-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-* นานาสาระเรื่องเกษตร.
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * นานาสาระเรื่องเกษตร.
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* นานาสาระเรื่องเกษตร.
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 58, 59, 60 ... 72, 73, 74  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 13/05/2012 6:31 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลำดับเรื่อง....


1,585. สภาวะโลกร้อนกับเศรษฐกิจเกษตร [1]

1,586. พันธุ์ข้าว น่าสนใจ
1,587. เกษตรอินทรีย์กู้โลก
1,588. ระวัง...อากาศหนาวข้าวเป็นหมัน
1,589. ความรู้เกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์ข้าว
1,590. ข้าวหอมมะลิเป็นข้าวพันธุ์อะไร

1,591. ข้าวธัญสิริน
1,592. ฟื้นฟูสวนส้มที่เป็นโรคกรีนนิ่งโดยไม่ต้องรื้อแปลง
1,593. "ประมวญ ทั่งทอง" เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาอาชีพทำสวน
1,594. บิ๊กอุยในบ่อพลาสติก
1,595. “ดินไบโอ” บล็อกสารพิษในดิน

1,596. “Ozy3Rs” ล้างผักผลไม้ ประหยัดน้ำ ทรงคุณค่าวิตามิน
1,597. โรงอบยางพาราพลังแสงอาทิตย์ พัฒนาคุณภาพชีวิตคนไทย
1,598. จุลินทรีย์ “พิชิตกลิ่นเหม็น”
1,599. การปลูกพืชระบบรากแช่
1,600. อะมิโนคีเลต ต่อมะเขือเทศ

1,601. กลิ่นลีลาวดี มีเสน่ห์เย้ายวนหรือลดกำหนัด ??
1,602. ฟลาวโวนอยด์....งานวิจัยอุตสาหกรรมเภสัช และผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ
1,603. ธาตุสังกะสีจำเป็นสำหรับพืช
1,604. ข้อเท็จจริงของธาตุสังกะสีต่อข้าว
1,605. เหตุผล 5 ข้อ ทำไมสินค้าออร์แกนิกราคาสูง

1,606. อย่างไรที่เรียกว่าอาหารออร์แกนิค
1,607. สเปรย์น้ำมันหอมระเหยกำจัดไรฝุ่น จากงานวิจัยสู่ธุรกิจ
1,608. 'โรครากขาว'มหันตภัยเงียบยางพารา
1,609. วิธีการปลูกข้าว ไม่ให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมาทำลายข้าว


------------------------------------------------------------------------------------------------





1,585. สภาวะโลกร้อนกับเศรษฐกิจเกษตร [1]


จีราภา อินธิแสง
ส่วนวิจัยเศรษฐกิจเทคโนโลยีและปัจจัยการผลิต สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร



“สภาวะโลกร้อน” เป็นคำพูดที่เราได้ยินกันบ่อย มักใช้แทนภาษาทางการที่ว่า “สภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง” ซึ่งไม่ได้หมายถึง
เพียงแค่อุณหภูมิที่สูงขึ้น แต่จะรวมผลต่อเนื่องไปถึงความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศอื่นๆ ที่อาจจะมีความรุนแรงมากขึ้น เช่น ฝนตก
ไม่สม่ำเสมอ ฝนตกผิดฤดูกาล น้ำท่วม ไฟป่า ตลอดจนภาวะฝนแล้งต่อเนื่องยาวนาน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นนั้น
บางคนอาจจะมองว่าไม่ได้เป็นเรื่องใหม่ อากาศก็ร้อนอยู่แล้วเป็นไปตามธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนในภาคเกษตรที่ต้องพึ่งพิงปัจจัย
การผลิตจากธรรมชาติ ก็สังเกตุเห็นการเปลี่ยนแปลง
สภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา และหลายๆครั้งก็ได้สร้างความเสียหายอย่างมากต่อผลผลิตเกษตร ซึ่งภาครัฐได้ให้การช่วยเหลือ
มาอย่างต่อเนื่อง

สาเหตุที่เรื่องสภาวะโลกร้อนได้กลายเป็นประเด็นที่มีความสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาตินั้น เนื่องจาก
หลักฐานเชิงวิทยาศาสตร์จาก IPCC (Intergovernmental Panel on Climate Change) ที่ได้เผยแพร่มาอย่างต่อเนื่อง
ตั้งแต่ปี 2533 ได้รับการยอมรับแล้วว่าโลกร้อนขึ้นจริง และมีสาเหตุมาจากก๊าซเรือนกระจก เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน และ
ไนตรัสออกไซด์ที่สะสมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ความร้อนถูกกักเก็บไว้ในโลกไม่สะท้อนกลับไปสู่บรรยากาศ และต้นเหตุสำคัญที่สุด
คือ มนุษย์ที่ทำให้ก๊าซเหล่านี้สะสมเพิ่มขึ้น ทั้งจากการเผาเชื้อเพลิง การทำลายป่าไม้ การทำเกษตรกรรม และปศุสัตว์ จึงได้มีการ
รณรงค์กันอย่างกว้างขวางให้คนในสังคมได้ตระหนักถึงสภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้น ในประเทศไทยได้มีการทำวิจัยกี่ยวกับสภาวะโลกร้อน
มากขึ้น ทั้งการทำแบบจำลองคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ การประมาณการการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของภาคการ
ผลิตต่างๆ ผลกระทบที่มีภาคเศรษฐกิจ ตลอดจนแนวทางในการลดผลกระทบ บทความนี้จะวิเคราะห์ประเด็นวิจัยที่น่าสนใจในเรื่องผล
กระทบของสภาวะโลกร้อนที่จะส่งผลต่อเศรษฐกิจเกษตร โดยเบื้องต้นจะสรุปผลของสภาวะโลกร้อนที่มีต่อพืชที่นักวิชาการพืชได้นำ
เสนอในการประชุมระดมความคิดเห็นต่างๆ เพื่อให้เห็นภาพของทิศทางการวิเคราะห์ชัดเจนขึ้น หลังจากนั้นจะวิเคราะห์ประเด็นวิจัยใน
บริบทของผลกระทบที่มีต่อรายได้ภาคเกษตร

สภาวะโลกร้อนในประเทศไทย :
ในรอบ 100 ปีที่ผ่านมา อุณหภูมิสูงสุดของโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประมาณ 0.07 องศาเซลเซียสต่อทศวรรษ สำหรับประเทศไทย
เพิ่มขึ้นน้อยกว่าค่าเฉลี่ย คือ อุณหภูมิสูงสุดเพิ่มขึ้นเพียง 0.026 เซลเซียสต่อทศวรรษ ส่วนอุณหภูมิเฉลี่ยลดลง 0.008 เซลเซียส
ต่อทศวรรษ นอกจากนี้ยังพบว่าในรอบ 15 ปีที่ผ่านมาทั้งจำนวนและเปอร์เซ็นการเกิดพายุเฮอริเคนในระดับ 4 และ 5 ซึ่งเป็นระดับ
ที่รุนแรง ในเขตลุ่มมหาสมุทรต่างๆ ของโลกได้เพิ่มขึ้น ผลการทำนายด้วยแบบจำลองภูมิอากาศ อุณหภูมิพื้นผิวโลกนับจากนี้ไป
จนถึงปี 2583 จะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ภัยธรรมชาติจะเกิดบ่อยขึ้นและมีระดับความรุนแรงขึ้น ในประเทศไทย สภาพภูมิอากาศได้
รับอิทธิพลมาจากตัวแปรท้องถิ่นหลายตัว เช่นลมมรสุม ซึ่งมีความผันผวนค่อนข้างสูง การคาดการณ์สภาพภูมิอากาศจึงยากกว่าการคาด
การณ์ในประเทศเขตหนาว แต่ได้มีการคาดการณ์ภายใต้ข้อสมมติต่างๆ ไว้ว่า อุณหภูมิสูงสุดในช่วง 20 ปีนี้จะไม่เพิ่มขึ้นจากเดิมนัก
คือ อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 34-35 องศาเซลเซียส แต่ในอีก 90 ปีข้างหน้าอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยจะเพิ่มจากปัจจุบันประมาณ
3-4 องศาเซลเซียส ส่วนอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย (อุณหภูมิกลางคืน) มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้น พื้นที่ที่มีอุณหภูมิต่ำจะลดลงโดยเฉพาะในเขตภาค
เหนือ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้น แต่จะมีความผันผวนและมีความเสี่ยงต่อภาวะน้ำท่วมฉับพลันมากขึ้น

ผลกระทบที่มีต่อการเจริญเติบโตของพืช :
ผลกระทบที่มีต่อการเจริญเติบโตของพืชมีสองส่วนหลัก คือผลกระทบโดยตรงจากการที่อุณหภูมิมีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งสามารถวัดผล
กระทบในเชิงวิทยาศาสตร์ได้ค่อนข้างชัดเจน และผลกระทบจากความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศซึ่งวัดและคาดการณ์ได้ยากกว่า
ทั้งเรื่องเวลาและระดับความรุนแรงที่จะเกิดขื้น แต่เมื่อเกิดขึ้นความเสียหายจะรุนแรงกว่ากรณีแรก ศ.ดร.เบญจวรรณ ฤกษ์เกษม นักวิชา
การด้านพืชได้ให้ความเห็นว่าแม้ว่าอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีจะไม่ได้สูงขึ้นมาก แต่สำหรับพืชนั้นความผันผวนของอุณหภูมิเพียงไม่กี่นาที ที่
เกิดขึ้นในช่วงใดช่วงหนึ่งของการเจริญเติบโตจะทำให้ผลผลิตลดลงได้ เช่น ข้าว ถ้าอุณหภูมิสูงเกินไปในช่วง

(1) ดอกบาน แม้ในเวลาสั้นๆ ภายใน 10 นาที ทำให้การผสมเกสรล้มเหลว
(2) ในระหว่างฤดูปลูก โดยเฉพาะอุณหภูมิกลางคืน ทำให้ระบบสังเคราะห์แสงรวน มีรวงน้อย
จำนวนดอก/รวงต่ำ และข้าวลีบ และ
(3) ในช่วงสร้างเมล็ด 30 วันก่อนเก็บเกี่ยว จะมีผลต่อคุณภาพของเมล็ด


ดังนั้น อุณหภูมิที่สูงขึ้นไม่ว่าจะเป็นกลางวัน หรือกลางคืน ล้วนมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช อุณหภูมิสูงในเวลากลางวันมีผลต่อการ
ผสมเกสร ทำให้ผสมเกสรไม่ติด อุณหภูมิสูงในเวลากลางคืนมีผลต่อจำนวนดอก จำนวนเมล็ดที่ลีบหลังผสมเกสรเนื่องจากผสมแล้ว
แท้งผล ในข้าวพันธุ์ IR72 หากอุณหภูมิกลางคืน (วัดจากอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย) เพิ่มขึ้นทุก 1 องศาเซลเซียส (จาก 22 องศาเซลเซียส)
จะทำให้ผลผลิตข้าว ลดลง 10% งานวิจัยจากศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ปี 2543 พบว่าอุณหภูมิในช่วงเดือนมีนาคมที่สูงกว่าปกติ 1-3
องศาเซลเซียส ในช่วงผสมเกสรของข้าวนาปรัง ทำให้ข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 เกิดเมล็ดลีบมากกว่า 40 % ในขณะที่พันธุ์สุพรรณบุรี
1 ไม่ได้รับความเสียหาย

ความเสียหายในภาคการเกษตรที่เกิดจากอุณหภูมิผันผวนนั้น ไม่ได้เกิดจากสภาพอากาศที่ร้อนขึ้นเท่านั้น แต่อุณหภูมิกลางคืนที่เย็น
มากขึ้นก็จะสร้างความเสียหายได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น ข้าวมีโอกาสเป็นหมันสูงถ้าอากาศหนาวเย็น งานวิจัยต่างประเทศพบว่าอุณหภูมิ
วิกฤติที่ทำให้เกิดการเป็นหมันจะต่างกันขึ้นอยู่กับพันธุ์ อุณหภูมิวิกฤติของข้าวที่ทนหนาวอยู่ระหว่าง 15-17 องศาเซลเซียส ส่วนข้าวที่
ไม่ทนหนาวอยู่ระหว่าง17-19 องศาเซลเซียส โดยความเป็นหมันจะรุนแรงขึ้นเมื่ออุณหภูมิลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่จะไม่แสดงอาการ
เมื่ออุณหภูมิกลางวันค่อนข้างอุ่นแต่กลางคืนเย็นจัด การศึกษาผลกระทบของอากาศเย็นต่อผลผลิตข้าวที่ศูนย์วิจัยพิษณุโลกในปี 2549
/2550 ทำการศึกษาข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 3 ในช่วงที่อากาศหนาวเย็นกว่าปกติ คือ อุณหภูมิในระยะ young microspore ซึ่งเป็นช่วง
การเจริญเติบโตที่อ่อนแอต่ออากาศเย็นจัดมากที่สุด อยู่ระหว่าง 16.3-21.3 องศาเซลเซียส และอากาศเย็นนั้นเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
หลังจากออกรวงแล้วถึง 28 วัน โดยมีอุณหภูมิต่ำสุดต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส ข้าวสุพรรณบุรี 3 ได้แสดงอาการเหลืองในระยะแตก
กอ เมล็ดเป็นหมัน 67% บางรวงมีปลายฝ่อ อายุการเก็บเกี่ยวยืดออกไป 13 วันและผลผลิตลดลง 54 %

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้เพิ่มข้อจำกัดในการผลิตภาคเกษตรมากขึ้น ทั้งในเรื่องของ ความแห้งแล้ง น้ำท่วม โรคและแมลง
ปัญหาเรื่องดินและวัชพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่งความแปรปรวนของน้ำฝนและการกระจายของฝนที่ไม่สม่ำเสมอและสร้างความเสีย
หายต่อภาคเกษตร เช่น ในปี 2534 ที่จังหวัดเชียงใหม่และลำพูน มีฝนหลงฤดูประกอบกับอากาศร้อนและความชื้นสัมพัทธ์สูงติด
ต่อกันยาวนานทำให้เกิดการระบาดของโรคไหม้ระยะคอรวงในข้าวพันธ์ กข6 ในปี 2543 มีฝนหลงฤดู เป็นเวลา 12 ชั่วโมง ในระยะที่
ข้าวอยู่ในระยะพลับพลึง ทำให้ข้าวพันธุ์ชัยนาท 1 และสุพรรณบุรี 1 หักล้ม เสียหาย 100% แต่พันธุ์พิษณุโลก 2 ซึ่งต้านทานการ
หักล้ม ไม่ได้รับความเสียหาย ในปี 2546 มีฝนหลงฤดูในภาคเหนือ ขณะที่เกษตรกรกำลังเกี่ยวข้าว และบางรายตากฟ่อนข้าว
ในนา ทำให้ข้าวเปียกน้ำ และข้าวพันธุ์สันป่าตอง 1 ซึ่งไม่มีระยะพักตัว เมล็ดข้าวงอกคารวง เสียหาย 100%

ผลกระทบของสภาวะโลกร้อนที่มีต่อการเจริญเติบโตของพืช เห็นได้ชัดเจนมากขึ้น แม้ว่าความเสียหายอาจจะเกิดจากหลายองค์ประกอบ
แต่ความแปรปรวนของอุณหภูมิและสภาพภูมิอากาศนั้นเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิต และท้ายที่สุดเกิดลบต่อราย
ได้เกษตรกร งานวิจัยจึงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งที่เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์และกำหนดมาตรการสนับสนุนให้เกษตรกรสามารถวาง
แผนการผลิตและการตลาดภายใต้ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ประเด็นวิเคราะห์วิจัยสภาวะโลกร้อนกับเศรษฐกิจเกษตร :
ปัจจุบันงานวิจัยในเรื่องผลกระทบในเชิงเศรษฐศาสตร์ของสภาวะโลกร้อนต่อภาคการเกษตรไทยมีค่อนข้างน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
งานวิจัยต่อยอดจากแบบจำลองสภาพภูมิกาศที่พยากรณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและแบบจำลองพืชที่พยากรณ์ผลกระทบต่อ
ผลผลิตพืช ทั้งนี้เนื่องจากงานวิจัยเหล่านี้เป็นการพยากรณ์ในระยะยาวและยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน การเพิ่มมิติในการวิเคราะห์ด้านเศรษฐ
กิจและสังคมทำให้ไม่สามารถประมาณความเสียหายเชิงปริมาณในระยะร้อยปีหรือแม้แต่ในระยะสิบปีได้อย่างแม่นยำ ทำให้เป็นการ
ยากที่จะนำผลที่ได้จากการวิเคราะห์ไปแก้ปัญหาเศรษฐกิจเกษตรที่เกิดขึ้นในระยะสั้นได้ อย่างไรก็ดี ข้อมูลพยากรณ์เหล่านี้จะเป็นข้อ
มูลที่เป็นประโยชน์สำหรับการวางแผนเตรียมพร้อมการพัฒนาการเกษตรในระยะยาว อีกทั้งยังเป็นข้อมูลสำคัญที่จุดประกายให้ทุก
ฝ่ายตระหนักถึงปัญหาสภาวะโลกร้อนที่กำลังเกิดขึ้น งานวิจัยอีกกระแสหนึ่งที่ได้มีการทำควบคู่กันไปเป็นการวิจัยเชิงพัฒนาที่มีแรงขับ
เคลื่อนจากการเจรจาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่างๆ คืองานวิจัยในสามประเด็นหลักคือ การวัดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือน
กระจกที่เกิดจากกิจกรรมการผลิตด้านการเกษตร (Inventory) ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Impact) แนวทาง
การลดการปล่อยเรือนกระจก (Mitigation) และ ผลกระทบจากการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการปรับตัวของเกษตรกร
(Adaptation) ซึ่งการวิเคราะห์วิจัยจะนำไปสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและการแก้ปัญหาได้ชัดเจนมากขึ้น ทั้งนี้ประเด็นวิเคราะห์
วิจัยที่น่าสนใจมีอยู่หลายประเด็น บทความนี้จะตั้งต้นวิเคราะห์ผลกระทบต่อรายได้จากภาคเกษตรเพื่อเสนอแนวทางในการพิจาร
ณาประเด็นวิจัยเชิงลึกให้สอดคล้องกับกระแสหลัก ทั้งนี้เนื่องจากรายได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกร
รายได้สุทธิจากภาคเกษตรหลักๆ คือรายรับจากการขายผลผลิตหักด้วยต้นทุนการผลิต ตัวแปรที่สำคัญที่จะวิเคราะห์คือ ปริมาณผล
ผลิต ราคาที่เกษตรกรขาย และต้นทุน การวิเคราะห์จะอาศัยข้อสมมติต่างๆที่นักวิชาการด้านสภาพภูมิอากาศและพืชได้เริ่มต้น
วิเคราะห์มาให้บางส่วน นอกจากนี้การวิเคราะห์จะเป็นแบบดุลภาพบางส่วนคือวิเคราะห์ทีละตัวแปร โดยสมมติให้ตัวแปรอื่น
ทุกตัวคงที่ยกเว้นตัวแปรที่กำลังวิเคราะห์อยู่ ตัวแปรที่สำคัญได้แก่


ปริมาณผลผลิต :
ผลการศึกษาแบบจำลองสภาพภูมิอากาศพบว่าในระยะ 20 ปี ต่อจากนี้ไปอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดและต่ำสุดจะไม่เปลี่ยนแปลงไปจาก
ระดับในปัจจุบันมากนัก แต่ในระยะ 90 ปีจะเพิ่มขึ้น งานวิจัยด้านพืชพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิกับผลผลิตนั้นไม่เป็นเส้น
ตรง บางพืชอาจจะเจริญเติบโตได้ดีขึ้นในระยะแรกแต่ถ้าอุณหภูมิเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ผลผลิตจะลดลง ดังนั้นผลกระทบของอุณหภูมิต่อการ
เจริญเติบโตของพืชขึ้นอยู่กับว่าอุณหภูมิเริ่มต้นเป็นเท่าไรและพืชชนิดใด การสรุปทิศทางการเปลี่ยนแปลงของปริมาณผลผลิตในภาพ
รวมค่อนข้างยาก วิเชียร เกิดสุข และคณะ (2547 ) ได้เทียบผลผลิตข้าวพันธุ์ดอกมะลิ 105 ที่ระดับคาร์บอนไดออกไซด์ต่างๆ พบว่า
ในอีก 50 ปี ผลผลิตข้าวพันธุ์ดังกล่าว จะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 5-6 อย่างไรก็ดี นักวิชาการด้านพืชได้ให้ความเห็นว่าความผิดปกติ
ของอุณหภูมิแม้จะเกิดขึ้นเพียงไม่กี่นาที อาจจะส่งผลเสียหายต่อผลผลิตเกษตรได้ ถ้าความผิดปกติของอุณหภูมิเกิดถี่ขึ้น จะทำให้ปริมาณ
ผลผลิตลดลงได้ รายได้ของเกษตรกรที่ปลูกพืชที่อ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอาจจะลดลง ดังนั้นจึงควรให้ความสำคัญกับ
ข้อมูลและการวิจัยเชิงพื้นที่ การสื่อสารระหว่างภาครัฐกับเกษตรกรเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พันธุ์พืชใหม่ และการจัดการ
เกษตรในแต่ละพื้นที่เพาะปลูก

ปริมาณผลผลิตนอกจากจะขึ้นอยู่กับความเป็นไปได้ทางเทคนิคซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศและการใช้ปัจจัยการผลิตอื่นแล้ว ยัง
ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของเกษตรกรตั้งแต่ต้นฤดูว่าจะตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างไร เนื่องจากการผลิตสินค้า
เกษตรนั้นต้องใช้ช่วงระยะเวลาหนึ่งจึงมีความเสี่ยงตามธรรมชาติเกิดขึ้นอยู่แล้ว สภาวะโลกร้อนจะทำให้ความเสี่ยงในการผลิตเพิ่ม
สูงขึ้นไปอีก ความเสี่ยงเหล่านี้มีผลต่อการตัดสินใจผลิตของเกษตรกร เกษตรกรที่กลัวการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากและมียืด
หยุ่นสูงในการเพาะปลูกก็อาจเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่น แต่ถ้าไม่สามารถเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นได้อาจจะตัดสินใจเปลี่ยนอาชีพ ซึ่งถ้ามองใน
แง่เศรษฐศาสตร์การตัดสินใจดังกล่าวก็อาจจะเป็นการตัดสินใจของเกษตรกรแต่ละคนที่อาจจะสมเหตุสมผล เพราะถ้ารายรับที่เกษตรกร
คาดการณ์ไว้ไม่คุ้มกับต้นทุนจะที่เกิดขึ้นก็จะเลือกผลิตหรือประกอบอาชีพอย่างอื่น ดังนั้นปริมาณผลผลิตพืชที่อ่อนไหวต่อการเปลี่ยน
แปลงของสภาพภูมิอากาศอาจจะลดลง แม้ว่าในปีนั้นๆ สภาพภูมิอากาศไม่ได้แปรปรวนอย่างที่คาดไว้ ประเด็นที่สำคัญคือ การตัดสิน
ใจนี้จะเป็นการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพหรือไม่ ถ้าเป็นไปอย่างไม่มีประสิทฺธิภาพ เกษตรกรจะเสียโอกาสรายได้ที่ควรจะได้ ประเทศ
ก็อาจจะมีความเสี่ยงในเรื่องความมั่นคงทางอาหารได้ถ้าไม่มีมาตรการช่วยเหลือเกษตรในเรื่องการบริหารจัดการความเสี่ยง

การตัดสินใจการผลิตภายใต้ความเสี่ยงนั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถในการปรับตัว ข้อมูลที่เกษตรกรรับรู้ และการตอบสนองต่อความ
เสี่ยงของตัวเกษตรกรเองว่า ชอบความเสี่ยงหรือเกลียดความเสี่ยง ในอดีตมีงานวิจัยที่ศึกษาเรื่องทัศนคติของเกษตรกรในเรื่องความ
เสี่ยงในการผลิตและการจัดสรรทรัพยากรพบว่า ชาวนาไทยยิ่งมีระดับการศึกษาสูงจะยิ่งกลัวความเสี่ยง ในเรื่องของการการรับรู้ข้อมูล
ข่าวสารจากเจ้าหน้าที่รัฐนั้นพบว่าการรับรู้ข้อมูลข่าวสารอาจจะทำให้เกษตรกรกลัวความเสี่ยงน้อยลงหรือเพิ่มขึ้นก็ได้ นอกจากนี้ยัง
พบว่าเกษตรกรที่ถือครองที่ดินขนาดเล็กจะกลัวความเสี่ยงมากกว่า อย่างไรก็ดี การศึกษาพบว่าเกษตรกรที่กลัวความเสี่ยงมากจะมีแนว
โน้มที่พลาดในการจัดสรรทรัพยากรน้อยกว่าเกษตรกรที่กลัวความเสี่ยงน้อย เนื่องจากจะพยายามเลือกปลูกพืชที่ตนเองถนัดมากที่สุด

ในประเทศไทยนั้น มีชาวนาที่ทำนาในเชิงพาณิชย์อยู่ 4 แสนครัวเรือน พื้นที่นาเฉลี่ยต่อครัวเรือนประมาณ 24 ไร่ และผลผลิตต่อไร่
ประมาณ 686 กิโลกรัม ในขณะที่ชาวนาที่ทำนาแบบพอกินมี 3.3 ล้านครัวเรือน พื้นที่นาเฉลี่ยต่อครัวเรือนเพียง 14 ไร่ และผล
ผลิตต่อไร่เพียง 360 กิโลกรัม หากมองในแง่การถือครองที่ดิน จำนวนชาวนาไทยที่กลัวความเสี่ยงมากจะมีมากกว่า ดังนั้นภาครัฐจึง
จำเป็นที่ต้องกระจายข้อมูล ความรู้ต่างๆ ในแก่เกษตรกร งานวิจัยที่เกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูลระหว่างภาครัฐกับเกษตรกร การคาด
การณ์การเปลี่ยนแปลง การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง ตลอดจนการสร้างกลไกตลาดที่จะช่วยให้เกษตรกรบริหารจัดการความเสี่ยง
ด้วยตนเองซึ่งจะสนุนสนับให้การตัดสินใจของเกษตรกรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ


ราคาผลผลิต :
ราคาเป็นตัวแปรที่คาดการณ์ได้ยากมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีสภาพภูมิอากาศเข้ามาเกี่ยวข้อง การวิเคราะห์ผลกระทบสภาวะโลก
ร้อนต่อผลผลิตเกษตรมีบริบทในเรื่องของสถานที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ถ้าผลผลิตเกษตรของไทยลดในขณะที่ผลผลิตของโลกก็ลดด้วย
สภาวะโลกร้อนก็อาจจะไม่กระทบต่อรายรับของเกษตรกรไทยมากเพราะราคาสินค้าเกษตรจะสูงขึ้น แต่รัฐบาลอาจจะเผชิญปัญหาอื่น
คือ ปัญหาความมั่นคงทางอาหาร จากการศึกษาในต่างประเทศพบว่าในอนาคตทั้งอีนเดีย จีน และมาเลเซีย สามารถผลิตข้าวได้เพิ่ม
ขึ้นถึงประมาณร้อยละ 20 (Mathew et al, 1995 อ้างใน สมพร อิศวิลานนท์ และคณะ, 2551) บังคลาเทศก็จะสามารถผลิต
ข้าวได้เพิ่มขึ้นถึงประมาณร้อยละ 10-20 ขึ้นอยู่กับว่าอุณหภูมิสูงขึ้นเท่าไร อุณหภูมิยิ่งสูงยิ่งทำให้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น การศึกษาผล
กระทบสภาวะโลกร้อนต่อประเทศในเขตอบอุ่นเช่น สหรัฐอเมริกา และแคนาดา ยังพบว่าจะมีผลผลิตธัญพืชจะเพิ่มขึ้น สำหรับไทย
ถ้าผลผลิตเกษตรเพิ่มขึ้นน้อยกว่าประเทศอื่นหรือในกรณีที่แย่กว่านั้นคือผลผลิตข้าวไทยลดลงแต่ประเทศอื่นเพิ่มขึ้นมาก ราคาข้าวจะ
ลดลงตามกลไกตลาด และรายได้เกษตรกรก็จะยิ่งลดลงไปด้วย ดังนั้นการวิเคราะห์ผลกระทบรายพืชหลักทั้งของไทยและคู่แข่งก็มี
ความสำคัญที่จะกำหนดทิศทางการส่งเสริมการเพาะปลูกพืช




ต้นทุนการผลิต :
ปัจจัยสุดท้ายคือเรื่องต้นทุนการผลิต สภาวะโลกร้อนอาจจะทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นได้ ประเด็นที่น่าสนใจมีอยู่สองประเด็น คือ

ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นนั้นเป็นต้นทุนที่เกษตรกรสมัครใจที่จะจ่ายเพิ่มเพื่อปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการผลิต เพื่อที่จะรักษาระดับการผลิตให้
อยู่ในระดับที่ต้องการ เช่น อาจจะต้องใส่ปุ๋ยเพิ่มขึ้น การให้น้ำบ่อยขึ้น สร้างอ่างเก็บน้ำเพื่อให้กักเก็บน้ำได้มากขึ้นเพราะฝนตกไม่สม่ำ
เสมอ หรือสร้างคันกั้นน้ำป้องกันน้ำท่วม ตลอดจนการผลิตในพื้นที่ควบคุมอุณหภูมิได้ ประเด็นที่สองคือต้นทุนการผลิตที่อาจจะเพิ่ม
ขึ้น เป็นผลมาจากแรงผลักดันจากปัจจัยภายนอก เช่น ข้อตกลงในเรื่องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ในระยะหลังได้มีการถก
กันถึงการมีส่วนร่วมของภาคเกษตรในการลดก๊าซแล้ว ภาคเกษตรนั้นแม้จะเป็นภาคที่อ่อนไหวและได้รับผลกระทบมากที่สุดจากสภาวะ
โลกร้อน แต่ก็มีส่วนในการเพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งก๊าซมีเทนและก๊าซไนตรัสออกไซด์ จาก
การทำนาข้าว การใส่ปุ๋ย ตลอดจนการเลี้ยงปศุสัตว์ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของภาคเกษตรไทยคิดเป็นประมาณร้อยละ 25 ถึงแม้
จะน้อยกว่าภาคพลังงานที่ปล่อยถึงร้อยละ 60 (ข้อมูลปี 2546 จาก กรมพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
แต่ทุกภาคส่วนจำเป็นต้องช่วยกันลด หรืออย่างน้อยแสดงเจตนารมณ์ที่จะมีส่วนร่วมในการลด เพื่อไม่ให้สภาวะโลกร้อนรุนแรงมากกว่า
เดิม การลดการปล่อยก๊าซนั้นจะเป็นการปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตไปสู่เทคโนโลยีที่สะอาด ซึ่งอาจจะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น

จากข้อมูลการปล่อยก๊าซมีเทนจากการผลิตข้าวของแต่ละประเทศแสดงให้เห็นว่าการปล่อยก๊าซต่อไร่นั้นไม่เท่ากัน ดังนั้นระดับ
การปรับเปลี่ยนการผลิตเพื่อลดการปล่อยก๊าซของแต่ละประเทศก็จะไม่เท่ากัน สิ่งเหล่านี้จะมีผลต่อความสามารถในการแข่งขัน
ของเกษตรกรไทย ดังนั้นจึงควรที่จะมีการศึกษาเปรียบเทียบต้นทุนในวิธีการผลิตแบบต่างๆ ว่ามีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่าง
กันอย่างไร และต้นทุนการผลิตต่างกันหรือไม่ เพื่อจะได้ดูความคุ้มทุนในการปรับเปลี่ยนการผลิตไปสู่เทคโนโลยีที่ช่วยลดโลก
ร้อน โดยไม่ทำให้ต้นทุนสูงขึ้นมากนัก ในขณะเดียวกันจะต้องมีการติดตามทิศทางการเจรจาในเวทีระหว่างประเทศภาคีอนุสัญญา
สหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและอาจจะต้องมีการดำเนินมาตรการเชิงรุกมากขึ้นเพื่อไม่ให้ไทยเสียเปรียบ
ในเวทีโลก

ภาคเกษตรเป็นทั้งภาคที่ทำให้เกิดสภาวะโลกร้อน และเป็นภาคที่ได้รับผลกระทบโดยตรงการจากเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
บทความนี้เป็นเพียงการวิเคราะห์ผลกระทบต่อเศรษฐกิจเกษตรที่อาจจะเกิดขึ้นในเบื้องต้นและมองภาพในแง่เดียวคือในเรื่องราย
ได้เกษตรกร ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาวิจัยทั้งในเชิงลึก เชิงปริมาณและการวิจัยในภาพกว้างระดับมหภาคถึงผลกระทบ
ที่มีต่อผลผลิต การปรับตัว ต้นทุนในการปรับตัว ตลอดจนโอกาสทางตลาดที่อาจจะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ



http://www.oae.go.th/ewtadmin/ewt/oae_baer/ewt_news.php?nid=380&filename=index


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 31/05/2012 7:50 pm, แก้ไขทั้งหมด 10 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 13/05/2012 6:56 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,586. พันธุ์ข้าว น่าสนใจ



ชื่อพันธุ์ กข-43 (SPR99007-22-1-2-2-1)

ชนิด ข้าวเจ้า ไม่ไวต่อช่วงแสง

คู่ผสม พันธุ์ข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรี (พันธุ์แม่) กับพันธุ์สุพรรณบุรี1 (พันธุ์พ่อ)

ประวัติพันธุ์
คัดเลือกได้จากการผสมข้ามพันธุ์ลูกผสมเดี่ยวระหว่างพันธุ์ข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรี (พันธุ์แม่) กับพันธุ์สุพรรณบุรี1 (พันธุ์พ่อ) ที่
ศูนย์วิจัยข้าวสุพรรณบุรี ในฤดูนาปรัง พ.ศ. 2542 คัดเลือกได้สายพันธุ์ SPR99007-22-1-2-2-1 ปลูกทดสอบผล
ผลิตในศูนย์วิจัยข้าวและในนาเกษตรกรตั้งแต่ปี 2546 จนถึงปี 2551

การรับรองพันธุ์ คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ กรมการข้าว พิจารณารับรองพันธุ์ มื่อวันที่ 17 กันยายน 2552 ใช้ชื่อว่า ข้าวเจ้า กข-43

ลักษณะประจำพันธุ์
เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยวสั้น ประมาณ 95 วัน ปลูกโดยวิธีหว่านน้ำตม ความสูงประมาณ 103 ซม. ทรงกอตั้ง ต้น
ค่อนข้างแข็ง ใบสีเขียวจาง ใบธงตั้งปานกลาง ข้าวเปลือกสีฟาง น้ำหนักข้าวเปลือก 1,000 เมล็ด 30.35 กรัม ข้าวกล้องสีขาว ยาว
7.59 มิลลิเมตร รูปร่างเมล็ดยาวเรียว ท้องไข่น้อย มีปริมาณแอมิโลสต่ำ (18.82 %) คุณภาพของเมล็ดทางการหุงต้มรับประทาน
ดี ข้าวสุก นุ่ม เหนียว มีกลิ่นหอมอ่อนๆ(ไกล้เคียงข้าวหอมดอกมะลิ 105 ) มีระยะพักตัว 5 สัปดาห์ ผลผลิต ประมาณ 561 กิโลกรัม
ต่อไร่

ลักษณะเด่น
1 อายุการเก็บเกี่ยวสั้น 95 วันปลูกโดยวิธีวิธีหว่านน้ำตม
2 คุณภาพของเมล็ดทางการหุงต้มรับประทาน ดี ข้าวสุกนุ่ม เหนียว มีกลิ่นหอมอ่อนๆ(ไกล้เคียงข้าวหอมดอกมะลิ 105 )
3 ต้านทานปานกลางต่อโรคใบไหม้และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

ข้อควรระวัง
เนื่องจากเป็นข้าวอายุการเก็บเกี่ยวสั้น ไม่ควรปลูกร่วมกับข้าวที่มีอายุต่างกันมาก อาจจะเสียหายจากการทำลายของนกและหนูได้
ข้าวพันธุ์นี้มีลำต้นเล็ก การใส่ปุ๋ยอัตราสูงอาจทำให้ข้าวล้มได้ และข้าวพันธุ์นี้อ่อนแอต่อโรคไหม้ที่พิษณุโลก

พื้นที่แนะนำ
พื้นที่นาชลประทานที่เกษตรกรมีศักยภาพต้องการเพิ่มผลผลิตด้วยการเพิ่มรอบการทำนาเป็น 3 ครั้งต่อปี พื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังเป็นเวลา
นานและเกษตรกรมีช่วงเวลาในการทำนาน้อยกว่าพื้นที่ปลูกข้าวอื่น ๆ และ/หรือพื้นที่ที่มีปัญหาข้าววัชพืชระบาด

---------------------------------------------------------------------------------------------



ข้าวสกุล 80

ข้าวเจ้าพันธุ์ กข-31 (ปทุมธานี 80)

• เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง อายุ 111-118 วัน สูง 117 ซม. กอตั้งใบธงตั้งตรง ต้นแข็งไม่ล้มง่าย ผลผลิตเฉลี่ย 738 กก./ไร่
สูงกว่า สุพรรณบุรี 1 ประมาณ 5 %

• ต้านทานเพลี้ยกระโดยหลังขาว ค่อนข้างต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โรคขอบใบแห้ง โรคใบจุดสีน้ำตาล และโรคเมล็ดด่าง

• ลักษณะเมล็ดยาวเรียว ขนาดและรูปร่างเมล็ดสม่ำเสมอ ท้องไข่น้อย คุณภาพการสีดี เป็นข้าวอมิโลสสูง 27-29% แต่แป้งสุกอ่อน
หุงขึ้นหม้อดี

* ทนร้อนได้ดี ผลผลิตข้าวในหน้าร้อน ข้าวไม่ลีบ น้ำหนักดี ผลผลิตสูงกว่าข้าวพันธุ์อื่นๆ *

---------------------------------------------------------------------------------------



พันธุ์ข้าวเจ้า กข-41

ประวัติ
พันธุ์ข้าว กข-41 ได้รับการรับรองพันธุ์เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2552 จากสายพันธุ์ CNT96028-21-1-PSL-1-1 โดยการผสม 3 ทาง
ระหว่าง ลูกผสมชั่วที่ 1 ของ CNT85059-27-1-3-2 กับสุพรรณบุรี 60 นำไปผสมกับ RP217-635-8 ที่ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาทใน
ฤดูนาปี 2539 ปลูกชั่วที่ 1-3 ที่ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท และชั่วที่ 4 – 6 ที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ตั้งแต่ฤดูนาปรัง 2541 ถึง ฤดูนาปรัง
2542 ปลูกศึกษาพันธุ์ฤดูนาปรัง 2543 และเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานีฤดูนาปี 2544 ที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก


จากนั้นนำเข้าเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานีที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก และศูนย์วิจัยข้าวชัยนาทและลพบุรี ในฤดูนาปี 2545 ถึงฤดู
นาปี 2550 นำเข้าเปรียบเทียบผลผลิตในนาราษฎร์ ในนาเกษตรกรจังหวัดพิษณุโลก ลพบุรี สิงห์บุรี และชัยนาท ตั้งแต่ฤดูนาปี
2546 ถึง ฤดูนาปี 2550 ทดสอบผลผลิตการยอมรับของเกษตรกร ตั้งแต่ฤดูนาปี 2547 – 2550 ในนาเกษตรกรจังหวัดพิษณุโลก
พิจิตร สุโขทัย อุตรดิตถ์ ชัยนาท และกำแพงเพชร ทดสอบเสถียรภาพผลผลิต ในฤดูนาปี 2550 ที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก แพร่ อุบล
ราชธานี สกลนคร สุรินทร์ ปทุมธานี สุพรรณบุรี และพัทลุง ลักษณะประจำพันธุ์ เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสงให้ผลผลิตสูงสุด 1,104
กิโลกรัมต่อไร่ ต่ำสุด 616 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อปลูกทุก 10 วัน ในรอบปี 2549 อายุ 105 วัน ความสูง 104 เซนติเมตร กอตั้ง ต้นแข็ง
ใบสีเขียวตั้งตรง ใบธงตั้งตรง ยาว 35 เซนติเมตร กว้าง 1.6 เซนติเมตร ข้าวเปลือกสีฟาง เมล็ดเรียว ยาว 10.4 มิลลิเมตร ขนาด
ข้าวกล้อง ยาว 7.73 มิลลิเมตร ข้าวสารยาว 7.3 มิลลิเมตร มีปริมาณแอมิโลสสูง 27.15 เปอร์เซ็นต์ ความคงตัวของแป้งสุกอยู่
ในระดับแป้งอ่อนระยะการไหลของแป้ง 77 มิลลิเมตร ข้าวเมื่อหุงสุก มีลักษณะร่วน และค่อนข้างแข็ง

ลักษณะเด่น
1 ผลผลิตสูง มีเสถียรภาพดี ให้ผลผลิตเฉลี่ย 894 กิโลกรัมต่อ/ไร่ สูงกว่าสุพรรณบุรี 1 (795 กก./ไร่) พิษณุโลก 2 (820
กก./ไร่)
สุพรรณบุรี 3 (768 กก./ไร่) กข-29 (835 กก./ไร่) และชัยนาท 1 (812 กก./ไร่) คิดเป็นร้อยละ 23, 5, 13, 4 และ 20 ตาม
ลำดับ

2 ค่อนข้างต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และโรคไหม้

3 คุณภาพเมล็ดทางกายภาพดี เป็นข้าวเจ้าเมล็ดยาว เรียว ท้องไข่น้อย คุณภาพการสีดี สามารถสีเป็นข้าวสาร 100 เปอร์เซ็นต์ได้


ข้อแนนำ
อ่อนแอต่อโรคขอบใบแห้ง ไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในระดับสูงเกินไปจะทำให้เกิดโรครุนแรง การปลูกในช่วงกลางเดือนกันยายน –
พฤศจิกายน จะกระทบอากาศเย็น ทำให้ผลผลิตต่ำกว่าปกติ

---------------------------------------------------------------------------------------



ปทุมธานี 1 (Pathum Thani 1)

ชื่อพันธุ์ - ปทุมธานี 1 (Pathum Thani 1)

ชนิด - ข้าวเจ้าหอม

คู่ผสม
- BKNA6-18-3-2 / PTT85061-86-3-2-1

ประวัติพันธุ์
- ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างสายพันธุ์ BKNA6-18-3-2 กับสายพันธุ์ PTT85061-86-3-2-1 ที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี ในปี พ.ศ. 2533
- พ.ศ. 2534-2536 คัดเลือกพันธุ์แบบสืบตระกูลจากชั่วที่ 2-6 จนได้สายพันธุ์ PTT90071-93-8-1-1
- พ.ศ. 2536 ปลูกศึกษาพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี
- พ.ศ. 2537-2538 ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานี
- พ.ศ. 2539-2540 ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานี วิเคราะห์คุณภาพ เมล็ดทาง กายภาพและทางเคมี ทดสอบความต้าน
ทานต่อโรค แมลง ศัตรูข้าว ที่สำคัญ
- พ.ศ. 2540-2541 ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตในนาราษฎร์ และทดสอบเสถียรภาพการให้ผลผลิต
- พ.ศ. 2541-2542 ปลูกขยายพันธุ์เป็นข้าวพันธุ์ดัก

การรับรองพันธุ์
คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็น พันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2543 และให้ชื่อว่า ปทุมธานี 1

ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเจ้าหอม สูงประมาณ 104-133 เซนติเมตร
- เป็นพันธุ์ข้าวที่ไม่ไวต่อช่วงแสง
- อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 104-126 วัน
- ทรงกอตั้ง ใบสีเขียวมีขนกาบใบและปล้องสีเขียว ใบธงยาว ทำมุม 45 องศา กับ ลำต้น รวงอยู่ใต้ใบธง
- เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง มีขน ส่วนมากมีหางสั้น
- ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 3-4 สัปดาห์
- เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.1x 7.6 x.7 มิลลิเมตร - ปริมาณอมิโลส 17.8%
- คุณภาพข้าวสุก นุ่มค่อนข้างเหนียว มีกลิ่นหอมอ่อน

ผลผลิต
- ประมาณ 650-774 กิโลกรัมต่อไร่

ลักษณะเด่น
- ให้ผลผลิตสูง
- เป็นข้าวเจ้าหอมที่ไม่ไวต่อช่วงแสง
- คุณภาพเมล็ดคล้ายพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105
- ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และเพลี้ยกระโดดหลังขาว
- ต้านทานโรคไหม้ และโรคขอบใบแห้ง

ข้อควรระวัง
- ค่อนข้างไม่ต้านทานเพลี้ยจักจั่นสีเขียว โรคใบหงิก และโรคใบสีส้ม
- ไม่ควรใช้ปุ๋ยในอัตราสูง โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจน ถ้าใส่มากเกินไปทำให้ ฟางอ่อน ต้นข้าวล้ม และผลผลิตลดลง

พื้นที่แนะนำ
- พื้นที่นาชลประทานภาคกลาง



-------------------------------------------------------------------------------------

ชื่อพันธุ์ - สุพรรณบุรี 3 (Suphan Buri 3)

ชนิด - ข้าวเจ้า

คู่ผสม - Basmati370*3 / กข7 / ไออาร์68

ประวัติพันธุ์
- ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างลูกผสมกลับครั้งที่ 2 (BC2) ของ Basmati370*3/กข7 กับพันธุ์ ไออาร์68
ที่ศูนย์วิจัยข้าวสุพรรณบุรี ในฤดูนาปรัง พ.ศ.2533 ปลูกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ SPR90008
-58-1-1-3

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการบริหาร กรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2549

ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 114 เซนติเมตร (วัดจากรากต้นข้าวถึงปลายรวงข้าว)
- ไม่ไวต่อช่วงแสง
- อายุเก็บเกี่ยว 105 - 120 วัน (ขึ้นอยู่กับวิธีการทำ โดยวิธีหว่านน้ำตมอายุ 105 วัน )
- ลักษณะทรงกอตั้ง ต้นแข็ง ใบสีเขียว ใบธงค่อนข้างตั้ง
- เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง
- ระยะพักตัว ประมาณ 5 สัปดาห์
- เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.1 x 7.47 x 1.83 มิลลิเมตร
- ท้องไข่น้อย
- ปริมาณอมิโลส 28.3%
- คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง ประเภทข้าวเสาไห้

ผลผลิต
- ประมาณ 772 กิโลกรัมต่อไร่

ลักษณะเด่น
- ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ดีกว่าพันธุ์สุพรรณบุรี 1
- ต้านทานโรคไหม้และโรคขอบใบแห้ง
- ให้ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 772 กิโลกรัมต่อไร่ ใกล้เคียงกับพันธุ์สุพรรณบุรี 1

ข้อควรระวัง
- ไม่ต้านทานโรคใบสีส้ม และโรคใบจุดสีน้ำตาลในสภาพธรรมชาติ
พื้นที่แนะนำ
- นาชลประทานภาคกลางที่ทำนาต่อเนื่อง และพื้นที่ที่มีปัญหาการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล



-------------------------------------------------------------------------------------------

ข้าวเจ้าหอมนิล

ได้รับการพัฒนาจนได้เมล็ดข้าวกล้องเรียวยาว สีม่วงเข็ม เมื่อหุงสุกจะนุ่มเหนียว

ข้าวเจ้าหอมนิลเป็นข้าวนาสวน ไม่ไวแสง ปลูกได้ตลอดทั้งปี แตกกอดี ความสูงของต้น 75cm สีของใบและลำต้นเขี้ยวเข้มอมม่วง
เมล็ดข้าวมีสีม่วงเข็ม อายุการเก็บเกี่ยว 95-100 วัน ผลผลิตเฉลี่ย 500-700 กก/ไร่ ต้านทานโรคไหม้(Blast) ทนต่อสภาพแล้ง
(Drought) และดินเค็ม(Salinity)


คุณค่าทางอาหารของข้าวหอมนิล :
1). วิตามิน B1 B2 และ B รวม วิตามิน E
2). ธาตุเหล็ก สังกะสี ทองแดง แคลเซียม โพแทสเซียม
(โดยเฉพาะธาตุเหล็กสูงกว่าข้าวกล้องทั่วไป 30 เท่า)
3). โปรตีน 12.5% (มากกว่าข้าวกล้องทั่วไป)
4). คาร์โบไฮเดรต (ต่ำกว่าข้าวกล้องทั่วไป จึงกินแล้วไม่อ้วน)
5). สารต้านอนุมูลอิสระ (ANTI-OXIDANT) สูงกว่าข้าวกล้องทั่วไป 8 เท่า
6). เส้นใยอาหาร (FIBER)

ประโยชน์ที่ได้รับ:
ข้าวกล้องหอมนิลอุดมไปด้วยธาตุเหล็กสูงกว่าข้าวทั่วไปถึง 30 เท่า มีแคลเซียมและวิตามิน B 1 B 2 และE สูงกว่าถึง 8 เท่า เป็นข้าว
ที่ไม่ได้สีเอาจมูกข้าวออกจึงมีแร่ธาตุและวิตามินอีกมากกว่า 20 ชนิด ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดงป้องกันโรคโลหิตจางและเกล็ดเลือดต่ำ
บำรุงประสาท ความจำ กระดูกและฟัน ป้องกันโรคเหน็บชา รับประทานข้าวหอมนิลช่วยลดการอุดตันของไขมันในเส้นเลือด ช่วยบรร
เทาโรคเบาหวาน ป้องกันโรคหัวใจ โรคมะเร็งลำไส้ ช่วยสร้างเซลล์ผิวหนังและมีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยยับยั้งการเจริญ
เติบโตของเซลล์มะเร็ง

นอกจากนี้ ข้าวพันธุ์หอมนิลนี้ยังมี สารแอนโทไซยานิน ที่ช่วยทำให้เส้นผมดกดำ นุ่มสลวยไม่แตกปลาย ช่วยบำรุงรากผมให้แข็งแรง
กระตุ้นให้ผมมีสีเข้มขึ้น ชะลอการเกิดผมหงอกก่อนวัย และธาตุเหล็กที่มีอยู่ในข้าวหอมนิลนี้ รับประทานเข้าไปในร่างกายสามารถดูด
ซึมได้เลย (ข้าวบางพันธุ์ แม้จะมีธาตุเหล็ก แต่รับประทานแล้วร่างกายไม่สามารถดูดซับก็ไม่มีประโยชน์)

* ข้อมูลเรื่องคุณค่าทางอาหารของข้าวหอมนิลจาก : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ , มหาวิทยาลัยมหิดล และศูนย์ไบโอเทค

--------------------------------------------------------------------------------------



http://www.pantipmarket.com/items/10037882


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 18/05/2012 7:38 am, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 13/05/2012 6:36 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,587. เกษตรอินทรีย์กู้โลก


“เกษตรอินทรีย์ คือวิถีที่ถูกต้อง เพราะเป็นวิถีที่ไม่ทำร้ายธรรมชาติ ไม่ทำร้ายผู้บริโภค เป็นวิถีเกษตรแห่งธรรมมะ..”

“เกษตรอินทรีย์ คือวิถีที่ถูกต้อง เพราะเป็นวิถีที่ไม่ทำร้ายธรรมชาติ ไม่ทำร้ายผู้บริโภค เป็นวิถีเกษตรแห่งธรรมมะ..”


กฤษณา พาลีรักษ์ ถอดความและเรียบเรียงจากเวที “เกษตรอินทรีย์กับผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจจากภาวะโลกร้อน” ในงาน
มหกรรมเกษตรอินทรีย์ ครั้งที่ ๒ ระหว่างวันที่ ๓๑ พฤษภาคม – ๔ มิถุนายน ๒๕๕๔ ณ ศาลากลางจังหวัดสุรินทร์


@ ภาวะโลกร้อนกระทบต่อเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์อย่างไร ?
จากการศึกษาที่เป็นการประมวลกันทั้งนักวิชาการและชาวบ้าน โลกร้อนมีผลกระทบใหญ่ๆ อยู่ ๓ อย่างในทางปฏิบัติ อันแรกมันร้อนขึ้น
อุณหภูมิสูงขึ้น ผลกระทบต่อเรื่องข้าวทั้งอินทรีย์และไม่อินทรีย์ คือ

หนึ่ง. เกสรข้าวจะติดน้อยลง ยิ่งประเทศร้อนๆ ยิ่งแย่ลง ประเทศหนาวจะดีกว่า เพราะการผสมเกสรอุณหภูมิต้องพอดี อาศัยช่วงเวลาไม่
กี่ชั่วโมงเอง หากร้อนข้าวจะลีบ ติดผลน้อย

สอง. คาดการณ์ว่าน้ำฝนจะแปรปรวน สถิติก็ชัดเจน ช่วง ๒๐ ปีของเมืองไทยเจออุทกภัยมากยิ่งขึ้น ปีนี้ชัดเจนเลย และแล้งมากขึ้น
ด้วย เขาระดมนักวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศจากหลายมหาวิทยาลัย มาทำแบบจำลองว่าในอนาคตจะเป็นอย่างไร โดยสรุปคือ มันจะแย่
ลง ..... อีกสิ่งที่เชื่อมโยงกัน คือ

สาม. โรคระบาด โรคที่เราไม่คิดว่าจะเจอก็เจอ เช่น เพลี้ยแป้งในมันสำปะหลัง ในทางวิชาการพวกเรียนเกษตรถูกสอนว่า มันสำปะ
หลังเป็นพืชในอุดมคติ เจอแล้งไม่เป็นไร เจอฝนมันโต แมลงไม่มีโรคไม่มี แต่ในที่สุดโลกร้อนทำลายเสียหายไป ๒๐-๓๐% แล้ว

อีกบางตัวอย่างเช่น เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล พอเจอแล้งมันไปกันใหญ่ ที่ระบาดไปหลายล้านไร่ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล วัฎจักรมัน คือ
๑๐ ปีจะเกิดขึ้นทีหนึ่ง ตั้งแต่ปี ๒๕๒๓ ปี ๒๕๓๒ ปี ๒๕๔๓-๔๔ และเมื่อปีที่แล้ว ผมเตือนเลย แต่เราไม่ได้เตรียมตัว เตรียมแต่สาร
เคมี ยิ่งฉีดยิ่งระบาด พอเจออากาศร้อนยิ่งไปกันใหญ่



@ เกษตรอินทรีย์ป้องกันหรือลดภาวะโรคร้อนได้อย่างไร ?
ถ้ามาประมวลกันแล้วบอกว่า เกษตรอินทรีย์มันป้องกันโรคร้อนและต่อสู้กับโรคร้อนได้อย่างไร มีข้อสรุปอยู่ ๗ ข้อ มี ๕ ข้อ ที่มันทำให้
ลดภาวะโลกร้อน

ข้อหนึ่ง. เกษตรอินทรีย์เน้นการสร้างอินทรีย์วัตถุ หรือคาร์บอนไดออกไซต์นั่นเอง มันเก็บมาอยู่ในดินเสีย ฉะนั้นมันไม่ทำให้เกิดภาวะ
โลกร้อน

ข้อสอง. เกษตรอินทร์ไม่ได้ใช้ปุ๋ยไนโตรเจน ซึ่งพอเราใช้ไปแล้วจะเกิดก๊าซชนิดหนึ่งคือ ก๊าซไนตรัสออกไซต์ มันร้ายกว่าคาร์บอน
ไดออกไซต์ ๓๐๐ เท่า การทำเกษตรอินทรีย์จึงลดก๊าซไนตรัสออกไซต์

ข้อสาม. ไม่มีการเผาตอซัง มันลดคาร์บอนไดออกไซต์ ลดสารพัด เป็นการรักษาดิน รักษาน้ำในดิน และลดการฆ่าสัตว์เล็กสัตว์น้อย

ข้อสี่. ไม่ต้องใช้พลังงานเพื่อผลิตปุ๋ย อย่างปุ๋ยไนโตรเจนทำมาจากก๊าซธรรมชาติ แล้วใช้ดีเซลเป็นพลังงาน ๑๐๐% ของปุ๋ยยูเรียมา
จากน้ำมันทั้งสิ้น ยิ่งทำให้โลกร้อน

ข้อห้า. เกษตรอินทรีย์ไม่มีการทำผลิตอย่างเดียว ฉะนั้นมันหลีกเลี่ยงการเลี้ยงสัตว์จำนวนมาก ซึ่งไปปล่อยก๊าซมีเทนสารพัด เป็นปัญหา
ใหญ่มาก เมืองไทยมีกลุ่มหนึ่งส่งเสริมพัฒนาให้ทำเกษตรแบบนี้

แล้วเกษตรอินทรีย์จะสู้โลกร้อนได้อย่างไร ก็พยายามสู้กัน ประเทศรวยก็ไม่ยอมลดเสียที ประเทศยากจนก็บอกว่า กูยังไม่รวยเลยขอ
ใช้น้ำมันก่อน พัฒนาก่อน มันยิ่งแย่ไปใหญ่ เกษตรกินทรีย์จะช่วยใน ๒ เรื่องใหญ่ๆ คือ

อันแรก. เกษตรอินทรีย์เน้นการใช้อินทรีย์วัตถุ มันช่วยดูดซึมน้ำ มันจึงต้านทานต่อความแล้ง เมื่อเกิดน้ำท่วม น้ำก็ไม่ซะล้างผิวดินออก
ไป เพราะมันจะอุ้มน้ำ มันจะซึมน้ำ

อันที่สอง. มันเน้นเรื่องความหลากหลายของพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ เลยปรับตัวได้ อากาศเปลี่ยนแปลงก็ไม่เป็นรไร เราใช้พันธุ์พืชท้องถิ่น เช่น
ข้าวหอมมะลิ อย่างการนำไก่เข้ามาเลี้ยง แค่ฟ้าร้องมันก็ตายแล้ว มันไม่ทนทาน เป็นระบบที่ไม่ได้ถูกสร้างมาจากพื้นที่



@ ต่างชาติอย่างยุโรปเขากล่าวหาว่า คนปลูกข้าวบ้านเราทำให้เกิดโลกร้อน ทำให้เกิดก๊าซมีเทน ข้อหานี้จะแก้อย่างไร ?
โดยรวม ๗๐% ของการเกิดโลกร้อน เกิดขึ้นจากภาคอุตสาหกรรม ๑๒% เกิดจากภาคเกษตร แล้วภาคเกษตรที่ทำให้เกิดโลกร้อย คือ
ภาคเกษตรเคมี เกษตรหักล้างทางพง เกษตรเชิงเดี่ยว ทำนาแบบเราก๊าซมีเทนก็มีแต่น้อย หากเทียบกับการที่เกษตรอินทรีย์ดูดซับคาร์
บอนฯ ไม่ปล่อยก๊าซไนตรัสฯ ผลมันบวก แต่เกษตรเคมีต้องรับผิดชอบแน่นอน หากเปลี่ยนเป็นเกษตรอินทรีย์มันลดไปได้เลย ตัวเลขการ
ลดพลังงานเฉลี่ยอยู่ที่ ๖๐% เกษตรอินทรีย์จึงมีส่วนช่วยโลก

@ ปัจจัยอะไรจะเป็นตัวกำหนดว่าเกษตรอินทรีย์จะรุ่งหรือจะร่วง เกษตรกร ข้าราชการ นักการเมืองและนโยบาย หรือทั้งสามส่วน?

