-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-* นานาสาระเรื่องเกษตร.
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * นานาสาระเรื่องเกษตร.
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* นานาสาระเรื่องเกษตร.
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 59, 60, 61 ... 72, 73, 74  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 31/05/2012 2:58 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลำดับเรื่อง...


1,610. การป้องกันและกำจัดเพลี้ยแป้ง ที่ระบาดในแปลงปลูกมันสำปะหลัง

1,611. เทคนิคการปลูกข้าวหอมประทุมให้ได้ผลดีที่สุด?
1,612. พันธุ์ข้าว กข31 (RD31) (ปทุมธานี 80) ซีโอ
1,613. ข้าวขาวกอเดียว พิจิตร
1,614. การควบคุมวัชพืชในนาหว่านข้าวแห้งสำหรับการผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์
1,615. ข้าววัชพืช

1,616. โรคเมาตอซัง
1,617. การทำแปลงขยายพันธุ์ข้าว
1,618. "ข้าวเรื้อ" หลงแปลง
1,619. ข้าวพันธุ์พื้นเมือง
1,620. บังคับลิ้นจี่ให้ออกผลที่โคนต้น

1,621. ทางเลือกใหม่....ข้าวไฮบริด
1,622. ตะลุยเมืองเกษตรกลางทะเลทราย (1)
1,623. หนุ่ม ป.โท หัวใจเกษตรลุยปลูก 'กล้วยหิน'
1,624. เนรมิตศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมทุเรียน
1,625. ตามไปดูวิธีการปลูกยาสูบ 'จีเอพี (GAP)'

1,626. วิทยาการข้าวไทย
1,627. งานวิจัยข้าวไทย (2)
1,628. มก.ห่วงเด็กเรียน 'สาขาเกษตรน้อย'
1,629. ข้าวมอลต์วิตามิน บี สูง
1,630. คลื่นเสียงฆ่าแมลง (3)

1,631. วิธีเลี้ยงแมงดานา
1,632. เทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร
1,633. ใช้ 'แมลงช้าง-แตนเบียน' คุมเพลี้ยแป้ง มันสำปะหลัง
1,634. มหันตภัยตัวใหม่ในสวนยาง

---------------------------------------------------------------------------------------------------




1,610. การป้องกันและกำจัดเพลี้ยแป้ง ที่ระบาดในแปลงปลูกมันสำปะหลัง


ก. การป้องกันกำจัดในพ้นที่ ที่มีการระบาดระดับรุนแรง
1. มันสำปะหลังอายุไม่เกิน 1 - 4 เดือน
เกษตรกรจะต้องถอนต้นมันทั้งหมดบรรจุในถุงดำ ผูกให้แน่น ตากแดดทิ้งไว้อย่างน้อย 3 วัน หรือนำไปทำลายโดยการเผาหรือ
ฝังกลบ หากต้องการปลุกมันสำปะหลังซ้ำในที่เดิม ให้ทำการป้องกันกำจัด โดยทำความสะอาดแปลง กำจัดเศษวัชพืช และเศษ
ซากต้นมัน เพื่อตัดวงจรชีวิตของเพลี้ยแป้ง จากนั้นให้ไถพรวนดินทิ้งไว้อย่างน้อย 14 วัน จึงปลูกใหม่ โดยใช้ท่อนพันธุ์ที่สะอาด
ปราศจาก เพลี้ยแป้งตามวิธีการที่แนะนำในข้อ ค

2. แปลงที่มีมันสำปะหลังอายุ 5-8 เดือน
ให้ตัดเอายอดที่มีเพลี้ยแป้งระบาดทั้งหมดบรรจุถุงดำ ผูกให้แน่น ตากแดดทิ้งไว้อย่างน้อย 3 วัน หรือนำไปทำลายโดยการเผา
หรือฝังกลบ หลังจากนั้นสามารถใช้วิธีป้องกันกำจัดได้หลายวิธีดังนี้

2.1 การใช้ชีววิธี
โดยใช้แมลงศัตรูธรรมชาติของเพลี้ยแป้งหรือใช้สารชีวอินทรีย์หลัง จากทีเกษตรกรตัดยอดและนำไปทำลายแล้ว ควรใช้
เชื้อราบิวเวอร์เรียฉีดพ่นให้ทั่วแปลงโดยจะต้องฉีดในช่วงเย็นที่อากาศ ไม่ร้อนมากและความชื้นสัมพัทธ์มนอากาศไม่ต่ำกว่า 50%
โดยฉีดซ้ำ 2-3 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 10 วัน สปอร์ของเชื้อราบิวเวอร์เรียจะสร้างเส้นใยเข้าทำลายอวัยวะต่างๆของเพลี้ย แป้งและ
ระบาดสู่เพลี้ยแป้งตัวอื่น หลังจากนั้นให้เกษตรกรหมั่นสังเกตว่าจะมีแมลงช้างปีกใส ซึ่งเป็นแมลงศัตรูธรรมชาติของเพลี้ยแป้งเข้า
ไปทำลายเพลี้ยแป้งโดยธรรมชาติ หากไม่มีให้ผลิตแมลงช้างปีกใสไปปล่อย หรือเกษตรกรอาจติดต่อสำนักงานบริหารศัตรูพืชใกล้
บ้าน ขอแมลงช้างปีกใสก็ได้ แมลงช้างปีกใส 1 ตัว สามารถกินเพลี้ยได้ 150 ตัว ตลอดอายุ 10 วัน

เกษตรกรสามารถขยายพันธุ์แมลงช้างปีกใสได้ด้วยตัวเอง โดยสังเกตไข่และตัวอ่อนของแมลงช้างปีกใส ที่ยอดมันที่มีเพลี้ยแป้ง
เกษตรกรสามารถดูไข่และตัวอ่อนได้ด้วยตาเปล่า ไข่มีลักษณะเป็นเส้นขาวที่มีหัวคล้ายไม้ขีดไฟสีขาวหรือเขียว เกาะอยู่ตามใบ
ยอด ช่อ ให้เตรียมภาชนะที่มีลักษณะเป็นอ่างหรือกาละมังใส่ทรายประมาณครึ่งหนึ่ง ใส่น้ำให้ปริ่มทรายแล้วนำยอดมันสำปะหลัง
ที่มีเพลี้ยแป้งมาปักในกาละมังคลุม ด้วยตาข่ายมิให้แมลงช้างปีกใสบินหนี ปล่อยให้ตัวอ่อนแมลงช้างปีกใสกินเพลี้ยแป้ง เมื่อขยาย
พันธุ์ได้มากให้นำตัวอ่อนไปปล่อยในแปลงที่มีเพลี้ยระบาด แมลงช้างปีกใสจะช่วยควบคุมเพลี้ยแป้งไม่ให้ระบาดได้

2.2 วิธีการใช้สารเคมีฉีดพ่นต้นมันสำปะหลัง
ใช้สารฆ่าแมลงไทอะมีโทแซม 25%WG ในอัตรส่วน 2 กรัม ร่วมกับไวท์ออยล์อัตรา 40 ซี.ซี.ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นติดต่อ
กัน 2 ครั้ง ห่างกัน 10 วัน เนื่องจากการฉีดครั้งเดียวอาจกำจัดได้เฉพาะตัวอ่อนและตัวโตเต็มวัย แต่ไม่สามารถกำจัดไข่เพลี้ย
แป้ง ซึ่งอยู่ในถุงที่มีใยสีขาวจึงต้องฉีดพ่นซ้ำอีก


2.3 มันสำปะหลังอายุ 8 เดือนขึ้นไป
ให้ขุดหัวมันขึ้นเพื่อจำหน่ายทันที หลังจากนั้นให้ทำการป้องกันกำจัดโดยการทำความสะอาดแปลง กำจัดเศษวัชพืช ซากวัชพืช
ไถพรวนดินให้ลึกแล้วปล่อยทิ้งไว้ไม่ต่ำกว่า 14 วันเพื่อตัดวงจรชีวิตเพลี้ยแป้ง ก่อนปลูกมันสำปะหลังใหม่



ข. การกำจัดเพลี้ยแป้งในแปลงมันสำปะหลังที่เริ่มมีการระบาดของเพลี้ยแป้งและการระบาดยังมีเพียงเล็กน้อย
ให้ใช้สารฆ่าแมลงไทอะมีโทแซม 25%WG อัตราส่วน 2 กรัม ร่วมกับ ไวท์ออยล์หรือนำยาจับใบชนิดเข้มข้น 40 ซี.ซี. ผสมน้ำ
20 ลิตร โดยนำไวท์ออยล์ตีให้เข้ากับน้ำก่อนที่จะผสมสารฆ่าแมลง สามารถฉีดพ่นได้เนื้อที่ประมาณ 1-2 งาน นอกจากกำจัด
เพลี้ยแป้งโดยใช้สารเคมียังสามารถป้องกันเพลี้ยแป้งได้ต่อ เนื่อง 14 - 15 วัน



ค. การทำให้ท่อนพันธุ์สะอาด ปราศจากเพลี้ยแป้ง
หลังจากสับต้นพันธุ์ให้ได้ขนาดที่จะใช้ปลูกแล้ว ให้แช่ท่อนพันธุ์เพื่อกำจัดเพลี้ยแป้งโดยใช้สารฆ่าแมลง ไทอะมีโทแซม 25%WG
อัตราส่วน 4 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร แช่นานไม่น้อยกว่า 10 นาที วิธีการแช่ท่อนพันธุ์ดังกล่าวจะกัดเพลี้ยแป้งที่อาจติดอยู่กับ
ท่อนพันธุ์ และสามารถป้องกันการเข้าทำลายของเพลี้ยแป้งได้ 24 - 30 วัน



ง. การติดตามเฝ้าระวังการระบาด
เกษตรกร ผู้ผลูกมันสำปะหลังควรหมั่นตรวจตราแปลงปลูกของตน หากมีเพลี้ยแป้งเกิดขึ้นจะได้ป้องกัน กำจัด ได้ทันเวลา เพื่อมิ
ให้ระบาดต่อไป



http://pg4u.net/knowledge_3.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/06/2012 8:04 am, แก้ไขทั้งหมด 11 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 03/06/2012 11:30 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,611. เทคนิคการปลูกข้าวหอมประทุมให้ได้ผลดีที่สุด?



ไม่ต้องรีบทำมาก ปีละ 2 ครั้งก็พอ ก่อนทำพยายามไถแล้วหมักฟางให้ดี แล้วค่อยไถ แล้วตีเทือก ระหว่างตีเทือกปรับที่ให้ดี

หว่านข้าวก็ใช้เมล็ดพันธุ์สัก 2 ถังครึ่ง - 3 ถัง ก็พอ ไม่ต้องเผื่อนกเผื่อหนูเผื่อหอยให้มาก (เปลืองเงิน)

ช่วงข้าวเล็กอายุ (20-25 วัน) ไม่ต้องบ้าจี้หว่านยูเรีย (46-0-0) ประเภทข้าวไม่เขียวแล้วนอนไม่หลับเลิกพฤติกรรมนี้เสีย
แต่ถ้าอยากหว่านปุ๋ยก็ให้ใช้ปุ๋ยเต็มสูตร เช่น 16-8-8 หรือ 18-4-5 ช่วงนี้ข้าวจะเริ่มแตกกอ

ปล่อยให้ดินแห้งบ้างช่วง (35-45 วัน) (เวลาเกี่ยวข้าวจะได้ไม่หล่ม)

พอข้าวอายุ 50-55 วัน ก็หว่านปุ๋ยเต็มสูตร เช่น 16-16-8 หรือ 20-20-8 ก็ได้อัตรา 1 กส./3-4 ไร่ พอข้าวได้ประมาณ
60-65 วัน ข้าวจะเริ่มท้อง

พอข้าวได้สัก 80-90 วัน ข้าวจะออกรวงหมด ช่วงข้าวตากเกสร

ก่อนเข้าน้ำนม ถ้ามีเงินก็หาปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15 หว่านอัตรา 1 กส./5 ไร่ เท่านี้ผลผลิตก็ โอ.เค.แล้ว เกวียนขึ้น

ระหว่างปลูกข้าวก็ดูแมลงโรคบ้างล่ะ (เดินดุ่ยๆ เข้าในแปลงนะ ไม่ใช่ยืนอยู่หัวคันนา) เห็นหลายคนแล้วอยากได้ข้าวดีแต่
ไม่เคยโผล่หัวไปนาเลย

เพิ่มอีกนิด ถ้านาไม่ไกลจากบ้านก็หัดเดินไปบ้าง ไม่ใช่มอไซด์ยัน (เปลืองเงิน)

ลืมบอกไปพยายามเลี่ยงการออกรวงช่วงหนาว เพราะหอมปทุมไม่สู้หนาวเท่าไร

อายุหอมปทุมประมาณ 110 วัน ก็นับเอา

ฝากอีก ถ้าคนมันจะรวย ช้างก็ฉุดไม่อยู่ แล้วหมั่นตามข่าวสารบ้านเมืองด้วย เพราะผลผลิตดี แต่มันโกงกันจนเหลือข้าวเกวียน
ละ 5,000 ก็ไม่ไหวนาจะบอกให้


ที่มา : เรียนมา + ประสบการณ์เฟ้ย



http://th.answers.yahoo.com/question/index?qid=20091210014856AAwOY23


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 09/06/2012 10:20 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 03/06/2012 12:48 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,612. พันธุ์ข้าว กข31 (RD31) (ปทุมธานี 80) ซีโอ



ชื่อพันธุ์
- กข31 - RD31 (ปทุมธานี 80)

ชนิด
- ข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์
- จากการผสมพันธุ์ระหว่าง สายพันธุ์ SPR85163-5-1-1-2 กับสายพันธุ์ IR54017-131-1-3-2 ที่ศูนย์วิจัยข้าวสุพรรณบุรี
เมื่อ พ.ศ. 2536 ปลูกคัดเลือก ตั้งแต่ พ.ศ. 2537 ถึง พ.ศ. 2539 ได้สายพันธุ์ SPR93049-PTT-30-4-1-2 ศึกษาพันธุ์ ประเมิน
ลักษณะประจำพันธุ์และลักษณะทางการเกษตร ทดสอบความต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูข้าวที่สำคัญ วิเคราะห์คุณภาพเมล็ดทาง
กายภาพและเคมีที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี ประเมินผลผลิตและทดสอบการตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจน ในศูนย์วิจัยข้าวภาคกลาง และปลูก
เปรียบเทียบผลผลิตในนาเกษตรกร 8 จังหวัดในภาคกลาง จนถึง พ.ศ. 2549

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ กรมการข้าว มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง ชื่อ กข31 (ปทุมธานี 80) เพื่อแนะนำให้เกษตรกรปลูก เมื่อ
วันที่ 6 มีนาคม 2550





ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง กอตั้ง ต้นแข็งไม่ล้มง่าย ต้นสูงเฉลี่ย 117 เซนติเมตร
- อายุเก็บเกี่ยว 118 วัน เมื่อปลูกโดยวิธีปักดำ และ 111 วัน เมื่อปลูกโดยวิธีหว่านน้ำตม
- ใบสีเขียว กาบใบสีเขียว ใบธงตั้ง
- คอรวงยาว รวงยาว 29.9 เซนติเมตร ติดเมล็ด 90 เปอร์เซ็นต์
- จำนวนเมล็ดดีต่อรวง 130 เมล็ด นวดง่าย เปลือกเมล็ดสีฟาง เมล็ดไม่มีหาง
- ข้าวกล้องสีขาว เป็นท้องไข่น้อย รูปร่างเรียว ยาว 7.39 มิลลิเมตร กว้าง 2.13 มิลลิเมตร หนา 1.84 มิลลิเมตร
- คุณภาพการสีดี ได้ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าว 47.5 เปอร์เซ็นต์
- ปริมาณแอมิโลส 27.3 – 29.8 เปอร์เซ็นต์
- อุณหภูมิแป้งสุกระดับปานกลาง แป้งสุกอ่อน ข้าวสุกค่อนข้างแข็ง ไม่หอม
- ระยะพักตัวของเมล็ด 5 สัปดาห์

ผลผลิต
- เฉลี่ย 745 กิโลกรัม/ไร่ (ปักดำ)
- เฉลี่ย 738 กิโลกรัม/ไร่ (นาหว่านน้ำตม)

ลักษณะเด่น
1. คุณภาพเมล็ดทางกายภาพสม่ำเสมอกว่าพันธุ์สุพรรณบุรี 1
2. ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดหลังขาว ค่อนข้างต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โรคขอบใบแห้ง โรคใบจุดสีน้ำตาล และโรค
เมล็ดด่าง
3. กอตั้ง ต้นแข็ง ไม่ล้มง่าย ผลผลิตสูง ปลูกโดยวิธีปักดำให้ผลผลิต 745 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าผลผลิตของพันธุ์สุพรรณบุรี 1 ประมาณ
6 เปอร์เซ็นต์ และปลูกโดยวิธีหว่านน้ำตมให้ผลผลิตเฉลี่ย 738 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าผลผลิตของพันธุ์สุพรรณบุรี 1 ประมาณ 5
เปอร์เซ็นต์


ข้อควรระวัง
- กข31 (ปทุมธานี 80) อ่อนแอต่อโรคไหม้ โรคใบหงิก และโรคใบสีส้ม

พื้นที่แนะนำ
- นาชลประทานภาคกลาง






http://kkn-rsc.ricethailand.go.th/rice/pedigree/02/RD31.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 09/06/2012 10:22 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 09/06/2012 9:16 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,613. ข้าวขาวกอเดียว พิจิตร





1. ความเป็นมา
ข้าวขาวกอเดียว เป็นข้าวพันธุ์พื้นเมือง สันนิฐานว่า มีแหล่งกำเนิดที่ อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร เกษตรกรนิยมบริโภค
และทำผลิตภัณฑ์เส้นได้ดีมาก ปัจจุบันเกษตรกรคัดเลือกใช้พันธุ์ที่เหมาะสมกับพื้นที่ที่เป็นที่ราบลุ่มของจังหวัดพิจิตร และนับได้ว่าเป็น
ข้าวที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด การปรับปรุงกระบวนการผลิตข้าวขาวกอเดียวเพื่อให้มีคุณภาพ และราคาเพิ่มขึ้น ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุ
โลก ได้รวบรวมพันธุ์ข้าวขาวกอเดียว ที่ปลูกในพื้นที่ทั้งหมด มาทำการคัดเลือกให้ได้ข้าวพันธุ์บริสุทธิ์ และพัฒนาชุดเทคโนโลยีการปลูก
ที่เหมาะสมไปด้วย


2. แหล่งปลูกข้าวขาวกอเดียว
ข้าวขาวกอเดียว ปลูกในเขตที่ราบลุ่ม จังหวัดพิจิตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งอำเภอ บางมูลนาค และบางพื้นที่ในอำเภอใกล้เคียง
จังหวัดนครสวรค์


.....


3. ลักษณะประจำพันธุ์
เป็นข้าวนาสวน ไวต่อช่วงแสง ออกดอกประมาณ กลางเดือนพฤศจิกายน มีความสูง160 เซนติเมตร หนีน้ำได้ เมล็ดร่วงง่าย เพราะสมัย
ก่อนใช้ควายย่ำเพื่อให้เมล็ดหลุดจากรวง และเปลือกหลุดออกง่าย เหมาะกับการตำ เพื่อกะเทาะเปลือกออก มีคุณภาพ การหุงต้ม รับ
ประทานอร่อย และข้าวหุงเมื่อเย็นแล้วไม่แข็ง





ปรับปรุงพันธุ์โดย : ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก
สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว



http://www.riceproduct.org/index.php?option=com_content&task=view&id=30&Itemid=52


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 09/06/2012 10:23 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 09/06/2012 9:37 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,614. การควบคุมวัชพืชในนาหว่านข้าวแห้งสำหรับการผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์


การจำแนกชนิดวัชพืช
พันธุ์ข้าว
วิธีการเตรียมดินและการปลูก
อัตราเมล็ดพันธุ์
การกำหนดช่วงเวลาปลูก
วิธีการ การควบคุมวัชพืชร่วมกับอัตราเมล็ดพันธุ์


เป็นเวลามากกว่า 10 ปีที่ผ่านมาเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปรับเปลี่ยนวิธีการปลูกข้าว จากการทำนาดำ เป็นนาหว่านแห้ง
กันมากขึ้น จากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร(2541) พบว่าพื้นที่การทำนาหว่านข้าวแห้ง ปี 2540/41 ประมาณ 8.17
ล้านไร่ การที่เกษตรกรหันมาทำนาหว่านข้าวแห้งเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเป็นวิธีการปลูกข้าวที่ประหยัดแรงงาน เวลา และค่าใช้จ่าย
เพราะการปลูกข้าวแบบนาหว่านข้าวแห้ง เป็นการปลูกข้าวแบบหว่านเมล็ดโดยตรง เมล็ดข้าวจะงอกพร้อมกัน เมื่อได้รับน้ำฝนหรือมี
ความชื้นสภาพแวดล้อมเหมาะสม แต่ปัญหาสำคัญที่ตามมา คือ ปัญหาจากวัชพืชในนาข้าว หากไม่มีการควบคุมและกำจัดวัชพืชแล้ว
จะเกิดการสูญเสีย และมีผลทำให้ผลผลิตของข้าวในการทำนาหว่านข้าวแห้งลดลง ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์


การควบคุมและกำจัดวัชพืชในนาหว่านข้าวแห้ง ที่เกษตรกรปฏิบัติอยู่ส่วนใหญ่เป็นวิธีดั้งเดิม เช่น การเตรียมดินปลูกที่ดีและการใช้แรงงาน
ถอนกำจัดวัชพืช แต่การถอนวัชพืชด้วยมือในนาหว่านข้าวแห้ง จะกระทำได้ยาก สิ้นเปลืองแรงงาน มีค่าใช้จ่ายสูง และทำลายต้นข้าวขณ
ะปฏิบัติงาน นอกจากนี้ประสิทธิภาพในการกำจัดวัชพืชค่อนข้างต่ำอีกด้วย การจัดการวัชพืชแบบผสมผสาน (Integrated Weed
Management) เป็นการควบคุมและกำจัดวัชพืชที่เป็นระบบอย่างต่อเนื่อง มีการนำวิธีการหลายๆ วิธีมาใช้ร่วมกัน องค์ประกอบของการ
จัดการวัชพืช เช่น การจำแนกชนิดวัชพืช วิธีการเขตกรรม การใช้อัตราปลูกที่เหมาะสม การคัดเลือกพันธุ์ที่เหมาะสม การปลูกพืชร่วมระบบ
และการปลูกพืชหมุนเวียน การใช้ประโยชน์จากมวลชีวภาพมาใช้ร่วมกัน หรืออาจจะประสานกับการปฏิบัติด้านอื่นๆ ด้วย เพื่อให้ได้ผลที่
สมบูรณ์โดยประหยัดค่าใช้จ่าย ทั้งนี้จะต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมที่จะตามมาอีกด้วย


.....
ปัญหาวัชพืชระบาดรุนแรงในนาหว่านข้าวแห้ง


การวิจัยทางด้านวิทยาการวัชพืชในนาหว่านข้าวแห้ง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในระยะหลายปีที่ผ่านมา ได้มีการนำแนวทางการจัดการ
วัชพืชมาใช้โดยมีการนำวิธีการลดปัญหาที่เกิดจากวัชพืชมากกว่าหนึ่งวิธีมาผสมผสานกัน เพื่อให้ได้เทคโนโลยีวิธีการควบคุมและกำจัด
วัชพืช ที่ทำให้เกิดสภาวะที่ขจัดหรือลดอัตราการเจริญเติบโตของวัชพืช โดยให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด ลดต้นทุนและค่าใช้จ่าย ตลอดจน
ผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมให้น้อยที่สุด และประการสุดท้ายเป็นแนวทางการผลิตข้าวหอมมะลิแบบอินทรีย์ วิธีการต่างๆ มีดังต่อไปนี้



การจำแนกชนิดวัชพืช
การเปลี่ยนวิธีการทำนาจากนาดำเป็นนาหว่านข้าวแห้ง ทำให้ระบบนิเวศการปลูกข้าวเปลี่ยนแปลงไป เริ่มตั้งแต่ช่วงระยะการปลูก การเปลี่ยน
พันธุ์ข้าว การเตรียมดินและการจัดการอื่นๆ ทำให้ชนิด และปริมาณวัชพืชมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย จากการสำรวจประชากรวัชพืช ใน
สภาพการทำนาหว่านข้าวแห้ง พบว่าในระยะแรกๆ ของการเจริญเติบโตทางลำต้นหรือประมาณ 30 วันของข้าวหลังจากข้าวงอก ชนิดวัช
พืชเด่นที่พบ เช่น หญ้านกสีชมพู (Echinochloa colon (L.) Link), เซ่งใบมน (Melochia corchorifolia L.) และกกต่างๆ เช่น
กกทราย (Cyperus iria L.), เป็นต้น แต่ในระยะ 60 วันหลังข้าวงอก หรือต้นข้าวมีการเจริญเติบโตในช่วงเริ่มแตกกอ จะพบหญ้านกสี
ชมพู ในระยะเก็บเกี่ยวจะพบหญ้าแดง (Ischaemum rugosum Salisb.) และหญ้าไทร (Leersia hexandra SW.) มีจำนวนมาก
กว่าชนิดอื่นๆ การเปลี่ยนแปลงชนิดและจำนวนของวัชพืช ตั้งแต่ต้นฤดูปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว แตกต่างกันไป โดยที่ในระยะแรกของการปลูก
จะพบวัชพืชพวกวงศ์หญ้า และวัชพืชใบกว้างเกิดขึ้นมากกว่าประเภทอื่นๆ แต่ในระยะเก็บเกี่ยวจะพบว่าปริมาณวัชพืชพวกกกมีจำนวนมากขึ้น
ทั้งนี้คาดว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของความชื้น และระดับน้ำในนา ตลอดจนการเจริญเติบโตของต้นข้าวทั้งความสูงและพื้นที่ใบ ซึ่งจะมี
ผลต่อการเปลี่ยนแปลงชนิดและปริมาณวัชพืชด้วยเช่นกัน


......
หญ้านกสีชมพู (Echinochloa colona (L.) Link).................. เซ่งใบมน (Melochia corchorifolia L.)


