-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-* นานาสาระเรื่องเกษตร.
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * นานาสาระเรื่องเกษตร.
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* นานาสาระเรื่องเกษตร.
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4, 5 ... 72, 73, 74  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 14/07/2011 12:15 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หน้าที่ 4

ลำดับเรื่อง..

106. หิงห้อย
107. ความสำคัญของแมลงช่วยผสมเกสร
108. เอายอดมะระมาเสียบตอบวบ ดีอย่างไร ?
109. กุหลาบ 7 สี หรือ กุหลาบสายรุ้ง 彩虹玫瑰
110. การย้อมสีกุหลาบ

111. เคล็ดลับน่ารู้-วิธีเปลี่ยนสีดอกกุหลาบ
112. วิธีทำ กุหลาบ 7 สี ?
113. ไข่มุกดำที่มีรสชาติแสนโอชา
114. ผลิตภัณฑ์ใหม่ทางการเกษตรที่ทรงประสิทธิภาพ ในประเทศจีน
115. ข้าวหอมสายพันธุ์ใหม่ที่กว่างซี

116. เครื่องดำนาขนาดเล็ก
117. นาโนซิลเวอร์ ในนาข้าว
118. การกำจัดโรคราและศัตรูพืชด้วยน้ำ
119. ก้าวใหม่ทุเรียน "หลง-หลิน" ลับแล
120. 'ฟาแลนอปซีส' บานทน สวยนาน

121. "กวาวเครือขาว" เกรดเภสัชกรรม ต่อยอดผลิตภัณฑ์สู่แดนปลาดิบ
122. เจาะลำต้นใส่ปุ๋ยปาล์ม นวัตกรรมหรือว่าอันตราย
123. การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ร่วมกับปุ๋ยเคมีในการผลิตพืช
124. วิธีการปลูกมันแบบคอนโด
125. การปลูกไม้กฤษณา

126. การผลิตมันสำปะหลังในประเทศสาธารณรัฐอินเดีย
127. การป้องกันโรครากเน่าในระบบไฮโดรโพนิกส์ โดยใช้ PH ที่แตกต่างกัน
128. "มูลกิ้งกือ" หนึ่งในขุมทรัพย์ล้ำค่าที่คนไทยมองไม่เห็น
129. พ่อค้าเวียดนามกว้านซื้อลำไยเหนือ สวมชื่อก่อนขายจีน
130. จีนผวาสารเคมีค้างผลไม้หลังแตงโมบึ้ม


------------------------------------------------------------------------------------------------



106. หิงห้อย....




หิ่งห้อย หรือ แมลงแสง แมลงคาเรือง แมลงทิ้งถ่วงเป็นแมลงปีกแข็ง อยู่ในวงศ์แลมพายรีดี้ (Lampyridae) อันดับโคลีออปเทอรา (Coleoptera)

ทั่วโลกมีหิ่งห้อยประมาณ 2,000 ชนิด ประเทศไทยมีประมาณ 100 ชนิด หิ่งห้อยตัวแรกที่มีหลักฐานอยู่ในพิพิธภัณฑ์แมลง กองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร คือ Luciola substriata Gorham พบโดยชาวอังกฤษชื่อ W.S.R. Ladell และจำแนกชนิดโดย G.E.B. Gorham เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472 ระบุสถานที่พบว่า “ ประเทศไทย”


ลักษณะและแหล่งอาศัยของหิ่งห้อย
หิ่งห้อยมีแสงทั้งระยะหนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัย ระยะไข่มีแสงเฉพาะบางชนิดเท่านั้น หิ่งห้อยตัวผู้มีปีก ตัวเมียมีรูปร่างหลายแบบ มีทั้งปีกปกติ ปีกสั้น และมีรูปร่างคล้ายหนอน หิ่งห้อยระยะหนอนกินหอย ไส้เดือน กิ้งกือ และแมลงตัวเล็กๆ เป็นอาหาร มีแหล่งอาศัยแตกต่างกันไปตามชนิดของหิ่งห้อย เช่น อาศัยตามบริเวณน้ำจืด น้ำกร่อยที่มีน้ำทะเลหนุน และสภาพที่เป็นสวนป่า หรือภูเขาที่มีสภาพแวดล้อมดั้งเดิมไม่ถูกทำลาย


การเกิดแสงของหิ่งห้อย
ตัวเต็มวัยของหิ่งห้อยมีอวัยวะทำแสงอยู่ที่ปล้องท้องด้านล่าง ตัวผู้ให้แสง 2 ปล้อง ตัวเมียให้แสง 1 ปล้อง แสงในตัวผู้จึงสว่างกว่าตัวเมีย แสงของหิ่งห้อยเป็นแสงเย็น เกิดจากปฏิกิริยาของสาร luciferin ที่อยู่ในอวัยวะทำแสง



วงจรชีวิตของหิ่งห้อยน้ำจืด Luciola brahmina Bourgeois
หิ่งห้อยตัวเมียวางไข่ใต้ใบพืชน้ำ เช่น ใบจอก วางไข่เป็นกลุ่มๆ ละประมาณ 5 – 130 ฟอง ไข่มีสีเหลืองนวล รูปร่างรี กลุ่มไข่มีเมือกใสปกคลุม ไข่อายุ 9 วัน มีระยะหนอน 5 วัย หนอนวัยแรกมีครีบรอบลำตัว หนอนวัยอื่นไม่มีครีบ ระยะหนอน 79 วัน ระยะดักแด้ 6 วัน ตัวเต็มวัยมีขนาดยาว 10 มม. กว้าง 4.0 มม. วงจรชีวิตประมาณ 3 เดือน


วงจรชีวิตของหิ่งห้อยน้ำกร่อย Pteroptyx malaccae (Gorham)
หิ่งห้อยตัวเมียวางไข่เดี่ยวๆ ในดินที่ชุ่มชื้น ไข่มีลักษณะกลมสีนวล ระยะไข่ 13 วัน มีระยะหนอน 5 วัย ใช้เวลานาน 87 วัน หนอนทุกระยะมีรูปร่างเหมือนกัน แตกต่างกันที่ขนาดและสีที่เข้มขึ้นของลำตัว ระยะดักแด้ 7 วัน ตัวเต็มวัยมีขนาดยาว 7.0 มม. กว้าง 3.0 มม. หิ่งห้อยตัวผู้บินอยู่ในระดับสูงกว่าตัวเมีย วงจรชีวิต 107 วัน หรือ ประมาณ 3 เดือนครึ่ง


วงจรชีวิตของหิ่งห้อยบริเวณสวนป่า Luciola circumdata Motschulsky
หิ่งห้อยตัวเมียวางไข่เดี่ยวๆ บนดินที่มีความชุ่มชื้น ไข่มีลักษณะกลมสีนวล ระยะไข่ 15 วัน หนอนมี 5 วัย ระยะหนอน 420 วัน ระยะดักแด้ 10 วัน ตัวเต็มวัยมีขนาดยาว 12 มม. กว้าง 7.0 มม. วงจรชีวิต 445 วัน

วงจรชีวิตของหิ่งห้อยจะยาวนานหรือสั้นขึ้นอยู่กับฤดูกาล อุณหภูมิ ความชื้น และความสมบูรณ์ของอาหาร


ประโยชน์ของหิ่งห้อย
หิ่งห้อยเป็นดัชนีชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์และสภาพแวดล้อม
หิ่งห้อยระยะหนอน เป็นตัวห้ำทำลายหอยที่เป็นโฮสต์กึ่งกลาง (intermediate host) ของพยาธิที่เป็นสาเหตุของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบในคน โรคเลือดในสัตว์

และพยาธิใบไม้ลำไส้ของคน
ด้านพันธุวิศวกรรม สามารถใช้สารลูซิเฟอรินในหิ่งห้อยเป็นเครื่องบ่งบอกว่า การตัดต่อยีนส์ประสบผลสำเร็จหรือไม่

นักวิทยาศาสตร์ ได้นำยีนส์หรือฮอร์โมนที่สร้างแสงสว่างของหิ่งห้อย มาใช้ประโยชน์ในการตรวจหาเชื้อแบคทีเรียในเนื้อสัตว์ได้รวดเร็วขึ้น
นักวิทยาศาสตร์ของศูนย์เอกซเรย์ในสหรัฐอเมริกาได้สกัดสารลูซิเฟอรินจากหิ่งห้อย ปล่อยเข้าไปในร่างกายมนุษย์เพื่อให้แสงไปจับตามหน่วยถ่ายพันธุกรรม ที่อาจสะสมอยู่ในเซลล์ที่เป็นมะเร็ง เพื่อช่วยให้การตรวจหาเนื้อร้ายในร่างกายได้ง่ายขึ้น

ให้ความสวยงามยามค่ำคืนในสภาพธรรมชาติ หากมีปริมาณมากสามารถจัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ได้




โดย : สมหมาย ชื่นราม กองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร
http://www.ezathai.org/knowledge04.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 24/07/2011 9:11 pm, แก้ไขทั้งหมด 10 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 14/07/2011 12:24 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

107. ความสำคัญของแมลงช่วยผสมเกสร


พืชผลชนิดต่าง ๆ จะติดผลหรือมีเมล็ดไว้ใช้ขยายพันธุ์ต่อไปได้จะต้องมีการผสมเกสร ต้นไม้บางชนิดเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน ก็จะผสมกันเองได้ แต่ต้นไม้อีกหลายชนิดเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่คนละดอกหรือคนละต้น จำเป็นต้องอาศัยสิ่งอื่นช่วยในการผสมเกสร ลมเป็นพาหะสำคัญช่วยพัดเกสรตัวผู้ไปตกบนยอดเกสรตัวเมีย แต่มากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของต้นไม้ทั้งหมดอาศัยสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นในการผสมเกสร เช่น หอย ทาก แมงมุม ไร นก ค้างคาวและแมลง เป็นต้น แมลงเป็นสิ่งมีชีวิตที่ช่วยในการผสมเกสรดอกไม้มากที่สุด แมลงที่จัดอยู่ในประเภท ภมร จะอาศัยเกสรเป็นอาหารที่ให้โปรตีนและอาศัยน้ำหวานเป็นอาหารที่ให้พลังงานเกสรดอกไม้จะติดตามตัวแมลงจากดอกหนึ่งไปอีกดอกหนึ่ง ในขณะที่แมลงลงกินเกสรและน้ำหวานจากดอกไม้





พืชบางชนิดอาศัยแมลงชนิดเดียวในการผสมเกสร แต่พืชส่วนมากอาศัยแมลงหลายชนิดไม่เฉพาะเจาะจง ผึ้ง จัดว่าเป็นแมลงช่วยผสมเกสรที่สำคัญที่สุด เพราะในแต่ละเที่ยวบินที่ออกหาเกสรหรือน้ำหวาน ผึ้งจะไปที่ดอกไม้ของพืชชนิดใดชนิดหนึ่งเท่านั้น ทำให้ไม่เกิดการปะปนหรือสูญเปล่าของละอองเกสร ผลผลิตทางการเกษตรที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากมีผึ้งช่วยผสมเกสรนั้น เมื่อประเมินแล้วมีมูลค่าสูงกว่าน้ำผึ้งและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากรังผึ้ง ดังนั้นในปัจจุบันถือว่าผลิตผลหลักจากอุตสาหกรรมการเลี้ยงผึ้ง คือการที่ผึ้งช่วยเพิ่มอัตราการติดผลให้แก่พืช ดังจะเห็นว่ามีการให้บริการเช่าผึ้งเป็นรัง ๆ ไปวางไว้เป็นแห่ง ๆ ในสวนผลไม้ในช่วงเวลาที่ดอกไม้เริ่มบาน

แมลงที่ช่วยผสมเกสรดอกไม้มีทั้งหมดในโลกมีประมาณ 30,000 ชนิด นอกจากผึ้งที่ให้น้ำผึ้ง แล้วยังมีแมลงชนิดอื่น ๆ อีกเช่น
- พวกผึ้งชนิดอื่น ได้แก่ ตัวชันโรง ผึ้งหึ่งบอมบัส ผึ้งกัดใบ ผึ้งอัลคาไล แมลงภู่และผึ้งป่าชนิดต่าง ๆ
- พวกต่อ แตน ต่อเบียน แตนเบียน มด
- พวกแมลงวัน ได้แก่ แมลงวันผึ้ง แมลงวันหัวเขียว แมลงวันบ้าน เป็นต้น
- พวกด้วง ได้แก่ แมลงนูน ด้วงผลไม้ ด้วงถั่ว ด้วงงวง
- พวกมวนและเพลี้ยต่าง ๆ
- พวกผีเสื้อกลางวัน และผีเสื้อกลางคืน ชนิดต่าง ๆ

แมลงผสมเกสรบางชนิดก็เป็นแมลงศัตรูสำคัญของพืชผลทางการเกษตร เช่น พวกด้วง พวกมวนและเพลี้ยต่างๆ ควรต้องพิจารณาชั่งน้ำหนักดูในแต่ละสถานการณ์ว่าแมลงเหล่านี้ให้ประโยชน์หรือโทษจะได้ปฏิบัติการอย่างถูกต้องเพื่อให้ผลประโยชน์สูงสุดตกอยู่ที่มนุษย์เรา


ปัญหาสำคัญที่มีผลกระทบต่อผึ้งและแมลงผสมเกสร
ก็คือการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ได้แก่ สารเคมีฆ่าแมลง สารเคมีกำจัดวัชพืช และสารป้องกันกำจัดโรคพืช สารเคมีฆ่าแมลงจัดว่าเป็นสารที่มีอันตรายต่อผึ้งมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันมีสารเคมีฆ่าแมลงชนิดต่าง ๆ ทั้งถูกตัวตาย กินตาย หรือสารรมควัน ซึ่งล้วนแล้วแต่มีอันตรายร้ายแรงต่อผึ้งทั้งนั้น และยังได้พัฒนาวิธีการใช้ให้ได้ผลดีครอบคลุมเนื้อที่กว้างขวางขึ้น เช่น การพ่นสารเคมีทางอากาศเพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืชไร่ แมลงศัตรูป่าไม้ เป็นต้น ทำให้ผึ้งและแมลงผสมเกสรในบริเวณนั้นถูกทำลายไปด้วย ผลของสารพิษในสารเคมีฆ่าแมลงมิใช่จะเพียงทำลายแมลงที่เป็นประโยชน์เท่านั้น แต่มีผลในแง่การผสมเกสรด้วย คือถ้าฉีดพ่นในช่วงดอกไม้บาน สารพิษจะทำลายความงอกของเรณู ซึ่งทำให้การติดผลหรือเมล็ดของพืชลดลงอย่างมากด้วย เกษตรกรจึงควรให้ความสนใจและทำความเข้าใจในเรื่องการ ใช้สารเคมีฆ่าแมลงพยายามใช้อย่างมีขอบเขตเมื่อจำเป็นจริง ๆ เท่านั้น เลือกใช้ชนิดที่มีพิษตกค้างสั้น และมีพิษเจาะจงกับแมลงที่ต้องการทำลายเท่านั้น ใช้สารที่ไม่มีพิษต่อผึ้งหรือลดความเข้มข้นของสารเคมีที่ใช้ลงบ้างในช่วงดอกไม้บาน การฉีดพ่นควรกระทำในตอนเย็นพลบค่ำหรือเช้าตรู่ไม่ควรฉีดพ่นในช่วงที่ผึ้งและแมลงผสมเกสรออกหาอาหารในกรณีที่มีความจำเป็นต้องฉีดพ่นสารเคมีใกล้กับบริเวณที่มีการเลี้ยงผึ้งควรคลุมรังผึ้งด้วยผ้ากระสอบเปียกชื้น ในขณะฉีดพ่นและหลังฉีดพ่นจนกว่าจะแน่ใจว่าพิษของสารเคมีสลายไปแล้ว ความร่วมมือระหว่างชาวสวนชาวไร่และเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้เกิดผลดีกับทุกฝ่าย ข้อปฏิบัติดังกล่าวข้างต้นหากได้กระทำอย่างเคร่งครัดโดยสม่ำเสมอจะช่วยป้องกันอันตรายอันจะเกิดกับผึ้งและแมลงผสมเกสร ซึ่งการอนุรักษ์แมลงเหล่านี้ช่วยให้สารเคมีเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรขึ้นได้เป็นอย่างมาก


ขอบคุณข้อมูลจาก
http://web.ku.ac.th/agri/insectt/inc4.htm

<<<< ทุกความสำเร็จ คือ ความท้าทาย >>>>



http://www.siamproplants.com/forums/1794.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 16/07/2011 9:24 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

108. เอายอดมะระมาเสียบตอบวบ ดีอย่างไร ?





สวน หวู่เผิงยี่หล่งเคอจี้หยวน (武棚仪陇科技园) เป็นบริษัทวิจัยทางการเกษตร สำนักงานทำการอยู่ที่ จังหวัดยี่หล่งเซี่ยน (仪陇县) อำเภอหวู่เผิ่งเซียง (武棚乡) ในมณฑลสื้อชวน (四川) ได้นำเอายอดมะระมาเสียบบนต้นตอบวบ ในที่นี้ไม่ได้ระบุว่าเป็นบวบอะไร ชนิดไหน เพาะมีทั้งบวบเหลี่ยม บวบงู และบวบสายพันธุ์อื่นๆอีกหลายจำพวก ท่านใดที่จะลอกเลียนแบบ คงต้องทดลองใช้หลายๆสายพันธุ์ทดสอบดูเอาเอง ในเมื่อได้แนวทางมาแล้ว (เผื่อจะได้ผลที่เจ๋งกว่าก็เป็นได้) ปรากฏว่าประสบผลสำเร็จด้วยดี ผลลัทธ์ที่ได้ก็คือ ทำให้ได้ผลผลิตเพิ่มมากยิ่งขึ้น โดยมีรูปลักษณ์ภายนอกเป็นลูกมะระที่มีขนาดอวบใหญ่กว่าเดิม ยาว และหนาพอๆกับผลบวบที่เป็นต้นตอ มีรสขมอมหวาน ที่ได้มาจากบวบ รสขมหวานกลมกล่อม (แบบไม่ต้องใส่ผักดองร่วมเวลาต้ม) โดยทางบริษัทจะเริ่มเผยแพร่ ผลักดันให้ปลูกเป็นการค้าในวงกว้างแถบพื้นที่อื่นๆต่อไป

เกษตรกรท่านใดที่ทำการทดลองแล้วประสบผลดี ก็อย่าลืมแบ่งปันความรู้สู่เพื่อนเกษตรกรด้วย เป็นการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกันที่ควรกระทำในสังคมไทย

สารคดีเรื่องนี้ค่อนข้างสั้น จึงขอแถม เว็บไซท์ การเกษตรที่รายงานความก้าวหน้าทางการเกษตรใหม่ของจีนได้ยลกัน และเข้าใจในอุปสรรคของพี่น้องเกษตรกรชาวไทยเผชิญหน้าได้ดี ด้วยบกพร่องทางการสื่อสารที่เป็นภาษาจีน จึงพยายามหยิบยกเอาหน้าที่เป็นรูปภาพมาให้ชมกัน ให้ได้พบเห็นสิ่งใหม่ๆที่ก้าวหน้า เพื่อจะได้มีวิสัยทัศน์ และสายตาที่กว้างไกลตามทันกับกาลที่เปลี่ยนไป เชิญเลยครับ ที่นี่

http://www.eco-agrotech.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/01/2022 7:23 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 16/07/2011 9:49 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

109. กุหลาบ 7 สี หรือ กุหลาบสายรุ้ง 彩虹玫瑰


จากการเปิดเผยของพ่อค้าไม้ดอก :ดอกกุหลาบหลากสีเหล่านี้เกิดจากการฉีดสีต่างๆเข้ายังตำแหน่งที่แตกต่างกันของก้านดอก (อ้อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง) แต่ถึงอย่างไรก็น่าสนใจอยู่ เพราะมันขายได้ราคาดี ราคาขายที่ร้านไม้ดอกมหานครปักกิ่งตกดอกละ 600 ถึง 900 บาทเลยทีเดียวในวัน “วาเลนไทน์” วันวารแห่งความรัก เมื่อครั้งแรกที่นำออกวางตลาดนั้น จำหน่ายดอกละ หนึ่งพันบาทต้นๆเลยเชียวละ ผู้ผลิตคิดค้นกุหลาบเจ็ดสีคนแรกเป็นชาวดัทช์ที่ชื่อว่า Peter van der Ken Weir ได้วางแผนการตลาดไว้อย่างดีเยี่ยม โดยการซุ่มผลิตดอกกุหลาบสายรุ้งเป็นจำนวนมาก แล้วนำออกทุ่มขายไปทั่วโลกในเทศกาลวันวาเลนไทน์เมื่อปีที่แล้ว ขณะนี้คุณปีเตอร์ผู้นี้รับทรัพย์จนเป็นเศรษฐีน้อยๆไปแล้ว (น่าอิจฉาจังเนาะ)




