-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-* นานาสาระเรื่องเกษตร.
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * นานาสาระเรื่องเกษตร.
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* นานาสาระเรื่องเกษตร.
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 14, 15, 16 ... 72, 73, 74  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/09/2011 9:54 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หน้าที่ 15

ลำดับเรื่อง....


381. ดินกรดหรือดินเปรี้ยว
382. ผลกระทบของดินกรดจัดต่อการทำเกษตรกรรม
383. การปลูกพืชในดินด่าง
384. ปัญหาของดินเค็มต่อการทำเกษตรกรรม
385. พันธุ์ข้าวต่าง ๆ พันธุ์ข้าวไร่ และข้าวญี่ปุ่น

386. การใช้ปุ๋ยราคาต่ำ ทดแทนปุ๋ยราคาแพง หรือผสมปุ๋ยใช้เอง
387. “ชาวนาต้นแบบ” ใช้ปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิต
388. มาช่วยกันปลูกต้นสะเดากันดีกว่า
389. งานวิจัย ผลการแปรรูปไม้สะเดาเทียม
390. หน่อไม้ฝรั่งด่านมะขามเตี้ย...ทำเงิน

391. เตรียมพร้อมสู่ 'ปุ๋ยสั่งตัด' ลดต้นทุนการผลิตกันเถอะ
392. เตือน กรีดยางหน้าฝน ระวังโรคหน้ากรีด
393. ศูนย์พืชผักโลก ภูมิภาคเอเชีย (AVRDC-ESEA)
394. อินเดียตัดต่อพันธุ์ซูเปอร์มันฝรั่ง 'โปรตีน' สูงกว่าปกติ 60%
395. โปรตีนพืชแทนปลาป่น

396. ต้นงอกและเอนไซม์
397 ประโยชน์ของฟ้าแลบ
398. ทำไมคนกินหญ้าไม่ได้ ?
399. ตัวอย่างที่ดี ที่ไม่น่าเอาอย่าง
400. ประเทศไทยอุดมสมบูรณ์มากกว่าประเทศอื่น จริงหรือเปล่าครับ ?

401. น้ำ กับการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช
402. IPM การบริหารแมลงศัตรูพืชโดยใช้วิธีแบบผสมผสาน
403. "มะพร้าว...พืชที่รับใช้คนไทยมานาน"
404. ปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมี
405. ปลูกมันสำปะหลัง... ยุคทองของชาวไร่ที่นากลาง

-------------------------------------------------------------------------------------







381. ดินกรดหรือดินเปรี้ยว


พบได้ทุกภูมิภาคและทุกสภาพพื้นที่ทั้งที่ดอนและที่ลุ่ม ในประเทศทางเขตร้อนทั้งหมดซึ่งมีประมาณ 93 ล้านไร่ จากรายงานของกรมพัฒนาที่ดิน พบว่าดินกรดจัดของประเทศไทยมีพื้นที่รวมกันประมาณ 8.2 ล้านไร่อยู่ในบริเวณภาคกลาง ประมาณ 4.9 ล้านไร่ ภาคใต้ประมาณ 2.4 ล้านไร่ ภาคตะวันออกประมาณ 9 แสนไร่ จะเห็นว่าประเทศไทยมีปัญหาเกี่ยวกับดินกรดจัดมากประเทศหนึ่ง ดินกรดจัดหมายถึงดินที่เคยมี กำลังมี หรืออาจมีกรดซัลฟิวริก (H2SO4) อยู่ในชั้นหน้าตัดของดิน (soil profile) ซึ่งมีความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ต่ำกว่า 4 และมักพบจุดประสีเหลืองฟางข้าว ที่เรียกว่า จาโรไซต์ อยู่บริเวณดินชั้นล่างและมีปริมาณซัลเฟตสูง จึงเป็นอุปสรรคต่อการทำเกษตรกรรม


กระบวนการเกิดดินกรดจัดในประเทศไทย
การกำเนิดของดินกรดจัดประกอบไปด้วยขบวนการที่สำคัญคือขบวนการเกิดวัตถุต้นกำเนิดดินกรดจัดจะเกี่ยวข้องกับการเกิดไพไรต์ (pyrite) หรือการเกิดซัลไฟต์ และกระบวนการเกิดชั้นดินกรดจัดซึ่งเกี่ยวข้องกับการออกซิไดส์สารไพไรต์เกิดเป็นกรดกำมะถัน การเกิดดินกรดจัดในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 2 กระบวนการ คือ

1. กระบวนการเกิดวัตถุต้นกำเนิดดินกรดจัด (geogenetic process) กระบวนการนี้เกิดจากการสะสมตะกอนบริเวณปากแม่น้ำ ปากอ่าว ตะกอนส่วนใหญ่ถูกพัดมาทางแม่น้ำ ลำน้ำ และน้ำทะเล มีลักษณะเนื้อละเอียด ได้แก่ ทราย ทรายแป้ง ดินเหนียวรวมทั้งอินทรียวัตถุด้วย อาจมีตะกอนของสารประกอบซัลไฟด์โดยเฉพาะไพไรต์รวมอยู่ด้วย ปกติมีปริมาณเพียงเล็กน้อย แต่เมื่อเวลาผ่านไปชั้นของตะกอนจะมีความหนาเพิ่มขึ้น บางบริเวณยังอยู่ในสภาพน้ำขัง บริเวณเหล่านี้มีพืชบางชนิดที่เจริญเติบโตได้ เช่น โกงกาง โปรง ลำแพน เสม็ด ลำพู และตะบูน เป็นต้น เมื่อพืชเหล่านี้ตายจะเน่าเปื่อยทับถมกันและสลายเป็นอินทรียวัตถุ จุลินทรีย์ในดินพวก Desulfovibrio sp. และ Desulfotomaculum sp. สามารถย่อยอินทรียวัตถุได้ในดินที่ขาดออกซิเจน และปลดปล่อยพลังงานออกมา ซึ่งทำให้สารประกอบซัลเฟต (SO42-) และเหล็ก (Fe2+) มีปริมาณมากในน้ำทะเลแปรสภาพไปเป็น สารไพไรต์ ดังสมการ




2. กระบวนการเกิดดินกรดจัด (pedogenetic process)
กระบวนการนี้เกิดขึ้นบริเวณที่น้ำไม่แช่ขังอยู่ในดิน หรือเมื่อมีการระบายน้ำทะเลออกจากบริเวณดังกล่าว ทำให้ดินมีลักษณะแข็ง ตะกอนที่มีการสะสมสารประกอบไพไรต์อยู่ในปริมาณมากและมีถ่ายเทอากาศได้ดี ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เคมี และชีววิทยาของดิน แร่ไพไรต์จะถูกออกซิไดส์กลายเป็นเฟอริกซัลเฟตและกรดซัลฟิวริก หรือทำให้เกิดสารประกอบของจาโรไซต์ หรือจุดประ สีสนิมเหล็กหรือสีแดงเข้ม กรดซัลฟิวริกที่เกิดขึ้นบางส่วนจะถูกชะล้างออกไปสู่แม่น้ำลำคลอง บางส่วนจะถูกทำลายโดยการเกิดปฏิกิริยากับปูนที่ละลายมากับน้ำและแร่บางชนิดที่สลายตัวได้ง่ายในดิน และอีกส่วนหนึ่งจะยังคงอยู่ในสภาพของกรดที่แลกเปลี่ยนได้ในดิน ซึ่งกรดส่วนนี้คือตัวการสำคัญที่ทำให้ดินเปรี้ยว


การกระจายของดินกรดจัดในประเทศไทย
พื้นที่ดินกรดจัดในประเทศไทยทั้งหมดประมาณ 9.4 ล้านไร่ (ภาพที่ 8.1) ส่วนใหญ่แพร่กระจายอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มภาคกลางตอนใต้มีพื้นที่ถึง 5.6 ล้านไร่ และในแถบพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกเฉียงใต้และชายฝั่งทะเลตะวันออกของภาคใต้อีกประมาณ 3.8 ล้านไร่ ดินกรดจัดบริเวณที่ราบลุ่มภาคกลางตอนใต้เป็นพื้นที่กว้างใหญ่ โดยมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ของจังหวัดปทุมธานี นครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และบางส่วนของจังหวัดสระบุรี อยุธยา นครปฐม และสุพรรณบุรี พื้นที่ดินบริเวณจังหวัดดังกล่าวเป็นที่ราบลุ่มน้ำขังตลอดช่วงฤดูฝน เป็นดินเหนียวจัด จึงใช้เป็นแหล่งปลูกข้าว จากการสำรวจดินในพื้นที่ดังกล่าวพบว่า มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งหมดเป็นดินกรดปานกลางถึงดินกรดรุนแรง ซึ่งเป็นสาเหตุให้ดินบริเวณนั้นมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ถึงแม้ว่าสภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปจะเหมาะสมต่อการทำนาแต่ผลผลิตที่ได้รับยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำถึงต่ำมาก (10–25 ถัง/ไร่) เมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่ที่ไม่ใช่ดินกรดจัด ซึ่งให้ผลผลิตเฉลี่ยมากกว่า 30 ถัง/ไร่ ตัวอย่างชุดดินที่เป็นกรดจัดได้แก่ ชุดดินบางกอก (Bk) ชุดดินเสนา (Se) ชุดดินรังสิต (Rs) และชุดดินรังสิตกรดจัด (RVAP) ซึ่งมีพีเอช ต่ำกว่า 5 และเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ แสดงไว้ในตารางที่ 8.1






สรุป

ดินกรดจัดหมายถึง ดินที่เคยมี กำลังมี หรืออาจมีกรดซัลฟิวริก (H2SO4) อยู่ในชั้นหน้าตัดของดิน (soil profile) ซึ่งมีความเป็นกรดเป็นด่าง ต่ำกว่า 4 และมักพบจุดประสีเหลืองฟางข้าว ที่เรียกว่า จาโรไซต์ อยู่บริเวณดินชั้นล่างและมีปริมาณซัลเฟตสูง จึงเป็นอุปสรรคต่อการทำเกษตรกรรม การเกิดดินกรดจัดในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 2 กระบวนการคือ กระบวนการเกิดวัตถุต้นกำเนิดดินกรดจัด และ กระบวนการเกิดดินกรดจัด ดินกรดจัดมีผลกระทบต่อการทำเกษตรกรรมอย่างมากในด้าน ความเป็นพิษของธาตุบางธาตุ และ ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารในดินกรด ดินกรดจัดที่มีพีเอชต่ำกว่า 4 ถ้าต้องการปลูกพืชจะต้องมีการปรับปรุงดินให้ดินมีความเป็นกรดลดลง เพื่อให้พืชสามารถให้ผลผลิตคุ้มค่าต่อการลงทุน ซึ่งมีวิธีการดังต่อไปนี้

1. การรักษาระดับน้ำใต้ดิน
2. การใช้น้ำชะล้างความเป็นกรด
3. การใส่ปูน
4. การปรับสภาพพื้นที่
5. การเลือกชนิดของพืชที่ปลูก



http://www.nsru.ac.th/e-learning/soil/lesson_8_2.php


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/10/2011 7:43 am, แก้ไขทั้งหมด 15 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/09/2011 9:59 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

382. ผลกระทบของดินกรดจัดต่อการทำเกษตรกรรม


ดินกรดจัดมีผลกระทบต่อการทำเกษตรกรรมอย่างมาก เนื่องจากดินมีปฏิกิริยาเป็นกรดรุนแรง ทำให้สภาพทางกายภาพ เคมี และชีววิทยาเปลี่ยนแปลงไป ทำให้ไม่เหมาะสมต่อการปลูกพืช เนื่องจากปลูกพืชได้น้อยชนิดและผลผลิตที่ได้ต่ำไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน ปัญหาของดินกรดจัดต่อการทำเกษตรกรรมพอสรุปได้ดังต่อไปนี้


1. ความเป็นพิษของธาตุบางชนิด
ในดินที่มีสภาพเป็นกรดจัด ธาตุอลูมินัม เหล็ก และ แมงกานีส จะละลายน้ำออกมาได้มาก ไม่พบปัญหาการขาดธาตุ อลูมินัม เหล็ก แมงกานีส แต่มักพบอาการเป็นพิษธาตุอลูมินัม เหล็ก และ แมงกานีสแทน ตัวอย่างเช่น อาการของพืชที่รับธาตุอลูมินัมมากเกินไป จะไปยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ ยับยั้งการเกิดเอมไซม์ที่เกี่ยวข้องกับผนังเซลล์ ทำให้รากไม่เจริญเติบโต ในส่วนของธาตุแมงกานีส จะทำให้ รากจะมีสีน้ำตาล ใบแก่เป็นรอยด่าง ขอบใบมีสีขาวซีด (chlorosis) พืชบางชนิดอาจจะมีสีขาวระหว่างเส้นแขนงใบ ในดินกรดจัดสภาพน้ำขังปริมาณความเข้มข้นของไฮโดรเจนซัลไฟด์มีมาก เนื่องจากมีปริมาณอินทรียวัตถุสูงและกิจกรรมของจุลินทรีย์ในดินบางชนิดเพิ่มขึ้น ทำให้รากพืชเน่า หรืออ่อนแอเกิดโรคได้

2. ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารในดินลดน้อยลง
ในสภาพดินกรดจัดจะทำให้ธาตุอาหารพืชที่สำคัญเปลี่ยนแปลงไป จากรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืชได้ง่ายไปอยู่ในรูปที่ไม่เป็นประโยชน์หรือมีความเป็นประโยชน์น้อยลง ตัวอย่างเช่นธาตุไนโตรเจน ความเป็นกรดของดินไม่มีผลโดยตรงต่อความเป็นประโยชน์ของธาตุไนโตรเจนต่อพืช แต่มีผลทางอ้อม คือ ในดินกรดจัดแบคทีเรียจะทำงานได้ช้าลง ส่วนเชื้อราจะทำงานได้ดีกว่าแบคทีเรีย โดยเฉพาะแบคทีเรียพวกที่เกี่ยวข้องกับขบวนการตรึงไนโตรเจนจากอากาศโดยตรง ทำให้ดินขาดธาตุไนโตรเจนได้ จึงควรปรับสภาพปฏิกิริยาดินให้เป็นกลางหรือกรดอ่อน ๆ โดยการใส่ปูนเพื่อยกระดับพีเอชให้สูงเป็น 6.5–7.0 เสียก่อนจึงจะปลูกพืชได้ผล ในส่วนของธาตุฟอสฟอรัส ดินกรดจัดพีเอชต่ำกว่า 5 จะทำให้เหล็กและอะลูมินัมละลายออกมามากขึ้น จะเป็นทำปฎิกิริยากับฟอสฟอรัสที่อยู่ในดินเกิดเป็นสารประกอบเชิงซ้อนของเหล็กและอะลูมินัม (Fe-P และ Al-P) ที่ละลายน้ำได้ยาก พืชไม่สามารถนำเอาไปใช้ประโยชน์ได้ เรียกขบวนการนี้ว่า การตรึงฟอสฟอรัส (phosphorus fixation) ดังนั้น การใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสในดินกรดจัด จึงต้องปรับสภาพกรดในดินเสียก่อน และในส่วนของธาตุโปตัสเซียม คัลเซียม และแมกนีเซียม ในสภาพดินเป็นกรดจัดจะมีปริมาณโปตัสเซียมด้วยคัลเซียมและแมกนีเซียมค่อนข้างต่ำ


หลักการปรับปรุงดินกรดจัดเพื่อใช้ในการปลูกพืช
ดินกรดจัดที่มีพีเอชต่ำกว่า 4 ถ้าต้องการปลูกพืชจะต้องมีการปรับปรุงดินให้ดินมีความเป็นกรดลดลง เพื่อให้พืชสามารถให้ผลผลิตคุ้มค่าต่อการลงทุน ซึ่งมีวิธีการดังต่อไปนี้

1. การรักษาระดับน้ำใต้ดิน ให้อยู่เหนือชั้นดินที่มีสารประกอบไพไรต์ หรือพยายามไม่ให้สารประกอบไพไรต์ทำปฎิกิริยากับออกซิเจน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดกรดซัลฟิวริกเพิ่มขึ้น

2. การใช้น้ำชะล้างความเป็นกรด เป็นวิธีที่ง่ายแต่ต้องทำต่อเนื่อง ไม่ให้ดินแห้ง การใช้น้ำชะล้างดินจะทำให้ค่าพีเอชเพิ่มขึ้น ความเป็นกรดจะลดน้อยลงและลดความเป็นพิษของเหล็กและ อลูมินัมลง

3. การใส่ปูน เป็นวิธีการที่ง่าย แต่ค่อนข้างยุ่งยากในเวลาปฎิบัติ เนื่องจากต้องใช้ปูนเป็นจำนวนมาก และต้องใช้ควบคู่ไปกับการใช้น้ำชะล้างและควบคุมน้ำใต้ดินแต่วิธีนี้ใช้ได้ผล มากที่สุด

4. การปรับสภาพพื้นที่ พื้นที่ที่พบดินกรดจัดส่วนใหญ่อยู่ในที่ราบลุ่มระบายน้ำ ค่อนข้างยากต้องมีการปรับสภาพพื้นที่ที่นิยมมี 2 วิธี คือ ปรับระดับผิวหน้าดิน นิยมใช้กับการปลูกข้าว โดยปรับระดับผิวหน้าดินให้ลาดเอียง เพื่อสามารถระบายน้ำออกไปยังคลองชลประทานได้สะดวก และการยกร่องปลูกพืช นิยมใช้กับการปลูกพืชไร่ พืชผัก ไม้ผล และไม้ยืนต้น ต้องมีการชลประทานที่ดี เพื่อระบายน้ำออกเมื่อน้ำในร่องเป็นกรดจัด

5. การเลือกชนิดของพืชที่ปลูก กรมพัฒนาที่ดินได้ทำการศึกษาพืชที่เหมาะสมในดินกรดจัดได้ดังต่อไปนี้ คือ ข้าว พันธุ์ข้าวที่ทนทานต่อสภาพดินกรดจัดได้ดี ได้แก่พันธุ์ ลูกแดง ไข่มด รวงยาว เป็นต้น ซึ่งให้ผลผลิต 20–40 ถังต่อไร่ ในส่วนของพืชล้มลุก ไม่มีพืชชนิดใดสามารถขึ้นหรือให้ผลผลิตจนครบวงจร แต่ถ้าดินกรดจัดได้รับการแก้ไขก็สามารถปลูกพืชล้มลุกได้หลายชนิดเช่น พืชผัก ได้แก่ ถั่วฝักยาว แตงกวา ผักกาดขาว ผักกวางตุ้ง และพริกชี้ฟ้าเป็นต้น ในส่วนของพืชไร่ ได้แก่ ถั่วเขียว ถั่วลิสง กล้วย ถั่วเหลือง และยาสูบ เป็นต้น ในส่วนของไม้ยืนต้น ไม้ยืนต้นที่ขึ้นได้ดีในดินกรดจัดได้แก่ ไม้เสม็ด ต้นสาคู กระถินเทพา และยูคาลิบตัส เป็นต้น



ความหมายของดินด่าง
ดินด่างเกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดินที่เป็นด่าง เช่น หินปูน ดินประเภทนี้จะมีเบสิกแคตไอออนที่แลกเปลี่ยนได้สูง นอกจากนั้นยังจะมีอนุภาคของคัลเซียมคาร์บอเนต หรือแมกนีเซียมคาร์บอเนตปะปนอยู่ในดินด้วย หากดินมีอนุภาคปูนเทียบเท่ากับคัลเซียมคาร์บอเนต 10–200 กรัมต่อดิน 1 กิโลกรัม เมื่อหยดกรดไฮโดรคลอริกเจือจาง 0.1 โมลาร์ ลงไปจะปรากฏฟองให้เห็น ดินนั้นเรียกว่าดินเนื้อปูนหรือดินแคลคาเรียส (calcareous soils) ดินด่างเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ ดังนี้

1. เกิดจากสภาพแห้งแล้ง ในบริเวณที่มีปริมาณฝนน้อย ไม่มากพอที่จะชะละลายเอาเกลือต่าง ๆ รวมทั้งคัลเซียมและแมกนีเซียมคาร์บอเนต ทำให้ดินบริเวณนั้นมีการสะสมหินปูน โดยเฉพาะอย่างยิ่งดินที่มีวัตถุต้นกำเนิดเป็นพวกคัลเซียมและแมกนีเซียมคาร์บอเนต

2. เกิดจากระดับน้ำใต้ดินสูง เมื่อน้ำใต้ดินมีคัลเซียมไบคาร์บอเนตละลายอยู่ก็จะถูกเคลื่อนย้ายขึ้นมาสะสมอยู่บนดิน โดยมากับน้ำที่ระเหยขึ้นมายังผิวดินและตกตะกอนเป็นคัลเซียมคาร์บอเนตในดินบนนั้น


การสะสมเกลือคัลเซียม แมกนีเซียม หรือโซเดียมไบคาร์บอเนตในดิน ทำให้ดินมีพีเอชสูงขึ้น การที่ดินด่างมีพีเอชสูงขึ้นก็เนื่องจากปฏิกิริยาไฮโดรไลซีสของแคตไอออนที่แลกเปลี่ยนได้หรือเกลือบางชนิดที่เป็นด่าง เช่นคัลเซียมคาร์บอเนต และแมกนีเซียมคาร์บอเนตในปูนหรือในโซเดียมคาร์บอเนต ปฏิกิริยาการเพิ่มพีเอชเนื่องจากแคตไอออนที่แลกเปลี่ยนได้เกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซีส ซึ่งแสดงด้วยสมการ


ในปฏิกิริยานี้ไฮโดรเจนไอออนจะถูกดูดซับอยู่ที่ผิวของคอลลอยด์ดิน ในสารละลายดินจึงมี โซเดียมไอออน และไฮดรอกไซด์ไอออนเพิ่มขึ้น พีเอชของดินจึงสูงขึ้น ดังนั้น ดินก็จะมีปฏิกิริยาดินเป็นด่าง โซเดียมไอออน และ โปตัสเซียมไอออน ซึ่งดูดซับอยู่ที่คอลลอยด์ดินด้วยแรงที่น้อยกว่า คัลเซียมไอออนและ แมกนีเซียมไอออน ก็จะถูกไฮโดรไลซ์ได้มากกว่า ก่อให้เกิดสภาพ พีเอช.ที่สูงกว่า สารประกอบพวก คัลเซียมคาร์บอเนต แมกนีเซียมคาร์บอเนต หรือ โซเดียมคาร์บอเนต เมื่อเกิดไฮโดรไลซีสจะเกิดปฏิกิริยาดังสมการ




สรุป

ไฮโดรเจนไอออนจากน้ำจะทำปฏิกิริยากับคาร์บอเนตเกิดไฮโดรเจนคาร์บอเนต(HCO3-) ส่วนไฮดรอกไซด์ไอออน จะไม่ทำปฏิกิริยากับคัลเซียมไอออนดังนั้น สารละลายก็จะเป็นด่าง ปฏิกิริยาไฮโดรไลซีสของคัลเซียมคาร์บอเนตหรือแมกนีเซียมคาร์บอเนต มักถูกกำจัด เนื่องจากสมบัติที่ละลายน้ำได้ยาก ดังนั้นจึงทำให้ดินมีพีเอชไม่สูงกว่า 8.0–8.2 ในกรณีของดินที่มีโซเดียมคาร์บอเนตมักมีพีเอชสูงกว่านี้คืออยู่ในช่วง 10.0–10.5 ซึ่งสัมพันธ์กับสมบัติการละลายของ โซเดียมคาร์บอเนต ที่ละลายได้มากกว่าคัลเซียมคาร์บอเนตหรือ แมกนีเซียมคาร์บอเนต
ดินด่างเกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดินที่เป็นด่าง เช่น หินปูน คัลเซียมคาร์บอเนต และ แมกนีเซียมคาร์บอเนต ทำให้ดินมีค่าพีเอชสูงกว่า 7 ดินประเภทนี้จะมีเบสิกแคตไอออนที่แลกเปลี่ยนได้สูง การเกิดดินด่างเกิดจาก สภาพที่แห้งแล้ง ระดับน้ำใต้ดินสูง ดังนั้นการปลูกพืชในดินด่างจึงจำเป็นต้องเลือกพืชที่เหมาะสมและใส่ปุ๋ยบางชนิดที่ขาดแคลนดังนี้คือ เลือกปลูกพืชที่เหมาะสม การใส่ปุ๋ย และปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดินและใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมด้วย

ดินเค็มหมายถึงดินมีโซเดียมอยู่เป็นจำนวนมาก ดินเกลือแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆดังนี้ ดินเค็ม (saline soil) ดินโซดิก (sodic soil) และ ดินเค็มโซดิก (saline sodic soil) การเกิดดินเค็มมีหลายสาเหตุคือ เกิดจากการสลายตัวหรือผุพังของหินและแร่ที่มีสารประกอบที่มีเกลือเป็นองค์ประกอบ เกิดจากอิทธิพลของน้ำทะเล และเกิดจากใต้ดินมีชั้นของหินเกลือหรือเกลือที่อยู่ในระดับน้ำใต้ดิน เกิดจากการใช้น้ำชลประทาน เกิดจากลมทะเลอาจพัดพาเอาเกลือมาตกบนผืนแผ่นดินและสะสมกันนานเข้าจนมีจำนวนมากในพื้นที่นั้น และ จากการใส่ปุ๋ยเคมีมากเกินไป



http://www.nsru.ac.th/e-learning/soil/lesson_8_3.php


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 01/09/2011 10:17 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/09/2011 10:09 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

383. การปลูกพืชในดินด่าง


ในประเทศไทยมีดินด่างประมาณ 800,000 ไร่ ได้แก่ ชุดดินลพบุรี ชุดดินบ้านหมี่ ชุดดินโคกกระเทียม เป็นต้น โดยกระจายอยู่ในพื้นที่บริเวณจังหวัดลพบุรีและสระบุรี การปลูกพืชในดินประเภทนี้อาจมีปัญหาการขาดธาตุอาหารบางชนิด เช่น ฟอสฟอรัส เหล็ก และแมงกานีส นอกจากนี้ดินยังมีสมบัติทางกายภาพของดินไม่ค่อยเหมาะสม คือ ในสภาพแห้งดินจะแตกระแหงและระบายน้ำไม่ดี ดังนั้นการปลูกพืชในดินด่างจึงจำเป็นต้องเลือกพืชที่เหมาะสมและใส่ปุ๋ยบางชนิดที่ขาดแคลนดังนี้

1. เลือกปลูกพืชที่เหมาะสม พืชบางชนิดชอบสภาพดินเนื้อปูน เช่น ข้าวโพดและถั่วลิสง การปลูกพืชทั้งสองชนิดจึงกระจายอยู่ในบริเวณดินประเภทนี้ซึ่งเป็นแหล่งปลูกที่สำคัญแหล่งหนึ่งของประเทศไทย นอกจากนั้นยังปลูกผลไม้บางชนิดได้ผลดี เช่น ขนุน น้อยหน่า และมะพร้าว ในบริเวณที่ลุ่มใช้ทำนาปลูกข้าวได้เช่นกัน

2. การใส่ปุ๋ย หากพืชที่ปลูกในดินประเภทนี้แสดงอาการขาดธาตุเหล็กหรือสังกะสี อาจให้ปุ๋ยในรูปสารละลายเกลือของธาตุดังกล่าว หรือให้ปุ๋ยทางใบซึ่งธาตุอาหารจะอยู่ในรูปสารคีเลต จะช่วยแก้ปัญหาการขาดจุลธาตุได้ทันท่วงที

3. ปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดิน โดยการไถพรวนและใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมด้วยดินเค็ม

ปัจจุบันประเทศไทยมีการแพร่กระจายของดินเค็มเพิ่มขึ้นทุกๆปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณภูมิอากาศแบบแห้งแล้งและกึ่งแห้งแล้ง ตามชายฝั่งทะเลดินมักจะมีการสะสมเกลือมากกว่าดินที่อยู่ห่างทะเล ส่วนดินบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีดินเค็มสะสมอยู่บริเวณกว้าง เนื่องจากอดีตบริเวณนั้นสันนิฐานว่าเคยเป็นทะเลมาก่อนเมื่อเวลาผ่านไปหลายพันล้านปีเกิดการทับถมจนกลายเป็นพื้นดินขึ้นมาทำให้มีเกลือสะสมในดินเป็นจำนวนมาก จนเป็นอุปสรรคต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตร ดินเกลือ หมายถึงดินที่มีเกลือสะสมอยู่เป็นจำนวนมากสามารถละลายน้ำได้ดี จนทำให้พืชไม่สามารถเจริญเติบโตได้ดี ดินเกลือแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆดังนี้

1. ดินเค็ม (saline soil) หมายถึง ดินที่มีปริมาณเกลืออยู่สูง และละลายน้ำได้ง่าย หรือมีโซเดียมที่แลกเปลี่ยนได้มีปริมาณสูง จนเป็นอันตรายต่อการเจริญเติบโตของพืช ถ้าพิจารณาในด้านการนำไฟฟ้า (electrical conductivity หรือ EC) ของสารละลายดินเค็มที่อิ่มตัวด้วยน้ำ (soil saturation extract) มีค่ามากกว่า 4 m.mho/cm และมีค่า SAR (sodium adsorption ratio) ต่ำกว่า 15 และมีค่า พีเอช ของดินต่ำกว่า 8.5

2. ดินโซดิก (sodic soil) หมายถึง ดินที่มีปริมาณเกลืออยู่สูง และละลายน้ำได้ง่าย หรือมีโซเดียมที่แลกเปลี่ยนได้มีปริมาณสูงมากจนเป็นอันตรายต่อการเจริญเติบโตของพืช ถ้าพิจารณาในด้านการนำไฟฟ้า (electrical conductivity :EC) ของสารละลายดินเค็มที่อิ่มตัวด้วยน้ำ (soil saturation extract) มีค่าต่ำกว่า 4 m.mho/cm และมีค่าอัตราส่วนการดูดซับโซเดียม ( sodium adsorption ratio : SAR) สูงกว่า 15 และมีค่า พีเอชของดินสูงกว่า 8.5

