-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-* นานาสาระเรื่องเกษตร
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * นานาสาระเรื่องเกษตร
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* นานาสาระเรื่องเกษตร
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 27, 28, 29 ... 72, 73, 74  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 26/09/2011 9:46 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หน้าที่ 28

ลำดับเรื่อง......


712. ทะเลบ้า กลมใหญ่ แม่น้ำ พนมทวน ซอเหลือง มะแพร้ว .. มะเพี้ยว ?
713. ตะไคร้หอม .. ยุง แมลงจะหนีหมด
714. "ทุเรียนหมอนทอง ก้านยาว" สวน "ศรีชมภู" เมืองปราจีน
715. สับปะรดบ้านไร่ม่วงเมืองเลย แม้ปลูกน้อยก็มีรายได้เป็นแสน

716. ปลูกกระชายดำ ลดทุกข์ เพิ่มสุข
717. มะเขือกินใบ .. ผักแปลกใหม่
718. พริกเผ็ดที่สุดในโลก .. พริกนากา ไวเพอร์
719. ตะไคร้หอม ..หอม-ต้าน เชื้อราที่ทำให้เกิดโรคพืช
720. 'นาคราช' กล้วยพันธุ์ใหม่ ของโลก

721. พืชสกุล “โอฟิโอไรซ่า” ของไทยมีสารต้านมะเร็ง
722. รางจืด .. ยาแก้พิษ
723. สนสามใบ
724. ฉีดเตตตร้าไซคลินเข้าลำต้น บรรเทาอาการโรคกรีนนิ่ง ในส้ม
725. ความสำคัญของจุลินทรีย์

726. ความหลากหลายทางชีวภาพของจุลินทรีย์
727. การอนุรักษ์ความหลากหลายทางพันธุกรรมของจุลินทรีย์
728. การผลิตน้ำส้มสายชูหมัก
729. งานวิจัยของโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดาที่เกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์
730. จีนปลูกข้าวลูกผสมซุปเปอร์ไรซ์ กว่า 41 ล้านไร่ ในปีนี้

731. จุลินทรีย์ พด.คว้ารางวัล วช.
732. เสวนาระดมแนวทางบริหารจัดการ ข้าวไทยในกลุ่มประเทศ GMS
733. สวทช. ย้ำ วิทย์และเทคโนโลยี กับเศรษฐกิจพอเพียง
734. เครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าว ลดต้นทำนา ไร่ละ 1,250 บาท
735. "ขนุนดีสองพันธุ์" เนื้อหวาน ใหญ่ ดก

736. "พริกขี้หนูสวนแคระ" ปลูกกระถางผลดก

----------------------------------------------------------------------------------------------------







712. ทะเลบ้า กลมใหญ่ แม่น้ำ พนมทวน ซอเหลือง มะแพร้ว .. มะเพี้ยว ?





นายอนุชิต พรหมชาติ เจ้าของสวนมะพร้าว จ.ราชบุรี ซึ่งเป็นหนึ่งในบูธที่นำมะพร้าวพันธุ์ที่ค่อนข้างหายาก และเป็นพันธุ์ที่ปลูกน้อย
จากสวนมาจำหน่าย เล่าว่า

มะพร้าวมีหลากหลายสายพันธุ์ให้เลือก แต่ที่ได้รับความนิยมที่สุดก็คือ มะพร้าวน้ำหอม กะทิน้ำหอม กะทิชุมพร คนจะชอบและ
นิยมเป็นพิเศษ

ทั้งนี้สายพันธุ์ใหญ่มีมากกว่า 40-50 สายพันธุ์ อาทิ ทะเลบ้า กลมใหญ่ แม่น้ำ พนมทวน ซึ่งพันธุ์เหล่านี้ได้เนื้อเยอะ เป็นพันธุ์ดั้งเดิม
แต่พันธุ์ที่หายากและคิดว่าน่าจะหายสาบสูญ

นั่นก็คือ ซอเหลือง และก็ยังมีมะแพร้ว (ลูกขนาดเล็กกว่ามะพร้าว) และเล็กที่สุดก็คือ มะเพี้ยว ที่หายไปเลยยังหาสายพันธุ์ไม่พบ

นายอนุชิต ยังบอกอีกว่า การที่พันธุ์มะพร้าวสูญหาย หรือไม่เป็นที่รู้จัก น่าจะขึ้นอยู่กับการรักษามากกว่า โดยเฉพาะมะพร้าวพนมทวน
ที่จ.กาญจนบุรี ซึ่งหายากมากในตอนนี้ เพราะที่ อ.พนมทวนมีแค่ 2 ต้น และคนสมัยใหม่ก็ไม่รู้จักด้วย

มะพร้าวอีกสายพันธุ์ที่น่าสนใจคือ มะพร้าวพวงทอง ลักษณะเป็นลูกสีทอง สวยงาม มีขนาดไม่ใหญ่ ตัวน้ำมะพร้าวสามารถใช้เป็น
ยารักษาโรคหัวใจได้

นอกจากนี้ ที่นำมาแสดงและจำหน่ายในราคาถูก ก็อย่างเช่น มะพร้าวทะนาน ซึ่งพันธุ์นี้สมัยก่อนจะใช้กะลามาตวงข้าว หรือที่
เรียกว่าทะนาน มะพร้าวซอ กะลาใช้ทำซอ มะพร้าวกะโหลกใหญ่

สมัยก่อนกะลาก็นำไปทำเป็นบาตรพระ มะพร้าวไฟใหญ่ เป็นมะพร้าวที่กะทิสามารถนำมาทำน้ำมันมะพร้าวได้ดีมาก และยังมีพันธุ์
อื่นๆ ที่น่าสนใจอีกมากมาย

ขณะเดียวกัน นายอนุชิต ยังบอกอีกว่า การปลูกและดูแลมะพร้าว เป็นสิ่งที่ง่ายมาก แค่เอาลูกโยนไว้เฉย ๆ เดี๋ยวก็งอกเอง แต่พันธุ์
โบราณที่สูญพันธุ์ ก็เพราะว่า มีลำต้นสูง ยิ่งอายุเยอะก็สูงเรื่อย พอลูกตกลงมางอกใหม่ แล้วคนไม่รู้จักสายพันธุ์ ก็โค่นทิ้ง เมื่อ
เป็นเช่นนี้บ่อยครั้ง ก็ทำให้สูญพันธุ์

แต่ถ้าอยากให้ต้นมะพร้าวงอกงาม มีผลดก คำแนะนำจากชาวสวนก็คือว่า แค่ให้ปุ๋ยคอก (มูลไก่) อาทิตย์ละครั้ง ก็เป็นวิธีการ
ดูแลที่ดีที่สุด มากกว่านั้น ก็อาจจะใช้เศษกระดูกมาใส่เพิ่มปีละครั้งเพื่อเพิมแคลเซียม ซึ่งจะดีทั้งมะพร้าว

และคนกินมะพร้าวด้วยเพราะจะได้แคลเซียมทางอ้อมจากมะพร้าว และ ถ้าจะเพิ่มความหอม หวานของน้ำมะพร้าว ก็เพิ่มกาก
น้ำตาลเข้าไป เท่านั้นเอง

จากมะพร้าวพันธุ์ต่างๆ ที่กล่าวมาแล้ว สิ่งหนึ่งที่เรียกจุดสนใจได้ดี นั่นก็คือ มะพร้าวน้ำหอมทองสุก ความพิเศษก็คือว่า กินได้
ทั้งลูก สีเหลืองทองชวนน่ารับประทาน เนื้อหอม หวาน รับรองว่าหลายๆ คนยังไม่เคยสัมผัสมาก่อน



ขอขอบคุณ มติชนออนไลน์
อาทิตยวาร สิริสวัสดิ์ค่ะ

ขอความกรุณาช่วยโหวต TBA ด้วยนะคะ
ขอบพระคุณมากค่ะ

กดที่นี่ค่ะ
sirivinit

Create Date : 14 สิงหาคม 2554
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=vinitsiri&month=08-2011&date=14&group=8&gblog=216


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/10/2011 6:50 am, แก้ไขทั้งหมด 8 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 26/09/2011 9:50 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

713. ตะไคร้หอม .. ยุง แมลงจะหนีหมด



ตะไคร้หอม




ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cymbopogon nardus Rendle
ชื่อสามัญ : Citronella grass
วงศ์ : GRAMINEAE

ชื่ออื่น : จะไคมะขูด ตะไครมะขูด (ภาคเหนือ)
ตะไคร้แดง (นครศรีธรรมราช)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 0.75-1.2 เมตร
แตกเป็นกอ เหง้าใต้ดินมีกลิ่นเฉพาะ ข้อและปล้องสั้นมาก

กาบใบของตะไคร้หอมมีสีเขียวปนม่วงแดง ยาวและหนาหุ้มข้อและปล้องไว้แน่น

ใบ เดี่ยวเรียงสลับ กว้าง 1-2 ซม. ยาว 70-100 ซม.

แผ่นใบและขอบใบสากและคม
ตะไคร้หอมใบยาวและนิ่มกว่าตะไคร้ธรรมดาเล็กน้อย
ทำให้ปลายห้อยลงปรกดินกว่า

ดอก ช่อ สีน้ำตาลแดง แทงออกจากกลางต้น
ออกดอกยาก ผลเป็นผลแห้ง ไม่แตก


ส่วนที่ใช้
ต้น ใบสด น้ำมันของต้นตะไคร้หอม


สรรพคุณ
น้ำมันสะกัดตะไคร้หอม
ปรุงกับน้ำหอมทาตัวป้องกันยุงกัด
ใส่กระบอกสูบผสมกับน้ำมันอื่นฉีดไล่ยุงได้

ทั้งต้น
ใช้ตะไคร้หอม 4-5 ต้น นำมาทั้งต้น ทุบๆ วางทิ้งไว้ในห้องมืดๆ
กลิ่นน้ำมันหอมระเหยออกมา ยุง แมลงจะหนีหมด

ประโยชน์ทางยา
แก้ริดสีดวงในปาก (คือปากแตกระแหงเป็นแผลในปาก)
ปรุงเป็นยาขับลมในลำไส้ และแก้แน่น


วิธีใช้
นำน้ำมันหอมระเหยตะไคร้หอมทาตามตัว ไล่แมลง ยุง



ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สวัสดิ์ สิริศนิวารค่ะ

ขอความกรุณาช่วยโหวต TBA ด้วยนะคะ
ขอบพระคุณมากค่ะ

กดที่นี่ค่ะ
sirivinit

Create Date : 30 กรกฎาคม 2554
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=vinitsiri&month=07-2011&date=30&group=8&gblog=211
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 26/09/2011 9:54 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

714. "ทุเรียนหมอนทอง ก้านยาว" สวน "ศรีชมภู" เมืองปราจีน



"ทุเรียนหมอนทอง ก้านยาว" เอาพันธุ์นนทบุรีมาปลูก

โดย สันติ เศวตวิมล



พอถึงฤดูกินทุเรียนที ป้าช้อยคนนนทบุรีถิ่นทุเรียนอร่อย กลับไปซื้อทุเรียนกินที่ปราจีนฯ ผมก็เลยพลอยฟ้า...พลอยฝนได้กินทุเรียน
อร่อยลิ้นแม่ช้อย...ปากแม่ช้อย อร่อยเหาะไปกับคุณป้าด้วยทุกปี

เหตุผลที่คุณป้าต้องขับรถไปปราจีนก็เพราะมีสวนทุเรียนเพื่อนรักของคุณป้าอยู่ที่นั่น เป็นสวนที่ไว้วางใจได้ เพราะพันธุ์ทุเรียนที่เอาไปปลูก
มาสามสิบกว่าปี เป็นพันธุ์จากเมืองนนท์แท้...แท้

เรียกว่าอร่อยไม่น้อยหน้ากัน ไว้วางใจได้ทุกลูกทุกพลู แถมยังถูกกว่า ทั้งไม่ต้องเสียค่าโง่

ทุเรียนที่ขายเมืองนนท์ส่วนใหญ่ มักจะเป็นทุเรียนปลอมปน เอาทุเรียนจันทร์ ระยอง มาย้อมเป็นทุเรียนนนท์

"ทุเรียนสวนศรีชมภู" เป็นทุเรียนคัดพันธุ์จากนนทบุรีเท่านั้น สวนของป้าศรีจึงเลือกเฉพาะทุเรียนหนัก...หนัก อย่าง หมอนทอง กับ ก้านยาว

สวนทุเรียนพันธุ์นนทบุรีแท้แต่เอาไปปลูกที่ปราจีนบุรี ชื่อว่า "สวนศรีชมภู" อยู่แถว "สามแยกหนองชะอม" ถนนวุสรรณศรี ก่อนจะ
เลี้ยวเข้าตัวจังหวัด

ว่าไปแล้วไม่ไกล ระยะทางไม่ถึงร้อยกิโลฯ ขับรถจากเมืองรังสิต-องคลักษณ์ไม่ถึงครึ่งชั่วโมงก็ถึงสวนศรีชมภู ของเพื่อนป้าช้อยชื่อ
"ป้าศรีชมภู บุญสาย" สวนป้าแกอยู่ในซอย "วัดเนินอีแกน" ถนนลาดยางเข้าไปสะดวกสบาย

ใครอยากจะกินทุเรียนนทบุรีแท้แต่ไปปลูกที่ปราจีนที่นักกินทุเรียนยกย่องให้ว่า...เป็นทุเรียนอร่อยอันดับสองรองจากนนทบุรีเท่านั้น...

"ทุเรียนสวนศรีชมภู" เป็นทุเรียนที่คัดพันธุ์ดีจากนนทบุรีเท่านั้น สวนของป้าศรีชมภูจึงเลือกเฉพาะทุเรียนหนัก...หนัก อย่าง หมอนทอง
กับ ก้านยาว

ใครจะกินทุเรียนเบาอย่าง ไอ้กบ...อีลวง ละก็ไม่ต้องไป ป้าไม่มีขาย
ทุเรียนของป้าการันตีลิ้นแม่ช้อย...ปากแม่ช้อย
แล้วป้าศรีก็การันตีซ้ำทุกลูกทุกพลู ซื้อแล้วไม่พอใจเปลี่ยนใหม่เลือกให้พอใจ เพราะทุเรียนทุกลูกป้าแกคัดกับมือ


"พวงชมภู" ทุเรียนพันธุ์พิเศษของ "สวนศรีชมภู"
ก็ถ้ามาถึง "สวนศรีชมภู" ป้าช้อยแกบอกผมว่าจะต้องลองกินทุเรียนพันธุ์พิเศษสวนนี้เรียกว่า

"ทุเรียนพวงชมภู" ที่ป้าแกผสมพันธุ์ทุเรียนพันธุ์หมอนทองเข้ากับพวงมณี จนเป็นพันธุ์ใหม่ ป้าแกตั้งชื่อว่า "พวงชมภู"...ไม่ลองไม่รู้
ลองแล้วจะติดใจ...แต่อย่าลืมกินทุเรียนแล้วต้องล้างปากด้วยมังคุด



ขอขอบคุณ
ผู้จัดการออนไลน์
คุณสันติ เศวตวิมล
สวัสดิ์สิริชีววารค่ะ

Create Date : 07 กรกฎาคม 2554
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=vinitsiri&month=07-2011&date=07&group=8&gblog=197


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/09/2011 5:38 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 26/09/2011 9:58 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

715. สับปะรดบ้านไร่ม่วงเมืองเลย แม้ปลูกน้อยก็มีรายได้เป็นแสน






สับปะรดบ้านไร่ม่วงเมืองเลย


คอลัมน์ เส้นทางเถ้าแก่
วิชัย จินดาเหม


"สับปะรด" นับเป็นผลไม้ชนิดหนึ่ง ที่หลายคนชอบรับประทานมาก แต่สับปะรดโดยทั่วไปนั้นรสชาติส่วนใหญ่จะเปรี้ยวอมหวาน มีรสหวานฉ่ำ
จริงๆ นั้นหายากมาก ที่จังหวัดเลย หมู่บ้านไร่ม่วง ต.น้ำหมาน อ.เมือง ปลูกสับปะรดมีรสหวานฉ่ำ แทบจะไม่มีรสเปรี้ยวเลย มีแกนนำอย่าง
นายถนอม วงษ์สกุล อดีตผู้ใหญ่บ้าน บ้าน ไร่ม่วง

- ตั้งกลุ่มมา 10 ปี
นายถนอม เผยว่า ใครได้ซื้อไปรับประทานแล้ว จะกลับมาซื้อใหม่ เพราะติดใจในรสชาติ เป็นที่รู้จักกันดีว่าจะรับประทานสับปะรดที่หวานฉ่ำ
ต้องสับปะรดที่บ้านไร่ม่วง สิ่งที่แปลกอยู่อย่างหนึ่งคือสับปะรดที่ปลูกรอบบ้านไร่ม่วงห่างออกไปไม่มากนัก จะมีรสเปรี้ยวผสมไม่เหมือนกับ
ของบ้านไร่ม่วง

ตั้งกลุ่มมาแล้ว 10 กว่าปีมีสมาชิกจำนวนทั้งสิ้น 149 คน

- ปลูกกันมาประมาณ 20 ปี
พื้นที่ปลูกขณะนี้ 2 พันกว่าไร่ ปลูกสับปะรดที่บ้านไร่ม่วงคนละไม่ต่ำกว่า 3 ไร่ แต่ไม่เกิน 20 ไร่เนื่องจากพื้นที่เป็นภูเขาและพื้นที่น้อย
โดยปลูกกันมาประ มาณ 20 ปี คนที่ปลูกคนแรกซื้อพันธุ์มาจากที่อื่น ก็ไม่มีชาวบ้านสนใจ แต่เมื่อผลผลิตออกมารสชาติหวานฉ่ำ และขายดี
ทำให้ชาวบ้านสนใจหันมาปลูกกันมากขึ้นทุกปี

- ตลาดไม่มีปัญหา
เกี่ยวกับตลาด ปัจจุบันไม่มีปัญหา จะมีรถจากต่างจังหวัด เช่น อุดรฯ ขอนแก่น เพชรบูรณ์ พิษณุโลก และจังหวัดต่างๆ เอารถมารับ
ซื้อถึงที่ ในส่วนของราคาขณะนี้เราขายในราคา ก.ก.ละ 10-15 บาท สมาชิกที่ปลูกมีรายได้ทั้ง 2 หมู่บ้านประมาณ 20 ล้านบาท คนที่
ปลูกน้อยก็มีรายเป็นแสนต่อปี นับเป็นรายได้ที่ดีมาก

- ราคาไม่ตก
นายชาติชาย จิตรอารีย์ นายกอบต. น้ำหมาน อ.เมืองกล่าวว่า ปัจจุบันราคาสับปะรดบ้านไร่ม่วงใช้ได้ ราคาไม่ตกเหมือนที่อื่น เพราะ
สับปะรดที่บ้านไร่ม่วง เมื่อใครรับประทานแล้วจะติดใจ เนื่องจากมีรสที่หวานฉ่ำและก็กรอบ แต่ก่อนนี้มีการ นำสับปะรดจากที่อื่นมาสวม
ขายว่าเป็นสับปะรดของบ้านไร่ม่วงทำให้สับปะรดที่ชาวบ้านปลูกเสียหาย

- ติดสติ๊กเกอร์"เลยเดอะเบสต์"
ปัจจุบันนี้เรามีสติ๊กเกอร์ "เลยเดอะเบส" รับรองจากกรมวิชาการเกษตร มาติดที่สับปะรดทุกลูกที่วางจำหน่าย ถ้าไม่มี สติ๊กเกอร์ตัวนี้
ก็ไม่ใช่สับปะรดบ้านไร่ม่วง ซึ่งนโยบายของท่านผู้ว่าฯ คนปัจจุบันได้แนะนำให้ทำขึ้นมา โดยเฉพาะบรรดาพ่อค้าแม่ค้าก็ต้องมีความ
ซื่อสัตย์ต่อลูกค้าด้วย



ขอขอบคุณ
ข่าวสดออนไลน์
คอลัมน์ เส้นทางเถ้าแก่
วิชัย จินดาเหม
ศุกรวาร สวัสดิ์วัฒนาค่ะ

Create Date : 01 กรกฎาคม 2554
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=vinitsiri&month=07-2011&date=01&group=8&gblog=195


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/09/2011 5:40 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 26/09/2011 10:01 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

716. ปลูกกระชายดำ ลดทุกข์ เพิ่มสุข





ในงาน "มติชน เฮลท์แคร์ 2011" ซึ่งจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 16-19 มิถุนายนนี้ ซึ่งมุ่งเน้น "ลดทุกข์ เพิ่มสุข" ของคน นอกจากจะ
มีกิจกรรมตรวจสุขภาพฟรี มีสินค้าและบริการด้านสุขภาพอย่างมากมายแล้ว

ยังมีการแจกสมุนไพรที่กำลังเป็นที่สนใจอยู่ในขณะนี้ ทั้งรางจืด กระชายดำ อัคคีทหาร และว่านหอมแดง

กระชายดำเป็นพืชล้มลุก มีหัวคล้ายขิง ว่าน หรือไพล จัดเป็นพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณมากมาย ทั้งสรรพคุณทางสมุนไพร
และสรรพคุณทางยาแผนปัจจุบัน

ย้อนไปในสมัยโบราณได้มีการบันทึกการใช้ว่านกระชายดำในทางคงกระพันชาตรี ต่อต้านศาสตราวุธ และแคล้วคลาดจากคม
หอกคมดาบ

มีตำนานเล่าขานกันมาว่า นักรบในสมัยโบราณมักพกกระชายดำติดตัวไปทุกครั้งเมื่อออกสนามรบ และจะเคี้ยวอมไว้ในปากเวลา
ต่อสู้กับข้าศึก

ในตำรายาโบราณมีการบันทึกถึงการนำกระชายดำไปใช้เป็นยาสมุนไพรในหลายตำรับ ดังเช่นคัมภีร์ยา "นพเก้า" ที่กล่าวกันว่าเ
ป็นสุดยอดของตำรายาสมุนไพร ซึ่งมีตัวยาทั้งหมด 9 ชนิด

และกระชายดำก็เป็นหนึ่งในเก้าชนิดนั้นเช่นกัน ตำรายาของขอมโบราณก็มีการบันทึกตำรับยากระชายดำผสมน้ำผึ้งเดือนห้าไว้ด้วย

และในตำราว่านมหามงคลก็การมีบันทึกถึงกระชายดำว่า เป็นว่านมหามงคล มีเมตตามหานิยม คงกระพันชาตรี ถ้าปลูกไว้หน้าบ้าน
หรือปลูกใส่กระถางนำไปตั้งไว้หน้าบ้าน จะเป็นสิริมงคล มีแต่เรื่องดี ๆ เข้ามาในบ้าน ป้องกันภูตผีปีศาจ

ซึ่งบรรดานักเลงว่านทั้งหลายนิยมสะสมกันมานาน และในสมัยก่อนถือว่าเป็นว่านที่หายาก มีราคาแพง

กระชายดำมีรสขม เผ็ดร้อน บำรุงฮอร์โมนเพศชาย กระตุ้นประสาท ทำให้กระชุ่มกระชวย บำรุงกำลัง เป็นยาอายุวัฒนะ ชะลอ
ความแก่ ขับลม ขับปัสสาวะ แก้โรคกระเพาะอาหาร ช่วยย่อย แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ เนื่องจากรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา บำรุง
เลือดสตรี แก้ตกขาว ทำให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ

ตามตำรากล่าวว่า กระชายดำมีสรรพคุณแก้โรคในปาก เช่น ปากเปื่อย ปากเป็นแผล แก้ปวดมวนท้อง รักษาโรคปวดข้อ ปวดหลัง
ปวดเมื่อยตามร่างกาย รักษาโรคภูมิแพ้ ขับพิษต่าง ๆ ในร่างกาย รักษาโรคบิด เป็นต้น

จากข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์พบว่า กระชายมีฤทธิ์ ต้านจุลชีพ ต้านการอักเสบ เทียบได้กับยาหลายชนิด เช่น แอสไพริน
อินโดเมธาซิน และเพรดนิซิโลน

แม้ว่าในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลการวิจัยสนับสนุนสรรพคุณของกระชายดำมากนัก แต่มีการใช้กระชายดำเพื่อเสริมสุขภาพกัน
มาก ทำให้มีราคาค่อนข้างสูง ประมาณ 200-400 บาทต่อกิโลกรัม

กระชายดำยังปลูกไม่ยาก ปลูกด้วยใช้หัวหรือเหง้าจากพันธุ์ที่แก่จัด มีอายุประมาณ 11-12 เดือน แยกหัวหักออกเป็นข้อ ๆ
ตามรอยต่อของหัว ฝังกลบดินให้มิด แต่ไม่ลึก

โดยใช้ระยะปลูกระหว่างแถวกับระหว่างหลุมเท่ากับ 0.20X0.25 เมตร หรือ 0.25x0.30 เมตร ปลูกเสร็จแล้วใช้แกลบ
หว่านกลบบาง ๆ อีกชั้นหนึ่ง

แต่กระชายดำเป็นพืชดั้งเดิมของชาวเขา จึงเชื่อกันว่ากระชายดำที่ดีมีคุณภาพ จะต้องปลูกบนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล ตั้งแต่
500-700 เมตร เจริญเติบโตและลงหัวได้ดีในดินร่วนทราย มีการระบายน้ำดี

ไม่ชอบน้ำขัง ไม่ชอบแดดจัด ชอบแดดร่มรำไร นิยมปลูกกระชายดำระหว่างแถวไม้ยืนต้น

ปลูกกระชายดำไว้ในบ้าน นอกจากจะช่วย "ลดทุกข์ เพิ่มสุข" แล้วยังเป็นสิริมงคลด้วย



ขอบคุณ
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
จันทรวาร สวัสดิ์วัฒนานะคะ

Create Date : 30 พฤษภาคม 2554
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=vinitsiri&month=05-2011&date=30&group=8&gblog=177


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/09/2011 5:41 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 26/09/2011 10:04 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

