-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-* นานาสาระเรื่องเกษตร.
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * นานาสาระเรื่องเกษตร.
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* นานาสาระเรื่องเกษตร.
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 19, 20, 21 ... 72, 73, 74  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 10/09/2011 8:43 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หน้าที่ 20

ลำดับเรื่อง....


504. ยุทธศาสตร์กาแฟปี 54 ประสบความสำเร็จ
505. วางแผนปลูกถั่วเขียวปลายฝน

506. ครูภูมิปัญญาไทย
507. การประเมินคุณภาพปุ๋ยหมักอินทรีย์. (ในต่างประเทศ)
508. ข้อแตกต่างระหว่าง ปูนเพื่อการเกษตร และยิปซั่ม
509. ความสัมพันธ์ของดินต่อยางพารา
510. สิ่งบ่งบอกถึงความอุดมสมบรูณ์ของดิน

511. “ไพรีทรัม” ดอกไม้เกษตรเศรษฐกิจเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม | กันแมลง
512. การใช้ยิปซัมปรับปรุงดิน
513. สารปนเปื้อนแคดเมียมลุ่มน้ำแม่ตาว ปลูกอ้อยไม่คุ้ม
514. สัญญาณปุ๋ยเคมีโลกวิกฤติ
515. น้ำหมักชีวภาพคืออะไร ?

516. น้ำตาลลำไย
517. “แปลงผลผลิตใส่ขวด” แนวทางเพิ่มมูลค่าเกษตร
518. มะนาวผง
519. เครื่องดื่มเสริมสุขภาพมังคุด
520. มะเขือเทศราชินีต่อยอด เพิ่มค่าผลผลิตเกษตรไทย

521. การใช้ดักแด้ไหมในอาหารปลาสลิด
522. เครื่องสกัดน้ำผลไม้ วว. เพิ่มมูลค่าผลิตผลทางการเกษตร
523. เกษตรกรผู้ปลูกไม้หอม ว่าที่เศรษฐีในอนาคต
524. สารกระตุ้นไม้กฤษณา
525. เส้นทางของไม้กฤษณา

526. กระตุ้นสารหอมกฤษณา มก.วิจัยสำเร็จด้วยสารอินทรีย์
527. ไม้กฤษณา
528. เร่งวิจัยสารกฤษณา เล็งผสมเครื่องสำอางเพิ่มหอม

-----------------------------------------------------------------------------------






504. ยุทธศาสตร์กาแฟปี 54 ประสบความสำเร็จ


นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดเผยถึงผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์กาแฟ ปี 2552-2556 ของกรมส่งเสริมสหกรณ์ ภายใต้โครงการปรับโครงสร้างสินค้ากาแฟแบบครบวงจรว่า โครงการนี้เป็นการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจกาแฟของสถาบันเกษตรกร โดยมีสหกรณ์ผู้ปลูกกาแฟ จังหวัดชุมพร จำกัด จังหวัดชุมพร กลุ่มเกษตรกรทำสวนเขาทะลุ จังหวัดชุมพร และกลุ่มเกษตรกรทำสวน จปร. จังหวัดระนอง เข้าร่วมโครงการ

ทั้งนี้ได้ดำเนินโครงการด้วยการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาการผลิต การตลาดกาแฟของสถาบันฯ ในช่วงปี 2553 จำนวน 2 ครั้ง ปี 2554 จำนวน 3 ครั้ง และมีการสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนซึ่งเป็นเงินกู้ เพื่อสนับสนุนการแปรรูป และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน โดยสนับสนุนสหกรณ์ผู้ปลูกกาแฟจังหวัดชุมพร จำกัด จำนวน 2.69 ล้านบาท กลุ่มเกษตรกรทำสวนเขาทะลุ จำนวน 7.47 ล้านบาท และกลุ่มเกษตรกรทำสวน จปร. 0.60 ล้านบาท

พร้อมสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนซึ่งเป็นเงินกู้ สนับสนุนการรับซื้อเมล็ดกาแฟเพื่อใช้ในการแปรรูป โดยสนับสนุนสหกรณ์ผู้ปลูกกาแฟจังหวัดชุมพร จำกัด จำนวน 10 ล้านบาท กลุ่มเกษตรกรทำสวนเขาทะลุ จำนวน 10 ล้านบาท โดยเป็นงบประมาณจากกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรฯ และจากกองทุนพัฒนาสหกรณ์ กรมส่งเสริมสหกรณ์ ให้กับสหกรณ์ผู้ปลูกกาแฟจังหวัดชุมพร จำกัด ในปี 2553 จำนวน 10 ล้านบาท และปี 2554 จำนวน 4.5 ล้านบาท

ซึ่งผลการดำเนินงานในโครงการพบว่า ปริมาณธุรกิจกาแฟของสถาบันเกษตรกร เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของปริมาณธุรกิจก่อนมีโครงการ โดยในปี 2554 ธุรกิจรวบรวมกาแฟสารคือ เมล็ดกาแฟ ของสหกรณ์ผู้ปลูกกาแฟจังหวัดชุมพร จำกัด ได้จำนวน 1,417.55 ตัน คิดเป็นมูลค่า 105.71 ล้านบาท รายได้จากธุรกิจแปรรูปกาแฟ จำนวน 25.26 ล้านบาท กลุ่มเกษตรกรทำสวนเขาทะลุ จังหวัดชุมพร มีรายได้จากธุรกิจแปรรูปกาแฟ จำนวน 77.48 ล้านบาท ธุรกิจรวบรวมเมล็ดกาแฟ รวบรวมได้ 105 ตัน คิดเป็นมูลค่า 9.86 ล้านบาท กลุ่มเกษตรกรทำสวน จปร. จังหวัดระนอง มีรายได้จากธุรกิจแปรรูปกาแฟ .46 ล้านบาท.



ที่มา: เดลินิวส์
http://thairecent.com/Agriculturist/2011/940209/


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/10/2011 7:28 am, แก้ไขทั้งหมด 15 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 10/09/2011 8:49 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

505. วางแผนปลูกถั่วเขียวปลายฝน


นายประกอบ เผ่าพงศ์ ผู้อำนวยการนิคมสหกรณ์พระร่วง สำนักงานสหกรณ์จังหวัดสุโขทัย กล่าวถึงโครงการส่งเสริมการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวแก่สมาชิกสหกรณ์นิคมพระร่วง จำกัด ว่า โครงการเริ่มดำเนินการเป็นปีแรกในช่วงฤดูต้นฝน มีสมาชิกเข้าร่วมโครงการ 189 ราย พื้นที่ 2,076 ไร่ สร้างประโยชน์ให้กับสมาชิกสหกรณ์ฯ ที่เข้าร่วมโครงการ ปรับปรุง บำรุงดินให้ดีขึ้น และสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวชั้นพันธุ์ขยาย เพื่อป้อนเข้าโครงการจัดระบบการปลูกข้าว ตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

เพราะการใช้พืชตระกูลถั่วเป็นปุ๋ยพืชสด จะช่วยในการตัดวงจรโรคแมลงที่กำลังระบาดในนาข้าว ส่วนเรื่องราคา เมื่อสมาชิกสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวคุณภาพดี ราคาก็จะแตกต่างจากราคาตลาดทั่วไป อย่างไรก็ตาม วันนี้สมาชิกไม่ได้มองว่าหันมาผลิตเมล็ดพันธุ์ เนื่องจากได้ราคาสูง แต่มองถึงประโยชน์ที่จะได้รับ เพราะสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการมาด้วยความสมัครใจ ไม่ได้เป็นการบังคับ ในสิ่งที่ทำก็จะได้ประโยชน์เอง สหกรณ์ฯ มีธุรกิจเพิ่มขึ้น

ด้าน นายวรีระพงศ์ บานแย้ม ประธานกรรมการดำเนินการสหกรณ์นิคมพระร่วง จำกัด กล่าวว่า สหกรณ์ฯ ได้เข้าไปส่งเสริมสมาชิกการให้ความรู้ ตรวจดูแปลง ข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งทุน และปัจจัยการผลิต โครงการนี้ สมาชิกให้การตอบรับเป็นอย่างดี และในช่วงปลายฝน 2554 มีการวางแผนเพื่อปลูกรอบต่อไป.



ที่มา: เดลินิวส์
http://thairecent.com/Agriculturist/2011/941004/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 10/09/2011 8:53 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

506. ครูภูมิปัญญาไทย

นางสาวสุทธาสินี วัชบูล รองเลขาธิการสภาการศึกษาในฐานะประธานคณะทำงานสรรหาและคัดเลือก ครูภูมิปัญญาไทยรุ่นที่ 7 เปิดเผยถึงการคัดเลือกครูภูมิปัญญาไทยในฐานะผู้สร้างสรรค์และสืบสานภูมิปัญญาที่ทางสภากำหนดไว้ 9 ด้านว่า ได้คัดเลือกครูภูมิปัญญาเรียบร้อยแล้ว โดยคณะกรรมการคัดเลือกผู้ทรงภูมิปัญญาทั้งประเทศในรุ่นนี้รวม 96 ท่าน

ทางสภาการศึกษาฯ กำหนดจัดให้มีการประกาศชื่อของครูภูมิปัญญาไทย พร้อมมอบเข็มเชิดชูเกียรติและเกียรติบัตรระหว่างวันที่ 13-15 กันยายน 2554 นี้ที่โรงแรมรอยัลริเวอร์ ทั้งนี้ได้รับเกียรติจาก นายแพทย์กิตติคุณเกษม วัฒนชัย องคมนตรี เป็นประธาน

นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดเผยว่า ขณะนี้ ได้จัดทำระบบการส่งเสริมสหกรณ์ใหม่ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์มากยิ่งขึ้น

สืบเนื่องจาก ตั้งแต่ปี 2545 มีการปรับโครงสร้างภายในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมส่งเสริมสหกรณ์เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากการปรับโครงสร้าง มีการย้ายเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ที่ปฏิบัติหน้าที่ประจำอยู่ตามอำเภอมาประจำที่สำนักงานสหกรณ์จังหวัด ส่งผลทำให้เกิดความห่างไกลกับสหกรณ์และขาดการติดต่อประสานงานที่ใกล้ชิด ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่เป็นปัญหาของสหกรณ์ได้ทันเวลา ขณะที่การดำเนินงานของสหกรณ์ ที่ไม่ยึดตามหลักการสหกรณ์ และความหลากหลายในการดำเนินธุรกิจที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบสหกรณ์ ส่งผลทำให้เกิดความล่มสลายของสหกรณ์หลายแห่ง อันเนื่องมาจากการบริหารจัดการที่ขาดความใกล้ชิดของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ในการเข้าไปดูแลแนะนำการดำเนินงานให้แก่สหกรณ์

กรมฯ จึงปรับระบบเป็นหน่วยส่งเสริมสหกรณ์ ในลักษณะหน่วยเคลื่อนที่เร็ว และวางระบบในการเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ให้มีความชัดเจน เป้าหมายแรกในปีงบประมาณ 2555 โดย 3 เดือนแรก ดำเนินการใน 27 จังหวัดนำร่อง เพื่อเป็นต้นแบบ หลังจากนั้น จะขยายผลเพื่อดำเนินการเต็มพื้นที่ทุกจังหวัดทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 เป็นต้นไป......




kasetnews@dailynews.co.th
ที่มา: เดลินิวส์
http://thairecent.com/Agriculturist/2011/941691/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 10/09/2011 9:24 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

507. การประเมินคุณภาพปุ๋ยหมักอินทรีย์. (ในต่างประเทศ)


ผลการวิเคราะห์มีความหมายอย่างไรต่อผู้ใช้
เนื่องจากการเจริญเติบโตและความต้องการสารอาหารของพืชนั้นมีไม่เท่ากัน ผู้ใช้ปุ๋ยหมักจะได้ประโยชน์จากข้อมูลชัดเจนที่บอกให้ทราบถึงองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์

ข้อมูลนี้สามารถใช้ปรับการใช้งานให้ดีขึ้นทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามต้องการเฉพาะเรื่องและเพื่อให้เหมาะสมกับสภาวะนั้นๆ ลักษณะเฉพาะของปุ๋ยหมักย่อมเป็นตัวกำหนดวิธีและการใช้ให้ได้ประโยชน์มากที่สุด ข้อมูลเรื่องคุณสมบัติของปุ๋ยหมักจะช่วยให้ผู้ใช้ได้รับผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับโครงการหรือการใช้งานนั้นๆคุณภาพของปุ๋ยหมักที่ตรวจได้โดยตรง

การวัดpH(พีเอช)คือการวัดความเป็นกรดหรือด่างของปุ๋ย หรือทางวิทยาศาสตร์หมายถึงไออ้อนของไฮโดรเจนที่มีฤทธิ์ต่อดินหรือปุ๋ยนั้นๆ (ตามมาตราวัดเป็นค่าล็อกกาลิทึม Logarithmic scale) สิ่งที่ควรทราบคือมาตราวัดกรดและด่างเรียกว่าพีเอช(pH)มีช่วงตั้งแต่ 0-14 ถ้า พีเอช 7 แสดงว่าไม่มีฤทธิ์กรดหรือด่างจัดว่าเป็นกลาง เมื่อ พีเอช เปลี่ยนไป 1 หน่วย หมายความว่า ความเป็นกรดหรือด่างก็จะเปลี่ยนไป 10 เท่า ปุ๋ยหมักส่วนมากจะมีพีเอชอยู่ระหว่าง 6-8 (ห่างกัน 20 เท่า)
พืชแต่ละชนิดอาจต้องการพีเอชไม่เท่ากันขึ้นกับปริมาณของปุ๋ยเท่าๆกับพีเอชของปุ๋ยที่ใช้

นอกจากนั้นปริมาณของปุ๋ยยังมีผลต่อ พีเอช ของดิน หรือชนิดของดินที่ใช้ปลูก ดังนั้นการรู้ค่า พีเอช จึงเป็นเกณฑ์กำหนดจำเป็นที่จะทำให้เราสามารถประเมินผลที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งก็จะมีผลต่อการบำรุงรักษา ในทางปฏิบัติหรือการจัดการในระบบนั้นๆ ความเป็นกรดด่างของดินก็จะปรับได้โดยการใช้วัสดุที่เป็นด่าง เช่น ปูนขาว (เพื่อเพิ่ม พีเอช ไปสู่ความเป็นด่าง) และการใช้กำมะถัน (เพื่อลด พีเอช ไปสู่ความเป็นกรด) ถ้ามีการใช้สารปรับเป็นด่างในการผลิตปุ๋ยหมักที่อยู่ในมือท่านหรือปรากฏในวัสดุที่เป็นแหล่งที่มาของปุ๋ยหมักนั้นก็จะเป็นความเหมาะสมมากน้อยตามการใช้ประโยชน์โดยตรงของท่าน


ในประเทศไทยกำหนดไว้โดยกรมวิชาการเกษตร คือ 5.5-8.5

เกลือละลายน้ำได้ (ค่าการนำไฟฟ้า Electrical Conductivity) ปริมาณเกลือที่ละลายน้ำได้ในปุ๋ยหมักไม่สามารถตรวจหาได้โดยตรง แต่จะหาได้จากการวัดค่าการนำไฟฟ้าของเกลือที่มีอยู่และปริมาณเกลือที่มีจะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับค่าการนำไฟฟ้าที่วัดได้ หน่วยที่ใช้วัดอาจเป็น mmhos/cm หรือ dS/m ทั้งสองหน่วยจะมีค่าเท่ากัน

ธาตุอาหารพืชสำคัญๆจะอยู่ในรูปของเกลือหลายชนิดในขณะที่เกลือละลายน้ำได้บางชนิด (เช่น เกลือแกง) อาจเป็นอันตรายต่อพืชมาก แต่ปุ๋ยหมักส่วนใหญ่ไม่มีเกลือประเภทนี้ในระดับที่สูงพอจะให้อันตรายต่อพืชได้ พืชหลายชนิดมีความสามารถพิเศษในการทนต่อฤทธิ์เกลือและปริมาณที่ทนได้สูงสุดเป็นที่ทราบกัน เกลือที่ละลายได้ในปริมาณที่เกินพอสามารถเป็นอันตรายต่อพืชได้

ปุ๋ยหมักอาจมีส่วนในการเพิ่มหรือลดความเข้มข้นของสารละลายเกลือที่มีอยู่ในดินหรือสารเพาะปลูกใช้แทนดิน การลดปริมาณเกลือละลายน้ำได้ในปุ๋ยลงสามารถกระทำได้โดยการใช้น้ำมากๆขณะทำการเพาะปลูก ปุ๋ยหมักส่วนมากมีเกลือดังกล่าวจากการวัดค่าการนำไฟฟ้าจะอยู่ที่ 1.0-10.0 dS/m ส่วนค่าการนำไฟฟ้าของดินทั่วๆไปจะอยู่ที่ 0-1.5 dS/m


ปัจจุบันโดยพระราชบัญญัติปุ๋ย (ฉบับที่ 2) พ ศ 2550
กำหนดค่าการนำไฟฟ้า (EC) ไว้ ไม่เกิน 10 เดซิซีเมนส์ต่อเมตร
ปริมาณเกลือแกง (โซเดียมคลอไรด์ NaCl) ไม่เกินร้อยละ 1 โดยน้ำหนัก
ธาตุอาหารที่เป็นองค์ประกอบของปุ๋ย (Nutrient Content N-P-K)

ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) แสดงในรูปของ P2O5 และโปแตสเซี่ยม (K) แสดงในรูป (K2O) เป็นธาตุอาหารที่พืชใช้ในปริมาณมากที่สุด จึงพบธาตุอาหารเหล่านี้ในปุ๋ยเคมีทางการค้าบ่อยมาก ในปุ๋ยเคมี 1 ถุง ธาตุทั้งสามตัวนี้จะได้รับการตรวจสอบและแสดงให้ทราบปริมาณน้ำหนักแห้งไว้ข้างถุงเป็นเปอร์เซ็นต์ต่างๆ

ในปุ๋ยหมักธาตุอาหารที่เป็นองค์ประกอบของปุ๋ยอาจแสดงให้เห็นในลักษณะแห้งหรือเปียก (เมื่อส่งตรวจ) การรู้องค์ประกอบเหล่านี้จะช่วยให้ท่านตัดสินใจได้ถูกต้องว่าควรจะเติมปุ๋ยให้ต้นไม้เท่าใด แม้ว่าความเข้มข้นของธาตุอาหารที่มีในปุ๋ยหมักโดยธรรมชาติจะไม่สูงเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์ปุ๋ยเคมีส่วนมาก โดยปกติปุ๋ยหมักต้องใช้ในปริมาณมากกว่าปุ๋ยเคมี จึงจะเห็นผลเมื่อเกิดปริมาณสะสมอย่างมีนัยสำคัญ

ธาตุอาหารของปุ๋ยหมักจะมีค่าแตกต่างกันอย่างกว้างๆ อย่างไรก็ดีตัวกากชีวภาพและมูลสัตว์ที่ใช้ในการผลิตจะมีธาตอาหารโดยรวมมากกว่าปุ๋ยเคมี การใช้ปุ๋ยหมักบางชนิดอาจลดความจำเป็นในการใช้ปุ๋ยเคมีต่อพืชบางชนิดลงได้ตั้งแต่ 6-12 เดือน

โดยทั่วไปธาตุอาหารที่พบในปุ๋ยหมักจะอยู่ในรูปของสารอินทรีย์ดังนั้นจึงปลดปล่อยธาตุอาหารอย่างช้าๆ เมื่อปุ๋ยนั้นเริ่มย่อยสลาย นอกจากนั้น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแตสเซี่ยม แคลเซี่ยม แมกเนเซี่ยม จะถูกแสดงไว้ให้ทราบตามผลการตรวจสอบของทางการ


ในประเทศไทยกำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติปุ๋ย พ ศ 2550
ปริมาณไนโตรเจน(Total Nitrogen) ต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 1.0 ของน้ำหนัก
ฟอสเฟตทั้งหมด(Total P2O5) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 0.5 ของน้ำหนัก
โปแตชทั้งหมด(Total K2O) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 0.5ของน้ำหนัก
อินทรีย์วัตถุหรือ OM (ORGANIC MATTER)


องค์ประกอบที่เป็นอินทรีย์วัตถุหรือ OM (ORGANIC MATTER) คือ ปริมาณวัตถุที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบในปุ๋ยหมัก องค์ประกอบอินทรีย์วัตถุจะแสดงเป็น% ในลักษณะของน้ำหนักแห้ง อินทรีย์วัตถุเป็นองค์ประกอบสำคัญในดินทุกชนิดและมีบทบาทสำคัญในการให้โครงสร้างแก่ดิน ธาตุอาหารพร้อมใช้ และความสามารถในการอุ้มน้ำ การมีความรู้ในเรื่องปริมาณอินทรีย์วัตถุในผลิตภัณฑ์เป็นประโยชน์ในการคำนวนอายุ คุณสมบัติทางกายภาพของปุ๋ยนั้นๆ นอกจากนั้นยังอาจเป็นสิ่งจำเป็นในการตัดสินใจถึงอัตราการใช้ปุ๋ยในบางงานเกษตรกรรมเช่นการสร้างสนามหญ้าหรือเพื่อผลผลิตทางการเกษตรบางชนิด ในการใช้เหล่านี้เครื่องมือตรวจสอบดินขนาดเล็กมักจะถูกนำมาใช้เพื่อตัดสินอัตราการใช้อินทรีย์วัตถุ (OM) อย่างถูกต้อง อย่างไรก็ดีอัตราการใช้นี้จะกำหนดจำเพาะลงไปว่าเป็นปริมาณอินทรีย์วัตถุจำเป็นต่อ 1 เอเคอร์ (2 ไร่ครึ่ง) เป็นหลักดังนั้นปริมาณอินทรีย์วัตถุของปุ๋ยหมักจึงต้องรู้เพื่อผู้ใช้จะสามารถเปลี่ยนอัตราการใช้ตามที่ได้รับคำแนะนำไปสู่การใช้งานที่อยู่ในรูปแบบที่สามารถใช้ให้เกิดประโยชน์ในแต่ละงานได้เช่นตัน/เอเคอร์ เป็นต้น ไม่มีองค์ประกอบอินทรีย์วัตถุในปุ๋ยหมักใดๆจะคงที่แต่อาจผันแปรได้อย่างกว้างๆตั้งแต่ 30% ถึง70%

ในประเทศไทยตามพระราชบัญญัติปี 2550 ปริมาณอินทรีย์วัตถุรับรอง(OM)ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20 ของน้ำหนัก

เปอร์เซนต์ความชื้น (MOISTURE PERCENT)
เปอร์เซนต์ความชื้น คือ การวัดปริมาณน้ำที่ปรากฏอยู่ในผลิตภัณฑ์ปุ๋ยหมักนั้นๆแสดงเป็นเปอร์เซนต์ต่อน้ำหนักทั้งหมด ความชื้นของปุ๋ยหมักจะมีผลต่อความหนาแน่นของเนื้อปุ๋ย (น้ำหนักต่อหน่วยปริมาตร) นอกจากนั้นยังมีผลต่อการจับต้องโดยผู้ใช้และการขนส่ง ปุ๋ยหมักที่แห้งเกินไป (ความชื้น 35% หรือน้อยกว่า) จะมีลักษณะเป็นฝุ่นระคายเคืองต่อการใช้งาน ส่วนที่มีความชื้น (55-60%) จะมีน้ำหนักมากและเทอะทะทำให้การใช้งานยากการขนส่งต้องสิ้นเปลืองมากขึ้น เปอร์เซนต์ความชื้นที่เหมาะสมสำหรับปุ๋ยหมักครบกำหนดคือ 40-50%

สำหรับประเทศไทย โดยกรมวิชาการเกษตรกำหนดความชื้นไว้ต่ำมากคือที่ 30% ซึ่งถือว่าเป็นการเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับปุ๋ยหยาบได้แก่ปุ๋ยคอกมูลสัตว์ใหญ่เช่นช้างม้าวัวควายหมูไก่ฯลฯและปุ๋ยหมักไม่ครบกำหนด เพระเป็นเพียงวัตถุดิบที่ยังไม่ได้ผ่านขั้นตอนการหมักหรือการย่อยสลายที่สมบูรณ์ (complete compost or mature compost)


ขนาดของเนื้อปุ๋ย (PARTICLE SIZE)
วิธีวัดขนาดของเนื้อปุ๋ยและแสดงผลให้ทราบนั้นถือหลักเนื้อปุ๋ยครบกำหนดเป็นเกณฑ์ การแจ้งให้ทราบเพียงแต่บอกขนาดใหญ่สุดของผลผลิตหรือขนาดของตะแกรงล่อนที่เนื้อปุ๋ยผ่านได้ก็เพียงพอ อย่างไรก็ดีสำหรับการใช้ประโยชน์ เช่น

ผลิตเพื่อใช้ทำสนามกอล์ฟผสมหรือหรือดินกระถางสำหรับปลูกต้นไม้ การ กระจายตัวของปุ๋ยต้องเป็นไปอย่างทั่วถึงเท่าๆกัน การกระจายตัวตามขนาดของเนื้อปุ๋ยจะช่วยบอกปริมาณปุ๋ยหมักที่ตรงตามช่วงขนาดเนื้อปุ๋ยเฉพาะงาน โดยการใช้ตะแกรงร่อนชุดในการคัดกรองขนาดจำเพาะของเนื้อปุ๋ย ขนาดเนื้อปุ๋ยของผลิตภัณฑ์ไดๆอาจช่วยบอกประโยชน์ใช้งานในการใช้เฉพาะเรื่อง เช่น ปุ๋ยหมักที่มีขนาดเนื้อปุ๋ยใหญ๋มากที่สุดตั้งแต่ 1/2 นิ้ว หรือมากกว่านั้นไม่อาจใช้เป็นปุ๋ยหน้าดินสำหรับสนามหญ้าได้ แต่พวกที่มีขนาดใหญ่สุด 1/4 ถึง 3/8 นิ้ว (0.25-0.375 นิ้ว) หรือน้อยกว่านั้นจัดว่าใช้ได้ ปุ๋ยหมักส่วนใหญ่ที่ใช้เป็นตัวบำรุงดินจะต้องผ่านแร่งหรือตะแกรงขนาด (0.375-0.5 นิ้ว) ในประเทศไทยขนาดเนื้อปุ๋ยต้องไม่เกิน 12.5 x 12.5 มิลลิเมตรหรือ 1.25 x 1.25 เซ็นติเมตร ถ้าคิดเป็นนิ้ว คือ 0.495 นิ้ว หรือเกือบ 1/2 นิ้ว


ชีวะวิเคราะห์หรือการครบกำหนด (MATURITY หรือ BIOASSAY)
การครบกำหนด คือ องศาหรือระดับของการทำปุ๋ยหมักที่สมบูรณ์ การครบกำหนดของปุ๋ยไม่สามารถบรรยายให้ทราบได้ด้วยคุณสมบัติเชิงเดี่ยว ดังนั้นการครบกำหนดของปุ๋ยจะตัดสินได้ดีที่สุดโดยการวัดคุณสมบัติของปุ๋ยตั้งแต่สองอย่างขึ้นไป ปุ๋ยที่ไม่ครบกำหนดบางชนิดอาจมีแอมโมเนียอิสสระหรือแกสแอมโมเนียในปริมาณมาก กรดอินทรีย์บางชนิดหรือสารประกอบละลายน้ำได้อื่นๆซึ่งจะสามารถจำกัดการงอกของเมล็ดพันธุ์และการขยายตัวของรากหรือทำให้เกิดกลิ่นเหม็น ประโยชน์ทั้งหมดของปุ๋ยหมักจะเกิดได้ต่อเมื่อต้องเป็นผลผลิตที่ปลอดสารพิษที่อาจเป็นอันตรายต่อพืช การวิเคราะห์ทางชีวะภาพที่ใช้อยู่ในสำนักงานของรัฐจะใช้การงอกของเมล็ดพันธุ์และการทดสอบการเจริญเติบโตของพืชเพื่อวัดเปอร์เซนต์การงอกของเมล็ดพันธุ์และความแข็งแรงของพืชที่งอกจากเม็ดพันธุ์เปรียบเทียบ


ในประเทศไทยเรียกว่าการย่อยสลายที่สมบูรณ์ (หรือ Germination Index) ทางราชการกำหนดให้ไม่ต่ำกว่า 80%

