-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-* นานาสาระเรื่องเกษตร.
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * นานาสาระเรื่องเกษตร.
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* นานาสาระเรื่องเกษตร.
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 26, 27, 28 ... 72, 73, 74  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 24/09/2011 8:09 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หน้าที่ 27

ลำดับเรื่อง....


687. ข้าววัชพืช
688. แนวทางในการแก้ปัญหาข้าววัชพืช
689. การนำน้ำใต้ดินมาใช้ในนาข้าว...
690. สาเหตุหลักที่ปั๊มหอยโข่งไม่ทำงาน

691. พะเยาคิดค้น “ยางอบไอน้ำ” แห่งแรกภาคเหนือ
692. เลี้ยงปลาช่อนทะเลในกระชังยักษ์…เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ
693. ปลาทูน่าครีบน้ำเงิน...จะเหลือเพียงเงา
694. เลี้ยงปลา…กรายเป็นเงิน
695. เพาะพันธุ์ปลากะรังจุดฟ้าที่ตราด

696. 'ปุ๋ยหมักชีวภาพ' จากผักตบชวา
697. ปลาทูน่า เกาะสุรินทร์
698. ปลาทูน่าครีบน้ำเงิน มูลค่าดั่งทองในญี่ปุ่น
699. ญี่ปุ่น ให้ความสำคัญกับการรับประกันอายุการใช้ ของดอกไม้
700. การปรับปรุงมาตรฐานสารเคมีทางการเกษตรตกค้าง

701. การประกันราคาสินค้าเกษตรของญี่ปุ่น
702. พิสูจน์ ‘เจ้าใหญ่’ จระเข้ไทย ใหญ่กว่า จระเข้ยักษ์ที่ฟิลิปปินส์ ! !
703. วิกฤตน้ำท่วมทำพืชผักพิจิตรขายดี พ่อค้าแห่ซื้อส่งขายตลาดไท-สี่มุมเมือง
704. ข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง...มหัศจรรย์ธัญพืชที่น่าลิ้มลอง
705. "ยืดอายุมะเขือเทศ" ลดใช้พลังงาน แนวคิดดีๆ จาก มทร.ธัญบุรี

706. ท่อนพันธุ์ หญ้าหมัก งานสร้างเงิน
707. สับปะรดพันธุ์ใหม่ เก็บไว้ได้ 30 วัน-นานที่สุดในโลก
708. “ต๋าว” พืชเฉพาะถิ่น นครน่าน หนึ่งของดี แปรรูปได้
709. เทคนิคเพาะเห็ดโคนญี่ปุ่น
710. “เพชรรุ่ง” มะเขือเทศพันธุ์ใหม่ ต้านทานเชื้อไวรัสใบหงิกเหลือง

711. ทุเรียน หลงลับแล - หลินลับแล กิโลละ ๓๐๐

--------------------------------------------------------------------------------------







687. ข้าววัชพืช


เป็นปัญหาใหม่คุกคามการทำนาที่เพิ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลา 5-6 ปีที่ผ่านมา แต่ได้ระบาดไปทั่วพื้นที่นาข้าวในภาคกลาง ภาคเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มากกว่า 2 ล้านไร่แล้ว และคาดว่าจะลุกลามขยายพื้นที่ รวมทั้งเพิ่มระดับความเสียหายรุนแรงขึ้นไปอีก หากไม่มีมาตรการกำจัดควบคุมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง


การระบาดของข้าววัชพืชในประเทศไทย
ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2544 เริ่มพบข้าววัชพืชระบาดรุนแรงในนาข้าวจังหวัดกาญจนบุรี ชาวบ้านแถบนี้เรียกว่า “ข้าวนกหรือข้าวหาง” เนื่องจากนกชอบมากินและเมล็ดมีหางยาว เมื่อสุกแก่เมล็ดของข้าววัชพืชจะร่วงเกือบหมดก่อนเกี่ยว ทำให้สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้น้อย นอกจากนั้นเมล็ดข้าวสารของข้าวปลูกเริ่มมีสีแดง เมื่อสุ่มเก็บตัวอย่างผลผลิตข้าวที่มีการระบาดของข้าววัชพืชในระดับต่างๆ พบว่า เมื่อมีจำนวนต้นข้าววัชพืชในแปลงนามากกว่า 40 % ผลผลิตข้าวจะลดลงมากกว่าครึ่ง มีบางแปลงที่มีข้าวหางขึ้นหนาแน่นมากในพื้นที่ 1 ตารางเมตร เหลือต้นข้าวปลูกเพียง 3 ต้น ในขณะที่มีต้นข้าวหางถึง 800 ต้น ทำให้ผลผลิตเสียหาย 100 % ชาวนาบางรายต้องกำจัดทิ้งทั้งแปลงด้วยการตัดไปเลี้ยงวัวบ้าง พ่นสารกำจัดวัชพืชฆ่าทิ้งทั้งแปลงบ้าง เปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นเช่น แห้ว และผลไม้แทนบ้าง


มีรายงานการศึกษาพบว่า พบข้าวลูกผสมที่เกิดจากการผสมข้ามระหว่างข้าวป่าธรรมชาติ กับข้าวปลูก และมีการกระจายตัวของลูกหลานออกเป็นหลายลักษณะมีการศึกษาพบว่าอัตราการผสมข้ามระหว่างข้าวปลูกกับข้าวป่าจะอยู่ระหว่าง 2-3% ลูกผสมที่กระจายตัวและเจริญแพร่พันธุ์ในแปลงปลูกมักจะมีลักษณะ ส่วนใหญ่ไม่เป็นที่ต้องการของชาวนา คือ เปลือกเมล็ดมีสีดำ หรือน้ำตาลแดง เมล็ดข้าวสารมีสีแดง เมล็ดหางยาวหรือสั้นและเมื่อสุกแก่จะร่วงเกือบทั้งหมด ข้าวลูกผสม(spontanea from) เหล่านี้ คือ “ข้าวหาง ข้าวดีด ข้าวเด้ง ข้าวนก ข้าวลายหรือข้าวแดง” นั่นเอง ดังนั้น เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนกับชื่อที่เรียกต่างกันตามท้องถิ่น จึงขอใช้ชื่อเรียกรวมกันว่า “ข้าววัชพืช” เพื่อให้ได้ความหมายตรงกันว่าเป็นข้าวที่ชาวนาไม่ต้องการ ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า “Weedy Rice”


ลักษณะและประเภทของข้าววัชพืช
ข้าววัชพืชเจริญเติบโตได้เร็วกว่าข้าวปลูกจนสูงล้มทับต้นข้าว มีความสามารถในการปรับตัวให้รอดพ้นจากการกำจัดได้ดี เช่น ปรับต้นให้เตี้ยลงเท่าข้าวปลูก เพื่อให้รอดพ้นจากการตัดออกดอกและสุกเร็วกว่าข้าวปลูก ปลายเมล็ดมีหางยาว ทั้งสีขาวและแดงเปลือกเมล็ดสีดำ หรือ สีน้ำตาลลายแดง เมล็ดข้าวสารมีสีแดง ขาวขุ่น และมีท้องไข่มากเมล็ดข้าววัชพืช สามารถมีชีวิตอยู่ในดินได้นาน 2-12 ปี และเมล็ดที่หล่น ลงบนดินไม่ได้งอกขึ้นมาพร้อมทีเดียวกันทั้งหมด การกำจัดข้าววัชพืชจึงต้องกระทำอย่างต่อเนื่องและติดต่อกันอย่างน้อย 3 ปีประเภทของข้าววัชพืช มีดังนี้

1. ข้าวหาง หรือ ข้าวนก
2. ข้าวดีด หรือ ข้าวเด้ง
3. ข้าวแดง หรือ ข้าวลาย



สาเหตุการระบาดข้าววัชพืช
1. เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ไม่ได้มาตรฐาน มีการปนเปื้อนของข้าววัชพืช
2. เมล็ดข้าววัชพืชติดไปกับอุปกรณ์ทำนา เช่น รถเกี่ยวนวดข้าว



ลักษณะที่ก่อให้เกิดผลเสียหายของข้าววัชพืช
1. เจริญเติบโตได้เร็วกว่าข้าวปลูก แย่งอาหารและคลุมพื้นที่ ทำให้ข้าวปลูกไม่เติบโต หรือตาย หรือไม่ให้ผลผลิต
2. มีความสามารถในการปรับตัวให้รอดพ้นจากการกำจัดได้ดี
3. มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะทั้งทางพันธุกรรม(ลักษณะแฝงภายในที่ยังไม่แสดงให้เห็น) และทางกายภาพ(มองเห็นได้จากภายนอก)ทุกชั่วอายุ (Generation) เนื่องจากมีความสามารถในการผสมข้าม (Cross Pollinations)
4. เมล็ดที่ร่วงหล่นสะสมอยู่ในดินพื้นที่ปลูกและงอกเป็นวัชพืชในฤดูต่อๆ ไป
5. เมล็ดจะพักตัว และมีชีวิตอยู่ในดินได้นานถึง 12 ปี
6. เมล็ดสามารถงอกได้แม้อยู่ใต้ดินลึก 15 เซนติเมตร
7. ปลายเมล็ดทั้งสีขาวและแดง มีหางยาว
8. มีการผสมข้ามและอัตราการผสมติดสูงมาก
9. เปลือกเมล็ดสีดำ หรือลายน้ำตาลแดง
10. เมล็ดข้าวสารมีสีแดง ขาวขุ่น และมีท้องไข่มาก



ปัญหาที่พบในการทำนา
1. ศัตรูพืช ได้แก่ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นสีเขียว เพลี้ยไฟ เพลี้ยจักจั่นปีกลายหยัก แมลงสิง บั่ว หนอนกอแถบลาย หนอนห่อใบข้าว หนอนกระทู้กล้า หนอนกอแถบลายสีม่วง และหนอนกอสีครีม
2. โรคที่เกิดกับข้าว ได้แก่ โรคใบหงิก โรคหนอนกอ โรคเชื้อรา โรคกาบใบแห้ง โรคราหลุม โรคใบสีส้ม
3. น้ำท่วม ปัญหาการเกิดน้ำท่วมขังในนาข้าวนั้น จะมีผลเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับต้นข้าว ก็ขึ้นอยู่กับระดับน้ำที่ท่วมต้นข้าว ลักษณะของน้ำที่ท่วมขัง และระยะเวลาที่น้ำขังอยู่ในนา จะมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว
4. วัชพืชในนาข้าว ได้แก่ ข้าววัชพืช หญ้าลิเก หญ้าดอกขาว หญ้าดอกแดง หญ้าดอกตอก แหวหมู หญ้าตีนนก หญ้าใบกว้าง หญ้าใบแคบ หญ้าตีนกา หญ้าลัดเขียด หญ้าดอกพริกไทย หญ้าหนวดปลาดุก หญ้ากระดูกไก่ โสน ผักปอดนา และ ผักแว่น



วิธีการดูแลข้าว
ทำนาข้าวตามปกติ
1. หลังจากหว่านข้าวได้ 7-9 วัน จะเริ่มฉีดยาคลุม
2. หลังจากฉีดยาคลุม 3 วัน เริ่มสูบน้ำเข้าแปลงนาให้พอประมาณ (ค่อนต้นข้าว) และอย่าให้แห้ง เป็นเวลา 1 สัปดาห์ ทำให้ตะไคร่น้ำจับหน้าดิน หญ้าจึงไม่ขึ้น
3. หลังจากนั้น 20-25 วัน เริ่มใส่ปุ๋ย (จะเป็นปุ๋ย 46-0-0 หรือปุ๋ยที่ต้องการใส่ก็ได้)
4. ประมาณ 30 วัน ฉีดยาฆ่าหญ้าฆ่าหนอนฆ่าแมลง เนื่องจากใส่ปุ๋ยแล้วข้าวก็จะงามหนอนจะมากัดกินข้าว
5. ประมาณ 45 วัน ข้าวจะเริ่มตั้งท้อง จึงต้องหว่านปุ๋ยรอบที่ 2 ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 ถ้าใส่เกิน 45 วันข้าวดูดซึมไม่หมด ทำให้ข้าวแก่ช้า
6. ประมาณ 50-60 วัน ต้องฉีดยาฮอร์โมนหรือยาเร่งรวงข้าวและต้องคอยระวังเพลี้ยสีน้ำตาล เพลี้ยกระโดด เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยพวกนี้จะมาดูดน้ำเลี้ยงของต้นข้าว
7. เมื่อข้าวออกรวงหมดแล้วฉีดยาเร่งเต่งหรือยาฮอร์โมนประมาณ 1–2 ครั้ง
8. เมื่อข้าวเริ่มเหลืองหางต้องปล่อยน้ำออกจากแปลงนาให้หมด
9. เมื่อข้าวอายุครบกำหนดหรือข้าวเหลืองหมดทั้งแปลงแล้วก็ทำการเก็บเกี่ยว


การดูแลข้าวพันธุ์ C75
1. หลังจากหว่านข้าวได้ 7-9 วัน จะเริ่มฉีดยาคลุม
2. หลังจากฉีดยาคลุม 3 วัน เริ่มสูบน้ำเข้าแปลงนาให้พอประมาณ (ค่อนต้นข้าว) และอย่าให้แห้ง เป็นเวลา 1 สัปดาห์ ทำให้ตะไคร่น้ำจับหน้าดิน หญ้าจึงไม่ขึ้น
3. หลังจากนั้น 20-25 วัน เริ่มใส่ปุ๋ย (จะเป็นปุ๋ย 46-0-0 หรือปุ๋ยที่ต้องการใส่ก็ได้
4. ประมาณ 30 วัน ฉีดยาฆ่าหญ้าฆ่าหนอนฆ่าแมลง เนื่องจากใส่ปุ๋ยแล้วข้าวก็จะงามหนอนจะมากัดกินข้าว
5. ประมาณ 45 วัน ข้าวจะเริ่มตั้งท้อง จึงต้องหว่านปุ๋ยรอบที่ 2 ใส่ปุ๋ยสูตร15-15-15 หรือ 16-16-16 ถ้าใส่เกิน 45 วันข้าวดูดซึมไม่หมด ทำให้ข้าวแก่ช้า
6. ประมาณ 50-60 วัน ต้องฉีดยาฮอร์โมนหรือยาเร่งรวงข้าวและต้องคอยระวังเพลี้ยสีน้ำตาล เพลี้ยกระโดด เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยพวกนี้จะมาดูดน้ำเลี้ยงของต้นข้าว
7. เมื่อข้าวออกรวงหมดแล้วฉีดยาเร่งเต่งหรือยาฮอร์โมนประมาณ 1–2 ครั้ง
8. เมื่อข้าวเริ่มเหลืองหางต้องปล่อยน้ำออกจากแปลงนาให้หมด
9. เมื่อข้าวอายุครบ 80 วัน หรือข้าวเหลืองหมดทั้งแปลงแล้วก็ทำการเก็บเกี่ยว


การดูแลข้าวนาดำ
1. หลังจากดำนาได้ 20-25 วัน เริ่มใส่ปุ๋ย (จะเป็นปุ๋ย 46-0-0 หรือปุ๋ยที่ต้องการใส่ก็ได้)
2. ประมาณ 30 วัน ฉีดยาฆ่าหญ้าฆ่าหนอนฆ่าแมลง เนื่องจากใส่ปุ๋ยแล้วข้าวก็จะงามหนอนจะมากัดกินข้าว
3. ประมาณ 45 วัน ข้าวจะเริ่มตั้งท้อง จึงต้องหว่านปุ๋ยรอบที่ 2 ใส่ปุ๋ยสูตร15-15-15 หรือ 16-16-16 ถ้าใส่เกิน 45 วันข้าวดูดซึมไม่หมด ทำให้ข้าวแก่ช้า
4. ประมาณ 50-60 วัน ต้องฉีดยาฮอร์โมนหรือยาเร่งรวงข้าวและต้องคอยระวังเพลี้ยสีน้ำตาล เพลี้ยกระโดด เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยพวกนี้จะมาดูดน้ำเลี้ยงของต้นข้าว
5. เมื่อข้าวออกรวงหมดแล้วฉีดยาเร่งเต่งหรือยาฮอร์โมนประมาณ 1–2 ครั้ง
6. เมื่อข้าวเริ่มเหลืองหางต้องปล่อยน้ำออกจากแปลงนาให้หมด
7. เมื่อข้าวอายุครบกำหนดหรือข้าวเหลืองหมดทั้งแปลงแล้วก็ทำการเก็บเกี่ยว



ส่วนการทดลองครั้งนี้ มุ่งเน้นที่จะศึกษาเปรียบเทียบวิธีการแก้ไขปัญหาข้าววัชพืชของเกษตรกร หมู่บ้านตาขีด อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ เพื่อหาข้อสรุปวิธีการแก้ไขปัญหาข้าววัชพืชที่ดีที่สุด เพื่อนำมาใช้กับการปลูกข้าวของเกษตรกรในอำเภอของผู้จัดทำ





เว็บไซต์นี้แสดงผลได้ดีบนความละเอียด 800X600 Text Size Medium
สร้างสรรค์โดยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2552
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์


http://www.chaiwbi.com/2552student/wbi2552/3131/903.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/10/2011 6:59 am, แก้ไขทั้งหมด 7 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 24/09/2011 9:20 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

688. แนวทางในการแก้ปัญหาข้าววัชพืช


จากการทำงานวิจัยร่วมกับเกษตรกรในจังหวัดกาญจนบุรีและนครนายก เพื่อหาวิธีกำจัดข้าววัชพืชมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2545 จนถึงปัจจุบัน พอจะสรุปได้ว่า หัวใจสำคัญในการแก้ไขปัญหา คือ การใช้เมล็ดพันธุ์ที่บริสุทธิ์ ร่วมกับวิธีเขตกรรม เช่น

1. หากมีการระบาดเล็กน้อย ควรรีบกำจัดโดยการถอนต้นออกจากแปลง

2. หากมีการระบาดรุนแรงควรงดปลูกข้าว 1 ฤดู หากจำเป็นต้องปลูกข้าว ให้ไถเตรียมดินล่อให้ข้าววัชพืชงอกแล้วกำจัดทิ้ง 1 ครั้ง ก่อนหว่านข้าว

3. การตัดรวง ควรเริ่มทำตั้งแต่ระยะตั้งท้องและระยะเริ่มออกดอก โดยตัดชิดโคนต้นเพื่อป้องกันการแตกต้นใหม่ และในระยะที่เริ่มติดเมล็ดแล้ว ควรนำไปกำจัดทิ้งนอกแปลง

4. ทำความสะอาดรถเกี่ยวข้าวก่อนทุกครั้ง เพื่อป้องกันเมล็ดข้าววัชพืชที่อาจติดมาจากแปลงอื่นและป้องกันไม่ให้แพร่กระจายไปสู่ แปลงอื่น

สิ่งสำคัญที่อยากจะเน้นย้ำอีกครั้งหนึ่ง คือ การป้องกันจะกระทำได้ง่ายกว่าการกำจัด หากชาวนาสังเกตเห็นว่าเริ่มมีต้นข้าวที่สูงกว่าและออกดอกก่อนข้าวปลูก ให้รีบถอนทิ้งทำลายเสียแต่เนิ่นๆ อย่าเข้าใจว่าเป็นข้าวปนที่เมล็ดไม่ร่วงเหมือนแต่ก่อน


การกำจัดข้าววัชพืชโดยใช้สารเคมี
เนื่องจากข้าววัชพืชมีความใกล้ชิดทางพันธุกรรมกับข้าวปลูกมาก ยากที่จะหาสารกำจัดวัชพืชมาควบคุมได้ สารเคมีที่สามารถฆ่าข้าววัชพืชได้ ก็เป็นอันตรายต่อข้าวปลูกได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม มีวิธีการใช้สารเคมีได้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ก่อนที่ข้าววัชพืชจะเจริญเติบโตดีกว่าข้าวปลูก คือ ภายในช่วง 8-10 วันหลังจากหว่านข้าว ซึ่งต้นข้าววัชพืชกำลังโผล่พ้นผิวดิน ในขณะที่ต้นข้าวปลูกตั้งตัวได้แล้วและมีใบ 2-3 ใบ ปล่อยให้ระดับน้ำท่วมยอดข้าววัชพืช (แต่ไม่ท่วมสะดือข้าว) แล้วหว่านสารเคมีกำจัดวัชพืชลงในน้ำ สารเคมีจะเข้าไปสู่ยอดข้าววัชพืชและถูกทำลายไปภายใน 7-10 วัน หลังจากนั้น ให้รักษาระดับน้ำไว้อีก 10-15 วัน เพื่อควบคุมข้าววัชพืชที่จะงอกขึ้นมาจากชั้นใต้ดินที่อยู่ลึกลงไปอีก จากการทดลองในแปลงเกษตรกรจังหวัดสุพรรณบุรี 2 ฤดู ติด ต่อกัน พบว่ามีสารเคมี 3 ชนิด คือ บิวตาคลอร์ /2,4-ดี ไธโอเบนคาร์บ /2,4-ดี และ อ๊อกซาไดอาร์กิล ให้ผลการควบคุมค่อนข้าง สม่ำเสมอ แต่เปอร์เซ็นต์ในการควบคุมข้าววัชพืชต่างกันบ้าง เกษตรกรต้องพิจารณาทั้งเรื่องต้นทุน และผลที่จะด้รับ ก่อนที่จะเลือกสารชนิดใด ชนิดหนึ่งไปใช้ อัตราการใช้และประสิทธิภาพในการควบคุมข้าววัชพืชของสารทั้งสามชนิด ได้แสดงไว้ใน ตารางที่ 2


ข้อควรระวังในการใช้สารเคมีกำจัดข้าววัชพืช
1. พื้นที่นาต้องค่อนข้างเรียบสม่ำเสมอ และสามารถควบคุมระดับน้ำให้ท่วมยอดข้าววัชพืช แต่ต้องไม่ท่วมสะดือข้าวปลูก เพราะเป็นจุดอ่อนที่สารเคมีจะเข้าทำลายข้าวปลูกได้

2. หากแปลงไม่สม่ำเสมอ ต้นข้าวปลูกที่อยู่บริเวณที่ลุ่มจะตาย ในทางกลับกัน หากข้าววัชพืชที่อยู่ในบริเวณที่ดอนจะรอดจากการ
ทำลาย ในบริเวณที่ลุ่มมากและไม่สามารถปรับระดับได้ ก็ไม่ควรหว่านข้าว

3. หลังจากหว่านสารเคมีแล้ว ต้องรักษาระดับน้ำไว้อีกอย่างน้อย 10-15 วัน เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการควบคุมข้าววัชพืชในฤดู
นั้น หากปล่อยให้น้ำแห้ง ข้าววัชพืชสามารถงอกจากระดับที่ลึกกว่าผิวดินได้อีก ทำให้การควบคุมไม่ได้ผล

4. วิธีการใช้สารเคมีนี้ แนะนำให้ใช้สำหรับแปลงที่มีการระบาดรุนแรงเท่านั้น และไม่ควรใช้ติดต่อกันเกิน 3 ฤดู เพื่อป้องกันไม่ให้ข้าววัชพืชปรับตัวต้านทางต่อสารเคมี เนื่องจากข้าววัชพืชมีความหลากหลาย จึงสามารถในการปรับตัวให้รอดพ้นการกำจัดได้ดีมาก


สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ไม่มีสารเคมีชนิดใดที่จะกำจัดข้าววัชพืชได้ 100%
ดังนั้นหากมีต้นข้าววัชพืชหลงเหลืออยู่ในแปลงเกษตรกรควรใช้วิธี
ถอนต้นทิ้งเพื่อป้องกันการสร้างเมล็ดสะสมในแปลงฤดูต่อๆไป

ตารางที่ 2 ประสิทธิภาพของสารเคมีกำจัดข้าววัชพืช ใช้ที่ 8-10 วันหลังหว่านข้าว

*1 สูตรเม็ดใช้หว่านได้ทันที ส่วนสูตรน้ำและผงอัดเม็ดต้องคลุกทราย 4 กิโลกรัม ก่อนหว่าน
*2 เปรียบเทียบกับกรรมวิธีที่ไม่ใช้สาร

หมายเหตุ : เกษตรกรควรปฏิบัติภายใต้การควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิดของนักวิชาการเพื่อป้องกันความเสียหาย ที่อาจเกิดต่อข้าวปลูกในกรณีที่ใช้สารเคมีไม่ถูกต้องตามคำแนะนำ สอบถามข้อมูล เพิ่มเติมได้ที่
ดร. จรรยา มณีโชติ นักวิชาการการเกษตร 8ว. กลุ่มวิจัยวัชพืช
โทร. 02-5795247 มือถือ 01-4946247











วิธีป้องกัน






ที่มา : กรมการข้าว กระทรางเกษตรและสหกรณ์
http://www.ablewaterpump.com/web/index.php/allcontent/weedyrice/348-theway


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 24/09/2011 9:47 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 24/09/2011 9:25 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

689. การนำน้ำใต้ดินมาใช้ในนาข้าว...








http://www.ablewaterpump.com/web/index.php/allcontent/weedyrice/348-theway


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 24/09/2011 9:47 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 24/09/2011 9:46 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

690. สาเหตุหลักที่ปั๊มหอยโข่งไม่ทำงาน


แบ่งออกเป็น 10 หัวข้อ คือ
1. ปั๊มไม่จ่ายน้ำ
2. ปั๊มจ่ายน้ำออกมาน้อย
3. ปั๊มให้แรงดันน้ำน้อย
4. เริ่มต้นจ่ายน้ำแล้วขาดหายไป
5 .ปั๊มต้องการกำลังมากผิดปรกติ
6. ตลับกันรั่ว (Stuffing Box) รั่วมากผิดปรกติ
7. อายุการใช้งานของกันรั่ว (Packing) สั้นกว่าปกติ
8. ปั๊มสั่นหรือมีเสียงดัง
9. อายุการใช้งานของรองลื่น (Bearing) สั้นผิดปรกติ
10. ปั๊มร้อนจัดเวลาทำงาน หรือหมุนฝืด



1. ปั๊มไม่จ่ายน้ำ สาเหตุมาจาก
- ไม่ได้เติมน้ำก่อนเดินเครื่อง หรือไม่มีน้ำอยู่ในห้องสูบ
- ในห้องสูบหรือท่อดูดมีน้ำไม่เต็มระยะดูด
- ยก (Suction lift) สูงเกินไป NPSHa น้อยกว่า NPSHr
- มีโพรงอากาศ (Air Pocket) ในท่อดูด
- ปลายท่อดูดอยู่ต่ำจากผิวของของเหลวไม่มากพอ
- ความเร็วต่ำเกินไป
- ใบพัดหมุนผิดทาง
- เฮดรวมของระบบสูงกว่าเฮดของปั๊มที่ออกแบบไว้
- ให้ปั๊มที่ไม่เหมาะสมทำงานร่วมกันแบบขนาน
- มีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปติดอยุ่ในใบพัด


2. ปั๊มจ่ายน้ำออกมาน้อย สาเหตุมาจาก
1. ในห้องสูบหรือท่อดูดมีน้ำไม่เต็ม
2. ระยะดูดยก (Suction lift) สูงเกินไป
3. NPSHa น้อยกว่า NPSHr
4. มีฟองอากาศหรือก๊าซในของเหลวมากเกินไป
5. มีโพรงอากาศ (Air Pocket) ในท่อดูด
6. ท่อดูดรั่ว อากาศเข้าไปในท่อได้
7. อากาศรั่วเข้าไปในห้องสูบผ่านตลับอัดกันรั่ว (Stuffing box)
8. ฟุตวาล์วเล็กเกินไป
9. ฟุตวาล์วอุดตัน
10. ปลายท่อดูดอยู่ต่ำจากผิวของของเหลวไม่มากพอ
11. ความเร็วต่ำเกินไป
12. เฮดรวมของระบบสูงกว่าเฮดของปั๊มที่ออกแบบไว้
13. ความหนืด (Viscosity) ของของเหลวต่างจากที่ได้ออกแบบไว้
14. ให้ปั๊มที่ไม่เหมาะสมทำงานร่วมกันแบบขนาน
15. มีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปติดอยุ่ในใบพัด
16. แหวนกันสึก (Wearing ring) สึกมาก
17. ใบพัดชำรุด
18. กันรั่ว (Gasket) ของห้องสูบชำรุด ทำให้มีการรั่วภายใน