3. ดินเค็มโซดิก (saline sodic soil) หมายถึง ดินที่มีปริมาณเกลืออยู่สูงมาก และละลายน้ำได้ง่าย หรือมีโซเดียมที่แลกเปลี่ยนได้มีปริมาณสูงมากจนเป็นอันตรายต่อการเจริญเติบโตของพืช ถ้าพิจารณาในด้านการนำไฟฟ้า (electrical conductivity หรือ EC) ของสารละลายดินเค็มที่อิ่มตัวด้วยน้ำ (soil saturation extract) มีค่ามากกว่า 4 m.mho/cm และมีค่าอัตราส่วนการดูดซับโซเดียมสูงกว่า 15 และมีค่า พีเอช ของดินต่ำกว่า 8.5 พืชโดยทั่วไปเจริญเติบโตได้น้อยลงเมื่อความเค็มของดินเพิ่มขึ้น และพืชทนเค็มเท่านั้นที่เจริญในดินเค็มได้ดี เนื่องจากดินมีการสะสมเกลือมากหรือน้อยแตกต่างกัน จึงมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชแตกต่างกันด้วย การจำแนกระดับความเค็มของดิน โดยพิจารณาจากผลกระทบต่อพืช แสดงไว้ในตารางที่ 8.2

ตารางที่ 8.2 ระดับความเค็มของดินและอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของพืช


สาเหตุการเกิดดินเค็ม
ดินเค็มเป็นดินที่ไม่เหมาะสมต่อการปลูกพืช ปัจจุบันดินเค็มได้กระจายเพิ่มขึ้นในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง สาเหตุการเกิดดินเค็มที่สำคัญมีดังต่อไปนี้

1. เกิดจากการสลายตัวหรือผุพังของหินและแร่ที่มีสารประกอบที่มีเกลือเป็นองค์
ประกอบ เนื่องจากขบวนการทางเคมีและกายภาพ เกลือเหล่าอาจจะละลายอยู่ในน้ำใต้ดิน เมื่อน้ำระเหยโดย แสงแดดหรือ ถูกพืชนำขึ้นมาใช้ เกลือก็สามารถกลับขึ้นมาสะสมอยู่บนผิวดินได้

2. เกิดจากอิทธิพลของน้ำทะเล เมื่อน้ำทะเลไหลหรือซึมขึ้นมาถึงพื้นที่บางแห่ง เมื่อน้ำระเหยออกไป จะเหลือเกลือทับถมอยู่ในดิน พบได้บริเวณแถบชายฝั่งทะเล

3. เกิดจากใต้ดินมีชั้นของหินเกลือหรือเกลือที่อยู่ในระดับน้ำใต้ดินที่อยู่ตื้นๆ เมื่อน้ำซึมขึ้นมาบนดินก็จะนำเกลือขึ้นมาด้วย หลังจากที่น้ำระเหยแห้งไปแล้ว จะทำให้เกลือเหลือสะสมอยู่บนดินได้

4. เกิดจากการใช้น้ำชลประทาน น้ำชลประทานจากแหล่งต่าง ๆ มักมีเกลือละลายอยู่จำนวนหนึ่งไม่มากก็น้อย เนื่องจากกิจกรรมของมนุษย์บางอย่าง เช่น การระบายน้ำเสียจากชุมชนหรือโรงงานอุตสาหกรรมลงสู่แม่น้ำลำคลอง เป็นต้น

5. ลมทะเลอาจพัดพาเอาเกลือมาตกบนผืนแผ่นดิน และสะสมกันนานเข้าจนมีจำนวนมากในพื้นที่นั้น

6. เกิดจากการใส่ปุ๋ยเคมีมากเกินไป เช่น ปุ๋ยไนโตรเจนชนิดต่าง ๆ

7. พื้นที่บางแห่งเป็นที่ต่ำ ทำให้น้ำไหลมารวมกัน ซึ่งน้ำอาจมีเกลือละลายอยู่ด้วย พอน้ำระเหยไปก็จะมีเกลือสะสมอยู่



การกระจายของดินเค็มในประเทศไทย
ดินเค็มในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ดินเค็มบก และดินเค็มชายทะเล ตัวอย่างดินเค็มบก ได้แก่ ดินเค็มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและดินเค็มภาคกลาง ดินเค็มชายทะเลได้รับอิทธิพลจากการขึ้นลงของน้ำทะเลโดยตรง ดินเค็มแต่ละประเภทมีสาเหตุการเกิด ชนิดของเกลือ การแพร่กระจายขยายอาณาเขต และวิธีการจัดการที่แตกต่างกัน

1. ดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกิดเนื่องจากเกลือรูปโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) โดยมีแหล่งจากหินเกลือใต้ดินและหรือน้ำใต้ดินเค็มและการสลายตัวของหินทราย หินดินดาน ดินเค็มในภูมิภาคนี้มีประมาณ 17.8 ล้านไร่ กระจายอยู่ในพื้นที่จังหวัด นครราชสีมา ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีษะเกษ ยโสธร อุบลราชธานี สกลนคร หนองคาย อุดรธานีและนครพนม (ตารางที่ 8.3) ลักษณะของดินเค็มที่สังเกตได้คือ จะเห็นคราบเกลือเกิดขึ้นตามผิวดิน และมักเป็นที่ว่างเปล่าไม่มีการทำเกษตรกรรม ส่วนบริเวณที่ไม่ปรากฏคราบเกลือจะเห็นวัชพืชทนเค็ม เช่น หนามปี และวัชพืชที่ชอบเกลือ เช่น หนามแดง ขึ้นปัญหาโดยทั่วไปของเกษตรกรในเขตดินเค็ม คือ ปลูกพืชไม่ค่อยได้ ผลผลิตต่ำ พืชบางชนิดที่ขึ้นได้ก็จะมีลักษณะบางอย่างเปลี่ยนแปลงไป เช่น ใบหนาขึ้น มีสารพวกไขเคลือบหนาขึ้น พืชส่วนมากที่ต้นแคระแกร็น ไม่แตกกอ ใบแสดงอาการซีดขาวแล้วไหม้ตายในที่สุด สาเหตุของการเกิดการแพร่กระจายดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือมาจากธรรมชาติเช่น หินหรือแร่สลายตัวหรือผุพังและเปลี่ยนคุณสมบัติอยู่กับการสลายตัวไปกับน้ำแล้วซึมลงสู่ชั้นล่างแล้วกลับขึ้นมาสะสมอยู่บนดินชั้นบนอีกโดยน้ำที่ซึมขึ้นมาได้ระเหยแห้งไปโดยแสงแดดหรือถูกพืชนำไปใช้ ในส่วนของ น้ำใต้ดินเค็มอยู่ระดับตื้นใกล้ผิวดิน เมื่อน้ำซึมขึ้นบนดินจะนำเกลือขึ้นมาด้วย หลังจากที่น้ำระเหยแห้งไปแล้วจะทำให้มีเกลือเหลือสะสมอยู่บนดินได้ บางแห่งเป็นที่ต่ำเป็นเหตุให้น้ำไหลมารวมกัน น้ำแหล่งนี้ส่วนมากจะมีเกลือละลายอยู่ด้วย เมื่อน้ำระเหยไปจะมีเกลือสะสมอยู่พื้นที่แห่งนี้อาจเป็นหนองน้ำหรือทะเลทรายมาก่อนก็ได้

ตารางที่ 8.3 พื้นที่และการกระจายของดินเค็มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


สาเหตุจากการกระทำของมนุษย์ เช่น การทำนาเกลือ โดยการสูบน้ำเค็มขึ้นมาตากหรือวิธีขูดคราบเกลือจากผิวดินมาต้ม เกลือที่อยู่ในน้ำทิ้งจะมีปริมาณมากพอที่จะทำให้พื้นที่บริเวณใกล้เคียงกลายเป็นพื้นที่ดินเค็มหรือแหล่งน้ำเค็มได้ การสร้างอ่างเก็บน้ำบนดินเค็ม หรือมีน้ำใต้ดินเค็ม จะทำให้อ่างเก็บน้ำนั้นและพื้นที่บริเวณรอบ ๆ อ่างกลายเป็นน้ำเค็มและดินเค็ม การตัดไม้ทำลายป่าหรือการปล่อยให้พื้นที่บริเวณที่มีศักยภาพในการแพร่กระจายเกลือให้ว่างเปล่าทำให้เกิดดินเค็มแพร่ไปยังบริเวณเชิงเนิน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนาข้าว

2. ดินเค็มภาคกลาง
เกิดจากสาเหตุธรรมชาติ เช่น ได้รับอิทธิพลจากน้ำขึ้นน้ำลงของน้ำในแม่น้ำ ซึ่งน้ำทะเลหนุนทำให้เกิดน้ำกร่อย การทับถมของตะกอนน้ำกร่อยและตะกอนน้ำเค็มเป็นเวลานาน หรือเกิดจากน้ำใต้ดินที่ไหลผ่านแหล่งเกลือแล้วไปโผล่ในที่ดินไม่เค็มที่อยู่ต่ำกว่าทำให้ดินบริเวณที่ต่ำกว่ากลายเป็นดินเค็ม ส่วนสาเหตุที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ เช่น การสูบน้ำเค็มมาใช้ การขุดดินเพื่อยกร่องทำสวน การสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำเหนือพื้นที่แหล่งเกลือ และการใช้ปุ๋ยเคมีมากเกินไปล้วนเป็นสาเหตุให้ดินเค็มแพร่กระจายอยู่ในบริเวณจังหวัดสุพรรณบุรี นครปฐม อ่างทอง สิงห์บุรี กาญจนบุรี ราชบุรี อยุธยา ลพบุรี อุทัยธานี ชัยนาท สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี บางจังหวัดอาจมีปัญหาดินเค็มชายทะเลร่วมด้วย

3. ดินเค็มชายทะเล
ดินเค็มชายทะเลกระจายอยู่ตามลุ่มน้ำและสันดอนปากแม่น้ำตลอดชายฝั่งทะเลของประเทศไทย ซึ่งมีพื้นที่รวบรวมโดยกองสำรวจดิน กรมพัฒนาที่ดิน ประมาณ 2 ล้านไร่ สาเหตุของการเกิดดินเค็มประเภทนี้เนื่องจากการได้รับอิทธิพลจากการขึ้นลงของน้ำทะเลโดยตรง ดินที่น้ำทะเลท่วมถึงและเป็นตะกอนของน้ำทะเลหรือน้ำกร่อยล้วนมีโอกาสเป็นดินเค็มทั้งสิ้น


http://www.nsru.ac.th/e-learning/soil/lesson_8_4.php
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/09/2011 10:21 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

384. ปัญหาของดินเค็มต่อการทำเกษตรกรรม


โดยทั่วไปการใช้พื้นที่ดินเค็มเพาะปลูกจะมีปัญหา ผลผลิตลดลงและมีคุณภาพต่ำ เพราะดินเค็มมีปริมาณเกลือที่ละลายน้ำได้มากเกินไปจนเป็นอันตรายต่อพืช ความเค็มของดินมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพืช พืชจะเกิดอาการขาดน้ำและได้รับพิษจากธาตุที่เป็นส่วนประกอบของเกลือที่ละลายออกมามาก เช่น โซเดียมและคลอไรด์ นอกจากนี้ความเค็มยังมีผลทำให้เกิดความไม่สมดุลของธาตุอาหารบางชนิด เช่น โบรอน สังกะสี เป็นต้น

ดินเค็มมีองค์ประกอบของเกลือที่เกิดจากการรวมตัวของไอออนของโซเดียม คัลเซียม แมกนีเซียม และคลอไรด์ ซัลเฟต ไบคาร์บอเนตและไนเตรต ความเค็มมีผลในการลดการเจริญเติบโตของพืชเนื่องจากพืชลดการดูดน้ำและธาตุอาหารและลดขบวนการเมแทบอลิซึมโดยตรง ส่วนผลโดยอ้อมจะทำให้โครงสร้างของดินไม่ดี น้ำซึมช้า การถ่ายเทอากาศลดลง การใช้พื้นที่ดินเค็มปลูกข้าวพบว่าเกลือต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบของดินเค็มเป็นพิษต่อการเจริญเติบโตของข้าว โดยมีผลทำให้ผลผลิตลดลง พืชที่มีระบบรากตื้น เช่น ข้าว หญ้า จะได้รับผลกระทบมากกว่าพืชที่มีระบบรากที่ลึกกว่า อาการของพืชที่ได้รับผลกระทบจากความเค็มของดิน ใบจะมีลักษณะสีน้ำเงินอมเขียว เนื่องจากมีวัตถุคล้ายขี้ผึ้งมาเคลือบให้หนาขึ้นและมองเห็นได้ง่ายกับพืชพวกผักกาด ถั่วและหญ้า พวกธัญพืชจะมีสีออกสีแดงที่ใบ ไม้ยืนต้นจะพบขอบใบไหม้ การไหม้เกิดจากมีโซเดียมและคลอไรด์มาสะสมอยู่ที่ใบ


การปรับปรุงดินเค็มและดินโซดิกเพื่อการเกษตร
ดินเค็มและดินเค็มโซดิกเป็นดินที่มีปริมาณโซเดียมละลายออกมาเป็นจำนวนมาก ทำให้เป็นอันตรายต่อการเจริญเติบโตของพืช ถ้าตัองการใช้พื้นที่ดินเค็มและดินเค็มโซดิกทำการปลูกพืชจะต้องมีวิธีการปรับปรุงดินเค็มและดินโซดิก ได้หลายวิธีดังต่อไปนี้

1. การใช้อินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด แกลบ ใบไม้แห้ง ฟางข้าว ขี้เลื่อย ร่วมกับการไถพรวน

2 วางแผนปรับพื้นที่และคูระบายน้ำโดยปรับพื้นที่แล้วแบ่งเป็นแปลงย่อยทำคันดินรอบแปลงย่อยและทำคูระบายน้ำออกไปให้พ้นแปลงเพื่อลดระดับน้ำใต้ดิน

3. จัดหาแหล่งน้ำที่มีคุณภาพ เช่น น้ำฝน น้ำชลประทาน ให้เพียงพอตลอดฤดูปลูก

4. ปลูกพืชบำรุงดิน เช่น โสนคางคก โสนอินเดีย หรือโสนนา เป็นปุ๋ยพืชสดก่อนการปลูกข้าว เพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุลงในดิน

5. การใช้วัสดุคลุมดิน ภายหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วไม่ควรปล่อยให้หน้าดินว่างเปล่าเพราะจะเป็นการเร่งการระเหยของน้ำในดินซึ่งเท่ากับเป็นการเร่งการสะสมเกลือที่ผิวดิน การคลุมดินอาจใช้เศษพืช เช่น ฟางข้าว ซึ่งเป็นวัสดุต้นทุนต่ำ จะช่วยป้องกันไม่ให้แดดส่องกระทบผิวดินโดยตรง จึงลดการระเหยของน้ำจากดินได้

6. การวางแผนระบบปลูกพืช ภายหลังเก็บเกี่ยวพืชแล้วถ้าดินยังมีความชื้นอยู่เพียงพอควรปลูกพืชที่สองตาม ซึ่งพืชที่ปลูกควรเป็นพืชทนเค็มและทนแล้ง เช่น มะเขือเทศ มันเทศ กระเจี๊ยบแดง คำฝอย และอื่น ๆ ตามความเหมาะสม

7. ใช้สารเคมีบางชนิดช่วยในการปรับปรุงดินเค็มเช่นยิบซั่มโดยคัลเซียมไอออน
(Ca2 +) จะเข้าไปแทนที่ โซเดียมไอออน (Na+) ดังสมการ




http://www.nsru.ac.th/e-learning/soil/lesson_8_5.php
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/09/2011 12:45 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

385. พันธุ์ข้าวต่าง ๆ พันธุ์ข้าวไร่ และข้าวญี่ปุ่น

















หลักการใส่ปุ๋ยเคมีให้มีประสิทธิภาพ
1. ชนิดของปุ๋ยที่จะใช้ ควรตัดสินใจก่อนว่าปุ๋ยที่ต้องการใช้เป็นปุ๋ยอะไรเป็นปุ๋ยเชิงเดี่ยว หรือปุ๋ยเชิงประกอบ แล้วจัดเตรียมปุ๋ยไว้ให้พร้อม

2. ชนิดของพันธุ์ข้าวที่จะปลูก ควรตัดสินใจว่าจะใช้พันธุ์ข้าวอะไรปลูก เช่นข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง ซึ่งตอบสนองต่อปุ๋ยสูง ให้ผลผลิตสูงและปลูกได้ตลอดปี หรือข้าวไวต่อช่วงแสง ซึ่งตอบสนองต่อปุ๋ยต่ำ ให้ผลผลิตปานกลาง และปลูกได้เพียงปีละครั้งในฤดูฝน

3. ดินที่ปลูกข้าว เก็บตัวอย่างดินหลังการเก็บเกี่ยวมาวิเคราะห์ โดยส่งให้หน่วยราชการ กรมวิชาการเกษตร ในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ได้แก่ สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขต 1-8 และศูนย์วิจัยทุกแห่งที่อยู่ทั่วประเทศ

4. ระยะเวลาที่ใส่ปุ๋ย ต้องรู้ระยะเวลาที่ควรใส่ปุ๋ยข้าว ในข้าวไวต่อช่วงแสง ควรใส่ 2 ครั้ง คือระยะแรกในช่วงปักดำ/ ในนาหว่าน 15-20 วันหลังข้าวงอก และระยะที่ข้าวกำเนิดช่อดอก ส่วนในข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง ควรใส่ 3 ระยะคือระยะแรก ในช่วงปักดำ/ ในนาหว่าน 15-20 วันหลังข้าวงอก ระยะที่ข้าวแตกกอสูงสุด และยะที่ข้าวกำเนิดช่อดอก

5. วิธีการใส่ปุ๋ย ใช้วิธีที่เหมาะสมเพื่อให้การใช้ปุ๋ยมีประสิทธิภาพ เช่นหว่านปุ๋ยแล้วคราดกลบก่อนปักดำ หรือหว่านข้าวเริ่มเจริญเติมโต ระยะข้าวเจริญเติมโตเต็มที่ และระยะสร้างรวงอ่อน

6. วิธีปลูก มีหลายวิธี เช่นหว่านข้าวแห้ง หว่านน้ำตม ปักดำ วิธีเหล่านี้จะเป็นเครื่องกำหนดชนิดของปุ๋ย เวลาในการใส่ รวมทั้งอัตราที่ใส่ให้เหมาะสม

7. อัตราปุ๋ยที่ใช้ โดยพิจารณาจากค่าวิเคราะห์ดินเพื่อให้การใช้ปุ๋ยมีประสิทธิภาพสูงสุด



การประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดินนา จากค่าวิเคราะห์ดิน
คำแนะนำปุ๋ยที่เผยแพร่อยู่ทั่วไปจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นถ้าผู้ใช้สามารถเรียนรู้และทำความเข้าใจ ตลอดจนนำคำแนะนำนั้นไปใช้อย่างถูกต้องการประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดินนา มีตั้งแต่การสังเกตจากผลผลิตข้าวในปีที่ผ่านมา หรือการพิจารณาการเจริญเติบโตของต้นข้าวในแปลงปลูก รวมทั้งการทำความรู้จักลักษณะของดินนาในแปลงปลูกข้าวตนเอง ซึ่งเบื้องต้นจะจำแนกได้ง่าย ๆ เป็นดิน 3 ลักษณะ คือ

- ดินเหนียวประเมินได้ว่ามีความอุดมสมบูรณ์สูงกว่าดินลักษณะอื่น ๆ
- ดินร่วน ประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำกว่าดินเหนียว แต่คงสูงกว่าดินทราย
- ดินทราย หรือ ดินร่วนปนทราย ประเมินเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่ต่ำสุด

จากการประเมินโดยวิธีข้างต้น การวัดความอุดมสมบูรณ์ของดินสามารถวัดได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งในปัจจุบัน การประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดินสามารถทำได้ละเอียดมากขึ้น คือการวัดจากค่าวิเคราะห์ดิน ซึ่งวิธีการวิเคราะห์ดินในปัจจุบันมีขั้นตอนที่ง่ายขึ้น มีเครื่องมือที่สามารถทำได้รวดเร็ว ค่าวิเคราะห์ดินที่ได้ ได้แก่ อินทรียวัตถุ ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และเนื้อดิน ทั้งนี้ค่าวิเคราะห์ที่อ่านได้จะต้องนำมาประเมินให้ได้ระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินและนำไปใช้ในการเลือกสูตร และอัตราปุ๋ย ซึ่งวิธีการอ่านค่าวิเคราะห์ดินสามารถทำได้ ดังนี้











การวิเคราะห์ดิน
- อินทรียวัตถุ วิเคราะห์โดยวิธี Walkey-Black(Allison,1965)
- ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดิน ใช้วิธี Bray // วัดโดยใช้ Spectrophotometer
- ปริมาณโพแทสเซียม โดยใช้ 1N NH4OAC เป็นน้ำยาสกัด วัดด้วย Flame photometer
- เนื้อดิน โดยวิธี Hydrometer (Bouyoucos, 1972)



http://www.brrd.in.th/rkb/data_004/rice_xx2-04_manage_006.html#a2
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/09/2011 12:54 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

386. การใช้ปุ๋ยราคาต่ำ ทดแทนปุ๋ยราคาแพง หรือผสมปุ๋ยใช้เอง

ชาวไร่อ้อยไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยเคมีราคาแพง ๆ เสมอไป อาจใช้ปุ๋ยอื่น ๆ ที่มีปริมาณธาตุอาหารใกล้เคียงกันแต่ราคาถูกกว่ามาใช้แทนกันได้ เช่น การใช้ปุ๋ยน้ำจากโรงงานผงชูรส ซึ่งมีไนโตรเจนประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ ถ้าใช้ในอัตราแนะนำ 600 ลิตรต่อไร่ ก็จะได้ไนโตรเจนถึง 18 กิโลกรัม เท่ากับไนโตรเจนจากปุ๋ย 15-15-15 ถึง 120 กิโลกรัม แต่ราคาจะถูกกว่ามาก การผสมปุ๋ยใช้เอง สามารถประหยัดได้ถึงตันละ 1,000-2,000 บาท และยังมีข้อดีอื่น ๆ อีก เช่น

- ตัดปัญหาเรื่องปุ๋ยปลอม หรือปุ๋ยไม่ได้มาตรฐาน
- มีปุ๋ยใช้ทันเวลา
- มีอำนาจในการต่อรองราคา
- เกิดความรู้ความชำนาญ สามารถปรับสูตรได้
- ได้ใช้ปุ๋ยในราคายุติธรรม
- กรณีเกิดการสูญเสีย จะสูญเสียน้อยกว่า เพราะลงทุนถูกกว่า
- มีทางเลือกเพิ่มขึ้น



การปรับปรุงดินให้มีลักษณะเหมาะสม
การปรับปรุงดินให้เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของอ้อย ะเป็นแนวทางหนึ่งในการลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มผลผลิต ดินที่เหมาะสมจะทำให้การใช้ปุ๋ยเคมีมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ลดการใช้ปุ๋ยลงไปได้มาก ขณะที่ปัจจุบันดินที่ใช้ในการทำไร่อ้อยเสื่อมสภาพลงมาก เนื่องมาจากการไถพรวนบ่อยครั้งโดยไม่ถูกวิธีและไม่ถูกจังหวะ การเผาอ้อย การใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ น้ำหนักมากเหยียบย่ำในแปลง ซึ่งมีวิธีการปฏิบัติที่จะปรับปรุงดินได้ดังนี้


การแก้ไขเฉพาะหน้าในกรณีเกิดปัญหาดินดาน
1. ถ้าเกิดดินดานให้ใช้ไถสิ่ว หรือไถเปิดดินดานติดรถแทรกเตอร์ตีนตะขาบที่มีกำลังสูงลากไถสิ่วคู่ระยะ 1 เมตร ไถลึกประมาณ 75 ซม. การไถควรทำขณะที่ดินแห้งจัด
2. อย่าเตรียมดินโดยการไถพรวนจนละเอียดเป็นฝุ่น
3. เตรียมดินโดยใช้ไถจานกับไถหัวหมูสลับกันบ้าง
4. อย่าเผาใบอ้อย เพราะเป็นการทำให้อินทรียวัตถุหมดไปอย่างรวดเร็ว
5. ควรเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน โดยการใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด หรือเศษของเหลือจากโรงงานน้ำตาล เช่น ชานอ้อย หรือกากตะกอนหม้อกรอง
การปรับปรุงดินโดยการปลูกพืชตระกูลถั่วแล้วไถกลบ


การปลูกพืชตระกูลถั่วแล้วไถกลบก่อนปลูกอ้อย นิยมปฏิบัติกันมานานแล้วในประเทศ ออสเตรเลีย ไต้หวัน และแอฟริกา ซึ่งมีวิธีการปฏิบัติดังนี้
1. เมื่อผลผลิตอ้อยตอ 3 ถึง ตอ 4 ลดลง ทำการไถรื้อตอ
2. หว่านเมล็ดโสนอัฟริกัน โสนอินเดีย ปอเทือง ถั่วพร้า ถั่วพุ่ม หรือถั่วแปยี
3. หลังจากนั้นประมาณ 2 เดือน หรือเมื่อถั่วออกดอก ใช้จอบหมุนตีกลบ ทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือน
4. ทำการเตรียมดินปลูกอ้อยตามปกติ


การปลูกถั่วเหลืองสลับกับการปลูกอ้อย
การปลูกพืชตระกูลถั่วก่อนปลูกอ้อยทำให้คุณสมบัติทางเคมีและกายภาพของดินดีขึ้น ช่วยลดความหนาแน่นของดิน เพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุและไนโตรเจน ทำให้ช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้ รวมทั้งยังช่วยลดการระบาดของโรคและแมลง พืชที่เหมาะสมที่จะปลูกสลับกับอ้อย คือ ถั่วเหลือง เนื่องจากถั่วเหลืองสามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศ และปลดปล่อยให้แก่ดินถึง 49.6 กิโลกรัมต่อไร่ ทำให้ลดการใช้ปุ๋ยเคมีไนโตรเจนลงได้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ ผลผลิตของถั่วเหลืองแล้ว อ้อยที่ปลูกตามหลังถั่วเหลืองมีผลผลิตเพิ่มขึ้น


ในจังหวัดขอนแก่นได้รับการส่งเสริมให้มีการปฏิบัติกว้างขวาง เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ปลูกอ้อยข้ามแล้ง มีเวลาพักดิน และจากการสัมภาษณ์ชาวไร่อ้อย พบว่า อ้อยที่ปลูกตามหลังถั่วเหลืองจะให้ผลผลิตสูงถึง 15 ตันต่อไร่ ซึ่งนับว่าสูงสำหรับการปลูกอ้อยในดินทรายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชาวไร่อ้อยจะมีรายได้เพิ่มจากการปลูกถั่วเหลืองถึงไร่ละ 1,060 บาท ดังมีรายละเอียดดังนี้



ต้นทุนการผลิตและผลตอบแทนที่เกษตรกรผู้ปลูกถั่วเหลืองจะได้รับต่อไร่
ต้นทุนการผลิต

ค่าเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง ................... 330 บาท
ค่าปุ๋ยเคมี ................................. 240 บาท
ค่าสารเคมีกำจัดวัชพืช ................... 150 บาท
ค่าเตรียมดินและปลูก .................... 420 บาท
ค่าดูแลรักษา ............................. 100 บาท
ค่าเกี่ยว ................................... 400 บาท
ค่านวด ................................... 300 บาท
รวมต้นทุนเงินสด ........................ 1,940 บาท




ที่มา : ฐานความรู้ด้านพืชพลังงานทดแทน กรมวิชาการเกษตร
http://www.thaienv.com/content/view/703/40/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/09/2011 1:00 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

387. “ชาวนาต้นแบบ” ใช้ปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิต





“พิชิต เกียรติสมพร”...เกษตรกรผู้ปลูกข้าวตำบลสวนแตง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี ได้รับคัดเลือกจากสำนักงานเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี ให้เป็น ชาวนาต้นแบบการลดต้นทุนการผลิตข้าว (ครูติดแผ่นดิน) ซึ่งประสบความสำเร็จในการใช้ปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิตมานานกว่า 5 ปี นอกจากการใช้ปุ๋ยจะมีประสิทธิภาพสูงขึ้นและคุ้มค่ากับการลงทุนแล้ว ยังสามารถยกระดับการผลิตข้าวพร้อมลดต้นทุนอีกด้วย เขา เล่าให้ฟังว่า เมื่อประมาณปี 2549 ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนให้เข้าร่วมโครงการจัดการธาตุอาหารพืชเฉพาะพื้นที่จากหลายหน่วยงาน ทำให้มีโอกาสศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการดินและปุ๋ย รวมถึงการลดต้นทุนการผลิตข้าว ได้แก่

การวิเคราะห์ตัวอย่างดิน
การใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน (ปุ๋ยลดต้นทุน)
การจัดการเมล็ดพันธุ์
การจัดการศัตรูพืช
การปรับปรุงบำรุงดิน
การผลิตและใช้สารชีวภัณฑ์ในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช

นอกจากนั้นยังได้เรียนรู้และทดลองใช้ปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าวในแปลงนาของตนเอง พื้นที่นำร่อง 1 งาน ซึ่งเห็นข้อดีจึงขยายพื้นที่เพิ่มเป็น 2 ไร่ ปรากฏว่าได้ผลดีและเป็นที่พอใจ ระยะ 5 ปีหลังนี้ จึงได้ขยายพื้นที่การใช้ปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิตในนา 4 แปลง รวมเนื้อที่ 50 ไร่ โดยทำนาปีละ 2 ครั้ง พันธุ์ข้าวที่ปลูกมี 2 พันธุ์ คือ พันธุ์พิษณุโลก 2 และ พันธุ์กข 29

หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าว จะเก็บตัวอย่างดินในแปลงนาเพื่อตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหารในดิน โดยเก็บตัวอย่างดินที่ความลึก 10 เซนติเมตร ประมาณ 15-20 จุด/แปลง แล้วนำมาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันและผึ่งดินในที่ร่มให้แห้ง จากนั้นบดดินให้ละเอียดและนำมาวิเคราะห์ธาตุอาหารพืช ซึ่งปัจจุบันใช้ชุดตรวจสอบ N-P-K ในดินแบบรวดเร็ว (Soil Test Kit) พบว่า ดินในนามีไนโตรเจนระดับปานกลาง-สูง ฟอสฟอรัสในระดับต่ำ และมีโพแทสเซียมในระดับปานกลาง ทั้งยังพบว่า ดินมี pH เป็นกลาง และเป็นชุดดินสระบุรี ทำให้รู้ว่าดินขาดธาตุฟอสฟอรัส และสามารถเลือกใช้ปุ๋ยได้ถูกสูตรและถูกเวลาที่พืชต้องการมากที่สุด

การใส่ปุ๋ยต้องตรงกับความต้องการของพืช ซึ่งการใช้ปุ๋ย N-P-K ในชุดดินสระบุรี ที่ปลูกข้าวพันธุ์พิษณุโลก 2 แนะนำให้ใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง โดยใส่

ครั้งแรก ในระยะข้าวแตกกอหรือต้นข้าวอายุประมาณ 25-30 วัน ใส่ปุ๋ยสูตร 0-0-60 จำนวน 5 กิโลกรัม/ไร่ และปุ๋ยสูตร 18-46-0 จำนวน 9 กิโลกรัม/ไร่

ครั้งที่สอง ใส่ปุ๋ยในระยะกำเนิดช่อดอกหรือต้นข้าวอายุ ประมาณ 60 วัน โดยใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 ประมาณ 3-5 กิโลกรัม/ไร่


นายพิชิตยังบอกถึง ผลดีของการใช้ปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าวว่า วิธีนี้สามารถช่วยลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมีได้ถึง 50% อีกทั้งยังช่วยลดปริมาณการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวลงจากเดิม 40 กิโลกรัม/ไร่ เหลือ 20-25 กิโลกรัม/ไร่

นอกจากนั้นต้นข้าวยังมีความแข็งแรงและทนทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืชซึ่งช่วยลดการใช้สารเคมีทางการเกษตรได้ค่อนข้างมาก สามารถลดต้นทุนการผลิตลงจากประมาณ 4,000 บาท/ไร่ เหลือ 2,500-2,800 บาท/ไร่ ถึงแม้จะได้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยแต่เมื่อเทียบผลตอบแทนแล้ว ได้กำไรเพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 2 เท่า


“ขณะนี้ได้มีการขยายผลและถ่าย ทอดองค์ความรู้การใช้ปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าว ไปสู่เพื่อนเกษตรกรในพื้นที่เพิ่มขึ้นแต่ยังไม่มากนัก เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ยังไม่เห็นความสำคัญ ดังนั้น จึงอยากให้ปรับแนวคิดใหม่ โดยต้องรู้ว่า ปุ๋ยที่ใช้อยู่ให้ประโยชน์อะไรกับต้นข้าวในนา ที่สำคัญควรหันมามองที่ผลกำไร ไม่ใช่ปริมาณผลผลิตที่ได้ ซึ่งผลตอบแทนต้องคุ้มค่าการลงทุน”



...หากสนใจเทคนิคและวิธีการลดต้นทุนการผลิตข้าว สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแนวคิดกับชาวนาต้นแบบ ได้ที่ เลขที่ 22/2 หมู่ 4 ตำบลสวนแตง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี โทร. 08-9174-2512.




http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&contentId=158729&categoryID=344
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/09/2011 1:04 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

388. มาช่วยกันปลูกต้นสะเดากันดีกว่า






สะเดา มีชื่อเรียกแตกต่างกันตามท้องถิ่น เช่น เดา กระเดา (ภาคใต้) สะเลียม (ภาคเหนือ) ในภาษาอังกฤษมีชื่อสามัญว่า Neem

ท่ามกลางกระแสแห่งการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทำให้การใช้สารสกัดจากสะเดามีคุณค่าในตัวของมันเองโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อวงการเกษตรกรรม เนื่องจากสารกำจัดแมลงที่ได้จากสะเดาสามารถสลายตัวได้ง่ายในสภาพธรรมชาติ โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบเชิงลบต่อสภาพนิเวศทางการเกษตร

นอกจากนี้สารสกัดสะเดายังมีผลเฉพาะเจาะจงต่อแมลงที่เป็นศัตรูพืชเท่านั้น อีกทั้งในระดับชาวบ้านก็ยังสามารถทำได้โดยใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบง่าย ๆ และใช้ต้นทุนต่ำ วัสดุที่เหลือจากการผลิตยังมีคุณค่าต่อดินหรือพืชปลูก โดยใช้เสริมหรือทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีได้อีกด้วย กากสะเดาที่ใส่ดินเพื่อเป็นปุ๋ยบำรุงดินยังสามารถป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชในดินได้อีกหลายชนิด ตลอดจนสารสกัดสะเดายังมีผลในการป้องกันกำจัดโรคพืช กำจัดไส้เดือนฝอยศัตรูพืชหลายชนิด ป้องกันกำจัดไรศัตรูพืช เช่น ไรแดงอัฟริกัน ไรแดงสองจุด


จากข้อมูลตั้งแต่ปี 2502 เป็นต้นพบว่ามีแมลงที่มีความอ่อนแอต่อการใช้สารสกัดสะเดาจำแนกออกเป็นอันดับและชนิดต่าง ๆ รวมทั้งสิ้น 413 ชนิด ด้วยเหตุนี้ทำให้ประเทศอุตสาหกรรมหลายประเทศเช่น อเมริกา เยอรมนี ออสเตรเลีย แคนาดา อินเดีย ฯลฯ ทำการผลิตสารสกัดสะเดาเพื่อใช้ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช


สะเดาเป็นต้นไม้ที่มีประโยชน์มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำมาใช้ทางการเกษตรซึ่งเป็นสารที่ไม่อันตรายทำให้ผลผลิตทางการเกษตรปลอดภัยไม่มีสารตกค้าง ไม่เป็นอันตรายต่อเกษตรกร ผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม ในปัจจุบันเกษตรกรเริ่มตระหนักถึงอันตรายและต้นทุนในการใช้สารเคมีทางการเกษตร ประกอบกับหลายครั้งใช้แล้วแมลงดื้อยา ทำให้ผลผลิตเสียหาย เกษตรกรจำเป็นต้องหาสิ่งทดแทน และสะเดาก็เป็นทางเลือกอันดับต้น ๆ ที่น่าสนใจ ประกอบกับหลายประเทศทั่วโลกให้ความยอมรับการใช้สารสะเดาป้องกันกำจัดศัตรูพืช และมีความเข้มงวดเรื่องสารตกค้างในผลผลิตมากขึ้น จากประสบการณ์ของเกษตรกรหลายรายทั้งในผู้ที่ปลูกพืชผัก ไม้ผล ไม้ดอก ไม้ประดับ พืชไร่ นาข้าว ที่ศึกษาจนเข้าใจและมีความเชื่อมั่น หันมาลองใช้สารสกัดสะเดา ปรากฏว่าเป็นที่ยอมรับมาก เนื่องจากได้ผลดี ต้นทุนต่ำ ไม่มีอันตราย และมีการใช้กันมากขึ้น

จากคุณค่าของไม้สะเดาที่กล่าวมาโดยคร่าว ๆ นี้ จะเห็นประโยชน์มากมายแต่น่าเสียดายว่า ขณะนี้มีการตัดต้นสะเดาเอาไม้ไปใช้ประโยชน์ที่ไม่คุ้มค่า เช่น ทำฟืน โดยมีขบวนการตัดไม้สะเดาตลอดเวลา ทำให้ต้นสะเดาลดจำนวนลงมาก ขอเรียกร้องให้ช่วยสอดส่องดูแลหาทางลดการตัดไม้สะเดา เพราะนอกจากประโยชน์ของสะเดาดังกล่าวแล้ว การมีต้นสะเดาอยู่ก็เสมือนมีต้นตอของแหล่งเมล็ดพันธุ์ที่จะเพิ่มป่าไม้ให้กับประเทศ เนื่องจากผลสะเดาสุกเป็นอาหารของนกโดยทั่วไปเมื่อนกกินเนื้อผลสะเดาสุกแล้วก็จะคายเมล็ดทิ้งไปในที่ต่าง ๆ เมล็ดสะเดาเหล่านั้นจะงอกขึ้นเป็นต้นใหม่ เป็นการขยายพันธุ์ไม้ตามธรรมชาติและเมล็ดสะเดางอกและเจริญเติบโตได้ง่ายและทนต่อความแห้งแล้ง นอกจากนี้ควรส่งเสริมให้มีการปลูกโดยทั่วไป ทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐและเกษตรกรเอง ตามหัวไร่ปลายนาเมื่อมีต้นสะเดาเกษตรกรก็สามารถเก็บมาทำสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชได้โดยไม่ต้องเสียเงิน เป็นการลดต้นทุน เมื่อปลูกแล้วมีเมล็ดสะเดาเหลือใช้ ก็สามารถนำมาจำหน่ายได้ กับบริษัทที่เขาต้องการเอาไปผลิตเป็นสารกำจัดแมลง ซึ่งในประเทศเราก็มีหลายบริษัท เช่น บริษัท ผลิตภัณฑ์สะเดาไทย จำกัด สามารถติดต่อได้ที่ โทร. 0-3555-0613, 08-1942-2056

ดังนั้นพวกเรามาช่วยกันรณรงค์ไม่ตัดต้นสะเดาและช่วยกันปลูกต้นสะเดาเพื่อเพิ่มป่าไม้ของประเทศกันเถิด ซึ่งจะทำให้มีฤดูกาลเป็นปกติ ป้องกันน้ำท่วมซึ่งเกิดทุกปี และถ้ามีต้นสะเดามาก ๆ ก็จะได้เป็นอาหารของนก เป็นอาหารของคน เป็นสารกำจัดแมลงศัตรูพืชที่ช่วยลดต้นทุนเกษตรกร ช่วยรักษาสุขภาพและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังช่วยให้เสียเงินตราต่างประเทศซื้อสารเคมีลดลง ผลผลิตทางการเกษตรก็มีคุณภาพ ปราศจากสารพิษตกค้างเป็นที่ต้องการของต่างประเทศ นโยบายประเทศไทยเป็นครัวของโลกก็มีอุปสรรคน้อยลง.



http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&contentId=158551&categoryID=344
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/09/2011 1:14 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

389. งานวิจัย ผลการแปรรูปไม้สะเดาเทียม


ผลการแปรรูปไม้สะเดาเทียม อายุ 6 ปี ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ย 12.2-17.6 เซนติเมตร (5-7 นิ้ว) จำนวน 15 ท่อน ได้ไม้แปรรูปเฉลี่ย 33 เปอร์เซ็นต์ ไม้แปรรูปจะมีลักษณะของการบิดงอ (warp) และติดไส้จำนวนมากแผ่นเนื้อไม้เป็นส่วนของกระพี้มากกว่าแก่น ประมาณว่าไม้ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลังจากการไส ปรับแต่ง เหลือเพียง 20-25 เปอร์เซ็นต์

สะเดาเทียมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12.2-17.6 เซนติเมตร มีขนาดเล็กเกินไป ไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้งานในลักษณะไม้แปรรูป เพราะอัตราการแปรรูปไม้ต่ำ สูญเสียเนื้อไม้ในการใช้งานสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจน้อยกว่าการใช้งานในแบบไม้เสาเข็มถึง 30 เปอร์เซ็นต์

ในพื้นที่ 1 ไร่ ซึ่งปลูกสะเดาเทียมสลับกับยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิส ระยะปลูก 2 X 2 เมตร เมื่อนำสะเดาเทียมมาแปรรูปจะมีรายได้ประมาณ 8,950 บาท แต่หากขายในรูปของไม้เสาเข็มจะมีรายได้ถึงประมาณ 12,490 บาท

สะเดาเทียมอายุ 6 ปี เนื้อไม้จะมีน้ำหนักปานกลาง มีความหนาแน่นที่ผึ่งแห้งความชื้น 13.5 เปอร์เซ็นต์ เท่ากับ 0.51 กรัม/ลูกบาศก์เซ็นติเมตร การหดตัวด้านสัมผัส 2.81 เปอร์เซ็นต์ ด้านรัศมี 0.99 เปอร์เซ็นต์

ในสภาพสดถึงแห้งในอากาศ และหดตัวด้านสัมผัส 5.07 เปอร์เซ็นต์ ด้านรัศมี 2.74 เปอร์เซ็นต์ ในสภาพสดถึงอบแห้ง ตามลำดับ

สะเดาเทียมมีคุณสมบัติพื้นฐานที่เหมาะสมในการใช้ทำเครื่องเรือน กรอบวงกบ บานประตูหน้าต่าง การกลึง แกะสลัก ขนาดของไม้ท่อนที่นำมาใช้ในการแปรรูปนั้น ควรพิจารณาไม้ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 25 เซนติเมตร (10 นิ้ว) และอายุ 10 ปี ขึ้นไป เพื่อจะทำให้ได้ไม้แปรรูปเพิ่มมากขึ้นทั้งปริมาณและคุณภาพสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพสูงสุด



http://pikul.lib.ku.ac.th/cgi-bin/agdb2.exe?rec_id=001665&database=agdb2&search_type=link&table=mona&back_path=/agdb2/mona&lang=thai&format_name=TFMON









http://www.shop2pay.com/data/9530_09May2011161123_3.jpg


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 01/09/2011 4:05 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/09/2011 1:25 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

390. หน่อไม้ฝรั่งด่านมะขามเตี้ย...ทำเงิน





สำนักงานเกษตรอำเภอด่านมะขามเตี้ย จ.กาญจนบุรี ได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรในพื้นที่รวมกลุ่มผลิตหน่อไม้ฝรั่งเพื่อสร้างอาชีพและสร้างรายได้มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2534 โดยได้ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีการผลิตหน่อไม้ฝรั่งที่เหมาะสมให้กับเกษตรกร พร้อมสนับสนุนเมล็ดพันธุ์หน่อไม้ฝรั่งที่มีศักยภาพ ทั้งยังส่งเสริมให้จัดตั้งจุดรับซื้อและรวบรวมผลผลิต ขณะเดียวกันยังส่งเสริมด้านการตลาดโดยผลักดันให้ทำสัญญาซื้อขายผลผลิตล่วงหน้ากับบริษัทผู้ส่งออก ทำให้สมาชิกไม่ต้องกังวลเรื่องตลาดเพราะมีผู้รับซื้อหรือตลาดรองรับแน่นอน และขายได้ราคาเป็นที่พอใจ

นายทะนงค์ กาหลง ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มหน่อไม้ฝรั่งด่านมะขามเตี้ย บอกว่า เดิมเกษตรกรในพื้นที่ส่วนใหญ่มีอาชีพทำไร่อ้อย ไร่ข้าวโพด และปลูกพริกขาย ซึ่งมีความเสี่ยงหลายอย่าง ทั้งภัยธรรมชาติ โรคและแมลงศัตรูพืช ที่สำคัญยังมีความเสี่ยงเรื่องตลาดและราคาผลผลิตและรายได้ไม่ดีเท่าที่ควร จึงมองหาอาชีพใหม่โดยสังเกตเห็นว่าเพื่อนบ้านใกล้เคียงปลูกหน่อไม้ฝรั่งแล้วมีรายได้ดี จึงสนใจและได้รวมกลุ่มกันปลูกหน่อไม้ฝรั่งป้อนตลาด ปัจจุบันวิสาหกิจชุมชนกลุ่มหน่อไม้ฝรั่งด่านมะขามเตี้ยมีสมาชิก จำนวน 200 คน พื้นที่ปลูกหน่อไม้ฝรั่ง 300-400 ไร่ โดยวิสาหกิจชุมชนฯได้ทำสัญญาซื้อขายผลผลิตล่วงหน้ากับบริษัทผู้ส่งออกแบบปีต่อปี ก่อนทำสัญญาทุกครั้งกลุ่มฯสามารถต่อรองราคากับบริษัทได้

กลุ่มฯ เน้นให้สมาชิกผลิตหน่อไม้ฝรั่งที่มีคุณภาพ มีความปลอดภัยและได้มาตรฐานตามความต้องการของลูกค้า ทุกวันสมาชิกต้องนำ ผลผลิตมาส่งที่จุดรับซื้อไม่เกิน 14.00 น. จากนั้นจะมีการคัดเกรดสินค้าก่อนขนส่งไปยังโรงคัดบรรจุ โดย

ประมาณ 75% ของผลผลิตทั้งหมด
เป็นสินค้าเกรด A อีกประมาณ 15%
เป็นเกรด B และเกรด C


ซึ่งการปลูกหน่อไม้ฝรั่งพื้นที่ 1 ไร่ ใช้แรงงานภายในครัวเรือน
ระยะเวลาเก็บเกี่ยวผลผลิต 1-2 เดือน
พัก 1 เดือน
เกษตรกรจะมีรายได้เฉลี่ย 50,000-70,000 บาท/ไร่/รอบการเก็บเกี่ยว

ทำให้สมาชิกมีรายได้และมีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น

นายทะนงค์ ยังบอกด้วยว่า นอกจากเลือกใช้พันธุ์หน่อไม้ฝรั่งที่มีศักยภาพ ให้ผลผลิตสูง ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมและสภาพอากาศได้ดี และทนทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืชแล้ว เกษตรกรต้องมีระบบการจัดการแปลงที่ดี ต้องมีการปรับปรุงบำรุงดินอย่างต่อเนื่อง จะทำให้ได้หน่อไม้ฝรั่งหน่ออวบใหญ่และมีคุณภาพ เป็นที่ต้องการของตลาดและผู้บริโภค ซึ่งจะขายได้ราคาดีทำให้รายได้เพิ่มขึ้น

ทางด้าน นายสุดสาคร ภัทรกุลนิษฐ์ เกษตรจังหวัดกาญจนบุรี กล่าวว่า ปี 2554 นี้ สำนักงานเกษตรจังหวัดกาญจนบุรีได้มีแผนพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตหน่อไม้ฝรั่ง ภายใต้โครงการเพิ่มประสิทธิภาพข้าวโพดหวาน ข้าวโพดฝักอ่อนและหน่อไม้ฝรั่งเพื่อการอุตสาหกรรมและส่งออก โดยมุ่งส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตสินค้าหน่อไม้ฝรั่งที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และมีความปลอดภัย ทั้งยังช่วยเพิ่มผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ให้สูงขึ้น พร้อมลดปริมาณการใช้สารเคมีและลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลง

เบื้องต้นได้จัดฝึกอบรมเกษตรกรผู้ปลูกหน่อไม้ฝรั่ง จำนวน 400 ราย เพื่อให้มีความรู้และสามารถนำไปปฏิบัติงานหรือปรับใช้ได้จริง นอกจากนั้นยังมีการจัดงานวันสาธิตการเพิ่มผลผลิต พร้อมส่งเสริมการจัดทำแปลงเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตหน่อไม้ฝรั่ง จำนวน 400 ไร่ อยู่ในพื้นที่อำเภอเมืองกาญจนบุรี 50 ไร่ อำเภอด่านมะขามเตี้ย 100 ไร่ อำเภอศรีสวัสดิ์ 100 ไร่ อำเภอบ่อพลอย 50 ไร่ อำเภอท่าม่วง 50 ไร่ และอำเภอท่ามะกา 50 ไร่ และยังมีแผนเร่งสนับสนุนให้เกษตรกรนำแปลงเข้าสู่ระบบรับรองมาตรฐานเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ และมีความปลอดภัย ตรงตามความต้องการของตลาดและผู้บริโภคด้วย

หากสนใจเข้าเยี่ยมชมการผลิตหน่อไม้ฝรั่งของ “วิสาหกิจชุมชนกลุ่มหน่อไม้ฝรั่งด่านมะขามเตี้ย” สามารถติดต่อได้ที่ หมู่ 1 ต.ด่านมะขามเตี้ย อ.ด่านมะขามเตี้ย จ.กาญจนบุรี โทร. 08-1378-6402.



http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&contentId=159939&categoryID=344


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 01/09/2011 4:06 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/09/2011 1:30 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

391. เตรียมพร้อมสู่ 'ปุ๋ยสั่งตัด' ลดต้นทุนการผลิตกันเถอะ





การใช้ปุ๋ยให้คุ้มค่า เกษตรกรต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษกับการใช้ปุ๋ยให้ “ถูกชนิด ถูกปริมาณ ถูกเวลา และถูกวิธี” แต่ขณะนี้เกษตรกรไทยเกือบ 100%ไม่มีการตรวจวิเคราะห์ เอ็น-พี-เค ในดินก่อนปลูกพืช ทั้งยังใส่ปุ๋ยไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ใส่ปุ๋ยไม่เหมาะสมกับดินและไม่ตรงตามความต้องการของพืช ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของการผลิตพืช ดังนั้น จึงได้พัฒนาเทคโนโลยี “ปุ๋ยสั่งตัด” ขึ้นมาเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกรโดยเฉพาะผู้ปลูกข้าว, ข้าวโพด และอ้อยภาคอีสาน…นี่เป็นคำแนะนำจาก ศาสตราจารย์ ดร.ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ ที่ปรึกษาอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

“ปุ๋ยสั่งตัด” หรือ การจัดการธาตุอาหารพืชเฉพาะพื้นที่ เป็นการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินปัจจุบัน ซึ่งสอดคล้องกับแต่ละชุดดินที่มีมากกว่า 200 ชุดดิน ทั้งยังต้องสอดคล้องกับความต้องการของพืช โดยนำปัจจัยหลักที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของพืช ได้แก่ พันธุ์พืช แสงแดด อุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณน้ำฝน ชุดดิน และปริมาณ เอ็น-พี-เค ในดินมาพิจารณาร่วมกัน โดยใช้แบบจำลองการปลูกพืชและโปรแกรมสนับสนุนการตัดสินใจมาคำนวณโดยใช้คอมพิวเตอร์ คาดคะเนคำแนะนำปุ๋ย เอ็น-พี-เค ที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด เพื่อให้การใช้ปุ๋ยมีความแม่นยำและสอดคล้องกับความต้องการของพืช และยังสามารถคาดคะเนผลผลิตและผลตอบแทนที่เกษตรกรจะได้รับเมื่อใช้เทคโนโลยี “ปุ๋ยสั่งตัด”



การใช้เทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัด มี 3 ขั้นตอน

ขั้นแรก
เกษตรกรต้องตรวจสอบชุดดินในแปลงของตนเองก่อน โดยสามารถสอบถามข้อมูลชุดดินได้ที่สถานีพัฒนาที่ดินทุกจังหวัด หรือดูจากแผนที่ชุดดิน หรือสอบถามได้ที่เว็บไซต์ www.soil.doae.go.th

ขั้นที่สอง
ตรวจสอบปริมาณ เอ็น-พี-เค ในดิน โดยเก็บตัวอย่างดินส่งตรวจวิเคราะห์ หรือเกษตรกรอาจวิเคราะห์ เอ็น-พี-เค ในดินแบบรวดเร็ว (Soil Test Kit) และ

ขั้นสุดท้าย ใ
ช้ปุ๋ยตามคำแนะนำ โดยศึกษาจากคู่มือคำแนะนำการใช้ปุ๋ยสั่งตัด หรือโปรแกรม SimRice, SimCorn และ SimCane สำหรับข้าว ข้าวโพด และอ้อย ซึ่งสามารถดาวน์โหลดฟรีได้จากเว็บไซต์ www.ssnm.agr.ku.ac.th



เกษตรกรส่วนใหญ่มองว่า การตรวจวิเคราะห์ เอ็น-พี-เค ในดิน มีวิธีการและขั้นตอนยุ่งยากจึงไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าว ทำให้ไม่รู้จักดินในแปลงของตนเอง อย่างไรก็ตาม เกษตรกรควรเก็บตัวอย่างดินเพื่อประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยเบื้องต้นต้องแบ่งพื้นที่ก่อน หากพื้นที่ใหญ่มากหรือดินไม่สม่ำเสมอและดินมีลักษณะแตกต่างกัน ปลูกพืชต่างกัน ใช้ปุ๋ยต่างกัน และดินมีสีต่างกัน ต้องแบ่งพื้นที่ออกเป็นแปลงย่อย และแยกเก็บดิน 1 ตัวอย่างต่อ 1 แปลงย่อย

การเก็บดินในแต่ละตัวอย่าง ให้เดินในลักษณะซิกแซ็ก สุ่มเก็บดินให้ทั่วแปลง แปลงละ 15 จุด ซึ่งการเก็บดินแต่ละจุดให้ใช้จอบหรือพลั่วขุดดินเป็นรูปลิ่ม ลึกประมาณ 10 เซนติเมตร (นาข้าว) หรือลึก 15-20 เซนติเมตร (สำหรับข้าวโพด) ใช้เสียมหรือพลั่วแซะด้านหนึ่งของหลุมให้ได้ดินเป็นแผ่นหนา 2-3 เซนติเมตรจนถึงก้นหลุม ใช้เฉพาะส่วนกลางของแผ่น ตัวอย่างดินที่ได้นับเป็นตัวแทนของดินหนึ่งจุด

นำตัวอย่างดินใส่รวมกันในกระป๋องพลาสติก และคลุกเคล้าดินในกระป๋องให้เข้ากัน เทลงบนผ้าพลาสติก และคลุกเคล้าดินให้เข้ากันอีกครั้งหนึ่ง ถ้าดินเปียก ตากในที่ร่ม ห้ามตากแดด ย่อยดินให้เป็นก้อนเล็ก ๆ กองดินเป็นรูปฝาชี แล้วขีดเส้นแบ่งกองดินเป็นสี่ส่วนเท่ากัน

จากนั้นเก็บตัวอย่างจากกองดินเพียง 1 ส่วน ให้ได้ดินน้ำหนักประมาณ 0.5 กิโลกรัม ถ้าดินยังเปียกอยู่ ให้ผึ่งในที่ร่มต่อไป แล้วบดให้ละเอียดโดยใช้ขวดแก้วที่สะอาด เก็บใส่ถุงพลาสติก และเขียนหมายเลขกำกับไว้

ส่งตรวจวิเคราะห์ เอ็น-พี-เค ในดิน หรือทำการตรวจวิเคราะห์ เอ็น-พี-เค ในดินด้วยตนเอง โดยใช้ ชุดตรวจสอบ เอ็น-พี-เค ในดินแบบรวดเร็วของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (KU Soil Test Kit) ใช้เวลาเพียง 30 นาที ก็ทราบผลได้

ชุดตรวจสอบดังกล่าว ราคาชุดละ 3,745 บาท สามารถตรวจสอบปริมาณธาตุอาหารเอ็น-พี-เค ในดินและความเป็นกรดด่างของดินได้ 50 ตัวอย่าง จะทำให้เกษตรกรทราบว่า ดินในแปลงของตนเองมีธาตุอาหาร เอ็น-พี-เค อยู่ในระดับต่ำ ปานกลางหรือสูง และใช้คำแนะนำ “ปุ๋ยสั่งตัด” ซึ่งนักวิจัยได้พัฒนาไว้ให้เรียบร้อยแล้ว

สำหรับข้าว ข้าวโพด และอ้อยภาคอีสาน คำแนะนำ “ปุ๋ยสั่งตัด” มีอยู่ในลักษณะเป็นรูปเล่มและในรูปของโปรแกรมซึ่งสามารถดาวน์โหลดฟรีได้จากเว็บไซต์ www.ssnm.agr.ku.ac.th หรือ www.banrainarao.com ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยได้ถูกต้อง และลดต้นทุนการผลิต

องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรในพื้นที่ทำการวิเคราะห์ เอ็น-พี-เค ในดิน ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนปลูกพืช และเป็นแนวทางนำไปสู่การลดต้นทุนค่าปุ๋ยเคมีได้ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะกลุ่มผู้ปลูกข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และมันสำปะหลัง ใน “โครงการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร” .



http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&contentId=160107&categoryID=344


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 01/09/2011 4:06 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/09/2011 1:33 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

392. เตือน กรีดยางหน้าฝน ระวังโรคหน้ากรีด





การกรีดยางเพื่อให้สะดวกต่อการกรีด และยังคงรักษาความสะอาดของถ้วยรองรับน้ำยางนั้นควรคำนึงถึงระดับความเอียงของรอยกรีดและความคมของมีดที่ใช้กรีดซึ่งต้องคมอยู่เสมอเวลากรีดยาง ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการกรีดยางมากที่สุดคือ ช่วง 6.00-8.00 น.

เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่สามารถมองเห็นต้นยางได้อย่างชัดเจนและได้ปริมาณน้ำยางใกล้เคียงกับการกรีดยางในตอนเช้ามืด แต่การกรีดยางในช่วงเวลา 1.00-4.00 น. จะให้ปริมาณยางมากกว่าการกรีดยางในตอนเช้าอยู่ร้อยละ 4-5 ซึ่งเป็นช่วงที่ได้ปริมาณน้ำยางมากที่สุดด้วย แต่การกรีดยางในตอนเช้ามืดมีข้อเสีย คือ ง่ายต่อการกรีดบาดเยื่อเจริญส่งผลให้เกิดโรคหน้ายางทั้งยังเป็นการสิ้นเปลืองและไม่มีความปลอดภัยจากสัตว์ร้ายหรือโจรผู้ร้าย

การหยุดพักกรีด ในฤดูแล้ง ใบไม้ผลัดใบหรือฤดูที่มีการผลิใบใหม่ จะหยุดพักการกรีดยางเนื่องจากมีผลต่อการเจริญเติบโตของใบและต้นยาง การกรีดยางในขณะที่ต้นยางเปียก จะทำให้เกิดโรคเส้นดำหรือเปลือกเน่าได้การเพิ่มจำนวนกรีด สามารถเพิ่มจำนวนวันกรีดได้โดย การเพิ่มวันกรีด สามารถกรีดในช่วงผลัดใบแต่จะได้น้ำยางในปริมาณน้อย ไม่ควรเร่งน้ำยางโดยใช้สารเคมีควรกรีดเท่าที่จำเป็นและในช่วงฤดูผลิใบต้องไม่มีการกรีดอีก

การกรีดยางชดเชย วันกรีดที่เสียไปในฤดูฝนสามารถกรีดทดแทนได้แต่ไม่ควรเกินกว่า 2 วันในรอยกรีดแปลงเดิม และสามารถกรีดสายในช่วงเวลา 6.00-8.00 น. หากเกิดฝนตกทั้งคืนการกรีดสาย เมื่อต้นยางเปียกหรือเกิดฝนตกสามารถกรีดหลังเวลาปกติโดยการกรีดสายซึ่งจะกรีดในช่วงเช้าหรือเย็นแต่ในช่วงอากาศร้อนจัดไม่ควรทำการกรีด

อย่างไรก็ตามล่าสุด นายรรถ อินทลักษณ์ อธิบดีกรมส่งเสริการเกษตร แจ้งเตือนเกษตรกรชาวสวนยางพาราในการกรีดยางในช่วงหน้าฝนว่า ในช่วงเดือนมิถุนายนถึงตุลาคมของทุกปี จะเป็นช่วงฤดูฝน โดยเฉพาะเดือนสิงหาคม-กันยายน จะมีปริมาณฝนตกมาก ทำให้สวนยางมีความชื้นสูง อาจเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหน้ายาง ในต้นยางที่เปิดกรีดแล้วได้ ดังนั้นเกษตรกรชาวสวนยางจึงควรตระหนักในการดูแลรักษาสวนยางที่เปิดกรีดแล้วในช่วงที่ฝนตกชุกมากกว่าในช่วงฤดูกาลอื่นๆ

อธิบดีกรมส่งเสริการเกษตร ได้ให้คำแนะนำแก่เกษตรกรที่กรีดยางพาราในช่วงหน้าฝนด้วยว่า ไม่ควรกรีดยางในวันที่มีฝนตก เพราะจะทำให้น้ำยางที่ได้เสียหายเพราะน้ำฝนอาจจะตกลงไปผสมกับน้ำยางได้ และเป็นที่มาของโรคที่เกิดกับหน้ากรีดของต้นยางในช่วงหน้าฝน ซึ่งมีหลายโรคที่สำคัญๆ ได้แก่ โรคเส้นดำ และโรคเปลือกเน่า

“การกรีดยางในช่วงฤดูฝน ไม่ควรกรีดหักโหม ควรกรีดครึ่งต้น วันเว้นวัน และเกษตรกรควรใช้ยาเมตาแลคซิลทาหน้ากรีดทุกครั้งหลังกรีดยาง เพื่อป้องกันโรคจากเชื้อรา ดูแลรักษาสวนยางให้มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่อับชื้น ในกรณีสวนยางไม่ได้รับการบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ เกษตรกรชาวสวนยางควรใส่ปุ๋ยให้เหมาะสมตามอายุและลักษณะของดินของแต่ละพื้นที่ ทั้งนี้ ควรกำจัดวัชพืชทุกครั้งก่อนการใส่ปุ๋ย เพื่อให้ต้นยางได้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะทำให้ต้นยางแข็งแรงสามารถต้านทานโรคที่จะเกิดจากหน้ายางกรีดได้ ช่วยให้กรีดได้นานหลายปี และมีรายได้อย่างสม่ำเสมอ” นายรรถ อินทลักษณ์ กล่าว.



http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&contentId=159359&categoryID=344


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 01/09/2011 4:08 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/09/2011 1:38 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

393. ศูนย์พืชผักโลก ภูมิภาคเอเชีย (AVRDC-ESEA)





ดร.โรเบิร์ต เจ.โฮลเมอร์ ผู้อำนวยการศูนย์พืชผักโลก ภูมิภาคเอเชีย (AVRDC-ESEA) เปิดเผยว่า ศูนย์พืชผักโลก ภูมิภาคเอเชียตั้งขึ้น ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2525 ตามข้อตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับศูนย์พืชผักโลก (AVRDC -The World Vegetable Center) เป็นองค์กรระดับโลกที่ไม่แสวงหากำไร ให้ความร่วมมือสนับสนุนการพัฒนาการผลิตพืชผัก เพิ่มปริมาณและคุณค่าทางโภชนาการ เพื่อพัฒนาคุณค่าทางโภชนาการของพืชผัก และลดความยากจนของเกษตรกร กำหนดแผนยุทธศาสตร์ สร้างเครือข่ายพันธมิตรเพื่อแลกเปลี่ยนทรัพยากรจากหน่วยงานทั้งภาคเอกชนและภาครัฐบาล ในการแก้ปัญหาการผลิต และการบริโภคพืชผัก โดยมีวัตถุประสงค์หลัก 4 ประการ คือ

1. เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตพืชผัก
2. เพื่อเพิ่มความเสมอภาคทางเศรษฐกิจระหว่างประชากรในชนบทและในเมือง
3. เพื่อเพิ่มอาหารให้มีความหลากหลาย อันก่อให้เกิดสุขภาพที่ดี และมีรายได้เพิ่มขึ้น และ
4. เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการผลิตพืชผักที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

กิจกรรมของศูนย์พืชผักโลก ภูมิภาคเอเชีย ประกอบด้วย การฝึกอบรม เพื่อเพิ่มทักษะและความชำนาญในเทคนิคใหม่ ๆในการผลิตพืชผัก ให้แก่นักวิจัยและนักส่งเสริมในภูมิภาคเอเชียในการทำเกษตรสมัยใหม่ โดยผสมผสานการเรียนรู้ทั้งจากห้องเรียนและภาคสนาม มีการฝึกอบรมระยะสั้น ตามความเหมาะสมของภูมิภาค เช่น มีการจัดหลักสูตรสำหรับบุคลากรจากภาครัฐ เอกชน ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น หรือกลุ่มเกษตรกร ที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงพันธุ์พืช การผลิตเมล็ดพันธุ์พืช การทดสอบ ควบคุมคุณภาพเมล็ดพันธุ์ การอบรมเทคนิคการต่อยอดเพื่อต้านโรค ของพืช 2 ตระกูล ได้แก่ เลือกต้นยอดเป็นมะเขือเทศพันธุ์ดี มาต่อยอดกับต้นตอของมะเขือพวงพื้นเมืองที่แข็งแรง หรือ เลือกต้นกล้าเป็นแตงพันธุ์ดี มาต่อยอดกับต้นตอของน้ำเต้าหรือมะระ ผลที่ได้คือ มะเขือเทศหรือแตงที่ต้านทานโรค

สำหรับกิจกรรมของศูนย์พืชผักโลก ในด้านการวิจัยนั้น มีการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์พืชผักนานาชนิดที่มีความสำคัญของโลกและเขตภูมิภาคเอเชีย เช่น มะเขือเทศ มะเขือ ยาว พริกขี้หนู พริกหวาน หอมแดง กระเทียม หัวหอม ถั่วเขียว ถั่วเหลืองฝักสด ถั่วฝักยาว ถั่วแขก พืช ผักกาดกวางตุ้ง กะหล่ำปลี บรอกโคลี แตงกวา ฟักทอง มะระขี้นก และผักพื้นบ้านชนิดต่าง ๆ โดยมีจุดประสงค์หลักของการพัฒนาสายพันธุ์ เพื่อผลผลิตสูงและผลผลิตที่มีเสถียรภาพมากขึ้นภายใต้เงื่อนไขของการทนต่อภัยแล้งและน้ำท่วม เพื่อความต้านทานแมลงศัตรูพืชและโรค เพื่อคุณภาพทางโภชนาการที่ดีขึ้น และเพื่อการปรับปรุงคุณลักษณะให้มีมูลค่าสูงเช่นสีและเนื้อสัมผัสซึ่งมีความสำคัญต่อการตั้งราคาตลาดท้องถิ่น

ขณะนี้ศูนย์พืชผักโลกประสบความสำเร็จในการพัฒนาพืชผักหลากสายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ถั่วเขียว (ถั่วแระ) ที่ให้ผลผลิตสูง ต้านทานโรคราแป้ง มีเมล็ดขนาดใหญ่ สุกแก่อย่างสม่ำเสมอ พันธุ์พริกที่ต้านทานต่อโรคแอนแทรกโนสหรือโรคกุ้งแห้ง มีเมล็ดขนาดใหญ่ ผลผลิตดก พันธุ์บรอกโคลี และพันธุ์กะหล่ำปลี ที่รสชาติดี ทนร้อนและทนแล้ง ให้ผลผลิตสูง พันธุ์มะเขือเทศ ที่มีคุณค่าทางอาหารคือ เบต้าแคโรทีน วิตามินซี วิตามินอี ธาตุเหล็กสูง และต้านทานโรคไวรัสใบหงิกเหลืองของมะเขือเทศ พันธุ์มะระขี้นกที่มีคุณค่าทางอาหารในการช่วยลดภาวะเบาหวาน พันธุ์ฟักทองที่ให้ผลผลิตดกและมีคุณค่าทางโภชนาการสูง นอกจากนี้ยังมีพืชผักพันธุ์ดีที่ได้รับการวิจัยและพัฒนาแล้วอีกมากมาย อาทิ หัวหอม พริกหวาน มะเขือม่วง กระเทียม เป็นต้น เมล็ดพืชผักพันธุ์ดีเหล่านี้สามารถให้บริการแจกจ่ายฟรีแก่องค์กร และหน่วยงานท้องถิ่น เพื่อการใช้ประโยชน์ในเชิงสาธารณะ

ศูนย์พืชผักโลก ภูมิภาคเอเชีย มีสำนักงานอยู่ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ส่วนศูนย์ฝึกอบรมระดับภูมิภาค (RTC) และแปลงทดลอง ตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม หน่วยงานภาครัฐ เอกชน ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น หรือกลุ่มเกษตรกร ที่สนใจขอเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรระยะสั้น หรือต้องการติดต่อขอเมล็ดพันธุ์พืชผักชนิดต่าง ๆ ของศูนย์พืชผักโลกดังกล่าวมาข้างต้น เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงสาธารณะหรือแจกจ่ายเกษตรกรในชุมชน หรือท้องถิ่นของท่าน



สามารถติดต่อขอรับบริการได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย โดยติดต่อได้ในวันและเวลาราชการที่สำนักงานศูนย์พืชผักโลก ภูมิภาคเอเชีย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม โทร. 0-3435-1573 หรือ 08-1870-7618 หรือเยี่ยมชมเว็บไซต์ได้ที่ www.avrdc.org หรือ

www.facebook.com/WorldVegetableCenter อีเมล robert.holmer
@worldveg.org

http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=340&contentID=156574
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/09/2011 6:34 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

394. อินเดียตัดต่อพันธุ์ซูเปอร์มันฝรั่ง 'โปรตีน' สูงกว่าปกติ 60%


เวลานี้หันไปทางไหนเทคโน โลยีก็แทรกแซงเข้ามาในทุกมิติของชีวิต ไม่เว้นแม้แต่เรื่องอาหารการกินที่เดี๋ยวนี้เต็มไปด้วยอาหารตัดแต่งพันธุกรรมทั้งพืชและเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะในประเทศมหาอำนาจอย่างอเมริกาที่เปิดรับเรื่องนี้ด้วยความยินดี แม้ว่าโลกจะมีอาหารอุดมสมบูรณ์มากขึ้นจากการได้เทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วยในเรื่องการผลิต แต่อีกหลายมุมของโลกโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศโลกที่สามยังคงหิวโหยและขาดแคลน

นักวิทยาศาสตร์ประเทศอินเดียเห็นความจำเป็นที่จะต้องผลิตอาหารที่มีคุณภาพเพื่อมาต่อสู้กับความหิวโหยของเพื่อนร่วมโลก จึงเลือก "หัวมันฝรั่ง" ซึ่งเป็นพืชเพาะปลูกง่ายในถิ่นทุรกันดารมาใช้ตัดต่อพันธุกรรม (จีเอ็ม) ประสบความสำเร็จในการสร้างมันฝรั่งที่อัดแน่นด้วยสารอาหารเป็น 'ซูเปอร์มันฝรั่ง'

มั่นฝรั่งมีปลูกอยู่ใน 125 ประเทศทั่วโลก ประชากรโลกกว่าพันล้านคนบริโภคมันฝรั่งทุกวัน มันฝรั่งทั่วไปมีโปรตีนต่ำ มีเพียง 2 กรัมต่อมันฝรั่ง 100 กรัม และมีน้ำ 78 กรัม แต่โปรตีนเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการพัฒนาร่างกาย

ดร.สุภรา จักราภารตี สังกัดสถาบันวิจัยพันธุกรรมพืชในกรุงนิว เดลีของอินเดีย ผู้นำการพัฒนาซูเปอร์มันฝรั่ง กล่าวว่า มันฝรั่งจีเอ็มอุดม ด้วยโปรตีน มีโปรตีนสูงกว่าหัวมันฝรั่งธรรมชาติถึง 60 เปอร์เซ็นต์ ทั้งยังมีกรดอะมิโนที่จำเป็นหลายตัวในปริมาณเข้มข้น ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพ น่าจะช่วยหลายประเทศที่อดอยากรอดพ้นจากความหิวโหยได้

งานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารความก้าวหน้าด้านการศึกษาทางวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ระบุว่า นักวิจัยได้แยกพันธุกรรม หรือ ยีน ที่ผลิตโปรตีนในดอกบานไม่รู้โรย ชื่อ AmA1 แล้วนำไปถ่ายใส่มันฝรั่ง ยีนตัวนี้ยังดูแลเรื่องกรดอะมิโนจำเป็นหลายตัว เช่น ไลซีนและเมไธโอนีน ซึ่งถ้าเด็กขาดไลซีนจะทำให้สมองไม่พัฒนา ซูเปอร์มันฝรั่งเมื่อนำไปทำขนมขบเคี้ยวก็จะยิ่งทำให้เด็กที่ชอบกินขนมได้ประโยชน์เพิ่มขึ้น


http://www.apecthai.org/apec/th/environment.php?year=2010&id=126
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/09/2011 6:54 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

395. โปรตีนพืชแทนปลาป่น

สูตรอาหารเลี้ยงกบนา-ช่วยลดต้นทุน

ผลการทดลองพบว่า กบนาที่เลี้ยงด้วยอาหารซึ่งใช้โปรตีนข้าวโพดจะมีการเจริญเติบโตดี และเมื่อ เปรียบเทียบต้นทุน การเลี้ยงกบนาด้วยการใช้อาหารที่ทำจากโปรตีนพืช ใช้ต้นทุนที่ 33-34 บาท /กิโลกรัม ขณะที่การเลี้ยงโดยให้อาหารที่ทำมาจากปลาป่นจะมีต้นทุนอยู่ที่ 38-39 บาท/กิโลกรัม


"การเลี้ยงกบนา" เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่เกษตรกรให้ความสนใจ แต่ส่วนใหญ่มักประสบปัญ หาราคาอาหารสัตว์ที่สูงขึ้น ทำให้ต้นทุนการเลี้ยงขยับเพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะปลาป่นซึ่งถือ เป็นอาหารแหล่งโปรตีนสำคัญสำหรับกบนา ดังนั้น กรมประมง โดยสถาบันวิจัยอาหารสัตว์น้ำจืด จึงได้ศึกษาวิจัยในโครงการการใช้โปรตีนข้าวโพดทดแทนปลาป่นในการเลี้ยงกบนาในกระชัง เพื่อ ให้เป็นการเลือกให้แก่เกษตรกรในการพัฒนาสูตรอาหารเลี้ยงกบนาด้วยตนเอง ซึ่งจะช่วยประหยัด ต้นทุนได้


นายยงยุทธ ทักษิณ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัยฯ เปิดเผยว่า ปัจจุบันการเลี้ยงกบนาในกระชังยังไม่มีการศึกษาอย่างครบวงจร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาหารที่ใช้ในการเลี้ยงกบยังไม่มีการพัฒนาสูตรอาหารที่เหมาะสม ซึ่งอาหารที่เกษตรกรนิยมใช้ เลี้ยงกบนามีทั้งการใช้ปลาเป็ด อาหารสำเร็จรูปสำหรับกบ และอาหารปลาดุก โดยมีปลาป่นเป็น ส่วนผสมสำคัญ เนื่องจากเป็นแหล่งโปรตีนที่จำเป็นสำหรับกบ ในขณะที่ปัจจุบันปลาป่นที่มีคุณภาพดี เริ่มมีแนวโน้มราคาที่สูงมากขึ้น รวมถึงในอนาคตยังมีแนวโน้มการผลิตที่ลดลง เนื่อง จากทรัพยากรปลาที่ใช้ในการผลิตปลาป่นมีปริมาณจำกัด และลดลงเรื่อยๆ


ดังนั้น การพัฒนาสูตรอาหารสำหรับเลี้ยงกบโดยใช้โปรตีนพืชจึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยเห็นว่า โปรตีนข้าวโพด เป็นโปรตีนพืชที่เหมาะสมสามารถนำมาพัฒนาเป็นสูตรอาหารให้สำหรับเลี้ยง กบทดแทนปลาป่นได้หากมีการผสมในอัตราส่วนที่เหมาะสม นอกจากนั้น ยังได้มีการศึกษาถึง การปรับปรุงประสิทธิภาพของโปรตีนข้าวโพดโดยนำไปผ่านขบวนการหมักด้วยยีสต์ และรา เพื่อ เพิ่มกรดอะมิโนที่จำเป็นให้สูงยิ่งขึ้น หรือ นำไปผ่านการให้ความร้อนโดยการนึ่งให้สุก ซึ่งจะเป็น การเพิ่มการใช้ประโยชน์ของโปรตีนข้าวโพดให้มากขึ้น และลดค่าอาหารซึ่งเป็นต้นทุนส่วนใหญ่ใน การเลี้ยงกบนาได้


ทั้งนี้ ระดับโปรตีนที่เหมาะสมสำหรับอนุบาลลูกกบนา คือ 37% และพลังงานรวม 450 กิโลแคลลอรี่/ 100 กรัมอาหาร โดยกบรุ่นหรือกบโตจะกินอาหารสำเร็จรูปในอัตรา 4-5 % ของน้ำหนักตัว และอาหารควรมีระดับโปรตีน 30-35% ในขณะที่โปรตีนข้าวโพด มีระดับโปรตีนประมาณ 60-66% มีไขมันต่ำกว่า 3% มีใยอาหาร วิตามิน บี. และวิตามิน อี.สูง


อย่างไรก็ตาม การศึกษาทดลองได้มีการจัดทำสูตรอาหารเลี้ยงกบนาในกระชังด้วยการใช้โปรตีนข้าวโพดทดแทนปลาป่นในอัตรา 0% 20% และ 40% โดยมีด้วยกัน 7 สูตร คือ

สูตรที่ 1
โปรตีนข้าวโพด 0%

สูตรที่ 2
โปรตีนข้าวโพด 20%

สูตรที่ 3
โปรตีนข้าวโพดที่ผ่านการหมัก 20%

สูตรที่ 4
โปรตีนข้าวโพดที่ผ่านการนึ่ง 20%

สูตรที่ 5 โ
ปรตีนข้าวโพด 40%

สูตรที่ 6
โปรตีน ข้าวโพดที่ผ่านการหมัก 40% และ

สูตรที่ 7
โปรตีนข้าวโพดที่ผ่านการนึ่ง 40%

ซึ่งในแต่ละสูตรจะ ให้ระดับโปรตีน 37% และพลังงาน 450 กิโลแคลอรี/100 กรัม


หัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวต่อว่า ผลการทดลองการเลี้ยงกบนาในกระชังด้วยอาหารที่ใช้ โปรตีนข้าวโพดทดแทนปลาป่นสูตรต่างกันทั้ง 7 สูตรนั้น พบว่ากบนาที่เลี้ยงด้วยอาหารซึ่งใช้โปร ตีนข้าวโพดที่ผ่านกระบวนการหมักในอัตรา 20% ของอาหารจะมีการเจริญเติบโตดี และเมื่อ เปรียบเทียบต้นทุนการเลี้ยงกบนาด้วยการใช้อาหารที่ทำมาจากปลาป่นสามารถประหยัดต้นทุนได้ถึง 20-25% โดยต้นทุนการเลี้ยงอยู่ที่ประมาณ 33-34 บาท/กิโลกรัม ในขณะที่การเลี้ยงโดยให้อาหารที่ทำมาจากปลาป่นจะมีต้นทุนอยู่ที่ 38-39 บาท/กิโลกรัม


ด้านนางพิศมัย สมสืบ นักวิชาการประมง สถาบันวิจัยอาหารสัตว์น้ำจืด ผู้ร่วมวิจัย กล่าว เพิ่มเติมว่า การใช้โปรตีนข้าวโพดทดแทนปลาป่นในอาหารสำหรับใช้เลี้ยงกบนา น่าจะเป็น อีกทางเลือกหนึ่งให้แก่เกษตรกร ได้เป็นแนวทางในการประหยัดต้นทุนการเลี้ยง เนื่องจากสัดส่วน ของทุนการเลี้ยงกบส่วนใหญ่กว่า 40-50% เป็นค่าอาหาร แต่สูตรอาหารดังกล่าวนั้น เหมาะสำ หรับเกษตรกรที่มีการผสมสูตรอาหารเพื่อใช้เลี้ยงกบเอง


หัวหน้าโครงการวิจัยฯ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า การเลี้ยงกบนาด้วยการใช้โปรตีนพืชทดแทน โปรตีนจากปลาป่น น่าจะเป็นโอกาสอันดีหากเกษตรกรได้พัฒนาการเลี้ยงกบของตนเองเพื่อ การส่งออก เนื่องจากการใช้โปรตีนจากพืชทดแทนโปรตีนจากปลาป่นซึ่งเป็นทรัพยากร จากธรรมชาตินับวันจะมีปริมาณลดน้อยลง และอาจจะถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นข้ออ้างของประเทศผู้นำ เข้าในการกีดกันทางการค้าได้ โดยเฉพาะกลุ่มสหภาพยุโรป (อียู) ที่ให้ความสำคัญในเรื่อง การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้น


อนึ่ง หากเกษตรกรผู้เลี้ยงกบนาท่านใด สนใจวิธีการทำสูตรอาหารด้วยการใช้โปรตีนข้าวโพด เพื่อทดแทนปลาป่น ช่วยประหยัดต้นทุน เพิ่มรายได้ สามารถติดต่อสอบถามเพื่อขอรายละ เอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณพิศมัย สมสืบ นักวิชาการประมง สถาบันวิจัยอาหารสัตว์น้ำจืด โทร. 0 2579 8033 ในวันและเวลาราชการ




ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า

http://www.nicaonline.com/webboard/index.php?topic=2692.0;wap2
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/09/2011 7:10 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

396. ต้นงอกและเอนไซม์

เอนไซม์ คือตัวเร่งปฏิกิริยาของขบวนการสันดาปในร่างกาย ไม่ว่ามนุษย์ พืชหรือสัตว์ล้วนแล้วแต่จำเป็นต้องใช้เอนไซม์ในการดำรงชีวิต

เอนไซม์มีหลากหลายชนิดด้วยกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะการทำงานของเอนไซม์นั้นๆ ตัวอย่างเช่น

· เอนไซม์ที่ใช้ในการย่อยอาหาร : ยกตัวอย่างเช่น ตับอ่อนจะผลิตของเหลวที่เรียกว่า pancreatin ซึ่งประกอบด้วยเอนไซม์หลายชนิดด้วยกัน ได้แก่ เอนไซม์ amylase ทำหน้าที่ย่อยคาร์โบไฮเดรต เอนไซม์ lipaseย่อยไขมัน เอนไซม์ proteaseย่อยโปรตีน ดังนั้นถ้าตับอ่อนเสื่อมสภาพจะส่งผลต่อการย่อยอาหารทุกกลุ่ม เนื่องจากร่างกายเรามีความสามารถในการผลิตเอนไซม์ได้จำกัด ดังนั้นการกินอาหารที่มีเอนไซม์ปริมาณมาก (เช่น ต้นงอก) จะช่วยในขบวนการสันดาป ตลอดจนการซ่อมแซมส่วนต่างๆของร่างกายให้ทำงานได้ดี

อาหารที่ประกอบด้วยเอนไซม์ คือผัก-ผลไม้สด แต่เอนไซม์ในผัก-ผลไม้สดนั้นมีความเข้มข้นน้อยกว่าเอนไซม์ในพวกต้นงอกมาก (ต้นงอกบางชนิดมีเอนไซม์มากกว่าพืชถึง 100 เท่า )

ช่วงเวลาที่ต้นงอกมีเอนไซม์และปริมาณสารอาหารสูงที่สุด คือช่วงหลังจากปลูกแล้วประมาณ 2-7 วัน (ขึ้นอยู่กับชนิดของต้นงอก) ดังนั้นเราจึงควรบริโภคต้นงอกในช่วงเวลาดังกล่าว

เอนไซม์มีความสำคัญต่อการทำงานในทุกส่วนของร่างกายตั้งแต่การย่อยอาหาร ไปจนถึงการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ ถ้าปราศจากเอนไซม์แล้ว ร่างกายจะไม่สามารถทำกิจกรรมใดๆได้ ขบในการทำงานภายในเซลล์จะยุติ และเป็นอันตรายจนถึงขั้นถึงแก่ชีวิตได้ การขาดเอนไซม์บางชนิดจะทำให้ขบวนการทำงานของร่างกายช้าลง ทำให้เซลล์เสื่อมสภาพเร็วขึ้น

เอนไซม์ในต้นงอกมีหลากหลายชนิดด้วยกัน แต่เอนไซม์ที่ควรให้ความสำคัญในต้นงอก คือ SOD และ โคเอนไซม์ Q10

· SOD (superoxidase dimutase) เป็นเอนไซม์ทีทำหน้าที่ดักจับและทำลายแบคทีเรีย จุลชีพ และของเสียจากเซลล์ ซึ่งถือว่าเป็นเอนไซม์สำคัญในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน

· โคเอนไซม์ Q10 เป็นเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ปกป้องร่างกายจากอนุมูลอิสระ คอยให้พลังงานแก่เซลล์ และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของวิตามินอีในการทำลายสารอนุมูลอิสระ นอกจากนี้ยังเป็นตัวเร่งขบวนการสร้างพลังงานของร่างกายในขบวนการต่างๆ เอนไซม์ชนิดนี้พบในเมล็ดพืชที่ยังไม่ถูกความร้อนเช่น ถั่ว รวมถึงต้นงอก

ปริมาณเอนไซม์จะลดลงเมื่ออายุมากขึ้น ปริมาณเอนไซม์จะมีมากที่สุดในช่วงวัยรุ่น และเมื่ออายุ 80 ปี เอนไซม์จะลดลงถึง 30 เท่า ดังนั้นการกินอาหารที่มีเอนไซม์ตามธรรมชาติจะช่วยเพิ่มพลังชีวิตให้แก่เรา คนที่เหนื่อยง่ายและป่วยง่าย สาเหตุหลักมาจากการกินอาหารที่ขาดแคลนเอนไซม์ อาหารเหล่านั้นนอกจากจะไม่เพิ่มพลังชีวิตให้เรา ยังอาจถูกเปลี่ยนเป็นสารพิษแทน

ที่จริงแล้วเมล็ดพืชทุกชนิดประกอบด้วยเอนไซม์จำนวนมาก แต่ขณะที่เมล็ดนั้นแห้งอยู่เอนไซม์จะไม่ทำงาน เพราะเอนไซม์นั้นจะพักการทำงานชั่วคราวโดยสารยับยั้งที่มีอยู่ในเมล็ดพืช ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เมล็ดพืชสามารถอยู่ในดินได้เป็นเวลาหลายปีโดยไม่เน่าเปื่อย แต่สำหรับมนุษย์ ไม่ควรรับประทานเมล็ดพืชดิบๆเพราะเราไม่สามารถกำจัดสารยับยั้งเอนไซม์ในเมล็ดพืชได้ ดังนั้นเมล็ดพืชจึงเป็นอาหารที่ย่อยยากสำหรับมนุษย์ เราจึงต้องใช้การหุงต้มหรือปรุงให้สุกเพื่อช่วยทำให้ย่อยง่ายขึ้น แต่ความร้อนจากการหุงต้มก็ทำลายคุณค่าของเอนไซม์สำคัญที่อยู่ในเมล็ดนั้นๆ ทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยให้คุณได้รับคุณค่าของเอนไซม์ได้ครบถ้วนและสามารถกำจัดสารยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ได้คือ การปลูกต้นงอก แล้วนำมาบริโภคสด ซึ่งอาจจะเป็นการกินทั้งต้น หรือนำมาคั้นน้ำก็ได้

การปรุงอาหารให้สุกจะทำลายเอนไซม์ที่มีอยู่ในอาหาร นอกจากนี้เอนไซม์ยังอาจถูกทำลายหรือลดปริมาณลงได้ในสภาพต่อไปนี้

o ความเย็น (การแช่เย็น) จะยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ ถึงแม้ว่าการแช่เย็นจะช่วยให้เก็บอาหารได้นานขึ้น แต่คุณค่าของเอนไซม์ก็จะลดลงด้วย

o สารกันบูด (รวมถึงเกลือ) สามารถยืดอายุของอาหารได้โดยสารกันบูดจะยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ และทำลายเอนไซม์ด้วย

o การตากแห้ง จะทำลายเอนไซม์

o อาหารกระป๋อง อาหารสำเร็จรูป จะสามารถเก็บได้นานขึ้น แต่ในขบวนการผลิตจะใช้ความร้อนจากขบวนการผลิตจะทำลายคุณค่าเอนไซม์ทั้งหมด

o คลื่นความร้อนจากไมโครเวฟ สามารถทำลายเอนไซม์ในอาหารได้

เอนไซม์นั้นไวต่อความร้อน และถูกทำลายได้เมื่อความร้อนเกิน 45 องศาเซลเซียส ดังนั้นการหุงต้มที่เราทำกัน (อุณหภูมิจุดเดือดของน้ำที่ 100 องศาเซลเซียส) จึงทำลายคุณค่าของเอนไซม์ที่มีอยู่เกือบทั้งหมด