พันธุ์ข้าว
พันธุ์ข้าวที่มีรูปทรงต้นและลักษณะบางประการ มีความสามารถในการแข่งขันกับวัชพืชได้ค่อนข้างสูง เช่น ลักษณะทรงต้นสูง ใบแผ่
กว้างจะช่วยปกคลุมพื้นที่ปิดกั้นบดบังแสงมิให้แสงส่องผ่านลงสู่ต้นล่าง ทำให้ปริมาณและความเข้มของแสงที่ผิวดินต่ำลง ทำให้การงอก
ของเมล็ดวัชพืชบางชนิดลดลง และชะลอการเจริญเติบโตของต้นกล้าวัชพืชลงได้ ในสภาพนาหว่านข้าวแห้งได้มีการศึกษาวิจัยพันธุ์ข้าว
ที่มีความสามารถในการแข่งขันกับวัชพืช ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการศึกษาความสามารถในการแข่งขันกับวัชพืชของข้าวสายพันธุ์ดีเด่น
บางพันธุ์ในนาหว่านข้าวแห้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผลการทดลองพบว่าในสภาพที่ปล่อยให้มีการแข่งขันกับวัชพืช ในข้าวพันธุ์
ขาวดอกมะลิ 105, และกข23 จะพบจำนวนต้น และ น้ำหนักแห้งวัชพืชเหลืออยู่ค่อนข้างต่ำ

จากผลการทดลองดังกล่าวนี้ แสดงว่าพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่มีลักษณะทรงต้นสูง ใบยาวและแผ่กว้างทำให้วัชพืชไม่สามารถเ
จริญเติบโตได้เต็มที่ หรือลดจำนวนลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 จะให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์อื่นๆ เมื่อมีการแข่งขันกับ
วัชพืชในสภาพการทำนาน้ำฝน



พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105


อย่างไรก็ตามข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เมื่อปล่อยให้มีการแข่งขันกับวัชพืชจะพบปริมาณวัชพืชเกิดขึ้นน้อยที่สุด อย่างไรก็ตามเมื่อมี
การกำจัดวัชพืชจะโดยวิธีใดก็ตามทำให้ข้าวพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 มีผลผลิตเพิ่มสูงขึ้น จากข้อดีดังกล่าวนับว่าเป็นความได้เปรียบ
ของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีการทำนาแบบนาหว่านข้าวแห้ง ในเขตอาศัยน้ำฝนที่มีปัญหาเนื่องจากวัชพืชระบาดรุนแรง


วิธีการเตรียมดินและการปลูก
การเตรียมแปลงปลูกที่ดี จะช่วยลดปัญหาจากวัชพืชได้ แต่ในสภาพการทำนาหว่านข้าวแห้ง ในพื้นที่อาศัยน้ำฝน เมื่อปริมาณและการกระจาย
ตัวของฝนเหมาะสม ทำให้เมล็ดข้าวที่อยู่ในดินงอกขึ้นมาขณะเดียวกันเมล็ดวัชพืชที่อยู่ในระดับผิวดินก็จะงอกขึ้นมาพร้อมกับต้นข้าวและการ
แข่งขันในปัจจัยการเจริญเติบโตกับต้นข้าวจึงเริ่มขึ้น อีกกรณีหนึ่งการไถเป็นการกำจัดวัชพืชที่เกิดขึ้นมา หรือทำลายเมล็ดวัชพืชในระดับ
ที่จะงอกได้ ในเวลาเดียวกันจะเป็นการพลิกให้เมล็ดวัชพืชที่อยู่ลึกในดินขึ้นมาสู่ผิวดิน และสามารถงอกขึ้นมาอีก


......
เกษตรกรไถเตรียมดินด้วยรถแทรกเตอร์ ชนิด 7 ผาล........... เกษตรกรคราดเตรียมแปลงด้วยรถไถเดินตาม


การปลูกข้าวแบบนาหว่านมีการปฏิบัติที่หลากหลาย เช่น การหว่านสำรวย การหว่านคราดกลบหรือไถกลบ และการหว่านหลังขี้ไถ
ทั้ง 3 รูปแบบเป็นการปลูกข้าวที่มีข้อแตกต่างตรงวิธีการเตรียมดิน และการปลูก โดยการเตรียมดินมีวัตถุประสงค์เพื่อกำจัดวัชพืช

ดั้งเดิมที่ขึ้นอยู่ในนา ก่อนที่จะหว่านข้าว ซึ่งวิธีการเตรียมดินของเกษตรกรในปัจจุบัน ใช้เครื่องจักรแทนแรงงานสัตว์เป็นส่วนใหญ่ เครื่องมือที่ใช้ เช่น รถไถเดินตาม หรือรถแทรกเตอร์ขนาดใหญ่ และการเตรียม
ดินจะพิถีพิถันมากหรือน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับเครื่องมือ ค่าใช้จ่าย และความพร้อมของเกษตรกรเอง โดยมีวิธีการปลูกร่วมกับการใช้
อัตราเมล็ดพันธุ์ในการทำนาหว่านข้าวแห้งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่าวิธีการเตรียมดินและปลูกตามแบบต่างๆ ทั้ง 3 แบบ ซึ่ง
เป็นวิธีของเกษตรกรและใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวอัตราตั้งแต่ต่ำสุดที่ 8 กิโลกรัม ถึงสูงสุดที่ 24 กิโลกรัมต่อไร่ ทำให้ผลผลิตข้าวขาวดอก
มะลิ 105 ที่ได้รับไม่แตกต่างกันทุกวิธีการปลูก และทุกอัตราเมล็ดพันธุ์ โดยเฉลี่ยประมาณ 265 กิโลกรัมต่อไร่





อัตราเมล็ดพันธุ์
ตามปกติในการทำนาหว่านข้าวแห้ง มีคำแนะนำให้ใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 1-2 ถังต่อไร่ หรือประมาณ 10-20 กิโลกรัมต่อไร่ การใช้เมล็ด
พันธุ์อัตราดังกล่าว จะทำให้มีประชากรของต้นข้าวที่เหมาะสม สำหรับในเรื่องอัตราเมล็ดพันธุ์ข้าวเกษตรกรจะให้ความสนใจมาก บางพื้น
ที่ใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ 40-50 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อชดเชยการสูญเสียจากการทำลายของสัตว์ศัตรูข้าว เช่น นก หนู เป็นต้น และเพิ่มการ
แข่งขันระหว่างข้าวกับวัชพืชในแปลงนา การใช้อัตราที่เหมาะสมประมาณ 16 กิโลกรัมต่อไร่ จะทำให้ประชากรต้นข้าวที่เกิดขึ้นมา
สามารถที่จะแข่งขันกับวัชพืชได้ มีการวิจัยและนำเอาวิธีการดังกล่าวมาผสมผสานร่วมกัน โดยที่เมื่อทำการเพิ่มอัตราเมล็ดพันธุ์ให้สูงขึ้น
จะมีผลทำให้ชนิด และจำนวนวัชพืชที่เกิดขึ้นในแปลงปลูกข้าวลดลง ตามอัตราการเพิ่มขึ้นของเมล็ดพันธุ์ การทำนาหว่านข้าวแห้งด้วยการ
ใช้เมล็ดพันธุ์อัตรา 18-24 กิโลกรัมต่อไร่ จะช่วยลดปัญหาวัชพืชให้ลดลง อย่างไรก็ตามวิธีการดังกล่าวจะเกิดประโยชน์ในการแนะนำ ให้
เกษตรกรปลูกข้าวแบบการทำนาหว่านข้าวแห้ง ตามสภาพความเหมาะสมของพื้นที่ และความพร้อมของเกษตรกร โดยการจัดการวิธีการ
เตรียมดินและวิธีการปลูกแต่ใช้เมล็ดพันธุ์ที่เหมาะสม โดยลดต้นทุนการผลิตข้าวในด้านแรงงานและค่าใช้จ่ายต่างๆ เพื่อลดปัญหาวัชพืชใน
นาหว่านข้าวแห้งได้ในระดับหนึ่ง โดยลดต้นทุนการผลิตข้าวที่จะต้องใช้แรงงานเตรียมดิน และอัตราเมล็ดพันธุ์ได้อย่างเหมาะสม





การกำหนดช่วงเวลาปลูก
พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105, กข15 และกข6 เป็นพันธุ์ข้าวไวต่อช่วงแสง เหมาะสำหรับการปลูกในฤดูนาปี ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เกษตรกรจะเริ่มไถเตรียมดินและหว่านข้าวตั้งแต่ปลายเดือนเมษายนเป็นต้นไป การที่เกษตรกรหว่านข้าวเร็วจะทำให้ต้นข้าวอยู่ในนาเป็น
เวลานาน และจะประสบกับปัญหาจากสภาพความแห้งแล้งเนื่องจากฝนทิ้งช่วง มีวัชพืชขึ้นแข่งขันมาก และแมลงสัตว์ศัตรูข้าวรบกวน
การกำหนดช่วงระยะปลูกที่เหมาะสมจะช่วยลดปัญหาจากวัชพืชในนาหว่านข้าวแห้งได้ มีคำแนะนำให้หว่านข้าวประมาณเดือนมิถุนายนจน
ถึงกลางเดือนสิงหาคมแทนที่จะปลูกในเดือนเมษายน จากการทดสอบศึกษาช่วงเวลาปลูกข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์กข6
โดยเริ่มปลูกตั้งแต่ปลาย เดือนพฤษภาคม จนถึงเดือนกรกฎาคม พบว่า การกำหนดระยะเวลาปลูกเร็วหรือช้าจะมีผลกระทบต่อการให้ผล
ผลิตของข้าวทั้ง 2 พันธุ์ โดยที่การปลูกประมาณกลางเดือนกรกฎาคมจะให้ผลผลิตสูงสุด และมีปัญหาวัชพืชต่ำ การปลูกข้าวทั้ง 2 พันธุ์
นี้เร็วแต่ต้นปี จะทำให้ข้าวประสบกับสภาวะแห้งแล้งหรือฝนทิ้งช่วง และเกิดปัญหาจากวัชพืชรุนแรงติดตามมา



วิธีการ การควบคุมวัชพืชร่วมกับอัตราเมล็ดพันธุ์
พันธุ์ข้าวที่แนะนำ และส่งเสริมให้ปลูกในนาหว่านข้าวแห้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่เป็นพันธุ์พื้นเมืองเช่นพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105,
เหลืองประทิว 123, ขาวตาแห้ง 17, กข15 และ กข6 เป็นต้น ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ข้าวที่มีลักษณะทรงต้นสูง ใบยาวใหญ่แผ่ โน้มปก
คลุม เป็นลักษณะที่มีความสามารถในการแข่งขันกับวัชพืชได้ดี การใช้พันธุ์พืชปลูกที่สามารถแข่งขันกับวัชพืชได้ดี จัดเป็นวิธีการหนึ่ง
ของการจัดการวัชพืช มีการศึกษาพันธุ์ข้าว 2 พันธุ์ที่มีลักษณะรูปทรงต้นแตกต่างกัน คือ พันธุ์กข23 และพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ซึ่ง
มีความสามารถในการแข่งขันกับวัชพืชต่างกัน พบว่าใช้พันธุ์ข้าว กข23 การใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ 32 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ผลผลิตสูงสุด ส่วน
พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เมล็ดพันธุ์ที่อัตรา 16 กิโลกรัมต่อไร่ จะให้ผลผลิตสูงสุด การเพิ่มอัตราเมล็ดพันธุ์ตั้งแต่ 8 ถึง 40 กิโลกรัมต่อ
ไร่ ในสภาพที่ไม่มีการกำจัดวัชพืช จะทำให้น้ำหนักแห้งของวัชพืชลดลงตามอัตราการเพิ่มขึ้นของเมล็ดพันธุ์ เนื่องจากอัตราเมล็ดพันธุ์
ดังกล่าวเป็นอัตราที่ทำให้มีประชากรต้นข้าว และความหนาแน่นของต้นข้าวแข่งขันกับวัชพืชได้อย่างเหมาะสม ในทำนองเดียวกันการ
กำจัดวัชพืชโดยการถอนด้วยมือ 2 ครั้ง ที่ระยะ15 และ30 วันหลังข้าวงอก จะทำให้ผลผลิตข้าวเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 84 เปอร์เซ็นต์ เมื่อ
เปรียบเทียบกับไม่มีการควบคุมวัชพืช



เกษตรกรกำจัดวัชพืชโดยใช้มือถอน


แนวทางการควบคุมวัชพืชในนาหว่านข้าวแห้งเพื่อผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยังมีแนวทางในการจัดการอีก
หลายด้านที่จะช่วยสนับสนุนซึ่งกันและกัน เช่น การจัดการปุ๋ย การจัดการเรื่องน้ำ การจัดการเขตกรรม การใช้ประโยชน์จากมวลชีวภาพ
การปลูกพืชหมุนเวียนหรือระบบการปลูกพืช และการควบคุมวัชพืชโดยชีววิธี เป็นต้น วิธีการต่างๆ เหล่านี้จะต้องมีการนำมาวิจัยผสม
ผสานร่วมกัน เพื่อหาวิธีการที่เหมาะสมในการลดปัญหาวัชพืช ในนาหว่านข้าวแห้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ และแนะนำถ่ายทอดสู่เกษตรกร
ต่อไป

กล่าวโดยสรุปการจัดการวัชพืชในนาหว่านข้าวแห้งสำหรับการผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ เป็นการนำวิธีการควบคุมและกำจัดวัชพืช
หลายๆ วิธีมาใช้ร่วมกัน โดยที่แต่ละวิธีการจะสนับสนุนซึ่งกันและกัน ซึ่งมีผลทำให้ชนิดและจำนวนวัชพืชที่จะเป็นตัวแก่งแย่งปัจจัยการ
เจริญเติบโตของข้าว เช่น ธาตุอาหาร, น้ำ ความชื้น และแสงแดดนั้นลดลง หรือเหลือน้อยที่สุด การจัดการวัชพืชเป็นการนำวิธีการ
ควบคุมและกำจัดวัชพืชทั้งทางตรงและทางอ้อมมาใช้ผสมผสานกัน โดยคำนึงถึงปัจจัยต้นทุนในการผลิตข้าวของเกษตรกรให้ต่ำที่สุด
และมีความปลอดภัยต่อเกษตรกรและในสภาพแวดล้อมมากที่สุด จึงจะได้ชื่อว่าข้าวหอมมะลิอินทรีย์อย่างแท้จริง



การควบคุมระดับน้ำในแปลงนา จะช่วยลดปัญหาวัชพืช



http://www.brrd.in.th/rkb/weed/index.php-file=content.php&id=46.htm


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 09/06/2012 10:29 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 09/06/2012 9:49 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,615. ข้าววัชพืช



1. ข้าววัชพืช คืออะไร ต่างกับข้าวทั่วไปอย่างไร
ข้าวที่ชาวนาใช้ปลูกทั่วไป มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oryza sativa L. ใช้ปลูกในประเทศไทยมากกว่า 100 พันธุ์ เรียกในที่นี้ว่าข้าวปลูก
เป็นพันธุ์ข้าวที่ถูกคัดเลือกให้มีลักษณะที่ต้องการเช่นผลผลิตสูง ข้าวสารมีสีขาว ใส คุณภาพหุงต้มนุ่มและหอม ไปจนถึงร่วนแข็ง ต้านทาน
ต่อโรคหรือแมลงที่สำคัญ ข้าวพันธุ์หนึ่งจะมีลักษณะทางการเกษตรต่างๆ เหมือนกันและคงตัว คือในพันธุ์เดียวกันจะมีลักษณะ สีใบ ทรงกอ
ความสูง การออกรวง สีเปลือก สีข้าวกล้อง เหมือนกันและคงตัว และทุกพันธุ์จะมีลักษณะสำคัญคือเมล็ดจะสุกแก่ใกล้เคียงกันคือหลังบาน
ดอกแล้วประมาณ 28-30 วัน พร้อมที่จะถูกเก็บเกี่ยวและถูกนวดให้หลุดจากรวง คือจะไม่สุกแก่ก่อนเวลาไม่หลุดร่วงเองได้ง่ายๆ และข้าว
เปลือกจะไม่มีหางหรือถ้ามีก็จะสั้นมาก

ข้าวป่าเป็นบรรพบุรุษของข้าวที่ใช้ปลูกในปัจจุบัน เป็นข้าวอีกชนิดหนึ่งที่มีตามธรรมชาติทั้งในที่ลุ่มลึกและบนที่ดอน ข้าวป่ามีหลาย
ชนิดและที่มีความสำคัญและคาดว่าจะเป็นเชื้อพันธุ์ของข้าววัชพืชมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oryza rufipogon Griff. ข้าวป่าแม้จะสามารถ
แบ่งเป็นหลายชนิด ในแต่ละชนิดจะมีหลายลักษณะ แต่มีลักษณะสำคัญหลายประการที่มีในข้าวป่าทุกชนิดคือ เมล็ดในรวงเดียวกัน
สุกแก่ไม่พร้อมกันตั้งแต่ 9-30 วัน เมื่อสุกแก่ก็จะหลุดร่วงได้เอง เมล็ดมีระยะพักตัวหลากหลายตั้งแต่ไม่มีระยะพักตัวไปจนถึงระยะพัก
ตัวหลายปี เมล็ดข้าวเปลือกและข้าวกล้องของข้าวป่าจะมีหลากหลายสี เมล็ดอาจมีหางยาวมากกว่า 10 เท่าตัวของเมล็ด และมีหลายสี


......
ข้าวปลูกพันธุ์ กข31.........................................ข้าวป่า Oryza rufipogon Griff.ในสภาพธรรมชาติ

......



ข้าวหางหรือข้าวนก
คือข้าววัชพืชที่มีลักษณะเมล็ดข้าวเปลือกสีดำหรือสึน้ำตาลเข้ม มีหางยาว หางอาจจะมีสีแดงหรือขาวในระยะข้าวยังสด เมล็ดร่วงก่อน
เก็บเกี่ยว สีของเยื่อหุ้มเมล็ดมีทั้งแดงไปจนถึงขาว

......



ข้าวแดงหรือข้าวลาย
คือข้าววัชพืชที่มีลักษณะสีข้าวเปลือกมักมีสีเข้มไปจนถึงลายสีน้ำตาลแดง เมล็ดข้าวเปลือกส่วนใหญ่ไม่มีหาง เมล็ดมีทั้งร่วงและไม่
ร่วงก่อนเก็บเกี่ยว แต่สีของเยื่อหุ้มเมล็ดส่วนใหญ่มีสีแดง

......



ข้าวดีดหรือข้าวเด้ง
คือข้าววัชพืชที่มีลักษณะร่วงง่ายและร่วงเร็วโดยทยอยร่วงตั้งแต่หลังบานดอก 9 วันเป็นต้นไป เมล็ดข้าวเปลือกส่วนใหญ่มีหางสั้นหรือ
ไม่มีหาง ข้าวเปลือกส่วนใหญ่มีสีเหลืองฟาง สีของเยื่อหุ้มเมล็ดมีทั้งแดงและขาว

......



การกำจัดข้าววัชพืชโดยวิธีเขตกรรม
การผสมผสานหลายวิธีการในทุกขั้นตอนของการทำนาดังต่อไปนี้ จะช่วยแก้ปัญหาข้าววัชพืชได้ไม่ต้องพึ่งพาสารกำจัดวัชพืชหรือ
สารเคมีใดๆ


การกำจัดเมล็ดข้าววัชพืชโดยล่อให้งอกแล้วไถกลบ
การเตรียมดินโดยการไถ พรวน หรือคราดทำเทือก ควรเว้นช่วง 2-4 สัปดาห์ เพื่อเว้นระยะเวลาให้เมล็ดข้าววัชพืชที่ยังเหลืออยู่ในดิน
ได้มีโอกาสพ้นระยะพักตัวมากขึ้น โดยการมีขั้นตอนดังนี้ ปล่อยให้แปลงแห้งก่อนการเก็บเกี่ยวข้าวประมาณ 10 วัน หลังเก็บเกี่ยวข้าว
แล้วปล่อยให้แห้งต่ออีก อย่างน้อย 1 สัปดาห์ แล้วเอาน้ำเข้าแปลงพอชื้น เพื่อให้เมล็ดข้าววัชพืชงอก ไถกลบ ปล่อยแปลงในสภาพ
ชื้นต่ออีก 1-2 สัปดาห์ เพื่อให้เมล็ดข้าววัชพืชที่หลงเหลืออยู่งอกขึ้นมาอีก แล้วไถทิ้ง การล่อให้งอกแล้วไถกลบทำลายในแต่ละครั้ง
สามารถลดปริมาณข้าววัชพืชลงได้มากกว่า 50 %

......


7.2 เปลี่ยนวิธีการปลูกข้าว
7.2.1 วิธีปักดำ
การปักดำด้วยมือ ใช้เครื่องจักรตกกล้าปักดำ หลังปลูกให้ขังน้ำทันทีระดับน้ำลึก 3-5 ซม. จะป้องกันการงอกข้าววัชพืชได้ แต่ชาวนา
ต้องใช้เมล็ดพันธุ์บริสุทธิ์ และตกกล้าในแปลงนาที่ไม่มีข้าววัชพืชอยู่ก่อน อย่างไรก็ตามแม้จะใช้วิธีปักดำและการขังน้ำอย่างมีประสิทธิ
ภาพก็อาจยังมีข้าววัชพืชงอกและเจริญเติบโตขึ้นมาได้ ทั้งนี้ข้าววัชพืชที่เจริญเติบโตขึ้นมาได้นี้จะอยู่นอกแถวหรือนอกกอของการปักดำ
ชาวนาจึงพบเห็นข้าววัชพืชได้สะดวกตั้งแต่ในระยะแรก และสามารถถอนกำจัดเสียแต่ต้น

......


8. การกำจัดข้าววัชพืชโดยใช้สารกำจัดวัชพืช
การใช้สารกำจัดวัชพืชกำจัดข้าววัชพืชเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก เนื่องจากข้าววัชพืชมีพันธุกรรมใกล้ชิดข้าวปลูกมาก และมีความหลากหลาย
ทางชีวภาพ สารกำจัดวัชพืชที่สามารถกำจัดข้าววัชพืชได้ก็จะเป็นพิษต่อข้าวปลูกด้วย จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะหาสารกำจัดวัชพืชที่เลือก
ทำลายเฉพาะข้าววัชพืชโดยไม่ทำลายข้าวปลูก แต่อาศัยเทคนิคที่ทำให้สารกำจัดวัชพืชไปออกฤทธิ์กับข้าววัชพืชมากกว่าข้าวปลูก ก็จะ
สามารถใช้สารกำจัดวัชพืชกำจัดข้าววัชพืชโดยข้าวปลูกที่อาจโดนพิษของสารกำจัดวัชพืชน้อยกว่าจะสามารถฟื้นตัวได้ในระยะเวลา 1-2
สัปดาห์ โดยสามารถใช้ได้ 3 ระยะดังนี้


8.1 การใช้สารกำจัดวัชพืชหลังเตรียมดินก่อนหว่านข้าว
หลังจากไถเตรียมดิน ทำเทือก และปรับระดับให้สม่ำเสมอ ให้ขังน้ำไว้ 3-5 เซนติเมตร พ่นหรือหยดสารกำจัดวัชพืชลงในน้ำ
สารกำจัดวัชพืชจะทำลายต้นอ่อนของข้าววัชพืช ข้าวเรื้อ และวัชพืช ขังน้ำไว้ 3-5 วัน ระบายน้ำออกจากแปลงนาให้หมด แล้วหว่าน
ข้าว สารกำจัดวัชพืชส่วนใหญ่ที่ละลายอยู่ในน้ำก็จะออกจากแปลงนาไปพร้อมกับน้ำที่ระบายออกไป ดังนั้นจึงต้องมีการเตรียมดินที่
เรียบสม่ำเสมอซึ่งจะทำให้ขังน้ำและระบายน้ำออกอย่างสมบูรณ์ สารกำจัดวัชพืชที่ใช้ในระยะนี้ได้แก่ ไดเมทธานามีด (dimethenamid),
เพรททิลาคลอร์ (pretilachlor) , บิวทาคลอร์ (butachlor) และ ไธโอเบนคาร์บ (thiobencrab) สารกำจัดวัชพืชบางชนิดมีผล
ต่อวัชพืชตระกูลหญ้าเท่านั้น



8.2 การใช้สารกำจัดวัชพืชหลังหว่านข้าวแล้ว 8 -10 วัน
ระยะ 8-10 วันหลังหว่านข้าว จะสังเกตเห็นได้ว่าข้าวปลูกสูงกว่าข้าววัชพืช เพราะข้าวปลูกมีการแช่น้ำและหุ้มมาก่อน แล้วหว่านบนเทือก
จึงมีอายุมากกว่า ในขณะที่ข้าววัชพืชเพิ่งเริ่มงอกหรืออยู่ในดินต้องใช้เวลางอกขึ้นมาเหนือดิน จึงมีต้นเตี้ยกว่า อาศัยความสูงที่ต่างกันนี้
ปล่อยน้ำเข้านาให้ท่วมยอดข้าววัชพืช แต่ไม่ให้ท่วมสะดือข้าวปลูกหรือคอกระจาย ใช้วิธีหว่านสารกำจัดวัชพืชลงในน้ำ ถ้าเป็นสารกำจัด
วัชพืชชนิดน้ำต้องคลุกกับทรายก่อนหว่าน สารกำจัดวัชพืชที่คลุกทรายก็จะละลายน้ำและดูดซึมเข้ายอดข้าววัชพืชที่อยู่ปริ่มน้ำ แต่ดูดซึมเข้า
ข้าวปลูกน้อยกว่าเพราะสูงพ้นน้ำแล้ว ดังนั้นจะใช้วิธีฉีดพ่นไม่ได้เพราะจะเป็นอันตรายกับข้าวปลูกมากกว่าข้าววัชพืช และจะต้องมีการ
เตรียมดินเรียบสม่ำเสมอเช่นกัน สารกำจัดวัชพืชที่ใช้ในระยะนี้ได้แก่ อ๊อกซาไดอาร์กิล (oxadiargyl), เพนดิเมทาลิน (pendimethalin)
และ ไธโอเบนคาร์บ+2,4-ดี (thiobencrab + 2,4-D) สารกำจัดวัชพืชบางชนิดมีผลต่อวัชพืชตระกูลหญ้าเท่านั้น




8.3 การใช้สารกำจัดวัชพืชลูบรวงข้าววัชพืชในระยะออกรวง
ในระยะข้าววัชพืชออกรวง(ตากเกสร) ใช้สารกำจัดวัชพืชลูบรวงข้าววัชพืชที่มีความสูงกว่าข้าวปลูก เพื่อให้เมล็ดลีบไม่ให้สะสมเมล็ดใน
ฤดูต่อไป โดยใช้ผ้าที่อุ้มน้ำได้ดีพันรอบไม้ไผ่ยาวประมาณ 2 เมตรมัดให้แน่น ราดด้วยสารกำจัดวัชพืชที่เตรียมไว้พอชุ่มไม่ให้มากจน
หยดจะทำให้ข้าวปลูกที่อยู่ด้านล่างเสียหาย สารกำจัดวัชพืชที่ใช้ในระยะนี้ได้แก่ กลูโฟซิเนท-แอมโมเนียม (glufosinate – ammonium),
ควิซาโลฟอป-พี-เอธทิล (quizalofop-P-ethyl) และเอ็มเอสเอ็มเอ (MSMA), อย่างไรก็ตามการใช้สารกำจัดวัชพืชลูบรวงข้าววัชพืชนี้
จะมีผลเฉพาะข้าววัชพืชที่ต้นสูงและออกดอกก่อนข้าวปลูกเท่านั้น




9. การกำจัดข้าววัชพืชต้องทำแบบผสมผสานและต่อเนื่อง
จากวิธีการป้องกันปัญหาข้าววัชพืช การกำจัดข้าววัชพืชโดยวิธีเขตกรรม และการกำจัดข้าววัชพืชโดยใช้สารกำจัดวัชพืช ชาวนาจะต้อง
ใช้หลายวิธีการผสมผสานช่วยกันจึงจะทำให้การป้องกันกำจัดได้ผล โดยสามารถสรุปเป็นภาพ และแผนภูมิการจัดการข้าววัชพืชแบบผสม
ผสานดังแสดงไว้ข้างล่างนี้ อย่างไรก็ตามเนื่องจากเมล็ดข้าววัชพืชมีการพักตัวหลากหลาย ตั้งแต่ไม่พักตัวเลยไปจนถึงพักตัวนานหลายปี
จึงมีการทยอยงอก หากมีการระบาดของข้าววัชพืชเพียงฤดูเดียว แล้วทำการป้องกันกำจัดอย่างถูกต้อง ข้าววัชพืชก็จะไม่เป็นปัญหาในช่วง
นั้น แต่ชาวนาไม่ควรวางเฉย เพราะข้าววัชพืชที่เหลือเล็ดลอดไปได้ในฤดูถัดไปเพียงต้นเดียวก็อาจผลิตเมล็ดได้มากกว่า 1,500 เมล็ด
นั้นหมายความว่าในไม่ช้าข้าววัชพืชก็จะสามารถเพิ่มปริมาณและสร้างปัญหาได้ในอนาคตอันใกล้

แม้การป้องกันกำจัดจะได้ผลดีเพียงใด ชาวนายังจะต้องหมั่นตรวจแปลงนาทุกระยะการเจริญเติบโตของข้าว เพื่อทำการป้องกันกำจัดตาม
ขั้นตอนที่ได้กล่าวมาแล้ว และมีตัวอย่างมากมายจากแปลงนาที่ทำการกำจัดข้าววัชพืชอย่างได้ผล แต่ชาวนากลับละเลยการตรวจตรา
แปลงนาอย่างต่อเนื่อง อันเนื่องจากความไม่เข้าใจถึงปัญหาข้าววัชพืชนี้อย่างลึกซึ้ง แล้วข้าววัชพืชก็ได้กลับมาเป็นปัญหาระบาดในนาอีก


http://www.brrd.in.th/rkb/weed/index.php-file=content.php&id=43.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 10/06/2012 6:47 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,616. โรคเมาตอซัง





ชื่อโรค : โรคเมาตอซัง
ชื่อภาษาอังกฤษ : Akiochi Disease
ชื่อท้องถิ่น (ถ้ามี) : -
เชื้อสาเหตุ: เกิดจากความเป็นพิษของสภาพดินและน้ำ

ลักษณะ/อาการของโรค :
เริ่มพบอาการเมื่อข้าวอายุประมาณ 1 เดือน หรือ ระยะแตกกอ ต้นข้าวจะแคระแกร็น ใบซีดเหลืองจากใบล่างๆ มีอาการของ
โรคใบจุดสีน้ำตาล จะพบในขณะที่ขบวนการเน่าสลายของเศษซากพืชในนายังไม่สมบูรณ์ ทำให้เกิดสารพิษไปทำลายรากข้าว
เกิดอาการรากเน่าดำ ทำให้ไม่สามารถดูดสารอาหารจากดินได้ ต้นข้าวแสดงอาการขาดธาตุอาหาร ในขณะเดียวกันมักจะพบต้น
ข้าวสร้างรากใหม่ในระดับเหนือผิวดิน ซึ่งต้นเหตุของปัญหาเกิดจากเกษตรกรทำนาอย่างต่อเนื่อง ไม่มีการพักนาและเกิดการหมัก
ของตอซังระหว่างข้าวแตกกอ โรคนี้พบมากในนาน้ำฝนภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้


ช่วงระยะเวลาทำลายต้นข้าว :
ระยะแตกกอ


การป้องกัน/กำจัด :
ควรระบายน้ำเสียในแปลงออก ทิ้งให้ดินแห้งประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อให้รากข้าวได้รับอากาศ หลังจากนั้นจึงนำน้ำใหม่เข้าและ
หว่านปุ๋ย

หลังเก็บเกี่ยวข้าว ควรทิ้งระยะพักดินประมาณ 1 เดือน ไถพรวนแล้วควรทิ้งระยะให้ตอซังเกิดการหมักสลายตัวสมบูรณ์อย่าง
น้อย 2 สัปดาห์



แหล่งที่มาของข้อมูล : สารานุกรมภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย
- ภูมิปัญญาข้าวไทย จัดทำโดย สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน)



http://app1.bedo.or.th/rice/DiseaseInfo.aspx?id=8
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 10/06/2012 8:23 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,617. การทำแปลงขยายพันธุ์ข้าว


1. การคัดเลือกพื้นที่ทำแปลงขยายพันธุ์ข้าว
- พื้นที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ติดต่อกันหรืออยู่ใกล้เคียงกัน สะดวกในการดูแล และติดตามงาน
- ติดถนน การคมนาคมสะดวก
- มีแหล่งน้ำใช้พอเพียงตลอดฤดูการผลิต
- ดินมีความอุดมสมบูรณ์ ไม่อยู่ใกล้คอกสัตว์ และบ่อเลี้ยงปลา
- ไม่เป็นดินกรดจัด หรือด่างจัด
- อยู่ใกล้แหล่งรับซื้อและโรงงานปรับปรุงสภาพ


2. การคัดเลือกเกษตรกร
- มีความสนใจ ตั้งใจจริงและพร้อมที่จะปฏิบัติตามขั้นตอนการผลิตเมล็ดพันธุ์
- ขยัน หมั่นตรวจถอนพันธุ์ปนสม่ำเสมอ
- ซื่อสัตย์ รักษาคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ ไม่ปลอมปน หรือลักจำหน่ายเมล็ดพันธุ์
- มีการรวมกลุ่มช่วยกันถอนพันธุ์ปน
- มีพื้นที่ไม่มากเกินไป จะได้มีเวลาตรวจถอนพันธุ์ปน


3. การคัดเลือกพันธุ์ข้าวที่จะผลิต
- เหมาะสมกับพื้นที่ปลูกและระดับน้ำ
- เป็นพันธุ์ที่เกษตรกรสนใจและนิยมปลูก
- ต้านทานต่อโรคและแมลงที่สำคัญในพื้นที่
- หลีกเลี่ยงพันธุ์ที่ไม่ทนทานต่อสภาพอากาศในบางฤดู
- เป็นพันธุ์ข้าวที่ตลาดต้องการ


4. การวางแผนการปลูกข้าว
- หลีกเลี่ยงการปลูกข้าวต่างจากพันธุ์เดิม เพื่อลดปัญหาข้าวปนจากข้าวเรื้อ
- กำจัดข้าวเรื้อก่อนเปลี่ยนพันธุ์ใหม่
- ห้ามปลูกข้าวพันธุ์ที่อ่อนแอต่ออากาศ หนาวเย็นในช่วงกันยายน-พฤศจิกายน
- หลีกเลี่ยงการปลูกข้าวในเดือนที่ระยะเก็บเกี่ยวตรงกับช่วงฝนตกชุก


5. การเตรียมดิน
- กำจัดข้าวเรื้อก่อนเปลี่ยนพันธุ์ข้าว หรือ เริ่มทำแปลงขยายพันธุ์ครั้งแรก โดย ตากหน้าดินหลังเก็บเกี่ยวข้าวอย่างน้อย 2 สัปดาห์
แล้วใช้โรตารี่ย่ำกลบตอซัง จากนั้นระบายน้ำออกให้หน้าดินแห้ง 2 สัปดาห์ จนข้าวเรื้องอก จึงใช้ขลุบย่ำ กลบข้าวเรื้อ หมักไว้ 1-2
สัปดาห์ ก่อนคราด ทำเทือก ปลูก
- ปรับพื้นนาให้เรียบสม่ำเสมอ ทำร่อง ระบายน้ำทุก 4 เมตร



6. การเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าว
- ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวจากแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้
- สุ่มเมล็ดพันธุ์เพื่อตรวจสอบ ข้าวปน และความงอกก่อนปลูก
- ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวในอัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ สำหรับปลูกแบบหว่านน้ำตม และ 5 กิโลกรัมต่อไร่ สำหรับปลูกแบบปักดำด้วยคน และ
10 กิโลกรัมต่อไร่ สำหรับปักดำด้วยเครื่องปักดำ



7. วิธีการปลูกข้าว
7.1 หว่านน้ำตม เหมาะสำหรับพื้นที่อาศัยน้ำชลประทานที่ขาดแคลนแรงงาน ทำนาหลายครั้งต่อปี ไม่มีการเปลี่ยนพันธุ์ โดยนำเมล็ดพันธุ์
ข้าวแช่ในน้ำสะอาด นาน 1 - 2 ชั่วโมง นำขึ้นหุ้มอีก 36 - 48 ชั่วโมง จนเมล็ดงอกเป็นตุ่มตา ค่อยนำไปหว่านในนาด้วยมือหรือเครื่อง
หว่านเมล็ด

7.2 ปักดำ เหมาะสำหรับพื้นที่อาศัยน้ำฝน หรือมีการเปลี่ยนพันธุ์ข้าว เพื่อป้องกันปัญหาข้าวเรื้อ และกรณีที่มีเมล็ดพันธุ์จำกัด แต่ต้อง
การขยายปริมาณมาก

7.2.1 การตกกล้าในนาและปักดำด้วยคน ต้องกำจัดข้าวเรื้อในแปลงที่จะใช้ตกกล้า นำเมล็ดพันธุ์ข้าวแช่และหุ้มเช่นเดียวกับวิธี
หว่านน้ำตม จนเมล็ดงอกเป็นตุ่มตาจึงนำเมล็ดไปหว่านในนา รอจนกล้าอายุ 20- 30 วัน ค่อยถอนกล้าแล้วนำไปปักดำในนา
ที่มีระดับน้ำไม่เกิน 10 เซนติเมตร

7.2.2 การตกกล้าและปักดำด้วยรถดำนา ต้องร่อนทำความสะอาดวัสดุเพาะกล้าก่อนนำมาใช้ เพื่อป้องกันเมล็ดข้าวที่ติดมากับ
วัสดุเพาะ (ขี้เถ้าแกลบ) นำเมล็ดพันธุ์ข้าวแช่และหุ้มเช่นเดียวกับวิธีหว่านน้ำตม แต่ลดระยะเวลาหุ้มลงเหลือ 24 ชั่วโมง จึงนำเมล็ด
ข้าวงอกไปโรยในกะบะอัตรา 200-250 กรัม (ข้าวแห้ง) ต่อถาด แล้วหุ้มเมล็ดต่ออีก 24 ชั่วโมง ค่อยนำกะบะไปเรียงในนาหรือ
ลานเพาะกล้า คลุมกะบะด้วยซาแรนต่ออีก 3 วันจึงเปิดซาแรนออก พอกล้าอายุได้ 15 – 22 วัน ค่อยนำกล้าออกจากถาดไปปัก
ดำในนาที่ระบายน้ำออกหมด








8. การควบคุมหอยเชอรี่
- ปล่อยเป็ดกินช่วงเตรียมแปลง และใช้ตาข่ายดักจับขณะสูบน้ำเข้านา
- ใช้สารกำจัดหอยเชอรี่ขณะหมักเทือกก่อนหว่านข้าว 1-2 วัน
* นิโคซามาย 50 กรัมต่อไร่
* เมทัลดีไฮด์ 150 กรัมต่อไร่
* สมุนไพรกำจัดหอยเชอรี่ 3 กิโลกรัมต่อไร่
- ระดับน้ำในนาขณะใช้สารไม่เกิน 5 เซนติเมตร


9. การควบคุมวัชพืช
- ใช้สารเคมีควบคุมวัชพืชให้ถูกต้อง
* ถูกกับชนิดของวัชพืช (ใบแคบ ใบกว้าง กก )
* ถูกกับเวลาที่ใช้แล้วได้ผลดี (โดยนับจาก วันหว่านข้าว)
* ถูกอัตราที่สารนั้นกำหนด
- เปิดน้ำเข้านาหลังพ่นสารเคมี 3 วัน
- รักษาระดับน้ำ 5 - 10 เซนติเมตร หลังกำจัดวัชพืช เพื่อป้องกันวัชพืชงอกอีกครั้ง


10. การจัดการน้ำในนาข้าว
- รักษาระดับน้ำให้เหมาะสมกับอายุข้าว
* ระยะกล้า 5 เซนติเมตร.
* ระยะแตกกอ 5 - 10 เซนติเมตร
* ระยะตั้งท้อง-ออกดอก 10 เซนติเมตร
- ระบายน้ำก่อนเก็บเกี่ยว
* นาดินเหนียว 10 - 14 วัน
* นาดินทราย 7 วัน

11. การใส่ปุ๋ยในนาข้าว
- กำจัดวัชพืชก่อนใส่ปุ๋ย
- ระดับน้ำขณะใส่ปุ๋ย 5 - 10 เซนติเมตร.
- ใส่ปุ๋ยให้เหมาะกับชนิดของดิน ชนิดและระยะการเจริญเติบโตข้าว


ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง(ต้นเตี้ย)
1. ดินเหนียว แบ่งใส่ 2 ครั้ง
- ครั้งแรก ปุ๋ยสูตร16-20-0 หรือ 18-22-0 หรือ 20-20-0 อัตรา 25 - 35 กิโลกรัม/ไร่
- ครั้งสอง ปุ๋ยยูเรีย อัตรา 10 - 15 กิโลกรัมต่อไร่่ หรือ แอมโมเนียมซัลเฟต อัตรา 20 - 30 กิโลกรัมต่อไร่
2. ดินร่วน และดินทราย แบ่งใส่ 2 ครั้ง
- ครั้งแรก ปุ๋ยสูตร16-16-8 หรือ 15-15-15 อัตรา 25 - 35 กิโลกรัม/ไร่
- ครั้งสอง ปุ๋ยยูเรีย อัตรา 10 - 15 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ แอมโมเนียมซัลเฟต อัตรา 20 - 30 กิโลกรัมต่อไร่่


ข้าวไวต่อช่วงแสง(ต้นสูง)
1. ดินเหนียว แบ่งใส่ 2 ครั้ง
- ครั้งแรก ปุ๋ยสูตร16-20-0 หรือ 18-22-0 หรือ 20-20-0 อัตรา 20 - 25 กิโลกรัมต่อไร่
- ครั้งสอง ปุ๋ยยูเรีย อัตรา 5 - 10 กิโลกรัมต่อไร่่ หรือ แอมโมเนียมซัลเฟต อัตรา 10 - 20 กิโลกรัมต่อไร่
2. ดินร่วน และดินทราย แบ่งใส่ 2 ครั้ง
- ครั้งแรก ปุ๋ยสูตร16-16-8 หรือ 15-15-15 อัตรา 20 - 25 กิโลกรัมต่อไร่
- ครั้งสอง ปุ๋ยยูเรีย อัตรา 5 - 10 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ แอมโมเนียมซัลเฟต อัตรา 10 - 20 กิโลกรัมต่อไร่

12. การกำจัดข้าวปน
- ระยะแตกกอ
- ระยะออกดอก
- ระยะโน้มรวง
- ระยะพลับพลึง


13. การป้องกันกำจัดศัตรูข้าว
- โรคข้าว
- แมลงศัตรูข้าว
- สัตว์ศัตรูข้าว

14. การเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ข้าว
- ระบายน้ำก่อนเก็บเกี่ยวอย่างน้อย 7 - 10 วัน
- เก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ระยะสุกแก่พอดี ประมาณ 30 วันหลังข้าวออกดอก 80 %
- ทำความสะอาดรถเกี่ยวนวดก่อนเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์
- เกี่ยวข้าวขอบแปลงแยกออกเพื่อทำความสะอาดรถเกี่ยวนวดอีกครั้งก่อนเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์
- ทำความสะอาดภาชนะบรรจุ และรถบรรทุกก่อนเก็บเกี่ยว และชักลากเมล็ดพันธุ์



http://www.brrd.in.th/rkb/seed/index.php-file=content.php&id=13.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 10/06/2012 9:56 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,618. ข้าวเรื้อ"หลงแปลง




เตือนระวัง"ข้าวเรื้อ"หลงแปลง กรมข้าวแนะ3วิธีป้องกัน"ข้าวหอมมะลิ"ปลอมปน



นายชัย ฤทธิ์ ดำรงเกียรติ รองอธิบดีกรมการข้าว เปิดเผยว่า ปัจจุบันนี้ เกษตรกรบางพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นพื้นที่
ปลูกข้าวขาวดอก มะลิ 105 กำลังประสบปัญหา "ข้าวเรื้อ" เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา มีน้ำชลประทานอย่างเพียงพอทำให้เกษตรกร
ทำนาปรังในฤดูแล้งเพิ่มมากขึ้น โดยการปลูกข้าวนาปรัง ซึ่งเกษตรกรจะปลูกข้าวที่ไม่ไวต่อช่วงแสงเช่น พันธุ์ชัยนาท 1 ปทุมธานี 1
กข. 10 สันป่าตอง1 ซึ่งสามารถเก็บเกี่ยวได้เมื่อปลูกครบระยะเวลา ประกอบกับเทคโนโลยีการเก็บเกี่ยวที่ใช้ รถเกี่ยวนวดจาก
แหล่งอื่นโดยไม่ได้ทำความสะอาดรถเป็นอย่างดีทำให้เกิดปัญหา เมล็ดข้าวติดมากับรถและตกค้างในแปลงนาและยังไม่งอก เนื่อง
จากอยู่ในระยะพักตัว และข้าวเรื้อนี้จะงอกหลังจากปักดำข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในฤดูการการทำนาปีต่อมา






รองอธิบดีกรมการข้าว กล่าวต่อไปว่า เพื่อเป็นการบรรเทาปัญหาพันธุ์ข้าวอื่นปนในแปลงนาที่เคยทำนาปรังมาก่อน กรมการข้าว
ขอแนะนำเกษตรกรให้ปฏิบัติ ดังนี้

1) แปลงตกกล้าข้าวขาวดอกมะลิ 105 จะต้องเป็นพื้นที่ที่ไม่ได้มีการปลูกข้าวพันธุ์อื่นมาก่อน หรือเตรียมพื้นที่ไว้เฉพาะสำหรับ
ตกกล้าที่ไม่เป็นพื้นที่ที่เคยทำนาปรัง

2) ในพื้นที่ที่มีการทำนาปรัง การปลูกข้าวหอมมะลิต้องใช้วิธีการปักดำเท่านั้น อย่าปลูกโดยวิธีการหว่านเป็นอันขาดเพราะข้าว
เรื้อจะขึ้นมาได้ง่าย และ

3) การเตรียมดินในแปลงที่ทำนาปรังมาก่อนต้องมีการล่อข้าวเรื้อให้งอกขึ้นมาก่อน แล้วไถกลบเพื่อเป็นการกำจัดข้าวเรื้อดัง
กล่าวตั้งแต่เริ่มต้น

ขอบคุณเนื้อหาข่าว naewna.co.th




http://www.infoforthai.com/forum/topic/1791
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 10/06/2012 11:33 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,619. ข้าวพันธุ์พื้นเมือง





อาหารหลักของไทยที่กลายเป็นวัฒนธรรม แต่กลับถูกลืมเลือนในช่วงหลายสิบปี โชคดีที่วันนี้ ข้าวพื้นเมือง ถูกใส่ใจศึกษา
เพื่อพบว่าคุณค่าสูงส่ง

วัฒนธรรมข้าวของไทย ก่อตัวมาพร้อม 'ข้าวพื้นเมือง' หลากสายพันธุ์ แต่เมื่อข้าวพัฒนาตัวเป็นผลิตผลการเกษตรที่สำคัญ
ของชาติ ไม่ใช่แค่ผู้บริโภคที่เริ่มลืมเลือนชื่ออย่าง สังข์หยด, เหลืองเลาขวัญ, กันตัง, กอเตี้ย, หอมหมาตื่น ฯลฯ เพราะ
แม้แต่ชาวนายุคนี้เองก็เหมือนจะรู้จักข้าวแค่พันธุ์ กข ไปจนถึงไม่รู้เลยว่าข้าวที่ปลูกอยู่มีชื่อพันธุ์ว่าอะไร





ข้าวพื้นเมือง เรื่องของสุขภาพ
ข้าวเป็นอาหารหลักไม่เฉพาะของไทย แต่รวมไปถึงอีกหลายประเทศในโลก นักวิจัยจึงมีแนวคิดที่จะปรับปรุงเมล็ดข้าวให้ทำหน้าที่
เหมือน 'เม็ดยา' ที่กินง่าย รสดี แถมมีสรรพคุณป้องกันโรคได้ด้วย และเมื่อไม่อยากใช้เทคนิคตัดต่อพันธุกรรม หรือ GMOs ที่มี
กระแสต่อต้านทั่วโลก อีกทางเลือกที่เป็นไปได้คือการมองหาพันธุ์ข้าวที่มีศักยภาพ เพื่อหวังจะพัฒนาให้ได้คุณสมบัติตามต้องการ
ต่อไปในอนาคต

ผศ.ดร.รัชนี คงคาฉุยฉาย จากสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ทำวิจัยเพื่อตรวจสอบสารอาหารในข้าวสายพันธุ์พื้นเมือง
ไม่ใช่แค่ประโยชน์สำหรับนักปรับปรุงพันธุ์พืช แต่ประชาชนทั่วไปก็จะได้ทราบข้อมูลเพื่อการบริโภค และที่เลือกข้าวพื้นเมืองก็เนื่อง
จากข้าวขาวมีปริมาณสารอาหารเหลืออยู่น้อยมากถึงขั้นไม่มีเลย แต่ข้าวกล้องพื้นเมืองกลับเป็นแหล่งของสารอาหารหลากชนิด
ไม่ว่าจะเป็นธาตุเหล็ก สังกะสี ทองแดง วิตามินอี และเบต้าแคโรทีน

จากการวิจัยครั้งนี้ ดร.รัชนี พบว่าข้าวแต่ละสายพันธุ์มีคุณค่าทางโภชนาการที่แตกต่างกัน ขึ้นกับสิ่งแวดล้อม อากาศ ปุ๋ย ดิน น้ำ
รวมทั้งพันธุกรรมของข้าวชนิดนั้นๆ อาทิ ข้าวพื้นเมืองที่ปลูกทางภาคใต้ เช่น จังหวัดพัทลุง จะมีปริมาณธาตุเหล็กและสังกะสีสูงกว่า
ที่ปลูกในจังหวัดอื่น (ข้าวปทุมธานีหนึ่ง ที่ปลูกในจังหวัดพัทลุงมีธาตุเหล็ก 36 มิลลิกรัม/ 1 กิโลกรัมข้าวดิบ สูงกว่าข้าวพันธุ์
เดียวกันซึ่งปลูกที่อื่น ที่มีธาตุเหล็กอยู่เพียง 25-27 มิลลิกรัม/ 1 กิโลกรัมข้าวดิบ)

ขณะที่ 'เบต้าแคโรทีน' ซึ่งทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และช่วยชะลอความเสื่อมของตาเนื่องจากวัย รวมทั้งลดความเสี่ยง
เกิดต้อกระจก ผลวิจัยพบว่าข้าวกล้องอีก่ำจากอุบลราชธานีและข้าวเหนียวดำจากพัทลุง มีปริมาณเบต้าแคโรทีนสูงที่สุด คือ 30.04
และ 34.76 ไมโครกรัม/ 100 กรัมนอกจากนี้ ยังพบด้วยว่าข้าวที่มีสีเข้มเป็นแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระ อาทิ วิตามินอี เบต้า
แคโรทีน และสารแคโรทีนอยด์ (ลูทีน) อีกด้วย



'ข้าวจีไอ' ของดี ตีทะเบียน
หน่วยงานภาครัฐมีความตื่นตัวเรื่องข้าวพันธุ์พื้นเมืองด้วยเช่นกัน โดยมีการส่งเสริมการนำข้าวพันธุ์พื้นเมืองจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้
ทางภูมิศาสตร์กับกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ หรือที่เรียกว่า จีไอ (GI - Geographical Indications) เพื่อที่
'ชุมชน' ซึ่งเป็นแหล่งผลิตวัตถุดิบเฉพาะพื้นที่ได้รับประโยชน์ในการผลิตสินค้าท้องถิ่น ทำให้สามารถสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณลักษณะ
พิเศษ ที่ผู้ผลิตถิ่นอื่นไม่สามารถผลิตสินค้าในชื่อเดียวกันมาแข่งขันได้

ล่าสุด ข้อมูลถึงเดือนพฤษภาคม ปีนี้ พบว่ามี 'ข้าวจีไอ' หลายสายพันธุ์ อาทิ ข้าวหอมมะลิสุรินทร์, สังข์หยดเมืองพัทลุง, ข้าว
หอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้, ข้าวฮางหอมทองสกลทวาปี นอกจากนี้ ยังมีข้าวที่อยู่ระหว่างดำเนินการจดทะเบียนจีไออีก 5 รายการ
ได้แก่ ข้าวเจ๊กเชยเสาไห้, ข้าวเหนียวเขาวงกาฬสินธุ์, ข้าวหอมมะลิบุรีรัมย์, ข้าวเหลืองปะทิวชุมพร และข้าวก่ำล้านนา






คุณสมบัติพิเศษของข้าวจีไอเหล่านี้ เช่น 'ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง' เป็นข้าวที่ปลูกในจังหวัดพัทลุงกันมากว่า 100 ปี เป็นข้าวที่มีความ
นุ่ม น่ากิน สีของเมล็ดข้าวกล้องเป็นสีแดง ถ้าขัดสีจนเป็นข้าวสารจะมีสีชมพูและขาว ปัจจุบันเป็นที่นิยมในหมู่ผู้บริโภครักสุขภาพ เพราะ
ในข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุงซ้อมมือ 100 กรัม มีธาตุเหล็ก 0.52 มิลลิกรัม, ฟอสฟอรัส 165 มิลลิกรัม, วิตามินบี 1 0.18 มิล
ลิกรัม และไนอาซิน 3.97 มิลลิกรัม

ส่วน 'ข้าวเหลืองปะทิวชุมพร' เป็นพันธุ์ข้าวเก่าแก่ของอำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร ปัจจุบันมีเกษตรกรปลูก 30 ราย ครอบคลุมที่นา
500 ไร่ เป็นข้าวที่หุงสุกจะแข็ง-ร่วน ขึ้นหม้อ เหมาะกับการทำข้าวราดแกง และเป็นวัตถุดิบสำหรับทำขนมจีน มีสารอาหารไนอะซีน
(วิตามินบี 3) สูงถึง 9.32%


ที่มา : ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าวฯและหน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว

http://dna.kps.ku.ac.th/index.php/ข่าว-ข้าว/ข้าวพันธุ์พื้นเมือง-ของดีที่-เกือบ-ถูกลืม.html







แรงบันดาลใจ : โฆษณาชิ้นเล็กๆไม่ปรากฏชื่อบริษัทฯที่อ่านพบโดยบังเอิญจากท่อนกลางๆของหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง...



*ข้าวเปลือกหอมมะลิ 105 เกวียนละ 30,000 บาท*
ทำข้าวหอมมะลิ 105 ให้มีราคาตันละ 60,000 บาท (เกวียน) ทางบริษัทฯขอเสนอตัวต่อทางราชการทั้งกระทรวงเกษตรและกระทรวง
พาณิชย์ว่า บริษัทฯได้ปลูกข้าวหอมมะลิ 105 ไว้ที่อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา 20 ไร่ ขอให้ผู้ใหญ่ทั้ง 2 กระทรวง หรือนักเรียนที่ต้อง
การดมพิสูจน์ความหอมของข้าว ลองสละเวลาไปพิสูจน์จะรู้สึกว่าข้าวพันธุ์นี้ของเราควรมีราคาขายกิโลกรัมละ 60 บาท เพราะมันทั้ง
หอมและอร่อยมาก ถ้าจะเทียบกับข้าวพันธุ์ปาสบาตีของปากีสถาน ซึ่งเราทราบว่าราคาเขาสูงถึงกิโลกรัมละ 100 บาทขึ้นไป ที่เรา
ขายได้ราคาต่ำเนื่องจากพ่อค้าได้ปนข้าวนาปรังลงไปมากเกินไป จึงทำให้ข้าวหอมมะลิ 105 ด้อยคุณค่าและราคา บริษัทฯขอเสนอ
ให้ทำอย่าง 100% จะสามารถขายได้ราคาตันละ 60,000 บาท ซึ่งจะทำให้ข้าวเปลือกหอมมะลิ 105 ขายได้เกวียนละ 30,000
บาท ขอให้พิจารณาดูว่าจะทำได้หรือไม่ ถ้าไม่เชื่อขอให้ไปดมพิสูจน์ความหอมได้จากนาของบริษัทฯ

สนใจโทร xxx-xxx-xxxx หรือ xx-xxx-xxxx-x



http://mblog.manager.co.th/septimus/th-104543/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 10/06/2012 11:49 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,620. บังคับลิ้นจี่ให้ออกผลที่โคนต้น





จังหวัดเชียงรายเป็นแหล่งปลูกลิ้นจี่ที่สำคัญ มีพื้นที่ปลูกลิ้นจี่ประมาณ 20,000 ไร่ หรือประมาณร้อยละ 21-23 ของพื้นที่ปลูก
ทั้งประเทศ ในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา การขายตลาดลิ้นจี่ของเราดีมากทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

เมื่อพูดถึงลิ้นจี่เมืองเชียงรายแล้ว ขอเล่าถึงชาวสวนลิ้นจี่รายหนึ่ง ซึ่งส่งลิ้นจี่เข้าประกวดในงานวันลิ้นจี่ที่จังหวัดเชียงรายแล้ว
ได้รางวัลมาครองเกือบทุกปี บางปีได้รางวัลที่ 1 พันธุ์จักรพรรดิ บางปีได้ฮงฮวย ท่านผู้นั้นคือ ผู้ใหญ่มนัส เกียรติวัฒน์ หรือพ่อ
หลวงมนัสของชาวบ้านเวียงพังคำ พ่อหลวงมนัสอายุได้ 73 ปีแล้ว แต่ยังแข็งแรงและมีประสบการณ์มากมายในการปลูกลิ้นจี่
เพราะปลูกมานานถึง 17 ปี

ผู้ใหญ่มนัสมีสวนอยู่เชิงเขา ริมถนนแม่สาย-ดอนตุง ห่างจากถนนพหลโยธินเข้าไป 1,500 เมตร บริเวณสวนเป็นเนินเตี้ย ๆ ดินมี
ความอุดมสมบูรณ์สูง มีการระบายน้ำค่อนข้างดีในพื้นที่ 60 ไร่ ปลูกลิ้นจี่พันธุ์ฮงฮวย จำนวน 180 ตัน อายุ 17 ปี พันธุ์จักร
พรรดิ 150 ต้น อายุ 9 ปี สภาพต้นสมบูรณ์แข็งแรงแสดงว่ามีการดูแลรักษาเป็นอย่างดี สวนแห่งนี้ใช้ระบบให้น้ำโดยติดตั้งหัว
น้ำเหวี่ยงแบบของลุงดำ น้ำหยด โดยให้น้ำครั้งละ 1 ชั่วโมง หรือประมาณ 400 ลิตรต่อตัน ให้ 3 วันต่อครั้ง ที่นี่ไม่มีปัญหาเรื่องน้ำ
เพราะมีแหล่งน้ำธรรมชาติอยู่ใกล้ ๆ

ผมอยากจะชวนท่านผู้อ่านมาชมสวนแห่งนี้ ก็เนื่องจากผู้ใหญ่มนัสมีเทคนิคพิเศษในการจัดการให้ลิ้นจี่ออกผลที่โคนต้น ข้อสำคัญ
ผลที่ได้มีคุณภาพดี จนได้รับรางวัลอยู่เสมอมา

เทคนิคสำคัญของสวนนี้คือการตัดแต่งกิ่งซึ่งต่างจากที่อื่น การควั่นกิ่ง และการให้ปุ๋ย ช่วงที่ผมเดินทางไปนั้น ทางสวนกำลังเก็บ
ผลพอดี และบางสวนกำลังตัดแต่งกิ่ง

เข้าไปในสวนจะเห็นลิ้นจี่พันธุ์จักรพรรดิผลโตสีแดงมีทั้งชายพุ่ม และเมื่อแหวกเข้าไปในทรงพุ่มก็จะเห็นผลลิ้นจี่ผลโต ๆ ห้อย
เป็นพวงจากโคนต้น บางพวงห้อยย้อยเกือบถึงพื้นดิน เป็นที่น่าสังเกตว่าผลลิ้นจี่ที่เกิดจากกิ่งใหญ่ ๆ โคนต้นจะให้ผลโตกว่าผลที่
อยู่ปลายกิ่งชายพุ่ม นักเลงมะม่วงที่เคยใช้วิธีเสียบข้างด้วยมะม่วงต่างพันธุ์ที่โคนกิ่งในทรงพุ่มคงจะเห็นพ้องกับผมว่ามะม่วงก็
เป็นเหมือนกัน

เราได้เห็นวิธีการตัดแต่งกิ่ง ซึ่งตัดกิ่งออกมากประมาณ 80℅ กิ่งที่ตัดออกคือกิ่งที่อ่อนแอ กิ่งที่ทับซ้อนกัน บังแสงซึ่งกันและกัน
กิ่งกระโดง การตัดใช้เลื่อยคันธนู และกรรไกรตัดกิ่งไม้คม ๆ ถึงตอนนี้ผมอยากจะฝากนิดหนึ่งว่า เวลาเลือกกิ่งที่จะตัดทิ้งต้องดู
ให้รอบคอบก่อนตัด และขอให้ยึดหลักกิ่งกำไรและกิ่งขาดทุนไว้ให้มั่น กิ่งกำไรคือกิ่งที่มีใบปรุงอาหารมาเลี้ยงลำต้นมากกว่านำ
อาหารไปใช้ เราเลือกกิ่งที่ทำกำไรมาก ๆ เอาไว้ก่อน ส่วนกิ่งที่ขาดทุนคือกิ่งที่มีใบน้อยหรือใบไม่สมบูรณ์ได้แสงแดดน้อย กิ่ง
เหล่านี้ใบจะส่งอาหารมายังลำต้นน้อย บางครั้งน้อยมากกว่าที่นำเอาไปใช้เสียอีก ดังนั้นเราจึงต้องตัดกิ่งขาดทุนและกิ่งที่ให้กำไร
น้อยทิ้งไป ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งคือต้องเปิดกลางทรงพุ่มเพื่อให้แสงแดดส่องถึงโคนต้น ตรงจุดนี้ก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน

การตัดแต่งกิ่งต้องทำทันทีเมื่อเก็บผลเสร็จ ห้ามรีรอเด็ดขาด แม้ว่าลิ้นจี่บางพันธุ์เป็นพันธุ์จักรพรรดิ ซึ่งเป็นพันธุ์หนักยังไม่ได้เก็บ
ผล แต่เมื่อเก็บผลลิ้นจี่พันธุ์ฮงฮวนไปแล้วก็ต้องตัดแต่งกิ่งพันธุ์ฮงฮวยก่อน ต้องระดมคนงานมาทำ เรียกว่าต้องเก็บไปตัดแต่ง
กิ่งตามไปเลยทีเดียว

เมื่อตัดแต่งกิ่งเสร็จแล้วให้รีบใส่ปุ๋ยเพื่อเร่งให้แตกใบอ่อน ปุ๋ยที่ใช้สูตร 15-15-15 หรือหากต้องการเร่งใบให้แตกมาก ๆ จะใช้ปุ๋ย
สูตร 16-20-0 ก็ได้ โดยให้ต้นละ 4 กิโลกรัม พร้อมทั้งให้น้ำเต็มที่เพื่อเร่งให้แตกใบใหม่พร้อมกันทั้งต้น

พอถึงต้นเดือนตุลาคม ต้องควั่นกิ่งลิ้นจี่โดยใช้เลื่อยเล็ก ๆ ที่มีฟันตื้น ๆ คลองเลื่อยกว้าง 1.5 มม. เลื่อยรอบโคนกิ่งขนาดใหญ่เส้น
ผ่าศูนย์กลาง 2-4 นิ้ว สมมุติว่าต้นหนึ่งมี 3 กิ่ง ให้ควั่นกิ่ง 2 กิ่ง เหลือไว้ 1 กิ่ง พอถึงปีต่อไปเลื่อนไปควั่นกิ่งที่ยังไม่ได้ควั่นทำเช่น
นี้ทุกปี สังเกตดูกิ่งลิ้นจี่สวนนี้มีรอยควั่นเป็นแนว ๆ ซ้อนกันหลายแนว

วิธีควั่นกิ่งนั้น เลื่อยเฉพาะเปลือกลึกถึงเยื่อเจริญอย่าให้เข้าไปในเนื้อไม้ จากนั้นใช้ลวดขนาด 1.5 มม. พันฝังลงในรอยควั่นแล้วรัด
เพื่อไม่ให้เนื้อเยื่อติดกันเร็วเกินไป เมื่อครบ 45 วันจึงเอาลวดที่มัดไว้ออก การควั่นกิ่งแล้วรัดลวดไว้เพื่อช่วยให้กิ่งลิ้นจี่มีการสะสม
อาหารมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้มีการออกดอกในกิ่งที่ควั่นมากขึ้น

ในช่วงเดือนตุลาคมต้องให้ปุ๋ยทางใบ ใช้สูตร 0-52-34 สลับกับ 10-52-17 เพื่อให้ลิ้นจี่มีการพัฒนาตาดอกดีขึ้น มีการสะสม
อาหารมากขึ้นโดยพ่นทุก 7 วัน จนกระทั่งลิ้นจี่เริ่มออกดอก ในช่วงก่อนออกดอกต้องงดน้ำ ต่อเมื่อแทงช่อดอกแล้วจึงให้น้ำและ
เมื่อลิ้นจี่มีผลโตประมาณ 1 เซนติเมตร จึงใส่ปุ๋ยทางดินสูตรที่มีโปแตสสูงเช่น 13-13-21 จำนวน 5 กิโลกรัมต่อต้น ปุ๋ยสูตรนี้จะ
ช่วยให้ลิ้นจี่มีคุณภาพดี รสหวานเพิ่มขึ้น

ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งในการดูแลลิ้นจี่ในสวนนี้คือ ผู้ใหญ่มนัสจะปล่อยให้หญ้าประเภทรากตื้นขึ้นอยู่ทั่วไปในบริเวณสวน รวม
ทั้งใต้ต้นลิ้นจี่ด้วย การควบคุมหญ้าทำโดยใช้เครื่องตัดหญ้าคอยตัดให้เตียนอยู่เสมอ ส่วนเศษหญ้าใช้คลุมดินเป็นการเพิ่มอิน
ทรียวัตถุให้แก่ดินไปในตัว

การให้น้ำอย่างสม่ำเสมอร่วมกับการดูแลดังที่ได้กล่าวมา ทำให้ลิ้นจี่จากสวนนี้ไม่ค่อยมีอาการของโรคเปลือกของผลแห้งซีกเดียว

สำหรับลิ้นจี่พันธุ์จักรพรรดิที่ดกมาก ๆ ควรปลิดผลออกบ้างเหลือไว้เพียงช่อละ 3-4 ผลก็พอ ทั้งนี้เพราะลิ้นจี่พันธุ์จักรพรรดิผลโต
ขายได้ราคาต่างกับผลเล็กมาก สรุปได้ว่าขายผลโต แม้ว่าจำนวนจะน้อยกว่าแต่ได้เงินมากกว่า

ผมไปชมสวนของผู้ใหญ่มนัส เกียรติวัฒน์ เมื่อเดือนมิถุนายน 2537 และได้ชวนให้ญาติซึ่งปลูกลิ้นจี่ ที่เชียงรายทดลองตัดแต่งกิ่ง
ออกมาตามวิธีดังกล่าว ผลปรากฎว่าลิ้นจี่ที่ถูกตัดแต่งกิ่งอย่างหนักแตกใบอ่อนมาก และไม่ให้ผลในปี 2538 เมื่อสอบถามดูจึงทราบ
ว่าไม่ได้ให้ปุ๋ยทางใบ ที่มีฟอสเฟตและโปแตสสูง ๆ ในช่วงก่อนออกดอก รวมทั้งไม่มีการควั่นกิ่ง ผมเชื่อว่าน่าจะเป็นสองสาเหตุสำคัญ
ที่ทำให้ลิ้นจี่ในสวนญาติผมไม่ออกดอก

ในเรื่องการตัดแต่งอย่างหนัก ปัจจุบันใช้กับพืชหลายชนิด ที่เห็นได้ชัดคือมะม่วง แต่เดิมเราไม่กล้าตัดแต่งกิ่งมะม่งออกมาก เพราะถ้า
ตัดออกมากมะม่วงมักจะแตกกิ่งอ่อนออกมามาก จนไม่ค่อยได้ดอก-ผล ซึ่งจะเห็นตัวอย่างชัด ๆ ก็คือ พวกที่ทาบกิ่งมะม่วงขาย ต้น
มะม่วงของเขาจะได้กิ่งงาม สวย แต่ไม่ค่อยได้ผลต่อมาเมื่อมีการใช้สารชะลอการเจริญเติบโตพืชแพคโคลบิวทราโซล (ชื่อการค้า
คัลทาร์ พรีดิคท์ และอีกหลายยี่ห้อ) มาใช้เพื่อเร่งให้ออกนอกฤดูและส่งเสริมการติดผลในฤดูนั้น ชาวสวนมะม่วงจำเป็นต้องพ่นด้วยปุ๋ย
ทางใบสูตรฟอสเฟตและโปแตสสูง ๆ เช่น 0-52-34 ในระยะใบเพสลาดจนถึงก่อนมะม่วงแทงช่อดอกเป็นจำนวน 3-4 ครั้งเป็นต้น
เมื่อมีการราดสารแพคโคลบิวทราโซลและพ่นปุ๋ยทางใบดังกล่าวมา การตัดแต่งกิ่งมะม่วงแบบตัดมากกลับเป็นสิ่งดี มีผลทำให้มะม่วง
ออกดอกติดผลดีและมีคุณภาพสูงขึ้น จนเป็นที่ยอมรับในหมู่ของชาวสวนมะม่วงทั่วไป

จากการติดตามผลการออกดอกติดผลของลิ้นจี่ในสวนที่มีการดูแลรักษาอย่างดี จะต้องประกอบกันทั้งการตัดแต่งกิ่ง การควั่นกิ่ง
และการให้ปุ๋ยที่เหมาะสม จะส่งผลให้ลิ้นจี่ออกดอกติดผลดี และมีคุณภาพดี วิธีการที่ผมนำมาเรียนให้ทราบนี้ เมื่อนำไปใช้ในสถาน
ที่ต่างกันผลย่อมไม่เหมือนกัน จะต้องปรับใช้ให้เหมาะสมในพื้นที่ที่มีความหนาวเย็นน้อย การตัดแต่งกิ่งมากเกินไปอาจไม่ได้ผล พื้น
ที่บางแห่งน้ำในดินมีอยู่สูง หรือต้นลิ้นจี่ปลูกอยู่ที่บนสันเขื่อนมีน้ำขังอยู่ตลอดเวลา ลิ้นจี่จะไม่ค่อยให้ผลแต่จะเจริญด้านกิ่งใบมาก
กว่า สภาพของดินที่ปลูกก็มีอิทธิพลต่อการออกดอกมาก ดินเหนียวในสวนยกร่องระบบรากลิ้นจี่จะอยู่ตื้น เมื่อมีการลดระดับน้ำใน
ท้องร่องลงก็จะส่งผลให้เกิดการขาดน้ำในต้นลิ้นจี่ได้ง่าย ซึ่งจะส่งผลให้มีการส่งเสริมการออกดอกดีขึ้น ข้อมูลเหล่านี้เมื่อนำมา
พิจารณาปรับใช้ในสวนของท่าน ก็จะก่อให้เกิดผลดีต่อไป

เรื่อง “ประทีป กุณาศล”



http://www.thaikasetsart.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 5:45 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 10/06/2012 1:37 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,621. ทางเลือกใหม่....ข้าวไฮบริด


นับตั้งแต่เกิดวิกฤติข้าวราคาแพงไปทั่วโลก จนทำให้หลายประเทศเสี่ยงต่อภาวะอดตายเพราะไม่มีข้าวกินและอีกหลายประเทศต้อง
หันไปกินมันแทนข้าว ทำให้หลายหน่วยงานทั้งในระดับโลกและระดับประเทศ ต่างหันมาร่วมมือกันหาแนวทางแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นทั้ง
ในระยะยาวและอย่างยั่งยืน

ในขณะเดียวกันราคาข้าวที่พุ่งสูง ซึ่งได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันแพง ปุ๋ยแพง ภาวะโลกร้อน ภัยธรรมชาติที่มีส่วนทำให้ผลผลิต
ข้าวลดลง ล้วนเป็นปัจจัยที่มีแนวโน้มทำให้โครงสร้างการเพาะปลูกข้าว เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน เช่น การวางแผนเพาะ
ปลูกเพื่อให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น รวมไปถึงเทคโนโลยีในการพัฒนาพันธุ์ข้าวใหม่ๆออกมา หนึ่งในนี้คือ ข้าวไฮบริด

ประเทศที่บุกเบิกการพัฒนาข้าวไฮบริดคือ จีน พัฒนาจากข้าว 3 สายพันธุ์ที่ต่างกัน เมื่อนำมาเพาะปลูกแบบเกษตรสมัยใหม่หรือ
เทคโนโลยีที่เหมาะสม ที่รวมถึงการจัดการแมลงและศัตรูพืชแล้ว นอกจากจะเติบโตเร็วแล้วยังให้ผลผลิตที่สูงขึ้นถึง 20% จึงน่า
จะนำไปแก้ปัญหาวิกฤติข้าวได้ เพียงแต่มีข้อเสียตรงที่เกษตรกรต้องซื้อพันธุ์ข้าวใหม่มาปลูกทุกปี ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น เนื่องจาก
เมล็ดพันธุ์ข้าวไฮบริดที่ปลูกไว้ก่อนนั้นไม่สามารถนำมาใช้เป็นเมล็ดพันธุ์ได้เพราะมีความไม่แน่นอนสูง

ปัจจุบันมีเกษตรกรจีนกว่าครึ่งประเทศหันมาเพาะปลูกข้าวไฮบริดกันแล้ว เนื่องจากให้ผลผลิตสูงขึ้น หรือ 7 ตัน ต่อ 1 เฮกตาร์
(6.25ไร่) โดยในเอเชีย ประเทศที่ใช้เทคโนโลยีปลูกข้าวไฮบริด คือ จีน อินเดีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย สำหรับไทยยังคง
ใช้พันธุ์ข้าวหลากหลายซึ่งเทียบผลผลิตแล้วยังต่ำแต่เนื่องจากไทยมีที่เพาะปลูกข้าวมาก จึงมีมากพอสำหรับการส่งออก ขณะที่
ฟิลิปปินส์ซึ่งมีปัญหาข้าวไม่พอบริโภค มีพื้นที่ปลูกข้าวที่ใช้เทคโนโลยีข้าวไฮบริดไม่ถึง 10% ล่าสุดรัฐบาลออกมาตรการอุดหนุน
และส่งเสริมให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนมาปลูกข้าว ไฮบริด โดยเลียนแบบโมเดลการปลูกข้าวเศรษฐกิจพอเพียงของจีน มากขึ้น

นอกจากข้าวไฮบริดแล้ว จีนยังพัฒนาข้าวดัดแปลงพันธุกรรม (Genetically Modified Rice) หรือข้าว จีเอ็ม โดยเริ่มทำวิจัย
การปลูกข้าว จีเอ็มโอ มาตั้งแต่ยุค 1980 จากผลการทดลองปลูกเกษตรกรสามารถลดการใช้ยาฆ่าแมลงได้ถึง 80% และได้ผลผลิต
เพิ่มขึ้น 9% เมื่อเทียบกับการปลูกข้าวแบบเดิม เพียงแต่จีนยังไม่ได้กำหนดว่าจะให้มีการนำข้าว จีเอ็ม มาใช้บริโภคเมื่อไหร่ แต่จากผล
การทดลองเชื่อว่าน่าจะสามารถนำมาจำหน่ายในตลาดโลกได้

อย่างไรก็ตามข้าว จีเอ็ม ยังไม่มีหน่วยงานใดๆในโลกรับรองว่าสามารถนำพาเพาะปลูกเชิงพาณิชย์และบริโภคได้ นับแต่มีการตรวจพบ
สารปนเปื้อนข้าวที่มีแหล่งกำเนิดจากจีนในปี 2548 และ ปลายปี 2549 โดยกลุ่ม Friends of the Earth ตรวจพบสารปนเปื้อน
จากผลิตภัณฑ์ข้าว จีเอ็ม Bt63 นำเข้าจากจีนจากวางจำหน่ายในร้านค้าที่อังกฤษ โดยในปี 2548 กรีนพีซพบว่า สถาบันวิจัยและ
บริษัทจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าว จีเอ็ม ในจีนได้นำข้าว จีเอ็ม ที่ยังไม่ได้รับการรับรองเมล็ดพันธุ์ออกมาขายให้กับเกษตรกรอย่างผิด
กฎหมาย และเมื่อนำมาทดสอบเพิ่มยังพบว่ามีการปนเปื้อนตลอดกระบวนการผลิตที่พบล่าสุดอยู่ในอาหารเด็กอ่อนจำหน่ายในกรุงปักกิ่ง
กวางเจาและฮ่องกง ขณะที่รัฐบาลจีนสั่งลงโทษบริษัทผลิตเมล็ดพันธุ์และสั่งทำลายแหล่งปลูกข้าว จีเอ็ม

เหตุการณ์คล้ายกันนี้ยังพบในสหภาพยุโรปเมื่อปลายปีที่ผ่านมา ทำให้คณะกรรมาธิการยุโรปต้องประกาศมาตรการฉุกเฉิน
ห้ามนำเข้าข้าวจีเอ็ม Bt63 จากจีนและให้มีการตรวจสอบผลิตภัณฑ์เหล่านี้ก่อนนำเข้าทุกครั้ง โดยมีผลบังคับตั้งแต่ 15 เมษายน
ที่ผ่านมา

ข้าวเป็นอาหารที่ประชากรกว่าครึ่งโลกบริโภคกัน โดยเฉพาะประเทศยากจน จึงไม่มีโอกาสเลือกไม่ว่าจะเป็นข้าวธรรมดา ข้าวไฮบริด
หรือข้าว จีเอ็ม เพราะราคามันแพงจนกินไม่ลง



http://www.safetybio.agri.kps.ku.ac.th/index.php?option=com_content&task=view&id=2302&Itemid=42
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 10/06/2012 7:25 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,622. ตะลุยเมืองเกษตรกลางทะเลทราย (1)








เก็บตกจาก "อะกรีเทค2012" ที่เทลอาวีฟ : คอลัมน์ ท่องโลกเกษตร : โดย ... ดลมนัส กาเจ


คณะของเราหมด 35 ชีวิต ที่มีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ จะไปชมความอลังการของงานสุดยอดนวัตกรรมและเทคโนโลยีการเกษตรที่
อิสราเอล ในงาน “อิสราเอล อะกริคัลเจอร์ อินโนเวชั่น แอนด์ อะกริเทค 2012" (Israel Agriculture Innovation & Agritech
2012) หรือ "อะกริเทค 2012" จัดขึ้นที่กรุงเทลอาวีฟ ประเทศอิสราเอล ระหว่างวันที่ 15-17 พฤษภาคม 2555 เป็นงานที่จัดแสดง
นิทรรศการเครื่องมือการเกษตรที่ยิ่งใหญ่ของโลก งานนี้ 3 ปีจัดขึ้นครั้งหนึ่ง โดยปีนี้มีประเทศชั้นนำด้านเทคโนโลยีการเกษตรมาจัด
แสดงนิทรรศการ อาทิ จีน เกาหลีใต้ เนเธอร์แลนด์ เป็นต้น


อิสราเอล เป็นประเทศที่อยู่กึ่งกลางระหว่างสามทวีป คือยุโรป เอเชีย และแอฟริกา จัดอยู่ในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง ตั้งอยู่ทางทิศ
ตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มีพรมแดนติดกับเลบานอน ซีเรีย จอร์แดนและอียิปต์ มีประชากรราว 7 ล้านคน สภาพภูมิประเทศ
ค่อนข้างแคบและยาว มีความยาวประมาณ 470 กม. กว้าง 135 กม. ครึ่งหนึ่งของประเทศเป็นพื้นที่ทะเลทรายแห้งแล้ง แต่อิสราเอลก็
พัฒนาระบบชลประทานน้ำหยดใช้กับพืชอย่างคุ้มค่า จนปลูกพืชผักส่งออกไปยุโรปเป็นอันดับหนึ่ง


การพัฒนาด้านการเกษตรของอิสราเอลต้องยอมรับว่า เขาเน้นด้านเทคโนโลยีการเกษตรเพื่อพิชิตทะเลทราย และทำได้สำเร็จ จนทั่ว
โลกพากันยอมรับว่าสุดยอดจริงๆ โดยเฉพาะที่มีชื่อเสียงคือระบบน้ำหยดที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ และระบบชลประทานที่มี
การกักเก็บอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ ทั้งการขุดทะเลสาบ และในอุโมงค์ใต้ดินนำน้ำมาใช้เพื่อการเกษตร นอกจากนี้ การสกัด
เกลือออกจากน้ำกร่อยให้เป็นน้ำจืด และการนำน้ำเสียจากบ้านเรือน โรงงานอุตสาหกรรมมาหมุนเวียนใช้ใหม่ ซึ่งแต่ละวันมีถึง
300 ล้านลูกบากศ์เมตร เพื่อนำมาเพาะปลูกพืช


ที่จริงอิสราเอลมีแหล่งน้ำที่สะอาดใต้ดินที่สำคัญเพียง 2 แห่ง และแหล่งเล็กๆ อีกหลายแห่ง อย่างที่ภูเขาในเขตจูเดีย-ซาทาเรีย เป็น
แหล่งทรัพยากรตามธรรมชาติของอ่างกักน้ำใต้ดินที่ใหญ่และสำคัญที่สุด มีน้ำฝนที่ไหลมารวมกันบนหน้าหินของเนินเขาและจะไหลซึม
สู่ชั้นหินหนาใต้ดิน และกลายเป็นแหล่งน้ำใต้ดินที่กระจัดกระจายออกไป นอกจากนี้ ยังมีท่อส่งน้ำขนาดใหญ่จากแม่น้ำจอร์แดนไปยังทะเล
เมดิเตอร์เรเนียนความยาว 6,500 กิโลเมตร สามารถส่งน้ำไปทั่วทุกมุมของประเทศ และเทคโนโลยีทั้งหลายทั้งปวง ที่เอาชนะ
ทะเลทรายมาได้นั้น ถูกนำมาแสดงในงานนี้


คณะของเราไปถึงอิสราเอลในช่วงสายของวันที่ 13 พฤษภาคม 2555 ก่อนวันงานอะกริเทค 2 วัน ช่วงก่อนถึงวันงานเราแวะไปงานด้าน
อื่นๆ รวมถึงแวะเยือนสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเทลอาวีฟ และได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาด้านการเกษตรของอิสราเอล
จาก วนัสสุดา สุทธิรานี เลขานุการเอก สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเทลอาวีฟว่า การเกษตรที่รุ่งเรืองของอิสราเอลนั้น เป็นผลมา
จากการวิจัยและพัฒนาที่ดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ในปัจจุบันภาคเกษตรกรรมเกือบทั้งหมดขึ้นอยู่
กับการวิจัยและการพัฒนาที่ได้รับความร่วมมือจากภาครัฐบาล สถาบันการศึกษาและองค์กรต่างๆ เพื่อหาทางแก้ปัญหาและพร้อมที่จะเผชิญ
หน้ากับสิ่งท้าทายใหม่ๆ อยู่เสมอ


งานอะกริเทคครั้งนี้ ได้รับความสนใจจากประชาชนทั่วโลก โดยเฉพาะคนไทยเท่าที่ทราบมีหลายคณะด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นของกระทรวง
เกษตรและสหกรณ์ หอการค้าไทย-อิสราเอล รวมถึงคณะที่สมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทยจัดพามา มีทั้งนักธุรกิจด้าน
การเกษตร นักวิชาการไปดูงาน คณะจากคณะทำงานด้านเศรษฐกิจมหภาค การเงิน การคลัง สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสื่อมวลชน


ภายในงานในฮอลล์ใหญ่ อยู่ด้านหน้าสุด จะเน้นงานวิจัยและพัฒนาเครื่องมือด้านด้านเกษตรกรรม เริ่มตั้งแต่การเพาะพันธุ์พืช อุปกรณ์
ที่ใช้ในการเตรียมดิน ขุดดิน เพาะพันธุ์พืช การไถหว่าน อุปกรณ์ที่ช่วยย้ายต้นไม้ ระบบชลประทาน ระบบน้ำหยดที่ควบคุมด้วยคอมพิว
เตอร์ การควบคุมแมลง เรื่อยไปจนถึงการเพาะปลูกในเขตแห้งแล้ง โดยได้ปรับปรุงและพัฒนาวิทยาการใหม่ๆ เชิงวิทยาศาสตร์ที่ช่วย
เพิ่มผลผลิตทางการเกษตรอย่างมากมายทั้งด้านปริมาณและด้านคุณภาพ


นอกจากนี้ มีการโชว์อุปกรณ์ที่ประดิษฐ์จำพวกเครื่องมือการเกษตรและอุปกรณ์ไฟฟ้าใหม่ๆ โดยเฉพาะในโซนของนวัตกรรมมีการ
แสดงเครื่องมือสำหรับรีดนมวัวและเก็บไข่ ระบบการให้อาหารและการจัดเก็บข้อมูลการผลิตด้วยคอมพิวเตอร์ เครื่องมือไถหน้าดิน
เครื่องมือบรรจุหีบห่อ และอุปกรณ์ที่ใช้เก็บผลผลิต รวมทั้งระบบการขนย้ายผลิตผลที่มีประสิทธิภาพ และการเลี้ยงสัตว์สวยงาม เป็นต้น


สำหรับภาคการเกษตรกรของอิสราเอลที่กดำเนินอยู่มี 2 รูปแบบ คือคิบบุทส์ เป็นรูปแบบของการนิคม สำหรับเกษตรกรที่ไม่มีที่ดินเป็น
ของตัวเอง รายได้จากการขายผลผลิตทางการเกษตรจะมาร่วมกัน และแบ่งปันกำไรเท่าๆ กันในลักษณะของกงสีของชาวจีน และอีก
รูปแบบหนึ่งเรียกว่า "ชาร์บ" คือลักษณะทุนนิยมทำในที่ดินของตนเอง และมีรายได้เป็นของตนเอง


อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันรัฐบาลอิสราเอลไม่ทุ่มเทให้การเกษตรแล้ว เพราะถือว่าประสบผลสำเร็จแล้ว จึงได้ทุ่มงบไปที่ด้านพัฒนา
และวิจัยวิทยาศาสตร์ เพราะสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศมากกว่า ส่วนการเกษตรนั้นเน้นบริโภคภายในประเทศและส่งออกบ้างมีราย
ได้เข้าประเทศ 10% ของมวลรวมทั้งประเทศ ส่วนรายได้หลักอยู่ที่การส่งออกเทคโนโลยีและอาวุธยุทโธปกรณ์


ดร.สวาท สุทธิอาคาร เกษตรและสหกรณ์จังหวัดอุบลราชธานี ที่ร่วมเดินทางไปในครั้งนี้ บอกว่า ได้เห็นการแสดงด้านเทคโนโลยี
และนวัตกรรมใหม่ในภาคเกษตรที่หลากหลาย โดยเฉพาะที่น่าสนใจมากคือระบบน้ำหยด ซึ่งอิสราเอลเป็นที่พัฒนาระบบน้ำหยด เป็น
ที่ยอมรับทั่วโลก นอกจากนี้การพัฒนาเมล็ดพันธุ์ เครื่องจักรกลทางการทั้งขนาดเล็ก ขนาดที่เหมาะใช้ในพื้นที่กว้าง สิ่งเหล่านี้ล้วน
เป็นประโยชน์ต่อภาคเกษตรทั้งสิ้น และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในประเทศไทย โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ควรจะ
นำระบบการจัดการน้ำ ระบบน้ำหยด หรือสปริงเกลอร์ แม้กระทั่งเทคโนโลยีในการเลี้ยงโคนม การเลี้ยงปลาในน้ำลึก เป็นต้น

ทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ได้พบเห็นจากที่ไปดูงานอะกริเทค 2012 ที่กรุงเทลอาวีฟ...อาทิตย์หน้าจะนำเสนอการเลี้ยงโคนมที่ทันสมัย
ที่สุด และให้ผลผลิตน้ำนมมากที่สุดในโลกอีกด้วย



http://www.komchadluek.net
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 10/06/2012 7:34 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,623. หนุ่ม ป.โท หัวใจเกษตรลุยปลูก 'กล้วยหิน'








พูดถึงผู้ที่สำเร็จการศึกษามาในระดับปริญญาโท มีน้อยคนนักที่จะหันหน้าเข้าสู่เส้นทางอาชีพเกษตรกรรมอย่างเต็มตัว แต่สำหรับ
"อารี หมัดสมัน" หนุ่มวัย 34 ปี ดีกรีปริญญาโท กลับมองว่า อาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพดั้งเดิมของวงศ์ตระกูลและทุกวันนี้เขามายืน
ณ จุดนี้ได้ ก็เพราะเงินรายได้ที่ได้มาจากอาชีพเกษตรกรรมของครอบครัว นั่นคือ ทำสวนยางพารา และสวนผลไม้


อารี เป็นคน ต.สำนักแต้ว อ.สะเดา จ.สงขลา สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลา
นครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จากนั้นศึกษาต่อระดับปริญญาโท สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช ก่อน
เข้าทำงานในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ส่วนกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นระยะเวลา 6 ปี


จากนั้นมาเป็นอาจารย์คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเอกชนใน อ.หาดใหญ่ ระยะหนึ่งแล้วลาออกมาทำธุรกิจส่วนตัวเพื่อเก็บเกี่ยว
ประสบการณ์ กระทั่งเริ่มผันตัวเองเข้าสู่วงจรอาชีพเกษตรกรรม คือ ปลูกกล้วยหิน แทรกในร่องสวนยางพาราบนเนื้อที่ 40 ไร่ ปลูก
ไว้กว่า 550 หน่อ และขณะนี้กำลังโตวันโตคืน บางต้นก็เริ่มให้ผลผลิตแล้ว


"เห็นว่าพื้นที่ส่วนหนึ่งของสวนยาง บริเวณตรงกลางระหว่างต้นไม่ได้รับการใช้ประโยชน์ จึงคิดใช้ประโยชน์จากพื้นที่ดังกล่าว โดย
ปลูกพืชเสริม เพื่อให้มีรายได้ระหว่างรอยางพาราที่ปลูกจนกว่าจะกรีดเอาน้ำยางไปขายได้ ซึ่งต้องใช้เวลา 5-7 ปี ฉะนั้นเหตุที่เลือก
กล้วยหิน เพราะมองเห็นว่าอนาคตของตลาด เนื่องจากราคากล้วยหินขายกันแพงมาก 1 หวี ขายปลีก 35-60 บาท ส่วนขายส่งหวี
ละ 20-35 บาท บ้างก็ขายปลีกแบ่งเป็นผล โดย 3 ผล ราคา 10 บาท เป็นต้น"


อารีให้ข้อมูลอีกว่า นอกจากนี้ในปัจจุบันกลุ่มผู้เลี้ยงนกกรงหัวจุกก็มีความต้องการกล้วยหินมากเพื่อนำมาเป็นอาหารให้นกกรงหัวจุก
ที่เลี้ยงไว้ จนทำให้วงการเลี้ยงนกกรงหัวจุกเติบโตแบบก้าวหน้าต่อเนื่อง และมีแนวโน้มขยายถึงภาคใต้ตอนบน ภาคกลางตอนล่าง ส่ง
ผลให้มีผลต่อความต้องการกล้วยหินตามมา เพราะกล้วยหินสามารถเก็บรักษาได้นานกว่ากล้วยชนิดอื่น เนื้อแข็งไม่เละหรือช้ำง่าย
และนกที่กินกล้วยหินพบว่าอัตราการเป็นโรคมีน้อย มีผลต่อสุขภาพ และน้ำเสียงที่ดีตามมา จึงเป็นที่นิยมกันมากในกลุ่มผู้เลี้ยงนกกรงหัวจุก
ที่ต้องการหาซื้อกล้วยหินมาให้นกกิน มากกว่ากล้วยชนิดอื่น


ขณะเดียวกันกลุ่มผู้ผลิตกล้วยหินที่เป็นในรูปแบบไร่ขนาดใหญ่มีน้อย จึงทำให้ผลผลิตไม่เพียงพอจำหน่ายในท้องตลาด นอกจากนี้
กล้วยหินมีต้นกำเนิดอยู่ที่ จ.ยะลา เนื่องจากเป็นพืชเฉพาะถิ่น ปลูกกันมากในพื้นที่ อ.บันนังสตา อ.ธารโต และอ.เบตง แต่ส่วนใหญ่ก็
ไม่ได้ปลูกกันเป็นไร่สวนขนาดใหญ่ ส่วนพื้นที่จังหวัดอื่นปลูกกันน้อยมาก ส่วนใหญ่จะเป็นผู้เลี้ยงนกกรงหัวจุกที่ปลูกไว้เพื่อนำผลมาเป็น
อาหารของนกที่เลี้ยงไว้


เพราะฉะนั้นจึงเล็งเห็นหนทางของตลาดในจุดนี้ จึงตัดสินใจปลูกกล้วยหินในเชิงธุรกิจเป็นไร่ขนาดใหญ่ เพราะปลูกและดูแลง่าย
เป็นโรคน้อย แต่กล้วยหินมีข้อเสียนิดหนึ่ง คือ กว่าจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้จะใช้ระยะเวลานานกว่ากล้วยชนิดอื่น 12-14 เดือน ซึ่งใน
จุดนี้เองทำให้เกษตรกรรายอื่นๆ ไม่นิยมปลูกกล้วยหิน เหตุเพราะให้ผลผลิตและรายได้ช้า แต่ตนเองคิดแตกต่างกับคนอื่น เมื่อไม่มีคู่แข่ง
หรือคู่แข่งน้อย การเริ่มธุรกิจก่อนจึงได้เปรียบ


"ผมยังเชื่อมั่นว่า ตราบใดที่วงการนกกรงหัวจุกยังเติบโตขึ้นต่อเนื่อง ตลาดของกล้วยหินก็จะเติบโตตามอย่างแน่นอน และนอกจากจะ
นำมาเป็นอาหารนกกรงหัวจุกแล้ว กล้วยหินยังสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่างๆ ได้อีกด้วย เช่น กล้วยฉาบ"


หนุ่มปริญญาโท หัวใจเกษตรกรรายนี้ ระบุอีกว่า ปลูกกล้วยหินแล้ว ม่มีสภาวะผลไม้ตาย คือ ขายไม่ได้ กล้วยหินสามารถขายได้ตลอด
ต่อเนื่อง หากเรามีผลผลิตออกสู่ท้องตลาดเพียงพอ เพราะผู้เลี้ยงนกกรงหัวจุกจะหาซื้อให้นกกินอย่างต่อเนื่องไม่ว่าฤดูกาลไหน อีกทั้ง
ส่วนต่างๆ ของกล้วยหิน ก็สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมด อย่างหน่อกล้วยหินจะขายกันที่ราคาประมาณ 40-80 บาทต่อ 1 หน่อ
ปลีกล้วยหิน ราคาต่อปลี 10-25 บาท


ส่วนใบราคาไม่แตกต่างจากกล้วยอื่นๆ ขณะที่ต้นหรือที่เรียก "หยวกกล้วย" ก็นำมาประกอบอาหารได้ ที่รับทราบข้อมูลอีกอย่างหนึ่ง
คือ นักวิชาการได้ค้นคว้าวิจัยพบว่ากล้วยหินมีปริมาณแป้ง คาร์โบไฮเดรต และเส้นใยสูงกว่ากล้วยชนิดอื่นด้วย อีกทั้งการที่ปลูกกล้วย
หินในสวนยางพารา ยังเสมือนกับติดระบบน้ำให้แก่สวน เพราะกอกล้วยหินจะช่วยรักษาความชื้นในดิน


"หากเราไม่เลือกงาน เราก็จะไม่ยากจน งานเกษตรเป็นงานที่ท้าทาย หากเรามีคำตอบให้ตัวเองก่อนทำอะไร ผลิตออกมาแล้ว ลูกค้า
ของเราคือใคร เป้าหมายของเราที่ว่าคืออะไร ทำอย่างไรเพื่อให้สำเร็จตามที่เราคาดหวังตั้งใจไว้ แล้วให้ลงมือทำ อย่าหยุดจนกว่าสิ่งนั้น
จะสำเร็จลุล่วง รับรองคุณจะพบกับความสำเร็จตามที่ตั้งใจไว้" เกษตรกรดีกรีปริญญาโท กล่าวอย่างมั่นใจ


