-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-* นานาสาระเรื่องเกษตร.
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * นานาสาระเรื่องเกษตร.
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* นานาสาระเรื่องเกษตร.
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 57, 58, 59 ... 72, 73, 74  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 09/04/2012 7:50 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หน้าที่ 58


ลำดับเรื่อง....

1,560. การปลูกผักในกระถาง หรือในภาชนะต่างๆ

1,561. เครื่องสีข้าวกล้องขนาดเล็กสำหรับชุมชน
1,562. เทคโนโลยีชาวบ้าน เรื่อง การปลูกงา
1,563. โรคผัก : การป้องกันและจำกัด
1,564. การลำเลียงน้ำของพืช
1,655. นักวิจัย อีรี ระบุยิ่งพ่นยา ศัตรูพืชยิ่งระบาดหนัก

1,656. ไม่เผา ! เกษตรกรพะเยา หมักฟางข้าว-ซังข้าวโพดเป็นปุ๋ยลดหมอกควัน
1,567. พรรณไม้ในเมืองก็ดูดซับ “คาร์บอน” ได้
1.568. ระบบการเตรียมเมล็ดพันธุ์สำหรับเกษตรอินทรีย์
1,569. ชาวบ้านทำอินทรีย์ ราชการขนเคมีเข้าหมู่บ้าน
1,570.“ผู้เชี่ยวชาญ เกษตรอินทรีย์” นำวิทย์-เทคโนฯ ฟื้นวิถีชุมชน

1,571. ทุเรียนไร้กลิ่น "นวลทองจันท์"
1,572. ทุเรียนพวงมณี ทุเรียนพันธุ์เล็กกำลังรุ่ง
1,573. นักวิทยาศาสตร์ดินเพื่อมนุษยธรรม
1,574. ''ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน'' เกษตรกรไทยต้องเตรียมพร้อม
1,575. ปลูกสะเดาแล้วลดความร้อนโลกได้

1,576. จัดระบบปลูกข้าว...เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
1,577. ธาตุอาหารพืชสำหรับส้มโชกุน
1,578. การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าว
1,579. การปลูกข้าวในฤดูนาปรังโดยใช้น้ำอย่างประหยัด-
1,580. สารสกัดจากสะเดาต่อแมลงสิงและผีเสื้อข้าวเปลือก

1,581. การใช้จุลินทรีย์ที่อาศัยร่วมกับต้นข้าวเพื่อควบคุมโรคไหม้ของข้าว
1,582. การลดความรุนแรงของโรคไหม้ของข้าวโดยการปลูกแบบรวมเมล็ดพันธุ์
1,583. การใช้วัสดุอินทรีย์ บรรเทาพิษของเกลือต่อข้าวที่ปลูกในดินเค็ม
1,584. ความหลากหลายของธาตุเหล็กในข้าวพันธุ์พื้นเมือง


------------------------------------------------------------------------------------------------






1,560. การปลูกผักในกระถาง หรือในภาชนะต่างๆ





การปลูกผักในกระถาง วิธีการปลูกผักในกระถางนี้ เหมาะกับครอบครัวที่มีบริเวณพื้นบ้านจำกัด หรือบ้านที่นิยมปลูกผักในแบบกึ่งไม้ประดับ

ข้อดีของการปลูกผักในกระถาง คือ
ประหยัดพื้นที่ในการปลูก
สามารถ เคลื่อนย้าย จัดวาง ปรับเปลี่ยนตำแหน่งกระถางผักได้
สะดวกต่อการดูแลรักษา และเก็บเกี่ยวผลผลิต
สามารถนำผักที่ปลูกในกระถางไปวางตกแต่งในสวนหย่อม หรือจัดเป็นสวนประดับได้

ขั้นตอนการปลูกผักในกระถาง
การเตรียมอุปกรณ์ สามารถใช้วัสดุเหลือใช้ในครัวเรือน เช่น กะละมัง, กระถาง, ยางรถยนต์, ถังน้ำ ฯลฯ หากกระถางหรือภาชนะใด
มีสารปนเปื้อน พวกน้ำมัน หรือพวกสารเคมีต่างๆ ให้ทำความสะอาดก่อนที่จะนำมาใช้ และให้จัดตกแต่งกระถาง หรือภาชนะี่ จะนำ
มาใช้ปลูกผัก เช่น ตัดปาก ตัดกัน หรือทำขอบเพื่อให้กระถางคงทน และสวยงาม การเลือกกระถางปลูก ต้องเลือกให้เหมาะสมต่อ
ผักที่จะปลูก กล่าวคือผักที่มีระบบรากลึก ควรปลูกในกระถางที่มีความลึก ผักที่มีระบบรากตื้นเหมาะกับกระถางที่มีความตื้นไม่มาก

การเลือกผักที่จะปลูก การเลือกผักที่จะปลูก่มีความสำคัญมาก นอกจากจะเลือกผักที่ปลูกให้เหมาะสมกับกระถางปลูกแล้ว ควร
เลือกปลูกผักที่มีการใช้บริโภคภายในครอบครัวเป็นประจำทุกวันก่อน เพราะจะทำให้ผักที่ปลูกนั้นได้รับความสนใจ และมีการนำ
ไปใช้ประโยชน์ได้มาก และนอกจากผักที่นิยมบริโภคภายในครอบครัวแล้วควรเลือกปลูกผักที่สมาชิกในครอบครัวชอบรับประทาน
ด้วย เพราะจะทำให้ผักนั้นได้รับความสนใจจากสมาชิกในครอบครัวตามไปด้วย ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการเลือกผักมีความสำคัญ
ไม่ควรปลูกผักที่ไม่มีผู้บริโภคเพราะจะทำให้ผักที่ปลูกนั้นไม่คุ้มค่า

การเตรียมดิน ดินที่ใช้ปลูกผักในกระถางต้องเตรียมให้ดี และเหมาะสมกับผักแต่ละชนิด การเตรียมดินสำหรับปลูกผักในกระถาง
สามารถทำได้เองโดยมีส่วนผสม ดังนี้
- ดินร่วน 1 ส่วน
- ทราย 1 ส่วน
- ปุ๋ยหมัก หรือปุ่ยคอก 1 ส่วน
- ขึ้เก้าแกลบ, ขุยมะพร้าว 1 ส่วน

นำทั้ง 4 ส่วน ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันให้ดี ก่อนนำลงปลูก หากกระถางมีรูใหญ่จะดินรั่วออกได้ ให้นำหินหรือเศษกระเบื้องวาง
ทับก่อน ถ้าส่วนผสมดังกล่าวไม่สามารถหาได้ อาจใช้ปุ๋ยคอกผสมใบพืชผุ ใบไผ่ผุ ผสมกับดินก็ได้ และหากไม่สะดวกที่จะผสม
ดินใช้เอง สามารถหาซื้อดินผสมเสร็จ ที่มีขายอยู่ทั่วไปมาใช้ก็ได้ แต่ควรดูส่วนผสมของดินให้ดี ถ้าหากมีส่วนผสมของใบก้ามปู
หรือเปลือกถั่วจะเหมาะสมกว่าดิน ที่มีส่วนผสมของแกลบ หรือกาบมะพร้าว ดินที่ผสมเสร็จแล้วนำไปบรรจุในกระถางที่เตรียม
ปลูกผัก การบรรจุไม่ควรให้เต็มกระถาง หรือเสมอขอบ ควรเติมหลังจากปลูกผักไปแล้ว จึงจะเพิ่มดินให้อยู่ในระดับที่ต้องการ

การปลูกผักลงกระถาง ขึ้นอยู่กับชนิดของผักที่จะปลูก คือ สามารถทำได้ทั้งปลูกแบบใช้เมล็ดพันธุ์หว่าน หรือหยอดลงกระถาง
เลย หรือ เพราะต้นกล้าก่อนแล้วจึงนำลงปลูกในกระถาง หรือผักบางชนิดสามารถใช้วิธีปักชำลงในกระถางได้เลย

วิธีหว่านหรือหยอดเมล็ด โดยหว่านเมล็ดลงให้กระถางโดยกะระยะห่างของเมล็ด หรือหลุมที่หยอดให้เหมาะสมกับชนิดของผัก
ผักที่นิยมปลูกโดยใช้เมล็ดได้แก่ ผักชี, ผักบุ้งจีน, ตั้งโอ๋, ขึ้นฉ่าย เป็นต้น

วิธีเพาะต้นกล้าผักก่อนปลูก นำต้นกล้าผักที่เพาะเมล็ดได้ระยะเวลาที่พอเหมาะ โดยสังเกตจากลักษณะของลำต้น และระบบราก
ฝอย ถ้าสมบูรณ์ก็สามารถย้ายต้นกล้าผักลงปลูกได้เลย ผักที่นิยมปลูกวิธีนี้ได้แก่ ผักคะน้า, ผักกาดขาว, ผักกาดเขียว, ผักกาด
หอม, กะหล่ำปลี, ปูเล่, กะเพรา, โหระพา เป็นต้น

วิธีนำส่วนของผักมาปักชำ ผักที่สามารถนำมาลงปลูกแบบปักชำในกระถางได้เลย เช่น สะระแหน่, ชะพลู, หอมแบ่ง, ตะไคร้ ฯลฯ

การปักชำต้องดูว่าผักแต่ละชนิดใช้ส่วนใดในการปักชำได้ ผักบางชนิดมีรากลึกกระถางที่ใช้ปักชำควรมีความลึกที่เหมาะสมต่อ
ผักด้วย หรือผักบางชนิดต้องใช้ไม้ปัก เพื่อพยุงลำต้นผักให้ตั้งตรงและป้องกันการกระทบกระเทือนเวลารดน้ำ ในช่วงแรกๆของ
การปักชำด้วย

การดูแลรักษาผักในกระถาง ผักที่ปลูกในกระถางสามารถทำการดูแลรักษาได้ง่าย โดยคอยรดน้ำให้ดินในกระถางในมีความชุ่ม
ชื้นสม่ำเสมอ กำจัดวัชพืช พรวนดิน และใส่ปุ๋ยหากผักมีเจริญเติบโตไม่ดี และควรเปลี่ยนดินเมื่อมีการปลูกผักในครั้งต่อไป หรือ
ปลูกผักชนิดใหม่ในกระถางเดิม ถ้าหากที่ที่วางกระถางอยู่ผักที่ปลูกได้รับแสงไม่เพียงพอ สามารถย้ายกระถางไปวางไว้ในที่
มีแสงเพียงพอได้

การเก็บเกี่ยว สำหรับผักที่ปลูกในกระถาง หากเป็นผักที่บริโภคในส่วนของใบ ให้เก็บใบล่างไปก่อน เหลือยอดบนไว้ให้เจริญต่อไป
เช่น ผักกาด คะน้า ปูเล่ ถ้าเป็นผักที่ใช้ส่วนยอดอ่อนบริโภค ควรเลือกเก็บเฉพาะยอดเท่านั้น จะทำให้ผักมีการแตกยอดอ่อน
เจริญเติบโตให้เราได้ใช้บริโภคอีก เช่น สะระแหน่, กะเพรา, โหระพา ฯลฯ

ข้อควรคำนึง ในการปลูกผักในกระถาง ต้องเลือกผักที่ครอบครัวจำเป็นต้องใช้บริโภค เลือกวัสดุเหลือใช้มาใช้เป็นวัสดุปลูกผัก
เรื่องของชนิดของผักกับกระถางปลูก ควรจะพิจารณาถึง การหยั่งรากตื้น ของพืชผัก พืชผักที่หยั่งรากตื้น และสามารถ ปลูกลงภาชนะ
ปลูกชนิดต่าง ๆ และชนิดห้อยแขวนได้ดี และมีความลึกไม่เกิน 10 เซนติเมตร ดังต่อไปนี้คือ

ผักบุ้งจีน คะน้าจีน ผักกาดกวางตุ้ง (เขียวและขาว) ผักกาดฮ่องแต้ ผักกาดหอม ผักกาดขาวชนิดไม่ห่อ (ขาวเล็ก ขาวใหญ่) ตั้งโอ๋
ปวยเล้ง หอมแบ่ง (ต้นหอม) ผักชี ขึ้นฉ่าย ผักโขมจีน กระเทียมใบ (Leek) กุยช่าย กระเทียมหัว ผักชีฝรั่ง บัวบก สะระแหน่
แมงลัก โหระพา (เพาะเมล็ด) กะเพรา (เพาะเมล็ด) พริกขี้หนู ตะไคร้ ชะพลู หอมแดง หอมหัวใหญ่ หัวผักกาดแดง (แรดิช)

วัสดุที่สามารถนำมาทำเป็นภาชนะปลูกอาจดัดแปลงจากสิ่งที่ใช้แล้ว เช่น ยางรถยนต์เก่า กะละมัง ปลอกซีเมนต์ เป็นต้น สำหรับภาชนะ
แขวน อาจใช้กาบมะพร้าว กระถาง หรือเปลือกไม้

การปลูกผักในกระถาง หรือในภาชนะ
วิธีการปลูกผักในภาชนะแบ่งออกได้เป็น 2 วิธี คือ

เพาะเมล็ดด้วยการหว่านแล้วถอนแยกหรือหยอดเป็นแถวแล้วถอนแยก
ผักบุ้งจีน, คะน้าจีน, ผักกาดขาวกวางตุ้ง, ผักกาดเขียวกวางตุ้ง, ผักฮ่องเต้ (กวางตุ้งไต้หวัน), ตั้งโอ๋, ปวยเล้ง, ผักกาดหอม,
ผักโขมจีน, ผักชี, ขึ้นฉ่าย, โหระพา, กระเทียมใบ, กุยฉ่าย, หัวผักกาดแดง, กะเพรา, แมงลัก, ผักชีฝรั่ง, หอมหัวใหญ่

ปักชำด้วยต้น และด้วยหัว
หอมแบ่ง (หัว), ผักชีฝรั่ง, กระเทียมหัว (ใช้หัวปลูก), หอมแดง (หัว), บัวบก (ไหล), ตะไคร้ (ต้น), สะระแหน่ (ยอด),
ชะพลู (ต้น), โหระพา (กิ่งอ่อน), กุยช่าย (หัว), กะเพรา (กิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อน), แมงลัก (กิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อน)


** มีบางพืชที่ปลูกด้วยหัว หรือส่วนของต้นก็ได้หรือปลูกด้วยเมล็ดก็ได้ ดังนั้นจึงมีชื่อผักที่ซ้ำกันทั้งข้อ 1 และ 2

การปฏิบัติดูแลรักษาผักในกระถาง หรือในภาชนะ
การดูแลรักษาด้วยความเอาใจใส่จะช่วยให้ผักเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์จนถึงระยะเก็บเกี่ยว การดูแลรักษาดังกล่าว ได้แก่

การให้น้ำ
การปลูกผักจำเป็นต้องให้น้ำอย่างเพียงพอ การให้น้ำผักควรรดน้ำในช่วง เช้า – เย็น ไม่ควรรดตอนแดดจัด และรดน้ำแต่พอชุ่มอย่าให้โชก

การให้ปุ๋ย มี 2 ระยะ คือ
2.1 ใส่รองพื้นคือการใส่เมื่อเวลาเตรียมดิน หรือรองก้นหลุมก่อนปลูกปุ๋ยที่ใส่รองพื้นควรเป็นปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก คลุกในดินให้ทั่ว
ก่อน ปลูกเพื่อ ปรับโครงสร้างดินให้โปร่งร่วนซุย นอกจากนั้นยังช่วยในการ อุ้มน้ำและรักษาความชื้น ของดินให้เหมาะสม กับการ
เจริญเติบโตของพืชด้วย

2.2 การใส่ปุ๋ยบำรุง ควรจะใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อย้ายกล้าไปปลูกจนกล้าตั้งตัวได้แล้ว และใส่ครั้งที่ 2
หลังจากใส่ครั้งแรกประมาณ 2 – 3 สัปดาห์ การใส่ให้โรยบาง ๆ ระหว่างแถว ระวังอย่าให้ปุ๋ยอยู่ชิดต้น เพราะจะทำให้ ผักตาย ได้
เมื่อใส่ปุ๋ยแล้วให้พรวนดินและรดน้ำทันที สูตรปุ๋ยที่ใช้กับพืชผัก ได้แก่ ยูเรีย แอมโมเนียซัลเฟต สำหรับบำรุงต้น และใบ
และปุ๋ยสูตร 15-15-15 และ 12-24-12 สำหรับเร่งการออกดอกและผล

การป้องกันกำจัดศัตรูพืช
ควรบำรุงรักษาต้นพืชให้แข็งแรง โดยการกำจัดวัชพืช การให้น้ำอย่างเพียงพอและใส่ปุ๋ยตามจำนวนที่กำหนดเพื่อให้ผักเจริญเติบโต
แข็งแรง ทนต่อโรคและแมลง หากมีโรคและ แมลง ระบาด มากควรใช้สารธรรมชาติ หรือใช้วิธีกลต่าง ๆ ในการป้องกันกำจัด เช่น
หนอนต่าง ๆ ใช้มือจับออก ใช้พริกไทยป่นผสม น้ำฉีดพ่น ใช้น้ำคั้นจากใบหรือเมล็ดสะเดาถ้าเป็นพวกเพลี้ย เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง
เพลี้ยหอย และเพลี้ยจักจั่น ให้ใช้น้ำยา ล้างจาน 15 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นใต้ใบเวลาเย็น ถ้าเป็นพวกมด หอย และทากให้ใช้ปูน
ขาวโรยบาง ๆ ลงบริเวณพื้นดิน


การเก็บเกี่ยว
การเก็บเกี่ยวผักควรเก็บในเวลาเช้าจะทำให้ได้ผักสดรสดี และหากยังไม่ได้ใช้ให้ล้างให้สะอาด และนำเก็บไว้ในตู้เย็น สำหรับผัก
ประเภทผลควรเก็บในขณะที่ผลไม่แก่จัดจะได้ผลที่มีรสดี และจะทำให้ผลดก หากปล่อยให้ผลแก่คาต้น ต่อไปจะออกผลน้อยลง

สำหรับในผักใบหลายชนิด เช่น หอมแบ่ง ผักบุ้งจีน คะน้า กะหล่ำปลี การแบ่งเก็บผักที่สดอ่อน หรือโตได้ขนาดแล้ว โดยยังคง เหลือ
ลำต้นและรากไว้ไม่ถอนออกทั้งต้น รากหรือต้นที่เหลืออยู่จะสามารถงอกงามให้ผล ได้อีกหลายครั้งทั้งนี้จะต้อง มีการดูแล รักษา
ให้น้ำและปุ๋ยอยู่ การปลูกพื้นหมุนเวียนสลับชนิดหรือปลูกผัก หลายชนิดในแปลงเดียวกันและปลูกผัก ที่มีอายุเก็บเกี่ยวสั้นบ้าง
ยาวบ้างคละกันในแปลงเดียวกัน หรือปลูกผักชนิดเดียวกันแต่ทยอยปลูกครั้งละ 3-5 ต้น หรือประมาณว่าพอรับประทาน ได้ใน
ครอบครัว ในแต่ละครั้งที่เก็บเกี่ยว ก็จะทำให้ผู้ปลูกมีผักสดเก็บรับประทานได้ทุกวันตลอดปี


http://www.vegetweb.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 6:05 am, แก้ไขทั้งหมด 8 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 17/04/2012 7:54 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,561. เครื่องสีข้าวกล้องขนาดเล็กสำหรับชุมชน






ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย ในแต่ละปีพื้นที่การเกษตรประมาณ 66 ล้านไร่ใช้สำหรับการเพาะปลูกข้าว
ประมาณ 57 ล้านไร่เป็นข้าวนาปี และ 9 ล้านไร่เป็นข้าวนาปรัง ซึ่งทำให้มีผลผลิตข้าวเปลือกรวมเฉลี่ย 19 ล้านตันต่อปี
จากผลผลิตทั้งหมดนี้จะถูกแปรรูปเพื่อการส่งออกและการบริโภคภายในประเทศ โดยประมาณร้อยละ 60-65 ใช้เพื่อการ
บริโภคภายในประเทศ และอีกร้อยละ 35-40 เป็นผลผลิตเพื่อการส่งออก ในปัจจุบันมีการแปรรูปข้าวให้ได้คุณภาพ
ตามความต้องการของผู้บริโภค ทั้งข้าวที่มีคุณภาพดีมีราคาสูง มุ่งจำหน่ายให้กับผู้มีรายได้สูง และข้าวที่มีคุณภาพต่ำมีราคา
ถูก มุ่งจำหน่ายให้กับผู้มีรายได้น้อย ซึ่งตัวแปรหลักที่สำคัญสำหรับการแปรรูปข้าวเปลือกให้ได้ตามความต้องการของตลาด
คือการเลือกใช้เครื่องจักรสีข้าวที่เหมาะสม นั่นเอง





รองศาสตราจารย์ ดร.ศักดา อินทรวิชัย อาจารย์ภาควิชาเกษตรกลวิธาน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หัวหน้า
โครงการดำเนินการศึกษาค้นคว้าวิจัย และออกแบบเครื่องสีข้าวกล้องขนาดเล็กสำหรับชุมชน และทีมคณะนักวิจัยจากภาค
วิชาเกษตรกลวิธาน คณะเกษตร ทั้ง วิทยาเขตบางเขนและวิทยาเขตกำแพงแสน ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรม
ศาสตร์ ได้ร่วมพัฒนาเครื่องสีข้าวขนาดเล็กสำหรับชุมชนเพื่อเป็นการลดต้นทุนการแปรรูปข้าวเปลือก และการเพิ่มมูลค่าผล
ผลิตการพัฒนาออกแบบและผลิตเครื่องสีข้าวที่สอดคล้องตอบสนองต่อตลาดการบริโภคข้าวจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง และ
หากการพัฒนาเครื่องสีข้าวนี้มุ่งสู่การสร้างโอกาสให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวได้ผลิตข้าวอย่างครบวงจรแล้ว จะเป็นการยกระดับ
ฐานะความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้มีคุณภาพชีวิต ที่ดีขึ้น





แนวคิดในการออกแบบพัฒนาเครื่องสีข้าวกล้องขนาดเล็กแบบเคลื่อนย้ายได้ จะเน้นใช้วัสดุภายในประเทศมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์
และสามารถเคลื่อนที่ พร้อมทำงานได้ทันที ประสิทธิภาพของเครื่องจะสีข้าวเปลือกได้ประมาณ 100 กิโลกรัมต่อชั่วโมง และ
สามารถปรับค่าระดับการสี ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือและ ข้าวสาร จึงได้กำหนดต้นกำลังขนาดไม่เกิน 3 กำลังม้า 220 โวทล์
15 แอมแปร์ รวมทั้งมีอุปกรณ์ทำความสะอาดข้าวเปลือกพร้อมชุดลำเลียงข้าวเปลือกสู่ชุดกระเทาะข้าวเปลือก มีช่องทาง
ออกของ ข้าวกล้อง ข้าวสาร(ข้าวรวม) ปลายข้าว รำ แกลบ แยกจากกันอย่างอิสระ และมีน้ำหนักเครื่องรวม 350 กิโลกรัม กว้าง
0.8 เมตร ยาว 1.2 และสูง 1.98 เมตร ---

นักวิจัยยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่าเกี่ยวกับพื้นฐานการสีข้าว ว่าเป็นกระบวนการแปรสภาพข้าวเปลือกให้เป็นข้าวสาร จะประกอบด้วย
ขั้นตอนหลัก 4 ขั้นตอน คือ

1. การทำความสะอาด เป็นขั้นตอนทำงานเพื่อกำจัดสิ่งเจือปน เช่น กรวด หิน ดิน ทราย เมล็ด วัชพืช และสิ่งสกปรกอื่นๆ
ออกจากข้าวเปลือก

2. การกะเทาะ เป็นการทำงาน เพื่อทำให้เปลือกข้าวที่ห่อหุ้มเมล็ดหลุดออกจากเมล็ด โดยจะได้แกลบ และข้าวกล้อง
จากขั้นตอนนี้