หากพูดโดยรวมเกษตรอินทรีย์ดีหมดเลย แต่ทำไมมันผลักไม่ไป หากมองแง่ดีก็ไปแล้วหลายส่วน ทำระดับประเทศไม่ได้ แต่สุรินทร์เรา
เห็นว่ามันเกิดขึ้น

หนึ่ง. ราชการ อย่างกระทรวงพานิชย์ก็พยายามจัดงานทั้งในท้องถิ่นและส่วนกลาง ทั้งต่างประเทศ เคยคุยกับกระทรวงการคลังก็พูดว่า
ไม่ไหวแล้วเกษตรเคมี มีอะไรให้ช่วยเพื่อปรับโครงสร้างการผลิต จะขอร่วมด้วยขอให้บอก มีแนวโน้มแบบนี้ มีบางกระทรวงที่หายไป
มันปรับช้า หลายหน่วยงานก็ดี อย่างกรมพัฒนาที่ดินก็ใช้ได้ ราชการต้องรับผิดชอบตรงนี้

สอง. รัฐบาล ที่ผ่านมารัฐบาลเกรงใจพ่อค้า อย่างส่งผักไปยุโรปแล้วเขาตีกลับ รัฐบาลปล่อยให้พ่อค้าไปขึ้นทะเบียนสารเคมีทั้งหมด
๒๗,๐๐๐ กว่ารายการ ชื่อการค้าสารเคมีทั้งหมดของไทย มากที่สุดในโลก เวลายุโรปตีกลับเขาสุ่มตรวจ ปรากฎว่าเจอผักที่มีสารเคมี
ตกค้างจากเมืองไทยมากที่สุด อย่างจีนส่งออกมากกว่าไทย ๔๐ เท่า ตรวจเจอเมื่อปีที่แล้วตัวอย่างหนึ่ง ปีก่อนไม่เจอเลย ส่วนไทยเจอ
๕๕ ตัวอย่างเขาก็ตีกลับเพราะมันแย่มาก


ที่สำคัญ คือ นโยบายส่งเสริมเรื้องปุ๋ยเรื่องสารเคมีของเรา มีมาในรูปแบบที่ดูแล้วจับไม่ติด อย่างนโยบายการประกันรายได้หรือจำนำ
๒๐,๐๐๐ บาท พูดแบบนี้ไปวิเคราะห์ตัวเงินดูว่ามันไปไหน ตัวเงิน ๑ ใน ๓ เข้ากระเป๋าพ่อค้าปุ๋ยกับสารเคมี บวกเมล็ดพันธุ์ด้วยประ
มาณ ๑๐% มากกว่าครึ่งไปหาบริษัท กลไกของราชการและนักการเมืองหรือรัฐบาลต้องจัดการเรื่องนี้เสีย หมายถึงจัดสรรทรัพยากรที่
ไปส่งเสริมเรื่องเกษตรเคมี ให้ไปสู่เกษตรอินทรีย์ อย่างแรก หากยอมปรับเปลี่ยนนโยบายประกันรายได้ สินค้าเกษตรอินทรีย์ต้อง
จำนำในราคาสูงกว่าเกษตรทั่วไปเป็น ๓๐,๐๐๐ บาท เพราะเงินมันไม่ได้ออกนอกประเทศ ไม่ต้องเสียค่ารักษาพยาบาลอย่างมะเร็ง
โรคหัวใจ และโรคอื่นๆ เนื่องจากไม่ได้ใช้สารเคมี


นอกจากนั้นยังเป็นการฟื้นฟูดิน ซึ่งระยะยาวมันเป็นการปรับระบบการเกษตรของประเทศ เพราะเกษตรแบบเคมีมันไปไม่รอดแล้ว ทั่ว
โลกกำลังปรับตัว ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรแต่ปรับช้าที่สุด สวิตเซอร์แลนด์ตอนนี้พื้นที่เกษตรอินทรีย์ ๑๓% ลิกเตนสไตล์เกือบ
๔๐% สวีเดนตอนนี้ ๑๐% แต่บอกว่าในอีก ๑๐ ปีข้างหน้าจะเพิ่มให้ได้ครึ่งหนึ่งของประเทศ อีก ๒๐ ปีข้างหน้า ๑๐๐% แต่เมืองไทยหา
ไม่มีสุรินทร์จะเท่ากับ ๐% มีสุรินทร์ในเมืองไทยไม่ถึง ๑% พี่น้องเรานอกจากบุกเบิกเรื่องนี้ ต้องมีการโวยวายให้มีการปรับเปลี่ยน
เชิงนโยบายด้วย


@ สรุปสั้นๆ เกษตรอินทรีย์ดีอย่างไร?
เกษตรอินทรีย์ คือวิถีที่ถูกต้อง เพราะเป็นวิถีที่ไม่ทำร้ายธรรมชาติ ไม่ทำร้ายผู้บริโภค เป็นวิถีเกษตรแห่งธรรมมะ คือ การทำบุญ
ที่เต็มเม็ดเต็มหน่วยที่สุด


โดย วิฑูรย์ เีลี่ยนจำรูญ
ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี




http://www.netsurin.org/net/modules.php?name=activeshow_mod&file=function&asop=print&asid=44


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/05/2012 8:42 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 13/05/2012 6:47 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,588. ระวัง...อากาศหนาวข้าวเป็นหมัน


นายสุรสิทธิ์ สิงหพรพงศ์ เกษตรจังหวัดนครสวรรค์ เปิดเผยว่า ปีนี้อากาศหนาวมาเร็วและหนาวกว่าหลายปีที่ผ่านมา อาจส่งผลกระทบ
ต่อการทำนาปรังได้ ถ้าอากาศหนาวเย็นหรืออุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซียลเซียส ต่อเนื่องกัน 10 - 14 วัน จะส่งผลกระทบทำให้
ข้าวที่อยู่ในระยะตั้งท้องจะไม่ออกรวง หรือถ้าหากออกรวงก็จะไม่ผสมเกสร โดยเฉพาะบริเวณโคนรวงข้าวจะลีบทำให้ผลผลิตลด
ลง หากอากาศหนาวรุนแรงก็จะเกิดความเสียหายได้ ส่วนข้าวที่อยู่ในระยะต้นกล้าถึงแตกกอ จะทำให้ต้นข้าวเหลืองแคระแกรนชะงัก
การเจริญเติบโต ไม่ตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยและอาจมีโรคที่เกิดจากเชื้อราซ้ำเติมด้วย จึงแนะนำให้เกษตรกรไม่ควรใส่ปุ๋ยเคมี ถ้า
มีโรคที่เกิดจากเชื้อราก็ใช้สารกำจัดเชื้อราตามอาการของโรค และใช้แร่ธาตุสังกะสี (หาซื้อได้ตามร้านจำหน่ายสารเคมีทั่วไป) ฉีดพ่น
และหลีกเลี่ยงการปลูกข้าวที่จะไปออกรวงช่วงอากาศหนาว

เกษตรจังหวัดฯ กล่าวต่อไปว่า พันธุ์ข้าวที่ชาวนาใช้ปลูกกันในบ้านเราโดยทั่วไปจะเป็นพันธุ์ข้าวในเขตร้อนชื้น ดังนั้น ชาวนาควรที่จะ
หลีกเลี่ยงการทำนาที่จะทำให้ข้าวไปกระทบอากาศหนาวเย็นช่วงเดือนธันวาคม - มกราคม เป็นวิธีการที่ดีที่สุด สอบถามข้อมูลเพิ่ม
เติมได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอทุกแห่ง


นายธนภัทร ภคสกุลวงศ์ รายงาน
โทร. 089-437-8088
Email:tanapat919@gmail.com


http://www.prd.go.th/ewt_dl_link.php?nid=18188


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/05/2012 8:44 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 13/05/2012 6:54 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,589. ความรู้เกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์ข้าว


รวบรวมข้อมูลมาจากหลาย ๆ เว็บ เก็บไว้เพื่อค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติม, ประเภทพันธุ์ข้าวตอนนี้ทางกรมการข้าวได้แยกเป็นประเภทดังนี้


เมล็ดพันธุ์คัด
คุณภาพชั้นสูงสุด ผลิตโดยศูนย์วิจัยข้าว เพื่อนำไปขยายพันธุ์ต่อเป็นเมล็ดพันธุ์หลัก ไม่มีจำหน่าย

เมล็ดพันธุ์หลัก
เป็นเมล็ดพันธุ์ที่ขยายพันธุ์จากเมล็ดพันธุ์คัด ผลิตโดยศูนย์วิจัยข้าว แล้วส่งมอบให้ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว และสหกรณ์การเกษตร เพื่อนำไป
ขยายพันธุ์ต่อเป็นเมล็ดพันธุ์ขยาย หรือใช้ภายใต้โครงการพิเศษ คุณภาพรองจากพันธุ์คัด

เมล็ดพันธุ์ขยาย
เป็นเมล็ดพันธุ์ที่ขยายพันธุ์จากเมล็ดพันธุ์หลัก ผลิตโดยศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว แล้วจำหน่ายให้สหกรณ์การเกษตร และเอกชน หรือส่ง
มอบให้ศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อนำไปขยายพันธุ์ต่อเป็นเมล็ดพันธุ์จำหน่าย คุณภาพรองจากพันธุ์หลัก

เมล็ดพันธุ์จำหน่าย
เป็นเมล็ดพันธุ์ที่ขยายพันธุ์จากเมล็ดพันธุ์ขยาย ผลิตโดยศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว สหกรณ์การเกษตรกร เอกชน และศูนย์ข้าวชุมชน แล้วจำหน่าย
ให้เกษตรกรทั่วไป



เขียนโดย yothinin ที่ 21:45 ส่งอีเมลข้อมูลนี้ BlogThis! แบ่งปันไปที่ Twitterแบ่งปันไปที่ Facebook



http://thaisri.blogspot.com/2012/01/blog-post_338.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/05/2012 8:46 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 13/05/2012 6:59 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,590. ข้าวหอมมะลิเป็นข้าวพันธุ์อะไร


ประเด็นเรื่องราวที่น่าสนใจในช่วงที่ผ่านมาและตอนนี้เงียบหายไป สักพักคงรื้อฟื้นข้าวมาอีก เรื่องของการจดสิทธิบัตรข้าวหอมมะลิ
ในยุคกระแสการหวงแหนแสดงตัวเป็นเจ้าของ ทั้ง ๆ ที่ในอดีตข้าวเหล่านี้คือพืชไร่ เป็นพืชตระกูลหญ้าชนิดหนึ่ง

ช่วงนี้เป็นช่วงที่พยายามหาข้อมูลเกี่ยวกับพันธุ์ข้าว และหาข้อมูลเกี่ยวกับการทำนาให้มากที่สุด แต่ก็ประสบปัญหาว่าหนังสือพวกนี้มีน้อย
มาก คงจำกัดอยู่แต่ในรั้วในเขตสถาบันการวิจัยหรือสถาบันทางการศึกษา ซึ่งก็เป็นสิ่งที่น่าเศร้าเพราะการเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ ชาวไร่ ชาวนา
ตาดำ ๆ ทำได้ยาก แต่หากเป็นนักวิชาการจากต่างประเทศก็สามารถได้ข้อมูลโดยง่าย แต่ผลประโยชน์ที่แท้จริงกลับไม่ถึงมือชาวบ้าน

ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ส่วนหนึ่งตกไปอยู่กับนายทุน ที่จะพัฒนาเมล็ดพันธุ์เพื่อนำมาขูดรีด ไถเงินเอากับชาวบ้าน โดยมีหน่วยงานภาครัฐรู้
เห็นเป็นใจ ทำตัวเยี่ยงนายหน้าค้ากำไร ช่างอนาถใจยิ่งนัก


กลับมาถึงเรื่องข้าวหอมมะลิ ที่มีวางขายปัจจุบันเป็นข้าวพันธุ์ไหนกันแน่ ?

กรมการข้าวซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐได้เน้นการปรับพรุงพันธุ์จากพันธุกรรมของข้าวขาวดอกมะลิ 105 และข้าว กข 15 เป็นหลัก การปรับ
ปรุงก็เน้นเพื่อพัฒนาให้ต้นข้าวทนต่อโรคข้าว แมลงศัตรู และทนต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ

ข้าวหอมมะลิ มีความหอมเนื่องจากมีสาร 2-Acetyl-1-Pryroline แต่ปริมาณสารเหล่านี้ก็เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพน้ำและภูมิอากาศ
จึงทำให้หลายคนในประเทศไทยยังคงลุ่มหลงว่าข้าวหอมมะลิที่อร่อยที่สุดต้องเป็นข้าวจากประเทศไทยเท่านั้น เพราะปัจจัยการเกิดสาร
ความหอมนี่แหละ

สิ่งแวดล้อมที่เป็นปัจจัยต่อสารความหอมในข้าวหอมมะลิคือ ปริมาณปุ๋ยไนโตรเจนต้องเหมาะสม สภาพดินเหมาะสม ปริมาณน้ำพอดี
อากาศไม่ร้อนมากเกินไป ซึ่งหลัก ๆ ก็เน้นเรื่องการเกษตรอินทรีย์เพื่อคุณภาพของสารความหอม

แต่เรื่องของชีววิทยาเป็นเรื่องของวิทยาศาสตร์ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สักวันหนึ่งหากมีการค้นคว้าไปเรื่อย ๆ ข้าวที่ปลูกในประเทศ
อื่น ๆ อาจจะมีความหอมอร่อยกว่าข้าวประเทศไทยก็เป็นได้ หากเรายังยึดติดวังวนของอดีตแล้วไม่พัฒนาศักยภาพต่อไปข้าวหอมมะลิ
ของไทยคงจะกลายเป็นอดีตไปแน่ ๆ

ข้าวขาวดอกมะลิ 105 เป็นพันธุ์ข้าวหอมที่ได้มาโดยนายสุนทร สีหะเนิน เจ้าพนักงานข้าว รวบรวมจากอำเภอบางคล้าจังหวัด
ฉะเชิงเทรา เมื่อ พ.ศ.2493-2494 จำนวน 199 รวง แล้วนำไปคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ (Pure Line Selection) และปลูก
เปรียบเทียบพันธุ์ที่สถานีทดลองข้าวโคกสำโรง แล้วปลูกเปรียบเทียบพันธุ์ท้องถิ่นในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จนได้สายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 4-2-105 ซึ่งเลข 4 หมายถึง สถานที่เก็บรวงข้าว คืออำเภอบางคล้า เลข 2 หมายถึงพันธุ์ทดสอบที่ 2 คือ
ขาวดอกมะลิ และเลข 105 หมายถึง แถวหรือรวงที่ 105 จากจำนวน 199 รวง

ข้าวหอมมะลิมีลักษณะพิเศษ คือ มีกลิ่นหอม และเมล็ดอ่อนนุ่ม เมื่อนำมาหุงต้ม และมีการปรับปรุงพันธุ์ให้บริสุทธิ์ตาม หลักวิชาการจน
ได้พันธุ์ ข้าวขาวดอกมะลิ 105และรัฐบาลประกาศ ให้ขยายพันธุ์ส่งเสริมการปลูก ได้ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2502 เป็นต้นมา สำหรับ
พื้นที่ปลูกข้าวขาว ดอกมะลิ 105 ที่เหมาะสม ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคกลางบางพื้นที่


ลักษณะทั่วไป
เป็นข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง
เป็นข้าวต้นสูงประมาณ 140-150 เซนติเมตร
อายุเก็บเกี่ยว ข้าวจะออกดอกประมาณวันที่ 20 ตุลาคมและสุกแก่เก็บเกี่ยวได้ประมาณวันที่ 20 พฤศจิกายนของทุกปี
ระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 8 สัปดาห์
ขนาดเมล็ดข้าวกล้อง ยาว 7.5 มิลลิเมตร กว้าง 2.1มิลลิเมตร หนา 1.8 มิลลิเมตร
ลักษณะเมล็ดข้าวเปลือก เมล็ดเรียวยาว ก้นงอน สีฟาง


ข้อดี
มีกลิ่นหอม เมล็ดอ่อนนุ่มเมื่อนำมาหุงต้ม
ทนต่อสภาพแล้ง ทนต่อดินเปรี้ยวและดินเค็ม
คุณภาพการขัดสีดี เมล็ดข้าวสารใส แข็ง มีท้องไข่น้อย
นวดง่าย เนื่องจากเมล็ดหลุดร่วงจากรวงได้ง่าย
เป็นที่ต้องการของตลาด ขายได้ราคาดี


ข้อจำกัด
ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง โรคใบสีส้ม โรคใบจุดสีน้ำตาล และโรคไหม้และโรคใบหงิก
ไม่ต้านทานแมลงบั่ว เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
ต้นอ่อนล้มง่าย ถ้าปลูกในบริเวณที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์สูง



(อ่านเพิ่มเติมใน http://www.sisaket.go.th/WEB_ldd/Plant/Page01.htm)
เขียนโดย yothinin ที่ 18:14 ส่งอีเมลข้อมูลนี้BlogThis!แบ่งปันไปที่ Twitterแบ่งปันไปที่ Facebook



http://thaisri.blogspot.com/2012/01/blog-post_28.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/05/2012 8:48 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 13/05/2012 7:03 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,591. ข้าวธัญสิริน


ที่มา: เปิดตัวข้าวเหนียวชื่อพระราชทาน “ธัญสิริน” ต้านทานโรคไหม้


หลังจากให้เกษตรกรภาค เหนือ-อีสานทดลองปลูกข้าวเหนียว กข 6 ที่ปรับปรุงพันธุ์ด้วยเทคนิคพันธุวิศวกรรมทำให้ต้านทานโรคไหม้
ซึ่งเพิ่มผลผลิตและลดความเสียหายจากปัญหาข้าวล้ม ล่าสุดข้าวพันธุ์ดังกล่าวที่พัฒนาขึ้นโดยนักวิจัยได้รับพระราชทานนาม
“ธัญสิริน” จากสมเด็จพระเทพฯ

ชาวนาในเขตภาคเหนือและอีสานนิยมปลูกข้าวเหนียวไว้กิน แต่ข้าวเหนียว กข 6 ซึ่งเป็นข้าวเหนียวพันธุ์ดีที่สุดในประเทศนั้น มีปัญหา
เรื่องโรคไหม้ ที่ทำให้ต้นกล้าตายและในพื้นที่น้ำน้อยไม่สามารถเพาะปลูกซ้ำได้หากเกิดความ เสียหายจากโรคดังกล่าว จึงเป็นที่มา
ของการปรับปรุงข้าวเหนียวพันธุ์ดังกล่าวให้ต้านทานต่อโรคไหม้ ด้วยเทคนิคการใช้ยีนเครื่องหมาย (Marker Gene) เพื่อคัดเลือก
พันธุ์ข้าวที่ต้องการ ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2545-2546 และใช้เวลาปรับปรุงพันธุ์ประมาณ 4 ปี

ปัจจุบันชาวนาใน จ.น่าน เชียงราย ลำปาง สกลนคร ชัยภูมิ และอุบลราชธานี ได้ปลูกข้าวเหนียวพันธุ์นี้แทนข้าวเหนียว กข 6 มา 3 ปี
แล้ว รวมเป็นพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 5,000 ไร่ โดยเฉพาะชาวนาในจังหวัดน่านซึ่งได้รวมกลุ่มกันขยายเมล็ดพันธุ์ข้าวเหนียวดังกล่าว
โดยผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่อยู่ที่ 800 กิโลกรัม ซึ่งสูงกว่าผลผลิตจากการปลูกข้าวเหนียวพันธุ์ กข และบางพื้นที่ให้ผลผลิตสูงถึง
1,000 ไร่ โดยเฉพาะแปลงนาอินทรีย์ที่มีการดูแลเป็นพิเศษ

ดร.ธีรยุทธ ตู้จินดา นักวิจัยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ผู้พัฒนาพันธุ์ข้าวดังกล่าวอธิบายว่า เหตุที่
ข้าวเหนียวพันธุ์นี้ ให้ผลผลิตสูงขึ้น เพราะนอกจากข้าวเหนียวพันธุ์ใหม่จะต้านทานโรคไหม้แล้ว ยังไม่ล้มง่ายเหมือนข้าวเหนียวพันธุ์เดิม
ที่ชาวนาปลูก จึงทำให้ได้ผลผลิตมากกว่า แต่จริงๆ แล้วทั้ง 2 พันธุ์ให้ผลผลิตใกล้เคียงกัน โดยผลผลิต โดยข้าวเหนียว กข 6 เดิมเสีย
ผลผลิตจากข้าวล้มมากถึง 40%

“ข้าวเหนียวพันธุ์ใหม่นี้หุงง่ายกว่าเดิมเพราะไม่ต้องแช่ทิ้งไว้ข้ามคืนเหมือนข้าวเหนียว กข 6 และยังให้เปอร์เซ็นต์ขัดสีสูง คือ เมล็ด
ไม่หักเมื่อนำไปขัดสีเพราะมีเมล็ดอ้วนกว่าข้าวเหนียวพันธุ์เดิมเล็ก น้อย อีกทั้งรสชาติยังไม่ต่างไปจากเดิมด้วย” ดร.ธีรยุทธ กล่าว

หลังจากให้เกษตรกรปลูกมาระยะหนึ่งแล้ว ทีมวิจัยได้ขอพระราชทานนามสำหรับข้าวเหนียวพันธุ์ใหม่จากสมเด็จพระเทพรัตน ราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี เมื่อกลางปีที่ผ่านมาในช่วงเริ่มต้นฤดูกาล และเมื่อวันที่ 1 ธ.ค.ทีผ่านมา ข้าวเหนียวพันธุ์นี้ได้รับพระราชทานนามว่า
“ธัญสิริน” โดยทาง ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า จะนำเรื่องข้าวเหนียวพันธุ์นี้เข้า
รายงานต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อขยาย ผลต่อไป


ธัญสิรินพันธุ์ข้าวเหนียวชื่อพระราชทาน
ที่มา : ธัญสิรินพันธุ์ข้าวเหนียวชื่อพระราชทาน

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แถลงความสำเร็จนักวิจัยไทย พัฒนาพันธุ์ข้าวเหนียวสายพันธุ์ใหม่ต้านทานโรคใบไหม้ ให้ผลผลิต
ต่อไร่สูง ได้รับพระราชทานนาม "ธัญสิริน" ปลูกแทน กข.6

ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) เปิดเผยว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์ประสบความ
สำเร็จในการพัฒนาสายพันธุ์ข้าวเหนียวพันธุ์ กข6 ให้มีความสามารถในการต้านทานโรคไหม้ ซึ่งได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จ
พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2553 ว่า "ธัญสิริน"

ข้าวธัญสิริน เริ่มพัฒนามาตั้งแต่ปี 2545 ใช้เวลาประมาณ 4 ปี โดยอาศัยเทคนิคเครื่องหมายโมเลกุลในการคัดเลือกร่วมกับการ
ปรับปรุงพันธุ์แบบวิธีมาตรฐาน ทำให้ได้เมล็ดพันธุ์ข้าวเหนียวที่มีคุณภาพใกล้เคียงกับพันธุ์ กข6 แต่มีความสามารถในการต้านทานโรคไหม้

ดร.ธีรยุทธ ตู้จินดา นักวิจัยจากหน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
(ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า ลักษณะเด่นของสายพันธุ์นี้คือ ลำต้นแข็งแรง
ทนการหักล้ม ให้ผลผลิตอยู่ที่ 800 กิโลกรัมต่อไร่ ลดเปอร์เซ็นต์ข้าวหัก โดยพื้นที่ปลูกที่เป็นออร์แกนิกส์ สามารถให้ผลผลิตได้ถึง
1,000 กิโลกรัมต่อไร่

“เมล็ดพันธุ์ข้าวธัญสิริน นำไปทดลองปลูกในนาข้าวของเกษตรกร 5 จังหวัด ได้แก่ น่าน เชียงราย ลำปาง ชัยภูมิ และสกลนคร โดย
ปลูกแทนข้าวเหนียวพันธุ์ กข6 เดิม ในช่วงเวลา 3 ปี พบว่าสามารถลดความเสียหายในนาข้าวได้ถึง 30%” นักวิจัยกล่าว

ทั้งนี้โครงการวิจัยดังกล่าวกระทรวงวิทยาศาสตร์ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว
และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ที่ได้พัฒนาเมล็ดพันธุ์แจกจ่ายให้กับเกษตรกรในภาคเหนือ และอีสาน นำไปเพาะปลูก

"กระทรวงวิทยาศาสตร์เตรียมนำเสนอข้อมูลผ่านคณะรัฐมนตรี เพื่อสนับสุนนให้ขยายพื้นที่เพาะปลูก จาก 5,000 ไร่ ไปยังพื้นที่
อื่นๆ " ดร.วีระชัย กล่าวและย้ำว่า เทคโนโลยีที่ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวเหนียวธัญสิริน ไม่ใช่วิธีการดัดแปรพันธุกรรม หรือ จีเอ็มโอ
แต่เป็นการใช้เทคโนโลยีชีวภาพเข้ามาช่วยในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวไทย



เขียนโดย yothinin ที่ 21:49 ส่งอีเมลข้อมูลนี้BlogThis!แบ่งปันไปที่ Twitterแบ่งปันไปที่ Facebook



http://thaisri.blogspot.com/2012/01/blog-post_6398.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/05/2012 8:55 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 14/05/2012 7:08 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,592. ฟื้นฟูสวนส้มที่เป็นโรคกรีนนิ่งโดยไม่ต้องรื้อแปลง



ซึ่งในระยะที่ผ่านมาคณะที่ปรึกษาได้ดำเนินการศึกษาวิจัยวิธีป้องกันและกำจัด โรคกรีนนิ่งแบบปลอดสารเคมีเกษตรตกค้าง
โดยใช้เทคโนโลยีการปรับปรุงคุณภาพดิน และฟื้นฟูระบบราก ด้วยปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพผสมโดโลไมท์ ร่วมกับการใช้สาร
เตทตราไซคลินเข้มข้น 12,500 ppm ฉีดเข้าลำต้น และโคนกิ่งที่แสดงอาการของโรคกรีนนิ่ง เพื่อกำจัดเชื้อแบคทีเรียที่อยู่
อาศัยในท่ออาหาร อันเป็นสาเหตุของโรค ซึ่งผลการทดสอบ แสดงให้เห็นว่าต้นส้มที่แสดงอาการด่างเหลืองสามารถฟื้นตัวได้ดี
ภายในเวลา 2 เดือน หลังจากการจัดการดินบริเวณโคนต้นด้วยการใช้สาร Metalaxyl ร่วมกับ โดโลไมท์ และปุ๋ยหมัก
ผสมจุลินทรีย์ดิน โดยใบแก่มีสีเขียวเข้มขึ้น ในขณะที่ใบอ่อนที่แตกใหม่มีความสม่ำเสมอ และสมบูรณ์ ซึ่งเมื่อขุดดินเพื่อตรวจ
สอบลักษณะการเจริญเติบโตของราก พบว่า รากฝอยมีสีขาว และมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน แสดงถึงประสิทธิภาพ
ของรากที่มากขึ้นในการลำเลียงน้ำ และอาหารเพื่อส่งไปเลี้ยงลำต้น ใบ และผล จึงทำให้สามารถสังเกตการเจริญเติบโตของส่วน
เหนือดินที่สมบูรณ์ขึ้นได้อย่าง ชัดเจน ในขณะที่แบคทีเรียที่อยู่อาศัยในท่อน้ำท่ออาหารของต้นส้มก็น่าจะตายไป เนื่องจากฤทธิ์
ของสารเตทตราไซคลิน



การใช้สารปฏิชีวนะเตทราไซคลินฉีดเข้าลำต้น และลักษณะยอดใหม่ที่มีความสมบูรณ์ซึ่งเป็นเทคนิคที่เกษตรกรยอมรับ




ขั้นตอนการปรับปรุงคุณภาพดิน และความคุมเชื้อราสาเหตุโรครากเน่า โดยใช้สาร Metalaxyl ร่วมกับ โดโลไมท์ และปุ๋ยหมัก
ผสมจุลินทรีย์ดิน









http://www.chiangmaisweettangerine.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 5:49 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 18/05/2012 7:27 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,593. "ประมวญ ทั่งทอง" เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาอาชีพทำสวน






นางประมวญ ทั่งทอง จากตำบลชำราก อำเภอเมือง จังหวัดตราด เป็นเกษตรกรที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คัดเลือกให้เป็น
เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2555 สาขาอาชีพทำสวน ซึ่งเธอเริ่มหักเหชีวิตเข้าสู่ภาคเกษตรเมื่อปี 2519 แรกเริ่มนางประมวญ
มีที่ดินทำกินเพียง 10 ไร่ และรับจ้างกรีดยางควบคู่กันไป มีรายได้เพียงวันละ 60-80 บาท ด้วยความขยันหมั่นเพียร ไม่เคยย่อท้อ
ต่อความยากลำบาก และมีแนวคิดที่จะพัฒนาระบบการผลิตของตนเองอย่างไม่หยุดนิ่ง ผลักดันให้เธอก้าวขึ้นสู่การเป็นเกษตรกรระดับ
แนวหน้า มีพื้นที่ทำการเกษตรประมาณ 300 ไร่ เป็นสวนยางพารา จำนวน 200 ไร่ เปิดกรีดแล้ว 100 ไร่ สวนมังคุด 40 ไร่ และสวน
เงาะอีก 60 ไร่ ถือว่าไม่ธรรมดา...เธอมีผลงานโดดเด่นอย่างไร?.... ไม่ควรพลาด!!...

