-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-* นานาสาระเรื่องเกษตร
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * นานาสาระเรื่องเกษตร
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* นานาสาระเรื่องเกษตร
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 67, 68, 69 ... 72, 73, 74  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 23/12/2012 3:54 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลำดับเรื่อง....


1,810. ทำเกษตรกรรมอย่างไรไปถึงดวงดาว

1,811. จับตา..."ส้มแมนดาริน" นำเข้าจากจีน ตีตลาดไทย
1,812. ข้าวอินทรีย์กัมพูชา
1,813. กัมพูชา จะกลายเป็นหนึ่งในประเทศส่งออกข้าว
1,814. การตรวจคุณภาพปุ๋ยหมักธรรมดา (ในต่างประเทศ)
1,815. เงาะพันธุ์ใหม่ต้อง"สีเหลือง"

1,816. 10 อันดับผลไม้ยอดนิยมของคนญี่ปุ่น
1,817. 10 อันดับ ผักยอดนิยมของคนญี่ปุ่น
1,818. ซากุระบานสะพรั่งงดงามที่สุด ต้นเดือนเมษายน
1,819. 8 จุดยอดนิยม ชมซากุระ เมืองไทย
1,820. อิทธิพลของฤดูกาลต่อการออกดอกของลำไย

1,821. แมคคาเดเมีย ที่ดอยขุนห้วยยา
1,822. "ศุภโชค" พืชเศรษฐกิจตัวใหม่
1,823. “ผักสดไทย” สู่ในตลาด “อียู” แนวโน้มดี
1,824. ดอกข้าว
1,825. สารรักษาสภาพน้ำยางยุคใหม่ (TAPS)

1,826. ที่ญี่ปุ่น "เมลอน" ลูกละ "เกือบ 7,000"
1,827. เมล่อนญี่ปุ่น (Melon in Japan)
1,828. เมล่อน ดีที่สุดในญี่ปุ่น
1,829. แคนตาลูปในกระถาง บนดาดฟ้า
1,830. การปลูกแคนตาลูป

1,831. ใช้ “น้ำมะพร้าวหมัก” ช่วยน้ำยางพาราจับตัวดีกว่า “กรด” 8 เท่า
1,832. ทำนาวิธีใหม่ลดก๊าซโลกร้อน...ได้ทั้งข้าวทั้งพลังงาน
1,833. ข้าวบาสมาติ 370
1,834. การใช้ประโยชน์จากสวนปาล์มน้ำมัน


--------------------------------------------------------------------------------------------------------------




1,810. ทำเกษตรกรรมอย่างไรไปถึงดวงดาว






เนื่องในโอกาสที่ ศ.ระพี สาคริก อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2 สมัย และบิดาแห่งกล้วยไม้ไทย และ
เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมัย พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เป็นนายก
รัฐมนตรี จะมีอายุครบ90 ปีในวันที่ 4 ธันวาคม 2555 นี้ ทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับสมาคมนิสิต
เก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในพระ บรมราชูปถัมภ์ มูลนิธิระพี-กัลยา สาคริก จัดปาฐกถา 90 ปี ศ.ระพี สาคริก
ในหัวข้อเรื่อง “จะบริหารจัดการภาคเกษตรกรรมอย่างไร จึงจะไปถึงดวงดาว” ปาฐกถาโดย ศ.ระพี สาคริก
เมื่อวันที่ 8 พ.ย. 55 ที่ผ่านมา ณ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน

ศ.ระพี สาคริก กล่าวว่าตนเองไม่ได้เชี่ยวชาญเรื่องกล้วยไม้ แต่งานกล้วยไม้นั้นเป็นเพียงตัวแทนของจิตวิญญาณ
ว่าเกิดมาเป็นคนแล้วต้องสู้ เรื่องกล้วยไม้นั้นเป็นเพียงสื่อที่ใช้ในการให้คนเขารักและชื่นชม งานปาฐกถาครั้งนี้จัด
ขึ้นเพื่อว่าทำยังไงเราถึงจะอยู่รอด ดวงดาวที่ว่านั้นอยู่ที่ไหน ดวงดาวนี้ ไม่ได้อยู่บนฟ้ามันอยู่ที่ดิน อยู่กับดิน สัม
ผัสดิน อย่าลืมดิน จึงทำให้ชีวิตประสบความสำเร็จศ.ระพี กล่าวว่าสิ่งที่คนสมัยเก่าทำไว้ดีอยู่แล้วหลายสิ่งอย่าง
เช่น คันกั้นน้ำหน้ามหาวิทยาลัยช่วยให้ม.เกษตร พ้นจากน้ำท่วมใหญ่ปีพ.ศ 2485 และถ้าจะให้ดูความสำเร็จ
ของม.เกษตรศาสตร์ ตนขอตอบว่าไม่ได้ดูที่นิสิตแต่ดูที่ครูและผู้บริหารต่างหาก จริงๆ แล้วทั้งครูกับเด็กต่าง
เป็นครูของกันและกันเรียนรู้ซึ่งกันและกันคล้ายกับชีวิตแบบจิตวิญญาณภาคเกษตรกรรม ซึ่งหมายถึง
การมีชีวิตที่เคารพทุกสรรพสิ่ง

ศ.ระพี สาคริก กล่าวว่าการทำเกษตรให้ไปสู่ดวงดาวนั้นต้องเริ่มจากการทำดินให้ดี พอดินดีแล้วเกษตรกรรมจะ
ไปสู่ดวงดาวนั้นก็คงไม่มีปัญหาอะไร ดินในความหมายของศ.ระพีนั้น คือการสร้างงานการสร้างคนการเห็นคุณ
ค่าของชีวิต การแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจไม่ได้แก้ที่เงินแต่ต้องแก้ที่ตนเอง การบริหารจัดการภาคเกษตรกรรม
จะต้องเริ่มต้นบริหารจัดการที่คน โดยเฉพาะเกษตรกร ที่หมดเงินไปกับการใช้จ่ายแบบไม่จำเป็น ปัญหาที่หนักที่สุด
ในขณะนี้คือการเอาตนเป็นที่ตั้ง ไม่คิดคำนึงถึงผู้อื่น ซึ่งการจัดการภาคเกษตรกรรมจะไปถึงดวงดาวไม่ได้เลยหาก
ขาดการจัดการคนให้ดี โดยต้องเริ่มจากพัฒนาตนเองก่อน หากไปมุ่งบริหารจัดการที่ความรู้ก็ควรมาจากการความ
รัก ความรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติ ความรู้ที่เกิดจากการเข้าหาคน ความรู้ที่เรารู้จักรากเหง้าของตนเอง ซึ่ง ศ.ระพี ได้กล่าว
ทิ้งท้ายให้คิดว่า “การอยู่กับดิน เป็นรากฐานของชีวิต ทำให้เราไม่ลืมตัว”.


http://www.dailynews.co.th/agriculture/168031


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 17/01/2013 8:51 pm, แก้ไขทั้งหมด 26 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 23/12/2012 4:00 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,811. จับตา..."ส้มแมนดาริน" นำเข้าจากจีน ตีตลาดไทย








เมื่อเร็ว ๆ นี้เจ้าหน้าที่ สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร พร้อมเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ได้เข้าตรวจสอบห้องเย็นเก็บสินค้าผลไม้แถวย่านตลาดไทถึงกับตะลึงที่พบ “ส้มแมนดาริน” ซึ่งนำเข้าจาก
สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยผิดเงื่อนไขการนำเข้าตาม พ.ร.บ.กักพืช จำนวนมาก เนื่องจากพบผลส้มมีใบ
ติดมาด้วย ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า สินค้าส้มดังกล่าวมีการนำเข้าทางท่าเรือแหลมฉบัง โดย ผ่านพิธี
การทางศุลกากรแต่ไม่ได้แจ้งการนำเข้าที่ด่านตรวจพืช…ถือเป็นปัญหาสำคัญของประเทศที่น่าจับตาอย่าง
ยิ่ง หากไม่เร่งแก้ไขอนาคต “ส้มไทย” มีโอกาสเพลี่ยงพล้ำย่อยยับเป็นแน่

นายดำรงค์ จิระสุทัศน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ส้มแมนดารินเป็นสินค้าเกษตรชนิดหนึ่งที่ประเทศ
ไทยมีการนำเข้าจากสาธารณรัฐประชาชนจีนปริมาณมาก ภายใต้กรอบความร่วมมือเสรีทางการค้าระหว่างไทย-
จีน โดยจะมีการนำเข้ามากในช่วงระหว่างเดือนตุลาคม–กุมภาพันธ์ ซึ่งปีที่ผ่านมา ไทยได้นำเข้าส้มแมนดาริน
จากจีนผ่าน ด่านตรวจพืช ของกรมวิชาการเกษตร จำนวน 910 ครั้ง มีปริมาณ 26,560.82 ตัน คิดเป็น
มูลค่ากว่า 741.05 ล้านบาท จากการตรวจสอบการนำเข้าสินค้าดังกล่าว พบว่า มีการปฏิบัติที่ไม่เป็นไปตาม
เงื่อนไขในพิธีสารการนำเข้าผลไม้สดจากจีนมายังไทย โดยตรวจพบใบส้มติดปะปนมาในตะกร้าบรรจุสินค้ามาก
ถึง 244 ครั้ง ปริมาณ 5,952.05 ตัน มูลค่ากว่า 154.62 ล้านบาท

ปีนี้คาดว่าจะมีส้มแมนดารินจากจีนทะลักเข้ามาตีตลาดภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันก็มีปัญหาใบส้ม
ติดปะปนมากับสินค้าเป็นจำนวนมากด้วยเช่นกัน เนื่องจากมีผู้นำเข้าบางรายใช้วิธีสอดไส้ผลส้มที่มีใบรวมมาใน
ตู้คอนเทเนอร์เดียวกับส้มที่ตัดใบออกแล้ว ซึ่งหากเจ้าหน้าที่ด่านตรวจพืชตรวจพบใบส้มติดมากับสินค้า จะสั่ง
ให้ผู้นำเข้าทำการคัดแยกใบที่ติดมากับผลส้มออก แล้วเผาทำลายใบส้มทิ้ง และแจ้งตักเตือนผู้ประกอบการ
ก่อนอนุญาตให้นำส้มที่คัดแยกใบออกเรียบร้อยแล้วเข้ามาจำหน่ายในประเทศ แต่การนำเข้าครั้งต่อไปจะถูกสุ่ม
ตรวจสอบเข้มงวดมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะกรณีผู้นำเข้าที่มีประวัติการนำเข้าไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้

การนำเข้าส้มแมนดารินที่ไม่ผ่านการตรวจสอบจากด่านตรวจพืชมีปริมาณค่อนข้างมาก ซึ่งถือเป็นปัญหาสำคัญ
เนื่องจากใบส้มดังกล่าวอาจเป็นสาเหตุของการมีโรคและแมลงศัตรูพืชที่ไม่มีในประเทศไทยติดเข้ามาแพร่ระ
บาดก่อให้เกิดความเสียหายในแหล่งปลูกส้ม และพืชเศรษฐกิจอื่น ๆ ของไทย ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อเกษตร
กร เบื้องต้น กรมวิชาการเกษตร ได้ทำเรื่องแจ้งให้ กรมศุลกากร เคร่งครัดในการตรวจสอบเอกสารประกอบ
การนำเข้า และแจ้งให้ผู้นำเข้านำสินค้ามาผ่านการตรวจสอบเอกสาร และสุ่มตรวจสินค้าจากด่านตรวจพืชก่อน
ปล่อยสินค้าดังกล่าว เพราะเรื่องนี้ เป็นปัญหาระดับประเทศที่ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ให้ความสำคัญ
และมอบหมายให้แก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน

นายดำรงค์ กล่าวอีกว่า ขณะเดียวกันกรมวิชาการเกษตรยังได้ชี้แจงและสร้างความเข้าใจให้กับผู้ประกอบการ
ห้องเย็นในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งมีประมาณ 50 แห่งให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขการนำเข้า พร้อมกับ
เร่งประสาน ทูตเกษตร และ กงสุลเกษตร ที่จีนให้แจ้งไปยังกระทรวงควบคุมคุณภาพและตรวจสอบกักกัน
โรคแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (AQSIQ) ให้เร่งตรวจสอบและแก้ปัญหาใบส้มติดมากับผลส้มแมนดารินที่
ส่งออกมายังไทยให้ถูกต้อง และเป็นไปตามข้อกำหนดในพิธีสาร

’หากตรวจพบสินค้าส้มมีใบติดมาด้วย กรมวิชาการเกษตรจะชี้แจงให้ผู้ประกอบการได้ทราบถึงเงื่อนไขการนำ
เข้าส้มจากจีนพร้อมกับแจ้งเตือนให้ปฏิบัติให้ถูกต้อง โดยกรมวิชาการเกษตรจะส่งเจ้าหน้าที่มาสุ่มตรวจสอบ
สินค้าให้เข้มงวดขึ้น หากยังพบการกระทำที่ผิดเงื่อนไขการนำเข้าจะดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดต่อ
ไป” นายดำรงค์กล่าว

ทั้งนี้ ส้มแมนดารินซึ่งเป็น 1 ในผลไม้ 19 ชนิด ที่ไทยอนุญาตให้นำเข้าจากจีนได้ โดยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข
การนำเข้าภายใต้กรอบความร่วมมือ พิธีสารว่าด้วยข้อกำหนดด้านการกักกันโรคและการตรวจสอบสำหรับสินค้า
ผลไม้ที่ส่งออกจากจีนไปไทย และไทยไปจีน ซึ่งผลไม้ต้องปลอดจากศัตรูพืชควบคุม ไม่มีกิ่งใบและดินติดมา
รวมทั้งผู้ประกอบการต้องแจ้งการนำเข้าผ่านพิธีการศุลกากรก่อนแจ้งการนำเข้าผ่านด่านตรวจพืชเพื่อตรวจ
สอบเอกสารประกอบการนำเข้าและสุ่มตรวจตัวอย่างสินค้าให้ถูกต้อง.


http://www.dailynews.co.th/agriculture/166206
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 24/12/2012 5:25 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,812. ข้าวอินทรีย์กัมพูชา


[/url]



ข้าวอินทรีย์คืออะไร? ข้าวอินทรีย์เป็นชนิดของข้าวที่ชาวกัมพูชาเติบโตโดยไม่ต้องใช้สารเคมีและไม่ส่งผลกระทบต่อ
สุขภาพของมนุษย์ ประเทศเพื่อนบ้านมักจะใช้สารกำจัดศัตรูพืชที่จะฆ่าแมลงและสารเคมีเข้าไปในนาข้าวของพวกเขา
เพื่อให้ข้าวเติบโตอย่างรวดเร็วและมีการจัดการที่ดีของผลิตภัณฑ์

โดยวิธีการที่เกษตรกรส่วนมากกัมพูชาได้กลายเป็นใช้สารเคมีและได้เริ่มต้นใช้ปุ๋ยธรรมชาติเช่นปุ๋ยหมักเพราะมัน
จะช่วยให้ดินดีจากปีที่ปี นอกจากนี้เกษตรกรยังทำให้ปุ๋ยหมักด้วยตัวเอง

ชาวกัมพูชาจะขึ้นอยู่กับการเกษตรสามในสี่ของประชากร 14 ล้านในประเทศที่รายได้เฉลี่ยต่อวันน้อยกว่า 2 ดอลลาร์
สหรัฐทำให้ค่าใช้จ่ายที่มีประสิทธิภาพและมีสุขภาพดี, การทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ

ตามศูนย์ศิลปวัตถุ Etude et de Developpement Agricole Cambogien (CEDAC), r ผลผลิตต่อเฮกตาร์
น้ำแข็งสำหรับเกษตรกรที่ได้ไปอินทรีย์ได้เกือบสองเท่าและความต้องการเมล็ดพันธุ์ได้ลดลงโดย 70 ถึง 80 เปอร์เซ็นต์
ซึ่งหมายความว่าการเพิ่มขึ้นของรายได้ต่อเฮกตาร์เพื่อ $ 172 จาก $ 58, เป็นข้าวอินทรีย์ขายในพรีเมี่ยม

การทำเกษตรอินทรีย์ไม่ได้ จำกัด อยู่เพียงเพื่อนาข้าว เกษตรกรได้รับการสนับสนุนช่องน้ำฝนเพื่อการชลประทานการ
สร้างบ่อมากขึ้นและคลองซึ่งสามารถใช้เลี้ยงปลา. เป็นกัมพูชาที่ผ่านมาอย่างช้าๆใบสงครามแผลเป็นหลังและคน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองที่มีเงินสดมากขึ้นเพื่อสำรองไว้, ที่น่าสนใจคือ การเจริญเติบโตในชีวิตสุขภาพให้เพิ่มมาก
ขึ้นเพื่อการทำเกษตรอินทรีย์ รัฐบาลยังหวังประเทศในที่สุดจะมีความปลอดภัยมั่นคงในตลาดต่างประเทศที่ใส่ใจสุข
ภาพสำหรับอาหารอินทรีย์



โพสต์โดย khmerproduct




http://translate.google.co.th


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 07/01/2023 6:00 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 24/12/2012 5:35 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,813. กัมพูชา จะกลายเป็นหนึ่งในประเทศที่ส่งออกข้าว







กัมพูชาจะกลายเป็นหนึ่งในประเทศที่ส่งออกข้าวที่ 80% ของคนในการทำการเกษตรแบบตามอัตภาพอุตสาหกรรม
ตามที่รายงาน, กัมพูชายังคงมีสต็อกส่วนเกินไม่เกิน 2 ล้านตันของข้าวสำหรับการส่งออกในปี 2010

รัฐบาลของประเทศกัมพูชามีการตั้งค่านโยบายให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมการเกษตรโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการส่ง
ออกข้าวที่เกินดุลสต็อกสามารถใช้ได้ไม่เกิน 2 ล้านตันต่อปี

ลายเซ็นของเอเชียมีการกระทำที่จะก้าวเข้ามาในวงการโดยมีส่วนร่วมมาตรฐาน miller ข้าวและชาวนาบ้าน
สมาคมเพื่อสต็อกข้าวสำหรับความต้องการส่งออก ลายเซ็นของเอเชียที่ได้รับการก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมการเกษตร
ตั้งแต่ปี 2007 โดยการส่งเสริมและการกระจายปุ๋ยอินทรีย์ที่นำเข้าจากญี่ปุ่นโดยตรงให้กับเกษตรกรในการซื้อและ
กลับสต็อกข้าวของพวกเขา

ประการแรกลายเซ็นของเอเชียได้จัดหาข้าวให้บริโภคในประเทศและเริ่มต้นที่จะสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยว
กับความต้องการของตลาดส่งออกจากประเทศจีน, ฮ่องกง, ฮอลแลนด์, ฝรั่งเศส, โปแลนด์, เยอรมัน, รัสเซีย
และ Phillipine ........... ect . มันเป็นอีกขั้นที่เราประสบความสำเร็จในการส่งออกข้าวในปี 2010 ของเราและ
ทำให้เรากลายเป็นอันดับหนึ่งในสิบของผู้ส่งออกข้าวในประเทศกัมพูชาประจำปี 2010

ลายเซ็นของเอเชียมีการดำเนินงานภายใต้ปรัชญาสี่: [1] Hornest, [2] trustable, [3] มั่นใจ [4] ความมุ่งมั่น

พบกับหลักการเหล่านี้เราขอนำเสนอลูกค้าของเรามีความพึงพอใจและปราศจากกังวลในการจัดการและการทำสัญ
ญาของเราและเราเข้าใจสิ่งที่มันจะใช้เวลาจากใจของลูกค้าของเรา



โพสต์โดย khmerproduct ที่ 01:55 0 ความคิดเห็น



http://translate.google.co.th


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 07/01/2023 6:00 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 25/12/2012 5:37 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,814. การตรวจคุณภาพปุ๋ยหมักธรรมดา (ในต่างประเทศ)

รายละเอียดการประเมินคุณภาพปุ๋ยหมักอินทรีย์. (ในต่างประเทศ) ผลการวิเคราะห์มีความหมายอย่างไรต่อผู้ใช้

เนื่องจากการเจริญเติบโตและความต้องการสารอาหารของพืชนั้นมีไม่เท่ากัน ผู้ใช้ปุ๋ยหมักจะได้ประโยชน์จากข้อมูล
ชัดเจนที่บอกให้ทราบถึงองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์

ข้อมูลนี้สามารถใช้ปรับการใช้งานให้ดีขึ้นทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามต้องการเฉพาะเรื่องและเพื่อให้เหมาะสมกับ
สภาวะนั้นๆ ลักษณะเฉพาะของปุ๋ยหมักย่อมเป็นตัวกำหนดวิธีและการใช้ให้ได้ประโยชน์มากที่สุด ข้อมูลเรื่องคุณสม
บัติของปุ๋ยหมักจะช่วยให้ผู้ใช้ได้รับผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับโครงการหรือการใช้งานนั้นๆ




คุณภาพของปุ๋ยหมักที่ตรวจได้โดยตรง :
การวัดpH(พีเอช)คือการวัดความเป็นกรดหรือด่างของปุ๋ย หรือทางวิทยาศาสตร์หมายถึงไออ้อนของไฮโดรเจนที่มี
ฤทธิ์ต่อดินหรือปุ๋ยนั้นๆ (ตามมาตราวัดเป็นค่าล็อกกาลิทึม Logarithmic scale) สิ่งที่ควรทราบคือมาตราวัดกรดและ
ด่างเรียกว่า พีเอช (pH) มีช่วงตั้งแต่ 0-14 ถ้า พีเอช 7 แสดงว่าไม่มีฤทธิ์กรดหรือด่างจัดว่าเป็นกลาง เมื่อ พีเอช
เปลี่ยนไป 1 หน่วย หมายความว่าความเป็นกรดหรือด่างก็จะเปลี่ยนไป 10 เท่า ปุ๋ยหมักส่วนมากจะมี พีเอช อยู่ระหว่าง
6-8 (ห่างกัน 20 เท่า) พืชแต่ละชนิดอาจต้องการ พีเอช ไม่เท่ากันขึ้นกับปริมาณของปุ๋ยเท่าๆกับ พีเอช ของปุ๋ยที่ใช้

นอกจากนั้นปริมาณของปุ๋ยยังมีผลต่อ พีเอช ของดินหรือชนิดของดินที่ใช้ปลูก ดังนั้นการรู้ค่า พีเอช จึงเป็นเกณฑ์
กำหนดจำเป็นที่จะทำให้เราสามารถประเมินผลที่เกิดขึ้นได้ซึ่งก็จะมีผลต่อการบำรุงรักษาในทางปฏิบัติหรือการจัด
การในระบบนั้นๆ ความเป็นกรดด่างของดินก็จะปรับได้โดยการใช้วัสดุที่เป็นด่าง เช่น ปูนขาว (เพื่อเพิ่ม พีเอช ไปสู่
ความเป็นด่าง) และการใช้กำมะถัน (เพื่อลด พีเอช ไปสู่ความเป็นกรด) ถ้ามีการใช้สารปรับเป็นด่างในการผลิตปุ๋ย
หมักที่อยู่ในมือท่านหรือปรากฏในวัสดุที่เป็นแหล่งที่มาของปุ๋ยหมักนั้นก็จะเป็นความเหมาะสมมากน้อยตามการ
ใช้ประโยชน์โดยตรงของท่าน


ในประเทศไทยกำหนดไว้โดยกรมวิชาการเกษตร คือ 5.5-8.5 เกลือละลายน้ำได้ (ค่าการนำไฟฟ้า Electrical
Conductivity)


ปริมาณเกลือที่ละลายน้ำได้ในปุ๋ยหมักไม่สามารถตรวจหาได้โดยตรง แต่จะหาได้จากการวัดค่าการนำไฟฟ้าของเกลือ
ที่มีอยู่และปริมาณเกลือที่มีจะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับค่าการนำไฟฟ้าที่วัดได้ หน่วยที่ใช้วัดอาจเป็น mmhos/cm หรือ
dS/m ทั้งสองหน่วยจะมีค่าเท่ากัน ธาตุอาหารพืชสำคัญๆจะอยู่ในรูปของเกลือหลายชนิดในขณะที่เกลือละลายน้ำ
ได้บางชนิด (เช่น เกลือแกง) อาจเป็นอันตรายต่อพืชมาก แต่ปุ๋ยหมักส่วนใหญ่ไม่มีเกลือประเภทนี้ในระดับที่สูงพอ
จะให้อันตรายต่อพืชได้ พืชหลายชนิดมีความสามารถพิเศษในการทนต่อฤทธิ์เกลือและปริมาณที่ทนได้สูงสุดเป็นที่ทราบ
กัน เกลือที่ละลายได้ในปริมาณที่เกินพอสามารถเป็นอันตรายต่อพืชได้ ปุ๋ยหมักอาจมีส่วนในการเพิ่มหรือลดความ
เข้มข้นของสารละลายเกลือที่มีอยู่ในดินหรือสารเพาะปลูกใช้แทนดิน การลดปริมาณเกลือละลายน้ำได้ในปุ๋ยลงสา
มารถกระทำได้โดยการใช้น้ำมากๆ ขณะทำการเพาะปลูก ปุ๋ยหมักส่วนมากมีเกลือดังกล่าวจากการวัดค่าการนำไฟฟ้า
จะอยู่ที่ 1.0-10.0 dS/m ส่วนค่าการนำไฟฟ้าของดินทั่วๆไปจะอยู่ที่ 0-1.5 dS/m


ปัจจุบันโดยพระราชบัญญัติปุ๋ย (ฉะบับที่ 2) พ ศ 2550 กำหนดค่าการนำไฟฟ้า (EC) ไว้ ไม่เกิน 10 เดซิซีเมนส์ ต่อ
เมตร ปริมาณเกลือแกง (โซเดียมคลอไรด์ NaCl) ไม่เกินร้อยละ 1 โดยน้ำหนัก

ธาตุอาหารที่เป็นองค์ประกอบของปุ๋ย (Nutrient Content N-P-K) ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P)
แสดงในรูปของ P2O5 และโปแตสเซี่ยม (K) แสดงในรูป (K2O) เป็นธาตุอาหารที่พืชใช้ในปริมาณมากที่สุด
จึงพบธาตุอาหารเหล่านี้ในปุ๋ยเคมีทางการค้าบ่อยมาก ในปุ๋ยเคมี 1 ถุง ธาตุทั้งสามตัวนี้จะได้รับการตรวจสอบและ
แสดงให้ทราบปริมาณน้ำหนักแห้งไว้ข้างถุงเป็นเปอร์เซ็นต์ต่างๆ

ในปุ๋ยหมักธาตุอาหารที่เป็นองค์ประกอบของปุ๋ยอาจแสดงให้เห็นในลักษณะแห้งหรือเปียก (เมื่อส่งตรวจ) การรู้องค์
ประกอบเหล่านี้จะช่วยให้ท่านตัดสินใจได้ถูกต้องว่าควรจะเติมปุ๋ยให้ต้นไม้เท่าใด แม้ว่าความเข้มข้นของธาตุอาหารที่
มีในปุ๋ยหมักโดยธรรมชาติจะไม่สูงเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์ปุ๋ยเคมีส่วนมาก โดยปกติปุ๋ยหมักต้องใช้ในปริมาณมากกว่า
ปุ๋ยเคมี จึงจะเห็นผลเมื่อเกิดปริมาณสะสมอย่างมีนัยสำคัญ

