-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-* นานาสาระเรื่องเกษตร.
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * นานาสาระเรื่องเกษตร.
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* นานาสาระเรื่องเกษตร.
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 11, 12, 13 ... 72, 73, 74  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 22/08/2011 5:56 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หน้าที่ 12

ลำดับเรื่อง....


306. ชาวนาอเมริกา ชาวนาไทย กับเบื้องหลังอันเจ็บปวด
307. การควบคุมค่า pH และ EC ของสารละลายธาตุอาหารของพืช
308. ค่า EC คืออะไร
309. ค่า EC ต่อ ผลผลิตพืช
310. อินทรีย์วัตถุในดิน (Soil Organic Matter)

311. ปุ๋ยสั่งตัด คือ อะไร ?
312. อินทรีย์วัตถุในดิน
313. สัมภาษณ์ยาคอบ ไมเซอร์ : เกษตรกรไบโอไดนามิคจากออสเตรเลีย
314. ฮิวมัส ต่างกับฮิวมิก อย่างไร
315. ฮิวมัสคืออะไร ?

316. อนินทรีย์ไนโตรเจน
317. สารสกัดใบน้อยหน่า กำจัดแมลง-จุลินทรีย์
318. เทคนิคเพิ่มผลผลิต ‘ลองกอง’ คุณภาพ
319. “เฉาก๊วย” มีต้นขาย
320. เครื่องตรวจพันธุ์ข้าว

321. สมุนไพรสำหรับสัตว์
322. การเลี้ยงปลาด้วยกากเบียร์
323. สมุนไพรบำบัดน้ำฟาร์มกุ้งทดแทนเคมี-ป้องกันโรคกุ้ง
324. บำรุงดินด้วยสูตรปุ๋ยธรรมชาติ
325. การทำมะพร้าวกะทิ

326. รากหญ้าแฝกสกัดน้ำมันใช้กำจัดปลวกแทนสารเคมี
327. การเพาะเห็ดฟางจากทะลายปาล์ม
328. ข้อดีของการให้ปุ๋ยในระบบน้ำชลประทาน
329. ปุ๋ยเคมีเหลว (liquid fertilizer)
330. เทคโนโลยีเปลี่ยนชีวมวล เป็นน้ำมัน คาดอีก 15 ปี ใช้ได้จริง

--------------------------------------------------------------------------------





306. ชาวนาอเมริกา ชาวนาไทย กับเบื้องหลังอันเจ็บปวด

การปลูกข้าวในรัฐแคริฟอร์เนียของสหรัฐอเมริกามีมากว่า 100 ปี ที่ผ่านมาข้าวถูกนำเข้ามาในแคริฟอร์เนียโดยชาวจีนและชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาร่อนทองตามแม่น้ำทางตอนเหนือของรัฐแคริฟอร์เนีย ชาวยุโรปซึ่งเข้ามาครอบครองพื้นที่อยู่ก่อนแล้วเห็นว่าน่าจะปลูกข้าวขายให้คนจีน เพราะชาวจีนเข้ามาอยู่มาก และดินในแถบนั้นก็เป็นดินเหนียวเหมาะกับการปลูกข้าว



เกรก มาสซา กับ ผู้เขียน และแปลงนาข้าวอินทรีย์ของเกรก



ลันเบอกฟาร์ม ฟาร์มข้าวขนาดใหญ่


เกรก มาสซา (Greg Massa) ชาวนาแคริฟอร์เนียผู้ซึ่งเคยมาเมืองไทยในฐานะวิทยากรของกรีนพีชเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการรณรงค์ต่อต้านข้าว GMOs เล่าว่าเขาเป็นชาวนารุ่นที่ 4 ของตระกูล บรรพบุรุษเขามาจากโปรตุเกสตั้งแต่รุ่นทวด (ยายของพ่อ) และเป็นตระกูลที่ปลูกข้าวมาตั้งแต่อยู่ในโปรตุเกส การปลูกข้าวในแคริฟอร์เนียทำได้ครั้งเดียวในรอบปี โดยจะปลูกในช่วงฤดูร้อนประมาณเดือนมิถุนายนและเก็บเกี่ยวราวๆ เดือนสิงหาคมถึงกันยายน ข้าวที่ปลูกส่วนใหญ่เป็นข้าวญี่ปุ่นเม็ดขนาดกลาง (Japonica medium grain) มีบางฟาร์มที่ปลูกข้าวเมล็ดยาวอย่างข้าวหอมมะลิด้วย เช่น ลันเบอกฟาร์ม (Lundberg Farm)

เกรกสร้างบ้านด้วยฟางข้าวอัดสวยงามตาม "กระแสกรีน" ที่กำลังได้รับความสนใจในสหรัฐฯ ผู้เขียนมีโอกาสพบปะพูดคุยกับเกรกที่บ้านของเขาและร่วมเกี่ยวข้าวในรถเกี่ยวข้าวขนาดใหญ่ เพียงไม่กี่นาทีก็ได้เมล็ดข้าวเต็มรถบรรทุกสิบล้อ หลังจากที่ผู้เขียนล่ำลากลับฟาร์มที่เมืองโบลินัส เกรกได้ส่งจดหมายที่มีข้อความสั้นๆ ตามมา และมีเนื้อความที่น่าสนใจว่า

"ขณะที่เราเป็นชาวนาในสถานการณ์ที่ต่างกันมาก แต่ผมกับอุบลมีปัญหาคล้ายกัน ผมรู้ว่าเครื่องจักรที่เราใช้มันแปลกมากสำหรับอุบล แต่มันคือความจริงของการทำเกษตรในสหรัฐฯ ที่ดินใหญ่มาก หนี้สินก้อนใหญ่มาก ฟาร์มของเรา 700 เอเคอร์ (1 เอเคอร์ เท่ากับ 2.529 ไร่ ดังนั้น 700 เอเคอร์ จึงเท่ากับพื้นที่ประมาณ 1,770 ไร่ หรือเทียบได้กับพื้นที่เกือบครึ่งหนึ่งของท่าอากาศยานดอนเมือง) เลี้ยงชีพได้เพียง 2 ครอบครัว ที่ดินขนาดนั้นหากอยู่ในเมืองไทยน่าจะทำกินได้ถึง 50 ครอบครัว..ถามว่าใครมีระบบที่ดีกว่ากัน?"

เป็นมุมมองของคนที่เห็นปัญหาและเข้าใจชี้วัด แน่นอน.. เกรกเป็นหนึ่งในพลเมืองส่วนน้อยของคนอเมริกันที่มีประสบการณ์ ในการเรียนรู้ชีวิตเกษตรกรในต่างประเทศ เกรกเคยใช้ชีวิตกับเกษตรกรในคอสตาริกา ต่อคำถามว่าหากไม่มีการอุดหนุนจากรัฐบาลจะเกิดอะไรขึ้นกับชาวนาสหรัฐฯ คำตอบก็คือส่วนหนึ่งอยู่ไม่ได้แน่ๆ เพราะต้นทุนการปลูกข้าวสูงขึ้นมาก แต่ราคาข้าวยังคงเดิม ชาวนาแคริฟอร์เนียใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ใช้น้ำมันมาก น้ำต้องสูบทุกหยด ซื้อเมล็ดพันธุ์ ใช้เครื่องบินหว่านเมล็ดพันธุ์ซึ่งต้องจ้าง และใช้เครื่องบินพ่นสารเคมีฆ่าหญ้า 2 ครั้งในหนึ่งฤดูการผลิต
ข้าวจากแคริฟอร์เนียส่งออกไปยังเกาหลีใต้และญี่ปุ่นในราคาถูกเพียงครึ่งหนึ่งของราคาที่ชาวนาแคริฟอร์เนียขายได้ อันเนื่องมาจากการอุดหนุน 150 ดอลลาร์ต่อเอเคอร์ของรัฐ ประเทศเหล่านั้นไม่ต้องการข้าวเลย เขาผลิตข้าวได้พอกิน มันเป็นการฆ่าชาวนาในประเทศนั้นชัดๆ เกรกและเพื่อนชาวนา ชิพ สตรัคไมเออร์ (Chip Struckmier) ได้พยายามหาทางออกให้ตนเองด้วยการแบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งปลูกข้าวอินทรีย์ ขอรับรองมาตรฐาน จ้างโรงสีในท้องถิ่นสี และพยายามขายตรงกับผู้บริโภคในท้องถิ่น ผ่านระบบ CSA (Community Supported Agriculture) และตลาดนัดชาวนา

ความวัวยังไม่หายความควายก็มาแทรก!...ขณะที่ปัญหาต้นทุนการผลิตการค้าการส่งออกยังไม่เห็นทางออก ข้าวตัดต่อพันธุกรรมหรือข้าวจีเอ็มโอ (GMOs) ก็ถูกตรวจพบในรัฐเทกซัส ข้าวจีเอ็มโอลิเบอตี้ลิงค์ 601 ซึ่งเป็นข้าวจีเอ็มโอของบริษัทไบเออร์ ถูกตรวจพบว่าปนเปื้อนกับข้าวเมล็ดยาวของชาวนา จนกระทั่งขณะนี้ก็ยังตรวจสอบไม่ได้ว่าปนเปื้อนจากโรงสีหรือปนเปื้อนจากการผสมเกสร จากแปลงทดลอง และนาของเกษตรกร หลังจากนั้นญี่ปุ่นก็ยุติการนำเข้าข้าวจากภาคใต้ของสหรัฐฯ และมีการตรวจพบข้าวจีเอ็มโอจากสหรัฐฯ ในยุโรป 16 ประเทศ ประเทศยุโรปลดการนำเข้าข้าวจากสหรัฐฯ ทันที ทำให้ราคาข้าวในรัฐภาคใต้ของสหรัฐฯ อย่างเทกซัส หลุยส์เซียน่า ลดลงต่ำมาก ชาวนาสหรัฐฯ จึงยื่นฟ้องบริษัทไบเออร์ต่อศาล



บ้านของเกรก มาสซา สร้างจากฟางข้าวอัด



เครื่องบิน อุปกรณ์หว่านเมล็ดพันธุ์ และพ่นสารเคมีฆ่าหญ้า



รถเก็บเกี่ยวไฮเทค บอกความชื้น น้ำหนักข้าว สะดวกสบาย แต่ลงทุนสูงมาก


ชาวนาแคริฟอร์เนียดูจะวิตกกังวลกับเรื่องจีเอ็มโอมาก เพราะกลัวการเสียตลาดเช่นที่เกิดขึ้นกับรัฐทางภาคใต้ ฟาร์มใหญ่ออกมาแสดงจุดยืนเป็นเสียงเดียวกันว่าจะไม่ยอมให้ข้าวจีเอ็มโอเข้ามาในแคริฟอร์เนียอย่างเด็ดขาด พร้อมกันนี้จะมีการผลักดันกฎหมายห้ามทดลอง ห้ามปลูกข้าวจีเอ็มโอในรัฐแคริฟอร์เนียผ่านทางคณะกรรมการข้าว (California Rice Commission) ซึ่งจะประชุมในสัปดาห์หน้า ผลการประชุมคณะกรรมการข้าวแคริฟอร์เนียจะกำหนดการเคลื่อนไหวของชาวนาที่ต่อสู้เรื่อง จีเอ็มโอ ซึ่งต้องติดตามเรื่องนี้ต่อไป





ข้าวหอมมะลิพลัดถิ่นยังน่าเป็นห่วง

การเคลื่อนไหวของชาวนาอีสานเมื่อ 3-4 ปีก่อน กรณีนักวิจัยสหรัฐฯ ขโมยข้าวหอมมะลิมาทำวิจัยในสหรัฐฯ สิ่งที่ได้คือจดหมายจากรัฐบาลสหรัฐฯ ว่าจะไม่จดสิทธิบัตรข้าวที่ได้จากการวิจัย ซึ่งอาจจะไปน้ำขุ่นๆ ว่าหมายถึงการวิจัยของนักวิจัยที่ชื่อ คริสดีแลนด์ ที่ตกเป็นข่าวเพียงงานวิจัยเดียวนั้นหรือไม่ ทุกวันนี้การวิจัยข้าวหอมมะลิทำอยู่ในหลายรัฐที่มีการปลูกข้าว ตัวอย่างเช่น Louisiana State University (LSU) Agcenter Rice Research Station สถานีวิจัยที่กำลังพัฒนาข้าวหอมจากข้าวหอมมะลิและข้าวบัสมาติให้มีความหอมมากขึ้น ต้นเตี้ย ผลผลิตสูง และออกรวงเร็วขึ้น ให้เป็นพันธุ์ข้าวหอมเชิงพาณิชย์แบบสุดๆ ในขณะที่ California Cooperative Rice Research Foundation ปฏิเสธการขอเข้าดูงานของผู้เขียน โดยบอกแต่เพียงว่าเขาทำวิจัยข้าวหอมมะลิอยู่ เขาไม่อยากเป็นข่าว

ขอให้ชาวนาไทย ประชาชนไทย เตรียมใจสำหรับการต่อสู้ที่ยืดเยื้อนี้ได้เลย !



อุบล อยู่หว้า
เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก
http://www.thaingo.org/writer/view.php?id=222





.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/10/2011 8:03 am, แก้ไขทั้งหมด 20 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 22/08/2011 9:24 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

307. การควบคุมค่า pH และ EC ของสารละลายธาตุอาหารของพืช


โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. วัฒนา เสถียรสวัสดิ์


pH คือ ค่าความเป็นกรดด่างหรือความ เข้มข้นของ H+ ของสารละลายธาตุอาหารพืช pH มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชทั้งในการละลาย และดูดกินสารละลายธาตุอาหาร ช่วง pH ที่เหมาะสมควรอยู่ระหว่าง ๕.๕ - ๖.๕ โดยที่พืชดูดกินสารละลายธาตุอาหารพืชตลอดเวลา จำเป็นต้องรักษาระดับ pH ให้เหมาะสม การตรวจวัดต้องกระทำทุกวัน การลดระดับ pH นิยมใช้กรดไนทริก (NHO3) มากกว่าฟอสฟอริก (H3 PO4) การยกระดับ pH นิยมใช้โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH) หรือโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH)



EC (Electric Conductivity) คือ ค่าการนำไฟฟ้า การวัดค่า EC ทำให้เราทราบความเข้มข้นของสารละลายธาตุอาหารพืช ซึ่งแสดงเป็นมิลลิโม (millimhos) ต่อเซนติเมตร (mMho/cm) หรือมิลลิซิเมน (millisiemen) ต่อเซนติเมตร (mS/cm) ค่า ๑ mMho/cm = ๑ mS/cm ประมาณ ๖๕๐ ppm. ความเข้มข้นของสารละลายธาตุอาหารพืชปกติควรอยู่ระหว่าง ๑,๐๐๐ - ๑,๕๐๐ ppm. เพื่อให้แรงดันออสโมติก (Osmotic Pressure) ของกระบวนการดูดซึมของรากเกิดได้สะดวก ค่า EC ที่เหมาะสมควรอยู่ระหว่าง ๑.๕ -๓.๐ mS/cm ขึ้นอยู่กับชนิดและอายุของพืช ค่า EC สูงจะเป็นอันตรายต่อพืช ต้องเจือจางด้วยน้ำ ถ้าค่า EC ต่ำ ต้องเพิ่มความเข้มข้นให้เพียงพอ เนื่องจากพืชใช้สารละลายตลอดเวลา ดังนั้น ค่า EC จะเปลี่ยนแปลงเสมอ จำเป็นต้องตรวจวัดทุกวัน และปรับค่าตามความจำเป็น




http://guru.sanook.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 06/01/2023 7:53 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 22/08/2011 9:54 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

308. ค่า EC คืออะไร


EC ย่อมาจากคำว่า Electric Conductivity

หมายถึง ค่าการนำไฟฟ้าของเกลือ (ใน ไฮโดรโพนิกส์ จะหมายถึงเกลือของธาตุอาหาร) ทั้งหมดที่ละลายอยู่ในน้ำ โดยปกติแล้วน้ำบริสุทธิ์จะมีค่าความนำไฟฟ้าเป็นศูนย์ แต่เมื่อนำธาตุอาหารละลายในน้ำ เกลือของธาตุอาหารเหล่านี้จะแตกตัวเป็นประจุบวก และประจุลบ ซึ่งจะเป็นตัวนำไฟฟ้า ทำให้มีค่าความนำไฟฟ้า (Electric Conductivity) ซึ่งค่านำไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับปริมาณเกลือของธาตุอาหารที่ละลายอยู่ในน้ำ ดังนั้น เราจึงใช้การวัดค่าการนำไฟฟ้าของสารละลาย(ค่า EC) เพื่อเป็นตัวบอกปริมาณเกลือธาตุอาหารที่ละลายในน้ำ

แต่การวัดค่า EC นั้นเป็นเพียงการวัดค่าโดยรวมไม่สามารถแยกบอกความเข้มข้นของเกลือแต่ละตัวได้ เช่น ถ้านำธาตุอาหาร A หรือ B มาละลายในน้ำ เกลือของธาตุต่างๆ เช่น N,P,K ฯลฯ ก็จะละลายรวมกันอยู่ โดยที่เราไม่สามารถบอกได้ว่า มีธาตุอาหารแต่ละตัวอยู่เท่าไหร่ ตัวอย่างเช่น ในน้ำมีเกลือ N + P + K ละลายรวมกันอยู่ และวัดค่า EC ได้ = 2.0 mS/cm เราไม่สามารถทราบได้ว่ามี N, P, K อยู่อย่างละเท่าใด ทราบเพียงแต่ว่ามีอยู่รวมกัน มีค่า = 2.0mS/cm ซึ่งค่า EC ที่วัดได้นี้จะนำไปใช้กับพืชที่เราจะทำการปลูก และควรรักษาระดับค่า EC ให้คงที่ และปรับค่าอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ในสารละลายมีธาตุอาหารที่พืชสามารถจะนำไปใช้ได้ตลอดเวลาและพอเพียง

โดยส่วนมากค่าที่ใช้วัดสำหรับการปลูกพืชจะอยู่ในช่วงตั้งแต่ 0.5-5.0 mS/cm โดยพืชแต่ละชนิดก็จะใช้ค่า EC ที่แตกต่างกันออกไป

เครื่อง EC Meter เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์มากและควรมีไว้ใช้ เพื่อตรวจสอบคุณภาพของน้ำ และตรวจสอบความถูกต้องของการละลายธาตุอาหารในระบบน้ำที่ใช้ในการปลูก

เครื่อง EC Meter นั้นมีหน่วยการวัดค่าหลายหน่วย ดังนั้น การเลือกซื้อเครื่องมือต้องดูให้เหมาะสมกับงานที่ใช้ โดยทั่วไประบบไฮโดรโพนิกส์ ควรเลือกเครื่องมือที่วัดได้ในช่วง 0–10 mS/cm ซึ่งน่าจะเพียงพอ ไม่จำเป็นต้องเลือกเครื่องที่สามารถเลือกช่วงการวัดได้หลายช่วงในเครื่องเดียว เช่น เลือกได้จากช่วง 0–10 mS/cm, 0-20 mS/cm, 0-100 mS/cm ซึ่งราคาจะแพงและเป็นช่วงการวัดที่เราไม่ได้ใช้ โดยเฉพาะช่วงตั้งแต่ 10-100 mS/cm

นอกจากนี้ควรสอบถามจากผู้ขายถึงวิธีการใช้งานและการดูแลรักษา และสิ่งที่สำคัญในการใช้เครื่องมือ คือ ต้องมีการตรวจสอบค่าที่วัดได้จากเครื่องมือว่าถูกต้องหรือไม่อยู่เสมอๆ โดยใช้เครื่องมือวัดวัดค่าสารละลายที่เราทราบค่า EC ที่แน่นอนและอ่านค่าจากเครื่องมือ ถ้าค่าไม่ตรงกันต้องทำการตั้งค่าที่เครื่องมือให้ถูกต้อง ซึ่งวิธีการปรับค่าจะมีแนบมากับเครื่องมือที่ซื้อมา หรือสามารถขอจากผู้ขายได้โดยตรง




เขียนโดย Magic Oracle

http://hydro-farm.blogspot.com/2010/05/ec.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 23/08/2011 5:05 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 22/08/2011 10:02 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

309. ค่า EC ต่อ ผลผลิตพืช


เขียนโดย Fah


ค่า EC สูงหรือ ต่ำ อย่างไร มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช จะไปในทิศทางใด และให้ผลผลิตที่สูงต่ำกว่ากันอย่างไร ต้องศึกษาค่ะ


โดยทั่วไปในระบบ Hydroponics ความเข้มข้นของสารละลาย จะวัดเป็นค่า EC ( Electrical Conductivity) หน่วยเป็น mS/cm ซึ่งค่าจะอยู่ในช่วง 1-4 mS/cm การตอบสนองของผลผลิต ต่อค่า EC คือ เมื่อค่า EC ต่ำ ผลผลิตก็จะต่ำ และเมื่อเพิ่มค่า EC ถึงระดับหนึ่ง จะได้ค่าผลผลิตสูงสุด และเมื่อเพิ่มค่า EC ต่อไป ผลผลิตจะไม่เพิ่ม หลังจากนั้น ถ้าเพิ่มค่า EC ต่อไปอีก ผลผลิตจะลดลง ค่า EC ในที่นี้คือ ค่า EC บริเวณรากพืช ซึ่งอาจแตกต่างจาก ค่า EC ของสารละลายที่เตรียม


เมื่อค่า EC ต่ำ (< 1.0 mS/cm) จะทำให้ผลผลิตที่ได้ อ่อนนุ่ม ซึ่งจะดีในการปลูกผักสลัด แต่ในมะเขือเทศ และพืชผักชนิดอื่นที่เก็บผลสด คุณภาพของผลจะไม่ดี เนื่องจากผลอ่อนนุ่มเกินไป และรสชาติจะไม่ดีด้วย และอายุหลังเก็บเกี่ยวทั้งผัก และทั้งไม้ดอก ไม้ประดับจะสั้น และเมื่อเพิ่มค่า EC ให้สูงขึ้น มีผลให้พืชมีความแข็งแรงมากขึ้น มีการเจริญเติบโตเร็วขึ้น เพิ่มน้ำหนักใบ ผลและดอก ทำให้คุณภาพผลผลิตดีขึ้น เช่น มะเขือเทศ จะมีปริมาณน้ำตาลเพิ่มขึ้น ปริมาณธาตุอาหาร และกรดในผลเพิ่มขึ้น อายุหลังเก็บเกี่ยวนานขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม การควบคุมให้ค่า EC สูง จะยากกว่า การปลูกใน EC ต่ำ เนื่องจากในมะเขือเทศ อาจเกิดอาการผลเน่าที่ปลาย ( Blossom–end rot) ส่วนผักสลัด อาจเกิดอาการยอดไหม้ (Tip burn)



ที่มา : รศ.ดร. อิทธิสุนทร นันทกิจ


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 23/08/2011 5:04 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 22/08/2011 10:16 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

310. อินทรีย์วัตถุในดิน (Soil Organic Matter)


คืออะไร ? และ สำคัญอย่างไร ?