การคงสภาพของปุ๋ยหมัก (STABILITY หรือ RESPIROMETRY)
การคงสภาพหรือเสถียรหมายถึงสถานะภาพหรือสภาวะจำเพาะในการเน่าเปื่อยของสารอินทรีย์ระหว่างการทำปุ๋ยหมักซึ่งสัมพันธกับชนิดของซากสารประกอบอินทรีย์และผลของฤทธิ์ทางชีวะภาพที่เกิดขึ้นในสารนั้น การคงสภาพของสารใดๆเป็นสิ่งสำคัญในการกำหนดผลกระทบแฝงของสารที่ให้ไนโตรเจนพร้อมใช้ในดินหรือสารที่ใช้แทนดินและยังรักษาขนาดได้ไม่เปลี่ยนแปลงรวมทั้งความโปร่งอากาศในสารแทนดินที่ใช้เพื่อการเพาะปลูก ประโยชน์ส่วนใหญ่ของปุ๋ย

หมักจะได้จากผลิตภัณฑ์ที่เสถียรหรือเสถียรมากเพื่อจะช่วยป้องกันการตรึงธาตุอาหารและช่วยรักษาหรือเพิ่มอ๊อกซิเจนพร้อมใช้ลงสู่ดินหรือสารใช้แทนดินเพื่อการเพาะปลูก

สามารถตรวจวัดได้จากค่า C/N RATIO หรือที่รู้จักกันดีในภาษาไทยว่า ซีเอนเรโช ในประเทศไทยกำหนดโดยทางราชการไว้ดังนี้

อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N) ไม่เกิน 20/1

(**ข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องซีเอนเรโช จากเรื่อง ชนิดต่างๆ ของฮิวมัสในดิน (Types of Humus in Soil) แบ่งตามรูปลักษณะภายนอกและองค์ประกอบย่อยได้ดังนี้

1. มอร์ฮิวมัส (Mor Humus) ซี/เอน เรโช มากกว่า 20 หรืออาจถึง 30-40 และมีความเป็นกรด

2. โมเดอร์ฮิวมัส (Moder Humus) มีซีเอนเรโช ตั้งแต่ 15-25 ยังไม่เสถียรมีความเป็นกรด

3. มัลล์ ฮิวมัส (Mull Humus) มี ซี/เอน เรโช ใกล้ 10 มีฤทธิ์ เป็นกลางเกิดสารเชิงซ้อนอินทรีย์-แร่ที่เสถียร


วัตถุไม่ออกฤทธิ์ (INERT)
วัตถุไม่ออกฤทธิ์ที่เกิดจากมนุษญ์ปรากฏปะปนอยู่ในธารของเสียซึ่งใช้ลำเลียงขยะเข้าสู่กระบวนการหมักประกอบด้วย วัตถุประเภท ผ้า แก้ว ปลาสติค และโลหะต่างๆ เมื่อเข้าสู่ขบวนการหมักวัตถุเหล่านี้จะไม่ถูกย่อยสลายแต่อาจเสื่อมสภาพตามคุณสมบัติทางกายภาพเบื้องต้นจะมีการลดขนาดลง วัสดุเหล่านี้สามารถลดคุณค่าของปุ๋ยหมักที่ครบกำหนดได้เพราะไม่ได้ก่อประโยชน์ใดๆต่อปุ๋ยหมักและในหลายกรณีทำให้เป็นที่น่ารังเกียจ วิธีทั่วไปที่ใช้ควบคุมวัสดุประเภทนี้คือลดการปล่อยเข้าสู่ธารของเสียเพื่อการทำปุ๋ยหมักการควบคุมจะประสพความสำเร็จได้โดยผ่านการแยกตั้งแต่แหล่งที่มาระหว่างมีการปรับสภาพของเสียที่หน่วยทำการหมักหรือระหว่างปรับปรุงสภาพปุ๋ยหมักในตอนสุดท้าย(เช่นการร่อนหรือวิธีการแยกวิถีโค้ง Ballistic Separation)ส่วนวัสดุเฉื่อยธรรมชาติได้แก่ กรวด หิน เศษไม้ ซึ่งอาจพบได้ในปุ๋ยหมักจัดว่าไม่เหมาะสมเช่นกัน


ในประเทศไทยตามพระราชบัญญัติปุ๋ย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 กำหนดไว้ดังนี้
ขนาดของปุ๋ย ไม่เกิน 12.5 X 12.5 มิลลิเมตร
ปริมาณหิน กรวด ขนาดตั้งแต่ 5 มิลลิเมตรขึ้นไป ไม่เกินร้อยละ 2 ของน้ำหนัก
จุลธาตุหรือธาตุโลหะหนักTrace Metal

จุลธาตุเป็นธาตุที่ต้องได้รับการควบคุมเนื่องจากอาจเป็นภัยต่อมนุษย์ สัตว์และพืชได้ ข้อบังคับควบคุมจุลธาตุในปุ๋ยหมักที่ได้จากแหล่งวัตถุดิบบางชนิดได้ถูกประกาศใช้เป็นทางการ (ในต่างประเทศ) แล้ว ข้อจำกัดที่คล้ายคลึงกันได้ถูกนำมาใช้เพื่อปุ๋ยเคมีและผลผลิตจากภาคการเกษตรด้วยเช่นกัน จุลธาตุจำเพาะหมายถึงธาตุโลหะหนักดังต่อไปนี้

1. สารหนู (Arsenic)
2. แคดเมี่ยม (Cadmium)
3. โครเมี่ยม (Chromium)
4.ทองแดง (Ccpper)
5. ตะกั่ว (Lead)
6. ปรอท (Mercury)
7. โมลิบดินั่ม (molybdenum)
8. นิกเกิล (Nickel)
9. เซลเลเนี่ยม (Selenium)
10. สังกะสี (Zinc)

ปริมาณธาตุเหล่านี้จะถูกตรวจได้จากน้ำหนักแห้งและแสดงผลเป็น มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม mg/kg

หรือใช้คำย่อว่า ส่วนต่อล้าน (parts per million หรือ ppm) ธาตุเหล่านี้หลายตัวเป็นที่ต้องการของพืชเพื่อการเจริญเติบโตตามปกติแม้จะในปริมาณที่เล็กน้อยมากก็ตาม ดังนั้นการตรวจหาความเข้มข้นของธาตุเหล่านี้เช่นเดียวกับธาตุอาหารพืชอื่นๆ จะช่วยให้ได้ข้อมูลเพื่อดำเนินการเพาะปลูกอย่างเห็นผลตรงกับความต้องการปุ๋ยของพืชและอัตราการใช้ปุ๋ยในครั้งต่อๆไป ธาตุโลหะหนักและจุลธาตุบางชนิดเป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นภัยต่อพืช (เมื่ออยู่ในรูปพร้อมใช้ปริมาณมากๆ) และพืชบางชนิดก็ไวต่อความเป็นพิษนี้มากกว่าพืชชนิดอื่นๆ ธาตุเหล่านี้ได้แก่ โบรอน แมงกานีซ

โมลิบดินั่ม นิกเกิล และเซเลเนี่ยม อย่างไรก็ดีธาตุเหล่านี้ตรวจไม่พบในปริมาณที่เป็นพิษต่อพืชในปุ๋ยหมักที่ดำเนินกรรมวิธีอย่างถูกต้อง ดังนั้นปุ๋ยหมักทุกชนิดที่ใช้วัตถุดิบตามกำหนดย่อมเป็นไปตามมาตรฐานแห่งชาติและรัฐเพื่อออกสู่ตลาดได้

ในประเทศไทยตามพระราชบัญญัติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2550 ไม่ได้กล่าวถึงปริมาณที่ชัดเจนดังนี้


ปริมาณสารเป็นพิษไม่เกินกว่าที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามประกาศพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ.2518 มีดังนี้

1. สารหนู (Arsenic) ไม่เกิน 50 มก./กก.
2. แคดเมี่ยม (Cadmium) ไม่เกิน 5 มก./กก.
3. โครเมี่ยม (Chromium) ไม่เกิน300 มก./กก.
4. ทองแดง (Copper) ไม่เกิน 500 มก./กก.
5. ตะกั่ว (Lead) ไม่เกิน 500 มก./กก.
6. ปรอท (Mercury) ไม่เกิน 2 มก./กก.



จุลินทรีย์ก่อโรคและเมล็ดพันธุ์วัชพืช (Pathogens and Weed Seed)
จุลินทรีย์ก่อโรค คือ จุลินทรีย์หลายชนิดที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคได้แก่เชื้อ

แบคทีเรีย (Bacteria)
ไวรัส (Viruses)
รา (Fungi)
พยาธิ์ไส้เดือน (Helminths อยู่ใน Phyla -Platyhelminthes)(แตกต่างจากไส้เดือนดิน - Earthworm อยู่ใน Phyla -- Annelida) และโปรโตซัว(Protozoa) ได้แก่สัตว์เซลล์เดียวทั้งหลายทั้งที่ดำรงค์ชีวิตเดี่ยวหรือรวมกลุ่มเช่น แอมมีบ้า (Ameba) ซึ่งอาจมีปรากฏอยู่ในขยะดิบหรือผลิตผลที่เกิดจากขยะดิบ ทั้ง


จุลินทรีย์ก่อโรคในมนุษย์และพืชพบอยู่ในสิ่งมีชีวิตทั่วๆไปและปรากฏอยู่ในสิ่งแวดล้อมของมันด้วยในระดับใดระดับหนึ่งดังนั้นกระบวนการทำปุ๋ยหมักต้องขจัดหรือลด จุลินทรีย์ก่อโรคให้อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าระดับอันตรายอันจะก่อให้เกิดการแพร่โรคได้ เมล็ดพันธุ์วัชพืชและจุลินทรีย์ก่อโรคจะถูกทำให้หมดฤทธิ์หรือถูกทำลายโดยอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นในช่วงระยะเวลาหนึ่งของกระบวนการทำปุ๋ยหมัก ความสัมพันธ์ระหว่างเวลาและอุณหภูมิที่ใช้ในกระบวนการนี้ย่อมเป็นที่แน่ใจได้ว่าจุลินทรีย์ก่อโรคในพืชและมนุษย์จะถูกทำลายได้และถือได้ว่าเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการกำหนดโดยอนุโลมว่าปุ๋ยหมักปลอดวัชพืช



แปลและเรียบเรียงจากเรื่อง การประเมินคุณภาพปุ๋ยหมักโดยสภาการทำปุ๋ยหมักสหรัฐฯ

EVALUATING COMPOST QUALITY BY U.S. COMPOSTING COUNCIL

http://www.weloveshopping.com/template/a20/show_article.php?shopid=26601&qid=31669
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 11/09/2011 8:21 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

508. ข้อแตกต่างระหว่าง ปูนเพื่อการเกษตร และยิปซั่ม


ปูนเพื่อการเกษตร
1. ปรับสภาพดินกรดที่มีค่า พีเอช ต่ำให้สูงขึ้น

2. ละลายน้ำได้ยากจึงปลดปล่อยธาตุแคลเซียมให้เป็นประโยชน์ต่อพืชได้น้อย จะต้องไถพรวนคลุกเคล้ากับดินที่เป็นกรด จึงจะแลกเปลี่ยนประจุแคลเซียมให้กับดินและพืชได้

3.ไม่เคลื่อนย้ายสู่ดินชั้นล่าง เมื่อมีการให้น้ำ คงอยู่ในเฉพาะระดับที่ใส่หรือไถพรวน

4. ไม่แก้ไขปัญหาดินเค็มที่เกิดจากเกลือโซเดียม

5. ทำให้ผิวดินเกาะตัวกันแน่นน้ำซึมยากในกรณีที่มี การหว่านปูนไว้บนผิวดิน

6. ดินที่มี พีเอช 7 หรือสูงกว่า แคลเซียมจะอยู่ในรูปที่ละลายในน้ำยากจึงเป็นประโยชน์ต่อพืชได้น้อย

7. ไม่สามารถ ลดความเป็นกรดในดินชั้นล่างได้เนื่องจากละลายน้ำได้ยาก

8. ถ้าใส่มากเกินไปจะทำให้ธาตุอาหารพืชชนิดอื่น ถูกตรึงในดินอยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์แก่พืชในดินได้น้อย ทำให้พืชขาดธาตุอื่นได้ เช่น ฟอสฟอรัส เหล็ก สังกะสี




ยิปซั่ม
1. มีผลกระทบเล็กน้อยต่อการเปลี่ยนแปลงค่าพีเอช ของดิน

2. อยู่ในรูปที่ละลายน้ำได้จึงปลดปล่อยให้แคลเซียมและกำมะถัน

3. ให้รากพืชดูดไปใช้ ประโยชน์ ได้ง่ายทัน ต่อความต้องการของพืช

4. เคลื่อนย้ายสู่ดินชั้นล่างเมื่อมีการให้น้ำ

5. แก้ไขปัญหาดินเค็มที่เกิดจากเกลือโซเดียม โดยประจุแคลเซียมในยิปซัมจะเข้าไปแลกที่ประจุโซเดียมในอนุภาคดิน แล้วโซเดียมจะถูกชะล้างออกไปจากดินได้โดยง่าย

6. แก้ไขปัญหาผิวดินเกาะตัวกันแน่น ทำให้ดินร่วนซุยมีช่องว่างซึ่งยอมให้น้ำและอากาศผ่านลงไปในดินได้ง่าย

7. สามารถใส่ได้ทั้งดินที่เป็นกรด พีเอช ต่ำ และดินด่างที่มี พีเอช สูง
จะปลดปล่อย แคลเซียมเป็นประโยชน์ต่อพืชได้

8. ช่วยยับยั้งหรือ ลดความเป็นกรดในดินชั้นล่างได้

9. ไม่มีผลกระทบต่อ พืชอย่างรุนแรงและยังช่วย ลดความเป็นพิษของธาตุชนิดอื่นที่สะสมอยู่ในดินมากเกินไปจนเป็นพิษแก่พืช



http://kasetonline.com
[/color]


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 06/01/2023 7:06 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 11/09/2011 8:25 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

509. ความสัมพันธ์ของดินต่อยางพารา

บทนำ
ดินเป็นแหล่งให้ธาตุอาหารแก่พืชเพื่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิต เมื่อมีการนำผลผลิตออกไปจากดินย่อมหมายถึงดินได้สูญเสียธาตุอาหารส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นธาตุอาหารที่อยู่ในผลผลิตพืช ยิ่งมีการปลูกพืชติดต่อกันเป็นเวลานาน การสูญเสียธาตุอาหารออกไปจากดินก็ยิ่งมากขึ้น

ในอดีตดินปลูกยางพารามีความอุดมสมบรูณ์สูงเนื่องจากเป็นการเปิดป่าใหม่ แต่การปลูกยางปัจจุบันเป็นการปลูกยางติดต่อกันซ้ำบนที่ดินเดิมเป็นเวลานานกว่า 40 ปี นับตั้งแต่มีการส่งเสริมการปลูกยาง และธาตุอาหารบางส่วนสูญเสียไปกับไม้ยางที่โค่นเพี่อปลูกแทนใหม่ในกระบวนการสะสมชีวมวล ประกอบกับระบบนิเวศน์ที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ปริมาณธาตุอาหารในดินลดลง

ในการเก็บเกี่ยวผลผลิตน้ำยาง 1 ตัน ดินจะสูญเสีย

ไนโตรเจน 20 กิโลกรัม
ฟอสฟอรัส 5 กิโลกรัม
โพแทสเซียม 25 กิโลกรัม
แคลเซียม 4 กิโลกรัม
แมกนีเซียม 5 กิโลกรัม
ซัลเฟอร์ 2 กิโลกรัม

หากไม่มีการใส่ปุ๋ยเพื่อชดเชยธาตุอาหารที่สูญเสียไปกับน้ำยางจะทำให้ขาดสมดุลของธาตุอาหารในดิน ความอุดมสมบรูณ์ของดินต่ำ มีผลทำให้ศักยภาพผลิตลดลง ดังนั้นปุ๋ยจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องให้กับยางพาราเพื่อประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตยาง และเพื่อรักษาความอุดมสมบรูณ์ของปริมาณธาตุอาหารในดินเพื่อให้ผลผลิตอย่างยั่งยืน

ความรู้เรื่องดิน
ยางพาราสามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความอุดมสมบรูณ์สูงหรือปานกลาง และสามารถปรับตัวได้ในสภาพของดินที่มีความอุดมสมบรูณ์ต่ำหรือค่อนข้างต่ำ ความอุดมสมบรูณ์ของดินปลูกยางย่อมแตกต่างกันตามวัตถุกำเนิดดิน ดินปลูกยางแต่ละสภาพพื้นที่จะมีปริมาณธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และจุลธาตุในดินแตกต่างกัน สถานะธาตุอาหารที่แตกต่างกันตามชุดดิน พันธุ์ยางและอายุของต้นยางธาตุอาหารพืชเหล่านี้จำเป็นต่อยางพารา ซึ่งจะมีผลในการเพิ่มการเจริญเติบโตและส่วนที่ให้ผลผลิตของต้นยาง เช่น เปลือกและท่อน้ำยาง ต้นยางมีความต้องการจุลธาตุปริมาณน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรอง จุลธาตุส่วนใหญ่จะมีบทบาทสำคัญต่อกระบวนการทางสรีรวิทยาของต้นยาง

การปลูกยางพารา ถึงแม้ว่าดินบางชนิดอาจมีจุลธาตุในปริมาณเพียงพอ แต่ไม่ได้หมายความว่าพืชจะสามารถดูดธาตุอาหารเหล่านี้ไปใช้ในปริมาณที่เพียงพอสำหรับพืชได้ ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับความเป็นกรด-ด่างของดิน (พีเอช) อินทรียวัตถุ และปฏิสัมพันธ์ระหว่างธาตุอาหารพืช โดยทั่วไปยางพาราที่ปลูกในดินที่มีสภาพเหมาะสมจะสามารถเปิดกรีดได้เร็วและให้ผลตอบแทนสูง ดังนั้น ดินจึงเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญต่อการผลิตสูง นอกเหนือจากการเลือกใช้พันธุ์ยาง การเขตกรรมที่ถูกต้องซึ่งการจัดการดิน การปลูกพืชคลุมดิน



http://kasetonline.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 06/01/2023 7:07 pm, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 11/09/2011 8:26 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

510. สิ่งบ่งบอกถึงความอุดมสมบรูณ์ของดิน



สมบัติทางเคมีของดินที่สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งบอกถึงความอุดมสมบรูณ์ของดิน ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับการใส่ปุ๋ย มีปัจจัยทีสำคัญ ดังนี้

ความเป็นกรด-ด่าง ของดิน
ความเป็นกรดของดินมีความสำคัญอย่างมากต่อการเจริญเติบโตของพืช เนื่องจากสภาพของความเป็นกรด-ด่างของดินเกี่ยวข้องกับระดับธาตุในดินที่พืชจะนำไปใช้ประโยชน์ได้ การบอกสภาพความเป็นกรด-ด่างของดินจะบอกเป็นค่าพีเอช ซึ่งมีค่าระหว่าง 1 ถึง 14 โดยมีสภาพความเป็นกลางของดิน จะอยู่ที่ 7.0

เมื่อค่าพีเอชที่วัดได้ในดินต่ำกว่า 7.0 จะบอกสภาพความเป็นกรด ถ้ามีค่าต่ำกว่า 7.0 มากเท่าใด ความเป็นกรดก็ยิ่งรุนแรงมากขึ้น ดินที่เป็นกรดรุนแรงจะเป็นตัวบอกว่าดินจะมีระดับธาตุอาหารบางธาตุที่พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้ค่อนข้างต่ำ เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม รวมทั้งโพแทสเซียมด้วย

ดินที่มีค่าพีเอชสูงกว่า 7.0 จะบอกสภาพความเป็นด่าง ทำนองเดียวกันยิ่งมีค่ามากขึ้นก็ยิ่งเป็นด่างมากขึ้น การที่ดินมีพีเอชสูงกว่า 8.5 มักจะมีแคลเซียมต่ำ เนื่องจากดินจะมีธาตุโซเดียมอยู่มากเกินไปจนทำให้พืชเกิดอาการขาดแคลเซียมและแมกนีเซียมได้ ดินทั่วไปจะมีระดับแคลเซียมและแมกนีเซียมเพียงพอ แต่ถ้าดินมีพีเอชต่ำกว่า 5.5 หรือสูงกว่า 8.5 พืชจะแสดงอาการขาดแคลเซียมและแมกนีเซียมได้

โดยทั่วไปยางพาราสามารถเจริญเติบโตได้ในดินที่มีความเป็นกรด-ด่าง ระหว่าง 3.8–6 อย่างไรก็ตามยางพาราชอบดินที่เป็นกรด ความเป็นกรด–ด่าง ของดินที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 4.5–5.5 ดังนั้นดินปลูกยางส่วนใหญ่จึงมักมีธาตุแคลเซียม แมกนีเซียม และโพแทสเซียมต่ำ ธาตุฟอสฟอรัสอยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่ำ ส่วนจุลธาตุ เช่น เหล็ก แมงกานีส สังกะสี ทองแดง และโบรอน จะเป็นประโยชน์ต่อพืชได้ดีจนถึงขั้นอาจเป็นพิษได้ ส่วนโมลิบดินัม ละลายได้ดีในสภาพดินที่เป็นกรดเล็กน้อย

หากความเป็นกรด-ด่างของดินต่ำกว่า 4.5 ความสามารถในการละลายของธาตุอาหารในดินจะต่ำถึงต่ำมาก ยกเว้นเหล็ก และแมงกานีสในดินจะละลายเป็นประโยชน์ต่อต้นยางได้ดี จนอาจเป็นพิษ และหากความเป็นกรด-ด่างของดินสูงกว่า 8.5 ในสภาพดินที่เป็นด่างหรือดินเค็ม จุลธาตุอาหารจะเป็นประโยชน์ต่อพืชได้น้อยจนเกิดการขาด ซึ่งการขาดจุลธาตุเหล่านี้จะสัมพันธ์กับการเกิดโรคของยางพาราทำให้ต้นยางไม่ต้านโรค นอกจากนี้ฟอสเฟตในดินที่พืชจะใช้ประโยชน์ได้จะลดลงด้วย เนื่องจากฟอสเฟตถูกตรึงโดยแคลเซียมและแมกนีเซียม และหากดินมีโซเดียมมากเกินไป จะทำให้พืชขาดแคลเซียมและแมกนีเซียมได้


อินทรียวัตถุในดิน
อินทรียวัตถุในดินมีผลต่อสมบัติทางกายภาพของดิน เช่น ทำให้ดินจับตัวเป็นก้อน เพิ่มช่องว่างในดินให้มากขึ้น ลดการแน่นทึบจากการกระแทกของเม็ดดินทำให้ลดปริมาณไหลบ่าหน้าดินของน้ำ ลดการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิดินอย่างฉับพลัน และทำให้ลดการระเหยของน้ำจากหน้าดิน นอกจากนี้อินทรียวัตถุยังเป็นตัวกลางในการปรับเปลี่ยนสมดุลของธาตุอาหารพืชในดิน ช่วยต้านทานการเปลี่ยนแปลงปฏิกิริยาของดิน ทำให้ปฏิกิริยาดินค่อยเป็นค่อยไป และเป็นธาตุอาหารพืชโดยตรง เมื่ออินทรียวัตถุสลายตัวจะปลดปล่อยไนโตรเจนจากสารประกอบอินทรีย์ไนโตรเจนให้เป็นอนินทรีย์ไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์ต่อพืช

นอกจากนี้ยังช่วยเร่งปฏิกิริยาเคมีเพื่อทำให้ธาตุบางชนิดละลายออกมาได้มากขึ้น ช่วยดูดซับธาตุอาหารพืชได้มากขึ้น และช่วยต้านความเค็มหรือสารพิษบางชนิดในดิน

นอกจากนี้อินทรียวัตถุยังมีผลต่อสมบัติทางชีวภาพของดิน เป็นแหล่งอาหารและพลังงานของจุลินทรีย์ดิน เป็นอาหารของสัตว์ในดินชนิดอื่น ๆ และเกิดสมดุลทางธาตุอาหารกับสิ่งมีชีวิตในดินโดยทั่วไปดินปลูกยางพารามีปริมาณอินทรีย์วัตถุในดินต่ำ วิธีการเพิ่มอินทรียวัตถุในดินปลูกยางที่เหมาะสมที่สุด คือ การปลูกพืชคลุมดินตระกูลถั่วระหว่างแถวยาง ดังนั้นทางที่ดีที่สุด คือ การป้องกันไม่ให้อินทรียวัตถุในดินสูญเสียไปอย่างรวดเร็ว ระบบการจัดการดินเป็นการเพิ่มเศษซากพืชให้กลับคืนสู่ดินเท่าที่จะเป็นไปได้หรือการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่าง ๆ กับดินที่มีอินทรีย์วัตถุต่ำจะเป็นหนทางหนึ่งในการรักษาระดับของอินทรีย์วัตถุให้คงอยู่


เนื้อดิน
เนื้อดิน หมายถึง สมบัติของดินที่บ่งถึงขนาดของชิ้นส่วนสารต่าง ๆที่ประกอบกันขึ้นเป็นดิน หมายถึงความหยาบ หรือความละเอียดของชิ้นส่วนขององค์ประกอบหลักของดิน เนื้อดินเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการใส่ปุ๋ยชนิดของเนื้อดินที่แตกต่างกันจะมีความสามารถในการดูดซับและแลกเปลี่ยนธาตุอาหารได้ในระดับที่แตกต่างกัน กลุ่มดินร่วนเหนียว มีความสามารถในการดูดซับอาหารและน้ำได้สูง ได้แก่ ดินร่วน ดินร่วนเหนียว และดินเหนียว กลุ่มดินร่วนทราย มีความสามารถดูดซับธาตุอาหารและน้ำต่ำกว่ากลุ่มดินร่วนเหนียว เช่น ดินร่วนทราย ดินทรายร่วน และดินทราย ดังนั้น การใช้ปุ๋ยยางพาราจึงได้แนะนำตามชนิดของเนื้อดิน


สีของดิน
สีของดินมักขึ้นอยู่กับปริมาณอินทรียวัตถุ ชนิดของสารประกอบของธาตุ และระดับความชื้นของดินอินทรีย์วัตถุมีผลทำให้ดินมีสีคล้ำ นอกจากนี้หากดินมีจุดประสีเหลืองหรือสีแดง แสดงให้เห็นว่าการถ่ายเทอากาศในดินไม่สม่ำเสมอ ดินระบายน้ำไม่ดี สีของดินยังบอกถึงความชื้นในดิน ดินในบริเวณที่มีความชื้นสูงจะมีสีคล้ำกว่าดินในบริเวณแห้งแล้ง


แหล่งของธาตุอาหารพืช
แหล่งของธาตุอาหารพืชที่ใช้ในสวนยาง มาจากแหล่งใหญ่ 2 แหล่งคือธาตุอาหารจาก ปุ๋ยอนินทรีย์ และธาตุอาหารจากปุ๋ยอินทรีย์


ธาตุอาหารจากปุ๋ยอนินทรีย์
ปุ๋ยอนินทรีย์เป็นแหล่งของธาตุอาหารที่มีต้นกำเนิดสิ่งที่ไม่มีชีวิต หรืออยู่ในรูปของอนินทรีย์สารหรือแร่ธาตุ เป็นสารประกอบทางเคมี ส่วนมากจะอยู่ในรูปของเกลือหาได้จากธรรมชาติโดยการขุดหรือผลิตจากโรงงาน เพื่อนำมาใช้เป็นปุ๋ยโดยเฉพาะหรือจากผลพลอยได้จากโรงงานอุตสาหกรรม มักจะเรียกปุ๋ยประเภทนี้ว่าปุ๋ยเคมี หรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ปุ๋ยเคมีที่ใช้อยู่ในสวนยางมีหลายชนิด สามารถแบ่งเป็นปุ๋ยที่ให้ธาตุอาหารต่าง ๆดังนี้

1. ปุ๋ยที่ให้ธาตุไนโตรเจน เป็นปุ๋ยที่ให้ธาตุไนโตรเจนแก่ต้นยาง ที่รู้จักแพร่หลาย และหาได้ง่ายในท้องตลาด ได้แก่ แอมโมเนียมซัลเฟต (21-0-0) และยูเรีย (46-0-0) ปุ๋ยทั้งสองชนิดนี้ให้ผลแก่การเจริญเติบโตของต้นยางใกล้เคียงกัน แต่ปุ๋ยยูเรียระเหิดเป็นแก็ซในรูปของแอมโมเนียได้ง่าย หากใส่โดยวิธีคราดกลบให้ปุ๋ยอยู่ในดินลึกประมาณ 5-10 เซนติเมตร จะป้องกันการสูญเสียของปุ๋ยยูเรียได้