และแล้ว กาลเวลาก็หมุนเวียนเปลี่ยนผันมาบรรจบกันอีกครั้งในเทศกาลวันแห่งความรักของปีกระต่ายนี้ ตลาดไม้ดอกตามเมืองใหญ่ๆของประเทศจีน กุหลาบสายรุ้งก็ได้ปรากฏโฉมโชว์รูปลักษณ์ที่แปลกใหม่ให้ปรากฏแก่สายตาชาวจีน สร้างความตื่นเต้นกันยกใหญ่ แต่ทว่ายอดขายไม่สวยหรูนัก เนื่องจากราคาขายค่อนข้างสูงจาก จากคำบ่นกล่าวที่ได้ยินว่า “ราคาแพงไป ซื้อไม่ลง ซื้อไม่ลงจริงๆ” ตลาดของกุหลาบสีสายรุ้งนี้ส่วนใหญ่จะเป็นประเทศญี่ปุ่น และยุโรป




กุหลาบเป็นไม้ดอกที่ใช้สื่อแทนความรัก สีแดงให้ความรู้สึกถึงความกระตือรือร้น มีชีวิตชีวา น่าอภิรมย์ ในด้านความรักจึงเป็นสีที่บ่งบอกถึงอารมณ์พิศสวาทของหนุ่มสาวอันโรแมนติก (ชาวจีนยึดถือสีแดงเป็นสีแห่งความสุข มีโชคลาภ และความสมัครสมานกลมเกลียว แต่สีแดงในบ้านเรานั้นสร้างความแตกแยกได้อย่างเหลือเชื่อ) เมื่อกุหลาบสีสายรุ้งได้ผุดโผล่อวดโฉมในยามนี้ จึงสร้างความฮือฮาให้เกิดแก่บรรดาผู้ที่ตกอยู่ในบรรยากาศแห่งความรักเป็นที่สุด ส่วนสีเหลืองนั้นสื่อถึงความรักแห่งมิตรภาพ สีชมพูนั้นบอกกล่าวถึงน้ำใจไมตรีจิตที่มีต่อกัน




ถ้าคุณมีความสับสนในความรู้สึกของเพื่อนหญิง – เพื่อนชาย ของคุณ ลองส่งมอบกุหลาบหลากสีนี้แก่ เธอ (คุณ) ดู คุณอาจจะได้รับคำตอบรับที่ทำให้คุณมั่นใจในมิตรไมตรีที่มีต่อกันก็เป็นได้ กล่าวถึงสีที่แตกต่างกันของกลีบภายในดอกเดียวกันนี้ เกิดจากสีชนิดพิเศษที่ไม่มีพิษ ปลอดภัยที่จะส่งมอบให้แก่กัน ไม่เป็นรักที่ปนเปื้อนพิษอย่างแน่นอน กลีบดอกสีที่ปรุงแต่งขึ้นนี้มีความคงทน สีไม่ซีด คงทนอยู่ได้นานพอๆกับดอกกุหลาบโดยทั่วไป (จะได้รักกันนานๆหน่อยนั่นปะไร) หากแต่ใบจะหลุดร่างเร็วกว่าเท่านั้น



เมื่อ 4 – 5 ปีที่แล้วได้ไปเมืองคุนหมิงและไปชมตลาดไม้ดอก เต่าหนาน ที่เป็นตลาดไม้ดอกที่ใหญ่ที่สุดของมหานคร คุนหมิง ได้พบเห็นดอกไม้นานาพันธุ์หลากหลายร้อยชนิด แต่ที่เตะตาก็คือ กุหลาบสีน้ำเงินที่มีชื่อว่า นางพญาสีน้ำเงิน (蓝色妖姬) หะแรกเข้าใจว่าเป็นกุหลาบสีพันธุ์ใหม่ แต่ทว่า ... หามิได้ มันเกิดจากเทคนิคเดียวกันกับกุหลาบสีสายรุ้งที่ว่านี่เอง เพียงแค่นำเอากุหลาบดอกขาวล้วนจุ่มแช่ในน้ำสีเท่านั้น มันก็แปรเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินทั้งดอกให้เชยชม แต่ก่อนนั้นคงสามารถทำได้แค่สีเดียวเท่านั้น ส่วนสีอื่นๆนั้นยังคงทำไม่ได้ โดยเฉพาะที่ทำให้กลีบดอกเกิดเป็นสีแตกต่างกันคงเป็นเรื่องที่ยุ่งยากซับซ้อนกว่ากันมาก แต่นาย ปีเตอร์ก็มิได้ย่อท้อนำเอากลวิธีนี้ไปทำการวิจัยขยายผลจนกระทั่งได้กุหลาบ เจ็ดสี นี้ขึ้นมา อย่างไรก็ตามแต่ กุหลาบสีน้ำเงินนั้นไม่มีความคงทน สีจะซีดเร็วกว่าปกติ ซึ่งเป็นข้อด้อยที่ต้องทำการปรับปรุงต่อไป และขอบอกกล่าวว่า กุหลาบสีที่ว่าเหล่านี้ เกิดจากการรังสรรค์ แต่งขึ้นมา หาใช่การปรับปรุงพันธุ์ให้เป็นไปตามต้องการไม่ ดังนั้น เมื่อรู้แล้ว อย่าได้เสียเวลาดั้นด้นหามาปลูกนะครับ หาไม่ได้หรอก สิบอกไห่





หมายเหตุ
ขอกระซิบบอก กุหลาบสีน้ำเงินที่เกิดจากการปรับปรุงพันธุ์นั้นมีอยู่จริง แต่ถูกกุหลาบย้อมสีตีกระจุยหายไปเลย เนื่องทำได้ง่ายกว่า เพียงแค่เอากุหลาบดอกขาว จุ่มแช่ลงในน้ำยาสีน้ำเงินแค่ชั่วข้ามคืนเท่านั้น ก็ได้กุหลาบน้ำเงินมาแล้ว 1 ช่อใหญ่


http://www.eco-agrotech.com/เกษตรไฮเทค/กุหลาบ7สีหรือกุหลาบสายรุ้ง.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 16/07/2011 9:56 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

110. การย้อมสีกุหลาบ


การแปรรูปและผลิตภัณฑ์ นวัตกรรม ตาก
สถานที่ติดต่อ
ที่อยู่: สวนแสงมณี เลขที่ 73/4 หมู่ที่ 9 ตำบลช่องแคบ อำเภอพบพระ
รหัสไปรษณีย์: 63160
จังหวัด: ตาก
ผู้ประสานงาน: นายวิกรานต์ แสงมณี
โทรศัพท์: 0817854048, 0817854364


อำเภอพบพระเป็นอำเภอหนึ่งที่มีการปลูกกุหลาบมากที่สุด ตั้งแต่ พ.ศ. 2538 และปลูกติดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ในบางครั้งและบางฤดูกาล เช่น ในฤดูฝนหรือช่วงที่ไม่มีเทศกาลกุหลาบจะมีราคาตกต่ำ เกษตรกรจึงคิดค้นวิธีการเพิ่มมูลค่าผลผลิตให้กับสินค้าเกษตร ซึ่งเราจะได้สีกุหลาบตามที่ต้องการนอกเหนือจากสีธรรมชาติ


วิธีย้อมสีดอกกุหลาบ
อุปกรณ์
กุหลาบสีขาว
สีผสมอาหาร
กระป๋อง
น้ำ

วิธีการ
นำสีผสมอาหาร (สีเขียว เหลือง ฟ้า ฯลฯ) มาละลายน้ำ โดยใช้อัตราส่วน 2 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร

นำกุหลาบสีขาวจำนวน 30 ดอก แช่ในน้ำที่ละลายสีเรียบร้อยแล้ว ทิ้งไว้ประมาณ 20-24 ชั่วโมง (ช่วงฤดูร้อน) ถ้ามีสภาพอากาศหนาวเย็นให้ใช้เวลาประมาณ 36-48 ชั่วโมง ดอกจะเปลี่ยนเป็นสีที่ต้องการ

นำกุหลาบที่ย้อมสีแล้ว แช่ในน้ำธรรมดาประมาณ 10-15 นาที แล้วนำบรรจุหีบห่อหรือนำไปตกแต่งได้ตามที่ต้องการสามารถเพิ่มมูลค่าดอกกุหลาบได้ ราคาปกติ 0.50 บาท/ดอก เมื่อย้อมสีแล้วราคาจะเพิ่มขึ้น 3-4 เท่า จะได้ราคาประมาณ 2-3 บาท/ดอก ลูกค้ามีความพึงพอใจกับสินค้าที่แปลกกว่าสีธรรมชาติ

การย้อมสีกุหลาบเหมาะสำหรับกุหลาบสีขาวเท่านั้น หากเป็นดอกที่มีสีหรือมีสีเข้มจะทำให้สีกุหลาบที่ได้ออกมาไม่ชัดเจนและไม่สวยงาม



ที่มา:
สถาบันสร้างเสริมนวัตกรรมภูมิปัญญาเศรษฐกิจพอเพียง กรมส่งเสริมการเกษตร “นวัตกรรมภูมิปัญญาเศรษฐกิจพอเพียงองค์ความรู้ของเกษตรกรและชุมชน”, 2552.
สำนักงานเกษตรอำเภอพบพระ จังหวัดตาก โทรศัพท์ 0-5556-9091


http://www.greenreform.org


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 25/08/2016 4:58 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 16/07/2011 10:04 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

111. เคล็ดลับน่ารู้-วิธีเปลี่ยนสีดอกกุหลาบ




วัสดุ
- สีผสมอาหาร
- ดอกไม้สีขาว เช่น คาร์เนชั่นขาว กุหลาบขาว เดซี่ขาว
- แจกัน
- น้ำเปล่า หรือน้ำอุ่น


วิธีทำ
1. ใส่น้ำลงไปในแจกันประมาณ 1 ถ้วย (ดูจากในรูปก็ได้)
2. ใส่สีผสมอาหารลงไปในน้ำประมาณ 20 หยด (อาจลองผสมสีดูก็ได้จะได้เกิดสีใหม่ๆ)
3. ตัดก้านดอกไม้ออกเล็กน้อย แล้วนำดอกไม้มาใส่ในแจกันได้เลย
4. ทิ้งดอกไม้ไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง จะเริ่มเห็นดอกไม้มีสีที่กลีบเล็กน้อย เมื่อผ่านไปประมาณ 1 วัน จะเห็นดอกไม้เปลี่ยนเป็นสีที่เราผสมไว้


ดูเพิ่มเติม
http://dining.byu.edu/mix/archive/crafts/coloredFlowers.html
http://www.makeandtakes.com/food-coloring-flowers











http://variety.teenee.com/foodforbrain/18146.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 16/07/2011 10:16 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

112. วิธีทำ กุหลาบ 7 สี ?


ถ้ากระทู้ซ้ำ ขออภัยด้วยนะคะ เผื่อใครยังไม่ได้ดู
วิธีืำทำกุหลาบ 7 สีนั้น ก็เป็นการทำพื้นๆ แบบที่เรารู้ๆ กันอยู่แล้ว
แต่ไม่รู้ว่าทำแล้วจะออกมาสวยแบบนี้หรือเปล่าเนอะ Smile

วิธีทำ กุหลาบหลากสี....เอากุหลาบมา แล้วผ่าก้านเป็นแฉกๆ อยากได้กี่สีก้อผ่า ใส่ในแก้ว
ถ้าเอา 3 สีก็ผ่า 3 แฉก เอาแก้ววางติดกัน เอาก้านใส่ในแก้ว แก้วละแฉก
ใส่น้ำให้เกือบๆเต็ม เอาสีผสมอาหารผสมลงไป 3 แก้ว 3 สี แช่ไว้ประมาณ 30 นาที จะเกิดเป็นสี
เนื่องจาก ก้านที่ตัดไว้ ซึมซับน้ำขึ้นไป จึงทำให้ดอกกุหลาบเป็นสี

เพิ่มเติม : มีหลายๆ คนถามมาว่า ใช้ดอกกุหลาบสีอะไร อันนี้เราก็คิดว่าน่าจะเป็นสีขาว
สีจะได้ออกง่ายที่สุด หรือไม่ก็สีเหลืองอ่อนๆ
ส่วนสีที่จะใช้ ใช้สีผสมอาหารก็ได้ค่ะ
รายระเอียดอื่นๆ ไม่ทราบแน่ชัด เพราะหาข้อมูลมาได้เท่านี้ ขออภัยด้วยนะคะ T_T

ตัวอย่างของผลที่ได้จากการแช่สารพัดสี แต่น แต่น แต๊นนน...
จริงหรือหลอก ก็ต้องไปทดลองกันเอาเองนะจ๊ะ










....เอ้า...แยกกลีบให้เห็นจะ จะ อีกด้วย...



อ่านต่อ : http://www.dek-d.com/board/view.php?id=1539581#ixzz1SEZqhcSO



http://www.dek-d.com/board/view.php?id=1539581


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/07/2011 9:45 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 16/07/2011 10:27 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

113. ไข่มุกดำที่มีรสชาติแสนโอชา


เห็นหัวข้อเรื่องก็ชวนให้มึนงงเป็นแน่แท้ ไข่มุกดำมีด้วยหรือ ? ที่เห็นกินๆกันอยู่ก็เป็นไข่มุกขาวที่กินเพื่อบำรุงผิวให้ขาวเนียนผุดผ่อง แต่นี่เป็นไข่มุกดำกินเข้าไปแล้วผิวจะไม่ดำเมี่ยงไปหรอกหรือ

อ๋อ ไม่หรอกหรอกครับ มิได้เป็นไปดังที่คาดคิดเดาเอาเองนะครับ เพียงแต่จั่วหัวเรื่องให้พิศวงตื่นเต้นกันเล็กน้อย ส่วนที่ว่า ไข่ดำก็มาด้วย ก็ไม่ได้หมายถึงไข่สีดำนะครับ แต่จะเป็นอะไรก็ติดตามอ่านเพื่อความบันเทิงใจพร้อมกับรับเอาเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยทางการเกษตรก็แล้วกัน

ไข่มุกดำ ที่ว่านี้ก็คือชื่อของเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมสายพันธุ์หนึ่งในประเทศจีน (F1 Hybrid) ที่ทำการผสมปรับปรุงพันธุ์จนได้เมล็ดที่มีสีดำสนิท แล้วให้ชื่อว่า เฮยเจินจู (黑珍珠) ซึ่งแปลความได้ว่า ไข่มุกดำ นั่นเอง จากหน้าซองเมล็ดพันธุ์เขียนบรรยายคุณลักษณ์เอาไว้ว่า หวานหอม เหนียวนุ่ม ใช้เวลาปลูก 115 วันก็เก็บเกี่ยวฝักสดมาบริโภคได้ ความยาวฝัก 22-24 ซม. เนื้อเหนียวนุ่ม เมล็ดสีดำวาว ชอบแสง ชอบน้ำ และก็ชอบปุ๋ย (หมายถึงต้องการปุ๋ยมากหน่อย) มีความต้านทานโรคสูง เป็นสายพันธุ์ใหม่ที่ใช้บริโภคฝักสด มีกลิ่นหอม รสหวาน เนื้อเหนียว นุ่ม อุดมไปด้วยโภชนะสาร




ได้ไปเมืองจีนก็หลายรอบ แต่ก็ยังไม่เคยได้ลองลิ้มชิมรสสักที เพราะไปไม่ตรงฤดูกาล ได้แต่สอบถามชาวจีนหลายๆท่านในประเทศจีนแล้ว ต่างกล่าวยืนยันเป็นเสียงเดียวว่า กินอร่อยจริง อันนี้ก็ต้องเชื่อเขาเจ้าของประเทศไปก่อน เอาไว้มีโอกาสจะต้องลองลิ้มชิมรสให้ได้ (คงไม่ชิมไปบ่นไปหรอกนะครับ เพราะไม่ใช่คนขี้บ่น) แล้วจะมารายงานให้ทราบ



http://www.eco-agrotech.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538715812&Ntype=2
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 16/07/2011 10:34 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

114. ผลิตภัณฑ์ใหม่ทางการเกษตรที่ทรงประสิทธิภาพ ในประเทศจีน





เรา ส่วนใหญ่ไม่ใคร่ได้รับรู้ข่าวสารทางประเทศจีนมากนัก เนื่องจากติดขัดด้านการสื่อสารทางภาษา ข้อมูลที่เราได้รับรู้ซึมซับมานั้นส่วนใหญ่จะได้มาจากประเทศตะวันตกและอเมริกาเกือบทั้งสิ้น เพราะสื่อที่นำเสนอนั้นเข้าใจในภาษาอังกฤษกัน แต่กับภาษาจีนนั้นไม่ใคร่กระดิกกันเลย จึงหมดหนทางนำเสนอให้เราได้รับรู้กัน ส่วนที่เห็นเป็นข่าวคราวจากประเทศจีนนั้น ร้อยทั้งร้อยก็คือการหยิบยกจากภาคภาษาอังกฤษมาแปลเป็นไทยอีกทอดหนึ่งเท่านั้น ส่วนที่เป็นข่าวสาร สดๆภาษาจีนเลยนั้นจึงหาดูไม่ได้บนสื่อภาษาไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งข่าวสารทางด้านการเกษตรด้วยแล้วแทบจะไม่มีให้เห็นกันเลย วันนี้ทางเว็บไซท์ฯ จะอาสานำเสนอผลิตภัณฑ์จำนวนหนึ่ง ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่วิจัยคิดค้นขึ้นมาในประเทศจีน เพื่อนำมาใช้งานด้านการการเพาะปลูก เป็นผลผิตภัณฑ์ที่น่าสนใจมากเลยทีเดียว แต่การนำเข้ามาใช้ในประเทศไทยนั้นคงเป็นเรื่องยุ่งยากเนื่องจากติดขัดข้อทางข้อกฎหมายที่ไม่เอื้ออำนวย และการผูกขาดการนำเข้าของนักธุรกิจบางกลุ่ม

ซวงจีเอ่อ – GGR (双吉 ซวงจี หมายถึง ตัว G คู่ / 尔เอ่อ ก็คือตัว R ) เป็นสารกระตุ้นให้เกิดรากที่ไม่ใช่สารประเภทฮอร์โมน มีประสิทธิภาพสูงสุดในปัจจุบัน ได้รับการวิจัยพัฒนาต่อจาก ฮอร์โมนเร่งกระตุ้นให้เกิดราก ABT ทำการวิจัยคิดค้นโดยคุณ หวังทาว (王涛) หัวหน้าศูนย์วิจัยป่าไม้ประเทศจีน (中国林科院)





สารเร่งกระตุ้นให้เกิดราก GGR นั้นเป็นสารที่ปลอดภัยเป็นมิตรต่อสภาพแวดล้อม ใช้งานง่าย เพราะละลายน้ำได้ ไม่จำเป็นต้องใช้แอลกอฮอล์เป็นตัวทำละลาย เก็บรักษาได้ที่อุณหภูมิห้องปกติ ไม่ก่อมลพิษตกค้าง ได้ขึ้นบัญชีเป็นผลิตภัณฑ์สีเขียวทางการเกษตรระดับประเทศ ได้นำมาทำการทดสอบใช้กับพืช 879 ชนิด ในพื้นที่ประเทศจีน 31 มณฑล รวม 1,322 หัวเมือง ปรากฏว่าได้ผลดีกว่าฮอร์โมนกระตุ้นรากตัวอื่นๆเป็น 2 เท่าตัว ผลิตภัณฑ์ GGR แบ่งออกเป็น 4 ชนิด ตามชนิดของพรรณพืช





GGR เบอร์ 6 ใช้กับพืชไร่ ไม้ผล ไม้ดอก ไม้ใช้งาน ตลอดจนงานย้ายปลูก รวมทั้งการปลูกสร้างสวนป่า
GGR เบอร์ 7 ใช้กับกิ่งปักชำเป็นหลัก
GGR เบอร์ 8 ใช้กับพืชสมุนไพร พืชจำพวกถั่ว และพืชที่ขยายพันธุ์ด้วย เหง้า หัว ราก แง่ง
GGR เบอร์ 10 ใช้กับพืชไร่ประเภท ใบยาสูบ อ้อย ปอ ชา หรือ ไม้ผล

สารกระตุ้นการเกิดราก GGR นี้ไม่เพียงแต่ทำให้การพัฒนาการเกิดรากได้เท่านั้น หากแต่ยังออกฤทธิ์ต่อการทำงานภายในของต้นพืชด้วย ดังนั้นพืชที่ได้รับสารนี้จะมีอัตราการเจริญเติบโตแข็งแรงดีขึ้นด้วย


http://www.eco-agrotech.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538717321&Ntype=2
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 16/07/2011 10:40 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

115. ข้าวหอมสายพันธุ์ใหม่ที่กว่างซี

ศูนย์วิจัยข้าวเอกชน ฮว๋างสื้อ (黄氏水稻研究所) เมืองเสี้ยงเจา (象州) เขตปกครองตนเองมณฑล กว่างซี (广西自治区 / กวางสี) ได้ทำการวิจัยผสมพันธุ์ข้าวหอมสายพันธุ์ใหม่ ข้าวหอมลูกผสมสามสายพันธุ์นี้เป็นข้าวหอมแดง มีชื่อเรียกว่า ปินหลางหง (槟榔红 / หมากแดง) เป็นข้าวพันธุ์ลูกผสมที่นำเอาข้าวป่าที่ดอกเพศผู้ไม่พัฒนา แหย่ป้าย (野败型不育) มาทำการปรับปรุงพันธุ์ ดังนั้นเมล็ดข้าวพันธุ์ลูกผสมนี้จึงเป็นข้าวที่มียีนดอกเพศผู้ไม่พัฒนาตามไปด้วย นับเป็นพันธุ์ข้าวสีแดงที่มีกลิ่นหอมแรกสุดในประเทศจีน

