-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-* นานาสาระเรื่องเกษตร
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * นานาสาระเรื่องเกษตร
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* นานาสาระเรื่องเกษตร
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 30, 31, 32 ... 72, 73, 74  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 05/10/2011 12:44 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


หน้าที่ 31

ลำดับเรื่อง....


787. ดัดแปลงสี รสและกลิ่น เมล็ดพันธุ์ข้าว ป้องกันนกกินข้าว ในนาหว่าน
788. การถนอมอาหาร โดยการดอง
789. เพาะถั่วงอกด้วยเครื่องเพาะถั่วงอก ระบบน้ำวน อัตโนมัติ
790. เส้นทางแห่งก๋วยเตี๋ยว

791. แผ่นปลูกพืชบนหลังคา นวัตกรรมการเกษตรแนวใหม่
792. คลายร้อนด้วยสวนบนหลังคา
793. สนามหญ้าบนพื้นคอนกรีต
794. การปลูก ในระบบโปรโดรลิท ด้วยเมล็ดทั่วไป
795. Green Roof : หลังคาเขียวรักษ์โลก

796. Skyfarming : สวนเกษตรบนตึกระฟ้า
797. Green Roofs หนทางชุบชีวิตเมือง
798. Green roofs ทั่วโลก
799. Green Roofs หนทางชุบชีวิตเมือง
800. รมช.คมนาคม สั่งขุดลอกคูคลองทั่วประเทศทันที หลังน้ำลด

801. สารกำจัดวัชพืช (ยาฆ่าหญ้า)
802. อุทกภัยในเอเชีย ตอ.เฉียงใต้ กระทบราคาข้าว ตลาดโลก
803. ระบบน้ำหยด ไม้แขวน
804. ปลูกผักอินทรีย์แบบคอนโด
805. การปลูกข้าวลอยน้ำ แบบอินทรีย์

806. มหานครเกษตรกรรมลอยน้ำ
807. "ลิลลี่แพดซิตี้" แนวคิดเมืองลอยน้ำ
808. บ้านพักชั่วคราวที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานธรรมชาติ
809. ไอเดียใหม่ ทำสวนผักลอยน้ำจากผักตบชวา
810. เลี้ยงกบควบคู่ปลูกผัก...บนแปลงผักลอยน้ำ

811. ฉาว ! รังนกเลือดปลอมจากมาเลย์ แหกตาคนจีนซ้ำซาก

---------------------------------------------------------------------------------------------







787. ดัดแปลงสี รสและกลิ่น เมล็ดพันธุ์ข้าว ป้องกันนกกินข้าวในนาหว่าน


โครงงาน Modification of Breeding Rice Grains through Artificial Colors, Flavor and Smell Used in
Prevention of Grain-Consuming Birds (ผลของการดัดแปลงสี รสชาติ และกลิ่นของเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยสารสกัดธรรม
ชาติต่อการป้องกันนกกินข้าวในนาหว่าน)

ผู้พัฒนา นางสาวสายฝน นภนิภา และ นางสาวอภิชญา นพเลิศ
โรงเรียน พนมสารคาม “พนมอดุลวิทยา” จ.ฉะเชิงเทรา
ที่ปรึกษา นายนิรันดร์ เหลืองสวรรค์

โครงงานนี้ได้รับรางวัล Grand Awards อันดับที่ 4 ประเภททีม (Team Project) จากการประกวดในงาน Intel
ISEF 2010 ณ เมือง San Jose มลรัฐ California ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 9-14 พฤษภาคม พ.ศ. 2553



บทคัดย่อ
การศึกษาผลของการดัดแปลงสี รสชาติและกลิ่นของเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยสารสกัดธรรมชาติต่อการป้องกันนกกินข้าวในนาหว่าน
ตัวแปรที่ศึกษา ได้แก่ เมล็ดพันธุ์ข้าวดัดแปลง ผลการทดลองพบว่า นกที่กินข้าวในนาหว่านและพบมากที่สุดคือ นกพิราบ Columba
livia และนกกระจอกบ้าน Passer montanus โดยนกทั้ง 2 ชนิดนี้ ได้ทำความเสียหายให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวเป็นอย่างมาก

เนื่องจากนกจะมาจิกกินเมล็ดพันธุ์ข้าวในนาหว่าน ทำให้ข้าวที่ได้มีจำนวนน้อยลง และจากการศึกษาเปรียบเทียบชนิดของสีจาก
ธรรมชาติ ในการย้อมเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีผลต่อการกินของนก พบว่า ...

เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ย้อมสีจากธรรมชาติ จำนวน 5 สีได้แก่ สีเหลือง (ขมิ้น) สีเขียว (ใบเตย) สีแดง (กระเจี๊ยบ) สีส้มแดง (แครอท)
สีน้ำเงิน (อัญชัน) มีผลต่อการกินข้าวของนกต่างกัน โดยเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ย้อมสีผสมอาหารสีส้มแดง ให้ผลดีที่สุด คือส่งผลให้
นกพิราบกินเมล็ดพันธุ์ข้าวเพียงร้อยละ 6.20 +/-1.92 และนกกระจอกกินเมล็ดพันธุ์ข้าวร้อยละ 0.60 +/-0.89

ส่วนการศึกษาเปรียบเทียบชนิดของสารสกัดจากพืชรสชาติต่างๆ ในการชุบเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีผลต่อการกินของนก พบว่า

เมล็ดพันธุ์ข้าวชุบสารสกัดจากพืชรสชาติต่างๆ จำนวน 4 ชนิด ได้แก่ บอระเพ็ด (รสขม) อ้อย (รสหวาน) มะนาว (รสเปรี้ยว)
และเกลือแกง NaCl (รสเค็ม) มีผลต่อการกินของนกแตกต่างกัน โดยสารสกัดจากบอระเพ็ดซึ่งให้รสขมได้ผลดีที่สุด คือส่ง
ผลให้นกพิราบกินเมล็ดพันธุ์ข้าวเพียงร้อยละ 19.20 +/-0.83 และนกกระจอกกินเมล็ดพันธุ์ข้าวร้อยละ 0.00 +/-0.00

จากการศึกษาเปรียบเทียบชนิดของกลิ่นน้ำมันหอมระเหยจากพืชวงศ์ Rutaceae ในการชุบเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีผลต่อการกิน
ของนก พบว่า เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ชุบกลิ่นน้ำมันหอมระเหยจากพืชวงศ์ Rutaceae จำนวน 3 ชนิด ได้แก่ ส้ม มะนาว และ
มะกรูด มีผลต่อการกินของนกต่างกัน

โดยเมล็ดพันธุ์ข้าวชุบกลิ่นน้ำมันหอมระเหยจากมะกรูดให้ผลดีที่สุด คือ ส่งผล ให้นกพิราบกินเมล็ดพันธุ์ข้าวเพียงร้อยละ
4.20 +/-0.83 และนกกระจอกกินเมล็ดพันธุ์ข้าว ร้อยละ 13.00 +/-1.22

จากนั้นเมื่อทำการทดลองใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวดัดแปลงในนาหว่านสภาพจริง พบว่า สามารถป้องกันนกกินเมล็ดพันธุ์ข้าวใน
นาหว่านได้จริงและมีประสิทธิภาพและไม่มีผลข้างเคียงในด้านประสิทธิภาพการงอกแต่อย่างใด


http://fic.nectec.or.th/ysc13-example


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/10/2011 6:43 am, แก้ไขทั้งหมด 12 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 05/10/2011 4:45 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

788. การถนอมอาหาร โดยการดอง

การถนอมอาหารโดยการดองเป็นการถนอมอาหารแบบหนึ่ง ใช้ความเข้มข้นของเกลือ น้ำส้ม และน้ำตาลควบคุมการเจริญ
เติบโตของ จุลินทรีย์ โดยการจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม เพื่อการเจริญเติบโตของ จุลินทรีย์ที่ผลิตกรดแล็กติก และ
ป้องกันไม่ให้จุลินทรีย์ที่ทำให้อาหารบูดเน่า เจริญเติบโต การถนอมอาหารชนิดนี้ได้แก่ การดองผัก ผลไม้ เป็นต้น


หลักในการดองผักและผลไม้ :
การดองมีหลายแบบ เช่น ดองเปรี้ยว ดองเค็ม ดองหวาน และการดองเปรี้ยวเค็มหวาน 3 รส การดองเปรี้ยวมี 2 แบบ ได้แก่
การดอง น้ำส้ม และการดองน้ำเกลือแบบเจือจาง ซึ่งรสเปรี้ยวจะมาจากกรดแล็กติก ที่ได้จากการหมัก ส่วนการดองเค็มมี
2 แบบเช่นกัน โดยการให้น้ำเกลือและ การดองแบบแห้งคือหมักด้วยเกลือ


การเตรียมผักและผลไม้ :
ต้องเลือกผักและผลไม้ที่คุณภาพดี สะอาด สด ไม่เน่าช้ำ หรือมีแมลง ผักที่จะหมักเกลือต้องผึ่งแดดให้เหี่ยวเสีย ก่อน
ให้น้ำระเหยไป บ้าง ก่อนดองต้องแช่ผักในน้ำปูนใสหรือแคลเซียมคลอไรด์ เพราะแคลเซียม จากน้ำปูนใส หรือแคล
เซียมคลอไรด์จะรวมตัวกับกรดเพ็กติกในผักหรือ ผลไม้ ได้เกลือแคลเซียมเพ็กเตต ซึ่งไม่ละลายน้ำทำให้ผักและผลไม้คงรูป
และมีลักษณะกรอบ


เกลือ :
เกลือที่ใช้ต้องสะอาด เกลือให้รสชาติและช่วยควบคุมการ เติบโตของจุลินทรีย์ในการดองผัก ความเข้มข้นของเกลือจะ
ช่วยให้เกิดการ หมักหรือเกิดกรด การดองโดยใช้น้ำเกลือแบบเจือจาง ปกติจะใส่เกลือร้อย-ละ 2.5-5 ของน้ำหนักผัก
น้ำจะถูกดึงออกจากผักด้วยแรงดันออสโมซิส มาละลายเกลือก็จะได้น้ำเกลือ วิธีนี้เหมาะสำหรับผักและผลไม้ที่มีน้ำ
มาก เช่น กะหล่ำปลี ผักกาดเขียว หัวผักกาดขาว เป็นต้น ถ้าดองด้วยน้ำเกลือเข้มข้นสูง จะใช้ความเข้มข้นของเกลือประ
มาณร้อยละ 15-20 การดองวิธีนี้จะ ใช้ในกรณีที่ดองเค็มและต้องการเก็บไว้นานเกิน


น้ำตาล :
ในตอนแรกน้ำเกลือบริสุทธิ์ ไม่มีอาหารสำหรับจุลินทรีย์ แต่เมื่อน้ำซึมออกจากอาหารด้วยแรงดันออสโมซีส ก็จะดึงเอา
น้ำตาลและอาหารอื่น ๆ ที่จำเป็นในการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ในผักและผลไม้ออกมา จุลินทรีย์จึงเติบโตได้ เพื่อให้
แน่ใจว่าจุลินทรีย์มีอาหาร ในการดองเปรี้ยว นิยมเติมน้ำตาลลงไปเล็กน้อยหรืออาจเติมน้ำมะพร้าว หรือน้ำซาวข้าวลงไป
แทนก็ได้ อย่างไรก็ตาม ถ้าใส่น้ำตาลมากเกินไป ก็จะไม่เกิดการหมัก เพราะ จุลินทรีย์ไม่สามารถเจริญเติบโตในสารละ
ลายที่มีน้ำตาลเข้มข้นได้


น้ำส้มสายชู :
การเติมน้ำส้มสายชูจะได้รสเปรี้ยวที่ต่างไปจากกรด แล็กติก ผักดองมีกรดแล็กติกและกรดอะซิติก ซึ่งมีผู้นิยมว่าอร่อยกว่า
ที่มี กรดแล็กติกเพียงอย่างเดียว


น้ำ :
การเติมน้ำสำหรับดองมีหลายแบบ อาจต้มผักและผลไม้ที่ ค่อนข้างแข็งในน้ำสำหรับดองเพื่อให้อ่อนนุ่ม หรือเทน้ำสำหรับ
ดองในขณะ ที่ยังร้อนหรือที่เย็นลงไปบนผักหรือผลไม้ ไม่ว่าจะใช้วิธีใดจะต้องให้น้ำที่ใช้ ดองท่วมอาหาร มิฉะนั้นส่วนที่อยู่
เหนือน้ำจะเสียและมีลักษณะเป็นเมือกลื่น ถ้าอาหารที่ดองลอยต้องหาของหนักทับให้จมน้ำ เนื่องจากน้ำดองมีกรดผสม อยู่
ด้วยจึงไม่ควรใช้ภาชนะเหล็ก ดีบุก ทองเหลือง และทองแดง สำหรับดอง ควรใช้หม้อเคลือบ หรือภาชนะเหล็กที่ไม่เป็นสนิม
(stainless) แก้ว หรือ เครื่องปั้นดินเผา


อุณหภูมิ :
อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการดองเปรี้ยวที่เกิดกรด แล็กติกอยู่ระหว่าง 20-240 ซ. ถ้าสูงหรือต่ำกว่านี้มาก จุลินทรีย์กลุ่ม
แล็กติก จะเติบโตช้าเกินไป เกิดกรดน้อย ทำให้อาหารดองมีกลิ่นรสผิดปกติ จะได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพต่ำ


เครื่องปรุงแต่ง :
ในการดอง อาจจะเติมเครื่องปรุงแต่งพวกเครื่องเทศ เช่น พริกไทย อบเชย กระวาน กานพลู มัสตาด ฯลฯ สารเหล่านี้ช่วย
ป้องกันการ เจริญเติบโตของจุลินทรีย์ได้ด้วย ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการดอง จะมีรสชาติแปลกและอร่อย ใช้ ทำอาหารอย่าง
อื่นต่อไปหรือทำเป็นเครื่องเคียงรับประทานกับอาหารที่รส จัดแก้เลี่ยนได้ ทำไว้รับประทานภายในครอบครัว ช่วยประหยัด
รายจ่าย ถ้าทำมากและมีรสชาติน่ารับประทานจะนำไปขายกลายเป็นอุตสาหกรรม ภายในครอบครัว ช่วยเพิ่มพูนรายได้ของ
ครอบครัวได้



มะละกอดองน้ำส้ม
ส่วนผสม
1. มะละกอดิบ 1,000 กรัม
2. น้ำส้มสายชู 750 มิลลิลิตร (3 ถ้วยตวง)
3. น้ำตาลทรายขาว 650 กรัม (3 ถ้วยตวง)
4. เกลือป่น 60 กรัม (6 ช้อนโต๊ะ)

กรรมวิธี
1. ล้างมะละกอให้สะอาด ปอกเปลือก แคะเมล็ดออกให้หมด หั่นเป็นชิ้นขนาดตามต้องการ
2. ลวกน้ำเดือดนาน 1 นาที ยกขึ้นให้สะเด็ดน้ำ บรรจุขวด ที่สะอาด
3. ทำน้ำส้มผสม โดยผสมน้ำตาลทรายขาว เกลือและน้ำส้มสายชู ตั้งไฟให้เดือด แล้วนำมากรอง
4. เทน้ำส้มผสมขณะร้อนลงในขวดที่บรรจุมะละกอ ปิดฝา เก็บไว้ 2-7 วัน รับประทานได้



การทำกิมจิ (ผักดองเกาหลี)
ส่วนผสม
1. ผักกาดขาว หรือ กระหล่ำปลี 1 หัว
2. แครอท 1-2 หัว
3. เกลือป่น (ไม่มีไอโอไดน์) 1 ช้อนโต๊ะ และ 1 1/2 ช้อนชา
4. พริกแห้งป่น (อย่างหยาบ) 1-2 ช้อนชา
5. ต้นหอม (หั่นยาว 1ซม.) 3-4 ต้น
6. กระืเทียม (กลีบใหญ่) ซอยละเอียด 8 กลีบ
7. น้ำตาล 1-2 ช้อนชา
8. ขิงซอย 1 ช้อนชา

กรรมวิธี
1. หั่นผักขนาดตามต้องการ หรือขนาด 1-2 ซม.
2. ใส่ผักที่หั่นเตรียมไว้ลงหม้อ หรืออ่าง และนวดผักด้วยเกลือ 1 ช้อนโต๊ะ (แบบขยำๆ)
3.ปล่อยทิ้งไว้ ประมาณ 3 ชั่วโมง มั่นคนกลับไปมา
4. เสร็จแล้วรินน้ำ แล้วล้างออก 2 น้ำ
5. เมื่อล้างเสร็จแล้วให้ใส่เกลือลงไป 1 1/2 ช้อนชาที่เหลือ และส่วนผสมอื่น ๆ ที่เตรียมไว้ คนให้เข้ากันจนทั่ว
6. หลังจากนั้น นำไปใส่ใน ไห ตุ่ม หรือขวด ที่มีฝาปิด เทน้ำลงไปให้ท่วมผัก ขึ้นมาประมาณ 1 ซม.
7. ปิดฝาหลวม ๆ และหาที่เก็บไว้ในห้องอุณหภูมิปกติ ประมาณ 6-8 วัน
8. เมื่อผักเปรี้ยวและเค็มได้รสชาดตามที่ต้องการแล้ว ให้ปิดฝาให้สนิท และเก็บไว้ในที่เย็น




มะละกอดองน้ำปลาหรือซีอิ๊ว
ส่วนประกอบ
1. มะละกอดิบ 1,000 กรัม
2. น้ำปลาหรือน้ำซีอิ๊วอย่างดี 250 มิลลิลิตร (1 ถ้วยตวง)
3. น้ำตาลทรายขาว 100 กรัม (8 ช้อนโต๊ะ)
4. น้ำส้มสายชู 45 มิลลิลิตร (3 ช้อนโต๊ะ)
5. น้ำ 250 มิลลิลิตร (1 ถ้วยตวง)

กรรมวิธี
1. เตรียมมะละกอใส่ขวดเช่นเดียวกับดองน้ำส้ม
2. ทำน้ำปลาหรือน้ำซีอิ๊วผสม โดยต้มน้ำตาลทราย น้ำ น้ำปลา หรือน้ำซีอิ๊วให้เดือดแล้วกรอง
3. เทน้ำปลาหรือน้ำซีอิ๊วผสมขณะร้อนลงในขวดที่บรรจุ มะละกอที่เตรียมไว้ ปิดฝาเก็บไว้ 2-7 วัน รับประทานได้





ปลาร้า
ปลาร้า เป็นผลิตภัณฑ์พื้นบ้านที่เป็นเอกลักษณ์ของไทยมาแต่ช้านาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนิยม
บริโภคและจัดเป็นอาหารประจำวันก็ว่าได้ คนในภาคเหนือและภาคกลางก็นิยมบริโภคเช่นกัน แต่จะต่างกันบ้างในลักษณะ
การนำมาประกอบอาหารเท่านั้น การผลิตปลาร้าส่วนใหญ่ทำกันระดับชาวบ้าน การผลิตแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ ปลาร้า
ข้าวคั่วและปลาร้ารำ

ปลาร้าข้าวคั่วมักจะทำในภาคกลาง ส่วนปลาร้ารำมักจะทำจากปลาทั้งตัวในภาคอีสาน สีจะคล้ำกว่าปลาร้าข้าวคั่ว

ส่วนผสม
1. ปลาช่อน ปลากระดี่
2. เกลือ 20-25% (ของน้ำหนักปลา)
3. ข้าวคั่วหรือรำ 10-12% (ของน้ำหนักปลา)
หรือ
1. ปลาตัวเล็ก 500 กรัม
2. เกลือชนิดเม็ด 1 ถัวย
3. ข้าวคั่ว 1 ถ้วย

กรรมวิธี
1. นำปลามาตัดหัว ขอดเกล็ด ควักไส้ ล้างให้สะอาด ทิ้งให้สะเด็ดน้ำ
2. นำปลามาผสมกับเกลือให้เข้ากันดี
จากนั้นจึงเติมข้าวคั่วหรือรำผสมให้เข้ากัน แล้วนำมาอัดใส่ไห ขัดด้วยไม้ไผ่ให้แน่นทิ้งไว้ 8 เดือน ถึง 1 ปี

***หมายเหตุ***
หมั่นดูแลอย่าให้น้ำแห้ง และคอยกดปลาให้จมน้ำเกลือ ถ้าน้ำแห้งให้ต้มน้ำกับเกลือ ชิมให้มีรสเค็ม ทิ้งไว้ให้เย็น จึงเทลง
ในไหปลาร้า




ผักกาดดองเปรี้ยว

ส่วนผสม
1. ผักกาดเขียวปลี 1 กิโลกรัม
2. น้ำตาลทราย 1/4 ถ้วย
3. เกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะ
4. น้ำส้มสายชู 1 ถ้วย

วิธีทำ
1. ล้างผักให้สะอาด แกะออกเป็นกาบ ๆ หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ
2. ผึ่งผักพอเหี่ยว เรียงลงในขวดโหล พักไว้
3. ผสมน้ำส้มสายชู เกลือ และน้ำตาลลงในหม้อ ตั้งไฟกลางพอเดือด ยกลง กรองด้วยผ้าขาวบาง เทใส่ขวดที่มีผักอยู่
กดให้ผักจมน้ำดอง ปิดฝาให้สนิท ดองทิ้งไว้ประมาณ 1-2 วัน เรียกว่าผักกาดดองเปรี้ยวกินเร็ว

***หมายเหตุ***
ผักกาดดองอีกแบบหนึ่งจะดองประมาณ 3-4 วัน ผักจะค่อย ๆ เปรี้ยว วิธีนี้ไม่ใส่น้ำส้มสายชู





เห็ดดอง
ส่วนผสม
1. เห็ดฟาง 1 ก.ก
2. เกลือป่น 2 ช้อนโต๊ะ
3. น้ำ 4 ถ้วย

วิธีทำ
1. ล้างเห็ด เฉือนโคนที่สกปรกออก ถ้าเห็ดดอกใหญ่เกินไป ให้หั่น 2 หรือ 3 ตามสมควร
2. ลวกเห็ดในน้ำเดือดแล้วจึงบรรจุลงขวด บรรจุเห็ดอย่าให้หลวมหรือแน่นจนเกินไป เว้นที่ข้างบนไว้ประมาณ 1/2 นิ้ว
3. ผสมน้ำกับเกลือ ตั้งไฟต้มพอเดือด ตักน้ำเกลือขณะที่น้ำเกลือกำลังร้อน ๆ อยู่ ใส่ขวดที่บรรจุเห็ดอยู่ให้ท่วมเห็ดพอดี
4. ไล่ฟองอากาศที่อยู่ในขวดออก แล้วปิดฝาขวดให้สนิท เก็บไว้ 1 คืน วันรุ่งขึ้นเทน้ำ ออกอุ่น ปล่อยให้เย็นจึงเทน้ำใส่
ขวดเห็ดทุก ๆ 2 วัน ควรเทน้ำออกจากขวดอุ่น แล้วเทใส่ใหม่จะทำให้เก็บเห็ดไว้ได้นาน





หน่อไม้ดองเปรี้ยว
ส่วนผสม
1. หน่อไม้ไผ่ตง 1 กิโลกรัม
2. แป้งข้าวเจ้า 1 ช้อนโต๊ะ
3. เกลือป่น 2 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ
1. ปอกเปลือกหน่อไม้ ล้างให้สะอาด ไสเป็นแผ่นบางตามขวาง ถ้าหน่อไม้มีขนาดใหญ่ ให้ผ่าครึ่ง แล้วไส หรือสับหยาบ ๆ
ล้างน้ำ 2-3 ครั้ง แล้วแช่น้ำไว้ 1 คืน ตักขึ้นให้สะเด็ดน้ำ

2. เคล้าหน่อไม้กับเกลือและแป้งข้าวเจ้าให้ทั่ว ไส่ในขวดโหล กดให้แน่น ใช้ใบตองปิดปากขวด ถ้าใส่โอ่งก็ใช้ก้อนหินที่ล้าง
สะอาดแล้วทับ ดองทิ้งไว้ประมาณ 50 วันก็ใช้ได้




กะหล่ำปลีดอง
ส่วนผสม
1. กะหล่ำปลีหัวใหญ่ 1 หัว
2. น้ำส้มสายชู 1/2 ถ้วย
3. น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ
4. เกลือป่น 1 ช้อนชา