(หมายเหตุ : 'อารี หมัดสมัน' หนุ่ม ป.โท หัวใจเกษตร ทิ้งงานสายตรงลุยปลูก 'กล้วยหิน' : คอลัมน์ ท่องโลกเกษตร :
โดย ... ธรณิศวร์ พิรุณละออง)



http://www.komchadluek.net
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 10/06/2012 7:45 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,624. เนรมิตศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมทุเรียน








พื้นที่ 7 ไร่ ติดถนนใหญ่ "นครอินทร์" ของ "จ.ส.อ.สมพงษ์ สกุลดิษฐ์" หรือ "ลุงสมพงษ์" เกษตรกรวัย 80 ปี อดีตพลขับของ
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่หมู่ 1 ต.บางขุนกอง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี ที่เคยเขียวขจีด้วยต้นทุเรียนนานาพันธุ์ ทั้งพันธุ์ก้านยาว
ที่มีชื่อเสียงของ จ.นนทบุรี หมอนทอง ชะนี ที่สร้างรายได้ปีละเรือนล้านบาทเมื่อคราวเก่าก่อน แต่...วันนี้กลายเป็นสวนทุเรียน
ปลูกใหม่ สูงไม่ถึง 1 เมตร หลังจากกระแสน้ำมวลใหญ่ทะลักมาจากถนนกระหน่ำเข้าท่วมขังนานถึง 2 เดือน ทำให้ต้นทุเรียน
ตายทั้งหมด เหลือแต่ต้นทองหลาง ที่ลุงสมพงษ์ปลูกไว้สลับกับต้นทุเรียน เพื่อดูดซับน้ำและสร้างความชุ่มชื้นให้ต้นทุเรียน และ
ที่สำคัญ รากของทองหลางจะให้ธาตุไนโตรเจนอีกด้วย


สำหรับสวนทุเรียนปลูกใหม่แห่งนี้ แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกติดถนนใหญ่ ในพื้นที่กว่า 3 ไร่ ลุงสมพงษ์เนรมิตทำเป็นศูนย์อนุรักษ์
พันธุกรรมทุเรียนนนทบุรี ปลูกทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองนนทบุรีไปแล้วกว่า 20 สายพันธุ์ โดยได้รับการสนับสนุนจากศูนย์วิจัยพืชสวน
จันทบุรี ที่ ต.ตะปอน อ.ขลุง จ.จันทบุรี ของกรมวิชาการเกษตร มีทั้งพันธุ์ชะนี กะเทย ย่ำมะหวาด กบไม้เฒ่า กบตาคำ กีบสมุทร
เป็นต้น ในส่วนนี้ลุงสมพงษ์บอกว่า ไม่เน้นขาย แต่จะเน้นเป็นศูนย์เรียนรู้ของเยาวชนรุ่นหลัง ที่สนใจเกี่ยวกับทุเรียนพื้นเมืองของ
จ.นนทบุรี ในอนาคต


อีกส่วนหนึ่งอยู่ด้านใน ติดคลอง เป็นสวนทุเรียนที่ปลูกเชิงธุรกิจ และสร้างรายได้ เป็นทุเรียนที่ตลาดต้องการ โดยเฉพาะพันธุ์ก้านยาว
ที่ขายกันผลละหรือลูกละไม่ต่ำกว่า 5,000 บาท บางช่วงราคาสูงถึงลูกละ 1 หมื่นบาท พันธุ์หมอนทอง ทองย้อยฉัตร นอกจากนี้มี
ทุเรียนพันธุ์ใหม่ที่กล่าวขานกันว่า มีรสชาติอร่อยกว่าทุเรียนพันธุ์ก้านยาว และหมอนทอง คือ พันธุ์นวลทองฉัตร เป็นต้น


สวนทุเรียนใหม่ทั้ง 2 ส่วนของลุงสมพงษ์นั้น จะล้อมด้วยกำแพงดินสูงเป็นเมตร เพื่อป้องกันน้ำท่วมสวน ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหาย
แก่ต้นทุเรียน และกำแพงดินที่ว่านี้ สามารถปกป้องสวนของลุงสมพงษ์มายาวนานกว่า 20 ปี แต่ปีนี้มวลน้ำขนาดใหญ่ที่มาจากเขื่อน
ใหญ่ทางภาคเหนือทะลักแม่น้ำเจ้าพระยา ล้นตลิ่งเข้าสู่สวนทุเรียนทั้งของลุงสมพงษ์และรายอื่นๆ ใน จ.นนทบุรี เสียหายโดยสิ้นเชิง
ถึง 2,898 ไร่ จากทั้งหมด 2,931 ไร่ ถือว่าเกือบ 100% ส่วนด้านในของสวนนั้น ลุงสมพงษ์ยกร่องสูงกว่า 1 เมตร กว้างราว 4 เมตร
ในร่องปล่อยน้ำไว้สำหรับรดทุเรียนนั่นเอง


สมพงษ์ ย้อนอดีตว่า ชีวิตคลุกคลีอยู่กับสวนมาตั้งแต่อายุ 12 ปี แต่พออายุ 17 ปีสอบเข้าโรงเรียนนายสิบได้ จบมารับราชการ
เป็นทหารที่มณฑล 1 เมื่อปี 2494 ระหว่างเป็นทหารนั้น เป็นคนขับรถให้จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ตั้งแต่จอมพลสฤษดิ์ดำรง
ตำแหน่งเป็นแม่ทัพภาคที่ 1 จนเป็นผู้บัญชาการทหารบก และนายกรัฐมนตรี กระทั่งปี 2506 จอมพลสฤษดิ์ถึงแก่อสัญกรรม
เขาตัดสินใจลาออกจากราชการทหาร หวนชีวิตมาเป็นเกษตรกรด้วยการเช่าที่ทำสวนทุเรียนที่บางบำหรุ อ.บางกอกน้อย จ.ธนบุรี
สมัยนั้น ต่อถูกเวนคืนหมดเพื่อสร้างถนนปิ่นเกล้า เลยหาซื้อที่ใหม่แรกกว่า 6 ไร่ ต.บางขุนกอง อ.บางกรวย เมื่อปี 2520 ราคา
2.4 แสนบาท ต่อมาซื้อเพิ่มอีก 7 ไร่ ราคา 1.2 ล้าน เป็น 13 ไร่ติดกัน ต่อมาถนนผ่ากลางจึงกลายเป็น 2 แปลง ปลูกทุเรียน
ตลอดมา


และแล้วค่ำคืนแห่งความหายนะก็มาเยือนเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2554 เขาได้รับแจ้งจากลูกเขยว่า มีมวลน้ำทะลักจากท้องถนนที่
รถวิ่งเข้าสวน รุ่งเช้าจึงไปดู พบว่า สวนทุเรียนของเขาถูกน้ำท่วม จึงโทรศัพท์เช็กเพื่อนฝูงที่เป็นเกษตรกรด้วยกัน ทราบว่า ได้
รับความเสียหายเช่นกัน


"ที่ผ่านมาน้ำจะมาทางคลองหลังสวน แต่ล่าสุดนี่แปลก น้ำมาจากบนถนน พร้อมกับรถวิ่งอยู่ พอผมเห็นวันแรก ผมไม่กลับมาดูสวน
ทุเรียนของตัวเองอีกเลยเป็นเวลา 2 เดือน เพราะไม่อยากเห็นสภาพความเสียหาย แต่พอตั้งสติได้ จึงโทรศัพท์ไปยังเกษตรกรที่รู้
จักกันที่ จ.จันทบุรี เพื่อสั่งจองกิ่งพันธุ์ทุเรียน ทั้งพันธุ์ก้านยาว หมอนทอง ทองย้อยฉัตร และนวลทองฉัตร ผมไม่รอให้ภาครัฐช่วย
เหลือครับ ไม่ทันใจ ส่วนทุเรียนพันธุ์นวลทองฉัตรเป็นทุเรียนพันธุ์ใหม่ มีคนบอกว่าอร่อยมาก อร่อยกว่าก้านยาวเสียอีก แต่ผมเอง
ก็ไม่เคยกินเหมือนกัน" ลุงสมพงษ์ กล่าว


แม้วันนี้ลุงสมพงษ์มีอายุถึง 80 ปีแล้วก็ตาม เขายืนยันว่าร่างกายยังแข็งแรง และจะทำสวนทุเรียนต่อ ทั้งที่หลังจากน้ำลดแล้วมี
บริษัทมหาชนยักษ์ใหญ่มาขอซื้อที่ 7 ไร่ ในราคา 300 ล้าน แต่ลุงสมพงษ์ยืนยันจะไม่ขาย เพราะไม่ได้เดือดร้อนเรื่องเงินเท่าไร
นัก หากขายไปลูกหลานเราจะไม่มีที่อยู่ในอนาคต และอีกอย่างหนึ่ง ตั้งใจจะตั้งศูนย์อนุรักษ์ทุเรียนเมืองนนท์ และจะอุทิศความรู้
ให้แก่เยาวชนรุ่นใหม่ เพื่อสืบสานทุเรียนพื้นเมืองนนทบุรีต่อไป


ด้าน ระนอง จรูญกิจกุล เกษตรจังหวัดนนทบุรี ซึ่งรับผิดในการฟื้นฟูสวนทุเรียน บอกว่า หลังจากน้ำลดได้ทำการฟื้นฟูสวนทุเรียนใน
จ.นนทบุรี กว่า 1,000 ไร่ เป็นการเบื้องต้น จากนั้นจะมีการฟื้นฟูระยะสอง โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรีสนับสนุนด้าน
งบประมาณอีกจำนวนหนึ่ง แต่ในส่วนของลุงสมพงษ์เขายืนยันจะฟื้นฟูเอง ยกเว้นในส่วนที่ลุงสมพงษ์ทำเป็นศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรม
ทุเรียนพื้นเมืองนนทบุรีเท่านั้น ที่รับการสนับสนุนจากศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ที่ ต.ตะปอน อ.ขลุง จ.จันทบุรี ของกรมวิชาการเกษตร
โดยให้เกษตรจังหวัดนนทบุรีเป็นผู้ดูและรับผิดชอบ ซึ่งต่อไปศูนย์แห่งนี้จะกลายเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวพันธุกรรมทุเรียนพันธุ์พื้นเมือง
นนทบุรี ดังที่ลุงสมพงษ์ตั้งใจไว้ ซึ่งขณะนี้มีทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองเริ่มปลูกแล้วราว 20 สายพันธุ์ ที่เหลือทางศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี
จะทยอยส่งมาอีก


นับเป็นเรื่องน่ายินดี ลุงสมพงษ์ สกุลดิษฐ์ ยอมเสียสละพื้นที่เพื่อเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม โดยตั้งใจอย่างแนวแน่ที่จะอนุรักษ์ทุเรียน
พันธุ์พื้นเมืองของนนทบุรีให้อยู่คู่กับเมืองนนท์ชั่วกาลนาน



(ท่องโลกเกษตร : เนรมิตศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมทุเรียน เน้นพันธุ์พื้นเมืองอยู่คู่กับเมืองนนท์ โดย...ดลมนัส กาเจ)



http://www.komchadluek.net
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 10/06/2012 8:46 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,625. ตามไปดูวิธีการปลูกยาสูบ 'จีเอพี (GAP)'








ยาสูบ จัดเป็นพืชควบคุมภายใต้พระราชบัญญัติยาสูบ ซึ่งถือใช้โดยกรมสรรพสามิต เป็นพืชที่ใช้ใบในการให้ผลผลิตและใช้เป็น
วัตถุดิบหลักในอุตสาหกรรมการผลิตบุหรี่ ซึ่งประเทศไทยจะปลูกกันมากในพื้นที่ภาคเหนือและอีสาน ปัจจุบันยาสูบที่นิยมปลูกกัน
มากมีอยู่ 3 สายพันธุ์ประกอบด้วย เวอร์จิเนีย (Virginia) เบอร์เลย์ (Burley) และเตอร์กิช(Turkish) โดยผลผลิตเกือบทั้งหมด
จะส่งให้แก่โรงงานยาสูบและบริษัทผลิตบุหรี่ข้ามชาติ


จากการรายงานของกรมสรรพสามิตพบว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกยาสูบรวม 207,147 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ปลูกยาสูบ
พันธุ์เวอร์จิเนีย 67,977 ไร่ พันธุ์เบอร์เลย์ 78248 ไร่ และพันธุ์เตอร์กิช 60,922 ไร่ โดยจังหวัดที่มีการปลูกยาสูบมากที่สุด คือ
เพชรบูรณ์ประมาณ 19,860,839 กิโลกรัม/ปี และยังไม่มีขยายพื้นที่ปลูกเพิ่ม


"ท่องโลกเกษตร" อาทิตย์นี้จะตามคณะผู้บริหารโรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง นำโดย "ต่อศักดิ์ โชติมงคล" ผู้อำนวยการ พร้อม
สื่อมวลชนกว่า 30 ชีวิตตระเวนดูวิถีชีวิตเกษตรกรผู้ปลูกยาสูบและกระบวนการผลิตใบยาของชาวไร่ใน จ.เพชรบูรณ์ ซึ่งปัจจุบันมี
พื้นที่ปลูกทั้งสิ้นกว่า 5,000 ไร่ โดยจะเน้นสายพันธุ์เบอร์เลย์เป็นหลัก


ต่อศักดิ์ โชติมงคล ผู้อำนวยการโรงงานยาสูบเปิดเผยข้อมูลระหว่างนำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่เยี่ยมเกษตรกรชาวไร่ยาสูบ ภายใต้
โครงการระบบการปฏิบัติงานด้านการเกษตรที่ดี (จีเอพี) ตามหลักเกณฑ์ของ CORESTA ว่า โรงงานยาสูบได้กำหนดเป็นนโย
บายให้กระบวนการผลิตใบยาเบอร์เลย์ของชาวไร่ในสังกัด ดำเนินการภายใต้ “ระบบการปฏิบัติงานด้านเกษตรกรรมที่ดี” ตามมาตรฐาน
ของ CORESTA ซึ่งเป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนส่งเสริมความร่วมมือในงานศึกษาวิจัยเกี่ยวกับยาสูบในระดับ
นานาชาติ ซึ่ง CORESTA มุ่งเน้นผลิตใบยา Clean Tobacco


ทั้งนี้ เนื่องจากปัจจุบันอุตสาหกรรมยาสูบและบุหรี่ต้องดำเนินงานภายใต้ภาวะแรงกดดันจากสังคม เพราะเกี่ยวข้องกับสุขภาพอนามัย
ของผู้บริโภค ทำให้ต้องหาทางปรับทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมยาสูบโลก โดยเฉพาะในเรื่องของการพัฒนาคุณภาพวัตถุดิบที่
ใช้ผลิตบุหรี่ ซึ่งมีใบยาสูบเป็นส่วนผสมหลัก ดังนั้น จึงมีการศึกษาค้นคว้า วิจัยและพัฒนาเพื่อแสวงหาความรู้เกี่ยวกับยาสูบ มุ่งสู่แนว
ทางการผลิตใบยาและบุหรี่ ที่ลดความเสี่ยงต่อสุขภาพ มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคมากขึ้น ตลอดจนรักษาสภาพสิ่งแวดล้อม


"โรงงานยาสูบจะจัดสรรโควตาผลิตใบยาให้ชาวไร่ทราบก่อนเริ่มการเพาะปลูกยาสูบ รวมทั้งแจ้งสภาวะการผลิตใบยา ซึ่งระบุถึงความ
ต้องการใบยาทั้งในส่วนของโรงงานยาสูบ และส่วนที่บริษัทส่งออกรับซื้อผ่านโรงงานยาสูบ โดยกำหนดราคารับซื้อใบยาแต่ละชั้น
ใบยาที่แน่นอน พร้อมทั้งติดตามแนะนำส่งเสริมการผลิตใบยาทุกขั้นตอนเพื่อทำให้ชาวไร่เกิดความเชื่อมั่นในอาชีพเพาะปลูกยาสูบ"
ผอ.โรงงานยาสูบกล่าว


ปริญญา สุวงค์วาร ผู้จัดการสำนักงานยาสูบเพชรบูรณ์กล่าวเสริมว่า สำหรับยาสูบที่ปลูกในเขตพื้นที่ จ.เพชรบูรณ์จะใช้พันธุ์ "เบอร์เลย์"
ทั้งหมด ซึ่งใบยาสูบสายพันธุ์นี้มีคุณสมบัติพิเศษกว่าใบยาประเภทอื่น คือ มีโครงสร้างโปร่ง ดูดซับน้ำหอมน้ำปรุงได้ดี มีคุณสมบัติใน
การเผาไหม้ดี ใบยาแห้งมีสีเนื้อหรือสีน้ำตาลอ่อนจนถึงสีน้ำตาลแก่ ปริมาณนิโคตินสูง ปริมาณน้ำตาลน้อยมาก น้ำหนักเบา คุณภาพใน
การบรรจุมวนดี เป็นใบยาที่มีคุณภาพดี มีกลิ่นหอมคล้ายโกโก้ และเป็นใบยาประเภทหนึ่งที่ใช้ในการผลิตบุหรี่


ส่วนการผลิตใบยาเบอร์เลย์ จีเอพี ภายใต้หลักเกณฑ์ของ CORESTA จะมุ่งเน้นการจัดการดินและน้ำเพื่อให้มีการใช้ทรัพยากร
อย่างคุ้มค่า เกิดความยั่งยืน ดูความสมบูรณ์ของพันธุ์และการคัดเลือกพันธุ์ เพื่อเกิดความมั่นใจว่ามีการใช้พันธุ์ยาสูบที่ถูกต้อง จาก
นั้นการจัดการการเพาะปลูกเพื่อให้ได้ผลผลิตเป็นปริมาณและคุณภาพที่ต้องการ มีการจัดการสารเคมีทางการเกษตรเพื่อให้เกิด
ความปลอดภัย ทั้งเกษตรกรผู้ใช้สารเคมี ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ใบยาสูบ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม


"เทคนิคการบ่มใบยาของเราเป็นไปอย่างถูกต้องในทุกขั้นตอนและประหยัดพลังงาน ลดสิ่งแปลกปลอมที่ไม่ใช่ยาสูบเพื่อให้ผลิตภัณฑ์
ยาสูบมีความสะอาด เป็นที่ต้องการของการตลาด ที่สำคัญเรามีการฝึกอบรมชาวไร่เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในทุกขั้นตอนของการ
ผลิตใบยาอย่างถูกต้อง" ผู้จัดการสำนักงานยาสูบเพชรบูรณ์กล่าว


ด้าน หนูจันทร์ คำโสม อายุ 44 ปี เกษตรกรชาวไร่ยาสูบใน ต.สักหลง อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ หนึ่งในเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ
จีเอพี ยอมรับว่า หลังเข้าร่วมโครงการมากว่า 2 ปี ทำให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นและสามารถลดต้นทุนการใช้สารเคมีลง ทำให้มีราย
ได้เฉลี่ยต่อไร่เพิ่มขึ้น ปัจจุบันสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เฉลี่ย 200-250 กิโลกรัมต่อไร่ ขณะที่มีพื้นที่ปลูกทั้งสิ้น 6 ไร่
โดยผลผลิตทั้งหมดจะส่งให้แก่โรงงานยาสูบ ซึ่งให้โควตามา 1,600 กิโลกรัม


"ตอนนี้ราคาใบยาอยู่ที่กิโลกรัมละ 60 บาท ทางโรงงานยาสูบจะรับซื้อผลผลิตทั้งหมด แต่ไม่เกินโควตาที่เขาให้มา พอหมดยาสูบก็
เตรียมพื้นที่เพื่อทำนาปลูกข้าวต่อไป สลับกันอย่างนี้ เพราะยาสูบเป็นรายได้หลัก แต่ทำนาเพื่อปลูกข้าวไว้กิน ที่เหลือก็ขายด้วย" เกษตรกร
รายเดิมกล่าวทิ้งท้าย


การยกระดับการผลิตใบยาสูบของชาวไร่ด้วยโครงการจีเอพี จนได้ใบยาที่มีคุณภาพดีเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป ส่งผลให้ผู้ผลิตและ
ผู้บริโภคปลอดภัย ควบคู่กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม นับเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานโรงงานยาสูบไทย



(หมายเหตุ : เกษตร : คอลัมน์ ท่องโลกเกษตร - ตามไปดูวิธีการปลูกยาสูบ 'จีเอพี (GAP)' ยกระดับชีวิตชาวไร่เสริมรายได้
หลังทำนา - โดย ... สุรัตน์ อัตตะ)





http://www.komchadluek.net
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 10/06/2012 9:04 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,626. วิทยาการข้าวไทย





คนไทยภูมิใจอยู่เสมอว่า ข้าวไทย เป็นข้าวที่ดีที่สุดในโลก และปัจจุบันเราก็ยังคงครองความเป็นหนึ่งในเรื่องของการส่งออกข้าว
ไปยังที่ต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งคงเป็นสิ่งที่ย้ำความจริงข้อนี้ แต่ว่าต่อไปในอนาคตอันใกล้นี้ เราจะยังคงครองความเป็นหนึ่งอยู่ต่อไปได้
หรือไม่ ก็เป็นสิ่งที่ต้องจับตามองต่อไป


คำถามสำคัญที่น่าศึกษาคือ ทำไมเมืองไทยจึงได้ผลิตข้าวที่มีคุณภาพสูงกว่าคนอื่นได้ และเราจะครองความเป็นหนึ่งเช่นนี้ต่อไปได้
อย่างไร ก็ลองมาวิเคราะห์กันดูครับ ประการแรกคือ เมืองไทยเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์จนในอดีตมีคำกล่าวติดปากว่า ในน้ำมีปลา
ในนามีข้าว หมายความว่าเราแทบไม่ต้องดิ้นรนอะไรเลยก็ไม่อดตาย ดังนั้นคนไทยก็เลยมีเวลาและความประณีตสรรหาแต่ของดีๆ เอา
ไว้กินโดยไม่จำเป็นต้องดิ้นรนขวนขวายอะไรมากนัก


นั่นก็คือบรรพบุรุษของเราดำเนินการคัดเลือกแต่ของดีๆ ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน ปัจจุบันเราจึงมีข้าวสายพันธุ์ต่างๆ มากมายนับไม่ถ้วนให้
เลือกปลูก โดยส่วนใหญ่แล้วมีเป้าหมายเพื่อการบริโภคในครัวเรือน จึงเป็นข้าวที่อร่อย คุณภาพสูง ตรงตามรสนิยมคนไทย ส่วน
เรื่องของผลผลิตต่อไร่กลายเป็นเรื่องรองลงไปมาก


นั่นก็คือเราให้ความสำคัญกับคุณภาพมากกว่าปริมาณผลผลิต จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไปข้าวไทยจึงมีผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ต่ำกว่าทั่วๆ
ไปของโลก แต่นั่นไม่ใช่ประเด็นสำคัญมากนัก เพราะว่าปัจจุบันถึงแม้ผลผลิตต่อไร่จะต่ำ แต่ว่าเราก็ยังสามารถผลิตได้มากเกินความ
ต้องการจนเหลือส่งออกเป็นอันดับหนึ่งของโลก


ประเด็นสำคัญอีกเรื่องหนึ่งคือ ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตที่มีภัยพิบัติมาเยี่ยมกรายน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ เราไม่มีพายุ
หนักอย่างฟิลิปปินส์ หรือเวียดนาม ไม่มีภาวะแห้งแล้งทั่วประเทศจนผลิตข้าวไม่ได้เหมือนบางประเทศ ถึงแม้ว่าปัจจุบันภูมิอากาศ
ของโลกมีการเปลี่ยนแปลง แต่ว่าผลกระทบที่เราได้รับยังจัดว่าน้อยเมื่อเทียบกับคนอื่น แต่หากเราชะล่าใจว่าเรามีทำเลที่ตั้งดี มีพันธุ์
ข้าวดีที่มีคุณภาพสูงแต่ผลผลิตต่ำ แล้วยังคงภาพนี้ไว้ต่อไป เราก็จะถูกคนอื่นแซงอย่างแน่นอน เช่น ตอนนี้เวียดนาม ซึ่งเมื่อ
ก่อนนี้ตามหลังไทยมาห่างมาก แต่ว่าวันนี้เวียดนามเริ่มใกล้ไทยเข้ามาทุกขณะและมีโอกาสแซงหน้าได้ไม่ยากหากเราไม่ทำอะไรที่
ควรทำ


ข้าวไทยที่เราภูมิใจนักหนาว่าเป็นหนึ่งของโลก อย่างเช่นขาวดอกมะลิ 105 ซึ่งเป็นข้าวหอมที่ทั่วโลกรู้จักและยอมรับในคุณภาพ
แต่ว่าคนไทยไม่รู้ที่มาที่ไป อาจนึกว่าเป็นพันธุ์ดั้งเดิมที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติมาตั้งแต่บรรพบุรุษ แต่ความจริงแล้วข้าวพันธุ์นี้เป็นผล
ของการค้นคว้าวิจัยโดยนักวิชาการข้าวไทยในอดีต แต่ไม่ค่อยมีใครพูดถึง ที่ผมนำมากล่าวในที่นี้ก็คือว่า นอกเหนือจากบรรพบุรุษ
ของเราจะเก่งในเรื่องของการคัดเลือกของดีไว้ให้ลูกหลานแล้ว บรรดานักวิชาการหรือนักวิจัยของไทยก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง


สำคัญในการนำของดีเหล่านั้นมาพัฒนาต่อ แต่ผลที่เกิดขึ้นมักเป็นลักษณะของการปิดทองหลังพระ ไม่ค่อยมีผู้ใดกล่าวถึง อย่างเช่น
บรรดาผู้มีหน้าที่กำหนดนโยบายทั้งหลายและพวกที่ดูแลงบประมาณของประเทศมักจะมีคำกล่าวเสมอว่า งานวิจัยไทยมีเยอะแยะแต่
ไม่เคยเห็นได้ใช้ประโยชน์ เสียเงินเปล่า ทำแล้วขึ้นหิ้ง ดังนั้นเมื่อจะต้องพิจารณางบประมาณก็จะตัดส่วนที่ง่ายที่สุดคืองบวิจัย ตรงนี้
แหละอันตราย เพราะว่าเท่ากับตัดแข้งตัดขาของเราเองจนไม่สามารถไปสู้ได้กับประเทศอื่น


ลองคิดดูว่า เฉพาะข้าวขาวดอกมะลิ 105 อย่างเดียว เราลงทุนวิจัยไปน้อยมาก แต่ว่ารายได้ที่เกิดจากข้าวพันธุ์นี้เป็นเท่าไหร่
ก็ลองคิดดูครับ



(หมายเหตุ : เกษตรยุคใหม่ : วิทยาการข้าวไทย : โดย ... รศ.ดร.พีรเดช ทองอำไพ)



http://www.komchadluek.net
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 10/06/2012 9:05 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,627. งานวิจัยข้าวไทย (2)





เมื่อเกือบสองปีที่แล้ว ทางสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช. ได้ให้ สวก.จัดทำยุทธศาสตร์งานวิจัยข้าวขึ้นมาเพื่อใช้
เป็นแนวทางสนับสนุนการวิจัยของประเทศ โดยผู้ที่มีส่วนในการจัดทำก็มีทั้งนักวิชาการทั้งจากมหาวิทยาลัยและกรมการข้าว และ
ผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ รวมทั้งมีการทำประชาพิจารณ์โดยผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด


ในที่สุดก็ได้ยุทธศาสตร์งานวิจัยข้าวขึ้นมา โดยมีการแบ่งเป็น 5 ประเด็นใหญ่ๆ ด้วยกัน ได้แก่ ด้านการพัฒนาพันธุ์ข้าว ด้านการพัฒนา
เทคโนโลยีการผลิต ด้านเทคโนโลยีการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว ด้านเทคโนโลยีการแปรรูป และ ด้านเศรษฐกิจและการตลาดข้าว


หลังจากที่ประกาศยุทธศาสตร์นี้ออกไปเพื่อให้นักวิชาการได้ยื่นข้อเสนอโครงการเข้ามาตามกรอบดังกล่าว ก็ปรากฏว่าได้โครงการ
มาทั้งสิ้น 85 โครงการ ยุทธศาสตร์ที่ได้รับความสนใจมากที่สุด คือเรื่อง ของการแปรรูป ซึ่งมีโครงการหลากหลายมากถึง 35 โครง
การ ที่ผ่านการพิจารณา นั่นก็หมายความว่าอีกไม่นาน เราจะมีผลิตภัณฑ์จากข้าวในรูปแบบใหม่ๆ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
จริงมากขึ้น


งานด้านการแปรรูปข้าวส่วนใหญ่มุ่งเน้นที่การพัฒนาข้าวเพื่อเป็นอาหารสุขภาพ ดังนั้น ข้าวพื้นเมืองและข้าวสีต่างๆ จึงได้รับความสนใจ
ที่จะหาสารต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ในข้าวแต่ละชนิดและหาทางใช้ประโยชน์จากสารเหล่านั้นมากขึ้น


นอกจากนี้ ยังมีความพยายามในการพัฒนา หรือผลิตเครื่องสำอางที่ได้จากผลิตภัณฑ์ข้าวไทย รวมทั้งตั้งความหวังว่าภายใน
ไม่เกิน 5 ปี เราจะมีเทคนิคหรือกระบวนการในการสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่ได้จากข้าว รวมไปถึงผลิตภัณฑ์พลอยได้ต่างๆ จาก
ข้าวที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางเภสัชกรรม เช่นได้สารต้านกระบวนการออกซิเดชั่น สารต้านการเจริญของมะเร็ง สารที่มีผลรักษา
โรคเรื้อรังต่างๆ ซึ่งมีโอกาสเป็นไปได้สูงมาก เนื่องจากข้าวไทยเรามีสารต่างๆ นานาชนิดที่อาจเป็นประโยชน์ได้ หากมีการศึกษาอย่าง
ลึกซึ้งและจริงจัง


นอกจากเรื่องของการพัฒนาข้าวให้เป็นยาแล้ว การพัฒนาข้าวไทยให้มีคุณสมบัติเป็นสารเสริมสุขภาพ ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่มี
ความเป็นไปได้สูง ดังนั้น การพัฒนาเทคนิคและกระบวนการในการดัดแปรข้าวไทยเพื่อเพิ่มมูลค่าและเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ
รวมทั้งพัฒนาให้เป็นสารเสริมสุขภาพ


อย่างเช่น การพัฒนาข้าวให้ทนต่อการย่อย ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน เนื่องจากเมื่อกินเข้าไปแล้ว แป้งก็จะ
ไม่ถูกเปลี่ยนเป็นน้ำตาล ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องกังวลเรื่องของน้ำตาลในเลือดสูง เป็นต้น รวมทั้งการพัฒนาข้าวให้มีสารอาหารต่างๆ
เพิ่มมากขึ้นเพื่อประโยชน์ทางโภชนาการ ซึ่งประเด็นเหล่านี้มีนักวิชาการสนใจมาร่วมกันพัฒนามากเกือบสิบโครงการ


อีกทั้งยังมีความพยายามในการพัฒนาข้าวไทยให้เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่นขนมขบเคี้ยว อาหารกึ่งสำเร็จรูป เครื่องปรุงรส และอื่นๆ
ซึ่งเป็นแนวทางในการเพิ่มมูลค่าของข้าวไทยให้สูงขึ้น โดยไม่ต้องมุ่งอยู่ที่การขายข้าวเปลือกหรือข้าวสารแต่เพียงอย่างเดียว เฉพาะ
ประเด็นเรื่องข้าวอย่างเดียวก็จะเห็นได้ว่าหากเราให้ความสนใจและผลักดันอย่างจริงจังก็มีโอกาสที่จะพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว


ทั้งนี้ เราคงต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องและเอาจริงเอาจัง รวมทั้งต้องสร้างบุคลากรด้านการวิจัยข้าวให้มากขึ้น


หากทำได้อย่างนี้ก็คงไม่ต้องห่วงว่าจะมีคนอื่นมาแซงหน้าประเทศไทยในเรื่องของข้าวครับ!