ธาตุอาหารของปุ๋ยหมักจะมีค่าแตกต่างกันอย่างกว้างๆอย่างไรก็ดีตัวกากชีวภาพและมูลสัตว์ที่ใช้ในการผลิตจะมีธาต
อาหารโดยรวมมากกว่าปุ๋ยเคมี การใช้ปุ๋ยหมักบางชนิดอาจลดความจำเป็นในการใช้ปุ๋ยเคมีต่อพืชบางชนิดลงได้ตั้งแต่
6-12 เดือน โดยทั่วไปธาตุอาหารที่พบในปุ๋ยหมักจะอยู่ในรูปของสารอินทรีย์ ดังนั้นจึงปลดปล่อยธาตุอาหารอย่าง
ช้าๆ เมื่อปุ๋ยนั้นเริ่มย่อยสลาย นอกจากนั้น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแตสเซี่ยม แคลเซี่ยม แมกเนเซี่ยม จะถูก
แสดงไว้ให้ทราบตามผลการตรวจสอบของทางการ


ในประเทศไทยกำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติปุ๋ย พ ศ 2550 ปริมาณไนโตรเจน (Total Nitrogen) ต้องไม่
น้อยกว่าร้อยละ 1.0 ของน้ำหนักฟอสเฟตทั้งหมด (Total P2O5) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 0.5 ของน้ำหนักโปแตช
ทั้งหมด (Total K2O) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 0.5 ของน้ำหนัก



อินทรีย์วัตถุ หรือ OM (ORGANIC MATTER) :
องค์ประกอบที่เป็นอินทรีย์วัตถุหรือ OM (ORGANIC MATTER) คือ ปริมาณวัตถุที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบในปุ๋ย
หมัก องค์ประกอบอินทรีย์วัตถุจะแสดงเป็น % ในลักษณะของน้ำหนักแห้ง อินทรีย์วัตถุเป็นองค์ประกอบสำคัญในดิน
ทุกชนิดและมีบทบาทสำคัญในการให้โครงสร้างแก่ดิน ธาตุอาหารพร้อมใช้ และความสามารถในการอุ้มน้ำ

การมีความรู้ในเรื่องปริมาณอินทรีย์วัตถุในผลิตภัณฑ์เป็นประโยชน์ในการคำนวนอายุ คุณสมบัติทางกายภาพของปุ๋ย
นั้นๆ นอกจากนั้นยังอาจเป็นสิ่งจำเป็นในการตัดสินใจถึงอัตราการใช้ปุ๋ยในบางงานเกษตรกรรมเช่นการสร้างสนาม
หญ้า หรือเพื่อผลผลิตทางการเกษตรบางชนิด ในการใช้เหล่านี้เครื่องมือตรวจสอบดินขนาดเล็กมักจะถูกนำมาใช้เพื่อ
ตัดสินอัตราการใช้อินทรีย์วัตถุ (OM) อย่างถูกต้อง อย่างไรก็ดีอัตราการใช้นี้จะกำหนดจำเพาะลงไปว่าเป็นปริมาณอิน
ทรีย์วัตถุจำเป็นต่อ 1 เอเคอร์ (2 ไร่ครึ่ง) เป็นหลัก ดังนั้นปริมาณอินทรีย์วัตถุของปุ๋ยหมักจึงต้องรู้เพื่อผู้ใช้จะสามารถ
เปลี่ยนอัตราการใช้ตามที่ได้รับคำแนะนำไปสู่การใช้งานที่อยู่ในรูปแบบที่สามารถใช้ให้เกิดประโยชน์ในแต่ละงานได้
เช่น ตัน/เอเคอร์ เป็นต้น ไม่มีองค์ประกอบอินทรีย์วัตถุในปุ๋ยหมักใดๆ จะคงที่แต่อาจผันแปรได้อย่างกว้างๆตั้งแต่
30% ถึง 70%

ในประเทศไทยตามพระราชบัญญัติ ปี 2550 ปริมาณอินทรีย์วัตถุรับรอง (OM) ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20 ของน้ำหนัก



เปอร์เซนต์ความชื้น (MOISTURE PERCENT) :
เปอร์เซนต์ความชื้นคือการวัดปริมาณน้ำที่ปรากฏอยู่ในผลิตภัณฑ์ปุ๋ยหมักนั้นๆแสดงเป็นเปอร์เซนต์ต่อน้ำหนักทั้งหมด
ความชื้นของปุ๋ยหมักจะมีผลต่อความหนาแน่นของเนื้อปุ๋ย (น้ำหนักต่อหน่วยปริมาตร)นอกจากนั้นยังมีผลต่อการจับ
ต้องโดยผู้ใช้และการขนส่ง ปุ๋ยหมักที่แห้งเกินไป (ความชื้น 35% หรือน้อยกว่า) จะมีลักษณะเป็นฝุ่นระคายเคือง
ต่อการใช้งาน ส่วนที่มีความชื้น (55-60%) จะมีน้ำหนักมากและเทอะทะทำให้การใช้งานยากการขนส่งต้องสิ้น
เปลืองมากขึ้น เปอร์เซนต์ความชื้นที่เหมาะสมสำหรับปุ๋ยหมักครบกำหนด คือ 40-50%

สำหรับประเทศไทย โดยกรมวิชาการเกษตรกำหนดความชื้นไว้ต่ำมาก คือที่ 30% ซึ่งถือว่าเป็นการเหมาะสมอย่างยิ่ง
สำหรับปุ๋ยหยาบได้แก่ปุ๋ยคอกมูลสัตว์ใหญ่ เช่น ช้างม้าวัวควายหมูไก่ ฯลฯ และปุ๋ยหมักไม่ครบกำหนด เพระเป็นเพียง
วัตถุดิบที่ยังไม่ได้ผ่านขั้นตอนการหมักหรือการย่อยสลายที่สมบูรณ์ (complete compost or mature compost)



ขนาดของเนื้อปุ๋ย (PARTICLE SIZE) :
วิธีวัดขนาดของเนื้อปุ๋ยและแสดงผลให้ทราบนั้นถือหลักเนื้อปุ๋ยครบกำหนดเป็นเกณฑ์ การแจ้งให้ทราบเพียงแต่บอก
ขนาดใหญ่สุดของผลผลิตหรือขนาดของตะแกรงล่อนที่เนื้อปุ๋ยผ่านได้ก็เพียงพอ อย่างไรก็ดีสำหรับการใช้ประโยชน์ เช่น

ผลิตเพื่อใช้ทำสนามกอล์ฟผสมหรือหรือดินกระถางสำหรับปลูกต้นไม้ การกระจายตัวของปุ๋ยต้องเป็นไปอย่างทั่วถึง
เท่าๆกัน การกระจายตัวตามขนาดของเนื้อปุ๋ยจะช่วยบอกปริมาณปุ๋ยหมักที่ตรงตามช่วงขนาดเนื้อปุ๋ยเฉพาะงาน โดย
การใช้ตะแกรงร่อนชุดในการคัดกรองขนาดจำเพาะของเนื้อปุ๋ย ขนาดเนื้อปุ๋ยของผลิตภัณฑ์ไดๆอาจช่วยบอกประ
โยชน์ใช้งานในการใช้เฉพาะเรื่อง เช่น ปุ๋ยหมักที่มีขนาดเนื้อปุ๋ยใหญ๋มากที่สุดตั้งแต่ 1/2 นิ้ว หรือมากกว่านั้นไม่อาจ
ใช้เป็นปุ๋ยหน้าดินสำหรับสนามหญ้าได้ แต่พวกที่มีขนาดใหญ่สุด 1/4 ถึง 3/8 นิ้ว (0.25-0.375 นิ้ว) หรือน้อย
กว่านั้นจัดว่าใช้ได้ ปุ๋ยหมักส่วนใหญ่ที่ใช้เป็นตัวบำรุงดินจะต้องผ่านแร่งหรือตะแกรงขนาด (0.375-0.5 นิ้ว) ใน
ประเทศไทยขนาดเนื้อปุ๋ยต้องไม่เกิน 12.5 x 12.5 มิลลิเมตร หรือ 1.25 x 1.25 เซ็นติเมตร ถ้าคิดเป็นนิ้ว คือ
0.495 นิ้ว หรือเกือบ 1/2 นิ้ว



ชีวะวิเคราะห์หรือการครบกำหนด (MATURITY หรือ BIOASSAY) :
การครบกำหนดคือองศาหรือระดับของการทำปุ๋ยหมักที่สมบูรณ์ การครบกำหนดของปุ๋ยไม่สามารถบรรยายให้ทราบ
ได้ด้วยคุณสมบัติเชิงเดี่ยว ดังนั้น การครบกำหนดของปุ๋ยจะตัดสินได้ดีที่สุดโดยการวัดคุณสมบัติของปุ๋ยตั้งแต่สองอย่าง
ขึ้นไป ปุ๋ยที่ไม่ครบกำหนดบางชนิดอาจมีแอมโมเนียอิสสระ หรือแกสแอมโมเนียในปริมาณมาก กรดอินทรีย์บาง
ชนิดหรือสารประกอบละลายน้ำได้อื่นๆ ซึ่งจะสามารถจำกัดการงอกของเมล็ดพันธุ์และการขยายตัวของรากหรือทำให้
เกิดกลิ่นเหม็น ประโยชน์ทั้งหมดของปุ๋ยหมักจะเกิดได้ต่อเมื่อต้องเป็นผลผลิตที่ปลอดสารพิษที่อาจเป็นอันตรายต่อพืช
การวิเคราะห์ทางชีวะภาพที่ใช้อยู่ในสำนักงานของรัฐจะใช้การงอกของเมล็ดพันธุ์และการทดสอบการเจริญเติบโต
ของพืชเพื่อวัดเปอร์เซนต์การงอกของเมล็ดพันธุ์และความแข็งแรงของพืชที่งอกจากเม็ดพันธุ์เปรียบเทียบ

ในประเทศไทยเรียกว่าการย่อยสลายที่สมบูรณ์ (หรือ Germination Index) ทางราชการกำหนดให้ไม่ต่ำกว่า 80 %



การคงสภาพของปุ๋ยหมัก (STABILITY หรือ RESPIROMETRY) :
การคงสภาพหรือเสถียร หมายถึง สถานะภาพหรือสภาวะจำเพาะในการเน่าเปื่อยของสารอินทรีย์ระหว่างการทำปุ๋ยหมัก
ซึ่งสัมพันธกับชนิดของซากสารประกอบอินทรีย์และผลของฤทธิ์ทางชีวะภาพที่เกิดขึ้นในสารนั้น การคงสภาพของ
สารใดๆเป็นสิ่งสำคัญในการกำหนดผลกระทบแฝงของสารที่ให้ไนโตรเจนพร้อมใช้ในดินหรือสารที่ใช้แทนดินและยัง
รักษาขนาดได้ไม่เปลี่ยนแปลงรวมทั้งความโปร่งอากาศในสารแทนดินที่ใช้เพื่อการเพาะปลูก ประโยชน์ส่วนใหญ่ของปุ๋ย

หมักจะได้จากผลิตภัณฑ์ที่เสถียรหรือเสถียรมากเพื่อจะช่วยป้องกันการตรึงธาตุอาหารและช่วยรักษาหรือเพิ่มอ๊อกซิเจน
พร้อมใช้ลงสู่ดินหรือสารใช้แทนดินเพื่อการเพาะปลูก

สามารถตรวจวัดได้จากค่า C/N RATIO หรือที่รู้จักกันดีในภาษาไทยว่า ซี/เอน เรโช ในประเทศไทยกำหนดโดย
ทางราชการไว้ดังนี้

อัตราส่วน คาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N) ไม่เกิน 20/1

(**ข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่อง ซี/เอน เรโช จากเรื่อง ชนิดต่างๆ ของฮิวมัสในดิน (Types of Humus in Soil) แบ่งตาม
รูปลักษณะภายนอกและองค์ประกอบย่อยได้ ดังนี้
1. มอร์ฮิวมัส (Mor Humus) ซี/เอน เรโช มากกว่า 20 หรืออาจถึง 30-40 และมีความเป็นกรด
2. โมเดอร์ฮิวมัส (Moder Humus) มี ซี/เอน เรโช ตั้งแต่ 15-25 ยังไม่เสถียรมีความเป็นกรด
3. มัลล์ ฮิวมัส (Mull Humus) มี ซี/เอน เรโช ใกล้ 10 มีฤทธิ์เป็นกลางเกิดสารเชิงซ้อนอินทรีย์-แร่ที่เสถียร



วัตถุไม่ออกฤทธิ์ (INERT) :
วัตถุไม่ออกฤทธิ์ที่เกิดจากมนุษญ์ปรากฏปะปนอยู่ในธารของเสียซึ่งใช้ลำเลียงขยะเข้าสู่กระบวนการหมักประกอบด้วย
วัตถุประเภท ผ้า แก้ว ปลาสติค และโลหะต่างๆ เมื่อเข้าสู่ขบวนการหมักวัตถุเหล่านี้จะไม่ถูกย่อยสลายแต่อาจเสื่อม
สภาพตามคุณสมบัติทางกายภาพเบื้องต้นจะมีการลดขนาดลง วัสดุเหล่านี้สามารถลดคุณค่าของปุ๋ยหมักที่ครบกำหนด
ได้เพราะไม่ได้ก่อประโยชน์ใดๆต่อปุ๋ยหมักและในหลายกรณีทำให้เป็นที่น่ารังเกียจ วิธีทั่วไปที่ใช้ควบคุมวัสดุประเภท
นี้ คือ ลดการปล่อยเข้าสู่ธารของเสียเพื่อการทำปุ๋ยหมักการควบคุมจะประสพความสำเร็จได้โดยผ่านการแยกตั้ง
แต่แหล่งที่มาระหว่างมีการปรับสภาพของเสียที่หน่วยทำการหมักหรือระหว่างปรับปรุงสภาพปุ๋ยหมักในตอนสุดท้าย
(เช่น การร่อนหรือวิธีการแยกวิถีโค้ง Ballistic Separation) ส่วนวัสดุเฉื่อยธรรมชาติได้แก่ กรวด หิน เศษไม้
ซึ่งอาจพบได้ในปุ๋ยหมักจัดว่าไม่เหมาะสมเช่นกัน

ในประเทศไทยตามพระราชบัญญัติปุ๋ย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2550 กำหนดไว้ดังนี้
ขนาดของปุ๋ย ไม่เกิน 12.5 X 12.5 มิลลิเมตร
ปริมาณหิน กรวด ขนาดตั้งแต่ 5 มิลลิเมตรขึ้นไป ไม่เกินร้อยละ 2 ของน้ำหนัก
จุลธาตุหรือธาตุโลหะหนัก Trace Metal
จุลธาตุเป็นธาตุที่ต้องได้รับการควบคุมเนื่องจากอาจเป็นภัยต่อมนุษย์ สัตว์และพืชได้


ข้อบังคับควบคุมจุลธาตุในปุ๋ยหมักที่ได้จากแหล่งวัตถุดิบบางชนิดได้ถูกประกาศใช้เป็นทางการ (ในต่างประเทศ) แล้ว
ข้อจำกัดที่คล้ายคลึงกันได้ถูกนำมาช้เพื่อปุ๋ยเคมีและผลผลิตจากภาคการเกษตรด้วยเช่นกัน จุลธาตุจำเพาะหมาย
ถึงธาตุโลหะหนัก ดังต่อไปนี้
1. สารหนู (Arsenic)
2. แคดเมี่ยม (Cadmium)
3.โครเมี่ยม (Chromium)
4. ทองแดง (Ccpper)
5. ตะกั่ว (Lead)
6. ปรอท (Mercury)
7. โมลิบดินั่ม (molybdenum)
8. นิกเกิล (Nickel)
9. เซลเลเนี่ยม (Selenium)
10. สังกะสี (Zinc)

ปริมาณธาตุเหล่านี้จะถูกตรวจได้จากน้ำหนักแห้งและแสดงผลเป็น มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม mg/kg

หรือใช้คำย่อว่า ส่วนต่อล้าน (parts per million หรือ ppm) ธาตุเหล่านี้หลายตัวเป็นที่ต้องการของพืชเพื่อการ
เจริญเติบโตตามปกติแม้จะในปริมาณที่เล็กน้อยมากก็ตาม ดังนั้นการตรวจหาความเข้มข้นของธาตุเหล่านี้เช่นเดียว
กับธาตุอาหารพืชอื่นๆ จะช่วยให้ได้ข้อมูลเพื่อดำเนินการเพาะปลูกอย่างเห็นผลตรงกับความต้องการปุ๋ยของพืชและ
อัตราการใช้ปุ๋ยในครั้งต่อๆไป ธาตุโลหะหนักและจุลธาตุบางชนิดเป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นภัยต่อพืช (เมื่ออยู่ในรูปพร้อม
ใช้ปริมาณมากๆ) และพืชบางชนิดก็ไวต่อความเป็นพิษนี้มากกว่าพืชชนิดอื่นๆ ธาตุเหล่านี้ได้แก่ โบรอน แมงกานีซ
โมลิบดินั่ม นิกเกิล และเซเลเนี่ยม อย่างไรก็ดี ธาตุเหล่านี้ตรวจไม่พบในปริมาณที่เป็นพิษต่อพืชในปุ๋ยหมักที่ดำเนิน
กรรมวิธีอย่างถูกต้อง ดังนั้น ปุ๋ยหมักทุกชนิดที่ใช้วัตถุดิบตามกำหนดย่อมเป็นไปตามมาตรฐานแห่งชาติและรัฐเพื่อ
ออกสู่ตลาดได้

ในประเทศไทยตามพระราชบัญญัติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2550 ไม่ได้กล่าวถึงปริมาณที่ชัดเจนดังนี้

ปริมาณสารเป็นพิษไม่เกินกว่าที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามประกาศพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ.2518 มีดังนี้
1. สารหนู (Arsenic) ไม่เกิน 50 มก./กก.
2. แคดเมี่ยม (Cadmium)ไม่เกิน 5 มก./กก.
3. โครเมี่ยม (Chromium)ไม่เกิน 300 มก./กก.
4. ทองแดง (Copper) ไม่เกิน 500 มก./กก.
5. ตะกั่ว(Lead) ไม่เกิน 500 มก./กก.
6. ปรอท (Mercury) ไม่เกิน 2 มก./กก.




จุลินทรีย์ก่อโรคและเมล็ดพันธุ์วัชพืช (Pathogens and Weed Seed) :
จุลินทรีย์ก่อโรค คื อจุลินทรีย์หลายชนิดที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคได้แก่ เชื้อแบคทีเรีย (Bacteria) ไวรัส (Viruses)
รา (Fungi) พยาธิ์ไส้เดือน (Helminthsอยู่ใน Phyla -Platyhelminthes) (แตกต่างจากไส้เดือนดิน-Earthworm
อยู่ใน Phyla--Annelida) และโปรโตซัว (Protozoa) ได้แก่สัตว์เซลล์เดียวทั้งหลายทั้งที่ดำรงค์ชีวิตเดี่ยว
หรือรวมกลุ่ม เช่น แอมมีบ้า (Ameba) ซึ่งอาจมีปรากฏอยู่ในขยะดิบหรือผลิตผลที่เกิดจากขยะดิบ ทั้งจุลินทรีย์ก่อ
โรคในมนุษย์และพืชพบอยู่ในสิ่งมีชีวิตทั่วๆไปและปรากฏอยู่ในสิ่งแวดล้อมของมันด้วยในระดับใดระดับหนึ่ง

ดังนั้นกระบวนการทำปุ๋ยหมักต้องขจัดหรือลด จุลินทรีย์ก่อโรคให้อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าระดับอันตรายอันจะก่อ
ให้เกิดการแพร่โรคได้ เมล็ดพันธุ์วัชพืชและจุลินทรีย์ก่อโรคจะถูกทำให้หมดฤทธิ์หรือถูกทำลายโดยอุณหภูมิ
ที่เพิ่มขึ้นในช่วงระยะเวลาหนึ่งของกระบวนการทำปุ๋ยหมัก ความสัมพันธ์ระหว่างเวลาและอุณหภูมิที่ใช้ในกระ
บวนการนี้ย่อมเป็นที่แน่ใจได้ว่า จุลินทรีย์ก่อโรคในพืชและมนุษย์จะถูกทำลายได้และถือได้ว่าเป็นวิธีที่มีประสิทธิ
ภาพในการกำหนดโดยอนุโลมว่าปุ๋ยหมักปลอดวัชพืช



แปลและเรียบเรียงจากเรื่อง การประเมินคุณภาพปุ๋ยหมักโดยสภาการทำปุ๋ยหมักสหรัฐฯ
EVALUATING COMPOST
QUALITY BY U.S. COMPOSTING COUNCIL


ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
ผู้ลงบทความ : ประวิศ



http://www.weloveshopping.com/template/e1/show_article.php?qid=31669&shopid=26601
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 26/12/2012 2:34 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,815. เงาะพันธุ์ใหม่ต้อง"สีเหลือง"





เมื่อวันพุธที่แล้วได้พูดถึงทุเรียนพันธุ์โบราณ ที่บางคนอาจเข้าใจว่าได้สูญพันธุ์ไปแล้ว ที่จริงในศูนย์วิจัยพืชสวน
จันทบุรี ที่ ต.ตะปอน อ.ขลุง จ.จันทบุรี ได้รวบรวมพันธุ์ทุเรียนพันธุ์โบราณจากทั่วประเทศมาตั้งแต่ปี 2510
ปัจจุบันเป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์ทุเรียนมากที่สุดในไทยถึงทั้งสิ้น 508 สายพันธุ์ครับ



เมื่อพูดถึงผลไม้พันธุ์โบราณที่หายากแล้ว ก็ต้องพูดถึงผลไม้พันธุ์ใหม่บ้าง ใหม่ชนิดถอดด้าม "เงาะ" เป็นเงาะ
สายพันธุ์ใหม่ "พลิ้ว 6" ที่นักวิชาการศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี กรมวิชาการเกษตร อีกนั่แหละ ที่ได้วิจัยพัฒนา
สายพันธุ์ขึ้นมา

"พลิ้ว 6" หากดูผิวนอกไม่น่าสนใจครับ บางคนอาจคิดว่าเงาะยังไม่สุก เพราะลักษณะเป็นผิวเลือกสีเหลือง แต่พอ
ปลอกเปลือก เอาเนื้อเงาะสีขาวเข้าใส่ปากแล้วละก็ เชื่อว่า ถ้าเป็นคนชื่นชอบการบริโภคผลไม้จะตอบเสียงเดียว
กันว่า "อร่อยมาก" และอร่อยมากๆๆ ด้วย

เท่าที่จำความได้ เงาะที่อร่อยมีไม่กี่ชนิด อย่างสมัยเด็กที่ผมชอบคือพันธุ์ "เจ๊ะมง" นิยมปลูกในพื้นที่ 5 จังหวัด
ชายแดนภาคใต้ เงาะชนิดนี้เปลือกหนา ผลยาวใหญ่กว่าเงาะโรงเรียน ผลสุกสีแดงสด ขนยาว เนื้อเป็นทราย
รสชาติหวาน กรอบอร่อยมาก ตอนหลังเงาะพันธุ์โรงเรียนมาแรง ให้ผลผลิตดี ชาวสวนหันมาปลูกพันธุ์โรงเรียน
แทน ตอนนี้ไม่เคยเห็น "เงาะเจ๊ะมง" เป็นสิบๆ ปีแล้ว

เงาะนั้นเป็นไม้ผลเมืองร้อน มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินโดนีเซีย และมาเลเซีย เจริญเติบโตได้ดีในบริเวณที่มี
ความชื้นค่อนข้างสูง บ้านเราจึงนิยมปลูกในบริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้ ที่เคยเห็นๆ กันคือ พันธุ์สีทอง
พันธุ์น้ำตาลกรวด พันธุ์สีชมพู พันธุ์โรงเรียน และพันธุ์เจ๊ะมง เป็นต้น แต่ที่ปลูกเป็นเชิงพาณิชย์นิยมกันแค่ 3
พันธุ์ คือ พันธุ์โรงเรียน พันธุ์สีทอง และพันธุ์สีชมพู

เงาะพันธุ์พลิ้ว 6 ไม่ใช่เงาะสีทองครับ เป็นเงาะพันธุ์ใหม่ ที่ คุณอลงกต กลิ่นขจร นักวิชาการเกษตร ศูนย์วิจัย
พืชสวนจันทบุรี บอกว่า เป็นเงาะลูกผสมของพันธุ์พื้นเมืองน้ำตาลทรายกรวดกับพันธุ์สีทอง ผลที่ออกมาเปลือก
ผลสีเหลือง เนื้อขาว รสชาติหวาน กรอบ อร่อยมาก และดูเหมือนว่า จะอร่อยกว่าเงาะโรงเรียน และพันธุ์เจ๊ะมง
อีกด้วย

คุณอลงกต บอกว่า ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรีได้ทำการวิจัยพัฒนาสายพันธุ์ใหม่ๆ มากว่า 10 ปีแล้ว เพื่อหาสาย
พันธุ์ใหม่ที่เหมาะกับแต่ละพื้นที่ ถึงตอนนี้ได้พันธุ์ใหม่มาทั้ง 8 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์พลิ้ว จนถึงพลิ้ว 8 แต่ที่
อร่อยที่สุดและดีที่สุดตอนนี้คือ "พลิ้ว 6" นั่นเอง

ตอนนี้พลิ้ว 6 ยังไม่มีขายในท้องตลาด แต่ได้แจกกิ่งพันธุ์ให้ชาวบ้านบ้างแล้ว คงอีกไม่นานน่าจะมีขายในท้อง
ตลาดบ้าง

ตามที่สมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทยจัดทริปไปตะลุยชมสวน 6 แห่งในภาคตะวันออก จะพาไปชิม
เงาะพันธุ์ "พลิ้ว 6" และทุเรียนโบราณ ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรีด้วย สนใจสอบถามได้ที่ 0-2940-5426-7

"ดลมนัส กาเจ"



http://www.komchadluek.net


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 07/01/2023 6:01 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 04/01/2013 3:58 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,816. 10 อันดับผลไม้ยอดนิยมของคนญี่ปุ่น



อันดับ 10
Tochiotome (とちおとめ) สตรอเบอร์รี่จากจังหวัด Tochigi จังหวัดที่ปลูกสตรอเบอร์รี่มากที่สุด
ในญี่ปุ่น จุดเด่นของ Tochiotome คือ เป็นสตรอเบอร์รี่ผลใหญ่ที่มีความหวานกำลังดี วางจำหน่ายตั้งแต่เดือพฤศจิกายน
ถึงเดือนพฤษภาคม ของทุกปี