ข้าวหอมแดงลูกผสมที่ว่านี้ ออกรวงแทงดอกดีมาก คุณภาพเมล็ดข้าวดี มีความต้านทานต่อสภาพแวดล้อมที่ดีอีกด้วย จากการนำเสนอในที่ประชุมข้าวโลกที่จัดขึ้นครั้งแรกในประเทศจีน เป็นเป้าที่สนใจของนักวิชาการปรับปรุงพันธุ์ข้าวเป็นอย่างสูง ได้รับการยกย่องชมเชยในด้านคุณภาพและกลิ่นของข้าวสายพันธุ์นี้โดยทั่วกัน

จากการวิเคราะห์คุณภาพข้าว และคุณภาพผลผลิตทางการเกษตรของกระทรวงเกษตรของประเทศ รวมทั้งหน่วยงานวิเคราะห์ฯ ของเขตปกครองตนเองกว่างซีเอง รายงานว่าข้าวหอมแดงดังกล่าวมีคุณค่าทางโภชนาหารสูง มีสารเสริมสุขภาพและตัวยาที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่าข้าวทั่วๆไป อาทิ ไวตามิน E เฟลวาโนน เบตาแคโรทีน และ กรดลีโนลีนิค โดยเฉพาะกรดลิโนลีนิคนั้นมีสูงกว่าข้าวธรรมดาถึงเท่าตัวเลยทีเดียว ส่วนไฟเบอร์นั้นมีมากกว่า 50 %ขึ้นไป








ข้าวหอมแดงลูกผสมพันธุ์นี้สีออกจำหน่ายเป็น 3 ชนิดด้วยกัน คือ
1. หงปินหลาง A (หมากแดง A) เป็นข้าวกล้อง (สีหยาบ) ถือเป็นข้าวสมุนไพรใช้บริโภคบำรุงสุขภาพ

2. หงปินหลาง B (หมากแดง B) เป็นกึ่งข้าวกล้อง เหมาะใช้หุงเป็นข้าวต้มบำรุงกำลังผู้ป่วยหลังพักฟื้นจากการรักษา คนสูงอายุ หญิงมีครรภ์ เด็กเล็ก มีประโยชน์ในการเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรง

3. หงปินหลาง C (หมากแดง C) เป็นข้าวขัดขาวสำหรับบริโภคทั่วไป


http://www.eco-agrotech.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/01/2022 7:24 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 16/07/2011 10:47 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

116. เครื่องดำนาขนาดเล็ก

ปัจจุบันวงการเกษตรของไทยเราได้พัฒนาปรับปรุงการผลิต โดยการนำเอาเครื่องจักรกลเข้ามาช่วยผ่อนแรงและร่นชั่วโมงการทำงานลงได้มาก เป็นการประหยัดทั้งแรงงานและเวลา ในภาคของการทำนานั้นก็ได้นำเอาเครื่องจักรกลมาใช้เช่นเดียวกัน ที่เห็นกันชินตาก็คือ รถไถนาที่มีสี่ล้อขนาดใหญ่ และที่เล็กลงมาหน่อยก็คือ รถไถนาเดินตามหรือที่เรียกกันว่า ควายเหล็กนั่นเอง เครื่องจักรอีกตัวหนึ่งที่เห็นในระยะหลังนี้ก็คือ รถเก็บเกี่ยวข้าว ซึ่งมีทั้งขนาดใหญ่และขนาดกลาง และในเวลาอันใกล้นี้ก็ได้นำเอาเครื่องดำนามาใช้กันแล้ว ในตลาดเครื่องจักร์มีทั้งรุ่นใหญ่และขนาดกลาง แต่ที่เห็นกำลังโฆษณาโหมโรงให้ชาวนาซื้อหามาใช้กันนั้น ดูจะเป็นเครื่องดำนาขนาดกลางเสียมากกว่า เพราะเครื่องดำนาขนาดเล็กยังไม่มีผู้ใดผลิตขึ้นมาจำหน่าย เนื่องจากเครื่องจักรชนิดนี้ราคาค่อนข้างสูง ถึงแม้จะเป็นขนาดกลางก็ตามราคาก็ยังสูงอยู่ดี และยังมีข้อจำกัดอีกหลายประการที่ยังไม่เป็นที่นิยมซื้อมาใช้ เนื่องจากใช้งานได้ไม่เต็มที่ ไม่คุ้มกับเงินที่จ่ายไป เพราะใช้งานแค่ปีละครั้งในการทำนาปี ถึงแม้จะมีการทำนาได้ถึง 3 ครั้งต่อปีในเขตที่มีการชลประทานก็ตาม ก็ยังไม่คุ้มค่าในการลงทุน เพราะชาวนาไทยแต่ละครอบครัวนั้นมีที่นากันไม่มาก ผู้ที่ซื้อมาใช้จึงเป็นชาวนารวยที่มีที่นาแปลงใหญ่มีพื้นที่ทำนามากพอสมควร โดยซื้อมาใช้งานเองและรับจ้างชาวนาด้วยกันจึงจะคุ้มกับเงินที่เสียไป



รูปร่างหน้าตาของเครื่องปักดำต้นกล้าข้าวที่ใช้ได้ทั้งแรงคนและพลังงานแบตเตอร์รี่



ผู้ประดิษฐ์กำลังสาธิตการใช้งานเครื่องดำนาที่ผลิตขึ้น



ข่าวดีกำลังจะมีมาให้แก่ชาวนาไทยทั่วไป นั่นก็คือ ขณะนี้ได้มี เครื่องปักดำนาขนาดเล็กที่ใช้กำลังคน โดยการใช้มือหมุน หรือใช้พลังงานจากแบตเตอร์รี่ผลิตขึ้นจำหน่ายแล้ว การใช้งานก็สะดวกง่ายดาย ใช้งานได้ดี ไม่ต้องเพาะกล้าในกระบะเหมือนเครื่องปักดำที่มีราคาแพง ใช้กล้าที่เพาะโดยวิธีที่ชาวนาทำกันอยู่เป็นปกติ ประการสำคัญก็คือราคาไม่แพง เหมาะกับการใช้งานของชาวนารายย่อยเป็นอย่างยิ่ง จากการทดสอบการใช้งาน มีความเร็วในการปักดำต้นกล้าข้าวได้วันละ 2-4 ไร่เลยทีเดียว คิดว่าอีกไม่นานชาวนาไทยคงได้ซื้อหามาใช้งานได้ จากการนำเข้ามาของ ห้างฯ ยะลาทักษิณาวัฒน์ ที่มุ่งสรรหาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าคุ้มราคามาบริการแก่เกษตรกรไทยตลอดไป


http://www.eco-agrotech.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=5320823&Ntype=2
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 16/07/2011 10:56 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

117. นาโนซิลเวอร์ ในนาข้าว





สรุปเอาสั้นๆก็คือ วัสดุสิ่งของต่างๆ เมื่อทำให้มันมีขนาดเล็กลงในระดับนาโนแล้ว มันจะมีคุณสมบัติทางกายภาพ หรือทางเคมี เปลี่ยนแปลงผิดแผกแตกต่างออกไปจากเดิม ส่วนจะผิดไปอย่างไรนั้นก็เป็นเรื่องที่ต้องทำการศึกษาวิจัยกันต่อไปเรื่อยๆ เนื่องจากยังเป็นเรื่องใหม่ที่เพิ่งเริ่มต้นศึกษากัน

ทีนี้เรามาดูเรื่องที่จั่วหัวข้อเอาไว้ว่า การนำเอาวัสดุนาโน ที่มีชื่อเรียกว่า ซิลเวอร์ออกไซด์ มาใช้กับการปลูกข้าวนั้นคืออย่างไร ?

ซิลเวอร์นาโน นั้น เป็นคำย่อที่ตัดทอนมาจากคำว่า นาโนซิลเวอร์ออกไซด์ เมื่อมีขนาดเป็นนาโนแล้ว จะมีคุณสมบัติเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาทางแสง ที่สามารถกำจัดกลิ่นและทำลายจุลินทรีย์เล็กๆอย่างเชื้อโรคได้ จึงได้มีนักวิชาการทางเกษตรชาวเกาหลีนำมาแช่เมล็ดข้าวก่อนปลูก และฉีดพ่นต้นข้าวในช่วงที่กำลังเจริญเติบโตในแปลงนา ปรากฏว่าต้นข้าวมีอัตราการงอกและการเจริญเติบโตดีกว่าปกติมาก ข้าวมีความต้านทานต่อโรคและแมลงโดยไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลงและยากำจัดเชื้อราแต่อย่างใด


แปลงข้าวที่ทดสอบใช้นาโนซิลเวอร์ในการเพาะปลูก





ผลผลิตข้าวที่เก็บเกี่ยวได้มากกว่าเดิม คุณภาพข้าวเหนือกว่า รสชาติดีกว่าปกติมาก



http://www.eco-agrotech.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=394295&Ntype=2
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 16/07/2011 11:02 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

118. การกำจัดโรคราและศัตรูพืชด้วยน้ำ






เครื่องมือที่เห็นนี้เป็นเครื่องมือผลิตน้ำนาโนที่อยู่ในสภาพของกรดแก่ น้ำที่ได้จะมีความไวในการทำปฏิกิริยาสูงมาก เมื่อใช้ฉีดพ่นในพืชที่เป็นโรคราชนิดต่างๆต่างๆ จะสามารถทำลายเชื้อรา 23 ชนิด จากทั้งหมด 28 ชนิดได้ภายในเวลาไม่เกิน 10 วินาที ทั้งนี้อาศัยหลักการ แยกน้ำด้วยไฟฟ้ามาประยุกต์ใช้ในการทำลายเชื้อราและไวรัสที่เป็นอันตรายต่อต้นพืช ด้วยการเติมเกลือจำนวนเล็กน้อยลงในน้ำที่จะผ่านขบวนการผลิตจากเครื่องนี้เท่านั้น ก็สามารถนำมาใช้งานได้ทันที โดยอาศัยอนุภาค ของกรดคลอรีน และ ออกซิเจน ที่ไวต่อปฏิกิริยาเป็นตัวทำลายเชื้อโรคเหล่านี้ดังสมการต่อไปนี้

NaClO + H2O = HClO + NaOH
HClO + [O]


http://www.eco-agrotech.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=392548&Ntype=2
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 17/07/2011 8:35 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

119. ก้าวใหม่ทุเรียน "หลง-หลิน" ลับแล


ก้าวใหม่ทุเรียน"หลง-หลิน"ลับแล อุตรดิตถ์ ผนึก วช.มุ่งวิจัยเชิงพาณิชย์
แม้ทุเรียนพันธุ์หลงลับแลและหลินลับแล ซึ่งเป็นทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองของจังหวัดอุตรดิตถ์ จะมีคุณสมบัติดีและเด่นตรงที่มีรสชาติดี หวานมัน กลิ่นอ่อนเฉพาะตัวได้รับความนิยมจากผู้บริโภคสูง แต่ก็ยังพบปัญหาหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการให้ผลผลิตต่อปีที่ต่ำ มีพื้นที่ใช้ในการเพาะปลูกไม่เพียงพอ คุณภาพของผลผลิตไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ตลอดจนกระบวนการตลาดที่ด้อยคุณภาพ

ด้วยเหตุนี้ ผศ.ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์เกษตร คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวรและคณะได้มองเห็นถึงปัญหาดังกล่าวและเห็นโอกาสที่จะผลักดันทุเรียนสายพันธุ์ดังกล่าวสู่ตลาดโลกได้ จึงได้ทำการวิจัยในหัวข้อ "การวิจัยและพัฒนาแบบบูรณาการเพื่อการผลิตทุเรียนพันธุ์พลงลับแลและหลินลับแลเชิงพาณิชย์อย่างยั่งยืน" โดยได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

ผศ.ดร.พีระศักดิ์ เผยถึงผลงานวิจัยดังกล่าวว่า ขณะนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมตัวอย่างพันธุ์ทุเรียนหลงและหลินลับแลเพื่อใช้ศึกษาลักษณะสายพันธุ์ โดยตัวอย่างที่เก็บประกอบด้วย ใบ ดอกและผลช่วงแรกและศึกษาถึงลักษณะพื้นฐานของทุเรียนสองสายพันธุ์นี้ โดยมุ่งหวังเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและคุณภาพของทุเรียนทั้งสองสายพันธุ์เพื่อการพาณิชย์และการส่งออก ตลอดจนสามารถถ่ายทอดผลผลงานวิจัยด้านเทคโนโลยีการผลิตและหลังการเก็บเกี่ยวทุเรียนเพื่อให้ได้คุณภาพดีเหมาะแก่เกษตรกรและผู้สนใจโดยทั่วไป


"ลักษณะเด่นของหลงลูกจะกลม พูเต็มใหญ่ไม่มีเว้า ส่วนหลินจะเห็นพูชัดเจน คล้ายผลมะเฟือง โดยทุเรียนทั้งสองสายพันธุ์จะให้เริ่มให้ผลผลิตตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงสิงหาคมของทุกปี ปัจจุบันราคาจำหน่ายเฉลี่ยอยู่ที่กิโลกรัมละ 200-250 บาท จึงมองว่าน่าจะพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์ได้ โดยเฉพาะตลาดจีนซึ่งอยู่ไม่ไกลจากแหล่งผลิตมากนัก"


โยธินศร์ สมุทรคีรีจ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ ยอมรับว่าปัจจุบันจังหวัดอุตดิตถ์เป็นแหล่งปลูกผลไม้ชื่อดังของทางภาคเหนือ มีผลไม้ที่สำคัญทางเศรษฐกิจหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น ลางสาด ลองกอง สับปะรด เงาะ มังคุดและทุเรียน โดยเฉพาะทุเรียนพันธุ์หลงและหลินลับแล มะม่วงหิมพานและสับปะรดห้วยมุ่น ถือเป็นผลไม้ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดมานานและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคอย่างมาก แม้ว่าราคาจะสูงก็ตาม

"เชื่อว่าอีกไม่กี่ข้างหน้าเมื่อโครงข่ายเส้นทางคมนาคม 3 ประเทศเสร็จเรียบร้อย อุตรดิตถ์จะได้เปรียบมากที่สุด เพราะสามารถการขนส่งสินค้าผ่านลาวไปยังจีนและเวียดนามได้โดยใช้เวลาไม่นานนัก โดยเฉพาะทุเรียน ซึ่งจีนเป็นตลาดใหญ่ ยิ่งได้สุดยอดทุเรียนอย่างหลง-หลินลับแลด้วยแล้วก็จะมองเห็นอนาคตอันสดใสของทุเรียนสองพันธุ์นี้ได้ไม่ยาก"

ทางด้าน รศ.สุพัตรา สุภาพ กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ และที่ปรึกษาคณะกรรมการประชาสัมพันธ์วช.กล่าวระหว่างนำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่ดูงานวิจัยทุเรียนพันธ์หลง-หลินลับแลในเชิงพาณิชย์ที่บ้านผามูบ อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ โดยระบุว่าทุเรียนทั้งสองสายพันธุ์นี้มีรสชาติอร่อยมาก ซึ่งน่าจะมีการส่งเสริมให้ผลิตเชิงพาณิชย์มากขึ้นเพื่อการส่งออกไปต่างประเทศได้ ในฐานะที่เป็นกรรมการสภาวิจัยก็อยากผลักดันให้มีการผลิตทุเรียนสองสายพันธุ์นี้มีมาตรฐานมากขึ้น

"จะผลิตยังไงให้ได้มาตรฐานทุกราย ไม่มีโรคแมลงรบกวน และมีตลาดรองรับที่แน่นอน แต่ปัญหาขณะนี้คือไม่รู้สุกตอนไหน โดยเฉพาะหลง เป็นทุเรียนที่ดีไม่มีกลิ่น จึงไม่รู้ว่าสุกตอนไหน แต่ในแง่การเก็บเกี่ยว เก็บเร็วไปก็ไม่อร่อย เก็บช้าไปเนื้อก็เละ ต้องเก็บพอดี ปัญหาเก็บพอดีต้องมีองค์ความรู้การวิจัยว่าเราต้องใช้น้ำ ใช้ปุ๋ยเท่าไหร่ เติบโตได้ดีในภูมิอากาศแบบไหน ทุกวันนี้แค่มาตรฐานชาวบ้านเอาแน่ไม่ได้ ต้องเห็นใจเพราะชาวบ้านไม่มีองค์ความรู้ตรงนี้" รศ.สุพัตรากล่าว พร้อมย้ำว่า

ไม่เพียงทุเรียนหลง-หลินลับแลเท่านั้นที่วช.ได้สนับสนุนการวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ให้มีมาตรฐานเพื่อต่อยอดไปสู่เชิงพาณิชย์อย่างยั่งยืน แต่ยังมีผลไม้อีกหลายชนิดในภูมิภาคต่างๆ ที่ได้รับความสนใจของผู้บริโภคและเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศที่ยังต้องการงานวิจัยที่ได้มาตรฐานสากลเพื่อนำไปสู่การแข่งขันในตลาดโลกต่อไป เพียงแต่ต้องให้ชาวบ้าน หน่วยงานภาครัฐ หรือภาคเอกชนที่สนใจแจ้งความประสงค์มาที่วช. โดยผู้วิจัยไม่จำเป็นต้องเป็นนักวิชาการหรืออาจารย์มหาวิทยาลัย แต่เป็นใครก็ได้ที่สนใจ ทั้งภาครัฐ เอกชน ตลอดจนชาวบ้านหรือเกษตรกรที่สนใจ ที่มองเห็นความสำคัญของผลิตภัณฑ์หรือสินค้านั้นๆ สามารถต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์หรือสามารถชีวิตความเป็นอยู่ให้กับชาวบ้านที่ดีขึ้นได้

กว่าจะมาเป็น"หลง-หลินลับแล"
ทุเรียนพันธุ์ "หลงลับแล" ต้นเดิมขึ้นอยู่ที่ม่อนน้ำจำ หมู่ 7 บ้านผามูบ ต.แม่พูล อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ เจ้าของเดิมคือ นายลม-นางหลง อุประ อยู่บ้านเลขที่ 126 หมู่ 1 บ้านนาปอย เขตเทศบาล ต.หัวดง ต.แม่พูล เป็นทุเรียนที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมจากการประกวดทุเรียนที่ปลูกจากเมล็ด ซึ่งร่วมดำเนินการจัดประกวดระหว่างกรมวิชาการการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตรและจังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อปี พ.ศ.2520 และได้รับรองพันธุ์ในวันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2521 ณ ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์ จากนั้นนายเมือง แสนศรี นายสมบุญ เกิดทุ่งยั้ง และนายแสง ม่านแก้ว นำยอดทุเรียนหลงลับแลจากต้นเดิมมาขยายพันธุ์โดยวิธีการเสียบยอดจนประสบความสำเร็จ ก่อนที่ต้นเดิมจะตายเพราะอายุมาก (อายุประมาณ 60 ปี)

ทุเรียนพันธุ์ "หลินลับแล" ต้นเดิมปลูกโดยนายหลิน ปันดาล บ้านเลขที่ 126 หมู่ 7 บ้านผามูบ ต.แม่พูล อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ ในปี 2493 โดยได้นำเมล็ดทุเรียนมาปลูกแล้วเกิดการกลายพันธุ์มีลักษณะที่แปลกกว่าทุเรียนพันธุ์อื่นๆ จึงนำให้เพื่อนบ้านกินกันหลายคนบอกว่ามีรสชาติดี ต่อมาในปี 2520 ได้ส่งทุเรียนพันธุ์นี้เข้าประกวดในการประกวดทุเรียนที่ปลูกจากเมล็ด แม้ว่าในปีดังกล่าวทุเรียนพันธุ์หลงลับแลจะได้รับรางวัลยอดเยี่ยม แต่หลินลับแลก็ได้รับความนิยมจากนักบริโภคทุเรียนไม่น้อยกว่าทุเรียนพันธุ์หลงลับแลเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ปลูกทุเรียนต้นเดิม จึงตั้งชื่อทุเรียนพันธุ์นี้ว่า "หลินลับแล"



"สุรัตน์ อัตตะ"

http://www.phtnet.org/news54/view-news.asp?nID=274


-------------------------------------------------------------------------------------------




รูปทุเรียนหลินลับแล

http://www.huadong.go.th/sci-tech/lin.php


-----------------------------------------------------------------------------------------




http://www.coopthai.com/lablae/

-----------------------------------------------------------------------------------------


.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 17/07/2011 6:10 pm, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 17/07/2011 9:06 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

120. 'ฟาแลนอปซีส' บานทน สวยนาน





ปัจจุบัน กล้วยไม้ฟาแลนอปซีส กำลังเป็นที่สนใจของผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ทั้งภายในและต่างประเทศเพิ่มขึ้น เพราะกล้วยไม้สกุลนี้ถูกพัฒนา และปรับปรุงสายพันธุ์มาอย่างต่อเนื่องหลายชั่วรุ่น ทำให้ดอกมีรูปทรง ขนาด และสีของดอกมีความหลากหลาย กลีบดอกหนา ดอกมีหลายสี อาทิ สีขาว สีขาวปากแดง สีเหลือง สีม่วง สีชมพู สีแดง มีทั้งลายจุด ลายกระ ฯลฯ ทั้งยังมีก้านช่อยาวเหมาะสำหรับใช้ปักแจกัน และหนึ่งต้นยังออกดอกได้หลายช่อ