3. การขัดขาว เป็นขั้นตอนเพื่อทำให้ผิวชั้นนอกของเมล็ดข้าวกล้อง หลุดออกจากเมล็ดข้าวกล้อง ผิวนอกที่หลุดออกมานี้คือ
สิ่งที่เรียกว่า รำ และเมล็ดข้าวที่ได้จะมีสีขาว เรียกว่า ข้าวขาวหรือข้าวสาร และเป็นข้าวรวมที่มีทั้งเมล็ดข้าวหักและข้าวเต็มเมล็ด

4. การคัดแยก เป็นลำดับขั้นตอนเพื่อแยกข้าวรวม ออกเป็น ข้าวเต็มเมล็ด ต้นข้าว และข้าวหัก ขนาดต่างออกจากกัน โดยทั่วไป
กระบวนการสีข้าวดังกล่าวนี้ จะได้ แกลบประมาณ 20-24% ของข้าวเปลือก รำ ที่รวมถึงส่วนผสมของเยื่อหุ้มผล เยื่อหุ้มเมล็ด
เยื่ออลูโรน และคัพภะ ประมาณ 8-10% ของข้าวเปลือก และได้ข้าวสารรวม ประมาณ 60 – 65 % ของข้าวเปลือก และ
ข้าวรวมนี้ไปคัดแยกเป็นข้าวเต็มเมล็ดต้นข้าว และข้าวหักซึ่งจะได้แต่ละส่วนมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับคุณภาพของการสีคุณ
ภาพข้าวเปลือกและสมรรถนะเครื่องจักรสีข้าว

ทั้งนี้ข้าวเปลือกที่จะนำมาสี ต้องมีคุณสมบัติเหมาะแก่การสี มีการตรวจคุณภาพ ข้าวเปลือกที่มีคุณภาพดีเหมาะแก่การสี
จะต้องมีลักษณะดังนี้
1. มีความชื้น 14% หากสูงกว่านี้จะทำให้ข้าวแตกหักเสียหานได้ง่าย
2. มีเมล็ดแตก เมล็ดลีบ เมล็ดเสีย ปนอยู่น้อย
3. มีเมล็ดวัชพืชปนอยู่น้อย หรือต้องไม่มีเลย
4. ต้องไม่มีเศษหิน ดินทราย หรือเศษหญ้า เศษฟางปน
5. ควรเป็นพันธุ์เดียวกันหรือทีลักษณะกายภาพที่คล้ายกัน

จะเห็นได้ว่าการสีข้าวมีกระบวนการเป็นขั้น ๆ ติดต่อกัน โดยแต่ละขั้นล้วนใช้เครื่องจักรกลที่มีหน้าที่ต่าง ๆ ทำงานสัมพันธ์กัน นับตั้งแต่
การทำความสะอาด การกะเทาะเปลือก การแยกแกลบ การแยกข้าว การขัด และการคัดขนาดเมล็ดข้าวสาร ซึ่งจะมีระบบลำเลียง
เชื่อมโยงระหว่างเครื่องจักร แต่สำหรับเครื่องสีข้าวขนาดเล็กแล้วทุกขั้นตอนจะอยู่ในเครื่องเครื่องเดียวเท่านั้น ความแตกต่างของโรงสี
และเครื่องสีข้าวขนาดเล็ก



แผนภูมิขั้นตอนของโรงสี





แผนภูมิขั้นตอนเครื่องสีข้าวขนาดเล็ก








http://www.google.co.th


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 6:06 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 20/04/2012 5:32 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,562. เทคโนโลยีชาวบ้าน เรื่อง การปลูกงา






การปลูกงา
หมู่บ้านหนองบัวบาน ตำบลหนองบัวบาน อำเภอจตุรัส จ.ชัยภูมิ
งาที่ปลูกเป็นงาขาว ปกติจะปลูกในเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม เกษตรกรจะไถที่นาหลังจากไถเพียงครั้งเดียวเกษตรกรจะหว่านเมล็ด
ในอัตรา 1 กก./ไร่ แล้วคราดกลบเมล็ดทันที หลังจากฝนตกเกษตรกรจะเตรียมดินและปลูกเลย ถ้าฝนตกช้ากว่าปกติเกษตรกรจะใช้
เครื่องสูบน้ำขึ้นมาแทนน้ำฝน ปลูกแล้วงาต้องการดูแลรักษาน้อยและรอเก็บเกี่ยวในเดือน พฤษภาคม-มิถุนายน ผลผลิตประมาณ 70
กก./ไร่ ราคาท้องถิ่นประมาณ กก. 7 บาท งาปลูกง่ายต้นทุนต่ำ


การปลูกงาแบบร่อง
หมู่บ้าน 10 ตำบลตาเกษ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดชัยภูมิ
นายสอน กันทะพันธุ์ เกษตรกรหมู่ 10 ต.ตาเกษ ได้นำเอาวิธีการปลูกงาแบบร่องมาทดลองปลูกในพื้นนา โดยจะปลูกในเดือน
มีนาคม-เมษายน โดยการไถที่นาที่ดินมีความชื้นพอไถได้ไถ 2-3 ครั้ง เสร็จแล้วก็จะทำเป็นร่อง โดยใช้ระยะห่างของร่อง 30-45 ซม.
แล้วนำเมล็ดงาโรยตามร่องนำดินกลบหนาประมาณ 2-3 ซม. หลังจากเมล็ดงางอกแล้ว ก็จะทำการถอนแยกให้เหลือ 2-3 ซม./ต้น
การใส่ปุ๋ยและฉีดพ่นยา ก็จะทำตามปกติ รอเก็บเกี่ยวในเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ผลผลิตประมาณ 80-90 กก./ไร่ ปกติราคา กก.
ละ 12-15 บาท จะเห็นว่า วิธีการปลูกงาเป็นร่องนั้นง่ายต่อการใส่ปุ๋ยและมีฉีดพ่นยาและทำให้การฉีดพ่นยาเข้าได้ทั่วถึงในแปลง


การปลูกงาดำในฤดูแล้งในนาข้าว
หมู่บ้านใหม่ฉมวก ตำบลนิคมฯ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
เกษตรกรในหมู่บ้านจะมีการปลูกงาดำในหน้าแล้ง คือเริ่มปลูกในเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคมของทุกปี โดยอาศัยน้ำจากอ่างเก็บน้ำระบาย
เข้า แล้วทิ้งไว้ให้ดินอ่อนตัวแล้วมีการเตรียมดินหว่านเมล็ดพันธุ์และไม่ต้องให้น้ำอีกเลยจนกระทั่งเก็บเกี่ยวผลผลิตจะได้ประมาณ 90 กก.
/ไร่ ซึ่งนับว่าเกษตรกรสามารถมีรายได้เพิ่มขึ้นและการลงทุนก็ต่ำอีกด้วย


การปลูกงาดำก่อนข้าว
หมู่บ้านทับสวาย ตำบลทับสวาย อำเภอห้วยแกลง จังหวัดนครราชสีมา
งาที่ปลูกเป็นงาดำเกษตรกรจะปลูกระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน ซึ่งขึ้นอยู่กับฝนที่ตกของแต่ละปี อัตราเมล็ดพันธุ์ 0.8-1 กก./ไร่
วิธีการปลูกจะไถดะในแปลงนา แล้วหว่านเมล็ดพันธุ์แล้วคราดกลบอายุงา 90 วัน หรือ 3 เดือน จากนั้นเกษตรกรจะเก็บเกี่ยวมัดเป็น
กำ ๆ กำละขนาดมือโอบแล้วตั้งเป็น 3 เส้าพิงกันตากแดด 3-5 แดด แล้วนำไปเคาะ ผลผลิตทั่วไปประมาณ 80 กก./ไร่ ไม่มี
การกำจัดวัชพืช


การหยอดเมล็ดงาโดยวิธีเจาะรูกระป๋อง
หมู่บ้านโนนสว่าง ตำบลนากอก อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร
เมื่อเกษตรกรได้เตรียมแปลงที่จะปลูกงาไว้ดีแล้ว เกษตรกรจะใช้เชือกขึง เว้นระยะปลูกตามต้องการ แล้วใช้กระป๋องบรรจุเมล็ดงา
หยอดให้ทั่วแปลง จากนั้นก็ไม่แตกต่างกับการปลูกแบบวิธีอื่น ๆ


การปลูกงาหลังถั่วลิสง
หมู่บ้านห้วยน้ำเมย,ปากโม่ง ตำบลปากหมัน อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย
เกษตรกรจะเริ่มปลูกถั่วลิสงประมาณ เดือน เมษายน-พฤษภาคม เมื่อเก็บเกี่ยวถั่วลิสงแล้วเกษตรกรก็จะหว่านงาตาม ประมาณเดือน
กรกฎาคม-สิงหาคม พันธุ์ที่ใช้ส่วนมากจะเป็นงาขาว ใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 1-1.5 กก./ไร่ ส่วนมากไม่ค่อยมีการดูแลรักษา
จะเก็บเกี่ยวประมาณเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ผลผลิตประมาณ 80-90 กก./ไร่ ราคาประมาณ กก.ละ 10-11 บาท และเป็นการ
ลงทุนค่อนข้างต่ำเนื่องจากไม่ต้องลงทุนเตรียมดิน


การปลูกงาในที่ดอน
หมู่บ้านนาส้มโรง ตำบลนาแก อำเภอนากลาง จังหวัดอุดรธานี
การปลูกงาในพื้นที่เป็นโนนหรือที่ดอน ที่ไม่
สามารถปลูกข้าวได้ โดยชาวบ้านจะทำการไถดินจนร่วนซุย แล้วนำเมล็ดงาไปหว่านประมาณ 0.8 กก./ไร่ แล้วใช้คราดราด
กลบเมล็ดงา ก่อนทำการไถ ชาวบ้านได้ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หว่านแล้วไถ ผลผลิตดีมากเพราะงาเป็นพืชไร่ที่ไม่ต้องการน้ำ
เท่าไหร่ จึงเหมาะแก่การปลูกงา ควรจะมีการสนับสนุนและส่งเสริมต่อ


http://www.thaikasetsart.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 6:07 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 20/04/2012 5:48 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,563. โรคผัก : การป้องกันและจำกัด





โดยทั่วไปโรคสำหรับผักทำความเสียหายให้กับผักน้อยกว่าการทำลายของแมลงศัตรูพืช การป้องกันกำจัดโรคสามารถทำได้
โดยง่ายหากรู้จักชนิดและสาเหตุ ของโรคเพื่อจะได้ป้องกัน-รักษาได้ถูกวิธี แต่ความเข้าใจของชาวสวนส่วนใหญ่ยังผิดอยู่ที่คิดว่า
โรคและแมลงศัตรูเป็นชนิดเดียวกัน และใช้สารเคมีป้องก้นกำจัดชนิดเดียวกันได้ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่สับสน การใช้สารเคมีสำหรับ
ป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชมาใช้กับโรคนั้นไม่สามารถกำจัดโรคที่ระบาดได้ ทำให้สิ้นเปลืองสารเคมีและยังจะหยุดยั้งการระบาดของ
โรคไม่ได้ทันท่วงที ชาวสวนควรจะรู้จักว่าโรคต่าง ๆ มีสาเหตุมาจากอะไร มีลักษณะอาการอย่างไรและจะต้องป้องกันกำจัดวิธีไหน
จึงจะถูกต้อง เมื่อพบอาการของโรคในระยะเริ่มแรกจะได้รีบป้องกันได้ทันท่วงที


โรคบางโรคเกิดเฉพาะฤดูกาล เช่น เมื่อย่างเข้าฤดูหนาวมักจะมีโรครานํ้าค้าง โรคราสนิม โรคราแป้ง ในฤดูฝนจะมีโรคแอนเทรคโนส
หรือใบจุด ใบเน่า ผลเน่า รากเน่า ฯลฯ เมื่อเรารู้ว่าในฤดูใดหรือเมื่อสภาพดินฟ้าอากาศเป็นอย่างไร จะเกิดโรคอะไรเราก็อาจจะ
ฉีดพ่นยาป้องกันไว้ก่อน เวลาหรือฤดูกาลที่โรคระบาดก็จะช่วยป้องกันโรคได้ทันท่วงที เรียกว่าการป้องกันโดยการทำนายล่วงหน้า

การฉีดพ่นสารเคมี ควรจะดูระดับของการระบาดว่ามากพอที่จะต้องฉีดพ่นยากันหรือยัง และมีสภาพแวดล้อมที่ช่วยเพิ่มการระบาด
หรือเปล่า ถ้าเป็นเพียง เล็กน้อยในสภาพอากาศที่เหมาะกับโรคให้รอสังเกตดู ถ้าสภาพดินฟ้าอากาศขึ้นโรค ก็จะหายไปเองโดย
ไม่ต้องฉีดพ่นยาให้สิ้นเปลือง แต่ถ้าพบว่าโรคระบาดทำความเสียหายมากก็อย่านิ่งนอนใจรีบป้องกันกำจัดเสีย โรคบางโรคเมื่อเป็น
แล้วจะเป็นติดต่อไป ในฤดูปลูกอื่นด้วย ตัวอย่างเช่น


โรคแอนแทรคโนส
ถ้าไม่มีฝนตกก็อาจจะไม่มีโรคนี้หรือมี เพียงประปราย ไม่จำเป็นต้องฉีดพ่นยา แต่ถ้ามีฝนตกติดต่อกันหลายวันหรือเป็น สัปดาห์ และ
โรคนี้ระบาดรวดเร็ว และร้ายแรงเวลาฝนตกหนัก เราควรฉีดพ่นยาป้องกันไว้ก่อน 1 หรือ 2 ครั้ง แล้วสังเกตอาการต่อไปว่าจะต้องฉีด
พ่นเพิ่มเติมอีกหรือไม่ บางทีฝนหยุดตกโรคก็จะหายไปเองไม่ต้องฉีดยาก็ได้

การป้องกันโรคที่ดีโดยไม่ต้องใช้สารเคมีก็คือเราต้องเอาใจใส่เรื่องวิธีเพาะ การดูแลดิน การปฎิบัติบำรุงรักษา การระบายนํ้าในแปลง
ปลูกอย่าให้ขังแฉะ การ ใส่ปุ๋ยคอกให้มาก ให้ผักแข็งแรงมีความต้านทานโรค การรักษาความสะอาดแปลงผักโดยเก็บใบและถอน
ต้นทิ้งอย่าให้เป็นที่เพาะของโรคได้ การจัดระยะปลูกให้เหมาะสมไม่เบียดแน่นเกินไป มีการปลูกพืชสลับหมุนเวียนในแปลงปลูก
โดยเลือก พืชที่ไม่ได้อยู่ในตระกูลเดียวกันหรือชนิดที่เป็นโรคติดต่อกันได้ เป็นต้น


โรคเน่าเละ
ชาวสวนเรียกว่าโรคเน่า, โรคหัวเน่า เกิดกับพืชผักตระกูลกะหลํ่า เช่น กะหล่ำปลี ผักกาดขาว ผักกาดขาวปลี ผักกาดหัว จะเป็นโรคนี้มาก
กะหลํ่าดอก คะน้า บร๊อคโคลี เป็นน้อย ผักกวางตุ้งและชุนฉ่าย ไม่ค่อยเป็น และผักกาดหอม แตง มะเขือ ข้าวโพด ฯลฯ

ลักษณะอาการของโรค คือ เกิดแผลฉํ่าน้ำแล้วจะเน่าอย่างรวดเร็วภายใน 3 วัน ทำให้ยุบไปทั้งต้นหรือทั้งหัว กลิ่นเหม็นมาก

การป้องกันกำจัด
1 . เลือกใช้พันธุ์ที่ต้านทาน
2. ใช้ยาปฏิชีวนะ (สเตรปโตมัยซิน) เช่น เอกรีมัยซิน ฉีดพ่น ทั่ว ๆ แปลงปลูก


โรคใบจุดและใบไหม้
เกษตรกรเรียกว่าโรคใบจุดแดง, โรคใบจุด, โรคใบจุดสีนํ้าตาล, โรคใบแห้ง เป็นมากกับผักตระกูลกะหล่ำทุกชนิด ผักที่เป็นโรคนี้
จะเกิดจุดกลมสีนํ้าตาลเหลือง

และขยายใหญ่เป็นวงกลมซ้อนกันบนใบ แผลเก่าจะเป็นสีนํ้าตาล เนื้อเยื่อรอบ ๆ แผล เป็นสีเหลืองแยกกันชัดเจน โรคนี้ไม่ทำให้
ต้นตายแต่จะทำให้ผลผลิตตกตํ่าเพราะมีใบเหลืองเสียมาก

การป้องกันกำจัด
ทำความสะอาดก่อนปลูกโดยแช่ในนํ้าอุ่น 50 °C นาน 20 นาที ฉีดพ่นด้วยยาโซเนป มาเนป มาโคเซป ทุกอาทิตย์ตั้งแต่ระยะต้นกล้า
จนถึงระยะโตเต็มวัย

การฉีดยาป้องกันกำจัดเชื้อราอยู่เสมอ ๆ ช่วยป้องกันเชื้อรานี้และเชื้อราอื่น ๆ อีกด้วย ยาทุกชนิดได้ผลดี ยกเว้น ยาเบนโบมิล หรือ
เบนเลทและกำมะถันที่ไม่ให้ผลแต่อย่างใด


โรคไส้ดำ
หรือที่ชาวสวนเรียกว่า โรคโอกึน เป็นกับผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด เช่น กะหลํ่าปลี กะหลํ่าดอก ผักกาดขาว ผักกาดเขียว ไส้ของ
ผักที่เป็นโรคจะช้ำน้ำ จะแตกแยกออก ทำให้ไส้กลวง เกิดเพราะขาดธาตุโบรอน เชื้อแบคทีเรียโรคเน่าเละ จะเข้าไปช่วยทำให้ผักเน่า
อย่างรวดเร็วและเน่าตายในที่สุด บร๊อคโคลี่และกะหล่ำดอก จะแสดงอาการช่อดอกเน่าดำ ผักกาดเขียวที่เป็นโรคนี้เมื่อเอาไปดอง
แล้วสีจะไม่สวย


โรคเน่าคอดิน
หรือโรคกล้าเน่าตาย, โรคโคนเน่า เกิดกับแปลงเพาะกล้าของผักตระกูล ผักกาดและกะหลํ่าต่าง ๆ พริก มะเขือ มะเขือเทศ หรือเรียก
ได้ว่าผักทุกชนิดเป็น โรคนี้ ผักจะเริ่มเน่าที่โคนต้นเหนือระดับดินขึ้นมาเป็นแผลสีนํ้าตาล ทำให้ต้นกล้าหัก พับและเหี่ยวแห้งตายในที่
สุด มักเกิดกับแปลงปลูกกล้าที่แน่นทึบเกินไปและมีความชื้นสูง

การป้องกันกำจัด
1. อย่าหว่านเมล็ดผักให้แน่นเกินไป
2. คลุกเมล็ดด้วยแคปแทน หรือ ไธรัม ก่อนหว่าน
3. ใช้ยาเทอราคลอ ซึ่งเป็นยากำจัดเชื้อราที่ได้ผลดี ละลายนํ้าในอัตรา ความเข้มข้นน้อย ๆ รดแปลงกล้า 1-2 ครั้งหลังหว่านเมล็ด
หรือโดยทั่วไปก็ใช้ยา ไซเนป มาเนปละลายน้ำรดก็ได้ผลบ้าง


โรคเน่าดำ
เกิดกับผักกะหลํ่าปลี กะหล่ำดอก ผักกาดขาว ผักกาดเขียว ผักที่เป็นโรค ขอบใบแห้งไปตามเส้นใบเป็นรูปสามเหลี่ยม เนื้อเยื่อส่วน
หนึ่งแห้งจะเห็นเส้นใบเป็นสีดำ ทำให้ใบเหลืองและแห้งลุกลามเข้าไปยังเส้นกลางใบ ก้านใบ จนทั่วต้นและแห้งตายในที่สุด

การป้องกันกำจัด
1. ทำความสะอาดเมล็ดก่อนปลูกโดยการแช่ในน้ำอุ่น 50°C. นาน 20 นาที
2. ไม่ปลูกพืชตระกูลผักกาดและกะหล่ำซ้ำที่อย่างน้อย 2 ปี
3. ถ้าพบต้นที่เป็นโรค ให้ถอนไปทำลายทันที


โรครานํ้าค้าง
ชาวสวนเรียกว่าโรคใบกรอบ โรคใบลาย พบในผักกาดหอม ผักกาดขาว คะน้า ผักกาดหัว ผักกวางตุ้ง แตงกวา แตงโม บวบ มะระ
ฟักทอง ฟักเขียว ที่ใบจะเกิดแผลสี่เหลี่ยมสีน้ำตาลประปรายทำให้ใบแห้ง ด้านใต้ใบบริเวณแผลจะพบขุยสีขาว ซึ่งเป็นสปอร์ของเชื้อรา

การป้องกันกำจัด
ใช้ยา แมนเซท ดี หรือ ไดเธน เอม-45 ฉีด 4-7 วันก่อนออกดอก หรือใช้ยาป้องกันกำจัดเชื้อราอื่น ๆ


โรคแอนแทรคโนส
ผักที่เป็นโรคนี้มาก คือผักกวางตุ้ง ผักกาดขาว พริก (เรียกโรคกุ้งแห้ง) หอม กระเทียม แตงโม แตงกวา แตงแคนตาลูป มะระ
เกิดเป็นแผลวงกลมสีนํ้าตาล หรือดำ เกิดอาการเน่า แผลบุ๋มลึกลงไปใบหักพับ เกิดทั้งที่ดอก ใบ และผล

การป้องกัน
1. คัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่ปลอดจากโรคนี้ ก่อนปลูกคลุกเมล็ดด้วยยา ป้องกันเชื้อรา
2. ฉีดยาป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ไซเนป มาเนป ฯลฯ สัก 1 -2 ครั้งต่อฤดูปลูก


โรคราแป้งขาว
เกิดกับแตงกวา แตงโม มะเขือเทศ ถั่วต่าง ๆ พริก และพืชผักต่าง ๆ จะเห็นเป็นกลุ่มราสีขาวหรือเทาบนใบ แต่พริกพบที่ใต้ใบ จะดูดนํ้า
เลี้ยงจากใบทำให้ใบหงิกงอ ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและน้ำตาลระบาดง่ายในช่วงอากาศแห้งหรือหนาว

การป้องกันกำจัด
1. ตัดใบหรือถอนต้นที่เป็นโรคทิ้ง
2. ใช้กำมะถันผงละลายน้ำฉีดพ่นในอัตรา 2-3 ช้อนแกง/น้ำ 1 ปีบ ฉีดพ่นในเวลาเย็น สัปดาห์ละครั้ง
3. ถ้าเป็นรุนแรงใช้การป้องกันกำจัด เช่น เบนเลท ฟันดาโซล-50 แคราเทน พาราเทน ฯลฯ


แมลงศัตรูพืช
เป็นที่รู้ซึ้งกันดีในบรรดาผู้ที่ประกอบอาชีพปลูกผักขายว่าปัญหาที่ใหญ่ ที่สุดคือ ปัญหาการระบาดของแมลงศัตรูพืช เมื่อมีการระบาด
อย่างหนักชาวสวนก็จำเป็นต้องฉีดพ่นยาหนักตามไปด้วย การปลูกก็ต้องลงทุนสูงขึ้น แถมบางช่วงผักราคาถูกเลยยิ่งได้กำไรน้อยหรือ
ขาดทุนไปเลย แล้วก็มีปัญหาสารพิษตกค้างในผักที่จำหน่าย ในท้องตลาดมากเกินขีดปลอดภัย การแก้ไขปัญหาเรื่องแมลงศัตรูผักด้วย
วิธีที่มีประสิทธิภาพจะทำให้ลดต้นทุนในการผลิต, ลดอันตรายต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม และเมื่อผู้บริโภคเชื่อใจในความปลอดภัย
ผักก็จะขายได้มากขึ้น จะเห็นได้ว่าได้ประโยชน์ ทั้งฝ่ายผู้ปลูก ผู้ขายและผู้กิน


การดำเนินการแก้ปัญหาแมลงศัตรูพืชที่มีประสิทธิภาพต้องอาศัยวิธีการ ผสมผสานกันที่เหมาะสม ดังนี้

