-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-* นานาสาระเรื่องเกษตร.
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * นานาสาระเรื่องเกษตร.
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* นานาสาระเรื่องเกษตร.
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 25, 26, 27 ... 72, 73, 74  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 21/09/2011 7:45 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หน้าที่ 26

ลำดับเรื่อง.....


654. การปลูกพืชอายุสั้นในสภาวะแห้งแล้ง
655. มติ กขช.ไม่ให้ชาวนาปลูกข้าวอายุสั้น เข้าร่วมโครงการประกันราคา

656. ปลูกข้าวหลังน้ำลด
657. ยุทธวิธีปลูกข้าว 11 ประการ
658. การเขียนชื่อพันธุ์ข้าว
659. ทำนาแบบผสมผสาน
670. กระบวนการแบนคาร์โบฟูราน ในอเมริกา

671. วิเคราะห์ความจริงเบื้องหลังสิทธิบัตรข้าวหอมมะลิ
672. การทำนาเป็ด
673. การสังเคราะห์ด้วยแสง
674. คลอโรพลาสต์
675. คลอโรฟิลล์

676. กรดฮิวมิก
677. กรดฮิวมิค และฟุลวิค สำคัญอย่างไร
678. "ฮิวมิก" ทำใช้เอง
679. นักวิจัยผู้หลงใหล 'ไคโตซาน'
680. ไคโตซาน ชะลอความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว สตรอเบอรี่

681. ยืดอายุมังคุดหลังเก็บเกี่ยวด้วย “ไคโตซาน” สดนานกว่าเดิม 3 เท่า
682. สรุปขั้นตอนการผลิตสารไคตินและไคโตซาน จากเปลือกกุ้ง
683. เชียงรายสามารถปลูกยางเพิ่มอีก 1 ล้านไร่
684. ไทยมุ่งพัฒนา อ้อย-ยางพารา ในศรีลังกา
685. วิกฤตน้ำบาดาล
686. ร้องระงับขึ้นทะเบียนเคมีกำจัดศัตรูพืชร้ายแรง 4 ชนิด

------------------------------------------------------------------------------------







654.


สภาวะแห้งแล้ง หรือภัยแล้ง หมายถึง สภาวะที่ขาดแคลนปริมาณน้ำฝน อย่างผิดปกติจนไม่เพียง พอต่อความต้องการ นานเกินกว่า
2 สัปดาห์ขึ้นไป และเกิดครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง เป็นผลสืบเนื่องมาจากปริมาณฝนตกในช่วงต ้นปีที่ผ่านมาน้อยกว่าปกติ
ทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำสำหรับทำการเกษตรในช่วงฤดูแล้ง คือช่วงธันวาคม-เมษายน อย่างรุนแรง ซึ่งมีผลต่อการประกอบ
อาชีพของเกษตรกรโดยตรง

เมื่อหมดฤดูนาปีแล้ว จำเป็นต้องให้เกษตรกรปลูกพืชเศรษฐกิจอายุสั้นที่ใช้น้ำน้อยแทนการทำนาปรัง ในส่วนที่ทำได้ ซึ่งพืชที่
แนะนำได้แก่ ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ข้าวโพด ทานตะวัน และพืชผักต่าง ๆ ซึ่งพืชที่แนะนำได้แก่ ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ข้าวโพด ทานตะวัน
และพืชผัก ต่าง ๆ ซึ่งพืชไร่อายุสั้นเหล่านี้ใช้น้ำน้อยเพียง 300-400 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ แต่ถ้าทำนาข้าวจะใช้น้ำถึง 5 เท่า คือ 1,500-
2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อ ไร่

แต่การปลูกพืชอายุสั้นนั้น การเตรียมดินจะยุ่งยาก เนื่องจากดินนาส่วนใหญ่เป็นดินเหนียว การระบายน้ำค่อนข้างเลว จึงต้อง
เตรียมดินให้ร่วนแล้วทำร่องช่วยระบายน้ำแและเป็นการเพิ่มความลึกของหน้าดิน หากระบายน้ำออกไม่ได้หรือน้ำยังท่วมขัง ไ
ม่ควรปลูกพืชอายุสั้นใด ๆการปลูกพืชอายุสั้นทดแทนนาปรัง ควรปฏิบัติดังนี้


ระยะเวลาปลูก
ถั่วเหลือง, ถั่วลิสง, ข้าวโพดหวาน, ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ควรปลูกในช่วง 15 ธันวาคม - 15 มกราคม เพราะช่วงนี้ดินมีความชื้นสูง
และพืชเหล่านี้ ยังทนต่ออุณหภูมิต่ำได้ดี ข้าวโพดฝักอ่อน สามารถปลูกได้ถึงเดือนกุมภาพันธ์ แต่ถั่วเขียวควรปลูกในเดือนกุมภาพันธ์


ยกร่องแปลงปลูก
ยกร่องกว้าง 1.5 เมตร ทำคลองส่งน้ำและคูระบายน้ำให้เหมาะสมกับความยาวของร่องปลูกเพื่อสามารถให้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
โดยให้น้ำท่วมถึงบริเวณสันร่องปลูกแล้วปล่อยน้ำค่อย ๆ ซึมเข้าไปในแปลงปลูก





พื้นที่ที่เป็นดินทรายจัด
ควรปลูกถั่วเหลืองโดยไม่เตรียมดิน การให้น้ำควรปล่อยน้ำให้ท่วมแปลงแล้วระบายออก เป็นการให้น้ำปริมาณสูงกว่าการให้
น้ำแบบ ยกร่องปลูกแต่ประหยัดน้ำกว่าการทำนาปรัง

ควรใช้ฟางข้าวหรือเศษวัชพืชคลุมสันร่องปลูกพืชไร่
(ยกเว้นถั่วลิสง)


ระยะเวลาการให้น้ำ
ข้าวโพดหวาน, ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์, ข้าวโพดฝักอ่อน, ถั่วเหลือง, ถั่วลิสง ควรให้น้ำ 14 วันต่อครั้ง ตั้งแต่ปลูกจนถึงระยะออกดอก
จาก นั้นให้น้ำ 7 วันต่อครั้ง จนอีก 14 วัน ก่อนจะเก็บเกี่ยวจึงงดให้น้ำโดยสิ้นเชิง (ยกเว้น ข้าวโพดหวาน, ข้าวโพดฝักอ่อน ควร
งดให้น้ำ 7 วัน ก่อนเก็บเกี่ยว) ถั่วเขียว ควรให้น้ำ 21 วันต่อครั้ง และงดให้น้ำ 14 วันก่อนเก็บเกี่ยวครั้งสุดท้าย


การจะเลือกปลูกพืชไร่ชนิดใดมีข้อเสนอแนะดังนี้

1. พืชต้นฤดู ควรเป็นพืชอายุสั้น (70-80 วัน) ทนแล้ง แต่ถ้าไม่สามารถปลูกได้ภายในเดือนพฤษภาคม เพราะฝนมาล่าช้า ไม่
ควรปลูกพืชอายุสั้น เพราะเป็นการเสี่ยงในช่วงเก็บเกี่ยวจะเจอฝนหนัก ดังนั้นถ้าฝนมาล่าช้าควรปลูกพืชที่มีอายุยาวเพียงพืชเดียว

2. พืชที่สอง ควรปลูกทันทีหลังเก็บเกี่ยวเพราะฝนจะไม่ทิ้งช่วงนานในช่วงนี้ ถ้าปลูกล่าช้าไปจะมีผลกระทบต่อ ผลผลิต และ
ถ้าฝนตกหนักตามมาจะทำให้เตรียมพื้นที่ปลูกได้ยาก

พืชที่สองนี้ต้องพิจารณาชนิดของพืชเป็นสำคัญและระยะเวลาฤดูฝนที่ยังเหลืออยู่ว่ามีกี่วันโดยถือว่าฝนจะสิ้นสุดในเดือนตุลาคม




การปลูกถั่วเขียว
ควรปลูกพืชในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ความชื้นในดินยังเหลืออยู่ ในภาคเหนือและอีสานควรปลูก
ในเดือนกุมภาพันธ์เพราะเป็นช่วงหมดฤดูหนาวจะทำให้ถั่วเจริญเติบโตได้ดี พันธุ์ที่แนะนำคือ อู่ทอง 1 ฝักไม่แตกง่าย อายุ
60-70 วัน กำแพงแสน 2 เหมาะปลูกในฤดูแล้งนอกเขตชลประทาน อายุ 65-75 วันการปลูกถั่วเหลือง


การปลูกถั่วเหลือง
พันธุ์ที่เหมาะสมในสภาวะแห้งแล้ง คือ พันธุ์ สจ. 4, สจ. และเชียงใหม่ 60 อายุเก็บเกี่ยว 95-100 วัน ข้อควรระวัง ไม่ควร
ปลูกให้ช่วงออกดอกตรงกับอากาศร้อนจัดในเดือนเมษายน เพราะจะทำให้ไม่ติดฝัก





การปลูกข้าวโพด
พันธุ์ที่แนะนำคือ พันธุ์ลูกผสม จะทนแล้งได้ดีกว่าพันธุ์ผสมเปิด ได้แก่ สุวรรณ 2301, และพันธุ์ลูกผสมจากบริษัท
เอกชนต่าง ๆ จะทนแล้ง ได้ดี อายุเก็บเกี่ยว 110-120 วัน ข้อควรระวัง ในการปลูกข้าวโพด คือ ช่วงผสมเกสรอย่าให้ขาดน้ำ
เพราะจำทำให้ติดเมล็ดไม่ดี เมล็ดจะลีบและช่วงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี หนูจะระบาดอย่างรุนแรง เพราะเป็นช่วงที่อาหาร
เริ่มขาดแคลน ควรหาทางป้องกันหนูไว้แต่เนิ่น ๆ





การปลูกทานตะวัน
ทานตะวันเป็นพืชที่ทนต่อสภาวะแห้งแล้งได้ดีกว่าถั่วเหลือง พันธุ์ที่แนะนำ คือ พันธุ์ลูกผสม เพื่อการผลิตน้ำมันพืช เพราะมีระบบ
รากที่ดีรากแผ่กว้างดูดซับความชื้นได้ดี ตอบสนองต่อปุ๋ยและมีแมลงศัตรูรบกวนน้อย อายุเก็บเกี่ยว 90-100 วัน ทานตะวันสามารถ
ปลูกแทนข้าวนาปรังได้ในบางพื้นที่ที่มีการจัดการดี และสภาพพื้นที่นาที่มีการระบายน้ำดีไม่ท่วม ขัง ในที่นาดอนก็ปลูกได้เหมือน
พืชไร่ทั่ว ๆ ไป เช่น ข้าวโพด, ถั่วต่าง ๆ




การปลูกหอม กระเทียม และพืชผักอื่น ๆ
ให้คลุมด้วยฟางข้าว, หญ้าแห้ง เพื่อลดการระเหยของน้ำ และลดความรุนแรงจากแสงแดดส่องโดยตรง รวมทั้งรักษาความชื้นในดิน
และบังแสงสว่างทำให้เมล็ดวัชพืชไม่สามารถงอกได้





การปลูกพืชอายุสั้น นอกจากจะแก้ปัญหาเรื่องขาดแคลนน้ำโดยตรงแล้ว ยังมีประโยชน์อีกมากมายที่ตามมาไ ด้แก่
1. เป็นการตัดวงจรชีวิตของศัตรูข้าว เช่น
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล, โรคไหม้คอรวง เป็นต้น
2. เป็นการปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพของดินให้ดีขึ้น
3. ลดการเสี่ยงเนื่องจากผลผลิตนาปรังอาจ
เสียหายเมื่อน้ำไม่เพียงพอเกษตรกรจะมีรายได้ชดเชยหรือได้มากกว่าการทำนาปรัง



http://web.ku.ac.th/agri/short/summerx.htm


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/10/2011 6:59 am, แก้ไขทั้งหมด 7 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 21/09/2011 7:51 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

655. มติ กขช.ไม่ให้ชาวนาปลูกข้าวอายุสั้น เข้าร่วมโครงการประกันราคา


นายประเสริฐ โกศัลวิตร อธิบดีกรมการข้าว กล่าวในงานสัมมนา "ข้าวอายุสั้น 75 วัน วิกฤตหรือโอกาสชาวนาไทย" เปิดเผยว่า
การกำหนดราคารับจำนำข้าวที่สูงกว่าตลาด ทำให้ชาวนาโดยเฉพาะภาคกลางนั้นเร่งปลูกข้าวอายุสั้น 75 วัน เพื่อส่งจำหน่ายต่าง
ประเทศ ส่งผลให้ลูกค้าต่างประเทศตำหนิคุณภาพข้าวของไทยอย่างมาก ดังนั้นที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ
(กขช.) มีมติไม่ให้ชาวนาที่ปลูกข้าวชนิดนี้ เข้าร่วมโครงการประกันราคาของรัฐบาล


ด้านตัวแทนมูลนิธิขวัญข้าว เปิดเผยว่า ขณะนี้มีนักธุรกิจจีน และไต้หวันกว้านซื้อที่นาใน จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นจำนวนมาก
เนื่องจากชาวตะวันออกกลางที่มีข่าวไปก่อนหน้านี้ ที่มีข่าวว่า ซื้อพื้นที่ชาวนาไทย ดังนั้นรัฐบาลควรจะต้องเร่งออกกฎหมายคุ้ม
ครองพื้นที่เกษตรกรรมให้รัดกุมมาก ขึ้น เพราะว่าการตั้งบริษัทตัวแทน หรือว่านอมินีเพื่อซื้อที่ดินตามที่กฎหมายกำหนดทำได้
ไม่ยาก


ขณะเดียวกันชาวนา และหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องร่วมกันตรวจสอบปัญหานี้อย่างใกล้ชิด ขณะที่การบริหารสินค้าเกษตร
ที่ผ่านมาของรัฐบาลถือว่า ประสบความล้มเหลว เพราะผู้รับผิดชอบนั้นมาจากคนละพรรคการเมือง ทำให้การตัดสินใจนั้นล่าช้า
และสร้างความเสียหายต่อกลไกสินค้าเกษตรอย่างมาก



http://www.nsw-rice.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 8:29 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 21/09/2011 7:57 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

656. ปลูกข้าวหลังน้ำลด


กรมการข้าว ได้ประชาสัมพันธ์ถึงข้อควรปฏิบัติในการปลูกข้าวหลังน้ำลด เพื่อให้ชาวนาทราบและปรับตัวให้พร้อมก่อนการทำนารอบต่อไป

1. จากที่เกิดน้ำท่วมดินจะมีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้นจากการพัดพาเอาตะกอนดินมากองหน้าดินทำให้ไม่ต้องใช้ปุ๋ยมากในการปลูกข้าว

2. ควรเริ่มปลูกข้าวตั้งแต่ปลายเดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไป เพื่อหลีกเลี่ยงการตั้งท้องและออกดอกในช่วงอากาศหนาวในเดือน มกราคม –
กุมภาพันธ์ ซึ่งมีผลทำให้ข้าวลีบ

3. ควรปล่อยให้เมล็ดข้าววัชพืชหรือ เมล็ดข้าวที่ตกค้างอยู่ในดินจากฤดูที่ผ่านมา งอกขึ้นก่อน แล้วไถทำลายในขั้นตอนการเตรียมดิน จะ
สามารถลดปริมาณข้าววัชพืช/ข้าวเรื้อจากฤดูปลูกที่ผ่านมาลงได้มาก

4. หลีกเลี่ยงการใช้พันธุ์ข้าวที่ไม่ทนต่อสภาวะอากาศหนาว เช่น พิษณุโลก 2, กข29, กข41 เป็นต้น


5. ข้อควรระวัง
5.1 โรคไหม้และโรคขอบใบแห้งของข้าว เนื่องจากสภาพอากาศที่มีหมอกและน้ำค้างมาก ประกอบกับดินมีความอุดมสมบูรณ์จากน้ำท่วม
ซึ่งสามารถทำให้เกิดโรคกับข้าวทุกระยะการเติบโต

5.2 หนอนกระทู้กล้าและหนอนกระทู้คอรวง โดยหนอนกระทู้กล้าจะเข้าทำลายต้นข้าวตั้งแต่ระยะกล้าถึงระยะแตกกอ การทำลายมักเป็น
ในเวลากลางคืน อาจเสียหายได้ภายใน 1-2 วัน ส่วนในช่วงข้าวออกรวง หนอนกระทู้คอรวงชอบกัดกินคอรวง หรือ ระแง้ของรวง ในระยะ
สุกแก่ ทำให้คอรวงขาด การทำลายในช่วงกลางคืนเช่นเดียวกัน


6. พันธุ์ข้าว
6.1 พันธุ์ข้าวที่ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกหลังน้ำลด (เขตพื้นที่ชลประทาน) มีดังนี้

ภาคเหนือตอนล่าง/ภาคกลาง
– กข31, กข39, กข43, สุพรรณบุรี 1, สุพรรณบุรี 2, สุพรรณบุรี 90, และบางแตน


ภาคใต้
– กข37, ชัยนาท 1, และพิษณุโลก 2 (พื้นที่ภาคใต้ไม่มีผลกระทบกับอากาศหนาวจึงสามารถปลูกได้)


6.2 พันธุ์ข้าวที่ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกฤดูหนาว (เขตพื้นที่นอกเขตชลประทาน) คือ พันธุ์ข้าวที่มีอายุสั้นเก็บเกี่ยวสั้น มี 3 พันธุ์ ได้แก่
กข43, สุพรรณบุรี 2, บางแตน (โดยมีอายุการเก็บเกี่ยว 97-98 วัน เป็นนาหว่านน้ำตม ซึ่งการที่จะปลูกข้าว 3 พันธุ์นี้ได้ ต้องมีน้ำเพียง
พออย่างน้อยสามารถหล่อเลียงต้นข้าวไปได้ อายุ 80-87 วัน หรือ มีน้ำประมาณ 2 เดือนกว่าๆ จึงสามารถปลูกได้)



http://www.nsw-rice.com/index.php/riceknowladge


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 24/09/2011 7:57 am, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 21/09/2011 8:12 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

657. ยุทธวิธีปลูกข้าว 11 ประการ



ปัจจุบันสถานการณ์การส่งข้าวออกขายต่างประเทศมีการแข่งขันกันสูง โดยเฉพาะกับประเทศใกล้เคียง เช่น อินเดีย และเวียดนาม
ซึ่งเป็นประเทศที่มีต้นทุนการผลิตต่ำและมีคุณภาพข้าวใกล้เคียงกับบ้านเรา ดังนั้นเราจึงต้องมีการลดต้นทุนการผลิตและมีการปรับ
ปรุงคุณภาพข้าวให้ดียิ่งขึ้นและได้มาตรฐานตามที่ตลาดต้องการ ซึ่งการที่จะทำให้การผลิตข้าวได้คุณภาพดีมีมาตรฐานประกอบด้วย
หลักสำคัญ 11 ประการ คือ

1. การคัดเลือกพันธุ์ข้าวควรเป็นพันธุ์ที่ดีมีคุณภาพ ให้ผลผลิตสูงต้านทานโรคและแมลง เหมาะสมกับสภาพของท้องถิ่น คุณภาพ
หุงต้มดีเป็นที่ต้องการของตลาด

2. ช่วงระยะเวลาในการปลูก ช่วงที่เหมาะสม คือ เดือนกรกฎาคม สิงหาคม ข้าวจะมีอายุประมาณ 92-120 วัน สำหรับข้าวนาปี ถ้า
ปลูกก่อนจะประสบปัญหาฝนแล้ง ฝนทิ้งช่วง

3. วิธีการปลูก โดยทั่วไปมี 3 วิธี คือ นาหว่านน้ำตม นาดำ และนาหยอด ควรเลือกให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ แรงงาน และอื่นๆ

4. การเตรียมดิน เพื่อกำจัดวัชพืช และเพื่อให้ต้นข้าวงอกได้ดี ก็ควรพิจารณาให้เหมาะสมกับวิธีการปลูก และสภาพของดินแต่ละพื้นที่

5. การใช้เมล็ดพันธุ์ ควรใช้เมล็ดพันธุ์ให้เหมาะสม คือ อัตรา 15-20 กก. สำหรับข้าว ที่เปอร์เซ็นความงอกไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80

6. การให้น้ำ ควรรักษาระดับน้ำให้อยู่ในระดับ 5-15 ซม. ตลอดฤดูการปลูก ก่อนระยะเก็บเกี่ยว 7-10 วัน จึงค่อยระบายน้ำออก

7. การใส่ปุ๋ย ควรใส่ให้เหมาะสมกับความต้องการของต้นข้าว และใส่ในปริมาณและอัตราที่ถูกต้อง ที่สำคัญต้องใช้ร่วมกับ ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น

นาดินเหนียว ใช้สูตร 16-20-0, 18-22-0 หรือ 20-22-0
สภาพนาดินทราย และดินร่วนปนทรายให้ใช้สูตร 16-16-16, 18-12-6

ใส่ครั้งที่ 1 เป็นการรองพื้นก่อนปักดำ 1 วัน หรือหลังข้าวงอก 20-30 วัน
ใส่ครั้งที่ 2 เป็นการใส่ปุ๋ยแต่งหน้า โดยใส่ในระยะข้าวเริ่มออกรวง หรือ 30 วัน ก่อนข้าวออกดอก

8. การป้องกันกำจัดโรคและแมลง แนะนำให้ใช้หลายวิธีควบคู่กันไปดังนี้

1. ใช้พันธุ์ต้านทานต่อโรคแมลง
2. การใส่ปุ๋ยให้ถูกชนิดและอัตราการใส่
3. การทำลายแหล่งอาศัยของศัตรู
4. การจัดการน้ำ
5. การเลือกระยะเวลาปลูกที่เหมาะสม
6. การใช้สารสกัดธรรมชาติ
7. เลือกวิธีการปลูกข้าว
8. การใช้ชีววิธี
9. การจัดการระบบพืช
10. การใช้สารเคมี


9. การเก็บเกี่ยว ระยะที่เหมาะสมคือระยะพลับพลึง สังเกตจากการออกดอกของข้าวร้อยละ 80 แล้วนับจากนั้นไปอีก 30 วัน จะเป็นระยะ
เก็บเกี่ยวที่เหมาะสม ก่อนเก็บเกี่ยว 7-10 วัน ต้องระบายน้ำออกให้หมด เพื่อให้ข้าวสุกสม่ำเสมอ

10. การตากเพื่อลดความชื้น ควรตากแดดเพื่อลดความชื้นให้เหลือ 14 % หรือต่ำกว่า

11. การเก็บรักษา การทำความสะอาดที่เก็บรักษาข้าว เช่น ยุ้ง ฉาง ควรป้องกันฝนได้ อากาศถ่ายเทสะดวก ป้องกันการทำลายของนก หนูได้




http://www.nsw-rice.com/index.php/riceknowladge/64-generalrice/238-ricestrategy


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 22/09/2011 9:10 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 21/09/2011 8:39 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

658. การเขียนชื่อพันธุ์ข้าว

เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน และปฏิบัติให้ถูกต้องเป็นไปในแนวทางเดียวกัน สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว จึงขอสรุปการเขียนชื่อพันธุ์ข้าว ไว้ดังนี้

1. ชื่อพันธุ์ข้าวที่นำหน้าว่า กข และตามด้วยลำดับตัวเลขของพันธุ์ที่ได้รับการรับรองวิธีการเขียนตัวเลขที่ตาม ให้เขียนตัวเลขต่อจาก กข
โดยไม่ต้องเว้นวรรค์ ดังนี้
กข1, กข29, กข31

2. ชื่อ พันธ์ข้าวที่ใช้ชื่อเต็ม วิธีการเขียน ต้องเว้นวรรค 1 ตัวอักษรระหว่างชื่อกับลำดับตัวอักษร เช่น ขาวดอกมะลิ 105, ปทุมธานี 1,
เหลืองประทิว 123

3. ชื่อพันธุ์ข้าวที่ใช้ทั้งอักษรย่อและชื่อเต็ม มีวิธีการเขีย คือ เขียนตามแบบวิธีในข้อ 1 และข้อ2 โดยไม่มีการเว้นวรรค์ เช่น กข29 (ชัยนาท80),
กข31 (ปทุมธานี80), กข33 (หอมอุบล80), กข35 (รังสิต80), และ กข12 (หนองคาย80)

•ส่วนข้าวปทุมธานี CEO เป็นชื่อพันธุ์ข้าว กข31 (ปทุมธานี 80) นั่นเอง


ข้อมูลจาก หนังสือ สำนักวิจัยและพัฒนา กลุ่มวิชาการ (กษ 2605/2420 ลว. 15 สิงหาคม 2551)


เรื่องสำคัญที่ควรทำความเข้าใจอีกเรื่อง คือ

ข้าวหอมมะลิ หมายถึง ข้าวสารที่ได้จากการสีข้าวจากข้าว พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 พันธุ์ กข15

เมล็ดพันธุ์ที่ใช้ปลูก เรียกว่า พันธุ์ข้าว "ขาวดอกมะลิ 105"

ขาวดอกมะลิ 105 อ่านว่า ขาวดอกมะลิหนึ่งร้อยห้า



http://www.nsw-rice.com/index.php/riceknowladge?start=40


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 22/09/2011 9:39 am, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 21/09/2011 9:16 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

659. ทำนาแบบผสมผสาน


การพัฒนาการทำนา โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมได้อย่างเหมาะสม ทำให้การทำนาในเขตชลประทานได้ผลผลิตสูงกว่าในเขต
นาน้ำฝนของประเทศ และสามารถผลิตข้าวได้มากกว่าปีละ 1 ครั้ง เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูกข้าวโดยวิธีการหว่านน้ำตม ใช้พันธุ์
ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง อายุสั้น เก็บเกี่ยวข้าวด้วยเครื่องเกี่ยวนวด โดยเฉพาะพื้นที่นาชลประทานในภาคกลาง ใช้อัตราเมล็ดพันธุ์สูง
ซึ่งปัจจุบันราคาเมล็ดพันธุ์กิโลกรัมละ 20-23 บาท และเมล็ดพันธุ์ดีก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการ

นอกจากนี้การทำนาอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็น 2 ปี 5 ครั้ง หรือ ปีละ 3 ครั้ง ย่อมส่งผลกระทบถึงสภาพแวดล้อม เช่น ปัจจุบัน
การทำนาในภาคกลางประสบกับ ปัญหาข้าววัชพืช ระบาดอย่าง รุนแรง

เกษตรกรที่ทำนาแบบหว่านน้ำตม ส่วนหนึ่งเปลี่ยนวิธีการทำนาเป็นการปักดำด้วยเครื่องปักดำเพื่อควบคุมปริมาณ ข้าววัชพืช
ปัญหาที่ตามมาก็คือ เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่สามารถเตรียมดินให้เหมาะสมกับการทำงานของเครื่องปักดำได้ และอัตราค่าปักดำ
ค่อนข้างสูงคือ ไร่ละ 1,100-1,200 บาท (รวมเมล็ดพันธุ์ข้าว)