3. ปั๊มให้แรงดันน้ำน้อย
1. มีฟองอากาศหรือก๊าซในของเหลวมากเกินไป
2. ความเร็วต่ำเกินไป
3. ใบพัดหมุนผิดทาง
4. เฮดรวมของระบบสูงกว่าเฮดของปั๊มที่ออกแบบไว้
5. ความหนืด (Viscosity) ของของเหลวต่างจากที่ได้ออกแบบไว้
6. ให้ปั๊มที่ไม่เหมาะสมทำงานร่วมกันแบบขนาน
7. แหวนกันสึก (Wearing ring) สึกมาก
8. ใบพัดชำรุด
9. กันรั่ว (Gasket) ของห้องสูบชำรุด ทำให้มีการรั่วภายใน


4. เริ่มต้นจ่ายน้ำแล้วขาดหายไป สาเหตุมาจาก
1. ในห้องสูบหรือท่อดูดมีน้ำไม่เต็ม
2. ระยะดูดยก (Suction lift) สูงเกินไป
3. มีฟองอากาศหรือก๊าซในของเหลวมากเกินไป
4. มีโพรงอากาศ (Air Pocket) ในท่อดูด
5. ท่อดูดรั่ว อากาศเข้าไปในท่อได้
6. อากาศรั่วเข้าไปในห้องสูบผ่านตลับอัดกันรั่ว (Stuffing box)
7. ปลายท่อดูดอยู่ต่ำจากผิวของของเหลวไม่มากพอ
8. ท่อน้ำกันรั่วอุดตัน น้ำไม่สามารถไหลเข้าไปทำหน้าที่ได้ทำให้อากาศรั่วเข้าไปในห้องสูบ
9. ติดตั้ง Seal cage ในตำแหน่งที่ไม่ถูกต้องในตลับอัดกันรั่ว (Stuffing Box) ทำให้น้ำกันรั่วไม่สามารถ


5. ปั๊มต้องการกำลังมากผิดปกติ สาเหตุมาจาก
1. ความเร็วสูงเกินไป
2. ใบพัดหมุนผิดทาง
3. เฮดรวมของระบบสูงกว่าเฮดของปั๊มที่ออกแบบไว้
4. เฮดรวมของระบบต่ำกว่าเฮดของปั๊มที่ออกแบบไว้
5. ความถ่วงจำเพาะของของเหลวต่างจากที่ออกแบบไว้
6. ความหนืด (Viscosity) ของของเหลวต่างจากที่ได้ออกแบบไว้
7. มีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปติดอยุ่ในใบพัด
8. เพลาของปั๊มและต้นกำลังไม่ได้ศูนย์ซึ่งกันและกัน
9. เพลาคด
10. ชิ้นส่วนที่หมุนบดกับส่วนที่อยู่กับที่
11. แหวนกันสึก (Wearing ring) สึกมาก
12. ติดตั้งกันรั่ว (Packing) ไม่ถูกต้อง
13. ประเภทของกันรั่วไม่เหมาะกับสภาพการทำงาน
14. ต่อมหล่อลื่น (Gland) แน่นเกินไป เป็นผลให้ไม่มีสิ่งหล่อลื่นไหลไปสู่กันรั่ว (Packing)


6. ตลับกันรั่ว (Stuffing Box) รั่วมากผิดปกติ สาเหตุมาจาก
1. เพลาหรือปลอกเพลา (Shaft sleeves) ชำรุดที่กันรั่ว (Packing)
2. ติดตั้งกันรั่ว (Packing) ไม่ถูกต้อง ในตลับอัดกันรั่ว (Stuffing Box) ทำให้น้ำกันรั่วไม่สามารถทำงานได้
3. ประเภทของกันรั่วไม่เหมาะกับสภาพการทำงาน
4. เพลาหมุนไม่ได้ศูนย์เนื่องจากรองลื่นชำรุด หรือเพลาของปั๊มและต้นกำลังไม่ได้ศูนย์กัน
5. ใบพัดหรือชิ้นส่วนที่หมุนอื่นไม่สมดุลย์ ทำให้เกิดสั่น
6. ไม่มีน้ำไหลไประบายความร้อนตลับอัดกันรั่ว (Stuffing Box) ประเภทระบายความร้อนด้วยน้ำ
7. ช่องว่าง (Clearance) ระหว่างเพลากับเรือนปั๊ม (Casing) ที่ด้านล่างของตลับอัดกันรั่วมากเกินไปทำให้กันรั่วถูกดันเข้าไปในห้องสูบ
8. มีสิ่งสกปรกหรือกรวดทรายในน้ำยากันรั่ว (Sealing Liquid) ทำให้เกิดรอยขีดข่วนบนเพลาหรือปลอกเพลา


7. อายุการใช้งานของกันรั่ว (Packing) สั้นกว่าปกติ สาเหตุมาจาก
1. ติดตั้งกันรั่ว (Packing) ไม่ถูกต้อง
2. ท่อน้ำกันรั่วอุดตัน น้ำไม่สามารถไหลเข้าไปทำหน้าที่ได้ทำให้อากาศรั่วเข้าไปในห้องสูบ
3. ติดตั้ง Seal cage ในตำแหน่งที่ไม่ถูกต้องในตลับอัดกันรั่ว (Stuffing Box) ทำให้น้ำกันรั่วไม่สามารถไหลเข้าไปทำหน้าที่ได้
4. เพลาของปั๊มและต้นกำลังไม่ได้ศูนย์ซึ่งกันและกัน
5. เพลาคด
6. รองลื่น (Bearing) สึก
7. เพลาหรือปลอกเพลา (Shaft sleeves) ชำรุดที่กันรั่ว (Packing)
8. ประเภทของกันรั่วไม่เหมาะกับสภาพการทำงาน
9. เพลาหมุนไม่ได้ศูนย์เนื่องจากรองลื่นชำรุด หรือเพลาของปั๊มและต้นกำลังไม่ได้ศูนย์กัน
10. ใบพัดหรือชิ้นส่วนที่หมุนอื่นไม่สมดุลย์ ทำให้เกิดสั่น
11. ต่อมหล่อลื่น (Gland) แน่นเกินไป เป็นผลให้ไม่มีสิ่งหล่อลื่นไหลไปสู่กันรั่ว (Packing)
12. ไม่มีน้ำไหลไประบายความร้อนตลับอัดกันรั่ว (Stuffing Box) ประเภทระบายความร้อนด้วยน้ำ
13. ช่องว่าง (Clearance) ระหว่างเพลากับเรือนปั๊ม (Casing) ที่ด้านล่างของตลับอัดกันรั่วมากเกินไป ทำให้กันรั่วถูกดันเข้าไปในห้องสูบ
14. มีสิ่งสกปรกหรือกรวดทรายในน้ำยากันรั่ว (Sealing Liquid) ทำให้เกิดรอยขีดข่วนบนเพลาหรือปลอกเพลา


8. ปั๊มสั่นหรือมีเสียงดัง สาเหตุมาจาก
1. ในห้องสูบหรือท่อดูดมีน้ำไม่เต็ม
2. ระยะดูดยก (Suction lift) สูงเกินไป
3. NPSHa น้อยกว่า NPSHr
4. ฟุตวาล์วเล็กเกินไป
5. ฟุตวาล์วอุดตัน
6. ปลายท่อดูดอยู่ต่ำจากผิวของของเหลวไม่มากพอ
7. ให้ปั๊มทำงานที่อัตราการสูบต่ำมาก
8. มีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปติดอยุ่ในใบพัด
9. เพลาของปั๊มและต้นกำลังไม่ได้ศูนย์ซึ่งกันและกัน
10. แท่นปั๊มและต้นกำลังไม่มั่นคงแข็งแรง
11. เพลาคด
12. ชิ้นส่วนที่หมุนบดกับส่วนที่อยู่กับที่
13. รองลื่น (Bearing) สึก
14. ใบพัดชำรุด
15. เพลาหมุนไม่ได้ศูนย์เนื่องจากรองลื่นชำรุด หรือเพลาของปั๊มและต้นกำลังไม่ได้ศูนย์กัน
16. ใบพัดหรือชิ้นส่วนที่หมุนอื่นไม่สมดุลย์ ทำให้เกิดสั่น
17. มีแรงกดดันมากเกินไปโดยมีสาเหตุมาจากการชำรุดของชิ้นส่วนภายใน หรือการชำรุดของอุปกรณ์ควบคุมความสมดุลย์ของแรงดันของของเหลว
18. มีไขหรือน้ำมันหล่อลื่นในช่องที่ติดตั้งรองลื่น หรือตลับลูกปืนมากเกินไป หรือมีการระบายความร้อนไม่ดีจึงทำให้มีอุณหภูมิสูง
19. ขาดวัสดุหล่อลื่น
20. ติดตั้งรองลื่นไม่ถูกต้อง เช่น ลูกปืนแตกหรือชำรุดขณะติดตั้งใช้ขนาดที่ไม่เหมาะสม
21. มีสิ่งสกปรกเข้าไปอยู่ในตลับลูกปืนหรือรองลื่น
22. สนิมขึ้นในตลับลูกปืนหรือรองลื่นเนื่องจากน้ำรั่วเข้าไปได้
23. อุณหภูมิของน้ำที่สูบเย็นมากทำให้ไอน้ำกลั่นตัวเป็นหยดน้ำในช่องตลับลูกปืน


9. อายุการใช้งานของรองลื่น (Bearing) สั้นผิดปกติ สาเหตุมาจาก
1. เพลาของปั๊มและต้นกำลังไม่ได้ศูนย์ซึ่งกันและกัน
2. เพลาคด
3. ชิ้นส่วนที่หมุนบดกับส่วนที่อยู่กับที่
4. รองลื่น (Bearing) สึก
5. เพลาหมุนไม่ได้ศูนย์เนื่องจากรองลื่นชำรุด หรือเพลาของปั๊มและต้นกำลังไม่ได้ศูนย์กัน
6. ใบพัดหรือชิ้นส่วนที่หมุนอื่นไม่สมดุลย์ ทำให้เกิดสั่น
7. มีแรงกดดันมากเกินไปโดยมีสาเหตุมาจากการชำรุดของชิ้นส่วนภายใน หรือการชำรุดของอุปกรณ์ควบคุมความสมดุลย์ของแรงดันของของเหลว
8. มีไขหรือน้ำมันหล่อลื่นในช่องที่ติดตั้งรองลื่น หรือตลับลูกปืนมากเกินไป หรือมีการระบายความร้อนไม่ดีจึงทำให้มีอุณหภูมิสูง
9. ขาดวัสดุหล่อลื่น
10. ติดตั้งรองลื่นไม่ถูกต้อง เช่น ลูกปืนแตกหรือชำรุดขณะติดตั้งใช้ขนาดที่ไม่เหมาะสม
11. อุณหภูมิของน้ำที่สูบเย็นมากทำให้ไอน้ำกลั่นตัวเป็นหยดน้ำในช่องตลับลูกปืน
12. สนิมขึ้นในตลับลูกปืนหรือรองลื่นเนื่องจากน้ำรั่วเข้าไปได้
13. มีสิ่งสกปรกเข้าไปอยู่ในตลับลูกปืนหรือรองลื่น


10. ปั๊มร้อนจัดเวลาทำงาน หรือ หมุนฝืด สาเหตุมาจาก
1. ไม่ได้เติมน้ำก่อนเดินเครื่อง หรือไม่มีน้ำอยู่ในห้องสูบ
2. NPSHa น้อยกว่า NPSHr
3. ให้ปั๊มทำงานที่อัตราการสูบต่ำมาก
4. ให้ปั๊มที่ไม่เหมาะสมทำงานร่วมกันแบบขนาน
5. เพลาของปั๊มและต้นกำลังไม่ได้ศูนย์ซึ่งกันและกัน
6. ชิ้นส่วนที่หมุนบดกับส่วนที่อยู่กับที่
7. รองลื่น (Bearing) สึก
8. เพลาหมุนไม่ได้ศูนย์เนื่องจากรองลื่นชำรุด หรือเพลาของปั๊มและต้นกำลังไม่ได้ศูนย์กัน
9. มีแรงกดดันมากเกินไปโดยมีสาเหตุมาจากการชำรุดของชิ้นส่วนภายใน หรือการชำรุดของอุปกรณ์ควบคุมความสมดุลย์ของแรงดันของของเหลว



ที่มา : จากหนังสือ ปั๊มและระบบสูบน้ำ

รศ.ดร.วิบูลย์ บุญยธโรกุล ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน, คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาล้ยเกษตรศาสตร์ หน้าที่ 205,206,207,208,209,210,211


http://www.ablewaterpump.com/web/index.php/allcontent/problemsoling
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 24/09/2011 10:43 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

691. พะเยาคิดค้น “ยางอบไอน้ำ” แห่งแรกภาคเหนือ




ผวจ.พะเยาสั่งบูรณาการ 9 สหกรณ์ ฯ นำยางเข้าเตาอบลำไย คาดโกอินเตอร์รายได้สะพัดเข้าพะเยาปีละกว่า 30 ล้านบาท


นายพงษ์ศักดิ์ วังเสมอ ผวจ.พะเยา กล่าวว่า ทีมงานฝ่ายบริหารของสหกรณ์ชาวสวนยางพะเยา จำกัด ได้ทำการทดลองนำยางพาราแผ่นดิบอบไอน้ำด้วยตู้อบลำไยที่มีจังหวัดพะเยา ซึ่งเป็นแห่งแรกของภาคเหนือ โดยพบว่าสามารถทำให้ยางพาราแผ่นดิบที่ผ่านการอบมีคุณภาพ ยางแผ่นใสสีเหมือนน้ำผึ้ง ไม่มีกลิ่นเหม็นของยาง และที่สำคัญทีมงานที่ทดลองแจ้งว่ายางที่ผ่านการอบไอน้ำแล้วสามารถเก็บไว้ได้นาน ไม่มีเชื้อราทั้งด้านนอกและในแผ่น ยิ่งกว่านั้นคือมีราคาสูงขึ้นกว่ายางแผ่นดิบปกติอย่างมาก และกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ ซึ่งหลังจากได้เชิญตัวแทนของสหกรณ์ ฯ กลุ่มเกษตรกร ในจังหวัดพะเยาที่มีเตาอบลำไยจำนวน 8 แห่ง ทั้งหมด 29 ตู้ มาหารือปรากฏว่าทุกแห่งเห็นด้วยในหลักการและสนับสนุนยินดีที่จะให้ความร่วมมือกัน ตนจึงได้มอบหมายให้ทางสหกรณ์ยาง ฯ เป็นผู้ดำเนินการศึกษาต้นทุนเรื่องค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นต้นแบบแก่ทุกสหกรณ์ ฯ และกลุ่มเกษตรกรที่มีเตาอบได้นำไปใช้

ผวจ.พะเยา กล่าวอีกว่า ได้มีการสำรวจของราชการแล้ว พบว่าขณะนี้ทั้งจังหวัดพะเยา มีเตาอบลำไยจำนวน 8 แห่ง 29 ตู้ โดยแต่ละตู้ทางทีมงานของสหกรณ์ยางฯ แจ้งว่าสามารถนำยางแผ่นเข้าอบได้ประมาณ 3-5 ตัน ซึ่งทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของตู้อบด้วย อย่างไรก็ตามเมื่อจังหวัดพะเยาสามารถทำยางอบไอน้ำได้แล้ว ถือว่าเป็นโอกาสดีของเกษตรกรยางพาราจังหวัดพะเยา ที่จะให้ชีวิตดีขึ้นจากการทำสวนยางพารา ซึ่งหากราคาของยางพาราแผ่นดิบยังมีราคาไม่ต่ำกว่า กก.ละ 100 บาท คาดว่าแต่ละปีจังหวัดพะเยาจะมีรายได้จากการทำยางแผ่นของเกษตรกรทั้งจังหวัดไม่น้อยกว่า 20 ล้านบาทเป็นอย่างต่ำ และจะสูงยิ่งขึ้นหากเป็นยางแผ่นอบไอน้ำ

“เรื่องนี้มอบหมายให้ทางสหกรณ์ยางฯเป็นผู้รับไปทดลองและศึกษาเรื่องต้นทุนการอบไอน้ำเพื่อเป็นต้นแบบให้แก่สหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกรที่จะทำยางพาราอบไอน้ำ ซึ่งกระบวนการตั้งแต่เริ่มจนถึงผลผลิตที่สำเร็จแล้ว ทุกสหกรณ์จะร่วมกันศึกษาทุกขั้นตอนอย่างละเอียด โดยให้นัดหมายกันทำอย่างสะดวก ทางจังหวัดและสหกรณ์จังหวัดพะเยา ยินดีที่จะเป็นผู้สนับสนุนอย่างเต็มที่” นายพงษ์ศักดิ์ กล่าว

ด้านนายสุบิน สมฤทธิ์ ประธานสหกรณ์ชาวสวนยางพะเยา ฯ กล่าวว่า สำหรับเรื่องการตลาดนั้นทางสหกรณ์ยาง ฯ จะเป็นผู้รับผิดชอบในการรับซื้อและส่งตลาดปลายน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งยางพาราอบไอน้ำจะได้รับการประกันราคาโดยสหกรณ์ยาง ฯ ทุกสัปดาห์ เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่กลุ่มเกษตรกร หรือสหกรณ์ต่าง ๆ ในจังหวัดพะเยา ที่จะทำการอบและนำมาจำหน่ายให้แก่สหกรณ์ยาง ฯ

ขณะที่นายเจตพร สังข์ทอง ผู้จัดการสหกรณ์ยาง ฯ กล่าวว่า โดยปกติทุกเดือนสหกรณ์ยาง ฯ ได้ส่งขายยางพาราแผ่นดิบเดือนละประมาณ 150 ตัน หรือ 150,000 กิโลกรัม มีเงินสะพัดไม่ต่ำกว่าเดือนละ 15-20 ล้านบาท และโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีผลผลิตยางพาราอบไอน้ำ ซึ่งคาดว่าหากสามารถมีผลผลิตจากทุกเตาอบคาดว่าจะมีปริมาณยางพาราอบไอน้ำทั้งจังหวัดไม่น้อยกว่า 120 ตัน จะทำให้มูลค่าเม็ดเงินที่เป็นรายได้เข้าสู่จังหวัดพะเยาไม่น้อยกว่า 12-15 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นจากราคาของยางพาราแผ่นดิบ กก.ละประมาณ 5-10 บาท ตามคุณภาพของแผ่นยางพารา รวมแล้วเฉลี่ยแต่ละเดือนจะมีเงินสะพัดเข้าสู่จังหวัดพะเยาจากผลผลิตยางพาราแผ่นดิบและอบไอน้ำไม่น้อยกว่า 30 ล้านบาทเป็นอย่างต่ำ


เกาะทุกประเด็นร้อนกับ โพสต์ทูเดย์ดอทคอม คลิก!
http://www.posttoday.com/กทม.-ภูมิภาค/ภาคเหนือ/112593/พะเยาคิดค้น-ยางอบไอน้ำแห่งแรกภาคเหนือ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 24/09/2011 11:54 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

692. เลี้ยงปลาช่อนทะเลในกระชังยักษ์…เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ

เรียบเรียงโดย อนันต์ มิตรช่วยรอด




ที่มา : http://www.moohin.com/fish/fish-mf040.shtml



ย้อนไปเมื่อปี 2547 ภัยพิบัติสึนามิได้สร้างความเสียหายให้แก่ประเทศไทยทั้งด้านเศรษฐกิจ ทรัพยากรธรรมชาติและชีวิตมนุษย์ไปอย่างมหาศาลซึ่งในจำนวนนั้นผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงอย่างเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาทะเลต่างถูกคลื่นยักษ์พัดพาเอาเครื่องมือทำมาหากินตลอดจนรายได้หลักของครอบครัวไปแทบหมดสิ้น มาปัจจุบันชายฝั่งทะเลอันดามันก็กลับเข้าสู่ภาวะปกติ ธรรมชาติที่หายไปก็ได้คืนสภาพเดิมอีกครั้ง ชาวประมงที่ประกอบอาชีพอยู่ตามชายฝั่งทะเลสามารถออกทำมาหากินเลี้ยงครอบครัวอย่างปกติ มีทั้งออกเรือหาปลาบ้างและเลี้ยงปลาตามชายฝั่งทะเลบ้าง เมื่อกล่าวถึงการเลี้ยงปลาแถบชายฝั่งทะเลปลาที่ชาวประมงนิยมนำมาเลี้ยงนั้นมีหลายชนิด เช่น ปลากะพงขาว ปลากะพงแดง ปลากะรัง และปลาหมอทะเล เป็นต้น ซึ่งชาวประมงส่วนใหญ่จะเลี้ยงในกระชัง โดยปกติกระชังที่ชาวประมงเลี้ยงนั้นมีขนาดกว้าง 3 เมตร ยาว 3 เมตร ลึก 2 เมตร แต่กระชังที่ผมจะนำเสนอเป็นกระชังที่มีขนาดใหญ่มากและปลาที่นำมาเลี้ยงซึ่งเป็นปลาเศรษฐกิจตัวใหม่ที่น่าจับตาสำหรับเกษตรกรที่ยึดอาชีพเพาะเลี้ยงชายฝั่งทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน เนื่องจากเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายโตเร็วและทนทานต่อโรคสูงที่สำคัญขายได้ราคาดีอีกด้วยนั่นก็คือ “ การเลี้ยงปลาช่อนทะเลในกระชังยักษ์” นั่นเองครับ

ปลาช่อนทะเลชื่อวิทยาศาสตร์ Rachycentron canadum ชื่อสามัญ Cobia ปลาช่อนทะเลเป็นปลาที่มีความยาวได้ถึง 2 เมตร น้ำหนัก 68 กิโลกรัม ปลาชนิดนี้แพร่กระจายทั่วทะเลไทยพบมากบริเวณที่มีปลากลางน้ำอาศัยอยู่ ความลึกหน้าดินอยู่ที่ประมาณ 1-6 เมตร ตลาดญี่ปุ่นมีความต้องการปลาช่อนทะเลมากรวมทั้งเกาหลีใต้และฮ่องกงก็มีความต้องการเช่นกันแต่ในตลาดออสเตรเลียจะนิยมปลาช่อนทะเลที่มีเนื้อเป็นเส้น ๆ สำหรับคู่แข่งสำคัญ คือ ประเทศเวียดนามที่สามารถเลี้ยงได้ดี


ลักษณะรูปร่าง
ปลาช่อนทะเลเป็นปลาที่มีรูปร่างยาวและกว้างแบบ fusiform ส่วนหัวแบบ ตามีขนาดเล็ก ขากรรไกรล่างยื่นยาวกว่าขากรรไกรบนเล็กน้อยมีฟันแบบ villiform อยู่บนขากรรไกรลิ้นและเพดานปาก ลำตัวเรียบมีเกล็ดขนาดเล็กมีสีน้ำตาลเข้มแล้วจางเป็นสีขาวบริเวณส่วนท้องด้านข้างลำตัวมีแถบสีน้ำตาลเข้มเป็นแนวยาว 2 แถบ ซึ่งจะเห็นได้ชัดในช่วงฤดูผสมพันธุ์วางไข่ ครีบหนังอันแรกเป็นหนามแหลมสั้นเรียงแยกกันเป็นอิสระ 6-9 อัน ซึ่งลักษณะครีบหลังนี้บ่งบอกปลาในครอบครัว Rachycentridac ในวัยเจริญพันธุ์ปลาชนิดนี้จะมีหางแบบเว้าลึกหรือเสี้ยวพระจันทร์ส่วนครีบมีสีน้ำตาลเข้ม ปลาช่อนเป็นปลาที่ไม่มีถุงลมมีลักษณะคล้ายเหาฉลามแต่ไม่มีแผ่นเกาะด้านหลังอย่างเหาฉลามมีลำตัวที่แข็งแรง ส่วนหางของมันมีลักษณะกลมมนเป็นเว้าลึกในตัวเต็มวัย ส่วนปลาวัยรุ่นจะมีแถบสีขาวและดำชัดเจนเป็นปลาผิวน้ำชอบอยู่ตัวเดียว ยกเว้นในช่วงผสมพันธุ์จะมารวมกันเป็นแนวหินหรือตามซากปรักหักพังแนวก่อสร้างบางฤดูกาลก็อพยพไปหากินตามแม่น้ำและป่าชายเลนเพื่อหาปู ปลา หมึก เป็นอาหาร

เป็นอย่างไรบ้างครับ ปลาช่อนทะเลที่ผมกล่าวมาข้างต้นทั้งหมดทั้งรูปร่าง หน้าตา และลักษณะนิสัยของมันบางท่านคงพบเห็นกันบ้างแล้วนะครับ

หากมีบ้านพักอาศัยอยู่แถบชายฝั่งทะเลและคิดจะเลี้ยงปลาเป็นอาชีพเสริมหรืออาชีพหลักเพื่อหารายได้ไปจุนเจือครอบครัว ควรนำปลาช่อนทะเลไปเลี้ยงนะครับเพราะปลาชนิดนี้เป็นปลาเศรษฐกิจตัวใหม่ที่น่าจับตามอง ปลาช่อนทะเลยังเลี้ยงง่าย โตเร็ว และทนทานต่อโรคสูง เพียงลงทุนสร้างกระชังเพื่อที่จะนำปลาช่อนทะเลไปเลี้ยง ลักษณะกระชังมีความกว้าง 3 เมตร ยาว 3 เมตร และลึก 2 เมตร โดยใช้โฟมเป็นหมอนรองเพื่อรับน้ำหนักกระชัง แค่นี้ก็สามารถเลี้ยงปลาช่อนทะเลได้แล้วครับ ถ้ามีงบประมาณมากเพียงพอที่จะสร้างกระชังที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งกระชังขนาดใหญ่นี้ที่ชาวบ้านเรียกกันทั่วไปว่า “กระชังยักษ์” เอ๊ะ! ที่เขาเรียกว่ากระชังยักษ์กระชังมันใหญ่จริงหรือเปล่าครับ หากต้องการรู้จักกระชังยักษ์ดังกล่าว ผมจะพาไปรู้จักกับขนาดของกระชังกันเลยครับ

กระชังยักษ์ที่ว่านี้มีความยาวรอบกระชังถึง 50 เมตร และเส้นผ่าศูนย์กลางยาว 16 เมตร และ ลึก 6 เมตร ซึ่งกระชังขนาดใหญ่นี้ได้เกิดขึ้นมาเมื่อรัฐบาลนอร์เวย์ได้ร่วมมือกับรัฐบาลไทยภายใต้โครงการนำร่องเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยนามิ โดยรัฐบาลนอร์เวย์ได้มอบเงินงบประมาณให้จำนวน 66 ล้านบาท เพื่อทำกระชังใหญ่เส้นรอบวง 50 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 16 เมตร จำนวน 3 กระชัง โดยกระชังที่สร้างขึ้นมานั้นใช้เนื้ออวนไนลอนอย่างดีที่สั่งมาจากประเทศนอร์เวย์มีทั้งหมด 3 ขนาด คือ ขนาด 12 มิลลิเมตร ซึ่งใช้ในช่วงแรกและขนาด 18 มิลลิเมตร ขนาดนี้จะใช้เมื่อปลาเลี้ยงได้ 5-6 เดือน สุดท้ายขนาด 25 มิลลิเมตร ใช้เมื่อปลาเลี้ยงได้ 7-10 เดือน ซึ่งรัฐบาลไทยได้มอบหมายให้กรมประมงประสานโครงการ ด้วยเหตุนี้กรมประมงในฐานะหน่วยงานผู้รับผิดชอบจึงได้เข้ามาดูแลและมีแนวคิดส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาเลี้ยงปลาช่อนทะเลเพื่อจำหน่ายมากขึ้น อันจะเป็นอีกทางเลือกใหม่ในการประกอบอาชีพสำหรับชาวประมงไทย กรมประมงจึงได้ศึกษาและวิจัยโครงการนำร่อง การเพาะเลี้ยงปลาช่อนทะเลในกระชังขนาดใหญ่และได้มีการเพาะเลี้ยงไปแล้วจำนวน 2 รุ่น ซึ่งก็ปรากฏว่าประสบความสำเร็จอย่างสูง นโยบายที่จะส่งเสริมสนับสนุนให้เกษตรกรไทยเลี้ยงปลาช่อนทะเลเพื่อเป็นสัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ในอนาคตจึงมองเห็นเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น

เมื่อได้รู้ความเป็นมาของกระชังกันแล้ว ลองมาศึกษากับการเลี้ยงปลาช่อนทะเลในกระชังยักษ์กันบ้างดีกว่าครับ ว่ากรมประมงเขาเลี้ยงกันแบบไหนถึงได้ผลสำเร็จอย่างสูง