1. วิธีเขตกรรม โดยเราจะต้องทำความรู้จักกับศัตรูของผักแต่ละชนิด แต่ละพี้นที่และฤดูที่พบระบาด พืชบางชนิดอาจจะเป็นที่ชื่นชอบ
ของแมลงบางชนิดเป็นพิเศษ ก็หลีกเลี่ยงด้วยการงดปลูกผักชนิดนั้นไปสักระยะหนึ่งและปลูกพืชที่แมลงตัวดังกล่าวไม่ชอบแทนก็จะทำ
ให้แมลงชนิดนั้นหมดไปอย่างรวดเร็ว แมลงศัตรูแต่ละประเภทมีความต้านทานยาต่างกัน การเลือกใช้ยากำจัดต้องเลือกให้ถูกจึงจะกำจัด
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการขจัดใบผักเก่า ๆ ในแปลงให้สะอาด ขจัดหญ้าที่รก ๆ รอบแปลงอย่าให้เป็นที่อยู่อาศัยของแมลงได้

2. ใช้กับดักแสงไฟ เป็นวิธีที่ใช้ได้ผลดีมากกับพวกผีเสื้อกลางคืนที่เป็น ศัตรูผัก จะลดปริมาณตัวแก่หรือผีเสื้อที่จะมาวางไข่ได้มาก
เหมาะที่จะใช้ในแปลงที่มีไฟฟ้าเข้าถึง จะทำให้ลดการใช้สารเคมีฆ่าแมลงลงได้มาก วิธีการก็คือ ใช้หลอดไฟแบลคไลท์หรือหลอดไฟ
นีออนหรือตะเกียงเจ้าพายุแขวนไว้ในที่โล่งมองเห็นได้ชัด โดยเปิดไฟในช่วงหัวคํ่าประมาณ 1-5 ทุ่ม แขวนสูงจากพื้นประมาณ 4 เมตร
หรือสูงกว่านี้เพื่อล่อให้แมลงที่อยู่ใกล้เข้ามาใกล้ แล้วค่อยลดระดับหลอดไฟลงมาต่ำ ๆ เพื่อให้แมลงตกลงไปในน้ำหรือในอ่างนํ้าผสม
ผงซักฟอกเพื่อลดแรงตึงผิวแมลงก็จะตกลงมาแล้วก็จมนํ้าตาย หรือถ้าล่อให้แมลงตกลงไปในบ่อที่เลี้ยงปลาแมลงก็จะกลายเป็นอาหาร
ปลาได้อีกทางหนึ่ง


3. ใช้ศัตรูธรรมชาติ ได้แก่
- ตัวหํ้า ซึ่งกินพวกเพลี้ยอ่อนต่าง ๆ
- ตัวเบียน ได้แก่แตนเบียนที่ทำลายหนอนใบผักและหนอนคืบกะหลํ่า
- เชื้อจุลินทรีย์ เช่น เชื้อบัคเตรี บาซิลลัส ธูรินเจนซีส ที่ทำลายหนอนได้หลายชนิด และไม่มีหนอนชนิดใดต้านทานเชื้อนี้ได้ หรือเชื้อ
ไวรัสกำจัดหนอนกระทู้หอม




http://www.thaikasetsart.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 6:41 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 27/04/2012 8:04 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,564. การลำเลียงน้ำของพืช


พืชที่ไม่มีท่อลำเลียง เช่น มอส มักจะมีขนาดเล็กและเจริญในบริเวณที่มีความชื้นสูงมีร่มเงาเพียงพอ
เซลล์ทุกเซลล์ได้รับน้ำอย่างทั่วถึงโดยการแพร่จากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่ง ส่วนพืชที่มีขนาดใหญ่จะใช้วิธีการ
เช่นเดียวกับมอสไม่ได้ จำเป็นต้องมีท่อลำเลียงจากรากขึ้นไปเลี้ยงเซลล์ที่อยู่ปลายยอด

โดยปกติแล้วสารละลายภายในเซลล์ขนรากมีความเข้มข้นสูงกว่าภายนอก ดังนั้นน้ำในดินก็จะแพร่ผ่าน
เยื่อหุ้มเซลล์เข้าสู่เซลล์ที่ผิวของราก การเคลื่อนที่ของน้ำในดินเข้าสู่รากผ่านชั้นคอร์เทกซ์ของรากไปจนถึงชั้น
เอนโดเดอร์มิสได้โดยน้ำจะผ่านจากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่งทางผนังเซลล์หรือผ่านทางช่องว่างระหว่างเซลล์
์เรียกเส้นทางของการเคลื่อนที่แบบนี้ว่า อโพพลาส (apoplast) ส่วนการเคลื่อนที่ของน้ำผ่านเซลล์หนึ่งสู่เซลล์หนึ่ง
ทางไซโทพลาซึม ที่เรียกว่าพลาสโมเดสมาเข้าไปในเซลล์เอนโดเดอร์มิส ก่อนเข้าสู่ไซเลมเรียกการเคลื่อนที่แบบนี้ว่า
ซิมพลาส (symplast) เมื่อน้ำเคลื่อนที่มาถึงผนังเซลล์เอนโดเดอร์มิสที่มีแคสพาเรียนสตริพกั้นอยู่ แคสพาเรียนสติพ
ป้องกันไม่ให้น้ำผ่านผนังเซลล์เข้าไปในไซเลม ดังนั้นน้ำจึงต้องผ่านทางไซโทพลาซึมจึงจะเข้าไปในไซเลมได้


ถ้าลองตัดลำต้นของพืชบางชนิด เช่น มะเขือเทศ พุทธรักษา หรือกล้วยที่ปลูกในที่มีน้ำชุ่มให้เหลือลำต้นสูง
จากพื้นดินประมาณ 4-5 เซนติเมตร แล้วสังเกตตรงบริเวณรอยตัดของลำต้น ส่วนที่ติดกับรากจะเห็นของเหลว
ซึมออกมา เนื่องจากในไซเลมของรากมีแรงดัน เรียกว่า แรงดันราก (root pressure) การเคลื่อนที่ของน้ำเข้าสู่ไซเลม
ของรากทำให้เกิดแรงดันขึ้นในไซเลม ในพืชที่ได้รับน้ำอย่างพอเพียงและอยู่ในสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง เช่น
เวลากลางคืน หรือเช้าตรู่ แรงดันรากมีประโยชน์ในการช่วยละลายฟองอากาศในไซเลมที่อาจเกิดขึ้นในช่วงเวลา
กลางวัน แต่ในสภาพอากาศร้อนและแห้งในเวลากลางวันพืชมีการคายน้ำมากขึ้นจะเกิดแรงดึงของน้ำในท่อไซเลมทำให้
ไม่พบแรงดันราก การสูญเสียน้ำจากใบโดยการคายน้ำเกิดขึ้นเนื่องจากความแตกต่างระหว่างปริมาณไอน้ำในบรรยากาศ
และไอน้ำในช่องว่างภายในใบ การลำเลียงน้ำในท่อไซเลมนั้นเกิดขึ้นเนื่องจากมีแรงดึงน้ำที่อยู่ในท่อไซเลมให้ขึ้นมา
ทดแทนน้ำที่พืชคายออกสู่บรรยากาศ แรงดึงนี้จะถูกถ่ายทอดไปยังรากทำให้รากดึงน้ำจากดินเข้ามาในท่อไซเลมได้เนื่อง
จากน้ำมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลของน้ำด้วยกันเอง เรียกว่า โคฮีชัน (cohetion) สามารถที่จะดึงน้ำเข้ามาในท่อไซเลม
ได้โดยไม่ขาดตอน นอกจากนี้ยังมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลของน้ำกับผนังของท่อไซเลม เรียกว่า แอดฮีชัน (adhesion)
เมื่อพืชคายน้ำมากจะทำให้น้ำระเหยออกไปมากด้วย ดังนั้นน้ำในไซเลมจึงสามารถเคลื่อนที่และส่งต่อไปยัง
ส่วนต่างๆของพืชได้ ไม่ว่าจะเป็นลำต้น ใบ หรือยอด รากก็จะเกิดแรงดึงน้ำจากดินเข้าสู่ท่อไซเลมได้ แรงดึงเนื่องจากการ
สูญเสียน้ำนี้เรียกว่า แรงดึงจากการคายน้ำ (transpiration pull)



http://www.lks.ac.th/student/kroo_aumara/bio01/24.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 29/04/2012 10:11 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,655. นักวิจัย อีรี ระบุยิ่งพ่นยา ศัตรูพืชยิ่งระบาดหนัก


ดร. เค แอล ฮีออง (K.L. Heong) นักกีฏวิทยาของสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ หรืออีรี (IRRI) ศึกษามานานกว่า 10 ปี
พบว่าการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนและสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมากเกินไปในนาข้าว ไม่ช่วยแก้ปัญหาแมลงศัตรูพืชระบาด แต่จะทำ
ให้ระบาดหนักกว่าเดิมเพราะแมลงที่เป็นประโยชน์ลดน้อยลง


นักกีฏวิทยาจาก อีรี แนะ ชาวนาอย่าใช้ปุ๋ยไนโตรเจน-ยาฆ่าแมลงมากเกิน เพราะหากข้าวงอกงามเกินไป จะดึงดูดให้แมลงศัตรู
เพิ่มมากขึ้น ทำให้ต้องยิ่งฉีดสารเคมี อีกทั้งแมลงศัตรูตามธรรมชาติถูกกำจัดไปด้วย ระบุหนอนห่อใบข้าวไม่กระทบผลผลิต
แต่นักวิจัยไทยแย้ง นาข้าวในไทยไม่เหมือนในฟิลิปปินส์-เวียดนาม หนอนห่อใบทำลายต้นข้าวในนาได้ไม่น้อย


มูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดสัมมนาพิเศษเรื่อง “ไบโอไดเวอร์ซิตี, อีโคซิสเต็ม
เซอร์วิส แอนด์ เพสท์ แมเนจเมนท์" (Biodiversity, ecosystem services and pest management) โดยมี ดร.
เค แอล ฮีออง (K.L. Heong) ผู้เชี่ยวชาญด้านแมลงและความหลากหลายทางชีวภาพ จากสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ หรือ
อีรี (International Rice Research Institute: IRRI) ประเทศฟิลิปปินส์ เป็นผู้บรรยายพิเศษ ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 11 ก.ค.
51 ที่ผ่านมา ณ อาคารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน


ดร.ฮีออง กล่าวถึงการศึกษาวิจัยผลกระทบของการใช้ปุ๋ยเคมี และสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในนาข้าว โดยเฉพาะในประเทศจีน
และเวียดนาม ที่มีการใช้สารดังกล่าวสูงมาก สารเคมีเหล่านี้จะปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม และส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ รวม
ถึงความหลากหลายทางชีวภาพ หากไม่มีระบบการจัดการที่ดีเสียแต่วันนี้ ก็จะส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมไปถึงรุ่นลูกรุ่นหลานในอนาคต



"ปุ๋ยไนโตรเจนช่วยเพิ่มผลผลิตข้าวได้ก็จริงอยู่ แต่การใช้ปุ๋ยไนโตรเจนในนาข้าว
มากเกินไป นอกจากเป็นการเพิ่มสารเคมีแล้ว ยังมีส่วนทำให้แมลงศัตรูเพิ่มขึ้นด้วย
เพราะปุ๋ยไนโตรเจนทำให้ข้าวงอกงามดี มีใบมาก ก็ทำให้แมลงเพิ่มมากขึ้น เพราะมี
แหล่งอาหารอุดมสมบูรณ์ พอชาวนาเห็นแมลงระบาด ก็ฉีดสารเคมีเพื่อจะกำจัดแมลง
เหล่านั้น แต่แมลงที่มีประโยชน์หรือแมลงที่เป็นศัตรูตามธรรมชาติของแมลงศัตรูพืช
ก็พลอยได้รับผลไปด้วย" ศ.ดร.สุทัศน์ ศรีวัฒนพงศ์ นายกสมาคมเทคโนโลยี
ชีวภาพสัมพันธ์ (สทส.) ซึ่งเข้าร่วมการสัมมนาในครั้งนี้ด้วย สรุปสาระสำคัญให้ผู้
จัดการวิทยาศาสตร์ฟัง



ศ.ดร.สุทัศน์ อธิบายต่อว่า เมื่อแมลงที่เป็นศัตรูธรรมชาติของแมลงศัตรูพืชล้มหายตายจากและลดจำนวนลงเพราะยาฆ่าแมลง
ก็ยิ่งส่งผลให้แมลงศัตรูพืชในนาข้าวระบาดหนักมากกว่าเก่า เพราะศัตรูเหลือน้อยลง ชาวนาก็ยิ่งฉีดยาฆ่าแมลงกันเข้าไปอีก ซึ่ง
มันไม่ได้ช่วยให้ดีขึ้นเลย มีแต่จะเพิ่มสารเคมีให้กับสิ่งแวดล้อม


จากการศึกษาวิจัยการใช้ปุ๋ยเคมีและยากำกัดศัตรูพืชในแปลงปลูกข้าวที่ศูนย์วิจัย อีรี มานานกว่า 10 ปี ดร.ฮีออง บอกว่า ใน
ธรรมชาติจะมีกลไกการควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยแมลงที่เป็นศัตรูธรรมชาติอยู่แล้ว หากไม่ใช้ปุ๋ยและสารเคมีมากเกินไป ก็
จะไม่ต้องพบกับปัญหาแมลงศัตรูพืชระบาดในนาข้าวมากนัก ดังนั้นเมื่อเจอแมลงศัตรูพืชในนาข้าวก็ควรอยู่เฉย ไม่ต้องฉีด
ยากำจัด ปล่อยให้แมลงศัตรูธรรมชาติเป็นตัวกำจัดเอง แต่หากจะใช้ปุ๋ยเคมีหรือยาฆ่าแมลงก็ควรจะใช้อย่างพอเหมาะพอควร


ที่น่าสนใจอีกประการหนึ่ง คือ ในนาข้าวมักจะมีหนอนห่อใบข้าว (Rice leaffolder) เข้ามาอาศัยอยู่และมากัดกินใบข้าว
เมื่อชาวนาพบเห็นเข้า ก็มักเข้าใจว่าเป็นแมลงศัตรูที่จะมาทำลายข้าว ก็ระดมฉีดยาฆ่าแมลง ซึ่งก็ไปมีผลกับแมลงที่เป็นประโยชน์
ในนาข้าว เช่น จิ้งหรีด เป็นต้น


"หนอนห่อใบข้าวเป็นพวกหนอนผีเสื้อ ซึ่งพวกนี้ไม่ใช่แมลงศัตรูสำคัญของข้าว เพราะแค่มาอาศัยกัดกินใบข้าวเพียงเล็ก
น้อยเท่านั้น พอโตเป็นผีเสื้อก็ย้ายไป ไม่ใช่แมลงที่มีอยู่ประจำในนาข้าว และไม่มีผลต่อผลผลิตของข้าวเลย ไม่จำเป็นต้อง
ฉีดยาฆ่าแมลงด้วย แต่ชาวนาส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ว่าแมลงชนิดไหนดีหรือไม่ดีอย่างไร เมื่อเห็นหนอนแมลงก็จะคิด
อย่างเดียวว่าต้องฉีดยา ซึ่งไม่เป็นผลดี และไม่ใช่ว่าฉีดแล้วหมดไปเลย แต่เดี๋ยวก็จะมีมาเพิ่มอีกจากที่อื่นๆ" ศ.ดร.สุทัศน์
อธิบายใจความจากการบรรยายของ ดร.ฮี ออง


ดร.ขวัญใจ โกเมศ เลขาธิการมูลนิธิข้าวไทยฯ บอกกับผู้จัดการวิทยาศาสตร์ว่า จากการทำงานอยู่ที่ศูนย์วิจัยอีรีมานานกว่า 30 ปี
ดร.ฮีออง ก็ได้นำผลงานวิจัยเกี่ยวกับการจัดการแปลงปลูกข้าวไปเผยแพร่แก่เกษตรกรในฟิลิปปินส์ จีน และเวียดนาม
อย่างต่อเนื่อง ซึ่งก็ช่วยให้เกษตรกรปลูกข้าวได้ผลผลิตดีและลดใช้สารเคมีลงได้ ส่งผลให้ ดร.ฮี ออง ได้รับรางวัลจากสถาบัน
ต่างๆ หลายรางวัล เช่น รางวัลโกลเดน ไรซ์ อวอร์ด (Golden Rice Award) ของเวียดนาม 2 ปีซ้อน


อย่างไรก็ดี นายสมศักดิ์ ทองดีแท้ ผอ.ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท บอกกับผู้จัดการวิทยาศาสตร์ว่า การปลูกข้าวในเวียดนามและ
ฟิลิปปินส์ไม่เหมือนกับประเทศไทย หนอนห่อใบข้าวอาจไม่ใช่ปัญหาใหญ่ของเขา แต่ในบ้านเราก็นับว่าสร้างปัญหาให้กับ
เกษตรกรไม่น้อยเหมือนกัน หากระบาดมากก็อาจทำให้ผลผลิตข้าวลดลงได้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าระบาดในช่วงไหน


"หนอนห่อใบข้าวจะมาอาศัยบนใบข้าวและม้วนใบเข้าหากันเพื่อกัดกินเนื้อเยื่อใบ จะฉีดยากำจัดก็ทำได้ยาก เพราะมีใบห่อหุ้ม
และหากใบข้าวเสียหายมาก ก็จะทำให้ข้าวสังเคราะห์แสงได้น้อยลง ยิ่งหากเป็นช่วงที่ข้าวยังไม่แตกกอ จะทำให้ต้นข้าวล้มได้
แต่หากข้าวออกรวงแล้วจะไม่เสียหายมากเท่าไหร่ และแม้ว่าหนอนห่อใบข้าวจะระบาดอยู่แค่ในพื้นที่ล่ม แต่ว่าเกษตรอาจ
ดูแลไม่ทั่วถึง ก็จะทำให้ต้นข้าวบริเวณดังกล่าวเสียหายได้ ขณะที่ในเวียดนาม และฟิลิปปินส์เขามีการจัดการที่ทั่วถึงมาก
กว่าไทย" ผอ.ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท กล่าวเปรียบเทียบ


เลขาธิการมูลนิธิข้าวไทยฯ บอกอีกว่า ดร.ฮีออง เน้นว่าพวกเราจะต้องคิดถึงผลกระทบของสิ่งแวดล้อมด้วย เพราะเป็น
เรื่องที่ส่งผลในระยะยาว ทุกคนควรจะช่วยกันปกป้องสิ่งแวดล้อมให้ดีไปจนถึงลูกหลาน ให้มองผลดีผลเสียอย่างรอบด้าน
ไม่ใช่นึกถึงแต่ผลผลิตเพียงอย่างเดียว แต่ให้รักษาสมดุลในธรรมชาติด้วย


ฃทั้งนี้ ดร.ขวัญใจ แสดงความเห็นว่า ในประเทศไทยยังขาดนักวิจัยที่ศึกษาถึงผลดีผลเสียของสารเคมีการเกษตรอยู่
มาก ซึ่งหากจะห้ามไม่ให้เกษตรกรใช้สารเคมีเลยคงยาก ควรจะมีการศึกษาวิจัยและมีข้อมูลหรือตัวเลขให้เกษตรกรเห็น
อย่างชัดเจนจึงจะเกิดผล


ศ.ดร.สุทัศน์ เสริมอีกว่า อย่างไรก็ตาม ขณะนี้สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ก็กำลังดำเนิน
การเพื่อควบคุมการใช้สารเคมีของภาคเกษตรกรรม โดยมีข้อกำหนดให้ใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ผลผลิตสุดท้ายต้อง
ปลอดภัยจากสารเคมี ซึ่งก็ได้ผลดีพอสมควร.



http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9510000081836


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 04/05/2012 12:05 pm, แก้ไขทั้งหมด 5 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 29/04/2012 10:38 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,656. ไม่เผา ! เกษตรกรพะเยา หมักฟางข้าว-ซังข้าวโพดเป็นปุ๋ยลดหมอกควัน



เกษตรกรพะเยาลดละเลิกจากการเผาฟางข้าว-ซังข้าวโพด เปลี่ยนมาทำปุ๋ยหมักเพื่อใช้ทดแทนปุ๋ยเคมี ได้ประโยชน์ทั้ง
ลดต้นทุน และแก้ปัญหาหมอกควัน


กลุ่มบุคคลรักสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับเทศบาลตำบลฝายกวาง อ.เชียงคำ จ.พะเยา จัดงานมหกรรมอาหารที่เกิดจาก
ผลผลิตของการใช้ปุ๋ยหมักจากฟางข้าว-ซังข้าวโพด ซึ่งสืบเนื่องมาจากโครงการลดผลกระทบต่อสุขภาพจากการเผาฟาง
ข้าวหรือซังข้าวโพด ด้วยวิธีการผลิตปุ๋ยหมักไว้ใช้ในครัวเรือน โดยมีหมู่บ้านเข้าร่วมโครงการ 17 หมู่บ้าน ส่งผลให้ต้นทุน
การผลิตลดลงกว่า 75% แถมยังช่วยลดปัญหาปริมาณขยะและลดปัญหาหมอกควันจากการเผาฟางข้าว-ซังข้าวโพดหลัง
การเก็บเกี่ยว


นายภุชงค์ มหาวงศนันท์ ผู้จัดการโครงการฯ กล่าวว่าเทศบาลตำบลฝายกวาง ร่วมกับกลุ่มบุคคลรักสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ได้
ตระหนักถึงปัญหาการเผาเศษฟางข้าว-ซังข้าวโพด เนื่องจากประชาชนในพื้นที่ประกอบอาชีพเกษตร 90% ปลูกข้าวปีละ
1 ครั้ง และพืชไร่ มีทั้งข้าวโพดปีละ 2-3 ครั้ง บางครัวเรือนปลูกถั่ว ยางพารา มันสำปะหลัง หลังจากเก็บเกี่ยวแล้ว ประชา
ชนมักจะเผาเศษฟางข้าว-ซังข้าวโพดในพื้นที่โล่ง ก่อให้เกิดปัญหาหมอกควันและกลิ่นรบกวนประชาชนที่อาศัยอยู่ใกล้เคียง
มีปัญหาร้องเรียนและส่งผลให้ประชาชนมีอาการเจ็บป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจ จากสถิติของอนามัยฝายกวางพบว่าในปี 2551
มีผู้ป่วย 280 คน เป็นโรควิงเวียนศีรษะจากกลิ่นเหม็นควันเผาไหม้


ทางโครงการฯ จึงได้จัดให้มีการส่งเสริมประชาชนนำเศษวัสดุเกษตรมาทำปุ๋ยหมักด้วย “สูตรแม่โจ้ 1” ภายใต้การสนับสนุน
จากสำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรม
ดูงาน แนะนำ สาธิต และให้ทุกหมู่บ้านได้ทดลองทำปุ๋ย ปลูกผักปลอดสารพิษ ซึ่งชาวบ้านได้นำปุ๋ยที่ได้ไปใช้กับแปลงเกษตร
ของตนด้วย


ด้านนางพร สะสม ชาวบ้านฝายกวาง หมู่ 1 ต.ฝายกวาง อ.เชียงคำ จ.พะเยา กล่าวว่า หลังจากร่วมกิจกรรม ได้มีการนำเศษ
วัสดุการเกษตรทุกอย่าง ทั้งฟางข้าว-ซังข้าวโพด ถั่วแดง และใบไม้ทุกชนิด มาผสมกับมูลสัตว์ ในสัดส่วน 3:1 แล้วมาขึ้นเป็น
กองสูงประมาณเมตรครึ่ง ผลัดเวรกันมารดน้ำวันละครั้ง ทิ้งไว้ประมาณ 2 เดือน ก็ได้ปุ๋ยไปใช้แทนปุ๋ยเคมี โดยมีการจัดสรรแบ่ง
ปันกันในกลุ่มสมาชิก มีการคิดราคาเป็นต้นทุนไว้ใช้ซื้อมูลวัวสำหรับการผลิตปุ๋ยครั้งต่อไป ซึ่งต้นทุนปุ๋ยหมักต่ำกว่าต้นทุนปุ๋ย
เคมีสูตร 13/13/21 ซึ่งมีราคากระสอบละ 1,050 บาท ขณะที่ปุ๋ยหมักมีต้นทุนเพียงกระสอบละ 290 บาท