นอกจากนี้หากอาหารที่กินส่วนใหญ่เป็นอาหารที่ผ่านการปรุงสุกหรืออาหารสำเร็จรูปแล้ว ต่อมที่ทำหน้าที่ผลิตน้ำย่อย เช่นตับอ่อนจะมีขนาดใหญ่ขึ้น เนื่องจากต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อผลิตเอนไซม์ หรือน้ำย่อยมาเพื่อใช้ย่อยอาหารที่ไม่มีเอนไซม์ในตัวมัน ซึ่งอาการอย่างแรกที่แสดงให้เห็นถึงปัญหาการขาดเอนไซม์ คือ ปัญหาเกี่ยวกับการย่อยอาหาร คุณจะพบอาการท้องอืด มีลมในทางเดินอาหาร อาหารไม่ย่อย ท้องเสีย ลำไส้ทำงานไม่ปกติ นอกจากนี้ภาวะขาดเอนไซม์ยังทำให้เกิดโรคและความผิดปกติอีกกว่า 200 อย่าง อาทิเช่น ข้ออักเสบ ผิวหนังอักเสบ ข้อต่อล็อค ขาดพลังงาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเกี่ยวกับระบบไหลเวียนโลหิต มะเร็ง รอยเหี่ยวย่นที่ผิวหนังก่อนวัย อวัยวะต่างๆทำงานได้จำกัด

เราควรกินอาหารสดที่ยังไม่ผ่านการปรุงสุกที่หลากหลาย เพื่อให้ร่างกายได้รับเอนไซม์และทำให้ร่างกายมีสภาพเป็นด่าง ถึงแม้ว่าเราจะไม่สามารถหยุดยั้งอุตสาหกรรมอาหารสำเร็จรูปได้ แต่เราสามารถเลือกได้ว่าจะกินอะไร ซึ่งการบริโภคอาหารพวกต้นงอกเป็นประจำจะช่วยให้คุณได้รับเอนไซม์และสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายในปริมาณมากเลยทีเดียว



เหตุผลอีกประการหนึ่ง ที่ต้นงอกเป็นอาหารอันทรงคุณค่า เพราะต้นงอกเป็นอาหารที่ย่อยง่ายและให้พลังงานสูง เมล็ดพืชที่คุณสามารถนำมาเพาะเป็นต้นงอกได้มีหลายชนิด เช่น

· ตระกูลถั่ว เป็นพืชที่อุดมไปด้วยโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต แต่เมื่ออยู่ในรูปของต้นงอก กลับเป็นอาหารที่ไม่ได้ทำให้เกิดภาวะเป็นกรดในร่างกาย

· ทานตะวัน ประกอบด้วยวิตามินบีและดีสูง นอกจากนี้ยังอุดมไปด้วยกรดอะมิโนจำเป็นหลายชนิด

· งา เป็นแหล่งของแคลเซียม ธาตุเหล็ก ไนอะซิน โปรตีนและฟอสฟอรัส (ฟอสฟอรัสจะช่วยให้คุณรู้สึกกระปรี้กระเปร่า ตื่นตัวและมีสมาธิ และยังเป็นส่วนประกอบของกระดูกและฟันอีกด้วย ดังนั้นจึงเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับทารกและเด็ก)

· อัลฟาฟ่า เป็นเมล็ดพืชที่นิยมนำมาเพาะเป็นต้นงอก เนื่องจากมีคลอโรฟิลล์จำนวนมาก วิตามิน เอ. วิตามิน บี.คอมเพลกซ์ ซี. ดี. อี. จี. เค. นอกจากนี้ยังประกอบด้วยธาตุเหล็ก แคลเซียม ฟอสฟอรัส และซัลเฟอร์ปริมาณมาก)

· ธัญพืช : ต้นงอกของต้นกล้าข้าวสาลีเป็นธัญพืชอัศจรรย์ อุดมไปด้วยสารอาหารนานาชนิด ได้แก่ วิตามิน ซี. อี. บี.คอมเพลกซ์ แมกนีเซียม แคลเซียม ฟอสฟอรัส โซเดียม โพทัสเซียม โปรตีน เอนไซม์ และคลอโรฟิลล์ แต่เมื่อเรานำต้นข้าวสาลีไปปรุงให้สุก กลับเป็นสาเหตุของภาวะภูมิแพ้ ภาวะท้องผูก ในขณะที่ต้นกล้าข้าวสาลีนั้นประกอบด้วยแป้งจำนวนมากซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวซึ่งสามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย

ต้นงอกจัดเป็นพืชมหัศจรรย์ เนื่องมีปริมาณวิตามินและสารอาหารสูงกว่าพืชชนิดเดียวกันที่โตเต็มที่แล้ว พบว่าในต้นงอกบางชนิดมีวิตามินเพิ่มขึ้นถึง 500% ยกตัวอย่างเช่น ต้นกล้าข้าวสาลีมีวิตามิน บี.12 เพิ่มขึ้น 4 เท่า วิตามินบีอื่นๆเพิ่มขึ้น 3-12 เท่า วิตามิน อี. เพิ่มขึ้น 3 เท่า หรือในต้นถั่วงอกมีวิตามิน เอ.มากกว่าเมล็ดถั่วแห้ง 2.5 เท่า หรือ ในเมล็ดถั่วซึ่งแหล่งที่อุดมไปด้วยโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน แต่ปราศจากวิตามิน ซี. เมื่อครั้งที่เรานำมาเพาะเป็นต้นงอก พบว่ามีปริมาณวิตามิน ซี.ในต้นงอก 3.5 ออนซ์ มีมากถึง 20 มิลลิกรัม ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณเลยทีเดียว





สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเครื่องเพาะต้นงอก สามารถชมได้ที่http://www.tribestthailand.com/Freshlife_Automatic_Sprouter.asp

เรียบเรียง โดย บริษัท กู๊ดเฮลท์ ประเทศไทย จำกัด ( 13 / 3 / 2550 )

http://www.goodhealth.co.th/new_page_104.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/09/2011 9:00 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

397 ประโยชน์ของฟ้าแลบ


สถานีกรมอุตุนิยมวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกาประมาณไว้ว่า ในระยะเวลา 1 ปี ฟ้าแลบทำให้ไนโตรเจนตกลงมายังพื้นดิน 2 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 ไร่ เมื่อคิดทั้งโลกจะมีไนโตรเจนตกลงมายังโลกถึง 770 ล้านตันต่อปี

ในระหว่างที่เกิดฟ้าแลบ พลังงานบางส่วนจากฟ้าแลบจะทำให้ไนโตรเจนทำปฏิกิริยาเคมีกับออกซิเจนเกิดเป็นสารประกอบไนโตรเจนมอนอกไซด์ (NO) สารประกอบนี้มีไนโตรเจน 1 อะตอม และออกซิเจน 1 อะตอม มันจะดูดออกซิเจนอีก 1 อะตอมเพิ่มเข้าไป และกลายเป็นไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2)ซึ่งละลายได้ในน้ำฝนกลายเป็นกรดดินประสิว (HNO3) ตกลงมายังพื้นโลก เมื่อกรดดินประสิวรวมตัวกับสาร

เมื่อกรดดินประสิวรวมตัวกับสารเคมีอื่น ๆ จะได้เป็นเกลือไนเตรตซึ่งเป็นอาหารที่ดีของพืช

ดังนั้น ถึงคนขวัญอ่อนจะไม่ค่อยชอบฟ้าแลบนัก แต่ก็ควรทำใจสักนิดให้ชอบสักหน่อยเพราะมีผล
ดีต่อชาวนาที่ผลิตพืชผักผลไม้มาให้เรากินอยู่ทุก ๆ วัน



http://members.fortunecity.com/thehexgirl/science.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 01/09/2011 9:20 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/09/2011 9:02 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

398. ทำไมคนกินหญ้าไม่ได้ ?

วัว ควาย และม้า ล้วนแต่กินหญ้ากินฟางกันได้ ปลวกก็กินไม้ได้ แต่คนเราเห็นจะอดตายแน่ถ้าถูกบังคับให้กินแต่หญ้าแต่ฟาง แท้จริงแล้วอาหารประเภทแป้งที่เรากินกันอยู่ทุกวันนี้ ก็มีโครงสร้างทางเคมีย่อยๆเหมือนกับเซลลูโลสที่เป็นส่วนประกอบหลักของหญ้า ฟาง และไม้ คือทั้งแป้งและเซลลูโลสนั้นเป็นสายยาว ๆ ของน้ำตาลกลูโคสเหมือนกันแต่วิธีการต่อและเรียกตัวของกลูโคสแต่ละโมเลกุลต่างกัน


การย่อยแป้งและเซลลูโลสต้องอาศัยน้ำย่อยหรือเอนไซม์ ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดพิเศษ น้ำย่อยของคนเราย่อยได้เฉพาะแป้งเท่านั้น ทั้งนี้เป็นเพราะการทำงานของน้ำย่อยต้องอาศัยรูปร่างของโมเลกุลสารที่จะถูกย่อยด้วย ถ้าหากสารดังกล่าวมีโมเลกุลที่รูปร่างเหมาะสมกับน้ำย่อยจึงจะย่อยได้ ส่วนแป้งและเซลลูโลส โมเลกุลต่างกัน น้ำย่อยสำหรับแป้งจึงไม่อาจย่อยเซลลูโลสได้


สัตว์ที่กินหญ้า ฟาง และพืชอื่น ๆ เป็นอาหารก็ย่อยเซลลูโลสไม่ได้เช่นกัน แต่ในทางเดินอาหารของสัตว์เหล่านี้มีจุลินทรีย์ที่สามารถสร้างน้ำย่อยออกมาย่อยเซลลูโลสให้แตกตัวเป็นกลูโคสได้ ดังนั้น สัตว์จึงได้กลูโคสจากการย่อยของจุลินทรีย์เป็นอาหาร ในขณะที่จุลินทรีย์ก็ได้อาหารและที่อยู่อันสุขสบายในทางเดิน
อาหารของสัตว์ นับเป็นภาวะที่ต้องพึ่งพากันอย่างเหมาะสมทีเดียว



http://members.fortunecity.com/thehexgirl/science.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/09/2011 10:11 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

399. ตัวอย่างที่ดี ที่ไม่น่าเอาอย่าง


ศักดา ศรีนิเวศน์
s_sinives@yaoo.com


ผู้เขียนได้รับหนังสือที่ดีเล่มหนึ่ง ฉบับภาษาอังกฤษ จาก Dr. Helen Murphy ชื่อ Silent Spring เขียนโดย Rachel Carson เมื่อปี ค.ศ. 1902 (พ.ศ. 2505) และฉบับภาษาไทย โดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ อันดับที่ 34 ซึ่งแปลโดย คุณหญิงดิฐการภักดี (สายหยุด บุญยรัตพันธุ์) และหม่อมวิภา จักรพันธุ์ ชื่อว่า เงามฤตยู (ผู้เขียนเคยแปลว่า ฤดูใบไม้ผลิที่เงียบสนิท) พิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2517

ผู้เขียนได้อ่านหลายเที่ยวทำให้เกิดแรงบันดาลใจ ในการที่จะนำเสนอผลกระทบที่เกิดจากสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชในต่างประเทศ มาเป็นบทเรียนสำหรับประเทศไทย เพราะไม่อยากให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นกับคนไทย และประเทศไทยของเรา ประกอบกับงานที่ผู้เขียนปฏิบัติทั้งในอดีตที่ผ่านมาและปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งผู้เขียนทำงานร่วมกับบุคลากรของกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ และมหาวิทยาลัยต่าง ๆ จึงทำให้งานของผู้เขียนส่วนใหญ่จะออกมาในรูปที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม


จะมีคนไทยสักกี่คน ที่จะสังเกตความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับ คน สัตว์และสิ่งแวดล้อมในบ้านเรา ส่วนใหญ่เมื่อเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับ คน สัตว์ และสิ่งแวดล้อมเรามักจะกล่าวโทษสังคม อุตสาหกรรม เศรษฐกิจ เป็นต้น เช่น พฤติกรรมของคน รูป
ร่างท่าทาง จิตใจ เปลี่ยนแปลง เรามักจะโทษว่าเป็นเพราะสังคม ส่วนหนึ่งถูก แต่ไม่ใช่ทั้งหมดแน่นอน ลึกลงไปกว่านั้น เราน่าจะศึกษาดูตั้งแต่ก่อนที่คน หรือสัตว์ จะก่อเกิด หรืออยู่ในครรภ์มารดาว่าอะไรทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นวิทยาศาสตร์ค่อนข้างจะยาก อีกทั้งต้องใช้เวลามากจึงมีการศึกษาเรื่องนี้น้อยมาก แม้ในต่างประเทศก็ตาม แต่ในปัจจุบันประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศที่ใช้และผลิตสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในอันดับต้น ๆ กำลังให้ความสำคัญที่จะศึกษาในเรื่องความเปลี่ยนแปลงนี้แล้ว ว่ามาจากสาเหตุของการใช้สารเคมีต่าง ๆ ที่มนุษย์เราผลิตขึ้นจริงหรือไม่


Silent Spring หรือฉบับแปลเป็นภาษาไทย ให้ชื่อว่า เงามฤตยู เป็นหนังสือที่เขียนครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2505 ซึ่งผู้แต่งได้เขียนจากประสบการณ์ จากการสังเกตุ และจากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ ผู้แต่งได้บรรยายว่า

ทุกสิ่งบนโลกนี้ธรรมชาติได้รังสรรค์ สร้างขึ้นมาให้มีความสัมพันธ์กันอย่างลงตัว แต่มนุษย์เองคือผู้ทำลายธรรมชาติเป็นอันดับหนึ่ง ทำลายน้ำ ทำลายดิน ทำลายความบริสุทธิ์ของอากาศ ด้วยการใช้สารเคมีต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช

ซึ่งถ้านับจากปีที่ผู้แต่งเขียนไว้เมื่อปี พ.ศ. 2505 จนถึงปีปัจจุบัน 2545 เป็นเวลา 40 ปีแล้ว เหตุการณ์ต่าง ๆ หรือพิษภัยจากสารเคมีที่เกิดขึ้นกับ คน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม มิได้ลดลงเลย กลับเลวร้ายมากกว่าด้วยซ้ำ

สาเหตุสำคัญมากจากสำนึกในความรับผิดชอบของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ไม่ดีขึ้น ประเทศผู้ผลิตสารเคมีพยายามส่งเสริมประเทศด้อยพัฒนา ให้ใช้สารเคมีมากขึ้น แต่ขณะเดียวกันกับรับซื้อเฉพาะผลผลิตที่ไม่มีสารเคมีตกค้าง เป็นพฤติกรรมการปฏิบัติที่สวนทางกันอย่างเห็นได้ชัด เมื่อสารเคมีกำจัดศัตรูพืชไม่ดี และประเทศตัวเองไม่ยอมรับแล้วส่งสารเคมีไปขายให้ประเทศอื่นทำไม ?


"สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ประกอบไปด้วยสารเคมีซึ่งมีอานุภาพฆ่าแมลงทั้งดีและเลวทุกชนิดอย่างไม่เลือก สามารถระงับเสียงร้องของนก และเสียงกระโดดจ๊อมแจ๋มของปลาได้อย่างดี ทั้งเคลือบใบไม้ ผลไม้ด้วยฝ้าอันเป็นพิษ และตกค้างอยู่ในน้ำและดินได้เป็นเวลานาน โดยที่เป้าหมายที่เราต้องการ คือ ทำลายวัชพืชเพียงไม่กี่ต้น หรือแมลงเพียงไม่กี่ตัว สารเคมีเหล่านี้สามารถทำลายสิ่งมีชีวิตบนโลกนี้ให้หมดสิ้น จนกระทั่งสิ่งมีชีวิตไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ จึงควรเรียกสารเคมีเหล่านี้ว่า สารทำลายโลก "



คำพูดของ Rachel ไม่มีผิดเลย สี่สิบกว่าปีที่ผ่านมา ประเทศไทยสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติอันเนื่องมาจากการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชไม่มิใช่น้อย หรือสิ่งมีชีวิตบางอย่างสูญพันธุ์ไปเลย

สมัยก่อนบ้านผู้เขียนทำนาปลูกข้าว ยังวางเบ็ดหาปลาในนาข้าวได้ ช้อนกุ้งฝอยในลำรางได้ เมื่อเกี่ยวข้าวแล้วยังหาปลาตกคลักในหนองน้ำในนาได้ ยังทำหลุมโจร (หลุมดักปลา) หรือวางลอบ วางไซ ตามทางน้ำไหลได้ ปัจจุบันนี้ไม่มีแล้ว เด็กรุ่นใหม่ไม่รู้จักหน้าค่าตา เครื่องมือหากินพื้นบ้านของชาวนาดั้งเดิมแล้ว ชาวนาต้องซื้อปลาจากตลาดมาบริโภค สาเหตุที่สำคัญก็คือ ชาวนารุ่นใหม่ใช้สารเคมีในนาข้าวมาก จนไม่มีสิ่งมีชีวิตใดหลงเหลือในนาข้าว

ผู้เขียนเคยไปสำรวจการระบาดของหอยเชอรี่ในนาข้าว ท่านเชื่อไหมว่าในแปลงนาที่ชาวนาใช้สารเคมีฆ่าแมลงมาฆ่าหอยเชอรี่ เงียบสนิทไม่มีสิ่งมีชีวิตใดหลงเหลืออยู่เลยถ้าจะมีเหลือก็คือ ชีวิตของชาวนาที่ยืนอยู่บนผืนนาเท่านั้น เงียบสนิทจนผู้เขียนได้ยินเสียงลมหายใจของตัวเอง


"สิ่งแวดล้อมของมนุษย์แปดเปื้อนด้วยสารเคมี ซึ่งเป็นอันตรายแก่ชีวิตอย่างไม่น่าเชื่อสารเหล่านี้จะสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อของพืช คน และสัตว์ทั้งยังอาจซึมทะลุเข้าไปในเซลล์สืบพันธุ์เพื่อทำลายหรือเปลี่ยนแปลงหน่วยพันธุกรรม ที่จะกำหนดลักษณะของอนาคตของชีวิตด้วย "



มีสารเคมีหลายชนิด โดยเฉพาะในกลุ่มของ Organochlorine จากการศึกษาพบว่า ในมารดาที่ตั้งครรภ์ หากได้รับสารเคมีเข้าไปอาจก่อให้เกิดความสับสนในกำหนดเพศของสิ่งมีชีวิตในครรภ์ได้ (Sex organs confussion)

ท่านสังเกตไหม ปัจจุบันทั่วโลกมีคนที่มีพฤติกรรมทางเพศเบี่ยงเบนเพิ่มมากขึ้น (กะเทย, ทอม) ซึ่งพวกเรามักกล่าวว่าเกิดจากปัญหาสังคม แต่ไม่ค่อยมีใครคิดหรือคำนึงเลย ว่าอาจจะเกิดผลกระทบของสารเคมีที่ปนเปื้อนมากับอาหาร น้ำดื่ม และสิ่งแวดล้อม ทารกที่เกิดใหม่ไม่ค่อยสมบูรณ์ ต้องเข้าตู้อบเป็นจำนวนเพิ่มมากขึ้น การให้กำเนิดบุตรยาก เพราะสารเคมีบางชนิดจะเข้าไปบล๊อค ต่อมหรืออวัยวะภายในที่ให้กำเนิดบุตร นำเชื้อ (Sperms) ของเพศชายอ่อนแอหรือปริมาณน้อยลงจนไม่สามารถเข้าปฏิสนธิในรังไข่ได้ เป็นต้น

เด็กที่เกิดใหม่มีปัญหาโรคหอบหืด โรคภูมิแพ้มากขึ้น แม้แต่อัตราการตายของของเด็กจากมะเร็ง หรือโรคลูคีเมียก็เพิ่มมากข้น การพัฒนาการเรียนรู้ผิดปกติ เด็กมีความพิการเพิ่มมากขึ้น สิ่งที่เป็นเรื่องยืนยันได้ดีก็คือ หน่วยงานด้านการป้องกันสิ่งแวดล้อมในประเทศสหรัฐอเมริกา (United States Environmental Protection Agency หรือ EPA) กำลังระดมนักวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ เร่งศึกษาเพื่อหาสาเหตุให้ได้ว่ามีสารคเมีหรือสิ่งใดที่ก่อให้เกิดปัญหาดังกล่าวข้างต้นกับเด็กอเมริกันในปัจจุบันนี้ เพราะทารกหรือเด็กจะมีอัตราความเสี่ยงจากพิษของสารเคมีที่ได้รับมากกว่าผู้ใหญ่ ซึ่งผู้เขียนได้เคยนำเสนอรายละเอียดไว้ในเรื่องภัยในบ้านที่ไม่ควรมองข้าม


ที่ผ่านมีการศึกษาพบว่าสารเคมีจำพวกกลุ่ม Organochlorine เช่นพวก ดีดีที ดิลดริน และคลอร์เดน (ปัจจุบันประเทศไทยได้ห้ามใช้แล้ว) สามารถตกค้างอยู่ในดินหรือสภาพแวดล้อมนานถึง 30 ปี หรือกว่านั้น จึงไม่น่าแปลกใจว่าแม้ประเทศไทยจะห้ามใช้สารกลุ่มดังกล่าวแล้ว (ยกเว้น เอ็นโดซัลแฟนยังใช้อยู่ โดยเฉพาะใช้ฆ่าหอยเชอรี่) ก็ยังมีการตรวจพบสารเคมีกลุ่มดังกล่าวตกค้างในผลผลิตทางการเกษตร ของบ้านเรา ซึ่งสารเคมีกลุ่มนี้จะละลายได้ดีในไขมัน เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะเข้าไปสะสมอยู่ในอวัยวะที่มีไขมัน เช่น ต่อมหมวกไต (adrenal) ลูกอัณฑะหรือไทรอยด์

นอกจากนั้นจะพบที่ตับและไขมันของเยื่อหุ้มลำไส้ ในการทำการทดลองกับสัตว์ทดลองพบว่า 3 ส่วนในล้านสามารถหยุดยั้งการผลิตเอนไซม์ที่จำเป็นสำหรับกล้ามเนื้อหัวใจได้เ พียง 5 ส่วน ในล้านส่วนทำให้เกิดการตายเฉพาะส่วน (necorsis) ของเซลในตับปริมาณที่สะสมจนเกิดการเจ็บป่วยของคนและสัตว์จะไม่เท่ากัน แตกต่างกันไปตามความแข็งแรงและความต้านทานของแต่ละคน เป็นไปได้ไหมที่อัตราการตายด้วยโรคหัวใจวายอย่างเฉียบพลันในบ้านเราที่เพิ่มขึ้น อาจมีสาเหตุมาจากสารเคมีที่ปนเปื้อนในอาหาร ?

"กว่า 50 ปีมาแล้ว ดร. ดับบิว ซี ฮุปเปอร์ แห่งสถาบันมะเร็งแห่งชาติของสหรัฐอเมริกาได้เคยเตือนว่าอันตรายของมะเร็งจากการดื่มน้ำที่มีสารเคมีเจือปนจะเพิ่มขึ้นอย่างมากในอนาคต และจากการสำรวจในประเทศเนเธอร์แลนด์ ในปี ค.ศ.1950 (พ.ศ. 2493) ก็ได้สนับสนุนความเห็นที่ว่าน้ำที่ไม่สะอาดอาจทำให้เกิดมะเร็งได้ เมืองใหญ่ ๆ ที่ทำน้ำประปาจากแม่น้ำสถิติคนตายด้วยมะเร็งสูงกว่าที่ที่ใช้น้ำที่มีสิ่งไม่บริสุทธิ์หรือสารเคมีเจือปนน้อย เช่น น้ำบ่อ เป็นต้น"

ในบ้านเรายังไม่มีใครศึกษาด้านนี้ หรือหากมีก็คงไม่กล้าที่จะนำเสนอผลการศึกษา เพราะถ้าผลออกมาเป็นทางลบก็คงจะถูกโจมตีจากผู้เสียผลประโยชน์อย่างแน่นอน

"ในหมู่สัตว์น้อยใหญ่ที่อยู่ในดิน คงจะไม่มีชนิดใดมีความสำคัญเกินกว่าไส้เดือน ชาร์ลส์ ดาร์วิน ได้แต่งหนังสือเล่มหนึ่งเมื่อร้อยกว่าปีมาแล้ว ชื่อการกำเนิดเชื้อราของพืชด้วยความช่วยเหลือของไส้เดือนและการสังเกต ดูการปฏิบัติงานของมัน ทำให้โลกได้เข้าใจเป็นครั้งแรก ถึงหน้าที่ของไส้เดือนในฐานะที่เป็นตัวการในการขนย้ายดิน

จำนวนดินที่ไส้เดือนช่วยพลิกขึ้นมาในปีหนึ่ง ๆ นั้น เป็นตัน ๆ ต่อ 1 เอเคอร์ สำหรับพื้นที่บางแห่งในขณะเดียวกัน จำนวนสารอินทรีย์ที่มีอยู่ในใบไม้และหญ้าประมาณ 20 ปอนด์ต่อ 1 ตารางหลา ในระยะเวลา 6 เดือน ก็จะถูกกลบและกลายเป็นดิน ดาร์วินคำนวนออกมาแสดงว่าการพลิกดินของไส้เดือนนี้อาจทำให้หน้าดินเพิ่มขึ้น 1-1 ? นิ้ว ในระยะเวลา 10 ปี และนี่ไม่ใช้งานชิ้นเดียวของไส้เดือนเท่านั้น เพราะรูที่ไส้เดือนอยู่นั้นทำให้ดินโปร่งระบายน้ำได้ดี และช่วยให้รากต้นไม้เจริญเติบโตได้สะดวก ช่วยให้แบคทีเรียในดินผลิตไนโตรเจนได้ดีขึ้น และลดการเน่าหมักในดินด้วย สารอินทรีย์จะเกิดการสลายตัวเมื่อผ่านเข้าไปในระบบทางเดินอาหารของไส้เดือน และดินจะได้ปุ๋ยจากสิ่งที่ไส้เดือนถ่ายออกมา"


การใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชในบ้านเรา โดยเฉพาะสารเคมีกำจัดแมลงจะโดยการฉีดพ่น ที่ต้นหรือใส่ในดินก็ตาม หรือการใช้สารกำจัดวัชพืช และปุ๋ยวิทยาศาสตร์เหล่านี้ ล้วนทำลายจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดินรวมไปถึงไส้เดือนด้วย เพราะฉะนั้น พื้นที่การเกษตรใดที่ไม่มีไส้เดือนอยู่เลย อาจพูดได้ว่าดินตาย แล้ว โดยสังเกตดูได้จากพื้นดินที่ปลูกไม้ผลที่ใช้สารเคมีหรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์ในปริมาณที่มาก จะไม่พบร่องรอยมูลของไส้เดือนที่ถ่ายออกมาเลย ไส้เดือนจึงเป็นตัวชี้วัดถึงความอุดมสมบูรณ์ของดินและพฤติกรรมการใช้สารเคมีของเจ้าของที่นั้นด้วย


"สารเคมีกำจัดวัชพืชที่ใช้มากในสหรัฐอเมริกาเช่น 2,4-D (สำหรับพืชใบกว้าง) และพาราควอท หรือสารผสมอื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน มีปัญหาที่ว่าสารเหล่านี้เป็นพิษ หรือไม่นั้นเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันมานาน มีรายงานว่าในที่ฉีดพ่นสนามหญ้าด้วย 2,4-D จนร่างรายเปียกสารเคมี บางคนมีอาการเป็นโรคประสาทอักเสบ หรือเป็นอัมพาต ถึงแม้ว่าอาการเช่นนี้จะไม่ปรากฏบ่อยนัก อันตรายอย่างอื่น ซึ่งเร้นลับกว่าโรคประสาทและอัมพาต ก็อาจเกิดขึ้นได้จากการใช้ 2,4-D มีการทดลองแสดงให้เห็นว่าสารเคมีชนิดนี้ รบกวนการหายใจของเซลล์ และมีพิษต่อหน่วยสืบพันธุ์ (Chromosome)"



แม้ว่าจะมีรายงานต่าง ๆ เกี่ยวกับสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชออกมากว่า 50 ปีแล้ว แต่ผู้คนก็ยังไม่ตระหนัก ผู้ที่ได้ผลประโยชน์จากสารเคมีก็พยายามที่จะปกปิดข้อมูลเหล่านี้ ไม่ให้เกษตรกรหรือผู้ใช้ทราบ เพราะเกรงว่าจะเสียรายได้

ส่วนเกษตรกรโดยเฉพาะเกษตรกรบ้านเรา ก็ไม่ค่อยจะได้รับข้อมูลในลักษณะนี้มากนัก เพราะคงไม่มีใครเป็นสปอนเซอร์ให้กับนักจัดรายการวิทยุหรือโทรทัศน์เพื่อเผยแพร่เรื่องอันตรายของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชทุก ๆ วัน คงมีแต่รายการส่งเสริมหรือมอมเมาให้เกษตรกรใช้สารเคมีให้มากขึ้นเท่านั้นที่มีสปอนเซอร์

ถ้าสังเกตจะเห็นได้ว่าการโฆษณาสารเคมีต่าง ๆ ในโทรทัศน์บ้านเรา ภาพที่สื่อออกมาหลายอย่างไม่ถูกต้องและอันตราย ซึ่งไม่ได้รับการเหลียวแล จากผู้รับผิดชอบไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานที่ควบคุมการโฆษณาโดยตรง หรือควบคุมสารเคมี คงปล่อยให้เป็นแบบเสรี รวมทั้งการโฆษณาทางสถานีวิทยุ ซึ่งผู้จัดรายการจะนำเสนอแต่สิ่งที่ตนคิดว่าดีที่สุดที่จะทำให้ขายผลิตภัณฑ์ของตนเองได้มากที่สุด

เราปล่อยให้มีการโฆษณาเผยแพร่ยาพิษมาก ยิ่งกว่ายารักษาโรคของคนด้วยซ้ำ มากเสียจนมองว่าเป็นเรื่องปกติไม่มีอันตราย ไม่มีแม้กระทั่งคำเตือนในขณะโฆษณาเหมือนเครื่องดื่มชูกำลังที่ถูกบังคับให้มีคำเตือน หรือบุหรี่ที่ถูกห้ามโฆษณา แม้กระทั่งดาราในภาพยนต์สูบบุหรี่ยังบังคับให้เซนเซอร์ทั้งๆ ที่เด็กดูก็ยังรู้เลยว่าเขาสูบบุหรี่ไม่ได้ดูดนิ้วมือ อาจเป็นเพราะไม่เข้าใจว่าสารเคมีอันตรายเพียงใด คนไม่สูบบุหรี่ ไม่อยู่ใกล้คนสูบบุหรี่ ก็คงไม่มีอันตราย

แต่ถ้าไม่หยุดการส่งเสริมการใช้สารเคมีทางสื่อดังกล่าว ด้วยการโฆษณาละก็ พวกเราทั้งประเทศก็คงต้องเจ็บป่วย และตายผ่อนส่งกันทั้งประเทศ จากการกินอาหารที่ปนเปื้อนสารเคมี เกษตรกรก็คงต้องยากจนแบบยั่งยืนถาวร (ไม่ใช่เพราะทำเกษตรแบบยั่งยืน) เพราะใช้สารเคมีโดยไม่จำเป็น และเราก็ไม่มีอะไรจะคุยหรือสร้างความมั่นใจให้กับพ่อค้าต่างชาติที่จะซื้อผลผลิตเกษตรอินทรีย์ หรือปลอดภัยจากสารพิษของเราได้

แม้ว่านโยบายของประเทศ ที่บอกว่าประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางเกษตรอินทรีย์โลกแต่จะเป็นได้อย่างไร เพราะไม่มีปฏิบัติการใด ๆ เลย ที่สนับสนุนนโยบายนี้ นอกจากงบประมาณที่รัฐจัดให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ดำเนินการรณรงค์ลดการใช้สารเคมี ซึ่งหากเปรียบเทียบงบประมาณที่บริษัทสารเคมีทุ่มโฆษณาสารเคมีตัวเดียว งบของรัฐไม่ถึงหนึ่งเปอร์เซ็นต์ของบริษัทเลย

รัฐควรห้ามโฆษณาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชทางโทรทัศน์ และวิทยุได้แล้ว อย่างน้อยก็เพื่อพิสูจน์ให้ประเทศลูกค้าของเราเห็นว่ารัฐไม่สนับสนุนการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชอย่างเป็นรูปธรรม

เพื่อสนับสนุนนโยบายศูนย์กลางเกษตรอินทรีย์โลกอีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคนไทยทั้งประเทศ และสิ่งแวดล้อม แถมได้บุญอีกด้วย.




http://previously.doae.go.th/report/sukda/noGood/on.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/09/2011 10:44 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

400. ประเทศไทยอุดมสมบูรณ์มากกว่าประเทศอื่นจริงหรือเปล่าครับ ?