717. มะเขือกินใบ .. ผักแปลกใหม่





เกษตรมหัศจรรย์ วันเส้นทางเศรษฐี-เทคโนโลยีชาวบ้าน 2011

การุณย์ มะโนใจ



มะเขือกินใบ ผู้เขียนได้มาจาก คุณชัยสิทธิ์ จิตต์จำนงค์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ สำนักงานเกษตรจังหวัด
พะเยา ซึ่งไปสัมมนาที่จังหวัดสุพรรณบุรี และได้ไปดูงานที่อุทยานผักพื้นบ้านเพื่อการยังชีพ เฉลิมพระเกียรติ บึงฉวาก อำเภอ
เดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี แล้วซื้อเมล็ดพันธุ์มาฝาก

ผู้เขียนจึงนำมาเพาะแล้วปลูก เมื่อต้นโตลองผัดชิมดู พบว่า อร่อย จึงอดใจไม่ได้ เลยนำมาเผยแพร่ต่อ

มะเขือกินใบ มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า ซาลานุม (Sa-lanum) เป็นพืชกลุ่มเดียวกับ พริก มันฝรั่ง และมะเขือเทศ ซึ่งอยู่ใน
วงศ์ solanaceae

พบอยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทย จัดเป็นพืชล้มลุก อายุข้ามปี ลำต้นเดี่ยว แตกกิ่งก้านสาขาเป็นพุ่มใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียง
สลับรอบกิ่งก้าน มีขนาดใหญ่ ใบมันและไม่มีขนส่วนดอก เหมือนกับมะเขือทั่วไป

สำหรับการนำใบมะเขือมาปรุงอาหาร จะเด็ดจากใบล่างขึ้นมาด้านบน สามารถนำมาปรุงอาหารแทนผักได้ แต่ต้องนำมาทำให้สุกก่อน

ใบมะเขือกินใบ รสชาติอร่อย ก้านจะอ่อนนุ่ม กินได้ตั้งแต่ใบอ่อนถึงใบแก่ ยกเว้นแก่จนใบมีสีเหลือง มะเขือกินใบยิ่งเด็ดยิ่งแตก

ใบมีอายุยืนยาวถึง 2 ปี มะเขือกินใบปลูกได้ทุกฤดูกาล ต่างกับพืชผักชนิดอื่นที่จะขึ้นได้ดีในช่วงหน้าหนาว

วิธีการปลูก นำเมล็ดที่ได้ไปเพาะ โดยผลแก่ 1 ผล จะมีเมล็ดมากกว่า 100 เมล็ด เมื่อเมล็ดที่เพาะได้เป็นต้นแล้วก็นำไปปลูก
โดยจะปลูกในกระถาง หรือปลูกเป็นแปลงก็ได้ หากปลูกในกระถางก็เริ่มปลูกจากกระถางเล็กก่อน จากนั้นจึงเปลี่ยนกระ
ถางให้ใหญ่ขึ้นตามขนาดของต้นมะเขือกินใบ

ดินปลูก ควรผสมปุ๋ยหมักจากเศษพืชหรือฟางข้าวเป็นหลัก การใส่ดินในกระถางไม่ควรให้พูนเต็มกระถาง เผื่อเวลารดน้ำจะได้
ไม่ล้นกระถาง มะเขือกินใบชอบที่ร่มรำไร หากปลูกในกระถางควรมีหลังคาตาข่ายพรางแสงหรือซาแรนด้วย จะปลูกตามโคน
ต้นไม้ในบ้านหรือสวนก็ได้

อายุประมาณ 2 เดือน มะเขือกินใบจะเริ่มออกดอก แต่ผู้ปลูกยังไม่ควรให้มันติดดอก ประมาณเดือนครึ่งควรเด็ดยอด เพื่อ
ให้แตกยอดใหม่หรือเด็ดดอกทิ้งก่อน เพราะวัตถุประสงค์การปลูกของเราในระยะแรกเพื่อกินใบหรือยอด แต่หลังจากนั้น
หากต้องการจะขยายพันธุ์ก็สามารถที่จะทิ้งให้เกิดดอกและผลได้

ศัตรูที่สำคัญของมะเขือกินใบคือ แมลง เนื่องจากใบของมะเขืออร่อย จึงเป็นที่ชื่นชอบของแมลงเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะ
หนอนของผีเสื้อกลางคืน จะชอบเข้ากัดกินใบของมะเขือกินใบเป็นพิเศษ

การป้องกันกำจัด เนื่องจากเราปลูกเป็นพืชผักสวนครัว สามารถที่จะจับทำลายด้วยมือได้ ไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีฉีดพ่นให้
สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย รวมทั้งจะเป็นอันตรายต่อผู้ใช้และผู้บริโภค หากปลูกมากอาจจะใช้น้ำส้มควันไม้หรือน้ำหมักชีวภาพฉีดพ่นได้

หากผู้อ่านอยากดูต้นมะเขือกินใบ ผู้เขียนจะนำไปโชว์ในงาน “เกษตรมหัศจรรย์ วันเส้นทางเศรษฐี-เทคโนโลยีชาวบ้าน 2011”
ณ ชั้น 4 เอ็มซีซี ฮอลล์ และลานอเนกประสงค์ ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ บางแค กรุงเทพฯ ระหว่าง วันที่ 28 กันยายน -
2 ตุลาคม 2554 ที่จะถึงนี้ และอาจจะมีเมล็ดพันธุ์แจกเผยแพร่ในงานด้วย

แต่หากในช่วงนี้ใครใจร้อน อยากได้ไปปลูก ก็ส่งจดหมายพร้อมสอดซองติดแสตมป์ จ่าหน้าซอง ชื่อ ที่อยู่ ของตนเอง
ส่งมาที่สำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา ตำบลบ้านต๋อม อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา 56000 วงเล็บมุมซอง (มะเขือกินใบ)
ขอจำกัดสัก 50 ท่าน แล้วกัน จะได้ส่งไปให้ทดลองปลูกกัน



ขอบคุณ
มติชนออนไลน์

คุณการุณย์ มะโนใจ
โสรวาร สวัสดิ์วัฒนานะคะ

Create Date : 04 มิถุนายน 2554
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=vinitsiri&month=06-2011&date=04&group=8&gblog=180


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/09/2011 5:42 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 26/09/2011 10:07 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

718. พริกเผ็ดที่สุดในโลก .. พริกนากา ไวเพอร์










พริกเผ็ดที่สุดในโลก
เดือน ก.พ. ที่ผ่านมา กินเนสส์ เวิลด์ ออฟ เร็กคอร์ด หรือ บันทึกสถิติที่สุดในโลกปี 2554 ยกตำแหน่ง "พริกที่เผ็ดที่สุดในโลก"
ให้แก่ "พริกนากา ไวเพอร์" ซึ่งมีระดับความเผ็ดพุ่งทะลุ 1,349,000 สกอวิลล์ยูนิต (หน่วยวัดความเผ็ด : Scoville Heat
Units หรือ เอส เอชยู)

เป็นพริกที่มาจากเขตแกรนธัม ในเมืองลินคอล์นไชร์ ประเทศอังกฤษ โดยชาวไร่จากประเทศอังกฤษ เป็นผู้คิดค้นสายพันธุ์พริกที่
เผ็ดที่สุดพันธุ์นี้ขึ้นมา

เผ็ดขนาดที่นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวาร์วิก ประเทศอังกฤษบอกว่า "เผ็ดร้อนแบบที่ใครก็ทนไม่ได้ ต้องถอดเสื้อผ้าบรรเทาความ
เผ็ดเลยทีเดียว" เพราะพริกชนิดนี้จะทำให้ลิ้นชาและรู้สึกเหมือนถูกเผาไหม้แทบกลายเป็นจุณ ภายในหนึ่งชั่วโมงแทบไม่
อยากจะคุยกับใครเลย


ส่วนอันดับที่ 2 ที่เผ็ดติดอันดับโลก ได้แก่ "พริก ดิ อินฟินิตี้" ที่เคยเฉือนพริกนากา ไวเพอร์ ไปรั้งอันดับหนึ่งเมื่อเดือนก.พ.
2554 แต่ในเดือนเดียวกันนั้นเอง พริกนากา ไวเพอร์ ก็ทวงแชมป์คืนไปได้

โดยพริก ดิ อินฟินิตี้ มีระดับความเผ็ด 1,176,182 เอสเอชยู ซึ่งเป็นพริกที่มีถิ่นกำเนิดในเมืองรัตแลนด์ ตอนกลางของ
ประเทศอังกฤษ

ตามมาด้วย "พริกบุตโจโลเกีย" รั้งอันดับสาม แต่ก็เคยติดอันดับพริกที่เผ็ดที่สุดในโลกมาแล้ว ด้วยความเผ็ด 1,041,427
เอสเอชยู ล้มแชมป์เก่าอย่าง "พริกฮาบาเนโร" อย่างขาดลอยเกือบ 1 เท่าตัว

เป็นพืชพื้นเมืองของรัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย และยังพบในพื้นที่อื่น อีก เช่น รัฐมณีปุระ และรัฐนาคหรือนาคาแลนด์ของอินเดีย
อีกทั้งยังพบประปรายที่บังกลาเทศและ ศรีลังกา

พริกชนิดนี้เผ็ดน่ากลัวทีเดียว! เพราะ "บุต" แปลว่า "ผี" ส่วน "โจโลเกีย" แปลว่า "พริก" รวมกันเรียกว่า "พริกผี"

แต่เดิมนั้น พริกบุตโจโลเกียเป็นพืชที่ไม่ได้รับการเหลียวแลในเชิงเศรษฐกิจเท่าใดนัก ยกเว้นเป็นส่วนประกอบอาหารของคน
พื้นเมืองรัฐอัสสัม

แต่พอขึ้นชื่อว่าเป็นพริกที่เผ็ดที่สุดในโลก ก็มีคำสั่งซื้อสำหรับส่งออกถึงปีละ 10 ตัน ทำให้มีเกษตรกรปลูกพริกชนิดนี้มาก
ขึ้นและทำให้ราคาของพริกขยับจากกิโลกรัมละ 140 บาทมาเป็น 175 บาท

สุดยอดพริกเผ็ดติด 3 อันดับแรกได้รับการพัฒนานำไปผลิตอาวุธ เช่น ระเบิดมือ แก๊สน้ำตา ปืน เพื่อใช้ในการผลักดันม็อบ
และควบคุมผู้ชุมนุมประท้วง และผลิตเป็นสเปรย์พริกเพื่อใช้เป็นอาวุธป้องกันตัว

สำหรับพริกเผ็ดอันดับ 4 คือ "พริกฮาบาเนโร" เคยขึ้นแท่นพริกที่เผ็ดที่สุดในโลกมาแล้วเช่นกัน มีความเผ็ดถึง 100,000-350,000
เอสเอชยู เผ็ดกว่าพริกชี้ฟ้าบ้านเราถึง 1 หมื่นเท่า

พริกชนิดนี้มีต้นกำเนิดที่ประเทศคิวบา สันนิษฐานว่าได้ชื่อ ฮาบาเนโร มาจากชื่อกรุงฮาวานา เมืองหลวงของคิวบานั่นเอง ด้วย
ความที่มีรสเปรี้ยวนิดๆ ปนเผ็ด จึงนิยมทำเป็นซอสพริกทาบาสโกเวอร์ชั่นร้อนแรงกว่าเวอร์ชั่นปกติ




ขอขอบคุณ
ข่าวสดออนไลน์

คอลัมน์ รู้ไปโม้ด
nachart@yahoo.com
โสรวาร สวัสดิ์วัฒนานะคะ

Create Date : 28 พฤษภาคม 2554
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=vinitsiri&month=05-2011&date=28&group=8&gblog=173


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/09/2011 5:43 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 26/09/2011 10:16 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

719. ตะไคร้หอม ..หอม-ต้าน เชื้อราที่ทำให้เกิดโรคพืช






ตะไคร้หอม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cymgopogon winterianus Jowitt.
วงศ์ : Gramineae
ชื่อสามัญ : Citronella Grass
ชื่ออื่น : จะไคมะขูด ตะไครมะขูด ตะไคร้แดง

ลักษณะ : ตะไคร้หอมมีลักษณะส่วนใหญ่คล้ายกับตะไคร้ ต่างกันที่กลิ่น กาบใบและแผ่นใบ กาบใบของตะไคร้หอมมีสีเขียว
ปนม่วงแดง แผ่นใบกว้าง ยาวและนิ่มกว่าเล็กน้อย ทำให้ปลายห้อยลงปรกดินกว่า

ดอกช่อ สีน้ำตาลแดง แทงออกจากกลางต้น

ผล เป็นผลแห้ง ไม่แตก

ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้เหง้าเป็นยาบีบมดลูก ขับประจำเดือน ขับปัสสาวะ ขับระดูขาว

เหง้า ใบและกาบมีน้ำมันหอมระเหยซึ่งมีขายในชื่อว่า citronella oil ใช้เป็นยากันยุง โดยละลายน้ำ ตะไคร้หอม 7 ส่วนในแอล
กอฮอล์เช็ดแผล (70%) 93 ส่วน ฉีดพ่น

หรือตำใบสดหมักในแอลกอฮอล์ในอัตราส่วน 1:1 ทาตรงขอบประตูที่ปิดเปิดเสมอ หรือชุบสำลีแขวนเอาไว้หน้าประตูเข้าออก
หรือใช้ใบตะไคร้หอมมัดแล้วทุบให้ช้ำวางไว้ตามมุมห้องหรือใต้เตียง

นอกจากนี้ยังมีรายงานฤทธิ์ต้านเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคพืชด้วย




ขอขอบคุณ
หนังสือสวนสมุนไพรสิรีรุกขชาติ
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

สิริสวัสดิ์ศุกรวาร
สิริมานรมณีย์นะคะ

Create Date : 06 พฤษภาคม 2554
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=vinitsiri&month=05-2011&date=06&group=8&gblog=155


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/09/2011 5:44 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 27/09/2011 5:36 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

720. 'นาคราช' กล้วยพันธุ์ใหม่ ของโลก





นักวิจัยมหิดลสำรวจและศึกษาก่อนยืนยันการพบกล้วยพันธุ์ใหม่ของโลกในพื้นที่ป่าด้านตะวันตก บริเวณจังหวัดกาญจนบุรี ตาก
และแม่ฮ่องสอน ติดกับประเทศพม่า ตั้งชื่อไทยว่า “กล้วยนาคราช” ชี้อยู่ในสภาวะเสี่ยงสูญพันธุ์


ดร.นพ.จามร สมณะ อาจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลกล่าวในงานแถลงข่าว การประชุมวิชา
การวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 37 (วทท 37) ว่า ร่วมกับ ดร.ศศิวิมล แสวงผล อาจารย์ประจำภาควิชาพฤกษศาสตร์
ค้นพบกล้วยพันธุ์ใหม่ จึงตั้งชื่อไทยว่า "นาคราช" เนื่องจากออกปลีมีลักษณะยืดยาวลดเลี้ยวคล้ายงูเลื้อย ซึ่งมีลักษณะพิเศษ
ที่แตกต่างจากกล้วยชนิดอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัด ส่วนปลีสีชมพูอมส้ม ซึ่งเป็นสีที่พบได้น้อยในบรรดากล้วยทั่วไป


กล้วยนาคราชถูกพบครั้งแรกที่อำเภอสังขละบุรี เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ซึ่งในครั้งแรกที่พบเข้าใจว่าเป็นกล้วยบัวสีส้ม
ที่มีต้นสูงใหญ่ เพราะมีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างกล้วยปกติและกล้วยบัวสีส้ม แต่เมื่อนำมาลองปลูก เพื่อศึกษาพฤติกรรมและลักษณะการเติบโต



ดร.นพ.จามร พบความแตกต่างจากกล่วยบัวสีส้มอย่างชัดเจน โดยกล้วยบัวสีส้มมีลักษณะต้นเตี้ยประมาณ 1 เมตร เหง้ายาว
แตกหน่อห่างกันเป็นเมตร ปลีชี้ขึ้นฟ้า และกล้วยแต่ละหวีให้ผลชั้นเดียว ขณะที่กล้วยนาคราชมีลำต้นสูง 2-3 เมตร แตกกอแน่น
เป็นกระจุก ปลีตั้งขึ้นและเลื้อยเอียงเหมือนงู


ด้าน ดร.ศศิวิมล อธิบายเพิ่มเติมว่า ทีมงานได้สำรวจและพบกล้วยชนิดนี้ในแหล่งธรรมชาติแหล่งอื่นเพิ่มเติม จากนั้นใช้เวลา
กว่า 4 ปีในการตรวจสอบลักษณะเนื้อเยื่อด้วยการส่องกล้องจุลทรรศน์และวิเคราะห์ดีเอ็นเอ จึงสามารถสรุปยืนยันได้ว่าเป็น
กล้วยชนิดใหม่ของโลกอย่างแน่นอน จึงตั้งชื่อกล้วยชนิดใหม่ของโลกชนิดนี้เป็นภาษาละตินว่า Musa serpentina
Swangpol & Somana และตีพิมพ์ในวารสาร Thai Forrest Bulletin vol. 39 (2011) ฉบับล่าสุดที่จะเผยแพร่
ในปลายปี 2554


"แม้จะพบในหลายจังหวัดบริเวณชายแดนติดประเทศพม่า แต่พบเป็นกลุ่มขนาดเล็กกระจายอยู่ห่างๆ กัน ทำให้อยู่ในสภาวะ
เสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ และควรได้รับการอนุรักษ์พันธุ์และพื้นที่ชายป่าที่เป็นแหล่งอาศัยอย่างเร่งด่วน เนื่องจากกล้วยป่ามักขึ้น
อยู่ริมถนนหนทางและริมห้วย การขยายถนนและสะพานจึงเป็นสาเหตุสำคัญที่จะทำลายแหล่งพันธุกรรมกล้วยหายาก
ชนิดนี้" ดร.ศศิวิมล กล่าว


กล้วยนาคราชนี้ เป็น 1 ในกล้วยป่ากว่า 65 ชนิดที่พบในโลก และนับเป็นกล้วยชนิดที่ 7 ที่พบได้ในป่าในประเทศไทย ซึ่ง
นอกจากกล้วยป่าแล้ว ประเทศไทยยังเป็นแหล่งพันธุกรรมของพันธุ์กล้วยลูกผสมไม่มีเมล็ดมากกว่า 100 พันธุ์


ดร.นพ.จามร กล่าวถึงความสำคัญในการศึกษาวิจัยกล้วยป่าว่า จะเป็นประโยชน์ในอนาคต เนื่องจากกล้วยปัจจุบันที่เรากิน
อยู่ไม่มีใครรู้ที่มาที่ไป แต่เชื่อว่า มีการกลายพันธุ์มาจากกล้วยป่า ดังนั้นการศึกษานี้จึงเป็นการหารากเหง้าของอาหารที่เรา
กินอยู่ ในขณะเดียวกัน หากเกิดเชื้อโรคหรือโรคระบาดกับกล้วยที่เรากินได้จนสูญพันธุ์ไป ข้อมูลการศึกษาวิจัยกล้วยจะ
ช่วยให้หากล้วยพันธุ์ใหม่ที่สามารถนำมาเป็นอาหารทดแทนได้ในอนาคต


กล้วยนาคราชและพันธุ์กล้วยแปลกพร้อมหนังสือ “๑๐๘ พันธุ์กล้วยไทย” หนังสือรวบรวมพันธุ์กล้วยที่ให้ข้อมูลพร้อม
ภาพวาดและภาพถ่ายที่สมบูรณ์ที่สุด จะจัดแสดงในงาน วทท 37 พร้อมกับไฮไลท์ที่น่าสนใจอีกมากมาย ทั้งการบรรยาย
พิเศษจาก ศ.ดร.โรเบิร์ต ฮูเบอร์ นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลสาขาเคมี ปี 2531 เรื่อง โครงสร้างสุนทรีย์ของโปรตีน
ศ.ดร.จอร์ก แฮคเกอร์ อธิการบดีสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติเยอรมนี บรรยายเรื่อง งานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์
ของโรคติดเชื้อในศตวรรษที่ 21 และนักวิทยาศาสตร์ชาวไทยที่มีผลงานโดดเด่นไม่ว่าจะเป็น ศ.ยงยุทธ ยุทธวงศ์, ศ.สุทธวัฒน์
เบญจกุล เป็นต้น


ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมงานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 37 ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่
10-12 ตุลาคม 2554 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ รับแจกหน่อกล้วย
หอมทองพันธุ์ดีวันละ 100 ต้น ตลอดวันงานทั้ง 3 วัน




http://www.komchadluek.net


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 8:38 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 27/09/2011 5:49 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

721. พืชสกุล “โอฟิโอไรซ่า” ของไทยมีสารต้านมะเร็ง





นางสาววราลี วิราพร นิสิตปริญญาโท คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า สารแคมป์โทเธซิน (Camptothecin)
หรือ ซีพีที (CPT) เป็นหนึ่งในสารที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง ซึ่งถูกนำมาใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตยาเคมีบำบัด ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก

โดยเป็นที่รู้จักในชื่อยา โทโปทีแคน (Topotecan) และ อิริโนทีแคน (Irinotecan) สำหรับรักษาโรคมะเร็งรังไข่ มะเร็งปอด
และมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นต้น

“สาร CPT มีรายงานการพบในพืช แคมป์โทธิกา อะคูมินาตา (Camptotheca acuminate), โนทาโพไดทิส โฟอิทิดา (Nothapo-
dytes foetida) , เออวาทาเมีย เฮเนียนา (Ervatamia heyneana) รวมถึงพืชในสกุลโอฟิโอไรซ่า (Ophiorrhiza) บางชนิด

ซึ่งพืชเหล่านี้พบมากในประเทศจีน และฐานการผลิตสารซีพีทีก็อยู่ในประเทศจีนด้วย ขณะที่ประเทศไทยพบว่ามีพืชสกุล โอฟิโอไรซ่า
ประมาณ 30-44 ชนิด

ถือว่ามากเป็นอันดับสองรองจากประเทศจีน แต่กลับยังไม่พบรายงานการศึกษาวิจัยด้านการนำมาใช้ประโยชน์ ในทางการแพทย์มากนัก

ที่สำคัญขณะนี้ยังมีรายงานการวิจัยพบว่า พืชหลายชนิดที่สร้าง CPT จะมีเอนไซม์โทโพไอโซเมอเรส วัน (Topoisomerase I)
หรือ ทอปวัน (Top I) ที่เกิดการกลายพันธุ์ ซึ่งเอนไซม์นี้เป็นเป้าหมายของยาต้านมะเร็ง CPT

ดังนั้นเมื่อ Top I กลายพันธุ์ไปจากเดิม สาร CPT จึงไม่สามารถเข้าจับกับเอนไซม์ Top I ของพืชได้ ส่งผลให้พืชเหล่านั้น
ทนทานต่อพิษของ CPT ที่พืชสร้างขึ้นมาได้ ซึ่งกลไกการป้องกันตัวของพืชที่เกิดขึ้นนี้ มีลักษณะเดียวกับกลไกการดื้อยาเคมีบำบัด
จากสาร CPT ในผู้ป่วยโรคมะเร็ง

ด้วยเหตุนี้จึงทำให้สนใจศึกษา “วิวัฒนาการร่วมของยีนโทโพไอโซเมอเรส I กับการสร้างแคมป์โท เธซินในพืชสกุล Ophiorrhiza
ในประเทศไทย” โดยมี ผศ. ดร.สุชาดา สุขหร่อง คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

และได้รับการสนับสนุนจากโครงการพัฒนาองค์ความรู้ และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย หรือ
โครงการBRT ภายใต้การสนับสนุนของศูนย์พันธุวิศวกรรม และเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ศช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุน
การวิจัย (สกว.)