คำว่าอินทรีย์วัตถุ โดยทั่วไปหมายถึง องค์ประกอบทั้งหลายที่เป็นอินทรีย์สารในดินรวมทั้งเนื้อเยื่อของพืชและสัตว์ที่ยังไม่เน่าเปื่อย ผลผลิตบางส่วนที่ผ่านการเน่าเปื่อยแล้ว และชีวะมวลของดิน อินทรีย์วัตถุจึงประกอบด้วย

1. สิ่งที่สามารถบอกรูปพรรณสันฐานใด้ ใด้แก่วัตถุอินทรีย์ที่มีโมเลกุลสูง เช่น โปลีแซคคาไรด์ ใด้แก่ แป้งและโปรตีน เช่นเนื้อสัตว์ หรือเนื้อพืช ที่เป็นโปรตีนหลายชนิด

2. สารที่มีสูตรโครงสร้างอย่างง่ายๆ ได้แก่ น้ำตาล กรดแอมมิโน และสารที่มีโมเลกุลเล็กอื่นๆ

3. สารฮิวมิคหลายชนิด นั่นคืออินทรีย์วัตถุในดินประกอบด้วยสารประกอบอินทรีย์ส่วนใหญ่ที่สังเคราะห์โดยจุลินทรีย์แม้ไม่ใช่ทั้งหมดก็ตาม (เพราะบางส่วนอาจเกิดเป็นสารอนินทรีย์รวมอยู่ด้วย)

อินทรีย์วัตถุในดินจึงมักถูกกล่าวถึงบ่อยๆว่าประกอบด้วยสารฮิวมิค และพวกที่ไม่ใช่สารฮิวมิค พวกอินทรีย์วัตถุที่ไม่ใช่สารฮิวมิคได้แก่บรรดาวัตถุที่สามารถจัดอยู่ในกลุ่มสารประกอบที่แยกประเภทได้ เช่น น้ำตาล กรดแอมมิโน ไขมัน และอื่นๆ

อินทรีย์วัตถุที่เป็นสารฮิวมิค คือ องค์ประกอบที่ไม่สามารถบอกรูปพรรณสันฐานได้ชัดเจนแม้ว่าการแยกจะเห็นได้ง่ายๆแต่ก็ไม่สามารถแยกได้อย่างชัดเจนเช่นที่อาจจะเป็นอินทรีย์วัตถุอาจแสดงให้เห็นตามแผนภาพข้างต้น

สารประกอบอินทรีย์ในดิน (Organic compounds of soil) หมายถึง สิ่งมีชีวิตและซากสิ่งมีชีวิตที่ยังไม่เน่าเปื่อย, ที่เน่าเปื่อยไปบางส่วน,และที่เน่าเปื่อยสมบูรณ์แล้ว รวมทั้งผลผลิตที่ได้จากการแปรสภาพแล้ว ประกอบด้วย

1. จุลินทรีย์ที่ดำรงค์ชีพในดิน (Living organisms) ทั้งจุลินทรีย์ขนาดใหญ่และเล็ก (Macro-and microfaunal organisms)

2. อินทรีย์วัตถุในดิน (Soil organic matter)องค์ประกอบที่ปลอดสิ่งมีชีวิต เป็นสารผสมแยกเนื้อประกอบด้วยผลิตผลส่วนใหญ่ ที่เกิดจากการแปรรูปของซากสารอินทรีย์ทั้งโดยการย่อยสลายด้วยจุลินทรีย์และปฏิกริยาทางเคมี อินทรีย์วัตถุในดินสามารถดำรงค์อยู่ในรูปแบบที่มีรูปลักษณะภายนอกแตกต่างกันซึ่งเป็นพื้นฐานในการแยกประเภทได้เรียกว่ารูปแบบและชนิดต่างๆของฮิวมัสซึ่งจะแยกกล่าวในตอนต่อไป อินทรีย์วัตถุจึงประกอบด้วย

2.1. อินทรีย์วัตถุที่ยังไม่แปรสภาพ (unaltered materials) สิ่งที่สดและมีองค์ประกอบที่ไม่แปรสภาพของซากวัตถุเก่า


2.2. ผลผลิตที่แปรสภาพแล้วเกิดเป็นฮิวมัส(humus)คือสารที่รูปลักษณะภายนอกไม่มีความคล้ายคลึงกับโครงสร้างเดิมซึ่งเป็นแหล่งต้นกำเหนิดองค์ประกอบที่แปรสภาพแล้วเหล่านี้เรียกว่าผลผลิตจากกระบวนการเกิดฮิวมัส(Humification Processproduct) ประกอบด้วย

2.2.1. สารที่ไม่ใช่สารฮิวมิค (non humicsubstances) อยู่ในกลุ่มชีวะเคมี ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน กรดอะมิโน

2.2.2. สารฮิวมิค(humic substances)เป็นลำดับของสารที่มีน้ำหนักโมเลกุลสูง สีน้ำตาลถึงดำ เกิดจากปติกริยาการสังเคราะห์ทุติยภูมิ คำนี้ใช้เป็นชื่อเรียกทั่วๆไปเมื่อกล่าวถึงวัตถุมี่มีสีหรือส่วนย่ยยของมันที่ได้รับตามคุณลักษณะการละลายที่ต่างกันได้แก่ กรดฮิวมิค (humic acid) กรดฟุลวิค (fulvic acid) ฮิวมิน (humin)


เกษตรกรตั้งแต่ยุคโบราณได้ยอมรับความสำตัญของประโยชน์ที่ได้จากอินทรีย์วัตถุในดินที่มีต่อผลผลิตทางการเกษตร ประโยชน์เหล่านี้เป็นเรื่องที่ต้องโต้เถียงกันมาช้านานหลายศตวรรษและเป็นเรื่องที่ยังคงโต้เถียงกันอยู่ในปัจจุบัน ประโยชน์หลายประการของอินทรีย์วัตถุได้มีการบันทึกไว้เป็นอย่างดีโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ แต่ผลที่ได้บางอย่างจะมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับองค์ประกอบอื่นของดินด้วยซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะพิจารณาว่าประโยชน์นั้นเกิดจากอินทรีย์วัตถุเพียงอย่างเดียวโดยความเป็นจริงแล้วดินคือระบบขององค์ประกอบร่วมหลายชนิดที่ซับซ้อนของสสารหลายชนิดที่ทำปฏิกริยาซึ่งกันและกัน และคุณสมบัติของดินจึงเกิดจากผลที่ได้แท้ๆจากการทำปฏิกริยาซึ่งกันและกันเหล่านั้น

ปัญหาสำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ การสื่อสารกันในเรื่องสารฮิวมิคเป็นเรื่องขาดการให้คำจำกัดความที่แม่นยำ สำหรับการกำหนดองค์ประกอบย่อยต่างๆอย่างชัดเจน น่าเสียดายที่คำที่ใช้ในทางวิทยาศาสตร์ไม่ได้ถูกนำมาใช้อย่างตรงความหมาย คำว่าฮิวมัสถูกใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ ด้านดินบางท่านให้ความหมายเช่นเดียวกับอินทรีย์วัตถุในดิน Soil Organic Matter ซึ่งหมายถึงวัตถุที่เป็นสารอินทรีย์ (Organic Material) ทั้งหมดในดินรวมทั้งสารฮิวมิคด้วย ในทำนองเดียวกันคำว่าฮิวมัสก็ถูกใช้เรียกสารฮิวมิคเพียงอย่างเดียวบ่อยๆ

หน้าที่ของ อินทรีย์วัตถุในดิน (Function of Organic Matter in Soil)
อินทรีย์วัตถุมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชโดยอาศัยคุณสมบัติทางฟิสิคซ์, เคมี, และชีวะวิทยาของอินทรีย์วัตถุของดินนั้น มี 3 หน้าที่ ดังนี้

1. หน้าที่ทางด้านอาหารพืช เป็นแหล่ง ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส สำหรับการเจริญเติบโตของพืช

2. หน้าที่ทางด้านชีวะวิทยา มีผลอย่างมากต่อการทำงานของจุลินทรีย์ที่ดำรงค์ชีพกับพืชและสัตว์

3. หน้าที่ทางด้านฟิสิคซ์ และเคมี-ฟิสิคซ์ คือ การช่วยเสริมโครงสร้างดินให้ดีขึ้นจึงเป็นการปรับปรุงการไถพรวนให้เกิดประโยชน์มากขึ้น เพิ่มอากาศและกักเก็บความชื้นและเพิ่มประจุความสามารถของดินในการแลกเปลี่ยนเกลือ แร่ธาตุ และการปรับสมดุลกรด-ด่าง


นอกจากนั้นฮิวมัสยังมีบทบาททางอ้อมในดินต่อการรับธาตุอาหารพร้อมใช้ของพืช หรือการออกฤทธิ์เห็นผลของสารเคมีเพื่อการเกษตรอื่นๆ และการกำจัดวัชพืช และขอเน้นว่าความสำคัญขององค์ประกอบใดๆ จะแตกต่างออกไปตามดินที่ต่างพื้นที่ ขึ้นกับสภาวะแวดล้อม เช่น ภูมิอากาศ และประวัติการเพาะปลูก

อาหารพร้อมใช้สำหรับการเจริญเติบโตของพืช (Availability of nutrients for plant growth) อินทรีย์วัตถุ (Organic Matter) มีผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการเกิดธาตุอาหารพร้อมใช้เพื่อการเจริญเติบโตของพืช นอกจากเป็นแหล่ง
บริการอาหารพืช เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ ซัลเฟอร์ โดยผ่านการแปรสภาพเป็นแร่ธาตุโดยจุลินทรีย์ในดินแล้ว อินทรีย์วัตถุยังมีอิทธิพลต่อการให้อาหารพืชจากแหล่งอื่นๆด้วย เช่น อินทรีย์วัตถุเป็นที่ต้องการเพื่อเป็นแหล่งพลังงานสำหรับแบคทีเรียที่ทำหน้าที่ตรึงไนโตรเจน เป็นต้น

องค์ประกอบหนึ่งที่ต้องนำมาพิจารณาในการประเมินคุณค่าของฮิวมัสในการเป็นแหล่งอาหารพืชพร้อมใช้คือประวัติการเพาะปลูก เมื่อดินเริ่มถูกนำมาใช้เพื่อการเพาะปลูก ปริมาณ ฮิวมัสในดินนั้นจะลดลงเป็นลำดับ หลังจาก 10-30 ปีไปแล้ว จนกระทั่งระดับสมดุลใหม่เกิดขึ้น ที่ระดับสมดุลอาหารพืชทุกชนิดจะถูกปลดปล่อยออกมาโดยการทำงานของจุลินทรีย์ จึงต้องได้รับการทดแทนด้วยการเพิ่มฮิวมัสกลับเข้าไปเท่ากับปริมาณที่หมดไปให้กลายเป็นฮิวมัสสดใหม่ต่อไป

ผลที่มีต่อสภาวะทางกายภาพของดิน การสึกกร่อนของดิน และ ประจุความสามรถในการแรกเปลี่ยน อนุมูลที่มีประจุไฟฟ้า และ ตัวกันชนหรือตัวปรับกรดด่างให้คงที่
(Effect on soil physical condition, soil erosion and soil buffering and exchange capacity)

ฮิวมัส(Humus)มีผลต่อโครงสร้างของดินหลายชนิด การเสื่อมของโครงสร้างดินจะเกิดร่วมกับการไถพรวนที่รุนแรงซึ่งโดยปกติแล้วจะเสียหายน้อยกว่าในดินที่ได้รับฮิวมัสเพียงพอ และเมื่อต้องสูญเสียฮิวมัสไปดินจะเริ่มแข็งตัวอัดกันแน่นและเป็นก้อน

อากาศ, ประจุความสามารถในการอุ้มน้ำ, และการซึมผ่านได้ทั้งหมดนี้ จะเกิดผลเป็นอย่างดีด้วยฮิวมัส

การเติมซากอินทรีย์สารที่ย่อยสลายได้บ่อยๆจะนำไปสู่การสังเคราะห์สารประกอบอินทรีย์เชิงซ้อนซึ่งจะรวมตัวกับอนุภาคของดินเกิดหน่วยโครงสร้างที่เรียกว่าเกาะกันเป็นกลุ่มก้อนเล็กๆมากมาย การเกิดกลุ่มก้อนเล็กๆมากมาย (aggregates) เหล่านี้ช่วยรักษาสภาพความร่วน โปร่ง เป็นเม็ดละเอียด (granular) ของดินได้ น้ำเป็นสิ่งที่มีความสามารถดีกว่าในการแพร่และซึมผ่านลงสู่ดิน รากพืชต้องการอ๊อกซิเจนอย่างต่อเนื่องเพื่อการหายใจและเจริญเติบโต รูพรุนขนาดใหญ่จะยอมให้มีการแลกเปลี่ยน ก๊าซ ระหว่างดินและอากาศรอบๆได้ดีกว่า

ฮิวมัส (Humus) โดยปกติจะช่วยเพิ่มความสามารถของดินในการต้านทานการผุกร่อน ประการแรกมันสามารถทำให้ดินซับน้ำได้มากขึ้น ที่สำคัญกว่านั้นก็คือผลที่ช่วยให้เนื้อดินเป็นเม็ดละเอียดจึงเป็นการรักษารูพรุนขนาดใหญ่ให้น้ำไหลเข้ามาและซึมผ่านต่อไปได้

ประจุความสามารถในการแรกเปลี่ยนอนุมูลที่มีประจุเไฟฟ้า (ระหว่างเกิดธาตุอาหารพร้อมใช้ขึ้น) ตั้งแต่ 20-70% เกิดจากสารฮิวมิคที่ก่อตัวเป็น คอลลอยด์ (Colliod) ของเหลวที่มีลักษณะคล้ายวุ้น เมื่อได้รับน้ำ ความเป็นกรดโดยรวมของส่วนย่อยที่แยกออกมาจากฮิวมัสมีช่วงระหว่าง300ถึง1400 mEq /100g. เกี่ยวกับการทำงานของตัวปรับฤทธิ์กรด ด่างที่อาจมีส่วนในเรื่องนี้ จัดได้ว่าฮิวมัสมีความสามารถในการปรับสภาวะกรด-ด่างได้ในช่วง pH ที่กว้างมาก

ผลที่มีต่อสภาพชีวะวิทยาของดิน (Effect on soil biological condition)
อินทรียวัตถุ(Organic matter : OM) ทำหน้าที่เป็นแหล่งพลังงานของจุลินทรีย์ทั้งขนาดใหญ่และเล็ก จำนวนของแบคทีเรีย (bacteria), แอคติโนมัยซิต(actinomycetes) และ รา (fungi) ต่างก็สัมพันธ์กับองค์ประกอบของฮิวมัส(humus), ไส้เดือนดิน (earthworms) สิ่งมีชีวิตที่ดำรงค์ชีพในดิน (faunal organism) จะได้รับผลกระทบอย่างมากด้วยปริมาณของวัสดุที่เป็นเศษซากพืชเมื่อย้อนกลับมาสู่ดิน

สารอินทรีย์ในดินสามารถมีผลทางกายภาพโดยตรงต่อการเจริญเติบโตของพืช สารประกอบบางชนิด เช่น กรดฟีโนลิค (Phenolic acids) มีคุณสมบัติที่เป็นพิษต่อพืช แต่สารประกอบชนิดอื่นเช่น อ๊อกซิน (Auxins) ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชเป็นต้น

เป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปว่าองค์ประกอบหลายอย่างที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจุลินทรีย์ก่อโรคในดิน (pathogenic organisms in soil) ได้รับอิทธิพลทั้งทางตรงหรือทางอ้อมจากอินทรีย์วัตถุ ตัวอย่างเช่นการให้อินทรีย์วัตถุ (Organic matter) มากเกินพออาจเป็นผลก่อให้เกิดการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ดำรงค์ชีพบนซากสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้ว (Saprophytic organisms) ซึ่งเป็นเครือญาติกับพวกจุลินทรีย์ประเภทกาฝากหรือปรสิต (parasitic organisms) ด้วยปริมาณที่เพิ่มขึ้นมากกว่าทำให้มันแย่งอาหารและเข้าแทรกการดำรงค์ชีพของจุลินทรีย์ประเภทกาฝากหรือปรสิตให้ลดจำนวนลงได้ ทางด้านชีวะวิทยาสารประกอบออกฤทธิ์ในดินเช่นสารปฏิชีวนะ(Antibiotics) และกรดฟีโนลิค (Phenolic acids) บางชนิดอาจช่วยให้พืชบางประเภทมีความสามารถในการต้านทานจุลินทรีย์ก่อโรคได้เช่นกัน



อ้างอิง : http://www.weloveshopping.com/
http://www.ilab.asia/ilab/iLab_library.aspx?content=00412
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 22/08/2011 10:26 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

311. ปุ๋ยสั่งตัด คือ อะไร ?


การใช้ปุ๋ยเคมีแบบ “สั่งตัด” คือ การใช้ปุ๋ยเคมีตามชุดดิน และ ค่าวิเคราะห์ดินปัจจุบัน ซึ่งพัฒนาโดยนำข้อมูลดิน พืช การจัดการดิน รวมทั้งผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์มาคำนวณในคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมการปลูกพืชที่สลับซับซ้อน แต่ทำให้ง่ายสำหรับเกษตรกรนำไปใช้ คำแนะนำปุ๋ยแบบ “สั่งตัด” จะมีความแตกต่างกันในดินแต่ละชนิด เช่น คำแนะนำปุ๋ยข้าวในชุดดินอยุธยา และ ชุดดินมโนรมย์ไม่เท่ากันแม้ปริมาณ เอ็น พี เค ที่วิเคราะห์ได้ในดินเท่ากัน กรณีของข้าวโพด คำแนะนำปุ๋ย “สั่งตัด” ของชุดดินปากช่อง จ. นครราชสีมา แตกต่างจากคำแนะนำปุ๋ยของชุดดินปากช่อง จ. ลพบุรี เป็นต้น


การใช้ปุ๋ยสั่งตัด ช่วยลดต้นทุนการผลิตข้าว และ ข้าวโพดได้อย่างไร และเท่าใด ?
จากผลการทดลองโครงการบูรณาการเพื่อลดต้นทุนการปลูกข้าวในเขตชลประทานภาคกลางที่ใช้ปุ๋ยเคมีแบบ “สั่งตัด” โดย ศ.ดร.ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ และคณะ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และหน่วยงานอีกหลายแห่ง พบว่า ชาวนาใส่ปุ๋ย เอ็น และ พี ในปริมาณมากเกินกว่าความต้องการของต้นข้าว และ ละเลยการใส่ปุ๋ย เค เมื่อเกษตรกรทดลองใช้ปุ๋ยเคมีแบบ “สั่งตัด” ทำให้ได้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 ขณะที่ต้นทุนค่าปุ๋ยเคมีลดลง 241 บาท (เมื่อคิดราคาปุ๋ยเดือนมกราคม 2550) ค่าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชลดลง 178 บาท ค่าเมล็ดพันธุ์ลดลง 91 บาท รวมต้นทุนการปลูกข้าวลดลง 510 บาทต่อไร่ต่อฤดูปลูก ถ้าชาวนาภาคกลางในพื้นที่ 10 ล้านไร่ (ปลูกข้าวปีละ 2 ครั้ง) ได้ใช้ปุ๋ยเคมีแบบ “สั่งตัด” จะทำให้ต้นทุนการปลูกข้าวลดลงประมาณ 10,000 ล้านบาทต่อปี ส่วนชาวไร่ข้าวโพดจะได้รับผลผลิตเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 35 และ ผลตอบแทนสูงขึ้นอีกร้อยละ 41 เมื่อใช้ปุ๋ยเคมีแบบ “สั่งตัด”


เหตุใดเกษตรกรจึงทำปุ๋ยสั่งตัดได้ด้วยตนเอง ?
เกษตรกรที่ผ่านการฝึกอบรมสามารถตรวจสอบเอ็น พี เค ในดินโดยใช้ชุดตรวจสอบธาตุอาหารพืชในดินอย่างง่ายด้วยตัวเอง ซึ่งรู้ผลได้ภายใน 30 นาที และ เกษตรกรสามารถทราบชื่อชุดดินโดยตรวจสอบได้จากแผนที่ดินของกรมพัฒนาที่ดิน จากนั้นเกษตรกรสามารถหาคำแนะนำปุ๋ย “สั่งตัด” ได้โดยการใช้หนังสือหรือโปรแกรมคำแนะนำ


หลักการสำคัญของปุ๋ยสั่งตัด
เกษตรกรที่ต้องการใช้ปุ๋ยเคมีแบบ “สั่งตัด” เพื่อช่วยให้การใช้ปุ๋ยเคมีมีประสิทธิภาพมากขึ้น และสามารถลดต้นทุนการผลิตได้ ควรมีความรู้ความเข้าใจใน 3 ขั้นตอน ได้แก่ การตรวจสอบข้อมูลชุดดิน การเก็บตัวอย่างดินและการตรวจสอบธาตุอาหารพืชในดิน และ การใช้คำแนะนำปุ๋ยสั่งตัดโดยใช้คู่มือหรือโปรแกรมสำเร็จรูป ซึ่งทุกขั้นตอนเกษตรกรสามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง


การตรวจสอบข้อมูลชุดดิน
เกษตรกรสามารถใช้คู่มือการตรวจสอบชุดดิน หรือ เปิดแผนที่ดินของกรมพัฒนาที่ดินเพื่อหาชื่อชุดดินของตนเองได้



การเก็บตัวอย่างดินและการตรวจสอบธาตุอาหารพืชในดิน
เกษตรกรควรศึกษาวิธีการเก็บตัวอย่างดินเพื่อให้ได้ตัวอย่างดินที่เป็นตัวแทนของที่ดินของตนเอง และ ควรวิเคราะห์ดินโดยใช้ชุดตรวจสอบธาตุอาหารพืชในดินได้ด้วยตนเอง


การใช้คำแนะนำปุ๋ยสั่งตัดโดยใช้คู่มือหรือโปรแกรมสำเร็จรูป
เกษตรกรสามารถใช้คู่มือหรือโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อหาคำแนะนำปุ๋ยเคมีแบบ “สั่งตัด” ได้


การใช้ปุ๋ยสั่งตัดในไร่นาของเกษตรกร ผู้ใช้ปุ๋ยสั่งตัดภาคประชาชน
ชาวนา เช่น คุณพิชิต เกียรติสมพร คุณสมศักดิ์ นุ่มน่วม คุณสมมาตร สิงห์ทอง คุณศรีนวล ศรีสวัสดิ์ คุณประทิน หมื่นจง คุณมาณพ ขันทอง คุณสมใจ ศรีชัยนาท คุณธัญพร ศรีประเสริฐ คุณประจวบ เพชรทับทิม คุณโสภณ ทองดอนพุ่ม คุณประสิทธิ์ วงษ์สนอง คุณสมปอง ฉ่ำเฉลียว คุณสำรวย วงษ์สนอง คุณสุนทร ชมแพ คุณบันเทิง อภัยสุข คุณสุรินทร์ โพโต คุณสนิท คำแหง คุณอำไพ น้ำจันทร์ คุณนิมนต์ เกิดบัณฑิต คุณเสวก ทับทิม คุณนิสา สังวาลย์เพชร คุณปลี รอดเรื่อง คุณสุภาพ โนรีวงศ์ เป็นต้น

ชาวไร่ข้าวโพด เช่น คุณสมบัติ นิรากรณ์ คุณสละ นิรากรณ์ คุณชำเลือง ลัดดาผล คุณสัมพันธ์ เย็นวารี คุณกฤชพัฒน์ ศรีทรงเมือง เป็นต้น


หน่วยงานที่ใช้ปุ๋ยสั่งตัด
สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม กรมส่งเสริมการเกษตร วิทยาลัยเกษตรกรรมและเทคโนโลยี ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร


หลักสูตรอบรมการใช้ปุ๋ยสั่งตัด 1 วัน
เกษตรกรสามารถเรียนรู้วิธีการใช้ปุ๋ยเคมีแบบ “สั่งตัด” ได้หลังจากผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการ ที่มีการเรียนรู้ทั้งภาคบรรยาย และ ภาคปฏิบัติการตามหัวข้อดังต่อไปนี้


หลักคิดของเกษตรกรมืออาชีพ
เกษตรกรควรมีหลักคิดที่ถูกต้องเพื่อพัฒนาไปสู่การพึ่งพาตนเอง โดยเป็นผู้รอบรู้ในด้านการจัดการดิน ปุ๋ย โรค และ แมลงศัตรูพืช และ มีความสามารถใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับพื้นที่ไร่นาของตนเอง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยสามารถเพิ่มผลผลิต และ ลดต้นทุนการผลิตได้


รู้จริงเรื่องดินและปุ๋ย
ปัจจุบันเกษตรกรส่วนมากพยายามลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงเพื่อลดต้นทุนการผลิตโดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทดแทน แต่ถ้าเกษตรกรใส่ปุ๋ยเคมีน้อยเกินไป ผลผลิตที่ได้จะลดลงไปด้วย เกษตรกรจึงควรรู้จักทรัพยากรดินที่เป็นรากฐานของชีวิตตนเอง และ ควรมีความเข้าใจในการเลือกใช้ปุ๋ยอย่างเหมาะสมทั้งชนิด และ ปริมาณ เพื่อเพิ่มผลตอบแทนจากการผลิต และ ป้องกันปัญหาดินเสื่อมโทรม
ทำไมต้องใช้ปุ๋ยเคมีแบบ “สั่งตัด”


ดินที่ใช้เพาะปลูกพืชมีมากมายหลายร้อยชุดดิน แต่ละชุดดินมีศักยภาพในการให้ผลผลิตพืชแตกต่างกัน การใช้ปุ๋ยเคมีแบบ “สั่งตัด” คือ การนำข้อมูลชุดดิน ซึ่งหมายถึง การนำสมบัติทางเคมี และ กายภาพอื่นๆ มาร่วมคำนวณคำแนะนำปุ๋ย และ นำข้อมูล เอ็น พี เค ในดินมาประกอบการตัดสินใจใช้ปุ๋ยเคมีให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น


การตรวจสอบธาตุอาหารพืชในดินอย่างรวดเร็ว
เกษตรกรสามารถเก็บตัวอย่างดินได้อย่างถูกต้อง และ สามารถใช้ชุดตรวจสอบธาตุอาหารพืชในดินได้ด้วยตนเอง ซึ่งจะทำให้เกษตรกรทราบปริมาณ เอ็น พี เค ในดินได้ภายเวลา 30 นาที


การอ่านคำแนะนำปุ๋ย
เกษตรกรสามารถใช้ปุ๋ยเคมีได้เหมาะสมกับความต้องการของพืชโดยใช้ปุ๋ยตามตารางคำแนะนำการใส่ปุ๋ยตามระดับธาตุอาหารพืชในชุดดินต่างๆ ที่นักวิจัยได้ทำไว้ให้แล้วในรูปของหนังสือคู่มือ และ โปรแกรม SimRice และ Simcorn




ช่องทางเข้าถึงปุ๋ยสั่งตัด
หนังสือธรรมชาติของดินและปุ๋ย : คู่มือสำหรับเกษตรกรยุคใหม่
วิดีทัศน์ การบรรยายหลักคิด หลักวิชา และ หลักปฏิบัติเรื่องการใช้ปุ๋ยเคมีแบบ “สั่งตัด”
ซีดี โปรแกรมคำแนะนำปุ๋ยสั่งตัดสำหรับข้าว (SimRice) และ ข้าวโพด (Simcorn)
www.ssnm.agr.ku.ac.th
ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทร. 02-942-8104-5 โทรสาร 02-942-8106


หน่วยงานวิจัยปุ๋ยสั่งตัด หน่วยงานบริการ และ หน่วยงานสนับสนุน
ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรมวิชาการเกษตร กรมพัฒนาที่ดิน
กรมส่งเสริมการเกษตร กรมการข้าว มูลนิธิพลังนิเวศและชุมชน
วิทยาลัยเกษตรกรรมและเทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ศูนย์อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย มูลนิธิมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มูลนิธิข้าวไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม



อ้างอิง : http://www.rdi.ku.ac.th/
http://www.ilab.asia/ilab/iLab_library.aspx?content=00426
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 23/08/2011 5:33 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