เป็นวลีที่ได้ยินบ่อยๆ ผมสงสัยว่ามันเป็นความจริงหรือเปล่าครับ
เราโชคดีที่มีทรัพยากรมากกว่าประเทศอื่นๆหรือว่าจริงๆแล้วเราคิดกันไปเอง
ประเทศอื่นๆเขาก็มีทรัพยากร อาหาร พืชผัก แร่ธาตุไม่ได้น้อยไปกว่าเราเลย
ตกลงเรื่องจริงเป็นอย่างไร ใครพอมีความรู้ ไปมาหลายๆประเทศ มีข้อมูลทางสถิติ
ช่วยอธิบายให้ฟังหน่อยครับ

ในคอลัมบ์ของ คำ ผกา ในมติชนสุดสัปดาห์นี้ก็มีการตั้งคำถามถึงประเด็นนี้
เช่นกันผมจึงขอตัดข้อความหลักๆในบทความมานะครับ มีสองรูป








ด้านคุณภาพเราอาจจะอันดับไม่สูง เพราะเรายังอยู่ในรูปแบบของการผลิตเอาปริมาณมากกว่าคุณภาพ ทำให้เน้นแต่ผลิตมากๆ ไม่เน้นการผลิตที่ได้คุณภาพนัก แต่เรื่องนี้เกือบทุกประเทศเป็นกันทั้งนั้น มีประเทศไหนบ้างที่ทำการเกษตรไม่ใช่ยาฆ่าแมลงเลย ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีเลย ไม่มีหรอกใช้กันทุกประเทศ แค่มาก-น้อยเท่านั้น กับการทิ้งระยะในการใช้

ก็คงต้องมีการเปลี่ยนแปลงกันเสียที จากการผลิตเน้นปริมาณ เราควรจะหันมาเน้นคุณภาพ ผลิตน้อยๆแต่ได้ของดีดีกว่า พวกเกษตรอินทรีย์ปลอดสารพิษนั้นได้ราคาดีกว่า และไม่ต้องห่วงว่าจะขายไม่ได้ ของที่ปลอดภัยต่อสุขภาพใครๆก็อยากซื้อมากกว่าอยู่แล้ว

แต่ถ้าจะถามถึงความอุดมสมบูรณ์ มีทรัพยากรสามารถผลิตอาหารเลี้ยงชาวโลกแล้ว FAO เขานับว่าเราเป็น 1 ใน 6 ประเทศ ที่มีศักยภาพสามารถผลิตอาหารเลี้ยงชาวโลกได้


บทความว่าไว้อย่างไร คุณ จขกท คิดถูกแล้วครับ ผลผลิต่อไร่ของข้าวยังสู้จีนไม่ได้เลย บ้านเราอุดมสมบูรณ์ก็จริงแต่ไม่ใช่ว่าเราจะอุดมสมบูรณ์ที่สุดในโลก ประเทศอื่นในภูมิภาคเดียวกันก็มีศักยภาพในการผลิตได้มากเท่ากับเรา เพียงแต่ว่ายังไม่มี
ระบบการบริหารจัดการที่ดีเท่านั้น

ดูตัวอย่างง่ายๆ หมูเกาะของพม่าในทะเลอันดามัน มีนับร้อยเกาะ หากบริหารจัดการได้ดีเท่ากับบ้านเรา รับรองว่าการท่องเที่ยวบ้านเราจบเห่แน่นอน หิมะเขาก็มี ทรัพยากรทางธรรมชาติ ป่าไม้ สินแร่ เขาก็มีมากกว่าเราเยอะ

คนไทยมักจะโดนหลอกล่อให้ลุ่มหลงอยู่กับศักดิ์ศรีบ้าๆ จอมปลอมหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเราไม่เคยเป็นเมืองข้นของใคร เราในน้ำมีปลา ในนามีข้าว เรามีความเจริญทางจิตใจมากกว่าวัตถุ ประเทศเราดีที่สุดในโลกแล้ว ไม่ต่างอะไรไปจากคนตาบอด
มองโลกด้วยตาที่ถูกปิดอยู่ หรือหลับตาข้างหนึ่งโดยเลือกมองแต่สิ่งที่ดี ไม่มองสิ่งที่ไม่ดีเลย มิหนำซ้ำที่ร้ายที่สุดคือยอมรับความจริงอันเลวร้ายชั่วช้าและโสมมที่เกิดขึ้นในสังคมไม่ได้

อย่างที่ผมพูดไปบ่อยๆ ว่าปัญหาในบ้านเมืองนั้นไม่ได้เกิดจากคนไม่รู้จักปัญหา หรือไม่มีปัญญาแก้ไขปัญหา แต่เกิดจากการที่เราไม่ยอมรับว่ามันคือปัญหา หรือหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงปัญหามากกว่า ปัญหามันก็เลยยังมีอยู่ โดยที่ไม่ได้รับการแก้ไขแถม
ยังยอมรับว่าป็นเรื่องธรรมดา เช่น ความหย่อนยานในวินัยของคนไทย การเอารัดเอาเปรียบจากผู้ที่มีอำนาจ การคอรัปชั่น การใช้เส้นสาย เป็นต้น


ประเทศเราอวยตัวเอง เก่งติดอันดับต้นๆ ของโลกใครที่ไม่อวยประเทศตัวเอง ก็จะโดนบอกว่าเลว ไม่รักชาติ และถูกขับไล่ไปประเทศอื่นๆ

ผลก็คือคนที่ไม่อวยตัวเอง ก็จะต้องพยายามไปอยู่ในประเทศที่ไม่อวยตัวเอง (แต่นับถือฝีมือ ความสามารถ ทักษะ ฯลฯ)ส่วนคนในประเทศ ก็จะถูกคัดกรองให้เหลือแต่ที่อวยตัวเองมากขึ้นๆๆ แล้วก็จะเป็นวัฎจักรแบบนี้ไปเรื่อยๆ...


กระทรวงเกษตรของไทย สนับสนุนให้เกษตรกร ปลูก หรือเลี้ยงอะไรก็ตาม

คุณภาพมันมักจะห่วยลง รวมถึงราคาด้วย

เดี๋ยวนี้มะม่วงมันชั้นเลิศอย่างพิมเสนมัน มะม่วงหนองแซง หายไปแล้ว เหลือฟ้าลั่นเขียวเสวยที่ผ่านการปรับปรุงพันธ์ให้ผลโต น้ำหนักดี แต่รสชาติเหมือนมันแกว

มะขามหวาน..ลองกอง ที่รสชาติไม่เหมือนในอดีตอีกแล้ว

กุ้งขาว ที่เหม็นคาว ปลานิลปลาทับทิม ที่หาความอร่อยไม่เจอเลยถ้าไม่ใช่ปลาสดเพิ่งขึ้นจากน้ำนำไปปรุง


มะม่วงอกร่องกำลังสูญพันธ์ เพราะแรงหนุนมะม่วงน้ำดอกไม้ติดตลาด ต้องทนกินมะม่วงที่เหมือนมีกลิ่นสนิมติดในเนื้อมะม่วง

มีอีกหลายอย่างที่เราได้แต่เสียดาย และเซ็ง

อีกคำนึงที่เกลียดมากและได้ยินในสื่อบ่อยๆ "ชาวนามีพระคุณต่อคนทั้งโลก ชาวนาไทยเลี้ยงคนทั้งโลก"

มันเป็นคำที่เอาไว้อวยตัวเอง เอาไว้หลอกคนให้จมอยู่กับการทำนามากกว่า



ดูทุ่งนาเมกาซิครับสุดลูกหูลูกตา ทำไมมันอุดมสมบูรณ์ขนาดนี้ ทำไมเกษตรกรเขาอยู่ได้อย่างสบายกว่าชาวนาเราเยอะ ทั้งที่ในทีวีเห็นแต่คนรักชาวนา รักควาย ไมอยากให้คนไปทำอาชีพอื่น

เพื่ออะไรกันแน่?




ไม่เห็นด้วยกับการนำบทความนั้นมาตีความว่าประเทศไทยไม่อุดมสมบูรณ์ครับ

1. อ่านดูดีๆครับ การเปรียบเทียบในบทความนั้น เอาไทยไปเทียบกับ "ประเทศทั้งโลก" เลยนะครับ เรียกว่าจับสินค้าแต่ละอย่างไปชนกับประเทศทั่วโลกเลยอ่ะ แล้วจะสู้ได้ไงล่ะคร้าบบบ!!
- กะปิไทยชนะได้ไม่รู้กี่ร้อยประเทศ แพ้ปีนัง(มาเลฯ)ที่เดียว ไทยดับเลยเหรอ!? บางประเทศไม่มีกะปิกินด้วยซ้ำ
- ปลาเค็มไทย เค็มชนะได้ไม่รู้กี่ประเทศ แพ้ฮ่องกงที่เดียว ไทยดับเลยเหรอ!?
- ผลไม้ไทยดีกว่าหลายประเทศ พอแพ้จีนไปประเทศนึงหรือแพ้ประเทศอื่นๆอีกสัก 10 ประเทศ ไทยดับเลยเหรอ!?
...
...
แค่เทียบกับผลิตภัณฑ์ 3 อย่าง คือกะปิ ปลาเค็ม ผลไม้ ... ไทยเราประเทศเดียว ก็เจอคู่ต่อสู้ไป 3 ประเทศแล้ว ... อย่างนี้มัน 3 รุม 1 นี่ครับ!! -*-
แล้วที่บทความนี้ยกมาน่ะ ประเทศทั้งโลกเลยนะครับ!! -*-
มันก็ไม่แปลกที่จะมีประเทศใดประเทศหนึ่งบนโลกนี้ หรือหลายประเทศ ที่ทำหรือผลิตสินค้านั้นๆได้ดีหรือมากกว่าไทยไม่ใช่หรือครับ!! -*-
อย่างเรื่องส่งออกไข่ไก่ เนื้อ อะไรต่างๆนั่น แน่นอนว่ามีประเทศที่ทำได้ดีกว่าไทยหลายประเทศ
แต่ถามหน่อยว่าบนโลกนี้มีประเทศอยู่ 190 กว่าประเทศ ไทยได้ที่แย่กว่า 95 หรือเปล่า?
ถ้าไทยได้ที่แย่กว่า 95 ผมก็ยอมให้พูดได้ครับ ว่าไทยเราไม่ได้เรื่อง เรื่องการส่งออกไข่ไก่ กับเนื้อเลย -*-
แต่ผมว่าไทยเราได้ที่ดีกว่า 95 แน่ๆ

2. การเปรียบเทียบ ไม่ได้เทียบเป็นตารางกิโลเมตรนี่ครับ ว่าต่อพื้นที่ต่อ 1 ตารางกม. เราผลิตสินค้าได้เท่าไหร่ แต่นี่เล่นเทียบประเทศต่อประเทศเลย!!
สมมุติว่าจีนผลิตผลไม้ส่งออกได้มากกว่าไทย 10 เท่า แปลว่าจีนชนะหรือครับ??
ในเมื่อจีนมีพื้นที่ 9.5 ล้าน ตารางกิโลเมตร ส่วนไทยมีพื้นที่ 5 แสน (พื้นที่จีนมากกว่าไทย 19 เท่า แถมถ้าเทียบเป็นจำนวนประชากรก็เยอะกว่า 19 เท่าแน่ๆ ... เราส่งออกแพ้เค้าก็ยอมๆเค้าไปเหอะ กีฬาโอลิมปิกก็เหมือนกัน คนเยอะขนาดนั้น ยอมๆเค้าไปเห้อ~~~ -*-)


ส่วนตัวมองว่า
เรื่องไทยเราอุดมสมบูรณ์นั้นเรื่องจริงนะครับ ไม่ได้เป็นการอวยอะไรเลย
ทำเลที่ตั้งเรา "เอื้อ" ต่อการเกิดความหลากหลายทางชีวภาพที่ดีมากๆประเทศหนึ่งครับ แต่สิ่งที่ควรหันกลับมามอง ไม่ใช่ความผิดของธรรมชาตินะครับ ไม่ใช่ว่าพอเราสู้เค้าไม่ได้ ก็โทษธรรมชาติว่าเราไม่ได้อุดมสมบูรณ์จริงซะหน่อย เราคิดไปเอง บลาๆๆๆ
...
สิ่งที่ควรหันกลับมามองก็คือ ธรรมชาติเราเอื้อจริงอยู่ แล้วเรารักษาไว้ได้ไหม?
เราใช้ได้อย่างคุ้มค่าไหม? หรือได้แต่ทำลายไปเรื่อยๆ? ธรรมชาติเราเอื้อถึงขนาดนี้ เราน่าจะทำได้ดีกว่านี้อีกเยอะใช่ไหม?
... ตรงนี้ต่างหากครับ

โทษคนไทยกันเองดีกว่าครับ อย่าไปโทษธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมเลย


http://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2011/04/X10479066/X10479066.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 02/09/2011 5:42 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

401. น้ำ กับการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช


ศรีนรา แมเร๊าะ คณะทรัพยากรธรรมชาติ
เรียบเรียง/ดำเนินรายการ


ผู้ดำเนินรายการ สวัสดีค่ะ คุณผู้ฟังคะ การใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชเป็นวัสดุสำคัญที่เกษตรกรจะต้องนำมาใช้เพื่อเป็นการบำรุงรักษาดูแลต้นพืช แต่ที่ผ่าน ๆ มามีเกษตรกรบางรายใช้สารป้องกันศัตรูพืชแล้วไม่ได้ผล ยังคงมีศัตรูพืชมาทำลาย อาจจะเนื่องจากสาเหตุอื่นๆ เช่น การใช้สารที่ไม่ตรงกับศัตรูพืชที่เกิด หรือเพราะการดื้อยาของศัตรูพืช การผสมตัวสารกับน้ำที่อาจจะไม่ได้สัดส่วนที่กำหนด และปัญหาของการใช้น้ำที่มาผสมก็มีส่วนด้วยมากค่ะ นั่นคือคุณสมบัติของน้ำที่ดีในการนำมาใช้กับสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชไม่ว่าจะเป็นสารเคมีหรือสารสกัดจากธรรมชาติ จะต้องใส และสะอาด ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และมีสภาพเป็นกลาง ไม่มีความเป็นกรด-ด่าง หรือเป็นน้ำกร่อย ความแตกต่างของน้ำมีผลโดยตรงต่อการพ่นสาร และสืบเนื่องมาถึงการเกิดปฏิกิริยาต่อต้นพืชและแมลงศัตรูพืชด้วย วันนี้รายการสาระความรู้ทางการเกษตร คณะทรัพยากรธรรมชาติ ขอแนะนำน้ำที่มีคุณสมบัติที่ดีและที่ไม่ดีที่จะเกิดกับประสิทธิภาพของการกำจัดแมลงศัตรูพืช มาบอกกล่าวค่ะ คือ

น้ำที่ใช้จะต้องเป็นน้ำที่สะอาดมีส่วนผสมของของแข็งน้อยที่สุด โดยปกติแล้วน้ำที่มีความขุ่นหรือสกปรกจะมีอนุภาคของของแข็งเช่น ดิน ผสมอยู่มาก อนุภาคเหล่านี้จะจับเกาะกับอนุภาคของสารเคมี ทำให้ประสิทธิภาพของการป้องกันกำจัดศัตรูพืชลดลง รวมทั้งจะมีผลต่อการอุดตันของหัวฉีดและเกิดการสึกกร่อนของหัวฉีดได้ง่าย วิธีแก้ไขปัญหานี้คือ ตักน้ำใส่ภาชนะที่สะอาดทิ้งไว้ค้างคืน ปล่อยให้มีการตกตะกอน และตักน้ำส่วนบนที่สะอาดมาผสมกับสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช

คุณสมบัติที่ 2 ที่จะต้องใช้น้ำผสมกับสารป้องกันศัตรูพืชคือน้ำที่มีสภาพเป็นกลาง หากเป็นน้ำที่มีสภาพความเป็นกรดหรือด่างเกินไป จะทำให้เกิดการเสื่อมฤทธิ์หรือสลายตัวของสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยตรง โดยปกติน้ำที่มีสภาพเป็นด่างสูงมาก จะทำให้เกิดการสลายตัวของสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชมากขึ้น โดยเฉพาะสารกลุ่มคาร์บาเมต ออร์กาโนฟอสเฟต และไพรีทรอยด์ การสลายตัวจะเกิดขึ้นค่อนข้างรวดเร็ว สำหรับน้ำในบางพื้นที่ที่มีความกระด้างสูงก็ไม่สามารถนำมาใช้ได้เช่นกัน เพราะจะมีส่วนผสมของแคลเซียมและแมกนีเซียม ดังนั้นเมื่อนำมาผสมกับสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช จะมีผลให้การผสมเข้ากันไม่ดี จึงไม่ควรนำน้ำกระด้างมาใช้ คุณสมบัติของน้ำกระด้างคือ จะเกิดฟองน้อยมากเมื่อละลายน้ำสบู่ และคุณสมบัติสุดท้ายที่สามารถนำมาใช้ร่วมกับสารป้องกันศัตรูพืชได้ผลคือน้ำที่มีส่วนผสมของเกลือต่ำ หากเป็นน้ำที่มีส่วนผสมของเกลือมากเกินไป เมื่อนำมาผสมกับสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ทำให้เกิดเป็นพิษต่อพืช(phytotoxicity) เช่นใบไหม้บิด หงิกงอ หรืออาจทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต น้ำที่มีเกลือมากนี้มักจะเป็นน้ำในแหล่งที่ขุดหรือเจาะมาใช้นั้นเองค่ะ

เมื่อเราได้ทราบถึงการใช้น้ำที่เหมาะสมกับการนำไปใช้กับสารป้องกันศัตรูพืชแล้ว..มักจะมีคำถามต่อไปอีกว่าแล้วเรา จะตรวจสอบอย่างไรได้บ้างที่จะทราบว่าน้ำที่เราใช้อยู่นี้จะใช้ได้หรือไม่

สำหรับวิธีการตรวจน้ำเบื้องต้นก่อนที่จะนำมาผสมกับสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช มีดังนี้ คือ นำน้ำมาผสมกับสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่จะใช้พ่นตามคำแนะนำการใช้ โดยใส่ลงไปในขวดแก้วใสที่มีฝาปิดประมาณ 500 มิลลิลิตร ทำการกลับขวดแก้วไปมาประมาณ 100 ครั้ง และตั้งทิ้งไว้ ครึ่งชั่วโมง หลังจากนั้น สังเกตดูว่ามีการตกตะกอนหรือการแยกชั้นของสารที่อยู่ในขวดแก้วหรือไม่ ถ้าหากเกิดสองลักษณะนี้ ไม่ควรนำน้ำนี้มาผสมกับสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช แล้วนำน้ำนั้นไปทำการวิเคราะห์ทางเคมีว่ามีสภาพเช่นไร ทางห้องปฏิบัติการหลายๆที่ที่มีให้บริการ เพื่อจะได้ทราบว่าน้ำนั้นมีความเป็นกรดหรือด่างหรือกระด้าง ตลอดจนมีส่วนผสมของเกลือมากน้อยเพียงใด โดยปกติการตกตะกอนอย่างเร็วอาจจะเกิดการจากการสลายตัวของสารเคมี หรือสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่หมดอายุการใช้งาน นอกจากนี้แล้วยังพบอีกด้วยว่าสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชชนิดเดียวกันแต่ผลิตมาจากคนละแหล่ง อาจจะเกิดปฏิกิริยาแตกต่างกันได้ เนื่องจากอาจจะมีการใช้สารผสมของสารบางชนิดที่แตกต่างกัน

คุณผู้ฟังค่ะ การใช้สารป้องกันศัตรูพืช ในปัจจุบันอาจจะหลีกเลี่ยงได้ยากที่จะไม่ใช้เพราะมีศัตรูพืชมากมายที่เกิดขึ้นกับพืชปลูกของเรา แต่หากสามารถเลือกใช้สารสกัดจากธรรมชาติได้ ก็น่าจะเป็นการดีต่อหลายๆอย่างไม่ว่าจะเป็นต่อเกษตรกรเอง ต่อผู้บริโภค ต่อทรัพยากรธรรมชาติอย่างเป็นดินและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ที่จะไม่ก่อให้เกิดความเสื่อมโทรม แต่หากจำเป็นต้องใช้สารเคมีแล้วหล่ะก้อ การเลือกใช้สารให้ตรงกับปัญหาของศัตรูพืชที่เกิด รวมทั้งระยะเวลาที่ไม่อยู่ใกล้ช่วงของการเก็บเกี่ยว และการใช้อย่างถูกวิธี เช่นการสวมเสื้อผ้าปกปิดร่างกายที่ไม่ให้ถูกกับตัวสารเคมี และอื่นๆ อีกมากที่จะต้องคำนึง และเพื่อให้การใช้สารต่างๆ มีผลอย่างมีประสิทธิภาพ การใช้น้ำเพื่อนำมาเป็นตัวละลายสารก็ต้องคำนึงด้วยนะคะ อย่างที่กล่าวมาแล้วข้างต้น สำหรับวันนี้รายการสาระความรู้ทางการเกษตรจากคณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หมดเวลาลงแล้ว พบกันใหม่โอกาสหน้า สวัสดีค่ะ




งานศูนย์บริการวิชาการและฝึกอบรม
ผ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะทรัพยากรธรรมชาติ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
โทร. (074) 211030-49 ต่อ 2370 ต่อ 14,212849 ต่อ 14 แฟกซ์ (074) 558803

สถานีวิทยุ มอ.FM 88 MHz
ออกอากาศทุกวันจันทร์ เวลา : 15.45-15.55 น.
โทร. (074) 211030-49 ต่อ 2999


http://natres.psu.ac.th/radio/radio_article/radio44-45/44-450020.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 02/09/2011 5:54 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

402. IPM การบริหารแมลงศัตรูพืชโดยใช้วิธีแบบผสมผสาน


การบริหารแมลงศัตรูพืชโดยใช้วิธีแบบผสมผสาน
การควบคุมแมลงศัตรูพืชนั้นมีหลายวิธีเนื่องจากการระบาดมีหลายประเภท การควบคุมจึงต้องศึกษาว่าควรเลือกวิธีการใดหรือหลายวิธีผสมผสานกันเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงที่สุด

1. การควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธี หมายถึง การใช้สิ่งมีชีวิตในการควบคุมศัตรูพืชให้อยู่ภายใต้ระดับความเสียหายทางเศรษฐกิจที่กำหนด วิธีนี้มีความจำเพาะเจาะจงต่อชนิดของแมลงศัตรู ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย


ไส้เดือนฝอย เป็นศัตรูของแมลงชนิดต่างๆ เข้าสู่ตัวแมลงโดยการกินหรือช่องเปิดของลำตัวแมลง แล้วเข้าไปอยู่ในกระแสเลือด จากนั้นแบคทีเรียซึ่งอยู่ในทางเดินอาหารของไส้เดือนฝอยจะขยายพันธุ์เพิ่มปริมาณและเคลื่อนตัวออกทางทวารของไส้เดือนฝอย เข้าไปในช่องว่างของลำตัวแมลง เข้าทำลายของเหลวภายในตัวแมลงทำให้เลือดเป็นพิษ และตายภายใน 3-4 วัน ลักษณะอาการของตัวหนอนที่ถูกทำลายมีสีครีม น้ำตาลอ่อน ลำตัวเหนียว ไม่เละ


เชื้อแบคทีเรีย พ่นเชื้อแบคทีเรียให้จับอยู่ที่ใบพืช เมื่อตัวหนอนกินใบพืช เชื้อแบคทีเรียก็จะเข้าสู่ร่างกายทางปาก และการย่อยอาหารของตัวหนอน ทำให้ตัวหนอนไม่สามารถกินอาหารได้ตามปกติ และตายในที่สุด แบคทีเรียไม่เป็นอันตรายต่อคน สัตว์เลือดอุ่น ตัวห้ำ และตัวเบียน


เชื้อรา จะทำลายโดยการทำลายเนื้อเยื่อ เส้นใยจะเจริญอยู่ในลำตัวทำให้แมลงแห้งตาย


ไวรัส มีความเฉพาะเจาะจงกับแมลงอาศัย เช่น ไวรัส NPV ของหนอนกระทู้หอม จะเกิดกับหนอนกระทู้หอมเท่านั้น เมื่อตัวหนอนกินไวรัสที่ปะปนอยู่บนพืชอาหารไวรัสจะไปเพิ่มจำนวนอยู่ในนิวเคลียสของเยื่อหุ้มต่าง ๆ ของหนอน เช่น เม็ดเลือด ไขมัน ทางเดินอาหาร ท่อหายใจ และผนังลำตัว หนอนจะเป็นโรค และตายภายใน 2-7 วัน ขึ้นอยู่กับขนาดตัวหนอน


ตัวห้ำ หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่ดำรงชีวิตโดยกินแมลงศัตรูพืชอื่นเป็นอาหารเพื่อการเจริญเติบโตจนครบวงจรชีวิต ตัวห้ำมีทั้งสัตว์มีกระดูกสันหลัง เช่น นก งู กิ้งก่า กบ และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น มวนพิฆาต มวนเพชฌฆาต ด้วงเต่าลาย แมงมุม


ตัวเบียน หมายถึง แมลงซึ่งอาศัยกินและเบียนแมลงอื่น ๆ แมลงเบียนมีขนาดตัวเล็กกว่าเหยื่อ และมีความเฉพาะเจาะจงกับชนิดของเหยื่อ ไข่ของแมลงเบียนบางชนิดมีความสามารถในการแบ่งตัว เพื่อเพิ่มปริมาณให้มากขึ้นได้ แมลงเบียนจะเข้าทำลายในระยะต่าง ๆ ของการเจริญเติบโต เช่น ไข่ ตัวอ่อน ดักแด้ และตัวเต็มวัยทำให้เหยื่อค่อย ๆ ตายไปในที่สุด



2. การควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยวิธีเขตกรรม หมายถึง การปรับปรุงสภาพแวดล้อมของต้นพืชให้มีความสมบูรณ์ เหมาะสมต่อต้นพืช เพื่อจะได้เจริญเติบโตและแข็งแรงสามารถทนต่อการเข้าทำลายของแมลง

การปรับสภาพดิน คือ การเตรียมดินให้มีค่า PH เหมาะสม มีแร่ธาตุอาหารสมบูรณ์ มีความสม่ำเสมอของหน้าดิน


การไถพรวน ทำเพื่อกลับหน้าดินขึ้น เพื่อทำลายไข่และตัวอ่อนของแมลงที่อยู่ในดิน และกำจัดวัชพืชได้อีกทางหนึ่งด้วย


การกำจัดวัชพืช เพื่อกำจัดแหล่งที่อยู่อาศัยของแมลง และป้องกันการแก่งแย่งธาตุอาหารของวัชพืชในแปลง


การตัดแต่งกิ่ง เพื่อกำจัดที่อยู่อาศัยของแมลง ทำให้พืชสังเคราะห์แสงได้เต็มที่


การปลูกพืชหมุนเวียน เป็นการหลีกเลี่ยงไม่ให้มีแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยของแมลงตลอดเวลา อาหารของแมลงจึงมีจำกัดในช่วงเวลาต่างกัน