นางสาววราลี กล่าวว่า ในงานวิจัยได้ศึกษาความหลากหลายของพืช ในสกุลโอฟิโอไรซ่าในประเทศไทย โดยทำการสำรวจและเก็บ
ตัวอย่างพืชสกุลโอฟิโอไรซ่า ตามที่เคยมีรายงานการค้นพบในภูมิภาคต่างๆ เพื่อนำมาจำแนกชนิด

และศึกษาว่ามีชนิดใดบ้างที่สามารถสร้างสารต้านมะเร็ง CPT ได้ นอกจากนี้ยังศึกษาถึงคุณสมบัติ ที่มีผลต่อการสร้างสารต้าน
มะเร็ง CPT รวมถึงความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีน Top I เพื่อหาตำแหน่งที่เกิดการกลายพันธุ์ในเอนไซม์ Top I อันเป็น
เหตุให้เกิดการดื้อ CPT ของพืชในสกุลนี้ด้วย

“จากตัวอย่างพืชสกุลโอฟิโอไรซ่าที่เก็บมาทั้งหมด เราสามารถจำแนกได้ 8 ชนิด และเป็นที่น่ายินดีว่ามีการค้นพบพืชถึง 5 ชนิด
ที่ตรวจพบสาร CPT และ/หรือ 9-MCPT ซึ่งเป็นสารอนุพันธ์ของ CPT ในบริเวณใบหรือราก

โดยสาร CPTและอนุพันธ์ ออกฤทธิ์ทำลายเซลล์มะเร็งได้ ด้วยการยับยั้งเอนไซม์ Top I ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่จำเป็นในการแบ่งเซลล์
ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ส่วนสาร 9-Methoxy camptothecin (9-MCPT) พบได้ในพืชที่สร้างCPT มีคุณสมบัติละลายน้ำได้ดี
มีฤทธิ์ทำลายเซลล์มะเร็ง และสามารถใช้สังเคราะห์สารต้านไวรัสได้

สำหรับคุณสมบัติที่มีผลต่อการสร้างสาร CPT ในพืชสกุลโอฟิโอไรซ่า ได้ศึกษา โดยใช้ข้อมูลลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีนแม็ตเค
(matK) (ยีนที่อยู่ในคลอโรพลาสต์ เป็นยีนที่ได้รับการถ่ายทอดจากแม่ มักใช้ในการตรวจสอบความเป็นเครือญาติ)

และยีนของเอนไซม์ Top I ในตัวอย่างพืชทุกชนิด ผลการวิจัยพบว่า วงศ์วานวิวัฒนาการเชิงโมเลกุล (molecular phylo-
genetic tree) ของยีนทั้งสองสามารถแบ่งกลุ่มพืชสกุลโอฟิโอไรซ่าได้เป็นสองกลุ่มตามคุณสมบัติในการสร้างสารต้าน
มะเร็ง CPT และอนุพันธ์อย่างชัดเจน คือ กลุ่มที่สร้างสารซีพีที และ กลุ่มที่ไม่สร้างสารซีพีที

ผลวิจัยดังกล่าวนับเป็นการค้นพบข้อเท็จจริงที่ว่า ปัจจัยทางพันธุกรรมมีบทบาทสำคัญ ในการกำหนดความสามารถในการสร้าง
สารต้านมะเร็ง CPT ในพืชสกุลนี้มากกว่าพื้นที่การกระจายพันธุ์ของพืช

นอกจากนี้พืชสกุลนี้ยังมีวิวัฒนาการร่วมระหว่างยีน matK และ Top I ดังนั้นจึงสามารถใช้ยีน matK และ Top I เพื่อช่วย
ในการทำนายการสร้างสาร CPT และอนุพันธ์ของพืชในสกุลโอฟิโอไรซ่า ได้อีกด้วย

ยกตัวอย่างเช่น มีผู้เก็บตัวอย่างพืชสกุล โอฟิโอไรซ่า ชนิดใหม่มาวิจัย ก็สามารถตรวจยีน matK หรือ Top I เพื่อระบุว่าพืชชนิด
ใหม่นี้ มีความสามารถในการสร้างสารต้านมะเร็งได้หรือไม่ในทันที โดยเทียบกับวงศ์วานวิวัฒนาการเชิงโมเลกุล ซึ่งได้รับการตี
พิมพ์ลงในวารสารนานาชาติ ในปีนี้”

นางสาววราลี กล่าวว่า นอกจากนี้ผลการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีน Top I เรายังได้พบกรดอะมิโนหลายตำแหน่ง
มีลักษณะการกลายพันธุ์ที่น่าสนใจ โดยหากมีการศึกษาเปรียบเทียบกับเซลล์ผู้ป่วยมะเร็งต่อไป

ก็อาจใช้เป็นเครื่องหมาย (amino acid marker) ในการทำนายการดื้อยาจากสาร CPT ของผู้ป่วยโรคมะเร็งได้ในอนาคต ซึ่ง
เท่ากับช่วยให้ผู้ป่วยที่มีอาการดื้อยามีโอกาสรักษาด้วยตัวยาที่เหมาะสมและมีประสิทธิผลในการทำลายเซลล์มะเร็งได้มากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตามการค้นพบว่าพืชในสกุลโอฟิโอไรซ่าของประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตสารต้านมะเร็งแคมป์โทเธซิน ไม่เพียง
แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายทางชีวภาพ

แต่หากเราสามารถเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อหรือมีกรรมวิธี ในการเพิ่มผลผลิตพืชที่สร้างสาร CPT ให้ได้จำนวนมากๆ แล้ว ก็จะสามารถ
พัฒนาสู่การผลิตยาเคมีบำบัดได้ภายในประเทศ ขณะเดียวกันยังสามารถสกัดสาร CPT เพื่อส่งขายในราคาสูงอีกด้วย

(เรื่อง ศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย สวทช.)




ขอขอบคุณ
ผู้จัดการออนไลน์
สวทช.
นางสาววราลี วิราพร
วุธวารสิริสวัสดิ์ค่ะ

ขอความกรุณาช่วยโหวต TBA ด้วยนะคะ
ขอบพระคุณมากค่ะ

กดที่นี่ค่ะ
sirivinit

Create Date : 17 สิงหาคม 2554
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=vinitsiri&month=08-2011&date=17&group=8&gblog=219
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 27/09/2011 5:53 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

722. รางจืด .. ยาแก้พิษ





รางจืด ตำนานเล่าขานยาวนานในสังคมไทย เพราะชื่อเสียงหนักหนาในการเป็นยาแก้พิษ

เมื่อ พ.ญ.พาณี เตชะเสน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เห็นแมวรอดชีวิตจากยาเบื่อด้วยรางจืด จึงได้วิจัยรางจืด
ในการแก้พิษยาฆ่าแมลงในปี 2523 จากนั้นจนถึงปัจจุบัน

มีรายงานศึกษาวิจัยฤทธิ์ของรางจืดในการแก้พิษต่าง ๆ ทั้งพิษจากยาฆ่าแมลง สารหนู สตริกนิน ตะกั่ว เหล้า รวมไปถึงการบำบัด
การติดยาเสพติดในกลุ่ม


ยาบ้าและโคเคน
รางจืดยังช่วยชีวิตผู้ป่วยที่มีความหวังน้อยนิดในการรอดชีวิตจากพิษในการกินยาฆ่าหญ้า กินไข่แมงดาทะเลที่เป็นพิษ หรือกิน
รากขอบชะนางแดงเกินขนาด

วันนี้รางจืด...เป็นอะไรที่มากกว่ายาแก้พิษ
รางจืดเป็นยาเย็น แก้ร้อนใน กระหายน้ำ ใช้ปรุงเป็นยาเขียวถอนพิษไข้ ถอนพิษผิดสำแดง

รางจืดยังเป็นหมอผิวหนังชั้นยอด แม่หอมยามักบอกว่า อาบน้ำรางจืดต้มผิวพรรณจะผุดผ่อง รากรางจืดฝนกับน้ำซาวข้าวทาหน้า
หน้าจะขาว สิวฝ้าจะไม่มี

รางจืดยังมีสรรพคุณแก้ผื่นคันจากอาการแพ้ต่าง ๆ แพ้สารพิษในแม่น้ำที่น้ำเน่า แก้เริม งูสวัด ถอนพิษปวดแสบปวดร้อนจากไฟ
ไหม้น้ำร้อนลวก ซึ่งปัจจุบันมีการยืนยันจากรายงานการศึกษาบอกว่า รางจืดมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ และต้านไวรัสโรคเริมได้ดี

รางจืดมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระอันดับต้น ๆ มีแนวโน้มจะนำมาใช้ปกป้องสมองจากการทำลายของสารพิษ และป้องกันพิษจาก
การได้รับเคมีบำบัดใน


ผู้ป่วยมะเร็ง
รางจืดยังเป็นยาทำให้เจริญอาหาร บำรุงร่างกาย แก้ซางในเด็กน้อย แก้ตับเคลื่อนตับทรุด แก้พิษทำให้เกิดดีซ่าน และการศึกษา
สมัยใหม่ยังพบว่า รางจืดมีฤทธิ์ป้องกันตับจากการทำลายของสารพิษ

และจากการศึกษาในห้องทดลองพบว่า รางจืดมีฤทธิ์ลดความดันโลหิตโดยในงาน "มติชนเฮลท์แคร์ ดูแลสุขภาพ 2011"
ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 16-19 มิถุนายนนี้ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรจะมีการแจกต้นรางจืดฟรีจำนวน 200 ต้น

นอกจากนี้ ยังมีการสาธิตการทำอาหารจากรางจืด สลัดรางจืด ยำรางจืด และน้ำสมุนไพรรางจืด ใครที่สนใจล้างพิษด้วยสมุน
ไพรไทยไม่น่าพลาดงานนี้




ขอขอบคุณ ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ภุมวารสวัสดิ์วัฒนาค่ะ

Create Date : 21 มิถุนายน 2554
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=vinitsiri&month=06-2011&date=21&group=8&gblog=190
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 27/09/2011 6:00 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

723. สนสามใบ





คอลัมน์ อาทิตย์ละต้น
แมนวดี


สนสามใบ เป็นพรรณไม้พระราชทานเพื่อปลูก เป็นมงคลของจังหวัดเลย มีถิ่นกำเนิดอยู่ ในประเทศพม่า ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า
Kesiya pine อยู่ในวงศ์ PINACEAE ชื่อภาษาไทยอื่นๆ เช่น เกี๊ยะเปลือกแดง เกี๊ยะเปลือกบาง จ๋วง เชี้ยงบั้ง แปก สนเขา

เป็นไม้ยืนต้นสูง 10-30 เมตร ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดเป็นพุ่มกลม เปลือกสีน้ำตาลอมชมพูอ่อนล่อนเป็นสะเก็ด มียาง
สีเหลืองซึมออกมาตามรอยแตก ใบเป็นใบเดี่ยว ติดกันเป็นกลุ่มละ 3 ใบ

ออกเป็นกระจุกเวียนสลับถี่ตามปลายกิ่ง ออก ดอกเป็นช่อ แยกเพศ ช่อดอกเพศผู้ สีเหลือง ติดกันเป็นกลุ่มใกล้ปลายกิ่ง

ออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายน-มีนาคม ผลออกรวมกันเป็นกลุ่มเรียกว่า Cone (โคน) รูปไข่ สีน้ำตาล มีเมล็ดจำนวนมาก




ขอขอบคุณ ข่าวสดออนไลน์

สวัสดิ์สิริศนิวารค่ะ

Create Date : 16 กรกฎาคม 2554
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=vinitsiri&month=06-2011&date=21&group=8&gblog=190
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 01/10/2011 10:39 am    ชื่อกระทู้: ฉีดเตตตร้าไซคลินเข้าต้น แก้โรคกรีนนิ่ง ในส้ม ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

724. ฉีดเตตตร้าไซคลินเข้าลำต้น บรรเทาอาการโรคกรีนนิ่ง ในส้ม





โดย เคหการเกษตร

การรักษาโรคพืชโดยวิธีที่เรียกเคมีบำบัด ( chemotherapy ) โดยเฉพาะวิธีการฉีดสารเคมีด้วยเข็มฉีดยาเข้าไปในลำต้น
เป็นวิธีการที่มีการศึกษากันมานานแล้ว ปัจจุบันที่มีการดำเนินการกันอย่างกว้างขวางในการป้องกันกำจัดโรครากเน่าโคนเน่า
ในทุเรียนโดยการใช้เข็มฉีดสารฟอสฟอรัสแอซิค(โพลิอาร์ฟอส) เข้าลำต้นเหรือการพ่นสารอาลีเอทซึ่งมีฤทธิดูดซึมเพื่อการ
ป้องกันกำจัดโรครากเน่าโคนเน่าในส้มซึ่งนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายเมื่อหลายปีที่ผ่านมา เคมีบำบัดอีกนัยหนึ่งก็คือ การ
ป้องกันและรักษาโรคพืชโดยการใช้สารเคมีนั่นเองแต่เรามักจะได้ยินเรื่องของเคมีบำบัดในการรักษาโรคมะเร็งในคนมาก
กว่าพืช

กรณีของโรคกรีนนิ่งหรือหวงหลงปิงที่เกิดจากเชื้อคล้ายแบคทีเรียในส้มได้มีการทดลองโดยใช้สารปฏิชีวนะ Tetacycline
hydrochloride ฉีดเข้าลำต้นโดยใช้เข็มฉีดยาโดยเป็น Thesis ของ รศ.ดร.อำไพวรรณ ภราดร์นุวัฒน์ สมัยเรียน
ปริญญาโทเมื่อประมาณปี 2518 ศ.ดร.ธีระ สูตะบุตรเป็นหัวหน้าภาควิชา ผลการศึกษาในขณะนั้นปรากฏว่าสารปฏิชีวนะ
เตตตร้าไซคลินไฮโดรคลอไรด์สามารถลดปริมาณของเชื้อคล้ายแบคทีเรียสาเหตุโรคกรีนนิ่งในส้มได้ระดับหนึ่งแต่ยังไม่
สามารถสรุปได้ว่าต้องฉีดเป็นจำนวนกี่ครั้งในรอบปีและครั้งละปริมาณเท่าไร รวมทั้งผลตกค้างที่อาจจะมีในผลและเป็นเพียง
งานวิจัยเพื่อประกอบการศึกษาระดับปริญญาโทเท่านั้นจึงยังไม่ได้ต่อยอดจนถึงระดับให้คำแนะนำอย่างเป็นทางการให้
แก่ชาวสวนส้มได้




เปรียบเทียบระหว่างส่วนของกิ่งส้มที่ฟื้นหลังใช้สารฯและกิ่งที่ไม่ได้รับสารฯ ศ.ดร.พิทยา สรวมศิริ และครูสนั่น สวนส้ม
ที่ได้ทดลองใช้สารเตตตร้าไซคลินฉีดเข้าต้นความเข้มข้นสาร 250 มก.ต่อน้ำ 20 มล. (12500 ppm.) ต่อเข็ม เมื่อ
ประมาณ 1 ปีที่ผ่านมาโดยต้นส้มที่ทรุดโทรมฟื้นขึ้นในระดับที่น่าพอใจ




ประมาณ 1 ปีเศษที่ผ่านมาทีมนักวิจัยของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่นำโดย รศ.ดร.พิทยา สรวมศิริ และคณะ ภายใต้
การสนับสนุนของกองทุน FTA กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ได้ทำการศึกษาต่อยอดโดยการทำกับ
ส้มในเขต อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ในสวนของชาวสวนรายหนึ่ง คือ ครูสนั่น โดยทำการฉีดสารเตตตร้าไซคลินไฮโดรครอไรด์
เข้าลำต้นควบคู่กับการตัดแต่งกิ่งและการรักษาโรครากเน่าโคนเน่า ผลปรากฏออกมาว่าส้มมีการแตกยอดใหม่ที่สมบูรณ์
ขึ้นมาก ชาวสวนส้มที่ผ่านไปมาสังเกตเห็นสวนที่ได้ทำการทดลองด้วยวิธีการดังกล่าวนี้สดใสขึ้นผิดปกติจึงได้เข้าไปสอบ
ถามจนข่าวนี้กระจายออกไปกว้างขวางเกิดการตื่นตัวในการฟื้นต้นส้มที่โทรมด้วยวิธีการดังกล่าว

ดังนั้น เพื่อความเข้าใจในการใช้สารปฏิชีวนะเตตตร้าไซคลินไฮโดรคลอไรด์ที่ถูกต้องเหมาะสมควรจะเป็นอย่างไร
ทางคณะผู้วิจัยจึงได้ทำการจัดให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้สนใจเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับงานทดลองนี้ในวันที่ 7 สิงหาคม
2554 ที่โรงเรียนฝางชนูปถัมภ์ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ปรากฏว่ามีชาวสวนส้มรายย่อยและรายใหญ่ทั้งในพื้นที่และ
ต่างจังหวัดมารับฟังกันแน่นห้องประชุมกว่า 500 คน

ทางคณะผู้วิจัยโดย รศ.ดร.พิทยา สรวมศิริ ได้แจ้งว่าการฟื้นฟูต้นส้มด้วยวิธีนี้เป็นงานวิจัยที่ทำมาได้ประมาณ 1 ปี
งานศึกษายังไม่เสร็จสิ้นแต่เนื่องจากเกิดการแตกตื่นกันมากจนเกิดการนำไปใช้กันแบบผิดๆถูกๆ ซึ่งอาจจะเกิดอันตราย
ต่อต้นส้มและอาจจะเกิดการเข้าใจผิดในเรื่องของข่าวการใช้สารปฏิชีวนะในส้มจนอาจจะเป็นสาเหตุให้ผู้บริโภคไม่กล้า
รับประทานส้ม ธุรกิจสวนส้มของชาวสวนที่ยังคงทำอาชีพอยู่ได้ก็จะกระทบไปทั้งระบบได้ ทีมงานจึงได้จัดประชุม
ชี้แจงเพื่อย้ำวิธีการใช้สารปฏิชีวนะเตตตร้าไซคลิน ดังนี้

ให้ใช้ที่ความเข้มข้นเพียง 12500 ppm. คือ เตตตร้าไซคลิน 1 หลอด 250 มก. ผสมน้ำสะอาด 20 มล.
(เท่ากับ 1 เข็ม) ฉีดเข้าโคนกิ่งที่มีขนาด 10-15 ซม.ห้ามฉีดกิ่งขนาดเล็กหรือกิ่งอ่อนเนื่องจากทำให้เกิดอาการไหม้
ใบร่วง และต้องทำในช่วงหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตในฤดูหมดแล้ว โดยให้ทำการตัดแต่งกิ่งพร้อมกับการปรับปรุงดิน
ปรับ pH ให้อยู่ในระดับเป็นกลางหรือกรดอ่อน พร้อมทั้งใส่ปุ๋ยอินทรีย์และรักษาโรครากเน่าโคนเน่าโดยการราดสาร
เมทาแล็กซิลฯลฯ เพราะโรคนี้มักจะเกิดพร้อมกันเมื่อส้มเป็นโรคกรีนนิ่งเนื่องจากรากส้มขาดอาหาร การฉีดสารเข้าในต้น
ใช้สว่านเจาะนำโดยขนาดสว่านจะต้องมีขนาดรูไม่ใหญ่ไปกว่าเข็มฉีดยาที่ใช้ฉีด เจาะลึกเพียง 1 ซม.ให้ถึงระดับท่อ
น้ำที่เป็นเยื่อขาวๆเท่านั้น จากนั้นจึงอัดน้ำยาโดยเข็มฉีดยาให้มีช่องอากาศในตัวเข็มเพื่อเป็นตัวเพิ่มแรงอัด ให้ทำการฉีด
ในช่วงอากาศเปิดหรือมีแสงแดดซึ่งต้นส้มจะคายน้ำและดูดน้ำขึ้นไปจากรากทำให้ตัวน้ำยาที่อัดเข้าไปเข้าสู่ลำต้นได้เร็ว
การฉีดให้ทำ 6 เดือนครั้งและหลังการฉีดสารฯเข้าต้นแล้วไม่ควรเก็บส้มขายเลยจะปลอดภัยต่อคนกินมากที่สุด

แปลงชาวสวนที่ทำการทดลองแปลงแรกซึ่งทำมา 1 ปี คือ ครูสนั่น ยืนยันว่า 1 เดือนจะเห็นต้นส้มแสดงอาการ
แตกใบใหม่และเริ่มฟื้นอย่างชัดเจน โดยภาพที่ปรากฏนี้คือภาพเมื่อวันที่ 6 ส.ค. 2554 ที่เคหการเกษตรได้ไปเยี่ยม
แปลงพร้อมกับคณะนักวิจัย สามารถยืนยันได้ว่าวิธีการนี้ได้ผล แต่ย้ำว่าไม่ใช่สูตรสำเร็จจากการใช้สารฯดังกล่าวแต่
เพียงอย่างเดียว ชาวสวนจะต้องปฏิบัติร่วมกับวิธีการอื่นๆดังกล่าวแล้ว รวมทั้งการจัดการสวนที่ดีด้วย นอกจากนี้แล้ว
หากส้มทรุดโทรมมากหรือแสดงอาการกิ่งเหลืองมากกว่า 50% ของทรงพุ่มทั้งหมดไม่แนะนำให้ฟื้นต้นด้วยวิธีดังกล่าว
แต่ควรตัดออกทำลาย และหากจะปลูกใหม่ควรใช้กิ่งพันธุ์ที่ปลอดโรคเท่านั้น




สภาพสวนส้มที่ทรุดโทรมจนเกินจะฟื้นได้เจ้าของสวนกำลังปลูกยางพาราเข้าไปแทนที่แล้ว การประชุมชี้แจงโดยทีมงาน
ของ ม.เชียงใหม่ และเจ้าหน้าที่กองทุน FTA เพื่อสร้างความเข้าใจในการใช้สารฯอย่างถูกต้องปลอดภัย เมื่อ 7 สค.
2554 ที่ผ่านมาที่ ณ ร.ร.ฝางชนูปถัมภ์ ซึ่งชาวสวนส้มทั่วประเทศเดินทางมารับฟังอย่างล้นหลามโดยไม่คาดหมาย




คณะผู้ทำการศึกษาเป็นห่วงกังวลมากเรื่องสารตกค้างในผลส้มจึงได้เก็บตัวอย่างไปทำการตรวจสอบผล ปรากฏว่าผล
ที่เก็บหลังฉีดสารทันทีและหลังฉีด 5 วัน เมื่อนำไปตรวจสารตกค้างที่แล็ปกลาง LCFA ไม่พบสารตกค้าง แต่จะเก็บ
ตัวอย่างผลส้มที่ระยะหลังจากนี้ไปตรวจอีกเป็นระยะๆต่อไป นอกจากนี้คณะผู้ศึกษาของทีมงานจาก ม.เชียงใหม่ยืนยัน
ว่าทั้งหมดนี้ยังอยู่ในขั้นทดลองยังไม่ใช่การแนะนำหรือเผยแพร่วิธีการนี้แต่อย่างใด การประชุมในครั้งนี้เป็นการชี้แจง
เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องเพื่อลดกระแสการใช้ที่ไม่เหมาสมซึ่งจะเกิดผลเสียตามมาโดยเฉพาะข่าวการใช้สาร
ปฏิชีวนะในพืชที่อาจจะเป็นสาเหตุการโจมตีให้ผู้บริโภคเลิกกินส้มจนทำให้ชาวสวนส้มเดือดร้อนมากขึ้นไปอีกขณะที่
การพบวิธีการนี้เป็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์น้อยๆ ของชาวสวนส้ม

ท้ายที่สุดคณะผู้วิจัยขอวอนไปยังชาวสวนส้มควรควบคุมการฉีดสาร การซื้อสารที่ไม่เสื่อมคุณภาพ โดยนอกจากจะเกิด
ปัญหาตามมาหลายๆ ด้านแล้วที่สำคัญก็คือทำให้เกิดการดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคนี้ได้เร็วขึ้นอีกด้วย


อนึ่ง เทคโนโลยีนี้มีการศึกษามานานแล้ว โดยไต้หวันแนะนำให้ใช้สารฯที่ผสมแล้วบรรจุในถุง
น้ำเกลือให้ค่อยๆซึมเข้าต้นเป็นต้น ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่ประการใด รายละเอียดติดตามเพิ่มเติม
จากเคหการเกษตรฉบับเดือนกันยายนที่จะถึง




เคหการเกษตรไม่สงวนสิทธิ์สำหรับการนำบทความและภาพถ่ายไปใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนาประเทศแต่ขอให้อ้างอิงที่มา
ยกเว้นกรณ๊ที่ท่านนำไปใช้ในเชิงธุรกิจต้องขออนุญาตเป็นลาย

http://www.kehakaset.com/index.php?option=com_content&view=article&id=447:master&catid=38
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 01/10/2011 11:07 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

725. ความสำคัญของจุลินทรีย์



จุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กมากนั้น แต่ละเซลล์จะมีกระบวนการต่างๆ ของชีวิตเกิดขึ้นได้ภายในเซลล์เดียว กระบวนการเปลี่ยนแปลงนี้
ส่วนใหญ่ก็เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ตัวมันเอง เช่น ยีสต์ มีการเปลี่ยนแปลงอาหารให้เป็นพลังงานด้วยกระบวนการหมัก (fermen-
tation) ขณะเดียวกันก็ได้ผลผลิตเกิดขึ้น คือ เอทิลแอลกอฮอล์ที่เรานำไปใช้ประโยชน์ได้ มีจุลินทรีย์จำนวนมากที่มีความ
สำคัญในการผลิตสารต่างๆ ที่มีประโยชน์และช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการต่างๆ ดังต่อไปนี้



การผลิตอาหาร
อาหารและเครื่องดื่มหลายชนิดที่เกิดจากการกระทำของจุลินทรีย์ ซึ่งมนุษย์เราได้ใช้ประโยชน์มาเป็นเวลานานแล้ว อาหารที่
เกิดจากการหมักของจุลินทรีย์ เรียกว่า อาหารหมัก (fermented food) เช่น กะหล่ำปลีดอง แตงกวาดอง ไส้กรอก เกิดจาก
การกระทำของแบคทีเรียที่สร้างกรดแล็กติก เป็นส่วนใหญ่ แบคทีเรียเหล่านี้อาจมีอยู่ตามธรรมชาติบนอาหารหรือเราตั้งใจใส่
เชื้อนั้นลงในอาหาร

ผลิตภัณฑ์นมหมัก (fermented milk) มีหลายชนิด ได้แก่ นมเปรี้ยว เนยแข็ง นมเปรี้ยวซึ่งมีรสเปรี้ยวเกิดจากการหมักนม
พาสเจอร์ไรซ์ด้วยแบคทีเรียที่สร้างกรดแล็กติก จึงสามารถหมักน้ำตาลแล็กโทสให้เป็นกรดแล็กติกได้ และกรดนี้ไปทำให้โปรตีน
ในนมตกตะกอนเป็นลิ่มเละๆ ที่เรียกว่า เคิร์ด (curd) มีรสเปรี้ยว และมีกลิ่นหอมน่ารับประทาน ผลิตภัณฑ์นมหมักที่นิยมในปัจจุ
บัน ได้แก่ โยเกิร์ต นมบัตเตอร์ นมคีเฟอร์ เป็นต้น

โยเกิร์ต (yogurt) เป็นนมเปรี้ยวที่เชื่อว่าดื่มแล้วอายุยืน ทั้งชนิดกึ่งแข็งและ เหลว ใช้เชื้อต้นตอ (starter) คือ Streptococcus
thermophilus และ Lactobacillus bulgaricus เติมลงในนมพาสเจอร์ไรซ์และบ่มไว้ที่อุณหภูมิประมาณ 43 องศาเซล
เซียส 7-8 ชั่วโมง จนวัดความเป็นกรดได้ 0.9 % และทำให้เย็นลงอย่างรวดเร็ว เพื่อหยุดปฏิกิริยาการหมัก

