-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-* นานาสาระเรื่องเกษตร.
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * นานาสาระเรื่องเกษตร.
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* นานาสาระเรื่องเกษตร.
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 62, 63, 64 ... 72, 73, 74  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 05/07/2012 5:15 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลำดับเรื่อง....


1,685. ข้าวพันธุ์ "มะลิโกเมน" และ "มะลินิล" ของดีอีสาน

1,686. SWOT เกษตรอินทรีย์สหรัฐ
1,687. เกษตรอินทรีย์ คืออะไร ? (ธาตุอาหารพืชกับเกษตรอินทรีย์ ระบบการผลิตเกษตรอินทรีย์ ระดับสากล)
1,688. มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ คืออะไร ?
1,689. เกษตรอินทรีย์ วาระแห่งชาติ
1,690. เกษตรอินทรีย์ในสิงคโปร์

1,691. เกษตรอินทรีย์ในมาเลเซีย
1,692. มาตรฐาน 'เกษตรอินทรีย์' ส่งออก
1,693. ชาวนาไทยในมุมมองเกษตรกรญี่ปุ่น
1,694. อุตสาหกรรมผลิตผัก เทคโนฯ ใหม่จากญี่ปุ่น
1,695. ทัศนะของคนญี่ปุ่น ต่อสินค้าเกษตรอินทรีย์

1,696. ยากันยุง สูตรเทพประทาน
1,697. วิธีไล่ยุง มด แบบปลอดภัย ไร้กังวล
1,698. สูตรการกำจัดแมลงสาบในบ้านคุณ
1,699. มันเทศเกาหลีใต้
1,700. เกษตรอินทรีย์ ด้วยเทคนิคจุลินทรีย์ท้องถิ่น

1,701. การใช้อัลตร้าซาวน์ ในการช่วยสกัดพืชสมุนไพร
1,702. 'แม่โจ้'สำเร็จสกัดสารสมุนไพรไทย
1,703. สารสกัดจากพืชสมุนไพร ควบคุมและกำจัดแมลงทำลายข้าว
1,704. สารสกัดจากสมุนไพร กำจัดเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง
1,705. สารสกัดจากใบชาต้านเชื้อราในพริก

1,706. สารสกัดกระเทียมฆ่า อะฟลาทอกซินในพริกแห้ง
1,707. สารสกัดจาก กานพลู ชา และพริก ควบคุมโรคและแมลงศัตรูพืช
1,708. ฮิวมัสคืออะไร ?
1,709. องค์ประกอบที่สำคัญที่ใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสง


-------------------------------------------------------------------------------------------------







1,685. ข้าวพันธุ์ "มะลิโกเมน" และ "มะลินิล" ของดีอีสาน


ทวีศักดิ์ ชัยเรืองยศ

"ข้าวเป็นยา" กำลังถูกเรียกหาและได้รับความนิยมอย่างมากจากหมู่ผู้บริโภคที่รักสุขภาพโดยเฉพาะข้าวต่างสีที่มีสารต้านอนุมูล
อิสระสูงกว่าข้าวทั่วไป เรียกข้าวคุณภาพพิเศษ หรือข้าวคุณภาพเฉพาะ

เช่น ข้าวที่เยื่อหุ้มเมล็ดมีสีดำและสีแดงที่มีปริมาณของสารออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง เช่น สารโพลีฟีนอลเป็นสารกลุ่มที่ส่งเสริม
สุขภาพ และข้าวที่มีสารสีมีเคมีเป็นแอนโธไซยานินสูงซึ่งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบ มะลิโกเมนสุรินทร์และมะลินิล
สุรินทร์ สามารถสนองต่อการเรียกหาของคนรักสุขภาพ เพราะมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง อีกทั้งมีข้อดีคือคุณภาพทางกายภาพ คุณ
ภาพทางเคมี และคุณภาพการหุงต้มรับประทานดี นอกจากนั้นข้าวกลุ่มนี้ยังเหมาะสำหรับใช้ปลูกในระบบเกษตรอินทรีย์และมีการ
ใช้ปัจจัยการผลิตต่ำ

คุณรณชัย ช่างศรี นักวิชาการเกษตร ชำนาญการ กลุ่มวิชาการ ศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ กรมการข้าว เล่าว่า นั่งคิดอยู่ตลอดเวลาว่าจะทำ
ยังไงให้คนเรานั้นมีสุขภาพและร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ เนื่องจากในปัจจุบันมีโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย ซึ่งต้นเหตุที่
สำคัญก็มาจากอาหารการกินที่มีคุณค่าทางด้านอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จนนำไปสู่การคิดหาวิธีให้เกิดการ
กินเพื่อรักษาสุขภาพ

มะลิโกเมนสุรินทร์และมะลินิลสุรินทร์ เกิดจากความร่วมมือระหว่างศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ ศูนย์วิจัยข้าวสกลนคร สำนักวิจัย
และพัฒนาข้าว กรมการข้าว คณะเทคโนโลยี และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นข้าวเจ้าหอมต่างสี ซึ่งได้จาก
การคัดเลือกพันธุ์บริสุทธิ์ข้าวเจ้าต่างสี พันธุ์พื้นเมืองไวต่อช่วงแสง 3 พันธุ์ คือ มะลิแดง เบอร์ 54 มะลิพื้นเมือง (ข้าวแดง) และ
มะลิดำ เบอร์ 53 จากแปลงแสดงพันธุ์ข้าวพื้นเมืองของศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ ในปี พ.ศ. 2548 จนได้พันธุ์บริสุทธิ์ จำนวน 12 สาย
พันธุ์ ได้แก่ กลุ่มที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดง จำนวน 5 พันธุ์ คือ มะลิโกเมนสุรินทร์ 1-5 และกลุ่มที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีดำ จำนวน 7 พันธุ์
คือ มะลินิลสุรินทร์ 1-7

ข้าวหอมมะลิโกเมนสุรินทร์และมะลินิลสุรินทร์ สามารถสนองต่อการเรียกหาของคนรักสุขภาพ เพราะมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง
อีกทั้งยังมีข้อดีทางด้านคุณภาพทางกายภาพ ทางเคมี และคุณภาพการหุงต้มรับประทานดี คือ เป็นข้าวเมล็ดเรียวยาว เปอร์
เซ็นต์อะมิโลสต่ำ ข้าวสุกเหนียวนุ่ม และมีกลิ่นหอม จากการตรวจวิเคราะห์ในเมล็ดพบว่า มีสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณที่สูง
ประกอบด้วย สารประกอบฟีโนลิก และแอนโธไซยานิน ที่มีผลทำให้ผิวหนังของเราไม่เหี่ยวแห้งเร็วก่อนวัยอันควร แถมยังช่วย
ยับยั้งการเกิดมะเร็งและยังออกฤทธิ์ในการขยายเส้นเลือด ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ เส้นเลือดอุดตันในสมองและโรค
อัมพาตอีกด้วย


นอกจากนั้น ข้าวกลุ่มนี้ยังเหมาะสำหรับใช้ปลูกในระบบเกษตรอินทรีย์ เพราะมีการใช้ปัจจัยการผลิตต่ำ จึงเป็นทางเลือกสำหรับ
ชาวนาที่ทำนาแบบอินทรีย์ ผลผลิตภายใต้สภาพการปลูกแบบอินทรีย์ จะอยู่ที่ 224-458 กิโลกรัมต่อไร่ ความสูง 158-185
เซนติเมตร




http://www.food-resources.org/taxonomy/term/15


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 17/07/2012 5:40 am, แก้ไขทั้งหมด 19 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 05/07/2012 5:55 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,686. SWOT เกษตรอินทรีย์สหรัฐ




ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของตลาดเกษตรอินทรีย์ในสหรัฐอเมริกาที่ได้เปลี่ยนจากตลาดเฉพาะทาง (niche market) มาเป็นส่วนหนึ่งของตลาดกระแสหลัก (mainstream market) และตลาดได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมียอดขายกว่า 20,000 ล้านเหรียญต่อปี ซึ่งนับได้ว่าเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลก



ในช่วงกลางปี 2551 ทางสมาคมการค้าเกษตรอินทรีย์ของสหรัฐ (Organic Trade Association - OTA)ได้ทำการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการกว่า 200 ราย เพื่อที่จะวางแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์ในประเทศ ซึ่งส่วนหนึ่งของการทำแผนยุทธศาสตร์ คือ การวิเคราะห์ SWOT เกษตรของธุรกิจเกษตรอินทรีย์ในสหรัฐอเมริกา ในบทความดังกล่าวได้สรุปและอธิบายผลการวิเคราะห์ SWOT ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการเข้าใจสภาพการณ์ และแนวโน้มของธุรกิจและตลาดเกษตรอินทรีย์ของอเมริกาได้ดีขึ้น



Strengths จุดแข็ง......Weaknesses จุดอ่อน

+ กฎหมายเกษตรอินทรีย์ Organic Foods Production Act (OFPA)
+ อุปสงค์ของผู้บริโภค ขยายตัวกว่า 10% อย่างต่อเนื่อง
+ ความน่าเชื่อถือของตรารับรองจากการที่สามารถตรวจสอบตั้งแต่ปัจจัยการผลิตจนถึงผลิตภัณฑ์ท้ายสุด
+ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์อย่างจริงจังที่แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของเกษตรอินทรีย์
+ หน่วยงานสนับสนุน ที่ช่วยสนับสนุนการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ในประเทศอย่างต่อเนื่อง

- ผู้บริโภคสับสน บางส่วนยังไม่รู้ว่าเกษตรอินทรีย์คืออะไร มีการใช้ภาษาวิชาการมากเกินไป
- ไม่มีกฎระเบียบควบคุมผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์กลุ่มใหม่ๆ เช่น ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง สิ่งทอ อาหารสัตว์เลี้ยง
- อุปสรรคเรื่องราคา เนื่องจากมีต้นทุนค่อนข้างสูง และผู้บริโภคมองว่าผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์มีราคาแพง
- งานวิจัยเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ยังไม่เพียงพอ




Opportunities โอกาส.....Threats ภัยคุกคาม

< กฎหมายเกษตรของสหรัฐ (Farm Bill) ฉบับใหม่ จัดสรรงบประมาณสนับสนุนการพัฒนาตลาดและงานวิจัย
< ผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม ที่ผู้ผลิต-ผู้ประกอบการ สามารถเป็นตัวแบบด้านสิ่งแวดล้อม (green role model)
< ราคาเริ่มไม่แตกต่าง เนื่องจากผลิตภัณฑ์ทั่วไปมีราคาเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์
< ผู้บริโภคตระหนักมากขึ้น จากการห้างขนาดใหญ่ได้รณรงค์การขายสินค้าเกษตรอินทรีย์ ตลอดจนการที่มีช่องทางการสื่อสารแบบใหม่ๆ ทำให้สามารถสื่อสารกับผู้บริโภคได้ดีขึ้น

> มีตรารับรองหลายแบบซึ่งทำให้ผู้บริโภคสับสน
> การผลิตในประเทศไม่เพียงพอ ต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ

> การกีดกันทางการค้าในตลาดโลก เนื่องจากไม่มีระบบการยอมรับการรับรองมาตรฐานระหว่างประเทศ

> การขยายตัวของเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งพยายามโจมตีเกษตรอินทรีย์ และปัญหาความเสี่ยงจากการปนเปื้อน จีเอ็มโอ
> ความไม่เป็นเอกภาพในวงการเกษตรอินทรีย์ ทำให้มีการสื่อสารความคิดเห็นที่แตกต่างกันออกสู่สาธารณะ





Strengths – จุดแข็ง

+ กฎหมายเกษตรอินทรีย์
ที่จริงแล้วรัฐสภาสหรัฐได้ออกกฎหมายเกษตรอินทรีย์ คือ Organic Foods Production Act (OFPA) มาตั้งแต่ปี 2533 ซึ่งได้นิยามความหมายเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์และกำหนดให้กระทรวงเกษตรของสหรัฐ (US Department of Agriculture – USDA) ออกระเบียบเกี่ยวกับการตรวจสอบรับรองมาตรฐาน ซึ่งทางกระทรวงต้องใช้เวลาเกือบ 12 ปี จึงได้ประกาศบังคับใช้ระบบเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ (National Organic Program – NOP) ในเดือนตุลาคม 2545 ซึ่งมีข้อกำหนดเกี่ยวกับมาตรฐาน การตรวจสอบรับรองและการใช้ตราเกษตรอินทรีย์ ส่งผลให้ผู้บริโภคภายในประเทศเกิดความมั่นใจในระบบการตรวจสอบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในประเทศมากขึ้น รวมทั้งทำให้เกิดระบบกลางในการตรวจสอบรับรองมาตรฐาน ที่มีความโปร่งใส และชัดเจน



+ อุปสงค์ผู้บริโภค
ตลาดเกษตรอินทรีย์ในอเมริกามีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เฉลี่ยสูงกว่า 10% ทุกปี โดยในปี 2549 ตลาดขยายตัวถึง 21% และมีการคาดการณ์ว่า ตลาดน่าจะขยายตัวเฉลี่ยปีละ 18% ในช่วงปี 2550 จนถึงปี 2553 จากการสำรวจโดย Natural Marketing Institute ในปี 2551 พบว่า ในปี 2550 ราว 59% ของครอบครัวคนอเมริกันได้ซื้อผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์มาบริโภค ซึ่งเพิ่มขึ้นจากระดับ 57% ในปี 2549 โดยผู้ที่ซื้อประจำก็ได้เพิ่มขึ้นจาก 16% ในปี 2549 เป็น 18% ในปี 2550 ในทำนองเดียวกัน รายงานของ Hartman Group ที่จัดทำขึ้นในปี 2551 ก็ระบุว่า 73% ของผู้บริโภคสหรัฐ ยินดีที่จะจ่ายเงินเพิ่มขึ้นเพื่อซื้อผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ แต่อย่างไรก็ดี มีผู้ตั้งข้อสังเกตุว่า การขยายตัวของตลาดอาจเริ่มลดลง แต่เมื่อดูย้อนหลังกลับไปจะเห็นว่า ตลาดเกษตรอินทรีย์ได้ขยายตัวขึ้น 3–4 เท่าตัวในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ในขณะที่ธุรกิจอาหารทั่วไปกลับหดตัวหรือขยายตัวเพียงเล็กน้อยเท่านั้น



+ ความน่าเชื่อถือของตรารับรอง
ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ได้รับการตรวจสอบรับรองจากหน่วยงานอิสระในทุกขั้นตอนของการผลิตและการจัดการ ตั้งแต่ปัจจัยการผลิตจนถึงผลิตภัณฑ์ท้ายสุด ซึ่งเป็นระบบที่มีความเข้มงวดมากที่สุดที่กระทรวงเกษตรสหรัฐได้เคยดำเนินการมา เมื่อเปรียบเทียบกับตรารับรองอื่นๆตรารับรองเกษตรอินทรีย์ถือว่าเป็นตรารับรองที่อยู่ในระดับสูงมากทีเดียว



+ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์อย่างจริงจัง
ในช่วง 2–3 ปีที่ผ่านมามีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของเกษตรอินทรีย์ ทั้งการที่อาหารเกษตรอินทรีย์มีคุณค่าทางโภชนาการมากกว่า และมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูงกว่า เช่น งานวิจัยของ USDA และมหาวิทยาลัย Rutgers ที่พบว่า บลูเบอรี่เกษตรอินทรีย์มี Oxygen Radical Absorbance Capacity สูงกว่าบลูเบอรี่ที่ปลูกในระบบทั่วไปถึง 33% รวมไปถึงผลิตภัณฑ์จากสัตว์เกษตรอินทรีย์ที่มีกรดลิโนลิอิค ซึ่งเป็นกรดที่เป็นประโยชน์มากกว่าสัตว์ที่เลี้ยงในระบบทั่วไป หรือมะเขือเทศเกษตรอินทรีย์มีฟลาโวนอยด์สูงกว่ามะเขือเทศทั่วไปเกือบเท่าตัว ซึ่งข้อมูลทางวิชาการเหล่านี้ได้รับการเผยแพร่อย่างแพร่หลายโดย Organic Center ซึ่งเป็นองค์กรอิสระไม่แสวงหากำไร



+ หน่วยงานสนับสนุน
ในขณะเดียวกันก็มีองค์กรเอกชนที่ให้บริการกับเกษตรกรและผู้ประกอบการในการสนับสนุนและส่งเสริมให้เกษตรกรและผู้ประกอบการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตของตัวเอง ส่งผลให้มีการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ในประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยหน่วยงานเหล่านี้เป็นหน่วยงานอิสระที่มีความเชี่ยวชาญในการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์โดยเฉพาะ



Weaknesses – จุดอ่อน

– ผู้บริโภคสับสน
การสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคของ Hartman Group ที่จัดทำเป็นรายงานในปี 2551 พบว่า ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการเลือก “อาหารปลอดสารเคมี” และ “ปลอดฮอร์โมน” ในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหาร ในระดับที่สูงกว่าความเป็น “เกษตรอินทรีย์” ทั้งๆที่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์นั้น ไม่อนุญาตให้ใช้สารเคมีการเกษตรและฮอร์โมนสังเคราะห์ในกระบวนการผลิตอยู่แล้ว ซึ่งแสดงให้เห็นว่า แม้ผู้บริโภคจะตระหนักรับรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์มากขึ้นแต่ผู้บริโภคก็ยังไม่ทราบว่า เกษตรอินทรีย์จริงๆ แล้วคืออะไร เหตุผลสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ผู้บริโภคสับสนก็คือ การที่มีการใช้ภาษาวิชาการมากเกินไป เช่น การตรวจรับรอง การรับรองระบบงาน ฯลฯ เพราะผู้บริโภคเองไม่สามารถที่จะรับข้อมูลที่มีความซับซ้อนและมากเกินไป ดังนั้น การสื่อสารกับผู้บริโภคจำเป็นที่จะต้องกระชับ ตรงไปตรงมา และเข้าใจได้โดยง่าย



– ไม่มีกฎระเบียบควบคุมผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ
ความสับสนของผู้บริโภคประการหนึ่งคือ การที่มีสินค้าเกษตรอินทรีย์กลุ่มใหม่ๆ เช่น ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง สิ่งทอ อาหารสัตว์เลี้ยง ซึ่งแม้ว่าภาคเอกชนจะได้พยายามรวมตัวกันจัดทำมาตรฐานสำหรับผลิตภัณฑ์เหล่านี้แล้ว แต่ก็มีผู้ประกอบการจำนวนหนึ่งที่กล่าวอ้างว่า สินค้าของตัวเองเป็นเกษตรอินทรีย์โดยที่ไม่ได้มีการตรวจสอบรับรองมาตรฐานที่น่าเชื่อถือแต่อย่างใด แต่ก็มีผู้เห็นว่าการไม่มีกฎระเบียบควบคุมสินค้าใหม่อาจไม่ใช่จุดอ่อนก็ได้ เพราะแม้แต่กฎระเบียบที่ควบคุมอาหารเกษตรอินทรีย์ก็ต้องใช้เวลานานหลายปี เพราะการรีบเร่งออกกฎระเบียบอาจเป็นผลเสียมากกว่า เพราะกฎระเบียบที่ออกมาอาจจะไม่เหมาะสมก็ได้



– อุปสรรคเรื่องราคา
มีงานวิจัยเกี่ยวกับผู้บริโภคจำนวนมากที่ระบุว่า ผู้บริโภคมองผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ว่ามีราคาแพง ซึ่งก็เป็นความจริงอย่างหนึ่งว่าผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์มีราคาที่สูงกว่าผลิตภัณฑ์ทั่วไป ซึ่งมีเหตุผลหลายประการที่ทำให้สินค้าเกษตรอินทรีย์มีราคาสูง เช่น การที่เกษตรอินทรีย์เป็นระบบการผลิตที่ใช้แรงงานมากกว่า มีข้อจำกัดเกี่ยวกับกฎระเบียบ และมาตรฐานมากกว่า อีกทั้งเกษตรอินทรีย์ยังได้รับการอุดหนุนจากรัฐน้อยกว่า ส่งผลให้เกษตรอินทรีย์มีต้นทุนที่สูงกว่า สิ่งที่สำคัญก็คือ การให้ความรู้กับผู้บริโภคให้ได้ทราบถึงต้นทุนแฝงของผลิตภัณฑ์เกษตรทั่วไป (เช่น ต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อม และด้านสุขภาพ) และประโยชน์จากการบริโภคอาหารเกษตรอินทรีย์



– งานวิจัยเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ยังไม่เพียงพอ
การสนับสนุนงานวิจัยเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์เป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อให้เกษตรอินทรีย์สามารถพัฒนารุดหน้าไปได้เร็วขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับเกษตรทั่วไป ซึ่งได้รับเงินอุดหนุนการวิจัยทั้งจากรัฐและภาคธุรกิจเอกชน งานวิจัยเกษตรอินทรีย์ยังอยู่ในระดับที่ต่ำมาก ซึ่งการอุดหนุนนั้นควรจะต้องขยายไปถึงการนำเอาความรู้ที่ได้จากการวิจัยถ่ายทอดต่อให้กับเกษตรกรผู้ผลิตและผู้ประกอบการด้วย




Opportunities – โอกาส

< กฎหมายเกษตรของสหรัฐ (Farm Bill) ฉบับใหม่
กฎหมายเกษตร 2551 ที่ผ่านรัฐสภาสหรัฐได้จัดสรรงบประมาณสนับสนุนการพัฒนาตลาดและงานวิจัยราว 112 ล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วงเวลา 5 ปีข้างหน้า (ราว 4,000 ล้านบาท) ซึ่งนับว่ามีเงินงบประมาณเพิ่มขึ้น 5 เท่าตัว เมื่อเปรียบเทียบกับการอุดหนุนของกฎหมายเกษตรปี 2545 โดยกำหนดจัดสรรเงินราว 78 ล้านเหรียญสำหรับงานวิจัยในด้านการผลิตและการตลาด, 22 ล้านเหรียญสำหรับช่วยเกษตรกรให้ปรับเปลี่ยนระบบการผลิต, 5 ล้านเหรียญสำหรับให้กระทรวงเกษตรรวบรวมข้อมูลราคาสินค้าเกษตรอินทรีย์ตลอดจนข้อมูลสถิติการผลิต และสำรวจแบบแผนการบริโภคของผู้บริโภคในประเทศและจัดทำเป็นรายงานเผยแพร่ต่อสาธารณะ



< ผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม
เกษตรอินทรีย์เป็นผู้บุกเบิกการพัฒนาอย่างยั่งยืน และกระแสความสนใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้ผลิต-ผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์กลายเป็นตัวแบบด้านสิ่งแวดล้อม (green role model) ในสังคม



< ราคาเริ่มไม่แตกต่าง
ผลิตภัณฑ์เกษตรทั่วไปเริ่มมีราคาเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากเมื่อเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ เนื่องจาก 3 ปัจจัย คือ
(1) ระบบเกษตรทั่วไปพึ่งพาพลังงานและสารเคมีการเกษตร ซึ่งมีต้นทุนเพิ่มสูงขึ้นมาก อันเนื่องมาจากพลังงานฟอสซิลมีราคาแพงขึ้น
(2) รัฐบาลเริ่มลดการให้เงินอุดหนุนกับเกษตรทั่วไปลง
(3) สินค้าเกษตรอินทรีย์เริ่มถูกนำออกจำหน่ายในห้างซุเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ซึ่งทำให้มีราคาที่ลดต่ำลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการจำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ในลักษณะของเฮาส์แบรนด์ของห้างเหล่านี้
ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ช่องว่างของความแตกต่างเรื่องราคาของสินค้าเกษตรอินทรีย์และเกษตรทั่วไปลดลง

< ผู้บริโภคตระหนักมากขึ้น
อันเนื่องมาจากการที่ห้างซุเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ได้ให้ความสนใจกับการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ ทำให้มีการรณรงค์และประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว อีกทั้งการที่ช่องทางสื่ออีเล็คโทรนิคใหม่ๆ โดยเฉพาะเว็บไซต์ บล็อค และอื่นๆ ซึ่งทำให้การประชาสัมพันธ์สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้มากขึ้นส่งผลให้สามารถสร้างการรับรู้กับผู้บริโภคและการแก้ไขความเข้าใจผิดต่างๆได้ง่ายขึ้น ซึ่งเนื้อหาสำคัญของในการสื่อสารก็คือ คุณค่าของเกษตรอินทรีย์โดยเฉพาะคุณค่าทางด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ



Threats – ภัยคุกคาม

> มีตรารับรองหลายแบบซึ่งทำให้ผู้บริโภคสับสน
จากการที่ผู้บริโภคตื่นตัวในเรื่องสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทำให้มีการพยายามออกตรารับรอง “เพื่อสิ่งแวดล้อม” อื่นๆ ออกมามากมายจนทำให้ผู้บริโภคสับสน และในท้ายสุดอาจทำให้ผู้บริโภคเบื่อหน่ายและปฏิเสธในการที่จะรับรู้และเลือกผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ นอกจากนี้ แนวโน้มของกระแสการเลือกผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นอาจทำให้ผู้บริโภคเลือกสินค้าเกษตรอินทรีย์น้อยลงซึ่งเรื่องนี้เป็นประเด็นท้าทายสำหรับเกษตรอินทรีย์ที่จะต้องให้การศึกษากับผู้บริโภคเกี่ยวกับการเลือกบริโภคอาหารเกษตรอินทรีย์และอาหารท้องถิ่นนั้น แท้จริงมีเป้าหมายที่เหมือนกัน คือ การส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนนั่นเอง



> การผลิตในประเทศไม่เพียงพอ
อุปสงค์ของสินค้าเกษตรอินทรีย์ดูเหมือนจะขยายตัวรวดเร็วกว่าอุปทานมาก จนส่งผลให้ต้องนำเข้าผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์จากต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะพวกวัตถุดิบสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป และในระยะยาวการพึ่งพาการนำเข้าอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อการขยายฐานการผลิตภายในประเทศได้



> การกีดกันทางการค้าในตลาดโลก
เนื่องจากในปัจจุบันรัฐบาลในแต่ละประเทศได้ออกกฎระเบียบควบคุมการนำเข้าสินค้าเกษตรอินทรีย์ โดยกำหนดเกณฑ์มาตรฐานของตัวเอง และขณะเดียวกันก็ยังไม่มีระบบสากลที่จะทำให้เกิดการยอมรับความทัดเทียมกันของมาตรฐานและของระบบการรับรองเกษตรอินทรีย์ระหว่างประเทศ ทำให้ผู้ประกอบเกษตรอินทรีย์ต้องประสบกับอุปสรรคอย่างมากในการหาแหล่งวัตถุดิบจากต่างประเทศ ความแตกต่างของมาตรฐานและระบบการรับรองนี้กลายเป็นเครื่องกีดขวางทางการค้าเกษตรอินทรีย์ที่เป็นปัญหาเร่งด่วนที่รอการแก้ไข



> การขยายตัวของเทคโนโลยีชีวภาพ
ธุรกิจเทคโนโลยีชีวภาพที่ผลิตฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโตในสัตว์ และพืช จีเอ็มโอได้ขยายอิทธิพลทางธุรกิจไปอย่างกว้างขวาง ซึ่งธุรกิจเหล่านี้มองเกษตรอินทรีย์ว่าเป็นศัตรูและพยายามจ้องโจมตีเกษตรอินทรีย์อยู่ตลอดเวลา หรือไม่ก็พยายามอธิบายว่าผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพของตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของเกษตรอินทรีย์ด้วย นอกจากนี้การขยายตัวของเกษตรที่ใช้พืช จีเอ็มโอ ทำให้เกิดความเสี่ยงในการที่ผลผลิตเกษตรอินทรีย์อาจปนเปื้อน จีเอ็มโอ เพิ่มมากขึ้นด้วย



> ความไม่เป็นเอกภาพในวงการเกษตรอินทรีย์
การถกเถียงของกลุ่มต่างๆ ในวงการเกษตรอินทรีย์ในสหรัฐอเมริกาอันเนื่องมาจากแนวคิดที่แตกต่างกันนั้น แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่ดีในแง่ของความโปร่งใส แต่เมื่อการถกเถียงนั้นถูกเผยแพร่ออกสู่สื่อสาธารณะ ทำให้ผู้บริโภคทั่วไปสับสนซึ่งอาจไม่เป็นผลดีในระยะยาวต่อขบวนการเกษตรอินทรีย์ในประเทศ




http://www.oain.net/index.php
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 06/07/2012 6:32 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,687. เกษตรอินทรีย์ คืออะไร ?


เกษตรอินทรีย์ คือการทำการเกษตรด้วยหลักธรรมชาติ บนพื้นที่การเกษตรที่ไม่มีสารพิษตกค้างและหลีกเลี่ยงจากการปนเปื้อนของสารเคมีทางดิน ทางน้ำ และทางอากาศเพื่อส่งเสริมความอุดสมสมบูรณ์ของดิน ความหลากหลายทางชีวภาพ ในระบบนิเวศน์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมให้กลับคืนสู่สมดุลธรรมชาติโดยไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์หรือสิ่งที่ได้มาจากการตัดต่อพันธุกรรม ใช้ปัจจัยการผลิตที่มีแผนการจัดการอย่างเป็นระบบในการผลิตภายใต้มาตรฐานการผลิตเกษตรอินทรีย์ให้ได้ผผลิตสูงอุดมด้วยคุณค่าทางอาหารและปลอดสารพิษโดยมีต้นทุนการผลิตต่ำเพื่อคุณภาพชีวิต และเศรษฐกิจพอเพียง แก่มวลมนุษยชาติ และสรรพชีวิต
ทำไมต้องเกษตรอินทรีย์?