312. อินทรีย์วัตถุในดิน


อินทรียวัตถุในดิน หมายถึงสิ่งที่ได้มาจากการย่อยสลายของซากพืช ซากสัตว์ รวมไปถึงสิ่งขับถ่ายของมนุษย์และสัตว์ ขยะต่างๆ ตลอดจนถึงเซลล์ของจุลินทรีย์ที่สลายตัว ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ยังอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากพื้นที่ในการเพาะปลูกขาดความอุดมสมบูรณ์ บางแห่งอยู่ในสภาพที่เสื่อมโทรม จากการสำรวจของกรมพัฒนาที่ดินพบว่า พื้นที่ที่มีอินทรียวัตถุอยู่ต่ำกว่า 2 เปอร์เซ็นต์ มีประมาณ 191 ล้านไร่ ประมาณร้อยละ 60 ของพื้นที่ทั้งประเทศ เนื่องจากประเทศไทยอยู่ในเขตร้อนและมรสุม อากาศร้อน และมีฝนตกชุกเป็นสภาพที่เหมาะสมต่อกิจกรรมของจุลินทรีย์ในดินในการย่อยสลายอินทรียวัตถุ และมีการตัดไม้ทำลายป่า ตลอดจนการทำเกษตรกรรมที่ขาดการปรับปรุงบำรุงดิน ทำให้อินทรียวัตถุในผิวหน้าดินลดลงอย่างรวดเร็ว ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก ดินส่วนใหญ่เป็นดินทรายมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ และมีอินทรียวัตถุต่ำ ภาคกลางดินส่วนใหญ่เป็นดินเหนียวซึ่งเกิดจากการทับถมของตะกอนที่พัดพามากับน้ำเป็นที่ราบเหมาะสมสำหรับปลูกข้าว เนื่องจากมีการใช้ที่ดินติดต่อกันมาเป็นเวลานาน ควรเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุร่วมกับปุ๋ยเคมี จำทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ส่วนดินในภาคเหนือเป็นดินร่วนปนทราย มีอินทรียวัตถุต่ำ เนื่องจากสภาพพื้นที่เป็นที่ราบสูงและภูเขามีความลาดชันของพื้นที่ มีการตัดไม้ทำลายป่า ทำไร่เลื่อนลอย ทำให้ความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลงอย่างรวดเร็ว ส่วนภาคใต้มีอินทรียวัตถุต่ำ เนื่องจากสภาพภูมิประเทศไม่สม่ำเสมอมีความลาดเอียง มีปริมาณน้ำมากเกิดการชะล้างและการกัดเซาะสูง


แหล่งที่มาของอินทรียวัตถุในดิน
อินทรียวัตถุในดิน มีความสำคัญต่อการปลูกพืชเนื่องจากเป็นที่สะสมธาตุอาหารพืช และช่วยปรับปรุงโครงสร้างทางด้านกายภาพของดินให้เหมาะสมต่อการปลูกพืช ดังนั้นแหล่งที่มาของอินทรียวัตถุพอที่จะจำแนกได้ดังต่อไปนี้
1. ได้จากการสลายตัวของซากพืชซากสัตว์ โดยกิจกรรมของจุลินทรีย์ที่อยู่ในดิน
2. ได้จากการสลายตัวของปุ๋ยอินทรีย์ เช่นปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด และปุ๋ยหมักเป็นต้น
3. ได้จากการสลายตัวของสิ่งขับถ่ายจากสัตว์หรือจากผลิตภัณฑ์จากสัตว์หรือพืช เช่น กระดูกป่นและเมล็ดฝ้ายป่นเป็นต้น
4. ได้จากเซลล์ของจุลินทรีย์ที่อยู่ในดิน อาจจะเป็นจุลินทรีย์ที่มีชีวิตหรือที่ตายแล้วรวมทั้งผลิตภัณฑ์ที่จุลินทรีย์สังเคราะห์ขึ้น


ส่วนประกอบของเนื้อเยื่อของพืช
ในเนื้อเยื่อพืชชั้นสูงประกอบด้วยส่วนที่เป็นน้ำประมาณ 75 เปอร์เซ็นต์ อินทรียสาร
25 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมีส่วนประกอบของคาร์บอน 11 เปอร์เซ็นต์ ออกซิเจน 10 เปอร์เซ็นต์ ไฮโดรเจน 2 เปอร์เซ็นต์ และเถ้า 2 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณสารประกอบในเนื้อเยื่อพืชในส่วนที่เป็นอินทรียสารหรือน้ำหนักแห้งของพืชที่เจริญเติบโตเต็มที่ แสดงในตารางที่ 6.1

ตารางที่ 6.1 ปริมาณของสารประกอบที่มีอยู่ในส่วนของอินทรียสารของพืช

สารประกอบ .................................... เปอร์เซ็นต์ (%)
- คาร์โบไฮเดรต.................................... 1 – 5
- น้ำตาลและแป้ง.................................... 1 – 5
- เฮมิเซลลูโลส..................................... 10 – 30
- เซลลูโลส.......................................... 20 – 50
- ไขมัน ขี้ผึ้ง แทนนิน............................... 1 – 8
- ลิกนิน............................................. 10 – 30
- โปรตีน............................................ 1 – 15


ที่มา (ปรับปรุงมาจากคณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2541, หน้า 345)


ธาตุที่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของคาร์โบไฮเดรตได้แก่ธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน ซึ่งอยู่ในรูปของน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว สามารถสลายตัวได้ง่าย เมื่อนำน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวมาต่อกันเป็นสายยาวๆ พบในพืชเรียกว่าเซลลูโลส ซึ่งสลายตัวได้ยาก ส่วนลิกนินจะมี ธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจนเป็นองค์ประกอบแต่ลิกนินจะมีโครงสร้างที่ซับซ้อนมาก พบในส่วนที่เป็นลำต้นและเนื้อไม้แข็งของพืช มีความคงทนต่อการสลายตัว ส่วนโปรตีนจะมีธาตุ คาร์บอน ออกซิเจน ไนโตรเจน กำมะถัน เหล็ก และฟอสฟอรัส เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ สามารถสลายตัวได้เร็วและให้ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อพืช


ปัจจัยที่ช่วยในการสลายตัวของพืช
พืชจะสลายตัวกลายเป็นอินทรียวัตถุในดินได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกได้ จะต้องอาศัยปัจจัยที่สำคัญดังต่อไปนี้

1. อุณหภูมิ อุณหภูมิสูงจะมีอัตราการย่อยสลายตัวของพืชได้เร็วกว่าบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำ ประเทศไทยอยู่ในเกษตรเขตร้อนทำให้อัตราการย่อยสลายตัวของพืชสูง ตัวอย่างอุณหภูมิที่เหมาะสำหรับย่อยฟางข้าวอยู่ในช่วง 37–39 องศาเซลเซียส

2. ความชื้น ความชื้นที่เหมาะสมกับการย่อยสลายพืชจะอยู่ในช่วง 50–60 เปอร์เซ็นต์

3. อัตราส่วนระหว่างคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C : N) ที่เหมาะสมจะอยู่ในอัตราส่วน
10 : 1 ถ้าอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนสูงหรือต่ำกว่านี้ จะมีการดูดเอาไนโตรเจนจากดินนำมาใช้ทำให้ปริมาณไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์ต่อพืชลดลง

4. พีเอช พีเอชที่เหมาะสมต่อการย่อยสลายพืชให้กลายเป็นอินทรียวัตถุจะอยู่ในช่วง พีเอช 6.0–6.5 เนื่องจากพีเอชดังกล่าวเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์


การสลายตัวของอินทรียวัตถุ
จุลินทรีย์ที่อยู่ในดินสามารถผลิตเอนไซม์ออกมานอกเซลล์เพื่อใช้สลายซากพืชซากสัตว์ให้เป็นโมเลกุลเล็กๆ เพื่อใช้เป็นแหล่งอาหารและพลังงาน สิ่งที่เหลือจากการสลายตัวอาจจะรวมกับเซลล์จุลินทรีย์ที่ตายแล้วและสิ่งจุลินทรีย์ขับถ่ายออกมา ซึ่งมีโครงสร้างที่ซับซ้อนเรียกว่าอินทรียวัตถุในดิน การย่อยสลายอินทรียวัตถุในดินเกิดขึ้นโดยอาศัยจุลินทรีย์ในดินที่ต้องการออกซิเจนเป็นตัวการสำคัญผลที่ได้จากการสลายตัวของอินทรียวัตถุมักเป็นพวกออกไซด์ เช่นไนเตรต(NO3– ) คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) การสลายตัวของอินทรียวัตถุในดินขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆดังนี้

1. อัตราเร็วของการสลายตัว ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆเช่นอุณหภูมิ การถ่ายเทอากาศ ระดับความชื้น พีเอช ปริมาณธาตุอาหารในดิน และอัตราส่วนระหว่างปริมาณคาร์บอนและปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด จุลินทรีย์ในดินใช้เวลาในการย่อยสลายองค์ประกอบของพืชและสัตว์ได้ไม่เท่ากัน สารประกอบใดที่มีโครงสร้างสลับซับซ้อน (มีแรงยึดเหนี่ยวมาก) ก็จะถูกจุลินทรีย์ย่อยสลายได้ช้าหรือไม่สามารถย่อยสลายได้ ส่วนสารประกอบใดที่มีโครงสร้างไม่สลับซับซ้อน( มีแรงยึดเหนี่ยวน้อย) ก็จะถูกจุลินทรีย์ย่อยสลายได้เร็ว






2. ขบวนการสลายตัวของอินทรียวัตถุ
การสลายตัวของอินทรียวัตถุโดยอาศัยจุลินทรีย์ในดินผลิตภัณฑ์สุดท้ายที่ได้ ประกอบด้วย คาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ พลังงาน ดังสมการ





3. ผลที่ได้จากการสลายตัวของอินทรียวัตถุ
ธาตุที่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของอินทรียวัตถุได้แก่ คาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส กำมะถัน และธาตุอื่นๆ เมื่อถูกจุลินทรีย์ในดินที่ต้องการออกซิเจน และไม่ต้องการออกซิเจน ย่อยสลายแล้วจะได้สารประกอบดังต่อไปนี้





ฮิวมัส
ฮิวมัสเป็นอินทรียวัตถุที่มีโครงสร้างที่สลับซับซ้อนและคงทนต่อการสลายตัวมาก มีสีดำหรือสีน้ำตาล มีลักษณะเป็นคอลลอยด์มีขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางของโมเลกุลประมาณ 10–100 อังสะตรอม มีธาตุ คาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส กำมะถัน และธาตุอื่นๆ เป็นองค์ประกอบ ฮิวมัสในดินเกิดขึ้นหลังจากที่จุลินทรีย์ในดินทำการย่อยสลายซากพืชซากสัตว์แล้วจุลินทรีย์จะสังเคราะห์สารประกอบอินทรีย์จำพวก กรดอะมิโน โปรตีน และอะโรมาติก หลังจากที่จุลินทรีย์ได้ตายและทับถมกันเป็นเวลานานจะเกิดขบวนการรวมตัวระหว่าง กรดอะมิโน หรือโปรตีนกับสารประกอบ อะโรมาติก กลายเป็นฮิวมัสในดิน


การสลายตัวของฮิวมัส
ฮิวมัสเป็นอินทรียวัตถุในดินที่มีโครงสร้างที่สลับซับซ้อนจึงมีความคงทนต่อการสลายตัวของจุลินทรีย์เป็นอย่างยิ่ง ต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา (2541) พอสรุปได้ดังต่อไปนี้

1. การเขตกรรม ดินที่ใช้ทำการเกษตรต้องมีการไถพรวน ตลอดจนมีการเพิ่มความชื้นให้แก่ดิน และอาจมีการใส่ปุ๋ยเพื่อปรับพีเอชของดิน ทำให้ดินมีความเหมาะสมต่อการทำกิจกรรมของจุลินทรีย์ ทำให้จุลินทรีย์ย่อยสลายฮิวมัสได้ดีขึ้น

2. การทำดินให้แห้งและชื้นสลับกันเป็นการทำให้บางส่วนของฮิวมัสซึ่งดูดยึดอยู่กับ
อนุภาคดินเหนียวหลุดออกมาอยู่ในสภาพแขวนลอยได้ทำให้จุลินทรีย์สามารถย่อยสลายฮิวมัสได้ง่ายขึ้น

3. การเติมอินทรียวัตถุที่สลายตัวได้ง่ายจำพวกซากพืชซากสัตว์ลงไปในดินซึ่งจะให้
พลังงานอย่างมากให้กับจุลินทรีย์ในดิน ทำให้ปริมาณจุลินทรีย์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ฮิวมัสในดินถูกสลายตัวได้มากขึ้น


สรุป
อินทรียวัตถุในดิน หมายถึงสิ่งที่ได้มาจากการย่อยสลายของซากพืช ซากสัตว์ รวมไปถึงสิ่งขับถ่ายของมนุษย์และสัตว์ ขยะต่างๆ ตลอดจนถึงเซลล์ของจุลินทรีย์ที่สลายตัว ปัจจัยที่ช่วยในการสลายตัวของพืชได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้น อัตราส่วนระหว่างคาร์บอนกับไนโตรเจนและค่าพีเอช อัตราการสลายตัวของสารประกอบอินทรีย์จากช้าไปเร็วมีดังนี้ ลิกนิน ไขมัน ขี้ผิ้ง เซลลูโลส แป้ง โปรตีน และน้ำตาลโมเลกุลเดียว ประโยชน์ของอินทรียวัตถุในดินมีทั้งด้านกายภาพ ด้านเคมีและด้านชีวภาพ อินทรียวัตถุในดินของประเทศไทย ภาคกลางจะมีปริมาณอินทรียวัตถุสูงสุด รองลงมาคือภาคเหนือ และภาคใต้ ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบปริมาณอินทรียวัตถุในดินน้อยที่สุด เนื่องมาจากสิ่งต่อไปนี้ วัตถุต้นกำเนิด อุณหภูมิและปริมาณน้ำฝน การเผาตอซังของพืช และการปลูกพืชต่อเนื่องนานๆ




http://www.nsru.ac.th/e-learning/soil/lesson_6_2.php
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 23/08/2011 5:59 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

313. สัมภาษณ์ยาคอบ ไมเซอร์ : เกษตรกรไบโอไดนามิคจากออสเตรเลีย






ยาคอบได้มาเยี่ยมเพื่อนที่เชียงใหม่และกรุงเทพฯ เลยขึ้นไปแวะเยี่ยมดุลยพัฒน์ ซึ่งเป็นศูนย์การเรียนในแนวการศึกษาวอลดอร์ฟหรือสไตเนอร์ ที่ขอนแก่นในช่วงกลางเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา ก่อนที่จะมากรุงเทพฯเขาก็ได้ไปช่วยเพื่อนๆชาวมาเลย์ที่ต้องการพัฒนาเกษตรกรรมอินทรีย์ไปเป็นวิถีเกษตรชีวพลวัตร (Biodynamic Agriculture) ตอนนี้ยาคอบเดินทางต่อไปเมืองจีนแล้ว จะไปช่วยเพื่อนๆชาวจีนที่เฉินตู ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ ที่กำลังสนใจเกษตรชีวพลวัตรอย่างกระตือรือร้น


ถาม : ช่วยเล่าประวัติสั้นๆ
ตอบ : ผมเกิดปี 1938 ที่เยอรมนี ซึ่งเป็นช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง ตอนนี้ผมอายุ 73 ปี



ถาม : แล้วคุณมีประสบการณ์เกี่ยวกับเกษตรกรรมตอนไหน
ตอบ : ที่จริงแล้วผมคุ้นกับ เกษตรกรรม ตั้งแต่เล็กๆอายุหกขวบผมต้องไปทำงานให้กับฟาร์ม เพราะถ้าผมทำงาน ผมก็จะมีอาหารกิน ใช่มันเป็นแรงกระตุ้นที่ดีถ้าท้องหิว ตอนนั้นอาหารขาดแคลน มันมีน้อยกว่าจำนวนผู้คน การแบ่งปันอาหารเป็นไปได้ลำบากเพราะทางรถไฟ ถนน เครื่องจักรต่างๆ ถูกระเบิดเสียหาย หรือเอาไปใช้ในสงครามเสียหมด ผู้คนก็เลี้ยงกระต่ายด้วยพืชที่ขึ้นทั่วๆไป แล้วก็เอาไว้กินเนื้อแทนสัตว์อื่นๆ ช่วงนั้นสภาพสังคมอาหารไม่พอกิน ของไม่พอใช้ ผมเห็นผู้ใหญ่ใช้สิ่งของต่างๆแบบอัตคัด ประหยัด หยิบโน่นจับนี่มาผสมกัน ผมเติบโตมาแบบนี้ จึงรู้จักวิธีดัดแปลงสิ่งต่างๆจากคนรุ่นก่อน



แต่พอมาอยู่ออสเตรเลียเมื่ออายุประมาณ ยี่สิบสอง ผมก็ไม่ได้ทำการเกษตรเลย ไปทำงานในโรงงานแทน แต่ความรู้เรื่องการเกษตรผมก็มีติดตัว ตรงไหนมีที่ว่างผมก็ปลูกผักง่ายๆ



ถาม : ในช่วงสงครามโลกตอนนั้น ยุโรปยังมีแต่กสิกรรมอินทรีย์ใช่มั้ย?
ตอบ : ใช่ ยังไม่มีใครใช้ปุ๋ยเคมีเลย เป็นเกษตรอินทรีย์อย่างสมบูรณ์ ไม่มีแม้เครื่องจักรเพราะเครื่องจักรถูกเอาไปใช้เพื่อสงครามทั้งหมด พรวนดินด้วยวัวสองตัว ไม่มีสารเคมีเลย แค่เอามูลสัตว์ หรือแม้แต่มูลคน ในช่วงที่ขาดแคลนผู้คนก็เอามูลทุกอย่างมาทำนั่นแหละ แค่ใส่ลงไปในพื้นดินแล้วต้นไม้ก็งอกงามแค่นั้น ไม่ต้องทำอะไรอีก



ผมก็ทำแบบนี้กับสวนของผมเมื่อตอนที่ผมมีบ้านมีครอบครัวแล้ว ผมมีที่ดินหลังบ้านประมาณหนึ่งเอเคอร์ (2.5 ไร่) ผมก็ไม่ได้ทำอะไรนอกจากใส่ปุ๋ยคอกเท่านั้นเอง เพราะผมไม่ได้รู้อะไรมากกว่านี้ ผมไม่ได้ใส่เคมีใดๆทั้งสิ้นเพราะนั่นคือวิธีที่ผมได้ประสบมาตั้งแต่เด็ก



ถาม : แล้วคุณมารู้จักเกษตรชีวพลวัตร (Biodynamic Agriculture) ได้อย่างไร?
ตอบ : ผมมารู้จักไบโอไดนามิค ภายหลัง ผ่านทางคู่ชีวิตของผมคือเจนีน่า เจนีน่ารู้จักมนุษยปรัชญาก่อนผม ผมไม่เคยได้ยินเรื่องนี้มาก่อนเลย จนเจนีน่าต้องการโรงเรียนสไตเนอร์ให้ลูกสาวสองคน เมื่อเจนีนาตกลงใจที่จะตั้งหลักปักฐานที่แมนฟิลด์ เพราะค่าเทอมที่นั่นถูกที่สุด เราได้ซื้อบ้านติดกับโรงเรียนสไตเนอร์เล็กๆ ซึ่งก่อตั้งโดยครูมัธยมสองคนที่ไม่ต้องการให้ลูกไปเรียนในระบบกระแสหลัก ก็เลยมาตั้งโรงเรียนสไตเนอร์เสียเอง เจนีน่าเริ่มเข้าไปเกี่ยวข้องกับโรงเรียนเพราะโรงเรียนต้องการความช่วยเหลืออย่างมาก ขาดทั้งเงินและแรงงานที่จะช่วยบริหารจัดการโรงเรียน ไม่มีเงินพอให้ครูหรือแม้แค่จะโทรทางไกล ครูในโรงเรียนยังต้องมาขอโทร.ที่บ้านของเรา ต่อมาแม้โรงเรียนไม่มีเงินพอจะจ้างครู แต่เจนีน่าก็ตัดสินใจไปเป็นครู และระหว่างนั้นต้องขับรถเพื่อไปเรียนคอร์สฝึกหัดครูสไตเนอร์ที่เมลเบิร์นทุกเย็นวันพุธและกลับบ้านเที่ยงคืน กลับมาแล้วก็ท่องจำนิทานที่จะเล่าในวันรุ่งขึ้นอีกแล้วนอนตอนตีสอง เจนีน่าทำอย่างนี้แปดปีติดต่อกัน



เจนีน่ามีหนังสือสไตเนอร์และมนุษยปรัชญาวางไปทั่วบ้าน เธอไม่มีเวลาอ่านหรอก ผมจึงลองอ่านดู ก็อ่านได้แค่หนึ่งหน้าแล้วก็หลับ ผมอ่านไม่รู้เรื่อง รู้สึกไม่น่าสนใจเลย แต่ว่าในที่สุดผมก็ตัดสินใจเข้าเรียนฝึกหัดครูสไตเนอร์ช่วงเย็นวันพุธด้วยอีกคน ผมเป็นคนขับรถซึ่งในรถเราก็มีเจนีนาและเพื่อนอีกสองคนซึ่งเป็นผู้หญิงทั้งหมด เราเลยต้องหาคนมาดูแลลูกสาวสองคน พวกผู้หญิงต่างตื่นเต้นและกระตือรือร้นต่อสิ่งที่ได้เรียนรู้จากโรเบริท์ มาร์ติน และมาร์คัส ส่วนผมรู้สึกน่าเบื่อ อะไรกันนี่ทุกคนนั่งกันเป็นวงกลม จุดเทียน อ่านบทกลอน .....และเวลาที่เขาแนะนำตัวแต่ละคนก็บอกว่าตัวเองเป็นใครเรียนอะไร ทำอะไรมาบางคนก็เคยเป็นครูประถม ครูมัธยม นานกี่ปี... พอมาถึงผม ผมไม่มีอะไรเลย ผมก็บอกว่า ผมชื่อ Jakob Meiser ผมน่ะแก่มากแล้ว เขาจึงถามกลับมาว่า แล้วทำไมผมจึงมาเรียนฝึกหัดครูล่ะ ผมก็ตอบมาว่า ก็มากินอาหารเย็นไง....ฮ่าๆๆ อาหารเย็นที่แต่ละคนเอามานั้นน่ากินทั้งนั้นเลย บางคนเอาเค้กที่ทำจากแป้งไบโอไดนามิค อาหารออแกนิค และอร่อยๆทั้งนั้น คุณรู้มั้ย....เขาเรียนหนึ่งชั่วโมงพักทานอาหารเย็นครึ่งชั่วโมงแล้วก็เรียนต่ออีกหนึ่งชั่วโมง ระหว่างที่พวกเขาคุย คุยกัน ผมก็กิน กิน แต่มันก็มีสิ่งอื่นๆที่ดึงดูดความสนใจของผมเช่นกัน ผ่านไปหกเดือนผมเริ่มรู้สึกว่า...มีคนหายไปเกือบครึ่ง ผมเพิ่งรู้ว่าคนอื่นๆก็รู้สึกยากลำบากเช่นกัน ที่นี้ผมเริ่มเหงื่อแตกละสิ เดี๋ยวเขาจะมาตั้งคำถามถามผม ผมจะตอบยังไง มันไม่ใช่โลกของผม ก็ในเมื่อผมมาจากเหมืองถ่านหิน เอาล่ะ ไม่เป็นไรผมก็สู้ต่อ....จนจบคอร์สในสองปี ได้ใบประกาศมาหนึ่งใบ เฮเลน ค็อกซ์มาถามว่าผมจะทำอะไรต่อ ผมบอกว่าผมจะไปทำสวน และดูแลเด็กๆที่บ้าน เธอบอกว่าผมน่าจะไปเป็นครูนะ ผมบอกไม่ได้หรอก ใครจะให้ลูกมาเรียนกับคนที่ไม่จบแม้กระทั่งมัธยมอย่างผมล่ะ เพราะตอนผมเด็ก เป็นช่วงสงคราม ไม่มีโรงเรียน พอโตมาผมก็ไม่อยากเข้าห้องเรียนแล้ว เฮเลนจึงยอมแพ้ไป ต่อมาไม่นานนักเฮเลนก็แจ้งผมว่ามีคอร์สใหม่ที่เหมาะสมกับผม คือการอบรมเกษตรชีวพลวัตร จัดขึ้นที่ Melbourne Rudolf Steiner Seminar ทุกวันอังคารและพฤหัส นำ โดย Peter Medling ผมเริ่มเรียนปี 1996 ใช้เวลาสองปี ผมได้รับความช่วยเหลือจากที่นั่นให้ได้ที่พักและจ่ายค่าอบรมแค่ครึ่งหนึ่งเพราะผมต้องขับรถมาไกลจากบ้านที่แมนฟิลด์



เมื่อผมจบคอร์สนั้น มีครอบครัวหนึ่งที่สเปรย์ 500 ให้โรงเรียนข้างบ้านเป็นประจำมาบอกว่าเขาจะย้ายไปอยู่ที่อื่นแล้ว ให้ผมช่วยทำแทน ซึ่งผมก็ตอบตกลงเพราะเคยเอาของเขามาสเปรย์ที่บ้านมาแล้วโดยตอนนั้นไม่รู้ว่ามันคืออะไร และต่อมามีอีกครอบครัวในโรงเรียนให้ช่วยทำ BD compost ให้ ผมไม่เคยทำหรอก แต่ก็คิดว่าน่าจะทำได้ ก็เลยกลับไปทำสองกองใหญ่ๆที่บ้าน และก็เอาไปให้เขาแลกกับที่เขาดูแลรถให้ผม นั่นแหละที่ผมเริ่มงานเกี่ยวกับเกษตรชีวพลวัตร



ส่วนที่บ้านผมแค่ทำเกษตรชีวพลวัตรเล็กๆน้อยๆรอบบ้าน แล้วไปช่วยทำให้คนโน้นคนนี้ที แล้วก็ทำให้โรงเรียนที่แมนฟิลด์ ซึ่งมีที่ดินประมาณ 6.5 เอเคอร์ (ประมาณสิบหกไร่) ตอนนั้นเจนีน่ากวน BD 500 คนเดียวเพราะไม่มีผู้ปกครองมาช่วยเลย ก็เป็นอย่างนี้แหละ ผมเลยต้องไปช่วย ครูก็ถามว่าสเปรย์ 500 ให้ได้มั้ย ผมก็บอกว่าได้ก็ยืมเครื่องสเปรย์มาช่วยทั้งโรงเรียนและคนอื่นๆ แต่ผมก็เก็บเงินค่าแรง.....ในช่วงนั้นผมก็ยังต้องทำงานกับฟาร์มที่ไม่ใช่ออแกนิคแต่ไม่เคยแตะต้องปุ๋ยเคมีเลย ตัวผมเองไม่ใช้ปุ๋ยนั้นเลย ผมก็ทำงานกับฟาร์มนี้เพื่อเลี้ยงชีพจนกระทั่งผมได้อายุเกษียณเมื่อ 65 ปี ผมจึงอาศัยเงินบำนาญเลี้ยงชีพและตั้งแต่นั้นผมก็สามารถทำเกษตรชีวพลวัตรได้เต็มที่ทุกวัน