วิธีทำ
1. ล้างผักให้สะอาด หั่นหยาบ ตวงให้ได้ 2 ถ้วย ใส่ลงในขวดโหล กดให้แน่น
2. ผสมน้ำตาล เกลือ น้ำส้มสายชู
เข้าด้วยกันลงในหม้อ ยกขึ้นตั้งไฟกลาง พอเดือด ยกลง ทิ้งไว้ให้อุ่น เทลงในขวดกะหล่ำปลีให้ท่วม ปิดฝาให้สนิท
3. ดองทิ้งไว้ประมาณ 3-4 ชั่วโมง หรือค้างคืนไว้

***หมายเหตุ***
ถ้าทำเป็นกะหล่ำปลีปรุงรส
1. ใส่ขิงแก่โขลกละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ
2. กระเทียมโขลกละเอียด 1 1/2 ช้อนโต๊ะ
ลงไปเคี่ยวพร้อมกับส่วนผสมน้ำส้มสายชู ดองทิ้งไว้ประมาณ 1-2 วัน



หัวไชโป้หวาน
ส่วนผสม
1. หัวไชเท้า 10 หัว
2. เกลือป่น 3 ช้อนโต๊ะ
3. น้ำตาลปี๊บ 1 ถ้วย
4. น้ำปลา 1 ถ้วย
5. น้ำ 1 ถ้วย

วิธีทำ
1. ล้างหัวไชเท้าให้สะอาด ปอกเปลือกและตัดหัวออก เคล้ากับเกลือ 2 ช้อนโต๊ะ หมักทิ้งไว้ 1 คืน วันรุ่งขึ้นบีบน้ำออก
แล้วผึ่งแดดให้แห้ง
2. ต้มน้ำตาล น้ำปลา เกลือที่เหลือ และน้ำ พอเดือดชิมดูให้มีรสเค็ม กรองด้วยผ้าขาวบาง ทิ้งไว้ให้เย็น
3. เรียงหัวไชเท้าลงในขวดโหล หรือในหมือเคลือบ เทส่วนผสมข้อ 2 ที่เย็นแล้ว ใส่ลงไป แช่ทิ้งไว้
4. วันรุ่งขึ้นเทน้ำออก นำไปอุ่นให้เดือด ทิ้งไว้ให้เย็น แล้วเืทใส่หัวไชเท้่า ทำแบบนี้ 3-4 วัน น้ำจะงวดลงมาก นาน ๆ นำไป
อุ่นสักครั้ง ถ้าต้องการทำแห้ง นำหัวไชเท้าไปผึ่งแดดให้แห้ง




กงไฉ่
ส่วนผสม
1. ผักกาดเขียวต้นใหญ่ 5 กิโลกรัม
2. น้ำตาลทรายสีรำ 2 ถ้วย
3. เกลือป่น 1/4 ถ้วย
4. เหล้าขาว 1/4 ถ้วย
5. ข่าแก่ป่น 2 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ
1. ล้างผักให้สะอาด ผึ่งแดดพอผักเหี่ยว หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ
2. เคล้าผักกาดเขียวกับเกลือ น้ำตาล ข่า เหล้าขาวพอมีน้ำเล็กน้อย ชิมรสหวาน เค็ม ตามชอบ ใส่ลงในขวดโหล อัดให้แน่น
หมักทิ้งไว้ 20-30 วัน




หัวไชโป๊เค็ม
ส่วนผสม
1. หัวไชเท้า 30 หัว
2. เกลือป่น 1 3/4 ถ้วย

วิธีทำ
1. ล้างหัวไชเท้าให้สะอาด ตัดจุกออก ผึ่งแดดจนอ่อนตัว พอบีบแล้วนุ่มมือ คลึงกับเกลือ 1 1/2 ถ้วย ในกระด้ง หรือกระดาน
ให้เกลือเข้าเนื้อ ทำจนหมด หมัดทิ้งไว้ 1 คืน
2. ใส่เกลือที่เหลือ คลึงให้ทั่ว นำไปตากแดด เก็บใส่กระสอบหรือถุง ใช้ของหนักทับให้น้ำตก ทำเช่นนี้สัก 2-3 วัน
3. พอหัวไชเท้าเริ่มเป็นสีน้ำตาล และแบนลงสักครึ่งหนึ่งให้ตากต่อ จนเป็นสีน้ำตาลแก่ เก็บใส่ขวดโหล ปิดฝาให้สนิท
เก็บรับประทานได้นาน





http://scratchpad.wikia.com/wiki


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 8:46 am, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 05/10/2011 9:56 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

789.เพาะถั่วงอกด้วยเครื่องเพาะถั่วงอก ระบบน้ำวน อัตโนมัติ






ชุดที่ 1 ประวัดความเป็นมาของถั่วงอก
ประเทศแรกที่รู้จักการเพาะถั่วงอกคือประเทศจีนมีหลักฐานเชื่อได้ว่าคนจีนเพาะถั่วงอกกันมา 2930 ปีก่อนคริสตกาล
โดยเฉพาะกะลาสีเรือของจีนจะเพาะถั่วงอกกินในเรือเพื่อป้องกันและรักษาโรครักปิดรักเปิด เมื่อคนจีนอพยพย้ายถิ่นฐาน
เข้ามาในประเทศไทย ก็ได้นำเอาวัฒนธรรมการกิน ถั่วงอกเข้ามาด้วย โดยเชื่อว่าคนจีนเริ่มเพาะถั่วงอกในเมืองไทย เมื่อ
ประมาณ 80 ปี มานี้เอง โดยแรกๆ ก็เพาะกินกันเอง

ในกรุงเทพฯ เริ่มแรกนั้น มีโรงงานเพาะถั่วงอกอยู่ 2 โรงงาน ตั้งอยู่แถบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ต่อมาในปี พ.ศ. 2485 เกิด
น้ำท่วมใหญ่ขึ้นในกรุงเทพฯ ทำให้ไม่สามารถปลูกพืชผักได้ เกิดการขาดแคลนผัก ทางราชการจึงส่งเสริมให้หันมาส่งเสริม
บริโภคถั่วงอกกันมากขึ้น เพราะเห็นว่าเพาะง่ายราคาถูก ใช้เวลาในการเพาะสั้น
เพียง 3-4 วัน ก็สามารถนำมารับทานได้

ปัจจุบันถั่วงอกเป็นผักพื้นฐานอย่างหนึ่งที่คนไทยนิยมบริโภค โดยเฉพาะ กรุงเทพฯ จังหวัดเดียวนั้น มีการบริโภคถั่วงอกถึง
วันละ 200,000 กิโลกรัม







ชุดที 2 ประโยชน์และคุณค่าทางอาหารของถั่วงอก
ถั่วงอก เป็นผักที่รู้จักกันมานานตั้งแต่สมัยก่อนจนถึงปัจจุบันก็ยังได้รับความนิยมอยู่มากถั่วงอก คือ ต้นอ่อนที่งอกออกมาจาก
เมล็ดถั่วต่างๆ ซึ่งถั่วที่คนไทยนิยมนำมาเพาะเป็นถั่วงอก ได้แก่ ถั่วเขียว ถั่วดำ ถั่วเหลือง ถั่วแดง ถั่วลิสง ถั่วลันเตา เมล็ดทาน
ตะวันก็สามารถนำมาเพาะเป็นทานตะวันงอกได้เช่นกัน

แต่ถั่วที่นิยมนำมาเพาะเป็นถั่วงอก คือ ถั่วเขียวผิวมัน และถั่วเขียวผิวดำ เพราะเมล็ดพันธุ์หาง่าย ราคาถูก สามารถเพาะเป็นถั่ว
งอกได้ง่ายและเร็ว เพาะได้ทุกฤดูกาล

ถั่วงอกเป็นผักที่มีคุณค่าทางอาหารสูง โดยเฉพาะมีโปรตีน วิตามิน และเกลือแร่ ช่วยซ่อมแซมเชลล์ที่สึกหรอ ช่วยเสริมสร้าง
การทำงานของสมอง ช่วยบำรุงประสาท แก้ท้องผูก ป้องกันโรคเบาหวาน

คนจีนในสมัยก่อนยังเชื่อว่าเมื่อรับประทานถั่วงอกแล้วจะช่วยเพิ่มความอบอุ่นและป้องกันหวัดในฤดูหนาว เนื่องจากเป็นผัก
ที่ให้พลังงานต่ำมีเส้นใยอาหารสูง ทำให้ระบบการขับถ่ายทำงานได้ดี และช่วยดูซับของเสียออกจากร่างกายได้ ถ้าหากต้อง
การให้ได้สารอาหารครบถ้วนแล้ว ก็ควรที่จะรับประทานถั่วงอกสดๆ เพราะมีคุณสมบัติที่ช่วยชะลอความแก่ ช่วยทำให้
ร่างกายสดชื่น แถมยังไม่ให้อ้วนอีกด้วย

ปัจจุบันมีผู้นิยมรับประทานถั่วงอกโดยไม่มีหัว โดยหารู้ไม่ว่าคุณค่าทางอาหารส่วนใหญ่ คือ โปรตีน วิตามิน เกลือแร่ ล้วนอยู่
ที่หัวของถั่วงอกเกือบทั้งหมด ดังนั้นจึงควร รับประทานทั้งต้นและเป็นถั่วงอกดิบ เราจะได้สารอาหารครบถ้วนมากกว่าการกินสุก
และควรล้างให้สะอาดก่อน ถ้าไม่แน่ใจว่าถั่วงอกที่ซื้อมาใช้สารฟอกขาวหรือไม่ ควรกินที่ทำให้สุกแล้วซึ่งจะปลอดภัยจากสารพิษ







ชุดที่ 3 เมล็ดถั่วที่ใช้เพาะถั่วงอก
เมล็ดทานตะวัน สามารถนำมาเพาะเป็นเมล็ดทานตะวันงอกได้เช่นเดียวกับการเพาะเมล็ดถั่วชนิดอื่นๆ ใช้เวลาการเพาะประมาณ
5-6 วัน แต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก ถั่วเหลืองประกอบด้วยสารอาหารต่างๆมากมายได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน
แคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามิน จึงจัดเป็นพืชที่ให้คุณค่าทางอาหารมากกว่าพืชชนิดอื่น ๆ การเพาะถั่วงอกจากเหลืองก็เหมือน
กับการเพาะถั่วงอกจากถั่วเขียว ถั่วที่ได้มีลักษณะหัวโต ต้นอ่อนจะผอมและยาวกว่าเมล็ดถั่วเขียว

ถั่วลิสง ที่นำมาใช้เป็นอาหาร คือ เมล็ดแก่ เช่นเดียวกับถั่วเขียวและถั่วเหลือง เมื่อบริโภคเป็นผัก จะต้องนำมาเพาะเป็นถั่วงอกก่อน
คนไทยจะคุ้นเคยกับถั่วงอกจากถั่วเขียวและถั่วงอกหัวโตจากถั่วเหลืองมากกว่า ส่วนถั่วงอกจากถั่วลิสงนั้น คนไทยรู้จักน้อย ถั่วงอก
จากถั่วลิสงเป็นที่นิยมทางภาคใต้ เรียกว่า หน่อถั่ว จะใช้เป็นผักสดและ ใช้ปรุงอาหาร เช่น ใส่เป็นผักปรุงแกงส้ม แกงไตปลา
แกงเหลือง หรือนำไปแปรรูปเป็นผักดองที่เรียกกันว่า หน่อถั่วดอง ใช้รับประทานเป็นเครื่องเคียงกับน้ำพริกกะปิ และแกงกะทิต่างๆ
เนื่อง ถั่วงอกจากถั่วลันเตา ที่ได้ จะมีลักษณะ ต้นอ่อน อวบ ใบอ่อนมีสีเขียวอ่อน คนจีนเรียกว่า ผักโตวเหมี่ยว การเพาะเป็นถั่วงอก
นั้น ควรเลือกเม็ดถั่วลันเตาใหม่และปราศจากยาป้องกันแมลง







ชุดที่ 4 ปัจจัยและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการเพาะถั่วงอก
การที่เมล็ดพันธุ์พืชจะงอกได้นั้น จำเป็นที่จะต้องได้รับปัจจัยหรือสภาพแวดล้อมที่ เหมาะสมกับการงอกเมล็ด เพื่อให้กระบวนการต่าง ๆ
ของการงอกเกิดขึ้น ปัจจัยเหล่านั้นได้แก่

เมล็ดถั่ว : เมล็ดถั่วที่นิยมนำมาเพาะมากที่สุดคือเมล็ดถั่วเขียว ซึ่งมีอยู่ 2 พันธุ์ คือ เมล็ดถั่วเขียวผิวมัน กับเมล็ดถั่วเขียวดำ

ภาชนะ : ภาชนะที่จะนำมาเพาะถั่วงอกนั้น จะต้องเป็นภาชนะทึบแสง และต้องมีรูระบายน้ำด้านล่าง เช่น กระถางต้นไม้ ถังพลาสติก
ทึบแสง

น้ำ : เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการงอกของเมล็ดถั่วงอก อาจเป็นแหล่งน้ำจากธรรมชาติ น้ำบาดาลหรือน้ำประปา

แสง : เมล็ดพืชบางชนิดต้องการ แสงเป็นปัจจัยในการงอก เช่น พริก มะเขือเทศ ยาสูบ ผักกาดขาวปลี แต่ถั่วเขียวที่นำมาเพาะถั่วงอก
ไม่จำเป็นต้องใช้แสง

ภูมิอากาศและอุณหภูมิ : ฤดูร้อนและฤดูฝน การงอกของถั่วงอกจะงอกได้ดีกว่าฤดูหนาว อุณหภูมิปกติเมล็ดพันธุ์พืชทั่วไปสามารถ
งอกได้ในช่วงอุณหภูมิ 10 – 35 องศาเซลเซียส

ออกซิเจน : การงอกของเมล็ดเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับเซลล์ที่มีชีวิตและต้องใช้พลังงาน จึงต้องใช้ออกซิเจนสำหรับหายใจ
เพื่อให้ได้พลังงานที่จำเป็นสำหรับการงอก โดยทั่วไป เมล็ดพืชงอกได้ในบรรยากาศที่มีออกซิเจนประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ ถ้าบรรยา
กาศรอบๆ มีคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น จะมีผลทำให้อัตราการงอกของเมล็ดลดลง






ชุดที 5 รูปแบบและวัสดุอุปกรณ์ในการเพาะถั่วงอก
ในปัจจุบันนี้รูปแบบและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการเพาะถั่วงอกมีอยู่หลากหลายวิธีด้วยกันซึ่งจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น สภาพ
แวดล้อม สถานที่ และจุดประสงค์ของการเพาะว่าจะเพาะไว้รับประทานเองหรือเพาะเพื่อจำหน่าย ซึ่งมีรูปแบบและวิธีการเพาะดังนี้
การเพาะถั่วงอกบนผ้าขาวบาง การเพาะถั่วงอกในขวดกาแฟ การเพาะถั่วงอกในกระถางดินเผา การเพาะถั่วงอกในตะกร้าพลาส
ติก การเพาะถั่วงอกในปี๊บ ซึ่งแต่ละวิธีก็มีข้อเสียในการเพาะที่แตกต่างกันออกไป






ชุดที่ 6 เครื่องเพาะถั่วงอกระบบน้ำวนอัตโนมัติ
เครื่องเพาะถั่วงอกระบบน้ำวนอัตโนมัติ ได้ประดิษฐ์ขึ้นจากวัสดุที่หาง่าย และวัสดุเหลือใช้ โดยโครงสร้างของเครื่องประกอบด้วย
เครื่องตัดไฟอัตโนมัติ ท่อน้ำ พีวีซี.ขนาด 4 นิ้ว ตัดยาวประมาณ 50 เซนติเมตร จำนวน 4 ท่อ ปิดหัวท้ายแล้วเจาะรูขนาด 4
หุนด้านบนและด้านข้างทั้ง 4 ท่อ เชื่อมต่อกันด้วยท่อขนาด 4 หุน

ถังพลาสติกเพาะจำนวน 3 ถัง ฝาปิดถังเพาะจะติดหัวฉีดสปริงเกอร์เพื่อพ่นน้ำให้ความชื้นกับถั่วงอก ถังพลาสติกพักน้ำ 3 ถัง ฝา
ปิดจะติดพัดลมเพิ่มออกซิเจนและปรับอุณหภูมิน้ำในถังพักน้ำ 3 ตัว เครื่องแปร
งไฟ 1 ตัว มอเตอร์ปั๊มน้ำ 4 ตัว กรวยรอง
น้ำ 3 อัน หลอดไฟสัญญาณบอกการทำงานของเครื่อง

เมื่อประกอบเข้ากันแล้วก็จะได้เครื่องเพาะถั่วงอกระบบน้ำวนอัตโนมัติ 1 ชุด เครื่องเพาะถั่วงอกระบบน้ำวนอัตโนมัติที่ประดิษฐ์ขึ้น
มานี้ จะใช้ระดับน้ำเป็นตัวควบคุมการทำงาน เพาะถั่วงอกได้ครั้งละ 3 ถัง ถังละ 1 กิโลกรัม ใช้เวลาเพาะถั่วงอกประมาณ 3-4 วัน
ก็สามารถนำมารับประทานได้

เครื่องเพาะถั่วงอกระบบน้ำวนอัตโนมัติ ซึ่งมีข้อดี คือ เป็นการประหยัดไฟ ประหยัดน้ำล้างทำความสะอาดง่าย ไม่ต้องคอยเสียเวลา
มารดน้ำทุกๆ 3–4 ชั่วโมง ใช้เวลาเพาะ 3–4 วัน ก็จะได้ถั่วงอกที่ขาว สะอาด ไร้ราก ปลอดจากสารเคมี ไว้รับประทานหรือจำหน่าย
ตลอดปี








ชุดที่ 7 ถั่วกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต
การเพาะถั่วงอกทุกครั้งนั้นก่อนที่จะนำเมล็ดถั่วเขียวใส่ลงไปในภาชนะที่จะใช้ในการเพาะนั้นต้องแช่เมล็ดถั่วเขียวในน้ำสะอาด
8–10 ชั่วโมง การเพาะถั่วงอกด้วยเครื่องเพาะถั่วงอกระบบน้ำวนอัตโนมัติก็เช่นเดียวกัน ซึ่งมีขั้นตอนการเพาะดังนี้

วางฐานรองไม้ลงในถังแล้วนำตะแกรงพลาสติกที่ตัดเป็นวงกลมวางบนฐานรองไม้ เอากระสอบป่านที่ตัดเป็นวงกลมวางบนตะแกรง
อีกที่หนึ่ง การใช้กระสอบป่านก็เพื่อเก็บความชื้น และให้รากถั่วงอกแทงทะลุกระสอบแล้วตัดรากออก เราก็จะได้ถั่วงอกไร้ราก

นำเมล็ดถั่วเขียวที่แช่น้ำไว้ 8–10 ชั่วโมง มาโรยลงบนกระสอบป่านแล้วเกลี่ยให้เสมอกัน โดยทำเป็นชั้นๆ 1 ถัง ทำเป็น 3 ชั้น
ใช้เมล็ดถั่วเขียว 1 กิโลกรัม ใช้เวลาเพาะ 3-4 วัน จะได้ถั่วงอกประมาณ 5–6 กิโลกรัม

เมื่อได้ผลผลิตจากการเพาะแล้ว ต้องฝึกให้นักเรียนรู้จักการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย โดยการบันทึกค่าวัสดุต้นทุน ได้แก่ เมล็ด
ถั่ว ถุงพลาสติก ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำบัน ทึกจำนวนผลผลิตที่ได้ เทียบกับราคาขายตามท้องตลาด เพื่อนำไปคำนวณต้นทุนและ
ผลกำไร กำไรที่ได้แบ่งให้นักเรียนที่ดูแลและนำไปเป็นทุนหมุนเวียนในการดำเนินการต่อไป

การคิดผลกำไรนั้น คิดได้จากสูตร ก – ข = กำไร
ผลกำไร = ราคารวมของผลผลิต - ราคารวมของวัสดุต้นทุน

ราคารวมของผลผลิต ได้แก่ จำนวนเงินที่ขายผลผลิตได้ทั้งหมดตามราคาในท้องตลาดราคารวมของวัสดุต้นทุน ได้แก่ จำนวน
เงินที่ใช้ซื้อวัสดุต้นทุนต่าง ๆ ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้าจากความรู้ที่ได้จากการเพาะถั่วงอกนี้ สามารถเป็นแบบอย่างให้กับนักเรียนและผู้ที่
สนใจนำไปปฏิบัติต่อที่บ้าน สามารถเพาะถั่วงอกไว้รับประทานเองหรือทำเป็นอาชีพได้ เพื่อให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น พึ่งตนเองได้ และ
ดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






ชุดที่ 8 การเพาะถั่วงอกกับความรู้คู่คุณธรรม
การเพาะถั่วงอกด้วยเครื่องเพาะถั่วงอกระบบน้ำวนอัตโนมัติจะได้ถั่วงอกที่ขาวสะอาด
กรอบหวาน ไร้สารเคมีเจือปน ผู้บริโภคมีความ
ปลอดภัย 100 เปอร์เซ็นต์ ถั่วงอกนั้นโดยปกติแล้วจะเพาะในภาชนะที่ทึบแสง ซึ่งสามารถทำให้ถั่วงอกขาวโดยธรรมชาติ ไม่ต้อง
ใช้สารเคมี ซึ่งปัจจุบันนี้ถั่วงอกที่มีขายอยู่ตามท้องตลาด ผู้ผลิตมักจะใช้สารเคมีจำพวกสารเร่ง สารอ้วน สารคงความสด (ฟอร์มาลิน)

โดยเฉพาะสารฟอกขาว ที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า “โซเดียมไฮโดรซัลไฟต์” ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายอาหารบางรายนำมาใช้ใน
อาหาร เพื่อให้อาหารมีสีขาว ดูคุณภาพดี โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค

อาหารที่มักจะตรวจพบ ได้แก่ ถั่วงอก ขิงหั่นฝอย ยอดมะพร้าว หน่อไม้ดอง น้ำตาลมะพร้าว กระท้อน ซึ่งมีอันตรายต่อผู้บริโภค
ทำให้เกิดอาการหายใจขัด ความดันโลหิตต่ำ เวียนศีรษะ ปวดท้องอาเจียน อุจจาระร่วง ผู้ที่แพ้อย่างรุนแรง หรือผู้ป่วยโรคหอบ
หืดจะมีอาการช็อก หมดสติ และเสียชีวิตได้



http://school.obec.go.th/banwiangmok/janjob.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 07/10/2011 8:42 pm, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 05/10/2011 10:34 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

790. เส้นทางแห่งก๋วยเตี๋ยว





ก๋วยเตี๋ยวเกิดขึ้นเมื่อใด ไม่ปรากฏ แต่ในประเทศจีนสมัย กุบไรขาน (พ.ศ.1822-1837) มาโค โปโล เดินทางจากอิตาลี
โดยเส้นทางสายไหมสู่เมืองจีน มาโคโปโล กล่าวถึงกองเรือสินค้าที่มากมายของจีน และสิ่งมีค่ามหาสานสองสิ่งคือดินปืนและ
บะหมี่ จึงเป็นเหตุให้แนวความคิดของคนในโลกเข้าใจถึงกำเนิดและที่มาของเส้นสปาเกตตี ว่าเกิดมาได้อย่างไร


ส่วนในเมืองไทยมีการค้าขายกับชนชาติจีนมาแต่ยุคสุโขทัยเช่นเครื่องสังขโลก โดยการค้าทางเรือแต่ก็ไม่ปรากฏการกล่าว
ถึงก๋วยเตี๋ยว จนมาในสมัยอยุธยา ถ้าจะกล่าวถึงยุคทองแห่งอาหารก็หน้าจะเป็นสมัยของสมเด็จพระนารายณ์ (พ.ศ.2199-
2231) ซึ่งมีการเปิดการค้ากับอารยะประเทศ อาหารสารพัดชนิดไหลเข้ามาในเมืองไทยและก็มีการดัดแปลงให้เข้ากับ
ท้องถิ่นและ วัสดุในท้องที่ที่มี ชาวจีนที่มาค้าขายก็นำก๋วยเตี๋ยวมาทำกินกันและก็แบ่งให้ผู้ร่วมค้ากินก็เป็น ของใหม่และ
แปลกสิ่งสำคัญก๋วยเตี๋ยวเป็นอาหารจานเดี่ยว ก็แค่ลวกเส้นใส่หมูเติมน้ำซุปก็กินได้แล้ว