นายอรรถ อินทลักษณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า นอกจากนั้นยังมีจุดเด่นคือปลูกเลี้ยงง่าย เจริญเติบโตเร็ว มีเวลาในการออกดอกค่อนข้างแน่นอน ประมาณ 14-16 เดือน ก็ออกดอก ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาและการจัดการที่ดี ซึ่งหลังจากการออกดอกชุดแรกแล้วก็สามารถปลูกเลี้ยงต่อและออกดอกได้เรื่อย ๆ ที่สำคัญกล้วยไม้สกุลฟาแลนอปซีสยังให้ดอกดี ดอกจะบานทนและบานนาน ถ้าดอกบานอยู่กับต้นสามารถบานอยู่ได้นาน 2-3 เดือน ส่งผลให้มีราคาสูงโดยส่วนใหญ่นิยมซื้อขายทั้งต้นหรือขายเป็นไม้กระถางเพื่อใช้เป็นของขวัญที่ระลึก ใช้ประดับตกแต่งสถานที่ และยังสามารถตัดช่อดอกขายได้ในราคาสูงอีกด้วย

ขณะนี้มีนักธุรกิจชาวไต้หวันและญี่ปุ่นเข้ามาร่วมลงทุนกับผู้ประกอบการของไทย ส่งเสริมการจัดตั้งฟาร์มเพาะเลี้ยงกล้วยไม้ฟาแลนอปซีสขึ้นในพื้นที่ภาคเหนือ เพื่อส่งออกไปยังไต้หวันและญี่ปุ่น ขณะเดียวกันยังมีนักธุรกิจจากเนเธอร์แลนด์เข้ามาร่วมทุนในการตั้งฟาร์มกล้วยไม้ฟาแลนนอปซีสในพื้นที่จังหวัดชุมพรเพื่อส่งออกไปยังเนเธอร์แลนด์ด้วย ซึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ทำให้ไทยสามารถผลิตกล้วยไม้ฟาแลนอปซีสได้ตรงตามความต้องการของตลาดในต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งจะช่วยผลักดันส่งออกสินค้ากล้วยไม้ไทยเพิ่มสูงขึ้นได้

นายสมชาย เล่ห์เหลี่ยม นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดลำพูน (พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง) กล่าวเพิ่มเติมว่า ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรลำพูน เป็นหนึ่งศูนย์ฯที่ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิตกล้วยไม้ไปสู่เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไป โดยเปิดให้เข้ามาศึกษาเรียนรู้ในแปลงสาธิตการปลูกกล้วยไม้ซึ่งมีทั้งกล้วยไม้สกุลแวนดา มอคคารา แอสโคเซนดา คัทลียา สกุลช้าง และสกุลฟาแลนอปซีส และศูนย์ฯ ยังได้จัดฝึกอบรมหลักสูตรการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้เพื่อการค้า ซึ่งผู้เข้าฝึกอบรมจะได้รับความรู้เกี่ยวกับการปลูกกล้วยไม้ การขยายพันธุ์ ตลอดจนการจัดการดูแลรักษากล้วยไม้ทั้งภาคทฤษฎีและได้ลงมือปฏิบัติจริง ซึ่งสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพได้ และยังช่วยยกระดับประสิทธิภาพการผลิตสินค้ากล้วยไม้ พร้อมเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไม้ของไทยด้วย

ขณะเดียวกันศูนย์ฯ ยังได้ดำเนินโครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตกล้วยไม้เชิงอุตสาหกรรมในพระดำริ สมเด็จ พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารี โดยร่วมมือกับสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ดำเนินการพัฒนาและปรับปรุงสายพันธุ์กล้วยไม้ฟาแลนอปซีสซึ่งในอนาคตอันใกล้นี้คาดว่า จะได้กล้วยไม้ลูกผสมฟาแลนอปซีสพันธุ์ใหม่ที่มีศักยภาพสูงและเป็นทางเลือก สำหรับเกษตรกรเพื่อใช้ผลิตในเชิงการค้าต่อไป

หากสนใจข้อมูลเกี่ยวกับการปลูกกล้วยไม้ฟาแลนอปซีส สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดลำพูน (พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง) โทร. 0-5356-5011-12 www.aopdt09@doae.go.th



http://www.dailynews.co.th


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/01/2022 11:35 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 17/07/2011 9:10 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

121. "กวาวเครือขาว" เกรดเภสัชกรรม ต่อยอดผลิตภัณฑ์สู่แดนปลาดิบ


การบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กับบริษัท โคคัน ฟาร์มาซูติคอล อินสติติวท์ จำกัด นับเป็นจุดเริ่มต้นการพัฒนาอุตสาหกรรมสมุนไพรของประเทศไทย เมื่อมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ลงนามความร่วมมืออนุญาตให้บริษัทดังกล่าวเป็นผู้แทนจำหน่ายกวาวเครือขาวเกรดเภสัชกรรม ผลิตโดยสถาบันสุวรรณวาจกกสิกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แต่เพียงผู้เดียวในประเทศญี่ปุ่น

รศ.วุฒิชัย กปิลกาญจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) กล่าวภายหลังลงนามความร่วมมือระหว่าง Mr. Agiteru Go ประธานบริษัท โคคัน ฟาร์มาซูติคอล อินสติติวท์ จำกัด ประเทศญี่ปุ่นว่าบริษัทดังกล่าวเป็นผู้ซื้อกวาวเครือขาวเกรดเภสัชกรรม ซึ่งผลงานวิจัยของสถาบันสุวรรณวาจกกสิกิจ เพื่อการค้นคว้าและพัฒนาปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์สัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และขออนุญาตใช้ชื่อมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในการระบุแหล่งที่มาของกวาวเครือขาวสำหรับผลิตภัณฑ์ของบริษัท อีกทั้งขอเป็นผู้แทนจำหน่ายกวาวเครือขาวเกรดเภสัชกรรมที่ผลิตโดยสถาบันสุวรรณวาจกกสิกิจ แต่เพียงผู้เดียวในประเทศญี่ปุ่น

"เป็นครั้งแรกที่มีการส่งออกกวาวเครือขาวเกรดเภสัชกรรมที่ผลิตโดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ไปยังประเทศญี่ปุ่น และการร่วมมือนี้นับเป็นการบุกเบิกการส่งออกกวาวเครือขาวจากการเพาะปลูกอย่างถูกต้องของประเทศไทยไปยังตลาดประเทศญี่ปุ่น อีกทั้งยังจะเป็นโอกาสทำให้มีการส่งออกผลิตภัณฑ์พืชสมุนไพรอื่นๆ จากการเพาะปลูกไปยังตลาดประเทศญี่ปุ่นและประเทศอื่นด้วย"

ด้าน รศ.อุทัย คันโธ ผู้อำนวยการสถาบันสุวรรณวาจกกสิกิจเพื่อการค้นคว้าและพัฒนาปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์สัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เผยว่า ที่ผ่านมาสถาบันสุวรรณวาจกกสิกิจ ได้วิจัยการใช้กวาวเครือขาว (Pueraria mirifica) ในการเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงสัตว์ชนิดต่างๆ ซึ่งได้ผลดีมากและยังได้มีการพัฒนาพันธุ์กวาวเครือขาว ซาดี 190 (SARDI 190) ที่เหมาะสำหรับการปลูกเชิงการค้า ให้ผลผลิตสูง และมีสารออกฤทธิ์ไฟโตเอสโตรเจน (phytoestrogen) ในปริมาณสูง รวมทั้งได้พัฒนากระบวนการแปรรูปหัวกวาวเครือขาวให้อยู่ในรูปชิ้นแห้งและผงแห้ง ทั้งสำหรับเกรดเภสัชกรรมและเกรดอาหารสัตว์จำหน่ายแก่ผู้สนใจทั่วไปด้วย

"ที่บริษัท โคคัน ให้ความสนใจ ผลงานวิจัยกวาวเครือขาวเกรดเภสัชกรรมของสถาบัน เนื่องมาจากบริษัทได้วิเคราะห์คุณภาพผลิตภัณฑ์ผงกวาวเครือขาวที่ผลิตโดยสถาบันแล้วพบว่ามีคุณภาพสูงมาก อีกทั้งเป็นกวาวเครือขาวที่ได้จากระบบการปลูกที่มีมาตรฐานสูงและเป็นการปลูกแบบอินทรีย์โดยไม่มีการใช้สารเคมี เพราะก่อนหน้านี้บริษัทได้นำเข้ากวาวเครือขาวจากประเทศอื่น" รศ.อุทัยเผยข้อมูล

อย่างไรก็ตามการร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กับบริษัท โคคัน ฟาร์มาซูติคอล อินสติติวท์ จำกัด ยังเป็นโอกาสให้มหาวิทยาลัยได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปกวาวเครือขาวข้างต้นให้เป็นสินค้ากึ่งสำเร็จรูป หรือสำเร็จรูปในอนาคต ซึ่งจะช่วยเพิ่มพูนองค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรของประเทศไทย และก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มอย่างมหาศาลในอนาคตอีกด้วย



http://www.komchadluek.net
http://www.phtnet.org


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/01/2022 7:12 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 17/07/2011 10:05 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

122. เจาะลำต้นใส่ปุ๋ยปาล์ม นวัตกรรมหรือว่าอันตราย


เจาะลำต้นใส่ปุ๋ย ปาล์มน้ำมัน ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาถือว่าเป็นโอกาสทองของเกษตรกรชาวสวน โดยเฉพาะชาวสวนยางพารากับชาวสวนปาล์มน้ำมันที่ราคาผลผลิตกำลังดีมาก ยางพารากิโลกรัมละ 100 กว่าบาท และปาล์มน้ำมันกิโลกรัมละ 5 บาทกว่า ก็ถือเป็นผลดีต่อเกษตรกรและระบบเศรษฐกิจ แต่เมื่อมาดูผลผลิตปาล์มน้ำมันในแต่ละสวนจะพบว่า ผลผลิตไม่มี ผลทะลายปาล์มลดลง ซึ่งอาจเกิดจากผลกระทบในช่วงแล้งที่ผ่านมา ด้วยผลผลิตที่ลดลงแต่ความต้องการมากขึ้น ทำให้ราคาของปาล์มน้ำมันสูงขึ้น ซึ่งเป็นไปตาม อุปสงค์ และอุปทานของตลาดสิ้นค้าเกษตร หรือเป็นเพราะเหตุปัจจัยอย่างอื่น แต่อย่างไรก็ตามก็ถือเป็นโอกาสดีของเกษตรกร

เมื่อฤดูฝนเข้ามาพัดพาความชุ่มชื่นคืนมาอีกครั้ง เกษตรกรก็มักจะเริ่มใส่ปุ๋ยบำรุงพืชกันทั่วหน้า ปาล์มน้ำมันถือเป็นพืชที่มีความต้องการปริมาณธาตุอาหารเป็นจำนวนมากในการเจริญเติบโต และให้ผลผลิต เพื่อทดแทนธาตุอาหารที่สูญเสียไปกับผลผลิต จึงนับได้ว่าปุ๋ยเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตปาล์มน้ำมัน เพราะ 60-70 % ของต้นทุนการผลิตปาล์มน้ำมัน คือปุ๋ย เพราะฉนั้นเกษตรกรต้องใช้ปุ๋ยให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด คือ ใช้ปุ๋ยให้ถูกสูตร ถูกปริมาณอัตรา ถูกเวลา และถูกวิธี เพื่อให้พืชสามารถใช้ประโยชน์จากปุ๋ยให้ได้มากที่สุด ส่งผลต่อผลผลิตที่สูงสุดและคุ้มค่าการลงทุน

ด้วยความสำคํญดังกล่าวข้างต้น ได้มีวิธีการใส่ปุ๋ยปาล์มในรูปแบบใหม่เกิดขึ้น นั้นคือ การเจาะลำต้นแล้วใส่ปุ๋ย วิธีการทำ คือ ใช้สว่านเจาะลำต้น แล้วนำท่อ PVC ขนาดสองนิ้วที่เจาะรูรอบๆแล้วใส่เข้าไปในลำต้น แล้วก็ใส่ปุ๋ยทางท่อ พร้อมปิดฝา แล้วพืชก็จะดูดปุ๋ยที่ใส่ไปใช้

วิธีนี้จะเป็นวิธีการใส่ปุ๋ยที่ถูกต้องและประหยัดปุ๋ยจริงหรือ ???
หรือเป็นวิธีที่ทำให้ต้นปาล์มน้ำมันตายเร็วขึ้น ??
การใส่ปุ๋ยวิธีนี้จะเป็นนวัตกรรม หรือว่าอันตราย ??

ไม่มีนักวิชาการใดมารองรับวิธีการนี้ แต่มาดูหลักการและเหตุผลกันว่า การเจาะลำต้นถือเป็นการทำลายเนื้อเยื่อปาล์ม เกิดการเสียหาย บริเวณเนื้อเยื่อดังกล่าวก็จะไม่มีเนื้อเยื่อเจริญมาทดแทน ส่งผลให้เนื้อเยื่อลำต้นบริเวณนั้นเน่า และมีเชื้อโรคอื่นๆตามมา ส่งผลให้ต้นปาล์มตายได้ และในกรณีที่เกษตรกรใส่ปุ๋ยในปริมาณมาก และหนาแน่น จะพบว่าวัชพืชบริเวณนั้นตายหรือแม้แต่รากพืชก็อาจตายได้

เพราะฉนั้นการเจาะลำต้นแล้วใส่ปุ๋ยก็ย่อมเป็นอันตรายแก่ต้นปาล์มด้วยเช่นกัน ซึ่งปกติแล้วธาตุอาหารที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ต้องอยู่ในรูปไอออน หรือประจุ และรากพืชจะดูดเข้าท่อลำเลียงต่อไปแล้วนำไปใช้ในกระบวนการต่างๆของพืช

การเจาะลำต้นเป็นเหตุให้พืชเกิดสภาวะเครียด ส่งผลให้พืชเร่งสร้างผลผลิตเพื่อการสืบพันธุ์ ทำให้มีผลผลิตเพิ่มขึ้นในช่วงแรก จนเกษตรกรบางท่านเกิดความหลงผิด คิดว่าวิธีการดังกล่าวสามารถทำได้และเกิดประโยชน์ เพราะว่าสามารถลดต้นทุนค่าปุ๋ยได้ แต่หลังจากนั้นต้นปาล์มจะโทรม เนื้อเยื่อก็จะเน่าผลผลิตก็จะลดลง และอาจทำให้ต้นตายไปในที่สุด

ด้วยเหตุและผลดังกล่าวการเจาะลำต้นเพื่อใส่ปุ๋ยปาล์มถือว่าเป็นอันตราย จึงอยากจะฝากถึงเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันทุกท่านได้ไตรตรองและพิจารณา ด้วยหลักการและเหตุผล อย่าหลงเชื่อคำโฆษณาอะไรง่ายๆ

ยังมีเจ้าหน้าที่และหน่วยงานต่างๆ ที่สามารถให้คำแนะนำแก่ท่าน หากมีข้อสงสัยและข้อเสนอแนะอื่นใดสามารถปรึกษาได้ที่สำนักงานเกษตรจังหวัด หรือสำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้าน มีความยินดีและพร้อมแนะนำ เพื่อการพัฒนาวงการปาล์มน้ำมันให้มีประสิทธิภาพต่อไป



http://www.gotoknow.org/blog/sawit-corn/404046?page=1


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 17/07/2011 5:45 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 17/07/2011 11:39 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

123. การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ร่วมกับปุ๋ยเคมีในการผลิตพืช


การผลิตพืชให้ได้ผลผลิตที่สามารถสร้างรายได้สูงสุดให้เกษตรกรอย่างยั่งยืนนั้น จำเป็นต้องมีเทคโนโลยีในการจัดการธรตุอาหารพืชที่เหมาะสม ปัจจัยการผลิตที่นำมาใช้เป็นธาตุอาหารพืชจะต้องมีประสิทธิภาพ มีคุณค่าและต้นทุนเหมาะสมกับราคาผลผลิต จึงจะทำให้เกษตรกรมีรายได้คุ้มค่ากับการลงทุน การใช้ปุ๋ยแบบผสมผสานระหว่างปุ๋ยอินทรีย์ที่ผ่านการหมักจนย่อยสลายสมบูรณ์ด้วยจุลินทรีย์นั้น แม้จะมีปริมาณธาตุอาหารหลักน้อย แต่ปุ๋ยอินทรีย์ให้ธาตุอาหารแก่พืชอย่างช้าๆ และมีธาตุอาหารเป็นองค์ประกอบเกือบทุกชนิด ทั้งธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริม สามารถช่วยปรับปรุงสมบัติทางกายภาพ เคมีและชีวภาพได้ด้วย ในขณะเดียวกันปุ๋ยเคมีก็มีข้อดีที่ประกอบด้วยปริมาณธาตุอาหารหลักมาก พืชใช้ได้อย่างรวดเร็ว สะดวกในการใช้ในไร่นา

แต่ปัจจุบันปุ๋ยเคมีมีราคาแพงมาก เพราะต้องนำเข้าจากต่างประเทศเกือบทั้งหมด ดังนั้นหากเกษตรกรมีความรู้และความเข้าใจในการนำวัสดุอินทรีย์เหลือทิ้งทางการเกษตร เช่น เศษพืช ผลพลอยได้จากโรงงานอุตสาหกรรมเกษตร มูลสัตว์และวัสดุอินทรีย์อื่นๆ มาผ่านกระบวนการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์หรือทำปุ๋ยหมัก เพื่อให้วัสดุอินทรีย์เหล่านี้ได้เปลี่ยนรูปเป็นธาตุอาหารพืชได้เร็วขึ้น พืชก็สามารถนำไปใช้ได้เร็วกว่าการใส่ในรูปของวัสดุอินทรีย์โดยตรง แต่การใส่ปุ๋ยอินทรีย์อย่างเดียวจะต้องใส่ในปริมาณมาก เพราะมีธาตุอาหารน้อยและมีค่าใช้จ่ายค่าแรงงานในการใส่มาก ดังนั้น การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ผสมผสานกับปุ๋ยเคมี หรือการผลิตปุ๋ยเคมีเป็นสูตรต่างๆ และหาวิธีการใช้ให้เหมาะสมกับชนิดของดิน พืชและหาวิธีการจัดการที่เหมาะสม จึงเป็นแนวทางที่สามารถใช้ในการเพิ่มศักยภาพในการผลิตพืช เพื่อสร้างรายได้ให้เกษตรกรและแก้ไขปัญหาปุ๋ยเคมีราคาแพงได้


การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี
การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี เป็นรูปแบบเทคโนโลยีการจัดการธาตุอหารพืชที่ยั่งยืนวิธีการหนึ่ง เพราะจะได้มีการนำส่วนที่ไม่ได้นำไปใช้ของพืชหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่อีกครั้งหนึ่ง ทำให้ธาตุอาหารซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่มีอยู่ในดินไม่ถูกเคลื่อนย้ายออกไปจากดินทั้งหมด ทำให้มีการเติมปุ๋ยเคมีน้อยลงได้ ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้จากอัตราปุ๋ยที่แนะนำให้เกษตรกรใช้ตัวอย่างในการปลูกอ้อย ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง เช่น ดินเหนียวในภาคกลาง มีความต้องการใส่ปุ๋ยน้อยกว่าดินร่วมปนทรายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นต้น



ดังนั้นการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีจึงเป็นวิธีการที่เหมาะสมอย่างหนึ่ง ที่สามารถเพิ่มความสมบูรณ์ให้มีความเหมาะสมในการปลูกพืช ช่วยในการใช้ปุ๋ยเคมีมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังผลงานวิจัยต่อไปนี้


การปลูกข้าว
การใช้ปุ๋ยหมักมูลไก่จากโรงหมักปุ๋ยแบบเติมอากาศ อัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยไนโตรเจนครึ่งหนึ่งของอัตราแนะนำตามค่าวิเคราะห์ดิน และใช้หินฟอสเฟต (P 14) แทนปุ๋ยเคมีในดินเหนียว อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ ช่วยให้ผลผลิตข้าวสูงกว่าการไม่ใส่ปุ๋ยประมาณ 18% และสูงกว่าการใช้ปุ๋ยหมักมูลไก่จากโรงหมักปุ๋ยแบบเติมอากาศ อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำ 12.7%


การปลูกข้าวโพดหวาน
การใช้ปุ๋ยหมักมูลวัว 1 ตัน ร่วมกับปุ๋ยเคมีไนโตรเจนครึ่งอัตราแนะนำ ช่วยเพิ่มผลผลิตมากกว่าการไม่ใส่ปุ๋ย 23% อย่างไรก็ตาม ราคาปุ๋ยหมักมูลวัวสูงมาก ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มต่ำกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำเพียงอย่างเดียว


การปลูกยางพารา
การใช้ปุ๋ยหมักอัตรา 3 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี ร่วมกับปุ่ยเคมีครึ่งอัตราแนะนำ ช่วยเพิ่มผลผลิตยางพาราสูงกว่าการไม่ใส่ปุ๋ย 32% และสูงกว่า การใช้ปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำ 12% ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นมากกว่าการไม่ใส่ปุ๋ยประมาณ 25% และรายได้เพิ่มขึ้นมากกว่าการไม่ใส่ปุ๋ยประมาณ 25% และรายได้เพิ่มมากกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำ 16% และพบว่าการใช้ปุ๋ยหมักร่วมกับปุ๋ยเคมีสามารถลดการใช้ปุ๋ยเคมีได้ประมาณ 50% ในการปลูกยางพาราที่ จ. สงขลา


