-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ศัตรูพืช นาข้าว....
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ศัตรูพืช นาข้าว....
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ศัตรูพืช นาข้าว....

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 26/05/2011 10:32 am    ชื่อกระทู้: ศัตรูพืช นาข้าว.... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ศัตรูพืช นาข้าว....


แมลงศัตรูในแปลงนา ระยะแตกกอ :
หนอนกอข้าว. หนอนห่อใบข้าว. เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล. หนอนปลอกข้าว.
แมลงบั่ว. แมลงดำหนาม. เพลี้ยจักจั่นสีเขียว. ด้วงดำ. แมลงหล่า.



กลุ่มหนอนกอข้าว (rice stem borers, SB)


หนอนกอข้าวสีครีม



หนอนกอแถบลาย



หนอนกอแถบลายสีม่วง



หนอนกอสีชมพู


หนอนกอทำลายข้าวตั้งแต่ข้าวเล็กจนถึงระยะข้าวออกรวง ในประเทศไทยมีรายงานพบ 4 ชนิด คือ หนอนกอสีครีม หนอนกอแถบลาย
หนอนกอแถบลายสีม่วง และหนอนกอสีชมพู

ลักษณะการทำลายและการระบาด :
หนอนกอข้าวทั้ง 4 ชนิด ทำลายข้าวลักษณะเดียวกันโดยหลังหนอนฟักจากไข่จะเจาะเข้าทำลายกาบใบก่อน ทำให้กาบใบมีสีเหลือง
หรือน้ำตาล ซึ่งจะเห็นเป็นอาการช้ำๆ เมื่อฉีกกาบใบดูจะพบตัวหนอน เมื่อหนอนโตขึ้นจะเข้ากัดกินส่วนของลำต้น ทำให้เกิดอาการใบ
เหี่ยวในระยะแรก ใบและยอดที่ถูกทำลายจะเหลืองในระยะต่อมา ซึ่งการทำลายในระยะข้าวแตกกอนี้ทำให้เกิดอาการ “ยอดเหี่ยว”
(deadheart) ถ้าหนอนเข้าทำลายในระยะข้าวตั้งท้องหรือหลังจากข้าวออกรวงจะทำให้เมล็ดข้าวลีบทั้งรวง รวงข้าวมีสีขาวเรียกอาการ
นี้ว่า“ข้าวหัวหงอก” (whitehead)


ต้นข้าวยอดเหี่ยว


ข้าวหัวหงอก


ลักษณะการทำลาย ของหนอนกอในข้าว ระยะแตกกอทำให้ยอดเหี่ยว ระยะออกรวงทำให้รวงข้าวสีขาวเมล็ดลีบ



การทำลายในอ้อย หนอนเจาะอ้อยระดับคอดิน กัดกินอยู่ภายในต้นอ้อย
ทำให้ยอดอ้อยแห้งตาย

หนอนกอข้าวเป็นแมลงศัตรูข้าวที่พบเป็นประจำในนาข้าว แต่มักจะไม่ทำความเสียหายข้าวลีบทั้งรวง รวงข้าวมีสีขาวเรียกอาการนี้ว่ารุนแรง
เช่น เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล พบปริมาณมากในฤดูนาปรัง การทำลายจึงสูงกว่าฤดูนาปี ผีเสื้อหนอนกอข้าวจะเคลื่อนย้ายเข้าสู่แปลงนาเมื่อ
ข้าวอายุระหว่าง 30-50 วัน การระบาดมากน้อยขึ้นกับสภาพแวดล้อมและฤดูการทำนาของสถานที่นั้นๆ สามารถเพิ่มปริมาณได้ 2-3 อายุ
ขัยต่อฤดูปลูก

พืชอาหาร :
ข้าว อ้อย ข้าวโพด ข้าวป่า หญ้าข้าวนก หญ้าตีนกา


ประสบการณ์ตรง :
เมื่อครั้งทดลองทำนาด้วยตัวเองที่ท้ายไร่กล้อมแกล้ม ช่วงข้าวเริ่มแตกกอ มีนกอีแอ่นถลาลมฝูงใหญ่ 20-30 ตัว เท่าที่นับได้ บินโฉบฉวัดเฉวียนหนือยอดข้าว รหัสสัญญานนี้บ่งบอกว่า ต้องมีแมลงอะไรสักอย่างที่ต้นข้าวอย่างแน่นอน นกอีแอ่นจึงโฉบลงไปจิกกิน ตรวจสอบถ้วนถี่ก็พบ มี "แม่ผีเสื้อหนอนกอ" เกาะตามใบข้าว ครั้นถอนต้นข้ามาผ่าดูภายในก็พบ หนอนตัวโตขนาดปลายไม้จิ้มฟัน ยาวประมาณ 1 ซม. สีขาว อยู่ที่ไส้ในใจกลางต้นข้าว บริเวณสูงกว่าผิวน้ำราว 1 ข้อนิ้วมือ

สั่งการให้ฉีดพ่นด้วย "สารสกัดหัวกลอย" ฉีดพ่น 3-4 รอบ ห่างกันวันเว้นวัน เพียงรอบแรกแค่วันรุ่งขึ้นเท่านั้น จำนวนนกอีแอ่นลดลงครึ่งหนึ่ง กระทั่งฉีดรอบสุดท้าย นกอีแอ่นหายไปหมด ก็แสดงว่าไม่มีแม่ผีเสื้อหนอนกอเหลืออยู่ให้เป็นเหยื่ออีกแล้ว

ลักษณะอาการต้นข้าวที่มีหนอนกออยู่ข้างใน ให้สังเกตุที่ "ใบธง" จะเหลืองโทรม เนื่องจากใบธงใบนั้นถูกดูดกินน้ำเลี้ยง

ขณะฉีดพ่น สังเกตุเห็นแม่ผีเสื้อบินขึ้นมาจากกอข้าวแล้วบินหนีไปทางด้านที่ยังไม่ได้ฉีด เมื่อฉีดไล่ไปเรื่อยๆ แม่ผีเสื้อก็หนีไปเรื่อยๆ เคยถามคนฉีดว่า ถ้าฉีดเต็มแปลงนี้แล้ว มันจะหนีไปทางไหน คนฉีดบอกว่า มันก็หนีไปอยู่แปลงข้างๆซิครับ

สรุป ฉีดพ่นสารสกัดจากหัวกลอย 4 รอบ เอาอยู่.....................................................(ลุงคิม)



เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (brown planthopper, BPH )
ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nilaparvata lugens (Stal)
วงค์ Delphacidae
อันดับ Homoptera
ชื่อสามัญอื่น -





วงจรชีวิตและระยะทำลายพืช
ไข่ ตัวอ่อน ตัวเต็มวัย

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เป็นแมลงจำพวกปากดูด อยู่ในอันดับ Homoptera วงค์ Delphacidae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nilaparvata l
ugens (Stal) ตัวเต็มวัยมีลำตัวสีน้ำตาลถึงสีน้ำตาลปนดำ มีรูปร่าง 2 ลักษณะ คือ ชนิดปีกยาว (macropterous form) และชนิด
ปีกสั้น (bracrypterous form) ชนิดมีปีกยาวสามารถเคลื่อนย้ายและอพยพไปในระยะทางใกล้และไกล โดยอาศัยกระแสลมช่วย
ตัวเต็มวัยเพศเมียจะวางไข่เป็นกลุ่ม ส่วนใหญ่วางไข่ที่กาบใบข้าว หรือเส้นกลางใบ โดยวางไข่เป็นกลุ่ม เรียงแถวตามแนวตั้งฉากกับกาบ
ใบข้าว บริเวณที่วางไข่จะมีรอยช้ำเป็นสีน้ำตาล ไข่มีลักษณะรูปกระสวยโค้งคล้ายกล้วยหอม มีสีขาวขุ่น ตัวอ่อนมี 5 ระยะ ระยะตัวอ่อน
16-17 วัน ตัวเต็มวัยเพศเมียชนิดปีกยาวมีขนาด 4-4.5 มิลลิเมตร วางไข่ประมาณ 100 ฟอง เพศผู้มีขนาด 3.5-4 มิลลิเมตร
เพศเมียชนิดปีกสั้นวางไข่ประมาณ 300 ฟอง ตัวเต็มวัยมีชีวิตประมาณ 2 สัปดาห์ ในหนึ่งฤดูปลูกข้าวเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสามารถ
เพิ่มปริมาณได้ 2-3 อายุขัย (generation)


ตัวเต็มวัยชนิดปีกสั้นและปีกยาว


ตัวอ่อนเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล


ลักษณะการทำลาย
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยทำลายข้าวโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากเซลส์ท่อน้ำท่ออาหารบริเวณโคนต้นข้าวระดับเหนือ
ผิวน้ำ ทำให้ต้นข้าวมีอาการใบเหลืองแห้งลักษณะคล้ายถูกน้ำร้อนลวก แห้งตายเป็นหย่อมๆเรียก “ อาการไหม้ ( hopperburn )” โดยทั่ว
ไปพบอาการไหม้ในระยะข้าวแตกกอถึงระยะออกรวง ซึ่งตรงกับช่วงอายุขัยที่ 2-3 ( generation ) ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว
นาข้าวที่ขาดน้ำตัวอ่อนจะลงมาอยู่ที่บริเวณโคนกอข้าวหรือบนพื้นดินที่แฉะมีความชื้น นอกจากนี้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ยังเป็นพาหะนำ
เชื้อไวรัสโรคใบหงิก ( rice ragged stunt ) มาสู่ต้นข้าวทำให้ต้นข้าวมีอาการแคระแกร็น ต้นเตี้ย ใบสีเขียว แคบและสั้น ใบแก่ช้ากว่า
ปรกติ ปลายใบบิด เป็นเกลียว และ ขอบใบแหว่งวิ่น


ลักษณะการระบาดรุนแรงในนา


อาการไหม้ ( hopperburn ) ของต้นข้าว



ต้นข้าวที่เป็นโรคใบหงิก ( rice ragged stunt )


ปัจจัยที่มีผลต่อการระบาด
วิธีการปลูกข้าว การปลูกข้าวแบบนาหว่านน้ำตมมีปัญหาการระบาดมากกว่านาดำเพราะนาหว่านมีจำนวนต้นข้าวหนาแน่น ทำให้อุณหภูมิ
และความชื้นในแปลงนาเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ประกอบกับนาหว่านเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสามารถทำ
ลายข้าวได้อย่างต่อเนื่อง

การใช้ปุ๋ย
การใช้ปุ๋ยอัตราสูง โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจน ทำให้การเพิ่มจำนวนเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าวมีแนวโน้มมากขึ้น เนื่องจากปุ๋ยไน
โตรเจน ทำให้ใบข้าวเขียว หนาแน่น ต้นข้าวมีสภาพอวบน้ำเหมาะแก่การเข้าดูดกินและขยายพันธุ์ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล


การควบคุมน้ำในนาข้าว
สภาพนาข้าวที่มีน้ำขังในนาตลอดเวลา ทำให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสามารถเพิ่มจำนวนได้มากกว่าสภาพที่มีการระบายน้ำ
ในนาออกเป็นครั้งคราว เพราะมีความชื้นเหมาะแก่การเจริญเติบโตของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล


การใช้สารฆ่าแมลง
การใช้สารฆ่าแมลงในระยะที่เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเป็นตัวเต็มวัยชนิดปีกยาวหรือช่วงที่อพยพเข้าในนาข้าวใหม่ๆ (ข้าวระยะ
30 วันหลังหว่าน ) ศัตรูธรรมชาติจะถูกทำลายและสารฆ่าแมลงก็ไม่สามารถทำลายไข่ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้ ทำให้ตัว
อ่อนที่ฟักออกจากไข่มีโอกาสรอดชีวิตสูง


ศัตรูธรรมชาติที่มีบทบาทในการควบคุมประชากรเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ได้แก่ มวนเขียวดูดไข่ Cyrtorhinus lividipennis (Reuter)
เป็นตัวห้ำในอันดับ Hemiptera วงค์ Miridae เป็นตัวห้ำที่สำคัญทำลายไข่เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โดยการดูดกินของเหลวภายในไข่
มักพบแพร่กระจายในภาคกลางเป็นส่วนใหญ่และอพยพเข้ามาพร้อมกับเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ซึ่งถ้าพบมวนชนิดนี้ในนามากกว่า
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล 2-3 เท่า มวนชนิดนี้สามารถควบคุมการเพิ่มปริมาณของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลโดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย
แก่ผลผลิตข้าวได้

แมงมุมสุนัขป่า Lycosa psuedoannulata (Bosenberg & Strand)
เป็นแมงมุมในอันดับ Araneae วงค์ Lycosidae เป็นตัวห้ำที่มีบทบาทมากที่สุดในการควบคุมปริมาณตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของเพลี้ย
กระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว เนื่องจากสามารถเคลื่อนย้ายไปมาในพื้นที่ต่างๆในนา โดยจะเคลื่อนย้ายเข้าในนาระยะหลังหว่านข้าวและ
จะเพิ่มปริมาณสูงในระยะข้าวแตกกอ




การบริหารจัดการเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
1) ปลูกข้าวพันธุ์ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เช่น สุพรรณบุรี 1 สุพรรณบุรี 2 สุพรรณบุรี 90 สุพรรณบุรี 60 ปทุมธานี 1, พิษณุโลก 2,
ชัยนาท 1, และชัยนาท 2 และไม่ควรปลูกพันธุ์เดียวติดต่อกันเกิน 4 ฤดูปลูก ควรปลูกสลับกันระหว่างพันธุ์ต้านทานสูงกับพันธุ์ทนทาน
หรือพันธุ์อ่อนแอปานกลาง โดยพิจารณาอายุเก็บเกี่ยวให้ใกล้เคียงกัน เพื่อลดความเสียหายเมื่อเกิดการระบาดรุนแรง

2) ในแหล่งที่มีการระบาด และควบคุมระดับน้ำในนาได้ หลังปักดำหรือหว่าน 2-3 สัปดาห์จนถึงระยะตั้งท้องควบคุมน้ำในแปลงนาให้
พอดินเปียก หรือมีน้ำเรี่ยผิวดินนาน 7-10 วัน แล้วปล่อยขังทิ้งไว้ให้แห้งเองสลับกันไป จะช่วยลดการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

3) เมื่อตรวจพบสัดส่วนของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลตัวเต็มวัยต่อมวนเขียวดูดไข่ระหว่าง 6 :1- 8 :1 หรือตัวอ่อนระยะ 1-2 เมื่อ
ข้าวอายุ 30-45 วัน จำนวนมากกว่า 10 ตัวต่อต้น ให้ใช้สารฆ่าแมลง บูโพรเฟซิน (แอปพลอด 10% ดับบลิวพี) อัตรา 25 มิลลิกรัม
ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นหรือใช้สาร อีโทเฟนพรอกซ์ (ทรีบอน 10% อีซี) อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ บูโพรเฟซิน/ไอโซ
โปรคาร์บ (แอปพลอด/มิพซิน 5%/20% ดับบลิวพี) อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นเมื่อพบแมลงส่วนใหญ่เป็นตัวเต็มวัยจำนวน
มากกว่า 1 ตัวต่อต้น ในระยะข้าวตั้งท้องถึงออกรวงใช้สาร อิมิดาโคลฟริด (คอนฟิดอร์ 10% เอสแอล) อัตรา 15 มิลลิลิตรต่อ
น้ำ 20 ลิตร