การปลูกพืชผสม เพื่อจำกัดแหล่งอาหารของศัตรูพืช เพราะถ้าปลูกเพียงชนิดเดียวจะทำให้แหล่งอาหารของแมลงกว้างขวาง ทำให้การระบาดเกิดขึ้นได้รวดเร็ว



3. การควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยวิธีกล คือ เมื่อมีศัตรูพืชเข้าทำลาย ถ้าพบจำนวนน้อยสามารถจะใช้มือหรือวัสดุช่วยในการทำลาย หรือการใช้กับดักชนิดต่าง ๆ ในการควบคุม

การจับทำลายใช้มือ เมื่อพบแมลงศัตรู การกำจัดที่ง่ายที่สุด คือ การจับแมลงด้วยมือ หรือเขย่าต้นไม้ หรือการเก็บดักแด้ เช่น ดักแด้หนอนกินใบสักที่อยู่ตามเศษใบไม้แห้งบนพื้นดิน


การใช้ตาข่ายคลุมแปลง เพื่อป้องกันแมลงจากภายนอกแปลงเข้ามาทำลายภายในแปลงได้ เช่น การทำผักกางมุ้ง


การใช้เครื่องยนต์ เช่น เครื่องจับตั๊กแตน หรือ เครื่องดูดแมลง



4. การควบคุมดูแลแมลงศัตรูพืชโดยการใช้สารเคมี คือ การใช้สารเคมีในการป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช มีความรวดเร็วเห็นผลทันที แต่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมาก จึงควรใช้เมื่อมีการระบาดอย่างรุนแรงเท่านั้น

เลือกใช้สารเคมีที่มีความเฉพาะในการป้องกันกำจัด เช่น เลือกสารเคมีที่กำจัดแมลงศัตรูพืชป่าไม้เท่านั้น เพื่อป้องกันศัตรูธรรมชาติของแมลงที่เป็นตัวรักษาสมดุลย์ธรรมชาติ


การใช้เหยื่อพิษ อาหารพิษแก่แมลงศัตรูพืชนั้น โดยจะให้ผลเมื่อศัตรูพืชมากินเหยื่อพิษนั้น


การใช้สารล่อ โดยการสังเคราะห์สารฟีโรโมนของแมลงที่ระบาด แล้วสร้างกับดัก นำฟีโรโมนมาเป็นสารล่อให้ แมลงติดกับดัก เป็นการช่วยลดการผสมพันธุ์ และลดจำนวนประชากรของแมลง


5. การควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยสารสกัดจากธรรมชาติ คือ การนำสารที่สกัดได้จากวัสดุจากธรรมชาติและมีฤิทธิ์ในการควบคุมแมลงมาใช้ เช่น เมล็ดสะเดา, ตะไคร้หอม, พลูป่า, หางไหล เป็นต้น


6. การควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยทางฟิสิกส์ คือ การใช้วิธีการทางฟิสิกส์เข้ามาใช้ เช่น การใช้รังสี การใช้กับดักแสงไฟ เพื่อควบคุมปริมาณผีเสื้อกลางคืน เป็นต้น


การใช้รังสีในการปราบแมลง เช่น ฉายรังสีทำให้แมลงวันผลไม้เป็นหมัน


การใช้เครื่องทำเสียง เพื่อให้เกิดคลื่นเสียงความถี่ต่ำ มีผลต่อแมลง ทำให้แมลงหนีไป


การใช้ความร้อน เช่น การนำดินมาอบเพื่อผ่านความร้อนสำหรับกำจัดแมลงศัตรูพืชชนิดต่างๆ ที่อยู่ในดิน


การใช้กับดัก เช่น กับดักแสงไฟ โดยจะใช้ในกรณีที่แมลงชนิดนั้นเล่นไฟ โดยอาจทำเป็นจอผ้ากางไว้แล้วเก็บแมลงเพื่อทำลาย หรือ ใช้แบบเป็นพัดลมเพื่อดูดแมลง



7. การควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยการสำรวจศัตรูพืช คือ การศึกษาและสำรวจแมลงศัตรู เช่น การสุ่มนับแมลงศัตรูพืช หรือการศึกษาระดับเศรษฐกิจของแมลงศัตรูพืช


การนับศัตรูพืช สำรวจการระบาดของศัตรูพืชชนิดต่าง ๆ ว่ามีมากน้อยเพียงใด
สุ่มสำรวจ 10 จุด เพื่อนับเปอร์เซ็นต์การระบาดของแมลง โดยเฉพาะแปลงปลูกที่มีขนาดใหญ่


การยึดระดับเศรษฐกิจ คือ เมื่อได้ข้อมูลการระบาดแล้ว ดูว่าระดับความเสียหายของพืชว่าอยู่ในระดับใด เช่น ถ้าพบหนอนกินใบสักมากกว่า 3 ตัวต่อต้น จะมากกว่าระดับเศรษฐกิจ ควรจะทำการป้องกันกำจัด


8. การคัดเลือกสายพันธุ์พืช คัดเลือกสายพันธุ์ หรือแม่ไม้ที่ดีมีคุณภาพ มีความต้านทานสูงทั้งทางด้านโรคและแมลง จะทำให้กล้าไม้มีความแข็งแรง

คัดเลือกเมล็ดจากแม่ไม้ที่มีคุณภาพ มีความแข็งแรง ปลอดภัยจากโรคและแมลง


คัดเลือกสายพันธุ์ จากสายพันธุ์ที่มีความความต้านทานสูง


คัดเลือกพื้นที่ที่มีความเหมาะสม ข้อควรคำนึงอย่างง่ายๆ อาจจะดูว่าพื้นที่นั้นเคยมีการทดลองปลูกแล้วมีการเจริญเติบโตได้ดี หรือพื้นที่นั้นเป็นแหล่งที่เคยมีไม้ชนิดนั้นขึ้นในธรรมชาติได้ดีมาก่อน



9. การควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยการใช้กฎหมาย มีกฎหมายสำหรับป้องกันและกำจัดแมลง เช่น มีพระราชบัญญัติกักกันพืช มีกฎหมายปราบศัตรูพืช เพื่อป้องกันแมลงศัตรูชนิดอื่นเข้ามาระบาดในประเทศไทย


จากวิธีการต่างๆข้างต้นจะเห็นได้ว่า การป้องกันการระบาดของแมลงมิใช่มีเพียงการใช้สารเคมีฉีดพ่นที่คนส่วนใหญ่มักปฏิบัติเพียงอย่างเดียว แต่การควบคุมการระบาดนั้นต้องประกอบไปด้วยหลายๆ ส่วนประกอบกัน เช่น ภาครัฐในเรื่องของข้อกฎหมายต่างๆ การให้ความรู้แก่เอกชนหรือเกษตรกรผู้ปลูก รวมถึงการดูแลในเรื่องของตลาด และภาคเอกชนควรมีการวางแผนล่วงหน้าเพื่อศึกษาข้อมูลทั้งในเรื่องของสายพันธุ์


พื้นที่สภาพแวดล้อมรวมถึงการบำรุงดูแลรักษา ต้องมีความเข้าใจในเรื่องของระดับเศรษฐกิจว่าจำนวนของศัตรูพืชที่พบมีปริมาณมากน้อยขนาดไหน จึงจะเหมาะสมต่อการลงทุนป้องกันกำจัด การใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพและทันสมัย รวมถึงการใช้สิ่งมีชีวิตควบคุมสิ่งมีชีวิตด้วยกันเอง ที่จะมีความยั่งยืนในการป้องกันกำจัด มีประสิทธิผลดีกว่า และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด





http://www.dnp.go.th/FOREMIC/center2/interpretation/ipm.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 02/09/2011 6:16 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

403. "มะพร้าว...พืชที่รับใช้คนไทยมานาน"


บรรยายโดย อาจารย์ประทีป กุณาศล

อาจารย์ประทีป กุณาศล นักวิชาการเกษตรอิสระผู้รอบรู้ด้านงานเกษตรหลายสาขา คือวิทยากรท่านแรกที่จะพูดคุยในเรื่องของมะพร้าวผ่านประสบการณ์ ทั้งในฐานะ "ลูกชาวสวน" และ "นักวิชาการเกษตร"

อาจารย์ประทีป : สำหรับผมเองนั้นเป็นลูกเจ้าของสวนและสวนที่บ้านก็ได้ปลูกมะพร้าวน้ำหอมอยู่ด้วย ซึ่งอยู่ที่บ้านแผ้ว สมุทรสาคร และก็ยังเป็นคนหนึ่งที่พยายามผลักดันให้มะพร้าวได้ส่งออกไปยังต่างประเทศมากที่สุด ตลอดจนได้มีโอกาสเข้าไปร่วมงานกับบริษัทที่ส่งมะพร้าวอ่อนหรือมะพร้าวน้ำหอมไปที่สหรัฐอเมริกา ซึ่งก็เป็นเจ้าใหญ่ ซึ่งปีหนึ่งก็ส่งประมาณ 300 ตู้คอนเทนเนอร์ ตู้ละ 20,000 ลูก ก็ได้ทำเงินให้กับประเทศชาติจำนวนไม่น้อยเลย

เท่าที่ตรวจสอบดูจากฝ่ายลงทะเบียนทราบว่า ผู้ที่มาเข้าร่วมงานในครั้งนี้เป็นเจ้าของสวนมะพร้าวอยู่หลายท่าน ดังนั้น การที่ท่านมาสัมมนาในครั้งนี้ ท่านก็จะได้รับประโยชน์ที่เกี่ยวกับความรู้ด้านพันธุ์มะพร้าว การเพิ่มมูลค่าของมะพร้าว นอกจากนั้น ยังจะดูว่าโอกาสของมะพร้าวกะทิ ซึ่ง คุณสมชาย วัฒนโยธิน จากสถาบันวิจัยพืชสวนก็จะมาเล่าให้ฟังและยังแถมด้วยพันธุ์มะพร้าวหิ้วกลับบ้านไปด้วย เพราะว่ามะพร้าวกะทิลูกผสมที่ทางสถาบันวิจัยพืชสวนได้นำออกมาเผยแพร่เมื่อ 1-2 ปี มานี้ ถือได้ว่าเป็นพันธุ์มะพร้าวกะทิที่ดี และราคาถูกด้วย ราคาเพียงลูกละ 35 บาท

ผมอยู่ในวงการมะพร้าวมานาน และก็ยังเคยเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาของนิสิตปริญญาโทของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ทำเรื่องของต้นทุนการผลิตมะพร้าวน้ำหอม เมื่อปี 2533 ซึ่งตอนนั้นค่าแรงในสวน คิดวันละ 50 บาท แต่ในปัจจุบันค่าแรงวันละ 200-250 บาท ซึ่งเป็นการเพิ่มถึง 5 เท่า ค่าปุ๋ยเพิ่มขึ้น 4 เท่า คราวนี้มาดูว่าราคาผลมะพร้าวอ่อนจากสวนที่บ้านของผมที่ลูกค้ามาเก็บเองมีราคา 3.50 บาท แต่เมื่อ 20 ปีที่แล้ว ราคา 1-1.50 บาท ซึ่งก็เป็นการเพิ่มขึ้น 4 เท่า เช่นกัน ผมเองก็มาพิจารณาดูว่าจะทำไหวหรือไม่ แต่เมื่อมามองดูตลาดในอนาคตแล้วว่า ช่วงนี้ถ้ามะพร้าวซื้อจากสวนโดยที่มาเก็บเอง จะอยู่ที่ราคา 4 บาท ถ้า 1 ไร่ มีมะพร้าวประมาณ 3,000 ลูก ก็จะเป็นเงิน 12,000 บาท ก็ยังถือว่าเป็นพืชที่ดูแลรักษาง่าย ค่าปุ๋ย ค่ายา ไม่มาก ก็คิดว่าน่าจะทำได้ แต่ก็ต้องดูอีกว่า ทำที่ไหนถึงจะมีกำไร ตลาดส่งออกตอนนี้ที่กรุงเทพฯ ก็ถือว่า เป็นแหล่งรวบรวม ซึ่งบ้านแผ้ว สมุทรสาคร ที่ดำเนินสะดวก หรือที่ติดกันในเขตนั้นก็จะเป็นแหล่งใหญ่ที่สุดที่จะมีพ่อค้ามารับซื้อ แล้วก็ส่งออกไปยังต่างประเทศ

การปลูกมะพร้าวถ้าไปปลูกในสถานที่ที่จะต้องใช้เรือเพื่อการขนถ่าย เสร็จแล้วนำมาขึ้นใส่รถบรรทุกอีก ถ้าทำอย่างนั้นขาดทุนแน่นอน หรือหากมีการแนะนำให้ปลูกมะพร้าวในสถานที่ที่อยู่ห่างไกล ก็อาจจะขาดทุนเช่นกัน เพราะมะพร้าวหนักและขนลำบาก เว้นเสียแต่ว่าท่านมีสวนมะพร้าวอยู่ใกล้ถนน แล้วถนนนั้นก็อยู่ใกล้กับตลาด ใครปลูกมะพร้าวอยู่ใกล้ตลาด อ.ต.ก. ใครปลูกมะพร้าวอยู่ใกล้กับบึงแก่นนคร ที่ขอนแก่น ที่ตรงนั้นมีน้ำดีก็จะปลูกมะพร้าวได้ผลดี ดังนั้น การปลูกมะพร้าวจะต้องเริ่มต้นด้วยการมองที่ตลาดก่อน ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด ก็อยากจะบอกว่าที่ลุ่มริมแม่น้ำ ซึ่งแม่น้ำสายหลักของเราก็มี แม่น้ำท่าจีน แม่กลอง บางปะกง ที่น้ำทะเลขึ้นถึง ซึ่งดินตรงที่ว่านั้นจะเป็นดินที่ดีมีโพแทสเซียมสูง เหมาะสำหรับปลูกมะพร้าวมาก

มะพร้าวที่ปลูกอยู่ที่บ้านแผ้ว และดำเนินสะดวก เป็นพันธุ์เดียวกันคือ พันธุ์ก้นจีบ แต่ที่บ้านแผ้วมีแคลเซียมในดินน้อย แต่มะพร้าวที่ดำเนินสะดวกตั้งแต่หลักห้า เป็นต้นไป ลูกจะใหญ่กว่า เพราะฉะนั้นมะพร้าวที่ส่งออกตอนนี้ต้องมีน้ำหนักลูกละ 1 กิโลกรัม หากต่ำกว่า 1 กิโลกรัม พ่อค้าจะกำหนดให้ควบ 2 ลูก เป็น 1 ลูก หรือว่าอาจจะต้องนำส่งขายในตลาดบ้านเราเท่านั้น ตอนนี้ผมกำลังคุยกับพ่อค้าส่งออกว่า ควรจะทำขนาดลูกเล็กๆ ที่น้อยกว่า 1 กิโลกรัม ด้วย ซึ่งก็จะทำให้คนบ้านแผ้วจะได้ขายเพิ่มขึ้น ไม่ต้องมีการควบหรือนำไปทำมะพร้าวเผา

เพราะฉะนั้นแหล่งที่ปลูกมะพร้าวจึงถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ จะต้องเป็นดินดี ดินที่มีน้ำไหลทรายมูล และหากเป็นที่มีน้ำทะเลขึ้นถึงด้วยก็ยิ่งดีมาก ที่สำคัญคือ ต้องอยู่ไม่ไกลจากตลาด ส่วนตลาดที่ใหญ่ที่สุดในต่างประเทศขณะนี้คือ ที่สหรัฐอเมริกา รองลงมาก็ที่จีน และต่อไปอาจมีการส่งไปที่จีนเพิ่มมากขึ้น เพราะคนจีนถือว่าน้ำมะพร้าวเป็นน้ำที่บริสุทธิ์ เมื่อดื่มแล้วจะช่วยแก้ร้อนใน คนไต้หวันกับคนจีนจะมีความเชื่อเรื่องนี้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนจีนแผ่นดินใหญ่จะชอบน้ำมะพร้าวอ่อนและมะพร้าวแก่ มะพร้าวที่ประเทศจีนจะมีอยู่ที่มณฑลไหหลำ ซึ่งเป็นเกาะอยู่เหนือเวียดนามเล็กน้อย ถ้าคนจีนมาเที่ยวที่ไหหลำ เวลากลับจะหิ้วมะพร้าวแก่และมะพร้าวอ่อนขึ้นเครื่องบินนำกลับมาฝากญาติ ถ้าญาติมาจากปักกิ่ง เพราะที่ปักกิ่งไม่รู้จักมะพร้าว และก็รับประทานไม่เป็นด้วย ซึ่งถือเป็นของแปลกและหายาก ดังนั้น ประเทศจีนซึ่งต่อไปคิดว่าจะเป็นตลาดมะพร้าวที่ใหญ่ ซึ่งผมก็ได้หารือกับท่านรองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ว่า มีโอกาสผลักดันสินค้าที่มีอยู่หลายอย่างในภาคอีสานที่สามารถส่งไปขายได้ที่จีนทางรถยนต์ และมะม่วงของเราก็ต้องส่งไปขายที่จีนโดยทางรถยนต์ เพราะมะม่วงของเรามีผลผลิตออกก่อนจีน ซึ่งก็เป็นจุดแข็งของเรา เพราะฉะนั้นพันธุ์มะม่วงหลายพันธุ์ที่คนจีนสนใจและชื่นชอบก็นำมาปลูกไว้ทางภาคอีสานของเรา ท่านเชื่อไหมว่า กล้วยไข่ ที่ปลูกที่จังหวัดจันทบุรีนั้น ต่อไปก็จะนำไปขายที่ประเทศจีนเหมือนกัน โดยใช้เส้นทางรถยนต์

คราวนี้กลับมาเรื่องมะพร้าวกันต่อว่า พันธุ์มะพร้าวที่ดีที่สุดนั้นก็น่าจะเป็นพันธุ์ก้นจีบ เพราะมีรสชาติหวาน หอม แต่ควรจะไปดูที่สวนด้วยว่า มีสะโพกเล็กน้อย ซึ่งแต่เดิมกำหนดว่ามะพร้าวน้ำหอมจะไม่มีสะโพก แต่ตอนนี้บางพันธุ์มีสะโพกเล็กน้อย แต่ลูกใหญ่ซึ่งทางต่างประเทศเขาก็ต้องการ ซึ่งก็จะต้องเป็นไปตามนั้น

เรื่องต่อมาที่อยากจะคุยคือ เรื่องการทำสวนมะพร้าว ซึ่งวันนี้มีวิทยากรที่เชี่ยวชาญและชำนาญกว่าผม แต่สำหรับผมก็จะพูดในเรื่องกว้างๆ แต่อาจมีเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ มาเล่าให้พวกเราฟังว่า การทำสวนมะพร้าวที่สวนของผมเมื่อก่อนใช้ยาฆ่าหญ้า แต่เดี๋ยวนี้เลิกใช้แล้ว เพราะมีผลตกค้างมาก ดังนั้น สำหรับมะพร้าวแล้วต้องระวังเรื่องยาฆ่าหญ้า พอหญ้าขึ้นมาแล้วเราก็ใช้เครื่องตัดหญ้าแบบสะพายตัด หรือเดี๋ยวนี้ได้มีการพัฒนาเครื่องตัดหญ้าแบบที่นั่งตัดได้ แต่หากเป็นสวนยกร่อง ก็อาจจะทำลำบากหน่อยก็จะมีอาจารย์ศิวลักษณ์ ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน ท่านคิดทำเครื่องตัดหญ้าดังกล่าวขึ้นไว้ เพื่อใช้กับสวนมะพร้าว พอตัดหญ้าแล้ว ซึ่งหญ้าเองก็สามารถทำเป็นปุ๋ยได้ แต่ที่ดีและพิเศษกว่านั้นคือว่า

มะพร้าวนั้นต้องการซิลิกอน ซึ่งธาตุซิลิกอนมาจากทราย แต่พืชดูดทรายไม่ได้ ทำอย่างไร ให้ซิลิกอนสามารถละลายได้ ซึ่งวิธีที่ดีทีสุดคือ มีหญ้าบางชนิดดูดซิลิกอนได้ง่าย เพราะว่ามีเชื้อแบคทีเรียตัวหนึ่งที่ชื่อ ซิลิเกท เป็นแบคทีเรียที่มีคุณสมบัติช่วยละลายซิลิกอนแล้วหญ้าก็ดูดขึ้นไป ให้สังเกตว่าหญ้าที่มีลักษณะแข็งๆ นั้น เพราะว่าดูดซิลิกอนไว้มาก ข้าวที่ดูดซิลิกอนไว้มากๆ จากปุ๋ยที่มีซิลิกอนแล้ว ข้าวชนิดนั้นๆ จะทนต่อโรคและแมลง ซึ่งเรื่องนี้มีงานวิจัยมากมายว่าพืชที่เป็นใบเลี้ยงเดี่ยว เช่น ข้าว อ้อย จะมีลักษณะดังกล่าว เมื่อหญ้าดูดซิลิกอน เพราะที่รากหญ้ามีจุลินทรีย์ตัวหนึ่งที่สามารถละลายซิลิกอนในดินได้ มันก็จะดูดขึ้นไป หรืออีกตัวหนึ่งคือ ขี้ค้างคาว ก็จะมีจุลินทรีย์และอะมิโนเอซิด ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยทำให้ซิลิกอนละลายได้แล้วก็ดูดขึ้นไป

ดังนั้น เมื่อใส่ขี้ค้างคาว องุ่น หรือฝรั่ง ซึ่งฝรั่งก็จะหวานกรอบ ทั้งหมดนี้คือบทบาทของซิลิกอน เพราะฉะนั้นก็จะเป็นเทคนิคง่ายๆ เลยที่สามารถนำไปทำเองได้ อย่างไรก็ตาม มะพร้าวนั้นมีโพแทสเซียมมาก มีแคลเซียมมาก และก็มีแมกนีเซียม เพราะฉะนั้นเวลาจะให้ปุ๋ยควรจะให้อะไร และมะพร้าวเป็นพืชที่ให้น้ำมันมาก ดังนั้น ควรใส่แมกนีเซียมมากหน่อย สูตรที่จะแนะนำก็คือ 12-12-17-2 แต่ว่าค่อนข้างหายากในตลาดบ้านเรา จึงต้องมีการปรับมาใช้สูตร 13-13-21 หรือ สูตร 15-15-15 แล้วก็เติมด้วย 0-0-60 แล้วตามด้วยปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 ส่วนระยะเวลาใส่ก็ต้นละ 2-3 ครั้ง ต่อปี

อีกอย่างหนึ่งสำหรับขี้หมู คือว่า ถ้าจะให้ดีควรหมักไว้ก่อน แล้วขี้หมูที่นำไปทำไบโอแก๊สแล้วจะเป็นการหมักโดยอัตโนมัติ เพราะในขี้หมูมีเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่ช่วยในการสังเคราะห์แสง มันก็จะสร้างฮอร์โมนตัวหนึ่งที่ชื่อ ALA ซึ่งเป็นฮอร์โมนตัวใหม่ที่ทางญี่ปุ่นขายชื่อเพนตาดีฟ มีราคาแพงมาก เป็นฮอร์โมนที่ช่วยในการสังเคราะห์แสงของพืช ดังนั้น ถ้านำน้ำขี้หมูหมักไปพ่นหรือไปรด บรรดาพืชที่ให้แป้งทั้งหลายก็จะทำให้เกิดการงอกงามดี และให้ผลผลิตสูง

นอกจากนั้นแล้ว การใส่ปุ๋ยยังทำให้มะพร้าวให้จั่นถึงปีละ 16 จั่น ถ้าเราพูดถึงมะพร้าวน้ำหอมนั้น จะเก็บทุกๆ 20 วัน จากสวน สมมุติว่าเราได้ 4 บาท คนเก็บอาจจะได้สัก 1 บาท ทั้งเก็บและขนไปให้ล้ง ล้งก็นำมาตัดแต่ง เฉือนให้มีรูปทรงเหลี่ยม และก็จุ่มน้ำยา หุ้มด้วยพลาสติค อยากจะบอกผู้ร่วมสัมมนาว่า ในครั้งนี้มีบุคคลที่เก่งและชำนาญด้านวิชาการหลังการเก็บเกี่ยว ไม่ว่าจะเป็นมะพร้าวน้ำหอม ทุเรียน ส้ม หรือกล้วย ผมอยากจะแนะนำให้รู้จักกับท่านอาจารย์ ศ.ดร.จริงแท้ ศิริพานิช ท่านเป็นอาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวผลไม้ ภาควิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน และท่านก็ได้มาร่วมงานสัมมนาในครั้งนี้ด้วย ซึ่งอีกสักครู่จะเชิญท่านมาพูดคุย ตลอดจนให้ความรู้ในแง่มุมต่างๆ ของมะพร้าว

ส่วนตลาดของมะพร้าวน้ำหอมก็ยังมีโอกาสอีกมากมายในช่วงนี้ เพราะดูจากตลาดแล้ว สหรัฐอเมริกา ที่ตะวันออกกลางก็กำลังเริ่ม ที่ไต้หวันก็มีอยู่และราคาแพงมาก ตกลูกละ 120 บาท เพราะที่ไต้หวันปลูกมะพร้าวได้น้อย ผมมีข้อมูลด้านมะพร้าวมาก มีข้อมูลจากที่อินเดีย และที่บราซิล และน้ำมะพร้าวก็มีข้อดีหลายอย่าง น้ำมะพร้าวมีโพแทสเซียมสูง ยิ่งถ้าเหนื่อยๆ มาแล้วมาดื่มน้ำมะพร้าวจะรู้สึกสดชื่นทันที แต่ท่านที่เป็นเบาหวานอยู่ก็ไม่ควรดื่มมาก แต่เหมาะสำหรับท่านสุภาพสตรีที่อยู่ในวัยทองจะช่วยได้มาก เพราะน้ำมะพร้าวมีฮอร์โมนเพศเมื่อดื่มแล้วผิวพรรณจะดี

ในประเทศไทยเราได้มีการส่งน้ำมะพร้าวอ่อนไปขายที่ไต้หวัน เกาหลี มะพร้าวแก่ก็ทำได้เหมือนกัน แต่จะต้องทำการปรุงรสชาติเพิ่มเติมเล็กน้อย คราวนี้ลองมาดูว่าน้ำมะพร้าวแก่สามารถนำไปทำอะไรได้อีก ก็ขอบอกว่าในน้ำมะพร้าวแก่นั้นมีฮอร์โมนและน้ำตาล ฮอร์โมนที่มีก็เป็นฮอร์โมนคนและพืช ในประเทศฟิลิปปินส์ได้มีการสกัดฮอร์โมนออกมา ส่วนในไทยก็นำน้ำมะพร้าวแก่มาหมัก เอาจุลินทรีย์ที่ใช้ เช่น พด.6 ผสมขี้ค้างคาวเล็กน้อย แล้วนำไปพ่นใส่ต้นไม้ก็จะได้ผลดี หรือถ้าอยากให้ผลไม้หวานก็เติมโพแทสเซียมไนเตรต สูตร 13-0-46 ลงไปเล็กน้อย ก็จะเป็นการเสริม นอกจากนั้น ยังเป็นการทำปุ๋ยชีวภาพใช้เองด้วย

ดังนั้น น้ำมะพร้าวเป็นของที่เป็นประโยชน์มากจริงๆ ในวงการเกษตรจะนำน้ำมะพร้าวอ่อนมาเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพราะในน้ำมะพร้าวอ่อนมีไซโตไคนิน และก่อนที่ผมจะจบการบรรยายในช่วงแรก ก็อยากจะเรียนเชิญท่าน ศ.ดร.จริงแท้ ศิริพานิช กรุณามาให้ความรู้ด้านมะพร้าว พร้อมกรุณาตอบข้อซักถามด้วย

คำถามจากผู้เข้าร่วมสัมมนา : จะเรียนถามเกี่ยวกับการที่จะเก็บหรือรักษามะพร้าว เพื่อนำไปจำหน่ายที่สหรัฐอเมริกา ขอให้ช่วยขยายความเป็นขั้นตอน ตั้งแต่การเก็บไปจนถึงการนำส่งไปขายปลายทาง

ศ.ดร.จริงแท้ : จากคำถามก็อยากจะตอบว่า ขั้นตอนทุกอย่างที่จะพูดต่อไปนี้เป็นขั้นตอนที่ทำกันอยู่เป็นประจำปกติ และก็ไม่ได้เป็นความลับแต่อย่างใด ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่เริ่มต้นโดยการเก็บมะพร้าวตามอายุที่เหมาะสม ถ้าจะส่งไปที่อเมริกาเขาดื่มแต่น้ำ ไม่รับประทานเนื้อมะพร้าว ก็จะใช้มะพร้าว 2 ชั้น ถ้าเป็นของเราก็ใช้ชั้นครึ่ง เพราะเรารับประทานเนื้อด้วย เริ่มต้นโดยใช้มะพร้าว 2 ชั้น ปอกเปลือกเป็นรูปทรงตามที่วางขาย ต่อจากนั้นให้นำไปจุ่มน้ำยาซึ่งเป็นน้ำยาฟอกขาว ที่มีขนาดความเข้มข้น 1-3 เปอร์เซ็นต์ แต่ทั่วๆ ไปจะใส่เกินกว่านี้และแถมยังใส่ยากันเชื้อราเข้าไปด้วย ระยะเวลาการแช่ไว้ก็ประมาณ 3 นาที เสร็จแล้วนำไปห่อหุ้มด้วยพลาสติคที่ใช้สำหรับห่อผลไม้ จากนั้นก็นำไปบรรจุลงกล่อง ซึ่งกล่องที่บรรจุจะต้องเก็บรักษาอุณหภูมิที่ประมาณ 2-4 องศา ก็จะสามารถอยู่ได้ 3-4 สัปดาห์ ซึ่งวิธีที่กล่าวมาข้างต้น เป็นวิธีที่ทำอยู่ทั่วไปที่ได้มาตรฐาน

