-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-* นานาสาระเรื่องเกษตร.
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * นานาสาระเรื่องเกษตร.
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* นานาสาระเรื่องเกษตร.
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 28, 29, 30 ... 72, 73, 74  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11559

ตอบตอบ: 01/10/2011 2:50 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หน้าที่ 29

ลำดับเรื่อง.....


737. กรอ. เร่งพัฒนาเมล็ดพันธุ์ไทย ในวิกฤติอาหารของโลก
738. สมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย ชูยุทธศาสตร์ดันไทย สู่ฮับเมล็ดพันธุ์เอเซีย
739. ทำน้ำข้าวกล้องงอกสูตรขึ้นโต๊ะเสวย
740. สุดยอดกับน้ำข้าวกล้องงอก ผลิตภัณฑ์เพิ่มคุณค่าอาหารไทย

741. ชุดขยายเชื้อแบคทีเรียสำหรับเกษตรกรผลิตใช้เอง
742. การควบคุม โรคโคนเน่า-รากเน่า ของทุเรียน
743. บังคับมะม่วงให้ออกดอก โดยการฉีดสารเข้าลำต้น
744. ชีวิตเปื้อนสารเคมี …วังวนตายผ่อนส่ง
745 เทคโนโลยีการป้องกันกำจัดโรครากเน่าโคนเน่าทุเรียน

746. สารพิษตกค้างในทุเรียนไทย ที่ส่งออกไปประเทศมาเลเซีย
747. วิธีดูแลสวนไม้ผล ระยะฝนชุก หลังน้ำท่วม
748. ผักต่างสี... มีดีต่างกัน
749. วิทย์-เทคโนโลยี-นวัตกรรม สร้างความเข้มแข็งภาคเกษตร
750. ส่งเสริมปลูกลำไยนอกฤดูส่งออกตลาดจีนราคางาม

751. ผักหวานแทรกลำไย
752. ลองกองแปรรูป
753. การทดสอบความงอก ของเมล็ดพันธุ์ข้าว อย่างง่าย
754. ลดการใช้ปุ๋ยเคมี ด้วยการใช้ปุ๋ยชีวภาพ ละลายฟอสเฟต
755. ชุดสกัดน้ำมันปาล์ม สำหรับครัวเรือน

756. ปตท.หนุน 140 ล้านบาท วิจัยคัดพันธุ์สาหร่ายน้ำมัน
757. ครื่องสกัดน้ำมันปาล์ม ฝีมือคนไทย
758. ปลูก “ไผ่ตงลืมแล้ง” อาชีพเสริม รายได้หลักวันละ 5 พันบา
759. เลี้ยงต่อหัวเสือตามต้นไม้ ไม่ลงทุน-ขายง่าย-ไร้คู่แข่ง
760. ตุ๊กแกอบแห้ง รายได้ดี 10 ล้านต่อเดือน

761. ผักหวานป่า ที่ อ.บ้านหมอ จ.สระบุรี

----------------------------------------------------------------------------------------------








737. กรอ. เร่งพัฒนาเมล็ดพันธุ์ไทย ในวิกฤติอาหารของโลก


ท่ามกลางวิกฤติอาหารโลก องค์การอาหารแลกเกษตรโลก(FAO) และธนาคารโลก ได้ออกมาเตือนถึงวิกฤติขาดแคลน
อาหารที่อยู่ในขีดอันตราย อันเป็นผลจากผลกระทบจากโลกร้อน ทำให้ฤดูกาลผิดเพี้ยน เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ ทั้งภัย
แล้งในรัสเซีย ภัยน้ำท่วมในปากีสถาน จีน ประเทศไทยและอีกหลายประเทศ ทำให้ผลผลิตการเกษตรลดลง ขณะที่ดี
มานด์ความต้องการอาหารเพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งพื้นที่การเกษตรสำหรับพืชผักพืชไร่ถูกนำไปใช้ปลูกพืชพลังงานกันไม่น้อย
สมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย (THASTA) คาดการณ์ว่าปี 2554 นี้ ราคาผลผลิตการเกษตรจะพุ่งโลด ขณะที่นานา
ประเทศก็ได้เตรียมรับมือกับภาวะวิกฤติขาดแคลนอาหารและราคาอาหารแพง ชี้ประเทศไทยควรเร่งหันมาร่วมมือกัน
และเสริมบทบาทภาครัฐและเอกชนผ่าน กรอ. พร้อมเร่งปรับทิศทางการพัฒนาไทยเป็นฮับเมล็ดพันธุ์แห่งเอเซียให้เป็นรูป
ธรรม และทบทวนก้ไขอุปสรรคต่อการปรับปรุงเมล็ดพันธุ์ ก่อนจะล้าหลังไปมากกว่านี้และส่งผลเสียหายต่อศักยภาพและ
ความสามารถในการแข่งขันด้านการเกษตรของประเทศไทย


นายพาโชค พงษ์พานิช นายกสมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย (THASTA)ซึ่งเป็นองค์กรศูนย์รวมข้อมูลวิชาการและข่าว
สารความเคลื่อนไหวของเมล็ดพันธุ์ กล่าวว่า “ เบื้องหลังพืชพันธุ์ธัญญาหารและอุตสาหกรรมอาหาร ล้วนงอกงามเติบ
โตมาจาก สิ่งที่เราเรียกว่า เมล็ดพันธุ์ หรือ SEED ทั้งสิ้น ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ที่ดีแห่งหนึ่งของโลก
เมล็ดพันธุ์ หลักๆ ที่เราผลิตส่วนใหญ่เป็นพืชเมืองร้อน สำหรับบริโภคในประเทศและส่งออก แบ่งออกเป็น

1.เมล็ดพันธุ์พืชไร่ ที่สำคัญได้แก่ ข้าวโพดพันธุลูกผสม สร้างชื่อเสียงให้ไทยในนานาประเทศเป็นอย่างยิ่ง
2.เมล็ดพันธุ์พืชผัก
3.เมล็ดพันธุ์ดอกไม้

นอกจากนี้ บ้านเรายังนำเข้าเมล็ดพันธุ์พืชเมืองหนาว และเมล็ดพันธุ์ดอกไม้ อีกด้วย เมล็ดพันธุ์ มีความสำคัญต่อชีวิต
ของคนไทย เศรษฐกิจและความมั่นคงทางอาหารของโลก





ท่านนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้เคยประกาศที่จะเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารของไทยเพื่อภูมิภาคโลก
อีกทั้ง รมต.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ก็ได้ให้ความสำคัญสนับสนุนการเสริมสร้างประเทศไทยเป็นฮับเมล็ดพันธุ์แห่งเอเซีย
และในช่วงต้นปีที่ผ่านมา คณะกรรมการสมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย (THASTA)ได้เข้าพบหารือกับท่านอธิบดีกรมวิชา
การเกษตร เกี่ยวกับการใช้กลไกการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.) ซึ่งทางกรมวิชาการเกษตร
เห็นชอบว่าเป็นกลไกที่มีอยู่แล้วและควรใช้ให้เกิดประโยชน์ ต่อการประสานงานร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ในการ
ที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ของประเทศไทย, หาแนวทางปฏิบัติให้เหมาะสมกับกฎระเบียบต่างๆที่ออกมาบังคับใช้ ,
เรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และเรื่องอื่นๆ ตามความเหมาะสม เพื่อการก้าวสู่การเป็นฮับเมล็ดพันธุ์แห่งเอเซียอย่างเป็นรูป
ธรรมและมีประสิทธิภาพ ”


ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ที่ดีแห่งหนึ่งของโลก เนื่องจากมีสภาพภูมิอากาศทั้งร้อนและเย็น เหมาะแก่การ
ผลิตเมล็ดพันธุ์ เกษตรกรรายย่อยมีฝีมือ กระบวนการผลิตเมล็ดพันธุ์ของไทยก่อให้เกิดการสร้างรายได้แก่ภาคเกษตรกรรม
กว่า 30,000 ครอบครัวโดยเฉพาะในช่วงหลังฤดูเก็บเกี่ยว เป็นการบรรเทาปัญหาการอพยพย้ายถิ่นเข้ามาทำงานในเขต
เมือง และสร้างรายได้เข้าประเทศจากการส่งออกและตลาดในประเทศรวม 7,000 ล้านบาท ทั้งนี้ยังสร้างมูลค่าเพิ่มจาก
การแปรรูปอุตสาหกรรมอาหารที่มีมูลค่าถึงปีละ 20,000 ล้านบาท ระยะ 8 ปีที่ผ่านมา การค้าเมล็ดพันธุ์ของไทยเติบโต
อย่างรวดเร็ว และมีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย เมล็ดพันธุ์มีมูลค่าเศรษฐกิจทั้งตลาดในประเทศและส่ง
ออกรวมประมาณปีละ 7,000 ล้านบาท


ไทยนับเป็นผู้ส่งออกเมล็ดพันธุ์พืชมากเป็นอันดับ 1 ของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค และเป็นอันดับที่ 12 ของโลก เมล็ด
พันธุ์ที่มีมูลค่าส่งออกมากที่สุด กว่าครึ่ง คือ เมล็ดพันธุ์พืชไร่ ได้แก่ ข้าวโพด รองลงมาเป็นเมล็ดพันธุ์ผัก เช่น แตงกวา
มะเขือเทศ พริก การส่งออกปี 53 มูลค่า 2,700 ล้านบาท คาดปี 54 ส่งออกเติบโต 15 % มูลค่า 3,100 ล้านบาท


นายกสมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย (THASTA) กล่าวว่า “ ขณะที่พื้นที่การเกษตรนับวันจะน้อยลงเรื่อยๆ เราต้องสร้างมูล
ค่าเพิ่มด้วยนวัตกรรม หรือเทคโนโลยีใหม่ๆในการพัฒนาเพื่อปรับปรุงเมล็ดพันธุ์พืช ที่ผ่านมาพืชเกษตรไทยหลาย
ชนิด เช่น ข้าว มีผลผลิตต่อไร่มีระดับต่ำกว่าจีน และเวียดนาม และเกษตรกรไทยยังไม่สามารถเข้าถึงหรือใช้ประโยชน์
จากเทคโนโลยีทางการเกษตรได้มากเท่าที่ควร ดังนั้นการวิจัยพัฒนาปรับปรุงสายพันธุ์และเทคโนโลยีชีวภาพจึงมีบทบาท
สูงต่อการเพิ่มคุณภาพและผลผลิตต่อไร่ และช่วยร่นระยะเวลาในการพัฒนาเมล็ดพันธุ์เพื่อตอบสนองความต้องการของ
ตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของเมล็ดพันธุ์จากประเทศไทย ขณะเ
ดียวกันก็ช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรไทย ยกตัวอย่างเช่น การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวาน ทำให้เกษตรกรมีรายได้
ต่อไร่ ในระดับที่ดี โดยมีการกำหนดราคารับซื้อที่แน่นอนอีกด้วย เป็นต้น


สภาวะตลาดโลกของเมล็ดพันธุ์ การค้าเมล็ดพันธ์ของตลาดโลกในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีมูลค่าประมาณ 55,000 ล้านดอลล่าร์
สหรัฐ ประเทศที่ส่งออกเมล็ดพันธุ์พืชมากที่สุดอันดับ 1 ของโลก คือ เนเธอร์แลนด์ (มูลค่ากว่า 1,300 ล้าน
ดอลล่าร์สหรัฐ หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 19.Cool รองลงมา คือ สหรัฐฯ ฝรั่งเศส เยอรมัน ชิลี และเดนมาร์ก จะเห็นว่า
ตลาดส่งออกหลักร้อยละ 60 อยู่ในสหภาพยุโรป เนื่องจากการสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาจากภาครัฐและการเลือก
ผลิตเมล็ดพันธุ์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูง อีกทั้งให้ความสำคัญกับการรักษาและควบคุมเมล็ดพันธุ์เป็นอย่างดี


สำหรับประเทศไทยส่งออกเมล็ดพันธุ์มากเป็นอันดับที่ 12 ของโลก คิดเป็นมูลค่าประมาณ 139 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ
เมื่อดูมูลค่าส่งออกเมล็ดพันธุ์พืชในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก มีกว่า 450 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งประเทศไทยมีมูลค่าส่งออก
มากที่สุดเป็นอันดับ1 ในเอเชีย-แปซิฟิก โดยส่วนใหญ่เป็นพืชเขตร้อน ได้แก่ เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดและเมล็ดพันธุ์ผัก เช่น
มะเขือเทศ พริก และแตงกวาเป็นต้น

คู่แข่งสำคัญ ได้แก่ จีน เนื่องจากไทยเสียเปรียบเรื่องต้นทุนการผลิตและประสบปัญหาในเรื่องการลักลอบขโมยเมล็ด
พันธุ์ ส่งผลให้ลูกค้าต่างประเทศขาดความมั่นใจที่จะว่าจ้างให้ไทยผลิตเมล็ดพันธุ์และหันไปสั่งซื้อจากประเทศอื่นๆ


ปัญหาการละเมิดสิทธิ์,การขโมยเมล็ดพันธุ์ และกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเมล็ดพันธุ์ของไทย ปัญหาการ
ละเมิดสิทธิ์เมล็ดพันธุ์ที่มีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ สร้างความเสียหายต่อภาคการเกษตรของประเทศอย่างมาก อีกทั้งยัง
ส่งผลให้บริษัทผู้ลงทุนจากต่างประเทศขาดความเชื่อมั่นในการลงทุนกับไทย และหันไปลงทุนกับประเทศอื่นๆ มากขึ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งจีนนับว่าเป็นประเทศที่เป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของไทย อาศัยการได้เปรียบจากเรื่องค่าจ้างแรงงานและปริมาณ
เนื้อที่ที่จะใช้ในการเพาะปลูก รวมถึงความอุดมสมบูรณ์และความเหมาะสมของสภาพสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อธุร
กิจเมล็ดพันธุ์ “


ด้านผู้ประกอบการในธุรกิจเมล็ดพันธุ์เร่งให้รัฐบาลผลักดันกฎหมายในพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืชเพื่อคุ้มครอง
พันธุ์พืชใหม่ให้ออกมาใช้ในทางปฏิบัติให้เร็วที่สุด ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ค้าทั้งไทย และต่างประเทศเกิดการมั่นใจเกี่ยวกับมาตรการ
คุ้มครองเมล็ดพันธุ์ไทย รวมทั้งควรมีการพิจารณาทบทวนกฎหมายในเรื่องของคำจำกัดความของพันธุ์พืชต่างๆ ทั้งพันธุ์
พืชพื้นเมืองทั่วไป พันธุ์พืชใหม่ และพันธุ์ป่า ให้มีความชัดเจนมากขึ้น


ในส่วนของคนไทยควรช่วยกันเสริมสร้างมาตรฐานเมล็ดพันธุ์ โดยสนับสนุนการใช้เมล็ดพันธุ์จากร้านค้าที่มีคุณภาพเชื่อถือ
ได้ซึ่งปัจจุบันมีร้านค้าที่ทางสมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย ได้ออกเครื่องหมายคุณภาพ มีประมาณ 400 ร้านค้าทั่วประเทศ



http://www.azooga.com/content_detail.php?cno=921


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/10/2011 6:44 am, แก้ไขทั้งหมด 6 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11559

ตอบตอบ: 01/10/2011 3:04 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

738. สมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย ชูยุทธศาสตร์ดันไทย สู่ฮับเมล็ดพันธุ์เอเซีย



สมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย ชูยุทธศาสตร์บูมการค้าอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ ปี 2554 ดันไทยสู่ฮับเมล็ดพันธุ์เอเซีย...
คาดเติบโต 15 % รับภาวะโลกร้อนและความต้องการอาหารพุ่ง


สมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย (Thailand Seed Trade Association-THASTA) โดยนายพาโชค พงษ์พานิช
นายกสมาคมฯ เผยระยะ 8 ปีที่ผ่านมา การค้าและอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ของไทยเติบโตอย่างรวดเร็ว และมีความสำคัญ
ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยด้วยเป็นต้นน้ำของอุตสาหกรรมอาหารและความมั่นคงของประเทศ เมล็ดพันธุ์มีมูลค่าเศรษฐ
กิจทั้งตลาดในประเทศและส่งออกรวมประมาณปีละ 7,000 ล้านบาท การส่งออกช่วง 10 เดือน มค.-ตค 53 มูลค่า
2,562 ล้านบาท คาดปี 54 ส่งออกเติบโต 15 % มูลค่า 3,100 ล้านบาท ที่ผ่านมาไทยเป็นผู้ส่งออกเมล็ดพันธุ์พืชมาก
เป็นอันดับ 1 ของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค และเป็นอันดับที่ 12 ของโลก เมล็ดพันธุ์ที่มีมูลค่าส่งออกมากที่สุด กว่า
ครึ่ง คือ เมล็ดพันธุ์พืชไร่ ได้แก่ ข้าวโพด รองลงมาเป็นเมล็ดพันธุ์ผัก ชี้ศักยภาพไทยจะก้าวสู่การเป็นฮับเมล็ดพันธุ์
เขตร้อนของเอเซีย รัฐต้องสนับสนุนงานวิจัยพัฒนาสายพันธุ์ด้วยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี แลแก้ไขกฏหมายที่เป็น
อุปสรรค


นายพาโชค พงษ์พานิช (Mr.Pacholk Pongpanich) นายกสมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย กล่าวว่า “ ขนาดพื้นที่
การเกษตรของไทย ประมาณ 130 ล้านไร่ (ประมาณ 41% ของการใช้ประโยชน์พื้นที่ทั้งหมด) โดยพื้นที่การเกษตรมี
แนวโน้มที่จะลดลงเรื่อยๆ แต่เนื่องจากเมล็ดพันธุ์สำหรบการเพาะปลูกมีมูลค่าที่สูงเมื่อเทียบกับผลผลิตที่ใช้บริโภค อุต
สาหกรรมเมล็ดพันธุ์ หรือ SEED เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าเกษตรด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยี เมล็ดพันธุ์ เป็น
หน่วยชีวิตเล็กๆที่มีความสำคัญต่อชีวิตและเศรษฐกิจในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยด้วยเป็นต้นน้ำของอุตสาหกรรม
อาหารและเป็นความมั่นคงของประเทศที่หล่อเลี้ยงคนไทยและคนทั่วโลก มีมูลค่าเศรษฐกิจทั้งตลาดในประเทศและ
ส่งออกรวมประมาณปีละ 7,000 ล้าน เมล็ดพันธุ์มีส่วนสำคัญในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ภาคเกษตรกรรมของไทย การ
ค้าเมล็ดพันธ์ของตลาดโลกในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีมูลค่าประมาณ 55,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ประเทศที่ส่งออก
เมล็ดพันธุ์พืชมากที่สุดอันดับ 1 ของโลก คือ เนเธอร์แลนด์ (มูลค่ากว่า 1,300 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ หรือคิดเป็นสัด
ส่วนร้อยละ 19.Cool รองลงมา คือ สหรัฐฯ ฝรั่งเศส เยอรมัน ชิลี และเดนมาร์ก เมื่อดูมูลค่าส่งออกเมล็ดพันธุ์พืช
ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก มีกว่า 450 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งประเทศไทยมีมูลค่าส่งออกมากที่สุดเป็นอันดับ1 ในเอเชีย-
แปซิฟิก โดยส่วนใหญ่เป็นพืชเขตร้อน ได้แก่ เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดและเมล็ดพันธุ์ผัก เช่นมะเขือเทศ พริก และแตงกวา
เป็นต้น ไทยจะต้องระวังคู่แข่งสำคัญ เช่น จีน และหันมาสร้างแบรนด์มากขึ้น เนื่องจากไทยเสียเปรียบเรื่องต้นทุนการ
ผลิตและประสบปัญหาในเรื่องการลักลอบขโมยเมล็ดพันธุ์ ส่งผลให้ลูกค้าต่างประเทศขาดความมั่นใจที่จะว่าจ้าง
ให้ไทยผลิตเมล็ดพันธุ์และหันไปสั่งซื้อจากประเทศอื่นๆ


สำหรับมูลค่าการส่งออกเมล็ดพันธุ์ของไทยในช่วง 10 เดือนของปี 2553 ประมาณ 2,562 ล้านบาท ลดลง 2.4 % เมื่อ
เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา สาเหตุเพราะมูลค่าส่งออกเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดลดลงเนื่องจากเกษตรกรหันไป
ปลูกพืชอื่นทดแทน เช่น อ้อย มันสำปะหลัง และถั่วเขียวผิวมัน เป็นต้น ส่งผลให้ปริมาณการต้องการเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด
ลดลง ประกอบกับมีข้อจำกัดในพื้นที่เพาะปลูก คาดว่าในสิ้นปี 2553 ไทยจะส่งออกเมล็ดพันธุ์พืชได้ 2,700 ล้านบาท


เนื่องจากปัญหาสภาพอากาศแปรปรวนในแถบเอเชียทำให้พื้นที่เพาะปลูกได้รับความเสียหาย จึงคาดว่าหลายประเทศ เช่น
เวียดนาม ฟิลิปปินส์ จีนและอินโดนีเซียจะนำเข้าเมล็ดพันธุ์พืชของไทยมากขึ้น


หากพิจารณาแยกประเภทเมล็ดพันธุ์ของไทยที่มีมูลค่าส่งออกมากที่สุด ในปี 2552 คือ กลุ่มของเมล็ดพันธุ์ผัก คิดเป็นร้อย
ละ 60.27 ของมูลค่าส่งออกทั้งหมด เมล็ดพันธุ์ผักที่สำคัญได้แก่ แตงโม แตงกวา มะเขือเทศ และพริก โดยตลาดส่งออก
สำคัญ ได้แก่ เนเธอร์แลนด์ เวียดนาม อินเดีย และญี่ปุ่น รองลงมาได้แก่กลุ่มเมล็ดพันธุ์พืชไร่ ร้อยละ 39.73 โดยมี
ข้าวโพดไร่ มีมูลค่าการส่งออกสูงที่สุด คิดเป็นร้อยละ 39.71 ของมูลค่าส่งออกทั้งหมด ตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ เวียดนาม
อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย


นายกสมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย กล่าวว่า “ศักยภาพในการส่งออกเมล็ดพันธุ์พืชของไทยและการเป็นฮับเมล็ดพันธุ์
แห่งเอเซีย ได้แก่ ความชำนาญของเกษตรกร ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่เพาะปลูก การชลประทาน สภาพภูมิอากาศ
ความเหมาะสมของสาธารณูปโภคพื้นฐาน และไทยยังเป็นศูนย์กลางพาณิชย์และคมนาคม ในอนาคตอันใกล้กำลัง
จะมีระบบลอจิกติกส์คมนาคมขนส่งขนาดใหญ่การลงทุนเส้นทางระหว่างประเทศในแนวเหนือ-ใต้ และแนวตะวันออก
จากทะเลจีนใต้ สู่ทะเลอันดามัน ในพม่า สำหรับมูลค่ารวมนั้น

- ไทยส่งออกเมล็ดพันธุ์มากเป็นอันดับ 12 ของโลก และอันดับ 1 ของเอเชีย-แปซิฟิค
- ไทยส่งออกเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด เป็นอันดับ 6 ของโลก (ส่วนจีนเป็นอันดับที่ 43),
- ด้านเมล็ดพันธุ์ผักไทยส่งออกเป็นอันดับ 11 ของโลก (ส่วนจีนเป็นอันดับที่ 9)
- เมล็ดพันธุ์ดอกไม้ ไทยส่งออกเป็นอันดับ 13 ของโลก (จีนเป็นอันดับที่ 6)


การที่ไทยจะก้าวไปสู่การเป็นฮับเมล็ดพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพได้นั้นภาครัฐและเอกชนควรร่วมมือกันในการกำหนดทิศทางการ
ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ไทย และควรตระหนักอยู่เสมอว่าในช่วงเวลาที่เรากำลังพัฒนา
อุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ไทยอยู่นั้น ประเทศอื่นๆ ก็กำลังพัฒนาอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์พืชด้วยเช่นกัน “





ดร.ชัยฤกษ์ สงวนทรัพยากร (Mr.Chairerg Sagwansupyakorn) อุปนายกสมาคม กล่าวว่า “ แนวทางในการพัฒนา
สู่การเป็นฮับเมล็ดพันธุ์

1. การวิจัย และพัฒนาสายพันธุ์เมล็ดพันธุ์อย่างจริงจัง และต่อเนื่อง การวิจัย และพัฒนาสายพันธุ์เมล็ดพันธุ์เรื่องที่จำเป็น
อย่างมาก เพราะพื้นที่ทำการเกษตรเริ่มมีลดลง การส่งเสริมวิจัย และพัฒนาจึงถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ภาครัฐควรหันมา
ให้ความสำคัญและสนับสนุนการวิจัย และพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชไทยอย่างเนื่องจากต้องอาศัยระยะเวลาที่นาน และมีต้น
ทุนในด้านเทคโนโลยีที่สูงมาก

2. พัฒนาห้องปฏิบัติการตรวจสอบเมล็ดพันธุ์ให้เข้าสู่ระบบมาตรฐานสากล ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจ
สอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ไทยควบคุมเพื่อการค้า ทั้งการส่งออก-นำเข้าเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ.2518
พร้อมทั้งสร้างความเชื่อมั่นทั้งด้านคุณภาพ และมาตรฐานให้ประเทศผู้นำเข้าได้ยอมรับ เช่น เมล็ดพันธุ์ทุกเมล็ดที่ได้ต้อง
ปราศจากโรค 100% เป็นต้น

3. การพัฒนาบุคลากร และโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ควรหยุดนิ่งในการพัฒนาระบบขนส่งได้อย่างรวดเร็วและทันท่วงที หรือ
พัฒนาความรู้ และยกระดับความสามารถนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ จนถึงเกษตรกร และควรตระหนักเสมอว่าประเทศต่างๆ
ที่เป็นคู่แข่งของไทยก็ได้พยายามพัฒนาและยกระดับตนเองขึ้นเพื่อให้แข่งขันในตลาดโลกได้เช่นกัน

4. มีเครื่องหมายการค้าเป็นของตัวเอง ปัจจุบันที่บริษัทไทยหลายบริษัททำธุรกิจในลักษณะของการรับจ้างเมล็ดพันธุ์ให้กับ
ต่างชาติ ทุกฝ่ายควรกระตุ้นให้คนไทยเกิดการตื่นตัวในเรื่องเมล็ดพันธุ์ ตระหนักถึงความสำคัญของเมล็ดพันธุ์ของไทยเอง
มากกว่าการรับจ้างผลิตจากชาวต่างชาติ”


คุณสุวรรณี ประเทืองสิทธิ์ (Ms.Suvannee Prathuangsit) กรรมการบริหารสมาคม กล่าวถึง แผนการดำเนินงาน
ของสมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย ในปี 2554 ว่า สมาคมฯ จะดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์กับสมาชิก เพื่อส่งเสริม
อุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ของไทยให้เจริญก้าวหน้า เช่น เสนอกรมวิชาการเกษตร ให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐ
และเอกชน เพื่อช่วยกันพัฒนาอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ของประเทศไทย, นำเสนอข้อคิดเห็นต่อภาครัฐในการหาแนวทางปฏิบัติ
ให้เหมาะสมกับกฎระเบียบต่างๆที่ออกมาบังคับใช้ , การจัดอบรม-สัมมนาให้ความรู้ และสานต่อโครงการ “ร้านจำหน่ายเมล็ด
พันธุ์คุณภาพ” ซึ่งเป็นโครงการที่ช่วยให้เกษตรกรได้เข้าถึงเมล็ดพันธุ์คุณภาพดี และสร้างความเชื่อมั่นในเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ
มาตรฐานจากร้านที่มีป้าย ร้านจำหน่ายเมล็ดพันธุ์คุณภาพ ปัจจุบันมีร้านค้าที่ได้รับป้ายฯ แล้วประมาณ 400 แห่ง




http://www.azooga.com/content_detail.php?cno=907
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11559