วิธีการปลูกข้าวแบบโยนกล้า เป็นการทำนาแบบใหม่ที่สามารถนำมาใช้แทนการปักดำด้วยเครื่องได้

แนะนำให้เป็นทางเลือกในพื้นที่
1. พื้นที่ปัญหาข้าววัชพืชมาก
2. ผลิตในศูนย์ข้าวชุมชนหรือไว้ใช้เองได้
3. ผลิตข้าวอินทรีย์ เพื่อควบคุมข้าววัชพืช
4. ประหยัดเมล็ดพันธุ์

เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าแต่ได้ผล ผลิตไม่ตกต่างจากการปักดำด้วย เครื่องหรือการหว่านน้ำตม แต่สามารถควบคุมวัชพืช
โดยเฉพาะข้าววัชพืช ที่กำลังระบาดอย่างรุนแรงในหลายพื้นที่ในภาคกลาง



การตกกล้า
ตกกล้าในกระบะเพาะกล้าที่มีลักษณะเป็นหลุม ตามลำดับดังนี้

1. ใส่ดินในหลุมประมาณ ครึ่งหนึ่งของหลุม

2. หว่านเมล็ดข้างงอกลงในหลุมโดยใช้อัตรา 3-4 กก./ 60-70 ถาด/ไร่

3. ใส่ดินปิดเมล็ดพันธุ์ข้าว ระวังอย่าให้ดินล้นออกมานอกหลุม เพราะจะทำให้รากข้าวที่งอกออกมาพันกัน เวลาหว่านต้นข้าวจะ
ไม่กระจายตัว

4. หาวัสดุ เช่นกระสอบป่าน คลุมถาดเพาะ เพื่อเวลารดน้ำจะได้ไม่กระเด็น รดน้ำเช้า เย็น ประมาณ 3-4 วัน ต้นข้าวจะงอกทะลุ
กระสอบป่าน ให้เอากระสอบ ป่านออก แล้วรดน้ำต่อไป จนกล้าอายุ 15 วัน

5. นำกล้าที่ได้ไปหว่านในแปลงที่เตรียมไว้ ให้สม่ำเสมอ การตกกล้า 1 คน สามารถตกได้ 2 ไร่ (140 กระบะ) /วัน



การเตรียมแปลง
ไถดะครั้งที่ 1 หลังเก็บเกี่ยวข้าวปล่อยแปลงให้แห้งประมาณ 15-30 วัน แล้วปล่อยน้ำเข้าพอให้ดินชุ่มประมาณ 5-10 วัน เพื่อ
ให้วัชพืชและเมล็ดข้าวที่ร่วงหล่นในดินงอกขึ้นมาเป็นต้นอ่อนเสียก่อน จึงไถดะครั้งที่

ไถแปร หลังจากการไถดะครั้งที่ 1 แล้ว ปล่อยทิ้งไว้ 10-15 วันโดยรักษาระดับน้ำเพียงแค่ดินชุ่ม เพื่อให้เมล็ดวัชพืชและเมล็ด
ข้าวที่หลงเหลืออยู่งอกขึ้นมาอีกแล้วจึงไถแปร

คราดหรือทุบ หลังจากการไถแปรครั้งที่ 2 แล้ว ปล่อยทิ้งไว้ 10-15 วันโดยรักษาระดับน้ำเพียงแค่ดินชุ่ม เพื่อให้เมล็ดวัชพืช
และเมล็ดข้าวที่หลงเหลืออยู่งอกขึ้นมาอีกแล้วคราดหรือ ทุบจะช่วยทำลายวัชพืชได้มาก หรือหลังจากไถดะ ไถแปรและคราด
เสร็จแล้วเอาน้ำขังแช่ไว้ประมาณ 3 สัปดาห์ เพื่อให้ลูกหญ้าที่เป็นวัชพืชน้ำ เช่น ผักตบ ขาเขียด ทรงกระเทียม ผักปอดและพวก
กกเล็ก เป็นต้น งอกขึ้นเสียก่อน เพราะเมล็ดวัชพืชปกติจะงอกภายใน 5-7 วันหลังจากน้ำนิ่งโดยเฉพาะนาที่น้ำใส เมื่อลูกหญ้าขึ้น
แล้วจึงคราดให้ละเอียดอีกครั้งหนึ่ง ลูกหญ้าก็จะหลุดลอยไปติดคันนาทางใต้ลม ก็จะสามารถช้อนออกได้หมด เป็นการทำลาย
วัชพืชวิธีหนึ่ง

สำหรับผู้ที่ใช้ลูกทุบหรืออีขลุก ย่ำฟางข้าวให้จมลงในดินแทนการไถ หลังจากย่ำแล้วควรจะเอาน้ำแช่ไว้ให้ฟางเน่าเปื่อยจนหมด
ความร้อนเสียก่อน อย่างน้อย 3 สัปดาห์แล้วจึงย่ำใหม่ เพราะแก๊สที่เกิดจากการเน่าเปื่อยของฟางจะเป็นอันตรายต่อต้นข้าวจะ
ทำให้ราก ข้าวดำไม่สามารถจะหาอาหารได้

ระบายน้ำออกเพื่อปรับเทือก ปรับพื้นที่ให้สม่ำเสมอ เมื่อคราดแล้วจึงระบายน้ำออกและปรับเทือกให้สม่ำเสมอ กระทำได้ด้วยการใช้
น้ำในนาเป็นเครื่องวัด โดยให้น้ำในนามีระดับเพียงตื้นๆ ขนาดเพียงท่วมหลังปูก็จะเห็นว่าพื้นที่นาราบเรียบเพียงใดอย่างชัดเจน เมื่อ
เห็นว่าส่วนใดยังไม่สม่ำเสมอก็ควรจะปรับเสียใหม่ การปรับพื้นที่นาหรือปรับเทือกให้สม่ำเสมอจะทำให้ควบคุมน้ำได้สะดวก

การโยนกล้า ให้มีน้ำในแปลงประมาณ 1 ซม. นำกระบะกล้าข้าวที่มีอายุ 15 วัน ไปวางรายในแปลงที่เตรียมไว้ให้กระจายสม่ำเสมอ
อัตรา 60-70 กระบะต่อไร่ จากนั้นคนที่จะโยนกล้าจะหยิบกระบะกล้ามาวางพาดบนแขน แล้วใช้มือหยิบกล้าข้าวหว่านหรือโยน
ในแปลง โดยโยนให้สูงกว่าศรีษะ ต้นกล้าจะพุ่งลงโดยใช้ส่วนรากที่มีดินติดอยู่ลงดินก่อน การหว่านกล้า 1 คน สามารถหว่านได้
วันละ 4- 5 ไร่ จับต้นกล้า 5–15 หลุม โยนตวัดมือขี้นหนือศีรษะ ต้นกล้าจะพุ่งดิ่งลง



เกษตรกรช่วยกันโยนกล้า/หว่านต้นกล้า
การดูแลรักษาระดับน้ำ วันหว่านกล้าให้มีน้ำในแปลงประมาณ 1 ซม. (ท่วมหลังปู) หลังจากนั้นประมาณ 3 วัน ต้นข้าวตั้งตัวได้
แล้ว สามารถเพิ่มระดับน้ำให้อยู่ที่ระดับครึ่งหนึ่งของต้นข้าว หรือประมาณ 5 ซม. เพื่อการควบคุมวัชพืช ต้นกล้าหลังหว่าน 7 วัน
การแตกกอของข้าวที่ปลูกด้วยวิธีการโยนกล้า


การเก็บเกี่ยว
เก็บเกี่ยวข้าวที่ระยะที่เหมาะสม คือหลังจากข้าวออกดอก (75 %) แล้ว 28-30 วัน จะมีความชื้นประมาณ 22 % กรณีไม่ถูกฝน
ช่วงเก็บเกี่ยว ซึ่งจะเกิดความสูญเสียทั้งด้านปริมาณและคุณภาพน้อยที่สุด จะทำให้ได้ข้าวที่มีน้ำหนักดีที่สุด มีการร่วงหล่นและสูญ
เสียขณะเก็บเกี่ยว น้อยที่สุด ผลผลิตมีคุณภาพดี ข้าวที่เก็บไว้สีเป็นข้าวมีคุณภาพการสีสูง ข้าวที่เก็บไว้เป็นเมล็ดพันธุ์สามารถเก็บรักษา
ไว้ได้นานอย่างน้อย 7-9 เดือน เสื่อมความงอกช้า


ข้อได้เปรียบของวิธีการโยนกล้าเปรียบเทียบกับการปักดำและหว่านน้ำตม
1. แปลงที่มีลักษณะหล่มก็สามารถเตรียมแปลงเพื่อการหว่านต้นกล้าได้ แต่ไม่สามารถปลูกโดยวิธีการปักดำด้วยเครื่องปักดำได้
เนื่องจากเครื่องจะติดหล่ม
2. ใช้อัตราเมล็ดพันธุ์น้อยกว่าการหว่านน้ำตมและการปักดำ
3. สามารถควบคุมและลดปริมาณวัชพืชและข้าววัชพืชได้ดีกว่าการทำนาหว่านน้ำตม
4. ลดการสารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูข้าวเมื่อเทียบกับการหว่านน้ำตม
มากกว่าหนึ่งปี..




http://www.facebook.com/topic.php?uid=149795635051692&topic=172


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 22/09/2011 9:39 am, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 22/09/2011 7:50 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

670. กระบวนการแบนคาร์โบฟูราน ในอเมริกา





ชื่อผู้แต่ง : ฝ่ายข้อมูล มูลนิธิชีววิถี



ความสำเร็จของการแบนคาร์โบฟูราน ในอเมริกาเป็นอุทาหรณ์สำหรับการต่อสู้เพื่อระงับการขึ้นทะเบียนในประเทศไทยในช่วงปี 2554
และให้บทเรียนถึงความยากลำบากในการท้าทายอำนาจบรรษัทเคมีเกษตรระดับโลก ที่แม้แต่ EPA (Environmental Protection
Agency) หน่วยงานรัฐซึ่งมีข้อมูลการวิจัยถึงความอันตรายร้ายแรงของสารเคมีชนิดนี้กว่า 10 ปี ต้องผ่านการต่อสู้ทางกฎหมายหลาย
ครั้งจนได้รับชัยชนะในศาลฎีกาเมื่อพฤษภาคม 2554 ที่ผ่านมา

การประเมินความเสี่ยงของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในอเมริกามีขึ้นทุก 10 ปี เพื่อปรับค่าการตกค้างสูงสุดของสารเคมีในอาหารหรือ MRL
(Maximum Residue Limit) ให้เหมาะสมกับการพัฒนาทางเลือกเพื่อควบคุมศัตรูพืชที่ปลอดภัยกว่า สำหรับคาร์โบฟูราน การประเมิน
ได้เริ่มต้นขึ้นกลาง ค.ศ. 2005 และในปีถัดมา EPA มีข้อสรุปว่าการตกค้างของคาร์โบฟูรานในอาหารมีความเสี่ยงร้ายแรงเกิน
กว่าจะยอมรับได้ แต่การวิจัยยังคงดำเนินต่อไปเพื่อยืนยันผลการศึกษาดังกล่าว พร้อมกับมีการประเมินข้อมูลความปลอดภัยเพิ่มเติม
จากบริษัท FMC Corporation ซึ่งเป็นเจ้าของทะเบียนการค้าคาร์โบฟูรานเพียงแห่งเดียวในอเมริกา

จนกระทั่งปี 2008 EPA ได้ข้อสรุปว่าผลการวิจัยทั้งหมดชี้ชัดถึงความอันตรายของสารคาร์โบฟูรานที่ตกค้างในอาหารไม่ว่าจะอยู่ใน
ระดับใดก็ตาม (โดยเฉพาะเมื่อผู้บริโภคไม่ได้รับประทานอาหารที่มีสารเคมีตกค้างเพียงมื้อเดียว) จึงได้ยื่นเรื่องเข้าสู่กระบวนการ
พิจารณาเพื่อแบนคาร์โบฟูรานเมื่อ 31 กรกฎาคม 2008 ต่อมา EPA มีมติยกเลิกค่า MRL ของคาร์โบฟูรานในผลผลิตทางการเกษตร
ทั้งหมด (ซึ่งเทียบเท่ากับการห้ามใช้สารเคมีชนิดนี้) ในวันที่ 15 พฤษภาคม 2009 (กฎเกณฑ์มีผลบังคับใช้เมื่อ 31 ธันวาคม 2009)
พร้อมกับสนับสนุนให้เกษตรกรใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงน้อยกว่าหรือวิธีการอื่นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

อย่างไรก็ตาม บริษัท FMC Corporation ได้แสดงข้อคิดเห็นต่อมติดังกล่าวซึ่งมีการโต้ตอบจาก EPA ดังต่อไปนี้

1. FMC ยื่นผลการวิเคราะห์ความเสี่ยง (risk analysis) เพิ่มเติมที่ระบุว่าการบริโภคอาหารที่มีคาร์โบฟูรานตกค้างหลายๆมื้อมีความ
ปลอดภัยสำหรับเด็ก แต่ไม่ได้แนบข้อมูลและรายละเอียดของการประเมิน และ EPA ไม่สามารถทำการวิเคราะห์ที่มีผลลัพธ์ที่คล้าย
คลึงกันได้ จึงนับว่าผลวิเคราะห์ไม่มีความสมบูรณ์และไม่สามารถเชื่อถือได้

2. การวิเคราะห์ความเสี่ยงของทางบริษัทเคมีเกษตรยังมีข้อบกพร่องสำคัญในการสันนิษฐานว่าในสภาวะปกติ ผลลัพธ์ต่างๆมีความ
แน่นอนและจะเกิดขึ้นตามสมมุติฐาน เช่น การตอบสนองต่อสารเคมีสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ใกล้เคียงกัน หรือผลกระทบทางสุขภาพ
ของคาร์โบฟูรานสามารถแก้ไขได้ง่าย เป็นต้น แต่ในความเป็นจริง ข้อมูลและการสันนิษฐานเหล่านี้ไม่สามารถรับประกันความ
ปลอดภัยของผู้บริโภคโดยเฉพาะเด็กได้

3. ความเสี่ยงเฉียบพลันต่อเด็กเป็นความกังวลสำคัญของ EPA การพิจารณาปริมาณสารเคมีที่สามารถตกค้างได้ในอาหารจึงเป็นเรื่อง
ที่ต้องการการวิเคราะห์ที่ละเอียด รอบคอบ และสามารถสร้างความมั่นใจได้ในสถานการณ์ต่างๆ โดยเฉพาะเมื่อคาร์โบฟูรานมี
ความเป็นพิษสูง หลักปฏิบัติที่ยึดในการระมัดระวังไว้ก่อนจึงเป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินใจแบนคาร์โบฟูราน

นอกเหนือจากข้อคิดเห็นดังกล่าว FMC พร้อมด้วย 3 สมาคม (สมาคมผู้ปลูกข้าวโพด ทานตะวัน และมันฝรั่ง) ได้ยื่นคัดค้านมติการแบน
คาร์โบฟูรานและขอให้มีการไต่สวน (administrative hearing) การวิจัยของ EPA ในประเด็น

1. การเลือกปัจจัยด้านความปลอดภัยที่เหมาะสมของเด็ก

2. การประเมินโอกาสการสัมผัสคาร์โบฟูรานที่ตกค้างในแหล่งน้ำดื่ม

3. การประเมินความเสี่ยงจากการบริโภคอาหาร และ4.อำนาจของ EPA ในการจำกัดข้อมูลสนับสนุนที่ถูกยกขึ้นในการคัดค้านและการ
แสดงความคิดเห็นของบริษัทในอดีต


เนื่องจากผลการศึกษาวิจัยที่มีอยู่มีหลักฐานเพียงพอและเชื่อถือได้ EPA จึงมีคำตัดสินไม่รับพิจารณาคำค้านและคำขอดังกล่าว และให้
ความเห็นว่าประเด็นที่ทางบริษัทและสมาคมทั้ง 3 ค้านไม่เกี่ยวข้องกับการปกป้องความปลอดภัยของผู้บริโภคโดยเฉพาะเด็กและ
ทารกแต่อย่างใด ในเวลาต่อมา FMC และสมาคมที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการทางกฎหมายและยื่นขออุทธรณ์คำสั่งแบนต่อศาล
US Federal Court of Appeals โดยในกรกฎาคม 2010 มีคำตัดสินสนับสนุนการแบนคาร์โบฟูรานในผลผลิตทุกประเภท ยก
เว้นสินค้าเกษตรนำเข้า 4 ชนิดได้แก่ ข้าว อ้อย กล้วย และกาแฟ

การอุทธรณ์ดำเนินต่อไปในศาล DC Circuit Court of Appeals จนกระทั่งมาถึงศาลฎีกาซึ่งมีคำตัดสินสุดท้ายไม่รับคำร้องเพื่อ
ยกเลิกการแบนคาร์โบฟูรานในเดือนมีนาคม 2011 ซึ่งนับว่าเป็นชัยชนะของการปกป้องคุ้มครองพลเมืองอเมริกันจากสารเคมีที่มี
ความอันตรายและความเสี่ยงมากที่สุดชนิดหนึ่ง

สำหรับประเทศไทยซึ่งไม่มีการเฝ้าระวังและจัดการกับปัญหาสารเคมีตกค้างในอาหารและแหล่งน้ำที่เข้มงวดเพียงพอ แต่ในปี 2553
ยังมีการนำเข้าคาร์โบฟูรานมากถึง 5,301,161กิโลกรัม (มูลค่า 148,870,091 บาท) ซึ่งมากกว่าอเมริกาถึง 12 เท่า (การใช้
ประมาณ 4.5 แสนกิโลกรัมต่อปี) และได้เพิ่มมากขึ้นเกือบเท่าตัวภายในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2554 จึงเป็นเรื่องยากที่จะหลีกเลี่ยง
ผลกระทบอันร้ายแรงจากสารเคมีกำจัดแมลงชนิดนี้

ประสบการณ์จากอเมริกาชี้ให้เห็นว่า การแบนคาร์โบฟูรานมีความจำเป็นเพื่อปกป้องสุขภาพของเกษตรกรและผู้บริโภคเนื่องจากผล
การศึกษาทั้งหมดที่ปราศจากอคติจากผู้มีผลประโยชน์ทับซ้อนระบุอย่างชัดเจนถึงความอันตรายและความเสี่ยงจากคาร์โบฟูราน
อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังมีสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอีกหลายชนิดทั้งในและนอกบัญชีเฝ้าระวังของกรมวิชาการเกษตรที่ยังต้องการการ
พิจารณายกเลิกหรือควบคุมการใช้ ภาครัฐซึ่งมีอำนาจทางกฎหมายโดยตรงมีหน้าที่บรรเทาความเสี่ยงจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชด้วย
การแบนสารเคมีที่หลายประเทศห้ามใช้ จำกัดการนำเข้าสารเคมีที่มีความอันตรายสูง เปิดเผยข้อมูลความปลอดภัยที่ครบถ้วนต่อสาธารณะ
พร้อมกับสนับสนุนทางเลือกเพื่อการจัดการศัตรูพืชที่ปลอดภัยกว่า ที่สำคัญ ผู้ได้รับผลกระทบหรือเกษตรกรและผู้บริโภคมีหน้าที่ผลักดัน
ให้การทำงานของภาครัฐดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใส เพราะสารเคมีเป็นปัญหาเชิงระบบที่ต้องการความตระหนักและความ
ร่วมมือจากทุกคนในสังคม




http://www.biothai.net/node/9962


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 22/09/2011 9:39 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 22/09/2011 7:58 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

671. วิเคราะห์ความจริงเบื้องหลังสิทธิบัตรข้าวหอมมะลิ





ชื่อผู้แต่ง: ฝ่ายข้อมูล มูลนิธิชีววิถี



1. เจ้าของสิทธิบัตรยีนข้าวหอมมะลิ
สิทธิบัตรยีนข้าวหอมมะลิ ซึ่งได้รับการอนุมัติแล้วเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2008 ในประเทศสหรัฐอเมริกานั้น มีสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.)เป็นเจ้าของสิทธิบัตร หัวหน้าคณะวิจัยคือ รศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร ม.เกษตรศาสตร์ และนักประดิษฐ์อื่น
อีก 4 คน โดยเป็นโครงการวิจัยร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กับศูนย์พันธุและวิศวกรรมแห่งชาติ


2. การยื่นขอจดสิทธิบัตรและข้อถือสิทธิ
สวทช.ได้ยื่นขอจดสิทธิบัตรยีนควบคุมความหอมของข้าวใน 10 ประเทศ คือ สหรัฐ อินเดีย ออสเตรเลีย จีน ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น
เวียดนาม ฝรั่งเศส กลุ่มประเทศสหภาพยุโรป และประเทศไทย ในคำขอจดที่ยื่นต่อทุกประเทศนั้น ได้ยื่นขอให้มีการผูกขาดใน
เรื่อง ยีนที่ควบคุมความหอม เมล็ดพันธุ์ ต้นข้าวดัดแปลงพันธุกรรม และกรรมวิธีที่เกี่ยวข้อง แต่ได้รับอนุมัติเฉพาะที่สหรัฐเท่านั้น
โดยได้รับอนุมัติเพียง 4 ข้อถือสิทธิ์ คือ

1) วิธีการเพิ่มสารหอม Os2AP (2- acetyl-1-pyrroline) เพื่อผลิตข้าว จีเอ็มโอ. 2) วิธีการทำให้ระดับ mRNA ของยีน
ควบคุมความหอมทำงานลดลง
3) การทำให้ลดลงคือการแสดงออกของโครงสร้างที่รบกวนการทำงานของ mRNA 4) การรบกวนดังกล่าวทำ ณ ตำแหน่ง
นิวคลีโอไทด์ที่ 609 -867 ของยีนความหอม (SEQ ID NO: 5)




3. ผลของการจดสิทธิบัตรยีนข้าวหอมมะลิในต่างประเทศ
ทำให้ สวทช.ได้สิทธิผูกขาดการในการผลิตข้าว จีเอ็มโอ.ที่มีความหอมคล้ายหรือเหมือนข้าวหอมมะลิในประเทศสหรัฐอเมริกา
และอาจรวมประเทศอื่นๆอีก 9 ประเทศถ้าประเทศเหล่านั้นอนุมัติคำขอรับสิทธิบัตร

3.1 ผลในเชิงบวก สามารถป้องกันมิให้ผู้ใดก็ตามผลิตข้าวจีเอ็มโอที่มีกลิ่นหอมเหมือนหรือคล้ายข้าวหอมมะลิได้ในระยะเวลา
หนึ่งไม่เกิน 20 ปีตามระยะเวลาการคุ้มครอง อย่างไรก็ตามไม่สามารถห้ามไม่ให้ประเทศใดนำข้าวหอมมะลิไปปรับปรุงพันธุ์โดย
วิธีการอื่นได้ เช่น การผสมพันธุ์โดยวิธีการทั่วไป เป็นต้น

3.2 ผลในเชิงลบ

3.2.1 หลังจากหมดอายุคุ้มครองสิทธิบัตรใน 20 ปีข้างหน้า ประเทศใดๆหรือบริษัทใดๆก็ตามสามารถผลิตข้าว จีเอ็มโอ.ให้มีกลิ่นหอมหรือ
คล้ายข้าวหอมมะลิได้

3.2.2 ในระหว่าง 20 ปีนี้หากสวทช.ขายสิทธิบัตรนี้ให้แก่บริษัทใดๆบริษัทนั้นก็จะมีสิทธิผูกขาดในการผลิตข้าวจีเอ็มโอที่มีกลิ่นเหมือน
ข้าวหอมมะลิได้ กรณีนี้อาจเกิดขึ้นได้เช่นกันโดยขึ้นอยู่กับนโยบายของสวทช. หรือนโยบายของรัฐมนตรีที่กำกับ สวทช. เพราะที่ผ่านมา
สวทช.ได้ลงนามในความร่วมมือกับบริษัทข้ามชาติอยู่แล้วเช่น ความร่วมมือระหว่างศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีแห่งชาติกับบริษัท
โนวาร์ติส ในการวิจัยเรื่องยาจากเชื้อราและทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2548-2554 รวม 2 เฟส โดยไม่มีการเปิดเผย
สัญญานั้นกับสาธารณชน

3.2.3 กลุ่มนักวิจัยบางคนอาจเอาผลงานวิจัยนี้ไปต่อยอดแล้วเอาไปใช้ประโยชน์เฉพาะตนหรือจัดตั้งบริษัทขึ้นมาดำเนินการหา
ประโยชน์จากสิทธิบัตรนี้ต่อ ตัวอย่างเช่นที่ผ่านมานักวิจัยได้ร่วมกับ “บริษัทไชโย เอเอ” จัดตั้ง "บริษัทสีนิล จำกัด" เพื่อนำเอา
ข้าว “สีนิล” ซึ่งได้จากการวิจัยระหว่างข้าวหอมมะลิ กับข้าวเจ้าหอมนิล เพื่อไปใช้ประโยชน์ทางการค้า เป็นต้น

3.2.4 ทำให้ประเทศไทยมีความชอบธรรมน้อยลงในการคัดค้านหากประเทศอื่นเอายีนที่ควบคุมข้าวที่มีวิตามินอีสูง หรือ ยีนจากพันธุ์พืชอื่นๆ
ของประเทศไทยไปวิจัยและจดสิทธิบัตรในต่างประเทศ เว้นแต่ว่านักวิจัยกลุ่มนี้และสวทช.มีคำขออนุญาตให้มีการใช้ประโยชน์และสัญญา
แบ่งปันผลประโยชน์กับคณะกรรมการคุ้มครองพันธุ์พืช ภายใต้ พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 ซึ่งพวกเขาไม่ได้ทำ

3.2.5 การจดสิทธิบัตรนี้ของสวทช.ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐเอง มิได้ตระหนักและเคารพต่อสิทธิของเกษตรกรและชุมชนซึ่งเป็นเจ้าของ
ทรัพยากรชีวภาพ ทั้งที่ไม่ได้ตราเป็นกฎหมาย เช่น ปฏิญญาแก่นนคร และปฏิญญาชาวนาทางเลือกภาคใต้ ซึ่งต่อต้านการจดสิทธิบัตรใน
สิ่งมีชีวิต และต่อต้านพืชจีเอ็มโอ รวมถึงที่ได้บัญญัติไว้ในกฎหมายตาม พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช ที่ได้กล่าวแล้ว เป็นต้น