(หมายเหตุ : งานวิจัยข้าวไทย (2) : คอลัมน์ เกษตรยุคใหม่ : โดย ... รศ.ดร.พีรเดช ทองอำไพ)




http://www.komchadluek.net


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 10/06/2012 9:32 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 10/06/2012 9:17 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,628. มก.ห่วงเด็กเรียน 'สาขาเกษตรน้อย'





14พ.ค.2555 รศ.วุฒิชัย กปิลกาญจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) เปิดเผยว่า จากผลการสอบคัดเลือก
บุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาด้วยระบบกลาง หรือแอดมิสชั่นส์กลาง ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาพบว่า นักเรียนเลือกเรียน
ในสาขาการเกษตรน้อยลงจนน่าเป็นห่วง ทั้งที่ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม และการเกษตรถือเป็นทางรอด
ของประเทศ และเท่าที่ดูไม่ใช่เฉพาะในมก.เท่านั้นที่มีคนเลือกเรียนคณะ/สาขาเกษตร น้อยลง มหาวิทยาลัยอื่น ๆ ก็น้อยลงเช่นกัน


อธิการบดีมก. กล่าวต่อว่า เรื่องนี้ถือว่าน่ากลัวมาก เพราะหากเราผลิตบัณฑิต เพื่อออกไปพัฒนาการเกษตรของประเทศน้อยลง
ต่อไปผลผลิตทางการเกษตรที่ออกมาของบ้านเราจะสู้ประเทศเพื่อนบ้านไม่ได้ โดยขณะนี้หลายประเทศพัฒนาการเกษตรไปมาก
อาทิ ประเทศเวียดนามที่ตอนนี้ผลิตข้าวเฉลี่ยนอยู่ที่ 1,000 กิโลกรัม ต่อ 1 ไร่ ขณะที่บ้านเราเฉลี่ยอยู่ที่ 800 กิโลกรัมต่อ 1 ไร่
เท่านั้น และหากเราเป็นเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ เราก็อาจสู้เพื่อนบ้านไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน สินค้าเกษตร
จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะเป็นทางรอดของประเทศ


อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กลุ่มประเทศในอาเซียนยังยอมรับในความสามารถด้านการเกษตรของบ้านเรา โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้คณะทูตจาก
ประเทศอินโดนีเซีย ได้มาเยี่ยมชมมก. และบอกว่าจะส่งนักศึกษาของอินโดนีเซียมาเรียนด้านการเกษตรที่มก. ซึ่งยินดี แต่ขณะ
เดียวกันเราก็รู้ดีว่าสถานการณ์ของบ้านเราน่าห่วง มีคนเลือกเรียนเกษตรน้อยลง หรือหากเลือกเรียนก็ ไม่ได้ตั้งใจมาเรียนจริง ๆ แต่
เลือกเป็นอันดับท้าย ๆ เพราะคะแนนต่ำ และขอให้แอดมิสชั่นส์ติดเท่านั้น พอปีต่อไปก็ไปสอบใหม่และไปเรียนที่อื่น ไม่ได้ตั้งใจ
เรียนสาขาเกษตรจริง ๆ


ดังนั้นแทนที่มหาวิทยาลัยต่าง ๆ จะไปมุ่งเน้นเรื่องการปรับระบบแอดมิสชั่นส์ ตนอยากให้ทุกมหาวิทยาลัยมามุ่งเน้นที่การผลิต
บัณฑิตที่มีคุณภาพ และส่งเสริมให้เด็กหันมาสนใจเรียนสาขาที่เป็นความต้องการของประเทศมากขึ้น เช่น สาขาด้านการเกษตร
หรือเร่งผลิตครูที่มีคุณภาพ ไม่ใช่เน้นแต่คณะยอดนิยม อาทิ แพทย์ วิศวกรรมศาสตร์ ฯลฯ เท่านั้น เพราะคณะเหล่านี้มีคนเรียน
จำนวนมากแล้ว




http://www.komchadluek.net
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 10/06/2012 9:25 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,629. ข้าวมอลต์วิตามิน บี สูง





ข้าวไทยสามารถนำมาเพิ่มมูลค่าได้หลายทาง แทนที่จะเป็นแต่เพียงข้าวขาวที่เรารู้จักกันดีและบริโภคกันอยู่ทุกวัน ปัจจุบันมีการ
พัฒนาเป็นข้าวงอกหรือข้าวกล้องงอกและนำมาขายได้ในราคาสูงขึ้น เพราะว่ากระแสความกังวลเกี่ยวกับสุขภาพกำลังมาแรง
และได้รับความสนใจจากคนที่เริ่มสูงอายุ เพราะว่าโลกปัจจุบันรวมทั้งเมืองไทยก็กำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างที่ทราบกันดี


การทำข้าวกล้องงอกก็คือการนำข้าวมาสีเอาเปลือกออกแล้วมาแช่น้ำเพื่อทำให้งอก พอเริ่มงอกแล้วก็นำมาทำให้แห้ง กลายเป็น
ข้าวกล้องงอก


ส่วนการทำข้าวมอลต์นั้น ก็มีวิธีการที่คล้ายกัน คือเอาข้าวเปลือกมาแช่น้ำให้เริ่มงอกก่อน แล้วจึงนำมาทำให้แห้งแล้วสีเอาเปลือก
ออก วิธีการนี้ทำให้บรรดาวิตามินต่างๆ ที่เป็นประโยชน์โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิตามินบีชนิดต่างๆ ยังคงอยู่ หรือว่ามีมากขึ้นและสะสม
อยู่ในเม็ดข้าวนั้น


พืชที่สะสมอาหารอยู่ในรูปแป้งในเมล็ด ไม่ว่าจะเป็นข้าวเจ้า ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ มีธรรมชาติที่เหมือนกันคือ ในช่วงของการเติบโต
มีการสังเคราะห์แสงได้น้ำตาลขึ้นมา น้ำตาลซึ่งละลายน้ำได้เหล่านี้ก็จะมีการเคลื่อนย้ายไปยังเมล็ด แล้วเริ่มต่อกันเป็นโซ่ยาวขึ้นกลาย
เป็นแป้งซึ่งไม่ละลายน้ำ และสามารถเก็บสะสมอยู่ในเมล็ดได้นานโดยไม่ละลายน้ำและมีความแข็ง


ทว่า ในช่วงที่เมล็ดงอก ก็จะมีกระบวนการกลับกัน คือมีการย่อยสลายแป้ง ซึ่งความจริงแล้วแป้งก็คือน้ำตาลที่มาต่อกันเป็นโซ่ยาว
นั่นเอง พอถูกตัดออกเป็นชิ้นเล็กๆ ก็คือน้ำตาลซึ่งละลายน้ำได้ และกลายเป็นแหล่งพลังงานให้เมล็ดเติบโตกลายเป็นต้นต่อไป


ในช่วงที่เมล็ดเริ่มงอกก็จะมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ทั้งแป้งกลายมาเป็นน้ำตาล มีสารต่างๆ ที่เป็นประโยชน์และจำเป็นต่อการ
เติบโตของต้นกล้า เกิดวิตามินต่างๆ มากมายในปริมาณมาก ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งจำเป็นในการงอกและเติบโตของเมล็ด
ในระยะที่กำลังงอก


ความแตกต่างระหว่างข้าวขาวหรือข้าวกล้องธรรมดา กับข้าวงอกหรือมอลต์นั้น จึงอยู่ที่รสชาติและคุณค่าทางอาหารที่สูงขึ้น ซึ่งแน่นอน
ว่าข้าวขาวธรรมดามีแป้งเป็นองค์ประกอบหลัก ส่วนข้าวกล้องก็อาจมีพวกไฟเบอร์หรือสารเยื่อใยเพิ่มมากขึ้นและมีวิตามินมากกว่า
ข้าวขาวเนื่องจากไม่ได้ถูกขัดสีเอาสิ่งที่เป็นประโยชน์ออกไป


ถ้าเป็นข้าวกล้องงอก หรือข้าวมอลต์ จะมีแป้งลดลงเพราะว่ามีการเปลี่ยนเป็นน้ำตาลบางส่วน รสชาติจึงเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
และยิ่งเมื่อนำไปให้ความร้อนหรือทำแห้ง ก็จะเกิดกลิ่นที่แปลกออกไป และมักเป็นที่นิยมชมชอบของผู้บริโภค รวมทั้งปริมาณวิตามิน
ต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากกระบวนการงอกของเมล็ด ทั้งหมดนี้ จึงส่งผลให้ข้าวกล้องงอกหรือข้าวมอลต์มีความเหนือกว่าข้าวขาว
หรือข้าวกล้องธรรมดา


ในกระบวนการทำข้าวกล้องงอกหรือข้าวมอลต์ จะต้องมีการแช่เมล็ดในน้ำเพื่อให้เกิดการงอก ช่วงนี้เองเป็นช่วงที่อาจก่อให้เกิด
ปัญหา เพราะว่าเชื้อจุลินทรีย์ต่างๆ สามารถเติบโตได้และทำลายคุณภาพของข้าวงอกหรือมอลต์ หรือทำให้เสียหายทั้งหมด


ดังนั้น ถ้าจะทำข้าวมอลต์ที่มีวิตามินบีสูงและได้คุณภาพที่ดี ก็จำเป็นต้องมีกระบวนการผลิตที่ดีและแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ ก็เป็นที่น่า
ยินดีว่านักวิจัยไทยเราก็สามารถแก้ปัญหาเหล่านี้ได้แล้ว จนกระทั่งสามารถขยายผลสู่การผลิตระดับอุตสาหกรรมได้


ส่วนที่ว่าทำอย่างไรนั้นคราวหน้าจะมาเล่าให้ฟังครับ!

(หมายเหตุ : คอลัมน์ เกษตรกรยุคใหม่ : ข้าวมอลต์วิตามินบีสูง : โดย ... รศ.ดร.พีรเดช ทองอำไพ)



http://www.komchadluek.net


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 10/06/2012 9:32 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 10/06/2012 9:31 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,630. คลื่นเสียงฆ่าแมลง (2)


โดย... รศ.ดร.พีรเดช ทองอำไพ


คราวที่แล้วได้เล่าให้ฟังเกี่ยวกับการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงในการล้างผัก ซึ่งนักวิจัยพบว่าสามารถล้างสารเคมีตกค้างออกได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ และมีผลลดจุลินทรีย์ แต่ที่สำคัญคือสามารถฆ่าแมลงที่ติดมากับพืชผักได้ โดยเฉพาะที่น่าตื่นเต้นคือคลื่นเสียงดังกล่าว
ใช้ในการฆ่าเพลี้ยไฟได้ ผลกระทบที่ตามมามีมากมายมหาศาล เพราะว่าตอนนี้เมืองไทยมีปัญหาไม่สามารถส่งผักบางชนิดเช่นพวก
กะเพรา โหระพา ผักชี ไปยังกลุ่มประเทศในสหภาพยุโรปได้ เพราะมีการตรวจพบเพลี้ยไฟในผักดังกล่าว


ผลก็คือ เมืองไทยสูญเสียรายได้จากการส่งออกผักเหล่านี้ไปเป็นมูลค่าหลายพันล้านบาท รวมทั้งร้านอาหารไทยในต่างแดนก็
ไม่มีวัตถุดิบเหล่านี้เพื่อใช้ในการประกอบอาหารไทย เลยทำให้เมนูอาหารอร่อยของเราหลายรายการต้องถูกตัดออกไป เป็นการ
ปิดช่องทางการเติบโตของอุตสาหกรรมอาหารไทยในต่างแดนอย่างมาก


แต่เมื่อเรามีเครื่องล้างผักที่ใช้คลื่นเสียงความถี่สูงนี้และตอนนี้ก็พิสูจน์ได้แล้วว่ามีประสิทธิภาพในการกำจัดแมลง ไม่ว่าจะเป็น
หนอนต่างๆ ไข่แมลง และตัวแมลงโตเต็มวัย โดยเฉพาะเพลี้ยไฟจึงเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างมาก เป็นการเปิดช่องทางให้เรากลับ
มาสร้างตลาดได้อย่างเดิม ทั้งๆ ที่เครื่องล้างผักที่สร้างขึ้นมานี้มีมูลค่าเพียงประมาณสามแสนบาทเท่านั้น แต่ว่าผลกระทบที่เกิดขึ้น
จากการใช้เครื่องนี้มีมากมายหลายพันล้านบาทครับ


การทำงานของเครื่องล้างผักที่ใช้คลื่นเสียงความถี่สูงที่สร้างขึ้นมานี้มีลักษณะง่ายๆ คือเป็นเหมือนอ่างน้ำสี่เหลี่ยมที่มีความจุ 200 ลิตร
แต่ว่าข้างล่างจะมีหัวสร้างคลื่นเสียงความถี่สูงติดอยู่ หัวสร้างคลื่นนี้ก็พัฒนาขึ้นมาในห้องปฏิบัติการวิจัยของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยที่ปทุมธานีนี่เอง


เมื่อจะใช้งานก็จะใส่น้ำเข้าไปในอ่างแล้วเปิดเครื่องให้มีการสร้างคลื่นเสียงความถี่สูงขึ้น คลื่นเสียงนี้จะทำงานโดยส่งผ่านคลื่นเสียง
ไปในน้ำ เมื่อมองดูจะไม่เห็นความเคลื่อนไหวใดๆ เพราะว่าความถี่สูงมาก แต่ตัวน้ำจะเกิดการสั่นสะเทือนด้วยความถี่สูงตามคลื่นที่
ใช้ เมื่อใส่ผักลงไปในน้ำ คลื่นเสียงที่กระจายอยู่ทั่วไปในน้ำก็จะทำหน้าที่สั่นสะเทือนเนื้อเยื่อต่างๆ ทั้งของผักและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่อยู่
ในน้ำนั้น


ด้วยการวิจัยจนพบว่าขนาดคลื่นความถี่ที่เหมาะสมในการสั่นสะเทือนให้เนื้อเยื่อแมลงเสียหายได้โดยไม่ทำอันตรายต่อพืชผักนั้น
ได้นำไปสู่การสร้างหัวกำเนิดคลื่นเสียงความถี่สูงที่เหมาะสมขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ในการนี้โดยตรง แมลงที่ติดไปกับผักหรือผลไม้
เมื่อถูกคลื่นเสียงก็จะเกิดการแตกของเซลล์ ดังนั้น ไม่ว่าตัวหนอน ไข่แมลง ตัวแมลงโตเต็มวัย ซึ่งภายในตัวมีของเหลวอยู่ จึงเกิด
การสั่นสะเทือนของของเหลวในตัวด้วยความถี่สูงมากจนเซลล์แตกและตายลง หากเป็นไข่แมลงจะพบว่าไข่แตกหรือฝ่อ ถ้าเป็นหนอน
หรือแมลงก็จะตาย บางส่วนลอยหลุดออกมาให้เห็นในเวลา 1-3 นาทีเท่านั้น ขึ้นอยู่กับชนิดของผักและแมลง


การค้นพบครั้งสำคัญนี้ สร้างความตื่นเต้นให้แก่ผู้ส่งออกพืชผักไปต่างประเทศเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการส่งผักไปยุโรป ซึ่งประสบ
ปัญหาที่ยังแก้ไม่ตกในปัจจุบัน จึงได้มีการนำผักที่จะส่งออกมาทดสอบล้างด้วยเครื่องนี้ แล้วลองส่งออกไปยุโรป ปรากฏว่าเป็นที่
น่าพอใจมาก เพราะว่าแมลงที่ติดมากับผักในตอนแรกตายหมดภายหลังจากการผ่านเครื่องล้างผักตัวนี้ และเมื่อส่งไปยุโรปก็หมดปัญหา
เพราะตรวจไม่พบแมลงติดไป เครื่องดังกล่าวจึงกลายเป็นที่ต้องการของเอกชนผู้ส่งออกผักเป็นอย่างมาก

คราวหน้าจะมาเล่าให้ฟังต่อไปว่าแล้วได้มีการดำเนินการในเรื่องนี้ต่อไปอย่างไรบ้าง!




คลื่นเสียงฆ่าแมลง (3)




เครื่องล้างผักที่ใช้คลื่นเสียงความถี่สูงที่พัฒนาขึ้นมาโดย ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต จากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
แห่งประเทศไทยหรือ วว. โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก สวก. เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงมาก ที่สำคัญคือมีความสามารถ
ในการฆ่าแมลง ทั้งตัวหนอน ไข่ หรือตัวโตเต็มวัย โดยไม่ทำให้ผักช้ำหรือเสียหาย ซึ่งเรื่องนี้เป็นข้อค้นพบที่น่ายินดีเป็นอย่างมาก
เพราะว่าเรามีโอกาสเปิดตลาดไปยังประเทศต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปที่มีข้อกำหนดเรื่องการปนเปื้อน
สารกำจัดศัตรูพืช จุลินทรีย์ที่เป็นอันตราย และแมลงชนิดต่างๆ ที่อาจติดไปกับผัก ซึ่งยังเป็นปัญหาอยู่ในปัจจุบันนี้


หลังจากที่แน่ใจแล้วว่าเครื่องล้างผักดังกล่าวสามารถทำงานอย่างได้ผล จึงได้มีการขยายผลเรื่องนี้คือ สวก.ได้ให้ทุนสนับสนุนนักวิจัย
คือ ดร.ชุติมา ในการสร้างเครื่องขึ้นมาเพื่อทดลองจำหน่ายให้เอกชนที่สนใจจะนำไปใช้ในการล้างผักให้ได้เกณฑ์มาตรฐานเพื่อการส่ง
ออก โดยได้คำนวณต้นทุนและราคาแล้วน่าจะไม่เกินเครื่องละ 3 แสนบาท ซึ่งเครื่องดังกล่าวมีขนาดความจุของถังล้างประมาณ
200 ลิตร และล้างผักได้ครั้งละหลายกิโลกรัม โดยใช้เวลาเพียง 1-3 นาทีต่อรอบเท่านั้น ดังนั้นบรรดาผู้ส่งออกผักทั้งหลายหากต้อง
การใช้เครื่องนี้ก็สามารถทำได้ในปริมาณที่มากพอและทันต่อความต้องการ


นอกจากจะสนับสนุนให้นักวิจัยได้สร้างเครื่องล้างผักดังกล่าวขึ้นมาให้ผู้ส่งออกผักได้ทดลองนำไปใช้แล้ว ยังได้มีการสนับสนุนให้
ทดสอบการใช้เครื่องดังกล่าวในการกำจัดแมลงอื่นๆ ที่ติดมากับผักและผลไม้อย่างเช่นมด เพลี้ยแป้ง และหนอนต่างๆ ในผลไม้
สำคัญที่เราต้องการส่งออกและอาจติดปัญหาเรื่องแมลงติดไปกับผลและจะกลายเป็นข้อจำกัดในการส่งออกผลไม้บางอย่าง
เช่น มังคุด ลองกอง เป็นต้น ซึ่งอีกไม่นานก็คงจะทราบว่าเครื่องนี้สามารถช่วยกำจัดแมลงเหล่านี้ได้หรือไม่


ผลไม้สำคัญอีกชนิดหนึ่งที่น่าสนใจศึกษาก็คือมะม่วง ซึ่งมีปัญหาเรื่องของแมลงวันทอง และเมื่อจะส่งออกไปบางประเทศอย่างเช่น
ญี่ปุ่น ก็ต้องมีการอบไอน้ำ ซึ่งจะทำให้เสื่อมคุณภาพได้ง่ายและอายุการเก็บรักษาอาจสั้นลงเนื่องจากความร้อนที่ใช้ หากเครื่องนี้
สามารถฆ่าหนอนแมลงวันทองได้ ก็หมายความว่าอนาคตเราอาจไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องอบไอน้ำให้ยุ่งยากอีกต่อไป เพราะว่าถ้า
เรามีข้อมูลทางวิชาการมากเพียงพอที่จะเป็นหลักฐานว่าวิธีการของเราใช้ได้ผลจริง ก็น่าจะเป็นที่ยอมรับของประเทศคู่ค้าได้


ผลิตผลอีกชนิดหนึ่งที่กำลังมีปัญหาการส่งออกคือดอกกล้วยไม้สด ซึ่งมักจะมีปัญหาเรื่องของเพลี้ยไฟติดไปกับดอก และมีโอกาส
ถูกทำลายทิ้งที่ปลายทางหากมีการตรวจพบ หากเครื่องล้างผักด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงเครื่องนี้สามารถฆ่าเพลี้ยไฟหรือหนอนต่างๆ
ที่ติดมากับช่อดอกกล้วยไม้ได้โดยไม่ทำให้ดอกช้ำ ก็จะเป็นโอกาสสำคัญที่จะทำให้เราสามารถส่งออกดอกกล้วยไม้ได้มากขึ้นโดย
ไม่ต้องกังวลเรื่องของแมลงศัตรูพืชที่อาจติดไปกับผลิตผลที่ส่งออกได้ เรื่องต่างๆ เหล่านี้กำลังเป็นความหวังของผู้ค้าและผู้ส่งออก
ทั้งหลายที่กำลังรอให้นักวิจัยได้หาทางและพิสูจน์ให้เห็นว่าเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมานั้น สามารถใช้ได้จริงหรือไม่ หากได้ผลอย่างที่
คาดหวังไว้ก็จะช่วยประเทศเราได้อย่างมากครับ



(หมายเหตุ : คลื่นเสียงฆ่าแมลง (3) : คอลัมน์ เกษตรกรยุคใหม่ : โดย ... รศ.ดร.พีรเดช ทองอำไพ)



http://www.komchadluek.net


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 12/06/2012 2:39 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 12/06/2012 7:33 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,631. วิธีเลี้ยงแมงดานา


ธรรมชาติของมันแล้วน่าจะเรียกว่า “แมลงดา” จะถูกต้องกว่าเพราะมันมีขาแค่ 6 ขา ไม่ใช่ 8 ขาซึ่งเรียกว่า “แมง” ตามจำแนกวิธี
เรียกของสัตว์เล็กๆจำพวกนี้ แต่น้อยคนที่จะเรียกกันว่า แมลงดานา ก็เอาเป็นว่ายอมรับคำว่า “แมงดา” กันโดยปริยายก็แล้วกัน





แมงดานาจัดเป็นสัตว์จำพวกมวนน้ำชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกนี้ ฝรั่งจึงเรียกแมงดานาว่า “มวนน้ำยักษ์” ลักษณะทั่วไปของ
สัตว์ชนิดนี้ที่เห็นเด่นชัดที่สุดคือ ตานูนแข็งขนาดใหญ่ 1 คู่ มีขาคู่แรกเป็นอวัยวะจับอาหาร ส่วนขาคู่ที่ 2 และ 3 เป็นขาว่ายน้ำ

โดยเฉพาะขาคู่หลังสุดจะมีลักษณะคล้ายใบพาย ทั้งนี้เนื่องจากแมงดานาเป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก อวัยวะส่วนนี้จึงมีความ
จำเป็นมากในการดำรงชีพ สำหรับในบ้านเราเท่าที่เคยมีการจำแนกชนิดของแมงดานานั้น บอกต่อๆกันว่ามีอยู่ 3 ชนิด คือ แมงดา
หม้อ แมงดาเหลืองหรือแมงดาทอง และแมงดาลาย โดยจำแนกกันตามลักษณะภายนอก โดยแมงดาพันธุ์หม้อนี้จัดเป็นแมงดาพันธุ์
ไข่ดก ขอบปีกมีลายเหลืองทองยาวไม่ถึงหาง ส่วนพันธุ์เหลืองหรือพันธุ์ทองนั้นจะออกสีเหลืองทองทั้งตัวและนับว่าหายากที่สุด
สำหรับพันธุ์ลายนั้นขอบปีกจะออกลายสีเหลืองทองคล้ายกับพันธุ์หม้อ แต่ขอบปีกจะยาวจนถึงหาง และในตลาดที่เราเห็นกันบ่อยๆ
โดยเฉพาะะช่วงหน้าฝนนี้จะเป็นแมงดาพันธุ์ลายเสียส่วนมาก

ส่วนสำคัญที่ขายได้ของแมงดานาจะอยู่ที่หางยาวแหลมคล้ายเดือย ส่วนนี้จะมีต่อมกลิ่นหอมฉุน และจะมีแต่เฉพาะตัวผู้เท่านั้น และ
แม้ว่าแมงดานาทั้งตัวผู้และตัวเมียจะมีขนาดใกล้เคียงกันคือ ลักษณะลำตัวยาวรีเหมือนใบไม้ออกโทนสีน้ำตาล ยาวประมาณ 2-4
นิ้ว แต่ข้อสังเกตง่ายๆคือ ตัวผู้ลำตัวจะกลมป้อม และเล็กกว่าตัวเมียนิดหน่อย ส่วยตัวเมียลำตัวจะออกแบนๆ ส่วนท้องใหญ่ กว้างและ
ที่สังเกตคือมักจะไม่มี่เดือยหาง แม้ว่าบางครั้งเราหยิบขึ้นมาดมดูจะพบว่ามีกลิ่นฉุนๆก็ตาม นั้นแสดงว่าแม่ค้าเขาเหยาะกลิ่นแมงดานา
เข้าไปแล้ว เหตุที่ต้องทำเช่นนี้เพราะว่าราคาแมงดาตัวผู้จะแพงกว่าแมงดาตัวเมีย


รูปร่างลักษณะแมงดา
ไข่
เป็นกลุ่มวางเรียงเป็นแถวตามต้นข้าวหรือต้นหญ้า หรือตามกิ่งไม้ขนาดเล็กในน้ำ ไข่มีสีน้ำตาลอ่อน มีลายเป็นขีดสีน้ำตาล ด้านบน
มีจุด ระยะไข่ 7-8 วัน

ตัวอ่อน
เมื่อไข่ฟักเป็นตัวอ่อน ด้านบนของไข่จะเปิดออกเรียกกันว่าเปิดฝาชีหรือหมวก ตัวอ่อนจะอยู่ในท่าหงายท้องแล้วกระโดดลงในน้ำ
ระยะแรกๆลำตัวนิ่ม สีเหลืองอ่อน ต่อมาเป็นสีเขียวปนเหลือง เมื่อโตขึ้นสีเหลืองปนน้ำตาล

ตัวเต็มวัย
เป็นมวนที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ลำตัวกว้าง 2-2.5 เซนติเมตร ยาว 5-7 เซนติเมตร ตัวแบนสีน้ำตาลยาวรีเหมือนใบไม้ ปากแบบเจาะดูด
ขาคู่หน้าแบบจับเหยื่อ ขาคู่ที่ 2 และ3 ใช้ว่ายน้ำ ตัวผู้มีกลิ่นฉุนและมีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย เมื่อแง้มดูที่ปลายท้องตัวเมียจะเห็นอวัยวะ
วางไข่คล้ายเม็ดข้าวสาร

ฤดูและการผสมพันธุ์แมงดา
ฤดูที่แมงดาจะออกแพร่พันธุ์ จะเริ่มตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคมถึงกลางเดือนตุลาคม หรือเข้าหน้าฝนได้ประมาณสองอาทิตย์ และจะ
หยุดก่อนปลายฝนประมาณสองอาทิตย์ ในฤดูนี้บางแห่งจะมีน้ำขังอยู่มากบ้างน้อยบ้าง แมงดาในขณะที่บินมาจากไหนก็ตาม เมื่อ
ตกลงยังพื้น โดยเจตนาของมันหรือโดยการกระทบกับสิ่งที่ทำให้มันเสียหลัก มันจะหาที่พักได้ง่ายเพราะทุกแห่งมีน้ำ แมงดาอาจพัก

ซ่อนตัวในเวลากลางวันตามแอ่งน้ำเล็กๆ หรือในรอยเท้าสัตว์ เช่น วัว ควาย ซึ่งมีน้ำปนอยู่กับโคลนเล็กน้อย เมื่อถึงเวลากลางคืน
แมงดาจะบินต่อไปอีก ฉะนั้นในบางโอกาสที่เราจับแมงดาได้ ปีกของมันจะยังเปื้อน
โคลนอยู่ก็มี การที่แมงดาต้องอาศัยน้ำอยู่ตลอด
เวลาก็เนื่องจากมันเป็นแมงชนิดสะเทินน้ำสะเทินบก (Amphibian) แมงดาตัว
เมียเมื่อได้กลิ่นตัวผู้ ณ ที่ใดก็จะบินมาตกบริเวณ
นั้น แสงสว่างเป็นเครื่องชักจูงให้แมงดาบินมาเวียนวนในแถบนั้นเช่นเดียวกับแมลง
ทุกชนิดที่เคลื่อนไหวในเวลากลางคืน แหล่งที่
แมงดาชอบลงเพื่อทำการขยายพันธุ์คือที่ระดับน้ำไม่เปลี่ยนแปลงเร็วและมีอาหารพอที่ลูกแมงดาจะยังมีชีวิตอยู่ได้ แหล่งเหล่านั้นคือ
ท้องนาและริมๆขอบบึงที่น้ำตื้น และในการผสมพันธุ์ตัวผู้จะปล่อยกลิ่นฉุนเรียกตัวเมีย แล้วเกาะบนหลังตัวเมีย ผสมพันธุ์ตามกอหญ้า
กอข้าว