อันดับ 9
Melon (メロン) จากจังหวัด Ibaraki จังหวัดที่ปลูกเมล่อนมากที่สุดในญี่ปุ่น โดยมีสัดส่วนประมาณ 23%
ของผลผลิตของเมล่อนทั้งประเทศ พันธุ์ที่มีชื่อเสียงก็ได้แก่ Andesu Melon (アンデスメロン) และ Quincy Melon (クインシーメロン)
เมล่อนของจังหวัด Ibaraki มีจุดเด่นอยู่ที่ความหวานและความหอม เคล็ดลับในการรับประทานเมล่อนให้อร่อยก็คือ ให้
เก็บเมล่อนไว้ในอุณหภูมิห้องโดยที่ไม่ต้องแช่เย็นก่อน เมื่อต้องการจะรับประทานแล้วจึงค่อยเอาไปแช่ตู้เย็นก่อนรับประ
ทานประมาณ 2-3 ชั่วโมง วางจำหน่ายตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงเดือนกรกฏาคม





อันดับ 8
Apple (りんご) จากจังหวัด Nagano จังหวัดที่ผลิตแอปเปิ้ลได้มากเป็นอันดับ 2 ของประเทศ
ญี่ปุ่น (อันดับ 1 คือ จังหวัด Aomori) สำหรับแอปเปิ้ลพันธุ์ที่มีชื่อเสียงของจังหวัด Nagano คือ Tsugaru (つがる) และ
Fuji (ふじ) คนญี่ปุ่นนิยมรับประทานแอปเปิ้ลกันมากเนื่องจากเป็นผลไม้ที่ดีต่อสุขภาพ ช่วยลดคลอเลสเตอรอล ลดความ
ดัน และยังช่วยบำรุงหัวใจด้วย แอปเปิ้ลของจังหวัด Nagano นั้นจะมีช่วงการเก็บเกี่ยวตั้งแต่เดือนกันยายน ถึงเดือนมกราคม





อันดับ 7
Momo (もも) ลูกพีชจากจังหวัด Fukushima จังหวัดซึ่งผลิตลูกพีชได้เป็นอันดับ 2 ของญี่ปุ่น
ลูกพีชเป็นผลไม้ในฤดูร้อน คือช่วงเดือนกรกฏาคมถึงเดือนตุลาคม นิยมทำเป็นน้ำผลไม้แช่เย็นดื่ม หรือนำไปปรุง
เป็นขนมหวานประจำฤดูร้อนต่าง ๆ มากมาย





อันดับ 6
Yamagata Sakuranbo (山形のさくらんぼ) เชอร์รี่จากจังหวัด Yamagata จังหวัดซึ่งผลิตเชอร์รี่
ได้มากที่สุดของญี่ปุ่น ลูกเชอร์รี่นั้นถ้าเก็บจากต้นแล้วจะต้องรีบรับประทานภาย 2-3 วัน เพราะถ้าเก็บไว้นานเกินไปจะทำ
ให้ความหวานลดน้อยลง (ถ้ารับประทานวันที่เก็บมาจากต้นได้ก็นับว่าดีที่สุด) เนื่องจากเป็นผลไม้ที่มีหน้าตาน่ารัก สีสัน
สดใส และหารับประทานได้แค่ในช่วงสั้น ๆ คือแค่ช่วงเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนกรกฏาคม เท่านั้นเชอร์รี่จึงเป็นผลไม้ที่
เป็นที่นิยมสำหรับคนญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก





อันดับ 5
Yamanashi Sakuranbo (山梨のさくらんぼ) เชอร์รี่จากจังหวัด Yamanashi จังหวัดที่ผลิต
เชอร์รี่ได้เป็นลำดับที่ 4 ของประเทศ จุดเด่นของเชอร์รี่ของจังหวัด Yamanashi นั้นอยู่ที่ผลที่มีความแวววาว และความ
ชุ่มฉ่ำของเนื้อเชอร์รี่ และเนื่องจากเชอร์รี่เป็นผลไม้ที่ต้องรีบรับประทานเมื่อเก็บมาจากต้น และด้วยระยะทางของจังหวัด
Yamanashi ซึ่งอยู่ใกล้เมืองใหญ่อย่าง Tokyo มากกว่า ทำให้เชอร์รี่จากจังหวัด Yamanashi ส่งถึงมือผู้บริโภคได้
ในขณะที่ยังสดใหม่อยู่





อันดับ 4
Kanjuku Mango (完熟マンゴー) มะม่วงสุก เป็นผลไม้ขึ้นชื่อของจังหวัด Miyazaki มะม่วง
ที่มีคุณภาพนั้นจะต้องมีน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 350 กรัม และมีความหวานมากกว่า 15 (ระดับการวัดความหวาน) และเนื่อง
จากมะม่วงของญี่ปุ่นนั้นมีเปลือกสีแดง ดังนั้นถ้ามะม่วงผ่านเกณฑ์ดังกล่าว จะเรียกว่า “Taiyou No Tamago : 太陽の卵”
คำแปลก็คือ “ไข่ของพระอาทิตย์” เป็นผลไม้ที่มีราคาแพง นิยมทานสุก และนิยมนำไปเป็นส่วนผสมของเค้กและเยลลี่ด้วย
วางจำหน่ายช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฏาคม





3 Momo
(もも) ลูกพีชจากจังหวัด Yamanashi จังหวัดซึ่งผลิตลูกพีชได้มากเป็นอันดับ 1 ของประเทศ
ญี่ปุ่น จุดเด่นของลูกพีชของจังหวัด Yamanashi อยู่ที่ความชุ่มฉ่ำ หอม หวาน และความนุ่มละมุนของผลลูกพีช และ
ลูกพีชของ Yamanashi จะมีฤดูเก็บเกี่ยวที่สั้นมากคือช่วงเดือนกรกฏาคมและสิงหาคมเท่านั้น





อันดับ 2
Ehime Mikan (愛媛みかん) ส้มของจังหวัด Ehime เป็นส้มที่มีความหวาน-ความ
เปรี้ยวที่ลงตัว และมีน้ำส้มที่ชุ่มฉ่ำมาก และมีวางจำหน่ายเกือบจะตลอดปี





อันดับ 1
Budou (ぶどう) องุ่นจากจังหวัด Yamanashi จังหวัดซึ่งล้อมรอบไปด้วยภูเขาทั้ง 4 ทิศ
ทำให้เป็นพื้นที่ได้รับแสงแดดยาวนาน และมีปริมาณน้ำฝนน้อย เหมาะกับการปลูกผลไม้อย่างเช่น “องุ่น” เป็นอย่างมาก
องุ่นของจังหวัด Yamanashi มีผลใหญ่ เปลือกบาง น้ำชุ่มฉ่ำ และมีรสชาติหวาน วางจำหน่ายในช่วงเดือนสิงหาคม
ถึงเดือนตุลาคม





http://www.marumura.com/top_japan/?id=2624


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 04/01/2013 6:53 pm, แก้ไขทั้งหมด 5 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 04/01/2013 4:36 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,817. 10 อันดับ ผักยอดนิยมของคนญี่ปุ่น



อันดับ 10 ผักโขม
(Spinach ほうれんそう) ที่ขึ้นชื่อของญี่ปุ่นปลูกที่จังหวัด Iwate





อันดับ 9 หน่อไม้ฝรั่ง (Asparagus アスパラガス) ที่ขึ้นชื่อของญี่ปุ่นปลูกที่เมือง Nayoro จังหวัด Hokkaido





อันดับ 8 หอมหัวใหญ่ (Onion たまねぎ) ที่ขึ้นชื่อของญี่ปุ่นปลูกที่ Awaji Shima จังหวัด Hyogo





อันดับ 7 กะหล่ำปลี (Cabbage キャベツ) เป็นผักที่ปลูกได้ทั้งปี แล้วก็เป็นผักที่ขึ้นชื่อของ
แต่ละจังหวัดในฤดูเก็บเกี่ยวที่แตกต่างกันไป เช่น
ฤดูหนาว จังหวัด Aichi
ฤดูร้อนและใบไม้ร่วง จังหวัด Gumma, Hokkaido, Nagano
ฤดูใบไม้ผลิ จังหวัด Chiba, Kanagawa, Ibaraki





อันดับ 6 แตงกวา (Cucumberキュウリ) แตงกวาที่ขึ้นชื่อของญี่ปุ่นปลูกในจังหวัด Fukushima





อันดับ 5 หัวไชเท้า (Radish だいこん) ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ผลิตหัวไชเท้าได้มากที่สุด
ในโลก แต่ก็มีแนวโน้มลดลงทุกปี จังหวัดที่หัวไช้เท้าขึ้นชื่อคือ Hokkaido, Chiba, Aomori, Kanagawa, Miyazaki





อันดับ 4 มะเขือม่วง (Eggplant なす) ที่ขึ้นชื่อของญี่ปุ่นปลูกในจังหวัด Kochi





อันดับ 3 มันฝรั่ง (Potato ジャガイモ) ที่ขึ้นชื่อปลูกในจังหวัด Hokkaido





อันดับ 2 ถั่วแระ (Green soybeansえだまめ) ที่ขึ้นชื่อปลูกในจังหวัด Niigata





อันดับ 1 มะเขือเทศ (Tomato トマト) ที่ขึ้นชื่อปลูกในจังหวัด Aomori






http://www.marumura.com/top_japan/?id=3068

http://www.marumura.com/travel/?id=912


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 04/01/2013 6:56 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 04/01/2013 6:36 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,818. ซากุระบานสะพรั่งงดงามที่สุด ต้นเดือนเมษายน


เรื่องโดย : MARI BIREI

ดอกซากุระจะบานสะพรั่งงามที่สุดตอนต้นเดือนเมษายน บนเกาะฮอนชูซึ่งเป็นที่ตั้งของภูมิภาคต่างๆ อาทิ ภูมิภาคจูโงขุ
ที่จังหวัด ยะมะงุจิมีเมืองแห่งประวัติศาสตร์ฮะหงิริมทะเล และมีสะพานคินไตเคียวในเมืองอิวะคุนิ จะเห็นต้นซากุระนับร้อย
เรียงรายริมฝั่งแม่น้ำนิชิคิ งดงามมาก ยังมีที่ศาลเจ้ามรดกโลกบนเกาะมิยะหยิมะ ไม่ไกลจากเมืองฮิโรชิมะให้ชมตลอดถึง
กลางเดือนนี้



สะพานคินไตเคียว


ภูมิภาคคันไซ ดอกซากุระบริเวณสวนสาธารณะใกล้ปราสาทเมืองโอซะกะ มีปลูกอยู่ประมาณ 4,000 ต้น และอีกประมาณ
5,000 ต้นที่ปลูกอยู่ใกล้ บริเวณสวนสาธารณะซากุระโนมิยะในเมืองโอซะกะ และตามวัดหรือศาลเจ้าในเกียวโต และนะระ
รวมถึงทางภาคกลาง เมืองนะโงยะ ที่ปราสาทนะโงยะ และภูมิภาคคันโต ที่เมืองโยโคฮะมะกำลังบานสะพรั่งจนถึง
กลางเดือนนี้



ปราสาทโอซาก้า


เมื่อย่างเข้ากลางเดือนเมษายน ทางภูมิภาคจูบุ ชมดอกซากุระบานสวยที่เมืองทะคะยะมะ ในจังหวัดกิฟุ พร้อมกับการ
เที่ยวเทศกาลฤดูใบไม้ผลิระหว่างวันที่ 14 – 15 จะมีขบวนรถศาลเจ้าที่ประดับประดาอย่างปราณีตงดงามแห่รอบเมือง
ภายให้บรรยากาศดอกซากุระบานสะพรั่งทั้งเมือง



ทะคะยะมะ


วันรุ่งขึ้นจะเที่ยวตลาดเช้าเมืองทะคะยะมะก็ได้ ช่วงบ่ายจะแวะหมู่บ้านมรดกโลกชิระคะวะโก โดยนั่งรถโนฮิบัสประจำเส้น
ทางจากสถานีทะคะยะมะเข้าไปสุดทางที่เมืองชิระคะวะโกใช้เวลาประมาณ 50 นาที แล้วต่อรถประจำทางนั่งชมหมู่บ้าน
หรือจะเดินชมหมู่บ้านท่ามกลางธรรมชาติในฤดูใบไม้ผลิ ตามสบายอารมณ์จนเย็นแล้วจึงกลับออกมาพักแรมที่เมืองทะคะ
ยะมะก็จะเหมาะที่สุด

จากเมืองทะคะยะมะสามารถเดินทางโดยรถประจำเส้นทางโนฮิบัสต่อไปอีก 2 ช.ม. แล้วแวะค้างแรมที่เมืองมะจึโทโต
เพื่อเที่ยวชมปราสาทไม้ที่เก่าแก่ตั้งตระหง่านคู่ดอกซากุระที่บานสะพรั่งสวยสมบรรยากาศย้อนยุคญี่ปุ่นในจังหวัดนะงะโน
นอกจากนี้ยังมีให้ชมใกล้เมืองอินะชิในสวนทะคะโตโจชิ ที่มีต้นซากุระราว 1,500 ต้น จะเริ่มบานตั้งแต่ ต้นเดือนนี้
สวยสะพรั่งงจรดปลายเดือนนี้ นับเป็นสวนซากุระยอดนิยมที่สุดในภูมิภาคนี้



สวนทะคะโตโจชิ


ทางภูมิภาคโทโฮขุ ดอกซากุระจะเริ่มบานจากกลางเดือนเมษายน ถึงวันที่ 27 จะบานสวยสะพรั่งที่เมืองคะคุโนดะ
เทะในจังหวัดอะคิตะ เป็นดอกซากุระสายพันธุ์ชิดะเละ ดอกระย้าย้อยคล้ายน้ำตก เมืองเก่านี้ยังมีบ้านซะมุไรเก่า
หลายตระกูลที่ยังคงสภาพความเป็นอยู่เดิมอย่างสมบูรณ์ ให้ชม ทั้งเมืองจะกลายเป็นเมืองสีชมพูงามระย้าย้อยเป็น
บรรยากาศราวกับเดินอยู่ในหมู่บ้านย้อนยุคซะมุไร



คะคุโนดะเทะ


ทางเหนือขึ้นไปสุดเกาะฮอนชู เป็นที่ตั้งของจังหวัดอะโอโมระ ยังมีเมืองแห่งปราสาทสวยชื่อ ฮิโรซะคิที่ลือชื่อที่สุดใน
การชมดอกซากุระในภูมิภาคนี้ วันที่ 29 จะบานสวยเต็มที่จรดสิ้นเดือนตลอดถึงวันที่ 6 พฤษาภาคมซึ่งเป็นช่วงวันหยุด
ต่อเนื่องหรือสัปดาห์ทองของนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่น

การเดินทางโดยรถด่วนพิเศษชินคันเซน จากสถานีโตเกียวลงสุดสายที่สถานีชินอะโอโมริ ใช้เวลา 3.5ช.ม.จากนั้นต่อ
รถไฟเจอาสายโออิ 40 นาทีไปลงที่เมืองฮิโรซะคิ แล้วต่อรถบัสอีก 15 นาที



ฮิโรซะคิ


ทั้งห้าภูมิภาคบนเกาะฮอนชูจะกลายเป็นแดนสวรรค์ของดอกซากุระตลอดเดือนเมษายนสำหรับภูมิภาคฮอกไกโด
ยังเห็นซากุระเดือนห้าจะเริ่มผลิบานต่อเนื่อง ซึ่งจะนำมาเสนออีกนะคะ



http://www.marumura.com/travel/?id=912


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 05/01/2013 8:41 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 05/01/2013 7:18 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,819. 8 จุดยอดนิยม ชมซากุระ เมืองไทย

สะดุดตารวมมาให้ 8 จุดยอดนิยมชมซากุระเมืองไทย ความงามของดอกซากุระเมืองไทยหรือ ดอกพญาเสือโครงนั้น ทำให้ใครๆก็
อยากจะไปชมความงามในเวลาที่ออกดอกบานสะพรั่งกันทั้งนั้น ซึ่งในประเทศไทยแล้วมีหลายที่เริ่มปลูกและออกดอกให้ชมสวย
งามเต็มภูเขากันหลายๆจุด ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็น พื้นที่ปลูกทดแทนป่าบนพื้นที่สูงทางภาคเหนือ ซึ่งปลูกมาหลายปี และเมื่อถึง
ฤดูกาลที่ออกดอกก็จะสร้างความประทับให้นักท่องเที่ยวได้ทุกปี

สะดุดตาดอทคอม จึงรวบรวมข้อมูลการเดินทางท่องเที่ยวชมความงามของดอกซากุระเมืองไทยมาฝากกันว่ามีจุดไหนน่าสนใจ
บ้าง แต่ต้องบอกก่อนว่า การออกดอกของซากุระเมืองไทยหรือดอกพญาเสือโคร่งนั้น มักจะออกดอกในช่วงลายปี ประมาณปลาย
เดือนธันวาคมของทุกปี ซึ่งหลายๆคนมองหาที่เที่ยวปีใหม่อยู่ด้วย สะดุดตาเองก็ได้มีโอกาสชมซากุระเมืองไทยช่วงปีใหม่อยู่บ่อยๆ
ก็ช่วงอื่นมันไม่ออกดอกนี้นะ ดังนั้นเลือกเที่ยวกันให้สะดวก ก็ต้องดูพื้นที่เที่ยวอื่นๆประกอบด้วย ว่าไปแล้ว จะใช้เวลาเยอะมั๊ย
เสียเวลาแค่ไหน มีที่เที่ยวจุดอื่นใกล้เคียงหรือเปล่า หรือมองว่าจะไปหลายๆจุดจะไหวมั๊ย

แต่ที่สำคัญ คือมันบานหรือยัง …ซึ่งเรื่องนี้ พยากรณ์กันยาก เพราะขึ้นกับสภาพอากาศเป็นสำคัญ หนาวเร็วก็จะบานเร็วหน่อย
และมันก็จะบานอยู่เพียงไม่กี่วันซะด้วยซิ ปกติจะบานเพียง 1-2 สัปดาห์เท่านั้น ก่อนเดินทางลองโทรศัพท์ถามกันก่อนก็จะดี





8 จุดยอดนิยมชม ซากุระ เมืองไทย

1. ขุนช่างเคี่ยน (เชียงใหม่)
2. ภูทับเบิก (เพชรบูรณ์)
3. ขุนแม่ยะ (แม่ฮ่องสอน)
4. ดอยแม่สลอง(แม่ฮ่องสอน)
5. ปางอุ๋ง (แม่ฮ่องสอน)
6. ดอยแม่ตะมาน และ สถานีวิจัยเกษตรที่สูงป่าเกี๊ยะ (เชียงใหม่)
7. ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวาง (ดอยอินทนนท์ เชียงใหม่)
8. อุทยานแห่งชาติขุนสถาน (น่าน)




1. ขุนช่างเคี่ยน (เชียงใหม่)

เรายกให้ที่ขุนช่างเคียนมาเป็นอันดับหนึ่ง สำหรับการมาชทดอกซากุระบาน ด้วยว่าการเดินทางนั้นสะดวก และอยู่ใกล้เมือง
เชียงใหม่มาก เพียง 32 กิโลเมตร เรียกได้ว่า ไม่จำเป็นต้องนอนบนเขาก็เที่ยวได้ นอนในเมืองแล้วขึ้นมาเที่ยวก็ใช้เวลาไม่
นาน จากตัวเมืองเชียงใหม่ ขึ้นเขามาเส้นทางเดียวกับ การไปเที่ยวพระธาตุดอยสุเทพ พระตำหนักภูพิงค์ราชนิวเศน์ และบ้าน
ม้งดอยปุย แต่ขุนช่างเคียนเลยไปอีก

ลักษณะของซากุระบานที่ขุนช่างเคี่ยน แห่งนี้ จะเป็นภาพที่เราจะเห็นต้นซากุระหรือพญาเสือโคร่งนี้ ตามเส้นทางเข้าหมู่บ้าน
ขุนช่างเคี่ยน และในหมู่บ้านเหมือนจะบานทั้งหมู่บ้านทั้งภูเขากันเลยนะ ถ่ายรูปมาสวยมากๆ ทั่วบริเวณ สถานีวิจัยและศูนย์ฝึกอบรม
เกษตรที่สูงขุนช่างเคี่ยน และหมู่บ้านชาวม้ง ในพื้นที่บริเวณนั้นทั้งหมด

สถานีเกษตรที่สูงขุนช่างเคี่ยน อยู่ภายใต้การดูแลของคณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นสถานีวิจัยเกี่ยวกับ เมล็ดพันธุ์
กาแฟ ไม้ผลเมืองหนาว เช่น ท้อ พลับ บ๊วย พลัม อะโวกาโด มะคาเดเมีย ในทุกๆปี ของหน้าหนาวช่วงปลายธ.ค-ม.ค. ต้นนาง
พญาเสือโคร่งจะออกดอกสีชมพู บานสะพรั่ง



ภาพ : ซากุระบานที่ขุนช่างเคี่ยน

ที่พัก : ใครสนใจนอนขุนช่างเคี่ยน สามารถมากางเต็นท์ได้ ที่หน่วยดอยปุย อช.ดอยสุเทพ และบริเวณสถานีเกษตรที่สูงขุน
ช่างเคี่ยน ส่วนใครที่สนใจบ้านพักมีอยู่ที่สถานีเกษตรที่สูงขุนช่างเคี่ยน 3 หลัง

ที่ตั้ง : อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

การเดินทาง : ใช้เส้นทางสายเชียงใหม่ - พระธาตุดอยสุเทพ ผ่านวัดพระธาตุดอยสุเทพ ผ่านพระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์
ไปประมาณ 8 กิโลเมตร ผ่านหมู่บ้านชาวม้งดอยปุย ระยะทางจากตัวเมืองเชียงใหม่ประมาณ 32 กิโลเมตร ตลอดทางเป็น
ถนนลาดยางเข้าถึงสะดวก บางช่วงเป็นทางแคบโปรดใช้ความระมัดระวัง

รถสาธารณะต้องใช้วิธีเหมาเท่านั้นครับ โดยปกติรถสองแถวจะไปถึงแค่ ดอยสุเทพและหมู้บ้านม้งเท่านั้น ใครจะไปขุช่าง
เคี่ยนต้องเหมาเดินทางเข้าไปอีกพอสมควร

ผู้สนใจสามารถติดต่อที่พักได้ที่ สถานีวิจัยและศูนย์ฝึกอบรมเกษตรที่สูงขุนช่างเคี่ยน โทร. 053-944053 หรือ 053-222
014 (ในวันและเวลาราชการ)



2. ภูทับเบิก (เพชรบูรณ์)
ด้วยความสูง 1,600 เมตรจากระดับน้ำทะเล และการเข้าถึงได้ง่าย ปัจจุบันภูทับเบิกจึงกลายเป็นจุดท่องเที่ยวสำัญอีกแห่ง
ที่นักท่องเที่ยวไปสัมผัสความหนาวเย็นกัน และยังมีโอกาสได้ชมซากุระเมืองไทยหรือต้นพญาเสือโคร่งอีกด้วย ที่จะออกดอก
บานสพรั่งสวยงาม เต็มภูเขา จุดที่เยอะที่สุดเห็นจะอยู่ในหมู่บ้านม้ง ซึ่งต้อง ต่อรถเข้าไปเที่ยวโดยใช้บริการรถ 4x4 ของชาว
ม้งในหมู่บ้านได้ครับ

สะดุตายกให้ ภูทับเบิกมาแรงเป็นอันดับสอง ด้วยว่าอยู่ในจุดที่เข้าถึงได้ง่ายและสูงมากหนาวมาก อย่างภูทับเบิก ซึ่งจะมี
โอกาสเห้นการออกดอกซากุระได้เร็วกว่าที่อื่น ถ้ายิ่งหนาวเร็วหนาวนาน ซากกุระก็จะบานเร็วและนานเช่นกัน ทำให้ภูทับเบิก
เป็นตัเลืกที่น่าสนใจ และการเดินทางกยังถือว่าไม่ไกลจากรุงเทพฯเหมือนการไปเที่ยวดอยอื่นๆ ยิ่งคนมีเวลาน้อย ภูทับเบิก
ดูจะเป็นตัวเลือกการท่องเที่ยวที่น่าสนใจอย่างมาก ยังสามารถเที่ยว ชมไร่กะหล่ำปลี เขาค้อ น้ำหนาว และถนนสาย12 ได้
อีกด้วย กับระดับความหนาวเย็นในฤดูหนาว อุณหภูมิ 2-8 องศา หนาวมากเลยนะ

หลายคนมาเที่ยวภูทับเบิกมักจะเห็นต้นซากุระขึ้นไม่มากนักไม่เหมือนที่อื่นๆ ขึ้นเองตามธรรมชาติ อยู่ตามแนวป่า บริเวณ
เส้นทางเข้าไปยังหมู่บ้านม้ง บ้านทับเบิก แต่ข่าวล่ามาจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานพิษณุโลกผู้ดูแลรับผิด
ชอบพื้นที่บริเวณนี้ ได้เข้าไปสำรวจแล้วว่า จุดที่เยอะที่สุดต้องเข้าไปดูที่หมู่บ้านม้งภูทับเบิก โดยจ้างรถของพี่น้องชาวม้ง
ในพื้นที่พาเข้าเยี่ยมชมจะเห็นทั้งภูเขาเลยครับ เพราะบริเวณนั้นเป็นพื้นที่ปลูกทดแทนป่าเสื่อมโทรมเดิม ปัจจุบันได้ขนาด
เต็มที่พร้อมออกดอกสะพรั่งรับนักท่อเงที่ยวกันแล้ว …อย่างไรก็ตาม ทางการท่องเที่ยวจะตามข่าวให้ว่าบานหรือยัง แล้ว
จะแจ้งให้นักท่องเที่ยวทราบอย่างแน่นอน

และที่ใกล้เคียง ภูลมโล อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า ไปอีก 25 กม.ซึ่งจะมีต้นพญาเสือโคร่ง เป็น
พันไร่



ภาพจาก ซากุระ ภูทับเบิก : www.thaimtb.com


ที่พักแนะนำ : บริเวณภูทับเบิกจะมีรีสอร์ทเรียงรายอยู่มากทายทีเดียวครับ เรื่องนี้ไม่ยาก เยอะมาก หรือจะเลือกกางเต็นท์
ที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว อบต. วังบาล ก็ได้ครับ ซึ่งอยู่บริเวณยอดเขาจุดสูงสุดของภูทับเบิก

ที่ตั้ง : ตำบลวังบาล อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ อยู่ห่างจากอำเภอหล่มเก่า 40 กม. และห่างจากตัวจังหวัดเพชร
บูรณ์ประมาณ 97 กม.