การใช้ทรัพยากรดินโดยไม่คำนึงถึงผลเสียของ ปุ๋ยเคมีสังเคราะห์ ก่อให้เกิดความไม่สมดุลในแร่ธาตุและกายภาพของดินทำให้สิ่งมีชีวิตที่มีประโยชน์ในดินนั้นสูญหาย และไร้สมรรถภาพความไมาสมดุลนี้เป็นอันตรายยิ่งกระบวนการนี้เมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างต่อเนื่อง ผืนดินที่ถูกผลาญไปนั้น ได้สูญเสียความสามารถในการดูดซับแร่ธาตุ ทำให้ผลผลิตมีแร่ธาตุ วิตามิน และพลังชีวิตต่ำเป็นผลให้เกิดการขาดแคลนธาตุอาหารรองในพืช พืชจะอ่อนแอ ขาดภูมิต้านทานโรคและทำให้การคุกคามของแมลง และเชื้อโรคเกิดขึ้นได้ง่ายซึ่งจะนำไปสู่การใช้สารเคมีฆ่าแมลงและเชื้อราเพิ่มขึ้น ดินที่เสื่อมคุณภาพนั้น จะเร่งการเจริญเติบโตของวัชพืชให้แข่งกับพืชเกษตร และนำไปสู่การใช้สารเคมีสังเคราะห์กำจัดวัชพืช ข้อบกพร่องเช่นนี้ก่อให้เกิดวิกฤติในห่วงโซ่อาหาร และระบบการเกษตรของเราซึ่งทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมอย่างยิ่ง ในโลกปัจจุบันประเทศไทยนำเข้าสารเคมีสังเคราะห์ทางการเกษตรเป็นเงินปีละ 4-5 หมื่นล้านบาท เกษตรกรต้องซื้อปัจจัยการผลิตที่เป็นสารเคมีสังเคราะห์ในการเพาะปลูกทำให้การลงทุนสูง และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องขณะที่ราคาผลผลิตในรอบยี่สิบปี ไม่ได้สูงขึ้นตามสัดส่วนของต้นทุนที่สูงขึ้นนั้นมีผลทำให้เกษตรกรขาดทุน มีหนี้สินล้นพ้นตัวเกษตรอินทรีย์จะเป็นหนทางของการแก้ปัญหาเหล่านั้นได้


เกษตรอินทรีย์ คืออะไร ?
- ให้ปริมาณและคุณภาพผลผลิตที่ดีกว่า
- ให้อาหารปลอดสารพิษสำหรับชีวิตที่ดีกว่า
- ให้ต้นทุนการผลิตที่ต่ำเพื่อเศรษฐกิจที่ดีกว่า
- ให้คุณภาพชีวิตและสุขภาพจิตที่ดีกว่า
- ให้ผืนดินที่อุดมสมบูรณ์ดีกว่า
- ให้สิ่งแวดล้อมที่ดีกว่า


ผลผลิตพืชอินทรีย์ เป็นอย่างไร?
- มีรูปร่างดีสมส่วน
- มีสีสวยเป็นปกติ
- มีกลิ่นหอมตามธรรมชาติ
- มีโครงสร้างของเนื้อนุ่มกรอบแน่น
- มีรสชาติดี
- ไม่มีสารพิษตกค้าง
- เก็บรักษาได้ทนทาน
- ให้สารอาหารและพลังชีวิต


เป็นเกษตรอินทรีย์ ได้อย่างไร ?
การเกษตรปัจจุบัน สามารถปรับเปลี่ยนเป็นเกษตรอินทรีย์ได้โดยเริ่มต้นศึกษาหาความรู้จากมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่ถูกกำหนดขึ้นควรเริ่มต้นด้วยความสนใจ และศรัทธาหลักทฤษฎีเพื่อการปฏิบัติ โดยศึกษาหาความรู้จากธรรมชาติเมื่อเริ่มปฏิบัติตามนี้แล้ว ก็นับได้ว่าก้าวเข้าสู่การทำเกษตรอินทรีย์ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นเกษตรอินทรีย์ในระยะปรับเปลี่ยนเมื่อปฏิบัติอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่องตามาตรฐานเกษตรอินทรีย์ไม่นานก็จะเป็นเกษตรอินทรีย์ได้ ทั้งนี้ช้าหรือเร็ว ขึ้นอยู่กับประเภทของเกษตรอินทรีย์ที่จะผลิตซึ่งได้ถูกกำหนดไว้ในมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แล้วข้อสำคัญนั้น อยู่ที่การทำความเข้าใจเกษตรอินทรีย์ให้ถ่องแท้มีความตั้งใจจริง มีความขยันหมั่นเพียร ไม่ท้อถอยต่อปัญหาหรืออุปสรรคใด มีความสุขในการปฏิบัติก็จะบรรลุวัตถุประสงค์ และประสบความสำเร็จ ดังที่ตั้งใจไว้เพราะเกษตรอิทรีย์เป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถปฏิบัติได้จริงเมื่อเกษตรอินทรีย์แล้วสามารถขอรับรองมาตรฐานจากภาครัฐจึงจะนับได้ว่าเป็นเกษตรอินทรีย์ที่สมบูรณ์อันเป็นสมบัติล้ำค่าของแผ่นดิน


ความเป็นมาของมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ?
ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์อาหารอินทรีย์ (Organic food Production Act-OFPA) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) และมีการแก้ไขในปี พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996)

ตลาดร่วมกลุ่มประเทศในยุโรป (European Unity : EU.) ได้มีการรวบรวมข้อกำหนดของผลิตผลเกษตรอินทรีย์ไว้ในข้อกำหนดของสภาตลาดร่วมยุโรป (EEC No. 2092/91) และฉบับแก้ไข ข้อกำหนดส่วนใหญ่ให้คำแนะนำในการนำเข้าอาหารอินทรีย์ที่ผลิตจากประเทศอื่น ภายใต้มาตรฐานการผลิต และมาตรการตรวจสอบที่เหมือนกันทุกประการ

ประเทศญี่ปุ่น รัฐบาลญี่ปุ่น ได้ประกาศใช้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2544 โดยอ้างอิงกฎหมายมาตรฐานเกษตรญี่ปุ่น (Japan Agriculture Standard – JAS)

ประเทศไทย ได้มีการกำหนดใช้มาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ หลังจากผ่านการปรับปรุงแก้ไขครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2543 โดยคณะทำงานเฉพาะกิจปรับปรุงมาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ของประเทศไทยและผ่าการเห็นชอบ ของคณะกรรมการบริหารงานวิจัยและพัฒนาเกษตรอินทรีย์ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

สมาพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (International Federation of Organic Agriculture Movement – IFOAM) ได้จัดทำเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำสำหรับตรวจสอบรับรองเกษตรอินทรีย์เป็นที่ยอมรับในกลุ่มประเทศในยุโรป

สมาคมดินแห่งสหราชอาณาจักร (Soil Association UK) เป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญต่อเกษตรอินทรีย์ มีประวัติความเป็นมายาวนาน ได้พัฒนามาตรฐานการผลิตเกษตรอินทรีย์ และเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในสหราชอาณาจักร

องค์กรเครือข่าย (Pesticide Network Action : PNA) เป็นองค์กรเครือข่ายของสหราชอาณาจักร และประเทศเนเธอแลนด์ ที่กำลังปฏิบัติการเคลื่อนไหว ซึ่งจะทำให้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากลเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ


มาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ของประเทศไทย มีประเด็นหลักสำคัญ ดังนี้
- ที่ดินไม่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ต่ำกว่ามาตรฐานกำหนด
- พื้นที่ปลูกต้องไม่มีสารเคมีสังเคราะห์ตกค้าง
- ไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ในกระบวนการผลิต
- ไม่ใช้เมล็ดพันธุ์ที่คลุกสารเคมีสังเคราะห์
- ไม่ใช้สิ่งที่ได้จากการตัดต่อทางพันธุกรรม
- ไม่ใช้มูลสัตว์ที่เลี้ยงอย่างผิดมาตรฐาน
- ปัจจัยการผลิตจากภายนอกต้องได้รับการรับรองมาตรฐาน
- กระบวนการผลิตต้องปราศจากสิ่งปนเปื้อนสารเคมีสังเคราะห์
- ส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพ และสิ่งแวดล้อม
- ต้องได้รับการรับรองมารฐานอย่างเป็นทางการ



หลักการผลิตพืชอินทรีย์
1. เลือกพื้นที่ที่ไม่เคยทำการเกษตรเคมีมาไม่น้อยกว่า 3 ปี
2. เป็นพื้นที่ที่ค่อนข้างดอนและโล่งแจ้ง
3. อยู่ห่างจากโรงงานอุตสาหกรรม
4. อยู่ห่างจากแปลงที่ใช้สารเคมีและปุ๋ยเคมี
5. ห่างจากถนนหลวงหลัก
6. มีแหล่งน้ำที่ปลอดสารพิษ


ขั้นตอนการทำแปลง
1. เก็บตัวอย่างดิน ดินบนและดินล่างอย่างละ 1 กิโลกรัม นำไปวิเคราะห์พร้อมกันหาชนิดและปริมาณธาตุอาหารที่อยู่ในดิน

2. แหล่งน้ำจะต้องเป็นแหล่งน้ำอิสระเก็บตัวอย่างน้ำ 1 ลิตร นำไปวิเคราะห์เพื่อหาสารปนเปื้อนที่ขัดต่อหลักการผลิตพืชอินทรีย์

3. เมื่อทราบข้อมูลของดินและน้ำแล้วว่าไม่มีพิษต่อการปลูกพืชอินทรีย์ ก็เริ่มทำการวางรูปแบบแปลงผลิตพืชอินทรีย์ การวางแบบแปลงจะต้องทำการขูดร่องล้อมรอบแปลง เพื่อเป็นการดักน้ำหรือป้องกันน้ำที่มีสารปนเปื้อนไหลบ่ามาท่วมแปลงในฤดูฝน ร่องคูรอบแปลงควรกว้าง 2 เมตร ลึก 1 เมตร พร้อมกับทำการปลูกหญ้าแฝกริมร่องโดยรอบทั้งด้านในและด้านนอก รากหญ้าแฝกจะเป็นกำแพงกรองน้ำเสียให้กลายเป็นน้ำดี ซึมเข้าไปในดินที่ปลูกพืชอินทรีย์ ส่วนใบของหญ้าแฝกก็ตัดไปใช้ปรับสภาพดินหรือใช้คลุมแปลงพืชผักอินทรีย์ต่อไป

4. ในการเตรียมแปลงในครั้งแรกอนุโลมให้ใช้รถไถเดินตามได้ แต่ในครั้งต่อไปให้ใช้คนขุดพรวนดิน ถ้าใช้รถไถบ่อย ๆ แล้วมลพิษจากเครื่องยนต์จะตกค้างอยู่ในดิน และจะปฏิบัติกิริยาที่เป็นพิษต่อพืชจึงต้องระวัง ห้ามสูบบุหรี่ในแปลงพืชอินทรีย์ ในการเตรียมแปลงจะต้องทำการไถพรวนใหื้นที่ในแปลงโล่งแจ้งพร้อมที่จะวางรูปแบบแปลงในการวางรูปแบบแปลงจะต้องวางไปตามตะวันเนื่องจากพืชใช้แสงแดดปรุงอาหารและแสงแดดจะช่วยฆ่าเชื้อโรค แปลงที่จะปลูกพืชผักนั้นความกว้างไม่ควรเกิน 1 เมตร ส่วนความยาวตามความเหมาะสมของพื้นที่ ส่วนพื้นที่ที่ยังทำแปลงปลูกพืชผักไม่ทันก็ให้นำเอาพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเขียวหรือถั่วมะแฮะ มาหว่านคลุมดินเพื่อทำเป็นปุ๋ยพืชสดเป็นการปรับปรุงดินไปพร้อมกับเป็นการป้องกันแมลงที่จะวางไข้ในพงหญ้าด้วย

5. เมื่อเตรียมแปลงแล้วก็หันมาทำการปลูกพืชสมุนไพรไล่แมลงก่อนที่จะปลูกพืชหลักคือพืชผักต่าง ๆ (เสริมกับการป้องกัน) ทางน้ำ ทางอากาศ และทางพื้นดิน พืชสมุนไพรที่กับแมลงรอบนอกเช่น สะเดา ชะอม ตะไคร้หอม ข่า ปลูกห่างกัน 2 เมตร โดยรอบพื้นที่ ส่วนต้นด้านในกันแมลงในระดับต่ำ โดยปลูกพืชสมุนไพรเตี้ยลงมาเช่น ดาวเรือง กะเพรา โหระพา ตะไคร้หอม พริกต่าง ๆ ปลูกห่างกัน 1 เมตร และที่จะลืมไม่ได้คือจะต้องปลูกตะไคร้หอมทุก ๆ 3 เมตร แซมโดยรอบพื้นที่ด้านในด้วย

6. หลังจากปลูกพืชสมุนไพรเพื่อกันแมลงแล้วก็ทำการยกแปลงเพื่อปลูกพืชผัก แต่ก่อนที่จะปลูกจะต้องทำการปรับสภาพดินในแปลงปลูก โดยการใส่ปุ๋ยคอก (ขี้วัว) การใส่ปุ๋ยคอกนั้นจะใส่มากน้อยขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดินที่จะทำแปลงปลูกพืชอินทรีย์ (ขี้วัวต้องเป็นวัวที่กินพืชตามธรรมชาติ) ทำการพรวนคลุกกันให้ทั่วทิ้งไว้ 7 วัน ก่อนปลูก การปลูกให้ปลูกพืชสมุนไพรกันแมลงที่ขอบแปลงก่อน เช่น กุ้ยฉ่าย ขึ้นฉ่าย และระหว่างแปลงก็ทำการปลูกกะเพรา โหระพา พริกต่าง ๆ เพื่อป้องกันแมลงก่อนที่จะทำการปลูกพืชผัก พอครบกำหนด 7 วันพรวนดินอีกครั้งแล้วนำเมล็ดพันธุ์พืชมาหว่าน แต่เมล็ดพันธุ์พืชส่วนใหญ่เป็นเมล็ดพันธุ์ที่คลุกสารเคมี จึงต้องนำเอาเมล็ดพันธุ์ผักมาล้าง โดยการนำน้ำที่มีความร้อน 50 – 55 องศาเซลเซียส วัดได้ด้วยความรู้สึกของตัวเราเองคือเอานิ้วจุ่มลงไปถ้าทนความร้อนได้ก็ให้นำเมล็ดพันธุ์พืชแช่ลงไป นาน 30 นาทีแล้วจึงนำขึ้นมาคลุกกับกากสะเดา หรือสะเดาผงแล้วนำไปหว่านลงแปลงที่เตรียมไว้คลุมฟางและรดน้ำ ก่อนรดน้ำทุกวันควรขยำขยี้ใบตะไคร้หอมแล้วใช้ไม้เล็ก ๆ ตีใบกะเพราะ โหระพา ข่า ฯลฯ เพื่อให้เกิดกลิ่นจากพืชสมุนไพรออกไล่แมลง ควรพ่นสารสะเดาอย่างต่อเนื่องทุก ๆ 3 – 7 วันกันก่อนแก้ ถ้าปล่อยให้โรคแมลงมาแล้วจะแก้ไขไม่ทันเพราะว่าไม่ได้ใช้สารเคมี ควรดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดพอถึงอายุเก็บเกี่ยวควรเก็บเกี่ยวผลผลิต ถ้าทิ้งไว้จะสิ้นเปลืองสารสมุนไพรในการปลูกพืชอินทรีย์ในระยะแรกผลผลิตจะได้น้อยกว่าพืชเคมีประมาณ 30 – 40% แต่ราคานั้นมากกว่าพืชเคมี 20 – 50% ผลดีคือ ทำให้สุขภาพของผู้ผลิตดีขึ้นไม่ต้องเสียค่ายา (รักษาคน) สิ่งแวดล้อมก็ดีด้วย รายได้ก็เพิ่มกว่าพืชเคมีหากทำอย่างยั่งยืน อย่างต่อเนื่องผลผลิตจะไม่ต่างกับการปลูกพืชเคมีเลย

7. หลักจากที่ทำเก็บเกี่ยวพืชแรกไปแล้วไม่ควรปลูกพืชชนิดเดียวกับพืชแรก เช่น ในแปลงที่ 1 ปลูกผักกาดเขียวปลีได้ผลผลิตดี หลังเก็บผลผลิตไปแล้วปลูกซ้ำอีกจะไม่ได้อะไรเลย ควรปลูกสลับชนิดกัน เช่น ปลูกผักกาดเขียวปลี แล้วตามด้วยผักบุ้งจีนเก็บผักบุ้งจีนแล้วตามด้วยผักกาดหัว เก็บผักกาดหัวแล้วตามด้วยผักปวยเล้ง เก็บปวยเล้งตามด้วยตั้งโอ๋ ทำเช่นนี้ทุก ๆ แปลงที่ปลูกแล้วจะได้ผลผลิตดี

8. การปลูกพืชอินทรีย์ ปลูกได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอน แต่จะต้องปลูกพืชสมุนไพรก่อนและต่อเนื่อง แล้วต้องปลูกพืชสลับลงไปในแปลงพืชผักเสมอ ต้องทำให้พืชสมุนไพรต่าง ๆ เกิดการช้ำจะได้มีกลิ่น ไม่ใช่ปลูกเอาไว้เฉย ๆ การปลูกพืชแนวตั้งคือพืชที่ขึ้นค้าง เช่น ถั่วฝักยาว มะระจีน ฯลฯ และแนวนอนคือ พืชผักต่าง ๆ เช่น คะน้า กะหล่ำปลี ปวยเล้ง ตั้งโอ๋ ฯลฯ ควรทำเช่นนี้ทุกครั้งที่ปลูกพืชในแปลงเกษตรอินทรีย์

9. การปลูกพืชสมุนไพรในแปลงเพื่อไล่แมลงยังสามารถนำเอาพืชสมุนไพรเหล่านี้ไปขายเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่งด้วย หลังจากทำการเก็บเกี่ยวพืชผักแล้วควรรีบทำความสะอาดแปลงไม่ควรทิ้งเศษพืชที่มีโรคแมลงไว้ในแปลง ให้รีบนำไปทำลายนอกแปลงส่วนเศษพืชที่ไม่มีโรคแมลงก็ให้สับลงแปลงเป็นปุ๋ยต่อไป


**********************************





ธาตุอาหารพืชกับเกษตรอินทรีย์

การผลิตอาหารพืชให้ได้ทั้งปริมาณและคุณภาพที่ต้องการ จะต้องประกอบด้วยปัจจัยการผลิตหลายประการ ธาตุอาหารพืชหรือปุ๋ยเป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่ง วัสดุที่ให้อาหารพืชได้มาจากหลาย ๆ ทาง เช่น จากวัสดุธรรมชาติ (หินฟอสเฟต ปูนโดโลไมท์ แร่ยิบซั่ม ฯลฯ) จากมูลสัตว์ต่าง ๆ ที่เรียกกันว่าปุ๋ยคอก จากการปลูกพืชต้นฤดูแล้วไถหรือสับกลบเป็นปุ๋ยพืชสด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพืชตระกูลถั่ว จากวัสดุที่เหลือใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น โรงงานผงชูรส จากซากพืชต่างๆ เช่น การ ใช้ต้น/ใบมันสำปะหลังสับกลบลงดินหลังการเก็บเกี่ยว จากปุ๋ยชีวภาพหรือการใช้วัสดุที่มีจุลินทรีย์ ประสิทธิภาพสูง จากการใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยเคมีสูตรต่าง ๆ ที่มีขายตามตลาดทั่วไป

การให้ธาตุอาหารพืชเพื่อยกระดับผลผลิตทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพที่ต้องการ ประการแรกต้องทราบว่าดินนั้นขาดธาตุอาหารพืช หรือมีธาตุอาหารไม่พอเพียงต่อการให้ผลผลิตสูง ดังนั้นการใช้ธาตุอาหารพืชในรูปปุ๋ยหรือวัสดุใด ๆ ที่คิดว่าพอเพียงและให้ประโยชน์สูงสุดต่อพืขตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ นั่นคือจำเป็นต้องคำนึงถึงลักษณะหรือสภาวะของความอุดมสมบูรณ์ของดิน สภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมและความสะดวกในการใช้ตลอดจนผลตอบแทนที่ได้รับ

ปุ๋ยเคมี หมายถึง ปุ๋ยที่ได้จากอนินทรีย์หรืออินทรีย์สังเคราะห์ แบ่งออกเป็นกลุ่มหรือประเภทตามความต้องการของธาตุอาหารพืช เช่น ปุ๋ยเชิงเดี่ยวที่ให้ธาตุอาหารไนโตรเจน เช่น ยูเรีย ปุ๋ยเชิงผสม ที่ให้ธาตุอาหารหลัก เช่น NPK เป็นต้น เกษตรกรบางแห่งยังไม่เข้าใจการใช้ปุ๋ยเคมีให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เทคโนโลยีการใช้ปุ๋ยเคมีที่เกษตรกรปฏิบัติส่วนหนึ่งมักจะเกิดจากผู้ขายปุ๋ยเคมีมากกว่าจากหน่วยงานของรัฐ จึงเป็นปัญหาในการใช้ปุ๋ยเคมีให้เหมาะสมกับชนิดดิน ความต้องการของพืช ระยะเวลาและอัตราที่เหมาะสม

ปัจจุบันการใช้ปุ๋ยเคมี (NPK) กันมากและนับวันจะมีราคาแพงขึ้น เนื่องจากประเทศไทยมีการผลิตพืช ทั้งข้าว พืชไร่ พืชสวน ได้ในปริมาณมาก ในปี 2546 ได้ส่งเป็นสินค้าออกรวมกันประมาณ 26.6 ล้านตัน นำเงินตราเข้าประเทศมูลค่ารวมประมาณ 22.9 หมื่นล้านบาท ผลผลิตและผลิตภัณฑ์เหล่านี้ย่อมนำธาตุอาหารพืชออกไปนอกประเทศในปริมาณที่สูงมาก การชดเชยธาตุอาหารพืชที่ถูกนำออกไปโดยการใช้ปุ๋ยเคมี จึงเป็นวิธีการหนึ่งในการคงระดับการผลิตให้ได้ตามปริมาณและคุณภาพที่ต้องการ โดยเฉพาะปี 2546 มีการนำเช้าปุ๋ยเคมีสูงถึง 3.8 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 31.88 หมื่นล้านบาท

โดยคุณสมบัติของปุ๋ยเคมีนั้นละลายน้ำได้เร็ว ให้ธาตุอาหารพืชได้แน่นอนตามสูตรของปุ๋ย และตรงตามเวลาที่พืชต้องการ แต่มีข้อด้อยคือ ผู้ใช้ต้องมีความรู้ในการใช้และคิดกันว่ามีราคาแพงกว่าการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ความจริงเมื่อเปรียบเทียบเนื้อธาตุต่อราคาในปุ๋ยอินทรีย์กับปุ๋ยเคมีแล้ว การใช้ปุ๋ยเคมีมีประสิทธิภาพในการเพิ่มผลผลิตพืชได้มากกว่าและเร็วกว่าการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ประเภทปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกหลายเท่า ข้อด้อยบางประการของปุ๋ยเคมีที่ให้ธาตุอาหารไนโตรเจน คือ หากใช้บ่อยครั้งหรืออัตราสูงทำให้ดินเป็นกรดเพิ่มขึ้นได้บ้าง โดยเฉพาะในสภาพดินไร่และดินที่มีลักษณะร่วนทราย แต่มีการแก้ไขได้โดยการใช้ปูนหรือปุ๋ยพืชสดเป็นบางครั้งก่อนการปลูกพืชหลัก

โดยทั่วไปเข้าใจว่า ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ เป็นแหล่งของธาตุอาหารพืชในการเพิ่มผลผลิตพืชแต่ในความจริงแล้วปุ๋ยอินทรีย์มีหน้าที่หลักในการปรับปรุงโครงสร้างและสมบัติของดิน ทั้งทางด้านกายภาพ เคมี และชีวภาพ และจะมากกว่าการให้ประโยชน์ในเชิงปริมาณธาตุอาหารพืชโดยตรง การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทำให้เกิดอินทรียวัตถุในดิน ตลอดจนเกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เคมี และชีวเคมีของดินอย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง เป็นการเพิ่มความเป็นประโยชน์ได้ของธาตุอาหารพืชในดิน ในขณะที่ปุ๋ยชีวภาพซึ่งได้จากการนำจุลินทรีย์ที่ทราบชนิดและมีชีวิตมากพอ มาปรับปรุงดินทางชีวภาพ ทางกายภาพและทางชีวเคมี สร้างธาตุอาหารที่ทราบชนิดให้แก่พืช ปุ๋ยชีวภาพจึงแบ่งประเภทได้ตามชนิดของจุลินทรีย์หรือตามประเภทของอาหารที่สร้างให้แก่พืช เช่น จุลินทรีย์ ไรโซเบียม แฟรงเคีย สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินบางชนิด เมื่อจุลินทรีย์หรือสาหร่ายเหล่านี้สลายตัวจะสร้างธาตุอาหารไนโตรเจนให้แก่พืช กลุ่มจุลินทรีย์ที่ช่วยสร้างธาตุอาหารฟอสฟอรัส เช่น ไมโครไรซ่า หรือกลุ่มที่ช่วยสลายหินฟอสเฟตเพื่อเพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารฟอสฟอรัส เช่นBacillus,Thiobacillus, Aspergillus, Penicillum และกลุ่มจุลินทรีย์ที่ย่อยสลายวัสดุอินทรีย์หรือเซลลูโลส อีกหลายชนิดซึ่งอยู่ระหว่างการวิจัยพัฒนา

การใช้ปุ๋ยอินทรีย์มีข้อจำกัดคือ มีธาตุอาหารพืชอยู่น้อย ไม่สามารถปรับแต่งปุ๋ยให้เหมาะสมกับดินและพืชได้ เนื่องจากแหล่งของปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากซากพืชหรือสัตว์ที่มีธาตุอาหารพืชแปรปรวน และสัดส่วนของธาตุอาหารไม่แน่นอน การควบคุมให้ปุ๋ยอินทรีย์ปลดปล่อยธาตุอาหารพืชให้ตรงกับชนิดและเวลาที่พืชต้องการกระทำได้ยาก ต้องใช้เวลานาน และในปริมาณที่ค่อนข้างมาก

น้ำหมักชีวภาพ ในด้านธาตุอาหารพืชถือว่าเป็นปุ๋ยอินทรีย์น้ำชนิดหนึ่งที่เกิดจากการหมักของชิ้นส่วนของพืชและ/หรือของสัตว์ และมีส่วนดีอีกด้านคือ มักจะมีฮอร์โมนพืชหรือสารป้องกันหรือยับยั้งการเกิดโรคของพืชบางชนิด แต่การจะใช้น้ำหมักชีวภาพเป็นแหล่งของธาตุอาหารพืชเพียงอย่างเดียวอาจไม่พอเพียงต่อการผลิตพืชให้ได้ผลผลิตสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการผลิตพืชในระยะยาว เนื่องจากน้ำหมักชีวภาพมีธาตุอาหารพืชน้อยมาก

อาจมีข้อโต้แย้งว่าปัจจุบันการใช้น้ำหมักชีวภาพให้ได้ผลดีในการผลิตข้าว หรือพืชสวนบางชนิดในบางท้องที่ บางแห่งถึงกับประกาศว่าจะไม่ใช้ปุ๋ยเคมีอีกต่อไป โดยสรุปไว้ว่า การใช้ปุ๋ยจากน้ำหมักชีวภาพเพิ่มผลผลิต คุณภาพ และให้ผลตอบแทนมากกว่าการใช้ปุ๋ยแบบเดิม (ใช้ปุ๋ยเคมีทุกครั้งที่ปลูกพืช) บางแห่งไม่ได้ใช้ปุ๋ยมา 1 – 2 ฤดูปลูกแล้ว โดยใช้แต่น้ำหมักชีวภาพก็ยังได้ผลดี ประเด็นนี้มีความเป็นไปได้ในกรณีที่ได้ใช้ปุ๋ยเคมีในอัตราสูงหรือติดต่อกันมานาน ประกอบกับดินมีลักษณะเหนียวหรือร่วนเหนียวไม่ค่อยเป็นทราย ดินมีการสะสมธาตุอาหารหลัก (NPK) มานานจนอาจมากเกินพอ ใช้ปุ๋ยเคมีต่อไปก็ไม่เพิ่มผลผลิตตามอัตราปุ๋ยที่เพิ่มขึ้น ดินเกิดการขาดความสมดุลย์ ความจริงเมื่อหยุดใช้ปุ๋ยเคมีผลผลิตก็คงไม่ลดลง กล่าวได้ว่าดินมีธาตุอาหารหลักเพียงพอแล้ว ประกอบกับการนำน้ำหมักชีวภาพเข้ามาใช้แทนทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น น่าจะเกิดจากการเพิ่มความสมดุลย์ของดินโดยการปรับเปลี่ยนปฏิกิริยาของดิน (pH) และพืชได้รับธาตุอาหารรองหรือธาตุอาหารเสริมบางส่วนจากน้ำหมักชีวภาพ ทำให้พืชได้ใช้ธาตุอาหารอย่างครบถ้วนมากขึ้น หรือทำให้พืชมีความต้านทานต่อโรคบางชนิดเพิ่มขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่า จะต้องเลิกใช้ปุ๋ยเคมีไปเลย หรือไม่นำเข้ามาในระบบปลูกพืชอีก ดังนั้นการทราบสภาวะความสมดุลย์ของธาตุอาหารพืชในดิน การสูญเสียธาตุอาหารพืชโดยติดไปกับผลผลิตหรือการถูกชะล้าง และแนวทางแก้ไขซึ่งกระทำได้โดยการใช้ผลวิเคราะห์ดินเป็นระยะ ๆ เพื่อพิจารณาเลือกใช้ แหล่งธาตุอาหารพืชหรือปุ๋ยและอัตราในการใช้ จึงเป็นแนวทางการปรับปรุงดินเพื่อรักษาระดับหรือเพิ่มผลผลิตที่มีประสิทธิภาพ

แนวทางที่ควรจะเป็นในการกำหนดนโยบายการผลิตพืชโดยเฉพาะด้านการใช้ปุ๋ยน่าจะยึดถือ การจัดการธาตุอาหารพืชอย่างบูรณาการ ทั้งนี้เพื่อการผลิตพืชอย่างยั่งยืน ตามที่สมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทยได้สรุปผลการประชุมโต๊ะกลมในหัวข้อเรื่อง “ปุ๋ยกับการเกษตรของชาติ” เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2547 ซึ่งสรุปได้ว่า ไม่ควรกำหนดกรอบการใช้ปุ๋ยที่แคบเกินไป หรือให้ใช้แต่ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยชีวภาพ การกำหนดให้ทุกพื้นที่ลดการใช้ปุ๋ยเคมี มีความเป็นไปได้มาก แต่เป็นไปไม่ได้ที่จะเลิกการใช้ปุ๋ยเคมี จะเป็นการเสี่ยงต่อการเป็นผู้นำในการผลิตสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออกของโลก เพียงแต่ต้องระบุแนวทาง เป้าหมาย และขั้นตอนการผลิตพืชโดยวิธีเกษตรอินทรีย์ เป็นสัดส่วนอย่างไรกับการผลิตในเชิงเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) ซึ่งอนุโลมให้มีการใช้สารเคมี ปุ๋ยเคมีได้เท่าที่จำเป็น แต่มีความปลอดภัย จึงจำเป็นที่จะต้องค้นหาศักยภาพโดยเฉพาะด้านดินและแหล่งผลิตที่เหมาะสมต่อการผลิตพืชในแต่ละแบบ ตลอดจนการใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น เพื่อการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ไว้ใช้เอง ทั้งนี้เพื่อการจัดสรรธาตุอาหารพืชให้เพียงพอ ต่อเนื่อง โดยไม่กระทบกระเทือนต่อการผลิตในอีกหลายพื้นที่ข้างเคียง

แนวทางหลักที่ควรกระทำอย่างเร่งด่วน คือ การณรงค์ให้ทุกพื้นที่เห็นความสำคัญและใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ หรือสารปรับปรุงดิน ในทุกรูปแบบที่เป็นไปได้ก่อน หากพืชได้รับธาตุอาหารไม่พอเพียงในการเพิ่มทั้งปริมาณและคุณภาพของผลผลิตที่ต้องการ จำเป็นต้องการใช้ปุ๋ยเคมีเพิ่มเติมอย่างชาญฉลาดแล้วแต่กรณี ซึ่งจะต้องอาศัยข้อมูลจากการวิเคราะห์ดินเป็นระยะ ๆ และประสบการณ์หรือข้อมูลจากการวิจัยที่ผ่านมา ในการกำหนดชนิด ที่มา และอัตราที่ควรใช้ของธาตุอาหารพืช และผลตอบแทน ใช้แนวทางนี้ในการกำหนดเขตการผลิตพืชในระบบเกษตรอินทรีย์หรือระบบเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP)

การผลิตพืชระบบเกษตรอินทรีย์เป็นการผลิตและใช้ปัจจัยการผลิตที่ปราศจากการใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมี (สารสังเคราะห์) โดยสิ้นเชิง เน้นการใช้สารอินทรีย์ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติและปัจจัยการผลิตในท้องถิ่นเป็นหลัก มีโอกาสกระทำได้ดีเฉพาะเจาะจงกับบางพืช หรือบางแหล่งผลิต แต่ไม่น่าจะกระทำได้กับทุกพืช ทุกชนิดดิน หรือทุกพื้นที่ได้ จำเป็นต้องวิเคราะห์ศักยภาพของดิน เช่น ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติค่อนข้างสูง แหล่งวัตถุดิบในการจัดสรรธาตุอาหารให้แก่พืช เช่น จากปุ๋ยคอก จากปุ๋ยพืชสด จากปุ๋ยชีวภาพ ว่ามีความเพียงพอและต่อเนื่องหรือไม่โดยผลผลิตไม่ลดลงหากไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมีเลย ตลอดจนปัจจัยหรือเงื่อนไขอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การใช้สารธรรมชาติในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชว่ามีความเพียงพอและทันต่อเหตุการณ์หรือไม่ ไม่เช่นนั้นจะเป็นการลงทุนที่สูง หรือใช้ระยะเวลาที่นานจะยอมรับได้หรือไม่ การกำหนดราคาผลิตผลที่ค่อนข้างแพงชดเชยกับผลผลิตบางครั้งที่ได้ค่อนข้างต่ำได้สัดส่วนหรือรับได้หรือไม่ ผลตอบแทนจากการผลิตพืชอินทรีย์ที่ได้ไม่ควรต่ำกว่าการผลิตพืชในระบบ GAP ตลอดจนการมีตลาดรองรับที่แน่นอน ในราคาที่ค่อนข้างแพงมีความต่อเนื่องหรือไม่ ด้วยข้อเท็จจริงหลายประการดังกล่าวมาแล้ว สำหรับในสภาวะปัจจุบันการทำการผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์อาจเป็นไปได้ระหว่าง 10 – 20% ของพื้นที่การผลิตพืชทั่วประเทศ

กล่าวได้ว่า การรักษาเสถียรภาพในการเป็นผู้นำในการผลิตพืชโดยเฉพาะเพื่อการส่งออกของไทยจำเป็นต้องมีการจัดการธาตุอาหารพืชอย่างบูรณาการ ไม่ยึดติดกับการใช้ปุ๋ยชนิดใดชนิดหนึ่งโดยเฉพาะ เพียงเพื่อให้ดินมีธาตุอาหารพืชอย่างสมดุลย์ และควรกำหนดเขตการผลิตพืชโดยวิธีเกษตรอินทรีย์และเกษตรดีที่เหมาะสม ตลอดจนการทำความเข้าใจวิธีการผลิตทั้งสองแบบนี้ให้ชัดเจนโดยคำนึงถึงปัจจัยด้านดินเป็นหลักควบคู่กับชนิดของพืชที่เหมาะสม และการนำเข้ามาของธาตุอาหารพืชที่ใช้เป็นปุ๋ยไม่ว่าจะโดยวิธีใดก็ตาม ควรจะให้ใกล้เคียงกับการที่ดินถูกพืชนำไปใช้ในรูปแบบของผลผลิตและจากการถูกชะล้าง และการกระทำดังกล่าวควรเป็นการอนุรักษ์หรือรักษาคุณภาพดิน ให้คงระดับผลผลิตโดยมีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่ดีและยั่งยืนด้วย