การปลูกอ้อย
การใช้ปุ๋ยหมักและมูลวัวร่วมกับปุ๋ยเคมี 75% ของอัตราแนะนำในอ้อยที่ปลูกในดินร่วนเหนียวชุดกำแพงเพชร ช่วยให้ผลผลิตอ้อยเพิ่มขึ้นสูงกว่าการไม่ใส่ปุ๋ย 56 และ 66% ตามลำดับ โดยสูงกว่าการใส่ปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำ 17 และ 27% ตามลำดับ แต่การใส่มูลวัวตากแห้งร่วมกับปุ๋ยเคมี 75% อัตราแนะนำ ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นประมาณ 13%


การปลูกมันสำปะหลัง
การใช้ปุ๋ยหมักร่วมกับปุ๋ยเคมีให้ผลผลิตสูงกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียว แต่เนื่องจากมีการใช้ปุ๋ยหมักมากถึง 2 ตันต่อไร่ ทำให้ต้นทุนการผลิตสูง รายได้จากผลผลิตที่เพิ่มขึ้น จึงไม่เพียงพอกับต้นทุนค่าปุ๋ยหมักที่ใส่ ทำให้การใส่ปุ๋ยเคมีอย่างเดียวต้นทุนต่ำกว่า และมีรายได้เพิ่มขึ้นสูงกว่าการใช้ปุ๋ยหมักร่วมกับปุ๋ยเคมี


การปลูกกระเจี๊ยบเขียว
การใช้ปุ่ยหมักร่วมกับปุ๋ยเคมีให้ผลผลิตสูง และมีรายได้ทั้งหมดมากกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียว แต่การใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียวต้นทุนต่ำกว่า อย่างไรก็ตามการใส่ปุ๋ยทุกชนิดไม่ได้ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพราะดินมีความอุดมสมบูรณ์สูงอยู่แล้ว เกษตรกร จึงควรมีการวิเคราะห์ดินก่อนใส่ปุ๋ยให้กับพืช


แนวทางการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี
ข้อมูลจากการวิจัย สรุปได้ว่า การใช้ปุ่ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ มีส่วนช่วยเพิ่มผลผลิตพืช ความอุดมสมบูรณ์ของดิน และสร้างรายได้ให้เกษตรกรเพิ่มขึ้น แต่เกษตรกรต้องใช้ให้ถูกต้อง ในดินบางชุดและในการปลูกพืชบางชนิด เช่น ยางพาราและอ้อย จะช่วยให้เกษตรกรเพิ่มทั้งผลผลิตและรายได้ ทั้งนี้เพราะการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีร่วมกัน ช่วยให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นและต้นทุนค่าปุ๋ยเคมีลดลง


ดังนั้น การส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง มีแนวโน้มว่าจะทำให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนค่าปุ๋ยที่เคยซื้อได้ เพราะการใช้วัสดุอินทรีย์ที่ไม่ได้หมักมีต้นทุนสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นทุนค่าขนส่ง และไม่เหมาะสมในการใส่ให้กับพืชที่ปลูกแล้ว เพราะจะทำให้พืชมีอาการขาดไนโตรเจนชั่วคราว การส่งเสริมให้มีการหมักวัสดุอินทรีย์ในพื้นที่เกษตรกรเอง จนได้ปุ๋ยหมักที่สมบูรณ์แล้วผสมกับปุ๋ยเคมีใส่ให้กับพืชในอัตราที่เหมาะสม จะทำให้เกษตรกรมีต้นทุนค่าปุ๋ยลดลง มีความคุ้มค่าในทางเศรษฐกิจ


ขั้นตอนการดำเนินการโดยสังเขป ประกอบด้วย
1. พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยหมักแบบเติมอากาศให้ต้นทุนการผลิตต่ำ
2. การหาสูตรปุ๋ยอินทรีย์เคมีที่เหมาะสมกับดินและพืชแต่ละชนิดในพื้นที่
3. การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์เคมี ให้ได้ตามที่กำหนดใน พ.ร.บ. ปุ๋ย ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2550
4. การพัฒนาเครื่องจักรกลการเกษตรสำหรับการใส่ปุ๋ยอินทรีย์
5. การทดสอบการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เคมีในการผลิตพืชในพื้นที่ สวพ. เขตที่ 1-8 สังกัดกรมวิชาเกษตร เน้นการทดสอบเพื่อจะหาวิธีการใช้ที่ช่วยผลผลิตและรายได้สูงสุดให้เกษตรกร
6. การถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรกรนำไปใช้

ปุ๋ยเคมียังมีความสำคัญต่อการเพิ่มผลผลิตพืช ปุ๋ยอินทรีย์ก็มีความสำคัญต่อการปรับปรุงบำรุงดิน ดังนั้น การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ จึงน่าจะเป็นวิธีการบูรณาการปัจจัยการผลิตที่มีประสิทธิภาพมากวิธีหนึ่ง



ที่มา : สำนักวิจัยและพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
http://www.agri-develop.com/article-th-78842-การใช้ปุ๋ยอินทรีย์+ร่วมปุ๋ยเคมีในการผลิตพืช.html

http://www.agri-develop.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/01/2022 7:06 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 17/07/2011 6:24 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

124. วิธีการปลูกมันแบบคอนโด


แบบที่ 1
1. การเตรียมท่อนมันสำปะหลัง ต้องเลือกท่อนมันที่มีความสมบูรณ์มากที่สุด โดยดูจากอายุท่อนพันธุ์ที่จะนำมาขยาย ควรเลือกท่อนพันธุ์ที่มาจากต้นที่มีอายุ 8-15 เดือน แต่อายุท่อนพันธุ์ที่จะให้ผลดีที่สุดต้องมีอายุ 12 เดือน

2. เลือกท่อนมันที่มีตาถี่ มีความสมบูรณ์เท่าๆกัน ตัดให้ยาว 25-30 ซม.

3. ปาดตาออกจนถึงเยื่อเจริญ ท่อนละประมาณ 3-5 ตา แล้วนำท่อนมันสำปะหลังไปแช่สารเพิ่มผสมผลิตทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที เพื่อเป็นการเร่งราก เพราะสารเพิ่มผสมผลิตจะช่วยเร่งการเจริญเติบโต

4. ปลูกลงตรงๆ ระยะหว่าง 1 x 1 เมตร



แบบที่ 2
1. การเตรียมท่อนมันสำปะหลัง ต้องเลือกท่อนมันที่มีความสมบูรณ์มากที่สุด โดยดูจากอายุท่อนพันธุ์ที่จะนำมาขยาย ควรเลือกท่อนพันธุ์ที่มาจากต้นที่มีอายุ 8-15 เดือน แต่อายุท่อนพันธุ์ที่จะให้ผลดีที่สุดต้องมีอายุ 12 เดือน

2. เลือกท่อนมันที่มีตาถี่ มีความสมบูรณ์เท่าๆกัน ตัดให้ยาว 20 ซม.

3. นำท่อนมันสำปะหลังไปแช่สารเพิ่มผสมผลิตทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที เพื่อเป็นการเร่งราก เพราะสารเพิ่มผสมผลิตจะช่วยเร่งการเจริญเติบโต

4. ปลูก ระยะหว่าง 1 x 1 เมตร


ยินดีให้คำปรึกษา โทร 0824590346 อ.อนันต์ อัคราชดูลายระเอียด
http://www.siamadoxy.com/win-gold.html

http://market.taradkaset.com
/759/มันสำปะหลัง-80-ตันต่อไร่ลงทุนต่ำและวิธีปลูก.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/01/2022 11:36 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 17/07/2011 7:57 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

125. การปลูกไม้กฤษณา


การเลือกพื้นที่ปลูกสวนไม้กฤษณา หรือไม้หอม(agarwood) ควรเลือกพื้นที่ที่น้ำไม่ท่วมขัง ระบายน้ำได้ดี ไม่เป็นที่ลุ่ม หากเป็นที่ลาดเนินเขาจะดีที่สุด และมีลักษณะในการปลูกที่แตกต่างกันออกไป (ชมรมธุรกิจสวนไม้กฤษณา, 2549)

.1 ระยะที่เหมาะสมในการปลูกไม้กฤษณา
ดีพร้อม (2547) กล่าวว่าระยะที่เหมาะสมสำหรับต้นกฤษณาคือ 2&times;2 เมตร, 2&times;3 เมตรระยะ 2&times;2 เมตร ปลูกได้จำนวน 400 ต้นต่อไร่ ระยะ 2&times;3 เมตร ปลูกได้จำนวน 266 ต้นต่อไร การกำหนดระยะปลูกต้นกฤษณาค่อนข้างถี่ ด้วยเหตุผลต้นกฤษณาต้องการความชื้นสูง เป็นการลดการสูญเสียน้ำจากดินที่ระเหยสู่บรรยากาศ และการโค่นล้มของต้นกฤษณา


.2 การปลูกไม้กฤษณาเชิงเศรษฐกิจ
กฤษณาในป่าถูกนำมาใช้ประโยชน์โดยไม่ได้มีการปลูกสร้างกลับสู่สภาพธรรมชาติดั้งเดิม ผลผลิตกฤษณาที่ออกมาสู่ตลาดโลกจึงลดน้อยถอยลงเป็นลำดับ สวนทางกับความต้องการของตลาดที่มีมากขึ้น จากปัญหาการลักลอบตัดไม้กฤษณาในป่าธรรมชาติ จนทำให้ต้นกฤษณาใกล้จะสูญพันธุ์ จึงได้มีการปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์จากการตัดไม้ในป่าธรรมชาติเพื่อนำแก่นหรือชิ้นไม้กฤษณาไปขาย มาเป็นการปลูกไม้กฤษณาในพื้นที่เพื่อขายชิ้นไม้ หรือผลิตน้ำมันหอมระเหย ซึ่งประกอบกับในปัจจุบันสามารถใช้สารกระตุ้นให้ไม้กฤษณาปลูกสร้างสารกฤษณา(ชมรมธุรกิจสวนไม้กฤษณา, 2549) ทำให้การปลูกสร้างสวนป่าไม้กฤษณาเพื่อผลิตเป็นการค้าจึงมีความเป็นไปได้สูง

.3 การปลูกไม้กฤษณาร่วมกับพืชสวน
การปลูกไม้กฤษณาจะต้องมีการพัฒนา จากการเป็นพืชป่าแบบดั่งเดิมมาเป็นพืชปลูกเพื่อผลทางเศรษฐกิจอย่างแน่นอนในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปซึงเราสามารถพัฒนาการปลูกไม้กฤษณาให้มาอยูร่วมกับ พืชในสวนของเราแทนการเข้าไปตัดทำลายได้ ซึ่งการปลูกร่วมกับพืชสวนนั้นมีหลายแบบ เช่น การปลูกแซมสวนเก่า การปลูกแซมมะพร้าว การปลูกเป็นพืชแปลงเดี่ยว ปลูกกฤษณาสลับกับไม้ป่า(ดีพร้อม,2547)

3.1 ปลูกแซมสวนเก่า สวนพืชเศรษฐกิจที่มีสภาพร่มครึ้มมีความชุ่มชื้นคล้ายป่า เช่น สวนยางพารา สวนปาล์มน้ำมัน สวนไม้ผล และแม้แต่มะพร้าว หากต้นเดิมตายลงแทนที่จะปลูกพืชชนิดเดิมก็สามารถปลูกกฤษณาเข้าไปแทนที่ได้ ตามลักษณะต่างๆ อาจจะกล่าวได้ว่า ที่ใดก็ตามที่ปลูกยางพาราขึ้นได้ก็สามารถปลูกกฤษณาขึ้นได้ เมื่อกฤษณาอายุได้ 3 ปี ก็เริ่มทำแผลและน่าจะเริ่มเก็บเกี่ยวไม้หอมได้ ตั้งแต่ปีที่ 5-6

3.2 ปลูกแซมมะพร้าว เนื่องจากมะพร้าวให้รายได้ต่ำมีความพยายามอยู่มากในการเพิ่มรายได้ให้แก่ชาวสวนมะพร้าว เช่น เลี้ยงโค แพะ แกะ ในสวนมะพร้าว, ปลูกโกโก้ในสวนมะพร้าว และโกโก้ราคาไม่ดี ปลูกมะพร้าวจากผลราคาถูกเพื่อขายยอดมะพร้าวอ่อนที่อายุ 3-4 ปี แต่ก็ยังอยู่ในระยะเริ่มต้นของการปฏิบัติ พื้นที่ในสวนมะพร้าวลักษณะนี้สามารถที่จะปลูกต้นกฤษณาลงไปได้โดย ปลูกกระจายกันไปทั่วสวน สวนนี้ก็จะไม่ร้อนจัดเกินไปไม่ถูกลมโกรกมาก เมื่อเริ่มให้ผลผลิตคาดว่ากฤษณาก็ทำรายได้เพิ่มขึ้น ให้แก่สวนมะพร้าวได้เป็นอย่างดี

3.3 ปลูกเป็นแปลงพืชเดี่ยว ในพื้นที่แวดล้อมสภาพสวนไม้ผล สวนป่า หรือป่าไม้ ซึ่งจะให้ความชุ่มชื้นของอากาศได้ดี เราสามารถที่จะปลูกกฤษณาเข้าไปในสวนนี้ได้ นักลงทุนทำสวนป่าจัดสรรแบ่งพื้นที่ขายสามารถที่จะลดการปลูกกฤษณาเป็นพืชเดี่ยวๆ โดยมีการบำรุงดูแลที่ดีได้เพราะเป็นพืชที่มีราคาแพง สวนเกษตรกฤษณาอาจจะปลูกกฤษณาไร่ละ 400 ต้น(ดีพร้อม,2547) โดยเสียค่าใช้จ่ายกล้าพันธ์ในราคาใกล้เคียงกับสักทอง 400ต้น/ไร่ แต่จะลงทุนระบบน้ำหยดได้ถูกกว่าเพราะใช้หัวน้ำหยดเพียงแค่ 100 หัว จากที่สวนสักทองใช้ 400 หัว อย่างไรก็ตามอาจจะปลูกกฤษณาระยะชิด 2&times;2 เมตร หรือไร่ละ 400 ต้น โดยทำข้อตกลงพิเศษกับผู้ซื้อว่าให้ออกค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เฉพาะในส่วนของต้นกล้าที่นำมาปลูกแทนต้นสัก ปัจจุบันมีสวนเกษตรบางแห่งก็ได้เริ่มใช้วิธีนี้แล้ว และก็เป็นที่พอใจของผู้ซื้อ

3.4 ปลูกกฤษณาสลับกับไม้ป่า มีนักลงทุนบางคนต้องการที่จะลดความเสี่ยงจากการปลูกพืชอย่างเดียว อาจจะใช้วิธีปลูกกฤษณาสลับแถวเว้นแถวกับพืชที่มีความสนใจมาแต่เดิม ซึ่งอาจจะปลูกต้นกฤษณาระยะ 4&times;4 เมตร แล้วปลูกต้นสักแซมในระหว่างกลางของ 4 เมตร ได้อีก 300 ต้น/ไร่ หรืออาจจะใช้วิธีปลูกต้นพยุง ที่ระยะ 4&times;4 เมตร ไร่ละ 100 ต้น แล้วปลูกแซมด้วยกฤษณาในระหว่างกลางของ 4 เมตร นั้นได้อีกไร่ละ 300 ต้น อาจจะใช้วิธีปลูกแถวสลับแถวไปตลอดความยาว ซึ่งแถวที่เป็นสักทอง แถวที่ 2 เป็นประดู่ แถวที่ 3 เป็นต้นพยุง แถวที่ 4 เป็นต้นกฤษณา แล้วจัดแถวหมุนเวียนไปเช่นเดิม วิธีนี้ก็ยังสามารถจัดการกับต้นไม้ตามวิธีการที่เหมาะสมกับกับไม้ชนิดนั้นๆ ได้ดีด้วย

สำหรับการปลูกสวนป่าไม้กฤษณา อาจปลูกในลักษณะของสวนป่าเชิงเดี่ยว หรือปลูกแบบวนเกษตรแล้วแต่ความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ หรือปลูกไม้กฤษณาร่วมกับไม้ยืนต้นชนิดอื่น เช่น สวนยางพารา สวนไม้ผล สวนไม้ป่า เป็นต้น แต่ควรปลูกในพื้นที่เนินไม่มีน้ำท่วมขัง และดินมีการระบายน้ำดี ตลอดจนควรมีความชื้นพอสมควร

4 การดูแลหลังการปลูก
การกระจายของไม้กฤษณาซึ่งพบในป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้นของประเทศไทยเป็นป่าที่มีความชื้นสูง การปลูกต้นกฤษณาจากการเป็นพืชป่ามาเป็นพืชปลูกเพื่อผลทางเศรษฐกิจจำเป็นต้องมีการดูแลเอาใจใส่ ถึงแม้ต้นกฤษณาจะเป็นพืชที่ปลูกง่าย โตเร็ว แต่จะปล่อยปละละเลยเสียทีเดียวคงไม่ได้ เพราะเราต้องการผลผลิตเป็นปริมาณเนื้อไม้ แล้วใช้เนื้อไม้มาผลิตสารกฤษณา ยิ่งทำให้ต้นไม้โตมากก็มีเนื้อมาก หรือทำให้มวลของเนื้อไม้หรือนำหนักมากก็ยิ่งผลิตสารกฤษณาได้มาก ไม้กฤษณาในช่วง 1-2 ปีแรก ต้นกฤษณายังเล็กอยู่รากมีจำกัดทำให้หาอาหารได้ไม่มาก เกษตรกรและผู้สนใจปลูกควรให้ความสนใจและการดูแลหลังการปลูก ในระบบต่างๆเช่น การให้น้ำ การใส่ปุ๋ย การริดกิ่ง การป้องกันไฟ ศัตรูไม้กฤษณา การกำจัดวัชพืช( ภาณุเมศวร์( 2549); ชมรมธุรกิจสวนไม้กฤษณา(2549) และ ดีพร้อม(2547)

4.1 การให้น้ำ ในระยะ 3 เดือนแรก ควรรดน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอ วันเว้นวันพออายุโตขึ้น 3-6 เดือน ค่อยลดเวลาให้น้ำลงเป็น 3-5 วันต่อครั้ง จนอายุมากกว่า 1 ปีแล้ว อย่างน้อยควรรดน้ำอาทิตย์ละ 1 ครั้ง เว้นแต่ช่วงฝนตกไม่จำเป็นต้องให้น้ำเพราะปริมาณน้ำฝนมีเพียงพอกับความต้องการอยู่แล้ว

4.2 การใส่ปุ๋ย จะใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น มูลสัตว์ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยจากขยะฟาง หญ้า ใบไม้ เศษพืช หลักการที่ถูกต้องคือการแบ่งใส่ในตลอดหน้าฝน หรือระยะเวลาที่ยังมีการรดน้ำอยู่ ใส่ให้ครั้งละน้อยแต่บ่อยครั้งจะทำให้เกิดขบวนการย่อยสลายอย่างช้าๆ ถ้าใส่ปุ๋ยอินทรีย์ครั้งเดียวมากๆ และจุลินทรีย์ขึ้นอย่างเต็มที่จะไปยืมไนโตรเจนในดินไปใช้ชั่วคราว ทำให้พืชแสดงอาการขาดไนโตรเจน และถ้าใส่ปุ๋ยอินทรีย์ครั้งเดียวมากๆ อาจมีผลทางการหมักย่อมมีความร้อนเกิดขึ้น และเป็นอันตรายต่อราก

4.3 การริดกิ่ง การตัดแต่งกิ่งเป็นสิ่งคัญในการปลูกไม้กฤษณา ถ้าจุดประสงค์ต้องการลำต้นเปลาตรงมาผลิตน้ำมันกฤษณา การตัดแต่งกิ่งจะทำให้ไม้กฤษณาเจริญเติบโตเร็ว ควรตัดกิ่งแขนงหรือกิ่งด้านข้าง กิ่งที่ไม่ใช่ท่อน้ำเลี้ยงใหญ่ของลำต้นออก ควรทำตั้งแต่ช่วงไม้สูงประมาณ 1 เมตร ขึ้นไปถึง 3 ปี เพราะช่วงต้นเล็กมากจำเป็นต้องอาศัยใบในการสังเคราะห์แสง ลำต้นจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็วบางครั้งต้องปักเสาหลักใช้เชือกผูกโยงไม้กับเสา เพราะถ้าถูกลมพัดโยกคลอนแรงทำให้รากจับดินได้ช้า อาจโค่นล้มง่าย

4.4 การป้องกันไฟ ไฟป่าเป็นปัญหาที่ใหญ่ที่สุดสำหรับการปลูกสร้างสวนป่าเกษตรกรหลายรายประสบปัญหาการปลูกไม้กฤษณาในสวนป่า หากไม่สามารถป้องกันไฟไหม้สวนป่าได้ การปลูกป่าก็จะประสบความล้มเหลว เพราะต้นกฤษณาในระยะแรกที่ยังเล็กมีความต้านทานไฟต่ำมาก การป้องกันไฟจึงเป็นเรื่องที่ผู้ปลูกควรระมัดระวังการป้องกันไฟในสวนป่าสามารถทำได้โดยการทำแนวกันไฟให้กว้าง 6-10 เมตร เพื่อป้องกันไฟไหม้ต้นกฤษณาและป้องกันไฟที่จะลุกลามมาจากภายนอก คอยเก็บใบไม้กิ่งไม้เป็นเชื้อเพลิงออกจากแนวกันไฟ ในฤดูแล้งใช้รถแทรกเตอร์ล้อยางไถพรวน เพื่อกำจัดวัชพืชหรือใช้คนงานถางวัชพืชแล้วจุดไฟเผา(ดีพร้อม,2547)