ผลิตภัณฑ์อื่นที่ทำจากนม ได้แก่ เนยเหลว (butter) ซึ่งทำจากไขมันในนม โดยนำนมมาปั่น ไขมันจะรวมตัวเป็นเม็ดแล้วกรอง
เอาส่วนที่เป็นน้ำออก นำไขมันมาเติมเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ Streptococcus lactis ร่วมกับ Leuconostoc citrovorum ซึ่ง
ทำให้เนยเหลวมีกลิ่นและรสชาติเฉพาะตัว ส่วนการทำเนยแข็ง (cheese) ซึ่งมีแตกต่างกันหลายชนิดนั้นจะมีการเติมแบคทีเรีย
ซึ่งเป็นเชื้อต้นตอต่างชนิดกัน เช่น S. lactis หรือ Streptococcus cremoris ทำให้ได้เนยแข็งต่างชนิดกัน แต่ละชนิดมีรส
ชาติและเนื้อของเนยที่แตกต่างกัน กรดที่แบคทีเรียแต่ละชนิดสร้างขึ้น จะช่วยให้นมจับตัวเป็นก้อนเคิร์ด หลังจากนี้มีการเติม
เอนไซม์เรนนินลงไป เพื่อช่วยเร่งปฏิกิริยาการแข็งตัวของนม ทำให้แยกส่วนที่เป็นน้ำหรือหางนมออก ส่วนน้ำนี้เรียกว่าเวย์ (whey)
แล้วจึงบีบเอาส่วนหางนมออกทำให้เนยแข็งขึ้น โดยนำไปไล่ความชื้นและใส่เกลือ เพื่อดึงน้ำออกและช่วยป้องกันการเจริญ
ของจุลินทรีย์ ที่ไม่ต้องการ หลังจากนี้จึงนำไปบ่มด้วยแบคทีเรียหรือรา

การทำขนมปัง อาศัยจุลินทรีย์จำพวกยีสต์ใส่ลงในแป้งที่จะทำขนมปังแล้วนวด ยีสต์จะเกิดกระบวนหมักให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
และแป้งอุ้มก๊าซนี้ไว้ จึงทำให้แป้งอ่อนนุ่มและพองตัว แป้งขนมปังที่ขึ้นฟูนี้เรียกว่า โด (dough) เมื่อนำแป้งไปอบ จึงทำให้ขนม
ขึ้นฟู การคัดเลือกสายพันธุ์ยีสต์ที่ดีจะทำให้ขนมปังมีกลิ่นรสที่ดีและสามารถหมักน้ำตาลได้มากและรวดเร็ว คุณภาพของ
ขนมปังนอกจากขึ้นกับการเลือกชนิดยีสต์แล้ว ยังขึ้นอยู่กับสภาพการบ่มเชื้อและชนิดของวัตถุดิบที่ใช้ด้วย

การผลิตเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่น เบียร์ ไวน์ ไซเดอร์ ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่ใช้ ไซเดอร์ทำจากแอปเปิล ไวน์ทำจากองุ่น เบียร์
ทำจากข้าวบาเลย์ จุลินทรีย์ที่ใช้ คือ ยีสต์ ซึ่งจะเปลี่ยนน้ำตาลในพืชหรือผลไม้ให้เป็นแอลกอฮอล์และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
และเกิดการเปลี่ยนแปลงกับสารอื่นๆ ทำให้ได้รสชาติดี เครื่องดื่มแอลกอฮอล์แต่ละชนิดมีรสชาติต่างกัน เนื่องจากใช้วัตถุดิบ
วิธีการและสายพันธุ์ยีสต์ที่ต่างกัน

การผลิตเบียร์ อาศัยยีสต์ในกระบวนการหมัก วัตถุดิบที่ใช้ คือ ข้าวมอลต์ที่กำลังงอก (barley malt) และแป้ง (starch adjuncts)
ผสมกับน้ำอุ่น หลังจากปล่อยให้เอนไซม์ย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาลแล้วจะได้น้ำเวิร์ท (wort) ออกมา เอามากรองและต้มกับ
ดอกฮอป (hops) เพื่อให้น้ำเวิร์ทเข้มข้น มีรสชาติเพิ่มขึ้นและทำลายจุลินทรีย์ แล้วนำมาหมักด้วยยีสต์ ซึ่งจะหมักน้ำตาลให้
เป็นแอลกอฮอล์และ คาร์บอนไดออกไซด์ และเกิดการเปลี่ยนแปลงกับโปรตีนและสารอื่นๆ ทำให้เกิดรสชาติที่ดี

การผลิตน้ำส้มสายชูหมัก ที่ใช้เป็นเครื่องปรุงรส ผลิตจากวัตถุดิบพวกแป้งและน้ำตาล เช่น น้ำผลไม้ น้ำเชื่อม กากน้ำตาล โดย
มีการเปลี่ยนแปลง 2 ขั้นตอน คือ การหมักน้ำตาลให้เป็นเอทิลแอลกอฮอล์ในสภาพไม่ใช้ออกซิเจน โดยอาศัยยีสต์ Saccharo-
myces cerevisiae var. ellipsoideus และขั้นตอนที่สองเป็นการออกซิไดซ์แอลกอฮอล์ให้เป็นกรดน้ำส้ม หรือกรด
แอซิติก โดยแบคทีเรีย Acetobacter และ Gluconobacter

การผลิตอาหารจากจุลินทรีย์ จุลินทรีย์พวกแบคทีเรีย ยีสต์ สาหร่าย อาจใช้เป็นแหล่งอาหารของมนุษย์และสัตว์ได้ จุลินทรีย์
เหล่านี้เจริญได้รวดเร็ว ทำให้ได้ผลผลิต คือ โปรตีนจำนวนมากและมีคุณภาพดี เพราะประกอบด้วยกรดอะมิโนจำเป็นและวิตามิน
ปริมาณสูง อาหารเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์อาจใช้ของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมของเสียจากโรงงานกระดาษ กากน้ำตาลจาก
อ้อย วัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตร หางน้ำนมหรือเวย์จากอุตสาหกรรมนม เป็นต้น จึงทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำลงและเป็นการ
กำจัดของเสียที่ทำให้เกิด มลภาวะได้อีกด้วย การผลิตอาหารจากจุลินทรีย์เซลล์เดียว จึงเรียกว่า กระบวนการผลิตโปรตีนเซลล์
เดียว (Single Cell Protein, SCP) ตัวอย่างแบคทีเรียที่นำมาใช้ประโยชน์ ได้แก่ Pseudomonas spp. ข้อดีของการใช้
แบคทีเรียเป็นโปรตีนเซลล์เดียว คือ ใช้วัตถุดิบได้หลายชนิดในการเลี้ยง มีช่วงชีวิตสั้นและผลิตโปรตีนปริมาณมาก แต่ก็มีข้อเสีย
คือ เซลล์มีขนาดเล็ก เก็บเกี่ยวผลผลิตยากและมีปริมาณกรดนิวคลีอิกอยู่มากทำให้รบกวนทางเดินอาหาร นิยมใช้ยีสต์ผลิต
เป็นโปรตีนเซลล์เดียวมากกว่า เนื่องจากมีปริมาณกรดนิวคลีอิกต่ำกว่า เก็บเกี่ยวผลผลิตง่ายกว่า เจริญในอาหารตั้งต้น (ซับ
สเตรต) ที่มี pH ต่ำ และยอมรับยีสต์เป็นอาหารมากกว่าและยังมีวิตามินปริมาณสูงด้วย ยีสต์ที่นิยมใช้ ได้แก่ Candida
utilis ส่วนจุลินทรีย์อื่นๆ ที่ใช้เป็นอาหาร ได้แก่ สาหร่ายน้ำจืด และสาหร่ายทะเลหลายชนิด เช่น เทา หรือเทาน้ำ หรือผักไก
ก็คือ สาหร่ายน้ำจืด สไปโรไจรา (Spirogyra) สาหร่ายคลอเรลลา (Chlorella) ให้โปรตีนสูงมากถึง 55% ไขมัน 7.5%
คาร์โบไฮเดรต 17.8% นอกจากนี้ยังมีวิตามิน ซี. (กรดแอสคอร์บิก) วิตามินบี 1 (ไทอามีน) วิตามินบี 2 (ไรโบเฟลวิน)
ไนอะซิน และวิตามินบี 6 (ไพริดอกซิน) ซีนี เดสมัส (Scenedesmus) เป็นสาหร่ายสีเขียวอีกชนิดหนึ่งที่ให้โปรตีน
มากกว่า 50% ของน้ำหนักแห้ง ซึ่งมากกว่าโปรตีนจากถั่วเหลืองเสียอีก (ถั่วเหลืองให้โปรตีน 34.5%) ยังมีไซยาโนแบคทีเรีย
คือ สไปรูไลนา (Spirulina) ที่มีโปรตีนสูงมากถึง 63-68% คาร์โบไฮเดรต 18-20% ไขมัน 2-3% ส่วนสาหร่ายทะเล
หลายชนิดที่ใช้เป็นอาหารได้ ได้แก่ อุลวา (ulva) หรือผักกาดหอมทะเล และเอนเทอโรมอร์ฟา (Enteromorpha) ที่ทาง
ภาคใต้นำมาเป็นอาหาร สาหร่ายสีน้ำตาลพวกซาร์กัสซัม (Sargassum) หรือเรียกว่าสาหร่ายทุ่นหรือสาหร่ายใบและพาไดนา
(Padina) หรือสาหร่ายพัด พวกสาหร่ายสีแดงที่ใช้เป็นอาหารได้ ได้แก่ พอร์ไฟรา (Porphyra) หรือจีฉ่าย เจลิเดียม (Gel-
idium) หรือสาหร่ายวุ้น กราซิลาเรีย (Gracilaria) หรือสาหร่ายผมนาง เป็นต้น


การผลิตผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม

ผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรมหลายชนิดที่เกิดจากการกระทำของแบคทีเรีย ได้แก่
การผลิตกรดแล็กติก ที่ใช้รักษาโรคขาด
แคลเซียม ในรูปแคลเซียมแล็กเตต (calcium lactate) รักษาโรคโลหิตจาง โดยใช้ในรูปไอเอินแล็กเตต, (iron lactate)
และใช้เป็นตัวทำละลายแลคเกอร์ในรูปเอ็นบิวทิลแล็กเตต (N-butyl lactate)

การผลิตกรดแล็กติก ใช้วัตถุดิบพวกแป้งข้าวโพด มันฝรั่ง กากน้ำตาล หางนมที่ได้จากอุตสาหกรรมนม ถ้าวัตถุดิบเป็นแป้งจะถูก
ย่อยเป็นกลูโคสก่อนด้วยกรดหรือเอนไซม์ ชนิดของแบคทีเรีย ที่ใช้ขึ้นอยู่กับชนิดของวัตถุดิบ เช่น ใช้เชื้อ L. bulgaricus เมื่อ
ใช้หางนมเป็นวัตถุดิบ บางครั้งอาจต้องเติมสารประกอบไนโตรเจนหรือสารอื่นเพื่อช่วยให้เชื้อเจริญได้ดี ระหว่างการหมักจะเติม
แคลเซียมไฮดรอกไซด์ เพื่อทำปฏิกิริยากับกรดแล็กติกให้เป็นกลาง ได้แคลเซียมแล็กเตต หลังจากนั้นจึงแยกแคลเซียมแล็ก
เตตออกมาและทำให้เข้มข้นขึ้น

การผลิตกรดซิตริกหรือกรดส้ม ที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เป็นเครื่องปรุงรสอาหาร ในอุตสาหกรรมน้ำหมึก สีย้อม และใช้ในวง
การแพทย์ มีเชื้อราหลายชนิดที่เปลี่ยนน้ำตาลเป็นกรดส้มได้ แต่ที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง คือ Aspergillus niger

การผลิตกรดอะมิโน จุลินทรีย์หลายชนิดสามารถสังเคราะห์กรดอะมิโนจากสารประกอบไนโตรเจน ซึ่งอาจสังเคราะห์ได้
มากเกินความต้องการ จึงขับออกมาในอาหารเลี้ยงเชื้อ จุลินทรีย์บางชนิดสังเคราะห์กรดอะมิโนได้มากจนผลิตเป็นการค้าได้
เช่น แอล-ไลซีน (L-lysine) ผลิตโดยเชื้อ Enterobacter aerogenes กรดแอล-กลูตามิก (L-glutamic acid) โดย
แบคทีเรีย Micrococus, Arthrobacter เป็นต้น

การผลิตเอนไซม์ มีราและแบคทีเรียหลายชนิดที่สังเคราะห์เอนไซม์และขับออกจากเซลล์มาอยู่ในอาหาร ในทางอุตสาหกรรม
สามารถเลี้ยงเชื้อราและแบคทีเรียให้สร้างเอนไซม์และทำให้เอนไซม์บริสุทธิ์ได้ เช่น

เอนไซม์อะไมเลส (Amylase) ได้จาก Rhizopus delemar, Mucor rouxii, Aspergillus oryzae ใช้ย่อยแป้งให้
เป็นเดกซ์ทรินและน้ำตาล จึงใช้เอนไซม์นี้ในการเปลี่ยนแป้งให้เป็นน้ำตาล เพื่อการผลิตแอลกอฮอล์ ใช้ในการทำให้ไวน์
เบียร์ และน้ำผลไม้ใสขึ้น

เอนไซม์อินเวอร์เทส (Invertase) ได้จากยีสต์ S. cerevisiae ใช้ย่อยซูโครสให้เป็นกลูโคสกับฟรักโทส จึงใช้ในอุตสาห
กรรมทำลูกกวาด ไอศกรีม

โปรตีเอส (Protease) เป็นคำเรียกเอนไซม์ที่ย่อยโปรตีน ซึ่งมีหลายชนิด ได้จาก Bacillus subtilis และ A. oryzae
ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องหนัง การทำกาว การทำให้เนื้อนุ่ม ทำให้เครื่องดื่มใส

เอนไซม์เพกทิเนส (Pectinase) ได้จาก Aspergillus niger, Penicillium spp., Rhizopus spp. ใช้ในการทำ
ให้น้ำผลไม้ใส และย่อยเพกทินในการแช่ต้นแฟลกซ์ เพื่อทำผ้าลินิน



การผลิตเชื้อเพลิง
การเกิดเชื้อเพลิงธรรมชาติในรูปถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติต้องใช้เวลานับล้านๆ ปี โดยเกิดจากการทับถมของซากพืชซาก
สัตว์ที่ตายรวมกันเป็นตะกอน โดยอาศัยอุณหภูมิสูงและแรงกดดัน รวมทั้งการกระทำของจุลินทรีย์ เชื้อเพลิงซึ่งเป็นทรัพยากร
ธรรมชาติชนิดสิ้นเปลืองกำลังลดปริมาณลงอย่างรวดเร็ว ในขณะที่โลกมีความต้องการพลังงานจากเชื้อเพลิงมากขึ้น จึงอาจเกิด
ปัญหาการขาดแคลนพลังงาน ทั่วโลกจึงหันมาสนใจหาแหล่งพลังงานทดแทน ซึ่งมีหลายแบบ แบบหนึ่ง คือ การผลิตเชื้อ
เพลิงโดยอาศัยจุลินทรีย์ เชื้อเพลิงชนิดนี้ ได้แก่ แอลกอฮอล์ และมีเทน

จุลินทรีย์จำพวกยีสต์ สามารถเกิดกระบวนการหมักสารคาร์โบโฮเดรตให้ได้แอลกอฮอล์ เพื่อใช้ทำเครื่องดื่ม ดังได้
กล่าวแล้ว นอกจากนี้แอลกอฮอล์ยังใช้เป็นตัวทำละลายที่ดีด้วยและยังสามารถ ใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ โดยการผสมแอลกอ
ฮอล์ประมาณ 10-15% กับน้ำมันที่เรียกว่า แก๊สโซฮอล์ (Gasohol)


พลังงานอีกชนิดหนึ่งได้จากก๊าซชีวภาพ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นก๊าซมีเทน (CH4) ที่ได้จากการหมักมูลสัตว์และของเสียจากสัตว์
โดยรวบรวมของเสียเหล่านี้ใส่ในถังหมักที่มีเชื้อ จุลินทรีย์อยู่ ทิ้งไว้ให้เกิดปฏิกิริยาในที่ไม่มีอากาศ จุลินทรีย์จะใช้สารอินทรีย์
ในของเสียไปและเกิดก๊าซมีเทนขึ้น ก๊าซนี้นำ ไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในการปรุงอาหารและกระบวนการอื่นๆ ที่ต้องการใช้ความร้อน
ของเหลือจากถังหมัก เมื่อสะสมมากๆ ยังนำไปใช้เป็นปุ๋ยได้ ปัจจุบันครอบครัวตามชนบทมีการทำเชื้อเพลิงแบบนี้ใช้เอง



การบำบัดน้ำเสีย
การบำบัดน้ำเสียประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ทั้งวิธีทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ การบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีทางกายภาพเป็นการ
บำบัดขั้นต้น เพื่อกำจัดสารแขวนลอยขนาดใหญ่ออกด้วยการตกตะกอน แยกด้วยตะแกรงแยกขยะ การกรอง การหมุนเหวี่ยง
เป็นต้น ส่วนการบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีทางเคมี เช่น การออกซิเดชัน รีดักชัน โดยการเติมสารเคมีไปทำปฏิกิริยาลดหรือเติมออกซิเจน
ให้กับสารที่ต้องการกำจัด เพื่อให้เปลี่ยนเป็นสารประกอบรูปอื่นที่ไม่เป็นพิษ แล้วจึงตกตะกอนแยกออกไป วิธีนี้มักใช้บำบัดน้ำ
เสียจากโรงงานอุตสาหกรรม ส่วนน้ำทิ้งจากบ้านเรือน และโรงงานอุตสาหกรรมที่มีสารอินทรีย์มาก เช่นโรงงานกระดาษ โรงงาน
น้ำตาล โรงงานเบียร์ ต้องใช้กระบวนการบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพ โดยอาศัยจุลินทรีย์ที่เติมให้หรือ จุลินทรีย์ในธรรมชาติมาย่อย
สลายสารอินทรีย์ การบำบัดน้ำเสียแบบนี้มีหลายระบบ เช่น ระบบแอคติเวเตดสลัดจ์ (Activated sludge process) เป็น
ระบบที่ให้อากาศแก่น้ำเสีย โดยการกวนน้ำแรงๆ หรือทำให้น้ำเคลื่อนไหวเพื่อรับอากาศและให้จุลินทรีย์ทำการย่อยสาร
อินทรีย์ ซึ่งเมื่อถูกย่อยแล้วมีลักษณะเป็นคอลลอยด์ เรียกว่า ฟลอค (floc) และมีจุลินทรีย์อยู่มาก ฟลอคนี้จะทิ้งให้ตกตะกอน
เพื่อนำไปบำบัดต่อไป โดยการย่อยในสภาพไร้อากาศ (anaerobic sludge digestion) หรืออาจนำไปเติมให้น้ำ
เสียที่ไหลเข้ามาใหม่ๆ พร้อมทั้งกวนแรงๆ จะทำให้เกิดฟลอคได้เร็วขึ้น ฟลอคที่ตกตะกอนแล้ว เรียกว่า แอดติเวเตดสลัดจ์
(activated sludge) ซึ่งมีจุลินทรีย์จำนวนมาก เช่น ยีสต์ รา โพรโทซัว และแบคทีเรีย

วิธีนี้ใช้กันมาก หลังจากทิ้งให้จุลินทรีย์ย่อยสารอินทรีย์แล้วจึงส่งน้ำไปยังถังตกตะกอน น้ำที่ปล่อยทิ้งจะมีค่า BOD ลด
ลงมาก

อีกระบบหนึ่ง เรียกว่า ทริกกลิงฟิลเตอร์ (trickling filter) อาศัยหลักการกรองโดยปล่อยให้น้ำเสียไหลลงมาตามชั้นหิน
กรวด หรือวัสดุสังเคราะห์ชิ้นเล็กๆ ที่เรียงซ้อนกันเป็นแผ่น โดย อาจพ่นน้ำเสียให้เป็นฝอยขึ้นไปในอากาศก่อนเพื่อรับออกซิเจน
ที่ชั้นหินจะมีจุลินทรีย์เคลือบติดอยู่เป็นฟิล์มบางๆ ซึ่งประกอบด้วยแบคทีเรีย รา โพรโทซัวและสาหร่าย เมื่อน้ำเสียไหลผ่าน
ชั้นหินที่มีจุลินทรีย์ สารอินทรีย์จากน้ำเสียจึงเป็นอาหารให้จุลินทรีย์ทำการย่อยสลายจนได้สารที่มีโมเลกุลเล็กลงและสามารถ
ปล่อยทิ้งได้ โดยไม่เกิดการเน่าเสียโดยจุลินทรีย์พวกอื่นอีก

ระบบที่พึ่งพาธรรมชาติมากที่สุด คือ ระบบบ่อออกซิเดชัน (oxidation pond) ซึ่งต้องใช้พื้นที่ผิวมากและใช้จุลินทรีย์ธรรม
ชาติทำการย่อยสารอินทรีย์เอง โดยใช้ออกซิเจนจากธรรมชาติ หรือ ได้จากสาหร่ายที่ขึ้นอยู่ทำการสังเคราะห์แสงให้ออกซิเจน
ที่จำเป็นสำหรับแบคทีเรียนำไปใช้ ส่วนสาหร่ายที่ขึ้นอยู่ถ้าเจริญมากๆ ยังนำไปทำปุ๋ย หรือนำไปเลี้ยงสัตว์ได้



จุลินทรีย์ช่วยย่อยสลายสารอินทรีย์และเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน
จุลินทรีย์ในดินพวกแบคทีเรียและเห็ดรา
ชนิดต่างๆ ช่วยย่อยสลายสารอินทรีย์จากซากสิ่งมีชีวิตให้กลายเป็นสารอนินทรีย์ โดยจุลินทรีย์ได้สารอาหารจากซากเหล่านั้น
และนำไปใช้ประโยชน์ ขณะเดียวกันสารอินทรีย์ที่สลายเป็นสารอนินทรีย์ ก็เป็นสารอาหารของพืชที่ดูดซึมไปสร้างเนื้อเยื่อ
พืชได้ ดังนั้น ถ้าขาดจุลินทรีย์ในดิน จะทำให้ดินขาดสารอาหาร และพืชไม่สามารถเจริญเติบโตได้ จุลินทรีย์ในดิน จึงเกี่ยว
ข้องกับวัฏจักรของสารต่างๆ ในธรรมชาติ เช่น วัฏจักรไนโตรเจน วัฏจักรคาร์บอน วัฏจักรซัลเฟอร์ เป็นต้น

ในอากาศมีก๊าซไนโตรเจนอิสระอยู่ถึง 78% แต่พืชไม่สามารถนำไปสร้างโปรตีนในเซลล์ได้ พืชได้รับไนโตรเจนในรูปเกลือ
ไนเตรตที่รากดูดขึ้นมาจากดิน แต่จุลินทรีย์บางชนิดมีความสามารถตรึงก๊าซไนโตรเจนจากอากาศแล้วเปลี่ยนให้เป็นสารประกอบ
ไนเตรต จุลินทรีย์เหล่านี้บางชนิดอยู่ร่วมกับรากพืช เช่น แบคทีเรียชื่อ ไรโซเบียม (Rhizobium) อยู่ร่วมกับรากพืชตระกูล
ถั่วแบบพึ่งพาอาศัยแบคทีเรียบางชนิดตรึงก๊าซไนโตรเจนแบบอิสระได้ เช่น Rhodospirillum rubrum, Rhodo-
pseudomonas vanniellii หรือไซยาโนแบคทีเรียที่อยู่ในน้ำ เช่น Anabaena spp., Nostoc spp.,Oscillatoria
spp. เมื่อตรึงก๊าซไนโตรเจนแล้วจะเปลี่ยนให้เป็นแอมโมเนีย และพืชนำไปใช้เปลี่ยนเป็นโปรตีนในพืช เมื่อพืชถูกสัตว์กินจะ
เปลี่ยนเป็นโปรตีนในสัตว์ เมื่อพืชและสัตว์ตายลงรวมทั้งสิ่งขับถ่ายจากสัตว์จะทับถมลงดิน โปรตีนและกรดนิวคลีอิกจะถูก
ย่อยโดยแบคทีเรียบางชนิดในดินได้กรดอะมิโน ซึ่งถูกย่อยต่อได้แอมโมเนีย แอมโมเนียอาจระเหยออกจากดินหรือ
ละลายน้ำกลายเป็นเกลือแอมโมเนียม (NH4+) หรือถูกพืชและจุลินทรีย์นำไปใช้และอาจเปลี่ยนต่อไปเป็นไนไตรต์ (NO2-)
และไนเตรต (NO3-) ไนเตรตที่ผลิตโดยจุลินทรีย์จึงเป็นปุ๋ยให้แก่พืชได้



จุลินทรีย์เป็นสาเหตุของโรค

มีจุลินทรีย์หลายร้อยชนิดที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคแก่คน สัตว์ พืชและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ จุลินทรีย์ที่จะทำให้เกิดโรคแก่สิ่งมีชีวิต
ที่มันเข้าไปอาศัยอยู่หรือที่เรียกว่าโฮสต์ได้นั้นจะต้องมีกลไกที่จะเอาชนะระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายโฮสต์ แต่ถ้าโฮสต์มีความ
ต้านทานสูงกว่า จะสามารถทำลายจุลินทรีย์ เหล่านั้นได้และไม่เกิดโรคขึ้น

ปัจจัยที่ทำให้จุลินทรีย์สามารถก่อโรคได้ ขึ้นอยู่กับสารพิษ (toxin) ที่มันสร้างขึ้น ซึ่งอาจทำลายเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายโฮสต์
หรือทำลายเนื้อเยื่อ เช่น เนื้อเยื่อประสาท นอกจากนี้จุลินทรีย์ยังมีสารบางอย่างและเอนไซม์ที่ย่อยสลายส่วนประกอบของ
เนื้อเยื่อโฮสต์ ทำให้มันบุกรุกเข้าเนื้อเยื่อโฮสต์ และทำอันตรายโฮสต์ได้

ตัวอย่างโรคของคนที่เกิดจากแบคทีเรีย เช่น ปอดบวม Diplococcus pneumoniae, วัณโรค Mycobacte-
rium tuberculosis, โรคเรื้อน Mycobacterium leprae, บาดทะยัก Clostridium tetani, อหิวาตกโรค
Vibrio cholerae, ไทฟอยด์ Salmonella typhi, บิด Shigella dysenteriae, ซิฟิลิส Treponema
pallidum, คอตีบ Corynebacterium diphtheriae, ไอกรน Bordetella pertussis เป็นต้น

