้ำตม เหมาะกับการทำนาในนิเวศนาชลประทาน โดยเฉพาะในกรณีที่ต้องทำนาล่ากว่าปรกติ หรือมีปัญหาด้านแรงงาน เตรียมดินอย่างดี โดยไถดะตากดินไว้เพื่อกำจัดวัชพืชที่กำลังเจริญเติบโต ปล่อยน้ำท่วมแปลงเพื่อกำจัดวัชพืชที่กำลังจะงอก ไถแปร และคราดปรับระดับผิวดินให้สม่ำเสมอ เพื่อความสะดวกในการควบคุมระดับน้ำและควบคุมวัชพืช หว่านเมล็ดข้าวงอกอัตราเมล็ดพันธุ์ประมาณ 15-20 กิโลกรัมต่อไร่ แล้วรักษาระดับน้ำ ให้เหมาะสมกับระยะการเจริญเติบโต ของต้นข้าว

- วิธีหว่านข้าวแห้ง เหมาะสมกับทำนาในนิเวศนาน้ำฝน โดยเฉพาะพื้นที่นาลุ่มและวัชพืชน้อยเตรียมดินโดยวิธีเตรียม ดินแห้ง ไถดะ เพื่อกำจัดวัชพืชที่กำลังเจริญเติบโต ไถแปร หว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวแห้ง อัตรา 20-25 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ ร่วมกับเมล็ดถั่วเขียว อัตรา 8 กิโลกรัมต่อไร่ แล้วคราดกลบ


4. การจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดิน
การเลือกพื้นที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างสูงเป็นเงื่อนไขที่สำคัญในการผลิตข้าวอินทรีย และต้องรักษาระดับความอุดม สมบูรณ์ของดินเพื่อรักษาระดับผลผลิตให้มีความยั่งยืนโดยเฉพาะการจัดการธาตุอาหารหลักของพืชพื้นที่นาข้าวอินทรีย์ จะต้องไม่เผาตอซัง ฟางข้าว และเศษซากพืช รวมทั้งควรหาวัสดุอินทรีย์จากพื้นที่ข้างเคียงใส่เพิ่มเติมเข้า ไปด้วยการปลูก พืชตระกูลถั่วจะช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ ของดินในระยะยาว ควรปลูกพืชคลุมดินในช่วงที่ไม่ปลูกข้าวนอกจากเป็นการป้องกันการสูญเสียหน้าดิน แล้วยังเป็นการเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้แก่ดินอีกด้วยเนื่องจากปุ๋ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยธรรมชาติ ที่อนุญาตให้ใช้ในการผลิตข้าวอินทรีย์ เป็นต้นว่า ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก จุลินทรีย์ ผลิตภัณฑ์ และผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมเกษตร รวมทั้งแร่ธาตุที่ ยังไม่ผ่านการสังเคราะห์ ์เคมี มีความเข้มข้นของธาตุอาหารต่ำ ต้องใช้ปริมาณมากและต่อเนื่องทุกปีจะได้ผลผลิตและ เกิดความยั่งยืน ดังนั้นการใช้สาร หรือวัสดุเหล่านี้ต้องคำนึงถึงต้นทุนการผลิตด้วย

การปลูกพืชตระกูลถั่วเป็นวิธีเหมาะสมที่สุดในการผลิตข้าวอินทรีย์ เพราะได้ธาตุอาหารเพียงพอต่อความต้องการสำหรับการเจริญเติบโตของข้าว ต้นทุนการผลิตต่ำสามารถทำได้อย่างต่อเนื่อง และยังได้รับผลตอบแทนจากพืชปุ๋ยสดบางชนิดอีกด้วย เช่น การปลูกถั่วเขียวก่อนข้าว โดยใช้ การเตรียมดินจากการไถดะนาข้าว หว่านถั่วเขียวอัตราเมล็ดพันธุ์ 8 กิโลกรัมต่อไร่ แล้วไถ่หรือคราดกลบต้นเขียวระยะออกดอกเพื่อเป็น