การเดินทาง : จากทางหลวง 2331 มุ่งสู่ อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า ขึ้นทาง อ.หล่มเก่า จะมีแยกเข้าสู่ภูทับเบิก
ตลอดเส้นทางเราก็จะเห็นต้นซากุระได้ไม่ยากครับ

หากไม่มีรถยนต์มาเอง ต้องนั่งรถโดยสารมาลงที่หล่มสัก การเดินทางมาหล่มสัก หลังจากนั้นเหมาสองแถวที่อยู่บริเวณ
หล่มสักเพื่อขึ้นสู่ภูทับเิบิก อัตราค่าจ้างประมาณ 1,200 บาท

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมที่ : กลุ่มการท่องเที่ยวทับเบิก ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาเพชรบูรณ์ กรมพัฒนาสังคม
และสวัสดิการ โทร. 056-810-737 และ องค์การบริหารส่วนตำบลวังบาล โทร. 056-747532 เว็บไซต์ http://www.wangban.go.th/



3. ขุนแม่ยะ (แม่ฮ่องสอน)
จุดนี้ให้คะแนนมาเป็นอันดับ 3 ครับ ด้วยความที่โด่งดังมาหลายปี จากชื่อเสียงที่ชาวเชียงใหม่ขนานนามไว้ว่า "ดอยสีชมพู"
เพราะปลูกไว้ทั้งภูเขา ที่หน่วยจัดการ
ต้นน้ำขุนแม่ยะ จุดเด่นของที่นี่คือ ปายครับ ขุนแม่ยะตั้งอยู่ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน ถ้ามาจากเชียงใหม่จะถึงขุนแม่ยะก่อน
อำเภอปาย คนที่มาเที่ยวปายส่วนใหญ่จึงจัดเวลาไว้สำหรับเที่ยวขุนแม่ยะ

แต่การเที่ยวขุนแม่ยะเข้าไปชมความงามของดอกซากุระนั้น สะดุดตาแนะนำให้จอดรถไว้ที่ปากทางเข้า แล้วใช้บริการ
ของรถพื้นที่ ที่จะเข้าไปเที่ยวยังขุนแม่ยะ เพราะเส้นทางเป็นลูกรัง ฝุ่นมาก ทางแคบ และบางช่วงเป็นเขาชัน บางพื้นที่
ก็อาจจะเจอโคลน รถที่เข้าต้องอยู่ในสภาพดี และขับได้อย่างชำนาญเท่านั้น ไม่งั้นเข้าไปรถติดยาวล่ะครับทำคนอื่น
เสียเวลาเข้าไม่ถึงกันพอดี สะดุดตาเองเคยเข้าไปแบบเจอรถเข้าไม่ไหวหลายคัน ทำเอารถติดยาวบนทางชันภูเขา
อันตรายมาก

อีกวิธีใช้บริกาซื้อทัวร์วันเดียวใน อ.ปายมาเที่ยวก็ได้ครับ เขามีมาเที่ยวทุกวัน สำหรับคนที่ไม่มีรถส่วนตัวมานะครับ

ขุนแม่ยะชื่เต็มคือ หน่วยจัดการต้นน้ำขุนแม่ยะ อยู่ในสังกัดส่วนจัดการต้นน้ำ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ 2 จังหวัด เชียงใหม่ และ แม่ฮ่องสอน คือตำบล
ป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และตำบลแม่ฮี้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นดอยสูงจากระดับ
น้ำทะเลประมาณ 2,020 เมตร อาณาเขตพื้นที่ราว 87,500 ไร่ โดยพื้นที่ทั้งหมดอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง
และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่เลา–แม่แสะ



ภาพ : ซากุระที่ขุนแม่ยะ

ที่พัก : สามารถกางเต็นท์นอนได้ที่หน่วยจัดการต้นน้ำขุนแม่ยะ อยากน้อนสบายแนะนำให้นอนที่อ.ปาย แล้วขับรถมา
เที่ยวก็สะดวก

ที่ตั้ง : ตำบลแม่ฮี้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

การเดินทาง : จากเชียงใหม่ ขับรถไปจามเส้นทาง แม่มาลัย-ปาย ขับไปเรื่อยๆตามถนนหลวงหมายเลข 1095 นั้นแหละครับ
ขับผ่านอช.ห้วยน้ำดังไป จนถึงกม.ที่ 67 ก่อนถึงปาย จุดนั้นจะเป็นด่านตรวจขุนแม่ยะ จอดรถบริเวณนั้นได้เลย แล้วติดต่อ
รถนำเที่ยวเข้าไปชมดีที่สุดถนอมรถไว้ครับ (รถที่เข้าได้ควรเป็น 4x4 เท่านั้น) เข้าไปอีก 8 กิโลเมตร ที่อาจจะต้องใช้เวลา
หลายชั่วโมงทีเดียว

ติดต่อสอบถาม : หน่วยจัดการต้นน้ำขุนแม่ยะ 0-5321-7453 สอบข้อมูลช่วงซากุระบาน ได้ที่คุณปัด โทร.081-023-4570



4. ดอยแม่สลอง (แม่ฮ่องสอน)
ซากุระดอยแม่สลอง ต้องถือว่าเป็นพื้นที่แรกๆของเมืองไทยที่ ทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยโปรโมท ประชาสัมพันธ์
เจ้าต้อนพญาเสือโคร่งมาโดยตลอด ซึ่งทางดอยแม่สลองก็จะมีงาน "งานมหัศจรรย์ชา ซากุระบาน อาหารชนเผ่า ดอยแม่
สลอง" ประจำปีขึ้น ระหว่างวันที่ 28 ธันวาคม-4 มกราคม ของทุกปี ณ บริเวณอนุสรณ์สถานวีรชนอดีตทหารจีนคณะ
ชาติ บ้านสันติคีรี(ดอยแม่สลอง) ตำบลแม่สลองนอก อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย

การมาเที่ยวดอยแม่สลองไม่เพียงจะได้ชมดอกซากุระบานที่ปลูกมานานต้งแต่สมัยเริ่มสร้างหมู่บ้านกันเลย ยังได้กินอาหาร
ยูนนานอร่อยๆ ชิมชาสุดยอดของเมืองไทย ชาอู่หลง ซึ่งเป็นชาชันดี และได้สัมผัสกับอากาศที่หนาวเย็นสดชื่น นอกจากนี้
ในพื้นที่ยังสามารถปลูกพืชผัก ไม้ผลและไม้ดอกเมืองหนาวหลากหลายชนิด ประกอบกับวิถีชีวิตชนเผ่ากว่า 7 ชนเผ่าที่อาศัย
อยู่รวมกันเป็นเสน่ห์ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทางขึ้นมาสัมผัส

ภาพจาก http://teatalk.fix.gs/ ภาพซากุระบานที่ดอยแม่สลอง โดยคุณ Master Tea

ที่ตั้ง : ต.แม่สลองนอก อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย

การเดินทาง : ใช้ทางหลวงหมายเลข 10 จากตัวเมืองเชียงราย ไปทางอำเภอแม่จัน ระยะทาง 29 กิโลเมตร จากนั้น
เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวง 1089 (แม่จัน-ท่าตอน) บริเวณหลัก กม.856 ก่อนถึงทางเข้าตัวอำเภอแม่จันเล็กน้อย ผ่าน
น้ำพุร้อนป่าตึง (กม.7Cool ลานทองวิลเลจ (ระหว่าง กม.73-74) ประมาณ 31 กิโลเมตร และ กม. 55 ให้เลี้ยว
ขวา ไปตามเส้นทางขึ้นดอยคดเคี้ยว ไปอีกประมาณ 15 กิโลเมตร รวมระยะทาง 75 กิโลเมตร

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ : องค์การบริหารส่วนตำบล แม่สลองนอก โทร. 0 5376 5129





5. ปางอุ๋ง (แม่ฮ่องสอน)

ที่ปางอุ๋งอาจจะไม่มีต้นซากุระมากนักให้อลังการกัน แต่ก็เป็นอีกจุดที่นักท่องเที่ยวสามารถมาสัมผัสและใกล้ชิดกับต้น
ซากุระเมืองไทยหรือพญาเสือโคร่งได้ไม่ยาก ขนาดที่สามารถนอนกางเต้นท์ใต้ต้นซากุระได้ ห้องน้ำก็อยู่ใต้ต้นซากุระสุด
โรแมนติก ซากุระที่ปางอุ๋งนี้จะปลูกแซมอยู่ในป่าสนครับ แนะนำไว้สำหรับใครที่ขึ้นไปเที่ยวปางอุ๋ง ก็อย่าลืมถ่ายรูปกับต้น
ซากุระกันได้ นั่งแพไม้ไผ่ จะเห็นมีต้นซากุระริมน้ำด้วย

หลายคนเลือกมาเที่ยวที่ปางอุ๋งเพราะจะได้สัมผัสกับการท่องเที่ยวที่หลากหลายประกอบกับปีใหม่ ช่วงที่ซากุระบาน
มักจะอยู่สิ้นปี จะหยุดมาเที่ยวก็ได้เพียงครั้งเดียวการเลือกมาเที่ยวปางอุ๋ง เราจะได้ชมทั้งธรรมชาติป่าสน กางเต้นท์นอน
หรือโฮมสเตย์แบบชาวเขา ได้สัมผัสกับทะเลสาบกลางหุบเขา ออกไปนิดก็ได้ชมอาหารยูนนานแท้ๆสุดอร่อย ชมบ้าน
ดินวัฒนธรรมยูนนานที่บ้านรักไทย แล้วยังมีพระตำหนักปางตอง เที่ยวน้ำตกก็มี ยังใกล้เมืองแม่ฮ่องสอนอีกด้วย การ
เดินทางก็สะดวกทั้งรถส่วนตัวและรถสาธารณะ



ภาพ: กางเต้นท์ ใต้ต้นซากกุระที่ปางอุ๋ง

ที่พัก : แนะนำให้กางเต้นท์นอนที่ปางอุ๋ง ซึ่งต้องจองพื้นที่กางเต้นท์ล่วงหน้า หรือนอนรีสอร์ทในเมืองแม่ฮ่องสอนก็
สะดวกครับ

ที่ตั้ง : อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน

การเดินทาง : จากปาย ผ่านอำเภอปางมะผ้า และอำเภอเมือง ก่อนถึงตัวเมืองแม่ฮ่องสอน ประมาณ 17 กิโลเมตร
(ผ่านถ้ำปลา) แล้วเลี้ยวขวาเข้าหมู่บ้านหมอกจำแป่ ไปยังบ้านรวมไทย ขึ้นเขาไปอีก 30กิโลเมตร ก็ถึง

ถ้ามาจากแม่ฮ่องสอน ก็ออกจากตัวเมืองมาตามถนน 1095 มุ่งหน้าปางมะผ้า ถึงกิโลเมตรที่ 10 เลี้ยวซ้ายไปยังบ้าน
หมอกจำแป่ จากบ้านหมอกจำแป่ ผ่าน บ้านห้วย มะเขือส้ม จนถึงบ้านรวมไทย รวมระยะทาง 45 กิโลเมตร ใช้เวลาประ
มาณ 1 ชั่วโมง สภาพถนนเป็นถนนลาดยางและคอนกรีตอย่างดี แต่ทางบางช่วงสูงชัน รถยนต์ทุกประเภทขึ้นได้แต่ควร
มีสภาพดี

สำหรับใครไม่มีรถส่วนตัว ที่ตัวจังหวัดแม่ฮ่องสอน เขาจะมีรถสองแถวสีเหลือง บริการขึ้นมายังปางอุ๋งตอลดทั้งวัน
ครับในช่วงฤดูท่องเที่ยว

ข้อมูลท่องเที่ยวปางอุ๋งเพิ่มเติมที่ : http://pangoung.sadoodta.com/
ศูนย์ศิลปาชีพจังหวัดแม่ฮ่องสอน โทร.053 - 611244 , 085 - 618 - 3303 โทรสาร 053 - 611649




6. ดอยแม่ตะมาน และ สถานีวิจัยเกษตรที่สูงป่าเกี๊ยะ (เชียงใหม่)
ดอยแม่ตะมาน ตั้งอยู่ในหน่วยจัดการต้นน้ำแม่ตะมาน เป็นจุดที่เราจะได้เห็นต้นพญาเสือโคร่งออกดอกสวยงาม พร้อมกับ
วิวทิวทัศน์สุดอลังการ ที่เจะเห็นฉากหลังเป็นดอยเชียงดาว ทำให้เป็นสถาที่ วิวสวยงามจับใจดึงดูดนักท่องเที่ยวมาตั้ง
เต้นท์รอชมดวงอาทิตย์ขึ้นกัน และสัมผัสอากาศเย็นที่สดชื่น ในระดับความสูง ใกล้เคียงกับดอยหลวงเชียงดาวดอก
ซากุระหรือนางพญาเสือโคร่ง จะผลิบานเต็มที่ช่วงปลายเดือนธันวาคม ถึงกลางเดือนมกราคม

ตลอดเส้นทาง มายังดอยแม่ตะมาน จะเห็นดอกพญาเสือโคร่งสีชมพูบานได้ตลอดทาง

บริเวณที่เราจะสามารถเห็นภาพของดอยหลวงเชียงดาวได้ชัดเจนจะอยู่ที่ สถานีเกษตรที่สูงสันป่าเกี๊ยะ เป็นจุดที่นัก
ท่อง เที่ยว นิยมมากางเต้นท์ เพื่อชมกับบรรยากาศพระอาทิตย์ขึ้น และทะเลหมอกที่สวยงามในยามเช้า ที่นี่เป็น สถานี
ทดลองของโครงการพัฒนาที่สูงไทย-ออสเตรเลีย ซึ่งอยู่ในความดูแลของคณะเกษตรศาสตร์

มีแปลงทดลองปลูกพืช และผลไม้เมืองหนาวหลายชนิดให้เยี่ยมชมกัน เช่น บ๊วย ท้อ และ พืชผัก เป็นแหล่งศึกษาธรรม
ชาติวิทยาและความหลากหลายทางชีวภาพของ เทือกเขาดอยเชียงดาว

การเยี่ยมชมควรติดต่อขออนุญาตจากสถานีวิจัยเกษตรที่สูงป่าเกี๊ยะ ดอยเชียงดาว คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัย
เชียงใหม่ล่วงหน้าอย่างน้อย 10 วัน



ภาพจาก : โดยคุณ Nitivadee จากจุดนี้มองเห็นดอยหลวงเชียงดาว http://gonorththailand.com/

ที่พัก : บริเวณหน่วยจัดการต้นน้ำแม่ตะมาน มีสถานที่กางเต้นท์ และ สถานีเกษตรที่สูงสันป่าเกี๊ยะ มีสถานที่กางเต้นท์

ที่ตั้ง : ตำบลแม่นะ อำเภอเชียงดาว จ.เชียงใหม่

การเดินทาง : ถนนค่อนข้างลำบาก เป็นทางลูกรังและเป็นหลุมบ่อ ต้องใช้รถขับเคลื่อนสี่ล้อ เท่านั้น รถอื่นๆ ไม่
สามารถขึ้นได้ เนื่องจากระยะทาง 21 กม. เป็นเส้นทางทางดินลูกรังและค่อนข้างชัน

สำหรับรถส่วนตัว มี 2 เส้นทาง
- จากตัวจังหวัดเชียงใหม่ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 107 (เชียงใหม่-ฝาง) เลี้ยวซ้ายระหว่างหลัก กิโล
เมตรที่ 67-68 เข้าตรงปากทางเข้าบ้านแม่นะ หน้าปากทางเขียนว่า วัดจอมคีรี ขับไปเรื่อย จะถึงเส้นทาง ออฟโรดผ่าน
ทางลูกรัง และลาดชันกว่า 21กิโลเมตร ถึงที่ทำการหน่วยจัดการต้นน้ำแม่ตะมาน ใช้เวลาในการเดิน ทางประมาณ
2.50 ชั่วโมง

- จากตัวจังหวัดเชียงใหม่ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 107 (เชียงใหม่-ฝาง)เลี้ยวซ้ายระหว่างหลักกิโลเมตร
ที่ 60-61 บ้านแก่งปันเต๊า ตำบลแม่นะ เลี้ยวซ้ายไปตามเส้นทางไปสวนชาระมิงค์ ถึงที่ทำการหน่วยจัดการต้นน้ำแม่
ตะมาน ระยะทางประมาณ 29กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ : สถานีเกษตรที่สูงสันป่าเกี๋ยะ 053 944 052



7. ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวาง (ดอยอินทนนท์ เชียงใหม่)
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวาง เป็นอีกจุดที่มีต้นซากุระหรือพญาเสือโคร่งปลูกไว้จำนวนมาก และยังเป็นศูนย์การ
เรียนรู้ และสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความสวยงามทางธรรมชาติ เป็นโครงการหลวงขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ไม่ไกลนักจาก
โครงการหลวงอินทนนท์ ช่วงปลายเดือนธันวาคม ถึงเดือนมกราคม ต้นซากุระเมืองไทยหรือ พญาเสือโคร่งก็จะออก
ดอกสวยงามต้อนรับนักท่องเที่ยว เป็นประจำทุกปี

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวาง ก่อตั้งขึ้นปี พ.ศ. 2525 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปยังบ้าน
ขุนวาง เป็นครั้งแรก ได้ทอดพระเนตรเห็นว่า บริเวณนี้ยังมีพืชเสพติดอยู่มาก ควรจะส่งเสริมการปลูกพืชชนิดอื่นๆ ที่มี
รายได้ทัดเทียมหรือดีกว่าปลูกฝิ่นจึงรับสั่งให้หน่วยงานในพื้นที่ช่วยกันพิจารณา ปรับปรุงและพัฒนา มีหมู่บ้านในเขต
รับผิดชอบจำนวน 7 หมู่บ้านคือ บ้านขุนวาง , บ้านป่ากล้วย , บ้านโป่งลมแรง , บ้านโป่งน้อยเก่า , บ้านห้วยยาว
และบ้านขุนแม่วาก ประชากรส่วนใหญ่ เป็นชาวเผ่าม้งและปากะญอบางส่วน

มาเที่ยวที่นี้แล้วเที่ยวอินทนนท์ต่อได้เลยจร้า กิ่วแม่ปาน, อ่างกาหลวง ยอดอินทนนท์ น้ำตกแม่ยะ น้ำตกวชิรธาร
น้ำตกสิริภูมิ นอกจากนี้ยัง มีกิจกรรมศึกษา เช่น เดินป่าเที่ยวน้ำตกผาดำ ห่างจากศูนย์ประมาณ 2.5 กิโลเมตร



ภาพจาก : โดยคุณ illlive http://www.bloggang.com/


ที่พัก : มีบริการบ้านพักรับรองแบบเอเฟรม และบ้านพักรับรองขนาด 4 ห้อง 1 หลัง รองรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ
30 คน มีบริการเช่าเต็นท์และถุงนอน และสถานที่กางเต็นท์ หรือเลือกนอนในอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ก็สะดวก
ดีครับ หรือจะเป็นรีสอร์ทรอบๆดอยอินทนนท์ก็มีเยอะ

ที่ตั้ง : ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวาง บ้านขุนวาง หมู่ 12 ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่

การเดินทาง : จากตัวเมืองเชียงใหม่ ใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 (เชียงใหม่-ฮอด) ก่อนถึงอำเภอ
จอมทอง มีทางแยกขวามือขึ้น ดอยอินทนนท์ ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1009 ราวหลักกิโลเมตรที่ 30-31
มีสามแยกตรงหมู่บ้านขุนกลาง ก็เลี้ยวขวาไปอีก 16 กิโลเมตร จะถึงหมู่บ้านขุนวาง เลยหมู่บ้านไปประมาณ 2 กิโล
เมตร ก็จะถึงสถานนีเกษตรฯ ขุนวาง ถนนเป็นถนนลาดยาง อาจจะมีหลุมบาง

สำหรับรถประจำทางก็มีครับ ที่ตัวอำเภอจอมทอง จะมี รถสองแถวขึ้นดอยอินทนนท์ตรงวัดพระธาตุศรีจอมทอง

ติดต่อสอบถามที่ : ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวาง โทร. 053-939102 , 088-0087291

เฟสบุ๊ค : http://www.facebook.com/pages/ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวาง/195140347228123/




8. อุทยานแห่งชาติขุนสถาน (น่าน)
เป็นอีกจุดที่จะมีดอกซากุระบานสะพรั่งเต็มภูเขา นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับบรรยากาศโรแมนติก ด้วยดอก
นางพญาเสือโคร่งสีสันสวยงาม พร้อมอากาศที่หนาวเย็น ซึ่งสูงจาก ระดับน้ำทะเลปานกลาง ประมาณ 1,424 เมตร

ระหว่างการเดินทางไปยังอุทยานแห่งชาติขุนสถาน นักท่องเที่ยวจะสัมผัสกับวิวทิวทัศน์ที่สวยงาม วิถีชีวิตหมู่บ้าน
ชาวเขาเผ่าม้ง ชมสวนกะหล่ำปลีสีเขียวหัวโตๆ ปลูกเป็นแนวไปตามชายเขาราวกับภูเขากะหล่ำปลี แวะสวนสตรอ
เบอร์รี่ ที่นี่ท่านจะได้พบกับสตรอเบอร์รี่สีแดงสดที่เจ้าของบอกว่าเป็นการปลูกแบบออแกนิก ไม่มีการฉีดยาฆ่าแมลง
หากต้องการซื้อสตรอเบอร์รี่ไปชิมนักท่องเที่ยวก็สามารถเลือกเก็บได้เองตามชอบใจ

ที่พัก : ที่อุทยานฯ มีพื้นที่บริการนักท่องเที่ยวอยู่บริเวณเชิงดอยแม่จอก (เนินดาวดิน) มีที่พักบรรยากาศดี สำหรับ
นักท่องเที่ยวจำนวน 4 หลัง พักได้ประมาณ 50 คน และมีพื้นที่สำหรับกางเต็นท์ได้ ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในเรื่อง
อาหารและเครื่องดื่ม นักท่องเที่ยวควรจัดเตรียมมาเอง



ภาพโดย : คุณ bell-bellnaluck http://gonorththailand.com/

ที่ตั้ง : ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 บ้านขุนสถาน ตำบลสันทะ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน

การเดินทาง : จากจังหวัดน่าน ใช้ทางหลวงหมายเลข 101 ตรงมาตามทางเรื่อยๆประมาณ 66 กิโลเมตร จะถึงหมู่
บ้านห้วยแก๊ต ตรงจุดนี้เป็นสามแยก ให้เลี้ยวขวาไปตามเส้นทางหลวง 1216 ตรงปากทางจะเห็นป้ายบอกไป อุทยาน
แห่งชาติขุนสถาน ขับรถต่อไปอีกประมาณ 24 กิโลเมตรก็จะถึงที่ทำการอุทยานฯ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือจองห้องพักได้ที่
อุทยานแห่งชาติขุนสถาน โทร.0-5470-1121, 0-5473-1585, 08-7173-9549
ททท.สำนักงานแพร่ โทรศัพท์ 0-5452-1118,0-5452-1127




ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับต้อนพญาเสือโคร่ง หรือ ซากุระเมืองไทย
นางพญาเสือโคร่ง เป็นพืชดอกในสกุล Prunus พบทั่วไปบนดอยสูง และพญาเสือโคร่งยังเป็นดอกไม้ประจำอำเภอ
เวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่อีกด้วย นางพญาเสือโคร่ง เป็นพรรณไม้ที่มีการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติอยู่ที่ตอนเหนือ
ของประเทศไทย ทางตอนใต้ของประเทศจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน และถูกนิยมเรียกว่า"ซากุระเมืองไทย" เพราะมีลักษณะ
คล้ายซากุระ แม้จะเป็นคนละชนิดกันก็ตาม ในประเทศญี่ปุ่นจะเรียกดอกไม้พันธุ์นี้ว่า "ฮิมาลายาซากุระ"

คำว่า ซากุระ ใช้กับพืชที่อยู่ในสกุล Prunus โดยต้นนางพญาเสือโคร่งเป็นหนึ่งในสกุลนั้น โดยมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า
Prunus cerasoides ส่วนในประเทศญี่ปุ่นมีซากุระอยู่หลากหลายพันธุ์ โดยพันธุ์ที่พบมากสุดคือ โซะเมโยะชิโนะ
ในชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Prunus × yedoensis

ความแตกต่างของซากุระเมืองไทย และ ซากุระญี่ปุ่น คือ จะออกดอกในช่วงเวลาที่แตกต่างกันเท่านั้น พญาเสือโคร่ง
ออกดอกในเดือนธันวาคม-มกราคม ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาว ส่วนซากุระในญี่ปุ่นออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ซึ่งเป็น
ช่วงฤดูใบไม้ผลิของญี่ปุ่น


http://www.sadoodta.com






นางพญาเสือโคร่ง



นางพญาเสือโคร่งเป็นไม้ป่าชอบอยู่ตามไหล่เขา น้ำไม่ท่วมขังระบายน้ำได้ดี หากนำมาปลูกในพื้นที่ทั่วไปที่ไม่ใช่ป่าเขา
ควรพิจารณาที่เป็นเนิน ปลูกใหม่หน้าแล้ง 3 วัน รดน้ำ 1 ครั้ง ให้ชุ่ม หน้าฝนไม่ต้องรดน้ำ หากนำมาปลูกในวงบ่อซีเมนต์
ปลูกในบ่อซีเมนต์ ต้องรดน้ำบ่อย ๆ การปลูกไม่ต้องรองพื้นด้วยปุ๋ยคอก ปลูกประมาณ 2 เดือนใส่ปุ๋ยขี้ไก่

การปลูกลงในพื้นที่ทั่วไปขุดหลุมพอประมาณไม่ต้องรองปุ๋ยหรือดินผสม เอาต้นไม้ลงหลุมแล้วกลบ กดดินรอบโคนต้น
ให้แน่น จากนั้นรดน้ำพอชุ่ม ปักไม้เชือกผูกกับต้นป้องกันลมพัดโยกโคนต้นอาจทำให้รากบอบช้ำได้

จากนั้นดูแลรักษาบำรุงด้วยการรดน้ำปัจจุบันนางพญาเสือโคร่ง

ขนาดลำต้น 1-2 นิ้ว ความสูง 2.50-3.50 เมตร ขายกันที่ราคา 1,000 บาท
ขนาดลำต้น 2 ครึ่ง ราคา 2,500 บาท
ขนาดลำต้น 6 นิ้ว ความสูง 5-6 เมตร ราคา 20,000 บาท
ขนาดลำต้น 7 นิ้ว ความสูง 6-7.50 เมตร ราคา 24,000 บาท.

http://www.dailynews.co.th/agriculture/174660


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 07/01/2023 6:03 am, แก้ไขทั้งหมด 18 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 05/01/2013 7:20 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


1,820. อิทธิพลของฤดูกาลต่อการออกดอกของลำไย



อิทธิพลของฤดูกาลต่อการออกดอกของลำไยที่ชักนำด้วยสารโพแทสเซียมคลอเรต : การศึกษาภายใต้สภาวะโรงเรือนพลาสติก

The Effect of Seasons on Flowering of Longan Induced by Potassium Chlorate : Plastic-house Studies

ณัฐวรา แสงอรุณ1, สมชาย องค์ประเสริฐ1, วินัย วิริยะอลงกรณ์2, และนงลักษณ์ ปูระณะพงษ์1,
1. ภาควิชาทรัพยากรดินและสิ่งแวดล้อม คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่ 50290
2. ภาควิชาพืชสวน คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่ 50290
E-mail: top_mju@yahoo.com



บทคัดย่อ
การชักนำการออกดอกของลำไยด้วยสารโพแทสเซียมคลอเรตในฤดูร้อนและฤดูฝน มักไม่ได้ผลดีเหมือนการชักนำการใช้เมื่อก่อน
หรือหลังระยะเวลาออกดอกปกติในฤดูหนาว เกษตรกรจึงแก้ปัญหาโดยการราดโพแทสเซียมคลอเรตด้วยอัตราที่มากขึ้น ซึ่ง
ก็ไม่ได้ผลเสมอไป การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของฤดูกาลต่อการชักนำการออกดอกของลำไยด้วยสารโพแทส
เซียมคลอเรต ดำเนินการทดลองกับต้นลำไยอายุ 2 ปีที่ปลูกในกระถางทราย และเลี้ยงด้วยสารละลายธาตุอาหารในโรงเรือน
พลาสติก โดยทดลองทั้ง 3 ฤดู ด้วยโพแทสเซียมคลอเรตเข้มข้น 200-600 มก./ลิตร พบว่าความเข้มข้นของโพแทสเซียม
คลอเรตที่ดีที่สุดสำหรับชักนำการออกดอกฤดูหนาว ฤดูฝน และฤดูร้อนคือ 200, 200 และ 400 มก./ลิตร ตามลำดับ การ
ได้รับโพแทสเซียมคลอเรตที่เข้มข้นของสารมากกว่าระดับที่เหมาะสม นอกจากทำให้ออกดอกน้อยแล้วยังทำให้ทยอยออกดอก
หลายรุ่น ผลการศึกษานี้สอดคล้องกับปรากฏการณ์ที่เกษตรกรพบว่าในฤดูร้อนต้องใช้สารโพแทสเซียมคลอเรต มากกว่าในฤดู
หนาว แต่เมื่อใช้มากเกินไปทำให้มีการออกดอกหลายรุ่น



คำสำคัญ : ลำไย โพแทสเซียมคลอเรต ฤดูกาล การออกดอก
Abstract
Many farmers have experienced unsatisfied flowering after the application of potassium chlorate in the hot and rainy season as those of the pre- and post-cool season applications. Farmers’ solution for this problem is to apply more potassium chlorate which did not always get good results. This study was aimed at investing on the influence of seasons on longan flower induction by potassium chlorate. It was done with two-year old longan trees grown in pots with sand culturing in a plastic house. The experiment was done in three seasons with the concentration of 200-600 mg/liter. The results revealed that the optimum concentration for cool, rainy and hot seasons were 200, 200 and 400 mg/liter, respectively. Too high concentrations not only caused low flowering, but also prolonged flowering period. The results confirmed the phenomena found by farmers.