ก๋วยเตี๋ยวในปัจจุบันช่วงที่รุ่งโรจน์ที่สุดก็จะเป็นในสมัยของรัฐบาล จอมพล ป.พิบูลสงคราม ในปี พ.ศ. 2485 เกิดน้ำ
ท่วมใหญ่ในกรุงเทพฯ การถวายบังคมพระบรมรูปทรงม้าในเดือนตุลาคมก็ยังต้องใช้เรือพายไป ส่วนในทำเนียบรัฐบาลการ
ประชุมคณะรัฐมนตรีจึงต้องจ้างก๋วยเตี๋ยวเรือเข้าไป เลี้ยงคณะรัฐมนตรีที่มาเข้าร่วมประชุม ผู้นำประเทศชมอร่อยจึงมี
นโยบายส่งเสริมให้คนไทยกินก๋วยเตี๋ยว และให้มีการขายก๋วยเตี๋ยวให้มาก เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำและวัฒน
ธรรมสร้างชาติ หน่วยงานราชการทุกกรมกองข้าราชการส่วนใหญ่ต้องหันมาขายก๋วยเตี๋ยวเพื่อสนองนโยบาลของ
รัฐบาล ก็หน้าจะเรียกได้ว่าเป็น ยุคทองของก๋วยเตี๋ยว


ในปัดจุบันก๋วยเตี๋ยวมีการพัฒนาหลากหลายในแต่ละถิ่นแต่ละภาคเช่นก๋วยเตี๋ยว เรืออยุธยาก็จะจำกัดความว่า สูตรโบราณ
ก๋วยเตี๋ยวหมูใส่กุ้งแห้ง (แต่ก่อนไม่มีผงชูรสกุ้งแห้งก็คือ เครื่องชูรสทำให้น้ำหวาน หน้าจะมีสารที่ไปกระตุ้นต่อมน้ำลาย)
จนมาเป็นก๋วยเตี๋ยวสุโขทัย แต่จะกล่าวกันว่าคนเมืองสุโขทัยแต่โบราณก็จะเรียกว่า “ก๋วยเตี๋ยวไทย” แต่คนต่างถิ่น
โดยทั่วไปก็จะเรียกเต็มยศว่า ก๋วยเตี๋ยวสุโขทัย ส่วนที่ต่างจากถิ่นอื่นก็คือ การปรุงด้วยน้ำมะนาว ถั่วลิสงป่น และถั่วฝัก
ยาว เป็นสูตรหลัก ซึ่งก็คล้ายกับก๋วยเตี๋ยวของเมืองกำแพงเพชรที่เรียกว่า “ก๋วยเตี๋ยวชากังราว” เพียงต่างกันที่สุโขทัย
ใส่หมูแดงเพิ่มเข้าไป และก๋วยเตี๋ยวชากังราวปรุงรส ด้วยหัวไช้โปกับกุ้งแห้ง และในลักษณะที่คล้ายกันก็จะมีที่เมือง
ใต้ พบที่เมืองนครศรีธรรมราช ก็จะใช้หมูสามชั้นต้มหั่นใส่แทนหมูแดง แต่จะเปลี่ยนจากถั่วฝักยาวมาเป็นผักบุ้งแทน
คล้ายก๋วยเตี๋ยวอยุธยาที่ใส่ผักบุ้ง และก๋วยเตี๋ยวเรือรังสิตเมืองปทุมธานีก็จะเหมือนของอยุธยาเช่นกัน


ก๋วยเตี๋ยวผัดไทยมีมาแต่โบราณในชื่อ “ก๋วยเตี๋ยวผัด” มาถึงในสมัยนายกรัฐมนตรีจอมพล ป.พิบูลสงคราม มีนโยบายนำ
ประเทศเข้าสู่อารยะธรรมสมัยใหม่ วันที่ 22เดือนมิถุนายน พ.ศ.2482 จึงเปลี่ยนชื่อประเทศสยาม มาเป็นประเทศไทย
และท่านชอบกินก๋วยเตี๋ยวผัดอยู่แล้ว จึงเสนอให้ใช้คำใหม่ว่า “ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย” ตามชื่อใหม่ของประเทศ ความต่าง
ของก๋วยเตี๋ยวผัดไทย สูตรสุโขทัย ก็คือ การนำเครื่องปรุงของก๋วยเตี๋ยวน้ำมาใช้ใส่ไข่และน้ำส้มสายชูมาปรุงรส ส่วน
ในภาคอื่นอาจใช้น้ำมะขามเปียก ซอสพริก หรือซอสมะเขือเทศ หรืออย่างก๋วยเตี๋ยวเส้นจันทร์ แล้วแต่ถิ่นฐานความชอบ


เย็นตาโฟหรือก๋วยเตี๋ยวซอสแดง หน้าจะมาจากคำจีนว่า “แยงเต้าฟู่” คำว่า แยง หมายถึงลักษณะการปรุงอาหารคล้ายยำ
คำว่า เต้าฟู่ หมายถึงเต้าหู้ รวมความแล้วก็คือ ยำเต้าหู้ ฉะนั้น เย็นตาโฟก็หน้าจะหมายถึงก๋วยเตี๋ยวต้มยำ โดยมีเต้าหู้และ
ผักบุ้งใส่ซอสให้มีรส 4รสคือเปรี้ยวหวานเค็มเผ็ด



Reference http://www.vcharkarn.com/vblog/32435
http://ก๋วยเตี๋ยว.com/history.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 07/10/2011 8:44 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 07/10/2011 7:28 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

791. แผ่นปลูกพืชบนหลังคา นวัตกรรมการเกษตรแนวใหม่



แผ่นปลูกพืชบนหลังคา นวัตกรรมการเกษตรแนวใหม่ช่วยลดอุณหภูมิให้ที่พักอาศัยได้ถึง 8 องศาเซลเซียส เป็นอีกผลงานการ
ประดิษฐ์คิดค้น ที่เข้าร่วมประกวดผลงานการประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2555 ที่จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ


โครงการงานประกวดผลงานประดิษฐ์คิดค้น เพื่อขอรับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ : รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้นประจำปี 2555
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช.ได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อเฟ้นหาสุดยอดผลงานการประดิษฐ์คิดค้นจาก
ฝีมือนักประดิษฐ์นักวิจัยไทย เข้ารับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ :

รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้นประจำปี 2555 ซึ่งในแต่ละปีนักประดิษฐ์นักคิดค้นไทยต่างให้ความสนใจส่งผลงานเข้าร่วมประ
กวดอย่างคับคั่ง โดยแผ่นปลูกพืชบนหลังคา เป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมผลงานการประดิษฐ์คิดค้นจากมหาวิทยาลัยเกษตร
ศาสตร์ เข้าร่วมประกวดด้วย รองศาสตราจารย์ พาสินี สุนากร จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ บอกว่า


แผ่นปลูกพืชบนหลังคา เกิดขึ้นโดยความร่วมมือคิดค้นกับคณะนักวิจัยจนประสบความสำเร็จเป็นชิ้นงานที่ใช้งานและ
เกิดประโยชน์ได้จริง ซึ่งแผ่นปลูกพืชบนหลังคานี้คิดค้นขึ้นเพื่อใช้ปลูกพืชชนิดต่างๆ ในพื้นที่จำกัด ที่พักอาศัยในตัวเมือง
เช่น อาคารพาณิชย์ ทาวน์เฮ้าส์ และอาคารสำนักงาน โดยแผ่นปลูกพืชบนหลังคาจะมีลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมจัสตุรัส
30 x 30 เซนติเมตร สูงประมาณหนึ่งคืบหรือสามารถขยายขนาดแผ่นปลูกพืชบนหลังคาให้ใหญ่ขึ้นได้ตามต้องการ
อัดแน่นเป็นก้อนด้วยขุยและใยมะพร้าว กากกาแฟเหลือทิ้ง กาวยูเรีย นำมาอัดแน่นด้วยความร้อนแล้วขึ้นรูป ก็จะได้
แผ่นปลูกพืชบนหลังคาที่มีปุ๋ยและสารอาหารที่จำเป็นสำหรับพืชอยู่พร้อมตามธรรมชาติสำหรับการใช้งานถึง 6
เดือน

หลังจากนั้นสามารถนำเมล็ดพันธุ์พืชเพาะปลูกลงในแผ่นปลูกพืชบนหลังคาเช่นเดียวกับปลูกบนดินหรือในกระถางและ
ให้น้ำตามปกติ พืชก็จะเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดีไม่แตกต่างจากการปลูกแบบทั่วไป พร้อมให้ทิวทัศน์ที่สวยงามและ
ไม่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างที่พักอาศัยด้วย


นักวิจัยบอกด้วยว่า แผ่นปลูกพืชบนหลังคาไม่เพียงแต่เป็นแปลงปลูกพืชสารพัดประโยชน์ จากการทดลองปลูกพืช
โดยนำไปวางบนหลังคาบ้าน หลังคาอาคาร ยังสามารถช่วยลดอุณหภูมิบนพื้นที่ดังกล่าวได้ถึง 8 องศาเซลเซียส ผู้ที่
สนใจสามารถผลิตแผ่นปลูกพืชบนหลังคาได้ด้วยตนเอง ด้วยวัสดุที่หาง่ายต้นทุนต่ำและการผลิตที่ไม่ยุ่งยากทั้งใยมะ
พร้าวและกากกาแฟ อีกทั้งยังเป็นการรีไซเคิลวัสดุทางการเกษตรเหลือใช้ให้เกิดประโยชน์อีกด้วย


สำหรับผลงานแผ่นปลูกพืชบนหลังคาหรือผลงานที่เข้าร่วมประกวดในโครงการงานประกวดผลงานประดิษฐ์คิดค้น
เพื่อขอรับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ :

รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้นประจำปี 2555 หากได้รับรางวัลชนะเลิศจะได้รับรางวัลจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัย
แห่งชาติ พร้อมจัดแสดงผลงานเผยแพร่แก่สาธารณชน ในงานวันนักประดิษฐ์ ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีอีกด้วย



ข้อมูลข่าวและที่มา
ผู้สื่อข่าว : อนงนาฎ สิทธิคง Rewriter : ธนวัต วงศ์วิริยะวณิช
สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ : http://thainews.prd.go.th



http://thainews.prd.go.th/view.php?m_newsid=255410030014&tb=N255410&news_headline=
รายงานพิเศษ : แผ่นปลูกพืชบนหลังคา นวัตกรรมการเกษตรแนวใหม่


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 07/10/2011 8:45 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 07/10/2011 7:35 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

792. คลายร้อนด้วยสวนบนหลังคา





















http://www.arunsawat.com/board/index.php?topic=8650.0








กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 07/10/2011 7:46 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

793. สนามหญ้าบนพื้นคอนกรีต

สร้างสรร สนามหญ้าบนพื้นคอนกรีต เขียวขจีดั่งเนรมิต


อุปสรรสำคัญของ พื้นที่สีเขียวในเมือง คือ ไม่มีพื้นดินสำหรับปลูกพืช เพราะส่วนใหญ่ มีเหลือแต่พื้นที่คอนกรีต แต่ระบบโปรโดรลิท
ไม่มีข้อจำกัดต่อการปลูกพืชบนพื้นที่คอนกรีต และสามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างสิ้นเชิง

จึงเป็นการอำนวยโอกาสสร้างสรรพื้นที่สีเขียว ไม่ว่าขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ ได้ตามที่ต้องการ ทำให้เกิดมุมมองใหม่ ที่สดชื่นสวย
งามทันทีดั่งเนรมิต โดยไม่ต้องทุบพื้นคอนกรีตทิ้งและในอนาคต หากต้องการกลับมาใช้พื้นคอนกรีตนั้นอีก สามารถย้ายระบบเพื่อไป
ติดตั้งที่ใหม่ โดยไม่ทำให้พืชที่เสียหาย

ดังนั้นระบบโปรโดรลิท จึงให้ความสะดวกและไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงเตรียมที่ปลูกพืช สามารถสร้างสรร ให้เป็นสนาม
หญ้าจริงๆบนพื้นคอนกรีต หรือปลูกพืชคลุมดินอื่นๆ สลับกับพันธ์ไม้ดอกต่างสีสรร ได้อย่างอิสระ






http://www.proscience.biz/greenroofs_lawn.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 07/10/2011 8:46 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 07/10/2011 7:55 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

794. การปลูก ในระบบโปรโดรลิท ด้วยเมล็ดทั่วไป






1.หาตำแหน่งที่ตั้งเหมาะสมของ โมดูลโปรโดรลิท โดย
คำนึ่งถึงชนิดของพืชที่จะปลูก เช่น ต้องการแสงแดดจัด
แสงแดดร่ำไร เมื่อเรียบร้อยแล้ว เปิดด้านบนชุดโมดูล
ออก เทน้ำลงในถ้วยกักน้ำ (สีดำทรงกลม) ให้เต็มทุกใบ






2. นำชั้นแผ่นกรอง (สีดำ) และชั้นยึดรากพืช (สีขาว)
วางปิดทึบตามเดิม หลังจากนั้นให้นำดินชีวภาพ พร้อม
ปลูกมาตรฐานสูง (Biological soil) ที่บรรจุอยู่ในถุง
เทลงทับลงไป สูงประมาณ 1 นิ้ว ปรับให้พื้นดินเสมอกัน
แล้วรดน้ำให้ชุ่ม









3.จากนั้นนำเมล็ดพันธ์ที่เตรียมไว้ หยอดลงบนดินกลบ
บางๆ ควรมีระยะห่างของต้น (ตามประเภทของพืช) ไม่
ให้แน่นเกินไป เพื่อความสวยงาม เมื่อพืชเจริญเิติบโตเต็มที่


----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------



การปลูกในระบบโปรโดรลิท ด้วยต้นกล้าทั่วไป



กรณีใช้ต้นกล้า ควรเลือกพืชที่ไม่โตมากนัก นำออกจากถุง หรือกระถางต้นกล้า นำลงปลูกในโมดูลของโปรโดรลิท ได้
ทันทีหากต้นกล้าที่นำมาปลูก มีแกลบ หรือดินเหนียวติดมามาก ควรเอาออกบ้าง โดยพยายามอย่าให้ รากพืชเสีย
หายมากเกินไป (ก่อนนำลงปลูก ปฎิบัติตาม ข้อ 1 และ 2)














-------------------------------------------------------------------------------




การปลูกในระบบโปรโดรลิท ด้วยเมล็ดธัญพืช





นำเมล็ดข้าวสาลี ปริมาณ 200-250 กรัม แช่น้ำไว้ 8-10
ชั่วโมง หลังจากนั้นนำเมล็ดโรย ลงในโมดูลโปรโดรลิทให้ทั่ว
โดยอย่าให้เมล็ดซ้อนกัน (ก่อนโรยเมล็ด ปฎิบัติตาม ข้อ 1
และ 2) แล้วฉีดพ่นน้ำให้เมล็ด 1 ครั้งหลังจากโรยเมล็ดแล้ว



ใช้ผ้าดิบคลุมโมดูลโปรโดรลิท (ช่วยให้เมล็ดมีอัตรางอกสูง
และช่วยให้ไม่มีโอกาสเกิดเชื้อราง่าย) โดยฉีดพ่นน้ำให้ผ้าดิบ
เปียกชุ่มเสมอ (หรือฉีดพ่นน้ำไปยังเมล็ดให้ทั่ววันละ 2-3 ครั้ง
ด้วยก็ได้ เพื่อเร่งให้แทงยอด แต่อย่าให้แฉะ) เมื่อครบ 48 ชั่ว
โมงแล้วเปิดดู หากเห็นว่าเมล็ดเริ่มแทงยอดอ่อนเล็กๆ อย่างสม่ำ
เสมอ ให้นำผ้าดิบออก แล้วรดน้ำตามปกติ เช้า-เย็น พอให้ดิน
ชุ่มทุกวัน




ราว 5-7 วัน ต้นอ่อนข้าวสาลีจะเจริญเติบโต และพร้อมที่
จะนำมาคั้นน้ำบริโภคสดๆได้หากบริโภคไม่หมดในนำต้น
อ่อนแช่ตู้เย็น




หน้าแรกแนวคิดเพื่อ อาคารทั่วไปแนวคิดเพื่อ พื้นที่สาธารณะ
แนวคิดเพื่อ ครอบครัวยุคใหม่ผลงาน โครงการขนาดใหญ่ผลงาน
โครงการทั่วไปออกแบบ-สำรวจพื้นที่ติดตั้งแบ่งปันความรู้
เกี่ยวกับบริษัทฯติดต่อบริษัทฯ:: Home use :: สนามหญ้าบน
พื้นคอนกรีตทุ่งหญ้าบนหลังคาโรงรถไร่ธัญพืชในบ้านแปลง
สมุนไพรใกล้ตัวสวนครัวริมระเบียงสวนถาดบอนไซสวนหย่อม
1 ตารางเมตร ชุดสินค้าสำเร็จรูป พร้อมปลูก ใครก็ปลูกได้ ง่ายจัง



http://www.proscience.biz/greenroofs_user.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 07/10/2011 9:38 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

795. Green Roof : หลังคาเขียวรักษ์โลก


ธัญญลักษณ์ เหล็กพิมาย
สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา



เชื่อว่าท่านผู้ฟังคงยังจำภาพความสวยงาม ร่มรื่นของหมู่บ้านฮอบบิทในหนังเรื่อง The Lord of the rings กันได้ใช่ไหมคะ
ซึ่งท่านคงสังเกตเห็นลักษณะการสร้างบ้านที่มีรูปทรงน่ารัก ที่สำคัญคือ มีการปลูกหญ้าไว้บนหลังคา ดูเขียวขจีมาก ๆ วันนี้จะ
ขอพูดถึงหลังคาเขียวที่ว่านี้กันค่ะ

Green roofs หรือ หลังคาเขียว นั้น ความจริงไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่มีมานานแล้ว โดยเฉพาะในประเทศแถบยุโรป ในหมู่บ้านเล็กๆ
สามารถพบเห็นGreen roof ได้ทั่วไป หลังจากศตวรรษที่ 18 ก็พบการใช้ในแถบสแกนดิเนเวียตอนเหนือ รวมไปถึงอเมริกา
และภูมิภาคอื่นทั่วโลกมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อตอบรับกับกระแสการประหยัดพลังงานและการรักษาสิ่งแวดล้อมนั่นเอง เราจึงเริ่ม
เห็นงานก่อสร้างใหญ่ๆ หรือสถานที่สำคัญที่นำเอาหลัก Green roofs มาใช้มากขึ้น เช่น อาคารศาลาว่าการนครชิคาโก้
สหรัฐอเมริกา หอศิลปะและนิทรรศการ เมืองบอนน์ ประเทศเยอรมนี บริษัทฟอร์ด มอเตอร์ในรัฐมิชิแกน และสถาบันวิทยา
ศาสตร์แห่งแคลิฟอร์เนีย ในสหรัฐอเมริกา เป็นต้น จะเห็นได้ว่าโครงการใหญ่ระดับประเทศ ต่างมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับ
Green roofs เป็นหลัก ทั้งนี้เพราะมีประโยชน์มหาศาล เกี่ยวโยงกันและส่งผลดีต่อประชากรของตนนั่นเองค่ะ


Green roofs มีความหมายใน 2 แง่ คือ
1. Green roofs ที่หมายถึง หลังคาที่เป็นสีเขียวจากการมีพืชพันธุ์ ปกคลุมอยู่ข้างบน ไม่ว่าจะเป็นพืชพรรณในลักษณะ
พืชคลุมดิน ไม้เลื้อย หรือลักษณะใดๆก็ตาม ซึ่งจะเน้นคำนึงถึงผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมโดยตรง นอกเหนือไปจากการ
สร้างสภาวะสบายและการลดการใช้พลังงานของอาคาร

2 . Green Roof ที่หมายถึง การออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อการประหยัดพลังงาน โดยเน้นที่การทดลองวัสดุก่อสร้าง
และเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ช่วยลดอุณหภูมิ ลดการใช้พลังงาน สร้างภาวะน่าสบาย ส่งเสริมแนวความคิดของการพัฒนาที่
ยั่งยืน ในรูปแบบของสถาปัตยกรรมสีเขียว หรือสถาปัตยกรรมสะอาด เช่น การใช้แผงโซล่าเซล เป็นต้น


นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งตามการใช้สอยได้เป็น 2 แบบ ก็คือ
1. หลังคาเขียวที่มีประโยชน์ใช้สอย (intensive green roof) คือ สามารถปลูกพืชทั้งชนิดเล็กและชนิดใหญ่ได้จริงๆและ
ทำกิจกรรมต่างๆได้ เช่น ใช้เป็นสวนหลังคาหรือ พื้นที่นันทนาการของอาคาร จึงจำเป็นที่จะต้องมีชั้นของดินที่หนามากพอ
อยู่ที่ราวๆ 30 ซม. ขึ้นไป และต้องการการดูแลรักษารวมถึงค่าใช้จ่ายมากกว่า

2. หลังคาเขียวไม่ใช้สอย (Extensive green roof) คือ หลังคาเขียวที่เน้นประโยชน์ทางด้านสิ่งแวดล้อม เป็นหลัง
คาเขียวที่มีความลึกของดิน 1-5 นิ้ว ใช้พืชพันธุ์ขนาดเล็ก เช่น หญ้าหรือพืชคลุมดินที่ไม่โตและไม่ต้องการดินมากนัก

ปัจจุบันในบ้านเราก็เริ่มมีอาคารที่นำเอาหลัก green roof มาใช้บ้างแล้วเหมือนกัน เช่น การ์เด้นคลิฟ คอนโดมิเนียม พัทยา
โครงการ คอนโดมิเนียม Bangkok Garden อาคารตรีทศ มารีนา เป็นต้น

ทั้งนี้ เนื่องจาก green roof มีประโยชน์มากมาย ไม่ว่าจะเป็น
- ช่วยสร้างออกซิเจน
- ช่วยจับและกรองฝุ่นผงในอากาศและเปลี่ยนให้เป็นดิน
- ลดเสียงรบกวน
- สร้างสภาวะสบายในอาคาร ลดความร้อนในฤดูร้อนและรักษาความอบอุ่นในฤดูหนาว
- ทำหน้าที่เป็นเหมือนเกราะป้องกันรังสี ไฟ และสิ่งไม่พึงประสงค์อื่นๆ ที่ตกลงมา เช่น ฝนกรด ฝนโคลน
- กรองน้ำฝนที่ตกลงมาให้น้ำสะอาดขึ้น

อย่างไรก็ตาม การก่อสร้างโดยใช้หลัก green roof ในบ้านเรานั้น หากจะทำให้เหมือนต่างประเทศก็คงลำบากสักหน่อย
เนื่องจากเมืองไทยเราอยู่ในเขตมรสุมเมืองร้อน ฝนตกเยอะ อาจต้องใช้งบประมาณค่อนข้างสูง แต่ที่จะทำได้ง่ายหรือทำได้
เลย คือตามดาดฟ้าของอาคารต่างๆ หรือตามระเบียงที่ยื่นออกไปนอกบ้าน ลองปลูกพืชคลุมดินชนิดที่ไม่ต้องใช้ดินมากนัก
ดูแลง่าย หรือจะใช้ เป็นสวนกระถาง หรือทำระแนงสวยๆให้ไม้เลื้อย ก็สวยงาม ได้ร่มเงา ช่วยสร้างออกซิเจนและรักษ์
โลกได้บ้างเหมือนกันค่ะ



http://www.uniserv.buu.ac.th/forum2/topic.asp?TOPIC_ID=4359


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 07/10/2011 8:47 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 07/10/2011 9:41 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