4) ไม่ควรใช้สารฆ่าแมลงที่ทำให้เกิดการเพิ่มระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ( resurgence ) หรือสารกลุ่มไพรีทรอยด์
สังเคราะห์ เช่น แอลฟาไซเพอร์มิทริน ไซเพอร์มิทริน ไซแฮโลทริน เดคาเมทริน เอสเฟนแวเลอเรต เพอร์มิทริน ไตรอะโซฟอส
ไซยาโนเฟนฟอส ไอโซซาไทออน ไฟริดาเฟนไทออน ควินาลฟอส และ เตตระคลอร์วินฟอส เป็นต้น

สารเคมีที่ใช้ควบคุม
- คาร์แทป + ไอโซโพรคาร์บ 5 กิโลกรัม/ไร่
- อิมิดาโคลพริด 15-30 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร
- บูโพรเฟซิน + ไอโซโปร์คาร์บ 50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
- ไอโซโปร์คาร์ 60 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
- บูโพรเฟซิน 20-30 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
- อีทิโพรล 40 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร




แมลงบั่ว (rice gall midge, RGM)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Orseolia oryzae (Wood-Mason)
วงศ์ Cecidomyiidae
อันดับ Diptera
ชื่อสามัญอื่น -




วงจรชีวิตและระยะทำลายพืช :
ไข่ หนอน ดักแด้ ตัวเต็มวัย

ตัวเต็มวัยของแมลงบั่ว มีลักษณะคล้ายยุงแต่ลำตัวมีสีส้มยาวประมาณ 3-4 มิลลิเมตรหนวด และขามีสีดำ เวลากลางวันตัว
เต็มวัยจะเกาะซ่อนตัวอยู่ใต้ใบข้าว บริเวณกอข้าวและจะบินไปหาที่มีแสงไฟเพื่อผสมพันธุ์ ตัวเมียวางไข่ใต้ใบข้าวเป็นส่วนใหญ่ในตอน
กลางคืนโดยวางเป็นฟองเดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่ม ไข่มีลักษณะคล้ายกล้วยหอม สีชมพูอ่อน ยาวประมาณ 0.45 มิลลิเมตร กว้าง 0.09
มิลลิเมตร ระยะไข่ประมาณ 3-4 วัน ตัวหนอนที่ฟักจากไข่จะคลานตามบริเวณกาบใบเพื่อแทรกตัวเข้าไปในกาบใบ เข้าไปอาศัย
กัดกินที่จุดกำเนิดของหน่ออ่อน (growing point) หนอนมี 3 ระยะ ระยะหนอนนาน 11 วัน ขณะที่หนอนอาศัยกัดกินหน่ออ่อน
นั้น ต้นข้าวจะสร้างหลอดหุ้มตัวหนอนไว้ ทำให้ข้าวแสดงอาการ ที่เรียกว่า “หลอดบั่ว หรือ หลอดธูป” หนอนก็เจริญและเข้าดัก
แด้ภายในหลอดข้าวนั้น โดยระหว่างที่หนอนโตขึ้นหลอดก็จะมีขนาดใหญ่และยืดออก และเมื่อหนอนเข้าดักแด้ หลอดนั้นก็จะ
ยืดโผล่พ้นกาบใบข้าวจนมองเห็นจากภายนอกได้ ระยะดักแด้นาน 6 วัน เมื่อดักแด้ใกล้จะฟักออกเป็นตัวเต็มวัยจะเคลื่อนย้ายมา
อยู่ส่วนปลายของหลอดข้าวนั้น และเจาะออกเป็นตัวเต็มวัยที่ปลายหลอดนั่นเอง พร้อมทั้งทิ้งคราบดักแด้ไว้ที่รอยเปิดนั้น ระยะ
ตัวเต็มวัยนาน 2-3 วันฤดูหนึ่งบั่ว สามารถขยายพันธุ์ได้ 6-7 ชั่วอายุๆที่ 2, 3 และ 4 จะเป็นชั่วอายุที่สามารถทำความเสียหายให้
ข้าวได้มากที่สุด


ระยะการเจริญเติบโตของแมลงบั่ว


ลักษณะการทำลายและการระบาด :
แมลงบั่วเป็นแมลงศัตรูข้าวที่สำคัญในภาคเหนือตอนบน เช่นที่ จังหวัดตาก แพร่ ลำปาง น่าน พะเยา แม่ฮ่องสอน เชียงราย
และเชียงใหม่ ซึ่งพบระบาดรุนแรงในช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ จังหวัดขอนแก่น อุบลราชธานี
หนองคาย นครพนม และสกลนครเนื่องจากมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะต่อการเพิ่มปริมาณของแมลงบั่ว กล่าวคือ มีความชื้นสูง
มีพื้นที่เป็นเขาหรือเชิงเขาล้อมรอบ ทั้งนี้เพราะความชื้นมีความสัมพันธ์โดยตรงกับการวางไข่ จำนวนไข่ การฟักไข่ การอยู่รอด
หลังจากฟักจากไข่ของหนอนและการเข้าทำลายยอดข้าวอ่อนเหตุที่สภาพภูมิอากาศเป็นตัวกำหนดการเพิ่มปริมาณของแมลงบั่ว
จึงทำให้ในภาคกลางแมลงบั่วเป็นแมลงศัตรูข้าวที่มีความสำคัญน้อย โดยพบบางปี ในจังหวัดฉะเชิงเทรา สุพรรณบุรี และปทุม
ธานี ภาคตะวันออกที่จังหวัดตราดและจันทบุรี ภาคใต้ที่จังหวัด ชุมพร และสุราษฎร์ธานี

ตัวเต็มวัยแมลงบั่วจะเข้าแปลงนาตั้งแต่ระยะกล้า หรือช่วงระยะเวลา 25-30 วัน เพื่อวางไข่หลังจากฟักออกตัวหนอนจะคลานลงสู่
ซอกของใบยอดและกาบใบเพื่อเข้าทำลายยอดที่กำลังเจริญทำให้เกิดเป็นหลอดลักษณะคล้ายหลอดหอม ต้นข้าวและกอข้าว
ที่ถูกทำลายจะมีอาการแคระแกร็น เตี้ย ลำต้นกลม มีสีเขียวเข้ม ยอดที่ถูกทำลายไม่สามารถออกรวงได้ ทำให้ผลผลิตข้าวลดลง
มาก ระยะข้าวแตกกอจะเป็นระยะที่บั่วเข้าทำลายมาก เมื่อข้าวเกิดช่อดอก (primodia) แล้วจะไม่ถูกหนอนบั่วทำลาย

ตัวหนอนเข้าทำลายจุดกำเนิดของหน่อข้าว หน่อข้าวจะสร้างหลอดหุ้มตัวหนอนมีลักษณะคล้ายหลอดหอม ต้นที่ถูกทำลายจะ
ไม่ออกรวง



ลักษณะการทำลายของแมลงบั่ว


พืชอาหาร :
ข้าว ข้าวป่า หญ้าไซ หญ้าปล้องเขียว หญ้าปล้องหิน หญ้าชันกาดและหญ้าตีนติด

การป้องกันกำจัด :
1) ขจัดวัชพืชรอบแปลงนา เช่น ข้าวป่า หญ้าข้าวนก หญ้าไซ หญ้าแดง หญ้าชันกาด และหญ้านกสีชมพู ก่อนตกกล้าหรือ
หว่านข้าวเพื่อทำลายพืชอาศัยของแมลงบั่ว

2) ภาคเหนือ ควรปลูกข้าวหรือปักดำช่วงวันที่ 15 กรกฎาคม - สิงหาคม หรือปรับวิธีปลูกโดยการปักดำ 2 ครั้ง เพื่อลดความรุน
แรงที่เกิดจากการทำลายของแมลงบั่ว หลังปักดำจนถึงข้าวอายุ 45 วัน ส่วน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ควรปลูกหรือปักดำระหว่าง
เดือนมิถุนายน – 15 กรกฎาคม

3) ไม่ควรปลูกข้าวโดยวิธีหว่านหรือปักดำถี่ (ระยะปักดำ 10 x 15 และ 15 x 15 เซนติเมตร) ในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคตะวัน
ออกเฉียงเหนือ ที่มีการระบาดของแมลงบั่วเป็นประจำ

4) ทำลายตัวเต็มวัยที่บินมาเล่นแสงไฟตามบ้านช่วงเวลาตั้งแต่ 19:00-21:00 น. โดยใช้ไม้ตีแมลงวัน

5) ไม่ควรใช้สารฆ่าแมลงใดๆ ในการป้องกันกำจัดแมลงบั่วเนื่องจากไม่ได้ผลและยังทำลายศัตรูธรรมชาติ







เพลี้ยจักจั่นสีเขียว (green rice leafhopper)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Nephotettix virescens (Distant)
วงศ์ : Cicadellidae
อันดับ : Homoptera
ชื่อสามัญอื่น : -


ลักษณะการทำลายของเพลี้ยจักจั่นสีเขียว โดยเป็นพาหะนำโรคใบสีส้ม


วงจรชีวิตและระยะทำลายพืช :
ไข่ ตัวอ่อน ตัวเต็มวัย

ความสำคัญและลักษณะการทำลาย :
ศัตรูของข้าว พบในข้าวนาปีมากกว่านาปรัง ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบข้าว และเป็นแมลงพาหะนำโรคใบสีส้มมาสู่ข้าว

พืชอาหาร :
ข้าว หญ้าข้าวนก หญ้าไซ ข้าวป่า

การป้องกันกำจัด :
1). ใช้แสงไฟล่อแมลงและทำลาย
2). ปลูกข้าวพร้อม ๆ กัน และปล่อยพื้นนาว่างไว้ระยะหนึ่ง เพื่อตัดวงจรชีวิตของแมลง
3). ใช้สารฆ่าแมลง ตามคำแนะนำ





แมลงหล่า (rice black bug หรือ Malayan black bug)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scotinophara coarctata (Fabricius)
วงค์ Pentatomidae
อันดับ Hemiptera
ชื่อสามัญอื่น : เพลี้ยหล่า กือซืงฆูรอ กูฆอ อีบู




วงจรชีวิตและระยะทำลายพืช :
ไข่ ตัวอ่อน ตัวเต็มวัย

แมลงหล่าเป็นแมลงอยู่อันดับ Hemiptera วงค์ Pantatomidae เป็นมวนชนิดหนึ่ง มีลักษณะค่อนข้างกลมคล้ายโล่ห์ ด้าน
หัวและอกเป็นรูปสามเหลี่ยม ลำตัวมีสีน้ำตาลหรือดำเป็นมันวาว ยาว 7-8 มิลลิเมตร กว้าง 4-5 มิลลิเมตร เพศผู้มีขนาดเล็กกว่า
เพศเมีย ชอบอาศัยรวมกลุ่มที่โคนต้นข้าวเหนือระดับน้ำในตอนกลางวัน ส่วนกลางคืนจะเคลื่อนย้ายขึ้นบนต้นข้าว เพศเมียวาง
ไข่ประมาณ 200 ฟอง โดยวางไข่เป็นกลุ่ม จำนวน 20-26 ฟองต่อกลุ่ม เรียงเป็นแถวขนานกัน วางไข่ที่ใบข้าวบริเวณโคนต้น
ข้าวใกล้ระดับผิวน้ำ หรือบางครั้งอาจจะวางบนพื้นดิน ไข่มีสีชมพูแกมเขียว ระยะไข่ 4-6 วัน ตัวอ่อนมี 6 ระยะ ตัวอ่อนมีสีน้ำตาล
และสีเหลืองกับจุดสีดำ ระยะตัวอ่อน 20-30 วัน ตัวอ่อนมีพฤติกรรมเหมือนตัวเต็มวัย คือหลบซ่อนอยู่ที่โคนต้นข้าวหรือตาม
รอยแตกของพื้นดินในตอนกลางวันและหากินในตอนกลางคืน ตัวเต็มวัยมีอายุนานถึง 214 วัน อยู่ข้ามฤดูหนาวหรือฤดูแล้ง
โดยฟักตัวอยู่ในร่องระแหงดินในที่มีหญ้าขึ้น เมื่อสภาพภูมิอากาศเหมาะสมจะบินเข้าแปลงนา และขยายพันธุ์หลายรุ่น มีการพัก
ตัวหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ตัวเต็มวัยสามารถอพยพได้ระยะทางไกลๆ

ลักษณะการทำลายและความรุนแรงของการระบาด :
ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากกาบใบข้าวบริเวณโคนต้นข้าว ทำให้บริเวณที่ถูกทำลายเป็นสีน้ำตาลแดงหรือเหลือง ขอบ
ใบข้าวเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำคล้ายข้าวเป็นโรคไหม้ ตามข้อของลำต้นข้าวเป็นบริเวณที่แมลงหล่าชอบเพราะเป็นแหล่งที่มี
น้ำเลี้ยงมาก การทำลายในระยะข้าวแตกกอทำให้ต้นข้าวที่อยู่กลางๆ กอข้าวมีอาการแคระแกร็น มีสีเหลืองหรือเหลืองแกมน้ำตาล
และการแตกกอลดลง ถ้าทำลายหลังระยะข้าวตั้งท้องทำให้รวงข้าวแกร็น ออกรวงไม่สม่ำเสมอและรวงข้าวมีเมล็ดลีบ ต้นข้าว
อาจเหี่ยวตายได้ ถ้ามีแมลงจำนวนมากทำให้ต้นข้าวแห้งไหม้คล้ายกับถูกเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทำลาย แมลงหล่าทำลาย
ได้ทุกระยะการเจริญเติบโต


อาการต้นข้าวที่ถูกแมลงหล่าทำลาย


สภาพนาข้าวที่มีการระบาดรุนแรง


แมลงหล่ามักพบระบาดในข้าวนาสวน นาชลประทานพบมากกว่านาน้ำฝน พบในนาหว่านมากกว่านาดำ เนื่องจากความหนาแน่น
ของต้นข้าวนาหว่านมีมากกว่านาดำ ซึ่งเป็นสภาพที่เหมาะแก่การอยู่อาศัย โดยทั่วไปแมลงหล่าชอบสภาพที่ร่มและเย็น ในฤดูนา
ปีการระบาดมีมากกว่านาปรัง พบระบาดเป็นครั้งคราวในบางท้องที่ แต่การระบาดแต่ละครั้งมักทำความเสียหายรุนแรง ดังเช่น ปี
พ.ศ.2538-2539 มีรายงานการระบาดของแมลงหล่าที่อำเภอเมือง อำเภอตากใบ อำเภอระแงะ และ กิ่งอำเภอบาเจาะ เป็นพื้น
ที่ 36,335 ไร่ โดยเฉพาะที่อำเภอตากใบระบาดถึง 23,151 ไร่ ในปี พ.ศ.2542 แมลงหล่าระบาดทำความเสียหายแก่ข้าวใน
หลายท้องที่ของภาคใต้ โดยเฉพาะที่จังหวัดนราธิวาส พบระบาดถึง 22,000 ไร่ สาเหตุการระบาดของแมลงหล่าในจังหวัด
นราธิวาส ไม่สามารถชี้ชัดว่ามาจากสาเหตุใด แต่มีข้อสังเกตว่าพบระบาดในพื้นที่ที่เกิดน้ำท่วม และโดยทั่วไปเกษตรกรไม่มี
การใช้สารฆ่าแมลงในการปลูกข้าว พันธุ์ข้าวที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์พื้นเมือง ในปี พ.ศ.2545 พบระบาดที่อำเภอหนองเสือ
จังหวัดปทุมธานี แต่ไม่รุนแรงนัก และ ปี พ.ศ.2546 พบระบาดที่อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา ในข้าวอายุประ
มาณ 45 วัน ปี 2547 พบระบาดในนาข้าวของเกษตรกรที่คลองแปด และ คลองสิบสี่ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ในข้าว
ระยะแตกกอเต็มที่จนถึงระยะออกรวง ทำให้ตันข้าวแห้งตาย ผลผลิตเสียหาย คาดว่าแมลงชนิดนี้จะเริ่มมีความสำคัญในนาข้าว
บริเวณนี้เนื่องจากพบระบาดทำความเสียหายมาจนถึงปี 2548