นายวิทยา อธิปอนันต์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เล่าให้ฟังว่ากรมส่งเสริมการเกษตรได้ดำเนินการคัดเลือกเกษตรกรดีเด่น
จำนวน 5 สาขาอาชีพ/ประเภท ประกอบด้วย สาขาอาชีพทำสวน ทำไร่ ทำไร่นาสวนผสม ที่ปรึกษากลุ่มยุวเกษตรกร และสมาชิก
กลุ่มยุวเกษตรกร และสถาบันเกษตรกรดีเด่น 2 ประเภท ได้แก่ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร และกลุ่มยุวเกษตรกร นางประมวญ
ทั่งทอง เป็นหนึ่งในเกษตรกรดังกล่าวที่กรมส่งเสริมการเกษตร ส่งเข้าคัดเลือก และได้รับคัดเลือกให้เป็นเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ
ประจำปี 2555 สาขาอาชีพทำสวน

นางประมวญ เป็นคนต่างถิ่น เธอจึงอาศัยการเข้าสังคมเกษตรโดยเอาแรงกันทำงานร่วมกับคนในหมู่บ้าน หรือ “ลงแขก” ซึ่งเป็นการ
ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทำให้เธอเป็นที่ยอมรับของเพื่อนเกษตรกรในหมู่บ้านมากขึ้น เธอและเพื่อน ๆ ชาวสวนจึงมีแนวคิดที่จะทำ
สวนไม่ให้มีปัญหาผลผลิตล้นตลาดและราคาตกต่ำ คือ ทำให้ผลผลิตออกนอกฤดู ทำสวนให้มีกำไรและเป็นที่ต้องการของตลาด ลูก
ค้าที่ซื้อผลผลิตไปขายต้องมีกำไรและถูกใจผู้บริโภค

นางประมวญ มีผลงานที่โดดเด่นและประสบความสำเร็จในอาชีพทำสวน โดยได้ศึกษาหาวิธีแก้ปัญหาเงาะโรงเรียนผลแตกก่อน
การเก็บเกี่ยว ด้วยการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ใส่ปุ๋ยคอกผสมปุ๋ยเคมีเพื่อให้เงาะมีโครงสร้างแข็งแรง น้ำหนักดี รสชาติหวานกรอบ และ
ได้มาตรฐานส่งออก ประมาณ 20 ผลต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัม อีกทั้งยังเป็นผู้ผลิตเงาะก่อนฤดูด้วยการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ทำให้
ได้เงาะที่มีคุณภาพและสะอาด เช่น ฉีดน้ำเปล่าล้างช่อเงาะเมื่อเงาะดอกโรยประมาณ 7 วัน เพื่อล้างเกสรที่มีน้ำหวานจับอยู่
ออกจากช่อเงาะซึ่งจะช่วยตัดปัญหาเรื่องมด เพลี้ยหอย และเพลี้ยแป้งมาเกาะทำให้เงาะเป็นราดำและขนกุด โดยเธอได้ถ่ายทอดความ
รู้เรื่องการผลิตเงาะก่อนฤดูและเทคนิคการผลิตเงาะให้ได้คุณภาพเพื่อการส่งออกไปสู่เกษตรกรที่สนใจด้วย

นอกจากนั้น นางประมวญยังเน้นผลิตผลไม้คุณภาพส่งออกทำให้มีกำไรดี โดยเป็นผู้ผลิตมังคุดผิวมัน ผลใหญ่ (8 ผล หนัก 1 กิโลกรัม)
ซึ่งตลาดส่งออกมีความต้องการสูงมาก ทั้งยังเป็นผู้คัดเลือกและควบคุมผลผลิตก่อนส่งตลาดด้วยตนเอง เพื่อให้ได้สินค้าคุณภาพตามที่
ตกลงกับผู้ซื้อ ขณะเดียวกันยังคิดค้นการทำน้ำหมักมูลสุกรเพื่อใช้ฉีดพ่นแทนสารเคมี ส่งเสริมธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรองแก่
พืช พร้อมผลิตยางแผ่นชั้น 1–2 ปริมาณมาก แผ่นยางมีคุณภาพ สะอาด สีสวย ทำให้การประมูลยางแผ่นได้ราคาสูงกว่าเกษตรกรราย
อื่นประมาณ 1–2 บาท

นอกจากที่กล่าวมา ...ยังมีผลงานอีกมากมายที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนจนสุดที่จะพรรณนา...จนได้รับคัดเลือกเป็น เกษตรกรดีเด่น
แห่งชาติ สาขาอาชีพทำสวน ประจำปี 2555 จะได้เข้ารับพระราชทานโล่รางวัลในงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
ปี 2555 ณ พลับพลาที่ประทับมณฑลพิธีสนามหลวง.



http://www.dailynews.co.th/agriculture/113229
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 18/05/2012 7:37 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,594. บิ๊กอุยในบ่อพลาสติก






ปัจจุบันการเลี้ยงปลาในบ่อพลาสติก กำลังเป็นที่นิยมเนื่องจากใช้พื้นที่น้อยวัสดุที่ใช้สามารถใช้ได้ต่อเนื่องนานประมาณ 3-5 ปี ช่วย
ลดปัญหาคุณภาพน้ำไม่เหมาะสมอันเกิดจากสภาพของพื้นดิน โดยเฉพาะพื้นที่ดินเปรี้ยว

กลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาอาชีพประมงของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.จันทบุรี ได้จัดทำ
โครงการเลี้ยงปลาในโรงเรียนเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้โรงเรียนในพื้นที่รับผิดชอบนำไปดำเนินการเพื่อเป็นอาหารกลางวัน
ของเด็กนักเรียนขึ้นโดยเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย ซึ่งเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย โตเร็วเหมาะสมกับกิจกรรมของเด็กนักเรียนในโรงเรียน

การเลี้ยงปลาในบ่อพลาสติกนั้นขั้นต้นต้องเลือกทำเลที่เหมาะสมสามารถหาน้ำจืดได้สะดวก ทำงานง่าย มีร่มเงาบ้างเล็กน้อย ขนาด
ของบ่อพลาสติกสามารถจัดทำได้หลายขนาด ขึ้นอยู่กับพื้นที่และวัสดุ ปกติจะใช้บ่อให้มีความลึกประมาณ 1 เมตร ความกว้าง x ความ
ยาวนิยมใช้ 4x5 เมตร, 5x5 เมตร หรือ 6x5 เมตร ควรเตรียมน้ำให้ได้ความเป็นกรดเป็นด่าง ประมาณ 7-7.5 โดยเริ่มต้นที่ความ
ลึก 30 เซนติเมตร ปล่อยลูกปลาดุกบิ๊กอุยขนาดประมาณ 2-3 นิ้ว ในอัตรา 30-40 ตัว ต่อตารางเมตร จากนั้นจึงเพิ่มระดับน้ำ
อาหารที่ใช้เลี้ยงปลาอาจใช้อาหารเม็ด สำเร็จรูป อาหารปลาสดบดละเอียด หรือ เศษอาหารก็ได้ ควรมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำบ้าง ถ้าน้ำมี
คุณสมบัติไม่เหมาะสม ใช้เวลาในการเลี้ยงประมาณ 3-4 เดือน ปลาจะมีขนาดประมาณ 5-7 ตัวต่อกิโลกรัม อัตรารอด 80-90%
สามารถให้ผลผลิตสูงถึง 5-7 กิโลกรัมต่อตารางเมตร โดยให้ระดับน้ำในเดือนแรกของการเลี้ยงอยู่ในระดับที่ความลึก 30-40 เซนติ
เมตร

อาหารที่ให้ในช่วงที่ลูกปลาดุกมีขนาดเล็ก 2-3 ซม. ควรให้อาหารผสมคลุกน้ำปั้นเป็นก้อนให้ลูกปลากิน โดยให้กินวันละ 2 ครั้ง
หว่านให้กินทั่วบ่อโดยเฉพาะในบริเวณขอบบ่อ เมื่อลูกปลามีขนาดโตขึ้นความยาวประมาณ 5-7 ซม. สามารถฝึกให้กินอาหารเม็ด
ได้ หลังจากนั้นเมื่อปลาโตขึ้นจนมีความยาว 15 ซม. ขึ้นไปจะให้อาหารเม็ดเพียงอย่างเดียวหรืออาหารเสริมชนิดต่าง ๆ ได้ เช่น
ปลาเป็ดผสมรำละเอียดอัตรา 9 : 1 หรือให้อาหารที่ลดต้นทุน เช่น อาหารผสมบดจากส่วนผสมต่าง ๆ เช่น กระดูกไก่ ไส้ไก่ เศษ
ขนมปัง เศษเส้นหมี่ เศษเลือดหมู เลือดไก่ เศษเกี๊ยว หรือเศษอาหารต่าง ๆ เท่าที่สามารถหาได้ นำมาบดรวมกันแล้วผสมให้ปลากิน
แต่การให้อาหารประเภทนี้จะต้องระวังเรื่องคุณภาพ
ของน้ำในบ่อเลี้ยงให้ดี เมื่อลูกปลาเลี้ยงได้ประมาณ 3-4 เดือนปลาจะมีขนาดประมาณ 200-400 กรัมต่อตัว ซึ่งผลผลิตที่ได้
จะประมาณ 10-14 ตันต่อพื้นที่ 1 ไร่ อัตรารอดตายประมาณ 40-70% เมื่อตอนเริ่มเลี้ยงใหม่ ๆ ระดับความลึกของน้ำในบ่อควรมี
ประมาณ 10-40 ซม. เมื่อลูกปลาเจริญเติบโตขึ้น ในเดือนแรกจึงเพิ่มระดับน้ำสูงเป็นประมาณ 50-60 เซนติเมตร หลังจากย่างเข้า
เดือนที่สองควรเพิ่มระดับน้ำให้สูงขึ้น 10 เซนติเมตรต่ออาทิตย์ จนระดับน้ำในบ่อมีความลึก 1.20-1.50 เมตร การถ่ายเทน้ำควรเริ่ม
ตั้งแต่การเลี้ยงผ่านไปประมาณ 1 เดือน โดยถ่ายน้ำประมาณ 20% ของน้ำในบ่อ 3 วันครั้ง หรือถ้าน้ำในบ่อเริ่มเสียจะต้องถ่ายน้ำมาก
กว่าปกติ

ปลาดุกอุยเป็นปลาน้ำจืด มีกระดูกท้ายทอยยื่นแหลมออกไปลักษณะคล้ายรูปสามเหลี่ยม ลำตัวสั้นป้อมกว่าปลาดุกด้าน ลำตัวมีสีดำ
ปนเหลือง มีจุดขาวเล็ก ๆ เรียงเป็นแถวขวางลำตัวหลายแถว มีครีบหลังสูงกว่าปลาทั่วไปมาก สามารถเคลื่อนที่บนบกได้เป็นระยะทาง
สั้น ๆ โดยใช้ครีบช่วย พบได้ในพื้นที่แถบประเทศไทยไปจนถึงเวียดนาม และมีการนำไปเลี้ยงในประเทศจีน, มาเลเซีย, เกาะกวม
และฟิลิปปินส์ปลาดุกอุยเป็นที่นิยมของผู้บริโภคชาวไทยและชาวลาวมากกว่าปลาดุกด้าน เนื่องจากเนื้อมีรสชาติมัน อร่อย มีราคาที่
สูงกว่าปลาดุกด้าน.



http://www.dailynews.co.th/agriculture/102529
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 19/05/2012 5:53 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,595. “ดินไบโอ” บล็อกสารพิษในดิน






มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) โชว์นวัตกรรม “ดินไบโอ” ร่วมปกป้องดินและน้ำจากสารพิษ เผยคุณสมบัติ
เด่นของดินไบโอที่สามารถดูดซับธาตุอาหารที่มีประโยชน์ต่อพืช รวมทั้งโลหะหนักจากโรงงานอุตสาหกรรม และพื้นที่ฝังกลบขยะ

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทำการเกษตรมากเป็นอันดับที่ 48 ของโลก แต่ใช้สารเคมีและยาฆ่าแมลงเป็นอันดับ 5 ของโลก
ซึ่งเป็นเหตุให้ผลิตผลมีการปนเปื้อนสารเคมี รวมถึงสารเคมีตกค้างในดินที่ใช้ในการเพาะปลูกพืช ทำให้ดินเสื่อมสภาพลง และมาก
ที่สุดคือส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบันที่บางพื้นที่ของประเทศไทยต้องประสบกับปัญหาน้ำท่วมบ่อย
ครั้งมากขึ้นเช่นนี้ โอกาสในการแพร่กระจายของสารเคมีในดิน และน้ำยิ่งเพิ่มมากขึ้น เป็นสิ่งที่ต้องการการป้องกัน และแก้ไข

ปัจจุบันจึงมีหลายหน่วยงานให้ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าว มีการนำเทคโนโลยีใหม่เข้ามาจัดการกับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น
ไม่เว้นแม้แต่ปัญหาดินเสื่อมโทรมจากการเกษตร ล่าสุดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) คิดค้นนวัตกรรมในการ
กักเก็บสารพิษไว้ที่เดิม ในผลงาน “ดินไบโอ” เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพราะมีคุณสมบัติสามารถบล็อกสารพิษไว้ในดินอีกทั้ง
ยังสามารถกักเก็บธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการปลูกพืชได้อีกด้วย






ดร.ธิดารัตน์ บุญศรี และผู้ช่วยวิจัย ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (มจธ.) เจ้าของผลงานดังกล่าวเปิดเผยว่า ดินไบโอไม่ใช่ดินที่
อยู่ตามธรรมชาติทั่วไป แต่สังเคราะห์มาจากตะกอนจุลินทรีย์ ที่ได้มาจากโรงบำบัดน้ำเสียชุมชน นำมาผ่านกระบวนการปรับเสถียร
อัลคาไลน์ (Alkaline Stabilisation Method) คือ ปรับค่าพีเอชของตะกอนจุลินทรีย์โดยใช้สารอัลคาไลน์ เช่น ปูนขาว เถ้า
ลอยจากเตาเผาถ่านหินลิกไนต์ ซึ่งทำให้ดินไบโอสามารถดูดซับธาตุอาหาร รวมทั้งสารอันตรายอย่างโลหะหนักได้ ช่วยลดปัญหา
มลพิษต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้กระบวนการปรับเสถียรอัลคาไลน์ยังสามารถฆ่าเชื้อโรค และดับกลิ่นของตะกอนจุลินทรีย์ได้

“ดินไบโอที่สังเคราะห์ขึ้นมีลักษณะค่อนข้างร่วน อุ้มน้ำได้บางส่วน อีกทั้งยังมีสารอินทรีย์ และธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญ
ของพืชอย่างไนโตรเจน และฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบหลัก โดยดินไบโอจะเปลี่ยนรูปของธาตุอาหารในดินให้พืชสามารถ
นำไปใช้ได้ทันที จึงช่วยลดต้นทุนค่าปุ๋ย และประหยัดน้ำในการเพาะปลูก”

ที่สำคัญดินไบโอจะช่วยในด้านการเกษตรแล้วยังสามารถดูดซับโลหะหนักได้ จึงประยุกต์ใช้ในการฝังกลบขยะได้ เพราะปัจจุบัน
มีการกำจัดขยะจำนวนมหาศาลด้วยการฝังกลบ ขยะเหล่านั้นอาจมีสารอันตราย โดยเฉพาะโลหะหนักที่มักปะปนออกมากับน้ำชะขยะ
ส่งผลให้มีการปนเปื้อนโลหะหนักในดินและแหล่งน้ำ แต่ดินไบโอมีคุณสมบัติดูดซับโลหะหนักได้ อาทิ โครเมียมเฮกซะวาเลนท์ ด้วย
กระบวนการแปรสภาพเป็นไตรวาเลนท์โครเมียม จึงลดความเป็นพิษและละลายน้ำได้น้อยลง ถึงแม้น้ำชะขยะที่มีโลหะหนักโครเมียม
จะมีสภาวะเป็นกรด ดินไบโอก็ยังสามารถกักเก็บโลหะหนักโครเมียมได้ เนื่องจากมีคุณสมบัติทนต่อกรดที่มีค่าพีเอชถึง 1.00 ได้
ดินไบโอจึงเหมาะสำหรับใช้เป็นวัสดุฝังกลบประจำวัน และสามารถนำไปฟื้นฟูสภาพน้ำใต้ดินที่ปนเปื้อนโลหะหนักได้อีกด้วย

นอกเหนือจากดินไบโอที่สังเคราะห์ขึ้นแล้วยังสามารถทำให้ดินตามธรรมชาติมีคุณสมบัติเหมือนดินไบโอได้ด้วย การปรับปรุง
คุณภาพดิน หรือทำให้คุณสมบัติทางกายภาพของดินเปลี่ยนแปลง โดยกระบวนการปรับเสถียรอัลคาไลน์ เช่นเดียวกับดินไบโอ ซึ่ง
ใช้ผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมอย่าง ปูนขาว เถ้าลอย ซีโอไลต์ และโดโลไมท์ ผสมในดิน สารอัลคาไลน์เหล่านี้ทำให้ดินมีคุณ
สมบัติในการกักเก็บธาตุอาหารและโลหะหนัก เหมาะแก่การเพาะปลูกและใช้ฝังกลบขยะได้ดีเช่นเดียวกับดินไบโอ

ทั้งนี้ ดร.ธิดารัตน์ กล่าวว่า การทำงานวิจัยเรื่องดินนี้ มุ่งเป้าเพื่อให้เกิดงานวิจัยที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อภาคเกษตรกรรมและอุตสาห
กรรม การปรับปรุงคุณภาพดินให้ดีขึ้นสามารถกักเก็บธาตุอาหารที่จำเป็นต่อพืช และใช้ฝังกลบขยะเพื่อกักเก็บสารพิษอันตรายต่อสิ่ง
แวดล้อม เป็นวิธีการที่ง่ายและเพื่อการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ซึ่งงานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจากแหล่งทุนวิจัย
จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และผลงานนี้ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อการใช้งานจริงในภาคเกษตรกรรมและ
อุตสาหกรรม หรือใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ต่อไป”



http://www.banmuang.co.th


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 5:50 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 19/05/2012 5:59 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,596. “Ozy3Rs” ล้างผักผลไม้ ประหยัดน้ำ ทรงคุณค่าวิตามิน



มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) สร้าง “Ozy3Rs” นวัตกรรมเครื่องล้างผักและผลไม้แบบประหยัดน้ำด้วยโอโซน
นวัตกรรมเพื่อสุขภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดการใช้น้ำ คงคุณค่าวิตามินเต็มเปี่ยม

ผักสดและผลไม้คือเป็นแหล่งวิตามินที่ดีต่อสุขภาพ เป็นทางเลือกใหม่ของคนหนุ่มสาวในยุคที่ผู้คนหันมาใส่ใจกับการดูแลสุขภาพและ
บำบัดโรคด้วยตัวเอง ซึ่งขั้นตอนการเลือกผักสดและผลไม้สะอาดปลอดสารพิษไม่ได้หยุดแค่ขั้นตอนการเลือกซื้อเท่านั้น แต่รวมถึง
วิธีการทำความสะอาดก่อนรับประทานเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีสิ่งปนเปื้อนหรือสารพิษอันตรายอย่างเด็ดขาด แต่กว่าจะแน่ใจในความ
สะอาด น้ำเป็นจำนวนมากก็ต้องสูญเสียไประหว่างการล้างผักและผลไม้ วิตามินในผักและผลไม้ก็สูญเสียไปด้วยเช่นกัน

ด้วยเหตุนี้ ดร.ธิดารัตน์ บุญศรี ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)
จึงเกิดแนวคิดสร้างสิ่งประดิษฐ์ “เครื่องล้างผักและผลไม้แบบประหยัดน้ำด้วยโอโซน (Ozy3Rs)” ขึ้น โดยมีนักศึกษาในทีมอีก
5 คน คือ น.ส.บุษราคัม กุลวงศ์ น.ส.สุพัตรา วงษารัฐ น.ส.ยุภาพร ทิพประกอบ นายสุทัศน์ จำปาทอง และนายกิตติพงษ์ กิจการ
นักศึกษาปริญญาตรี วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม และวิศวกรรมระบบควบคุมและเครื่องมือวัด มจธ. เป็นผู้ร่วมประดิษฐ์นวัตกรรมนี้

ดร.ธิดารัตน์ กล่าวถึงแนวคิด “เครื่องล้างผักและผลไม้แบบประหยัดน้ำด้วยโอโซน” หรือเรียกสั้นๆ ว่าเครื่อง Ozy3Rs ผักและผลไม้
บางชนิดการล้างด้วยน้ำอาจทำให้ช้ำง่าย ผลไม้แกะสลักประดับจานถ้าไม่ล้างอาจมีเชื้อโรคปะปนในอาหาร และผลไม้บางชนิดไม่
สามารถล้างน้ำที่เนื้อโดยตรงได้ เช่น ส้ม หรือแตงโม จึงเกิดแนวคิดเลือกใช้โอโซนในการล้างผักและผลไม้ เพราะมีคุณสมบัติใน
การฆ่าเชื้อโรค กำจัดกลิ่น และสารเคมีได้เป็นอย่างดี ใช้ได้ทั้งการล้างแบบใช้น้ำโอโซนและก๊าซโอโซน ส่วนตัวเครื่องถูกออก
แบบให้เป็นนวัตกรรม 3Rs คือ Reduce, Reuse และ Recycle เพราะถูกออกแบบให้ใช้ก๊าซ และน้ำโอโซนในการล้างผักและ
ผลไม้ในปริมาณน้อย (Reduce) หรือไม่ใช้น้ำเลย (zero water) และเนื่องจากน้ำผ่านโอโซนเป็นน้ำที่สะอาดสามารถหมุนเวียน
กลับมาใช้ล้างซ้ำได้อีก 2-3 รอบ (Reuse) ส่วนตัวเครื่องถูกประกอบขึ้นด้วยวิธี D.I.Y. หรือ Do it yourself ด้วยการนำโครง
ของตู้ไมโครเวฟ ถาด หรือตะแกรงสเตนเลส และถังน้ำพลาสติกชนิดพีอีที ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้เป็นอุปกรณ์ที่ไม่ใช้แล้วจากใน
ครัวเรือน (Recycle)

เครื่อง Ozy3Rs ทำงานด้วยโดยโปรแกรมอัตโนมัติที่ถูกออกแบบไว้สำหรับผักและผลไม้ 4 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 ผักที่มีสารเคมีฆ่า
แมลงปนเปื้อนสูง เช่น คะน้า กะหล่ำปลี ถั่วฝักยาว ใช้เวลา 20 นาที กลุ่มที่ 2 ผักใช้รับประทานสดที่อาจปนเปื้อนแบคทีเรียได้ง่าย
เช่น ผักกาดหอม ผักชี ต้นหอม ใช้เวลา 5 นาที กลุ่มที่ 3 ผักที่สูญเสียวิตามินไปกับน้ำได้ง่าย เช่น ผักโขม มะเขือเทศ ส้ม ใช้เวลา
5 นาที และกลุ่มที่ 4 เห็ดต่างๆ เพราะล้างได้ยากและการล้างด้วยน้ำจะทำให้เห็ดเน่าเสียในกลุ่มนี้จึงใช้การพ่นก๊าซโอโซน ใช้เวลา
5 นาทีแทนการใช้น้ำ ซึ่งผลการทำงานของโปรแกรมต่างๆ ได้รับการทดสอบทางกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แล้วว่าได้ผล
ปลอดภัยและยังคงคุณค่าทางอาหาร

บุษราคัม พี่ใหญ่สุดในทีมนักศึกษา กล่าวว่า เครื่อง Ozy3Rs เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ราคาต้นทุนถูก โดยโครงสร้างตัวเครื่องสามารถ
ใช้เครื่องไมโครเวฟเก่าที่ใช้ไม่ได้แล้ว นำมาติดตั้งเครื่องผลิตโอโซนราคา 7,500 บาท และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ อีก 4,000-
5,000 พันบาทเท่านั้นแต่เป็นการลงทุนระยะยาวที่คุ้มค่า และเครื่องนี้เหมาะกับร้านอาหาร ภัตตาคาร ที่ต้องใช้ผักผลไม้ที่สดสะอาด
เป็นจำนวนมากอยู่ประจำเพราะช่วยประหยัดเวลา ทางด้านกิตติพงษ์ น้องเล็กสุดในทีมกล่าวเพิ่มเติมถึงเครื่อง OZy3Rs ว่า มีความ
แตกต่างจากเครื่องล้างผักผลไม้ที่จำหน่ายตามท้องตลาดที่ไม่มีการหมุนเวียนน้ำที่ผ่านการล้างผักผลไม้แล้วมาใช้ซ้ำอีกเหมือน
เครื่อง Ozy3Rs

สุทัศน์ หนึ่งในทีมนักศึกษาได้เล่าว่า สิ่งประดิษฐ์เครื่อง Ozy3Rs นี้ได้ผ่านเข้ารอบ 5 ทีมสุดท้ายจากทั้งหมด 39 ทีมทั่วประเทศ ใน
โครงการประกวดนวัตกรรมจัดการน้ำด้วย 3R ปี 2 โดยอีสท์วอเตอร์ ที่สิ้นสุดไปเมื่อวันที่ 26 เม.ย.55 ที่ผ่านมา และตนดีใจมากที่
ได้มีโอกาสเข้าร่วมโครงการนี้ เพราะได้ฝึกกระบวนการคิดและประดิษฐ์นวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมที่มีประโยชน์ สามารถใช้งานได้
จริงจากฝีมือของตนเอง

ทางด้าน ดร.ธิดารัตน์ กล่าวว่า รู้สึกภูมิใจที่นักศึกษาในทีมทุกคนมีความตั้งใจเป็นอย่างดีในการประดิษฐ์เครื่อง Ozy3Rs ที่เป็น
ประโยชน์ต่อผู้ใช้ เพราะเครื่องนี้เป็นนวัตกรรมที่เน้นการพัฒนาแบบต่อยอดของเครื่องล้างผักและผลไม้ที่จำหน่ายในท้องตลาด
เพราะถูกออกแบบให้ใช้งานง่าย ประหยัดน้ำและเวลา ได้ผักผลไม้ที่ปลอดภัย อีกทั้งยังรักษาคุณค่าทางวิตามินของผักผลไม้ไว้อีก
ด้วย และนอกจากเครื่อง Ozy3Rs จะมีประโยชน์ต่อครัวเรือนและร้านอาหารแล้ว อาจขยายไปสู่อุตสาหกรรมขนาดย่อมที่ดำเนิน
งานด้านการแปรรูปผักและผลไม้ได้อีกด้วย



http://www.banmuang.co.th


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 5:51 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 19/05/2012 6:21 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,597. โรงอบยางพาราพลังแสงอาทิตย์ พัฒนาคุณภาพชีวิตคนไทย






“ยางพารา” เป็นพืชเศรษฐกิจที่เดิมนิยมปลูกกันมากในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศ แต่ในปัจจุบันได้ขยายพื้นที่ปลูกยางออกไปเกือบ
ทุกภาคของประเทศ เป็นผลมาจากความต้องการทั้ง “น้ำยาง” และ “ยางแผ่น” ในอุตสาหกรรมต่างๆ ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้มูลค่า
ของยางเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย






จังหวัดเลย ก็เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีการนำยางพาราเข้ามาปลูกเมื่อกว่า 20 ปีที่ผ่านมา เพื่อทดแทนการปลูกพืชเชิงเดี่ยวแบบเดิมๆ
อย่างข้าวโพด มะขาม และมันสำปะหลัง ซึ่งมักมีราคาไม่แน่นอน จนปัจจุบันเป็นพืชเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่สำคัญของจังหวัด
โดยมีพื้นที่ปลูกยางพารารวมกันทั้งจังหวัดไม่ต่ำกว่า 1 แสนไร่ ซึ่งสามารถสร้างอาชีพ สร้างรายได้ สร้างความมั่นคงให้กับ
เกษตรกรชาวสวนยางได้เป็นอย่างดี ซึ่งส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวมของจังหวัด





แต่ในกระบวนการ “อบแห้งยางแผ่นดิบ” เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมที่จะตากแผ่นยางพาราไว้ในบ้าน ซึ่งการตากยางพาราแต่
ละชุดจะใช้เวลาประมาณ 20-30 วัน แผ่นยางจึงจะแห้งสนิท และสามารถที่จะพับเก็บไว้เพื่อรอการจำหน่ายได้ ในระหว่างนี้ภาย
ในบ้านจึงมีกลิ่นเหม็นของ “ยางพารา” ที่เกิดจาก “กรดฟอร์มิก” ที่ใช้ในกระบวนการทำยางแผ่น นอกจากนี้ยังมี “เชื้อรา” เกิดขึ้น
บนแผ่นยาง เพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพของตัวเกษตรกรและครอบครัว ที่ต้องอาศัยอยู่ร่วมกันกับยางพาราทุกวันเป็นเวลานานกว่า
9 เดือนของแต่ละปี

นักวิชาการจาก มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และภาคีเครือข่ายจึงได้ร่วมกันจัดทำ “โครงการโรงอบยางพาราพลังงานแสง
อาทิตย์เพื่อชีวิตที่ยั่งยืน จังหวัดเลย” ขึ้น เพื่อศึกษาวิจัยหาแนวทางในการอบแห้งแผ่นยางพาราให้มีรูปแบบที่เหมาะสม และ
ปลอดภัยต่อสุขภาพของเกษตรกรชาวสวนยาง





ผศ.ดร.สุรจิตร์ พระเมือง ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย หัวหน้าโครงการฯ เปิดเผยว่า เกษตรกร
ชาวสวนยางนิยมนำยางมาเก็บไว้ในบ้าน ทำให้เกิดปัญหากลิ่นยางที่กระทบต่อสุขภาพของเกษตรกร จึงเกิดแนวคิดว่าทำอย่างไร
จะให้เกษตรกรเอายางออกจากบ้านไปไว้ข้างนอก แต่ก็มีปัญหาตามมาคือเรื่องความสะดวกของเกษตรกรที่ต้องเก็บยางเข้าออกเนื่อง
จากสภาพดินฟ้าอากาศ

“โรงอบยางพาราพลังแสงอาทิตย์จึงเป็นทางออกที่สามารถแก้ปัญหาได้ทั้ง 3 อย่าง ของเกษตรกรคือ ช่วยลดเวลาในการตากแผ่น
ยางให้สั้นลงกว่าครึ่งหนึ่ง มีความสะดวกสบายและความปลอดภัยมากขึ้นเพราะไม่ต้องคอยเก็บแผ่นยางเข้าออกเมื่อมีฝนตก ลด
ความวิตกกังวลกับปัญหาการลักขโมยแผ่นยาง และทำให้ครอบครัวห่างไกลจากกลิ่นเหม็นที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ” อาจารย์
สุรจิตร์ ระบุ

โดยทางโครงการฯ ได้ทำการศึกษาวิจัยและออกแบบ “โรงอบยางพาราพลังแสงอาทิตย์” ออกเป็น 3 ขนาด ตามปริมาณการ
ผลิตของเกษตรกรคือ โรงเรือนขนาด 3×4 เมตร ความจุ 600 แผ่น โรงเรือนขนาด 3×6 เมตร ความจุ 800 แผ่น และโรง
เรือนขนาด 4.2×6 เมตร ความจุ 1,000 แผ่น ซึ่งมีค่าก่อสร้างรวมถึงอุปกรณ์การตากยางทั้งหมด 60,000 บาท 80,000 บาท
และ 100,000 บาทตามลำดับ โดยใช้หลังคาเป็นตัวรับรังสีดวงอาทิตย์ และใช้แผ่นโพลีคาร์บอเนตใสเป็นผนังร่วมกับปูนซีเมนต์
เป็นแหล่งเก็บกักความร้อน และระบายความชื้นออกจากโรงอบโดยวิธีการพาความร้อนแบบธรรมชาติ และมีพัดลมระบายความชื้น
กรณีฉุกเฉินที่มีฝนตกติดต่อกันเป็นเวลานานมากกว่า 3 วัน

ข้อดีของการใช้โรงอบยางพาราพลังงานแสงอาทิตย์คือ สามารถควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ระหว่าง 35-60 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณห
ภูมิที่เหมาะสมสำหรับการตากยาง ซึ่งจะช่วยลดเวลาในการตากยางลง จากปกติที่ตากแบบธรรมดาจะใช้เวลา 30 วัน เหลือเพียงเวลา
15 วัน หากเป็นช่วงฤดูหนาวและมีแสงแดดทั้งวัน จะลดเวลาตากเหลือแค่ 7 วันเท่านั้น นอกจากนี้ยังช่วยลดเวลาในการทำงานของ
เกษตรกร โดยไม่ต้องคอยกังวลเรื่องว่าจะมีคนมาขโมยแผ่นยางหรือฝนจะตกแดดจะออกหรือไม่

นายระบอบ พลมุข อายุ 51 ปี เกษตรกรชาวสวนยางจาก บ้านกกดู่ หมู่ 10 อ.เมือง จ.เลย เล่าให้ฟังว่า เริ่มปลูกยางมาตั้งแต่ปี 2546
โดยมีพื้นที่ปลูกยางทั้งหมด 35 ไร่ ปัจจุบันสามารถกรีดยางได้แล้วจำนวน 18 ไร่ หรือประมาณ 900 ต้น โดยเฉลี่ยแล้วจะสามารถ
ผลิตแผ่นยางได้ประมาณ 20-24 แผ่นต่อวัน เดิมต้องใช้คนงานนำยางออกตากแดดโดยต้องรื้อเข้ารื้อออกจากตัวบ้านแทบทุกวัน

“พอฝนตกก็ลำบาก ต้องเอาแผ่นยางมาเก็บไว้ใต้ถุนบ้าน ยางก็มีกลิ่นเหม็นรบกวน บางครั้งถ้าไม่อยู่บ้านก็ต้องคอยระวังว่าจะมีคนมา
ขโมย แต่เมื่อมาเข้าร่วมโครงการฯ โดยออกค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งร่วมกับทางคณะผู้วิจัยในการจัดสร้างโรงเรือนเพื่อตากยาง ก็พบว่าคุณ
ภาพแผ่นยางก็ดีกว่า สีสวยกว่าการตากแบบเดิมๆ ทำให้ได้ราคาดี และก็นอนหลับได้อย่างสบายใจขึ้น ไม่ต้องกลัวขโมย สุขภาพจิตก็
ดีขึ้น” นายระบอบ ระบุ

นางลำไย บุญมา และสามี นายถวัลย์ บุญมา อายุ 65 ปีเท่ากัน เกษตรกรชาวสวนยางจาก บ้านกกดู่ หมู่ที่ 8 อ.เมือง จ.เลย ทั้งคู่
บอกว่าทำสวนยางมาได้ประมาณ 7 ปี ที่ผ่านมาต้องเจอกับปัญหากลิ่นเหม็นจากยางแผ่น ไหนจะต้องคอยเก็บแผ่นยางเข้าออกจาก
บ้านเมื่อฝนตกทำให้เสียเวลาในการดูแลค่อนข้างมาก

“พอเข้าร่วมโครงการและตากยางในโรงเรือนก็พบว่า แผ่นยางแห้งเร็วกว่าการตากแดด เนื้อยางแผ่นมีสีสวยเป็นสีทอง แผ่นยางดูดี
และมีราคากว่าแผ่นยางที่ตากด้วยวิธีการเดิมๆ แถมยังไม่มีเชื้อราแป้ง และราดำขึ้นที่แผ่นยาง เพราะในโรงอบมีความร้อนที่เพียงพอ
กลิ่นเหม็นของยางที่เคยมีก็หายไป” นางลำไย กล่าว

ด้าน ดต.สุริยนต์ มณีศรี อายุ 38 ปี เกษตรกรชาวสวนยางจาก บ้านตูบโกย ต.กกดู่ อ.เมือง จ.เลย เล่าว่า หันมาปลูกยางแทนการ
ปลูกข้าวโพด และมันสำปะหลังตั้งแต่ปี 2545 เพราะเห็นว่ายางเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีอายุยืนยาว ลงทุนครั้งเดียวเก็บผลผลิตได้นาน
และยังมีราคาดีเป็นที่ต้องการของตลาด

“การตากแผ่นยางแบบนี้ดีกว่าการตากแดด หรือการทำยางแผ่นรมควัน ที่ต้องยุ่งยากในการหาฟืน และยังต้องคอยเฝ้าตลอดเวลา
แถมยังสะดวกไม่ต้องคอยกังวล คนงานก็มีเวลาดูแลงานอื่นๆ ในสวนมากขึ้น แผ่นยางที่ได้ยังมีคุณภาพดีสีสวยไม่มีสีดำคล้ำ ทำ
ให้สามารถต่อรองราคากับพ่อค้าได้ดีกว่า” ดต.สุริยนต์ กล่าว

“โรงอบยางพาราพลังแสงอาทิตย์ส่งผลดีแก่เกษตรกรหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความสะดวกสบาย ความปลอดภัยไม่ต้องกังวล
ดังนั้นสุขภาพจิตก็จะดีขึ้น ข้อดีลำดับต่อมาซึ่งเป็นจุดที่สำคัญคือ กลิ่นยางที่เกิดจากกรดและความชื้นที่ก่อให้เกิดเชื้อรา สิ่งเหล่า
นี้ในระยะยาวอาจจะมีผลต่อสุขภาพได้ แต่เมื่อเอายางออกจากบ้านมาอยู่ในโรงเรือน เรื่องสุขภาพจึงน่าจะดีขึ้นแน่นอน เพราะลด
ปัญหาเรื่องกลิ่น และเชื้อราไป ช่วยให้คุณภาพชีวิต และสุขภาพของเกษตรกรชาวสวนยางดีขึ้นกว่าเดิม” ผศ.ดร.สุรจิตร์ พระเมือง
หัวหน้าโครงการกล่าวสรุป



http://www.banmuang.co.th


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 5:52 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 19/05/2012 6:27 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,598. จุลินทรีย์ “พิชิตกลิ่นเหม็น”


จุลินทรีย์ “พิชิตกลิ่นเหม็น” ดักอากาศ อุตสาหกรรม มจธ. ร่วมมือภาคเอกชน แลกเปลี่ยน “ความรู้วิจัยเทคโนโลยีจุลินทรีย์” ผู้พิชิต
กลิ่นแอมโมเนียช่วยอุตสาหกรรมอาหาร และชุมชนมีอากาศสะอาดไร้แอมโมเนีย ในงานประชุมนานาชาติ International Confe-
rence on Sustainable Environmental Technology หรือ ICSET 2012 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ โดยในการประชุมดัง
กล่าวมีการนำเสนอนวัตกรรมของคนไทยเกี่ยวกับการจัดอากาศเสีย คือนวัตกรรมเรื่อง “การกำจัดแอมโมเนียโดยใช้ระบบ Bio Filter”
ซึ่งเป็นทางเลือกใหม่ในการจัดการกับอากาศเสียจากภาคอุตสาหกรรม

ดร.ประพัทธ์ พงษ์เกียรติกุล อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอม
เกล้าธนบุรี (มจธ.) เปิดเผยว่า งานวิจัยนี้เป็นการทำงานวิจัยร่วมกันระหว่าง มจธ. และบริษัท ไบโอวิสท์ จำกัด ที่สนับสนุนทุนวิจัยเพื่อ
แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันในการพัฒนาระบบบำบัดอากาศโดยใช้จุลินทรีย์ หรือ Bio filter ขึ้นมา เพื่อใช้กำจัดแก๊สแอมโมเนีย
ในอากาศจากโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร การกำจัดแอมโมเนียในอากาศค่อนข้างยุ่งยาก แต่งานวิจัยชิ้นนี้เลือกใช้ “จุลินทรีย์” ในการกำจัด
แอมโมเนียที่ปะปนในอากาศ โดยให้จุลินทรีย์กินแอมโมเนียในอากาศให้หมดไป

ดร.ประพัทธ์ กล่าวต่อว่า การใช้จุลินทรีย์กำจัดแอมโมเนียในอากาศจากโรงงานอุตสาหกรรมสามารถทำได้โดยติดตั้ง Bio filter
ในบริเวณแหล่งกำเนิดกลิ่นเหม็น เพื่อกำจัดแอมโมเนียในอากาศ โดยใน Bio filter จะมีตัวกลางให้จุลินทรีย์เกาะและมีการสเปรย์
น้ำและสารอาหารบ้างเล็กน้อย เนื่องจากจุลินทรีย์ส่วนใหญ่ชอบอยู่ในน้ำ เมื่ออากาศที่มีแอมโมเนียปนเปื้อนอยู่ลอยผ่านจุลินทรีย์เหล่านั้น
แอมโมเนียจะถูกดูดซึมเข้าสู่ผิวของจุลินทรีย์ และจุลินทรีย์จะค่อยๆ กินแอมโมเนียอีกที

งานวิจัยนี้ใช้จุลินทรีย์ 2 ประเภท คือ

1.จุลินทรีย์จากธรรมชาติ โดยนำจุลินทรีย์ที่อยู่ในน้ำเสียมาเลี้ยงให้ชินกับการกินแอมโมเนียแล้วจึงนำไปใช้งาน พบว่าจุลินทรีย์
ชนิดนี้สามารถกำจัดแอมโมเนียในอากาศได้ร้อยละ 69-90 ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของแอมโมเนีย

2.จุลินทรีย์ที่ผ่านการพัฒนาและผ่านการคัดเลือกสายพันธุ์ให้กินแต่แอมโมเนีย พบว่าสามารถกำจัดแอมโมเนียได้สูงถึงร้อยละ 70-97

ทั้งนี้ Bio filter บำบัดแอมโมเนียด้วยจุลินทรีย์ ยังมีประโยชน์เป็นอย่างยิ่งต่อประชาชน และโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก เพราะ
การกำจัดแอมโมเนียด้วยวิธีการนี้ค่อนข้างถูกกว่าวิธีอื่น ไม่ต้องใช้ไฟฟ้า ประหยัดน้ำ และที่สำคัญประชาชนสามารถทำเองได้

นอกจาก Bio filter บำบัดแอมโมเนียด้วยจุลินทรีย์ จะใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมอาหารได้แล้ว ยังสามารถนำมาใช้ในฟาร์มเลี้ยงหมู
หรือจะนำไปปรับใช้กับอุตสาหกรรมทุกประเภทที่ส่งกลิ่นเหม็นได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม งานวิจัยนี้ยังอยู่ในห้องแล็บ แต่คาดว่าอีกไม่นาน
จะมีการนำไปใช้ประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรมและเชิงพาณิชย์อย่างแน่นอน



http://www.banmuang.co.th


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 5:52 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 20/05/2012 5:10 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,599.




การปลูกพืชระบบรากแช่ (hydroponic culture) หมายถึง การปลูกโดยให้รากของพืชแช่อยู่ในสารละลายธาตุอาหารตลอดเวลา
สำหรับพืชบก จะต้องมีระบบเติมอากาศลงไปในสารละลายเพื่อให้รากพืชได้รับ O2 อย่างสม่ำเสมอ การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินเริ่มต้นขึ้น
จากการปลูกด้วยระบบนี้ ดังนั้นการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินระบบรากแช่จึงเป็นระบบปลูกที่เก่าแก่กว่าระบบอื่น แต่มิได้หมายความว่า
เป็นระบบที่ล้าสมัย เนื่องจากมีการพัฒนาเทคโนโลยีในการปลูกอย่างต่อเนื่อง ในปี ค.ศ. 1929 Prof. William F. Gerricke แห่ง
มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียได้เป็นผู้พัฒนาระบบปลูกพืชแบบนี้ให้สามารถผลิตพืชเพื่อการค้า และเป็นผู้บัญญัติศัพท์ "hydroponics"
ซึ่งใช้เรียกการปลูกพืชระบบนี้อย่างแพร่หลายในเวลาต่อมา การปลูกระบบรากแช่ยังใช้ชื่อเรียกอย่างอื่นอีก เช่น Water culture,
nutrient culture (nutriculture), chemical culture (chemiculture) และ solution culture เป็นต้น (ความหมายเดิม
ของ hydroponics หมายถึงการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินทุกชนิด) การปลูกพืชระบบรากแช่สามารถแยกย่อยได้เป็น 3 เทคนิค ใหญ่ๆ คือ





deep flow technique (DFT) หมายถึงเทคนิคการปลูกโดยให้รากพืชแช่อยู่ในภาชนะบรรจุสารละลายธาตุอาหาร (ลึก 15-20
cm กว้าง 50-80 cm และยาว 1-10 m) ภาชนะดังกล่าวทำหน้าที่ทั้งภาชนะปลูกและภาชนะใส่สารละลายไปด้วย ทำให้เทคนิคนี้
ไม่ต้องมีภาชนะใส่สารละลายแยกต่างหาก ปริมาตรของสารละลายมีมาก ทำให้ความเข้มข้นของธาตุอาหารเปลี่ยนแปลงช้า วิธี
ปลูกสามารถทำได้หลายวิธี เช่น

วางตะแกรงบนปากถังแล้วโรยด้วยวัสดุเพาะต้นกล้า เช่น ขี้เลื่อย พรุ ฟางข้าว และเพอร์ไลท์ เป็นต้น ปรับระดับสารละลายให้ท่วม
วัสดุเพาะเล็กน้อย เพาะต้นกล้าบนวัสดุ เมื่อต้นพืชงอกค่อยๆ ลดระดับสารละลายลงให้สารละลายท่วมรากพืชเพียงบางส่วน วิธีนี้อาจ
ไม่จำเป็นต้องเติมอากาศลงไปในสารละลาย วางแผ่นไม้ หรือแผ่นโฟมเจาะรูบนปากถัง ปลูกพืชในกระถางขนาดเล็กที่วางอยู่ในรูอีก
ทีหนึ่ง ปรับระดับสารละลายให้ท่วมรากเพียงบางส่วน หรือเติมอากาศลงไปในสารละลาย

ปลูกพืชในกระถางเล็กๆ ซึ่งวางอยู่ในรูแผ่นโฟม หรือวัสดุลอยน้ำอย่างอื่น แล้วปล่อยให้ลอยบนสารละลาย เรียกการปลูกแบบนี้ว่า floating
hydroponics วิธีนี้จะต้องเติมอากาศลงไปในสารละลาย



รูปที่ 3-1 การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินระบบรากแช่ แบบ Deep flow technique (DFT) ชนิดเติมอากาศด้วยวิธีหมุนเวียนสารละลาย



รูปที่ 3-2 การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินระบบรากแช่ แบบ Deep flow technique (DFT) ชนิดเติมอากาศด้วยวิธีพ่นอากาศ



จุดเด่นของ DFT
DFT บรรจุสารละลายธาตุอาหารไว้ในภาชนะปลูกทั้งหมด (ระบบดั้งเดิมของ DFT ภายหลังมีผู้ดัดแปลงต่างไปบ้าง) ทำให้ไม่ต้อง
มีถังเก็บสารละลาย ไม่ต้องมีท่อ ไม่ต้องมีปั๊มหมุนเวียนสารละลาย (อาจต้องใช้ปั๊มในการเปลี่ยนถ่ายสารละลาย) ทำให้สามารถ
ลดต้นทุนในส่วนนี้ลงไปได้ พืชไม่ขาดน้ำและธาตุอาหาร เนื่องจากรากแช่อยู่ในสารละลายตลอดเวลา


จุดด้อยของ DFT
รากพืชมีโอกาสขาด O2 ได้ง่าย เนื่องจากรากแช่อยู่ในสารละลายที่ลึกและไม่ไหลเวียน ผู้ปลูกจะต้องหาทางแก้ปัญหาโดยวิธีใด
วิธีหนึ่ง เช่น
- ลดระดับสารละลายลงเมื่อพืชโตขึ้น เพื่อให้รากแช่อยู่ในสารละลายเพียงบางส่วน
- สามารถทำให้รากไม่ขาด O2 ในขณะที่พืชต้นเล็ก แต่เมื่อพืชที่ปลูกโตขึ้น พืชจะใช้ O2 เพิ่มอย่างรวดเร็ว ทำให้ต้องเติมอากาศ
ลงไปในสารละลายอย่างต่อเนื่อง
- เติมอากาศลงไปในสารละลายตลอดเวลา
- หมุนเวียนสารละลายเช่นเดียวกับ NFT เป็นต้น
- การควบคุมความเข้มข้นของสารละลายทำได้ยากกว่าระบบอื่น ถ้าปลูกพืชปริมาณมาก
- สารละลายธาตุอาหารพืชมีองค์ประกอบเปลี่ยนไปตามระยะเวลาที่ใช้ปลูก ผู้ปลูกจำเป็นต้องเปลี่ยนถ่ายสารละลาย โดยเฉพาะถ้า
อายุการเก็บเกี่ยวพืชนั้นนานกว่า 4 สัปดาห์
- รากพืชที่แช่อยู่ในสารละลายไม่สามารถค้ำจุนลำต้นให้ตั้งตรงได้ ถ้าพืชที่ปลูกมีลำต้นสูง ผู้ปลูกจำเป็นต้องสร้างอุปกรณ์พยุง
ลำต้นถ้าปลูกพืชลำต้นสูง



รูปที่ 3-3 มะเขือเทศ 1 ต้นให้ผลมากกว่าหมื่นผลเมื่อปลูกด้วย deep flow technique กระทรวงเกษตรฯ ประเทศญี่ปุ่น
ปลูกแสดงในงาน Japanese Government Exhibition 1985 (Expo' 85)
(ที่มา : เอกสารแนะนำงาน)




รูปที่ 3-4 ระบบปลูกแบบ Kaneko EK Shiki Hydroponik ของบริษัท Kaneko ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นการปลูกเชิง
การค้าด้วยเทคนิค deep flow โดยดัดแปลงให้มีการหมุนเวียนสารละลาย และมีการเติมอากาศ แต่ไม่มีถังเก็บสารละลาย
ภาพขวามือเป็นตัวอย่างสถานที่ปลูกด้วยระบบนี้




รูปที่ 3-5 การปลูกพืชระบบรากแช่ด้วยเทคนิด deep flow ของเกษตรกรรายหนึ่งบนเกาะ Kauia รัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา
รางปลูกยาว 96 ฟุต กว้าง 30 นิ้ว และลึก 6 นิ้ว ปลูกพืชโดยใช้โฟมวางให้ลอยอยูบนรางปลูก โรงเรือนสร้างด้วยไม้มุงพลาสติก
ด้านข้างเปิดโล่ง เพื่อกันฝนเพียงอย่างเดียว
(ที่มา : http://www.hydrofarm.com/content/articles/hydroart5.html)





วิธีปลูกพืชแบบ NFT พัฒนาขึ้นโดย Allen Cooper แห่งสถาบันวิจัยการปลูกพืชในเรือนกระจก (GCRI) ประเทศอังกฤษ ประมาณ
ปี ค.ศ. 1965 หลักการของวิธีนี้คือ การปล่อยให้สารละลายธาตุอาหารไหลไปในรางปลูก (gullies) โดยสารละลายมีความลึกไม่
มากนัก (ประมาณ 0.5 cm) การทำเช่นนี้ช่วยให้รากมีโอกาสสัมผัสกับอากาศ และ O2 ในอากาศละลายลงไปในสารละลายได้
เร็วกว่าการปลูกแบบ DFT การปลูกแบบนี้จึงช่วยลดปัญหาการขาดอากาศ (O2) ของรากพืชได้ดี นอกจากนี้เมื่อปริมาตรของสาร
ละลายที่ไหลผ่านรากพืชมีน้อยลง ทำให้ไม่ต้องสร้างรางปลูกที่มีขนาดใหญ่และแข็งแรง ค่าก่อสร้างรางปลูกจึงประหยัดกว่าการปลูก
แบบ DFT สมบัติของสารละลายเมื่อไหลผ่านรากพืชมีสมบัติเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม และเมื่อมีการหมุนเวียนสารละลายกลับมาใช้
ใหม่ เพื่อลดต้นทุนแต่กลับสร้างปัญหาในการควบคุมสมบัติของสารละลายให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืช ระบบควบคุมสาร
ละลายมีต้นทุนสูงกว่าเทคนิคอื่นที่ไม่ต้องหมุนเวียนสารละลาย และเป็นจุดอ่อนของการปลูกด้วยเทคนิค NFT นอกจานี้ผู้ปลูกยังจำเป็น
ต้องมีความรู้ในเรื่องการจัดการธาตุอาหารพืชเป็นอย่างดี โดยเฉพาะกรณีที่ปลูกพืชอายุยืน สำหรับการปลูกพืชอายุสั้น เช่น ผักต่าง ๆ
ผู้ปลูกเพียงแต่ควบคุมค่าการนำไฟฟ้า (EC) และค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ก็เพียงพอ



องค์ประกอบของระบบปลูกแบบ NFT


รูปที่ 3-5 ตัวอย่างองค์ประกอบของอุปกรณ์ที่ใช้ในการปลูกพืชด้วยเทคนิค nutrient film (NFT) ของบริษัท Mitsubishi
Noki ผู้ผลิตใช้ชื่อเรียกเทคนิคนี้ว่า Mitsubishi Hyponica


1. รางปลูก (gully) และเครื่องค้ำจุนลำต้น รางปลูกสามารถทำจากวัสดุต่าง ๆ ได้หลายชนิด เช่น โพลีเอธิลีน (PE) โพลีไวนิลคลอไรด์
(PVC) ไฟเบอร์แกลส แผ่นเหล็กชุบสังกะสี (galvanized ivon sheet) หรือคอนกรีต เป็นต้น รางปลูกที่ทำจากพลาสติกได้รับ
ความนิยมแพร่หลายในปัจจุบัน ควรหลีกเลี่ยงรางเหล็กชุบสังกะสี เนื่องจากเกิดสนิมได้ง่าย ทำให้เหล็กและสังกะสีที่ละลายออกมามีผล
กระทบต่อสมบัติของสารละลายธาตุอาหาร รางคอนกรีตมีข้อจำกัดในเรื่องการปรับเปลี่ยนรูปแบบซึ่งทำได้ยาก ความกว้างของรางปลูก
ควรอยู่ระหว่าง 10 - 15 cm สำหรับการปลูกพืชแถวเดียวขนาดเล็ก เช่น ผักต่าง ๆ และควรมีความกว้างประมาณ 25 - 30 cm สำหรับ
การปลูกพืชขนาดใหญ่ เช่น มะเขือเทศ แตงกวา และแตงแคนตาลูป เป็นต้น หรือสำหรับการปลูกผักแถวคู่ ความยาวของรางไม่ควร
เกิน 20 - 25 เมตร ความยาวที่เหมาะสมไม่ควรเกิน 10 - 15 เมตร ทั้งนี้เนื่องจากสัดส่วนและความเข้มข้นของธาตุอาหารเปลี่ยนแปลง
ไปจากค่าที่เหมาะสมตามความยาวของรางปลูก รางปลูกที่ยาวเกินไปจะทำให้พืชเจริญเติบโตไม่สม่ำเสมอ การติดตั้งรางควรให้มีความ
ลาดเอียงเพียงพอที่สารละลายจะไหลจากปลายด้านหนึ่งไปยังปลายอีกด้านหนึ่งของรางได้อย่างสะดวก เพื่อให้ O2 ละลายลงไปในสาร
ละลายได้ดี และสารละลายไม่ขังอยู่ ณ จุดใดจุดหนึ่งภายในราง ความลาดเอียงที่เหมาะสมอยู่ในช่วง 1:50 ถึง 1:100 ค่าแนะนำโดย
ทั่วไปอยู่ที่ 1:75 การออกแบบให้มีร่องภายในรางเป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาอัตราการไหลไม่สม่ำเสมอภายในรางปลูก ราง
ปลูกควรปิดสนิทเพื่อป้องกันแสงสว่างเข้าสู่ภายใน ซึ่งจะเป็นสาเหตุให้สาหร่ายเจริญเติบโต สร้างปัญหาให้กับระบบหมุนเวียนสารละลาย
และอาจทำให้สารละลายเน่าเสีย



รูปที่ 3-6 ภาพตัดขวางรางปลูกพืชชนิดต่างๆ ด้วยเทคนิค nutrient film ของบริษัท Sunsui ประเทศญี่ปุ่น พื้นรางทำเป็นร่อง
เพื่อให้สารละลายไหลสะดวกขึ้น รางปลูกมีความกว้าง 30 cm และ 90 cm (รูปไม่สัมพันธ์กับมาตราส่วนจริง)


2. ถังรองรับสารละลาย (catchment tank) เป็นถังที่ทำหน้าที่รองรับสารละลายที่ไหลผ่านรางปลูกแล้ว ถังไฟเบอร์แกลสหรือถัง
สแตนเลสสำหรับเก็บน้ำตามอาคารบ้านเรือนสามารถนำมาใช้ได้อย่างไม่มีปัญหาใด ๆ หากเป็นไปได้ปริมาตรของถังควรสามารถรอง
รับสารละลายทั้งหมดที่อยู่ในระบบได้ เพื่อป้องกันปัญหาสารละลายล้นถังในกรณีกระแสไฟฟ้าขัดข้อง หรือปั๊มชำรุด สำหรับระบบ
ปลูกขนาดใหญ่ ปริมาตรของถังรองรับสารละลายอาจลดเหลือ 20-30% ของปริมาตรสารละลายทั้งระบบ เพื่อลดต้นทุนค่าก่อ
สร้างและลดพื้นที่ติดตั้งถัง อย่างไรก็ตามในกรณีนี้จะต้องมีท่อระบายฉุกเฉินเพื่อป้องกันสารละลายล้นถัง ระดับของถังจะต้องต่ำ
กว่ารางปลูก โดยทั่วไปนิยมวางต่ำกว่าระดับผิวดิน เพื่อให้ดินช่วยรักษาอุณหภูมิของสารละลายด้วย ก่อนที่สารละลายจากรางปลูกจะ
ไหลลงสู้ถัง ควรผ่านเครื่องกรองเพื่อแยกสิ่งสกปรกออกก่อน