796. Skyfarming : สวนเกษตรบนตึกระฟ้า





ปัจจัยแห่งความอยู่รอดของชีวิตบนโลกคือ น้ำ อาหาร อากาศ และเครื่องนุ่งห่ม
อนาคตของอาหารโลก เป็นสิ่งที่น่าวิตก จากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศโลก
จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรง เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกลดลงและตัวเลขจำนวน
ประชากรโลกจาก 6.8 พันล้านคน ในปี ค.ศ.2009 พุ่งขึ้นไปเป็น 9.5 พันล้านคน
อย่างน่าตกใจ ในปี ค.ศ. 2050 (พ.ศ.2593)

เป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นราว 40 ปีข้างหน้า ประชากรโลกรุ่นหนุ่มสาวในวันนี้มีสิทธิ์
เห็นความเปลี่ยนแปลงนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นหากประชากรล้นโลกและ
เริ่มขาดแคลนอาหาร อาจต้องเกิดการแย่งชิงพื้นที่เพาะปลูก หรือเกิดการกักตุน
อาหารเพื่อความอยู่รอด ท้ายที่สุดราคาอาหารพุ่งสูงขึ้นดั่งราคาทองคำก็เป็นได้



ประชากรล้นโลกจะเกิดอะไรขึ้น
ขณะนี้โลกมีประชากร 6.8 พันล้านคน ค่าเฉลี่ยพื้นที่การเพาะปลูกเพื่อเป็นผลิตผล
การเกษตรด้านอาหาร ต่อใช้พื้นที่รวมกันเท่ากับทวีปอเมริกาใต้ จึงจะเพียงพอ
หาก ค.ศ. 2050 คาดว่าจะมีประชากรเพิ่มขึ้นเป็น 9.5 พันล้านคน คิดอัตราการ
บริโภคอย่างน้อย 1,500 Calories/วัน โลกจะต้องใช้พื้นที่การเกษตรด้านอาหาร
เท่ากับทวีปอเมริกาใต้ร่วมกับ ประเทศบราซิลทั้งประเทศ คิดเป็นพื้นที่ราว 2.1
พันล้านเอเคอร์

ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่บนโลก จะหาพื้นที่ได้เพิ่มขึ้นขนาดนั้น และการเกษตรทั้งโลก
ต้องการน้ำจืดในระบบชลประทานประมาณ 70% จากระบบน้ำของโลก นอกจาก
นั้นไม่สามารถนำมาใช้บริโภคเพาะปลูกได้ เพราะเป็นน้ำเสีย มีส่วนผสมของยา
ฆ่าแมลง สารฆ่าวัชพืช และเป็นโคลนตะกอน นอกจากนั้นยังจำต้องสงวนน้ำจืด
สำหรับประชากรที่เพิ่มขึ้นมหาศาลอีก ซึ่งมีแนวโน้มต่อการขาดแคลนน้ำสะอาด
สำหรับใช้ดื่มในหลายประเทศ

มีความเป็นไปได้มาก ราคาผลิตภัณฑ์อาหาร พุ่งสูงขึ้นโดยอิงราคาเชื้อเพลิง
เนื่องจากเป็นกลไกด้านเศรษฐกิจ ดังตัวอย่างดัชนีในระหว่างปี ค.ศ.2005-2008
ที่ผ่านมาราคาขึ้นเป็น 2 เท่า

ดังนั้นนักพืชไร่วิทยา (Agronomists) ได้มองเห็นปัญหาดังกล่าว อาจเกิดระบบ
อุตสาหกรรม พืชไร่ (Industrial farming) ขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยใช้เครื่องจักร
แทนสัตว์ในการเกษตร และพัฒนาพื้นที่ใหม่ให้ได้ผลสูงสุด

ด้วยสาเหตุสภาพอากาศโลกเปลี่ยนแปลง ต้นทุนกระทบถึงราคาขายส่งแน่นอน
ซึ่งระบบอุตสาหกรรมพืชไร่ใหม่เกิดขึ้นด้วย การลงทุนที่สูงขึ้น เนื่องจากไม่มีพื้นที่
การเกษตรเหมือนดังเดิม เพราะแห้งแล้ง น้ำท่วม ทำให้สูญเสียพื้นที่อันสมบูรณ์
ไม่เว้นแม้แต่ การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ในประเทศไทย

สาเหตุสถานการณ์โลกร้อน ได้ทำให้เกิด Dead zones (พื้นที่ไร้สภาพ) ไปทั่ว
คาบสมุทรทุกหนแห่ง จะเกิดปัญหาใหญ่ที่น่ากลัวไปเกือบครึ่งโลก โดยเฉพาะ
การรุกรานของปรสิต เชื้อโรคพันธ์ใหม่ หลายรูปแบบ แม้ว่า Dead zones เกิด
ขึ้นในสภาพแวดล้อมที่เป็นทะเล หรือมหาสมุทร ดูเหมือนไม่เกี่ยวข้อง แต่เป็น
ปัญหาเกี่ยวโยงถึงห่วงโซ่อาหารของมนุษย์ ที่จะขาดหายไป

อีกหนึ่งในปัญหาคือมีการแพร่เชื้อจาก ระบบขับถ่ายอุจจาระของมนุษย์เองที่นำ
มาเป็นปุ๋ยหมักใช้ในการปลูกพืช เนื่องจากราคาถูกกว่า โดยเฉพาะในแถบทวีป
เอเชียใต้ อัฟริกา อเมริกากลาง อเมริกาใต้ ซึ่งประชากรมีความเป็นอยู่ไม่ถูก
สุขอนามัย อย่างหนาแน่นถึง 2.5 พันล้านคน ทำให้ พื้นที่เหล่านั้นเป็นเขตแพร่
กระจายด้วยสภาพอากาศ และแหล่งน้ำจากหนอนปรสิต ด้วยโรคติดต่อชนิดต่างๆ






การเปลี่ยนแปลงระบบพืชไร่ การเกษตรใหม่
จากเดิมมนุษย์ พยายามหาทางออกให้กับบ้านอยู่อาศัย โดยการใช้ Green roofs
หรือหลังคาเขียว ช่วยลดความร้อนและประหยัดพลังงาน นับว่าเป็นหนทางออก
เพื่อช่วยชุบชีวิตเมือง ต่อมาการใช้รถยนต์ไฟฟ้า เป็นอีกเป้าหมายช่วยลดโลกร้อน
มองได้ว่าการแก้ไขปัญหาต่างๆ เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ และดีขึ้น

แต่อนาคตปัญหาอาหารโลก จะเป็นเรื่องใหญ่กว่าทุกปัญหา จากสาเหตุลดลงของ
จำนวนผลิตภัณฑ์อาหารโลก พร้อมทั้งความไม่น่าไว้ใจต่อระบบการรุกรานของ
เชื้อโรค

กลยุทธที่จะเปลี่ยนแปลงระบบอาหารโลก ต้องจัดกา ด้านการเกษตรในระบบ
ปิดภายใต้การควบคุมที่เข้มงวด โดยมีแนวทางใช้พื้นที่ การเกษตรแบบแนวตั้ง
(Vertical farms) มาทดแทน จากสาเหตุที่พื้นที่เพาะปลูกมีน้อยลง

แม้ว่ามีเงินซื้อที่ดินก็ตาม แต่จะไม่มีที่ดินห้ซื้อ ดังนั้นต้องสร้างอาคารสูงหลายชั้น
เพื่อเพาะปลูกทดแทนพื้นที่ที่ขาดแคลน ในแต่ละชั้นจัดทำเป็น Greenhouses
(เรือนกระจก) เพื่อควบคุมน้ำและอุณหภูมิ มิให้สูญเปล่า ซึ่งจะทำให้เกิดผลผลิต
ได้ตลอดปี

ระบบดังกล่าวนี้จะปราศจากเชื้อโรค และไม่ต้องการใช้เชื้อเพลิงประเภทก๊าซหรือ
น้ำมันสำหรับเครื่องจักรกลใดๆ อันเป็นการลดก๊าซคาร์บอนที่จะปลดปล่อยออกมา
เพิ่มสู่ระบบอากาศของโลก เพราะนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ในระบบได้








ประโยชน์การเกษตรแบบแนวตั้ง
กรณีศึกษาดังกล่าวทำให้ไม่ต้องรุกล้ำพื้นที่ป่าไม้ ซึ่งเหลือน้อยลงทุกๆวัน อย่าง
น้อยเป็นการรักษาสภาพแวดล้อมโลก จึงจะไม่ก่ออันตรายต่อโลกเพิ่มขึ้นไปอีก
นอกจากนั้นการใช้เครื่องมือ ในระบบพื้นที่ปิดช่วยให้ตรวจสอบการแพร่กระจาย
ของเชื้อโรคซึ่งจะทำลายพันธ์พืชที่ปลูกไว้ จะไม่เกิดการกัดกินจากแมลงศัตรูพืช
และประหยัดน้ำจากระบบหมุนเวียน

การควบคุมอุณหภูมิ ให้เหมาะสมก็จะปลูกพืชต่างชนิดกัน ในอาคารเดียวกันได้
ข้อสำคัญ คือ สามารถใช้งานได้ยาวนาน และต้องการแรงงานน้อยลง เชื่อว่าหาก
เกิดการเกษตรแบบแนวตั้งเพิ่มมากขึ้น กลไกของธรรมชาติ จะมีโอกาสฟื้นฟูระบบ
นิเวศ (Ecosystems) ได้ด้วยตนเอง เพราะมนุษย์หยุดบุกรุกป่าและลดคาร์บอน
ได้เป็นจำนวนมาก และยังได้รับผลผลิตการเกษตรเพิ่มขึ้นอย่างเพียงพอ ประหยัด
ค่า ขนส่ง เพราะสามารถปลูกในใจกลางเมืองได้








ความเป็นไปได้ซึ่งพิสูจน์ว่าได้ผล
แม้ฤดูกาลเป็นปัจจัยต่อผลผลิต การเพิ่มขึ้นของประชากรโลกหนาแน่นตามเมือง
ใหญ่ทั่วโลก ความต้องการนั้น สามารถเป็นจริงบนตึกระฟ้าในเมืองได้หรือไม่
สิ่งที่แน่นอนในขณะนี้ ระบบการเกษตรแบบปิด สามารถจัดการให้เกิดขึ้นในทุกๆ
ที่โดยอาศัยเทคนิค 4 แบบ คือ

1. Drip irrigation การปลูกพืช ใช้ชลประทานระบบน้ำหยด

2. Aeroponics การปลูกพืชโดยส่วนรากพืชลอยอยู่ในอากาศ และฉีดสารละลาย
ธาตุอาหารเป็นฝอย ไปยังรากพืชโดยตรง สารละลายที่เหลือ จะไหลไปรวมที่ถัง
พักเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่

3. Hydroponics การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน มี 2 วิธี คือ การปลูกในน้ำ ซึ่งบริเวณ
รอบๆรากของพืชเป็นของเหลว โดยรากจะแตกในออกมาสู่ของเหลวนั้น และ
การปลูกในวัสดุแข็ง เช่น แกลบ ทราย ขุยมะพร้าว หินภูเขาไฟ ฯลฯ โดยทั้งหมด
เป็นการพยุงรากพืช แต่จะมิได้เป็นสารอาหารสำหรับพืช

4. Prodrolit การปลูกพืชโดยใช้ดินน้อยระบบมีน้ำหนักเบา เน้นปลูกบนอาคารสูง
โดยไม่ต้องออกแบบเผื่อน้ำหนัก และมีระบบกักเก็บน้ำอยู่ภายใน สามารถรักษา
ความชื้นได้ดี พร้อมช่วยให้อาคารเย็น ใต้ผิวดินและมีระบบป้องกันน้ำล้นท่วมพืช
ไม่ทำให้รากเน่า

โดยทั้ง 4 แบบสามารถพิจารณา ความเหมาะสมต่อการปลูกพืชในลักษณะต่างๆ
ตัวอย่างเช่น Eurofresh Farms ในทะเลทราย Arizona ประเทศอเมริกา บน
พื้นที่ 318 เอเคอร์ สามารถปลูกพืช ในระบบปิดแบบ Greenhouse ภายใต้แนว
คิด สงวนน้ำไว้ในสภาพแวดล้อม (ใช้เพียง 1 ใน 3 ของแบบเปิด) ให้สารอาหารพืช
อย่างเพียงพอ ป้องกันเชื้อโรคเพื่อคุณภาพ และความปลอดภัย ผลรับให้มะเขือเทศ
แตงกวา แตงร้าน ที่มีคุณภาพสูงมีผลผลิตเป็น 10 เท่าต่อเนื่องตลอด 12 เดือน
เมื่อเทียบกับการ ปลูกในระบบเปิดแบบทั่วไป





















http://www.sunflowercosmos.org/climate_change/climate_change_home/skyfarming_1.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 07/10/2011 10:09 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

797. Green Roofs หนทางชุบชีวิตเมือง






Green roofs หรือ หลังคาเขียว ที่เข้าใจโดยทั่วไป
Green roofs คือ การปลูกพืชบนหลังคาโดยปิดทับหลังคา และ มีช่องกั้นสำหรับ
ใส่ดินทั่วไปมักปลูก เป็นพื้นที่เต็มหลังคาอาคาร หรือบนหลังคาที่เป็นดาดฟ้า รวม
ถึงชานระเบียงด้วยก็ได้ มีระบบระบายน้ำ บางกรณีเพิ่มเติมระบบรดน้ำเพื่อความ
สะดวก

วัตถุประสงค์หลัก เพื่อลดอุณหภูมิความร้อน จากรังสีดวงอาทิตย์ ทำให้ภายในบ้าน
หรืออาคารสามารถเก็บรักษาความเย็นไว้ได้ดี ช่วยทำให้ประหยัดค่าพลังงานไฟฟ้า
การใช้เครื่องปรับอากาศในตัวอาคาร


จากตำนานสวนลอยฟ้ายุคโบราณ
Hanging Gardens of Babylon (สวนลอยบาบิโลน) ซึ่งเป็น 1 ใน 7 สิ่ง
มหัศจรรย์ของโลกอาจเป็นต้นแบบของ Green roofs เมื่อ 600 ปีก่อนคริสต์
ศักราช เท่าที่มีข้อมูลบันทึกไว้แต่เดิม

มีขนาดกว้าง 100 ฟุต ยาว 100 ฟุต สร้างเป็นชั้นๆลดหลั่นกันไป คล้ายอัฒจันทร์
โดยมีโครงสร้างโค้งเป็นแนวพยุงน้ำหนัก ของสวนโดยรอบ สวนบนชั้นสูงสุดสูง
75 ฟุต ล้อมรอบคล้ายกำแพงเมือง ส่วนบนของหลังคา ค้ำด้วยเสาหินยาว 16 ฟุต

ปลูกปกคลุมด้วยพืชประเภทต้นกกหนาแน่น ชั้นด้านใต้ทางน้ำไหลก่อด้วยอิฐแห้ง
ทาด้วยน้ำมันดิน และสอดท่อตะกั่วเข้าไปใต้ผิวดิน เพื่อให้ความชื้นของน้ำไหลถ่าย
เทเลี้ยงพืชบนหลังคา

ส่วนที่ดินมีความหนาเพียงพอก็จะปลูกต้นไม้ใหญ่ ส่วนพื้นดินที่บางกว่า ตกแต่งด้วย
ไม้ดอก ไม้ประดับหลากหลายต่างๆ ตลอดแนวทางเดินได้รับแสงแดดที่ส่องมาถึง
พันธ์ไม้ พร้อมมีระบบชักน้ำจากแม่น้ำ จากรางส่งน้ำไปเลี้ยงต้นไม้ตลอดปี ปัจจุบัน
สวนลอยบาบิโลนได้สาญสูญไปหมดสิ้นแล้ว















http://www.sunflowercosmos.org/climate_change/climate_change_home/greenroof_1.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 07/10/2011 10:21 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

798. Green roofs ทั่วโลก




Green roofs ใน Iceland
หลังศตวรรษที่ 18 พบการใช้ในแถบสแกนดิเนเวียตอนเหนือ เรียกว่า Sod roofs
(ดินที่มีหญ้าเป็นแผ่นๆ) ถัดมาปลายศตวรรษที่ 19 มีการก่อสร้างอาคารห้องชุด
โดยชาวเยอรมัน นำกรวด ทราย และ Sod roofs มาใช้เป็นส่วนป้องกันอัคคีภัย
ซึ่งใช้บนชั้นที่ 5 ของตัวอาคาร ได้พบในการบรูณะอาคารหลังจากการก่อสร้าง
แล้ว 80 ปี จากแบบแปลนการก่อสร้าง ซึ่งถือว่าเป็นหลักเกณฑ์เทคโนโลยี่ใหม่
ของยุคนั้น

Green roofs เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่ง ในประเทศ Switzerland สร้างเมื่อ ค.ศ.
1914 เป็นการออกแบบโรงทำน้ำประปาใน Wallishofen เมือง Zürich มี
หลังคาคอนกรีตคลุมเป็นเนื้อที่ 30,000 ตารางเมตร เพื่อรักษาความเย็นภายในและ
ป้องกันไม่ให้แบคทีเรียเติบโตในชั้นกรอง มีการใส่ชั้นระบายน้ำด้วยกรวดชั้นดินหนา
15 ซ.ม. บนหลังคาคอนกรีตที่ได้ป้องการรั่วซึมไว้แล้วด้วยยางมะตอย มีเมล็ดหญ้า
ติดมาจากดินเจริญเติบโตขึ้นเต็มพื้นที่

ค.ศ. 1930 ในอเมริกา Green roofs ได้ถูกออกแบบบนอาคารที่พักอาศัยของ
Rockefeller Center เป็นลักษณะ Extensive green roofs (แบบต้องดูแล
และใช้ประโยชน์เป็นสวนพักผ่อน) ขนาดพื้นที่ 76,400 ตร.ฟุตและพืชยังงอกงาม
มาจนทุกวันนี้








บทบาทการใช้ Green roofs มีแพร่หลายต่ออย่างต่อเนื่องในหลายประเทศ เช่น
สหรัฐอเมริกา แคนาดา เยอรมัน ญี่ปุ่นและสิงคโปร์ ได้มีการส่งเสริมและบางกรณี
เป็นกฎหมายที่สนับสนุนให้ใช้ Green roofsในหลายพื้นที่เพื่อผลทางด้านสภาพ
แวดล้อมอีกด้วย เช่น Ford Motor บริษัทยักษ์ใหญ่โรงงานประกอบรถยนต์ฐาน
ผลิตที่ River Rouge Plant นับว่า เป็นโครงการใหญ่ที่สุดของอเมริกาปี ค.
ศ.2003 ในชื่อโครงการ Ford Motor Company's River Rouge Plant

พื้นที่ Green roofs ราว 454,000 ตารางฟุต ออกแบบโดยสถาปนิก ชื่อ William
Mc Donough และคณะ เป็นการออกแบบ ประเภท Extensive green roofs
ซึ่งมีน้ำหนักเบาเพียง 12 ปอนด์ต่อ 1 ตร.ฟุต ความลาดเอียงของหลังคา 1.5
องศา ทั้งนี้เป็นเหตุผลต้องการชดเชย ความบกพร่องสภาพแวดล้อม อันเกิดจาก
ระบบของโรงงาน จากข้อแนะนำของ Michigan State University

l' Historial de la Vendée พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ ของฝรั่งเศส
PLAN 01 เป็นผู้ออกแบบ โดยมีหลังคาทั้งหมดเป็น Green roofs ถึง 8,000
ตารางเมตร ชนิดน้ำหนักเบาหนา 10 ซม. ปลูกพืชคลุมดินประเภท Black Forest
(พืชป่าสนเขาแบบภาคใต้ของเยอรมัน) แล้วเสร็จสมบูรณ์ เมื่อ ค.ศ. 2005








Chicago City Hall ศาลาประชาคมเมืองชิคาโก เป็นโครงการจากแนวคิดของ
กองสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครชิคาโก เริ่มขึ้นในปี ค.ศ.2000 แล้วเสร็จปี ค.ศ.
2001พื้นที่ Green roofs ประมาณ 20,300 ตร.ฟุต ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายด้าน
พลังงาน ปีละ 200,000 บาท และยังเป็นที่หย่อนใจของประชาชน

California Academy of Sciences เริ่มในปี ค.ศ. 2007 ใช้ชื่อโครงการว่า
California Academy of Sciences, The Osher Living Roof ตั้งอยู่ที่
San Francisco พื้นที่ Green roofs ประมาณ 197,000 ตร.ฟุต โดยมีระบบ
พลังงานแสงอาทิตย์ สามารถผลิตได้ 213,000 kilowatt-hours ทั้งหมดจึงเป็น
การลดก็าซคาร์บอนได้ปีละ 405,000 ปอนด์








โครงการ Green roofs มิได้เป็นที่สนใจในยุโรปหรืออเมริกาเท่านั้น ทวีปเอเชีย
เช่นประเทศสิงคโปร์ ได้เริ่มต้นใน Nanyang Technological University ออก
แบบโดย CPG Consultants ในแนวคิดการผสมผสานของสิ่งแวดล้อม และการ
จัดการระบบน้ำฝนให้ได้ประโยชน์กับสภาพแวดล้อมโดยรอบของบริเวณนั้น

และเมื่อ ค.ศ. 2008 ประเทศสิงคโปร์ สร้าง Marina Barrage (ระบบทำนบกั้น
น้ำ) กว้าง 350 เมตร เพื่อเป็นประตูเขื่อนในคลอง Marina สำหรับรับน้ำฝนเป็น
แผนป้องกันอุทกภัยน้ำท่วมเมือง ควบคุมระดับน้ำจากเมืองและทะเล ซึ่งได้เปิดใช้
แล้วโดยบริเวณนั้นจัดทำ Green roofs พื้นที่ขนาดใหญ่ สำหรับด้านสันทนาการ
ด้วยและในคลองเมื่อมีประตูทำนบแล้ว ได้ใช้เป็นพื้นที่แข่งกีฬาทางน้ำได้อย่าง
เหมาะเจาะ








เห็นได้ว่าโครงการใหญ่ระดับประเทศ มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับ Green roofs เป็น
หลักทั้งนี้เพราะมีประโยชน์มหาศาล เกี่ยวโยงกันและส่งผลดีต่อประชากรของตน
จึงมีการจัดแบ่งเป็นกลุ่มตามวัตถุประสงค์ดังนี้

ในเชิงงานวิจัยและทดลอง Green roofs แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่
1. Green roofs แง่ของเทคโนโลยีอาคาร ในการออกแบบสถาปัตยกรรม เพื่อ
การประหยัดพลังงาน เน้นการทดลองวัสดุก่อสร้าง เทคโนโลยีสมัยใหม่ช่วยลด
อุณหภูมิลดการใช้พลังงาน สร้างภาวะน่าสบาย

ส่งเสริม แนวความคิดของการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในรูปแบบของสถาปัตยกรรม
สีเขียว (Green architecture) หรือสถาปัตยกรรมสะอาด (Clean Archite-
ture, Clean Technology) เน้นที่เทคโนโลยีในการออกแบบก่อสร้างงาน
สถาปัตยกรรมคำนึงถึงการลดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม

2. Green roofs ที่หมายถึง หลังคาที่เป็นสีเขียวจากการมีพืชพันธุ์ ปกคลุมอยู่
ข้างบนไม่ว่าจะเป็นพืชพรรณในลักษณะพืชคลุมดิน ไม้เลื้อย หรือลักษณะใดๆก็
ตามเน้นคำนึงผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมโดยตรง นอกเหนือไปจากการสร้าง
สภาวะสบายและการลดการใช้พลังงานของอาคาร

ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
Green roofs ที่เป็นสวนหลังคา (Roof garden) สามารถออกมาใช้สอยพื้นที่
ได้ Green roofs ที่เน้นการปลูกพืชพันธุ์บนหลังคาไม่ได้เน้นที่ประโยชน์ใช้สอย















http://www.sunflowercosmos.org/climate_change/climate_change_home/greenroof_1.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 07/10/2011 10:42 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

799. Green Roofs หนทางชุบชีวิตเมือง





ในเชิงใช้กับการอยู่อาศัย (Types of Living Roofs)
เพื่อขยายความสำหรับ Green roofs ที่ออกแบบใช้กับหลังคาบ้าน อาคารที่อยู่
อาศัยยุคใหม่ ทั่วไปสามารถออกแบบโดยอิสระให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม
นั้นๆ หรือเน้นวัตถุประสงค์หลักอื่นๆ ผสมผสานต่อการใช้งาน