พืชอาหาร :
ข้าวป่า หญ้าชันกาด ข้าวโพด

การป้องกันกำจัด :
1) ใช้แสงไฟฟ้าล่อแมลงและทำลายในช่วงที่มีการระบาด เนื่องจากแมลงหล่าชอบบินมาเล่นแสงไฟเวลากลางคืน

2) ปลูกข้าวที่มีอายุเก็บเกี่ยวสั้นเพื่อลดการเพิ่มประชากรในนาข้าว

3 ) กำจัดวัชพืชที่ขึ้นหนาแน่นในนาข้าว เพื่อให้นาข้าวโปร่ง แสงแดดส่องถึงโคนต้นข้าว ทำให้สภาพนาข้าวไม่เหมาะแก่การ
อยู่อาศัยของแมลงหล่า

4 ) หมั่นตรวจนาข้าวสม่ำเสมอหรือทุกสัปดาห์ ถ้าพบแมลงหล่ามากกว่า 5 ตัวต่อกอหรือกลุ่มข้าว ควรใช้สารฆ่าแมลง คาร์โบ
ซัลแฟน (พอสซ์ 20% อีซี) อัตรา 80 มิลลิเมตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นเฉพาะจุดที่มีการระบาด โดยพ่นบริเวณโคนต้นข้าว





หนอนห่อใบข้าว (rice leaffolder, LF)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cnaphalocrocis medinalis (Guenee)
วงศ์ : Pyralidae
อันดับ : Lepidoptera
ชื่อสามัญอื่น : หนอนม้วนใบข้าว หนอนกินใบข้าว



วงจรชีวิตและระยะทำลายพืช :
ไข่ หนอน ดักแด้ ตัวเต็มวัย

ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนปีกสีน้ำตาลอ่อนมีแถบสีดำพาดที่ปลายปีก ตรงกลางปีกมีแถบสีน้ำตาลพาดขวาง 2-3 แถบ เมื่อเกาะ
ใบข้าวปีกจะหุบเป็นรูปสามเหลี่ยม มักเกาะอยู่ในที่ร่มใต้ใบข้าว ตัวเมียวางไข่บนใบข้าว ขนานตามแนวเส้นใบและสามารถมอง
เห็นด้วยตาเปล่า ไข่มีสีขาวขุ่นค่อนข้างแบนเป็นกลุ่ม แต่บางครั้งก็วางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆ ระยะไข่ 4-6 วัน หนอนที่ฟักจากไข่
ใหม่ๆมีสีขาวใส หัวมีสีน้ำตาลอ่อน หนอนโตเต็มที่มีสีเขียวแถบเหลือง หัวสีน้ำตาลเข้ม หนอนมี 5-6 ระยะ ส่วนใหญ่มี 5 ระยะ
หนอนวัยที่ 5 เป็นวัยที่กินใบข้าวได้มากที่สุด ระยะหนอน 15-17 วัน หนอนเข้าดักแด้ในใบข้าวที่ห่อตัวนั้น ระยะดักแด้ 4-8 วัน


ระยะการเจริญเติบโตของหนอนห่อใบข้าว



ลักษณะการทำลายและการระบาด :
ผีเสื้อหนอนห่อใบข้าวจะเคลื่อนย้ายเข้าแปลงนา ตั้งแต่ข้าวยังเล็กและวางไข่ที่ใบอ่อน โดยเฉพาะใบที่ 1-2 จากยอด เมื่อตัว
หนอนฟักออกมาจะแทะผิวใบข้าวส่วนที่เป็นสีเขียว ทำให้เห็นเป็นแถบยาวสีขาว มีผลให้การสังเคราะห์แสงลดลง หนอนจะใช้ใย
เหนียวที่สกัดจากปาก ดึงขอบใบข้าวทั้งสองด้านเข้าหากันเพื่อห่อหุ้มตัวหนอนไว้หนอนจะทำลายใบข้าวทุกระยะการเจริญ
เติบโตของข้าวถ้าหนอนมีปริมาณมากจะใช้ใบข้าวหลายๆ ใบมาห่อหุ้มและกัดกินอยู่ภายใน ซึ่งปกติจะพบตัวหนอนเพียงตัวเดียว
ในใบห่อนั้น ในระยะข้าวออกรวงหนอนจะทำลายใบธงซึ่งมีผลต่อผลผลิตเพราะทำให้ข้าวมีเมล็ดลีบ น้ำหนักลดลง หนอนห่อ
ใบสามารถเพิ่มปริมาณได้ 2-3 อายุขัยต่อฤดูปลูก พบระบาดในนาเขตชลประทาน โดยเฉพาะแปลงข้าวที่ใส่ปุ๋ยอัตราสูง หนอน
ใช้ใบข้าวห่อหุ้มตัวและกัดกินอยู่ภายใน บริเวณที่ถูกทำลายจะเป็นทางขาวยาวขนานกับเส้นกลางใบ ทำให้การสังเคราะห์แสง
ของต้นข้าวลดลง


ใบข้าวที่แสดงอาการจากการทำลาย


ลักษณะการทำลายของหนอนห่อใบข้าว

พืชอาหาร :
ข้าว ข้าวป่า ข้าวโพด ข้าวฟ่าง อ้อย หญ้าข้าวนก หญ้าคา หญ้าชันกาด หญ้าไซ หญ้าตีนกา หญ้าตีนนก หญ้าปล้องหิน หญ้าตีนติด

การป้องกันกำจัด :
1) ในพื้นที่ที่มีการระบาดเป็นประจำควรปลูกข้าว 2 พันธุ์ขึ้นไป โดยปลูกสลับพันธุ์กัน จะช่วยลดความรุนแรงของการระบาด

2) กำจัดพืชอาศัย เช่น หญ้าข้าวนก หญ้านกสีชมพู หญ้าปล้อง หญ้าไซ หญ้าชันกาด และข้าวป่า

3) ไม่ควรใช้สารฆ่าแมลงชนิดเม็ดและสารกลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์หรือสารผสมสารไพรีทรอด์สังเคราะห์ ในข้าวอายุหลัง
หว่าน 40 วัน เพราะศัตรูธรรมชาติจะถูกทำลาย ทำให้เกิดการระบาดของหนอนห่อใบข้าวรุนแรงได้ในระยะข้าวตั้งท้อง-ออกรวง

4) เมื่อเริ่มมีการระบาดของหนอนห่อใบในแปลงข้าว ไม่ควรใช้ปุ๋ยไนโตรเจนเกิน 5 กิโลกรัมต่อไร่ หรือปุ๋ยยูเรียไม่เกิน 10 กิโลกรัม
ต่อไร่ ควรแบ่งใส่ปุ๋ยในช่วงข้าวกำลังเจริญเติบโตและลดปริมาณปุ๋ยที่ใส่ โดยปุ๋ยสูตร 16-20-0 ใส่ไม่เกิน 30 กิโลกรัมต่อไร่

5) เมื่อตรวจพบผีเสื้อหนอนห่อใบข้าว 4-5 ตัวต่อตารางเมตร และพบใบข้าวถูกทำลายมากกว่า 15 เปอร์เซ็นต์ในข้าวอายุ
15-40 วัน ใช้สารฆ่าแมลงประเภทดูดซึม เช่น ไฟโพรนิล (แอสเซนด์ 5% เอสซี) อัตรา 30-50 มิลลิเมตรต่อน้ำ 20 ลิตร
สารเบนซัลแทป (แบนคอล 50% ดับบลิวพี) อัตรา 10-20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร และสาร คาร์โบซัลแฟน (พอสซ์ 20%
อีซี) อัตรา 80-110 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร เฉพาะพื้นที่มีใบถูกทำลายจนเห็นรอยขาวๆ

สารเคมีที่ใช้ควบคุม :
พิโปรนิล 40 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร
คาร์โบซัลแฟน 80 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร




หนอนปลอกข้าว (rice caseworm)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Nymphula depunctalis Guenee
วงศ์ : Pyralidae
อันดับ : Lepidoptera
ชื่อสามัญอื่น : หนอนขยอก



วงจรชีวิตและระยะทำลายพืช :
ไข่ หนอน ดักแด้ ตัวเต็มวัย

ความสำคัญและลักษณะการทำลาย :
ระบาดเป็นครั้งคราว หนอนกัดกินปลายใบและทำปลอกหุ้มตัว และลอยไปตามน้ำ โดยลมช่วยพัดพาไป ทำให้แพร่ระบาด
ไปทั่วแปลงนา

พืชอาหาร :
ข้าว หญ้าข้าวนก หญ้าไซ หญ้าปล้องหิน หญ้าไม้กวาด

การป้องกันกำจัด :
1). ระบายน้ำออกจากแปลงนา เพื่อทำลายตัวหนอน และระงับการแพร่ระบาดในนาข้าว
2). ใช้สารฆ่าแมลง ตามคำแนะนำ





แมลงดำหนาม (rice hispa)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dicladispa armigera (Olivier)
วงศ์ : Chrysomelidae
อันดับ : Coleoptera
ชื่อสามัญอื่น : -




วงจรชีวิตและระยะทำลายพืช :
ไข่ หนอน ดักแด้ ตัวเต็มวัย

ความสำคัญและลักษณะการทำลาย :
พบระบาดเป็นครั้งคราว หนอนกัดกินภายในใบข้าว คล้ายหนอนชอนใบ ตัวเต็มวัยกัดกินผิวใบข้าวด้านบน ทำให้เกิดเป็นรอย
ขูดเป็นทางสีขาวยาวขนานกับเส้นกลางใบ

พืชอาหาร :
ข้าว หญ้าข้าวนก หญ้าตีนนก อ้อย

การป้องกันกำจัด :
1). ปลูกข้าวถี่ให้มีใบข้าวหนาแน่น สามารถทนต่อการทำลายของแมลงได้
2). ไม่ใช้ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป
3). เก็บใบข้าวที่ถูกหนอนห่อใบทำลาย นำไปเผาไฟเพื่อฆ่าตัวหนอนที่อยู่ภายในใบข้าว





ด้วงดำ (Scarab Beetle)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Heteronychus lioderes และ Alissonotum cribratellum
วงศ์ : Scarabaeidae
อันดับ : Coleoptera
ชื่อสามัญอื่น : -




วงจรชีวิตและระยะทำลายพืช :
ไข่ ตัวหนอน ดักแด้ ตัวเต็มวัย

ความสำคัญและลักษณะการทำลาย :
ด้วงดำเป็นแมลงศัตรูข้าวสำคัญของข้าวไร่และข้าวนาน้ำฝนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยเฉพาะในเขต
ทุ่งกุลาร้องไห้ นาข้าวที่พบระบาดรุนแรงจากการสำรวจเป็นพื้นที่ที่มีการหว่านข้าวแห้งเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ และหว่านข้าว
เร็วกว่าฤดูปลูกปรกติ โดยหว่านข้าวในช่วงปลายเดือนเมษายน ถึงมิถุนายน ซึ่งสอดคล้องกับปริมาณด้วงดำที่พบมาเล่นแสง
ไฟในกับดักที่ติดตั้งไว้ ลักษณะการทำลายของด้วงดำ H. lioderes จะกัดกินส่วนอ่อนของต้นข้าวที่ชิดติดกับรากข้าวแต่อยู่
ในดิน ที่เรียกว่า mesocotyl นอกจากต้นข้าวแล้วด้วงชนิดนี้ยังสามารถกัดกินวัชพืชพวกกก และวัชพืชในนาที่ขึ้นปะปน
กับข้าวด้วย โดยลักษณะการทำลายจะเหมือนกับในข้าว ต้นข้าวที่ยังเล็กอายุประมาณ 2-3 สัปดาห์ จะเสียหายมากเนื่อง
จากต้นกล้าข้าวยังไม่ทันตั้งตัวเมื่อถูกด้วงชนิดนี้ทำลายจะเหี่ยวและเแห้งตาย คล้ายอาการเพลี้ยไฟทำลายแต่การแพร่กระจาย
ไม่เหมือน เมื่อถอนต้นข้าวขึ้นมารากข้าวจะหลุดทำให้เข้าใจว่าด้วงชนิดนี้ทำลายรากข้าวด้วย แต่ ถ้าใช้วิธีขุดต้นข้าวที่แสดงอา
การใบเหลือง เหี่ยว จะพบว่ารากข้าวไม่ถูกกัดกินแต่อย่างไร ด้วงดำจะเคลื่อนย้ายทำลายข้าวต้นอื่นๆโดยการทำโพรงอยู่ใต้
ดินในระดับใต้รากข้าวทำให้เห็นรอยขุยดินเป็นแนว ส่วนใหญ่มักพบตัวเต็มวัยของด้วงดำชนิดนี้ 1 ตัวต่อจุดที่ขุดสำรวจ และ
พบไข่มีลักษณะกลมสีขาวขุ่นขนาดเท่าเม็ดสาคูขนาดเล็ก 5-6 ฟอง ลักษณะการแพร่กระจายไม่แน่นอน

พืชอาหาร :
ข้าว พืชตระกูลหญ้าและพวกกก

การป้องกันกำจัด :
1. ควรหว่านข้าวตามฤดูกาล (สิงหาคม) ไม่ควรหว่านช่วงระหว่างปลายเมษายนถึงต้นมิถุนายน เพื่อหลีกเลี่ยงตัวเต็มวัยของ
ด้วงดำที่ฟักออกจากดักแด้ในดินหลังฝนแรกของฤดู

2. ล่อและทำลายตัวเต็มวัยของด้วงดำ โดยใช้หลอดไฟชนิดแบล็กไลท์ที่เกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนิยมใช้ล่อ
แมลงดานา

3. สำรวจนาข้าวเมื่อพบตัวเต็มวัยด้วงดำในกับดักแสงไฟปริมาณมากกว่าปกติ






บทบาทหน้าที่ของศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวชลบุรี


1. ผลิตและขยายเมล็ดพันธุ์ข้าว เพื่อสนับสนุนส่งเสริมและกระจายพันธุ์ข้าว ตามนโยบายคณะกรรมการข้าวแห่งชาติ
2. ส่งเสริมเผยแพร่และกระจายเมล็ดพันธุ์ดีไปสู่เกษตรกร
3. ส่งเสริมและพัฒนาการผลิตเมล็ดพันธุ์ของท้องถิ่นและสนับสนุนการดำเนินธุรกิจเมล็ดพันธุ์ข้าว ของเอกชน
4. ศึกษาวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการตลาดเมล็ดพันธุ์
5. ถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านวิทยาการเมล็ดพันธุ์
6. เป็นศูนย์กลางการบริหารจัดการแบบบูรณาการด้านข้าวในจังหวัดที่รับผิดชอบ
7. ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานเมล็ดพันธุ์
8. เป็นศูนย์บริการชาวนาพร้อมหน่วยบริการเคลื่อนที่และสร้างเครือข่ายศูนย์บริการชาวนาในเขต จังหวัดที่รับผิดชอบ