ที่มา: http://www.huaybondin.net/forum/thread-59465-1-1.html



การเลี้ยงปลาช่อนทะเล
เมื่อเตรียมกระชังยักษ์ไว้พร้อมที่จะนำลูกปลามาเลี้ยงได้แล้วก็สามารถนำปลาช่อนทะเลที่ได้ขนาด 6-7 นิ้ว หรือน้ำหนัก 40 กรัม เพื่อที่จะนำไปใส่ในกระชังที่จะเลี้ยง จึงใช้เรือลำเลียงลูกปลาโดยใส่ในกระชังผ้าใบ ซึ่งกางไว้ในเรือมีระบบน้ำเข้า – ออก ใช้ระบบลมผ่านหัวทรายและออกซิเจนบริสุทธิ์เพื่อปล่อยผ่านกระชัง โดยปล่อยลงเลี้ยงกระชังละ 4,700 ตัว หลังจากปล่อยปลาช่อนทะเลลงเลี้ยงในกระชัง สำหรับอาหารปลาช่อนทะเลนั้นควรให้อาหารเม็ดชนิดจมและมีโปรตีน 40-44% และไขมัน 14-18% ในระยะแรกให้อาหารวันละ 3 มื้อ เช้า เที่ยง เย็น เมื่อปลาโตขึ้นน้ำหนักมากกว่า 500 กรัม ให้วันละ 2 มื้อ เช้าและเย็น และเมื่อปลาโตกว่า 1 กิโลกรัม ให้อาหารวันละ 1 มื้อ คือตอนเย็น การให้อาหารควรให้อย่างรวดเร็วและหว่านให้กระจายเป็นวงกว้าง เพื่อให้ปลาได้กินทุกตัวให้อาหารจนปลาอิ่มโดยสังเกตได้จากปลาหยุดสนใจในการกินอาหารเลี้ยงปลาที่ขึ้นกินอาหารจะเบาลง ในระหว่างให้อาหารเราควรดูพฤติกรรมของปลาด้วยว่าปลายังสนใจกินอาหารอยู่หรือไม่หากปลาไม่สนใจแสดงว่าปลาอิ่มแล้ว

ที่สำคัญในระหว่างเลี้ยงนั้นควรจะศึกษาการเจริญเติบโตของปลาด้วยโดยชั่งน้ำหนักและวัดความยาวของปลาช่อนทะเล เพื่อติดตามการเจริญเติบโตการจับปลาเพื่อที่จะนำมาชั่งวัดควรจะใช้อาหารล่อแล้วใช้สวิงตักขึ้นมา หากปลาที่มีขนาดใหญ่กว่า 3 กิโลกรัม จะใช้อวนลากรวบรวมปลาให้อยู่รวมกันแล้วใช้สวิงตักในการชั่งวัดเพื่อติดตามผลนี้ควรจะชั่งเดือนละ 1 ครั้ง โดยสุ่มกระชังละ 30 ตัว

การเลี้ยงปลาช่อนทะเลอีกอย่างหนึ่งคือ เรื่องของคุณภาพน้ำ คุณภาพน้ำในการเลี้ยงปลาช่อนทะเล ก็สำคัญเช่นกัน ควรจะตรวจวัดคุณภาพน้ำ เช่น อุณหภูมิ ออกซิเจนละลายน้ำ ที่กระชังเลี้ยงปลาควรจะวัดทุกวันส่วนคุณภาพน้ำตัวอื่น ๆ เช่น ความเค็ม ไนไตร์ท ไนเตรท แอมโมเนียม ตรวจวัดเดือนละครั้ง และเมื่อครบ 1 เดือนก็จะเปลี่ยนกระชังเก่านั้นขึ้นมาทำความสะอาดหากอวนฉีกขาดก็จะซ่อมแซม และกระชังใหม่ที่นำลงเลี้ยงปลานั้นเมื่อติดตั้งเสร็จจะดำน้ำดูอีกครั้งหนึ่งว่าอวดชำรุดหรือไม่

ในการเลี้ยงปลาช่อนทะเลนั้นหากต้องการเลี้ยงให้ได้ผลผลิตสูงเราต้องป้องกันและรักษาไม่ให้ปลาที่เลี้ยงนั้นเป็นโรค และควรดำเนินการตรวจสุขภาพปลาทุกสัปดาห์ในระยะ 3 เดือนแรกจากนั้นลดลงเหลือเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อตรวจหาพยาธิภายนอกและแบคทีเรียส่วนมากที่เจอคือ เห็บระฆัง ปลิงใส มักเกิดในช่วงหลังฝนตกหนักติดต่อกันหลายวันเมื่อปลาเป็นโรค ควรรักษาโดยการใช้กระชังผ้าใบกางรอบกระชังปลา (ควรทำในช่วงน้ำตาย) ให้ระบบลมในกระชังและใช้ยาในกลุ่มยาฆ่าแมลง (ดิพเทอร์เร็กซ์)ปริมาณ 0.2-0.5 ppm โดยการแช่ 3 ครั้ง ห่างกันครั้งละประมาณ 2 ชั่วโมง จากนั้นดึงผ้าใบที่รักษาโรคปลาออกหรือหากสังเกตเห็นว่าปลาผิดปกติหรือป่วยให้ใช้กระเทียมสด 10 กรัม บดละเอียดผสมกับวิตามินซี 500 มิลลิกรัม และแร่ธาตุรวม 500 มิลลิกรัมต่ออาหารปลา 1 กิโลกรัมคลุกเคล้าด้วยน้ำมันปลาหรือน้ำมันปลาหมักเพื่อกระตุ้นให้ปลาอยากกินอาหารยิ่งขึ้น

ปลาช่อนทะเลเมื่อเลี้ยงได้ 10 เดือน จะมีขนาดประมาณ 4-6 กิโลกรัม สามารถจับจำหน่ายได้ โดยใช้อวนจับปลาต้อนปลาให้มาอยู่รวมกันแล้วใช้สวิงจับปลาขึ้นมาตัดเหงือกเพื่อให้เลือดออก นำปลาใส่ถังเพื่อรวบรวมเลือดไม่ให้ไหลลงสู่ทะเลเมื่อเลือดออกหมดตัว จึงนำปลามาชั่งน้ำหนักแล้วผ่าท้องเอาอวัยวะภายในออกทำความสะอาดแล้วนำไปแช่น้ำแข็ง เพื่อลำเลียงไปยังห้องเย็นและนำส่งโรงงานแปรรูปเมื่อถึงโรงงาน ปลาจะถูกแร่เนื้อหรือตัดเป็นชิ้นมีหนังติดหรือแร่เอาหนังออกเพื่อส่งไปจำหน่ายต่อไป

ที่กล่าวมาทั้งหมดจึงแสดงให้เห็นว่าการเลี้ยงปลาช่อนทะเลนับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของเกษตรกรที่ต้องต่อสู้ฟันฝ่ามรสุมเศรษฐกิจในปัจจุบัน เพราะการเลี้ยงปลาช่อนทะเลเป็นหนึ่งในสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่น่าสนใจถ้าหากว่าชาวประมงท่านใดที่คิดอยากจะเลี้ยงจริง ๆไม่ต้องลงทุนมหาศาลเหมือนอย่างเช่นผมยกตัวอย่างการเลี้ยงปลาช่อนทะเลในกระชังยักษ์ของกรมประมงก็ได้นะครับ ผมนำมาบอกกล่าวเล่าสู่กันฟังก็เพื่อให้เห็นถึงการศึกษาทดลองที่เอาจริงเอาจังของกรมประมงเท่านั้นเอง ส่วนชาวประมงอย่างเรา ๆ เริ่มจากเล็กจากน้อยก็ได้นะครับ แต่ก็ใช่ว่าใครคิดจะเลี้ยงแล้วทำได้สำเร็จกันถ้วนหน้าเสมอไป ทั้งนี้ทั้งนั้น สิ่งที่จะช่วยให้เกษตรกรสามารถเอาตัวรอดได้ในยุคปัจจุบันคือ ควรดำเนินชีวิตอย่างพอประมาณ อยู่แต่พอดีทำแต่พอตัวแล้วการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาใช้จะช่วยให้เราพออยู่พอกินได้อีกนานครับ



เอกสารอ้างอิง
สร้างเงินสร้างงาน . 2552. แนะเลี้ยงปลาช่อนทะเลไม่ยากอย่างที่คิด . ปีที่ 6 ฉบับที่ 64. สำนักวิจัยและ ประมงชายฝั่ง กรมประมง . หน้า 95-97.

นิรนาม.ปลาช่อนทะเลไทยส่งเสริมเชิงพาณิชย์ได้.(ออนไลน์)สืบค้นจาก : http://www.phtnet.org

http://www.nicaonline.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 8:35 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 24/09/2011 11:58 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

693. ปลาทูน่าครีบน้ำเงิน...จะเหลือเพียงเงา


เรียบเรียงโดย...ฉวีวรรณ หนูนุ่น






ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ NORTHERN BLUEFIN TUNA
ชื่อวิทยาศาสตร์ Thunnus thynnus (Linnaeus,1758)
วงศ์ Scombridae , subfamily : Scombrinae


ปลาทูน่าครีบน้ำเงิน (Bluefin tuna) เป็นทูน่าที่ใหญ่ที่สุด มีขนาดใหญ่กว่าโลมาถึง 2 เท่า ยาวถึง 3.65 เมตร หนัก 680 กิโลกรัม และอายุยืนร่วม 30 ปี แม้จะตัวใหญ่ แต่ปลาชนิดนี้ก็ประเปรียวยิ่ง สามารถแหวกว่ายด้วยความเร็ว 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมงและดำน้ำได้ลึกเกือบหนึ่งกิโลเมตร ระบบไหลเวียนโลหิตแบบสัตว์เลือดอุ่นที่แตกต่างจากปลาส่วนใหญ่ พบแพร่กระจายบริเวณมหาสมุทรแอตแลนติกฝั่งตะวันตกแถบประเทศแคนนาดา อ่าวเม็กซิโก ไปถึงแถบประเทศเวเนซุเอล่าและบราซิล มหาสมุทรแอตแลนติกฝั่งตะวันออกบริเวณหมู่เกาะโลโฟเทนนอกฝั่งนอร์เวย์ ไปถึงเกาะคานารี่ ทะเลเมดิเตอเรเนี่ยนจนถึงทางตอนใต้ของทะเลดำ และมีรายงานว่าพบบริเวณนอกฝั่งของอัฟริกาใต้ ปกติจะอาศัยอยู่ในมหาสมุทร แต่ก็สามารถมาอาศัยอยู่บริเวณใกล้ฝั่งและสามารถทนต่ออุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงได้กว้าง มักรวมฝูงกับปลาทูน่าชนิดอื่นๆ อาหารเป็นปลาขนาดเล็ก หมึก และปูสีแดง ครั้งหนึ่งทูน่าครีบน้ำเงินยักษ์หลายล้านตัวที่อพยพผ่านมหาสมุทรแอตแลนติกและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน กลายเป็นอาหารสำคัญของคนยุคโบราณจนพวกเขาถึงขั้นสลักภาพปลาชนิดนี้บนผนังถ้ำและเหรียญกษาปณ์

ลักษณะที่เห็นได้เด่นชัดคือ ความกว้างที่สุดของลำตัวปลาอยู่ทางตอนต้นของครีบหลังอันที่หนึ่ง ตัวค่อนข้างอ้วนสั้น หัวโต ตาโต ครีบหลังแยกออกเป็นสองส่วนอย่างชัดเจน ที่คอดหางมีสีดำ ขนาดของปลาทูน่าครีบสีน้ำเงินใหญ่ที่สุดมีความยาวมากกว่า 300 เซนติเมตร แต่ที่พบทั่วไปมีขนาด 200 เซนติเมตร มีรายงานว่าเคยพบยาวถึง 458 เซนติเมตร และน้ำหนักที่เคยพบมากที่สุด คือ 684 กิโลกรัม อายุสูงสุดที่มีรายงานคือ 15 ปี เป็นที่นิยมมากในประเทศญี่ปุ่นทั้งรับประทานสดและบรรจุกระป๋อง แต่ปัจจุบันเป็นชนิดที่หายาก เนื่องจากการประมงมากจนไม่สามารถเกิดทดแทนได้ทัน

ปลาทูน่าครีบน้ำเงินยักษ์ หรือปลาทูน่าครีบน้ำเงินแอตแลนติก มีคุณสมบัติพิเศษ คือ เนื้อส่วนท้องสุดนุ่มที่มีไขมันแทรกเป็นชั้น เหมาะจะทำ ซูชิ ตลอดสิบปีที่ผ่านมา กองเรือประมงทันสมัยซึ่งมักจะมีเครื่องบินค้นหาตำแหน่งนำ ไล่ล่าฝูงทูน่าครีบน้ำเงินไปทั่วทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และจับปลาชนิดนี้ได้ปีละหลายหมื่นตัว ซึ่งหลายครั้งเป็นการลักลอบจับโดยผิดกฎหมาย ปลาที่ถูกขุนจนอ้วนในกระชังนอกชายฝั่งจะถูกยิงและแล่เนื้อไปทำซูชิและสเต็กขายในญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และยุโรป แม้ทูน่าครีบน้ำเงินในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจะถูกกวาดไปจนใกล้สูญพันธุ์ในปัจจุบัน แต่เจ้าหน้าที่ของยุโรปและแอฟริกาเหนือก็แทบไม่ได้ทำอะไรเพื่อหยุดยั้งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์นี้เลย

กลุ่มพิทักษ์สิ่งแวดล้อมออกมาเตือนว่า ปลาทูน่าครีบน้ำเงินเสี่ยงสูญพันธุ์ หลังจากคณะกรรมาธิการเพื่อการอนุรักษ์ปลาทูน่าในมหาสมุทรแอตแลนติกเห็นชอบ ให้ลดโควตาการจับปลาทูน่าครีบน้ำเงินในมหาสมุทรแอตแลนติกลงราว 1 ใน 3

การจับปลาทูน่าครีบน้ำเงิน แต่กลับมีมติให้ลดการจับปลาดังกล่าว ทั้งๆที่มีการเตือนว่า การจับปลาทูน่าครีบน้ำเงินมีความเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ เพราะมีการทำประมงปลาชนิดนี้อย่างเป็นล่ำเป็นสันที่มากเกินไปในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและแอตแลนติก เพื่อสนองต่อความต้องการของตลาดเอเชีย โดยเฉพาะญี่ปุ่น ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการเพื่อการอนุรักษ์ปลาทูน่าในมหาสมุทรแอตแลนติก ระบุว่า จะปรับลดโควตาประจำปีในการจับทูน่าครีบน้ำเงินในปีหน้าลงเหลือ 13,5000 ตัน จากเดิม 19,950 ตัน และจะย่นฤดูกาลจับปลาลงเหลือ 1 เดือน รวมทั้งมีแผนการฟื้นฟู ซึ่งจะทำให้ประชากรทูน่าครีบน้ำเงินฟื้นตัวขึ้นราวร้อยละ 60 ในอีก 15 ปีข้างหน้า.

ตอนนี้มหาสมุทรของโลกเหลือเพียงเงาของสิ่งที่เคยมีอยู่ในอดีต ยกเว้นในเขตที่มีการจัดการประมงอย่างดี เช่น อลาสก้า ไอซ์แลนด์ และนิวซีแลนด์ ปลาที่แหวกว่ายในมหาสมุทรเหลือไม่ถึงเสี้ยวหนึ่งของที่เคยมีเมื่อร้อยปีก่อน นักชีววิทยาทางทะเลมีความเห็นต่างกันเกี่ยวกับปริมาณปลาที่ลดลง บางคนอ้างว่าปลาทะเลขนาดใหญ่ลดลงร้อยละ 80-90 ในขณะที่บางคนเห็นว่าไม่ได้ลดลงขนาดนั้น แต่ทั้งหมดเห็นตรงกันว่า แทบทุกหนแห่งที่มีปลาชนิดนี้อยู่มีเรือประมงออกจับปลาทีมากเกินไป



เอกสารอ้างอิง
นบสร วันชาญเวช .2010 aqua biz vol.4 issue May 2010
http://news.ohpicpost.com/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7/18582/
http://www.ngthai.com/ngm/0704/feature.asp?featureno=1
http://www.pinonlines.com/node/8415

http://www.nicaonline.com/articles1/site/view_article.asp?idarticle=199
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 24/09/2011 12:04 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

694. เลี้ยงปลา…กรายเป็นเงิน

โดย จำนง ถีราวุฒิ






เอ๋ยถึง ทอดมันปลากราย ลูกชิ้นปลากราย ปลากรายทอดกระเทียมพริกไทย แหม…น้ำลายหยดติ๋ง…ติ๋ง…เลยนะครับ สุดแสนอร่อยเหนือคำบรรยายจริงๆ ด้วยเหตุนี้เองปลาชนิดนี้จึงกลายเป็นปลาน้ำจืดที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ และเป็นที่นิยมของผู้บริโภคโดยทั่วไป ทำให้ราคาปลากรายในท้องตลาดมีราคาสูงขึ้น ประมาณกิโลกรัมละ 70-80 บาท ส่วนเนื้อปลาบดกิโลกรัมละ 220 บาท นอกจากนี้ปลากรายยังสามารถเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วย ปลากรายที่นำมาจำหน่ายอยู่ในขณะนี้ส่วนใหญ่แล้วเป็นปลาที่ได้จากธรรมชาติ การเพาะเลี้ยงในเชิงธุรกิจยังมีไม่มากเท่าที่ควร เมื่อเทียบกับความต้องการของตลาด


แต่ตอนนี้กรมประมงของเราก็ไม่ได้นิ่งเฉยนะครับ ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดจังหวัดลพบุรี ได้ดำเนินการศึกษาค้นคว้าและเร่งเพาะขยายพันธุ์ปลาชนิดนี้อยู่ เชื่อว่าอีกไม่นานเราก็คงมีปลาชนิดนี้เพียงพอกับความต้องการของคนเลี้ยงและผู้บริโภคอย่างแน่นอน


เรามาทำความรู้จักกับปลากรายกันสักนิดก่อนดีกว่านะครับ เพราะบางท่านอาจจะยังไม่รู้จักปลากราย โดยเฉพาะทางภาคใต้ซึ่งปลาชนิดนี้หายากมากไม่เหมือนกับทางภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคอีสานที่สามารถพบเห็นได้ไม่ยาก ทางภาคใต้ผมเห็นว่าหายากจริงๆนั่นแหละครับ ถ้าจะมีก็เป็นจำพวกปลาสลาดเสียมากกว่า ผมเองมักจะเข้าใจผิดอยู่บ่อยๆ เพราะปลา 2 ชนิดนี้ มีลักษณะคล้ายกันมาก แตกต่างกันก็ตรงที่ปลากรายจะมีจุดสีดำเรียงเป็นแถวบริเวณข้างลำตัว


ปลากรายเป็นปลาน้ำจืดที่พบมากในประเทศไทย อินโดนีเซีย อินเดีย มาเลเซีย และพม่า ปลากรายเป็นปลาประเภทกินเนื้อ อาหารตามธรรมชาติของปลากรายได้แก่ ตัวอ่อนของแมลง กุ้ง และลูกปลาขนาดเล็ก


ลักษณะของเจ้าปลากราย
ปลากรายมีลักษณะลำตัวยาวบาง แบนข้าง ส่วนหัวมีขนาดเล็ก เว้าเป็นสันโค้งและแยกออกจากลำตัวเห็นชัดเจน เหนือครีบก้นจะมีจุดสีดำค่อนข้างใหญ่ ประมาณ 5-10 จุด เรียงเป็นแถว สีของลำตัวเป็นสีขาวเงิน ส่วนหลังมีสีคล้ำกว่าส่วนท้อง ขนาดของปลากรายที่พบส่วนใหญ่ยาวประมาณ 70-75 เซนติเมตร ส่วนลูกปลาที่มีขนาดไม่เกิน 9 เซนติเมตร จะมีลายสีเทาดำ ประมาณ 10-15 แถบ พาดขวางลำตัว เมื่ออายุประมาณ 80 วัน ลายจะเลือนหายไปและกลายเป็นจุดสีดำแทน เกล็ดมีขนาดเล็กละเอียด ครีบต่างๆ ทุกครีบเป็นก้านอ่อนทั้งหมด ครีบท้องเล็กมาก ครับก้นและครีบหางเชื่อมติดกันรวมเป็นครีบเดียวกัน มีก้านครีบประมาณ 110-135 อัน ครีบหลังเล็ก มีก้านครีบ 8-9 อัน ตั้งอยู่กึ่งกลางหลังลักษณะคล้ายขนนกเสียบอยู่ ครีบอก มีก้านครีบ 15-16 อัน ครีบท้อง มีก้านครีบ 6 อัน บริเวณสันท้องมีหนามคล้ายฟันเลื่อย 2 แถว จำนวนประมาณ 37-45 คู่

ลักษณะภายนอกของปลากรายเพศผู้และเพศเมียที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ได้แก่ ความยาวของครีบเอว โดยที่ปลาเพศผู้จะมีครีบเอวยาวกว่าเพศเมีย ฤดูวางไข่ของปลากรายอยู่ในช่วงเดือน มีนาคม – ตุลาคม ของทุกปี โดยรังไข่เพียงข้างเดียวของเพศเมีย (ที่มีอยู่สองข้าง) จะมีการพัฒนาเพื่อสร้างไข่ในฤดูหนึ่ง รังไข่ทั้งสองข้างจะสลับกันสร้างไข่จากปีหนึ่งไปยังอีกปีหนึ่ง

เมื่อฤดูผสมพันธุ์ปลาจะเริ่มจับคู่กันและปลาเพศผู้จะทำการขุดดินรอบๆ วัสดุที่ทำการวางไข่ให้เป็นหลุม จากนั้นปลาเพศเมียจะวางไข่ ซึ่งจะติดกับวัสดุ เป็นต้นว่า ตอไม้ รากไม้ ท่อปูน ฯลฯ ปลาเพศผู้จะเป็นฝ่ายดุแลไข่โดยใช้หางโบกไปมาพัดเพื่อให้ออกซิเจนและป้องกันไม่ให้ตะกอนเกาะติดไข่

ไข่ปลากรายที่ได้รับการผสมจะมีสีเหลืองอ่อนใส มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3.0 มิลลิเมตร และฟักออกเป็นตัวภายในเวลา 6-7 วัน ที่อุณหภูมิน้ำ 26-32 องศาเซลเซียส แม่ปลามีความสามารถวางไข่ได้เฉลี่ยปีละ 6.0 ครั้ง พบแม่ปลาวางไข่สูงสุดในช่วงเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม จำนวนไข่เฉลี่ยครั้งละ 1,044 ฟอง


http://www.nicaonline.com/articles1/site/view_article.asp?idarticle=201



เทคนิคตกปลากราย



http://www.fishinggo.com/news-detail.php?no=18


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 24/09/2011 4:01 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 24/09/2011 12:11 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

695. เพาะพันธุ์ปลากะรังจุดฟ้าที่ตราด

เรียบเรียงโดย ชัชวิน มาลี





ปัจจุบันทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องทะเล มีเหลือลดน้อยลงจากหลายๆปัจจัย ไม่ว่าตามสภาวะธรรมชาติ หรือจากการถูกล่าการทำประมง ที่กล่าวมา หากเรายังไม่หันหน้ามาใส่ใจกันอย่างจริงจัง เชื่อขนมกินได้เลยว่าอีกไม่นานทรัพยากรสัตว์น้ำจะลดน้อยลงและจะหมดไปในที่สุด ถึงตรงนี้อยากถามทุกท่านว่า เราอยากมีสภาพแบบนั้นมั้ย ผมเชื่อว่าทุกคนคงจะตอบเช่นเดียวกันว่าไม่อยาก เห็นภาพแบบนี้ดังนั้นทุกๆคนต้องมีส่วนร่วม หันมาช่วยกันคนละไม้คนละมือ คนที่ไม่เกี่ยวข้องหากไม่อยากจะทำก็อย่าคิดทำลายนะครับ

ทุกคนอยากมีงานมีอาชีพ หากมีโอกาสก็อยากมีธุรกิจเป็นชิ้นเป็นอันบ้าง ท่านเริ่มคลำหาหนทางเจอแล้ว ผมจะนำท่านมารู้จักการเพาะเลี้ยงปลาชนิดหนึ่งชื่อว่า “ปลากะรังจุดฟ้า” ชื่อสามัญ Blue-spotted coral trout ชื่อวิทยาศาสตร์ Plcetroponus Leopardus หรือรู้จักกันดีแถบภาคตะวันออกว่า ปลาย่ำสวาท ปลาชนิดนี้จะมีเนื้อสีขาว รสชาติดี เป็นที่ต้องการของตลาดและผู้บริโภค ได้ยินแค่ชื่อเล่นเริ่มมีลุ้นกันบ้างแล้วใช่มั้ยครับ ยัง...ยัง ต้องคอยติดตามกันต่อ


จุดกำเนิดปลากะรังจุดฟ้า
ปลากะรังจุดฟ้าปัจจุบัน สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง จ.ตราด สามารถเพาะเลี้ยงปลากะรังจุดฟ้าได้ประสบผลสำเร็จ ซึ่งสถานีเขาอนุบาลจนลูกปลามีขนาด 1 นิ้ว เพื่อจำหน่ายแก่ผู้สนใจ แต่มิใช่เราสนใจหรือคิดจะเลี้ยงแล้วจะสั่งซื้อได้ทันทีทันใดเพราะลูกปลา ของเขามีจำกัด อย่างไรก็ตามหากมีความสนใจต้องติดต่อไว้ก่อนล่วงหน้าเพื่อเราจะได้ทราบว่าเขามีลูกปลาเพียงพอที่จะจำหน่ายหรือเปล่า

ปลากะรังจุดฟ้าเป็นปลาอาศัยอยู่ในท้องทะเลโดยชาวประมงต้องออกไปหา รวบรวมจากเกาะแก่งต่างๆโดยชาวประมง ใช้ลอบดักจับ เมื่อได้ปลามาแล้วทางสถานีจะรับซื้อมาเลี้ยงพักไว้ในบ่อซีเมนต์ขนาด 200 ตัน โดยจะให้อาหารปลาสดวันเว้นวัน อัตรา 5-7% /น้ำหนักตัว เพื่อไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์เพื่อให้มีขนาด 2.0-3.5 กก. ใช้ระยะเวลาการเลี้ยงประมาณ 8-9 เดือน



การเตรียมพ่อแม่พันธุ์ปลา
ในการเตรียมพ่อพันธุ์ปลาเราจะใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์เรียกว่า Methyl testosterone(MT) จำนวน 0.5 มก./น้ำหนักของปลา วัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มฮอร์โมนและเร่งไข่พ่อแม่พันธุ์ปลา ใช้วิธีฝังฮอร์โมนโดย คัดเลือกพ่อพันธุ์ที่ขนาด 3-4 กก. จำนวน 3 ตัว ทำให้ปลาสลบก่อน จากนั้นใช้ผ้าชุบน้ำทะเลปิดส่วนหัวโดยใช้ฮอร์โมน(MT) ใส่ในหลอดฉีดยาฉีดไปที่บริเวณหลังส่วนหัวด้านขวาของครีบหลังอันที่ 2 จากนั้นใช้สำลีชุบยาทิงเจอร์ ทำความสะอาดเพื่อป้องกันแผลติดเชื้อ

เมื่อฝังฮอร์โมน(MT) ในพ่อพันธุ์ปลาทั้ง 3 ตัวจากนั้น เราก็นำแม่พันธุ์ที่มีน้ำหนักเฉลี่ย 2.5 กก. มาจำนวน 13 ตัว ใส่เลี้ยงรวมกันในกระชังขนาด 5x5x3 เมตร ในบ่อเลี้ยงขนาด 200 ตัน เพื่อให้ผสมพันธุ์ วางไข่ ในการให้อาหารจะให้อาหารปลาสด 3-5% ของน้ำหนักตัวปลาใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์ ปลาจะเริ่มฟื้นตัวจึงจะเริ่มให้กินวิตามิน E 100 IU โดยใช้วิธีใส่ในท้องเหยื่อปลาสด 1 เม็ด/เหยื่อปลา 1 ตัว สลับด้วยการให้วิตามิน C ขนาด 100 มก./เม็ด/ตัว เหยื่อปลา 1 ตัวเช่นเดียวกัน ถัดมาอีก 1 สัปดาห์ จะใช้ปลาหมึกหรือสาหร่ายมงกุฎหนาม เพื่อที่พ่อแม่พันธุ์ปลาจะได้เพิ่มความสมบูรณ์ของไข่และน้ำเชื้อ หลังจากนี้ 2 เดือน เริ่มเช็คความสมบูรณ์ของแม่พันธุ์โดยสังเกตพฤติกรรมต่างๆจนกระทั่งเริ่มวางไข่เราจะใช้ผ้าชีฟองสีขาวไว้ลากไข่ปลาก่อนนำไปเพาะฟัก