ถาม : ที่ทำเกษตรชีวพลวัตรเต็มที่เต็มเวลานี่ทำให้เฉพาะกับสวนหลังบ้านตัวเองเท่านั้นเหรอ ?
ตอบ : ใช่ ทำสวนของตัวเอง และทำให้กับสวนคนอื่นๆอีกสองสามครอบครัว แล้วผมทำปุ๋ยBD ผมทำกองใหญ่ๆสองสามกอง เมื่อได้ที่แล้วก็ใส่บรรจุถุง ผมเอาไปขายที่โรงเรียน Melbourne Rudolf Steiner ตามที่มีออเดอร์ ผมทำแบบนี้หลายปี แต่สองสามปีนี้ผมเริ่มทำได้ช้าลง และเริ่มต้องใช้เวลามากขึ้นในการทำปุ๋ยBD แต่ละกอง แต่ผมก็ยังคงเพลิดเพลินมากกับงานนี้



ถาม : ทำไมคุณถึงสนใจอาหารในแนวนี้
ตอบ : ผมคุ้นชินกับเกษตรอินทรีย์ ผมไม่คุ้นกับสารเคมีตั้งแต่ต้นแล้ว ผมรู้สึกไม่ดีกับการทำงานกับเคมีเลย แล้วการที่ได้เป็นสมาชิกเกษตรชีวพลวัตรผมได้เรียนรู้ว่าอาหารเคมีไม่ดีต่อร่างกายอย่างไร มันมาจากงานวิจัยต่างๆ



ถาม : คุณมีความรู้สึกอย่างไรกับเกษตรชีวพลวัตร
ตอบ : ผมมักจะรู้สึกดีเสมอที่ได้ทำเกษตรชีวพลวัตร เพราะผมรู้ว่าผมกำลังทำอะไรอยู่ ผมได้ศึกษาข้อมูลและศึกษาเกษตรชีวพลวัตรมาแล้ว แล้วยังชวนคนมาร่วมกลุ่มเพื่อทำกลุ่มศึกษาเรื่องราวนี้ ผมเชื่อว่าอาหารBD สร้างความเปลี่ยนแปลงให้แก่สภาพร่างกาย มันเปลี่ยนสภาพดิน



ผมมักจะไปร่วมพบปะชุมนุมกับเกษตรกรไบโอไดนามิคส์บ่อยๆเท่าที่ทำได้ เพราะมันไกลมากจากที่ผมอยู่ ผมชอบที่จะไปที่นั่นเพราะผู้คนไม่ซับซ้อน จริงใจ ทุกคนง่ายๆ มีอะไรเอามาแลกเปลี่ยนกัน มีข้อมูล มีประสบการณ์ก็เล่าให้ฟังอย่างซื่อๆ แล้วยังมีทั้งอาหารพืชผลในฤดูกาล มีเมล็ดพันธุ์มาแบ่งกัน


จากกลุ่มคนเหล่านี้ ผมได้ชวนดาแรน มาช่วยทำงานที่มาเลเซียเพราะเขาหนุ่มกว่าผม และสามารถช่วยตรวจสอบและรับรองมาตรฐานดีมีเทอร์ให้กับเกษตรกรชีวพลวัตรใหม่ๆได้อีกด้วย และเขาก็พอใจกับเวลาหนึ่งสัปดาห์ที่ได้เยี่ยมชมงานเกษตรและจัดอบรมเกษตรชีวพลวัตรที่นั่น (ตอนนี้ที่มาเลียเซียจึงมีผักที่ปลูกในระบบของเกษตรชีวพลวัตรแล้ว นอกจากนั้นยังมีสมาคมเกษตรชีวพลวัตรในอินเดียและฟิลิปปินส์ --ผู้แปล ) ผมรู้สึกดีใจที่ดาแรนไปช่วยได้เพราะเขามีพลังมากกว่าผม และถ้าเขายังช่วยต่อไป ก็น่าจะมีการเติบโต พวกเขาที่นั่นก็สามารถทำให้เกษตรชีวพลวัตรงอกงามได้ด้วยการขยายความรู้ มีการแปลหนังสือ นี่แหละที่ทำให้เติบโต มันคงไม่ใช่เติบโตแบบแมคโดนัลด์หรอก




ถาม : ดังนั้นคุณจึงมองว่าเกษตรชีวพลวัตรสำคัญมากนะสิ ช่วยอธิบายหน่อย
ตอบ : ใช่ ก็วิธีที่เราเป็นอยู่ เราใช้เคมีกันมากมาย และซ้ำร้ายยิ่งไปกว่านั้นยังมีการตัดต่อพันธุกรรม จีเอ็มโอ อีกด้วย สิ่งเหล่านี้เป็นความโง่เขลา สร้างความเสียหายให้กับโลกไปนี้ โลกนี้จะอยู่ได้ไม่นาน ถ้าเรายังคงทำกันไปแบบนี้ เมื่อมองไปในเรื่องอาหาร ต่อไปอาหารจะมีสารพิษสะสมมากยิ่งขึ้น จนใช้นิ้วสัมผัสไม่ได้ ตอนนั้นมนุษยชาติก็คงไม่สามารถดำรงอยู่ได้ มันเป็นการพัฒนาที่เลวลงเสื่อมลง ไม่ดีทั้ง การศึกษา ทั้งการเกษตร

เท่าที่ผมนึกออกได้ ณ เวลานี้ก็มีแต่ เกษตรชีวพลวัตรเท่านั้นที่จะช่วยคุ้มครองโลกไม่ให้พังทลายเร็วกว่านี้



ถาม : แล้วเกษตรอินทรีย์ล่ะ ช่วยไม่ได้หรือ?
ตอบ : ไม่ได้ เพราะมันไปไกลเกินแล้ว มันเป็นพิษแล้ว คือใช้สสารที่มากเกินไปใส่ลงไปในดิน และมันกลายเป็นพิษต่อต้นไม้ไปแล้ว ถึงแม้ว่าจะบอกว่าเป็นสารอินทรีย์แต่ระบบในการคิดเป็นวิธีเดียวกันกับเกษตรเคมีนั่นเอง เขาใส่สสารวัตถุลงไปมากมายในดินเช่นนั้นเพื่อที่จะได้ผลผลิตออกมาจากดินมากๆ แล้วคิดไหมว่า ธรรมชาติคงอยู่รอดมาได้ตั้งเนิ่นนานโดยที่ไม่มีใครไปใส่อะไรให้เลย วิธีคิดมันไม่ใช่นะ



ถาม : แต่ใน BD ก็ใส่บางอย่างลงไปในดินเหมือนกันไม่ใช่เหรอ เช่น BD 500 BD 501….
ตอบ : ใช่ แต่เพียงแค่ใช้ 35 กรัมต่อ 2.5 ไร่ ถ้าคุณทำงานกับพื้นที่ใหญ่มากคุณแทบจะไม่สามารถวัดได้เลยว่ามี BD 500 หรือตัวอื่นๆ อยู่ในพื้นที่นั้นเท่าไหร่ แทบจะวัดไม่ได้เลยเพราะมันน้อยนิดมาก มันไปเกินกว่าระดับกายภาพ คุณกำลังทำกับบางสิ่งบางอย่างที่มากไปกว่าวัตถุ ถ้าคุณทำวิธีนี้(เกษตรชีวพลวัตร) คุณก็ทำงานร่วมกับจักรวาลและเมื่อนั้นมันก็จะเกิดความกลมกลืนสมดุลขึ้น แต่ถ้าคุณแทรกแซงด้วยวัตถุสสารต่างๆคุณก็สร้างปัญหาอาจจะใหญ่หรือเล็กก็ตามแต่ ด้วยเกษตรชีวพลวัตรเรากำลังช่วยธรรมชาติ เราสเปรย์ BD500 ในพื้นที่เท่ากับมันเป็นตัวกระตุ้นดินที่ทรงพลังมาก ซึ่งทำให้ดินมีโอกาสกลับมาฟื้นฟูพละกำลังและกลับมามีชีวิตชีวา แล้วเราก็ต้องดูแล ไม่ใช่ทำแล้วก็ไปเที่ยวพักผ่อน เราต้องทำนุบำรุงรักษาดิน ซึ่งไม่ได้หมายความต้องใส่ปุ๋ยคอกเยอะๆลงไปในดิน แต่หมายถึงการที่คุณให้ความใส่ใจและมอบหัวใจของคุณให้แผ่นดินต่างหาก แน่นอนแบบนี้มันสำเร็จ แล้วมันก็ได้มีบทพิสูจน์หลายครั้งหลายคราวในออสเตรเลีย ซึ่งในประเทศนี้เป็นแผ่นดินเก่าแก่มาก มากจนเหมือนกับดินจะค่อยค่อยจางซีดไป แต่เกษตรชีวพลวัตรก็ทำงานได้ดีมาก มันมีหลายแห่งที่เกษตรกรเพียงแค่สเปรย์ 500 หรือบางทีอาจจะมี 501 เมื่อยามจำเป็นเป็นครั้งคราว ในพื้นที่เหล่านั้นดินก็ยังดีอยู่ ในพื้นดิน 1 เอเคอร์(2.5 ไร่) เราใช้แค่ 35 กรัม แล้วก็ไม่ยัดเยียดอะไรใส่ลงไปในดินอีก ไม่พยายามเปลี่ยนแปลงอะไร เราเพียงแค่สนับสนุนให้ดินฟื้นคืนชีวิตกลับมาเอง แล้วแผ่นดินก็จะสร้างปุ๋ยด้วยตัวเองด้วยการช่วยเหลือของ 500 ใช่มันมีฮิวมัสมากขึ้นในดิน ฮิวมัสถูกสร้างขึ้นเรื่อยๆขณะที่พืชผลกำลังเติบโตและใช้ฮิวมัส. และเมื่อคุณเก็บเกี่ยวพืชผลรากของต้นพืชก็จะจัดเก็บฮิวมัสไว้ให้พืชผลชุดต่อไป มันเกิดขึ้นในระดับลึกลึกลงไป การสร้างฮิวมัสมันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเป็นไปอย่างช้าๆและพื้นดินก็เปิดออกและให้อากาศเข้าไปได้นี่คือสิ่งที่เราต้องการ คือทำให้ดินมีชีวิต ดังนั้นเราต้องการอากาศกับวัสดุอินทรีย์และสองอย่างนี้ช่วยให้แปรสภาพให้เกิดฮิวมัส เราอาจจะปลูกพืช (เพื่อเป็นวัสดุอินทรีย์ ) ก่อนที่มันออกดอกเราก็ตัดมันแล้วปล่อยคลุมดินแล้วสเปรย์ 500 ในภูมิอากาศแบบที่นี่อาจจะใช้เวลาน้อยกว่าสามอาทิตย์ มันก็จะช่วยบำรุงดินให้เกิดฮิวมัส



ถาม : คุณเห็นว่ากรรมวิธีแบบเกษตรกรชีวพลวัตนี้จะสามารถทำได้ในประเทศนี้หรือไม่
ตอบ : มันสามารถเอาไปใช้ที่ไหนก็ได้ทั่วโลก และมันก็ถูกนำไปใช้ในหลายพื้นที่ทั่วโลกแล้ว


ถาม : ในหนังสือBD หรือแม้แต่ตัวคุณเอง ก็ได้พูดว่าบางสิ่งบางอย่างในเกษตรแบบนี้เช่น การทำงานของBD 500 นั้น ไม่อาจจะอธิบายได้ด้วยวิทยาศาสตร์กายภาพ ความคิดเราไม่สามารถทำความเข้าใจเรื่องนี้ได้ใช่มั้ย?
ตอบ : ใช่ เพราะมันเกินไปกว่าวิทยาศาสตร์กายภาพ หรือมันไปเกินกว่าการรับรู้ในระดับกายภาพ แต่เมื่อเราลงมือทำมัน และเห็นผลจากการที่ต้นพืชงอกงามตั้งตรง มันไม่ใหญ่โต มันไม่ใช่พืชที่เป็นโรคอวบฉุอ้วน นั่นแหละเราจึงรู้ว่ามันทำงานได้ผลจริงๆ



ทุกวันนี้เรามีปัญหาสุขภาพมีโรคเบาหวานโรคอ้วนโรคภูมิแพ้ เพราะพวกเรากินอาหารที่มีพืชป่วยสัตว์ป่วย อาหารที่ผ่านกระบวนการมากมาย อาหารที่มาจากสารเคมี แม้แต่แรกเด็กเกิดมาก็มีปัญหาแล้ว สงสัยว่าแม่ตอนท้องไปกินอะไรมา บางคนก็คงไม่รู้ว่าอาหารที่เขากินอยู่มันไม่ดี หรือไม่มีทางเลือกก็ได้ ถ้าเราอยู่ในเมือง เราอาจจะมีโอกาสได้ซื้ออาหารที่มีไบโอไดนามิค เมื่อวันก่อนผมได้คุยกับชายชาวเยอรมันที่อนุบาลฟ้ากว้างเชียงใหม่ เขาบอกว่าเขาไปเที่ยวในเมืองแห่งหนึ่งในเยอรมนี ที่นั่นมีเด็กกว่า 75% ไปโรงเรียนสไตเนอร์ บรรดาร้านค้าธุรกิจก็สนับสนุนอาหารพืชผลไบโอไดนามิคส์ จึงมีร้านค้ามากมายในแนวนี้ เขาบอกว่าร้านค้าเหล่านี้เห็นเด็กนักเรียนสไตเนอร์มีความสนอกสนใจกระตือรือร้นในการทำสิ่งดีๆเมื่อพวกเขาได้รับโอกาสให้ทำเสมอๆ ผมเองก็เคยพบไบโอไดนามิคซุปเปอร์มาร์เก็ต มันเยี่ยมยอดมากเลย ทุกอย่างมาจากไบโอไดนามิคทั้งหมด คนเหล่านี้รู้จักบริโภคแต่ส่วนใหญ่พวกเขาก็คนชนชั้นกลาง นี่เป็นเรื่องอีกเรื่องหนึ่งในการศึกษาสไตเนอร์ที่คนจนไม่สามารถส่งลูกมาเรียนได้หรือแม้แต่จะได้อาหารไบโอไดนามิค ผมว่านี่คือบางสิ่งที่ต้องระลึกไว้ในใจว่ามันไม่ถูกต้อง



ถาม : การศึกษากับไบโอไดนามิคเกี่ยวกันอย่างไร
ตอบ : ใครนะชื่ออะไรจำไม่ได้ เขาเป็นนักวิทยาศาสตร์ทางโภชนาการ ดร. สไตเนอร์ได้ส่งเขาไปอเมริกา ดูเหมือนว่าเขาจะเป็นคนแรกของอเมริกาที่ทำงานด้านวิทยาสตร์อาหารนะ ทั้งเขาและดร.สไตเนอร์อยู่บนรถไฟจากสวิสไปเยอรมันนี เขาถามดร.สไตเนอร์ว่า “ ทำไมจึงเป็นอย่างนี้ เมื่อคุณได้บอกพวกเรามานานว่าควรจะพัฒนาอย่างไร บอกทุกขั้นตอนให้ทำอย่างละเอียด แต่ก็ยังทำไม่ได้ มีบางอย่างทำให้สะดุกหยุดชะงัก” สไตเนอร์ไม่ได้พูดถึงกรรมแต่อย่างใด แต่ตรงกันข้ามเขาตอบว่ามันมีบางสิ่งบางอย่างเกี่ยวกับอาหาร มลภาวะได้แพร่กระจายไปแล้ว ทั้งที่ตอนนั้นเพิ่งต้นปี 1920 แต่แล้วในปี1945 มีนักวิทยาศาสตร์เยอรมันค้นพบว่าพืชดูดซับสารอาหารจากน้ำที่มีสารละลายอยู่ พอฝนตกลงมาสสารก็ละลายแล้วต้นไม้ก็ดูดซับขึ้นไป นั่นทำให้เกิดอุตสาหกรรมสารเคมีในเยอรมัน ฝนได้ชะล้างสสารเหล่านี้ไปสู่แหล่งน้ำต่างๆ



ต้นไม้ต้องการน้ำเพราะมีใบ ใบจะทำหน้าที่ได้ถ้ามีน้ำแล้วใบก็คายน้ำออกไป รากของพืช ชนิดสีดำจะลงไปลึกลึกเหมือนกับท่อดูดซับน้ำในดิน ถัดจากรากลึกนั้นก็จะมีรากที่ละเอียดเป็นฝอยเหมือนเส้นผมมันเป็นรากสีขาวซึ่งทำหน้าที่คอยหาอาหาร ปกติต้นไม้ไม่ได้ดื่มและกินในเวลาเดียวกัน เวลาหาอาหารมาเลี้ยงต้นมันเป็นช่วงที่อากาศเริ่มร้อนขึ้น ต้นไม้ต้องคอยหาน้ำตราบที่ยังมีใบ บางทีต้นไม้ต้องการน้ำแต่มันไม่ได้ต้องกินสารอาหาร แต่เมื่อเรารู้เรื่องสารเคมีเรารู้ว่าสารถูกดูดซึมไปที่รากได้เพราะน้ำ เราก็ผลิตสารเคมีที่ละลายน้ำได้ ดังนั้นน้ำที่อยู่รอบๆต้นจึงมีสารอาหารด้วย ในสารที่ละลายน้ำได้มันมักจะมีภาวะความเกลืออยู่ด้วย ทำให้ปริมาณเกลือในลำต้นเพิ่มสูง ยิ่งเกลือดำรงอยู่ พืชก็ยิ่งต้องการน้ำ ไม่อาจจะคายน้ำออกทางใบได้เพราะกลัวว่าเกลือมากเกินไปในลำต้น ดังนั้นต้นไม้เลยติดน้ำ เหมือนคนหิวน้ำ มันเลยบวมอวบ เราจะเห็นต้นพืชโตเร็วมาก อวบใหญ่ หัวกะหล่ำใหญ่เบ้อเริ่ม


สำหรับในเกษตรชีวพลวัตร มองว่ามีน้ำอยู่ในดิน สารอาหารอยู่ในปุ๋ยBD ยังมีฮิวมัสในดินด้วย เมื่อต้นไม้ต้องการน้ำ รากสีดำก็ไปดูดน้ำในดินและเมื่ออาการศร้อนขึ้นมันคายน้ำออก ก็ได้เวลากินอาหารมันก็ไปที่ปุ๋ยนั้นเพื่อให้ได้สารอาหารเท่าที่ต้องการ สารอาหารนั้นละลายได้ในความชื้น ธาตุอาหารสิ่งต่างๆก็อยู่ตรงนั้นทั้งหมด พืชสามารถเลือกได้ เอาอาหารไปกินได้เท่าที่ต้องการ แต่ในอีกระบบหนึ่งต้นพืชไม่มีโอกาสเลือก ในระบบนี้ต้นพืชกินนิดหน่อยค่อยๆโตแต่แข็งแรง มันจึงให้สารอาหารที่ดีแก่มนุษย์รวมทั้งเอนไซม์ด้วย เท่ากับให้สารอาหารระดับยอดเยี่ยมทีเดียว ง่ายต่อการย่อยในร่างกายของมนุษย์และสัตว์เลี้ยง … มีบางสิ่งที่พิเศษมากสำหรับใบของพืชดังนั้นเราควรตระหนักในความสำคัญนี้ให้ความขอบคุณต่อสิ่งนี้ด้วย



รู้มั้ย ฟอสเฟตที่เอามาใช้กันมากในฟาร์มนั้น มันเคยถูกขุดมาจากเกาะหลายแห่ง เป็นฟอสเฟตธรรมชาติ แต่บัดนี้มันหายหมดเกาะแล้ว ทุกวันนี้จึงเป็นฟอสเฟตจากภูเขา วิธีที่เขาเอามันออกมาจากก้อนหินคือ เขาใช้แบตเตอรี่เก่ามาทุบเพื่อใช้บางส่วนมาหาฟอสเฟตและในฟอสเฟตจึงมีแคดเมี่ยมอยู่ด้วย เมื่อต้นไม้ได้ฟอสเฟตไปก็ได้แคดเมี่ยมไปด้วย โดยเฉพาะพวกซูปเปอร์ฟอสเฟตทั้งหลายที่ช่วยให้ต้นไม้โตเร็ว


เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องศึกษา และรู้สึกว่าตัวเองต้องดูแลตัวเองไม่ใช่ไปจ่ายเงินให้คนอื่นมาดูแลรักษาสุขภาพให้ มีคำพูดว่า “พืชเป็นบุตรของดวงอาทิตย์” ถ้าเราเผาพืชที่แห้งเราจะพบว่ามีเถ้าถ่านเหลือนิดเดียว นี่คือส่วนน้อยนิดที่ได้จากดิน ดังนั้น ส่วนใหญ่ของพืชจึงมาจากจักรวาล ไม่ใช่เป็นของดิน ถ้าเราให้โอกาสพืชเติบโตไปกับจังหวะของจักรวาล มันจะเป็นอาหารที่ดีที่สุด แต่เมื่อเรายัดเยียดและทำประหนึ่งว่าพืชมาจากดิน ทำให้พืช stress ไม่ได้ให้สารอาหารที่ดีที่สุดแก่มนุษย์



http://www.dulyapat.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 06/01/2023 7:54 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 23/08/2011 6:13 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

314. ฮิวมัส ต่างกับฮิวมิก อย่างไร

อยากทราบเรื่องฮิวมัส ต่างกับฮิวมิก อย่างไร และเราสามารถนำตัวไหนมาปรับปรุงดินในบ่อกุ้งเก่าได้บ้างค่ะ ....จะหาได้จากแหล่งใดบ้างค่ะ


ฮิวมัส คือ อินทรีย์วัตถุที่ถูกเปลี่ยนรูปร่างให้มีขนาดเล็กอย่างสมบูรณ์แบบ โดย จุลินทรีย์และสารเคมี มีโครงสร้างสลับซับซ้อนคงทนต่อการสลายตัว รูปร่างไม่แน่นอน มีสีน้ำตาล หรือน้ำตาลดำ มีองค์ประกอบทางเคมี คือ คาร์บอนไฮโตรเจน ออกซิเจน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส กำมะถัน





***นำมาจาก
http://plantpro.doae.go.th/plantclinic/clinic/other/cherry_snail/#sub6

ส่วนเรื่อง ฮิวมิก ลองไปอ่านได้ที่นี่ครับ
http://www.sfst.org/conference/Codition/humic.htm

http://www.buildboard.com/viewtopic.php/176/2202/142618/0/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 23/08/2011 6:59 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

315. ฮิวมัสคืออะไร ?