4. ข้อพิจารณากรณีการอนุมัติให้จดสิทธิบัตรยีนข้าวหอมมะลิในประเทศไทย
4.1 กรมทรัพย์สินทางปัญญาไม่สามารถจดสิทธิบัตรยีนในข้าวหอมมะลิได้เนื่องจาก พ.ร.บ.สิทธิบัตร 2522 ของไทย มาตรา 9 บัญญัติว่า
จุลชีพและส่วนประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งของจุลชีพที่มีอยู่ตาม ธรรมชาติ สัตว์ พืช หรือสารสกัดจากสัตว์หรือพืช ไม่สามารถจดสิทธิบัตรได้
ซึ่งประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่และประเทศเจ้าของทรัพยากรชีวภาพส่วนใหญ่ใช้เกณฑ์เดียวกันนี้

4.2 กรมทรัพย์สินทางปัญญาสามารถอนุมัติให้จดสิทธิบัตรยีนข้าวหอมมะลิได้ตามนโยบายของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
ได้ก็ต่อเมื่อมีการแก้ไข พ.ร.บ.สิทธิบัตร 2522 ที่ให้สามารถจดสิทธิบัตรส่วนหนึ่งส่วนใดหรือสารสกัดจากสัตว์หรือพืชได้ มิฉะนั้นก็จะเป็น
การอนุมัติสิทธิบัตรที่ไม่ชอบตามกฎหมาย

4.3 ยังไม่เห็นประโยชน์อันใดที่ สวทช.จะจดสิทธิบัตรยีนข้าวหอมมะลิในประเทศไทย ในเมื่อกฎหมายไทยไม่อนุญาตให้มีการจดสิทธิบัตร
ในสิ่งมีชีวิตอยู่แล้ว และต่างประเทศที่ต้องการจดสิทธิบัตรดังกล่าวก็ไม่สามารถจดได้

4.4 หากกรมทรัพย์สินทางปัญญาของไทยอนุมัติคำขอสิทธิบัตรยีนของข้าวหอมมะลิ จะเกิดผลกระทบอย่างกว้างขวาง เพราะจะทำให้ประเทศ
อุตสาหกรรม และบรรษัทข้ามชาติซึ่งมีขีดความสามารถสูงกว่ามากแห่เข้ามาจดยีนในทรัพยากรชีวภาพของประเทศไทยอย่างขนานใหญ่ โดย
ที่บรรษัทและประเทศเหล่านั้นไม่จำเป็นต้องผลักดันให้ประเทศไทยแก้กฎหมายสิทธิบัตรตามข้อตกลงเอฟทีเอเหมือนที่เคยผ่านมา อีกทั้งจะ
กระทบต่อท่าทีการเจรจาในระหว่างประเทศของไทยที่ไทยร่วมกับอินเดีย บราซิล เป็นต้น เรียกร้องไม่ให้มีการขยายกฎหมายสิทธิบัตรครอบ
คลุมถึงสิ่งมีชีวิต และเรียกร้องให้มีการเปิดเผยแหล่งที่มาของทรัพยากรชีวภาพในคำขอสิทธิบัตร เพื่อป้องกันไม่ให้เกิด “โจรสลัดชีวภาพ” ขึ้น



5. วิธีการคุ้มครองข้าวหอมมะลิและทรัพยากรชีวภาพ
สังคมไทยยังสับสนระหว่าง “การคุ้มครองทรัพยากรชีวภาพ” กับ “การจดสิทธิบัตรในสิ่งมีชีวิต” ทั้งสองเรื่องแตกต่างกันแทบจะสิ้นเชิง ดังนี้

5.1 การจดสิทธิบัตรในสิ่งมีชีวิตนั้นเป็นการแปรรูปทรัพยากรชีวภาพให้กลายเป็น
“ทรัพย์สินผูกขาด” ของเอกชนหรือหน่วยงาน และ
สามารถขายต่อทรัพย์สินถ่ายโอนให้ใครก็ได้ การจดสิทธิบัตรนั้นใช้สำหรับการประดิษฐ์ที่มีขั้นตอนการประดิษฐ์สูงขึ้น ดังนั้นพันธุ์พืช
พันธุ์สัตว์และทรัพยากรชีวภาพทั้งหมดที่เรามีอยู่เดิม ไม่สามารถได้รับความคุ้มครองภายใต้กฎหมายสิทธิบัตรได้

อย่างไรก็ตามประเทศอุตสาหกรรมและบรรษัทข้ามชาติพยายามผลักดันให้มีการจดสิทธิบัตรในสิ่งมีชีวิตขึ้น เช่น เมื่อผสมพันธุ์ให้เกิดพันธุ์
พืชพันธุ์สัตว์ใหม่ๆ การดัดแปลงพันธุกรรม ไปจนถึงการค้นพบหน้าที่บางอย่างของยีนซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้


โดยการผลักดันระบบกฎหมายสิทธิบัตรในสิ่งมีชีวิต ให้ประเทศทั่วโลกยอมรับจึงกลายเป็นโอกาสของบรรษัทและประเทศอุตสาหกรรมใน
การเข้ามายึดครองทรัพยากรชีวภาพในประเทศต่างๆ กลุ่มเหล่านี้ได้ผลักดันให้เกิดความตกลงทรัพย์สินทางปัญญาในองค์กรการค้าโลก
แต่ยังไม่สำเร็จตามประสงค์ เพราะข้อตกลงทรัพย์สินทางปัญญานั้นได้วางมาตรฐานขั้นต่ำเอาไว้เท่านั้น แต่ละประเทศจะให้สิทธิบัตรใน
สิ่งมีชีวิตหรือไม่ให้ ให้เป็นไปตามนโยบายของแต่ละประเทศเอง พวกเขาจึงพยายามผลักดันผ่านความตกลงเอฟทีเอแทน เป็นต้น

5.2 ส่วนการคุ้มครองทรัพยากรชีวภาพนั้นเกิดขึ้นจากการผลักดันของประเทศกำลังพัฒนาและประเทศเจ้าของทรัพยากรชีวภาพจนใน
ที่สุดกลายเป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่เรียกว่า “อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ” ซึ่งให้การรับรองอธิปไตยประเทศ
เหนือทรัพยากรชีวภาพ และวางหลักการเรื่องสิทธิชุมชนขึ้น โดยภาพรวม การคุ้มครองทรัพยากรชีวภาพนั้นไม่ใช่เป็นการให้สิทธิผูกขาด แต่
เป็นการวางกฎเกณฑ์ให้ผู้ใดก็ตามที่ต้องการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพของประเทศอื่น ต้องขออนุญาต และต้องทำตามกติกาที่
เจ้าของทรัพยากรกำหนดอย่างเหมาะสม

5.3 การคุ้มครองข้าวหอมมะลิและทรัพยากรชีวภาพอื่นที่เหมาะสมที่สุด ก็คือการคุ้มครองภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทาง
ชีวภาพนั้นเอง โดยแต่ละประเทศจะออกกฎหมายขึ้นเพื่อคุ้มครองทรัพยากรชีวภาพของตน เช่น ประเทศไทยออกกฎหมายคุ้มครองพันธุ์
พืช พ.ศ.2542 เพื่อให้การคุ้มครองพันธุ์พืชเฉพาะถิ่น พันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไป และพันธุ์พืชป่า ขึ้น

5.4 อย่างไรก็ตามการคุ้มครองในประเทศไทยยังไม่คืบหน้านัก เนื่องจากกรมทรัพย์สินทางปัญญายังมิได้แก้ไขกฎหมายสิทธิบัตร ให้มีการเปิด
เผยที่มาของทรัพยากรชีวภาพเมื่อมีการขอจดสิทธิบัตร แบบเดียวกับที่ประเทศอินเดียและหลายประเทศมีการดำเนินการ

5.5 ข้อจำกัดของการคุ้มครองนี้คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา ยังไม่ยอมลงนามเป็นภาคีในสนธิสัญญานี้เพราะบรรษัทข้ามชาติและสถาบันต่างๆ
ของอเมริกาได้ประโยชน์ฟรีๆจากทรัพยากรชีวภาพของประเทศอื่นมานาน

5.6 แต่อย่างไรก็ตามการคุ้มครองทรัพยากรชีวภาพโดยใช้หลักอธิปไตยของประเทศ และหลักเรื่องสิทธิชุมชนนี้ จะเป็นทางออกเฉพาะหน้า
และระยะยาวได้มากกว่าการยอมรับระบบกฎหมายสิทธิบัตรในสิ่งมีชีวิตอย่างแน่นอน ทั้งนี้โดยการดำเนินการดังนี้

5.6.1 ยืนยันการไม่อนุญาตให้มีการจดสิทธิบัตรสิ่งมีชีวิตในประเทศ

5.6.2 ร่วมกับประเทศเจ้าของทรัพยากรชีวภาพและประเทศกำลังพัฒนาไม่ขยายกฎหมายสิทธิบัตรระหว่างประเทศให้ขยายครอบคลุม
การจดสิทธิบัตรสิ่งมีชีวิต และร่วมกันผลักดันให้ประเทศต่างๆต้องเปิดเผยที่มาของทรัพยากรชีวภาพในกระบวนการขอรับสิทธิบัตร ทั้งสอง
เรื่องนี้อยู่ระหว่างกระบวนการเจรจาอยู่

5.6.3 ในระยะเฉพาะหน้า ประเทศไทยสามารถอ้างสิทธิและอธิปไตยของประเทศเพื่อต่อต้านไม่ให้ประเทศอุตสาหกรรมนำเอาข้าวหอมมะลิ
หรือทรัพยากรชีวภาพอื่นไปปรับปรุงและจดสิทธิบัตร (ไม่ว่าจะใช้วิธีการพันธุวิศวกรรรมหรือวิธีการผสมพันธุ์แบบปกติ) ได้อยู่แล้วภายใต้กติกา
ของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ เพราะแม้แต่สหรัฐอเมริกาซึ่งเคยวิจัยข้าวหอมมะลิเมื่อปี 2545 ก็ประกาศว่าจะไม่จดสิทธิ
บัตรพันธุ์ข้าวสายพันธุ์ที่ได้ปรับปรุงจากข้าวหอมมะลิ เพราะการคัดค้านของรัฐบาลและประชาชนไทย โดยการอ้างสิทธิภายใต้อนุสัญญาว่าด้วย
ความหลากหลายทางชีวภาพ(ซึ่งประเทศเกือบทั่วโลกเป็นภาคียกเว้นสหรัฐ) และจริยธรรมระหว่างประเทศ



http://www.biothai.net/node/239


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 22/09/2011 9:40 am, แก้ไขทั้งหมด 5 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 22/09/2011 8:15 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

672.


นายศักดา ศรีนิเวศน์
ส่วนบริหารศัตรูพืช
สำนักพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร
กรมส่งเสริมการเกษตร
E-mail ; agriqua30@doae.go.th
www.doae.go.th



การทำนาปลูกข้าว มีมาตั้งแต่ยุคโบราณกาล แม้ในหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง สมัยกรุงสุโขทัย ก็ยังมีจารึกข้อความว่า
“ในน้ำมีปลาในนามีข้าว” แสดงให้เห็นว่าในยุคสมัยสุโขทัยการทำนาได้เป็นอาชีพหลักของคนไทย แล้ว

การทำนา หากแบ่งเป็นทำตามฤดูกาลแล้ว สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. การทำนาปี หรือนาน้ำฝน คือการทำนาที่ต้องอาศัยน้ำฝนจากธรรมชาติเป็นหลัก โดยทั่วไปจะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน
หากปีใดฝนมาเร็วก็จะเริ่มทำนาเร็ว หากปีใดฝนแล้งก็จะทำให้ไม่สามารถทำนาได้หรือทำได้แต่เสียหายมาก หรือหากปีใดน้ำมากเกินไป
ข้าว ก็จะเสียหาย หรือไม่ได้เกี่ยว ชะตาชีวิตของชาวนา จึงขึ้นอยู่กับปริมาณของน้ำฝน พันธุ์ข้าวที่ปลูกเป็นพันธุ์ข้าวที่มีความไวต่อช่วงแสง

2. การทำนาปรัง หรือนาครั้งที่สอง หรือนานอกฤดู หรือนาน้ำตม คือการทำนาที่ไม่ได้อาศัยน้ำฝนจากธรรมชาติเป็นหลัก แต่อาศัยน้ำจาก
ลำห้วย หนอง คลองบึง น้ำใต้ดิน หรือน้ำจากคลองชลประทาน พันธุ์ข้าวที่ปลูกเป็นพันธุ์ข้าวอายุสั้นหรือเกษตรกรเรียกว่า “พันธุ์ข้าวเตี้ย
“ไม่มีความไวต่อแสง กล่าวคือข้าวจะออกดอกติดรวงข้าวและเก็บเกี่ยวได้ตามอายุ ระยะเวลาการเพาะปลูก และอายุการเก็บเกี่ยวจะน้อย
กว่าข้าวนาปี การทำนาปรังจะใช้วิธีหว่านน้ำตม เป็นส่วนมาก

นอกจากแบ่งตามฤดูกาลแล้ว การทำนา ยังแบ่งออกตามวิธีการเพาะปลูกหลัก ๆ ได้ 2 วิธี คือ

1. การทำนาดำ จะทำในพื้นที่ราบลุ่มที่น้ำไม่ท่วมขังในฤดูน้ำหลาก จะเป็นนาน้ำฝน หรือนาในเขตชลประทานก็ได้ พันธุ์ข้าวที่ใช้ปลูก
จะเป็นพันธุ์ข้าวไวแสง หรือไม่ไวแสงก็ได้ แล้วแต่ฤดูกาล การเพาะ ปลูก การทำนาดำจะใช้แรงงานมาก เพราะต้องทำแปลงตกกล้าหรือ
แปลงเพาะกล้าข้าวก่อนแล้วจึงย้ายต้นกล้าไปปักดำอีกครั้งหนึ่ง ใช้ปริมาณเมล็ดพันธุ์ข้าวปลูกน้อย และมีปัญหาเรื่องวัชพืชในนาข้าว
น้อยกว่าการทำนาหว่าน

2. การทำนาหว่าน โดยมากการทำนาหว่านในฤดูนาปี จะทำในนั้นที่ ๆ เป็นที่ดอน หรือพื้นที่ ๆ มีน้ำท่วมขังในฤดูน้ำหลาก เช่นบริเวณ
นั้นที่ราบลุ่มภาคกลางเขตอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งการหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าว จะหว่านแบบที่เรียกว่า “ หว่านแห้งหรือ
หว่านสำรวย “ หรือหากทำเทือกจะเรียกว่า “ หว่านเปียกหรือหว่านน้ำตม “

ปัจจุบันการทำนาในประเทศไทยโดยเฉพาะในเขตพื้นที่ชลประทานแทบจะไม่มีฤดูและเวลาที่แน่นอน เพราะจะมีการทำนาต่อเนื่อง
และหมุนเวียนกันโดยตลอด หากท่านนั่งรถยนต์ผ่านสองข้างทางที่ทำนาจะพบว่าบางแปลงชาวนากำลังเก็บเกี่ยว บางแปลงข้าวอยู่ใน
ระยะแตกกอ ซึ่งการทำนาแบบต่อเนื่องเช่นนี้จะทำให้มีปัญหาเรื่อง โรคและแมลงศัตรูข้าวระบาด เนื่องจากมีแหล่งอาหารบริบูรณ์ ประกอบ
กับเกษตรกรมักจะฉีดพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูข้าวโดยไม่จำเป็น จึงเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้มีการระบาดของศัตรูข้าวมากยิ่งขึ้น และมีต้นทุน
ในการนำนาสูง จนไม่มีกำไร

จากข้อมูลต้นทุนการผลิตข้าวนาปรัง ปี พ.ศ.2539-2541 โดยเฉลี่ยคิดเป็นเงิน 1,997 2,152 และ 2,157 บาทต่อไร่ ตามลำดับ
ผลผลิตเฉลี่ยได้ จำนวน 721 663 และ 676 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็นรายได้ 3,237 4,562 และ 3,390 บาทต่อไร่ ตามลำดับ เมื่อคิด
คำนวนค่าแรงงานของตัวเกษตรกรด้วยแล้ว จะไม่มีกำไรเลย ทำให้เกษตรกรจำนวนมาก พยายามที่จะคิดค้นหาวิธีการทำนาใหม่ ๆ ที่จะ
ลดต้นทุนการผลิต ซึ่งส่วนใหญ่เป็นต้นทุนผันแปร เช่นค่าเตรียมดิน ค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าปุ๋ย ค่าสารเคมีกำจัดศัตรูข้าว และค่าจ้างแรงงาน

ปี พ.ศ.2539 นายละเมียด ครุฑเงิน เกษตรกร หมู่ที่ 9 ตำบลระแหง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี ได้ทดลองปลูกข้าว หรือทำนา
แบบ “การปลูกข้าวด้วยตอซัง“ ซึ่งสามารถลดต้นทุนการผลิตลงได้เป็นจำนวนมาก คือ ลดค่าเตรียมดินได้ประมาณ 150 บาทต่อไร่ ลด
ค่าเมล็ดพันธุ์ข้าว 300-400 บาทต่อไร่ ลดค่าสารเคมีกำจัดวัชพืชได้ 80-100 บาทต่อไร่ ลดค่าสารเคมีกำจัดหอยเชอรี่ได้ 60-80 บาท
ต่อไร่ รวมลดต้นทุนทั้งสิ้น 500-700 บาทต่อไร่ หรือ 30-40 เปอร์เซ็นต์ของต้นทุน
ทั้งสิ้น


การเกลี่ยฟางทับตอซัง


การทำนาปลูกข้าวด้วยตอซัง ได้แพร่ขยายไปยังพื้นที่จังหวัดใกล้เคียงหลายจังหวัดในปี พ.ศ.2542 เกษตรกรบ้านจ่า ตำบลเชิงกลัด
อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี ได้ประยุกต์การปลูกข้าวด้วยตอซัง ด้วยปรับปรุงเทคนิคและวิธีการ บางประการเช่นการปรับปรุงการ
ใช้ปุ๋ยให้เหมาะสมกับสภาพดิน การเกลี่ยฟางข้าวให้คลุมกระจายทั่วตอซัง และการประดิษฐ์ชุดพวงล้อยาง จำนวน 8-10 เส้น ติด
ท้ายรถไถนา เพื่อลากทับตอซัง ให้แนบติดกับพื้นนา จึงเรียกวิธีการตามลักษณะการปฏิบัติว่า “ การปลูกข้าวล้มตอซัง “ และได้ขยาย
ผลไปยังพื้นที่จังหวัดใกล้เคียง เช่นจังหวัดชัยนาท และสุพรรณบุรี

เนื่องจากการปลูกข้าวแบบล้มตอซังยังมีข้าวจำกัดบางประการ เช่น การปลูกในช่วงฤดูร้อน ต้นข้าวอ่อนที่แตกขึ้นมาใหม่ จากตอซัง จะ
ตายเพราะน้ำในแปลงนาร้อนเกินไป และต้องเกี่ยวข้าวในระยะพลับพลึง ซึ่งต้นข้าวจะยังสดไม่แห้งเกินไป จึงจะได้ต้นพันธุ์ที่มีหน่อข้าว
แข็งแรง เจริญเติบโตดี บางครั้งเมื่อต้นข้าวที่แตกขึ้นมาใหม่ตาย จำเป็นต้องหว่านพันธุ์ข้าวเสริมบริเวณที่ตาย ทำให้ต้นข้าวมีอายุเก็บเกี่ยว
ไม่เท่ากัน ผลผลิตข้าวเมื่อเก็บเกี่ยวแล้วจะมีข้าวเขียวเจือปน ทำให้ขายได้ในราคาต่ำ

นายสกล จีนเท่ห์ เกษตรกรหมู่ที่ 4 ตำบลโพชนไก่ อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี ซึ่งเป็นเกษตรกรผู้เข้าร่วมเรียนรู้ในโรงเรียนเกษตรกร
ภายใต้โครงการศูนย์ส่งเสริมผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ตำบลโพชนไก่ อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี ได้ใช้ประสบการณ์จากการประกอบ
อาชีพการทำนาที่ตกทอดกันมาจากบรรพบุรุษ ร่วมกับประสบการณ์ที่ได้จากการเรียนรู้โดยวิธีการปฏิบัติจริง ในโรงเรียนเกษตรกรร่วมกับ
เพื่อนคนอื่น ๆ ในท้องถิ่น ประยุกต์วิธีการปลูกข้าวแบบล้มตอซัง ให้เหมาะสมกับสภาพของท้องถิ่นเป็นการทำนาวิธีใหม่ที่เรียกว่า “นาเป็ด”
ซึ่งการทำนาเป็ดนี้เกิดขึ้นจากการเรียนรู้และปฏิบัติด้วยตัวเอง ไม่ได้เกิดจากการนำผลการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับระดับของนักวิชาการคน
ใดในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือสถาบันการศึกษาใดเลย เป็นภูมิปัญญาของเกษตรกรเองโดยแท้

นาเป็ด เป็นการทำนาวิธีใหม่ที่ใช้เป็ดมาช่วยทำนา เดิมทีมีผู้ประกอบอาชีพเลี้ยงเป็ดฝูงขนาดใหญ่จำนวนมากได้เลี้ยงเป็ดแบบลดต้นทุน
การผลิต หรือเรียกว่า “ เป็ดทุ่ง “ โดยการปล่อยฝูงเป็ดตั้งแต่ขนาดยังเล็กจากท้องทุ่งแถวจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท ให้ฝูงเป็ดเหล่านั้น
เก็บกินข้าวเปลือก กุ้ง หอย ปู ปลาในท้องนาที่เก็บเกี่ยวข้าวแล้วเป็นอาหาร และเดินทางแบบค่ำไหนนอนนั่นเรื่อยมา เป็นแรมเดือน
จนถึงจังหวัดพระนครศรีอยุธยาหรือปทุมธานี ฝูงเป็ดที่เลี้ยงจะโตมีขนาดพอดีกับการจับจำหน่าย หรือนำไปเลี้ยงต่อ

การเลี้ยงเป็ดวิธีนี้ทำกันมาหลายปีจวบจนความเจริญของบ้านเมืองเกิดขึ้น มีการก่อสร้างตึกอาคารบ้านเรือนและถนนเป็นจำนวนมาก
ไม่สะดวกกับการเดินทางเคลื่อนย้ายฝูงเป็ดเหมือนเช่นแต่ก่อน ประกอบกับการทำนาในระยะหลังนี้ไม่มีมีฤดูกาลเหมือนเช่นแต่ก่อน
ที่ส่วนใหญ่ตลอดเส้นทางการเคลื่อนย้ายฝูงเป็ดจะปลูกข้าวปีละ 1 ครั้ง ตามธรรมชาติข้าวจะแก่และเก็บเกี่ยวจากเหนือลงใต้ ดังนั้น
ฝูงเป็ดจึงเดินทางหากินจากเหนือไล่ลงมาใต้พอดีกับระยะเวลาเก็บเกี่ยว อีกประการหนึ่งที่สำคัญ คือ เมื่อวิถีการทำนาเปลี่ยนแปลง
จากปีละครั้ง เป็นแบบต่อเนื่องไม่มีฤดูกาล เกษตรกรผู้ปลูกข้าวมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูข้าวมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารเคมี
กำจัดหอยเชอรี่ ทำให้เป็ดตายเป็นจำนวนมาก และไม่มีสิ่งมีชีวิตที่เป็นอาหารของเป็ดหลงเหลืออยู่ในนาข้าวอีกเลย จึงทำให้วิถีกา
รประกอบอาชีพเลี้ยงเป็ดพเนจร หรือ เป็ดทุ่ง หมดไป

ในปี พ.ศ. 2540 เศรษฐกิจของประเทศไทยตกต่ำ เกษตรกร ท้องทุ่งบางระจัน ดินแดนแห่งคนกล้า ได้หันมาเลี้ยงเป็ดเป็นอาชีพเสริม
เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวเป็นจำนวนมาก โดยเป็ดที่เลี้ยงส่วนมากจะใช้รถอีแต๋นลากกระบะที่ทำเป็นกรงบรรทุกเป็ด นำไปปล่อย
เลี้ยงในพื้นที่ใกล้ ๆ หมุนเวียนไปในท้องทุ่งบางระจัน เพราะการทำนาในท้องทุ่งบางระจันมีการทำแบบหมุนเวียนต่อเนื่องตลอดทั้งปี จึง
ทำให้มีที่สำหรับเลี้ยงเป็ดได้ตลอดปี


เป็ดกำลังช่วยเกษตรกรทำนา
ขณะที่เลี้ยงเป็ดในทุ่ง เกษตรกร สกล จีนเท่ห์ ก็ใช้ความสังเกตุจากประสบการณ์ที่ได้รับจากการเรียนรู้ในเรื่องของระบบนิเวศในโรงเรียน
เกษตรกร ผนวกกับข้อจำกัดของการทำนาแบบล้มตอซังมาประยุกต์ ทดลองเอาเป็ดมาช่วยทำนา กล่าวคือ ภายหลังจากเกี่ยวข้าวแล้วก็
ปล่อยเป็ดลงไปลุยในพื้นที่นา เพื่อเก็บหอยเชอรี่ เมล็ดข้าวเปลือก เมล็ดหญ้า และอื่น ๆ กิน ฟางที่อยู่ในนาก็จะถูกเป็ดย่ำจนเปื่อย มูล
ของเป็ดที่ถ่ายออกมาก็จะเป็นปุ๋ยให้แก่ต้นข้าวในนา หลังจากนั้นจึงเอาเป็ดออกจากแปลงนา และหว่านเมล็ดข้าวลงไปโดยไม่ต้องไถ
พรวนดิน โดยวิธีการปฏิบัติคล้ายกับข้าวล้มตอซัง จะแตกต่างตรงที่ไม่ต้องใช้ล้อยางล้มตอซัง แต่ใช้เป็ดแทน และต้องใช้เมล็ดข้าวงอก
(หุ้ม) หว่าน ไม่ใช้ต้นแตกใหม่จากตอซัง เกษตรกร สกล จีนเท่ห์ ทดลองทำติดต่อกันมากกว่า 10 ฤดู จนมั่นใจว่าเป็นวิธีที่ดี และเหมาะ
สมที่สุดสำหรับท้องทุ่งบางระจัน และให้ ชื่อการทำนาวิธีนี้ว่า “การทำนาเป็ด” ซึ่งในปัจจุบันอำเภอบางระจัน หรือที่เรียกว่า “บางรักชาติ”
มีพื้นที่นาเป็ดถึง 25,800 ไร่ และกำลังขยายเพิ่มอย่างต่อเนื่องในทุกฤดูกาล โดยมีวิธีการทำดังนี้


เป็ดกำลังช่วยเกษตรกรทำนา


ก่อนการเก็บเกี่ยวข้าวประมาณ 15 วัน ให้ระบายน้ำออกจากแปลงให้แห้ง เพื่อที่รถลงไปเกี่ยวจะได้ไม่เป็นร่องหรือรอยรถ และสะดวก
ในการเก็บเกี่ยว ปัจจุบันรถเกี่ยวข้าวจะติดเครื่องตีฟางให้กระจายไปทั่วโดยไม่ต้องจ้างเกลี่ยฟางปล่อย ไว้ 1–2 วัน ก็ทำการจุดไฟ
เผาตอซัง เพื่อให้ตอเก่านั้นตาย ถ้าปล่อยไว้ตอเก่าจะแตกหน่อทำให้ข้าวออกรวงไม่พร้อมกัน และเมื่อหว่านข้าว เมล็ดจะตกไม่ถึงดิน