******************************





ระบบการผลิตเกษตรอินทรีย์ (ระดับสากล)


1. ระบบลดปุ๋ยเคมีในการผลิตข้าว
ใช้ปุ๋ยชีวภาพ "อัลจินัว" ลดปุ๋ยเคมี 50% ในการผลิตข้าวเขตชลประทานภาคกลาง พบว่า ข้าวที่ใช้ปุ๋ยชีวภาพ "อัลจินัว" ร่วมกับปุ๋ยเคมี(50% คำแนะนำ) ให้ผลผลิตข้าวสูงกว่าระบบใช้ปุ๋ยเคมี 10%

2. ระบบลดสารเคมีในข้าว
เกษตรกรเครือข่ายการผลิตข้าว โครงการพัฒนาเกษตรยั่งยืน สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5 ในพื้นที่จังหวัดสิงห์บุรี สุพรรณบุรี และชัยนาท ใช้น้ำหมักชีวภาพ ในการผลิตข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 1 มีวิธีการปฏิบัติที่สามารถใช้ประโยชน์จากฟางข้าว ลดต้นทุนการผลิต ลดการใช้สารเคมี โดยพบว่าวิธีใช้น้ำหมักชีวภาพสูตรพืชผัก ผลไม้ และสมุนไพร มีรายได้สุทธิสูง คือ 1,541 บาท/ไร่ ส่วนวิธีใช้สารเคมีมีรายได้สุทธิเพียง 946 บาท/ไร่

3. ระบบลดสารเคมี 100% และลดปุ๋ยเคมี 85% ในส้มโอขาวแตงกวา
นายเฉลิม อ่วมดี เกษตรกร ตำบลท่าฉนวน อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท ปลูกส้มโอพันธุ์ขาวแตงกว่า จำนวน 260 ต้น พื้นที่ 16 ไร่ โดยใช้น้ำหมักชีวภาพสูตรหอยเชอรี่ ผลไม้และสมุนไพรกับส้มโอขาวแตงกวา อายุ 12 ปี พบว่า วิธีการใช้น้ำหมักชีวภาพมีรายได้สุทธิสูงคือ 50,867 บาท/ไร่ส่วนวิธีใช้สารเคมี มีรายได้สุทธิเพียง 41,407บาท/ไร่ คิดเป็นส่วนต่างรายได้สุทธิที่เพิ่มขึ้น 9,460 บาท/ไร่(22.85%)

4. ระบบลดสารเคมี 100% และลดปุ๋ยเคมี 50% ในส้มโอขาวแตงกวา
แปลงเรียนรู้ ธ.ก.ส. จังหวัดชัยนาท นายเสรี กล่ำน้อย เจ้าของสวนส้มพวงฉัตร ใช้น้ำหมักชีวภาพและปุ๋ยหมักแห้งชีวภาพในส้มโอพันธุ์ขาวแตกกวา ในพื้นที่ 67 ไร่ มีส้มโอ 2,500 ต้น ในช่วง
2 ปีแรก ใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีเป็นจำนวนเงิน 200,000 กว่าบาทต่อปี ในปีที่ 3 - 4 เปลี่ยนมาใช้น้ำหมักชีวภาพสูตรฮอร์โมนไข่ และสมุนไพร (ลดสารเคมี 100%) ใช้ปุ๋ยหมักแห้งชีวภาพลดปุ๋ยเคมี 50% มีค่าใช้จ่ายเพียงปีละประมาณ 50,000 บาทต่อปี สามารถลดต้นทุนลงได้150,000 บาทต่อปี (75%)

5. ระบบลดสารเคมี 80% และลดปุ๋ยเคมี 85% ในส้มเขียวหวาน
นายพินิจ เกิดรี เกษตรกรตำบลหนองสรวง อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี ปลูกสัมเขียวหวานจำนวน 1,200 ต้น พื้นที่ 20 ไร่ โดยใช้น้ำหมักชีวภาพสูตรหอยเชอรี่ ผักสด ผลไม้ ฮอร์โมนไข่นมสด และสมุนไพรร่วมกับปุ๋ยหมักแห้งชีวภาพ พบว่า วิธีใช้น้ำหมักชีวภาพและปุ๋ยหมักแห้งชีวภาพมีรายได้สุทธิสูง คือ 22,452 บาท/ไร่ ส่วนวิธีใช้สารเคมีมีรายได้สุทธิเพียง 18,910 บาท/ไร่ คิดเป็นส่วนต่างรายได้สุทธิที่เพิ่มขึ้น 3,542 บาท/ไร ่ (18.73%)

6. การผลิตชมพู่อินทรีย์
นางสมหมาย หนูแดง เกษตรกร (ครูภูมิปัญญาไทยรุ่นที่ 2 ด้านเกษตรกรรม) ตำบลหนองแขม อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี ผลิตชมพู่พันธุ์เพชรน้ำผึ้งจำนวน 600 ต้น พื้นที่ 6 ไร่ ใช้น้ำหมักชีวภาพสูตรถั่วเหลืองหรือนมสด และปุ๋ยหมักแห้งชีวภาพโดยไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมี และสารเคมี มีรายได้สุทธิจากการผลิตชมพู่อินทรีย์ประมาณ 55,536 บาท/ไร่ ส่วนวิธีใช้สารเคมีมีรายได้สุทธิเพียง 47,719 บาท/ไร่ คิดเป็นส่วนต่างรายได้สุทธิที่เพิ่มขึ้น 7,817 บาท/ไร่ (16.38%)

7. การผลิตพืชผักอินทรีย์ เกษตรกรเครือข่ายการผลิตผัก โครงการพัฒนาเกษตรยั่งยืนในพื้นที่จังหวัดสิงห์บุรี ลพบุรี ใช้น้ำหมักชีวภาพสูตรผักสด ผลไม้ ถั่วเหลือง หรือนมสด และปุ๋ยหมักชีวภาพในการผลิตแตงกวา (ลดปุ๋ยเคมีและสารเคมี 100%) พบว่า รายได้สุทธิสูงประมาณ 3,201 บาท/ไร่ ส่วนวิธีใช้สารเคมีมีรายได้สุทธิสูงประมาณ 11,928 บาท/ไร่ คิดเป็นส่วนต่างรายได้สุทธิที่เพิ่มขึ้น 1,273 บาท/ไร่ (10.67%)



**************************




http://www.organic.moc.go.th/uploadfile/32/doc/agri.doc


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 06/07/2012 7:15 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 06/07/2012 6:52 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,688. มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ คืออะไร ?





มาตรฐานเกษตรอินทรีย์เป็นเกณฑ์ข้อกำหนดขั้นต่ำที่เกษตรกรผู้ผลิตจะต้องปฏิบัติตาม และหน่วยงานรับรองจะใช้เป็นเกณฑ์ในการตรวจประเมินการผลิต และตัดสินใจในการรับรองฟาร์มที่ได้ปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานนั้นๆ

ปกติในการกำหนดมาตรฐานโดยส่วนใหญ่ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเกษตรอินทรีย์กลุ่มต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ผู้ค้า ผู้บริโภค รวมทั้งนักสิ่งแวดล้อม และนักวิชาการด้านต่างๆ จะมีส่วนร่วมในการให้ความคิดเห็น และตัดสินใจในการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานในแต่ละข้อ ความคาดหวังหรือการให้คุณค่ากับการปฏิบัติเกษตรอินทรีย์ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่ละส่วนจะถูกตรวจสอบ และยอมรับหรือปฏิเสธโดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นๆ โดยเฉพาะเกษตรกรผู้ผลิตและผู้ประกอบการ เพราะผู้ผลิตและผู้ประกอบการจะเป็นผู้ที่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อกำหนดเหล่านั้น ดังนั้น มาตรฐานจึงเปรียบเสมือนหนึ่งเป็นกระบวนการแปลความคาดหวังและคุณค่าของเกษตรอินทรีย์ให้เป็นรูปธรรมในทางปฏิบัติ นอกจากนี้ ในกระบวนการตัดสินใจกำหนดมาตรฐานนั้น จะต้องมีการสร้างฉันทามติ (consensus building) เพื่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดยอมรับ ดังนั้น ข้อตกลงในมาตรฐานจึงเปรียบเหมือนเป็น “สัญญาประชาคม” ระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด นอกจากนี้ สัญญาประชาคมนี้ได้มีการกำหนดรายละเอียดกระบวนการผลิตไว้อย่างค่อนข้างชัดเจน ทำให้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ มีสถานะเสมือนหนึ่งเป็น “คำนิยาม” ของเกษตรอินทรีย์ไปพร้อมกันด้วย

จะเห็นได้ว่า มาตรฐานเกษตรอินทรีย์เป็นภาพสะท้อนของสภาวการณ์การผลิตและการแปรรูปผลผลิตเกษตรอินทรีย์ ที่เกษตรกรได้พัฒนายกระดับความสามารถในการทำการผลิตและแปรรูปให้ก้าวรุดหน้ามากขึ้น ดังนั้น มาตรฐานเกษตรอินทรีย์จึงไม่ใช่มาตรฐานที่หยุดนิ่ง ไม่เปลี่ยนแปลง แต่เป็นสภาพการณ์ที่ยังสามารถมีการแปรเปลี่ยนได้ตลอดเวลา ตามสภาวการณ์ของการผลิตเกษตรอินทรีย์ ที่นับวันมีแต่จะก้าวรุดหน้าขึ้นไปเรื่อยๆ

ในที่นี้ จะขอกล่าวถึงข้อกำหนดโดยสรุปของมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในบางเรื่องที่สำคัญ สำหรับท่านที่สนใจต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาหาอ่านเพิ่มเติมได้จากหนังสือ “เกษตรอินทรีย์: ทำอย่างไรจึงได้รับการรับรอง” โดยวิฑูรย์ ปัญญากุล (2547) มูลนิธิสายใยแผ่นดิน, กรุงเทพ


(ก) ระบบนิเวศการเกษตร
ระบบการผลิตเกษตรอินทรีย์ต้องเอื้ออำนวยต่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้ม ซึ่งผู้ผลิตจะต้องดำเนินการในการอนุรักษ์และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพและสภาพนิเวศท้องถิ่นดั้งเดิมไว้ เพื่อให้พืชพรรณและสัตว์ท้องถิ่นสามารถมีที่อยู่อาศัยได้อย่างเพียงพอ นอกเหนือจากการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพแล้ว เกษตรอินทรีย์ยังจำเป็นต้องมีมาตรการในการอนุรักษ์ดินและน้ำอย่างจริงจังอีกด้วย โดยในการอนุรักษ์ดินนั้น ครอบคลุมตั้งแต่การป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดิน การอัดแน่นของหน้าดิน ดินเค็ม และการเสื่อมสภาพของดินด้วยเหตุปัจจัยอื่นๆ ส่วนการอนุรักษ์น้ำนั้นเป็นเรื่องของการใช้น้ำอย่างประหยัด ป้องกันไม่ให้เกิดน้ำเสีย หรือปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ การหมุนเวียนน้ำน้ำมาใช้ใหม่ ซึ่งอาจดำเนินการโดยการเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในดิน การออกแบบวิธีและระยะเวลาของการเพาะปลูกอย่างเหมาะสม การใช้วิธีการให้น้ำที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนการออกแบบวางแผนการทำการเกษตร โดยคำนึงถึงเงื่อนไขข้อจำกัดของทรัพยากรน้ำที่มีอยู่ในท้องถิ่น

(ข) การปรับเปลี่ยนเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์
การปรับเปลี่ยนเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์ควรเริ่มจากการมีแผนการปรับเปลี่ยนที่ชัดเจน โดยแผนการปรับเปลี่ยนดังกล่าวจะต้องสอดคล้องกับข้อกำหนดของมาตรฐาน โดยอาจจะปรับเปลี่ยนฟาร์มทั้งหมดเข้าสู่เกษตรอินทรีย์พร้อมกัน หรือค่อยๆ ปรับเปลี่ยนบางส่วนของฟาร์มเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์ก็ได้ แต่ทั้งนี้ แผนการปรับเปลี่ยนจะต้องระบุถึงขั้นตอนและระยะเวลาในการปรับเปลี่ยนฟาร์มทั้งหมดเข้าสู่เกษตรอินทรีย์ รวมทั้งการจัดแยกระบบการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์และไม่ใช่เกษตรอินทรีย์ออกจากกัน ซึ่งในแต่ละมาตรฐานอาจกำหนดระยะเวลาของการปรับเปลี่ยนแตกต่างกันไป ซึ่งในช่วงระยะปรับเปลี่ยนนี้อาจใช้เวลา 12 - 36 เดือนขึ้นกับมาตรฐาน โดยในช่วงนี้ เกษตรกรสามารถทำการเพาะปลูกหรือทำการผลิตตามปกติ แต่จะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรฐานเกษตรอินทรีีย์ และผลผลิตที่ผลิตขึ้นมา จะไม่สามารถใช้ตรารับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ได้ (บางมาตรฐาน อาจมีข้อกำหนดให้ใช้ตรารับรองมาตรฐานระยะปรับเปลี่ยนได้)

(ค) การผลิตพืช
ในระบบการปลูกพืช ควรเลือกปลูกพืชที่หลากหลายชนิดและพันธุ์ เพื่อสร้างเสถียรภาพและความยั่งยืนของนิเวศฟาร์ม นอกจากนี้ การปลูกพืชหลากหลายพันธุ์ ยังเป็นการช่วยรักษาความหลากหลายของพันธุกรรมพืชไว้ด้วย ในการสร้างความหลากหลายของการปลูกพืชนี้ ควรมีการปลูกพืชหมุนเวียน โดยมีพืชที่เป็นปุ๋ยพืชสดรวมอยู่ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพืชตระกูลถั่วและพืชที่มีระบบรากลึก โดยจัดระบบการปลูกพืชให้มีพืชคลุมดินอยู่ตลอดทั้งปี

สำหรับเมล็ดพันธุ์พืชและส่วนขยายพันธุ์ มาตรฐานมีข้อกำหนดที่ต่างกันออกไป แต่โดยหลักทั่วไป จะกำหนดให้เลือกใช้พันธุ์พืช (เมล็ด กิ่งพันธุ์ ต้นกล้า) ที่ผลิตจากระบบเกษตรอินทรีย์ แต่ในกรณีที่ไม่สามารถหาเมล็ดพันธุ์เกษตรอินทรีย์ได้ มาตรฐานอาจมีข้ออนุโลมให้ใช้เมล็ดพันธุ์ทั่วไปได้

(ง) การจัดการดิน และธาตุอาหาร
การจัดการดินที่ดีเป็นพื้นฐานสำคัญของระบบเกษตรอินทรีย์ การปรับปรุงดินและการบริหารจัดการดินและธาตุอาหาร มีเป้าหมายเพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน ซึ่งรวมถึงการจัดการให้มีธาตุอาหารอย่างเพียงพอกับพืชที่เพาะปลูก และเพิ่มพูนอินทรียวัตถุให้กับดินอย่างต่อเนื่อง โดยการสร้างกลไกของการหมุนเวียนธาตุอาหารในฟาร์ม รวมทั้งการป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดิน และการสูญเสียของธาตุอาหาร ซึ่งการจัดหาแหล่งธาตุอาหารพืชนั้นควรเน้นที่ธาตุอาหารที่ผลิตขึ้นได้ภายในระบบฟาร์ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการให้มีการหมุนเวียนธาตุอาหารในฟาร์มได้อย่างมีประสิทธิภาพ การใช้ปุ๋ยธาตุอาหาร ทั้งจากหินแร่ธาตุ หรือปุ๋ยอินทรีย์และอินทรียวัตถุจากภายนอกฟาร์มนั้น ควรเป็นแค่แหล่งธาตุอาหารเสริมเท่านั้น ไม่ใช่เป็นแหล่งทดแทนการผลิตและการหมุนเวียนธาตุอาหารในฟาร์ม

(จ) การป้องกันกำจัดศัตรูพืช
ในระดับฟาร์ม การป้องกันกำจัดศัตรูพืชในระบบเกษตรอินทรีย์จะเน้นที่การเขตกรรม การจัดการศัตรูพืชโดยชีววิธี และวิธีกลเป็นหลัก ทั้งนี้โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อสร้างสมดุลของระบบนิเวศการเกษตร ที่ทำให้พืชที่เพาะปลูกพัฒนาภูมิต้านทานโรคและแมลง และสภาพแวดล้อมของฟาร์มไม่เอื้ออำนวยต่อการระบาดของโรคและแมลง ต่อเมื่อการป้องกันไม่เพียงพอ เกษตรกรจึงอาจใช้ปัจจัยการผลิตสำหรับควบคุมและกำจัดแมลงศัตรูพืช ซึ่งกำหนดอนุญาตไว้ในมาตรฐาน

(ฉ) การป้องกันมลพิษ การปนเปื้อน และการปะปน
ในระดับฟาร์ม เกษตรกรผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์จะต้องมีมาตรการในการป้องกันมิให้ดินและผลผลิตเกษตรอินทรีย์ปนเปื้อนจากมลพิษ และสารเคมีสังเคราะห์ทางการเกษตร ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ในระบบเกษตรอินทรีย์ ซึ่งรวมถึงโลหะหนัก และมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมและชุมชน รวมทั้งมีมาตรการในการลดการปนเปื้อน (เช่น การจัดทำแนวกันชนรอบแปลงเกษตรอินทรีย์ที่มีพื้นที่ติดกับแปลงเกษตรเคมีที่มีการใช้สารเคมีต้องห้าม หรือการทำบ่อพักน้ำ และมีการบำบัดน้ำด้วยชีววิธี ก่อนที่จะนำน้ำนั้นมาใช้ในแปลงปลูกพืชเกษตรอินทรีย์ รวมถึงการทำความสะอาดเครื่องมือทางการเกษตร ที่อาจปนเปื้อนสารเคมีต้องห้าม ก่อนนำมาใช้ในแปลงเกษตรอินทรีย์) เป็นต้น

มาตรฐานเกษตรอินทรีย์แต่ละแห่งจะมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดการแนวกันชน (buffer zone) ที่แตกต่างกัน โดยอาจมีการกำหนดทั้งระยะห่างระหว่างแปลงเกษตรอินทรีย์กับแปลงเกษตรเคมี หรือการปลูกพืช หรือการจัดทำสิ่งปลูกสร้าง ที่เป็นแนวป้องกันการปนเปื้อน ในพื้นที่แนวกันชนที่แตกต่างกันได้ โดยทั่วไป จะมีการกำหนดเกณฑ์แนวกันชนขั้นต่ำไว้ในมาตรฐาน ซึ่งหน่วยงานรับรองอาจจะพิจารณาให้เกษตรกรต้องมีการจัดการแนวกันชนเพิ่มเติมจากข้อกำหนดขั้นต่ำ โดยการพิจารณาจากสภาพความเป็นจริงของฟาร์มแต่ละแห่ง

ในขั้นของการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวและการแปรรูป ผู้ผลิต-ผู้ประกอบการจะต้องมีการจัดการผลผลิตเกษตรอินทรีย์ โดยป้องกันมิให้วัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ปะปนกันกับวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ หรือสัมผัสกับปัจจัยการผลิต หรือสารต้องห้ามต่างๆ ที่กำหนดไว้ในมาตรฐาน เพราะจะทำให้วัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์นั้นสูญเสียสถานะของการได้รับการรับรองมาตรฐานได้ ยกตัวอย่างเช่น การไม่ใช้กระสอบที่บรรจุปุ๋ยเคมี หรือสารเคมีมาใช้บรรจุผลผลิตเกษตรอินทรีย์ หรือในการจัดเก็บผลผลิตเกษตรอินทรีย์ในโรงเก็บ จะต้องไม่มีการใช้สารกำจัดศัตรูในโรงเก็บ ในขณะที่มีการเก็บผลผลิตเกษตรอินทรีย์ ขนส่งผลผลิตเกษตรอินทรีย์



http://www.greennet.or.th/article/1125


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 06/07/2012 7:16 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 06/07/2012 6:58 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,689. เกษตรอินทรีย์ วาระแห่งชาติ


ประวัติความเป็นมา
รัฐบาลได้กำหนดเกษตรอินทรีย์เป็นวาระแห่งชาติ โดยให้ทุกส่วนราชการ ร่วมปฏิบัติอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อ ดำเนินการปรับเปลี่ยนระบบการผลิต ที่พึ่งพาการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมี มาเป็นการพึ่งตนเองในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ตามแนวเศรษฐ
กิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยคำนึงถึงทุกมิติ ดังนั้นรัฐบาลจึงได้กำหนดแผนบูรณาการ การพัฒนาเกษตรอินทรีย์ขึ้นระหว่าง ปีพ.ศ. 2549-2552 เพื่อเป็นกรอบแผนยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานของภาครัฐและเอกชน


“เกษตรอินทรีย์” หมายความว่าอะไร และทำอย่างไรจึงจะเป็นเกษตรอินทรีย์
เกษตรอินทรีย์ (Organic Farming or Organic Agriculture) ในความหมายของสหพันธ์เกษตรนานาชาติ International Federation of Agriculture Movement (IFOAM) นั้น หมายถึง ระบบการเกษตรที่ผลิตอาหารและเส้นใย ด้วยความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม สังคมและเศรษฐกิจ โดยเน้นการปรับปรุงบำรุงดิน การเคารพต่อศักยภาพทางธรรมชาติของพืชสัตว์และระบบ
นิเวศ การเกษตรอินทรีย์จึงลดการใช้ปัจจัยการผลิตจากภายนอกและหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ เช่น ปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและเวชภัณฑ์สำหรับสัตว์ ขณะเดียวกันก็ประยุกต์ใช้ธรรมชาติในการเพิ่มผลผลิต และพัฒนาความต้านทาน ต่อโรคของพืช และสัตว์เลี้ยง


เกษตรอินทรีย์ อีกความหมายหนึ่ง หมายถึง ระบบการเกษตรที่ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีในการปรับปรุงบำรุงดิน ไม่ใช้สารเคมีในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ไม่ใช้สารเคมีในการกำจัดวัชพืช ตลอดจนไม่ใช้ฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชและสัตว์ นอกเหนือไปจากการไม่ใช้สารเคมี ปุ๋ยเคมีและสารสังเคราะห์ทั้งมวลแล้ว การจะเป็นเกษตรอินทรีย์สมบูรณ์แบบนั้น ในดิน ในน้ำและในอากาศก็ต้องไม่มีสารเหล่านี้ตกค้างอยู่ด้วย

การทำเกษตรอินทรีย์จึงต้องเลือกพื้นที่ที่ไม่เคยทำการเกษตรเคมีมาไม่น้อยกว่า 3 ปี ควรต้องเป็นพื้นที่ค่อนข้างเป็นที่ดอนและโล่งแจ้ง ต้องอยู่ห่างจากโรงงานอุตสาหกรรม อยู่ห่างจากแปลงที่ปลูกพืชโดยใช้สารเคมีและปุ๋ยเคมี อยู่ห่างจากถนนหลวงหลัก และจะต้องมีแหล่งน้ำปลอดสารเคมีและสารมีพิษทั้งมวลด้วย



วิธีการทำเกษตรอินทรีย์
1. ไม่ใช้สารเคมีใด ๆ ทั้งสิ้น เช่น ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ และยาปราบศัตรูพืช

2. มีการไถพรวนระยะเริ่มแรก และลดการไถพรวนเมื่อปลูกไปนาน ๆ เพื่อรักษาสภาพโครงสร้างของดิน

3. มีการเปลี่ยนโครงสร้างของดินตามธรรมชาติ คือมีการคุมดินด้วยใบไม้แห้ง หญ้าแห้ง ฟางแห้ง วัสดุอื่น ๆ ที่หาได้ในท้องถิ่นเพื่อรักษาความชื้นของดิน

4 .มีการใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก และปุ๋ยพืชสด เพื่อบำรุงรักษาแร่ธาตุที่จำเป็นแก่พืชในดิน

5. มีการเติมจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์

6. มีการเอาเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาช่วย เช่น เทคนิคการปลูก การดูแลเอาใจใส่ การขยายพันธุ์ การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ การให้น้ำ ตลอดจนการเก็บเกี่ยว

7. มีการปลูกอย่างต่อเนื่อง ไม่ปล่อยที่ดินให้ว่างเปล่า แห้งแล้ง ทำให้โครงสร้างของดินเสียจุลินทรีย์จะตาย อย่างน้อยให้ปลูกพืชคลุมดินไว้ชนิดใดก็ได้

8. มีการป้องกันศัตรูพืช โดยใช้สารสกัดธรรมชาติ เช่น สะเดา ข่า ตะไคร้ ยาสูบ โล่ติ๊น และพืชสมุนไพรอื่น ๆ ที่มีอยู่ในท้องถิ่น


จะเห็นได้ว่าการทำเกษตรแบบอินทรีย์นั้นไม่ใช้เรื่องเกินความสามารถของเกษตรกรไทย และการทำเกษตรอินทรีย์นั้นจะได้ผลผลิตน้อยในระยะแรกเท่านั้น เมื่อดินเริ่มฟื้นมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติแล้ว ผลผลิตจะสูงขึ้น



ข้อดีของเกษตรอินทรีย์ คือ
1. ให้ผลผลิตที่มีปริมาณ และคุณภาพที่ดีกว่า
2. ให้ผืนดินที่อุดมสมบูรณ์ดีกว่า
3. ให้สิ่งแวดล้อมที่ดีกว่า
4. ให้คุณภาพชีวิต และคุณภาพจิตที่ดีกว่า
5. ผู้บริโภคและเกษตรกรผู้ผลิต ไม่ต้องเสี่ยงต่อสารพิษที่อาจก่อให้เกิดโรคร้ายที่เป็นอันตรายต่อชีวิต

การเกษตรอินทรีย์ เป็นสิ่งดีที่น่าจะเป็นการสร้างสมดุลให้กับธรรมชาติ ซึ่งจะนำไปสู่ระบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน มั่งคงและปลอดภัย



เกษตรอินทรีย์กับการชลประทาน
ในการพัฒนาเกษตรอินทรีย์นั้น น้ำเป็นปัจจัยหลักในการสนับสนุนการผลิตของเกษตรอินทรีย์ พร้อมทั้งระบบการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ และสารอินทรีย์ต่างๆ ของขั้นตอนขบวนการผลิตเกษตรอินทรีย์ รวมทั้งระบบการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ และสารอินทรีย์เพื่อใช้เอง ดังนั้นเพื่อตอบสนองและดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล กรมชลประทาน โดยโครงการชลประทานสมุทรสงคราม จึงได้บูรณาการร่วมกับส่วนราชการสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เช่น สำนักงานเกษตรจังหวัด สำนักงานพัฒนาที่ดินจังหวัดดำเนินการจัด “โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาเกษตรอินทรีย์” เพื่อให้ความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์แก่เกษตรกรในพื้นที่ชลประทานของโครงการชลประทานสมุทรสงคราม และเกษตรกรทั่วไปที่ต้องการเข้าร่วมโครงการฯ โดยเกษตรกรที่ผ่านการฝึกอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ปฏิบัติได้ด้วยตนเอง



http://ridceo.rid.go.th/smsongkh/corbor/bor-kasedinsee1.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 06/07/2012 7:17 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 06/07/2012 7:10 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,690. เกษตรอินทรีย์ในสิงคโปร์


ประเทศสิงคโปร์เป็นประเทศเกาะ มีพื้นที่ทั้งประเทศเพียง 701 ตารางกิโลเมตร แต่มีประชากรมากถึง 4.5 ล้านคน หรือโดยเฉลี่ย 6,075 คนต่อตารางกิโลเมตร จึงทำให้มีพื้นที่สำหรับการเกษตรอยู่อย่างจำกัดมาก คือเพียง13,400 กว่าไร่ (หรือราว 3% ของพื้นที่ประเทศ) ประชากรส่วนใหญ่ (77%) มีเชื้อสายจีน รองลงมาคือ มาเลย์ (14%) และอินเดีย (8%) และมีชาวต่างประเทศที่เข้าไปทำงานในบริษัทข้ามชาติต่างๆ ที่ตั้งอยู่ในประเทศสิงคโปร์อีกเป็นจำนวนมากพอสมควร ผลผลิตอาหารเกือบทั้งหมดตั้งนำเข้าจากต่างประเทศ ทั้งจากในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม ไทย) เอเชียตะวันออก (เช่น จีน ไต้หวัน) และแปซิฟิค (เช่น ออเตรเลีย นิวซีแลนด์) และจากสหรัฐอเมริกา

ในช่วงประมาณ 10 กว่าปีที่ผ่านมา ผู้บริโภคในสิงคโปร์ได้เริ่มหันมาให้ความใส่ใจกับเรื่องการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพมากขึ้น เพราะตัวเองหรือสมาชิกในครอบครัว มีปัญหาด้านสุขภาพ (เช่น โรคมะเร็ง) ทำให้ผู้บริโภคกลุ่มนี้เลือกบริโภคอาหารเกษตรอินทรีย์ โดยเชื่อว่าจะช่วยทำให้สุขภาพแข็งแรงและมีภูมิต้านทานโรคดีขึ้น อีกกลุ่มของผู้บริโภคอาหารเกษตรอินทรีย์ คือ ชาวต่างชาติที่เข้ามาพำนักและทำงานในสิงคโปร์ ซึ่งมีแนวคิดเรื่องสุขภาพองค์รวม และการเลือกใช้ชีวิตที่ใส่ใจสุขภาพ (well-being lifestyle) มาตั้งแต่อยู่ในประเทศของตัวเอง และพยายามดำเนินชีวิตในแนวทางดังกล่าวเมื่อย้ายมาอยู่ในสิงคโปร์ วิถีชีวิตที่ใส่ใจสุขภาพนี้ประกอบด้วยการออกกำลังกายแบบใหม่ (เช่น โยคะ) การฝึกสมาธิ และการเลือกบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ ซึ่งแนวคิดในการดำเนินชีวิตที่ใส่ใจต่อสุขภาพนี้ได้แพร่ต่อไปยังชนชั้นกลางและสูงในสิงคโปร์ และต่อมาได้เริ่มขยายไปสู่กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ได้มีโอกาสไปศึกษาและใช้ชีวิตในต่างประเทศ นอกจากนี้ มีกลุ่มครอบครัวคนรุ่นใหม่ ที่เริ่มมีลูกเล็ก ก็หันมาเลือกซื้ออาหารเกษตรอินทรีย์สำหรับลูกของตัวเองโดยเฉพาะ เพราะเชื่อว่า จะช่วยให้เด็กๆ มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง กลุ่มผู้บริโภคเหล่านี้เป็นฐานสำคัญของตลาดเกษตรอินทรีย์ในประเทศสิงคโปร์ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดต่อต่างๆ เช่น SARS และไข้หวัดนก ยิ่งทำให้ผู้บริโภคในสิงคโปร์หันกลับมาให้ความสนใจกับเรื่องการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพกันมากขึ้น ซึ่งทำให้ตลาดเกษตรอินทรีย์ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง


การผลิตเกษตรอินทรีย์
จากฟาร์มเกษตรที่ปลูกผักทั้งหมด 40 ฟาร์มในประเทศสิงคโปร์ ซึ่งกำลังการผลิตสามารถตอบสนองต่อความต้องการบริโภคได้เพียง 5% ของปริมาณการบริโภคโดยรวมภายในประเทศ มีฟาร์มที่ปลูกผักเกษตรอินทรีย์อยู่ 4 ฟาร์ม คือ Green Valley Farms, Fire Flies Health Farm, Green Circle และ Quan Fa Organic Farm ซึ่งทั้งหมดไม่ได้มีการรับรองมาตรฐานแต่อย่างใด (ฟาร์ม Green Valley Farms อ้างว่า เคยได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์จาก Biological Farmers of Australia (BFA) จากออสเตรเลีย แต่ปัจจุบันไม่ได้ขอการรับรองต่ออีกแล้ว) ผลผลิตจากฟาร์มเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเป็นพวกผักที่สามารถปลูกได้ในเขตอากาศร้อนชื้น เช่น คะน้า ผักกาดฮ่องเต้ บวบ แตงกวา กระเจี๊ยบเขียว ซึ่งผลผลิตผักสดเหล่านี้จะถูกส่งขายให้กับร้านสุขภาพและซุปเปอร์มาร์เก็ตในเมือง