4.5 ศัตรูไม้กฤษณา ศัตรูสำคัญของไม้กฤษณา คือตัวหนอนกินใบ เกิดจากผีเสื้อกลางคืนวางไข่บริเวณใบยอดของลำต้น จะสังเกตเห็นมีเส้นใยสีขาวอยู่บริเวณใต้ใบเมื่อหนอนออกจากไข่จะกัดกินผิวใบอ่อน ทำให้ต้นกฤษณาชะงักการเจริญเติบโตตัวหนอนฟักใหม่ๆ มีสีขาวหัวดำ ต่อมาตัวหนอนจะมีสีเขียว และโตจะมีสีน้ำตาลอ่อนเกษตรกรจำเป็นต้องหมั่นสังเกต ควรฉีดยากำจัดหนอน เช่น เซปวิน 85 หลังจากต้นกฤษณามีอายุมากขึ้นจะไม่ค่อยพบโรและแมลงศัตรูพืช นอกจากนี้ยังมีหนอนเจาะลำต้น ถ้าเป็นต้นขนาดเล็กอาจทำให้ต้นตายได้เสียรูปทรงที่ต้องการได้ แต่ถ้าหนอนเจาะลำต้นขนาดใหญ่กลับเป็นผลดี เพราะจะทำให้เกิดบาดแผลภายในต้นกฤษณา เมื่อทิ้งไว้นานๆ สามารถสะสมสารกฤษณาให้เกิดขึ้นได้ เช่นเดียวกับความพยายามที่จะสร้างรอยแผลให้กับต้นกฤษณาด้วยวิธีต่างๆ เพื่อให้เกิดสารกฤษณาขึ้น

4.6 การกำจัดวัชพืช ในการเตรียมดินปลูกครั้งแรก ถึงแม้จะเตรียมดินได้ดีอย่างไรแต่เมล็ดวัชพืชก็ยังเหลือในดินอยู่อีกเป็นจำนวนมาก หรืออาจจะเมล็ดวัชพืชบางอย่างถูกลมพัดปลิวมางอกในพื้นที่หลังจากปลูกต้นกฤษณาแล้วในแต่ปีจำเป็นต้องถางวัชพืชในสวนป่าอย่างน้อยปีละ 2-3 ครั้ง จะต้องทำบ่อยหรือไม่ขึ้นอยู่การเตรียมพื้นที่ สภาพพื้นที่ยิ่งพื้นที่มีดินอุดมสมบูรณ์ชุ่มชื้นดี วัชพืชก็มักจะขึ้นเร็ว การแผ้วถางก็จะต้องทำบ่อยครั้ง เพื่อให้กล้าไม้ตั้งตัวได้และเจริญเติบโตเร็วในระยะแรก ในแปลงปลูกโดยทั่วๆ ไปจะกำจัดวัชพืชใน 3 ปีแรกเท่านั้น เพราะไม้กฤษณาเป็นไม้โตเร็ว สามารถเจริญเติบโตคลุมวัชพืชได้ในระยะเวลาอันสั้น ถ้าหากสามารถควบคุมวัชพืชได้จนไม้กฤษณาสูง 2-3 เมตร การที่จะถางหรือกำจัดวัชพืชในปีต่อไปก็ไม่ค่อยมีความจำเป็นมากนัก อันตรายที่พบอีกอย่างหนึ่งคือแถววัลย์ที่ขึ้นพันรอบต้นอ่อน และต้นไม้ใหญ่ ทำให้ต้นโอนเอนและคอดกิ่วหรือคดงอ บางต้นอาจเสียรูปทรงจึงควรหมั่นตรวจสอบและแกะออก

ไม้กฤษณาเป็นไม้ที่ปลูกง่ายโตเร็วไม่ต้องดูแลเอาใจใส่เหมือนผลไม้ หลังจากปลูกแล้วให้ สังเกตที่ใบของต้นถ้าต้นไม้มีการแตกใบอ่อนขึ้นมาใหม่ หลังจากปลูกลงดินประมาณ 2-4 อาทิตย์ แสดงว่ารากของ ต้นไม้เริ่มแทงลงดินแล้ว หลังจากนั้นทุก 2 เดือน ควรหมั่นแต่งกิ่ง เพราะไม้กฤษณาจะแตก พุ่มหลายกิ่งจะ ต้องแต่ง กิ่งให้เหลือกิ่งหลักเพียง กิ่งเดียวจะทำให้ไม้โตเร็วและทำการดูแลรักษาได้ง่าย ทำงานสะดวก ต่อไปในอนาคต โดยทั่วไปจะทำการแต่งกิ่งไม้กฤษณาประมาณ 3 ปีหลังจากนั้นจึงปล่อยตามธรรมชาติ ข้อควรระวังอย่าให้หญ้าขึ้นรกบริเวณโคนต้น จะทำให้ไม้กฤษณาเจริญเติบโตได้ช้ากว่า ปกติ และควรดูแลการเข้าทำลายใบของตัวหนอนกินใบ ที่เกิดจากผีเสื้อกลางคืนมาวางไข่บริเวณใบยอดของลำต้น จะสังเกตเห็นได้จากการมีเส้นใยสีขาวอยู่บริเวณใต้ใบ



http://www.porjai.net


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 25/08/2016 5:04 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 17/07/2011 8:43 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

126. การผลิตมันสำปะหลังในประเทศสาธารณรัฐอินเดีย



ในรัฐสำคัญที่ผลิตมันสำปะหลัง เช่น เกรละ (Kerala ) ทมิฬนาฑู (Tamil Nadu) และอานธรประเทศ (Audhra Pradesh) มีระบบการผลิตมันสำปะหลังที่แตกต่างกันทั้งในพื้นที่มีระบบชลประทาน และพื้นที่ดอนที่อาศัยน้ำฝน มีการปลูกแบบเป็นพืชเชิงเดี่ยว (mono crop) และปลูกพืชแซม (inter crop) ในสวนมะพร้าว กล้วย มะม่วง และมะม่วงหิมพานต์ และในระหว่างแถวของมันสำปะหลังมีการปลูกแตงกวา ถั่วพุ่ม และถั่วลิสง เป็นพืชแซม


การผลิตมันสำปะหลังในรัฐเกรละ (Kerala)
ในรัฐเกรละ (Kerala) มันสำปะหลังเป็นพืชประกันความมั่นคงทางอาหารมายาวนานตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกมากกว่า 683,000 ไร่ หรือประมาณร้อยละ 45 ของประเทศ สามารถผลิตได้ 3.8 ล้านตัน (พ.ศ. 2545/2546) เมือง Thiruvananthapuram และ Kollam เป็นแหล่งปลูกมันสำปะหลังที่สำคัญของรัฐ เดิมมันสำปะหลังในเขตนี้จะปลูกเฉพาะบริเวณพื้นที่ดอน (Up land) จนกระทั่งในช่วงปี 2513 จึงมีการปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่ลุ่มแทนการปลูกข้าว และมีระบบการปลูกมันสำปะหลังที่หลากหลาย เช่น การปลูกเป็นพืชเชิงเดี่ยว การปลูกแซมในสวนมะพร้าว ทั้งที่อยู่ในบริเวณพื้นที่ลุ่ม และพื้นที่ดอน การปลูกแซมในสวนกล้วย การปลูกแซมในสวนยางในขณะที่ต้นยางมีขนาดเล็ก

ในรัฐเกรละ (Kerala) มีการปลูกมันสำปะหลังพันธุ์พื้นเมืองมากกว่า 15 พันธุ์ เช่นพันธุ์ Noorumuttan พันธุ์ Singapore Vella พันธุ์ Singapore Azhiyan พันธุ์ Diwan พันธุ์ Aaru massa kappa พันธุ์ Pathineettu พันธุ์ Ullichuvala เป็นต้น ส่วนในบริเวณพื้นที่ลุ่ม เกษตรกรนิยมปลูกมันสำปะหลังพันธุ์ที่มีอายุเก็บเกี่ยวสั้น (ประมาณ 8-10 เดือน) ตรงข้ามกับการปลูกบริเวณพื้นที่ดอน เกษตรกรนิยมพันธุ์มันสำปะหลังที่มีอายุเก็บเกี่ยวที่ยาวนานกว่า

การเตรียมดินปลูกมันสำปะหลังในสภาพมีการยกแปลงกว้างประมาณ 4.50-7.80 เมตร ขึ้นอยู่กับชนิดดิน เพื่อสะดวกในการให้น้ำ เป็นที่น่าสังเกตว่าในสภาพพื้นที่ลุ่มเกษตรกรมีการปลูกพืชหลายชนิดหมุนเวียนในพื้นที่เดียวกัน เช่น ข้าว กล้วย พืชผัก และมันสำปะหลัง ร่องน้ำที่เตรียมไว้ให้น้ำมันสำปะหลังจะถูกใช้ไม่น้อยกว่า 9-10 ปี โดยจะมีการทำความสะอาดและขุดลอกตามความจำเป็นทุกปี ปกติเกษตรกรจะใส่ปุ๋ยคอกในช่วงเตรียมดินก่อนปลูก เกษตรกรในรัฐเกรละ (Kerala) ไม่นิยมเพราะต้นกล้ามันสำปะหลังก่อนย้ายลงปลูกในแปลง แต่เกษตรกรในรัฐอานธรประเทศ (Andhra Pradesh) นิยมเพราะกล้าก่อนย้ายปลูก เนื่องจากขาดแคลนน้ำ

ในรัฐเกรละ (Kerala) บริเวณสภาพพื้นที่ดอนเกษตรกรนิยมปลูก และเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง 2-3 ฤดูปลูกก่อนจะปลูกยางพารา ส่วนในแปลงปลูกยางพาราเกษตรกรนิยมปลูกมันสำปะหลังแซมในช่วง 2-3 ปีแรกก่อนที่พุ่มใบของยางพาราจะหนาแน่นจนไม่สามารถปลูกมันสำปะหลังได้อีกต่อไป ในสภาพพื้นที่ลุ่มฤดูปลูกจะเริ่มประมาณเดือนมีนาคม/เมษายน หรือ กันยายน/ตุลาคม ส่วนในสภาพพื้นที่ดอนเกษตรกรนิยมปลูกมันสำปะหลังช่วงฤดูที่มีมรสุม หรือ ประมาณเดือนมีนาคม-เมษายน และ กันยายน-ตุลาคม การเตรียมท่อนพันธุ์นิยมใช้ความยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร โดยให้ตากิ่งชี้ขึ้นด้านบน ทางการแนะนำอัตราปลูกจำนวน 1,600 ต้นต่อไร่ การให้ปุ๋ย ปกติเกษตรกรทั้งในสภาพพื้นที่ลุ่มและพื้นที่ดอน มักใส่ปุ๋ยคอกร่วมกับการเตรียมดิน มีเกษตรกรบางรายใส่ปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีช่วงการปลูก ในสภาพที่ลุ่มเกษตรนิยมใช้ปุ๋ยเคมี อัตรา 7.2 : 6.4 : 10.4 กิโลกรัมต่อไร่ ของ N,P2O5,K2O (อัตราที่ทางการแนะนำ 16:8:16 กิโลกรัมต่อไร่ ของ N,P2O5,K2O) อย่างไรก็ตามมีเกษตรกรบางรายใส่ปุ๋ยเคมีหลังปลูกนาน 6-7 เดือน กำจัดวัชพืชครั้งแรกประมาณ 30-45 วันหลังปลูก และครั้งที่สองหลังปลูกประมาณ 5-6 เดือน ด้วยแรงงาน

การอารักขาพืช โรคสำคัญของมันสำปะหลัง ได้แก่ Cassava Mosaic Disease (CMD) เกษตรกรไม่มีมาตรการควบคุมโรค มีแมลงหวี่ขาว (Whitefly-Bemisia tabaci) เป็นพาหนะสำคัญของโรคนี้ การระบาดของโรค (disease incidence) ปรากฏทั่วไปในทุกๆ แปลง และพบว่ารุนแรงมากขึ้นในแปลงปลูกทางตอนไต้ของเมือง Thiruvananthapuram และ Kollam โรคนี้ทำให้ผลผลิตลดลงร้อยละ 17-42 ส่วนแมลงศัตรูมันสำปะหลังที่สำคัญ ได้แก่ แมลงหวี่ขาว และเพลี้ยหอย (scale) แต่ไม่ค่อยรุนแรงนักเมื่อเปรียบเทียบกับหนูที่กัดกินหัวมันสำปะหลังทั้งที่ปลูกในสภาพพื้นที่ลุ่ม และพื้นที่ดอน

การให้น้ำมันสำปะหลังในสภาพพื้นที่ลุ่ม จะมีการให้น้ำตั้งแต่เริ่มปลูก และให้น้ำอีกจำนวน 4-5 ครั้ง ตามความจำเป็นตลอดอายุพืช ในสภาพพื้นที่ดอนบางแหล่งเกษตรกรจะนำน้ำไปลดกล้ามันสำปะหลังในช่วงแรกของการปลูก ประมาณเดือนมีนาคม-เมษายน เพื่อช่วยลดการเติบโตของพืชในระยะแรก

การเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังมีสองวิธี ได้แก่ เก็บเกี่ยวโดยแรงงานในครอบครัวไปทีละน้อย พร้อมขนส่งไปขายในตลาดใกล้เคียง วิธีการนี้ต้องใช้เวลา 10-15 วัน ในการเก็บเกี่ยวหัวมันสำปะหลังจากไร่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของแปลงปลูก ส่วนการเก็บเกี่ยวแบบที่สอง ได้แก่ การเก็บเกี่ยวที่อาศัยพ่อค้าคนกลาง โดยพ่อค้าคนกลางจะประเมินราคาหัวมันสำปะหลังตามคุณภาพด้วยการสุ่มหัวมันสำปะหลังในแปลงมาตรวจสอบก่อนเสนอราคาที่จะซื้อ เมื่อเกษตรกรพอใจในราคาที่ตกลงกัน พ่อค้าจึงจะเก็บเกี่ยว โดยค่าใช้จ่ายในการขุด ขนย้าย และขนส่ง พ่อค้าเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด

การเก็บรักษาท่อนพันธุ์ ส่วนมากจะคัดเลือกจากต้นมันสำปะหลังที่แข็งแรงนำมากองรวมกันในแนวตั้งแล้วคลุมไว้ด้วยใบมะพร้าว ส่วนมากจะเก็บท่อนพันธุ์ไว้ไม่เกินสองเดือนเพื่อลดความสูญเสียจากต้นแห้ง และการทำลายของแมลง ในช่วงการเตรียมท่อนพันธุ์ เกษตรกรจะตัดส่วนโคน และส่วนปลายของลำต้นออกประมาณด้านละ 30 เซนติเมตร

ต้นทุนการผลิตมันสำปะหลังในรัฐเกรละ (Kerala) จากการศึกษาในปี 2543-2544 พบว่าต้นทุนการผลิตรวม (gross cost) ต่อไร่ในสภาพพื้นที่ลุ่มเท่ากับ 7,937.70 บาท (1.00 Rs = 0.89 บาท) ส่วนในสภาพพื้นที่ดอนเท่ากับ 5,101.20 บาท สาเหตุที่ต้นทุนการผลิตรวมของการผลิตมันสำปะหลังในสภาพพื้นที่ลุ่มสูงกว่าในสภาพพื้นที่ดอน เนื่องจากค่าเช่าที่ดินมีราคาแพง และต้องใช้แรงงานจำนวนมากในการให้น้ำ และกำจัดวัชพืช นอกจากนั้น ยังพบว่าเกษตรกรในสภาพพื้นที่ลุ่มยังใช้ปุ๋ยคอก และปุ๋ยเคมีมากกว่า สำหรับผลผลิตหัวสดเฉลี่ยในสภาพการผลิตในพื้นที่ลุ่มเท่ากับ 4,940 กิโลกรัมต่อไร่ และในสภาพการผลิตในพื้นที่ดอนเท่ากับ 3,820 กิโลกรัมต่อไร่ รายได้รวม (gross income) ต่อไร่พบว่าในสภาพพื้นที่ลุ่มเท่ากับ 13,270.11 บาทต่อไร่ และพบว่ารายได้สุทธิของการผลิตมันสำปะหลังในสภาพพื้นที่ลุ่มน้อยกว่าในพื้นที่ดอน แต่ค่า Farm Business Income (FBI) ในสภาพพื้นที่ลุ่ม ( 9,472.78 บาทต่อไร่) สูงกว่าในพื้นที่ดอน (7,229.81) แสดงว่าการผลิตหัวมันสำปะหลังในสภาพพื้นที่ลุ่มได้รายได้สูงกว่า การผลิตมันสำปะหลังในสภาพพื้นที่ลุ่ม และในสภาพพื้นที่ดอนทำให้มีการจ้างแรงงานรวม 214 แรง (labour days) และ 136 แรง ตามลำดับ





การผลิตมันสำปะหลังในรัฐทมิฬนาฑู (Tamil Nadu)

รัฐทมิฬนาฑู (Tamil Nadu) มีพื้นที่ปลูก และได้ผลผลิตมากเป็นอันดับสองของประเทศ และมีผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่สูงที่สุดในโลก (3,617 กิโลกรัมต่อไร่) รัฐนี้ผลิตมันสำปะหลังทั้งในสภาพที่มีการให้น้ำชลประทาน และในสภาพน้ำฝน เมืองสำคัญที่ผลิตหัวมันสำปะหลังโดยให้น้ำชลประทาน (ประมาณร้อยละ 60 ของการผลิตของรัฐ) ได้แก่ Salem, Erode, Dharmapuri และ Namakkal ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 40 ผลิตโดยอาศัยน้ำฝน เมืองสำคัญที่ผลิตมันสำปะหลังโดยอาศัยน้ำฝน ได้แก่ Kanyakumari การปลูกมันสำปะหลังในรัฐนี้มีทั้งการปลูกแบบพืชเชิงเดี่ยว และการปลูกแบบพืชแซมร่วมกับ Back gram, Bengal gram, มะเขือเทศ และหัวหอมใหญ่ (onion) ในสภาพการให้น้ำชลประทาน มีการปลูกมันสำปะหลังหมุนเวียนกับการปลูกข้าว และ Turmeric

มันสำปะหลังสองพันธุ์ที่เกษตรกรนิยมปลูก (มากกว่าร้อยละ 70) ได้แก่ พันธุ์ H-266 และพันธุ์ H-165 ซึ่งได้รับการปรับปรุงพันธุ์จากสถาบันวิจัยพืชหัวกลาง (Central Tuber Crops Research Institute – CTCRI, Indian Council of Agricultural Research) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519 ส่วนมันสำปะหลังพันธุ์อื่นที่ปลูกทั่วไป ได้แก่ พันธุ์ Mulluvadi, พันธุ์ Kumkum Rose, พันธุ์ Burma และ พันธุ์ CO-2 เป็นต้น ผลผลิตมันสำปะหลังร้อยละ 90 ใช้เป็นวัตถุดิบของโรงงานอุตสาหกรรม ขนาดแปลงของเกษตรกรส่วนมากเป็นเกษตรกรขนาดเล็ก และเกษตรกรขนาดกลาง ยกเว้นเกษตรกรในเขตเมืองอุตสาหกรรม Salem เป็นเกษตรกรขนาดใหญ่

ดินที่ใช้ปลูกมันสำปะหลังส่วนมากมีสีแดง และสีดำ เกษตรกรเตรียมดินโดยใช้แรงงานสัตว์ และรถแทร็กเตอร์ โดยการไถเฉลี่ย 5-6 ครั้ง ก่อนปลูก 15-20 วัน กำจัดวัชพืชโดยแรงงาน และหว่านปุ๋ยคอกพร้อมการไถดินครั้งสุดท้าย พร้อมยกร่องหรือทำแปลงปลูก (beds) และทำร่องระบายน้ำก่อนปลูก เกษตรกรในเมือง Salem, Erode และ Namakkal นิยมเพราะกล้ามันสำปะหลังก่อนนำลงปลูกด้วยระบบการให้น้ำชลประทาน อย่างไรก็ตามมีเกษตรบางรายปลูกมันสำปะหลังด้วยท่อนพันธุ์โดยตรง เกษตรกรบางรายชุบท่อนพันธุ์ด้วยสารเคมี เพื่อป้องกันการทำลายของเพลี้ยหอย (Scale) และเพลี้ยแป้ง (Mealy bugs) ในช่วงเพาะกล้า ท่อนพันธุ์จะถูกวางเบียดชิดกันในแปลงเพาะกล้าแล้วคลุมด้วยใบปาล์มพร้อมการให้น้ำแบบฝอย ประมาณ 4-5 วันต่อครั้ง หรือตามความจำเป็น จนกระทั่งท่อนพันธุ์แตกยอดแรก ประมาณ 15-20 วันจึงพร้อมที่จะนำลงปลูก แปลงเพาะกล้าขนาด 10-13.5 ตารางเมตร เพียงพอที่จะผลิตกล้าเพื่อใช้ปลูกในพื้นที่ขนาด 1 เฮกตาร์ (6.25 ไร่) ด้วยระยะปลูกที่ 75x75 หรือ 90x90 เซนติเมตร โดยการปักตรงที่ความลึกประมาณ 7-8 เซนติเมตร