หลังเผาตอซังเอาน้ำเข้าแปลงให้ทั่ว และให้เป็ดลงไปหาอาหาร เพื่อกำจัดหอยเชอรี่และศัตรูพืชประมาณ 2–3 วัน

แช่เมล็ดพันธุ์ข้าว (หุ้ม)ไว้ 1 คืน แล้วนำไปหว่านในแปลงอัตรา 20 – 25 กก./ไร่ แล้วแช่เมล็ดพันธุ์ที่หว่านลงในแปลงไว้ 24 ชั่วโมง
จึงระบายน้ำออก และให้ทำการตรวจแปลงตามที่ลุ่ม ๆ เพื่อระบายน้ำออกให้หมดทั่วทั้งแปลงนา

หลังจากข้าวงอกแล้วประมาณ 8–9 วัน ก็เริ่มฉีดยาคุมวัชพืชเหมือนการทำนาน้ำตม
การใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 หลังจากหว่านข้าว 20–25 วัน

ใส่ปุ๋ยสูตร 16–20–0 จำนวน 15 กก./ไร่ และสูตร 46–0–0 จำนวน 15 กก./ไร่
การใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 ข้าวอายุ 50–55 วัน ใส่ปุ๋ยสูตร 46–0–0 จำนวน 10 กก./ไร่

การเก็บเกี่ยวเมื่ออายุประมาณ 110–115 วัน

ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 900–1,000 กก./ไร่

ประโยชน์ที่รับจากการทำนาเป็ด

ลดต้นทุนการผลิต
- ค่าเตรียมดิน 350 บาท/ไร่
- ค่าจ้างชักร่อง 50 บาท/ไร่
- สารเคมีกำจัดหอยเชอรี่ 50 บาท/ไร่

รวม 450 บาท/ไร่

รักษาสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะลดการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดหอยเชอรี่ ซึ่งทำลายสิ่งแวดล้อมรุนแรง (เอ็นโดซัลแฟน)

ลำต้นข้าวแข็งแรง รวงใหญ่ ปริมาณเมล็ดมาก ให้ผลผลิตสูงกว่าการทำนา หว่านน้ำตม

ผลผลิตสูงขึ้น (ผลผลิตเฉลี่ย 900 – 1,000 กก./ไร่)




นายธวัชชัย บุญงาม เกษตรอำเภอบางระจัน และนายสกล จีนเท่ห์


คุณธวัชชัย บุญงาม เกษตรอำเภอบางระจัน ผู้มีเลือดเนื้อเชื้อไขคนกล้าแห่งบางระจัน เป็นผู้ที่ทุ่มเทส่งเสริมการทำนาเป็ดในอำเภอบางระจัน
อย่างเต็มที่ ให้แพร่ขยายไปทั่วท้องทุ่ง กล่าวว่า “ในภาพรวมของอำเภอบางระจันมีแนวโน้มที่เกษตรกรจะทำนาเป็ดเพิ่มมากขึ้น จะเห็นว่า
การทำนาเป็ดในพื้นที่ 25,800 ไร่ สามารถประหยัดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรได้เป็นเงินทั้งสิ้น 11,610,000 บาท/ฤดูกาล คาดว่า
ฤดูต่อไปจะมีพื้นที่ทำนาเป็ดเพิ่มขึ้นถึง 40,000 ไร่ ในที่สุดการทำนาเป็ดจะเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งของเกษตรกรในท้องทุ่งบางระจัน
และใกล้เคียง รวมถึงจังหวัดอื่น ๆ ที่มีลักษณะการทำนา และการเลี้ยงเป็ดที่เอื้อประโยชน์แก่กันและกันอีกด้วย “


นายณรงค์ สีแสด เกษตรจังหวัดสิงห์บุรี
เยี่ยมชมแปลงข้าวนาเป็ด
นอกเหนือไปจากการลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรแล้ว การทำนาเป็ดยังเป็นการประกอบอาชีพการเกษตรในลักษณะที่เอื้ออำนวย
ประโยชน์แก่กันและกัน สิ่งแวดล้อมไม่ถูกทำลาย อันเนื่องมาจากการใช้สารเคมีโดยไม่จำเป็น เกษตรกรผู้เลี้ยงเป็ดบอกว่า ไม่จำเป็นต้อง
ซื้ออาหารเม็ดเสริมให้กับเป็ด เพราะเป็ดได้รับอาหารในแปลงนาเพียงพอต่อการเจริญเติบโต หอยเชอรี่ศัตรูข้าวของชาวนาจะถูกเป็ดจับ
กินเป็นอาหาร เป็ดเจริญเติบโตดี ไข่แดง มีสีแดงดี เปลือกไข่หนา (โดยทั่วไปจะเลี้ยงเป็ดไข่ ) และไข่กลิ่นไม่คาวแรงเหมือนเลี้ยงด้วย
อาหารเม็ด เป็ดแข็งแรง เกษตรกรผู้เลี้ยงเป็ดสามารถจำหน่ายเป็ดสาวหรือเป็ดรุ่นเมื่ออายุ 5–6 เดือน ในราคาตัวละ 60 บาทหรือ
จำหน่ายเป็ดแก่ (หมดไข่) เมื่ออายุประมาณ 1 1/2-2 ปี ตัวละ 40 บาท สำหรับไข่เป็ดจะมีพ่อค้ามารับซื้อถึงแปลงนา โดยผู้เลี้ยง
ไม่ต้องนำไปขายเอง ราคาไข่เป็ดขึ้นอยู่กับตลาด นับว่ารายได้ดีทีเดียว เกษตรกรผู้เลี้ยงเป็ดจะตอบแทนน้ำใจเกษตรกรเจ้าของนา
โดยมอบไข่เป็ดที่เลี้ยงให้ไร่ละ 5 ฟองต่อวัน หรือจ่ายเป็นเงินให้ไร่ละ 10 บาท โดยที่มิได้มีการเรียกร้องแต่ประการใด เป็นความพอใจ
ของทั้งสองฝ่าย เมื่อเป็ดกินอาหารในแปลงนาจนอาหารหมดแล้ว (ประมาณ 2–3 วัน) เกษตรกรเจ้าของเป็ดก็จะย้ายเป็ดไปยังนา
แปลงอื่นที่เก็บเกี่ยวข้าวแล้ว และปล่อยเป็ดลงทำหน้าที่ช่วยชาวนาทำนาต่อไป ทันทีที่เกษตรกรเจ้าของเป็ดนำสะพานทอดจากพื้นนา
กับรถกระบะบรรทุก ฝูงเป็ดจะเดินขึ้นรถอย่างเป็นระเบียบด้วยความเคยชิน อย่างมีความสุขที่จะได้ไปช่วยชาวนารายอื่นทำนาต่อไป
(สงสัยคงจะเหนื่อยเพราะต้องเดินย่ำแปลงนาตลอดทั้งวัน พอเห็นรถมาเลยรีบขึ้นเพื่อจะได้พักผ่อน) มีสัตว์อยู่ชนิดหนึ่งที่ขัดผลประโยชน์
กับเกษตรกรผู้เลี้ยงเป็ด แต่เกษตรกรเจ้าของเป็ดก็ไม่เคยทำร้ายมันแม้แต่น้อย สัตว์นั้นก็คือ “นกปากห่าง” เพราะทันทีที่เกี่ยวข้าวเสร็จนก
ปากห่างจะลงจับหอยเชอรี่กินทันที เกษตรกรเจ้าของเป็ดก็จะรีบขับไล่ไม่ให้นกปากห่างลงกินหอยเชอรี่ ต้องให้เป็ดของเขากินก่อน
เพราะเป็ดจะเก็บแต่หอยเชอรี่ที่มีขนาดเล็กกินได้เท่านั้น ขนาดใหญ่กินไม่ได้ จะปล่อยให้นกปากห่างเป็นผู้จัดการแทนในภายหลัง ซึ่งใน
ปัจจุบันภายหลังจากที่เกษตรกรแห่งท้องทุ่งบางระจันเข้าร่วมโครงการโรงเรียนเกษตรกรเป็นจำนวนมาก ทำให้เกษตรกรมีความรู้
ในเรื่องการอนุรักษ์ระบบนิเวศไม่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูข้าวพร่ำเพื่อโดยไม่จำเป็น มีการอนุรักษ์ธรรมชาติหรือสิ่งมีชีวิตที่มีประโยชน์ในนา
ข้าวมากขึ้น ทำให้นกปากห่างมีความสุขมาก มีอาหารในธรรมชาติอุดมสมบูรณ์แก่การดำรงชีวิต พฤติกรรมการอพยพย้ายถิ่นที่อยู่อาศัย
เปลี่ยนไป ปัจจุบันนกปากห่างที่หากินอยู่ในท้องทุ่งบางระจันไม่ย้ายถิ่นฐานแล้ว ฝูงนกเหล่านี้อาศัยอยู่ตามกลุ่มหมู่ไม้ในท้องทุ่งบางระจัน
กลายเป็นนกประจำถิ่น เพราะความอุดม สม บูรณ์ของอาหารทำให้พวกมันมีนิสัยเสีย ขี้เกียจแม้กระทั่งจะบินกลับอำเภอสามโคก จังหวัด
ปทุมธานี ที่พวกญาติ ๆ ส่วนใหญ่ของมันอยู่กัน “เกษตรกรเจ้าของนามีความสุข เพราะมีเป็ดและนกปากห่างช่วยทำนา เกษตรกรเจ้า
ของเป็ดก็มีความสุข เพราะมีอาหารให้เป็ดกินโดยไม่ต้องเสียเงินซื้ออาหารให้เป็ด เป็ด และนกปากห่างก็มีความสุข มีสุขภาพแข็งแรง
ปลอดภัย เพราะเกษตรกรเจ้าของนาไม่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูข้าว”



นายณรงค์ สีแสดเกษตรจังหวัดสิงห์บุรี เยี่ยมชมแปลงข้าวนาเป็ด


เกษตรกรท่านใดสนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เกษตรกร สกล จีนเท่ห์ บ้านเลขที่ 13 หมู่ 4 ต.โพชนไก่ อ. บางระจัน จ.สิงห์บุรี
หรือที่สำนักงานเกษตรอำเภอบางระจัน โทรศัพท์ 0-3659-1409 ในเวลาราชการ



http://previously.doae.go.th/report/sukda/duckzone/duck.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 22/09/2011 10:23 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

673. การสังเคราะห์ด้วยแสง







การสังเคราะห์ด้วยแสง (อังกฤษ : photosynthesis) เป็นกระบวนการทางชีวเคมีที่สำคัญอย่างหนึ่ง ซึ่งทำให้พืช,สาหร่าย
และแบคทีเรียบางชนิดได้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์มาปรุงอาหารได้ จะว่าไปแล้ว สิ่งมีชีวิตแทบทั้งหมดล้วนอาศัยพลังงาน
ที่ได้จากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อความเติบโตของตน ทั้งทางตรงและทางอ้อม นับเป็นความสำคัญยิ่งยวดสำหรับ
สิ่งมีชีวิตในโลก นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดการผลิตออกซิเจน ซึ่งมีเป็นองค์ประกอบในสัดส่วนที่มากของบรรยากาศโลกด้วย สิ่ง
มีชีวิตที่สร้างพลังงานจากกระบวนการสังเคราะห์แสงได้ เรียกว่า "phototrophs"

เนื้อหา
1 ปัจจัย ที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ด้วยแสง
1.1 ความเข้มของแสง
1.2 ความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์
1.3 อุณหภูมิ
1.4 ออกซิเจน
1.5 น้ำ
1.6 อายุของใบ
2 สมการเคมีในการสังเคราะห์ด้วยแสง
3 ดูเพิ่ม


ปัจจัย ที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ด้วยแสง ความเข้มของแสงถ้ามีความเข้มของแสงมาก อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะเพิ่ม
ขึ้นเรื่อยๆ ดังกราฟ อุณหภูมิกับความเข้มของแสง มีผลต่ออัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงร่วมกัน คือ ถ้าอุณหภูมิสูงขึ้นเพียงอย่าง
เดียว แต่ความเข้มของแสงน้อยจะไม่ทำให้อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงเพิ่มขึ้น อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
จนถึงขีดหนึ่งแล้วอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะลดต่ำลงตามอุณหภูมิและความเข้มของแสงที่เพิ่มขึ้นและยังขึ้นอยู่กับชนิด
ของพืชอีกด้วยเช่น พืช c3 และ พืช c4

โดยปกติ ถ้าไม่คิดถึงปัจจัยอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชส่วนใหญ่จะเพิ่มมากขึ้น เมื่ออุณหภูมิ
สูงขึ้นในช่วง 0-35 องศา C หรือ 0-40 องศา C ถ้าอุณหภูมิสูงกว่านี้ อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะลดลง ทั้งนี้เนื่อง
จากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเป็นปฏิกิริยาที่มีเอนไซม์ควบคุม และการทำงานของเอนไซม์ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ดังนั้น
เรื่องของอุณหภูมิจึงมีความสัมพันธ์กับอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสง เรียกปฏิกิริยาเคมีที่มีความสัมพันธ์กับอุณหภูมิว่า ปฏิกิริยา
เทอร์โมเคมิคัล

ถ้าความเข้มของแสงวีดีน้อยมาก จนทำให้การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชเกิดขึ้นน้อยกว่ากระบวนการหายใจ น้ำตาลถูกใช้
หมดไป พืชจะไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชไม่ได้ ขึ้นอยู่กับความเข้มของแสงเท่านั้น แต่ยัง
ขึ้นอยู่กับความยาวคลื่น (คุณภาพ) ของแสง และช่วงเวลาที่ได้รับ เช่น ถ้าพืชได้รับแสงนานจะมีกระบวนการสังเคราะห์
ด้วยแสงดีขึ้น แต่ถ้าพืชได้แสงที่มีความเข้มมากๆ ในเวลานานเกินไป จะทำให้กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงชะงัก หรือ
หยุดลงได้ทั้งนี้เพราะคลอโรฟิลล์ถูกกระตุ้นมากเกินไป ออกซิเจนที่เกิดขึ้นแทนที่จะออกสู่บรรยากาศภายนอก พืชกลับ
นำไปออกซิไดส์ส่วนประกอบและสารอาหารต่างๆภายในเซลล์ รวมทั้งคลอฟิลล์ทำให้สีของคลอโรฟิลล์จางลง ประสิทธิ
ภาพของคลอโรฟิลล์และเอนไซม์เสื่อมลง ทำให้การสร้างน้ำตาลลดลง

ความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ถ้าความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เพิ่มขึ้นจากระดับปกติที่มีใน
อากาศ อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย จนถึงระดับหนึ่งถึงแม้ว่าความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์
จะสูงขึ้น แต่อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงไม่ได้สูงขึ้นตามไปด้วย และถ้าหากว่าพืชได้รับคาร์บอนไดออกไซด์ ที่มีความเข้ม
ข้นสูงกว่าระดับน้ำแล้วเป็นเวลานานๆ จะมีผลทำให้อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงลดต่ำลงได้ ดังกราฟ

คาร์บอนไดออกไซด์จะมีผลต่ออัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นด้วย เช่น ความเข้มข้นสูงขึ้น
แต่ความเข้มของแสงน้อย และอุณหภูมิของอากาศก็ต่ำ กรณีเช่นนี้ อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะลดต่ำลงตามไปด้วย ใน
ทางตรงกันข้าม ถ้าคาร์บอนไดออกไซด์มีความเข้มข้นสูงขึ้น ความเข้มของแสงและอุณหภูมิของอากาศก็เพิ่มขึ้น กรณีเช่น
นี้อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย

นักชีววิทยาจึงมักเลี้ยงพืชบางชนิดไว้ในเรือนกระจกที่แสงผ่านเข้าได้มากๆ แล้วให้ คาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้นเป็นพิเศษ
ซึ่งมีผลทำให้พืชมีกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเพิ่มมากขึ้น อาหารเกิดมากขึ้น จึงเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ออกดอก
ออกผลเร็ว และออกดอกออกผลนอกฤดูกาลก็ได้

อุณหภูมิอุณหภูมิ เป็นปัจจัยอย่างหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช โดยทั่วไปอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสง
จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น 10-35 องศา C ถ้าอุณหภูมิสูงขึ้นกว่านี้อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงวีดีจะลดต่ำล
งตามอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงที่อุณหภูมิสูงๆ ยังขึ้นอยู่กับเวลาอีกปัจจัยหนึ่งด้วย กล่าวคือ ถ้าอุณห
ภูมิสูงคงที่ เช่น ที่ 40 องศา C อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะลดลงตามระยะเวลาที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพราะเอนไซม์ทำงาน
ได้ดีในช่วงอุณหภูมิที่พอเหมาะ ถ้าสูงเกิน 40 องศา C เอนไซม์จะเสื่อมสภาพทำให้การทำงานของเอนไซม์ชะงักลง ดังนั้น
อุณหภูมิจึงมีความสัมพันธ์ต่อการสังเคราะห์แสงด้วย เรียกปฏิกิริยาเคมีที่มีความสัมพันธ์กับอุณหภูมิว่า ปฏิกิริยาเทอร์มอเคมิคอล
(Thermochemical reaction)

ออกซิเจนตามปกติในอากาศจะมีปริมาณของออกซิเจน (O2) ประมาณ 25% ซึ่งมักคงที่อยู่แล้ว จึงไม่ค่อยมีผลต่อการ
สังเคราะห์ด้วยแสง แต่ถ้าปริมาณออกซิเจนลดลงจะมีผลทำให้อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงสูงขึ้น แต่ถ้ามีมากเกินไปจะทำ
ให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน ของสารต่างๆ ภายในเซลล์ โดยเป็นผลจากพลังงานแสง (Photorespiration) รุนแรงขึ้น
การสังเคราะห์ด้วยแสงจึงลดลง

น้ำ น้ำถือเป็นวัตถุดิบที่จำเป็นต่อกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (แต่ต้องการประมาณ 1% เท่านั้น จึงไม่สำคัญมากนักเพราะ
พืชมีน้ำอยู่ภายในเซลล์อย่างเพียงพอ) อิทธิพลของน้ำมีผลต่อกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงทางอ้อม คือ ช่วยกระตุ้นการ
ทำงานของเอนไซม์ให้ดีขึ้น

อายุของใบใบจะต้องไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไป ทั้งนี้เพราะในใบอ่อนคลอโรฟิลล์ยังเจริญไม่เต็มที่ ส่วนใบที่แก่มากๆ คลอ
ฟิลล์จะสลายตัวไปเป็นจำนวนมาก

สมการเคมีในการสังเคราะห์ด้วยแสงสรุปสมการเคมีในการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชสีเขียวเป็นดังนี้ :

nCO2 + 2nH2O + พลังงานแสง → (CH2O)n + nO2 + nH2O
น้ำตาลกลูโคส และ แป้ง เป็นผลผลิตขั้นต้นดังสมการดังต่อไปนี้ :

6CO2 + 12H2O + พลังงานแสง → C6H12O6 + 6O2 + 6H2O
การสังเคราะห์ด้วยแสงแบ่งเป็น 2 ปฏิกิริยา คือ

- ปฏิกิริยาที่ต้องใช้แสง คือ ปฏิกิริยาโฟโตฟอสโฟรีเลชั่น
- ปฏิกิริยาการตรึงคาร์บอน เป็นขั้นตอนที่มีการสังเคราะห์น้ำตาลกลูโคส โดยใช้คาร์บอนจากคาร์บอนไดออกไซด์ และ
ใช้พลังงานจาก ATP และ NADPH+H+ ในสภาวะที่ไม่มีแสงเมื่อปฏิกิริยาฟอสโฟรีเลชั่นหยุด ปฏิกิริยาการตรึงคาร์บอน
จะหยุดไปด้วย




http://th.wikipedia.org/wiki


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 8:30 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 22/09/2011 10:46 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

674. คลอโรพลาสต์





คลอโรพลาสต์ (อังกฤษ : Chloroplast) เป็นออร์แกแนลล์ภายในไซโทพลาสซึม ขนิดเยื่อยูนิตสองชั้น (Double unit
membrane) ภายในเป็นของเหลวที่เรียกว่า (Stroma) ภายในสโตรมานี้มีชั้นที่พับไปมา เรียกว่ากรานูล บริเวณผิวของ
กรานูลนี้เรียกว่า ไทลาคอยด์ ซึ่งเป็นที่อยู่ของสารสีสำหรับการสังเคราะสโตรมาห์ด้วยแสง ระหว่างกรานูลมีเยื่อที่เชื่อมโยง
แต่ละกรานูลไว้ เรียกว่าสโตรมาลาเมลลา (Stroma lamella)

คลอโรพลาสต์ (chloroplast) เป็นออร์แกแนลที่พบในพืช เป็นพลาสติด ที่มีสีเขียว พบเฉพาะในเซลล์พืช และสาหร่าย
เกือบทุกชนิด พลาสติคมีเยื่อหุ้มสองชั้น ภายในโครงสร้างพลาสติด จะมีเม็ดสี หรือรงควัตถุบรรจุอยู่ ถ้ามีเม็ดสีคลอโรฟิลล์
(chlorophyll) เรียกว่า คลอโรพลาสต์ ถ้ามีเม็ดสีชนิดอื่นๆ เช่น แคโรทีนอยด์ เรียกว่า โครโมพลาส พลาสติคไม่มีเม็ดสี
เรียกว่า ลิวโคพลาสต์ (leucoplast) ทำหน้าที่ เป็นแหล่งเก็บสะสมโปรตีน หรือเก็บสะสมแป้ง ที่เรียกว่า เม็ดสี (starch
grains) เรียกว่า amyloplast ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสารคลอโรฟิลล์ ภายในคลอโรพลาสต ์ประกอบด้วยส่วนที่เป็นของเหลว
เรียกว่า สโตรมา (stroma) มีเอนไซม์ที่เกี่ยวข้อง กับการสังเคราะห์ด้วยแสง แบบที่ไม่ต้องใช้แสง (dark reaction) มี
DNA RNA และไรโบโซม และเอนไซม์อีกหลายชนิด ปะปนกันอยู่

ในของเหลวเป็นเยื่อลักษณะคล้ายเหรียญ ที่เรียงซ้อนกันอยู่ เรียกว่า กรานา (grana) ระหว่างกรานา จะมีเยื่อเมมเบรน
เชื่อมให้กรานาติดต่อถึงกัน เรียกว่า อิกเตอร์กรานา (intergrana) หน่วยย่อย ซึ่งเปรียบเสมือน เหรียญแต่ละอัน เรียก
เหรียญแต่ละอันว่า กรานาลาเมลลา (grana lamella) หรือ กรานาไทลาคอยด์ (grana thylakoid) ไทลาคอยด์
ในตั้งเดียวกัน ส่วนที่เชื่อมติดกัน เรียกว่า สโตรมา ไทลาคอยด์ (stroma thylakoid) ไม่มีทางติดต่อกันได้
แต่อาจติดกับไทลาคอยด์ในตั้งอื่น หรือกรานาอื่นได้

ทั้งกรานา และอินเตอร์กรานา เป็นที่อยู่ของคลอโรฟิลล์ รงควัตถุอื่นๆ และพวกเอนไซม์ ที่เกี่ยวข้อง กับการสังเคราะห์
ด้วยแสง แบบที่ต้องใช้แสง (light reaction) บรรจุอยู่ หน้าที่สำคัญ ของคลอโรพลาส คือ การสังเคราะห์ด้วยแสง
(photosynthesis) โดยแสงสีแดง และแสงสีน้ำเงิน เหมาะสม ต่อการสังเคราะห์ ด้วยแสงมากที่สุด


โครงสร้างของคลอโรพลาสต์คลอโรพลาสต์ ประกอบด้วยเยื่อหุ้ม 2 ชั้น ภายในมีของเหลวเรียกว่า สโตรมา มีเอนไซม์ที่
จำเป็นสำหรับกระบวนการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ในการสังเคราะห์ด้วยแสงนอกจากนี้ด้านในของคลอโรพลาสต์ ยังมีเยื่อ
ไทลาคอยด์ ส่วนที่พับทับซ้อนไปมาเรียกว่า กรานุม และส่วนที่ไม่ทับซ้อนกันอยู่เรียกว่า สโตรมาลาเมลลา สารสีทั้งหมด
และคลอโรฟิลล์จะอยู่บนเยื่อไทลาคอยด์มีช่องเรียก ลูเมน ซึ่งมีของเหลวอยู่ภายใน

นอกจากนี้ภายในคลอโรพลาสต์ยังมี DNA RNA และไรโบโซมอยู่ด้วย ทำให้คลอโรพลาสต์สามารถจำลองตัวเองขึ้นมา
ใหม่และผลิตเอนไซม์ไว้ใช้ในคลอโรพลาสต์ในคลอโรพลาสต์เองได้คล้ายกับไมโทคอนเดรีย


หน้าที่ของคลอโรพลาสต์หน้าที่หลักของคลอโรพลาสต์คือการสังเคราะห์ด้วยแสง (photosynthesis) ซึ่งหมายถึง
การสังเคราะห์อาหารในรูปน้ำตาลจากการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ (fix carbondioxide) โดยแบ่งปฏิกิริยา
ออกเป็น 2 ปฏิกิริยาย่อย คือ light reaction และ carbondioxide fixation


1 .light reaction เป็นปฏิกิริยาที่ทำให้เกิดอิเลคตรอนที่มีพลังงานสูงด้วยการใช้แสงไปกระตุ้นให้อิเลคตรอนจาก
คลอโรฟิลล์ซึ่งได้จากน้ำ และได้ผลิตภัณฑ์เป็นออกซิเจน (O2) ขึ้น อิเลคตรอนที่มีพลังงานสูงนี้จะมีการขนส่งอิเลคตรอน
ไปยังตัวรับอิเลคตรอนเป็นลูกโซ่ (เช่นเดียวกันกับที่เกิดขึ้นในไมโตคอนเดรีย) โดยบริเวณที่ใช้ในการขนส่งอิเลคตรอนนั้น
เกิดขึ้นที่บริเวณเมมเบรนของ thylakoid และขณะเดียวกันจะมีการขับเคลื่อนโปรตอนผ่าน thylakoid membrane
และทำให้เกิดการสังเคราะห์ ATP ขึ้นที่บริเวณ stroma ในขั้นตอนสุดท้ายของการขนส่งอิเลคตรอนนั้นจะส่งอิเลคตรอน
ให้ NADP+ พร้อมกับการเติม H+ ทำให้ได้ NADPH ซึ่งเป็นสารที่มี reducing power สูง เพื่อนำไปใช้ในปฏิกิริยา
ถัดไปเช่นเดียวกับ ATP โดยสรุปนั้นในปฏิกิริยานี้เป็นปฏิกิริยาที่ใช้พลังงานจากแสงโดยตรง และได้ผลิตภัณฑ์เป็น ATP,
NADPH และ O2