ที่จริงแล้ว ในสิงคโปร์ยังมีฟาร์มเลี้ยงปลาและสัตว์น้ำอีกราว 62 แห่ง ที่เลี้ยงปลากระพง ปลาเก๋า ปลานิล ปลาช่อน หอยนางรม หอยแมงภู่ ปู เป็นต้น แต่ไม่มีฟาร์มใดที่ได้ผลิตสัตว์น้ำในระบบเกษตรอินทรีย์


การแปรรูปเกษตรอินทรีย์
ในส่วนของอาหารแปรรูป แม้ว่าสิงคโปร์จะมีอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารอยู่บ้าง แต่ไม่ปรากฎว่ามีการผลิตอาหารแปรรูปเกษตรอินทรีย์ในประเทศเท่าใดนัก ถ้าเด่นชัดมากที่สุด คือ การทำเต้าหู้สดเกษตรอินทรีย์ โดยการนำเข้าถั่วเหลืองจากต่างประเทศ ที่เหลือเกือบทั้งหมดเป็นการนำเข้าผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ในลักษณะหีบห่อใหญ่ แล้วนำมาบรรจุถุงย่อยในประเทศสิงคโปร์ เพื่อจำหน่ายให้กับผู้บริโภค

อาหารเกษตรอินทรีย์เกือบทั้งหมดนำเข้าจากต่างประเทศ ทั้งจากประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงและจากที่ไกลๆ เช่น ประเทศในสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา

ผู้ประกอบการที่นำเข้าสินค้าเกษตรอินทรีย์ส่วนใหญ่จะนำเข้าสินค้าที่บรรจุเสร็จแล้ว พร้อมจำหน่ายให้กับผู้บริโภคได้ทันที แต่ก็มีผู้ประกอบการจำนวนหนึ่งที่นำเข้าสินค้าเกษตรอินทรีย์ในลักษณะที่ยังไม่บรรจุเสร็จ และจะทำการบรรจุย่อยเองในประเทศ เช่น ธัญพืช ซึ่งบางส่วนก็จะขอการตรวจสอบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในขั้นตอนของการบรรจุย่อยด้วย ส่วนการแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์นั้น ไม่ปรากฎว่า มีการดำเนินการใดในประเทศสิงคโปร์ในปัจจุบัน


การตลาดเกษตรอินทรีย์
ตลาดเกษตรอินทรีย์ในสิงคโปร์เริ่มต้นมาตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษ 1990 โดยเริ่มจากร้านสุขภาพที่นำสินค้าเกษตรอินทรีย์นำเข้าจากต่างประเทศออกวางจำหน่ายในร้านของตัวเอง ร้านสุขภาพนี้เป็นร้านเฉพาะทาง (specialty shop) ที่เน้นขายอาหารเสริมและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ โดยมีกลุ่มลูกค้าเฉพาะที่เป็นผู้สนใจในเรื่องสุขภาพเป็นพิเศษ รวมทั้งผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเสื้อผ้าเกษตรอินทรีย์ด้วย ในช่วง 4 -5 ปีที่ผ่านมา ห้างซุปเปอร์มาร์เก็ตได้เริ่มหันมาให้ความสนใจกับตลาดเกษตรอินทรีย์ และจึงได้เริ่มพบผลิตภัณฑ์อาหารเกษตรอินทรีย์วางจำหน่ายในห้างซุปเปอร์มาร์เก็ตใหญ่ๆ โดยเฉพาะ NTUC FairPrice และ Cold Storage ในปัจจุบัน มีร้านเฉพาะทางเหล่านี้ประมาณ 23 ร้านค้าและซุปเปอร์มาร์เก็ตอีก 4 กลุ่มที่ขายผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์อยู่

นอกจากนี้ ยังมีร้านกาแฟและร้านอาหารต่างๆ ที่พยายามนำเสนอเมนูอาหารเกษตรอินทรีย์ด้วย แต่ก็ยังไม่ค่อยประสบความสำเร็จทางการตลาดเท่าไหร่นัก

ขนาดของตลาดเกษตรอินทรีย์ในสิงคโปร์ยังค่อนข้างมีความสับสน ที่ผ่านมา มีงานวิจัยตลาดเกษตรอินทรีย์สิงคโปร์ 4 ฉบับ โดยกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (ศึกษาตลาดของปี 2543) Canadian High Commission (ตลาดปี 2545) และ Department of Primary Industries (ตลาดปี 2549) ของรัฐวิคเตอเรีย ออสเตรเลีย (ตลาด 2550) ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะประมาณการขนาดตลาดเกษตรอินทรีย์ของสิงคโปร์จะอยู่ราว 150 - 200 ล้านบาท ยกเว้นในการศึกษาของ Stanton, Emms & Sia (2008) ที่ทำการศึกษาให้กับรัฐบาลแคนาดา ที่ประเมินตลาดเกษตรอินทรีย์สิงคโปร์สูงถึงหนึ่งพันกว่าล้านบาท จากข้อมูลดังกล่าว ผนวกกับการสำรวจข้อมูลการตลาดและการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการโดยนักวิจัย พบว่า ตลาดเกษตรอินทรีย์ในสิงคโปร์ในปัจจุบัน (ปี พ.ศ. 2552) น่าจะมีขนาดราว 4.6 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา ซึ่งลดลงจากปีที่ผ่านมาเล็กน้อย เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2551 ได้ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคเกษตรอินทรีย์บางส่วน แต่เนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนของดอลลาร์สหรัฐอ่อนตัวลงมาก ทำให้มูลค่าตลาดเกษตรอินทรีย์ในสิงคโปร์เมื่อคิดเป็นเงินบาทกลับกลายเป็นขยายตัวขึ้นเล็กน้อย อย่างไรก็ดี ถ้าเทียบเฉลี่ยการบริโภคอาหารเกษตรอินทรีย์ต่อหัวประชากรแล้ว ต้องถือได้ว่า ตลาดเกษตรอินทรีย์สิงคโปร์เริ่มเป็นที่น่าสนใจพอควร เพราะผู้บริโภคมีการซื้อหาผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์เฉลี่ยปีละ 1.02 เหรียญสหรัฐต่อปี ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศต่างๆ แล้วนับว่า ตลาดเริ่มมีนัยสำคัญทีเดียว

จากการประเมินตลาดในสิงคโปร์ พบว่าในช่วงก่อนที่จะมีปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกที่เริ่มจากช่วงกลางปี พ.ศ. 2551ตลาดเกษตรอินทรีย์สิงคโปร์มีอัตราการเจริญเติบโตค่อนข้างสูง เช่น งานวิจัยของ Converging Knowledge (2004) และ Department of Primary Industries (2007) ประมาณว่า ตลาดเกษตรอินทรีย์ในสิงคโปร์โตราว 20% ในขณะที่ Stanton, Emms & Sia (2008) ประมาณว่า ตลาดโตสูงถึง 120% ต่อปี ทั้งนี้เพราะตลาดยังมีขนาดค่อนข้างเล็กมาก จึงทำให้มีการขยายตัวค่อนข้างสูง แต่ตลาดหลังจากเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ตลาดเกษตรอินทรีย์ในสิงคโปร์ได้ชะลอตัวลงพอควร ซึ่งผู้ประกอบการหลายคนในสิงคโปร์ยอมรับว่า ตลาดเกษตรอินทรีย์สิงคโปร์จะสัมพันธ์กับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศค่อนข้างมาก เพราะผู้บริโภคหลักกลุ่มหนึ่งคือ กลุ่มที่เลือกซื้ออาหารเกษตรอินทรีย์ เพราะต้องการทดลองบริโภค ซึ่งผู้ซื้อในกลุ่มจะเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคตามภาวะของเศรษฐกิจ



กฎระเบียบการค้าและการรับรองสินค้าเกษตรอินทรีย์
ในปัจจุบัน ประเทศสิงคโปร์ยังไม่ได้มีการออกกฎระเบียบเกี่ยวกับการค้าและการรับรองสินค้าเกษตรอินทรีย์แต่อย่างใด และจากการสอบถามหน่วยงานที่น่าจะเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ คือ Agri-Food & Veterinary Authority of Singapore (AVA) ก็ไม่ปรากฎว่า รัฐบาลมีนโยบายที่จะกำหนดกฎระเบียบดังกล่าวในอนาคตอันใกล้ เนื่องจากเชื่อกันว่า เกษตรอินทรีย์เป็นเรื่องสิ่งแวดล้อม ซึ่งอยู่นอกเหนือความรับผิดชอบของรัฐบาล ที่ควรต้องเน้นที่เรื่องความปลอดภัยของอาหารเป็นหลัก

อย่างไรก็ตาม ในสิงคโปร์มีกฎระเบียบเกี่ยวกับเรื่องฉลากสินค้า ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องรับผิดชอบในคำกล่าวอ้างในฉลากที่เป็นจริง ซึ่งในการตีความของ AVA เชื่อว่า การจะกล่าวอ้างว่าสินค้าเป็นเกษตรอินทรีย์นั้น ผู้ประกอบการจะต้องมีใบรับรองความเป็นเกษตรอินทรีย์ โดย AVA ได้อ้างว่า สินค้าเกษตรอินทรีย์นั้น ควรจะเป็นไปตามเกณฑ์ข้อกำหนดของ CODEX เกี่ยวกับการการผลิต แปรรูป การตลาด และการใช้ฉลากของอาหารเกษตรอินทรีย์ (CODEX's Guidelines for the Production, Processing, Marketing and Labelling of Organic ally Produced Foods) และได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่เป็นที่ยอมรับ ซึ่งในทางปฏิบัติที่ผ่านมา ทาง AVA ได้ยอมรับการรับรองเกษตรอินทรีย์ในทุกมาตรฐานและทุกหน่วยงานรับรอง โดยไม่ได้มีการตรวจสอบเพิ่มเติมว่า มาตรฐานที่ใช้ในการรับรองสินค้าเกษตรอินทรีย์นำเข้าเป็นไปตามเกณฑ์ข้อกำหนดของ CODEX จริงหรือไม่ หรือหน่วยงานรับรองเป็นที่ยอมรับจริงหรือไม่

ดังนั้น การนำเข้าสินค้าเกษตรอินทรีย์จึงเพียงแต่ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบการนำเข้าและการขายสินค้าเกษตรและอาหารเช่นเดียวกันกับสินค้าทั่วไป ซึ่ง AVA เป็นหน่วยงานหลักที่ทำหน้าที่ในการดูแลความปลอดภัยของอาหาร รวมทั้งการออกใบอนุญาตเกี่ยวกับการผลิตแปรรูปอาหาร การตรวจสอบรับรอง และการควบคุมการนำเข้าสินค้าอาหาร โดยผู้ประกอบการนำเข้าจะต้องขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้นำเข้ากับทาง AVA ก่อน (ซึ่งสามารถดำเนินการทางอินเตอร์เน็ตได้) จากนั้น เมื่อจะนำเข้าสินค้าในแต่ละครั้ง จะต้องขอใบอนุญาตนำเข้า ที่ระบุรายละเอียดของชนิดและปริมาณสินค้าที่จะนำเข้า (ขอผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้เช่นกัน) ซึ่งถ้านำเข้าสินค้าเกษตรอินทรีย์ก็จะต้องระบุว่าเป็นสินค้าเกษตรอินทรีย์ด้วย แต่ไม่จำเป็นต้องแนบเอกสารใบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์กับใบขออนุญาตนำเข้า แต่ผู้ประกอบการนำเข้าจะมีเอกสารใบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์สำหรับให้เจ้าหน้าที่ AVA ตรวจเมื่อมีการสุ่มตรวจสินค้านั้น ซึ่งเป็นการสุ่มตรวจในลักษณะของการสำรวจสินค้าในตลาด (post-market inspection)

อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการธุรกิจภาคเอกชนของสิงคโปร์เองเริ่มให้ความใส่ใจกับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ค่อนข้างมาก สินค้าเกษตรอินทรีย์นำเข้า ที่วางจำหน่ายในร้านค้าเกือบทั้งหมดจะมีติดฉลากตรารับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ยกเว้นเฉพาะแต่ ผลผลิตผักสดเกษตรอินทรีย์ที่ผลิตในประเทศ นอกจากนี้ ผู้ประกอบการค้าปลีกรายใหญ่ เช่น ซุปเปอร์มาร์เก็ต NTUC FairPrice ได้ริเริ่มจัดทำมาตรฐานเกษตรอินทรีย์และระบบการรับรองของตัวเอง เพื่อสร้างหลักประกันความมั่นใจให้กับผู้บริโภค ภายใต้ชื่อ Pasar Organicซึ่งได้เริ่มเปิดตัวมาตั้งแต่กลางปี พ.ศ. 2551

สิงคโปร์มีกฏระเบียบเกี่ยวกับนำเข้าข้าวขาว ซึ่งกำหนดให้ผู้นำเข้าต้องนำเข้าขั้นต่ำไม่น้อยกว่าเดือนละ 50 ตัน ซึ่งทำให้ผู้นำเข้าเกษตรอินทรีย์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้นำเข้ารายย่อย นำเข้าเฉพาะข้าวกล้องเกษตรอินทรีย์จากต่างประเทศ เพราะไม่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับปริมาณนำเข้าขั้นต่ำ



นโยบายเกษตรอินทรีย์
ณ ปัจจุบัน รัฐบาลสิงคโปร์ไม่ได้มีนโยบายอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์โดยตรง ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการผลิต แปรรูป หรือการค้าสินค้าเกษตรอินทรีย์ จึงไม่ได้มีมาตรการทั้งส่งเสริมหรือควบคุมการผลิต แปรรูป หรือการค้าสินค้าเกษตรอินทรีย์

อย่างไรก็ดี ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา รัฐบาลสิงคโปร์ได้มีนโยบายส่งเสริมสุขภาพ โดยได้มีการจัดทำการรณรงค์การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต เช่น "healthy living and eating" ทั้งนี้เพราะประชาชนจำนวนมากในประเทศมีปัญหาสุขภาพที่เกิดจากการดำเนินชีวิต เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ และโรคเบาหวาน ทำให้มีการจัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคเพื่อสุขภาพค่อนข้างมาก เช่น "Healthy Choice" หรือ "Less Fat, Sugar and Salt" หรือในปีนี้ ก็มีการรณรงค์เกี่ยวกับเรื่องการเลือกบริโภคอาหารที่เป็นธัญพืชที่ไม่ผ่านการแปรรูป ซึ่งช่วยทำให้กระแสความตื่นตัวเกี่ยวกับเรื่องการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพโดยรวมเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการส่งเสริมสุขภาพของสิงคโปร์ (Singapore’s Health Promotion Board) ยังไม่ได้ให้ความยอมรับต่อประโยชน์ทางสุขภาพของการบริโภคอาหารเกษตรอินทรีย์เท่าไหร่นัก ดังจะเห็นได้จากบทความของคณะกรรการส่งเสริมสุขภาพที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ ซึ่งระบุว่า อาหารเกษตรอินทรีย์ไม่ได้มีคุณค่าทางอาหารพิเศษแตกต่างไปจากอาหารทั่วไป ดังนั้น แม้จะมีการส่งเสริมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ แต่ก็ไม่ได้มีการส่งเสริมอาหารเกษตรอินทรีย์เป็นการเฉพาะเท่าไหร่นัก



[จากรายงาน "การขยายตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (กรณีศึกษาในประเทศมาเลเซีย และ สิงคโปร์)" โดยวิฑูรย์ ปัญญากุล (2553) ศูนย์พัฒนาเกษตรอินทรีย์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และมูลนิธิสายใยแผ่นดิน/กรีนเนท, โครงการวิจัยสนับสนุนโดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์]



http://www.greennet.or.th/article/1288


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 06/07/2012 7:17 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 06/07/2012 7:14 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,691. เกษตรอินทรีย์ในมาเลเซีย


ประเทศมาเลเซียแบ่งออกเป็นสองภูมิภาคใหญ่ ที่มีทะเลเปิดกั้นกลาง ห่างกันราว 640 กิโลเมตร คือ มาเลเซียตะวันตก และมาเลเซียตะวันออก พื้นที่ของประเทศประมาณ 330,000 ตารางกิโลเมตร และมีสภาพอากาศแบบร้อนชื้นตลอดทั้งปี เนื่องจากตั้งอยู่บริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตร แต่ก็มีหลายพื้นที่ที่ได้รับอิทธิพลชายฝั่งทะเลค่อนข้างมาก เพราะอยู่ติดกับทะเล ในมาเลเซีย มีภูเขาสูงอยู่บ้าง ซึ่งทำให้มีอากาศที่ค่อนข้างเย็น

ภาคการเกษตรของมาเลเซียส่วนใหญ่เป็นการเพาะปลูกพืชอุตสาหกรรมและพืชอาหารหลายอย่าง เช่น ยางพารา ปาล์มน้ำมัน โกโก้ สับปะรด พริกไท แต่ก็มีการผลิตข้าว (ซึ่งยังไม่เพียงพอสำหรับการบริโภคภายในประเทศ) และผัก (มีเหลือส่งออกบ้าง) ระบบการผลิตจะมีทั้งที่เป็นฟาร์มขนาดเล็กของเกษตรกรรายย่อยและฟาร์มขนาดใหญ่ โดยเฉพาะที่ปลูกพืชอุตสาหกรรม

ความตื่นตัวเกี่ยวกับการบริโภคอาหารสุขภาพได้เริ่มก่อตัวขึ้นในประเทศมาเลเซียตั้งแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 1980 โดยเฉพาะในหมู่ของครอบครัวผู้ป่วยจากโรคมะเร็ง และโรคเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตสมัยใหม่ต่างๆ ทำให้ผู้บริโภคจำนวนหนึ่งหันมาสนใจในการเลือกซื้ออาหารเกษตรอินทรีย์ ที่มีความปลอดภัยมากกว่า เนื่องจากไม่มีการใช้สารเคมีการเกษตรในการเพาะปลูก โดยในระยะแรก สินค้าเกษตรอินทรีย์ทั้งหมดต้องนำเข้าจากต่างประเทศ โดยมีผู้ป่วยเป็นผู้ที่เริ่มดำเนินการนำเข้าเอง (เพื่อใช้บริโภคส่วนตัว) ต่อมา ผู้ประกอบการร้านสุขภาพจึงได้เริ่มหันมานำเข้าผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์มาวางจำหน่าย

คู่ขนานไปกันกับการพัฒนาระบบการตลาด การผลิตเกษตรอินทรีย์ในมาเลเซียเริ่มต้นโดยองค์กรพัฒนาเอกชน คือ Centre for Environment, Technology and Development, Malaysia (CETDEM) ที่ได้ริเริ่มทำฟาร์มเกษตรอินทรีย์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 โดยเริ่มจากพื้นที่เพียง 2 ไร่กว่า ซึ่งหลังจากนั้น ก็ได้มีฟาร์มเอกชนอีกหลายฟาร์มที่ได้เริ่มปรับเปลี่ยนการผลิตมาเป็นเกษตรอินทรีย์ โดยผู้ผลิตเหล่านี้ได้เล็งเห็นโอกาสทางการตลาดภายในประเทศที่เริ่มขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่การผลิตเหล่านี้ก็ยังค่อนข้างกระจัดกระจาย และไม่ได้มีการตรวจสอบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แต่อย่างใด



การผลิตเกษตรอินทรีย์
การผลิตเกษตรอินทรีย์ในมาเลเซียเริ่มก่อตัวเป็นรูปร่างชัดเจนในราวปี พ.ศ. 2538 เมื่อฟาร์มปลูกผักในเขต Cameroon Highlands (ซึ่งเป็นเขตปลูกผักหลักที่สำคัญของประเทศ) หลายฟาร์มได้ปรับเปลี่ยนการผลิตมาเป็นเกษตรอินทรีย์พร้อมกัน โดยฟาร์มบางส่วนได้ขอรับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ด้วย และผลผลิตผักสดของฟาร์มเหล่านี้ถูกส่งมาจำหน่ายอย่างต่อเนื่องให้กับผู้บริโภคในเมืองใหญ่หลายเมืองในเขตมาเลเซียตะวันตก

การผลิตเกษตรอินทรีย์ในมาเลเซียได้พัฒนาต่อเนื่องขึ้นมาอย่างช้าๆ ในปัจจุบัน พื้นที่การผลิตเกษตรอินทรีย์ในประเทศมีอยู่เพียงไม่ถึงหนึ่งหมื่นไร่ ส่วนข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวชนิดของผลผลิตนั้นไม่มีการรวบรวมไว้


การผลิตเกษตรอินทรีย์ในมาเลเซียในปัจจุบันยังคงมีแค่การผลิตผักและผลไม้เท่านั้น แม้ว่าจะมีความพยายามในการขยายการผลิตข้าวเกษตรอินทรีย์และการเลี้ยงไก่ แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จมากนัก ผลผลิตผักและผลไม้เกษตรอินทรีย์ส่วนใหญ่จะขายภายในประเทศ แต่ก็มีการส่งออกไปสิงคโปร์บางส่วนเช่นกัน ระบบการผลิตจะเป็นฟาร์มผสมผสาน ที่ปลูกผักและไม้ผลร่วมกัน โดยฟาร์มปลูกผัก-ผลไม้เกษตรอินทรีย์ส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ในเขต Cameroon Highland



การแปรรูปเกษตรอินทรีย์
ส่วนการแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์นั้น มีผู้ประกอบการรายย่อยหลายรายที่เริ่มแปรรูปอาหารเกษตรอินทรีย์ เช่น ขนมปัง เต้าหู้ นมถั่วเหลือง ถั่วหมักเทมเป้ รวมทั้งผักหมักดองต่างๆ ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้ใช้วัตถุดิบที่นำเข้าจากต่างประเทศทั้งหมด ส่วนการจำน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปเกษตรอินทรีย์เหล่านี้จะจำหน่ายเฉพาะตลาดภายในประเทศเท่านั้น จากการศึกษาพบว่า มีผู้ประกอบการแปรรูปเกษตรอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองทั้งหมด 25 รายในปัจจุบัน (Majid 2009)



การตลาดเกษตรอินทรีย์
สำหรับตลาดเกษตรอินทรีย์ในมาเลเซียเติบโตอย่างรวดเร็วมาก นับจากที่กระแสความตื่นตัวด้านสุขภาพที่เริ่มต้นขึ้นในปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 โดยเฉพาะในหมู่ชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน ที่มีครอบครัวที่มีผู้ป่วย (โดยเฉพาะโรคมะเร็ง ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ) ทำให้มีเกิดกระแสความสนใจในการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ และพัฒนาต่อมาเป็นอาหารเกษตรอินทรีย์ ซึ่งทำให้มีผู้ประกอบการเอกชนที่ริเริ่มนำเข้าอาหารสุขภาพและเกษตรอินทรีย์จากต่างประเทศ และจำหน่ายโดยตรงให้กับผู้สนใจ ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นร้านค้าปลีกเฉพาะทาง (specialty shops) ในลักษณะของร้านสุขภาพและร้านเกษตรอินทรีย์ รวมทั้งในระยะหลัง ได้มีซุปเปอร์มาร์เก็ตหลายแห่งที่หันมาสนใจกับตลาดเกษตรอินทรีย์ และนำสินค้าเกษตรอินทรีย์เข้าไปจำหน่ายด้วย ซึ่งในปัจจุบันมีร้านค้าและซุปเปอร์มาร์เก็ตที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ในมาเลเซียมากกว่า 200 แห่งทั่วประเทศ โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ เช่น กัวลาลัมเปอร์ และปีนัง

จากการสำรวจข้อมูลพบว่า ตลาดเกษตรอินทรีย์ในมาเลเซียในปี พ.ศ. 2547 มีมูลค่าราว 50 ล้านริงกิต (ประมาณ 500 ล้านบาท) และมีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยปีละ 20% (Ong 2006) โดยสินค้าเกือบทั้งหมดต้องนำเข้าจากต่างประเทศ แม้แต่ผักสดเอง ซึ่งมีการผลิตในประเทศบางส่วน แต่ก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการ แหล่งในการนำเข้าสินค้าเกษตรอินทรีย์ของมาเลเซีย คือ สหรัฐอเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ จีน และประเทศไทย โดยมีมูลค่าการนำเข้าในปี พ.ศ. 2547 ประมาณ 15 ล้านริงกิต (Ongi 2006)



กฎระเบียบการค้าและการรับรองสินค้าเกษตรอินทรีย์
กระทรวงเกษตรของมาเลเซียได้จัดทำมาตรฐานการผลิตพืชเกษตรอินทรีย์เสร็จเรียบร้อยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 (The Malaysian Organic Standards - MS1529 : 2001) และจากนั้น ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2546 ก็ได้จัดตั้งระบบการตรวจสอบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ซึ่งมีชื่อเรียกว่า Malaysia Organic Scheme (Skim Organic Malaysia-SOM) ภายในกระทรวงเกษตร แต่อย่างไรก็ดี รัฐบาลมาเลเซียไม่ได้มีการกำหนดกฏระเบียบในการบังคับใช้มาตรฐานดังกล่าว จึงมีผู้ผลิต-ผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์เพียงไม่กี่รายที่ขอรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์

นอกจากนี้ การดำเนินการรับรองของ SOM ล่าช้ามาก Ong and Majid (2007) ระบุว่า นับจากปี พ.ศ. 2547-2550 มีเกษตรกรประมาณ 70 รายที่ได้สมัครขอการรับรองจาก SOM แต่สามารถตรวจรับรองได้เพียง 17 รายเท่านั้น อย่างไรก็ดี ทางกระทรวงเกษตรยังได้พยายามที่จะจัดทำมาตรฐานและขยายขอบเขตของการตรวจสอบรับรองเกษตรอินทรีย์ให้ครอบคลุมเรื่องของการแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ด้วย แต่ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ

ดังนั้น การนำเข้าสินค้าเกษตรอินทรีย์สำหรับประเทศมาเลเซีญจึงเพียงแต่ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบการนำเข้าและการขายสินค้าเกษตรและอาหารเช่นเดียวกันกับสินค้าทั่วไป ซึ่งแยกออกตามหน่วยงานต่างๆ ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องดังกล่าว เช่น ในกรณีของผักและผลไม้สด จะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานและกฎระเบียบที่กำหนดโดย Federal Agricultural Marketing Authority (FAMA) เกี่ยวกับการแยกเกรด บรรจุภัณฑ์ และฉลากสินค้า ในขณะที่การส่งออกผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ จะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตร มาเลเซีย

ในส่วนของภาคเอกชน ผู้ประกอบการและหน่วยงานด้านเกษตรอินทรีย์ภาคเอกชนได้ร่วมกันจัดตั้งOrganic Alliance Malaysia (OAM) ขึ้นในปี พ.ศ. 2545 เพื่อเป็นองค์กรกลางระดับประเทศของภาคเอกชน ที่เกี่ยวข้องกับเกษตรอินทรีย์ ต่อมา OAM ได้ริเริ่มให้บริการตรวจสอบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีหน่วยตรวจสอบรับรองจากต่างประเทศ ที่เข้าไปให้บริการตรวจรับรองการผลิต-แปรรูปเกษตรอินทรีย์ในประเทศมาเลเซีย ทั้งจากยุโรป ออสเตรเลีย รวมทั้งสำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.) จากประเทศไทยด้วย ทาง OAM ได้ร่วมกับ มกท. และหน่วยตรวจรับรองเกษตรอินทรีย์อีกหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียร่วมกันจัดตั้ง Certification Alliance (CertAll) ขึ้น เพื่อกระชับความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ ในการให้บริการตรวจสอบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์สำหรับการส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศ โดยเฉพาะยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และอื่นๆ ซึ่งทำให้ OAM ยอมรับผลการตรวจรับรองเกษตรอินทรีย์ของ มกท. ส่งผลให้การส่งออกไปมาเลเซียเป็นไปได้อย่างสะดวก



นโยบายเกษตรอินทรีย์
นอกเหนือจากการทำมาตรฐานและระบบการตรวจรับรองเกษตรอินทรีย์ของกรมวิชาการเกษตรแล้ว รัฐบาลมาเลเซียยังให้ความสนใจในการสนับสนุนการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ภายในประเทศ ซึ่งเริ่มการสนับสนุนมาตั้งแต่ช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 2000 โดยในแผนการพัฒนาประเทศฉบับที่ 8 พ.ศ. 2544-48 (8th Malaysia Plan 2001 - 2005) ได้กำหนดเป้าหมายในการขยายการผลิตเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้น 1,562.5 ไร่ และจัดสรรงบประมาณสนับสนุนให้กับเกษตรกรในช่วงระยะปรับเปลี่ยนมากถึงไร่ละ 8,000 บาท ในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของฟาร์ม เช่น ถนน ชลประทาน ไฟฟ้า เป็นต้น ในแผนพัฒนาประเทศฉบับที่ 9 พ.ศ. 2549-2553 รัฐบาลมีแผนที่จะขยายการผลิตเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้นปีละ 25,000 ไร่ รวม 5 ปี 125,000 ไร่ โดยหวังว่าจะช่วยขยายมูลค่าธุรกิจเกษตรอินทรีย์ของประเทศเป็น 5,000 ล้านบาทได้ เมื่อสิ้นแผน 9 ในปี พ.ศ.2553

แม้ว่าเป้าของการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ของมาเลเซียดูจะไม่ได้ใหญ่โตมากนัก แต่ผลการดำเนินก็ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าไหร่ ทั้งนี้เพราะภาคการเกษตรในมาเลเซียมีปัญหาในเชิงโครงสร้างอยู่หลายด้านมาก กล่าวคือ แม้เกษตรกรส่วนใหญ่ที่เป็นเกษตรกรรายใหญ่จะมีที่ดินทำกินเป็นของตัวเอง แต่พื้นที่การผลิตก็มีขนาดที่เล็กมาก คือ เฉลี่ยราว 10 ไร่ต่อครอบครัว ซึ่งทำให้ไม่คุ้มทุนสำหรับเกษตรกรในการปรับปรุงผลิตภาพกรผลิตในฟาร์ม โดยการใช้เครื่องจักรกลเข้ามาช่วย ในขณะที่แรงงานในภาคการเกษตรก็หายากและมีต้นทุนสูง ซึ่งทำให้ฟาร์มเกษตรเชิงการค้าในมาเลเซียต้องพึ่งพาแรงงานจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากอินโดนีเซียและประเทศไทย ดังนั้น การส่งเสริมให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนการผลิตเป็นเกษตรอินทรีย์ ซึ่งต้องมีการลงทุนเพิ่ม จึงเป็นสิ่งที่ยากมากสำหรับเกษตรกรรายย่อยเหล่านี้ ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งคือ ที่ดินที่เหมาะสมกับการปลูกผักและผลไม้เกษตรอินทรีย์ เป็นที่ดินที่อยู่ในเขตที่สูง เช่น ที่ Cameroon Highland ซึ่งรัฐบาลไม่มีนโยบายจัดสรรกรรมสิทธิ์ที่ดินให้กับเกษตรกร แต่จะให้เกษตรกรเช่าที่ดินแทน ซึ่งทำให้เกิดความไม่มั่นคงในที่ดินเกษตร เกษตรกรจึงขาดความมั่นใจในการลงทุนปรับปรุงฟาร์มของตัวเอง

ปัจจัยที่ได้กล่าวมาข้างต้นนี้เป็นปัญหาพื้นฐานของการพัฒนาการเกษตรในมาเลเซียโดยรวม ซึ่งทำให้ภาคการเกษตรของมาเลเซียนับวันหดตัวเล็กลง และที่เหลืออยู่ก็เพียงฟาร์มขนาดใหญ่ ที่ผลิตพืชอุตสาหกรรม เช่น ปาล์มน้ำมัน ยางพารา ดังนั้น อนาคตเกี่ยวกับนโยบายส่งเสริมการผลิตเกษตรอินทรีย์จึงดูไม่น่าจะสดใสมากนัก อย่างไรก็ดี รัฐบาลมีนโยบายที่สนับสนุนอาหารเกษตรอินทรีย์ค่อนข้างมาก ซึ่งทำให้ตลาดเกษตรอินทรีย์ในมาเลเซียยังมีอนาคตที่แจ่มใส ซึ่งเป็นโอกาสของเกษตรอินทรีย์ไทย เพราะตลาดเกษตรอินทรีย์มาเลเซียต้องพึ่งพาการนำเข้าผลผลิตเกษตรอินทรีย์จากต่างประเทศเป็นหลัก



[จากรายงาน "การขยายตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (กรณีศึกษาในประเทศมาเลเซีย และ สิงคโปร์)" โดยวิฑูรย์ ปัญญากุล (2553) ศูนย์พัฒนาเกษตรอินทรีย์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และมูลนิธิสายใยแผ่นดิน/กรีนเนท, โครงการวิจัยสนับสนุนโดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์]



http://www.greennet.or.th/article/1287


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 07/07/2012 8:26 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 06/07/2012 6:47 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,692. มาตรฐาน 'เกษตรอินทรีย์' ส่งออก