ในสภาพที่ให้น้ำชลประทาน ฤดูปลูกเริ่มเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์ ส่วนการปลูกในสภาพอาศัยน้ำฝน เริ่มในเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว เกษตรกรจะใส่ปุ๋ยคอกที่เก็บรวบรวมได้จากแปลง (Farm Yard Manure-FYM) จำนวนประมาณ 12.5-25 ตันต่อเฮกตาร์ (2-4 ตันต่อไร่) ไม่มีการใส่ปุ๋ยมันสำปะหลังหากปลูกมันสำปะหลัง หลังการปลูกข้าวทั้งการปลูกแบบให้น้ำชลประทาน และอาศัยน้ำฝน นอกจากการใส่ปุ๋ยคอกแล้วเกษตรกรยังใส่ปุ๋ยเคมีโดยแบ่งใส่ 2-3 ครั้ง ครั้งแรกใส่หลังกำจัดวัชพืช หรือประมาณ 2-3 เดือน หลังย้ายกล้าลงแปลง และใส่ปุ๋ยอีกทุกๆ 15-20 วัน ปุ๋ยอัตรา 10.4 : 16 : 27.2 กิโลกรัมต่อไร่ ของN, P2O5, K2O ใช้กับการผลิตมันสำปะหลังแบบให้น้ำชลประทาน ส่วนปุ๋ยอัตรา 4 : 4 : 24 กิโลกรัมต่อไร่ ของ N, P2O5, K2O ใช้กับการผลิตมันสำปะหลังแบบอาศัยน้ำฝน ส่วนการกำจัดวัชพืช ตลอดอายุพืชสำหรับผลิตมันสำปะหลังแบบให้น้ำชลประทานกำจัดวัชพืชเฉลี่ยจำนวน 7-8 ครั้ง และกำจัดวัชพืชจำนวน 4-5 ครั้ง สำหรับการผลิตมันสำปะหลังแบบอาศัยน้ำฝน มีเกษตรกรจำนวนน้อยใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช เนื่องจากสารเคมีดังกล่าวมีราคาแพง และเกษตรกรไม่มีความรู้เกี่ยวกับชนิด และช่วงเวลาที่เหมาะสมในการใช้สารเคมี ประกอบกับค่าจ้างแรงงานมีราคาค่อนข้างต่ำ (โดยเฉพาะแรงงานเพศหญิง) การกำจัดวัชพืชส่วนมากจึงใช้แรงงานคน พร้อมพูนโคนต้นมันสำปะหลัง ปกติเกษตรกรจะกำจัดวัชพืชทุก 15, 30, 50, 70, 115, 145 และ 175 วันหลังปลูก

การให้น้ำมันสำปะหลังเฉลี่ย จำนวน 15-16 ครั้ง ขึ้นอยู่กับความชื้นในดิน การให้น้ำครั้งแรกให้หลังจากย้ายกล้าลงแปลง และให้น้ำอีกครั้งหลังจากครั้งแรกหนึ่งสัปดาห์ต่อจากนั้นก็จะให้น้ำอีกทุกๆ 10 วัน ในช่วงเวลา 5 เดือน หลังปลูก น้ำที่ใช้ในระบบชลประทานดังกล่าวส่วนมากได้มากจากน้ำใต้ดิน (ground water) ส่วนโรคและแมลงมันสำปะหลังในรัฐทมิฬนาฑู (Tamil Nadu) ที่สำคัญ ได้แก่ โรค CMD และโรครากเน่า จากเชื้อ Phytopthora drechsleri โรครากเน่าทำให้ผลผลิตมันสำปะหลังลดลงร้อยละ 40 ซึ่งเกษตรกรส่วนมากไม่มีมาตรการในการควบคุมโรค แต่มีเกษตรกรบางรายใช้สารเคมี Bavistin ในการควบคุมโรค ส่วนแมลงเมื่อไม่มีนานมานี้พบการระบาดของแมลงหวี่ขาวมากขึ้น

ก่อนการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังอายุ 8 เดือน เกษตรกรจะให้น้ำแปลงปลูกเพื่อความสะดวกในการถอนหัวมันสำปะหลังโดยอาศัยแรงงานเก็บเกี่ยว สำหรับการผลิตมันสำปะหลังแบบให้น้ำชลประทานจะได้ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 3,200-4,000 กิโลกรัมต่อไร่ ขึ้นอยู่กับพันธุ์ที่ใช้ปลูก ส่วนการเก็บรักษาต้นสำหรับใช้เป็นท่อนพันธุ์ต้นที่แข็งแรงจะถูกเก็บรวบรวมมาตั้งตรงไว้ใต้ร่มเงาแล้วคลุมด้วยใบปาล์ม นานประมาณ 3 เดือน โดยไม่มีการชุบสารเคมี การเก็บรักษาแบบนี้สูญเสียประมาณร้อยละ 10

ต้นทุนการผลิตมันสำปะหลังในรัฐทมิฬนาฑู (Tamil Nadu) จากการศึกษาในปี 2543-2544 พบว่าต้นทุนการผลิตต่อไร่ในสภาพให้น้ำชลประทานเท่ากับ 7,210.97 บาท ส่วนในสภาพอาศัยน้ำฝนเท่ากับ 4,581.59 บาท ค่าจ้างแรงงานของการผลิตในสภาพให้น้ำชลประทานสูงกว่าในสภาพอาศัยน้ำฝน เนื่องจากการให้น้ำทำให้มีวัชพืชมาก และค่าเช่าที่ดินมีราคาสูงกว่า สำหรับผลผลิตหัวมันสดเฉลี่ยในสภาพการผลิตแบบให้น้ำชลประทานเท่ากับ 4,228 กิโลกรัมต่อไร่ และค่าเฉลี่ยราคาขายเท่ากับ 1.98 บาทต่อกิโลกรัม ทำให้ได้รายได้รวม (gross income) เท่ากับ 8,371.44 บาทต่อไร่ เป็นที่น่าสังเกตว่าผลผลิตมันสำปะหลังของรัฐนี้จากการสำรวจของ CTCRI พบว่ามีผลผลิตเฉลี่ยเท่ากับ 4,160 กิโลกรัมต่อไร่เท่านั้น แต่ Agriculture Center of Monitoring Indian Economy ระบุว่าในปี พ.ศ. 2548 มีผลผลิตเฉลี่ยเท่ากับ 6,017 กิโลกรัมต่อไร่ ถึงแม้ว่ารายได้สุทธิจากการผลิตมันสำปะหลังแบบให้น้ำชลประทาน (1,160.47 บาทต่อไร่) จะต่ำกว่าการผลิตมันสำปะหลังแบบอาศัยน้ำฝน (2,069.04 บาทต่อไร่) แต่ค่า FBI ของการผลิตมันสำปะหลังแบบให้น้ำชลประทาน (3,589.75 บาทต่อไร่) สูงกว่าผลิตมันสำปะหลังแบบอาศัยน้ำฝน (3,189.05 บาทต่อไร่)

แสดงว่าการผลิตมันสำปะหลังแบบให้น้ำชลประทานได้รายได้สูงกว่า เกษตรกรที่ผลิตมันสำปะหลังแบบให้น้ำชลประทานต้องลงทุนสูงกว่าการผลิตมันสำปะหลังแบบอาศัยน้ำฝน ส่วนการจ้างแรงงานในการผลิตมันสำปะหลังแบบให้น้ำชลประทาน และแบบอาศัยน้ำฝนเท่ากับ 332 แรง (labour days) และ 221 แรง ตามลำดับ




การผลิตมันสำปะหลังในรัฐอานธรประเทศ (Andhra Pradesh)
รัฐอานธรประเทศ (Andhra Pradesh) ส่วนมากปลูกมันสำปะหลังโดยอาศัยน้ำฝน และมีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังจำนวน 110,000 ไร่หรือประมาณร้อยละ 8.4 ของประเทศ และได้ผลผลิต 353,000 ตัน เขตเมือง East Godavari เป็นแหล่งปลูกมันสำปะหลังสำคัญของรัฐ (ร้อยละ 90) รองลงมา ได้แก่ Srikakulam, Vijayanagaram และ Visakhapatnam เกษตรกรปลูกมันสำปะหลังทั้งแบบเป็นพืชเชิงเดี่ยว และแบบพืชแซม มีการให้น้ำเฉพาะที่เมือง Kirlampudi โดยปลูกมันสำปะหลังร่วมกับมะม่วง มะม่วงหิมพานต์ และมะพร้าว และบางแหล่งระหว่างแถวมันสำปะหลังมีการปลูกแตงกวา

เนื่องจากมีปริมาณน้ำฝนน้อย (ประมาณ 1,053 มิลลิเมตรต่อปี) เกษตรกรจึงเพาะกล้ามันสำปะหลังก่อนนำลงปลูกในแปลง แปลงเพาะกล้าจะอยู่ใกล้ๆ กับแปลงปลูก พร้อมปลูกในเดือนมิถุนายน กล้ายาวประมาณ 15 เซนติเมตร ไม่มีการชุบท่อนพันธุ์ด้วยสารเคมีก่อนนำไปเพาะ แปลงเพาะกล้าขนาด 3x6 เมตร จะได้กล้ามันสำปะหลังเพียงพอสำหรับที่จะนำไปปลูกในแปลงขนาด 6.25 ไร่ ในการเพาะกล้าเกษตรกรจะให้ความสำคัญในการควบคุมความชื้นในแปลงเพาะกล้า และคลุมแปลงด้วยใบปาล์มป้องกันแสงแดด ไม่มีการให้ปุ๋ยกับแปลงเพาะกล้า กล้าจะถูกนำลงปลูกในแปลงประมาณ 8-10 วัน หลังเพาะเกษตรกรมีการเลี้ยงกล้าไว้บางส่วนเพื่อใช้ในการปลูกซ่อม

การเตรียมแปลงปลูกมันสำปะหลังส่วนมากเตรียมด้วยรถแทร็กเตอร์ หรือแรงงานสัตว์ โดยการไถ 2-4 ครั้ง พร้อมใส่ปุ๋ยคอก (FYM) จำนวน 4-25 กระบะ (cart loads) ต่อ 6.25 ไร่ การปลูกมันสำปะหลังส่วนมากจะแล้วเสร็จในเดือนมิถุนายน มันสำปะหลังพันธุ์ลูกผสมที่นิยมปลูก ได้แก่ พันธุ์ H-15 และ H-226 ส่วนพันธุ์พื้นเมือง ได้แก่ พันธุ์ Peddapuram และพันธุ์ Bombay เกษตรกรส่วนมากมีความเห็นว่าการใช้พันธุ์เดิมๆ ต่อเนื่องกันนาน ทำให้ผลผลิตลดต่ำลง ลักษณะพันธุ์มันสำปะหลังที่เกษตรกรต้องการ ได้แก่ พันธุ์ที่มีอายุเก็บเกี่ยวสั้น แป้ง และผลผลิตสูง

การย้ายกล้ามันสำปะหลังลงปลูกในแปลงจะดำเนินการเมื่อต้นกล้าแตกรากอ่อน หรือประมาณ 8-10 วัน ดังที่กล่าวมาแล้ว ระยะปลูกในแปลงประมาณ 1.10x1.10 เมตร และปลูกลึกประมาณ 5 เซนติเมตร ระยะปลูกดังกล่าวเหมาะที่จะใช้แรงงานสัตว์ลากเครื่องพรวนดินแบบพื้นเมือง (Gorru) กำจัดวัชพืช และพูนโคนมันสำปะหลัง การย้ายกล้าจะทำหลังฝนตก ถ้าฝนมาช้าเกษตรกรจะนำน้ำมาลดกล้ามันสำปะหลังที่เพิ่งย้ายปลูก การตัดรากออกบ้างเล็กน้อยก่อนย้ายปลูก จะช่วยการพัฒนาของพืชถึงแม้ว่าฝนจะตกช้าไปสัก 2-3 วัน ก็ตาม ในพื้นที่ 6.25 ไร่ จะต้องใช้แรงงานจำนวน 10-15 แรง ปลูกกล้ามันสำปะหลังจำนวนประมาณ 8,300 ต้น (1,328 ต้นต่อไร่)

การใช้ปุ๋ยในไร่มันสำปะหลังของเกษตรกรในรัฐอานธรประเทศ (Andhra Pradesh) ไม่ค่อยจะสม่ำเสมอนัก มีการใช้ปุ๋ยเคมี (โดยเฉพาะ nitrogenous fertilizer) จำนวน 4-5 ครั้ง ตลอดอายุพืช โดยแบ่งใส่ประมาณ 20, 45, 60, 90 และ 120 วัน หลังปลูกเกษตรกรให้ความเห็นว่า ปุ๋ยไนโตรเจนช่วยเสริมการเจริญเติบโตให้พืชหากใส่หลังฝนตก ปุ๋ยอัตรา 2.7 : 2.7 : 2.7 และ 4.5 : 4.5 : 0 กิโลกรัมต่อไร่ ของ N, P2O5, K2O เป็นอัตราปุ๋ยที่เกษตรกรนิยมใช้ ส่วนทางราชการแนะนำให้ใส่ปุ๋ย 9.6 : 9.6 : 9.6 กิโลกรัมต่อไร่ ของ N, P2O5, K2O เกษตรกรบางรายใส่ปุ๋ย อัตรา 16 : 9.1 : 7.5 กิโลกรัมต่อไร่ ของ N, P2O5, K2O มีการใส่ Phosphoric fertilizer พร้อมกับการเตรียมดินครั้งสุดท้าย แต่ทางราชการมิได้แนะนำวิธีการใส่ปุ๋ย โดยปกติเกษตรกรจะใส่ข้างต้นมันสำปะหลังตามแถวปลูก การกำจัดวัชพืช ขึ้นอยู่กับสภาพที่มีวัชพืชขึ้นในไร่ ปกติจะกำจัดวัชพืชระหว่างแถวปลูกประมาณ 20, 45, 60 วัน หลังปลูกโดยใช้ Gorru หลังฝนตก โรคและแมลงที่รบกวนมันสำปะหลังในรัฐอานธรประเทศ (Andhra Pradesh) ที่สำคัญ ได้แก่ ไรแดง (Red spider mites) และ CMD แต่การระบาดของ CMD ในรัฐนี้ไม่ค่อยจะรุนแรงนัก เกษตรกรไม่มีการป้องกัน และกำจัดทั้งโรค และแมลงหากการรบกวนไม่รุนแรง ในกรณีที่มีไร (mite) รบกวนมากมีการใช้สารเคมี Roger ในการกำจัด ส่วนเพลี้ยหอย (Scale) พบระบาดมากในกองต้นพันธุ์ แต่ไม่มีการป้องกัน และกำจัดแต่อย่างใด เนื่องจากเกษตรกรมีต้นพันธุ์จำนวนมากสามารถคัดเลือกต้นที่แข็งแรงปราศจากโรคแมลงมาใช้ได้

การเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังในรัฐอานธรประเทศ (Andhra Pradesh) ส่วนมากเก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 7-8 เดือน ขึ้นอยู่กับพันธุ์มันสำปะหลังที่ใช้ปลูก ทั้งนี้ เนื่องจากโรงงานแปรรูปมันสำปะหลังจะหยุดซื้อหัวมันสำปะหลังในเดือนมีนาคม จากการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังที่มีอายุน้อยทำให้มันสำปะหลังมีปริมาณแป้งต่ำ แต่ผู้ประกอบการโรงงานมีความเห็นว่ามันสำปะหลังอายุมากจะมีปริมาณเส้นใยสูง และมีแป้งต่ำ ปกติเกษตรกรใช้แรงงานเก็บเกี่ยว โดยแยกหัวมันสำปะหลังใส่กระสอบก่อนนำส่งโรงงานตามข้อตกลงระหว่างกัน (contract basis)

การเก็บรักษาท่อนพันธุ์ โดยปกติหลังเก็บเกี่ยว ต้นพันธุ์ที่แข็งแรง และมีอายุที่เหมาะสมจะถูกคัดเลือกเก็บรวบรวม โดยการเรียงซ้อนทับกัน แล้วคลุมด้วยใบปาล์มใต้ร่มในแปลงปลูก เกษตรกรไม่นิยมเก็บท่อนพันธุ์โดยการตั้งตรง โดยให้เหตุผลว่าการใช้ท่อนพันธุ์จากกองต้นพันธุ์แบบตั้งตรงทำให้ต้นกล้างอกรากช้ากว่าการเรียงซ้อนทับกัน 10 วัน และการกองท่อนพันธุ์แบบตั้งตรงยังถูกสัตว์เลี้ยง เช่น วัว ควาย ทำลายบ่อย ต้นพันธุ์จะถูกเก็บไว้นาน 4-5 เดือน ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังที่ได้มาจากแปลงที่ปลูกแบบร่วมกับพืชชนิดอื่น สามารถเก็บไว้ได้นานกว่าท่อนพันธุ์ที่มาจากการปลูกแบบพืชเชิงเดี่ยว

การปลูกมันสำปะหลังร่วมกับพืชชนิดอื่นในรัฐอานธรประเทศ (Andhra Pradesh) มีเพียงร้อยละ 10 ของพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังทั้งหมด แต่ในปัจจุบันมีหมู่บ้านในเมือง Kirlampudi ของ East Godavari มีการปลูกแตงกวา และ ridge gourd แซมในแปลงปลูกมันสำปะหลัง ในพื้นที่ที่มีการให้น้ำชลประทานมีการปลูกพืชแซมในแปลงปลูกมันสำปะหลังเพิ่มมากขึ้น แต่เกษตรกรไม่สะดวกที่จะใช้ Gorru ในการดูแลแปลงมันสำปะหลังตามที่เคยปฏิบัติกันมานาน แต่การปลูกพืชแซมช่วยเพิ่มรายได้ประมาณ 1,424 บาทต่อไร่

ในรัฐอานธรประเทศ (Andhra Pradesh) ร้อยละ 90 ของการผลิตมันสำปะหลังโดยอาศัยน้ำฝน และอีกร้อยละ 10 ผลิตมันสำปะหลังร่วมกับพืชเศรษฐกิจอื่นในช่วง 3 เดือนแรกหลังปลูกมันสำปะหลัง และจากการศึกษาต้นทุนการผลิตมันสำปะหลังในปี พ.ศ. 2543-2544 พบว่าต้นทุนการผลิตรวม (gross cost) ของการผลิตแบบให้น้ำชลประทานเท่ากับ 4,461.70 บาทต่อไร่ และการผลิตแบบอาศัยน้ำฝนเท่ากับ 3,426.10 บาทต่อไร่ เกษตรกรใช้ปุ๋ย nitrogenous fertilizer ในปริมาณมาก และใช้ phosphoric fertilizer จำนวนน้อยเกินไป มีการใช้แรงงานมากสำหรับการผลิตแบบให้น้ำชลประทาน เช่นเดียวกันกับที่อื่นๆ ผลผลิตเฉลี่ยจากการผลิตแบบให้น้ำชลประทานประมาณ 3,192 กิโลกรัมต่อไร่ และการผลิตแบบอาศัยน้ำฝนเท่ากับ 2,660 กิโลกรัมต่อไร่ รายได้รวม (gross income) ของการผลิตแบบให้น้ำชลประทานเท่ากับ 4,774.62 บาทต่อไร่ จากขายหัวมันสำปะหลังสดราคา 1.51 บาทต่อกิโลกรัม FBI ของการผลิตแบบให้น้ำชลประทานเท่ากับ 2,308.89 บาทต่อไร่ โดยการลงทุนของเกษตรกรที่ 1,972.33 บาทต่อไร่ ซึ่งสูงกว่าการผลิตแบบอาศัยน้ำฝน (1,239.13 บาทต่อไร่) การผลิตมันสำปะหลังแบบให้น้ำชลประทาน และแบบอาศัยน้ำฝนทำให้มีการจ้างงานรวม 188 แรง (labour days) และ 170 แรง ตามลำดับ


สรุป
วิธีการปลูกมันสำปะหลังในประเทศสาธารณรัฐอินเดีย มีทั้งการปลูกแบบพืชเชิงเดี่ยว (mono crop) และแบบพืชแซม (inter crop) ร่วมกับมะพร้าว กล้วย มะม่วง ยางพารา และมะม่วงหิมพานต์ และพืชผักบางชนิด เช่น แตงกวาถั่วลิสง ถั่วพุ่ม และ ride gourd การดูแลแปลงปลูกมันสำปะหลังแตกต่างกันไปตามแบบการผลิตในแต่ละรัฐ การผลิตมันสำปะหลังในรัฐเกรละ (Kerala) และรัฐทมิฬนาฑู (Tamil Nadu) ส่วนมากจะปลูกในพื้นที่ลุ่ม และพื้นที่ที่สามารถให้น้ำชลประทานได้ ส่วนการผลิตมันสำปะหลังในรัฐอานธรประเทศ (Andhra Pradesh) ส่วนมากจะปลูกในเขตที่อาศัยน้ำฝน


http://www.thaitapiocastarch.org/article07_th.asp
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 23/07/2011 12:53 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