โรคที่เกิดจากไวรัส ได้แก่ โรคกลัวน้ำหรือโรคพิษสุนัขบ้า Rabies virus, ไข้เลือดออก Dengue virus, ไขสันหลังอักเสบ
(โปลิโอ) Poliovirus, หัด Measles virus, หัดเยอรมัน Rubella virus, คางทูม Mump virus, ไข้หวัด Rhinovirus,
ไข้หวัดใหญ่ Influenza virus, เริม Herpers simplex virus, อีสุกอีใสและงูสวัด Varicella - Zoster virus,
ฝีดาษ Variola virus, ตับอักเสบชนิดเอ Hepatitis A virus, ตับอักเสบชนิดบี Hepatitis B virus, เอดส์ Human
immunodeficiency virus (HIV) เป็นต้น

โรคที่เกิดจากเชื้อรา มีทั้งชนิดที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังที่เยื่อบุผิวชั้นนอกและเยื่อเมือกของเซลล์ชั้นนอก ๆ การติดเชื้อแบบนี้
เรียกว่า โรคผิวหนังจากเชื้อรา (Dermatomycoses หรือ Cutaneous mycoses) เช่น โรคกลาก เกลื้อน ตาม
ผิวหนัง เล็บ และผม เกิดจากเชื้อ Microsporum, Trichophyton และ Epidermophyton ส่วนพวกที่ทำให้
เกิดโรคในเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังลงไป เรียกว่า Deep mycoses หรือ Subcutaneous mycoses เกิดจากเชื้อ Blastomyces,
Histoplasma, Sporotrichum เป็นต้น



ผลิตสารปฏิชีวนะและวัคซีน
สารปฏิชีวนะ หมายถึง สารที่ใช้รักษาโรคต่างๆ โดยสร้างได้จากจุลินทรีย์ชนิดหนึ่ง เพื่อไปยับยั้งหรือทำลายการเจริญของจุลิน
ทรีย์อีกชนิดหนึ่ง โดยไม่ทำอันตรายต่อผู้ใช้

ตัวอย่างสารปฏิชีวนะที่สร้างจากแบคทีเรีย เช่น สเตรปโตไมซิน คลอเตตราไซคลิน หรือ ออริโอไมซิน ออกซีเตตราไซคลิน
หรือเทอราไมซิน คลอแรมเฟนิคอล อิริโธรไมซิน แอมโฟเทอริซิน บาซิตราซิน เป็นต้น

การฉีดวัคซีนเป็นวิธีป้องกันโรควิธีหนึ่ง โดยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นเอง การควบคุมโรคติดเชื้อจึงจำเป็นต้องผลิตวัคซีน
จำนวนมากซึ่งผลิตในลักษณะเป็นการค้า วัคซีนที่ฉีดเข้าไปก็คือ แอนติเจนที่เราจงใจใส่เข้าไปเพื่อให้ร่างกายสร้างแอนติบอดีที่
จำเพาะกับแอนติเจนนั้นๆ ภูมิคุ้มกันจะอยู่ในร่างกายได้นานเท่าใดขึ้นอยู่กับชนิดของแอนติเจนที่เข้าไปกระตุ้น เช่น วัคซีนที่
เตรียมจากเชื้อตายแล้ว จะมีภูมิคุ้มกันได้จำกัดเพียง 6 เดือนถึง 2 ปี ได้แก่ วัคซีนไทฟอยด์ อหิวาตกโรค ไอกรน โรคพิษ
สุนัขบ้า ไข้หวัดใหญ่ ส่วนวัคซีนที่เตรียมจากเชื้อที่มีชีวิตหรือเชื้อที่อ่อนกำลังลงจะให้ผลคุ้มกันในระยะนาน ได้้แก่ วัคซีนโปลิโอ
ชนิดกิน หัด หัดเยอรมัน คางทูม นอกจากนี้ยังใช้ทอกซินที่หมดพิษแล้ว ที่เรียกว่า ทอกซอยด์ มาทำเป็นวัคซีนได้ เพราะยัง
สามารถกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันได้ เช่น ทอกซอยด์ของโรคคอตีบ และบาดทะยัก แอนติบอดีจะถูกสร้างขึ้นโดยพลาสมาเซลล์
(plasma cell) ที่เปลี่ยนแปลงมาจากบีลิมโฟไซต์ (B lymphocyte) เมื่อแอนติบอดีจับกับแอนติเจนแล้วจึงกระตุ้น
ให้เม็ดเลือดขาวชนิดฟาโกไซต์มาจับกินด้วยวิธี ฟาโกไซโทซิส (Phagocytosis) การที่แอนติบอดีจับกับแอนติเจนที่จำเพาะ
เจาะจงนั้น จึงทำให้แอนติบอดี ป้องกันโรคได้เพียงชนิดเดียว เมื่อเชื้อโรคถูกกำจัดออกไปแล้ว แอนติบอดีจะลดน้อยลง พลาส
มาเซลล์จะเปลี่ยนเป็นเมมมอรีเซลล์ (memory cell) ซึ่งมีอายุยืนกว่า และจะเปลี่ยนกลับไปเป็นพลาสมาเซลล์ เมื่อถูกกระตุ้น
ด้วยแอนติเจน หรือเชื้อชนิดเดิมอีกเป็นครั้งที่สอง ทำให้สร้างแอนติบอดีได้ปริมาณมากกว่า และรวดเร็วกว่า จึงทำลายเชื้อโรค
นั้นได้ทันท่วงที



การสร้างจุลินทรีย์ชนิดใหม่ โดยเทคนิคพันธุวิศวกรรม
ความต้องการพัฒนาสายพันธุ์ใหม่ๆ ของ
จุลินทรีย์เพื่อใช้ประโยชน์ทางการเกษตร อุตสาหกรรมและทางการแพทย์ ทำให้เกิดการค้นหาจุลินทรีย์ชนิดใหม่เรื่อยๆ เพื่อ
เพิ่มประสิทธิภาพให้แก่กระบวนการเหล่านั้น การพัฒนาให้ได้จุลินทรีย์สายพันธุ์ใหม่ๆ ที่มีความสามารถสูง สามารถให้ปฏิกิริยา
ได้เร็ว ให้ผลผลิตจำนวนมาก อาจทำได้โดยการปรับปรุงอาหารเลี้ยงเชื้อ สภาพแวดล้อมในการเลี้ยงเชื้อ การทำให้เกิดมิวเตชัน
เพื่อให้ได้สายพันธุ์ใหม่ ปัจจุบันมีเทคนิคการตัดต่อยีนในจุลินทรีย์ ที่เรียกว่า เทคนิครีคอมบิแนนท์ดีเอ็นเอ (recombinant
DNA technology) หรือพันธุวิศวกรรม (genetic engineering) ทำให้สามารถตัดต่อยีนที่ต้องการจากสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง
และนำไปใส่ในสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งมักเป็นจุลินทรีย์ ทำให้เพิ่มยีนนั้นขึ้นมากมายและเพิ่มผลผลิตได้ตามต้องการ

เทคนิคพันธุวิศวกรรม เป็นการเปลี่ยนแปลงสารพันธุกรรมโดยการตัดต่อยีนหรือ DNA โดยอาศัยเอนไซม์ตัดจำเพาะ ซึ่งทำหน้าที่
ตัด DNA ตรงบริเวณที่มีลำดับเบสเฉพาะเจาะจง เอนไซม์ตัดจำเพาะแต่ละชนิดจะทำหน้าที่ตัด DNA ตรงจุดตัดจำเพาะต่างๆ
กัน ดังนั้นจึงอาจนำยีนของคน สัตว์ พืช จุลินทรีย์ มาตัดต่อกับ DNA ของสิ่งมีชีวิตบางชนิด เช่น แบคทีริโอเฟจ (ไวรัสของ
แบคทีเรีย) พลาสมิดของแบคทีเรีย (พลาสมิด คือ DNA วงกลมขนาดเล็กที่อยู่นอกโครโมโซมปกติของแบคทีเรีย) ซึ่งทำ
หน้าที่เป็นพาหะ (vector) ให้ได้ DNA ลูกผสมหรือ รีคอมบิแนนท์ดีเอ็นเอ แล้วจึงนำ DNA ลูกผสมใส่เข้าไปในสิ่งมีชีวิต
อีกชนิดหนึ่ง (ซึ่งมักเป็นแบคทีเรีย) เพื่อให้สิ่งมีชีวิตนั้นสร้างสารผลิตภัณฑ์หรือโปรตีนที่ต้องการในปริมาณมาก

จากเทคนิคพันธุวิศวกรรมช่วยให้เกิดผลดีต่ออุตสาหกรรมการเกษตร อุตสาหกรรมเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อุตสาหกรรม
เกี่ยวกับยา เพราะเทคนิคนี้ช่วยให้คัดเลือกได้ลักษณะที่ต้องการและสร้างได้ปริมาณมาก

ประโยชน์ของพันธุวิศวกรรม จึงนำมาใช้ในการปรับปรุงสุขภาพ ความเป็นอยู่และสิ่งแวดล้อม ได้แก่

การผลิตฮอร์โมนที่สำคัญบางชนิด และมีความต้องการสูง เช่น อินซูลินที่ใช้รักษาโรคเบาหวาน โกรทฮอร์โมน ที่ช่วยให้ร่างกาย
เจริญเติบโต อินเตอร์เฟียรอน (Interferon) ที่ช่วยให้ร่างกายมีความต้านทานต่อไวรัส ปัจจุบันการผลิตฮอร์โมนดังกล่าว
ทำในแบคทีเรียและยีสต์

การผลิตวัคซีน เช่น วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบชนิด บี (Hepatitis B vaccine) วัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อยใน
สัตว์ (foot and mouth disease vaccine) วัคซีนโรคกลัวน้ำ (Rabies vaccine) เป็นต้น การผลิตวัคซีนโดย
วิธีนี้ นอกจากจะได้ปริมาณมากมายแล้ว ยังได้วัคซีนที่ดีกว่า โดยการกำจัดส่วนของแอนติเจนที่เป็นพิษทิ้งไป ทำให้ได้
วัคซีนที่ดีและปลอดภัยมากขึ้น

การปรับปรุงสายพันธุ์จุลินทรีย์ เพื่อให้ได้สายพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพในการสร้างผลผลิตสูงเพื่อนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น
การผลิตสารปฏิชีวนะ วิตามิน กรดอะมิโน ให้ได้ปริมาณมาก หรือปรับปรุงสายพันธุ์จุลินทรีย์ที่ใช้กำจัดแมลงศัตรูพืช ศัตรู
สัตว์ การสร้างจุลินทรีย์ที่ย่อยสลายคราบน้ำมัน และจุลินทรีย์ที่ตรึงไนโตรเจนให้กับธัญพืช เพื่อเป็นการปรับปรุงดินด้วย






http://www2.swu.ac.th/royal/book2/b2c11t2.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 01/10/2011 11:19 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

726. ความหลากหลายทางชีวภาพของจุลินทรีย์



ในบรรดาสิ่งมีชีวิตทั้งหมดนั้น อาจกล่าวได้ว่า จุลินทรีย์มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมาก คือ มีความหลากหลายของสปีชีส์
หรือความหลากหลายของชนิดพันธุ์ จำนวน จุลินทรีย์ในโลกนี้มีอยู่ประมาณ 5 แสนชนิด แบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ 5 กลุ่ม คือ
แบคทีเรีย สาหร่าย ไวรัส โพรโทซัว และราชนิดต่างๆ ซึ่งสามารถจำแนกเป็นอาณาจักรที่ต่างกันได้ถึง 3 อาณาจักร
เนื่องจากมีวิธีการได้อาหารที่แตกต่างกัน และมีลักษณะโครงสร้างของเซลล์ที่ต่างกัน กล่าวคือ กลุ่มที่จัดอยู่ในอาณาจักรโมเนรา
(Monera) ประกอบด้วยจุลินทรีย์พวกโพรคาริโอต ซึ่งมีเซลล์แบบโพรคาริโอติกเซลล์ (Prokaryotic cell) คือ ไม่มี
เยื่อหุ้มนิวเคลียส ส่วนใหญ่ได้อาหารโดยการดูดซึมอาหารที่ย่อยแล้วเข้ามาในเซลล์ มีบางชนิดที่สังเคราะห์แสงได้ ส่วนใหญ่
สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ โดยการแบ่งตัวจากหนึ่งเป็นสอง ในกลุ่มนี้ ได้แก่ แบคทีเรียและสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (blue
green algae) ที่ปัจจุบันเรียกชื่อใหม่ว่า ไซยาโนแบคทีเรีย (Cyanobacteria) กลุ่มจุลินทรีย์ที่จัดอยู่ในอาณาจักรโพร
ทิสตา (Protista) ประกอบด้วย สาหร่าย โพรโทซัวและราเมือก กลุ่มนี้มีลักษณะเซลล์แบบยูคาริโอติกเซลล์ (Eukary-
otic cell) ซึ่งมีเยื่อหุ้มนิวเคลียส และมีวิธีได้อาหารแตกต่างกัน ได้แก่ สาหร่าย ได้อาหารโดยการสังเคราะห์แสงเพราะมี
คลอโรพลาสต์ จึงเป็นผู้ผลิตของระบบนิเวศ โพรโทซัวมีการดำรงชีวิตคล้ายสัตว์ ได้อาหารโดยการกินสิ่งมีชีวิตอื่น มีบาง
ชนิดที่มีคลอโรพลาสต์ด้วย จึงช่วยในการสังเคราะห์แสงได้ บางชนิดเป็นปรสิตอยู่ในร่างกายของสิ่งมีชีวิตอื่น ส่วนราเมือก
(Slime mold) ได้อาหารโดยส่งเอนไซม์ออกมาย่อยอาหารนอกเซลล์ แล้วดูดสารอาหารเข้าเซลล์ จึงดำรงชีวิตเป็นแซโพร
ไฟต์ อาณาจักรฟังไจ (Fungi) ได้แก่ ยีสต์ที่มีลักษณะเซลล์เดียว เห็ดและราที่มีหลายเซลล์เรียงเป็นเส้นใยจำนวนมาก
เรียกว่า ไมซีเลียม เห็ด รา และยีสต์ เป็นพวกยูคาริโอตที่ไม่มีคลอโรฟิลล์ สร้างอาหารเองไม่ได้ ส่วนใหญ่ดำรงชีวิตเป็นแซ
โพรไฟต์ย่อยสลายสารอินทรีย์ที่เน่าเปื่อยให้เป็นสารโมเลกุลเล็ก ส่วนน้อยเป็นปรสิตทำให้เกิดโรคกับพืช สัตว์ และคน


นอกจากจุลินทรีย์ใน 3 อาณาจักรนี้แล้ว ยังมีไวรัสซึ่งไม่จัดเป็นเซลล์ เพราะมีโครงสร้างง่ายๆ มีเพียงสารพันธุกรรมชนิด
DNA หรือ RNA อย่างใดอย่างหนึ่ง และมีเปลือกโปรตีนที่เรียกว่า แคปซิด (Capsid) ล้อมรอบสารพันธุกรรมไว้
ก็จัดเป็นอนุภาคไวรัสที่สมบูรณ์แล้ว ไวรัสบางชนิดอาจมีเอนเวลโลป (envelope) ล้อมรอบเปลือกโปรตีนอีกชั้นหนึ่ง
เอนเวลโลปประกอบด้วยโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต ไวรัสไม่มีออร์แกเนลล์ต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต จึงต้องอาศัย
กลไกภายในเซลล์โฮสต์ (host) ที่มันเข้าไปอาศัยอยู่ จึงจัดไวรัสเป็นปรสิตที่แท้จริงภายในเซลล์ (obligate intracel-
lular parasite) ของคน สัตว์ พืช และจุลินทรีย์อื่นๆ


จุลินทรีย์มีความหลากหลายทางพันธุกรรม เพราะจุลินทรีย์สปีชีส์เดียวกันอาจไม่ได้มีลักษณะที่เหมือนกันทุกประการ ทำให้
แบ่งย่อยออกเป็นสายพันธุ์ (strain) ต่างๆ ได้อีก ความแตกต่างทางพันธุกรรมนี้ เป็นผลสืบเนื่องมาจากกระบวนการวิวัฒนา
การอันยาวนานนับพันล้านปี เนื่องจากจุลินทรีย์ ได้กำเนิดขึ้นมาบนโลกเมื่อประมาณ 3,500 ล้านปีมาแล้ว ความแตกต่าง
ทางพันธุกรรม ทำให้จุลินทรีย์สามารถปรับตัวให้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงและมีความรุนแรงได้ ดังนั้น ความหลาก
หลายทางพันธุกรรม จึงเป็นผลให้จุลินทรีย์ปรับตัวให้เหมาะสมกับถิ่นที่อยู่อาศัยที่แตกต่างกันได้ อันเป็นความหลากหลาย
ทางระบบนิเวศ (ecological diversity) จึงทำให้สามารถพบจุลินทรีย์ในสิ่งแวดล้อมทุกหนทุกแห่ง ตั้งแต่บริเวณที่
เย็นจัดแม้ในหิมะและน้ำแข็งขั้วโลก จนถึงบริเวณที่มีอุณหภูมิสูง เช่น ในบ่อน้ำพุร้อน แม้แต่ในทะเลลึกที่มีความกดดัน
ของน้ำมากๆ ก็ยังมีจุลินทรีย์อาศัยอยู่ได้ พบได้ทั้งในน้ำเค็ม น้ำจืด สระน้ำ ลำธาร น้ำไหล ในดินแฉะ บนก้อนหิน ดินทราย
ตามเปลือกไม้ และพบได้ทั้งในสภาพซึ่งไม่มีออกซิเจนที่สิ่งมีชีวิตอื่นไม่สามารถอาศัยอยู่ได้


นอกจากนี้จุลินทรีย์ยังสามารถดำรงชีวิตได้ทุกรูปแบบทั้งแบบที่สังเคราะห์อาหารได้เอง โดยใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์
เพื่อรวมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และน้ำให้เป็นคาร์โบไฮเดรต และได้ก๊าซออกซิเจนเป็นผลพลอยได้ กระบวนการนี้เรียกว่า
การสังเคราะห์แสง ซึ่งพบกระบวนการนี้ในสาหร่ายทุกชนิด แบคทีเรียบางชนิดและไซยาโนแบคทีเรีย แบคทีเรียบางชนิดยัง
ได้พลังงานจากกระบวนการออกซิเดชันสารเคมีอีกด้วย บางพวกสังเคราะห์อาหารเองไม่ได้ ต้องอาศัยสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นอาหาร
จุลินทรีย์บางชนิด เช่น โพรโทซัว มีการเคลื่อนที่เพื่อนำสิ่งมีชีวิตหรืออาหารให้เข้ามาในเซลล์ แล้วใช้เอนไซม์ย่อยเป็นสาร
อาหารขนาดเล็กที่เซลล์นำไปใช้ได้ จุลินทรีย์บางชนิดอาจส่งเอนไซม์ออกจากตัวมาย่อยอาหารนอกเซลล์จนเป็นสารอา
หารขนาดเล็กแล้วจึงดูดซึมสารอาหารเข้าเซลล์ก็ได้ เช่น เห็ด รา แบคทีเรีย จุลินทรีย์เหล่านี้จึงมักอาศัยอยู่ตามซากพืชซาก
สัตว์ที่ตายแล้ว และเป็นสาเหตุให้ซากเน่าเปื่อย เพื่อสลายเป็นสาร อนินทรีย์ในดินทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ขึ้น จุลิน
ทรีย์บางชนิดอาจปรับตัวให้เป็นปรสิต (parasite) เข้าไปอาศัยอยู่ในร่างกายหรือเซลล์ของสิ่งมีชีวิตอื่น เช่น พืช สัตว์
และมนุษย์ และอาศัยอาหารจากพืช สัตว์เหล่านั้น ซึ่งทำหน้าที่เป็นเจ้าบ้านหรือโฮสต์ ทำให้โฮสต์เกิดโรคขึ้น


ในการเปลี่ยนอาหารโมเลกุลใหญ่ให้เป็นพลังงานที่จุลินทรีย์ใช้ในการดำรงชีวิตนั้นเกิดขึ้นโดยกระบวนการหายใจ ซึ่งมีอยู่ 3
แบบ คือ แบบที่ใช้ออกซิเจนอิสระ แบบที่ไม่ใช้ออกซิเจน และแบบกระบวนการหมัก มีจุลินทรีย์จำนวนมากที่ใช้กระบวน
การหายใจแบบใช้ออกซิเจนจากอากาศในการเปลี่ยนอาหารให้เป็นพลังงาน แต่จุลินทรีย์บางชนิดในกระบวนการ
หายใจไม่ต้องอาศัยก๊าซออกซิเจน พวกนี้เมื่อสลายอาหารแล้วมักได้ก๊าซที่มีกลิ่นเหม็น จุลินทรีย์บางชนิด เช่น ยีสต์
อาศัยกระบวนการหมักในการเปลี่ยน อาหารให้เป็นพลังงาน และยังได้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นสารอินทรีย์ที่เรานำไปใช้ประ
โยชน์ได้ เช่น เอทิลแอลกอฮอล์ กรดแล็กติก กรดน้ำส้ม กรดซักซินิก เป็นต้น


จุลินทรีย์ส่วนใหญ่ต้องได้อาหารจากสิ่งมีชีวิตอื่น จึงมีความสัมพันธ์ร่วมกับสิ่งมีชีวิต ทั้งแบบปรสิตที่ทำให้เกิดโรคกับโฮสต์ดัง
กล่าวแล้ว หรือจุลินทรีย์บางชนิดอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตอื่นโดยไม่ทำอันตราย แต่กลับให้ประโยชน์ซึ่งกันและกัน ที่เรียกว่าภาวะ
พึ่งพากัน (mutualism) ตัวอย่างความสัมพันธ์นี้ ได้แก่ ไลเคนส์ ไรโซเบียมที่อยู่กับปมรากถั่ว โพรโทซัวไตรโคนิมฟาที่อยู่
กับปลวกเป็นต้น


ไลเคนส์เป็นความสัมพันธ์ระหว่างราและสาหร่าย ซึ่งต่างได้ประโยชน์ซึ่งกันและกัน ไลเคนส์สามารถเจริญได้บนหินหรือ
เปลือกไม้ หรือบริเวณที่แห้งแล้งไม่เหมาะกับการเจริญของพืชอื่น ไลเคนส์จำนวนมากเจริญได้ที่อุณหภูมิต่ำแถบขั้วโลกและ
บนภูเขาสูง ไลเคนส์ประกอบด้วยไมซีเลียมของราอัดกันแน่นอยู่ชั้นบน ข้างใต้เป็นกลุ่มเซลล์ของสาหร่ายและด้านล่างลงไป
เป็นชั้นของรา ซึ่งยึดติดกับพื้นดินด้วยไฮฟาไลเคนส์เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงมลภาวะของอากาศ บริเวณใดที่อากาศมีมลพิษมาก
จะไม่พบไลเคนส์เจริญอยู่ การมีไลเคนส์เจริญอยู่ที่ใดแสดงว่าอากาศบริเวณนั้นมีความบริสุทธิ์


การเปลี่ยนแปลงสภาพระบบนิเวศอย่างรุนแรง อาจมีผลทำให้จุลินทรีย์สูญพันธุ์ได้ เช่น การพลิกหน้าดิน โดยการไถพรวน
ด้วยเครื่องจักรขนาดใหญ่ อาจทำให้จุลินทรีย์ชนิดที่อยู่ใต้ดินถูกพลิกขึ้นมาผิวดิน และเผชิญกับสภาพแวดล้อมใหม่ที่มีอากาศ
และแสงแดดรุนแรง หรือในกรณีกลับกัน จุลินทรีย์ชนิดที่อยู่หน้าดินและชอบอากาศและแสงแดด อาจถูกพลิกกลับลงไป
อยู่ใต้ดินซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมกับมัน จุลินทรีย์เหล่านี้อาจปรับตัวไม่ทันและตายได้ แต่จุลินทรีย์บางชนิดได้
รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ให้สามารถเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่รุนแรงได้ โดยมีโครงสร้างพิเศษ เช่น สปอร์ ซีสต์
แคปซูล ทำให้ทนต่อความแห้งแล้ง ความร้อน สารเคมี รังสีต่างๆ และแรงกดดันต่างๆ ได้ จึงทำให้จุลินทรีย์พวกนี้มีชีวิต
รอดมาจนทุกวันนี้



http://www2.swu.ac.th/royal/book2/b2c11t1.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 01/10/2011 11:32 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

727. การอนุรักษ์ความหลากหลายทางพันธุกรรมของจุลินทรีย์



จากคุณค่าและความสำคัญของจุลินทรีย์ทางด้านอาหาร เกษตร อุตสาหกรรม และการผลิตยารักษาโรคดังกล่าวแล้ว จะเห็นว่า
จุลินทรีย์เป็นทรัพยากรที่สำคัญต่อความเป็นอยู่และความมีสุขภาพดีของมนุษย์ ซึ่งสมควรจะอนุรักษ์ชนิดพันธุ์ของจุลินทรีย์
ไว้มิให้สูญหาย จุลินทรีย์ที่แยกได้จากธรรมชาติ ที่นำมาใช้ประโยชน์ มีทั้งที่เป็นสายพันธุ์ดั้งเดิมและพวกที่มีการพัฒนาปรับ
ปรุงพันธุ์มาแล้ว เพื่อให้ได้สายพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพดี สามารถสร้างสารและผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้มาก แต่ในธรรมชาติก็มีจุลินทรีย์
อีกมากที่ยังไม่ได้ศึกษาและนำมาใช้ประโยชน์ ดังนั้นจึงควรส่งเสริมให้มีนักอนุกรมวิธานทางด้านจุลินทรีย์มากขึ้นเพื่อให้
มีการสำรวจและคัดแยก (isolate) จุลินทรีย์ชนิดใหม่ๆ จากธรรมชาติ เก็บรวบรวมจุลินทรีย์ เหล่านั้นและเก็บรักษาไว้ไม่
ให้สูญหาย โดยไม่ให้มีการปนเปื้อนกับเชื้ออื่น ไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะพันธุกรรม และเชื้อนั้นยังมีชีวิตรอดอยู่ได้
โดยยังคงสมบัติดั้งเดิมของเชื้อสายพันธุ์นั้นๆ