การฟักไข่ปลากะรังจุดฟ้า
นำไข่ปลากะรังจุดฟ้ามาฟักไว้ในถังกรวยขนาด 500 ลิตรโดยใช้วิธี กวนให้น้ำหมุนแล้วดูดตะกอนไข่ที่เสียทิ้ง เปิดให้ฟองอากาศเบาๆ ไข่ก็จะฟักเป็นลูกปลาในวันรุ่งขึ้น ใช้ระยะเวลาในการฟักไข่ประมาณ 20 ชั่วโมง ขนาดของไข่ความยาวเริ่มต้นประมาณ 1.62 มม. ช่วงนี้เราต้องให้อาหารเสริมผสมวิตตามินเช่น โรติเฟอร์, ไข่แดงต้มสุกผสมวิตตามินซี ฯลฯ ในขั้นตอนการอนุบาลลูกปลากะรังมีรายละเอียดปลีกย่อยมาก จึงขออภัยที่สรุปมาบอกเล่าพอสังเขป หลังจากนี้เราก็นำลูกปลาไปเลี้ยงอนุบาลต่อไป


การอนุบาลปลากะรังจุดฟ้า
การอนุบาลลูกปลากะรังจุดฟ้านั้นจัดว่าเป็นปลามีความไวต่อรู้สึก โดยจะตื่นตกใจหรืออาจช๊อคตายง่ายไม่ว่าขณะขนส่ง การเปลี่ยนถ่ายน้ำหรืออ๊อกซิเจนไม่ค่อยเพียงพอเหตุผลที่กล่าวมาผู้เลี้ยงต้องศึกษาข้อมูลกันให้ดีก่อนนะครับซึ่งการอนุบาลลูกปลาจะเริ่มให้โรติเฟอร์เมื่อลูกปลาอายุได้ 6 วัน จะให้อาร์ทีเมียเมื่อลูกปลาอายุได้ 11 วัน เมื่อลูกปลากะรังจุดฟ้ามีอายุได้ 25 วัน เราจะใช้อาร์ทีเมียเสริมด้วย HUFA ให้กับลูกปลากะรังจุดฟ้า เมื่ออนุบาลลูกปลามีขนาด 1 นิ้วเราก็เริ่มฝึกให้กินปลาบดละเอียดเมื่อลูกปลาได้ขนาด 2-3 นิ้วเริ่มให้ปลาสับชิ้นเล็กๆคลุกด้วยวิตามินเสริมความแข็งแรง ส่วนการเลี้ยงสามารถเลี้ยงได้ในกระชังหรือบ่อซีเมนต์ปัจจุบันทางสถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งสงขลา โดยกลุ่มวิจัยระบบฯได้มีทดลองเลี้ยงปลากะรังจุดฟ้าระบบน้ำหมุนเวียนระบบปิดมาได้ 2-3 ปีแล้วหากสนใจมาแวะเยี่ยมชมตัวเป็นๆของจริงได้

จะเห็นได้ว่าก่อนที่จะเลี้ยงปลากะรังจุดฟ้ามาได้ แต่ละตัวยากเหลือเกิน จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าทำไมเป็นปลาที่มีราคาค่อนข้างสูง โดยลูกปลากะรังจุดฟ้าราคาจะอยู่ที่นิ้วละ 30-40 บาท/ตัวเข้าไปแล้วส่วนปลากะรังจุดฟ้าขนาดปลาจานในปัจจุบันลูกค้าแถบประเทศมาเลเซียกำลังนิยมรับประทานในขณะเวลามาท่องเที่ยวที่อ. หาดใหญ่ จ.สงขลาด้านการจำหน่ายตลาดในประเทศราคาประมาณ 800-1000 บาท/ก.กซึ่งพ่อค้าบอกว่าในตอนนี้ปลายังขาดตลาดอยู่แต่ถ้ามีปริมาณมากราคาตลาดต่างประเทศจะเพิ่มเป็นเท่าตัวเป็นอย่างไรน่าสนใจดีมั้ย

การเลี้ยงปลากะรังจุดฟ้าจัดว่าเป็นที่น่าจับตามองและน่าสนใจ เพราะว่าสัตว์น้ำชนิดนี้กำลังเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคทั้งชาวไทยและในตลาดต่างประเทศ ข้อสำคัญก่อนที่ท่านจะหันมาสนใจลงทุนมาเลี้ยงต้องศึกษาทำเล ตลาด และอุปนิสัยของปลาให้ถ่องแท้ก่อน ปลากะรังจุดฟ้านับว่า เป็นปลาเศรษฐกิจตัวใหม่ที่น่าจับตามอง เนื่องจากตลาดมีความต้องการสูง ราคาสูง น่าจะเป็นโอกาสของผู้เลี้ยงปลาที่จะพัฒนาแบบธุรกิจได้เป็นอย่างดี





เอกสารอ้างอิง
ธวัช ศรีวีระชัย เรณู ยาชิโร นิพนธ์ เสนอิน.2547.การเพาะปลากะรังจุดฟ้า Plectropomus Leopardus โดยการให้ฮอร์โมนเพศผู้และให้แม่ปลาวางไข่ตามธรรมชาติในบ่อระบบปิด.

เอกสารวิชาการฉบับที่ 4/2547. สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งจังหวัดตราด. ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งจันทบุรี. สำนักวิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. จำนวน 19 หน้า.
ชัชวาล วุฒิเมธี ธวัชศรี วีระชัย จุฑารัตน์ ศิริสมบัติ. การอนุบาลปลากะรังจุดฟ้า Plectropomus Leopardus วัยอ่อนอายุ 2-25 วัน. เอกสารวิชาการฉบับที่ 56/2548. ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งจันทบุรี. สำนักวิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. จำนวน 14 หน้า.

http://www.nicaonline.com/articles1/site/view_article.asp?idarticle=203
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 24/09/2011 12:28 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

696. 'ปุ๋ยหมักชีวภาพ' จากผักตบชวา


คิดเองทำเอง : 'ปุ๋ยหมักชีวภาพ' จากผักตบชวา จากวัชพืชไร้ค่าสู่ผลิตภัณฑ์เด่น โดย...สุรัตน์ อัตตะ


วัชพืชไร้ค่าอย่าง "ผักตบชวา" ที่สร้างปัญหากีดขวางเส้นทางเดินของน้ำมาโดยตลอดนั้น ปัจจุบันได้หลายเป็นสิ่งมีค่า หลังทางโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลุ่มน้ำบางนรา สำนักชลประทานที่ 17 ต.กะลุวอเหนือ อ.เมือง จ.นราธิวาส ได้นำมาใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการทำปุ๋ยหมักชีวภาพเพื่อให้เกษตรกรในพื้นที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อไป

สมศักดิ์ เกตุจำนงค์ ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลุ่มน้ำบางนรา ในฐานะผู้ริเริ่มแนวคิดการนำผักตบชวามาสร้างมูลค่าโดยแปรรูปเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพเพื่อให้เกษตรกรที่อยู่อาศัยในพื้นที่โครงการนำไปใช้ประโยชน์ โดยยอมรับว่าที่ผ่านมาผักตบชวาได้สร้างปัญหาปิดกั้นเส้นทางเดินของน้ำมาตลอด แม้จะมีการกำจัดทุกปี แต่ก็ไม่สามารถแก้ไขได้ เนื่องจากวัชพืชชนิดที่เพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว

"ในแต่ละปีเราใช้งบที่สูงพอสมควร ระดมทั้งเครื่องจักรและคนงานเพื่อกำจัดผักตบชวาทั้งในแม่น้ำบางนราและลำน้ำสาขา แต่ก็ไม่เป็นผล ยิ่งกำจัดก็ยิ่งเพิ่ม ก็เลยมาคิดว่าน่าจะนำมันมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ แปลงวิกฤติเป็นโอกาส จึงนำมาทำปุ๋ยหมักชีวิภาพ เพิ่งเริ่มทำได้ไม่ถึงปี พนักงานของเรานี่แหละช่วยกันทำ บรรจุถุง ถุงละ 1 กิโลกรัม มีตราของเราเอง เอาไว้สำหรับแจกเกษตรกรในพื้นที่โครงการ" สมศักดิ์ย้อนที่มา

ปัจจุบันปุ๋ยหมักชีวภาพจากผักตบชวาของโครงการ มีกำลังการผลิตอยู่ที่ 2,500-3,000 ถึงต่อวัน ส่วนมีขั้นตอนการผลิตก็ง่าย ไม่ยุ่งยาก โดยมีส่วนประกอบที่สำคัญได้แก่ ผักตบชวาแห้ง มูลสัตว์และปุ๋ยสูตร 15-15-15 สำหรับเพิ่มสารอาหาร ใช้อัตราส่วน 100 ต่อ 10 ต่อ 1 โดยน้ำหนัก สำหรับขั้นตอนการผลิต สมศักดิ์ อธิบายว่า เริ่มจากนำผักตบชวาจากแหล่งน้ำขึ้นมาตากกลางแจ้งประมาณ 1-2 สัปดาห์เพื่อให้ผักตบชวายุบตัวลง เพราะถ้าใช้ผักตบชวาสดปุ๋ยหมักที่ได้จะน้อย เนื่องจากผักตบชวาสดจะมีส่วนประกอบของน้ำถึง 90%

"เมื่อได้ผักตบชวาเพียงพอต่อความต้องการ จึงนำมากองไว้บนพื้นดิน ขนาดความกว้างประมาณ 2-3 เมตร สูง 1-1.5 เมตรและความยาวไม่จำกัด โดยให้กองเป็นชั้นๆ เหยียบย่ำให้แน่น โดยให้แต่ละชั้นสูงประมาณ 30-40 เซนติเมตร จากนั้นจึงนำมูลสัตว์หว่านทับข้างบน หนาประมาณ 1-2 นิ้วแล้วโรยปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 เพื่อเพิ่มธาตุอาหารทับมูลสัตว์อีกทีหนึ่งแล้วรดน้ำให้ชุ่มหรือไม่ก็ละลายเชื้อจุลินทรีย์ในน้ำอุ่นหรือน้ำเย็นธรรมดาราดลงไปอีกครั้งหนึ่งก่อนนำผักตบชวามากองทับเป็นชั้นต่อไป"

ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำคนเดิม อธิบายต่อว่า ให้ทำเช่นเดียวกับการกองครั้งแรกทุกประการ จนขนาดของกองมีความสูงประมาณ 1-1.5 เมตรและชั้นบนสุดใส่หน้าดินทับหนาประมาณ 1 นิ้ว กองทิ้งไว้ประมาณ 30 วัน ถ้าไม่มีมูลสัตว์มาใช้เป็นตัวเร่งสำหรับทำปุ๋ยหมักก็สามารถนำหน้าดินบริเวณใต้กองหญ้าเก่า ใต้ฟางเก่าหรือปุ๋ยหมักที่มีอยู่แล้วมาผสมกับผักตบชวาแทนมูลสัตว์ก็ได้ จากนั้นให้ดูแลรักษากองผักตบชวาไประยะหนึ่ง ก็จะสังเกตุเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะชิ้นส่วนของผักตบชวาจะมีขนาดเล็กลงและยุบตัวลงกว่าเมื่อเริ่มกอง ขณะเดียวกันสีของผักตบชวาก็จะเปลี่ยนไป เพื่อแสดงให้เห็นว่าปุ๋ยหมักเริ่มใช้ได้แล้ว

"สังเกตที่สีของผักตบชวาถ้าเป็นสีน้ำตาลเข้มดำหรือสีดำ ซึ่งเป็นสีของอินทรีย์วัตถุ หรือให้สังเกตความร้อนภายนอกและภายในไม่แตกต่างกันหรือแตกต่างกันน้อยมาก แสดงว่ากองปุ๋ยหมักเริ่มใช้ได้แล้ว ถ้ายังไม่แน่ใจก็ให้ดูลักษณะความอ่อนนุ่มของผักตบชวา เมื่อใช้นิ้วบี้ดูจะอ่อนนุ่มยุ่ยขาดออกจากกันได้ง่าย ไม่แข็งกระด้างเหมือนเมื่อเริ่มกอง หรือไม่ก็ดูต้นพืชที่มีระบบรากลึกสามารถขึ้นบนกองปุ๋ยหมักได้ สนใจผลิตภัณฑ์ โทร.0-7354-2059" สมศักดิ์ให้ข้อสังเกตในการนำปุ๋ยหมักมาใช้งาน ซึ่งใช้ระยะเวลาดำเนินการประมาณ 80-90 วันนับตั้งแต่วันเริ่มก่อน แต่หากใช้สารเร่งจุลินทรีย์จะเหลือแแค่ 30-45 วันเท่านั้น

ปุ๋ยหมักชีวภาพจากผักตบชวา นับเป็นการแปลงวิกฤติเป็นโอกาสที่นำวัชพืชด้อยค่ามาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เด่นเพื่อให้เกษตรกรในโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลุ่มน้ำบางนรานำไปใช้ประโยชน์โดยมีคิดมูลค่าแต่อย่างใด


http://www.komchadluek.net


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 8:36 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 24/09/2011 3:39 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

697. ปลาทูน่า เกาะสุรินทร์


ชมรมคนรักเกาะสุรินทร์
รักนะ ... เกาะสุรินทร์

เดลินิวส์

เราเรียกโลกใบนี้ว่า “ดาวเคราะห์สีน้ำเงิน” บนดาวดวงนี้มีสิ่ง ต่าง ๆ รอบตัวให้เราได้เรียนรู้และศึกษา แต่สิ่งที่เราคุ้นเคยเหล่านี้อยู่แค่บนผืนดิน

จะมีใครรู้บ้างว่าสัตว์ที่น่าประทับใจที่สุดของธรรมชาติกลับอาศัยอยู่ในมหาสมุทร ที่ซึ่งเรามักมองว่ามหาสมุทรเป็นเพียงแค่น้ำและหิน แท้จริงแล้วในทะเลสีครามแห่งนี้มีสิ่งมีชีวิต และทำงานได้ตามหน้าที่ก็เพราะว่ามีสิ่ง มีชีวิตอาศัยร่วมอยู่ด้วย

ปลาทูน่าครีบน้ำเงินคือความสมบูรณ์แบบที่ธรรมชาติได้มอบให้ ลักษณะพิเศษที่เห็นได้ชัดคือความกว้างที่สุดของลำตัวปลาอยู่กึ่งกลางของครีบหลังอันที่หนึ่ง ตัวค่อนข้างอ้วนสั้น หัวโต ตาโต ครีบหลังแยกออกเป็นสองส่วนอย่างชัดเจน สันที่คอดหางมีสีเหลือง พวกมันปราดเปรียวกว่าโลมาและเป็นนักล่าที่เทียบได้กับฉลามขาวผู้ยิ่งใหญ่

พวกมันเป็นปลาที่อาศัยอยู่ในเขตอบอุ่นที่มีอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส ชอบย้ายถิ่นไปเรื่อย ๆ ตามแหล่งอาหารและอุณหภูมิของน้ำเป็นหลัก พบมากในมหาสมุทรแอตแลนติก ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และทะเลดำ




เจ้าครีบน้ำเงินชนิดนี้ถูกออกแบบมาเพื่อความเร็ว พวกมันสามารถว่ายแข่งกับกระแสคลื่นด้วยความเร็ว 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็นหนึ่งใน นักว่ายน้ำที่เร็วที่สุดในทะเล ทูน่าชนิดนี้ใช้หางและลู่ครีบแนบลำตัวเพื่อให้ทะยานไปได้อย่างรวดเร็ว ผิดจากปลาชนิดอื่นที่มักเดินทางด้วยการปัดแกว่งร่างกาย

เจ้าครีบน้ำเงินชนิดนี้สามารถแหวกว่ายไปในมหาสมุทรที่ไร้ทิศทาง ด้วยประสาทสัมผัสที่ไวต่อแสงแม้เพียงเล็กน้อย ไวต่อความร้อนและแรงดึงดูดของแม่เหล็กของขั้วโลก

ปลาทูน่าครีบน้ำเงินมีชีวิตสังคมที่เพียบพร้อม ภายในฝูงปลานั้น มีปฏิกิริยาต่อกันมากมาย เมื่อมีบางครั้งที่ปลาบางตัวป่วย แล้วว่ายหลงออกไปจากฝูง คุณจะเห็นว่าฝูงปลาทั้งหมดจะว่ายมาที่เจ้าปลาตัวนั้น แล้วนำ มันกลับไปดูแล




เจ้ายักษ์ใหญ่ครีบน้ำเงินนั้นแตกต่างจากปลาอื่นมาก พวกมัน เป็นสัตว์เลือดอุ่นที่มีอิสระสามารถแหวกว่ายผ่านสายน้ำที่หนาวเหน็บ ด้วยการเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก และแปซิฟิกที่กว้างใหญ่เป็นระยะทางประมาณ 8,000-9,000 กิโลเมตรต่อครั้ง และอาจเป็นการเดินทางที่ไกลกว่าล้านกิโลเมตร ในช่วงชีวิตหนึ่งของพวกมัน แต่เราก็ไม่สามารถรู้ได้ว่าพวกมันเดินทางไปที่ใด

ในรอบ 50 ปีที่ผ่านมา ปลาทูน่าครีบน้ำเงินมีขนาดใหญ่กว่าโลมาถึงสองเท่า มีน้ำหนักกว่า 675 กิโลกรัม พวกมันคือยักษ์ใหญ่ที่เต็มไปด้วยชีวิตชีวา หลายคนยกให้มันเป็นสิ่งมีชีวิตที่วิเศษสุดในท้องทะเล พวกมันถูกมองว่าเป็นราชาแห่ง มหาสมุทร

ไม่ว่าด้วยเหตุผลใด ๆ ก็ตาม ในสายตาของมนุษย์ ทูน่าครีบน้ำเงินถือเป็นปลาที่มีค่าและเป็นที่ต้องการมากที่สุดในโลก

ทำให้วันนี้ ทูน่าครีบน้ำเงินค่อย ๆ ลดจำนวนลง อีกทั้งขนาดของพวกมันก็เล็กลงจากอดีตอย่างมาก ซึ่งต้นเหตุนั้นมาจากฝีมือของมนุษย์ ภัยคุกคามที่น่ากลัวที่สุดของสิ่งมีชีวิตทั้งมวล




พวกมันถูกจับเพื่อนำไปบริโภคและค้าขาย รับประทานเป็นปลาดิบ มาทำเป็นซาซิมิและซูชิ ทำให้ปริมาณลดลงกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือว่าอยู่ในขั้น วิกฤติ

เรากำลังทำลายท้องทะเลโดยการตักตวงผลประโยชน์ นำสัตว์ทะเลออกไปจนเกินพอดี ทำลายระบบนิเวศเก่าแก่ที่พัฒนาการมาตลอดหลายร้อยล้านปี

เรื่องราวของปลาทูน่าเป็นสิ่งที่รู้กันน้อยมาก ตลอด 50 ปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีของมนุษย์ได้เปลี่ยนแปลงแหล่งน้ำของโลก สายสัมพันธ์อันเก่าแก่ที่เกื้อกูล ระหว่างเราและสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในน้ำอาจจบลงได้ในเร็ววัน หากทุกคนยังไม่คิดแก้ไข

ชมเรื่องราวชีวิตที่น่าติดตามของปลาทูน่าครีบน้ำเงิน ซึ่งน้อยคนนักจะมีโอกาสเห็น ในช่องรายการสำรวจโลก 24 ชั่วโมง ออกอากาศวันอังคารที่ 10 กรกฎาคม 2550 เวลา 20.00-21.00 น.











http://www.savekohsurin.com/webboard/topic.php?topicid=1010
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 24/09/2011 3:51 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

698. ปลาทูน่าครีบน้ำเงิน มูลค่าดั่งทองในญี่ปุ่น


ปลาทูน่ายักษ์ครีบน้ำเงิน ถูกประมูลที่ตลาดค้าส่งปลาที่ใหญ่ที่สุดในโลกในญี่ปุ่นในราคา 16.3 ล้านเยน หรือกว่า 6 ล้านบาท

ปลาทูน่าครีบน้ำเงิน Blue Fin Tuna ตัวนี้ชาวประมงจับได้นอกชายฝั่งทางเหนือของญี่ปุ่น มีน้ำหนักหนักถึง 233 กิโลกรัม อยู่ในกลุ่มเดียวกับปลาทูน่า 570 ตัวที่นำออกประมูล

โดยราคาที่ภัตตาคารปลาดิบของญี่ปุ่นประมลูสำหรับ Blue Fin Tuna ตัวนี้นับเป็นราคาสูงที่สุดในรอบ 9 ปี ในขณะที่หลายๆประเทศได้ทำการต่อต้านการล่าปลาจนจัดตั้งเป็นองค์กร

http://www.video.nurnia.com






[img]http://www.siamfishing.com

http://www.siamfishing.com/board/view.php?tid=53709





โอ้โห! ปลาทูน่า ราคาตัวละเกือบ 12 ล้านบาท




เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ohiosportsman.com

รู้ไหมว่า กว่าที่พ่อค้าร้านอาหารต่าง ๆ ในประเทศญี่ปุ่น จะได้ปลาทูน่าแสนอร่อยมาเสิรฟ์ให้ลูกค้าอย่างเรา ๆ รับประทานกันนั้น พวกเขาต้องแข่งขันช่วงชิงในการประมูลปลาทูน่าอย่างเอาเป็นเอาตาย จากตลาดปลาสึคิจิ ในกรุงโตเกียว ซึ่งเป็นตลาดขายส่งปลาที่ใหญ่ที่สุดในโลก

และเมื่อวันที่ 5 ม.ค. ก็เป็นครั้งแรกของปีที่ตลาดปลาสึคิจิได้เปิดให้พ่อค้ามาประมูลปลาทูน่ากัน ไฮไลท์อยู่ที่การประมูลปลาทูน่ายักษ์ครีบน้ำเงินตัวหนึ่ง ที่มีน้ำหนักถึง 342 กิโลกรัม โดยมันถูกประมูลไปได้ในราคาถึง 32.49 ล้านเยน หรือประมาณ 11.8 ล้านบาท นับเป็นปลาที่ถูกประมูลไปในราคาสูงที่สุด ตั้งแต่เริ่มมีการจดบันทึกสถิติมาเมื่อปี 1999 และเมื่อคิดราคาต่อกิโลกรัมแล้ว เท่ากับว่า เจ้าปลาทูน่ายักษ์ตัวนี้มีราคากิโลกรัมละเกือบ 35,000 บาทเลยทีเดียว

ทั้งนี้ ปลาทูน่า เป็นปลาที่มีราคาสูงมากในประเทศญี่ปุ่น โดยเฉพาะปลาทูน่าครีบน้ำเงินที่มีราคาแพงที่สุดในบรรดาปลาทูน่าด้วยกัน โดยชาวญี่ปุ่นนิยมรับประทานปลาทูน่าครีบน้ำเงินกว่าครึ่งหนึ่งของปริมาณการบริโภคทั้งโลก แต่หลังจากร้านอาหารญี่ปุ่นเริ่มแพร่หลายไปสู่ต่างประเทศ ทำให้อาหารญี่ปุ่นเป็นที่นิยมไปทั่ว ดังนั้น ณ ปัจจุบันนี้ จึงเกิดการแข่งขันที่รุนแรงอย่างมาก ในการซื้อหาปลาทูน่าครีบน้ำเงิน ที่ใกล้จะสูญพันธุ์แล้วเต็มที


http://hilight.kapook.com/view/55026


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 8:37 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 24/09/2011 4:45 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

699. ญี่ปุ่น ให้ความสำคัญกับการรับประกันอายุการใช้ ของดอกไม้ (Shelf-life)


วงการธุรกิจค้าขายดอกไม้ในญี่ปุ่นเห็นว่า แม้ว่าสภาพเศรษฐกิจไม่ดี การบริโภคดอกไม้ในญี่ปุ่นยังมีโอกาสที่จะขยาย โดยผู้ค้าผู้ประกอบการให้ความสนใจต่อวิธีการจำหน่ายสินค้า

ผลการสำรวจแบบสอบถามผู้ประกอบการธุรกิจค้าขายดอกไม้ (ร้านขายดอกไม้/สหกรณ์ทั่วประเทศ 16 ราย และผู้ค้าส่ง/ผู้นำเข้า 22 ราย) จัดทำโดยหนังสือพิมพ์ The Japan Agricultural News พบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เห็นว่า หากมีการรับประกัน Shelf-life ของดอกไม้ จะทำให้การบริโภคดอกไม้เพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นการสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค โดยผู้ประกอบการที่ตอบว่า "เพิ่มขึ้นมาก" ร้อยละ 18 "เพิ่มขึ้นเล็กน้อย" ร้อยละ 55 ต่อข้อสอบถามเกี่ยวกับการระบุวันที่ตัดดอก ผู้ประกอบการเห็นว่า "สำคัญมาก" ร้อยละ 42 "สำคัญ" ร้อยละ 21 เนื่องจากหากมิได้ระบุวันที่ตัดดอก จะไม่มีประโยชน์ที่จะรับประกัน Shelf-life ของดอกไม้

แนวโน้มความนิยมไม้ตัดดอกในตลาดญี่ปุ่น จำแนกตามประเภทดอกไม้ กุหลาบสีแดง ร้อยละ 44.7 คาร์เนชั่นสีชมพู ร้อยละ 34.2 ลิลลี่ (Oriental Lily) สีขาว ร้อยละ 36.8 เยอร์บีร่าสีชมพู ร้อยละ 39.5 ยูสโทม่า (Eustoma) สีขาว ร้อยละ 18.4 สำหรับดอกกุหลาบ ผู้ประกอบการค้าส่งรายใหญ่ให้ข้อมูลว่า ดอกกุหลาบสีแดงเข้ม เช่น Wine Red ได้รับความสนใจมาก เนื่องจากใช้ตกแต่งในงานแต่งงานหรือร้านอาหารแล้ว สามารถแสดงความหรูหราได้ ดอกกุหลาบสีฟ้า คาดว่าจะได้รับความสนใจ โดยที่เป็นที่สนใจของวงการธุรกิจค้าขายดอกไม้มากในปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ คาดว่าสีชมพูจะได้รับความสนใจเช่นกัน เนื่องจากเป็นสีที่ผู้หญิงชอบมากที่สุด (ตามแผนภาพที่ 1)

ส่วนไม้ตัดดอกที่ได้รับความสนใจนำไปใช้ในงานแต่งงาน ได้แก่ กุหลาบ ร้อยละ 60.5 ยูสโทม่า ร้อยละ 47.4 ดอกรักเร่ (Dahlia) ร้อยละ 34.2 คาร์เนชั่น ร้อยละ 21.1 คาลล่า (Calla) ร้อยละ 21.1 เยอร์บีร่า ร้อยละ 18.4 ลิลลี่ (Oriental Lily) ร้อยละ 15.8 และกล้วยไม้ (Dendrobium Phalaenopsis) ร้อยละ 7.9 ตามลำดับ (ตามตารางที่ 1)

นอกจากนี้ ช่วงที่ผู้ประกอบการคาดหวังว่าจำหน่ายดอกไม้ได้ดี ได้แก่ วันแม่ (วันที่ 9 พฤษภาคม 2553) ช่วงเทศกาลไหว้บรรพบุรุษหรือโอบ้ง (ระหว่างวันที่ 13 - 16 สิงหาคม 2553) ช่วงโอฮิงันของฤดูใบไม้ผลิ (ระหว่างวันที่ 18 - 24 มีนาคม 2553) และช่วงโอฮิงันของฤดูใบไม้ร่วง (ระหว่างวันที่ 20 - 26 กันยายน 2553) ตามลำดับ



แผนภาพที่ 1 สีดอกไม้ที่คิดว่าจะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในปี 2553 จำแนกตามประเภทดอกไม้




http://www.thaiceotokyo.jp/th/index.php?option=com_content&view=article&id=529:-shelf-life-&catid=100:2009-11-09-02-33-16&Itemid=1100
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 24/09/2011 4:54 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

700. การปรับปรุงมาตรฐานสารเคมีทางการเกษตรตกค้าง

เขียนโดย สนง. ที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ


กระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการญี่ปุ่น (MHLW) แจ้งการปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานสารเคมีตกค้างในอาหาร ดังนี้

1. กำหนดมาตรฐานสารเคมีตกค้างรายการใหม่ 5 ชนิด

2. ปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานสารแคดเมียมตกค้างในข้าวให้เข้มงวดขึ้นเป็น 0.4 ppm. จากเดิม 1.0 ppm.