127. การป้องกันโรครากเน่าในระบบไฮโดรโพนิกส์ โดยใช้ PH ที่แตกต่างกันในแต่ละฤดู


การปลูกผักไฮโดรโพนิกส์ในแต่ละฤดูควรใช้ PH ที่แตกต่างกันเพราะ PH ที่ 5.2 จะทำให้ผักเจริญเติบโตได้ดี แต่ถ้าสารละลายธาตุอาหารมีอุณหภูมิสูงเกินไปก็จะทำให้รากของผักเสียได้ง่ายและโรคก็จะเข้าทำลาย เชื้อราที่เป็นโทษต่อผักเช่น เชื้อราพิเที่ยมจะชอบ PH ค่อนข้างต่ำและเมื่อสารละลายธาตุอาหารมีอุณหภูมิสูงด้วยแล้วก็จะทำให้เกิดโรครากเน่าได้ง่าย ในทางกลับกันเชื้อราไตรโคเดอร์มาที่ใช้ป้องกันโรครากเน่าจากเชื้อราพิเที่ยมจะชอบ PH ค่อนข้างสูงถ้า PH สูงเชื้อราไตรโคเดอร์มาจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันและกำจัดเชื้อราพิเที่ยมได้ดีขึ้นเพราะฉะนั้นการปลูกผักไฮโดรโพนิกส์ในฤดูร้อนควรใช้ PH ที่ประมาณ 6.5-7.0 จะปลูกผักได้ดีอาจจะมีปัญหาบ้าง แต่เราก็สามารถแก้ไขได้คือ

1) การปลูกผักที่ PH 6.5-7.0 อาจจะมีธาตุอาหารบางตัวตกตะกอนเราสามารถแก้ไขได้โดยการใช้เชื่อราไตรโคเดอร์มาใส่ไปในระบบเพื่อย่อยธาตุอาหารที่ตกตะกอนให้กลับมาใช้ประโยชน์ได้ใหม่และยังเป็นตัวกำจัดเชื้อราพิเที่ยมพร้อมทั้งยังช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของผัก ช่วยกระตุ้นให้ผักสร้างภูมิต้านทานโรค ช่วยขจัดแคลเซียมฟอสเฟตที่ตกตะกอนอยู่ที่รางและที่ๆสารละลายธาตุอาหารไหลผ่านให้หมดไป ช่วยยืดอายุการใช้งานของปั๊มน้ำ

2) เหล็กอาจจะเสื่อมและตกตะกอนแก้ไขโดยใช้เหล็กที่ทน PH ได้สูง เช่น เหล็ก EDDHA ถึงจะมีราคาแพงขึ้นแต่ถ้าผักโตได้ดีในฤดูร้อนก็คุ้มค่าในฤดูฝนควรปลูกผักที่ PH ประมาณ 6.0-6.5 เพราะช่วงนี้สารละลายธาตุอาหารจะไม่ร้อนมากเหมือนฤดูร้อนส่วนในฤดูหนาวควรปลูกที่ PH ประมาณ 5.5-6.0 ในฤดูหนาวสภาพอากาศเหมาะแก่การเจริญเติบโตและมีโรครบกวนน้อยจึงปลูกผักที่ PH ต่ำได้

ข้อมูลจากภาควิชาโรคพืช คณะเกษตรกำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

http://www.kokomax.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 25/08/2016 5:05 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 23/07/2011 2:43 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

128. "มูลกิ้งกือ" หนึ่งในขุมทรัพย์ล้ำค่าที่คนไทยมองไม่เห็น


ขุมทรัพย์ใต้ดินที่คนไทยมองข้าม ทั้งกิ้งกือ-ไส้เดือน โรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ธรรมชาติ ที่ไม่ต้องใช้พลังงานให้สิ้นเปลือง แค่ทิ้งเศษผักเน่าให้กินก็ได้ปุ๋ยสร้างมูลค่าเพิ่ม ทั้งยังมีสาหร่ายบำรุงดิน สารพัดยีสต์จุลินทรีย์กินได้พบในขนมปัง ไวน์ เบียร์ สเปรย์ฆ่าไรฝุ่น BRT เตรียมขนขึ้นไปโชว์ที่เชียงใหม่ในงานประชุมวิชาการ 12-14 ต.ค.นี้

โครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในเมืองไทย หรือ BRT จัดงานประชุมวิชาการครั้งที่ 13 ภายใต้หัวข้อ "จากงานวิจัยพื้นฐานสู่องค์ความรู้" (From Basic Research to Knowledge) ระหว่างวันที่ 12-14 ต.ค.52 ณ โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ จ.เชียงใหม่ โดยภายในงานนอกจากการนำเสนอผลงานวิชาการแล้ว ยังจะนำเสนองานวิจัยพื้นฐานที่ได้รับการต่อยอดสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์แล้วในหลายผลงาน

ก่อนงานประชุมจริง BRT ได้ขนตัวอย่างผลงานวิจัยที่จะนำเสนอภายในการประชุมวิชาการมาแสดงภายในการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 6 ต.ค.52 ณ อาคารสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ถนนโยธี กรุงเทพฯ ซึ่งทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ได้เข้าร่วมด้วย อาทิ นิทรรศการ "พันขามหาสมบัติ" เป็นนิทรรศการที่ต่อยอดงานวิจัยพื้นฐานเกี่ยวกับกิ้งกือซึ่งนักวิจัยในโครงการ BRT ได้เริ่มศึกษาตั้งแต่ปี 2549

ศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญหา จากภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการศึกษากิ้งกือได้กล่าวว่า คนยังมีความเกลียดกลัวกิ้งกือและมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสัตว์ชนิดนี้อยู่มาก ซึ่งจากที่มีข่าวกิ้งกือระบาดในหลายพื้นที่ แล้วชาวบ้านทำลายกิ้งกือนับหมื่นๆ ตัว โดยจับใส่ถุงแขนบนต้นไม้ หรือเอาไปโยนทิ้งแม่น้ำโขงบ้าง เหล่านี้เป็นที่น่าเสียอย่างยิ่ง เพราะจริงๆ แล้วกิ้งกือเป็นสัตว์ที่มีประโยชน์

“กิ้งกือเป็นเหมือน “เทศบาล” ในธรรมชาติ ที่จะคอยกัดกินซากผัก-ผลไม้ที่ตกหล่น อาจจะเป็นภาพที่ไม่น่าดู แต่หลังจากกินอาหารแล้วเขาจะถ่ายมูลออกมาเป็นเม็ดๆ ซึ่งเป็นปุ๋ยอินทรีย์ชั้นดี และจากการส่งวิเคราะห์ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พบว่ามูลกิ้งกือมีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ทั้งไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม และเขาก็เป็น “โรงงานผลิตปุ๋ยอัตโนมัติ” ที่กินแล้วถ่ายมูลออกมาเป็นปุ๋ย โดยที่เราไม่ต้องเสียพลังงาน ตรงนี้คือ “ทรัพย์ในดิน สินในน้ำ” ที่ปู่ย่าตายายบอกไว้ แต่คนไทยดีไม่แตก” ศ.ดร.สมศักดิ์กล่าว

ทั้งนี้ทีมวิจัยของ ศ.ดร.สมศักดิ์ ได้ออกให้ความรู้แก่ชาวบ้านในถิ่นที่มีกิ้งกือระบาดและทำลายกิ้งกือทิ้งอย่างอย่างน่าเสียดายทั้งใน จ.อยุธยา และ จ.มุกดาหาร โดยแนะนำให้พลิกวิกฤตเป็นโอกาส ด้วยการกั้นคอกเพื่อเลี้ยงกิ้งกือแล้วให้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ออกมา ซึ่งระยะหลังชาวบ้านเริ่มเข้าใจและมีทรรศนะคติที่ดีต่อกิ้งกือมากขึ้น เชื่อว่าอนาคตจะดียิ่งขึ้นไปอีก

“ยีสต์” เป็นอีกขุมทรัพย์ที่มีอยู่ทั่วไปทั้งในน้ำ ในอากาศ โดย นางวันเชิญ โพธาเจริญ ผู้จัดการธนาคารจุลินทรีย์ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ซึ่งเก็บรวบรวมยีสต์กว่า 2,000 ชนิด ได้ยกตัวอย่างยีสต์สายพันธุ์แซคคาโรมายซีส ซีรีวิเซีย (Saccharomyces cerevisiae) ซึ่งเป็นยีสต์ที่ใช้ประโยชน์ในการผลิตขนมปัง เบียร์และไวน์ ทั้งนี้ยีสต์เป็นจุลินทรีย์มีชีวิตที่เรากินได้โดยไม่เกิดโทษ

“สมัยโบราณเมื่อ 6,000-7,000 ปี การผลิตขนมปัง ไวน์จากผลไม้ ซึ่งทั้งหมดคิดว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่พระเจ้าให้มา โดยเวลานวดแป้งแล้วให้ทิ้งไว้จนแป้งฟองก่อนนำไปอบ จะได้ขนมปังที่นุ่ม แต่ถ้ายวดแล้วอบเลยจะได้ขนมปังแข็ง ส่วนการผลิตไวน์ก็ต้องนำไวน์เก่าผสมลงไป ซึ่งตอนนั้นยังไม่มีใครรู้ว่าเพราะอะไร จนเมื่อ 300 ปีที่แล้วมีพ่อค้าชาวดัตช์ผลิตกล้องจุลทรรศน์ จึงรู้ว่าโลกนี้มีจุลินทรีย์ และเมื่อ 100-200 ปีที่ผ่านมาจึงรู้ว่ายีสต์เป็นสาเหตุให้เราผลิตขนมปังและไวน์ได้” นางวันเชิญกล่าว

นอกจากนี้ยังมีการนำเสนองานวิจัยพื้นฐานอื่นๆ ด้านความหลากหลายทางชีวภาพที่ได้นำไปต่อยอดสู่การใช้ประโยชน์แล้ว อาทิ งานวิจัยพื้นฐานด้านไรฝุ่นที่ต่อยอดสู่สเปรย์จำกัดไรฝุ่นในรูปสเปรย์ยี่ห้อ “ไมท์เฟียร์” (Mite Fear) งานวิจัยเกี่ยวกับสาหร่ายในดินสายพันธุ์นอสตอค (Nostoc) ซึ่งต่อยอดเป็นวัสดุบำรุงดิน โดยสารเมือกหรือโพลีแซคคาไรด์ที่สาหร่ายผลิตออกมานั้นจะช่วยเก็บความชุ่มชื้นในดิน ปั้นให้เม็ดดินเป็นก้อนช่วยให้อากาศและน้ำถ่ายเทได้ และลดปริมารการใช้สารเคมีได้ 50% โดยที่ผลผลิตเท่าเดิม

งานวิจัยต่างๆ ที่ยกตัวอย่างมาข้างต้นนั้น ศ.ดร.วิสุทธิ์ ใบไม้ ผู้อำนวยการโครงการ BRT กล่าวว่าเป็นผลพวงจากงานวิจัยพื้นฐานที่ได้ต่อยอดสู่การใช้ประโยชน์ ซึ่งในเมืองไทยยังมีขุมทรัพย์ทางด้านความหลากลหายชีวภาพที่รอการต่อยอดอีกมาก แต่คนไทยมองไม่เห็น และเศรษฐกิจกระแสหลักก็มองข้าม ซึ่งอนาคตจะเป็นยุคของการแย่งทรัพยากร และอีก 50 ปีเราจะโหยหาสิ่งที่มีอยู่

“เชื้อรา จุลินทรีย์ เป็นสิ่งมีชีวิตเริ่มต้นที่นำพลังงานแสงอาทิตย์มาเปลี่ยนเป็นพลังงานเคมี เรามีสิ่งมีชีวิตจำพวก จุลินทรีย์ สาหร่ายที่นำมาต่อยอดได้อีกมากมาย งานที่อาจารย์ 4-5 ท่านนำมาเล่าให้ฟังนั้นกำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา ยังมีเชื้อเพลิงชีวภาพอีกเยอะ มีกิ้งกือ ไส้เดือนอีกมากที่เราเอามาผลิตปุ๋ยอินทรีย์ได้โดยที่เราไม่ต้องเสียพลังงานและสตางค์ ซึ่งจะทำเช่นนี้ได้เราต้องอาศัยงานวิจัยพื้นฐาน ผู้บริหารต้องมองเห็นตรงนี้ด้วย ไม่ใช่แค่คิดแต่เรื่องการใช้ประโยชน์ๆ แต่ละเลยงานวิจัยพื้นฐาน” ศ.ดร.วิสุทธิ์กล่าว

ทั้งนี้ผู้อำนวยการ BRT กล่าวว่า ไทยมี “ทุน” เป็นฐานทรัพยากรธรรมชาติที่หาซื้อไม่ได้ เมืองไทยมีกินตลอดเวลา แต่เสียดายที่เรากำลังทุนทางธรรมชาติที่มีอยู่ ซึ่งเหมือนเรากำลังทุบหม้อข้าวตัวเอง และแม้จะพูดถึงความหลากหลายทางชีวภาพ แต่ส่วนใหญ่ไม่เข้าใจ พูดกันแค่เรื่องสมุนไพรซึ่งเป็นเพียงส่วนน้อยของความหลากหลายทางชีวภาพ ทั้งนี้เป็นจุดอ่อนของบ้านเราที่มองไม่เห็นสมบัติที่มีอยู่

สำหรับงานประชุมประจำปีโครงการ BRT ครั้งที่ 13 นี้ ได้เวียนไปจัดที่เชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 12-14 ต.ค.52 โดยรวบรวมงานวิจัยเด่นๆ ของโครงการในรอบปีมานำเสนอ พร้อมเสวนาต่อยอดงานวิจัยพื้นฐานสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ และประกวดสิ่งประดิษฐ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งผู้สนใจสามารถลงทะเบียนได้ที่ http://www.brtprogram.com/2009


http://www.tungkaset.com/article-129.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/01/2022 7:10 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 24/07/2011 7:17 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

129. พ่อค้าเวียดนามกว้านซื้อลำไยเหนือ สวมชื่อก่อนขายจีน

สมาคมชาวสวนลำไยไทย เผยพ่อค้าเวียดนามเดินสายเปิดจุดกว้านซื้อผลผลิตทั่วเชียงใหม่-ลำพูน เน้นคละเกรดมากกว่าคุณภาพ ระบุมีเป้าหมายสวมชื่อก่อนส่งขายต่อที่จีน

นายบัญชาการ พลชมชื่น เลขาธิการสมาคมชาวสวนลำไยไทย เปิดเผยว่า การซื้อขายลำไยทั้งที่เชียงใหม่และลำพูนในช่วงต้นฤดูกาลผลิตปี 2554 ที่กำลังทยอยให้ผลผลิตช่วงเดือนกรกฎาคมนี้ พบว่ามีผู้ค้าชาวเวียดนามประสานให้ผู้ค้าชาวไทยเป็นตัวแทนเข้ามาเปิดจุดรับซื้อลำไยสดจากเกษตรกร โดยให้ราคาลำไยสดคละเกรด เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15 บาท ซึ่งถือว่าราคายังต่ำกว่าต้นทุน เพราะต้นทุนการผลิตอยู่ที่กิโลกรัมละ 16-17 บาท ดังนั้นราคาขายที่เหมาะสมควรอยู่ที่กิโลกรัมละ 20 บาท

ทั้งนี้ ผู้ค้าชาวเวียดนามเริ่มเข้ามาทำธุรกิจรับซื้อลำไยจากเกษตรกร ตั้งแต่ปีการผลิต 2553 ที่ผ่านมา โดยเกษตรกรส่วนใหญ่นิยมนำลำไยไปขายให้ เพราะผู้ค้าเวียดนามไม่พิถีพิถันเรื่องการคัดเกรด แต่จะซื้อแบบคละ ทำให้เกษตรกรประหยัดต้นทุนค่าจ้างแรงงานในการคัดเกรดเพราะปัจจุบันแรงงานในพื้นที่หายาก ประกอบกับปีนี้ลำไยมีผลผลิตเพิ่มขึ้นกว่า 50% หรือประมาณ 4 แสนตัน เมื่อเทียบกับปี 2553 มีที่ 2 แสนตัน ทำให้เกษตรกรเร่งเก็บลำไยออกมาขายเพราะเกรงว่าหากลำไยออกมามากราคาจะตกต่ำลง

นายบัญชาการกล่าวว่า ผู้ค้าชาวเวียดนามที่มาเปิดจุดรับซื้อลำไยในเชียงใหม่-ลำพูน ไม่ได้มาตั้งจุดรับซื้อเป็นหลักแหล่งเหมือนผู้ค้าชาวจีน ทั้งนี้ หลังรับซื้อจะนำลำไยทั้งหมดส่งออกไปเวียดนามผ่านด่านชายแดนทางภาคอีสานผ่านกัมพูชาเข้าสู่เวียดนาม จากข้อมูลทราบว่าพ่อค้าเวียดนามจะนำลำไยทั้งหมดไปขายต่อให้จีนอีกทอดโดยอ้างว่าเป็นผลผลิตในประเทศตนเอง หรือนำไปปะปนกับลำไยของเวียดนาม เนื่องจากผลผลิตลำไยของเวียดนามมีคุณภาพค่อนข้างต่ำ ผลมีน้ำมากกว่าลำไยของไทยที่ปลูกในภาคเหนือมาก นายบัญชาการกล่าว

รายงานข่าวจาก จ.ลำพูน แจ้งว่า มีผู้ประกอบการชาวเวียดนามมาเปิดจุดรับซื้อลำไยสดที่ อ.เวียงหนองล่อง ซึ่งมีความต้องการลำไยจาก จ.ลำพูน วันละ 400 ตัน ถึงแม้ว่าตอนนี้ผลผลิตที่ต้องการยังได้ไม่ถึงเป้าหมายที่กำหนดไว้ ราคาผลผลิตรูดร่วง อยู่ที่ เกรดเอเอ กิโลกรัมละ 16 บาท เกรดเอ กิโลกรัมละ 11 บาท เกรดบี กิโลกรัมละ 5 บาท เกรดซี กิโลกรัมละ 2 บาท ราคาสดช่อ กิโลกรัมละ 20-25 บาท


http://www.komchadluek.net


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/01/2022 7:10 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 24/07/2011 7:25 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

130. จีนผวาสารเคมีค้างผลไม้หลังแตงโมบึ้ม





สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันพุธ (18 พ.ค.) ว่าปรากฏการณ์ประหลาดในไร่แตงโมประมาณ 280 ไร่ ในเมืองตันหยาง มณฑลเจียงซู ทางตะวันออกของจีน เสียหายย่อยยับ เมื่อผลแตงโมเกิดปริแตก หลังจากเกษตรกรผู้ปลูก ฉีดพ่นฟอร์คลอเฟนูรอน ซึ่งเป็นสารเร่งขนาดผลไม้นั้น ถูกมองว่าเป็นอีกสัญญาณหนึ่งที่ชี้ว่าภาคเกษตรกรรมของจีน เสพติดการใช้สารเคมี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยังคงล้มเหลวในการกำกับดูแล

รัฐบาลจีนรับปากดำเนินมาตรการเด็ดขาด หลังกรณีอื้อฉาวนมผงเด็กปนเปื้อนสารเมลามีน ทำให้เด็กทารกเสียชีวิต 6 คนและล้มป่วยอีก 3 แสนคน ในปี 2551แต่ในช่วงไม่กี่สัปดาห์มานี้ ยังมีรายงานเป็นระยะที่เกี่ยวข้องกับอาหารอันตราย เช่น หมูปนเปื้อน นมเป็นพิษ ถั่วงอกเปื้อนสารไนเตรทก่อโรคมะเร็ง หมั่นโถวย้อมสีเอามาเวียนขายหรือผสมยากันบูดต้องห้ามและข้าวสารเปื้อนโลหะหนัก

ทั้งนี้ ฟอร์คลอเฟนูรอน ไม่ใช่สารต้องห้ามในจีน ส่วนในสหรัฐอนุญาตให้ใช้ในการปลูกองุ่น และกีวี ผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตรในจีน กล่าวว่า ตามปกติ ผลแตงโมจะแตกประมาณร้อยละ 10 ในครั้งนี้ อาจเป็นเพราะฝนที่จูๆ ก็ตกลงมาอย่างหนัก กับการใช้เมื่อผลแตงโมเริ่มมีขนาดใหญ่แล้ว ทำให้แตกโมปริแตกเกือบหมดไร่ กระนั้น เกษตรกรบางคนยืนยันว่าไม่ได้ฉีดสารเคมีแต่ก็เผชิญปัญหาเช่นกัน

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ผลไม้เปื้อนฟอร์คลอเฟนูรอน ปลอดภัยสำหรับการรับประทาน แต่ผู้บริโภคอดกังวลใจไม่ได้ เช่น ชาวเมืองนานกิงคนหนึ่งใกล้เมืองตันหยางกล่าวว่า วิตกว่าผลไม้สวยๆ หน้าตาน่ารับประทานบางชนิด มีสารเคมีตกค้างอยู่และไม่ปลอดภัย ส่วนชาวเมืองอีกคน เริ่มสงสัยเช่นกันว่า ผลไม้ลูกโตๆ ที่พบเห็นทั่วไปตามตลาดจีน เช่น สตรอเบอร์รี่ขนาดเท่ากับลูกปิงปอง หรือองุ่นลูกเท่าไข่ไก่นั้น มีที่มาอย่างไร


http://www.krajeab.com/news/view.php?id=235708
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4, 5 ... 72, 73, 74  ถัดไป
หน้า 4 จากทั้งหมด 74

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©