องค์ประกอบสำคัญ 2 ส่วน คือ น้ำหนักของ Green roofs ซึ่งต้องมี ดิน หินและ
น้ำ ส่วนการเลือกพืช ที่จะปลูกก็เป็นตัวแปรสำคัญอีกประการ

ทั้งสองส่วนที่กล่าวถึงเปรียบเสมือนต้นทุนและค่าใช้จ่าย หากองค์ประกอบรวมมี
น้ำหนักมาก ก็จะกระทบถึงโครงสร้างอาจไม่สามารถใช้กับอาคารเก่าได้ อาคาร
ใหม่ต้องออกแบบเผื่อการรับน้ำหนัก ทำให้มีต้นทุนอาคารสูงขึ้น การเลือกใช้พืช
ที่ไม่เหมาะสมต่อสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อม ก็จะทำให้เสียค่าใช้จ่ายแรงงาน
การบำรุงรักษา ในระยะยาวได้

เพราะฉะนั้นจึงต้องหาวิธีการ ที่เหมาะสมต่อการใช้งาน จึงเกิดแนวคิดเชิงพาณิชย์
จัดทำ Green roofs เพื่อให้สามารถนำไปใช้กับบ้านเรือน อาคารทั่วไปได้ Green
roofs กลุ่มนี้จัดอยู่ในประเภท Living Roofs (หลังคาสำหรับอยู่อาศัย)

คำจำกัดความ Green roofs (หรือ Ecoroof = หลังคานิเวศ)
คือการออกแบบหลังคาที่ปกคลุมด้วยพืชพันธ์ ด้วยการทำให้บางและน้ำหนักเบา
มีความหนาของชั้นดินราว 10-30 ซม.สำหรับการเจริญเติบโต ของกลุ่มพืชประเภท
คลุมดิน จนต้นไม้ประเภทมีลำต้นได้

ทั้งนี้พืชพันธ์นั้นต้องอยู่เหนือส่วนบน ของโครงสร้างหลังคา (Roof structures)
มีเงื่อนไข ต้องมีความปลอดภัยต่อระบบระบายน้ำ น้ำหนักเบา พืชเติบโตได้ระดับ
ปานกลาง ช่วยลดอุณหภูมิอาคาร กรองฝุ่นมลพิษได้ ช่วยแบ่งเบากระแสการไหล
ของน้ำทิ้ง (จากฝนตกหนัก) ช่วยลดปฎิกิริยา Heat island effect
(ปรากฏการณ์ เกาะความร้อนเมือง) เป็นหลักเกณฑ์เบื้องต้น


Types of Living Roofs แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
1. Intensive
ความลึกของชั้นดินราว 30 ซม.ต้องสามารถปลูกพืชหลากหลายชนิด ทั้งประเภท
ลำต้น ประเภทไม้พุ่ม โครงสร้างอาคารต้องแข็งแรงรองรับน้ำหนักที่มากๆได้ เป็น
ประเภทที่ต้องดูแลและจัดให้ระบบน้ำเพื่อความเจริญเติบโตของพืชหรือบำรุงรักษา
อื่นๆเช่น ให้ปุ๋ย ตามชนิดของพืชนั้นๆที่ปลูก

อาจเป็นกลุ่มพืชที่ปลูกเพื่อความสวยงามไปด้วยในตัว หรือมุ่งประโยชน์ใช้สอย
เป็นพื้นที่นันทนาการของอาคาร รูปแบบนี้จะมีน้ำหนักมาก

2. Extensive
ความลึกของชั้นดินราว 10 ซม.เหมาะสำหรับปลูกพืชประเภทคลุมดิน ที่ทนต่อ
สภาพแวดล้อมนั้น เช่น หญ้า สามารถปล่อยให้เจริญเติบโตเอง ต้องการดูแลง่าย
อาจดูแลเพียงปีละ 1-2 ครั้ง ในเรื่องถอนวัชพืชที่ไม่ต้องการทิ้ง โรยปุ๋ยเป็นครั้ง
คราวเพื่อให้ขยายพันธ์ ให้ประโยชน์ทางด้านสิ่งแวดล้อมเรื่องการจัดการกับน้ำฝน
หรือคุณค่าในด้านนิเวศวิทยาของหลังคานั้น รูปแบบนี้มีน้ำหนักน้อย

3. Brown roofs หรือ eco-roofs
การออกแบบจำลอง ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมธรรมชาติ โดยมีทั้งส่วนหนา
และบางของชั้นดิน (10-30 ซม.) เป็นการเลียนแบบ เชิงนิเวศวิทยาเฉพาะถิ่น
(Local biodiversity)

สำหรับ Semi-extensive จัดอยู่ในประเภทกึ่งดูแล อย่างไรก็ตาม Green roofs
มีเทคนิคในการออกแบบเฉพาะในหลายกรณี เช่น บางชนิดเหมาะสำหรับหลังคา
ที่แบนราบ บางชนิดออกแบบเน้นใช้กับหลังคาทีมุมชัน รวมถึงระบบไหลถ่ายของ
อัตราน้ำจากฝนตก เพื่อไม่ให้ Green roofs เกิดปัญหาอิ่มน้ำเพิ่มน้ำหนักในระบบ
กระทบต่อโครงสร้างอาคาร

ข้อแตกต่าง แต่ละประเภทของ Green roofs
ประเภท Intensive ปลูกพืชทั้งขนาดเล็กและขนาดกลางได้ จึงจัดตกแต่งเป็นสวน
ได้สวยงามหลากหลายกว่า แต่มีปัญหาน้ำหนักมาก ต้องออกแบบโครงสร้างพิเศษ
ต้องมีค่าใช้จ่ายดูแลความสวยงามตามมา เหมือนสวนประดับทั่วไป เมื่อสร้างเสร็จ
แล้วไม่มีโอกาศรื้นถอน เคลื่อนย้าย

ประเภท Extensive ปลูกพืชได้เฉพาะขนาดเล็กหรือพืชคลุมดิน มีน้ำหนักเบาโดย
สามารถใช้กับหลังคา บ้าน อาคารทั่วไปที่มีอยู่เดิมได้ ไม่จำเป็นต้องดูแลพิเศษ
ด้วยลักษณะพืชที่ขึ้นปกคลุมเหมือนสนาม (หญ้า) ทั่วไป จึงประหยัดค่าใช้จ่าย
ให้ประโยชน์ด้านสภาพแวดล้อมต่อผู้อาศัยในอาคารโดยตรง เช่น ลดอุณภูมิตัว
อาคาร กรองมลพิษ ลดคาร์บอน ลดแสงสะท้อน เป็นต้น สามารถรื้นถอนหรือ
เคลื่อนย้ายได้ภายหลัง

การใช้ประโยชน์เพิ่มเติมจาก Green roofs ในบางสถานที่ เช่น โรงแรมในต่าง
ประเทศ ปลูกพืชพันธ์สมุนไพรแทนพืชคลุมดินทั่วไป เป็นผลผลิต จำหน่ายให้กับ
ลูกค้ามีรายได้เพิ่มขึ้น โรงเรียนหลายแห่งในอเมริกา จัดทำเพื่อให้นักเรียนศึกษา
เป็นสวนเกษตรไปในตัว จึงเป็นการเพิ่มคุณค่าของ Green roofs










ประโยชน์ของ Green roofs

รายงานวิจัยของ Michigan State University
The green roof research program at Michigan State University
--------------------------------------------------------------------------------------
ทีมคณะผู้วิจัย
The MSU research team includes:
Bradley Rowe, Associate Professor, Horticulture
Jeff Andresen, Associate Professor, Geography
John Lloyd, Professor, Mechanical Engineering
Joanne Westphal, Professor, Landscape Architecture
Tim Mrozowski, Professor, Planning, Design and Construction
Kristin Getter, Graduate Research Assistant, Horticulture
Leigh Whittinghill, Graduate Research Assistant, Horticulture
Jeremiah Johnson, Graduate Research Assistant, Landscape Architectur
--------------------------------------------------------------------------------------

ป่าและพื้นที่การเกษตร ถูกเปลี่ยนแปลงพัฒนาเป็นพื้นที่เมืองเพื่ออยู่อาศัย การให้
มีพื้นที่สีเขียว ในเมืองเพิ่มจะเป็นการเริ่มต้นที่ดีสำหรับสุขภาพและสภาพแวดล้อม
ของผู้อาศัยในเมือง Green roofs เป็นสิ่งหนึ่งมีศักยภาพที่จะแก้ปัญหาดังกล่าวได้

การจัดสร้างขึ้นบนหลังคา ดาดฟ้าอาคาร มีประโยชน์ด้าน Ecological (นิเวศวิทยา)
และ Economic (เศษฐกิจ) รวมทั้ง Stormwater management (ระบบ
จัดการมลภาวะทางน้ำ) Energy conservation (การสงวนพลังงาน) และ
Urban heat island effect (ปรากฎการณ์เกาะความร้อนของเมือง)

นอกจากนั้นยังช่วยยืดอายุการใช้งานของหลังคา ดาดฟ้าอาคาร แล้วยังเป็นสิ่งที่
ถูกต้องตามหลักการของสภาพแวดล้อม ในที่ทำงานและอยู่อาศัย มากกว่าความ
พึงพอใจ

การบรรเทาของ ระบบจัดการน้ำฝนที่จะก่อให้เกิดมลภาวะทางน้ำ มีประโยชน์อย่าง
มากมายตั้งแต่ปฐมภูมิ เหตุเพราะพื้นที่ในเมือง น้ำจำนวนมากไม่สามารถผ่านได้
เมื่อฝนตกน้ำจำนวนมากจากหลังคา ทั่วไปตกลงสู่ผิวพื้นซึ่งส่วนใหญ่เป็นคอนกรีต
และ ถนน จึงทำให้ท่วมขัง และเกิดการเซาะกัดพื้นผิว และทั้งหมดกลายเป็นน้ำ
โสโครก (รวมกับสารพัดของเหลวที่ไหลได้) แล้วไหลลงสู่สายน้ำหลักของเมือง
ทำให้เกิดน้ำเสียในแม่น้ำเป็น มลภาวะทางน้ำ ต่อมา

หากมีจำนวนมากของ สารพัดของเหลวที่ไหลได้ ไปสู่ระบบน้ำธรรมชาติ จะส่งผล
กระทบต่อ คุณภาพ น้ำใช้ น้ำดื่ม อย่างเป็นลูกโซ่ของเมืองนั้นๆได้

หลักการสำคัญของ Green roofs มีความสามารถ ต่อการลดบรรเทา Storm
water (มลภาวะทางน้ำ) ด้วยการให้น้ำไหลช้าลงมากว่าเดิม หลายชั่วโมงเป็นการ
สงวนน้ำไว้ไม่ให้เกิด Stormwater 60-100%

นอกจากนั้น Green roofs ช่วยยืดอายุการใช้งานหลังคา จากมาตรฐานเดิมของ
ประเภทหลังคานั้นๆ อีกยาวนาน เหตุผล Green roofs ช่วยปกป้องรังสี Ultra
violet จากดวงอาทิตย์ ซึ่งมีอุณหภูมิแกว่งขึ้นลง เป็นต้นเหตุของการเสื่อมสภาพ
หลังคา

ยิ่งกว่านั้น Green roofs เป็นช่องทางที่จะเกี่ยวข้องในเรื่อง ภูมิสถาปัตย์ ระบบทด
น้ำชลประทานแบบพิเศษ สถาปัตยกรรมสีเขียว โรงงานสีเขียว เป็นต้น เพื่อพิทักษ์
ระบบสภาพแวดล้อมโลก


-------------------------------------------------------------------------------------

รายงานเต็มฉบับ ของ
The green roof research program at Michigan State University



Storm water ปัญหามลพิษติดอันดับ ซึ่งจะชะล้างเอา น้ำมัน น้ำสบู่ คราบกรด น้ำ
ปัสสาวะ อุจาระ ของไหลที่ถูกทิ้งในเมือง ฯลฯ มีปริมาณกว่า 5,000 พันล้านลิตรต่อ
ปี มีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุด





ประโยชน์ของ Green roofs
จากข้อสรุป ของ Penn State Center for Green Roof
--------------------------------------------------------------------------------------

Penn State Center ให้คำจำกัดความ Green roofs ว่าหมายถึงหลังคาที่มีพืช
พันธุ์ปกคลุมอยู่ข้างบน อธิบายข้อดีของ Green roofs ดังนี้

1. ให้คุณค่าทัศนียภาพความสวยงาม
2. ลดสภาวะ เกาะความร้อนในพื้นที่เมือง (Heat island)
3. ลดผลกระทบคาร์บอนไดออกไซด์
4. ลดค่าใช้จ่ายในการใช้เครื่องปรับอากาศในฤดูร้อนและลดความจำเป็นในการใช้
เครื่องทำความร้อน ในฤดูหนาว
5. ยืดอายุการใช้งานของหลังคาได้ถึง 2-3 เท่าจากความร้อน
6. ลดผลกระทบจากมลพิษที่ปนเปื้อนมากับฝน (Pollution in rain) เช่น
ไนโตรเจน ฝนกรด
7. ลดเสียงรบกวนจากภายนอก
8. ลดปริมาณน้ำฝนที่จะไหลลงสู่ท่อระบายน้ำ
9. เกิดที่อยู่ของนกและสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ








ประโยชน์ของ Green Roofs
จากข้อสรุป ของ อาจารย์ กนกวลี สุธีธร ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม
สถ.บ. มหาวิทยาลัยศิลปากร M.L.A. (University of Washington)

--------------------------------------------------------------------------------------

ได้สรุปรายงานเรื่อง หลังคาเขียว: ทางเลือกเพื่อการจัดการน้ำฝน ดังนี้

ลดปริมาณและปรับสภาพน้ำฝน ที่ไหลจากหลังคา และกรองน้ำฝนที่อาจมีสารปน
เปื้อนให้มีคุณภาพน้ำที่ดีขึ้น น้ำฝนตกลงในป่าหรือพื้นที่ธรรมชาติ ที่มีต้นไม้หนา
แน่นจะซึมลงในดินร้อยละ 60 ครึ่งหนึ่งกลายเป็นน้ำใต้ดินและอีกครึ่งหนึ่งถูกดูดซึม
ไปใช้โดย ต้นไม้และพืชพันธุ์ต่างๆ น้ำร้อยละ 40 จะระเหยกลับสู่บรรยากาศทันที
โดยผ่านกระบวนการคายน้ำของพืช และแทบจะไม่มีน้ำไหลบนผิวดิน (Surface
runoff) ซึ่งจะเป็นการลดความเสี่ยงที่จะเกิดน้ำท่วม ปัญหาการกัดเซาะหน้าดิน
ดินถล่มหรือการตื้นเขิน ของแหล่งน้ำจากการตกตะกอน

แต่ในพื้นที่เมือง ที่พื้นดินถูกปกคลุมไปด้วยอาคาร สิ่งก่อสร้าง วัสดุพื้นและวัสดุ
ก่อสร้างต่างๆ ที่น้ำไม่สามารถซึมผ่านได้เพียงแค่ร้อยละ 5 ของน้ำฝนที่ตกลงมาจะ
สามารถซึมลงไปในดินได้ร้อยละ 15 ของน้ำจะระเหยผ่านพืชพันธุ์และจะมีปริมาณ
น้ำผิวดิน สูงถึงร้อยละ 75 ซึ่งมักจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำท่วมเวลาที่ฝนตกหนัก
เนื่องจาก น้ำปริมาณมากไม่สามารถระบายออกจากพื้นผิวได้ทัน

Green Roofs เป็นการแก้ปัญหา จัดการน้ำฝนที่ได้ผลดีที่สุดวิธีหนึ่ง เพราะ Green
Roofs หรือหลังคาที่มีพืชพันธุ์ปกคลุมอยู่ จะสามารถเก็บน้ำไว้ได้มากกว่าหลังคาที่
ไม่มีการปลูกต้นไม้ด้านบน กิ่ง ก้าน ใบและดินปลูก สามารถดูดซับน้ำไว้ไม่ให้ไหล
ผ่านลงไปในทันที่ แต่จะเก็บน้ำฝนเอาไว้และค่อยๆไหลออกไปช้าๆ ขณะเดียวกัน
น้ำฝนที่ไหลผ่านหลังคาที่มีพืชพันธุ์ ก็ได้ผ่านการกรองเอาฝุ่นและมลพิษที่ปนเปื้อน
จากอากาศทำให้คุณภาพน้ำที่ไหลผ่าน Green Roofs ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น

นอกจากนี้ พืชพันธุ์บนหลังคา ยังทำหน้าที่คายน้ำกลับสู่บรรยากาศ ลดปริมาณ
และลดปัญหาน้ำที่ปนเปื้อนสารพิษจากการไหลบนผิวดิน และช่วยลดผลกระทบ
ต่อสภาพแวดล้อม

การกรองเสียงรบกวน (Sound filter) ปัญหามลภาวะทางเสียง นับเป็นอีกหนึ่ง
ปัญหาใหญ่ ในเมืองที่มีความหนาแน่นสูง การสร้างGreen Roofs นอกจากจะช่วย
ในการจัดการน้ำฝนแล้ว พืชพันธุ์บนหลังคายังทำหน้าที่ เป็นเหมือนฉนวนกันเสียง
รบกวนให้กับอาคาร ความหนาของหลังคาที่เพิ่มขึ้น จากดินปลูกและวัสดุพืชพันธุ์
ทำหน้าที่ ดูดซับเสียงรบกวนจากภายนอกได้เป็นอย่างดี

การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมือง และช่วยลดมลภาวะสร้างอากาศบริสุทธิ์ เช่นเดียวกับ
ประโยชน์จากต้นไม้ทั่วไป พืชพันธุ์บน Green Roofs ช่วยเพิ่มออกซิเจน และลด
คาร์บอนไดออกไซด์ให้กับเมือง พืชพันธุ์ที่มีชีวิตบนหลังคาสร้างอากาศบริสุทธิ์
ช่วยกรองฝุ่นละอองในอากาศ และลดมลภาวะในเมืองได้

การควบคุมอุณหภูมิภาย ในอาคารให้อยู่ในสภาวะที่สบาย Green Roofs ช่วย
ควบคุมการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิภายในอาคาร พืชพันธุ์ที่อยู่บนหลังคาทำ
หน้าที่เป็นเหมือนฉนวนกันความร้อนจากภายนอก และควบคุมอุณหภูมิภายใน
อาคารให้อยู่ในระดับคงที่

และยังสามารถลดแสงสะท้อน จากหลังคาที่มีผลกระทบต่ออาคารข้างเคียงได้อีก
ด้วย การปรับสภาพของระบบนิเวศเมือง (Urban ecology)โดยรวมให้ดีขึ้น ปัญหา
ที่สำคัญของระบบนิเวศเมือง คืออุณหภูมิและมลภาวะความแปรปรวนของสภาพ
อากาศและความขาดแคลนพื้นที่ธรรมชาติ ที่ส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
ให้สิ่งมีชีวิต Green Roofs ช่วยควบคุมอุณหภูมิเมืองลดมลภาวะกรองฝุ่นช่วยสร้าง
อากาศบริสุทธิ์ สร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติและเป็นที่อยู่ของสิ่งมีชีวิต

--------------------------------------------------------------------------------------

รายงานเต็มฉบับ ของ
อาจารย์ กนกวลี สุธีธร ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม สถ.บ. มหาวิทยาลัยศิลปากร
M.L.A. (University of Washington)











http://www.sunflowercosmos.org/climate_change/climate_change_home/greenroof_2.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 07/10/2011 7:20 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

800. รมช.คมนาคม สั่งขุดลอกคูคลองทั่วประเทศทันที หลังน้ำลด


ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงคมนาคมว่า วันนี้มีตัวแทนเครือข่ายสถาบันเกษตรกร เครือข่ายประชาชนตรวจสอบทุจริตภาครัฐ
และแนวร่วมคนรักประชาธิปไตยอีสานใต้ประมาณ 30 คน นำโดยนายอรรถฤทธิ์ สิงห์ลอ นายกสมาคมเครือข่ายสถาบันเกษตรกร
ได้มารวมตัวกันชุมนุมบริเวณหน้ากระทรวงคมนาคมเพื่อขับไล่นายถวัลย์รัฐ อ่อนศิระ อธิบดีกรมเจ้าท่าให้ออกจากตำแหน่ง ฐานละ
เว้นปฏิบัติหน้าที่จนทำให้น้ำท่วม

ด้านนายอรรถฤทธิ์ กล่าวว่า ได้เข้ายื่นหนังสือต่อ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.คมนาคม เรียกร้องให้ สอบสวนเอาผิดอธิบดี
กรมเจ้าท่าและขอให้พิจารณาปลดออกจากตำแหน่ง เนื่องจากบกพร่องต่อหน้าที่ ไม่ดำเนินการขุดลอกแม่น้ำทำให้ตื้นเขินจนเป็น
สาเหตุที่ทำให้น้ำท่วมหนัก ส่งผลกระทบทำให้พื้นที่การเกษตรเสียหายเป็นจำนวนมาก รวมทั้งอดีตยังเคยมีส่วนเกี่ยวข้องร่วม
ทุจริตโครงการจัดซื้อเรือขุดแอลลิดอตจนถูกลงโทษทั้งทางแพ่งและวินัย ทำให้รัฐสูญเสียเงินไปกว่า 2,000 ล้านบาท ซึ่งหาก
นายถวัลย์รัฐ เตรียมเสนอของบประมาณอีก 14,000 ล้านบาท เพื่อมาขุดลอดแก้ไขปัญหาน้ำท่วมตามที่ปรากฏในข่าวก่อนหน้านี้
เกรงว่าจะมีการทุจริตงบประมาณดังกล่าวอีก

ด้านนายกิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์ รมช.คมนาคม กล่าวว่า ได้สั่งการให้กรมเจ้าท่าเตรียมขุดลอกแม่น้ำ ลำคลองทั่วประเทศทันที
หลังน้ำลดระดับลงจนเข้าสู่ภาวะปกติ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากในระยะยาว เบื้องต้นต้องดำเนินการประมาณ 14,000
กิโลเมตรทั่วประเทศ เฉลี่ยกิโลเมตรละประมาณ 1-2 ล้านบาทแล้วแต่พื้นที่ รวมระยะเวลา 3 ปี โดยใช้งบประมาณประจำปีของกรมเ
จ้าท่า หลังดำเนินการได้แล้วเสร็จคาดว่าจะแก้ปัญหาดังกล่าวได้ โดยส่วนใหญ่เป็นแม่น้ำสายหลัก เช่น แม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำชี
และลำน้ำปาว เป็นต้น

นอกจากนี้ในส่วนของแม่น้ำเจ้าพระยา ก็ต้องมีการขุดลอกในจุดที่ตื้นเขิน โดยเฉพาะจุดที่เป็นสันดอน ซึ่งขวางทางน้ำไหล และยัง
ส่งผลกระทบกับการเดินเรือด้วย นอกจากนี้เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วม
ยังไม่อนุญาตให้เรือขนส่งสินค้าวิ่งในลำน้ำหลายแห่ง เนื่องจากปริมาณน้ำที่เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับคลื่นที่เกิดจากการวิ่งผ่านของเรือ
ส่งผลกระทบกับประชาชนที่อยู่ริมน้ำจนได้รับความเดือดร้อน โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ส่วนจะเปิดให้บริการได้เมื่อ
ใดนั้นต้องดูจากสถานการณ์น้ำให้เข้าสู่ภาวะปกติ.