2. ปุ๋ยที่ให้ธาตุฟอสฟอรัส ได้แก่ ปุ๋ยหินฟอสเฟต (0-3-0) ดับเบิลซูเปอร์ฟอสเฟต (0-40-0) และทริบเปิลซูเปอร์ฟอสเฟต (0-46-0) โมโนแอมโมเนียมฟอสเฟต (11-52-0) ไดแอมโมเนียมฟอสเฟต (18-46-0) ปุ๋ยหินฟอสเฟตเป็นปุ๋ยที่มีธาตุฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่ำ แต่มีประสิทธิภาพในการละลายได้ดีในดินที่เป็นกรด และมีผลตกค้างในดินได้นาน ส่วนปุ๋ยดับเบิลซูเปอร์ฟอสเฟต ทริบเปิลซูเปอร์ฟอสเฟต โมโนแอมโมเนียมฟอสเฟต และไดแอมโมเนียมฟอสเฟต เป็นปุ๋ยที่มีฟอสเฟตที่เป็นประโยชน์สูง ทำให้ต้นยางเจริญเติบโตในปีแรกดีกว่าปุ๋ยหินฟอสเฟต แต่หลังจากนั้นประสิทธิภาพของปุ๋ยฟอสเฟตทุกชนิดทำให้การเจริญเติบโตของต้นยางใกล้เคียงกัน

3. ปุ๋ยที่ให้ธาตุโพแทสเซียม ได้แก่ โพแทสเซียมคลอไรด์ (0-0-60) และโพแทส
เซียมซัลเฟต (0-0-50) ปุ๋ยทั้ง 2 ชนิดนี้ละลายน้ำได้ง่าย และให้ผลต่อการเจริญเติบโตของต้นยางใกล้เคียงกัน แต่ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์หาได้ง่ายและมีราคาถูกกว่า

4. ปุ๋ยที่ให้ธาตุแมกนีเซียม เช่น ปุ๋ยแมกนีเซียมซัลเฟต หรือคีเซอไรท์ หรือปูนโดโลไมท์ ที่ให้ธาตุแมกนีเซียม และแคลเซียม

ปุ๋ยเคมีที่ให้ธาตุอาหารเหล่านี้นอกจากจะให้ธาตุอาหารหลักแล้ว บางชนิดยังให้ธาตุอาหารรองอีกด้วย ซึ่งแหล่งของธาตุอาหารพืชเหล่านี้สามารถนำมาใช้เป็นแม่ปุ๋ยในการผสมปุ๋ยใช้เองได้ โดยพิจารณาจากราคาต่อหน่วยของธาตุอาหาร ผลพลอยได้ของธาตุอาหารรอง และความสะดวกในการจัดซื้อ


ธาตุอาหารจากปุ๋ยอินทรีย์
ปุ๋ยอินทรีย์ เป็นแหล่งของธาตุอาหารพืชที่มีส่วนประกอบเป็นอินทรีย์สารที่ได้จากสิ่งมีชีวิต นอกจากนี้ยังรวมถึงซากพืชและสัตว์ที่ไถกลบลงบนดิน ผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมอาหารและตะกอนน้ำเสีย ปุ๋ยอินทรีย์ เป็นปุ๋ยที่เกษตรกรใช้บำรุงดินกันมานานในลักษณะของการทิ้งซากพืชและวัชพืช หลังจากเก็บเกี่ยวพืชหลักในแต่ละปีแล้ว กลับคืนลงในดิน และปล่อยให้เน่าเปื่อยผุพังตามธรรมชาติ เป็นการเพิ่มอินทรีย์สารลงไปในดินวิธีหนึ่งแต่เนื่องจากประเทศไทยเป็นเขตร้อนชื้นทำให้การสลายตัวของอินทรีย์สารเกิดขึ้นรวดเร็ว จึงไม่เพียงพอที่จะรักษาระดับอินทรียวัตถุที่ลดลงในแต่ละปีให้กลับสู่ระดับเดิมได้ จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยอินทรีย์เพิ่มเติม การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ให้แก่พืชมีวัตถุประสงค์หลักคือ

1. รักษาสมบัติทางกายภาพ เคมี และชีวภาพของดินให้ดีอยู่เสมอ ทำให้ดินมีสภาพเหมาะแก่การเจริญของราก ทำให้รากพืชชอนไชได้ไกลและลึกกว่าเดิม สามารถหาอาหารได้ดียิ่งขึ้น มีการกระจายของรากหนาแน่นจึงมีประสิทธิภาพในการดูดธาตุอาหารและน้ำสูง

2. เพิ่มธาตุอาหารรอง ได้แก่ แคลเซียม แมกนีเซียม ซัลเฟอร์ และจุลธาตุได้แก่ เหล็ก
ทองแดง สังกะสี และแมงกานีส โดยทำให้ธาตุเหล่านี้อยู่ในรูปคีเลต ที่พืชใช้ได้ง่าย

3. เพิ่มธาตุอาหารหลักไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม แต่ปริมาณของแต่ละธาตุจะมีน้อยไม่เพียงพอสำหรับพืช

4. การมรอินทรียวัตถุในดินเพียงพอจะช่วยเพิ่มประชากรจุลินทรีย์และส่งเสริมกิจกรรมของจุลินทรีย์ทำให้ปลดปล่อยธาตุอาหารต่าง ๆในดินสูงขึ้น



แหล่งของปุ๋ยอินทรีย์มี ดังนี้
1. พืชคลุมดินตระกูลถั่ว
พืชคลุมดินตระกูลถั่วชนิดเลื้อย เป็นแหล่งของอินทรียวัตถุที่สำคัญของยางพารา พื้นที่ระหว่างแถวยางหากไม่ปลูกพืชแซมยาง แนะนำให้ปลูกพืชคลุมดิน ซึ่งนอกจากจะช่วยป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน ควบคุมวัชพืช ลดการใช้สารเคมีในสวนยางแล้ว พืชคลุมดินจะช่วยเพิ่มธาตุอาหารโดยเฉพาะ ไนโตรเจน และเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน โดยการตรึงไนโตรเจนจากอากาศและการสลายตัวของเศษซากพืชคลุม พืชคลุมดินตระกูลถั่วชนิดเลื้อยที่แนะนำปลูกในสวนยาง มี 4 ชนิด คือ คาโลโปโกเนียม เซนโตรซีมา เพอราเรีย และซีรูเลียม พืชคลุมแต่ละชนิดมีสมบัติดีเด่นแตกต่างกัน ฉะนั้นเพื่อให้การปลูกพืชคลุมมีประสิทธิภาพจึงควรผสมเม็ลดพืชคลุมเข้าด้วยกัน เพื่อให้คลุมพื้นที่ได้รวดเร็วทนต่อสภาพร่มเงา และความแห้งแล้งและให้ปริมาณเศษซากพืชสลายตัวได้มาก ในช่วง 3 ปีหลังจากปลูกพืชคลุมดินตระกูลถั่วผสม 3 ชนิด ได้แก่ เพอราเรีย คาโลโปโกเนียมและเซนโตรซีมา ในระหว่างแถวยาง เมื่อใบและเถาว์พืชคลุมดินสลายตัวแล้วจะให้ธาตุไนโตรแก่ดิน 36.7 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งเท่ากับปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต 174 กิโลกรัมต่อไร่ และในระยะเวลา 5 ปี จะสลายตัวให้อินทรียวัตถุและปลดปล่อยธาตุไนโตรเจนลงดินถึง 56.5 กิโลกรัมต่อไร่ หรือคิดเป็นปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต 269 กิโลกรัมต่อไร่

2. ปุ๋ยมูลสัตว์
เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากมูลสัตว์ต่าง ๆ ได้แก่ มูลไก่ มูลเป็ด มูลสุกร มูลโค มูลกระบือ มูลค้างคาว ปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากมูลสัตว์มีปริมาณธาตุอาหารต่ำ ในการนำมูลสัตว์ไปใช้กับพืชต่าง ๆ ไม่ควรใช้มูลสดกับพืชโดยตรง ควรผ่านการหมักก่อนนำไปใช้ มูลค้างคาวเป็นมูลที่มีธาตุอาหารสูงโดยเฉพาะธาตุฟอสฟอรัสจึงเหมาะกับการใช้ในดินที่มีสภาพเป็นกรด นอกจากนี้ปุ๋ยคอกก็เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากการนำเศษซากพืชต่าง ๆ ใส่ในคอกสัตว์เพื่อผสมกับมูลสัตว์ที่ปล่อยมาในคอก เป็นวิธีการทำปุ๋ยที่ง่ายกว่าปุ๋ยหมัก

3. ปุ๋ยหมัก
เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากการแปรสภาพของเศษซากพืชเป็นส่วนใหญ่ เกิดจากการย่อยสลายของเชื้อจุลินทรีย์หลายชนิด โดยทั่วไปปุ๋ยหมักจะมีธาตุอาหารต่ำ ไนโตรเจนระหว่าง 0.6-2.5 % ฟอสฟอรัส 0.5-1.9 % และโพแทสเซียม 0.6-1.8 % นอกจากนี้ยังมีธาตุอาหารรองและจุลธาตุในปริมาณที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับวัสดุอินทรีย์ที่นำมาทำปุ๋ยหมักและเทคนิคการผลิต

4. ปุ๋ยพืชสด
เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากการไถกลบพืชขณะที่สดอยู่ในดิน อายุของพืชที่ควรไถกลบจะแตกต่างกันตามชนิดของพืช แต่ควรเป็นพืชที่เจริญเติบโตเร็ว และสะสมน้ำหนักแห้งได้สูง ให้ปริมาณธาตุไนโตรเจนสูง เมล็ดหาง่าย พืชที่ปลูกส่วนใหญ่ ได้แก่ ถั่วลาย ถั่วพุ่ม ไมยราพไร้หนาม โสนอินเดีย โสนแอฟริกัน ถั่วพร้า ถั่วมะแฮะ และกระถิน การปลูกพืชตระกูลถั่วเป็นปุ๋ยพืชสดนั้นจะช่วยบำรุงดิน และเพิ่มไนโตรเจนได้มากกว่าการใช้พืชชนิดอื่น

5. ปุ๋ยชีวภาพ
หมายถึง ปุ๋ยที่มีจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพสูงอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อใส่ลงในดินแล้วทำให้พืชได้รับธาตุอาหารมากขึ้น ปุ๋ยชีวภาพที่แนะนำในปัจจุบัน ได้แก่ปุ๋ยชีวภาพที่มีเชื้อบักเตรี เช่น ไรโซเบียมมีแบคทีเรียที่สร้างปมที่รากถั่ว ช่วยตรึงไนโตรเจนจากอากาศให้ปุ๋ยไนโตรเจนแก่พืช เชื้อไมโคไรซ่า เป็นจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในระบบพึ่งพากันและกัน ส่วนของเส้นใยที่พันกับรากจะชอนไชเข้าไปในดิน ช่วยดูดธาตุอาหารในดินโดยเฉพาะธาตุฟอสฟอรัสให้เป็นประโยชน์แก่พืช

6. น้ำหมักชีวภาพ
หมายถึง สารละลายเข้มข้นหรือของเหลวที่ได้จากการหมักพืช หรือสัตว์ในสภาพควบคุมอากาศ และถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์พวกยีสต์ แบคทีเรีย ที่ทำให้เกิดกรดแลคติก และเชื้อราต่าง ๆ ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้มีบทบาทในการย่อยสลายสิ่งต่าง ๆ ภายในเซลล์พืชและสัตว์ ให้ปลดปล่อยธาตุอาหารหรือเอนไซม์ปริมาณน้อย โดยทั่วไปน้ำหมักชีวภาพมีปริมาณธาตุอาหารต่ำ น้ำหมักชีวภาพที่ผลิตจากสัตว์จะมีปริมาณธาตุอาหารสูงกว่าน้ำหมักชีวภาพที่ผลิตจากพืช น้ำหมักชีวภาพที่มีความเข้มข้นของสารละลายสูงก่อนนำไปฉีดพ่นกับพืชต้องผสมน้ำทำให้เจือจาง



http://kasetonline.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 06/01/2023 7:07 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 11/09/2011 8:36 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

511. “ไพรีทรัม” ดอกไม้เกษตรเศรษฐกิจเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม | กันแมลง


ไพรีทรัมเป็นไม้ดอกทรงพุ่ม ดอกสีเหลือง/ขาวคล้ายดอกเดซี่หรือเบญจมาศ อยู่ในสกุล Chrysanthemum ชนิด C. cinerariaefolium เป็นพืชยืนต้นที่ชอบอากาศหนาวเย็น ปลูกในระดับความสูง 1,500 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ชอบสภาพภูมิประเทศที่กลางวันอากาศร้อนจัดกลางคืนอากาศหนาวจัด ออกดอกตลอดทั้งปี ปลูกมากทางแถบแอฟริกาตะวันออก เช่น เคนยา แทนซาเนีย รวันดา เป็นต้น

เมื่อนำดอกมาตากแห้งแล้วนำมาสกัดจะได้สาร ไพรีทรินส์ (pyrethrins) ที่มีคุณสมบัติในการกำจัดแมลงที่มีประสิทธิภาพสูงเพราะสารออกฤทธิ์ดังกล่าว จะตรงเข้าทำลายระบบประสาทของแมลงทันที จะทำให้แมลงสลบอย่างรวดเร็วภายใน 2-3 นาที และตายในที่สุด เนื่องจากสารชนิดนี้เป็น lipophilic esters จึงถูกดูดซึมเข้าระบบประสาทของแมลงอย่างรวดเร็ว แต่ทว่าสารนี้มีผลต่อมนุษย์และสัตว์เลือดอุ่นน้อยมาก เพราะในตับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจะมีเอนไซม์ที่สามารถย่อยสลายไพรีทรินส์ ให้กลายเป็นสารไม่มีพิษจึงไม่มีการสะสมในร่างกาย และสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติผ่านแสงแดดและความร้อน จึงทำให้สารสกัดจากดอกไพรีทรัมเป็นที่นิยมสำหรับกำจัดแมลงในบ้านเรือน ซึ่งแมลงที่สามารถกำจัดได้ผลอย่างดี คือ ยุง เพลี้ยอ่อน หมัดกระโดด ตั๊กแตน หนอนผีเสื้อกะหล่ำ หนอนกะหล่ำใหญ่ เพลี้ยจักจั่นฝ้าย หนอนเจาะมะเขือ หนอนแมลงวันเจาะต้นถั่ว แมลงวัน แมลงหวี่ ไร และ เรือด เป็นต้น โดยในประเทศจีนเองใช้สารสกัดจากดอกไพรีทรัมในการกำจัดยุงมานานกว่า 2,000 ปีแล้ว ส่วนในยุโรปมีการนำมาเป็นส่วนผสมเป็นยาฉีดพ่นฆ่าแมลงในอุตสาหกรรมการผลิต ไวน์ ส่วนในอุตสาหกรรมยาสูบก็ได้นำมาใช้ในการกำจัดแมลงเช่นกัน

โดยสารสกัดจากไพรีทรัมนี้ องค์การอนามัยโลก WHO และองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ FAO ให้การรับรองว่าปลอดภัยต่อมนุษย์และสัตว์เลี้ยงมากที่สุด ทำให้ความนิยมในสารไพรีทรินส์ของดอกไพรีทรัมได้รับความนิยมอย่างมากและมี ราคาสูงอย่างต่อเนื่อง สำหรับในประเทศไทยเองต้องนำเข้ามาจากประเทศแถบแอฟริกาตะวันออกด้วยเช่นกัน นับว่าไพรีทรัมเป็นพืชเศรษฐกิจอีกตัวหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะนอกจากอนาคตสดใสแล้ว ยังปลอดภัยสำหรับมนุษย์และสัตว์เลี้ยงอีกด้วย

สำหรับในประเทศไทยเองได้เคยมีการนำดอกไพรีทรัม สายพันธุ์ญี่ปุ่น ชื่อ ชิรายูกิ ทดลองปลูกที่ดอยอ่างขาง ตั้งแต่ปี 2516-2518 โดย โครงการหลวงพัฒนาภาคเหนือ ในพระบรมราชานุเคราะห์ ได้ทดลองปลูกเพื่อหาพืชเศรษฐกิจมาปลูกทดแทนฝิ่น โดยทดลองปลูกแบบขั้นบันได ซึ่งในช่วงที่ออกดอกมากที่สุดเป็นช่วงฤดูร้อนตั้งแต่เดือนมีนาคม–กรกฎาคม ซึ่งให้ผลผลิตเท่ากับ 335.25 กิโลกรัมต่อ 1 เอเคอร์ ในขณะที่ประเทศเคนยาที่ปลูกดอกไพรีทรัมเพื่อสกัดสารไพรีทรินส์เพื่อส่งออก เองสามารถปลูกและให้ผลผลิตดอกไพรีทรัมเพียง 200 กิโลกรัมต่อ 1 เอเคอร์ ซึ่งเป็นผลผลิตในปีแรก ส่วนในปีต่อมานั้นผลผลิตเริ่มลดลงเพราะสภาพอากาศของประเทศไทยมีปริมาณน้ำฝน สูง ทำให้โครงการปลูกพืชทดแทนฝิ่นของโครงการหลวงพัฒนาภาคเหนือบนดอยอ่างขางต้อง ระงับไป.



http://kasetonline.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 06/01/2023 7:08 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 11/09/2011 9:04 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

512. การใช้ยิปซัมปรับปรุงดิน



ในปัจจุบันมีข้อมูลข่าวสารมากมายจากสื่อต่างๆ ได้กล่าวถึงความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดินในประเทศ อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และสังคมของประชากรในประเทศ การเพิ่มขึ้นของประชากร ทำให้เกิดการบุกรุกพื้นที่ป่ามาเป็นพื้นที่การเกษตรเพิ่มมากขึ้นทุกปี ทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง เกิดปัญหาน้ำท่วม ฝนแล้ง หน้าดินถูกชะล้างพังทลาย องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติได้ให้คำนิยามความเสื่อมโทรมของดิน คือ ความเสื่อมโทรมในคุณภาพของดินและการให้ผลิตผลของดินที่ลดลง เป็นสูตรโครงสร้างที่เกิดจากปัจจัยต่างๆร่วมกัน ได้แก่ ความเลวร้ายของสภาพฟ้า อากาศ ลักษณะธรรมชาติของดิน ภูมิประเทศ ชนิดพันธุ์พืชที่เพาะปลูก ลักษณะการใช้พื้นที่ และการจัดการดิน จากข้อมูลที่เกษตรกรได้ประสบปัญหาทางด้านการจัดการดินที่ทำการเกษตรแล้วยังไม่ได้รับผลสำเร็จเท่าที่ควร ส่วนหนึ่งของปัญหาได้แก่โครงสร้างของดินเลวลง ผิวดินจับตัวกันแน่นทึบ เมื่อฝนตกหรือมีการให้น้ำ น้ำซึมลงใต้ผิวดำดินได้น้อย เกิดน้ำไหลบ่าที่ผิวดิน ไหลลงไปสู่ที่ต่ำ ดินระบายน้ำยาก เมื่อเกิดฝนทิ้งช่วง แหล่งน้ำในดินไม่เพีงพอ พืชเหี่ยวเฉาเร็ว ดินเป็นกรดมากขึ้นธาตุอาหารพืชในดินถูกตรึงอยู่ในรูปที่พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้น้อย ขาดความสมดุลของธาตุอาหารในดิน ทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ให้ผลผลิตต่ำ ดินใช้ปลูกพืชมานาน ขาดการจัดการดินที่ถูกต้อง เกิดการสูญเสียหน้าดิน ถูกชะล้างพังทลาย ดินขาดธาตุอาหารพืช ทำให้ดินมีศักยภาพในการให้ผลผลิตต่ำทั้งปริมาณและคุณภาพ ดินเสื่อมโทรมที่เกิดโดยธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและการกระทำของมนุษย์ได้แก่ ดินที่ทำการเกษตรมานาน ดินเค็ม ดินเปรี้ยว ดินลูกรัง ดินเหมืองแร่เก่า ดินนากุ้งร้าง ฯลฯ

เนื่องจากพื้นที่ดินที่ใช้ในการเกษตรทุกวันนี้มีจำนวนจำกัดไม่อาจขยายพื้นที่ได่อีกแล้ว แต่ขณะเดียวกันจำนวนประชากรของประเทศเพิ่มขึ้นทุกปี จึงมีความจำเป็นต้องทำกากรฟื้นฟูทรัพยากรดินที่เสื่อมโทรมซึ่งมีพื้นที่ครอบคลุมทั้งประเทศหลายล้านไร่ให้กลับมาใช้ประโยชน์ในทางการเกษตร มีข้อมูลผลงานวิจัยทั้งในต่างประเทศและภายในประเทศเกี่ยวกับวิธีการฟื้นฟูดินที่เสื่อมโทรม เช่น การใช้อินทรียวัตถุ ปุ๋ยอินทรีย์ ปูนชนิดต่างๆ ยิปซัม สารสังเคราะห์โพลิเมอร์ ตลอดจนวัสดุที่เป็นผลพลอยได้จากโรงงานอุตสาหกรรม และเขตชุมชน นำมาเป็นวัสดุปรับปรุงดิน ในบรรดาวัสดุปรับปรุงดินเหล่านี้ยิปซัมมีสมบัติที่ดีเด่นหลายประการ ในการแก้ไขปัญหาดินเสื่อมโทรมทั้งทางกายภาพ ทางเคมี และชีวภาพ จนอาจกล่าวได้ว่า หากมีการนำยิปซัมมาใช้ประโยชน์ในทางการเกษตรอย่างเหมาะสม จะมีส่วนในการเสริมสร้างความยั่งยืนให้แก่ดินและพืชในระยะยาว


ยิปซัมคืออะไร?
ยิปซัม คือ แร่เกลือจืด เป็นสารประกอบแคลเซี่ยมซัลเฟต มีสูตรทางเคมี คือ CaSO4. 2H2O เป็นผลึกสีขาวหรือไม่มีสี เนื้ออ่อน มีปฏิกริยาเป“นกลาง ละลายในน้ำได้ขึ้นอยู่กับความละเอียดของเนื้อยิปซัม ยิปซัมอาจแบ่งออกเป“น 2 ชนิดคือ

1. ยิปซัมที่เกิดตามธรรมชาติจากการตกตะกอนของทะเลเก่าที่เป็นแอ่งใหญ่ ในใจกลางของประเทศในประเทศ ในประเทศไทยพบแหล่งใหญ่เกิดอยู่ในบริเวณพื้นที่จังหวัดพิจิตร นครสวรรค์และในพื้นที่ภาคใต้เป็นแร่ยิปซัมที่มีความบริสุทธิ์ 96-98% ประกอบด้วยธาตุแคลเซี่ยม 23% Ca กำมะถัน (ในรูปของซัลเฟต) 17% S เป“นชนิดที่เหมาะสมต่อการนำมาใช้ในการเกษตรได้ดี

2. ยิปซัมที่เกิดจากผลพลอยได้ของอุตสาหกรรมการผลิตปุ๋ยเคมี ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตปุ๋ยฟอสเฟต ในการผลิตกรดฟอสฟอริคจากแร่หินฟอสเฟต

ส่วนที่เป็นผลพลอยได้มีชื่อเรียกว่า ฟอสโฟยิปซัม ซึ่งอาจมีสารฟลูออไรด์และธาตุโลหะหนักหลายชนิดเจือปนอยู่ได้แก่สารหนู ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม มีความเป็นกรดอยู่มาก และมีสารกัมมันตภาพรังสีปนเปื้อนเช่น เรเดียม ที่มีค่าเกินกว่าเกณฑ์กำหนดค่ามาตรฐานความปลอดภัย เกิดมลพิษต่อดิน พืชและสิ่งแวลล้อม จึงไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ทางด้านการเกษตร ยิปซัมที่เกิดจากการใช้ถ่านหินลิกไนท์เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าจะมีก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ปนเปื้อนจากปล่องควันโรงงานการกำจัดควันพิษด้วยการทำปฏิกิริยากับหินปูนที่ผสมกับน้ำจะได้ผลพลอยได้คือ ยิปซัมซึ่งยังมีธาตุโลหะหนักปนเปื้อน

ผลจากการใช้ทรัพยากรที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ทำให้มีพื้นที่ดินเสื่อมโทรมที่มีศักยภาพในการให้ผลผลิตพืชต่ำทั้งปริมาณและคุณภาพมากมาย ปัญหาทางกายภาพได้แก่ ผิวดินจับกันแน่นน้ำซึมได้ยาก มีน้ำที่เป็นประโยชน์ได้น้อยลง พืชจึงเหี่ยวเฉาง่าย ในกรณีที่มีฝนตกมาก เกิดปัญหาน้ำท่วม นอกจากนี้ยังมีปัญหาดินเป็นกรดมากขึ้น ดินที่ใช้ในการเกษตรมานาน ขาดการปรับปรุงบำรุงดินที่เหมาะสม จำเป็นต้องได้รับการแก้ไข การใช้ยิปซัมเป็นวัสดุปรับปรุงดิน จะช่วยแก้ปัญหาผิวดินจับตัวกันแน่น ทำให้น้ำและอากาศผ่านลงไปในดินชั้นล่างได้ดีขึ้น พืชดูดใช้น้ำและอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ การแก้ปัญหาทางเคมีและชีวภาพ ยิปซัมช่วยลดสภาพดินเป็นกรดในดินชั้นล่างลดการเกิดโรคพืช ช่วยฟื้นฟูดินเค็มให้กลับมาใช้ปลูกพืชได้เป็นปกติ ยิปซัมนอกจากช่วยปรับสภาพดินแล้วยังเป็นแหล่งให้ธาตุแคลเซี่ยม และกำมะถันที่จำเป“น แก่พืชเศรษฐกิจ ในภาวะการณ์ปัจจุบันที่มีการใช้ปุ๋ยเคมีในการเพิ่มผลผลิตพืช ระบบการเกษตรแบบประณีต ทำให้ดินขาดความสมดุลของธาตุอาหารโดยเฉพาะแคลเซี่ยมและกำมะถันที่มีอยู่ในดินสูญเสียไปจากการถูกชะล้างจำนวนมากทุกปี การใส่ยิปซัมในระบบการจัดการดินที่เหมาะสมจะเป็นทางหนึ่งที่ช่วยเสริมสร้างระบบดิน-พืช ให้เกิดความยั่งยืนได้

บทความโดย :: โดย ดร.สำเนา เพชรฉวี



http://kasetonline.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 06/01/2023 7:08 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 11/09/2011 9:32 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

513. สารปนเปื้อนแคดเมียมลุ่มน้ำแม่ตาว ปลูกอ้อยไม่คุ้ม


นอภ.แม่สอด ตรวจซ้ำเขตปนเปื้อนแคดเมียม-พบปมใหญ่ปลูกอ้อยไม่คุ้ม

ตาก- นายอำเภอแม่สอด ลงพื้นที่ สารปนเปื้อนแคดเมียมลุ่มน้ำแม่ตาว เขตปัญหาเรื้อรัง ขณะที่แผนส่งเสริมเกษตรกรหันปลูกอ้อยแทนข้าว หนีปัญหาปนเปื้อนกลายเป็นปัญหาซ้ำ ทั้งไม่คุ้มทุน-พื้นที่ไม่เหมาะสม

วันนี้ (21 มิ.ย.) นายปรีชา ใจเพชร นายอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ได้เดินทางลงพื้นที่ตรวจสอบปัญหาสารแคดเมี่ยมปนเปื้อนนาข้าว พื้นที่ลุ่มน้ำแม่ตาว ในเขตตำบลแม่กุ-แม่ตาว และ ต.พระธาตุผาแดง อ.แม่สอด จำนวน 12 หมู่บ้าน ภายหลังเข้ามารับตำแหน่งได้เดือนเศษ และได้รับการร้องเรียนจากชาวบ้านในพื้นที่ให้เร่งเข้าไปดำเนินการตรวจสอบและหาแนวทางแก้ไขปัญหาแคดเมี่ยมปนเปื้อน อย่างเบ็ดเสร็จ เพราะเป็นปัญหาที่ยืดเยื้อเรื้อรังและยังไม่สามารถสรุปได้


นายอำเภอแม่สอด กล่าวว่า หลังจากเข้ามาทำงาน และได้รับการร้องเรียนจากประชาชนตนเองก็ได้ติดตามปัญหาสารปนเปื้อนแคดเมียมในลุ่มน้ำแม่ตาว ทั้ง 3 ตำบล ซึ่งชัดเจนว่า ชาวบ้านได้รับผลกระทบ และได้รับความเดือดร้อนจริงๆ และก่อนหน้านี้ ผู้ตรวจราชการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ได้ลงไปพื้นที่พบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้ได้รับผลกระทบ