3. ถังบรรจุสารละลายเข้มข้น กรด และด่าง ถังบรรจุสารละลายเข้มข้นจะต้องใช้อย่างน้อย 2 ถัง เพื่อป้องกันการตกตะกอน ส่วน
ถังกรดและด่างอาจใช้เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งในกรณีที่ทราบว่าสูตรสารละลายที่ใช้มี pH เพิ่มขึ้นหรือลดลงเมื่อไหลผ่านรางปลูก

4. ปั๊มหมุนเวียนสารละลาย ปั๊มทำหน้าที่สูบสารละลายจากถังรองรับไปยังรากปลูกโดยตรง หรือสูบไปยังถังพัก (header tank) ถัง
พักอาจมีหรือไม่มีก็ได้แล้วแต่ความเหมาะสม การมีถังพักจะช่วยให้มีสารละลายจ่ายให้แก่รางปลูกต่อไปได้ระยะหนึ่งหลังจากกระแส
ไฟฟ้าขัดข้อง หรือปั๊มชำรุด และปั๊มไม่ต้องทำงานตลอดเวลา ปั๊มหมุนเวียนควรเลือกชนิดทนทานต่องานหนัก เนื่องจากต้องทำงานอย่าง
ต่อเนื่องตลอดระยะเวลาปลูก ระบบปลูกขนาดใหญ่ควรมีปั๊ม 2 ชุด ซึ่งสามารถสลับทำหน้าที่แทนกันได้เมื่อชุดใดชุดหนึ่งขัดข้อง ขนาด
ของปั๊มควรจ่ายสารละลายได้เพียงพอที่จะทำให้มีอัตราการไหลของสารละลายในรางปลูกประมาณ 1-2 ลิตร/นาที

5. อุปกรณ์ตรวจวัดและควบคุมความเข้มข้นสารละลาย ระบบปลูกขนาดเล็ก ผู้ปลูกอาจตรวจวัดและปรับสารละลายให้เหมาะสมเอง แต่
สำหรับระบบขนาดใหญ่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ตรวจวัดและควบคุมอัตโนมัติ พารามิเตอร์ที่ต้องตรวจวัดและควบคุมได้แก่ ค่าการ
นำไฟฟ้า (EC) ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ระดับสารละลาย และความเข้มข้นของไอออนต่าง ๆ เป็นต้น พืชที่มีอายุเก็บเกี่ยวสั้น เช่น
ผักต่างๆ การควบคุมเฉพาะ EC และ pH ก็เพียงพอแล้ว


จุดเด่นของ NFT
- รากพืชได้รับ O2 อย่างสม่ำเสมอ และมีโอกาสขาด O2 น้อยกว่า DFT เนื่องจากรากพืชส่วนหนึ่งอยู่ในอากาศ และสารละลาย
หมุนเวียนตลอดเวลา
- รากพืชได้รับธาตุอาหารสม่ำเสมอเมื่อเทียบกับระบบ aeropopnics เนื่องจากรากพืชส่วนหนึ่งแช่อยู่ในสารละลายตลอดเวลา
- สามารถควบคุมความเข้มข้นของสารละลายธาตุอาหารให้สม่ำเสมอได้ง่ายกว่า DFT
- รางปลูกมีขนาดเล็ก ขยายปริมาณการผลิตได้ง่ายกว่า DFT และ aeroponics
จุดด้อยของ NFT

ควบคุมอัตราการไหลให้สม่ำเสมอได้ยาก เนื่องจากการขัดขวางของรากพืชในรางปลูก ผู้ปลูกจะต้องเลือกขนาดของรางปลูกและ
ความหนาแน่งของพืชให้เหมาะสมกับชนิดของพืช รางปลูกต้องมีความลาดเอียงที่พอเหมาะและสัมพันธ์กับอัตราการไหลของสาร
ละลาย รางปลูกที่เอียงมากเกินไปทำให้สารละลายไหลล้นราง ในขณะที่ถ้ารางปลูกเอียงน้อยเกินไปจะทำให้สารละลายไหลช้า เป็น
เหตุให้พืชที่ปลูกได้รับธาตุอาหารไม่สม่ำเสมอ

การติดตั้งรางปลูกจะต้องระวังไม่ให้เกิดการโค้งงอ รวมทั้งวัสดุที่ใช้ทำรางจะต้องไม่โค้งงอได้ง่าย การติดตั้งระบบปลูกจึงมีความยุ่งยาก
อาจจำเป็นต้งใช้ช่างก่อสร้างที่มีความชำนาญ

สารละลายจำเป็นต้องไหลเวียนตลอดเวลา ทำให้พืชที่ปลูกมีปัญหาหากปั๊มชำรุด หรือกระแสไฟฟ้าขัดข้องเป็นเวลานาน ผู้ปลูกจำเป็น
ต้องเตรียมการแก้ปัญหาไว้ล่วงหน้า

มีการจัดการธาตุอาหารที่ยุ่งยากกว่าระบบเปิด ผู้ปลูกจำเป็นต้องปรับความเข้มข้น และความเป็นกรดเป็นด่างของสารละลายอย่าง
สม่ำเสมอ ทำให้เป็นภาระต่อการจัดการ และมีโอกาสที่จะสร้างความเสียหายให้กับผู้ปลูกได้ หากผู้ปลูกไม่ดูแลอย่างใกล้ชิด

โรคพืชสามารถแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะโรคที่เกิดกับรากพืช ผู้ปลูกอาจลดความเสี่ยง โดยแยกปลูกเป็นส่วนย่อยๆ
(segment) แทนการปลูกเป็นระบบใหญ่เพียงระบบเดียว

รากพืชไม่สามารถค้ำจุนลำต้นได้ จึงต้องมีอุปกรณ์ค้ำจุนลำต้น หากปลูกพืชลำต้นสูง



ตัวอย่างการออกแบบระบบปลูกด้วย NFT


รูปที่ 3-7 การปลูกผักด้วยเทคนิค nutrient film ที่บริษัท แม่กลองพืชผัก จำกัด จ.สมุทรสาคร ภาพซ้ายมือเป็นการย้ายผักจาก
รางอนุบาลมาปลูกในรางปลูก ส่วนขวามือเป็นรางอนุบาลต้นกล้า






รูปที่ 3-8 การปลูกสตรอเบอรี (บนซ้าย) และดอกยูริ (บนขวา) ด้วยเทคนิค nutrient film ของบริษัท Sansui ประเทศญี่ปุ่น
ภาพล่างซ้ายแสดงการติดตั้งท่อจ่ายสารละลายหัวราง ภาพล่างขวาแสดงระบบที่ติดตั้งเรียบร้อยพร้อมปลูก ของบริษัท Shiaikasei
ประเทศญี่ปุ่น



รูปที่ 3-9 รางปลูกพืช NFT ของเกษตรกรในประเทศนิวซิแลนด์ (ที่มา : http://www.hydroponics.co.nz/nft.html)


3. Semi-deep flow technique
semi-deep flow technique เป็นเทคนิคที่ดัดแปลงจาก NFT และ DFT เพื่อนำข้อดีของทั้งสองเทคนิคมารวมกัน และแก้ปัญหา
ของทั้งสองเทคนิคไปพร้อมๆ กันด้วย การปลูกด้วยเทคนิค Semi-deep flow ให้สารละลายไหลผ่านรากพืชลึกว่า NFT (ลึกประมาณ
1-5 cm) เพื่อแก้ปัญหาสารละลายไหลช้าเกินไปจนทำให้พืชที่อยู่ปลายรางปลูกได้รับธาตุอาหารน้อยกว่าพืชที่อยู่ต้นราง การเจริญ
เติบโตของพืชจึงไม่สม่ำเสมอ ซึ่งเป็นภาระในการจัดการ เพราะอายุเก็บเกี่ยวของพืชไม่เป็นไปตามที่วางแผนไว้ นอกจากนี้ยังไม่จำเป็น
ต้องสร้างรางปลูกให้ลาดเอียงมากเหมือน NFT อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการปลูกด้วยเทคนิคนี้คล้ายกับ NFT มาก บ่อยครั้งที่เทคนิคนี้
ยังคงจัดเป็นเทคนิคหนึ่งของ NFT หรือบางครั้งอาจจัดเป็น DFT เนื่องจากความไม่ชัดเจนในการจำแนกการปลูกพืชแบบ soilless
culture


ตัวอย่างการออกแบบระบบปลูกด้วย Semi-deep flow technique

.......
.........
รูปที่ 3-10 การนำท่อ PVC ที่ใช้ในงานประปามาดัดแปลงเป็นรางปลูก ซึ่งสามารถออกแบบให้วางได้ทั้งแนวตั้งและแนวราบ การวาง
ในแนวตั้งไม่เหมาะสำหรับพืชที่มีลำต้นสูง แต่สามารถช่วยประหยัดพื้นที่ได้ดี กรณีที่ปลูกผักต่างๆ ท่อไม่จำเป็นต้องวางเอียง แต่ต้อง
หมุนเวียนสารละลายในอัตราที่เหมาะสม ระดับของสารละลายอยู่ระหว่าง 2-5 cm โดยจะต้องควบคุมให้สารละลายท่วมรากพืชบาง
ส่วนตลอดเวลา และปรับระดับตามการเจริญเติบโตของพืช (สูงระยะต้นอ่อน และลดลงเมื่อพืชโตขึ้น)




รูปที่ 3-11 ระบบปลูก Shinen Shiki เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นโดยสถานีวิจัยพืชสวนประจำจังหวัด Shinagawa ประเทศญี่ปุ่น ระบบนี้
ใช้คอนกรีตบล๊อกหนา 10 cm สูง 20 cm มาสร้างรางปลูก ขนาดรางปลูกกว้าง 80 cm สูง 10 cm ภายในปูด้วยแผ่นโพลีเอธิลีน
ความหนา 0.4 mm แล้วปูทับด้วยแผ่นโพลีเอธิลีนความหนา 0.1 mm อีกชั้นหนึ่ง แผ่นโพลีเอธิลีนชั้นบน (แผ่นบาง) จะต้องเปลี่ยน
ใหม่ทุกครั้งที่ปลูก เพื่อป้องกันการสะสมและการระบาดของโรค ตรงกลางรางปลูกวางท่อจ่ายสารละลายขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 25 mm
เจาะรูขนาด 2 mm จำนวน 2 รู ระยะ 45 cm ใช้ตะกล้าพลาสติกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางด้านบน 12 cm ด้านก้น 7 cm และสูง 6 cm
สำหรับรองรับต้นพืชที่ปลูก และเป็นเสาท่อ ระบบนี้มีการหมุนเวียนสารละลาย ดังนั้นจะต้องใช้ปั๊มขนาดประมาณ 2.2 kW ต่อพื้นที่ปลูก
1,000 ตารางเมตร และใช้ถังเก็บสารละลายขนาดประมาณ 25-30 ลูกบาศก์เมตร ต่อพื้นที่ปลูก 1,000 ตารางเมตร



http://agri.wu.ac.th/msomsak/Soilless/Chapter03/Hydroponics.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 20/05/2012 7:14 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,600. อะมิโนคีเลต ต่อมะเขือเทศ


การให้ปุ๋ยอะมิโนคีเลตทางใบ ต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศลูกผสม

Influences of amino acid chelate foliar fertilizer on growth and seed quality of hybrid tomato seeds

อารีรัตน์ พยุงธรรม1,วรรณวิภา แก้วประดิษฐ์1และ บุญมี ศิริ1*
Areerat Phayungtham1, Wanwipa Kaewpradit1and Boonmee Siri1




บทคัดย่อ :

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบผลของการให้ปุ๋ยทางใบต่อการเปลี่ยนแปลงของการเจริญเติบโต การให้ผลผลิต และคุณภาพ
เมล็ดพันธุ์มะเขือเทศ โดย

ให้ปุ๋ยอะมิโนคีเลตทางใบ 2 สูตร คือ FCB และ FZP ที่ระดับความเข้มข้น 2.0 มิลลิลิตร/น้ำ 1 ลิตร และ 3.0 มิลลิลิตร/น้ำ 1 ลิตร
ทุกสัปดาห์ ก่อนและหลังออกดอก เปรียบเทียบกับสูตรปุ๋ยทางใบที่ใช้อยู่เดิม

ดำเนินการทดลอง ในแปลงปลูกของเกษตรกร 3 ราย ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

ตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ที่ห้องปฏิบัติการเมล็ดพันธุ์ โรงงานปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

และตรวจสอบธาตุอาหารในส่วนต่างๆของพืชที่ ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้า
คุณทหารลาดกระบัง

ทำการทดลองปี 2553 เป็นระยะเวลานาน 10 เดือน ผลการทดลองพบว่า ความสูงของพืช น้ำหนัก 1,000 เมล็ดต่อผล, จำนวนเมล็ด
ต่อผล ไม่มีความแตกต่างในทางสถิติ แต่มีแนวโน้มว่าการให้ปุ๋ยอะมิโนคีเลตทางใบแก่มะเขือเทศลูกผสม มีการตอบสนองและให้ผล
ผลิตที่ดีกว่ากลุ่มควบคุม และพบว่าจำนวนผลที่เป็นก้นเน่าของกลุ่มที่ได้รับปุ๋ยอะมิโนคีเลตทางใบทั้ง 2 สูตร

ทุกๆ ความเข้มข้น มีปริมาณลดลงกว่ากลุ่มที่ใช้ปุ๋ยสูตรเดิม

ส่วนคุณภาพเมล็ดพันธุ์ในด้านความงอกที่เพาะในห้องปฏิบัติการ และสภาพเรือนทดลอง พบว่าการให้ปุ๋ยทางใบมีผลทำให้ความ
งอกของเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศสูงกว่า 90 เปอร์เซ็นต์

การวิเคราะห์ธาตุอาหารในส่วนต่างๆ ของต้นพืชและในเมล็ดพันธุ์ พบว่าธาตุอาหารส่วนใหญ่สะสมอยู่ในต้น และใบพืช มีธาตุอาหาร
ไปสู่เมล็ดน้อยโดยเฉพาะ แคลเซียม และโบรอน อีกทั้งยังพบว่าการให้ปุ๋ยอะมิโนคีเลตทางใบทั้ง 2 สูตร มีความสัมพันธ์ด้านบวกกับ
น้ำหนักเมล็ดพันธุ์โดยเฉพาะธาตุ Cu, B และ Fe และความงอกที่เพาะในห้องปฏิบัติการและเรือนทดลองเมื่อมีการให้ธาตุอาหาร
คุณภาพเมล็ดพันธุ์เพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ พบว่าปริมาณการเกิดโรคก้นเน่าของผลมะเขือเทศลดลงเมื่อได้รับปุ๋ยอะมิโนคีเลตทางใบ โดยเฉพาะธาตุ P, K, Mn, Cu,
Zn และ B


คำสำคัญ : คุณภาพเมล็ดพันธุ์, อะมิโนคีเลต, ธาตุอาหารพืช,เมล็ดพันธุ์ผักลูกผสม



gsmis.gs.kku.ac.th/publish/get_file?name...docx&path... - แคช
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 23/05/2012 9:12 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,601. กลิ่นลีลาวดี มีเสน่ห์เย้ายวนหรือลดกำหนัด ??





ลีลาวดีของหมู่บ้านค่ะ เลี้ยงดูง่ายดาย ปลูกทิ้งปลูกขว้างก็ได้
ไม่ต้องใส่ใจมาก ถึงเวลาก็ทิ้งใบ ออกดอกเต็มต้น หอมตลบอบอวลค่ะ
เวลาไปว่ายน้ำ ได้สูดดมกลิ่นหอมของลีลาวดีที่ข้างสระ
จะมีความรู้สึกเหมือนแช่น้ำอยู่ในสปายังไงยังงั้นเลยค่ะ


ลีลาวดี หรือลั่นทม เป็นไม้ที่นำมาจากเขมรค่ะ
เล่ากันว่า .....นำไม้นี้เข้ามาปลูกในไทยนานมากแล้ว
ตั้งแต่เมื่อคราวที่ไทยยกกองทัพไปตีนครธมแล้วได้ชัยชนะ
จึงเรียกชื่อดอกไม้ชนิดนี้ เพื่อเป็นที่ระลึกว่า "ลั่นธม"


"ลั่น" แปลว่า ตี เช่น ลั่นฆ้อง ลั่นกลอง "ธม" หมายถึง "นครธม"
ภายหลัง "ลั่นธม" เพี้ยนเป็น "ลั่นทม"
ปัจจุบันมีการนำเข้าลีลาวดีโดยสั่งซื้อผ่านเว็บไซท์จากหลายประเทศ
ซึ่งให้สีสันและกลิ่นหอมแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ค่ะ

คนโบราณมีความเชื่อว่า ต้นลั่นทมนั้น ไม่ควรปลูกในบ้าน
ด้วยมีชื่ออัปมงคล คือเสียงไปพ้องกับคำว่า ระทม
ซึ่งแปลว่า เศร้าโศก ทุกข์ใจ แต่ที่จริงแล้วน่าจะเป็นเพราะยางมีพิษ
ยางสีขาวขุ่นในทุกส่วนของต้น มีสารพิษที่พบคือ plumeric acid
ถ้าสัมผัส ทำให้เกิดผื่นคัน ผิวหนังอักเสบ และบวมแดง

นอกจากนี้กิ่งยังเปราะหักง่าย ไม่เหมาะสำหรับบ้านที่มีเด็กซุกซน
“ลั่นทม” ที่เรียกกันแต่โบราณหมายถึง การละแล้วซึ่งความโศกเศร้า

คำว่า ลั่นทม นั้นเป็นคำผสมจาก ลั่น+ทม

โดยคำแรกหมายถึง แตกหัก ละทิ้ง และคำหลังหมายถึงความทุกข์โศก
แต่อย่างไรก็ดี ภายหลังมีการเรียกชื่อเสียใหม่ให้เป็นมงคลว่า “ลีลาวดี”
ชื่อใหม่นี้ มีความไพเราะเหมาะสมกับท่วงท่าของลำต้นและดอกอันสวยงาม
และยังมีชื่อพื้นเมืองอื่นๆอีกเช่น จำปา จำปาลาว และจำปาขอม เป็นต้น
นอกจากนี้ลั่นทมดอกสีขาว ยังเป็นดอกไม้ประจำชาติลาว
และนิคารากัวอีกด้วยนะคะ

มีผู้ให้ความคิดเห็นว่า ตามวัดนิยมปลูกต้นลีลาวดีกันมาก
เพราะกลิ่นทำให้สมรรถภาพทางเพศของคนเสื่อม เหมาะกับนักบวช
และผู้ฝึกตน ที่ไม่ต้องการให้กามารมณ์มารบกวนใจ
แต่ก็มีผู้คัดค้านว่า เขาปลูกลีลาวดีไว้ตามวัดเพื่อ "ลดกำหนัด"แค่นั้น
ไม่ได้มีฤทธิ์ถึงขนาดทำให้สมรรถภาพทางเพศเสื่อมแต่อย่างใด
บ้างก็อ้างผลการวิจัยว่า มีผลเหมือนกับกลิ่นลาเวนเดอร์ คือทำให้หลับสบาย
แต่ในโฆษณาขายเครื่องสำอางค์บางยี่ห้อบอกว่า
บอดี้โลชั่นกลิ่น Plumeria นั้นหอมกลิ่นดอกลีลาวดี
ซึ่งให้อารมณ์สปา มีเสน่ห์เย้ายวน ลึกลับน่าค้นหาค่ะ
ก็เลยไม่ทราบว่าจะเชื่อฝ่ายไหนนะคะ...ทางที่ดีต้องทดลองด้วยตัวเอง

โบราณท่านว่า..."สิบปากว่า ไม่เท่าตาเห็น สิบตาเห็น ไม่เท่ามือคลำ"

เพื่อนๆลองปลูกลีลาวดี แล้วดมกลิ่นหอมของดอกทุกวัน
ได้ผลอย่างไร วานมากระซิบบอกด้วยนะคะ

ลีลาวดี ที่เคยเรียกว่า..."ลั่นทม"


โบราณถือ...ชื่อพ้องเสียงเคียง "ระทม"
แต่หวานหวานชื่นชม ปลูกไว้ด้วยใจรัก





หมายเหตุของหัวใจ : หวานหวานขออนุญาตเปลี่ยนโลโก้
โดยใช้รูปในวัยสี่สิบกะรัตนะคะ รูปนี้ผ่านไป สิบเจ็ดปีแล้วค่ะ
เค้าเรียกว่าลัทธิเอาอย่าง ...เลียนแบบ BGคุณฅนสยาม...๕๖๗!!!
เห็นแล้วก็ปลง...สังขารหนอไม่เที่ยง!!



สวัสดีค่ะ


ภาพนี้แถมค่ะ เพิ่งค้นมาได้ ขอฝากไว้ตรงนี้...กลัวหายค่ะ
หวานหวานอยู่ในชุดระบำโบราณคดี ชุดลพบุรี เมื่ออายุสิบแปดปีค่ะ
แต่เอ..สงสัยว่า..หวานหวานคงจะย่างเข้าสู่วัยชราแล้วจริงๆนะคะ
ดูซิ..ไปค้นหาแต่ภาพเก่าๆ ตอนยังสาวๆมาปลอบใจตัวเอง
๕๕๕!!! ขึ้นต้นเป็นลั่นทม แต่จบด้วยภาพวัยเอาะๆ!!!
หรือว่าต้องมนต์กลิ่นลั่นทมเข้าแล้วคะ!!!



ขอขอบคุณบทความจาก
http://www.thaishop.in.th/thelegendofherb/product_10693.html
http://www.pantip.com/cafe/wahkor/topic/X10255032/X10255032.html
http://www.thailand-farm.com/index.php?topic=109.0
http://sbntown.com/forum/showthread.php?t=59151


ขออาราธนาคุณพระรัตนตรัยจงปกป้องคุ้มครอง
ให้ทุกท่านอยู่สงบ ร่มเย็น เป็นสุข
อากาศเปลี่ยนแปลงทุกวัน รักษาสุขภาพด้วยนะคะ



ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาเยี่ยมเยือนค่ะ
ขอบคุณYouTube ...คุณ chakrity
เพลง ลานลั่นทม โดย คุณรวงทอง ทองลั่นธม
ขอบคุณภาพตกแต่งจากอินเตอร์เน็ต
http://www.glitter-graphics.com/


http://www.oknation.net/blog/print.php?id=697687
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 24/05/2012 7:13 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,602. ฟลาวโวนอยด์....งานวิจัยอุตสาหกรรมเภสัช และผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ

ประคองศิริ บุญคง



การวิจัยทางด้านอาหารส่วนใหญ่จะเน้นหนักไปที่ไวตามินและเกลือแร่เพราะถือว่าเป็นองค์ประกอบ
สำคัญแต่ฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) ก็เป็นกลุ่มอาหารกลุ่มหนึ่งที่มีคุณประโยชน์ต่อร่างกาย ฟลาโวนอยด์
เป็นสารที่พบในพืช ซึ่งส่วนใหญ่จะมีสี สีจะหลากหลายเหมือนสีรุ้ง ถูกสกัดขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1930
โดย Albert Szent - Gyorgyri ซึ่งค้นพบไวตามิน ซี Szent-Gyorgyri พบว่าฟลาโวนอยด์ทำให้ผนังหลอดเลือด
แข็งแรงขึ้นในขณะที่ไวตามินซีไม่มีคุณสมบัตินี้ เขาได้ตั้งชื่อฟลาโวนอยด์ว่าไวตามิน P แต่เนื่องจากฟลาโว
นอยด์ มีสูตรโครงสร้างที่แตกต่างกันจึงไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่ม ไวตามินฟลาโวนอยด์ที่พบในธรรมชาติจะอยู่ใน
รูปของอกลัยโคน (aglycone) อิสระหรือจับกับน้ำตาลเป็น กลัยโคไซด์ (glycoside) อกลัยโคนมีสูตรเป็น
C6-C3-C6

การที่ค้นพบว่าฟลาโวนอยด์มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ก็เนื่องมาจากการศึกษาเหตุและผลที่ขัดแย้งกัน
ของชาวฝรั่งเศส กล่าวคือ ชาวฝรั่งเศสรับประทานเนยและไขมันมากกว่าชาวอเมริกัน 4 เท่า และ 3 เท่า
ตามลำดับ นอกจากนี้ระดับไขมันในเลือดและความดันโลหิตก็ยังสูงกว่าชาวอเมริกันแต่ชาวฝรั่งเศสกลับ
ตายด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบน้อยกว่าชาวอเมริกัน 2.5 เท่า ซึ่งได้พบว่าชาวฝรั่งเศสดื่มเหล้าองุ่นเป็น
ประจำและพบว่าการดื่มเหล้าองุ่น 1-2 แก้วต่อวัน สามารถป้องกันโรคหัวใจได้ จากการศึกษาพบว่าเหล้า
องุ่นแดงดีกว่าเหล้าองุ่นขาว ซึ่งแสดงว่าผลในการป้องกันนี้ไม่อยู่เพียงแค่แอลกอฮอล์


นักวิจัยชาวอิสราเอล โดยการนำของ Lavy ศึกษาผลของการดื่มเหล้าองุ่นแดงและขาวพบว่าผู้ที่ดื่ม
เหล้าองุ่นแดงจะมี high density lipoprotein (HDL) ซึ่งเป็น cholesterol ดี สูงถึง26 % และ apolipoprotein A-1
ซึ่งมีส่วนสัมพันธ์กับ HDL เพิ่มขึ้น 12 % แต่ระดับของ HDL ไม่เปลี่ยนแปลงในคนที่ดื่มเหล้าองุ่นขาว Folts2
ได้ทดลองเกี่ยวกับเหล้าองุ่นแดง ขาว และน้ำองุ่นดำที่ผสมแอลกอฮอล์

สรุปได้ว่าฟลาโวนอยด์ที่มีอยู่ในอาหารและเครื่องดื่มอาจไปหน่วงเหนี่ยวขบวนการเกิดแผ่นไขมัน ทำให้ป้องกันหลอดเลือดตีบตันได้
นอกจากนี้ Connor3 ยังได้พบว่าชาวฝรั่งเศสรับประทานผักซึ่งอุดมไปด้วยไวตามิน แคโรตีน และฟลาโวนอยด์มาก นอกจากนี้
ฟลาโวนอยด์ยังพบในใบชาต่าง ๆ เช่นเดียวกับฟลาโว-นอยด์ที่พบในองุ่น ผลไม้ และผัก ซึ่งป้องกันโรคหัวใจ Hartog และ Feskens4
ได้ศึกษาการบริโภคและการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ชาย 805 คน อายุ65-84 ปี พบว่า คนที่รับประทานฟลาโวนอยด์มาก ๆ ซึ่งมีใน
ใบชา หัวหอมและแอปเปิ้ล จะเป็นโรคหัวใจหรือหัวใจล้มเหลวน้อยกว่าคนที่รับประทานฟลาโวนอยด์น้อย ซึ่งพบว่า ฟลาโวนอยด์เป็นตัว
กำจัดการเกิด oxidation ของ LDL ซึ่งเป็นตัวสำคัญในขบวนการเกิดแผ่นไขมันImai และ Nakachi5 ได้ศึกษาผู้ชาย 1371 คน
เป็นเวลานาน 40 ปี เกี่ยวกับการบริโภคและสุขภาพ พบว่า คนชราที่ดื่มน้ำชา 10 ถ้วยขึ้นไป จะมีระดับ cholesterol และ triglycerides
ในเลือดต่ำกว่าผู้ชายที่ดื่มน้ำชาน้อย โดยผู้ที่ดื่มน้ำชามาก ๆ จะมีระดับ HDL ในเลือดสูงและมีระดับ LDL ในเลือดต่ำ นอกจากนี้ยังลด
ระดับของ enzyme บางชนิดในตับ ทำให้ลดโอกาสที่จะเป็นโรคตับ Conney6 ได้ ทดลองให้หนูกินน้ำชาชนิดต่าง ๆ 4 ชนิด และฉาย
แสง UV หรือให้สารเคมีที่จะทำให้เกิดมะเร็ง พบว่าหนูที่กินน้ำชาจะมีจำนวนและขนาดของเนื้องอกลดลง ชาดำให้ผลดีมากที่สุด (93%)
เมื่อเปรียบเทียบกับหนูที่ได้รับน้ำ ชาเขียวให้ผลเกือบเท่าชาดำ (88%) ชาดำและชาเขียวที่เอาคาเฟอีนออกให้ผลดีเพียง 77 และ 72 %
ซึ่งอาจจะเป็นเพราะฟลาโวนอยด์สูญเสียไปในขบวนการที่เอาคาเฟอีนออกนอกจากนี้ ฟลาโวนอยด์ในถั่วเหลืองก็ยังมีผลต่อการลดระดับ
cholesterol ในเลือดAnderson7 พบว่าการบริโภคโปรตีนถั่วเหลือง 47 กรัมต่อวัน จะลดระดับ cholesterol, LDL และ triglycerides
ได้อย่างชัดเจน เนื่องจากปริมาณการบริโภคโปรตีนถั่วเหลืองอาจแตกต่างกัน Anderson ได้พิสูจน์ว่าถ้ารับประทานโปรตีนถั่วเหลือง 25
กรัมต่อวัน จะลดระดับ cholesterol ได้ประมาณ 8.9 % และ 50 กรัม จะลดได้ 17.4 % การรับประทานโปรตีนถั่วเหลืองทำได้ง่ายมาก
โดยการดื่มนมถั่วเหลือง 1 ถ้วย (ประมาณ 250 ซีซี) จะได้โปรตีนประมาณ 4-10 กรัม เต้าหู้ 120 กรัม จะได้โปรตีน 8-13 กรัม