2. carbondioxide fixation เป็นการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์โดยมีเอนไซม์สำคัญคือ RuBisco ที่ต้องใช้พลังงานจาก
ATP และ NADPH จากปฏิกิริยาแรก เพื่อให้ได้สารที่อยู่ในรูปน้ำตาลหรือกรดไขมัน หรือ กรดอะมิโน เพื่อนำไปใช้ในกิจกรรม
ต่าง ๆ ของพืชต่อไป และมีบริเวณที่เกิดปฏิกิริยาอยู่ที่ stroma ปฏิกิริยานี้เป็นปฏิกิริยาที่ใช้พลังงานจากแสงในทางอ้อม


การเกิดปฏิกิริยาย่อยของการสังเคราะห์ด้วยแสงนั้นมีกลไกในการควบคุมที่ค่อนข้างซับซ้อน โดยพบว่าเอนไซม์ที่เกี่ยวข้อง
กับการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์หลายตัวนั้นไม่สามารถทำการเร่งปฏิกิริยาได้ในภาวะที่ไม่มีแสง และสามารถกลับมาทำงาน
เร่งปฏิกิริยาได้อีกครั้งหนึ่งเมื่อมีแสง



http://th.wikipedia.org/wiki


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 8:31 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 22/09/2011 10:47 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

674. คลอโรพลาสต์





คลอโรพลาสต์ (อังกฤษ : Chloroplast) เป็นออร์แกแนลล์ภายในไซโทพลาสซึม ขนิดเยื่อยูนิตสองชั้น (Double unit
membrane) ภายในเป็นของเหลวที่เรียกว่า (Stroma) ภายในสโตรมานี้มีชั้นที่พับไปมา เรียกว่ากรานูล บริเวณผิวของ
กรานูลนี้เรียกว่า ไทลาคอยด์ ซึ่งเป็นที่อยู่ของสารสีสำหรับการสังเคราะสโตรมาห์ด้วยแสง ระหว่างกรานูลมีเยื่อที่เชื่อมโยง
แต่ละกรานูลไว้ เรียกว่าสโตรมาลาเมลลา (Stroma lamella)

คลอโรพลาสต์ (chloroplast) เป็นออร์แกแนลที่พบในพืช เป็นพลาสติด ที่มีสีเขียว พบเฉพาะในเซลล์พืช และสาหร่าย
เกือบทุกชนิด พลาสติคมีเยื่อหุ้มสองชั้น ภายในโครงสร้างพลาสติด จะมีเม็ดสี หรือรงควัตถุบรรจุอยู่ ถ้ามีเม็ดสีคลอโรฟิลล์
(chlorophyll) เรียกว่า คลอโรพลาสต์ ถ้ามีเม็ดสีชนิดอื่นๆ เช่น แคโรทีนอยด์ เรียกว่า โครโมพลาส พลาสติคไม่มีเม็ดสี
เรียกว่า ลิวโคพลาสต์ (leucoplast) ทำหน้าที่ เป็นแหล่งเก็บสะสมโปรตีน หรือเก็บสะสมแป้ง ที่เรียกว่า เม็ดสี (starch
grains) เรียกว่า amyloplast ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสารคลอโรฟิลล์ ภายในคลอโรพลาสต ์ประกอบด้วยส่วนที่เป็นของเหลว
เรียกว่า สโตรมา (stroma) มีเอนไซม์ที่เกี่ยวข้อง กับการสังเคราะห์ด้วยแสง แบบที่ไม่ต้องใช้แสง (dark reaction) มี
DNA RNA และไรโบโซม และเอนไซม์อีกหลายชนิด ปะปนกันอยู่

ในของเหลวเป็นเยื่อลักษณะคล้ายเหรียญ ที่เรียงซ้อนกันอยู่ เรียกว่า กรานา (grana) ระหว่างกรานา จะมีเยื่อเมมเบรน
เชื่อมให้กรานาติดต่อถึงกัน เรียกว่า อิกเตอร์กรานา (intergrana) หน่วยย่อย ซึ่งเปรียบเสมือน เหรียญแต่ละอัน เรียก
เหรียญแต่ละอันว่า กรานาลาเมลลา (grana lamella) หรือ กรานาไทลาคอยด์ (grana thylakoid) ไทลาคอยด์
ในตั้งเดียวกัน ส่วนที่เชื่อมติดกัน เรียกว่า สโตรมา ไทลาคอยด์ (stroma thylakoid) ไม่มีทางติดต่อกันได้
แต่อาจติดกับไทลาคอยด์ในตั้งอื่น หรือกรานาอื่นได้

ทั้งกรานา และอินเตอร์กรานา เป็นที่อยู่ของคลอโรฟิลล์ รงควัตถุอื่นๆ และพวกเอนไซม์ ที่เกี่ยวข้อง กับการสังเคราะห์
ด้วยแสง แบบที่ต้องใช้แสง (light reaction) บรรจุอยู่ หน้าที่สำคัญ ของคลอโรพลาส คือ การสังเคราะห์ด้วยแสง
(photosynthesis) โดยแสงสีแดง และแสงสีน้ำเงิน เหมาะสม ต่อการสังเคราะห์ ด้วยแสงมากที่สุด


โครงสร้างของคลอโรพลาสต์คลอโรพลาสต์ ประกอบด้วยเยื่อหุ้ม 2 ชั้น ภายในมีของเหลวเรียกว่า สโตรมา มีเอนไซม์ที่
จำเป็นสำหรับกระบวนการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ในการสังเคราะห์ด้วยแสงนอกจากนี้ด้านในของคลอโรพลาสต์ ยังมีเยื่อ
ไทลาคอยด์ ส่วนที่พับทับซ้อนไปมาเรียกว่า กรานุม และส่วนที่ไม่ทับซ้อนกันอยู่เรียกว่า สโตรมาลาเมลลา สารสีทั้งหมด
และคลอโรฟิลล์จะอยู่บนเยื่อไทลาคอยด์มีช่องเรียก ลูเมน ซึ่งมีของเหลวอยู่ภายใน

นอกจากนี้ภายในคลอโรพลาสต์ยังมี DNA RNA และไรโบโซมอยู่ด้วย ทำให้คลอโรพลาสต์สามารถจำลองตัวเองขึ้นมา
ใหม่และผลิตเอนไซม์ไว้ใช้ในคลอโรพลาสต์ในคลอโรพลาสต์เองได้คล้ายกับไมโทคอนเดรีย


หน้าที่ของคลอโรพลาสต์หน้าที่หลักของคลอโรพลาสต์คือการสังเคราะห์ด้วยแสง (photosynthesis) ซึ่งหมายถึง
การสังเคราะห์อาหารในรูปน้ำตาลจากการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ (fix carbondioxide) โดยแบ่งปฏิกิริยา
ออกเป็น 2 ปฏิกิริยาย่อย คือ light reaction และ carbondioxide fixation


1 .light reaction เป็นปฏิกิริยาที่ทำให้เกิดอิเลคตรอนที่มีพลังงานสูงด้วยการใช้แสงไปกระตุ้นให้อิเลคตรอนจาก
คลอโรฟิลล์ซึ่งได้จากน้ำ และได้ผลิตภัณฑ์เป็นออกซิเจน (O2) ขึ้น อิเลคตรอนที่มีพลังงานสูงนี้จะมีการขนส่งอิเลคตรอน
ไปยังตัวรับอิเลคตรอนเป็นลูกโซ่ (เช่นเดียวกันกับที่เกิดขึ้นในไมโตคอนเดรีย) โดยบริเวณที่ใช้ในการขนส่งอิเลคตรอนนั้น
เกิดขึ้นที่บริเวณเมมเบรนของ thylakoid และขณะเดียวกันจะมีการขับเคลื่อนโปรตอนผ่าน thylakoid membrane
และทำให้เกิดการสังเคราะห์ ATP ขึ้นที่บริเวณ stroma ในขั้นตอนสุดท้ายของการขนส่งอิเลคตรอนนั้นจะส่งอิเลคตรอน
ให้ NADP+ พร้อมกับการเติม H+ ทำให้ได้ NADPH ซึ่งเป็นสารที่มี reducing power สูง เพื่อนำไปใช้ในปฏิกิริยา
ถัดไปเช่นเดียวกับ ATP โดยสรุปนั้นในปฏิกิริยานี้เป็นปฏิกิริยาที่ใช้พลังงานจากแสงโดยตรง และได้ผลิตภัณฑ์เป็น ATP,
NADPH และ O2


2. carbondioxide fixation เป็นการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์โดยมีเอนไซม์สำคัญคือ RuBisco ที่ต้องใช้พลังงานจาก
ATP และ NADPH จากปฏิกิริยาแรก เพื่อให้ได้สารที่อยู่ในรูปน้ำตาลหรือกรดไขมัน หรือ กรดอะมิโน เพื่อนำไปใช้ในกิจกรรม
ต่าง ๆ ของพืชต่อไป และมีบริเวณที่เกิดปฏิกิริยาอยู่ที่ stroma ปฏิกิริยานี้เป็นปฏิกิริยาที่ใช้พลังงานจากแสงในทางอ้อม


การเกิดปฏิกิริยาย่อยของการสังเคราะห์ด้วยแสงนั้นมีกลไกในการควบคุมที่ค่อนข้างซับซ้อน โดยพบว่าเอนไซม์ที่เกี่ยวข้อง
กับการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์หลายตัวนั้นไม่สามารถทำการเร่งปฏิกิริยาได้ในภาวะที่ไม่มีแสง และสามารถกลับมาทำงาน
เร่งปฏิกิริยาได้อีกครั้งหนึ่งเมื่อมีแสง



http://th.wikipedia.org/wiki


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 8:31 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 22/09/2011 10:48 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

674. คลอโรพลาสต์





คลอโรพลาสต์ (อังกฤษ : Chloroplast) เป็นออร์แกแนลล์ภายในไซโทพลาสซึม ขนิดเยื่อยูนิตสองชั้น (Double unit
membrane) ภายในเป็นของเหลวที่เรียกว่า (Stroma) ภายในสโตรมานี้มีชั้นที่พับไปมา เรียกว่ากรานูล บริเวณผิวของ
กรานูลนี้เรียกว่า ไทลาคอยด์ ซึ่งเป็นที่อยู่ของสารสีสำหรับการสังเคราะสโตรมาห์ด้วยแสง ระหว่างกรานูลมีเยื่อที่เชื่อมโยง
แต่ละกรานูลไว้ เรียกว่าสโตรมาลาเมลลา (Stroma lamella)

คลอโรพลาสต์ (chloroplast) เป็นออร์แกแนลที่พบในพืช เป็นพลาสติด ที่มีสีเขียว พบเฉพาะในเซลล์พืช และสาหร่าย
เกือบทุกชนิด พลาสติคมีเยื่อหุ้มสองชั้น ภายในโครงสร้างพลาสติด จะมีเม็ดสี หรือรงควัตถุบรรจุอยู่ ถ้ามีเม็ดสีคลอโรฟิลล์
(chlorophyll) เรียกว่า คลอโรพลาสต์ ถ้ามีเม็ดสีชนิดอื่นๆ เช่น แคโรทีนอยด์ เรียกว่า โครโมพลาส พลาสติคไม่มีเม็ดสี
เรียกว่า ลิวโคพลาสต์ (leucoplast) ทำหน้าที่ เป็นแหล่งเก็บสะสมโปรตีน หรือเก็บสะสมแป้ง ที่เรียกว่า เม็ดสี (starch
grains) เรียกว่า amyloplast ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสารคลอโรฟิลล์ ภายในคลอโรพลาสต ์ประกอบด้วยส่วนที่เป็นของเหลว
เรียกว่า สโตรมา (stroma) มีเอนไซม์ที่เกี่ยวข้อง กับการสังเคราะห์ด้วยแสง แบบที่ไม่ต้องใช้แสง (dark reaction) มี
DNA RNA และไรโบโซม และเอนไซม์อีกหลายชนิด ปะปนกันอยู่

ในของเหลวเป็นเยื่อลักษณะคล้ายเหรียญ ที่เรียงซ้อนกันอยู่ เรียกว่า กรานา (grana) ระหว่างกรานา จะมีเยื่อเมมเบรน
เชื่อมให้กรานาติดต่อถึงกัน เรียกว่า อิกเตอร์กรานา (intergrana) หน่วยย่อย ซึ่งเปรียบเสมือน เหรียญแต่ละอัน เรียก
เหรียญแต่ละอันว่า กรานาลาเมลลา (grana lamella) หรือ กรานาไทลาคอยด์ (grana thylakoid) ไทลาคอยด์
ในตั้งเดียวกัน ส่วนที่เชื่อมติดกัน เรียกว่า สโตรมา ไทลาคอยด์ (stroma thylakoid) ไม่มีทางติดต่อกันได้
แต่อาจติดกับไทลาคอยด์ในตั้งอื่น หรือกรานาอื่นได้

ทั้งกรานา และอินเตอร์กรานา เป็นที่อยู่ของคลอโรฟิลล์ รงควัตถุอื่นๆ และพวกเอนไซม์ ที่เกี่ยวข้อง กับการสังเคราะห์
ด้วยแสง แบบที่ต้องใช้แสง (light reaction) บรรจุอยู่ หน้าที่สำคัญ ของคลอโรพลาส คือ การสังเคราะห์ด้วยแสง
(photosynthesis) โดยแสงสีแดง และแสงสีน้ำเงิน เหมาะสม ต่อการสังเคราะห์ ด้วยแสงมากที่สุด


โครงสร้างของคลอโรพลาสต์คลอโรพลาสต์ ประกอบด้วยเยื่อหุ้ม 2 ชั้น ภายในมีของเหลวเรียกว่า สโตรมา มีเอนไซม์ที่
จำเป็นสำหรับกระบวนการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ในการสังเคราะห์ด้วยแสงนอกจากนี้ด้านในของคลอโรพลาสต์ ยังมีเยื่อ
ไทลาคอยด์ ส่วนที่พับทับซ้อนไปมาเรียกว่า กรานุม และส่วนที่ไม่ทับซ้อนกันอยู่เรียกว่า สโตรมาลาเมลลา สารสีทั้งหมด
และคลอโรฟิลล์จะอยู่บนเยื่อไทลาคอยด์มีช่องเรียก ลูเมน ซึ่งมีของเหลวอยู่ภายใน

นอกจากนี้ภายในคลอโรพลาสต์ยังมี DNA RNA และไรโบโซมอยู่ด้วย ทำให้คลอโรพลาสต์สามารถจำลองตัวเองขึ้นมา
ใหม่และผลิตเอนไซม์ไว้ใช้ในคลอโรพลาสต์ในคลอโรพลาสต์เองได้คล้ายกับไมโทคอนเดรีย


หน้าที่ของคลอโรพลาสต์หน้าที่หลักของคลอโรพลาสต์คือการสังเคราะห์ด้วยแสง (photosynthesis) ซึ่งหมายถึง
การสังเคราะห์อาหารในรูปน้ำตาลจากการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ (fix carbondioxide) โดยแบ่งปฏิกิริยา
ออกเป็น 2 ปฏิกิริยาย่อย คือ light reaction และ carbondioxide fixation


1 .light reaction เป็นปฏิกิริยาที่ทำให้เกิดอิเลคตรอนที่มีพลังงานสูงด้วยการใช้แสงไปกระตุ้นให้อิเลคตรอนจาก
คลอโรฟิลล์ซึ่งได้จากน้ำ และได้ผลิตภัณฑ์เป็นออกซิเจน (O2) ขึ้น อิเลคตรอนที่มีพลังงานสูงนี้จะมีการขนส่งอิเลคตรอน
ไปยังตัวรับอิเลคตรอนเป็นลูกโซ่ (เช่นเดียวกันกับที่เกิดขึ้นในไมโตคอนเดรีย) โดยบริเวณที่ใช้ในการขนส่งอิเลคตรอนนั้น
เกิดขึ้นที่บริเวณเมมเบรนของ thylakoid และขณะเดียวกันจะมีการขับเคลื่อนโปรตอนผ่าน thylakoid membrane
และทำให้เกิดการสังเคราะห์ ATP ขึ้นที่บริเวณ stroma ในขั้นตอนสุดท้ายของการขนส่งอิเลคตรอนนั้นจะส่งอิเลคตรอน
ให้ NADP+ พร้อมกับการเติม H+ ทำให้ได้ NADPH ซึ่งเป็นสารที่มี reducing power สูง เพื่อนำไปใช้ในปฏิกิริยา
ถัดไปเช่นเดียวกับ ATP โดยสรุปนั้นในปฏิกิริยานี้เป็นปฏิกิริยาที่ใช้พลังงานจากแสงโดยตรง และได้ผลิตภัณฑ์เป็น ATP,
NADPH และ O2


2. carbondioxide fixation เป็นการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์โดยมีเอนไซม์สำคัญคือ RuBisco ที่ต้องใช้พลังงานจาก
ATP และ NADPH จากปฏิกิริยาแรก เพื่อให้ได้สารที่อยู่ในรูปน้ำตาลหรือกรดไขมัน หรือ กรดอะมิโน เพื่อนำไปใช้ในกิจกรรม
ต่าง ๆ ของพืชต่อไป และมีบริเวณที่เกิดปฏิกิริยาอยู่ที่ stroma ปฏิกิริยานี้เป็นปฏิกิริยาที่ใช้พลังงานจากแสงในทางอ้อม


การเกิดปฏิกิริยาย่อยของการสังเคราะห์ด้วยแสงนั้นมีกลไกในการควบคุมที่ค่อนข้างซับซ้อน โดยพบว่าเอนไซม์ที่เกี่ยวข้อง
กับการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์หลายตัวนั้นไม่สามารถทำการเร่งปฏิกิริยาได้ในภาวะที่ไม่มีแสง และสามารถกลับมาทำงาน
เร่งปฏิกิริยาได้อีกครั้งหนึ่งเมื่อมีแสง



http://th.wikipedia.org/wiki


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 8:32 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 22/09/2011 10:53 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

675. คลอโรฟิลล์



คลอโรฟิลล์พบได้ตามคลอโรพลาสต์


คลอโรฟิลล์ (อังกฤษ: Chlorophyll) เป็นสารประกอบที่พบได้ในส่วนที่มีสีเขียวของพืช โดยพบมากที่ใบ นอกจากนี้ยัง
พบได้ที่ลำต้น ดอก ผลและรากที่มีสีเขียว และยังพบได้ในสาหร่ายทุกชนิด นอกจากนี้ยังพบได้ในแบคทีเรียบางชนิด
คลอโรฟิลล์ทำหน้าที่เป็นโมเลกุลรับพลังงานจากแสง และนำพลังงานดังกล่าวไปใช้ในการสร้างพลังงานเคมีโดยกระบวน
การสังเคราะห์ด้วยแสง เพื่อสร้างสารอินทรีย์ เช่น น้ำตาล และนำไปใช้เพื่อการดำรงชีวิต คลอโรฟิลล์ อยู่ในโครงสร้าง
ที่เรียกว่า เยื่อหุ้มไทลาคอยล์ (Thylakoid membrane) ซึ่งเป็นเยื่อหุ้มที่อยู่ภายใน คลอโรพลาสต์ (Chloroplast)

[แก้] โครงสร้างทางเคมีคลอโรฟิลล์เป็นสารที่ละลายได้ดีในอะซีโตนและแอลกอฮอล์ โครงสร้างอาจแบ่งได้เป็น
สองส่วน คือ ส่วนหัว และส่วนหาง โดยที่ส่วนหัวของคลอโรฟิลล์มีลักษณะเป็นวงแหวนไพรอล (pyrole ring) ที่มีไน
โตรเจนเป็นองค์ประกอบอยู่ 4 วง และมีธาตุแมกนีเซียมอยู่ตรงกลางโดยทำพันธะกับไนโตรเจน ส่วนหัวนี้มีขนาดประมาณ
1.5 x 1.5 อังสตรอม ส่วนหางของคลอโรฟิลล์มีลักษณะเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ
20 อะตอม มีความยาวประมาณ 2 อังสตรอม คลอโรฟิลล์ดูดกลืนแสงได้ดีที่ช่วงคลื่นของแสงสีฟ้าและสีแดง แต่ดูด
กลืนช่วงแสงสีเหลืองและเขียวได้น้อย ดังนั้นเมื่อได้รับแสงจะดูดกลืนแสงสีฟ้าและสีแดงไว้ ส่วนแสงสีเขียวที่ไม่ได้ดูด
กลืนจึงสะท้อนออกมา ทำให้เห็นคลอโรฟิลล์มีสีเขียว [2]

ในธรรมชาติมีคลอโรฟิลล์อยู่หลายชนิดด้วยกันซึ่งแต่ล่ะชนิดมีโครงสร้างหลักที่เหมือนกันคือ วงแหวนไพรอล 4 วง
แต่โซ่ข้าง (side chain) ของคลอโรฟิลล์แต่ละชนิดจะมีลักษณะที่ต่างกันออกไป เช่น คลอโรฟิลล์ เอ (chlorophyll a)
และคลอโรฟิลล์ บี (chlorophyll b) มีโครงสร้างโมเลกุลที่ต่างกันเพียงตำแหน่งเดียวเท่านั้น นั่นคือ ที่วงแหวนไพรอลวง
ที่สองของคลอโรฟิลล์ เอ มีโซ่ข้างเป็นหมู่เมททิล (-CH3) ส่วนของคลอโรฟิลล์ บี เป็นหมู่อัลดีไฮด์ (-CHO) ซึ่งการที่
โครงสร้างที่ต่างกันนี้ก็ทำให้มีคุณสมบัติแตกต่างกันด้วยโดยเฉพาะด้านการละลายโดยที่ หมู่เมททิลของคลอโรฟิลล์ทำ
ให้โมเลกุลมีขั้ว ดังนั้นจึงละลายได้ดีในสารละลายที่มีขั้ว เช่น เมทิลแอลกอฮอล์ (polarity index=5.1) ส่วนหมู่อัลดี
ไฮด์ซึ่งมีสภาพขั้วน้อยกว่าหมู่เมททิล จึงทำให้คลอโรฟิลล์ บี ละลายได้ดีในตัวทำละลายที่สภาพขั้วน้อยกว่าเมททิล
แอลกอฮอล์ เช่น ปิโตรเลี่ยมอีเธอร์ (petroleum ether, polarity index=0.1) รวมทั้งคุณสมบัติการ
ดูดกลืนแสงก็ต่างกันด้วย และทำให้คลอโรฟิลล์ทั้งสองชนิดนี้มีสีต่างกันเล็กน้อย โดยที่คลอโรฟิลล์ เอ มีสีเขียวเข้ม
ส่วนคลอโรฟิลล์ บี มีสีเขียวอ่อน



ตามที่กล่าวมาด้านบน จะพบว่ามีความผิดพลาดตรงส่วนของ ว่า "ส่วนหมู่อัลดีไฮด์ซึ่งไม่มีขั้ว จึงทำให้คลอโรฟิลล์ บี ละลาย
ได้ดีในตัวทำละลายไม่มีขั้ว"นั้นไม่จริง เพราะว่า หมู่อัลดีไฮด์นั้นมีขั้ว โดยดูได้จากโครงสร้างและดูข้อมูลยืนยันได้จาก /
อ้างอิงและผมได้ถามอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยยืนยันข้อมูลนี้แล้วว่า คลอโรฟิลล์ บี มีขั้ว

และถ้าทำการทดลอง paper chromatography ด้วยการไล่ระดับของpigmentในใบไม้นั้นจะได้ดังนี้

Pigments in chloroplast

- Different pigments absorbs light of different wavelength. - Green plants have five closely-
related photosynthetic pigments (in order of increasing polarity) (คือ เรียงลำดับเม็ดสีที่ได้
โดยดูจากความมีขั้วน้อย-มาก ของเม็ดสีแต่ละชนิด)

1.Carotene - an orange pigment 2.Xanthophyll - a yellow pigment 3.Chlorophyll a -
a blue-green pigment 4.Chlorophyll b - a yellow-green pigment 5.Phaeophytin - a gray pigment

อธิบายได้ว่า Carotene มีขั้วน้อยที่สุด (หรืออาจไม่มีขั้ว ไม่แน่ใจ) แล้วก็ไล่ระดับความมีขั้วเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆจนมากที่สุดที่
Phaeophytin ซึ่ง Phaeophytin มันจะมองไม่เห็นกันในการทดลองเพราะว่ามีสีเทา ซึ่งกระดาษที่ใช้ในการทำ paper
chromatography มีสีขาว จึงทำให้มองเห็นยาก หรือไม่เห็นสีเทาของPhaeophytinเลย



อ้างอิงจาก ชีทประกอบการสอนวิชา MIC101 General Biology มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สอน
โดย ดร.สุคนธ์ ตันติไพบูลย์วุฒิ



http://th.wikipedia.org/wiki


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 8:32 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 22/09/2011 1:01 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

676. กรดฮิวมิก


กรดฮิวมิค (Humic acid) เป็นส่วนประกอบหลักของสสารฮิวมิค (humic substances) ซึ่งสสารฮิวมิคเป็นสารประกอบหลักของ
ดิน (ฮิวมัส), พีต, ถ่านหิน, แม่น้ำในที่ดอนหลายๆแห่ง,
หนองน้ำ (dystrophic lakes), และน้ำมหาสมุทร กรดฮิวมิคเกิดขึ้นโดยกระบวนการย่อยสลายในทางชีวภาพของสารอินทรีย์ที่ตายลง
กรดฮิวมิคไม่ใช่กรดเดี่ยวๆ แต่เป็นการผสมของกรดหลายๆชนิดที่อยู่ในกลุ่มกรดคาร์บอกซิลิกและฟีนอล (phenol) โดยส่วนผสมนี้
(กรดฮิวมิค) จะมีลักษณะการทำงานคล้ายกับ dibasic acid หรือ บางครั้งก็คล้ายกับ tribasic acid กรดฮิวมิคสามารถจะจับตัวกับ
ไอออนที่พบได้ทั่วไปในสิ่งแวดล้อมมาเป็นสารประกอบโคออร์ดิเนชัน (coordination complex) ได้ กรดฮิวมิคและ
กรดฟูลวิค (fulvic acid) ถูกใช้อย่างกว้างขวางในการช่วยปรับปรุงดินสำหรับเกษตรกรรม และแม้ไม่แพร่หลายเท่ากับการใช้
ในเกษตรกรรม กรดทั้งสองนี้ยังถูกใช้เป็นอาหารเสริมสำหรับคนด้วย