ฮิวมัสเป็นอินทรียวัตถุที่มีโครงสร้างที่สลับซับซ้อนและคงทนต่อการสลายตัวมาก มีสีดำหรือสีน้ำตาล มีลักษณะเป็นคอลลอยด์ มีขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางของโมเลกุลประมาณ 10–100 อังสะตรอม มีธาตุ คาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส กำมะถัน และธาตุอื่นๆ เป็นองค์ประกอบ

ฮิวมัสในดินเกิดขึ้นหลังจากที่จุลินทรีย์ในดินทำการย่อยสลายซากพืชซากสัตว์แล้วจุลินทรีย์จะสังเคราะห์สารประกอบอินทรีย์จำพวก กรดอะมิโน โปรตีน และอะโรมาติก

หลังจากที่จุลินทรีย์ได้ตายและทับถมกันเป็นเวลานานจะเกิดขบวนการรวมตัวระหว่าง กรดอะมิโน หรือโปรตีนกับสารประกอบ อะโรมาติก กลายเป็นฮิวมัสในดิน


การสลายตัวของฮิวมัสเกิดๆด้จาก
1. การไถพรวน การเพิ่มความชื้นให้แก่ดิน การใส่ปุ๋ยเพื่อปรับพีเอชของดิน ทำให้ดินมีความเหมาะสมต่อการทำกิจกรรมของจุลินทรีย์ ทำให้จุลินทรีย์ย่อยสลายฮิวมัสได้ดีขึ้น

2. การทำดินให้แห้งและชื้นสลับกันเป็นการทำให้บางส่วนของฮิวมัสซึ่งดูดยึดอยู่กับ
อนุภาคดินเหนียวหลุดออกมาอยู่ในสภาพแขวนลอยได้ทำให้จุลินทรีย์สามารถย่อยสลายฮิวมัสได้ง่ายขึ้น

3. การเติมอินทรียวัตถุที่สลายตัวได้ง่ายจำพวกซากพืชซากสัตว์ลงไปในดินซึ่งจะให้
พลังงานอย่างมากให้กับจุลินทรีย์ในดิน ทำให้ปริมาณจุลินทรีย์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ฮิวมัสในดินถูกสลายตัวได้มากขึ้น


http://otvety.google.ru/otvety/thread?tid=336bf28ea9c9659d
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 23/08/2011 7:05 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

316. อนินทรีย์ไนโตรเจน

การใช้สารฮิวมัสจากมูลสุกรและกากตะกอนน้ำเสียเพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมี :
การปลดปล่อยอนินทรีย์ไนโตรเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ในดินจากผลของการใส่กากตะกอนน้ำเสียที่ถูกเร่งให้เป็นฮิวมัสกากตะกอนน้ำเสียตากแห้งและมูลไก่



บทคัดย่อ :

การใช้สารฮิวมัสจากมูลสุกรและกากตะกอนน้ำเสียเพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมี :

การปลดปล่อยอนินทรีย์ไนโตรเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ในดินจากผลของการใส่กากตะกอนน้ำเสียที่ถูกเร่งให้เป็นฮิวมัสกากตะกอนน้ำเสียตากแห้งและมูลไก่ การสลายตัวและการปลดปล่อยธาตุอาหารของวัสดุอินทรีย์ที่ใส่ลงไปในดิน มีความสำคัญในการเพิ่มระดับอินทรียวัตถุและความอุดมสมบูรณ์ของดินในระยะยาว

จึงทำการทดลองเพื่อศึกษาอัตราการปลดปล่อยอนินทรีย์ไนโตรเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ของกากตะกอนน้ำเสียที่ถูกเร่งให้เป็นฮิวมัส กากตะกอนน้ำเสียตากแห้ง และมูลไก่ โดยการบ่มวัสดุอินทรีย์ดังกล่าวในชุดดินปากช่องและชุดดินสตึกในตู้ควบคุมอุณหภูมิที่ 30 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 13-14 สัปดาห์

การศึกษาพบว่าปริมาณอนินทรีย์ไนโตรเจนที่ปลดปล่อยออกมาจากกากตะกอนน้ำเสียที่ถูกเร่งให้เป็นฮิวมัส กากตะกอนน้ำเสียตากแห้งและมูลไก่ ในชุดดินปากช่อง เท่ากับ 29.8% 25.4%และ 31.8% ของปริมาณในโตรเจนทั้งหมด และในชุดดินสตึก เท่ากับ 23.8% 9.0% และ 20.3% ของปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด ตามลำดับ

การปลดปล่อยอนินทรีย์ไนโตรเจนของกากตะกอนน้ำเสียที่ถูกเร่งให้เป็นฮิวมัสมีสหสัมพันธ์เป็นเส้นตรงกับการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ (r = 0.99 ในชุดดินสตึก) ในขณะที่การใส่มูลไก่ทำให้อนินทรีย์ไนโตรเจนในดินลดลงในช่วงแรกของการบ่ม และพบว่าการปลดปล่อยอนินทรีย์ไนโตรเจนของมูลไก่มีสหสัมพันธ์ในทางลบแบบโพลีโนเมียลกับการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ (r = -0.07)ในชุดดินปากช่องและ r = 0.77 ในชุดดินสตึก)

ส่วนกากตะกอนน้ำเสียตากแห้งมีอัตราการปลดปล่อยอนินทรีย์ในโตรเจนสูงมากใน 1-3 วันหลังการบ่ม จากนั้นจะลดลงอย่างรวดเร็ว และปริมาณการปลดปล่อยอนินทรีย์ไนโตรเจนจากกากตะกอนน้ำเสียไม่มีสหสัมพันธ์กับการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์


http://lib.doa.go.th


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 07/01/2023 5:37 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 23/08/2011 8:55 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

317. สารสกัดใบน้อยหน่า กำจัดแมลง-จุลินทรีย์


ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์และพิษฆ่าแมลงของสารฟลาโวนอยด์ จากน้อยหน่า

หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

สารสกัดใบน้อยหน่า วงศ์ Annonaceae ได้ถูกนำไปตรวจสอบฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนในเมล็ดพืชและฤทธิ์ ฆ่าแมลงCallosobruchus chinensis ที่เป็นศัตรูของเมล็ดพืช การสกัดแยกพบสารกลุ่มฟลาโวนอยด์มีฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนมากับเมล็ด พืชได้ทั้งหมด และมีฤทธิ์ฆ่าแมลงปีกแข็งได้ 80% ที่ความเข้มข้น 0.07 มก./ มล. ซึ่งสารกลุ่มฟลาโวนอยด์นี้มีฟลาโวนอล การศึกษานี้ชี้ให้เห็นประโยชน์ของสารสกัดใบน้อยหน่าที่ใช้เป็นยาฆ่าแมลงที่ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการรักษาเมล็ดพันธุ์หลังการเก็บเกี่ยว

http://soclaimon.wordpress.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 07/01/2023 5:36 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 23/08/2011 9:05 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

318. เทคนิคเพิ่มผลผลิต ‘ลองกอง’ คุณภาพ





สำนัก วิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8 จ.สงขลา กรมวิชาการเกษตร วิจัย “การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตลองกองให้มีคุณภาพในพื้นที่ ภาคใต้ตอนล่าง” ซึ่งผลงานวิจัยนี้ กรมวิชาการเกษตรได้พิจารณาคัดเลือกเป็นผลงานวิจัยดีเด่น ประจำปี 2552 ประเภทงานพัฒนางานวิจัย

นางสาวสุพร คังฆมณี นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8 จ.สงขลา หัวหน้าทีมนักวิจัยเรื่อง การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตลองกองให้มีคุณภาพในพื้นที่ ภาคใต้ตอนล่าง กล่าวว่า ปกติการปลูกลองกองในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง จะปลูกเป็นพืชแซมและเป็นไม้ผลหลังบ้าน ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อยที่ไม่ตระหนักถึงข้อดีของการผลิตลองกองคุณภาพ ขณะเดียวกันยังมีปัญหาโรคและแมลงศัตรูพืชรบกวน ซึ่งส่งผลกระทบต่อผลผลิตทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเร่งสร้างโอกาสให้แก่เกษตรกร โดยยก ระดับการผลิตให้มีประสิทธิภาพได้มาตรฐาน ตรงตามความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่าย เพิ่มมูลค่าและสร้างรายได้ให้เกษตรกรเพิ่มสูงขึ้น

เบื้องต้นได้ศึกษาวิจัย เทคโนโลยีการผลิตลองกอง ในแปลงเกษตรกร จ.สงขลา พัทลุง และสตูล โดยดึงเกษตรกรเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการวิจัยด้วย ทำให้ทราบถึงปัญหาที่เกษตรกรประสบอยู่ อาทิ ปริมาณและคุณภาพผลผลิตเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ต่ำ การเข้าทำลายของแมลงศัตรูพืช ปัญหา ผลร่วง ผลแตก และปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ จากนั้นได้นำเทคโนโลยีการผลิตลองกองที่ได้จากงานวิจัยเข้าไปแนะนำ ให้เกษตรกรประยุกต์ใช้ทั้งยังได้จัดฝึก อบรมเพื่อเพิ่มทักษะความรู้ แล้วให้ลงมือปฏิบัติในพื้นที่จริง พร้อมเปรียบเทียบผลกับวิธีผลิตแบบเดิม พบว่าการจัดการสวนลองกองตามวิธีแนะนำ สามารถช่วยเพิ่มผลผลิตได้ถึง 45.1% และยังได้ลองกองคุณภาพเกรด A มากที่สุดถึง 51.6% ซึ่งช่วยให้ขายได้ราคาสูงขึ้น ขณะที่วิธีเดิมของเกษตรกรได้ผลผลิตลองกองเกรด C 34.8%

อีกทั้งยังพบว่า การผลิตลองกองตามวิธีแนะนำให้ผลตอบแทนมากกว่าวิธีของเกษตรกร ถึง 7,916 บาทต่อไร่ เพิ่มขึ้นคิดเป็น 72.5% ซึ่ง เทคโนโลยีที่เกษตรกรให้การยอมรับและนำไปปฏิบัติ คือ การ ตัดแต่งกิ่ง การใส่ปุ๋ย การใช้ไส้เดือนฝอย การตัดแต่งช่อดอกต่อช่อผลต่อปลิดผล และการคัดเกรดผลผลิต เป็นต้น

ขณะเดียวกันยังได้มีการวิจัย เทคโน โลยีการจัดการโรคลองกอง ร่วมกับกลุ่มเกษตรกร โดยเปรียบเทียบกับวิธีที่เกษตรกรปฏิบัติอยู่เดิม พบว่า

การใช้วิธีผสมผสานระหว่างการใช้สารเคมี benomyl 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือจุลินทรีย์ Bacillus subtilis 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นก่อนเก็บเกี่ยว 1 เดือน ร่วมกับการตัดแต่งกิ่งและการจัดการสวนที่ดี มีแนวโน้ม ลดความรุนแรงของระดับการเกิดโรคราดำได้

นอกจากนี้ ทีมนักวิจัยยังได้ศึกษา วิจัย เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวลองกองเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้กับเกษตรกร ซึ่งได้ผลสรุปว่า

การยืดอายุการเก็บรักษาลองกองโดยการรมด้วยสาร 1-MCP ที่ระดับความเข้มข้น 500 ppb และหุ้ม ด้วยโฟมเน็ตร่วมกับสารดูดซับเอทิลีน (ด่างทับทิม) แล้วเก็บรักษาในห้องเย็นที่อุณหภูมิ 18 องศาเซลเซียส สามารถช่วยยืดอายุการเก็บรักษาลองกองได้นานถึง 14 วัน


ปัจจุบัน สวพ.8 สามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตลองกองให้แก่เกษตรกรใน พื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้แล้วกว่า 3,800 ราย ทั้งยังได้สร้างแปลงต้นแบบเพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชน 10 แปลง 51 ไร่ พร้อมขยายผลเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตลองกองไปสู่เกษตรกรเพิ่ม เติมอีกกว่า 440 ราย พื้นที่ 880 ไร่ ทำให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นและคุณภาพดีขึ้น ซึ่งวิธีแนะนำทั้ง 3 วิธี สามารถสร้างรายได้ให้ชาวสวนลองกองที่เข้าร่วมโครงการฯเพิ่มสูงขึ้นถึง 9,198-11,974 บาทต่อไร่

หากสนใจข้อมูลเกี่ยวกับ “การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตลองกองให้มีคุณภาพ” สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8 จ.สงขลา โทร. 0-7444-5905-6.


http://soclaimon.wordpress.com

[/color]


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 07/01/2023 5:36 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 23/08/2011 9:11 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

319. “เฉาก๊วย” มีต้นขาย





ผมเคยเขียนถึงต้น “เฉาก๊วย” ไปในฉบับวันที่ 19 ม.ค. ปี 43 พร้อมบอกสรรพคุณว่า ช่วยลดความ ดันโลหิตสูงได้ โดยตำรายาจีนให้เอาใบสดหรือแห้งของต้น “เฉาก๊วย” หนึ่งกำมือหรือพอประมาณใส่น้ำให้ท่วมต้มกับหม้อดินจนเดือดดื่มขณะอุ่นเป็นประจำ จะทำให้โรคความดันโลหิตสูงค่อยๆลดลงและควบคุมไม่ให้กำเริบได้ และยังช่วยเป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำได้อีกด้วย ในตอนนั้นมีผู้นำต้น “เฉาก๊วย” จากประเทศจีนมาวางขายได้รับความนิยมปลูกกันแพร่หลาย แต่ต่อมาได้ขาดหายไป ผู้อ่านไทยรัฐขอให้ช่วยแนะนำแหล่งขายพร้อมวิธีเอาต้น “เฉาก๊วย” ไปทำเป็น “เฉาก๊วย” ด้วย ซึ่งเป็นจังหวะพบว่าปัจจุบันมีผู้นำต้น “เฉาก๊วย” มาวางขายเมื่อไม่นานมานี้ จึงรีบสนองความ ต้องการผู้อ่านอีกทันที

วิธีเอาต้น “เฉาก๊วย” ไปทำเป็น “เฉาก๊วย” สามารถทำได้คือ เอาทั้งต้นชนิดแห้ง (มีขายตามร้านยาจีน) กะจำนวนมากน้อยตามต้องการ ต้มกับน้ำจนได้น้ำเป็นสีดำหรือสีน้ำตาล กรองเอาเฉพาะน้ำผสมกับแป้งมันกับแป้งข้าวเหนียวเล็กน้อยหรืออัตราส่วนตาม เหมาะสม จะทำให้ น้ำเป็นเจลลี่ เหนียวหนึบไม่เละ หั่นเป็นชิ้นลูกเต๋าหรือเป็นเส้นยาวตามต้องการ ใส่น้ำเชื่อมและน้ำแข็งรับประทานอร่อยมาก

เฉาก๊วย หรือ MESONA CHINENSIS อยู่ในวงศ์เดียวกับกะเพรา แมงลัก ยี่หร่า โหระพา สะระแหน่ คือ LAMIACEAE เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นกลม เปราะและหักง่ายคล้ายสะระแหน่ กิ่งก้านแผ่กว้างคลุมหน้าดิน สามารถยาวได้ถึง 2-3 ฟุต ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรง กันข้าม เป็นรูปรีแกมรูปใบหอก ปลายแหลม โคนสอบ ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย สีเขียวสด

ดอก ออกเป็นช่อแบบเชิงลดคล้ายช่อดอกกะเพรา ออกตามซอกใบและปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยขนาดเล็กจำ-นวนมาก ดอกเป็นสีขาว เวลามีดอกบานพร้อมกันจะดูแปลกตาดีมาก ดอกออกได้เรื่อยๆ เกือบทั้งปี

ขยายพันธุ์ด้วยวิธีปักชำกิ่ง ปัจจุบันต้น “เฉาก๊วย” มีขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ- พฤหัสฯ บริเวณโครงการ 21 แผง “คุณพร้อมพันธุ์” ทราบว่าเป็น “เฉาก๊วย” นำเข้าจากประเทศจีนตัวใหม่ ปลูกแล้วเติบโตได้ดีกว่า “เฉาก๊วย” ตัวเก่า ที่นำเข้ามาในตอนแรก กับแผง “คุณตุ๊ก” หน้าตึกกองอำนวยการ ราคาสอบถามกันเอง ปลูกได้ในดินทั่วไป ไม่ชอบน้ำท่วมขัง ชอบแดดและความชื้นสูง หากปลูกจำนวนหลายๆต้น สามารถเก็บใบสดหรือตากแห้งใช้ ประโยชน์ตามที่กล่าวข้างต้นได้คุ้มค่า หรือจะชั่งกิโลขายเป็นรายได้เสริมดีมากครับ.



“นายเกษตร”

ไทยรัฐออนไลน์
http://soclaimon.wordpress.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 07/01/2023 5:38 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 23/08/2011 9:20 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

320. เครื่องตรวจพันธุ์ข้าว


จากความสำเร็จของภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ที่ได้คิดค้นเครื่องกระตุ้นเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยสนามไฟฟ้า ประจวบเหมาะกับการภาครัฐมุ่งกระตุ้นพัฒนาพันธุ์ข้าวไทย ซึ่งทางเซ็กชั่น จ๊อบ ไทยโพสต์ ได้นำเสนอไปก่อนหน้านี้

ล่าสุด คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ด้วยการตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของผลผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ รวมไปถึงทุกขั้นตอนการผลิตเพื่อเป็นการรับประกันว่า เป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นมาด้วยกรรมวิธีที่ปลอดสารเคมีแน่นอน จึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญเช่นกัน โดยเฉพาะกระแสโลกซึ่งกำลังให้ความสำคัญในเรื่องของความปลอดภัยทางด้านอาหาร (Food Safety)

รองศาสตราจารย์ศิริวัฒน์ โพธิเวชกุล รองอธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และคณะ ได้กล่าวถึงการคิดค้นเครื่องตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งผลิตหรือที่มาของสินค้า โดยนำเทคโนโลยี RF-ID (Radio Frequency Identification) มาใช้ในขบวนการตรวจสอบย้อนกลับถึงต้นตอแหล่งผลิต โดยเลือกข้าวหอมมะลิอินทรีย์ที่จังหวัดสุรินทร์เป็นกรณีศึกษา

รศ.ศิริวัฒน์เปิดเผยว่า เทคโนโลยี RF-ID เป็นเทคโนโลยีที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่สามารถรับ-ส่งข้อมูล โดยใช้คลื่นวิทยุจากวงจรไฟฟ้าแทนการสัมผัสทางกายภาพมาใช้ตรวจสอบย้อนกลับข้าวหอมมะลิอินทรีย์ โดยสามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงพื้นที่เพาะปลูก รวมถึงรายชื่อเกษตรกรผู้ปลูกกัน

ข้าวหอมมะลิอินทรีย์สุรินทร์แต่ละถุงมาจากแหล่งผลิตใดในจังหวัดสุรินทร์ นอกจากนี้ หากเกิดปัญหาการปนเปื้อนยังช่วยตรวจสอบและแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว สำหรับการสืบย้อนหาที่มาของแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์นี้ นับว่าเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในมาตรฐานความปลอดภัยทางด้านอาหารได้อีกทางหนึ่ง

"เป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคว่าเป็นข้าวหอมมะลิอินทรีย์โดยไม่มีการปนเปื้อนแน่นอน และการใช้คลื่นวิทยุในการตรวจสอบไม่ต้องสัมผัสกับอาหารหรือสินค้า ทำให้ลดโอกาสในการปนเปื้อนได้อีก" รศ.ศิริวัฒน์กล่าว

ทั้งนี้ คณะผู้วิจัยได้จัดทำเป็นฐานข้อมูลรายชื่อเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวหอมมะลิอินทรีย์ ทำให้ตรวจสอบย้อนแหล่งที่มาของผู้ปลูกได้ พร้อมบอกถึงคุณภาพของข้าวได้ถึงระดับแปลง และสามารถแก้ปัญหาให้กับเกษตรกรได้ตรงจุด โดยนำข้อมูลที่ตรวจสอบได้มาปรับปรุงข้าวหอมมะลิอินทรีย์ ให้มีคุณภาพดีขึ้นและขายได้ในราคาที่สูงขึ้นได้ จากปกติที่ข้าวอินทรีย์จะมีราคาสูงกว่าราคาข้าวหอมมะลิทั่วไปประมาณ 25-30%

สำหรับประเทศไทยนับเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลก และข้าวหอมมะลิ (Jasmine Rice) เป็นหนึ่งของข้าวไทยเป็นที่นิยมของชาวต่างชาติ ด้วยคุณสมบัติเด่นในด้านความนุ่มหอม จากข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) พบว่า มูลค่าการส่งออกข้าวหอมมะลิไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยมีตลาดใหญ่อยู่ที่สหรัฐอเมริกา จีน ฮ่องกง และอียู ความต้องการข้าวหอมมะลิในปริมาณสูง ทำให้ปัจจุบันตลาดข้าวหอมมะลิมีคู่แข่งทางการค้ามากขึ้น การสร้างจุดขายหรือการสร้างความแตกต่างให้กับข้าวหอมมะลิไทย เป็นหนึ่งหนทางในการรักษาตลาดของข้าวหอมมะลิให้ไทยคงความเป็นเจ้าตลาดไว้

ข้าวหอมมะลิอินทรีย์ ข้าวที่ผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ ซึ่งไม่ใช้สารเคมีหรือสารสังเคราะห์ในทุกขั้นตอนการผลิต นับเป็นอีกหนึ่งจุดขายสำคัญของตลาดข้าวหอมมะลิไทย ผนวกกับแนวโน้มความต้องการของตลาดโลก ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การผลิตอาหารที่มีสุขลักษณะที่ดีต่อคุณภาพชีวิตเป็นสำคัญ ข้าวหอมมะลิอินทรีย์จึงได้รับความนิยมจากผู้บริโภคไม่น้อยทีเดียว ทั้งนี้ ความต้องการของตลาดข้าวหอมมะลิอินทรีย์ขยายตัวประมาณ 15-20% ต่อปี

คณะผู้วิจัยยังได้นำเทคโนโลยี 2 D-barcode มาใช้โดยติดบาร์โค้ดลงบนถุงข้าวหอมมะลิอินทรีย์สุรินทร์ เพื่อให้ผู้บริโภคสะดวกในการสืบย้อนกลับข้าวหอมมะลิอินทรีย์สุรินทร์ โดยแนวทางในการตรวจสอบย้อนกลับ ได้แก่ การตั้งตู้ตรวจสอบระบบ RFID ณ จุดจำหน่าย ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ทันที โดย RFID tag บนถุงข้าว หรือการอ่านจากกล้องบนตู้ตรวจสอบ 2 D-barcode ผู้บริโภคยังสามารถตรวจสอบที่บ้านได้โดย Key Code ลงหน้า Website ซึ่งผู้วิจัยได้จัดทำขึ้นที่ www.thaiorganicrice.com


สำหรับผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โทร.0-2326-4998, 08-1315-8998.


http://www.thaipost.net/x-cite/070709/7372
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 23/08/2011 9:33 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

321. สมุนไพรสำหรับสัตว์

กระบวนการสารธรรมชาติทดแทนการใช้เคมีภัณฑ์สังเคราะห์ในการเลี้ยงสัตว์ &raquo;

เรียบเรียงโดย : จินตนา อินทรมงคล



ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตเนื้อไก่ส่งออกเป็นอันดับที่ 5 ของโลก จึงทำให้มีการนำเข้ายาเคมีและผลิตภัณฑ์เคมีเพื่อใช้ในการเลี้ยงสัตว์ ดังเช่นปี 2547 มีมูลค่ารวม 12,539 ล้านบาท แยกเป็น สารต้านจุลชีพ ชนิดผสมในอาหาร 955 ล้านบาท สารเร่งการเจริญเติบโต 625 ล้านบาท สารสังเคราะห์เสริมอาหาร (feed additives) 3,818 ล้านบาท ยาปฏิชีวนะ 1,740 ล้านบาท ยากันบิด 234 ล้านบาท ยาฆ่าพยาธิภายในและภายนอก 499 ล้านบาท

สารเหล่านี้ส่วนมากใช้ในอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่และสุกร จากการที่ประเทศกลุ่มสหภาพยุโรปตรวจพบสารเคมีตกค้างในเนื้อไก่และกุ้งจากประเทศไทย ทำให้ฟาร์มเลี้ยงสัตว์หันมาสนใจใช้สมุนไพรมากขึ้น ดังที่ในปี 2546 เริ่มมีการนำสมุนไพรจากต่างประเทศมาใช้ผสมในอาหารสัตว์ มีมูลค่าการนำเข้า 24 ล้านบาท (ที่มาสมาคมผู้ค้ายาเวชภัณฑ์สำหรับสัตว์แห่งประเทศไทย) จะเห็นว่าในเชิงอุตสาหกรรมมีความต้องการสารธรรมชาติทดแทนสารสังเคราะห์ แต่สมุนไพรไทยมีข้อจำกัดและปัญหาการนำมาใช้เชิงอุตสาหกรรม คือ ขาดมาตรฐานของคุณภาพ ทำให้ผู้ใช้ไม่มั่นใจในประสิทธิผล และความแม่นยำของการใช้สมุนไพรแต่ละครั้ง ปริมาณไม่เพียงพอ ขาดข้อมูลหลักฐานทางวิทยาศาสตร์สนับสนุน เช่นความเป็นพิษหรือสารตกค้าง เป็นต้น


น้ำหมักชีวภาพ เป็นเทคโนโลยีชีวภาพพื้นบ้านที่เกษตรกรใช้ในการเลี้ยงสัตว์มากขึ้น เช่น การใช้สมุนไพรผง และการใช้น้ำหมักชีวภาพผสมน้ำให้สัตว์กิน โดยเฉพาะการเลี้ยงไก่และสุกรในฟาร์มขนาดเล็กและขนาดกลาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดูแลสุขภาพองค์รวม คือการเสริมสร้างสุขภาพให้กับสัตว์ให้มีภูมิคุ้มกันโรคตามธรรมชาติ ลดกลิ่นมูลสัตว์ ทำให้สัตว์ไม่เครียด มีผลทำให้สัตว์มีสมรรถนะการให้ผลผลิตสูง โตเร็ว ลดการใช้ยาในการป้องกันและรักษาโรคมาก สมุนไพรไทย หลายชนิดนอกจากมีสรรพคุณและการออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อและต้านเชื้อก่อโรค ควบคุม จุลินทรีย์แล้ว ยังสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรค ช่วยย่อยอาหาร กระตุ้นการกิน สารต้านอนุมูลอิสระ ต่อต้านสารพิษ เป็นต้น ทำให้สามารถป้องกันการเกิดโรคทางเดินอาหารและโรคทางเดินหายใจในสัตว์ได้ ประเทศไทยเป็นแหล่งสมุนไพรที่มีตามธรรมชาติ มีศักยภาพที่ปลูกพืชสมุนไพรได้


ปัญหาในการเลี้ยงสัตว์อุตสาหกรรม
ปัญหาที่สำคัญของการเลี้ยงไก่และสุกรเชิงอุตสาหกรรมในปัจจุบัน คือการเร่งผลผลิตให้ได้สูงสุดตามพันธุกรรม จำเป็นต้องให้สัตว์กินอาหารที่มีคุณภาพสูง และต้องใช้สารสังเคราะห์ผสมอาหารเพื่อเร่ง การเจริญเติบโต และใช้ในการควบคุมโรค อีกทั้งในสัตว์ให้เนื้อ เช่น ไก่เนื้อ สุกรขุน โคขุน สัตว์จะถูกบังคับให้กินอาหารจำนวนมาก ทำให้เกิดปัญหาสารเคมีตกค้างในผลิตภัณฑ์ และทำให้ผู้บริโภคดื้อยา ดังที่ ยุทธนา และคณะ (2545 ) สำรวจเกษตรกรเลี้ยงสุกรในภาคใต้พบว่า ส่วนมากปัญหาการเลี้ยงสุกรคือโรคท้องเสีย ซึ่งโรคนี้มีผลให้ลูกสุกรมีอัตราการตายสูงถึง 8-12 % ทำให้ต้องใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาโรค นอกจากนี้พบว่าสุกรดื้อยาปฏิชีวนะทำให้รักษาไม่ค่อยได้ผลต้องเปลี่ยนชนิดของยาไปเรื่อยๆ และพบว่ามี ยาปฏิชีวนะตกค้างในเนื้อแดง 69 % ในตับ 82% จากตัวอย่างกว่า 200 ตัวอย่าง
สำหรับปัญหาการเกิดโรคแบ่งตามสาเหตุได้ 3 ประการ คือ

1) การเกิดความเครียด สาเหตุเนื่องจากการจัดการฟาร์มที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ การเลี้ยงที่หนาแน่น การจัดการโรงเรือนที่ไม่ถูกสุขลักษณะ การระบายอากาศไม่ดี มีกลิ่นแก๊สจากมูลสัตว์สะสม และความเครียดจากการจัดการอาหารไม่เหมาะสม มีสารพิษจากเชื้อราในอาหาร มีผลทำให้ภูมิคุ้มกันโรคลดลง และส่งผลต่อประชากรจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในลำไส้ลดลง ส่งเสริมการเพิ่มจำนวนเชื้อก่อโรค

2) เกิดจากได้รับเชื้อก่อโรคและพยาธิ ที่ติดมากับอาหาร น้ำ สัตว์พาหะ และจากสิ่งแวดล้อม เช่น เชื้อ E. coli ,Salmonella , Campylobacter ,เชื้อบิด ,เชื้อกัมโบโร, เชื้อหวัดนก พยาธิภายใน และภายนอก เป็นต้น

3) เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม เช่นการเปลี่ยนแปลงอากาศกลางวันร้อน กลางคืนเย็น หรือการเปลี่ยนฤดูกาล การจับสัตว์เพื่อทำวัคซีน การย้ายคอก สิ่งเหล่านี้ทำให้สัตว์เครียด ภูมิคุ้มกันโรคลดลงทำให้ติดเชื้อโรคได้ง่าย



โรคที่สำคัญในไก่
1) โรคระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย โรคหวัดเรื้อรัง (CRD) และ เกิดจากเชื้อไวรัส ได้แก่ โรคนิวคลาสเซิล โรคกัมโบโร โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง โรคหวัดนก

2) โรคทางเดินอาหาร ซึ่งเป็นโรคเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้สัตว์ถึงตาย ได้แก่ เชื้อ E. coli ,Salmonella , Campylobacter อหิวาห์ไก่ และโรคบิด เป็นต้น



โรคที่สำคัญในสุกร
1) โรคระบบทางเดินอาหาร ที่เกิดจากการติดเชื้อโรค เช่น โรคติดเชื้อ อีโคไล(Colibacillosis) มักพบในสุกรช่วงหลังหย่านม และที่มีความเครียดสูงจากการเปลี่ยนอาหาร การตอน การทำวัคซีน การรวมฝูง ทำให้เชื้อที่มีปกติในลำไส้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และสร้างสารพิษขึ้น ทำให้สุกรตายได้ สำหรับเชื้อนี้ดื้อยาง่าย การรักษามักไม่ได้ผล โรคแซลโมโลซีส(Salmonellosis) เชื้อโรคมากับอาหารสัตว์ที่ปนเปื้อน ติดจากพ่อแม่พันธุ์ที่ป่วย ทำให้สัตว์ท้องร่วง ถ่ายเหลว โรคนี้สามารถก่อโรคในคน ฉะนั้นจึงใช้การตรวจหาเชื้อนี้ในเนื้อสุกรและไก่ของกระบวนการอาหารปลอดภัย โรคบิดมูกเลือดในสุกร (Swine dysentery) นอกจากนี้พบสารพิษจากเชื้อราในอาหาร ที่ไม่ทำให้สัตว์ถึงตายแต่ทำให้ผลผลิตลดลง (อัมพวัน 2547)



การใช้อาหารเสริมป้องกันโรคทดแทนปฏิชีวนะสารในอาหารสัตว์
อาหารเสริมสุขภาพ (Nutraceuticals )หมายถึง อาหารเสริมที่มีคุณสมบัติพิเศษต่อการทำงานของระบบย่อยอาหาร และการทำงานของจุลินทรีย์ในทางเดินอาหารที่ไม่มีอยู่ในอาหารสัตว์ทั่วไป สำหรับประเทศไทยอาหารและยาธรรมชาติ ได้แก่ จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ และสมุนไพรบางชนิด หรือที่เรียกว่า Prophylactic nutrition เป็นอาหารป้องกันโรค ที่กระตุ้นการทำงานของระบบอาหาร มีผลต่อการป้องกันโรค รักษาโรค และการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ทำให้สัตว์มีสุขภาพดีเป็นอาหารเสริมที่ใช้ในสัตว์ฟาร์ม ในต่างประเทศไม่ถือเป็นยา จำแนกเป็นอาหารเสริมที่สามารถใช้ในฟาร์มได้ Generally Recognized As Safe (GRAS) การให้กินเป็นประจำจะทำให้สัตว์แข็งแรงไม่เป็นโรค ได้ผลผลิตเนื้อ นม ไข่ ที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค เป็นแนวทางการสร้างตลาดสินค้าใหม่ที่เรียกว่า functional foods อาหารสุขภาพ แนวคิดการใช้อาหารป้องกันและรักษาโรคได้เกิดขึ้นมานานตั้งแต่สมัยก่อนที่คนไทยยังไม่มีความรู้เรื่องโรคมากนัก มีวิธีการป้องกันโรค เช่น การปรุงยาอายุวัฒนะ การให้ความสำคัญต่ออาหารที่กิน พืช ผัก ผลไม้พื้นบ้านที่มีตามฤดูกาล ซึ่งเป็นทั้งอาหารและยาป้องกันโรค


สุขภาพของระบบย่อยอาหาร (gut health) กับการให้ผลผลิตสัตว์
สัตว์จะให้ผลผลิตดีตามพันธุกรรมขึ้นอยู่กับ อาหารที่ได้รับและประสิทธิภาพการใช้อาหารของสัตว์นั้นๆ โดยที่อวัยวะภายในของสัตว์ที่เกี่ยวกับการย่อยและดูดซึมอาหาร ประกอบด้วย กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ เมื่อสัตว์กินอาหารเข้าไปจะถูกย่อยเบื้องต้นในกระเพาะอาหาร แล้วส่งผ่านมายังลำไส้เล็ก การย่อยอาหารและการดูดซึมจะหมดในส่วนปลายของลำไส้เล็ก อาหารที่ไม่ถูกย่อยจะผ่านมายังลำไส้ใหญ่และมีจุลีนทรีย์ช่วยย่อยก่อนถ่ายในระบบทางเดินอาหารของสัตว์มีจุลินทรีย์มากมาย ยึดครองอยู่ สำหรับกลไกการใช้ประโยชน์ของอาหารในลำไส้เล็ก มี villi ทำหน้าที่เป็นตัวกรองและอนุญาตให้สารอาหารที่ย่อยสมบูรณ์ผ่านเข้ากระแสเลือดไปเลี้ยงเซลล์ต่างๆ ของร่างกาย ถ้าสมดุลย์ของจุลินทรีย์ไม่เหมาะสม หรือมีจุลินทรีย์ก่อโรค หรือ เชื้อโรคมากทำให้ขับสารพิษออกมายึดเกาะ villi เกิดภาวะทำให้ Villi ไม่สามารถกรองเชื้อโรคได้ ทำให้เข้าไปในกระแสเลือดเกิดโรคต่างๆ ขึ้น ต่อมน้ำเหลืองในลำไส้เป็นส่วนสำคัญต่อการทำงานในการป้องกันการดูดซึมสารพิษ และแบคทีเรียเข้าไปในระบบของร่างกาย จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์จะทำลายเชื้อโรคโดยตรง (Hardy,2000) ดังนั้นสุขภาพของระบบย่อยอาหารที่มีประสิทธิภาพจึงมีความสำคัญ ต่อสุขภาพโดยรวมของสัตว์ โดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องคือ

•ระดับความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ของระบบย่อยอาหาร
•ระดับและชนิดของเอนไซด์ที่ผลิตได้
•ผลผลิตจากการย่อยอาหาร
•สมดุลย์ของจุลินทรีย์ และสารที่ผลิตจากจุลินทรีย์ในทางเดินอาหาร


จุลินทรีย์ในสำไส้มี 2 ประเภทคือ.
- จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ ( Beneficial microorganisms) กลุ่ม bacteria ได้แก่ Lactobacilli, Bifidobacterium ,Bacilli,Streptococci ,กลุ่ม yeast ได้แก่ Sacharomyces cerevisiae จะยึดพื้นที่ในลำใส้กันไม่ให้จุลินทรีย์ก่อโรคเจริญเติบโต

- จุลินทรีย์ก่อโรค (Pathogenic microorganisms) ได้แก่ Coliforms, Salmonella, Clostridia ,Shigilla, Staphylococcus ซึ่งทำให้เกิดความสูญเสียต่อเศรษฐกิจ คือทำให้อัตราการตายสูง น้ำหนักลด การใช้ประโยชน์อาหารลดลง การให้ผลผลิตต่ำ
โดยสภาพปกติ มีจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ : จุลินทรีย์ก่อโรค ที่สมดุลควรเป็น 90 : 10 ปัจจัยที่มีผลต่อสมดุลย์ของ จุลินทรีย์ในลำไส้ คือ การให้ยา ความเครียด และสิ่งแวดล้อม เช่นการปรับเปลี่ยนอาหาร อากาศ/อาหารที่ย่อยยาก และการได้รับเชื้อโรค


การใช้สารเสริมธรรมชาติผสมในอาหารสัตว์ โดยนำความรู้เรื่องสารออกฤทธิ์ของสมุนไพร และเทคนิคการหมักบ่มด้วยจุลินทรีย์ให้ได้สารที่เป็นประโยชน์ต่อสัตว์ ผนวกกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีชีวภาพการคัดสายพันธุ์จุลินทรีย์ เรียกว่า Probiotics และ Prebiotics ในการหมักบ่มพืชเพื่อสกัด จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ และหรือสกัดสารสำคัญจากกระบวนการหมัก เช่น เอ็นไซม์ ไวตามิน แร่ธาตุ เพื่อนำมาผสมอาหารหรือน้ำให้สัตว์กินเพื่อเสริมสร้างสุขภาพให้กับสัตว์

Probiotics เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อสัตว์ที่เมื่อสัตว์กินเข้าไปแล้วทำให้ปรับสมดุลของเชื้อจุลินทรีย์และต้านจุลินทรีย์ก่อโรค (มีผู้ให้คำจำกัดความหลายท่าน เช่น Fuller,1989; Collin และ Gibson,1999) โดยจุลินทรีย์กลุ่มนี้จะเกาะอยู่กับพนังลำไส้และสร้างสภาวะกรดอ่อนๆ ได้แก่ กรดแลคติค ทำให้ยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียก่อโรค นอกจากนี้ยังสร้างเอนไซม์ ไวตามิน อีกทั้งเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างการสัตว์และขจัดสารพิษจากจุลินทรีย์ก่อโรคที่ขับออกมา สำหรับ Prebiotics เป็นสารอาหารที่ไม่ถูกย่อยในกระเพาะเป็นประโยชน์ต่อสัตว์โดยส่งเสริมการเติบโตและกิจกรรมจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในลำไส้ สารอาหารบางชนิดจะทำหน้าที่จับกินเชื้อก่อโรค (Gibson และRoberfriod,1995)


ในประเทศแถบตะวันตกพัฒนากระบวนหมักบ่มเพื่อคัดสายพันธ์จุลินทรีย์ Probiotics ที่เป็น ผลิตภัณฑ์เสริมในอาหารสัตว์ ได้แก่

- กลุ่ม Lactobacillus ,Bifidobacter เป็นพวกที่ทนต่อความเป็นกรดและน้ำดี ทำให้สามารถมีชีวิตถึงลำไส้ส่วนปลาย จุลินทรีย์กลุ่มนี้ ผลิต Lactic acid , Lactase ,acidolin, Hydrogen peroxide, vitamins, ที่เป็นประโยชน์ต่อสัตว์ ผลิตสารคล้ายปฏิชีวนะที่สามารถยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคกลุ่ม Salmonella , E.coli และ Clostidium botulinium ได้เป็นอย่างดี และส่งเสริมการใช้ประโยชน์ของอาหาร และกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันโรคในลำไส้ (Gilliland and Spec,1977 ; Hardy,2000 ,Murry และคณะ ,2004)

- Bacillus subtilis ซึ่งสามารถใช้ผสมในอาหารและยังมีความคงตัวอยู่ สร้างเอนไซม์ช่วยย่อยโปรตีนและแป้ง เช่น amylase,protease,hemi-cellulase, ทำให้อาหารดูดซึมไปใช้ประโยชน์ต่อร่างกายสัตว์สูงขึ้น ลดกลิ่นในมูลสัตว์

- Pediococcus sp. สร้างสาร Bacteriocins ที่เรียกว่า Pediocin เป็นสารคล้ายปฏิชีวนะ ทนต่อความร้อนและความเป็นกรด ฆ่าเชื้อก่อโรคได้หลายชนิด ใช้ในอุตสาหกรรมถนอมอาหาร และเป็น feed additive เนื่องจากมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ Listeria monocytogenes , Clostridium perfringens, Enterococcus feacalis และ Staphylococcus aureus (Guerra และ Pastana, 2004)

- กลุ่มYeast (Saccharomyces cerevisiae) มีรายงานว่าผนังเซลล์ของยีสต์ประกอบด้วย mannanoligosaccharides (MOS) 45% (Turner และคณะ 2004)สามารถสร้างสาร Cytokine และ Beta-glucan กระตุ้นให้สร้างสารกระตุ้นภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะในลำไส้ได้ (Hardy,2000) และในต่างประเทศได้ใช้เทคโนโลยีชีวภาพพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยการหมักบ่มด้วยจุลินทรีย์ผสมทั้งแบคทีเรียและยีสต์ดังได้กล่าวข้างต้นได้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นทั้ง Probiotics และ Prebiotics ทำให้เพิ่มอัตราการเจริญเติบโต เพิ่มการกินได้ เพิ่มการย่อยของอาหาร กระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกัน และลดอัตราการตาย ในสัตว์ (อ้างโดย Turner และคณะ 2004)



ภูมิปัญญาไทยการใช้สมุนไพรและเทคนิคชีวภาพในการป้องกันโรคสุกรและไก่
ในปัจจุบันมีเกษตรกรบางรายได้พัฒนาใช้สมุนไพร และน้ำหมักชีวภาพสมุนไพร มาใช้เลี้ยงสัตว์ ส่งผลทำให้สัตว์โตเร็ว สุขภาพแข็งแรง ลดกลิ่นแอมโมเนียและแมลงวันในฟาร์ม ทำให้สัตว์อยู่สบายไม่มีโรค ทำให้ลดยาเคมีในการรักษา แต่เป็นการใช้ตามภูมิปัญญาและการเรียนรู้การสังเกตของแต่ละฟาร์ม จากการสำรวจเบื้องต้นพบรูปแบบการใช้ดังนี้

1) การใช้แบบภูมิปัญญาดั้งเดิม พบใช้ในการเลี้ยงสัตว์หลังบ้าน เช่นการใช้บอระเพ็ด ฟ้าทะลายโจรแช่น้ำให้สัตว์กินเพื่อป้องกันโรคและบำรุงกำลัง การใช้หมากสุกให้ไก่กินเพื่อถ่ายพยาธิในไก่ การใช้น้ำคั้นมะเกลือถ่ายพยาธิโค-กระบือ เป็นต้น

2) การใช้สมุนไพรแห้งบดผสมในอาหารไก่และสุกร พบในการเลี้ยงสัตว์ฟาร์มเพื่อการค้าขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เป็นการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านคัดเลือกสมุนไพรที่มีสรรพคุณตามที่ต้องการใช้ในสัตว์ โดยใช้สมุนไพรหลายชนิดผสมกันเพื่อให้คุณสมบัติป้องกันโรคทางเดินอาหารและทางเดินหายใจ กำจัดกลิ่นในมูลสัตว์ และกำจัดพยาธิ โดยใช้องค์ความรู้ดั้งเดิมจากสรรพคุณของสมุนไพรจำแนกตามรส ได้ 9 รส ในการป้องกันและรักษาโรคในคน

3) การใช้เทคนิคจุลินทรีย์สกัดสารจากพืชสมุนไพร ที่เรียกว่าน้ำหมักชีวภาพ ซึ่งมี
สูตรที่หลากหลายมาก ขึ้นอยู่กับชนิดของพืช สัตว์ และจุลินทรีย์ที่เป็นตัวตั้งต้นให้เกิดกระบวนการหมัก


สมุนไพรไทยที่ผู้เลี้ยงสัตว์ได้นำองค์ความรู้ตามการแพทย์แผนไทยมาประยุกต์ใช้ในการเลี้ยงสัตว์เพื่อป้องกันโรคระบบทางเดินอาหารและระบบทางเดินหายใจ และเป็นยาถ่าย โดยคัดเลือกใช้สมุนไพรตามหลักสรรพคุณเภสัช เป็นรสยา 9 รส (วุฒิ,2540) ดังนี้

•โรคระบบทางเดินหายใจ ใช้ สมุนไพรรสขม ได้แก่ ฟ้าทะลายโจร หญ้าลูกใต้ใบ สะเดา บอระเพ็ด น้ำนมราชสีห์ โทงเทง
สรรพคุณ บำรุงโลหิตและดี แก้ไข้ แก้โลหิตพิการ เจริญอาหาร ช่วยย่อยอาหาร แก้ร้อนใน กระหายน้ำน

•โรคระบบทางเดินอาหาร ใช้สมุนไพรรสฝาด ได้แก่ ขมิ้นชัน ไพล ข่า เปลือกลูกมังคุด ใบฝรั่ง กล้วยน้ำหว้าดิบ
สรรพคุณ แก้ท้องร่วง สมานแผล แก้บิด

•ถ่ายพยาธิ ใช้สมุนไพรรสเมาเบื่อ ได้แก่ ลูกมะเกลือสด เมล็ดสะแก เนื้อในเมล็ดมะขาม เล็บมือนาง
สรรพคุณ แก้พิษ พิษดี พิษโลหิต พิษไข้ ฆ่าพยาธิ ใช้คู่กับยาที่มีฤทธิ์ระบาย


สมุนไพรหลายชนิดมีขอบเขตการใช้ที่ออกฤทธิ์ได้หลายทาง เนื่องจากสมุนไพรเป็นผลิตภัณฑ์ธรรมชาติไม่ใช่สารเดี่ยว แต่จะออกฤทธิ์เสริมซึ่งกันและกัน ตามสรรพคุณยาของสมุนไพร ได้แก่ กระตุ้นการกินอาหาร เพิ่มการย่อยอาหาร แก้อาการท้องเสีย แก้อักเสบ ฆ่าเชื้อ ต้านอนุมูลอิสระ ต่อต้านแบคทีเรีย เป็นสารเสริมภูมิคุ้มกัน ลดไขมันในเลือดและเนื้อสัตว์ สารฆ่าพยาธิภายในและภายนอก ลดกลิ่นในมูลสัตว์ (สำนักงานคณะกรรมการสาธารณะสุขมูลฐาน กระทรวงสาธารณะสุข , 2541,เยาวมาลย์ และ สาโรช ,2545, Hardy,2004)) ซึ่ง mode of action ของสารสกัดสมุนไพรต่อสัตว์เป็นไปได้ใน 3 ทางเสริมกัน คือ 1) สารสกัดสมุนไพร มีฤทธิ์กระตุ้นการกิน ช่วยย่อยและดูดซึมอาหาร 2) จุลินทรีย์ที่ดีในน้ำหมักทำหน้าที่เป็น probiotic โดยเพิ่มจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ทำให้ลดจุลินทรีย์ก่อโรค ทำให้เกิดสมดุลของจุลินทรีย์ที่ดีในกระเพาะอาหาร เพิ่มน้ำย่อย ทำให้สารอาหารย่อยและใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ ลดกลิ่นในมูลสัตว์ 3) ฤทธิ์กระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกัน ทำให้ไก่แข็งแรง ต้านทานโรคได้


สมุนไพรที่คัดเลือกมาวิจัยและพัฒนาทดแทนยาเคมีและผลิตภัณฑ์ในการเลี้ยงสัตว์นั้น ควรมี คุณสมบัติดังนี้

• เป็นพืชที่หาได้ง่ายในธรรมชาติได้ง่าย การใช้ไม่ทำลายต้น หรือระบบนิเวศน์ หรือเป็นพืชล้มลุกที่สามารถปลูกขยายพันธุ์ได้ง่าย

• มีข้อมูลการใช้ที่ได้ผลมาแต่โบราณ มีสรรพคุณที่หลากหลาย เช่นเจริญอาหาร กระตุ้นการกิน ขับพยาธิ ต้านอักเสบ ฆ่าเชื้อ สร้างภูมิคุ้มกัน เป็นต้น การใช้ไม่มีอันตรายตกค้างในผลิตภัณฑ์สัตว์

• มีข้อมูลทางวิชาการการใช้ในสัตว์ มีสารออกฤทธิ์ ป้องกันและรักษาโรคทางเดินระบบหายใจ และทางเดินอาหาร ในสุกรและไก่



การใช้สมุนไพรในสัตว์
ยุทธนาและคณะ(2547) ได้ทดลองใช้ ฟ้าทะลายโจร ไพล ใบฝรั่ง ในอัตราที่เหมาะสม เปรียบเทียบกับการใช้ปฏิชีวนะเสริม ในอาหารสุกรขุนพบว่ามีแนวโน้มการเจริญเติบโตและประสิทธิภาพการใช้อาหารดีกว่า และต้นทุนค่าอาหารถูกกว่า 1.50 บาทต่อน้ำหนักเพิ่ม 1 กก. และมีแนวโน้มไขมันบางกว่า นอกจากนี้ สาโรช และคณะ(2547)ได้ทดลองใช้สมุนไพรผง กระเทียม ฟ้าทะลายโจร ขมิ้นชัน ทั้งเดี่ยวและผสมกัน ทดแทนสารปฏิชีวนะเร่งการเจริญเติบโตในอาหารไก่เนื้อ ไก่ไข่ และสุกร พบว่า การใช้สมุนไพรเดี่ยวและผสมระดับต่างๆมีแนวโน้มเพิ่มสมรรถนะการเติบโต และประสิทธิภาพการใช้อาหารดีกว่ากลุ่มเติมยาปฏิชีวนะ นอกจากนี้ในการเลี้ยงไก่ของบริษัทตะนาวศรีไก่ไทย จำกัด ใช้ ฟ้าทลายโจร ไพล ขมิ้นชัน ผสมในอาหารในระดับป้องกันโรค 1.8 กกต่อตันอาหาร ให้กินตั้งแต่แรกเกิดจนขาย เพื่อป้องกันโรคหวัด CRD หวัดเรื้อรัง โรคท้องเสียทั่วไป โรคบิดมูกเลือด สำหรับในภาวะโรคหวัดนกระบาดได้เพิ่มสมุนไพรผสมในอาหาร อีก 3-4 เท่า เป็นเวลา 5 วัน ทำให้รอดจากการติดโรคได้ อริชญา และคณะ (2548) ได้ทดลองใช้สมุนไพร เฮอร์บาท็อบ-มิกซ์? และมู-พลัส? ในอาหารไก่กระทง เปรียบเทียบกับการใช้ปฏิชีวนะ Avilamycin และไม่เติมปฏิชีวนะ ต่อคุณลักษณะการเจริญเติบโต ซึ่งเฮอร์บาท็อบ-มิกซ์? ประกอบด้วยสมุนไพรหลัก คือ ฟ้าทะลายโจร ขมิ้นชัน และมูพลัสประกอบด้วย มะระขี้นกและไพล ในอัตราที่บริษัท แนะนำ พบว่าปริมาณการกิน น้ำหนักเพิ่ม และประสิทธิภาพการใช้อาหารไม่แตกต่างกันทั้ง 3 กลุ่ม


นอกจากนี้มีผลการวิจัยทดสอบสรรพคุณของสมุนไพรในสัตว์ นันทิยา และคณะ (2547) พบว่าสมุนไพรบอระเพ็ด มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันโรคนิวคลาสเซิล (.2-.8% ในอาหาร) และโรคกัมโบโร (.4%) ในไก่เนื้อ บังอรและคณะ (2547) ศึกษาระดับและชนิดของสมุนไพร กระชาย ไพล ใบฝรั่ง ทดสอบความเป็นพิษและผลต่อการป้องกันโรคบิดในไก่ พบว่า ค่า LC50 (letal concentration) มีค่าสูงกว่ายากันบิดAmprolium และพบว่า การเสริมใบฝรั่ง 3% ในอาหารมีแนวโน้มว่าช่วยลดการวิการของโรคบิดในไก่ได้ ชัยวัฒน์ และคณะ(2547) ทดลองใช้ขมิ้นชันเป็นสารต้านออกซิเดซั่นต่อสถานะภาพภูมิคุ้มกัน และสมรรถภาพการเจริญเติบโตของไก่เนื้อที่อยู่ในภาวะเครียด พบว่าการเพิ่มความหนาแน่นในการเลี้ยงไก่เนื้อมี แนวโน้มที่จะทำให้ไก่เกิดความเครียดสูงส่งผลให้เกิด lipid peroxidationในพลาสมาเพิ่มขึ้น เกิดภาวะ กดภูมิคุ้มกันและการฟ่อตัวของอวัยวะน้ำเหลืองเพิ่มขึ้น และให้ผลตอบสนองทางลบต่ออัตราแลกเนื้อในช่วงอายุ 22-45 วัน การเสริมขมิ้นชัน อัตรา 2 กก/ตันอาหารหรือ คิดเป็น curcuminiod 100 ppm เพื่อเป็นสารต้านออกซิเดชั่นมีแนวโน้มช่วยเพิ่มการเจริญเติบโต และลดภาวการณ์กดการตอบสนองของภูมิคุ้มกันในไก่เนื้อที่เกิดภาวะเครียดได้ นอกจากนี้ กิติมา และคณะ (2548) ทดลองเสริม ขมิ้นชันและบอระเพ็ด ในอาหารไก่เนื้อในระดับที่เหมาะสมสามารถลดความเครียด ในขณะที่กระตุ้น๓มิคุ้มกันในกระแสเลือดต่อเชื้อไวรัสนิวคลาสเซิลได้


การใช้เทคนิคจุลินทรีย์ในการเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทย
ขณะนี้มีเกษตรกรผลิตน้ำหมักชีวภาพใช้ด้วยตนเอง มีกระบวนการผลิตหลายรูปแบบ และใช้พืช ตั้งต้นที่แตกต่างกัน ส่วนมากนำไปใช้ในการเกษตร ปศุสัตว์ ประมง และรักษาสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ เช่น ฟาร์มสุกรแห่งหนึ่งในจังหวัดสุรินทร์ได้ผลิตน้ำหมักชีวภาพจากผลไม้ใช้ผสมน้ำให้สุกรกิน ทำให้สุกรมีสุขภาพแข็งแรง ลดอาการท้องเสีย และลดกลิ่นและแมลงวันและน้ำเสียจากการเลี้ยงสุกร ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อยารักษาโรค และสามารถเลี้ยงในชุมชนได้ นอกจากนี้มีฟาร์มไก่ไข่ในจังหวัดสระบุรี ใช้น้ำหมักชีวภาพ และสมุนไพรเลี้ยงไก่ไข่ทำให้เลิกใช้ปฏิชีวนะผสมในอาหารไก่ไข่ โดยการจัดการฟาร์มที่ได้มาตรฐานร่วมด้วย นอกจากนี้มีหัวเชื้อชีวภาพที่เรียกว่า EM (effective microorganism) ผลิตภัณฑ์ของมูลนิธิคิวเซและและ พด. ของกรมพัฒนาที่ดิน ใช้ในการเกษตรและปศุสัตว์ แต่ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับองค์ประกอบทางเคมี และชีวภาพมีน้อยมาก ผลของการใช้มีความผันแปรหลากหลาย ไม่มีข้อบ่งใช้ที่จะยืนยันคุณภาพและประสิทธิผล ส่วนมากเป็นการใช้ตามภูมิปัญญาที่ได้พัฒนาด้วยตนเองมาตลอด