จากการที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เป็นผู้ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมขับเคลื่อนโครงการพัฒนาระบบการผลิตสินค้าเกษตรและอาหาร ตามมาตรฐานเพื่อการยอมรับทั้งในประเทศและส่งออก ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากโครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ (Structural Adjustment Loan : SAL) ในปี 2551-2552 โดยมุ่งสร้างและพัฒนาระบบมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ของไทยให้เป็นที่ยอมรับของประเทศคู่ค้า พร้อมพัฒนาระบบการผลิตของเกษตรกรให้ได้มาตรฐาน ตลอดจนจัดทำฐานข้อมูลด้านการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์

นายนิวัติ สุธีมีชัยกุล ผู้อำนวยการ มกอช. เปิดเผยว่า โครงการ SAL ดังกล่าว ได้มุ่งเน้นพัฒนากลุ่มให้เข้าสู่ระบบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์เชิงพาณิชย์ โดยได้ว่าจ้างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นที่ปรึกษาโครงการฯ เพื่อศึกษาวิเคราะห์ชนิดสินค้าเกษตรและอาหารที่มีศักยภาพในการส่งออก ได้แก่ ข้าว ผักและผลไม้อินทรีย์ อาทิ มะพร้าว กล้วยหอม มะม่วง ลิ้นจี่ สับปะรด ลำไย ข้าวโพด เครื่องเทศและสมุนไพรอินทรีย์ รวมทั้งสินค้าไก่ เป็ด น้ำนม และกุ้งอินทรีย์ มีตลาดส่งออกหลัก คือ กลุ่มสหภาพยุโรป (EU) ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และสิงคโปร์ โดยพบว่า สินค้าเกษตรอินทรีย์ของไทยมีแนวโน้มการเติบโตประมาณ 10% ต่อปี

ขณะเดียวกันโครงการฯ ยังได้เร่งพัฒนากลุ่มผู้ผลิตสินค้าอินทรีย์ 20 กลุ่ม ซึ่งมีทั้งสินค้าพืช ได้แก่ ข้าว ผัก ผลไม้ และสมุนไพร ปศุสัตว์และประมง ได้แก่ ไก่ เป็ด น้ำนมและกุ้งอินทรีย์ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เข้า ร่วมบูรณาการพัฒนา ตั้งแต่การประเมินศักยภาพและความพร้อมของกลุ่ม พร้อมส่งเสริมและถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวิชาการ เทคโนโลยีไปสู่กลุ่มเกษตรกรนำร่อง ทั้งยังช่วยปรับปรุงระบบควบคุมภายในและวางแนวทางพัฒนาการบริหารจัดการกลุ่ม เพื่อเข้าสู่ระบบการรับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบกลุ่ม ปัจจุบันมีกลุ่มผู้ผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ไม่น้อยกว่า 12 กลุ่ม ที่มีระบบควบคุมภายในที่สามารถนำไปใช้และมีความพร้อมในการขอรับการรับรองแบบกลุ่มได้ และจะเป็นแหล่งผลิตต้นแบบที่กลุ่มอื่น ๆ สามารถเข้ามาศึกษาเรียนรู้แล้วนำไปประยุกต์ใช้ได้


นายนิวัติกล่าวต่ออีกว่า มกอช. ยังมีแผนเร่งจัดทำความเท่าเทียมทางมาตรฐานและระบบการรับรองสินค้าเกษตรอินทรีย์ ของไทยกับประเทศคู่ค้าที่สำคัญ อาทิ การเทียบเคียงทางมาตรฐานและระบบการรับรองกับสมาพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (International Federation of Organic Agricultural Movements : IFOAM) ในสินค้าข้าวและกุ้งอินทรีย์ มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของสหรัฐอเมริกา (National Organic Program : NOP) ในสินค้าข้าวมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของญี่ปุ่น (Japanese Agricultural Standards : JAS) ในสินค้าพืชผัก และมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของจีนใน สินค้าลำไยซึ่งคาดว่าจะสามารถช่วยสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์ได้สะดวกและคล่องตัวมากขึ้น ซึ่งจะได้กำหนดเป็นกลยุทธ์ในการดำเนินการในระยะสั้นและระยะยาวต่อไป เพื่อประโยชน์ในการส่งออกและพัฒนาระบบการรับรองของไทย

“ในปี 2553 นี้ มกอช. ได้เร่งสนับสนุนต่อยอดกิจกรรมในโครงการฯ ดังกล่าว อาทิ การจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศด้านการผลิตและตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ของไทย เพื่อเชื่อมโยงให้เกิดการผลิตและการจำหน่ายสินค้าตามมาตรฐาน รวมทั้งการพัฒนากลุ่มผู้ผลิตที่มีศักยภาพให้เข้มแข็ง ซึ่งจะเป็นต้นแบบการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ของกลุ่มอื่นต่อไป พร้อมเร่งสร้างความเท่าเทียมด้านมาตรฐานและระบบการรับรองของไทยกับประเทศคู่ค้าด้วย” ผอ.มกอช.กล่าว

นอกจากนี้ ในเรื่องของระบบการรับรองสินค้าเกษตรอินทรีย์ทั้งแบบรายเดี่ยวและแบบกลุ่ม ขณะนี้หน่วยงานตรวจรับรองภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ได้พัฒนาความพร้อมในการให้การรับรองตามมาตรฐานอยู่ในระดับหนึ่งแล้วและอยู่ในระหว่างการพัฒนาให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากลต่อไป.


ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=344&contentID=41969




http://www.phtnet.org/news53/view-news.asp?nID=19


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 06/07/2012 7:01 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 06/07/2012 7:00 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,693. ชาวนาไทยในมุมมองเกษตรกรญี่ปุ่น


สัมภาษณ์ "ดร.มิซาบุโร ทานิกุจิ" : วิพากษ์ชาวนาไทยในมุมมองเกษตรกรญี่ปุ่น

ทรงวุฒิ จันธิมา



"ถ้าคุณอยากเห็นอนาคตการเกษตรของไทยในอีก 20 ปี ก็ให้มองการเกษตรญี่ปุ่นในวันนี้"

"ชาวนาต้องปรับตัว ไม่อย่างนั้นสูญพันธุ์กันหมด"

"เชื่อเถอะว่า เด็กที่เรียนเกี่ยวกับการเกษตรในประเทศไทย ไม่มีทางที่จะกลับมาทำการเกษตรของตนเอง พวกเขาต้องการทำการเกษตรกับบริษัท"

"จนถึงเดี๋ยวนี้ มีการควบคุมเมล็ดพันธุ์ข้าวไปแล้วกว่า 70% เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ บริษัทใหญ่ยึดพันธุ์ข้าวไปหมดแล้ว"

"ในความคิดของผม ผมเชื่อว่าเกษตรอินทรีย์เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับคนไทย"

"ข้าวแพง...คนที่ได้ประโยชน์มากที่สุดคือ กลุ่มนายหน้า พ่อค้านายทุน...มันกลายเป็นเพียงเกม ส่วนชาวนาต้องรับกรรม"




"ดร.มิซาบุโร ทานิกุจิ" คือ เกษตรกรชาวญี่ปุ่นที่ทำการเกษตรในเมืองไทยมากกว่า 25 ปี เป็นประธานมูลนิธิศูนย์อบรมเกษตรกรรมและอาชีพ มีพื้นที่ทำการเกษตรกว่า150 ไร่ ตั้งอยู่อยู่ระหว่างทางบ้านสักลอ - พวงพะยอม ต.หงส์หิน อ.จุน จ.พะเยา ซึ่งในช่วง 25 ปีที่ ดร.มิซาบุโร ทานิกุจิ ได้ทำฟาร์มระบบเกษตรอินทรีย์ ทำให้เขาเห็นความแตกต่างระหว่างชาวนาไทยและญี่ปุ่น และนี่คือมุมมองของเขา ที่ทำให้คนไทยมองเห็นองศาความคิดที่แตกต่าง ระหว่างไทยและญี่ปุ่นอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น



F.C.21 หรือ ฟาร์มแห่งศตวรรษที่ 21 คือต้นแบบแหล่งผลิตอาหารเพื่อชาวโลกในอนาคต เพราะทุกวันนี้อาหารมีไม่พอสำหรับชาวโลก และอีกประการหนึ่งคือ มันเป็นการทำประโยชน์ หากเราอยู่ประเทศญี่ปุ่น ผมกลายเป็นคนแก่ที่ไม่มีประโยชน์ แต่ถ้าเราอยู่เมืองไทย ผมสามารถทำประโยชน์ได้มากกว่า

โดยเมื่อ 25 ปีก่อน ผมทำฟาร์มที่จังหวัดเชียงราย ตอนนั้นฝึกแต่ชาวเขา ซึ่งหลังจากทำการเกษตรมาหลายปี เราก็อยากขยาย อยากทำงานให้มากกว่าเดิม ก็เลยหาสถานที่ใหม่ ดังนั้น อีก 8 ปีต่อมาผมจึงย้ายสถานที่มาอยู่ระหว่างทางทาง บ้านสักลอ - พวงพะยอม ต.หงส์หิน อ.จุน จ.พะเยา ตอนนี้นับเวลารวมกันได้ 25 ปีแล้ว ตอนที่ย้ายมาที่นี่กันดารมาก ที่ดินยังเป็นลูกรังอยู่เลย แต่เป้าหมายของเราคือ การทำการเกษตร ปลูกข้าว ทำสวน ทำปุ๋ยหมัก ฯลฯ


เกษตรกรญี่ปุ่นกับไทยต่างกันเพียงใด ?
ความต่างข้อแรก เป็นเรื่องความรู้ เมื่อ 25 ปีก่อน คนญี่ปุ่นสามารถอ่านออกเขียนได้กันแทบทุกคน พวกเขาสามารถศึกษาเรื่องเทคนิคด้านการเกษตรได้มาก แต่สำหรับคนไทย ตอนนั้นเกษตรกรที่อ่านหนังสือไม่ออกยังมีอยู่ และถึงมีพวกเขาก็ไม่ชอบอ่านหนังสือเกี่ยวกับการเกษตร

จุดสำคัญยังมีอีกอย่างคือ ชาวญี่ปุ่นมีการเปรียบเทียบความรู้ระหว่างกัน อย่างน้อยหนึ่งวันหรือสองวันก็มีการไปเยี่ยมพื้นที่การเกษตรระหว่างกัน ส่วนคนไทยพอมีงานพอมีการพบปะกันก็คุยกันเรื่องอื่น ไม่มีการคุยเรื่องการเกษตร


คนไทยก็มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเหมือนกัน :
ถ้ามองในด้านเทคโนโลยี เราจะเห็นว่า ตลอดระยะเวลาที่ผมอยู่เมืองไทย เราจะมองเห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เริ่มจากควายเป็นรถไถ เป็นแทร็กเตอร์ มีเครื่องเกี่ยว เครื่องดูดข้าว และจะมีเครื่องมืออื่นอีกมากมายในอนาคต แต่ยังเทียบกับญี่ปุ่นไม่ได้ เพราะเรามีเครื่องมือที่พร้อมกว่า เกษตรกรญี่ปุ่นสามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยทำงานได้ โดยเฉลี่ยคนญี่ปุ่น 1 คน สามารถทำนาได้ 50 ไร่

สำหรับคนไทยยังใช้มือทำ ถ้าคุณอยากเห็นอนาคตการเกษตรของไทยในอีก 20 ปี ก็ให้มองการเกษตรญี่ปุ่น แต่ตอนนี้ทุกคนก็เจอปัญหาเหมือนกัน เพราะราคาน้ำมันแพง ชาวนาญี่ปุ่น ชาวนาไทย ตอนนี้เดือดร้อนเรื่องต้นทุนการผลิตเหมือนกัน



มีความเห็นอย่างไร เรื่องลูกหลานชาวนาไม่ยอมทำนา ?
อันนี้มันเป็นปัญหาสำคัญของทั่วโลก ประเทศไทยไม่แตกต่างจากญี่ปุ่น เรื่องคนหนุ่มเลือกอย่างอื่น ตอนนี้อายุเฉลี่ยของชาวนาญี่ปุ่นอยู่ที่ 61 ปี ตอนนี้คนไทยก็คงอยู่ประมาณ 45 ปี มันสะท้อนให้เห็นเลยว่า ชาวนาต้องปรับตัว ไม่อย่างนั้นสูญพันธุ์กันหมด เชื่อเถอะว่า เด็กที่เรียนเกี่ยวกับการเกษตรในประเทศไทย ไม่มีทางที่จะกลับมาทำการเกษตรของตนเอง พวกเขาต้องการทำการเกษตรกับบริษัท

แต่เดี๋ยวนี้นักศึกษาของญี่ปุ่นหลายคน มีความสนใจในการทำการเกษตรมากกว่าเดิม มีหลายคนบอกว่า เมื่อทำงานจบแล้วจะกลับมาทำเกษตรกรรม



แล้วมองการรวมตัวของเกษตรกรไทยในตอนนี้อย่างไรบ้าง ?
รัฐบาลไทย ความจริงมีการส่งเสริมด้านการเกษตรกรรมมาก รัฐสนับสนุนมาก แต่กลุ่มเกษตรกรไม่ไขว่คว้า มันเป็นเพียงการรวมตัวเพื่อผลประโยชน์ระยะสั้น ไม่มีความเหนียวแน่นเลย อย่างช่วงที่ผ่านมา ที่ศูนย์มีการอบรมเรื่องสารเคมี โดย ธกส. หรือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ เป็นคนออกค่าใช้จ่าย แต่ปรากฎว่า หลังการอบรม ไม่มีใครใช้ประโยชน์จากการอบรมเลย ยังหาคนทำปุ๋ยหมักไม่มีเลย นี่ทำให้เห็นความหละหลวมของการรวมกลุ่มของเกษตรชาวไทย

ยิ่งถ้าพูดถึงเรื่องพันธุ์ข้าว มันกลายเป็นปัญหาใหญ่อยู่แล้วเรื่องกลุ่มทุน ไม่ต้องมองที่เครือเจริญโภคภัณฑ์ แต่ไปมองที่โลกตะวันตก มองอเมริกา ผมนั่งอ่านนิตยสารของญี่ปุ่นฉบับหนึ่งชื่อว่า World Watch เขาบอกว่าเมื่อ 20 ปีที่แล้ว จนถึงเดี๋ยวนี้ มีการควบคุมเมล็ดพันธุ์ข้าวไปแล้วกว่า 70% เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ บริษัทใหญ่ยึดพันธุ์ข้าวไปหมดแล้ว

อย่าง GMOs หรือการตัดต่อพันธุกรรมพืช ถ้าหากว่ามันต้องใช้ ใช้แล้วไม่มีผลกระทบ มันก็ต้องลองดู แต่ในความคิดของผม ผมเชื่อว่าเกษตรอินทรีย์เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับคนไทย แม้จะได้ข้าวน้อยกว่า แต่ประโยชน์ของข้าว ของคนที่รับประทานข้าว มากกว่า


ทำอย่างไรจึงจะให้เด็กหันมาทำการเกษตร ?
ก็ต้องมองไปที่เงิน รัฐต้องเข้ามาสนับสนุนกลุ่มเกษตรกรโดยมองไปที่รายได้ สมมุติว่า จบปริญญาตรีได้เงินเดือน 7,300 บาท เราก็ต้องทำให้ชาวไร่ชาวนาได้เงินเท่านั้น โดยมองไปที่ราคาข้าว จากนั้น ทำให้ชาวนาได้เงินเดือนเท่านั้น เด็กไทยก็ไม่ต้องเข้าไปทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม

แต่บางที่มันก็ต้องยอมรับนะว่า นาบ้านเรามันเป็นนาปี ทำปีละครั้งที่เหลือมันก็คือ ว่างงาน ถ้าทำงานทุกวันแล้วสามารถได้เงินเยอะกว่าโรงงาน รับรองว่ามีคนเข้ามาทำการเกษตรเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน ส่วนข้าวแพงมีผลต่อเกษตรกรหรือไม่ ในความคิดของผม คนที่ได้ประโยชน์มากที่สุดคือ กลุ่มนายหน้าพ่อค้านายทุน

ส่วนตัวผม ราคาข้าวไม่มีผลกระทบกับมูลนิธิหรอก เพราะมูลนิธิส่งผลผลิตที่ได้ขายให้กับร้านอาหารญี่ปุ่นในเมืองไทย 22 ตันต่อปี ส่วนปี 51 เรารับยอดเพิ่มขึ้นเป็น 30 ตัน โดยมีการประกันราคาข้าวให้กับเกษตรกรที่ทำนาระบบอินทรีย์ ราคากิโลกรัมละ 13 บาท เรื่องราคาข้าวไม่มีผลกระทบกับเราเลย

ส่วนราคาข้าวแพงปัจจุบันนั้น ถามว่าเกษตรกรได้ขายตามราคานั้นจริงหรือเปล่า คำตอบคือ ไม่ ชาวนาขายข้าวไปตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน ธันวาคม เมือปี 2550 แล้ว

ตอนนี้ราคาข้าวมันก็เหมือนกับตลาดหุ้น มีการปั่นราคา เป็นเรื่องผลประโยชน์ของกลุ่มพ่อค้าคนกลางรายใหญ่ ยิ่งได้รับประมูลข้าวมาก ยิ่งได้มาก มันกลายเป็นเพียงเกม ส่วนชาวนาต้องรับกรรม





http://prachatai.com/journal/2008/05/16630


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 12/07/2012 7:59 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 06/07/2012 9:39 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,694. อุตสาหกรรมผลิตผัก เทคโนฯ ใหม่จากญี่ปุ่น

ผศ.สมบูรณ์ เชี่ยววัฒนา




แกะรอยญี่ปุ่น (1)
ญี่ปุ่นกำลังประสบปัญหาจากหลายทิศทาง ตั้งแต่ปัญหาประชากร ซึ่งมีสัดส่วนผู้สูงอายุมากขึ้น ปัญหาภาคเกษตรกรรมที่มีผู้ประกอบอาชีพลดลง กระทั่งปัญหาการจ้างงาน

วันนี้เราจะลองไปดูอุตสาหกรรมใหม่ของญี่ปุ่น คือ “อุตสาหกรรมผลิตผัก” ซึ่งรัฐบาลญี่ปุ่นคาดหวังว่าจะเป็นคำตอบในการแก้ปัญหาต่างๆ ข้างต้นได้ในระดับหนึ่ง

ในปัจจุบันญี่ปุ่นมีประชากรซึ่งมีอายุสูงกว่า 65 ปี ถึงร้อยละ 20 ขณะเดียวกันแรงงานทางภาคเกษตรมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง โดยเฉพาะคนหนุ่มคนสาวต่างละทิ้งภาคเกษตร

กล่าวกันว่า อายุเฉลี่ยของเกษตรกรในญี่ปุ่นสูงถึง 65 ปี ขณะที่เกษตรกรซึ่งมีอายุต่ำกว่า 40 ปี มีน้อยกว่าร้อยละ 5 ประเด็นที่เป็นปัญหาต่อมา คือ พื้นที่เพาะปลูกทางเกษตรลดน้อยลง เพราะมีการนำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่น ขณะเดียวกับที่ความตื่นตัวด้านเกษตรอินทรีย์และพืชผักปราศจากสารพิษตกค้างของผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

ดังนั้น จึงมีความพยายามที่จะพัฒนาการเกษตรที่ไม่ต้องพึ่งพาดินฟ้าอากาศและฤดูกาล ไม่ต้องพึ่งพาที่ดินเพาะปลูก กับทั้งปลอดสารพิษ ขณะเดียวกันก็ลดภาระของเกษตรกรที่สูงวัยขึ้นทุกวัน การทำเกษตรดังกล่าวเป็นการพัฒนาก้าวพ้นแนวคิด Greenhouses ไปอีก ทั้งนี้ โดยอาศัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อออกแบบ “โรงงานผลิตผัก” ให้สามารถผลิต “ผักปลอดสาร หรือ ผักอินทรีย์” ได้ตลอด 24 ชั่วโมงต่อวันและ 7 วันต่อสัปดาห์ ตลอดทั้งปี ไม่ว่าฝนจะตก แดดจะออก พายุหิมะจะมา หรือร้อนจนตับแตกก็ตาม

ทั้งนี้ “โรงงานผลิตผัก” ดังกล่าว ประกอบขึ้นจากเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่สามารถควบคุมอุณหภูมิ แสงสว่าง ความชื้น น้ำ และคาร์บอนไดออกไซด์ภายใน “โรงงาน” พร้อมกับทำการปรับเปลี่ยนตัวแปรต่างๆ เหล่านี้อย่างแม่นยำเพื่อช่วยให้ผักสามารถเติบโตได้ดี “โรงงาน” จะปิดกั้นอากาศภายนอกทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้ยาฆ่าแมลง

ข้อดีของ “โรงงานผลิตผัก” มีการประเมินถึงข้อดีของแนวคิด “โรงงานผลิตผัก” ดังกล่าวไว้ ซึ่งอาจจะยกมา ดังนี้
● สามารถทำการผลิตได้ตลอดทั้งปีในทุกภูมิอากาศ (เพราะภายในโรงงานต้องมีการปรับควบคุมอุณหภูมิ)
● สามารถทำการผลิตในอาคารซึ่งญี่ปุ่นวันนี้ไม่เหมือนก่อน


ผศ.ประยูร เชี่ยววัฒนา รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติอุตสาหกรรมผลิตผัก เทคโนโลยีใหม่จากญี่ปุ่นเก็บเกี่ยวผักสลัดได้ 22 ครั้งในรอบปี






แกะรอยญี่ปุ่น (2)
โรงงานและมีกำลังการผลิตเพิ่มเป็น 5 เท่า การดำเนินการดังกล่าวจะช่วยให้ได้วัตถุดิบในการปรุงอาหารที่ “ปลอดภัย ไร้กังวล” สำหรับสนับสนุนอุตสาหกรรมภัตตาคารและร้านอาหาร ซึ่งสามารถช่วยให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้นได้

นอกจากนี้ ต้นทุนของผักที่ผลิตจากโรงงานดังกล่าว จะมีราคาแพงกว่าผักที่ปลูกโดยวิธีปกติประมาณร้อยละ 20-30 อันเป็นจุดอ่อนสำคัญ อย่างไรก็ตามรัฐบาลญี่ปุ่นได้ส่งเสริมให้ภาคเอกชนพัฒนาเทคโนโลยีในการประหยัดพลังงานอันจะช่วยให้ต้นทุนลดลงได้ประมาณร้อยละ 30 ภายในเวลา 3 ปีข้างหน้า

ขณะเดียวกัน เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม ที่ผ่านมา กระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรม (METI) ของญี่ปุ่นได้นำแปลงผักทดลองขนาดเล็กมาแสดงที่ลานทางเข้าของกระทรวง

ทั้งนี้ เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา กระทรวงเดียวกันนี้ ได้นำต้นแบบโรงงานซึ่งใช้แสงแดด ประสานกับแสงไฟฟ้าเพื่อใช้ในโรงงานผลิตผักดังกล่าว สำหรับต้นแบบที่นำมาแสดงใหม่นี้ใช้แสงไฟจาก LED เพียงอย่างเดียวและสามารถผลิตผักสลัด หรือมะเขือเทศสดๆ ออกมาได้ตลอดทั้งปี

ต้นแบบใหม่ดังกล่าวนี้ สร้างขึ้นบนฐานที่มีขนาด 12 ตารางเมตร หล่อเลี้ยงด้วยน้ำซึ่งมีสารอาหารและฉายด้วยแสง LED ที่มีการปรับให้สอดคล้อง เทียบเคียงกับแสงอาทิตย์ในแต่ละช่วงเวลา นอกจากนี้ ยังมีการปรับอุณหภูมิ ความชื้น และความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ ให้เหมาะสมกับการสังเคราะห์แสง เพื่อให้การเติบโตของผักมีประสิทธิภาพสูงสุด ไม่มีการใช้งาน นอกเหนือจากในพื้นที่เกษตร

● สามารถดำเนินการผลิตโดยซ้อนกันหลายๆ ชั้นได้ เป็นการใช้พื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
● สามารถผลิตผักและผลไม้ที่ไม่มียาฆ่าแมลงและสารตกค้างอื่น
● สามารถควบคุมให้มีขนาดสม่ำเสมอและดูแลคุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้ง่าย
● สามารถปรับปรุงระบบการทำงานให้เป็นมาตรฐานง่ายขึ้น ซึ่งทำให้เกษตรกร หรือผู้สนใจรายใหม่ สามารถเข้ามาดำเนินการได้
● สามารถจ้างงาน ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส หรือผู้พิการ ให้มาทำงานเกษตรในเงื่อนไขสภาพแวดล้อมที่ดีได้

โรงงงานผลิตผักดังกล่าว สร้างขึ้นให้สามารถปิดกั้นอากาศจากภายนอกแล้วควบคุมอุณหภูมิและความชื้น ภายในมีระบบคอมพิวเตอร์สำหรับควบคุมน้ำ แสงสว่าง ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อให้พืชสังเคราะห์แสง ผัก อันเป็นผลผลิตสามารถควบคุมให้มีขนาดใกล้เคียงกันกับทั้งป้องกันจากแมลงและศัตรูพืชทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้ยาฆ่าแมลง ในปัจจุบันมีโรงงานเช่นนี้ที่ดำเนินการอยู่แล้วประมาณ 40 แห่ง ผลิตผักสลัด มะเขือเทศ สตรอเบอร์รี่ เป็นต้น ประมาณ 10 รายการ

บริษัท Ozu Corporation หนึ่งในบริษัทซึ่งเป็นผู้พัฒนาระบบนี้ กล่าวเสริมว่า ผักที่ผลิตโดยกรรมวิธีนี้มีความสะอาดมาก กระทั่งสามารถใช้กินเป็นอาหารโดยไม่จำเป็นต้องล้างก่อน ประสิทธิภาพของโรงงานนี้ทำให้สามารถผลิตผักสลัด (lettuce) ออกมาได้ถึง 20 รอบในเวลาหนึ่งปี ผักที่ปลูกโดยกรรมวิธีดังกล่าวนี้จำหน่ายในราคาที่แพงกว่าปกติ ประมาณร้อยละ 20 ถึงร้อยละ 30

การส่งเสริมและสนับสนุนจากรัฐบาล
รัฐบาลญี่ปุ่นกำลังส่งเสริมอุตสาหกรรมการสร้าง “โรงงานผลิตผัก” ดังกล่าว โดยใช้มาตรการลดภาษีให้กับการลงทุนใหม่ รวมไปถึงการสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ทั้งนี้ โดยมีเป้าหมายว่าภายในระยะเวลา 3 ปี จะเพิ่มจำนวนโรงงานให้เป็น 4 เท่า มีจำนวน 150





http://www.tpa.or.th/tpanews/upload/mag_content/26/ContentFile338.pdf
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 08/07/2012 6:31 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,695. ทัศนะของคนญี่ปุ่น ต่อสินค้าเกษตรอินทรีย์



ทัศนะของผู้บริโภคต่อสินค้าเกษตรอินทรีย์
- ผู้บริโภคในญี่ปุ่นยังไม่เห็นความแตกต่างระหว่างสินค้าเกษตรอินทรีย์กับสินค้าธรรมดา แต่มีความเชื่อมั่นในสินค้าที่ติดฉลากเขียวว่ารับประทานแล้วปลอดภัย

- ซูเปอร์มาเก็ตมุ่งเป้าหมายลูกค้าเกษตรอินทรีย์ไปที่กลุ่มแม่บ้านอายุ 30-40 ปี ฐานะปานกลางขึ้นไป ซึ่งเป็นผู้มีการศึกษาและมีบุตร แม่บ้านกลุ่มนี้จะให้ความสนใจซื้อ สินค้าเพื่อสุขภาพ

- ผู้บริโภคในญี่ปุ่นยังคงนิยมซื้อสินค้าฉลากเขียวที่ผลิตในญี่ปุ่น เนื่องจาก เชื่อใจในมาตรฐานมากกว่าสินค้านำเข้า สินค้ามีความสดมากกว่า รวมทั้งยังอนุรักษ์การผลิต สินค้าเกษตรในญี่ปุ่น และความคิดที่ว่ารับประทานของที่ผลิตในประเทศเป็นเรื่องที่น่าภูมิใจ โดยพิจารณาจากปัจจัยด้านราคา ความปลอดภัยของอาหาร และการสอบทานสินค้าได้ (Traceability) มากกว่าจะพิจารณาจากปัจจัยด้านรูปทรงของสินค้าที่สมบูรณ์และสีอีกต่อไป

- กลุ่มผู้บริโภคที่เป็นคู่แต่งงานอายุต่ำกว่า 30 ปี จะนิยมซื้ออาหารแช่แข็งและอาหารแปรรูปที่รับประทานสะดวก เช่น มันฝรั่งทอด ผักผสม (บร๊อกโคลี่และแครอท) และข้าวโพดแช่แข็ง (มันฝรั่งอินทรีย์แช่แข็งสำหรับทำเฟรนช์ฟรายส์มีสัดส่วน 40% ของตลาดผักอินทรีย์แช่แข็ง)

- อาหารนำเข้า ผู้บริโภคญี่ปุ่นจะนิยมซื้ออาหารที่นำเข้าจากออสเตรเลียและ นิวซีแลนด์ และสินค้าที่นำเข้า ถ้าเป็นสินค้าแช่แข็งจะไม่ถูกรมควัน

- ผู้บริโภคไม่เห็นความแตกต่างระหว่างสินค้าเกษตรอินทรีย์กับสินค้าที่ติดฉลากเขียว เนื่องจากสินค้าที่ติดฉลากเขียวก็ผลิตโดยไม่ใช้สารเคมี เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้บริโภค แต่ราคาสินค้าเกษตรอินทรีย์สูงกว่าสินค้าที่ติดฉลากเขียว และผู้บริโภคยอมรับอัตราที่สูงกว่าเพียงระดับ 10-20% เท่านั้น ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่มีตราสัญลักษณ์สินค้าของตนเองจึงมีน้อยและไม่ขยายตัวมากกว่านี้



การนำเข้าสินค้าเกษตรอินทรีย์ของญี่ปุ่น
สินค้านำเข้าที่จะติดฉลากเกษตรอินทรีย์ได้ต้องได้รับการรับรองโดย RCOs ซึ่ง สินค้านั้นต้องติดฉลาก JAS อย่างชัดเจนพร้อมชื่อ RCOs ที่ออกใบรับรอง ปัจจุบันมีผู้ขึ้นทะเบียนเป็น RCOs ในญี่ปุ่น 40 ราย เป็นบริษัทญี่ปุ่นทั้งหมด แต่ผู้ที่รับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในต่างประเทศสามารถขึ้นทะเบียนเป็น RCOs ในญี่ปุ่นได้ ผู้ส่งออกในต่างประเทศสามารถขอมาตรฐาน JAS ได้โดย

1. ขออนุมัติสถานะของประเทศจาก MAFF โดยประเทศผู้ส่งออกต้องมีมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่เทียบเท่ามาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของญี่ปุ่น เมื่อได้รับอนุญาตแล้วหน่วยงานตรวจสอบและออกใบรับรองเกษตรอินทรีย์ในประเทศผู้ส่งออกจะต้องขออนุญาตจาก MAFF ด้วย และสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ผลิตในประเทศผู้ส่งออกต้องติดฉลาก JAS บน หีบห่อก่อนส่งออกไปยังญี่ปุ่น

2. ประเทศผู้ส่งออกขออนุมัติมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่เทียบเท่ามาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของญี่ปุ่น แต่หน่วยงานตรวจสอบในต่างประเทศไม่จำเป็นต้องขออนุญาตจาก MAFF ซึ่งสามารถรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่เทียบเท่ามาตรฐานแห่งชาติได้ (Organic conform to national organic standards) สินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ส่งออกไปยังญี่ปุ่นสามารถติดฉลากเกษตรอินทรีย์ของประเทศผู้ส่งออก โดยไม่ต้องติดฉลาก JAS แต่ ผู้นำเข้าญี่ปุ่นเป็นผู้ติดฉลาก JAS ก่อนวางจำหน่ายสินค้าในตลาด

3. ถ้าระบบการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของประเทศผู้ส่งออกยังไม่ได้รับอนุญาตจาก MAFF หรือยังไม่มีมาตรฐานเทียบเท่า JAS ผู้ส่งออกสามารถให้ RCOs ในญี่ปุ่นเป็นผู้ขออนุญาตจาก MAFF และตรวจสอบระบบการผลิตในประเทศผู้ส่งออกได้