3. แจ้งวิธีการยื่นคำร้องเพื่อกำหนด Import Tolerance (MRLs) ของสารเคมีตกค้างรายการที่อนุญาตให้ใช้ในต่างประเทศ โดยใช้มาตรฐานเดียวกับการกำหนดค่า MRLs ภายในประเทศญี่ปุ่น


กระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการญี่ปุ่น (MHLW) ได้จัดประชุม The 136th Conference for Promotion of Food Import Facilitation ณ ห้องประชุมเฉพาะที่ 16 ชั้น 13 กระทรวงสาธารณสุขฯ ในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2552 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้


1. กําหนดมาตรฐานสารเคมีทางการเกษตรตกค้างใหม่ 5 ชนิด ดังนี้
1.1 Oxadiazon (สารกําจัดวัชพืช) ซึ่งได้รับอนุญาตให้ใช้ในประเทศญี่ปุ่น โดยที่กระทรวงสาธารณสุขฯ ญี่ปุ่น ได้จัดทําร่าง MRL ใหม่สําหรับสินค้าประมง และปรับปรุงค่ามาตรฐานของสาร Oxadiazon ส่งผลให้มีความเข้มงวดขึ้นต่อข้าว (Brown Rice) รายละเอียดตาม Attachment 1-1

1.2 Dimethenamid (สารกําจัดวัชพืช) เป็นสารเคมีที่ประกอบด้วย Optical isomer 2 ชนิด ที่มีสูตรโมเลกุลเหมือนกันแต่มีสูตรโครงสร้างต่างกัน ซึ่งได้รับอนุญาตให้ใช้ในประเทศญี่ปุ่นแล้ว ในรูปของ racemic เมื่อกระทรวงเกษตรฯ ญี่ปุ่น ได้อนุญาตให้ใช้สารดังกล่าวในรูป non-racemic โดยอัตราส่วนผสมที่กระทรวงเกษตรฯปรับปรุงใหม่เป็นไปตาม Agricultural Chemicals Regulation Law นั้น MHLW จึงจัดทําร่าง MRL และปรับปรุงค่ามาตรฐานของสาร Dimethenamid สําหรับสินค้าธัญพืช พืชผัก ผลไม้ และสินค้าปศุสัตว์ ซึ่งส่งผลให้มีความเข้มงวด มากขึ้นต่อ ข้าวโพด ถั่วเหลือง มันสำปะหลัง หอมหัวใหญ่และกระเทียม รายละเอียดตาม Attachment 1-2

1.3 Tebufenozide (สารกําจัดแมลง) ซึ่งได้รับอนุญาตให้ใช้ในประเทศญี่ปุ่น โดยที่กระทรวงสาธารณสุขฯ ญี่ปุ่น ได้จัดทําร่าง MRL ใหม่สําหรับสินค้าประมง และปรับปรุงค่ามาตรฐานของสาร Tebufenozide โดยมีความเข้มงวดขึ้นต่อสินค้าธัญพืช ผลไม้และสินค้าปศุสัตว์ ได้แก่ ถั่วเหลือง เผือก มันฝรั่ง มัน (Yam) หัวบีท และสินค้าของไทย ได้แก่ ข้าว (Brown Rice) มะม่วง สินค้าปศุสัตว์และสินค้าประมง รายละเอียดตาม Attachment 1-3

1.4 Pyributicarb (สารกําจัดวัชพืช) ซึ่งได้รับอนุญาตให้ใช้ในประเทศญี่ปุ่น โดยที่กระทรวงสาธารณสุขฯ ญี่ปุ่น ได้จัดทําร่าง MRL ใหม่สําหรับสินค้าประมง และปรับปรุงค่ามาตรฐานของสาร Pyributicarb โดยมีความเข้มงวดขึ้นต่อข้าว (Brown Rice) และสินค้าประมงรายละเอียดตาม Attachment 1-4

1.5 Metaldehyde (สารกําจัดหอยทาก) ซึ่งได้รับอนุญาตให้ใช้ในประเทศญี่ปุ่น โดยที่กระทรวงเกษตรฯ ญี่ปุ่น ได้จัดทําร่าง MRL ใหม่สําหรับสินค้าพืชผัก ผลไม้และสินค้าประมง ซึ่งส่งผลให้มีความเข้มงวดขึ้นต่อสินค้าประมง รายละเอียดตาม Attachment 1-5

2. MHLW แจ้งข้อกําหนดเกี่ยวกับวิธีการดําเนินการส่งผลวิเคราะห์สารเคมีตกค้างที่ใช้ยื่นคําร้องเพื่อกําหนด Import tolerance (MRLs) ของสารเคมีตกค้างทางการเกษตรในพืชที่อนุญาตให้ใช้ต่างประเทศ ทั้งนี้ MHLW จะใช้มาตรฐานเดียวกับการขออนุญาตที่ปฏิบัติในญี่ปุ่น โดยรายละเอียดปรากฎบนเว๊บไซต์ต่อไปนี้

http://www.mhlw.go.jp/english/topics/foodsafety/residue/dl/01.pdf


3. แจ้งการแก้ไขมาตรฐานสารเคมีตกค้าง Cadmium จากมาตรฐานเดิมไม่เกิน 1.0 ppm. ในข้าวซ้อมมือ (Brown Rice) เป็นมาตรฐานใหม่ ไม่เกิน 0.4 ppm.ในข้าว (Brown Rice) และข้าวที่ผ่านการสีแล้ว (Polished rice) และยกเลิกการตรวจสอบโดยวิธี Dithizone-chloroform จากรายการวิธีวิเคราะห์สารเคมีตกค้าง Cadmium ในข้าว

4. กรณีที่ตารางมิได้ระบุค่า Draft MRL ให้ใช้ระดับ Uniform Limited 0.01 ppm.


ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถส่งข้อคิดเห็นต่อเสนอร่างการปรับปรุงแก้ไขมาตรฐาน และร่างค่า MRL ที่กำหนดใหม่ ถึง MHLW โดยตรงจนถึงวันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน 2552 หากพ้นกำหนดดังกล่าว สามารถส่งข้อคิดเห็นตามระบบ WTO/SPS Notification ต่อไป




http://www.thaiceotokyo.jp/th/index.php?option=com_content&view=article&id=432:2009-11-11-08-41-18&catid=100:2009-11-09-02-33-16&Itemid=1100


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 24/09/2011 5:40 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 24/09/2011 5:09 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

701. การประกันราคาสินค้าเกษตรของญี่ปุ่น


รัฐบาลญี่ปุ่น ดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อประกันราคาสินค้าเกษตรผ่านหน่วยงาน Agriculture & Livestock Industries Corporation (ALIC) องค์กรที่รัฐบาลญี่ปุ่น ก่อตัง้ขึน้ ในเดือนตุลาคมปี 2539 เกิดจากการรวมตัวของ 2 องค์กร ได้แก่ Livestock Industry Promotion Corporation และ Raw Silk and Sugar Price Stabilization Agency นอกจากนี้ ALIC มีหน้าที่ดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อสร้างเสถียรภาพในการบริโภคสินค้าปศุสัตว์ ผัก น้ำตาลและแป้งมัน รวมถึงให้เงินช่วยเหลือเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตร ปศุสัตว์ และเสนอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการผลิต การกระจายสินค้า และการบริโภคที่เป็นประโยชน์เพื่อการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยและสนองความต้องการของผู้บริโภค การดำเนินนโยบายภายในประเทศและนโยบายด้านต่างประเทศของ ALIC มีดังนี้


นโยบายในประเทศ
1. นโยบายประกันราคา และปรับสมดุลย์อุปสงค์และอุปทานของสินค้าเกษตร ได้แก่ ผลิตภัณฑ์อาหารนม เนื้อหมู เนื้อวัว และผักสด

2. นโยบายช่วยเหลือเกษตรกรสินค้าปศุสัตว์และพืชผัก ได้แก่ ผู้ผลิตน้ำนมดิบสำหรับผลิตผลิตภัณฑ์อาหารนม ผู้ผลิต ลูกวัวพันธุ์เนื้อ ผู้ผลิตผัก ผู้ผลิตอ้อย ผู้ผลิตน้ำตาล ผู้ผลิตมันสำปะหลังและผู้ผลิตแป้งมันสำปะหลัง

3. ดำเนินมาตรกรในด้านต่างๆ เพื่อส่งเสริมการทำเกษตรและปศุสัตว์

4. รวบรวมและนำเสนอข่าวสารเกี่ยวกับอุปสงค์และอุปทานของสินค้าเกษตรและปศุสัตว์



นโยบายด้านต่างประเทศ
1. นำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารนมและจำหน่ายต่อ
2. นำเข้าน้ำตาล รับซื้อและจำหน่ายต่อ
3. นำเข้าแป้งมันสำปะหลัง ข้าวโพดสำหรับผลิตคอร์นสตาร์ท รับซื้อและจำหน่ายต่อนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการประกันราคาสินค้าเกษตรสรุปประเด็นสำคัญได้ ดังนี้

1. นโยบายประกันราคา และปรับสมดุลอุปสงค์และอุปทานของสินค้าเกษตร
ALIC จัดหาเครือข่ายรองรับ (Safety Net) เพื่อทำการปรับสมดุลอุปสงค์-อุปทานและราคาสินค้าเกษตรที่ผันผวน ให้ผู้บริโภคมีอาหารบริโภคอย่างเพียงพอ โดยมีการประกันราคาสินค้ารายการสำคัญ ดังนี้

ผลิตภัณฑ์อาหารนม (Dairy Products)
1. ในกรณีที่ราคาผลิตภัณฑ์อาหารนมที่ผลิตในประเทศ เช่น ราคาเนยสูงเกินร้อยละ 10 ของราคามาตรฐาน (ราคาเฉลี่ย 3 ปีย้อนหลัง) และราคาผลิตภัณฑ์อื่นๆ อาทิเช่น นมผงขาดมันเนย เวย์โปรตีน (Whey) เวย์โปรตีนปรุงแต่ง Dairy Spreads ฯลฯ สูงขึ้น เกินร้อยละ 8 ของราคามาตรฐาน ALIC จะนำเข้าสินค้าดังกล่าวเป็นกรณีเร่งด่วนเพื่อจำหน่ายต่อไป

2. ในทางกลับกัน กรณีที่ราคาผลิตภัณฑ์อาหารนม เช่น ราคาเนยตํ่ากว่าร้อยละ 10 ของราคามาตรฐาน และราคาผลิตภัณฑ์อื่นๆ ต่ำกว่าร้อยละ 8 ของราคามาตรฐาน ALIC จะจ่ายเงินชดเชยแก่ผู้ผลิตอาหารนมเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาสินค้าในโกดัง

สินค้าปศุสัตว์ (เนื้อสุกร เนื้อวัวและไข่ไก่)
1. ในกรณีที่ราคาสินค้าปศุสัตว์ในประเทศ ได้แก่ เนือ้สุกรและเนือ้วัว มีราคาปรับตัวสูงขึน้ เกินกว่าราคาขายส่งสูงสุด(Upper Stabilization Price) ที่รัฐบาลกำหนด ALIC จะนำเนือ้สุกรและเนือ้วัวที่เก็บไว้ในสต๊อกออกจำหน่ายในตลาด โดยจะจำหน่าย ณ ราคาขายส่งสูงสุดที่รัฐบาลกำหนด และจะนำปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ คุณภาพสินค้า สถานส่งสินค้า ระยะเวลาที่เก็บสต๊อกสินค้า ต้นทุนในการเก็บสินค้า สถานการณ์ของอุปสงค์-อุปทานในตลาด ราคาในแต่ละตลาด สภาวะเศรษฐกิจ มาพิจารณาประกอบการคำนวณราคาขายส่งสูงสุดด้วย

2. ในทางตรงกันข้าม กรณีที่เนือ้สุกรและเนือ้วัวมีราคาต่ำกว่าราคาขายส่งต่ำสุดที่รัฐบาลกำหนด ALIC จะรับซื้อเนือ้สุกรและเนือ้วัว เพื่อเก็บเข้าสต๊อก โดยราคารับซือ้เนือ้สัตว์จากตลาดกลางขายส่งกรุงโตเกียวและโอซากา ใช้ราคาขายส่งมาตรฐาน ส่วนการรับซือ้สินค้าจากตลาดอื่นๆ นอกเหนือจากตลาดกลางขายส่งกรุงโตเกียวและโอซากา ใช้ราคารับซือ้โดยคำนวณจากข้อมูลราคาตลาดกลางขายส่งกรุงโตเกียวและโอซากาเฉลี่ย 4 ปีย้อนหลังและนำไปหักออกจากราคาขายส่งมาตรฐานที่รัฐบาลกำหนด

3. ALIC จะจ่ายเงินช่วยเหลือเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเก็บสต๊อก ในกรณีสมาคมผู้ผลิต (Producer Associations) ช่วยรับซือ้เนือ้หมู เนือ้ไก่และไข่ไก่เพื่อเก็บเข้าสต๊อก


ผักสด
สินค้าผัก
1. ในกรณีที่ราคาผักสดในตลาดปรับตัวสูงเกินกว่าราคามาตรฐานสูงสุด ALIC ดำเนินการประกันราคา หลังจากได้รับการแจ้งจากกระทรวงเกษตรฯ ญี่ปุ่น โดย ALIC จะขอความร่วมมือให้สมาคมผู้ผลิต (Producer Associations) ส่งผักออกจำหน่ายสู่ตลาดก่อนกำหนดอันควรและจ่ายเงินชดเชยให้สมาคมฯสำหรับผักไม่ได้มาตรฐาน (แตงกวามีผลบิดเบีย้ว) ที่ไม่สามารถจำหน่ายในตลาดได้

2. ในกรณีที่ผักรายการสำคัญซึ่งเป็นผักมีความต้องการบริโภคสูง ได้แก่ ผักรายการที่กำหนด 14 รายการและผักรายการพิเศษ 34 รายการ มีราคาตํ่ากว่าราคามาตรฐานตํ่าสุด ALIC จะจ่ายเงินชดเชยให้แก่เกษตรกรที่

ลงทะเบียนเป็นสมาชิกของสมาคมที่ ALIC รับรอง เงินชดเชยส่วนต่างของราคามาตรฐานและราคามาตรฐานตํ่าสุดหมายเหตุ ผักรายการที่กำหนด 14 รายการ ได้แก่ กะหลํ่าปลี มะเขือเทศ มันสัมปะหลัง แตงกวา มะเขือม่วง พริกหวาน เผือก แครอท ผักโขม หัวไชเท้า ต้นหอม ผักกาดแก้ว หอมหัวใหญ่ และผักกาดขาว ผักรายการพิเศษ 34 รายการ อาทิเช่น หน่อไม้ฝรั่ง ขิง ผักกวางตุ้ง กระเจี๊ยวเขียว และบร็อคโคลี่ ฯลฯ


2. นโยบายช่วยเหลือเกษตรกรผู้ผลิตสินค้าปศุสัตว์และพืชผัก
ALIC ดำเนินนโยบายต่างๆ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ผลิตสินค้าปศุสัตว์และพืชผักเพื่อสร้างเสถียรภาพของ อุปสงค์-อุปทานและราคาเพื่อให้เกษตรกรสามารถดำเนินกิจการได้อย่างต่อเนื่องและมั่นคง

2.1 การจ่ายเงินชดเชยแก่เกษตรกรผู้ผลิตน้ำนมดิบสำหรับใช้เป็นวัตถุดิบผลิตผลิตภัณฑ์จากนม
ALIC จ่ายเงินชดเชยให้แก่เกษตรกรผู้ผลิตน้ำนมดิบเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบผลิตผลิตภัณฑ์นม เนื่องจากราคาน้ำนมดิบที่ใช้ผลิตนมสดสำหรับดื่ม มีราคาขายสูงกว่าน้ำนมดิบสำหรับใช้เป็นวัตถุดิบผลิตผลิตภัณฑ์จากนมอาทิเช่น เนย นมผงขาดมันเนย ฯลฯ ซึ่งระบบการจ่ายเงินชดเชยนี้ ช่วยให้เกษตรกรสามารถดำเนินกิจการผลิต น้ำนมดิบสำหรับเป็นวัตถุดิบผลิตผลิตภัณฑ์จากนมได้อย่างต่อเนื่อง และช่วยให้มีปริมาณน้ำนมสำหรับดื่มและผลิตภัณฑ์นมป้อนตลาดอย่างเพียงพอ

2.2 การจ่ายเงินชดเชยให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงลูกวัวเนื้อ
ALIC จ่ายเงินชดเชยให้แก่เกษตรกรผู้เลีย้งลูกวัวเนือ้ ในกรณีที่ราคาขายลูกวัวเนือ้ต่ำกว่าราคามาตรฐาน เพื่อให้เกษตรกรสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง โดย ALIC จะชดเชยให้ถึงระดับราคาที่ rational target price หากตํ่ากว่า rational target price แล้ว เกษตรกรจะได้รับเงินชดเชยจากแหล่งเงินสมทบอื่นๆ ในอัตราส่วน ALIC ร้อยละ 50 ส่วนท้องถิ่น ร้อยละ 25 และเงินสะสมของเกษตรกรเอง ร้อยละ 25

2.3 ระบบจ่ายเงินชดเชยให้แก่ผู้ผลิตผักสด
ALIC จ่ายเงินชดเชยให้แก่ผู้ผลิตผักสดเพื่อสร้างเสถียรภาพในด้านราคาและอุปทาน ในกรณีที่ผักรายการสำคัญที่มีความต้องการบริโภคสูง ได้แก่ ผักรายการที่กำหนด 14 รายการ และ ผักรายการพิเศษ (34 รายการ) มีราคาตํ่ากว่าราคามาตรฐาน ALIC จะจ่ายเงินชดเชยให้แก่เกษตรกรที่ลงทะเบียนเป็นสมาชิกของสมาคมผู้ผลิตผัก ที่ ALIC ให้การรับรอง ในส่วนต่างของราคาขายและราคามาตรฐาน ในอัตราคงที่ที่ได้กำหนดไว้

นอกจากนี้ ALIC จ่ายเงินชดเชยให้แก่ผู้ผลิตผักสดที่ทำสัญญาจำหน่ายผักรายการสำคัญและผักรายการพิเศษ ให้แก่ร้านอาหาร ภัตตาคาร และผู้ประกอบการแปรรูป เพื่อสร้างเสถียรภาพของอุปทาน และเป็นการลดความเสี่ยงในการหาตลาดของเกษตรกรผู้ผลิตอีกด้วย

2.4 ผู้ผลิตอ้อยและผู้ผลิตน้ำตาลจากอ้อยผลิตในประเทศ
เพื่อสร้างความมั่นคงในการดำเนินกิจการของเกษตรกรผู้ผลิตอ้อย ALIC จ่ายเงินชดเชยค่าใช้จ่ายบางส่วนที่ใช้ในการปลูกอ้อยสำหรับเป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำตาล ซึ่งเกษตรกรจำหน่ายได้ไม่คุ้มทุนที่ลงไป

นอกจากนี้ALIC ยังมีระบบจ่ายเงินชดเชย เพื่อสร้างความมั่นคงในการดำเนินกิจการให้แก่ผู้ผลิตน้ำตาล ที่ใช้หัวบีทและอ้อยที่ปลูกในประเทศเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบ โดยการจ่ายเงินชดเชยสำหรับวัตถุดิบน้ำตาลและต้นทุนการผลิตน้ำตาลบางส่วน แก่ผู้ผลิตน้ำตาลที่จำหน่ายน้ำตาลได้ไม่คุ้มทุน

2.5 ผู้ปลูกมันสำปะหลังและผู้ผลิตแป้งมันสำปะหลัง
เพื่อสร้างความมั่นคงในการดำเนินกิจการของเกษตรกรผู้ปลูกมันสัมปะหลัง ALIC จ่ายเงินชดเชยค่าใช้จ่ายบางส่วนที่ใช้ในการปลูกมันสำปะหลังสำหรับเป็นวัตถุดิบในการผลิตแป้งมันซึ่งเกษตรกรจำหน่ายได้ไม่คุ้มทุนที่ลงไป

นอกจากนี้ ALIC ยังมีระบบจ่ายเงินชดเชย เพื่อสร้างความมั่นคงในการดำเนินกิจการให้แก่ผู้ผลิตแป้งมันที่ใช้สำปะหลังและมันฝรั่งที่ผลิตในประเทศเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบ โดยการจ่ายเงินชดเชยสำหรับวัตถุดิบแป้งมันและต้นทุนการผลิตแป้งมันบางส่วน แก่ผู้ผลิตแป้งมันที่จำหน่ายได้ไม่คุ้มทุน




http://www.thaiceotokyo.jp/th/index.php?option=com_content&view=article&id=427:2009-11-09-02-09-30&catid=100:2009-11-09-02-33-16&Itemid=1100
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 24/09/2011 7:43 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

702. พิสูจน์ ‘เจ้าใหญ่’ จระเข้ไทย ใหญ่กว่า จระเข้ยักษ์ที่ฟิลิปปินส์ ! !






พิสูจน์ความจริง "เจ้าใหญ่" จระเข้ไทย ลูกผสมพันธุ์น้ำจืดผสมน้ำเค็ม ใหญ่กว่าจระเข้ยักษ์ที่ชาวบ้านฟิลิปปินส์จับได้ที่กาะมินดาเนา

จากกรณีที่เจ้าหน้าที่ป่าไม้และชาวบ้านในหมู่บ้านคอนซูเอโล หมู่บ้านชาวประมงในเมืองบูนาวัน จังหวัดอากูซันเดซูร์ บนเกาะมินดาเนา ทางตอนใต้ ของประเทศฟิลิปปินส์ สามารถจับจระเข้น้ำเค็มตัวผู้ อายุประมาณ 50 ปี มีความยาว 6.4 เมตร น้ำหนัก 1,075 กิโลกรัมได้ และคาดว่าจะเป็นจระเข้ตามธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลกเท่าที่เคยถูกค้นพบ ทำให้เกิดข้อสงสัยขึ้นมากมายว่าจระเข้ที่ถูกจับได้นี้มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกจริงหรือไม่

ประกอบกับข่าวคราวสถานการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ที่พัทยา ทำให้จระเข้จากอุทยานหินล้านปี และฟาร์มจระเข้พัทยาหลุดจากบ่อเลี้ยงจำนวนมากกว่า 18 ตัว โดยแต่ละตัวมีขนาดความยาวกว่า 4-5 เมตรสร้างความตื่นตระหนกให้ชาวบ้านในพื้นที่เป็นอย่างมาก เพราะเกรงกลัวในความดุร้ายของจระเข้

ทีมข่าวเดลินิวส์ออนไลน์ ได้ลงพื้นที่สำรวจและขอความรู้จากผู้เชี่ยวชาญเรื่องจระเข้ของเมืองไทย ที่ฟาร์มจระเข้และสวนสัตว์สมุทรปราการ ซึ่งมีจระเข้ขนาดยักษ์ชื่อเจ้าใหญ่อาศัยอยู่ และเป็นที่อาศัยของจระเข้เลี้ยงหลายหมื่นตัว เพื่อสืบหาความจริงว่าที่จริงแล้วจระเข้ของไทยมีขนาดใหญ่กว่าจระเข้ตัวที่ชาวฟิลิปปินส์จับได้หรือไม่ และวิวัฒนาการการเจริญเติบโต ที่เป็นมาตรฐานของจระเข้เป็นอย่างไร รวมถึงความดุร้ายของจระเข้ว่าเป็นอันตรายต่อมนุษย์มากน้อยเพียงใด

นาย จรูญ ยังประภากร กรรมการผู้จัดการ บริษัทฟาร์มจระเข้และสวนสัตว์สมุทรปราการ เริ่มต้นเล่าถึงเรื่องของเจ้าใหญ่เปรียบเทียบกับจระเข้ยักษ์ที่ชาวฟิลิปปินส์จับได้ว่า เจ้าใหญ่มีความยาวกว่า 6 เมตร และน้ำหนัก 1,116 กิโลกรัม ซึ่งชั่งครั้งล่าสุดเมื่อกว่าสิบปีมาแล้ว เป็นพันธุ์ลูกผสมน้ำจืดผสมน้ำเค็ม แต่จระเข้ที่ชาวฟิลิปปินส์จับได้เป็นพันธุ์น้ำเค็ม จึงไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้

อีกทั้งเจ้าใหญ่ยังเป็นจระเข้เลี้ยง ทำให้มีขนาดที่ใหญ่กว่าจระเข้ที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ แต่ถ้าพูดถึงเรื่องขนาดเท่านั้น เจ้าใหญ่ก็ถือว่าใหญ่กว่าจระเข้ยักษ์ที่ฟิลิปปินส์ โดยเจ้าใหญ่ยังเคยถูกบันทึกใน กินเนสบุ๊ค ออฟเวิลด์เร็คคอร์ด ปี1989 ว่าเป็นจระเข้พันธุ์ผสมน้ำจืดและน้ำเค็มที่ใหญ่ที่สุดในโลก

“จระเข้แรกเกิดจะมีขนาดลำตัวยาวประมาณ 23-25 เซนติเมตร พออายุครบ1ปีขนาดลำตัวจะเพิ่มเป็น 32-35 เซนติเมตร จากนั้นในปีที่ 2ก็จะมีขนาดเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวที่ประมาณ 80-90 เซนติเมตร และในปีที่ 3 ก็จะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วไปถึง 1.50 เมตรเป็นวิวัฒนาการที่เป็นมาตรฐานของจระเข้เกือบทุกพันธุ์

แต่ช่วงอายุหลังจากนี้จะขึ้นอยู่กับยีนของแต่ละตัวว่าสามารถเจริญเติบโตได้มากเพียงใด ซึ่งผมเชื่อว่าจระเข้พันธุ์น้ำเค็มสามารถมีขนาดใหญ่ที่สุดได้ถึง 8 เมตร และจระเข้ที่มีความยาวประมาณ 6 เมตร น่าจะมีอยู่อีกหลายตัวในโลก แต่ต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ทั้งเรื่องความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งอาหาร และสภาพแวดล้อม” เจ้าของฟาร์มจระเข้ เล่าถึงวิวัฒนาการการเจริญเติบโตของจระเข้

ถามถึงสายพันธุ์ต่างๆของจระเข้และความดุร้ายของสัตว์ชนิดนี้ คุณจรูญ ให้ความรู้ในเรื่องนี้ว่า จระเข้มีทั้งหมด 23 สายพันธุ์ทั่วโลก ในประเทศไทยมีอยู่ 3 สายพันธุ์คือ จระเข้พันธุ์น้ำจืด จระเข้พันธุ์น้ำเค็ม และตะโขง ซึ่งทุกสายพันธุ์ในประเทศไทยเหลือน้อยมากตามธรรมชาติ แต่สำหรับในแถบเอเชียยังมีจระเข้อีกหลายสายพันธุ์อาศัยอยู่ตามประเทศต่างๆ เช่น จีน ออสเตรเลีย ปาปัวนิวกินี ฟิลิปปินส์ อินเดีย ศรีลังกา พม่า ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนิเซีย ฯลฯ ซึ่งสายพันธุ์ที่ดุร้ายที่สุดคือ พันธุ์น้ำเค็ม

“จระเข้พันธุ์น้ำเค็มเป็นสายพันธุ์ที่ดุร้ายที่สุดในโลก พร้อมจะล่าสัตว์ทุกขนาด แต่จะคำนวณตัวเองกับเหยื่อว่าสามารถสู้ได้ไหม แต่ถ้าเป็นจระเข้ที่โตเต็มที่แล้วจะไม่กลัวสัตว์ชนิดใดทั้งนั้น ซึ่งจระเข้จะล่าเหยื่อเพื่อเป็นอาหารเท่านั้น ถ้าอยู่ในช่วงเวลาที่อิ่มอยู่แม้จะเป็นสัตว์ที่ล่าเป็นประจำก็จะไม่สนใจ แต่ถ้ามีใครเข้ามาในถิ่นของตัวเองจระเข้ก็พร้อมเข้าทำร้ายทันที เพราะจระเข้เป็นสัตว์หวงถิ่นมาก สำหรับมนุษย์จระเข้ความยาวเพียง 3 เมตรครึ่ง ก็สามารถล่าเป็นเหยื่อได้อย่างง่ายดาย ”

ถึงจระเข้จะเป็นสัตว์ที่ดุร้ายและไม่ควรเสี่ยงที่จะเข้าใกล้เป็นอันขาด แต่เจ้าใหญ่ถือเป็นจระเข้ยักษ์ที่เป็นความภาคภูมิใจอย่างหนึ่งของคนไทย ใครที่อยากเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องของจระเข้ สัตว์ร้ายเจ้าแห่งหนองน้ำ ที่ฟาร์มจระเข้ และสวนสัตว์สมุทรปราการ ถือเป็นแหล่งความรู้ชั้นดีที่ควรหาเวลาเข้ามาสัมผัสสักครั้ง