ตอบตอบ: 01/10/2011 3:15 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

739. ทำน้ำข้าวกล้องงอกสูตรขึ้นโต๊ะเสวย



เปิดเมนูเด็ดอีกสูตร 'บ๊ะจ่างข้าวกล้องงอก' สุดยอดคุณค่าอาหาร

ประชาชนแห่ชมสาธิตการทำน้ำข้าวกล้องงอก สูตรขึ้นโต๊ะเสวยในหลวง มืดฟ้ามัวดิน เจ้าหน้าที่รับไม่ไหว ทยอยให้ชม
รอบละ 50 คน ตั้งแต่เช้าจนเย็นก็ยังไม่หมด โวยต้องหาสถานที่จัดใหญ่กว่านี้ ด้าน อธิบดีกราบขอโทษ เพราะไม่คิดว่า
คนจะสนใจมากขนาดนี้ เร่งปั๊มสูตรทำลงวีซีดีแจกฟรี พร้อมลงเว็บไซต์ของกรม กับสนุกดอทคอม คาดต่อไปอาจเปิด
อบรมใน ทุกจังหวัด


ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี เปิดอีกสูตร “บ๊ะจ่างข้าวกล้องงอกสูตรถวายสมเด็จพระเทพฯ” คุณค่าสารอาหารครบถ้วน
เพราะเป็นอาหารคาวที่มีทั้งโปรตีน และพลังงานบวกกับสารกาบ้า และสารต้านอนุมูลอิสระ


ภายหลังมีประชาชนจำนวนมาก สอบถามเข้ามาที่สำนักงานหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ และกรมการข้าว กระทรวงเกษตร
และสหกรณ์ เกี่ยวกับสูตรและวิธีทำ “น้ำข้าวกล้องงอก” ที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีรับสั่งให้ศูนย์
วิจัยข้าวปทุมธานี ปรุงเพื่อนำขึ้นโต๊ะเสวย ทูลเกล้าฯ ถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทุก ๆ 3 วัน เนื่องจากเป็น
เครื่องดื่มที่มีสารอาหารครบถ้วน ทำให้กรมการข้าว ตอบสนองความต้องการของประชาชน เปิดโครงการสาธิตวิธี
ทำเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพดังกล่าว


โดยเมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 7 ม.ค. ที่สำนักพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าว กรมการข้าว ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
กรุงเทพมหานคร ได้จัดงานสาธิตวิธีการทำน้ำข้าวกล้องงอก และไอศกรีมข้าวกล้องงอก มีประชาชนสนใจเดิน
ทางมาร่วมงานตลอดทั้งวันนับพันคน ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุที่สนใจข่าวเรื่องน้ำข้าว กล้องงอก ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โปรดเสวย มีหลายสิบรายเดินทางมาจากต่างจังหวัด อาทิ จ.เชียงใหม่
พิษณุโลก ตรัง พัทลุง นนท บุรี สมุทรปราการ ฯลฯ ทำให้ประชาชนต้อง ยืนรอนานเพราะไม่มีเก้าอี้ หรือสถานที่จัดเตรียม
ไว้ให้นั่งรอการสาธิต ปัญหาเกิดจากสถานที่สาธิตรองรับได้แค่รอบละ 50 คน แต่มีประชาชนมากกว่านั้นหลายเท่า จึง
ต้องจัดการสาธิตตลอด ทั้งวันจนเจ้าหน้าที่ไม่ได้พักรับประทานอาหารกลางวัน เพราะประชาชน ผู้สูงวัยที่มาจากต่างจังหวัด
ต้องการมาชมแล้วเดินทางกลับบ้านได้ภายในวันเดียว จนเกิดความโกลาหลต้องให้ทุกคน ที่มาลงทะเบียนไว้ก่อน เพื่อ
จะได้เพิ่มรอบการ อบรม โดยจะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไป นอก จากนี้ผลิตภัณฑ์ข้าวกล้องที่มีวางจำหน่ายในสำนัก
ผลิตภัณฑ์ข้าว ประชาชนแย่งกันซื้อจนหมดภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง


ต่อมานายประเสริฐ โกศัลยวิตร อธิบดีกรมการข้าว ได้รับรายงานเรื่องดังกล่าว จึงลงมาขอโทษประชาชน โดยกล่าวว่าตน
กราบขออภัยในเรื่องสถานที่ที่ไม่ได้เตรียมพร้อมมากกว่านี้ เพราะไม่คาดคิดว่าจะมีประชาชนมามากมายอย่างนี้ ซึ่งตน
จะสั่งการให้ขยายการอบรมเพิ่มขึ้น เรื่อย ๆ โดยในวันที่ 16 ม.ค.นี้ จะจัดอบรมการทำน้ำข้าวกล้องงอก สูตรขึ้นโต๊ะเสวย
ที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี คลองหก จ.ปทุมธานี ซึ่งมีสถานที่กว้างขวาง สะดวก และเครื่องมือพร้อมกว่า จากนั้นในวันที่
20 ม.ค.จะสาธิตอีกครั้งที่สำนักวิจัยข้าว ข้างปั๊มน้ำมันปตท.ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน นอกจากนี้
ยังจะเร่งนำข้อมูลต่าง ๆ เช่น สูตรน้ำข้าวกล้องงอก สูตรไอศกรีมข้าวกล้องงอก วิธีการเพาะข้าวกล้องให้งอก วิธีการดู
ข้าวกล้องใหม่อายุไม่เกิน 6 เดือนว่าสีสันเป็นอย่างไร ทำเป็นแผ่นวีซีดีแจก และลงในเว็บไซต์ของกรมการข้าวด้วย
ภายในสัปดาห์นี้ อย่างไรก็ตามได้มีประชาชนโทรศัพท์มาจากต่างจังหวัดเป็นจำนวนมาก บอกว่าไม่สะดวกที่จะเข้ามา
รับการอบรมในกรุงเทพฯ ตนจึงสั่งการให้เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยข้าว และศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว ทั่วประเทศ 50 ศูนย์ เข้ามา
อบรม เพื่อนำไปอบรมต่อให้กับประชาชนในแต่ละจังหวัดที่ศูนย์ตั้งอยู่


“ผมกราบขออภัยจริง ๆ ที่วันนี้ประชา ชนมาแล้วไม่ได้รับความสะดวก และยังไม่ได้รับชมการสาธิต เพราะกรมการข้าว
ยังไม่มีตึกเป็นของตนเอง ต้องอาศัยกรมอื่นเป็นสถานที่ทำงาน เพราะเราเป็นกรมตั้งใหม่ ขอให้ประชาชนที่มาที่มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ ลงทะเบียนไว้ทั้งหมด เพื่อทางกรมจะได้ทยอยจัดการอบรมให้ และจะหาสถานที่ให้กว้างขวางเพื่อประชาชน
ที่มาจะได้ลงมือทำเองได้ด้วย โดยเฉพาะที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุม ธานี คลองหก จะมีอุปกรณ์พร้อมกว่านี้ และจัดการอบรม
เพิ่มทันทีในวันที่ 20 ม.ค. เพราะประชาชนร้องขอมาเป็นจำนวนมาก หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โทรศัพท์ไปสอบถาม
ที่ศูนย์ข้อมูลประชาสัมพันธ์ เรื่องน้ำข้าวกล้องงอก และไอศกรีมข้าวกล้องงอกโดยเฉพาะที่เบอร์โทร. 0-2577-1688-9”
นายประเสริฐ เผย


อธิบดีกรมการข้าว กล่าวต่อว่าตนจะไปสั่งการทันทีให้นำสูตรต่าง ๆ ลงเว็บไซต์ของ กรมการข้าว และให้ลงในเว็บไซต์
สนุกดอทคอม (www.sanook.com) ด้วย เพราะเห็นผู้สูงอายุต้องเดินทางมายืนรอตั้งแต่เช้าแล้วน่าเห็นใจมาก ทำ
ให้เห็นว่าคนไทยส่วนใหญ่ใส่ใจสุขภาพ และเห็นคุณค่าของข้าวไทย ของไทย ๆ ที่ทำง่าย ๆ และอยู่ในครัวของเราเอง
ที่เรามองข้ามกันมา ตลอด ตอนนี้ทุกคนสนใจและต้องการที่จะรู้วิธีการบริโภคที่ถูกต้อง ได้คุณค่าสารอาหารที่เป็นประโยชน์
ต่อร่างกายจริง ๆ ไม่ใช่เรื่องโฆษณาชวนเชื่อ หรือต้องไปเสียเงินแพงกินของนอก ประโยชน์ก็จะกลับมาสู่เกษตรกร สร้าง
อาชีพ เพิ่มรายได้ให้กับชาวนาได้อีกด้วย เพราะชาวนาผลิตข้าวกล้อง หรือข้าวกล้องงอกขายเองได้ เป็นการเพิ่ม
มูลค่าของข้าวไปในตัว โดยที่ชาวนา ไม่ต้องพึ่งพ่อค้าคนกลาง และโรงสี ที่ส่วน ใหญ่ชอบซื้อถูกแต่ขายแพง ทำให้ชาว
นามีแต่ หนี้มาโดยตลอดเพราะชาวนาไม่มีตลาดเป็นของตนเอง


“ผมแนะนำให้เกษตรกรรวมตัวกันจัดตั้งเป็นกลุ่ม หรือเป็นชุมชน ซื้อเครื่องสีข้าวขนาดเล็ก ราคาตัวละไม่เกิน 3 หมื่นบาท
จากกรมวิชาการเกษตร นำข้าวที่ปลูกเองมาสีเป็นข้าว กล้องขาย หรือทำเป็นข้าวกล้องงอก ก็เป็นการสร้างรายได้
ที่เลี้ยงครอบครัวได้สบาย ๆ กลุ่มเกษตรกรใดสนใจให้ไปดูงานของกลุ่มเกษตรกรพัทลุง ทำข้าวกล้องงอกพันธุ์สังข์หยด
จนทุกวันนี้ทำไม่ทันขายแล้ว เพราะกระแสความต้องการข้าวกล้องงอกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว” นายประเสริฐกล่าวตอนท้าย


ด้านประชาชนที่มาชมการสาธิต ต่างนั่งรอคิวด้วยความอดทน แม้จะรอตั้งแต่เช้าจนบ่ายก็ตาม อาทิ นายเทิด เกียรติสุขเกษม
อดีตอัยการที่ปรึกษา อายุ 80 ปี และนางผลิดอก เกียรติ สุขเกษม ภรรยา อดีตพยาบาล อายุ 69 ปี โดยนายเทิด กล่าว
ว่าตนสนใจมากเพราะเห็นข่าวว่า ในหลวงและพระราชินี โปรดเสวย จึงมั่นใจว่า ต้องเป็นของดีมีคุณค่าแน่ จึงต้องการมาชม
การสาธิตเพื่อนำกลับไปทำทานที่บ้าน เพราะตนชอบรับประทานข้าวกล้องมาตลอดเป็น 10 ปีแล้ว ทำให้ร่างกายแข็งแรง
ไม่เป็นเหน็บชา ความจำดีมาก ผิวไม่แห้งด้วย จะเห็นได้จากพระราชินี โปรดเสวยข้าวกล้องพันธุ์สังข์หยด ทำให้พระองค์
ยังคง ดูพระสิริโฉมงดงามตลอด


ด้านนางผลิดอก กล่าวว่าตนได้เห็นสรรพคุณของข้าวกล้องมาแล้วจากพี่สาวป่วยเป็นอัมพาต ปากเบี้ยวอยู่ 4-5 ปี หันมารับ
ประทานข้าวกล้องทุกมื้อ พร้อมกับออกกำลังกายรำมวยไท้เก๊ก ขณะนี้อัมพาตหายแล้ว เดินสะดวก จึงต้องการมาดูการสาธิต
และมาเอาสูตรทำน้ำข้าว กล้องงอก เพราะที่บ้านมีผู้สูงอายุหลายคน แม่ของตนอายุ 90 ปี ซึ่งจะต้องทำให้ทานทุกวัน อย่างไร
ก็ตามตนรอจนบ่ายแล้ว ก็ยังไม่ได้รับชมการสาธิต คาดว่าจะมาใหม่ในวันที่ 8 ม.ค.นี้ ตนขอตั้งข้อสังเกตว่ามหาวิทยาลัยเกษตรฯ
มีสถาน ที่กว้างขวาง ทำไมไม่จัดหาสถานที่ให้ดีกว่านี้ หอประชุมก็ใหญ่โตน่าจะจัดให้ประชาชนเข้าไปใช้สถานที่และชมการสาธิตได้


สำหรับน้ำข้าวกล้องงอกสูตร “ขึ้นโต๊ะเสวย” วิธีทำจะเริ่มจากเมล็ดข้าวกล้องใหม่ อัตรา
ส่วน 100 กรัม หรือ 1 ขีด ซาวน้ำล้างเอากรวดทรายออกก่อนหนึ่งครั้ง แล้วนำไปแช่
น้ำ 1 ลิตร ทิ้งไว้ 5-6 ชม. ก็จะเกิดเป็นตุ่มงอก สีขาวขึ้นมาที่เมล็ดข้าวพอมองเห็น
จากนั้นเอาขึ้นจากน้ำมาผึ่งให้แห้ง แล้วนำไปต้มใช้ไฟปานกลางให้เดือด แต่อย่าให้
เดือดมาก เสร็จแล้วใช้ผ้าขาวบาง หรือกระชอนกรองน้ำออกมาดื่ม โรยเกลือป่นให้ออก
เค็มเพิ่มรสชาติเล็กน้อย ก็จะเพิ่มความอร่อยนอกจากความหอมหวานที่มีอยู่ในน้ำข้าว
กล้องงอกแล้ว



ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า นอกจากนี้ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี ยังเปิดเผยสูตรบ๊ะจ่างข้าว กล้องงอก ถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี โดยนางสุนันทา วงศ์ปิยนุช นักวิจัยพันธุ์ข้าว เจ้าของสูตรน้ำข้าวกล้องงอก และบ๊ะจ่างข้าวกล้องงอก
เปิดเผยว่าตนได้ทำบ๊ะจ่างข้าวกล้องงอก และนางสำลี บุญญาวิวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาข้าว ได้นำขึ้น ทูลเกล้าฯ
ถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อครั้งเสด็จฯ โรงเรียนนายร้อยจปร. จ.นครนายก เมื่อทรงชิม พระองค์
มี รับสั่งว่าอร่อยมากเช่นกัน และไม่ทำให้อ้วนด้วย มีความหอมของข้าวเหนียวดำงอกด้วย ซึ่งสูตรเหมือนกับการทำบ๊ะจ่าง
ทั่วไป คนที่ทำบ๊ะจ่างเป็นอยู่แล้ว นำไปประยุกต์ทำได้เลย โดยเพิ่มข้าวเหนียวดำงอกเข้าไปเพื่อให้ตัดกับข้าวเหนียวขาว สีจะ
ได้ออกมาสวยงามน่ารับประทาน โดยสัดส่วนข้าวเหนียวขาวสองส่วน ข้าวเหนียวดำงอกหนึ่งส่วน แล้วก็ใส่เนื้อหมู ไข่แดง เม็ด
แปะก๊วย ปรุงรสตามใจชอบ เท่านี้ก็ได้บ๊ะจ่างข้าวกล้อง งอกที่เป็นอาหารคาวทาน มีคุณค่าสารอาหารครบถ้วน แล้วไม่อ้วนด้วย
เพราะข้าวกล้องจะอยู่ท้องอิ่มได้นาน.



http://www.azooga.com/content_detail.php?cno=682
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11559

ตอบตอบ: 01/10/2011 3:19 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

740. สุดยอดกับน้ำข้าวกล้องงอก ผลิตภัณฑ์เพิ่มคุณค่าอาหารไทย


จากกระแสการ “รักษ์สุขภาพ” ของผู้คนในสังคมยุคปัจจุบัน ส่งผลให้กลุ่ม “คนหัวใส ไอเดียเจ๋ง” คิดค้นผลิต “อาหารเพื่อ
สุขภาพ” ออกมาเอาใจ ให้เลือกซื้อหาบริโภคกันมากมายหลายหลาก

...อย่างที่เป็นข่าวครึกโครม และกำลังอยู่ในความสนใจขณะนี้ก็คือ “น้ำ ข้าวกล้องงอก” พร้อม ดื่ม สูตรของ
สำนักพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าว กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

นายนพรัตน์ ม่วงประเสริฐ ผู้ชำนาญการพิเศษ กรมการข้าวฯ บอกกับทีมงาน “ทำได้ ไม่จน” ว่า...อาจารย์พัชรี ตั้งตระกูล
จากสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ทำการศึกษาหาพันธุ์ข้าวที่เหมาะสม และ
สภาพการผลิตข้าวกล้องงอกที่มีประสิทธิภาพ กระทั่งพบว่าข้าวขาวดอกมะลิ 105 เมื่อนำมาเพาะเป็นข้าวกล้องงอกจะมี
สาร กาบา (GABA) มากกว่าข้าวกล้องปกติ 15 เท่า

...สารดังกล่าวสามารถ ป้องกันการทำลายสมอง รักษาโรค เกี่ยวกับระบบประสาท อาทิ โรควิตกกังวล นอนไม่หลับ ลมชัก
ลดความดันโลหิต อัลไซเมอร์ ลดน้ำหนัก อีกทั้ง ช่วยทำให้ผิวพรรณดีจากสรรพคุณดังกล่าว ต่อมาทางสำนักวิจัยและพัฒนา
ข้าว จึงมาพัฒนาคิดสูตรเพื่อเผย แพร่ให้กับผู้ที่ใส่ใจในสุขภาพ ของตัวเองและคนรอบข้าง


ซึ่งขั้นตอนกรรมวิธีการผลิตนั้นก็แสนจะง่าย เริ่มแรก นำข้าวกล้องอาจใช้ หอมมะลิ 105 หรือ ข้าวปทุมธานี 1 ที่ใหม่ เพราะ
จะทำให้จมูกข้าวยังคงมีชีวิตปริมาณ 100 กรัม/น้ำ 1 ลิตร แช่ทิ้งไว้ 6 ชม. เสร็จแล้วเอาขึ้นมาใส่ในผ้าขาวบางชุ่มน้ำหุ้ม
ต่อ 12 ชม. จะเกิดตุ่มที่เรียกว่า กาบา ซึ่งมีมากที่สุดในการงอกวันแรก จากนั้นนำมาใส่เครื่องปั่นน้ำเต้าหู้ เติมน้ำ 2 ลิตร
ใช้เวลาปั่นประมาณ 20 นาที เพียงเท่านี้ก็จะได้น้ำข้าวกล้องงอก เพื่อสุขภาพที่สดพร้อมดื่มได้ทันที

“...จริงแล้วน้ำข้าวกล้องจะอร่อยอยู่แล้ว ไม่ต้องเติมอะไรก็ได้ เหมือนกับน้ำข้าวที่คนโบราณกินกัน แต่ ถ้าต้องการความ
หลากหลาย พร้อมด้วยคุณค่าสารอาหารที่เป็นประโยชน์กับร่างกายเพิ่มมากขึ้น ก็ให้ เติมงาขาว ตามด้วย ถั่วเหลืองกะเทาะ
เปลือกคั่ว เพื่อช่วยเพิ่มกลิ่นหอม หรือจะ ใส่น้ำใบเตย ถ้าจะให้ถูกคอคุณน้องคุณหนู ก็สามารถใส่ โอวัลตินไวท์มอล นมสด
น้ำตาลนิดหน่อยเพื่อเพิ่มความอร่อย...”

และหากต้องการทำเก็บไว้บริโภคหลายๆวัน ควรนำไปผ่านความร้อน (พาสเจอร์ไรส์) แต่ก็จะทำให้สารกาบา หายไปประ
มาณ 30 เปอร์เซ็นต์ จากนั้นบรรจุภาชนะปิดผาให้สนิท เก็บไว้ในตู้เย็น เพียงเท่านี้ก็มีอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีเยี่ยมไว้ให้สมาชิก
ในครอบครัว “เปิบ” กันทุกวัน โดยไม่ต้องไปซื้อหาอาหารเสริมที่ “เม็ดเท่าไข่มด” แต่ราคานั้นแสนแพงให้สิ้นเปลืองกันซะเปล่าๆ...

สำหรับผู้ที่สนใจจะซื้อหามาลองเปิบ หรือจะดูเทคนิควิธีให้เห็นกันจะจะ สามารถติดต่อสอบถามเพิ่ม เติมได้ที่ โทร.
0-2577-1688-9, 08-9927-9640 ในวันและเวลาราชการ

...ไม่แน่อาจเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ทำกินได้ ทำขายก็มีสิทธิ์โกยเงิน...

เพ็ญพิชญา เตียว



http://www.azooga.com/content_detail.php?cno=677
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11559

ตอบตอบ: 01/10/2011 3:38 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

741. ชุดขยายเชื้อแบคทีเรียสำหรับเกษตรกรผลิตใช้เอง


การผลิต นวัตกรรม เชียงใหม่
สถานที่ติดต่อ
ที่อยู่: สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่
รหัสไปรษณีย์: 50000
จังหวัด: เชียงใหม่
ผู้ประสานงาน: ศูนย์บริหารศัตรูพืชจังหวัดพิษณุโลก
โทรศัพท์: 0555221699


เชื้อแบคทีเรีย บาซิลลัส ซับทิลีส เป็น Bio-agent ที่นำมาใช้ในการควบคุมศัตรูพืช ในภาคธุรกิจมีการผลิตออกจำหน่ายภายใต้
ชื่อการค้าที่หลากหลาย ศูนย์บริหารศัตรูพืชได้ดำเนินการส่งเสริมการใช้เชื้อแบคทีเรียดังกล่าว เพราะมีความปลอดภัย เป็นมิตรต่อ
สิ่งแวดล้อม และได้ทดสอบแล้วว่า มีประสิทธิภาพในการควบคุมศัตรูพืชสามารถใช้ทดแทนสารเคมีได้ แต่ปัญหาของการส่งเสริม
คือ ผลิตภัณฑ์จำหน่ายไม่ทั่วถึงทุกพื้นที่ และที่สำคัญคือ มีราคาแพง ทำให้ต้นทุนในการใช้แพงกว่าการใช้สารเคมี

ศูนย์บริหารศัตรูพืชจึงมุ่งที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตใช้เองให้ได้ เพื่อลดต้นทุนของการใช้ชีวภัณฑ์ทั้งสองชนิดนี้ให้ต่ำลง เมื่อ
ปี 2547-2548 ศูนย์ได้สูตรอาหารเลี้ยงเชื้อที่เตรียมได้อย่างง่าย ๆ จากคุณพัชรี มีนะกนิษฐ์ อดีตผู้อำนวยการส่วนบริหารศัตรูพืช
สำนักพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร พบว่า มีประสิทธิภาพในการควบคุมศัตรูพืช แต่มีปัญหาการปนเปื้อนค่อนข้างมาก จึงเริ่ม
พัฒนาถังหมัก เพื่อลดการปนเปื้อน ได้เชื้อจำนวนมาก ต้นทุนต่ำ

เพื่อการส่งเสริมการผลิตในระดับเกษตรกร ชุดอุปกรณ์ขยายเพิ่มปริมาณเชื้อแบคทีเรีย องค์ประกอบที่สำคัญประกอบด้วย การ
ออกแบบถังหมัก (การปรับใช้ถังน้ำที่มีใช้อยู่ทั่วไป) และสูตรอาหารสำหรับเลี้ยงเชื้อ เมื่อผลิตขยายออกมาแล้ว จะช่วยลดต้น
ทุนได้ถึง 80 เท่า จากการซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีจำหน่ายมาใช้โดยตรง และถูกกว่าการใช้สารเคมี



วิธีทำชุดขยายเชื้อแบคทีเรีย
อุปกรณ์ที่ใช้
ถังพลาสติกมีฝาปิด ขนาดบรรจุ 40-50 ลิตร
เชื้อแบคทีเรียบาซิลัส ซับทีลิส (บี เอส)
นมข้นหวาน 4 กระป๋อง
กากน้ำตาล 2 กิโลกรัม


เครื่องกรองอากาศฆ่าเชื้อด้วยแสง ยูวี. ประกอบด้วย
กล่องไม้อัด
หลอดไฟฟ้าชนิดแสงอุลต้าไวโอเลต
ฟองน้ำกรองอากาศ
ท่อลม
ปั๊มอากาศสำหรับตู้ปลาสวยงาม
หัวทรายพร้อมสายยาง
ถุงพลาสติก
ยางวง



วิธีการเพิ่มปริมาณขยายเชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส ซับทิลีส
ล้างถังหมักให้สะอาด
ต้มน้ำที่จะใช้ในการหมัก 20 ลิตร ให้เดือดประมาณ 15 นาที แล้วเทใส่ถังหมักขณะที่กำลังร้อน ใส่นมข้นหวาน 1 กระป๋อง คน
ให้นมละลาย ปิดฝาตั้งทิ้งไว้จนน้ำเย็น

ใส่หัวเชื้อแบคทีเรีย 250 กรัม หรือ 250 ซีซี.

ต่อสายท่ออากาศเข้าในถังหมัก ปิดฝา และเปิดเครื่องปั๊มอากาศ ทิ้งไว้ 3 วัน
เมื่อครบ 3 วัน ผสมนมข้นหวาน 1 กระป๋อง
+ นำกากน้ำตาล 1 ลิตร (1.5 กก.)

ผสมน้ำประมาณ 2 ลิตร ต้มให้เดือดประมาณ 15 นาที ตั้งทิ้งไว้ให้เย็น แล้วเติมลงในถังหมัก

ปิดฝาและเปิดเครื่องปั๊มอากาศ ทิ้งไว้ 3 วัน แล้วนำไปใช้ในอัตรา 100 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร


เชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส ซับทิลีส เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่นำมาใช้ทดแทนสารเคมีในการควบคุมโรคพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่ง
ถ้าหากเกษตรกรสามารถผลิตขึ้นมาใช้เองได้ ก็จะช่วยลดการใช้สารเคมีลดความเสี่ยงอันตรายจากสารเคมี และลดต้นทุนการ
ผลิตในเรื่องการควบคุมศัตรูพืช ก่อนการหมักต้องทำความสะอาดถังหมัก และต้มฆ่าเชื้อสายท่ออากาศและหัวทรายทุกครั้ง
และควรมีถุงพลาสติกกรองชั้นใน อากาศที่ใช้ต้องปั๊มผ่านเครื่องกรองอากาศฆ่าเชื้อด้วยแสง ยูวี.



ที่มา:
สถาบันสร้างเสริมนวัตกรรมภูมิปัญญาเศรษฐกิจพอเพียง กรมส่งเสริมการเกษตร “นวัตกรรมภูมิปัญญาเศรษฐกิจพอเพียงองค์
ความรู้ของเกษตรกรและชุมชน”, 2552.

สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่ โทรศัพท์ 0-5522-1699



http://www.greenreform.org


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 8:40 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11559

ตอบตอบ: 01/10/2011 5:40 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

742. การควบคุม โรคโคนเน่า-รากเน่า ของทุเรียน


ด้วยเทคนิคโรคพืช มก. และสาร m-dKP

ดร.ธรรมศักดิ์ สมมาตย์
ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์



การฉีดสาร m-dKP ด้วย เทคนิคโรคพืช มก. เข้าลำต้นทุเรียนในอัตรา 1:1 ของสาร 10 ซีซี. กับน้ำสะอาด 10 ซีซี. ต่อหนึ่งกระบอก
ฉีดยา โดยกำหนดว่า ถ้าความยาวของเส้นรอบวงต้น 20 ซม. ต้องใช้สารผสมนี้ฉีดเข้าไป 1 กระบอกฉีด ดังนั้น ถ้าต้นทุเรียน อายุ 10 ปี
ขึ้นไป และวัดเส้นรอบวงได้ประมาณ 65 ซม. ก็จำเป็นต้องใช้สารผสมนี้ 3 กระบอกฉีดเป็นอย่างน้อย

ถ้าเป็นโรคมาก มีต้นโทรม พืชทิ้งใบเกิน 50% ก็จำเป็นต้อง ฉีดทุก 2 เดือน จนกว่าจะฟื้นเป็นปกติ ทั้งนี้น้ำปุ๋ยและการบำรุงต้อง
ปฏิบัติตามปกติ

ส่วนกรณีที่มีแผลเน่า ความถี่ของการฉีดขึ้นอยู่กับความเร็วของการเกิดเนื้อเยื่อใหม่ นั่นคือ ความเน่าแฉะของแผลจะหายไป


ผลเบื้องต้น สารเคมี m-dKP ซึ่งมีขายในชื่อการค้า โฟลิ-อาร์-ฟอส 400 เมื่อฉีดเข้าลำต้นแล้วมีผลทำให้ทุเรียนเป็นโรค ฟื้นจาก
อาการเป็นโรคภายใน เวลาตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป คือ ต้นทุเรียนผลิใบใหม่ มีรากดี และออกดอกได้ตามปกติ เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่าย
ในการปฏิบัติ โดยวิธีการฉีดสาร โฟลิ-อาร์-ฟอส 4 00 เข้าลำต้น ชาวสวนจะเสียค่าใช้จ่ายต่อต้นต่อครั้งเพียง 20 กว่าบาท เท่านั้นเอง

วิธีการฉีดสารเข้าลำต้น (เทคนิคโรคพืช มก.) โดยการเตรียมสว่านและกระบอกฉีดยาขนาด 50 ซีซี. พร้อมเข็มและปลอกเข็ม
เบอร์ 16 หรือ 18 จากนั้นผสมสารเคมีใส่หลอดแล้วตัดปลอกเข็มให้สั้นเพียง 3-4 ซม. และหักเข็มทิ้งถ้าเข็มยาว

จากนั้นใช้สว่านเจาะต้นทุเรียนโดยเลือกตำแหน่งที่ยืนพอเหมาะ ไม่อยู่ใต้คาคบไม้ ใช้สว่านเจาะลงไป 3 ซม. เอียงมุม 45 องศา
จากนั้นใช้เข็มและปลอกสวมเข้าไปในรูที่เจาะแล้วให้แน่น โดยใช้ค้อนตอกเบาๆ ต่อมานำกระบอกยาที่มีสารเคมีนั้นสวมเข้าไปทำ
อย่างนี้จนครบตามจำนวนที่ต้องการ จากนั้นจึงเร่งสารเคมีหรืออัดสารเคมีเข้าลำต้นทั้งนี้การปฏิบัติควรทำในช่วงเช้า ซึ่งพืชกำลัง
สังเคราะห์อาหาร



วิธีการเจาะเข้าลำต้นและการฉีดสาร โฟลิอาร์-ฟอส 400 โดยใช้เทคนิคโรคพืช มก.

1. ให้เลือกจุดที่ฉีดสาร โฟลิ-อาร์-ฟอส 400 ที่บริเวณโคนต้นหรือกิ่งใหม่ โดยให้จำนวนหลอดฉีดสารที่กระจายอยู่รอบต้น

2. เจาะรูที่ลำต้นด้วยสว่านขนาด 7/32 โดยเจาะเฉียงทำมุม 45 องศากับแนวดิ่ง ของลำต้น เจาะลึกลงไปในลำต้นประมาณ 4
เซนติเมตร ขนาดของรูที่เจาะต้องพอเหมาะกับปลอกพลาสติกที่สวมเข็ม ควรใช้เข็มเบอร์ 16 หรือ 18 ก็ได้ ขณะที่เจาะควรกด
ตัวสว่านให้นิ่ง ห้ามแกว่งตัวสว่าน เพราะจะทำให้รูที่เจาะปากกว้างขึ้น สารจะไหลซึมออกมาได้ และควรแคะเศษเนื้อไม้ที่ติดอยู่
ในรูให้หมด

3. ตอกปลอกพลาสติกให้ลึกลงไปในประมาณ 3 ซม. ลงรูที่เจาะ ใช้ค้อนตอกเบาๆ เพื่อให้ปลอกเข็มแน่น ป้องกันการรั่วซึม ห้าม
ตอกแรงๆ เพราะปลอกพลาสติกจะแตกเสียหาย

4. ปักกระบอกฉีดยาที่ดูดสารผสมที่เตรียมไว้แล้ว ดันลงไปที่ปลอกเข็มให้แน่น ค่อยๆ อัดก้านหลอดฉีด แล้วใช้ตะปูล็อคก้านหลอด
หรือเส้นยางดึงล็อคก้านหลอดก็ได้ เพื่อ มิให้ก้านหลอดดันออก จะทำให้เกิดแรงดันของอากาศภายในหลอด ซึ่งจะดันสารผสม
โฟลิ-อาร์-ฟอส 400 รั่วซึมออกมา ถ้าพบการรั่วซึมให้รีบแก้ไขตรงจุดที่รั่วซึม

5. เมื่อสารผสมเข้าลำต้นหมด ให้เก็บกระบอกฉีดพร้อมเข็มและปลอกพลาสติก ออก ใช้คีมดึงปลอกพลาสติกออก แล้วใช้ปูนแดง
อุดรูที่เจาะให้สนิท

6. การฉีดสาร โฟลิ-อาร์-ฟอส 400 เข้าลำต้น ควรกระทำในเวลาเช้า เพราะจะเป็นเวลาที่สารผสมเข้าสู่ลำต้นไปอย่างรวดเร็ว

คุณสมบัติของสาร m-dKP สารนี้ปัจจุบันมีจำหน่ายในชื่อ โฟลิ-อาร์-ฟอส 400 มีคุณสมบัติกำจัดเชื้อราที่เป็นสาเหตุโรครากเน่า
ที่เกิดจากเชื้อ Pythium และ Phytophthorn ได้แก่ ไม้ผลทั่วไป สัปรด พริกไทย แตง ยาสูบ

สารเคมีชนิดนี้สามารถใช้รักษาและป้องกัน ในกรณีของต้นทุเรียน สาร โฟลิ-อาร์-ฟอส 400 สามารถใช้เพื่อป้องกันในอัตรา 2
ครั้งต่อปี ถ้าเป็นโรคมากควร ใช้ทุกๆ 1-2 เดือน จนกว่าจะหาย มีข้อที่ควรคำนึงถึงคือ ห้ามใช้ร่วมกับสารฉีดพ่นสารประเภท
ทองแดง และสารไดเมโธเอท



http://it.doa.go.th/durian/detail.php?id=186
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11559

ตอบตอบ: 01/10/2011 5:45 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

743. บังคับมะม่วงให้ออกดอก โดยการฉีดสารเข้าลำต้น

( ตำบลทุ่งหลวง )


การใช้สารบังคับให้มะม่วงออกดอกโดยการให้สารทางดินเป็นวิธีการที่ให้ผลดีตลอดมา เกษตรกรได้รับผลผลิตสูง สามารถ
กำหนดระยะการออกดอกและเก็บเกี่ยวผลผลิตให้ตรงกับช่วงที่มีมะม่วงออกสู่ ตลาดน้อย ซึ่งหมายถึงการขายผลผลิตได้
ในราคาที่สูง


แต่วิธีการดังกล่าว เมื่อปฏิบัติติดต่อกันกลาย ๆ ปี จะทำให้ต้นมะม่วงทรุดโทรมให้ผลผลิตน้อยลง อายุขัยของต้นมะม่วง
ทรุดโทรมให้ผลผลิตน้อยลง และอายุขัยของต้นมะม่วงจะสั้นลง อันเนื่องจากการตกค้างของสารบังคับที่ให้ทางดิน (6–11
เดือน ) ซึ่งมีผลกระทบต่อระบบต่าง ๆ ของต้น มะม่วงโดยเฉพาะระบบราก


กลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่งหลวงอำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี โดย พัฒน สว่างเกตุ ประธานกลุ่ม ฯ ได้พัฒนาการบังคับมะม่วง
ให้ออกดอกทั้งนอกและในฤดู โดยสารฉีดสารเข้าทางลำต้น ซึ่งเป็นวิธีการที่ได้ผลดี ประหยัด ใช้เวลาน้อย ให้ผลผลิตสูง
ต้นมะม่วงไม่ทรุดโทรมและสามารถบังคับมะม่วงได้ทุกปี เป็นการอารักขาพืช ให้มีอายุการให้ผลที่ยืนนานตามธรรมชาติ



ข้อดีของการบังคับมะม่วง โดยการฉีดสารเข้าทางลำต้น
1. ประหยัดสาร ใช้สารเพียง 100–150 ซีซี.ต่อต้น ที่ทรงพุ่ม 10 เมตร (สารจะถูกนำพาเข้าลำต้นโดยตรง)

2. ต้นมะม่วงได้รับสารเต็มที่ และรวดเร็ว ไม่มีการสูญเสียของสารทางดิน ทางอากาศ หรืการชะล้างของน้ำฝน แม้น
กระทั่งการดูดกิน ของวัชพืช

3. ประหยัดเวลา ใช้เวลาเพียง 45 วัน สำหรับมะม่วงพันธุ์ และ 60 วัน สำหรับมะม่วงพันธุ์หนักในการเปิดดอก
หลังจากการฉีดสารเข้าลำต้น

4. ไม่มีการตกค้างของในดิน เนื่องจากเป็นวิธีการให้สารโดยตรงทางลำต้น

5. ต้นมะม่วงไม่ทรุดโทรม เนื่องจากไม่กระทบต่อระบบราก

6. สะดวกในการปฏิบัติ ไม่จำเป็น ต้องจัดการเรื่องวัชพืช การเตรียมดินบริเวณโคนต้น การจัดหาน้ำในการผสมสาร และปฏิบัติ
ได้รวดเร็วกว่า วิธีการให้สารทางดิน

7. ไม่ต้องให้น้ำแก่ต้นมะม่วงก่อนหรือหลังการฉีดสาร

8. ไม่ผลกระทบต่อพืชแซม

9. สามารถบังคับมะม่วงได้ทุกปี โดยที่ต้นมะม่วง ไม่ทรุดโทรม

10.ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะดิน และ น้ำ




http://paktho.ratchaburi.doae.go.th/pum.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11559

ตอบตอบ: 01/10/2011 6:05 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

744. ชีวิตเปื้อนสารเคมี …วังวนตายผ่อนส่ง

พวงทิพย์ กลิ่นจันทร์ ศูนย์ข้อมูล กป.อพช.อีสาน



หากมีโอกาส ผ่านไปแถวพื้นที่ อ. ภูเขียว อ.คอนสาน จ.ชัยภูมิ หลายคนจะไม่แปลกใจกับป้ายโฆษณาสารเคมีมากมายที่ติดอยู่ตาม
ต้นไม้สองข้างทางถนน “ปุ๋ยชั้นดี ยาชั้นเยี่ยม ยิ่งใช้มาก-ผลผลิตยิ่งเพิ่ม แผ่นป้ายโฆษณาประกาศสรรพคุณของสารเคมีหลาย
ยี่ห้อ ล่อใจเกษตรกรให้ฝันเห็นผลิตผลของตนเองงอกงามเพิ่มขึ้น ขายได้ราคาดี มีให้เห็นอยู่ทั่วไปสองข้างทาง

ขณะบรรยากาศในหมู่บ้าน ตระหลบอบอวลไปด้วยกลิ่นยาฟุ้งกระจายไปตามลม บางครั้งแค่เดินผ่านแปลงผัก กลิ่นยาที่ฉีดยังติด
ตามตัว ชาวบ้านหลายคนในหมู่บ้าน ถ้าสังเกตเล็บจะสีซีด บิดเบี้ยว ติดเชื้อรา ผิวหน้าซีด ไม่มีชีวิตชีวา อาการเหล่านี้เป็นมาตรฐาน
ของคนทั่วไปในหมู่บ้านที่ใช้สารเคมี



บ้านปากช่อง ต.ห้วยยาง อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ
ชาวบ้านในหมู่บ้านกว่า 90 เปอร์เซนต์ ปลูกอ้อยเพื่อขาย โดยเริ่มปลูกตั้งแต่ ปี 2515 ซึ่งเริ่มตั้งโรงงานน้ำตาลที่น้ำพอง จ.ขอนแก่น
แต่ในตอนนั้นยังปลูกกันน้อย เริ่มปลูกมากขึ้นในช่วงปี 2528 หลังจากที่มีการตั้งโรงงานน้ำตาลที่ อ. ภูเขียว จ.ชัยภูมิ อ้อยของ
ชาวบ้านเป็นระบบโควตาจากโรงงานน้ำตาล โดยทางโรงงานจะให้ปัจจัยการผลิต คือ พันธุ์อ้อย ปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืช หาก
ทางโรงงานจะหักเงินใช้หนี้เมื่อเอาอ้อยไปขายที่โรงงาน

หมู่บ้านแห่งนี้เป็นบ้านที่มีแรงงานรับจ้างฉีดสารเคมีอยู่หลายคน ในหมู่บ้านจะมีคนรับจ้างฉีดสารเคมีประมาณ 30 คน คนเหล่านี้
ส่วนใหญ่ไม่ได้ทำไร่อ้อย เพราะมีที่ดินน้อย หรือไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง พวกเขาจะรับจ้างฉีดสารเคมีทั้งในหมู่บ้านและนอกหมู่บ้าน
ทั้งในเขต อ.คอนสาร อ.ภูผาม่าน อ.ศรีบุญเรือง จ.หนองบัวลำภู คือ จะมีคนนำรถมารับไปฉีดสารเคมีโดยมีงานฉีดสารเคมีทุกวัน
จนถึงเดือนกันยายน–ตุลาคม



ประดิษฐ์ เจริญเกียรติ
เกษตรกรผู้รับจ้างฉีดสารเคมีในหมู่บ้าน เล่าถึงการไปฉีดสารเคมีของตนเองว่า เริ่มแรกที่ไปฉีดสารเคมี คือไปรับจ้างฉีดสารเคมีใน
บริษัทน้ำตาลภูเขียว ได้ค่าจ้างถังละ 50 บาท (ถังน้ำมัน 200 ลิตร) ต่อมาจึงไปรับจ้างฉีดสารเคมีทั่วไป ตามแต่ใครจะจ้างและ
ทำมา 10 กว่าปีแล้ว ปัจจุบันรับจ้างฉีดถังละ 100 บาท ถังหนึ่งเมื่อนำมาใส่ถังฉีดแบกเป้หลัง จะได้ 12 ถัง วันหนึ่งฉีดได้ 5 ถัง
200 ลิตร ได้เงิน 500 บาท ถือเป็นรายได้ที่ดีพอสมควร

สำหรับสารเคมีที่ใช้ ทางเจ้าของไร่จะเตรียมไว้ให้ ทั้งนี้สารเคมีที่ใช้เป็นประจำ คือ กรัมม๊อกโซน ใช้ฉีดฆ่าหญ้าในช่วงที่ปลูก
อ้อยไปแล้ว แต่อ้อยยังไม่เกิด จึงไม่มีผลต่ออ้อย หลังจากอ้อยเริ่มเกิดจะฉีดยาฝุ่น (ยาที่เป็นผง) คือฟูตาโฟส เป็นยาฆ่าหญ้าและ
คลุมหญ้า หากหญ้าขึ้นมากก็จะผสมเป็น 3 สูตร คือยาประเภทผง เช่น เวลป้า – เค, ยาหมาแดง ผสมกับ กรัมม๊อกโซน และยาฆ่า
เครือ ซึ่งจะฉีดตอนอ้อยโตแล้วทำให้ไม่เกิดผลกระทบ

การใช้สารเคมีนั้นโดยเริ่มแรกที่ใช้ก็มีการใส่หมวก ใส่ถุงมือ ปิดปาก ป้องกัน แต่ต่อมาก็เริ่มชิน ปัจจุบัน ไม่มีการป้องกันใดๆ ทั้งสิ้น
ในการฉีดสารเคมี เวลาผสมสารเคมี บางครั้งก็ถูกมือ หรือบางครั้งหลังจากผสมสารเคมี จะใช้นิ้วจุ่มลงไปในยาดูว่า สารเคมีติด
นิ้วมือดีหรือไม่ เพื่อจะดูว่าสารตัวนี้มีประสิทธิภาพจับใบหรือไม่ หากยาไม่ค่อยติดผิวหนังนิ้วมือ ก็จะเพิ่มส่วนผสมของสารเคมีลง
ไปอีกครึ่งหนึ่ง เวลาฉีดสารเคมีส่วนใหญ่ใช้ถัง แบบโยก แต่มีบางรายใช้วิธีการนำถังขนาดใหญ่ตั้งบนรถไถ และใช้ปั๊มฉีด เพื่อให้
ฉีดได้มากขึ้นและทั่วถึง หลังจากฉีดสารเคมี เนื้อตัวจะถูกสารเคมีอาบจนเหนียวเหนอะ


พ่อหนูบวร
ชาวบ้านบ้านส้มป่อย หมู่ 4 ต.หนองบัวบาน อ.จัตุรัส จ.ชัยภูมิ อายุ 63 ปี เป็นผู้ที่รับจ้างฉีดสารเคมีในหมู่บ้านอีกคนหนึ่ง โดยพ่อบวร
จะไม่ใช้เครื่องป้องกัน จะแต่งตัวธรรมดาเวลาฉีดยา ไม่ปิดปากและจมูก ไม่ใส่ถุงมือ ที่สำคัญหลังจากฉีดยาไม่เคยอาบน้ำ ล้างมือ
ก่อนรับประทานอาหาร โดยมีรายได้จากการรับจ้างฉีดสารเคมีวันละ 700-1000 บาท ไม่กี่วันที่ผ่านมา พ่อหนูบวรไปรับจ้าง
ฉีดยาสารเคมีตามปกติ หลังจากฉีดยาเสร็จไปกินเหล้ากับเพื่อน เกิดอาการหน้ามืดวิงเวียนศีรษะ นอนพักอยู่ 2 วัน หมอบอกว่า
เป็นอาการแพ้ยา ปัจจุบันอาการดีขึ้นแต่ลูกๆ ไม่ให้ไปรับจ้างฉีดยาอีกแล้ว

ชาวบ้านในหมู่บ้านอีกคนหนึ่ง อายุ 67 ปี ไปฉีดยาฆ่าหญ้ากลับมามีอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย นอนพักอยู่ 1 วันก็เสียชีวิต
ในขณะที่ชาวบ้านอีกคนบรรทุกถังฉีดยาสารเคมีแต่สารเคมีไหลลงไปโดนหลัง เกิดอาการผิวหนังไหม้ เน่าเปื่อย นอกจากนี้ยัง
เกิดการแพร่ระบาดของโรคฉี่หนู ชาวบ้านบางคนเชื่อว่าเป็นเพราะหนูโดนสารเคมีในการเกษตร ทำให้เกิดโรคระบาดของเชื้อ
โรคในหนู สารเคมีที่ชาวบ้านใช้ส่วนใหญ่จะถูกกำหนดมาโดยโรงงานน้ำตาล โดยจะมีเจ้าหน้าที่มาให้ความรู้ในการใช้แก่ชาวบ้าน
ซึ่งส่วนใหญ่ชาวบ้านจะกู้สินเชื่อจากโรงงาน ทั้งนี้ยี่ห้อของสารเคมีจะเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ตามที่ทางโรงงานจะกำหนดมาให้ใช้ ทั้งนี้
สารเคมีที่ซื้อจากโรงงาน จะมีราคาสูงกว่าซื้อตามท้องตลาด

โดยทั่วไปในหมู่บ้านจะพบป้ายโฆษณาสารเคมี ติดตามต้นไม้ ข้างถนนสายหลักของหมู่บ้าน โดยโฆษณาถึงความจำเป็นของ
เกษตรกรในการกำจัดศัตรูพืช พวกหญ้าว่ามีผลทำให้ผลผลิตลดลงพร้อมกับโฆษณายี่ห้อสารเคมี นอกจากนี้ยังมีการลดแลกแจก
แถม หากซื้อในปริมาณมาก มีคูปองส่งชิงรางวัล ได้หม้อหุงข้าว กระติกน้ำร้อน ตู้เย็น



นายบุญยัง โกฎหอม
อายุ 51 ปี ชาวบ้านหมู่ 1 ต.กู่กาสิงห์ อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด ตนมีรายได้ปี ละ 20,000-22,000 บาท เริ่มทำมาตั้งแต่ปี
2530 การรับจ้างฉีดยาผู้มาจ้างจะต้องซื้อยามาให้ ซึ่งค่าจ้างจะคิดเป็นประเภทยา ว่าชนิดไหนมีอันตรายและกลิ่นฉุนมากก็จะคิด
ราคาสูง ถึง 350 บาท และต่ำสุด 100 บาท ในขณะที่ฉีดยาในบางครั้ง ก็จะมีการอมมะนาวเอาไว้ เนื่องจากว่าเป็นการช่วยอาการ
ที่เกิดจากการฉีดยาและเห็นได้ผลเพราะในขณะที่ฉีดยาไม่มีอาการ วิงเวียน หรือตาลายแต่อย่างใด การฉีดพ่นสารเคมีของ
นายบุญยังจะฉีดทุกวัน เริ่มตั้งแต่ 9.00 โมงเช้าถึง 5.00 โมงเย็น หยุดช่วงพักกลางวัน ในตอนนี้คนในครอบครัวไม่อยากจะให้
ฉีดยาต่อไปอีก เนื่องจากรู้ว่ามีอันตราย และตนก็อายุมากแล้ว และอาชีพนี้เริ่มมีคนทำเพิ่มมากขึ้นทุกวันในตอนนี้

ชาวบ้านโดยส่วนใหญ่ไม่ได้ตระหนักถึงพิษภัยของสารเคมี บางคนบอกว่ายังไม่เห็นมีใครเป็นโรคจากสารเคมีโดยตรง แต่บางคน
ก็รู้ว่ามีผลกระทบแต่ไม่เห็นผลทันตาและสะสมในร่างกายอยู่ทุกวัน ถึงอย่างไรชาวบ้านบอกว่าจำเป็นต้องใช้สารเคมีอยู่ เพราะ
หากไม่ใช้สารเคมีหญ้าก็จะขึ้นและผลผลิตตกต่ำ ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ทั้งที่ตอนแรกอาจจะไม่กล้าใช้ เพราะกลัวว่าจะมีผลกระทบ
แต่พอใช้ได้แล้วเห็นผล จึงนำไปใช้กันอย่างแพร่หลาย ปัจจุบันชาวบ้านต้องการให้มีผลผลิตมาก ๆ เพื่อจะได้ขาย ทำให้ต้องใช้
สารเคมีเพิ่มมากขึ้นทุกวัน



อุบล อยู่หว้า
หนึ่งในคณะทำงานสารเคมี เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสาน เปิดเผยถึงสถานการณ์การใช้สารเคมีในชุมชนว่า สาร
เคมีการเกษตรที่มีการใช้มากที่สุดหลักๆ มีสามกลุ่ม คือ สารกำจัดวัชพืช หรือยาฆ่าหญ้า แมลง และโรคพืช กลุ่มบริษัทที่ครอง
ตลาดสารเคมีในประเทศไทยมากที่สุดยังเป็นกลุ่มประเทศทางยุโรป ปัจจุบันบริษัทเหล่านี้ย้ายฐานการผลิตจากประเทศตัวเอง
ไปประเทศในเอเชีย เช่นประเทศเยอรมัน ไปประเทศอินเดีย ในประเทศไทยมีผู้นำเข้าสารเคมีทั้งรายใหญ่ รายย่อย ผู้นำเข้านำมา
ผลิตเป็นตัวยาที่มีชื่อทางการค้าต่างๆ สารเคมีตัวเดียวกันนำมาตั้งชื่อทางการค้ามากมายเป็นหมื่น ๆ ชื่อ ซึ่งชาวบ้านแต่ละพื้นที่
นิยมใช้สารเคมีไม่เหมือนกันตามสภาพการผลิต

สิ่งที่น่าสนใจ ในเรื่องผลกระทบของสารเคมี คือ ประเทศที่ใช้สารเคมีกันมาก เช่น ประเทศอเมริกา และประเทศในแถบยุโรป
ประชาชนได้รับอันตรายน้อยกว่า ประเทศไทย ลาว เขมร เวียดนาม ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าการควบคุมการใช้ในประเทศพวกนี้เป็น
ไปอย่างเข้มงวด จะซื้อได้ต้อง จะใช้ได้ต้องมีใบอนุญาต ผู้ใช้สารเคมีต้องผ่านการเรียน ต้องมีการอบรมการใช้ มีกฎหมายและ
มาตรการที่เข้มงวดในเรื่องการใช้สารเคมี ในขณะที่บ้านเรามีไม่มีมาตรการรองรับ ถึงจะมีการประกาศยกเลิกสารเคมีบางตัว แต่ยัง
สามารถซื้อได้ทั่วไป

ปัญหาที่สำคัญ คือ ระบบการผลิต ถ้าเป็นการผลิตแปลงขนาดใหญ่ เพื่อตอบสนองระบบการตลาดใหญ่ก็จะยากขึ้นในการที่จะ
หลบเลี่ยงไม่ใช้สารเคมี เมื่อเศรษฐกิจครอบครัวพึ่งพิงเศรษฐกิจการทำกินแบบการค้า เขาไม่พร้อมเสี่ยงกับพืชผักที่ปลูก ไม่พร้อม
ที่จะเสี่ยงกับความเสียหาย การปรับมาทำเกษตรโดยไม่ใช้สารเคมีไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะเกษตรแบบเคมีเป็นกระแสหลักที่อยู่คู่กับ
ชาวบ้านมาตลอด ความมั่นใจ ความรู้ทักษะ ระบบนิเวศน์ที่เสียไปและถูกทำลายไปหลายปี เรื่องเหล่านี้เป็นความยุ่งยากในการ
ปรับและต้องใช้เวลาและอาศัยการคิดค้น

ในขณะที่ จำนวนคนที่รับจ้างฉีดสารเคมีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นั้นเป็นสิ่งบ่งชี้ว่าในวิถีการผลิตของเกษตรกรในประเทศ ก็ยังอยู่ในวงจร
ของเกษตรเคมี ผลประโยชน์ที่แท้จริงตกเป็นของบริษัทข้ามชาติที่ผลิตสารเคมีมาขายเป็นหลัก อันตรายและผลกระทบย่อมตก
อยู่กับผู้ผลิตที่ถือว่าใกล้ชิดโดยตรงและผู้บริโภคซึ่งเป็นเป้าหมายหลักในทางเศรษฐกิจ ในขณะที่รัฐบาลเองก็ยังมีนโยบาย
เกษตรอินทรีย์แต่เพียงรูปแบบ ส่วนการปฏิบัติ
ยังอยู่ภายใต้โครงสร้างสังคมแบบเดิมที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลง

การประกาศประเทศ เข้าสู่สถานะของครัวโลกจะยังคงเดินเข้าสู่เส้นทางใด หากชีวิตที่ตายผ่อนส่งมากขึ้นทุกวันด้วยมฤตยูสีดำที่
สะสมในร่างกายของชาวบ้านแต่ละคน…….