-สำนักข่าวไทย
http://www.mcot.net/cfcustom/cache_page/277072.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 07/10/2011 7:53 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

801. สารกำจัดวัชพืช (ยาฆ่าหญ้า)


บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำ ชื่อสารเคมี (ชื่อสามัญ) ชนิดต่างๆ มาเผยแพร่ให้เกษตรกร, ผู้สนใจ, ฯลฯ ได้รู้ถึงประโยชน์,
อันตราย, และความเป็นพิษเ พื่อจะได้เลือกใช้สารเคมีอย่างระมัดระวัง (ในกรณีที่จำเป็น) มิได้ต้องการส่งเสริมให้เกษตรกรหรือ
ผู้อ่านใช้สารเคมีเพิ่มขึ้น เพียงแต่หากจำเป็นต้องใช้สารเคมี ก็ควรใช้อย่างรู้คุณและโทษของมันอย่างถูกต้อง และได้ประโยชน์
คุ้มค่ากับเงินลงทุนที่เสียไปทุกบาททุกสตางค์ และไม่ทำให้ผู้บริโภค รวมถึงตัวเกษตรกรและผู้ใช้เองต้องตกเป็นเหยื่อของ
พิษภัยจากการใช้สารเคมีโดยมิได้รู้แจ้ง

ทางผู้โพสหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์กับเกษตรกรและบุคคลทั่วไปไม่มากก็น้อย สำหรับท่านที่มีเพื่อน, มิตร, ญาติสนิท,
ฯลฯ ที่ทำเกษตร หรือเกี่ยวข้องทางด้านนี้อยู่ ก็รบกวนช่วยนำไปเผยแพร่นะครับ

ผมเองได้ข้อมูลมาตั้งแต่สมัยที่ยังทำการเกษตรอยู่ จาก หนังสือ "สารกำจัดศัตรูพืชในประเทศไทย" เป็นหนังสือที่หาค่อนข้าง
ยาก ปัจจุบันไม่ทราบว่ามีตีพิมพ์อีกหรือไม่ แต่ข้อมูลก็ยังสามารถใช้ได้ดีอยู่ จึงอยากนำมาเผยแพร่ให้คนรักต้นไม้, เกษตรกร,
หรือคนที่เกี่ยวข้องได้ทราบกัน
(นายยักษ์เขียว)



อ๊อกซาไดอะโซน (oxadiazon)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช oxadiazon ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชได้ทั้งแบบก่อนงอกและภายหลังงอก ดูดซึมเข้า
ไปในลำต้นได้โดยส่วนต่าง ๆ ของพืชที่อยู่เหนือพื้นดิน ออกฤทธิ์ได้ดีเมื่อมีแสงแดด

ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) มากกว่า 8,000 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 8,000 มก./กก. อาจทำให้ดวง
ตาเกิดอาการระคายเคือง

วัชพืชที่กำจัดได้ ผักแว่น ผักปอดนา แพงพวยน้ำ ขาเขียด หญ้านกสีชมพู หญ้าตีนติด หญ้าตีนกา หญ้าโขย่ง กกขนาก
กกทราย วัชพืชใบแคบและวัชพืชใบกว้างล้มลุกอื่น ๆ

พืชที่ใช้ ฝ้าย ข้าว ถั่วเหลือง กะหล่ำปลี กระเทียม หอมและมะเขือเทศ

สูตรผสม 25% อีซี

อัตราใช้และวิธีใช้ สำหรับกำจัดวัชพืชในนาข้าว ใช้อัตรา 320-640 ซีซี. ผสมกับน้ำ 20-60 ลิตร/ไร่ ฉีดพ่นลงในนาข้าวให้ทั่ว
แปลง สำหรับพืชอื่น ๆ ใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก

อาการเกิดพิษ ถ้าเข้าตา จมูกหรือผิวหนัง จะทำให้เกิดอาการระคายเคือง ถ้าเข้าปากอาจจะมีอาการคลื่นไส้และอาเจียน

การแก้พิษ ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดหรือน้ำเกลือ 1% ถ้า เกิดพิษที่ผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่จำนวนมาก ๆ ถ้ากลืนกิน
เข้าไปและผู้ป่วยมีสติดีอยู่ ห้ามทำให้อาเจียน ใช้น้ำล้างปากมาก ๆ แล้วนำผู้ป่วยส่งแพทย์ เพื่อทำการล้างท้อง แล้วรักษาตาม
อาการ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ

ข้อควรรู้
- กำจัดวัชพืชใบกว้างได้ดีกว่าใบแคบ
- มีความคงตัวในดินปานกลาง จึงสามารถควบคุมวัชพืชได้ตลอดฤดูปลูก
- ออกฤทธิ์ในทางสัมผัส เมื่อใช้กำจัด
วัชพืชแบบภายหลังงอก



อ๊อกซี่ฟลูออร์เฟน (oxyfluorfen)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช diphenyl ether : trifluoromethyl ประเภท เจาะจงพืช กำจัดวัชพืชได้ทั้งแบบก่อน
งอกและภายหลังงอก ออกฤทธิ์ได้ดีเมื่อถูกแสงแดด ดูดซึมผ่านทางใบหรือทางหน่อได้มากกว่าทางราก

ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) มากกว่า 5,000 มก./กก. ทางผิวหนัง (กระต่าย) มากกว่า 10,000 มก./กก.

วัชพืชที่กำจัดได้ หญ้าตีนติด หญ้าตีนนก หญ้าตีนกา หญ้าปากควาย หญ้าไม้กวาด หญ้าเขมร ไมยราบ วัชพืชใบแคบและ
ใบกว้างล้มลุกอื่น ๆ

พืชที่ใช้ หอม หอมใหญ่ กระเทียม พืชตระกูลถั่ว ข้าวไร่ พืชตระกูลกะหล่ำ พริก ยาสูบ มะเขือเทศ ขิง มันสำปะหลังและอ้อย

สูตรผสม 23.5% อีซี.

อัตราใช้และวิธีใช้ โดยทั่วไปใช้อัตรา 40-80 ซีซี. ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นคลุมดินที่เตรียมไว้เพื่อปลูก ควรศึกษาราย
ละเอียดเพิ่มเติมจากฉลากก่อนใช้

อาการเกิดพิษ ผู้ได้รับพิษจะมีอาการระคายเคืองที่ผิวหนัง ตา ทางเดินหายใจ คลื่นไส้ วิงเวียน และอาเจียน

การแก้พิษ ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง ถ้าเข้าปากห้ามทำให้
คนไข้อาเจียน ควรนำคนไข้ส่งแพทย์เพื่อรักษาตามอาการ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ

ข้อควรรู้
- เป็นพิษต่อปลา
- กำจัดวัชพืชใบกว้างได้ดีกว่าใบแคบ
- เมื่อวัชพืชสัมผัสถูกกับสารกำจัดวัชพืชนี้ในระหว่างการงอกจะถูกฆ่าตาย



โอรีซาลิน (oryzalin)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช dinitroanilide ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชแบบก่อนงอก

ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) มากกว่า 10,000 มก./กก.

วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชใบแคบและใบกว้างประเภทล้มลุก พืชที่ใช้ ถั่วเหลือง ถั่วลันเตา ฝ้าย มันฝรั่งและพื้นที่ ๆ ไม่ได้ทำ
การเพาะปลูก

สูตรผสม 70% ดับบลิวพี

อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก

ข้อควรรู้
- เป็นพิษต่อปลา
- อย่าใช้กับดินที่มีอินทรียวัตถุสูงกว่า 5%
- ให้ใช้เพียงหนึ่งครั้งต่อหนึ่งฤดูปลูก
- อย่าปลูกพืชหัวในพื้นที่ที่ใช้สารนี้ภายในระยะเวลา 12 เดือน หลังจากใช้



พาราคว๊อท (paraquat)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช bipyridium ประเภทไม่เจาะจงพืช กำจัดวัชพืชภายหลังงอก ออกฤทธิ์ในทางสัมผัส มีคุณ
สมบัติเป็นตัวดูดน้ำและหมดฤทธิ์อย่างรวดเร็วเมื่อถูกกับดิน

ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู)
150 มก./กก. ทางผิวหนัง 236 มก./กก. จะตายเมื่อกลืนกินเข้าไป

วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชทุกชนิด โดยเฉพาะจะมีประสิทธิภาพในการกำจัดส่วนที่มีสีเขียวของพืช

พืชที่ใช้ ใช้กำจัดวัชพืชตามไร่มันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพด สวนผลไม้ กล้วย ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ตามคันนา บริเวณโรงงาน
ริมทางรถไฟและคันคูคลอง

สูตรผสม 27.6% แอล

อัตราใช้และวิธีใช้ โดยทั่วไปใช้อัตรา 60-80 ซีซี. ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นที่ใบและต้นวัชพืชโดยตรงควรใช้ในขณะที่มีแสง
แดดซึ่งจะช่วยให้ได้ผลดี ยิ่งขึ้น

อาการเกิดพิษ พิษจากการสูดดมจะมีอาการแน่นหน้าอกและในช่องท้อง คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย วิงเวียน หายใจขัด ปอด
บวมและอาจตายเนื่องจากระบบหายใจล้มเหลว ถ้าเข้าตาหรือถูกผิวหนังจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองและอักเสบ ถ้าวัตถุมีพิษ
เข้มข้นมาก ๆ อาจทำให้เล็บหลุด ถ้าเข้าตา แก้วตาจะหลุดออกมาทำให้เกิดอาการรุนแรงตามมา ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไป
ภายในปากจะระคายเคืองตลอดถึงลำคอ ทางเดินอาหารอักเสบและแสบร้อนคลื่นไส้ อาเจียน ท้องปั่นป่วน ไม่สบายและท้องเสีย
เหงื่อออกมาก ประสาทส่วนกลางได้รับผลกระทบกระเทือน มีอาการกระสับกระส่าย ระบบหายใจล้มเหลว เซลตับและไตถูก
ทำลายและตายในที่สุด

การแก้พิษ ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ ถ้าเข้าตาให้รีบล้างตาด้วยน้ำสะอาดจำนวนมาก ๆ ถ้าเข้าปากหรือกลืน
กินเข้าไป ควรรีบทำให้อาเจียนทันทีด้วยการล้วงคอหรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่น แล้วนำส่งแพทย์ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ

ข้อควรรู้
- จะหมดฤทธิ์ทันทีเมื่อถูกกับดิน ไม่มีฤทธิ์ตกค้าง
- มีพิษต่อปลาน้อย



http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=yakkeaw&group=9
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 07/10/2011 9:14 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

802. อุทกภัยในเอเชีย ตอ.เฉียงใต้ กระทบราคาข้าว ตลาดโลก

บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทยออกบทวิเคราะห์ "ภาวะอุทกภัยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้...ผลกระทบต่อราคาข้าวในตลาดโลก"ระบุว่า
ในช่วงปลายปีประมาณเดือนกันยายน-พฤศจิกายนเป็นช่วงฤดูมรสุมของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ในปี 2554 ฤดูมรสุมมา
เร็วกว่าปกติ โดยเริ่มส่งผลกระทบต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคม โดยลมมรสุมมีความรุนแรง และมี
ความถี่ในการเกิดมากกว่าในปีปกติ ทำให้เกิดปัญหาภาวะอุทกภัยรุนแรงที่สุดในรอบหลายปี นอกจากนี้ ยังมีโอกาสที่ความเสียหาย
จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากลมมรสุมลูกใหม่ ทำให้ยังต้องจับตาถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นไปจนถึงช่วงปลายปี 2554

อิทธิพลของลมมรสุมนอกจากสร้างความเสียหายกับชีวิตและทรัพย์สิน และความเดือดร้อนแก่ประชาชนในวงกว้างแล้ว ยังส่งผลกระทบ
ต่อพื้นที่ปลูกข้าว 9.19 ล้านไร่ ซึ่งพื้นที่ปลูกข้าวได้รับความเสียหาย และอยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะเสียหาย ทั้งในไทยและเวียดนาม
ซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวมากเป็นอันดับ 1 และ 2 ของโลก รวมทั้งกัมพูชา และลาว ซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวรายย่อยของ
ภูมิภาคเอเชีย อีกทั้งยังสร้างความเสียหายให้กับนาข้าวของฟิลิปินส์ ซึ่งเป็นประเทศผู้นำเข้าข้าวอันดับ 1 ของโลก ความเสียหาย
ของผลผลผลิตข้าวจากภาวะอุกทกภัยซ้ำเติมความกังวลเรื่องราคาข้าวในตลาดโลกที่คาดว่าจะสูงขึ้นจากการที่รัฐบาลไทยจะดำเนิน
มาตรการรับจำนำข้าว คาดว่าราคาข้าวในตลาดโลกจะมีแนวโน้มอยู่ในเกณฑ์สูงไปจนถึงช่วงกลางปี 2555 เนื่องจากคาดว่าชาวนา
ในภูมิภาคเอเชียจะน่าจะกลับมาเพิ่มผลผลิตข้าวในช่วงผลผลิตข้าวนาปรัง ที่ผลผลิตออกสู่ตลาดราวกลางปี 2555



ความเสียหายด้านการเกษตรจากปัญหาอุทกภัยในช่วงปลายปี 2554

กรณีไทย
- ผลกระทบด้านการเกษตรทั้งสิ้นรวม 63 จังหวัด โดยปัจจุบันยังมีสถานการณ์อุทกภัยใน 32 จังหวัด (ข้อมูล ณ วันที่ 30
ก.ย. 54) ผลกระทบด้านพืช พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 7.53 ล้านไร่ แบ่งเป็นข้าว 6.29 ล้านไร่ พืชไร่ 0.92 ล้านไร่ พืชสวน
และอื่นๆ 0.32 ล้านไร่

- ประเด็นที่ยังต้องติดตาม คือ การประเมินความเสียหายด้านพืชส่วนใหญ่คือ ข้าว ปริมาณความเสียหายข้าวยังต้องรอประเมิน
หลังน้ำท่วม ซึ่งเพื่อความชัดเจนควรจะต้องมีรายงานแยกระหว่างความเสียหายข้าวนาปรังรอบ 2 (เก็บเกี่ยวประมาณเดือน
กันยายน) และความเสียหายข้าวนาปี (ในบางท้องที่เริ่มเก็บเกี่ยวประมาณเดือนกันยายน) นอกจากนี้ ยังต้องติดตามด้วย
ว่าชาวนาที่ปลูกข้าวนาปีที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมจะปลูกข้าวหลังน้ำลดหรือไม่ ซึ่งคาดว่าจะทำให้ปริมาณการผลิตข้าวนา
ปรังในปี 2555 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และรัฐบาลอาจจะต้องเตรียมขยายเวลารับจำนำข้าวนาปีออกไปอีกประมาณ 1-2 เดือน
รวมถึงมาตรการรับจำนำข้าวนาปรังในเดือนเมษายน 2555 ด้วย


เวียดนาม
- ภาวะน้ำท่วมในพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงในปีนี้สูงที่สุดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา โดยคาดการณ์ว่าภาวะน้ำท่วมสูงสุดในเดือน
ตุลาคม ผลผลิตข้าวจากพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำร้อยละ 90 ผลิตเพื่อการส่งออก ส่งผลให้ราคาข้าวของเวียดนามในปัจจุบัน
เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา

- ปัจจุบันมีพื้นที่ 5,000 เฮกตาร์(31,250 ไร่)ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมแล้ว ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกข้าวรอบที่ 3 ของพื้นที่สาม
เหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ส่วนพื้นที่อีก 90,000 เฮกตาร์(562,500 ไร่) เป็นพี้นที่ที่อยู่ในความเสี่ยงที่จะได้รับความเสียหายจาก
ปัญหาน้ำท่วม โดยเวียดนามเร่งให้จังหวัดที่มีความเสี่ยงน้ำท่วมเก็บเกี่ยวผลผลิต เนื่องจากมีพื้นที่เพียงร้อยละ 5 เท่านั้นที่เก็บ
เกี่ยวผลผลิตไปแล้ว

- ประเด็นที่ยังต้องติดตาม คือ ผลผลิตข้าวรอบ3 ที่จะออกสู่ตลาดในเดือนตุลาคมจะมีปริมาณมากน้อยเพียงใด ซึ่งจะส่งผลต่อการ
แข่งขันในการส่งออกข้าวในช่วงปลายปี 2554 และปัญหาน้ำท่วมจะส่งผลให้เวียดนามต้องเลื่อนการผลิตข้าวในฤดูการ
ผลิตหลักออกไปหรือไม่ ซึ่งจะทำให้การแข่งขันในการส่งออกข้าวในช่วงครึ่งแรกของปี 2555 เปลี่ยนแปลงไป (โดยปกติผล
ผลิตข้าวออกสู่ตลาดมากในเดือนกพ.-มีค.)

กัมพูชา
- The National Committees for Disaster Management : NDMC รายงานพื้นที่นาข้าวที่ประสบปัญหาน้ำท่วม
200,000 เฮกตาร์(1.25 ล้านไร่) ปัจจุบันคาดว่าจะเสียหายประมาณ 480,000 ไร่

- คาดการณ์ว่าในปี 2554/55 กัมพูชาผลิตข้าวประมาณ 5.2 ล้านตันข้าวสาร ซึ่งอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปีก่อนหน้าน ส่วนใหญ่
บริโภคในประเทศ มีการส่งออกน้อยมาก แต่มีการส่งข้ามชายแดนไปยังเวียดนามในลักษณะข้าวเปลือก ส่งผลให้ในปี 2555
เวียดนามจะมีข้าวจากกัมพูชาไปแปรรูปเพื่อส่งออกน้อยลง

ลาว
- พายุโซนร้อนซึ่งพัดกระหน่ำเข้าประเทศตั้งแต่เดือน มิ.ย.สร้างความเสียหายแก่นาข้าวกว่า 3 แสนไร่ ในเขตรอบนครเวียงจันทน์


ฟิลิปปินส์
- เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรของฟิลิปปินส์เรียกประชุมฉุกเฉินเพื่อประเมินสถานการณ์ผลผลิตข้าว เนื่องจากพายุไต้
ฝุ่นนันมาดอลและนาลาแกสร้างความเสียหายให้กับผลผลิตข้าวประมาณ 760,000 ตันข้าวเปลือก(ข้อมูล ณ วันที่ 5 ตุลาคม)
โดยประเมินจากพื้นที่ปลูกข้าวที่ได้รับความเสียหายไปแล้ว 15,722 เฮกตาร์ (98,262.5 ไร่) ส่วนพื้นที่ปลูกข้าวที่ยัง
มีปัญหาน้ำท่วมอีกประมาณ 317,780 เฮกตาร์ (1.99 ล้านไร่) ซึ่งยังต้องติดตามว่าถ้าภาวะน้ำท่วมยืดเยื้ออาจจะส่งผลให้
ปริมาณข้าวที่ได้รับความเสียหายมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

- ฟิลิปปินส์อาจจะต้องนำเข้าข้าวเพิ่มขึ้น (โดยเฉพาะเมื่อประเมินความเสียหายจากภาวะน้ำท่วมเสร็จสิ้น อีกทั้ง ยังมีโอกาส
ได้รับผลกระทบเพิ่มเติมจากพายุไต้ฝุ่นลูกใหม่ที่กำลังก่อตัว) แม้ว่ารัฐบาลจะประกาศในช่วงปลายเดือนก.ย. 2554 ว่าในปี
2555 จะนำเข้าข้าวไม่เกิน 500,000 ตันก็ตาม แต่จากการประเมินความเสียหายจากลมมรสุมคาดว่าในปี 2555 ฟิลิปปินส์
อาจจะต้องนำเข้าข้าวมากถึง 2.2 ล้านตัน อย่างไรก็ตาม คาดว่าฟิลิปปินส์น่าจะนำเข้าข้าวส่วนใหญ่จากเวียดนาม เนื่องจาก
ราคาที่ยังต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับข้าวไทย

ที่มา : รอยเตอร์ กระทรวงเกษตร ฯ และศูนย์วิจัยกสิกรไทย




ผลกระทบของภาวะอุทกภัย
 ปริมาณการผลิตข้าวในตลาดโลกช่วงต้นปี 2555 ลดลง ก่อนเกิดภาวะอุทกภัยครั้งใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดการณ์ว่าในปี 2554/55 ผลผลิตข้าวของโลกเพิ่มขึ้นเป็น 458.38 ล้านตันข้าวสาร หรือเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 1.6 จากการคาดหมายว่าประเทศผู้ผลิตข้าวมีแนวโน้มเพิ่มผลผลิตข้าว เนื่องจากราคาข้าวที่อยู่ในเกณฑ์สูงจูงใจให้มี
การขยายพื้นที่เพาะปลูก โดยเฉพาะมาตรการรับจำนำข้าวของไทย ที่ส่งผลให้ราคาข้าวในตลาดโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่าง
ต่อเนื่องตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2554 อย่างไรก็ตาม ผลจากการเกิดอุทกภัย ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่อไทย และเวียดนาม
ซึ่งเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับ 1 และอันดับ 2 ของโลก ทำให้คาดหมายว่าปริมาณผลผลิตข้าวที่ออกสู่ตลาดในช่วงปลายปี
2554 ต่อเนื่องถึงไตรมาสแรกปี 2555 อาจจะมีแนวโน้มลดลง และมีแนวโน้มว่าปริมาณผลผลิตข้าวจะไปออกสู่ตลาด
มากอีกครั้งในช่วงกลางปี 2555 จากผลผลิตข้าวนาปรัง ที่บรรดาชาวนาของประเทศในภูมิภาคเอเชียน่าจะยังขยายการผลิต
ทั้งเพื่อทดแทนการผลิตข้าวนาปี และตอบสนองต่อราคาข้าวที่อยู่ในเกณฑ์สูง

ประเด็นที่ยังต้องติดตาม คือ การประเมินความเสียหายภายหลังน้ำท่วม ซึ่งส่วนใหญ่ส่งผลกระทบต่อผลผลิตข้าวนาปรังรอบ
2 ทั้งในไทยและเวียดนาม ส่วนผลผลิตข้าวนาปีได้รับผลกระทบไม่มากนัก โดยได้รับผลกระทบเฉพาะในบางท้องที่ (ซึ่งปริมาณ
ผลผลิตประมาณร้อยละ 8.6 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด ซึ่งคาดการณ์ว่าพื้นที่นี้จะมีการปลูกข้าวต่อเนื่องหลังน้ำลดแล้ว)
ในขณะที่พื้นที่ปลูกข้าวนาปีบางส่วนอาจมีการเลื่อนการปลูกไปอีก 1-2 เดือน ทำให้ผลผลิตข้าวจะไปออกสู่ตลาดมากใน
ช่วงเดือนธันวาคม 2554-มกราคม 2555

 ปริมาณความต้องการข้าวในตลาดโลกเพิ่มขึ้น ในช่วงเดือนกันยายน กระทรวงเกษตรของสหรัฐฯคาดการณ์ว่าความ
ต้องการข้าวของโลกเบื้องต้นในปี 2554/55 อยู่ในระดับ 31.81 ล้านตันข้าวสาร หรือลดลงร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับปี
ก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม จากภาวะอุทกภัยส่งผลกระทบอย่างมากต่อฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นประเทศผู้นำเข้าข้าวอันดับ 1 ของโลก
อาจต้องทำให้สถานการณ์พลิกกลับ โดยมีแนวโน้มว่าปริมาณความต้องการข้าวในตลาดโลกอาจจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
เนื่องจากฟิลิปปินส์อาจต้องนำเข้าข้าวมากกว่าที่เคยมีการคาดการณ์ไว้ก่อนเกิดอุทกภัย รวมทั้งประเทศผู้นำเข้าข้าว
รายอื่นๆ โดยเฉพาะอินโดนีเซียอาจจะต้องนำเข้าข้าวเพื่อเก็บสต็อกไว้เพื่อความมั่นคงทางด้านอาหารด้วยเช่นกัน

 ราคาข้าวในตลาดโลกมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ราคาข้าวในตลาดโลก ซึ่งถือว่าราคาส่งออกข้าวไทย100% เกรดบี เป็น Ben-
chmark มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่กลางปี 2554 และเพิ่มขึ้นในอัตราเร่งหลังเดือนกรกฎาคม 2554 รับกับการ
เปลี่ยนมาตรการแทรกแซงตลาดข้าวเป็นมาตรการจำนำข้าว โดยประกาศในวันที่ 7 ตุลาคม 2554 เนื่องจากบรรดาพ่อค้า
ข้าวกว้านซื้อข้าวในตลาดเพื่อเก็บเข้าสต็อก ผลักดันให้ราคาข้าวในประเทศเพิ่มสูงขึ้น และราคาส่งออกมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น
ตามไปด้วย