ปุ๋ยพืชสดเพียงประการเดียว ในนาหว่านข้าวแห้งสามารถหว่านถั่วเขียวร่วมไปด้วยจะช่วยควบคุมคุมวัชพืชได้ดี เมื่อมีน้ำขังในนา ต้นถั่วเขียวจะเน่าตาย เป็นปุ๋ยพืชสดไปในตัว ในพื้นที่ที่ดินมีน้ำขังระบายน้ำไม่ดี ควรใช้โสนอัฟริกัน (Sesbania rostrata) อัตราเมล็ดพันธุ์ 6 กิโลกรัมต่อไร่ หว่านหรือหยอดก่อนปักดำข้าวประมาณ 70 วัน แล้วไถกลบขณะที่ต้นโสนมีอายุประมาณ 50-55 วัน หรือก่อนปักดำข้าว 15 วัน ก็จะได้ธาตุอาหาร ที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของข้าว


5. ระบบการทำฟาร์ม
การผลิตข้าวในระบบเกษตรอินทรีย์นั้น กิจกรรมทางการเกษตรในพื้นที่ทั้งการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ ควรจะต้องเป็นแบบ เกษตรอินทรีย ์ด้วยทั้งหมด (Support factors) ในพื้นที่ให้มากที่สุด และมีปัจจัยเสี่ยง (Risk factors) น้อยที่สุดด้วย ทั้งนี้ในพื้นที่เกษตรน้ำฝนของประเทศไทย ซึ่งทำการเกษตรแบบดั้งเดิมและใช้ปัจจัยการผลิตจากภายนอกน้อยอยู่แล้ว จึงเป็นข้อสนับสนุนการผลิตข้าวอันทรีย์ในพื้นที่ดังกล่าวได้เป็นอย่างดี


6. การควบคุมวัชพืช
การเขตกรรมที่ดีสามารถแก้ปัญหาวัชพืชในนาได้เป็นอย่างดี การทำนาดำเป็นวิธีที่ช่วยควบคุมวัชพืชโดยใช้ระดับน้ำในนาและต้นกล้าข้าวที่มีการเจริญเติบโตก่อนวัชพืช การเตรียมดินไห้มีผิวหน้าดินสม่ำเสมอ และการรักษาระดับน้ำขังในนาในระยะแรกประมาณ 1-2 เดือนหลังปักดำ ทำให้สามารถควบคุมวัชพืชอย่างได้ผล ในนาหว่านข้าวแห้งทีหว่านถั่วเขียวร่วมไปด้วย ถั่วเขียวที่เจริญเติบโตได้เร็วช่วยควบคุมวัชพืชโดยการบังแสงแดด ได้เป็นอย่างดี แต่ถ้ายังมีวัชพืชเหลืออยู่ในนา การใช้วิธีการกำจัดอื่นร่วมด้วย เช่น กำจัดด้วยวิธีกล ใช้แรงงานคนถอน หรือใช้เครื่องกำจัดวัชพืช ก็จะได้ผลดียิ่งขึ้น


7. การป้องกันกำจัดโรคแมลง
การรักษาสมดุลธรรมชาติ เพื่อให้ศัตรูธรรมชาติ (Natural enemies) ของแมลงศัตรูพืช ทั้งตัวห้ำ (Predators) และตัวเบียน (Parasites) ควบคุมแมลงศัตรูข้าวตามธรรมชาติ รวมทั้งการรักษาความสมดุลของธาตุอาหารในดิน และการจัดการน้ำที่ดีช่วยให้ต้นข้าวมีความแข็งแรง ทนทานต่อการทำลายของโรคและแมลงได้ดี

การปลูกพืชหมุนเวียน เช่น ถั่วเขียวก่อนข้าว เป็นการตัดวงจรชีวิตของแมลงและการแพร่ระบาดของโรคได้ดี การกำจัดวัชพืชที่อาจเป็นพืชอาหารหรือพืชอาศัยของศัตรูข้าว รวมทั้งกำจัดเศษซากพืชทีเป็นโรค ช่วยป้องกันศัตรูข้าวได้ในระดับหนึ่ง

การเลือกใช้พันธุ์ต้านทานและทนทานเป็นอีแนวทางหนึ่ง โดยศึกษาชนิดโรคและแมลงที่สำคัญในพื้นที่แล้วเลือกพันธุ์ข้าวให้เหมาะสม นอกจากนั้นยังมีการป้องกันและกำจัดโดยวิธีการต่าง ๆ ที่อนุญาตให้ใช้ได้ เป็นวิธีการที่สามารถปฏิบัติได้หากมีการระบาดรุนแรง