ขณะที่นายสยาม บุญต่อ สาธารณสุขเทศบาลตำบลฝายกวาง เสริมว่าจุดเริ่มต้นมาจากการที่เทศบาลต้องการลดปัญหาเรื่อง
ขยะและปัญหาหมอกควัน ซึ่งสามารถบรรลุผลเป็นอย่างดี ทั้งยังช่วยให้ชาวบ้านมีรายได้และสุขภาพที่ดีขึ้น ทางเทศบาลจึง
พร้อมจะผลักดันให้เกิดการนำไปใช้ในทุกครัวเรือนของตำบลฝายกวาง


ทั้งนี้ ปุ๋ยหมักสูตรแม่โจ้ 1 จัดเป็นนวัตกรรมการเกษตรที่ทางชาวบ้านฝายกวาง อ.เชียงคำ จ.พะเยา นำมาปรับปรุงด้วยการ
ใช้วัสดุที่หลากหลาย ตามสภาพผลผลิตเกษตรในแต่ละพื้นที่ อาทิ ใช้มูลสุกรและมูลไก่ ทดแทนมูลวัว หรือใช้เศษวัสดุเกษตร
อื่นๆ ที่มีอยู่ โดยอานิสงส์จากการเปลี่ยนมาใช้ปุ๋ยหมัก ไม่เพียงช่วยลดต้นทุนการผลิต เพราะมีราคาที่ถูกกว่าปุ๋ยเคมี แต่ยัง
มีส่วนช่วยลดสภาพหมอกควันที่กำลังเป็นปัญหาสำคัญอยู่ในขณะนี้



http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9550000034621


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 04/05/2012 12:06 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 29/04/2012 10:47 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,567. พรรณไม้ในเมืองก็ดูดซับ “คาร์บอน” ได้


นักวิจัยอังกฤษเผยผลการศึกษาพบพรรณไม้ในเมืองก็ช่วยกักเก็บ “คาร์บอน” ได้ ไม่ว่าจะเป็นพืชในสวน สนามกอล์ฟ
เขตปลอดอุตสาหกรรม ริมถนน และกักเก็บได้มากขึ้นอีกถ้าปลูกต้นไม้เพิ่ม สวนทางความเข้าใจเดิมว่าพื้นที่เมืองไม่มีแหล่ง
ชีวภาพดูดซับคาร์บอน


งานวิจัยที่ดูเหมือนจะเพิ่มความหวังให้คนเมืองว่ายังพอต่อสู้กับปัญหาภาวะโลกร้อนได้บ้างนี้ เป็นผลงานของนักวิจัยอังกฤษ
ซึ่ง เอเอฟพี ระบุว่า พวกเขาได้สำรวจเมืองเลสเตอร์ (Leicester) ใจกลางของอังกฤษ ที่มีประชากรอยู่ราว 300,000
คนอาศัยอยู่ในพืนที่ 73 ตารางกิโลเมตร แล้วประเมินการดูดซับคาร์บอนจากสวนสาธารณะ สวนหย่อม พื้นที่ปลอดอุต
สาหกรรม สนามกอล์ฟ สนามเด็กเล่นในโรงเรียน ริมถนนและริมแม่น้ำ


จากการศึกษาพวกเขาพบว่าพื้นที่ต่างๆ เหล่านั้นของเมืองกักเก็บคาร์บอนไว้ถึง 231,000 ตัน หรือมากกว่า 10 เท่า
ของที่เคยคาดกันไว้ ซึ่งปริมาณดังกล่าวมากพอๆ กับคาร์บอนที่รถยนต์ขนาดใหญ่กว่า 150,000 คันปล่อยออกมาตลอด
ทั้งปี ส่วน PhysOrg ระบุว่า ปริมาณคาร์บอนที่พื้นที่สีเขียวของเมืองกักเก็บไว้นั้นคิดได้เป็น 3.16 กิโลกรัมต่อตารางเมตร
ทั้งนี้ นักวิจัยได้ข้อมูลจากดาวเทียมและข้อมูลจากการสำรวจ


ดร.โซ เดวีส์ (Dr.Zoe Davies) จากมหาวิทยาลัยเคนท์ (University of Kent) ในอังกฤษ ซึ่งเป็นหัวหน้าในการ
ศึกษาครั้งนี้ระบุว่า ต้นไม้ใหญ่นั้นมีความพิเศษต่อการกักเก็บคาร์บอน แต่คนส่วนใหญ่ในเลสเตอร์เป็นเจ้าของหรือจัดการ
พื้นที่ซึ่งเป็นพื้นหญ้า หาก 10% ของพื้นที่เหล่านั้นปลูกต้นไม้แทนแล้ว แหล่งดูดซับคาร์บอนของเมืองน่าเพิ่มขึ้นเป็น 12%


“ต้นไม้ขนาดใหญ่ควรได้รับการดูแลและปกป้อง และหากจะปลูกต้นไม้ในพื้นที่เมืองเพื่อเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนแล้ว จะต้อง
ปลูกพืชที่ถูกชนิดในสถานที่เหมาะสม ซึ่งจะทำให้ต้นไม้อยู่ได้ยืนนาน และเมื่อต้นไม้เหล่านั้นตายลงก็ควรจะหาใหม่มาปลูก
ทดแทน” ดร.เดวีส์ กล่าว


ดร.เดวีส์ ยังบอกอีกว่าพื้นที่ของอังกฤษที่ระบุว่าเป็นพื้นที่เมืองได้รับการประเมินว่าไม่มีแหล่งชีวภาพดูดซับคาร์บอน แต่การ
ศึกษาของเธอและคณะชี้ให้เห็นว่าไม่ได้เป็นเช่นนั้น โดยเธอได้เผยแพร่ผลงานลงวารสารเจอร์นัล ออฟ แอพพลายด์ อีโคโลจี
(Journal of Applied Ecology) ของสมาคมนิเวศวิทยาอังกฤษ (British Ecological Society)


ทั้งนี้ รัฐบาลอังกฤษตั้งเป้าที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 80% จากปี 1990-2050 ซึ่งข้อมูลจากการศึกษา
ครั้งนี้จะมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะหน่วยงานรัฐระดับท้องถิ่นอาจช่วยเหลือรัฐบาลอังกฤษให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้



http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9540000085828


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 04/05/2012 12:07 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 04/05/2012 11:32 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1.568. ระบบการเตรียมเมล็ดพันธุ์สำหรับเกษตรอินทรีย์

ภาณี ทองพำนัก และคณะ
ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทร 034-281-092


เมล็ดพันธุ์ที่ดี มีคุณภาพความงอกมีความแข็งแรงสูง และปราศจากโรคแมลงแล้วย่อมทำให้ต้นพืชนั้นเจริญงอกงาม แข็งแรง
ออกดอกและ ให้ผลผลิตดีในที่สุด เมล็ดพันธุ์จัดเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ระบุไว้ในข้อกำหนดเกษตรอินทรีย์ของ
ประเทศไทยว่า จะต้องไม่เป็นเมล็ดพันธุ์ที่ได้รับการดัดแปลงพันธุกรรม (GMO, genetic modified organism) และปราศ
จากการคลุกสารเคมีสังเคราะห์ใดๆทั้งสิ้นที่จะใช้ในการเตรียมเมล็ด แต่ก็ยังมีสารอนินทรีย์ที่อนุญาตให้ใช้ได้ เช่น ธาตุอาหาร
เสริม ได้แก่ โบรอน เหล็ก ทองแดง แมงกานีส โมลิบดีนัม และสังกะสี และการเตรียมเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูก แนะนำให้แช่น้ำร้อน
ที่อุณหภูมิ 50-55 องศาเซลเซียส เพื่อกำจัดเชื้อราและแบคทีเรียบางชนิดที่ติดมากับเมล็ด การคลุกเมล็ดด้วยจุลินทรีย์ปฏิปักษ์
เช่น เชื้อราไตรโคเดอร์มา (trichoderma) เชื้อแบคทีเรีย Bacillus subtilis (Bs) ทั้งหลายเหล่านี้สามารถทำได้ขึ้นอยู่กับ
ชนิดเมล็ดพืช และเชื้อสาเหตุโรค ปัญหาในปัจจุบันไม่มีเมล็ดพันธุ์ที่ขายในท้องตลาด ระบุว่าใช้ได้สำหรับเกษตรอินทรีย์ เนื่อง
จากเมล็ดพันธุ์ที่จำหน่ายล้วนคลุกด้วยสารเคมีแทบทั้งสิ้นในข้อกำหนดเกษตรอินทรีย์มาตรฐานสากลกำหนดว่า ปี ค.ศ.2005
ต้องใช้เมล็ดพันธุ์พืชที่ผลิตแบบเกษตรอินทรีย์เท่านั้น





ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่หน่วยงานภาครัฐต้องมีการเตรียมความพร้อมเมล็ดพันธุ์อินทรีย์ ให้ได้เมล็ดพันธุ์ที่ปราศจากสารเคมี
และเป็นเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพการงอกสูง มีความตรงตามพันธุ์ออกสู่ตลาดเมล็ดพันธุ์ ในสภาพปัจจุบันมีการเตรียมการ และศึกษา
แต่ยังไม่มีหน่วยงานใดสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ในระบบเกษตรอินทรีย์ได้ เห็นควรอนุโลมให้มีการผลิตเมล็ดพันธุ์ในระบบ GAP ไป
ก่อน ให้ได้เมล็ดพันธุ์ที่ปราศจากการปนเปื้อนของสารเคมี แล้วจึงใช้เมล็ดพันธุ์ ล็อทนั้นๆ ไปเตรียมเมล็ดพันธุ์สำหรับเกษตรอินทรีย์

การเตรียมเมล็ดพันธุ์ทำได้หลายประการขึ้นอยู่กับปัญหาที่จะเกิดในขณะเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์หรือในแปลงปลูก เริ่มดำเนินการได้
ทันทีหลังการเก็บเกี่ยว ถ้าต้องการเก็บรักษาไว้ใช้ในระยะยาวนานต้องลดความชื้นให้ต่ำ และเก็บรักษาในสภาพอุณหภูมิต่ำ ถ้ามีปัญหา
แมลงในโรงเก็บก็ควรทำลายแมลงก่อนทำการเก็บรักษาในห้องปกติ แต่ถ้าเก็บในที่อุณหภูมิต่ำก็สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตหรือ
ยับยั้งการเพิ่มปริมาณของแมลงได้ระยะหนึ่ง ถ้าเมล็ดพันธุ์นั้นมีอายุการพักตัวต้องทำลายอายุการพัก การเตรียมเมล็ดพันธุ์ให้พร้อม
การงอกทันทีเมื่อลงปลูกทำให้ได้ต้นกล้าที่งอกสม่ำเสมอ และลำต้นตั้งตัวได้ดีทั่วทั้งแปลงปลูก









แปลงผลิตเมล็ดพันธุ์
- ใช้พื้นที่ปลูกได้มาตรฐาน ตามระบบ GAP
- ใช้พันธุ์ดีและเป็นพันธุ์ตอบสนองต่อปุ๋ยอินทรีย์
- ปรับปรุงดิน ป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช ตามระบบ GAP
- คัดทิ้งพันธุ์ปน จากแปลงปลูก


เตรียมอะไรไปกับเมล็ดพันธุ์
- ใช้น้ำอุ่นหรือความร้อนแห้งฆ่าโรคและแมลงที่ติดมากับเมล็ด
- ใช้อินทรีย์สารช่วย เร่งการเจริญเติบโตระยะกล้า
- ใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ เช่น ไตรโคเดอร์มาเป็นต้น เพื่อควบคุมโรคในระยะต้นกล้า
- ใช้สารสกัดธรรมชาติ ป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช ในขณะเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ และระยะต้นกล้า
- ใช้จุลินทรีย์ให้สีหรือสีย้อมธรรมชาติ หากมีการ เคลือบเมล็ดพันธุ์



วัสดุสำหรับเตรียมเมล็ดพันธุ์อินทรีย์
- ทดสอบใช้กับเมล็ดพันธุ์ในห้องปฏิบัติการ
- ทดสอบในแปลงปลูก
- ทดสอบกับการปลูกพืชในสภาพไร้ดิน
- วิเคราะห์ชนิดและปริมาณองค์ประกอบ
- ใช้สารปราศจากโลหะหนักและอื่นใดที่เป็นข้อห้ามในระบบเกษตรอินทรีย์



http://www.rdi.ku.ac.th/bk/13/index13.htm


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 04/05/2012 12:07 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 04/05/2012 11:45 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,569. ชาวบ้านทำอินทรีย์ ราชการขนเคมีเข้าหมู่บ้าน

โดย นางสาวมาลี สุปันตี
เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก ภาคอีสาน


ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ( ปี 2550- 2554) มีวิสัยทัศน์การพัฒนาจังหวัดยโสธร ว่า “ยโสธร
เมืองน่าอยู่ การเกษตรปลอดภัย เกษตรอินทรีย์ ก้าวไกลสู่สากล” และมีประเด็นยุทธศาสตร์ หนึ่ง ใน 5 ประเด็น การพัฒนา
จังหวัดยโสธร คือ “การส่งเสริมการเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ครบวงจร เพิ่มผลผลิตทางการเกษตรปลอดภัย และ
เพิ่มศักยภาพ การผลิต เกษตรอินทรีย์ให้ครบวงจร” เป็นการกำหนดแนวนโยบายที่ตรงกับการดำเนินงานของ กลุ่มเครือข่าย
เกษตรอินทรีย์ได้ปรับเปลี่ยนแนวคิดการเกษตรอินทรีย์ สู่การทำการผลิตภายใต้ระบบเกษตรอินทรีย์และพัฒนาระบบเกษตร
กรรมยั่งยืน อินทรีย์ ในเขตอำเภอกุดชุม อำเภอป่าติ้ว มาตั้งแต่ ปี 2535 และได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และ
สร้างมาตรฐานการผลิตที่ปลอดสารเคมีด้วยองค์กรเกษตรกร


เครือข่ายเกษตรอินทรีย์ ในพื้นที่ อ.กุดชุมตื่นตัวกับกระแสข่าวการเข้ามาของสารเคมีในพื้นที่ อ.กุดชุม จำนวนมากถึง 41 ตัน
นายอำเภอประสานไปยังผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ เพื่อให้เกษตรกรเข้าไปติดต่อรับสารเคมี ซึ่งเป็นมูลเหตุเบื้องต้นในการติดตามเรื่อง
ซึ่งมีลำดับความเคลื่อนไหว ดังนี้


วันที่ 16 ตุลาคม 2552 แกนนำเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก 5 คน ได้ไปขอข้อมูล จากนายอดิเรก ขุนอ่อน อำเภอกุดชุม
ถึงความเป็นมาของโครงการ ได้ข้อมูลเบื้องต้นว่าสารเคมีเป็นสารเคมี เป็นสารดูดซึมประเภทฟูราดานที่เกษตรกรได้ร้องเรียน
กรณีข้าวเกิดโรคระบาดและได้ขอความช่วยเหลือจากสำนักงานเกษตรอำเภอ และได้มีการจัดทำ โครงการแก้ปัญหาภัยพิบัติ
เพื่อแก้ปัญหาโรคระบาดในนาข้าว ทางเกษตรอำเภอสั่งซื้อ สารเคมี ชื่อทาร์แดนนิซิน 6G ตราพระอาทิตย์ เป็นสารดูดซึมที่
สามารถกำจัดโรค ในนาข้าว แต่ เป็นสารเคมีที่มีอันตรายร้ายแรง เครือข่ายเกษตรอินทรีย์มีข้อเสนอ ว่าไม่สมควรในการแจก
จ่ายสารเคมีดังกล่าวลงในพื้นที่เกษตรอินทรีย์ และหากจะมีการแจกจ่ายสารเคมีเป็นปริมาณมากลงไปในพื้นที่ต้องมีการลงพื้นที่
เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงในพื้นที่ก่อน


เวลา 14.00 น. วันเดียวกัน ตัวแทนเกษตรกร ได้ขอเข้าพบและข้อมูลเพิ่มเติมจากนายกมลสุริยา พลเยี่ยม เกษตรกรอำเภอกุดชุม
ได้ข้อมูลเบื้องต้นว่าสารเคมีที่นำมาเก็บไว้เป็นโครงการที่เกษตรกรในท้องที่ร้องขอ เมื่อได้รับสารเคมีจำนวนดังกล่าวมาและ
จะมาดำเนินแจกจ่ายแก่ชาวบ้าน ในทุกหมู่บ้านของอำเภอกุดชุมจากข้อมูลทางเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ได้มีข้อเสนอต่อเกษตรกร
อำเภอว่า ให้ยังยั้งการแจกจ่ายสารเคมีในพื้นที่เนื่องจากเป็นสารอันตราย และเป็นคำสั่งที่ขัดกับนโยบายจังหวัดที่กำหนดให้เป็น
ยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์ ไม่เห็นควรที่จะให้มีการนำสารเคมีมาใช้ในพื้นที่อำเภอกุดชุมและพื้นที่อื่น ๆ ในจังหวัดยโสธร


เกษตรอำเภอแจ้งว่าไม่มีอำนาจในการตัดสินใจ ต้องให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ หากเกษตรมีความ
ประสงค์ดังกล่าว ต้องให้เกษตรกรไปร้องเรียนต่อผู้ว่าราชการจังหวัดให้ผู้ว่ามีคำสั่งและทางหน่วยงานจะได้ปฏิบัติตาม


วันที่ 19 ตุลาคม 2552 เครือข่ายเกษตรอินทรีย์ยโสธร จำนวน 20 คน ได้เข้ายื่นหนังสือคัดค้านการแจกจ่ายสารเคมีกำจัดศรัตรู
พืชในนาข้าวของทางราชการจำนวน 41 ตัน ต่อรองผู้ว่าราชการจังหวัด นายชโลธร ผาโคตร ซึ่งมีข้อเรียกร้อง 6 ข้อ ดังนี้


ให้ขนย้ายสารเคมี ที่นำเข้ามาในเขตจังหวัดยโสธร โดยการสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐหรือภาษีจากประชาชนออกจากพื้นที่
ภายใน 24 ชั่วโมง

ห้ามนำเข้าสารเคมีสังเคราะห์ไม่ว่าชนิดใดก็ตามเข้ามาในเขตพื้นที่จังหวัดยโสธร โดยผ่านทางนโยบายของรัฐ เพราะขัดแย้งกับ
ยุทธศาสตร์การเกษตรของจังหวัดอย่างรุนแรง

ให้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบความเป็นมาของโครงการนี้ ภายในระยะเวลา 1 สัปดาห์

ให้ดำเนินการกับบุคคลที่กระทำอันเป็นการทำลายชาตินี้โดยเร็วที่สุด

ออกกฎระเบียบจังหวัดของจังหวัดยโสธรในการควบคุมการใช้สารเคมีสังเคราะห์ในระดับครัวเรือนและในระดับชุมชน เนื่องจากมี
ผู้ผลิตที่มีอยู่ใกล้เคียงแปลงที่ใช้สารเคมีได้รับผลกระทบจากมลพิษทางกลิ่น มลพิษทางน้ำและยังมีสารเคมีตกค้างในสิ่งแวดล้อม
ซึ่งเป็นการทำลายฐานอาหารตามธรรมชาติและยังเป็นอันตรายต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค

หากท่านไม่ดำเนินการตามข้อเรียกร้องดังกล่าวข้างต้น ภายในวัน เวลาดังกล่าวขางต้น ภายในวันเวลาที่กำหนดไว้ในแถลงการณ์
นี้ พวกเราในนามประชาชนชาวจังหวัดยโสธรและองค์กรผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์จะมาติดตามทวงถามการดำเนินการของท่านโดย
เร็วที่สุด

และทางจังหวัดทำหนังสือรับว่าจะระงับยับยั้ง การแจกจ่ายสารเคมีดังกล่าวไว้ก่อนเพื่อรอการตรวจสอบความเป็นมาของสารเคมี
จำนวน 41 ตัน และดำเนินการตรวจสอบพิจารณาแก้ไข ภายใน 7 วัน


วันที่ 21 ตุลาคม 2552 ตัวแทนเกษตรกรเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ จำนวน 5 รายและนายกสมาคมนักข่าวจังหวัดยโสธร ขอเข้า
ไปถ่ายรูปในโกดังเก็บของของสำนักงานเกษตร แต่ทางเกษตรกรอำเภอไม่อนุญาตและแจ้งว่าจะดำเนินการเคลื่อนย้ายสารเคมีออก
จากพื้นที่แล้ว แต่ทางเกษตรกรขอต่อรอง เพื่อเก็บหลักฐานไว้ ที่สุดทางเกษตรกรอำเภอก็ยินยอมให้ตัวแทนเกษตรกรถ่ายภาพ


วันที่ 26 ตุลาคม 2552 ตัวแทนเกษตรกรจากเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ จำนวน 40 ไปสอบถามความคืบหน้า ในการดำเนินการตาม
ข้อเสนอดังกล่าว นาย เกษตรอำเภอกุดชุม ได้ออกมาชี้แจงแบบวกไปวนมา เกษตรกรได้รับคำตอบที่ไม่พอใจ โดยชี้แจงกับ
เกษตรกร ว่าสารเคมีดังกล่าว เป็นความผิดพลาดในการจัดส่งของทางบริษัท ซึ่งบริษัทฝากไว้ และขณะนี้ได้เตรียมการเคลื่อน
ย้ายไปแล้วและทางเกษตรอำเภอปฏิเสธที่จะให้ข้อมูลถึงที่ไปที่มาของสารเคมีดังกล่าว ตัวแทนเกษตรกรไม่พอใจกับคำชี้แจง



จากเงื่อนปมที่น่าสงสัยดังกล่าวถึงที่มาที่ไปของสารเคมี และการให้ข้อมูลที่ไม่กระจ่าง จนเป็นที่มาของวันที่ 3 พฤศจิกายน 2552
ได้มีการลงเยี่ยมพื้นที่เกษตรอินทรีย์ ที่ชมรมรักษ์ธรรมชาติ ต.นาโซ่ อ.กุดชุม นำโดย เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร
และสหกรณ์ และส่วนราชการของจังหวัด อันประกอบไปด้วย สปก. ปศุสัตว์จังหวัด เกษตรอำเภอ เกษตรจังหวัด กรมประมง และ
หน่วยงานอื่นๆ คุณชุติมา สามสี ตัวแทนเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ได้นำเสนอขบวนการพัฒนาระบบเกษตรอินทรีย์และการดำเนิน
งานด้านเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ นายบุญส่ง มาตขาว ได้ลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ และได้ยื่นหนังสือร้องเรียน ขอให้มีการ
ดำเนินการตรวจสอบกรณีสารเคมีอันตราย และสนับสนุนการทำเกษตรอินทรีย์ ซึ่งทางเครือข่ายต้องการความชัดเจนของโครงการ
โครงการที่จะนำเอาสารเคมีอันตรายลงมาในพื้นที่จังหวัดเกษตรอินทรีย์และกลุ่มได้มีข้อเรียกร้องต่อการดำเนินงานในพื้นที่เกษตร
อินทรีย์ ดังนี้

ให้มีการกำหนดมาตรการและแผนงานของหน่วยงานราชการระดับจังหวัด ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์จังหวัด ( เป็นเมืองน่าอยู่
นำเกษตรอินทรีย์สู่สากล)
การจัดสรรงบประมาณ ของหน่วยงานให้สนับสนุนตรงไปยังกลุ่ม องค์กรเกษตรกร และองค์กรชุมชน โดยต้องยอมรับโครงการที่
สอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหาของชุมชน ทั้งนี้ต้องให้อำนาจกับองค์เกษตรกรในการจัดซื้อจัดจ้าง

ให้หน่วยงานราชการมีการสนับสนุน ส่งเสริมการขยายผลการทำเกษตรอินทรีย์ โดยให้มีแนวทางการดำเนินงานทั้งการสนับสนุน
ให้องค์กรเกษตรกรที่มีความพร้อม และ หน่วยงานที่รับผิดชอบร่วมขยายผลการทำเกษตรอินทรีย์