ลำดับที่ เลขที่ทะเบียน ที่อยู่
1 19-001/2549-51 ผู้จัดการ บริษัท สตาร์โอเรียนทอลกรุ๊ป จำกัด
เลขที่ 22/361 ซอยพัฒนาชุมชน1 ถ. ศรีนครินทร์
ต. บางแก้ว อ.บางพลี
จ.สมุทรปราการ
10540

2 19-002/2549-51 ผู้จัดการ ร้าน ส.การเกษตร
เลขที่ 191/32-34 หมู่ 3 ต.กรอกสมบูรณ์
อ.ศรีมหาโพธิ์
จ.ปราจีนบุรี
25140

3 19-003/2549-51 ผู้จัดการ ร้านเกษตรกิจการ
เลขที่ 298 หมู่ 4 ถนนจันทบุรี-สระแก้ว
ต.เขาฉกรรจ์ อ.เขาฉกรรจ์
จ.สระแก้ว
25170

4 19-004/2549-51 ผู้จัดการ ร้าน น.การเกษตร
เลขที่ 17 หมู่ 2 ต.บ้านด่าน
อ.อรัญประเทศ
จ.สระแก้ว
27120

5 19-005/2549-51 ร้านโชคไพศาลการเกษตร
เลขที่ 34/94 หมู่ที่ 2 ต. วังตะคียน
อ. เมือง
จ. ฉะเชิงเทรา
24000

6 19-006/2549-51 ผู้จัดการ สหกรณ์การเกษตรเมืองสระแก้ว จำกัด
เลขที่ 10 ถ.สุวรรณศร ต.สระแก้ว
อ. เมือง
จ. สระแก้ว
27000

7 19-007/2549-51 ผู้จัดการ สหกรณ์การเกษตรวัฒนานคร จำกัด
เลขที่ 10 ถ.สุวรรณศร ต.วัฒนานคร
อ. วัฒนานคร
จ. สระแก้ว
27160

8 19-008/2549-51 ผู้จัดการ ร้าน วิวัฒน์การเกษตร
เลขที่ 726 หมู่ 10 ถ.สุวรรณศร ต.วัฒนานคร
อ.วัฒนานคร
จ.สระแก้ว
27160

9 19-009/2549-51 ผู้จัดการ ร้านโชคชัยการเกษตร
91/2 หมู่ 6 ต. วังน้ำเย็น อ. วังน้ำเย็น
อ. วังน้ำเย็น
จ. สระแก้ว
27210

10 19-010/2549-51 ผู้จัดการ ร้านโชคชัย 2 วังสมบูรณ์
เลขที่ 69 หมู่ 15 ต. วังสมบูรณ์
กิ่ง อ. วังสมบูรณ์
จ. สระแก้ว
27250

11 19-011/2549-51 ผู้จัดการ บริษัทเอเอ็ม อินเตอร์เกษตร จำกัด
เลขที่ 1699/23 หมู่ 1 ต.พนมสารคาม
อ. พนมสารคาม
จ. ฉะเชิงเทรา
24120

12 19-012/2549-51 นางวัลยา ตัณฑวุฒโฑ
เลขที่ 2 หมู่ 7 ต. วังเย็น
อ. แปลงยาว
จ. ฉะเชิงเทรา
24190

13 19-013/2549-51 นายบุญรวม เกตุสุวรรณ
เลขที่ 473 หมู่ 12 ต. ท่ากระดาน
อ.สนามชัยเขต
จ.ฉะเชิงเทรา
24160

14 19-014/2549-51 นายมณเทียร ทองโพธิ์
เลขที่ 49 หมู่ 11 ต. หนองแหน
อ.พนมสารคาม
จ. ฉะเชิงเทรา
24120

15 19-015/2549-51 ผู้จัดการ ร้านขันทองกสิกรรม(2519)
19/23 หมู่ 18 ต. ดอนฉิมพลี
อ. บางน้ำเปรี้ยว
จ. ฉะเชิงเทรา
24170

16 19-016/2549-51 ผู้จัดการ สหกรณ์การเกษตรเมืองแปดริ้ว จำกัด
เลขที่ 257/3 ถ.มหาจักรพรรดิ์ ต.หน้าเมือง
อ.เมือง
จ.ฉะเชิงเทรา
24000

17 19-001/2550-52 บริษัท กบินทร์ผาติการเกษตร จำกัด
เลขที่ 453/2 หมู่ที่ 8 ถ. สุวรรณศร ต.เมืองเก่า
อ. กบินทร์บุรี
จ. ปราจีนบุรี
25240

18 19-002/2550-52 คุณพรเพ็ญ โสธนนท์
36/1 หมู่ที่ 10 ต.บางขนาก
อ. บางน้ำเปรี้ยว
จ. ฉะเชิงเทรา
24150

19 19-003/2550-52 คุณอุทัย ชาญศิริ (อุทัยเจริญกิจ)
130/25 ถ. ราษฎร์อุทิศ
ต. อรัญประเทศ
อ. อรัญประเทศ
จ. สระแก้ว
27120

20 19-004/2550-52 บริษัท เกษตรบูรพา จำกัด
333/3 ต.ปากห้วย
อ.อรัญประเทศ
จ.สระแก้ว
27120 โทร.037-246081

21 19-005/2550-52 นางสาวธัญพร ประสิทธิ์ (ประสิทธิ์การเกษตร)
ร้านประสิทธิ์การเกษตร
19/1-2 ม.18 ต.ดอนฉิมพลี
อ.บางน้ำเปรี้ยว
จ. ฉะเชิงเทรา 24170 โทร.081-5758090

22 19-006/2550-52 นายสมชัย ล้อพงศ์วาณิชย์
44/1 ม.4 ถ.จันทบุรี-สระแก้ว
ต. เขาฉกรรจ์ อ.เขาฉกรรจ์
จ.สระแก้ว 27000 โทร.037-511188

23 19-007/2550-52 สหกรณ์การเกษตรเอการตลาดลูกค้า ธกส. สระแก้ว จำกัด
338 ถ.สุวรรณศร ต.สระแก้ว
อ.เมือง จ.สระแก้ว 27000
โทร.037-242972

24 19-008/2550-52 นางสาวนัฐชยา สำเภานนท์ (เกษตรอารี)
93/9 ม.14 ต.คู้ยายหมี
อ. สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา 24160
โทร.089-7488560





© สงวนลิขสิทธิ์ 2550 ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวชลบุรี สำนักเมล็ดพันธุ์ข้าว กรมการข้าวเลขที่ 30 หมู่ที่ 10 ตำบลนาเริก อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี 20240
โทร. 0-3820-202 แฟกซ์ 0-3820-9201 อีเมล์ cbrrsc@ricethailand.go.th

http://cbr-rsc.ricethailand.go.th/sub_agent.htm


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/05/2011 8:43 pm, แก้ไขทั้งหมด 9 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 26/05/2011 1:56 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)




เมื่อเราได้ลงไปในนาข้าว หรือมีการสำรวจในนาข้าว ก็จะพบสิ่งมีชีวิตหลายชนิด ซึ่งประกอบด้วยแมลงศัตรู ข้าวชนิดต่าง ๆ และศัตรูธรรมชาติของแมลงศัตรูข้าว พวกแมง, แมลง และสัตว์อื่น ๆ ศัตรูธรรมชาติของแมลงศัตรู ข้าว ได้แก่ ตัวห้ำ คือ สัตว์ที่คอยจับสัตว์อื่นกินเป็นอาหาร ทำให้เหยื่อตายทันที เช่น ด้วงเต่า แมงมุม แมลงปอเข็ม ฯลฯ ตัวเบียน คือ สัตว์ที่อาศัยยังชีพบนเหยื่ออาจจะอยู่ภายนอก หรือภายในร่างกายของเหยื่อก็ได้ ค่อย ๆ ดูดกิน เลือด หรือน้ำเลี้ยงจากเหยื่อ ทำให้เหยื่อค่อย ๆ ตายไปในที่สุด ได้แก่ แตนเบียนต่าง ๆ ซึ่งมีขนาดเล็กมากจนถึงขนาดใหญ่


ศัตรูธรรมชาติเหล่านี้เราแบ่งเป็นพวกใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
1. แมงมุม มี 8 ขา พบหลายชนิดในนาข้าว มีทั้งพวกที่ชักใยเพื่อใช้เป็นกับดักเหยื่อของมัน และพวกที่ ออกตามล่าเหยื่อ มีตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่กว่าแมลงศัตรูข้าว ตัวอย่างของแมงมุมพวกนี้ได้แก่ แมงมุม สุนัขป่า Lycosa pseudoannulata แมงมุมแปดตา Oxyopes javanus และแมงมุมขายาว Tetragnata spp.

2. แมลงปอ เป็นพวกที่พบบินได้รวดเร็ว คอยจับเหยื่อ ซึ่งได้แก่ แมลงศัตรูข้าวชนิดต่าง ๆ ในนา ตัวอย่าง ของแมลงปอที่พบนนา ได้แก่ แมลงปอบ้าน Neurothomis tulliatullia และแมลงปอเข็ม Aqriocnemis sp. คอย จับกินเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจั๊กจั่น และหนอนห่อใบข้าว

3. ด้วง เป็นแมลงที่มีปีกคู่แรกแข็งแรงใช้ป้องกันตัว ทั้งตัวอ่อนและตัวแก่ของด้วงหลายชนิดที่พบในนา เป็นตัวห้ำของแมลงศัตรูข้าวหลายชนิด เช่น เพลี้ยกระโดด, เพลี้ยอ่อน, หนอนห่อใบข้าว, เพลี้ยจั๊กจั่น, หนอนกอ ตัวอย่างแมลงกลุ่มนี้ ได้แก่ ด้วงเต่า, ด้วงดิน และด้วงก้นกระดก

4. มวน เป็นแมลงที่มีปากแหลม ใช้ดูดน้ำเลี้ยงจากเหยื่อของมัน พบมวนตัวห้ำของแมลงศัตรูข้าวหลายชนิด อาศัยอยู่บนผิวน้ำ และบนต้นข้าว คอยจับกินเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจั๊กจั่น และผีเสื้อหนอนกอข้าว ตัวอย่าง เช่น จิงโจ้น้ำ และมวนดูดไข่

5. ต่อแตน เป็นกลุ่มของแมลงศัตรูธรรมชาติที่สำคัญ มีขนาดตัวตั้งแต่ตัวขนาดใหญ่ เห็นได้ด้วยตาเปล่า จนถึงขนาดเล็กเท่าปลายหัวเข็มหมุด มีทั้งตัวห้ำและตัวเบียน ทำลายศัตรูข้าวในระยะไข่ ตัวอ่อน และดักแด้ ตัวอย่าง เช่น แตนเบียนไข่ของหนอนกอข้าว Telenomus sp. แตนเบียนตัวอ่อนของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล, แตนเบียนตัวหนอนของหนอนห่อใบข้าว และแตนเบียนดักแด้ของหนอนกอข้าว

6. แมลงวัน เป็นแมลงที่มีปีก 1 คู่ พบพวกที่เป็นศัตรูธรรมชาติหลายชนิด บางชนิดเป็นตัวเบียน บางชนิด เป็นตัวห้ำ ทำลายแมลงศัตรูข้าว พวกหนอนกอและเพลี้ยต่าง ๆ ตัวอย่าง เช่น แมลงวันก้นขน, แมลงวันตาโต, แมลงวันปีกลาย และแมลงวันแคระ

7. ตั๊กแตนและจิ้งหรีด พบว่าเป็นศัตรูธรรมชาติที่คอยทำลายไข่หนอนกอข้าวและตัวอ่อนของเพลี้ยชนิดต่าง ๆ ในนาข้าว ได้แก่ ตั๊กแตนหนวดยาว และจิ้งหรีดหนวดยาว


การรู้จักชนิดของศัตรูธรรมชาติ และปล่อยให้ศัตรูธรรมชาติช่วยกำจัดแมลงศัตรูข้าว เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วย ลดต้นทุนการผลิต ทำให้สภาพแวดล้อมคงสภาพเดิมมากที่สุด เป็นการรักษาผลผลิตไม่ให้เสียไป ผลผลิตข้าวที่ได้ ก็ไม่มีสารพิษตกค้าง และที่สำคัญที่สุดคือ ช่วยอนุรักษ์สิ่งมีชีวิตที่มีประโยชน์ในนาข้าวตามธรรมชาติได้มากขึ้น รวมทั้งมีผลดีต่อสุขภาพร่างกายของเกษตรกรผู้ทำนา ซึ่งนับว่ามีความสำคัญที่สุด


http://www.ku.ac.th/e-magazine/december46/agri/rice.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 26/05/2011 2:02 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ศัตรูธรรมชาติที่พบในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น

ศัตรูธรรมชาติที่เกษตรกรนำมาศึกษาส่วนใหญ่เป็นแมลงตัวห้ำ และ แมงมุม ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีประโยชน์ จะกินแมลงศัตรูพืชเป็นอาหาร มีดังนี้



1. ด้วงเต่า



ด้วงเต่ามีหลายชนิด เช่น ด้วงเต่าสีส้ม ด้วงเต่าลาย เป็นตัวห้ำทั้งตัวอ่อนตัวเต็มวัยจะกินเพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยกระโดด เพลี้ยหอย แมลงหวี่ขาวและไรเป็นอาหาร ด้วงเต่ามักจะอยู่ทางส่วนบนของกอข้าว ในสภาพข้าวไร่และข้าวนาสวน




2. มวนจิงโจ้น้ำเล็ก



ตัวเต็มวัยจะอยู่กันเป็นกลุ่มกินตัวอ่อนของเพลี้ยกระโดดที่ตกไปในน้ำ ส่วนตัวอ่อนกินเพลี้ยกระโดดและกินแมลงขนาดเล็กที่มีลำตัวอ่อนนุ่ม มวนชนิดนี้เป็นตัวห้ำที่มีประสิทธิภาพตัวหนึ่ง ๆ สามารถกินเหยื่อได้ 4-7 ตัวต่อวัน





3. จิ้งหรีดหนวดยาว



ตัวเต็มวัยยาวประมาณ 6 มิลลิเมตร มีหนวดยาว หัว อก ท้อง และปีกมีสีดำ ขาส่วนอื่น ๆ สีขาวนวล เป็นตัวห้ำกินไข่ผีเสื้อหนอนกอ และแมลงศัตรูข้าวอื่น ๆ พบในนาข้าวตั้งแต่ต้นฤดูปลูกเป็นต้นไป





4. ตั๊กแตนหนวดยาว



ตัวเต็มวัยยาวประมาณ 2 เซนติเมตร มีหนวดยาวกว่าลำตัว หัวและอกสีเขียว ปีกหน้าสีเขียวปนน้ำตาล เป็นตัวห้ำกินไข่ผีเสื้อหนอนกอ และแมลงศัตรูข้าวอื่น ๆ พบในนาข้าวทั่วไป





5. ตั๊กแตนตำข้าว



เป็นแมลงขนาดใหญ่ตัวยาว 3-4 นิ้ว มีขาคู่หน้าใหญ่ยาวแข็งแรงสำหรับใช้จับอาหาร เป็นแมลงที่มีประโยชน์ซึ่งกินแมลงที่เล็กกว่าทุกชนิด




6. แมลงปอบ้าน



ตัวเต็มวัยยาว 2.7 เซนติเมตร เป็นตัวห้ำกินแมลงศัตรูข้าวบางชนิด เช่น ผีเสื้อหนอนกอข้าว พบในนาข้าวทั่วไป บินอยู่ส่วนบนของต้นข้าว โฉบจับเหยื่อกินเป็นอาหาร เริ่มพบตั้งแต่ข้าวยังเล็ก