สินค้าเกษตรอินทรีย์แปรรูปต้องได้รับการรับรองมาตรฐานด้วยซึ่งใช้วิธีเดียวกัน วิธีการที่สะดวก คือ ขอคำแนะนำจากผู้นำเข้าและผู้กระจายสินค้าในญี่ปุ่นเกี่ยวกับการ ติดฉลาก มาตรฐานด้านสุขอนามัย โดยเฉพาะสินค้าใหม่และเครื่องหมายการค้าใหม่ ชื่อสินค้าเป็นสิ่งที่สำคัญ ควรเลือกชื่อสินค้าที่เหมาะสมกับตลาดญี่ปุ่น ข้อมูลตลาดและผลการวิจัยที่มีอยู่แล้วช่วยได้มาก ใบรับรองมาตรฐานสุขอนามัยสำหรับแต่ละสินค้าขอได้จาก ผู้นำเข้าหรือ Quarantine Division ของ MAFF เนื่องจากสินค้าที่ผ่านกรรมวิธีฆ่าเชื้อหรือแมลงด้วยความร้อนแล้วไม่ใช่สิ่งรับประกันว่าสินค้านั้นจะไม่ถูกรมควันซ้ำอีก ซึ่งจะทำให้ติดฉลากเกษตรอินทรีย์ไม่ได้

ปัจจัยที่มีผลต่อราคาสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ คือ การรมควัน คุณภาพ ปริมาณ ฤดูกาลผลิต การส่งเสริมการขาย การเก็บรักษา ค่าใช้จ่ายในการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ค่าขนส่งและอื่นๆ ซึ่งสูงกว่าสินค้าธรรมดา 20-30%

ข้อจำกัดในการนำเข้าสินค้าเกษตรอินทรีย์ของญี่ปุ่น คือ กำหนดมาตรฐานคุณภาพไว้สูง และต้องใช้ใบรับรองสุขอนามัย ปลอดโรคพืชและแมลง (Phytosanitary) ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการนำเข้าผักผลไม้สดจากต่างประเทศ นอกจากนี้ การสุ่มรมควันสินค้าเกษตรอินทรีย์สด ทำให้สินค้าไม่สามารถติดฉลากเกษตรอินทรีย์ได้ ไม่จูงใจให้มีผู้ส่งออกส่งสินค้าเกษตรอินทรีย์เข้าไปจำหน่ายในญี่ปุ่น




ในการนำเข้าสินค้าเกษตรอินทรีย์เข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น ผู้ผลิตต้องผ่านกระบวนการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ จาก RCOs ภายในหรือนอกประเทศญี่ปุ่นที่ได้ขึ้นทะเบียนต่อ MAFF โดยสามารถดำเนินการได้สองวิธี ดังนี้
1) การติดฉลาก “Organic JAS Mark” โดยผู้ผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ หรือเกษตรกร ผู้ผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ต้องยื่นขอใบรับรองจาก RCOs ที่ขึ้นทะเบียนไว้กับ MAFF ภายในและนอกญี่ปุ่น จึงสามารถนำเข้าสินค้าเกษตรอินทรีย์สู่ญี่ปุ่นได้ ในกรณีนี้ถึงแม้ประเทศผู้ผลิตมีมาตรฐานเทียบเท่ากับ JAS แต่หากต้องการติดฉลาก “Organic JAS Mark” โดยตัวเองก่อนส่งออก ผู้ผลิตต้องดำเนินการเพื่อให้ได้ใบรับรองเพื่อประทับตราสัญลักษณ์ JAS จากหน่วยงาน RCOs ที่ตั้งอยู่ภายในหรือนอกประเทศญี่ปุ่น

2) การติดฉลาก “Organic JAS Mark” โดยผู้นำเข้าญี่ปุ่น จำกัดเฉพาะกรณีการนำเข้าพืชผลเกษตรอินทรีย์ และ พืชผลเกษตรอินทรีย์แปรรูป จากประเทศผู้ผลิตที่มีมาตรฐานการตรวจสอบเทียบเท่ากับระบบของ JAS เท่านั้น (รายชื่อประเทศผู้ผลิตที่มีมาตรฐานเทียบเท่า JAS ปรากฏในเอกสาร 6) สำหรับประเภทสินค้าปศุสัตว์อินทรีย์ไม่ว่าจะเป็นสินค้าที่มาจากประเทศที่มีมาตรฐานเทียบเท่า JAS ก็ตาม ต้องได้ใบรับรองจาก RCOs ภายในหรือนอกญี่ปุ่นเท่านั้นจึงสามารถทำการนำเข้าสินค้าเกษตรอินทรีย์สู่ญี่ปุ่นนอกจากนี้ประเทศผู้ผลิตต้องแนบเอกสารการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ออกโดยประเทศผู้ผลิต หรือ องค์กรที่ให้การรับรองมาตรฐานเทียบเคียงกับ JAS ของประเทศผู้ผลิตอีกด้วยประเทศที่มาตรฐานการตรวจสอบเทียบเท่ากับ JAS ได้แก่ ไอร์แลนด์ สหรัฐฯ อาร์เจนตินาออสแตรีย เนเธอร์แลนด์ กรีก สวิสเซอร์แลนด์ สวีเดน สเปน เดนมาร์ก เยอรมนี ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม โปรตุเกส ลักแซมเบิร์ก และสหราชอาณาจักรวิธีการนำเข้าสินค้าเกษตรอินทรีย์เข้าประเทศญี่ปุ่น มีขั้นตอน ดังนี้

กรณีที่ 1 การติดฉลาก “Organic JAS Mark” โดยผู้ผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ หรือเกษตรกร




5. ปัญหาต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ในประเทศญี่ปุ่น
1) การผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ในประเทศญี่ปุ่นมีต้นทุนที่สูงกว่าสินค้าการเกษตรทั่วไปประมาณ 1.5-4 เท่า เนื่องจากการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์นั้นไม่ได้นำยาปราบศัตรูพืชหรือสารเคมีทางการเกษตรช่วยในการผลิต ทำให้ถูกแมลงรบกวนหรือทำลายผลผลิตสูง ส่งผลให้ปริมาณในการเก็บเกี่ยวผลผลิตต่อครั้งนั้นน้อยกว่าการปลูกพืชเกษตรปรกติ (70-80%ของทั้งหมด)

2) พื้นที่การเกษตรของญี่ปุ่นมีขนาดเล็ก และเป็นแปลงย่อยๆ ทำให้ยากต่อการควบคุมการปนเปื้อนของยาปราบศัตรูพืชหรือสารเคมีทางการเกษตรของบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง ถ้าเปรียบเทียบกับประเทศอเมริกาหรือ ยุโรปแล้วนั้นจะมีขนาดพื้นที่ เล็กกว่าอย่างเห็นได้ชัด

3) ต้องชำระค่า Certification ประมาณ100, 000 - 300,000 เยนต่อปี ให้กับองค์กรเพื่อตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานการผลิตเป็นประจำรายปี

4) เส้นทางการขนส่งสินค้า โดยทั่วไปเกษตรกรในประเทศญี่ปุ่นจะจำหน่ายสินค้าผ่าน JA (Japan Agriculture Bank)ไปสู่ผู้ขายตรง และ ขายส่งทั่วประเทศญี่ปุ่น แต่สำหรับสินค้าเกษตรอินทรีย์นั้นเนื่องจากไม่มีการใช้ยาปราบศัตรูพืชหรือสารเคมีทางการเกษตรในการผลิตทำให้ยากต่อการควบคุมและกำหนดปริมาณผลผลิต เป็นการยากที่จะจำหน่ายสินค้าผ่าน JA ที่ต้องการรับสินค้ามาจำหน่ายอย่างสม่ำเสมอ และเนื่องจากการขนส่งสินค้าการเกษตรอินทรีย์ปราศจากการเจือปนของสารเคมีต่าง ๆ ในระหว่างขนส่ง ดังนั้นเส้นทางลำเลียงสินค้าเกษตรอินทรีย์ในญี่ปุ่นจึงยังมีข้อจำกัด ส่วนมากเกษตรกรที่ผลิตผลิตผลเกษตรอินทรีย์จะทำการจำหน่ายและขายตรงต่อร้านค้าปลีก-ส่งด้วยตัวเอง



6. รสนิยมและความพอใจของผู้บริโภคญี่ปุ่นต่อสินค้าเกษตรอินทรีย์
1) ญี่ปุ่นบริโภคสินค้าด้วยคุณภาพ และความสวยงามของรูปลักษณ์ภายนอก เนื่องจากพืชผลเกษตรอินทรีย์ไม่ได้มีการใช้ยาปราบศัตรูพืชหรือสารเคมีทางการเกษตร รูปลักษณ์ภายนอกอาจจะดูไม่สวยงามเท่ากับพืชผลที่ใช้ยาปราบศัตรูพืชหรือสารเคมีทางการเกษตรในการผลิต จึงไม่เป็นที่นิยมของผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นเท่าที่ควร

2) จากผลการสำรวจความสนใจต่อของผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นที่มีต่อสินค้าเกษตรอินทรีย์พบว่า 28.2% มีความสนใจมาก 57.5% มีความสนใจเล็กน้อย 13.8% มีความสนใจไม่มากและ 0.5% ไม่มีความสนใจเลย สำหรับผู้ที่สนใจสินค้าเกษตรอินทรีย์ ให้เหตุผลว่าเพราะ ต้องการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย 46.4% และเพื่อสุขภาพ 35.0%

3) ผู้บริโภคญี่ปุ่นส่วนใหญ่ หรือประมาณ 60% ยินดีจ่ายเงินเพื้อซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์ในราคาสูงกว่าไม่เกิน 10% จากสินค้าเกษตรทั่วไป มีเพียง 15% ที่ยินดีจะจ่ายแพงขึ้น 20% ของราคาสินค้าเกษตรทั่วไป และมีผู้บริโภคเพียง 10% ที่พอใจจะซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์โดยไม่สนใจราคา



7. ข้อคิดเห็น
ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในญี่ปุ่นนั้นยังเป็น Niche market เนื่องจากราคายังสูงกว่า สินค้าการเกษตรทั่วไปอยู่มาก แม้ว่าผู้บริโภคในประเทศญี่ปุ่นจะให้ความสนใจเรื่องด้านความปลอดภัยและสุขภาพ แต่ผู้บริโภคก็ยังเห็นว่าคุณค่าของการเป็นสินค้าเกษตรอินทรีย์ยังไม่ชัดเจน และคุ้มค่าเพียงพอกับราคาขายที่สูงขึ้นมาก อย่างไรก็ตามความตื่นกลัวเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยกำลังเป็นประเด็นปัญหาใหญ่สำหรับตลาดญี่ปุ่นที่ยังต้องพึ่งพาอาหารนำเข้าสูงถึงร้อยละ 60 ของจำนวนแคลอรี่ที่บริโภค ประกอบกับผู้สูงอายุในสังคมญี่ปุ่นที่นับวันจะมีสัดส่วนและเพิ่มจำนวนมากขึ้นทำให้ความต้องการบริโภคสินค้าปลอดภัย สินค้าสุขภาพ รวมถึงสินค้าเกษตรอินทรีย์ จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในภาวะที่ญี่ปุ่นยังมีข้อจำกัดในการขยายพื้นที่ผลิต และต้นทุนสูง จึงจำเป็นต้องพึ่งพาสินค้าเกษตรและอาหาร คุณภาพดีต่อไป ตลาดที่ปัจจุบันยังเป็น Niche จึงมีแนวโน้มขยาย แต่ด้วยเงื่อนไขและข้อกำหนดด้านคุณภาพที่เข้มงวด ผู้ผลิตและผู้ส่งออกของไทยที่ต้องการหันมาขยายตลาดส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์จึงต้องเตรียมความพร้อมโดยเฉพาะการยื่นขอรับเอกสารรับรองมาตรฐาน เพื่อให้สามารถประทับเครื่องหมาย Organic JAS Mark เพื่อให้สามารถเข้าไปจำหน่ายในตลาดญี่ปุ่นและตลาดโลกอย่างจริงจัง


สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโตเกียว




http://nanapai.blogspot.com/2010/06/blog-post_3163.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 08/07/2012 6:39 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,696. ยากันยุง สูตรเทพประทาน





ลองใช้กันดู ! สูตรเทพประทาน

จ้ากๆๆๆๆๆนี้หรือยากันยุง...ลองใช้ดู
ฉันเคยจัดปาร์ตี้ในสวน, แขกทุกคนมักโดนยุงหรือแมลงกัด. ผู้ชายคนหนึ่งพ่นน้ำยาบ้วนปากลิสเตอรีนบนขาโต๊ะและผิวหน้าโต๊ะ, ยุงและแมลงเหล่านั้นก็หายไป. ปีต่อมาฉันผสมลิสเตอรีน 4 ออนซ์ พ่นรอบ ๆ บริเวณที่เรานั่งเพื่อกันยุง มันได้ผลดีทีเดียว... มันยังใช้ได้ดีตอนเราไปปิคนิคเมื่อพ่นมันลงรอบโต๊ะวางอาหาร และบริเวณที่เด็ก ๆ เล่นกัน และในแอ่งน้ำใกล้ ๆ





เพื่อนของเราที่ลองติชมว่า : ฉันพยายามลองกับโต๊ะอาหารและขอบประตู มันใช้ได้ดี ความจริงแล้วมันฆ่าแมลงพวกนั้นด้วยซ้ำ. ฉันซื้อน้ำยาบ้วนปากมาด้วยราคาไม่แพง, ทั้งยังมีปริมาณมากด้วย, ดังนั้นจึงเหมาะมากที่จะใช้เป็นยากันยุงกันแมลงแทนที่จะซื้อยากันยุงซึ่งกันยุงได้เพียง 30 นาทีเท่านั้น ดังนั้นลองนำไปใช้ แต่ไม่ต้องพ่นลงไปบนประตูไม้เช่นประตูหน้าบ้าน แต่พ่นรอบขอบประตู ขอบหน้าต่าง และในบ้านสุนัขด้วยก็ได้

แล้วยุงจะเป็นเช่นนี้!!!




http://nanapai.blogspot.com/2010/06/blog-post_800.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 08/07/2012 6:46 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,697. วิธีไล่ยุง มด แบบปลอดภัย ไร้กังวล



ไม่ว่าจะเป็นโรคชิคุนกุนยาไข้เลือดออก มาลาเรียหรืออีกหลายๆ โรค ล้วนมีสาเหตุมาจากยุง ยิ่งหน้าฝนที่น้ำขังอย่างนี้ยุงยิ่งเยอะ ลำพังยุงก็ปวดใจจะแย่ บางบ้านยังมีมดที่หนีน้ำขึ้นมาสมทบ ฉบับนี้เราจึงนำวิธีแบบธรรมชาติไว้ไล่ยุงและมดมาบอก และด้วยความเป็นธรรมชาติจึงไม่เป็นภัยกับคนในบ้าน และยังไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เรียกได้ว่าปลอดภัยไร้กังวลจริงๆ


4 ของในครัวไล่ยุงร้าย

กระเทียม :
นำกระเทียมตำให้พอบุบ ผสมกับน้ำแล้วทาลงบนจุดชีพจรต่างๆ ในร่างกายและบนใบหน้าจะช่วยให้ยุงไม่เข้าใกล้อีก แต่ระวังอย่าให้เขาตาและไม่เหมาะกับคนที่ไม่ชอบกลิ่นกระเทียม เพราะอาจจะมีกลิ่นค่อนข้างฉุนน้ำมันมะกอกนำน้ำมันหอมระเหยที่มีกลิ่นลาเวนเดอร์ ยูคาลิปตัส มะนาว ตะไคร้ ทีทรีไธม์ และ เปปเปอร์มินต์ หยดลงในน้ำมันมะกอก 2-3 หยด แล้วทาลงบนผิวจะช่วยให้ยุ่งไม่เข้าใกล้ แถมยังมีกลิ่นหอม ช่วยผ่อนคลายความเครียดอีกด้วยวานิลานำผงวานิลาผสมกับน้ำเล็กน้อย แล้วทาลงบริเวณจุดชีพจรบนผิวหนัง หรืออาจจะแต้มลงบนเสื้อผ้า เมื่อยุงได้กลิ่นจะไม่กล้าเข้าใกล้ตะไคร้นำตะไคร้มาตำให้แหลก ผสมน้ำเล็กน้อย แล้วคั้นเอาแต่น้ำ นำไปเคี่ยวจนเป็นน้ำมัน แล้วมาทาลงบนผิว ช่วยป้องกันยุงได้อย่างดี



4 วิธีไล่มดตัวจิ๋วจอมป่วน :
คุณแม่บ้านทั้งหลายคงคำราญกับการก่อกวนของเจ้าพวกมดตัวน้อยตัวนิด ที่เวลาวางกับข้าวหรือน้ำหวานเพียงไม่กี่นาทีก็เดินขบวนยาวสามัคคีกันมาเป็นแถว หากจะกำจัดปัญหาปวดหัวนี้ แค่ใช้วิธีง่ายๆ ด้วยการหาของใช้ในบ้านเรานี่แหละมาปราบเจ้ามดกัน
วิธีที่ 1 นำน้ำส้มสายชูผสมน้ำ แล้วเช็ดตามทางเดินมด จะทำให้มดไม่กลับมาเดินอีก และยังช่วยไล่แมลงสาบได้อีกด้วย

วิธีที่ 2 ใช้ผงฟูโรยตามทางเดิน หรือใช้ฟองน้ำเปียกๆ เช็ดตามทางเดินมด จะทำให้มดหาทางเดินไม่เจอ ไม่เดินกลับมาที่อาหารได้อีก

วิธีที่ 3 โรย พริกป่น กากกาแฟ สะระแหน่แห้ง ตามทางที่มดเดิน จะทำให้มดสับสนหาทางเดินไม่ได้

วิธีที่ 4 นำมะนาวบีบลงไปในรูมด แล้วทิ้งเปลือกมะนาวไว้ตรงนั้นจะทำให้มดไม่กลับมาอีก

เห็นไหม เพียงแค่เดินเข้าครัวก็หาสิ่งของป้องกันเจ้ายุงร้ายกับมดตัวจี๊ดได้ไม่ยาก โดยที่ไม่ต้องไปหาซื้อลิ้นเปลืองและยังปลอดภัยไม่มีสารพิษตกค้างให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพคนในบ้านด้วย



วิธีกำจัดยุง และแมลง :
1.สำรวจในบ้านและบริเวณรอบๆบ้านที่อาจเป็นแหล่งน้ำขัง เช่น ป่าหญ้า กองขยะ เศษภาชนะ อ่าง ขวด ขัน แก้ว ถ้วย โถ ที่ไม่ใช้แล้วและทิ้งเกะกะ กองยางรถยนต์เก่าๆ

2. ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงตามข้อ 1 เช่นรื้อเก็บไปทิ้ง ไปขาย พัฒนาพื้นที่ไม่ให้เป็นแหล่งน้ำท่วมขัง

3. สำรวจและพัฒนาการสุขาภิบาลที่อยู่อาศัยภายในบ้านและปรับปรุงแก้ไข เช่น
- มุ้งลวดไม่มีรู หรือช่องโหว่ ประตูเปิดและปิดให้เป็นนิสัย ไม่เปิดทิ้งไว้
- การระบายอากาศต้องให้มีการถ่ายเทอากาศได้สะดวก
- แสงสว่างเพียงพอโดยอาจใช้กระเบื้องหลังคาแบบใส
- ภายในบ้านไม่ควรมีมุมมืด หรืออับชื้น เพราะสภาพดังกล่าวเป็นสิ่งที่ยุงชอบอยู่อาศัย
- การกักเก็บน้ำดื่มน้ำใช้ต้องมีฝาปิด หรือมุ้งครอบ
- พื้นห้องน้ำ ลานบ้าน ดาดฟ้า และบริเวณที่อาจมีน้ำเข้าถึง มีความลาดเอียง เรียบ ไม่เป็นแอ่งให้มีน้ำขัง

4. หากจำเป็นต้องมีภาชนะ หรือแหล่งขังน้ำภายในบ้านและบริเวณรอบบ้าน เช่น บ่อน้ำ อ่างบัว จานรองขาตู้กับข้าว แจกันดอกไม้ จะต้องหาทาง
- ปกปิดภาชนะเหล่านั้น ถ้าทำได้ หรือ
- เปลี่ยนน้ำบ่อยๆ
- ปล่อยปลาหางนกยูง หรือปลาอื่นที่กินลูกน้ำเป็นอาหาร

5. ฉีดพ่นยากำจัดแมลงในบ้านเป็นครั้งคราวโดยเลือกช่วงเวลาที่ไม่มีคนอยู่บ้าน และควรปิดประตูหน้าต่างเพื่อให้ยาตกค้างนานพอที่จะออกฤทธิ์ และควรกลับเข้าบ้านหนังจากที่ฉีดไปแล้วอย่างน้อย 3-4 ชั่วโมง


เขียนโดย แวววาว ที่ 11:10



http://nanapai.blogspot.com/2010/06/blog-post_800.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 08/07/2012 6:56 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,698. สูตรการกำจัดแมลงสาบในบ้านคุณ





ค้นพบสารกำจัดแมลงสาบสูตรตายรัง
แมลงสาบ เป็น แมลงชนิดหนึ่ง โดยชื่อภาษาอังกฤษนั้นมีที่มาจากภาษาละตินส่วนชื่อไทยนั้นคำว่าสาบ หมายถึง กลิ่นเหม็นสาบ เหม็นอับ และแมลงสาบนั้นโดยทั่วไปที่รู้จักกันดีคือจะเป็นสายพันธุ์ Periplaneta americana ซึ่งสายพันธุ์นี้มีลำตัวยาวประมาณ 3เซนติเมตร แมลงสาบอยู่ในวงศ์ Blattidae ส่วนแมลงสาบไทยหรือแมลงสาบในสายพันธุ์เอเชียจะอยู่ในวงศ์ Blattella asahinaiซึ่งมีความยาวลำตัวประมาณ 2 เซนติเมตรขึ้นไปวิวัฒนาการของแมลงสาบ

จากการศึกษาซากฟอสซิลของแมลงสาบ บ่งชี้ได้ว่า แมลงสาบได้ถือกำเนิดมาบนโลกนี้ยาวนานกว่ามนุษย์หลายเท่าเพราะมันได้เกิดมาตั้งแต่ยุคโบราณ(Carboniferous) 354 - 295 ล้านปีมาแล้ว ความแตกต่างของแมลงสาบโบราณกับแมลงสาบในปัจจุบันคือช่องออกไข่ที่ปลายช่องท้องของมัน และมีการค้นพบฟอสซิลแมลงสาบที่เป็นยุคปัจจุบันคือมีรังไข่เหมือนกับปัจจุบันในยุคที่ไดโนเสาร์สูญพันธุ์จากโลกไปแล้ว ที่เรียกว่ายุค Mesozoic แมลงสาบสามารถปรับตัวได้กับทุกสภาพแวดล้อม เนื่องจากการที่แมลงสาบกินทุกอย่างเป็นอาหาร บางสายพันธุ์สามารถกินไม้ได้ด้วย แมลงสาบจะปรากฏตัวให้เห็นอยู่ในประเทศที่เป็นเขตเมืองร้อน แมลงสาบในประเทศไทยจะอาศัยอยู่ตามบ้านเรือน แหล่งของเสีย ขยะแมลงสาบที่อาศัยอยู่ตามฟาร์ม เช่น โรงผสมอาหารสัตว์ มีวิธีกำจัดแมลงสาบโดยชีวะวิธีด้วยแมลงที่เป็นศัตรู

เมื่อแมลงสาบอยู่คู่โลกมาตั้งแต่ยุคหิน หรือประมาณ 350 ล้านปีมาแล้ว มันจึงสามารถปรับตัวได้ดีกับทุกสภาพแวดล้อม ทำให้ทุกวันนี้เรายังสามารถพบเห็นแมลงสาบได้ในทุกสถานที่ และเนื่องจากเมืองไทยเป็นเมืองร้อน จึงมีแมลงสาบมากกว่าที่อื่น ข้อเสียของการมีแมลงสาบในบ้านเรือนนั้นไม่เพียงส่งกลิ่นเหม็นชวนคลื่นไส้เท่านั้น แต่ยังเป็นพาหะนำเชื้อโรคหลายชนิดมาสู่คน เช่น ท้องเดิน บิด ไทฟอยด์ อหิวาต์ อาหารเป็นพิษ โรคผิวหนัง อีกทั้งยังทำให้เกิดอาการแพ้ในระบบทางเดินหายใจด้วย

แมลงสาบเมื่อโตเต็มที่จะสามารถลอกคราบได้ปีละหลายครั้ง คราบที่ลอกออกมาและอุจจาระ เป็นสารก่อภูมิแพ้ ขนที่กระจายอยู่ตามลำตัว มีไว้สำหรับรับความรู้สึกและสัมผัส หนวดของแมลงสาบสามารถรับรู้ความเคลื่อนไหวและดมกลิ่นได้เป็นอย่างดี ส่วนท้ายของลำตัวมี แพนหาง 1 คู่ (ลักษณะคล้ายหางขนาดสั้น) มีไว้เพื่อช่วยรับสัญญาณการเคลื่อนไหวของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่อยู่รอบบริเวณตัวมัน ส่งผลให้มันสามารถรู้ตัวก่อนตลอดเวลา เมื่อเราเข้าใกล้จะทำลายมัน มันจะสามารถหนีได้อย่างรวดเร็ว และเนื่องจากขาของมันมีลักษณะที่เหมาะสมในการวิ่งโดยเฉพาะ จึงทำให้วิ่งได้เร็วถึง 4.8 กิโลเมตรต่อชั่วโมง นอกจากนี้แมลงสาบยังทนอดได้เก่งมาก คือสามารถอดน้ำได้ถึง 1 สัปดาห์ ส่วนอาหารนั้นกินได้แทบทุกอย่างรวมถึงเศษเล็บ เศษรังแค คราบน้ำมัน รอยเปรอะเปื้อนตามเสื้อผ้า ขนสัตว์ ซากสัตว์ ซากแมลงสาบด้วยกันเองมันก็กิน มันสามารถวางไข่ได้ในที่มืดและเงียบ อย่างเช่น ห้องเก็บของ รางหรือท่อระบายน้ำใต้ถุนบ้าน เป็นต้น

เด็กนักเรียนประถมโรงเรียนสมเด็จประชานุเคราะห์ หัวใสคิดค้นสารกำจัดแมลงสาบ สัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคร้ายสูตรตายรังได้สำเร็จสามารถกำจัดแมลงสาบได้ดีโดยไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์แมลงสาบ สัตว์ที่มีนิสัยทำลายข้าวของ ขับถ่ายสกปรก ส่งกลิ่นเหม็น และเป็นตัวแพร่กระจายเชื้อโรคมาสู่คนมากมายได้แก่โรคท างเดินอาหาร อหิวาตกโรค ไทฟอยด์ ภูมิแพ้ และโรคหอบหืด

สารกำจัดแมลงสาบที่นักเรียนโรงเรียนสมเด็จประชานุเคราะห์ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ค้นพบและสามารถกำจัดแมลงสาบให้กลับไปตายที่รังได้สำเร็จ มีส่วนประกอบสำคัญคือ ปูนซีเมนต์ผง ผงแป้งข้าวจ้าว และผงโอวัลติน ซึ่งเมื่อนำผง 3 ชนิดมาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันมากที่สุดแล้วนำไปวางไว้ในที่ที่มีแมลงสาบซุกชุม พร้อมนำน้ำไปวางใกล้ๆ แมลงสาบจะมากินสารกำจัดแมลงสาบและน้ำแล้วจะกลับไปตายที่รังของมัน ซึ่งเป็นวิธีการกำจัดแมลงสาบที่ไม่มีพิษตกค้าง และเป็นอันตรายต่อมนุษย์เหมือนกับการกำจัดแมลงสาบโดยวิธีการใช้สารเคมีฉีดพ่นเด็กหญิงเจนจิรา โพนยงค์ นักเรียนชั้นประถมปีที่ 6 โรงเรียนสมเด็จประชานุเคราะห์หนึ่งในผู้คิดค้นสารกำจัดแมลงสาบกล่าวว่าส่วนประกอบของสารกำจัดแมลงสาบที่นำผสมกันจะมีคุ ณ สมบัติและทำหน้าที่แตกต่างกันไป คือ
-โอวัลตินจะเป็นสารที่ล่อให้แมลงสาบมากินสารกำจัดแมลงสาบ
-แป้งข้าวจ้าวจะทำให้แมงสาบหิวน้ำเมื่อกินเข้าไป
-ส่วนปูนซีเมนต์จะทำให้แมงสาบแน่นท้องและตายเมื่อกินสารกำจัดแมลงสาบและน้ำเข้าไป

ทุกคนทุกบ้านสามารถผลิตสารกำจัดแมลงสาบแบบง่ายๆนี้และนำไปใช้ได้เองอย่างปลอดภัย ไม่มีสารตกค้าง ให้เป็นอันตรายกับชีวิตต้องขอชื่นชมเด็กไทย หัวใส มีสติปัญญาไม่แพ้ประเทศไหนในโลกใบนี้เหมือนกัน



ส่วนในวิธีอื่นๆ มีดังนี้
วิธีการกำจัดมีหลายทาง เช่น
- ตัดเสบียงอาหารของมัน ด้วยการกวาดถูบ้านหลังมื้ออาหาร โดยเฉพาะใต้โต๊ะอาหารและในครัวเพื่อกำจัดเศษอาหารที่อาจร่วงหล่นอยู่

- อย่าเดินรับประทานเพราะเศษอาหารจะร่วงหล่นไปทั่วบ้าน

- เก็บอาหารทั้งสดและสำเร็จรูปในภาชนะปิดมิดชิด ปิดฝาถังขยะให้แน่นเสมอ ไ

- ม่ควรมีเศษอาหารเหลือตกค้างในถังขยะและที่ล้างจาน

- เก็บกวาดใต้ตู้เย็น ใต้เตา ในตู้เก็บอาหารเสมอๆ

- การใช้สารเคมี ทำโดยใส่น้ำยา Lysol ลงในน้ำของโถชักโครก เพื่อป้องกันไม่ให้มันมาดื่มน้ำนั้น

- บ้านที่ชุมมากๆ อาจต้องใส่น้ำยาที่รางระบายน้ำนอกบ้านด้วย สารเคมีที่ใช้สำหรับไล่แมลงสาบ คือ ใช้ผงบอแร๊กซ์ 4 ช้อนโต๊ะ ผสมกับน้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ และผงโกโก้อีก 1 ช้อนโต๊ะ นำไปใส่ภาชนะวางไว้ใต้ตู้กับข้าว ใต้ตู้เย็น ฯลฯ

นอกจากนี้ควรทำลายที่ซ่องสุมและเก็บกวาดบริเวณรอบบ้านอย่าให้มีกองไม้ เศษวัสดุก่อสร้าง และของเหลือใช้ที่สุมๆ กันไว้ จัดการกับกองกระดาษหนังสือพิมพ์เก่าๆ โดยโรยผงกรดบอริก ไว้ตามซอกมุม ร่องรูต่างๆ ทั้งนอกและในบ้าน รอยแตกตามผนังต้องอุดซ่อมให้หมด เพราะมันสามารถ บีบตัวลอดเข้ามาได้แม้ช่องจะเล็กแค่ 1.6 มิลลิเมตรเท่าน้ำ อุดรูระบายของอ่างล้างจาน ท่อระบายน้ำต่างๆ ทุกคืน ทำห้องเก็บของห้องครัว ห้องใต้บันได ให้โปร่งและสะอาด เท่านี้ก็สามารถทำให้แมลงสาบภายในบ้านหายไปได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัยต่อสุขภาพของ ผู้อาศัยด้วย


เขียนโดย แวววาว ที่ 12:41



http://nanapai.blogspot.com/2010/06/blog-post_6013.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 08/07/2012 8:05 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,699. มันเทศเกาหลีใต้






มันเทศเกาหลีใต้ที่วางขายในเกาหลีใต้จะแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์คือ เนื้อสีเหลืองและเนื้อสีเหลืองส้มโดยบรรจุขายเป็นกล่องหรือถุงละ 1 กิโลกรัม ขายถึงผู้บริโภคในราคากิโลกรัมละ 8,600 วอน ซึ่งเมื่อคิดเป็นเงินไทยแล้วเป็นเงิน 230 บาทโดยประมาณ

นอกจากนั้นยังมีมันเทศที่ผลิตในรูปของเกษตรอินทรีย์แบ่งออกได้เป็น 2 สายพันธุ์ คือ พันธุ์เกาหลีใต้ เบอร์ 1 มีลักษณะเด่นตรงที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น คือ เก็บเกี่ยวมาบริโภคได้หลังจากที่ปลูกลงดินไปเพียง 90 วันหรือ 3 เดือนเท่านั้น ผิวเปลือกมีสีชมพูอมแดง เนื้อมีสีเหลืองส้ม เนื้อละเอียดเนียนไม่มีเสี้ยน รสชาติหวานอร่อยในขณะที่อีกสายพันธุ์หนึ่งคือ

พันธุ์เกาหลีใต้ เบอร์ 2 มีลักษณะคล้ายกับมันหวานญี่ปุ่น คือ ผิวเปลือกมีสีแดงเข้ม เนื้อมีสีเหลืองแต่เป็นพันธุ์ที่มีอายุการเก็บเกี่ยวนานกว่า คือ จะต้องปลูกอย่างน้อย 4 เดือน เนื้อมีความนุ่มไม่แข็งและมีรสชาติหวานมาก เมื่อบริโภคแล้วเนื้อมีส่วนคล้ายกับเกาลัด

สังเกตว่ามันเทศเกาหลีใต้ที่ปลูกด้วยระบบเกษตรอินทรีย์ นอกจากจะมีรสชาติไม่หวานเท่าที่ควรแล้ว ข้อควรระวังเป็นพิเศษ คือ ปัญหาของการทำลายของ “ด้วงงวงมันเทศ” หรือ “เสี้ยนดิน” ซึ่งจะทำให้รสชาติของมันเทศมีรสขมและมีกลิ่นเหม็น

ลักษณะของหัวมันเทศที่บรรจุในถุงและในกล่องที่เกาหลีใต้นอกจากจะมีขนาดหัวใกล้เคียงกันแล้ว หัวมันเทศจะมีดินเกาะติดอยู่โดยไม่ได้ล้างทำความสะอาดซึ่งจะเป็นข้อดีที่จะช่วยยืดอายุของหัวมันเทศให้ยาวนานขึ้น

วิธีการปลูกมันเทศในแปลงคลุมพลาสติก เริ่มต้นไถดินด้วยผาล 3 จำนวน 1 รอบ, ตากดินให้แห้ง 1 อาทิตย์, ไถพรวน 1 รอบ, ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ จำนวน 1 ตันต่อไร่และปูนขาว ใช้โรตาลี่ปั่นให้ดินละเอียด ทำการยกร่องแปลงเป็นสามเหลี่ยมด้วยผาลคู่กว้าง 1 เมตร สูง 50-70 เซนติเมตร หลังจากนั้นวางระบบน้ำแบบน้ำหยด และคลุมแปลงด้วยพลาสติกคลุมแปลง เจาะรูพลาสติกห่างกัน 30 เซนติเมตร ปลูกมันเทศหลุมละ 2 ยอดต่อหลุม

ข้อดีของการปลูกมันเทศในแปลงคลุมพลาสติก ทำให้มันเทศลงหัวได้ดีในช่วงฤดูฝนทำให้ปลูกมันเทศได้ตลอดปี ควบคุมความชื้นในแปลงได้ ลดปัญหาเกี่ยวกับพืช ง่ายต่อการให้น้ำให้ปุ๋ย และลดปัญหาการกระแทกของน้ำฝนหรือน้ำที่ให้แบบสปริงเกอร์ ที่ทำให้แปลงต่ำลง ซึ่งมีผลอย่างมากในเรื่องของการลงหัวและคุณภาพของผลผลิต.