ทั้งนี้ มีข้อสรุป 2 ประเด็น คือ เรื่องพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ กระทรวงทรัพย์ ได้ตรวจสอบวิเคราะห์วิจัยออกมาพอทราบมาว่า ได้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่ไม่สามารถทำการเกษตรได้ หรือพื้นที่สีแดง ซึ่งเป็นพื้นที่มีสารแคดเมียมปนเปื้อนสูง ส่วนพื้นที่ที่ 2 เป็นพื้นที่สีเหลือง หรือ ปนเปื้อนสารแคดเมียมต่ำ แต่ยังพอทำการเกษตรได้ และพื้นที่สีเขียว ที่ไม่มีสารปนเปื้อนแดดเมียมเลย

นอภ.แม่สอด บอกอีกว่า เราต้องวิเคราะห์พื้นที่ปนเปื้อนทั้งหมด ว่า สามารถทำอะไรได้ โดยเฉพาะการคัดพื้นที่สีแดง และสีเหลือง และเราจะต้องมาคุยกันว่า จะดำเนินการต่อไปอย่างไรดี เพื่อที่จะให้เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบหันมาปลูกพลังงานทดแทน (อ้อย)

แต่โดยข้อเท็จจริงของสภาพพื้นที่แล้ว เราจะเห็นว่า สภาพพื้นที่การปลูกอ้อยที่เหมาะสมนั้นต้องเป็นพื้นที่สูง แต่ปัจจุบันพื้นที่ปลูกอ้อยส่วนมากเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำ การเอาพื้นที่ทำนาไปปลูกอ้อยจึงไม่คุ้มค่ากับการลงทุน

นอกจากนี้ ถ้าพื้นที่ปลูกอ้อยน้อยกว่า 20 ไร่ ก็ทำไร่อ้อยไม่คุ้ม และการปลูกอ้อยนั้นต้นทุนเพิ่มขึ้น ซึ่งจะต้องคุยกันว่าจะดำเนินการอย่างไรกับชาวบ้านที่มีปัญหาดังกล่าว



จาก http://www.mcot.net วันที่ 21 มิ.ย. 2554
http://www.sugarzone.in.th/news/jun54.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 11/09/2011 9:35 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

514. สัญญาณปุ๋ยเคมีโลกวิกฤติ


อุตสาหกรรมปุ๋ยเคมีโลกวิกฤติ ความต้องการใช้เพิ่มขึ้นอันเนื่องจากราคาน้ำมัน พืชบริโภคพืชพลังงานสูง แต่ก๊าซธรรมชาติวัตถุดิบผลิตปุ๋ยยูเรียธาตุอาหารหลักถูกนำไปใช้ภาคอุตสาหกรรม ส่งผลปริมาณปุ๋ยยูเรียลดลง แถมปุ๋ยฟอสฟอรัสเริ่มขาดแคลนแล้ว พ่อค้าหวั่นแข่งซื้อประเทศอื่นไม่ไหวเหตุราคาจำหน่ายภายในต่ำ วิตกปุ๋ยในประเทศขาดตลาด วอนรัฐปรับราคาอีกรอบ

นายชุมพล ดิเรกวัฒนชัย ผู้อำนวยการฝ่ายการค้า บริษัท ยาร่า (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยถึงสถานการณ์ปุ๋ยเคมีโลก ซึ่งจะส่งผลมาถึงประเทศไทย เพราะไทยพึ่งพาการนำเข้าปุ๋ยถึง 96% ของปริมาณการใช้ปุ๋ยทั้งประเทศที่มีความต้องการใช้ปีละ 5 ล้านตันเศษ ว่าขณะนี้มีสัญญาณปุ๋ยเคมีโลกจะมีราคาสูงและขาดแคลน ทั้งนี้เป็นผลมาจากปัจจัยคือประชากรโลกเพิ่มขึ้น ความต้องการบริโภคอาหารเพิ่มขึ้น แต่ละประเทศจึงเร่งผลิตพืชและต้องใช้ปุ๋ยช่วยเพิ่มผลผลิต การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศทำให้การผลิตพืชผลได้ผลผลิตไม่เต็มที่ ราคาพืชผลที่สูงจึงมีการปลูกกันมากขึ้น ราคาน้ำมันอยู่ในเกณฑ์สูงกว่า 100 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล ธัญพืชถูกนำไปใช้ผลิตพลังงาน ทดแทน ก๊าซธรรมชาติวัตถุดิบผลิตปุ๋ยยูเรียถูกนำไปใช้ภาคอุตสาหกรรม

"สัญญาณที่ชี้ว่าปุ๋ยเคมีจะขาดแคลนและมีราคาสูงเห็นได้ชัดเจนแล้วคือจีนแหล่งผลิตปุ๋ยยูเรีย (ให้ธาตุอาหารหลักไนโตรเจน)รายใหญ่ในภูมิภาคเอเชีย ได้นำก๊าซธรรมชาติไปใช้ในภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น เพราะที่ผ่านมาจีนสนับสนุนภาคอุตสาหกรรม แต่เนื่องจากเกิดภัยแล้งในประเทศน้ำในเขื่อนไม่เพียงพอผลิตพลังงาน จึงใช้พลังงานจากก๊าซธรรมชาติ นำก๊าซธรรมชาติไปใช้ในภาคอุตสาหกรรม ส่งผลให้จีนส่งออกปุ๋ยยูเรียลดลง ปุ๋ยยูเรียตลาดโลกจึงสูงขึ้น และตั้งแต่มกราคมถึงพฤษภาคมการผลิตยูเรียได้ลดลงเรื่อยๆแล้ว"

นายกลยุทธ กุลเดชชัยชาญ ผู้จัดการฝ่ายการค้าและจัดซื้อ บริษัท ไอซีพี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด กล่าวเสริมว่า ช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาราคาปุ๋ยยูเรียปรับสูงขึ้น 60-70 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน ราคาปุ๋ยยูเรีย ไม่รวมค่าขนส่ง ค่าบรรจุกระสอบ ตลาดเอเชียอยู่ที่ตันละ 14,478 บาท ราคาภายในประเทศรวมค่าใช้จ่ายต่างๆแล้วอยู่ที่ตันละ 14,200 บาท อินเดียซึ่งเป็นผู้ใช้ปุ๋ยยูเรียรายใหญ่มีความต้องการนำเข้า 7.7 ล้านตันต่อปี ณ เวลานี้ยังนำเข้าไม่ถึง 1 ล้านตัน การนำเข้าปุ๋ยยูเรียจึงต้องแข่งขันกับผู้ใช้รายใหญ่อย่างอินเดียด้วย

ขณะที่สถานการณ์ปุ๋ยDAP (ให้ธาตุอาหารฟอสฟอรัส)มีสัญญาณขาดตลาดเช่นเดียวกัน ทั้งโลกใช้ปุ๋ยDAP 50 ล้านตันต่อปี ผู้ใช้รายใหญ่คืออินเดีย ต้องการใช้ปีละ 8 ล้านตัน แต่การจัดซื้อของอินเดียซึ่งเป็นการซื้อขายล่วงหน้า เช่นสั่งซื้อสินค้าเดือนเมษายนปีนี้ กำหนดส่งมอบถึงเมษายนปีหน้าในราคาคงที่ ปีนี้สามารถจัดซื้อได้เพียง 3.3 ล้านตัน และส่งมอบถึงเดือนกันยายนเท่านั้น เพราะผู้ขายรายใหญ่คือสหรัฐอเมริกายังไม่มั่นใจว่าราคาDAP จะขึ้นไปอีกเท่าใด ขณะที่การส่งออกของจีนรัฐบาลประกาศเก็บภาษีส่งออกปุ๋ยDAP 19.5% ทำให้หลังหักภาษีผู้ขายจะได้รับราคาเพียงตันละ 483 ดอลลาร์สหรัฐฯ แต่จำหน่ายในประเทศได้ตันละ 500 ดอลลาร์สหรัฐฯ จีนจึงเลือกจำหน่ายในประเทศแทน ส่วนเม็กซิโกและโมร็อกโกผู้ผลิตปุ๋ยDAP ได้ประกาศเดือนมิถุนายน-กรกฎาคมไม่มีสินค้าจำหน่าย

ทั้งนี้ ข้อมูลสมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจการเกษตรไทย ระบุว่าจากการประชุมร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาปริมาณปุ๋ยยูเรียในคลังสินค้าของผู้นำเข้ารายใหญ่มีปริมาณรวมกันไม่ถึง 200,000 ตัน ขณะที่ความต้องการใช้ 700,000 ตัน

นายเปล่งศักดิ์ ประกาศเภสัช นายกสมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจการเกษตรไทย กล่าวว่าราคาพืชผลเกษตรไทยปี 2554 หากเทียบกับปีก่อนๆ ทุกชนิดอยู่ในเกณฑ์ที่สูง ขณะที่ราคาจำหน่ายปุ๋ยปี 2554 หากเทียบกับปีก่อนๆ โดยเฉพาะปี 2551 ที่ราคาพืชผลสูงขึ้น ราคาปุ๋ยปีนี้ยังต่ำกว่าปี 2551 อยู่มาก ดังนั้นเพื่อให้ผู้ค้าปุ๋ยแข่งขันราคาซื้อกับผู้ซื้อปุ๋ยประเทศอื่นทั่วโลกได้ จึงอยากให้รัฐบาลมีความยืดหยุ่นในเรื่องของเพดานราคาปุ๋ย เพราะหากเป็นเช่นนี้ผู้นำเข้าแข่งขันซื้อกับประเทศอื่นไม่ได้จะมีผลให้ปริมาณปุ๋ยในประเทศเกิดการขาดแคลนได้



จาก http://www.thanonline.com วันที่ 10 มิถุนายน 2554
http://www.sugarzone.in.th/news/jun54.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 11/09/2011 9:46 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

515. น้ำหมักชีวภาพคืออะไร ?


น้ำหมักชีวภาพ คือ การนำเอาพืช ผัก ผลไม้ สัตว์ชนิดต่าง ๆ มาหมักกับน้ำตาลทำให้เกิดจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์จำนวนมากซึ่งจุลินทรีย์ เหล่านี้จะไปช่วยสลายธาตุอาหารต่าง ๆ ที่อยู่ในพืช มีคุณค่าในแง่ของธาตุอาหารพืชเมื่อถูกย่อยสลายโดยกระบวนการย่อยสลายของ แบคทีเรียหรือจุลินทรีย์ สารต่างๆจะถูกปลดปล่อยออกมา เช่น โปรตีน กรดอะมิโน กรดอินทรีย์ ธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง จุลธาตุ ฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโต เอนไซม์ วิตามิน ซึ่งพืชสามารถนำไปใช้ในการเจริญเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

น้ำหมักชีวภาพ มี 2 ประเภท คือ
1. น้ำหมักชีวภาพจากพืช ทำได้โดยการนำเศษพืชสด ผสมกันน้ำตาลทรายแดง หรือกากน้ำตาล อัตราส่วน กากน้ำตาล 1 ส่วน พืชผัก 3 ส่วน หมักรวมกันในถังปิดฝา หมักทิ้งไว้ประมาณ 3-7 วัน เราจะได้ของเหลวข้น ๆ สีน้ำตาล ซึ่งเราเรียกว่า น้ำหมักชีวภาพจากพืช

2. น้ำหมักชีวภาพจากสัตว์ มีขั้นตอนทำคล้ายกับน้ำหมักจากพืช แตกต่างกันตรงวัตถุดิบจากสัตว์ เช่น หัวปลา ก้างปลา หอยเชอรี่ เป็นต้น

วิธีทำน้ำหมักชีวภาพสูตรผสมน้ำ อย่างง่ายๆ ท่านสามารถทำเองได้ สบายมาก โดยการนำ ผลไม้หรือพืชผักหรือเศษอาหาร 3 ส่วน น้ำตาล 1ส่วน น้ำ 10 ส่วน ใส่รวมกัน ในภาชนะ (ขวด, ถัง) ที่มีฝาปิดสนิท อย่าให้อากาศเข้า โดยเว้นที่ว่างไว้ประมาณ 1 ใน 5 ของขวด/ถัง หมั่นเปิดฝา คลายแก๊สออก และ ปิดกลับให้สนิททันที วางไว้ในที่ร่ม อย่าให้ถูกแสงแดด หมักไว้ 3 เดือน เราก็จะได้น้ำหมักชีวภาพ ซึ่งมีจุลินทรีย์ สารอินทรีย์ ธาตุอาหาร ที่เป็นประโยชน์ต่อ สิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม เช่น ใช้ทำปุ๋ยสะอาด(แทนปุ๋ยเคมี) ใช้ในการเพาะปลูกกสิกรรมธรรมชาติไร้สารพิษ ใช้ในการซักล้างทำความสะอาด (แทนสบู่ ผงซักฟอก แชมพู น้ำยาล้างจาน) ใช้ดับกลิ่นในห้องน้ำ โถส้วม ท่อระบายน้ำ ฯลฯ

สูตรการทำน้ำหมักชีวภาพ 3 : 1 : 10 ผลไม้ : น้ำตาล : น้ำ หมักนาน 3 เดือน การ ขยายน้ำหมักชีวภาพ น้ำหมักชีวภาพที่หมักได้ 3 เดือนแล้ว ใช้สายยางดูด เฉพาะน้ำใสออกมา ใส่อีกภาชนะหนึ่ง ส่วนนี้เป็นหัวเชื้อน้ำหมักชีวภาพ นำน้ำหมักชีวภาพ 1 ส่วน น้ำตาล 1 ส่วน และ น้ำ 10 ส่วน ใส่รวมในภาชนะ (ขวด, ถัง) ที่มีฝาปิดสนิท โดยเว้นที่ว่างไว้ประมาณ 1 ใน 5 ของขวด หมั่นเปิดฝา คลายแก๊สออก และ ปิดกลับ ให้สนิททันที วางไว้ในที่ร่ม อย่าให้ถูกแสงแดด หมักไว้ 2 เดือน เราก็จะได้หัวเชื้อน้ำหมักชีวภาพอายุ 5 เดือน ขยายต่อตามวิธีข้างต้นทุก 2 เดือน เราก็จะได้หัวเชื้อน้ำหมักชีวภาพที่มีอายุมากขึ้นเรื่อยๆ (7, 9, 10 เดือน, 1, 2, 3,…ปี) ซึ่งทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อยๆ

สูตร การขยายน้ำหมักชีวภาพ 1 : 1 : 10 น้ำหมักชีวภาพ : น้ำตาล : น้ำ หมักขยายต่อทุก 2 เดือน การทำน้ำหมักชีวภาพดับกลิ่น เป็นการใช้เศษอาหาร พืชผัก ผลไม้ที่เหลือทิ้ง 3 ส่วน กากน้ำตาลหรือโมลาส 1ส่วน และน้ำ 10 ส่วน ใส่รวมกันในภาชนะ (ขวด, ถัง) ที่มีฝาปิดสนิท โดยเว้นที่ว่างไว้ประมาณ 1 ใน 5 ของ ขวด/ถัง หมั่นเปิดฝาคลายแก๊สออกและปิดกลับให้สนิททันที วางไว้ในที่ร่ม อย่าให้ถูกแสงแดด หมักไว้ 3 เดือน เราจะได้น้ำหมักชีวภาพดับกลิ่น ใช้ดับกลิ่นในห้องน้ำ โถส้วม ท่อระบายน้ำ กลิ่นปัสสาวะสุนัข ฯลฯ

การทำ น้ำหมักชีวภาพซักผ้า/ล้างจาน เป็นการใช้ ผลไม้ เปลือกผลไม้ (ฝักส้มป่อย , มะคำดี ควาย , มะนาว ฯลฯ) 3 ส่วน น้ำตาลทรายแดงหรือน้ำตาลอ้อย 1 ส่วน และน้ำ 10 ส่วน ใส่รวมกันในภาชนะ (ขวด, ถัง) ที่มีฝาปิดสนิท โดยเว้นที่ว่างไว้ประมาณ 1 ใน 5 ของขวด/ถัง หมั่นเปิดฝา คลายแก๊สออกและปิดกลับให้สนิททันที วางไว้ในที่ร่ม อย่าให้ถูกแสงแดด หมักไว้ 3 เดือน เราจะได้น้ำหมักชีวภาพซักผ้า / ล้างจาน (แม้ผ้ามีราขึ้นเป็นจุดดำๆ แช่ผ้าทิ้งไว้ 1-2 วัน ก็ซักออกได้)

ประโยชน์ของน้ำหมักชีวภาพ ด้านการเกษตร
1. ช่วยปรับสภาพความเป็นกรด - ด่าง ในดินและน้ำ
2. ช่วยปรับสภาพโครงสร้างของดินให้ร่วนซุย อุ้มน้ำและอากาศได้ดียิ่งขึ้น
3. ช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุในดินให้เป็นธาตุอาหารแก่พืช พืชสามารถดูดซึมไปใช้ได้เลย โดยไม่ต้องใช้พลังงานมากเหมือนการใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์
4. ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืชให้สมบูรณ์ แข็งแรงตามธรรมชาติ ต้านทานโรคและแมลง
5. ช่วยสร้างฮอร์โมนพืช ทำให้ผลผลิตสูง และคุณภาพของผลผลิตดีขึ้น
6. ช่วยให้ผลผลิตคงทน เก็บรักษาไว้ได้นาน


ด้านปศุสัตว์
1. ช่วยกำจัดกลิ่นเหม็นจากฟาร์มสัตว์ ไก่ สุกร ได้ภายใน 24 ชม.
2. ช่วยกำจัดน้ำเสียจากฟาร์มได้ภายใน 1-2 สัปดาห์
3. ช่วยป้องกันโรคอหิวาห์และโรคระบาดต่างๆ ในสัตว์แทนยาปฏิชีวนะ และอื่นๆได้
4. ช่วยกำจัดแมลงวัน ด้วยการตัดวงจรชีวิตของหนอนแมลงวัน ไม่ให้เข้าดักแด้เกิดเป็นตัวแมลงวัน
5. ช่วยเสริมสุขภาพสัตว์เลี้ยง ทำให้สัตว์แข็งแรง มีความต้านทานโรค ให้ผลผลิตสูง และอัตราการรอดสูง


ด้านการประมง
1. ช่วยควบคุมคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำได้
2. ช่วยแก้ปัญหาโรคพยาธิในน้ำ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ
3. ช่วยรักษาโรคแผลต่างๆในปลา กบ จระเข้ ฯลฯ ได้
4. ช่วยลดปริมาณขี้เลนในบ่อ ช่วยให้เลนไม่เน่าเหม็น สามารถนำไปผสมเป็นปุ๋ยหมัก ใช้กับพืชต่างๆได้ดี


ด้านสิ่งแวดล้อม
1. ช่วยบำบัดน้ำเสียจากการเกษตร ปศุสัตว์ การประมง โรงงานอุตสาหกรรม ชุมชน และสถาน-ประกอบการทั่วไป
2. ช่วยกำจัดกลิ่นเหม็นจากกองขยะ การเลี้ยงสัตว์ โรงงานอุตสาหกรรม และชุมชนต่างๆ
3. ปรับสภาพของเสีย เช่น เศษอาหารจากครัวเรือนให้เป็นประโยชน์ต่อการเลี้ยงสัตว์ และการเพาะ-ปลูกพืช
4. กำจัดขยะด้วยการย่อยสลายให้มีจำนวนลดน้อยลง สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
5. ช่วยปรับสภาพอากาศที่เสียให้สดชื่น และมีสภาพดีขึ้น

จริง ๆ แล้วมันมีอีกหลายสูตรครับ เช่น สูตรไล่แมลง สูตรรดพริกชี้ฟ้า (ผมทำเอง)

สูตรพ่นหน้ายางพารา แต่ขอเตือนว่าน้ำหมักพวกนี้จะมีความเข้มข้นสูงมากเวลาใช้ต้องผสมน้ำแยอะ ๆ ครับ เช่น น้ำ 1 บัวรดน้ำใช้น้ำหมักผสม 1 ช้อนโต๊ะ รดทุก 7 วัน หากผสมน้ำไม่มากจะทำให้ต้นไม้ตายครับ

ประโยชน์อีกอย่างหนึ่งที่ผมใช้อยู่ ก็คือ ใช้ราดในห้องน้ำ ทำให้ห้องน้ำไม่อุดตันและไม่เหม็นครับ อันนี้ ผสมน้ำไม่ต้องมาก เอาแบบเข้มข้นไปเลย บ้านใครส้วมเต็ม ห้องน้ำมีกลิ่นเหม็นผมแนะนำครับ



ผู้เขียน: mongkornzaa'
เวลา: 4 มิ.ย. 2554, 18:07:05
URL: http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=6e6a12138b6ebf34

http://guru.google.co.th


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 06/01/2023 7:09 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 11/09/2011 11:43 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

516. น้ำตาลลำไย

ผลสำเร็จทีมวิจัยอุตสาหกรรมเกษตร มช. ช่วยเกษตรกรแก้ปัญหาผลผลิตล้นตลาด


ทีมวิจัยคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประสบผลสำเร็จ นำลำไยตกเกรด ทุกพันธุ์ ทุกขนาด ทั้งเปลือก ทั้งเม็ด ผลิตน้ำตาลลำไย ได้ผลิตภัณฑ์ความหวานเพื่อคนรักสุขภาพ ในรูปแบบผลึกและน้ำเชื่อม ช่วยเหลือเกษตรกร แก้ปัญหาผลผลิตล้นตลาด

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชรินทร์ เตชะพันธุ์ เจ้าของผลงานน้ำตาลลำไย จากคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่าได้ร่วมมือกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพพล เล็กสวัสดิ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในการทำวิจัยในโครงการเทคโนโลยีการผลิตน้ำตาลลำไย (Longan Sugar Production) โดยจุดเริ่มต้นของน้ำตาลลำไยเกิดขึ้นในช่วงวิกฤตของลำไยประมาณ 9 ปี ที่ผ่านมา ช่วงนั้นประสบปัญหา คือ ลำไยให้ผลผลิตค่อนข้างมาก ส่งผลให้เกิดปัญหาล้นตลาดโดยเฉพาะในช่วงกลางฤดูกาล ทางออกที่เกษตรกรทำได้ในการแปรรูปลำไยมีอยู่เพียง 2 ทาง คือ การอบแห้ง และนำส่งโรงงานเพื่อบรรจุเป็นลำไยกระป๋อง โดยการทำลำไยกระป๋องสามารถรับปริมาณได้เพียง 1-2% ของปริมาณลำไยสดทั้งหมด ดังนั้นเกษตรกรจึงมุ่งไปที่การอบแห้งเป็นหลัก นอกจากนี้ยังพบว่าจากเดิมเกษตรกรเคยขายลำไยอบแห้งได้ราคาดีมากกว่า 150 บาทขึ้นไปก็ลดลงมาเหลือจน 70–80 บาท ซึ่งไม่คุ้มทุน รัฐบาลจำเป็นต้องเข้ามาให้ความช่วยเหลือ โดยการรับจำนำลำไยอบแห้ง แล้วเก็บไว้ในโกดังเพื่อที่จะรอจังหวะในการขาย แต่ในช่วงนั้น 3-4 ปี ติดต่อกัน ก็เจอปัญหาลำไยล้นตลาดทุกปี เกิดปัญหาการระบายสต๊อกของลำไยอบแห้ง ท้ายที่สุดก็ไม่มีคุณภาพพอที่จะส่งออกได้ ต้องเข้าสู่ขบวนการทำลาย ซึ่งตอนนั้นรัฐบาลได้นำเงินมาอุดหนุนประมาณ 2000 ล้านบาทต่อปี กลายเป็นภาระที่ลงทุนสูญเปล่าไป


อีกทั้งผลผลิตลำไยในปัจจุบันมีประมาณ 250,000-500,000 ตันต่อปี ในขณะที่ปริมาณการบริโภคสดจริงอยู่ที่ปริมาณ 50,000 ตันจะเห็นว่ามีส่วนเกินอยู่มาก ซึ่งปกติเราจะแปรรูปโดยการอบแห้งเป็นหลัก หากมีปริมาณล้นตลาดจากการอบแห้งจะทำให้เกิดราคาตกต่ำจากราคาเฉลี่ยประมาณ 40 บาทต่อกิโลกรัม บางปีลดลงเหลือเพียง 3-7 บาทเท่านั้น เป็นปัญหาของเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง จึงเกิดแนวคิดว่านอกจากการแปรรูปใน 2 ส่วนนี้แล้ว จะสามารถทำอะไรได้อีกบ้าง เมื่อมองที่จุดเด่นของลำไย ซึ่งเป็นผลไม้มีรสหวานมาก มีปริมาณน้ำตาลสูง จึงคิดว่าคุณสมบัตินี้น่าจะนำมาใช้ประโยชน์ได้ และกลายเป็นโจทย์ว่าจะนำมาใช้ในกระบวนการผลิตสารให้ความหวานเช่นเดียวกับกระบวนการผลิตน้ำตาลจากอ้อยได้หรือไม่ นี่คือจุดเริ่มต้น

โครงการน้ำตาลลำไยนี้มองไปที่ลำไยตกเกรดที่ไม่มีราคา พันธุ์หรือเกรดของลำไย ไม่มีความจำเป็นสำหรับโครงการนี้ เพราะลำไยทุกพันธุ์ทุกเกรดสามารถนำเข้ามาใช้ในสายการผลิตได้ทั้งหมด โดยปกติลำไยตกเกรดผู้รับซื้อลำไยจะไม่รับซื้อ หลังจากคัดเกรดก็จะถูกทิ้งไม่ได้ใช้ประโยชน์

การแปรรูปน้ำตาลลำไยสามารถเปลี่ยนรูปน้ำตาลผลไม้สดให้มาอยู่ในรูปของผลิตภัณฑ์ 2 ลักษณะ คือ ในรูปของน้ำเชื่อม และผลึกคล้ายน้ำตาลจากอ้อย

สำหรับกระบวนการหลักในการผลิต คือการนำมาลดขนาดด้วยการตีป่นจนละเอียด โดยนำลำไยทั้งลูกไม่มีการแกะเปลือก ใช้ทั้งเปลือก ทั้งลูก ทั้งเม็ด มาตีเพื่อลดขนาดก่อนนำเข้าสู่กระบวนการสกัดน้ำหวาน หลังจากสกัดเสร็จเป็นการทำให้เกิดการระเหยเพื่อให้น้ำส่วนเกินออกไปจะได้น้ำหวานในรูปของน้ำเชื่อม แล้วจึงนำมาทำให้เกิดการตกผลึกของตัวน้ำตาลธรรมชาติที่อยู่ในลำไย และผลึกที่ได้นำไปทำให้แห้งด้วยวิธีการอบได้เป็นผลิตภัณฑ์น้ำตาลลำไยแบบเกล็ด

น้ำตาลลำไยแบบผลึกจะคล้ายกับผลึกน้ำตาลทรายแต่มีผลึกเล็กกว่า มีสีเหลืองนวลตามธรรมชาติ หากยังไม่ผ่านกระบวนการใดๆ จะเป็นกลิ่นรสธรรมชาติของลำไย หากนำไปชงละลายหรือนำน้ำเชื่อมไปชงในน้ำอุ่นเปรียบได้เหมือนกำลังทานน้ำลำไย ประเทศจีนนิยมซื้อลำไยจากประเทศไทยโดยเฉพาะลำไยอบแห้ง ซึ่งได้รับการยอมรับในสรรพคุณทางยา รวมถึงญี่ปุ่น เกาหลี ที่มีตำหรับยาที่ต้องใช้ลำไยเช่นเดียวกัน ทั้งสารออกฤทธิ์ที่เป็นยาอายุวัฒนะ สารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพโดยเฉพาะสารต้านอนุมูลอิสระ ลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง สารที่มีประโยชน์จากลำไยค่อนข้างจะมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดี หากเปรียบเทียบกับสารต้านอนุมูลอิสระทั่วไป เช่น วิตามิน C เพราะหากโดนแสงหรือน้ำลายในปากจะสูญประสิทธิภาพไปมาก ในขณะที่สารสกัดจากลำไยมีสภาพคงทนมากกว่า มีการออกฤทธิ์ที่เซลล์เป้าหมายได้ดีกว่า ในกรณีที่เซลล์เป็นมะเร็งแล้ว ได้มีการนำเซลล์มะเร็งมาทดสอบกับสารสกัดจากลำไย พบว่า สามารถไปเร่งวงจรรอบของการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งให้วงจรรอบเร็วขึ้น ทำให้เซลล์แก่เร็วขึ้นตายลงด้วยตัวเอง เป็นการทำลายเซลล์มะเร็งด้วยตัวมันเอง ประเด็นนี้เป็นแนวทางที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่ใส่ใจในสุขภาพ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชรินทร์ เตชะพันธุ์ ได้กล่าวถึงการดำเนินการโครงการน้ำตาลลำไยว่า ในช่วงเริ่มต้นทางคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ร่วมมือกับสภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีภาคเหนือ ซึ่งทั้ง 2 หน่วยงาน เป็นแม่งานหลักในการระดมทุน ช่วงแรกของการดำเนินการได้รับงบสนับสนุนจากงานบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อช่วยแก้ปัญหาลำไยอย่างครบวงจร โดยจัดงบประมาณส่วนหนึ่งมาดำเนินการตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ คือ จัดการในเรื่องปลูก การจัดการพื้นที่ปลูกลำไย ซึ่งคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ จนกระทั่งถึงเรื่องการแปรรูปซึ่งคณะอุตสาหกรรมเกษตรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นผู้รับผิดชอบ เรื่องตลาด ตลาดซื้อขายล่วงหน้า ทางคณะเกษตรศาสตร์ มช. ก็เข้ามาช่วยดูแล จนกระทั่งเรื่องประโยชน์ทางสุขภาพก็มีคณะแพทยศาสตร์และคณะเภสัชศาสตร์ มช.มาร่วมดูแลด้วย และสามารถตอบโจทย์ได้ในที่สุด