* หมายเหตุ เรียบเรียงข้อมูลจากเอกสาร คณะทำงานสารเคมี เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสาน



http://www.thaingo.org/cgi-bin/content/content1/show.pl?0197
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11559

ตอบตอบ: 01/10/2011 6:29 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

745 เทคโนโลยีการป้องกันกำจัดโรครากเน่าโคนเน่าทุเรียน

อันเนื่องมาจากเชื้อ Phytophthora palmivora ในพื้นที่ จังหวัดตราด และจันทบุรี


นิรนาม


จากลักษณะพื้นที่และสภาพภูมิอากาศของจังหวัดตราดและจังหวัดจันทบุรี มีฝนตกติดต่อกันเป็นระยะ เวลายาวนานประมาณ 8
เดือน ปริมาณน้ำฝนตลอดทั้งปีเฉลี่ยประมาณ 2,500 มม. ขึ้นไป และความชื้นสัมพันธ์ ในอากาศเฉลี่ยตลอดปีไม่ต่ำกว่า 80
เปอร์เซ็นต์ รวมทั้งอุณหภูมิเฉลี่ยจะอยู่ในช่วง 27-30 องศาเซลเซียส

จากปัจจัย ที่เหมาะสมทั้งสามอย่างนี้ ประกอบกับเกษตรกรนิยมปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทองกันเป็นส่วนมาก จึงเป็นสาเหตุให้
เกษตรกรทำสวนทุเรียนพบปัญหาเป็นอย่างมาก ในด้านการระบาดเข้าทำลายของโรครากเน่าโคนเน่าของทุเรียน อันเนื่องมา
จากเชื้อ Phytophthora palmivora อย่างรุนแรง ทำให้ต้นทุเรียนมีอาการทรุดโทรมและตายลงเป็นจำนวนมาก เกิดการ
สูญเสียในด้านเศรษฐกิจ เกษตรกรมีรายได้ลดน้อยลง และต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา ในอัตราที่สูง

จากการศึกษาค้นคว้าของศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี พบว่า การป้องกันและรักษาโรครากเน่าโคนเน่าของทุเรียน ต้องทำควบคู่ไปกับ
การสภาพแวดล้อมภายในสวนให้เหมาะสม เพื่อที่จะส่งเสริมให้ต้นทุเรียนมีการเจริญเติบโตดี มีความสมบูรณ์ แข็งแรง มีความต้าน
ทานต่อการเข้าทำลายของโรคและแมลง

นอกจากนี้ยังพบว่าการป้องกันและรักษา โรครากเน่าโคนเน่าของทุเรียนจะไม่มีวิธีการใดวิธีการหนึ่งโดยเฉพาะ แต่ต้องดำเนินการ
รักษาด้วยวิธีผสมผสานกัน หลายรูปแบบ โดยใช้ทั้งสารเคมี ธาตุอาหาร และอาหารเสริม รวมทั้งเชื้อจุลินทรีย์ พวกเชื้อราไตโค-
เดอร์มาร่วมด้วย

เพื่อเป็นการทดสอบและขยายผลงานการป้องกันกำจัดโรครากเน่าโคนเน่าของทุเรียนในพื้นที่ๆ มีการระบาด สำนักวิจัยและพัฒนา
เกษตรเขตที่ 6 จึงได้นำวิธีการดังกล่าวไปดำเนินการพัฒนาในพื้นที่เกษตรกรจังหวัดจันทบุรี และตราด โดยเปรียบเทียบกับวิธีที่
เกษตรกรนิยมปฏิบัติ เพื่อให้ได้วิธีการที่เหมาะสม และไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้และผู้บริโภค รวมถึงทำให้ได้คุณภาพของผลผลิต
และผลตอบแทนสูงที่สุด



วิธีใช้เทคโนโลยีในการป้องกันกำจัดโรครากเน่าโคนเน่าของทุเรียนแบบผสมผสานตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร


1. แบ่งระดับความสมบูรณ์ของต้นทุเรียนเป็น 4 ระดับ เพื่อทำการรักษาตามระดับอาการของโรคที่เข้าทำลาย

ระดับที่ 1 ทดแทนต้นทุเรียนมีความสมบูรณ์ 60-70 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป โครงสร้างของต้นดี ปริมาณใบ หนาแน่น ใบมีสีเขียวเข้มเป็นมัน
ไม่มีโรคและแมลงเข้าทำลาย

ระดับที่ 2 ทดแทนความสมบูรณ์ของต้นอยู่ในระดับปานกลางประมาณ 50-60 เปอร์เซ็นต์ โครงสร้าง ของต้นค่อนข้างดี
ปริมาณใบค่อนข้างหนาแน่น สีใบเขียวสดใส มีโรคเข้าทำลายที่ลำต้น กิ่งเล็กน้อย ยังไม่ถึงระดับที่ เป็นอันตรายต่อต้นทุเรียน

ระดับที่ 3 ทดแทนความสมบูรณ์ของต้นน้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ โครงสร้างของต้นไม่ดี ใบค่อน ข้างน้อย สีใบเหลืองซีด ส่วนของปลาย
ยอดแห้งเป็นบางกิ่ง มีโรคและแมลงเข้าทำลายที่ลำต้น กิ่ง ใบ และราก ในระดับที่ ค่อนข้างรุนแรง

ระดับที่ 4 ทดแทนความสมบูรณ์ของต้น 20-30 เปอร์เซ็นต์ มีใบและกิ่งแห้ง มีกิ่งแขนงแตกออก ตามลำต้นและกิ่ง โรคเข้าทำลาย
ที่ระบบราก ลำต้น และกิ่ง ในระดับที่รุนแรง



2. การจัดการทางด้านสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นทุเรียน
2.1 ทำการปรับดินบริเวณโคนต้นทุเรียนให้สูง
กว่าบริเวณข้างเคียง เพื่อให้น้ำมีการไหลระบายถ่ายเท ได้ดี ไม่แช่ขังอยู่ที่โคนต้นทุเรียน ในกรณีที่นำหน้าดินมาถมบริเวณโคน
ต้นให้สูงขึ้น มีข้อที่ควรระวัง คือ อย่านำดินเหนียว ที่มีการระบายน้ำไม่ดีมาใช้ และดินที่นำมาจะต้องไม่ใช้ดินที่มาจากสวนที่มีการ
ระบาดของโรครากเน่าโคนเน่าอยู่แล้ว เนื่องจากจะยิ่งทำให้เกิดการระบาดของโรครากเน่าโคนเน่าที่บริเวณคอดินมากยิ่งขึ้น

2.2 ในกรณีที่ตั้งสวนเป็นที่ลุ่มต่ำและมีน้ำขัง ให้ขุดคูน้ำรอบบริเวณสวนและทำทางระบายน้ำออกจาก สวน เพื่อไม่ให้เกิดน้ำแช่
ขังซึ่งจะเป็นสาเหตุของการแพร่ระบาดของเชื้อโรคได้

2.3 ปรับปรุงบำรุงดิน โดยหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วให้ใส่ปูนขาวหรือปูนโดโลไมท์ เพื่อปรับระดับ ความเป็นกรดด่างของดิน
ให้อยู่ในระดับ 5.5-6.5 อัตราในการใส่ขึ้นอยู่กับระดับความเป็นกรดเป็นด่างของดิน ในสวนทุเรียนแต่ละแห่งเป็นปัจจัยสำคัญ
ร่วมกับการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในอัตราต้นละ 10-20 กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับชนิดของปุ๋ย และขนาดของต้น



3. จัดการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของต้นทุเรียน
3.1 ตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่งเพื่อให้มีการระบายอากาศได้ดีและแสงแดดส่องได้ทั่วถึง ต้นที่ถูกเชื้อโรค เข้าทำลายให้ตัดแต่งกิ่งที่
เป็นโรคและกิ่งแห้งทิ้ง แล้วทาแผลด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา

3.2 การใส่ปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ของต้นทุเรียน ปุ๋ยทางดินสูตร 15-15-15, 16-16-16 ในช่วงหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต
อัตราประมาณ 2-4 กก./ต้น และสูตร 8-24-24, 9-24-24 และ 12-24-12 ในช่วงเร่งการออกดอกและช่วงติดผล อัตราประ
มาณ 2 กก./ต้น ร่วมกับการพ่นปุ๋ยและอาหารเสริมทางใบ ซึ่งประกอบ ด้วยสารอาหารกึ่งสำเร็จรูปที่มีคาร์โบไฮเดรตเป็นองค์ประกอบ
หลัก (ครอพไจแอนท์หรือโพลีเซค) 20-30 ซีซี. กรดฮิวมิค (วินนีก้า) 20 ซีซี. ปุ๋ยเกล็ดสูตร 15-30-15 อัตรา 40-60 กรัม
ทั้งหมดนี้ผสมรวมกันในน้ำ 20 ลิตร พ่นติดต่อกัน 3-4 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 7-10 วัน


4. จัดการป้องกันและกำจัดเชื้อที่เข้าทำลายบริเวณลำต้น กิ่ง และใบ
4.1 ฉีดสารประกอบฟอสฟอรัส แอซิค ความเข้มข้น 40% L (โพลีอาร์ฟอส 400) เข้าลำต้นทุเรียน โดยใช้สารประมาณ 20-30
ซีซี/ต้น/ครั้ง โดยปริมาณของสารขึ้นอยู่กับขนาดของลำต้น เมื่อฉีดสารแล้วจะต้องรีบปิดรูด้วย ปูนแดงที่ใช้กินกับหมากทันที เพื่อป้อง
กันการเข้าทำลายของเชื้อโรค

4.2 พ่นสารให้ทั่วทรงพุ่มด้วยสารเคมีชนิดต่างๆ ดังต่อไปนี้
- เมทาแลกซิล อัตรา 20-40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ชื่อการค้า คอบบร้า พาโตแล็คซิล พาย เมทาแลกวิล 5 จี ริโดมิล ลาซาล เอฟรอน

- ฟอสฟอรัส แอซิค (Phosphorus acid) อัตรา 100 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ชื่อการค้า โพลีอาฟอส - ฟอสเอ็ทธิล อลูมิเนียม (fosethyl
aluminium) อัตรา 50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ชื่อการค้า อาลีเอท สารตัวนี้ห้ามผสมกับปุ๋ยที่ฉีดพ่นทางใบ

- โอฟูเรซ (ofurace) อัตราดูตามคำแนะนำการใช้ ชื่อการค้า ดอฟูเรซและคัลแทน (โอฟูเรซ + โฟลเพ็ท)

โดยการเลือกใช้สารชนิดต่างๆ ดังกล่าวสลับกันไปทุก 10-15 วัน/ครั้ง จนอาการของโรคลดวามรุนแรง

4.3 ทาแผลที่บริเวณลำต้นและกิ่ง ด้วยสารเคมีดังต่อไปนี้ โดยทำการถากเปลือกส่วนที่เป็นโรคออก แล้วทาด้วย สารเคมีสลับกัน
ไปทุก 10-15 วัน/ครั้ง จนกว่าแผลจะแห้งสนิท

- ฟอสเอ็ทธิล อลูมิเนียม อัตรา 80-150 กรัม/น้ำ 1 ลิตร
- เมทาแลกซิล อัตรา 80-100 กรัม/น้ำ 1 ลิตร
- ผสมสารฆ่าแมลงคลอร์ไพรีฟอส (ลอร์สแบน เรลเดน) ลงไปด้วย ในขณะที่ทาสารเคมีบริเวณลำต้น เพื่อเป็นการป้องกันการเข้า
ทำลายของมอดเจาะลำต้นทุเรียน


[color=red]5. ควบคุมปริมาณเชื้อในดิน และกระตุ้นการเกิดรากใหม่[/color]
5.1 ราดดินด้วยสารเมทาแลกซิล อัตรา 100-200 กรัม กรดฮิวมิค 100 ซีซี. + ปุ๋ยเกล็ด สูตร 15-30-15 อัตรา 60 กรัม ผสม
น้ำรวมกัน 20 ลิตร ราดดินบริเวณรอบๆ โคนต้นใต้ทรงพุ่มทุก 15 วัน/ครั้ง ติดต่อกัน 2-3 ครั้ง เพื่อกำจัดโรคที่อยู่ในดินและกระตุ้น
การเกิดรากใหม่ หรืออาจจะใช้เมทาแลกซิลชนิดเม็ดหว่านลงดิน โดยไม่ต้องผสมน้ำราด อัตรา 20-40 กรัม/ตารางเมตร สลับ
การใช้เมทาแลกซิล กับเทอร์ราคลอร์ ซูเปอร์
เอ็กซ์ อัตรา 15 ซีซี. ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ราดบริเวณโคนต้น

5.2 หว่านเชื้อไตรโคเดอร์มาที่ผสมแล้ว ด้วยส่วนผสมกับอัตราส่วนดังนี้ เชื้อ + รำข้าว + ปุ๋ยคอก (1 : 4 : 10 โดยน้ำหนัก)
ในอัตรา 50 กรัม/ตารางเมตร ในกรณีที่ใช้เชื้อร่วมกับการราดสารเคมีต้องใส่เชื้อหลังจาก ราดสารแล้วอย่างน้อย 2-4 วัน

การรักษาและฟื้นฟูต้นทุเรียนที่ถูกเชื้อไฟทอปธอราเข้าทำลายในอาการที่รุนแรงมากแล้วเป็นสิ่งที่ทำได้ยากมาก เนื่องจากเชื้อ
มีโอกาสจะกลับเข้ามาทำลายซ้ำได้ตลอดเวลาเมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสม สำหรับการเจริญเติบโตของเชื้อโรค

ดังนั้นเกษตรกรควรจะต้องสำรวจตรวจดูต้นทุเรียนให้บ่อยและสม่ำเสมอ เมื่อพบเชื้อโรคเริ่มเข้าทำลายให้รีบทำการรักษาตามวิธี
ใดวิธีหนึ่ง เพื่อจะได้ลดค่าใช้จ่ายและเวลาที่จะใช้ในการรักษาและฟื้นฟูต้นทุเรียน

นอกจากนี้สิ่งที่สำคัญก็คือ เกษตรกรต้องเริ่มหันมาให้ความสำคัญในการป้องกันการเข้าทำลายของเชื้อโรคมากกว่าแต่ก่อน เพราะ
เกษตรกรเริ่มจะเข้าใจแล้วว่าการรักษาและฟื้นฟูนั้นทำได้ยาก รวมทั้งเป็นการสิ้นเปลืองเงินทุน เวลา และ แรงงานด้วย




http://it.doa.go.th/durian/detail.php?id=267&PHPSESSID=034a978a99584c4fea81e2f9bb32d140
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11559

ตอบตอบ: 01/10/2011 7:02 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

746. สารพิษตกค้างในทุเรียนไทย ที่ส่งออกไปประเทศมาเลเซีย

ศรุต สุทธิอารมณ์



หนังสือพิมพ์ประเทศมาเลเซียในช่วงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2537 ตีพิมพ์ข่าวพบสารเคมีและสารฆ่าแมลงตกค้าง ในทุเรียนไทย
ที่ส่งไปขายประเทศมาเลเซีย โดยให้เหตุผลว่าเนื่องจากเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนของไทยฉีดสารฆ่าแมลง เข้าไปในต้นทุเรียน
เพื่อป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช

นอกจากนี้ยังตรวจพบสารเคมีที่ใช้สำหรับรักษาความสดของผลไม้ โดยไม่ได้ระบุว่าเป็นสารเคมีชนิดใด สารทั้งสองชนิดนี้
เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคทุเรียน คนไทยจะไม่บริโภคพ่อค้าจึงต้องส่ง ทุเรียนดังกล่าวไปจำหน่ายในราคาถูกที่ประเทศมาเลเซีย

ข่าวดังกล่าวเป็นผลเสียต่อการส่งออกทุเรียนของไทย รัฐบาลไทยโดยกรมการค้าต่างประเทศ (กระทรวงพาณิชย์) กองกีฏและ
สัตววิทยา กองควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร และกองวัตถุมีพิษ (กรมวิชาการเกษตร) กองป้องกันและ กำจัดศัตรูพืช
(กรมส่งเสริมการเกษตร) และคุณประภัทรพงษ์ เวชชาชีวะ นายกสมาคมชาวสวนผลไม้จันทบุรี จึงได้จัด ประชุมเรื่อง “การ
ใช้สารเคมีรักษาคุณภาพทุเรียนส่งออก” ที่ห้องประชุมกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม
2537 การประชุมสรุปได้ดังนี้ เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนของไทยไม่เคยฉีดสารฆ่าแมลงเข้าไปในต้นทุเรียน เพื่อป้องกันกำจัด
แมลงศัตรูพืช แต่จะ

ฉีดเฉพาะกรดฟอสฟอรัสเข้าในลำต้น เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่ต้น
ทุเรียน สร้างภูมิต้านทานต่อโรคผลเน่าซึ่งเกิดจาก เชื้อรา Phythoptera sp.


นอกจากนี้ทุเรียนไทยที่ส่งไปประเทศ มาเลเซียไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีเพื่อชะลอหรือรักษา ความสดเพราะตลาดมาเลเซียต้อง
การทุเรียนในลักษณะสุกงอม การส่งออกทุเรียนไทยจะใช้สารเคลือบผิว (Wax) เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาเฉพาะตลาดที่อยู่
ไกลเท่านั้น เช่น ประเทศฮ่องกง ญี่ปุ่น แคนาดา และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น

ส่วนปัญหาสารเคมีตกค้างในผลไม้ส่งออกไปต่างประเทศนั้น ประเทศผู้ซื้อโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศแคนาดาและ สหรัฐอเมริกา
จะตรวจสอบพิษตกค้างตลอดเวลา ในกรณีที่พบแมลงศัตรูพืชก็จะเผาทำลายสินค้าทั้งหมดทันที

จากเหตุผลนี้ ประเทศที่มีการตรวจสอบอย่างเข้มงวดมากกว่าประเทศมาเลเซียก็ยังไม่เคยพบปัญหาดังกล่าว ในทุเรียนของไทย
อีกทั้งประเทศสิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นผู้นำเข้าทุเรียนจากไทยและมาเลเซีย ก็ไม่เคยมีรายงานการตรวจพบสารพิษตก
ค้างในทุเรียนของไทยเลย

ปกติไทยจะส่งทุเรียนจากจังหวัดในภาคตะวันออกไปยังประเทศมาเลเซียในช่วงเดือน พฤษภาคมของทุกปี แต่หนังสือพิมพ์มาเลเซีย
ได้ตีพิมพ์ข่าวนี้ในช่วงเดือนกรกฎาคม ซึ่งเป็นช่วงที่ทุเรียนทางภาคใต้ของไทย และของมาเลเซียออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก
ในเวลาใกล้เคียงกัน การตีพิมพ์ข่าวดังกล่าวน่าจะเป็นการกีดกันผลประโยชน์ ทางการค้าเพราะคุณภาพของทุเรียนไทยดีกว่า
ทุเรียนมาเลเซีย

ดังนั้นเพื่อรักษาผลประโยชน์ในทางการค้าและการส่งออก ทุเรียนของไทยที่ประชุมมีมติให้มีการโต้ตอบ และแก้ข่าวนี้ผ่าน
ฑูตพาณิชย์ประจำประเทศมาเลเซีย



http://it.doa.go.th/durian/detail.php?id=156&PHPSESSID=2d5bbfc0719d6cbc3c747ea8d2f3a261
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11559

ตอบตอบ: 01/10/2011 7:47 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

747. วิธีดูแลสวนไม้ผล ระยะฝนชุก หลังน้ำท่วม

กรมส่งเสริมการเกษตร แนะนำมาว่า ในช่วงที่มีฝนตกชุกอาจเกิดภาวะน้ำท่วมขังในสวนไม้ผลขึ้นบ่อยครั้ง ทำให้ต้นไม้หยุดการ
เจริญเติบโต และความสมบูรณ์ของต้นจะลดลง ส่งผลเสียต่อการออกดอกในฤดูกาลต่อไป เกษตรกรจึงควรมีวิธีปฏิบัติดังนี้

สวนที่อยู่ในที่ลุ่ม ควรมีการยกร่องและมีคันดินล้อม ซึ่งเกษตรกรควรตรวจสอบดูแลความแข็งแรงของคันดิน โดยดูถึงความ
หนาและความสูงของคันดินนั้น หากพบว่ามีจุดที่ไม่แข็งแรงหรือมีความสูงไม่เพียงพอ ให้รีบทำการเสริมคันดินดังกล่าว ก่อนที่
ภาวะฝนตกชุกจะมาถึง

เมื่อมีฝนตกชุกเกษตรกรจะต้องหมั่นตรวจตราคันดินอยู่เสมอ และสูบน้ำออกจากร่องสวนให้อยู่ในระดับเดิม สวนในที่ดอน ส่วน
ใหญ่มักไม่มีปัญหาจากการที่ฝนตก แต่มักจะเกิดจากน้ำป่าไหลหลาก อย่างรวดเร็ว ความเสียหายเกิดขึ้นจากความแรงของ
น้ำที่ไหลมา และต้นไม้ กิ่งไม้ใหญ่มากับน้ำ รวมถึงตะกอนดินที่ไหลมาทับถม ซึ่งยากต่อการป้องกันได้

ฉะนั้น เมื่อเกิดภาวะน้ำท่วมขังในสวนไม้ผลเป็นระยะเวลานาน ไม่ว่าจะเป็นที่ลุ่มหรือที่ดอนก็ตาม มักจะทำให้เกิดความเสียหาย
กับต้นไม้ผลอย่างมาก เนื่องจากเมื่อน้ำท่วมจะทำให้รากเกิดสภาพขาดอากาศหายใจ รากมีความอ่อนแอ ความสามารถในการดูด
น้ำและอาหารลดลง หากอยู่ในสภาพเช่นนี้เป็นระยะเวลานาน ต้นไม้ผลจะทรุดโทรมและอาจถึงตายได้

เกษตรกรจึงต้องรีบดำเนินการแก้ไขโดย กรณีที่เป็นสวนแบบยกร่อง ให้รีบซ่อมแซมคันดินและสูบน้ำในร่องสวนออก ให้น้ำอยู่ใน
ระดับเดิมให้เร็วที่สุด สำหรับสวนในที่ดอนไม่ได้ยกร่อง เมื่อน้ำลดต้องรีบทำทางระบายน้ำไม่ให้น้ำขังโคนต้นไม้ผล หากมีโคลน
ทับถมในสวนให้ขุดลอกดินโคลนออกให้พ้นบริเวณทรงพุ่ม และให้ลึกถึงระดับดินเดิม เพื่อให้การถ่ายเทอากาศดีขึ้น โดยใช้จอบ
หรือเสียม ไม่ควรใช้เครื่องมือหนัก เช่นรถแทรกเตอร์เข้าปฏิบัติการ เพราะจะเป็นอันตรายต่อระบบรากต้นไม้ ที่อ่อนแออยู่
แล้วให้เกิดความบอบช้ำมากยิ่งขึ้น

ส่วนต้นไม้ผลบางชนิดที่เป็นโรคได้ง่าย เช่น ส้มเขียวหวาน ทุเรียน หากมีกิ่ง หรือลำต้นฉีกขาด ทำให้เกิดแผลต้องรีบตัดแต่ง
กิ่งและทายาฆ่าเชื้อรา เพื่อป้องกันโรครากเน่าโคนเน่าทันที

ถ้าต้นไม้ผลเอน เนื่องจากน้ำพัดให้หาเชือกหรือลวดดึงลำต้น ให้ตรง โดยยึดไว้กับหลักแล้วตัดแต่งกิ่งออกประมาณ 1 ใน 3
เพื่อให้ฟื้นตัวเร็วขึ้น

สำหรับวิธีการตัดแต่งกิ่ง ให้ตัดแต่งกิ่งล่างที่มีคราบน้ำหรือโคลนเกรอะกรังออก เนื่องจากโคลนหรือดินที่เกาะอยู่จะไปอุดรูหาย
ใจที่ใบทำให้การหายใจคายน้ำและปรุงอาหารไม่ได้ตามปกติ จากนั้นให้ตัดแต่งกิ่งบริเวณโคนต้นออก เพื่อเปิดช่องทางให้
แสงแดดส่องเข้าไปในบริเวณโคนต้นไม้ได้สะดวก ซึ่งจะมีผลทำให้ดินบริเวณโคนต้นแห้งเร็วยิ่งขึ้น

http://www.chiangmainews.co.th/read.php?id=19393




การดูแลไม้ผลที่น้ำท่วมขัง

ปทุมธานี/ ดร.รุจีพัชร บุญจริง เกษตรจังหวัดปทุมธานี กล่าวแนะนำว่า ในช่วงนี้นอกจากพื้นที่นาที่ถูกน้ำท่วมขังเสียหายแล้วนั้น
พื้นที่จังหวัดปทุมธานียังมีสวนไม้ผลที่น่าเป็นห่วงเช่นกัน โดยมีข้อแนะนำเรื่องวิธีการป้องกันน้ำท่วม แนวทางแก้ไขหากเกิด
น้ำท่วม และข้อควรปฏิบัติหลังน้ำลด มีดังนี้

การป้องกันน้ำท่วมสวนผลไม้ ควรเสริมคันดินรอบนอกให้แข็งแรง และเก็บเกี่ยวไม้ผลอย่าให้มีผลอยู่ติดกับต้น จากนั้นตัดแต่ง
กิ่งให้เหลือใบน้อยลง แล้วให้ปุ๋ยทางใบที่มีโพแทสเซียม (K) สูงประมาณ 1-2 ครั้ง

แนวทางการแก้ไขหากเกิดน้ำท่วมพยายามอย่าเหยียบย่ำพื้นดินในบริเวณรอบๆ ต้นไม้ผล เพราะจะทำให้เกิดสภาพน้ำมีการ
เคลื่อนไหว เสริมคันดินและสูบน้ำออก

ข้อควรปฏิบัติหลังน้ำลด เมื่อระดับน้ำลดแล้วแต่ดินยังเปียกหรือหมาดอยู่ห้ามเดินย่ำผิวดินโดยเด็ดขาด เนื่องจากดินรอบๆ ราก
ยังอิ่มตัวด้วยน้ำ ควรปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 2 วัน ให้หน้าดินแห้งเสียก่อน เมื่อดินเริ่มหมาดให้ใช้ปุ๋ยทางใบที่มี NPK ในอัตรา
1:1:1 ผสมกับน้ำตาลทราย 1% ฉีดพ่นให้กับต้นไม้ 2-3 ครั้ง ห่างกัน 3 วัน /ครั้ง เพื่อฟื้นคืนสภาพต้นและให้ต้นไม้เริ่ม
สร้างระบบรากโดยเร็ว