สำหรับข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ของน้ำหมักชีวภาพนั้น กรมวิชาการเกษตร (2547) ได้เก็บตัวอย่างน้ำหนักชีวภาพทั่วประเทศ 200 ตัวอย่างมาวิเคราะห์ พบว่าแบคทีเรียที่พบในน้ำหมักชีวภาพที่หมักนานกว่า 1 ปี ส่วนมากเป็นแบคทีเรียแกรมบวก ได้แก่ กลุ่มBacillus ,Lactobacillus พบปริมาณน้อยได้แก่ Pediococcus, Streptococcus และ Lueconostic และเชื้อราที่พบเป็นพวกยีสต์ Saccharomyces cerevisiae ซึ่งสอดคล้องกับ Probiotics ที่มีการผลิตป็นการค้าในต่างประเทศที่กล่าวมาแล้ว นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์วิจัย พบว่ากระบวนการที่เกิดขึ้นเมื่อนำ พืช สัตว์ที่เป็นวัสดุอินทรีย์ไปหมักกับกากน้ำตาลทำให้สารอินทรีย์ไหลออกมาจากเซลล์โดยกระบวนการพลาสโมไลซีส จุลินทรีย์ที่ติดมากับวัสดุที่หมักจะเจริญเติบโตโดยใช้กากน้ำตาลและสารประกอบอินทรีย์เป็นแหล่งอาหารและย่อยสลายสารอินทรีย์ให้มีโมเลกุลเล็กลง สารอินทรีย์และ จุลินทรีย์ที่ได้จึงมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับ วัสดุหลักที่ใช้ สภาพแวดล้อมในการหมัก


น้ำหมักชีวภาพ เป็นเทคโนโลยีชีวภาพท้องถิ่นที่ชาวบ้านสามารถทำเองได้ โดยการนำเอา พืช ผัก ผลไม้ ซากสัตว์ ไปหมักกับกากน้ำตาล โดยจุลินทรีย์ที่มีในบรรยากาศ หรือการใช้หัวเชื้อ EM หรือ พด. ผ่านกระบวนการหมักบ่มในอุณหภูมิที่เหมาะสม ในระยะเวลาหนึ่ง คุณภาพของน้ำหมักชีวภาพมีความหลากหลายมาก


จากข้อมูลทางวิชาการและข้อมูลการใช้ในฟาร์มเกษตรกรดังได้กล่าวมาแล้ว สามารถสรุปได้ในเบื้องต้น กล่าวคือ การใช้สารสกัดจากสมุนไพร และสารสกัดจากพืชโดยกระบวนการหมักบ่มด้วยจุลินทรีย์ที่มีลักษณะจำเพาะ ด้วยระยะเวลาและวิธีการหมักบ่มที่เหมาะสม จะได้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นประโยชน์กับสัตว์ ซึ่งเป็นกลไกซับซ้อนส่งเสริมซึ่งกันและกัน (synergistic effects) ดังนี้ คือ


• เอ็นไซม์ (enzymes) ช่วยย่อยอาหารโปรตีน คาร์โบไฮเดรท ไขมัน เยื่อใยต่างๆ กระตุ้นกระบวนการใช้ประโยชน์อาหาร ทำให้สัตว์ใช้ประโยชน์อาหารที่กินเข้าไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดกลิ่นในมูลสัตว์

• สารคล้ายปฏิชีวนะ (Bacterocins) ที่ผลิตได้จากจุลินทรีย์ เช่น Pediocins จาก Pediococcus sp., และ lactic acid และ Hydrogen peroxide จากกลุ่มผลิตกรดแลคติค ซึ่งสามารถทำลาย เชื้อก่อโรคได้หลายชนิดได้แก่ Vibrio, E.coli, Salmonella, Camphylobactor, Pseudomonas , Staphylococcus,และ Clostridium

• สารทำลายสารพิษของเชื้อก่อโรค (Toxin Killer) ซึ่งผลิตได้จากแบคทีเรียและยีสต์ บางชนิด

• ไวตามิน บีรวม Thiamine,riboflavin,pyridoxine,niacin,biotin,cholin,B12 ,pantothenic,

• แร่ธาตุบางชนิด
ดังนั้นการใช้สารสกัดชีวภาพ และสารสกัดสมุนไพรจึงมีผลทำให้สุขภาพสัตว์แข็งแรง เจริญเติบโตเร็ว ลดการเกิดโรค ได้ผลผลิต เนื้อ นม ไข่ที่ปลอดภัยจากเชื้อก่อโรคในคน (E.coli, salmonlla) ซึ่งเป็นเชื้อที่ถูกกำหนดในการตรวจคุณภาพเนื้อตามกระบวนการ Food safety
ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ทำให้เกิดกระบวนการทำงาน (mode of action) ที่มีประโยชน์ต่อสัตว์ ดังนี้

1. Prebiotic effect สารสกัดจากสมุนไพร และจากพืช มีผลส่งเสริมการทำงานของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในทางเดินอาหาร ทำลายจุลินทรีย์ก่อโรค และช่วยย่อยอาหารและดูดซึมอาหารได้ดี เช่น เอนไซน์ ไวตามินต่างๆ

2. Probiotic effect จุลินทรีย์ที่ทนต่อความเป็นกรดสูงได้แก่ กลุ่มที่ผลิตกรดแลคติก ทำให้เพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วในทางเดินอาหาร (ลำไส้)

3. Immnological effect ในระหว่างกระบวนหมักจุลินทรีย์กลุ่มสร้างกรดแลคติค จะผลิตโปรตีนสายสั้น ที่มีคุณสมบัติกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย หรือจากผนังเซลล์ของยีสต์จะผลิต Beta-glucan ที่มีคุณสมบัติกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มแบบไม่จำเพาะเช่นกัน

4. ปรับสมดุลย์ของความเป็นกรดด่างในทางเดินอาหาร ส่งเสริมสุขภาพของทางเดินอาหาร ทำให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ดังนั้นจะเห็นได้ว่า สมุนไพรไทย และน้ำหมักชีวภาพตามภูมิปัญญาพื้นบ้าน สามารถกำจัดเชื้อก่อโรคในระบบทางเดินอาหารของสัตว์ได้ จึงเป็นวิธีการที่ส่งเสริมการผลิตในท้องถิ่น มีศักยภาพให้สัตว์เลี้ยงปลอดจากเชื้อก่อโรคที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ อย่างไรก็ตามการศึกษาผลของการใช้สารธรรมชาติทั้ง สมุนไพร สารสกัดจากพืช และสารสกัด ชีวภาพในการเลี้ยงสัตว์ที่มีผลต่อการเร่งการเจริญเติบโต การกระตุ้นภูมิคุ้มกัน หรือการฆ่าและทำลายเชื้อยังให้ประสิทธิผลที่ไม่คงที่ ซึ่งมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายประการ ตั้งแต่วัตถุดิบไม่สม่ำเสมอ สภาพการจัดการฟาร์ม ความสะอาด คอกโรงเรือนการถ่ายเทอากาศ การสัมผัสเชื้อโรค ฉะนั้นจึงทำให้ผลการศึกษาที่ได้มีความผันแปรมาก



http://www.dld.go.th/organic/knowlage/natural.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 24/08/2011 5:42 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

322. การเลี้ยงปลาด้วยกากเบียร์

ข้อมูลติดต่อ : นายวิชัย ชะเสริมไพร 137 หมู่ 4 ต.ไผ่กองดิน อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี

รายละเอียดของภูมิปัญญา :
อุปกรณ์ที่ใช้
1.กากเบียร์
2.ภาชนะบรรจุกากเบียร์
3.ตะแกรงใส่อาหารให้ปลา

วิธีการให้อาหารปลา
1.ใช้หว่านทั่ว ๆ บ่อ
2.ใช้ตะแกรงลอยน้ำ
3.เทไว้ริมขอบบ่อ

ปัญหาอุปสรรค
1.เก็บกากเบียร์ไว้นาน ๆ ไม่ได้
2.ให้มากน้ำเสีย
3.กินมากปลาตาย

แนวทางแก้ไข
บ่อปลาควรอยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบ

ประโยชน์ :
1.วัตถุดิบหาง่าย
2.ราคาถูก
3.ลดต้นทุนการผลิต
4.ปลาโตเร็ว



http://www.tei.or.th/songkhlalake/database/local_knowledge/agri_envi_3.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 24/08/2011 5:45 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

323. สมุนไพรบำบัดน้ำฟาร์มกุ้งทดแทนเคมี-ป้องกันโรคกุ้ง

ข้อมูลติดต่อ : คุณพยุง ภัทรกุลชัย โทร.0-1941-5998

รายละเอียดของภูมิปัญญา :
ปัญหาสารตกค้างในกุ้ง ที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบต่อยอดการส่งออกทั้งกุ้งสดแช่เย็นและกุ้งแช่แข็งของไทย ทั้งนี้เนื่องจากเกษตรกรมีการใช้ยาปฏิชีวนะในการป้องกันและรักษาเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งพบว่า หากใช้ไม่ถูกต้องอาจทำให้เกิดการตกค้างในเนื้อกุ้งได้ แต่ถ้าใช้สารสกัดชีวภาพที่ได้จากพืชผักสมุนไพรในการบำบัดจะไม่มีปัญหาเรื่องนี้เลย

สูตรการทำน้ำสกัดชีวภาพของคุณพยุง จะใช้ "แตงกวา" หรือ "สับปะรด" อย่างใดอย่างหนึ่งมาบดให้ละเอียด หมักกับกากน้ำตาล และน้ำสะอาด อัตรา ส่วน 3 : 1 : 1 โดยนำกากน้ำตาลละลายในน้ำสะอาด ก่อนนำแตงกวาหรือสับปะรดลงหมักในถังพลาสติกมีฝาปิด ให้เหลือพื้นที่อากาศในถังน้อยที่สุด ใช้เวลาหมักประมาณ 15 วัน หรือจนกว่าจะหมดฟองอากาศ ระหว่างนี้ให้คนทุก 3 วัน

น้ำหมักที่ได้เรียกว่า "หัวเชื้อจุลินทรีย์" จะมีกลิ่นหอมอมเปรี้ยว คล้ายกลิ่นไวน์ ถ้ายังมีฟองและกลิ่นบูดเน่า แสดงว่ากระบวนย่อยสลายยังไม่สิ้นสุด ให้เติมกากน้ำตาลเพิ่ม และทำการหมักต่อไปจนกว่ากระบวนการหมัก จะสิ้นสุดจุลินทรีย์ที่ได้นี้ สามารถนำไปใช้บำบัดเลนในพื้นบ่อเลี้ยงกุ้ง หรือใช้ฟอกน้ำในบ่อจุลินทรีย์เหล่านี้จะช่วยให้กระบวนการย่อยเศษอาหารที่เหลือทำงานได้เร็วขึ้น อัตราที่ใช้ประมาณ 1-3 ลิตร/ไร่ โดยละลายน้ำให้เจือจาง อัตราส่วน 1 : 50 ลาดไปบริเวณกลางบ่อ หรือลาดให้ทั่วบ่อหัวเชื้อที่ได้

นอกจากจะใช้บำบัดน้ำในบ่อให้อยู่ในสภาพดีได้แล้ว ยังสามารถนำมาต่อเชื้อหมักกับสมุนไพร กล้วย กระเทียม และ มะขามเปียก เพื่อนำน้ำหมักที่ได้มาผสมในอาหารให้กุ้งกิน ป้องกันและรักษาโรคกุ้งได้อีกด้วย เป็นแนวทางหนึ่งในการลดการใช้ปฏิชีวนะที่เป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้ โดย "กล้วย" นั้น จะให้ทั้งวิตามิน เอ.และวิตามิน ซี. "มะขาม" ช่วยขยายสำไส้ ช่วยให้กุ้งกินอาหารได้ดีขึ้น ส่วน "กระเทียม" ช่วยสร้างความต้านทานโรคในกุ้ง อัตราการใช้น้ำเชื้อจุลินทรีย์ 1 ขีดต่ออาหารกุ้ง 1 กก.

ปัจจุบันเกษตรกรหัวก้าวหน้า เริ่มหันมาใช้สมุนไพรหรือสารชีวภาพกันมากขึ้น แต่ คุณพยุง บอกว่า การใช้สารชีวภาพอย่างเดียวยังไม่พอ ต้องมีระบบการจัดการที่ดีด้วย คือต้องรู้จักตรวจสอบคุณภาพน้ำ ความเป็นกรดเป็นด่าง ค่าอัลคาไลน์หรือความเป็นด่างของน้ำ ออกซิเจนในน้ำ และการตรวจเช็กสุขภาพกุ้งประจำวัน เช่น การตรวจดูลำไส้เต็ม ใหญ่ ตัวสะอาด ไม่มีตะไคร่ไหม ถ้ามีตะไคร่เกาะ อาจใช้จุลินทรีย์บำบัดบ่อยขึ้น จากปกติ 7 วันครั้ง อาจใช้ถี่ขึ้นเป็น 3 วันครั้งเป็นต้น

หากเปรียบเทียบในเรื่องต้นทุนสำหรับการใช้สมุนไพรบำบัด มีต้นทุนรวมทั้งอาหารอยู่ที่ประมาณ 100-140 บาท/กก. (ขึ้นอยู่กับการจัดการฟาร์มด้วย) ถ้ากุ้งมีอัตรารอดตายสูงเท่าใดต้นทุนการผลิตก็จะยิ่งต่ำมากขึ้นเท่านั้น โดยการใช้สมุนไพรนี้ สามารถใช้ได้กับการเลี้ยงกุ้งทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นกุลาดำก้ามกราม หรือกุ้งขาววานาไมที่เริ่มมีการเลี้ยงเสริมในช่วงหน้าหนาวกันบ้างแล้วเวลานี้



http://www.tei.or.th/songkhlalake/database/local_knowledge/agri_envi_4.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 24/08/2011 5:49 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

324. บำรุงดินด้วยสูตรปุ๋ยธรรมชาติ


ข้อมูลติดต่อ : ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมพัฒนาที่ดิน โทร. 0-2579-8515 หรือสถานีพัฒนาที่ดินที่อยู่ใกล้บ้าน

รายละเอียดของภูมิปัญญา :
เทคนิคการบำรุงดินอย่างง่าย ๆ เพื่อให้ดินคืนความอุดมสมบูรณ์ สามารถทำได้โดยไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมี โดยใช้ปุ๋ยธรรมชาติที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการผลิตได้มาก สูตรการบำรุงดินโดยใช้ปุ๋ยธรรมชาติมีดังนี้

สูตรที่ 1
นำใบมะขาม ใบกระถิน ใบขี้เหล็ก ใบจามจุรี ใบโสนและใบแค ที่ร่วงแล้วมากองรวมกัน และรดน้ำให้ชื้นภายใน 7-10 วัน จะเปื่อยยุ่ย สามารถนำมาผสมกับดินปลูกในกระถาง หรือนำไปหว่านโรยรอบต้นพืชที่ปลูก ถือเป็นการกำจัดเศษใบไม้ใต้ต้นได้ดี กรณีต้องการให้มีคุณภาพดีขึ้น ให้กองรวมกับปุ๋ยคอก โดยใช้อัตราส่วน เช่น ใบจามจุรี 4 ส่วน : ปุ๋ยคอก 1ส่วน เป็นต้น

สูตรที่ 2
นำใบมะขาม ใบชมวง ใบมะกอกไทย และใบชมพู่ โดยนำมาหมักให้เน่าเปื่อย หรือเก็บรวมใส่ถุงขยะสีดำปิดปากถุงทิ้งไว้ 7 วันเพื่อให้เน่าเปื่อย ใบไม้หมักเหล่านี้จะมีความเป็นกรด เหมาะสำหรับดินปลูกไม้ประดับหรือใบไม้ที่มีสี เช่น โกสน บอนสี และช่วยให้ใบและดอกสีเข้มขึ้น

สูตรที่ 3
นำต้น ใบ และรากของผักตบชวา มาสับให้เป็นท่อน ๆ กองรวมกันให้เหี่ยวสัก 2-3 วันราดด้วยน้ำปุ๋ยคอก คลุมด้วยกระสอบประมาณ 7-10 วัน ผักตบจะเหี่ยวยุบตัวลงและมีธาตุอาหารที่สมบูรณ์ สามารถนำไปใส่แปลงผัก หรือผสมดินที่ปลูกต้นไม้ได้

สูตรที่ 4
เปลือกถั่วลิสงนำมากองหมักไว้สัก 3 สัปดาห์ จนเปื่อยยุ่ย นำไปรองก้นหลุม เพื่อปลูกไม้ผลหรือผสมดินปลูกต้นไม้ จะช่วยให้ดินร่วนซุยมีความสมบูรณ์

สูตรที่ 5
นำละอองข้าวที่เกิดจากขัดสีข้าวเปลือกจะเป็นส่วนเนื้อเยื่อหุ้มเมล็ดข้าว จมูกข้าวและรำ โดยนำละอองข้าวนี้มาแช่น้ำ 1-2 วัน แล้วนำน้ำหมักที่ได้ไปรดต้นไม้ โดยเฉพาะผักกินใบ ซึ่งจะทำให้ใบมีสีเขียวเข้ม ยอดและใบจะอวบน่ารับประทาน

สูตรที่ 6
นำน้ำซาวข้าวไปรดใบสะระแหน่ จะช่วยบำรุงใบให้เจริญงอกงาม

สูตรที่ 7
นำเปลือกกล้วยชนิดใดก็ได้ มาหั่นเป็นท่อน ๆ แล้วตากแดดให้แห้ง นำไปผสมดินปลูก หากนำไปใช้กับกุหลาบจะช่วยให้ออกดอกสีสันสวยงาม

7 วิธีง่าย ๆ กับสูตรปุ๋ยธรรมชาติ ที่เกษตรกรสามารถทำเองได้ แทบไม่มีต้นทุน แต่เป็นเทคนิคที่เกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้าน



http://www.tei.or.th/songkhlalake/database/local_knowledge/agri_envi_9.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 24/08/2011 5:52 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

325. การทำมะพร้าวกะทิ


ข้อมูลติดต่อ : 23/20 หมู่ 3 ต.ชายนา อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา 13100 โทร. 01-8065608

รายละเอียดของภูมิปัญญา :
วิธีที่ 1
ทำมะพร้าวจากมะพร้าวพันธุ์อะไรก็ได้ ถ้าต้องการให้ลูกออกมาเป็นมะพร้าวกะทิ ก็เอาถุงพลาสติกหุ้มจั่น จั่นก็คือดอกมะพร้าว 1 จั่นคือ 1 ทะลาย จั่นไหนถูกห่อด้วยพลาสติก จั่นนั้นหรือทลายดอกนั้นมันจะพิการ ทั้งนี้จะต้องห่อตั่งแต่กลีบจั่นเริ่มแย้มบาน ห่อไปจนกระทั่งมีลูกขนาดลูกหมากจึงค่อยเอาออก โดยทั่วไปมะพร้าวในทะลายที่ห่อจั่นประมาณ 80-90 % จะเป็นมะพร้าวกะทิ วิธีนี้เป็นการทำมะพร้าวกะทิแบบชั่วคราว มะพร้าวในทะลายอื่น ๆ ที่ไม่ได้ห่อจั่นจะไม่เป็นมะพร้าวกะทิ

วิธีที่ 2
เป็นการทำมะพร้าวกะทิแบบถาวร วิธีนี้ให้นำมะพร้าวที่เพาะไว้ ที่มีหน่อเหนือเปลือกขึ้นมาราว 30 ซม. แล้วใช้มีดตัดส่วนปลายตรงข้ามกับหน่อให้กะลาขาด จนเห็นเนื้อสีขาวและจาวสีเหลือง ภายในกะลามะพร้าวจากนั้นคว้านเอาจาวที่อยู่กลางกะลาออก เอาดินเหนียวอัดลงไปในกะลาแทนจาวจนเต็มและแน่นพอประมาณ สามารถนำไปปลูกได้ นายมานิตย์ เล่าให้ฟังว่า มะพร้าวที่ทำวิธีนี้จะเป็นมะพร้าวกะทิประมาณ 50 % หากจะเพิ่มปริมาณ ก็สามารถทำได้โดยให้เอาผลมะพร้าวที่ไม่เป็นมะพร้าวกะทิมาเพาะแล้วทำวิธีการเดียวกับที่กล่าวมานี้ ก็จะทำให้มะพร้าวในต้นใหม่เป็นมะพร้าวกะทิ ถึง 80-90 % ทีเดียว มะพร้าวทุกพันธุ์สามารถทำมะพร้าวกะทิได้ทั้งสิ้น แต่ถ้าใช้มะพร้าวน้ำหอม ทำมะพร้าวกะทิไม่ดีเพราะมีกลิ่นเหม็นหืน มะพร้าวที่ดีที่สุดในการทำมะพร้าวกะทิคือ มะพร้าวกลาง

ประโยชน์ :
ช่วยทำให้เศรษฐกิจของเกษตรกรดีขึ้น เป็นทางเลือกใหม่ของเกษตรกรในท้องถิ่น



http://www.tei.or.th/songkhlalake/database/local_knowledge/agri_1.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 24/08/2011 6:01 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

326. รากหญ้าแฝกสกัดน้ำมันใช้กำจัดปลวกแทนสารเคมี


ข้อมูลติดต่อ : คุณวรธรรม อุ่นจิตชัย นักวิชาการป่าไม้ 8 ว. กรมป่าไม้

รายละเอียดของภูมิปัญญา :
"แฝก" นอกจากจะปลูกเพื่อเป็นการป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดินแล้ว ใบของหญ้าแฝกยังสามารถนำมาทำแผ่นประกอบชีวภาพเพื่อทดแทนวัสดุจากไม้ ไม่เพียงแค่นี้ ล่าสุด จากการวิจัย พบว่า "น้ำมัน" ที่สกัดได้จากรากหญ้าแฝก มีความน่าจะเป็น ในการสามารถนำมากำจัดปลวกได้ หญ้าแฝก ที่เหมาะสำหรับนำมาสกัดน้ำมัน จะต้องมีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป โดยการสกัดทำได้ 2 วิธี คือ

1. ใช้วิธีต้ม ที่ใช้วิธีดังกล่าว ก็เพื่อเป็นการเผื่อสำหรับชาวบ้านหากใช้แล้วได้ผล
2. ใช้วิธีการสกัดเพื่อเอาน้ำมัน

ซึ่งพบว่าแฝกลุ่มจะให้น้ำมันมากกว่าแฝกดอน โดยรากแฝก 100 กก. จะได้น้ำมันแฝก 1 กก. โดยใช้เวลาสกัดประมาณ 3 วัน เมื่อได้น้ำมันสกัดออกมา ก็จะเริ่มนำมาทดลองกับปลวก

ปลวก ทางทีมวิจัยจะออกเก็บปลวกที่ทำลายบ้าน กินไม้ ซึ่งในการทดลองทำได้โดย ทำการผสมกับเหยื่อล่ออาหาร ซึ่งทำมาจากกระดาษผสมกับน้ำมันแฝกที่สกัดได้ ปริมาณเล็กน้อย และนำมาใช้ล่อปลวกให้กิน ผลจากการทดลองพบว่า เมื่อปลวกกินอาหารที่ใช้ล่อแล้ววันต่อมาจะกินอาหารน้อยลง และจากนั้นอีกประมาณ 7 วัน ปลวกจะเริ่มตาย ใช้กลิ่นเป็นตัวไล่ โดยนำอาหารและน้ำมาล่อ จากนั้นใช้น้ำมันสกัดที่ได้มาวางดักไว้เป็นจุด ผลจากการทดลองพบว่าสามารถป้องกันไม่ให้ปลวกเข้ามากินอาหาร และน้ำที่วางล่อไว้ได้นานร่วมเดือน

ส่วนเรื่องการตกค้าง และการทำปฏิกิริยาต่อร่างกาย จะไม่ตกค้างนานเหมือนกับสารเคมีทั่วไป และไม่เป็นพิษกับร่างกายอย่างแน่นอน ซึ่งสามารถยืนยันได้ ที่ผ่านมามีการนำสารสกัดที่ได้จากแฝกไปใช้ผสมในยาทานวดตามร่างกาย และมีการนำไปใช้ เป็นส่วนผสมในน้ำหอม เพื่อให้กลิ่นติดทนนาน ฉะนั้นในการนำมาใช้กำจัดปลวก จึงไม่น่าจะมีอันตรายกับร่างกายคนเรา

ที่สำคัญหากโครงการวิจัยนี้ได้ ผล 100 เปอร์เซ็นต์ ก็จะเป็นอีกทางหนึ่งที่ช่วยทำให้ไทยไม่ต้องสูญเสียเงินตรา ในการสั่งซื้อสารกำจัดแมลงจากต่างประเทศ ปีหนึ่งมูลค่านับพันล้านบาท

ประโยชน์ :
1.ช่วยลดการนำเข้าสารเคมีจากต่างประเทศ
2.ลดการปนเปื้อนของสารเคมีในสิ่งแวดล้อม



http://www.tei.or.th/songkhlalake/database/local_knowledge/envi_3.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 24/08/2011 6:03 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

327. การเพาะเห็ดฟางจากทะลายปาล์ม


ข้อมูลติดต่อ : กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรนาพญาร่วมใจ แห่งบ้านนาพญา หมู่ 8 ต.นาพญา อ.หลังสวน จ.ชุมพร