จะเห็นได้ว่าฟลาโว-นอยด์ให้คุณค่าทางอาหารมากพอ ๆ กับไวตามินและแร่ธาตุ ดังนั้นจึงควรรับ
ประทานผัก ผลไม้ ชา และถั่วเหลืองให้มาก เพื่อป้องกันโรคมะเร็งและโรคหัวใจที่เกิดจาก Cholesterol
References


1. Lavy A. Annals of Nutrition and Metabolism 1994; 38 : 287-94.
2. Folts J. D. Circulation 1995; 91 : 1182-8.
3. Connor W. E. Circulation 1995; 88: 2771-9.
4. Hartog M. and Feskens E. The Lancet 1993; 342: 1007-11.
5. Imai K. and Nakachi K. British Medical Journal 1995; 310: 693-6.
6. Conney A. Cancer Research 1994; 54: 3428-35.
7. Anderson J. W. New England Journal of Medicine 1995; 333: 276-82.



http://www.gpo.or.th/rdi/html/prakong.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 24/05/2012 7:28 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,603. ธาตุสังกะสีจำเป็นสำหรับพืช


ปุ๋ย
ปุ๋ยถูกนำมาใช้ในการเกษตรและพืชสวนเพื่อให้ธาตุอาหารที่จำเป็นแก่พืชและดิน โดยธรรมชาติดินจะมีส่วนประกอบของธาตุอาหาร
พืชอยู่แล้ว แต่มีความผันแปรค่อนข้างมาก และพบเสมอว่ามีความเหมาะสมต่อความสมบูรณ์และการเจริญเติบโตของพืชที่ต่ำ การสูญ
เสียความอุดมสมบูรณ์ของดินมีผลมาจากการทำให้ดินเกิดการเสื่อมลงอย่างช้าๆของธาตุอาหารพืช โดยไม่มีการใส่ทดแทน ปัญหานี้
มักเกิดขึ้นมากโดยเฉพาะในประเทศที่กำลังพัฒนา ที่มีการใช้ปุ๋ยในพืชอาหารหลักในปริมาณที่ต่ำ ปุ๋ยสามารถใช้ทดแทนในดินที่ขาด
ธาตุอาหารและทำให้สภาพแวดล้อมในการปลูกพืชดีขึ้น ได้มีการแนะนำในฟาร์มมา

กว่าหนึ่งร้อยปีมาแล้วว่า ปุ๋ยจะช่วยให้ผลผลิตและคุณภาพของพืชเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยสนับสนุนการเพิ่มการผลิตทางการเกษตร
อย่างมากมาย ซึ่งนำไปสู่อาหารที่มีคุณภาพดีและมีปริมาณที่มากสำหรับมนุษย์และสัตว์


ธาตุอาหารพืช
พืชต้องการทั้งธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรอง (จุลธาตุ) ที่จำเป็นต่อความสมบูรณ์ การเจริญเติบโตและให้ผลผลิต ธาตุอาหารหลัก
เช่น ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโปแตสเซียม (K) ถูกใช้ในปริมาณที่มาก ส่วนจุลธาตุ (ธาตุอาหารรอง) แม้ว่าจะมีความต้อง
การในปริมาณที่น้อย แต่ก็มีความสำคัญต่อความสมบูรณ์และการเจริญเติบโตของพืชเช่นกัน และหนึ่งในจุลธาตุที่จำเป็นเหล่านี้ คือ ธาตุ
สังกะสี


การขาดธาตุสังกะสี
เมื่อพืชได้รับธาตุสังกะสีในปริมาณที่ไม่เพียงพอ การทำงานทางด้านชีวเคมีของพืชจะลดลง ก่อให้เกิดผลเสียต่อความแข็งแรงและการ
เจริญเติบโตของพืช มีผลทำให้ผลผลิตลดลง และมีคุณภาพไม่ดี ในกรณีที่มีการขาดธาตุสังกะสีอย่างรุนแรง พืชจะแสดงอาการเครียดให้
เห็น เช่น พื้นที่ใบจะเหลืองซีด ใบมีสีบรอนซ์ ใบมีขนาดเล็กแคระแกรน ซีดขาว และอยู่รวมเป็นกระจุก ส่วนอาการที่แฝงอยู่และไม่ปรากฏ
อาการให้เห็น เช่น ผลผลิตลดลงอย่างมาก ซึ่งไม่สามารถตรวจหาสาเหตุได้เป็นเวลาหลายปี ถ้าไม่มีการนำดินหรือพืชไปวิเคราะห์และจัด
การแก้ไข

การศึกษาขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) แสดงให้เห็นว่าสังกะสีเป็นจุลธาตุที่มีการขาดมากที่สุด มีการแพร่
ขยายอย่างกว้างขวางในดินชนิดต่างๆ ในหลายๆ พื้นที่ทางเกษตร โดยเฉพาะในแถบเอเชีย แอฟริกา และตะวันออกกลาง เช่นเดียว
กับในเม็กซิโก อเมริกา และออสเตรเลีย

พืชหลายๆชนิดรวมทั้งพืชอาหารหลัก (ข้าว ข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าวฟ่าง) ผลไม้ชนิดต่างๆ (ส้ม แอปเปิ้ล ฝรั่ง สับปะรด) ถั่ว กาแฟและชา
ผัก (แครอท มันฝรั่ง มะเขือเทศ) รวมทั้งพืชที่ไม่ใช่พืชอาหาร (ฝ้าย ปอป่าน) ได้รับผลกระทบจากการขาดธาตุสังกะสี


ธาตุอาหารและความสมบูรณ์แข็งแรงของพืช
พืชจัดเป็นแหล่งให้อาหารและธาตุอาหารที่สำคัญสำหรับมนุษย์และสัตว์ ประชาชนดำรงชีวิตอยู่ได้โดยการบริโภคพืชธัญพืช ได้แก่
ข้าวสาลี ข้าว และข้าวโพดเป็นอาหารหลัก โดยปกติพืชเหล่านี้จะมีธาตุสังกะสีในปริมาณน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อปลูกในดินที่
ขาดธาตุสังกะสี เกือบ 50% ของดินปลูกพืชธัญพืชทั่วโลกพบว่ามีการขาดธาตุสังกะสี และ 1 ใน 3 ของประชากรโลก คาดว่า
เสี่ยงต่อการขาดธาตุสังกะสี ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาทางสุขภาพรวมถึงการตอบสนองของภูมิคุ้มกันที่เลวลง ทำให้การเจริญเติบโตและ
พัฒนาการลดลง ในพื้นที่เหล่านี้การขาดธาตุสังกะสีจัดเป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับที่ห้า ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรค และเป็นอันดับที่ 11
ของปัจจัยเสี่ยง 20 อันดับแรกของโลก องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้อ้างว่าการตายของประชากรทั่วโลกในแต่ละปีจำนวน 800,000
คน มีสาเหตุมาจากการขาดธาตุสังกะสี และชี้ให้เห็นว่าการขาดธาตุสังกะสีมีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับการบริโภคอาหารที่มีปริมาณ
ธาตุสังกะสีไม่เพียงพอ การปรับปรุงสภาวะของธาตุอาหารสังกะสีของพืชที่ใช้เป็นอาหาร โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ดินมีการแพร่ขยายการ
ขาดธาตุสังกะสี ถูกจัดไว้เป็นอันดับแรกในการต่อสู้กับภาวการณ์ขาดสารอาหารหรือ “ความหิวโหยที่ซ่อนอยู่” ในมนุษย์และสัตว์


การแก้ไขการขาดธาตุสังกะสีในพืช
การแก้ปัญหาการขาดธาตุสังกะสีในพืชและดินที่รวดเร็วและได้รับผลตอบแทนที่ดีคือ การใช้ปุ๋ยที่มีส่วนผสมของธาตุสังกะสี วัสดุที่
ใช้ให้ปุ๋ยสังกะสีมี 2 ชนิดหลักๆ ได้แก่
- สารประกอบอนินทรีย์
- สารประกอบอินทรีย์

ในระหว่างสารประกอบอนินทรีย์ทั้งหมด ซิงก์ซัลเฟตจัดว่าเป็น วัสดุที่นำมาใช้ในการให้ธาตุสังกะสีมากที่สุด เนื่องจากมีคุณสมบัติละลาย
ได้สูง และใช้ประโยชน์ได้ทั้งในรูปผลึกและเม็ด คุณสมบัติในการละลายจัดเป็นกุญแจสำคัญต่อประสิทธิภาพของปุ๋ย สารประกอบ
อนินทรีย์ชนิดอื่นที่ใช้ในการให้ปุ๋ยสังกะสี ได้แก่ ซิงก์ไนเตรท ซัลเฟอรัสซิงก์ ซิงก์ซัลเฟตชนิดต่างๆ และซิงก์ออกไซด์

ส่วนสารประกอบสังกะสีอินทรีย์ที่ใช้ในการให้ธาตุสังกะสี ได้แก่ chelate สังเคราะห์ชนิดต่างๆ เช่น Zn-EDTA , Zn-HEDTA,
ซิงก์โพลีฟลาโวนอยด์ และซิงก์ลิกโนซัลโฟเนต

ธาตุสังกะสีอาจใช้ได้ทั้งในรูปปุ๋ยเดี่ยว หรือปุ๋ยผสมที่ประกอบด้วยหนึ่งชนิดหรือมากกว่าของธาตุอาหารหลักไนโตรเจน ฟอสฟอรัส
และโปแตสเซียม นอกจากนี้ ธาตุสังกะสียังจัดเป็นธาตุที่สำคัญสำหรับปุ๋ยชนิดพิเศษที่ประกอบด้วยสัดส่วนของธาตุอาหารทั้งหมดที่จำเป็น
เฉพาะสำหรับพืชแต่ละชนิด แต่ละสถานที่และแต่ละเวลา




วิธีการใส่ปุ๋ยสังกะสี
การใส่ปุ๋ยสังกะสีแก่พืชและดินมีหลายวิธี ดังนี้
1. โดยการฉีดพ่นทางใบ - เพื่อให้พืชดูดซึมผ่านทางใบ
2. การใส่ลงในดิน - เพื่อให้รากดูดธาตุไปใช้ประโยชน์
3. ให้ในช่วงการให้น้ำ - ธาตุอาหารจะให้ผ่านระบบการให้น้ำ
4. ให้กับเมล็ดพืช

การให้ธาตุสังกะสีในแต่ละวิธีจะมีประโยชน์แตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของพืช ลักษณะของดิน ชนิดและส่วนประกอบของปุ๋ย นอกจาก
นี้การผสมผสานวิธีการให้ปุ๋ยหลายรูปแบบเข้าด้วยกันมีความเป็นไปได้ และนำไปสู่การเพิ่มผลผลิต และคุณภาพที่ดีของพืช การใส่ปุ๋ย
สังกะสีจะช่วยสร้างสมดุลของธาตุอาหารที่จำเป็นชนิดอื่นๆอีกด้วย ดังนั้นการวางแผนการสร้างสมดุลของปุ๋ยระหว่างธาตุอาหารหลัก และ
ธาตุอาหารรอง (จุลธาตุ) ควรมีการจัดการให้เหมาะสมเช่นเดียวกับการวิเคราะห์ดินและพืช


การใช้ปุ๋ย
ปุ๋ยจะใส่ลงในดินและพืชเพื่อป้องกันการขาดธาตุ อย่างไรก็ตามการใช้ปุ๋ยจะเกิดประสิทธิภาพมากที่สุดในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์
ตามธรรมชาติสูง ในสภาวะที่มีการขาดแคลนทางโภชนาการอย่างต่อเนื่อง ปริมาณพืชลดลง แต่ประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น เสบียงอาหาร
ของโลกโดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาจำเป็นต้องผลิตให้เพิ่มมากขึ้นทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ เนื่องจากพื้นที่ที่เหมาะสมต่อ
การปลูกพืชมีจำกัด ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเพิ่มผลผลิตของพืชต่อพื้นที่ให้มากขึ้น ในพื้นที่ที่จุลธาตุมีจำกัด การนำปุ๋ยจุลธาตุมาใช้จะสามารถ
ช่วยในการเพิ่มผลผลิตพืชและเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินและคุณภาพของพืช


สรุป
สังกะสีจัดเป็นปุ๋ยที่สามารถเพิ่มคุณภาพและผลผลิตของพืชอย่างเห็นได้ชัด การเพิ่มธาตุสังกะสีให้แก่พืช มนุษย์และสัตว์ โดยเฉพาะใน
ประเทศกำลังพัฒนา จะให้ผลตอบแทนที่ดีขึ้น จะต้องมีการเพิ่มระดับความต้องการของธาตุสังกะสีด้วย




สิ่งตีพิมพ์นี้ได้ข้อมูลจาก :
-Fertillizers and their Efficient Use, Prof.Ismail Cakmak, Sabanci University, Istanbul, Turkey.
-Plant Nutrients for Food Security, International Fertillizer Industry Association (IFA).Zinc-The Vital Micronutrient for Healthy, High-Value Crops, Prof.Emeritus Brian Alloway, University of Reading, U.K.
-Zinc in Soils and Crop Nutrition, Prof.Emeritus Brian Alloway, University of Reading, U.K.
-The World Health Report 2002:Reducing Risks, Promoting Healthy Life, World Health Organization(WHO).
รูปภาพ: หน้าปก: แปลงทดลองข้าวสาลี: International Fertillizer Industry Association (IFA);
ด้านใน: เด็กกับแอปเปิ้ล: USDA-United States Department of Agriculture



http://www.zincinfothailand.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539265970&Ntype=10
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 24/05/2012 7:37 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,604. ข้อเท็จจริงของธาตุสังกะสีต่อข้าว


คำนำ
ระบบการผลิตข้าวมีความแตกต่างกันอย่างมากในด้านความถี่ของการปลูกพืชและผลผลิต ตั้งแต่การปลูกข้าวแบบนาปีครั้งเดียว
ในพื้นที่เขตอาศัยน้ำฝนบนที่ลุ่มและที่ดอน ซึ่งจะให้ผลผลิตต่ำ (1-3 ตัน/ เฮคตาร์) จนกระทั่งถึงปลูกข้าวแบบ 3 ครั้งต่อปีพื้นที่
เขตชลประทาน ซึ่งจะให้ผลผลิตเพิ่มสูงขึ้นถึง 15-18 ตัน/เฮคตาร์/ปี การปลูกข้าวในพื้นที่ลุ่มที่มีระบบชลประทานมีพื้นที่ปลูกที่
เก็บเกี่ยวได้ประมาณ 80 % ของพื้นที่ปลูกข้าวทั่วโลก ให้ผลผลิตรวม 92 % ของการผลิตข้าวทั้งหมด เพื่อเป็นการคงไว้ซึ่งจำนวน
ประชากรที่เพิ่มขึ้น การผลิตข้าวโดยรวมทั้งหมดจะต้องเพิ่มขึ้น 25% ในอีก 20 ปีข้างหน้า นอกจากนี้ข้าวยังเป็นแหล่งให้พลังงาน
มากถึง 80% ของพลังงานทั้งหมดที่บริโภคเข้าไปของประชาชนจำนวน 3.3 พันล้านคนในแถบเอเชีย

การปลูกข้าวให้ได้ผลผลิตสูงและมีสารอาหารมากต้องมีการปรับปรุงความสมดุลของธาตุอาหารพืชทั้งธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรอง
(จุลธาตุ) พื้นที่มากกว่า 2 ใน 3 ของพื้นที่ปลูกข้าวทั่วโลกจะเป็นดินนาน้ำตม ซึ่งเป็นดินชนิดที่มีปริมาณธาตุสังกะสีที่พืชนำไปใช้
ประโยชน์ได้ต่ำมากความสมดุลของธาตุอาหารพืช

การปลูกข้าวให้ได้ผลผลิตสูง ธาตุอาหารพืชต้องมีเพียงพอและมีความสมดุลกัน หากเป็นไปได้ควรมีการวิเคราะห์พืชและดิน เพื่อใช้
ประโยชน์สำหรับเป็นตัวชี้แนะในการกำหนดการวางแผนในการให้ปุ๋ยแก่พืช การขาดธาตุอาหารหรือการใช้ปุ๋ยที่ไม่มีความสมดุลจะมี
ผลทำให้ผลผลิตลดลงได้ เมื่อไม่นานมานี้ได้มีงานวิจัยที่แสดงผลการลดลงของผลผลิตข้าวอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อธาตุสังกะสีมีน้อย
กว่าปริมาณที่เพียงพอ (ตารางที่ 1)

ตารางที่ 1 : ผลผลิตข้าวที่มีการใส่และไม่ใส่ธาตุสังกะสีที่เพียงพอ

ผลการทดลองในเรือนกระจกในพื้นที่ 140 แห่งโดยใช้ดินจาก 17 จังหวัดในประเทศจีน พบว่า 49%ของดินเหล่านี้ ขาดธาตุสังกะสี
เมื่อทำการปลูกข้าวหลายๆ พันธุ์ พบว่าผลผลิตเฉลี่ยที่ได้มีเพียง 75% ของผลผลิตสูงสุดที่ควรได้ และการทดลองนี้ยังแสดงให้เห็นว่าผล
ผลิตจะลดลงอย่างรุนแรงเมื่อดินมีการขาดธาตุสังกะสี


การเกิดการขาดธาตุสังกะสี
- การขาดธาตุสังกะสีจัดว่าเป็นจุลธาตุที่ก่อให้เกิดความผิดปกติอย่างกว้างขวางมากที่สุดในข้าว การขาดธาตุสังกะสีจะเพิ่มมากขึ้น
เมื่อมีการแนะนำให้ใช้ พันธุ์ข้าวพันธุ์ใหม่ และการปลูกข้าวหลายครั้งต่อปี ทำให้เพิ่มการเคลื่อนย้ายธาตุสังกะสีออกไปจากดินมากขึ้น
ดินที่มีแนวโน้มที่จะขาดธาตุสังกะสีได้แก่ดินดังต่อไปนี้

- ดินที่เป็นกลาง และดินด่างคาร์บอเนตที่ประกอบด้วยธาตุไบคาร์บอเนตสูงในดินเหล่านี้ (ซึ่งพบแพร่กระจายอยู่ทั่วไปในอินเดียและ
บังกลาเทศ) จะพบการขาดธาตุสังกะสีเสมอ พร้อมๆ กับการขาดธาตุซัลเฟอร์

- ดินที่มีการปลูกพืชอยู่ตลอดเวลา และในอดีตที่ผ่านมามีการใส่ปุ๋ย N P และ K (โดยไม่มีธาตุสังกะสีผสมอยู่ด้วย) ในปริมาณที่มาก

- ดินนาข้าวที่มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน (เช่น การปลูกข้าว 3 ครั้งในหนึ่งปี หรือการปลูกข้าวในพื้นดินที่ปล่อยทิ้งไว้ และมีการระบายน้ำ
ไม่ดีพอในช่วงที่ไม่มีการเพาะปลูก)

- ดินที่มีธาตุฟอสฟอรัสที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้สูง



การแก้ปัญหาการขาดธาตุสังกะสี
ในพื้นที่ที่ดินที่วิเคราะห์ได้รับการยืนยันว่ามีการขาดธาตุสังกะสี หรือในบริเวณที่คาดว่ามีการขาดธาตุสังกะสี ควรมีการใส่ธาตุสังกะสี
ในรูปของซิงก์ซัลเฟต ซิงก์ออกไซด์ หรือ ซิงก์คลอไรด์ ในดินประมาณ 5-10 กิโลกรัม/เฮคตาร์ ก่อนทำการหว่านเมล็ดข้าว
หรือก่อนการย้ายกล้าปลูก ธาตุสังกะสีสามารถผสมรวมเข้าไปกับปุ๋ยเม็ด NPK หรือผสมเข้าไปในระหว่างการคลุกเคล้า แม้ว่าจะมี
ข้อมูลว่าธาตุสังกะสีที่ใส่ลงในดินจะคงอยู่ได้เป็นเวลาหลายปี แต่ภายใต้สภาวะที่ดินมีการขาดธาตุสังกะสีอย่างรุนแรง หรือภายใต้
สภาพการจัดการที่มีการปลูกพืชที่ให้ผลผลิตสูงอยู่ตลอดเวลา ควรมีการใส่ปุ๋ยสังกะสีทุกๆ ปี


ความสมดุลระหว่างธาตุสังกะสีในพืชและโภชนาการของมนุษย์
การขาดธาตุสังกะสีในร่างกายมนุษย์ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ง่ายต่อการเกิดโรค โดยเฉพาะการติดเชื้อในระบบหายใจและโรค
ท้องร่วง ซึ่งเป็นสาเหตุการตายมากที่สุด 2 อันดับแรกของเด็กอายุ 1 เดือน ถึง 5 ขวบ ในแถบเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ในการศึกษาวิจัยที่ดำเนินการในหมู่บ้าน 4 แห่งในประเทศบังกลาเทศ โดยการวิเคราะห์จากตัวอย่างของเมล็ดข้าวและเส้นผมของคน
พบว่าระดับของธาตุสังกะสีในเส้นผมมีความสัมพันธ์ในทางบวก กับระดับของธาตุสังกะสีในเมล็ดข้าว ดังนั้นการปรับปรุงให้มีส่วนประกอบ
ของธาตุอาหารสังกะสีในข้าว จะมีผลให้เกิดประโยชน์ทางโภชนาการต่อมวลมนุษย์ เมื่อผนวกเข้ากับการปรับปรุงพันธุ์พืช การจัดการดินให้
มีความอุดมสมบูรณ์ที่เหมาะสม จะช่วยสนับสนุนเป้าหมายในการเพิ่มส่วนประกอบธาตุสังกะสีในเมล็ดข้าวสำหรับปรับปรุงโภชนาการที่ดี
ของมนุษย์ทุกๆ ปี



http://www.zincinfothailand.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539265967&Ntype=10
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 27/05/2012 6:25 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,605. เหตุผล 5 ข้อ ทำไมสินค้าออร์แกนิกราคาสูง

ไร่ปลูกรัก


1. สินค้าออร์แกนิก เมื่อเริ่มทำการผลิตต้องเว้นระยะปรับเปลี่ยน 3 ปี จึงจะได้รับการรับรองมาตรฐานสากลได้ (สหภาพยุโรป
อเมริกา ) ทำให้เกษตรกรที่ต้องการปรับเปลี่ยนจากเกษตรเคมี มาทำออร์แกนิกมีความยากลำบากในด้านการตลาดในช่วงสาม
ปีแรก หากผู้บริโภคไม่รู้ หรือไม่สนับสนุน

2. เมื่อเริ่มการผลิต ปีเเรกๆ ผลผลิตจะลดลงกว่าเกษตรเคมีทั่วไป เพราะต้องปรับสภาพเเวดล้อม นิเวศ และสร้างความอุดมสม
บูรณ์ในดินก่อน

3. ขั้นตอนการตรวจสอบรับรองเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าสินค้าเป็นออร์แกนิกจริงๆ ทำให้ต้นทุนสูงขี้นเฉพาะในส่วนนี้ (รวมค่าการ
จัดการในการผลิตเพื่อให้ได้ตามมาตรฐาน)เพิ่มขึ้นไม่ตำ่กว่า 10 เปอร์เซนต์ เมื่อเทียบกับฟาร์มเคมีทั่วๆไปที่ไม่ต้องทำระบบการ
ตรวจสอบย้อนกลับ

4. พืชผัก ผลไม้ ออร์แกนิก เน้นผลิตตามฤดูกาล ไม่เหมือนเกษตรเคมีที่เน้นทำนอกฤดู ซึ่งจะทำให้ได้ผลผลิตสูงกว่ากันเกือบ
เท่าตัว โดยเฉพาะผัก ผลไม้หลายๆชนิด ที่ทำนอกฤดูด้วยการเร่งด้วยฮอร์โมนสังเคราะห์ อันส่งผลให้รายได้เกษตรออร์แกนิก
น้อยกว่าเกือบเท่าตัวหากขายผัก ผลไม้ในราคาเท่ากันกับผัก ผลไม้เคมี

5. แปลงผลิตออร์แกนิก ต้องเว้นระยะเเนวกันชน พืชแนวกันชนกับเเปลงเพื่อนบ้านไม่สามารถเอามาขายติดตรารับรองมาตรฐานได้
เพราะถือว่ามีความเสี่ยงในการรับสารปนเปื้อนจากแปลงข้างเคียง อันนี้ทำให้เสียโอกาสในการขายในราคาที่เป็นธรรมกับเกษตร
ออร์แกนิก



กานต์ ฤทธิ์ขจร
www.thaiorganicfood.com


http://www.facebook.com/note.php?note_id=213942135309373
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 27/05/2012 6:36 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,606. อย่างไรที่เรียกว่าอาหารออร์แกนิค

โดย : วลัญช์ สุภากร





ผู้บริโภคให้ความสนใจกับการเลือกรับประทาน อาหารออร์แกนิค มากขึ้น ผู้ประกอบธุรกิจให้บริการอาหารก็ตอบสนองความ
ต้องการนี้เช่นกัน

องค์กรพิทักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ประกาศรายชื่อสารเคมีที่มีอยู่ในยาฆ่าแมลงและสารกำจัดศัตรูพืช ว่ามี
สารก่อให้เกิดมะเร็ง หากผู้บริโภครับประทานผัก-ผลไม้ที่ปนเปื้อนสารก่อมะเร็งเหล่านี้ ก็เท่ากับมีความเสี่ยงที่จะเจ็บป่วยด้วย
โรคมะเร็ง


ดังนั้น ในระยะหลังมานี้ ผู้บริโภคจึงให้ความสนใจกับการเลือกรับประทาน อาหารออร์แกนิค มากขึ้น ผู้ประกอบธุรกิจให้บริ
การอาหารก็ตอบสนองความต้องการนี้เช่นกัน มีการเลือกสั่งวัตถุดิบออร์แกนิคมาบริการลูกค้าของตัวเองมากขึ้น เริ่มด้วยร้าน
อาหารเฉพาะทางที่ระบุว่าทุกเมนูปรุงด้วยวัตถุดิบออร์แกนิค หรืออย่างน้อยก็บรรจุเมนูออร์แกนิคไว้ในรายการอาหารให้ลูก
ค้าเลือก เริ่มมีร้านจำหน่ายวัตถุดิบออร์แกนิค จนกระทั่งเข้าไปวางจำหน่ายในซูเปอร์มาร์เก็ต

ล่าสุด ธุรกิจโรงแรมขนาดใหญ่ของไทย โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพฯ เปิดรับแนวคิดอาหารออร์แกนิค
เต็มตัวด้วยการจัดทำ โครงการฟาร์มออร์แกนิค ของโรงแรม เพื่อนำพืชผักผลไม้ออร์แกนิคจากโครงการนี้มาปรุงเป็นอาหาร
หลายรายการ เช่น มะเขือม่วงอบชีส (Eggplant Parmigiana) ราวิโอลีกับซิลเวอร์บีทออร์แกนิค (Ravioli with Organic
Silver Beet, Ricotta, Walnut and Sage Sauce) ชิคคะรี่พันแฮมรมควัน (Gratinated chicory leaves and Smoked
Ham) ข้าวโพดทอด บร็อคโคลีหมูกรอบ ส้มตำ ฯลฯ บริการในแต่ละห้องอาหารของโรงแรมฯ และประกาศผลสำเร็จของโครงการ
นี้แล้ว

มร.ริชาร์ด กรีฟส์ ผู้จัดการทั่วไป โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณฯ กล่าวว่า ทีมเชฟของโรงแรมฯ ได้ริเริ่ม โครงการฟาร์มออร์
แกนิค ในปี พ.ศ.2548 ซึ่งโครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย โรงแรมสีเขียว ที่แกรนด์ ไฮแอท เอราวัณฯ ดำเนินการมาตั้งแต่
ปี พ.ศ.2536 ด้วยจุดประสงค์ที่ต้องการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สนับสนุนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในชีวิตประจำวัน
อย่างรู้คุณค่า เพื่อสุขภาพของทุกคนในสังคมรอบตัว

ก่อนหน้านี้ โรงแรมฯ นำเข้าวัตถุดิบหลายอย่างจากต่างประเทศ แต่ผักและผลไม้ที่นำเข้ามามักอายุสั้น แม้คุณภาพยังอยู่ในเกณฑ์ดี
แต่ก็ดีไม่พออย่างที่เชฟต้องการ ทีมเชฟจึงพยายามค้นหาวิธีอยู่นานแต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ จนกระทั่งพบคุณ ปริญญา พรศิริชัยวัฒนา
เจ้าของ 'รังสิต ฟาร์ม' ฟาร์มออร์แกนิคสูงจากระดับน้ำทะเล 500 เมตร ในอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา โดยมี มะเขือเทศ
อิตาลี เป็นผักสวนครัวชนิดแรกที่เป็นแรงบันดาลใจ