แต่เท่าที่ได้ศึกษามาและมีการไปสังเกตการปฏิบัติก็พบว่า มีการทำเกินไปกว่านี้ โดยใช้ทั้งสารฟอกสีและยากันเชื้อรา ซึ่งข้อเท็จจริงนั้นยากันราไม่จำเป็นต้องใช้ เพราะสารฟอกสีอย่างเดียวก็เพียงพอแล้ว เพียงแต่ว่าเวลาท่านปฏิบัติขอให้ละเอียดเล็กน้อย เวลาไปดูบางโรงงานก็ไม่ได้ทำอย่างที่กำหนด ตัวอย่าง เวลาจุ่มน้ำยาที่มีการกำหนดไว้ 3 นาที แต่ผู้ปฏิบัติมีการจุ่มแช่ไว้ตั้งแต่ 1 วินาที จนบางครั้งถึง 15 นาที ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะเวลาคนปอกเมื่อปอกเสร็จก็ใส่ที่แช่น้ำยา แล้วจากนั้นก็จะมีคนมายกมะพร้าวที่แช่น้ำยานำไปห่อ คราวนี้เมื่อคนปอกเสร็จแล้วไปแช่น้ำยาซึ่งมะพร้าวแต่ละลูกจะแช่ไม่พร้อมกัน บางลูกเพิ่งแช่ บางลูกแช่ไว้นานแล้ว หากหยิบลูกที่เพิ่งแช่ไปห่อแล้วก็จะทำให้น้ำยายังไม่ซึมก็จะมีผลต่อการเกิดเชื้อราในภายหลัง หรือบางครั้งคนยกก็ไปนั่งพักทำให้มะพร้าวที่แช่อยู่ในน้ำยานานเกินไป จนทำให้น้ำยาซึมเข้าไปในเนื้อและน้ำ ซึ่งเมื่อส่งไปที่อเมริกาและได้มีการตรวจพบก็จะเสียชื่อ เพราะมีสารตกค้างเกิน ซึ่งในอนาคตอาจถูกพิจารณาห้ามนำส่งเข้าก็ได้ ซึ่งผู้ส่งออกเองก็ไม่สบายใจในเรื่องดังกล่าว

เพราะฉะนั้นจึงต้องมีการเข้มงวดให้ละเอียดว่า ควรแช่ตามมาตรฐานที่กำหนดก็พอแล้ว แต่เมื่อได้ทำการศึกษาอย่างละเอียดแล้วไม่จำเป็นต้องถึง 3 เปอร์เซ็นต์ ก็ได้ เพียงแค่ 1 เปอร์เซ็นต์ ก็เพียงพอ เพราะหากใช้มากโอกาสที่จะตกค้างก็มีสูง อันที่จริงสัก 1 เปอร์เซ็นต์ แล้วใส่เกลือลงไปสัก 4 เปอร์เซ็นต์ ก็จะทำงานใกล้เคียงกัน อาจจะด้อยกว่าเล็กน้อยก็ไม่เป็นไร ก็จะสามารถลดการเกิดเชื้อราได้ และก็ไม่ต้องใช้ยากันเชื้อรา

คราวนี้ถ้าหากเราไม่ต้องการสารที่อาจเป็นพิษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวต่างประเทศแถบอเมริกา เพราะเป็นชนชาติที่แพ้สารดังกล่าวได้ง่าย ดังนั้น ควรจะใช้อย่างอื่นแทนซิตริก แอซิด หรือกรดมะนาว สัก 2.5 เปอร์เซ็นต์ ร่วมกับวิตามิน ซี. สัก 2-3.5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเปอร์เซ็นต์ที่เป็นสัดส่วนอาจมีการปรับเองตามความเหมาะสม แต่หลักๆ ก็ควรอย่างละ 2.5 เปอร์เซ็นต์ ก็สามารถช่วยลดการเกิดสีน้ำตาลและการเกิดเชื้อราบนมะพร้าวได้ แต่ทั้งสองตัวอาจช่วยในเรื่องการลดสีน้ำตาล แต่การควบคุมโรคอาจไม่ค่อยดี ซึ่งถ้าหากไม่ใช้เวลาเดินทางนานนักก็คงไม่เกิดโรค

อย่างไรก็ตาม ทุกวันนี้ก็พยายามที่จะลดสารเคมีให้มากที่สุด นอกจากนั้นแล้ว บางคนก็ไม่ใช้สารเคมีเลยก็มี ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ดีมาก เพราะเดี๋ยวนี้นิยมหันไปหาธรรมชาติกันมาก วิธีการทำได้ คือ การทำมะพร้าวให้แห้ง เพราะมะพร้าวถ้าหากชื้นแล้วมันก็จะเป็นราได้ ทำอย่างไร ไม่ให้เกิดเชื้อรา ก็ต้องทำให้แห้ง และสามารถทำโดยปอกมะพร้าวออกให้หมดให้เหลือแต่กะลา ที่ตรงจุกก็ให้เหลือน้อยที่สุด และที่ตรงจุกที่เป็นตาสามตาจะเป็นที่เกิดเชื้อโรคเข้าได้ง่าย จึงต้องทำบริเวณนั้นให้แห้งเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อราเข้าและเจริญเติบโตเข้าโดยง่าย ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมากที่จะหาวิธีเอง จึงขอย้ำว่าจุดอ่อนก็อยู่ตรงที่ตาสามตา ต้องหาวิธีป้องกันไม่ให้ความชื้นเข้า

แต่ทุกวันนี้เวลาปอกมะพร้าวบริเวณที่แหลมๆ คือ ก้น ซึ่งไม่มีตา ส่วนฐานที่วางอยู่กับพื้นที่มีตาสามตาซึ่งเชื้อราก็จะเกิดที่ฐาน ก็มีคำถามว่า จะกลับหัวได้ไหม ? คำตอบคือ หนึ่ง มันปอกยาก และสองมันจะมีรูหรือมีโพรงอยู่บริเวณนั้น ซึ่งถ้าหากปอกตรงที่หัวแหลมที่มีโพรงอยู่ก็อาจจะดูไม่สวย แล้วเวลามันสูญเสียน้ำแล้วมันจะแห้งไปก็อาจจะเห็นเป็นโพรงๆ ดูไม่สวย แต่ถ้าทำอย่างนั้นแล้วคงไม่มีเชื้อรา อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้ยังไม่ได้มีการพิสูจน์อย่างเป็นรูปธรรม เพียงแต่เป็นการเล่าให้ฟังหรือเป็นแนวทางของการที่พยายามจะคิดนอกกรอบเท่านั้น

คำถามจากผู้เข้าร่วมสัมมนา :

1. ขี้เกลือ หรือขี้แดด นำมาใช้กับมะพร้าวได้หรือไม่ จะมีประโยชน์มาก/น้อยเพียงใด รวมถึงอัตราส่วน ควรเป็นเท่าไร

2. ถ้าหากปลูกมะพร้าวแต่อยู่ห่างแหล่งน้ำ เช่น คลอง หรือบ่อ ควรจะให้น้ำอย่างไร จึงจะเหมาะสม

อาจาร์ยประทีป : เรื่องขี้แดดนาเกลือ หรือที่เรียกว่าหนังหมา แต่เดิมขายจากนาเกลือ กิโลกรัมละ 3 บาท ซึ่งเดิมทีเขาทิ้งกัน ปรากฏว่าในนั้นมีส่วนประกอบของแมกนีเซียมและโพแทสเซียมส่วนหนึ่ง และมีพวกสาหร่าย ซึ่งให้ฮอร์โมนไซโตไคนินอยู่ส่วนหนึ่ง ทีนี้ในเขตสมุทรสงคราม สมุทรสาคร ก็นำไปขาย ถ้ามีใครที่สนใจจะหาซื้อง่ายๆ ก็จะมีอยู่ที่สันติอโศก ที่นครปฐม

ใช้ได้ดีกับพืชชนิดใดบ้าง ก็จะมีมะพร้าว ส้มโอ เพราะมีเกลืออยู่บ้างเล็กน้อย ซึ่งพืชชนิดดังกล่าวชอบเกลือ สำหรับอัตราส่วนนั้นใส่ต้นละประมาณ 3 กิโลกรัม แต่ราคาขณะนี้ล่าสุดอยู่ที่ 8 บาท ต่อกิโลกรัม ส่วนอีกคำถาม ขอตอบว่า มะพร้าวเป็นพืชที่ชอบน้ำ ซึ่งหากนำไปปลูกที่ดอนและขาดน้ำก็จะให้ลูกยาก มีให้แต่จั่น แต่ไม่ติดลูก ก็จะเห็นแต่ใบมะพร้าว

ในช่วงแรกนี้ อาจารย์ประทีปขอจบการบรรยายและการซักถามไว้แต่เพียงเท่านี้ก่อน โปรดติดตามรายละเอียดได้ต่อในฉบับหน้า



http://siweb.dss.go.th/qa/search/search_description.asp?QA_ID=990
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 02/09/2011 6:24 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

404. ปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมี

ปุ๋ย หมายถึง สารหรือสิ่งซึ่งเราใส่ลงไปในดิน เพื่อวัตถุประสงค์ให้ปลดปล่อยธาตุอาหารพืชโดยเฉพาะไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ที่พืชยังขาดอยู่ให้พืชได้รับอย่างเพียงพอ พืชสามารถเจริญเติบโตงอกงามดีและให้ผลิตผลสูงขึ้น
โดยทั่วไปปุ๋ยแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ ปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์


1. ปุ๋ยอินทรีย์
ปุ๋ยพวกนี้ ได้แก่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด และวัสดุเหลือใช้จากโรงงานอุตสาหกรรมบางชนิดซึ่งเป็นพวกอินทรียสาร

ปุ๋ยคอก
ที่สำคัญก็ได้แก่ ขี้หมู ขี้เป็ด ขี้ไก่ ฯลฯ เป็นปุ๋ยคอกที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ในบรรดาสวนผักและสวนผลไม้ ปุ๋ยคอกโดยทั่วไปแล้วถ้าคิดราคาต่อหน่วยธาตุอาหารพืชจะมีราคาแพงกว่าปุ๋ยเคมี แต่ปุ๋ยคอกช่วยปรับปรุงดินให้โปร่งและร่วนซุย ทำให้การเตรียมดินง่าย การตั้งตัวของต้นกล้าเร็วทำให้มีโอกาสรอดได้มาก นาข้าวที่เป็นดินทราย เช่น ดินภาคอีสาน การใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยอินทรีย์อื่น ๆ เท่าที่จะหาได้ในบริเวณใกล้เคียง จะช่วยให้การดำนาง่าย ข้าวตั้งตัวได้ดี และเจริญเติบโตงอกงามอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เนื่องจากดินทรายพวกนี้มีอินทรียวัตถุต่ำมาก การใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยอินทรีย์ลงไปจะทำให้ดินอุ้มน้ำและปุ๋ยได้ดีขึ้น การปักดำกล้าทำได้ง่ายขึ้น เพราะ หลังทำเทือกแล้วดินจะไม่อัดกันแน่น



ปุ๋ยคอกมีปริมาณธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมค่อนข้างต่ำ โดยหยาบ ๆ แล้วก็จะมีไนโตรเจนประมาณ 0.5% N ฟอสฟอรัส 0.25% P2O5 และโพแทสเซียม 0.5% K2O


ปุ๋ยขี้ไก่และขี้เป็ด มีปริมาณธาตุอาหารสูงกว่าขี้หมู
ขี้หมูมีปริมาณธาตุอาหารสูงกว่าขี้วัว ขี้ควาย
ปุ๋ยคอกใหม่ ๆ มีปริมาณธาตุอาหารสูงกว่าปุ๋ยคอกที่เก่าและเก็บไว้นาน


ทั้งนี้เนื่องจากส่วนของปุ๋ยที่ละลายได้ง่ายจะถูกชะล้างออกไปหมด บางส่วนก็กลายเป็นก๊าซสูญหายไป ดังนั้น การเก็บรักษาปุ๋ยคอกอย่างระมัดระวังก่อนนำไปใช้ จะช่วยรักษาคุณค่าของปุ๋ยคอกไม่ให้เสื่อมคุณค่าอย่างรวดเร็ว

การเก็บรักษาปุ๋ยคอกอาจทำได้ เช่น นำมากองรวมกันเป็นรูปฝาชี แล้วอัดให้แน่ ถ้าอยู่ภายใต้หลังคาก็ยิ่งดี ถ้าอยู่กลางแจ้งควรหาจากหรือทางมะพร้าวคลุมไว้ด้วยก็จะดี ปุ๋ยคอกที่ได้มาใหม่ ๆ และยังสดอยู่ถ้าจะใส่ปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟตชนิดธรรมดา (20% P O ) ลงไปด้วยสักเล็กน้อยก็จะช่วยป้องกันไม่ให้มีการสูญเสียไนโตรเจนโดยการระเหิดกลายเป็นก๊าซได้เป็นอย่างดี ถ้าเลี้ยงสัตว์อยู่ในคอกควรใช้แกลบ ขี้เลื่อยหรือฟางข้าวรองพื้นคอกให้ดูดซับปุ๋ยไว้ เมื่อฟางข้าวอิ่มตัวด้วยปุ๋ยก็รองเพิ่มเป็นชั้น ๆ เมื่อสะสมไว้มากพอก็ลอกเอาไปกองเก็บไว้ อัตราปุ๋ยคอกที่ใช้นั้นไม่เคร่งครัดเหมือนกับปุ๋ยเคมี ปกติแนะนำให้ใส่อัตรา 1-4 ตันต่อไร่ โดยใส่ค่อนข้างมากในดินเหนียวจัดหรือดินทรายจัด หลังจากใส่ปุ๋ยคอกแล้วถ้ามีการไถหรือพรวนดินกลบลงไปในดิน ก็จะช่วยให้ปุ๋ยเป็นประโยชน์แก่พืชได้เร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น


ปุ๋ยหมัก
ปุ๋ยพวกนี้ก็ได้แก่ปุ๋ยที่เราได้จากการหมักเศษพืช เช่น หญ้าแห้ง ใบไม้ ฟางข้าว ฯลฯ ให้เน่าเปื่อยเสียก่อน จึงนำไปใส่ในดินเป็นปุ๋ย ปุ๋ยเทศบาลที่บรรจุถุงขายในชื่อของปุ๋ยอินทรีย์เบอร์ต่าง ๆ นั้น ก็คือปุ๋ยหมัก ได้จากการนำขยะจากในเมือง พวกเศษพืช เศษอาหารเข้าโรงหมักเป็นขั้นเป็นตอนจนกลายเป็นปุ๋ย ปุ๋ยหมักสามารถทำเองได้โดยการกองสุมเศษพืชสูงขึ้นจากพื้นดิน 30-40 ซม. แล้วโรยปุ๋ยคอกผสมปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ 15-15-15 ประมาณ 1-1.5 กิโลกรัม ต่อเศษพืชหนัก 1,000 กิโลกรัม เสร็จแล้วก็กองเศษพืชซ้อนทับลงไปอีกแล้วโรยปุ๋ยคอกผสมปุ๋ยเคมี ทำเช่นนี้เรื่อยไปเป็นชั้น ๆ จนสูงประมาณ 1.5 เมตร ควรมีการรดน้ำแต่ละชั้นเพื่อให้มีความชุ่มชื้น และเป็นการทำให้มีการเน่าเปื่อยได้เร็วขึ้น


กองปุ๋ยหมักนี้ทิ้งไว้ 3-4 สัปดาห์ ก็ทำการกลับกองปุ๋ยครั้งหนึ่ง ถ้ากองปุ๋ยแห้งเกินไปก็รดน้ำ ทำเช่นนี้ 3-4 ครั้ง เศษพืชก็จะเน่าเปื่อยเป็นอย่างดีและมีสภาพเป็นปุ๋ยหมัก นำไปใช้ใส่ดินเป็นปุ๋ยให้กับพืชที่ปลูกได้ เศษหญ้าและใบไม้ต่าง ๆ ถ้าเก็บรวบรวมกองสุมไว้แล้วทำเป็นปุ๋ยหมัก จะดีกว่าเผาทิ้งไป ปุ๋ยหมักจะช่วยปรับปรุงดินให้มีคุณสมบัติทางฟิสิกส์ดีขึ้นและปลูกพืชเจริญงอกงามดีเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะพืชผักสวนครัว และไม้ดอกไม้ประดับ

ปุ๋ยพืชสด
เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากการปลูกพืชบำรุงดินซึ่งได้แก่ พืชตระกูลถั่วต่าง ๆ แล้วทำการไถกลบเมื่อพืชเจริญเติบโตมากที่สุด ซึ่งเป็นช่วงที่กำลังออกดอก พืชตระกูลถั่วที่ควรใช้เป็นปุ๋ยพืชสดควรมีอายุสั้น มีระบบรากลึก ทนแล้ง ทนโรคและแมลงได้ดี เป็นพืชที่ปลูกง่าย และมีเมล็ดมาก ตัวอย่างพืชเหล่านี้ก็ได้แก่ ถั่วพุ่ม ถั่วเขียว ถั่วลาย ปอเทือง ถั่วขอ ถั่วแปบ และโสน เป็นต้น



2. ปุ๋ยเคมี หรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์
ปุ๋ยพวกนี้เป็นปุ๋ยที่ได้มาจากการผลิตหรือสังเคราะห์ทางอุตสาหกรรมจากแร่ธาตุต่าง ๆ ที่ได้ตามธรรมชาติ หรือเป็นผลพลอยได้ของโรงงานอุตสาหกรรมบางชนิด ปุ๋ยเคมีมีอยู่ 2 ประเภท คือ แม่ปุ๋ย หรือปุ๋ยเดี่ยวพวกหนึ่ง และปุ๋ยผสมอีกพวกหนึ่ง



ปุ๋ยเดี่ยวหรือแม่ปุ๋ย
ได้แก่ ปุ๋ยพวกแอมโมเนียมซัลเฟต โพแทสเซียมคลอไรด์ ฯลฯ ซึ่งเป็นสารประกอบทางเคมี มีธาตุอาหารปุ๋ยคือ N หรือ P หรือ K เป็นองค์ประกอบอยู่ด้วยหนึ่งหรือสองธาตุ แล้วแต่ชนิดของสารประกอบที่เป็นแม่ปุ๋ยนั้น ๆ มีปริมาณของธาตุอาหารปุ๋ยที่คงที่ เช่น ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต มีไนโตรเจน 20% N ส่วนโพแทสเซียมไนเทรต มีไนโตรเจน 13% N และโพแทสเซียม 46% K2O อยู่ร่วมกันสองธาตุ



ปุ๋ยผสม
ได้แก่ ปุ๋ยที่มีการนำเอาแม่ปุ๋ยหลาย ๆ ชนิดมาผสมรวมกัน เพื่อให้ปุ๋ยที่ผสมได้ มีปริมาณและสัดส่วนของธาตุอาหาร N P และ K ตามที่ต้องการ ทั้งนี้เพื่อให้ได้ปุ๋ยที่มีสูตรหรือเกรดปุ๋ยเหมาะที่จะใช้กับชนิดพืชและดินที่แตกต่างกัน ปุ๋ยผสมนี้จะมีขายอยู่ในท้องตลาดทั่วไปเพราะนิยมใช้กันมาก ปัจจุบันเทคโนโลยีในการทำปุ๋ยผสมได้พัฒนาไปไกลมาก สามารถผลิตปุ๋ยผสมให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกันอย่างสม่ำเสมอ มีการปั้นเป็นเม็ดขนาดสม่ำเสมอสะดวกในการใส่ลงไปในไร่นา ปุ๋ยพวกนี้เก็บไว้นาน ๆ จะไม่จับกันเป็นก้อนแข็ง สะดวกแก่การใช้เป็นอย่างยิ่ง


ปุ๋ยผสมประเภทนี้รู้จักและเรียกกันทั่ว ๆ ไปว่า ปุ๋ยคอมปาวด์ ส่วนการนำแม่ปุ๋ยมาผสมกันเฉย ๆ เพียงให้ได้สูตรตามที่ต้องการ หรืออาจมีการบดให้ละเอียดจนเข้ากันดียังคงเรียกว่าปุ๋ยผสมอยู่ตามเดิม ปัจจุบันมีการนำเอาแม่ปุ๋ยที่มีการปั้นเม็ดหรือมีเม็ดขนาดใกล้เคียงกันมาผสมกันให้ได้สูตรปุ๋ยตามที่ต้องการ แล้วนำไปใช้โดยตรงเรียกปุ๋ยชนิดนี้ว่า ปุ๋ยผสมคลุกเคล้า (bulk blending)




ที่มา : รวบรวมจาก สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่มที่ 18

http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet6/envi2/subsoil/puy.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 02/09/2011 6:30 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

405. ปลูกมันสำปะหลัง... ยุคทองของชาวไร่ที่นากลาง


พื้นที่การเกษตรที่บ้านในซุ้ง หมู่ 2 ต.นากลาง อ.โกรกพระ จ.นครสวรรค์ เป็นที่ราบสูงติดเขาหลวงที่ทอดยาวกั้นระหว่าง อ.โกรกพระ กับ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ สภาพของดินทั่วไปเป็นดินหนวดตากุ้ง หรือดินปนทราย ซึ่งมีธาตุอาหารต่ำมาก ไม่มีแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่เพื่อการเกษตร เกษตรกรที่พอจะมีทุนอยู่บ้างก็จะลงทุนขุดกันเองในพื้นที่ทำกิน ช่วงหน้าฝนบางปีก็จะมีน้ำหลากจากเขาหลวงไปท่วมพืชผลทางการเกษตรบ้าง แต่น้ำก็มาเร็วและไปเร็วจึงเกิดความเสียหายน้อย ส่วนหน้าแล้งก็จะแล้งสมชื่อ จากสภาพเช่นนี้จึงไม่เปิดโอกาสให้เกษตรกรมีทางเลือกมากนักในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำให้หลายคนมีหนี้สินที่เกิดจากการลงทุนที่ล้มเหลวจำนวนมาก หลายคนมองไม่เห็นทางช่องทางที่จะหลุดพ้นจากหนี้สิน

นายธงชัย กาหา เกษตรกรวัย 44 ปี ผู้ได้รับรางวัลเกษตรกรดีเด่นสาขาทำไร่ระดับจังหวัด เมื่อปี 2552 และ นางชุติมา กาหา ภรรยาคู่ใจวัย 46 ปี ก็เป็นอีกครอบครัวหนึ่งที่ประสบชะตากรรมเช่นเดียวกัน จากพื้นที่ทำกินที่มีอยู่ 57 ไร่ จึงเลือกทำการเกษตรได้เพียง 2 อย่าง คือ อ้อย 33 ไร่ และมันสำปะหลัง 12 ไร่ นอกจากนี้ยังได้เช่าพื้นที่เพื่อทำนาปีอีก 60 ไร่ เดิมทีเดียวได้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แต่ก็ประสบปัญหาภัยแล้งบ่อยครั้งทำให้ได้ผลผลิตต่ำ ต่อมาจึงได้นำท่อนพันธุ์มันสำปะหลังมาจาก จ.กำแพงเพชร ไปทดลองปลูกปรากฏว่าได้ผลดีกว่า นี่จึงเป็นจุดเปลี่ยนของเกษตรกรอีกหลายคน

การปลูกมันสำปะหลังตามวิธีของ คุณธงชัย กาหา จะเริ่มเตรียมดินด้วยการนำมูลวัวและแกลบไปใส่เพื่อปรับปรุงบำรุงดินทุกปีๆ ละ 500 - 1,000 กก.ต่อไร่ ก่อนการไถเตรียมดินราวปลายเดือน มี.ค. เสร็จแล้วก็จะเริ่มปลูกในช่วงเดือน เม.ย. จากนั้นก็ฉีดสารเคมีคุมวัชพืช

ส่วนการเตรียมท่อนพันธุ์ ก็เป็นผู้ริเริ่มการใช้ท่อนพันธุ์แบบตัดตรง วิธีนี้จะทำให้รากงอกออกมารอบๆ รอยตัด รากที่งอกออกมานั่นหมายถึงหัวมันสำปะหลังที่จะเกิดขึ้นในโอกาสต่อไป ส่วนในอดีตใช้วิธีการตัดเฉียงก็จะทำให้รากจะงอกเฉพาะส่วนปลายด้านล่างสุดเท่านั้นซึ่งจะน้อยกว่าการตัดตรง โดยตัดให้มีความยาว 30 ซม. ส่วนปลายยอดของต้นพันธุ์ให้ตัดทิ้งไป 50 ซม. และตัดส่วนโคนต้นพันธุ์ทิ้งไป 30 ซม. เพราะทั้งสองส่วนนี้ไม่เหมาะที่จะนำไปทำพันธุ์

การปลูกจะใช้ระยะห่างระหว่างแถว 100 ซม. และระหว่างต้น 80 ซม. เป็นระยะที่เหมาะสมสามารถเข้าไปดูแลได้สะดวก หากปลูกระยะชิดมากกว่านี้จะทำให้เกิดการแย่งอาหารกันทำให้หัวมันเล็ก จากนั้นก็นำขี้หมูที่ตากแห้งแล้ว 1 กก. ผสมน้ำ 10 ลิตร นำท่อนพันธุ์ลงไปแช่ทิ้งไว้ 24 ชม. แล้วจึงนำไปปลูก แล้วก็ใช้ฮอร์โมนที่หมักจากขี้หมูที่ตากแห้งแล้ว 1 กก. ผสมน้ำ 10 ลิตรทิ้งไว้ 24 ชม. แล้วนำมากรองเอาเฉพาะน้ำไป จากนั้นนำน้ำหมักที่ได้ 1 ลิตร ผสมน้ำสะอาดอีก 10 ลิตร จึงนำฉีดเป็นฮอร์โมน 2 เดือนต่อครั้ง รวม 3 ครั้ง ก็จะทำให้มันสำปะหลังเจริญเติบโตได้ดี

เมื่อปลูกมันไปได้ 1 เดือน ก็ใส่ปุ๋ย สูตร 13-7-21 ด้วยการเจาะหลุมระหว่างแถวมัน จากนั้นก็ใส่ปุ๋ยลงไปแล้วใช้ดินกลบเพื่อใส่ปุ๋ยค่อยๆ ละลายเป็นอาหารของมันต่อไป แล้วจะเป็นหน้าที่ของธรรมชาติ คือ ฝน ที่จะตกลงมาเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ดิน โดยจะไปขุดหัวมันในช่วงเดือน ก.พ. – มี.ค. ดูราคามันในช่วงนั้นประกอบการขุดด้วย ถ้าหากช่วงนั้นราคาตกต่ำก็สามารถปล่อยให้เป็นมันข้ามปี เพื่อไปขุดในเดือน ส.ค. ปีเดียวกันก็ได้เช่นเดียวกัน

นายธงชัย กาหา ได้ให้ นางชุติมา กาหา ช่วยจัดทำบัญชีครัวเรือน จึงทำให้ทราบรายรับ – รายจ่าย และกำไร-ขาดทุน ได้อย่างชัดเจน ในปีการผลิต 2550/51 ได้ผลผลิต 47 ตัน ราคาตันละ 2,000 บาท เงินลงทุน 25,100 บาท ได้กำไร 68,900 บาท

ปีการผลิต 2551/52 ได้ผลผลิต 28 ตัน ราคาตันละ 1,800 บาท เงินลงทุน 26,420 บาท ได้กำไร 23,980 บาท เนื่องจากช่วงที่ขุดหัวมันนั้นราคาตกต่ำ จึงขุดมันเพียงบางส่วนที่เหลือได้ปล่อยเป็นมันข้ามปี

ปีการผลิต 2552/53 ได้ผลผลิต 54 ตัน ราคาตันละ 1,900 บาท เงินลงทุน 25,620 บาท ได้กำไร 76,980 บาท

ด้านนายปรีชา บำรุงศรี นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ ซึ่งรับผิดชอบการทำงานที่ ต.นากลาง กล่าวว่า จากผลงานที่ปรากฏทำให้ อบต.นากลาง สนับสนุนงบประมาณมาให้กลุ่มผู้ปลูกมัน ต.นากลาง ซึ่งมีสมาชิก 35 คนมี นายธงชัย กาหา เป็นประธานกลุ่ม เพื่อจัดทำเป็นแปลงเรียนรู้ทดสอบพันธุ์มันสำปะหลัง การใช้ปุ๋ยที่เหมาะสม และโรคแมลง โดยเฉพาะเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังที่ระบาดมากในพื้นที่อื่น เรื่องนี้ได้มีการวางแผนเตรียมรับมือเอาไว้แล้ว

ส่วน นายตรีเดช ศรีเจริญพันธ์ เกษตรอำเภอโกรกพระ กล่าวว่า การปลูกมันสำปะหลังที่นี่เริ่มทำมาแล้วหลายปี โดยในปีที่ผ่านมาได้จัดทำแปลงทดลองพันธุ์ร่วมกับศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ ในพื้นที่ 1 ไร่ ได้ทดลองปลูกมันสำปะหลัง 5 สายพันธุ์ คือ ระยอง 5 , ระยอง 7 , ระยอง 9 , ห้วยบง 60 และ CMR 159 วิธีการดูแลรักษาที่เหมือนกันทั้งหมด จนกระทั่งเมื่อครบกำหนดก็ได้เชิญสมาชิกกลุ่มผู้ปลูกมันสำปะหลัง ต.นากลาง จำนวน 35 คน ไปสังเกตการณ์ปรากฏว่า ระยอง 7 ได้ผลผลิต 1,105 กก.ต่อไร่ CMR 159 ได้ผลผลิต 1,032 กก.ต่อไร่ ระยอง 9 ได้ผลผลิต 1,013 กก.ต่อไร่ ห้อยบง 60 ได้ผลผลิต 974 กก.ต่อไร่ และระยอง 5 ได้ผลผลิต ระยอง 963 กก.ต่อไร่ จากผลการทดลองปรากฏว่า ทำให้ชาวไร่นากลางตื่นตัวกับพันธุ์ระยอง 7 และ CMR 159 มาก ในปีนี้ซึ่งจะได้เร่งขยายทั้งสองสายพันธุ์นี้ให้มากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของสมาชิกได้มากที่สุด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 081-281-9907


ธนภัทร ภคสกุลวงศ์

http://www.naewna.com/news.asp?ID=223046
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 14, 15, 16 ... 72, 73, 74  ถัดไป
หน้า 15 จากทั้งหมด 74

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©