ดร.รุจีพัชร กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ชนิดของผลไม้ก็มีส่วนในการทนทานต่อความท่วมขังมากน้อยต่างกัน เช่น ชนิดที่อ่อนแอ
อย่างมาก ต้นไม้ผลในกลุ่มจะตายภายในหลังน้ำท่วมขังเพียง 24 ชั่วโมง ได้แก่ มะละกอ จำปาดะ ชนิดที่สอง คือ ต้น
ไม้ผลจะทนอยู่ได้ในระหว่าง 3-5 วัน เช่น กล้วย ส้มเขียวหวาน ทุเรียน มะม่วง มะนาว ขนุน และชนิดที่สาม คือ ทนทาน
ได้เล็กน้อย ต้นไม้อาจสามารถอยู่ได้ระหว่าง 7-15 วัน เช่น ชมพู่ พุทรา ละมุด มะขาม มะพร้าว

คำแนะนำในการดูแลต้นไม้นี้เป็นแนวคิดในการวางแผนเพื่อหาวิธีการในการป้องกันและดูแลรักษาต้นไม้ในสวนของท่านให้ยัง
คงยืนต้นและให้ผลผลิตต่อไปได้ไม่มากก็น้อย หากพี่น้องเกษตรกรต้องการข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถสอบถาม
ได้ที่สำนักงานเกษตรจังหวัดปทุมธานี โทร.0-2581-7968

http://www.banmuang.co.th/provinces.asp?id=248370





ฟื้นฟูสวนผลไม้หลังน้ำท่วม

จากอุทกภัยครั้งร้ายแรงในระยะปลายเดือน ตุลาคม - เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๓ มีผลให้ภาคใต้ตอนบน ซึ่งเป็นแหล่งปลูกไม้ผล
ที่สำคัญและมีชื่อเสียง ถูกน้ำท่วมเป็นจำนวนมาก หากไม่ฟื้นฟูจะทำให้ชะงักการเจริญเติบโต ส่งผลให้ผลผลิตและรายได้ของ
เกษตรกรลดน้อยลง เพื่อให้ไม้ผลที่สำคัญและมีชื่อเสียงของภาคใต้ตอนบนมีผลผลิตและเกษตรกรชาวสวนมีรายได้ต่อไป
เกษตรกรชาวสวนผลไม้ ควรจะบำรุงรักษาไม้ผลให้เกิดรากใหม่และแตกใบอ่อนอย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งมีการจัดการดินร่วมด้วย
จะทำให้ไม้ผลฟื้นตัวเร็วขึ้น


กรมส่งเสริมการเกษตร ขอแนะนำขั้นตอนการปฏิบัติ ไม้ผลหลังน้ำลดด้วยวิธีง่ายๆ แต่มีผลต่อการฟื้นฟูไม้ผลอย่างยิ่ง คือ

ขั้นตอนแรก...... หลังน้ำท่วมใหม่ๆ ดินยังเปียกอยู่ห้ามนำเครื่องจักรกลหนัก คน และสัตว์เข้าเหยียบย่ำบริเวณโคนต้นโดย
เด็ดขาด เนื่องจากดินจะแน่นการไหลซึมของน้ำออกจากแปลงได้ยาก รวมทั้งจะกระทบกระเทือนต่อระบบราก ทำให้ไม้
ผลทรุดโทรมและอาจตายได้


ขั้นตอนที่สอง ..... ในพื้นที่ที่ยังมีน้ำท่วมขังควรหาทางระบายน้ำออกจากโคนต้นโดยเร็วและมากที่สุด


ขั้นตอนที่สาม ..... หากมีกองดินหรือกองทรายมาทับถมบริเวณโคนต้นหรือแปลงปลูก หลังน้ำลดดินแห้งให้ปาดหรือขุดออก
พร้อมตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่งลดการคายน้ำ พร้อมทั้งเร่งให้ไม้ผลแตกใบอ่อนเร็วขึ้น


ขั้นตอนที่สี่ ..... ขณะพืชถูกน้ำท่วมระบบรากยังไม่สามารถดูดกินอาหารทางรากได้ เพื่อให้ไม้ผล ฟื้นตัวเร็วขึ้นควรจะให้ปุ๋ยทางใบ
สูตร ๑๒-๑๒-๑๒ หรือ ๑๒-๙-๖ หรือปุ๋ยเกร็ด ๒๑-๒๑-๒๑ หรือ ๑๖-๒๑-๒๗ ละลายน้ำฉีดพ่น แต่ถ้าหากว่าจะเตรียมปุ๋ย
ทางใบเองก็ได้ โดยใช้น้ำตาลเด็กซ์โตรส ๖๐๐ กรัม ฮิวมิค แอซิด ๒๐ ซีซี. และปุ๋ยเกร็ดสูตร ๑๕-๓๐-๑๕ ๒๐ กรัม มาผสม
ด้วยกันแล้วเติมน้ำลงไปอีก ๒๐ ลิตร ฉีดพ่น ๒-๓ ครั้ง และถ้าหากจะให้ดียิ่งขึ้นกว่านั้นควรเติมสารจับใบและยาป้องกันกำจัด
โรคและแมลงลงไปด้วย


ขั้นตอนที่ห้า ..... เป็นการจัดการดินเมื่อดินในแปลงไม้ผลแห้งควรจะพรวนดินเพื่อเพิ่มออกซิเจนทำให้ไม้ผลแตกรากใหม่
ได้ดีขึ้น พร้อมทั้งโรยปูนขาวหรือไดโลไมค์เพื่อปรับสภาพดินให้เป็นกลางป้องกันการเกิดโรครากเน่าและโคนเน่าซึ่งมักเกิด
หลังจากน้ำท่วม


ขั้นตอนที่หก .... หากไม้ผลเกิดโรครากเน่าและโคนเน่าหลังน้ำลดให้ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ๑ กก. ผสมรำข้าว ๔ กก. และผสม
ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกที่สลายตัวดีแล้ว ๑๐๐ กก. คลุกเคล้าให้เข้ากันดีนำไปหว่านรอบบริเวณทรงพุ่ม ๕๐-๑๐๐ กรัมต่อ ตารางเมตร
หรือกรณีเป็นโรคที่โคนต้นให้ถากเนื้อเยื่อออกแล้วทาด้วยยากันรา เช่น เมตาแลกซิล (ริโดมิล) หรือฟอสเอททิน อลูมินัม (อาลีเอต)
ก็จะหายได้


หากชาวสวนผลไม้ทำได้ตามที่กล่าวมาข้างต้น จะทำให้ไม้ผลภาคใต้ตอนบนฟื้นตัวได้เร็ว ส่งผลให้ได้รับผลผลิตและรายได้ต่อไปอีกนาน

http://www2.oae.go.th/zone/zone8/roae8/index.php?option=com_content&task=view&id=488&Itemid=1





.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 01/10/2011 10:48 pm, แก้ไขทั้งหมด 6 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11559

ตอบตอบ: 01/10/2011 7:52 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

748. ผักต่างสี... มีดีต่างกัน





ผักสีเขียว
ผักสีเขียว เป็นผักธรรมดาทั่ว ๆ ไปที่มีมากที่สุดในโลก สีเขียวมาจากคลอโรฟิลล์ ซึ่งดีสำหรับดวงตา ผักสีเขียวส่วนมากเป็น
ผักกินใบ ผักตระกูลบวบ (Gourd) ซึ่งรวมผักจำพวกแตง และซูกินีด้วย ผักประเภทนี้มีสรรพคุณในการขับปัสสาวะ


ผักสีขาว
ผักสีขาว กะหล่ำปลี ถือเป็นผักสีขาว (แม้จะมีสีเขียวอยู่บ้างก็เป็นสีเขียวอ่อนตรงโคนกาบ) เป็นผักที่รู้จักบริโภคกันทั่วโลก
เป็นผักที่มีสารต้านมะเร็ง และมีคุณสมบัติในการย่อยอาหาร

ในเกาหลี ปลูกกะหล่ำปลีมากที่เกาะเซจู กะหล่ำปลีชอบดินทราย และอากาศเย็น (ระหว่าง 15 - 20 องศา) ปัจจุบันที่
เกาะเซจูแห่งนี้นับเป็นแหล่งผลิตกะหล่ำปลีที่ใหญ่ที่สุด มีพื้นที่ปลูกประมาณ 1,500 เฮคแตร์ หรือ ประมาณ 9,375 ไร่
และสามารถจะปลูกกะหล่ำปลีได้ตลอดทั้งปี


ผักสีแดง
มะเขือเทศจัดอยู่ในประเภทผักสีแดง สีแดงมาจากไลโคปีน (Lycopene) ซึ่งช่วยชะลอความแก่ และเมื่อหลายปีก่อนมี
บทความทางวิชาการยืนยันว่า ไลโคปีน สามารถป้องกันมะเร็งในตับอ่อนได้ ทำให้ผู้คนหันมาสนใจบริโภคมะเขือเทศกันมากขึ้น


ผักสีม่วง
สีม่วงในมะเขือม่วง ซึ่งเป็นผักในตระกูลมะเขือยาว (Aubergines) จะมีสีม่วงเข้ม บางครั้งดูเหมือนจะเป็นสีดำ สีม่วงเข้ม
ดังกล่าว มาจากสีของแอนโธไซยานิน (Anthocyanin) ที่อยู่ในผัก แอนโธไซยานินมีคุณสมบัติในการป้องกันสารอันตราย
ไม่ให้สะสมในเส้นเลือด ซึ่งจะเป็นการช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ และเส้นเลือดในสมองแตก สารที่มีอยู่ในมะเขือม่วงนี้
เรียกว่า "สโคโพเลติน" (Scopoletin) และ "สโคโพเลติน" ช่วยยับยั้งการเกร็งของกล้ามเนื้อในร่างกาย ด้วยเหตุนี้
จึงแนะนำให้รับประทานมะเขือม่วงเพื่อรักษาอาการทางประสานด้วย


ผักสีเหลือง
พริกยักษ์หรือพริกหวาน มีหลายสี ทั้ง เขียว แดงและเหลือง สีเหลืองของพริกหวานประกอบด้วยเบต้าแคโรทีน (Beta -
Carotene) ซึ่งเป็นตัวควบคุมการเพิ่มออกซิเจน หรือ Oxidation ของสารในร่างกาย ซึ่งจะมีผลต่อการชะลอความแก่
และ ป้องกันมะเร็ง


นอกเหนือจากพริกหวานแล้ว ผักที่มีสีเหลือง หรือผักที่มีเบต้าแคโรทีนสูงอีกบางชนิดที่น่าจะจัดอยู่ในผักสีเหลืองได้ คือ
ฟักทองและแครอท โดยเฉพาะแครอทนั้น แม้ไม่ใช่ผักของไทย แต่ก็มีปลูกกันมากแล้ว โดยเฉพาะทางพื้นที่ที่สูงใน
ภาคเหนือ



http://www.chiangmainews.co.th/read.php?id=21074
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11559

ตอบตอบ: 01/10/2011 8:04 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

749. วิทย์-เทคโนโลยี-นวัตกรรม สร้างความเข้มแข็งภาคเกษตร





กระทรวงเกษตรฯ ร่วมกับ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ทำข้อตกลงความร่วมมือในการสร้างความเข้มแข็งภาคเกษตรด้วยวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี และนวัตกรรม หวังพัฒนาและยกระดับภาคเกษตรกรรมของประเทศไทยให้มีคุณภาพ สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก
เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของเกษตรกรไทย

นางสาวสุจินดา โชติพานิช ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยถึงความร่วมมือกันระหว่างกระทรวงเกษตร
และสหกรณ์ กับ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อสร้างความ
เข้มแข็งของภาคเกษตรกรรม ซึ่งถือได้ว่าทั้งสองกระทรวงได้ร่วมมือกันในเชิงนโยบาย เพื่อการวิจัยพัฒนาการเกษตรมาระยะ
หนึ่งแล้ว ในการสนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งให้ภาคเกษตรกรรม และเตรียมความพร้อมรองรับภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยน
แปลงสภาพภูมิอากาศ โดยปัจจุบันภาคเกษตรไทยได้มาถึงจุดที่ต้องมีการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้น ด้วย
เหตุผลหลายประการ


ประการแรก
..... เนื่องจาก ประสิทธิภาพการผลิตของไทยลดลง โดยปี 2553
สถาบันนานาชาติเพื่อการจัดการ (Institute for Management
Development : IMD) จัดให้ภาคเกษตรของประเทศมีประสิทธิภาพ
การผลิตอยู่อันดับที่ 53 จาก 57 ประเทศ โดยมีอันดับลดลงสองอันดับ
เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้า





ประการที่สอง
..... ผลผลิตต่อพื้นที่ของสินค้าเกษตร หลายชนิดประเทศไทย
ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยขอโลก ซึ่งอาจมาจากหลายปัจจัย เช่น การขาดแคลน
พันธุ์ดี การบริหารจัดการที่เหมาะสม เช่น การบริหารจัดการดิน และน้ำ
เครื่องจักรกลเกษตร เทคโนโลยีด้านวัสดุ เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
หรือ การใช้เทคโนโลยี ไอที. เป็นต้น




ประการที่สาม
..... พื้นที่เพาะปลูกมีปริมาณจำกัด แต่ความต้องการใช้ผลผลิตทางการเกษตรทั้งในและต่างประเทศมีแนวโน้ม
เพิ่มขึ้น เพื่อการตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมที่มีอยู่เดิมและอุตสาหกรรมใหม่ๆ เช่น อุตสาหกรรมฐานชีวภาพ
พลังงานชีวภาพ เป็นต้น


ประการที่สี่
...... การขาดแคลนแรงงานในภาคเกษตร ทำให้มีความจำเป็นต้องใช้เครื่องจักรกลการเกษตรเข้าไปเพื่อทด
แทนแรงงานที่หายากและมีราคาแพงมากขึ้น


ประการที่ห้า
ผู้บริโภคมีความต้องการสินค้าและบริการที่มีคุณภาพและความปลอดภัย

ดังนั้น ผู้ผลิตต้องสร้างความเชื่อมั่นในด้านความปลอดภัยของสินค้าที่ผลิตด้วย ต้องมีการนำเทคโนโลยีตรวจวิเคราะห์ทดสอบ
มาใช้ควบคุมคุณภาพของสินค้า รวมถึงการใช้เทคโนโลยีการตรวจสอบย้อนกลับ สุดท้าย


ประการที่หก
...... ภาวะโลกร้อนจะกระทบต่อภาคเกษตรค่อนข้างมากเนื่องจากผลผลิตทางการเกษตรขึ้นอยู่กับสภาพแวด
ล้อมสูง รายงานของ IPCC คาดว่าเมื่ออุณภูมิสูงขึ้น 1–3 C ผลผลิตทางการเกษตรในเขตเอเชียจะลดลง ประมาณ 2.5–10%
ภายในปี 2020 โดยอาจทำให้พืชไม่ออกดอกหรือออกล่าช้า มีการระบาดของโรคพืชและแมลง ใหม่ ๆ ที่มากับ สภาพอากาศ
ที่เปลี่ยนแปลงไป

ดังนั้น การทำเกษตรกรรม ในศตวรรษที่ 21 จะมีการผสมผสาน ระหว่างศาสตร์แขนงต่างๆ มากขึ้นทั้งวิทยาศาสตร์ เทคโนโล
ยีชีวภาพ อิเล็กทรอนิกส์ วัสดุศาสตร์และนาโนเทคโนโลยี เพื่อให้การทำการเกษตร มีความแม่นยำสูง หรือที่เรียกว่า “Precision
Farming” การทำเกษตรรูปแบบนี้เป็นที่นิยมในประเทศสหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย และเริ่มแพร่หลายไปยังยุโรป
ญี่ปุ่น และจีนมากขึ้น เพราะเป็นการทำเกษตรที่ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูง รวมไปถึงการเพาะปลูกในระบบโรงเรือน
เพื่อป้องกันความสูญเสียจากโรคแมลง การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และลดข้อจำกัดของฤดูกาลเพาะปลูก




ด้านนายยุคล ลิ้มแหลมทอง ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงความร่วมมือกันทั้ง 2 กระทรวงในครั้งนี้ว่า สำหรับประเทศ
ไทยนั้น เป็นผู้ผลิตและส่งออกสินค้าเกษตรและอาหาร เช่น ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง น้ำตาล กุ้ง และไก่ ได้เป็นอันดับ
ต้น ๆ ของโลก

ภาคเกษตรจึงมีบทบาทในการสร้างรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศ แม้จะไม่สูงเทียบเท่ากับภาคอุตสาหกรรม แต่เป็นภาคที่เกี่ยว
ข้องกับประชากรจำนวนมาก ทั้งเกษตรกรที่เป็นผู้ผลิตและเป็นแรงงานในภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งประชากรผู้บริโภคสินค้า
เกษตรและอาหารที่มีความมั่นใจว่าแม้โลกจะเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจ และวิกฤติอาหาร แต่คนไทยก็ยังมีอาหารเพียงพอ

ในวันนี้ภาคเกษตรต้องเผชิญกับเรื่องประสิทธิภาพการผลิตที่ลดลง ซึ่งมาจากสาเหตุหลายปัจจัย เช่น การขาดแคลนพันธุ์ดี
ขาดการจัดการดินและน้ำ เมื่อประกอบกับความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจากการทำการเกษตรอย่าง
เข้มข้น

ดังนั้น แม้ว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะดำเนินการเพิ่มผลผลิตและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันมาอย่างต่อเนื่อง
แต่การดำเนินการต่อไปยังจำเป็นต้องอาศัยการวิจัย พัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อนำมาสนับสนุนการผลิต
สินค้าเกษตรอย่างต่อเนื่อง

ส่วนการเผชิญกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่เกิดจากภาวะเรือนกระจก ซึ่งส่งผลกระทบต่อการผลิตภาคเกษตร
ทั้งทางตรงและทางอ้อม กระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ ทั้งจากภาวะฝนแล้ง น้ำท่วม โรคพืช และโรคสัตว์และอาจจะส่งผลต่อเนื่อง
ถึงความมั่นคงอาหาร ในระดับประเทศ และในระดับโลกได้ เป็นเรื่องที่นานาชาติต่างตระหนักถึงสาเหตุของปัญหา ซึ่งภาคเกษตร
ก็มีส่วนในการทำให้โลกร้อน จากการปล่อย
ก๊าซเรือนกระจก

ดังนั้น ทิศทางการพัฒนาของภาคเกษตรจึงจำเป็นต้องปรับการผลิตให้เป็นแบบ Low Carbon เพื่อร่วมมือในการลดปัญหาโลกร้อน
เช่น สนับสนุนในการผลิตพลังงานทดแทน ซึ่งในแผนพลังงาน 15 ปี ได้กำหนดจะเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนให้เป็น
ร้อยละ 20 ภายในปี 2565 ในจำนวนนี้ จะเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ ประมาณร้อยละ 4

ดังนั้น แนวโน้มความต้องการมันสำปะหลัง อ้อย และปาล์มน้ำมัน ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญ มีศักยภาพในการผลิตเอทานอลและ
ไบโอดีเซลจะเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างที่ประเทศไทยยังไม่ได้ไปถึง Second Generation Biofuel

อย่างไรก็ตามสินค้าเกษตร เป็นสินค้าที่เสียหายง่าย ไม่เหมือนกับสินค้าอุตสาหกรรมที่เก็บไว้ในคลังสินค้าได้เป็นเวลานานโดยไม่
เสียหาย แต่สำหรับสินค้าเกษตร การที่จะเก็บไว้เป็นปีโดยคงความสด รักษารสชาติ และคุณภาพไว้ เป็นเรื่องที่ยากและต้นทุนสูง

ดังนั้น การจัดการพืชผล หลังการเก็บเกี่ยว เป็นเรื่องที่ต้องอาศัยการวิจัยและพัฒนา ตั้งแต่การวางแผนช่วงเวลาในการเก็บเกี่ยว
ผลผลิต วิธีการเก็บเกี่ยว การเก็บรักษาในอุณหภูมิที่เหมาะสม การบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยยืดอายุ ผลผลิต บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่ง
แวดล้อม ตลอดจนการปรับปรุงระบบโลจิสติกส์เกษตรที่มีประสิทธิภาพจะช่วยเพิ่มศักยภาพความสามารถในการแข่งขันได้

ดังนั้น ในการจัดทำยุทธศาสตร์สินค้าเกษตร ได้กำหนดให้มีการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต การเพิ่มมูลค่าสินค้าเพื่อสนองความ
ต้องการของตลาด การปรับปรุงระบบโลจิสติกส์ ตลอดจนการปรับระบบการผลิต การบริโภคที่เป็น Cool and Green ปลอดภัย
ทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งช่วยลดภาวะโลกร้อน

การดำเนินการเหล่านี้จำเป็นอย่างยิ่งต้องอาศัยการผลิตบนพื้นฐานองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เป็นกล
ไกขับเคลื่อนที่สำคัญ เพื่อนำไปสู่การเพิ่มรายได้ของเกษตรกร ลดแรงจูงใจในการออกจากภาคเกษตร และสนับสนุนการเจริญเติบ
โตของภาคเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ ความร่วมมือกันทั้งสองกระทรวงในการบันทึกข้อตกลง ว่าด้วยความร่วมมือในการใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และนวัตกรรม
จะสร้างความเข้มแข็งของภาคเกษตรกรรมและการรับมือกับภาวะโลกร้อน รวมทั้งเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านเทคนิค
และวิชาการเพื่อสร้างผลงานและวิทยาการใหม่ ๆ ที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพสู่การใช้ประโยชน์ ตลอดจนพัฒนาโครงสร้างพื้น
ฐานด้านวิทยาศาสตร์ และ/หรือ จำเป็นสำหรับภาคเกษตรกรรมโดยมีเป้าหมายในการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันใน ภาคเกษตร
กรรมและอุตสาหกรรม ในการยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีของเกษตรกรไทยอย่างยั่งยืน




http://www.chiangmainews.co.th/read.php?id=21038












.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 02/10/2011 8:23 am, แก้ไขทั้งหมด 6 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11559

ตอบตอบ: 01/10/2011 8:43 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

750. ส่งเสริมปลูกลำไยนอกฤดูส่งออกตลาดจีนราคางาม


นายอรรถ อินทลักษณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กรมฯได้ส่งเสริมให้ชาวสวนลำไยในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่
เชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย พะเยา ลำปาง ตาก แพร่ และน่าน ดำเนินการผลิตลำไยนอกฤดูมากขึ้น เพื่อกระจายผลผลิตไม่ให้ออก
สู่ตลาดกระจุกตัว จะช่วยลดปัญหาผลผลิตล้นตลาดและราคาตกต่ำ อีกทั้งเป็นการขยายช่องทางการจำหน่าย และเพิ่มมูลค่า
สินค้าไปในตัวด้วย

คาดว่าตั้งแต่เดือนตุลาคม 2553-เมษายน 2554 จะมีผลผลิตลำไยนอกฤดูทยอยออกสู่ท้องตลาดซึ่งจะเป็นช่วงวันชาติจีนด้วย
นั้นการส่งออกลำไยไปจีนแนวโน้มราคาดีแต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่ที่คุณภาพและการเจรจาตกลงทางการค้ากับคู่ค้าด้วย

การผลิตลำไยนอกฤดูยังจะออกสู่ตลาดในช่วงกลางเดือนธันวาคม 2553-มกราคม 2554 ซึ่งเป็นช่วงเทศกาลตรุษจีน และช่วง
เดือนมีนาคม-เมษายน 2554 ซึ่งเป็นช่วงก่อนเทศกาลเช็งเม้ง คาดว่าเกษตรกรจะจำหน่ายลำไยสดช่อได้ราคาสูงขึ้นและไม่มี
ปัญหาสินค้าราคาตกต่ำ

กรมฯได้เร่งถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตลำไยนอกฤดูให้แก่เกษตรกรที่สนใจ พร้อมกับผลักดันให้นำแปลงปลูกเข้าสู่ระบบเกษตรดี
ที่เหมาะสม (GAP) เน้นผลิตลำไยนอกฤดูที่มีคุณภาพดี ให้มีขนาดผลใหญ่ได้มาตรฐานส่งออกไม่น้อยกว่า 80% เพื่อรอง
รับตลาดที่มีความต้องการสูง โดยเฉพาะตลาดจีนซึ่งนำเข้าลำไยรายใหญ่ของโลก


ปัญหาผลไม้ล้นตลาดเกิดจากการที่มีผลผลิตออกมามาก และมีราคาถูกประกอบกับผลผลิตด้อย
คุณภาพ ขณะที่มีต้นทุนการผลิตสูง ทำให้เกษตรกรชาวสวนผลไม้ต่างได้รับความเดือดร้อน



ดังนั้น จึงจำเป็นต้องกระจายผลผลิตให้ออกสู่ตลาด ในช่วงที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคทุกปี ปีนี้ลำไย
ในฤดูราคาดีเพราะผลผลิตน้อยซึ่งจะทำให้ลำไยนอกฤดูราคาในตลาดมีความต้องการสูง ราคาดีอย่างแน่นอน” นายอรรถกล่าว


แนะนำว่าในการปลูกลำไยนอกฤดูนั้นโพแทสเซียมคลอเรตและโซเดียมคลอเรตเป็นสารเคมี ที่ผู้ปลูกลำไยนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย
ในการเร่งการออกดอกเพื่อผลิตลำไยนอกฤดูป้อนตลาด แนวโน้มการใช้สารดังกล่าวมีอัตราเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากปัจจุบันพื้นที่ปลูก
ลำไยนอกฤดูได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นกว่า 100,000 ไร่ทั่วประเทศ

อย่างไรก็ตาม สารทั้ง 2 ชนิดนี้ เป็นวัตถุอันตราย อาจเกิดระเบิดได้เมื่อได้รับความร้อนสูง จึงต้องระมัดระวังในการเก็บรักษาและใช้
ให้ถูกวิธี โดยต้องเก็บไว้ให้ห่างจากวัตถุไวไฟ ประกายไฟและหลีกเลี่ยงการใช้ผสมกับสารอินทรีย์ทุกชนิด เช่น กำมะถัน ผงถ่าน
ปุ๋ยยูเรีย ปุ๋ยคอก ขี้เลื่อย น้ำตาลทราย สารกลุ่มซัลเฟตและเกลือ

เกษตรกรไม่ควรทุบ บด กระแทกสารหรือทำให้สารเกิดการเสียดสีโดยเด็ดขาด เพราะแรงเสียดทานจะทำให้เกิดการระเบิดได้

ขณะเดียวกันผู้ใช้ยังต้องใส่ใจเรื่องความปลอดภัยต่อสุขภาพตนเองด้วย เพราะโพแทสเซียมคลอเรต และโซเดียมคลอเรตสามารถ
ทำให้เกิดอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ ระคายเคืองต่อผิวหนังและตา หากสะสมในร่างกายในปริมาณมาก อาจมีผลต่อไต ทำลาย
เม็ดโลหิตแดง ทั้งยังเป็นอันตรายต่อกล้ามเนื้อหัวใจด้วย เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารโดยตรง และต้องทำความสะอาด
ร่างกายทันทีหลังใช้สาร