Key words : longan, potassium chlorate, season and flowering



คำนำ
การชักนำการออกดอกของลำไยด้วยlสารโพแทสเซียมคลอเรตกับต้นลำไยที่ไม่เคยได้รับสารนี้มาก่อนเลย โดยทั่วไปได้ผลเป็น
ที่พอใจของเกษตรกร แต่เมื่อมีการใส่สารซ้ำกับต้นลำไยที่เคยได้รับสารนี้มาก่อน เกษตรกรส่วนหนึ่งกลับพบว่าต้นลำไยไม่ออก
ดอกตามที่คาดหวัง นอกจากนี้เกษตรกรยังพบว่าการชักนำการออกดอกของลำไยด้วยสารโพแทสเซียมคลอเรตในฤดูร้อน
และฤดูฝน มักไม่ได้ผลดี เหมือนการชักนำการใช้เมื่อก่อนหรือหลังระยะเวลาออกดอกปกติในฤดูหนาว เกษตรกรจึงแก้ปัญหาโดย
การใช้สารโพแทสเซียมคลอเรต มากขึ้น ซึ่งก็ไม่ได้ผลดีเสมอไป ซ้ำยังทำให้เกิดปัญหาการทยอยออกดอกหลายรุ่น การวิจัย
อิทธิพลของฤดูกาลต่อการออกดอกของลำไยที่ชักนำด้วยสารโพแทสเซียมคลอเรตนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาอย่างเป็นระบบ
เพื่อให้เข้าใจถึงอิทธิพลของปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพของการใช้สารโพแทสเซียมคลอเรต



อุปกรณ์และวิธีการ
การทดลองทำกับต้นลำไยเสียบยอดพันธุ์อีดอที่ปลูกในกระถางทรายอายุ 2 ปี ในโรงเรือนพลาสติก และเลี้ยงด้วยสารละลาย
ธาตุอาหาร สภาพต้นสมบูรณ์ มียอดประมาณ 6-10 ยอดต่อต้น วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (completely rando
mized design) จำนวน 5 สิ่งทดลองๆ ละ 5 ซ้ำ สิ่งทดลองคือความเข้มข้นของสารละลายโพแทสเซียมคลอเรตที่ใช้
กระตุ้นการออกดอกระหว่าง 200-600 มก./ลิตร ทดลองใน 3 ฤดู คือ ฤดูหนาว ฤดูฝน และฤดูร้อน ข้อมูลที่ศึกษาประกอบ
ด้วย จำนวนวันออกดอกหลังการให้โพแทสเซียมคลอเรต จำนวนยอดที่ออกดอก ความกว้างและความยาวช่อดอก จำนวน
ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียที่บานในแต่ละวัน



ผลการทดลอง
ฤดูหนาว
Table 1 เปอร์เซ็นต์การออกดอก จำนวนวันที่ออกดอกแรกหลังได้รับโพแทสเซียมคลอเรต ความกว้างและความยาวช่อดอก
จำนวนดอกตัวผู้และดอกตัวเมียของการทดลองในฤดูหนาว พบว่า ต้นลำไยที่ได้รับโพแทสเซียมคลอเรต 200, 300, 400
และ 500 มก./ลิตร มีเปอร์เซ็นต์การออกดอก 100,100, 79.16 และ 74.04 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ซึ่งไม่มีความแตก
ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เช่นเดียวกับจำนวนวันที่เห็นตาดอกแรก แต่เมื่อพิจารณาขนาดช่อดอกและจำนวนดอกทั้ง
2 เพศ จะเห็นได้ชัดเจนว่าความเข้มข้น 200 มก./ลิตร เป็นความเข้มข้นที่ให้ขนาดช่อดอกและจำนวนดอกที่ดีที่สุดกว่าความ
เข้มข้นอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ความเข้มข้น 200 มก./ลิตร ของโพแทสเซียมคลอเรตจึงเป็นความเข้มข้น
ที่เหมาะกับฤดูหนาว



ฤดูฝน
Table 2 เปอร์เซ็นต์การออกดอก จำนวนวันที่ออกดอกแรกหลังได้รับโพแทสเซียมคลอเรต ความกว้างและความยาวช่อดอก
จำนวนดอกตัวผู้และดอกตัวเมียของการทดลองในฤดูฝน พบว่า ความเข้มข้นที่ทำให้ออกดอกดีที่สุดทั้งในรูปเปอร์เซ็นต์การ
ออกดอก จำนวนวันที่ออกดอกแรก ความกว้าง ความยาวช่อดอก จำนวนดอกเพศผู้ และจำนวนดอกเพศเมีย ซึ่งมากกว่า
หรือดีกว่าความเข้มข้นอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ความเข้มข้น 200 มก./ลิตร แต่ก็ไม่ออกดอก 100% เหมือน
ในฤดูหนาว คือ ออกดอกเพียง 72.83% ความเข้มข้น 200 มก./ลิตร ของโพแทสเซียมคลอเรตจึงเป็นความเข้มข้น
ที่เหมาะกับฤดูฝน



Figure 1 จำนวนวันที่ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียบานในแต่ละช่วง 3 วัน หลังจากได้รับโพแทสเซียมคลอเรต จะเห็นได้ว่าที่
ความเข้มข้นที่เหมาะสมคือ 200 มก./ลิตร ทั้งดอกเพศผู้และดอกเพศเมียจะบานมากในช่วงเวลาสั้นๆ คือระหว่าง 43-67
วัน และ 43-55 วันสำหรับดอกเพศผู้และดอกเพศเมีย ตามลำดับ แต่ที่ความเข้มข้นอื่นๆ ที่ไม่เหมาะสม ในช่วงเวลาข้างต้นมี
ดอกบานน้อยกว่า แต่หลังจากนั้นมีดอกบานมากกว่า แสดงให้เห็นว่า เมื่อได้รับโพแทสเซียมคลอเรตด้วยความเข้มข้นที่
เหมาะสม นอกจากต้นลำไยออกดอกได้มากแล้วการออกดอกยังพร้อมกันในช่วงเวลาสั้น แต่เมื่อได้รับโพแทสเซียมคลอเรต
ด้วยความเข้มข้นที่ไม่เหมาะสม นอกจากทำให้ออกดอกน้อยแล้ว การออกดอกยังยืดเยื้อในช่วงเวลาที่ยาวขึ้น



ฤดูร้อน
Table 3 เปอร์เซ็นต์การออกดอก จำนวนวันที่ออกดอกแรกหลังได้รับโพแทสเซียมคลอเรต ความกว้างและ ความยาวช่อดอก
จำนวนดอกตัวผู้และดอกตัวเมียของการทดลองในฤดูร้อน พบว่า ความเข้มข้นที่ทำให้ออกดอกดีที่สุดทั้งในรูปเปอร์เซ็นต์การออก
ดอก ความยาวช่อดอก และจำนวนดอกเพศผู้ ซึ่งมากกว่าหรือดีกว่าความเข้มข้นอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ความ
เข้มข้น 400 มก./ลิตร ซึ่งออกดอกได้ 94.44% ส่วนข้อมูล จำนวนวันแรกที่ออกดอก ความกว้างช่อดอก และจำนวนดอก
เพศเมีย ไม่ต่างจากความเข้มข้นอื่นๆ จึงถือได้ว่าความเข้มข้น 400 มก./ลิตร ของโพแทสเซียมคลอเรตเป็นความเข้มข้นที่
เหมาะกับฤดูร้อน



วิจารณ์และสรุปผลการทดลอง
ความเข้มข้นของสารโพแทสเซียมคลอเรตที่เหมาะสม สำหรับชักนำการออกดอกของลำไยแตกต่างกันไปตามฤดูกาล โดยในฤดู
หนาวและฤดูฝน คือ 200 มก./ลิตร ขณะที่ในฤดูร้อน คือ 400 มก./ลิตร ซึ่งสอดคล้องกับงานทดลองของพาวิน และคณะ
(2547) ที่ทดลองในสภาพสวน พบว่า ฤดูกาลต่างๆ มีผลต่อการออกดอกและการตอบสนองของลำไยต่อโพแทสเซียมคลอเรต
ต่างกัน อย่างไรก็ตามการให้โพแทสเซียมคลอเรตในสวนลำใยในฤดูฝนต้องให้มากกว่าในฤดูหนาว เนื่องจากจะมีการชะล้าง
โพแทสเซียมคลอเรตจากฝนที่ตกหนัก (Manochai et al., 2005)
เมื่อได้รับโพแทสเซียมคลอเรตด้วยความเข้ม
ข้นที่เหมาะสม นอกจากจะทำให้ออกดอกดี ทั้งในรูปเปอร์เซ็นต์การออกดอก ขนาด และจำนวนดอกแล้ว ยังทำให้ออกดอก
พร้อมกันในช่วงเวลาสั้น ส่วนความเข้มข้นที่มากเกินไปทำให้ออกดอกน้อยและทยอยออกดอกหลายรุ่น ผลการทดลองนี้
สอดคล้องกับปรากฏการณ์ที่เกษตรกรพบในสวนลำไยที่มีการใช้โพแทสเซียมคลอเรตมาก คือออกดอกน้อยและทยอยออก
ดอกหลายรุ่น




กิตติกรรมประกาศ
ขอขอบคุณสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว) ที่สนับสนุนทุนการวิจัย

เอกสารอ้างอิง
พาวิน มะโนชัย ยุทธนา เขาสุเมรุ ชิติ ศรีตนทิพย์ และสันติ ช่างเจรจา. 2547. เทคโนโลยีการผลิตลำไย.

พิมพ์ครั้งที่ 1. หจก.สำนักพิมพ์ฟิสิกส์เซ็นต์เตอร์, กรุงเทพฯ. 128 น.
Manochai, P., P. Sruamsiri, W. Wiriya-alongkorn, D. Naphrom, M. Hegele and F. Bangerth. 2005. Year around off season flower induction in longan (Dimocarpus longan Lour.) trees by KClO3 applications: potentials and problems. Scientia Horticulturae. 104: 379
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 07/01/2013 7:31 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


1,821. แมคคาเดเมีย ที่ดอยขุนห้วยยา


















วันก่อนนายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี พร้อมด้วยนายสุวัฒน์ เทพอารักษ์ เลขาธิการ กปร. นายเฉลิมเกียรติ แสนวิเศษ
นายปกรณ์ สัตยวณิช ที่ปรึกษาสำนักงาน กปร. นายจรูญ อิ่มเอิบสิน ผู้ช่วยเลขาธิการพระราชวัง นายชูชาติ ฉุยกลม ที่
ปรึกษาโครงการพัฒนาตามพระราชดำริ สำนักราชเลขาธิการ ได้เดินทางเข้าตรวจเยี่ยมผลสำเร็จในการดำเนินงานและ
ความคืบหน้าในการดำเนินงานของสถานีการพัฒนาเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ บ้านเสาแดงอำเภอกัลป์ยาณิวัฒนา จัง
หวัดเชียงใหม่

โดยมีนายธานินทร์ สุภาแสน ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เจ้าหน้าที่จากกองทัพภาคที่ 3 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และราษฎร
ในพื้นที่ให้การต้อนรับ ซึ่งการดำเนินงานในโครงการมีความคืบหน้าอย่างน่าพอใจยิ่ง สถานีฯ มีแปลงทดสอบพืชและ
สาธิต ไม้ผลหลายชนิดและที่ประสบความสำเร็จจนสามารถขยายผลสู่การเพาะปลูกของราษฎรได้ก็คือ แมคคาเดเมีย ซึ่ง
ที่นี่มีการปลูกหลายพันธ์ เช่น พันธุ์ 508, 660, 74, 344 และ H2

ในอนาคต แมคคาเดเมีย จะเป็นพืชเศรษฐกิจที่คนไทยไม่อาจมองข้าม เพราะมีรสชาติอร่อยและมีราคาแพง อุดมไปด้วย
วิตามิน เต็มไปด้วยน้ำมันพืชไม่อิ่มตัว ช่วยลดคอเลสเตอรอลให้แก่ร่างกาย ทั่วโลกมีความต้องการสูง มีราคามาตรฐานสากล
ไม่เหมือนพืชเศรษฐกิจตัวอื่นที่มีราคาขึ้น-ลงไม่แน่นอน และเป็นพืชชนิดเดียวที่ไม่ถูกกีดกันทางการค้าจากองค์การค้าโลก

ตลาดรับซื้อแมคคาเดเมีย ที่ใกล้ไทยที่สุดและเป็นตลาดใหญ่ที่สุด คือ ประเทศญี่ปุ่น และจีน ทั้งนี้เพราะประเทศจีนมีปัญหา
ในเรื่องของสภาพดินฟ้าอากาศ จึงไม่สามารถปลูกแมคคาเดเมียได้ แต่ความต้องการของจีนมีมาก เป็นพืชที่ชอบความเย็น
พื้นที่เหมาะสมอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 700 เมตรขึ้นไป และมีความชื้นตลอดถึงน้ำใต้ดินเพียงพอ ต้องการน้ำเฉลี่ย 15 ลิตร
ต่อต้นต่อวันจะให้ผลผลิตได้ดีเมื่อมีอายุต้นประมาณ 10 ปีขึ้นไป และสามารถเก็บต่อเนื่องได้ถึงอายุ 100-125 ปี ให้
ผลผลิตเฉลี่ย 10 กิโลกรัมต่อต้น ให้ผลผลิตสูงสุดประมาณ 30 กิโลกรัมต่อต้น พื้นที่ 1 ไร่สามารถปลูกได้ 30 ต้น

ที่ดอยขุนห้วยยาที่ประสบความสำเร็จในการปลูกแมคคาเดเมีย เป็นพื้นที่ต้นน้ำของลำห้วยตอง ห้วยยา ห้วยโป่ง ห้วยผึ้ง
ห้วยเขียดแห้ง และห้วยหมาบ้า เมื่อราษฎรเลิกทำไร่เลื่อนลอยหรือไร่หมุนเวียน และปลูกฝิ่น แล้วหันมาปลูกพืชเศรษฐกิจที่ให้
คุณต่อร่างกายควบคู่กับการรักษาสภาพภูมิประเทศเพื่อการเพาะปลูกด้วยการปลูกป่าในเนื้อที่ไม่น้อยกว่า 3,100 ไร่ สามารถ
กักเก็บน้ำฝนไว้ในดิน 4,699,848 ลบ.ม. ซึ่งนับว่ามากกว่าในพื้นที่ป่าดิบเขาโดยทั่วไปที่ ปริมาณน้ำที่เก็บกักไว้ในดินจะอยู่
ที่ 1,516.08 ลบ.ม.ต่อไร่เท่านั้น ป่าแห่งนี้จึงเป็นป่าต้นทุนน้ำให้กับราษฎรบ้านเสาแดงและบ้านห้วยเขียดเพื่อประโยชน์ใน
การอุปโภคบริโภคและปลูกพืชได้เพียงพอตลอดทั้งปี

สำหรับสถานีการพัฒนาเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ บ้านเสาแดง เกิดขึ้นจากที่ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้
เสด็จฯ ทอดพระเนตรสภาพพื้นที่บ้านลีซอเสาแดง หมู่ที่ 7 ตำบลแจ่มหลวง อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่
14 กุมภาพันธ์ 2547 ที่ผ่าน

พระองค์ทรงทราบว่า พื้นที่ป่าแถบนั้นเดิมถูกใช้ปลูกฝิ่นและทำไร่เลื่อนลอย จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งสถานีพัฒนาการเกษตร
ที่สูงขึ้น เพื่อให้ราษฎรบ้านลีซอเสาแดง และบ้านกะเหรี่ยงห้วยเขียดแห้งได้เข้ามาอยู่ในโครงการ เรียนรู้วิธีการทำการเกษตร
ที่ถูกต้อง หยุดปลูกฝิ่นและทำไร่เลื่อนลอยที่สำคัญเมื่อสถานีได้ดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและได้รับผลสำเร็จด้วยดีและได้ป่าที่
สมบูรณ์ควบคู่กับพื้นที่ทำกินของราษฎร และเมื่อได้ป่ากลับคืนมาก็มีปริมาณสัตว์ป่า จำพวก เก้ง ฟาน และหมูป่า เพิ่มขึ้น
นับเป็นการเติมเต็มความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ ตามธรรมชาติให้กับพื้นที่ที่เอื้อต่อการทำการเกษตรของราษฎรได้เป็นอย่างดี.

แมคคาเดเมียไม้ยืนต้นที่มีถิ่นกำเนิดแถบประเทศออสเตรเลีย มีอยู่ 10 ชนิด แต่สามารถบริโภคได้เพียง 2 ชนิด เป็นพืชที่
ปลูกได้ในอุณหภูมิระหว่าง 9 องศาเซลเซียส และสูงสุดไม่เกิน 32 องศาเซลเซียส ต้องการน้ำและดินที่อุดมสมบูรณ์ ร่วนซุย
ระบายน้ำได้ดี

เมล็ดแมคคาเดเมียมีกรดไขมันไม่ อิ่มตัวสูงช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ไม่มี คอเลสเตอรอล สามารถสกัดน้ำมันเพื่อใช้เป็น
ส่วนผสมของเครื่องสำอาง ช่วยเพิ่มความนุ่มชุ่มชื้นและความลื่นแก่ผิว เปลือกของเมล็ดเผาเป็นถ่านช่วยดูดกลิ่นและจับอนุ
มูลอิสระได้ดี

ถ่านแมคคาเดเมียให้ประโยชน์หลายอย่าง ใช้ทำน้ำแร่สำหรับดื่ม ประกอบไปด้วยแร่ธาตุเหมือนน้ำแร่ธรรมชาติ ถ่านสามารถ
สร้างประจุลบและปล่อยรังสีอินฟราเรดยาว ช่วยป้องกันคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากทีวี คอมพิวเตอร์ และไมโครเวฟ ได้มี
รังสีอินฟราเรดยาว เมื่อนำมาวางใกล้ตัวจะกระตุ้นการทำงานของระบบหมุนเวียนโลหิตทำให้ร่างกายอบอุ่น ระบบไหลเวียน
โลหิตดีขึ้น นอนหลับง่าย.




http://www.dailynews.co.th/agriculture/175820
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 07/01/2013 7:52 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,822. "ศุภโชค" พืชเศรษฐกิจตัวใหม่











"ศุภโชค" เป็นไม้ยืนต้นชอบอากาศร้อน ขนาดความสูงโตเต็มที่ 8-10 เมตร และจะแตกกิ่งข้างเป็นชั้น ๆ รัศมีทรงพุ่มด้านข้าง
ประมาณ 2-3 เมตร สามารถปลูกได้ทั้งกระถาง และลงดิน เมื่อมีอายุประมาณ 2 ปีขึ้นไปจะเริ่มออกดอกให้ผล

มีผลคล้ายผลนุ่น ลักษณะกลีบหนาจำนวน 5 กลีบ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-4 นิ้ว ยาวประมาณ 6-8 นิ้ว มีเมล็ดอยู่ข้าง
ในเฉลี่ย 12-25 เมล็ดต่อผล ตั้งแต่ดอกบานจนถึงออกผลแก่ประมาณ 70-90 วัน เมล็ดรับประทานได้ทั้งเมล็ดดิบและ
เมล็ดสุก มีการนำมาแปรรูป ซึ่งสะดวกกว่าแมคคาเดเมียหรือมะม่วงหิมพานต์ ปัจจุบันในท้องตลาดบางแห่งของภาคเหนือ
ขายกันในราคา 250-300 บาทต่อกิโลกรัมดอก รับประทานเป็นผัก หากปลูกในพื้นที่ 1 ไร่ระยะห่าง 6x6 เมตร จะได้
จำนวน 36 ต้น เมื่ออายุ 3 ปี ให้ผลผลิตเฉลี่ย 5 กิโลกรัมต่อต้น ใน 1 ไร่ได้ผลผลิตประมาณ 180 กก.

ส่วนของลำต้นใช้ทำส้นรองเท้าผู้หญิงเปลือกใช้ทำเยื่อกระดาษ รากต้มเป็นยาแก้กระเพาะในต้นเล็ก ปลูกเป็นไม้กระถาง
จำหน่าย ราคาเริ่มต้นจากกระถางละ 250 บาท เป็นต้นไป โดยเมล็ด 1 กิโลกรัม มีจำนวนประมาณ 300-380 เมล็ด พื้นที่
ปลูก 1 ไร่ จะได้ 1,750 เมล็ด นำไปเพาะถักเปียปลูกในกระถางที่ขนาด 7 ต้นต่อ 1 กระถางจะได้ 250 กระถาง บำรุง 1 ปี
จำหน่ายได้กระถางละ 300 บาท ปลูก 1 ไร่ เพื่อเก็บเมล็ดมาเพาะต้นถักขายเกษตรกรจะมีรายได้ประมาณ 75,000 บาทต่อไร่
ต่อปี ปัจจุบันพันธุ์ในประเทศจะมีปลูกที่อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่,อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย, จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งเป็น
แหล่งเพาะต้นกล้าถักเปียใส่กระถางจำหน่าย

และอีกแห่งหนึ่งที่กำลังประสบผลสำเร็จในการขยายผลเพื่อการปลูกเชิงพาณิชย์ของราษฎร คือที่ สถานีพัฒนาการเกษตร
ที่สูงตามพระราชดำริ บ้านเสาแดง อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นโครงการที่ สมเด็จพระนางเจ้าฯ
พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จฯ ทอดพระเนตรสภาพพื้นที่บ้านลีซอเสาแดง หมู่ที่ 7 ตำบลแจ่มหลวง อำเภอกัลยาณิวัฒนา
จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณดอยขุนห้วยยา เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2547

พระองค์ทรงทราบว่า พื้นที่ป่าแถบนั้นเดิมถูกใช้ปลูกฝิ่นและทำไร่เลื่อนลอย จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งสถานีพัฒนาการ
เกษตรที่สูงขึ้น เพื่อให้ราษฎรบ้านลีซอเสาแดง และบ้านกะเหรี่ยงห้วยเขียดแห้งได้เข้ามาอยู่ในโครงการ เพื่อเรียนรู้วิธีการ
ทำการเกษตรที่ถูกต้อง หยุดปลูกฝิ่นและทำไร่เลื่อนลอย ในโครงการมีแปลงทดสอบพืชและสาธิตหลายชนิด นอกเหนือ
จากศุภโชค ได้แก่ แมคคาเดเมีย พันธุ์ 508, 660, 74, 344 และ H2 พลับ พันธุ์ P2 เกาลัดจีน แอปเปิ้ล และพุทรา
พืชผักก็มี ฟักทองญี่ปุ่น กะหล่ำปลีรูปหัวใจ กะหล่ำม่วง คะน้าฮ่องกง ผักกาดหางหงส์ ผักกาดฮ่องเต้ ซาโยเต้ ซูกินี พริกยักษ์
แครอท ให้ผลผลิตดีทุกชนิด โดยเฉพาะศุภโชค

ล่าสุดนายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี พร้อมด้วยนายสุวัฒน์ เทพอารักษ์ เลขาธิการ กปร. นายเฉลิมเกียรติ แสนวิเศษ
นายปกรณ์ สัตยวณิช ที่ปรึกษาสำนักงาน กปร. ได้เดินทางเข้าตรวจเยี่ยมผลสำเร็จในการดำเนินงานและความคืบหน้าในการ
ดำเนินงานของสถานีฯพบว่าการดำเนินงานของโครงการมีความคืบหน้าอย่างเป็นที่น่าพอใจยิ่ง ที่สำคัญได้เอื้อประโยชน์ต่อ
ราษฎรในพื้นที่ ที่ได้พื้นที่ป่ากลับคืนมา และสามารถนำพืชเศรษฐกิจตัวใหม่มาส่งเสริมสนับสนุนราษฎรได้ปลูกเพื่อสร้างราย
ได้ทดแทนการปลูกฝิ่นและทำไร่เลื่อนลอยที่ต้องบุกรุกทำลายป่าอย่างต่อเนื่องทุกปี
ได้หมดไป.



http://www.dailynews.co.th/agriculture/174663
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 07/01/2013 10:30 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,823. “ผักสดไทย” สู่ในตลาด “อียู” แนวโน้มดี