ปัจจุบันหลังจากที่เสร็จสิ้นโครงการวิจัยในระดับห้องปฏิบัติการ ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการนำน้ำตาลลำไยออกสู่ตลาดเชิงพาณิชย์ ได้รับความร่วมมือจากกลุ่ม 3 จังหวัดภาคเหนือตอนบน โดยมีจังหวัดเชียงใหม่เป็นแม่งานร่วมกับสภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ โดยโครงการนี้มีระยะเวลา 3 ปี ซึ่งในปีนี้เริ่มต้นเป็นปีแรกจะทำการผลิตน้ำตาลลำไยโดยการสร้างเครื่องมือเป็นสายการผลิตในระดับขยายเป็นขนาดกึ่งโรงงานอุตสาหกรรมมีกำลังการผลิตประมาณ 1,000 ตัน เมื่อมีโรงงานเรียบร้อยแล้ว ในปีที่ 2 จะทดสอบเรื่องศักยภาพการผลิตในเชิงพาณิชย์ เรื่องต้นทุนการใช้จ่ายในการผลิตทั้งปี รวมไปถึงการศึกษาการตลาดเบื้องต้นว่าจะมีช่องทางการจัดจำหน่ายอย่างไร ก็จะได้แผนธุรกิจในปีที่ 2 ส่วนในปีที่ 3 เป็นเรื่องการส่งเสริมการขยายการตลาด ซึ่งทางพาณิชย์จังหวัดจะเข้ามาดูแลในการขยายกำลังการผลิตและช่องทางการจัดจำหน่ายที่มีประสิทธิภาพ

ในด้านประสิทธิภาพในการผลิต ขณะนี้สามารถผลิตได้เทียบเท่ากับระบบการอบลำไย คือ ลำไยสด 10 กิโลกรัม จะได้ลำไยแห้ง 1 กิโลกรัม ราคาต้นทุนในห้องกึ่งปฏิบัติการขยายขนาดอยู่ที่ประมาณ 50 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งยังมีราคาสูงกว่าน้ำตาลจากอ้อยประมาณ 25 บาทต่อกิโลกรัม แต่ในอนาคตจะมีการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตในระดับโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งต้นทุนจะถูกลง สำหรับตลาดคงจะไม่ใช่ตลาดกลุ่มเดียวกับน้ำตาลจากอ้อย เนื่องจากองค์ประกอบของน้ำตาลลำไยมีประโยชน์มากกว่าในเชิงสุขภาพ เพราะฉะนั้นจึงมองการตลาดไปที่อุตสาหกรรมอาหารเพื่อสุขภาพมากกว่า

ในตลาดอุตสาหกรรมอาหารมีการใช้สารให้ความหวานอยู่แล้ว ซึ่งแต่ละปีประเทศไทยนำเข้าสารให้ความหวานเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มกับอุตสาหกรรมอาหารปีละประมาณ 50,000 กว่าล้านบาท หากมีน้ำตาลลำไยจะสามารถทดแทนการนำเข้าส่วนหนึ่งได้

การต่อยอดของน้ำตาลลำไยสิ่งที่จะต้องเสริมคือ ประเด็นการให้ความรู้เชิงสุขภาพ ว่ามีสารออกฤทธิ์อะไรบ้างที่เป็นประโยชน์เพื่อให้ผู้บริโภคที่ใส่ใจในสุขภาพมาสนใจในการบริโภคผลิตภัณฑ์น้ำตาลลำไย กับประเด็นที่สองคือ ทำอย่างไรจึงจะขยายผลให้เข้าไปอยู่ในพื้นที่เกษตรกรผู้ปลูกลำไยได้จริง เพื่อที่จะเข้าไปเชื่อมโยงกับกระบวนการผลิตลำไย และสามารถนำมาแปรรูปขั้นต้นให้เป็นน้ำตาล ตลอดจนการส่งเสริมที่จะนำไปสู่การขยายผลในเชิงพาณิชย์ให้สำเร็จได้ในอนาคต

เจ้าของผลงานน้ำตาลลำไย ได้กล่าวในตอนท้ายว่า นอกจากลำไยแล้วยังสามารถขยายขอบเขตไปจนถึงผลไม้ชนิดอื่น เช่น ลิ้นจี่ กล้วย ซึ่งสามารถนำมาตกผลึก เป็นน้ำตาลผลไม้ชนิดต่างๆ ได้เช่นเดียวกัน


http://www.prcmu.cmu.ac.th/perin_detail.php?perin_id=230
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 11/09/2011 12:05 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

517. “แปลงผลผลิตใส่ขวด” แนวทางเพิ่มมูลค่าเกษตร


ตลอดระยะเวลาหลายสิบปีมาแล้วที่ผลผลิตการเกษตรของประเทศไทย พบกับปัญหาเรื่องของราคาที่เกษตรกรจำหน่าย ไม่ว่าจะมีผลผลิตล้นตลาดหรือขาดตลาด เกษตรกร(ไทย) ขายไม่ได้ราคาตลอดกาล ผลผลิตจากสวนไร่นามีมากมายในแต่ละปี พอมีการส่งเสริมกันทีก็เฮโลปลูกกันทั่วบ้านทั่วเมืองจนล้นตลาด ทั้งๆ ที่ไม่รู้ว่า ปลูกแล้วจะขายใครและใครจะกินใคร จะใช้กระแสการเลียนแบบรุนแรงมาก พอมีใครปลูกพืชอะไรสักอย่างได้ราคาก็แห่มาปลูกกัน บางรายถึงกับโค่นต้นไม้เก่าทิ้งแล้วปลูกพืชชนิดใหม่ลงไป แล้วก็รอลุ้นว่าจะได้ราคากันอีกที

ปัญหาเรื่องตลาดเกษตรปัญหาเรื่องราคาผลผลิตทางการเกษตรเป็นเรื่องซ้ำซาก ปีแล้วปีเล่า ผู้ที่เดือดร้อนที่สุดก็คือ ชาวไร่ ชาวนา ชาวสวน เวลาของเยอะก็ไม่ได้ราคา เวลามีราคาดีก็ไม่ของขาย สรุปว่าไม่ได้เงินทั้งขึ้นทั้งล่อง

ปัญหาที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือการการขายผลิตผลทางการเกษตรที่จำเป็นต้องรีบขาย หลังการเก็บเกี่ยวออกจากฟาร์ม มิฉะนั้นจะเน่าเสีย ก็เลยถูกผู้บริโภคและพ่อค้า กดราคาให้ติดดิน เกษตรกรเสียเปรียบอีกเช่นเคย

การแปรรูปผลผลิตเกษตรเป็นวิธีการหนึ่งที่พอจะมีหนทางแก้ปัญหาความยากจนให้เกษตรกรไทยได้ และในกระบวนการแปรรูปนี้ การนำมาทำเป็นเครื่องดื่มที่เรียกว่า ไวน์ ก็พอจะเป็นทางออกทางหนึ่งของการเกษตรไทย


ผลผลิตเกษตรล้นตลาด
เมื่อมีการบริโภคอุปโภคก็ต้องมีผู้ผลิต เกษตรกรจะเป็นผู้ตัดสินในว่าจะปลูกและผลิตอะไร กระบวนการผลิตพืชจากฟาร์มนั้นต้องใช้วิธีการที่มีการลงทุนทางแรงกายและเงินทุนมากมายกว่าจะได้ผลผลิตออกมาแต่ละกิโล การลงทุนปลูกของเกษตรกรนั้น ถ้ามีการประมาณการณ์ หรือคาคะเนว่าจะมีการกินการใช้เท่าไร ก็ถือได้ว่าเมื่อผลผลิตสู่ตลาดก็จะหมดพอดี ไม่ขาดไม่เกิน แต่ถ้ามีการกินการใช้น้อยหรือพูดง่าย ๆ ว่ามีการซื้อน้อยก็จะทำให้ผลผลิตล้นตลาด

นอกจากนี้ การล้นตลาดยังเกิดจากกลไกการตลาดทั้งในและต่างประเทศซึ่งอาจไม่ล้นตลาดจริงๆ แต่เป็นการทำให้ปั่นป่วนจากผู้ชำนาญและหากินกับตลาดเกษตร ก็อาจทำให้ดูเหมือนว่าผลผลิตนั้นล้นตลาดจริงๆ เมื่อสินค้าล้นตลาดราคาก็ย่อมตกลดลง และก็จะขาดทุนเป็นธรรมดา


ผลติดตามมาเป็นลูกโซ่ก็คือเกษตรไทยจะจนไปอีก 1 ปี หนี้สินก็จะพอกพูนไปอีก 1 ปี สถานการณ์ที่ผลผลิตเกษตรล้นตลาดนั้นมักพบเสมอทุกปี บางพืชมีปัญหานี้ทุกปี ตัวอย่างที่เป็นช่วงเสมอก็คือ ผลผลิตพวกผลไม้ชนิดต่าง ๆ เช่น ลำไย ลิ้นจี่ จัดได้ว่าเป็นขาประจำไปแล้วโดยสิ้นเชิง การล้นตลาดของผลไม้นั้น ความจริงแล้วยังมีตัวแปรที่มามีอิทธิพลโดยตรงก็คือ ผลไม้ชนิดอื่นในฤดูเดียวกัน หรือแม้แต่ผลไม้ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศก็เป็นสาเหตุสำคัญ


ผลผลิตการเกษตรไม่ได้ราคา
ต้นทุนการผลิตนั้น เกษตรกรบ้านเรารู้กันดี และสามารถคำนวณได้เลยว่าจะต้องลงทุนลงแรงลงเวลาเท่าใด แต่ราคาขายนี่สิเกษตรกรไม่สามารถรู้ได้เลย อย่าว่าแต่การรู้ล่วงหน้าก่อนการปลูกการผลิตเลย เอาเป็นว่าตัดจากฟาร์มมาแล้ว ถึงตลาดแล้ว ก็ยังไม่รู้ราคาว่าจะขายได้กิโลละเท่าไร เมื่อเป็นดังนี้ก็เท่ากับว่าเกษตรกรไทยถูกกดราคาอย่างแน่นอน

การผลิตของเกษตรกรมีต้นทุนที่แน่ชัด แต่การขายไม่มีการกำหนดราคา ก็เท่ากับว่าขายได้ก็จริงแต่ไม่ได้ราคา นั่นคือ การขาดทุนของเกษตรกร ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือราคาผลไม้ที่ขายออกจากฟาร์มราคาถูกมาก โดยบางครั้งผู้บริโภคก็ไม่ได้ซื้อของถูกเลย แต่โดนพ่อค้าคนกลางเอากำไรไปเกินทั้งหมด ผลลัพท์ของการขายจากฟาร์มไม่ได้ราคา ก็คือเกษตรกรไทยขาดทุนอีกเช่นเคย


ผลผลิตเกษตรต้องรีบขาย
มีผลผลิตเกษตรหลายอย่างที่เวลาเก็บออกจากต้นจากฟาร์มแล้ว ต้องรีบขายทันทีมิฉะนั้นคุณภาพจะลดลง เช่น รสชาติเปลี่ยน สีเปลี่ยน หรือการเน่าเสีย กระบวนการต่าง ๆ นี้เกิดจากธรรมชาติของพืชผลชนิดนั้นๆ และยิ่งบ้านเราที่มีอากาศร้อน ก็จะเร่งการเน่าเสียให้เร็วขึ้น ตัวอย่างก็คือ ผลผลิตพวก ลิ้นจี่ ลำไย ซึ่งถ้าเก็บออกมาจากสวนแล้วต้องรีบนำส่งตลาดให้ถึงมือพ่อค้าหรือผู้บริโภค โดยการส่งเร็วหรือช้าก็ขึ้นอยู่กับการจัดระบบ และกระบวนการขนส่ง ซึ่งในทางความเป็นจริงแล้วก็คือ การขนส่งออกจากฟาร์ม ไปยังจุดรวบรวมและกระบวนการขนส่งไปยังตลาด การใช้เวลาในการขนส่งก็จะทำให้สินค้าเสียหาย และการขนส่งรยะยะไกลยังเป็นการเสียต้นทุนสูงขึ้นอีกด้วย สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ย่อมทำให้เกษตรไทย “เสียเปรียบขาดทุน” อีกเช่นเคย

กระบวนการเน่าเสียหรือเสื่อมคุณภาพของผลผลิตเกษตรหลังออกจากฟาร์ม นับเป็นปัญหาใหญ่สุด ซึ่งในต่างประเทศเขาจึงใช้วิธีการนำไปเก็บรักษาที่ห้องเย็นทั้ง ๆ ที่มีอากาศหนาว การพึ่งพาห้องเย็นสามารถชะลอการเสื่อมคุณภาพผลผลิตเกษตรได้วิธีหนึ่ง แต่ก็จะมีต้นทุนสูงขึ้น


การแก้ไขปัญหาสินค้าเกษตรแบบธรรมดา
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสินค้าเกษตรล้นตลาดในฤดูกาลหรือบางปี ราคาผลผลิตไม่ได้ราคา หรือการที่ผลผลิตเกษตรต้องรีบขายโดยเร็ว เป็นเรื่องที่เกิดความเสียหายแก่เกษตรกรโดยตรง พ่อค้าคนกลางหรือผู้บริโภคไม่เดือดร้อนเลย ตรงกันข้ามอาจได้เปรียบด้วยซ้ำไป จากปัญหาของเรื่องสินค้าเกษตรต่างๆ ที่จะต้องมีแนวทางแก้ไขทั้งทางตรงและทางอ้อม วิธีการแก้ไขนั้นมีหลายแบบ อันได้แก่การมีข้อมูลปริมาณและราคาการบริโภคผลผลิตเกษตรแต่ละชนิดเพื่อการวางแผนและกำหนดราคา ประกันราคาแก่เกษตรกร อีกทั้งยังเป็นการกำหนดขนาดของพื้นที่ปลูก วิธีการนี้ดูเหมือนว่าง่ายแต่ทำไม่ได้สักพืช

การตั้งราคาผลผลิตที่เกษตรกรควรจะขายได้เป็นเรื่องยาก ยังไม่ประสบผลสำเร็จในประเทศไทย ซึ่งบางปีบางฤดูก็อาจมีราคาผลผลิตจากฟาร์มราคาสูง แต่มักจะปรากฏให้เห็นนาน ๆ หลายๆ ปีครั้ง หรือบางพืชไม่เคยปรากฏเลยก็มี เรื่องของราคาที่จะกำหนดนี้จะต้องเป็นราคาประกัน รัฐบาลก็เพียงแค่ออกมาเอาเงินไปแทรกแซงราคา ซึ่งเกษตรกรไทยก็ได้พึ่งพาเล็กน้อยเท่านั้น

การแก้ไขปัญหาเรื่องผลผลิตเกษตรที่ต้องรีบขายให้พ่อค้าคนกลาง และผู้บริโภคนั้นนอกจากจะใช้กระบวนการเก็บเข้าโกดังห้องเย็นแล้ว ยังมีวิธีธรรมดาอย่างอื่นก็คือ การนำไปแปรรูปเบื้องต้น เช่น การทำลำไยอบแห้ง กระบวนการชะลอการสุกแก่หลังการเก็บเกี่ยวนี้นับได้ว่ามีความสำคัญ เพราะเมื่อสินค้าเน่าเสียช้า หรือเก็บได้นานก็เท่ากับว่าคนขายไม่ต้องรีบขาย เรื่องราคาก็สามารถต่อรองได้ วิธีการนี้เกษตรกรก็พอมีกำลังใจขึ้นมาหน่อย การชะลอการสุกแก่หลังการเก็บเกี่ยวนี้ ในต่างประเทศที่เขามีเทคโนโลยีขั้นสูงเขาได้นำเอา GMOs มาใช้ เช่น การนำมาทำกับมะเขือเทศ โดยการเอายีนส์การไม่ยอมสุกแก่เปลี่ยนเข้าไปในมะเขือเทศ ก็จะทำให้มะเขือเทศเก็บได้นานขึ้น เ

รื่อง GMOs ในมะเขือเทศนี้ก็ยังเป็นเรื่องเสี่ยง เพราะยังมีคนวิพากษ์วิจารณ์ถึงความปลอดภัยต่อคนกินกันทั่วโลก ซ้ำยังพิสูจน์ไม่ได้ว่าจริงเท็จขนาดไหน

การแปรรูปผลผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่าเกษตร
วิธีการแปรรูปผลผลิตเกษตรหลังจากเก็บเกี่ยวออกจากสวน ไร่นา น่าจะเป็นวิธีการที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งที่ทำได้ในประเทศไทย เพราะเรามีผลผลิตเกษตรหลายชนิดที่มีศักยภาพสูง ตลาดก็ต้องการและที่สำคัญก็คืออาจได้ราคาดี

การนำมาแปรรูปแบบธรรมดาๆ เช่น การอบ การตากนั้น ทำได้ง่าย แต่เป็นการเพิ่มมูลค่าผลผลิตที่ไม่สูงเท่าใด จากการที่รัฐบาลมีการส่งเสริมเรื่องของหนึ่งตำบลหนึ่งผลผลิตภัณฑ์ หรือ OTOP นั้น เป็นตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัด เพราะมีการนำภูมิปัญญาจากปู่ย่าตายายมาใช้ โดยการแปรรูปผลผลิตเกษตรในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการอบ การตาก การกวน และการแปลงโฉมทั้งหมด ก็ได้รับความนิยมจากตลาดพอสมควร แต่การแปรรูปที่น่าจะมีผลดีต่อเกษตรกรไทยมากที่สุดก็คือ การที่แปรรูปแล้วได้ราคาสูงขึ้น มูลค่าผลผลิตต้องสูงขึ้นหลาย ๆเท่าตัว

หนึ่งในการแปรรูปที่จะส่งผลทำให้มูลค่าผลผลิตเพิ่มขึ้นมาก ๆ ก็คือ “การนำมาทำไวน์” ซึ่งตลอดระยะเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ มีการพูดถึงเรื่องนี้กันมาก โดยที่แต่เดิมนั้นข้อกฏหมายไม่เปิดโอกาสให้ทำกัน แต่เมื่อรัฐบาลเปิดให้มีการทำสุราแช่เสรีในปี 2545 เป็นต้นมาก็มีการทำกันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย

การดื่มไวน์นั้นมีข้อได้เปรียบก็คือ ผู้ดื่มจะเป็นผู้ที่ถูกจัดอยู่ในระดับกลาง ดังนั้น เรื่องของกำลังซื้อจึงมีปัญหาน้อย อีกทั้งการดื่มไวน์ยังมีความเชื่อกันว่าจะช่วยเรื่องแก้ปัญหาโรคหลอดหัวใจตีบตัน โดยเฉพาะไวน์แดง

ความจริงแล้วเรื่องไวน์ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับคนไทย แต่ในอดีตเราไม่เปิดโอกาสให้ผลิตในประเทศ จึงมีแต่การนำเข้ามาจากนอกประเทศ ก่อนนี้เราเสียเงินตรานำเข้าไวน์ปีละหลายพันล้านบาท เมื่อเปิดโอกาสให้คนไทยทำไวน์เอง เราก็มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ผลิตผลเกษตรหลายอย่างที่มีราคาไม่แพง เน่าเสียง่าย และต้องรีบขาย จัดเป็นวัตถุดิบที่มีศักยภาพสูงในการนำมาทำไวน์

ความจริงแล้วคำว่าไวน์นั้นของฝรั่งเขาทำมาจาก "องุ่น" อย่างเดียว ที่เป็นดังนี้ก็เพราะ ฝรั่งเขาไม่มีผลไม้หรือผลผลิตเกษตรอื่นๆทำ ก็เลยทำกันแต่ไวน์องุ่น

แต่สำหรับประเทศไทยเราแล้ว มีผลผลิตเกษตรมากมายหลายร้อยหลายพันชนิดให้เลือก เลือกไปเลือกมามีหลายอย่างอร่อยมาก ตลาดก็มีความนิยมสูง ฝรั่งที่เคยกินแต่ไวน์องุ่นมานมนาน พอมาลองไวน์ไทยเข้าก็เปลี่ยนใจกันเป็นแถวๆ

ผลไม้ไทยที่มีศักยภาพมากเพราะทำไวน์คุณภาพได้ดีก็คือ ลิ้นจี่ มะม่วง มังคุด ซึ่งเป็นผลไม้พื้นเมืองของไทยมาช้านาน

นอกจากนี้ยังมีการนำเอาพืชชนิดอื่น ๆ มาทำได้อีกอย่างคิดไม่ถึงนั้นก็คือการทำไวน์จากข้าวและสมุนไพรไทย ที่เดิมราคาไม่ดีเช่นพวก กระชายดำ ชะเอม ตระไคร้ ขิง ข่า ล้วนแล้วแต่ทำแล้วได้ไวน์รสชาติดีทั้งสิ้น

ผลไม้ที่ได้จากต้นไม้ป่าที่ปลูกริมรั้วที่ถูกละเลยมาช้านานก็สามารถนำมาทำไวน์ได้ เช่น การนำเอาหมากเม่า และมะเกี๋ยง มาทำเป็นไวน์ โดยจะมีทั้งรสชาติดี สีสรรสวย กลิ่นหอม โดยเฉพาะไวน์จากมะเกี๋ยงที่ทำกันจนได้รับทั้งรางวัล OTOP และถูกคัดเลือกเป็นไวน์เสิร์ฟ APEC ที่กรุงเทพฯ มาแล้ว

การนำเอาผลผลิตเกษตรที่มีราคาการจำหน่ายไม่สูง และต้องรีบนำส่งตลาด มาทำเป็นเครื่องดื่มประเภทไวน์ก็อาจเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยเกษตรกรไทยได้ แต่การทำไวน์นั้น เป็นเรื่องที่ต้องมีความรู้ความเข้าใจและความเอาใจใส่เป็นอย่างดี 2-3 ปีที่ผ่านมา ก็มีการทำกันอย่างแพร่หลายมากมายหลายร้อยหลายพันเจ้า แต่หลายเจ้าก็เลิกลาไปเพราะไม่มีความถนัดและไม่มีความรู้ ความเข้าใจเท่าที่ควร การทำไวน์จากผลผลิตเกษตรเป็นการแปรรูปที่นับได้ว่าสามารถเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรมากที่สุดอย่างหนึ่ง

ข้อได้เปรียบของการทำไวน์ผลไม้ไทยอีกอย่างหนึ่งก็คือ เมื่อทำเสร็จแล้วถ้าไม่ร้อนเงินก็เก็บไว้นานๆ ได้ ซึ่งไวน์ที่มีราคาดีนั้น ถ้าเก็บนานจะได้รับการนิยมจากผู้ดื่ม ราคาขายไวน์ผลไม้ไทยนั้นก็สูงกว่าเครื่องดื่มอื่นๆ และถ้าสามารถส่งออกไปตีตลาดนอกได้ก็จะสามารถนำเงินตราฝรั่งเข้าเมืองไทยบ้าง การช่วยพัฒนาส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนก็จะได้ผลดีอย่างแน่นอนถ้าหากมีการส่งเสริมจากรัฐบาลต่อไป

การทำไวน์ผลไม้ไทยเปรียบเสมือนการแปลงผลผลิตใส่ขวด (ไวน์) เป็นการเพิ่มมูลค่าผลผลิตวิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งที่น่าสนใจจริง ๆ


โดย ดร.พรชัย เหลืองอาภาพงศ์


http://www.kasetcity.com/worldag/view.asp?id=276


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 11/09/2011 12:16 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 11/09/2011 12:16 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

518.




ในการผลิตแบบอุตสาหกรรม ใช้น้ำมะนาวผสมกับมอลโตเด็กซ์ทริน D.E. 10 ในอัตราส่วน 30:10 จะได้สารละลายผสม 392.6 กิโลกรัม เมื่อนำมาทำให้แห้งแล้วจะได้มะนาวผง 106.3 กิโลกรัม ใช้เวลาผลิต 14.25 ชั่วโมง ผลผลิตของการทำแห้งคิดเป็น 27.08 เปอร์เซ็นต์ ประสิทธิภาพในการผลิต 1 กิโลกรัมมะนาวผง ใช้เวลา 7.46 ชั่วโมง เพราะเครื่องพ่นฝอยเป็นแบบ Mini production

ในการศึกษาคุณภาพอายุการเก็บรักษา พบว่าปริมาณกรดซิตริกและไวตามิน ซี. มีค่าลดลงตามระยะเวลาการเก็บรักษาในภาชนะบรรจุสูญญากาศ ส่วน pH มีค่าคงที่ ทั้งที่อุณหภูมิห้อง และที่ 4 องศาเซลเซียส ตลอด 12 เดือน ส่วนค่าสี L มีค่าลดลง ขณะที่ค่าสี a และ b มีค่าเพิ่มขึ้น ทำให้น้ำมะนาวคืนรูป มีสีน้ำตาลเพิ่มขึ้น ค่าความชื้นอยู่ในช่วง 5-7 เปอร์เซ็นต์ ค่าการดูดกลืนแสง และค่าการละลายมีค่าเพิ่มขึ้นตลอดอายุการเก็บรักษา

ผู้บริโภคให้การยอมรับมะนาวผงในช่วง 9 เดือนแรกของการเก็บรักษา หลังจากนั้นมะนาวผงจะให้รสขมมากขึ้น ในการทดสอบการยอมรับมะนาวผง ได้ทดลองทำน้ำมะนาวพร้อมดื่มจากมะนาวผงเทียบกับมะนาวสด พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

ส่วนต้นทุนมะนาวผงโดยเฉลี่ยประมาณ 300-400 บาทต่อกิโลกรัม ขึ้นกับราคามะนาวสด และราคาภาชนะบรรจุข้อดี คือ สามารถเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิห้องนาน 9 เดือน โดยยังมีคุณภาพดีและมีศักยภาพสูงเหมาะแก่การส่งออก

สำหรับข้อเสนอแนะในการผลิตมะนาวผงในระดับอุตสาหกรรมสามารถทำได้ โดยได้มะนาวผงที่มีคุณภาพดี แต่มีข้อจำกัดที่มะนาวสดจะมีราคาถูกเฉพาะช่วงเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม เท่านั้น ส่วนช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษายน ราคาจะค่อย ๆ สูงขึ้น ทำให้ไม่สามารถผลิตมะนาวผงได้ตลอดปี เพราะจะทำให้ต้นทุนสูง

อย่างไรก็ดีเราสามารถเร่งผลิตมะนาวผงในช่วงที่มะนาวสดราคาถูก ไม่เกินผลละ 1 บาท และเก็บไว้ในภาชนะบรรจุสูญญากาศ เพื่อนำออกจำหน่ายในช่วงที่มะนาวสดราคาแพง หรือเพื่อการส่งออก เพราะมะนาวผงสามารถเก็บไว้ โดยมีรสชาติเปรี้ยวแบบมะนาวได้นานถึง 9 เดือน หรือนานกว่านี้ ถ้าเก็บรักษาไว้ในห้องเย็น มะนาวผงมีน้ำหนักเบา และความชื้นต่ำ 4-5 เปอร์เซ็นต์ ผู้ผลิตมะนาวผงอาจเช่าโรงงานทำเครื่องพ่นฝอยผลิตเมื่อมีกำไร จึงซื้อเครื่องมาผลิตเอง หรือผลิตอาหารผงอย่างอื่นในช่วงมะนาวสดมีราคาแพงได้ เพื่อให้เครื่องจักรได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ




อนึ่ง มะนาวผงสะดวกต่อการใช้ ไม่ต้องปอกเปลือกหรือคั้นน้ำ แค่ฉีดซองก็ใช้ได้เลย อาจนำมาใช้เป็นเครื่องปรุงอาหารไทยได้หลายชนิด อาทิ ต้มยำ พร่า และอาหารอื่นที่มีการปรุงร้อน เพราะมะนาวผงต้องละลายในน้ำร้อน จึงจะละลายได้ดี