ให้มีการดำเนินตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโครงการฯ ดังกล่าว พร้อมทั้งชี้แจงข้อเท็จจริงให้กลุ่มเกษตรกรและสาธารณชนได้รับรู้
หากพบว่ามีการทุจริต หรือการกระทำที่ขัดต่อระเบียบทางราชการขอให้ดำเนินการตามระเบียบอย่างเคร่งครัด

ทั้งนี้ทางส่วนราชการหลายส่วนมาร่วมรับรู้สถานการณ์ ปัญหาที่เกิดขึ้น ทางด้านนายอำเภอ

กุดชุม ได้ออกมายอมรับผิดและขอโทษต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งไม่ได้ให้ความชัดเจนเกี่ยวกับที่มาของสารเคมีและการดำเนิน
โครงการภัยพิบัติ ตามที่เครือข่ายเรียกร้องแต่อย่างใด

นายบุญส่ง มาตขาว ประธานเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก ภาคอีสาน กล่าวว่า “ในการติดตามเรื่องนี้ ขณะนี้ยังไม่มีความชัด
เจน ที่โครงการภัยพิบัติ และที่มาที่ไปของสารเคมี โดยส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับการกระทำอันเป็นการทำลายกระบวนการเกษตรอิน
ทรีย์ที่พี่น้องได้ทำมาเป็นระยะเวลาสิบกว่าปี และจะต้องติดตามเรื่องกันต่อไป ”

ทางด้านนายอุบล อยู่หว้า ผู้ปฏิบัติงานเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก ภาคอีสาน ให้ความเห็นต่อประเด็นนี้ว่า “ สะท้อนเจตนาของคน
ในระบบราชการที่ไม่สนใจ กิจกรรมหรืองานที่ทำอยู่ จะส่งผลกระทบอะไรต่อประชาชน เป้าหมายอยู่ที่การใช้งบประมาณ
นายอำเภอแจ้งว่างบประมาณนี้เป็นภัยพิบัติ เราจะติดตามเรื่องนี้และส่งเรื่องร้องเรียนไปยังองค์กรที่ทำหน้าที่ดูแลเรื่องนี้ ไป
ยังคณะกรรมการสิทธิ ปปช. เพราะการกระทำดังกล่าวเป็นการทำลายกระบวนการเกษตรอินทรีย์ของชาวบ้านที่ทำเกษตรอิน
ทรีย์มากว่า 20 ปี ”

“ การใช้สารพิษ สารเคมี ที่ส่งผลกระทบ เช่น ฟูราดาน ที่รุนแรงต่อสิ่งแวดล้อม การใช้สารเคมีในอเมริกาทำให้ความหลากหลาย
ทางชีวภาพลดลง และที่ประเทศอเมริกา การใช้ฟูราดาน เป็นการผิดกฎหมาย หน่วยงานทางด้านการเกษตรควรให้ชาวบ้าน
เลือกปัจจัยการผลิต ที่ปลอดสารเคมีและสนับสนุนเกษตรที่เหมาะกับนิเวศน์ท้องถิ่น” Bennett Haynes อาสาสมัครจาก
ประเทศอเมริกาเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก ภาคอีสาน มีความเห็นต่อเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน

เป็นที่น่าติดตามการดำเนินโครงการอันมีลักษณะเช่นนี้อย่างยิ่ง ขณะที่ภาคประชาชนกำลังสร้างรูปธรรมการพึ่งตนเอง
ในการผลิตเพื่อลดการพึ่งพาภายนอก และรวมกันเป็นเครือข่ายสร้างลักษณ์ที่ดีเสริมภาพจังหวัดเกษตรอินทรีย์ แต่หน่วยงานรัฐ
กลับจัดทำโครงการนำเอาสารเคมีอันตรายลงมาในพื้นที่ และ ข้อเรียกร้องต่อการดำเนินงานในพื้นที่เกษตรอินทรีย์ ของเครือ
ข่ายจะเป็นถูกนำมาดำเนินการ ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์จังหวัด ยโสธร เมืองน่าอยู่ การเกษตรปลอดภัย เกษตรอินทรีย์
ก้าวไกลสู่สากล หรือไม่




http://aanesan.wordpress.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 6:42 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 04/05/2012 11:48 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,570.“ผู้เชี่ยวชาญ เกษตรอินทรีย์” นำวิทย์-เทคโนฯ ฟื้นวิถีชุมชน


ส่งไปใน FB ของคุณiTAP ชูผู้เชี่ยวชาญเกษตรอินทรีย์ ศ.เกียรติคุณ ดร.นันทกร บุญเกิด จากสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ


สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี นำความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฟื้นชุมชนทำระบบ
เกษตรอินทรีย์ครบวงจร เช่น เลี้ยงหมูชีวภาพ-ผลิตปุ๋ย-ทำไบโอแก๊ส-ปลูกข้าวต้นเดี่ยวแบบประณีต ฯลฯ ย้ำการทำเกษตร
อินทรีย์ต้องมีความรู้วิทย์-เทคโนฯเข้าช่วยลดต้นทุนสำคัญอย่าง “ปุ๋ยและยาฆ่าแมลง” หวังให้เกษตรกรสามารถพึ่งตนเองได้ในที่สุด

ปัจจุบันกระแสการคำนึงถึงสุขภาพ พิษภัยของสารเคมีทางการเกษตรทำให้ทั้งเกษตรกร ผู้บริโภค สภาพแวดล้อม และสังคม
เริ่มตระหนักถึงภัยใกล้ตัวจากการอุปโภค-บริโภคผลผลิตเหล่านี้เพิ่ม ขึ้น ระบบผลิตที่ไร้สารพิษ จึงกลับมาเป็นที่ต้องการของตลาด

โดยเฉพาะการทำเกษตรอินทรีย์ซึ่งเป็นแนวทางการผลิตพืชและสัตว์เพื่อการบริโภค หรือการค้าซึ่งใช้ปัจจัยการผลิตที่ได้มาจาก
ธรรมชาติล้วนๆ เช่น ใช้ปุ๋ยและสารกำจัดศัตรูพืชที่ได้มาจากวัสดุธรรมชาติ ไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ งดใช้ยาฆ่าแมลง ยากำจัด
วัชพืช เป็นต้น แต่แนวทางเหล่านี้อาจทำไม่ง่ายเลยตามความเคยชินในระบบเกษตรกรรมเพื่อการค้า อีกทั้งต้องใช้ความ
รู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาช่วยวางรากฐาน

ศ.เกียรติคุณ ดร.นันทกร บุญเกิด สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตรอินทรีย์จาก iTAP (โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย)ซึ่งได้สาน
ต่องานด้าน นี้มาอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดเข้าไปดำเนินการวิเคราะห์ปัญหา และให้คำปรึกษาแนะนำในโครงการ ความเป็นไปได้
ในการผลิตผักและผลไม้ให้ได้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในระดับ สหกรณ์ เพื่อทำระบบบริหารจัดการเครือข่ายการผลิตผักของ
เกษตรกร ตลอดจนพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกร ลดค่าใช้จ่าย เพิ่มรายได้ นำไปสู่การพึ่งพาตนเองในที่สุด

ศ.เกียรติคุณ ดร.นันทกร กล่าวว่า สำหรับโครงการนี้ได้เข้าไปให้คำแนะนำแก่เกษตรกรผ่านสหกรณ์การเกษตรลำพระเพลิง
ฃจำกัด จ.นครราชสีมา“สมาชิกของสหกรณ์ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรที่ปลูกพืชหลายๆชนิดทั้ง ข้าว ผัก ผลไม้ เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว
แต่ยังไม่มีรายใดทำเกษตรอินทรีย์ เนื่องจากการทำเกษตรอินทรีย์ต้องใช้ความรู้หลายด้าน ไม่ใช้ยาฆ่าแมลงและสารเคมี อีก
ทั้งปัจจัยหลักของการทำเกษตรคือ ปุ๋ย แต่การทำเกษตรอินทรีย์จะไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีปัจจัยการผลิตอื่นมาทด
แทนสิ่งเหล่านี้”

ศ.เกียรติคุณ ดร.นันทกร นำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาแนะนำเกษตรกรในโครงการดังกล่าว โดยมองว่าการทำเกษตร
กรรมมีต้นทุนสำคัญได้แก่ “ปุ๋ย” และหากเป็นการทำเกษตรอินทรีย์นั้นจำเป็นต้องมีการผลิตปุ๋ยจากธรรมชาติขึ้นมา ใช้เอง จึงให้
เกษตรกรเริ่มต้นด้วย “การเลี้ยงสุกร” เพื่อนำมูลใช้เป็นปุ๋ยให้กับพืชได้โดยตรง ส่วนที่เหลือสามารถนำไปทำปุ๋ยหมัก (สร้างคอก
สุกรบนบ่อแก๊ส )และยังมีผลพลอยได้ คือ ไบโอแก๊สเป็นพลังงานหุงต้ม หรือแนะนำให้เกษตรกรทำ “ปุ๋ยหมัก”จากเศษวัสดุอย่าง
พืชชนิดต่างๆมาผสมกับมูลสัตว์ ทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี

การผลิตปุ๋ยอีกชนิดได้แก่ “การเพาะเลี้ยงแหนแดง”เพื่อนำมาใช้เป็นปุ๋ยและอาหารสัตว์ เนื่องจากแหนแดงเป็นพืชตระกูลเฟิร์น
มีสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินอยู่ในโพรงใบ และมีความสามารถในการตรึงไนโตรเจนในอากาศจึงไม่ต้องใส่ปุ๋ยเคมีไนโตรเจน
นอกจากนี้แหนแดงยังมีโปรตีนสูง 25-30% และมีแคโรทีนประมาณ 360 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักแห้ง 1 กิโลกรัม จึงเหมาะ
สำหรับการเป็นอาหารสัตว์เมื่อนำไปเลี้ยงเป็ดจะทำให้ได้ไข่สีแดงและ มีวิตามินเอสูง อีกทั้งแหนแดงยังช่วยกำจัดวัชพืชในนาข้าว
เมื่อแหนแดงขึ้นเต็มพื้นที่ระหว่าง ต้นข้าวจะทำให้ไม่เจริญเติบโตเนื่องจากขาดแสงแดด

ศ.เกียรติคุณ ดร.นันทกร กล่าวว่า ปกติเกษตรกรเสียค่าใช้จ่ายเรื่องปุ๋ยเป็นต้นทุนสูงมาก เมื่อสามารถผลิตปุ๋ยขึ้นใช้เอง ต้นทุนใน
การทำเกษตรจึงไม่มี “หากสามารถผลิตปุ๋ยเ
องได้จะช่วยลดต้นทุนการผลิตไม่พึ่งปัจจัยภายนอก แม้ปุ๋ยมีราคาสูงขึ้นในขณะที่ผลผลิตทางการเกษตรคงที่หรือลดลง เช่น ใน
อดีตลองกองจำหน่ายกิโลกรัมละ 90 บาทขณะนี้เหลือเพียง 20 บาท เกษตรกรก็แย่แบกรับต้นทุนไม่ไหว และจะทำอย่างไร
ให้ลดต้นทุน เรียนรู้ว่าสามารถผลิตปุ๋ยเองได้ การทำเกษตรอินทรีย์จึงสอนวิธีทำปุ๋ย วิธีการที่จะอยู่อย่างพอเพียง ค่อยๆศึกษาหา
ความรู้ไปกลายเป็นระบบเกษตรที่ยั่งยืน”

นอกจากปุ๋ยจะเป็นต้นทุนสำคัญแล้ว ยาฆ่าแมลงหรือสารกำจัดศัตรูพืชต่างๆก็เป็นต้นทุนสำคัญหนึ่ง แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตร
อินทรีย์มีวิธีการทดแทนสารเคมีเหล่านี้ได้จาก ธรรมชาติ เช่น แนะนำให้เกษตรกรเลี้ยงเป็ดและไก่ผสมผสานในการทำเกษตร
กรรม “การเลี้ยงเป็ดและไก่นอกจากจะให้ปุ๋ยจากมูลสัตว์เหล่านี้แล้ว ยังช่วยกำจัดแมลง โดยเฉพาะในนาข้าวที่มีปัญหาหอย
เชอร์รี่ เกษตรกรต้องใช้สารเคมีกำจัดปูหรือหอยเชอร์รี่ที่มากินต้นข้าว แต่หากปล่อยเป็ดไว้ในนาข้าวก็ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาสาร
เคมี” และยังแนะนำให้มี การปลูกพืชผักแบบผสมผสานเลียนแบบธรรมชาติ หรือควบคุมศัตรูพืชด้วยสมุนไพร เช่น ปลูก
สะเดาเพื่อใช้เป็นสารฆ่าแมลงและกระเพราเพื่อล่อแมลงวันทองไม่ให้ไปเกาะ ผลไม้ เป็นต้น

นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญเกษตรอินทรีย์ iTAP ยังมีงานวิจัย การใช้แหนแดงและปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพในระบบข้าวต้นเดี่ยวแบบ
ประณีต ซึ่งเป็นการนำแหนแดงและปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพมาใช้เป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญใน การปลูกข้าวที่ใช้น้ำน้อย (ระดับ
น้ำประมาณ 2-5 เซนติเมตร)

จุดเด่นของการปลูกข้าวต้นเดี่ยวฯ เช่น ใช้เมล็ดพันธุ์น้อยเพียงอัตรา 1 กิโลกรัม/ไร่ (ปกติใช้ 5-15กิโลกรัม/ไร่) สามารถลด
ต้นทุนการผลิตจากการใช้ปุ๋ยเคมีมาใช้แหนแดงแทนและเพิ่มปริมาณ อินทรีย์วัตถุในดินจากการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพและแหน
แดง นอกจากนี้ยังเป็นการปลูกข้าวที่ประหยัดน้ำและสามารถกำจัดวัชพืชได้ง่ายทั่ว ถึงและได้ปริมาณผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น 50-70%
เป็นต้น โดยยังได้นำงานวิจัยดังกล่าวมาใช้ในโครงการ

ความเป็นไปได้ในการผลิตผักและผลไม้ให้ได้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในระดับสหกรณ์ ข้างต้นนี้อีกด้วย

ผลของโครงการดังกล่าวยังสร้างเครือข่ายเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการผลิตผักที่ มีมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ออกจำหน่าย โดยมี
สหกรณ์เป็นศูนย์กลางในการจำหน่าย นอกจากนี้ยังได้ต้นแบบ “นายอ่างโมเดล iTAP : ต้นแบบเกษตรอินทรีย์ สหกรณ์การ
เกษตรลำพระเพลิง” ซึ่งเป็นผลมาจากการแนะนำการทำเกษตรอินทรีย์ให้แก่ นายอ่าง เทียมสำโรง เกษตรกรตัวอย่าง ต.บ่อปลา
ทอง อ.ปักธงชัย ที่เข้าร่วมโครงการจนประสบความสำเร็จ

โดยเกษตรกรต้นแบบสามารถนำความรู้ที่ได้ทำเกษตรอินทรีย์แบบครบวงจร เช่น ปลูกผักอินทรีย์ ปลูกข้าวระบบต้นเดี่ยว เลี้ยง
สุกร ทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ตลอดจนทำไบโอแก๊สขนาดระดับครัวเรือน นอกจากนี้ยังได้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นโดยใช้ระบบการปลูกข้าว
ต้นเดี่ยวจากเดิม 400-500 กิโลกรัมต่อไร่เพิ่มขึ้นเป็น 830 กิโลกรัมต่อไร่ และมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการขายผักอินทรีย์ 12,000
บาทต่อเดือน อีกทั้งยังมีรายได้จากการเลี้ยงสุกร 5 ตัว 10,000 บาทในเวลาเพียง 6 เดือนและเกิดเป็น “ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์”
เพื่อให้เกษตรกรและคนทั่วไปเข้ามาศึกษาดูงาน อีกด้วย

ผลงานของ ศ.เกียรติคุณ ดร.นันทกร ยังมีส่วนผลักดันและเป็นแรงบันดาลใจให้กับเกษตรกรหันมาให้ความสำคัญในการทำ
“เกษตรอินทรีย์” โดยเริ่มต้นจากการทำบ่อไบโอแก๊สเพื่อบำบัดของเสีย นำไปสู่การผลิตปุ๋ยและมีผลพลอยได้คือแก๊สหุงต้ม
ทำให้มีสมาชิกสหกรณ์การเกษตรลำพระเพลิงเห็นตัวอย่างความสำเร็จและต้องการ เข้าร่วมโครงการเพิ่มมากขึ้น

“ปัญหาของการทำเกษตรอินทรีย์ คือ การขาดองค์ความรู้ที่เห็นเป็นรูปธรรม เช่น การผลิตปุ๋ยใช้เอง การนำพืชธรรมชาติทด
แทนสารเคมี ระบบกำจัดของเสียที่ครบวงจรและนำไปใช้ประโยชน์ได้ หรือการเลี้ยงสัตว์เพื่อกำจัดวัชพืช ฯลฯ คาดหวังว่าต้น
แบบข้างต้นจะเป็นตัวอย่างที่ดีให้เกษตรกรรายอื่นหันมาให้ความ สนใจ

ตัวอย่างต่างประเทศเช่นที่ญี่ปุ่นยังให้ความสำคัญกับการทำเกษตรอินทรีย์มา นานและมีหน่วยงานรับรองตรวจสอบสารพิษ
ยิ่งเป็นผลผลิตจากเกษตรอินทรีย์จะมีราคาสูงแม้ผลิตภัณฑ์มีรอยแมลงกัดแทะ ซึ่งขณะนี้ในยุโรปก็เริ่มอนุโลมเรื่องความสวย
งามของผลผลิตจากเกษตรอินทรีย์ และให้ความสำคัญกับสุขภาพเพิ่มมากขึ้น”

การทำเกษตรอินทรีย์ ยังมีส่วนช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถมีรายได้และประกอบอาชีพอยู่ภายในครัวเรือน ลดการอพยพเข้าเมือง
และมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น รวมทั้งได้บริโภคอาหารสุขภาพทำให้มีร่างกายแข็งแรง และอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี

ทุกวันนี้แม้จะเกษียณราชการไปแล้วแต่ ศ.เกียรติคุณ ดร.นันทกร บุญเกิด ยังคงเป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ทั้งระดับปริญญาโทและปริญญาเอกด้านเกษตรอินทรีย์ ทำงานวิจัยและพัฒนาระบบการปลูกข้าวต้นเดี่ยวแบบประณีต นอกจากนี้
ยังเป็นผู้เชี่ยวชาญ iTAP คอยแนะนำเกษตรกรในด้านต่างๆ อาทิ ระบบจัดการไร่ การทำไบโอแก๊ส ตลอดจนยังคงทำงานทด
ลองและวิจัยด้านต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการทำเกษตรอินทรีย์ อย่างต่อเนื่อง



http://www.food-resources.org/news/2/12/10/9332
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 04/05/2012 1:07 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,571. ทุเรียนไร้กลิ่น "นวลทองจันท์"





จันทบุรี - สวนผลไม้ทุเรียนไร้กลิ่น นวลทองจันท์ไม่พอขายหลังตลาดต่างประเทศ ได้มีการจองหมดแล้ว ชูจุดเด่นผลไม้ปลอด
สารพิษและเป็นหนึ่งเดียวในจังหวัดจันทบุรี นายสุเทพ นพพันธ์ เจ้าของสวนทุเรียนไร้กลิ่น พันธุ์นวลทองจันท์ ซึ่งเป็นทุเรียน
คุณภาพ เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ มีราคาสูงกิโลกรัมละ 200 บาท และเป็นทุเรียนพันธุ์เดียวที่มีราคาที่
สุด เปิดเผยว่า ทุเรียนพันธุ์นวลทองจันท์ ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ เป็นอย่างมาก

เนื่องจากทุเรียนนวลทองจันท์ เป็นทุเรียนที่มีกลิ่นน้อย เป็นทุเรียนพันธุ์ผสม ที่เกิดขึ้นอย่างไม่ได้ตั้งใจระหว่างทุเรียนพันธุ์
หมอนทอง กับ ทุเรียนพันธุ์พวงมณี โดยนำเกสรดอกมาผสมกัน เมื่อได้ลูกจึงนำเมล็ดมาเพาะปลูก เป็นต้นพ่อ-แม่พันธุ์


ตั้งชื่อว่า พันธุ์นวลทองจันท์ ปัจจุบันให้ผลผลิต มีจุดเด่นรสชาติหวาน-มัน เนื้อมาก สีเข้มกว่าทุเรียนพันธุ์อื่นๆ แต่ที่สำคัญไม่ค่อย
มีกลิ่น จึงเป็นที่ต้องการของตลาดแหล่งใหม่ โดยเฉพาะลูกค้าในประเทศดูไบ และกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง ปีนี้มีตัวแทน
จำหน่ายจากห้างสรรพสินค้าชั้นนำของประเทศ มาทำสัญญา ซื้อ-ขายล่วงหน้า ในราคากิโลกรัมละ 200 บาท สำหรับสวน
นวลทองจันท์ มีพื้นที่เพาะปลูกผลไม้ทั้งสิ้น 150 ไร่ มีทุเรียนรวม 3,000 ต้น ในจำนวนนี้เป็นทุเรียนพันธุ์นวลทองจันท์ 70 ต้น
ที่เหลือเป็นพันธุ์หมอนทอง ชะนี พวงมณี นอกจากนี้ ในแต่ละปีจะมีเกษตรกรชาวสวน อบต.และ เทศบาล จากต่างจังหวัดเดิน
ทางเข้าศึกษาดูงานอยู่เป็นประจำจนทำให้ทุเรียนพันธุ์นวลทองจันท์เริ่มมีเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย และเป็นที่สนใจจากเกษตรกร
ในหลายจังหวัดที่อยากได้พันธุ์นำไปปลูกในจังหวัดของตัวเองบ้าง


http://news.nipa.co.th/news.action?newsid=214716
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 04/05/2012 1:19 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,572. ทุเรียนพวงมณี ทุเรียนพันธุ์เล็กกำลังรุ่ง

มนตรี แสนสุข


ทุเรียนพวงมณี เป็นทุเรียนสายพันธุ์ดั้งเดิมอีกสายพันธุ์หนึ่งที่นิยมปลูกกันมากในเขตภาคใต้ ต่อมาปริมาณการปลูกทุเรียนสายพันธุ์นี้
เริ่มลดลงก็เพราะถูกกระแสความนิยมทุเรียนพันธุ์หมอนทองเข้ามาตีตลาดกระจุยกระเจิง จนปัจจุบันทุเรียนพันธุ์พวงมณีแทบจะ
ไม่มีใครปลูกกัน

ทุเรียนพวงมณีเข้ามาแพร่พันธุ์ในเขตภาคตะวันออก แถวจังหวัดตราด จันทบุรี และระยอง มาหลายสิบปีแล้ว แต่ไม่ได้รับความนิยม
เท่าที่ควร สาเหตุก็เนื่องจากถูกกระแสความนิยมทุเรียนพันธุ์หมอนทองมากลบจนหมดสิ้นดังกล่าว ที่มีปลูกอยู่บ้างก็เพื่ออนุรักษ์ไว้
ดูเล่น แซมสวนทุเรียนหมอนทองและสวนผสมผลไม้ตามสไตล์สวนผลไม้ผสมทุเรียน มังคุด ลองกอง อันเป็นแบบฉบับของสวน
ผสมเขตภาคตะวันออก

คุณลุงประยุทธ อยู่สุข ก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่อนุรักษ์สายพันธุ์ทุเรียนพวงมณีเอาไว้ คุณลุงประยุทธ เริ่มปลูกทุเรียนพวงมณีเมื่อ 10 ปีที่แล้ว
ปัจจุบันมีทุเรียนพวงมณีออกสู่ตลาดพอสมควรในแต่ละปี