ปัญหา สารเคมีและเชื้อจุลินทรีย์ ตก ค้างปนเปื้อนในพืชผักและผลไม้ เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการส่งออกสินค้าพืชของไทยไป
ต่างประเทศ ปัญหาดังกล่าวเกือบทำให้ไทยถูก สหภาพยุโรป หรือ อียู (EU) ระงับการนำเข้าสินค้าผักสด หลังได้รับการแจ้ง
เตือนจากอียูบ่อยครั้ง กรมวิชาการเกษตร ได้มุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง โดยกำหนดมาตรการควบคุมพิเศษระบบ
บัญชีรายชื่อ (Establishment list : EL) การส่งออกผักและผลไม้สดไปสหภาพยุโรป ซึ่งได้รับความร่วมมืออย่างดีจาก
ผู้ประกอบการและผู้ส่งออก ทำให้ปัญหาสารเคมีตกค้างและเชื้อจุลินทรีย์ปนเปื้อนลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ อียู เชื่อมั่นใน
มาตรการฯ นี้ ทำให้ไทยสามารถส่งออกสินค้าผักสดไปยัง อียู ได้คล่องตัวมากขึ้น

นายดำรงค์ จิระสุทัศน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ภายหลังกรมวิชาการเกษตรได้นำ มาตรการควบคุมพิเศษระบบ
บัญชีรายชื่อ มาใช้ควบคุมระบบการผลิตสินค้าผักสด เพื่อส่งออกไปยังกลุ่มอียูสามารถแก้ไขปัญหาสารเคมีตกค้างและเชื้อ
จุลินทรีย์ปนเปื้อนในสินค้าผักสดได้ ถือเป็นเครื่องสำคัญที่ช่วยผลักดันการส่งออกสินค้าผักสดไปยังตลาด อียู ได้อย่างมีประ
สิทธิภาพ ล่าสุดสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป ได้ส่งหนังสือแจ้งสถิติปริมาณการตรวจ
พบสารตกค้างและเชื้อจุลินทรีย์ตกค้างในผักไทยที่ส่งออกไปยัง อียู ไตรมาสที่ 2 ปี 2555 ซึ่งผลการสุ่มตรวจพบว่า

ปัญหาการตรวจพบเชื้อจุลินทรีย์และสารพิษตกค้างในพืชผักของไทยมีปริมาณลดลงในระดับที่ต่ำกว่าทุกครั้งที่ผ่านมาตั้งแต่
ปี 2553 คาดว่า อาจเป็นผลมาจากการที่กรมวิชาการเกษตรนำผักกลุ่มภายใต้ข้อกำหนด EC Regulation 669/2009
ได้แก่ ถั่วฝักยาว มะเขือ พืชตระกูลกะหล่ำ สะระแหน่ ผักชี และขึ้นฉ่าย เข้าสู่ระบบ EL ด้วย DG-SANCO ได้แจ้งสถิติการ
ตรวจพบสารฆ่าแมลงตกค้างในสินค้าผักไทยที่ส่งออกไป อียู ภายใต้การถูกสุ่มตรวจเข้ม ณ ด่านนำเข้าของ อียู โดยไตรมาส
แรกของปี 2555 ตรวจพบ 6.2% และไตรมาสที่ 2 พบเพียง 2.35% ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปี 2554 ที่ตรวจพบ
สารฆ่าแมลง 10.96% และ 14.43% ส่วนการตรวจเชื้อจุลินทรีย์ในผักสด ได้แก่ เชื้อซัลโมเนลลา ปีนี้ไม่พบการปนเปื้อน
ซึ่งถือเป็นข่าวดีที่ปัญหามีแนวโน้มลดลงมาก ทำให้ อียู มีความพึงพอใจในผลการสุ่มตรวจ

จากสถิติดังกล่าว ทำให้คณะกรรมาธิการยุโรปเตรียมที่จะเสนอต่อประเทศสมาชิกให้ลงมติลดระดับการสุ่มตรวจหาสารฆ่าแมลง
ตกค้างในผักกลุ่มกะหล่ำ มะเขือ และถั่วฝักยาวที่นำเข้าจากไทย จากเดิมที่เคยสุ่มตรวจที่ระดับ 50% ลดลงเหลือ 20% ซึ่ง
คาดว่า ประเทศสมาชิก อียู จะเห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว และลดระดับการสุ่มตรวจผักสดไทยในต้นปี 2556

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมา มีประเทศที่ส่งออกผักสดไปยัง อียู ประสบปัญหาการตรวจพบสารเคมีตกค้างและ
เชื้อจุลินทรีย์ปนเปื้อนสินค้าคล้ายกับไทย โดยเฉพาะประเทศเวียดนาม ทาง อียู จึงได้ขอให้ไทยเป็นต้นแบบให้กับประเทศที่มี
ปัญหา โดยเวียดนามได้ขอความร่วมมือจากไทย เพื่อศึกษาเรียนรู้และดูงานเกี่ยวกับการจัดทำมาตรการควบคุมพิเศษระบบบัญชี
รายชื่อจากกรมวิชาการเกษตรแล้ว

ทั้งนี้ มาตรการควบคุมพิเศษระบบบัญชีรายชื่อ ที่กรมวิชาการเกษตรจัดทำขึ้น เป็นระบบที่ควบคุมการผลิตตั้งแต่ระดับฟาร์มจน
ถึงโรงคัดบรรจุ รวมถึงด่านตรวจพืชก่อนส่งออก โดยผู้ส่งออกและโรงคัดบรรจุต้องจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกผักและผลไม้ไป
อียู สำหรับผลผลิตพืชที่จะส่งออกนั้นต้องมาจากแปลงเกษตรกรเครือข่ายโรงคัดบรรจุ ขณะเดียวกันโรงคัดบรรจุต้องได้รับการ
รับรองคุณภาพมาตรฐาน จีเอ็มพี (GMP) มีการประยุกต์ใช้ระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤติที่ต้องควบคุม (HACCP)

นอกจากนั้น โรงคัดบรรจุต้องมีความรู้ ความสามารถและมีเครื่องมือในการตรวจสอบแมลงศัตรูพืชที่ติดมากับผลผลิตด้วย ปัจจุบัน
มีโรงงานคัดบรรจุผักและผลไม้ผ่านการตรวจประเมินและได้รับการรับรองเข้าสู่ระบบ EL แล้ว จำนวน 22 โรงคัดบรรจุ

...นอกจากกรมวิชาการเกษตรจะติดตามตรวจสอบโรงคัดบรรจุ และแปลงเกษตรกรเครือข่ายในระบบ EL อย่างต่อเนื่องแล้ว
ยังมีแผนเร่งบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนและผลักดันให้โรงคัดบรรจุและเกษตรกรระบบ EL มากขึ้น เพื่อเพิ่ม
ปริมาณการผลิตสินค้าพืชผักที่มีคุณภาพ มีความปลอดภัยทางอาหาร และสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ ซึ่งจะช่วยสร้างความ
เชื่อมั่นให้กับกลุ่มอียูและเพิ่มจุดแข็งสินค้าพืชผักของไทย ทำให้สามารถแข่งขันได้และช่วยผลักดันมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตร
ไทยเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต.


http://www.dailynews.co.th/agriculture/174184
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 07/01/2013 10:34 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,824. ดอกข้าว





ดอกข้าวคือ ส่วนที่มีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียสำหรับผสมพันธุ์ ดอกข้าวประกอบด้วยเปลือกนอก 2 แผ่นประสานกันเพื่อห่อหุ้ม
ส่วนที่อยู่ภายในไว้ ทั้งสองเปลือกนี้ภายนอกของมันอาจมีขนหรือไม่มีขนก็ได้ ถ้าที่เปลือกไม่มีขน ที่ใบของมันก็จะไม่มีขนและผิว
เรียบด้วย พันธุ์ข้าวบางพันธุ์มีหางสั้นและบางพันธุ์ก็มีหางยาว พันธุ์ที่มีหางยาวเป็นลักษณะที่ไม่ต้องการ เพราะทำให้เก็บ
เกี่ยวและนวดยาก นอกจากนี้อาจทำให้ผู้เข้าไปเก็บเกี่ยวเกิดเป็นแผลตามผิวหนังได้ง่าย

ในดอกข้าวแต่ละดอกจะมีกระเปาะเกสรตัวผู้จำนวน 6 อัน ส่วนเกสรตัวเมียนั้น ประกอบด้วยที่รับละอองเกสรตัวผู้ ซึ่งมีลักษณะ
คล้ายหางกระรอกขนาดเล็กจำนวน 2 อัน แต่ละอันมีก้านเชื่อมติดอยู่กับรังไข่ ในรังไข่จะมีไข่ ซึ่งเมื่อถูกผสมเกสรแล้วก็จะกลาย
เป็นเมล็ด จึงเห็นได้ว่าดอกข้าวเป็นดอกชนิดที่เรียกว่าดอกสมบูรณ์เพศ เพราะมีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน ฉะนั้น
การผสมเกสรส่วนใหญ่จึงเป็นแบบการผสมตัวเอง และมีการผสมเกสรแบบข้าม

ต้นเป็นจำนวนน้อยมากหรือประมาณ 0.5-5 % เท่านั้น ปกติการผสมเกสรเกิดขึ้นภายในดอกเดียวกันในเวลาเช้า ดอกข้าวจะเริ่ม
บานจากปลายรวงลงมาสู่โคนของรวงข้าว และรวงหนึ่ง ๆ จะใช้เวลาประมาณ 7 วัน เพื่อให้ดอกทุกดอกได้บานและมีการผสมเกสร.



http://www.dailynews.co.th/agriculture/174038
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 07/01/2013 5:45 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,825. สารรักษาสภาพน้ำยางยุคใหม่ (TAPS)


ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ ปัจจุบันไทยเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกยางธรรมชาติอันดับ 1 ของโลก
มีการผลิตประมาณปีละ 3 ล้านตันหรือร้อยละ 32 ของปริมาณการผลิตของโลก มีเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราประมาณ
1 ล้านครอบครัวหรือ 6 ล้านคน มีพื้นที่กรีดยางมากกว่า 10 ล้านไร่ น้ำยางที่กรีดได้จากต้น เรียกว่า น้ำยางสด ซึ่งถูกนำ
ไปผ่านกระบวนการปั่นเหวี่ยงให้ได้น้ำยางข้นเพื่อปรับปรุงคุณภาพ สะดวกกับการเก็บรักษาและขนส่ง ปัจจุบัน มีโรง
งานผลิตน้ำยางข้นอยู่ 90 โรงงาน กำลังการผลิต ประมาณ 7 แสนตัน น้ำยางข้นส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 85 ส่งออก
ตลาดต่างประเทศ ส่วนที่เหลือถูกนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมแปรรูปน้ำยางเพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ยางที่มีมูล
ค่าสูงขึ้น ได้แก่ ถุงมือยาง ถุงยางอนามัย ลูกโป่ง จุกนมยาง ยางยืด



น้ำยางสดที่ใช้สาร TAPS


น้ำยางสดหลังกรีดจากต้นคงสภาพเป็นน้ำยางอยู่ได้เพียงระยะเวลาสั้น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางเคมีที่ผิวของ
อนุภาคยางและการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของแบคทีเรียที่ใช้สารอาหารในน้ำยาง ทำให้อนุภาคยางรวมตัวเป็นก้อน
บูดเน่ามีกลิ่นเหม็น การผลิตน้ำยางข้นจึงต้องใช้สารรักษาสภาพทั้งในส่วนของน้ำยางสดก่อนการแปรรูปและน้ำยางข้น
หลังการแปรรูป



น้ำยางสดที่กรีดจากต้น


สารเคมีที่ใช้ในการรักษาสภาพน้ำยาง คือ แอมโมเนีย ซึ่งระเหยง่ายและมีกลิ่นรุนแรงมาก เมื่อระเหยสู่บรรยากาศเกิด
มลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม น้ำยางที่อยู่ระหว่างการเก็บรักษามีคุณสมบัติไม่คงที่ การยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย
ให้มีประสิทธิภาพ ต้องใช้แอมโมเนียปริมาณมาก ก่อให้เกิดปัญหาในการแปรรูปน้ำยาง และต้องใช้ร่วมกับสารซิงก์ออก
ไซด์ (ZnO) และสารเททระเมทีลไทยูแรมไดซัลไฟด์ (TMTD) ซึ่งอาจก่อให้เกิดมะเร็ง การพัฒนาระบบการรักษา
สภาพน้ำยางใหม่ทดแทนแอมโมเนียจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ


ดร.สุรพิชญ ลอยกุลนันท์ และทีมวิจัย จาก ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทค
โนโลยีแห่งชาติ พัฒนาวิธีการรักษาสภาพน้ำยางยุคใหม่ เพื่อการผลิตน้ำยางข้นเป็นการใช้สาร TAPS (Thai Advanced
Preservative System) แทนแอมโมเนียในการรักษาสภาพน้ำยางสดและ น้ำยางข้น ทำให้ได้น้ำยางข้นที่มีคุณภาพ
มีความปลอดภัย ต่อสิ่งมีชีวิต และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม



น้ำยางสดที่ไม่ใช้สาร TAPS
(จับตัวกันเป็นก้อน บูดเน่า มีกลิ่นเหม็น)


จากการทดลองผลิตน้ำยางข้นโดยใช้สาร TAPS ร่วมกับผู้ผลิตน้ำยางข้นในภาคตะวันออก ภาคใต้ และ ภาคตะวันออก
เฉียงเหนือ จำนวน 8 โรงงาน พบว่า น้ำยางข้นที่ผลิตโดยใช้ TAPS มีสมบัติเป็นไปตามมาตรฐานสากล มีต้นทุนการผลิต
เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย แต่สร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ได้อย่างชัดเจน ได้ผลิตภัณฑ์ยางที่ไม่เป็นพิษและพัฒนาเป็นเกรด
พิเศษสำหรับการผลิตผลิตภัณฑ์เฉพาะทางได้ราคาที่สูงขึ้น จากการทดสอบเบื้องต้นในการนำน้ำยางข้นที่ได้ไปใช้เป็นวัตถุ
ดิบในโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์ยาง เช่น โรงงานถุงมือยาง โรงงานจุกนมยาง และโรงงานถุงยางอนามัย ยืนยันความเป็นไปได้
ที่จะนำสารที่พัฒนาขึ้นไปใช้ในอนาคต



http://www.nstda.or.th/nstda-r-and-d/10021-treatment-nitrate


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 07/01/2013 7:55 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 07/01/2013 7:36 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,826. ที่ญี่ปุ่น "เมลอน" ลูกละ "เกือบ 7,000"



ที่ญี่ปุ่นผลไม้มีค่าดั่งทองคำ "เมลอน" ลูกละ "เกือบ 7,000" ทำไมเขาจึงขายได้?

การมอบผลไม้เป็นของกำนัล ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่นิยมทำกันทั่วไปในญี่ปุ่น แต่มีผลไม้อีกประเภทที่เราไม่สามารถพบเห็นได้
ตามแผงค้าผลไม้ตามตลาดสดทั่วไป เนื่องจากมันได้รับการเพาะปลูกและดูแลอย่างเป็นพิเศษ และนั่นเป็นเหตุผลว่าทำไม ราคา
ของมันจึงสูงลิบลิ่ว จนชาวบ้านอย่างเราๆได้แต่มองตาปริบๆ




ที่ร้านจำหน่ายผลไม้ "เซ็มบิกิยา" ในย่านใจกลางกรุงโตเกียว หนึ่งในเมืองที่ค่าครองชีพสูงที่สุดในโลก เสียงเพลงคลาสสิกเปิด
คลอเบาๆ ไปพร้อมกับพนักงานในชุดเครื่องแบบสุภาพเรียบร้อย คอยดูแลเอาใจใส่ลูกค้าคนสำคัญที่กำลังเลือกซื้อผลไม้ ท่าม
กลางบรรยากาศที่โอ่โถง การตกแต่งที่ดูสบายตา

ยูชิโอะ โอชิมา เจ้าของร้านผลไม้วีไอพี เดินตรวจตราในร้านด้วยความใส่ใจ เขาถือเป็นคนรุ่นที่ 6 ของตระกูล ที่สืบทอดธุรกิจ
จำหน่ายผลไม้มานานกว่า 130 ปี หรือย้อนกลับไปในศตวรรษที่ 19 ที่การจำหน่ายผลไม้ยังคงเป็นรูปแบบดั้งเดิม คือการกอง
ตั้งสูงๆและจำหน่ายในราคาย่อมเยา



เมลอนญี่ปุ่นลูกละ 18,900 เยน



แตงโมลูกละ 12,600 เยน




กระทั่งภรรยาของเจ้าของร้านรุ่นที่ 2 เล็งเห็นว่า น่าจะมีการปรับปรุงรูปแบบในการดำเนินธุรกิจเสียใหม่ เพื่อเปลี่ยนผลไม้ให้กลาย
เป็นเงินอย่างแท้จริง และนับตั้งแต่นั้น กระทั่งปัจจุบัน ที่นี่ได้กลายเป็นร้านจำหน่ายผลไม้ที่มีราคาแพงที่สุดในโลก โดยที่ไม่มีใคร
คิดต่อกร



ภาพ: BBC

แอปเปิลแดงสดเสมอกันลูกโตๆ ไร้รอยตำหนิให้รกตา ขนาดเท่าศีรษะของทารก ถูกตั้งราคาไว้ที่ 2,100 เยน (ประมาณ 777
บาท) "ต่อลูก" มิใช่ต่อถุงอย่างที่เราเคยซื้อกัน




ภาพ: BBC

ขณะที่ "สตรอว์เบอร์รีราชินี" ขนาดคัดพิเศษของร้าน วางจำหน่ายในแพ็คเกจขนาด 12 ลูกพอดิบพอดี โดยตั้งราคาไว้ที่ 6,825 เยน
(ประมาณ 2,525 บาท) แม้ในวันธรรมดาที่ยอดขายปกติก็สามารถขายได้ถึง 50 กล่อง หรือถ้าสนใจแตงเมลอนญี่ปุ่น ที่ถูกคัดมาอย่าง
ดี แต่ละลูกกลมกลึงได้สัดส่วนไร้ที่ติ ร้านก็มีจำหน่ายในราคา 18,900 เยนต่อลูก (ประมาณ 6,993 บาท)




โอชิมาเผยว่า ร้านของเขาเชี่ยวชาญในการคัดเลือกผลไม้ เพื่อนำมาเป็นของกำนัล ซึ่งแน่นอนว่าทุกลูกต้องอยู่ในสภาพที่ไร้ที่ติ และ
สภาพภายนอกถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง นอกเหนือการให้บริการที่ดี ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมลูกค้าจึงต้องจ่ายเงินในราคาสูงกว่าปกติ

โดยทั่วไป ครอบครัวชาวญี่ปุ่นทั่วไปมักมอบของกำนัลกัน 2 ครั้งต่อปี ครั้งแรกในช่วงฤดูร้อน และอีกครั้งในฤดูหนาว แต่ตามธรรม
เนียมปฏิบัติที่แท้จริงอาจมากกว่านั้น บางครั้งเพื่อเป็นการแสดงความมีไมตรีจิต เช่น เจ้าของธุรกิจมักส่งของกำนัลให้แก่ลูกค้าหรือ
คู่ค้า




องุ่นทับทิมโอกินาวาพวงละ 6,300 เยน (ราว 2,331 บาท)




นักท่องเที่ยวที่มีโอกาสเดินทางไปโตเกียว มักรู้สึกประหลาดใจต่อการจัดวาง และราคาของสินค้าตามซูเปอร์มาร์เก็ต ผลไม้ที่มี
รูปร่างบิดเบี้ยว มีตำหนิ จะไม่มีวันได้เผยโฉมตามชั้นสินค้า องุ่นมาในพวงแน่นๆและถุกตัดแต่งมาอย่างดี ขณะที่ผลไม้ประเภทอื่น
ดูดีและสมบูรณ์ รสชาติหวานหอมไร้ที่ติ กระทั่งลูกค้าหลายคนคิดว่ามันอาจเป็นของปลอม



มะม่วงโอกินาวา คู่ละ 32,550 เยน (ราว 12,043 บาท)


ในย่านใจกลางกรุงโตเกียว แอปเปิลธรรมดาๆ อาจมีราคาอยู่ที่ราว 60 บาทหรือมากกว่านั้น ฮิโรโกะ อิชิกาว่า เจ้าของธุรกิจกระจาย
สินค้าเผยว่า ผลไม้ยังคงเป็นสินค้าที่มีราคาสูง ซึ่งแตกต่างจากผัก ซึ่งเป็นอาหารที่เราจำเป็นต้องรับประทานทุกวัน

แต่ผลไม้เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นต่อชีวิตประจำวันเช่นนั้น ซึ่งเหมือนกับเราซื้อของบางอย่างเพราะมันดูดี เธอกล่าวว่าเรื่องเช่นนี้อาจมี
เฉพาะในญี่ปุ่น เนื่องจากชาวญี่ปุ่นมีความเชี่ยวชาญมากกว่าชาติใดๆ

ที่จังหวัดชิซุโอกะ ห่างจากกรุงโตเกียวไปทางตะวันตกเฉียงใต้โดยทางรถไฟประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง เป็นพื้นที่ปลูกแตงเมลอนที่ดี
ที่สุดในประเทศ ที่นี่ เกษตรกรกว่า 600 ราย ทราบดีว่าจะปลูกอย่างไรให้แตงออกมาดีที่สุด แม้ในยามที่พื้นดินเต็มไปด้วยหิมะ

มาซาโอมิ ซูซุกิ ทำงานในฟาร์มแบบปิดมานานกว่า 50 ปี แม้กระนั้น เขากล่าวว่า เขาได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆในการปลูกแตงทุกวัน
กระบวนการทั้งหมดเริ่มต้นมาจากการมีเมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์ ที่ได้รับการสนับสนุนจากสมาคมการเกษตรในท้องถิ่น ซึ่งทำการ
วิจัยเมล็ดพันธุ์ใหม่ๆทุกปี ขณะที่เมล็ดพันธุ์ที่ไร้คุณภาพจะถูกคัดออก

เมื่อลำต้นเติบโตขึ้นและเริ่มออกผลเล็กๆ แต่ละต้นจะถูกตกแต่งให้เหลือเพียงต้นละผล เพื่อให้ได้รับสารอาหารอย่างเต็มที่ การ
ตัดเล็มเป็นไปด้วยความระมัดระวัง กระทั่งลำต้นเรียงเป็นแถวเสมอกัน และได้ผลเมลอนเรียงเป็นแถวสวยงาม พร้อมทั้งไม้ค้ำเพื่อ
ไม่ให้ผลถ่วงลำต้น เมื่อผลโตได้ที่ ซูซุกิจะใช้หมวกพลาสติกเพื่อห่อผลเพื่อป้องกันแสงแดด



ภาพ: BBC

เขาเชื่อว่านี่เป็นวิธีการดูแลเอาใจใส่ที่ดีที่สุดเมื่อเทียบกับฟาร์มเมลอนอื่นๆทั่วประเทศขณะที่ฟาร์มอื่นอาจใช้วิธีการดูแลที่ต่าง
กันไป และปล่อยให้มีเมลอนหลายผลต่อหนึ่งต้น และเรียกชื่อวิธีการดังกล่าวตามนามสกุลของตนเองว่า "วิธีซูซุกิ"

ผลที่ได้ก็คือ เมลอนที่มีสีเขียวอ่อน ผิวที่เสมอกันไร้ที่ติ แต่ที่สำคัญยิ่งกว่าคือ ก้าน ที่จะต้องเป็นรูปตัวที จึงจะเป็นแตงที่สมบูรณ์
ที่สุด และแม้ว่าเขาจะใช้ความพยายามมากเพียงใด ก็พบว่า ผลผลิตที่มีความสมบูรณ์ที่สุด คิดเป็นร้อยละ 3 ของผลผลิตทั้งหมด
เท่านั้น



ภาพ: BBC

การปลูกแตงเมลอนเพื่อตอบสนองตลาดญี่ปุ่นเป็นธุรกิจที่ต้องอาศัยการลงทุนลงแรงที่สูงโดยที่ฟาร์มของซูซุกิ ซึ่งเป็นฟาร์มแบบ
เรือนกระจกขนาดกลาง 3 หลัง ต้องใช้น้ำมันกว่าวันละ 55 ลิตร ในเครื่องทำความร้อน เพื่อรักษาอุณหภูมิให้เหมาะสมต่อการ
เพาะปลูก ไม่ว่าพระอาทิตย์จะจ้า ฝนตก หิมะตก หรือลมแรง ตลอด 24 ชม. และปีละ 365 วัน

เขากล่าวว่า ครอบครัวของเขาไม่ได้ออกไปเที่ยวพักผ่อนด้วยกันมานานมากแล้ว เนื่องจากจะต้องมีบางคนที่ต้องออกไปดูแล
ฟาร์ม หากเกิดสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงกระทันหัน เพราะแค่ช่วงพริบตาเดียว ผลผลิตทั้งหมดอาจได้รับความเสียหาย

และไม่น่าแปลกใจ เมื่อซูซุกิปฏิเสธว่า แตงเมลอนราคาลูกละ 7,000 บาท ไม่ใช่สิ่งที่ดูเกินเลยแต่อย่างใด !!