ดังนั้น คณะผู้วิจัยจึงได้ทดลองผลิตมะนาวผงบรรจุซองสูญญากาศขนาดครึ่งกิโลกรัม หรือ 500 กรัม จำหน่ายให้ครัวการบินไทย โดยเฉลี่ยเดือนละ 100 กิโลกรัม เพื่อใช้ประกอบอาหารไทย อาทิ ต้มยำกุ้ง พร่า ยำ และอื่น ๆ ที่ต้องใช้มะนาวเป็นส่วนประกอบ เสริฟให้ผู้โดยสารชั้น 1 ของการบินไทย พบว่าผู้บริโภคให้การยอมรับในรสชาติเป็นอย่างดี



http://soclaimon.wordpress.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 06/01/2023 7:10 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 11/09/2011 12:21 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

519. เครื่องดื่มเสริมสุขภาพมังคุด





ประเทศไทยมักประสบปัญหาผลิตผลเกษตรล้นตลาด ในฤดูกาลที่มีผลผลิตออกมามากในระยะเวลาเดียวกัน ส่งผลให้มีราคาตกต่ำ

“ มังคุด ” เป็นผลไม้อีกชนิดหนึ่งที่มักประสบปัญหาดังกล่าว การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากมังคุด จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการนำมาแก้ปัญหาผลิตผลล้นตลาด เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรหรือวิสาหกิจชุมชน นำผลิตผลมาแปรรูปสำหรับเป็นสินค้าจำหน่ายนอกฤดูกาล

โดยผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมังคุด เป็นที่นิยมของผู้บริโภคอย่างแพร่หลายทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะในต่างประเทศนั้นนิยมนำไปแปรรูปเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ เนื่องจากเนื้อมังคุดมีรสชาติที่หอมหวานอมเปรี้ยวทำให้ผลิตภัณฑ์มีรสชาติดี นอกจากนั้นเปลือกมังคุดยังมีสารแซนโทน ( xanthone ) ซึ่งเป็นสารสำคัญที่มีงานวิจัยทั้งในประเทศและในต่างประเทศ กล่าวถึงคุณสมบัติในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidants ) คุณสมบัติในการฆ่าเชื้อ และต้านการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติ

ด้วยตระหนักถึงปัญหาที่พี่น้องเกษตรกรประสบภาวะการล้นตลาดของมังคุดในช่วงฤดูกาลเพาะปลูก สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) โดยฝ่ายเทคโนโลยีอาหาร จึงได้ดำเนิน โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำมังคุด และประสบความสำเร็จในการวิจัยและพัฒนา “ เครื่องดื่มเสริมสุขภาพมังคุด ” โดยใช้มังคุดตกเกรด ที่ไม่สามารถส่งเป็นสินค้าออกยังต่างประเทศได้เป็นวัตถุดิบในการนำมาแปรรูป นับเป็นการเพิ่มมูลค่าผลิตผลเกษตรของเกษตรกรไทยได้อย่างเป็นรูปธรรม และสร้างทางเลือกใหม่ให้แก่ผู้บริโภคที่รักสุขภาพ

“ เครื่องดื่มเสริมสุขภาพมังคุด ” มีรสชาติกลมกล่อม ลักษณะน้ำของผลิตภัณฑ์เป็นสีม่วงใสชวนรับประทาน วว. พัฒนารูปแบบของเครื่องดื่มจำนวน 3 ชนิด ได้แก่

เครื่องดื่มเสริมสุขภาพมังคุด พร้อมดื่ม ในปริมาณ 100 กรัม จะให้พลังงานทั้งหมด 52.44 กิโลแคลอรี่ โปรตีน 0.3 1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 12.80 กรัม โซเดียม 3.42 กรัม และแคลเซี่ยม 1.43 กรัม

เครื่องดื่มเสริมสุขภาพมังคุด เข้มข้นชนิดหวานเพื่อนำไปผสมน้ำชงดื่ม ในปริมาณ 100 กรัม จะให้พลังงานทั้งหมด 281.48 กิโลแคลอรี่ โปรตีน 0. 25 กรัม คาร์โบไฮเดรต 70.12 กรัม โซเดียม 3. 26 กรัม และแคลเซี่ยม 6.10 กรัม

เครื่องดื่มเสริมสุขภาพมังคุด เข้มข้นชนิดเปรี้ยวสำหรับผสมน้ำชงดื่ม ในปริมาณ 100 กรัม จะให้พลังงานทั้งหมด 64.72 กิโลแคลอรี่ โปรตีน 0. 31 กรัม คาร์โบไฮเดรต 15.87 กรัม โซเดียม 2.19 กรัม และแคลเซี่ยม 10.12 กรัม

วว. พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต เครื่องดื่มเสริมสุขภาพมังคุด ให้แก่ผู้ประกอบการเพื่อนำไปสู่การผลิตในเชิงพาณิชย์ ทั้งการจำหน่ายภายในประเทศและต่างประเทศ


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ นางสาวนริศา เหละดุหวิ ฝ่ายเทคโนโลยีอาหาร วว. โทร. 0 2577 9000 โทรสาร 0 2577 9009 ในวันและเวลาราชการ หรือที่ E-mail : tistr@tistr.or.th


http://www.tistr-foodprocess.net/food_tech/food_tech2/food_tech2_1.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 11/09/2011 12:40 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

520. มะเขือเทศราชินีต่อยอด เพิ่มค่าผลผลิตเกษตรไทย





แนวทางแปรรูปผลผลิตให้สามารถยืดอายุการเก็บรักษาให้ยาวนานขึ้นและเพิ่มมูลค่าให้สินค้า จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว เราจึงได้เห็นผลิตภัณฑ์เกษตรหลากหลายที่นำมาแปรรูป มะเขือเทศราชินีแปรรูป ในนาม “แม่ฉุย” เป็นหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่ถูกต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ถือเป็นความสำเร็จสูงสุดของกลุ่มเกษตกร

คุณประยงค์ วงษ์สกุล ประธานกลุ่ม กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของผลิตภัณฑ์มะเขือเทศราชินีแปรรูป “แม่ฉุย” ว่า “เดิมผมมีอาชีพทำไร่ทำนาปลูกผักมาก่อน แต่ก็เป็นที่ทราบกันดีว่าสินค้าเกษตรนอกจากจะผจญปัญหาเรื่องโรคแมลงและสภาพดินฟ้าอากาศแล้ว สุดท้ายก็ต้องมาตกม้าตายในเรื่องของราคาที่ตกต่ำ จนมีส่วนราชการพาเราไปอบรมและศึกษาดูงาน จึงได้พบเห็นมะเขือเทศพันธุ์ใหม่ที่รู้จักในนาม “มะเขือเทศราชินี” ซึ่งเป็นโครงการในพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ที่ส่งเสริมให้เกษตรกรทางภาคเหนือปลูกทดแทนพื้นที่เสื่อมโทรมเพื่อสร้างรายได้ เราจึงน้อมนำมาทดลองโดยบริโภคและปลูกเองก่อน

เริ่มแรกเราปลูกมะเขือเทศราชินีควบคู่กับผักชนิดอื่น ๆ โดยขายผลสดแต่ขายไม่ค่อยได้ ก็ไม่ท้อ จนกรมส่งเสริมสหกรณ์จังหวัดแนะนำให้ไปเปิดตลาดที่ อตก.โดยให้พื้นที่ขายฟรี ปรากฏว่าลูกค้าให้ความสนใจมาก เมื่อมะเขือเทศราชินีขายได้จึงเพิ่มพื้นที่เพาะปลูก เมื่อปริมาณผลผลิตมีมากขึ้นเกินกว่าที่ตลาด อตก.จะรับได้ ในส่วนของพาณิชย์จังหวัดก็ช่วยผลักดันให้เราจับตลาดในส่วนราชการ งานที่เราประทับใจมากคืองานโอท็อปอินโดจีน ลูกค้าให้การตอบรับดีเยี่ยม




เมื่อผลผลิตมีมาก ผมมองว่าหนึ่งคือเรื่องคู่แข่งมีจำนวนมาก สองผลผลิตล้นตลาด และสุดท้ายคือปัญหาเรื่องราคา จึงหาช่องทางที่จะเพิ่มมูลค่าและโอกาสให้สมาชิกกลุ่ม เมื่อรวบรวมสมาชิกได้มากขึ้นจึงจัดตั้งเป็นกลุ่มจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน เริ่มแรกมีสมาชิก 35 ราย ปัจจุบันกลุ่มเรามีสมาชิกถึง 100 กว่าราย ในส่วนของการแปรรูปมะเขือเทศราชินีตรงนี้เราได้รับความรู้จากนักวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางแสน มาช่วยแนะนำวิธีปลูกให้เมล็ดพันธุ์ที่ดี และต่อยอดสู่การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ “แม่ฉุย”

มะเขือเทศราชินีอุดมด้วยวิตามินเอและวิตามินซีสูง นอกจากนี้ยังมีโปรแตสเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม และแร่ธาตุอื่น ๆ อีกมากมาย ที่สำคัญในมะเขือเทศยังมีสารแอนตี้ออกซิแดนท์ จึงเป็นที่นิยมในหมู่คนรักสุขภาพทั่วไป โดยเฉพาะผลผลิตมะเขือเทศสดและมะเขือเทศแปรรูปของกลุ่มการันตีในเรื่องคุณภาพตั้งแต่การเพาะปลูกที่ปลอดภัยและได้มาตรฐานการผลิต ปัจจุบันสินค้ามีให้เลือก 3 รูปแบบ คือ จำหน่ายผลสด มะเขือเทศอบแห้ง และ มะเขือเทศอบแห้งสามรส

ในกระบวนการแปรรูปนั้น ได้คำแนะนำจากสถาบันอาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน ช่วยคิดสูตรให้ จึงรับประกันในเรื่องรสชาติและเทคโนโลยีการผลิตที่สะอาดได้มาตรฐาน ผ่านการรับรองจาก อย. และยังได้รับรางวัลชนะเลิศสถานที่ผลิตอาหารชุมชนดีเด่นของ อ.บางเลน จ.นครปฐม ด้วย ด้วยปัจจุบันตลาดเริ่มขยายกว้างขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ทางกลุ่มต้องทำแผนการปลูกอย่างชัดเจน รวมถึงแผนการแปรรูปด้วย จึงไม่มีปัญหาในเรื่องวัตถุดิบ

“วิธีการแปรรูปเราได้มาถึง 5 สูตร และทุกสูตรขอ อย.เป็นที่เรียบร้อย แต่การผลิตทำได้เพียง 2 สูตรเท่านั้น คือ มะเขือเทศอบแห้ง และมะเขือเทศอบแห้งปรุงรส ที่ต้องใช้กระบวนการผลิตทั้งสิ้น 8-10 วัน หลัก ๆ จะเน้นหนักไปที่การแช่อิ่มมะเขือเทศที่ต้องค่อย ๆ ให้น้ำเชื่อมที่เป็นสูตรผสมค่อย ๆ ซึมเข้าไปในปริมาณที่น้อย เป็นการแช่อิ่มด้วยน้ำตาลต่ำ เน้นเรื่องสุขภาพ ส่วนอีก 3 สูตรที่เหลือต้องใช้วัตถุดิบและเครื่องจักรเพิ่ม คาดว่าจะเปิดตัวในโอกาสหน้าต่อไป


http://www.thaismefranchise.com/?p=12819
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 11/09/2011 12:49 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

521. การใช้ดักแด้ไหมในอาหารปลาสลิด

อรพินท์ จินตสถาพร
ศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีอาหารสัตว์น้ำ คณะประมง
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทร. 0-2561-3031


ปลาสลิดเป็นปลาปลาน้ำจืดที่สำคัญชนิดหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งเป็นที่นิยมบริโภคในรูปปลาเค็มตากแห้ง จึงไม่มีปัญหาผลผลิตล้นตลาด การเลี้ยงปลาสลิดในปัจจุบันยังใช้ระบบการเลี้ยงในแปลงนาขนาดใหญ่ 10-50 ไร่ ซึ่งให้ผลผลิต 200-500 กิโลกรัมต่อไร่ ปัจจุบันเกษตรกรสามารถผลิตลูกพันธุ์ปลาสลิดได้ในเชิงการค้า ทำให้การเลี้ยงปลาสลิดแพร่หลายมากขึ้น

อาหารที่ใช้เลี้ยงปลาสลิดนั้น เกษตรกรนิยมใช้การตัดหญ้าหมักในแปลงนาเพื่อสร้างอาหารธรรมชาติ ร่วมกับการเสริมอาหารเม็ด ซึ่งปลาสลิดเป็นปลาที่ยอมรับอาหารได้ง่าย จึงกินทั้งอาหารเม็ดชนิดจมน้ำ และอาหารเม็ดชนิดลอยน้ำ ซึ่งในการผลิตอาหารเม็ดชนิดจมน้ำ จะมีต้นทุนค่าอาหารต่ำกว่าอาหารเม็ดชนิดลอยน้ำ อีกทั้งเกษตรกรยังสามารถผลิตได้เองในฟาร์ม โดยใช้วัสดุที่มีในท้องถิ่น ทำให้ต้นทุนการผลิตสัตว์น้ำต่ำลง




ดักแด้ไหมเป็นของเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมสาวเส้นไหม ที่มีคุณค่าทางโภชนะสูง สามารถนำมาใช้ในอาหารสัตว์น้ำ ทั้งในระยะเติบโต และระยะพ่อแม่พันธุ์


ในระยะเติบโต เกษตรกรสามารถให้ดักแด้ไหมโปรยเป็นอาหารเสริมร่วมกับการตัดหญ้าหมักในน้ำ และให้อาหารเม็ดผสมสำเร็จในระยะสุดท้ายของการเติบโต ส่วนระยะพ่อแม่พันธุ์ เกษตรสามารถใช้ดักแด้ไหมผลิตอาหารเม็ดผสมสำเร็จ เพื่อเพิ่มความสมบรูณ์
พันธุ์ให้แก่แม่ปลา เนื่องจากในดักแด้ไหมมีกรดอะมิโนจำเป็นถึง 28% ของน้ำหนักดักแด้ไหม และมีกรดไขมันจำเป็นชนิดไม่อิ่มตัวอยู่มากถึง 56% ของไขมันทั้งหมด


การจัดการด้านอาหารปลาสลิด
ระยะ 0-1 เดือนหลังฟักเป็นตัว ให้รำละเอียดโปรยให้กินตามชายบ่อ หรือ ใช้หัวอาหารเป็ดหมักกับรำในอัตรา 1:3 แช่น้ำพอท่วม 1 คืน เติมน้ำ 20 ลิตร แล้วพ่นให้ลูกปลากินทุกวันจนครบ 1 เดือน ทุกสัปดาห์ให้สาดน้ำมันปลา 1-2 ลิตร/ไร่ ถ้ามีแมลงน้ำมากให้สาดน้ำมันดีเซล 1-2 ลิตร/ไร่ ควรมีการสร้างอาหารธรรมชาติโดยการหมักหญ้าและพืชน้ำต่างๆ


ชนิดของหญ้าที่นิยม เป็นหญ้าแห้ว หญ้าทรงกระเทียม หญ้าแพรกน้ำเค็ม ตัดเป็นแนวกว้าง 1-2 ตามขนาดบ่อ สลับแถวที่ไม่ตัดกว้าง 3-4 เมตร ควรตัดหญ้าสลับกันเช่นนี้ทุก 1-2 เดือน ตามอัตราการเอยสลายของหญ้าในบ่อ

ควรตรวจสอบคุณภาพน้ำเป็นครั้งคราว เพื่อป้องกันสภาพน้ำเป็นกรดจากการย่อยสลายของหญ้า และการสะสมแอมโมเนีย และไฮโดรเจนซัลไฟด์ 1-2 เดือนสุดท้ายก่อนจับขาย ควรเสริมอาหารผสมสำเร็จที่มีโปรตีนและพลังงานสูง โดยมีโปรตีนประมาณ 25-30 % และมีไขมัน 7-8%

อาหาพ่อแม่พันธุ์ ควรใช้อาหารผสมสำเร็จที่มีโปรตีนและไขมันสูง โดยมีโปรตีนประมาณ 25-30 % และมีไขมัน 7-8% ซึ่งเป็นไขมันประเภทไม่อิ่มตัวเป็นส่วนใหญ่
ซึ่งดักแด้ไหมมีกรดไขมันในกลุ่มนี้สูงจึงสามารถใช้ในอาหารแม่พันธุ์ปลาสลิดได้ดี



http://www.rdi.ku.ac.th/bk/17/index17.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 11/09/2011 12:55 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

522. เครื่องสกัดน้ำผลไม้ วว. เพิ่มมูลค่าผลิตผลทางการเกษตร
Posted by: Mr.Keajon In:

นักวิจัย วว. พัฒนาเครื่องสกัดน้ำผลไม้แยกกากประสิทธิภาพเยี่ยม ทัดเทียมของนอก มุ่งส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนเพิ่มมูลค่าผลิตผลทางการเกษตร ลดปัญหาผลไม้ล้นตลาด คาดอีก 6 เดือน ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้เอกชนผลิตเชิงพาณิชน์ ลดการนำเข้าเครื่องจักรต่างประเทศ


นายสัมพันธ์ ศรีสุริยวงษ์ นักวิชาการฝ่ายเทคโนโลยีอาหาร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) เปิดเผย กับทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ว่า เขาวิจัยและพัฒนาเครื่องสกัดน้ำผลไม้เมื่อต้นปี 52 และประสบความสำเร็จเมื่อเร็วๆ นี้

นักวิจัยอธิบายว่าเครื่องสกัดน้ำผลไม้ดังกล่าวอาศัย หลักการรีดน้ำออกจากเนื้อผลไม้อย่างต่อเนื่อง โดยใส่ผลไม้ที่ปอกเปลือกแล้วลงในถังป้อนวัตถุดิบด้านบน จากนั้นใบกวาดวัตถุดิบจะกวาดเนื้อผลไม้ให้เบียดกับชุดตะแกรงกรองหยาบและกรอง ละเอียดเพื่อให้ได้น้ำออกมา ส่วนกากและเมล็ดที่เหลือจะถูกแยกออกไปอีกทางหนึ่ง ทำให้ได้น้ำผลไม้ที่ปราศจากกากและเมล็ด สำหรับนำไปผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อและใส่บรรจุภัณฑ์ต่อไป

?เครื่องสกัดน้ำผลไม้นี้สามารถ ใช้ได้กับผลไม้หลายชนิดที่มีลักษณะเนื้อนุ่ม เช่น ลองกอง องุ่น มะม่วง สับปะรด ลำไย ลิ้นจี่ มะเม่า และมะเขือเทศ เป็นต้น โดยมีกำลังการผลิต 200-300 ลิตรต่อชั่วโมง ขึ้นอยู่กับชนิดของผลไม้ และเหมาะสำหรับวิสาหกิจชุมชนที่ต้องการแปรรูปน้ำผลไม้? นายสัมพันธ์ กล่าว

จากการทดลองนำเครื่องสกัดน้ำผลไม้ไปใช้ทำน้ำลองกอง ซึ่งเป็นจุดประสงค์หลักของการพัฒนาเครื่องดังกล่าว พบว่าน้ำลองกองที่ได้มีลักษณะที่ดี ไม่มีกากหรือเมล็กปะปนออกมา โดยทีมนักวิจัย วว. จะศึกษาคุณสมบัติน้ำลองกองและวิจัยการตลาดต่อไปในโครงการแปรรูปผลิตภัณฑ์ ลองกอง หนึ่งในโครงการแก้ปัญหาผลิตผลลองกองล้นตลาด

สำหรับเครื่องสกัดน้ำผลไม้ดังกล่าวทำจากสแตนเลสเป็นหลัก ส่วนใบกวาดเป็นยางซิลิโคน อายุการใช้งานนานกว่า 10 ปี ทำความสะอาดง่าย สามารถปรับเปลี่ยนขนาดรูตะแกรง รอบและมุมของใบพัดให้เหมาะสมกับชนิดของผลไม้ได้ ขณะนี้อยู่ระหว่างการยื่นจดสิทธิบัตร และคาดว่าน่าจะผลิตเครื่องจำหน่ายหรือถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคเอกชนได้ในอีก 6 เดือน โดยมีต้นทุนการผลิตถูกกว่านำเข้า 2-3 เท่า และเชื่อว่าจะสามารถช่วยลดการนำเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศได้เป็นอย่างดี




ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์
http://www.keajon.com/separator-juice/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 12/09/2011 7:26 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

523. เกษตรกรผู้ปลูกไม้หอม ว่าที่เศรษฐีในอนาคต





ดาบตำรวจพิทักษ์ บัวเคน เลขที่ 378 หมู่ที่ 6 บ้านสันมะแฟน ต.ธารทอง อ.พาน จ.เชียงราย

ข้าราชการตำรวจผู้มองอนาคตอันยาวไกลของไม้หอม และเห็นว่าไม้หอมตลาดในเมืองไทยไม่เป็นที่นิยมกันมากนัก แต่ตลาดและความต้องการไม้หอมของชาวต่างชาติ เช่นฝรั่งเศส อินเดีย และชาติอาหรับ มีความต้องการสูง ไม้หอมจึงเป็นไม้เศรษฐกิจที่สำคัญในอนาคต จึงได้หันมาปลูกไม้หอมมาตั้งแต่ปี 2547 บนพื้นที่ทั้งหมด 10 ไร่ โดยก่อนหน้านั้นดาบตำรวจพิทักษ์ใช้พื้นที่ทั้งหมดปลูกแก้วมังกร แต่เห็นว่าเป็นพืชทั่วไปไม่นานนักชาวบ้านต้องปลูกกันมากขึ้น จึงหันมาเอาจริงจังกับการปลูกไม้หอม โดยเริ่มต้นซื้อต้นกล้ามาจากต่างจังหวัดและเริ่มต้นการปลูก ไม้ที่ปลูกมากที่สุด คือ ต้นกฤษณา รวมแล้วทั้งหมด 4,000 ต้น บนพื้นที่ 10 ไร่ และปลูกไม้ยางบง ยางพารา ไม้ผลอื่นๆ เงาะ มะม่วง สะตอ ปลูกแซมไปด้วยกัน

ดาบตำรวจพิทักษ์ ได้แบ่งปันเกี่ยวกับการปลูกไม้หอมให้กับผมและเชิญชวนให้ผู้สนใจปลูกไม้หอมเพื่ออนาคต การปลูกไม้หอมปลูกไม่ยาก ดูแลง่าย เหมือนไม้ยืนต้นอื่นทั่วไป ซึ่งวิธีการปลูกและดูแลรักษาสามารถทำได้แต่ละชนิดดังนี้






การปลูกไม้กฤษณา
ดาบตำรวจพิทักษ์ให้ข้อมูลว่า ต้นกฤษณา เกษตรกรส่วนใหญ่จะขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด กฤษณาจะออกดอกช่วงในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน หรือช่วงหลังสงกานต์ และจะผลัดใบ แต่ถ้าในช่วงไหนฝนแล้งก็จะมีดอกช่วงเดือนมีนาคม โดยจะมีดอก 2 ชุด คือ ชุดเล็กและชุดใหญ่ ผลจะแก่ช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ก็จะทยอยร่วงหล่น ผลมีเมล็ด 2 แบบ คือ เมล็ดแก่จะมีสีเขียว และถ้าเมล็ดแก่มาก ๆ จะมีสีน้ำตาล และแตกออก ทำให้สามารถเก็บไปเพาะพันธุ์ต่อได้

ต้นกฤษณา ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด การเพาะจะเพาะในถุงดำ กับวัสดุเพาะที่ใช้แกลบดำเพาะพันธุ์ไม้กฤษณาที่ปลูกควรมีความสูง 60 เซนติเมตรขึ้นไป หรือมีอายุอย่างน้อย 10 เดือนไม้กฤษณา ปลูกง่ายขึ้นง่ายในดินทุกชนิด ชอบดินที่มีความชื้น เป็นไม้ยืนต้นในเขตเมืองร้อน

วิธีการปลูกไม้กฤษณา ระยะ 2 x 3 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ 260 ต้น เหมาะสำหรับ ปลูกในแปลงขนาดใหญ่ 50 ไร่ ขึ้นไป เพราะสามารถนำรถไถเล็กเข้าไปตัดหญ้าได้ระหว่างแถว 3เมตร

เมื่อได้ระยะเวลาที่ลงกล้ากฤษณา นำต้นพันธุ์ซึ่งขนาดที่เหมาะสม คือ มีความสูงอย่าง น้อย 50 เซนติเมตร อายุ 10 เดือน ลำต้นตรงแข็งแรงเพาะพันธุ์จากเมล็ดเพราะจะมีรากแก้วทำให้ต้นไม้เจริญเติบโต ได้เร็วและแข็งแรง เมื่อได้กล้าพันธุ์แล้วให้ขุดหลุมปลูกระยะ 1 หน้าจอบ และลึกประมาณ 20 เซนติเมตร นำหญ้าแห้งรองก้นหลุม ประมาณ 1 นิ้ว แล้วนำโพลิเมอร์ (ดินวิทยาศาสตร์) ซึ่งแช่น้ำไว้อย่างน้อย 1 ชั่วโมง รองก้นหลุมปรมาณ 2-3 กำมือ หลังจากนั้นนำปุ๋ยคอกผสมกับดินในอัตราส่วน 1/1 รองก้นหลุมประมาณ 3 นิ้ว แล้วนำกล้ากฤษณามีฉีกถุงออกระวัง อย่าให้ดินแตกหัก นำต้นกล้าวางในหลุมให้ลึกจากระดับเดิมของต้นกล้าประมาณ 3 นิ้ว แล้วกลบด้วยดินให้แน่น จากนั้นนำไม้ปักลงใกล้โคนต้นกล้า แล้วมัดด้วยเชือกฟางป้องกันลงพัดไม่ให้ต้นกล้าหักเอนไปมา แล้วหาหญ้าแห้งคลุมโคนไม้รัศมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 40-50 เซนติเมตร พยายามให้โคนเป็นแอ่งกะทะเล็กน้อยและมีคันรอบๆเส้นผ่าศูนย์กลางรอบโคนต้นไม้เพื่อไม่ให้น้ำไหลออกได้รวดเร็วเวลารดน้ำในหน้าแล้ง




วิธีดูแลรักษาไม้กฤษณา (ไม้หอม) ไม้กฤษณาเป็นไม้ที่ปลูกง่ายโตเร็วไม่ต้องเอาใจใส่เหมือนผลไม้ หลังจากปลูกแล้วให้สังเกตที่ใบของต้นถ้าต้นไม้มีการแตกใบอ่อนขึ้นมาใหม่ (หลังจาก ปลูกลง ดิน ประมาณ 2-4 อาทิตย์) แสดงว่ารากของต้นไม้เริ่มแก่ ลงดินแล้ว หลังจากนั้นทุก 2 เดือนควรหมั่นแต่งกิ่งไม้หอมเพราะไม้กฤษณาจะแตกพุ่มหลาย กิ่งจะต้องแต่งกิ่งให้เหลือกิ่งหลักเพียงกิ่งเดียวจะทำให้ไม้กฤษณาโตเร็วและทำ การดูแลรักษาได้ง่ายทำงานสะดวกต่อไปในอนาคต

โดยทั่วไปจะทำการแต่งกิ่งไม้กฤษณาประมาณ 3 ปีหลังจากนั้นจึงปล่อยตามธรรมชาติข้อควร ระวังอย่าให้หญ้าขึ้นรกบริเวณโคนต้นจะทำให้ไม้กฤษณาเจริญเติบโตได้ช้ากว่าปกติและหญ้าแห้งที่คลุมโคนต้น ต้องหนาพอสมควร

การให้น้ำระยะที่ปลูกคือหน้าฝนระหว่างเดือนมิถุนายน - ตุลาคม ถ้าฝนตกสม่ำเสมอไม่ทิ้งช่วงนานกว่า 2 อาทิตย์ ไม่ต้องรดน้ำเลยก็ได้ ให้สังเกตที่ใบของต้นไม้ถ้าใบเริ่มเหี่ยวเฉาเพราะขาดน้ำอาจจะช่วยรดบ้าง หลังจากหมดหน้าฝนแล้วควรรดน้ำอาทิตย์ 2 ครั้ง จนไม้หอมอายุได้ 3 ปีหลังจาก 3 ปีขึ้นไป รดน้ำอาทิตย์ ละ 1 ครั้งจนกว่าจะเริ่มทำแผลต้นไม้

การใส่ปุ๋ยควรใส่ปุ๋ยอย่างน้อยปีละ 2 ครั้งคือช่วงก่อนหน้าฝนและครั้งที่ 2 คือ หลัง
หน้าฝนแล้วควรใส่ ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์