สำหรับลำไยแปรรูปสีทองที่ราคาค่อนข้างดีมากติดต่อกันมาหลายปีนั้น นับเป็นความสำเร็จของการแปรรูปลำไยเนื้อสีทอง เป็นมาตร
การหนึ่งที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ใช้บริหารจัดการด้านการตลาดลำไยในปีนี้ เพื่อระบายผลผลิตออกจากแหล่งปลูกและช่วย
เพิ่มมูลค่าสินค้า โดยมอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตรเร่งคัดเลือกวิสาหกิจชุมชนที่มีศักยภาพเป้าหมาย 100 กลุ่ม เข้าร่วมโครง
การแปรรูปลำไยเนื้อสีทอง โดยมีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนใน 7 จังหวัดภาคเหนือสนใจเข้าร่วมโครงการ เชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย พะเยา
น่าน และลำปาง 3 กลุ่ม

อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรกล่าวด้วยว่า การอบแห้งเนื้อสีทองถือเป็นมาตรการพยุงราคาลำไยอีกทางหนึ่ง เพราะเกษตรกรเป็นผู้
ผลิตเอง โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่มีเตาอบกว่า 500 เตา มีกำลังการแปรรูปลำไยเนื้อสีทองวันละประมาณ 500 ตันสด
ซึ่งทุกกลุ่มจะเป็นจุดรับซื้อที่ช่วยดึงราคาลำไยสดร่วงให้เพิ่มสูงขึ้น

ปัจจุบันผลผลิตลำไยของไทยกว่า 95% เป็นพันธุ์อีดอ ส่วนพันธุ์อื่น ๆ เช่น พันธุ์สีชมพู แห้ว เบี้ยวเขียว และลำไยกะโหลกมี
ค่อนข้างน้อย ทำให้ผู้บริโภคไม่มีสิทธิเลือก


ดังนั้น เกษตรกรควรผลิตสินค้าให้หลากหลาย อาจเพิ่มสัดส่วนการผลิตลำไยสีชมพูขึ้นมาเป็น 10% เบี้ยวเขียว 10% แห้ว 10%
เพื่อเปิดทางเลือกให้ผู้บริโภค อีกทั้งยังต้องเน้นผลิตลำไยที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และมีความปลอดภัย

ขณะเดียวกันยังต้องบริหารจัดการและวางแผนการผลิตลำไยนอกฤดู เพื่อให้ผลผลิตออกมาในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม
โดยเฉพาะช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ผลผลิตไม่น่าจะเกิน 200,000 ตัน จะขายได้ราคาดี




http://www.chiangmainews.co.th/read.php?id=19920
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11559

ตอบตอบ: 01/10/2011 8:57 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

751. ผักหวานแทรกลำไย





ผักหวานเป็นพืชในวงศ์ Opiliaceae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Melientha suavis Pierre มีลักษะเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กหรือเป็น
ไม้พุ่ม เนื่องจากมีการหักกิ่ง เด็ดยอด เพื่อกระตุ้นให้เกิดกิ่งและยอดอ่อนซึ่งเป็นส่วนที่ใช้บริโภค ดอกมีขนาดเล็ก เป็นตุ่มสีเขียว อัด
กันแน่นเป็นกระจุก ขณะที่ยังอ่อนอยู่ ผลเป็นผลเดี่ยว ติดกันเป็นพวง คุณค่าทางโภชนาการของผักหวานเป็นผักที่มีคุณค่าทาง
โภชนาการสูงชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในด้านแหล่งโปรตีน วิตามิน ซี. และพลังงาน นอกจากนี้ ยังมีปริมาณ เยื่อใยพอ
สมควร ช่วยในการขับถ่ายให้ดีขึ้น

นายเจริญ และ นางทองสุข ปัญญา สองสามีภรรยา ผู้มีอาชีพปลูกผักหวานใน อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า

เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่มีการเพาะปลูกลำไยอยู่แล้วและมักประสบปัญหาขาดแคลนผลผลิตในช่วงฤดูออกผล อีกทั้งเมื่อมีการนำ
ผลผลิตออกสู่ตลาดหรือส่งผ่านพ่อค้าคนกลางมักจะมีปัญหาราคาต้นทุนต่ำทำให้ขาดทุนอย่างมาก จึงสนใจหันมาปลูกผักหวาน
แทนการปลูกต้นลำไย โดยการเพิ่มการปลูกผักหวานให้มากขึ้น การปลูกต้นลำไยคงที่ ระยะห่างการปลูกต้นผักหวานควรห่างจาก
ต้นลำไยประมาณ 1 เมตร เพื่อไม่ให้เกิดการแยกอาหารซึ่งกันและกัน

ปัจจุบันมีพื้นที่ 2 ไร่ ทั้งหมดมีการปลุกลำไยอยู่ 70 ต้น ทำการเพาะปลูกและเก็บผลผลิตมาแล้วมากกว่า 10 ปี แต่พอได้รับการ
อบรมจากศูนย์ฯ จึงหันมาปลูกต้นผักหวานแทรกต้นลำไย

ครั้งแรกที่นำต้นผักหวานมาปลูกได้นำต้นกล้าที่ซื้อมาจาก อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียง
ใหม่ จำนวน 500 ต้น ราคาต้นละ 10 บาท
ครั้งที่ 2 ได้รับต้นกล้าผักหวานจากที่ศูนย์ฯ ฟรี จำนวน 600 ต้น รวมต้นกล้าผักหวานที่ปลูกขณะนี้มีอยู่มากกว่า 1,000 ต้น เริ่ม
เก็บเกี่ยวผลผลิตครั้งแรกหลังจากการปลูกได้ 6 เดือน

ปัจจุบันปลูกผักหวานเป็นระยะเวลา 2 ปีแล้ว สามารถเก็บเกี่ยวยอดใบของผักหวานได้ทุกวันและตลอดปี เฉลี่ยวันละ 2-3 กิโลกรัม

การบำรุงดูแลรักษาการสุดแสนจะง่ายดายและไม่ต้องใช้สารเคมีในการดูแลเนื่องจากไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องศัตรูพืชมากนัก การคุมดิน
ก็สามารถใช้ใบไม้ที่ร่วงจากต้นลำไยที่อยู่บริเวณโดยรอบๆ มาปกคลุมไว้เพื่อรักษาความชุ่มชื้น ภายในดินก็จะมีไส้เดือนใช้ในการย่อย
สลายวัชพืชต่างๆ และยังช่วยพรวนดินอีกด้วย

การลดน้ำก็สามารถใช้น้ำปุ๋ยหมักชีวภาพ พด.2 (กรมพัฒนาที่ดินสูตร 2 )ผสมกับน้ำเปล่า รดน้ำ 3 วัน ต่อ 1 ครั้ง โดยผ่านหัวพ่น
ละอองน้ำฉีดพ่นบริเวณยอดใบ กระบวนการวางท่อ สามารถใช้ต้นลำไยเป็นที่ยึดเหนี่ยวโดยใช้งบประมาณทั้งหมด 10,000 บาท
สะดวกและประหยัดเวลาในการลดน้ำและควรใช้พวกอาหารเสริมบำรุงปุ๋ย 15 15 15 (NPK) เดือนละครั้ง จะทำให้ได้ผลผลิตมาก
และยอดใบที่เรียวงาม

ข้อสังเกตในการบำรุงรักษาคือเมื่อต้นผักหวานโตเต็มที่มีความสูงประมาณ 1 เมตร ให้ตัดหรือตอนเพื่อให้ต้นต่ำลงจะทำให้ต้นผัก
หวานอายุยืนและไม่สูงจนเกินไป สามารถเก็บผลผลิตได้ง่าย หรือจะทำการขยายพันธุ์โดยวิธีการตัดบริเวณข้อต่อการต้นผักหวาน
แล้วนำไปเพาะชำกับแกลบ เมื่อออกรากแล้วจึงค่อยนำมาลงดิน

การเก็บเกี่ยวผลผลิตต้นผักหวานจะเก็บบริเวณยอดใบ ราคาจำหน่ายแบบขายปลีกอยู่ที่กิโลกรัมละ 200 บาท แบบขายส่งอยู่ที่
กิโลกรัมละ 80 บาท เฉลี่ยได้วันละ 500 บาท ต่อวัน ซึ่งได้มากกว่าการปลูกลำไย ผลของการคาดหวังในการปลูกลำไยก็เพื่อ
เก็บผลมารับประทานเองที่บ้านเท่านั้น

ยอดใบผักหวานสามารถนำมาผัดใส่น้ำมันหอยหรือทำเป็นพวกแกงต่างๆ เช่น แกงเลียง แกงใส่วุ้นเส้น หรือใส่กับปลาแห้ง
ไข่มดส้ม อาหารจำพวกนี้จัดเป็นอาหารพื้นบ้านภาคเหนือ

ผู้ที่สนใจสามารถนำไปประกอบเป็นอาหารอื่นๆได้ สอบถามลายละเอียดได้ที่บ้านเลขที่ 100 หมู่ 5 ตำบลบ้านกลาง อำเภอสัน
ป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ โทรศัพท์ 053-481712



http://www.chiangmainews.co.th/read.php?id=19733
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11559

ตอบตอบ: 01/10/2011 10:16 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

752. ลองกองแปรรูป





ลองกองเป็นผลไม้ที่เดิมทีปลูกมากในภาคใต้โดยเฉพาะ ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้และแหล่งผลิตที่สำคัญที่มีชื่อเสียงคือ ลองกอง
ตันหยงมัส อ.ระแงะ จ.นราธิวาส เป็นแหล่งผลิตลองกองคุณภาพดี เป็นที่รู้จักทั่วประเทศ ในอดีตลองกองมีราคาสูงมากอยู่ที่ประ
มาณ ๕0-๘o บาท/กก. ทำให้มีการขยายพื้นที่ปลูกลองกองมากขึ้น ผลผลิตลองกองเพิ่มมากขึ้น ล้นตลาด ทำให้ราคาลองกอง
เริ่มลดลงส่งผลให้เกษตรกรประสบปัญหาขาดทุน
และเริ่มปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นๆ ทดแทนยากไรก็ตามปัญหาผลไม้ล้นตลาดหากมีการนำผลผลิตไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ก็
จะช่วยแก้ไขปัญหาได้ระดับหนึ่ง รวมทั้งยังเป็นการเพิ่มมูลค่าผลผลิตอีกด้วยและผู้เขียนได้ทราบว่า ปัจจุบันสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)ได้มีการศึกษาวิจัยและสามารถแปรรูปลองกองได้แล้ว

ปี 2553 ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกลองกอง จำนวน 461,224 ไร่ พื้นที่ให้ผล 371,220 ไร่ ผลผลิต 151,806 ตัน โดยมี
แหล่งผลิตที่สำคัญคือ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย จังหวัดนราธิวาส ยะลา สงขลา ปัตตานี และสตูล มีพื้นที่ปลูกรวม
กัน ปี 2553 จำนวน 185,490 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 40.22 ของประเทศ สำหรับราคาลองกองที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยประมาณ
16.67 บาท/กก.

จากการประสบปัญหาราคาลองกองตกต่ำ และล้นตลาด ทำให้มีการศึกษาวิจัยเพื่อแปรรูปลองกองโดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ซึ่งประสบความสำเร็จแล้ว ประกอบด้วย

เครื่องดื่มน้ำลองกอง มี 2 แบบ คือ แบบพลาสเจอร์ไรซ์บรรจุขวด มีอายุการเก็บรักษาไม่น้อยกว่า 1 เดือน ที่อุณหภูมิ 4 องศา
เซลเซียส และ แบบสเตอริไรซ์บรรจุกล่อง มีอายุการเก็บรักษาไม่น้อยกว่า 1 ปี ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส

แยมและเยลลี่ลองกอง พัฒนาจากเนื้อและน้ำลองกอง จากกระบวนการผลิตเครื่องดื่มน้ำลองกอง

ลองกองลอยแก้ว มีอายุการเก็บรักษาในอุณหภูมิห้อง 1-2 เดือน



ลองกองแช่อิ่มอบแห้ง


นอกจากนี้ ยังได้วิจัย เครื่องล้างและปลิดขั้วลองกอง และเครื่องคั้นน้ำลองกองด้วย

ทั้งนี้ หากกลุ่มหรือสถาบันเกษตรกรได้นำเอาเทคโนโลยีการแปรรูปลองกองไปใช้คาดว่าจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับลองกอง
และช่วยแก้ไขปัญหาลองกองล้นตลาดได้ ซึ่งนับว่าเป็นงานวิจัยที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง


ผู้สนใจนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากลองกอง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Call center วว.โทร.02 579 3000
หรือที่ฝ่ายเทคโนโลยีอาหาร วว. โทร. 0-2577-9000 โทรสาร 0-2577-9009 ในวันและเวลาราชการ หรือที่
E- mail : tistr@tistr.or.th



ข้อมูล สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)


http://www2.oae.go.th/zone/zone8/roae8/index.php?option=com_content&task=view&id=501&Itemid=0


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 02/10/2011 7:56 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11559

ตอบตอบ: 01/10/2011 10:26 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

753. การทดสอบความงอก ของเมล็ดพันธุ์ข้าว อย่างง่าย





หากนำเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีความงอกต่ำกว่า 80% ไปหว่านจะได้ต้นข้าวที่งอกน้อยอาจต้องปลูกซ่อม หรือไถทิ้งหว่านใหม่
เสียทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็นจึงควรทำความสะอาดและทดสอบความงอกของเมล็ดพันธุ์ก่อนทำการปลูก และเพื่อ
จะได้คำนวณการใช้เมล็ดพันธ์ในฤดูกาลต่อไปดังนี้

1. สุ่มตัวแทนของเมล็ดพันธุ์ข้าวหลายๆ จุด เพื่อให้ได้ตัวแทนที่แท้จริงอย่างน้อย 400 เมล็ด โดยแบ่งเป็น 4 ซ้ำๆ
ละ 100 เมล็ด

2. ใช้กระดาษทิชชูซ้อนกัน 3-5 ชั้น วางบนถาดหรือจานแล้วรดน้ำให้ชุ่ม

3. โรยเมล็ดพันธุ์ข้าว จำนวน 100 เมล็ด ลงบนกระดาษทิชชู ทำทั้งหมด 4 ซ้ำ (รวม 400 เมล็ด) หมั่้นดูว่ากระดาษ
ทิชชูแห้งหรือไม่ ถ้าแห้งต้องเติมน้ำ เพื่อให้กระดาษมีความชื้นเหมาะสมสำหรับการงอกของเมล็ดพันธุ์ข้าว

4. เมื่อครบ 4-5 วัน ตรวจดูต้นกล้าปกติ (ต้นอ่อนที่มียอดและรากสมบูรณ์) ต้นกล้าผิดปกติ (ต้นอ่อนที่ไม่สามารถเจริญ
เป็นต้นปกติได้ เช่น ไม่มียอด รากสั้น เป็นต้น) และเมล็ดไม่งอก

ค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์ความงอกของเมล็ดพันธุ์ข้าว คิดได้จากจำนวนรวมของต้นกล้าปกติทั้ง 4 ซ้ำ แล้วหารด้วย 4 ซึ่งเมล็ด
พันธุ์ข้าวที่ได้มาตรฐาน

ต้องมีความงอกไม่ต่ำกว่า 80 % ตามพระราชบัญญัติพืืช พ.ศ.2518 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2535



http://khaokhitchakut.chanthaburi.doae.go.th/PAGE/new/new3page/rice3.10.htm


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 02/10/2011 7:36 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11559

ตอบตอบ: 01/10/2011 10:39 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

754. ลดการใช้ปุ๋ยเคมี ด้วยการใช้ปุ๋ยชีวภาพ ละลายฟอสเฟต


การใช้ปุ๋ญเคมีในแปลงพืชผลทางการเกษรของเกษตรกรในปัจจุบัน มีวัตถุประสงค์หลักคือ เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรให้มี
จำนวนมากขึ้น นอกจากนั้นยังทำให้ผลผลิตทางการเกษตรเหล่านั้นมีคุณภาพดีจำหน่ายได้ในราคาแพง แต่ถ้าหากใช้ใน
ปริมาณมากอาจทำให้มีผลกระทบต่างๆ ตามมามากมาย ปุ๋ยเคมีนอกจากจะมีราคาแพง ทำให้ต้นทุนการผลิตของเกษตรกร
มีราคาสูงขึ้นแล้ว ยังมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในภาพรวม


การใช้ปุ๋ยชีวภาพ เป็นอีกหนึ่ทางเลือกที่เกษตรจะสามารถนำไปใช้ในแปลงพืชผลทางการเกษตรของเกษตรกร นอกจาก
จะทำให้ลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลง ยังสามารถช่วยในการเพิ่มปริมาณผลผลิตให้มากขึ้นและที่สำคัญไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมด้วย


ปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟตเป็นปุ๋ยชีวภาพอีกชนิดหนึ่งที่กรมวิชาการเกษตรแนนำให้เกษตรกรใช้ เพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมี
โดยมีรายละเอียดและข้อแนะนำในการใช้ดังนี้


ฟอสพอรัสเป็นธาตุอาหารหลักของพืชในดินที่ใช้ทำการเกษตรส่วนใหญ่จะมีฟอสฟอรัสสำรองอยู่ในดินนั้นในปริมาณ
มาก โดยมาจากการสะสมของฟอสฟอรัสที่ได้จากการใช้ปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอ


อย่างไรก็ตามฟอสฟอรัสในดินส่วนใหญ่ประมาณ 95 - 99 เปอร์เซ็นต์ อยู่ในรูปที่ไม่ละลาย พืชนำไปใช้ประโยชน์ไม่ได้
การขาดฟอสฟอรัสในดินจึงเกิดขึ้นทั่วโลก


จุลินทรีย์ละลายฟอสเฟตเป็นกลุ่มของจุลินทรีย์ ทั้งเชื้อแบคทีเรีย ราเส้นใย ยีสต์ และแอคติโนมัยซีส เป็นกลุ่มของจุลินทรีย์
ที่สามารถส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชโดยการเพิ่มฟอสฟอรัสรูปที่พืชใช้ประโยชน์ได้ในดิน โดยเฉพาะดินที่ขาด
ฟอสฟอรัส จากการศึกษา พบว่าเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียในดินสามารถละลายอนินทรีย์ ฟอสฟอรัสให้พืชใช้ประโยชน์
ได้ นอกจากนี้พบว่าจุลินทรีย์ละลายฟอสเฟตสามารถละลายหินฟอสเฟต ซึ่งเป็นปุ๋ยฟอสเฟตอย่างหนึ่ง ปลดปล่อยฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์เพิ่มขึ้น


กรมวิชาการเกษตรโดยกลุ่มงานวิจัยจุลินทรีย์ดิน กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตทำการ
ศึกษารวบรวมจุลินทรีย์ละลายฟอสเฟตที่มีในประเทศ และคัดเลือกให้ได้จุลินทรีย์ที่มี ประสิทธิภาพในการละลาย หินฟอส
เฟตและฟอสเฟตรูปที่ไม่ละลายอื่นๆ แล้วทดลองนำไปใช้กับพืช


จากผลการทดลองพบว่าการใช้จุลินทรีย์ละลายฟอสเพตร่วมกัน หินฟอสเฟตสามารถเพิ่มการเจริญเติบโตและผลผลิต
พืชได้มากกว่าการใส่เฉพาะหินฟอสเฟต โดยเฉพาะในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ โดยเพิ่มขึ้นประมาณ 27-40 เปอร์เซ็นต์
เพมื่อเปรียบเทียบกับการไม่ใช้เชื้อ จากนั้นจึงทดลองผลิตจุลินทรีย์ละลายฟอสเฟตให้อยู่ในรูปแบบปุ๋ยชีวภาพละลายฟอส
เฟตที่เกษตรกรสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่ามีประสิทธิภาพ


กรมวิชาการเกษตรแนะนำการใช้ประโยชน์จากปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟต โดยแนวทางการใช้จะเป็นดังนี้

- ใส่ร่วมกับหินฟอสเฟตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของหินฟอสเฟตซึ่งจัดเป็นปุ๋ยฟอสเฟตราคาถูก และเป็นปุ๋ยที่ปลดปล่อยธาตุ
อาหารฟอสฟอรัส ออกมาทีละน้อย

- ใส่ปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟตให้บางชุดดินที่วิเคราะห์แล้ว พบว่ามีปริมาณฟอสฟอรัสในดินสูง โดยจุลินทรีย์ที่ใส่
เพิ่มลงไปจะไปละลาย ฟอสฟอรัสที่ถูกยึดตรึงอยุ่ในดินให้ออกมาเป็นประโยชน์อีกครั้ง โดยฟอสฟอรัสในดินดังกล่าวมา
จากปุ๋ยเคมีฟอสเฟตที่ใส่ลงดินให้กับพืชระหว่างเพาะปลูก แต่พืชสามารถดูดใช้ได้บางส่วนเท่านั้น โดยส่วนใหญ่แล้วเหลือ
ตกค้างในดินโดยถูกดินยึดตรึงเอาไว้ จึงไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยฟอสเฟตอีกเมื่อใส่จุลินทรีย์ละลายฟอสเฟต ดังนั้น ถ้า
สามารถใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ตามแนวทางนี้กับดินทำการเกษตรทั่วไปจะสามารถลดการใช้ปุ๋ยฟอสเฟตลงได้

- ใช้ปุ๋ยีวภาพละลายฟอสเฟตกับการผลิตพืชในระบบอินทรีย์ เพราะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ร่วมกับหินฟอสเฟต ซึ่งตาม
มาตรฐาน การเกษตรอิทรีย์ หินฟอสเฟตถูกกำหนดเป็นแหล่งของฟอสฟอรัสอย่างหนึ่งในการผลิตพืช


ปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ของกรมวิชาการเกษตร ลักษณะของผลิตภัณฑ์ใหม่ของกรมวิชาการเกษตร
ลักษณะของผลิตภัณฑ์เป็นผงบรรจุในถุงพลาสติก ขนาดบรรจุ 500 กรัม/ถุง มีจุลินทรีย์หลักเป็นจุลินทรีย์ประเภทเชื้อรา
Penicillium sp. และ/หรือ เชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas sp. ที่สามารถละลายหินฟอสเฟต และฟอสเฟตที่มีอยู่
ในดินบางรูปที่พืชใช้ไม่ได้ให้ละลายออกมาเป็นประโยชน์แก่พืช และยังมีคุณสมบัติพิเศษสามารถสังเคราะห์สารช่วยในการ
เจริญเติบโตของพืช กล่าวได้ว่าผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟตของกรมวิชาการเกษตรช่วยพืชให้ได้ธาตุอาหาร
ฟอสฟอรัสเพิ่มขึ้น และช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชที่ใช้ปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟต


วิธีใช้และอัตราการใช้
ใช้ปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟตคลุกเมล็ดก่อนเพาะกล้า สำหรับพืชปลูกใหม่ ใส่รองก้นหลุมประมาณ 2 ช้อนแกง/หลุม
สมารถใช้ร่วมกับหินฟอสเฟต และปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก ใส่ไม่ต้องลึก สำหรับพืชที่โตแล้วใส่รอบทรงพุ่ม อัตรา 150 กรัม/ทรง
พุ่ม 0.5 เมตร โดยคลุกผสมกับหินฟอสเฟต และปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก แล้วสับกลบลงดิน

ข้อควรระวัง
เก็บปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟตไว้ในที่เย็น ที่ร่ม ที่มีอากาศถ่ายเท หรือในตู้เย็น ระวังอย่าให้โดนแดด และไม่ควรซ้อนทับ
ถุงปุ๋ยชีวภาพหลายชั้นเป็นเวลานาน

ด้วยผลงานวิจัยของกรมวิชาการเกษตรเกี่ยวกับเรื่องปุ๋ยีวภาพ ภายใต้การดำเนินงานของนักวิจัยที่เกี่ยวข้องและมีจุดมุ่งหมาย
ให้เกษตรกรลดการใช้ปุ๋ยเคมี หรือใช้ปุ๋ยเคมี เท่าที่จำเป็น

เนื่องจากปุ๋ยเคมีในปัจจุบันมีราคาแพง ปุ๋ยชีวภาพจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะทำให้เกษตรกรลดต้นทุนในการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้
ท้ายที่สุดจะเกิดผลดีโดยรวมต่อตัวเกษตรกรเองและส่งผลในระยะยาวถึงสภาวะแวดล้อมที่ดีขึ้นในอนาคตด้วย




แหล่งที่มา : จดหมายข่าวผลิใบ ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2554 หน้า 11-12

รวบรวม : นางสาวสวรส แดงท่าขาม นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ


http://khaokhitchakut.chanthaburi.doae.go.th/PAGE/other%20new%20interesting/News_Letter/fosfet/fosfet.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11559

ตอบตอบ: 02/10/2011 9:19 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

755. ชุดสกัดน้ำมันปาล์ม สำหรับครัวเรือน

















โดยเทคโนโลยีชาวบ้าน เมื่อ 1 มี.ค.2554



ผลงานการประดิษฐ์
"ชุดอุปกรณ์สกัดน้ำมันปาล์มสำหรับครัวเรือน (A Set of Palm Oil Extracting Machine for Household)"


เป็นผลงานการประดิษฐ์ของ
1. อาจารย์เฉลิมศักดิ์ มีไพบูลย์สกุล และคณะ
ประกอบด้วย
2. คุณณรงค์ ตั้งถึงถิ่น
3. คุณณรงค์ เผือกแสง และ
4. คุณเกรียงไกร ไชยบุญ แผนกวิชาช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคกระบี่ ถนนท่าเรือ ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่


โทร. (075) 611-796, (081) 086-2577

ถือเป็นหนึ่งในผลงานการประดิษฐ์ที่ก่อประโยชน์อย่างยิ่งต่อเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน จึงทำให้ผลงานดังกล่าวได้รับการคัดเลือกจาก


คณะกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ ได้รับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ระดับดี สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา ประจำปี 2554
ซึ่ง อาจารย์เฉลิมศักดิ์ หัวหน้าคณะผู้วิจัย กล่าวถึงที่มาของการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ดังกล่าวว่า จากปัญหาที่ในปัจจุบัน เกษตรกรหรือชาว
สวนปาล์มส่วนใหญ่ต้องนำผลปาล์มที่เก็บได้จากสวน ไปขายที่จุดรับซื้อหรือที่โรงงาน การเก็บผลปาล์มจากสวนเพื่อนำไปขายจะ
ต้องเก็บผลที่มีขนาดที่สุกพอดีจึงจะขายได้ราคา และที่สำคัญชาวสวนปาล์มไม่สามารถกำหนดราคาผลปาล์มได้เอง

ขณะที่การสกัดหรือหีบน้ำมันปาล์มในปัจจุบันจะเป็นระดับโรงงานขนาดใหญ่ที่ลงทุนสูงมาก ต้องนำเข้าเครื่องมือจากต่างประเทศ
ต้องใช้แรงงานจำนวนมากในการผลิต และยังไม่มีการสกัดหรือหีบน้ำมันปาล์มเองในระดับครัวเรือน