8. การป้องกันกำจัดสัตว์ศัตรูข้าว
หนูเป็นศัตรูข้าวที่สำคัญมาก แนะนำให้ใช้วิธีควบคุมโดยใช้ศัตรูธรรมชาติ ซึ่งเป็นวิธีที่ประหยัด รักษาระบบนิเวศ และมีประสิทธิภาพในระยะยาว ศัตรูธรรมชาติของหนูที่สำคัญ ได้แก่ แมว สุนัข งู นกเค้าแมว และเหยี่ยว เป็นต้น นอกจากนี้อาจใช้วิธีกล เช่นกับดัก และรั้วกันหนูสัตว์ศัตรูข้าว เช่น ปู หอยเชอรี่ แนะนำให้กำจัดโดยวิธีกล หรือจับทำลาย และอาจพิจารณาใช้สารที่อนุญาตให้ใช้ได้ ในการป้องกันกำจัด


9. การจัดการก่อนและหลังการเก็บเกี่ยวการเตรียมดินและวิธีปลูกพันธุ์ข้าว
ระบายน้ำออกจากนาข้าวสุกแก่ประมาณ 10-15 วัน ขึ้นกับลักษณะเนื้อดิน เพื่อให้พื้นนาแห้งและข้าวสุกแก่สม่ำเสมอ เก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ตากสุ่มซังในนาไม่เกิน 3 วันจะได้ข้าวเปลือกที่มีคุณภาพสีดีและมีความชื้นไม่เกิน 14 % การใช้เครื่องนวดจะได้ข้าวเปลือกที่มีความชื้นประมาณ 19-22 % ควรนำเมล็ดข้าวเปลือกมาตากให้มีความหนาประมาณกว่า 5 ซม. นาน 2 วัน จะได้ข้าวเปลือกความชื้นต่ำกว่า 14 % และมีคุณภาพการสีดีเช่นกัน


10. การเก็บรักษาผลผลิตและบรรจุภัณฑ์
เก็บรักษาข้าวเปลือกในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ในยุ้งฉางหรือโรงเก็บที่ป้องกันแมลงและศัตรูได้ดี แล้วแปรสภาพเป็นข้าวกล้อง หรือ ข้าวสารตามความต้องการ บรรจุข้าวกล้องและข้าวสารในถุงพลาสติกขนาดบรรจุ 1-5 กิโลกรัม ในระบบสูญญากาศหรืออัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์



สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2553 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เลขที่ 3 ถนนราชดำเนินนอก แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
เสนอแนะ-ติชม: webmaster@moac.go.th


http://www.moac.go.th/ewt_news.php?nid=431&filename=index


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 09/06/2011 5:38 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 08/06/2011 9:27 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สมุนไพรสลายสารพิษ

การเกษตรเป็นอาชีพหลักของประเทศไทย โดยในจังหวัดราชบุรีมีพื้นที่ในการทำการเกษตร 994,430 ไร่ หรือร้อยละ 87.56ของพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัด ในปัจจุบันการทำการเกษตรเพาะปลูกพืช จำเป็นต้องใช้สารกำจัดศัตรูพืช หรือ สารต่างๆ ทั้งที่ผลิตมาจากสารเคมีหรือทำจากสารชีวภาพ

เพื่อให้ได้ผลผลิตออกมามีคุณภาพ ตามต้องการ จำหน่ายได้ในราคาดี แต่ผักและผลไม้ที่ได้นั้น ก็มีสารพิษตกค้างซึ่งเมื่อบริโภคเข้าไปแล้ว ก็จะไปสะสมอยู่ในร่างกาย ก่อให้เกิดโรคร้ายและส่งผลกระทบต่างๆ ต่อร่างกายตามมามากมายเช่น สุขภาพร่างกายอ่อนแอ คลื่นไส้ วิงเวียนศีรษะ อาเจียน ระบบการหายใจขัดข้อง และอาจร้ายแรงจนเป็นเหตุให้เสียชีวิต จากการที่ได้มีการ ตรวจพบสารพิษตกค้างของผักในท้องถิ่นในระดับที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค

ผู้ทำโครงงานจึงสนใจวิธีการล้างสารพิษตกค้างออกจากผัก โดยอาศัยภูมิปัญญาชาวบ้านที่นำสมุนไพร มาใช้ในการล้างสารพิษตกค้างในร่างกาย ซึ่งจากการค้นคว้าชนิดของสมุนไพร พบว่า ว่านรางจืด ใบเตย ชะพลู และแฮ่ม มีสรรพคุณในการล้างสารพิษตกค้างในร่างกาย ผู้ทำการทดลองจึงคาดว่าน้ำจาก ว่านรางจืด ใบเตย ชะพลู และแฮ่ม จะสามารถล้างสารพิษตกค้างในผักได้


วิธีทำการทดลอง
ตอนที่1 เปรียบเทียบประสิทธิภาพของสมุนไพรในการล้างสารพิษตกค้าง
1. เตรียมสารละลายแลนเนทที่มีความเข้มข้น 0.2 w/v จำนวน 50 ml.