ทีมเดลินิวส์ออนไลน์
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&contentId=163174&categoryID=656
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 24/09/2011 7:49 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

703. วิกฤตน้ำท่วมทำพืชผักพิจิตรขายดี พ่อค้าแห่ซื้อส่งขายตลาดไท-สี่มุมเมือง


วิกฤตน้ำท่วมทั่วไทยส่งผล FOOD BANK พืชผักพิจิตรขายดี พ่อค้าแห่แย่งซื้อส่งตลาดไท-ตลาดสี่มุมเมือง

หลังทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.พิจิตร ร่วมกับชุมชนพัฒนาแม่น้ำพิจิตรเก่า จนกลายเป็นคลองสวยน้ำใสและมีน้ำเพื่อใช้ในการทำการเกษตรได้ตลอดทั้งปี จนทำให้พื้นที่ริมฝั่งน้ำพิจิตรเก่า กลายเป็นแหล่งผลิตพืชผักปลอดสารพิษป้อนตลาดได้อย่างต่อเนื่องแล้ว

นายวีระ จุระกะ อายุ 52 ปี อยู่บ้านเลขที่ 244/4 หมู่ 6 บ้านวังจันทร์ ต.เมืองเก่า อ.เมือง จ.พิจิตร และเป็นผู้ใหญ่บ้านรวมถึงเป็นผู้นำกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกพืชผักสวนครัวปลอดสารพิษ เปิดเผยว่า หมู่บ้านของตนรอดพ้นจากการถูกน้ำท่วม อีกทั้งพืชผักสวนครัวนานาชนิดก็เจริญเติบโตงดงาม เนื่องจากอยู่ในเขตชลประทานและอยู่ใกล้แม่น้ำพิจิตรเก่า จึงมีน้ำอุดมสมบรูณ์ อีกทั้งมีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่องจึงทำให้มีผลผลิตมาก เช่น ตำลึง ชะอม มะละกอ ฟัก แฟง แตงกวา โหระพา กะเพรา และอีกหลากหลาย

ล่าสุดขณะนี้ได้มีพ่อค้าคนกลางจากตลาดสี่มุมเมืองและตลาดไทใช้รถบรรทุกหกล้อ และรถกระบะ ออกมาแย่งกันรับซื้อพืชผักถึงหัวบันไดบ้าน ทำให้วิกฤตน้ำท่วมเป็นโอกาสของเกษตรกรพิจิตรที่ปลูกพืชผักสวนครัว มีรายได้เป็นกอบเป็นกำ อย่างน้อยทุกเช้าเก็บผักมาขายก็มีรายได้ 200-300 บาทได้อย่างสบาย ขึ้นอยู่ที่ความขยัน

นอกจากนี้ยังคาดการณ์ว่า อีก 1 เดือนข้างหน้าเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว พืชผักจะแห่ขึ้นราคาอีก เพราะหลายจังหวัดถูกน้ำท่วมจึงมีความต้องการผักเพื่อนำไปบริโภคเป็นจำนวนมาก

ด้าน นางวันทนา โตมาก อายุ 41 ปี เป็นชาว จ.พิษณุโลก ที่เข้ามารับซื้อผักจากเกษตรกร จ.พิจิตร เป็นประจำ เปิดเผยว่า นำผักเหล่านี้ไปขายส่งต่อที่ตลาดสี่มุมเมือง โดยมีรถกระบะ 2 คันออกตระเวนเก็บพืชผลจากชาวบ้าน ต.เมืองเก่า ต.ดงกลาง ต.โพธิ์ประทับช้าง รวมแล้วเกือบ 100 ราย รถกระบะบรรทุกผักเต็มคันก็จ่ายเป็นเงินสดทันทีประมาณ 5-6 หมื่นบาท ตนเองมาซื้อผักวันละ 1 แสนบาท แต่มาวันเว้นวัน สลับกับผู้รับซื้อรายอื่นเพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันและผลัดกันค้าขาย

เธอยอมรับว่าช่วงนี้ผักขาดแคลนโดยเฉพาะพวกผักชี ต้นหอม กุ้ยช่ายขาว เพราะว่าผักกลุ่มนี้จะปลูกอยู่แถวพื้นที่ปริมณฑลรอบกรุงเทพฯ ส่วนผักอื่นๆ ก็ไม่ขาดแคลนอะไร โดยเฉพาะที่พิจิตร มีผักมากมายเนื่องจากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.พิจิตร รวมถึงสำนักงานเกษตรจังหวัดพิจิตร ก็ส่งเสริมให้ปลูกผักทุกอย่างที่กินได้จนกลายเป็น FOOD BANK ที่พ่อค้าผักต่างรู้ดีว่าที่นี่มีสินค้าทุกฤดูกาล

สำหรับท่านที่สนใจอยากซื้อผักจากชาวบ้าน ต.เมืองเก่า สามารถติดต่อได้ที่นายวีระ 08-6982-8362 รับรองมีพืชผักปลอดสารพิษขายตลอดทั้งปี



ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์
http://region4.prd.go.th/ewt_news.php?nid=883&filename=index
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 26/09/2011 8:34 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

704. ข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง...มหัศจรรย์ธัญพืชที่น่าลิ้มลอง






จิรวรรณ โรจนพรทิพย์

เมื่อเร็วๆ นี้ กรมอนามัย ได้เปิดเผยผลสำรวจสุขภาพคนไทย ใน ปี 2553 พบว่า หญิงไทย-ชายไทย มีรอบเอวเกินมาตรฐาน ซึ่งเป็นผลจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม ออกกำลังกายน้อย ส่งผลทำให้คนไทยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ หลอดเลือดสมอง และมะเร็ง ในสัดส่วนที่เพิ่มสูงขึ้น

จึงอยากให้คนไทยหันมาดูแลสุขภาพโดยการออกกำลังกายกันให้มากขึ้น ควบคู่กับการบริโภคอาหาร เพื่อสุขภาพ เช่น ข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง มหัศจรรย์ธัญพืชที่มีสารแอนโทไซยานิน (สีม่วง) ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันการเกิดโรคต่างๆ ได้มากมาย


รู้จักข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง
นวัตกรรมใหม่ฝีมือคนไทย

สำหรับธัญพืชเพื่อสุขภาพชนิดนี้ มีชื่อทางการค้าว่า ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมแฟนซี สีม่วง 111 เป็นนวัตกรรมใหม่จากมันสมองของนักวิจัยชาวไทย คือ คุณไพศาล หิรัญมาศสุวรรณ ผู้จัดการงานปรับปรุงพันธุ์พืช (ข้าวโพดฝักสด) ของ บริษัท แปซิฟิคเมล็ดพันธุ์ จำกัด ผู้นำตลาดเมล็ดพันธุ์พืชไร่ ในเครือ ADVANTA ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมือง Hyderabad ประเทศอินเดีย

คุณไพศาล ได้ขอพันธุ์ข้าวโพดสีม่วง จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เพื่อมาใช้เป็นเชื้อพันธุกรรม ร่วมกับสายพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวที่บริษัทกำลังศึกษาวิจัยอยู่ก่อนแล้ว

คุณไพศาล สกัดสายพันธุ์แท้จากคู่ผสม ของเชื้อพันธุกรรมทั้งสอง จนได้สายพันธุ์แท้ข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง และคัดเลือกพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมออกมาได้ 2 พันธุ์ คือพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวแฟนซี สีม่วง 111 และ พันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวแฟนซี สีขาวม่วง 212 รวมใช้ระยะเวลาปรับปรุงข้าวโพดพันธุ์ใหม่ไม่ต่ำกว่า 6-7 ปี ทีเดียว

ก่อนหน้านี้ บริษัท แปซิฟิคฯ ได้นำเมล็ดพันธุ์ทั้ง 2 ชนิด ไปทดสอบ ทั้งในสถานีวิจัยและในแปลงของเกษตรกรหลายแห่งในพื้นที่ อำเภอบ้านหมอ จังหวดสระบุรี, อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี, อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ฯลฯ ไม่ต่ำกว่า 3-4 ปี

ผลการทดสอบเป็นที่ถูกอกถูกใจเกษตรกรอย่างมาก เพราะได้ผลผลิตสูง คุณภาพฝักสดดีเยี่ยม แถมปรับตัวได้ดีในสภาพแปลงเกษตรกร


เผยเคล็ดลับการปลูก
เพื่อให้ได้ผลผลิตสูงและคุณภาพดี

การเตรียมดินถือเป็นหัวใจของการปลูกข้าวโพดข้าวเหนียว ให้ได้ผลผลิตสูง เพราะถ้าดินมีสภาพดีเหมาะกับการงอกของเมล็ด จะทำให้มีจำนวนต้นต่อไร่สูง ผลผลิตต่อไร่ก็จะสูงตามไปด้วย

จึงแนะนำให้เกษตรกรไถดะและตากดินทิ้งไว้ 3-5 วัน จึงค่อยไถแปรเพื่อย่อยดินให้แตกละเอียดเหมาะกับการงอกของเมล็ด พร้อมหว่านปุ๋ยคอก อัตรา 1 ตัน ต่อไร่ ก่อนการไถแปร เพื่อเป็นการปรับปรุงโครงสร้างของดินให้ดีขึ้น สามารถอุ้มน้ำได้นานขึ้น และเพิ่มธาตุอาหารให้กับข้าวโพดอีกทางหนึ่ง

การปลูกข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง สามารถปลูกได้ 2 วิธี คือ ปลูกแบบแถวเดี่ยว ระยะระหว่างแถว 75 เซนติเมตร ระยะระหว่างต้น 20-25 เซนติเมตร ปลูกหลุมละ 1 ต้น จำนวนต้นต่อไร่ ประมาณ 7,000-8,500 ต้น จะใช้เมล็ด ประมาณ 2-3 กิโลกรัม ต่อไร่

หรือ ปลูกแบบแถวคู่ มีการยกร่องสูง ระยะระหว่างร่อง 120 เซนติเมตร ปลูกเป็น 2 แถว ข้างร่อง ระยะห่างกัน 30 เซนติเมตร ระยะระหว่างต้น 25-30 เซนติเมตร 1 ต้น ต่อหลุม จะมีจำนวนต้น ประมาณ 7,000-8,500 ต้น ต่อไร่ และใช้เมล็ดประมาณ 2-3 กิโลกรัม ต่อไร่

ส่วนปุ๋ย แนะนำให้เกษตรกรใส่ปุ๋ยรองพื้น สูตรปุ๋ย 15-15-15 หรือ 25-7-7 หรือ 16-16-8 อัตรา 50 กิโลกรัม ต่อไร่ ใส่พร้อมปลูกหรือใส่ขณะเตรียมดิน หากปลูกด้วยมือ ควรหยอดปุ๋ยที่ก้นหลุมแล้วกลบดินบางๆ ก่อนหยอดเมล็ด แต่ไม่ควรให้ปุ๋ยสัมผัสกับเมล็ดโดยตรง เพราะอาจทำให้เมล็ดเน่าได้

ปุ๋ยแต่งหน้า ครั้งที่ 1 บริษัทแนะนำให้เลือกใช้ปุ๋ย สูตร 46-0-0 (ยูเรีย) ใส่ อัตรา 25-30 กิโลกรัม ต่อไร่ ใส่เมื่อข้าวโพดมีอายุ 20-25 วัน หลังปลูก โรยข้างต้นในขณะดินมีความชื้นหรือให้น้ำตาม หรือพูนโคนกลบปุ๋ยเพื่อกำจัดวัชพืชไปในตัว

เมื่อข้าวโพดมีอายุ 40-45 วัน หลังปลูก ถ้าแสดงอาการเหลืองหรือไม่สมบูรณ์ ให้ใส่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) อัตรา 25 กิโลกรัม ต่อไร่ โรยข้างต้น ในขณะดินมีความชื้นหรือให้น้ำตาม

ถ้าแปลงปลูกข้าวโพดมีวัชพืชขึ้นมาก จะทำให้ข้าวโพดไม่สมบูรณ์ ผลผลิตจะลดลง ควรกำจัดวัชพืชในแปลงปลูก โดยใช้อลาคลอร์ฉีดพ่นลงดินหลังจากปลูก ก่อนที่วัชพืชจะงอก ขณะฉีดพ่น ดินควรมีความชื้นเพื่อทำให้ยามีประสิทธิภาพดีขึ้น ช่วงที่ฝนตกชุก เสี่ยงต่อการเกิดโรคราน้ำค้างได้ง่าย ควรฉีดสารเคมีป้องกันโรคราน้ำค้าง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง

ระยะ 7 วันแรกหลังปลูก เป็นระยะที่ข้าวโพดกำลังงอก ถ้าข้าวโพดข้าวเหนียวขาดน้ำช่วงนี้จะทำให้การงอกไม่ดี จำนวนต้นต่อพื้นที่ก็จะน้อยลง จะทำให้ผลผลิตลดลงไปด้วย ระยะที่ขาดน้ำไม่ได้อีกช่วงหนึ่งคือ ระยะออกดอก

การขาดน้ำในช่วงนี้จะมีผลทำให้การผสมเกสรไม่สมบูรณ์ การติดเมล็ดจะไม่ดี ติดเมล็ดไม่เต็มถึงส่วนปลาย หรือติดเมล็ดเป็นบางส่วน ฝักที่ได้จะขายได้ราคาต่ำ โดยปกติถ้าเป็นพื้นที่ที่สามารถให้น้ำได้ ควรให้น้ำทุก 3-5 วัน ขึ้นกับสภาพต้นข้าวโพดและสภาพอากาศ แต่ช่วงที่ควรให้น้ำถี่ขึ้นคือ ช่วงที่ข้าวโพดกำลังงอกและช่วงออกดอก

โดยปกติข้าวโพดข้าวเหนียวจะเก็บเกี่ยวเมื่อมีอายุประมาณ 60-70 วัน หลังปลูก แต่ระยะที่เหมาะสมสำหรับการเก็บเกี่ยวที่สุด คือ ระยะ 18-20 วัน หลังข้าวโพดออกไหม 50% (ข้าวโพด 100 ต้น มีไหม 50 ต้น) แต่ถ้าปลูกในช่วงอากาศหนาวเย็นอายุการเก็บเกี่ยวอาจจะยืดออกไปอีก

คุณทวี รุ่งเรือง เกษตรกรตำบลหนองบัว อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี ที่มีประสบการณ์ในการปลูกข้าวโพดมานานกว่า 10 ปี สนใจปลูกข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง เพราะเป็นเรื่องใหม่ ท้าทายในการปลูก เมื่อ บริษัท แปซิฟิคเมล็ดพันธุ์

ได้นำเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมแฟนซี สีม่วง 111 มาให้ทดลองปลูก ก็ได้ผลผลิตที่ดี เมื่อคุณทวีเก็บเกี่ยวผลผลิตออกขายที่ตลาดสด จังหวัดสระบุรี ก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากแม่ค้า สามารถขายผลผลิตฝักสดได้ถึงกิโลกรัมละ 20 บาท และมีลูกค้ามาถามซื้ออีกหลายราย

เนื่องจากเห็นเป็นของแปลก และรสชาติหวานหอม เหนียวนุ่ม ฝักใหญ่ ไม่เหมือนข้าวโพดข้าวเหนียวพันธุ์อื่นๆ ที่เคยกิน แถมสีสันโดดเด่นไม่เหมือนใคร ยิ่งรู้ว่า ข้าวโพดสีม่วงเข้มนี้มีสารต้านมะเร็งได้ด้วย ลูกค้าก็ยิ่งสนใจมากขึ้น ทำให้คุณทวีพึงพอใจกับการปลูกข้าวโพดสายพันธุ์นี้เป็นอย่างมาก

คุณจันทรา จันทร์เทียน ชื่อเล่นว่า พี่ติ๋ว อายุ 44 ปี เกษตรกรในพื้นที่ตำบลโพธิ์เก้าต้น อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี เล่าให้ฟังว่า เพิ่งทดลองปลูกข้าวโพดสีม่วงเป็นครั้งแรก เนื้อที่ 1 ไร่ สาเหตุที่สนใจปลูก เพราะเป็นข้าวโพดพันธุ์ใหม่ การเตรียมแปลงปลูกของพี่ติ๋ว

เริ่มจากไถแปรให้ดินป่น ใส่ปุ๋ยขี้ไก่อัดเม็ด และปลูกโดยใช้เครื่องหยอดเมล็ดจาน 9 ให้น้ำสัปดาห์ละ 1 ครั้ง โดยรดให้ดินเปียกชุ่ม พร้อมใส่ปุ๋ยยูเรียเม็ดเล็ก ในปริมาณครึ่งลูก ต่อพื้นที่ 1 ไร่ พี่ติ๋วยังไม่ทันเก็บเกี่ยวผลผลิตออกขาย

ปรากฎว่ามีพ่อค้าแม่ค้ามาสั่งจองขอซื้อผลผลิตล่วงหน้ากัน คนละ 100-200 กิโลกรัม ที่สำคัญขอซื้อแบบไม่เกี่ยงราคาด้วย ถูกใจพี่ติ๋วอย่างมาก ทำให้ตัดสินใจขยายพื้นที่ปลูกรอบใหม่เพิ่มขึ้น เป็น 5 ไร่ ทันที

ด้านน้องสาวพี่ติ๋ว ชื่อ คุณนงนุช ใจเที่ยง ที่ยึดอาชีพขายข้าวโพดต้ม เล่าให้ฟังว่า ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี เริ่มมีแม่ค้าหลายรายนำข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงออกมาวางขาย ในราคาฝักละ 10 บาท หากเป็นฝักเล็ก ก็จะขาย 3 ฝัก 20 บาท

ลูกค้าชอบสีสันแปลกตา ขนาดพอเหมาะ ที่สำคัญ มีสรรพคุณต้านทานโรคมะเร็ง ทำให้ลูกค้าจำนวนมากสนใจอยากซื้อข้าวโพดพันธุ์ใหม่นี้


ข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง...
มหัศจรรย์อาหารเพื่อสุขภาพ

ข้าวโพดข้าวเหนียวแฟนซี สีม่วง 111 มีกลิ่นหอม รสชาติอร่อย เมื่อเคี้ยวจะรู้สึกมันและเหนียวนุ่มหนุบหนับ เคี้ยวเพลิน ไม่ติดฟัน ที่สำคัญเป็นอาหารเพื่อสุขภาพที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย โดยเฉพาะเยื่อหุ้มเมล็ดข้าวโพด ที่เป็นสีม่วงดำเข้ม

ถือว่ามีคุณค่าทางอาหารสูงมาก เพราะมีสารแอนโทไซยานิน (anthocyanins) มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ สูงกว่าวิตามินซีหลายพันเท่า

วารสารทางการแพทย์ ทั้งในสหรัฐอเมริกาและยุโรป ยกย่องคุณประโยชน์ของแอนโทไซยานินว่า ช่วยลดโอกาสการเกิดมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งชนิดเนื้องอก ช่วยเสริมให้ร่างกายต่อต้านเชื้อโรคและสมานแผล เสริมภูมิคุ้มกันในร่างกายให้ดีขึ้น

ส่งเสริมการทำงานของเม็ดเลือดแดง ชะลอการเกิดไขมันอุดตันในหลอดเลือด ลดภาวะเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ เพิ่มความสามารถในการมองเห็น ชะลอความเสื่อมของดวงตา ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวาน ชะลอความแก่โดยชะลอความเสื่อมของเซลล์

ดังนั้น หากใครสามารถรับประทานข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงได้เป็นประจำ จะได้รับประโยชน์ที่ดีต่อสุขภาพ ทำให้ร่างกายแข็งแรง ปราศจากโรคภัยต่างๆ

คุณพาโชค พงษ์พานิช กรรมการผู้จัดการ บริษัท แปซิฟิคเมล็ดพันธุ์ จำกัด เล่าให้ฟังว่า บริษัทได้นำข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงไปทดสอบตลาดตั้งแต่ปีที่แล้ว ปรากฏว่า ได้รับการยอมรับจากเกษตรกรและผู้บริโภคในวงกว้าง

เกษตรกรสามารถขายฝักสดได้ในราคา 2 เท่า ของราคาตลาด ขณะนี้พ่อค้าคนกลางพยายามจูงใจให้เกษตรกรปลูกข้าวโพดพันธุ์นี้ โดยประกันราคารับซื้อข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง ในราคากิโลกรัมละ 7 บาท ผลผลิตที่รับซื้อจากเกษตรกรจะส่งไปขายที่ ตลาดไท ตลาดสี่มุมเมือง และห้างสรรพสินค้าต่างๆ เช่น ห้างเดอะมอลล์ สยามพารากอน ฯลฯ

ขณะนี้ เกษตรกรในพื้นที่ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ สนใจที่จะขยายพื้นที่ปลูกข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงหลายพันไร่แล้ว การปลูกข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง มีต้นทุนค่าเมล็ดพันธุ์ อยู่ที่ไร่ละ 1,300 บาท ที่เหลือเป็นค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าไถ ค่าปุ๋ย ค่าแรงเก็บเกี่ยว ฯลฯ อีกประมาณ 2,000 บาท

พื้นที่ปลูก 1 ไร่ จะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 1,500 กิโลกรัม หากขายฝักสดในราคากิโลกรัมละ 7 บาท ลงทุน 1 ไร่ จะมีรายได้เฉลี่ย 10,000 บาท เมื่อหักต้นทุนค่าใช้จ่าย 3,500 บาท จะเหลือผลกำไรประมาณไร่ละ 6,500 บาท ถือว่ามีตัวเลขรายได้ อยู่ในเกณฑ์ที่ดีทีเดียว

ที่ผ่านมา บริษัทได้ทดลองนำข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง ไปต้มขายในห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ ที่กรุงเทพฯ ปรากฏว่า สามารถขายข้าวโพด 300 ฝัก ขายหมดเกลี้ยงเลย ในระยะเวลาเพียงไม่กี่นาที ถึงแม้จะขายในราคาฝักละ 15 บาท แต่ผู้บริโภคก็ยอมจ่าย

เพราะถือว่าได้บริโภคอาหารที่ดีมีประโยชน์ต่อร่างกาย ผู้บริโภคจำนวนมากที่มีโอกาสชิมลิ้มรสข้าวโพดสีม่วงเป็นครั้งแรก มักจะติดใจ ย้อนกลับมาซื้อซ้ำอีกหลายครั้ง

คุณพาโชค แนะนำเคล็ดลับสำคัญที่จะเพิ่มรสชาติ การบริโภคข้าวโพดข้าวเหนียวให้อร่อยว่า เริ่มจากเตรียมหม้อนึ่ง และใส่น้ำ/ต้มน้ำ ให้เดือด นำฝักข้าวโพดสีม่วง (อายุเก็บเกี่ยว 67-70 วัน จะมีรสชาติดีที่สุด) ปอกเปลือกหุ้มฝักออก โดยให้เหลือเปลือกหุ้มฝักติดกับฝัก ประมาณ 2-3 ชั้น

เพื่อรักษาสารแอนโทไซยานินให้คงอยู่ ในเมล็ด และทำให้เมล็ดมีความเต่งตึงน่ารับประทาน ใส่ฝักข้าวโพดวางเรียงลงในหม้อนึ่ง ที่น้ำเดือดแล้ว ปิดฝา ใช้เวลาในการนึ่ง ประมาณ 25-30 นาที สารแอนโทไซยานิน (สีม่วง) ละลายได้ดีในความเย็น

ดังนั้น ควรปล่อยให้ฝักข้าวโพดสีม่วงที่ต้มเย็นลงในระดับอุ่นๆ ก่อนรับประทาน จะทำให้สีม่วงไม่ติดมือ รสชาติและรวมทั้งคุณค่าทางอาหารยังคงเดิม

หากผู้อ่านท่านใดสนใจ อยากได้ข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง ติดต่อได้ที่ บริษัท แปซิฟิคเมล็ดพันธุ์ จำกัด เลขที่ 1 หมู่ที่ 13 พหลโยธิน ตำบลพระพุทธบาท อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี 18120

โทรศัพท์ (036) 266-316-9, (036) 267-877-8 โทรสาร (036) 266-508 ตั้งแต่ เวลา 08.00-17.30 น. ทุกวัน ตั้งแต่วันจันทร์-วันศุกร์




ขอขอบคุณ
มติชนออนไลน์
คุณจิรวรรณ โรจนพรทิพย์
ภุมวารสิริสวัสดิ์ ปรีดิ์มนัสวัฒนสิริค่ะ

Create Date : 06 กันยายน 2554
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=vinitsiri&month=09-2011&date=06&group=8&gblog=230
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 26/09/2011 8:39 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

705. "ยืดอายุมะเขือเทศ" ลดใช้พลังงาน แนวคิดดีๆ จาก มทร.ธัญบุรี


"ยืดอายุมะเขือเทศแบบไม่ใช้พลังงาน" แนวคิดตอบสนองสถานการณ์โลกขาดแคลนพลังงาน ผลงานนักศึกษาวิศวกรรมการเกษตร มทร. ธัญบุรี โชว์ห้องยืดอายุมะเขือเทศต้นทุนต่ำ ลดการใช้พลังงาน เพิ่มคุณภาพผลผลิต สร้างมูลค่าเพิ่มให้ชุมชน




มะเขือเทศ ผลผลิตทางเกษตร
มะเขือเทศเป็นผลิตผลการเกษตรเก็บเกี่ยวชนิดหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะทางกายภาพ คือ มีน้ำเป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ จึงก่อให้เกิดความเสียหาย ทั้งในระหว่างการเก็บเกี่ยวผลิตผล การขนส่ง และการเก็บรักษาได้ง่าย ดังนั้นการเก็บผลิตผลให้คงคุณภาพที่ดีไว้ได้นาน

โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดที่อยู่ไกลจากแหล่งผลิต จึงต้องมีวิธีการเก็บรักษาที่ดี และสามารถรักษาคุณภาพของผลิตผลให้ยาวนานขึ้น ป้องกันการเน่าเสีย ผลเหี่ยว และการเสื่อมคุณภาพได้




ห้องยืดอายุมะเขือเทศ
"โครงงานทางวิศวกรรมเพื่อการยืดอายุมะเขือเทศแบบไม่ใช้พลังงาน" ของ "สิเรียม ทองใบใหญ่" และ "รัตนาภรณ์ ดิษฐ์ทอง" นักศึกษาจากภาควิชาวิศวกรรมการเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

โดยมี "วรินธร ยิ้มย่อง" เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ โดยมีแนวคิดมาจาก ต้องการลดค่าใช้จ่ายจากการใช้พลังงานที่ค่อนข้างสูง ในการเก็บรักษาผลิตผลในตู้เย็น หรือห้องเย็น เพราะคนทั่วไปมักมองว่าเป็นการเก็บรักษาที่ง่ายและสะดวก

"ในขณะที่โลกกำลังประสบกับปัญหาสภาวะการขาดแคลนพลังงาน แต่มนุษย์ยังใช้พลังงานอย่างไม่รู้ค่าและสิ้นเปลือง เราจึงมีแนวคิดในการทำโครงงานวิศวกรรมนี้ขึ้น เพื่อเป็นการทดลองสร้างห้องเก็บรักษาผลิตผลเกษตรแบบไม่ใช้พลังงาน

เพราะหวังว่าเป็นการประหยัด และเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยให้ได้ผลิตผลคงคุณภาพแบบผู้บริโภคต้องการ อีกทั้งยังใช้ต้นทุนต่ำในการก่อสร้างห้อง ช่วยประหยัดทั้งพลังงานและค่าใช้จ่าย เพราะไม่ต้องใช้เครื่องจักรหรือพลังงานไฟฟ้าใด ๆ"




ห้องเก็บมะเขือเทศต้นแบบ (ไม่ใช้พลังงาน)
เจ้าของผลงานกล่าวต่อว่า สำหรับการสร้างห้องเก็บมะเขือเทศแบบไม่ใช้พลังงาน จะประกอบด้วยอุปกรณ์ ดังนี้ คือ อิฐ-ทราย-ปูน-สายยาง-ถังน้ำ-ไม้ไผ่-ฟางข้าว-มะเขือเทศ โดยคัดเลือกให้อยู่ในระยะ Pink -เครื่องวัดสี (Colorimeter) MINOLTA รุ่น CR-10-เครื่องวัดปริมาณน้ำตาลแบบมือถือ 0-32 % Brix-เครื่องชั่งดิจิตอล Sartorius รุ่น CP3202S-เครื่องวัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ (Thermohygrometer)