คุณลุงประยุทธ เป็นชาวตำบลเนินฆ้อ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง แต่ไปจับงานทำสวนผลไม้อีกแห่งหนึ่งที่บ้านหมู่ 3 ตำบลพลงตาเอี่ยม
อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง ในเนื้อที่ 30 ไร่ เมื่อ 20 กว่าปีที่ผ่านมา คุณลุงประยุทธ ลงทุเรียนหมอนทอง ทุเรียนก้านยาว มังคุด
และลองกอง ทำเป็นสวนผสม แต่จะเน้นทุเรียนเป็นหลัก คุณลุงประยุทธ บอกว่า

"ผมทำสวนที่วังจันทร์ ดูเหมือนว่าจะเป็นยุคบุกเบิกรุ่นที่สองก็ว่าได้ เพราะก่อนหน้าที่จะมาลงหลักปักฐานทำสวนผสมบริเวณพื้นที่แห่งนี้
มีคนมาทำสวนทุเรียนอยู่หลายสวนเหมือนกัน"

พื้นที่เขตอำเภอวังจันทร์อยู่เหนือระดับน้ำทะเล เป็นยอดเขาสูง มีฝนตกชุกมากกว่าพื้นที่อื่นๆ เหมาะกับการปลูกทุเรียนมาก

คุณลุงประยุทธ บอกว่า มาทำสวนแรกๆ ก็ลุ่มๆ ดอนๆ ได้ผลผลิตดีบ้าง ไม่ดีบ้าง ต่อมาเมื่อ 5 ปีก่อน เกิดลมพายุพัดต้นทุเรียนเสีย
หายเป็นจำนวนมาก ก็คิดจะปลูกทุเรียนซ่อมขึ้นมาใหม่ พอดีไปเจอพรรคพวกทำสวนทุเรียนอยู่ที่จังหวัดจันทบุรี แนะนำว่าให้ลองเอา
พันธุ์ทุเรียนพวงมณีไปปลูกดูบ้าง เผื่อจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้ที่ชอบบริโภคทุเรียน

คุณลุงประยุทธ กล่าวอีกว่า เพื่อนบอกมาว่าทุเรียนพวงมณีเป็นทุเรียนจากทางภาคใต้ ชาวสวนแถวจันทบุรีไปเอาพันธุ์มาปลูก เป็น
ทุเรียนรสชาติดี หวานหอม แต่ผลเล็กย่อมกว่าทุเรียนหมอนทองมาก

"ครั้งแรกผมไปเอากิ่งพันธุ์พวงมณีมา 6-7 กิ่ง แล้วเอามาเสียบยอดกับต้นตอทุเรียนหมอนทอง ที่ลงปลูกไว้ ต้นสูงราว 1 ศอก เปลี่ยน
ยอดใหม่เป็นพวงมณี"

การปฏิบัติดูแลก็เหมือนกับการดูแลทุเรียนหมอนทอง ต่อมาเพื่อนที่ขยายพันธุ์ไม้ขาย เขาทำกิ่งพวงมณีไว้ แล้วขายไม่ได้ กิ่งพันธุ์
โตขึ้นเรื่อยๆ จนสูงใหญ่มาก ก็เลยให้มาปลูกอีก 30 ต้น

ปลูกทุเรียนพวงมณีราว 4-5 ปี ก็ได้ผลผลิต ทุเรียนพวงมณีนั้นเป็นไม้เนื้อแข็ง ต่างจากทุเรียนหมอนทองและชะนี เวลาติดผลใช้เชือก
ฟางโยงกิ่งใหญ่อย่างเดียวก็พอ โยงเพื่อเวลาผลทุเรียนใหญ่ขึ้น กิ่งจะได้ไม่หัก ข้อดีของต้นทุเรียนพวงมณี คือกิ่งแข็งแรงเพราะเป็น
ไม้เนื้อแข็ง

การดูแลทุเรียนพวงมณีสบายกว่าดูแลทุเรียนหมอนทองเยอะ ทุเรียนหมอนทองค่อนข้างอ่อนแอ ยุ่งยาก ปลูกทุเรียนพวงมณีแซมสวน
ไม่ต้องเสียเวลาไปดูแลเลย ปล่อยไปตามธรรมชาติก็ได้รับประทานผลแล้ว เอาเวลาไปดูทุเรียนหมอนทองมากกว่า หมอนทองต้อง
ซอยกิ่งอยู่เรื่อย ถ้าไม่ซอยกิ่งตั้งแต่ต้นเล็กๆ จะไม่สวย แตกข้างเยอะเกินไป ส่วนพวงมณีไม่ต้อง ต้นจะพุ่งสูงชะลูดขึ้นไปเลย

การใส่ปุ๋ย ใช้ปุ๋ยทั่วๆ ไป สูตร 16-16-16 หลังจากเก็บผลผลิตหมดเป็นการบำรุงต้น จากนั้นก็ไปใส่ปุ๋ยเร่ง 8-24-24 ช่วงปลาย
ฝนใส่ปุ๋ยเร่งก่อน 1-2 เดือน รับลมหนาวมาเยือน นั่นก็คือต้องใส่ปุ๋ยราวเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม พอรู้ว่าฝนจะหมดเดือนไหน
ต้องคอยติดตามฟังข่าวจากกรมอุตุนิยมวิทยาว่าดินฟ้าอากาศจะเป็นอย่างไรบ้าง ก็ให้เตรียมโคนต้น ทำการแหวกโคน ดายหญ้าออก
กวาดเอาใบไม้ออกให้โล่งเตียน แล้วใส่ปุ๋ยเร่ง 8-24-24 ให้ทั้งทุเรียนหมอนทองด้วย

พอลมหนาวกระทบดอกทุเรียนจะติดพร้อมๆ กันทั้งสวน จนกระทั่งติดผล สำหรับทุเรียนหมอนทองไม่ต้องซอยผล ถึงเวลาต้น
จะสลัดผลไม่ดีทิ้งเอง แต่กับพวงมณีต้องซอยผลทิ้ง ถ้าไม่ซอยทิ้งผลใหญ่ขึ้นๆ จะทำให้กิ่งหักได้ เพราะทุเรียนพันธุ์นี้ติดผลดก
มาก ผลติดเป็นกระจุกๆ ต้องซอยให้ผลห่างๆ อย่าไว้เป็นกลุ่ม จะดูแลรักษายาก ถ้าต้นสูงๆ ก็ต้องใช้ไม้ติดใบมีดแทงผลเล็กๆ ออก

ช่วงติดดอกก่อนติดผล ทางดินให้ปุ๋ย 8-24-24 อีกครั้ง ฉีดยาป้องกันเพลี้ยและหนอน 2 ครั้ง พอดอกบานก็หยุดให้ยาจนกระทั่ง
ติดผลเล็กๆ ขึ้นลูกต้องฉีดยาป้องกันหนอน เพลี้ยไฟ ไรแดง เข้าทำลายผลอ่อน น้ำให้ปกติ 3-4 วันครั้ง ฉีดยาป้องกันหนอน 3-4
เที่ยว ทิ้งระยะห่างครึ่งเดือน ต่อครั้ง ทางดินให้ปุ๋ยเร่งอีก 3 หน

คุณลุงประยุทธ บอกว่า ทุเรียนหมอนทองใช้เวลา 120 วัน จากติดดอกจนเก็บได้ ส่วนพวงมณีกับชะนีใช้เวลา 90 วัน ก็เก็บได้ ขณะ
ที่ผลแก่ต้องฉีดยาป้องกันเชื้อราตลอด ในเขตอำเภอวังจันทร์นั้นฝนตกชุกมาก จึงจำเป็นต้องฉีดยาป้องกันเชื้อราบ่อยหน่อย

ทุเรียนพวงมณีผลเล็กกว่าหมอนทอง ทรงผลของพวงมณีออกทรงรูปไข่ หนามของพวงมณีใหญ่สั้น หนามของหมอนทองแหลมยาว
พวงมณีขั้วยาวเล็ก ส่วนหมอนทองขั้วสั้นใหญ่ พวงมณีแก่เต็มที่ผลหนึ่งไม่เกิน 2 กิโลกรัม แต่ถ้าไว้ผลน้อยๆ ก็อาจจะได้ใหญ่กว่านี้

พวงมณีเมล็ดโต สีเนื้อสวยออกเหลืองจำปา กลิ่นไม่ฉุนจัดเหมือนหมอนทองและชะนี รสชาติของพวงมณีออกหวานมัน รับประทาน
แล้วรับรองไม่มีอาการเรอเอิ้กอ้ากออกมา

สำหรับตลาดของทุเรียนพวงมณีนั้น คุณลุงประยุทธ บอกว่า บางครั้งก็มีพ่อค้าเข้ามาตัดถึงสวน บางครั้งก็ต้องขนทุเรียนออกไปขาย
ไปส่งเอง ตลาดใหญ่อยู่ที่ตลาดเขาดินหรือไม่ก็เอาไปส่งล้งทุเรียนที่จันทบุรี ที่นั่นมีล้งรับซื้อทุเรียนพวงมณีโดยเฉพาะ เขานำส่งภาค
ใต้ ส่งประเทศมาเลเซีย คนที่นั่นนิยมบริโภคกัน

ส่วนสถานการณ์การระบาดของหนอนเจาะติดทุเรียนในเขตวังจันทร์ที่เคยมีการระบาดรุนแรงมาก่อนปัจจุบันนี้ คุณลุงประยุทธ
บอกว่า ก็ยังพอมีการระบาดอยู่แต่ก็ไม่ค่อยมากแล้ว ทางเจ้าหน้าที่เกษตรก็เข้ามาอบรมชาวสวนให้รู้จักวิธีป้องกันกำจัดหนอนเจาะ
ต้น ทำให้ลดปริมาณการระบาดของประชากรหนอนไปได้มากทีเดียว เจอรูที่ต้นให้เอาขวานถากต้นตามล่าหนอนในรู เห็นตัวเอาไม้
แหลมจิ้มออกมาเลย หรือไม่ก็ฉีดยาไซเปอร์ กำมะถันผง และเชฟวิ่งผสมกันฉีดทางผล และหยอดเข้าไปในรูหาดินอุดรูฆ่าหนอนที่
อยู่ข้างใน

คุณลุงประยุทธ บอกว่า พวงมณีมีลูกค้าอยู่บ้างพอสมควร คนที่รู้จักทุเรียนพันธุ์นี้พอเห็นเข้าเป็นซื้อเลย แต่ที่ยังไม่รู้จักก็มีอยู่อีกมาก
เวลาเอาไปขายต้องแนะนำให้ทดลองชิมดู

"เพื่อนๆ ผมมาเห็นเข้า มันถามว่าทุเรียนพันธุ์อะไรทำไมผลเล็ก ผมก็ตอบไปว่าพันธุ์พวงมณี มันก็ขอเอาไปชิมลูกหนึ่ง มาอย่างนี้
บ่อยๆ ขอชิมลูกหนึ่ง กว่าจะมีคนรู้จักพวงมณีครบทุกคน ทุเรียนคงหมดสวน"

คุณลุงประยุทธ กล่าวอย่างสนุกสนาน สร้างเสียงหัวเราะชอบใจได้พอสมควร แถววังจันทร์ยังไม่มีใครปลูกเป็นการค้ามากๆ จะมีก็ราย
คุณลุงนี่แหละ สนใจจะไปชมทุเรียนพวงมณีต้องไปต้นฤดูกาลทุเรียน เพราะทุเรียนพันธุ์นี้จะเก็บก่อนหมอนทอง อยากจะพูดคุยกัน
ในเรื่องของพวงมณี ลองโทร.ไปคุยกันที่ (081) 429-6058 เจ้าตัวยินดีต้อนรับทุกท่าน



http://info.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=05052010653&srcday=&search=no
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 04/05/2012 9:40 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,573. นักวิทยาศาสตร์ดินเพื่อมนุษยธรรม






วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2555 ที่ผ่านมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯออก ณ ห้องประชุมสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ
เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ชั้น 14 อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช พระราชทานพระ
บรมราชวโรกาสให้ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สตีเฟน นอร์ต คลิฟฟ์ กรรมการบริหารและอดีตเลขาธิการสหภาพวิทยาศาสตร์ทาง
ดินนานาชาติ พร้อมคณะผู้บริหาร และผู้ที่เกี่ยวข้องเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลนักวิทยาศาสตร์
ดินเพื่อมนุษยธรรมสดุดีพระเกียรติคุณ

สหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานา ชาติ ได้ตระหนักถึงพระปรีชาสามารถและพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ด้านการพัฒนาทรัพยากรดินอย่างต่อเนื่อง เป็นรูปธรรม ยังผลให้การพัฒนาที่ดิน การอนุรักษ์ดินและน้ำ การปรับปรุงดินเสื่อม
โทรม และดินที่มีปัญหา ดำเนินไปในทิศทางที่เหมาะสม และเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่เกษตรกรโดยทั่วหน้า ดังเช่น การนำหญ้า
แฝกมาปลูกเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำ และป้องกันการพังทลายของหน้าดิน จนประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางของการใช้เทคนิค
และวิชาการเกี่ยวกับหญ้าแฝกที่ประสบผลสำเร็จ และมีความก้าวหน้ามากที่สุดประเทศหนึ่ง

และทรงตระหนักถึงพื้นที่นับล้านไร่ในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ ที่นอกจากจะมีปัญหาดินไม่อุดมสมบูรณ์เป็นพื้นฐานแล้ว
ดินยังมีปัญหาอื่น ๆ ทั้งทางเคมีและทางฟิสิกส์อีกด้วย การเพาะปลูกพืชจึงให้ผลผลิตต่ำ เป็นผลให้ราษฎรมีฐานะยากจน พื้นที่ที่
มีปัญหาเกี่ยวกับดิน ได้แก่ พื้นที่ดินพรุในภาคใต้ ซึ่งเป็นทั้งดินอินทรีย์ และดินเปรี้ยวจัด พื้นที่ดินเปรี้ยวจัดและดินเค็มในภาคกลาง
และพื้นที่ดินทรายและดินตื้นในหลายภูมิภาค ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ จึงได้พระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้งศูนย์การศึกษา
พัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ทั้ง 6 แห่ง เป็นต้นแบบในการแก้ไขปัญหาของดิน ซึ่งจะต้องใช้กระบวนการบูรณาการใน
การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ทั้งสิ้น

เช่น ที่ศูนย์ศึกษาพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ฉะเชิงเทรา เป็นต้นแบบของการฟื้นฟูดินตามธรรมชาติ ศูนย์
ศึกษาพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.นราธิวาส เป็นปัญหาของดินที่เปรี้ยวจัด ศูนย์ศึกษาพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน
อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.จันทบุรี เป็นแหล่งให้กำเนิดชีวิตของสัตว์ และพืช ซึ่งมีปัญหาของดินเค็ม ศูนย์ศึกษาพัฒนาห้วย
ฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.เชียงใหม่ เป็นดินกรวดแห้งแล้ง และเป็นปัญหาของการบริหารด้านต้นน้ำลำธาร ศูนย์
ศึกษาพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.สกลนคร เป็นดินทราย เค็ม ขาดน้ำ เป็นปัญหาของการจัดการดินและน้ำของ
ภาคอีสาน และศูนย์ศึกษาพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.เพชรบุรี เป็นปัญหาของดินเสื่อมโทรม เป็นดินทราย
ที่มีแร่ธาตุน้อย เป็นดอนคานและดินกรด เป็นต้น

ส่วนวงวิชาการปฐพีวิทยาของประเทศ ตื่นตัวที่จะร่วมกันศึกษาวิจัยเพื่อฟื้นฟู บูรณะ พัฒนา และอนุรักษ์ทรัพยากรดินและน้ำตาม
แนวพระราชดำริอย่างเข้มแข็ง และมุ่งมั่นต่อไป ทำให้มั่นใจได้ว่า การฟื้นฟู และอนุรักษ์ความอุดมสมบูรณ์และคุณลักษณ์ที่
พึงประสงค์ของทรัพยากรดินและน้ำของชาติ จะประสบความสำเร็จด้วยดี

ด้วยเหตุดังกล่าว ในการประชุมสภาโลกแห่งปฐพีวิทยา ครั้งที่ 19 ณ เครือรัฐออสเตรเลีย ที่ประชุม มีมติเห็นสมควรขอ
พระราชทานพระบรมราชวโรกาสทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดิน เพื่อมนุษยธรรม แด่พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว เพื่อสดุดีพระเกียรติคุณให้เป็นที่ประจักษ์โดยทั่วกัน และกราบบังคมทูลเชิญให้ทรงดำรงตำแหน่งสมาชิก อะ
ไลฟ์ เมมเบอร์ชิพ (A Life Membership) อีกด้วย

สหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานา ชาติ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2467 เป็นสมาชิกสหภาพวิทยาศาสตร์ หน่วยหนึ่งในสภาสหภาพ
วิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศ สหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติได้รับการยอมรับว่า เป็นองค์กรที่ช่วยประสานงานสำหรับองค์
กรระหว่างประเทศด้านวิทยาศาสตร์ จุดประสงค์ของการก่อตั้งเพื่อส่งเสริมการวิจัยและประยุกต์ใช้ในศาสตร์ด้านปฐพีวิทยา
ทุกแขนง ส่งเสริมให้มีการติดต่อประสานงานระหว่างนักวิทยาศาสตร์ในศาสตร์นี้ เพื่อประโยชน์ของมนุษยชาติ

ปัจจุบัน สหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติ มีสมาชิกที่สังกัดอยู่ในสมาคมของประเทศและภูมิภาคต่าง ๆ กว่า 86 สมาคม
มีประเทศที่เป็นสมาชิก 57 ประเทศ และทุก 4 ปี จะมีการจัดการประชุมสภาโลกแห่งปฐพีวิทยาหมุนเวียนกันไปตามประเทศต่าง ๆ.

kasettuathai@dailynews.co.th

http://www.dailynews.co.th/agriculture/112521
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 04/05/2012 9:46 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,574. ''ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน'' เกษตรกรไทยต้องเตรียมพร้อม





ปี 2558 หรืออีก 3 ปีข้างหน้า 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนรวมถึงประเทศไทย จะเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
(ASEAN Economic Community หรือ AEC) ซึ่งประเทศสมาชิกอาเซียนจะต้องรวมกันเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว
โดยการเปิดเสรีด้านสินค้า บริการและการลงทุน ดังนั้น แต่ละประเทศต้องมีการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่เออีซี รวมทั้ง
ปกป้องตนเองให้สามารถดำรงสถานะที่ได้ประโยชน์และไม่เสียเปรียบประเทศสมาชิกอื่น ๆ ทั้งนี้กรมวิชาการเกษตร กระทรวง
เกษตรและสหกรณ์ เป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการดูแลเรื่องมาตรฐานสินค้าพืช เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้
กับเกษตรกรไทย

นายจิรากร โกศัยเสวี อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี ทุกประเทศ
สมาชิกจะต้องใช้มาตรฐานเดียวกันทั้งหมด ดังนั้น ในส่วนของกรมวิชาการเกษตร ในฐานะเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบใน
การตรวจรับรองมาตรฐานด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชสำหรับสินค้าพืช และเป็นหน่วยงานดูแลพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้อง
6 ฉบับ ได้แก่ พ.ร.บ.กักกันพืช พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ร.บ.ปุ๋ย พ.ร.บ.ควบคุมยาง พ.ร.บ.พันธุ์พืช และพ.ร.บ.คุ้มครอง
พันธุ์พืช จำเป็นจะต้องมีการทบทวนกฎหมายต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับมาตรฐานของอาเซียน แต่ที่สำคัญคือต้องทำให้เกิด
ประโยชน์ต่อประเทศไทยมากที่สุด

โดยขณะนี้ได้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อทบทวนกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม และการกักกันพืช ตลอดจนศึกษา วิจัย วิเคราะห์
กฎหมายที่เกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออกของประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อนำมาวิเคราะห์กับกฎหมายที่กรมวิชาการเกษตรรับ
ผิดชอบ ทั้งที่เป็นประโยชน์และที่มีผลกระทบต่อประเทศไทย เพื่อทบทวน แก้ไข พระราชบัญญัติต่าง ๆ ให้สามารถปกป้อง
ผลประโยชน์ของพี่น้องเกษตรกร และภาคการเกษตรของไทยไม่ให้เสียเปรียบประเทศอื่น ๆ

นอกจากด้านกฎหมายแล้ว กรมฯ ยังมีการเตรียมความพร้อมในด้านงานวิจัยและพัฒนา ซึ่งจะเน้นการวิจัยและพัฒนาเทคโน
โลยีการผลิตพืชที่มีต้นทุนต่ำ เพิ่มผลผลิต และมีคุณภาพ รวมทั้งวางแผนการผลิต โดยเน้นการผลิตพืชที่มีศักยภาพในการแข่งขัน
ระหว่างอาเซียน มีการวิเคราะห์ผลกระทบรายสินค้าทั้งเชิงบวกและลบของประเทศไทยและประเทศสมาชิกอาเซียน การกำหนด
ค่าสารพิษตกค้างสูงสุดในผลผลิตที่ยอมรับได้ หรือเอ็มอาร์แอลให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลรวมทั้งมาตรฐานที่อาเซียน
กำหนดเป็นข้อตกลงร่วมกัน ควบคู่กับการปรับปรุงพันธุ์พืชโดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูงขึ้น เพื่อเพิ่มมูลค่าการส่งออกที่สูงกว่าการนำ
เข้าโดยคำนึงถึงมาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพ เป็นต้น


สุดท้ายอธิบดีกรมวิชาการเกษตรให้ข้อคิดว่า…การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเป็นสิ่งที่ดี แต่ทุกคนจะต้องปรับตัวในการเรียนรู้
และพัฒนาจุดด้อย เพิ่มประสิทธิภาพจุดเด่นให้ดีขึ้นไปอีก ซึ่งเกษตรกรมีศักยภาพอยู่แล้ว อีกทั้งเทคโนโลยีการผลิตต่าง ๆ ของ
เราก็มีอยู่มากมาย ถ้าสามารถร่วมมือกันสร้างเครือข่ายเกษตรกรเพื่อผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐานตามที่กำหนด เราจะได้การยอม
รับจากผู้ประกอบการมากขึ้น นอกจากนี้เรายังมีแหล่งวัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้านที่มีราคาถูกกว่าการนำเข้าจากนอกกลุ่มอาเซียน
ทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำลง ดังนั้นการขายสินค้าเราจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากตลาดในประเทศ 60 ล้านคน ขยายเป็นประชากรในภูมิ
ภาคอาเซียน 600 ล้านคน รวมไปถึงตลาดนอกอาเซียนที่ประเทศไทยส่งออกอีกจำนวนมาก.



http://www.dailynews.co.th/agriculture/112403
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 04/05/2012 9:52 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,575. ปลูกสะเดาแล้วลดความร้อนโลกได้





ปัจจุบันอากาศได้เปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะเดือนเมษายน 2555 นี้ ทุกคนบ่นว่าร้อนมาก อุณหภูมิ 40C หลาย ๆ จังหวัดร่มไม้ใหญ่
จะเป็นตัวลดความร้อนได้ดี ทำอย่างไรจึงจะมีร่มไม้มาก ๆ ปลูกป่าคลุมพื้นดินให้เร็วที่สุด พืชที่โตไว และทนแล้ง ทนร้อนได้ คงหนี
ไม่พ้นต้นสะเดา อายุสะเดา 5 ปี เริ่มมีผลผลิต และแพร่พันธุ์โดยนก เนื่องจากลูกสะเดาสุก เป็นอาหารนกอันวิเศษ เมื่อนกคาย
เมล็ดทิ้ง ไม่นานเกิน 4 สัปดาห์ จะได้ต้นสะเดาเล็ก ๆ ซึ่งสามารถงอกได้อย่างรวดเร็ว ไม้สะเดาเป็นไม้เนื้อแข็ง ปลวกและแมลง
อื่น ๆ ไม่ทำลาย นำมาทำเฟอร์นิเจอร์ ปลูกสร้างบ้านทำวงกบ ประตูหน้าต่างได้ มีลายไม้ที่สวยงาม อายุ 5-6 ปี ต้นสะเดาเริ่ม
ให้ช่อดอก ซึ่งจะออกต้นฤดูหนาว นำมาเป็นอาหารยอดนิยม คือ สะเดาน้ำปลาหวาน ผู้ใดได้รับประทานแล้ว ร่างกายจะสดชื่น
แข็งแรง เลือดฝาดดี สมัยโบราณเรียกว่ายาฟอกเลือด หลังจากหมดช่อดอกก็จะเป็นเมล็ด คล้ายองุ่น ส่วนใหญ่นำมาทำยากำจัด
หนอนแมลงได้ หลาย ๆ ประเทศมีความต้องการใช้สารสกัดจากสะเดา เพราะรู้ว่าเป็นสารธรรมชาติที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ มีงานวิจัย
ทั้งในประเทศและต่างประเทศจำนวนมากที่ให้ความสำคัญกับพืชชนิดนี้

สำหรับประเทศไทย เป็นพื้นที่เหมาะกับการปลูกต้นสะเดามาก โดยเฉพาะ ภาคอีสาน, ภาคกลาง เพราะสามารถทนต่อสภาพ
แห้งแล้ง ดินเค็ม ไม่ต้องการดินดีมากนัก แม้แต่เชิงเขา และที่ราบดินเสื่อมแล้ว หรือสภาพค่อนข้างเป็นหินลูกรังแข็ง เป็นผลดี
กับคนที่มีพื้นที่ว่างเปล่า ไม่ได้ทำประโยชน์ ควรหันมาปลูกสะเดาเพื่อรณรงค์ลดความร้อนโลก ยิ่งปลูกมาก พื้นดินจะชุ่มชื่นไม่
แห้งแล้ง การปลูกสะเดาควรนำมาเพาะเมล็ดในถุงดำเพื่อบริบาลให้แข็งแรง ก่อนนำไปลงแปลงปลูก (ความสูงของต้นไม่ควรต่ำ
กว่า 1 ศอก) เพราะถ้าต้นเล็กจะไม่แข็งแรง นำไปปลูกจะรอดยาก แนะนำให้เพาะในช่วงนี้ (เม.ย.- พ.ค.)