“เชฟเฟรเดอริค ฟารีนา พยายามหามะเขือเทศสดมาปรุงในอาหารอิตาเลียนของเขา แต่ก็หาคุณภาพอย่างที่ต้องการไม่ได้ จึง
นำเข้าเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศจากอิตาลีมาให้คุณปริญญาปลูกที่วังน้ำเขียว” มร.ริชาร์ด เล่า

คุณปริญญากล่าวว่า โครงการฟาร์มออร์แกนิคที่ทำร่วมกับโรงแรมแกรนด์ ไฮแอทฯ โครงการนี้ท้าทายมากสำหรับเขาและเมือง
ไทย เนื่องจากเมล็ดพืชที่โรงแรมฯ นำมา เป็นพืชอากาศเย็นจากยุโรป จะทำอย่างไรให้ปลูกในเมืองไทยได้

“ในสามปีแรก หลายพืชพันธุ์ไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่เราคิด” คุณปริญญากล่าวและเล่าถึงวิธีการทำงานในระยะสามปีแรกว่า
นอกจากศึกษาวิธีการปลูกและธรรมชาติของพืชผักแต่ละชนิดที่ได้รับเมล็ดพันธุ์มา เขาใช้วิธีทดลองปลูกพืชแต่ละชนิดตลอดทั้งปี
ค่อยๆ สังเกตปัญหาและการเจริญเติบโต เพื่อดูว่าพืชผักเมืองหนาวแต่ละชนิดควรปลูกในช่วงเวลาใดของปีที่วังน้ำเขียวของไทย
จึงจะเหมาะสมที่สุด ให้ผลผลิตดีและงามที่สุด

จากการทดลองปลูกพืชผัก 60 ชนิด ซึ่งเป็นเมล็ดพันธุ์ออร์แกนิคจากหลายประเทศในยุโรปและออสเตรเลียตาม โครงการฟาร์ม
ออร์แกนิค ของโรงแรมแกรนด์ ไฮแอทฯ โดยใช้กระบวนการเพาะปลูกแบบออร์แกนิค คือไม่ใช้สารเคมี ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ไม่ใช้ยา
ฆ่าแมลง ขณะนี้คุณปริญญาประสบความสำเร็จเก็บเกี่ยวผลผลิตที่มีคุณภาพตามมาตรฐานที่โรงแรมฯ กำหนดได้ 17 ชนิด เช่น
มะเขือเทศ ข้าวโพดหวานเคอเนล แบล็คแค็บเบจ โอลิเวอร์ บรัสเซียนใบแดง บัทเทอร์เฮด ผักกาดโรเมน เกรทเลคไอซ์เบิร์ก
เฟนเนล โหระพาอิตาเลียน พาสลีย์อิตาเลียน โรสแมรี่ ซิลเวอร์บีทกรีน ซิโคเรียรอสซา ฯลฯ แต่ละชนิดให้ผลผลิตต่อเนื่องและสม่ำ
เสมอตามฤดูกาล และจะมีเมล็ดพันธุ์ใหม่ๆ ต่อเนื่องต่อไป

ด้วยวิธีการปลูกแบบธรรมชาติ พืชจะได้ธาตุอาหารครบจากกระบวนการย่อยสลายอย่างช้าๆ ของจุลินทรีย์ในดิน ไม่ใช่การ
เร่งด้วยปุ๋ยเคมี 2-3 ชนิดที่เร่งให้ต้นและใบสวยงามเท่านั้น ลองเด็ดผักในกลุ่มสมุนไพรที่ปลูกแบบออร์แกนิคมาดม กลิ่นจะ
หอมมาก

“ในกระบวนการของธรรมชาติ พืชจะได้ความสมบูรณ์ของธาตุครบ พืชจะมีกลิ่นหอม รสชาติดี ถ้าเราสังเกตสมัยโบราณ อาหาร
ที่ปู่ย่าตายายทำ รสชาติดีมาก เนื่องจากวัตถุดิบสมัยก่อนได้จากธรรมชาติ เป็นหัวใจหลักในการปรุงอาหาร การปรุงอาหารไม่ได้เริ่ม
ที่ห้องครัว แต่เริ่มที่ดิน เพื่อให้วัตถุดิบที่พร้อมปรุงอาหารรสชาติที่ดีในครัว” คุณปริญญากล่าว

ในความเห็นของคุณปริญญา การปลูกพืชออร์แกนิค หรือการทำ เกษตรอินทรีย์ เป็นองค์ประกอบซึ่งเกิดจากแนวคิด Healthy
Respect

“หมายถึงความเคารพต่อสิ่งที่เรากำลังทำ คืองานทั้งกระบวนการที่จะไปถึงผู้บริโภค สิ่งที่ออกมาจะเป็นอาหารที่ดีที่สุด ดีต่อสุขภาพ
ผมเชื่อว่าดีที่สุดในโลก เพราะจากที่เราทำ เราพบว่า จริงๆ การปลูกพืช ไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยสารเคมีสังเคราะห์เท่านั้น ที่ฟาร์มเรา
ไม่เคยสเปรย์อะไรลงไปที่ใบพืชเลย แม้แต่สารสกัดจากธรรมชาติก็ไม่จำเป็น ในกลุ่มผักสลัดเป็นผักที่ผู้บริโภคมักไปบริโภคด้วย
วิธีรับประทานสด ไม่ผ่านกระบวนการความร้อนเลย เพราะฉะนั้นแม้กระทั่ง ปุ๋ยที่เราจะนำไปใช้ในดินก็จะต้องผ่านกระบวนการความ
ร้อนเพื่อทำลายเชื้อ และบอกได้ว่าเป็นปุ๋ยที่สะอาดและบริสุทธิ์ ปุ๋ยที่เราใช้เราผลิตเอง”

พืชผักที่ตัดมาจากแปลงในการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์อย่างแท้จริงในแนวทางดังกล่าว สามารถ บริโภคสด แม้ในแปลงด้วยซ้ำ

“ยืนยันได้อย่างนั้น เพราะเรื่องนี้ผมทำมาด้วยตัวเอง และพยายามถ่ายทอดความรู้นี้ไปในกระบวนการศึกษาของสถาบันการศึกษา
บรรยายในเวทีต่างๆ ก็พยายามบอกว่า ให้เกษตรกรระมัดระวังในการทำงานด้านเกษตร เราเองไม่เพียงแต่ต้องการผลิตพืชไม่
ใช้สารเคมีเท่านั้น ในองค์ความรู้และปรัชญาที่เรามีกับผืนดิน โดยเฉพาะสุดท้ายผลผลิตที่ไปถึงมือผู้บริโภค ต้องมีความปลอดภัย
ในการบริโภค”

ที่สำคัญ “ในมาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ ถ้าจะปลูกพืชและขอการรับรองมาตรฐาน จะต้อง ไม่เคยใช้สารเคมีในกระบวน
การปลูกและในพื้นที่ไม่ต่ำกว่าสามปี จริงๆ เราทำมาสิบกว่าปีแล้ว เรื่องราวเหล่านี้คนที่ทำเกษตรอินทรีย์ต้องเรียนรู้” คุณปริญญากล่าว

นอกเหนือจากการไม่ใช้สารเคมีในกระบวนการเพาะปลูก มร.ริชาร์ดกล่าวด้วยว่า ผลผลิตที่ได้จากฟาร์มผักออร์แกนิคของโรงแรมฯ
ทดแทนการนำเข้าผักและสมุนไพรต่างประเทศที่โรงแรมฯ ต้องใช้ ในปริมาณ 250 กิโลกรัม/สัปดาห์ สร้างรายได้สร้างงานให้ชุมชน
เกษตรกรไทย และเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยลดประมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจาก
กระบวนการผลิตและการขนส่ง (Carbon Footprint) ของสินค้าและวัตถุดิบที่นำเข้า

“การนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศมาพร้อมบรรจุภัณฑ์มากมายที่จะกลายเป็นขยะ แต่หลังจากโรงแรมฯ ใช้ผลผลิตจากโครงการ
ฟาร์มผักออร์แกนิค ทำให้ลดการใช้กล่องกระดาษได้ 3,600 กล่อง/ปี ลดการใช้โฟมกันกระแทกได้ 180 กิโลกรัม/ปี ลดการ
ใช้ถุงพลาสติก 720 กิโลกรัม/ปี” มร.ริชาร์ด แสดงตัวเลข

การบริโภคพืชผักออร์แกนิคเป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพ เชฟมาร์ค ฮาเกนแบค พ่อครัวใหญ่ โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กล่าวว่า
เวลาที่เรารับประทานอาหารที่ไม่สารเคมีและสารพิษใดๆ เราไม่ต้องกังวลว่าจะบริโภคของที่ปนเปื้อนสารพิษหรือสารเคมีเข้าสู่
ร่างกาย ถ้ารับประทานพืชผักที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการเพาะปลูกแบบออร์แกนิค ก็อาจมีความเสี่ยงที่จะได้รับสารปนเปื้อน สารเหล่า
นี้ไปสะสมอยู่ที่ตับ เมื่อสะสมในปริมาณมากจะมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเสียสมดุล ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยได้ง่าย ทีม
เชฟของโรงแรมฯ ยินดีและภูมิใจที่ได้มีโอกาสปรุงอาหารด้วยวัตถุดิบคุณภาพสำหรับแขกที่เข้าพักและมาใช้บริการห้องอาหาร

ผักผลไม้ออร์แกนิคมีเอนไซม์ วิตามิน สารอาหาร สูงกว่าผักที่ผ่านกระบวนการปลูกโดยใช้สารเคมีถึง 50% หากต้องการเพิ่มเมนูผัก
และผลไม้แต่ละมื้อเพื่อช่วยรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ผู้บริโภคสามารถเปลี่ยนมารับประทานผักผลไม้ออร์แกนิค เพื่อให้
แต่ละมื้ออาหารปลอดสารพิษ

อย่างไรก็ตาม การบริโภคออร์แกนิค ไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันว่า จะเป็นการช่วยป้องกันโรคภัยไข้เจ็บและโรคมะเร็ง เพราะโรคภัย
เหล่านี้เกิดได้จากหลากหลายปัจจัย

หากแต่การบริโภคอาหารออร์แกนิคสามารถช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง



http://www.bangkokbiznews.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 5:58 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 29/05/2012 10:27 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,607. สเปรย์น้ำมันหอมระเหยกำจัดไรฝุ่น จากงานวิจัยสู่ธุรกิจ


ขอบคุณข้อมูลภายใต้ความร่วมมือของงานสื่อสารสังคม (สกว.) กับวิชาการดอทคอม

ที่มา : ประชาคมวิจัย







ไรฝุ่น เป็นสัตว์ชนิดหนึ่งเช่นเดียวกับแมลงและแมง แต่มีลักษณะเด่นคือ มีขนาดเล็กมากจนไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า เนื่องจาก
มีขนาดเพียง 0.3 มิลลิเมตร ชอบอาศัยอยู่ในที่มีอุณหภูมิ 25-30 องศาเซลเซียสและอยู่ในที่มีความชื้นสูงร้อยละ 60-70 ไม่ชอบ
แสงสว่าง ดังนั้นในบ้านเรือนจึงพบไรฝุ่นได้ตามในที่นอน หมอน ผ้าห่ม พรม โซฟา ผ้าม่าน หรือตุ๊กตาที่ใช้วัสดุภายในเป็นเส้นใย
และถึงแม้ไรฝุ่นจะเป็นเพียงสัตว์ที่มีขนาดเล็กแต่ทว่าก็สามารถสร้างอันตรายได้ในผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ที่มีอาการหอบหืด ให้เป็นแบบ
ชนิดเฉียบพลันได้ทีเดียว โดยพบว่าคนไทยป่วยเป็นโรคภูมิแพ้เนื่องจากไรฝุ่นสูงถึง 10 ล้านคน ซึ่งสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษา
ราว 36,000 บาทต่อคนต่อปี





โครงการศึกษาวิจัยพื้นฐานเกี่ยวกับไรฝุ่น ภายใต้โครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพ
ในประเทศไทย (BRT) โดย ดร. อำมร อินทร์สังข์ และ คุณจรงค์ศักดิ์ พุมนวน คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโน
โลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จึงได้ศึกษาวิจัยข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับไรฝุ่นมาตั้งแต่ด้านอนุกรมวิธาน การแพร่กระจาย
และชีววิทยา จนกระทั่งสามารถค้นพบสารสกัดจากสมุนไพรที่มีฤทธิ์กำจัดไรฝุ่นชนิดเดอร์มาโทฟาโกอิดีส เทอโรนีสซินัส (Derma-
tophagoides pteronyssinus) ได้สำเร็จ โดยนำพืช 8 ชนิดมาสกัดน้ำมันหอมระเหย ได้แก่ กานพลู อบเชย ขมิ้นชัน ไพร
ตะไคร้หอม พริกไทยดำ โหระพา และมะพร้าว






ผลจากการศึกษาวิจัยพบว่า น้ำมันหอมระเหยจากกานพลูและอบเชยที่ความเข้มข้น 1.0% มีประสิทธิภาพในการกำจัดไรฝุ่นสูงสุด
คือ 100% รองลงมาคือ น้ำมันหอมระเหยจากขมิ้นชัน ไพล และตะไคร้หอม ที่ความเข้มข้น 1.5 % โดยกำจัดไรฝุ่นได้ 93.3,
90.0 และ 76.7 ตามลำดับ ดังนั้นทางนักวิจัยจึงได้นำกานพลูและอบเชยมาเป็นสารประกอบหลัก และใช้ไพลกับตะไคร้หอมเป็น
สารประกอบรองผสมเป็นสูตรน้ำมันหอมระเหย โดยสูตรน้ำมันหอมระเหยจากพืชสมุนไพรกำจัดไรฝุ่น ที่เกิดจากการคิดค้นวิจัย
ในครั้งนี้ ได้มีการทดลองบรรจุเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อทดลองใช้ ซึ่งนอกจากฆ่าไรฝุ่นได้ 100% แล้ว ยังมีข้อดีคือ มีกลิ่นหอมที่ได้
มีการทดลองแต่งกลิ่นด้วยน้ำมันหอมระเหยจากลาเวนเดอร์ ยูคาลิปตัส กาแฟ และมะลิ ซึ่งจากการทดสอบประสิทธิภาพก็ยังสามารถ
กำจัดไรฝุ่นได้ 100% เช่นเดิม และไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ เป็นทางเลือกใหม่ในการกำจัดไรฝุ่น





ทั้งนี้ทางโครงการฯ ได้มีการยื่นขอจดสิทธิบัตรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และนำไปสู่ความสนใจขออนุญาตใช้สิทธิเพื่อรับการ
ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตในเชิงการค้าและอุตสาหกรรมจาก บริษัท คนดี กรุ๊ป จำกัด ผู้ประกอบการที่นอนเพื่อสุขภาพร่วม
กับ บริษัท ไทยเฮิร์บ เทค จำกัด ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์สมุนไพร โดยได้มีการลงนาม สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ์สเปรย์
น้ำมันหอมระเหยจากพืชกำจัดไรฝุ่น ไปแล้วเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2552 ระหว่าง โครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบาย
การจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย (BRT) ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้การสนับสนุนของศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทค
โนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โดยบริษัทผู้ผลิตคาดว่าจะผลิตและ
จำหน่ายสินค้าในตลาดได้ประมาณต้นปี 2553 หลังจากที่ได้รับการขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
(อย.) โดยราคาจำหน่ายจะอยู่ประมาณ 150-180 บาท ในปริมาณ 250



http://www.google.co.th

imgurl=http://www.vcharkarn.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 6:02 am, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 31/05/2012 2:34 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,608. 'โรครากขาว'มหันตภัยเงียบยางพารา





'โรครากขาว' มหันตภัยเงียบยางพารา แนะใช้กำมะถันราดโคนแทนปูนขาว

โดย ... สุรัตน์ อัตตะ


มหันตภัยเงียบของยางพารา ไม่เพียงแต่การกรีดยางต้นเล็กที่ไม่ได้ขนาดเท่านั้น แต่การเกิดโรคต่างๆ ยังเป็นภัยมืดที่คุกคามยางพารา
จนสร้างความเสียหายนับหลายหมื่นล้านบาทในแต่ละปี เพียงแค่ 3 โรคโดยเฉพาะโรครากขาว โรคใบร่วงและโรคเส้นดำนั้น เสียหาย
ร้อยละ 3 หรือคิดเป็นมูลค่า ปีละ 9,240 ล้านบาทต่อปี


"โรครากขาวในโคนต้นยางพารา เกิดจากเชื้อราที่มีชื่อว่า Rigidoporus lignosus และในบริเวณนั้นสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น
ความอุดมสมบูรณ์ของธาตุมีน้อย หรือมากเกินไป หรือสารเคมี เป็นต้น ลักษณะอาการของ โรคจะสังเกตเห็นเส้นใยของเชื้อราจะ
เป็นสีขาว แตกกิ่งก้านแผ่ปกคลุมทั่วบริเวณราก ถ้าเป็นเส้นใยที่อายุมากจะกลมนูนและกลายเป็นสีเหลืองซีด หรือแดงซีด


"ในระยะที่เป็นโรคอย่างรุนแรงจะเป็นสีครีม ถ้าอยู่ในที่ชื้นแฉะจะเน่า และดอกเห็ดมีลักษณะเป็นแผ่นครึ่งวงกลม แผ่นเดียวหรือซ้อนกัน
หลายแผ่นเป็นชั้นๆ เกาะติดกับโคนต้นหรือรากเหมือนหิ้ง ผิวด้านบนของดอกเห็ดเป็นสีเหลืองส้ม เป็นวงสลับสีอ่อนแก่ ขอบดอกเป็นสีขาว
ด้านล่างเป็นสีส้มแดงและเป็นรูเล็กๆ"


อารมณ์ โรจน์สุจิตร นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ ศูนย์วิจัยยางสุราษฎร์ธานี สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตรกล่าวถึงมหันต
ภัยจากโรครากขาวในต้นยางพาราในระหว่างการออกบูธจัดนิทรรศการงานมหกรรมยางทั่วไทย “เร่งบริบทงานวิจัย...ขจัดภัยมือยาง
พารา” ซึ่งสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26-28 เมษายน 2555 ที่ผ่านมา ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตร
กระบี่ อ.เมือง จ.กระบี่


เธอยอมรับว่าการรักษาโรคชนิดนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เป็นเรื่องค่อนข้างยุ่งยากและเสียค่าใช้จ่ายสูง เพราะถ้าหากมีต้นตายหรือเป็น
โรคอย่างรุนแรง จะมีอาการใบเหลืองทั้งต้น สิ่งที่ควรดำเนินการอย่างเร่งด่วนก็ควรขุดรากถอนโคนและเผาทำลายทิ้งเพื่อป้องกัน
และรักษาต้นข้างเคียงไม่ให้เป็นโรค ในขณะเดียวกันการป้องกันและรักษาโรครากขาวให้ได้ผลนั้นจะต้องดำเนินการควบคู่กันไป


"สิ่งแรกที่เกษตรกรควรทำคือการเตรียมพื้นที่ปลูกยางให้ปลอดโรค โดยขุดทำลายตอยางเก่าทิ้ง เพื่อกำจัดแหล่งโรค จากนั้นควรปลูก
พืชคลุมดินเพื่อปรับสภาพดินให้เหมาะกับการเจริญเติบโตของพืชและจุลินทรีย์บางชนิดที่เป็นพิษกับเชื้อราที่สาเหตุของโรค ถ้าพื้นที่
ใดมีการระบาดของโรครากอย่างรุนแรง ก็ควรปลูกพืชอื่นอย่างน้อย 1-2 ปี เพื่อลดการระบาดของโรคและพืชที่ปลูกไม่ควรเป็นพืช
อาศัยของโรคราก"


อารมณ์อธิบายต่อว่า วิธีการแก้ปัญหาโดยการใช้สารเคมี ด้วยการใช้กำมะถันผง อัตรา 150 กรัม/ต้น ใส่ในหลุมก่อนปลูกยาง เพื่อ
ลดพีเอช (pH) ของดิน ทำให้ไม่เหมาะต่อการเจริญของเชื้อรา ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรค ถ้าในพื้นที่ที่เป็นโรคอย่างรุนแรง ควร
ใช้อัตรา 250 กรัม/หลุมปลูก นอกจากนี้ยังต้องป้องกันรักษาต้นข้างเคียงที่ยังไม่เป็นโรค หรือเป็นโรคเพียงเล็กน้อย ด้วยสารเคมีไต
รเดอมอร์ฟ หรือไซโปรโคนาโซล อัตรา 10-20 มิลลิลิตร/น้ำ 2 ลิตร/ต้น หรือใช้เฟนพิโคลนิล อัตรา 4-8 กรัม/น้ำ 3 ลิตร/ต้น 6
เดือน/ครั้ง โดยเทราดรอบโคนต้นที่เซาะเป็นร่องเล็กๆ กว้าง 10-15 ซม. ปล่อยให้สารเคมีค่อยๆ ซึมไปตามราก


"การกำจัดโรครากขาวในแปลง ที่ผ่านมาเกษตรกรมักเข้าใจผิดๆ จากความเชื่อเดิมที่ว่าใช้ปูนขาวสามารถช่วยลดความรุนแรงของ
โรคได้ ที่จริงไม่ใช่ ปูนขาวไม่ได้สามารถช่วยได้ เพราะเชื้อราตัวนี้จะชอบสภาพดินอยู่ในระดับปานกลางคือ pH6-7 แต่โดยปกติ
ดินจะมีความเป็นกรดอ่อนๆ คือ 4-5 ถ้าเราใส่ปูนขาวลงไปจะช่วยให้เชื้อราโรคราขาวเจริญเติบโตเร็วขึ้น เราจึงไม่แนะนำให้ใช้
แต่ให้ใช้กำมะถันราดลงบริเวณโคนต้น เพราะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อได้ แต่ควรระวังกำมะถันก็จะเป็นอันตรายหากใส่
ในยางต้นเล็ก" นักวิชาการคนเดิมกล่าวย้ำ


โรครากขาว จึงนับเป็นอีกหนึ่งมหันตภัยเงียบที่เกิดขึ้นกับยางพาราหากเกษตรกรชาวสวนยางไม่ป้องกันและดูแลรักษาอย่างถูกวิธี



http://www.komchadluek.net






คลิก....
http://www.reothai.co.th/Para10.html
โรคและศัตรูยางพารา (องค์การสวนยาง) ...



.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 6:03 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 31/05/2012 2:52 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,609. วิธีการปลูกข้าว ไม่ให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมาทำลายข้าว


เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เป็นศัตรูพืชที่สำคัญของคนทำนาปลูกข้าว ชาวนาทุกคนรู้จักแมลงชนิดนี้ดี เพราะบางทีแมลงชนิดนี้สร้าง
ความเสียหายได้ในชั่วข้ามคืน ถึงกับหมดเนื้อหมดตัว เรามาทำความรู้จัก เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล กันก่อน

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล มีลักษณะเป็นแมลงขนาดเล็ก 2-3 มิลลิเมตรสีน้ำตาล มีรูปร่าง 2 ลักษณะ คือ ชนิดปีกยาว (macropter-
ous form) และชนิดปีกสั้น (bracrypterous form) มีชื่อ ภาษาอังกฤษว่า Brown planthoppe และชื่อวิทยาศาสตร์ :
Nilaparvata lugens (Stal) ) เป็นแมลงศัตรูพืช ชนิดปากดูด โดยมักทำลาย ข้าว โดยดูดน้ำเลี้ยงจากต้นข้าวทุกระยะการเจริญ
เติบโตจนทำให้ข้าวแห้งตาย เป็นจุดๆ ในแปลงนา และขยายตัวเป็นวงกว้าง ออกไปตามปริมาณของเพลี้ยกระโดดที่เพ่ิมขึ้น ทำให้บริเวณ
ที่มีเพลี้ยเกาะอยู่ มีลักษณะคล้ายใบโดนน้ำร้อนลวก ใบเหลือง แดงและต้นข้าวตาย หากข้าวที่ถูกดูดกินน้ำเลี้ยงไม่ตาย เพลี้ยกระโดด
สีน้ำตาลจะเป็นพาหะนำเชื้อไวรัส ซึ่งทำให้เกิดโรคใบหงิก หรือโรคจู๋ ข้าวไม่ออกรวง สร้างความเสียหาย แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวอย่างมาก


วิธีการป้องกันเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลไม่ให้มาทำลายต้นข้าวในแปลงนาที่เราปลูก มีหลายวิธีการ แต่ในที่นี้จะแนะนำวิธีการ แบบง่ายๆ
แต่เราไม่ค่อยจะทำกัน เรียกว่าเป็นการ ป้องกันเสียแต่เนิ่นๆ

วิธีแรก .... เริ่มจากการเตรียมแปลงนาปลูกข้าวให้สะอาด ปราศจากวัชพืช ซึ่งเป็นที่อาศัยของแมลงศัตรูข้าว เนื่องจากในบางครั้งหลัง
จากเราเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าว รุ่นก่อนหน้านี้แล้ว อาจมีแมลงที่เป็นศัตรูของข้าวอาศัยอยู่ เราต้องตัด และเผาทำลายทิ้งให้หมด ให้เผา
เฉพาะ วัชพืชตามคันนา ส่วนฟางข้าว ให้หมักด้วยจุินทรีย์สำหรับย่อยสลายตอซัง และฟางข้าว ดินในนาของเราจะได้มีความอุดม
สมบูรณ์เพิ่มขึ้น


วิธีที่สอง .... การหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวให้ใช้ อัตราส่วน 30- 40 กิโลกรัมต่อ 1 ไร่ ในบางแปลงปลูกข้าว ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวมากถึง
60 กิโลกรัมต่อ 1 ไร่ สิ้นเปลืองเมล็ดพันธุ์โดยใช่เหตุ ไม่ควรมากกว่านี้ เนื่องจากจะทำให้ ต้นข้าวขึ้นอย่าง แออัด หนาแน่นเกินไป
แสงแดดส่องลงไปไม่ถึง โคนต้นข้าว ทำให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลชอบมาอาศัยและวางไข่ และดูดน้ำเลี้ยงต้นข้าว รวมทั้งทำให้การ
เชื้อรา ได้ง่ายๆ


วิธีที่สาม .... การใส่ปุ๋ยให้กับแปลงนาปลูกข้าว ควรแบ่งระยะการใส่เป็นช่วงๆ หากเป็นไปได้ แนะนำให้ใส่ 4 ระยะ ของการเจริญ
เติบโตของข้าวดังนี้

ระยะที่ 1 หลังจากไขน้ำเข้านา ข้าวอายุ 10-20 วัน

ระยะที่ 2 ข้าวอายุ 35- 45 วัน

ระยะที่ 3 ข้าว อายุ 55-65 วัน ให้อาหารพืชทางใบ โดยการฉีดพ่นทางเครื่อง อัดแรงดัน แบบลากสาย อัตตราส่วน 2-3 ซีซี.ต่อ
น้ำ 20 ลิตร จะมีส่วนทำให้ ข้าวมีการพัตนาตาดอก สร้างระแง้ เพื่อรองรับเมล็ด ออกมาเป็นจำนวนมาก เป็นเคล็ดลับในการเพิ่มผล
ผลิตข้าว ที่ชาวนา หรือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว น้อยคนที่จะรู้ ข้อสำคัญเราต้องคาดคะเนเวลาให้เหมาะสมในช่วงที่ข้าวกำลังสร้างตา
ดอกก่อนการตั้งท้อง

ระยะที่ 4 ข้าว ตั้งท้อง


ตามปกติ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวมักจะใช้ ปุ๋ย ยูเรีย (N) เป็นจำนวนมาก ตลอดอายุ การเจริญเติบโตของข้าว ซึ่งทำให้ ต้นข้าวมีความอ่อน
แอ เนื่องจากปุ๋ยยูเรีย จะไปเร่งการเจริญเติบโตทางใบและลำต้นข้าวเพียงอย่างเดียว ทำให้ใบเขียว ต้นสูง แต่ผลเสียที่ตามมาคือ
แมลงแทบทุกชนิดชอบต้นข้าวที่มีลักษณะอวบอ้วนที่เกิดจากการใช้ N เกินความจำเป็น โดยเฉพาะเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ทำให้เรา
ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการกำจัดเพลี้ยกระโดด เพิ่มขึ้น หากรอดจากเพลี้ยกระโดด ข้าวที่ให้ผลผลิตระยะ ก่อนการเก็บเกี่ยว อาจล้มง่าย
ซึ่งเป็นที่รู้ดีว่าหากข้าวล้มพังพาบกับพื้นนาเสียแล้ว การเก็บเกี่ยว ก็จะไม่ได้ผลผลิตเต็มที่ พอๆกับการถูกทำลายด้วยเพลี้ยกระโดดสี
น้ำตาล



หมายเหตุ : วิธีการปลูกข้าว ไม่ให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมาทำลายข้าวในแปลงนาของเรา ดังกล่าวมาเป็นวิธีการที่ต้องมีการประยุกต์
ใช้ให้เข้ากับสภาพแปลงนาของแต่ละ คน รวมถึงสายพันธุ์ข้าวที่ทำการปลูกด้วย





http://pg4u.net/knowledge.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 58, 59, 60 ... 72, 73, 74  ถัดไป
หน้า 59 จากทั้งหมด 74

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©