ทวีศักดิ์ ชัยเรืองยศ



http://www.dailynews.co.th/agriculture/9394
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 08/07/2012 8:18 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,700. เกษตรอินทรีย์ ด้วยเทคนิคจุลินทรีย์ท้องถิ่น


เกษตรอินทรีย์ด้วยเทคนิคจุลินทรีย์ก็คือการทำการเกษตรอินทรีย์ที่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ คือ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก และปุ๋ยพืชสดเป็นหลัก ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีและยาปราบศัตรูพืชที่เป็นสารเคมีนั้นเอง ต่างกันที่เกษตรธรรมชาติด้วยเทคนิคจุลินทรีย์ ท้องถิ่นการใส่จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ที่ผลิตขึ้นในท้องถิ่น ลงในไปดินและฉีดพ่นให้แก่พืชด้วย
กลุ่มจุลินทรีย์หมัก-ดอง

ตามประวัติความเป็นมาของเกษตรธรรมชาติของประเทศเกาหลีมีว่า ได้มีผู้นำเอาน้ำที่ได้จากการทำผักดอกของเกาหลีที่เรียกว่า "กิมจิ" ไปรดต้นไม้ ปรากฏว่าทำให้ต้นไม้งามดี ต่อมาเราทราบว่า ในน้ำผักดองนั้นประกอบด้วยจุลินทรีย์หมักดอง และสารอินทรีย์ต่างๆ ที่จุลินทรีย์ผลิตขึ้นมากมาย สารอินทรีย์เหล่านั้นล้วนเป็นประโยชน์ต่อพืช ทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งได้แก่ เอนไซม์ ฮอรโมน และธาตุอาหารต่างๆ เช่น กรดอะมิโน และไวตามิน เป็นต้น

เอนไซม์ คือ สารอินทรีย์ที่พืชและสัตว์ รวมทั้งจุลินทรีย์ที่สร้างขึ้น มีหน้าที่ช่วยการทำงานของทุกระบบในสิ่งที่มีชีวิตทั้งหมด สิ่งมีชีวิตจะมีชีวิตอยู่ไม่ได้ถ้าขาดเอนไซม์

เอนไซม์ บางชนิดทำหน้าที่ย่อยอาหารในคนและสัตว์ จุลินทรีย์ผลิตเอนไซม์เพื่อย่อยอินทรีย์วัตถุให้เป็นสารอินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อจุลินทรีย์เองและต้นไม้ ในการทำไวน์ ทำเนยแข็ง ก็ต้องอาศัยเอนไซม์เปลี่ยนน้ำองุ่นให้เป็นไวน์ เปลี่ยนนมสดให้เป็นเนยแข็ง ผงซักฟอกบางยี่ห้องมีผสมเอนไซม์บริสุทธิ์ที่สกัดได้จากจุลินทรีย์ เพื่อช่วยในการย่อยสลายโปรตีน และไขมันที่เปรอะเปื้อนเสื้อผ้า

ยางมะละกอมีเอนไซม์ช่วยในการย่อยโปรตีน เมื่อนาไปคลุกกับเนื้อจะช่วยให้เนื้อนุ่ม แสงหิ่งห้อยก็เกิดจากการทำงานของเอนไซม์ และสิ่งมหัศจรรย์อีกมากมายของธรรมชาติที่เกิดจากการทำงานของเอนไซม์

ฮอร์โมน เป็นสารอินทรีย์อีกชนิดหนึ่งที่พืช สัตว์ และจุลินทรีย์สร้างขึ้น เพื่อทำหน้าที่กระตุ้นการทำงานของส่วนต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต ในคนและสัตว์เรารู้จักฮอร์โมนเพศ และฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญเติบโต ฮอร์โมนในพืชที่เราคุ้นเคยกันดี ได้แก่ ฮอร์โมนเร่งราก ฮอร์โมนเร่งการงอกของเมล็ด จุลินทรีย์ก็สามารถผลิตฮอร์โมนต่างๆ ได้เช่นเดียวกับพืชและสัตว์ ในอดีตเราต้องสกัดฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญเติบโตจากต่อมใต้สมองของสัตว์เพื่อนำไปใช้ในการแพทย์ ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ เราสามารถสกัดได้จากจุลินทรีย์

ธาตุอาหารต่างๆ สัตว์ไม่สามารถสังเคราะห์เองได้ จำเป็นต้องกินธาตุอาหารครบทั้ง 5 หมู่ คือ อาหารพวกแป้ง ไขมัน โปรตีน ไวตามิน และแร่ธาตุ ผิดกับพืชและจุลินทรีย์ ที่สามารถสังเคราะห์อาหารขึ้นเองได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีธาตุอาหารครบทั้ง 5 หมู่

พืชที่เจริญเติบโตได้ 90% ได้รับอาหารจากการสังเคราะห์แสงของสารสีเขียว หรือคลอโรฟีล กับก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ และน้ำ และพลังงานจากแสงแดด พืชได้รับแร่ธาตุจากดิน แร่ธาตุ ส่วนใหญ่จะทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ต่างๆ หลายชนิดในต้นพืช

จุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความสามารถพิเศษ สามารถมีชีวิตและขยายพันธุ์ได้โดยอาศัยอินทรีย์วัตถุเป็นแหล่งอาหาร จุลินทรีย์หลายชนิดอย่รวมกันและอาศัยพึ่งพาซึ่งกันและกัน จุลินทรีย์มีความทนทานเป็นพิเศษ สามารถมีชีวิตอยู่ได้แม้ในสภาพแวดล้อมที่ร้อนจัด หรือเย็นจัด หรือแห้งแล้งจัด

ด้วยเทคนิคจุลินทรีย์ การปลูกพืชไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เพราะพืชสามารถสังเคราะห์อาหารเองได้เกือบทั้งหมด ส่วนที่ขาดก็จะได้จากการย่อยสลายของอินทรีย์วัตถุที่ได้จากซากพืช ซากสัตว์ในดิน ด้วยการทำงานของจุลินทรีย์เอง และพืชก็จะได้รับประโยชน์ด้วยจากการดูดเข้าไปทางรากในรูปของสารอินทรีย์ต่างๆ เช่น กรดอะมิโน, กลูโคลส, ไวตามิน, ฮอร์โมนและแร่ธาตุ เป็นต้น จุลินทรีย์บางชนิดยังเข้าไปอยู่ในปมรากของพืชตระกูลถั่ว และสามารถตรึงธาตุไนโตรเจนจากอากาศ มาสร้างเป็นส่วนประกอบของอาหารโปรตีนให้แก่พืชได้อีก จึงทำให้พืชตระกูลถั่วประกอบด้วยโปรตีนในปริมาณที่สูงกว่าพืชชนิดอื่นๆ





https://sites.google.com/site/puyhmak/9-kestr-xinthriy-dwy-thekhnikh-culinthriy-thxng-thin
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 13/07/2012 7:07 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,701. การใช้อัลตร้าซาวน์ ในการช่วยสกัดพืชสมุนไพร


สุเมธ บุญเกิด
กลุ่มวิจัยอุตสาหกรรมเภสัชและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ


สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านทุกท่าน ฉบับนี้กระผมจะนำท่านไปรู้จักกับวิธีการสกัดสารสำคัญจากพืชชนิดหนึ่ง นั่นคือ การใช้คลื่นอัลตราซาวนด์ช่วยสกัด เมื่อเอ่ยถึงคลื่นอัลตราซาวนด์แล้ว หลายท่านคงรู้จักกันเป็นอย่างดี อัลตราซาวนด์ (Ultrasound) มาจากคำว่า Ultra (beyond) + Sound ซึ่งแปลว่าคลื่นที่อยู่นอกเหนือการได้ยินของมนุษย์ที่มีค่าประมาณ 16 Hz ถึง 16 kHz อัลตราซาวนด์นั้นสามารถแบ่งการใช้งานออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงความถี่ประมาณ 2-10 MHz เรียกช่วงนี้ว่า ช่วงให้พลังงานต่ำหรือช่วงความถี่สูง (Low power หรือ High frequency ultrasound) ซึ่งจะนำคลื่นอัลตราซาวนด์ช่วงนี้ ไปประยุกต์ใช้ในทางการแพทย์ เช่นเครื่องอัลตราซาวนด์สำหรับดูเพศหรือความผิดปกติของทารกในครรภ์ ช่วงที่สองคือ ช่วงให้พลังงานสูง (High power หรือ Low frequency ultrasound) จะมีค่าความถี่ประมาณ 20-100 kHz เป็นช่วงที่เราจะกล่าวถึงครับ



นอกจากที่กล่าวมายังมีการประยุกต์ใช้งานอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก เช่น การทำความสะอาด งานเชื่อม ส่วนประกอบของเครื่องมือวัด เป็นต้น

แต่ในฉบับนี้กระผมจะอธิบายการประยุกต์ใช้คลื่นอัลตราซาวน์กับการสกัดสารสำคัญจากพืช โดยการสกัดพืชสมุนไพรนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อสกัดแยกเอาสารสำคัญออกจากสมุนไพร เพื่อให้ได้สารสกัดที่มีความเข้มข้นของสารสำคัญสูง และเพื่อลดขนาดของการใช้สมุนไพรลงให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม


วิธีการที่ใช้ในการสกัดอาจแบ่งเป็น
1. การสกัดด้วยตัวทำละลาย (โดยการสกัดแบบเดิมนั้นจะขึ้นอยู่กับการเลือกตัวทำละลายที่ถูกต้อง การผสม (Mixing) การให้ความร้อน และการกวน)
1.1 มาเซอเรชัน (Maceration) เป็นวิธีการสกัดสารสำคัญจากพืชโดยการหมักสมุนไพรกับน้ำยาสกัดจนกระทั่งเนื้อเยื่อของสมุนไพรอ่อนนุ่มและน้ำยาสกัดสามารถแทรกซึมเข้าไปละลายองค์ประกอบภายในผงสมุนไพรออกมา
1.2 เพอร์โคเลชัน (Percolation) เป็นวิธีการสกัดสารสำคัญจากพืชสมุนไพรโดยการปล่อยให้น้ำยาสกัดไหลผ่านผงสมุนไพรอย่างช้า ๆ พร้อมกับละลายเอาองค์ประกอบออกจากผงสมุนไพรออกมา
1.3 อินฟิวชัน (Infusion) เป็นการสกัดโดยการต้มกับน้ำเดือด
1.4 การสกัดด้วยน้ำมันที่เย็น หรือเอ็นเฟลอร์เรจ (Enfleurage)
1.5 การสกัดด้วยน้ำมันที่ร้อน

2. การกลั่น

3. การใช้เทคนิคสมัยใหม่เข้าช่วย
3.1 การสกัดด้วยของเหลวยิ่งยวด (Supercritical fluid extraction)
3.2 Vortical extraction
3.3 การสกัดโดยใช้พลังงานไฟฟ้าช่วย (Extraction by electrical energy)
3.4 การสกัดโดยใช้คลื่นอัลตราโซนิค (Ultrasonically assisted extraction)


กลไกลในการสกัดด้วยอัลตราซาวนด์
จากการประยุกต์ใช้อัลตราซาวนด์ในการสกัดพืช (สด) จำเป็นต้องทราบว่าเพราะเหตุใดอัลตราซาวนด์จึงช่วยในการสกัดสารสำคัญได้ เนื่องจากเนื้อเยื่อของพืชที่ประกอบเป็นเซลล์นั้นมีส่วนผนังเซลล์อยู่ชั้นนอกสุดซึ่งจะเป็นตัวต้านทาน การสกัดได้ ซึ่งการสกัดจะประกอบด้วยสองขั้นตอนคือ กระบวนการแพร่ผ่านผนังเซลล์ของตัวทำละลาย และการชะสารสำคัญ ออกจากเซลล์เมื่อผนังเซลล์ถูกทำลายลง ส่วนการสกัดพืชแห้งจะเพิ่มอีกหนึ่งกระบวนการคือ กระบวนการดูดน้ำกลับ Hydration and swelling (อัลตราซาวนด์ทำให้ Swelling index สูงขึ้นดีกว่าการใช้การกวนทางกลธรรมดา) อัลตราซาวนด์จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการดังกล่าวได้โดย การเกิดปรากฏการณ์ Cavitation เนื่องมาจากคลื่นนั้นจะประกอบด้วยช่วงอัดและช่วงขยาย ในช่วงขยายเมื่อคลื่นเคลื่อนที่ผ่านตัวทำละลายจะทำให้เกิดฟอง (Bubble) ของตัวทำละลายขนาดเล็กจำนวนมาก จากนั้นเมื่อฟองได้รับแรงจากคลื่นในช่วงอัดจะทำให้ฟองนั้นแตกออกและเกิด Microjet ที่มีความแรงมาก จนสามารถเจาะทำลายผนังเซลล์ของพืชได้ เมื่อผนังเซลล์ของพืชแตกออกจะทำให้เพิ่มอัตราการถ่ายเทมวลได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้การทำให้ขนาดของตัวอย่างเล็กลงก่อนจะเพิ่มการสัมผัสกับตัวทำละลายและ Cavitation ได้ง่ายขึ้น


M. vinatoru1 ได้ศึกษาถึงผลของอัลตราซาวนด์ว่าสามารถช่วยสกัดได้และจากผลงานวิจัยนั้นพบว่ายังเพิ่มSelectivity ของการสกัดโดยจะทำให้ ลดเวลาการสกัดให้สั้นลง เร่งกระบวนการสกัดของสารที่มีโมเลกุลต่ำ ทั้งนี้เนื่องมาจากการที่ผนังเซลล์ถูกทำลาย

ตารางที่ 2 ตัวอย่างงานวิจัยที่ใช้คลื่นอัลตราซาวนด์ช่วยสกัดสารจากพืช พืช สารสกัด ความถี่ที่ใช้
1. Allium sativum2 Essential oil 59 kHz
2. Morinda citrifolia3 Anthraquinones 38.5 kHz
3. Salvia officinalis L.4 Medicine tincture 35 kHz
4. Eucommia ulmodies Oliv.5 Chlorogenic acid 50 kHz
5. Rosmarinus officinalis 6 Carnodic acid 40 kHz
6. Chresta exsucca,7
C. scapigera and7
C. sphaerocephala7 Steroid and triterpenoids 60 kHz
7. Hibicus cannabinus L.8
and Eucalyptus rodustrus Sm.8 Cellulose 35 kHz
8. Valeriana officinalis L.9 Preparation of medical tincture 20 kHz
9. Sophora japonica10 Rutin 20 kHz
10. Panax ginsen11
and P. quinquefolium11 Ginsenosides 38.5 kHz
11. Mentha x piperata12 Mental 1.02 MHz



รูปแบบของการสกัดโดยอัลตราซาวนด์ มี 3 อย่างคือ
1. กระบวนการทางอ้อมโดยอาศัยตัวกลางเช่น น้ำในการส่งผ่านคลื่นเสียง
2. กระบวนการโดยตรงแบบให้แหล่งกำเนิดคลื่นเสียงติดกับถังสกัด
3. กระบวนการโดยตรงแบบใช้ probe หรือ horn เป็นแหล่งกำเนิดคลื่นเสียง



รูปที่ 1 Experimental setup for indirect extraction using a cleaning bath




รูปที่ 2 Experimental setup for direct extraction using an ultrasonic bath



รูปที่ 3 Experimental setup for direct extraction using an ultrasonic horn



http://www.gpo.or.th/rdi/html/Ultrasound.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 13/07/2012 7:14 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,702. 'แม่โจ้' สำเร็จ สกัดสารสมุนไพรไทย


ปัญหาสารตกค้างในสินค้าสัตว์น้ำที่สืบเนื่องมาจากการใช้ยาและสารเคมีเพื่อรักษาโรคในการเพาะสัตว์น้ำ มีสาเหตุหลักมาจากการใช้ยาไม่ถูกต้อง โดยเกษตรกรส่วนใหญ่ใช้ยาโดยขาดความรู้และความเข้าใจในยานั้นๆ รวมทั้งการใช้ยาโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทำให้มีผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าสัตว์น้ำในปัจจุบัน ภาครัฐและเอกชนหลายฝ่ายได้เร่งระดมความคิดในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ขณะเดียวกันเกษตรกรจำนวนไม่น้อยก็เริ่มหันมาให้ความสนใจเกี่ยวกับการใช้สมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยา ในการรักษาโรคต่างๆ เพื่อใช้ทดแทนยาและสารเคมีเพื่อรักษาโรคในสัตว์น้ำที่ก่อให้เกิดปัญหาในปัจจุบัน

สารสกัดจากสมุนไพรไทยเพื่อทดแทนยาปฏิชีวนะและสารเคมีในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จึงเป็นทางเลือกที่สำคัญในการแก้ปัญหาดังกล่าว เนื่องจากเป็นวัตถุดิบที่หาได้ง่าย มีอยู่มากมาย ทั้งในธรรมชาติและเพาะปลูกขึ้นเอง ที่สำคัญยังมีราคาถูกกว่ายาปฏิชีวนะและสารเคมีที่นำเข้าจากต่างประเทศหลายเท่าตัว

ด้วยเหตุดังกล่าว ทำให้ ดร.จิราพร โรจน์ทินกร จากคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้และคณะได้ร่วมกันวิจัยและพัฒนาผลิตสารสกัดสมุนไพรไทยหลายชนิดที่หาง่ายในท้องถิ่นเพื่อนำมาใช้ทดแทนยาปฏิชีวนะในการป้องกันและรักษาโรคแบคทีเรียและโรคเชื้อราในสัตว์น้ำ โดยเริ่มจากการทดลองวิจัยการใช้สารสกัดสมุนไพรผสมอาหารให้กุ้ง เมื่อเปรียบเทียบการรักษาโรคแบคทีเรีย 2 ชนิดคือ Aeromonas hydrophyla และ Vibrio harveyi ผลปรากฏว่าสารสกัดสมุนไพรที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมามีประสิทธิภาพดีเทียบเท่ากับยาปฏิชีวนะที่ใช้กันทั่วไป

ดร.จิราพรเผยต่อว่า โรคเชื้อราในสัตว์น้ำจะพบมากในการเพาะไข่ปลา พ่อแม่พันธุ์และปลาสวยงาม การป้องกันและรักษาโรคเชื้อรานั้นจะใช้สารมาลาไคท์-กรีน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งหรือใช้ยาปฏิชีวนะต่อต้านเชื้อรา คณะวิจัยจึงได้พบสารสกัดสมุนไพรไทยหลายชนิด เช่น พญายอ ฟ้าทะลายโจร กระเทียม ชุมเห็ดเทศ ใบฝรั่ง ฯลฯ ที่สามารถยับยั้งเชื้อราน้ำที่ก่อให้เกิดโรคในสัตว์น้ำได้ดี ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งการฟักไข่ปลา การอนุบาลไข่ปลา ปลาโตและปลาสวยงาม

"การทำให้สมุนไพรอยู่ในรูปของสารสกัด ทำให้ได้ตัวยาที่บริสุทธิ์สามารถควบคุมความแรงของยาได้ง่ายขึ้น ยังเป็นการลดการเสื่อมสภาพของตัวยา อันเนื่องมาจากการกระทำของเอนไซม์ที่ปนอยู่ในสมุนไพร อีกทั้งทำให้ตั้งตำรับยาเตรียมที่คงตัวง่ายขึ้น ได้ผลิตภัณฑ์ที่สวยงามและน่าใช้ นอกจากนี้สารสกัดสมนุไพรยังทำให้อยู่ในรูปยาเม็ดได้ดีและสามารถพัฒนาเป็นยาฉีดที่ปลอดภัยได้ด้วย"

หัวหน้าคณะวิจัยคนเดิมยังระบุอีกว่า นอกจากนี้คณะวิจัยได้ทำสารสกัดสมุนไพรในรูปผงเพื่อสะดวกในการเก็บรักษาและการใช้งานด้วยระบบ freeze dry ซึ่งจะรักษาคุณภาพของสารสกัดได้ครบถ้วน ทั้งยังสะดวกในการเก็บและการขนส่งอีกด้วย ที่สำคัญเกษตรกรได้มีการใช้สมุนไพรผสมอาหาร แต่ใช้ในรูปสมุนไพรสดและผง ทำให้ปริมาณสารอาหารที่สัตว์น้ำควรจะได้รับลดลงตามสัดส่วนที่ถูกผสม

"การใช้สารสกัดสมุนไพร ทำให้สัตว์น้ำได้รับสารออกฤทธิ์ในปริมาณที่ชัดเจน เป็นสารเข้มข้นที่มีฤทธิ์กำจัดเชื้อโรคโดยตรงมีประสิทธิภาพสูงและไม่มีผลต่อปริมาณสารอาหารสามารถใช้ได้ ทั้งวิธีการผสมอาหารและการละลายในน้ำเพื่อแช่รักษา ใช้ง่ายและสะดวก"

การใช้สารสกัดจากสมุนไพรไทยเพื่อทดแทนยาปฏิชีวนะและสารเคมีในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จึงเป็นอีกทางเลือกของเกษตรกรที่ประกอบอาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อรักษาโรคเชื้อราในสัตว์น้ำชนิดต่างๆ อันนำมาซึ่งความปลอดภัยของผู้บริโภคและลดต้นทุนการผลิตได้เป็นอย่างดี สนใจขั้นตอนการผลิตและผลิตภัณฑ์ติดต่อคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางการ ม.แม่โจ้ โทร.0-5387-3470-2, 08-9633-8482 ในวันและเวลาราชการ


โดย...สุรัตน์ อัตตะ




http://www.komchadluek.net


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 07/01/2023 7:11 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 13/07/2012 7:29 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,703. สารสกัดจากพืชสมุนไพร ควบคุมและกำจัดแมลงทำลายข้าว



เกิดชูชื่น, อรพิน
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

โครงการวิจัย



งานวิจัยนี้ศึกษาประสิทธิภาพน้ำมันหอมระเหยจากพืช 13 ชนิดที่สกัดด้วยวิธีการกลั่นพร้อมสกัด (Simultaneous Distillation Extraction) ได้แก่ ขมิ้นชัน ข่า ขิง กะเพรา แมงลัก โหระพา มะกรูด มะนาว กานพลู พริกไทยดำ กระเทียม ดีปลี และพริกขี้หนู


โดยมะกรูดมีปริมาณน้ำมันหอมระเหยมากที่สุด เท่ากับร้อยละ 2.875 และ refractive index ของน้ำมันหอมระเหยทั้ง 13 ชนิด มีค่าระหว่าง 1.34-1.51


สารสำคัญที่พบมากในน้ำมันหอมระเหยจากพืชวงศ์ขิง 3 ชนิด คือ ขมิ้นชันมีสาร turmerone และ curlone

สำหรับข่าและขิงมีสาร 1,8-cineol


สารสำคัญที่พบในน้ำมันหอมระเหยจากพืชวงศ์กะเพรา 3 ชนิด คือ
กะเพรามีสาร methyleugenol และ eugenol
แมงลักมีสารสำคัญ methylchavicol และ α-cubebene
โหระพามีสาร methylchavicol, trans-α-bergamotene และocimene



สำหรับในน้ำมันหอมระเหยผิวมะกรูดมีสาร β-pinene และ limonene
ส่วนมะนาวพบสาร limonene
น้ำมันหอมระเหยกานพลูมีสาร eugenol และ β-caryophyllene
น้ำมันหอมระเหยพริกไทยดำมีสารสำคัญ β-caryophyllene และ β-pinene


เมื่อนำน้ำมันหอมระเหย 10 ชนิด มาทดสอบประสิทธิภาพในการควบคุมด้วงงวงข้าวโพด (Sitophilus zeamais) และมอดแป้ง (Tribolium castaneum) พบว่าน้ำมันหอมระเหยโหระพามีความเป็นพิษต่อด้วงงวงข้าวโพดและมอดแป้งบนกระดาษกรองสูงที่สุด โดยมีค่าความเป็นพิษ LC50 และ LC99 เท่ากับ 0.20 และ 0.33 μL.cm-2 และ0.34 และ 0.64 μ L.cm-2 ตามลำดับ


สำหรับประสิทธิภาพความเป็นพิษของน้ำมันหอมระเหยต่อด้วงงวงข้าวโพดในข้าวสารพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ปรากฎว่า น้ำมันหอมระเหยโหระพามีความเป็นพิษต่อด้วงงวงข้าวโพดและมอดแป้งสูงที่สุด โดยมีค่า LC50 และLC99 เท่ากับ 17.38 และ 60.68 μ L/ข้าว40g และ 25.98 และ140.13 μ L/ข้าว40g ตามลำดับ และน้ำมันหอมระเหยโหระพามีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเกิดลูกรุ่น F1 ได้ทุกความเข้มข้นตั้งแต่ 30-120 μL/ข้าว 40g


สำหรับมอดแป้งประสิทธิภาพของน้ำมันหอมระเหยทุกความเข้มข้น คือ 30-120 μL/ข้าว 40g สามารถยับยั้งการเกิดมอดแป้งรุ่นลูก F1 ได้เช่นกัน


สำหรับประสิทธิภาพในการเป็นสารไล่ (repellent) ด้วงงวงข้าวโพดพบว่า น้ำมันหอมระเหยโหระพา แมงลัก และข่าความเข้มข้น 1-8 μL.cm-2 มีประสิทธิภาพการไล่สูงสุดที่ระดับ 5 และน้ำมันหอมระเหยจากโหระพายังมีประสิทธิภาพในการเป็นสารไล่มอดแป้งดีที่สุดเช่นเดียวกัน


ส่วนการรมน้ำมันหอมระเหยที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ได้แก่ น้ำมันหอมระเหยกะเพรา โหระพา มะกรูด และกานพลู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในระดับสเกลขนาดเล็ก โดยใช้ออกซิเจนเป็นตัวพา ระยะเวลาการรม 3 และ 7 วัน พบว่าการรมนาน 7 วันมีประสิทธิภาพในการควบคุมด้วงงวงข้าวโพดและมอดแป้งสูงกว่าการรมนาน 3 วัน และสูงกว่าข้าวที่ไม่ได้รมน้ำมันหอมระเหย


(ตัวอย่างควบคุม) ถึงแม้ว่าน้ำมันหอมระเหยทั้ง 4 ชนิด มีประสิทธิภาพในการควบคุมด้วงงวงข้าวโพดได้ดี แต่มีเพียงน้ำมันหอมระเหยโหระพา และกะเพราที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมมอดแป้ง และยังสามารถป้องกันด้วงงวงข้าวโพดและมอดแป้งไม่ให้เข้ามาทำลายข้าวสารหลังการรมน้ำมันหอมระเหยได้นานกว่า 3 เดือน โดยข้าวหอมมะลิที่ผ่านการรมด้วยน้ำมันหอมระเหยทั้ง 4 ชนิด ไม่ทำให้คุณภาพทางกายภาพข้าว ได้แก่ ปริมาณอะไมโลส สี เนื้อสัมผัส และปริมาณ 2-acetyl-1-pyroline เปลี่ยนแปลง


นอกจากนี้ข้าวที่ผ่านการรมด้วยน้ำมันหอมระเหยทั้ง 4 ชนิดและเก็บไว้เป็นเวลา 3 เดือน เมื่อนำข้าวหุงสุก มาทดสอบทางด้านประสาทสัมผัส ปรากฎว่าได้รับคะแนนความชอบกลิ่นข้าวสมุนไพร และมีการยอมรับโดยรวมไม่แตกต่างกับข้าวหอมมะลิ 105 ที่ไม่ได้ผ่านการรมน้ำมันหอมระเหย




http://research.trf.or.th/node/2646
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 15/07/2012 3:49 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,704. สารสกัดจากสมุนไพร กำจัดเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง

รุ่งเรืองชัย คำเมืองไหว
วัชรชัย ต๊อดแก้ว
ทาริกา คุ้มคำ
สุกัญญา ผาสุข



1. บทคัดย่อ
การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืชสมุนไพรั้ง 4 ชนิด ได้แก่ สะเดา พริกขี้หนู โหระพา และน้อยหน่า ด้วยการสกัดแบบหยาบ เพื่อกำจัดเพลี้ยแป้ง Ferrisia virgata ในไร่มันสำปะหลังที่บริเวณสวนพฤกษศาสตร์ภาคตะวันออก (เขาหินซ้อน) จังหวัดฉะเชิงเทรา ระหว่างวันที่ 24-28 เดือนมิถุนายน 2553 พบว่า

สารสกัดจาก "พริกขี้หนู" มีประสิทธิภาพในการกำจัดเพลี้ยแป้งในไร่มันสำปะหลังสูงสุด โดยทำให้เพลี้ยแป้งในไร่มันสำปะหลังมีอัตราการตาย 98.67% รองลงมา คือ น้อยหน่า โหระพา และสะเดา ทำให้เพลี้ยแป้งในไร่มันสำปะหลังมีอัตราการตาย 65.00% 46.67% และ 10.00% ตามลำดับ

จากนั้นได้ทำการทดลองกำจัดเพลี้ยแป้งด้วยสารสกัดจากพริกขี้หนู ที่ระดับความเข้มข้น 1-10% พบว่า เมื่อระดับความเข้มข้นของสารสกัดสูงขึ้นอัตราการตายของเพลี้ยแป้งจะเพิ่มขึ้นด้วย

คำส าคัญ : เพลี้ยแป้ง สะเดา พริกขี้หนู โหระพา น้อยหน่า

โรงเรียนพนมสารคาม “พนมอดุลวิทยา” อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา 24120