การเก็บรักษาจุลินทรีย์ไว้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำมาใช้ในการเรียนการสอนทางด้านจุลชีววิทยา ใช้ทางด้านอุตสาหกรรม ใช้
ในการผลิตหรือเก็บเชื้อที่ได้จากการคัดเลือกสายพันธุ์เฉพาะที่ให้ผลผลิตสูง ส่วนนักอนุกรมวิธานเก็บรักษาเชื้อที่ได้จาก
การคัดแยกใหม่และรวบรวมจากแหล่งอื่นๆ เพื่อนำมาเปรียบเทียบ


การเก็บรักษาจุลินทรีย์อาจเก็บไว้ในห้องปฏิบัติการของวิทยาลัย มหาวิทยาลัย สถาบันต่างๆ โรงพยาบาลหรือโรงงานอุตสาห
กรรม ซึ่งอาจขาดบุคลากรและอุปกรณ์ในการเก็บ รวมทั้งขาดประสบการณ์ของวิธีการเก็บที่เหมาะสม และอาจทำให้จุลิน
ทรีย์เหล่านั้นตายไปหรือสูญหายหรือสมบัติเปลี่ยนแปลงไป


การเก็บรักษาจุลินทรีย์ที่ดี ทำได้โดยเก็บไว้ใน ศูนย์เก็บรวบรวมเชื้อ หรือ ศูนย์เก็บรักษาเชื้อจุลินทรีย์ (culture collec-
tion) ซึ่งเป็นการเก็บรักษาตัวเชื้อจุลินทรีย์ไว้ให้คงสมบัติดั้งเดิมของแต่ละสายพันธุ์ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ภายหลัง นอกจาก
นี้ยังเป็นการเก็บรักษาพันธุกรรมของเชื้อให้คงเดิม การเก็บรักษาเชื้อไว้ในศูนย์ยังมีการควบคุมคุณภาพให้เชื้อบริสุทธิ์ ไม่ให้
เกิดการปนเปื้อนกับเชื้ออื่น และเก็บให้เชื้อรอดชีวิตอยู่ เพื่อนำมาเลี้ยงให้เชื้อเพิ่มจำนวนภายหลังได้ โดยมีการทดสอบ
ความบริสุทธิ์และการมีชีวิตอยู่ของจุลินทรีย์เป็นระยะๆ การเก็บจุลินทรีย์ไว้ในศูนย์ จึงเป็นการประกันสมบัติของเชื้อไม่ให้
เปลี่ยนแปลงตามเวลาและสภาพแวดล้อม


หน้าที่ของศูนย์เก็บรักษาจุลินทรีย์ จึงเป็นแหล่งเก็บรวบรวมรักษาเชื้อจุลินทรีย์ และเป็นแหล่งข้อมูลของทรัพยากรจุลินทรีย์
ที่เก็บรักษาไว้ นับว่าศูนย์เก็บรักษาจุลินทรีย์เป็นแหล่งอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของทรัพยากรพันธุกรรมของ
จุลินทรีย์

ศูนย์เก็บรวบรวมจุลินทรีย์มีหลายประเภท ได้แก่ ศูนย์ส่วนบุคคลซึ่งพบอยู่ตามห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาล โรงงาน
อุตสาหกรรมและสถาบันการศึกษาต่างๆ ส่วนศูนย์เฉพาะทางเก็บรักษาเชื้อจุลินทรีย์เฉพาะด้านที่มีลักษณะพิเศษและมี
จำนวนไม่มาก เช่น โรงงานผลิตเบียร์ โรงงานผลิตสารปฏิชีวนะ


ชนิดของจุลินทรีย์ที่เก็บรักษาไว้ในศูนย์เก็บรักษาจุลินทรีย์ แบ่งตามประโยชน์ของ จุลินทรีย์ ได้แก่ จุลินทรีย์ทางด้าน
อนุกรมวิธาน เพื่อเก็บรักษาเชื้อไว้เปรียบเทียบกับเชื้อสายพันธุ์อื่น จุลินทรีย์ทางด้านการแพทย์เก็บรักษาจุลินทรีย์ที่เป็น
สาเหตุของโรคต่างๆ ไว้เปรียบเทียบในการรักษาและป้องกันโรค จุลินทรีย์ทางด้านอุตสาหกรรมเก็บรักษาจุลินทรีย์ที่ใช้
ในกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรม เช่น การผลิตกรดซิตริก กรดอะมิโน สารปฏิชีวนะ การผลิตแอลกอฮอล์และขนมปัง เป็นต้น

นอกจากนี้ยังเก็บรักษาจุลินทรีย์ที่ใช้ในการผลิตวัคซีนและเอนไซม์รวมทั้งเชื้อที่แยกได้ใหม่ในระหว่างการทำวิจัยเพื่อพัฒนา
ปรับปรุงสายพันธุ์ ที่สามารถทำงานได้ดีขึ้น และให้ผลผลิตที่มีคุณค่ามากขึ้น ส่วนจุลินทรีย์ที่ใช้ในการวิเคราะห์สารเก็บ
รักษาไว้เพื่อใช้ในการวิเคราะห์สารต่างๆ เช่น วิตามิน กรดอะมิโน สารปฏิชีวนะ นอกจากนี้ยังเก็บรักษาจุลินทรีย์ ที่ใช้ใน
การศึกษาและวิจัยในด้านต่างๆ เช่น พันธุศาสตร์ ชีวเคมี เป็นต้น


หลักการและเทคนิคการเก็บรักษาจุลินทรีย์
การเก็บรักษาจุลินทรีย์มีวัตถุประสงค์ เพื่อรักษาจุลินทรีย์ให้มีชีวิตรอดได้นาน โดยยังมีความบริสุทธิ์และไม่เปลี่ยนแปลงลักษณะ
ทางพันธุกรรม วิธีการเก็บรักษาจุลินทรีย์มีหลายวิธี แต่มีหลักการสำคัญ คือ การหยุดหรือลดการเจริญเติบโตของเชื้อโดย
ควบคุมปัจจัยที่จำเป็นในการเจริญ เช่น การจำกัด อากาศ อุณหภูมิ สารอาหารและน้ำ การเก็บรักษาจุลินทรีย์แต่ละวิธีต้อง
ทำให้เชื้อยังมีชีวิตรอดอยู่มากที่สุด คงลักษณะเดิมมากที่สุด และไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางพันธุกรรม



วิธีการเก็บรักษาจุลินทรีย์ โดยทั่วไป มี 4 วิธี คือ

การต่อเชื้อหรือการเปลี่ยนอาหารใหม่ (subculture)
โดยเพาะเลี้ยงเชื้อลงบนอาหารเลี้ยงเชื้อที่เหมาะสมและบ่มไว้ในสภาพที่เหมาะสม เมื่อถึงเวลาที่อาหารหมดจึงต่อเชื้อลงในอาหาร
ใหม่ ทำเช่นนี้เรื่อยไป จุลินทรีย์จึงมีชีวิตอยู่ได้ตลอดไป วิธีนี้มีข้อดี คือ ทำง่ายไม่ต้องอาศัยความชำนาญพิเศษ และอุปกรณ์
ราคาถูก ไม่ต้องใช้เครื่องมือซับซ้อน สามารถใช้เก็บรักษาจุลินทรีย์ทั่วไป แต่มีข้อเสีย เช่น ต้องใช้เวลาและแรงงานมากในการ
เตรียมอาหารและการเพาะเชื้อ ถ้ามีเชื้อจำนวนมากและต้องใช้พื้นที่มากในการเก็บหลอดเชื้อ ในขณะต่อเชื้อลงในอาหาร
ใหม่อาจเกิดการปนเปื้อน (contaminate) จากเชื้ออื่น และเชื้ออื่นเจริญมากขึ้น จนทำให้เชื้อที่เก็บรักษาไว้ตายได้ นอกจาก
นี้ยังอาจเกิดความผิดพลาด ในการเขียนรหัสเชื้อทำให้สับเปลี่ยนสายพันธุ์กัน รวมทั้งการต่อเชื้อลงในอาหารใหม่เรื่อยๆ อาจ
ทำให้เกิด การกลายพันธุ์และเปลี่ยนลักษณะเชื้อไป


การทำให้แห้ง (drying)
โดยดึงน้ำออกและป้องกันไม่ให้เกิดความชื้นอีก เป็นการหยุดการเจริญของเชื้อ ส่วนใหญ่ใช้เก็บเชื้อราซึ่งทนต่อความแห้งได้ดี
นอกจากนี้ยังใช้ได้กับยีสต์ และแบคทีเรียบางชนิด

การทำให้แห้งในวัสดุต่างๆ
ได้แก่ ดิน ทราย ซิลิกาเจล เหมาะสำหรับใช้เก็บเชื้อรา หรือแบคทีเรียที่สร้างสปอร์ การเก็บบนแผ่นกระดาษ (paper disc)
ใช้กับเชื้อยีสต์บางชนิดและ สแตฟฟิโคค็อกไค หลังจากทำให้เชื้อและวัสดุแห้งแล้ว จึงเก็บในห่อฟอยล์ภายในภาชนะปิดไม่ให้
อากาศเข้า การเก็บบนแท่งวัตถุแห้ง (predried plug) เช่น แป้ง เพปโทน (peptone) หรือเดกซ์แทรน (dextran)
ซึ่งจะดูดซับซัสเพนชันเชื้อไว้ แล้วจึงนำไปทำให้แข็ง และเก็บภายใต้สุญญากาศ วิธีนี้ใช้ได้ดีกับเชื้อที่บอบบาง เช่น เชื้อโกโนเรีย
และเชื้ออหิวาต์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการเก็บบนแผ่นเจลาติน (gelatin disc) โดยผสมเชื้อในอาหารเจลาตินเหลวนำไปหยด
บนจานเลี้ยงเชื้อ และทำให้แห้งด้วยเครื่องปั๊มสุญญากาศ หรือ ทำให้แห้งแบบเยือกแข็ง เมื่อแผ่น เจลาตินดิสก์แห้งแล้ว จึง
เก็บในหลอดที่ปลอดเชื้อ เมื่อต้องการใช้สามารถ นำมาใช้ได้ทีละแผ่น โดยหย่อนลงในอาหารเหลวที่เหมาะกับจุลินทรีย์นั้นๆ


การทำให้แห้งแบบเยือกแข็ง (freeze drying หรือ lyophilization)
เป็นการทำให้น้ำระเหยไปจากซัสเพนชัน
เชื้อที่เยือกแข็งแล้ว โดยนำจุลินทรีย์ที่เจริญบนอาหารวุ้นมาผสมกับสารแขวนลอย (suspending medium) เช่น สคิมมิลค์
(skim milk) หรือกลูโคสซีรัม (glucose serum) แล้วนำไปเข้าเครื่องทำให้เซลล์แข็งตัวในสภาพสุญญากาศ น้ำในเซลล์
จะถูกดึงออกโดยการระเหิด จุลินทรีย์จะอยู่ในสภาพแห้งและแข็ง แต่ยังมีชีวิตอยู่และสามารถเก็บเชื้อไว้ได้นานมากกว่า 10 ปี
ข้อดีของวิธีนี้ คือ เหมาะสำหรับการเก็บ
รักษาเชื้อจำนวนมากและเก็บรักษาได้นาน ส่วนข้อเสีย คือ มีค่าใช้จ่ายสูงในการซื้ออุปกรณ์และเครื่องมือ


การเยือกแข็งหรือแช่แข็ง (freezing)
เป็นการทำให้น้ำในเซลล์กลายเป็นน้ำแข็งโดยการลดอุณหภูมิ การทำให้เซลล์อยู่ในสภาพแข็งตัวเช่นนี้มีหลายวิธี ได้แก่
การเก็บบนเม็ดแก้ว (glass bead) ที่ -70 ํC โดยผสมเชื้อด้วยอาหารเหลวและกลีเซอรอลให้เป็นซัสเพนชัน หยดซัสเพนชัน
เชื้อบนเม็ดแก้ว แล้วเก็บไว้ในตู้แช่แข็งที่อุณหภูมิ -70 ํC เวลาจะใช้จึงตักเม็ดแก้วมาใส่ในอาหารเลี้ยงเชื้อ อีกวิธีหนึ่ง คือ
การเก็บไว้ในไนโตรเจนเหลวที่อุณหภูมิ -196 ํC โดยเลี้ยงจุลินทรีย์บนอาหารวุ้นและเติมกลีเซอรอลหรือไดเมทิลซัลฟอกไซด์
(Dimethyl sulphoxide DMSO) เพื่อป้องกันเซลล์แตก แล้วถ่ายใส่หลอดเล็กๆ ปิดฝาให้สนิท นำเข้าเครื่องลดอุณหภูมิ
เพื่อให้อุณหภูมิลดลงมาถึงจุดเยือกแข็งในระดับ -20 ํC ถึง -30 ํC แล้วจึงนำไปเก็บไว้ในถังบรรจุไนโตรเจนเหลวอุณหภูมิ
-196 ํC

อย่างไรก็ตาม ในการเก็บรักษาจุลินทรีย์ ไม่มีวิธีใดวิธีเดียวที่เหมาะสมกับจุลินทรีย์ทุกชนิด การเก็บรักษาจุลินทรีย์ จึงควร
คำนึงถึงชนิดของจุลินทรีย์ที่จะเก็บ วัตถุประสงค์ในการเก็บ ความพร้อมของเครื่องมือและอุปกรณ์รวมทั้งบุคลากรที่มีความ
ชำนาญ และสิ่งสำคัญ คือ งบประมาณที่ใช้ในการเก็บรักษาจุลินทรีย์



การเก็บรักษาจุลินทรีย์ในประเทศไทย
ประเทศไทยได้จัดตั้งศูนย์เก็บรักษาและรวบรวมข้อมูลจุลินทรีย์ ขึ้นที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประ
เทศไทย และทำหน้าที่เป็นศูนย์ในระดับภูมิภาคเอเซียอาคเนย์ โดยได้รับทุนอุดหนุนการจัดตั้งจากองค์การศึกษาวิทยา
ศาสตร์และวัฒนธรรมแห่ง สหประชาชาติ (UNESCO) และโครงการสิ่งแวดล้อมขององค์การสหประชาชาติ (UNEP)
ศูนย์นี้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519 มีชื่อเรียกว่า ศูนย์เก็บรักษาและรวบรวมข้อมูล จุลินทรีย์” (Microbiological
Resources Center, MIRCEN) ชื่อย่อว่า ศูนย์กรุงเทพ โดยทำหน้าที่รวบรวมและจัดเก็บจุลินทรีย์นอกถิ่นกำเนิดแบบ
ถาวร ได้แก่ แบคทีเรีย ยีสต์ รา และสาหร่าย ที่มีประโยชน์และมีความสำคัญทางด้านอุตสาหกรรม เกษตร และสิ่งแวดล้อม
รวบรวมข้อมูลสายพันธุ์จุลินทรีย์ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ และจัดทำเอกสารบัญชีรายชื่อจุลินทรีย์ สำหรับใช้เป็นคู่มือนักวิจัยใน
ด้านสายพันธุ์จุลินทรีย์ ทางด้านงานวิจัย ดำเนินการค้นคว้าวิจัย สำรวจทรัพยากรจุลินทรีย์ในประเทศอย่างมีระบบ โดย
เน้นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ทางด้านอุตสาหกรรม เกษตรและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการจัดอนุกรมวิธาน ศึกษาเทคนิคการเก็บ
รักษา และการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ ในด้านบริการให้บริการสายพันธุ์จุลินทรีย์และข้อมูลจุลินทรีย์ เพื่องานวิจัย การเรียน
การสอน และการผลิตในอุตสาหกรรม ให้บริการจำแนกชนิดจุลินทรีย์ การผลิตจุลินทรีย์ในปริมาณมาก จัดหาและ
สั่งซื้อจุลินทรีย์จากศูนย์เก็บรักษาจุลินทรีย์ในต่างประเทศ ให้บริการฝึกอบรมบุคลากรเกี่ยวกับเทคโนโลยีการเก็บรักษาและ
จำแนกชนิดจุลินทรีย์ ให้บริการคำปรึกษาและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับจุลินทรีย์ในด้านต่างๆ และบริการแลกเปลี่ยนข้อมูล
จุลินทรีย์กับศูนย์ข้อมูลจุลินทรีย์ในต่างประเทศ


นอกจากศูนย์เก็บรักษาและรวบรวมข้อมูลจุลินทรีย์ ที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยแล้ว ยังมี
หน่วยปฏิบัติการเก็บรักษาสายพันธุ์จุลินทรีย์เฉพาะทางที่ได้จัดตั้งขึ้นโดยศูนย์พั
นธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพ
แห่งชาติ ในปี พ.ศ.2539 ซึ่งเห็นความสำคัญของการเก็บรักษาสายพันธุ์จุลินทรีย์ที่แยกได้ในประเทศ และต้องการสนับ
สนุนให้นักวิจัยในประเทศศึกษาทางด้านอนุกรมวิธานของจุลินทรีย์ ภายใต้โครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบาย
การจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย (บีอาร์ที) หน่วยปฏิบัติการเก็บรักษาสายพันธุ์จุลินทรีย์เฉพาะทาง มีวัตถุประสงค์
ให้บริการ จัดเก็บรักษาสายพันธุ์จุลินทรีย์ที่แยกได้ในประเทศ ในปัจจุบันมีจำนวนมากกว่า 2,000 สายพันธุ์ โดยเน้น
เฉพาะจุลินทรีย์ลักษณะพิเศษ เช่น ราที่ทำให้เกิดโรคในแมลง (Insect patho-
genic fungi) ราน้ำ (Aquatic
fungi) ราในกลุ่มไซลาเรียซีอี (Xylariaceae) แบคทีเรียพวกแอคติโนมัยซีส (Actinomycetes) แบคทีเรีย
แลคติก (Lactic acid bacteria) สาหร่ายขนาดเล็ก (Microalgae) นอกจากนี้ยังพัฒนา วิธีเก็บเชื้อแบบถาวรให้
เหมาะกับจุลินทรีย์แต่ละกลุ่ม เช่น เทคนิคการแช่แข็งที่อุณหภูมิ -80° C และ -196° C การทำแห้งแบบเยือก
แข็ง การเก็บภายใต้พาราฟินเหลวที่อุณหภูมิห้อง โดยมีการควบคุมคุณภาพของจุลินทรีย์ที่เก็บรักษาไว้ด้วยการ
ตรวจสอบการมีชีวิตและความบริสุทธิ์ของจุลินทรีย์


กิจกรรมหลักอีกอย่างหนึ่งของหน่วย คือ การจัดการด้านข้อมูลให้เป็นมาตรฐานสากล โดยรวบรวมข้อมูลของจุลินทรีย์ที่เก็บ
รักษาไว้ ทั้งด้านสมบัติและการใช้ประโยชน์จากเชื้อจุลินทรีย์เพื่อจัดทำระบบฐานข้อมูลทางด้านความหลากหลายทาง
ชีวภาพของจุลินทรีย์ในประเทศไทย นอกจากนี้ยังเป็นหน่วยงานที่ส่งเสริมการวิจัยทางด้านการอนุรักษ์ การจัดอนุกรมวิธาน
และการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ และยังเป็นศูนย์กลางความร่วมมือด้านบริการการเก็บรักษาจุลินทรีย์และข้อมูลจุลินทรีย์
ระหว่างนักวิจัยทั้งในและต่างประเทศ



http://www2.swu.ac.th/royal/book2/b2c11t3.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 01/10/2011 11:36 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

728. การผลิตน้ำส้มสายชูหมัก

เริ่มโครงการในปี พ.ศ.2530 เพื่อผลิตน้ำส้มสายชูหมักจากวิธีการผลิตต่อเนื่องจากการผลิตแอลกอฮอล์ โดยจัดสร้างหอ
หมักน้ำส้มสายชู เป็นแบบคอลัมน์ขนาด 250 ลิตร


วิธีผลิตน้ำส้มสายชูหมัก โดยนำน้ำหมักมาละลายน้ำให้ได้แอลกอฮอล์ 7% ใส่เชื้อแบคทีเรีย Acetobacter ลงไป 10%
ของน้ำหมักเริ่มต้น ให้อากาศตลอดการหมัก 3-4 วัน จะได้น้ำส้มสายชูหมักมีปริมาณกรดน้ำส้ม 5% นำน้ำส้มสาย
ชูไปพาสเจอร์ไรส์ และตกตะกอนโดยใช้เบนโทไนท์ 5% ของ น้ำส้มสายชู


ในปี พ.ศ.2533 ได้พัฒนาการผลิตน้ำส้มสายชู โดยนำน้ำส้มสายชูหมักไประเหยในตู้กระจกที่ใช้กลั่นน้ำพลังแสงอาทิตย์
ทำให้ได้น้ำส้มสายชูหมักที่ใสไม่มีตะกอน




http://www2.swu.ac.th/royal/book2/b2c11t4.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 01/10/2011 11:44 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

729. งานวิจัยของหน่วยวิจัยและพัฒนาโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดาที่เกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์


อาคารวิจัยและพัฒนาจัดสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2528 ในวโรกาสมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระชนมพรรษา
ครบ 5 รอบ การจัดตั้งหน่วยวิจัยและพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการวิจัยค้นคว้า พัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมทั้งศึกษาวิจัยผลิต
ภัณฑ์ใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อโครงการฯ และส่วนรวม ศึกษาประโยชน์ของการนำเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้
เป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ และยังเป็นแหล่งศึกษาวิจัยและค้นคว้างานทดลองต่างๆ ตามพระราชประสงค์
พร้อมทั้งเผยแพร่และแนะนำงานวิจัยของโครงการฯ


งานวิจัยของหน่วยวิจัยและพัฒนาโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดาที่เกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ ได้แก่

งานวิจัยและพัฒนาการผลิตปุ๋ยอินทรีย์โดยใช้ตัวเร่งจุลินทรีย์ โดยเริ่มโครงการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2528 มีวัตถุประสงค์เพื่อ
นำเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและเศษวัชพืชต่างๆ รวมทั้งน้ำกากส่าซึ่งเป็นน้ำทิ้งจากโรงงานผลิตแอลกอฮอล์มา
ผลิตเป็นปุ๋ยหมัก และเพื่อศึกษาสายพันธุ์ของจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพสูงในการย่อยสลายเศษวัสดุเหลือใช้ทางการ
เกษตร นอกจากนี้ยังศึกษากรรมวิธีการผลิตตัวเร่งจุลินทรีย์

จากการวิจัยการผลิตปุ๋ยหมักจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร (ภาพประกอบ 11.6) โดยใช้น้ำกากส่าเป็นตัว
เร่งในการย่อยสลาย พบว่าปุ๋ยหมักที่ผลิตโดยวิธีนี้มีปริมาณธาตุอาหารที่พืชต้องการ เช่น N, P, K ปริมาณสูง และยัง
ใช้เวลาในการหมักประมาณ 25-30 วัน ซึ่งน้อยกว่าการทำปุ๋ยหมักด้วยวิธีอื่น



วัสดุที่นำมาทำปุ๋ยหมัก ได้แก่
เศษพืช เช่น เศษหญ้า เศษใบไม้ทุกชนิด ผักตบชวา

จากการเกษตรที่เหลือทิ้งจากโรงงาน เช่น
- กากอ้อย แกลบ ขี้เลื่อยจากการเพาะเห็ด
- มูลสัตว์ชนิดต่างๆ
- สารเคมี เช่น ปุ๋ยยูเรีย 46 : 0 : 0 แอมโมเนียมซัลเฟต
- เชื้อจุลินทรีย์ เช่น เชื้อ พ.ด. 1 (หัวเชื้อ ปุ๋ยหมัก พัฒนาที่ดิน 1)


นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยและพัฒนาการผลิตปุ๋ยหมักอัดเม็ด ซึ่งเริ่มโครงการในปี พ.ศ.2541 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
ศึกษาการวิจัยการแปรรูปปุ๋ยหมักชนิดอัดเม็ด

ศึกษาวิจัยกระบวนการที่เหมาะสมของปุ๋ยอัดเม็ด ศึกษาอัตราส่วนผสมของปุ๋ยอัดเม็ด และเพื่อเพิ่มความหลากหลายของ
รูปแบบการบรรจุของปุ๋ยอินทรีย์ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้

งานวิจัยและพัฒนาการผลิตสาหร่ายเกลียวทอง (ภาพประกอบ 11.7) ได้เริ่มโครงการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2529 มีวัตถุ
ประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการนำน้ำกากมูลหมัก (น้ำกากมูลล้น) ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการผลิตก๊าซชีวภาพ
มาใช้เพาะเลี้ยงสาหร่าย เกลียวทอง ซึ่งเป็นสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินหรือแบคทีเรียชนิดหนึ่ง และศึกษาสูตรอาหาร
ที่เหมาะสม ในการเลี้ยงสาหร่ายเกลียวทองโดยเติมธาตุอาหารบางอย่างลงไป จากนั้นนำสาหร่ายเกลียวทองเป็นส่วน
ผสมในการผลิตอาหารปลา เพราะมีโปรตีนสูงมากถึง 70% โดยศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของสาหร่ายเกลียวทอง
ในอาหารปลา พบว่าอาหารปลาที่ผสมสาหร่ายเกลียวทองในปริมาณ 5% จะทำให้ปลาแฟนซีคาร์ปเจริญเติบโตอย่าง
รวดเร็ว และเจริญอยู่ในวัยสืบพันธุ์เร็วขึ้น และเพิ่มสีสันของปลาให้สดสวยยิ่งขึ้น


ในปี พ.ศ.2531 หลังจากที่เลี้ยงสาหร่ายเกลียวทองได้ผลน่าพอใจแล้ว โครงการส่วนพระองค์ฯ จึงได้สร้างโรงอาหาร
ปลาขึ้นเพื่อผลิตอาหารปลาออกจำหน่ายในราคาถูกกว่าท้องตลาด โดยส่วนผสมของอาหารปลาได้จากวัสดุเหลือใช้
ทางการเกษตรที่มีอยู่ในโครงการส่วนพระองค์ฯ ได้แก่ รำละเอียด ปลายข้าว กากถั่ว ปลาป่น ใบกระถิน ผสมกับสาหร่าย
เกลียวทอง ในปริมาณ 5% เพื่อเร่งอัตราการเจริญเติบโต และเพิ่มสีสันของปลา