อาจารย์เฉลิมศักดิ์ บอกอีกว่า การประดิษฐ์ชุดอุปกรณ์สกัดน้ำมันปาล์มขนาดเล็ก สำหรับครัวเรือนนี้ เน้นการใช้เทคโนโลยีที่ไม่
สูงเกินไป โดยที่ชุดเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการประดิษฐ์หาซื้อได้ในท้องถิ่นทั่วไป ที่มีราคาไม่แพง และสามารถสกัดน้ำมันปาล์ม
ได้เองโดยไม่ยุ่งยาก จะทำให้ชาวสวนปาล์มระดับครัวเรือนสามารถสกัดน้ำมันปาล์มได้เอง

"จะเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในการจัดการกับผลผลิตหรือต่อยอดผลิตภัณฑ์จากผลผลิตเดิมที่ขายได้เฉพาะผล
ปาล์มสดเท่านั้น หรือสามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลเล็ก เพื่อการเกษตรต้นแบบที่วิทยาลัยเทคนิค
กระบี่ได้พัฒนาขึ้น ซึ่งสามารถใช้น้ำมันปาล์มดิบเป็นเชื้อเพลิงได้โดยตรง"

"น้ำมันที่ได้ยังสามารถนำไปผลิตเป็นไบโอดีเซล หรือจะพัฒนาต่อยอดทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอุปโภคและ
บริโภคได้เอง จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ทำให้ผลปาล์มที่ผลิตได้มีมูลค่าที่สูงขึ้น ทำให้เกษตรกรชาวสวนปาล์มมีรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่ง
เป็นแนวทางที่จะช่วยเหลือเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน" อาจารย์เฉลิมศักดิ์ กล่าว

สำหรับลักษณะเด่นของสิ่งประดิษฐ์ดังกล่าว อาจารย์เฉลิมศักดิ์ บอกว่า มีราคาถูกกว่าเครื่องสกัดน้ำมันปาล์มทั่วไป สามารถ
เลือกใช้น้ำมันปาล์มดิบหรือน้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ต้นกำลัง ใช้เนื้อที่ในการติดตั้งน้อยกว่า

"รวมถึงการซ่อมบำรุงรักษาได้ง่ายกว่า เกษตรกรสามารถสกัดน้ำมันปาล์มได้เองโดยวิธีการที่ไม่ยุ่งยาก และหาซื้อวัสดุ อุปกรณ์ใน
การซ่อมได้โดยทั่วไป"

สำหรับอุปกรณ์ที่สำคัญของชุดอุปกรณ์สกัดน้ำมันปาล์มขนาดเล็ก สำหรับครัวเรือน จะประกอบด้วยเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็ก 1 สูบ
ท่อเหล็ก ท่อน้ำมันและถังน้ำมันสำหรับประดิษฐ์ชุดอุปกรณ์อุ่นน้ำมันปาล์มดิบ (สำหรับใช้น้ำมันปาล์มดิบเป็นเชื้อเพลิง)
เฟืองทด ชุดสกรูบีบอัดน้ำมัน และถาดสำหรับรองรับน้ำมัน ถังย่อยและคัดแยกผลปาล์ม สายพานและอุปกรณ์ส่งกำลัง

นอกจากนี้ มีชุดใบกวนเพื่อย่อยและคัดแยกผลปาล์ม เหล็กสำหรับทำโครงยึดอุปกรณ์ทั้งหมด มอเตอร์สำหรับชุดหมุนเหวี่ยงความ
เร็วสูง จานหมุนเหวี่ยงน้ำมันปาล์มดิบ ถังแยกน้ำออกจากน้ำมันปาล์มดิบ ชุดกรองละเอียดน้ำมันปาล์มดิบ อุปกรณ์จับยึดและอื่นๆ


ชุดอุปกรณ์สกัดน้ำมันปาล์มสำหรับครัวเรือน ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
1. เครื่องสกัดน้ำมันปาล์มสำหรับครัวเรือน และ
2. ชุดอุปกรณ์ปรับปรุงคุณภาพน้ำมันปาล์มดิบ


การสกัดน้ำมันปาล์มโดยเครื่องฯ ที่ประดิษฐ์ขึ้นนี้ ใช้วิธีการให้ความร้อนกับผลปาล์มในขั้นตอนสกัดเพียงครั้งเดียวก็สามารถสกัด
ได้น้ำมันปาล์มดิบออกมา โดยเครื่องยนต์ต้นกำลังในการย่อยผลปาล์มและสกัดน้ำมันปาล์มดิบ ใช้เครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็ก
สูบเดียว ที่ได้พัฒนาให้สามารถใช้น้ำมันปาล์มดิบที่ได้จากการสกัดเป็นเชื้อเพลิงได้

"ส่วนการปรับปรุงคุณภาพน้ำมันที่สกัดได้ ด้วยการให้ความร้อนน้ำมันปาล์มดิบที่ 70 องศาเซลเซียส ในขั้นตอนเดียว นำมาผ่านชุด
อุปกรณ์ปรับปรุงคุณภาพน้ำมันปาล์มดิบ เพื่อการกรองหยาบ แยกน้ำออกจากน้ำมัน แยกสารแขวนลอย สิ่งสกปรก น้ำ และสิ่งเจือ
ปนต่างๆ ที่เหลือ รวมทั้งกรองละเอียดในเครื่องเดียวกันได้อย่างรวดเร็ว" อาจารย์
เฉลิมศักดิ์ กล่าว

สำหรับกรรมวิธีในการสกัดน้ำมันปาล์มดิบ อาจารย์เฉลิมศักดิ์ อธิบายว่า เริ่มจากเก็บผลปาล์มจากต้น นำมาสับให้ผลปาล์มหลุด
ออกจากทะลายอย่างหยาบๆ สตาร์ตเครื่องยนต์ด้วยน้ำมันดีเซล 1 นาที แล้วเปลี่ยนวาล์วไปใช้น้ำมันปาล์มดิบ (ก่อนดับเครื่อง
5 นาที ให้เปลี่ยนวาล์วกลับไปใช้น้ำมันดีเซลเพื่อล้างระบบปั๊มและหัวฉีด)

"จากนั้น ให้เทผลปาล์มที่สับแล้วลงในช่องด้านบนของเครื่องสกัดน้ำมัน เครื่องจะย่อยผลปาล์มให้หลุดจากช่อทะลายที่เหลือ
และแยกผลปาล์มออกมา นำผลปาล์มที่ได้จากการแยกของเครื่องสกัดไปต้มในน้ำเดือด 30-45 นาที" อาจารย์เฉลิมศักดิ์ กล่าวและว่า

"หลังจากนั้น นำผลปาล์มที่ต้มร้อนๆ เทลงในกระบอกของสกรูอัดน้ำมันของเครื่องสกัดผลปาล์มจะถูกบีบอัดให้น้ำมันแยกออก
จากกากและเส้นใยปาล์ม"

ส่วนกรรมวิธีปรับปรุงคุณภาพน้ำมันปาล์ม จะทำงานโดยการนำน้ำมันปาล์มดิบที่สกัดได้มาต้มที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส นำมา
กรองหยาบด้วยตะแกรงกรอง จากนั้นเปิดสวิตช์ปั๊มเพื่อดูดน้ำมันเข้าสู่ถังแยกน้ำจากน้ำมัน ทิ้งไว้ 10 นาที น้ำมันปาล์มดิบจะถูก
แยกตัวออกจากน้ำ เปิดวาล์วเพื่อถ่ายน้ำออกมา เปิดสวิตช์เครื่องหมุนเหวี่ยงความเร็วสูงและค่อยๆ ปล่อยน้ำมันลงมา

ซึ่งเครื่องจะแยกสารแขวนลอย สิ่งสกปรกเจือปนต่างๆ และน้ำที่เหลือ เปิดวาล์วปล่อยลมความดันต่ำเพื่อดันน้ำมันเข้าระบบ
กรองละเอียด จะได้น้ำมันปาล์มดิบพร้อมใช้

อาจารย์เฉลิมศักดิ์ บอกว่า การทำงานในกระบวนการสกัดน้ำมันปาล์มดิบ สามารถย่อยผลปาล์มที่ใช้วิธีการเพียงสับอย่างหยาบๆ
และคัดแยกผลปาล์มออกจากกลีบช่อทะลายได้ในเครื่องเดียวกัน สามารถสกัดน้ำมันได้อย่างต่อเนื่อง นาทีละประมาณ 3 กิโลกรัม
ผลปาล์มสด หรือชั่วโมงละ 180 กิโลกรัมผลปาล์มสด การสกัดสามารถแยกกากและเส้นใยปาล์มออกจากน้ำมันปาล์มได้เอง และ
สามารถเลือกใช้น้ำมันปาล์มดิบหรือน้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ต้นกำลัง

ส่วนกระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำมันปาล์มดิบสามารถทำได้อย่างรวดเร็วและได้น้ำมันคุณภาพดี มีน้ำเสียจากกระบวนการสกัด
น้อย เพราะน้ำที่เหลือหรือแยกออกจากน้ำมันปาล์มดิบสามารถนำกลับมาใช้ในการต้มผลปาล์มในกระบวนการสกัดน้ำมันได้อีก

จากผลงานการคิดค้นดังกล่าวนี้ ในส่วนของประโยชน์ที่เกิดขึ้น อาจารย์เฉลิมศักดิ์ กล่าวว่า การมีชุดอุปกรณ์ดังกล่าวจะทำให้
เกษตรกรสามารถสกัดน้ำมันปาล์มได้เองในระดับครัวเรือน เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลปาล์มของเกษตรกรในกรณีผลปาล์ม
มีราคาตกต่ำให้สามารถเลือกวิธีการจัดการกับผลผลิตของตนเองจากเดิมที่ต้องนำไปขายเพียงอย่างเดียว เกษตรกรไม่สามารถ
เก็บผลปาล์มไว้ได้นาน เพราะเมื่อเก็บผลปาล์มจะต้องรีบขายโดยเร็ว มิฉะนั้น จะทำให้ราคายิ่งตกลงและท้ายที่สุดจะนำไปใช้
ประโยชน์ไม่ได้

นอกจากนี้ เกษตรกรสามารถสกัดน้ำมันปาล์มเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทน โดยอาจจะใช้น้ำมันปาล์มดิบกับเครื่องยนต์ที่ได้
พัฒนาขึ้นเป็นการเฉพาะโดยตรง นำไปผลิตเป็นไบโอดีเซล หรือนำไปต่อยอดโดยการผลิตเป็นสินค้าอุปโภคบริโภคอื่นๆ
ในระดับชุมชน กากปาล์มและส่วนที่เหลือทั้งหมดสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มโดยการทำเป็นอาหารสัตว์ ปุ๋ย และเชื้อเพลิง เป็นต้น

"พร้อมกันนี้ยังสามารถจัดเก็บผลผลิตในรูปน้ำมันได้นานกว่าการเก็บในลักษณะผลปาล์มที่ตัดจากต้น ประหยัดเนื้อที่ในการจัด
เก็บ สะดวกในการขนส่ง สามารถเลือกช่วงเวลาการขายน้ำมันปาล์มดิบในช่วงที่มีราคาสูงได้ และการนำน้ำมันปาล์มมาใช้
เป็นเชื้อเพลิงทดแทนในรูปแบบต่างๆ จะทำให้ลดการสูญเสียเงินจำนวนมากในการสั่งซื้อน้ำมันดีเซลจากต่างประเทศ ทำให้เศรษฐ
กิจของชาติในภาพรวมดีขึ้น มลพิษทางอากาศลดน้อยลง และที่สำคัญจะทำให้เกษตรกรมีรายได้ที่สูงขึ้น" อาจารย์เฉลิมศักดิ์ กล่าว

สำหรับการเผยแพร่ผลงานออกไปสู่เกษตรกรนั้น อาจารย์เฉลิมศักดิ์ เล่าให้ฟังว่า ได้มีการมอบเครื่องสกัดน้ำมันปาล์มสำหรับครัว
เรือนให้กับเกษตรกร และหน่วยงานต่างๆ เพื่อใช้ในการสาธิตแก่เกษตรกรที่สนใจ เช่น มอบให้กับ

คุณสงวน มงคลศรีพันเลิศ ประธานศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านเขากลม ตำบลหนองทะเล อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่

ซึ่งมีผู้เข้ารับการอบรมศึกษาดูงานปีละมากกว่า 50,000 คน รวมถึงที่ศูนย์เรียนรู้ ที่ตำบลดินอุดม อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่
โดยใช้งบประมาณศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชุน ภารกิจด้านการต่อยอดเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ชุมชน ของวิทยาลัยเทคนิคกระบี่
รวมถึงใช้เพื่อประกอบการเรียนการสอนนักศึกษา ที่แผนกวิชาช่างยนต์ วิทยาลัย
เทคนิคกระบี่ เป็นต้น

ทั้งหมดนี้คือ อีกหนึ่งผลงานการคิดค้นที่เกิดขึ้น เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันที่มาจากมันสมองของคน
ไทย และเพื่อคนไทยอย่างแท้จริง




http://invention53.blogspot.com/2011/03/blog-post.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 02/10/2011 9:55 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11559

ตอบตอบ: 02/10/2011 9:26 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

756. ปตท.หนุน 140 ล้านบาท วิจัยคัดพันธุ์สาหร่ายน้ำมัน

















โดยกรุงเทพธุรกิจ เมื่อ 11 ก.พ.2554



วว.ประสบความสำเร็จใช้เทคนิคย้อมสี คัดสาหร่ายผลิตน้ำมัน 40 สายพันธุ์เด่น ปตท.หนุนขยายผล 140 ล้านบาท

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ประสบความสำเร็จใช้เทคนิคย้อมสี คัดสาหร่ายผลิตน้ำมัน 40
สายพันธุ์เด่น ปตท.หนุนขยายผล 140 ล้านบาท เห็นพลังงานทดแทนจากสาหร่ายในใช้จริง 5 ปี

ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า ทีมวิจัย วว. ประสบความสำเร็จจากการพัฒนา
เทคนิคย้อมสีไนล์ เรด เพื่อใช้คัดเลือกสายพันธุ์สาหร่ายที่ให้ปริมาณน้ำมันสูง ช่วยร่นระเวลาการวิจัยจากเดิมที่คัดเลือกได้ 50 สาย
พันธุ์ เป็น 100 สายพันธุ์

ผลจากการพัฒนาเทคนิคดังกล่าว นำมาสู่การคัดเลือกสาหร่าย 40 สายพันธุ์เด่น ที่เหมาะแก่การขยายพันธุ์และนำไปผลิตเป็นน้ำมัน
เชื้อเพลิงในอนาคต โดย วว. ได้เดินหน้าจัดเก็บสายพันธุ์สาหร่ายมากว่า 20 ปี ทำให้มีคลังสายพันธุ์สาหร่ายใหญ่เป็นอันดับ 3 ของ
เอเชีย รองจากญี่ปุ่นและจีน

"สาหร่ายเป็นพืชพลังงานที่มีความน่าสนใจไม่แพ้ ปาล์ม อ้อย และมันสำปะหลัง เนื่องจากมีศักยภาพในการผลิตน้ำมันเช่นกัน เพียง
แต่ต้องพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต เพื่อลดต้นทุนและสามารถแข่งขันกับเชื้อเพลิงปิโตรเลียมได้" ดร.วีระชัย กล่าวและว่าเทคนิค
การย้อมสีที่นักวิจัยพัฒนาขึ้นสามารถใช้ทดแทนเทคนิคเดิม หรือการนำคอลโรฟอร์มของเมธานอลมาใช้ในขั้นตอนการสกัด ซึ่งข้อดี
คือสามารถสกัดสาหร่ายใด้ในปริมาณมาก รวมถึงวัดปริมาณน้ำมัน และดูมีคุณสมบัติที่ต้องการได้ทันที

ทั้งนี้ งานวิจัยดังกล่าว สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ฯ ได้ทำงานร่วมกันสถาบันวิจัย ปตท. ซึ่งมีศักยภาพด้านการผลิตพร้อมทั้งสนับสนุนทุน
วิจัย 140 ล้านบาทในระยะเวลา 7 ปี (2551-2558)

ดร.กันย์ กังวานสายชล นักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและเชื้อเพลิงทางเลือก สถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ปตท. และผู้
จัดการเครือข่ายวิจัย กล่าวว่า ความร่วมมือดังกล่าวมีเป้าหมายที่จะผลิตน้ำมันจากสายหร่ายที่มีศักยภาพในการแข่งขันด้านราคา ซึ่งผล
จากการวิจัยในช่วง 2 ปีที่ผ่านมามีความเป็นไปได้ค่อนข้างสูง

จากการวิจัยพบว่าน้ำมันที่ได้จากสาหร่ายแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือน้ำมันที่ไม่มีออกซิเจน สามารถนำเข้าสู่กระบวนการกลั่นได้ทันที กับ
น้ำมันในกลุ่มน้ำมันพืช ที่นำไปผลิตไบโอดีเซล บี 3 และ บี 5

"หากเป็นไปตามแผนที่วางไว้ ภายใน 5 ปีจะสามารถผลิตไบโอดีเซลจากสาหร่ายในราคา 150 เหรียญต่อบาเรล หรือลิตรละ 30 บาท
แม้ปัจจุบันต้นทุนการผลิตยังสูงแตะลิตรละ 1 พันบาทก็ตาม" เขากล่าวและว่า ในต้นปี 2554 ปตท. จะเริ่มดำเนินการขยายกำลังการ
ผลิตสาหร่ายสายพันธุ์ที่ให้ปริมาณน้ำมันสูง บนพื้นที่ 1 ไร่ กำลังการผลิต 10 ลิตรต่อวัน ที่อำเภอวังน้อย

ซึ่งหากประสบความสำเร็จ การจะขยายต่อไปเป็นระดับ 1 ไร่ ไม่ใช่เรื่องยาก อีกทั้งมีความเป็นไปได้สูงที่จะผลิตไบโอดีเซลจากสาหร่าย
เพื่อนำมาเติมเป็นเชื้อเพลิงให้กับรถยนต์ รวมถึงองค์ประกอบอื่นๆ ของสาหร่ายยังนำมาใช้ผลิตเป็นอาหารคน อาหารสัตว์ อาหารเสริม
สุขภาพ ได้อีกด้วย


http://invention53.blogspot.com/2011/02/140.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 02/10/2011 9:47 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11559

ตอบตอบ: 02/10/2011 9:39 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

757.ครื่องสกัดน้ำมันปาล์ม ฝีมือคนไทย












โดย ดร.พรชัย เหลืองอาภาพงศ์ เมื่อ 17/4/2010



พื้นที่ภาคใต้นอกจากสวนยางพาราแล้ว อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน เป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมหลักที่สำคัญไม่น้อยแม้ว่าศักยภาพ
การผลิต การแข่งขันไม่สามารถสู้กับมาเลเซียได้ก็ตาม แต่ผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน ได้พยายามพัฒนาตนเองอยู่ตลอด
เวลา เพื่อลดต้นทุนให้ต่ำที่สุดและนำอุตสาหกรรมไปรองรับไบโอดีเซล จึงได้เร่งพัฒนาตั้งแต่การผลิตเสาะแสวงหาพัฒนาพันธุ์
ใหม่ๆ ที่ให้ผลผลิตสูง ตลอดจนเครื่องหีบ เครื่องสกัดน้ำมันปาล์ม ปกติเครื่องสกัดไม่สามารถผลิตได้ในไทย ต้องพึ่งพานำเข้าจาก
ต่างประเทศ และมีมูลค่าสูง ไม่สามารถใช้ได้กับชุมชนหรือสวนปาล์มขนาดเล็กได้

กลุ่มเกษตรกรจังหวัดกระบี่ จึงได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่พัฒนาเครื่องสกัดน้ำมันปาล์มต้นแบบฝีมือคนไทยเครื่องแรก ลด
ต้นทุนค่าเครื่องจักรเหลือ 30 ล้านบาท จากเดิมต้องนำเข้าจากมาเลเซียเครื่องละกว่า 200 ล้านบาท และยังเป็นระบบที่ไม่มีน้ำเสียออกจากกระบวนการผลิต

เครื่องสกัดน้ำมันปาล์มระบบแห้งหีบรวม (Dry Process) เครื่องแรกในประเทศไทย ผ่านการคิดค้นและพัฒนาโดยศูนย์วิจัยพลังงาน
ชีวมวล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) และบริษัทเกษตรสิทธี จำกัด อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่

นายสมชาย สิทธิโชค ประธานกรรมการบริษัท เกษตรสิทธี กล่าวว่า ในฐานะที่เป็นเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มในจังหวัดกระบี่ ซึ่งเป็น
จังหวัดที่มีสวนปาล์มจำนวนถึงกว่า 800,000 ไร่ มีเครื่องสกัดน้ำมันปาล์มกว่า 18 เครื่อง โดยล้วนต้องนำเข้ามาจากมาเลเซีย
เครื่องละกว่า 200 ล้านบาท จึงได้เริ่มคิดที่จะพัฒนาเครื่องจักรที่ผลิตได้เองในประเทศไทย และราคาถูก กระทั่งได้มาร่วม
มือกับศูนย์วิจัยพลังงานชีวมวล มช. เมื่อ 4 ปีก่อน ซึ่งได้งบประมาณสนับสนุนจากกองทุน เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน จึง
พัฒนาร่วมกันโดยใช้พื้นที่ของบริษัทฯประมาณ 2 ไร่ สำหรับการวิจัยและพัฒนา

ปัจจุบันได้เครื่องจักรต้นแบบ ด้วยงบประมาณ 30 ล้านบาท ซึ่งพบว่าเป็นเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพโดยผลปาล์ม 100 ตัน สามารถ
สกัดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ (ซีพีโอ) ได้ 18-20 ตัน จากเครื่องจักรแบบไอน้ำ (Stream Process) ที่ได้เพียง 17-18 ตัน
เท่านั้น นอกจากลงทุนต่ำกว่าเครื่องจักรจากมาเลเซียหลายเท่าตัวแล้ว ยังบำรุงรักษาง่าย และไม่มีน้ำเสียออกจากระบบด้วย โดย
คาดว่าเมื่อนำต้นแบบออกเผยแพร่จะมีผู้ประกอบการนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ต่อไป

ดร.พรชัย เหลืองอาภาพงศ์ หัวหน้าโครงการศึกษาความเป็นไปของการปลูกพืชน้ำมันและพัฒนารูปแบบการผลิตพลังงานจาก
พืชครบวงจรในพื้นที่ตัวอย่างเขตภาคเหนือ ศูนย์วิจัยพลังงานชีวมวล มช. กล่าวว่า การมาพัฒนาเครื่องสกัดน้ำมันปาล์มฯ ที่จังหวัด
กระบี่

เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีการปลูกปาล์มจำนวนมาก และได้ผลผลิตดี และที่สำคัญบุคลากรในพื้นที่ได้ผ่านการสั่งสมประสบการณ์
มาระดับหนึ่ง จึงเหมาะสำหรับการทดสอบประสิทธิ
ภาพการทำงานของระบบเครื่องสกัดน้ำมันปาล์ม โดยร่วมพัฒนากับบริษัทเกษตรสิทธี ซึ่งมีพื้นที่ปลูกปาล์มกว่า 200 ไร่ และทำธุรกิจ
ปาล์มครบวงจร

เครื่องดังกล่าว ถูกพัฒนาขึ้นมา เพื่อใช้เป็นเครื่องจักรต้นแบบ สำหรับการใช้งานปลูกปาล์มน้ำมันนอกพื้นที่และพัฒนาจากเครื่องสกัด
แบบเดิม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแบบใช้ไอน้ำ ซึ่งทำให้เกิดน้ำเสียหลังกระบวนการสกัดน้ำปาล์มประมาณ 35-40%

ทั้งนี้ระบบสกัดน้ำมันปาล์มระบบแห้งหีบรวม ประกอบด้วยชุดเครื่องจักรสำคัญ เช่น เครื่องลำเลียง เครื่องสับ และเครื่องปั่นทะลาย
ปาล์ม เครื่องบีบสกัดน้ำมันปาล์ม เครื่องกรองน้ำมันปาล์มละเอียด และถังเก็บน้ำมันปาล์มดิบ เป็นต้น

ดังนั้นระบบนี้จึงสามารถต่อขยายการผลิตเป็นไบโอดีเซลชุมชนได้เป็นอย่างดี ขณะเดียวกันกากที่เหลือสามารถนำไปใช้ประโยชน์
ได้ทั้งหมด เช่น

- เส้นใยปาล์ม นำไปเป็น เชื้อเพลิง ส่วน
- กากปาล์มที่เหลือจากการสกัดแล้ว สามารถนำเป็น ผลิตเป็นอาหารสัตว์จึงเป็นกระบวนการที่เรียกว่า Zero Waste หรือไม่
มีของเสียออกจากระบบ

สำหรับขนาดของเครื่องจักรนั้น หากเป็นระบบเล็กจะมีขนาดกำลังผลิต 2-5 ตันต่อชม. สามารถรองรับผลผลิตปาล์มน้ำมันขนาด
พื้นที่ 2,000 -5,000 ไร่

ส่วนระบบใหญ่มีขนาดกำลังผลิต 5-15 ตันต่อชม. สามารถรองรับผลผลิตปาล์มน้ำมันขนาดพื้นที่ 10,000 ไร่ขึ้นไป โดยใช้
แรงงานคนประมาณ 6-10 คนต่อระบบ

ส่วนค่าไฟฟ้าที่ใช้ในการกระบวนการก็ลดลงจาก 100,000 บาทต่อเดือน เหลือ 30,000 บาทต่อเดือน

เนื่องจากใช้ระบบ Gasifier จากเชื้อเพลิงที่ได้จาก
- เศษเหลือทะลายปาล์ม
- กะลาปาล์ม

เป็นแหล่งกำเนิดความร้อน โดยเครื่องสกัดน้ำมันปาล์มระบบแห้งหีบรวม จะมีการจดสิทธิบัตรต่อไปภายใต้รหัส สนพ.007 ต่อไป

สนใจติดต่อ คุณอรุณสุข แสงสอาด 089-5531999



http://invention53.blogspot.com/2011/02/blog-post_23.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11559

ตอบตอบ: 02/10/2011 10:06 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

758. ปลูก “ไผ่ตงลืมแล้ง” อาชีพเสริม รายได้หลักวันละ 5 พันบาท





โดย คม ชัด ลึก

จากประสบการณ์ที่คลุกคลีอยู่กับวิชาชีพสื่อมวลชนมายาวนาน ทำให้หนุ่มใหญ่วัย 43 ปี ผู้อำนวยการสถานีวิทยุกระจายเสียง
แห่งประเทศไทยจังหวัดตรัง

“ธีรพงศ์ เพชรรัตน์”
ได้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับพืชเศรษฐกิจที่จะนำไปประกอบอาชีพด้านการเกษตร เพราะเห็นว่ามีที่มรดกที่บ้านเกิดหมู่ 3 ต.บางเขียด
อ.สิงหนคร จ.สงขลา ซึ่งเป็น

ที่นาเก่า 8 ไร่
ควรที่จะใช้ให้เกิดประโยชน์และก่อให้รายได้เสริม แต่เนื่องจากยังมีอายุราชการเกือบ 20 ปี เขาจึงตัดสินใจ

ปลูกไม้ยืนต้น 4 ไร่ แซมด้วยไผ่ตงลืมแล้ง
ปรากฏว่าเพียง 8 เดือน ไผ่ตงลืมแล้งออกหน่อเก็บขายได้ถึงวันละ 100 หน่อ มีรายได้วันละ 5,000 บาท