7. แมลงปอเข็ม



ตัวอ่อนอยู่ในน้ำจะไต่ขึ้นมาบนต้นข้าวเพื่อหาเหยื่อจำพวกตัวอ่อนของเพลี้ยกระโดดและเพลี้ยจักจั่น ส่วนตัวเต็มวัยชอบบินอยู่ใต้พุ่มข้าวเพื่อหาเหยื่อซึ่งเป็นแมลงที่กำลังบินและเพลี้ยจักจั่นที่เกาะอยู่บนต้นข้าว




8. แมงมุมสุนัขป่า




เป็นตัวห้ำกินเพลี้ยกระโดดและเพลี้ยจักจั่นในนาข้าว ชอบกินตัวเต็มวัยของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมากกว่าตัวอ่อน สามารถกินตัวเต็มวัยได้ถึง 24-25 ตัวต่อวัน นอกจากนี้ยังกินผีเสื้อหนอนกอข้าว ริ้นน้ำจืด แมลงวัน เป็นต้น แมงมุมจะเริ่มกินเหยื่อตั้งแต่ตัวมันยังเล็ก ๆ พบในนาข้าวตั้งแต่เริ่มหว่าน




9. แมงมุมเขี้ยวยาว



ในนาข้าวมี 6 ชนิด แต่ละชนิดมีขนาดแตกต่างกันไป เป็นแมงมุมที่พบมากที่สุดในนาข้าว ตามปกติจะเกาะทาบไปตามใบข้าว และชักใยขึงระหว่างต้นข้าวในแนวราบ เพื่อดักจับแมลง เหยื่อ ได้แก่ เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยกระโดด ผีเสื้อหนอนห่อใบข้าว พบตั้งแต่ข้าวยังเล็กจนถึงระยะเก็บเกี่ยว




10. แมงมุมหลังเงิน



เป็นตัวห้ำกินแมลงศัตรูข้าว พบทั่วไปในนาข้าวพบมากในระยะข้าวแตกกอเต็มที่ แมงมุมชนิดนี้ชักใยในแนวดิ่งระหว่างกอข้าว เหยื่อ ได้แก่ ตั๊กแตน แมลงสิง แมลงปอเข็ม เป็นต้น เมื่อมีเหยื่อติดใยแมงมุมจะวิ่งมาที่เหยื่อและใช้ใยพันตัวเหยื่อและดูดกิน




11. แมงมุมตาหกเหลี่ยม




เป็นตัวห้ำที่กินแมลงศัตรูข้าว เช่น ผีเสื้อหนอนกอข้าว หนอนห่อใบข้าว เป็นต้น พบทั่วไปในนาข้าวตั้งแต่ข้าวยังเล็กจนถึงเก็บเกี่ยว อยู่ตามส่วนบนและส่วนล่างของต้นข้าว



การอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ :
การอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ หมายถึงการดำเนินการโดยวิธีใดก็ตามที่จะทำให้ศัตรูธรรมชาติสามารถอยู่รอด ขยายพันธุ์และดำรงอยู่ในสภาพนิเวศนั้น ๆ เพื่อให้ศัตรูธรรมชาติเหล่านั้นควบคุมจำนวนแมลงศัตรูพืชให้อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อพืชหรือผลผลิตของพืชที่ปลูกไว้



การอนุรักษ์แมลงศัตรูธรรมชาติ :
1. หลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยเคมีและสารพิษทางการเกษตร เพราะจะทำให้ดินเป็นกรดจัด เป็นอันตรายต่อวงจรชีวิตของแมลง

2. หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช ให้ใช้วิธีการาตัด หรือคลุมด้วยฟาง ใบไม้ แทน

3. หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีกำจัดแมลงและสารเคมีฆ่าเชื้อรา ควรใช้สารสกัดสมุนไพรแทน

4. ปลูกพืชหลาย ๆ ชนิด หลาย ๆ ระดับ เพื่อจัดระบบนิเวศในแปลงหรือสวน เช่น ปล่อยให้วัชพืชขึ้นหลากหลายชนิด ปลูกพืชหลายชนิดให้ขึ้นปะปนกัน

5. ห้ามทำอันตรายสัตว์กินแมลงอย่างสม่ำเสมอ หากพบว่าแมลงศัตรูพืชเข้าทำลายมากเกินไป ควรใช้สารสกัดสมุนไพรกำจัดแมลงศัตรูพืชฉีดพ่นอย่างต่อเนื่องจนแมลงลดลงหรือหายไป

การอนุรักษ์แมงมุม :
การคลุมแปลงด้วยอินทรียวัตถุจะทำให้ปริมาณแมงมุมเพิ่มขึ้น แมงมุมสามารถซ่อนตัวอยู่ในชั้นของวัสดุคลุมแปลง และยังหาเหยื่ออื่นได้อีก เช่น แมลงหางดีด และแมลงขนาดเล็กอื่น ๆ แมงมุมถูกฆ่าได้ง่ายโดยสารกำจัดแมลงที่ออกฤทธิ์กว้าง และสารกำจัดแมงมุม ดังนั้นพึงหลีกเลี่ยงการใช้สารกำจัดศัตรูพืช








http://www.oard3.org/safe/generalkk.php







ศัตรูธรรมชาติของแมลงศัตรูข้าว

ตามปกติในนาข้าวมีศัตรูธรรมชาติที่คอยกินและทำลายแมลงศัตรูข้าวอยู่มาก ได้แก่ ตัวห้ำ ตัวเบียน และเชื่อโรคทำให้แมลงศัตรูข้าวมีปริมาณต่ำ และไม่ทำความเสียหายให้กับข้าว

1. ตัวห้ำ แมลงหรือสัตว์อื่นที่กินแมลงศัตรูข้าวได้แก่




1.1 มวนดูดไข่ ตัวเต็มวัยสีเขียว หัวและอกสีดำ ลำตัวยาว 2.5-3.3 มม. กินไข่และตัวอ่อนของเพลี้ยกระโดดและเพลี้ยจั๊กจั่น 7-10 ฟอง หรือ 1-5 ตัวต่อวัน




1.2 ด้วงเต่าสีส้ม ด้วงเต่าลายหยัก ด้วงเต่าสายสมอ ทั้งตัวอ่อน และตัวเต็มวัยเป็นตัวห้ำ กินไข่ ตัวอ่อน และตัวเต็มวัยของเพลี้ยกระโดด เพลี้ยจั๊กจั่น และเพลี้ยอื่น ๆ 5-10 ฟอง ต่อตัวต่อวัน

........ ด้วงเต่าสีส้ม ............................. ตัวอ่อนของด้วงเต่า ......




1.3 แมงมุม แมงมุมหมาป่า แมงมุมเขี้ยวยาว กินเพลี้ยกระโดด เพลี้ยจั๊กจั่น หนอนห่อใบ-ม้วนใบข้าว หนอนปลอก หนอนแมลงวัน ข้าว 5-15 ตัวต่อวัน และ 2-3 ตัวต่อวัน ตามลำดับ




1.4 มวนจิงโจ้น้ำ ตัวดำเป็นมัน ลำตัวยาว 1.5 มม. อยู่เป็นกลุ่มตามผิวน้ำหรือโคนต้นข้าว กินเพลี้ยกระโดดและเพลี้ยจั๊กจั่น 4-7 ตัวต่อวัน




1.5 ด้วงดิน ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยกินเพลี้ยกระโดด และหนอนห่อใบข้าว 3-5 ตัวต่อวัน




1.6 แมลงปอเข็ม ตัวอ่อนแมลงปอเข็มจะคอยจับตัวอ่อนเพลี้ยกระโดดกิน อยู่บริเวณโคนกอข้าว ตัวเต็มวัย ชอบบินวนอยู่บริเวณร่มใบข้าวคอยจับผีเสื้อหนอนห่อใบข้าว และผีเสื้อหนอนศัตรูข้าวอื่น ๆ กิน




2. ตัวเบียน แมลงหรือสัตว์อื่นที่เกาะอาศัยกินอยู่ภายในหรือภายนอกลำตัวของแมลงศัตรูข้าว ได้แก่

2.1 แตนเบียนอะนากรัสส
ตัวเล็กมาก ยาว 0.8 มม. ตัวสีส้มแดง เป็นตัวเบียนทำลายไข่ของเพลี้ยกระโดดและเพลี้ยจีกจั่น 15-30 ฟองต่อวัน ไข่เพลี้ยกระโดดและเพลี้ยจั๊กจั่น 15-30 ฟองต่อวัน ไข่เพลี้ยกระโดดและเพลี้ยจั๊กจั่นที่ถูกทำลายแล้วจะเปลี่ยนสีเป็นสีส้มแดง



2.2 เชื้อรา
ได้แก่ เชื้อราขาว ราเขียว ราเฮอร์ซุเทลล่า ทำลายเพลี้ยกระโดดและเพลี้ยจั๊กจั่น





http://web.ku.ac.th/agri/rice-ene/rice08.htm


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 26/05/2011 3:04 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 26/05/2011 2:36 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สร้างกองทัพปราบเพลี้ย
กรมข้าวผุดไอเดีย จัดระบบนิเวศน์นาข้าว สร้างศัตรูธรรมชาติปราบ



นางสำลี บุญญาวิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการข้าว เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากช่วงปี 2551-2553 ที่ผ่านมา นับเป็นปีทองของชาวนาที่ขายข้าวเปลือกได้ในราคาสูง ทำให้ชาวนาเพิ่มการผลิตมากขึ้นทั้งด้านพื้นที่ปลูก จำนวนครั้งของการปลูก เป็นเหตุให้ไม่มีการพักดินเพื่อฟื้นฟูหรือบำรุงดิน ทำให้ มีแมลงศัตรูข้าว เช่น เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ขณะที่การใช้สารเคมีอย่างไม่ถูกต้อง ผิดชนิด ผิดวิธี และมากเกินความจำเป็น ทำให้แมลงศัตรูธรรมชาติและแมลงที่มีประโยชน์ อาทิ อาทิ แมลงภู่ ผึ้ง แมลงปอ แมงมุม ต่อแตน และสัตว์น้ำในนาข้าว เช่น กบ เขียด ปลา มีจำนวนลดลงอย่างมากจึงทำให้เกิดการระบาดของแมลงศัตรูพืช ทำความเสียหายให้กับผลผลิตข้าวอย่างมากมาย

กรมการข้าวจึงมีแนวคิดจะเพิ่มปริมาณแมลงศัตรูธรรมชาติและแมลงที่เป็นประโยชน์ คืนสู่นาข้าวอีกครั้ง โดยการจัดระบบนิเวศในนาข้าว ซึ่งเป็นแนวความคิดใหม่เพื่อสร้างความสมดุลทางธรรมชาติกลับคืนสู่นาข้าว ด้วยการปลูกพืชอื่นๆ หลากหลายชนิดรอบๆ แปลงนาข้าว เพื่อเป็นแหล่งอาหารให้แมลงศัตรูธรรมชาติหรือแมลงที่มีประโยชน์ เปรียบเสมือนการสร้างกองทหารไว้คอยควบคุมและทำลายแมลงศัตรูข้าวที่เข้ามาในนาข้าว ลดความเสียหายจากการทำลายของแมลงศัตรูข้าว และลดการใช้สารฆ่าแมลงในนาข้าว เป็นการเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับระบบนิเวศในนาข้าวอย่างยั่งยืน และเพิ่มรายได้ให้ชาวนาอีกทางหนึ่ง

อย่างไรก็ตามแนวคิดนี้ได้มีเกษตรกรในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามได้เคยดำเนินการแล้วโดยในส่วนของสาธารณรัฐประชาชนจีน พบว่า นาข้าวที่ปลูกไม้ดอก งา และข้าวฟ่าง บนคันนามีเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลน้อยกว่า และมีแมลงศัตรูธรรมชาติมากกว่า นาข้าวของเกษตรกรที่ไม่ได้ปลูกอะไรบนคันนา อีกทั้งเกษตรกรยังต้องพ่นสารฆ่าแมลงด้วย

ดังนั้นเชื่อว่าการจัดระบบนิเวศในนาข้าวจะแนวทางการปลูกข้าว ที่ประสบความสำเร็จในการลดความรุนแรงของการระบาดของแมลงศัตรูข้าวได้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชน ในการคิดหาพืชที่สามารถปลูกร่วมในนาข้าวและสามารถสร้างรายได้โดยไม่มีผลกระทบต่อผลผลิตข้าว




http://www.ryt9.com/s/nnd/950242
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 26/05/2011 5:42 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

6. ศัตรูของข้าวและการป้องกันกำจัด


โรคไหม้
สาเหตุ เชื้อรา
ลักษณะอาการ
ระยะกล้า ใบมีแผลจุดสีน้ำตาลคล้ายรูปตา ตรงกลางแผลมีสีเทา กว้าง 2-5 ม.ม. ยาว 10-15 ม.ม. ในกรณีที่โรครุนแรงต้นกล้าข้าวจะแห้งและฟุบตาย
ระยะแตกกอ อาการโรคพบได้บนใบ กาบใบข้อต่อของใบและข้อต่อของลำต้น ขนาดของแผลใหญ่กว่าระยะกล้า แผลลุกลามติดต่อกันได้ แผลบริเวณข้อต่อใบมีลักษณะแผลช้ำสีน้ำตาลดำและใบมักหลุดจากข้อต่อใบ
ระยะคอรวง ถ้าเป็นโรคในระยะต้นข้าวเริ่มให้รวง เมล็ดจะลีบ แต่ถ้าเป็นโรคที่ระยะต้นข้าวให้รวงแล้ว คอรวงจะปรากฏแผลช้ำสีน้ำตาลทำให้รวงข้าวหักง่ายและหลุดร่วงก่อให้เกิดความเสียหายมาก

การแพร่ระบาด
เกิดจากสปอร์ของเชื้อราปลิวไปตามลมหรือติดไปกับเมล็ดและเศษฟางข้าว

ช่วงเวลาระบาด
• อากาศเย็น มีน้ำค้างบนใบข้าวจนถึงเวลาสายหรือมีหมอกจัดติดต่อกันหลายวัน

การป้องกันกำจัด
• ใช้พันธุ์ต้านทาน ได้แก่ เหนียวสันป่าตอง เหนียวอุบล 2 หางยี 71 สันป่าตอง 1 สุรินทร์ 1
• กำจัดพืชอาศัยรอบคันนา เช่น หญ้าชันกาด หญ้าขน หญ้าไซ เป็นต้น
• ให้ปุ๋ยไนโตรเจนตามคำแนะนำ
• ตรวจแปลงนาอยู่เสมอ ถ้าพบอาการของโรคประมาณ 10% ของพื้นที่ใบ 3 ใบบนโดยเฉพาะ เมื่ออากาศเย็นมีหมอกและน้ำค้างต่อเนื่องจนถึงเวลาสาย ควรพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช ตาม คำแนะนำใน ตารางที่ 1




โรคขอบใบแห้ง
สาเหตุ เชื้อแบคทีเรีย
ลักษณะอาการ

ระยะกล้า มีจุดเล็กลักษณะฉ่ำน้ำที่ขอบใบล่าง ต่อมา 7-10 วัน จุดขยายเป็นทางสีเหลืองยาวตามใบ ใบแห้งเร็วส่วนที่ยังมีสีเขียวเปลี่ยนเป็นสีเทา ถ้าอาการรุนแรงต้นข้าวอาจเหี่ยวตายทั้งต้น หากนำต้นกล้าที่ได้รับเชื้อไปปักดำต้นกล้าจะเหี่ยวตายในเวลาอันรวดเร็ว