คาดว่าผลของอุทกภัย ซึ่งส่งผลให้ปริมาณผลผลิตข้าวในตลาดโลกลดลง โดยเฉพาะปริมาณการผลิตข้าวของไทยและเวียดนาม
และปริมาณความต้องการข้าวในตลาดโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากความเสียหายของผลผลิตข้าวของฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นประเทศ
ผู้นำเข้าข้าวอันดับ 1 ของโลก โดยคาดว่าราคาข้าวในตลาดโลกมีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องไปจนถึงกลางปี 2555
หลังจากนั้นคงต้องพิจารณาปริมาณข้าวนาปรังหรือข้าวที่จะเข้าสู่ตลาดในช่วงกลางปี ซึ่งมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นเป็นประวัติ
การณ์ เนื่องจากการปลูกทดแทนข้าวนาปีที่เสียหาย และการปลูกเพิ่มตอบสนองกับราคาที่อยู่ในเกณฑ์สูง


อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ยังต้องติดตาม คือ ผลผลิตข้าวจากภูมิภาคเอเชียใต้ โดยเฉพาะอินเดียที่กลับมาส่งออกข้าวขาว
และข้าวนึ่งประมาณ 4 ล้านตันในช่วงประมาณเดือนเมษายน 2555 จะเป็นปัจจัยกดดันไม่ให้ราคาข้าวไต่ระดับสูงขึ้นไปมาก
นัก โดยอินเดียส่งออกข้าวในราคาที่ต่ำกว่าไทยและเวียดนาม ซึ่งนับว่าเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับประเทศผู้นำเข้าข้าว
โดยเฉพาะประเทศในแอฟริกา


โดยสรุปแล้วภาวะอุทกภัยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงปลายปี 2554 ซึ่งนับเป็นอุทกภัยครั้งใหญ่ที่สร้างความเสีย
หายมากเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากความรุนแรง และผลกระทบในวงกว้าง รวมทั้งช่วงของการเกิดเหตุการณ์ที่เร็วกว่าในปีปกติ
ประมาณ 1 เดือน ผลกระทบที่เกิดขึ้นสร้างการเปลี่ยนแปลงภาพการค้าข้าวในช่วงปลายปี 2554 ต่อเนื่องถึงต้นปี 2555
เนื่องจากภาวะอุทกภัยสร้างความเสียหายกับปริมาณการผลิตข้าวของทั้งไทย และเวียดนาม ซึ่งประเทศผู้ส่งออกข้าวสำคัญ
ของโลก รวมทั้งยังสร้างความเสียหายให้กับผลผลิตข้าวของฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นประเทศผู้นำเข้าข้าวอันดับ 1 ของโลก ทำให้คาด
หมายว่าราคาข้าวในตลาดโลกมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น หนุนเนื่องจากมาตรการรับจำนำข้าวของไทย ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้ราคา
ข้าวในช่วงปลายปี 2554 มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น แม้ว่าอินเดียจะกลับเข้าตลาดมาส่งออกข้าวขาวและข้าวนึ่งอีกครั้ง หลังจาก
ที่งดการส่งออกมาตั้งแต่ปี 2552 ซึ่งจะทำให้ราคาข้าวไม่พุ่งสูงขึ้นมากนักก็ตาม แต่คาดการณ์ว่าราคาข้าวในตลาดโลกน่าจะ
ยังอยู่ในเกณฑ์สูงต่อเนื่องไปจนถึงกลางปี 2555 หลังจากนั้น คงต้องพิจารณาปริมาณข้าวนาปรัง หรือข้าวที่จะออกสู่ตลาดกลาง
ปี 2555 ของทั้งไทยและเวียดนามอีกครั้ง




http://www.thannews.th.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 8:43 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 08/10/2011 7:34 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

803. ระบบน้ำหยด ไม้แขวน










http://xir007.proboards.com/index.cgi?action=display&board=general&thread=4819&page=1#87146
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 08/10/2011 9:03 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

804. ปลูกผักอินทรีย์แบบคอนโด



จ.ตราดส่งเสริมกลุ่มสตรีเกษตรอินทรีย์ ต.เนินทราย ปลูกผักอินทรีย์แบบคอนโด





กลุ่มสตรีเกษตรอินทรีย์ตำบลเนินทราย รวมกลุ่มปลูกผักอินทรีย์ แบบคอนโด แก้ไขปัญหาฝนตกชุกทำให้การปลูกผักแบบยกแปลงดิน
ไม่ประสบความสำเร็จ

นางสาวเสนาะ เลียดประถม ประธานกลุ่มสตรีเกษตรอินทรีย์ ตำบลเนินทราย อำเภอเมืองตราด เปิดเผยว่า เนื่องจากพื้นที่จังหวัดตราดมี
ฝนตกชุกทำให้การปลูกผักระบบยกแปลงผักไม่ค่อยประสบความสำเร็จในการดำเนินการ

ทางกลุ่มสตรีเกษตรอินทรีย์จำนวน 10 ครัวเรือน จึงรวมกลุ่มกันทดลองปลูกผักในตระกร้า แล้ววางไว้บนร้านไม้ไผ่ยกพื้นสูงจากพื้นดิน
20 เซนติเมตร ส่วนชั้นที่สองวางสูงจากพื้น 1 เมตร โดยปลูกผักจำพวกผักชี คึ่นช่าย ต้นหอม คะน้า กวางตุ้ง

โดยมีการใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพที่ทางกลุ่มร่วมกันทำใช้เองจากมูลสัตว์ แกลบ รำ น้ำหมักจุลินทรีย์ พร้อมทั้งการใช้สารอินทรีย์จำพวก
สะเดา กลอย หนอนตายอยาก มาหมักเป็นสารกำจัดแมลง

จากการดำเนินการหเก็บเกี่ยวในระยะเวลาประมาณ 45 วันหลังหยอดเมล็ดพันธุ์ พบว่าประสบความสำเร็จในการดำเนินการ เนื่องจาก
การปลูกผักระบบนี้สามารถควบคุมการให้น้ำ และแสงได้ดีกว่าการปลูกแบบยกแปลง

อย่างไรก็ตามการดำเนินการในปีนี้ทางกลุ่ม ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจังหวัดแบบบูรณการผ่านทางสำนักงานเกษตรและสหกรณ์
จังหวัด มาดำเนินการจัดซื้อตระกร้าจำนวน 1,800 ใบ พร้อมด้วยเมล็ดพันธุ์ผักสนับสนุนให้ทางกลุ่มดำเนินการพร้อมทั้งถ่ายทอดเทค
โนโลยีการผลิตผักอินทรีย์เข้าสู่มาตรฐาน GAP ให้กับกลุ่มอีกด้วย


ทั้งนี้ในส่วนของด้านการตลาดผักอินทรีย์ยังสามารถขยายได้อีกมากเนื่องจากปัจจุบันประชาชนนิยมหันมาซื้อหาสินค้าปลอด
สารเคมีไว้บริโภค/….



http://province.prd.go.th/trad/news/view.php?id_view=10664
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 08/10/2011 6:06 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

805. การปลูกข้าวลอยน้ำ แบบอินทรีย์


การปลูกข้าวลอยน้ำแบบอินทรีย์
คุณสุพรรณ เมธสาร เกษตรกร แห่งบ้านสามชุก อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี ผู้ที่มีความรู้ด้านการเกษตรหลายด้าน มีการศึกษาหาความรู้
เพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา ณ ปัจจุบัน ยังเป็นวิทยากร อบรมแก่ผู้ที่สนใจเรื่องการปลูกไผ่ การขยายพันธุ์ รวมถึงตลาดจำหน่าย ทำให้
คุณสุพรรณ เป็นที่เชื่อถือของเหล่าเกษตรกรอีกหลายนอกจากนั้นแล้ว คุณสุพรรณ ยังไม่หยุดนิ่งเพียงเท่านี้ ด้วยความที่เป็นเกษตร
กรนักคิด เมื่อ 2 ปีก่อนที่ผ่านมาคุณสุพรรณมีแนวคิดที่จะนำข้าวไปปลูกบนน้ำ เนื่องจากเห็นว่า ในแม่น้ำลำครองมักจะมีผักตบชวา
ซึ่งผักตบชวาในแม่น้ำนั้นมีอัตราการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เพราะในแม่น้ำมีธาตุอาหาร แพลงตอน ตลอดจนจุลินทรีย์ต่างๆที่
เป็นอาหารของพืช และเมื่อไม่นานมานี้คุณสุพรรณจึงทดลองปลูกข้าวบนน้ำ ผลผลิตที่ได้เป็นที่น่าพอใจเลยทีเดียว

การปลูกข้าววิธีนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับเกษตรกรที่ไม่มีพื้นที่ทำนาและอยู่ใกล้แม่น้ำ ผลผลิตข้าวที่ได้ก็ปลอดสารพิษไม่
มีสารเคมีตกค้างในร่างกายอีกด้วย

วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้
1. ฝากล่องโฟมเก่า ( กล่องโฟมใส่ผลไม้)
2. กระฐางพลาสติกสำหรับปลูก
3. ดินเลนสำหรับปลูก
4. เมล็ดพันธุ์ข้าว
5. ลำไม้ไผ่สำหรับทำแพ
6. เชือกฟาง

วิธีการปลูกข้าวลอยน้ำ
1. นำเมล็ดพันธุ์ข้าวไปเพาะในแปลงเพาะ เหมือนกับการเตรียมกล้าพันธุ์สำหรับดำนาทั่วไป
2. นำลำไม้ไผ่มาทำเป็นกรอบ 4 เหลี่ยม เพื่อทำเป็นแพ ในพื้นที่ๆจะปลูกข้าวลอยน้ำ
3. นำฝากล่องผลไม้( ฝากล่องโฟม ) มาเจาะรูให้มีขนาดเท่ากระถางพลาสติก แต่ให้อุ้มตัวกระถางไว้ได้
4. นำกระถางปลูกใส่ดินเลนให้เต็ม
5. เมื่อต้นกล้ามีอายุ 10 – 15 วันจึงแยกกล้ามาปลูกในกระถางที่เตรียมไว้ ประมาณ 4-5 กอต่อกระถาง
6. นำกระถางเพาะกล้าใส่ในฝากล่องโฟม แล้วจึงนำไปลอยน้ำ ในกรอบไม้ไผ่ที่เตรียมไว้
7. ใช้เชือกผูกกล่องโฟมกับแพไม้ไผ่ เพื่อป้องกันการพัดพาของน้ำ ไม่ให้ไหลไปที่อื่น

การดูแลและการใส่ปุ๋ย
คุณสุพรรณเน้นให้เกษตรกรที่ ทำแบบเกษตรอินทรีย์และอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพบำรุงข้าว ช่วงที่ข้าวมีอายุ 30
และ 55 วัน หลังการปลูก ใส่ปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 1 กำมือ/กระถาง / ครั้ง หากมีแมลงศัตรูพืช ก็ใช้น้ำหมักสมุนไพรฉีดพ่น วิธีนี้เกษตร
กรไม่ต้องเสียเวลาดูแลเรื่องน้ำเลย เพราะข้าวจะได้รับน้ำตลอดในช่วง ระยะเวลาการปลูก

ประโยชน์ผลผลิตที่ได้
วิธีการปลูกข้าวแบบลอยน้ำ ทำให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนเรื่องการเตรียมดิน น้ำมันเชื้อเพลิงและตัดปัญหาการดูแลเรื่องน้ำ
ไปเลย จากการคำนวณของคุณสุพรรณ หากทำแพปลูกข้าวในพื้นที่ 1 ไร่ ผลผลิตที่ได้รับ เฉลี่ย 70 ถัง /ไร่ ซึ่งวิธีนี้จะไม่ทำลาย
สิ่งแวดล้อม จากการเผาและลดการใช้สารเคมีต่าง ๆ ทำให้ลดต้นทุนได้มากวัสดุอุปกรณ์ยังสามารถนำมาใช้ครั้งต่อไปได้ คุณ
สุพรรณได้เตรียมการขยายผล เรื่องการปลูกข้าวบนน้ำ โดยจะใช้ผักตบชวาเป็นฐานซึ่งจะนำมาเผยแพร่ในครั้งต่อไป


ที่มา : ศูนย์ทางด่วนข้อมูลการเกษตร


คลิกไปดูรูปประกอบ....
http://board.palungjit.com/showthread.php?t=308267&goto=lastpost&langid=34


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/10/2011 7:57 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 08/10/2011 6:16 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

806. มหานครเกษตรกรรมลอยน้ำ

- ที่อยู่อาศัยและแหล่งเพาะปลูกพืชเกษตรในมหาสมุทรที่มนุษย์ ต้องการเอาชนะข้อจำกัดทางธรรมชาติ .




1.

ผ่านมาเกือบปีแล้วสำหรับเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งร้ายแรงในประเทศเฮติที่สร้างความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพสินย์ ทุกๆ
คนที่ยังมีชีวิตก็ต้องดำเนินชีวิตต่อไปด้วยความคาดหวังถึงการเริ่มต้นใหม่ทีดีให้กับชีวิต และข่าวดีไม่ใช่ว่าเป็นการสร้างเมือง
ใหม่ที่จะช่วยทดแทนบ้านเรือนที่เสียหายไปให้กับชาวเฮติซึ่งปัจจุบันหลายๆ องค์กรก็กำลังดำเนินการอยู่แล้วอย่างต่อเนื่อง แต่
เป็นไอเดียการสร้าง 'เมืองเกษตรกรรมลอยน้ำ (Harvest City)' ที่ ใหญ่ที่สุดในโลกให้เป็นทั้งแหล่งงานและแหล่งอาหาร
ให้กับประชากรชาวเฮติ พร้อมๆ กับส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศ เกาะเกษตรกรรมแห่งนี้มีพื้นที่เส้นผ่าศูนย์กลาง
ราวๆ สองไมล์ ประกอบไปด้วยสิ่งปลูกสร้างเพื่อสนับสนุนงานเกษตรกรรมกว่า 30,000 หลังคาเรือนภายใต้การบริหาร
จัดการพื้นที่ที่เรียกว่า Arcology (คำผสมระหว่าง Architecture + Ecology) และเป็นเสมือนสถานที่รองรับเหตุการณ์
ร้ายแรงทางธรรมชาติที่คาดการณ์ได้ยากให้กับชาวเฮติในอนาคต


2.

มหานครเกษตรกรรมลอยน้ำแห่งนี้เป็นแนวคิดของสถาปนิค E. Kevin Schopfer และ Tangram 3DS เพื่อต้องการให้
เป็นเมืองอยู่อาศัยและแหล่งผลิตพืชผลทางการเกษตรแห่งใหม่ของชาวเฮติหลังจากที่พื้นที่ส่วนใหญ่เสียหายเพราะภัยธรรม
ชาติครั้งใหญ่ในปี 2010 สองในสามของพื้นที่จะถูกใช้เพื่อการเพาะปลูกและอยู่อาศัย และส่วนที่เหลือจะเป็นโรง งาน
ผลิตพลังงาน แต่ละส่วนของเมืองลอยน้ำแห่งนี้จะเชื่อมโยงกันด้วยระบบคลอง ภายนอกอาณาเขตพื้นที่วงกลมจะเชื่อมโยง
ด้วยคลองสำหรับขนส่งผลผลิตทางเกษตรกรรม ส่วนภายในของเมืองจะประกอบไปด้วยอาคารสิ่งปลูกสร้างสี่ชั้นสำหรับเป็น
ทั้งที่พักอาศัยและสำนักงาน โรงเรียน และพื้นที่สาธารณะ





เมืองเกษตรกรรมลอยน้ำแห่งนี้มีระบบป้องกันภัยทั้งทางน้ำและทางอากาศอย่างดี เริ่ม ตั้งแต่ระบบป้องกันภัยเหนือพื้นน้ำ
จากปรากฎการผิดปกติในท้องมหาสมุทร Seabed หรือ Seafloor ด้วยโซน่าเคเบิ้ล และการออกแบบโครงสร้างทาง
สถาปัตยกรรม เพื่อให้รองรับสองฤดูการอันตรายอย่าง Hurricanes และ Typhoons รวมทั้งพื้นที่รองรับสิ่ง
ปลูกสร้างถาวรและพลังงานของเมืองลอยน้ำ (Dedweight) ให้สมดุลจากกระแสคลื่นลมที่มาปะทะโดยตรง ตัวป้องกัน
กระแสคลื่นใช้คอนกรีตจากซากปรักหักพังของสิ่งปลูกสร้างครั้งที่เกิดแผ่นดินไหวมาสร้างเพื่อทำให้เกาะลอยน้ำแห่งนี้
มีความปลอดภัยมากขึ้น




อย่างไรก็ตาม สถาปัตยกรรมที่ยังคงเป็นแนวคิดนี้ก็ยังอยู่ในระหว่างข้อถกเถียงกันจากหลายๆ ฝ่ายถึงข้อดีและข้อเสีย
รวมทั้่งผลประโยชน์ซ่อนเร้นของกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ว่าสุดท้ายแล้วมหานครเกษตกรรมลอยน้ำแห่งนี้จะเป็นจริงได้
หรือไม่ แต่ในมุมมองของ Greenlattes แล้วเห็นว่า 'เป็นตัวอย่างจุดประกายทางความคิด' เพื่อเอาตัวรอดของมนุษย์
ที่สามารถนำมาต่อยอดให้เกิดประโยชน์สำหรับประเทศที่มีพื้นที่เกษตรกรรมน้อยๆ อย่างตะวันออกกลาง, สิงคโปร์หรือ
ฮ่องกง ได้อย่างแน่นอน



เห็นด้วยกับ Greenlattes หรือไม่ครับว่า ประเทศไทยเราพร้อมที่จะเป็นแหล่งอาหารของโลกมากที่สุด เรามีความ
เหมาะสมทางระบบนิเวศที่หลายๆ ประเทศร่ำรวยใช้เทคโนโลยีสร้างไม่ได้ ขอเพียงแต่เราคนไทยต้องให้ความสำคัญกับ
เรื่องเกษตกรรมให้มากกว่าปัจจุบัน และเน้นว่าต้องเป็น 'เกษตรกรรมธรรมชาติ' เท่านั้นนะครับ





http://www.greenlattes.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 8:44 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 08/10/2011 7:47 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

807. "ลิลลี่แพดซิตี้" แนวคิดเมืองลอยน้ำ





















คลิกไปดู หลากหลายล้วนล้ำลึกจินตนาการ.....
http://truthoflife.fix.gs/index.php?topic=5556.0
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 08/10/2011 7:50 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

808. บ้านพักชั่วคราวที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานธรรมชาติ


ที่พักอาศัยชั่วคราวสำหรับช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ มีต้นแบบที่ชื่อว่า Waterpod และได้รับการพัฒนาในปี 2009 ซึ่งมันสามารถ
นำพลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม มาใช้ และวัสดุที่ใช้ทั้งหมดจะเป็นวัสดุรีไซเคิล เช่น ไม้, โลหะ, ผ้า ซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวด
ล้อม โดยหวังว่าจะเป็นบ้านเดี่ยวที่ทุกคนได้อยู่ร่วมกัน



Read More: http://www.portfolios.net/profiles/blogs/floating-architecture-3#ixzz1aC685Bva








http://www.portfolios.net/profiles/blogs/floating-architecture-3
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 08/10/2011 8:04 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

809. ไอเดียใหม่ ทำสวนผักลอยน้ำจากผักตบชวา


ผักตบชวาไม่ไร้ค่าอีกต่อไป แปลงปลูกผักลอยน้ำที่ลุ่มน้ำปากพนัง วันนี้มีเรื่องเล่าจากการทำงานในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังมาเล่าให้ฟังค่ะ
หลายคนอาจสงสัยว่าลุ่มน้ำปากพนังเกี่ยวข้องอะไรกับการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง จริงๆ แล้ว ขอบเขตของชายฝั่งกว้างกว่าที่มองเห็นด้วย
สายตา ไม่ใช่จบแค่ชายหาด น้ำเค็ม (หรือน้ำทะเล) รุกตัวไปถึงไหน หน้าที่ของนักจัดการชายฝั่งก็ต้องตามไปถึงที่นั่นค่ะ และในทางกลับ
กันระบบนิเวศไหนที่จะส่งผลกระทบต่อพื้นที่ชายฝั่ง เราในฐานะนักจัดการชายฝั่งก็ขอเข้าไปร่วมเอี่ยวด้วยค่ะ เดี๋ยวจะแปลกใจขึ้นไปอีก

เมื่อรู้ว่าการจัดการชายฝั่งไปเกี่ยวข้องอะไรกับผักตบชวา…ก็เพราะพื้นที่ชายฝั่งของลุ่มน้ำปากพนังมีความใกล้ชิดกับระบบชลประทาน
แล้วในคลองชลประทานก็มีผักตบชวาเยอะมากค่ะ กรมชลประทานเสียงบประมาณปีละหลายล้านเพื่อจัดเก็บผักตบชวาขึ้นมาไว้บนฝั่ง
พบว่าในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง ในลำคลอง 19 สาขา มีปริมาณผักตบชวาถึง 76,540 ตัน ในช่วงแรกๆ นักวิจัยของสถาบันทรัพ
ยากรชายฝั่งเห็นโอกาสของวัตถุดิบนี้ จึงขับเคลื่อนกลุ่มคนผู้ด้อยโอกาสให้มีอาชีพจากการทำปุ๋ยหมักจากผักตบชวา โดยได้รับงบประ
มาณสนับสนุนจาก กปร. ตอนนี้ปุ๋ยจากผักตบชวามีการขายในชุมชน กระสอบละ 50 บาท ซึ่งเป็นราคาต่ำกว่าต้นทุน ไม่ได้หวังผลกำไร
โดยประโยชน์ที่แตกต่างจากปุ๋ยอินทรีย์ทั่วไป คือ มีไนโตรเจนสูงกว่าปกติ (เพราะผักตบชวามีธาตุอาหารในตัวของมันอยู่แล้ว)

ปัญหาอยู่ที่ว่าผักตบชวามีเส้นใยที่เหนียวมาก ต้องสับก่อนที่จะทำการย่อยสลาย และใช้เวลานานในการหมักกองปุ๋ย จึงได้เกิดความ
คิดในการทำ “แปลงผักลอยน้ำ” ขึ้นมา โดยใช้ผักตบชวาที่อัดแน่นจนเป็นแปลงสำหรับปลูกผัก

วิธีการทำแปลงผักเริ่มจากนำไม้ไผ่มากั้นเป็นบล็อค แล้วรวบรวมผักตบชวาและทำการอัดแน่นเข้าด้วยกันในขณะที่ผักตบชวายังลอย
อยู่ในน้ำ อัดให้ได้ขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 8 เมตร เมื่อได้ความหนาประมาณ 20-30 เซนติเมตร ให้คนขึ้นไปใช้เท้าเหยียบและเดิน
ไปมาเพื่ออัดให้แพผักตบแน่นและคงทนต่อการใช้ง่าน ทำแบบนี้เป็นชั้นๆ ทุกระยะ 20 เซนติเมตร จนได้ความหนาประมาณ 1 เมตร
เมื่อหนาได้ที่แล้วจะใช้มีดสับผิวด้านบนให้ใบผักตบละเอียดและสะดวกต่อการเพาะปลูกพืช ในการทำแปลงผัก 1 แปลง ใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง ใช้ผักตบชวาคิดเป็นน้ำหนักประมาณ 2,000 กิโลกรรม (ไม่รวม
น้ำหนักของน้ำ)