ในปี พ.ศ.2532 งานวิจัยและพัฒนาโครงการส่วนพระองค์ฯ ได้ทำการก่อสร้างอ่างซิเมนต์เพาะเลี้ยงสาหร่ายเกลียวทอง
ขนาด 3 x 6 x 0.5 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 4 อ่าง เพื่อใช้ศึกษาวิจัยการเพาะเลี้ยงสาหร่ายเกลียวทองในน้ำทิ้งจาก
โรงโคนม โรงน้ำผลไม้ โรงนมผง โรงผลิตแอลกอฮอล์ เป็นต้น


งานวิจัยและพัฒนาการผลิตสาหร่ายเกลียวทองบริสุทธิ์ชนิดแคปซูล หลังจากการวิจัยและพัฒนาการผลิตสาหร่ายเกลียว
ทองพบว่าเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญ เพราะมีโปรตีนสูงถึง 50 -70 % ต่อน้ำหนักแห้งและยังมีแร่ธาตุและวิตามินต่าง ๆ
อีกด้วย หน่วยวิจัย และพัฒนา จึงได้ศึกษาการนำสาหร่ายเกลียวทองมาเป็นอาหารเสริมของมนุษย์ โดยวิจัยการแปร
รูปสาหร่ายเกลียวทองบริสุทธิ์ชนิดบรรจุแคปซูล ซึ่งง่ายแก่การบริโภค โครงการนี้เริ่มในปี พ.ศ.2540 นอกจากนี้ยัง
ศึกษาวิจัยปริมาณโปรตีนและธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ศึกษากระบวนการที่เหมาะสมในการบรรจุแคปซูล
และอายุการเก็บผลิตภัณฑ์สาหร่ายเกลียวทอง


งานวิจัยและพัฒนาการผลิตเห็ด หน่วยวิจัยและพัฒนาได้เริ่มโครงการเพาะเห็ดในปี พ.ศ.2531 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
นำเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและเศษวัชพืชต่างๆ เช่น ฟางข้าว ชานอ้อย ขี้เลื่อย มาใช้เป็นวัตถุดิบ ในการเพาะ
เห็ด และศึกษาถึงชนิดและสายพันธุ์เห็ดที่ต้านทานโรคและให้ผลผลิตสูง นอกจากนี้ยัง ศึกษาสูตรอาหารที่เหมาะสม
ต่อการเพาะเห็ด และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในโรงเรือน การดำเนินงานของหน่วยวิจัยได้รับความสนับสนุนจากภาค
รัฐและเอกชน


การเพาะเห็ดในสมัยเริ่มต้น เพาะเห็ดฟาง เห็ดหูหนู เห็ดนางฟ้า เห็ดนางรม เห็ดเป๋าฮื้อ และเห็ดหลินจือ ปัจจุบัน
ความต้องการบริโภคเห็ดหลินจือมีมาก หน่วยวิจัยจึงเพิ่มกำลังผลิตเห็ดหลินจืออย่างเดียวเพื่อให้เพียงพอกับความต้อง
การของผู้บริโภค เห็ดหลินจือหรือเห็ดหมื่นปี มีชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อ Garnoderma lucidum โดยคัดเลือกสายพันธุ์
G 2 ที่มีสรรพคุณบำบัดโรคในระบบทางเดินอาหาร ระบบหายใจ ระบบหมุนเวียนเลือด


กรรมวิธีการเพาะเห็ด โดยเริ่มตั้งแต่การแยกเชื้อบริสุทธิ์ การเลี้ยงเชื้อในเมล็ดธัญพืช การเตรียมวัสดุเพาะเห็ด ซึ่งประกอบ
ด้วยขี้เลื่อยไม้ยางพารา รำละเอียด ยิปซั่ม ปูนขาว ดีเกลือ น้ำตาลทรายแดง ใช้เวลาตั้งแต่เพาะจนเก็บเกี่ยวเห็ดได้กิน
เวลาประมาณ 3 เดือน แล้วนำไปอบแห้งบรรจุถุงพลาสติกเพื่อจำหน่าย ส่วนวัสดุเพาะเห็ดนั้นหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิต
เห็ดแล้ว ยังนำไปทำปุ๋ยหมักได้อีกด้วย (ภาพประกอบ 11.Cool 11.4.5 งานทดลองผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิง


งานทดลองผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงเริ่มขึ้นในปี พ.ศ.2528 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มีพระราชกระแสให้ศึกษาต้น
ทุนการผลิตแอลกอฮอล์จากอ้อย เพราะในอนาคตอาจเกิดเหตุการณ์น้ำมันขาดแคลนหรืออ้อยราคาตกต่ำ แนวทางการ
แก้ปัญหานี้ โดยนำอ้อยมาแปรรูปเป็นแอลกอฮอล์ เพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทนและเป็นการสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกอ้อย
มากขึ้น เป็นการเพิ่มรายได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้พระราชทานเงินทุนวิจัยเพื่อใช้ในการดำเนินงานสร้างโรง
กลั่นเชื้อเพลิงทำแก๊สโซฮอล์ และสร้างห้องปฏิบัติการ เพื่อใช้ตรวจสอบปริมาณแอลกอฮอล์ ส่วนหอกลั่นแอลกอฮอล์
สร้างโดยภาควิชาเคมีเทคนิค คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นอกจากนี้ยังทดลองอัตราส่วนต่างๆ ของการผสมน้ำมันเบนซินธรรมดากับแอลกอฮอล์ให้เป็นเชื้อเพลิงแก๊สโซฮอล์ (ภาพ
ประกอบ 11.9)

ห้องปฏิบัติการแก๊สโซฮอล์ พ.ศ.2529 เริ่มทดลองผลิตแอลกอฮอล์จากอ้อย แต่ต้นทุนการผลิตยังสูงมาก


วิธีการผลิตแอลกอฮอล์จากอ้อยในระยะแรกของโครงการส่วนพระองค์ฯ โดยนำอ้อยมาหีบ ปรับความหวานของอ้อยให้ได้
18-20 องศา Brix pH 4.8 และเติมอาหารเสริม นำน้ำอ้อยนี้ไปพาสเจอร์ไรส์ แล้วนำไปหมักด้วยยีสต์ โดยใส่ยีสต์
เริ่มต้น 10-12% ของปริมาณน้ำอ้อย และให้อากาศในถังหมักเป็นเวลา 4 ชั่วโมง แล้วจึงปิดอากาศ และหมักต่อไป
48 ชั่วโมง เมื่อได้น้ำหมักที่มีแอลกอฮอล์ 10% แล้วนำไปกลั่นที่หอกลั่นลำดับส่วน


พ.ศ.2533 ฝ่ายเทคนิคบริษัทสุราทิพย์ช่วยปรับปรุงหอกลั่นแอลกอฮอล์สามารถกลั่นได้ 95% ในอัตราส่วน 5 ลิตร/
ชั่วโมง วัสดุที่ใช้หมัก คือ กากน้ำตาล ซึ่งบริษัทสุราทิพย์น้อมเกล้าฯ ถวาย


ในปี พ.ศ.2537 โครงการส่วนพระองค์ร่วมกับบริษัทสุราทิพย์ จัดทำโครงการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในมหามงคลวโร
กาสเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ครบ 50 ปี โดยขยายกำลังผลิตแอลกอฮอล์ ได้วันละ 200 ลิตร เพื่อใช้ผสมกับน้ำมัน
เบนซินในอัตราส่วน 1:4 เป็นแก๊สโซฮอล์ใช้เติมให้รถยนต์ทุกคันของโครงการฯ ที่ใช้เบนซิน


ในปี พ.ศ.2539 การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
ร่วมมือกันปรับปรุงแอลกอฮอล์จาก 95% เป็น 99% และใช้ 99% แอลกอฮอล์ดังกล่าวผสมกับเบนซินธรรมดา
ในอัตราส่วน 1:9 รวมทั้งเติมสารป้องกันการกัดกร่อนลงไปด้วย ทำให้สามารถใช้แก๊สโซฮอล์เป็นเชื้อเพลิงสำหรับ
รถยนต์ได้อย่างดี


ในปี พ.ศ.2540 การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย และโครงการส่วนพระองค์ฯ ร่วมกันดำเนินการทดลองโครงการดีโซฮอล์
คือ การนำน้ำมันดีเซลผสมกับเอทิลแอลกอฮอล์ใช้เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ดีเซล ขณะนี้อยู่ในระหว่างการทดลอง
(ภาพประกอบ 11.10)


จากการที่ต้นทุนการผลิตแอลกอฮอล์ สำหรับโรงงานขนาดเล็กมีราคาสูง การที่จะนำไปผสมเป็นแก๊สโซฮอล์เพื่อเป็น
เชื้อเพลิง จึงไม่คุ้มทุนในขณะนี้ จึงมีโครงการนำแอลกอฮอล์ 95% ส่วนหนึ่ง มาผลิตเป็นแอลกอฮอล์แข็ง เพื่อจำหน่าย
เป็นเงินหมุนเวียน เพื่อพัฒนาโครงการต่อไป


แอลกอฮอล์แข็งใช้ประโยชน์ในการอุ่นอาหารให้ร้อน นิยมใช้ตามภัตตาคารหรือในโรงแรมต่างๆ โดยให้ค่าความร้อน
ประมาณ 4,900 แคลอรี/กรัม ในการใช้หากใช้แล้วใช้ไม่หมดสามารถปิดฝาให้สนิท เพื่อเก็บไว้ใช้ได้อีก ระยะเวลาการ
เก็บสามารถเก็บไว้ได้นานถ้าปิดฝาให้แน่นสนิท (ภาพประกอบ 11.11)


จากตัวอย่างของโครงการส่วนพระองค์ฯ ที่มีการนำจุลินทรีย์มาใช้ประโยชน์ดังกล่าวแล้ว จะเห็นได้ถึงพระปณิธานของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่จะทรงช่วยเหลือพสกนิกรให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น และเป็นการนำทรัพยากรธรรมชาติที่มี
ในประเทศไทย มาใช้ให้เกิดประโยชน์โดยอาศัยการศึกษา ค้นคว้า ทดลองทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวม
ทั้งเป็นการเน้นให้เห็นศักยภาพของจุลินทรีย์ที่เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า ซึ่งสมควรจะต้องอนุรักษ์ทรัพยากรจุลินทรีย์นี้
ไว้ต่อไป



http://www2.swu.ac.th/royal/book2/b2c11t4.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 01/10/2011 1:33 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

730. จีนปลูกข้าวลูกผสมซุปเปอร์ไรซ์ กว่า 41 ล้านไร่ ในปีนี้


จากรายงานของกระทรวงเกษตรจีนเมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 53 ที่ผ่านมาว่า ปริมาณผลผลิตธัญพืชทั้งหมดในปี 2553 อยู่ที่ 546.4 ล้านต้น
เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 15.6 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 ด้วยพื้นที่เพาะปลูกธัญพืชกว่า 686.7 ล้านไร่ เพิ่มขึ้น 5.53 ล้านไร่
โดยผลผลิตธัญพืชได้เพิ่มขึ้น 7 ปีติดต่อกันเป็นครั้งแรกในรอบ 50 ปี และรักษาระดับอยู่ที่ 500 ล้านตันต่อปี เป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน


โดยผลผลิตข้าวคิดเป็นร้อยละ 40 ของผลผลิตธัญพืชทั้งหมด จากสถิติของ
กระทรวงเกษตรพบว่า ในปีนี้มีการเพาะปลูก
ข้าวลูกผสมซุปเปอร์ไรซ์ที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงเกษตรจำนวน 80 สายพันธุ์ คิดว่าเป็นพื้นที่กว่า 100 ล้านหมู่ หรือ
ประมาณ 41.67 ล้านไร่ หรือ 1 ใน 4 ของพื้นที่เพาะปลูกข้าวของจีนทั้งหมด โดยมีผลผลิตเพิ่มขึ้นไร้ละ 142.32 กิโลกรัม
ลดตันทุนและสร้างรายได้เพิ่มขึ้นไร่ละ 274.8 หยวน


ผู้เชี่ยวชาญด้านข้าวกล่าวว่า โดยทั่วไปแล้วข้าวลูกผสมซุปเปอร์ไรซ์สามารถให้ผลผลิตถึง 1,920 กิโลกรัม/ไร่ ขึ้นไป เมื่อ
มีการส่งเสริมให้เพาะปลูกขนานใหญ่แล้ว จะช่วยเพิ่มปริมาณผลผลิตข้าวได้มากกว่าข้าวทั่วไปถึงร้อยละ 14 คุณภาพของ
ข้าวก็อยู่ในมาตรฐานแห่งชาติระดับ 3 ขึ้นไป

ดังนั้นข้าวลูกผสมซุปเปอร์ไรซึงเป็นข้าวคุณภาพดี และให้ผลผลิตต่อไร่สูง โดยแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญยู่ใน 3 มณฑล
ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่มณฑลเหลียวหนิง จี๋หลิน และเฮยหลงเจียง


http://www.oae.go.th/ewt_news.php?nid=9719&filename=index






เอาแต่ตั้งกรม (หยั่งรากผลิใบ)

หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- ศุกร์ที่ 23 กันยายน 2554 01:47:44 น.

นักวิจัยจีนประสบความสำเร็จจนกล่าวได้ว่า เป็นผู้นำข้าวผสมของโลกเรียบร้อยแล้ว
เป็นการเปิดเผยจากนักวิจัยของนักวิจัย
มณฑลหูหนาน ตอนกลางของประเทศจีน ที่ประสบความสำเร็จจากการวิจัยข้าว หรือเรียกสั้นๆว่า ซูเปอร์ ไรซ์ โดยทดลอง
ปลูกที่เมืองหลงฮุย ได้ผลผลิต 2,224 กิโลกรัม/ไร่ หรือ 2.224 ตัน/ไร่ (โปรดอ่านอีกหลายๆที)

ผมนึกถึงข้าวไทย ได้ผลผลิตเฉลี่ย 470 กิโลกรัม/ไร่ เมื่อไหร่ชาวนาไทยจะลืมตาอ้าปากได้ในเมื่อผลผลิตเฉลี่ยของเรา
ต่ำกว่า 5 เท่ากว่าของจีน

นี่ยังไม่นับอินเดีย เวียดนาม และสหรัฐอเมริกา ที่ปลูกข้าวซูเปอร์ไรซ์ ประเภทนี้ อย่างที่เราๆทราบดีว่า เวียดนามนั้นมีผล
ผลิตเฉลี่ยประมาณ 700 กิโลกรัม/ไร่ อีกหน่อยญวนจะไม่แค่หายใจรดต้นคอไทยอีกแล้ว แต่จะรดกระหม่อมเยือกถึง
กระดองใจเลยทีเดียว

จีนนั้นเป็นชาติวิจัยครับ ใครที่เคยไปเมืองจีนและได้เยี่ยมชมงานวิจัย จะเห็นว่า มหาวิทยาลัยของเขาอาจไม่สวยงาม
มากนัก แต่ในด้านการวิจัยนั้น จีนเอาเรื่อง ในขณะไทยไม่เอาอ่าว ถ่านก็ไม่เอา นอกจากแจกนั่นแจกนี่ งาบนั่นงาบนี่เป็นอาจินต์

กรมการข้าวของไทยเป็นเรื่องน่าอนาถครับ อุตส่าห์ตั้งตัวเป็นกรม มีกำลังคน มีงบประมาณ แต่กรมการข้าวก็ได้แค่กรม
อย่างอื่นจะเป็นแบน เป็นกั๊กไม่เอาทั้งนั้น เรื่องข้าวลูกผสม ตัวอธิบดีประเสริฐ โกศัลวิตร คุยซะดิบดี เรากำลังทำอยู่ รู้ไหม
ว่าทำมากี่ปี ทำมาตั้งแต่สมัยยังเป็นศูนย์วิจัยข้าว สังกัดกรมวิชาการเกษตร จนถึงบัดนี้ยังไปไม่ถึงไหนเลย

ไม่พอเท่านั้น เอกชนฝรั่งมังค่าเขาอยากทำข้าวลูกผสม อนุมัติให้เขาดำเนินการ ไปตั้งฟาร์มวิจัยอยู่แถวสุพรรณบุรี จนบัดนี้
บริษัทฝรั่งอย่างซินเจนทาก็รู้ว่า ถูกหลอกเสียแล้ว เพราะไม่อนุมัติอะไร แล้วจะไปทำอะไรได้ เช่นเดียวกับบริษัทฝรั่งอื่น
ที่ตั้งตารอคอย ตอนนี้ชักตาตั้งเรียบร้อยไปแล้ว

ไม่มีนโยบาย ไม่มีความชัดเจน จะอะไร จะยังไง ปล่อยให้ทุกคนทิ้งลมหายใจฟรีๆงั้นแหละ
ตอนนี้ คุณชุมพล ศิลปอาชา รองนายกฯ บอกกับครม.ปูแดงแจ๋ว่า จะขอตั้งกรมฝนหลวงหลังจากที่เคยขอในรัฐบาลที่แล้ว
แต่ยังไม่ผ่าน รัฐบาลปูแดงแจ๋บอกว่า ไม่ขัดข้อง

ผมเองคิดว่า ใครไหนก็ไม่ขัดข้องทั้งสิ้น แต่ที่ข้องขัดหัทยาเอามากๆเห็นจะเป็นแค่หวังตั้งแต่กรม มีเจ้ากรมซี 10 มีรองเจ้ากรม
มีเจ้าสำนัก ผอ.ฝ่าย และงบประมาณบานตะเกียง.....ก็แล้วไง

ก็แล้วทำการทำงานให้เกิดผลอย่างที่ขอตั้งกรมรึก็เปล่า เหลวไหลทั้งเพ นักการเมืองได้ ข้าราชการประจำได้ แต่ชาวบ้าน
ไม่ได้ครับ ไม่วินวิน ไม่เวินเวินละครับ

กระทรวงเกษตรฯคงต้องหันไปทบทวนสิ่งที่เป็นอยู่คืออะไร ตั้งกรมเก่า กรมใหม่ ตัวเจ้ากรมเป็นยังไง เข้าท่าไหม หรือตั้ง
เป็นเจ้ากรมเพื่อหากินงบประมาณร่วมกับนักการเมือง....เท่านั้น

จีนเขาวิจัยข้าวได้ถึง 2.224 ตัน/ไร่ ไทยแลนด์ยังอยู่ที่ 0.470 ตัน/ไร่ ไม่อายฟ้าดิน ก็ให้ระวังลูกหลานที่บ้านจะอาย
เพราะคนด่าไอ้ปู่มึงจัญไร

ชีวินตัย



http://www.ryt9.com/s/nnd/1242024
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 01/10/2011 1:50 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

731. จุลินทรีย์ พด.คว้ารางวัล วช.


กรมหมอดินประกาศเดินหน้าพัฒนาต่อเนื่องเพื่อประโยชน์เกษตรกร


นายธวัชชัย สำโรงวัฒนา อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน เปิดเผยว่า กรมฯ ได้มอบหมายให้สำนักเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน เข้าร่วมเสนอ
ผลงานนิทรรศการและประกวดโครงการ Thailand Research Expo 2011 ในหัวข้อ "นวัตกรรมจุลินทรีย์ ฟื้นฟูปฐพี สู่วิถี
เศรษฐกิจพอเพียง" ที่สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดขึ้น

ปรากฎว่าผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ พด. ของกรมพัฒนาที่ดินได้รับการคัดเลือกให้ได้รางวัล Bronze Award ซึ่งรางวัลนี้จะเป็น
การตอกย้ำความมั่นใจกับผู้ใช้ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ พด. ได้เป็นอย่างดี

ที่สำคัญกรมพัฒนาที่ดินจะเดินหน้าทำการวิจัยและพัฒนาจุลินทรีย์ทางการเกษตรให้เป็นนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ พด. ที่ดียิ่งขึ้นเพื่อ
ประโยชน์แก่เกษตรกรต่อไป



หนังสือพิมพ์แนวหน้า
http://www.ryt9.com/s/nnd/1242043
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 01/10/2011 1:57 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

732. เสวนาระดมแนวทางบริหารจัดการ ข้าวไทยในกลุ่มประเทศ GMS


สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร จัดระดมข้อคิดเห็นในงานเสวนาแนวทางการบริหารจัดการสินค้าข้าวของไทยในกลุ่มประเทศ
สมาชิก GMS เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารจัดการสินค้าข้าวไทยเชื่อมโยงกับประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง อันจะนำไปสู่
การจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้านความร่วมมือข้าวระหว่างประเทศต่อไป

นางดวงหทัย ด่านวิวัฒน์ รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภาย
หลังเป็นประธานการเสวนา เรื่อง แนวทางการบริหารจัดการสินค้าข้าวของไทยเชื่อมโยงการผลิต การค้า สินค้าข้าวในกลุ่มประ
เทศสมาชิก GMS ณ โรงแรมริชมอนด์ จ.นนทบุรี เพื่อระดมความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการ
ข้าวของไทยเชื่อมโยงกลุ่มประเทศสมาชิกในกรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง GMS (Greater Mekong Sub
region) ซึ่งมี 6 ประเทศสมาชิก ได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม จีน และไทย โดยการเสวนาในครั้งนี้ เป็นผลสืบ
เนื่องจาก สศก. ได้ดำเนินโครงการศึกษาความต้องการใช้และการผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญ ซึ่งเป็นโครงการภายใต้แผนสนับ
สนุนความร่วมมือด้านเกษตร ระยะที่ 2 ปี 2554-2558 ในกรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) ซึ่งมีแผน
จะศึกษาร่วมกันในอนาคต เพราะประเทศสมาชิกในกลุ่ม GMS ล้วนเป็นประเทศที่มีพื้นฐานทางด้านกสิกรรม ประชากรส่วน
ใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และอนุภูมิภาคนี้จะกลายเป็นฐานการผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญของโลก

การศึกษาครั้งนี้ ได้เลือกสินค้าข้าว เนื่องจากเป็นสินค้าเกษตรที่มีความสำคัญต่อคนไทยทั้งประเทศ และปัจจุบัน ประเทศไทย
มีเกษตรกรขึ้นทะเบียนเกษตรกรชาวนา 5.9 ล้านครัวเรือน พื้นที่ปลูกข้าวนาปีและนาปรังรวมกันปีละประมาณ 72 ล้านไร่
ผลผลิตปีละประมาณ 30 กว่าล้านตันข้าวเปลือก ซึ่งเพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศและเหลือส่งออกต่างประเทศ ทำ
ให้ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับ 1 ของโลก สร้างรายได้และนำเงินตราเข้าประเทศปีละไม่น้อยกว่า 200,000 ล้านบาท
แต่จากสถานการณ์การผลิตและการค้าข้าวโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ข้าวไทยเริ่มประสบปัญหาการแข่งขันในตลาดโลก
กับประเทศคู่แข่ง เช่น อินเดีย ปากีสถาน จีน เวียดนาม และการแข่งขันมีแนวโน้มทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะข้าวคุณภาพ
ทั่วไปที่ประเทศคู่แข่งส่งออกในราคาที่ต่ำกว่าข้าวไทยมาก นอกจากนี้ประเทศคู่แข่งได้เริ่มหันมาผลิตข้าวคุณภาพดีเพิ่มมากขึ้น
เพื่อแข่งขันกับข้าวไทย ปัญหาการลักลอบนำเข้าข้าว การปลอมปนข้าวไทย โดยการดำเนินการที่ผ่านมา สำนักงานเศรษฐกิจ
การเกษตรได้รวบรวมข้อมูลอุปสงค์ อุปทานสินค้าข้าวในแหล่งพื้นที่จังหวัดปลูกข้าวสำคัญของประเทศไทยที่มีชายแดนเชื่อม
โยงกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยได้มีการสำรวจข้อมูลในพื้นที่จังหวัดหนองคาย อุดรธานี สระแก้ว สุรินทร์ ศรีสะเกษ และ
อุบลราชธานี ซึ่งเป็นพื้นที่เชื่อมโยงชายแดนไทยกับสปป.ลาว และกัมพูชา อันเป็นแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญ ในภูมิภาคนี้ รวมทั้ง
ได้จัดประชุมหาร่วมกันกับเจ้าหน้าที่เกษตรประเทศสมาชิก GMS ได้แก่ เวียดนาม จีน สปป.ลาว และกัมพูชา และศึกษาดู
งานสำรวจ สัมภาษณ์เกษตรกร และผู้ประกอบการค้าสินค้าเกษตรในอุปสงค์ อุปทาน และตลาดสินค้าข้าวที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากมูลค่าการค้าระหว่างประเทศของไทยกับประเทศสมาชิกในกลุ่ม GMS เมื่อปี 2553 มีมูลค่า
2.01 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 24 เมื่อเทียบกับปี 2552 โดยจีนเป็นประเทศคู่ค้าอันดับแรกของไทยในกลุ่มสมาชิก
GMS รองลงมาได้แก่ เวียดนาม พม่า ลาว และกัมพูชา ในส่วนของสถิติการค้าสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร
นั้น มูลค่าสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรของไทยกับประเทศในกลุ่มสมาชิก GMS เพิ่มขึ้นร้อยละ 28 จากเดิม
เมื่อปี 2552 มีมูลค่า 0.16 ล้านล้านบาท เป็น 0.21 ล้านล้านบาทในปี 2553 ส่วนหนึ่งเป็นเพราะแนวโน้มความต้องการสินค้า
เกษตรและอาหารเพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งประเด็นความมั่นคงทางอาหาร ยังเป็นเรื่องที่ถูกหยิบยกและให้ความสำคัญในเวทีกรอบ
ความร่วมมือระหว่างประเทศ ดังนั้น ประเทศสมาชิกกลุ่ม GMS ควรศึกษาข้อมูลปริมาณความต้องการใช้และการผลิตของ
สินค้าเกษตรที่สำคัญ ทั้งพืชอาหารและมิใช่พืชอาหาร เพื่อกำหนดท่าทีในกรอบความร่วมมือด้านการเกษตร ซึ่งทางกระ
ทรวงเกษตรฯ และได้มอบหมายให้ สศก. ทำการศึกษา เสนอแนะนโยบายที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดผลประโยชน์ร่วมกันในอนุ
ภูมิภาค ดังนั้น การเสวนาครั้งนี้ จึงนับเป็นโอกาสสำคัญที่จะได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเสนอแนะแนวทางที่เป็นประโยชน์
ในการบริหารจัดการสินค้าข้าวในประเทศไทยเชื่อมโยงกับประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง อันจะนำไปสู่การจัดทำข้อเสนอแนะ
เชิงนโยบายด้านความร่วมมือข้าวระหว่างประเทศต่อไป