ระยะปักดำโดยทั่วไปต้นข้าวจะแสดงอาการหลังปักดำแล้ว 4-6 สัปดาห์ ขอบใบมีรอยขีดช้ำ ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีเหลือง บางครั้งพบหยดแบคทีเรียบริเวณแผล แผลมักขยายอย่างรวดเร็วไปตามความยาวของใบ ถ้าแผลขยายไปตามกว้าง ขอบแผลด้านในจะไม่เรียบ ต่อมาแผลจะเปลี่ยนเป็นสีเทา และแห้ง

ช่วงเวลาระบาด เมื่อฝนตกพรำติดต่อกันหลายวัน ระดับน้ำในนาสูงหรือเมื่อเกิด น้ำท่วม

การป้องกันกำจัด
• ในแปลงที่เป็นโรค ไถกลบตอซังข้าวทันทีหลังการเก็บเกี่ยว
• กำจัดพืชอาศัยรอบคันนา เช่น ข้าวป่า และหญ้าไซ เป็นต้น
• ใช้พันธุ์ข้าวค่อนข้างต้านทาน เช่น เหลืองประทิว 123 พัทลุง 60 พิษณุโลก 60 -1 สันป่าตอง 1 สุรินทร์ 1
• ควรงดให้ปุ๋ยไนโตรเจน
• ไม่ระบายน้ำจากแปลงนาที่เป็นโรคสู่แปลงข้างเคียง




โรคเมล็ดด่าง
สาเหตุ เชื้อราหลายชนิด
ลักษณะอาการ อาการที่เด่นชัดคือ รวงข้าวด่างดำ เมล็ดมีรอยแผลเป็นจุดสีน้ำตาลดำ ลายสีน้ำตาล หรือ เมล็ดมีสีเทาปนชมพู บางเมล็ดลีบ และมีสีน้ำตาลดำ ทำให้ผลผลิตและคุณภาพของข้าว เสียหายมาก

ช่วงเวลาระบาด ช่วงที่ดอกข้าวเริ่มโผล่จากกาบใบธงโดยเฉพาะเมื่อ ฝนตกชุก ความชื้นในอากาศสูง มีหมอกจัดติดต่อกันหลายวัน

การป้องกันกำจัด
• ในแหล่งที่มีโรคนี้ระบาดเป็นประจำ ควรหลีกเลี่ยงการปลูกข้าวพันธุ์อ่อนแอ
• ใช้เมล็ดพันธุ์จากแหล่งที่ไม่เป็นโรค หากไม่มีทางเลือก ควรคลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูกด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช ตามคำแนะนำในตารางที่ 1
• ในระยะข้าวเริ่มออกรวง หากพบจุดบนใบ ประกอบกับมีฝนตกและความชื้นสูง ควรพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช ตามคำแนะนำในตารางที่ 1




โรคกาบใบแห้ง
สาเหตุ เชื้อรา
ลักษณะอาการ พบตั้งแต่ระยะแตกกอถึงเก็บเกี่ยว แผลเกิดที่กาบใบใกล้ระดับน้ำ มีสีเขียวปนเทา ขอบแผลมีสีน้ำตาลขนาด 1-4 x 2-10 ม.ม. แผลอาจขยายใหญ่มากขึ้นและลุกลามขึ้นไปตามกาบใบ ใบข้าว และกาบใบธง ใบและกาบใบเหี่ยวและแห้งตาย ถ้าข้าวแตกกอมาก ต้นเบียดกันแน่น โรคจะระบาดรุนแรงมากขึ้น

ช่วงเวลาระบาด เมื่อความชื้นและอุณหภูมิสูง

การป้องกันกำจัด
• กำจัดวัชพืชตามคันนาและแหล่งน้ำเพื่อลดแหล่งสะสมของเชื้อโรค
• ใช้ระยะปักดำและอัตราเมล็ดพันธุ์ตามคำแนะนำ
• ให้ปุ๋ยไนโตรเจนตามคำแนะนำในข้อ 4.1
• เมื่อเริ่มพบแผลบนกาบใบที่ 5 นับจากยอด



โรคถอดฝักดาบ
สาเหตุ เชื้อรา
ลักษณะอาการ ในระยะกล้า ต้นกล้าจะแห้งตายหลังจากปลูกได้ไม่เกิน 7 วันแต่มักพบกับข้าวอายุเกิน 15 วัน ข้าวเป็นโรคจะผอมสูงเด่นกว่ากล้าข้าวโดยทั่ว ๆ ไป ต้นข้าวผอมมีสีเขียวอ่อนซีดมักย่างปล้อง มีรากเกิดขึ้นที่ข้อต่อของลำต้นส่วนที่ย่างปล้อง บางกรณีข้าวจะไม่ย่างปล้องแต่รากจะเน่าช้ำเวลาถอนกล้ามักจะขาดตรงบริเวณโคนต้น ถ้าเป็นรุนแรงกล้าข้าวจะแห้งตาย หากไม่รุนแรงอาการจะแสดงหลังจากย้ายไปปักดำได้ 15-45 วัน โดยที่ต้นเป็นโรคจะสูงกว่าต้นข้าวปกติ ใบมีสีเขียวซีด เกิดรากแขนงที่ข้อลำต้นตรงระดับน้ำ บางครั้งพบกลุ่มเส้นใยสีชมพูบริเวณข้อที่ย่างปล้องขึ้นมา ต้นข้าวที่เป็นโรคมักตายและมีน้อยมากที่อยู่รอดจนถึงออกรวง เชื้อราสาเหตุโรคนี้จะติดไปกับเมล็ดข้าว สามารถมีชีวิตในซากต้นข้าวและในดินได้เป็นเวลาหลายเดือน นอกจากนี้ยังพบว่า หญ้าชันกาดเป็นพืชอาศัยของโรคนี้

การป้องกันกำจัด
• หลีกเลี่ยงการนำเมล็ดพันธุ์จากแหล่งที่เคยเป็นโรคระบาดมาปลูก
• คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา ตามคำแนะนำในตารางที่ 1
• ควรกำจัดต้นที่เป็นโรคด้วยการถอนและเผาไฟ
• เมื่อเกี่ยวข้าวแล้วควรไขน้ำเข้านาและไถพรวน ปล่อยน้ำเข้านาประมาณ 1-2 สัปดาห์ เพื่อลดปริมาณเชื้อราสาเหตุโรคที่ตกค้างในดิน




โรคใบวงสีน้ำตาล
สาเหตุ เชื้อรา
ลักษณะอาการ

ระยะกล้า ข้าวจะแสดงอาการไหม้ที่ปลายใบและมีวงสีน้ำตาลเข้ม

ระยะข้าวแตกกอ อาการส่วนใหญ่จะเกิดบนใบแต่มักจะเกิดแผลที่ปลายใบมากกว่าบริเวณอื่น ๆ ของใบ แผลบนใบในระยะแรกมีลักษณะเป็นรอยช้ำ รูปไข่ยาว ๆ แผลสีน้ำตาลปนเทา ขอบแผลสีน้ำตาลอ่อน จากนั้นแผลจะขยายใหญ่ขึ้นเป็นรูปวงรีติดต่อกัน ทำให้เกิดอาการใบไหม้บริเวณกว้างและจะเปลี่ยนเป็นสีฟางข้าว ในที่สุดแผลจะมีลักษณะเป็นวงซ้อน ๆ กัน ลุกลามเข้ามาที่โคนใบ มีผลทำให้ใบข้าวแห้งก่อนกำหนด

การป้องกันกำจัด
• ใช้พันธุ์ข้าวต้านทาน เช่น กำผาย 15, หางยี 71
• กำจัดวัชพืชที่เป็นพืชอาศัยของเชื้อราสาเหตุของโรค เช่น หญ้าชันกาด หญ้าขน
• ในเหล่งที่เคยมีโรคระบาด หรือพบแผลลักษณะอาการดังกล่าวข้างต้น บนใบข้าว จำนวนหนาตาในระยะข้าวแตกกอ ควรฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช




http://cbr-rsc.ricethailand.go.th/famer_2.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 26/05/2011 5:47 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สัตว์ศัตรูข้าวและการป้องกันกำจัด



หนู

ลักษณะการทำลาย หนูเป็นสัตว์ฟันแทะ เป็นศัตรูสำคัญของข้าว ได้แก่ หนูพุกใหญ่ หนุพุกเล็ก หนูนาใหญ่ หนูนาเล็ก หนูหริ่งนาหางยาว และหนูหริ่งนาหางสั้น ระบาดทำความเสียหายให้ข้าวตลอดระยะการเจริญเติบโต และหลังเก็บเกี่ยว

ช่วงเวลาระบาด ทุกฤดูปลูก

การป้องกันกำจัด
• กำจัดวัชพืชบริเวณแปลงปลูกและพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อไม่ให้เป็นที่อาศัยของหนู
• ใช้วิธีกล เช่น การขุดจับ การดักด้วยกรง กับดัก และการล้อมตี
• ใช้วิธีทางชีวภาพ โดยอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ เช่น นกฮูก นกแสก เหยี่ยว พังพอน และงูชนิดต่าง ๆ
• เมื่อพบร่องรอยของหนูหรือเมื่อมีการระบาดรุนแรงให้ป้องกันกำจัดหนูโดยวิธีผสมผสานคือ ใช้กรงดักหรือกับดักร่วมกับเหยื่อพิษ ตามคำแนะนำในตารางที่ 4




นก
ลักษณะการทำลาย นกเป็นสัตว์ปีก เป็นศัตรูข้าวที่สำคัญ ได้แก่ นกกระติ๊ดขี้หมู ทำลายโดยจิกกินเมล็ดข้าวตั้งแต่เมล็ดอยู่ในระยะน้ำนม จนถึงระยะเก็บเกี่ยว

ช่วงเวลาระบาด ทุกฤดูปลูก

การป้องกันกำจัด
• กำจัดวัชพืชเพื่อทำลายแหล่งอาศัยและแหล่งอาหาร ซึ่งเป็นพวกเมล็ดวัชพืช
• ใช้หุ่นไล่กา หรือคนไล่
• ใช้วัสดุสะท้อนแสง เช่น กระจกเงา เป็นต้น
• ใช้สารป้องกันกำจัดนก ตามคำแนะนำในตารางที่ 4





หอยเชอรี่
ลักษณะการทำลาย หอยเชอรี่มีลักษณะคล้ายหอยโข่ง มีเปลือกสีเหลืองปนน้ำตาล หรือสีเขียวเข้มปนดำ วางไข่ได้ตลอดทั้งปี ครั้งละ 400-3,000 ฟอง ตามต้นพืชใกล้แหล่งน้ำ ไข่เป็นฟอง เล็ก ๆ สีชมพู ฟักเป็นตัวภายใน 7-12 วัน เริ่มกัดกินต้นกล้าข้าวจนถึงระยะแตกกอ

ช่วงเวลาระบาด ทุกฤดูปลูก

การป้องกันกำจัด
• ใช้วัสดุกั้นขวางทางระบายน้ำเข้านาโดยใช้เฝือกกั้นสวะ และตาข่ายในล่อนกั้นอีกครั้ง
• ใช้ไม้ปักรอบคันนาทุกระยะ 10 เมตร เพื่อล่อให้หอยมาวางไข่ เก็บตัวหอยและไข่ ตามต้น ข้าวและวัชพืชคันนาอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง ติดต่อกัน 6 สัปดาห์ทำลาย
• เก็บตัวหอย
• ระบายน้ำออกจากนาหลังปักดำ เพื่อให้สภาพไม่เหมาะสมกับการอยู่อาศัยของหอย
• อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ ได้แก่ นกปากห่าง
• เลือกใช้สารป้องกันกำจัดหอยอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามคำแนะนำในตารางที่ 4





ปูนา
ลักษณะการทำลาย ปูนาชอบขุดรูอาศัยอยู่ตามคันนา ตัวมีสีน้ำตาล กระดองกว้างประมาณ 3-8 เซนติเมตร ทำลายต้นข้าวตั้งแต่อยู่ในแปลงกล้า จนถึงระยะปักดำ โดยกัดกินโคนต้นเหนือพื้นดินประมาณ 3-5 เซนติเมตร พบต้นข้าวเสียหายเป็นหย่อมๆ

ช่วงเวลาระบาด ทุกฤดูปลูก

การป้องกันกำจัด
• ดักจับ โดยใช้ลอบดักตามทางน้ำไหล หรือขุดหลุมฝังปีบและใช้เศษปลาเน่าเป็นเหยื่อ
• ระบายน้ำออกจากนาหลังปักดำ เพื่อปรับสภาพให้ไม่เหมาะสมกับการอยู่อาศัยของปูนา
• เลือกใช้สารป้องกันกำจัดปูอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามคำแนะนำในตารางการใช้สารป้องกันกำจัดสัตว์ศัตรูข้าว


ตารางที่ 4 การใช้สารป้องกันกำจัดสัตว์ศัตรูข้าว

1) ในวงเล็บคือเปอร์เซ็นต์ สารออกฤทธิ์และสูตรของสารป้องกันกำจัดสัตว์ศัตรูข้าว


http://cbr-rsc.ricethailand.go.th/famer_2.htm


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 26/05/2011 5:55 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 26/05/2011 5:54 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การควบคุมวัชพืชในนาน้ำฝน

นาน้ำฝนเป็นการทำนานอกเขตชลประทานต้องอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก ประกอบด้วยวิธีการทำนา ดังนี้
1. นาดำ
2. นาหว่านสำรวย หรือหว่านข้าวแห้ง


นาดำ
ชนิดวัชพืช ประกอบด้วยวัชพืชทั้งประเภทใบกว้าง กก อาลจี และเฟินเป็นส่วนมาก และมีวัชพืชประเภทใบแคบ บ้าง

- ประเภทใบแคบ เช่น หญ้าข้าวนก หญ้าไม้กวาด หญ้านกสีชมพู หญ้าไซ หญ้าปล้องหิน
- ประเภทใบกว้าง เช่น ขาเขียด ผักปอดนา ตาลปัตรฤาษี เทียนนา ผักตับเต่า ห้วยชินสีห์
- ประเภทกก เช่น กกขนาก หนวดปลาดุก กกทราย แห้วหมูนา แห้วทรงกระเทียมเล็ก ก้ามกุ้ง
- ประเภทเฟิน เช่น ผักกูดนา ผักแว่น
- ประเภทอาลจี เช่น ตะไคร่น้ำ สาหร่ายไฟ

การป้องกันกำจัด
• ไถเตรียมแปลงนาต้องละเอียด และต้องคราด เก็บเศษซาก ราก เหง้า ส่วนขยายพันธุ์ของวัชพืชออกจากแปลง และปรับพื้นนาให้ได้ระดับ ไม่เป็นหลุมเป็นแอ่ง
• ต้นกล้าข้าวที่ใช้ปักดำต้องแข็งแรง มีอายุไม่ควรเกิน 25 วัน (ถ้าจำเป็นต้องใช้ต้นกล้าที่มีอายุมากกว่า 30 วัน ให้เพิ่มจำนวนต้นกล้าต่อจับที่ใช้ปักดำให้สูงขึ้น แต่ไม่เกิน 6 ต้นต่อจับ)
• ต้องระวังไม่นำต้นวัชพืช เช่น ตีนหญ้านกเขา (ซึ่งคล้ายต้นกล้าข้าว) ติดปะปนไปกับต้นกล้าข้าวที่ใช้ปักดำในนา
• ปักดำในสภาพที่มีน้ำขัง 5-10 เซนติเมตร ช่วยป้องกันไม่ให้วัชพืชบางชนิดงอก เช่น หญ้าข้าวนก หญ้าไม้กวาด
• ปักดำให้ระยะระหว่างต้นและระหว่างแถวชิดกัน การปักดำห่างจะทำให้มีพื้นที่ว่างมาก ทำให้วัชพืชงอกและเจริญเติบโต
• อย่าให้น้ำแห้งตลอดเวลาหลังปักดำ จนถึงข้าวออกรวงแล้ว 20 วัน
• กำจัดวัชพืชด้วยมือ เมื่อ 20-30 วันหลังปักดำ เพียง 1-2 ครั้ง
• สารกำจัดวัชพืชไม่ควรใช้ แต่ถ้าจำเป็นต้องใช้ให้ใช้สารป้องกันกำจัดพืชที่ได้ขึ้นทะเบียนจากกรมวิชาการเกษตรให้ใช้กำจัดวัชพืชในนาดำ และตรงตามฉลากที่ระบุชนิดของวัชพืชที่เกษตรต้องการกำจัด (ตารางที่ 5)