ต้นสะเดาอายุ 5 ปี จะให้ผลเฉลี่ยลูกสะเดาปีละ 20 กก. ต่อต้น ระยะปลูกจึงควรให้ห่าง 6-8 เมตร ยกเว้นตามแนวเขตที่ไร่
บนคันนา ระยะห่าง 10 เมตร ขึ้นไป เพื่อไม่ให้เกิดร่มเงาบังพืชที่ปลูกในแปลงมากเกินไป ถ้าเป็นผืนใหญ่ ระยะปลูก 2 x 2
เมตร พออายุ 5 ปี ให้ตัดสางต้นเว้นต้น เพื่อให้โปร่งและลำต้นขยายใหญ่ การริดกิ่ง ปกติต้นสะเดาสูง 1 เมตร ขึ้นไป จะเริ่ม
แตกกิ่งก้านสาขาเป็นพุ่มหากผู้ปลูกไม่ต้องการพุ่มบังเงาพืชในแปลง ควรริดกิ่ง ออกทิ้ง การดูแลรักษาไม่ลำบากมาก เพราะพืช
ชนิดนี้ทนทานต่อสภาพภูมิอากาศร้อนชื้นอยู่แล้ว การปลูกจึงนิยมปลูกต้นฤดูฝน ปลูกเพื่อร่มเงาควรปลูกใกล้บ้าน สองข้างถนน
ในหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ ริมลำธาร คลอง บึง ที่สาธารณะรกร้างว่างเปล่า หัวไร่ ปลายนา ขอให้เกษตรกรเล็งเห็นคุณค่าของ
สะเดา เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี หากมีเมล็ดมาก ๆ พอส่งเข้ามาขายให้กับทาง บริษัท ผลิตภัณฑ์สะเดาไทย จำกัด โทร. 08-1942
-2056, 0-3555-0613 ซึ่งขณะนี้ทางบริษัทยังต้องการเมล็ดสะเดาจำนวนมาก หรือหากต้องการปลูกทันที ควรใช้ต้นสะเดาที่
มีอายุเกิน 1 ปี ติดต่อที่ 08-9832-5980 คุณสุพจน์ กุลประยงค์ จะให้คำแนะนำในการปลูกอย่างถูกต้อง ขอให้ช่วยกันปลูกต้น
สะเดาเพื่อช่วยรณรงค์ลดความร้อนของโลก.



http://www.dailynews.co.th/agriculture/104414
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 04/05/2012 9:58 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,576. จัดระบบปลูกข้าว...เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต





กรมส่งเสริมการเกษตร เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ได้รับมอบหมายจากกระทรวงเกษตรฯ ให้ร่วมบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยว
ข้องเร่งขับเคลื่อน โครงการจัดระบบการปลูกข้าว ซึ่งในปี 2555 นี้ ได้ดำเนินการในเขตชลประทาน 11 จังหวัด ได้แก่
จังหวัดกำแพงเพชร นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก ชัยนาท พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง และสุพรรณบุรี
มีเป้าหมายดำเนินการจัดระบบปลูกข้าว 1.5 ล้านไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ปลูกถั่วเขียว 700,000 ไร่ พืชหลังนาชนิดอื่น ๆ อาทิ
ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดฝักอ่อน 150,000 ไร่ พืชปุ๋ยสด เช่น ถั่วพร้า ถั่วพุ่ม ถั่วมะแฮะ โสนอัฟริกันและปอเทือง จำนวน
150,000 ไร่ และปลูกข้าวพร้อมกันในพื้นที่เดียวกัน 500,000 ไร่

นางพรรณพิมล ชัญญานุวัตร อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ในส่วนของกรมส่งเสริมการเกษตรมีภารกิจในการฝึกอบรม
ให้ความรู้กับเกษตรกรเกี่ยวกับโครงการจัดระบบการปลูกข้าว การปลูกพืชหลังนาหรือพืชปุ๋ยสดโดยมีข้าวเป็นพืชหลัก เพื่อให้
เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ซึ่งการถ่ายทอดองค์ความรู้การจัดระบบปลูกข้าว
แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ 1) ฝึกอบรมหลักสูตรการปลูกพืชหลังนาและพืชปุ๋ยสดให้กับนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรระดับจังหวัด
และระดับอำเภอ จำนวน 540 คน ในพื้นที่โครงการ 11 จังหวัด โดยวิทยากรจากกรมวิชาการเกษตร เพื่อให้นักวิชาการ
ส่งเสริมการเกษตรทำหน้าที่เป็นวิทยากรอบรมเกษตรกรเป้าหมายต่อไป ซึ่งได้ดำเนินการฝึกอบรมครบตามเป้าหมายแล้ว
เมื่อเดือนมีนาคม 2555 ประการที่ 2)ฝึกอบรมเกษตรกร โดยนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรเป็นวิทยากรฝึกอบรมเกษตรกร
เป้าหมาย 50,000 ราย ซึ่งหลักสูตรการฝึกอบรม ประกอบด้วย ผลกระทบจากการปลูกข้าวอย่างต่อเนื่อง การเพิ่มประสิทธิภาพ
การผลิตข้าว ระบบบริหารจัดการน้ำชลประทาน การปลูกพืชหลังนาและปุ๋ยพืชสด อาทิ ถั่วเขียว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวโพดหวาน
ข้าวโพดฝักอ่อน ถั่วพร้า ถั่วพุ่ม ถั่วมะแฮะ โสนอัฟริกัน และปอเทือง เป็นต้น

การจัดระบบปลูกข้าว โดยให้ปลูกข้าวไม่เกิน 2 ครั้งต่อปี มีข้อดี คือ สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตให้กับเกษตรกรได้จากการใช้
พันธุ์ข้าวที่เหมาะสม ใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพในปริมาณพอเหมาะ การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูข้าวถูกวิธีตามคำแนะนำ ซึ่งจะทำ
ให้ต้นทุนการผลิตต่อไร่ลดลงตันละ 1,037 บาท ลดความเสี่ยงจากการขาดแคลนน้ำ รวมทั้งการปะปนของข้าววัชพืชหรือข้าวดีด
ข้าวเด้งที่สะสมจากการทำนาแบบต่อเนื่อง ทำให้ได้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่เพิ่มขึ้นประมาณ 20% ในสถานการณ์ปกติ กรณีที่
เกิดการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล การจัดระบบการปลูกข้าวจะส่งผลให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนสูงกว่าเดิมถึงไร่
ละ 892 บาท ลดการปลูกข้าวคุณภาพต่ำที่มีอายุสั้น จะทำให้ได้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่โดยรวมเพิ่มขึ้น

อีกทั้งยังช่วยให้ระบบนิเวศในพื้นที่นาเขตชลประทานดีขึ้นจากการพักดินหรือการปลูกพืชอื่นหมุนเวียน ทำให้พื้นที่นาได้รับการ
ฟื้นฟู ช่วยปรับปรุงโครงสร้างดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะการปลูกพืชตระกูลถั่วหมุนเวียน เป็นการเพิ่มธาตุอาหาร
ในดิน ซึ่งจะช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีได้ ลดปริมาณก๊าซมีเทนซึ่งมีผลต่อภาวะโลกร้อน และเป็นการฟื้นฟูแมลงตามธรรม
ชาติซึ่งจะช่วยควบคุมและลดการระบาดของโรคและแมลงศัตรูข้าวได้ และยังเป็นการเพิ่มปริมาณผลผลิตพืชไร่บางชนิดและทด
แทนการนำเข้า เช่น ถั่วเขียว

...หากเกษตรกรในเขตชลประทานร่วมมือกันจัดระบบการปลูกข้าว โดยลดจำนวนครั้งของการปลูกข้าวนาปรังลงจาก 2 ปี 5 ครั้ง
เหลือปีละไม่เกิน 2 ครั้ง จะส่งผลดีต่อเกษตรกรโดยเฉพาะช่วยตัดวงจรการแพร่ระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ขณะเดียวกัน
ยังช่วยลดต้นทุนการผลิต ทำให้เกษตรกรได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นและได้ผลตอบแทนสูงขึ้น....ที่สำคัญยังทำให้ผลผลิตข้าวโดยรวมทั้ง
ประเทศเพิ่มมากขึ้น และมีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาด ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันให้กับสินค้าข้าวไทย
ในตลาดโลกได้.


http://www.dailynews.co.th/agriculture/104314
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 05/05/2012 2:22 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,577. ธาตุอาหารพืชสำหรับส้มโชกุน


บทคัดย่อ

คุณภาพผลผลิตส้มโชกุนซึ่งเป็นไม้ผลที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของจังหวัดยะลาและของประเทศไทย มีปัจจัย
หลายอย่างที่เกี่ยวข้องเช่นเดียวกับส้มชนิดอื่นๆ เช่น สภาพภูมิอากาศ น้ำ ธาตุอาหาร โรคและแมลงศัตรูพืช สารควบคุมการ
เจริญเติบโตของพืช ในส่วนของธาตุอาหารพืชกับคุณภาพผลผลิตส้มได้มีการศึกษาไว้พอสมควร พบว่า ธาตุที่มีผลต่อคุณภาพผล
ผลิตค่อนข้างเด่นชัด คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม และโบรอน

จากการรวบรวมผลการศึกษาวิจัยพบว่า ถ้าส้มได้รับ N, K และ Mg ไม่เพียงพอจะทำให้มีขนาดผลเล็ก สำหรับ N ถ้าได้รับมาก
เกินไปก็จะได้ผลเล็กเช่นเดียวกัน ทั้ง N และ K ถ้าส้มได้รับมากทำให้ผลแก่ช้า N และ Ca ช่วยส่งเสริมคุณภาพผลผลิตหลัง
การเก็บเกี่ยว ทั้ง P และ Mg ถ้าส้มได้รับมากทำให้เปลือกบาง ในขณะที่ N กลับทำให้เปลือกหนา K และ Mg ถ้าส้มได้รับน้อย
ทำให้ของแข็งที่ละลาย และปริมาณกรดทั้งหมดต่ำ ส่วน P ถ้ าได้รับไม่เพียงพอทำให้ปริมาณกรดทั้งหมดสูง สำหรับผลของ N
และ K ต่อของแข็ งที่ละลายและปริมาณกรดให้ผลค่อนข้างแตกต่างกันในส้มแต่ละชนิด ในส่วนของส้มโชกุนซึ่งเป็นส้มเปลือกล่อน
ก็ควรต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม ถ้าส้มขาดโบรอนทำให้ผลแข็ง น้ำส้มน้อย และอาจจะเกี่ยวกับอาการผลฟ่ามด้วยสำหรับสิ่งที่ควร
พิจารณาเบื้องต้นในเรื่องของธาตุอาหารพืชเพื่อการจัดการส้มให้ได้ผลผลิตสูง และมีคุณภาพ คือ ต้องชดเชยปริ มาณธาตุอาหาร
ที่สูญเสียไปกับผลผลิต จัดการธาตุอาหารหรือให้ปุ๋ยโดยอาศัยผลจากการวิเคราะห์ใบและดิน รวมทั้งสังเกตจากอาการผิดปกติ
ของพืช



http://www.yru.ac.th/e-journal/file/pdf_36.pdf
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 05/05/2012 5:44 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,578. การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าว



การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าว เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด และวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อปรับปรุงบำรุงดินให้อุดมสมบูรณ์ และเพิ่ม
ผลผลิตข้าวให้สูงขึ้น ทำการค้นคว้าวิจัยระหว่างปี พ.ศ. 2519-2540 ทั้งในดินเหนียว ดินร่วนปนดินเหนียว ดินร่วนเหนียวปน
ทรายและดินทราย ที่จังหวัดนครราชสีมา ปทุมธานี พิษณุโลก ราชบุรี สุรินทร์และปัตตานี พบว่าการใช้ปุ๋ยหมักจากฟางข้าว ใน
นา 2 ปีแรก ไม่ทำให้ผลผลิตข้าวพันธุ์ กข. 7 เพิ่มขึ้นแต่จะแสดงผลในปีที่ 3 เป็นต้นไป ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น ตามอัตราปุ๋ยหมัก
ฟางข้าวที่ใส่และจะเพิ่มอีก เมื่อใส่ปุ๋ยหมักฟางข้าวอัตรา 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมี 8-4-4 กิโลกรัมของ N-P2O5-
K2O ต่อไร่ โดยใช้ติดต่อกัน 22 ปี ได้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น 89-146 เปอร์เซ็นต์

ปี 2530 - 2542 ทำการทดลองในดินร่วนปนทรายชุดร้อยเอ็ดที่สถานีทดลองข้าวสุรินทร์ พบว่าอัตราปุ๋ยที่เหมาะสมสำหรับ
ข้าว กข. 23 คือใบและกิ่งอ่อน ของต้นกระถินยักษ์อัตรา 1,200 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 12 กิโลกรัม N ต่อ
ไร่ ได้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นเป็น 81 เปอร์เซ็นต์

แต่สำหรับข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 อัตราปุ๋ยพืชสดที่ดีที่สุดคือ 600 กิโลกรัมต่อไร่ อัตราปุ๋ยพืชสด 300 กิโลกรัมต่อไร่ใส่ร่วม
กับปุ๋ยไนโตรเจน 12 กิโลกรัม N ต่อไร่ เพิ่มผลผลิตได้ 53 เปอร์เซ็นต์

ในปี 2536 - 2541 การทดลองระบบการปลูกพืชควบโดยปลูกกระถินยักษ์เป็นแถวคู่ ระยะ 50 x 50 เซนติเมตร ในแนวขวาง
ทางลาดเทของพื้นที่สลับกับพื้นที่ปลูกข้าวสาลี โดยใช้แถบต้นกระถินยักษ์ 1 เมตร ต่อแถบข้าวสาลี 3 เมตร แล้วตัดต้นกระถิน
ยักษ์สูงจากระดับพื้น 50 เซนติเมตร นำส่วนที่ตัดออกใส่ลงในนาข้าวสาลีร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 4-4-4 กิโลกรัมของ N-P2O5
-K2O ต่อไร่ จะทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น 84 เปอร์เซ็นต์ ปี 2539 - 2541 ทดลองใช้กากสะเดาเป็นปุ๋ยอินทรีย์ ที่ศูนย์วิจัยข้าวอุบล
ราชธานีและสถานีทดลองข้าวโคกสำโรง อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ ทำให้ผลผลิตข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เพิ่มขึ้น 44 และ
56 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ

ประเทศไทยมีดินเสื่อมโทรม 224.9 ล้านไร่ ดินมีอินทรียวัตถุต่ำกว่า 1.5 เปอร์เซ็นต์ ประมาณ 98.7 ล้านไร่ ดินส่วน
ใหญ่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งดินนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนใหญ่เป็นดินทรายมีอินทรียวัตถุเฉลี่ย
0.56 เปอร์เซ็นต์ การเพิ่มอินทรียวัตถุโดยการใส่วัสดุอินทรีย์ลงไปในดิน เช่น การไถกลบตอซังข้าว เศษพืช ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก
หรือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร และอุตสาหกรรมจะช่วยในการปรับปรุงบำรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ขึ้น

ประเทศไทยปลูกข้าวได้ผลผลิตเฉลี่ยปีละประมาณ 20 ล้านตัน ซึ่งจะมีฟางข้าวประมาณ 10 ล้านตัน ฟางข้าวส่วนนี้จะออก
ไปจากแปลงนา ทำให้ดินต้องสูญเสียอินทรียวัตถุเป็นปริมาณมากในทุก ๆ ปี ดังนั้น จึงควรนำเอาฟางข้าวมาทำเป็นปุ๋ยหมักใส่กลับ
ลงดินในแปลงนาข้าว เพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดินและเพิ่มผลผลิตข้าวโดยใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี

นอกจากนี้ยังมีกระถินยักษ์ซึ่งเป็นพืชตระกูลถั่วยืนต้นที่ขึ้นได้ดี โตเร็ว แตกกิ่งก้านมากมีใบดก ระบบรากลึกทนแล้งได้ดี และมี
จุลินทรีย์ตรึงไนโตรเจนจากอากาศที่ปมราก จึงเป็นพืชที่เหมาะสมเป็นพืชสดบำรุงดิน การนำเอากระถินยักษ์มาปลูกบนคันนา
แล้วตัดเอาใบและกิ่งอ่อนใส่เป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าว หรือการปลูกกระถินยักษ์ในระบบพืชควบกับข้าวสาลี โดยตัดเอาใบและ
กิ่งอ่อนกระถินยักษ์เป็นปุ๋ยพืชสดใช้ได้ตลอดไป โดยใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีจะเป็นหนทางในการปรับปรุงบำรุงดิน และเพิ่มผลผลิตข้าว
สาลีได้ และจากการนำเอาเมล็ดสะเดามาสกัดเป็นสารกำจัดแมลงศัตรูพืช ทำให้มีกากสะเดา เป็นวัสดุเหลือใช้เมื่อวิเคราะห์พบ
ว่ามีไนโตรเจนมากกว่า 3 เปอร์เซ็นต์ ควรนำมาเป็นปุ๋ยใช้ในนาข้าวได้


วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ได้อัตราปุ๋ยหมักฟางข้าวในการเพิ่มผลผลิตข้าวพันธุ์ไม่ไวต่อช่วงแสงเมื่อใส่อย่างเดียวหรือใส่ร่วมกับปุ๋ยเคมีในระยะยาว

2. เพื่อให้ได้อัตราใบและกิ่งอ่อนกระถินยักษ์ ที่ปลูกบนคันนาเป็นปุ๋ยพืชสดเพิ่มผลผลิตข้าวพันธุ์ไม่ไวต่อช่วงแสงและไวต่อช่วง
แสง เมื่อใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี

3. เพื่อศึกษาระบบการปลูกพืชควบโดยใช้กระถินยักษ์เป็นปุ๋ยพืชสดร่วมกับการปลูกข้าวสาลีในการเพิ่มผลผลิตข้าวสาลี

4. เพื่อให้ได้อัตรากากสะเดาที่เหมาะสมในการเพิ่มผลผลิตข้าวพันธุ์ไวต่อช่วงแสง

5. เพื่อศึกษาผลการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยหมักฟางข้าว กระถินยักษ์และกากสะเดา) ต่อการเปลี่ยนสมบัติทางกายภาพและเคมีของดิน)


ความเป็นมา
ในปีงบประมาณ 2524 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เห็นความสำคัญในการใส่ปุ๋ยหมักซึ่งเป็นปุ๋ยที่ผลิตจากเศษพืช และมูลสัตว์
นำมาใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงบำรุงดินและเสริมการใช้ปุ๋ยเคมีให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยหมักที่ผลิตขึ้นเอง
ตามโครงการเร่งรัดปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ(ปุ๋ยหมัก) เกษตรกร 20 จังหวัดสามารถผลิตปุ๋ยหมักได้ 57.460 ต้น
ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 (2525-2529) รัฐบาลมีนโยบายในการลดต้นทุนการผลิตโดยดำเนินงานตาม
โครงการเร่งรัดปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติของดิน ส่งเสริมการเป็นประโยชน์
ของปุ๋ยเคมี ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมี ส่งเสริมให้เกษตรกรรู้จักการผลิตและการใช้ปุ๋ยหมักรวมถึงการเพิ่มผลผลิตและรายได้ของ
เกษตรกร มีเป้าหมายผลิตปุ๋ยหมัก 690,000 ตัน ในพื้นที่ 72 จังหวัดในปี 2530 - 2534 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 6 ส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตปุ๋ยหมัก 870,000 ตัน ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยพืชสด 32,054 ไร่ ในปี 2534 กระทรวงเกษตรและ
สหกรณ์ได้กำหนดนโยบายด้านดินและปุ๋ย โดยเน้นความจำเป็นในการยกระดับความสำคัญของการบำรุงดินให้เป็นนโยบายสำคัญ
ในปี 2535 - 2539 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 ส่งเสริมการทำและใช้ปุ๋ยหมัก 910,000 ตัน ส่งเสริมการ
ผลิตเมล็ดพันธุ์และใช้ปุ๋ยพืชสด จัดอบรมผู้นำเกษตรกร เป้าหมายปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ 840,000 ไร่ โดยใช้ฟางข้าว
กระถินยักษ์และกากสะเดา และในปัจจุบันรัฐบาลให้ความสำคัญกับการทำเกษตรกรรมแบบยั่งยืน จึงต้องสนับสนุน
การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าวต่อไป


คุณลักษณะดีเด่นของเทคโนโลยี
1. ฟางข้าวเป็นวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเมื่อนำมาทำเป็นปุ๋ยหมักจะทำให้การใช้วัสดุอินทรีย์มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

2. ปุ๋ยหมักฟางข้าวมีธาตุอาหารพืชปริมาณมากพอสมควร กล่าวคือ มีไนโตรเจน 2.16 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัส 1.18 เปอร์เซ็นต์
โพแทสเซียม 1.31 เปอร์เซ็นต์ แคลเซียม 2.29 เปอร์เซ็นต์ แมกนีเซียม 0.44 เปอร์เซ็นต์ และซัลเฟอร์ 0.41 เปอร์เซ็นต์

3. ปุ๋ยหมักฟางข้าวมีอัตราส่วนคาร์บอนและไนโตรเจนต่ำ ( C/N = 11.94 ) ทำให้ไนโตรเจนละลายออกมาเป็นประโยชน์ต่อ
ข้าวได้เร็ว ปุ๋ยหมักฟางข้าวทำให้สมบัติทางกายภาพของดินดีขึ้น คือ ดินจับตัวเป็นเม็ดมากขึ้น ลดความแข็งของดินและลดความ
หนาแน่นรวม

4. ปุ๋ยหมักฟางข้าวทำให้ดินมีอินทรียวัตถุเพิ่มขึ้น ช่วยดูดปุ๋ยไนโตรเจนจากปุ๋ยเคมีไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้นช่วยลดการสูญเสีย
ไนโตรเจน ลดการใช้ปุ๋ยเคมีและช่วยในการเจริญเติบโต มีรากมากขึ้น ดัชนีพื้นที่ใบข้าวเพิ่มขึ้น ทำให้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น

5. การปลูกกระถินยักษ์บนคันนา เพื่อนำมาเป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าว เป็นการนำพื้นที่ที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์