--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-


http://www.ryt9.com/s/oae/1247670
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 01/10/2011 2:07 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

733. สวทช. ย้ำ วิทย์และเทคโนโลยี กับเศรษฐกิจพอเพียง


สวทช. จัดประชุมบทบาทของ สวทช. ต่อการพัฒนา SMEs และ OTOP ในเขตภาคเหนือ เพื่อเปิดใจรับวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีสู่เศรษฐกิจพอเพียง ชี้ ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีผสานภูมิปัญญาท้องถิ่น ช่วยเสริมสร้างความ
เข้มแข็งให้ชุมชนได้ภายใต้หลักเศรษฐกิจพอเพียง ขณะที่ ‘รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน ผอ.สวทช.’ ย้ำ แนวคิดเศรษฐกิจ
พอเพียง ไม่ใช่การปฏิเสธความก้าวหน้า แต่เป็นเรื่องที่ต้องนำความรู้ความเข้าใจมาใช้อย่างพอเหมาะ พอดี บนฐานของ
เหตุและผล


ผศ.ดร.สุรพงษ์ เลิศทัศนีย์ รักษาการผู้อำนวยการ โครงการเครือข่าย สวทช.ภาคเหนือ เปิดเผยว่า สวทช.เครือข่ายภาค
เหนือ ได้จัดงานประชุมประจำปีในหัวข้อ : บทบาทของ สวทช.ต่อการพัฒนา SMEs และ OTOP ในเขตภาคเหนือ
เพื่อเปิดใจรับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่เศรษฐกิจพอเพียงขึ้น โดยครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 5 แล้ว เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยน
ความคิดเห็นและประสบการณ์ ในการเชื่อมโยงระหว่างนักวิจัยกับผู้ประกอบการ เพื่อวิจัยและพัฒนาแก้ไขปัญหาท้องถิ่น
และพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการและวิสาหกิจชุมชนภาคเหนือ รวมทั้งการประสานงานให้เกิดเครือข่ายความร่วม
มือในท้องถิ่น ที่จะส่งผลต่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน


“การจัดประชุมครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสดีที่จะนำเสนอผลงานของ สวทช.เครือข่ายภาคเหนือ ในการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เข้ามามีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาและเพิ่มขีดความสามารถของท้องถิ่นภาคเหนือ ซึ่งก็ได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการ นักวิจัย
และนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยในพื้นที่ตลอดจนผู้สนใจเข้าร่วมงานกันเป็นจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าปัจจุบันเรื่องของวิท
ยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นที่สนใจของประชาชนทั่วไปอย่างมาก โดยเฉพาะนักวิจัยและผู้ประกอบการในท้องถิ่น อันเป็น
ผลจากที่ สวทช.เครือข่ายภาคเหนือสามารถสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้ประชาชนและผู้ประกอบ
การ SMEs รวมถึง OTOP ได้เห็นความสำคัญในเรื่องการวิจัยและเกิดความตื่นตัวในการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน
ของธุรกิจ โดยส่งเสริมการพัฒนาความเข้มแข็งทางเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย และการประยุกต์ใช้งานวิจัยในภาค
อุตสาหกรรมให้เกิดนวัตกรรม เพื่อยกระดับคุณภาพสินค้าและสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก”


รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวถึง วิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีกับเศรษฐกิจพอเพียงว่า เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกัน โดยจะเห็นว่าหลักการของเศรษฐกิจพอเพียงทั้งในเรื่องของความ
พอประมาณ ความมีเหตุผล และความมีภูมิคุ้มกันที่ดี ล้วนเป็นเรื่องของการทำให้เกิดความสมดุล มีความพอเหมาะพอดี หรือ
ทางสายกลาง ที่จะทำให้ชีวิตดีขึ้นและมีความสุขได้มากขึ้น แต่การที่จะทำให้เกิดความพอเหมาะพอดีได้นั้น จะต้องมีพื้นฐาน
ความรู้ คือ มีความรอบรู้ รอบคอบ และมีความระมัดระวัง ที่สำคัญคือ เมื่อทำอะไรก็ต้องรู้จริง และการที่จะรู้จริงได้นั้นเป็นเรื่อง
ที่ต้องนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาใช้หาเหตุและผล ดังนั้น

เศรษฐกิจพอเพียงจึงเป็นเรื่องที่ต้องมีความรู้ ความเข้าใจ มีเหตุและผล และนำ
ความรู้นั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างพอเหมาะพอดี เกิดคุณค่าและมูลค่า

อีกทั้งความรอบรู้ยังช่วยให้เราได้มีความรู้เท่าทันเช่นเดียวกับเรื่องของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


“การใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นเรื่องของความรู้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของภูมิปัญญาหรือความรู้ที่เรารู้มาแต่ดั่งเดิม
ก็เป็นสิ่งที่สามารถนำมาเอื้อประโยชน์ ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของเราดีขึ้น แต่การที่จะทำให้พอดีได้อย่างไรนั้นยังต้องอยู่ภาย
ใต้เงื่อนไขของ ‘คุณธรรม ความรอบคอบ และความระมัดระวัง’กำกับ และหลักสำคัญ คือ การทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ
เพื่อที่เราจะได้สามารถนำไปใช้ได้อย่างรู้เท่าทัน และสามารถมีภูมิคุ้มกันได้จากความรู้เหล่านั้น ”


รศ.ดร.ศักรินทร์ กล่าวว่า “แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ใช่การปฏิเสธความก้าวหน้า หรือ หนีออกจากวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี แต่เป็นเรื่องที่ต้องนำความรู้ความเข้าใจมาใช้อย่างพอเหมาะ พอดี บนฐานของเหตุและผล เพราะไม่ว่าจุดใด
ก็หนีไม่พ้นเรื่องของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งในเรื่องของทุนทางเศรษฐกิจ สังคม หรือ ทรัพยากร เราจึงต้องมีความ
รู้ที่จะนำมาช่วยแก้ไขปัญหากับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องสร้างความพอเหมาะอย่างต่อเนื่อง และ
ไม่ทำให้ความสมดุลของโลกเสียหาย ฉะนั้น จึงเป็นเรื่องที่จะทำอย่างไรถึงจะมีวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่พอเหมาะและ
เพียงพอสำหรับเศรษฐกิจแบบพอเพียง เพื่อทำให้อนาคตอยู่ได้อย่างยั่งยืน และอยู่กับความเปลี่ยนแปลงของโลกได้อย่างพอดี”

ผอ.สวทช. กล่าวต่อว่า ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่ๆ จะเป็นส่วนหนึ่งของการทำธุรกิจในอีก 5-10 ปีข้าง
หน้า เช่น การผลิตใหม่ๆที่ใช้พลังงานน้อยลง หรือ การผลิตใหม่ๆ ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยลง เป็นต้น ฉะนั้น เราจึง
จำเป็นต้องพัฒนาความรู้ใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา ต้องมีการเรียนรู้ มีการวิจัย และมีการนำส่วนต่างๆ มาถามตอบในเชิงวิทยาศาสตร์
เพื่อให้รู้เหตุผลและเข้าใจ เพื่อการปรับตัวได้อย่างเหมาะสมและทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ไม่ใช่รู้เพียงแค่นี้ก็พอ
แล้วซึ่งจะไม่ใช่ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง และใช้สิ่งที่มีอยู่หรือภูมิปัญญาความรู้ที่มีอยู่เดิม นำความรู้เหล่านั้นมา
แลกเปลี่ยนหรือถ่ายทอด และนำความรู้ไปก่อให้เกิดคุณค่าและมูลค่า ไม่ว่าจะเป็นการต่อยอดจากแหล่งความรู้ใหม่ๆ หรือ
จากภูมิปัญญาท้องถิ่น


“โดยการเปิดรับสิ่งดีๆ เข้ามาปรับแต่งให้พอเหมาะพอดี กับวัฒนธรรมที่ละเอียดอ่อนและงดงามของไทย ดังนั้น การพูดถึง

เศรษฐกิจพอเพียงจึงต้องให้แน่ใจก่อนว่า มีฐานความรู้ ความคิด หรือ ปัญญา
เป็นกรอบสำคัญที่จะทำให้เกิดธรรมาภิบาล และเกิดสิ่งดีๆ ขึ้นกับชุมชนต่อไป


ผอ.สวทช. กล่าว


การดำเนินงานของสวทช.เครือข่ายเหนือถือเป็นตัวอย่างหนึ่งในการถ่ายทอดความรู้ โดยการนำนักวิจัยหรือ ผู้เชี่ยวชาญเข้า
ไปมีส่วนช่วยสร้างความเข้มแข็งด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับวิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้
อย่างต่อเนื่องผ่านโครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (iTAP) ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึงในการสนับ
สนุนภาคเอกชนของสวทช.ที่มุ่งเน้นพัฒนาประเทศไทยให้เป็นสังคมฐานความรู้ และมีความรู้มากขึ้นจากการนำวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีไปใช้สร้างคุณค่าเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความเป็นอยู่ของวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการเอสเอ็มอีดีขึ้นโดยนำ
ไปเป็นทุนในการประกอบธุรกิจหรือสัมมาชีพในพื้นที่ และสามารถแข่งขันได้บนฐานของเศรษฐกิจพอเพียงภายใต้ความหลาก
หลายของภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่อย่างสมบูรณ์


อาทิ ลำไย ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจของภาคเหนือที่มักประสบปัญหาเรื่องของราคาตกต่ำ เพราะผลผลิตที่ออกมามากจนเหลือทิ้ง
แต่ปัจจุบันได้มีการนำลำไยมาผลิตเป็นเครื่องสำอางช่วยในการกระชับผิวที่ผ่านการยืนยันผลทางวิทยาศาสตร์ ถือเป็นการต่อ
ยอดการใช้เทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มคุณค่าและมูลค่าให้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น

นอกจากนี้ ตัวอย่างจากภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับการใส่แกลบหรือรำข้าวลงบนนาข้าว ถือเป็นการต่อยอดไปสู่องค์ความรู้ใหม่ที่
เป็นกุญแจสู่เกษตรอินทรีย์แทนการใส่ปุ๋ยหรือสารเคมีที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมและก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค ซึ่งผลวิจัย
พบว่าแกลบมีแร่ธาตุสูงและได้จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อการปลูกข้าวในนาอย่างมาก

การพัฒนากระเบื้องดินเผาล้านนาให้มีความแข็งแกร่งทนทานต่อสภาวะแวดล้อมต่างๆ มากขึ้น และการถ่ายทอดเทคนิคการ
ทำอาหารสู่วิสาหกิจชุมชนให้ถูกสุขลักษณะ เป็นต้น



http://www.ryt9.com/s/prg/88110
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 01/10/2011 2:30 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

734. เครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าว ลดต้นทำนา ไร่ละ 1,250 บาท





จากการที่กรมการข้าวได้มอบหมายให้ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวพิษณุโลก จ.พิษณุโลก ให้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวปีละ 5,500 ตัน เพื่อลด
ปัญหาการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์หลักให้แก่เกษตรกร


ทำให้ ประมาณ แย้มชู นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ และ ประพันธ์ พงษ์ภู่ นายช่างไฟฟ้าชำนาญงาน ประจำศูนย์
ได้ค้นคิดและวิจัยพัฒนาเครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวนาน้ำตม ราคาประหยัดจนประสบผลสำเร็จใช้เงินทุนเพียง 305 หมื่นบาท
แต่มีสรรพคุณสามารถช่วยเกษตรกรลดต้นทุนได้ไร่ละ1,250 บาท ล่าสุดคว้ารางวัลนะเลิศหาสุดยอดผลงานเทคโนโลยีเพื่อ
ส่งเสริมการเกษตรอีกด้วย


กว่าเครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวจะประสบผลสำเร็จต้องบอกว่า ลองผิดลองถูก 2-3 ปี และเพิ่งประดิษฐ์สำเร็จและทดลองจน
ได้ผลที่พอใจเมื่อประมาณ 3-4 เดือนที่ผ่านมา โดยมีเพื่อนร่วมงานคือ ประพันธ์ เป็นผู้คิดค้นและพัฒนา ใช้งบประมาณใน
การประดิษฐ์ 3.5 หมื่นบาท จากการนำไปทดลองใช้ในแปลงนาทดลองของเกษตรกรที่ อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก
พบว่าสามารถช่วยเกษตรกรลดต้นทุนได้ประมาณ 1,250 บาทต่อไร่ ปัจจุบันเกษตรกรจะมีต้นทุนในการปลูกข้าวเฉลี่ย
ประมาณ 4,000-5,000 บาทต่อไร่ และต้องใช้เมล็ดพันธุ์ 25-30 กิโลกรัมต่อไร่


"พอเราทดลองใช้เครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าว พบว่าต้นทุนในการปลูกข้าวเหลือประมาณ 3,000 กว่าบาทต่อไร่ และจะ
ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวเหลือเพียง 6-10 กิโลกรัมต่อไร่เท่านั้น ขณะที่ผลผลิตที่ได้มีปริมาณเท่าเดิม คือ 700 กิโลกรัมต่อไร่
เกษตรกรจะมีต้นทุนลดลงจากการใช้เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย และยาฆ่าแมลงในปริมาณต่อไร่ที่ลดน้อยลง แต่คุณภาพข้าวที่ได้ดีขึ้น"
นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ กล่าวอย่างมั่นใจ


หลังจากผลงานประสบผลสำเร็จแล้ว จึงนำไปประกวด “เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการเกษตร” ในงาน "ถนนเทคโนโลยี 2554"
จัดโดย บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ที่จัดขึ้นมาเป็นปีที่ 9 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี
เมื่อวันที่ 11-12 มิถุนายน 2554 ที่ผ่านมา จนได้รับรางวัลชนะเลิศหาสุดยอดผลงานเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการเกษตร
โดยปีนี้มีผู้ส่งใบสมัครเข้าร่วมประกวดผลงานกว่า 1,000 ราย


ประมาณ บอกอีกว่า ที่ผ่านมาเกษตรกรประสบปัญหาในด้านของเมล็ดพันธุ์ข้าว ทางกรมการข้าวได้มอบหมายให้ศูนย์เมล็ด
พันธ์ข้าวพิษณุโลกผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวปีละประมาณ 5,500 ตัน ทางศูนย์จึงคิดประดิษฐ์และพัฒนาเครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์
ข้าวนาน้ำตมขึ้นมา เพื่อเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพได้ปริมาณที่เพียงพอ โดยเครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าว
นาน้ำตมที่ว่านี้มีโครงสร้างของเครื่องประกอบด้วยต้นฐานรองรับ


สำหรับการรองรับกลไกเมล็ดพันธุ์ใช้วัสดุที่เป็นเหล็ก ขณะที่ตัวกลไกหยอดเมล็ดพันธุ์ใช้วัสดุท่อพลาสติกที่มีเส้นผ่าศูนย์
กลาง 6 นิ้ว นำมาตัดเป็นท่อนยาว 13 ซม. เจาะเป็นรูครึ่งวงกลมจำนวน 12 รู จากนั้นนำสเตนเลสทำเป็นรูปกล่อง โดยท่อน
พลาสติกจะหมุนแล้วตักเมล็ดพันธุ์ข้าวจากกล่องสเตนเลส ลงแปลงปลูก ระบบขับเคลื่อน ประกอบไปด้วยวงล้อขนาดเส้น
ผ่าศูนย์กลาง 110 ซม. มีเพลาติดกับล้อและโซ่พร้อมสเตอร์ทำหน้าที่เป็นต้นกำลังให้ส่วนของกลไกการหยอดเมล็ดทำงาน
โดยมีระบบบังคับการทำงานด้วยวิธีการล็อกแผ่นเหล็กสองแผ่นเข้าหากัน มีสลักบังคับให้ส่วนกลไกหยอดเมล็ดทำงาน
หรือหยุดทำงานได้ จุดเด่นสามารถใช้เครื่องร่วมกับรถไถเดินตามด้วย


สำหรับเกษตรกรที่สนใจผลงานเครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าว สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์เมล็ดพันธุ์
ข้าวพิษณุโลก โทร.0-5531-1018 หรืออีเมล : psl_rsc@ricethailand.go.th



http://www.komchadluek.net


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 8:39 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 01/10/2011 2:38 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

735. "ขนุนดีสองพันธุ์" เนื้อหวาน ใหญ่ ดก



ขนุน เป็นไม้ผลอย่างหนึ่งที่นิยมปลูกและนิยมรับประทานอย่างแพร่หลายมาช้านาน ซึ่งขนุนจะมีหลากหลายสายพันธุ์ และที่เด่นๆ
เคยแนะนำในคอลัมน์ไปบ้างแล้ว โดยขนุนที่นิยมปลูกและนิยมรับประทานสามารถแยกได้เป็น 2 ประเภทคือ ประเภทที่มี
เนื้อเป็นสีเหลือง กับประเภทที่มีเนื้อเป็นสีส้ม นิยมเรียกกันว่า "ขนุนสีจำปา" รสชาติทั้ง 2 ประเภทที่กล่าวถึงจะมีความหวาน
กรอบอร่อยแตกต่างกัน






ปัจจุบัน มีผู้นำกิ่งพันธุ์ขนุนใหม่ๆออกวางขาย ซึ่งพบว่ามีอยู่ 2 พันธุ์น่าสนใจ มีรูปของผลติดโชว์ไว้กับต้นให้ชมด้วย โดย
สายพันธุ์แรกที่จะแนะนำได้แก่ขนุนที่มีชื่อว่า "ขนุนยักษ์พันธุ์รุ่งทวี" ผู้ขายบอกว่า ขนุนชนิดนี้มีลักษณะเด่นคือ ผลจะมีขนาด
ใหญ่มาก เคยชนะเลิศการประกวดขนุนประเภทขนุนยักษ์มาแล้วถึง 6 ครั้งซ้อน นอกจากจะมีผลขนาดใหญ่แล้ว เนื้อของ
ผลยังมีความหวานหอมอร่อยกรอบอีกด้วย เนื้อเป็นสีเหลืองเข้ม ให้ปริมาณเนื้อมากเกินกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักผล

ผล เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดใหญ่มาก น้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 6070 กิโลกรัมต่อผล ผลเมื่อแก่จัดจะไม่แตกหรือปริ และที่ถือ
ว่าเป็นข้อดีอีกอย่างของ "ขนุนยักษ์ พันธุ์รุ่งทวี" คือ จะติดผลปีละ 2 ครั้ง เวลาปลูกแล้วติดผลขนาดใหญ่จะตื่นตาตื่นใจมาก
หนึ่งผลต้องใช้คนยก 2 คน "ขนุนยักษ์พันธุ์รุ่งทวี" มีถิ่นดั้งเดิมอยู่ที่ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี มีต้นขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้
ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แผง "คุณภิญโญ" ตรงกันข้ามโครงการ 13 ราคาสอบถามกันเอง

ขนุนสายพันธุ์ที่ 2 คือ "ขนุนเหลืองบางเตย" เป็นขนุนพันธุ์เก่าแก่ มีประวัติเป็นของกำนันประสาน การะเวก อยู่ที่ ต.บางเตย
อ.สามพราน จ.นครปฐม จากนั้นได้มีการขยายพันธุ์ขายให้คนซื้อไปปลูกทั่วไป มีลักษณะเด่นคือ ผลจะเป็นรูปไข่ ผลเมื่อ
โตเต็มที่มีน้ำหนักเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 15 กิโลกรัมต่อผล เนื้อหรือ "ยวง" เป็นสีเหลืองจัด รสชาติหวานกรอบ ไม่เละ และเนื้อหนา
เป็นขนุนสายพันธุ์ที่ติดผลดกมาก ติดผลปีละครั้ง ให้เนื้อเกือบ 50 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักผล มีกิ่งตอนขายที่ ตลาดนัด
ไม้ดอกไม้ ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ 19 แผง "นายดาบสมพร" ราคาสอบถามกันเองเช่นกัน

ขนุน ทุกชนิดมีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ ARTOCARPUS HETERAPHYLLUS LAMK. อยู่ในวงศ์ MORACEAE
ประโยชน์ทางยา ผลอ่อนเป็นยาระบาย แก่นบดกินเป็นยาระบาย กินขนุนทำให้ผิวพรรณดี เมล็ดช่วยขับน้ำนมสตรีหลัง
คลอดด้วยครับ.



"นายเกษตร"

ที่มา:
Thairath Online
ขนุนยักษ์ พันธุ์รุ่งทวี, สายพันธุ์ขนุน, ขนุนสีจำปา, ขนุนยักษ์พันธุ์รุ่งทวี, ขนุนยักษ์


http://www.azooga.com/content_detail.php?cno=851
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 01/10/2011 2:43 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

736. "พริกขี้หนูสวนแคระ" ปลูกกระถางผลดก


ปกติ พริกขี้หนูสวนที่มีต้นวางขายในตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ จะเป็นไม้ล้มลุก ต้นสูง
ตั้งแต่ 3 ฟุตขึ้นไปจนถึง 1 เมตร มีดอกเป็นสีขาว "ผล" เป็นรูปกลม ปลายเรียว ขนาดเล็กกว่าพริกขี้หนูทั่วไป ผลดิบ
เป็นสีเขียว เมื่อสุกเป็นสีแดง รสชาติเผ็ด มีถิ่นกำเนิดจากอเมริกาเขตร้อนแล้วกระจายพันธุ์ปลูกไปทั่วโลก
มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ ว่า CAPSICUM FRUTESCENS LINN. ชื่อสามัญ BIRD CHILI, CHILI อยู่ใน
วงศ์ SOLANACEAE ซึ่งพริกขี้หนูสวน หรือพริกขี้หนูที่กล่าวนี้นิยมปลูกทั้งตามบ้าน
และปลูกเก็บขายมาช้านานแล้ว





ส่วน "พริกขี้หนูสวนแคระ" เพิ่งมีต้นวางขายเมื่อไม่นานมานี้ แต่ละต้นปลูกในกระถางขนาดเล็กกว้างประมาณ 5 นิ้วฟุต
ต้นสูงไม่ถึง 1 คืบมือผู้ใหญ่ ติดผลดกเต็มต้น มีทั้งผลดิบเป็นสีเขียว และผลสุกเป็นสีแดงสวยงามน่าชมมาก ผู้ขายบอกว่า
"พริกขี้หนู สวนแคระ" เป็นสายพันธุ์เตี้ยหรือแคระโดยตรง มีขนาดของต้นสูงเต็มที่อยู่ราวๆ 8-10 นิ้วฟุตเท่านั้น และ
ที่สำคัญจะติดผลดกไม่ขาดต้น สามารถปลูกเป็นไม้ประดับได้ด้วย

รสชาติ เผ็ดร้อนเหมือนกับพริกขี้หนูสวนทั่วไปทุกอย่าง แม้จะเป็นไม้ล้มลุกและมีขนาดของต้นเตี้ยแคระ หากเก็บ
ผลสุกแล้วตัดยอดสม่ำ เสมอ "พริกขี้หนูสวนแคระ" จะอยู่ ได้นานเกือบ 6-7 เดือน ผู้ปลูกสามารถนำเอาเมล็ดจากผล
แก่จัดตากแห้งเพื่อเก็บไว้ เพาะขยายพันธุ์ปลูกได้อย่างต่อเนื่อง ปัจจุบัน "พริกขี้หนูสวนแคระ" จึงกำลังเป็นที่นิยม
สำหรับคนชอบกินพริกขี้หนูแต่ไม่มีพื้นที่ปลูกลงดิน นำไปปลูกลงกระถางตั้งในที่แจ้งมีแสงแดดส่องถึงตลอดทั้งวัน
โดยปลูกหลายๆต้น หรือหลายๆกระถาง เวลาติดผลดกจะดูสวยงามแปลกตาและเก็บผลรับประทานได้คุ้มค่ามาก

พริกขี้หนูสวนแคระ มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับพริกขี้หนูสวน หรือพริกขี้หนูทั่วไปทุกอย่าง จะแตกต่างกัน
เพียงขนาดของต้นเพียงอย่างเดียว เป็นไม้ล้มลุก ต้นสูงเต็มที่ไม่เกิน 10 นิ้วฟุต กิ่งก้านเป็นสี่เหลี่ยม ใบเป็นใบเดี่ยว
ออกเรียงสลับ รูปไข่กว้าง ปลายแหลม โคนสอบ ดอกสีขาว ออกเป็นดอกเดี่ยวๆหรือ 2-5 ดอก ตามซอกใบและ
ปลายกิ่ง มีกลีบดอก 5 กลีบ เกสรตัวผู้ 5 อัน "ผล" รูปกลมเรียว ภายในมีเมล็ดแบนจำนวนมาก ผลดิบสีเขียว เมื่อสุก
เป็นสีแดง รสชาติเผ็ดมาก มีดอกและผลตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด มีต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอก ไม้ประดับ สวน
จตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ 24 แผง "คุณอนันต์" ราคาสอบถามกันเองครับ.


"นายเกษตร"



ที่มา:
Thairath Online

พริกขี้, พริกขี้หนูสวนแคระ, ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ, ไม้ดอกไม้ประดับ, พริกขี้หนูสวน, การปลูกพริกขี้หนูสวน

http://www.azooga.com/content_detail.php?cno=850
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 27, 28, 29 ... 72, 73, 74  ถัดไป
หน้า 28 จากทั้งหมด 74

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©