การวางไข่แมงดาและการเจริญเติบโตแมงดา
การวางไข่ของแมงดานา แมงดานาไม่ชอบวางไข่ที่ไม้แข็ง เช่น ไม้เต็งรัง แต่จะวางที่ไม้สน หรือใบหญ้า ใบกก หรือต้นไม้ขนาดเล็ก
สูงจากระดับน้ำประมาณ 10 นิ้วหรือ 1 ฟุตแล้วแต่ว่ามันจะรู้สึกว่าน้ำจะมามากหรือน้อย โดยตัวเมียจะปล่อยวุ้นออกมายึดไข่กับกิ่งไม้
หรือกอหญ้า วางไข่เป็นกลุ่มๆ แต่ละกลุ่มมีประมาณ 100-200 ฟองทั้งนี้แล้วแต่ความสมบูรณ์ของแมลง แมงดาที่ชอบที่เงียบๆไม่มี
สิ่งรบกวนสำหรับการวางไข่ ไข่ที่วางไว้กับไม้หรือต้นไม้ ต้นข้าว จะมีวัตถุคล้ายวุ้นทำหน้าที่เป็นกาวยึดไข่ไว้อย่างมั่นคง ไข่ที่วางไว้ใหม่ๆ
จะมีสีนวลน้อยๆ มีลายริ้วสีน้ำตาลประกอบ แล้วจะค่อยๆคล้ำไปเล็กน้อย ไข่สีคล้ำเรียกว่าไข่แก่ เมื่อวางไข่แล้วตัวผู้จะคอยดูแลไข่
จนกว่าตัวอ่อนจะฟักออกจากไข่และหากินเองได้ เพราะบางครั้งตัวเมียถ้าได้โอกาส
ก็จะกินไข่ของมันเอง

ภายหลังห้าวันที่ได้มีการวางไข่ ลูกแมงดาอ่อนๆ จะเกิดเป็นตัวอยู่ในไข่ ภายหลัง 6-7 วันไข่จะฟักออกเป็นตัวโดยไข่จะเปิดฝาขอองมัน
คล้ายฝาชี แต่ไม่หลุดออกจากกัน ไข่เปิดฝาแบบนี้เรียกว่าเปิดแบบ opercular ลูกแมงดาจะค่อยๆโผล่จากไข่ โดยการแบ่งตัวออกมา
ในท่าหงายท้องแล้วร่วงลงในน้ำ ลูกแมงดาจะอยู่นิ่งพักบนผิวน้ำครู่หนึ่งแล้วจึงดำลงใต้น้ำ ลูกแมงดาเกิดใหม่ๆตัวของมันเป็นสีนวล ไม่มี
ปีก สีของมันจะค่อยๆเข้มขึ้นภายในระยะเวลาน้อยกว่าครึ่งชั่วโมง ครั้นแล้วจะเริ่มกินเหยื่ออย่างกระหายหิว (ลูกแมงดาเรียกกว่า nymphs)
ซึ่งลูกอ๊อดเป็นเหยื่อที่ลูกแมงดาชอบมาก ในขณะที่ลูกอ๊อดผ่านมาในระยะอันสมควร ลูกแมงดาที่เกาะนิ่งอยู่ จะพุ่งตัวอย่างรวดเร็ว
เข้าเกาะที่ปลายหางลูกอ๊อด แล้วไต่อย่างรวดเร็วเข้าสู่โคนหาง ลูกแมงดาจะช่วยเหลือตัวเองได้ประมาณครึ่งชั่วโมงภายหลังการออก
จากไข่

ระยะนี้เป็นระยะสำคัญในการเลี้ยงลูกแมงดา ต้องระวังเรื่องขาดแคลนอาหารหรือจัดที่เลี้ยงแคบเกินไป ถ้าขาดความระมัดระะมังในเรื่อง
นี้ลูกแมงดาจะกินกันเองจนกระทั่งครอกหนึ่งจะเหลือตัวเก่งอยู่สองสามตัวหรืออาจเหลือเพียงตัวเดียวก็ได้ แมงดาที่เสียเปรียบในการ
รักษาตัวรอดคือตัวที่ทำอาการเคลื่อนไหวซึ่งพี่น้องของมันจะจับกินเป็นเหยื่อ การหายใจของลูกแมงดาทำโดยวิธีจับอากาศจากผิว
น้ำไว้ใต้ท้องหรือใช้ท่อที่อยู่เกือบสุดปลายตัวของมันจ่ออยู่ที่ผิวน้ำ นอกจากท่อ 2 ท่ออยู่เกือบสุดปลายของลูกแมงดา ยังมีท่อที่ขอบ
ตัวของมันทุกๆปล้อง ท่อเหล่านี้เรียกว่า tracheae ลูกแมงดาที่ซ่อนตัวอยู่ใต้น้ำเมื่อออกซิเจนซึมเข้าตัวของมันหมด มันจะโผขึ้นสู่
ผิวน้ำและทำอาการพลิกหงายท้องเพื่อจับอากาศใหม่เพื่อหายใจแล้วดำลงซ่อนตัวเหมือนเดิม

การเจริญเติบโตของแมงดาเป็นไปโดยการลอกคราบ (molting) แมงดาจะลอกคราบรวมทั้งหมดห้าครั้ง จึงจะเป็นแมลงมีปีกโดย
สมบูรณ์ แมงดาที่ลอกคราบในครั้งที่สี่ที่ห้า จะไม่สามารถกินเหยื่อได้ในวันแรกๆเพราะตัวของมันยังอ่อนนิ่มอยู่ ปากของมันยังไม่
แข็งพอที่จะเจาะเหยื่อ ขาของมันก็ยังไม่แข็งพอที่จะกอดรัดเหยื่อไว้ให้มั่นคงได้ มันจะอาศัยเพียงอากาศหายใจ ท่อหายใจตามขอบตัว
มันยังเป็น nymphs จะปิดหมด และใช้อวัยวะที่มีอยู่สุดปลายตัวต่อจากท่อถ่ายและอวัยวะสืบพันธุ์เป็นเครื่องหายใจ

วงจรชีวิตของแมงดานา Lethocerus indicus Lep.Serv.
ระยะ .................................. อายุ (วัน)
ไข่ ..................................... 7-8

ตัวอ่อน
วัย 1.................................... 3-5
วัย 2..................................... 5-7
วัย 3..................................... 7-9
วัย 4..................................... 11-13
วัย 5 เพศผู้............................... 21
เพศเมีย................................... 32

วิธีการจับเหยื่อ
แมงดามีความว่องไวในการจับเหยื่อ ช่วงแรกมันจะอยู่เฉยๆ ไม่ขยับตัวปล่อยให้เหยื่อ เช่นลูกปลา ลูกกุ้ง ว่ายน้ำผ่านไป เมื่อเข้า
มาระยะพอเหมาะแมงดาจะพุ่งตัวเข้าไปหาเหยื่อ ใช้ขาคู่หน้าจับเหยื่อไว้และใช้ปากเจาะ แล้วปล่อยสารพิษเข้าไปในผิวหนังของเหยื่อ
ดูดของเหลวจากตัวเหยื่อ

สถานที่และการเลี้ยงแมงดานา
สถานที่ที่เหมาะสมในการทำบ่อเพาะเลี้ยงแมงดานา ควรเป็นที่โล่งเเจ้งใกล้แหล่งน้ำแต่น้ำท่วมไม่ถึง และต้องไม่พลุกพล่านซึ่งบ่อ
เลี้ยงแมงดาไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่มาก และขนาดของบ่อที่นิยมคือให้มีความยาวเป็นบวกหนึ่งของด้านกว้าง และขนาดที่เหมาะสมที่
สุดควรมีพื้นที่บ่อประมาณ 20 ตารางเมตร โดยด้านข้างทั้งสี่ด้านควรลาดเททำมุม 45 องศา และตรงกลางบ่อทำเป็นหลุมลึกสักจุด
หนึ่งเพื่อใช้รวบรวมของเสียและง่ายต่อการกำจัด และที่ขาดไม่ได้คือชานบ่อโดยรอบให้กว้างประมาณ 1 เมตร ส่วนนี้ไม่ต้องเท
ซีเมนต์แต่ปล่อยทิ้งไว้เป็นดิน เพื่อที่เราจะปลูกต้นไม้ใช้เป็นที่พักอาศัยของแมงดา อาจปลูกต้นกก ผักบุ้งหรือเลียนแบบธรรมชาติให้
มากที่สุด นอกจากนี้บ่อเลี้ยงต้องขึงตาข่ายตาไม่ใหญ่กว่า 1 ซม. ป้องกันไม่ให้แมงดาบินหนี หรือมีนก หนูเข้าไปลักกินแมงดานา
ส่วนหลังคาต้องกันแดดกันฝนได้ดี

หลังจากทำบ่อและบ่มจนน้ำหมดกลิ่นปูนเรียบร้อยแล้วก็จัดการปล่อยพ่อแม่พันธุ์แมงดานาลงไปได้เลย โดยน้ำที่ใส่ต้องเป็นน้ำ
สะอาดจากน้ำคลองที่สูบขึ้นมาพักจนตกตะกอนดีแล้วจะดีที่สุด ใส่น้ำให้ได้ระดับความลึกประมาณ 70-80 ซม.แล้วปล่อยพ่อ
แม่พันธุ์ลงไปในอัตรา 50 ตัวต่อ 1 ตารางเมตร สัดส่วนของตัวผู้กับตัวเมีย 1 ต่อ 1 ดีที่สุด แต่สัดส่วน 1 ต่อ 5 ก็ได้ผลดีพอสมควร
การรวบรวมพ่อแม่พันธุ์แมงดานาช่วงที่ดีที่สุด ควรเป็นช่วงตั้งแต่เดือนกันยายน-ตุลาคม เนื่องจากเป็นแมงดาวัยรุ่นยังไม่มีไข่ (เขา
ว่าแมงดานาที่มีไข่ติดท้อง หากตกใจจะกลั้นไข่จนตายในที่สุด) แต่เราสามารถแยกเพศได้แล้ว โดยดูที่อวัยวะสืบพันธุ์ ตรงก้นที่เห็น
เป็นระยางค์แฉกๆลองแง้มดูภายในหากเห็นเป็นอวัยวะคล้ายเม็ดข้าวสารแแสดงว่าเป็นตัวเมียแน่นอน ขั้นตอนการเตรียมบ่อเพื่อให้
แมงดานาผสมพันธุ์เริ่มจากลดระดับน้ำลงจากเดิมประมาณครึ่งหนึ่ง พร้อมกับจัดการเก็บไม้น้ำ โพรงไม้ ขอนไม้ หรืออะไรที่ลอยน้ำเป็น
ที่ยึดเกาะของแมงดานาออกจากบ่อให้หมดโดยนำไม่ไผ่หรือกิ่งไม้แห้งๆใส่ลงไปแแทนที่ทิ้งไว้แบบนี้ 3-4 วัน ก่อนเปลี่ยนน้ำเข้าไป
ใหม่ในระดับเดิมคือ ประมาณ 80 ซม.หรือเกือบเต็มบ่อก็ได้ จากนั้นเก็บกิ่งไม้ไผ่ กิ่งไม้ออก ใส่ลูกบวบลงไปแทน โดยลูกบวบนี้ทำจาก
ท่อนกล้วยยาวท่อนละ 1 เมตร ที่ถ่วงน้ำหนักให้ส่วนใดส่วนหนึ่งของท่อนกล้วยจมน้ำด้านนี้เสมอ ส่วนด้านบนที่ไม่จมน้ำ ปักด้วยซี่ไม้ไผ่
หรือไม้เสียบลูกชิ้นยาวคืบกว่าๆเป็นแถว กะว่าแต่ละอันห่างกันประมาณ 10 ซม. แมงดานาจะขึ้นมาวางไข่ตามไม้ที่ปักไว้นี้ หลังจาก
นี้ประมาณ 3-4 วันไปแล้ว ซึ่งเมื่อเห็นว่าแมงดานาวางไข่แล้วเต็มที่ก็ให้จับพ่อแม่พันธุ์ออกไปเลี้ยงในบ่ออื่นให้หมด นอกจากนี้แล้ว
แมงดานาตัวเมียจะวางไข่ได้อีก 2-3 ครั้ง ในแต่ละช่วงปีห่างกันครั้งละประมาณ 1 เดือน ดังนั้นหากต้องการมีแมงดานาขายอย่างต่อ
เนื่องแล้วอาจจะต้องลงทุนทำบ่อไว้หลายบ่อโดยวิธีเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์หลังจากวางไข่ผสมพันธุ์แล้วจะดีกว่า เพราะสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยน
แปลงเร็วเช่นนี้จะเร่งให้มันผสมพันธุ์วางไข่เร็วขึ้น โดยพ่อแม่พันธุ์แต่ละรุ่น มักนิยมใช้กันแค่ปีเดียวคือวางไข่ได้ 2-3 ครั้งก็จับขายแล้ว
คัดเอาบรรดาลูกๆรุ่นใหม่เป็นพ่อแม่พันธุ์ต่อไป

หรือการเลี้ยงอีกวิธีหนึ่งก็คือโดยการมัดกลุ่มไข่หรือเสียบกับลวดเพื่อวางยืนในกล่อง ใส่น้ำและวางกล่องในถาดหล่อน้ำ กันมด
ไข่ที่ใกล้ฟักจะมีสีเข้มชัดเจน พองผิวเต่งตึง แมงดามักจะออกจากไข่ช่วงเช้าและเย็น เมื่อฟักออกจากไข่จะหงายท้องและดีดตัวร่วง
ลงน้ำ ตัวอ่อนที่ฟักออกจากตัวใหม่ๆจะสีเหลืองอ่อน ด้านในลำตัวสีเขียว ตาสีดำ ต่อมาอีกประมาณ 1 ชั่วโมง สีจะคล้ำขึ้นเป็นสีน้ำตาล
ปนเทา แยกตัวอ่อนวัย 1 ใส่เลี้ยงถ้วยละ 1 ตัว โดยใช้ขวดน้ำขนาดความจุ 950 มิลลิเมตร ตัดเอาก้นขวดสูง 3 นิ้ว เป็นถ้วยเลี้ยง
เจาะรูก้นถ้วยเพื่อความสะดวกในการถ่ายน้ำเสีย วางถ้วยในถาดพลาสติกใส่น้ำลงไปประมาณ 0.5 นิ้ว ให้ลูกปลาเป็นอาหารถ้วยละ 1 ตัว

อาหารของแมงดานา และการให้อาหารแมงดานา
อาหารของแมงดา ให้ด้วยลูกปลา ลูกกุ้ง หรือ ลูกอ๊อด ( อย่าให้ลูกอ๊อดคางคก เพราะลูกอ๊อดคางคกมีพิษ )

การให้อาหารตอนเช้าก่อน 08.00 น. วันละ 1 ครั้ง และช่วงเย็น (16.00น.) เอาเศษลูกปลาตายออก ล้างทำความสะอาดถ้วย
เลี้ยง เปลี่ยนน้ำ เมื่อตัวอ่อนลอกคราบเข้าวัย 3 ย้ายเข้ากรงคู่ทำด้วยตาข่ายพลาสติกสีดำ ( มีจำนวนรู 35 รู ต่อ 1 ตาราง
นิ้ว ) ลักษณะรูปทรงกระบอกยาว 18.5 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 8 เซนติเมตร ปิดส่วนท้ายกรงแต่ละคู่ด้วยแผ่นตา
ข่ายขนาด (กว้าง x ยาว) 9 x19 เซนติเมตร วางกรงในแนวนอนลงในถาดหรือกะละมังที่มีน้ำประมาณ 2 นิ้ว ด้านบนของกรง
กรีดตาข่ายออกสามด้าน ขนาด (กว้าง x ยาว) 5 x 6 เซนติเมตร แล้วใช้ลวดยึดไว้เพื่อเป็นช่องประตูเปิดปิด ใส่ปลาและเอาแมงดา
เข้าออก เมื่อลอกคราบเข้าวัย 4 ย้ายเข้ากรงทำเป็นกล่องสี่เหลี่ยมขนาด ( กว้าง x ยาว x สูง) 10 x 15 x 10 เซนติเมตร ซึ่งใหญ่
กว่าเดิมและเอากล่องลงบ่อดินขนาด ( กว้าง x ยาว) 3.5 x 7 เมตร ลึก 1 เมตรปูพื้นด้วยพลาสติก มีผักตบและกอบัว ใช้โฟมติด
ด้านข้างกรงเป็นทุ่นให้กรงลอยน้ำได้ ในกรงใส่ผักตบชวาให้แมงดาเกาะ เพื่อความสะดวกในการจัดการเอากรงขึ้นลงจากบ่อ จัดวาง
เป็นแถวและเอาลวดเสียบหัวและท้ายกรงในแนวยาวเหมือนไม้เสียบลูกชิ้นหรือบาร์บีคิว เลี้ยงจนเป็นตัวเต็มวัย

วิธีการจับแมงดานา
1. ใช้มือจับ
2. ใช้สวิงจับหรือช้อนตามไม้น้ำ
3. ใช้แสงไฟล่อ ติดตั้งหลอดแบล็กไลต์บนเสาไม้ไผ่สูงๆ ใช้ตาข่ายขึง กั้นให้สูงแมงดาจะมาเล่นไฟ
4. ปัจจุบันมีเครื่องมือจับแมงดานาแบบพื้นบ้านซึ่งเป็นผลงานการคิดค้นของจ่าสาย ศรีสมุทร สภอ.นาแก จังหวัดนครพนม โดยการ
ใช้สังกะสีแผ่นเรียบมาตัดต่อบัดกรีให้เรียบร้อยเป็นกรวยปากกว้าง เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5 เมตร ความสูงของกรวย 1 เมตร
และด้านล่างทำเป็นท่อกลวงขนาดกระป๋องนม ยาวประมาณ 30 ซม. การติดตั้งเครื่องมือให้เลือกสถานที่ใกล้แหล่งน้ำ โดยตั้ง
เสาสูงประมาณ 6 เมตรติดหลอดแบล็กไลต์ไว้ล่อแมงดา ด้านล่างติดตั้งกรวยสังกะสีหงายปากกรวยขึ้น มีไฟนีออนสีฟ้าล่อไว้อีกดวง
หนึ่งที่ปากกรวยนั้น ส่วนด้านล่างสุดใช้ถุงปุ๋ยที่ไม่ขาดทะลุสวมเข้าที่ท่อกลวงด้านล่างผูกติดให้แน่น ซึ่งแสงจากหลอดแบล็กไลต์
จะล่อแมงดาให้มาที่นี่ ส่วนแสงสีฟ้าจากหลอดนีออนเมื่อสะท้อนจากปากกรวยสังกะสีจะดูคล้ายๆกับแหล่งน้ำขนาดเล็ก ดึงดูด
ใจให้แมงดาบินลงกรวยในที่สุด ซึ่งการจับด้วยวิธีนี้สะดวก เพราะเราไม่ต้องนั่งเฝ้า รอไว้ดูตอนเช้าเลยทีเดียว

การนำแมงดามาปรุงอาหาร
1. ไข่แมงดานา นำมาย่างไฟหรือกินสดๆ
2. ตัวเต็มวัย ตัวเมียชุบแป้งทอด ทำแกงคั่วแมงดานา ตัวผู้มีกลิ่นหอมทำให้เพิ่มรสชาติอาหาร นำมาทำน้ำพริกแมงดา แจ่วแมงดานา
น้ำพริกปลาร้า น้ำปลาแมงดา หรือดองแช่น้ำปลาไว้ขายราคาแพง (ตุลาคม-มีนาคม)



เอกสารอ้างอิง
เชียด อภัยวงศ์. 2505. วงชีวิตของแมงดานา. วารสารการประมง ปีที่ 15 ฉบับที่ 1. หน้า 67-73.
ดินจร.2537. แอบเปิดตำราเซียน เลี้ยงแมงดาเป็นอาชีพ. มติชนบท เทคโนโลยีชาวบ้าน ปีที่ 7 ฉบับที่ 104. หน้า 31-33.
ไม่มีชื่อผู้แต่ง.2546. แมงดานา. มติชนบท เทคโนโลยีชาวบ้าน ปีที่ 15 ฉบับที่ 304. หน้า 78.

สร้างอาชีพ พัฒนาชุมชนAd google



http://www.plapak.net/?p=287
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 12/06/2012 9:31 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,632. เทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร

เป็นลู่ทางสดใส ที่จะทำให้โลกน่าอยู่ขึ้น



(ศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัย มิชิแกนสเตท ยืนยันถึงผลประโยชน์)
"Agricultural Biotechnology Holds Promise
of a Better World," Washington File, October 8, 1999

พืชผักที่มีสารอาหารและผลิตผลที่สูงขึ้น ตลอดจนพืชที่สามารถนำมาผลิต เป็นพลาสติก ล้วนเป็นประโยชน์ ที่เราอาจได้จาก
เทคโนโลยีชีวภาพ ทางการเกษตร นี่คือคำแถลงของ ดร. ไมเคิล โทมาโชว์ ศาสตราจารย์ สาขาวิทยาศาสตร์พันธุ์พืชและดิน
แห่งมหาวิทยาลัย มิชิแกนสเตท ซึ่งแถลงต่อสภาคองเกรสสหรัฐ เมื่อวันที่ 5 ตุลาคมที่ผ่านมา ดร. โทมาโชว์อธิบายถึงความก้าวหน้า
ที่เขาคาดหวังจากพันธุวิศวกรรม (genetic engineering)

คำแถลงของ ดร. โทมาโชว์ ซึ่งได้รับการสนับสนุน จากนักวิทยาศาสตร์ 5,000 คน จากสมาคมนักสรีรวิทยาพืชแห่งอเมริกา
(American Society of Plant Physiologists) กล่าวถึงพันธุวิศวกรรม ที่จะช่วยเพิ่มประโยชน์ ใช้สอยของพืชไว้เป็น 3 แนว
ทางด้วยกัน

ดร. โทมาโชว์กล่าวว่า ผลงานคิดค้นในปัจจุบันค่อนข้างเรียบง่าย และช่วยเพิ่ม ผลผลิตและคุณภาพของพืช ความทนทานของพืช
ต่อโรค และศัตรูพืช และความทนทานต่อสภาวะแวดล้อม ที่มีมากขึ้น คือลักษณะทางพันธุกรรม ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ กำลังทำการ
ตัดต่อจากสายพันธุ์หนึ่ง ไปสู่อีกสายพันธุ์หนึ่งอยู่ในขณะนี้ การเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ เช่นนี้ช่วยลดปริมาณการใช้สารเคมี และ
ทำให้สามารถปลูกพืชในดิน ที่มีสภาพดีกว่าเดิมในภูมิภาคต่างๆ

พืชที่ผ่านกระบวนการทางพันธุวิศวกรรมในอนาคต จะให้ผลผลิตอาหารที่มี สารอาหารมากขึ้น และเป็นพืชที่มีประโยชน์ ทางอุตสาห
กรรมมากขึ้น ดร. โทมาโชว์ ทำนายว่า ในอนาคตอันใกล้นี้ เราจะมีวัคซีนที่ใช้โดยการรับประทาน มีพืชที่ประกอบไปด้วยวิตามิน และ
ไขมันไม่อิ่มตัวมากขึ้น และมีสารที่ทำให้เกิดการแพ้น้อยลง ในอนาคตข้างหน้า นักวิทยา-ศาสตร์ที่ทำงานด้านนี้หวังว่า จะสามารถผลิต
พืชที่นำมาใช้ทำพลาสติกแบบย่อยสลายได้ และ น้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ไอพ่น หรือช่วยกำจัดสารพิษออกจากดินได้

ต่อไปนี้เป็นคำแถลงของ ดร. โทมาโชว์ ที่แถลงต่อคณะอนุกรรมการ ฝ่ายการค้นคว้าพื้นฐาน ของคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์
สภาผู้แทนราษฎร



คำแถลงของ ศาสตราจารย์ ดร. ไมเคิล เอฟ. โทมาโชว์
มหาวิทยาลัยมิชิแกนสเตท
อีสต์ แลนซิง มิชิแกน 48824
ต่อคณะอนุกรรมการฝ่ายการค้นคว้าพื้นฐาน
ของคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์สภาผู้แทนราษฎร



ท่านประธานฯ ที่เคารพ ท่านสมาชิกคณะอนุกรรมการฯ ผู้มีเกียรติทุกท่าน ผม ไมเคิล โทมาโชว์ ศาสตราจารย์จากภาควิชาวิทยา
ศาสตร์พันธุ์พืช และดินแห่งมหาวิทยาลัย มิชิแกนสเตท การแถลงของผมในวันนี้ ได้รับการสนับสนุนจาก สมาคมนักสรีรวิทยาพืชแห่ง
อเมริกา ซึ่งเป็นสมาคมทางวิทยาศาสตร์ ที่ไม่แสวงกำไร และประกอบไปด้วยสมาชิก ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์กว่า 5,000 ราย
ผมได้ดำเนินงานค้นคว้า และวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ที่เกี่ยวกับพืชมาตั้งแต่ช่วงแรกเริ่ม เมื่อประมาณ 20 กว่าปีมาแล้ว และรู้สึก
เป็นเกียรติ ที่ได้มีโอกาสมากล่าว เกี่ยวกับประโยชน์ที่อาจได้ จากพืชที่ผ่านกระบวนการ ทางพันธุวิศวกรรมในวันนี้

ในปัจจุบัน เราสามารถถ่ายโอนหน่วยพันธุกรรม (gene) ของสิ่งมีชีวิตแทบทุกชนิด บนโลกไปยังพืชนานาชนิด ไม่ว่าจะเป็นพืชเศรษฐ
กิจ หรือพืชประเภทไม้ประดับ "เทคโนโลยีชีวภาพ" หรือเทคนิคทาง "พันธุวิศวกรรม" ดังกล่าวทำให้นักวิทยาศาสตร์ สามารถ
ดำเนินกลยุทธ์ใหม่ๆ เพื่อ ปรับปรุงพันธุ์พืช ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว ไม่สามารถใช้วิธีการขยายพันธุ์แบบดั้งเดิมได้

การค้นคว้าในแขนงใหม่นี้มีประโยชน์อย่างใหญ่หลวงต่อเกษตรกร ผู้บริโภคและสังคมทั่วโลก ได้มีการปลูกพืชรุ่นแรก ที่ได้จาก
การตัดต่อยีน เพื่อให้ทนทานต่อยาฆ่าวัชพืชและศัตรูพืช เรียบร้อยแล้ว พืชที่ผ่านกระบวนการพันธุวิศวกรรมเหล่านี้ ไม่เพียง
แต่ให้ผลผลิตสูงขึ้น และมีคุณภาพมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังทำให้เราสามารถใช้สารเคมี ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสภาวะแวดล้อม และเป็น
อันตรายต่อ สุขภาพของมนุษย์ และสัตว์น้อยลงด้วย พืชที่ผ่านการตัดต่อยีนรุ่นต่อไป จะไม่เพียงแต่สร้างความ ก้าวหน้าในเรื่อง
เหล่านี้ต่อไปเท่านั้น แต่ยังจะนำไปสู่การผลิตอาหาร ที่มีสารอาหารมากขึ้น เพื่อยกระดับสุขอนามัยของมนุษย์ขึ้นด้วย

ด้วยพลังแห่งพันธุวิศวกรรม จึงน่าจะเป็นไปได้ ที่เราจะสามารถ เพิ่มประโยชน์ใช้สอยของพืช ในการผลิต "วัตถุดิบทางอุตสาห
กรรม" เช่น น้ำมันพิเศษที่ใช้ในการหล่อลื่น สารตั้งต้น ที่นำมาผลิตพลาสติก และไบโอโมเลกุลเกี่ยวกับสุขภาพ ที่มีประโยชน์ พัฒนา
การเหล่านี้ ไม่เพียงแต่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคโดยตรงเท่านั้น แต่ยังทำให้เกษตรกร มีโอกาสมากขึ้น ในการเลือกพืชที่จะ
ปลูก วันนี้ ผมไม่ได้เจตนาที่จะมาร่ายยาว เกี่ยวกับความก้าวหน้า ที่น่าตื่นเต้นเกี่ยวกับ พันธุวิศวกรรมด้านพืช หรือความ คืบหน้าอื่นๆ
ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต แต่ผมต้องการยกตัวอย่าง 2-3 ข้อของกิจกรรมต่างๆ ที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้ และจะให้รายละเอียด
เพิ่มเติมในภายหลัง

โครงการทางพันธุวิศวกรรมด้านพืช ที่กำลังดำเนินอยู่ส่วนใหญ่ จะจัดอยู่ในหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง ในสามหัวข้อต่อไปนี้ ทั้งนี้แต่ละหัวข้อ
ต้องรวมลักษณะพิเศษ ที่จะทำให้พืชมีมูลค่าสูงขึ้น (value-added traits) ด้วย

-- พันธุวิศวกรรมเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของพืช
-- พันธุวิศวกรรมเพื่อปรับปรุงสุขภาพ
-- พันธุวิศวกรรมเพื่อการใช้สอยอื่นๆ ที่ไม่ใช่เพื่อเป็นอาหาร

ตัวอย่างของการดำเนินการในหัวข้อข้างต้นได้แก่ พันธุวิศวกรรมเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของพืช

-- ความทนทานต่อยาฆ่าวัชพืช (เช่น ความทนทานต่อไกลโฟเซท)
-- ความทนทานต่อยาฆ่าศัตรูพืช (เช่น การใช้บีทีท็อกซินเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันแมลง)
-- ความทนทานต่อโรคพืช (เช่น การเพิ่มภูมิคุ้มกันโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส เชื้อรา และแบคทีเรีย) ความทนทานต่อความกดดัน
จากสภาวะแวดล้อม (เช่น การเพิ่มความทนทาน ต่อความเย็นเยือกแข็ง และความแห้งแล้ง)
-- การดัดแปลงคุณลักษณะพิเศษหลังเก็บเกี่ยว (เช่น ป้องกันไม่ให้มันฝรั่งเกิดรสหวาน)
-- เปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของผนังเซล (เช่น ทำให้ลิกนินมีปริมาณลดน้อยลง)


พันธุวิศวกรรมเพื่อสุขอนามัยที่ดีขึ้น
-- วัคซีนที่ใช้โดยการรับประทาน (เช่น วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อต่างๆ)
-- น้ำมันที่มีคุณลักษณะที่เป็นประโยชน์มากขึ้น (เช่น มีไขมันที่ไม่อิ่มตัวมากขึ้น)
-- ประกอบไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุมากขึ้น (เช่น มีธาตุเหล็กและวิตามินเอ และอี มากขึ้น)
-- ลดสารที่ทำให้เกิดการแพ้ (เช่นสารที่อยู่ในนม ถั่วและธัญญพืช)
-- เพิ่มส่วนประกอบที่เป็นโปรตีน (เช่น ข้าวโพดที่มีไลซีนสูง)