นาหว่านสำรวย หรือหว่านข้าวแห้ง
ชนิดวัชพืช ประกอบด้วยวัชพืชทั้งประเภทใบแคบ ใบกว้าง และกก เป็นส่วนมาก
- ประเภทใบแคบ เช่น หญ้ากุศลา ข้าวป่า หญ้าแดง หญ้าหางหมา หญ้านกสีชมพู หญ้าปล้อง
- ประเภทใบกว้าง เช่น ผักบุ้ง เซ่งใบยาว เซ่งใบมน โสนหางไก่ โสนคางคก ผักปอดนา บัวนา
- ประเภทกก เช่น แห้วทรงกระเทียม หนวดปลาดุก ตะกรับ
- ประเภทเฟิน เช่น ผักกูดนา
- ประเภทอาลจี เช่น ตะไคร่น้ำ

การป้องกันกำจัด
• ไถดะ ทิ้งไว้ 7-10 วัน
• ไถแปร 2 ครั้ง แต่ละครั้งควรทิ้งช่วงให้วัชพืชงอกเพื่อกำจัดวัชพืชที่งอกใหม่
• คราด เก็บเศษซาก ราก เหง้า ส่วนขยายพันธุ์ของวัชพืชออกจากแปลง และต้องปรับพื้นนาให้ได้ระดับ ไม่เป็นหลุมเป็นแอ่ง
• ต้องใช้เมล็ดพันธุ์ที่คัดแล้ว ปราศจากการปะปนของเมล็ดวัชพืช
• ใช้อัตราหว่านสูงกว่าที่เคยใช้ แต่ไม่เกิน 50 กิโลกรัมต่อไร่
• หลังจากข้าวงอกแล้ว ก่อนน้ำเข้านา ให้ถอนกำจัดวัชพืช 1-2 ครั้ง


ตารางที่ 5 การใช้สารกำจัดวัชพืชในนาข้าว

1) หว่านให้ทั่วในพื้นที่ 1/4ไร่



© สงวนลิขสิทธิ์ 2550 ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวชลบุรี สำนักเมล็ดพันธุ์ข้าว กรมการข้าว
เลขที่ 30 หมู่ที่ 10 ตำบลนาเริก อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี 20240
โทร. 0-3820-202 แฟกซ์ 0-3820-9201 อีเมล์ cbr rsc@ricethailand.go.th

http://cbr-rsc.ricethailand.go.th/famer_2.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 26/05/2011 6:13 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หาต้นทุนผลิตข้าว

ชาวนาบักโกรกกำไร 40% จี้วางกรอบประกันรายได้

นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไปศึกษาต้นทุนการทำนาที่เพิ่มขึ้นจากปัจจัยการผลิตที่สูงขึ้นให้ชัดเจน ทั้งราคาปุ๋ยเคมี น้ำมัน ยาปราบศัตรูพืช เพราะพบว่าขณะนี้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวกำลังเดือดร้อนจากต้นทุนในการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นมาก โดยจะนำรายละเอียดทั้งหมดให้ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) พิจารณาในวันที่ 7 มี.ค.นี้ ซึ่งรัฐบาลได้ใช้ต้นทุนการผลิตดังกล่าวในการคำนวณราคารับประกันรายได้ให้กับเกษตรกรมานานกว่า 2 ปีแล้ว

อย่างไรก็ตามการให้คำนวณต้นทุนการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวใหม่ก็เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ที่ต้นทุนในการประกอบอาชีพชาวนาเพิ่มขึ้น ส่งผลให้กำไรลดลง จากส่วนต่างของต้นทุนการผลิตและราคาที่ขายได้หรือราคาประกัน เพราะ กขช.ได้กำหนดกำไรให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวสำหรับการทำข้าวนาปี ไว้ที่ 40% และสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปรังไว้ที่กำไรประมาณ 20% แต่จากต้นทุนที่พุ่งขึ้นนี้เชื่อว่าส่วนต่างของกำไรของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวไม่น่าจะถึงอัตราที่กำหนด

นายธราดล เปี่ยมพงศ์สานต์ รองเลขา ธิการนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นายกฯได้เรียกประชุมกขช.ในวันที่ 7 มี.ค. นี้เพื่อพิจารณาข้อเรียกร้องของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ต้องการให้รัฐบาลปรับราคาประกันรายได้ของเกษตรกรเพิ่มขึ้น โดยข้าวเปลือกเจ้า ที่ความชื้น 15% ต้องการให้รัฐบาลเพิ่มราคาประกันเป็น 14,000 บาท จากเดิมที่กำหนดไว้ตันละ 10,000 บาท ข้าวเปลือกหอมจังหวัด เพิ่มเป็นตันละ 16,000 บาท จากเดิมตันละ 14,300 บาท เนื่องจากมีต้นทุนในการผลิตเพิ่มขึ้นมาก ซึ่งรายละเอียดทั้งหมดต้องรอให้กขช.เป็นผู้พิจารณาว่าจะตัดสินใจอย่างไร

ทั้งนี้จากการสำรวจต้นทุนการผลิตข้าวโดยเฉลี่ยทั่วประเทศ ในช่วงกลางของฤดูเพาะปลูกข้าวปี 53/54 รอบที่ 2 ในเดือน ก.พ. 54 พบว่า

ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 มีต้นทุนการผลิต 7,505 บาทต่อตัน ข้าวเปลือกเจ้า 7,850 บาทต่อตัน และข้าวเปลือกเหนียว 7,235 บาทต่อตัน ซึ่งต้นทุนการผลิตที่สำรวจนี้ต่ำกว่าต้นทุนการผลิตข้าวของเกษตรกรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่แจ้งว่า มีต้นทุนการผลิตที่ตันละ 9,420-10,520 บาท เนื่องจากการผลิตปีนี้มีการระบาดของโรคแมลงศัตรูข้าวไม่รุนแรงเท่ากับปีก่อน ทำให้ค่าแรง ค่าวัสดุ ได้แก่ ยาปราบศัตรูพืช ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่นลดลง ส่วนค่าเช่านาโดยเฉลี่ยฤดูละ 900 บาท

รายงานข่าวจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กล่าวว่า สศก. ได้เสนอให้กขช.พิจารณากำหนดราคาประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 53/54 รอบที่ 2 ของข้าวเปลือกเจ้าใหม่ โดยบวกกำไรให้เกษตรกรระหว่าง 30-50% จากปัจจุบันให้ 40% แต่จากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นทำให้เกษตรกรได้กำไร 29% โดยมีข้อเสนอ เช่น

- ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 รับประกันตันละ 10,000-11,600 บาท
- ข้าวเปลือกเจ้า 10,500-12,100 บาท
- ข้าวเปลือกเหนียว 9,700-11,200 บาท และ

เสนอให้ปรับปริมาณรับประกันข้าวชนิดต่าง ๆ จากปัจจุบัน โดยคิดคำนวณจากพื้นที่ 40-60 ไร่ เช่น ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ที่ 33-46 ตัน ข้าวเปลือกเจ้า 28-42 ตัน ข้าวเปลือกเหนียว 22-33 ตัน

ทั้งนี้ได้สำรวจข้อมูลของ สศก.พบว่าต้นทุนเกษตรกรเดือน ก.พ. 54 เปลี่ยนแปลงจากต้นทุนเดิมที่ใช้คำนวณกำหนดราคาประกันรายได้เกษตรกรโครงการปี 53/54 (พ.ย.53) รอบที่ 2 ไม่มากนักโดยข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ลดลงตันละ 52 บาท.



ที่มา: เดลินิวส์


http://thairecent.com/Business/2011/816918/


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/05/2011 8:37 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 26/05/2011 6:18 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เกษตรแนะนำ ๔ หลักการลดต้นทุนการผลิตข้าว ผลผลิตไม่ลดลง





นายธนัญ โกศัลวัฒน์ เกษตรจังหวัดมุกดาหาร เปิดเผยว่า พืชทุกชนิดจะเจริญเติบโตดีและให้ผลผลิตสูงก็ต่อเมื่อเกษตรกรสามารถจัดการให้เกิด "ความลงตัวพอดี” ระหว่างพันธุ์พืชกับปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง อาทิ ดิน ปุ๋ย น้ำ วัชพืช โรค แมลง ฯลฯ การผลิตข้าวก็เช่นกัน ถ้าเกษตรกรต้องการลดต้นทุนการผลิตร้อยละ ๒๐ โดยผลผลิตข้าวไม่ลดลง สามารถดำเนินการได้ด้วย ๔ หลักการ ดังนี้

๑. เมล็ดพันธุ์ข้าว ปัญหาใช้อัตราเมล็ดพันธุ์มากเกินไป ควรใช้เพียง ๒๐-๒๕ กิโลกรัมต่อไร่

๒. การปรับปรุงบำรุงดิน ปัญหาดินเสื่อมโทรม และการเผาฟางข้าวหลังการเก็บเกี่ยว ควรไถกลบหรือหมักฟางในนา โดยเร่งการผุพังสลายตัวด้วยปุ๋ยอินทรีย์/ปุ๋ยคอก ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ ซึ่งจะช่วยลดการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนลงได้มากทั้งยังช่วยลดการระบาดของหนอนกอ ส่วนดินที่เสื่อมโทรมมาก ควรปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยพืชสด อาทิ ปอเทือง ถั่วพร้า ฯลฯ

๓. การใช้ปุ๋ยเคมี ปัญหาการใช้ปุ๋ยเคมีผิดสูตรและผิดปริมาณ ควรใช้เทคโนโลยี "ปุ๋ยสั่งตัด” (ปุ๋ยที่ใส่ตามการวิเคราะห์ดินและความต้องการของพืชจริงๆ) รวมทั้งการใส่ปุ๋ยครั้งที่ ๒ หรือปุ๋ยแต่งหน้าใช้ปริมาณครึ่งหนึ่งของปุ๋ยไนโตรเจนทั้งหมด ต้องให้ถูกเวลาด้วย (ช่วงระยะกำเนิดช่อดอกของข้าว)

๔. การใช้สารฆ่าแมลง ปัญหาใช้สารฆ่าแมลงเกินความจำเป็น ถ้าใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวในอัตราที่เหมาะสมและใส่ปุ๋ยเคมีถูกต้อง ปัญหานี้จะลดลงได้มาก โดยแนะนำให้สำรวจแมลงศัตรูข้าวก่อนฉีดพ่นสารฆ่าแมลงทุกครั้ง

ขอคำแนะนำเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเกษตรอำเภอทุกอำเภอ และสำนักงานเกษตรจังหวัดมุกดาหาร ในวัน เวลา ราชการ โทร. ๐-๔๒๖๑-๓๐๓๔


http://www.mukdahan.go.th/muk_gallery/news2/view.php?id_view=43
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 26/05/2011 6:35 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ระบบการผลิตข้าว GAP มีข้อกำหนดอยู่ 8 ข้อ


มกราคม
ฤดูนาปรัง

ข้อกำหนดที่ 1 แหล่งน้ำ

- น้ำที่ใช้ ต้องได้จากแหล่งที่ไม่มีสภาพแวดล้อมซึ่งก่อให้เกิดการปนเปื้อน


ข้อกำหนดที่ 2 พื้นที่ปลูก
- ต้องเป็นพื้นที่ ที่ไม่มีวัตถุอันตราย หรือบริเวณใกล้เคียงแปลงปลูกข้าว
- เดือนมกราคม เป็นช่วงเตรียมวางแผนการผลิต เตรียมเมล็ดพันธุ์และเตรียมดิน

คำแนะนำสำหรับเกษตรกรเรื่องการเตรียมเมล็ดพันธุ์
- ใช้เมล็ดพันธุ์คุณภาพดี จากแหล่งที่เชื่อถือได้ เช่น กรมการข้าว ศูนย์ข้าวชุมชน หรือจากเอกชนที่น่าเชื่อถือ โดยมีพันธุ์ปนไม่เกิน 0.5% ความงอก 80% ขึ้นไป
- เตรียมดินให้เหมาะสมเพื่อป้องกันข้าวเรื้อ และข้าววัชพืช โดยไถดะตากดินทิ้งไว้ 7-15 วัน แล้วจึงไถแปร ทำลายวัชพืชที่งอกขึ้นมาอย่างน้อย 2 ครั้ง กรณี ที่มีข้าววัชพืชระบาดมาก ควรปลูกด้วยวิธีปักดำ หรือหยอดโรยเป็นแถว ระบายน้ำเข้านาหมักฟางอย่างน้อย 2 สัปดาห์ จึงคราดและทำเืทือก


กุมภาพันธ์
ข้อกำหนดที่ 3 การใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร

- หากมีการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูข้าวให้ใช้ตามคำแนะนำ หรือ อ้างอิงคำแนะนำของกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือตามคำแนะนำในฉลากที่ขึ้นทะเบียน กับกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- ใช้สารเคมีที่ไม่ใช่สารต้องห้ามตามรายการที่ประกาศโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สารเคมีที่อนุญาตให้ใช้ตามรายการที่ประเทศคู่ค้าอนุญาตให้ใช้เท่านั้น

เดือนนี้เป็นช่วงการปลูกและใส่ปุ๋ยข้าว มีดังนี้
- ปลูกข้าวโดยวิธีการหว่าน หรือปักดำ โดยใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ 20 กก./ไร่ (หว่าน) และ 7 กก./ไร่ (ปักดำ)
- เพื่อให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ควรใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำ โดยเลือกปุ๋ยให้เหมาะสมกับชนิดและดินและชนิดของข้าวที่ปลูก
- ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 หลังข้าวงอก 20-30 วัน สำหรับนาหว่านและนาปักดำ ใส่ก่อนปักดำแล้วคราดกลบหรือใส่ปุ๋ยหลังจากปักดำ 7-10 วัน


มีนาคม
ข้อกำหนดที่ 4 การผลิตให้ได้ข้าวเปลือกคุณภาพตรงตามพันธุ์

- ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ไม่มีเมล็ดพันธุ์อื่นปน หรือ ปนได้ไม่เกินร้อยละ 5
- มีข้าวเรื้อ และ/หรือ ข้าวปน น้อยกว่า 40 ต้นต่อไร่ เดือนนี้เป็นช่วงการใส่ปุ๋ย ครั้งที่ 2 และการตรวจแปลงเพื่อกำจัดข้าวปน

คำแนะนำสำหรับการใส่ปุ๋ยข้าว มีดังนี้
- เพื่อให้ประหยัดค่าใช้จ่ายควรใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำ โดยเลือกปุ๋ยให้เหมาะสมกับชนิดของดินและชนิดของข้าวที่ปลูก
- ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 ใส่ในระยะที่ข้าวเริ่มแตกกอเต็มที่