2. หั่นถั่วฝักยาวเป็นท่อนๆ ท่อนละ5 เซนติเมตร ใส่บีกเกอร์ขนาด 250 ml แล้วนำสารละลายแลนเนทที่ได้จากข้อ 1 เท่ใส่ลงไป แช่ไว้ 5 แล้วใช้ฟอร์เซ็บคีบถั่วฝักยาวขึ้นมาผึ่งไว้จนแห้ง

3. นำถั่วฝักยาวจาก ข้อ 2 ชั่งใส่ในบีกเกอร์ขนาด 100 ml. จำนวน 5 บีกเกอร์ บีกเกอร์ละ 5 กรัม

4. เตรียมน้ำสมุนไพร โดยการนำใบว่านรางจืด ใบเตย ใบชะพลู มาหั่นให้ละเอียด แล้วชั่งให้ได้อย่างละ 20 กรัม ใส่ในบีกเกอร์ขนาด 250 ml เติมน้ำกลั่นจนมีปริมาตร 100 ml แล้วนำสมุนไพรแต่ละชนิดไปปั่นด้วยเครื่องปั่น จนละเอียด จากนั้นกรองเนื้อสมุนไพรออรด้วยผ้าขาวบาง ส่วนแฮ่ม ชั่งให้ได้ 20 กรัม ใส่ในน้ำอุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส ตั้งไว้จนมีอุณหภูมิ ปกติ จะได้น้ำสมุนไพรแต่ละชนิดที่มีความเข้มข้น ร้อยละ 20 โดยมวลต่อปริมาตร

5. นำน้ำสมุนไพร ใส่ลงในถั่วฝักยาวที่ได้จากข้อ 3. ชนิดละบีกเกอร์ บีกเกอร์ละ 80 ml เป็นเวลา 30 นาที แล้วกรองถั่วฝักยาวขึ้นด้วยผ้าขาวบาง ผึ่งให้แห้ง

6. นำถั่วฝักยาวที่ได้ หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ นำไปตรวจสอบหาระดับปริมาณสารพิษที่ตกค้างโดยวิธี pesticide test kit (GT)ดังนี้

6.1 ใส่ solvent-1 ลงไป 5 ml. ปิดฝาเขย่านาน 1 นาที และตั้งวางทิ้งไว้ 10 นาที

6.2 ดูดสารสกัดจากขวดตัวอย่าง 1 ml. ใส่ลงในหลอดแก้วทดลอง จากนั้นเติมสาร solvent-2ลงไปอีก 1 ml.

6.3 นำไประเหยด้วยอุปกรณ์ระเหยโดยต่อปั๊มลมเข้ากับสายยางและหลอดหยดแก้ว จุ่มลงไปในหลอดแก้วทดลอง เปิดเครื่องปั๊มลมให้เป่าลมลงไปในหลอดแก้ว ระเหยจนกว่าสารสกัดจากตัวอย่าง(ชั้นล่าง) จะระเหยไปหมด จะได้สารที่เรียกว่า Sample Extract

6.4 หยิบหลอดแก้วทดลอง 2หลอดติดฉลาก”ควบคุม”และ”ตัดสิน” เติมสาร solvent-2 ลงไปหลอดละ 0.25 ml.หลอดตัวอย่าง ติดฉลากระบุชื่อ และใส่สาร Sample Extract ของตัวอย่างนั้นลงไป 0.25 ml.