รายละเอียดของภูมิปัญญา :
ทะลายปาล์มน้ำมันที่ผ่านการสกัดแล้วอันเป็นของเหลือจากโรงงานในวันนี้ได้กลายมาเป็นวัตถุดิบสำคัญ ในการสร้างอาชีพ สร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกรในจังหวัด จนหลายแห่งสามารถมีรายได้เสริมมาใช้จ่ายในครอบครัวกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรนาพญาร่วมใจ แห่งบ้านนาพญา หมู่ 8 ตำบลนาพญา อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้ดำเนินการประกอบอาชีพเสริมด้วยการเพาะเห็ดฟางจากทะลายปาล์มน้ำมัน โดยได้รับการสนับสนุนด้านความรู้และงบประมาณจากสำนักงานเกษตรอำเภอหลังสวน ทางกลุ่มมีสมาชิกทั้งสิ้น 20 คน และมี นางวรรณา เพชรเกตุ เป็นประธานกลุ่ม


วิธีการเพาะเห็ดฟางจากทะลายปาล์มน้ำมัน
ต้องนำทะลายปาล์มที่ขนมาจากโรงงานนำมาหมักไว้กองเป็นเวลาประมาณ 10 วัน การหมักทำโดยนำทะลายปาล์มมากองไว้แล้วคลุมด้วยพลาสติก รดน้ำวันเว้นวัน จนครบตามระยะเวลาเมื่อหมักทะลายปาล์มได้ที่แล้ว จะนำมาปูเป็นร่องขนาดตามต้องการ ขนาดของร่องที่ทางกลุ่มแม่บ้านทำ ใช้ขนาดความกว้างของร่องที่ 80เซนติเมตร ยาว 8 เมตร

การล้างทำความสะอาดทะลายปาล์มน้ำมัน โดยการใช้น้ำฉีดจนกว่าน้ำที่ฉีดล้างจะออกเป็นสีแดง จึงถือว่าสะอาดได้ที่ ระหว่างการล้าง ต้องมีการเหยียบย่ำให้ทะลายปาล์มนุ่มลงด้วยเมื่อล้างทำความสะอาดแล้ว

การนำเชื้อเห็ดฟางมาหว่านลงไป โดยจะใช้เชื้อ 30 ถุง ผสมกับอาหารเสริมประมาณครึ่งถุงคลุกเคล้าให้เข้ากันดีแล้วนำมาโรยลงร่องของทะลายปาล์มน้ำมันแล้ว คลุมด้วยพลาสติกไว้บนโครงไม้ไผ่ที่จัดสร้างไว้นานประมาณ 3 วันโดยในช่วง 3 วัน ดังกล่าวไม่ให้เปิดดูโดยเด็ดขาด จนกระทั่งผ่านระยะเวลาดังกล่าวจะเปิด เพื่อถ่ายเทอากาศทุกวันในช่วงเช้าและเย็น นานประมาณ 30 นาที หลังจากนั้นประมาณ 7 วัน เห็ดฟางจะเริ่มออกดอก

ในส่วนของการเปิดพลาสติกออกเพื่อเก็บดอกเห็ดนั้นต้องเริ่มด้วยการเปิดแผ่นพลาสติกบริเวณหัวและท้ายร่องก่อนเพื่อเป็นการระบายอากาศ จากนั้นจึงเปิดทั้งหมดและเมื่อเก็บดอกเห็ดมาแล้วต้องรีบคลุมพลาสติกไว้ดังเดิมเพื่อป้องกันเชื้อต่าง ๆ ที่จะเข้าไปเจริญเติบโตในร่องเห็ด อันจะทำให้มีผลเสียต่อเห็ดฟางที่เพาะไว้

สำหรับการให้น้ำ จะต้องดูที่ความชื้นของกองเห็ดเป็นหลัก หากพบว่าความชื้นน้อยลงจะให้น้ำทันที โดยการรดน้ำไปบนผ้ายางแล้วน้ำจะไหลลงสู่ด้านข้างของร่องเพาะเห็ดและซึมเข้าไปในวัสดุเพาะ เห็ดจะให้ผลผลิตเต็มที่เมื่อประมาณ 10-15 วัน แล้ว เราสามารถเก็บได้ทุกร่อง ได้ทุกวัน โดยจะมีปริมาณมากในระยะเวลาประมาณ 5 วัน หลังจากนั้นปริมาณดอกเห็ดที่ออกเริ่มลดน้อยลง หากรวมเวลาที่สามารถเก็บดอกเห็ดจนหมดรุ่น ใช้เวลาประมาณ 1 เดือน

ประโยชน์ :
1. เป็นอาชีพเสริมสร้างงานสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร
2. เป็นการนำกากของเหลือมาใช้ให้เกิดประโยชน์



http://www.tei.or.th/songkhlalake/database/local_knowledge/envi_4.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 24/08/2011 4:47 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

328. ข้อดีของการให้ปุ๋ยในระบบน้ำชลประทาน


1. เป็นการให้ปุ๋ยที่มีความสม่ำเสมอพร้อมกับน้ำในความเข้มข้นที่พอเหมาะลงบริเวณรากพืชหนาแน่น ไม่ตื้นหรือลึกเกินไป เนื่องจากการให้น้ำแบบฉีดฝอยหรือแบบน้ำหยดรากพืชมีปริมาณหนาแน่นที่สุดบริเวณพื้นที่เปียก

2. สามารถปรับสูตร และความเข้มข้นของปุ๋ยได้ทันที และรวดเร็ว (ทุกวัน) ตามความต้องการของพืช และสภาพภูมิอากาศ เนื่องจากเป็นระบบที่มีการให้ปุ๋ยครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อยครั้งจึงไม่ค่อยสะสมในดิน ดังนั้นเมื่อเปลี่ยนสูตร หรือ สัดส่วนของปุ๋ยพืชก็จะตอบสนองได้เร็วกว่าระบบที่ให้ครั้งละมาก ๆ ลงในดิน

3. เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยของพืช 10-50 % จากรายงานการทดลองทั่ว ๆ ไป การให้ปุ๋ยในระบบน้ำจะมีประสิทธิภาพมากกว่าการให้ทางดินถึง 10–50 % ของระบบให้ทางดิน ขึ้นอยู่กับระบบการให้ปุ๋ย และน้ำที่ใช้ ความถี่ในการให้ปุ๋ย ฯลฯ เนื่องจากการให้ปุ๋ยในระบบน้ำ จะช่วยลดการชะล้างโดยเฉพาะไนโตรเจน และเป็นการให้ปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอทั่วบริเวณรากพืช ไม่เหมือนการให้ปุ๋ยทางดินทั่ว ๆ ไปซึ่งเป็นการให้เป็นจุด ๆ นาน ๆ ครั้ง เช่น ทุก 3–6 เดือน บริเวณที่เม็ดปุ๋ยลงในดินช่วงแรก ๆ จะมีความเข้มข้นสูงรากพืชบริเวณนั้นอาจได้รับอันตรายได้ ทำให้การดูดใช้ปุ๋ยไม่ดี (สาลี่และคณะ, 2545)

4. ลดแรงงาน และเวลาในการให้ปุ๋ย เนื่องจากปุ๋ยไปกับน้ำ ดังนั้น ไม่ต้องเสียแรงงานคนหว่านปุ๋ย และสามารถให้ปุ๋ยได้ถี่มากน้อยตามความต้องการ อาจให้ทุกครั้งที่ให้น้ำ หรือ ครั้งเว้นครั้งตามความต้องการ

5. เพิ่มผลผลิตทั้งคุณภาพ และปริมาณ เนื่องจากพืชได้น้ำ และปุ๋ยสม่ำเสมอ และสามารถเปลี่ยนชนิด และสัดส่วนของปุ๋ยตามความต้องการได้อย่างรวดเร็วตามความต้องการของพืช นอกจากนี้ยังสามารถผสมธาตุอาหารรองและอาหารเสริมลงในระบบน้ำได้เลยโดยใส่ในรูปเกลือที่ละลายน้ำง่าย เช่น ZnSO4, MnSO4, CuSO4, ทำให้ประหยัดการฉีดพ่นปุ๋ยทางใบที่มีราคาแพงลงได้มาก (สุธน, 2540)

6. สามารถผสมปุ๋ยให้ทางระบบน้ำขึ้นใช้เองได้ ทำให้ราคาถูกลงมากบางสวนสามารถผสมปุ๋ยให้ทางน้ำมีราคาเท่ากับการให้ปุ๋ยทางดินแต่มีประสิทธิภาพดีกว่า เช่น แหล่งปุ๋ยไนโตรเจนใช้ Urea เป็นแม่ปุ๋ย และโพแทชเซียมใช้ โพแทชเซียมคลอไรด์ หรืออาจผสมด้วยโพแทชเซียมซัลเฟต ในกรณีที่กลัวความเป็นพิษของคลอไรด์ ส่วนปุ๋ยฟอสฟอรัสให้ทางดินปีละครั้ง

ข้อเสียของระบบให้ปุ๋ยในระบบน้ำ
1. ปุ๋ยที่ใช้ต้องละลายน้ำหมดและมีความบริสุทธิ์สูง จึงมีราคาแพง และถ้าจะผสมปุ๋ยใช้เองซึ่งมีราคาถูกกว่าปุ๋ยสำเร็จรูปมาก ต้องใช้แม่ปุ๋ยทำให้หาซื้อได้ยาก แต่ปัจจุบันสามารถหาซื้อแม่ปุ๋ยได้ง่ายขึ้นเนื่องจากมีหลายบริษัทสั่งแม่ปุ๋ยเข้ามาจำหน่ายมากขึ้น

2. ต้องมีความรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับคุณสมบัติของดิน, ปุ๋ยและน้ำที่ใช้ เนื่องจากปุ๋ยบางชนิดไม่สามารถผสมด้วยกันได้ที่ความเข้มข้นสูง ๆ นอกจากนี้ผลของเกลือที่ละลายอยู่เดิมในน้ำและค่า pH ของน้ำก็จะมีผลต่อการละลายตัวของปุ๋ยบางชนิด และมีผลต่อการตกตะกอนของปุ๋ยด้วย ดังนั้น เกษตรกรที่จะใช้ปุ๋ยในระบบน้ำควรมีความรู้ในส่วนนี้ โดยการส่งตัวอย่างดินและน้ำไปวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ เพื่อทราบถึงคุณสมบัติของดินและน้ำที่จะนำมาใช้ปลูกพืชทำให้การใช้ปุ๋ยมีประสิทธิภาพสูงสุด แต่อย่างไรก็ตามในสภาพทั่ว ๆ ไปของประเทศไทย ชนิดของปุ๋ยที่ให้ในระบบน้ำจะเป็นปุ๋ยทั่วไป เช่น ยูเรีย โปแตสเซียมคลอไรด์หรือซัลเฟต ปุ๋ยพวกนี้จะมีปัญหาในการให้ปุ๋ยในระบบน้ำน้อยมาก (สุธน, 2540)

3. ค่าติดตั้งระบบขั้นต้นมีราคาสูง ในที่นี้หมายรวมถึงระบบการให้น้ำด้วย คือ อาจเป็นแบบน้ำหยดหรือ ระบบฉีดฝอย ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียอยู่แล้วในระบบการทำสวนสมัยใหม่ ส่วนอุปกรณ์เพิ่มเติมเพื่อให้ปุ๋ยในระบบน้ำ เมื่อเทียบกับทั้งระบบถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่เพิ่มเติมขึ้นมาน้อยมาก ดังนั้น ในสวนที่มีการเดินระบบให้น้ำอยู่แล้วควรอย่างยิ่งที่จะต้องมีระบบให้ปุ๋ยในระบบน้ำเพิ่มเข้าไปด้วย


http://captainfer.com/index.php?option=com_content&view=article&id=87&Itemid=59
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 24/08/2011 4:59 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

329. ปุ๋ยเคมีเหลว (liquid fertilizer)


ปุ๋ยหมายถึงสารอินทรีย์หรืออนินทรีย์ที่เกิดจากธรรมชาติหรือการสังเคราะห์สารขึ้นมาที่สามารถให้ธาตุอาหารในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช จำแนกออกเป็น 4 ประเภท คือ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี ปุ๋ยอนินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ และปุ๋ยเคมี (ยงยุทธ์, 2542) ตามพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. 2518 ปุ๋ยเคมีหมายถึงปุ๋ยที่ได้จากสารอนินทรีย์สังเคราะห์รวมถึงปุ๋ยเชิงเดี่ยว ปุ๋ยเชิงผสม และปุ๋ยเชิงประกอบและหมายความตลอดถึงปุ๋ยอินทรีย์ที่มีปุ๋ยเคมีผสมอยู่ด้วย การจำแนกปุ๋ยเคมีตามลักษณะการใช้ แบ่งออกได้ 4 ชนิด คือ
1. ปุ๋ยเคมีชนิดเม็ดหรือหว่าน (granular fertilizer) ลักษณะเป็นเม็ดกลมหรือขรุขระ ใช้หว่านทางดิน

2. ปุ๋ยเคมีพ่นทางใบ (foliar fertilizer) ลักษณะเป็นเกล็ด ผง หรือน้ำ ต้องผสมน้ำก่อน ใช้พ่นทางใบพืช

3. ปุ๋ยเคมีเพื่อการปลูกพืชในสารละลายธาตุอาหารพืช (soilless หรือ hydroponic) ลักษณะเป็นเกล็ด ผง หรือ น้ำ ละลาย น้ำง่าย ใช้กับการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินหรือใช้วัสดุปลูกที่ไม่ใช่เป็นแหล่งอาหารพืช

4. ปุ๋ยเคมีทางระบบน้ำชลประทาน (fertigation fertilizer) ลักษณะเป็นของเหลว ละลายน้ำง่าย สูตรปุ๋ยสูงเรียกว่า ปุ๋ยเคมีเหลว ใช้กับการปลูกพืชที่มีระบบน้ำชลประทาน คือ มีการติดตั้งระบบท่อลำเลียงในพื้นที่ที่ปลูกพืชเพื่อส่งน้ำพร้อมสารละลายปุ๋ยให้แก่พืชในเวลาเดียวกัน
จำแนกปุ๋ยเคมีตามผลรวมของธาตุอาหารหลักN+P2O5+K2O (ดิเรก, 2546) ได้ 4 ชนิด
1. ปุ๋ยสูตรต่ำ มีผลรวมของธาตุอาหารหลัก น้อยกว่า 15% เช่น สูตร 5-3-5
2. ปุ๋ยสูตรกลาง มีผลรวมของธาตุอาหารหลัก 15-25% เช่น สูตร 12-6-6
3. ปุ๋ยสูตรสูง มีผลรวมของธาตุอาหารหลัก 26-30% สูตร 18-6-6
4. ปุ๋ยสูตรสูงมาก มีผลรวมของธาตุอาหารหลัก มากกว่า 30% สูตร 8-24-24, 18-18-18


ปุ๋ยเคมีเหลว (liquid, fluid fertilizer)
ไทยนำเข้าปุ๋ยเคมีเหลวเมื่อประมาณพ.ศ. 2505 ในยุคแรกนำมาใช้กับพืชที่มีราคาแพง เช่น กล้วยไม้ ไม้ดอก ไม้ประดับ ต่อมาได้มาใช้กับไม้ผล พืชผัก พืชไร่ แต่เป็นการใช้ในลักษณะปุ๋ยเสริมทางใบ ร่วมกับการใช้ปุ๋ยเคมีทางดิน (ยงยุทธ, 2536) ปัจจุบันเกษตรกรใช้ปุ๋ยเกล็ดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีเหลวเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็เป็นลักษณะปุ๋ยเสริมทางใบเช่นกันและใช้ปุ๋ยเคมีชนิดเม็ดหรือหว่านเป็นปุ๋ยหลัก มีเกษตรกรส่วนน้อยที่ให้ปุ๋ยในระบบน้ำชลประทาน แทนการใช้ปุ๋ยเคมีชนิดเม็ดหรือหว่าน เช่น เกษตรกรปลูกส้มทางภาคเหนือ โดยเฉพาะที่ จ.เชียงใหม่ ในอำเภอ ฝาง แม่อายและไชยปราการ แต่หาซื้อปุ๋ยเคมีเหลวไม่ได้หรือไม่มีเลย และที่สำคัญไม่มีข้อมูลเรื่องปุ๋ยเคมีเหลว เช่น ลักษณะปุ๋ยทางกายภาพและทางเคมี อัตราการใช้ ข้อดีข้อเสีย แม้กระทั่งงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องปุ๋ยเคมีเหลวมีสารแขวนลอย ที่ใช้กับระบบน้ำชลประทานโดยเฉพาะการให้น้ำแบบเหวี่ยงหรือพ่นฝอยมีน้อยมาก ปุ๋ยเคมีเหลวที่ใช้เฉพาะกับการปลูกพืชในระบบน้ำชลประทานแบ่งเป็น 2 ชนิดคือ (ยงยุทธ์, 2536)

1. ปุ๋ยเคมีเหลวชนิดใส (clear liquid mixed fertilizer) เป็นของเหลว ใส ละลายน้ำง่าย สูตรปุ๋ยเคมีสูง เช่น 18-6-12, 12-6-18, 30-0-0 เป็นต้น

2. ปุ๋ยเคมีเหลวมีสารแขวนลอย (suspension fertilizer) เป็นของเหลว ข้น มีส่วนของปุ๋ยที่ละลายน้ำและส่วนของปุ๋ยที่ยังละลายน้ำไม่หมดซึ่งอาจอยู่ในรูปผลึกเข็มเล็กๆ แขวนลอยอยู่ในสารละลายเดียวกันโดยอาศัยสารพยุงตัว (suspending agents) ละลายน้ำง่าย สูตรปุ๋ยเคมีสูงมาก เช่น 21-7-14, 18-18-18, 8-24-24, 25-7-7, 7-13-34, 15-5-20, 10-30-10, UAN-32–0-0 เป็นต้น เก็บในที่เย็นหรือเก็บเป็นเวลานานอาจเกิดการเกาะตัว แต่สามารถกลับสภาพเดิมได้โดยการเขย่าหรือกวน



ปุ๋ยเคมีเหลวใส



ปุ๋ยเคมีเหลวมีสารแขวนลอย..... คลิกไปดูภาพประกอบที่ลิงค์อ้างอิง....



http://captainfer.com/index.php?option=com_content&view=article&id=88&Itemid=60
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 24/08/2011 7:09 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

330. เทคโนโลยีเปลี่ยนชีวมวล เป็นน้ำมัน คาดอีก 15 ปี ใช้ได้จริง



JGSEE พัฒนาเชื้อเพลิงเหลวจากวัสดุชีวมวล (BTL) คุณสมบัติเหมือนน้ำมัน โดยอาศัยกระบวนการทางเคมี 4 กระบวนการ เผยขณะนี้ทีมวิจัยเร่งศึกษาตัวเร่งปฏิกิริยาและสภาวะที่เหมาะสม พร้อมหาชนิดชีวมวลที่เหมาะกับประเทศไทย รวมถึงการศึกษาความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐศาสตร์จากการผลิต BTL ในลักษณะต่างๆ หวังนำเชื้อเพลิงทางเลือก BTL ใช้ทดแทนน้ำมันในภาคการขนส่ง คาดอีก 15-20 ปี อาจนำมาใช้ได้จริง

ชีวมวลหรือวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ถือเป็นเชื้อเพลิงทางเลือกที่มีความสำคัญมากในประเทศเกษตรกรรมอย่างประเทศไทย เพราะไม่เพียงถูกนำไปเป็นเชื้อเพลิงโดยตรงหรือแปรรูปเป็นพลังงานทดแทนรูปแบบต่างๆ เท่านั้น หากแต่ในอนาคตประเทศเกษตรกรรมที่มีชีวมวลในปริมาณมากอาจมีความสามารถผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้เองจากเศษชีวมวลเหล่านี้ เนื่องจากขณะนี้ได้มีการศึกษาการเปลี่ยนชีวมวลเป็นเชื้อเพลิงสังเคราะห์ชนิดใหม่ที่มีคุณสมบัติเหมือนน้ำมัน หรือที่เรียกว่า น้ำมันสังเคราะห์จากชีวมวล (Biomass to Liquid : BTL) แล้วในหลายประเทศ

ผศ.ดร.นวดล เหล่าศิริพจน์ บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี นักวิจัยผู้ทำการศึกษาวิจัยน้ำมันสังเคราะห์จากชีวมวล หรือ BTL กล่าวว่า การศึกษาวิจัย BTL เพิ่งเริ่มมีการศึกษากันอย่างแพร่หลายในต่างประเทศเมื่อประมาณ 2-3 ปีที่ผ่านมา โดยประเทศที่ทำการศึกษาได้แก่ ประเทศเยอรมัน ประเทศญี่ปุ่น และประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้น โดยกระบวนการการเปลี่ยนชีวมวลให้เป็นเชื้อเพลิงเหลวนั้นสามารถทำได้หลายกระบวนการ แต่ยังไม่มีกระบวนการใดที่สามารถผลิต BTL ได้ในเชิงพาณิชย์ ด้วยเหตุนี้ JGSEE จึงได้ร่วมมือกับศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อทำการศึกษาการผลิตเชื้อเพลิงเหลวจากวัสดุชีวมวล BTL อีกลักษณะหนึ่งซึ่งประกอบด้วยกระบวนการทางเคมีย่อย 4 กระบวนการ ได้แก่ กระบวนการไฮโดรไลซิส (Hydrolysis) กระบวนการดีไฮเดรชั่น (Dehydration) กระบวนการออดอลคอนเดนเซชั่น (Aldol condensation) และกระบวนการไฮโดรจีเนชั่น (Hydrogenation)

การทำงานของทั้ง 4 กระบวนการเพื่อเปลี่ยนชีวมวลเป็นเชื้อเพลิงเหลว ประกอบด้วย การเปลี่ยนชีวมวลให้อยู่ในรูปของน้ำตาลโดยกระบวนการไฮโดรไลซิส จากนั้นจึงทำการเปลี่ยนน้ำตาลที่ได้ให้เป็นสารจำพวก 5-hydroxymethylfurfural และ furfural ที่มีขนาดโมเลกุลเล็กลงด้วยกระบวนการดีไฮเดรชั่น สุดท้ายกระบวนการออดอลคอนเดนเซชั่น และไฮโดรจีเนชั่น จะทำการแปลงสารดังกล่าวให้กลายเป็นไฮโดรคาร์บอนที่มีขนาดคาร์บอน 9-15 ตัว ซึ่งมีคุณสมบัติเหมือนกับน้ำมันปิโตรเลียม

ผศ.ดร.นวดล กล่าวว่า ขณะนี้ทีมวิจัยอยู่ระหว่างการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการให้มีประสิทธิภาพในการผลิตสูงขึ้นและใช้พลังงานลดลง โดยศึกษาตัวเร่งปฏิกิริยา รวมถึงสภาวะภายในกระบวนการที่เหมาะสม และใช้ชานอ้อยเป็นชีวมวลทดลองในการศึกษาเบื้องต้น ซึ่งตามทฤษฎีแล้วชีวมวลที่นำมาใช้สังเคราะห์น้ำมันสามารถใช้ได้หลายชนิด เช่น ชานอ้อย กากมันสำปะหลัง ฟางข้าว หรือแม้กระทั่งเศษไม้เนื้อแข็ง เช่น ยูคาลิปตัส ซึ่งชีวมวลแต่ละชนิดจะมีศักยภาพในการน้ำมันไม่เท่ากัน ดังนั้นงานวิจัยที่สำคัญอีกอย่างก็คือทำการเลือกชนิดของวัสดุชีวมวลที่สามารถให้ผลผลิตน้ำมันได้มากที่สุด

“กระบวนการผลิตเชื้อเพลิงเหลวจากชีวมวลด้วยกระบวนการไฮโดรไลซิส-ดีไฮเดรชั่น-ออดอลคอนเดนเซชั่น-ไฮโดรจีเนชั่น เป็นกระบวนการที่ได้พัฒนาขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2005 ซึ่งมีข้อดีคือเป็นกระบวนการที่ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาที่หาได้ทั่วไปและราคาไม่แพงนัก อีกทั้งกระบวนการผลิตสามารถทำการควบคุมได้ง่าย ที่สำคัญคือมีความคุ้มทุนในการผลิตขนาดเล็กหรือกลาง จึงเหมาะสมกับประเทศไทยที่มีชีวมวลเหลือทิ้งจากการเกษตรกระจายตัวกันอยู่ในตามแหล่งชุมชนและโรงงานเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้กระบวนการที่กำลังศึกษาวิจัยอยู่ยังมีประสิทธิภาพในการผลิตต่ำ จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาต่อไปในอนาคต” ผศ.ดร.นวดล กล่าว

แม้ในขณะนี้เชื้อเพลิงเหลวจากวัสดุชีวมวล (BTL) จะยังไม่มีการนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์ เนื่องจากปัญหาทั้งทางเทคนิคและเศรษฐศาสตร์ แต่งานวิจัยเพื่อเลือกกระบวนการผลิต รวมถึงชนิดของวัตถุดิบที่จะนำมาเปลี่ยนเป็น BTL ที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย และการศึกษาความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐศาสตร์จากการผลิต BTL ในลักษณะต่างๆ ยังคงต้องดำเนินการต่อไป ซึ่งหากประเทศไทยมีแนวคิดที่จะนำเชื้อเพลิงทางเลือกชนิดนี้มาใช้เพื่อทดแทนน้ำมันในภาคการขนส่งในอนาคต คาดว่าอีก 15-20 ปี เราอาจเห็นการนำน้ำมันสังเคราะห์ BTL มาใช้ในเชิงพาณิชย์ได้ อนึ่งเทคโนโลยีที่สามารถลดการใช้น้ำมันในภาคการขนส่งมีหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้า การใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงทดแทน (NGV) หรือเทคโนโลยีเชื้อเพลิง GTL ซึ่งประเทศไทยจำต้องศึกษาและติดตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเหล่านี้ควบคู่กันไป เพื่อให้เรามีทางเลือกในการใช้ลดการใช้และการนำเข้าน้ำมันดิบมากที่สุดในอนาคต



http://www.ryt9.com/s/prg/350292


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 24/08/2011 7:37 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 11, 12, 13 ... 72, 73, 74  ถัดไป
หน้า 12 จากทั้งหมด 74

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©