"ส่วนขั้นตอนการสร้างก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไรลักษณะห้องเป็นพื้นปูด้วยอิฐเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 200 x 150 cm มีผนัง 2 ชั้นสูง 68 cm ช่องว่างระหว่างผนังทั้งสองกว้าง 7 cm เพื่อบรรจุทรายลงไป หลังคาทำด้วยไม้ไผ่และฟางข้าว

น้ำจะหยดจากสายยางไหลผ่านทรายที่อยู่ในช่องว่างระหว่างผนัง โดยกำหนดระดับการไหลของน้ำที่ 75 ลิตรต่อวัน โดยกระบวนการเก็บรักษามะเขือเทศในห้องเก็บรักษาแบบไม่ใช้พลังงาน จะปล่อยน้ำซึมผ่านผนังทั้งสี่ด้านที่ปริมาณน้ำ 75 ลิตรต่อวัน

เมื่อเปรียบเทียบกับการเก็บรักษาผลมะเขือเทศในตู้เย็น และที่อุณหภูมิห้อง พบว่า ผลมะเขือเทศที่เก็บรักษาในตู้เย็นและในห้องเก็บรักษาแบบไม่ใช้พลังงานสามารถยืดอายุการเก็บรักษาได้นานถึง 14.00 วัน และ13.63 วันโดยไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ"

นับว่าเป็นอีกวิธีหนึ่งที่นำหลักการทางธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์ อีกทั้งยังไม่ต้องสิ้นเปลืองพลังงานอย่างไม่จำเป็น ซึ่งเหมาะกับภาวะที่โลกกำลังขาดแคลนพลังงาน

นอกจากจะเป็นการช่วยประหยัดพลังงาน รักษาสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตทางการเกษตรและเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรอีกทางด้วย



ขอขอบคุณ ผู้จัดการออนไลน์
สิริสวัสดิ์วุธวาร สิริมานรมณีย์นะคะ
Create Date : 14 กันยายน 2554
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=vinitsiri&month=09-2011&date=14&group=8&gblog=233
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 26/09/2011 9:24 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

706. ท่อนพันธุ์ หญ้าหมัก งานสร้างเงิน





เทคโนฯ ปศุสัตว์

ธนสิทธิ์ เหล่าประเสริฐ


“รายได้เฉลี่ยต่อเดือนตอนนี้ไม่ต่ำกว่า 30,000 บาท ต่อเดือน เมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้วก็อยู่ได้ เพียงพอใช้กันในครอบครัว พ่อ แม่ และลูก ซึ่งเพิ่งมาอยู่บ้านหลังจากไปทำงานที่กรุงเทพฯ”

คุณสมาน นารีสา อยู่บ้านเลขที่ 35 หมู่ที่ 3 ตำบลกุดน้อย อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา โทร. (080) 728-2560 บอกกล่าวถึงรายได้ที่มาจากการประกอบอาชีพจำหน่ายท่อนพันธุ์ และหญ้าหมักให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคในพื้นที่

คุณสมาน เป็นเกษตรกรคนหนึ่งที่ได้รับการส่งเสริม จากศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์นครราชสีมา กองอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ และ บริษัท คอร์น โปรดักส์ (ประเทศไทย) จำกัด ให้ปรับเปลี่ยนการประกอบอาชีพมาสู่การปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์เพื่อจำหน่ายให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงโค

โดยพันธุ์หญ้าที่คุณสมานปลูก คือ หญ้าพันธุ์เนเปียร์ ปากช่อง 1
ซึ่งเป็นหญ้าอาหารสัตว์สายพันธุ์ใหม่ ที่กรมปศุสัตว์ ได้ดำเนินการคัดเลือกและปรับปรุงสายพันธุ์ขึ้นมาจนประสบความสำเร็จ เป็นพืชอาหารสัตว์สายพันธุ์ใหม่ ที่มีคุณสมบัติดีเด่น ทั้งด้านผลผลิต และความเหมาะสมในการใช้เป็นพืชลด

มลภาวะน้ำเสียจากอุตสาหกรรม
เมื่อมีการศึกษา วิจัย ขยายพันธุ์ และใช้ประโยชน์ทั้งในหน่วยงานรัฐ เอกชน ฟาร์มเกษตรกร ตลอดจนทดลองแปรรูป ปรับปรุงสภาพ และใช้เลี้ยงสัตว์ ทั้งโคเนื้อ และโคนม ในรูปของหญ้าสด และหญ้าหมัก จนได้ผลยืนยันแล้ว

กรมปศุสัตว์ มีความมั่นใจว่าเป็นพืชอาหารสัตว์ที่มีศักยภาพสูง เหมาะสมที่จะส่งเสริมการผลิต และใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง

หญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 เป็นพันธุ์หญ้าอาหารสัตว์ที่มีอายุหลายปี ทรงต้นเป็นกอตั้งตรง สูงประมาณ 2-4 เมตร แตกกอดี มีระบบรากแข็งแรง ชอบดินที่มีการระบายน้ำดี มีความอุดมสมบูรณ์ ผลผลิตสูง

สัตว์ชอบกิน มีคุณค่าทางอาหารสูง โปรตีนหยาบประมาณ 10-12% ที่อายุการตัด 60 วัน และทำหญ้าหมักได้ดี ขยายพันธุ์โดยใช้ท่อนพันธุ์ เป็นหญ้าที่ไม่ติดเมล็ด จึงไม่เสี่ยงต่อการเป็นวัชพืช

แต่เดิมนั้น คุณสมาน เป็นเกษตรกรที่ยึดอาชีพการทำไร่อ้อย และมันสำปะหลัง เป็นหลัก แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะได้รับผลกระทบจากน้ำเสียที่ปล่อยมาจากโรงงาน ของ บริษัท คอร์น โปรดักส์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังและสินค้าอื่นๆ ที่ใช้วัตถุดิบเกี่ยวข้องกับมันสำปะหลัง

ในช่วงนั้นจึงเรียกได้ว่า เป็นปัญหาที่สร้างความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรโดยรอบโรงงานเป็นอย่างมาก

“ประสบปัญหามา 10 กว่าปี อ้อยและมันสำปะหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตไม่ได้เลย” คุณสมาน กล่าว

จากความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นจากผลกระทบ ที่มาจากโรงงานแห่งนี้ ที่มีต่อเกษตรกรในพื้นที่ จึงได้กลายเป็นปมปัญหาสำคัญที่นำมาสู่ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาระหว่าง โรงงานและเกษตรกร รวมถึงทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น อบต.

จนกระทั่งเกิดความร่วมมือในการศึกษาวิจัยพันธุ์หญ้าอาหารสัตว์ หญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 ขึ้น และได้กลายเป็นทางออกของการแก้ไขปัญหา ด้วยเป็นพันธุ์หญ้าที่สามารถเจริญเติบโตได้ดี เมื่อมีการนำน้ำจากกากมันสำปะหลังมาใช้รด และได้นำมาซึ่งอาชีพใหม่ที่สามารถสร้างรายให้เป็นอย่างดีแก่เกษตรกรในพื้นที่ ณ วันนี้

คุณสมาน จึงเป็นหนึ่งในเกษตรกรรอบโรงงานที่ได้ปรับเปลี่ยนอาชีพมาสู่การปลูกหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 โดยเป็นรุ่นแรกของเกษตรกรในเขตนี้ ที่ปรับเปลี่ยนมาสู่การปลูกหญ้า โดยได้รับการสนับสนุนท่อนพันธุ์จากทางโรงงาน

จากระยะเวลา 1 ปี ที่ได้เข้าร่วมโครงการ ในวันนี้คุณสมานได้เป็นหนึ่งในเกษตรกรที่มีรายได้จากการจำหน่ายหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1

โดยการจำหน่ายนั้น จะมีทั้งในรูปของหญ้าสด หญ้าหมัก และท่อนพันธุ์
ราคาจำหน่ายนั้น ถ้าเป็นหญ้าสด กิโลกรัมละ 1 บาท
หญ้าหมัก กิโลกรัมละ 1.70 บาท
ท่อนพันธุ์ กิโลกรัมละ 3 บาท


“ตอนนี้มีพื้นที่ปลูกทั้งหมด 24 ไร่ จากเดิมที่เริ่มต้นปลูกในครั้งแรกประมาณ 12 ไร่ ซึ่งแรงงานที่ทำงานในแปลงหญ้า ก็เป็นแรงงานในครอบครัวเป็นหลัก” คุณสมาน กล่าว

ในส่วนของขั้นตอนการปลูกนั้น คุณสมาน เล่าให้ฟังว่า ในการเตรียมพื้นที่ปลูกนั้น ก่อนที่จะไถดะ จะนำตะกอนจากโรงงานมาใส่เพื่อเป็นการปรับปรุงสภาพดินก่อน โดยตะกอนดังกล่าวจะช่วยเพิ่มธาตุอาหารให้กับดินมากขึ้น

หลังจากนั้น จะไถดะ 1 ครั้ง และไถพรวนอีก 1 ครั้ง
เมื่อเตรียมพื้นที่ปลูกเรียบร้อยแล้ว จะนำท่อนพันธุ์หญ้ามาลงปลูก ซึ่งต้นพันธุ์ที่ใช้นั้นจะมาตัดเป็นท่อนๆ ให้มีข้อติดอยู่ ไม่น้อยกว่าท่อนละ 2 ข้อ ต้นพันธุ์ 1 ต้น ตัดเป็นท่อนพันธุ์ได้ประมาณ 3 ท่อน

ในพื้นที่ 1 ไร่ จะใช้ท่อนพันธุ์ ประมาณ 400 กิโลกรัม
ส่วนระยะปลูก ใช้ระยะห่างระหว่างแถว 1.2 เมตร และระยะห่างระหว่างหลุมปลูก 1 เมตร

ในส่วนของการให้น้ำนั้น คุณสมาน บอกว่า เนื่องจากยังไม่มีทุนมากพอที่จะวางระบบสปริงเกลอร์ จึงใช้วิธีปล่อยน้ำเข้าแปลง

“อาทิตย์หนึ่ง จะให้น้ำ 2 ครั้ง”
นอกจากนั้น ในเรื่องของการกำจัดวัชพืช หลังการปลูก 2-3 สัปดาห์ ให้กำจัดวัชพืชครั้งแรก จากนั้นควรกำจัดวัชพืชหลังการตัดทุกครั้ง

“หลังจากปลูกแล้ว ประมาณ 2 เดือน ก็สามารถเริ่มตัดหญ้าได้ และตัดหญ้าขายทุกๆ 2 เดือน”

หญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 มีข้อดีที่เด่นมากคือ แตกกอได้ดี ทำให้ผลผลิตต่อไร่สูง โดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 15-20 ตัน ต่อไร่” คุณสมาน กล่าวและว่า

“สำหรับการขายเป็นท่อนพันธุ์นั้น ต้องเพิ่มระยะเวลาในการปลูกเป็น 3 เดือน จึงสามารถตัดออกมาเป็นท่อนพันธุ์ ขายให้กับเกษตรกรที่สนใจได้”

คุณสมาน กล่าวต่ออีกว่า สำหรับการลงทุนปลูกหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 จะลงทุนปลูกเพียงครั้งเดียว สามารถตัดจำหน่ายได้นาน 5-10 ปี เลยทีเดียว โดยขึ้นอยู่กับสภาพของดิน

“ตอนนี้ถือว่าเป็นอาชีพที่ทำรายได้ให้ดีมากเลย ซึ่งใช้เวลาเพียง 1 ปี ก็ประสบความสำเร็จ” คุณสมาน กล่าวทิ้งท้าย



ขอขอบคุณ
มติชนออนไลน์
เทคโนฯ ปศุสัตว์
คุณธนสิทธิ์ เหล่าประเสริฐ
ศุกรวารสิริสวัสดิ์ค่ะ

ขอความกรุณาช่วยโหวต TBA ด้วยนะคะ
ขอบพระคุณมากค่ะ

กดที่นี่ค่ะ
sirivinit

Create Date : 26 สิงหาคม 2554
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=vinitsiri&month=08-2011&date=26&group=8&gblog=227
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 26/09/2011 9:26 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

707. สับปะรดพันธุ์ใหม่ เก็บไว้ได้ 30 วัน-นานที่สุดในโลก


ประจวบคีรีขันธ์ - นายพีระ สุกิจปาณีนิจ นายก อบต.ไร่เก่า อ.สามร้อยยอด เปิดเผยว่า โอกาสครบรอบ 100 ปี สับปะรดประจวบคีรีขันธ์ ตนได้เตรียมผลสับปะรดพันธุ์เหลืองสามร้อยยอด ที่ผ่านการจดสิทธิบัตร และใช้ทุนส่วนตัวกว่า 3 ล้านบาท เพื่อพัฒนาสายพันธุ์

โดยสับปะรดชนิดนี้มีความพิเศษต่างจากพันธุ์ปัตตาเวียดั้งเดิม เนื่องจากผู้บริโภคสามารถเก็บผลสับปะรด ไว้ในอุณหภูมิปกติได้นานกว่า 30 วัน โดยที่รสชาติและความหอมไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งถือเป็นสถิติโลกในการเก็บผลผลิตทางการเกษตรที่ยังสดไว้ได้นานที่สุด

โดยจะเป็นผลดีกับการส่งผลไม้สดออกไปจำหน่ายในตลาดต่างประเทศ ซึ่งปกติผลสับปะรดสุกหลังเก็บเกี่ยวจะเก็บได้ไม่เกิน 7 วัน ประกอบกับลักษณะของสับปะรดพันธุ์เหลืองสามร้อยยอด ที่เป็นทรงกระบอก

ทำให้ผ่านกระบวนการแปรรูปเป็นสับปะรดกระป๋องได้ โดยไม่ต้องแกะตา ส่งผลให้โรงงานประหยัดค่าใช้จ่ายแรงงานในการจิกตา และได้เนื้อสับปะรดเกรดดี แต่ขณะนี้ยังไม่มีการจำหน่ายต้นพันธุ์ของสับปะรดเหลืองสามร้อยยอด

เนื่องจากต้องการพัฒนาสับปะรดสายพันธุ์ใหม่ เพิ่มในแปลงทดลองก่อน

นายวีระ ศรีวัฒนตระกูล ผวจ.ประจวบคีรีขันธ์ กล่าวว่า สำหรับการจัดงาน 100 ปี สับปะรดไทยที่หนึ่งในโลก จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 30 ก.ย.-8 ต.ค.นี้ ที่สนามกรมทหารราบที่ 153 เพื่อรำลึกถึงความสำคัญของสับปะรดประจวบคีรีขันธ์ ที่ให้ผลผลิตทางการเกษตรและสร้างรายได้เข้าจังหวัดจำนวนมาก

รวมทั้ง จ.ประจวบคีรีขันธ์ยังปลูกสับปะรดได้ผลผลิตประมาณ 18 ล้านตันต่อปี ทำให้สามารถส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศได้มากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของประเทศไทย ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว และครบรอบ 100 ปี การปลูกสับปะรดในประจวบคีรีขันธ์จึงมีการจัดงานดังกล่าวขึ้น

นายวีระกล่าวอีกว่า สำหรับกิจกรรมสำคัญในงานจะมีการเจรจาการค้ากับประเทศรัสเซีย และเทรดเดอร์ ผู้นำเข้า-ส่งออก กว่า 20 ราย โดยกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ จะมีการจัดสัมมนาวิชาการเกี่ยวกับสับปะรด

ทั้งเรื่องการแปรรูป การเพิ่มผลผลิตต่อไร่ สับปะรดราคาเดียว สับปะรดที่โรงงานต้องการ และการลดกรดไนเตรตสารตกค้าง รวมทั้งมีนิทรรศการกระบวนการผลิตสับปะรด




ขอขอบคุณ ข่าวสดออนไลน์
สวัสดิ์สิริศนิวาร เปรมปรีดิ์มานกมลโรจน์นะคะ

Create Date : 17 กันยายน 2554
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=vinitsiri&month=09-2011&date=17&group=8&gblog=236
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 26/09/2011 9:30 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

708. “ต๋าว” พืชเฉพาะถิ่น นครน่าน หนึ่งของดี แปรรูปได้









“ต๋าว” พืชเฉพาะถิ่น

เกษตรมหัศจรรย์
อภิวัฒน์ คำสิงห์

“ต๋าว” เป็นไม้ป่าชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า อะเร็นกา พินนาตา (Arenga pinnata Merr.) อยู่ในวงศ์ Palmae พวกเดียวกับมะพร้าว ต้นตาลหรือปาล์มต่างๆ ต้นต๋าวมีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในประเทศอินเดีย

ต๋าวเป็นพืชดึกดำบรรพ์ตระกูลปาล์ม ลำต้นสูงตระหง่าน ใบเป็นแพกว้างให้ความชุ่มเย็น ออกลูกเป็นทะลายใหญ่ ในแต่ละผลมีเมล็ดใสๆ เรียงชิดกันอยู่ 3 เม็ด

ด้วยเหตุนี้ คนจึงเรียกลูกต๋าวว่า “ลูกชิด” กว่าต้นต๋าวจะเติบโตจนออกลูกได้ต้องใช้เวลากว่า 10 ปี และสามารถเก็บเกี่ยวผลได้เพียงไม่กี่ปีเท่านั้น และที่สำคัญ พืชชนิดนี้ ไม่สามารถปลูกได้ จะต้องขึ้นเองตามธรรมชาติ ในป่าดิบชื้นเท่านั้น

ประเทศไทยจะพบต้นต๋าวมากที่สุดบริเวณพื้นที่ดินร่วน ตามเชิงเขาที่อากาศชุ่มชื้น ในเขตภาคเหนือโดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดน่านบริเวณผืนป่าที่มีความชุ่มชื้นและความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศ ซึ่งในอดีตในพื้นที่ดังกล่าวจะมีชาวลัวะอาศัยอยู่ มีการยังชีพด้วยการเข้าไปหาของป่าออกมาขาย

หนึ่งในการดำรงชีพของชาวลัวะ เหล่านั้นก็คือ การเข้าไปเก็บลูกต๋าวมาขาย ซึ่งการเข้าไปเก็บต๋าวในป่าแต่ละครั้งนั้นใช้เวลาหลายวัน เดินข้ามเขาหลายลูกกว่าจะได้ลูกต๋าวออกมาขาย

ไม่เพียงแต่ชาวลัวะที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เท่านั้นที่เข้าป่าไปเก็บผลต๋าวมาแปรรูปขาย คนไทยที่ว่างจากการทำการเกษตรหลายกลุ่มก็เริ่มเข้าป่าเก็บของป่าออกมาขาย ซึ่งรวมถึงต๋าวด้วย


พืชสารพัดประโยชน์
กินได้ ใช้ดี มีคุณค่า

ต๋าวจะลักษณะลำต้นตรง ขนาดโตกว่าต้นตาล สามารถใช้ประโยชน์จากทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็นใบที่มีลักษณะเช่นเดียวกับมะพร้าว แต่โตและแข็งแรงกว่า นิยมนำมาใช้มุงหลังคากั้นฝาบ้าน ก้านใบนำมาเหลารวมทำไม้กวาด เส้นใยที่ลำต้นใช้ทำแปรง

ยอดอ่อนที่ขั้วหัวใช้กินแบบผักสด หรือดองเปรี้ยวเก็บไว้แกงส้ม แกงกะทิ ส่วนผลนำเนื้อในเมล็ดมารับประทานสดหรือนำไปเชื่อมน้ำตาล เพื่อให้ได้รสอร่อยขึ้น

ความสูงของต้นต๋าวสูงประมาณ 15-20 เมตร มีใบประมาณ 50 ทาง แต่ละทางมีความยาวประมาณ 6-10 เมตร ดอกของต้นต๋าวเป็นแบบสมบูรณ์เพศ คือมีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน ช่อดอกหนึ่งจะยาวประมาณ 2-3 เมตร

ดอกต๋าวมีสีขาวขุ่น เมื่อโตเต็มที่จะออกดอกทีละทะลาย เมื่อดอกเจริญกลายเป็นผลสุกแก่เต็มที่ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1 ปี ก็จะเริ่มออกดอกทะลายใหม่ต่อไปอีก

ผลต๋าวจะมีน้ำยาง ถ้าถูกผิวหนังจะรู้สึกคัน ในการเก็บจะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ควรสวมเสื้อแขนยาวหรือสวมเสื้อผ้าให้มิดชิด ใส่ถุงมือ ใส่แว่นกันน้ำยางเข้าตา

การเก็บผลต๋าวนั้นจะตัดเฉพาะทะลาย ไม่โค่นล้มต้น ซึ่งการเก็บแต่ละครั้งนั้นจะต้องไปนอนค้างแรมอยู่ในป่าอย่างน้อย 2-3 คืน ในช่วงที่ฝนหยุดตก ส่วนในช่วงที่มีฝนจะหยุดการดำเนินการ เพราะไม่มีฟืนที่จะมาต้มลูกต๋าว ที่สำคัญฤดูนี้เป็นช่วงที่ต๋าวจะขยายพันธุ์

การจัดเก็บผลผลิตต๋าวส่วนใหญ่จะเริ่มตั้งแต่ปลายเดือนกันยายนถึงเดือนมีนาคม ซึ่งแต่ละครั้งต้องเดินทางไปในป่าเพื่อนำผลต๋าวที่ได้ขนาดมาต้มพอสุก

ตัดขั้วผลแล้วหนีบเมล็ดออกโดยใช้เครื่องมือที่ผลิตเอง ในพื้นที่คล้ายเครื่องตัดเหล็กที่มีคันยก ในจำนวน 1 ผล จะมี 3 เมล็ด เฉลี่ย 2 ทะลาย จะได้ 1 ถัง (15 กิโลกรัม)

ผลต๋าวที่เก็บออกจากป่าส่วนใหญ่จะนำออกมาด้วยวิธีการต้มในน้ำเดือด ซึ่งจะต้มใกล้ๆ ต้นต๋าว ต้มจนเปื่อยนุ่มเพื่อให้ง่ายต่อการบีบเอาเนื้อในออกมา ใช้มีดปาดส่วนหัวออกให้เห็นเนื้อข้างในสีขาวๆ จากนั้นก็เอาไม้หนีบเพื่อให้เนื้อขาวๆ เป็นเมล็ดหลุดออกมา นำไปล้างน้ำให้สะอาดและนำมารับประทาน


แปรรูปขายในพื้นที่
เปิดตลาดสู่ภูมิภาค

ต๋าว คำพื้นเมืองทางภาคเหนือจะเรียกกันว่า มะต๋าว หรือ ต๋าว ส่วนทางภาคกลางจะเรียกว่า “ลูกชิด” ซึ่งใครที่เคยรับประทานไอศกรีมที่ตักใส่ถ้วย หรือน้ำแข็งไสใส่เครื่อง ก็คงจะคุ้นและรู้จักกันเป็นอย่างดี

ต๋าว มะต๋าว หรือ ลูกชิด สามารถนำมาแปรรูปทำเป็นต๋าวแช่อิ่มอบแห้ง แยมต๋าว และต๋าวผสมน้ำเชื่อมบรรจุปี๊บ (ขนาดเท่าปี๊บหน่อไม้) ส่งขายตามท้องตลาดทั่วไป เป็นผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจอย่างหนึ่งที่จังหวัดน่านซึ่งปัจจุบันกำลังพยายามพลักดัน ให้เป็นสินค้าพื้นบ้านที่มีชื่อเสียงของจังหวัด

การแปรรูปต๋าวแต่ละครั้งจะต้องใช้เวลานาน ต้องผ่านกระบวนหลายขั้นตอน กว่าจะได้ผลผลิตที่พร้อมบริโภค ซึ่งนั้นก็หมายความว่า การที่จะได้เงินจากการขายต๋าวก็นานเช่นกัน

เป็นเหตุผลทำให้ส่วนใหญ่ชาวบ้านที่มีอาชีพเก็บต๋าวขาย จะนิยมเก็บผลต๋าวสดหรือทำเป็นต๋าวตากแห้งส่งขาย ให้กับโรงงานแทนการนำมาแปรรูปขายเอง ซึ่งเป็นการลดระยะเวลาและทำให้พวกเขาได้เงินจากการขายเร็วขึ้น



ขอขอบคุณ
มติชนออนไลน์
เกษตรมหัศจรรย์
คุณ อภิวัฒน์ คำสิงห์
ภุมวารสิริสวัสดิ์ค่ะ

ขอความกรุณาช่วยโหวต TBA ด้วยนะคะ
ขอบพระคุณมากค่ะ

กดที่นี่ค่ะ
sirivinit

Create Date : 23 สิงหาคม 2554
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=vinitsiri&month=08-2011&date=23&group=8&gblog=225
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 26/09/2011 9:33 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

709. เทคนิคเพาะเห็ดโคนญี่ปุ่น






เทคโนโลยีการเกษตร
มนตรี แสนสุข


ท่ามกลางภาวะค่าครองชีพที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจในกระเป๋าไม่มั่นคง รายได้น้อย รายจ่ายสูง จนผู้คนส่วนใหญ่ต้องหาทางออกโดยการมองหางาน อาชีพเสริมเข้ามาจุนเจือรายได้ปกติที่ไม่ค่อยจะเพียงพอเท่าไรนัก

งานอาชีพเสริมหลายๆ งานมีคนหันไปทำกันมากมาย เพราะเห็นว่าง่าย สะดวก และน่าจะมีเงินรายได้เข้ามาบ้าง จึงหันไปจับทำกัน ประสบความสำเร็จบ้าง ไม่ประสบความสำเร็จบ้าง อยู่ที่ว่าแต่ละบุคคลจะปฏิบัติเช่นไร ทำถูกต้องตามลักษณะชิ้นงานไหม?

และผู้บริโภคให้การยอมรับหรือเปล่า ทุกขั้นตอนมีรายละเอียดในเชิงลึก งานอาชีพเสริมจะสำเร็จหรือไม่ อยู่ที่เราเดินไปถูกทางหรือเปล่า รู้เทคนิคและวิธีการอย่างละเอียดแล้วหรือยัง?