6.5 ย้ายปฏิบัติการตรวจสอบลงไปในถาดน้ำอุ่นควบคุมอุณหภูมิที่ 32-36 องศาเซลเซียส

6.6 เติมสาร GT-1 ลงไปทุกหลอด จำนวนหลอดละ 0.5 ml. วางไว้ 5-10 นาที

6.7 เตรียมสารละลาย GT-2 กับ GT-2.1 และ GT-3 กับGT-3.1

6.8 ใส่ GT-2 ที่ผสมแล้วลงทุกหลอด หลอดละ 0.25ml. ยกเว้นหลอดตัดสินให้เติมGT-2 จำนวน 0.375 ml. รอเวลา30นาที

6.9 ใส่ GT-3ที่ผสมแล้วลงทุกหลอด จำนวน 1 ml.เขย่าให้เข้ากัน

6.10 ใส่GT-4 ลงทุกหลอดจำนวน 0.5 ml.เขย่าให้เข้ากัน

6.11 ใส่ GT-5 ลงทุกหลอด จำนวน 0.5ml. เขย่าให้เข้ากัน สังเกตสีที่ได้ บันทึกผล



http://www.ppdream-chem.ob.tc/hurb.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 09/06/2011 8:38 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การควบคุมการปนเปื้อนจุลินทรีย์ในผักและผลไม้

นภาพร เชี่ยวชาญ

ผักและผลไม้เป็นผลิตผลทางการเกษตรที่มีการเสื่อมเสียได้ง่าย การผลิตในระดับอุตสาหกรรมจึงต้องมีการควบคุมที่ดีโดยเริ่มตั้งแต่แหล่งเพาะปลูก ซึ่งปัจจุบันได้มีการนำ GAP (Good Agricultural Practice มาใช้ด้วย ) จนกระทั่งผลิตออกมาเป็นผลิตภัณฑ์พร้อมจำหน่าย นอกจากนี้ ในปัจจุบันมีความต้องการในการบริโภคผักและผลไม้สดพร้อมบริโภคสูงขึ้น เช่น ผักสลัด ผลไม้บรรจุถาดพร้อมรับประทาน ดังนั้น กระบวนการผลิตจึงผ่านวิธีการที่ทำให้มั่นใจว่าผักและผลไม้นั้น สะอาดและปลอดภัยต่อการบริโภคจากรายงานการเกิดการระบาดของโรคอาหารเป็นพิษจากการบริโภคผักผลไม้ พบว่ามีสาเหตุมาจากผักเป็นส่วนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผักสลัด ซึ่งมักเป็นผักสดที่ต้องผ่านการจับต้องจากผู้ประกอบอาหาร ดังนั้น ผู้ที่ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องจึงต้องระมัดระวังเรื่องสุขอนามัยเป็นอย่างยิ่ง แบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคอาหารเป็นพิษและมักพบว่าปนเปื้อนมากับผักผลไม้พร้อมบริโภค คือ Escherichia coli O 157 : H7, Listeria monocytogenes, Shigella, Salmonella และไวรัสตับอักเสบเอ (Singh และ คณะ 2002) บทความนี้จะกล่าวถึงสาเหตุของการปนเปื้อนในผักและผลไม้ตั้งแต่เพาะปลูกจนกระทั่งเข้าสู่กระบวนการผลิต ดังแสดงในตารางที่ 1 การทราบสาเหตุจะทำให้สามารถหลีกเลี่ยงหรือลดการปนเปื้อนในระหว่างการปฏิบัติงานได้ ซึ่งสามารถกล่าวได้โดยละเอียดดังต่อไปนี้


การเพาะปลูกและเก็บเกี่ยว
นอกจากผักผลไม้จะมีการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีแล้ว ยังมีการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อม โดยอาจมาจากดิน น้ำ หรือปุ๋ย (Brackett, 2000) ชนิดของแบคทีเรียที่มักพบในดินและทำให้เกิดโรค คือ Bacillus, Clostridium และ Listeria โดยเฉพาะอย่างยิ่งแบคทีเรียที่สามารถสปอร์ที่ทนต่อความร้อน เช่น Clostridium botulinum และ Clostrtidium perfringens บริเวณพื้นที่ที่ใช้เลี้ยงสัตว์มักมีจุลินทรีย์