เนื้อหา
1 การเกิดและสกัดกรดฮิวมิค
2 ข้อมูลเพิ่มเติม
3 อ้างอิง
4 แหล่งข้อมูลอื่นๆ


การเกิดและสกัดกรดฮิวมิคสสารฮิวมิคเกิดจากการย่อยสลายทางชีวภาพของพืชที่ตายแล้ว (เช่น lignin) จากจุลินทรีย์ สสารฮิวมิคจะ
ยากต่อการที่จะถูกย่อยสลายทางชีวภาพต่อไป คุณสมบัติและโครงสร้างโดยละเอียดของสสารฮิวมิคนี้จะขึ้นกับสภาพของแหล่ง น้ำ
ดิน และวิธีการสกัดสสารฮิวมิคขึ้นมา อย่างไรก็ตามคุณสมบัติทั่วไปโดยเฉลี่ยของสสารฮิวมิคจากแหล่งต่างๆค่อนข้างจะใกล้เคียงกัน

สสารฮิวมิคในดินและตะกอนสามารถจะเป็นได้เป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ

กรดฮิวมิค
กรดฟูลวิค
ฮิวมิน (humin)

กรดฮิวมิคและฟูลวิคสกัดจากดินได้ เป็นของเหลวในรูปสารแขวนลอย กรดฮิวมิคจะตกตะกอนจากสารแขวนลอยนี้โดยการปรับค่า พีเอช
ให้เป็น 1 โดยการใช้กรดเกลือ ส่วนกรดฟูลวิคจะยังคงแขวนลอยอยู่



http://th.wikipedia.org/wiki


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 8:33 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 22/09/2011 1:12 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

677. กรดฮิวมิค และฟุลวิค สำคัญอย่างไร



กรดฮิวมิคและกรดฟุลวิคมีความสำคัญอย่างไรในโลกวิทยาศาสตร์การเพาะปลูกปัจจุบัน


กรดฮิวมิคคืออะไร
กรดฮิวมิค(Humic acid)คือส่วนหนึ่งของสารฮิวมิค (Humic substances) ซึ่งมีคุณสมบัติในการละลายได้ในความเป็นด่างสูง
กล่าวคือไม่อาจละลายในกรด อยู่รวมกับกรดอินทรีย์ตัวอื่นที่มีอยู่ในสารฮิวมิค กรดฮิวมิคในรูปของของเหลวจะรวมตัวกับธาตุโป
แตสเซี่ยมเกิดเป็นเกลือโปแตสเซี่ยมฮิวเมท (Potassium Humate) ซึ่งถูกนำไปใช้และได้รับผลสำเร็จเป็นอย่างดีในหลายพื้นที่
ทางด้านผลิตผลทางการเกษตรโดยใช้เร่งการเจริญเติบโตของพืชและเป็นตัวปรับสภาพดิ

แหล่งกำเหนิด
โดยผ่านกระบวนการสกัดโปแตสเซี่ยมฮิวเมท(Potassium Humate)จากหินลีโอนาไดต์(Leonardite)หรือหินลิกไนต์(Lignite)
หรือถ่านหินสีน้ำตาล(Brown Coal) ใช้น้ำเป็นตัวทำละลายทำให้เกิดเป็นสารแขวนตะกอน(suspension)ที่มีกรดฮิวมิคใน
ปริมาณมากรวมทั้งธาตุโปแตสเซี่ยม เหล็ก และจุลธาตุในลักษณะพร้อมใช้ในปริมาณมากเช่นกัน


บทบาทของกรดฮิวมิค
กลุ่มเกษตรกรพืชไร่และเกษตรอินทรีย์ ต่างก็ยอมรับในคุณค่าของการเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้กับดินมาเป็นเวลายาวนานตั้งแต่ยุคก่อน
ประวัติศาสตร อย่างไรก็ดีการทำงานและการออกฤทธิ์ทางเคมีของกรดฮิวมิคนี้ยังเป็นเรื่องถกเถียงกันอยู่ตั้งแต่เริ่มมีการรู้จักสาร
ตัวนี้ ตั้งแต่คริศต์ศตวรษที่18 เป็นต้นมา จนกระทั่งถึงยุค Liebig เชื่อกันว่าฮิวมัสถูกพืชใช้โดยตรง แต่หลังจากนั้นได้มีการ
แสดงให้เห็นว่าการเจริญเติบโตของพืชขึ้นอยู่กับสารประกอบอนินทรีย์เท่านั้น นักวิทยาศาสตรทางด้านดินหลายท่านได้มี
ความเห็นว่าอินทรีย์วัตถุมีประโยชน์ต่อความอุดมสมบูรณ์ของดินก็ต่อเมื่อมันสลายตัวแล้วจึงจะปลดปล่อยธาตุอาหารที่มีอยู่
ออกมาในรูปของสารอนินทรีย์เท่านั้น

ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ในเรื่องดินส่วนใหญ่ มีความเห็นเป็นกลางมากขึ้นอย่างน้อยที่สุดก็ยังยอมรับว่าฮิวมัสมีอิทธิพลต่อ
ความอุดมสมบูรณ์ของดินเนื่องจากประสิทธิภาพของมันในการช่วยให้ดินมีประจุความสามารถในการอุ้มน้ำ อีกประการหนึ่ง
เพราะว่าได้มีการแสดงให้เห็นว่าพืชสามารถดูดซึมและแปลงโมเลกุลอินทรีย์สารเชิงซ้อนของยาฆ่าแมลงที่เข้าสู่ระบบต่างๆ
ของพืชได้ นักวิทยาศาสตร์พวกนี้จึงไม่สามารถที่จะปฏิเสธความเชื่อในความคิดที่ว่าพืชสามารถดูดซึมสารละลายที่เกิดจาก
ฮิวมัสได้ด้วย


สารฮิวมิคหรือกรดฮิวมิคทำอะไรได้บ้าง
1. ช่วยให้เนื้อเยื่อของพืชต้องการอ๊อกซิเจนอิสระเพื่อการหายใจโดยใช้อ๊อกซิเจน จึงเป็นการให้พลังงานจากการเมตาโบลิส
ซึมต่อพืชชั้นสูงทุกชนิด

2. ร่วมกับแสงอาทิตย์และกระบวนการสังเคราะห์แสงสร้างพลังงานจากการเมตาโบลิสซึ่ม

3. เมื่อใช้เป็นสารละลายเจือจางพ่นทางใบ ช่วยให้พืชเจริญเติบโตเร็วขึ้นและเป็นเหตุให้พืชคุ้นเคยกับการรับอ๊อกซิเจน

4. ไม่เพียงแต่จะช่วยให้พืชหายใจได้เท่านั้น แต่ยังช่วยเพิ่มปริมาณของจุลินทรีย์อีกด้วย

5. ช่วยเป็นตัวรับไฮโดรเจนสำหรับเนื้อเยื่อสะสมอาหารที่รากพืชหลากหลายชนิด

6. ให้พลังงานที่เกิดจากการสังเคราะห์แสงและช่วยเสริมกระบวนการนี้ซึ่งได้แก่การผลิตทางชีวะเคมีของสารอินทรีย์เชิงซ้อน
โดยเฉพาะแป้งจากคาร์บอนไดอ๊อกไซด์,น้ำ, จุลธาตุ, และเกลืออนินทรีย์พร้อมกับพลังงานจากแสงอาทิตย์สำหรับการสร้าง
คลอโรฟิล (Chlorophyll Production)

7. เพิ่มปริมาณคลอโรฟิล (Chlorophyll Content) ในใบพืชขณะที่พืชได้รับอาหารทางรากหรือพ่นทางใบ

8. มีอิทธิพลโดยตรง ต่อการสร้างเอนไซม์และระบบสังเคราะห์เอนไซม์สุทธิ (net Enzyme Synthesis)

9. มีอ๊อกซิน (Auxin) ซึ่งมีส่วนสำคัญในการทำปฏิกิริยาทางเคมีที่เรียกว่า(chelation) กับธาตุเหล็กเพื่อป้องกัน
ความเป็นพิษนี้ต่อพืช ช่วยให้พืชเจริญเติบโตตามปกติ มีความสมบูรณ์ ช่วยรักษาความเข้มข้นของอาหารพืช โดยเฉพาะ
การเจริญของระบบราก(Root System)



กรดฟุลวิค (Fulvic Acid) คือ อะไร
กรดฟุลวิคคือสารออกฤทธิ์ต่อพืชมากที่สุดในหมู่สารประกอบฮิวมิค ให้ประโยชน์ทั้งด้านฟิสิค์, เคมี, และชีวะวิทยา เป็นตัว
ปรับกรดด่างตามธรรมชาติ (natural buffering) เป็นตัวขจัดสารพิษธรรมชาติ (natural chelating) และมีคุณสมบัติ
ในการแลกเปลี่ยนไอออนสูงสุดทำให้แร่ธาตุต่างๆง่ายต่อการดูดซึมของพืช ทำให้พืชมีพลังชีวิต plant vitality เพิ่มขึ้น มี
ความต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อม ช่วยให้พืชมีคุณภาพดีขึ้นรวมทั้งการเพิ่มผลผลิตด้วย


ประโยชน์ของกรดฟุลวิค
กรดฟุลวิคมีฤทธิ์ในการละลายแร่ธาตุและโลหะได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสารละลายนั้นมีน้ำเป็นตัวทำละลาย

แร่ที่เป็นโลหะจะถูกละลายให้อยู่ในรูปของไอออน (ion) และถูกดึงเข้าไปอยู่ในโครงสร้างโมเลกุลของกรดฟุลวิคนี้ และกลาย
เป็นสารที่มีปฏิกิริยาทางชีวะวิทยาและเคลื่อนที่ได้ โดยความเป็นจริงแล้วกรดฟุลวิคจะแปลงแร่ธาตุและโลหะเหล่านี้ให้กลาย
เป็นสารเชิงซอ้นกับโมเกุลของกรดฟุลวิคแล้วมีคุณสมบัติแตกต่างไปจากแร่โลหะเดิมแทบโดยสิ้นเชิง

กรดฟุลวิคจึงเป็นวิธีทางธรรมชาติในการเป็นโลห์กำบังธาตุโลหะหลายชนิดแล้วเปลี่ยนธาตุเหล่านี้ไปอยู่ในรูปแบบทางชีวะวิทยา
ที่พร้อมจะถูกดูดซึมได้ นอกจากนั้นยังมีความสามารถเป็นเลิศต่อการเปลี่ยนแปลงของอากาศและสามารถละลายซิลิก้า (silica)
ที่มาสัมผัสด้วย


กรดฟุลวิคช่วยให้ธาตุอาหารมีความพร้อมใช้และทำให้ง่ายต่อการดูดซึม ยอมให้แร่ธาตุเพิ่มขึ้นและยืดเวลาให้แก่ธาตุอาหาร
จำเป็นสำหรับพืช กรดนี้ยังช่วยเตรียมแร่ธาตุให้ทำปฏิกิริยากับเซลล์และช่วยให้แร่ธาตุทำปฏิกิริยาซึ่งกันและกัน แล้วแตก
ตัวออกอยู่ในรูปแบบของไอออน (ion) อย่างง่ายๆและบดบังความเป็นพิษด้วยกรดฟุลวิคที่แตกตัวมีประจุไฟฟัา (electrolytes)


กรดฟุลวิคที่เกิดเป็นสารเชิงซ้อนกับแร่และโลหะอย่างเรียบร้อยแล้ว ทำให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้สำหรับรากและสามารถถูกดูด
ซึมผ่านผนังเซลล์ได้อย่างง่ายๆ ทำให้ธาตุเหล็กซึ่งโดยปกติไม่เคลื่อนที่ถูกลำเลียงผ่านโครงสร้างของพืชได้อย่างสดวก
กรดฟุลวิคจะละลายและแปลสภาพ ไวตามิน (vitamins) เอนไซม์ร่วม (coenzymes) อ๊อกซิน(Auxin)
ฮอร์โมน (hormones) และสารปฏิชีวนะธรรมชาติ (natural Antibiotics) ซึ่งมีปรากฏอยู่ในดินทั่วๆไปให้อยู่ในลักษณะ
พร้อม ใช้สำหรับพืช สารทั้งหมดดังกล่าวนี้มีประสิทธิภาพในการกระตุ้นการเจริญเติบโตที่แข็งแรงและสมบูรณ์แก่พืชเป็น
อย่างมาก นอกจากนั้นยังช่วยให้เกิด แบคทีเรีย เชื้อรา และแอคติโนไมซิส (actinomycetes) บางชนิดเพื่อช่วย
ย่อยสลายซากพืชผักในดิน เป็นที่ทราบกันมานานแล้วว่าไวตามินหลายชนิดที่เรารู้จักสามารถพบได้ในดินที่อุดมสมบูรณ์ด้วย


พืชสามารถผลิตไวตามินหลายชนิดได้ด้วยตัวของมันเอง ถึงกระนั้นก็ตามไวตามินจากดินจะเป็นอาหารเสริมแก่พืชด้วย เมื่อมี
การย่อยอาหารเกิดขึ้นทั้งสัตว์และคนจะดูดซึมธาตุอาหารเหล่านี้ได้ง่าย เนื่องจากความจริงที่ว่าธาตุอาหารดังกล่าวอยู่ในรูป
แบบตามที่พืชต้องการอย่างสมบูรณ์ตามที่ธรรมชาติกำหนด กรดฟุลวิคสามารถช่วยลำเลียงแร่ธาตุทั้งหลายที่ละลายน้ำ
ได้หลายเท่าของน้ำหนักของมัน


สารเชิงซ้อนทั้งหลายที่เกิดจากการทำปฏิกิริยากับกรดฟุลวิคมีความสามารถในการทำปฏิกิริยาเชิงชีวะวิทยาระหว่างกันและ
กันได้ และยังทำปฏิกิริยาภายในกับเซลล์ของพืชเพื่อสังเคราะห์หรือแปลงสภาพ (transmute) ไปเป็นสารประกอบ
แร่ตัวใหม่ได้ด้วย การแปลง (transmutation) ซิลิก้า (silica) และแมกเนเซียม(magnesium) ในพืชทำให้เกิด
แคลเซี่ยมในกระดูกของมนุษย์และสัตว์เป็นตัวอย่างต้นแบบของการสังเคราะห์แร่ใหม่


กรดฟุลวิคมีความสามารถในการเก็บรักษาไวตามินเชิงซ้อนไว้ในโครงสร้างโมเลกุลของมันเองและพร้อมที่จะปล่อยให้เซลล์
ของพืชโดยควบรวมกับแร่เชิงซ้อนหลายตัว ในสภาวะธรรมชาติที่สมบูรณ์แบบ ไวตามินเหล่านี้จะถูกกระตุ้นให้เกิด ปฏิกิริยา
ทางเคมีและถูกนำไปใช้โดยเซลล์พืช ซึ่งในกรณีที่ขาดจุลธาตุ ไวตามินจะไม่สามารถทำหน้าที่ดังกล่าวได้

เป็นที่ทราบชัดเจนว่าการแทรกแซงธรรมชาติโดยฝีมือมนุษย์นั้นสามารถเปลี่ยนแปลงความซับซ้อนของธรรมชาติได้เพียง
เล็กน้อยเท่านั้น เรากำลังอยู่ในยุคที่ผลประโยชน์และความอุดมสมบูรณ์อาจเป็นแรงกระตุ้นสำคัญที่สุดในการทำฟาร์ม
พืชหลายชนิด กระนั้น ถ้าเรายึดถือความคิดที่ว่า ถ้าไม่มีอะไรเสียก็อย่าซ่อม เราก็จะรู้ว่าผลลัพธ์ยังคงเป็นเช่นที่บรรพบุรุษ
ของเราได้รับมา อาจไม่ต้องสูญเสียอะไรโดยไม่จำเป็น แต่อนาคตนั้นโดยแท้จริงแล้วอยู่ในอดีตที่ผ่านมาตามมุมมองนี้
ไม่มีอะไรที่นักวิทยาศาสตร์จะทำได้ดีกว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ “เมื่อสิ่งต่างๆได้รวมตัวกันอย่างสมบูรณ์แบบแล้ว ปรากฏ
การณ์ทางธรรมชาติย่อมเกิดขึ้นเองโดยทันที”




เอกสารอ้างอิง
Organic,A Growing Market—Humic and Fulvic Acid
By Luis Bartolo, Maximum Yield Magazine
แปลและเรียบเรียงโดย จอนแกรนด์ซัน



http://www.weloveshopping.com/template/a20/show_article.php?shopid=26601&qid=66210


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 22/09/2011 1:42 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 22/09/2011 1:28 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

678. "ฮิวมิก" ทำใช้เอง


“ดิน เป็นฐานความมั่นคงของการปลูกพืช” เป็นแนวคิดที่คำนึงถึงเสมอ จึงคิดหาวิธีที่จะสามารถปรับปรุงบำรุงดินให้กลับฟื้นคืน
สภาพความอุดมสมบูรณ์ รวมทั้งการปรับฟื้นคืนสภาพความสมบูรณ์ของพืช โดย “ฮิวมิก” สารปรับปรุงดินที่ได้จัดทำขึ้น
จากถ่านหิน เพื่อช่วยปรับปรุงโครงสร้างดิน เพิ่มความสมบูรณ์ของดินและต้นพืช เร่งการแตกราก ใบอ่อน ช่วยการดูด
ซึมของปุ๋ย และช่วยปลดปล่อยธาตุอาหารที่อยู่ในดินให้มาใช้ประโยชน์ได้อีก แก้ปัญหาดินโทรม ซึ่ง “ฮิวมิก” ที่กล่าว
ถึงทำจากถ่านหิน ซึ่งเป็นวัสดุที่เกิดจากการทับถมของซากพืชซากสัตว์ นำไปแปร
สภาพด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับจากเอก
สารวิชาการที่ได้อ่านพบและจดจำมานานจนไม่สามารถอ้างถึงแหล่งความรู้ได้


นายวิโรจน์ ฉิมดี เกษตรกรผู้ปลูกส้มมะนาว บ้านเลขที่ 61 หมู่ที่ 8 ต.นางลือ อ.เมืองชัยนาท จ.ชัยนาท กล่าวว่า
ปลูกมะนาวในพื้นที่ 12 ไร่ พบว่ามีค่าใช้จ่ายที่สูงเนื่องจากต้องใช้สารเคมีจำนวนมาก โดยเฉพาะช่วงมะนาวแตก
ใบอ่อนจะต้องฉีดพ่นสารเคมีทุก 7-8 วัน ประมาณ 4 ครั้ง/เดือน ลงทุนค่าสารเคมีประมาณ 3,600 บาทต่อเดือน
ต้นทุนหมดไปพร้อมกับร่างกายที่ทรุดโทรม จำต้องหวนกลับมาคิดถึงภูมิปัญญาชาวบ้านไทย โดยเริ่มจากการปรับปรุง
ดิน การใช้สารสมุนไพร การผลิตสารปรับสภาพดินใช้เอง การบริหารจัดการที่ดีเหมาะสมกับสถานการณ์ แม้ว่าจะ
ต้องเพิ่มแรงงานในการฉีดพ่นสารสมุนไพร แต่เมื่อคิดถึงต้นทุนแล้วจะลงทุนประมาณ 500 บาท/เดือน ในขณะ
ที่ความถี่ของการฉีดพ่นที่ใกล้เคียงกัน แต่สิ่งที่ได้รับเหนือวัตถุนิยมคือ “สุขภาพที่ดีปลอดภัยจากสารเคมี”


การทำ “ฮิวมิก” ใช้ปรับปรุงดิน
วิธีทำ “ฮิวมิก” เตรียมวัสดุดังนี้ ถ่านหิน 1 กิโลกรัม และด่างทับทิม 600 กรัม บดถ่านหินให้ละเอียดก่อนผสมด่างทับทิม
แล้วเติมน้ำพอท่วม นำไปใส่ภาชนะที่มีขนาดใหญ่พอสมควร เนื่องจากขณะต้มจะเกิดฟองมากซึ่งอาจจะล้นฟุ้งกระจายได้



นำไปตั้งไฟต้มด้วยไฟปานกลางจนน้ำเดือด เมื่อต้มจนน้ำแห้งแล้วจะได้ผลึกฮิวมิกแข็งเป็นก้อน การต้มนั้นขอให้ผู้ทำ
ระมัดระวังเป็นพิเศษ ต้องเฝ้าอย่าปล่อยทิ้ง เนื่องจากอาจจะเกิดแพลิงไหม้เสียหาย เมื่อได้ผลึกแล้วนำไปผึ่งแดดให้แห้ง
ก่อนนำไปบดบดให้ละเอียดอีกครั้งก่อนนำไปใช้ หรือเก็บไว้ในภาชนะที่แห้งและป้องกันความชื้นได้ จะสามารถเก็บไว้
ได้นาน



การใช้ “ฮิวมิก”
นำผง “ฮิวมิก” 1 ขีดผสมน้ำสะอาด 1 ลิตรก่อนนำน้ำที่ได้ 20 ซีซีผสมกับน้ำ 20 ลิตร นำไปฉีดพ่นบนผิวดิน หรือปล่อย
ตามน้ำ 3 เดือนต่อครั้ง


ผลที่ได้รับ จากการทดลองใช้ในพื้นที่ปลูกมะนาวส่วนเก่าที่มีอายุ 5 ปี ลำต้นทรุดโทรมจากการให้ผลผลิตที่มาก จน
ใบเหลืองเนื่องจากขาดธาตุอาหาร ทั้งที่ได้ใส่ปุ๋ยเคมีตามหลังวิชาการ จึงนำ “ฮิวมิก” ที่ผลิตขึ้นมาทดลองใช้ พบว่ามะนาว
ฟื้นได้เร็ว ระบบรากที่ทรุดโทรม กลับฟื้นตัวคืนสภาพ สังเกตได้จากปลายรากที่มีสีขาว สามารถดูดซับธาตุอาหารได้ดี
ลดต้นทุนจากการใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-16 ได้ถึงร้อยละ 20 แต่ที่น่าพอใจมากที่สุดคือ ผลผลิตที่ได้รับประมาณต้น
ละ 4,000 ผลต่อปี ซึ่งถ้าไม่ได้ใช้สาร “ฮิวมิก” จะทำให้สภาพต้นทรุดโทรมยากแก่การฟื้นฟู



นายวีระศักดิ์ อัตถไพศาล เกษตรจังหวัดชัยนาท กล่าวถึงสภาวะของชาวสวนไม้ผลว่า เกษตรกรชาวสวนบางรายปรับตัวไม่
ทันจึงรื้อไม้ผลทิ้งเป็นกิจกรรมเป็นนาข้าว ด้วยเห็นว่ามีการประกันราคาที่แน่นอน รวมทั้งไม่มีความยุ่งยากมากนัก เพียง
ยกโทรศัพท์จ้างแรงงานที่มีอยู่ในท้องถิ่นไปทำกิจกรรมตามที่ต้องการ ตั้งแต่เตรียมดินจนกระทั่งผลผลิตเข้าสู่โรงสี พบว่า
ต้นทุนการผลิตมีราคาสูงมากไม่คุ้มกับราคาที่ได้รับ การส่งเสริมการใช้สมุนไพรและการพัฒนาองค์ความรู้ภูมิปัญญาชาว
บ้านเป็นส่วนหนึ่งที่สำนักงานเกษตรจังหวัดชัยนาทได้ส่งเสริมให้เกษตรกรได้รับรู้อย่างกว้างขวาง เนื่องจากจะสามารถ
แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับเกษตรกรได้อย่างชัดเจน ดังคำที่ว่า “ปัญหาหลายอย่างอาจหมดไปเพียงจัดการกับรากเหง้าของ
ปัญหานั้น” นั่นคือการส่งเสริมให้เกษตรกรได้พัฒนาการใช้ปัจจัยที่มีอยู่ในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงประหยัดสุด เพราะ
ปัญหาต้นทุนการผลิตที่สูงเกิดจากการบริหารจัดการของเกษตรกรส่วนใหญ่พึ่งพาปัจจัยจากภายนอกมากเกินไป

ข้อมูลบางส่วนจาก วารสารเทคโนโลยีชาวบ้าน


คลิกดูภาพประกอบ....
http://www.gotoknow.org/blog/chud02/442350
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 22/09/2011 4:09 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

679. นักวิจัยผู้หลงใหล 'ไคโตซาน'



รศ.ภูริวัฒน์ ลี้สวัสดิ์



แผ่นซับหน้ามัน น้ำตาเทียม หรือเจลล้างมือแบบไม่ใช้น้ำ ผลิตภัณฑ์จากแลบเภสัชฯ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งมุ่งวิจัยเพิ่มค่าเปลือกกุ้ง
กระดองปู

แผ่นซับหน้ามัน น้ำตาเทียม หรือเจลล้างมือแบบไม่ใช้น้ำ ล้วนแต่เป็นสิ่งของธรรมดาที่หาได้ง่ายในห้างสรรพสินค้า แต่เมื่อนักวิจัยเลือก
ใช้วัสดุธรรมชาติที่เขาสนใจ มาเป็นส่วนผสมพิเศษเติมแต่งผลิตภัณฑ์ให้มีความ "พิเศษ" มากขึ้นกว่าเดิมด้วย "ไคโตซาน"

รศ.ภูริวัฒน์ ลี้สวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นคนหนึ่งที่มองเห็น
โอกาสทางเศรษฐกิจจากไคโตซาน

"ไคโตซานเป็นโพลีเมอร์เพียงชนิดเดียวที่สามารถผลิตได้เองในประเทศ สามารถสกัดได้จากเปลือกกุ้ง ปู และแกนปลาหมึก ซึ่ง
เป็นของเหลือจากอุตสาหกรรมอาหารทะเลที่ประเทศเราส่งออกเป็นอันดับต้นของโลก เป็นการเปลี่ยนของเหลือทิ้งให้กลายเป็นของ
ที่มีมูลค่าขึ้นมาได้" นักวิจัยจากเชียงใหม่กล่าว

รศ.ภูริวัฒน์เริ่มทำงานวิจัยมาทางสายโพลีเมอร์ โดยเฉพาะตัวเซลลูโลสและประสิทธิภาพในการควบคุมการปลดปล่อย
ตั้งแต่ปริญญาตรี เพิ่งมีโอกาสวิจัยเกี่ยวกับการสกัดไคโตซานเมื่อสมัยเรียนระดับปริญญาโท แต่หวนกลับไปวิจัยเกี่ยวกับ
เซลลูโลสเหมือนเดิมเมื่อไปเรียนต่อปริญญาเอกในต่างประเทศ

จนเมื่อกลับมาทำงานที่บ้านเกิด ก็ยังคงตั้งเป้าจะทำงานวิจัยด้านโพลีเมอร์ แต่เซลลูโลสกลับกลายเป็นปัญหา เพราะเป็น
วัตถุดิบที่ต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศ เขาจึงมองหาวัตถุดิบใหม่ และเน้นที่สามารถทำได้เองในประเทศไทย จนมาเจอ "ไคโตซาน"