ข้อดีของแปลงผักลอยน้ำ คือ ไม่ต้องลงทุนสูง ไม่เปลืองแรงคนเพราะไม่ต้องรดน้ำ ไม่ต้องใส่ปุ๋ย เนื่องจากปุ๋ยมีอยู่แล้วตามธรรมชาติ
และไม่ต้องฉีดยาฆ่าแมลงและข้อดียิ่งไปกว่านั้นคือ ผักตบชวาที่ใช้ทำแปลง เมื่อหมดรอบการใช้ปลูกผัก (3-4 รอบตามชนิดของ
ผัก) แล้ว สามารถนำมาหมักทำปุ๋ยอินทรีย์ต่อไปได้อีก (ทุ่นระยะเวลาการย่อยสลาย) โดยนำมาผสมกับมูลสัตว์ท้องถิ่นที่มีอยู่
เติมหัวเชื้อจุลินทรีย์ และกากน้ำตาล ใช้เวลาหมัก 2 สัปดาห์ ก็สามารถใช้ได้แล้ว ประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินการดังกล่าว สามารถ
ช่วยลดปริมาณผักตบชวาตามแม่น้ำลำคลอง เป็นแปลงเพาะปลูกสำหรับเกษตรกรที่ไม่มีพื้นที่เพาะปลูกหรืออาศัยอยู่ในพื้นที่น้ำท่วม
ขังเป็นระยะเวลานาน รวมทั้งเหมาะสมสำหรับเกษตรกรที่ไม่ค่อยมีเวลาดูแลแปลงเพาะปลูก ใครชอบไอเดียนี้ก็นำไปใช้ในพื้นที่อื่นๆ
ได้นะคะ แล้วช่วยบอกกล่าวเล่าสู่กันฟังด้วยนะคะ กิจกรรมนี้เป็นหนึ่งในโครงการตอบสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระ
เจ้าอยู่หัว ในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง ของสถาบันทรัพยากรชายฝั่ง ดำเนินงานโดยศูนย์บริการการมีส่วนร่วมชุมชนท้องถิ่นลุ่มน้ำปากพนัง
ซึ่งเป็นสถานีย่อยในพื้นที่ของสถาบันค่ะ ข้อมูลเพิ่มเติมผักที่ใช้ปลูกได้ผลค่อนข้างดี ได้แก่ แตงกวา ผักกาด ผักคะน้า และผักบุ้งจีน
ระยะเวลาในการเพาะปลูกจนสามารถเก็บเกี่ยวประมาณ 25-40 วัน ตามชนิดของผักผักบุ้งจีน ใช้เวลาปลูก 25-30 วัน ได้ผลผลิต
40-50 กก.ต่อแปลง จำหน่ายได้ 800-1,000 บาทต่อแปลงแตกกวา ใช้เวลาปลูก 30 วัน ได้ผลผลิต 50 กก.ต่อแปลง จำหน่าย
ได้ 1,000 บาทต่อแปลง การปลูกสามารถทำได้ทันทีหลังจากทำกองเสร็จ ไม่มีการใช้สารเคมีต่างๆ เลย ทำให้เป็นผักที่ปลอดภัยจาก
สารพิษอย่างสิ้นเชิง อีกทั้งยังไม่พบการระบาดของโรคแมลงต่างๆ ด้วย ต้นทุนในการดำเนินการทำแปลงผัก ค่าแรงคนงาน 100 บาท
ต่อคนต่อวัน คนงาน 6 คนสามารถทำแปลงได้ 2 แปลง ค่าพันธุ์ผักที่ใช้ปลูก 30 บาทต่อแปลง ค่าปุ๋ยและอุปกรณ์การเพาะชำกล้า
แปลงละ 50 บาท รวมต้นทุนทั้งสิ้น 380 บาทต่อแปลง แปลงผักสามารถใช้ได้ 3-4 รอบ หรือประมาณ 6 เดือน






http://share.psu.ac.th/blog/coasta-activities/433
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 08/10/2011 8:40 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

810. เลี้ยงกบควบคู่ปลูกผัก...บนแปลงผักลอยน้ำ

โดย จำนง ถีราวุฒิ



กลับมาอีกแล้วครับกับ web.nicaonline.com เรื่องเกี่ยวกับการเลี้ยงกบโดยผมจำนง ถีราวุฒิ เจ้าเก่าครับ ผมเคยนำเสนอเรื่อง
การเลี้ยงกบไป 2 เรื่อง เรื่องแรกการเลี้ยงกบในกระชัง ส่วนเรื่องที่สองก็คือ การเลี้ยงกบในนาข้าว ส่วนเรื่องที่สามรับรองครับ
ว่าแจ๋ว เจ๋ง แหวกแนวกว่า 2 เรื่องที่ผ่านมา ถ้าเป็นหนังก็คงประเภทมัมมี่ภาค 3 อะไรประมาณนั้น เอ๊ะ ! ชักจะนอกเรื่อง กลับมาที่
การเลี้ยงกบกันต่อดีกว่า การเลี้ยงกบที่จะขอนำเสนอต่อไปนี้ก็คือ การเลี้ยงกบควบคู่กับการปลูกผักลอยน้ำ...ล้อเล่นหรือเปล่า..
ทำได้ไง เป็นไปได้หรือ แต่มันก็เป็นไปแล้วและทำได้จริง ๆ ซะด้วย


การเลี้ยงกบนั้นไม่ยากครับ เลี้ยงง่าย ขายคล่อง โตเร็ว แต่เอ๊ะ! การเลี้ยงกบอย่างเดียวก็มีคนทำกันเยอะมันก็ดูธรรมดาซิครับ
เอาอย่างนี้ดีมั๊ย ถ้าเราจับกบให้อยู่ในแปลงผัก แล้วให้แปลงผักลอยอยู่บนน้ำ กบกินแมลงที่คอยกัดกินยอดผัก ผักได้ปุ๋ยจากขี้กบ
หรือถ้าอยากเลี้ยงปลาดุกไว้กินเองก็ใส่ปลาดุกไปกินเศษอาหารที่เหลือจากการเลี้ยงกบ งง...งง...ไม่ต้องงหรอกครับ ไม่มั่วและ
ก็ไม่ยากใช้หลักการผสมผสาน แต่มันเป็นเทคนิคที่อาศัยวิธีการง่าย ๆ บวกความมรู้ และภูมิปัญญาของเกษตรบ้านเราก็เท่านั้น
เองครับ






เริ่มจากการเตรียมกระชังอวนเขียวขนาดกว้าง 3 เมตร ยาว 10 เมตร ยังไม่ต้องลงบ่อแค่เตรียมไว้ก่อน ทำแปลงผักลอยน้ำโดย
ใช้ผักตบชวามากองบนโครงไม้ไผ่ที่ทำขึ้นเป็นรูปสี่เหลี่ยม แปลงผักที่ทำขึ้นต้องให้เล็กกว่ากระชังที่เตรียมไว้ กว้างประมาณ 2 x 8
เมตร เหตุที่ต้องทำแปลงผักให้เล็กกว่ากระชังเพื่อจะให้มีพื้นที่ว่างซึ่งเป็นพื้นที่น้ำสำหรับกบ จากนั้นอัดผักตบชวาให้แน่นให้ได้
ความหนาของชั้นประมาณ 30 เซนติเมตร แล้วขึ้นไปเหยียบเดินไปเดินมาเพื่อเป็นการอัดให้ผักตบชวาแน่น และคงทนต่อการใช้
งานทำแบบนี้เป็นชั้น ๆ จนได้ความหนาของผักตบชวาประมาณ 1 เมตร หรือสูงกว่า 1 เมตรอีกนิดก็ดี เผื่อไว้ในช่วงที่ผักตบชวาแห้ง
และยุบลงมา เมื่อได้ความหนาของผัตบชวาตามที่ต้องการแล้วก็นำดินมาโรยบนผิวหน้าไม่ต้องโรยมาก โรยเพียงเล็กน้อยแล้วใช้
มีดพร้าสับผิวหน้าด้านบนให้ใบผักตบละเอียด และให้สะดวกต่อการปลูก


การปลูกผักนั้นสามารถทำได้เลยหลังจากที่ทำแปลงเสร็จ โดยนำต้นกล้าของผักที่เพาะเตรียมไว้มาลงปลูกบนแปลงตามระยะที่
เหมาะสมของผักแต่ละชนิด ช่วงปลูกใหม่ก็อาจจะรดน้ำบ้างนิดหน่อยแต่โดยปกติลักษณะแปลงผักลอยน้ำ พืชสามารถดูดน้ำขึ้น
มาใช้ได้โดยตรง แต่ช่วงแรกผักตบชวายังสด การดูดซับน้ำอาจยังไม่ดีเท่าที่ควร ผักที่เหมาะสมกับลักษณะของแปลงลอยน้ำควร
เป็นพืชระยะสั้นเช่น แตงกวา ผักกาด ผักคะน้า ผักบุ้งจีน เป็นต้น ประเภทไม้ดอกก็สามารถปลูกได้ครับเช่น ดอกดาวเรือง เป็นต้น
การทำแปลงแต่ละครั้งสามารถใช้งานได้นานประมาณ 6 เดือน ฉะนั้นสามารถปลูกผักได้ 3 รุ่น และเลี้ยงกบได้ 2 รุ่น ต่อ 1 แปลง
หลังจากที่ต้นกล้าผักที่เราปลูกโตและแข็งแรงดีแล้ว ก็นำกระชังกบที่เตรียมไว้มาลงได้เลย โดยสอดเข้าไปใต้แปลงผักที่ลอยน้ำอยู่
ใช้ไม้หลักปักขึงเป็นรูปกระชัง ส่วนแปลงผักก็จะลอยอยู่ในกระชัง พื้นที่ว่างซึ่งเป็นพื้นที่น้ำ ระหว่างกระชังกับแปลงผักให้ใส่ผัก
ตบชวาสดลงไปเพื่อเป็นทีหลบซ่อนของกบ หลังจากนั้นก็นำลูกกบอายุประมาณ 1 เดือนมาปล่อยลงเลี้ยงได้เลย ไม่ต้องกลัวว่า
กบจะไปทำอันตรายกับพืชผักนะครับ เพราะกบนิสัยของมันจะชอบหลบซ่อนตัว มันจะอาศัยตามผักตบชวา หรือใต้ใบผักที่เราปลูก
อัตราการปล่อยกบประมาณ 1000-1200 ตัว ไม่ต้องปล่อยแน่นเกินไปเพราะต้องเผื่อพื้นที่แปลงผักด้วย ถ้าปล่อยแน่นเกินไป
เดี๋ยวกบก็จะมาอัดอยู่บนแปลงผักมากเกินไปพืชผักจะเสียหายได้ ในการเลี้ยงกบอาจให้อาหารเม็ดหรือปลาสับก็ได้ วันละ 2 ครั้ง
ส่วนแปลงผักก็ดูแลควบคู่กันไปให้ปุ๋ยทางใบและทางราก โดยเน้นปุ๋ยอินทรีย์อย่าใช้ปุ๋ยเคมีนะครับเดี๋ยวจะเป็นอันตรายกับกบได้
ผักใช้เวลา 30-50 วันก็สามารเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับชนิดของผักด้วยครับ ส่วนกบก็เลี้ยงต่อไปอีกนิดใช้เวลาประมาณ
3 เดือนก็สามารถจับขายได้ แปลงผักกับกระชังอย่าทำให้โตมากเดี๋ยวจะยากต่อการดูแลและจัดการ








เห็นมั๊ยครับไม่ยากอย่างที่คิดแค่การนำการทำการเกษตรมาผสมผสานปรับเปลี่ยนเทคนิคนิด ๆ หน่อย ๆ ก็กลายเป็นอีกหนทางหนึ่ง
ในการเพิ่มพูนรายได้และที่สำคัญเป็นการทำเกษตรที่อยู่บนหลักของความพอเพียงด้วยนะครับ


ข้อดีของการปลูกผักควบคู่กับการเลี้ยงกบโดยใชวิธีนี้ คือ
• สามารถใชวัสดุที่เปรียบเสมือนวัชพืชอย่างผักตบชวามาใช้ให้เกิดประโยชน์
• เป็นการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เกษตรกรบางท่านที่ไม่มีพื้นที่ปลูกผักมีแต่พื้นที่น้ำแต่อยากจะปลูกผักก็สามารถทำได้
• นำผักตบชวาในแปลงที่หมดอายุการใช้งานคือ เกิน 6 เดือนมาทำเป้นปุ๋ยอินทรีย์ได้
• พืชผักที่ปลูกสวยงาม กบโตเร็ว โดยไม่ต้องใช้สารเคมี


ข้อดีของการทำเกษตรแบบนี้มีมากมายครับ ฉะนั้นอย่าช้านะครับ ถ้าที่บ้านอยู่ติดกับแม่น้ำลำคลองยิ่งดี หรือหากมีอะไรสงสัย ผมยินดี
และพร้อมที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับท่าน โทรศัพท์ 086-2904799



http://www.kroobannok.com/blog/26285
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 09/10/2011 7:35 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

811. ฉาว ! รังนกเลือดปลอมจากมาเลย์ แหกตาคนจีนซ้ำซาก


เอเอส ทีวี ผู้จัดการออนไลน์/เอเยนซีจีน - กรณีอื้อฉาวรังนกเลือดปลอมจากมาเลเซีย กำลังเป็นที่โจษจันในโลกไซเบอร์แดนมังกร
บรรดาพ่อค้าที่ขายรังนกบนแผ่นดินใหญ่กุมขมับไม่รู้จะแก้ปัญหาอย่างไร หลังจีนตรวจพบรังนกเลือดเป็นของปลอม เหล่าพ่อค้าจึงได้
จัดงานแถลงข่าวร่วมกับเจ้าหน้าที่จากมาเลเซียเพื่อกู้สถานการณ์ แต่ที่ไหนได้ งานแถลงข่าวก็ยังปลอมอีก เจ้าหน้าที่มาเลเซียที่มา
นั่งพูดก็ล้วนแต่ตัวปลอม

รัฐบาลท้องถิ่นมณฑลเจ้อเจียงระบุว่า “งานแถลงข่าวกู้หน้าฯ จัดขึ้นในโรงแรมเมืองหังโจว เมื่อวันที่ 26 ก.ค.ที่ผ่านมา มีชายชาวต่าง
ชาติสวมเสื้อเชิ้ตสีสันสดใสทำท่าทำทางเป็นเจ้าหน้าที่จากมาเลเซีย อ้างว่ามาจากกรมการนำเข้าส่งออกผลิตภัณฑ์หายากของ
มาเลเซีย กรมตรวจสอบสินค้าส่งออก และกรมการการสกัดสินค้าส่งออกมาเลเซีย”

ในงานแถลงข่าวฯ มีการแจกเอกสารให้แก่นักข่าวด้วย หลังจากนั้นสำนักข่าวซินหวาก็นำรายชื่อจากเอกสารไปตรวจสอบ ปรากฏว่า
รายชื่อที่ระบุว่าเป็นเจ้าหน้าที่มาเลเซียนั้น หลังตรวจสอบแล้ว ไม่มีชื่อดังกล่าวในตำแหน่งนั้นๆ อยู่จริง แสดงให้เห็นว่า “งาน
แถลงข่าวก็ปลอมอีก”



เจ้าหน้าที่ปลอมที่อ้างตัวว่ามาจากมาเลเซีย กำลังนำเสนอกู้หน้าแถลงข่าวกับสื่อมวลชน ปกป้องเกียรติและศักดิ์ศรีของสินค้ารังนก
เลือด ในเมืองหังโจว เมื่อเดือนที่ผ่านมา ต่อมาสำนักข่าวซินหวาตรวจสอบพบว่าเจ้าหน้าที่เหล่านี้เป็นตัวปลอม (ภาพเซาท์ไชน่า
มอร์นิ่งโพสต์)


พบสารก่อมะเร็งในรังนกเลือดเกินมาตรฐาน 350 เท่า
ก่อนหน้านั้นเจ้าหน้าที่รัฐบาลท้องถิ่นมณฑลเจ้อเจียงได้ออกตรวจยึดรังนกเลือดปลอมด้อยมาตรฐานอย่างหนัก โดยกรมอุตสาหกรรม
และการค้าประจำมณฑลเจ้อเจียงเผย (15 ส.ค.) ว่า ได้ทำการสุ่มตรวจรังนกเลือด 200 กก.จากรังนกทั้งหมด 303 ชุด พบว่า
ทั้งหมดด้อยคุณภาพ มีสารไนไตรท์เจือปนเกินมาตรฐานที่ได้รับอนุญาตจากสาธารณสุขถึง 350 เท่า

เจ้าหน้าที่เชื่อว่า ยังมีรังนกที่ไม่ได้ตรวจสอบอีกเป็นจำนวนมาก โดยรังนกส่วนใหญ่นำเข้ามาจากมาเลเซีย โดยมีบริษัทจัดจำหน่าย
ของจีน ทั้งจากซย่าเหมิน ก่วงตง ฝัวซานฯ เป็นผู้นำเข้าและจัดขาย

สาธารณสุขของมาเลเซียระบุว่า รังนก 1 กก. ไม่ควรมีไนไตรท์เกิน 70 มก. ขณะที่ผู้ผลิตหัวใสทำรังนกเลือดออกมาแล้วมีไนไตรท์
เจือปนถึง 2,220 มก.

เจ้ากรมอุตสาหกรรมและการค้าประจำมณฑลเจ้อเจียง เผยว่า “ตลาดจีนเป็นตลาดนำเข้ารังนกมาเลเซียจำนวนมาก ถ้าหากเกิดปัญหา
ขึ้น กลุ่มผลประโยชน์ที่พัวพันจะเดือดร้อน และในครั้งนี้ การที่พวกเขายิ่งแก้ตัว (จัดแถลงข่าว) ยิ่งทำให้เสียหน้ามากขึ้น”

ในงานแถลงข่าวกู้หน้าฯ เจ้าหน้าที่ตัวปลอมอ้างว่า “ไนไตรท์ที่เจือปนในรังนกนั้น เมื่อนำไปแช่น้ำ ก็จะสามารถบริโภคได้” ขณะที่
เจ้ากรมอุตฯ แห่งเจ้อเจียงชี้ว่า “เหลวไหลทั้งเพ เพราะแช่น้ำแล้วไนไตรท์ก็ยังคงอยู่ที่ 330 มก. ต่อ กก. สูงกว่ามาตรฐานถึง260 มก.”

เจ้ากรมอุตฯ เสริมว่า “ไม่ว่ารังนกจะสำคัญต่อเศรษฐกิจมาเลเซียสักปานใดก็ตาม หากจะนำมาขายที่จีนก็ต้องผ่านมาตรฐานของจีน
และในขณะนี้มณฑลเจ้อเจียงกำลังกวาดล้างรังนกปลอมอย่างหนัก”

กรมอุตสาหกรรมแฉต่อว่า มีพ่อค้ารังนกบางคนยอมรับว่า พวกเขาย้อมสีรังนกเพื่อทำให้ดูคล้ายรังนกเลือด แต่กระบวนการดังกล่าวยิ่ง
ทำให้เกิดการเพิ่มสารไนไตรท์

ไนไตรท์ เกิดจากการเปลี่ยนรูปทางเคมีของสารประกอบไนโตรเจน หากรับเข้าสู่ร่างกายเกินกว่ามาตรฐานจะเป็นสารก่อมะเร็ง


รังนกเลือด “เหลวไหลทั้งเพ”


ราคาขายรังนกธรรมดาในจีนโดยทั่วไป กรัมละ 10 หยวนขึ้นไป หากเป็นรังนกเลือดจะแพงกว่านั้นตกกรัมละ 100 กว่าหยวน นายหม่า
ซิงซง ประธานสหพันธ์รังนกมาเลเซีย เผยกับ ยูไนเต็ด มอร์นิ่งโพสต์ว่า “ผู้ประกอบการหัวใสใช้อุจจาระของนกนางแอ่นมาผสมบ่ม
เพาะให้เป็นสีแดง ย้อมสีคล้ายรังนกเลือดแล้วนำออกวางขายในราคาที่แพงกว่า”

รัฐมนตรีช่วยกระทรวงเกษตรฯ มาเลเซีย ออกมาชี้แจงกับสื่อมวลชนอีกว่า ในตลาดรังนกขณะนี้ ไม่มีรังนกเลือดที่เป็นของจริง
ที่ขายอยู่เป็นของปลอมทั้งนั้น

ซู จื้อฉวง นายกสมาคมรังนกท้องถิ่นรัฐเปรัคของมาเลเซีย ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวว่า “สิ่งที่ผู้ประกอบการบอกว่า นกนางแอ่น
ใช้เลือดตัวเองออกมาทำรังแล้วได้รังนกเลือดนั้น ถือว่า โกหกทั้งเพ ดังนั้นรังนกเลือดที่วางขายกันอยู่ในท้องตลาดปัจจุบัน
ปลอม 100 เปอร์เซ็นต์”

ทางการจีนยอมให้เพียงสองประเทศคือ มาเลเซียและสิงคโปร์เท่านั้น ที่สามารถส่งรังนกเข้ามาขายยังตลาดแดนมังกรได้ โดยรังนก
ส่วนใหญ่มาจากมาเลเซีย

หลายปีที่ผ่านมา ความนิยมบริโภครังนกในจีนขยายตัวเร็วมาก ส่งผลให้อุตสาหกรรมการผลิตในมาเลเซียเติบโตอย่างรวดเร็ว มี
การทำห้องให้นกทำรังกว่า 50,000 ห้อง และแต่ละปีมาเลเซียจะสามารถผลิตรังนกออกมาได้ถึง 600 ตัน โดยกว่า 90 เปอร์
เซ็นต์ส่งขายให้จีน

อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่จีนเผยว่า ไม่น่าจะสามารถลงโทษผู้จัดงานแถลงข่าวปลอมได้ เพราะผู้ที่รับผิดชอบควรจะเป็นผู้ทำสินค้า
ปลอมมากกว่า

ในเมืองหังโจวมีร้านขายยาแผนจีนเก่าแก่ 130 ปี ร้านหนึ่งให้สัมภาษณ์ว่า เลิกจำหน่ายรังนกเลือดมาตั้งแต่ปี 2551 แล้ว
เนื่องจากพบว่า รังนกเลือดไม่ได้มาตรฐานการจัดซื้อ



ความเชื่อเรื่องสรรพคุณของ “รังนกเลือด”


โดยทั่วไปนกนางแอ่นซึ่งมีถิ่นที่อยู่แถบทะเลจีนใต้และแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะใช้น้ำลายและขนอ่อนมาทำรัง
โดยรังจะมี 3 แบบด้วยกัน คือ รังนกขาว (ซึ่งอดีตใช้เป็นบรรณาการให้กับกษัตริย์) รังนกติดขนสีขุ่น และรังนกเลือด

รังนกเลือดจะมีโปรตีนสูงกว่า คือราว 50 เปอร์เซ็นต์ น้ำตาล 30 เปอร์เซ็นต์ และมีพวกแร่ธาตุอื่นๆ แต่ปริมาณโปรตีนนั้นก็ยัง
เทียบไม่ได้การกินเต้าหู้หรือหนังหมู นักโภชนาการมักแนะนำว่า บริโภคอาหารธรรมดา จำพวก เนื้อ นม ไข่ ได้โปรตีนดีที่สุด

หลายคนเชื่อว่า สรรพคุณของรังนกนั้น สามารถเร่งการสร้างเซลล์ใหม่ช่วยให้ร่างกายฟื้นฟูสมรรถภาพได้ ช่วยรักษาอาการไอ
เสมหะ ห้องเสีย หลอดลมอักเสบ เสริมภูมิคุ้มกัน ชะลอความแก่ อายุยืน ฯลฯ

คนจีนบริโภครังนกมาเป็นพันปี โดยส่วนใหญ่สตรีจีนเชื่อว่า ในรังนกมีส่วนผสมคอลลาเจน ช่วยทำให้ผิวพรรณเต่งตึง ไม่มีริ้วรอย
กระตุ้นการสร้างเซลล์ใหม่ ทำให้ผิวพรรณเรียบเนียน ฝั่งวิทยาการตะวันตกก็ยังนำรังนกไปสกัดเป็นผลิตภัณฑ์บำรุงผิว

มารดาที่ตั้งครรภ์บางคนก็เชื่อด้วยว่า รังนกช่วยให้ลูกในครรภ์แข็งแรง
ในตำนานของจีนเล่าว่า คนที่กินรังนกคนแรก
ก็คือ เจิ้งเหอ (ไทยเรียกซำปอกง) ผู้บัญชาการทหารเรือจีนในยุคราชวงศ์หมิง ที่ล่องเรือมายังดินแดนทะเลจีนใต้ เขาพักจอดเรือที่
หมู่เกาะแถบมาเลเซีย เห็นรังนกอยู่บริเวณหน้าผา ประกอบกับตอนนั้นขาดเสบียง จึงสั่งให้ทหารนำมาทำความสะอาดและตุ๋นรับ
ประทาน ปรากฏว่าเวลาผ่านไปหลายวัน ผิวพรรณหน้าตาของทุกคนก็เปล่งปลั่ง เจิ้งเหอจึงสั่งนำรังนกเหล่านี้กลับมาถวายองค์จักรพรรดิ




ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 18 สิงหาคม 2554

http://www.mediamonitor.in.th/main/news/2011-06-21-07-29-43/141-2011-08-18-10-55-42.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 30, 31, 32 ... 72, 73, 74  ถัดไป
หน้า 31 จากทั้งหมด 74

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©