ที่อาศัยอยู่ในระบบทางเดินอาหารของสัตว์ปะปนออกมากับสิ่งขับถ่ายของสัตว์ ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้เป็นสาเหตุของการเกิดโรคในมนุษย์ ดังนั้น การใช้ปุ๋ยคอกบำรุงพืชอาจทำให้เกิดการปนเปื้อนสู่อาหาร เช่น มีการตรวจพบแบคทีเรีย Salmonella typhimurium และ Escherichia coli O157:H7 ที่ใบและรากของผักที่ปลูกโดยการใช้ปุ๋ยคอก (Natving และคณะ , 2002) นอกจากนี้ยังพบว่า Salmonella, Escherichia coli O157:H7 และ Listeria monocytogenes สามารถรอดชีวิตอยู่ในปุ๋ยคอกได้เป็นระยะเวลานาน (Tauxe, 1997; Brackett, 1999) ผักผลไม้ต่างชนิดกันจะมีจำนวนและชนิดจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนต่างกัน จำนวนจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนเริ่มต้นจะบ่งถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์สุดท้าย โดยหากมีจุลินทรีย์เริ่มต้นปนเปื้อนในวัตถุดิบมาก จะทำให้ผักผลไม้มีคุณภาพที่ด้อยลงและมีอายุการเก็บที่สั้นกว่าปกติ (Zagory, 1999)

พืชหัวซึ่งมีลำต้นและรากใต้ดิน หรือพืชผักขนาดเล็กที่มีลำต้นเตี้ยและใบอยู่ใกล้พื้นดิน มักพบการปนเปื้อนค่อนข้างสูง อัตราการปนเปื้อนจะสูงขึ้นในฤดูฝน เนื่องจากเมื่อฝนตกเศษดินอาจกระเด็นมาติดตามใบและลำต้นพืช นอกจากนี้การที่เซลล์พืชถูกทำลายจากแมลงหรือนก ทำให้จุลินทรีย์เข้าทำลายเซลล์ได้ง่ายยิ่งขึ้น

ตารางที่ 1 แนวโน้มการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ในผักและผลไม้ในระหว่างกระบวนการผลิต

ขั้นตอน
แหล่งของการปนเปื้อน

การเพาะปลูกและการเก็บเกี่ยว เช่น การปลูก การเก็บและการมัดแบ่งเป็นกำ

กระบวนการผลิตขั้นต้น เช่น การล้าง การเคลือบไข การคัด การบรรจุกล่องหรือลังพลาสติก

กระบวนการผลิตขั้นต้น เช่น การหั่น การคั้นน้ำ การปอก

การขนส่ง เช่น การขนส่งโดยใช้รถบรรทุก
น้ำ มูลสัตว์ การขาดสุขลักษณะที่ดีในการจัดการ

น้ำล้าง การจับต้องของพนักงานและภาชนะ

น้ำล้าง การจับต้องของพนักงาน การปนเปื้อนข้าม

รถบรรทุกไม่สะอาด น้ำแข็งที่ใช้


ที่มา : จาก Tauxe (1997)


กระบวนการผลิตขั้นต้น
การใช้น้ำในการล้างและกำจัดสิ่งสกปรกที่ผิวผักและผลไม้จะช่วยยืดอายุการเก็บ เพราะช่วยลดจำนวนจุลินทรีย์ที่ผิว การเติมสารฆ่าเชื้อลงในน้ำล้างจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดจุลินทรีย์ที่ผิวเพิ่มขึ้น ประมาณ 100 เท่า (Burnett และ Beuchat, 2001) การฆ่าเชื้อจะมีประสิทธิภาพเพียงใดขึ้นกับกลไกในการทำลายจุลินทรีย์ของสารนั้นๆ ชนิดจุลินทรีย์ ชนิดของผักผลไม้และบริเวณที่จุลินทรีย์ยึดเกาะ เช่น บริเวณขั้นของผลไม้หรือบริเวณที่เป็นร่องลึก อย่างเช่น แอปเปิ้ล ชมพู่ ฝรั่ง เป็นต้น ซึ่งสามารถล้างทำความสะอาดได้ยากกว่าบริเวณที่เป็นผิวเรียบ