"พอมาสนใจจริงจังก็พบว่า น่าสนใจ เพราะเป็นวัตถุดิบที่ราคาไม่แพง ผู้ประกอบการอาหารทะเลเองแปรรูปของเหลือทิ้งเป็น
ไคโตซานขายอยู่แล้ว ซึ่งหากเราไม่คิดจะใช้ทำประโยชน์เป็นผลิตภัณฑ์ของตนเอง ของเหล่านี้จะถูกส่งขายไปญี่ปุ่น เพื่อนำ
ไปผ่านการคิด วิเคราะห์และเพิ่มมูลค่า ส่งกลับมาขายในประเทศเราเองในราคาที่แพงกว่าหลายเท่าตัว"

งานวิจัยไคโตซานของรศ.ภูริวัฒน์จึงเริ่มต้นขึ้นโดยมีแนวทางสำคัญคือ การเติมไอเดีย และแนวคิดด้านการตลาดเข้าไปด้วย

นักวิจัยไคโตซานตั้งเป้าจะนำงานวิจัยไปสู่การต่อยอดใช้เชิงพาณิชย์ โดยเน้นงานวิจัยที่ร่วมพัฒนากับเอกชน ทำให้เขาต้อง
เตรียมข้อมูลให้ครบถ้วนทั้งส่วนงานวิจัย และแผนความเป็นไปได้ทางธุรกิจ

"งานวิจัยต่างๆ มักจะเลือกจากสรรพคุณหรือคุณสมบัติที่เหมาะสมแต่เพียงอย่างเดียว แต่พอจะต่อยอดไปสู่เชิงพาณิชย์ ภาค
เอกชนเกิดความลังเลและตั้งคำถาม โดยเฉพาะวัตถุดิบที่จะต้องเพียงพอสำหรับการทำเป็นสินค้าจำหน่ายในท้องตลาด เหมือน
กับกวาวเครือที่เป็นพืชป่า แม้สรรพคุณดี แต่ถ้าจะใช้จริงเป็นจำนวนมาก ๆ ก็มีวันหมด และยังก็ไม่สามารถปลูกได้เอง" นักวิจัย
จี้จุดอ่อน

ตรงกันข้างกับไคโตซาน ที่เรียกได้ว่าไม่ขาดแคลน เนื่องจากไทยส่งออกอาหารทะเลเป็นอันดับ 4 ของโลก และมีเปลือกกุ้ง ปู
แกนปลาหมึกเหลือทิ้ง ทำให้โรงงานอุตสาหกรรมอาหารทะเลมักจะมีโรงงานทำไคโตซานอยู่ใกล้ ๆ ทำให้ความเป็นไปได้เชิง
ธุรกิจสูง

ผลงานชิ้นแรก คือ ฟิล์มไคโตซานผสมสารสกัดขมิ้นชันรักษาแผลร้อนใน ภูริวัฒน์เล่าว่า ตอนนั้นขมิ้นชันกำลังได้รับความสนใจ
จึงนำมาประยุกต์กับไคโตซานที่มีคุณสมบัติที่สามารถยึดติดกับเยื่อเมือกได้ดี เหมาะกับการนำมาปิดแผลร้อนในภายในช่องปาก
หลังจากพัฒนาต้นแบบสำเร็จได้ส่งให้ทันตแพทย์เป็นผู้ทดสอบ ได้ผลออกมาดีมาก และตามมาด้วยการจดสิทธิบัตร

ทิศทางการทำวิจัยของนักวิจัยไคโตซานไม่ได้ตีกรอบกำหนดทิศทางการทำวิจัยเอาไว้ แต่สิ่งเดียวที่ช่วยขยายขอบเขตงาน
วิจัยของเขาออกไปคือ "ไอเดีย"

รศ.ภูริวัฒน์เป็นคนชอบอ่านหนังสือ ทั้งวารสารวิชาการเพื่อติดตามข่าวความก้าวหน้าด้านงานวิจัยจากทั่วโลก หนังสือรวบรวม
บทความ หนังสือแนววิเคราะห์สถานการณ์ เศรษฐกิจ การตลาด แม้กระทั่งนวนิยาย

"การอ่านทำให้เกิดไอเดีย งานวิจัยหลายอย่างผมได้ไอเดียดีๆ มาใช้สร้างผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย"

หนึ่งในผลงานที่พิสูจน์ได้คือ แผ่นซับหน้ามันจากไคโตซานที่ได้ไอเดียจากงานวิจัยของต่างประเทศกับประสิทธิภาพของ
ไคโตซานที่จับและดูดซับไขมันในร่างกายจนเกิดการต่อยอดนำมาทำเป็นอาหารเสริมในรูปแคปซูล ที่ใช้กินเข้าไปดักจับไข
มันในร่างกาย

หลังจากพบว่าไคโตซานสามารถจับและดูดซับไขมันในร่างกายได้ โอกาสพัฒนาผลิตไคโตซานสำหรับเป็นแผ่นดูดซับน้ำมัน
บนใบหน้าก็มีมากเช่นกัน ในที่สุด แผ่นซับหน้ามันจากไคโตซานที่มีต้นทุนที่ถูกกว่าจึงถูกผลิตออกมาแย่งส่วนแบ่งตลาด โดย
ชูจุดเด่นสารจากธรรมชาติไม่ก่อให้เกิดการแพ้หรือระคายเคือง และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ข้อดีทั้งประสิทธิภาพและต้นทุน
ทำให้งานวิจัยชิ้นนี้ได้รับการติดต่อจากเอกชนหลายแห่ง

รศ.ภูริวัฒน์ยังได้ไอเดียดีๆ จากธุรกิจขายยาของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และในฐานะเภสัชกรทำให้ได้
เห็นผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในร้านขายยา มองเห็นตลาด มองเห็นความต้องการของผู้บริโภค และช่องว่างที่ผลิตภัณฑ์ที่มีไม่สามารถ
ตอบโจทย์ความต้องการได้จริง จุดประกายให้เกิดเป็นงานวิจัยออกมาเป็นระยะ

อาทิเช่น น้ำตาเทียมผสมไคโตซาน ที่ใช้ไคโตซานเพียง 1% แต่ได้เปรียบน้ำตาเทียมผสมเซลลูโลสในแง่ความหนืด
ที่สำคัญ ไคโตซานสามารถเปลี่ยนรูปเป็นเจลเคลือบดวงตาเอาไว้ ทำให้คงความชุ่มชื้นของดวงตาได้มากกว่าถึง 40%
ปัจจุบัน ผลงานวิจัยชิ้นนี้อยู่ระหว่างการยื่นขออนุมัติจากคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

แผ่นปิดแผลห้ามเลือดจากไคโตซาน (SeaShell) งานวิจัยใช้ได้จริงแต่ไม่ได้มุ่งหวังเชิงธุรกิจ โดยร่วมมือกับโรงงานเภสัช
กรรมทหารพัฒนาเป็นเครื่องมือช่วยห้ามเลือด ในกรณีของอุบัติเหตุ อาชญากรรมหรือการก่อการร้ายที่ทำให้ทหาร ตำรวจหรือ
ประชาชนเสียเลือดมาก อาจช็อกและเสียชีวิตได้ แผ่นห้ามเลือดไคโตซานจะช่วยลดห้ามเลือดให้ทัน ก่อนส่งถึงมือหมอ
ปัจจุบันเป็นผลิตภัณฑ์ที่ส่งไปช่วยภาคใต้แล้ว

สำหรับของใหม่ในปี 25523 รศ.ภูริวัฒน์มีแผนจะนำไคโตซานไปทำเจลทาผิวไล่ยุงที่มีความพิเศษคือ ทาแล้วจะกายเป็น
ฟิล์มเคลือบผิว ออกฤทธิ์ไล่ยุงในบริเวณกว้าง ไม่ต้องทาทั่วแขนทั่วขา และจะประยุกต์ทำเป็นเจลฟิล์มรักษาส้นเท้าแตกอีกด้วย

เขามองว่า การทำงานวิจัยเฉพาะองค์ความรู้ที่ตนเองถนัดเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอแล้ว นักวิจัยจำเป็นต้องรู้ในสิ่งที่เกี่ยว
ข้องกับงานวิจัยของเรา รู้ในสิ่งที่เอกชนต้องถาม และต้องค้นคว้าหาคำตอบให้ได้ หากทำสำเร็จจะได้รับความเชื่อใจและมั่นใจ
ตลอดจนการสนับสนุนจากภาคเอกชน ซึ่งเป็นผู้นำผลงานไปสานต่อเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นจริง และทำตลาดได้

10 ปีสำหรับการทำวิจัยด้านไคโตซาน รศ.ภูริวัฒน์ยังไม่มีความคิดที่จะหยุดวิจัย เขายังคงเอ่ยถึงงานวิจัยต่างๆ อย่างสนุก
สนาน และบอกเสมอว่า ยังคงสนุกกับการทำวิจัย งานวิจัยแต่ละชิ้น ความมั่นใจมีเพียง 70% ที่จะไปให้ถึงปลายทาง ส่วนอีก
30% ที่เหลือเป็นความท้าทายที่ตัวเขาเองจะต้องขับเคลื่อนให้ไปถึงฝั่งให้ได้

"สิ่งที่สำคัญคือ การลงมือทำ เพราะหากรู้อย่างเดียวไม่ลงมือทำก็จบเกม การขยับตัวลงมือทำทำให้เราได้เรียนรู้กระบวนการ
พบเจอปัญหาและอุปสรรค และต้องแก้ปัญหา เปลี่ยนวิกฤติให้กลายเป็นทางออกที่ดีที่สุด" เจ้าของสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์ไคโตซาน
ให้แง่คิด


Tags : ภูริวัฒน์ ลี้สวัสดิ์ • ไคโตซาน • อาหารทะเล




http://www.creativeenterprise.in.th


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 8:33 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 22/09/2011 4:26 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

680. ไคโตซาน ชะลอความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว สตรอเบอรี่

ปัทมา วิศาลนิตย์
ทศพร ทองเที่ยง
ศูนย์วิจัยและบริการอุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมชีวเคมี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี



สตรอเบอรี่ (Fragaria x annanassa Duch) ที่บริโภคอยู่ในปัจจุบัน เป็นสตรอเบอรี่สมัยใหม่ ซึ่งเป็นลูกผสมที่ได้จากการผสม
พันธุ์ระหว่าง F. chiloensis x F. virginiana

ตามธรรมชาติ สตรอเบอรี่เป็นพืชที่ให้ผลลิตตอบแทนสูงในระยะเวลาอันสั้น คือ เกษตรกรสามารถปลูกสตรอเบอรี่เพื่อผลิตผล
สดได้ประมาณ 2,500-3,000 กิโลกรัมในพื้นที่ 1 ไร่ และราคาที่เกษตรกรขายเพื่อบริโภคสดอยู่ที่กิโลกรัมละ 40-80 บาท

จึงส่งผลให้สตรอเบอรี่เป็นที่นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลายในบริเวณพื้นที่สูงและมีอากาศหนาวเย็นเพียงพอ โดยเฉพาะในบริเวณ
ภาคเหนือของประเทศไทยในเขตจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย

นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมให้แก่เกษตรกรปลูกใน อำเภอด่านซ้ายและอำเภอภูเรือ จังหวัดเลย เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตร
กร และเป็นการสร้างอาชีพที่ยั่งยืน ส่งผลให้สามารถลดปัญหาการย้ายถิ่นฐานและการทำลายป่าไม้ลงได้

หากแต่ในพื้นที่ดังกล่าวยังประสบปัญหาเรื่องเส้นทางในการขนส่ง การขาดความรู้ในด้านเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม
ของเกษตรกรและ การขาดเงินทุนในการสร้างห้องเย็น ซึ่งปัจจัยที่สำคัญในการคงคุณภาพรวมทั้งยืดอายุในการเก็บรักษา เป็น
เหตุให้สตรอเบอรี่เกิดความบอบช้ำเสียหาย อีกทั้งยังประสบปัญหาเรื่องโรคที่เกิดจากเชื้อ Botrytis cinerea และ Rhizopus
spp. ในระหว่างการเก็บรักษาจึงทำให้ไม่สามารถเก็บรักษาผลิตผลไว้ได้นาน ทำให้มีระยะเวลาในการจัดจำหน่ายสั้น ส่งผลให้
ได้รับรายได้จากการจำหน่ายสตรอเบอรี่ลดลง

วิธีการควบคุมปัญหาดังกล่าวก็มีหลายวิธี เช่น การใช้วิธีทางกายภาพหรือการใช้สารเคมี วิธีการควบคุมสภาพบรรยากาศโดยการ
เพิ่มระดับความเข้มข้นของ CO2 ร่วมกับการเก็บรักษาสตรอเบอรี่ในสภาพที่อุณหภูมิต่ำ จะสามารถลดการสูญเสียภายหลังการ
เก็บเกี่ยวได้ แต่มีต้นทุนที่สูง

สำหรับการใช้สารเคมีในการควบคุมการเกิดโรคอาจเกิดสารตกค้างที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้อง
มีการพัฒนาและคิดวิธีการอื่นเพื่อคงคุณภาพภายหลังการเก็บเกี่ยวของสตรอเบอรี่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้สารที่ผลิตมาจากธรรม
ชาติที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค มาใช้ร่วมกับการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวที่ดีก็จะสามารถช่วยยืดอายุหลังการเก็บเกี่ยวของสตรอเบอรี่
ได้นานขึ้น


ไคโตซานเป็นสารที่สกัดมาจากเปลือกกุ้ง หรือเปลือกปลาหมึก ไคโตซานมีชื่อทางเคมีว่า poly-ß (1,2)-2-deoxy-D-
glucose เป็นสารประกอบอินทรีย์ประเภท macromolecule linear polymer polysaccharide ต่อกันด้วยพันธะ 1,4-
ß-glycoside น้ำหนักโมเลกุลสูง ไม่ละลายน้ำ แต่มีสมบัติเป็น cationic polyelectrolyte เนื่องจากมีหมู่ -NH2
ที่ตำแหน่งคาร์บอนตำแหน่งที่สองทำให้ไคโตซานสามารถละลายได้ในสารละลายกรด ได้แก่ สารละลายกรดอินทรีย์ต่างๆ
กรดไฮโดรคลอริกเจือจาง กรดไนตริกเจือจาง และประจุบวก (NH4+)

บนโครงสร้างไคโตซาน สามารถเกิดการ interact กับประจุลบของสารประกอบอินทรีย์ เช่น protein, anionic polysac
charide, nucleic acid ทำให้ได้ประจุไฟฟ้าที่เป็นกลาง

นอกจากนี้ยังสามารถเกิดสารประกอบเชิงซ้อนกับไอออนของโลหะหนักได้โดยใช้ หมู่ NH2- ในการเกิด chelate metal ion
พวก copper, magnesium และสามารถจับกับโลหะได้หลายชนิด เช่น chromium, silver, cadmium

เนื่องจากมีประจุบนสายโมเลกุล จึงสามารถย่อยสลายเองได้ตามธรรมชาติโดยไม่ก่อให้เกิดการตกค้างและเป็นมลภาวะต่อสิ่งแวด
ล้อม อีกทั้งยังพบว่าไคโตซานเป็นตัวเหนี่ยวนำให้สร้างเอนไซม์ chitinase และß-1,3 glucanase ซึ่งเอนไซม์ทั้ง
สองนี้สามารถเปลี่ยนแปลงโมเลกุลของไคติน (chitin)และ กลูแคน ซึ่งเป็นองค์ประกอบของผนังเซลล์เชื้อราส่วนใหญ่ เพื่อ
ยับยั้งการเจริญของเชื้อราที่ก่อให้เกิดโรคในพืชได้

จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าไคโตซานช่วยในการควบคุมโรคและ คุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผลไม้หลายชนิดเช่น มะม่วง
(วิเชียร, 1998), สตรอเบอรี่ (Zhang และQuantick, 1998) เป็นต้น

นอกจากนี้ยังพบว่าการเคลือบผลิตผลด้วยไคโตซาน ยังช่วยคงคุณภาพภายหลังการเก็บเกี่ยวของสตรอเบอรี่ทั้งในด้านของความ
แน่นเนื้อ กลิ่นรส สี และคงความยอมรับของผู้บริโภคไว้ เนื่องจากการเคลือบไคโตซานจะทำให้เปลือกของสตรอเบอรี่มีลักษณะ
เป็น semipermeable films จึงทำให้เกิดสภาพดัดแปลงของระดับ ก๊าซ O2 CO2 และ ethylene ภายในผลิตผล ส่งผล
ให้ขบวนการ metabolic activity เกิดขึ้นช้าลง จึงไปชะลอให้ขบวนการสุกเกิดขึ้นช้าลงด้วย ซึ่งประสิทธิภาพในการควบคุมแตก
ต่างกันไปตามชนิดของไม้ผล ความเข้มข้นของไคโตซานที่ใช้ และอายุทางสรีระวิทยาของไม้ผล

จากประโยชน์ดังกล่าวหากนำไคโตซานซึ่งเป็นกลุ่มสารที่ผลิตจากธรรมชาติมาใช้ นอกจากจะช่วยลดการสูญเสียและ การเกิดโรค
หลังการเก็บเกี่ยวได้แล้วยังไม่ก่อให้เกิดสารตกค้างที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและ สิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบ
เกษตรอย่างยั่งยืน

จึงได้มีการทดลองนำไคโตซานมาใช้ในการควบคุมคุณภาพและ โรคผลเน่าหลังการเก็บเกี่ยวสตรอเบอรี่ที่ปลูกในพื้นที่บ้านห้วย
น้ำผัก ตำบลแสงภา อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย ในปี 2546 โดยการใช้สตรอเบอรี่พันธุ์พระราชทาน 50 ที่มีระดับความสุกแก่ 75%
จุ่มในไคโตซานที่ความเข้มข้น 60 80 และ 100 ppm เป็นเวลา 2 นาที แล้วเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง (26°C) เป็นเวลา 5 วัน
พบว่า

ผลของสตรอเบอรี่ที่จุ่มในไคโตซานเข้มข้น 100 ppm มีระดับการยอมรับคุณภาพด้านสี เนื้อสัมผัส กลิ่น รสชาติ และการยอม
รับโดยรวมของผู้บริโภคสูงกว่าผลที่จุ่มในไคโตซานทุกความเข้มข้น แต่ผลของสตรอเบอรี่ที่จุ่มในไคโตซานทุกระดับความเข้มข้น
จะมีค่าความแน่นเนื้อและ ปริมาณของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมดไม่แตกต่างกันทางสถิติ

ส่วนในด้านการเกิดโรคและความรุนแรงในการเกิดโรค พบว่าผลสตรอเบอรี่ที่จุ่มลงในไคโตซาน 100 ppm มีจำนวนผลที่การเกิด
โรคน้อยกว่า และระดับความรุนแรงการเกิดโรคต่ำที่สุด

ผลจากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าไคโตซานสามารถยืดอายุและ ลดการเกิดโรคในสตรอเบอรี่ภายหลังการเก็บเกี่ยวได้ และพบว่า
การจุ่มสตรอเบอรี่ลงในไคโตซานเข้มข้น 100 ppm สามารถลดการเกิดโรคและชะลอการเปลี่ยนแปลงทางด้านเคมีของผล
สตรอเบอรี่ได้ในระยะเวลาหนึ่ง ทำให้สามารถยืดระยะเวลาในการเก็บรักษาเพื่อรอจำหน่ายได้นานขึ้น เมื่อเทียบกับวิธีการปกติ
ของเกษตรกร ซึ่งไม่ได้ทำการเคลือบผิวสตรอเบอรี่ด้วยไคโตซาน นอกจานี้การใช้ไคโตซานเคลือบผิวเป็นวิธีการที่ใช้เงินลงทุน
เบื้องต้นต่ำเมื่อเทียบกับวิธีอื่น

แต่อย่างไรก็ตามยังต้องการการศึกษาความเข้มข้นของไคโตซานที่เหมาะสมที่สุด เพราะ การเพิ่มความเข้มข้นให้มากขึ้นอาจ
ส่งผลให้สามารถลดการเกิดโรค และยืดอายุในการเก็บรักษาสตรอเบอรี่ได้นานขึ้น แต่หากใช้ความเข้มข้นมากเกินไปอาจก่อให้เกิด
ผลเสียต่อสตรอเบอรี่ ซึ่งอาจมีอาการสุกที่ผิดปกติ มีกลิ่นหมัก โดยอาจไม่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคได้

นอกจากนี้การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม ก็มีส่วนสำคัญในการรักษาคุณภาพของผลสตรอเบอรี่ให้ยาวนานขึ้น ซึ่งจะต้อง
มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีนี้ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรผู้ปลูกสตรอเบอรี่ ในการจำหน่ายสตรอเบอรี่ให้ได้ในราคาที่สูงขึ้นและ
ผู้บริโภคที่ได้บริโภคสตรอเบอรี่อย่างปลอดภัยในอนาคตต่อไป




http://digital.lib.kmutt.ac.th/magazine/issue3/article2.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 22/09/2011 4:36 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

681. ยืดอายุมังคุดหลังเก็บเกี่ยวด้วย “ไคโตซาน” สดนานกว่าเดิม 3 เท่า


“มังคุด” สินค้าเกษตร ได้รับสมญานามว่าเป็น “ราชินีแห่งผลไม้ (Queen of the Fruit) ในปัจจุบันยังคงมีความสำคัญทาง
เศรษฐกิจ โดยมีมูลค่าการตลาดภายในประเทศโดยรวมปีละหลายพันล้านบาท เนื่องจากมังคุดมีรสชาติพอเหมาะและกลิ่นหอม
น่ารับประทาน และยังสามารถสร้างรายได้ในการส่งออกต่างประเทศได้อย่างดีหลายประเทศ


แต่ปัญหาการส่งออกมังคุดที่สำคัญในการเน่าเสียและมีอายุการวางขายในตลาดสั้นโดยเฉลี่ย เพียง 5-6 วัน นั้นเป็นตัวการสำคัญ
ที่ทำให้คุณภาพของมังคุดต่ำลง ส่งผลถึง
ราคา เนื่องจากต้องใช้เวลายาวนานในการขนส่ง ครั้นส่งไปทางเครื่องบินก็ทำให้ค่าระวางเป็นตัวเพิ่มต้นทุนที่นับว่าอยู่ในระดับสูง
แต่เพื่อให้ต้นทุนต่ำลงจึงจำเป็นต้องมีการขนส่งทางเรือง ซึ่งต้องใช้เวลานาน ส่งผลกระทบถึงความสดของมังคุด


ตอนนี้ทางกรมประมงได้มีการค้นพบวิธีการยืดอายุความสดของมังคุดจากสารสกัดที่ได้จาดสัตว์น้ำ โดย นายประสิทธิ บุณยรัตผลิน
อธิบดีกรมประมง ได้กล่าวว่า กรมประมงได้ประสบความสำเร็จในการผลิตไคซานจากเปลือกหรือกระดองของสัตว์น้ำ เช่น เปือกกุ้ง
กระดองปู กระดองหมึก ซึ่งเป็นวัสดุเศษเหลือทิ้งหรือจำหน่ายในราคาถูก นำมาสกัดเป็นไคโตซานที่กรมประมงค้นพบ สามารถยืด
อายุผลไม้หลังการเก็บเกี่ยวเพื่อเพิ่มมูลค้าของผลไม้ โดยเฉพาะมังคุด เพราะไคโตซานที่กรมประมงค้นพบ สามารถยืดอายุความสด
ของมังคุดจาก 10 วัน เป็น 30 วัน และมังคุดเป็นผลไม้ไทยที่ตลาดต่างประเทศต้องการ การยืดอายุความสดของผลไม้ด้วยไคโตซาน
ไม่มีอันตรายเพระผลิตจากธรรมชาติ


ส่วนผู้วิจัยจนประสบความสำเร็จในการผลิตไคโตซานดังกล่าวคือ ดร. อัธยา กังสุวรรณ หัวหน้ากลุ่มวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพ
และคณะ กองพัฒนาอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ กรมประมง ดร. อัธยา กังสุวรรณ กล่าวว่า ไคโตซานเป็นอนุพันธ์ของไคตินที่เป็นองค์
ประกอบหลักของเปลือกสัตว์น้ำพวกข้อปล้อง เช่น กุ้ง ปู และกระดองหมึก มีคุณสมบัติทางเคมีเป็นสารประกบน้ำตลโมเลกุลยาว
ละลายในกรดอินทรีย์ เช่น กรดน้ำส้ม กรดเล็กติก เป็นต้น ปัจจุบันมีการนำมาใช้ประโยชน์ทั้งการเกษตร การแพทย์ และ
เครื่องสำอาง โดยก่อนหน้าที่ทางกรมประมงได้มีการทดลองยืดอายุการเก็บรักษาสัตว์น้ำมาแล้ว เช่น ปลาสลิด ที่สามารถเก็บรักษา
ที่ทอดเป็นเวลานานถึง 2 เดือน โดยไม่เกิดเชื้อรา


“ไคโตซาน เป็นสารละลายที่สามารถจับตัวเป็นไฟเบอร์หรือเป็นเยื่อบาง ๆ มีประจุบวกที่สามารถเคลือบติดกับผิวของเปลือกได้
มีคุณสมบัติยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราได้หลายชนิด และสามารถป้องกันการระเหยของน้ำทำให้มังคุดชุ่มชื้น และยัง
สามารถป้องกันการทำปฏิกิริยาโดยตรงกับออกซิเจนในอากาศกับเปลือกมังคุด ซึ่งสามารถรักษาสีของมังคุดไม่ให้ซีดจางไป
และเป็นสารธรรมชาติซึ่งไม่มีผลข้างเคียงกับทั้งสิ่งแวดล้อมและผู้ใช้ถึงแม้มีการเคลือบสารตัวนี้ไปแล้ว สามารถล้างออกได้ด้วย
น้ำเปล่าหรือไม่ล้างก็ไม่มีผลกระทบต่อร่างกาย แต่ไคโตซานในแต่ละชนิดทั้งกุ้ง ปู และปลาหมึก จะเหมาะกับวัตถุประสงค์ต่างกัน
เช่น ต้องการนำสารละลายนำไปเคลือบหรือฉีดพ่น นำไปลดหรือนำไปดักจับโลหะหนักในการผลิตน้ำผลไม้ หรือไวน์ให้บริสุทธิ์
เราจึงต้องเร่งศึกษาเรื่องนี้” ดร. อัธยา กล่าวเสริม