พันธุวิศวกรรมสำหรับการใช้สอยอย่างอื่นที่ไม่ใช่เพื่อเป็นอาหาร
-- น้ำมันพิเศษ (เช่น น้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ไอพ่น)
-- พลาสติก (เช่น เทอร์โมพลาสติกที่ย่อยสลายได้)
-- ยา (เช่น ยาต่อต้านมะเร็ง อาทิ แท็กซอล)
-- ฮอร์โมน (เช่น อินซูลิน และฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโต)
-- "แพลนตีบอดีส์" (Plantibodies) (เช่น แอนตีบอดี ที่ปลูกถ่ายในร่างกายมนุษย์ เพื่อบำบัดโรคติดเชื้อและโรคแพ้เนื้อเยื่อ
ตนเอง)
-- วัคซีน (เช่น วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้ออาทิ อหิวาตกโรค และโรคพิษสุนัขบ้า)
-- พืชบำบัด (เช่น การกำจัดธาตุโลหะหนักและอินทรีย์สารที่เป็นพิษ)


เห็นได้ชัดว่าพันธุวิศวกรรมเสนอทางเลือกต่างๆ ที่น่าตื่นเต้น สำหรับการปรับปรุงพันธุ์พืชในอนาคต ซึ่งไม่ได้เป็นเพียงสิ่งที่คนคาดไม่ถึง
เท่านั้น แต่ยังเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ในช่วงก่อนที่เทคโนโลยีอันทรงพลังนี้ จะถือกำเนิดขึ้น

ผมใคร่ขอกล่าวเกี่ยวกับพันธุวิศวกรรมในรายละเอียดปลีกย่อยสักเล็กน้อย


ภูมิต้านทานยาฆ่าวัชพืช
วัชพืชอาจส่งผลกระทบในทางลบอย่างใหญ่หลวง ต่อผลิตผลจากพืช ถ้าไม่ได้รับการ ควบคุม ดังนั้น เกษตรกรจึงใช้สารเคมีนานา
ชนิด เพื่อหยุดยั้งการเจริญเติบโตของวัชพืช โชคร้ายที่สารเคมีจำนวนมาก ที่ใช้เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ของคนและสัตว์ นอกจากนี้
ยังมีสารเคมีจำนวนมาก ที่เป็นอันตรายต่อสภาวะแวดล้อม เนื่องจากสารเคมีเหล่านี้ จะตกค้างในดินเป็นเวลานาน และอาจสะสมมาก
ขึ้นเรื่อยๆ ในแม่น้ำลำธาร

สถานการณ์ดังกล่าวได้ทำให้เจ้าหน้าที่ พยายามเสาะหายาฆ่าวัชพืช ที่เป็นพิษและเป็นอันตราย ต่อสภาวะแวดล้อมน้อยลง และได้มี
การค้นพบสารเคมีเหล่านี้หลายตัว เช่น ไกลโฟเซท หรือที่เป็นที่รู้จักกันในชื่อ ราวด์อัพ (Roundup ซึ่งผลิตโดยมอนซานโต)
สารเคมีชนิดนี้ ย่อยสลายในดินด้อย่างรวดเร็ว มีพิษน้อยต่อคนและสัตว์ และมีประสิทธิภาพสูงในการฆ่าพืช แต่ปัญหาในเบื้องต้น
ก็คือ สารเคมีนี้จะฆ่าพืชนานาชนิด มันจะฆ่าทั้งวัชพืชเป้าหมาย และพันธุ์พืชอื่นๆ ที่เกษตรกรปลูกด้วย ดังนั้น ด้วยอำนาจของพันธุวิศว
กรรม จึงมีการแยกยีนออกมาดัดแปลง และใส่กลับเข้าไปในพันธุ์พืช เพื่อทำให้พันธุ์พืชดังกล่าว มีภูมิต้านทานต่อยาฆ่าวัชพืช วิธีการนี้
ทำให้เกษตรกรสามารถใช้ยาฆ่าวัชพืช และปลูกพืชอื่นๆ ได้อย่างเติบโตแข็งแรงในเวลาเดียวกัน


สรุป :
พันธุวิศวกรรมกำลังนำเรา ไปสู่การพัฒนาคิดค้นพันธุ์พืชใหม่ ที่มีภูมิต้านทานต่อยาฆ่า วัชพืช และทำให้เราสามารถใช้ยาฆ่าวัชพืช
ที่มีความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเป็นภัยต่อสภาวะแวดล้อมน้อยลง


ภูมิต้านทานต่อความกดดันจากสภาวะแวดล้อม
ความกดดันจากสภาวะแวดล้อมซึ่งรวมถึงอุณหภูมิที่เย็นจัดหรือร้อนจัด และความแห้งแล้ง มีผลอย่างมากต่อผลิตผลจากพืช ในสหรัฐ
มีผู้ประมาณว่า ผลผลิตประจำปีที่ได้จากพืช ไร่หลักๆ คิดเป็นเพียงร้อยละ 20 ของผลผลิต ที่ควรจะได้จากพืชชนิดนั้นๆ ผลผลิตที่หาย
ไปร้อยละ 80 เป็นเพราะความกดดันจากสภาวะแวดล้อม นอกจากนี้ ความกดดันจากสภาวะแวดล้อม ยังเป็นตัวจำกัดบริเวณ ที่จะ
สามารถปลูกพืชอีกด้วย



ตัวอย่างเช่น ทั่วภาคเหนือของสหรัฐ และส่วนใหญ่ของแคนาดา ไม่สามารถปลูก คาโนลาฤดูหนาว (winter canola) ได้เนื่องจากมี
ภูมิอากาศที่เย็นจัด ในทำนองเดียวกัน อุตสาหกรรมป่าไม้ต้องการอย่างมาก ที่จะปลูกยูคาลิปตัสในภาคตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐ
เพื่อนำมาใช้ผลิตกระดาษ แต่ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากปัญหาน้ำค้างแข็งเป็นช่วงๆ ในฤดูใบไม้ผลิ เมื่อเดือนมกราคมปีที่แล้ว ชาวไร่
ส้มของรัฐแคลิฟอร์เนีย ต้องประสบความเสียหาย เป็นมูลค่าประมาณ 600 ล้านเหรียญ เนื่องจากอุณหภูมิที่เย็นจัดในบางวัน และ
เราทุกคนก็ตระหนักดี ถึงความเสียหายจากความแห้งแล้ง ที่เกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อนปีนี้ ในบางส่วนของภาคตะวันออกของสหรัฐ

เมื่อความต้านทานต่อความกดดันจากสภาวะแวดล้อม มีความสำคัญเช่นนี้ เราคงคิดว่าโครงการพัฒนาพันธุ์พืช น่าจะรวมถึงการพยายาม
เพิ่มภูมิต้านทาน ต่อความกดดันจากสภาวะแวดล้อมให้แก่พืชด้วย ความจริงก็คือ เราทำเช่นนั้น แต่เนื่องจากการกระทำดังกล่าว ต้อง
เผชิญกับความซับซ้อนทางสรีรศาสตร์ และพันธุกรรมของพืช การขยายพันธุ์พืชด้วยวิธีดั้งเดิม จึงไม่ค่อยประสบความสำเร็จ เท่าใดนัก
ตัวอย่างเช่น พันธุ์ข้าวสาลี ที่ทนทานต่อสภาพอากาศเย็นจัดได้ดีที่สุด ในปัจจุบัน ก็ดีกว่าพันธุ์ข้าวสาลีที่พัฒนาขึ้น ในช่วงต้นศตวรรษนี้
เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

เมื่อผมได้ย้ายมาทำงานที่มหาวิทยาลัยมิชิแกนสเตท เมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้ว ผมเริ่มสนใจ ในเรื่องความต้านทานของพืช ต่อความ
กดดันของสภาวะแวดล้อม โดยเฉพาะกลไกคุ้มกันของพืช ต่อสภาพอากาศเย็นจัด เป้าหมายของผมคือต้องการระบุว่า พืชบางชนิด
สัมผัสอากาศเย็น และสั่งให้ กลไกดังกล่าวทำงานได้อย่างไร การวิจัยครั้งนี้ซึ่งได้รับทุนจากกระทรวงเกษตร มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่ง
ชาติ (NSF) และรัฐมิชิแกน ได้นำไปสู่การค้นพบยีน CBF ซึ่งเป็นสวิทช์สำคัญในการควบคุมความต้านทาน ของพืชต่อสภาพอากาศ
เย็นจัด ที่สำคัญก็คือ การค้นพบยีนสำคัญดังกล่าว ได้นำไปสู่การเพิ่มความต้านทาน ต่อความแห้งแล้ง และดินที่มีความเค็มสูง ขณะนี้
เรากำลังเริ่มทดลองใช้ "เทคโนโลยี CBF" กับพันธุ์พืชนานาชนิด ตลอดจนไม้ประดับด้วย ทั้งนี้เพื่อเพิ่มความต้านทาน ต่อความ
กดดันจากสภาวะแวดล้อมให้พืช นอกจากนี้ แนวทางอื่นๆ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลง การแบ่งตัวของเซล (metabolic engineering)
ก็เป็นแนวทางที่ดูสดใส ในการเพิ่มภูมิต้านทานของพืชต่อสภาวะ แวดล้อม

สรุป: พันธุวิศวกรรมทำให้เกิดแนวทางใหม่ๆ ในการเพิ่มความต้านทาน ต่อสภาวะแวดล้อมให้แก่พืช ซึ่งจะมีผลอย่างใหญ่หลวง
ต่อการผลิตอาหารทั่วโลก


การเพิ่มปริมาณวิตามินและเกลือแร่
บทความทางวิทยาศาสตร์ที่เขียนขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้โดย ทริชา กูรา กล่าวว่าทั่วโลก มีผู้ขาดวิตามินเอประมาณ 400 ล้านคน ซึ่งทำให้คน
เหล่านี้ อ่อนแอต่อการติดเชื้อ และเสี่ยงต่อการ ตาบอด ในทำนองเดียวกัน มีผู้ขาดธาตุเหล็กราว 3,700 ล้านคนทั่วโลก ซึ่งโดยมาก
เป็นสตรี ทำให้คนเหล่านี้เป็นโรคโลหิตจาง และมีโอกาสประสบภาวะแทรกซ้อน ระหว่างการคลอดบุตร ดังนั้น จึงเกิด คำถามขึ้นว่า
จะเป็นไปได้หรือไม่ ที่จะนำเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรม ซึ่งใช้กับพืชมาแก้ไขโรคขาดสารอาหาร ที่ผู้คนเป็นกันอย่างดาษดื่น และเป็นโรค
ที่ร้ายแรง?

คำถามดังกล่าวได้ดึงดูดความสนใจ ของนักค้นคว้าจำนวนหนึ่งรวมทั้ง ดร. อิงโก โพทรัยคัส (Dr. Ingo Potrykus) และเพื่อนร่วม
งานของเขา ที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งรัฐบาลกลางสวิส (Swiss Federal Institute of Technology) ที่ซูริค หลังความ
พยายามอันยาวนานถึง 7 ปี ดูเหมือน คำตอบของ ดร. โพทรัยคัสก็คือ "ใช่ มันเป็นไปได้" สิ่งที่โพทรัยคัส และเพื่อนๆ ของเขาทำ
สำเร็จถือเป็นผลงานชิ้นใหญ่ ของวงการพันธุวิศวกรรมพืช

ด้วยการดัดแปลงยีน 7 ตัวที่อยู่ในพืช แบคทีเรีย และเชื้อราอย่างเหมาะสม และ ปลูกถ่ายยีนเหล่านั้น ลงในต้นข้าว ยีนเหล่านี้จะ
สามารถผลิตสายพันธุ์ ที่มีบี-แคโรทีน (b-carotene) ซึ่งเป็นตัวสร้างวิตามินเอในปริมาณที่สูง และยังประกอบไปด้วยธาตุเหล็ก
ในปริมาณที่สูงด้วย คณบดี เดลลาเพนนาจากมหาวิทยาลัยเนวาดา ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกงานวิจัย เกี่ยวกับการเพิ่มปริมาณวิตามินอี ในพืช
กล่าวว่างานของโพทรัยคัส "น่าตื่นเต้นมาก และน่าจะมีผลอย่างมหาศาล" โพทรัยคัส ประมาณไว้ว่า ข้าวที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพ
แล้ว ในปริมาณเพียง 300 กรัมต่อวัน ซึ่งเท่ากับปริมาณที่ชาวเอเชียบริโภค ในมื้อเดียว จะประกอบไปด้วยวิตามินเอ ในปริมาณเกือบ
เท่าที่คนต้องการในหนึ่ง วันทีเดียว


สรุป :
พันธุวิศวกรรมให้เครื่องมือที่ทรงพลัง ในการปรับปรุงสารอาหารที่มีอยู่ในพืช โดยวิธีการเปลี่ยนแปลง การแบ่งตัวของเซล (metabolic
engineering) ซึ่งได้ช่วยยกระดับสุขภาพของประชาชนทั่วโลก


วัคซีนที่ใช้โดยการรับประทาน
การพัฒนาคิดค้นวัคซีนจากพืช ที่ใช้โดยการรับประทาน อาจทำให้เรามีวิธีให้บริการ ด้านการให้ภูมิต้านทาน ที่สะดวกยิ่งขึ้น และเสียค่า
ใช้จ่ายน้อยลง นอกจากนี้ เรายังจะสามารถดำเนิน โครงการวัคซีนทั่วโลกได้ ทั้งนี้เพราะโครงการวัคซีน ยังคงประสบกับปัญหาในหลายๆ
ประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา

ตามที่ ดร. ชาร์ลส์ อาร์นเซ็น ได้กล่าวไว้ "ผลพวงที่น่าตื่นเต้นจากวัคซีนสมัยใหม่ ยังไปไม่ถึงประเทศกำลังพัฒนาทั้งๆ ที่ประเทศเหล่านี้
ต้องการวัคซีนนี้มากที่สุด" ส่วนใหญ่ที่เป็นเช่นนี้ เพราะ การขาดแคลนเครื่องมือ ที่ต้องใช้ในการผลิต เก็บรักษา และให้วัคซีน นอกจาก
นี้ ยังมีความแตกต่างทางวัฒนธรรม ซึ่งทำให้การสร้างภูมิต้านทาน ด้วยวิธีการฉีดยาไม่เป็นที่ยอมรับ

จะเป็นอย่างไรถ้าเราสามารถรับประทานอาหาร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอาหารประจำวัน แต่มีการเพิ่มหน่วยย่อยของวัคซีนลงไป ซึ่งจะสร้าง
ภูมิต้านทานต่อโรคต่างๆ? ตามที่ ดร. อาร์นเซ็น เคยตั้งคำถามไว้หลายปีก่อนว่า จะเป็นอย่างไร ถ้าเราสามารถนำกล้วยมาผลิตเป็นวัคซีน
ที่ใช้รับประทานได้? ถ้าทำเช่นนั้นได้ เราก็จะมีปัญหาเรื่องการเก็บรักษาวัคซีนน้อยลง และจะประหยัดค่าใช้จ่ายในการผลิตวัคซีน เมื่อ
เทียบกับการผลิตวัคซีน ด้วยวิธีการดั้งเดิม นอกจากนี้ วัคซีนดังกล่าวยังช่วยให้ เราสามารถหลีกเลี่ยงปัญหาทางเทคนิค และความแตก
ต่างด้านวัฒนธรรม ที่เกิดจากการใช้วิธีฉีดยาในการสร้างภูมิต้านทานด้วย

ข้อพิจารณาข้างต้นได้ทำให้นักค้นคว้าจำนวนหนึ่ง พยายามพัฒนาวัคซีนจากพืช ที่ใช้ รับประทาน วัคซีนที่ ดร.อาร์นเซ็นสนใจเป็น
พิเศษ ได้แก่วัคซีนป้องกันโรคทางลำไส้ เช่น อหิวาตกโรคและโรคท้องร่วง ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตของทารก ในประเทศ
กำลังพัฒนา ในการศึกษาขั้นต้นดร. อาร์นเซ็น และเพื่อนร่วมงานของเขา ได้ผลิตหัวมันฝรั่ง ที่เกิดจากการตัดต่อยีน ซึ่งมีประสิทธิภาพ
ใน การสร้างภูมิต้านทานต่อแบคทีเรีย อันเป็นสาเหตุของโรคท้องร่วงให้แก่หนู หลังจากนั้นได้มีการ นำมันฝรั่งดังกล่าว มาทดลองกับ
คนเป็นครั้งแรก โดยใช้อาหารที่ได้จากการตัดต่อยีน มาผลิตเป็นยา และก็ทำได้สำเร็จ! ขณะนี้กำลังมีแผนการ ที่จะทำการทดลอง
กับคนต่อไป


สรุป :
การใช้เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมกับพืช อาจทำให้เราสามารถผลิตวัคซีน จากพืชที่ใช้ รับประทานได้ และสามารถนำมาใช้เพื่อสร้าง
ภูมิต้านทาน ให้แก่มนุษย์เพื่อต่อสู้กับโรคติดเชื้อต่างๆ นับตั้งแต่อหิวาตกโรคไปจนถึงโรคเอดส์ การพัฒนาดังกล่าว มีผลอย่างลึกซึ้ง
ต่อการยกระดับสุขอนามัยของ ประชาชนทั่วโลก และสามารถช่วยชีวิตคนเป็นจำนวนหลายล้าน คน

สุดท้ายนี้ ผมหวังว่าสุนทรพจน์ของผมในวันนี้ ได้ทำให้ให้ท่านเห็นลู่ทางที่สดใสและ ความเป็นไปได้ที่พันธุวิศวกรรม บวกกับการค้น
คว้าด้านจีโนม (genome หรือพิมพ์เขียวของสาร พันธุกรรม) จะช่วยปรับปรุงการเกษตร และสุขอนามัยของมนุษย์ ความก้าวหน้า
เหล่านี้ จะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าปราศจากแรงสนับสนุนของท่าน และเพื่อนสมาชิกสภาคองเกรสทั้งหลาย

เรามีความซาบซึ้งอย่างยิ่งในความพยายามของท่าน ต่อการวิจัยพื้นฐานด้านพืช เพื่อจัดหาแหล่งอาหารที่มั่นคง และปลอดภัยยิ่งขึ้น
และกำลังนำไปสู่การพัฒนาพืชที่จะทำหน้าที่ เสมือน "โรงงานแสงอาทิตย์" ในการผลิตสารเคมีเพื่ออุตสาหกรรมและยารักษาโรค
พร้อมกับนำไปสู่ การคิดค้นพันธุ์พืชที่ได้รับการพัฒนา ให้สามารถช่วยเราเอาชนะโรคร้ายต่างๆ ที่มีอยู่ทั่วไปและบั่นทอน สุขภาพ
ของประชาชนทั่วโลก ขอขอบคุณท่านประธานฯ ที่ให้ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมในการประชุม วันนี้ครับ




http://library.uru.ac.th/webdb/images/irc-gmo1-t.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 12/06/2012 2:46 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,633. ใช้ 'แมลงช้าง-แตนเบียน' คุมเพลี้ยแป้ง มันสำปะหลัง





จากการที่กรมส่งเสริมการเกษตร โดยศูนย์ประสานงานการจัดการศัตรูพืช ได้ติดตามข้อมูลสถานการณ์และเฝ้าระวัง
การระบาดของ “เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง” อย่างต่อเนื่อง ล่าสุด (14 มี.ค.55) พบเพลี้ยแป้งอยู่ในระดับที่สามารถควบคุม
ได้ ในพื้นที่ 15 จังหวัด รวมพื้นที่ 27,803 ไร่ คิดเป็นร้อยละ0.31 ของพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังยืนต้นทั้งประเทศ 9,042,411
ไร่ โดยพบการเข้าทำลายในมันสำปะหลังอายุ 1-4 เดือน จำนวน 8,749 ไร่ อายุมากกว่า 4-8 เดือน 18,613 ไร่ และอายุ
มากกว่า 8 เดือน จำนวน 411 ไร่ ถึงแม้การระบาดจะอยู่ในระดับที่สามารถควบคุมได้ ก็อย่าเพิ่งวางใจเสียทีเดียว เพราะการ
ละเลยในการติดตามสถานการณ์เพียงครั้งเดียวสิ่งไม่คาดคิดอาจเกิดขึ้นได้


พรรณพิมล ชัญญานุวัตร อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ชี้แจงว่าขณะนี้พื้นที่การระบาดของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังเริ่มมี
การระบาดเพิ่มขึ้นใน 2จังหวัด ซึ่งต้องดำเนินการควบคุมทันที คือ จ.ชลบุรี และ จ.สระแก้ว อีก 13 จังหวัดพบการระบาด
เล็กน้อยซึ่งได้ดำเนินการควบคุมอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ บุรีรัมย์ สุรินทร์ อุทัยธานี นครราชสีมา ขอนแก่น ชัยภูมิ มหาสาร
คาม หนองบัวลำภู ระยอง ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี กาญจนบุรี และอุดรธานี ส่วน 31 จังหวัดยังไม่พบการระบาด ที่ผ่านมานอก
จากกรมส่งเสริมการเกษตรได้ติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังแล้ว ยังร่วมบูรณาการ
กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมวิชาการเกษตร และมูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย โดยใช้ศูนย์
จัดการศัตรูพืชชุมชนเป็นกลไกในการควบคุมเพลี้ยแป้ง เพื่อลดพื้นที่ระบาดและควบคุมให้อยู่วงจำกัด โดยมอบหมายให้สำนัก
งานเกษตรจังหวัด สำนักงานเกษตรอำเภอ ส่งเสริมเกษตรกรให้ปฏิบัติตามมาตรการควบคุมเพลี้ยแป้งโดยเคร่งครัด


"กรมได้สนับสนุนให้เกษตรกรควบคุมเพลี้ยแป้ง โดยการใช้ศัตรูธรรมชาติ ได้แก่ แมลงช้างปีกใสและแตนเบียน Anagyrus
lopezi ควบคุมเพลี้ยแป้งสีชมพู จะเห็นว่าในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา ได้ปล่อยแตนเบียน A.lopezi ควบคุมเพลี้ยแป้งในพื้นที่
รวมทั้งสิ้น 6,738,705 คู่ ครอบคลุมพื้นที่ 134,774.10 ไร่ ล่าสุดได้ปล่อยแตนเบียนเพิ่มอีก 179,300 คู่ คลุมพื้นที่ 3,586
ไร่ นอกจากนี้ยังปล่อยแมลงช้างปีกใสไปแล้ว 1,361,862 ตัว ควบคุมพื้นที่ระบาด 13,614.62 ไร่"


อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรเผยอีกว่า จากการประเมินผลในพื้นที่หลังจากปล่อยศัตรูธรรมชาติทั้ง 2 ชนิดใน 1 เดือน พบว่า
ในแปลงที่ปล่อยปริมาณเพลี้ยแป้งลดลงเมื่อเทียบกับแปลงที่ไม่ได้ปล่อยที่มีปริมาณเพลี้ยแป้งเพิ่มขึ้น และมีการกระจายตัวของ
ศัตรูธรรมชาติเพิ่มมากขึ้นในธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม ชาวไร่มันสำปะหลังทุกพื้นที่ต้องหมั่นตรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ ถ้าพบ
การระบาดสามารถควบคุมได้ทันที ก่อนจะลุกลามสร้างความเสียหายขยายวงกว้างขึ้น โดยเฉพาะช่วงอากาศแห้งแล้งมีความ
เสี่ยงสูงที่เพลี้ยแป้งสีชมพูจะเกิดการระบาด


"เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงช่วงเวลาปลูกมันสำปะหลังที่เหมาะสมกับการเข้าทำลายของเพลี้ยแป้ง โดยเฉพาะปลายฤดูฝน เพราะมัน
สำปะหลังปลูกใหม่อายุ 1-4 เดือน มีโอกาสถูกเพลี้ยแป้งเข้าทำลาย เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าวมีสภาพอากาศแห้งแล้งและ
เหมาะต่อการระบาด หากเพลี้ยแป้งเข้าทำลายจะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของมันสำปะหลังสำหรับพื้นที่
ที่มีการระบาด หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ให้เก็บเศษซากต้นมันสำปะหลังนำไปเผาทำลายทิ้งเพื่อกำจัดเพลี้ยแป้ง"


ด้าน วัชรีพร โอฬารกนก ผู้อำนวยการส่วนบริหารศัตรูพืช กรมส่งเสริมการเกษตรกล่าวเสริมว่า ก่อนปลูกควรมีการไถตากดิน
หรือไถระเบิดดินดาน ตากดินทิ้งไว้อย่างน้อย 14 วัน ที่สำคัญควรใช้ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังที่สะอาดจากแหล่งที่เชื่อถือได้
ปราศจากเพลี้ยแป้ง ทั้งยังต้องแช่ท่อนพันธุ์ด้วยสารเคมีก่อนปลูก นอกจากนี้เกษตรกรยังต้องหมั่นสำรวจแปลงอยู่เสมอ
หากพบเพลี้ยแป้งให้ประกาศเตือนในพื้นที่ เก็บทำลายยอดหงิกและเศษซากที่พบเห็น แล้วแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบ หากมีข้อ
สงสัยเกี่ยวกับการควบคุมเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ สำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานเกษตร
จังหวัด หรือศูนย์บริหารศัตรูพืช กรมส่งเสริมการเกษตร ได้ทุกวันในเวลาราชการ



http://www.komchadluek.net/detail/20120329/126548/ใช้แมลงช้างแตนเบียนคุมเพลี้ยแป้ง.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 12/06/2012 2:54 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,634. มหันตภัยตัวใหม่ในสวนยาง


ช่วงนี้จะพูดถึงสวนยางพาราค่อนจะบ่อยครั้ง เพราะเป็นพืชเศรษฐกิจที่กำลังได้รับความสนใจจากเกษตรกรทั่วประเทศ เนื่องจาก
ราคายางพาราพุ่งขึ้นเหนือกว่าระดับกิโลกรัมละ 50 บาท มาหลายปีแล้ว บางครั้งพุ่งไปแตะที่ราคากิโลกรัมละ 106 บาท อย่างปัจจุบัน
ราคายางพารานั้นตกกิโลกรัมละกว่า 90 บาท

ที่พูดในวันนี้ จะไม่พูดเรื่องของรายได้ของเกษตรกรชาวสวนยางหรอกครับ แต่จะบอกว่าในยุคที่เกิดภาวะโลกร้อนนั้น มีโรคที่
เป็นศัตรูพืชหลายอย่างเกิดขึ้น และคุกคามต่อเกษตรกรโดยตรง อย่างในสวนยางพารา ซึ่ง คุณบุญชู ศรีไตรภพ ผู้สื่อข่าว
เครือเนชั่นประจำ จ.เลย รายงานมาว่า สำนักงานเกษตรจังหวัดเลย ได้รับรายงานจากเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราว่า ในพื้นที่ ต.
นาอาน อ.เมือง จ.เลย ตอนนี้เกิดโรคใหม่แล้วครับ คือ “เพลี้ยแป้งสายพันธุ์สีชมพู”

โรคเพลี้ยแป้งสายพันธุ์สีชมพูที่ว่านี้ จากการสอบถามผู้ที่คลุกคลีอยู่กับสวนยางพารา อย่าง ธีรศักดิ์ กิจศิริรัตน์ หัวหน้าแผนก
ปฏิบัติการ สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดจันทบุรี บอกว่า ไม่เคยพบเห็นมาก่อน เช่นเดียวกับ เพิก เลิศวังพง
ประธานชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย ก็บอกว่า ทำสวนยางมาตั้งแต่รุ่นคุณพ่อ ไม่เคยเห็นโรคเพลี้ยแป้งสายพันธุ์
สีชมพูมาก่อน

โรคที่เกิดขึ้นในสวนยางที่พบเห็นกันบ่อยคือโรคราดำ ราขาว ใบหยิก และหนอน ส่วนโรคเพลี้ย มีชนิดเดียวเท่านั้นคือ เพลี้ยหอย
จะเกาะตามยอดใบยางที่ต้นยางมีอายุราว 2 ปี แต่ไม่ทำอันตรายมากนัก สามารถกำจัดได้

นั่นแปลว่า “เพลี้ยแป้งสายพันธุ์สีชมพู” ถือเป็นโรคใหม่ที่ ปทุมวัน ประจันพล เกษตรจังหวัดเลย ระบุว่า มาจากแถวๆ แอฟริกา มีลักษณะ
พิเศษ คือ เพลี้ยสามารถสืบพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศก็ได้ เมื่อผนึกกำลังกับเพลี้ยแป้งสายพันธุ์ดั้งเดิมอีก 3 พันธุ์ ที่กำลังระบาดอยู่ทุกปี
ในแปลงมันสำปะหลัง อาจทำให้ความรุนแรงจะทวีคูณขึ้น แต่จะไม่มีพิษต่อคนและสัตว์

เพลี้ยแป้งสายพันธุ์สีชมพู เป็นแมลงชนิดหนึ่งมักชอบอาศัยในบริเวณที่ปลูกมันสำปะหลังทึบแน่น จะใช้ปากดูดน้ำเลี้ยงจากพืช
อาศัย สามารถวางไข่ได้ครั้ง 600-800 ฟอง ระยะเวลาฟักไข่ 6-10 วัน ตัวอ่อนมีอายุ 35-40 วัน ชอบอาศัยอยู่ในดิน รากพืช
และไม้ยืนต้น เช่น ฝรั่ง พุทรา น้อยหน่า มะม่วงหิมพานต์ ลีลาวดี สะเดา รวมทั้งใบยางพารา เป็นต้น

หลักการสังเกตคือบนตัวเต็มวัยจะมีมูลหวานที่ถ่ายออกมาคล้ายแป้ง พาหะของการระบาดเกิดจากลมพัดพา น้ำ และการคาบตัวอ่อน
ของฝูงมดที่มากินมูลหวาน อย่างไรก็ตาม เพื่อไม่ให้โรคนี้ลามไปที่อื่น มีวิธีกำจัด ปทุมวันบอกว่า ใช้รถดับเพลิงบรรทุกเชื้อจุลินทรีย์
ชื่อว่า "ไดโครโดมาร์" ผสมกับน้ำฉีดพ่นไปที่ต้นยางพารา และได้สาธิตให้เกษตรกรดูแล้วเป็นแปลงสาธิตที่ จ.เลย

แม้โรคเพลี้ยแป้งสายพันธุ์สีชมพู เพิ่งจะระบาดในวงแคบในพื้นที่ ต.นาอาน อ.เมือง จ.เลย แต่เกษตรกรอย่านอนใจนะครับ
เพราะหากปล่อยไปอาจจะกลายเป็นมหันตภัยที่จะคุกคามเกษตรกรชาวสวนยางพาราในอนาคต

" ดลมนัส กาเจ"



http://www.komchadluek.net/detail/20100127/46056/มหันตภัยตัวใหม่ในสวนยาง.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 59, 60, 61 ... 72, 73, 74  ถัดไป
หน้า 60 จากทั้งหมด 74

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©