โดยทั่วไปนิยมใช้คลอรีนในการการล้างผักและผลไม้ โดยใช้ในรูปของสารละลายไฮโปคลอไรต์ ปริมาณ 50-200 ppm (Active chlorine) อย่างไรก็ตามไม่ควรนำน้ำที่ใช้ในการล้างผักและผลไม้กลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่ เพราะจะทำให้มีการสะสมของจำนวนจุลินทรีย์มากขึ้นและเป็นการเพิ่มการปนเปื้อนให้กับตัววัตถุดิบ (Hulland, 1980) สารอินทรีย์ที่สะสมในน้ำจะทำให้ประสิทธิภาพของคลอรีนลดลง นอกจากนี้จุลินทรีย์แต่ละชนิดมีความต้านทานต่อคลอรีนที่แตกต่างกัน Listeria monocytogenes มีความต้านทานต่อคลอรีนมากกว่า Salmonella และ E. coli O157:H7 (Burnett และ Beuchat, 2001) ส่วนสปอร์ของแบคทีเรียมีความต้านทานต่อคลอรีนสูงกว่าเซลล์ปกติ การเพิ่มปริมาณคลอรีนในน้ำล้างที่นำกลับมาใช้ จึงไม่มีประโยชน์ทั้งยังเป็นการสิ้นเปลือง ค่าใช้จ่าย สำหรับผลไม้ การล้างด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อร่วมกับการขัดถูก หรือการแช่ในน้ำร้อน อาจช่วยลดจุลินทรีย์ที่ผิวลงได้


นอกจากสารประกอบคลอรีนแล้ว ยังมีสารอีกหลายชนิดที่นิยมนำมาใช้กับผักและผลไม้ เช่น คลอรีนไดออกไซค์ มีประสิทธิภาพในการยับยั้งจุลินทรีย์ได้หลายชนิด ไม่ทำปฏิกิริยากับสารที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบหรือแอมโนเนียเกิดเป็นคลอรามีนซึ่งเป็นสารที่เป็นพิษ Food and Drug Administration แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (USFDA) อนุญาตให้ใช้คลอรีนไดออกไซค์ในการล้างผักและผลไม้ (Singh และ คณะ , 2002) นอกจากนี้ยังมีการใช้โอโซนซึ่งได้รับการรับรองแล้วว่าเป็นสารทีมีความปลอดภัยที่จะนำมาใช้กับอาหาร (Generally Recognized as Safe-GRAS) เพื่อล้างผักและผลไม้ (Xu, 1999) โดยโอโซนสามารถยับยั้งจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคได้หลากชนิดกว่าคลอรีน


ผักประเภทใบเป็นผักที่มีโอกาสในการปนเปื้อนสูงที่สุด เนื่องจากมีพื้นผิวสัมผัสมากทำให้ง่ายต่อการยึดเกาะของจุลินทรีย์ (NACMCF, 1999) ถึงแม้ว่าการตัดแต่งส่วนที่เน่าเสียออกก่อนการล้างจะช่วยกำจัดจุลินทรีย์ออกบางส่วนก็ตาม แต่การตัดแต่งอาจทำให้เนื้อเยื่อพืชฉีกขาดทำให้จุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนมากับน้ำหรือสิ่งแวดล้อมสามารถเข้าทำลายได้ง่ายขึ้น ผักและผลไม้บางชนิดไม่สามารถทำความสะอาดโดยวิธีการล้างเนื่องจากมีลักษณะทางกายภาพที่ค่อนข้างช้ำได้ง่าย เช่น สตอเบอร์รี่ และพริกหวาน (Green pepper) จึงอาจใช้การฉายรังสีที่ความเข้มต่ำ (Low dose ionizing radiation) (NACMCF, 1999) ทดแทน เพื่อยืดอายุการเก็บ


กระบวนการผลิตขั้นสุดท้าย
ดังที่กล่าวมาข้างต้น ผักผลไม้มักพบการปนเปื้อนที่ผิวโดยอาจเนื่องมาจากเซลล์อาจเกิดความเสียหายตั้งแต่แปลงเพาะปลูกจากการเข้าทำลายของแมลง นกหรือจุลินทรีย์ นอกจากนี้ยังอาจเกิดความเสียหายในระหว่างการเก็บเกี่ยว เมื่อผักผลไม้เข้าสู่กระบวนการผลิต กรรมวิธีการผลิตก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เซลล์พืชสูญเสียความแข็งแรง สารอาหารภายในเซลล์จึงออกมาภายนอก ทำให้ จุลินทรีย์ที่ผิวพืชสามารถนำไปใช้เพื่อการเจริญและเพิ่มจำนวน หากกำจัดจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคเหล่านี้ไม่หมดในระหว่างกระบวนการผลิตหรือประกอบอาหาร และผู้บริโภครับประทานเข้าไปจะทำให้ผู้บริโภคได้รับโรคอาหารเป็นพิษในที่สุด