การกำจัดวัชพืชอย่าให้มีหญ้าขึ้นตามโคนต้นรัศมี 40–50 เซนติเมตร หรือมีหญ้าเลื้อยพันโคนต้นจะทำให้ไม้เติบโตช้าส่วนระหว่างโคนต้น ถ้าหญ้าขึ้นรกสามารถฉีดยาฆ่าหญ้าได้ ซึ่งหลังจากไม้หอมอายุ 6 ปีขึ้นไป หญ้าจะไม่ค่อยขึ้นเพราะใบของต้นไม้จะคลุมกันเอง






ดาบตำรวจมีเคล็ดลับในการกระตุ้นสารแก่นไม้กฤษณา จากการที่ศึกษาการปลูกและพฤติกรรมของต้นไม้ เดินทางไปอบรมและดูงานสวนไม้กฤษณาจากเพื่อนชาวสวนด้วยกันในหลายจังหวัด จนได้คิดค้นวิธีการกระตุ้นที่ไม่เหมือนใคร จนระดับอาจารย์ตังต้องทึ่งในความสามารถของดาบตำรวจพิทักษ์ ซึ่งการกระตุ้นแก่นสารดังกล่าว โดยใช้หลักการให้ต้นระคายเคือง ดูตามลักษณะแล้วจะเห็นว่ามีการใช้สว่านเจาะลำต้นลึกประมาณ 10 เซนติเมตร ขนาดรูเท่าด้านปากกา 1 ต้นประมาณ 15-20 รู แล้วใช่ท่อเล็กๆเสียบคาไว้ จากนั้นกระตุ้นด้วยยาสูตรพิเศษที่เปิดเผยไม่ได้ ใช้เวลาประมาณ 1 เดือน จะพบว่าต้นและกิ่งเริ่มมีแก่นเนื้อสีดำ ซึ่งเป็นแก่นเนื้อที่ตลาดมีความต้องการ ราคารับซื้อหลักหมื่นเลยทีเดียว





ไม้กฤษณาเป็นที่ต้องการของชาวต่างชาติ ส่วนใหญ่จะนำไปประกอบพิธีทางศาสนา ทำเป็นสมุนไพร และมักใส่ในน้ำหอมทำให้ติดทนนาน ในแถบตะวันออกกลางมักจุดใช้ในครัวเรือนทำให้มีกลิ่นหอมเป็นเครื่องแสดงฐานะ




หน่อไม้ยักษ์ หรือหน่อไม้หก ปลูกง่ายเหมือนต้นไผ่ทั่วไป โตเร็ว ระยะเวลา 3 ปีหลังจากปลูกถ้าดูแลอย่างดี สามารถนำต้นตอขยายพันธุ์ได้ ราคาต้นตอพันธุ์ต้นละ 300-500 บาท ส่งขายให้กับลูกค้าต่างจังหวัด เป็นที่ที่ยมปลูกในทางภาคกลางตอนล่าง หน่อไม้มีรสชาติเหมือนไผ่บงกาย ส่วนลำไผ่เป็นไม้เศรษฐกิจถ้าปลูกจำนวนมากๆสามารถตัดส่งขายโรงงานทำเฟอร์นิเจอร์ได้ ราคาค่อนข้างดี


ดาบตำรวจพิทักษ์ ได้ส่งเสริมให้กับชาวบ้านที่สนใจปลูกไม้ยางบง ไม้กฤษณา ไม้หอมอินโด เพราะเป็นไม้หอมที่มีราคาแพง ปลูกประมาณ 5 ปีก็สามารถสร้างรายได้อย่างงาม ดาบตำรวจพิทักษ์ ยินดีส่งเสริมและแนะนำเกี่ยวกับเรื่องการปลูก ส่วนเกษตรกรที่ปลูกอยู่แล้ว อาจจะโดนกระแสต่างๆเกี่ยวกับการปลูกไม้หอมจนท้อใจ จึงอยากเชิญชวนมาเยี่ยมที่สวนของดาบตำรวจพิทักษ์ ซึ่งจะพบว่า อนาคตของไม้หอมเหล่านี้ไม่ได้เจอทางตันอย่างที่คิดไว้


http://crownflowerpink.blogspot.com/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 13/09/2011 7:42 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

524. สารกระตุ้นไม้กฤษณา


ข้อความ :
กฤษณา เป็นไม้เนื้ออ่อนที่ไม่มีแก่นเช่นเดียวกับต้นตีนเป็ด ลักษณะของเนื้อไม้โดยรวมแล้วคล้ายกับฟองน้ำ แต่เมื่อมีบาดแผลหรือการระคายเคืองจะหลั่งสารกฤษณาออกมารักษาแผล โดยหลั่งสารดังกล่าวออกมาจากจุดที่เชื่อมต่อระหว่างเนื้อเยื่อสะสมอาหารและท่ออาหารในบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บเป็นจุดแรก และจะถูกส่งไปตามแนวไซเล็มในบริเวณรอบๆบาดแผล ตามจังหวะการส่งน้ำของต้นไม้

สำหรับในกรณีธรรมชาติ เช่น หนอนเจาะ มีดฟัน (ปากขวาน ) และตอกตะปู จะให้พื้นที่การตกน้ำมันรอบแผลน้อยและจะเกิดรอบๆแผลเท่านั้น ยกเว้นการตอกตะปูหลายๆตัวเป็นแนวจะทำให้เกิดแนวสารเชื่อมกัน แต่ไม่คุ้มค่าในเชิงพาณิชย์ เพราะต้องใช้ตะปูจำนวนมาก

ปัจจุบันได้มีผู้คนจำนวนมาก ทำการคิดค้นหาสารที่สามารถทำให้ต้นกฤษณาตกน้ำมันเป็นจำนวนมาก และใช้เวลาสั้นกว่าธรรมชาติ แต่สารกระตุ้นส่วนใหญ่ที่ผมได้นำตัวอย่างมาศึกษามักไม่ทำให้ต้นไม้ตกน้ำมันมากกว่าการเกิดจากบาดแผลธรรมชาติแต่อย่างใด แถมสารดังกล่าวยังมีสีดำ ซึ่งหากพูดตามตรงมันก็คือ การย้อมไม้ดีๆ นี่เอง

ตัวอย่าง เช่น ซีอิ๊วผสมน้ำ น้ำมันเครื่องเก่า ทิงเจอร์ไอโอดีนผสมแอมโมเนีย ดินเหนียวผสมน้ำกรด เป็นต้น

ดังที่ได้กล่าวไว้ตอนแรกว่า ไม้กฤษณาเป็นไม้ที่มีลักษณะคล้ายกับฟองน้ำเนื้อขาว เมื่อใส่สารอะไรที่เป็นสีดำในเนื้อไม้ ไม้ก็ย่อมดำไปด้วย แต่สารที่เกิดขึ้นนั้นกลับมีน้อยและมีรอบๆแผลที่สารนั้นทำให้ระคายเคืองเท่านั้น

สำหรับสารที่ผมเห็นว่าทำให้เกิดน้ำมันได้จริงๆนั้นมีอยู่ 2-3 ชนิดเท่านั้น คือ น้ำตาลให้พื้นที่น้ำมันที่ ประมาณ 85 ลบ.ซม.ต่อ 10 ซีซี. ส่วนน้ำเกลือนั้นอยู่ที่ ประมาณ 50 ลบ.ซม.ต่อ10 ซีซี. แต่สารที่ผมได้ค้นพบเมื่อประมาณ 4 ปีที่แล้วนั้น เป็นสารประกอบอินทรีย์เคมี และให้การตกน้ำมันอยู่ที่ ประมาณ 220 ลบ.ซม.ต่อ 3 ซีซี. จากการทดลองอยู่หลายปีและหลายวิธีจึงได้ค้นพบสารประกอบดังกล่าว ซึ่งให้การตกน้ำมันมากและเร็วกว่าธรรมชาติหลายร้อยเท่า และสารดังกล่าวใสไม่มีสี ดังนั้นสารสีดำที่เกิดในเนื้อไม้จึงเป็นสารกฤษณาแน่นอนร้อยเปอร์เซ็นต์

ปัจจุบันผมได้ส่งตัวอย่างไปให้ผู้ที่สนใจหลายท่านลองใช้แล้วเป็นที่พอใจ เนื่องจากสารที่ผมได้คิดค้นขึ้นมานั้นไม่ได้ด้อยไปกว่าสารของคุณโรเบิร์ตเลยแม้แต่น้อย

หากสนใจผมยินดีแจกตัวอย่างให้ใช้ฟรี ติดต่อผมได้ที่ 081-997-9389, 089-189-8403 (ต้น) ขอยืนยันว่าสารที่ผมคิดค้น สามารถทำให้กฤษณาเกิดสารได้มากและเร็วที่สุดในโลกขณะนี้ และไม่มีสารพิษตกค้างแน่นอนเพราะทุกส่วนประกอบที่ใช้ล้วนเป็นอินทรีย์เคมีทั้งสิ้น


***** ต้องขออภัยที่ต้องออกมาเขียนกระทู้แบบนี้ เนื่องจากมีหลายท่านที่โทรศัพท์มาหาและต้องการเห็นผลของสารจริงๆ แถมยังแสดงอาการเหยียดหยันดูถูกกันในทีทำให้ผมต้องออกมาแจกกันแบบนี้ ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ *****




จาก : Witsawa - - witsawa1@yahoo.com - 06/09/2007 16:10
http://board.dserver.org/w/webdoae/00002396.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 13/09/2011 7:57 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 13/09/2011 7:55 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

525. เส้นทางของไม้กฤษณา


วิศวะ ศรีเพ็ชรกล้า



ที่ผมจะเล่าถึงต่อไปนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งในเรื่องราวมากมายของไม้กฤษณา ไม้ที่บางคนกล่าวถึงในนาม “ของขวัญจากพระเจ้า” ผมใช้เวลาหลายปี หมดเงินทองไปก็มากมายกับการศึกษาไม้กฤษณา เดินทางเข้าป่าเข้าพงเพื่อหาไม้ป่ากับพรานกฤษณา พบปะผู้คนมากมายเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับไม้กฤษณา ทั้งคนไทย, จีน, ญี่ปุ่น ชาวอาหรับและฝรั่งอีกหลายต่อหลายคน ทั้งนี้ก็เพื่อศึกษาถึงความแตกต่างและความเหมือนของวัฒนธรรมการใช้ไม้กฤษณา และเรื่องตลาดซื้อขายไม้ของประเทศต่าง เพื่อเปรียบเทียบกับการซื้อขายไม้กฤษณาในบ้านเรา

ไม้กฤษณาและน้ำมันกฤษณาที่พบเห็นกันอยู่ในบ้านเราและตลาดต่างประเทศนั้น ส่วนใหญ่มาจากต้นกฤษณาเพียง 2–3 สายพันธุ์ จากพืชที่ให้สารกฤษณา ได้แก่ Aquilaria และสกุล Gyrinops ทั้ง 2 สกุลในธรรมชาติ ซึ่งส่วนมากมาจากอินเดียตะวันออก, บังคลาเทศลงมาถึงพม่า, จีน, ไทย, ลาว, เวียตนาม, กัมพูชา เรื่อยลงไปถึงคาบสมุทรมาลายู เช่น มาเลเซีย, บรูไน, ฟิลิปปินส์, อินโดนีเซีย รวมไปถึงปาปัวนิวกินี และบอร์เนียว ที่ยังคงมีกฤษณาน้อย (Gyrinops) อยู่เป็นจำนวนมาก แต่เชื่อหรือไม่ว่ากฤษณากำลังจะหมดไปจากธรรมชาติ ปัจจุบันไซเตส ได้ขึ้นทะเบียนกฤษณาสายพันธุ์ Aquilaria malacchensis เป็นสายพันธุ์ที่ “เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์จากการค้า” และสายพันธุ์ A. crassna เป็นสายพันธุ์ที่ “ใกล้สูญพันธุ์ในขั้นวิกฤติ” ซึ่งทั้งสองสายพันธุ์นั้นเป็นกฤษณาที่มีอยู่ในประเทศไทย โดย A. crassna นั้นเป็นไม้พื้นเมืองที่มีถิ่นฐานอยู่ในตอนบนของประเทศ ตั้งแต่ภาคอีสานไปจนถึงภาคเหนือ และสายพันธุ์ Aquilaria malacchensis เป็นสายพันธุ์ที่อยู่ในภาคใต้ของประเทศ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันทางกายภาพอย่างมากกับสายพันธุ์ A. agollocha ในอินเดียและพม่า จนเกิดความสับสน ซึ่งความจริงแล้วทั้งสองสายพันธุ์เป็นสายพันธุ์เดียวกัน ในเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ของกฤษณาเพราะไซเตส ขึ้นทะเบียน Aquilaria malacchensis เป็นสายพันธุ์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์จากการค้า แต่สายพันธุ์ A. agollocha นั้นไม่ได้ระบุเอาไว้ ทั้งที่เป็นสายพันธุ์เดียวกัน ทำให้ผู้ค้ากฤษณาหัวใสในต่างประเทศทำการค้าขายไม้กฤษณาสายพันธุ์ Aquilaria malacchensis ที่ได้มาจากการหาในธรรมชาติ โดยสวมชื่อสายพันธุ์เป็น A. agollocha ในแปลงปลูก

อีกเรื่องที่เป็นเรื่องน่าเป็นห่วงเกี่ยวกับการสูญพันธุ์ของไม้กฤษณา คือ การระบุชื่อสายพันธุ์ เช่น เมื่อไปถามเกษตรกรผู้ปลูกหรือพรานหาไม้กฤษณาป่าในประเทศลาว,เวียตนาม,ไทยหรือประเทศอื่นๆ ว่าไม้ที่เขาเหล่านั้นปลูกหรือหามานั้นเป็นสายพันธุ์อะไร มักจะได้คำตอบที่เป็นชื่อสถานที่ที่ไม้นั้นๆตั้งอยู่ ซึ่งไม่ใช่ชื่อสายพันธุ์สากลที่กำหนดเป็นภาษาละติน ทำให้ไม่สามารถทราบจำนวนที่แท้จริงของสายพันธุ์ไม้ว่ามีเหลืออยู่เท่าไร โดยเฉพาะอย่ายิ่งสายพันธุ์ A. crassna ที่ระบุว่าเป็นไม้พื้นเมืองของอินโดจีนซึ่งใกล้สูญพันธุ์ในขั้นวิกฤติ และมีรายงานเป็นเอกสารว่า เป็นสายพันธุ์ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงที่สุดและมีราคาแพงที่สุดนั้นมักจะมีชื่อเรียกตามถิ่นฐานมากกว่าสายพันธุ์ที่แท้จริง ดังเช่น ในประเทศไทยที่เรียกพันธุ์ตราด, พันธุ์เขาใหญ่ หรือพันธุ์เหนือ ความเป็นจริงแล้วล้วนแต่เป็นสายพันธุ์ A. crassna ทั้งสิ้น

นอกจากจะได้รับการยอมรับกันอย่างกว้างขวางไปทั่วโลกว่ากฤษณาเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์แล้ว ไม้กฤษณายังเป็นไม้ที่มีเสน่ห์ชวนให้หลงใหลและท้าทายเป็นอย่างยิ่ง กลิ่นที่หอมหวานนั้นนอกจากจะช่วยให้จิตใจผ่อนคลายจากความเครียดแล้วยังสามารถดึงดูดผู้คนให้เคลิบเคลิ้มหลงใหลได้เช่นเดียวกันกับทองคำ เนื่องจากกฤษณาเป็นสินค้าที่มีมูลค่าราคาในตัวเองสูงมากพอๆกับทองคำ จนได้รับการขนานนามในตะวันออกกลางว่าเป็น “ทองคำสีดำ” เป็นเหตุให้เกิดการหาไม้กฤษณาออกจากป่ามาขายกันจนใกล้ที่จะสูญพันธุ์ในปัจจุบัน ถึงกระนั้นก็ยังไม่มีสินค้ามากเพียงพอกับความต้องการของตลาดโลก

ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นเราสามารถพบหากฤษณาที่มีในธรรมชาติได้ในประเทศลาว, เวียตนาม และกัมพูชา ซึ่งสาเหตุที่ยังคงมีกฤษณาในธรรมชาติหลงเหลืออยู่นั้นส่วนมากเป็นผลมาจากสงครามที่ทำให้ป่าบางพื้นที่นั้นเต็มไปด้วยกับระเบิดที่ยังคงหลงเหลืออยู่ ทำให้พรานไม้ไม่กล้าเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าวส่งผลให้ในภาคตะวันตกของกัมพูชานั้นยังคงหลงเหลือกฤษณาขนาดใหญ่อยู่ในปัจจุบัน ขณะที่บางประเทศเช่น ไทย,อินเดีย,บังคลาเทศหรือจีนนั้นยังคงพบเห็นตามธรรมชาติได้บ้างแต่ส่วนใหญ่ที่พบมักจะเป็นไม้ที่ได้รับการปลูกขึ้นในเชิงพาณิชย์ ซึ่งเป็นผลดีต่อการอนุรักษ์สายพันธุ์กฤษณาไม่ให้สูญพันธ์

ในธรรมชาตินั้น ต้นกฤษณาที่มีสภาพปกติจะไม่มีการสะสมของสารกฤษณา การเกิดสารกฤษณานั้นมักพบในกรณีที่เกิดบาดแผล, ความเครียด หรือความบกพร่องกับต้นไม้ แต่สารกฤษณานั้นก็จะหายไปในเวลาอันสั้นในช่วง 2–3 เดือนหากไม่มีการอักเสบของบาดแผลหรือเกิดความเครียดที่ต่อเนื่อง ยกตัวอย่างเช่น เมื่อต้นกฤษณาเกิดบาดแผลไม่ว่าจะกิ่งหักตามธรรมชาติหรือเกิดจากการตัดฟันของมนุษย์ก็ตาม ต้นไม้จะหลั่งน้ำมันออกมาเพื่อปิดและรักษาบาดแผล หากเปรียบกับร่างกายของเราก็เหมือนกับน้ำเหลืองที่ออกมารักษาบาดแผล เมื่อผ่านไปสักระยะหนึ่งก็จะกลายเป็นตกสะเก็ดและหลุดออกไปเหลือผิวหนังเป็นปกติ

ต้นกฤษณาก็เช่นเดียวกันเมื่อผ่านไปสักระยะหนึ่ง (2–3 เดือน) หากไม่มีอะไรผิดปกติก็จะสามารถปิดปากแผลและกลับคืนเป็นเนื้อไม้ปกติเช่นเดิม นั่นจึงเป็นสาเหตุให้ไม้กฤษณามีราคาแพงมาก เพราะเป็นสิ่งที่หาได้ยากยิ่งในธรรมชาติ สำหรับไม้กฤษณาที่มีน้ำมันสะสมมากตามธรรมชาติ จากการตรวจสอบส่วนใหญ่มักจะพบว่า มีเชื้อราอยู่ในเนื้อไม้ที่เกิดน้ำมัน เป็นสาเหตุให้นักวิทยาศาสตร์หลายท่านที่สนใจในการเกิดสารกฤษณาลงความเห็นว่าสารกฤษณานั้นเกิดจากเชื้อรา ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ได้มีการค้นพบว่า เชื้อราไม่ใช่สาเหตุหลักของการเกิดสารกฤษณาในธรรมชาติ แต่ก็ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าเชื้อราก็มีส่วนร่วมในการเกิดกฤษณาตามธรรมชาติ โดยเชื้อรานั้นเข้ามาย่อยสลายเซลล์ที่ตายแล้วบริเวณบาดแผลของไม้กฤษณาซึ่งต้นไม้มีการหลั่งน้ำมันออกมารักษาแผลเป็นปกติอยู่แล้ว แต่เชื้อดังกล่าวกลับลุกลามไปย่อยเอาเซลที่ยังมีชีวิตต่อเนื่องไปด้วย ต้นไม้จึงเกิดการหลั่งน้ำมันต่อเนื่อง และเมื่อการติดเชื้อนั้นหยุดลงแล้ว ต้นไม้กลับได้สร้างแนวการสะสมน้ำมันเอาไว้และจะทำการสะสมต่อเนื่องไปเรื่อยๆจนกว่าต้นไม้จะตาย โดยมากมักพบภายในลำต้นมากกว่าบริเวณผิวด้านนอก เพราะจากที่ผมเคยสังเกตมา ไม้ที่สัมผัสกับอากาศนั้นมักไม่ค่อยมีการสะสมน้ำมันจนกลายเป็นไม้เกรดดีๆ ส่วนใหญ่จะกลับคืนตัวกลายเป็นเปลือก

จากประสบการณ์ที่ผมเคยศึกษาค้นคว้าจากเอกสารทั้งของไทยและต่างประเทศ รวมถึงการร่วมเข้าป่าหาไม้กฤษณากับพรานไม้ พบว่า ต้นกฤษณาบางต้นนั้นสามารถเกิดสารกฤษณาปริมาณมากมายโดยที่ไม่มีบาดแผลติดเชื้อราเลย แต่กลับเกิดการสะสมสารกฤษณาในปริมาณมากได้จากการถูกเถาวัลย์รัดเอาไว้เป็นเวลานานหลายปีจนกลายเป็นไม้เกรดซุปเปอร์ ซึ่งมีราคาแพงมาก บางต้นเกิดจากการเสียดสีโดยแรงลมกับต้นไม้อื่นเป็นเวลานานๆ หรือเกิดจากน้ำที่ขังในโพรงหรือรูหนอนเจาะเป็นเวลานาน แม้บางช่วงเวลาน้ำจะแห้งไปแต่การเกิดแนวการหลั่งสารกฤษณาก็ยังคงดำเนินอยู่ ทำให้เข้าใจได้ว่า แท้จริงแล้วการหลั่งกฤษณานั้นเกิดจากการมีบาดแผลหรือความเครียดตามปกติอยู่แล้ว แต่ปัจจัยที่ทำให้เกิดการสะสมน้ำมันกฤษณาในเนื้อไม้ก็คือความเครียดหรือการอักเสบ ที่ต่อเนื่อง จนทำให้ต้นไม้เกิดการหลั่งกฤษณาออกมาเป็นเวลานานจนเกิดแนวการหลั่งน้ำมันต่อเนื่องนั่นเอง


ถึงแม้บาดแผลหรือความเครียดที่เกิดต่อเนื่องนั้นได้หยุดหรือหายไปในภายหลังแต่แนวของการหลั่งน้ำมันยังคงอยู่และเกิดการสะสมน้ำมันกฤษณาในเนื้อไม้ต่อไป
จากความไม่เข้าใจในเรื่องการเกิดและสะสมสารกฤษณาดังกล่าว ทำให้เกิดความล้มเหลวในการพยายามสร้างไม้กฤษณาจากแปลงปลูก ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ต้นกฤษณาอันเป็นการสร้างความเสื่อมศรัทธาในกระบวนการกระตุ้นให้เกิดสารกฤษณาของเกษตรกร จนมีเกษตรกรผู้ปลูกกฤษณาหลายรายทำการตัดโค่นไม้กฤษณาที่ตนเองปลูกไว้เป็นเวลาหลายปีเพื่อปลูกยางพาราหรือปาล์มน้ำมันซึ่งสามารถจับต้องผลสำเร็จได้ชัดเจนกว่าการปลูกกฤษณา เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง เพราะหากสามารถทำให้เกิดกฤษณาที่คุ้มค่าในเชิงพาณิชย์ได้แล้วจะทำให้ประเทศชาติมีรายได้จากไม้กฤษณาต่อปีเป็นจำนวนเงินมหาศาล

ดังนั้น เมื่อทราบถึงปัจจัยเหล่านี้แล้ว ผมจึงได้คิดค้นกระบวนการและเครื่องมือที่สามารถทำให้ต้นกฤษณาที่ปลูกในแปลงปลูกหลั่งน้ำมันออกมาในปริมาณมากและเร็วกว่าการเกิดและสะสมในธรรมชาติ เพื่อความคุ้มค่าในเชิงพาณิชย์และเป็นการลดการหาไม้ป่าซึ่งตามธรรมชาตินั้นการสะสมน้ำมันนั้นใช้เวลาร่วม 100 ปี กว่าจะได้ไม้ดีๆสักชิ้น

แต่กระบวนการที่ได้คิดค้นขึ้นมานั้น สามารถสร้างสารกฤษณาได้เป็นปริมาณมากในต้นกฤษณา คือทำให้ต้นกฤษณาหลั่งและสะสมกฤษณาได้ทั่วทั้งลำต้นโดยใช้เวลาเพียง 1–2 ปี ปกติแล้วกฤษณาสามารถสร้างสารกฤษณาได้ทุกส่วนของลำต้น ดังนั้นต้องทำให้ต้นกฤษณาหลั่งและสะสมสารกฤษณาได้ทั้งต้น ไม่เว้นแม้แต่กิ่งเล็กๆ เนื่องจากมูลค่าและราคาที่สูงของไม้กฤษณานั่นเอง

ในด้านการบริโภคไม้กฤษณาในต่างประเทศนั้น ความต้องการของตลาดนั้นค่อนข้างจะถึงหลากหลาย อันเกิดจากความแตกต่างของวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีของประเทศนั้นๆ อย่างในโลกตะวันตกหรือตะวันออกกลางนั้น น้ำมันกฤษณาถือเป็นของวิเศษที่พระเจ้าได้ประทานให้แก่มนุษย์เลยทีเดียว เคยมีผู้พรรณนาถึงไม้กฤษณาเอาไว้ว่า “น้ำมันกฤษณาแม้เพียงหยดเดียวนั้น สามารถสร้างความสดชื่น และปลุกเร้าจิตวิญญาณให้มีชีวิตชีวา กลิ่นของมันนั้นแผ่ซ่านละมุนละไมไปทั่วทั้งปอด ราวกับว่ามันได้แทรกซึมไปทั่วทุกอณูของร่างกาย กลิ่นของมันนั้นจะซื่อสัตย์และมั่นคงไม่เปลี่ยนแปลงแม้เวลาจะล่วงเลยไปนานเท่าใดก็ตาม” ข้อความดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงการใช้น้ำมันกฤษณาจนกลายเป็นนิสัยเฉพาะของชาวตะวันออกกลางไปแล้ว

นอกจากเรื่องความหอมซึ่งช่วยผ่อนคลายความเครียดแล้ว น้ำมันกฤษณายังคงมีสรรพคุณทางยาอีกด้วย โดยชาวตะวันออกกลางนั้นมักจะหยดน้ำมันกฤษณาลงในน้ำชาหรือน้ำร้อนเพื่อดื่มบำรุงหัวใจ ขณะที่ในโลกตะวันออกอย่างญี่ปุ่นหรือจีนนั้นก็ได้มีการบริโภคไม้กฤษณามาตั้งแต่โบราณแล้วเช่นกัน โดยใช้ในรูปของยา สรรพคุณทางยาที่คนจีนหรือญี่ปุ่นใช้นั้นก็เป็นเรื่องการบำรุงหัวใจเป็นหลักไม่ต่างจากตะวันออกกลาง อีกทั้งยังใช้เป็นยาขับลมได้ด้วย สำหรับชิ้นไม้นั้นมีการใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลกโดยใช้ในรูปของกำยาน ในญี่ปุ่นนั้นใช้กฤษณาจุดเป็นกำยานประกอบในพิธีชงชา อันเป็นศิลปะขั้นสูง ดังนั้นไม้ที่ใช้จุดต้องเป็นไม้ที่เกรดดีมากๆ ราคากิโลกรัมละนับแสนบาทเลยทีเดียว ในวัดที่ประเทศจีนก็ใช้เช่นเดียวกัน ส่วนในตะวันออกกลางนั้นใช้จุดเพื่อรับแขกเป็นการให้เกียรติแขกที่มาเยือน ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายไม่เกิดความหงุดหงิดจากอากาศที่ร้อนอบอ้าวของทะเลทราย และยังสามารถไล่ไรไม่ให้ไต่ตอมได้อีกด้วย กลิ่นที่ใช้นั้นขึ้นอยู่กับฐานะของผู้ใช้ หากผู้ใช้มีฐานะ เกรดไม้ที่ใช้ก็มักจะสูงตามไปด้วย ไม้กฤษณานั้นเป็นของใช้ประจำในตะวันออกกลางมาช้านานแล้ว ดังจะเห็นได้ว่า หากบ้านใดมีทารกเกิดใหม่ ไม้กฤษณาก็มักจะเป็นของขวัญแรกเกิดให้กับครอบครัวนั้นๆพร้อมกับของรับขวัญอื่นๆ สำหรับไม้กฤษณาที่มีรูปทรงสวยและมีขนาดใหญ่นั้น ผู้มีฐานะมักจะซื้อหามาประดับบ้านและประดับบารมี โดยใส่ตู้กระจกโชว์ไว้ภายในบ้าน และไม้สำหรับโชว์นี้ก็มีราคาที่แพงมากบางชิ้นราคาซื้อขายหลายล้านบาท เนื่องจากกฤษณาเป็นของศักดิ์สิทธิ์ และหายาก เปรียบได้กับพระเครื่องหายากในเมืองไทยนั่นเอง

ราคาซื้อขายไม้กฤษณาในต่างประเทศนั้นสูงกว่าในประเทศไทยหลายเท่านัก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณการสะสมน้ำมันในเนื้อไม้ด้วย ไม้ที่มีการสะสมน้ำมันมากจะมีสีดำเข้มและหนัก มีราคาแพง ดังนั้นจึงมีการแยกเกรดไม้ในการซื้อขาย ทั้งนี้หากต้องการให้ได้ไม้เกรดสูงกว่านี้ต้องบ่มทิ้งเอาไว้นานยิ่งขึ้น

จาก : วิศวะ ศรีเพ็ชรกล้า - - witsawa1@yahoo.com - 25/10/2008 19:47


ข้อความ : ภาพประกอบอยู่ในบอร์ดรักบ้านเกิดครับ เข้า google แล้วป้อน รักบ้านเกิด + กฤษณา + วิศวะ ได้เลยครับ

โทรถามข้อมูลได้ที่ 081-997-9389 วิศวะ (ต้น) ครับ

จาก : วิศวะ ศรีเพ็ชรกล้า - -
http://board.dserver.org/w/webdoae/00002396.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 13/09/2011 9:59 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

526. กระตุ้นสารหอมกฤษณา มก.วิจัยสำเร็จด้วยสารอินทรีย์


กฤษณา....เป็นไม้ ยืนต้นที่มีการปลูกกันแพร่ หลายแทบทุกภาคในบ้านเรา ด้วยราคาของน้ำมันหอม ระเหยที่สกัดจากต้นกฤษณา มีราคาแพงมาก...จึงเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรหัน มาปลูกกันโดยคาดหวังในผลผลิตและผลประโยชน์...