จากการศึกษาพบว่า ไคโตซานไม่ว่าจะแช่เย็นหรืออยู่ในอุณหภูมิห้องก็มีคุณสมบัติเหมือนกัน เพียงแต่ว่าสภาพการเก็บรักษา
จะมีผลทางอ้อมกับตัวมังคุดเอง ซึ่งไคโตซานอาจคล้ายกับตัวช่วยในการเก็บรักษาให้ยาวขึ้นโดยป้องกันการเกิดปฏิกิริยาบาง
อย่างที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่เมื่อนำไคโตซานไปเคลือบแล้ว สามารถป้องกันได้ทั้งเชื้อราหรือพวกปฏิกิริยาที่เรียกกันว่า การ
เติมออกซิเจนจากอากาศที่เรียกสารเคมีตัวนี้ว่า ออกซิเดชั่น เป็นสารที่ทำให้สีของมังคุดซีดจาง แต่ไคโตซานจะสามารถป้อง
กันได้ระดับหนึ่ง และเมื่อเคลือบเสร็จแล้วถ้านำไปแช่เย็นก็ยิ่งจะเคลือบไว้ได้นานขึ้น หากนำไว้ในที่อุณหภูมิห้องก็ยังสามารถยืด
อายุได้แต่อาจน้อยกว่าการแช่เย็น ซึ่งเป็นเรื่องของสภาพการเก็บรักษา และยังสามารถป้องกันการระเหยของน้ำได้ระดับหนึ่ง ซึ่ง
เป็นอีกจุดหนึ่งที่สามารถเก็บรักษามังคุดได้ในระยะเวลาที่นานกว่าปกติ



ที่มา : เทคโนโลยีชาวบ้าน
http://www.phtnet.org/article/view-article.asp?aID=9
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 22/09/2011 4:50 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

682. สรุปขั้นตอนการผลิตสารไคตินและไคโตซาน จากเปลือกกุ้ง


1. ของเหลือจากกุ้ง
2. บดคัดขนาด
3. แยกโปรตีนออก ( โดยต้มกับด่าง 4-8 %)
4. ล้างน้ำให้หมดด่าง
5. แยกเกลือแร่ออก (โดยต้มกับกรด 4-8 %)
6. ล้างน้ำแล้วทำแห้ง
7. เป็นไคติน
8. ทำปฏิกิริยาลดหมู่อะซีติล (โดยใช้ด่างเข้มข้น 40-50 % ภายใต้อุณหภูมิสูง)
9. ล้างน้ำแล้วทำแห้ง
10. เป็นไคโตซาน



การใช้ประโยชน์จากไคโตซาน
ปัจจุบันไคโตซานถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในด้านวงการเกษตร อาหารเสริมสุขภาพ และอีกหลายวงการ เช่น

1. การใช้กับพืชผักผลไม้
ในด้านการเกษตรกรรมนั้นมีการนำไคโตซานมาใช้เป็นอาหารเสริมให้แก่พืชเพื่อช่วยควบคุมการทำงานของพืชผลไม้และ
ต้นไม้ให้ทำงานได้ดีขึ้นคล้ายๆกับการเพิ่มปุ๋ยพิเศษให้แก่พืชผักผลไม้ นอกจากนี้ยังนำไปใช้ในการป้องกันโรคที่เกิดจาก
จุลินทรีย์ และเชื้อราบางชนิดอีกด้วย ซึ่งตามคำโฆษณาบอกไว้ ดังนี้

- ช่วยให้พืชมีการเจริญเติบโตที่ดีขึ้น
- ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่ต้นพืช ผัก ผลไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ
- ช่วยป้องกันการเกิดโรคซึ่งเกิดมาจากเชื้อจุลินทรีย์ในดิน
- ไปกระตุ้นการสร้างภูมิต้านทานให้แก่เมล็ดพืชที่จะนำไปเพาะขยายพันธุ์ทำให้มีอัตราการขยายพันธุ์เพิ่มขึ้น

ทุกวันนี้เกษตรกรได้นำเอาผลิตภัณฑ์ไคโตซานไปใช้ประโยชน์กับพืชผักผลไม้หลายชนิดแล้ว เช่น หน่อไม้ฝรั่ง, ต้นหอม, คะน้า,
แตงโม, ข้าว, ถั่ว, ข้าวโพด ตลอดจนไม้ดอกไม้ประดับที่มีราคาสูงหลายชนิด เช่น ดอกคาร์เนชั่น ดอกเยอบีร่าพันธุ์นอก ดอก
แคดิโอลัสและดอกบานชื่นฝรั่ง เป็นต้น



2. การใช้ไคโตซานในวงการประมง
ในวงการประมงนั้นขณะนี้ได้มีการนำไคโตซานมาใช้ประโยชน์ในด้านการยืดอายุการรักษา และเก็บถนอมอาหารที่เป็นผลิต
ภัณฑ์จากสัตว์น้ำ และในขั้นต้นนี้ได้สกัดโปรตีนจากหัวกุ้งด้วยกระะบวนการย่อยด้วยแบคทีเรีย กรดแล็คติด (lectic acid
bacteria) เพื่อนำโปรตีนนั้นมาใช้ในแง่เป็นสารเสริมคุณค่าอาหารและของว่างที่ทำจากสัตว์น้ำ การปรุงแต่งรส และกลิ่น
ในอาหารขบเคี้ยวที่เป็นผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ เป็นต้น

นอกจากนี้ฝ่ายเอกชนหลายแห่งได้นำไคโตซานมาใช้ประโยชน์ในด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ วิธีการนั้นมีหลายรูปแบบ ได้แก่การคลุกกับอาหารเม็ด ในอัตราส่วนต่างๆกันเพื่อให้กุ้งกิน
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการไปกระตุ้นภูมิต้านทานโรคในตัวกุ้ง และเพื่อเป็นส่วนไปกระตุ้นการย่อยอาหารและการเจริญ
เติบโต ประโยชน์อีกด้านหนึ่งที่ผู้ขายโฆษณาไว้ก็คือ การช่วยให้เม็ดอาหารคงรูปอยู่ในน้ำได้นานกว่าโดยการเคลือบสาร
ไคโตซานบนอาหารที่จะหว่านให้กุ้งกิน บางรายก็แนะนำให้เติมลงไปในน้ำเพื่อช่วยปรับสภาพแวดล้อมให้ดีอยู่เสมอ



3. การใช้ไคโตซานในวงการแพทย์
ไคโตซานที่ใช้ในการแพทย์และมีผลที่เชื่อถือได้ ได้ดำเนินการมาหลายปีแล้ว เช่น การใช้ประโยชน์โดยนำมาประกอบ
เป็นอาหารเพื่อลดน้ำหนัก ทำผลิตภัณฑ์เสริมความงาม เช่น ครีมทาผิว ทำเป็นแผ่นไคโตซานเพื่อปิดปากแผลที่เกิดจาก
การผ่าตัดเฉพาะที่ ซึ่งพบว่าแผ่นไคโตซานจะช่วยให้คนป่วยเกิดการเจ็บปวดแผลน้อยกว่าการใช้ผ้าก๊อซชุบน้ำมันวาสลิน
มาปิดแผลเหมือนที่เคยปฏิบัติมาในสมัยก่อน นอกจากนี้เวลาที่แผลปิดดีแล้วและมีการลอกแผ่นไคโตซานออก ยังสะดวก
และง่ายกว่าการลอกแถบผ้าก๊อชเพราะจะไม่มีการสูญเสียเลือดที่เกิดจากการลอกแผ่นปิดแผลออกทำให้ผู้ป่วยไม่เจ็บปวด
เท่ากับการใช้แถบผ้าก๊อซปปิดแผล นอกจากนี้ยังใช้ไคโตซานไปเป็นส่วนผสมของยาหลายประเภท เช่น ยาที่ใช้พ่นทาง
จมูกเพื่อบรรเทาอาการโรคทางเดินหายใจ



การพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของไคโตซาน
ประการแรกที่จะดูว่าไคโตซานแท้หรือไม่นั้น ให้ดูที่ลักษณะของสาร ไคโตซานที่แท้หรือบริสุทธิ์นั้นจะต้องใสไม่เหนียว
หนืดเกินไป และเมื่อเวลาเปิดขวดหรือภาชนะที่บรรจุไคโตซานจะต้องไม่มีลมออกมาเพราะหากมีลมออกมา ลมที่ออกมา
คือ การเน่าบูดของสารบางชนิด หรือพูดง่ายๆก็คือกระบวนการสกัดไคโตซานไม่บริสุทธิ์ ถ้านำไปใช้จะทำให้น้ำใน
บ่อเสียเร็วขึ้นและทำให้สัตว์น้ำติดเชื้อได้

ประการที่สองคือการทดสอบด้วยน้ำยาล้างจาน โดยการหยดน้ำยาล้างจานลงในไคโตซานในปริมาณที่เท่ากัน หากเป็นไคโตซาน
ที่บริสุทธิ์ตัวไคโตซานจะจับตัวกันเหมือนไข่ขาว แต่ถ้าเป็นไคโตซานไม่บริสุทธิ์ก็จะไม่มีอะไรเกิดขึ้น




http://www.nicaonline.com/articles9/site/view_article.asp?idarticle=158
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 22/09/2011 7:09 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

683. เชียงรายสามารถปลูกยางเพิ่มอีก 1 ล้านไร่


รมช.เกษตรฯ เปิดสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดเชียงราย ชี้เชียงรายมีศักยภาพปลูกยางพารา
ได้อีก 1 ล้านไร่


นายศุภชัย โพธิ์สุ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังพิธีเปิดที่ทำการสำนักงานกองทุน
สงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัด เชียงราย ว่า จังหวัดเชียงรายถือว่าเป็นแหล่งปลูกยางพาราที่มีความสำคัญ โดยมี
เกษตรกรชาวสวนยางจำนวนกว่า 15,000 ครอบครัว มีพื้นที่ปลูกยางพารามากกว่า 350,000 ไร่ และสามารถเปิด
กรีดยางพาราได้ไม่ต่ำกว่า 5,000 ไร่ และกำลังจะเปิดกรีดอีกนับแสนไร่ ซึ่งจะสร้างรายได้สู่เกษตรกรชาวสวนยาง
ในอนาคต ทำเงินหมุนเวียนสู่ระบบเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงราย ประมาณ 10 ล้านบาท


นอกจากนี้ ศักยภาพของจังหวัดเชียงรายยังมีที่ดินที่สามารถปลูกสร้างสวนยางอีกไม่ต่ำ กว่า 1 ล้านไร่ สำนักงานกองทุน
สงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดเชียงราย จะต้องทำหน้าที่ติดตามให้การดูแลเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการปลูก
ยางพาราเพื่อ ยกระดับรายได้และความมั่นคงให้แก่เกษตรกรในแหล่งปลูกยางใหม่ ระยะที่ 1 และโครงการปลูกยาง
พาราในที่แห่งใหม่ให้เกษตรกรรายย่อยที่ไม่เคยมีสวนยางมา ก่อน ได้ปลูกยางพาราเพื่อเพิ่มรายได้แล้ว ซึ่งมีพื้นที่ใน
ภาคเหนือจำนวน 150,000 ไร่ จากพื้นที่เป้าหมายทั้งสิ้น 800,000 ไร่ ตลอดจน
สามารถให้บริการรองรับภารกิจ
ที่เพิ่มขึ้นได้อย่างมี ประสิทธิภาพ.



-สำนักข่าวไทย



http://news.thaibizcenter.com/hotnews.asp?newsid=9987


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 22/09/2011 7:15 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 22/09/2011 7:15 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

684. ไทยมุ่งพัฒนา อ้อย-ยางพารา ในศรีลังกา


เกษตรฯ ให้ความร่วมมือศรีลังกาพัฒนาการปลูกอ้อย-ยางพารา เพื่อพัฒนาการค้าการลงทุนระหว่างสองประเทศ หวังขยาย
ลู่ทางการเกษตรในเชิงอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น


นายธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการหารือร่วมกับนายมาฮินดา สมราสิงเห
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมการเพาะปลูกศรีลังกา ว่า ได้หารือความร่วมมือในการพัฒนาการปลูกอ้อยและยางพารา
ซึ่งศรีลังกาให้ความสนใจมาก กระทรวงเกษตรฯ พร้อมที่จะมีความร่วมมือทางวิชาการ โดยขณะนี้ไทยมีพื้นที่ปลูก
อ้อยประมาณ 6.3 ล้านไร่ มีผลผลิตอ้อยประมาณ 69 ล้านตันต่อปี โดยสามารถผลิตเป็นน้ำตาลได้ประมาณ 6.9 ล้านตัน
เป็นการบริโภคในประเทศ 2.1 ล้านตัน และส่งออกไปยังประเทศต่างๆ 4.8 ล้านตัน ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ได้แก่ อินโดนีเซีย
ญี่ปุ่น กัมพูชา และมาเลเซีย ส่วนยางพารามีพื้นที่การปลูกยางพาราประมาณ 16.89 ล้านไร่ ก่อให้เกิดกิจกรรมต่อ
เนื่องทั้งภาคการผลิตทางการเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และภาคการตลาด


สำหรับมูลค้าการค้าระหว่างไทย-ศรีลังกา ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้า สามารถส่งออกสินค้าเกษตรไปศรีลังกาเพิ่ม
ขึ้นจาก 1,914 ล้านบาท ในปี 2550 เป็น 3,361 ล้านบาท ในขณะที่นำเข้าลดลงจาก 196 ล้านบาท ในปี 2550 เป็น
77 ล้านบาท ในปี 2552 สินค้าเกษตรส่งออกสำคัญของไทยได้แก่ น้ำตาล ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ อาหารปรุงแต่ง ของ
ปรุงแต่งจากธัญพืชและพืชผัก สินค้าเกษตรนำเข้าจากศรีลังกาส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์แป้งจากธัญพืช มีมูลค่านำ
เข้าประมาณ 53 ล้านบาท สินค้าเกษตรแปรรูปของไทยหลายชนิด เช่น ผลไม้แปรรูป กะทิกระป๋อง ปลา อาหารทะเล
และแป้งมันสำปะหลังของไทยมีลู่ทางที่ดีในตลาดนี้ และเป็นที่ต้องการมาก


นอกจากนี้เครื่องจักรที่ใช้ในการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรที่ไทยผลิตได้โดย ใช้เทคโนโลยีขั้นต้นสามารถเจาะ
ตลาดศรีลังกาได้เช่นกัน เช่น เครื่องนวดข้าว เครื่องปอกเปลือกมะพร้าว เครื่องปั่นไฟเครื่องให้ออกซิเจนในนากุ้ง เป็นต้น
ศรีลังกายังมีทรัพยากรสัตว์น้ำมากพอที่ไทยจะเข้ามาร่วมทุนทำการประมงชายฝั่ง รวมทั้งการตั้งโรงงานผลิตสินค้าเกี่ยว
กับผลิตภัณฑ์อาหารทะเลได้.



-สำนักข่าวไทย



http://news.thaibizcenter.com/hotnews.asp?newsid=9801
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 22/09/2011 7:27 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

685. วิกฤตน้ำบาดาล


น้ำบาดาลในกรุงเทพมหานครและรอบข้าง


กรุงเทพมหานครตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนใต้ ลึกลงไปในพื้นดินของเมืองกรุงเทพจะมีแหล่งเม็ดกรวดและทราย
ซึ่งจะมีขนาดใหญ่และกลมมน จึงสามารถกักเก็บน้ำบาดาลไว้ได้มากเราเรียกชั้นเม็ดกรวดทรายว่า ชั้นน้ำบาดาล ชั้นน้ำบาดาลนี้
จะวางตัวสลับอยู่กับชั้นของดินเหนียว จึงทำให้มีชั้นน้ำบาดาลหลายชั้น แต่ละชั้นแยกจากกัน เพราะมีชั้นดินเหนียวคั่นอยู่ ชั้นน้ำ
ดังกล่าวแผ่ขยายไปทางทิศเหนือ ถึงจังหวัดชัยนาท และกระจายไปทางทิศตะวันตกและตะวันออกของกรุงเทพ จรดขอบแอ่งเจ้า
พระยา แผ่ไปทางใต้จรดอ่าวไทย ดังนั้นกรุงเทพของเราจึงมีแหล่งน้ำบาดาลขนาดใหญ่และมีปริมาณมากที่สุด

ผลการเจาะสำรวจปิโตรเลียมพบว่าบริเวณท้องที่อำเภอภาษีเจริญมีชั้นกรวดทรายสลับชั้นดินเหนียวหนาถึง 1,830 เมตร คือ
เกือบ 2 เมตร และชั้นน้ำบาดาลจากผิวดินลึกลงไป 600 เมตร แบ่งได้ 8 ชั้น ส่วนที่ลึกลงไปกว่านั้นก็ยังมีชั้นบาดาลอยู่อีก แต่
ยังไม่มีการใช้ ชั้นน้ำ 8 ชั้นดังกล่าวมีดังนี้


ชั้นที่ 1
ชั้นน้ำกรุงเทพฯ ความลึก 50 เมตร เป็นชั้นน้ำบนสุดและส่วนบนของชั้นน้ำปกคลุมด้วยดินเหนียว ชั้นน้ำกรุงเทพฯมีปริมาณน้ำ
มาก แต่คุณภาพไม่เหมาะสม กับการบริโภคเพราะเป็นน้ำเค็ม ยกเว้นด้านใต้และตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงเทพที่เป็นน้ำกร่อย
พอจะใช้ได้แทรกอยู่ในระดับ 50-60 เมตร

ชั้นที่ 2
ชั้นน้ำพระปะแดง ความลึก 100 เมตร เป็นชั้นน้ำที่อยู่ถัดจากชั้นน้ำกรุงเทพฯ ปริมาณน้ำในชั้นน้ำนี้มีมากเหมือนกัน แต่
คุณภาพจะเป็นน้ำกร่อย หรือไม่ก็ค่อนข้างเค็มเป็นส่วนใหญ่ จะมีที่เป็นน้ำจืดก็คือบริเวณอำเภอพระปะแดง อำเภอเมืองสมุทร
ปราการ และฝั่งธนบุรีตอนใต้ ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนไปเป็นน้ำกร่อย และบางแห่งเปลี่ยนไปเป็นน้ำเค็มไปแล้ว เนื่องจากมีการสูบน้ำ
ขึ้นมาใช้เป็นจำนวนมาก

ชั้นที่ 3
ชั้นน้ำนครหลวง ความลึก 150 เมตร เป็นชั้นน้ำที่อยู่ถัดจากชั้นน้ำพระปะแดงลงไป ประกอบด้วยกรวดทรายที่แผ่ขยายไปถึง
จังหวัด ชัยนาท และไปทางตะวันออกและตะวันตก เป็นชั้นน้ำที่มีการสูบน้ำมาใช้กันมากที่สุด เนื่องจากเป็นน้ำดีทั้งปริมาณและ
คุณภาพ ยกเว้นบริเวณฝั่งธน และตอนใต้ของกรุงเทพฯ ที่เป็นน้ำกร่อยถึงเค็ม บ่อที่เจาะลึกถึงชั้นน้ำนครหลวงสามารถสูบน้ำ
ได้อัตรา 100-300 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง

ชั้นที่ 4
ชั้นน้ำนนทบุรี ความลึก 200 เมตร ชั้นน้ำนี้วางตัวขนานกับชั้นน้ำนครหลวง มีคุณสมบัติทางอุทกธรณีวิทยา คล้ายคลึง
กับสภาพน้ำบาดาลในชั้นน้ำนครหลวง ปริมาณน้ำสามารถสูบได้ถึง 150-300 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่งโมง ซึ่งในชั้นเดิมที
ก่อนปี 2518 ไม่ค่อยได้มีการเจาะลึกลงมาสถึงเพราะอยู่ลึกมากทำให้ค่าใช้จ่ายสูง แต่เมื่อชั้นน้ำนครหลวงเริ่มเกิดวิกฤตการณ์
น้ำบาดาลขึ้น คุณภาพที่ดีเริ่มเปลี่ยนไป ในปัจจุบันบ่อน้ำบาดาลขนาดใหญ่ๆ ของการประปานครหลวง และโรงงานอุตสาหกรรม
ขนาดใหญ่ ได้เจาะลึกถึงชั้นน้ำนนทบุรีแล้ว จึงทำให้เกิดวิกฤตการณ์น้ำบาดาลในบางบริเวณขึ้นแล้วขณะนี้

ชั้นที่ 5
ชั้นน้ำสามโคก ความลึก 300 เมตร ชั้นน้ำนี้วางตัวอยู่ใต้ชี้นนนทบุรี บ่อน้ำบาดาลส่วนใหญ่ที่เจาะอยู่ในชั้นนี้จะอยู่บริเวณเหนือ
จ.นนทบุรี จนถึงตัว จ.ปทุมธานี คุณภาพน้ำไกล้เคียงกับชั้นน้ำนนทบุรี แต่มีปริมาณน้ำน้อยกว่า

ชั้นที่ 6
ชั้นน้ำพญาไท ความลึก 350 เมตร ชั้นน้ำพญาไทนี้มีลักษณะทางอุทกธรณีวิทยา และสภาพน้ำบาดาลเหมือนกับชั้นน้ำสามโคก
โดยมีแหล่งน้ำจืดเฉพาะด้านเหนือ ตะวันออก และตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงเทพมหานคร ส่วนทางใต้และเขตธนบุรีจะเป็น น้ำเค็ม

ชั้นที่ 7
ชั้นน้ำธนบุรี ความลึก 450 เมตร ชั้นน้ำธนบุรีนี้จะอยู่ใต้ชั้นน้ำพญาไท น้ำบาดาลในชั้นนี้ส่วนใหญ่จะเป็นน้ำจืดและค่อนข้างจืด
ยกเว้นบริเวณฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของธนบุรี จะเป็นน้ำกร่อยจึงเค็ม

ชั้นที่ 8
ชั้นน้ำปากน้ำ ความลึก 500 เมตร เป็นชั้นน้ำบาดาลที่ลึกที่สุดที่ให้น้ำจืดทุกบริเวณ ในปัจจุบันได้มีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่
เจาะบ่อและสูบน้ำจากชั้นน้ำนี้ โดยเฉพาะในบริเวณที่ชั้นน้ำระดับตื้นกว่าเป็นน้ำเค็ม เช่น บริเวณอำเภอพระปะแดง จ.สมุทรปรา
การ บ่อสามารถสูบได้มากกว่า 45 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่งโมง และชั้นน้ำนี้ให้ความร้อนอุณหภูมิสูงถึง 48 องศาเซลเซียส
เพราะฉะนั้นน้ำที่สูบขึ้นมาจะเป็นน้ำร้อน




http://www.pwa.co.th/document/deepwell.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 23/09/2011 9:22 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

686. ร้องระงับขึ้นทะเบียนเคมีกำจัดศัตรูพืชร้ายแรง 4 ชนิด


29 สิงหาคม 2554 เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก ลงนามท้ายจะหมายโดยนายอุบล อยู่หว้า ผู้ประสานงานเครือข่ายเกษตร
กรรมทางเลือก ทำจดหมายถึงนายธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรียกร้องให้ระงับการขึ้นทะเบียนสาร
เคมีกำจัดศัตรูพืชร้ายแรง 4 ชนิด

โดยจดหมายระบุว่า ตามที่กรมวิชาการเกษตร กำลังจะอนุญาตให้มีการขึ้นทะเบียนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชร้ายแรงอย่างน้อย 3 ชนิด คือ

คาร์โบฟูราน
ไดโครโตฟอส และ
เมโทมิล

(ส่วน อีพีเอ็น ยังไม่พบรายงานการขอขึ้นทะเบียน) ซึ่งเป็นสารกำจัดศัตรูพืชที่มีพิษร้ายแรงและหลายประเทศทั่วโลกห้ามใช้
โดยขณะนี้ได้ผ่านพิจารณาแล้ว 2 ขั้นตอน คือ

ขั้นตอนที่ 1 การทดลองเบื้องต้น
ขั้นตอนที่ 2 การทดลองใช้ชั่วคราว และเหลือเพียงการพิจารณาขั้นสุดท้าย คือ
ขั้นตอนที่ 3 การประเมินผลขั้นสุดท้าย
เพื่อรับขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย โดยคาดว่าจะมีการอนุญาตให้มีการขึ้นทะเบียนในเร็วๆ นี้นั้น เครือข่ายเกษตรทางเลือก
และเครือข่ายผู้บริโภคเห็นว่าสารเคมีทั้ง 4 ชนิด คือ

คาร์โบฟูราน
เมโทมิล
ไดโครโตฟอส และ
อีพีเอ็น

นั้นจัดเป็นสารพิษร้ายแรงที่ทำให้เกิดพิษ มีผลต่อระบบประสาท การหายใจ ระบบสืบพันธุ์ และเป็นสารก่อมะเร็ง โดยหลาย
ประเทศทั่วโลก เช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และเพื่อนบ้านในทวีปเอเชียได้ห้ามใช้แล้ว อีกทั้งยังมีผลกระทบต่อสิ่งแวด
ล้อม และมีผลต่อการส่งออกสินค้าผักและผลไม้ของไทยไปยังต่างประเทศ (ตามเอกสารแนบ) จึงขอเรียกร้องให้รัฐมนตรี
ว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการสั่งการให้ยุติการนำเข้าและการขึ้นทะเบียนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างน้อย
4 ชนิด คือ

คาร์โบฟูราน
เมโทมิล
ไดโครโตฟอส และ
อีพีเอ็น

โดยทันที และให้กรมวิชาการเกษตรเปิดเผยข้อมูลเอกสารข้อมูลการยื่นขอทะเบียน ข้อมูลและผลการทดลองที่เกี่ยวกับ
ประสิทธิภาพ การเกิดพิษทั้งระยะสั้นและระยะยาว ผลตกค้างและอื่นๆ และให้เปิดเผยรายชื่อของคณะกรรมการ อนุกรรมการ
หรือคณะทำงานที่ที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณา รวมทั้งผลการพิจารณาของคณะกรรมการ อนุกรรมการ หรือคณะทำงาน
ต่อสาธารณชน เพื่อให้กระบวนการขึ้นทะเบียนเป็นไปอย่างโปร่งใสและการมีส่วนร่วมของประชาชนตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ
วันที่ 10 มีนาคม 2552 ที่ระบุให้คณะกรรมการวัตถุอันตรายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง “เผยแพร่ข้อมูลให้ผู้มีส่วนได้ส่วน
เสียให้ข้อคิดเห็น พร้อมแสดงข้อมูลและหลักฐานประกอบเพื่อสร้างความโปร่งใสและเปิดโอกาสให้ได้รับข้อมูลอย่างรอบด้าน”

นอกจากนี้ยังเรียกร้องให้มีการควบคุมการโฆษณาและการส่งเสริมการขายของบริษัทสารเคมีการเกษตรอย่างเข้มงวด โดย
คณะกรรมการที่มีตัวแทนของเครือข่ายเกษตรกร เครือข่ายวิชาการเฝ้าระวังสารเคมีการเกษตร และองค์กรผู้บริโภคมีส่วนร่วม


ที่มา : ประชาไท
http://www.esaanvoice.net/esanvoice/know/showart.php?Category=news&No=13816
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 25, 26, 27 ... 72, 73, 74  ถัดไป
หน้า 26 จากทั้งหมด 74

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©