ขอบคุณ มติชนออนไลน์
จันทรวารสิริสวัสดิ์ค่ะ



http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=vinitsiri&month=03-2012&date=19&group=151&gblog=75


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 11/01/2013 3:29 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 11/01/2013 3:07 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,827. เมล่อนญี่ปุ่น (Melon in Japan)

เรื่องโดย : 19th Ronin





เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่าราคาผลไม้เกรดเอบางชนิดที่ประเทศญี่ปุ่นนั้นราคาค่อนข้างสูงมาก ถึงแม้จะผลไม้ตามฤดูกาลก็ตาม
แต่ถ้าหากเป็นผลไม้ระดับคุณภาพสูงราคาก็จะสูงตามด้วยเช่นกัน อีกไม่กี่วันจะถึงเดือนมิถุนายนแล้วใกล้จะถึงซัมเมอร์
แล้วสินะเนี่ย ผลไม้ในช่วงนั้นที่มีราคาสูงรสชาติยอดเยี่ยมคงหนีไม่พ้น Melon (メロン) มีทั้งลูกกลมๆ และลูกเหลี่ยมๆ
แล้วแต่การครีเอทของเจ้าของสวนเค้าล่ะ






การเพาะปลูกเมล่อนนั้นต้องปลูกในเรือนกระจกและมีการควบคุมการเพาะปลูกเป็นอย่างดี ที่จังหวัดไอจิ มีเมล่อนขึ้นชื่อที่
จะออกวางจำหน่ายในช่วงซัมเมอร์ของทุกๆ ปี ก็คือเมล่อนทรงสี่เหลี่ยม Kakumelo แล้วก็ยังมีเมล่อนที่ปลูกได้แต่ที่
ญี่ปุ่นชื่อว่า Yubari melon หรือ Musk melon ราคาก็หลักหมื่นเยนขึ้นไป เป็นแสนเยนก็มีนะ มีตราประทับบอกถึง
วันที่รสชาติดีที่สุดให้ด้วย คุณภาพไม่ต้องพูดถึง ทั้งหอมและหวานแน่นอน ราคาหลักพันเยนก็มีนะสำหรับ Musk melon
ส่วนหลักห้าร้อยเยนอัพก็แนะนำ Prince melon เปลือกจะบางและมีเนื้อสีส้มด้านใน ยังมีอีกหลายสายพันธุ์และราคาก็
แตกต่างกันไป





เมล่อนหาซื้อได้ตามช้อปร้านค้า ห้างสรรพสินค้าทั่วไป หรือถ้าหากไม่อยากซื้อเมล่อนเป็นลูกๆ ทานก็ซื้อเค้กที่มีเมล่อน
เป็นส่วนประกอบอยู่ด้วยก็ได้เพราะร้านเค้กที่ญี่ปุ่นมักจะใช้วัตถุดิบที่สด และตามฤดูกาลเป็นส่วนใหญ่ และได้รสชาตินุ่ม
ลึกแน่นอน ยังมีไอศครีมเมล่อน เจลลี่เมล่อน ขนมปังเมล่อน น่าทานทั้งนั้นเลยนะ

ที่ญี่ปุ่นเมล่อนมักจะถูกซื้อเป็นของเยี่ยมที่โรงพยาบาล อาจจะเป็นผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญสูง มีทั้งวิตามิน
ซี วิตามิน เอ เบต้าแคโรทีน ให้ประโยชน์แก่ร่างกายทั้งนั้นเลย จริงๆ แล้วเมล่อนหาซื้อได้ทั้งปีนั่นแหละ แต่ซัมเมอร์เป็น
ช่วงที่รสชาติอร่อยมากที่สุด





ลูกเมล่อนบางทีก็ถูกนำมาใช้เป็นสินค้าประยุกต์ตกแต่งลวดลายบนเปลือก เป็นสินค้าพรีเมี่ยมครบรอบในวันต่างๆ ดูดีและ
แถมยังเพิ่มมูลค้าขึ้นมาได้อีก ช่วงหน้าร้อนใครไปเที่ยวแถบไอจิหรือฮอกไกโดก็อย่าลืมไปชิมแตงหวานของญี่ปุ่นเค้าด้วย
นะเพราะของอร่อยๆ ไม่ได้มีทั้งปีนะจ๊ะ^^



http://www.marumura.com/japanist_talkative/?id=1083


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 11/01/2013 3:25 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 11/01/2013 3:22 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,828. เมล่อน ดีที่สุดในญี่ปุ่น

ที่จังหวัดชิซุโอกะ ห่างจากกรุงโตเกียวไปทางตะวันตกเฉียงใต้โดยทางรถไฟประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง เป็นพื้นที่ปลูกแตงเมลอน
ที่ดีที่สุดในประเทศ ที่นี่ เกษตรกรกว่า 600 ราย ทราบดีว่าจะปลูกอย่างไรให้แตงออกมาดีที่สุด แม้ในยามที่พื้นดินเต็มไปด้วยหิมะ


ภาพ: BBC

มาซาโอมิ ซูซุกิ ทำงานในฟาร์มแบบปิดมานานกว่า 50 ปี แม้กระนั้น เขากล่าวว่า เขาได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆในการปลูกแตงทุกวัน
กระบวนการทั้งหมดเริ่มต้นมาจากการมีเมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์ ที่ได้รับการสนับสนุนจากสมาคมการเกษตรในท้องถิ่น ซึ่งทำการ
วิจัยเมล็ดพันธุ์ใหม่ๆทุกปี ขณะที่เมล็ดพันธุ์ที่ไร้คุณภาพจะถูกคัดออก

เมื่อลำต้นเติบโตขึ้นและเริ่มออกผลเล็กๆ แต่ละต้นจะถูกตกแต่งให้เหลือเพียงต้นละผล เพื่อให้ได้รับสารอาหารอย่างเต็มที่
การตัดเล็มเป็นไปด้วยความระมัดระวัง กระทั่งลำต้นเรียงเป็นแถวเสมอกัน และได้ผลเมลอนเรียงเป็นแถวสวยงาม พร้อมทั้ง
ไม้ค้ำเพื่อไม่ให้ผลถ่วงลำต้น เมื่อผลโตได้ที่ ซูซุกิจะใช้หมวกพลาสติกเพื่อห่อผลเพื่อป้องกันแสงแดด



ภาพ: BBC

เขาเชื่อว่านี่เป็นวิธีการดูแลเอาใจใส่ที่ดีที่สุดเมื่อเทียบกับฟาร์มเมลอนอื่นๆทั่วประเทศขณะที่ฟาร์มอื่นอาจใช้วิธีการดูแลที่
ต่างกันไปและปล่อยให้มีเมลอนหลายผลต่อหนึ่งต้น และเรียกชื่อวิธีการดังกล่าวตามนามสกุลของตนเองว่า "วิธีซูซุกิ" ผลที่
ได้ก็คือ เมลอนที่มีสีเขียวอ่อน ผิวที่เสมอกันไร้ที่ติ แต่ที่สำคัญยิ่งกว่าคือ ก้าน ที่จะต้องเป็นรูปตัวที จึงจะเป็นแตงที่สมบูรณ์
ที่สุด และแม้ว่าเขาจะใช้ความพยายามมากเพียงใด ก็พบว่า ผลผลิตที่มีความสมบูรณ์ที่สุด คิดเป็นร้อยละ 3 ของผลผลิต
ทั้งหมดเท่านั้น



ภาพ: BBC

การปลูกแตงเมลอนเพื่อตอบสนองตลาดญี่ปุ่นเป็นธุรกิจที่ต้องอาศัยการลงทุนลงแรงที่สูงโดยที่ฟาร์มของซูซุกิซึ่งเป็นฟาร์ม
แบบเรือนกระจกขนาดกลาง 3 หลัง ต้องใช้น้ำมันกว่าวันละ 55 ลิตร ในเครื่องทำความร้อน เพื่อรักษาอุณหภูมิให้เหมาะ
สมต่อการเพาะปลูก ไม่ว่าพระอาทิตย์จะจ้า ฝนตก หิมะตก หรือลมแรง ตลอด 24 ชม. และปีละ 365 วัน

เขากล่าวว่า ครอบครัวของเขาไม่ได้ออกไปเที่ยวพักผ่อนด้วยกันมานานมากแล้ว เนื่องจากจะต้องมีบางคนที่ต้องออกไป
ดูแลฟาร์ม หากเกิดสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงกระทันหัน เพราะแค่ช่วงพริบตาเดียว ผลผลิตทั้งหมดอาจได้รับความเสียหาย

และไม่น่าแปลกใจ เมื่อซูซุกิปฏิเสธว่า แตงเมลอนราคาลูกละ 7,000 บาท ไม่ใช่สิ่งที่ดูเกินเลยแต่อย่างใด !!


http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1332070652&grpid=01&catid=01
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 11/01/2013 6:41 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


1,829. แคนตาลูปในกระถาง บนดาดฟ้า




















เรียนทุกท่านที่ถามมา…

ก่อนอื่นต้องขออภัยทุกท่านด้วยที่ไม่ได้ตอบคำถาม จนบัดนี้คงเลิกติดตามกันแล้วผมใคร่ขอเรียนด้วยความละอายว่า
ผมใช้คอมพิวเตอร์ไม่ค่อยเป็น ต้องอาศัยลูก ๆ ลงให้ ลูกคนที่ทำให้ย้ายไปอยู่ต่างประเทศแล้ว จึงทำให้ขาดตอนไป

ผมวัยเกือบ 70 แล้ว ทำส่วนนี้เป็นงานอดิเรก ทุก ๆ รอบในช่วงหลัง ๆ จะเพิ่มทีละ 10กระถาง จนปัจจุบัน รอบละ
170 กระถาง และพอได้ผลผลิตก็แจกฟรีให้กับญาติมิตร แต่โควตาแจกยังเพิ่มขึ้นเรื่อยตั้งใจว่าจะไม่เพิ่มจำนวนแล้ว
เพราะทำอยู่คนเดียว จะทำให้เหนื่อยเกินไป ไม่มีระบบท่อรดน้ำ ต้องรดน้ำทุกเช้าเย็น ตอนเก็บเกี่ยวต้องขนจากชั้น
5 ลงมา 10 กว่าเที่ยว : เช้าเย็นขึ้นลง 5 ชั้น ทั้งหมดคือการออกกำลังกายที่ถูกใจ

-- บนดาดฟ้าไม่มีเชื้อราและเครื่องปลูกทุกอย่างจะถูกฆ่าเชื้อด้วยแสงอาทิตย์จนแห้งสนิท

-- ใช้อาหารเลี้ยงกระต่ายจริง ๆ เพราะมีกากมากกว่า ไม่เน่าเหม็น มีสารอาหารหลายอย่างเข้าใจเองว่าดีสำหรับพืช
เช่นกัน (วิเคราะห์ดินไม่เป็น)

-- ดินที่ใช้คือดินเก่าที่คว่ำตากแดดจากกระถางเดิม แล้วผสมใบไม้และปุ๋ยคอกใส่เข้าไปใหม่ เถาแตงเดิมก็ตากแห้งและ
ขดใส่ก้นกระถาง ถ้าซื้อดินถุงมาเพิ่ม ต้องตากแดดให้แห้งก่อนทุกครั้ง

-- เมล็ดพันธุ์ ถ้านำจากผลที่ทานมาใช้ มันจะกลายพันธุ์ทางด้อยเสมอ ต้นอ่อนแอผลออกหลายแบบเป็นริ้วเป็นร่อง
เนื้อแข็งไร้คุณภาพ เมล็ดพันธุ์จากบริษัทยักษ์ใหญ่ให้คุณภาพดี 100 % แต่แพงมาก ตกเมล็ดละ 5 บาท แต่จากร้าน
เมล็ดพันธุ์ทั่วไปที่ระบุชนิดลักษณะพันธุ์และผู้จัดทำ ทดลองมาปลูกแล้วใช้ได้ดีไม่แพ้กัน ราคา 10 สตางค์ ถึง 1 บาท
เมล็ดที่สำรองไว้เก็บตู้เย็นช่องธรรมดา จะใช้ได้เป็นสิบปี

--การเพาะเมล็ดพันธุ์ ให้นำเมล็ดแช่น้ำเกลือจาง ๆ ไว้ 6 ชั่วโมง แล้วเอาออกมาผึ่งแห้ง 24 ชั่วโมง แล้วนำเมล็ดแช่น้ำ
ใหม่ 12 ชั่วโมง นำผ้าชนิดดูดซึมได้ดี (ควรเป็นผ้าฝ้ายเก่าก็ได้) จุ่มน้ำแล้วสลัดน้ำออกเหลือหมาด ๆ ห่อเมล็ดไว้ แล้ว
นำห่อนี้ใส่ถุงพลาสติกผูกปากวางไว้ในอุณหภูมิห้อง 24 ชั่วโมง แก้ออกดูจะเห็นงวงยื่นออกมาที่ปากเมล็ดเป็นใช้ได้
ถ้ายังไม่ยื่นออกมาให้ห่อไว้ใหม่คอยแก้ดู นำเมล็ดใส่ที่เพาะ โดยใช้ไม้ทิ่มรูตื้นๆ ใส่เมล็ดแล้วเกลี่ยดินทับ หรือวางเมล็ด
แล้วโรยดินทับหน้าประมาณ 1 เซนติเมตร หมั่นพรมน้ำ ประมาณ 48 ชั่วโมง ต้นจะโผล่ออกมา ย้ายปลูกได้เมื่อมี
ใบจริง 1-3 ใบ (เราไม่แช่น้ำแล้วผี่งแห้งและแช่ใหม่ เมล็ดจะแตกตัวไม่พร้อมกัน อาจห่างถึง 10 วันทีเดียว มันเป็น
ธรรมชาติของเมล็ดพืช ถ้ามันฉ่ำฝนรอบเดียว อาจจะฝนหลงฤดู ถ้ามันงอกอาจแห้งตายได้ กว่าครึ่งของมันจะยืดเวลา
งอกยาวออกไป แต่ถ้าทำตามขั้นตอนนี้ มันจะแตกตัวพร้อมกัน)

-- เพลี้ย เป็นปัญหาหนักสุดบนดาดฟ้า เพราะฉีดสารพิษไม่ได้ สารอื่นทดลองทุกอย่างแล้วไม่ได้ผลเลย (สารสะเดา
ขวดละ 200 กว่าบาท ก็ไม่ได้ผล) แต่ลองอยู่ 2 อย่างคือ น้ำส้มสายชูผสมน้ำ หรือแอลกอฮอลผสมน้ำฉีดได้ผลทันตา
เห็น แต่ 2-3 วันให้หลัง ใบจะเฉาแห้งหมด ใช้ยาล้างชาม 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 1 ลิตร ฉีดได้ผลบ้างไม่เป็นอันตรายต่อต้น
เพลี้ยบนดาดฟ้าจะเกาะมากับขาผึ้งช่วงดอกกำลังบาน มันเป็นวิธีการระบาดตามธรรมชาติ โดยมีมดซึ่งตัวเมียมี
ปีกและบินขึ้นมากระจายพันธุ์ช่วงเครื่องปลูกมีความชื้น มดจะเลี้ยงและขยายเพลี้ยเพื่อดูดกินน้ำหวานที่เพลี้ย

ถ่ายออกมา ยังไม่จนปัญญาที่จะป้องกันต้นที่อ่อนแอจะเฉาตาย, ต้นที่แข็งแรงจะไม่มีเพลี้ย, ต้นที่มีความต้านทาน
กลาง ๆ จะระบาดหนักช่วงลูกแตงแตกลาย แต่ประคองจนเก็บผลได้เสมอด้วยการใช้น้ำเปล่าฉีดรดทั้งต้นทุกครั้งที่ให้
น้ำ พอเก็บผลแล้ว เราก็ไม่ต้องรดน้ำ ตัดโคนต้นแตงทุกต้น แดดแรง ๆ 2-3 วันเพลี้ยก็ตายหมด คว่ำกระถางแล้วย่ำ
เท้าลงกลางดิน ๆ ก็จะแตกกระจายทิ้งไว้กลางแดง 3-5 วัน ก็นำมาผสมลงกระถางพร้อมปลูกต่อไป การระบาดหนัก
ของเพลี้ยเกิดขึ้นประมาณ 3 รอบต่อครั้ง

--เมล็ดพันธุ์เมืองหนาวแตงทิเบตและอีกหลายพันธุ์ของเฟอรี่ มอส จากสหรัฐ ทดลองปลูกดูแล้ว มันโตเร็วมาก ลูก
ใหญ่หนักถึง 2-3 กิโลกรัม แต่ช่วงเวลาของมันอยู่ที่ 60-70 วัน (แตงเมืองหนาวมักใช้เวลายาวถึง 90 วัน) มันคง
สร้างน้ำตาลไม่ทัน ความหวานสูงไม่เกิน 12 บริก นับเป็นมาตรฐานต่ำสุด

--เมล็ดแตงเพาะแบบคัดกรองเกสร (เรียกเป็นวิชาการไม่ถูก) ยากมาก มืออาชีพจะทำ ทำการทดลองและพัฒนาให้
สุดยอดและหลากหลายยากมาก ผมทำมาหลายครั้ง ล้วนไม่สำเร็จ มีเพียงสายพันธุ์ลูกผสมสีทองจากมาเลเซีย (ที่
จริงลูกผสมเฉพาะนี้ไม่ใช่สายพันธุ์ที่คงที่แล้วจะทำให้เมล็ดรุ่นต่อไปจะกลายพันธุ์ เหมือนต้นพันธุ์ไม่ได้)

พันธุ์สีทองที่สั่งทางอินเตอร์เนตจากมาเลเซีย เนื้อสีเข้ม หวานหอมใช้ได้ แต่ที่คัดกรองเมล็ดมา ลักษณะเหมือนดั้ง
เดิมทั้งหมด ยกเว้นเนื้อมีทั้งสีส้มและสีขาว ความหวานใช้ได้

ก่อนหน้านี้ได้พันธุ์อโรม่า ต้นแข็งแรง ใบหยาบหนา ไม่เคยมีเพี้ยระบาด แตงลายลูกเล็กไว้ผลได้ 2-3 ผล เนื้อส้มเข้ม,
ผิวบาง, ไส้ตัน, ความหวานวัดได้สูงขึ้น 16 บริก แต่ลูกมันเล็กมาก ไว้เดี่ยว ๆ ยังน้ำหนักไม่เกิน 1 กิโลกรัม ความโลภ
อยากแสวงหาลูกใหญ่กว่าเดิมเลยทิ้งมันจนสูญพันธุ์และหาไม่ได้อีกเลย

--ท่านที่คิดว่าสนใจเมล็ดพันธุ์สีทองนี้ หรือเป็นมือใหม่อยากทดลองปลูก สามารถขอเมล็ดพันธุ์ตัวอย่างได้ โดยส่ง
ซองจ่าหน้าถึงตัวท่านเองและติดแสตมป์หน้าซอง 4-5 บาท ตามที่อยู่ด้านล่าง


คุณบุญเย็น สรรค์เสถียร
163/20 ถนนรัชดาภิเษก 25
แขวงวัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่
กรุงเทพฯ 10600

ส่วนท่านที่ชำนาญ มีประสบการณ์แล้ว คงต้องหาสายพันธุ์ตามคำแนะนำจากร้านที่ขาย จึงจะได้ผลเต็มที่



ขอบคุณที่กรุณาให้ความสนใจ



http://rooffarm.exteen.com/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 11/01/2013 7:07 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,830. การปลูกแคนตาลูป





แคนตาลูป เป็นพืชที่ชอบ อากาศอบอุ่นถึงร้อน อุณหภูมิที่เหมาะสม สำหรับการเจริญเติบโต อยู่ระหว่าง 25-30 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิที่เหมาะสำหรับการงอกของราก แคนตาลูป อยู่ระหว่าง 25-30 องศาเซลเซียส

ความแตกต่างของ อุณหภูมิระหว่าง กลางวันกับกลางคืน มีอิทธิพลต่อ ความหวาน และคุณภาพของ แคนตาลูป ถ้าความแตกต่าง
ยิ่งมากจะทำ ให้ความหวาน และคุณภาพยิ่งสูง แต่สภาพที่หนาวเย็น จะทำให้ผลแคนตาลูปไม่โต การเจริญเติบโตจะชะงัก

แคนตาลูปเป็นพืชที่ ชอบแสงแดด ตลอดวัน ฉะนั้นในการเลือกพื้นที่ ปลูกควรเป็นพื้น ที่โล่งแจ้ง และไม่เคยปลูกพืช ตระกูลแตง
มาก่อน ควรเป็นดินร่วน ปนทรายระบายน้ำ ได้ดี มีความเป็น กรด-ด่าง อยู่ระหว่าง 6.0-6.8


การเตรียมเมล็ดพันธุ์และการหยอดเมล็ดแคนตาลูป
พื้นที่ปลูก 1 ไร่ เตรียมเมล็ดพันธุ์อัตรา 0-100 กรัม นำเมล็ดเมล็ดพันธุ์บรรจุลงในถุงพลาสติก หรือถุงซิบที่เจาะรูพรุน หรือถุง
เน็ต ลงแช่ในน้ำสะอาดนาน 4-6 ชม. จากนั้นนำเมล็ดออกมาสลัดน้ำทิ้งใช้ผัาขนหนูที่เปียกพอหมาดๆ ห่อ และนำไปบ่มในอุณ
หภูมิ 28-32 องศาเซลเซียส โดยใช้หลอดไฟขนาด 40-60 W. บ่มนาน 24 ชม. เมล็ดแคนตาลูปจะเริ่มงอกรากยาวประมาณ
0.5 ชม. ก็สามารถนำไปหยอด ลงในถุงดินหรือถาดเพาะกล้าต่อไป


การเตรียมถุงดินสำหรับเพาะเมล็ด ใช้ดินร่วน 2-3 บุ้งกี๋ ปุ๋ยคอกที่สลายตัวแล้ว 1 บุ้งกี๋ ปุ๋ย 0-46-0 กำมือ ผสมให้เข้ากัน กรอกลง
ในถุงพลาสติกขนาด 4×4 นิ้ว หรือ 4×6 นิ้ว โดยเจาะรูที่ก้นถุงทั้ง 2 ข้าง เพื่อระบายน้ำ และนำถุงดินไปวางเรียง
ในแปลงเพาะ ขนาดกว้าง 1.0-1.5 เมตร โดยวางเรียงประมาณ 12-15 ถุงต่อแถว จากนั้นรดน้ำถุงดินให้ชุ่ม นำเมล็ดที่งอกราก แล้ว
หยอดลงไปถุงละ 1 เมล็ด หลังหยอด 2-3 วัน เมล็ดจะเริ่มชูใบเลี้ยงขึ้นมา ช่วยแกะเอาเปลือกของเมล็ดออกด้วย รดน้ำต้นกล้าทุก
เช้าเย็น อายุต้นกล้าที่เหมาะสม 10-12 วัน มีใบจริง 2-4 ใบ ก็สามารถย้ายลงปลูกในแปลงได้



การเตรียมแปลงปลูกแคตาลูป
ไถดินตากไว้ 1-2 อาทิตย์ จากนั้นไถพรวนให้ละเอียดทำการยกร่องแปลง โดยใช้ปุ๋ยคอก (ขี้ไก่ 800-1,000 กก./ไร่) ปุ๋ย
15-15-15 อัตรา 50 กก./ไร่ ฟูราดาน 2-3 กก./ไร่ ถ้าสภาพดินที่มี pH ต่ำ ควรใช้ปูนขาวอัตรา 100-200 กก./ไร่ การเตรียม
แปลงถ้าเป็นแบบขึ้นค้างให้ห่างกัน 1.2-1.5 เมตร ความกว้างของร่องน้ำ 60-70 ซม. หลังแปลงกว้าง 80-90 ซม. ใช้พลาสติก
คลุม(พลาสติก 2 สี สีบรอนซ์และสีดำ) แล้วทำการเจาะหลุมปลูกห่างกัน 40-45 ซม.


ถ้าเป็นแปลงแบบเลื้อย ใช้ขนาดแปลงกว้าง 3-4 เมตร เตรียมแปลงคู่(แบบเดียวกับแตงโม) ร่องน้ำกว้าง 60-70 ซม.


การย้ายปลูก หลังเตรียมแปลงเสร็จก่อนย้ายปลูก 1-2 วัน ให้ฉีดพ่นยาต้นกล้า หรืองดการให้น้ำต้นกล้า เพื่อให้ต้นกล้าชะงักการ
เจริญเติบบโต (Harddening) ใช้ระยะปลูก 40-45 ซม. รดน้ำหลุมให้ชุ่ม แล้วนำต้นกล้าปลูกลงไปหลุมละ 1 ต้นหลังปลูก
เสร็จรดน้ำตามอีก 1 รอบ



การดูแลรักษาแคนตาลูป
การให้ปุ๋ย
ครั้งที่ 1 หลังปลูก 7-10 วัน ให้ยูเรีย อัตรา 1 ช้อนแกงต่อนำ 10 ลิตร รดที่โคนต้น ระวังอย่าให้ถูกใบ

ครั้งที่ 2 หลังย้ายปลูก 20-30 วัน ให้ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 25 กก./ไร่ โดยวิธีฝังระหว่างต้นหรือโรยที่ร่องน้ำ

ครั้งที่ 3 หลังย้ายปลูก 40 วัน ให้ปุ๋ย 13-13-21 หรือ 14-14-21 อัตรา 25 กก./ไร่ โดยวิธีฝังระหว่างต้น หรือโรยตามร่องน้ำ

ครั้งที่ 4 เพิ่มปุ๋ยโปแตส เพื่อเพิ่มความหวานและสีสรร อาจใช้ปุ๋ยยูเรียผสมในอัตรา 1:1 โดยหว่านตามร่องน้ำก่อนการเก็บ 1-2 สัปดาห์


การให้น้ำ ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้แคนตาลูปเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ อย่าให้ขาดน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการติดผล ซึ่ง
จะทำให้ผลแคนตาลูปอาจไม่โต การให้น้ำไม่สม่ำเสมอนอกจากระทำให้การเจริญเติบโตชะงักแล้ว อาจทำให้ผลปริแตกได้


การไว้ผลและการตัดแต่งกิ่ง กิ่งแขนงที่เกิดตั้งแต่ข้อที่ 1 จนถึงข้อที่ 8 ให้ตัดแต่งออกให้หมด และเริ่มไว้ผลข้อที่ 9-10,11-12 ให้
เลือกผลที่ดีที่สุดไว้ 1 ผล แล้วทำการห้อยผลไว้กับราวไม้เพื่อป้องกันมิให้ผลวางกับพื้น ซึ่งจะทำให้ผลเน่าเสียหายได้ ส่วนกิ่งแขนง
ตั้งแต่ข้อที่ 13 ขึ้นไป ให้ตัดแต่งออกให้หมดและทำการเด็ดยอดข้อที่ 30-35


การเก็บเกี่ยว ให้เลือกเก็บเกี่ยวผลคนตาลูปที่สุกไม่น้อยกว่า 80% ขึ้นไป และใช้หลักในการพิจารณาเก็บแคนตาลูป ดังนี้

นับอายุ หลังจากดอกบานแล้วประมาณ 30-35 วัน สังเกตรอยแตกปริของขั้วผล

สังเกตจากสีผิว ถ้าเป็นพันธุ์ผิวเรียบ ผิวจะเป็นมันเรียบสีนวลตามสายพันธุ์ แต่ถ้าเป็นพันธุ์ที่มีตาข่าย จะสังเกตเห็นตาข่าย นูนเด่นชัดเจน

สังเกตจากกลิ่น ถ้าเป็นแคนตาลูปพันธุ์ที่มีกลิ่นหอม ถ้าสุกกลิ่นจะเริ่มหอมขณะเดินไปแปลงจะได้กลิ่น


โรค-แมลงและการป้องกันกำจัด
- โรคราน้ำค้าง เกิดในสภาพอากาศที่อุณภูมิต่ำ ความชื้นสัมพันธ์สูง ป้องกันกำจัดด้วยสารเคมีพวกดาโคนิล, ริดโดมิล, เอพรอน 85

- โรคเหี่ยว ป้องกันโดยไม่ปลูกซ้ำพื้นที่เดิม

- โรคราแป้ง เกิดในสภาพอากาศที่มีอุณหภูมิต่ำ ความชื้นสัมพันธ์ต่ำ ป้องกันกำจัดโดยใช้ยาอาฟูกาน

- โรคไหม้ เกิดในสภาพอากาศอุณหภูมิต่ำ ความชื้นสัมพันธ์สูง เกิดทั้งที่ใบและลำต้น ป้องกันโดยฉัดพ่นสารประเภทดูดซึม เช่น คาร์
เบนดาซิม, เบนเลท, ท๊อบซินเอ็ม

- เพลี้ยไฟ ดูดกินน้ำเลี้ยงเป็นพาหะของไวรัส ป้องกันโดยใช้ยาดูดซึมพวก คาร์โบฟูราน รองก้นหลุม ฉีดยาพ่นยาพวกคาร์โบซันแฟน ,
เมทโธมิล