ด้วยเหตุผลนี้... รศ.ดร.งามผ่อง คงคาทิพย์ หน่วยปฏิบัติการวิจัยผลิตภัณฑ์ธรรมชาติและเคมีอินทรีย์สังเคราะห์ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พร้อมด้วย รศ.พูนพิไล สุวรรณฤทธิ์ อาจารย์ ศลิษา สุวรรณภักดิ์ ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และทีมวิจัย จึงทำการศึกษาวิจัยการใช้เชื้อราและสารอินทรีย์กับต้นกฤษณา เพื่อนำผลิตสารหอมระเหยได้ในปริมาณมากๆ

หัวหน้าทีมวิจัย บอกว่า ปัญหาของการปลูกไม้กฤษณาในแปลงทั่วๆไปคือ การสกัดสารหอมระเหยได้น้อยนิด หรืออาจไม่ได้ผลิตภัณฑ์เลย จึงแทบจะไม่คุ้มค่ากับการลงทุน

ทั้งนี้ เนื่องจากไม้กฤษณาที่จะให้สารหอมได้เมื่อต้นของมันเกิดแผล

ที่ผ่านมาเกษตรกรโดยทั่วไปจึงทดลองเจาะรูต้นกฤษณาประมาณ 1,000-2,000 รูต่อต้น เพื่อให้มันเกิดแผล ก็ยังให้ปริมาณน้อย และยังสร้างความสูญเสียคือส่งผลให้ต้นกฤษณาตายในระยะเวลาอันสั้น

ทีมวิจัยจึงได้ทำการทดลองด้วยการใช้สว่านเจาะเพียง 20-40 รู แล้วฉีดเชื้อราและสารอินทรีย์ที่ปลอดภัยเข้าไปในต้นกฤษณา ผลออกมาพบว่ากฤษณาทุกต้นสามารถสร้างสารหอมได้ หลังจากใส่เชื้อราและสารอินทรีย์ฯภายใน 1 เดือน จะเพิ่มมากขึ้นจนถึง 4-6 เดือน

บริเวณรูได้สร้างสารหอมในเยื่อไม้ของต้นกฤษณาออกเป็นวงรัศมีกว้าง 15-20 เซนติเมตร แล้วยังพบอีกว่า ไม้กฤษณายังสามารถสร้างสารหอมตามธรรมชาติต่อได้โดยไม่ต้องกระตุ้นอีกและไม้กฤษณาที่ผลิตสารหอมได้ดีควรมีอายุตั้งแต่ 8 ปีขึ้นไป

หลังจากนำมาสกัดสารหอมระเหยด้วยการกลั่น ไอน้ำแบบ Hydrodistilation แล้ววิเคราะห์สารหอมด้วยวิธี Gas-Chromatography-Mass Spectroscopy (GC-MS) พบว่า น้ำมันหอมระเหยจากงานวิจัยนี้ มีองค์ประกอบทางเคมีเทียบเท่ากับน้ำหอมกฤษณาเกรด A ในตลาดทั่วไป

เกษตรกรและผู้สนใจวิธีการกระตุ้นไม้กฤษณาให้เกิดสารหอม ติดต่อ รศ. ดร.งามผ่อง คงคาทิพย์ 0-2942-5444 ต่อ 2139 หรือ 08-9828-7987 เวลาราชการ



ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/news.php?section=agriculture&content=89415

http://www.phtnet.org/news51/view-news.asp?nID=291
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 13/09/2011 10:13 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

527. ไม้กฤษณา






ไม้กฤษณา”
เป็นตำนานที่กล่าวขวัญกันมาช้านาน ทั้งในฐานะ “ของที่มีค่าหายาก” เป็นที่ต้องการของสังคมชั้นสูงทั่วโลกและ “ราคาแพงดั่งทองคำ” ควบคู่กับประวัติของพระพุทธเจ้า น่าเสียดายที่ “ไม้กฤษณา” เป็นสินค้าต้องห้ามสำหรับประชาชนทั่วไปเพราะมีกฎหมายให้ค้าขายได ้เฉพาะกษัตริย์มาตั้งแต่โบราณ ตั้งแต่ต้นกรุงศรีอยุธยา อันที่จริงเราส่งไม้กฤษณาทั้งที่เป็นเครื่องราชบรรณาการและเป็นสินค้า ไปเมืองจีนมาตั้งแต่กรุงสุโขทัยโน่น และเป็นที่ต้องการของราชสำนักจีนนักหนานอกจากจีน ญี่ปุ่นที่อยู่ฝั่งตะวันออกแล้ว เรือสำเภาที่มาค้าขายจากฝั่งตะวันตก็ยังได้นำเอาสรรพคุณของกฤษณาทั้งด้านความหอมและสรรพคุณสมุนไพร ขจรไกลไปถึงคาบสมุทรอาหรับในตะวันออกกลางและยังไปถึงอาณาจักรกรีก โรมัน อียิปต์โบราณด้วยช้ำไป

ไม้กฤษณา” ที่เป็นสินค้าซื้อขายกันแพงๆ เป็นผลิตผลจากต้นกฤษณาซึ่งมีเฉพาะเอเซียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น “ไม้กฤษณา” จึงเป็นสัญลักษณ์ตะวันออกและสุวรรณภูมิหรือประเทศไทยในปัจจุบัน เป็นศูนย์กลางการค้าขายมาช้านาน
สายพันธุ์ของไม้กฤษณา

ไม้กฤษณาเป็นไม้ในตระกูลไธเมลลาอีซีอี (Thymelaeaceae) และสกุลเอควิราเรีย (Aquilaria) ลำต้นขนาดปานกลาง แต่ถ้ามีอายุมากจะมีลำต้นขนาดใหญ่เป็นไม้เนื้อค่อนข้างอ่อน แต่เมื่ออายุมากแล้ว จะมีลักษณะเนื้อไม้ค่อนข้างแข็ง สีเหลืองมีลายสวยงาม เปลือกลอกง่าย ลำต้นตรง สีค่อนข้างแดงผิวเป็นเม็ดตุ่มเล็กๆสีแดง-ดำ เทา เขียวอ่อน เป็นไม้โตเร็ว



ปัจจุบันมีอยู่ทั้งหมด 16 สายพันธุ์ ตามข้อกำหนดการประชุมกฤษณาโลกครั้งที่ 1 ประเทศเวียดนาม ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. เอควิลาเรีย สับอินทิกร้า (ตราด) Aquilaria Subintegra แหล่งที่พบ คือประเทศไทย
2. เอควิลาเรีย คลาสน่าAquilaria crassna แหล่งที่พบ คือ ไทย กัมพูชา ลาว เวียดนาม
3. เอควิลาเรีย มาลัคแคนซิส Aquilaria- Malaccensis แหล่งที่พบ คือ ไทย อินเดีย อินโดนีเซีย
4. เอควิลาเรีย อาปิคูลาตาร์ Aquilaria- Apiculata แหล่งที่พบ คือ ฟิลิปปินส์
5. เอควิลาเรีย ไบโลนิล Aquilaria- Baillonil แหล่งที่พบ คือ ไทย กัมพูชา ลาว เวียดนาม

6. เอควิลาเรีย บานโนซิส Aquilaria -Banneonsis แหล่งที่พบ คือ เวียดนาม
7. เอควิลาเรีย เบคคาเรียน Aquilaria- Beccarian แหล่งที่พบ คือ อินโดนีเซีย
8. เอควิลาเรีย เบรช ไชยันท้า Aquilaria -Brachyantha แหล่งที่พบ คือ มาเลเซีย
9. เอควิลาเรีย คัมมิ่งเจียนน่าร์ Aquilaria- Cumingiana แหล่งที่พบ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปินส์
10. เอควิลาเรีย ฟิลาเรีย Aquilaria Filaria แหล่งที่พบคือ นิวกินี จีน

11.เอควิลาเรีย แกรนดิฟลอร์ร่า Aquilaria- Grandiflora แหล่งที่พบ คือ จีน
12.เอควิลาเรีย ฮิลาต้า Aquilaria Hilata แหล่งที่พบ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย
13.เอควิลาเรีย คะฮาร์เชีียน่า Aquilaria- Khasiana แหล่งที่พบ คือ อินเดีย
14.เอควิลาเรีย ไมโครคาร์ป้า Aquilaria- Microcarpa แหล่งที่พบ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย
15.เอควิลาเรีย โรสตราต้า Aquilaria-Rostrata แหล่งที่พบคือ มาเลเซีย

16.เอควิลาเรีย ไซเนนซิส Aquilaria-Sinensis แหล่งที่พบคือ จีน



สายพันธุ์ที่พบอยู่ในประเทศไทยมี 4 สายพันธุ์คือ
1. พันธุ์ เอควิลาเรีย สับอินทิกร้า (Aquilaria Subintegra) เป็นพันธุ์ไม้ที่ให้น้ำมันสูงและปริมาณน้ำมันมาก พบมากทางภาคตะวันออก คือ จังหวัดตราดและบางพื้นที่ของจังหวัดจันทบุรี

2. พันธุ์ เอควิลาเรีย คลาสน่า (Aaquilaria -Crassna Pierre e H.Lec) เป็นพันธุ์ไม้ที่ให้คุณภาพน้ำมันค่อนข้างสูง และปริมาณน้ำมันค่อนข้างมาก พบมากบริเวณอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ นครนายก ปราจีนบุรี นครราชสีมา บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ และบริเวณแถบภาคเหนือ เช่น น่าน เชียงราย แพร่ และบริเวณภาคกลาง เช่น เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ กำแพงเพชรฯลฯ

3. พันธุ์เอควิลาเรีย มาลัคแคนซิส (Aquilaria Malaccaensis) เป็นพันธุ์ไม้ที่ให้คุณภาพน้ำหอมและปริมาณน้ำหอมปานกลาง พบบริเวณภาคใต้ของประเทศไทย เช่น ประจวบคีรีขันธ์ พัทลุง ตรัง ระนอง ปัตตานี ฯลฯ

4.พันธุ์เอควิลาเรียไบโลนิล (AquilariaBaillonil) แหล่งที่พบ ไทย กัมพูชา ลาว เวียดนาม


กรรมวิธีการปลูก
ต้นกล้าที่จะปลูกควรมีอายุตั้งแต่ 10-12 เดือนขึ้นไป หรือสูงตั้งแต่ 50 ซ.ม. ขึ้นไป และพื้นที่ปลูก ควรเป็นดินร่วนปนกรวด และเป็นพื้นที่ที่น้ำถ่ายเทได้สะ ดวก ไม่เป็นที่ลุ่มถ้าเป็นพื้นที่ลาดเนินเขายิ่งดี กล้าไม้ที่จะนำไปปลูกต้องนำ ไปตากแดดเพื่อให้ต้นแข็งแรง ประมาณ 1 เดือนเป็นอย่างต่ำ จะทำให้อัตราการเจริญเติบโตสูง และไม่ตายในระหว่างการปลูกการนำกล้าไม้กฤษณาออกไปตากแดดเพื่อเตรียม ความแข็งแกร่งก่อนนำไปปลูก 1 เดือน

ระยะการปลูก แบ่งตามหลักเกณฑ์ดังนี้
ก. ระยะปลูก 2 เมตร x 2 เมตร คือระยะระหว่างต้นและแถวห่างกันข้างละ 2 เมตร จะได้จำนวน 400 ต้นต่อ 1 ไร่ เหมาะสำหรับผู้ปลูกที่มีเิงินทุนหมุน เวียนได้ตลอดในระยะเวลาประมาณ 5-7 ปี

ข. ระยะปลูก 2 เมตร x 4 เมตร คือระยะระหว่างต้น 2 เมตร ระยะระหว่างแถว 4 เมตร จะได้จำนวน 200 ต้นต่อไร่ ส่วนระหว่างแถวควรปลูกกล้วยน้ำว้า, กล้วยไข่ เพื่อเป็นพืชป้องกันแดดและดูดซับน้ำในฤดูแล้ว และในระหว่างที่รอ ผลผลิตจากไม้หอมสามารถขายกล้วยเป็นเงินทุนหมุนเวียนได้ เหมาะสำหรับ ผู้ที่มีเงินทุนหมุึนเวียนปานกลาง

ค. ระยะปลูก 4 เมตร x 4 เมตร คือ ระยะระหว่างต้น 4 เมตร ระหว่างแถว 4 เมตร จะได้จำนวน 100 ต้นต่อ 1 ไร่ เหมาะสำหรับผู้ปลูกที่มีการปลูกไม้ล้มลุกเป็น หลัก เช่น ปลูกถั่ว, แตง, ผักต่างๆ, หัวหอม, หัวกระเทียม,สัปปะรด เหมาะสำหรับผู้ปลูกที่มีเิงินน้อย

ง. ระยะปลูกเป็นพืชแซม กับสวนผลไม้หรือสวนไม้เศรษฐกิจอื่นๆ ต้องตาม สภาพความเหมาะสมความสะดวกในการดูแลรักษา อาจปลูกตามระหว่างแถวของพืชอื่นๆ หรือตามช่องว่างตามร่องยางพาราหรือ ตามบริเวณขอบแนวของที่ดิน สรุปแล้วก็ปลูกเป็นพืชแซมต้องปลูกบริเวณที่ ไม้หอมสามารถรับแสงแดดได้บ้างเพื่อการเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี ระยะปลูกตามสภาพพื้นที่


การขุดหลุม
ควรขุดหลุมกว้าง 50 ซ.ม.ลึก 50 ซ.ม. โดยแยกหน้าดินกองไว้แยกกับดิันก้น หลุม การปลูก ควรใช้มูลวัว หรือมูลควายผสมกับดินในอัตราส่วน 1:5 (มูล = 1, ดิน = 5) ประมาณ 1 กำมือแล้วค่อยๆ ดึงถุงออกอย่างให้ดินแตก วางลงบนกลาง ก้นหลุมแล้วใช้มีดคัตเตอร์กรีดถุงจากปากถุงแล้วเทให้สูงจากดินในถุงเก่าประมาณ 5 ซ.ม.กดดินให้แน่นพอสมควร ตั้งต้นไม้หอมให้ตรงเสร็จแล้วรดน้ำให้ชุ่ม อีกประ มาณ 2 สัปดาห์กล้าไม้จะเริ่มมีรากลงดินและแตกใบอ่อน แต่ถ้าเตรียมกล้าไม้ แบบถูกวิธีคือการนำออกมาตากแดดก่อนไปปลูกประมาณ 2 เดือน กล้าไม้จะมีสีเหลืองปนเขียวซึ่งเป็นช่วงที่เหมาะสมกับการนำไปปลูกโดยไม่ต้องใช้สแลนปิด ทำให้ลดต้นทุนและการเพาะปลูกจะได้ผลดีมากถ้าเป็นพื้นที่ที่มีรมแรงควรใช้ไม้เนื้อแข็งขนาด 2x2 นิ้ว ยาว50 ซ.ม. ปักรำรากแก้วเพื่อกันไม่ให้ต้นไม้โค่นล้ม โดยปักจมลึกเหลือประมาณ ครึ่งถุงกล้าไม้้ (ปักบริเวณกลางหลุม)


ช่วงฤดูการปลูก
ควรเริ่มปลูกประมาณเดือนพฤษภาคม หรือช่วงที่เริ่มฤดูฝนและในปีแรกที่ ถึงช่วงฤดูแล้งต้องรดน้ำช่วย เพื่อให้กล้าไม้หอมไม่เหียวเฉาตายซึ่งปีแรกกล้าจะสูงประมาณ 2-3 เมตรแต่ถ้าปลูกในฤดูแล้งแล้วมีการรดน้ำอย่างสม่ำเสมอปรากฎว่าไม้หอมเจริญเติบโต ดี และมีการหยั่งรากหรือการงอกของรากแก้วที่ีดีมากด้วย


การดูแลรักษา
การตัดแต่งกิ่ง ไม้กฤษณาส่วนมากจะแตกยอดออกเป็น 2 กิ่ง ควรตัดกิ่งที่มีใบใต้กิ่งออก จากนั้น ไม้กฤษณาจะมีกิ่งแขนงออกมาตามลำต้น ควรเก็บไว้เพื่อให้ไม้กฤษณา จะมีการสังเคราะห์แสงและปรุงอาหารหล่อเลี้ยงลำต้นได้ดีและจะมีลำต้นอ้วนใหญ่สมบูรณ์หลังจากลำต้นสูงใหญ่แล้วก็ค่อยๆ ตัดออกให้สมส่วนกับลำต้นแต่ถ้าไม่มีการตัดกิ่งจะทำให้ลำต้นเตี้ย กิ่งมาก โค่นล้มง่าย และการกระตุ้นสารไม่ดี
การใส่ปุ๋ย ในพื้นที่ ที่ไม่อุดมสมบูรณ์ ควรใส่มูลวัว มูลควาย ในช่วงกล้าไม่อายุตั้งแต่ 1-3 ปี ในอัตราส่วน 1-3 ก.ก./ต้น/เดือน หลังจาก 3 ปีแล้ว ก็ใส่ปีละ 2 ครั้ง ครั้งละประมาณ 5 ก.ก./ต้น ควรใส่ในฤดูฝน เมื่อไม้หอมมีอายุ 3 ปีแล้ว ส่วนใหญ่ในพื้นที่ ที่อุดมสมบูรณ์ก็แทบจะไม่ต้องใส่ปุ๋ยเลย เพราะฉายาของไม้หอม คือ ไม้เทวดาเลี้ยง
การกำจัดวัชพืชต่างๆ ที่อยู่ใกล้โคนไม้หอมโดยการตัด หรือถางออก หรือใช้ผ้ายางขนาด 1 ม. X 1 ม. คลุมบริเวณโคนต้นแล้วสังเกตว่าวัชพืชเริ่มตายแล้วก็เอาผ้ายางออก เพราะถ้าคลุมไว้นาน จะเกิดเชื้อราโคนเน่าได้แต่ไม่ควรใช้ยากำจัดวัชพืชโดยเฉพาะที่เป็นยาดูดซึม เช่น ไกลโฟเซต หรือยาคุมต่างๆ ส่วนศัตรูพืชที่สำคัญของไม้หอมในระยะ 1-3 ปี ได้แก่หนอนกินใบ หรือแมลงกินใบ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเกิดจากผีเสื้อมาไข่ไว้บริเวณใบยอดของลำต้น ถ้าสังเกตจะมีใยสีขาวอยู่บริเวณใต้ใบเมื่อตัวอ่อนฟักตัวออกมาก็จะกินใบอ่อนของไม้หอมแทบหมดต้นทำให้ต้นไม้หอมชะงักการเจริญเติบโต มีวิธีป้องกันได้โดยหมั่นสังเกต และตรวจดูว่ามีใยสีขาว หรือมีแมลงรบกวนก็ควรฉีดยาจำพวกเซปวิน 85 หรือยาพวกถูกตัวแมลงหรือหนอนแล้วตาย แต่ถ้าไม้หอมมีอายุตั้งแต่ 3 ปี ขึ้นไปส่วนใบไม้หอมขมมาก บางแห่งจะมีแมลงมาเจาะลำต้นในขณะที่ไม้หอมยังเล็กอยู่ (อายุ 1–2 ปี) ซึ่งไม้หอมยังไม่พร้อมให้แมลงเจาะเพราะจะทำให้ลำต้นหักโค่น หรือตายได้จึงสมควรกำจัดแมลงในช่วงนี้ด้วย แต่เมื่อไม้หอมอายุ 3 ปีขึ้นไป ถ้ามีแมลงเจาะลำต้น ซึ่งสังเกตได้จากมีขี้ขุยไม้กลมๆ สีขาวหล่นมาบริเวณโคนต้นคล้ายๆ เม็ดปุ๋ย นั่นแสดงว่าแมลงเริ่มทำงาน หรือเริ่มเจาะไม้หอมซึ่งจะทำให้เกิดน้ำมัน หรือสารกฤษณาขึ้นมาภายหลัง ฉะนั้นห้ามทำลายแมลงช่วงนี้โดยเด็ดขาด ส่วนศัตรูที่สำคัญของไม้หอมในช่วงเล็กๆ คือ พวกเชื้อราที่ทำให้เกิดโคนเน่า ราใบติด หรือเชื้อราลำต้น ซึ่งเมื่อไม้หอมแยกไปปลูกแล้ว จะเกิดเชื้อราน้อยมาก ยกเว้นพื้นที่แฉะ และน้ำท่วมขัง ป้องกันโดยทำร่องระลายน้ำไม่ให้น้ำท่วมขัง แต่เมื่อไม้หอมอายุ 3 ปี ไปแล้วก็ไม่ต้องใช้ยาอะไรทั้งสิ้น


การทำสารไม้หอมกับต้นที่มีอายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ควรปฏิบัติดังนี้
1. ตรวจดูสายพันธุ์ดีหรือไม่ดี ถ้าเป็นสายพันธุ์แท้ของพันธุ์เอควิลาเรีย สับดินทิกร้า (Aquilaria Subintegra) ของจังหวัดตราด จะมีเส้นใยใบบริเวณโคนใบเป็นคู่ขนานประมาณ 2-3 คู่ขึ้นไป เป็นการสังเกตที่ง่ายที่สุด ซึ่งสายพันธ์อื่นจะไม่มี

2. ตัดแต่งกิ่งแขนงต่างๆ ออก พยามยามแต่งให้ลำต้นสูงชะลูด และมีกิ่งที่ปะทะน้อยที่สุด เพื่อป้องกันลำต้นโค่นล้ม หลังจากทำสาร

3. วัดความสูงจากโคนต้นขึ้นมาประมาณ 50 ซ.ม. แล้วเริ่มเจาะโดยใช้ดอกสว่าน ตั้งแต่ 3–5 หุน โดยบริเวณโคนต้น หรือลำต้นที่มีขนาดใหญ่ ให้ใช้สว่านขนาด 5 หุนเจาะก่อน แล้วเรียงลดหลั่นไปตามขนาดของลำต้นโดยเจาะเอียงขึ้น 30 องศา ขึ้นไปตามลำต้นห่างกันช่องละประมาณ 4 นิ้ว จนเกือบถึงยอดของต้นไม้หอม เจาะจนรอบต้น แล้วใช้สารตามสูตร (ขอสงวนสูตร) ดัดใส่เข้าไปจนเต็มออกมาถึงปากรูที่เจาะหลังจากนั้นประมาณ 5 วัน จะเห็นปฏิกิริยาของไม้หอมเปลี่ยนแปลงไป ต้นจะเริ่มเร่งหลั่งสารเรซิน หรือน้ำมันกฤษณาออกมาเพื่อต่อต้านสารที่อุดเข้าไป ถ้าทำตามหลักการและใช้สารตามสูตรที่ถูกต้องแล้ว ถ้าไม้อายุตั้งแต่ 8 ปีขึ้นไปมีลำต้นสูงชะลูดก็จะให้ผลตอบแทนประมาณ 10,000–30,000 บาท ถ้าลำต้นไม่สวย เตี้ย มีกิ่งมากก็จะให้ผลตอบแทนประมาณ 5,000–10,000 บาท ถ้าไม้ยิ่งอายุมากและลำต้นใหญ่ สูงชะลูด ก็จะให้ผลตอบแทนมากตามลำดับ หลังจากทำสารแล้วประมาณ 6 เดือน ก็จะเริ่มใช้สิ่วเจาะสำรวจดู ถ้าต้นไหนไม้ลงตะเคียนแล้ว และคำนวณว่าคุ้มกับการตัดโค่นก็ตัดตามหลักการได้เลย แต่ถ้าจะให้ผลคุ้มค่าหรือให้ผลตอบแทนสูง ควรทิ้งไว้อย่างน้อย 1 ปี เมื่อตัดแล้วส่วนที่เหลือคือตอที่สูงประมาณ 50 ซ.ม. อีกประมาณ 10 วัน ก็จะมีแขนงงอกออกมา ส่วนนี้ควรเว้นแขนงไว้ไม่เกิน 2 แขนง และเมื่อแขนงลัดออกมายาว 50 ซ.ม. แล้วก็เริ่มทำสารที่ตอ เพื่อให้เกิดไม้แก่นต่อไป ซึ่งเวลาอีกประมาณ 3 ปี จะให้ผลตอบแทนต่อ 1 ตอ ประมาณ 3,000–20,000 บาท



http://www.bspwit.ac.th/S-PROJECT/WEB-DESIGN/WEB-DESIGN%202552/Doungjai%20Khamtead/krisana.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 13/09/2011 10:22 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 13/09/2011 10:18 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

528. เร่งวิจัยสารกฤษณา เล็งผสมเครื่องสำอางเพิ่มหอม


น.ส. เบ็ญจวรรณ คฤหพัฒนา ที่ปรึกษาด้านการวิจัยและต่างประเทศ กรมป่าไม้ ในฐานะที่ปรึกษาโครงการวิจัยไม้กฤษณาเชิงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ในการดำเนินงานวิจัยโครงการไม้กฤษณาเชิงพาณิชย์นั้น กรมป่าไม้จะเน้นการวิเคราะห์เพื่อหาต้นพันธุ์ไม้กฤษณาที่มีคุณภาพดี เพื่อผลิตกล้าพันธุ์ไม้ส่งเสริมให้เกษตรกรได้ปลูกอย่างถูกต้องและเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ โดยเบื้องต้นได้จัดทำแปลงรวบรวมพันธุ์ไม้กฤษณาจากทั่วประเทศ ซึ่งจากการศึกษาพบว่า

พันธุ์ไม้กฤษณาในประเทศไทยที่มีอยู่ทั้งหมด 5 ชนิด มีเพียง 2 ชนิดเท่านั้น ที่ให้สารกฤษณาที่มีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของตลาดโลก

ได้แก่ Aquilaria crassna พบมากบริเวณอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ใน จ.นครราชสีมา นครนายก ปราจีนบุรี และ ภาคตะวันออก ได้แก่ จ.จันทบุรี และ ตราด และ Aquilqria malaccensin ที่พบมากในภาคใต้ ได้แก่ ตรัง ช่วงเขาช่อง และเขาสิเกา

สำหรับการวิจัยด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากสารกฤษณา จะเห็นได้ว่าภาคเอกชนได้มีการพัฒนารูปแบบและผลิตภัณฑ์จากสารกฤษณา รวมถึงไม้กฤษณาด้วยกันหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ธูปหอม ชา น้ำมันหอม รวมถึงผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางค์ต่างๆ ด้วย โดยในส่วนของกรมป่าไม้อยู่ระหว่างการศึกษาวิจัยเพื่อนำสารกฤษณามาใช้เป็น Fixative หรือ สารยึดที่ผสมอยู่ในเครื่องสำอางค์ และน้ำหอมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โลชั่น ครีมบำรุงผิว สบู่ เป็นต้น ซึ่งจะให้ช่วยให้ความหอมติดทนนานมากขึ้น




http://soclaimon.wordpress.com
.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 06/01/2023 7:05 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 19, 20, 21 ... 72, 73, 74  ถัดไป
หน้า 20 จากทั้งหมด 74

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©