ขณะที่กิ่งพันธุ์ขายได้เดือนละกว่า 200 กิ่ง ราคากิ่งละ 200 บาท
ธีรพงศ์บอกว่า คนที่มีอาชีพกินเงินเดือนโดยเฉพาะข้าราชการทุกคน พอมีอายุ 40 ปีขึ้นไป นึกถึงความมั่นคงในอาชีพหลังเกษียณ
บางคนจึงหาซื้อที่เพื่อทำการเกษตรในบั่นปลาย แต่เขาเองมีที่ซึ่งเป็นส่วนแบ่งจากมรดกของครอบครัว 8 ไร่ จึงเลือกปลูกไม้ยืน
ต้นโตเร็ว ส่วนหนึ่งคิดว่ายังเหลืออายุราชการอีกเกือบ 20 ปี ช่วงเกษียณอายุสามารถตัดขายทำเป็นทุนได้ อีกส่วนหนึ่งเห็นว่าป่าไม้
ลดปริมาณลงอย่างรวดเร็ว

จึงปลูกต้นมะฮอกกานีราว 1,000 ต้น พอต้นมะฮอกกานีเริ่มโตก็ยังเห็นว่า ช่วงระหว่างต้นไม้ ยังมีพื้นที่เหลือว่างเปล่า น่าจะทำ
ประโยชน์ได้ จึงศึกษาข้อมูลพืชเศรษฐกิจจากแหล่งต่างๆ พบว่าในพื้นที่ภาคใต้มีการบริโภคหน่อไม้ไม่แตกต่างไปจากภาคอื่น แต่ไม่
มีพื้นที่ปลูกเลย หรืออาจมีบ้าง ประปรายรายเล็กปลูกตามหลังบ้านปลายสวน จึงไม่มีการบันทึกข้อมูลว่ามีพื้นที่ปลูกไผ่เป็นอาชีพ

“ผมตัดสินใจจะปลูกไผ่ เลยศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับไผ่ทุกชนิด พบว่าไผ่ตงที่เหมาะที่สุด มีหลายสายพันธุ์ แต่มีสายพันธุ์ที่น่าสนใจคือชาว
บ้านเรียกว่า "ไผ่ตงลืมแล้ง" คือจะออกหน่อทั้งปี แม้ฤดูแล้ง ซึ่งไผ่ชนิดอื่นไม่ค่อยออกหน่อในช่วงหน้าแล้ง ผมจึงไปหาซื้อกิ่งพันธุ์
มาจาก จ.พัทลุง ปลูกทั้งหมด

ในพื้นที่ 4 ไร่ จำนวน 400 กอ
ในปี 2551 ไผ่ชนิดนี้คุณสมบัติคือโตเร็ว ได้ผลเร็ว และไม่ต้องดูแลรักษามาก เหมะกับผมที่มีอาชีพรับราชการ

ที่สำคัญหน่อมีรสชาติดี หวานกรอบอร่อย เปลือกบาง ไม่มีเสี้ยน ไม่มีขนปกคลุม เวลาแกะเอาเนื้อในสะดวก ขนาดหน่อโตเต็มที่
น้ำหนักประมาณ 1-3 กก. ตอนนี้ผมกลายเป็นผู้บุกเบิกในการปลูกไผ่ตงพันธุ์ลืมแล้ง ที่ทำเป็นกิจลักษณะและเป็นผู้ปลูกรายใหญ่ที่สุด
ใน จ.สงขลา” ธีรพงศ์ กล่าว








ผู้อำนวยการสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดตรัง บอกอีกว่า หลังจากที่ลงไผ่ตงทนแล้งได้ 8 เดือน ต้นไผ่แตกหน่อ
เป็นต้นไผ่กอละ 5-6 ต้น ก็สามารถเก็บหน่อไผ่หรือหน่อไม้บริโภคได้ หรือเก็บขายได้

ปัจจุบันไผ่ตงลืมแล้ง 400 กอ สามารถเก็บขายได้วันละไม่น้อยกว่า 100 หน่อ หนัก 100 กก.จะมีพ่อค้ามาซื้อถึงที่ อย่าง

- หน้าแล้งราคา กก.ละ 35-45 บาท ขายปลีก กก.ละ 40-50 บาท
- ทั่วไปขายส่งที่สวน กก.ละ 25-30 บาท ขายปลีกราว กก.ละ 35 บาท
- หน้าฝนมีหน่อไม้จากไผ่ป่า และที่อื่นออกหน่อเยอะราคาตกอยู่ที่ กก.ละ 15-20 บาท

เฉลี่ยตลอดปีอยู่ที่ กก.ละ 25 บาท นอกจากมีรายได้จากการตอนกิ่งพันธุ์ขายด้วยเดือนละ 200-300 กิ่ง ขายในราคากิ่งละ 200
บาท แต่ผู้ซื้อต้องจองล่วงหน้า เพราะผลิตไม่ทันนั่นเอง





“หน่อไม้ที่ขายในตลาดภาคใต้ ถูกส่งมาจากพื้นที่อื่น เช่น สุพรรณบุรี ปราจีนบุรี และจังหวัดอื่นๆ ในภาคกลาง ทำให้ตอนนี้หน่อจาก
สวนผมเป็นที่ต้องการของตลาด มีเท่าไรขายหมด ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ผมจึงแนะนำว่าหากใครมีที่ควรปลูกไว้อย่างหลังบ้าน
หรือรอบสวนยางพาราก็ได้ เป็นอาชีพเสริมเพราะรายได้มีตลาดแน่นอน” เขายืนยัน

ก็นับเป็นพืชที่น่าสนใจอีกชนิดหนึ่งสำหรับในพื้นที่ภาคใต้ เพราะดูเลขของรายได้ดี สนใจอยากปลูกปรึกษาธีรพงศ์ เพชรรัตน์ ได้ที่
โทร.08-3195-0811, 08-1606-4513 “สมชาย สามารถ “


http://invention53.blogspot.com/2010/10/5.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11559

ตอบตอบ: 02/10/2011 10:13 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

759. เลี้ยงต่อหัวเสือตามต้นไม้ ไม่ลงทุน-ขายง่าย-ไร้คู่แข่ง








โดย คม ชัด ลึก

"ต่อหัวเสือ" นับเป็นแมลงมีพิษชนิดหนึ่ง ที่คนทั่วไปมักจะกลัว เพราะเมื่อโดนต่อหัวเสือกัดต่อย จะเจ็บปวดมาก แต่สำหรับชาว
บ้านหนองแคน ต. ยอดชาติ อ. วังยาง จ. นครพนม กว่า 10 หลังคาเรือน กลับเลี้ยงต่อชนิดนี้ตามต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ปลายนา
และพื้นที่หลังบ้าน เป็นอีกอาชีพซึ่งสร้างรายได้อย่างดี เพราะตัวอ่อนเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ที่สำคัญการเลี้ยงต่อหัวเสือ
ไม่ต้องลงทุนอะไร แถมไร้คู่แข่งอีกด้วย

สุวรรณ หงส์สา เกษตรกรวัย 41 ปี จากบ้านหนองแคนอีกผู้หนึ่งที่เลี้ยงต่อหัวเสือ บอกว่ายึดอาชีพนี้มากว่า 10 ปีแล้ว โดย
รวมกลุ่มกับเพื่อนกว่า 10 ครอบครัว เนื่องจากเห็นว่าชาวอีสานชอบบริโภคตัวอ่อนต่อหัวเสือ แต่ที่ผ่านมาต้องหารังต่อตาม
ธรรมชาติเท่านั้น จึงคิดว่าน่าจะเลี้ยงเพื่อขายตัวอ่อน จึงชวนเพื่อน ๆ ลองเลี้ยงดู ปรากฎว่าเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคอย่าง
มาก มีตลาดแน่นอน และไม่มีคู่แข่ง ที่สำคัญการเลี้ยงไม่ต้องลงทุนอะไรเลย เพียงออกแรงไปหารังต่อหัวเสือในป่ามาเลี้ยง
บนต้นไม้ตามปลายนา หรือพื้นที่หลังบ้าน

"ผมมีที่ทำกินราว 10 ไร่ เลี้ยงปลา 2 บ่อ อีกส่วนหนึ่งปลูกข้าว ในนาข้าวปล่อยปลาตะเพียนด้วย ที่ว่างเปล่าผมปลูกกล้วย
และปลูกพืชสวนครัวไว้กินเอง ในที่ของผมมีต้นไม้ที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ ตอนหลังจึงทดลองนำรังต่อหัวเสือมาเลี้ยงไว้
ปรากฎว่าเป็นที่ต้องการของตลาด จึงขยายเพิ่มขึ้น ตอนนี้ผมเลี้ยงไว้ราว 30-40 รัง" สุวรรณกล่าว

วิธีการเลี้ยงนั้น เขาบอกว่า เริ่มเลี้ยงกันเดือนพฤษภาคม เป็นช่วงก่อนปักดำนาปี โดยเขาและเพื่อนบ้านจะออกหารังต่อหัวเสือ
ตามป่าใกล้ ๆ หมู่บ้านในตอนกลางวัน โดยเริ่มจากริมหนองน้ำ ซึ่งสังเกตุจากตัวต่อจะออกมาหาอาหารพวกเศษปลาตาย
พอได้อาหารเพียงพอ แม่ต่อจะนำอาหารบินกลับไปรัง จึงสังเกตุว่าแม่ต่อตัวนั้น ๆ จะบินไปทิศทางไหน จากนั้นจึงตามไป ใช้
เวลาไม่มากก็จะพบรังต่อที่ทำรังตามต้นไม้ เมื่อพบแล้วตกกลางคืนซึ่งมีอันตรายน้อย เพราะตัวต่อเข้าไปนอนในรัง จึงจัด
การเพื่อนำกลับมาเลี้ยงที่ต้นไม้ของตัวเอง

"การกำจัดรังต่อเพื่อนำกลับมาเลี้ยง อันดับแรกต้องสวมเสื้อหนา ๆ สวมไอ้โม่งป้องกันไว้ก่อน จากนั้นปีนขึ้นต้นไม้ พอ
ถึงรังต่อ ก็ใช้เศษผ้าที่เตรียมไว้มายัดรูเข้า-ออกของตัวต่อ ซึ่งมีเพียงรูเดียว แล้วนำกระสอบไปคลุมรังอีกชั้น ก่อนจะตัดขั้ว
รังต่อกับกิ่งไม้ มัดปากกระสอบให้แน่น นำกลับมาบ้าน นำขั้วรังต่อไปมัดติดกับกิ่งไม้ที่ปลายทุ่งนาหรือหลังบ้าน จากนั้นถอด
กระสอบคลุมและเศษผ้ายัดรูเข้า-ออกรังต่อออกมา จึงเสร็จกระบวนการ ทั้งหมดต้องทำตอนกลางคืนเท่านั้น รุ่งเช้าตัวต่อ
ก็ออกหากินตามปกติโดยไม่กัดต่อยคนแต่อย่างใด" สุวรรณกล่าวอย่างมั่นใจ

การเลี้ยงต่อใช้เวลา 3-6 เดือน หรือราวเดือนกันยายนจนถึงปีใหม่ รังต่อจะโตเต็มที่ จึงจะมีลูกค้ามาจองซื้อในราคารังละ 500-
600 บาท ซึ่งการเก็บผลผลิตจากรังต่อหัวเสือมอบให้ลูกค้าจะทำในเวลากลางคืน โดยนำคบไฟลนที่รังเพื่อไล่ตัวแม่ต่อออ
กจากรังจนหมด แล้วก็นำรังต่อมี่มีลูกต่อเต็มรัง มอบให้ลูกค้าตามที่ตกลงกันไว้ แต่ต้องระวังด้วย เพราะถ้าพลาดท่าตัวต่อหัว
เสือจะกัดต่อยมีอาการเจ็บปวดมาก

"ลูกอ่อนของตัวต่อนั้น ลูกค้าชอบมาก เพราะมีรสชาติมัน อร่อยมาก มีโปรตีนสูง เราสามารถนำไปปรุงเป็นอาหารได้หลายรูป
แบบ เช่น นึ่ง ลาบ หมก แกงลาว เป็นต้น" สุวรรณกล่าว

นับเป็นอีกอาชีพหนึ่งที่หลายคนมองข้าม เนื่องจากมีความเสี่ยงอยู่พอสมควร เพราะต่อหัวเสือถือเป็นแมลงมีพิษชนิดหนึ่ง ทำ
ให้คนเกิดความกลัว แต่หากทำด้วยความระมัดระวังก็จะสร้างรายได้เสริมให้แก่ชาวบ้านได้ดีพอสมควร




http://invention53.blogspot.com/2010/09/blog-post_30.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11559

ตอบตอบ: 02/10/2011 10:19 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

760. ตุ๊กแกอบแห้ง รายได้ดี 10 ล้านต่อเดือน











โดยไทยรัฐ


อาชีพทำ "ตุ๊กแกอบแห้ง" ส่งออก แห่งเดียวนครพนม ยอดส่งออกตุ๊กแกตากแห้ง ส่งนอก พบเงินหมุนเวียนเดือนละกว่า 10 ล้านบาท.....

ที่ จ.นครพนม ถึงแม้หลายพื้นที่จะประสบปัญหาภัยแล้งไม่สามารถทำนาและการเกษตรได้ตามปกติ รวมถึงสภาพเศรษฐกิจตกต่ำ
ทำให้ประชาชนรายได้ลดลง แต่สำหรับราษฎรบ้านตาล ต.นาหว้า อ.นาหว้า จ.นครพนม กลับไม่ได้รับผลกระทบ เนื่องจาก
เป็นหมู่บ้านแห่งเดียวของนครพนมที่ยึดอาชีพสุดแปลกมานานกว่า 20 ปีคือทำตุ๊กแก ไส้เดือน และปลิง ตากแห้ง ส่งออก
ขายต่างประเทศหมุนเวียนตามฤดูกาลตลอดปี สร้างงาน สร้างรายได้ ให้กับชาวบ้านได้เป็นอย่างดี สวนกระแสในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ

นายคนึง มีพรหม นายอำเภอนาหว้า จ.นครพนม เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวเมื่อวันที่ 6 ก.ค.ว่า สำหรับ ต.นาหว้า อ.นาหว้า ถึงแม้จะมี
ปัญหาเศรษฐกิจและภัยแล้ง แต่ชาวบ้านมีอาชีพทำตุ๊กแก ไส้เดือน และปลิง ตากแห้ง ส่งขายต่างประเทศ สร้างเงินหมุนเวียน
เดือนละกว่า 10 ล้านบาท อำเภอได้เข้าไปดูแลส่งเสริมสนับสนุนบางส่วน ซึ่งถือว่าเป็นอาชีพหลัก

ขณะที่นายปราณีต นางทราช อายุ 50 ปี ราษฎรบ้านตาลที่ยึดอาชีพทำตุ๊กแกตากแห้งส่งออก กล่าวว่า ทำมานานกว่า 20 ปีแล้ว
รายได้ดี ไม่ว่าจะสภาพเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร ไม่มีผลกระทบ ช่วงนี้จะเป็นตุ๊กแกตากแห้ง คนที่ออกไปจับมาขายตัวละประมาณ
10-25 บาท ตามขนาด และชำแหละแปรรูปตามแบบมาตรฐานนำไปตากแห้งหรืออบ ก่อนแพ็กส่งขายให้พ่อค้าส่งออกไป จีน
ไต้หวัน นำไปปรุงอาหาร เป็นยาชูกำลัง ในราคาตัวละประมาณ 30 บาท ตามขนาดเล็กใหญ่ มียอดส่งออกเดือนละหลายแสนตัว
มีรายได้ครอบครัวละ 5,000–10,000 บาทต่อเดือน

นายปราณีต กล่าวอีกว่า ส่วนเรื่องปัญหาการสูญพันธุ์ของตุ๊กแกนั้นไม่มีอย่างแน่นอน เพราะในระยะเวลา 1 ปี จะมีช่วงพักประมาณ
เดือน ต.ค.– ม.ค. เป็นช่วงตุ๊กแกผสมพันธุ์ออกไข่ ซึ่งธรรมชาติของตุ๊กแกนั้น ขยายพันธุ์ได้เร็วและมีจำนวนมาก เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน
ก็จะไปทำปลิงตากแห้งแทน สำหรับตุ๊กแกที่นำมาผลิตนั้น จับตามบ้านเรือนทั่วไป ไม่ใช่ตุ๊กแกตามป่า จึงไม่ผิดตาม พ.ร.บ.สัตว์ป่า
หวงห้าม ในอนาคตกำลังหาทางเลี้ยงขยายพันธุ์เป็นสัตว์เศรษฐกิจ



http://invention53.blogspot.com/2010/07/10.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11559

ตอบตอบ: 02/10/2011 10:26 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

761. ผักหวานป่า ที่ อ.บ้านหมอ จ.สระบุรี









ผักหวานป่า
เป็นผักพื้นบ้านชนิดหนึ่งที่มีชื่อเสียงมากเป็นที่รู้จักและเป็นที่กล่าวขานของคนทั่วไป ผักหวานป่า เป็นพืชในวงศ์ “Opilaceae”
มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า “Melientha Sauvis” เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางมีอยู่ในป่าเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีขึ้นอยู่เกือบ
ทุกภาคของประเทศไทย เช่น ภาคเหนือ ที่จังหวัดเชียงใหม่ ตาก เชียงราย ภาคกลางในเขตจังหวัดลพบุรี สระบุรี อุทัยธานี
และภาคใต้ ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี จัดเป็นผักพื้นบ้านชนิดหนึ่งที่มีชื่อเสียงมากเป็นที่รู้จักของผู้บริโภคโดยทั่วไป เพราะมีรสชาติ
หวานมัน กรอบ อร่อย ในหนึ่งปีจะหารับประทานได้เพียงฤดูเดียว คือ ช่วงเดือน มีนาคม – พฤษภาคม


เดิมผักหวานป่าเป็นผักพื้นบ้านที่ขึ้นอยู่ตามแหล่งธรรมชาติในท้องถิ่น แต่ปัจจุบันด้วยภูมิปัญญาของเกษตรกร อำเภอบ้านหมอ
จังหวัดสระบุรี ผักหวานป่าได้ถูกพัฒนาด้านการขยายพันธุ์จนประสบความสำเร็จ จึงได้นำต้นกล้ามาปลูกขยายพันธุ์ที่แบบสภาพ
ไร่ของเกษตรกรเพิ่มขึ้น ผักหวานป่าที่อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี ได้รับการอนุรักษ์จากบรรพบุรุษหลายชั่ว อายุคน
ซึ่งพบว่ามีต้นผักหวานป่าที่มีอายุมากกว่า 100 ปี อยู่ที่อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี


จากการสำรวจเมื่อปี 2544 มีพื้นที่ปลูกประมาณ 500 ไร่เศษเท่านั้น แต่เมื่อความต้องการของตลาดเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ สำนักงาน
เกษตรอำเภอบ้านหมอ จึงได้ทำการส่งเสริมให้เกษตรกรขยายพื้นที่ปลูกผักหวานป่า จนในปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกประมาณ 1,091 ไร่
เกษตรกรประมาณ 341 ครัวเรือน ในตำบลสร่างโศก ตำบลหนองบัว ตำบลบางโขมด ตำบลตลาดน้อย ผลผลิตจะออกสู่
ตลาดมีปริมาณมากในช่วงเดือนมีนาคม – พฤษภาคม ของทุกปี ส่วนเดือนอื่น ๆ มีผลผลิตออกสู่ตลาดเพียงเล็กน้อยผลผลิตต่อไร่
ประมาณ 300 กิโลกรัม (ขึ้นอยู่กับอายุและขนาด ของลำต้น) ผลผลิตรวมใน 2547 ประมาณ 327 ตัน มูลค่าผลผลิต
ประมาณ 20 ล้านบาท ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งปี ประมาณ 60 บาท/กิโลกรัม


นอกจากนี้เกษตรกรยังมีรายได้จากการเพาะต้นกล้าจำหน่ายให้กับผู้ที่สนใจจะปลูกผักหวานป่าทั่วประเทศ ปีละประมาณ 5 ล้านบาท
ฉะนั้นรายได้ที่เกิดขึ้นจาการจำหน่ายยอดผักหวานป่าและต้นกล้าผักหวานป่าเข้าสู่อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี ปีละประมาณ 25
ล้านบาท


นอกจากนี้อำเภอบ้านหมอ ยังได้ส่งเสริมให้กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรแปรรูปผักหวานป่า ให้เป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่นน้ำผักหวานป่า
ไวน์ผักหวานป่า ชาผักหวานป่า เป็นต้น ผักหวานป่า เป็นผักที่ให้โปรตีน วิตามิน และเกลือแร่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิตามินบี 2 ผู้ที่
ขาดวิตามินบี 2 จะทำให้เป็นโรคปากเปื่อย (ปากนกกระจอก) หรือถ้าขาดในวัยเด็กจะทำให้ชะงักการเจริญเติบโตและแคระแกรนได้


นอกจากนั้นยังเป็นสมุนไพรโดยสามารถแก้ร้อนใน กระหายน้ำ ต้มดื่มเป็นยาลดไข้ และช่วยในการขับถ่ายได้ดี ผักหวานป่า เป็น
ผักปลอดสารพิษโดยธรรมชาติอย่างน่ามหัศจรรย์ แมลงศัตรูพืชต่างๆแม้แต่หนอนต่างๆ ที่ชอบกินยอดอ่อนของพืชจะไม่กินใบ
ของผักหวานป่า ทั้งที่แตกยอดอ่อนๆ เนื่องจากมีสารชนิดหนึ่งในใบของผักหวานป่า เช่นเดียวกับ สะเดา จึงไม่มีความจำเป็นที่จะ
ต้องใช้สารเคมีใดๆ มาฉีดพ่น นอกจากนั้น แล้วต้นผักหวานป่าเองหากจะเร่งให้เจริญเติบโตเกษตรกรจะนิยมใส่ปุ๋ยคอก (มูลสัตว์)


การขยายพันธุ์ผักหวานป่ามีวีธีที่ดีที่สุดคือ เพาะด้วยเมล็ด มีคนเคยทดลองขุดผักหวานมาจากป่าแล้วนำมาปลูกซึ่งจะเจริญเติบโต
ได้ประมาณ 2-3 ปี แล้วก็ตาย พบสาเหตุว่าต้นที่ขุดแยกออกมาปลูกไม่มีรากแก้ว เป็นส่วนสำคัญยิ่งของต้นไม้ยืนต้น ซึ่งคำกล่าว
นี้ก็ยังไม่เป็นที่สิ้นสุด



ชาวสวนผักหวานป่ากำลังคิดค้นกันอยู่ สำหรับการขยายพันธุ์โดยวิธี ปักชำ การตอนกิ่ง อยู่ระหว่างการดำเนินการทดลอง ไม่ทราบ
ว่าจะได้ผลดีกว่าการปลูกเช่นเดียวกับเมล็ดหรือไม่อย่างไร สำหรับการปลูกด้วยเมล็ดเกษตรกรต้องสร้างสวนป่าขึ้นก่อน โดยการปลูก
ต้นไม้โตเร็ว เช่น มะขามเปรี้ยว, มะรุม, มะขามเทศ เพื่อให้เกิดร่มเงาหรือมีแสงแดดรำไร เพราะต้นผักหวานป่าไม่ชอบแสงแดดจัด
จนเกินไป พออายุได้ 3 ปี ก็เริ่มจะเก็บใบอ่อนไปรับประทานได้



ตลาดจำหน่ายผักหวานป่า ได้แก่
- ตลาดท้องถิ่น
- ตลาดต่างจังหวัด เช่น อ่างทอง ลพบุรี นครสวรรค์ นครราชสีมา พระนครศรีอยุธยา
- ตลาดกลาง เช่น ตลาดไท ตลาดสี่มุมเมือง
เพื่อส่งต่อไปยังตลาดในกรุงเทพมหานคร ต่อไป


ตลาดต่างประเทศ
มีผู้ส่งออกรับซื้อจากเกษตรกร เพื่อบรรจุส่งออกต่างประเทส เช่น สิงค์โปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน เป็นต้น


การลงทุนและผลตอบแทน
ต้นทุนการผลิตผักหวานป่าค่อนข้างต่ำ เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับการลงทุนในการปลูกผัก พื้นบ้านชนิดอื่น ๆ แต่ผลตอบแทนจะ
ดีกว่าเนื่องจากผักหวานป่าปลูกเพียงครั้งเดียวก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เป็นร้อย ๆ ปี จนชั่วลูก ชั่วหลาน และราคาที่เกษตรกร
จำหน่ายได้ค่อนข้างจะสูงกว่าผักพื้นบ้านแทบทุกชนิด


ต้นทุกการผลิตและผลตอบแทน
ต้นทุกการผลิตทั้งหมด .............................. 3,750 บาท/ไร่ .... ดังนี้
- ค่าปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยคอก ................................ 1,000 บาท/ไร่
- ผลผลิตเฉลี่ย ...................................... 300 กิโลกรัม/ไร่/ปี
- ราคาที่เกษตรกรขายโดยเฉลี่ย.................... 60 บาท/กิโลกรัม
- รายได้ร่วม ......................................... 18,000 บาท/ไร่/ปี
- รายได้สุทธิ ........................................ 14,250 บาท/ไร่/ปี


ด้านการตลาดผักหวานป่าหากเป็นแหล่งผลิตเชิงการค้าทั่ว ๆ ไป จะมีพ่อค้าคนกลางไปรับซื้อถึงสวนโดยจ่ายเงินสด แล้วจึงส่งไป
ขายต่อยังตลาดใหญ่ ๆ ที่สำคัญอีกต่อหนึ่ง หรือส่งต่อให้ผู้ส่งออกไปจำหน่ายยังตลาดต่างประเทสหรือส่งเข้าจำหน่ายในซุปเปอร์
มาร์เก็ต หากเป็นผลผลิตผักหวานป่าในฤดูที่เก็บหาได้จากแหล่งธรรมชาติส่วนใหญ่ผู้ไปเก็บหาจะนำมาวางจำหน่ายในตลาดในท้องถิ่น
หรืออาจมีพ่อค้าคนกลางมารับไปขายอีกทอดหนึ่ง



วัตถุประสงค์ของการจัดงาน
1. เพื่อเป็นการสร้างอาชีพและสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร และประชาชนทั่วไปที่สนใจ
2. เพื่อเป็นการอนุรักษ์ พรรณพืชผักพื้นบ้านมิให้สูญไปจากประเทศไทย
3. เพื่อเป็นการส่งเสริมสร้างสวนป่าชุมชน ซึ่งก่อให้เกิดความชุมชื้นขึ้นในท้องถิ่น
4. เพื่อเป็นการสร้างแหล่งท่องเที่ยวทางการเกษตรที่ยั่งยืน
5. เพื่อเป็นการรณรงค์ ให้คนไทยหันมานิยมบริโภคผักพื้นบ้านที่ปลอดภัยจากสารพิษ


ข้อมูลจากสำนักงานเกษตรอำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี โทร. 0-36201-1137





http://invention53.blogspot.com/2010/09/blog-post_09.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 28, 29, 30 ... 72, 73, 74  ถัดไป
หน้า 29 จากทั้งหมด 74

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©