สำหรับผลไม้ ผลไม้ส่วนมากมีความเป็นกรดสูงจึงช่วยในการกำจัดการเจริญของจุลินทรีย์ได้ดีกว่า อย่างไรก็ตามยังมีการตรวจพบจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคอยู่ที่บริเวณผิว รอยช้ำหรือรอยแผลที่เกิดขึ้นในระหว่างการเก็บเกี่ยวหรือการเตรียม เช่น การผ่าหรือหั่นทำให้เกิดการแพร่กระจายของจุลินทรีย์ไปทั่วบริเวณเนื้อผล อย่างเช่น สตอรอเบอร์รี่ ซึ่งเป็นผลไม้ที่มีเนื้อเยี่อบอบบาง ดังนั้น จึงมักไม่มีการฉีดล้างผลในระหว่างการปลูก การเก็บเกี่ยว และหลังการเก็บเกี่ยว จึงมักพบจุลินทรีย์ที่ผิวในปริมาณค่อนข้างสูง จากฐานวิจัยพบว่า E,coli O157: H7 สามารถเจริญบนผิวสตอรเบอร์รี่ที่เก็บที่อุณหภูมิ 10, 5 และ – 20 องศาเซลเซียส ได้เป็นเวลานาน 3 วัน และที่อุณหภูมิ 23 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง (Yu และคณะ , 2001) นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าแบคทีเรียที่มีความต้านทานต่อความเป็นกรดสูง จะสามารถรอดชีวิตได้ดีกว่าหรือพอๆ กับแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ที่ผิวผลไม้ เนื่องจากภายในเนี้อผลไม้มีสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญอย่างเพียงพอ ในขณะที่การเจริญที่ผิวถูกจำกัดโดยปริมาณสารอาหาร ความชื้นที่ต่ำ และการแย่งสารอาหารกัน เนื่องจากมีจุลินทรีย์หลายชนิดที่ผิว


การขนส่ง
การขนส่งผักผลไม้ก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน จะต้องมีการขนส่งที่เหมาะสม โดยส่วนใหญ่จะทำการขนส่งโดยรถที่ควบคุมอุณหภูมิและมีการหมุนเวียนอากาศดี ดังนั้น การจัดเรียงภาชนะบรรจุผักผลไม้จะต้องออกแบบให้เอื้อต่อการกระจายลมเย็น นอกจากนี้ผักผลไม้ยังมีการคายความร้อนจากกระบวนการหายใจ และรถยังมีการดูดความร้อนจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ทำให้อุณหภูมิภายในตู้คอนเทนเนอร์มีการระบายอากาศที่ไม่ดี จะเป็นสาเหตุทำให้ผักผลไม้เสื่อมคุณภาพและเน่าเสียเร็วยิ่งขึ้น (Brackett, 1999)


สรุป
การควบคุมการผลิตที่ดีที่สุด คือ การควบคุมกระบวนการเพาะปลูก และการป้องกันพืชจากแหล่งที่อาจก่อให้เกิดการปนเปื้อน และการเริ่มต้นทันทีเมื่อวัตถุดิบเข้าสู่กระบวนการผลิต กระบวนการผลิตขั้นต้นที่ดีจึงขึ้นกับวิธีการทำความสะอาดวัตถุดิบที่เหมาะสม เพื่อลดการปนเปื้อนที่ผิวให้ได้มากที่สุด ซึ่งขั้นตอนนี้รวมถึง การตรวจสอบวัตถุดิบ การคัดเลือกเอาส่วนเสียออก จนกระทั่งการเปลี่ยนถ่ายภาชนะบรรจุวัตถุดิบเพื่อการขนส่ง ลงสู่ภาชนะบรรจุที่สะอาด นอกจากนี้ยังต้องควบคุมในเรื่องของความสะอาดและการปฏิบัติในระหว่างกระบวนการผลิต การขนส่ง รวมไปถึงร้านค้าที่จำหน่าย เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้ยังคงคุณภาพและความปลอดภัยสำหรับการบริโภค



ที่มา : วารสารจาร์พา ปีที่ 10 ฉบับที่ 73 (กรกฎาคม/สิงหาคม 2546) หน้า 38-41

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
ฝ่ายเทคโนโลยีอาหาร
35 เทคโนธานี คลองห้า ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 10120
โทร.: (662) 577-9000, 577-9155-56
โทรสาร : (662) 577-9128, 577-9009


http://www.tistr-foodprocess.net/download/article/control_microorganism_th.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©