คำนำ
อาชีพเกษตรกรเป็นอาชีพหลักของประชาชนชาวไทยกว่าครึ่งประเทศ การปลูกมันสำปะหลังเพื่อส่งออกก็เป็นอีกอาชีพหนึ่งที่สำคัญ ซึ่งประเทศไทยนั้นจัดว่าเป็นผู้ส่งออกมันสำปะหลังรายใหญ่ที่สุดรองมาจากประเทศไนจีเรียและบราซิล (เดลินิวส์, 2552) และในการปลูกก็มักจะเจอปัญหาต่าง ๆ ตามมามากมาย ซึ่งปัญหาที่เกษตรกรหนักใจก็คือ ในแปลงเพาะปลูกมันสำปะหลังได้เกิดความผิดปกติ โดยเมื่อต้นมันสำปะหลังมีการเจริญเติบโต และมีการแตกใบ ใบก็จะหงิก และเป็นพุ่ม ช่วงของลำต้นเล็ก แคระแกร็นไม่เจริญเติบโต ซึ่งมีสาเหตุมาจากเพลี้ยแป้ง ได้เข้าไปทำลายต้นมันสำปะหลัง โดยใช้ส่วนของปากแทงเข้าไปในเนื้อเยื่อ แล้วดูดกินน้ำเลี้ยง จากส่วนที่อ่อนของลำต้น ใบ และกาบใบ ทำให้ต้นของมันส าปะหลังเกิดความเสียหาย และยากที่จะกำจัดให้หมดไป (Williams and Watson, 1988; บุปผา, 2538) ซึ่งส่วนใหญ่เกษตรกรมักจะใช้สารเคมีในการกำจัด จึงทำให้เกิดสารเคมีตกค้าง เป็นอันตรายต่อเกษตรกรและระบบนิเวศ

ในปัจจุบันมีการศึกษาและพบว่ามีพืชสมุนไพรหลายชนิดที่สามารถนำมาสกัดด้วยวิธีต่าง ๆ แล้วนำไปเป็นสารป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชทางการเกษตรได้ เช่น น้ำมันหอมระเหย (อภิวัฏ, 2546) จึงได้นำสมุนไพรที่มีอยู่ทั่วไปและสามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่น ได้แก่ สะเดา โหระพา น้อยหน่า และพริกขี้หนู มาใช้ในการทดลองกำจัดเพลี้ยแป้งในไร่มันสำปะหลัง ซึ่งถ้าสารสกัดจากสมุนไพรมีประสิทธิภาพสูงสามารถกำจัดเพลี้ยแป้งได้ ก็จะสามารถนำมาใช้ทดแทนสารเคมีหรือยาฆ่าแมลงที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อเกษตรกร และระบบนิเวศได้ในอีกทางหนึ่ง การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ได้แก่

1. เพื่อศึกษาหาสารสกัดจากสมุนไพร ที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดเพลี้ยแป้ง
2. เพื่อศึกษาหาความเข้มข้นของสารสกัดสมุนไพรที่เหมาะสมในการกำจัดเพลี้ยแป้งในไร่มันสำปะหลัง


วิธีการศึกษา
การทดลองที่ 1 เปรียบเทียบชนิดของสารสกัดที่ได้จากสมุนไพรทั้ง 4 ชนิด ในการกำจัดเพลี้ยแป้งในไร่มันสำปะหลัง

วิธีการทดลอง
1. เตรียมใบของพืชสมุนไพรทั้งหมด 4 ชนิด ได้แก่ สะเดา โหระพา พริกขี้หนู และน้อยหน่า
2. นำใบของพืชสมุนไพรมาชั่งน้ำหนักอย่างละ 50 กรัม แล้วเติมน้ำเป็นปริมาตร 500 ลูกบาศก์เซนติเมตร โดยใช้เครื่องปั่นสมุนไพร
3. เตรียมเพลี้ยแป้งที่มีขนาดใกล้เคียงกัน ทั้งหมด 25 ตัว โดยใส่กล่องละ 5 ตัว
4. ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรทั้ง 4 ชนิด จำนวน 5 ครั้ง ลงในกล่องที่มีเพลี้ยแป้ง
5. สังเกตและนับจำนวนเพลี้ยแป้งที่ตายทุก ๆ 15 นาที จนครบ 1 ชั่วโมง
6. บันทึกผลการทดลองและทำการทดลอง 3 ซ้ำ
7. คำนวณหาอัตราการตายของเพลี้ยแป้งในแต่ละกลุ่มทดลอง




การทดลองที่ 2 ศึกษาเปรียบเทียบระดับความเข้มข้นของสารสกัดจากพริกขี้หนู ในการกำจัดเพลี้ยแป้งในไร่มันสำปะหลัง

วิธีการทดลอง
1. น าใบของพริกขี้หนูมาชั่งน้ำหนัก 50 กรัม แล้วเติมน้ำเป็นปริมาตร 500 ลูกบาศก์เซนติเมตร โดยใช้เครื่องปั่นสมุนไพร
2. เตรียมเพลี้ยแป้งที่มีขนาดใกล้เคียงกันทั้งหมด 60 ตัว โดยใส่กล่องละ 5 ตัว
3. แบ่งกลุ่มการทดลองออกเป็น 4 กลุ่มที่ระดับความเข้มข้นของสารสกัด 1% 5% และ 10% ตามลำดับ
4. ฉีดพ่นสารสกัดจากพริกขี้หนู จำนวน 5 ครั้ง ลงในกล่องที่มีเพลี้ยแป้ง
5. สังเกตและนับจำนวนเพลี้ยแป้งที่ตายทุก ๆ 15 นาที จนครบ 1 ชั่วโมง
6. บันทึกผลการทดลองและทำการทดลอง 3 ซ้ำ
7. คำนวณหาอัตราการตายของเพลี้ยแป้งในแต่ละกลุ่มทดลอง


ผลและวิจารณ์
1. ศึกษาเปรียบเทียบชนิดของสารสกัดที่ได้จากพืชสมุนไพร 4 ชนิด ในการกำจัดเพลี้ยแป้งในไร่มันสำปะหลัง จากผลการทดลองการเปรียบเทียบชนิดของสารสกัดที่ได้จากพืชสมุนไพรทั้ง 4 ชนิด พบว่า

สารสกัดจากพริกขี้หนู สามารถกำจัดเพลี้ยแป้งได้ดีที่สุด ซึ่งทำให้เพลี้ยแป้งในไร่มันสำปะหลัง มีอัตราการตาย 96.67% รองลงมา คือ

น้อยหน่า โหระพา และสะเดา ทำให้เพลี้ยแป้งในไร่มันสำปะหลังมีอัตราการตาย 65.00% 46.67% และ 10.00% ตามลำดับ ส่วนน้ำกลั่นไม่มีผลต่ออัตราการตายของเพลี้ยแป้งตายได้ (ตารางที่ 1)


2. ศึกษาเปรียบเทียบระดับความเข้มข้นของสารสกัดจากพริกขี้หนู ในการกำจัดเพลี้ยแป้งในไร่มันสำปะหลัง จากผลการทดลองการเปรียบเทียบระดับความเข้มข้นของสารสกัดจากพริกขี้หนู ในการกำจัดเพลี้ยแป้งในไร่มันสำปะหลัง พบว่า เมื่อระดับความเข้มข้นของสารสกัดเพิ่มขึ้น อัตราการตายของเพลี้ยแป้งก็เพิ่มมากขึ้นด้วย โดยสารสกัดจากพริกขี้หนูเข้มข้น 10% ทำให้เพลี้ยแป้งในไร่มันสำปะหลังมีอัตราการตายถึง 98.34% รองลงมา คือ ความเข้มข้น 5% และ 1% ทำให้เพลี้ยแป้งในไร่มันสำปะหลังมีอัตราการตาย 95.00% และ 83.34% ตามลำดับ ส่วนน้ำกลั่นไม่ทำให้เพลี้ยแป้งในไร่มันสำปะหลังตาย (ตารางที่ 2)



สรุป
1. สารสกัดจากพริกขี้หนูมีประสิทธิภาพในการกำจัดเพลี้ยแป้งในไร่มันสำปะหลังสูงสุด โดยทำให้เพลี้ยแป้งมีอัตราการตาย 96.67% ซึ่งมากกว่าสารสกัดจากพืชสมุนไพรอีก 3 ชนิด

2. เมื่อเพิ่มระดับความเข้มข้นของสกัดจากพริกขี้หนูให้สูงขึ้น ทำให้อัตราการตายของเพลี้ยแป้งเพิ่มมากขึ้นด้วย


ข้อเสนอแนะ
1. ควรทำการศึกษาทดลองกับพืชสมุนไพรชนิดอื่น ๆ
2. เกษตรกรควรหันมาใช้พืชสมุนไพรแทนสารเคมีในทางเกษตรกรรม เช่น สารสกัดใบพริกขี้หนู ในการกำจัดเพลี้ยแป้งในไร่มันสำปะหลัง แทนการใช้สารเคมีซึ่งเป็นอันตรายต่อตัวเกษตรกรและสิ่งแวดล้อม





เอกสารอ้างอิง เดลินิวส์. 2552. วิธีป้องกันและกำจัดเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังที่ระบาดอย่างแรง. ข่าวเกษตร.

แหล่งที่มา : http://news.enterfarm.com, 25 มิถุนายน 2553. บุปผา เหล่าสินชัย. 2538. เพลี้ยหอยเพลี้ยแป้งศัตรูไม้ผลและแมลงศัตรูธรรมชาติ. วารสารกีฎและสัตววิทยา 17(3) : 166-171. อภิวัฏ ธวัชสิน. 2546. สมุนไพรป้องกันกำจัดแมลงทางการแพทย์. บริษัท ดีไซน์, นนทบุรี. Williams, D.J. and G.W.Watson. 1988. The Scale Insect of the Tropical South Pacific Regiob. The Cambrian News Lid., Aberystwyth, UK. กิตติกรรมประกาศ โครงการวิจัยนี้ไม่สามารถสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี หากไม่ได้รับความช่วยเหลือจากวิทยากรหลายท่าน ได้แก่ ดร. วรดลต์ แจ่มจำรูญ นางสาวรัตติกาล วระสิทธิ์ นางสาวสุวิมล ด้วงเงิน นางสาวโสมนัส แสงฤทธิ์ นางสาวสุคนธ์ทิพย์ ศิริมงคล นางสาวสงกรานต์ พัดพาน นายนิวัติ ตันเรือน ที่เอื้อเฟื้อเวลา สถานที่ อุปกรณ์ และค าแนะนำในการทำโครงการวิจัยในครั้งนี้ ขอขอบคุณเพื่อน ๆ ที่อยู่ร่วมค่ายทุกคนที่คอยให้ความสะดวกและคอยให้ความช่วยเหลือในเรื่องต่างๆ และขอขอบคุณแม่ครัวที่ทำอาหารให้คณะผู้วิจัยรับประทาน

จึงขอขอบพระคุณทุกท่านมา ณ โอกาสนี้ด้วย



itrmu.net/web/06rs1/index.php?dl=UHJvamVjdDEwLnBkZg


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 15/07/2012 8:08 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 15/07/2012 4:06 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,705. สารสกัดจากใบชาต้านเชื้อราในพริก


คอลัมน์ ไอคิวทะลุฟ้า


ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม การเพาะปลูกจึงเป็นอาชีพหลักของคนไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แต่ปัญหาสำคัญประการหนึ่งที่พบคือ "โรคพืช" ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ผลิตผลทางการเกษตรลดลง พืชสมุนไพรของไทยหลายชนิดมีสรรพคุณในการฆ่าศัตรูพืชได้ดี และไม่ก่อให้เกิดสารพิษตกค้าง

ชาเป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะนอกจากจะหาได้ง่ายและเป็นที่รู้จักทั่วไปโดยเฉพาะในภาคเหนือแล้ว จากการสืบค้นข้อมูลพบว่างานวิจัยเกี่ยวกับสมบัติในการยับยั้งการเจริญของเชื้อโรคพืชด้วยสารสกัดจากใบชายังมีน้อยมาก โดยส่วนใหญ่งานวิจัยจะเกี่ยวข้องกับการนำชาไปใช้ประโยชน์ในการยับยั้งเชื้อโรคในมนุษย์เสียมากกว่า

น้องมิ้ม น.ส.วรรธนันทน์ จตุวิริยะพรชัย นักเรียนทุนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ชั้น ม.6 โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จ.เชียงใหม่ จึงสนใจศึกษา โดยทำโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่องฤทธิ์ยับยั้งจากสารสกัดใบชาต่อเชื้อราที่ก่อโรคในพริก Fusarium oxysporum โดยเลือกทดลองกับชาสามชนิด ได้แก่ ชาเขียว ชาอู่หลง และชาดำ โดยสกัดสารจากใบชาแล้วทดสอบการฆ่าเชื้อรา Fusarium oxysporum ที่เป็นเชื้อราที่ก่อให้เกิดโรคเหี่ยว (Wilt) ในพริก ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของเกษตรกรผู้ปลูกพริกชี้ฟ้าใน จ.เชียงใหม่ อย่างมากในปัจจุบัน

การทดลอง เริ่มจากนำใบชาน้ำหนัก 2 กรัม มาสกัดด้วยน้ำร้อนปริมาตร 100 มิลลิลิตร แล้วนำสารสกัดที่ได้ไปทำให้แห้งเป็นผงด้วยวิธีการ Freeze-dry แล้วหาปริมาณสารที่สกัดได้ จากนั้นนำผงสกัดใบชาแต่ละชนิดมาทดสอบฤทธิ์ในการต้านเชื้อรา Fusarium oxysporum ที่ความเข้มข้นต่างๆ กัน หาค่าความเข้มข้นต่ำสุด (Minimal Inhibitory Concentration, MIC) ในการต้านเชื้อรา นำสารสกัดใบชาชนิดที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดที่ได้ไปทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อราโดยพ่นโคนต้นพริกชี้ฟ้าอายุ 2 เดือน ที่ได้รับการปลูกสปอร์เชื้อรา Fusarium oxysporum

ผลการทดลองพบว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้จากชาเขียวมีลักษณะเป็นผงละเอียดสีน้ำตาลอ่อน และมีน้ำหนักสุทธิเท่ากับ 0.45 กรัม (% สารที่สกัดได้ = 22.5) ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากใบชาอู่หลงมีลักษณะเป็นผงละเอียดเหลือง และมีน้ำหนักสุทธิเท่ากับ 0.39 กรัม (% สารที่สกัดได้ = 19.5) และผลิตภัณฑ์ที่ได้จากใบชาดำมีลักษณะเป็นผงละเอียดสีน้ำตาล และมีน้ำหนักสุทธิเท่ากับ 0.42 กรัม (% สารที่สกัดได้ = 21.5)

ผลการทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อรา Fusarium oxysporum พบว่า สารสกัดจากใบชาเขียวสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราได้ดีที่สุด โดยมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดในการต้านเชื้อรา (MIC) คือ 12.5 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร รองลงมาคือสารสกัดจากใบชาอู่หลง (MIC = 25 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร) และสารสกัดจากใบชาดำ (MIC = 100 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร) ตามลำดับ

เมื่อนำสารสกัดจากใบชาเขียวมาทดสอบฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อราในต้นพริกชี้ฟ้าที่มีการปลูกสปอร์ของเชื้อราพบว่าต้นพริกมีอาการเหี่ยวของใบช้ากว่าต้นพริกที่ไม่ได้พ่นด้วยสารสกัดจากใบชาเขียว รวมทั้งสารสกัดจากใบชาเขียวสามารถยืดอายุของต้นพริกที่ปลูกสปอร์เชื้อรา Fusarium oxysporum ได้อีกด้วย
จากการทดลองนี้เราจึงสามารถนำผลไปใช้ประโยชน์ในการจัดการกับโรคเหี่ยวของพริกชี้ฟ้าซึ่งเป็นปัญหาของเกษตรกรในเชียงใหม่ได้

น้องมิ้มกล่าวถึงประโยชน์ที่ได้จากการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ว่า "ทำให้เราได้ฝึกกระบวนการคิด ความช่างสังเกต อันเป็นทางไปสู่การค้นพบสิ่งใหม่ๆ ที่จะช่วยพัฒนาประเทศให้เจริญยิ่งขึ้น อีกทั้งยังฝึกให้เราเป็นคนละเอียด รอบคอบ และอดทน"

"อนาคตอยากเป็นนักวิทยาศาสตร์ พัฒนาชาติไทย คิดค้น วิจัยในสิ่งที่มีประโยชน์ต่อประเทศ"

สำหรับคติประจำใจของน้องมิ้มคือ DO MY BEST!! ทำทุกอย่างให้สุดความสามารถของตนเอง




http://www.moe.go.th/news_center/news16052550_09.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 15/07/2012 4:12 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,706. สารสกัดกระเทียมฆ่า อะฟลาทอกซินในพริกแห้ง



พริกแห้ง พริกป่น มักจะมี เชื้อรา และ สารอะฟลาทอกซินปนเปื้อน ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญ ที่ทำให้ผลผลิตที่ได้ไม่มีคุณภาพและไม่สามารถส่งออกได้ กรมวิชาการเกษตร จึงได้หาวิธีที่จะป้องกันการปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซินโดยไม่ใช้สารเคมี
พริกแห้ง พริกป่น มักจะมีเชื้อรา และสารอะฟลาทอกซินปนเปื้อน ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญ ที่ทำให้ผลผลิตที่ได้ไม่มีคุณภาพและไม่สามารถส่งออกได้ กรมวิชาการเกษตร จึงได้หาวิธีที่จะป้องกันการปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซินโดยไม่ใช้สารเคมี โดยทำการศึกษาสมุนไพรมากกว่า 10 ชนิด พบว่ากระเทียมสามารถทำลายเชื้อราได้ 100% และยังสามารถทำลายสารพิษได้อีกด้วย ทำให้พริกแห้งและพริกป่นที่ได้มีคุณภาพดีและปลอดการปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซิน


วิธีปฏิบัติ
เก็บพริกสดมาทำความสะอาด จุ่มลงในสารสกัดกระเทียมที่ได้จากกระเทียมสดคั้นน้ำ แล้วนำไปผึ่งให้แห้ง จากนั้นนำไปอบให้เป็นพริกแห้ง จะได้พริกแห้งที่ไม่มีเชื้อราและอะฟลาทอกซิน สามารถเก็บได้นานถึง 10 เดือน ซึ่งวิธีนี้สามารถทำได้ทั้งพริกเม็ดใหญ่ พริกขี้หนู และพริกป่น นอกจากนี้พริกที่มีสารพิษอยู่แล้วเมื่อนำมาคลุกกับสารสกัดกระเทียมดังกล่าว ก็จะช่วยลดปริมาณสารพิษเหล่านั้นลงได้ ซึ่งวิธีการดังกล่าวนี้พบว่าใช้ได้ผลดีกับพริก ถั่วลิสง หรือแม้แต่ข้าวโพด ก็สามารถใช้วิธีเดียวกันนี้ได้

การนำพริกมาจุ่มลงในสารสกัดกระเทียมนี้แม้จะทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น แต่หากมองถึงสิ่งที่ได้รับคือพริกแห้งที่ได้มีความสวยงามมากขึ้น มีคุณภาพดี เก็บไว้ได้นาน และสามารถขายได้ในระดับพรีเมี่ยม ซึ่งจะทำให้สินค้ามีราคาที่สูงขึ้นไปด้วย ดังนั้นจึงถือว่ามีความคุ้มค่าต่อการลงทุน นอกจากนี้ในส่วนของรสชาติที่ได้รับก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลง และอาจมีความหอมเพิ่มมากขึ้นจากสารสกัดกระเทียมดังกล่าวด้วย นอกจากนี้ยังเป็นวิธีที่ทำได้ง่ายเกษตรกรสามารถทำเองได้


สำหรับในส่วนของกระเทียมนั้น หากเป็นช่วงที่กระเทียมมีราคาสูงเกษตรกรสามารถจัดการในด้านต้นทุนได้ ด้วยการนำกระเทียมในช่วงที่ราคาต่ำมาผลิตเป็นผงไว้ใช้งานได้ นอกจากนี้ผู้ผลิตกระเทียมเองก็อาจนำมาผลิตเป็นกระเทียมผงเพื่อขายให้กับเกษตรกรผู้ผลิตพริกแห้ง พริกป่น ถือเป็นการสร้างรายได้ให้ผู้ปลูกกระเทียมอีกทางหนึ่ง.




http://www.dailynews.co.th/agriculture/648
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 15/07/2012 4:23 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,707. สารสกัดจาก กานพลู ชา และพริก ควบคุมโรคและแมลงศัตรูพืช



การทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดจากกานพลู ชา และพริกในการควบคุมโรคและแมลงศัตรูที่สำคัญของพืชผักตระกูลกะหล่ำ ได้ดำเนินการ ณ ห้องปฏิบัติการของภาควิชา โรคพืชและภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระหว่างเดือนสิงหาคม 2550-กุมภาพันธุ์ 2552

จากการทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดจาก กานพลู ชา และพริก ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas campestris สาเหตุโรคเน่าดำ และเชื้อรา Alternaria brassicicola สาเหตุของโรคใบจุด ของพืชตระกูลกะหล่ำ พบว่าสารสกัดจากกานพลูทุกความเข้มข้นสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ X. campestris และ A. brassicicola ได้ 100 เปอร์เซ็นต์

ในขณะที่สารสกัดจาก KILLER-E? ไม่มีผลต่อเชื้อแบคทีเรียแต่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อราได้ โดยเฉพาะที่ความเข้มข้น 3.0 เปอร์เซ็นต์ ทำให้เชื้อรามีการเจริญของเส้นใยผิดปกติ โดยมีลักษณะบวมพอง และมีผนังกั้นตามขวางถี่มากกว่าเดิม และเมื่อนำเชื้อที่ผ่านการทดสอบในสารสกัดไปปลูกเชื้อลงบนกล้าคะน้า พบว่าส่งผลต่อความสามารถในการเข้าทำลายของเชื้อได้อย่างชัดเจน สำหรับการควบคุมเชื้อแบคทีเรียพบว่าสารสกัดใบชาแห้งป่น ผงสกัดชาเขียว (ผงสีน้ำตาล) สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อได้ผลดีมากกว่า ผงสกัดชาเขียว (ผงสีเขียวเข้ม)


สำหรับการทดสอบการควบคุมโรคใบจุดที่เกิดจากเชื้อ A. brassicicola ด้วยการพ่นสารสกัดพริกความเข้มข้น 1.5 และ 3.0 เปอร์เซ็นต์ ลงบนต้นคะน้าที่ปลูกในสภาพแปลง จำนวน 4 ครั้ง ภายหลังการปลูกเชื้อ 1, 3, 5 และ 10 วัน พบว่าสามารถสารสกัดพริกสามารถยับยั้งการเกิดโรคใบจุดได้ผลดี ทั้งในแง่ของการยับยั้งความรุนแรงของโรค และการแพร่กระจายของเชื้อ โดยสารสกัดความเข้มข้น 3.0 เปอร์เซ็นต์ สามารถลดการขยายขนาดของแผลโรคได้ดีกว่าที่ระดับความเข้มข้น 1.5 เปอร์เซ็นต์


ในการทดสอบกับแมลงศัตรูพืชในสภาพห้องปฏิบัติการ พบว่า สารสกัดจากกานพลู (น้ำมันการพลู) และสารสกัดจากชารูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ สารสกัดจากใบชาแห้ง ใบชาแห้งป่น ผลสกัดชาเขียว (ผงสีน้ำตาล) และผงสกัดชาเขียว (ผงสีเขียวเข้ม) เมื่อทดสอบโดยวิธีจุ่มใบพืชในสารสกัดแล้วนำไปให้หนอนกิน และวิธีพ่นไปที่ตัวหนอน สารสกัดดังกล่าว ไม่มีประสิทธิภาพในการกำจัดหนอนใยผัก และหนอนกระทู้ผัก ยกเว้นสารจากผลิตภัณฑ์กากาชา KILLER-E ความเข้มข้น 3 เปอร์เซ็นต์ มีประสิทธิภาพ เมื่อทดสอบด้วยวิธีจุ่มใบพืชในสารสกัดแล้วนำไปให้หนอนกิน โดยสามารถฆ่าหนอนใยผักได้สูงถึง 93.33 เปอร์เซ็นต์ ภายหลังได้รับสาร 72 ชั่วโมง

ส่วนสารสกัดจากพริก ความเข้มข้น 3 เปอร์เซ็นต์ เมื่อพ่นไปที่ตัวหนอนใยผักและหนอนกระทู้ผัก สามารถฆ่าหนอนได้ประมาณ 66.67 และ 100 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ภายหลังได้รับสารสกัด 72 ชั่วโมง

นอกจากนี้ สารจากผลิตภัณฑ์กากชา KILLER-E? และสารสกัดจากพริก ความเข้มข้น 3 เปอร์เซ็นต์ ที่ให้ผลดีในสภาพห้องปฏิบัติการ เมื่อนำไปทดสอบประสิทธิภาพกับหนอนใยผักและหนอนกระทู้ผัก ในสภาพโรงเรือนปลูกพืช สารสกัดทั้งสองให้ประสิทธิภาพต่ำกว่า ที่เคยทดสอบได้ในสภาพห้องปฏิบัติการ ทั้งนี้เนื่องมาจากมีหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้อง


เมื่อนำสารสกัดจาก กานพลู ชา และพริก ไปพ่นต้นคะน้าเพื่อทดสอบความเป็นพิษกับพืช พบว่า สารสกัดที่ใช้ทดสอบไม่ทำให้คะน้าแสดงอาการผิดปกติเกิดขึ้น ยกเว้นสารสกัดจากกานพลู ที่ทำให้พืชเกิดจุดเนื้อเยื่ยตายสีขาวขนาดเล็ก หลังการพ่นด้วยสารสกัดความเข้มข้น 0.19 เปอร์เซ็นต์


นอกจากนี้ ในการศึกษาความคงตัวของสารสกัด พบว่า และจากการทดสอบผลของการเก็บรักษาต่อการควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืช พบว่า สารสกัดจากใบชาแห้งป่น และสารสกัดพริกที่เก็บในอุณหภูมิห้องและในตู้เย็นเป็นระยะเวลา 6 เดือน ยังคงมีประสิทธิภาพยับยั้งในการเจริญของเชื้อ X. campestris ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ เช่นเดียวกับการทดสอบด้วยสารสกักที่ได้รับมาใหม่ แต่เมื่อสารสกัดดังกล่าวโดยเฉพาะสารสกัดจากพริกมาทดสอบประสิทธิภาพกับหนอนใยผักและหนอนกระทู้ผัก กลับพบว่าสารสกัดจากพริกไม่สามารถฆ่าหนอนทั้งสองชนิดได้ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากสารที่ออกฤทธิ์กับแมลงสลายตัวไปแล้ว



http://research.trf.or.th/node/4164
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 16/07/2012 11:52 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,708. ฮิวมัสคืออะไร ?




ฮิวมัสเป็นอินทรียวัตถุที่มีโครงสร้างที่สลับซับซ้อนและคงทนต่อการสลายตัวมาก มีสีดำหรือสีน้ำตาล มีลักษณะเป็นคอลลอยด์ มีขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางของโมเลกุลประมาณ 10 – 100 อังสะตรอม มีธาตุ คาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส กำมะถัน และธาตุอื่นๆ เป็นองค์ประกอบ

ฮิวมัสในดินเกิดขึ้นหลังจากที่จุลินทรีย์ในดินทำการย่อยสลายซากพืชซากสัตว์แล้วจุลินทรีย์จะสังเคราะห์สารประกอบอินทรีย์จำพวก กรดอะมิโน โปรตีน และอะโรมาติก

หลังจากที่จุลินทรีย์ได้ตายและทับถมกันเป็นเวลานานจะเกิดขบวนการรวมตัวระหว่าง กรดอะมิโนหรือโปรตีน กับ สารประกอบอะโรมาติก กลายเป็นฮิวมัสในดิน


การสลายตัวของฮิวมัสเกิดๆด้จาก
1. การไถพรวน การเพิ่มความชื้นให้แก่ดิน การใส่ปุ๋ยเพื่อปรับ พีเอช ของดิน ทำให้ดินมีความเหมาะสมต่อการทำกิจกรรมของจุลินทรีย์ ทำให้จุลินทรีย์ย่อยสลายฮิวมัสได้ดีขึ้น

2. การทำดินให้แห้งและชื้นสลับกันเป็นการทำให้บางส่วนของฮิวมัสซึ่งดูดยึดอยู่กับ
อนุภาคดินเหนียวหลุดออกมาอยู่ในสภาพแขวนลอยได้ ทำให้จุลินทรีย์สามารถย่อยสลายฮิวมัสได้ง่ายขึ้น

3. การเติมอินทรียวัตถุที่สลายตัวได้ง่ายจำพวกซากพืชซากสัตว์ลงไปในดินซึ่งจะให้
พลังงานอย่างมากให้กับจุลินทรีย์ในดิน ทำให้ปริมาณจุลินทรีย์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ฮิวมัสในดินถูกสลายตัวได้มากขึ้น





http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=336bf28ea9c9659d
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 16/07/2012 12:05 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,709. องค์ประกอบที่สำคัญที่ใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสง


กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชนั้นมีวัตถุดิบและสิ่งที่พืชจำเป็นต้องใช้ดังนี้
1. แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เป็นแก๊สที่เกิดขึ้นจากการหายใจของพืชและสิ่งมีชีวิตต่างๆ เกิดจากการเผาไหม้ของสาร และการย่อยสลายของสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต ซึ่งในอากาศมีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณ 0.03-0.04 เปอร์เซ็นต์ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการสร้างอาหารของพืช โดยเป็นแก๊สที่ให้ธาตุคาร์บอนแก่พืชเพื่อนำไปใช้การสร้างแป้งและน้ำตาล (สารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต)


2. น้ำ (H2O) เป็นวัตถุดิบที่พืชดูดซึมมาจากดิน โดยอาศัยหลักการแพร่ของน้ำจากรากเข้าสู่ท่อลำเลียงน้ำของพืชไปยังใบ น้ำเป็นสารที่ให้ธาตุไฮโดรเจนแก่พืช เมื่อธาตุไฮโดรเจนรวมกับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จะได้เป็นสารประกอบคาร์โบไฮเดรต


3. แสงสว่าง (light) เป็นพลังงานที่มีบทบาทสำคัญต่อกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช โดยพลังงานแสงทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมีระหว่างแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำซึ่งเป็นวัตถุดิบ สำคัญในการสร้างน้ำตาลกลูโคสและแก๊สออกซิเจน พืชแต่ละชนิดต้องการแสงเพื่อใช้ในการสร้างอาหารไม่เท่ากัน พืชบางชนิดต้องการแสงในปริมาณมาก เช่น ทานตะวัน เฟื่องฟ้า ข้าว เป็นต้น แต่พืชบางชนิดต้องการแสงในปริมาณน้อย เช่น พลูด่าง เป็นต้น


4. คลอโรฟิลล์ (chlorophyll) เป็นสารประกอบพวกรงควัตถุที่ทำหน้าที่ดูดกลืนพลังงานแสงสีต่างๆ จากแสงแดด (ยกเว้นแสงสีเขียวและสีเหลือง) คลอโรฟิลล์เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่มีธาตุแมกนีเซียม ธาตุเหล็ก และธาตุแมงกานีสเป็นองค์ประกอบอยู่ภายในโมเลกุล พบได้ในพืชและสาหร่ายทุกชนิด ซึ่งในพืชและสาหร่ายแต่ละชนิดนั้นประกอบด้วยคลอโรฟิลล์หลายชนิดที่แตกต่างกันออกไปดังนี้

- คลอโรฟิลล์ เอ เป็นคลอโรฟิลล์ที่มีสีเขียวแกมน้ำเงิน มีสมบัติทางเคมีคือ ไม่ละลายในน้ำ แต่สามารถละลายได้ในตัวทำละลายอินทรีย์ เช่น เอทิล แอลกอฮอล์, เอทิล อีเทอร์, อะซีโตน, คลอโรฟอร์ม เป็นต้น คลอโรฟิลล์ เอ พบในพืชสีเขียวหรือพืชที่มีกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงทุกชนิด

- คลอโรฟิลล์ บี เป็นคลอโรฟิลล์ที่มีสีเขียวแกมเหลือง มีสมบัติทางเคมีคือ ไม่ละลายน้ำ แต่สามารถละลายได้ในตัวทำละลายอินทรีย์ เช่น เอทิล แอลกอฮอล์, เอทิล อีเทอร์, อะซีโตน เป็นต้น พบในพืชชั้นสูงและสาหร่ายสีเขียว (green algae)

- คลอโรฟิลล์ ซี เป็นคลอโรฟิลล์ที่พบในสาหร่ายสีน้ำตาล (brown algae) และสาหร่ายสีทอง (golden algae)

- คลอโรฟิลล์ ดี เป็นคลอโรฟิลล์ที่พบในสาหร่ายสีแดง (red algae)




http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=3848133029b9fdec&clk=wttpcts
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 62, 63, 64 ... 72, 73, 74  ถัดไป
หน้า 63 จากทั้งหมด 74

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©