อย่างเช่น อาชีพเสริมในภาคเกษตรที่หลายๆ คนมักจะให้ความสนใจเป็นลำดับต้นๆ ก็คืออาชีพ “การเพาะเห็ด” ทุกคนมองเห็นแล้วว่า “เห็ด” นั้นมีประโยชน์ต่อร่างกาย ตลาดผู้บริโภคยังไปได้ดี จึงมีผู้ให้ความสนใจประสงค์จะเพาะเห็ดเป็นอาชีพเสริมกันมาก

ซึ่งจริงๆ แล้วหากมีการลงทุนถึงขั้นดำเนินการเพาะเห็ดขึ้นมา การเพาะเห็ดไม่น่าจะเป็นงานเสริมอย่างที่เข้าใจ การเพาะเห็ดน่าจะเป็นงานหลักเสียมากกว่า เพราะการเพาะเห็ดต้องดูแลเอาใจใส่ใกล้ชิด ต้องมีเวลาในการเก็บเห็ด ขายเห็ด และปฏิบัติการกับเห็ดในทุกขั้นตอน

ซึ่งเป็นเรื่องที่ยุ่งยากและจุกจิกพอสมควร ดังนั้น การเพาะเห็ดถ้าจะให้ประสบความสำเร็จจึงไม่น่าจะเป็นเพียงแค่งานนอกแถว เสริมรายได้เท่านั้น

การเพาะเห็ดเป็นธุรกิจสร้างรายได้ให้ครอบครัวนั้นสามารถทำได้ไม่ยาก ถ้าตั้งใจทำจริงและมีเวลาให้กับงานอย่างเพียงพอ “คุณวรรณา พรหมศรี” ผู้ที่หันมายึดอาชีพการเพาะเห็ดทำเป็นธุรกิจจริงจัง เห็ดที่เธอเพาะเป็นงานหลักก็คือ “เห็ดโคนญี่ปุ่น” ทำมา 2 ปี ประสบความสำเร็จเกินคาดหมาย

คุณวรรณา บอกว่า แรกเริ่มเดิมที ทำงานกินเงินเดือนมาก่อน ต่อมาก็คิดหารายได้เสริมในครัวเรือนหันมาเย็บผ้าโหลก็ไม่ค่อยดี จึงตัดสินใจเข้าสู่วงการเกษตร มีพื้นที่ดินทำกินอยู่ 2 ไร่ แรกเริ่มปลูกชะอมตัดยอดขาย ราคาขึ้นลงไม่แน่นอน ปัญหาแรงงานที่จะมาช่วยหายากก็เลยเปลี่ยนหันมาเพาะเห็ดโคนญี่ปุ่น เพราะเห็นว่ามีตลาดรองรับค่อนข้างดี

คุณวรรณา กล่าวต่อไปว่า เมื่อคิดเพาะเห็ดโคนญี่ปุ่นก็ศึกษาเรื่องราวของเห็ดจากหนังสือเกษตร จากตำรับตำราต่างๆ ก่อน จากนั้นจึงไปดูงานการเพาะเห็ดโคนญี่ปุ่นตามฟาร์มต่างๆ ขอคำแนะนำจากเขาเอามาศึกษาเป็นข้อมูลพื้นฐาน จนแน่ใจว่าสามารถเพาะเห็ดโคนญี่ปุ่นได้ก็ลงมือทำอย่างจริงจังเลย

การเพาะเห็ดสำหรับมือใหม่ต้องเริ่มต้นจากโรงเรือนเพาะเห็ดไปก่อน คุณวรรณา บอกว่า สร้างโรงเรือนเพาะเห็ดขึ้นมา 2 โรงเรือน ขนาด 5x12 เมตร กับ 5x9 เมตร พื้นโรงเรือนเทปูน ทำชั้นวางเห็ดเป็นแบบตัว A ตัวโรงเรือนใช้จากและหญ้าคา

เมื่อเตรียมโรงเรือนเรียบร้อยก็ต้องหาก้อนเชื้อเห็ดเข้ามาเพาะ คุณวรรณา บอกว่า สำหรับมือใหม่ขั้นแรกขอแนะนำให้หาซื้อก้อนเชื้อเห็ดมาเพาะดีกว่า และควรเลือกซื้อก้อนเชื้อเห็ดที่มีเชื้อเดินเต็มก้อนแล้วมาเพาะต่อจะดีกว่า

ถึงแม้ว่าก้อนเชื้อเห็ดที่มีเชื้อเดินเต็มก้อน ราคาจะสูงกว่าเล็กน้อย ก็ยังดีกว่าก้อนที่เชื้อเพิ่งเริ่มเดิน เพราะแบบนั้นอัตราเสี่ยงที่ก้อนเชื้อเห็ดเสียมีมาก เพื่อความแน่นอนควรเลือกซื้อก้อนที่เชื้อเดินเต็มก้อน พร้อมที่จะเติบโตเป็นดอกเห็ดได้เลย

เมื่อซื้อก้อนเชื้อเห็ดมาแล้ว ก่อนที่จะนำก้อนเชื้อเห็ดเข้าไปตั้งที่ชั้นวางในโรงเรือน จะต้องทำความสะอาดในโรงเรือนให้ดีเสียก่อน ใช้น้ำฉีดล้างทั้งโรงเรือนถ้าเพาะเห็ด ครั้งแรกที่พื้นยังไม่ต้องโรยปูนขาวก็ได้ แต่ครั้งต่อๆ ไปจำเป็นต้องโรยปูนขาวเพื่อฆ่าเชื้อโรคตามพื้นโรงเรือนให้ทั่ว

ทำความสะอาดโรงเรือนก่อนที่ก้อนเชื้อเห็ดจะมายิ่งดีใหญ่ พอซื้อก้อนเชื้อเห็ดมา นำเข้าไปวางตามชั้นในโรงเรือนได้เลย จากนั้นก็เป็นรายละเอียดขั้นตอนของการให้น้ำ

ใช้ระบบการให้น้ำแบบสเปรย์หมอกเพื่อรักษาระดับอุณหภูมิในโรงเรือน เห็ดโคนญี่ปุ่นชอบอุณหภูมิในโรงเรือนอยู่ที่ 26-28 องศาเซลเซียส สเปรย์หมอกด้านบนก้อนเชื้อเห็ด ใช้สายยางต่อเข้ากับหัวสเปรย์ขึงเป็นราวด้านบนให้ละอองน้ำครอบคลุมภายใน ทั้งโรงเรือน

คุณวรรณา กล่าวว่า การให้น้ำเห็ดโคนญี่ปุ่นในขั้นตอนแรกสำคัญมาก พอเอาก้อนเชื้อเห็ดที่เชื้อเดินเต็มก้อนเข้าโรงเรือนก็เปิดก้อนเชื้อได้เลย จากนั้นเริ่มให้สเปรย์หมอก เปิดสเปรย์หมอกทุก 4 ชั่วโมง ต่อ 1 ครั้ง ครั้งละ 4 นาที ให้สเปรย์หมอกเช่นนี้ตลอด 24 ชั่วโมง นาน 5 วัน

สำหรับหน้าก้อนเชื้อเห็ด พอเปิดจุกก้อนเชื้อออกก็ใช้น้ำฉีดเข้าไปที่หน้าก้อนเชื้อเห็ดทุกก้อนทำตอนเช้า กลางวัน และตอนเย็น รวม 5 วัน จากวันแรกนับไปประมาณ วันที่ 3 สังเกตที่หน้าก้อนจะมีเม็ดเล็กๆ เกิดออกมา เม็ดนั้นจะค่อยโตขึ้นเป็นขนาดไข่ปลาสีขาวและสีครีม ในวันที่ 4-5

พอวันที่ 6-7 เห็ดก็จะออกมาเป็นดอกเล็กๆ หัวมีสีดำ เริ่มแรกก็มีลักษณะคล้ายเข็มเล็กๆ ต่อมาก็ขยายโตขนาดก้านไม้ขีดไฟ และพัฒนาเจริญเติบโตเป็นดอกเห็ดให้เก็บได้ในช่วงของวันที่ 7-8

ย้อนมาถึงระบบการให้น้ำ พอครบ 5 วัน ก็งดการให้น้ำหน้าก้อน เหลือให้น้ำทางสเปรย์หมอกอย่างเดียวให้ช่วงเช้า กลางวัน ยังคงเป็น 4 ชั่วโมง ต่อ 1 ครั้ง เหมือนเดิม แต่ตอนกลางคืนงดน้ำเหลือให้เพียงครั้งเดียว เพิ่มความชื้นในโรงเรือนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

ถ้าขืนให้น้ำตลอด 24 ชั่วโมง จะส่งผลถึงดอกเห็ดหัวหลุดร่วงง่าย ก้านดอกจะกลวง เก็บได้ไม่นานก้านจะมีสีคล้ำไว สาเหตุที่เห็ดหัวหลุดง่ายก็เป็นเพราะให้น้ำในช่วงกลางคืนนั่นเอง

หลังจากงดให้น้ำตอนกลางคืน 2 วัน ราววันที่ 7-8 ดอกเห็ดก็จะบานเก็บได้แล้ว ให้รีบเก็บออกมาทันที อย่ารอให้ดอกตูมเริ่มบาน เดี๋ยวจะไม่ทันกาล ต้องเก็บช่วงดอกกำลังตูม และเก็บก่อนการให้น้ำ โดยถอนเห็ดออกมาทั้งดอกเลย

เมื่อเก็บออกมาแล้วก็วางเรียงลงบนภาชนะตะกร้าสี่เหลี่ยม ที่หิ้วเข้าไปใส่ด้วย วางเรียงไปในแนวเดียวกัน อย่าวางมั่วสะเปะสะปะ เพราะเวลาเอาเห็ดออกมาทำความสะอาดและบรรจุถุงขาย หัวดอกเห็ดจะได้ไม่เกี่ยวกันจนหัวหลุด ทำให้ขายไม่ได้ราคา

คุณวรรณา กล่าวอีกว่า การเก็บเห็ดนั้นไม่ต้องเลือกเวลากลางวัน กลางคืน เห็นดอกไหนโตเก็บได้ก็รีบเก็บออกมาทันที สามารถเก็บดอกเห็ดที่ทยอยโตออกมาได้ 3-5 วัน

เมื่อเก็บออกมาก็รีบทำความสะอาดโดยใช้มีดหรือกรรไกรเล็กๆ ตัดสิ่งที่ติดกับดอกเห็ดออก จากนั้นนำเข้าตู้เย็นทันที มิเช่นนั้นเห็ดจะบานไม่ทันเอาไปขาย

ในเรื่องของตลาดขายเห็ดนั้น คุณวรรณา บอกว่า เอาไปส่งเองที่ตลาดไท มีขาประจำคอยรับซื้ออยู่ ส่วนหนึ่งก็ขายตรงให้กับลูกค้าที่เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และคลีนฟาร์มเป็นฟาร์มผักปลอดภัยจากสารพิษที่อำเภอหนองแซง จังหวัดสระบุรี

ส่วนที่ก้อนเชื้อเห็ดหลังเก็บดอกหมดแล้ว ก็ทำความสะอาดหน้าก้อนเชื้อ ใช้ด้ามช้อนขูดหน้าก้อนเชื้อให้เรียบ เอาตั้งทิ้งไว้เช่นนั้น งดให้น้ำตลอด 15 วันเต็ม เป็นการพักก้อนเชื้อระยะหนึ่ง ระหว่างนั้นให้ทำความสะอาดในโรงเรือน

ใช้ปูนขาวโรยพื้นฆ่าเชื้อ หรือจะใช้สารสะเดา สารสมุนไพรชีวภาพป้องกันเชื้อในโรงเรือนก็ได้ เปิดข้างโรงเรือนให้อากาศถ่ายเทเข้าในโรงเรือนได้สะดวก ไม่ให้ความชื้นภายในไปทำให้โรงเรือนเกิดหมักหมม ปล่อยให้ก้อนเชื้อแห้ง 15 วัน

จากนั้นก็ล้างโรงเรือนอีกครั้ง ปิดข้างฝาให้ดี เริ่มให้น้ำโดยสเปรย์หมอกทุก 4 ชั่วโมง ต่อ 1 ครั้ง ครั้งละ 4 นาที ตลอด 24 ชั่วโมง ฉีดน้ำหน้าก้อนเห็ด เช้า กลางวัน เย็น เหมือนเดิม จนครบ 15 วัน หยุดฉีดหน้าก้อน ลดสเปรย์หมอกเหลือแค่กลางวัน กลางคืนให้ครั้งเดียว วันที่ 7-8 เก็บดอกเห็ดได้อีกเป็นรอบที่ 2 ทำอย่างนี้เรื่อยไป เห็ดโคนญี่ปุ่นดูแลง่าย

คุณวรรณา บอกว่า โรคราเขียว ราเหลืองไม่มี เพราะดูแลตั้งแต่เลือกซื้อก้อนเห็ดมาเลย มาช่วงปีหลังหันมาทำก้อนเชื้อเห็ดเอง เพิ่มเติมนึ่งก้อนเห็ดเองเป็นการขยายงานการเพาะเห็ดให้มากขึ้น และจากใช้ชั้นวางก้อนเห็ดก็เปลี่ยนมาใช้เชือกโยงแบบแขวนง่ายและสะดวกดี

“เห็ดโคนญี่ปุ่นดีค่ะ ราคาขายก็ดี ตลาดให้การยอมรับ เป็นอาหารเพื่อสุขภาพด้วย”

คุณวรรณา พรหมศรี ทำธุรกิจเพาะเห็ดโคนญี่ปุ่นเป็นธุรกิจในครัวเรือนอยู่ที่บ้าน หมู่ที่ 1 ตำบลม่วงหวาน อำเภอหนองแซง จังหวัดสระบุรี จะไปดูฟาร์มหาไม่ยาก จากแยกถนนพหลโยธิน เข้ามาตามเส้นทางอำเภอหนองแซง

สังเกตเห็นวัดหนองสองห้องขวามือ เลี้ยวรถขับตรงผ่านหน้าวัด ประมาณ 20 เมตร บ้านอยู่ซ้ายมือ ก่อนจะไปโทร.นัดแนะกันก่อน หรือสนใจจะพูดคุยติดต่อได้ที่ โทร. (087) 119-1552 ยินดีต้อนรับทุกท่าน



ขอขอบคุณ
มติชนออนไลน์
เทคโนโลยีการเกษตร
คุณมนตรี แสนสุข
จันทรวารสิริสวัสดิ์ค่ะ

ขอความกรุณาช่วยโหวต TBA ด้วยนะคะ
ขอบพระคุณมากค่ะ

กดที่นี่ค่ะ
sirivinit

Create Date : 22 สิงหาคม 2554
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=vinitsiri&month=08-2011&date=22&group=8&gblog=224
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 26/09/2011 9:37 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

710. “เพชรรุ่ง” มะเขือเทศพันธุ์ใหม่ ต้านทานเชื้อไวรัสใบหงิกเหลือง






เทคโนโลยีการเกษตร
จิรวรรณ โรจนพรทิพย์


มะเขือเทศ ผักผลไม้ ที่มาไกลจากต่างแดน ได้เข้าสู่วิถีครัวไทยมานานพอสมควร โดยเฉพาะเมนูอาหารเหนือและอีสาน เช่น ส้มตำ น้ำพริกอ่อง อาหารยำ ต้มยำ ฯลฯ

สายพันธุ์มะเขือเทศที่คนไทยคุ้นเคยมาอย่างยาวนาน คือ มะเขือเทศผลเล็ก สีชมพู ที่เรียกว่า มะเขือเทศสีดา ปัจจุบัน มีแหล่งผลิตสำคัญอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ

ที่ผ่านมา ปัญหาโรคใบหงิกเหลือง ที่เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งมีแมลงหวี่ขาวเป็นตัวพาหะ นำเชื้อมาสู่ต้นมะเขือเทศ กลายเป็นปัญหาอุปสรรคสำคัญที่สร้างความเสียหายต่อพื้นที่ปลูกมะเขือเทศอยู่เสมอ

โดยเฉพาะต้นมะเขือเทศอายุประมาณ 2-3 สัปดาห์ จะเป็นโรคนี้มาก และมีความรุนแรงมากกว่าต้นมะเขือเทศที่มีอายุ 4-16 สัปดาห์ ทั้งนี้ การแพร่ระบาดโรคชนิดนี้จะรุนแรงเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับจำนวนแมลงหวี่ขาวว่ามีมากหรือน้อย

เกษตรกรจำนวนมากพยายามลดความเสียหายจากปัญหาโรคระบาด โดยการฉีดพ่นสารเคมีไว้ก่อนล่วงหน้า ขณะที่ยังไม่พบการเข้าทำลายของโรคแมลง การกระทำดังกล่าวถือว่า ใช้สารเคมีมากเกินความจำเป็น

เมื่อเจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตรไปเก็บตัวอย่าง ในแปลงปลูกมะเขือเทศ จึงพบสารเคมีตกค้างในผลผลิต โดยเฉพาะกลุ่มคลอไพรีฟอส และไซเปอร์เมทริน ทำให้ผู้บริโภคเสี่ยงกับการบริโภคมะเขือเทศ ที่ปนเปื้อนสารเคมี และเกษตรกรต้องแบกรับภาระต้นทุนค่าสารเคมี ที่สูงเกินความจำเป็นอีกด้วย

บริษัท เจียไต๋ จำกัด ผู้จำหน่ายเมล็ดพันธุ์พืชผัก ภายใต้เครื่องหมายการค้า ตราเครื่องบิน ในฐานะพันธมิตร “คู่คิด” เกษตรกรไทย ที่มาพร้อมกับหลักคิด “เกษตรกรเติบโตเท่ากับเจียไต๋เติบโต” เล็งเห็นปัญหาที่เกิดขึ้น และคิดว่าวิธีการควบคุมโรคนี้ได้ดีสุดก็คือ การหาสายพันธุ์ต้านทานโรคใบหงิกเหลือง

คุณกัญญา รอตเสียง ผู้จัดการฝ่ายปรับปรุงพันธุ์พืช บริษัท เจียไต๋ จำกัด เล่าว่า โรคไวรัสใบหงิกเหลือง (Tomato Yellow Leaf Curl Virus : TYLCV) จะเข้าสู่ต้นมะเขือเทศโดยอาศัยแมลงหวี่ขาวเป็นพาหะ พืชจะมีอาการใบหงิกม้วนงอ

ใบยอดมีขนาดเล็กและมีสีเหลือง ลำต้นแคระแกร็น และทำให้ดอกมะเขือเทศเป็นหมัน หากแพร่ระบาดจะทำให้ผลผลิตเสียหายเกือบทั้งหมด ที่ผ่านมา เกษตรกรพยายามแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรค โดยการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดแมลงหวี่ขาว

จึงเสี่ยงต่อการตกค้างของสารเคมี วิธีที่ดีที่สุดในการควบคุมโรคนี้คือ การหาสายพันธุ์ต้านทานโรค

ปี 2549-2550 บริษัทเริ่มคัดเลือกสายพันธุ์ใหม่ที่ต้านทานโรค จำนวน 50 สายพันธุ์ ในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี วังน้ำเขียว ปากช่อง และแม่สอด ในที่สุดก็ได้สายพันธุ์ที่ต้านทานโรค

คือ มะเขือเทศพันธุ์เพชรรุ่ง ที่ให้ผลผลิตสูง รสชาติอร่อย ปลูกได้ทั่วทุกภาคในประเทศไทย ในปี 2552 บริษัทได้เริ่มแนะนำเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศชนิดนี้ให้เกษตรกรทดลองปลูก ปรากฏว่าได้รับการตอบรับที่ดีจากเกษตรกรทั่วประเทศ

มะเขือเทศเพชรรุ่ง มีคุณลักษณะเด่น คือ ให้ผลผลิตสูง ติดลูกเร็ว และมีระยะเวลาการติดลูกยาวนาน ประมาณ 4-6 เดือน และผลผลิตมีน้ำหนักดี โดยใช้ระยะเวลาปลูก ประมาณ 2 เดือน ก็เริ่มเก็บผลผลิตได้แล้ว

ที่สำคัญก็คือ เพชรรุ่ง สามารถต้านทานโรค และแบคทีเรียได้สูงมาก เมื่อเปรียบเทียบกับพันธุ์ทั่วไป คุณภาพดีเป็นที่ยอมรับของตลาดในวงกว้าง เนื่องจากเพชรรุ่งมีสีสวย น่ารับประทาน ผลแข็ง เนื้อแน่น

ผลผลิตไม่เสียหายขณะขนส่ง และมีอายุการวางขายนาน ประมาณ 1 สัปดาห์ ผู้รวบรวมผลผลิตยินดีรับซื้อเพชรรุ่ง ในราคาสูงกว่าพันธุ์ทั่วไป ประมาณ 20-30%

ที่สำคัญรสชาติอร่อยถูกปากผู้บริโภค คือเปรี้ยวนำหวาน เหมาะกับตลาดในประเทศไทยที่นำมะเขือเทศสีดา ไปใช้ในอาหารจำพวกยำและส้มตำ

เพชรรุ่ง เป็นมะเขือเทศที่ทนร้อน และต้านทานโรคสูง ดูแลรักษาง่าย เพียงพ่นยาในแปลงปลูกเพชรรุ่งทุกๆ 7-10 วัน ช่วยลดปริมาณการใช้สารเคมีและยาป้องกันโรคและแมลงได้ถึง 30% เมื่อเทียบกับมะเขือเทศสายพันธุ์ทั่วไป ที่ต้องฉีดพ่นสารเคมีทุก 4-5 วัน

คุณบุญเลิศ แก้วสามทอง อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 197 หมู่ที่ 7 ตำบลหนองย่างเสือ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี โทรศัพท์ (081) 905-5624 ซึ่งมีประสบการณ์ทดลองปลูกมะเขือเทศเพชรรุ่ง ตั้งแต่ 2 ปีที่แล้ว

เล่าให้ฟังว่า ก่อนปลูก ผมเห็นเพื่อนบ้านปลูกพันธุ์เพชรรุ่งแล้วได้ผลผลิตดีกว่า และติดผลหลายครั้ง จึงสนใจหันมาปลูกบ้าง ครั้งแรกผมปลูกเพชรรุ่งประมาณ 7-8 ไร่

คุณบุญเลิศ เล่าถึงปัญหาที่พบในอดีตว่า แปลงปลูกมะเขือเทศมักเจอปัญหาโรคไวรัส โรคแบคทีเรีย อากาศร้อน แล้ง ซึ่งเมื่อก่อนปลูกพันธุ์อื่นเมื่อแล้งมากๆ ต้นจะไม่ติดลูก ยอดจะหยิก ติดลูกน้อยมาก

แต่เมื่อเปลี่ยนมาเป็นพันธุ์เพชรรุ่ง ผมสังเกตว่า เพชรรุ่ง ติดลูกได้ดี ทนอากาศร้อน ยอดก็ไม่ติดโรค มีความทนทานต่อทุกสภาพอากาศ อย่างไรก็ตาม โดยทั่วๆ ไป มะเขือเทศจะไม่ชอบฝนจัดอยู่แล้ว

ดังนั้น สำหรับพันธุ์เพชรรุ่ง ก็จะได้รับผลกระทบเช่นกันถ้าเจอฝนแรง ต้นจะโทรมไป แต่ข้อดีก็คือ จะฟื้นตัวเร็ว ไม่ตาย เพราะมีจุดเด่นคือ ความทนทานกับทั้งสภาพอากาศและโรคต่างๆ

“ผมชอบมะเขือเทศพันธุ์นี้ เพราะต้นสมบูรณ์ ให้ผลผลิตมาก ผลมีคุณภาพดี ขนาดใหญ่สม่ำเสมอกัน ที่สำคัญต้านทานไวรัสได้เป็นอย่างดี แมลงศัตรูพืชที่เข้ามารบกวนลดลงอย่างเห็นได้ชัด

ช่วยประหยัดต้นทุนยากำจัดศัตรูพืช ทำให้สุขภาพดีขึ้น เพราะจับต้องสารเคมีน้อยลง” นี่เป็นข้อดีของเพชรรุ่งที่คุณบุญเลิศชอบใจเป็นอย่างมาก

สำหรับการคัดเลือกพื้นที่ปลูกมะเขือเทศของคุณบุญเลิศ ยึดหลักการว่า ไม่ปลูกซ้ำที่เดิม เพราะอาจมีเชื้อโรคต่างๆ สะสมอยู่ในดิน ซึ่งเป็นโอกาสให้มะเขือเทศเป็นโรคได้ง่าย สำหรับปีนี้ ได้ขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้นเป็น 19 ไร่

โดยเริ่มปลูกมะเขือเทศพันธุ์เพชรรุ่งในช่วงเดือนมีนาคม ซึ่งคุณบุญเลิศปลูกมะเขือเทศ โดยใช้หลักการเดียวกับเกษตรกรทั่วไป คือเริ่มขั้นตอนการเพาะกล้าแล้วย้ายปลูก

โดยทำแปลงเพาะกล้าแล้วหยอดเมล็ดในแปลง ห่างกัน 10 เซนติเมตร ใช้ฟางคลุมแปลง รดน้ำสม่ำเสมอในช่วง 3 วันแรก เมื่อกล้าอายุ 22-25 วัน มีใบจริง 3-4 ใบ ก็ย้ายปลูก โดยทั่วไปก่อนย้าย 1 สัปดาห์ ก็จะให้น้ำน้อยลง

คัดต้นกล้าที่สมบูรณ์ ย้ายลงหลุมที่เตรียมไว้ปลูกแบบแถวเดี่ยว ระยะระหว่างต้น 30-40 เซนติเมตร ระหว่างแถว 100 เซนติเมตร ปุ๋ยรองพื้น เลือกใช้ปุ๋ยอินทรีย์เคมี 25 กิโลกรัม ต่อไร่ ผสมกับปุ๋ยขี้วัว เมื่ออายุ 1 เดือน ปักหลักขึงเชือกกันต้นล้ม และใส่ปุ๋ย สูตร 15-15-15 อัตรา 80 กิโลกรัม ต่อไร่

อายุ 45-50 วัน ขึงเชือกสูงขึ้นมาอีกเป็นชั้นที่ 2 คุณบุญเลิศ จะให้ปุ๋ยแต่งหน้าร่วมกับน้ำหยด ยี่ห้อยาร่านาโน ในอัตรา ไร่ละ 1 กิโลกรัม ทุก 5-7 วัน หากต้องการให้มีผลผลิตไวขึ้น ก็เพิ่มระยะการให้ปุ๋ยทุกๆ 2-3 วัน แทน

มะเขือเทศพันธุ์นี้มีอายุการเก็บเกี่ยว 55-60 วัน หลังย้ายกล้าคุณบุญเลิศเชื่อว่า หากไม่เจอปัญหาฝนตกหนัก ปีนี้อาจจะเก็บผลผลิตออกขายได้ถึง 3 รุ่น เช่นเดียวกับปีที่แล้ว

คุณบุญเลิศ เล่าว่า เพชรรุ่ง เป็นมะเขือเทศพันธุ์เบา ทนร้อน อากาศแล้ง มีโอกาสติดลูกเร็วกว่าพันธุ์ที่ซื้อ-ขาย ในตลาดทั่วไป ประมาณ 10 วัน ปลูกเชือกแรกก็มีลูกมะเขือเทศเก็บขายได้แล้ว

ปีที่แล้วผมลงทุนครั้งเดียว เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ถึง 3 รอบ แถมปีที่แล้ว มะเขือเทศขายได้ราคาดี ทำให้ผมมีรายได้สูงถึง 10 ล้านบาท หลังหักต้นทุนค่าใช้จ่ายยังเหลือผลกำไรมากถึง 6 ล้านบาท

ในระยะ 1-2 เดือน ข้างหน้า หากมีผลผลิตเข้าสู่ตลาดมาก คุณบุญเลิศเกรงว่าราคารับซื้ออาจจะปรับตัวลดลง เหลือ 3-5 บาท ต่อกิโลกรัม แต่เนื่องจากมะเขือเทศพันธุ์เพชรรุ่ง มีสเปคตรงกับความต้องการของตลาด ที่นิยมมะเขือเทศสวย คุณภาพดี

ทำให้สามารถขายมะเขือเทศพันธุ์เพชรรุ่งได้ในราคาสูงกว่าพันธุ์อื่น ถึงกิโลกรัมละ 2 บาท ผมมั่นใจว่า ตัดสินใจถูกต้องที่เลือกปลูกมะเขือเทศพันธุ์เพชรรุ่ง และวางแผนที่จะขยายพื้นที่ปลูกมะเขือเทศพันธุ์นี้เพิ่มขึ้นเป็น 25 ไร่ ในปีหน้า


ขอขอบคุณ
มติชนออนไลน์
เทคโนโลยีการเกษตร
คุณจิรวรรณ โรจนพรทิพย์
อาทิตย วารสิริสวัสดิ์ค่ะ

ขอความกรุณาช่วยโหวต TBA ด้วยนะคะ
ขอบพระคุณมากค่ะ

กดที่นี่ค่ะ
sirivinit

Create Date : 21 สิงหาคม 2554
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=vinitsiri&month=08-2011&date=21&group=8&gblog=223
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 26/09/2011 9:43 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

711. ทุเรียน หลงลับแล - หลินลับแล กิโลละ ๓๐๐



สวนทุเรียนที่ปลูกแบบธรรมชาติ




หลงลับแล มีผลค่อนข้างกลม




หลินลับแลมีร่องพูเห็นชัดเจน



ทุเรียนทั้ง 2 พันธุ์มีจุดเด่นคล้ายกันคือ เนื้อหนา เม็ดเล็กมาก (เม็ดตาย) รสชาติหอมหวานมัน ส่วนข้อแตกต่างในเรื่องรสชาติคือ หลงรสจะหวานแหลมนำ ส่วนหลินรสหวานกลมกล่อม (หวานไม่มาก)

วันนี้ความนิยมของตลาด เท่าที่สอบถามจากแม่ค้าพ่อค้าทุเรียนที่วางแผงขายอยู่ในเมืองลับแล ได้ความว่า หลินขายได้ราคาดีกว่า ตกอยู่ที่กิโลกรัมละประมาณ 300 บาท ส่วนหลงอยู่ที่กิโลกรัมละ 150-200 บาท

เมื่อ 6-7 ปีที่แล้วไปลับแล ราคาของทุเรียนทั้งคู่ตกอยู่ที่ประมาณกิโลกรัมละ 50-80 บาท มาปีนี้ราคาพุ่งพรวด




ตัดความมาจาก
เสน่ห์ลับแล...หลง-หลิน กินอร่อย
โดย ปิ่น บุตรี


ขอขอบคุณ
ผู้จัดการออนไลน์
คุณ ปิ่น บุตรี
ศุกรวาร สิริสวัสดิ์ค่ะ

ขอความกรุณาช่วยโหวต TBA ด้วยนะคะ
ขอบพระคุณมากค่ะ

กดที่นี่ค่ะ
sirivinit

Create Date : 05 สิงหาคม 2554
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=vinitsiri&month=08-2011&date=05&group=8&gblog=212
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 26, 27, 28 ... 72, 73, 74  ถัดไป
หน้า 27 จากทั้งหมด 74

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©