คำแนะนำสำหรับการกำจัดข้าวปน
- สำรวจแปลงนา 2-3 ครั้ง ในระยะแตกกอ ออกรวง และก่อนเก็บเกี่ยว เมื่อพบข้าวปนในแปลงให้ตัดพันธุ์ปนออกจากแปลงนา โดยการถอนออกทั้งกอ


เมษายน
ข้อกำหนดที่ 5 การจัดการเพื่อให้ได้ข้าวเปลือกที่มีคุณภาพดี สีได้ปริมาณข้าวไม่น้อยกว่า 40 เปอร์เซ็นต์

- การใส่ปุ๋ยเคมีทุกครั้ง เกษตรกรต้องกำจัดวัชพืชในนาก่อน และปิดกั้นคันนาให้เรียบร้อย
- ถ้าใส่ปุ๋ยอัตราตามคำแนะนำแล้ว จะไม่มีโรคแมลงรบกวน หรือมีน้อยมาก ไม่ต้องใช้สารเคมี
- ระยะข้าวสร้างรวงอ่อน ระยะข้าวออกดอก จนถึงข้าวโน้มรวง ต้องมีน้ำขังในนาระดับ 10-15 ซม. ถ้าน้ำแห้งเมล็ดข้าวจะลีบ

เดือนนี้เป็นช่วงการใส่ปุ๋ยครั้งที่ 3
- ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 3 ตามคำแนะนำที่ระยะข้าวสร้างรวงอ่อน หรือเมื่อจับดูข้อสุดท้ายของต้นจะเริ่มแข็งเป็นไต


พฤษภาคม
ข้อกำหนดที่ 6 การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว

- เก็บเกี่ยวข้าวที่ระยะพลับพลึงหรือเมื่อรวงข้าวมีสีเหลืองสุกไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของความยาวรวง
- เก็บเกี่ยวด้วยเครื่องจักร/รถเก็บเกี่ยวต้องทำความสะอาดก่อนลงเก็บเกี่ยว
- อุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บเกี่ยวจะต้องไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผลิตผล
- ข้าวเปลือกมีความชื้นประมาณ 14 เปอร์เซ็นต์
- ถ้าข้าวเปลือกมีความชื้นสูงการตากข้าวบนลานตากทุกครั้งต้องมีวัสดุวางรองกองข้าวไม่ให้เมล็ดข้าวแตะพื้นลานตากโดยตรง
- สถานที่เก็บรักษาต้องสะอาด มีอากาศถ่ายเทได้ดี สามารถป้องกันการปนเปื้อนจากวัตถุแปลกปลอม วัตถุอันตรายและสัตว์พาหะนำโรค

ช่วงนี้เป็นช่วงใกล้เก็บเกี่ยวข้าวนาปรัง คำแนะนำสำหรับช่วงเก็บเกี่ยว มีดังนี้
- เก็บเกี่ยวข้าวในระยะพลับพลึง ระบายน้ำออกก่อนเก็บเกี่ยวประมาณ 10 วัน เพื่อให้แปลงนาแห้งและข้าวสุกแก่อย่างสม่ำเสมอ
- ทำความสะอาดรถเกี่ยวข้าวก่อนลงพื้นที่เก็บเกี่ยว เพื่อกำจัดข้าวพันธุ์อื่นที่ตกค้างอยู่ในเครื่องจักร
- ทำความสะอาดเครื่องนวดข้าว ทุกครั้ง ป้องกันการปนเปื้อนของข้าวพันธุ์อื่น


มิถุนายน
ข้อกำหนดที่ 7 ผลผลิตปลอดจากศัตรูพืช

- สำรวจการเข้าทำลายของศัตรูพืชและป้องกันกำจัดตามคำแนะนำในขณะที่ข้าวยังอยู่ในแปลงนาและโรงเก็บผลผลิต
- ผลผลิตที่ได้ต้องไม่มีโรคพืชและการทำลายของแมลงมากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์

คำแนะนำสำหรับการป้องกันกำจัดศัตรูข้าวที่เหมาะสม
- การทำนาที่เหมาะสมควรทำนาปีละ 2 ครั้ง เท่านั้น เพราะจะปลูกในเวลาที่เหมาะสมและเก็บเกี่ยวในช่วงที่ไม่มีฝน ผลผลิตจะแห้ง ข้าวไม่เปียก
- ลงพื้นที่สำรวจแปลงนาอย่างสม่ำเสมอ หากพบแมลงศัตรูธรรมชาติ เช่น แมงมุม มวนเขียวดูดไข่ ด้วงเต่า แมลงปอ ปริมาณมากไม่ควรพ่นสารเคมี
- ควรศึกษาการป้องกันกำจัดโรคแมลงโดยวิธีผสมผสาน (IPM)


ข้อกำหนดที่ 8 การบันทึกข้อมูล
- มีการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการใช้วัตถุอันตราย ทางการเกษตรทุกครั้งที่ใช้
- มีการบันทึกข้อมูลแหล่งที่มาของเมล็ดพันธุ์ การเตรียมดิน และการกำจัดข้าวปน และการลดความชื้นของข้าวเปลือก.

เดือนนี้เป็นเดือนที่ต้องเตรียมดิน และวางแผนการปลูกข้าวในฤดูนาปี
- เตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง และ/หรือ ข้าวไวต่อช่วงแสงจากแหล่งเมล็ดพันธุ์ดี
- เตรียมดินไถดะ ไถแปร คราด และทำเทือก





กรกฎาคม
ฤดูนาปี
ข้อกำหนดที่ 1 แหล่งน้ำ

- น้ำที่ใช้ ต้องได้จากแหล่งที่ไม่มีสภาพแวดล้อมซึ่งก่อให้เกิดการปนเปื้อน


ข้อกำหนดที่ 2 พื้นที่ปลูก
- ต้องเป็นพื้นที่ ที่ไม่มีวัตถุอันตรายที่อยู่ใกล้แปลงปลูกข้าว ซึ่งจะทำให้เกิดการตกค้างหรือปนเปื้อนในผลิตผล

เดือนนี้เป็นช่วงปลูกสำหรับฤดูนาปี คำแนะนำสำหรับเกษตรกรเรื่องการเตรียมเมล็ดพันธุ์
- ใช้เมล็ดพันธุ์คุณภาพดี จากแหล่งที่เชื่อถือได้ เช่น กรมการข้าว ศูนย์ข้าวชุมชน หรือจากเอกชนที่น่าเชื่อถือ โดยมีพันธุ์ปนไม่เกิน 0.5% ความงอก 80% ขึ้นไป
- ปลูกข้าวโดยการหว่าน (เมล็ดพันธุ์ 20 กก./ไร่) หรือ ปักดำ (7-10 กก./ไร่) ควรปลูกด้วยวิธีปักดำ หรือ หยอด โรยเป็นแถว


สิงหาคม
ข้อกำหนดที่ 3 การใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร

- หากมีการใช้ ให้ใช้ตามคำแนะนำ หรือ อ้างอิงคำแนะนำของกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- ต้องใช้สารเคมีที่ไม่ใช่สารต้องห้ามตามรายการที่ประกาศโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สารเคมีที่อนุญาตให้ใช้ตามรายการเคมีที่ประเทศคู่ค้าอนุญาตให้ใช้

เดือนนี้เป็นช่วงการใส่ปุ๋ย คำแนะนำสำหรับการใส่ปุ๋ยข้าว มีดังนี้
- เพื่อให้ประหยัดค่าใช้จ่ายควรใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
- ข้าวนาปี (ไวต่อช่วงแสง) ใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง เดือนสิงหาคมนี้ใส่ปุ๋ยครั้งแรก
ครั้งที่ 1 ใส่หลังหว่านข้าว 20-30 วัน หรือหลักปักดำข้าว 7-10 วัน
ครั้งที่ 2 ใส่เมื่อข้าวแตกกอสูงสุด (สำหรรับข้าวไม่ไวต่อช่วงแสงเท่านั้น)


กันยายน
ข้อกำหนดที่ 4 การผลิตให้ได้ข้าวเปลือกคุณภาพตรงตามพันธุ์

- ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ไม่มีเมล็ดพันธุ์อื่นปน หรือ ปนได้ไม่เกินร้อยละ 5
- มีข้าวเรื้อ และ/หรือ ข้าวปน น้อยกว่า 40 ต้นต่อไร่
- เดือนนี้เป็นช่วงการใส่ปุ๋ย และการตรวจแปลงเพื่อกำจัดข้าวปน

คำแนะนำสำหรับการใส่ปุ๋ยข้าว มีดังนี้
- ข้าวนาปี (ข้าวไวต่อช่วงแสง) ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 เมื่อข้าวสร้างรวงอ่อน โดยสังเกตจากต้นข้าวข้อสุดท้ายเริ่มแข็งเป็นไต
- ข้าวนาปรัง (ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง) ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 3 เมื่อระยะข้าวสร้างรวงอ่อน เช่นกัน

คำแนะนำสำหรับการกำจัดข้าวปน
- สำรวจแปลงนา 2-3 ครั้ง ในระยะแตกกอ ออกรวง และก่อนเก็บเกี่ยว เมื่อพบข้าวปนในแปลงให้ตัดพันธุ์ปนออกจากแปลงนา โดยการถอนออกทั้งกอ


ตุลาคม
ข้อกำหนดที่ 5 การจัดการเพื่อให้ได้ข้าวเปลือกที่มีคุณภาพดี สีได้ปริมาณข้าวไม่น้อยกว่า 40 เปอร์เซ็นต์

- การใส่ปุ๋ยเคมีทุกครั้ง เกษตรกรต้องกำจัดวัชพืชในนาก่อน และปิดกั้นคันนาให้เรียบร้อย
- ถ้าใส่ปุ๋ยอัตราตามคำแนะนำแล้ว จะไม่มีโรคแมลงรบกวน หรือมีน้อยมาก ไม่ต้องใช้สารเคมี
- ระยะข้าวสร้างรวงอ่อน ระยะข้าวออกดอก จนถึงข้าวโน้มรวง ต้องมีน้ำขังในนาระดับ 10-15 ซม. ถ้าน้ำแห้งเมล็ดข้าวจะลีบ

เดือนนี้เป็นช่วงการตรวจแปลงดูแลการระบาดของโรคและแมลง
- ให้ลงพื้นที่ เดินตรวจรอบ ๆ แปลงอย่างสม่ำเสมอ
- ถ้าสังเกตเห็นการระบาดของโรคหรือแมลง ให้ตรวจดูทุกวัน หากการระบาดขยายวงกว้างออกไป ให้รีบใช้สารเคมีกำจัดศัตรูข้าวทันที โดยใช้ตามวิธีและอัตราที่แนะนำ
- ให้ระวังในพื้นที่ที่มีน้ำท่วมข้าว

สังเกตต้นข้าวหลังน้ำลด 2-3 วันก่อนฟื้นฟูข้าว โดยข้าวมีอาการ ดังนี้
1. ถ้าต้นข้าวยังคงมีสีเหลือง และอาการโทรมลงให้ใส่ปุ๋ยยูเรีย อัตรา 5-10 กก./ไร่
2. ถ้าต้นข้าวแตกใบใหม่ หรือใบข้าวมีสีเขียวเข้ม ห้ามใส่ปุ๋ยใด ๆ เพราะจะทำให้เกิดอาการเฝือใบและมีการระบาดของโรคและแมลงเพิ่มขึ้น


พฤศจิกายน
ข้อกำหนดที่ 6 การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว

- เก็บเกี่ยวข้าวที่ระยะพลับพลึงหรือเมื่อรวงข้าวมีสีเหลืองสุกไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของความยาวรวง
- เก็บเกี่ยวด้วยเครื่องจักร/รถเก็บเกี่ยวต้องทำความสะอาดก่อนลงเก็บเกี่ยว
- อุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บเกี่ยวจะต้องไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผลิตผล
- ข้าวเปลือกมีความชื้นประมาณ 14-15 เปอร์เซ็นต์
- ถ้าข้าวเปลือกมีความชื้นสูงการตากข้าวบนลานตากทุกครั้งต้องมีวัสดุวางรองกองข้าวไม่ให้เมล็ดข้าวแตะพื้นลานตากโดยตรง
- สถานที่เก็บรักษาต้องสะอาด มีอากาศถ่ายเทได้ดี สามารถป้องกันการปนเปื้อนจากวัตถุแปลกปลอม วัตถุอันตรายและสัตว์พาหะนำโรค

ช่วงนี้เป็นช่วงใกล้เก็บเกี่ยวข้าวนาปี คำแนะนำสำหรับช่วงเก็บเกี่ยว มีดังนี้
- เก็บเกี่ยวข้าวในระยะพลับพลึง ระบายน้ำออกก่อนเก็บเกี่ยวประมาณ 10 วัน เพื่อให้แปลงนาแห้งและข้าวสุกแก่อย่างสม่ำเสมอ
- ทำความสะอาดรถเกี่ยวข้าวก่อนลงพื้นที่เก็บเกี่ยว
- ทำความสะอาดเครื่องนวดข้าว ทุกครั้ง ป้องกันการปนเปื้อนของข้าวพันธุ์อื่น


ธันวาคม
ข้อกำหนดที่ 7 ผลผลิตปลอดจากศัตรูพืช

- สำรวจการเข้าทำลายของศัตรูพืชและป้องกันกำจัดตามคำแนะนำในขณะที่ข้าวยังอยู่ในแปลงนาและโรงเก็บผลผลิต
- ผลผลิตที่ได้ต้องไม่มีโรคพืชและการทำลายของแมลงมากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์

คำแนะนำสำหรับการป้องกันกำจัดศัตรูข้าวที่เหมาะสม
- การปลูกข้าวนาปรัง ไม่ควรปลูกในช่วงเดือน พฤศจิกายน ธันวาคม และมกราคม เพราะข้าวจะกระทบอากาศหนาว ทำให้ข้าวตายได้
- หลีกเลี่ยงการใช้พันธุ์ข้าวที่ไม่ทนทานต่ออากาศหนาว
- สำรวจแปลงนาอย่างสม่ำเสมอ หากพบแมลงศัตรูธรรมชาติ เช่น แมงมุม มวนเขียวดูดไข่ ด้วงเต่า แมลงปอ ปริมาณมากไม่ควรพ่นสารเคมี
- กรณีต้องมีการพ่นสารเคมี ควรศึกษารายละเอียด และปรึกษาเจ้าหน้าที่เกษตรในพื้นที่ เพื่อให้การฉีดพ่นสารเคมีเป็นไปอย่างถูกต้อง และเหมาะสม และไม่มีสารเคมีตกค้างในผลผลิตข้าวหลังการเก็บเกี่ยว


ข้อกำหนดที่ 8 การบันทึกข้อมูล
- มีการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการใช้วัตถุอันตราย ทางการเกษตรทุกครั้งที่ใช้
- มีการบันทึกข้อมูลแหล่งที่มาของเมล็ดพันธุ์ การเตรียมดิน และการกำจัดข้าวปน และการลดความชื้นของข้าวเปลือก.





ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวแพร่ : ถ.ร้องกวาง-งาว ต.แม่ยางฮ่อ อ.ร้องกวาง จ.แพร่ 54140
โทรศัพท์ 0 5465 4661 โทรสาร 0 5465 4537 e-mail : pre_rsc@ricethailand.go.th

http://pre-rsc.ricethailand.go.th/rfsc/GAP.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©