- แมลงเต่าแตง ระบาดโดยกัดกินใบ ป้องกันกำจัดด้วยสารเคมี พวกคาร์บาริล หรือสารดูดซึม ในกลุ่มของไดโครโตฟอส

- หนอนกัดกินใบและผลอ่อน ป้องกันโดยใช้ยากลุ่มเมทโธมิล หรือกลุ่มโมโนโคร โตฟอส




http://www.vegetweb.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 07/01/2023 6:05 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 13/01/2013 6:51 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


1,831. ใช้ “น้ำมะพร้าวหมัก” ช่วยน้ำยางพาราจับตัวดีกว่า “กรด” 8 เท่า




ศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย สวทช. – นักเรียนโครงการเจเอสทีพีพบ “น้ำมะพร้าวหมัก” มีประสิทธิภาพช่วยน้ำยางพาราจับตัว
เร็วกว่าการใช้กรดน้ำส้มถึง 8 เท่า ได้แผ่นยางพาราดิบที่มีคุณภาพดี เหมาะแก่อุตสาหกรรมยางพาราในครัวเรือน เสนอเป็น
ทางเลือกใหม่ใช้สารจากธรรมชาติ ลดการใช้สารเคมี เพื่อสุขภาพที่ดีของเกษตรกรและสิ่งแวดล้อม

น.ส.ศรีสุดา โรจน์เสถียร นักเรียนชั้น ม. 6 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี และเยาวชนโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิท
ยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับเด็กและเยาวชน ( Junior Science Talent Project) หรือ เจเอทีพี (JSTP) สำนักงาน
พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวทช.) เผยว่าในขั้นตอนผลิตยางแผ่นดิบจะต้องใช้น้ำยางพารามาผสมกับสารละลายกรด เช่น
กรดฟอร์มิก หรือ กรดแอซิติก (กรดน้ำส้ม) เพื่อให้เนื้อยางจับตัวกันเป็นก้อนก่อนนำไปขึ้นรูปเป็นยางแผ่น แต่นอกจากเป็นสารเคมี
ราคาแพงแล้วอาจมีผลเสียต่อสุขภาพเกษตรกรในอนาคต จึงสนใจหาสารจากธรรมชาติที่มีคุณสมบัติเป็นกรดมาช่วยในการจับตัวของ
น้ำยางพาราแทนสารเคมี

“เมื่อลองหาวัตถุดิบในภาคใต้พบว่า พื้นที่เกษตรกรรมส่วนใหญ่นอกจากเป็นสวนยางพาราแล้ว ชาวบ้านมักปลูกสวนมะพร้าว
ในบริเวณใกล้เคียงกันด้วย โดยส่วนใหญ่จะเน้นขายเนื้อมะพร้าวและทิ้งน้ำมะพร้าวไว้ เพราะขายไม่ได้ราคา น้ำมะพร้าวที่เหลือทิ้ง
บางส่วนชาวบ้านจะนำมาใช้ถนอมอาหารด้วยการดองผักตามภูมิปัญหาดั้งเดิม เช่น ผักเสี้ยนดอง ซึ่งจะมีรสเปรี้ยว เนื่องจากปกติ
สารที่มีรสเปรี้ยวมักมีสมบัติเป็นกรด จึงตั้งสมมุติฐานว่า หากนำน้ำมะพร้าวมาหมักก็จะมีฤทธิ์เป็นกรด และอาจนำมาใช้แทนสารเคมี
ในกระบวนการผลิตแผ่นยางดิบได้” น.ส.ศรีสุดา เผยที่มาของจุดเริ่มในการทำวิจัยครั้งนี้

ในงานวิจัยนี้ น.ส.ศรีสุดากล่าวว่าได้ทดลองผสมน้ำมะพร้าวหมักกับน้ำยางพาราแล้วพบว่าเนื้อยางพารามีการจับตัวกันได้ดี จึงขยาย
ขนาดภาชนะที่ใช้ทดลอง จากนั้นหาอัตราส่วนการทำน้ำมะพร้าวหมักหรือหาอัตราส่วนของน้ำมะพร้าวต่อน้ำตาล แล้วหาอัตราส่วนผสม
ของน้ำมะพร้าวหมักต่อน้ำยางพาราต่อ เพื่อดูว่าอัตราส่วนใดที่ให้เนื้อยางพาราจับตัวได้ดีและใช้เวลาน้อยที่สุด

จากการทดลองพบว่าการหมักน้ำมะพร้าว 16 ส่วนต่อน้ำตาล 1 ส่วน เป็นเวลา 22 วันเป็นอัตราส่วนผลิตน้ำมะพร้าวหมักที่ให้น้ำ
ยางพาราจับตัวอย่างสมบูรณ์ในเวลา 18 นาที และได้แผ่นยางคุณภาพดี มีสีเหลืองอมน้ำตาลอ่อนสม่ำเสมอทั้งแผ่น ส่วนอัตราส่วน
ของน้ำมะพร้าวหมักผสมกับน้ำยางพารา พบว่า อัตราส่วนน้ำยางพารา:น้ำมะพร้าวหมัก:น้ำ เป็น 4:2:1, 4:1.5:2, และ 4:2:2 นั้น
ช่วยให้น้ำยางพาราจับตัวได้ดีในเวลาที่ไม่ต่างกันมากนัก ดังนั้นจึงเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม

นอกจากนี้ในงานวิจัยยังได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบการจับตัวของน้ำยางพาราที่ใช้น้ำมะพร้าว และกรดแอซิติก ที่มีการควบคุมค่า
ความเป็นกรด-เบส หรือค่า pH ให้เท่ากัน พบว่า น้ำมะพร้าวหมักที่อัตราส่วน 16:1 ช่วยให้น้ำยางพาราจับตัวได้เร็วกว่าการใช้กรด
แอซิติก ถึง 8.11 เท่า และเมื่อนำยางแผ่นที่ได้จากน้ำมะพร้าวหมักไปทดสอบคุณภาพกับสถาบันวิจัยยางพารา กรมวิชาการเกษตร
พบว่ายางแผ่นที่ได้มีคุณภาพใกล้เคียงกัน ทั้งในส่วนของสี (Lovibond scale) ที่ได้ ค่าความอ่อนตัวแรกเริ่ม ปริมาณไนโตรเจน
สิ่งระเหย และเถ้ามีค่าใกล้เคียงกัน

นางสาวศรีสุดา กล่าวว่า ผลวิจัยแสดงให้เห็นว่าน้ำมะพร้าวหมักช่วยให้น้ำยางพาราจับตัวได้ดี และแผ่นยางที่ได้มีคุณภาพใกล้เคียงกับ
การใช้กรดแอซิติก ซึ่งเกษตรกรสามารถนำไปทดลองใช้ได้ เพียงแต่ในเบื้องต้นยังเหมาะต่อการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมครัวเรือนเท่านั้น
ส่วนแผนงานวิจัยต่อจากนี้จะมีการศึกษาว่าสารชนิดใดในน้ำมะพร้าวที่ช่วยให้น้ำยางพาราจับตัวดี เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาไปสู่
การนำไปใช้ในภาคอุตสาหกรรมยางพาราขนาดใหญ่ในอนาคต

สำหรับงานวิจัยนี้มี น.ส.คณิตา สุขเจริญ อาจารย์โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี เป็นที่ปรึกษา และ นางฉวีวรรณ คงแก้ว นักวิจัย
จากศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. เป็นนักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยงในโครงการ เจเอสทีพี



http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9550000021936
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 13/01/2013 7:03 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,832. ทำนาวิธีใหม่ลดก๊าซโลกร้อน...ได้ทั้งข้าวทั้งพลังงาน


เมื่อ 3-4 ปีก่อนเคยมีการพูดถึงปัญหาการแย่งพื้นที่เพาะปลูกระหว่างพืชอาหารและพืชพลังงาน ซึ่งต่างเป็นสิ่งจำเป็นทั้งคู่ และยังมี
การพูดถึงการเป็นต้นเหตุของภาวะโลกร้อนจากการปลูกข้าวแบบน้ำขังซึ่งให้ก๊าซมีเทนที่เป็นปัจจัยรุนแรงกว่าคาร์บอนหลายเท่า นักวิจัย
มจธ.จึงทดลองปลูกข้าวสลับกับพืชพลังงาน ซึ่งนอกจากแก้ปัญหาการแย่งพื้นที่เพาะปลูกแล้ว ยังลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อีกด้วย

รศ.ดร.สิรินทรเทพ เต้าประยูร ผู้อำนวยการบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เผยว่า พื้นที่ด้านหลัง มจธ.วิทยาเขตราชบุรีนั้นเป็นพื้นที่ข้าว ซึ่งนาข้าวของ จ.ราชบุรี เป็นระบบนา
น้ำฝน ที่ปลูกข้าวได้ปีละ 4 เดือน ส่วนอีก 8 เดือนถูกปล่อยทิ้งร้าง ทีมวิจัยจึงพยายามใช้ช่วงที่พื้นที่ว่างจากการทำงานมาทดลอง
ปลูกพืชพลังงาน เพื่อลดปัญหาการแข่งขันระหว่างพืชอาหารและพืชพลังงาน

ทีมวิจัยทดลองปลูกข้าวโพดและข้าวฟ่าง ซึ่งข้าวโพดนั้นนำไปผลิตก๊าซชีวภาพได้ ส่วนข้าวฟ่างนั้นนำไปผลิตเป็นเอทานอล และใน
การทดลองปลูกพืชพลังงานนั้นทีมวิจัยได้วัดการเก็บก๊าซคาร์บอนในดินและการปล่อยก๊าซคาร์บอนในนาข้าว โดยใช้อุปกรณ์พิเศษ
ที่ออกแบบมาให้สามารถเก็บก๊าซจากนาข้าวไปวิเคราะห์หาปริมาณก๊าซมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์ได้ ซึ่งมีทั้งอุปกรณ์ที่
ทำงานแบบอัตโนมัติ ซึ่งจะเก็บตัวอย่างได้ทั้งวันทั้งคืนทุกๆ 1-2 ชั่วโมง และแบบควบคุมด้วยคนที่จะเก็บตัวอย่างในช่วงกลางวัน

ผลจากการทดลองปลูกข้าวสลับกับพืชพลังงาน รศ.ดร.สิรินเทพ บอกทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ ว่า พืช
พลังงานช่วยลดก๊าซมีเทนในนาข้าวได้เนื่องจากไม่ต้องใช้น้ำขังเหมือนการทำนา นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มอินทรีย์วัตถุในดินให้เพิ่ม
มากขึ้น ช่วยให้ข้าวได้ผลผลิตมากขึ้น แต่อยากแนะนำให้ปลูกข้าวฟ่าง เพราะโตเร็ว ดูแลง่าย และหวานเหมาะแก่การผลิตเอทานอล

ส่วนการเก็บคาร์บอนในดินนั้นยังต้องทดลองต่อไปอีก 3-4 ปี จึงจะบอกได้ โดยตอนนี้ทีมวิจัยได้ทดลองปลูกพืชพลังงานสลับการ
ปลูกข้าวมา 3 ปีแล้ว รวมทั้งหมด 4 ครอป (ระบบการปลูก โดย 1 ปี ปลูกได้ 2 ระบบการปลูก) นอกจากนี้ยังต้องดูความคุ้มค่า
ทางเศรษฐกิจว่าการปลูกพืชพลังงานและพืชอาหารเช่นนี้จะมีความคุ้มค่าหรือไม่


http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9550000146874
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 13/01/2013 7:10 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,833. ข้าวบาสมาติ 370


สอาง ไชยรินทร์ สุมาลี สุทธายศ จิตกร นวลแก้ว ยลิศร์ อินทรสถิตย์ และ สุพัตรา สุวรรณธาดา



บทคัดย่อ
เพื่อศึกษาคุณภาพของเมล็ดข้าวบาสมาติ 370 เมื่อปลูกในดินนาชุดต่าง ๆ โดยนำเมล็ดจากทะเบียนวิจัย ลักษณะดินนาที่มีความ
เหมาะสมต่อการปลูกข้าวบาสมาติ ในเขตภาคเหนือตอนล่าง โดยปลูกในดินนาชุดต่าง ๆ 17 ชุด

ทำการวิเคราะห์คุณภาพเมล็ดทางเคมี ปริมาณ amylose, Gel consistency, Alkalitest, ความหอม และอัตราการยืด
ตัวของเมล็ดข้าวเมื่อหุงสุก พบว่าคุณภาพเมล็ดข้าวทางเคมีไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ

ทำการวิเคราะห์คุณภาพเมล็ดข้าวทางกายภาพ, นน.100 เมล็ดของข้าวเปลือกและข้าวกล้องที่ 14 ขนาดรูปร่างเมล็ด พบว่าไม่มี
ความแตกต่างกันทางสถิติ ทั้งความกว้าง,ความยาว และความหนา




http://www.phtnet.org/research/view-abstract.asp?research_id=we149
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11563

ตอบตอบ: 17/01/2013 7:39 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,834. การใช้ประโยชน์จากสวนปาล์มน้ำมัน :


ปาล์มน้ำมันให้ผลผลิตและเก็บเกี่ยวทะลายได้เมื่อปาล์มอายุ 2.5-3 ปีหลังปลูก ดังนั้น เกษตรกรที่ปลูกปาล์มน้ำมันจะไม่มีรายได้จากสวนปาล์มในช่วง 1-2 ปีแรก แต่มีแนวทางในการเพิ่มรายได้ โดยการปลูกพืชอื่นร่วมกับการปลูกปาล์มในพื้นที่ว่างระหว่างแถวปาล์มน้ำมันอายุ 1-2 ปี ได้แก่ การปลูกผัก พืชล้มลุก หรือพืชอื่นที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น ซึ่งนอกจากจะเพิ่มรายได้จากการขายผลผลิตแล้ว การรดน้ำและใส่ปุ๋ยพืชเหล่านี้ต้นปาล์มน้ำมันก็ได้ประโยชน์ด้วย แต่เมื่อ ต้นปาล์มอายุมากขึ้นทางใบปาล์มแผ่เต็มพื้นที่ระหว่างแถวทำให้แสงแดดส่องผ่านน้อยลงสวนปาล์มร่มขึ้น สามารถเปลี่ยนมาปลูกพืชที่ใช้แสงน้อยลง เช่น การเพาะเห็ดหรือเกษตรกรบางรายเลี้ยงปลาในร่องระหว่างแถวปาล์มที่มีน้ำไหลเวียนเพื่อเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่งการปลูกพืชผักและพืชล้มลุกพืชผักหรือพืชล้มลุกเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สามารถเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรที่ทำสวนปาล์มน้ำมันในระยะแรกเนื่องจากพืชเหล่านี้ต้องการแสงแดดจัดสำหรับการเจริญเติบโต มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นจึงสามารถปลูกได้ 3-4 ครั้ง ใน 1 ปี และเงินที่ใช้ในการลงทุนไม่มากนัก ต้นทุนส่วนใหญ่อยู่ที่ค่าใช้จ่ายในการวางระบบน้ำในครั้งแรกประมาณ 6,000-7,000 บาทต่อไร่ ซึ่งเมื่อคำนวณต้นทุนในครั้งแรก (ค่าไถพรวน ค่าระบบน้ำ เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ยและสารเคมี) มีค่าใช้จ่าย 10,000-15,000 บาท ผักที่นิยมปลูกได้แก่ ถั่วฝักยาว แตงกวา มะเขือ คะน้า กวางตุ้ง พริก เป็นต้น ในกรณีปลูกถั่วฝักยาวเกษตรกรจะมีรายได้จากการขายผลผลิตประมาณ 30,000-40,000 บาทต่อไร่ต่อครั้ง ซึ่งโดยทั่วไปจะมีกำไรจากการปลูกผักแต่ละชนิดไร่ละ 10,000-15,000 บาทต่อครั้ง


การปลูกผักและพืชล้มลุก :






นอกจากนี้ก็ในบางพื้นที่ยังมีการปลูกแตงโมสลับกับการปลูกข้าวโพดหวานในแปลงปาล์มน้ำมันอายุ 0 - 2 ปีหลังย้ายปลูก โดยสามารถปลูกแตงโมได้ 3 ครั้งใน 1 ปี คือ ช่วงแรกปลูกเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคมและเก็บเกี่ยวในเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ ช่วงที่สองเดือนมีนาคม - เมษายนและเก็บเกี่ยวในเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน และสุดท้ายเดือนกรกฎาคม - สิงหาคมและเก็บเกี่ยวเดือนกันยายน - ตุลาคม โดยทั่วไปจะสลับปลูกข้าวโพดช่วงที่ 2 เพื่อพักแปลงและช่วงเดือนพฤษภาคม - มิถุนายนแตงโมราคาถูก เนื่องจากผลไม้หลายชนิดให้ผลผลิตในช่วงนี้ การปลูกแตงโมมีต้นทุนการผลิตค่อนข้างสูง โดยมีต้นทุนการผลิต 12,500 บาทต่อไร่ (ค่ารถไถพรวน 250 บาท ค่ายกร่อง 150 บาท ค่าวางระบบน้ำหยด 2,500 บาท ค่าพลาสติกคลุมแปลง 1,500 บาท ค่าจ้างคลุมพลาสติก 200 บาท ค่าเมล็ดพันธุ์ 2,000 บาท ค่าจ้างย้ายกล้า 100 บาท ปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมี 2,300 บาท สารป้องกันกำจัดเชื้อรา แมลง และยาผสมเทียม 1,300 บาท) ซึ่งพื้นที่ 1 ไร่ สามารถปลูกแตงโมได้ 600 หลุม ระยะปลูก 60 x 60 เซนติเมตร การปลูกแตงโมร่วมกับปาล์มให้ผลผลิต 6,000 - 6,500 กิโลกรัมต่อไร่ เกษตรกรจะมีรายได้จากการขายผลผลิตไร่ละประมาณ 32,000 - 58,000 บาท (ราคารับซื้อที่ 6 และ 9 บาท) ซึ่งจะเห็นได้ว่าการปลูกแตงโมมีกำไรค่อนข้างสูง แต่เนื่องจากราคารับซื้อไม่แน่นอนส่งผลให้เกษตรกรมีความเสี่ยงในการปลูก


การปลูกข้าว :
ในกรณีที่ปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่นาเดิมหรือนาร้าง ซึ่งสภาพพื้นที่เป็นที่ลุ่มและมีน้ำสำหรับใช้เพาะปลูกข้าว และพื้นที่ดังกล่าวมีน้ำท่วมในช่วงฤดูฝนประมาณ 7-10 วัน เกษตรกรสามารถปลูกข้าวร่วมกับการทำสวนปาล์มน้ำมันในช่วงที่ปาล์มน้ำมันอายุ 1-2 ปีแรกหลังย้ายปลูก โดยสามารถปลูกข้าวปีละ 2 ครั้ง คือ ช่วงเดือนมกราคม-เมษายน และเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม พันธุ์ข้าวที่นิยมปลูกได้แก่ พันธุ์ชัยนาท และ กข7 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีอายุุเก็บเกี่ยว 3 เดือน ขั้นตอนในการปลูกเริ่มจากการยกร่องหรือพูนโคนเพื่อปลูกปาล์มน้ำมันโดยใช้ระยะปลูก 9x9 เมตร และทำการปลูกปาล์มน้ำมัน เมื่อถึงฤดูทำนาจึงเตรียมพื้นที่นา โดยไถพรวนพื้นที่ระหว่างแถวปาล์มและปล่อยน้ำเข้า จากนั้นจึงหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวดูแลและใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0 ในอัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ จนกระทั่งเก็บเกี่ยวรวงข้าวเมื่อถึงระยะสุกแก่ทางสรีรวิทยา ซึ่งผลผลิตข้าวที่ได้ประมาณ 80 ถังต่อไร่ (ถ้าไม่มีสวนปาล์มจะได้ผลผลิต 90 ถังต่อไร่) และจากการคำนวณต้นทุนการผลิตข้าว พบว่า ในพื้นที่ 10 ไร่ ถ้าปลูกข้าวร่วมกับปาล์มน้ำมันได้ผลผลิตข้าว 8 เกวียน คิดเป็นจำนวนเงิน 72,000 บาท (ข้าวเกวียนละ 9,000 บาท) เมื่อลบกับต้นทุนการผลิต 21,000 บาท (ค่ารถไถพรวนไร่ละ 600 บาท ค่ารถเก็บเกี่ยวไร่ละ 600 บาท และค่าปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0 จำนวน 1 กระสอบต่อไร่ ราคา 900 บาทต่อกระสอบ) เกษตรกรจะมีรายได้จากการปลูกข้าว 102,000 บาทต่อปี ซึ่งเกษตรกรสามารถปลูกข้าวร่วมกับปาล์มน้ำมันจนกระทั่งปาล์มอายุ 2 ปี จากนั้นจึงทำการไถพลิกดินยกร่องปาล์มน้ำมันให้สูงขึ้นปัญหาที่พบคือในขั้นตอนการเก็บเกี่ยวรถเก็บเกี่ยวข้าวทำงานไม่สะดวก

นาข้าวในสวนปาล์ม




การเพาะเห็ดฟาง :




การเพาะเห็ดฟางนอกจากจะช่วยเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ววัสดุที่ใช้ในการเพาะเห็ดฟาง คือทะลายปาล์มเปล่าสามารถใช้คลุมโคนปาล์มเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่แปลงปาล์มน้ำมันอีกทางหนึ่ง ขั้นตอนในการผลิตเริ่มจากกองทะลายปาล์มและรดน้ำให้ชุ่ม ใช้ผ้ายางคลุมกองทะลายปาล์มอบไว้ 5 - 7 วัน จากนั้นวางทะลายปาล์มเรียงเป็นแถวให้ชิดกัน (กว้าง 0.75 เมตร ยาว 6 - 8 เมตร) รดน้ำ และโรยเชื้อเห็ดให้ทั่ว เปิดระบายความร้อน จากนั้นประมาณ 10 วัน ก็สามารถเก็บเกี่ยวเห็ดฟางได้ เก็บผลผลิตทุกวันจนเก็บเกี่ยวหมดประมาณ 15 วัน และจากการคำนวณต้นทุนการผลิตเห็ดฟาง พบว่า ในพื้นที่ 1 ไร่ ได้เงินจากการขายผลผลิตเห็ดฟาง 13,500 - 15,000 บาทต่อเดือน เมื่อลบกับต้นทุนการผลิตประมาณ 4,500 บาท (ค่าทะลายปาล์มเปล่า 900 บาท ค่าหัวเชื้อเห็ด 2,040 บาท ค่าแป้งข้าวเหนียว 90 บาท ค่าอาหารเสริม 450 บาท และค่าผ้าพลาสติกสีดำ 1,000 บาท) เกษตรกรจะมีรายได้จากการเพาะเห็ดฟางประมาณ 9,000 - 10,000 บาทต่อเดือน



การเลี้ยงปลา :




การเลี้ยงปลาหรือการเลี้ยงปลาในกระชังในสวนปาล์มน้ำมันเหมาะกับแปลงปาล์มน้ำมันที่มีน้ำตลอดทั้งปี หรืออยู่ใกล้แหล่งน้ำธรรมชาติ ซึ่งปลาส่วนใหญ่ที่นิยมเลี้ยงกันได้แก่ ปลาทับทิมและปลาจิตรลัดดา ซึ่งต้นทุนส่วนใหญ่อยู่ที่การปรับพื้นที่สำหรับปลูกปาล์มน้ำมัน และการเตรียมบ่อให้มีระบบน้ำไหลเวียนระหว่างแถวปาล์ม โดยปลูกปาล์มระยะปลูก 9 x 9 เมตร ปลูก 2 แถวคู่ และ ขุดบ่อลึก 2 เมตรกว้างประมาณ 4 เมตร ระหว่างแถวปาล์ม และมีทางระบายน้ำเชื่อมต่อในแต่ละบ่อสลับหัวท้าย เพื่อให้น้ำไหลเวียนทั่วทั้งสวน ซึ่งการปรับพื้นที่ขนาด 10 ไร่ มีค่าใช้จ่ายประมาณ 110, 000 บาท ในพื้นที่ 10 ไร่ สามารถเลี้ยงปลา ในกระชังได้ทั้งหมด 50 กระชัง (แถวละ 5 กระชัง) โดยไม่ทำให้ ้น้ำเสีย กระชังขนาด 3 x 3 เมตร สามารถเลี้ยงปลาได้ 400 - 450 ตัว

จากการคำนวณ ต้นทุนการเลี้ยงปลาในพื้นที่ 10 ไร่ มีค่าใช้จ่ายทั้งหมด จำนวน 370,500 บาท (ค่าใช้จ่ายในการปรับพื้นที่ 110, 000 บาท ค่าไม้ไผ่่กระชังละ 4 ลำ ลำละ 10 บาท จำนวน 2,000 บาท ค่าตาข่ายทำกระชัง 17,500 บาท ค่าลูกปลา จำนวน 450 ตัวต่อกระชัง 18,000 บาท ค่าอาหารปลา 153,000 บาท (อาหารปลา อายุ 1 เดือน 20 กิโลกรัม ต่อวัน x 30 วัน กระสอบละ 900 บาท จำนวน 27,000 บาท ค่าอาหารปลาเล็ก กระสอบละ 400 บาท จำนวน 72,000 บาทค่าอาหารปลาใหญ่ วันละ 3 กระสอบ กระสอบละ 300 บาท 54,000 บาท) ค่าแรงงาน จำนวน 2 คน คนละ 7,000 ต่อเดือน x 5 เดือน จำนวน 70,000 บาท) ซึ่งค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนเงินค่อนข้างสูง แต่เมื่อเทียบกับจำนวนเงินที่ได้ จากการขายปลาที่เลี้ยงไว้ 5 เดือน (ปลาหนักประมาณ 6 - 7 ขีด) พบว่ากระชังหนึ่งได้น้ำหนักปลาประมาณ 300 กิโลกรัม x 50 บาท/กิโลกรัม x 50 กระชังเป็นเงิน 750,000 บาท


ดังนั้นเกษตรกรได้กำไรประมาณ 379,500 บาท ซึ่งในรอบต่อไปของการเลี้ยงจะได้กำไรถึง 509,000 บาท และเกษตรกรยังได้รายได้้อีกส่วนหนึ่งจากสวนปาล์มน้ำมัน ปัญหาที่พบในการเลี้ยงปลาในกระชัง คือค่า ใช้จ่ายในส่วนค่าอาหารค่อนข้างสูง อาหารปลามีราคาแพง ปลาตาย เนื่องจากการจัดการไม่ดีทำให้น้ำเสีย และปัญหาทางด้านสังคมมีการขโมยปลา ส่วนการขายผลผลิตปลาที่ได้ไม่มีปัญหา เนื่องจากมีพ่อค้ามาซื้อถึงบ่อโดยตรง



http://www.doa.go.th/palm/linkTechnical/intercroping.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 67, 68, 69 ... 72, 73, 74  ถัดไป
หน้า 68 จากทั้งหมด 74

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©