6. กระถินยักษ์มีธาตุอาหารไนโตรเจนสูง 3.7 - 4.3 เปอร์เซ็นต์ และมีธาตุอาหารพืชต่าง ๆ (แคลเซียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม
และไนเตรท) ในระดับสูง

7. ใบและกิ่งอ่อนของกระถินยักษ์เพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน ช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินให้ดีขึ้น รักษาธาตุอาหารในดิน ใบและ
กิ่งอ่อนของกระถินยักษ์ช่วยลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมี เพิ่มผลผลิตและคุณภาพของข้าว

8. ระบบการปลูกพืชควบกระถินยักษ์และข้าวสาลี ช่วยในการปรับปรุงบำรุงดินและเพิ่มผลผลิตข้าวสาลี จากการใช้กระถินยักษ์
เป็นปุ๋ยพืชสด

9. การใช้กากสะเดาซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้มาเป็นปุ๋ยอินทรีย์กับข้าว ทำให้ดินมีสมบัติทางกายภาพดีขึ้นให้ธาตุอาหารและเพิ่มผลผลิตข้าว


การประเมินคุณค่าของเทคโนโลยี
1. การใช้ปุ๋ยหมักฟางข้าวร่วมกับปุ๋ยเคมีติดต่อกัน 20 - 22 ปี ทำให้ผลผลิตข้าวเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ปุ๋ยหมักฟางข้าวอัตรา 1,000
กิโลกรัมต่อไป ร่วมกับปุ๋ยเคมี 8-4-4 กิโลกรัมของ N-P2O5-K2O ต่อไร่ ให้ผลผลิตข้าว กข.7 เพิ่มขึ้น 115 เปอร์เซ็นต์,
99 เปอร์เซ็นต์ และ 72 เปอร์เซ็นต์ ที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก สถานีทดลองข้าวพิมาย และสถานีทดลองข้าวสุรินทร์ ตามลำดับ
และผลผลิตข้าว กข.7 เพิ่มขึ้น 146 เปอร์เซ็นต์, 117 เปอร์เซ็นต์ และ 89 เปอร์เซ็นต์ เมื่อใช้ปุ๋ยหมักฟางข้าวอัตรา 2,000
กิโลกรัมต่อไป ร่วมกับปุ๋ยเคมี 8-4-4 กิโลกรัมของ N-P2O5-K2O ต่อไร่ ตามลำดับ

2. การใช้ปุ๋ยหมักฟางข้าวติดต่อกัน 12 ปี ทำให้ดินมีอินทรียวัตถุที่เป็นประโยชน์เพิ่มขึ้น

3. การใช้ปุ๋ยหมักฟางข้าวทำให้สมบัติทางกายภาพของดินดีขึ้นกล่าวคือ ทำให้การจับตัวของเม็ดดินเพิ่มขึ้น ความแข็งของดิน
ลดลง ความหนาแน่นของดินลดลง

4. การใช้ปุ๋ยหมักฟางข้าวช่วยเพิ่มการดูดธาตุอาหารในต้นและเมล็ดข้าว เพิ่มดัชนีพื้นที่ใบ ปริมาณรากและการดูดน้ำของราก

5. ใบและกิ่งอ่อนกระถินยักษ์อัตรา 1,200 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 12 กิโลกรัม N ต่อไร่ เพิ่มผลผลิตข้าว
กข. 23 ได้ 81 เปอร์เซ็นต์

6. ใบและกิ่งอ่อนกระถินยักษ์อัตรา 300 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 12 กิโลกรัม N ต่อไร่ หรือใบและกิ่งอ่อน
กระถินยักษ์อัตรา 600 กิโลกรัมต่อไร่อย่างเดียวเพิ่มผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ได้ 53 เปอร์เซ็นต์

7. การใช้กระถินยักษ์ติดต่อกัน 10 ปี ทำให้ดินมีสมบัติทางเคมีและกายภาพดีขึ้น ช่วยให้ข้าวดูดธาตุอาหารจากดินได้มากขึ้น
ปรับปรุงบำรุงดินและเพิ่มอินทรียวัตถุในดินให้สูงขึ้น

8. การปลูกพืชควบระหว่างกระถินยักษ์กับข้าวสาลีร่วมกับปุ๋ยเคมีอัตรา 4-4-4 กิโลกรัมของ N-P2O5-K2O ต่อไร่ ติดต่อ
กัน 6 ปี ทำให้ผลผลิตข้าวสาลีเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 84 เปอร์เซ็นต์ และอินทรียวัตถุในดินเพิ่มขึ้นด้วย

9. การใส่กากสะเดาอัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ เพิ่มผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในดินทรายปนดินร่วนและดินเหนียวปนทราย
44 และ 56 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ


คำแนะนำวิธีการใช้
1. การทำปุ๋ยหมักฟางข้าว กองฟางข้าวในที่ร่มมีขนาดกอง 2x5 เมตร รดน้ำให้ชุ่มพร้อมกับเหยียบให้แน่นพอสมควร จนกองสูง
ประมาณ 25 เซนติเมตร โรยมูลสัตว์และปุ๋ยยูเรียหรือแอมโมเนียมซัลเฟตเพื่อช่วยให้ฟางข้าวสลายตัวเร็วขึ้น แล้วกองชั้นต่อ ๆ ไป
ทำเช่นเดียวกันจนกองมีความสูง 1.00 -1.50 เมตร โดยใช้ฟางข้าว มูลสัตว์และปุ๋ยเคมีอัตราส่วน 100 ต่อ 10 ต่อ 1 ควรกลับ
กองปุ๋ยทุก ๆ เดือน หลังกลับกองปุ๋ยครั้งที่สองแล้ว 2 อาทิตย์ จึงกลับอีกครั้งหนึ่ง จากนั้นกองปุ๋ยหมักก็จะเหมาะแก่การนำไปใช้
แล้ว ปกติแล้วปุ๋ยหมักจะมีค่าของคาร์บอน/ไนโตรเจนประมาณ 20

2. ใช้ปุ๋ยหมักฟางข้าวอัตรา 2 ตันต่อไร่ โดยหว่านให้ทั่วแปลงขณะเตรียมดินแล้วไถกลบลงไปในดินทันทีก่อนปักดำข้าว 20 วัน
ใส่ปุ๋ย 16-20-0 ในดินเหนียวหรือ 16-16-8 ในดินทรายอัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ ก่อนปักดำข้าว 1 วัน แล้วคราดกลบและ
ใส่ปุ๋ยยูเรียอัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ ที่ระยะกำเนิดช่อดอก สำหรับนาหว่านน้ำตมใส่ปุ๋ย 16-20-0 หรือ 16-16-8 อัตรา 30
กิโลกรัมต่อไร่ หลังข้าวงอก 30 วัน และใส่ปุ๋ยยูเรียอัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ ที่ระยะกำเนิดช่อดอก

3. การปลูกกระถินยักษ์เป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าวใช้กระถินยักษ์พันธุ์เปรูหรือ K8 ปลูกบนคันนา ควรเริ่มปลูกในช่วงฤดูฝนหรือ
ในระยะที่ดินมีความชื้นพอ ถ้าเป็นคันนาแคบควรปลูกเป็นแถวเดียวระยะระหว่างต้น 50 เซนติเมตร ถ้าคันนากว้างควรปลูกเป็นแถว
คู่ระยะระหว่างต้น x ระยะระหว่างแถวเท่ากับ 50 x 50 เซนติเมตร การตัดแต่งกิ่งเพื่อทำเป็นปุ๋ยพืชสด ถ้าฝนตกตามปกติกระถิน
ยักษ์จะโตเร็ว เริ่มตัดใบและกิ่งอ่อนได้ใน 4-5 เดือนของปีแรก ควรตัดแต่งครั้งแรกเมื่อกระถินยักษ์สูง 2 เมตร โดยตัดให้เหลือตอ
สูงเหนือพื้นดิน 1 เมตร ส่วนของกระถินยักษ์ที่จะนำไปใส่เป็นปุ๋ยปรับปรุงบำรุงดินให้เลือกตัดเอาเฉพาะใบและกิ่งอ่อนและตัดแต่ง
ทุก 2 เดือน หรือเมื่อต้นกระถินยักษ์สูง 2 เมตร

4. การใส่กระถินยักษ์เป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าว ใช้ใบและกิ่งอ่อนของกระถินยักษ์หว่านในแปลงปลูกข้าวแล้วไถกลบก่อนปักดำ
ข้าว 15 วัน โดยใช้ใบและกิ่งอ่อนอัตรา 1,200 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 12 กิโลกรัม N ต่อไร่ (ยูเรีย 26 กิโล
กรัมต่อไร่) ที่ระยะกำเนิดช่อดอก สำหรับข้าวพันธุ์ไม่ไวต่อช่วงแสง ส่วนข้าวพันธุ์ไวต่อช่วงแสงใช้ใบและกิ่งอ่อนของกระถินยักษ์
หว่านแล้วไถกลบก่อนปักดำข้าว 15 วัน โดยใช้ใบและกิ่งอ่อนอัตรา 300 กิโลกรัมต่อไร่ และใส่ปุ๋ยยูเรียอัตรา 12 กิโลกรัม N ต่อไร่
(ยูเรีย 26 กิโลกรัมต่อไร่) ที่ระยะกำเนิดช่อดอกหรือใช้ใบและกิ่งอ่อนกระถินยักษ์อัตรา 600 กิโลกรัมต่อไร่ อย่างเดียวก่อนปัก
ดำข้าว 15 วัน

5. การปลูกกระถินยักษ์ร่วมกับข้าวสาลี โดยปลูกกระถินยักษ์ในปีแรก โดยปลูกเป็นแถบ 2 แถวคู่ระยะ 50 x 50 เซนติเมตร ขวาง
ความลาดเทของพื้นที่สลับกับแถบของข้าวสาลีในอัตราส่วนกระถินยักษ์กว้าง 1 เมตร ข้าวสาลีกว้าง 3 เมตร ในปีที่ 2 และปีต่อ ๆ
ไป ตัดกระถินยักษ์ส่วนที่เกิน 50 เซนติเมตร ใส่เป็นปุ๋ยพืชสดในพื้นที่ปลูกข้าวสาลีร่วมกับการใช้ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 30 กิโล
กรัมต่อไร่ ที่ระยะหลังข้าวสาลีงอก 20 วัน และตัดกระถินยักษ์ส่วนที่เกิน 50 เซนติเมตร ใส่เป็นปุ๋ยพืชสดในพื้นที่ปลูกพืชหลัก
เช่น ข้าวไร่ เป็นต้น ปลูกสลับกับข้าวสาลี

6. ใส่กากสะเดา อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ ไถกลบก่อนปักดำข้าว 1 สัปดาห์


การเผยแพร่
เผยแพร่โดยกลุ่มงานวิจัยความอุดมสมบูรณ์ของดินและปุ๋ยข้าวและธัญพืชเมืองหนาว กองปฐพีวิทยา กรมวิชาการเกษตร ลาดยาว
จตุจักร กทม. 10900. หรือ โทร 02-5797515





http://www.moac.go.th/ewt_news.php?nid=438&filename=index
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 05/05/2012 5:53 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,579. การปลูกข้าวในฤดูนาปรังโดยใช้น้ำอย่างประหยัด-


ข้าวนอกจากจะเป็นพืชอาหารหลักของคนไทยแล้ว ยังเป็นพืชส่งออกอันดับหนึ่งที่ทำรายได้ให้กับประเทศไทยอย่างมหาศาล กล่าวคือ
ผลผลิตข้าวของไทยซึ่งผลิตได้ประมาณปีละ 20 ล้านตัน ข้าวเปลือก จะถูกนำไปใช้เพื่อการบริโภคและทำพันธุ์ ปีละ 13 ล้านตันข้าว
เปลือก ส่วนที่เหลืออีกประมาณ 7 ล้านตันหรือ 5 ล้านตันข้าวสาร ถูกส่งออกไปขายยังต่างประเทศคิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่าปีละ 4.8
หมื่นล้านบาท

สืบเนื่องจากภาวะการผลิตข้าวในปัจจุบัน ประเทศที่เคยผลิตข้าวได้เป็นลำดับต้นๆ เพื่อการบริโภคหรือส่งออกขายแข่งในตลาดโลก
เช่น จีน อินโดนีเซีย เวียดนาม และสหรัฐอเมริกา ต่างก็ประสบภัยธรรมชาติทำความเสียหายให้กับผลผลิต ต้องมีการนำเข้าข้าวสาร
เพื่อให้พอเพียงกับการบริโภคภายในประเทศ ส่งผลให้ข้าวเปลือกโดยทั่วไปในประเทศไทยมีราคาสูงขึ้นถึงกว่า เกวียนละ7,000
บาท ขณะที่ข้าวประเภทข้าวหอม กลับสูงขึ้นถึง 11,000 บาท ประกอบกับกรมวิชาการเกษตรได้พิจารณารับรองพันธุ์ข้าวหอม
ใหม่ ซึ่งไม่ไวต่อช่วงแสง 2 พันธุ์คือ ข้าวเจ้าหอมคลองหลวง 1 และข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรี เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2540 จึงเป็น
แรงจูงใจให้เกษตรกรหันมาปลูกข้าวกันมากขึ้น โดยเฉพาะในฤดูนาปรัง 2541 ที่จะถึงนี้ แต่จากการพยากรณ์ของ นักอุตุนิยมวิทยา
คาดว่าในช่วงเวลาดังกล่าวประเทศไทยจะประสบกับ ปัญหา ภัยแล้งมากกว่าปีที่ผ่านมา จึงจำเป็นต้องมีการ ใช้น้ำชลประทานเท่าที่มีอยู่
อย่างจำกัด โดยมีแนวทางปฏิบัติดังนี้

1. ให้เกษตรกรที่มีความต้องการทำนาปรัง ซึ่งอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน และใกล้แหล่งน้ำรวมกลุ่มกันวางแผนการใช้น้ำร่วมกัน

2. กลุ่มเกษตรกรที่ปลูกข้าวนาปรัง ควรใช้ข้าวพันธุ์เดียวกันหรือต่างพันธุ์แต่มีอายุเท่ากัน ปลูกพร้อม ๆ กัน เพื่อการปฏิบัติดูแล
รักษาตามขั้นตอนต่าง ๆ จะได้เป็นไปในระยะเวลาใกล้เคียงกัน ตั้งแต่การเตรียมดิน การหว่านเมล็ดพันธุ์ การให้น้ำ การกำจัดวัชพืช
การใส่ปุ๋ย การฉีดพ่นสารเคมี จนถึงการเก็บเกี่ยว

3. เลือกแนวทางปฏิบัติที่มีการใช้น้ำน้อย
3.1 เตรียมดินโดยใช้น้ำน้อยและประหยัด
3.2 การทำนาหว่าน ช่วยประหยัดน้ำมากกว่าการทำนาดำ เพราะมีอายุสั้นกว่าประมาณ 7-10 วัน
3.3 ใช้พันธุ์ข้าวที่มีอายุสั้น เช่น กข 25 ที่มีอายุประมาณ 90 วัน
3.4 หมั่นตรวจดูแลรักษาคันนาอย่าให้น้ำรั่วไหล
3.5 พยายามปรับระดับพื้นที่นาให้สม่ำเสมอ เพื่อจะได้สามารถลดระดับน้ำในนาลงให้เหลือ 3.5 เซนติเมตร ก็เพียงพอ

4. ข้อแนะนำการใช้น้ำปลูกข้าวอย่างประหยัดในสภาพดินเหนียว เป็นแนวคิดที่กำลังอยู่ในระหว่างการ วางแผน ศึกษาวิจัย จึงยังไม่
สามารถยืนยันได้ในขณะนี้ แต่พอให้แนวทางการปฏิบัติได้ โดยใช้หลักการที่เน้นวิธีการให้ข้าวใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่มี
การระบายออก ซึ่งมีความสำคัญต่อการปลูกข้าวในภาวะที่มีน้ำอยู่ค่อนข้างจำกัด ดังนี้

4.1 ต้องมีการเตรียมดินอย่างประณีต ร่วมกับการปรับระดับผิวดินให้ราบเรียบ เพื่อช่วยลดปัญหาการระบาดของวัชพืช และทำให้
การเจริญเติบโตของข้าวเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ

4.2 หลังจากข้าวงอกและตั้งตัวดีแล้ว รักษาระดับน้ำในนาไว้ประมาณ 3-5 เซนติเมตร หมั่นตรวจซ่อม คันนาอยู่เสมอ อย่าให้
น้ำรั่วซึม กรณีที่มีปัญหาวัชพืชให้ใช้ยาเคมีกำจัดตามความจำเป็น

4.3 ปล่อยให้น้ำที่ขังในนาค่อย ๆ แห้งไปเองประมาณ 3-7 วัน หลังจากนั้นจึงปล่อยน้ำเข้านาอีกครั้งและรักษาระดับไว้ที่ 3-5 เซนติ
เมตร แล้วหว่านด้วยปุ๋ยสูตร 16-20-0 อัตรา 25-30 กิโลกรัมต่อไร่ เป็นปุ๋ยรองพื้น

4.4 หลังจากให้น้ำครั้งที่ 2 (ตามข้อ 4.3) และหว่านปุ๋ยรองพื้นแล้ว ต้นข้าวจะเจริญเติบโตจนถึงระยะข้าวแตกกอ ระดับน้ำที่ลดลง
และเริ่มแห้ง ปล่อยให้น้ำแห้ง 3-5 วัน ซึ่งสังเกตได้จากดินเริ่มมีรอยแตก จึงระบายน้ำเข้านาอีกครั้ง ในระดับ 3-5 เซนติเมตร แล้ว
จึงใส่ปุ๋ยแต่งหน้าด้วยปุ๋ยยูเรีย อัตรา 5 กิโลกรัมต่อไร่

4.5 ครั้งนี้ปล่อยให้น้ำแห้งไปอีกเช่นกัน ซึ่งควรจะเป็นระยะที่ข้าวเริ่มกำเนิดช่อดอก ให้ระบายน้ำเข้านาและใส่ปุ๋ยแต่งหน้าด้วยปุ๋ยยูเรีย
อีกครั้ง ในอัตรา 5 กิโลกรัมต่อไร่ ระดับน้ำในครั้งนี้อาจจะให้สูงขึ้นบ้าง คือให้ระดับน้ำอยู่ในระดับประมาณ 10 เซนติเมตร จะทำให้น้ำ
ค่อย ๆ แห้งในระยะใกล้ข้าวออกดอก ทรงพุ่มของต้นข้าวจะทำให้ดินแห้งช้าลง หลังจากดินแห้งแล้วประมาณ 3 วัน จึงระบายน้ำเข้านา
อีกครั้ง ระยะนี้อย่าทิ้งให้ดินแห้งนานนัก เนื่องจากเป็นระยะข้าวออกดอกความชื้นในดินมีความสำคัญต่อการเกิดเมล็ดของข้าวได้ ระบาย
น้ำเข้านาในระดับ 5 เซนติเมตรอีกครั้ง แล้วปล่อยให้ระดับน้ำค่อย ๆ ลดลงจนแห้งไปในที่สุด หลังจากนั้นจึงรอการเก็บเกี่ยวได้


หมายเหตุ
1. การกำจัดวัชพืชก่อนใส่ปุ๋ยทุกครั้งควรกระทำ
2. อย่าให้ดินขาดน้ำในระยะข้าวออกดอก



http://www.moac.go.th/ewt_news.php?nid=435&filename=Project05
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 05/05/2012 6:06 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,580. สารสกัดจากสะเดาต่อแมลงสิงและผีเสื้อข้าวเปลือก


อภิชาติ ลาวัณย์ประเสริฐ(1) บรรยง นิชรัตน์(1)

บทคัดย่อ


การศึกษาผลของสารสกัดจากสะเดาต่อการทำลายของแมลงสิง (Leptocorisa acuta Thumberg) และผีเสื้อข้าวเปลือก
(Sitotroga cerealella Olivier) ที่ระยะเวลาก่อนเก็บเกี่ยวต่าง ๆ กัน ในพันธุ์ข้าวเจ้าหอมคลองหลวง 1 ได้ดำเนินการทดลอง
แบบ Artificial Infestation ในฤดูนาปี 2543 และ 2544 โดยวิธีปลูกแบบหว่านน้ำตม ที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี ใช้แผนการ
ทดลองแบบ RCB จำนวน 4 ซ้ำ 7 กรรมวิธี ได้แก่ กรรมวิธีที่ 1 เป็นกลุ่มข้าวที่ไม่มีทั้งการปล่อยแมลงและพ่นสาร (กรรมวิธีควบ
คุม) กรรมวิธีที่ 2 3 4 5 และ 6 เป็นกลุ่มข้าวที่ได้รับการพ่นสารสกัด จากสะเดาเพียงครั้งเดียว ภายหลังปล่อยแมลง 5 10
15 20 และ 25 วัน ตามลำดับ ส่วนกรรมวิธีที่ 7 เป็นกลุ่มข้าวที่ไม่มีการพ่นสารใด ๆ ภายหลังการปล่อยแมลง ผลการทดลองพบ
ว่า ในฤดูนาปี 2543 ตรวจพบ ปริมาณแมลงสิง ในกรรมวิธีการพ่นสารสกัดจากสะเดาที่ระยะเวลา 5 และ 10 วัน หลังข้าวออก
รวง มีจำนวนน้อยกว่ากรรมวิธีการไม่พ่นสารใด ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตามไม่สามารถตรวจพบตัวเต็มวัยของผีเสื้อข้าว
เปลือกในกรรมวิธีต่าง ๆ ได้ นอกจากนี้พบว่า กรรมวิธีควบคุมมีแนวโน้มให้ผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตน้อยกว่ากรรมวิธีต่าง ๆ
ที่ได้รับการปล่อยแมลง สำหรับในฤดูนาปี 2544 มีผลการทดลองคล้ายคลึงกับในฤดูนาปี 2543 ยกเว้นผลผลิตและองค์ประกอบ
ผลผลิตของกรรมวิธีควบคุมมีแนวโน้มมากกว่ากรรมวิธีต่างๆ ที่ได้รับการปล่อยแมลง

(1) ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี


http://www.ricethailand.go.th/brrd/s39.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 05/05/2012 6:11 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,581. การใช้จุลินทรีย์ที่อาศัยร่วมกับต้นข้าวเพื่อควบคุมโรคไหม้ของข้าว


Utilization of Rice-Associated-Microorganisms for Biological Control of Rice Blast Disease
Caused by Pyricularia grisea

รัศมี ฐิติเกียรติพงศ์ (1) วิชชุดา รัตนากาญจน์ (1) วิชิต ศิริสันธนะ (1)
พยนต์ ขาวสะอาด (2) ดารา เจตนะจิตร (1)


บทคัดย่อ

แยกเชื้อแบคทีเรีย จากส่วนของใบ ดอก กาบใบที่ไม่เป็นโรค และจากใบที่เป็นโรคไหม้ รวบรวมไว้จำนวน 212 ไอโซเลท นำเชื้อ
แบคทีเรียทั้งหมดมาทดสอบความสามารถในการยับยั้งการเจริญของเชื้อราโรคไหม้ Pyricularia grisea ในห้องปฏิบัติการ พบว่า
มีเชื้อแบคทีเรียเรืองแสง (fluorescent bacteria) และแบคทีเรียไม่เรืองแสง (non-fluorescent bacteria) กลุ่ม Bacillus
spp. ที่มีความสามารถในการยับยั้งการเจริญของเชื้อราสาเหตุโรคไหม้ จำนวน 45 และ 33 ไอโซเลท ตามลำดับโดยแบคทีเรีย
ปฎิปักษ์หมายเลข B-125 มีเปอร์เซ็นต์ยับยั้งการเจริญของเส้นใย P. grisea สูงสุด คือ 70.73 เปอร์เซ็นต์ คัดเลือกแบคทีเรีย
ปฎิปักษ์จำนวน 12 ไอโซเลท มาทดสอบความสามารถในการควบคุมโรคไหม้บนใบข้าวด้วยวิธี detached leaf โดยตัดใบข้าว
พันธุ์ กข23 อายุ 30 วัน มาวางบนอาหาร benzimidazole ในจานเลี้ยงเชื้อ เตรียมสารแขวนลอยแบคทีเรียปฎิปักษ์ความ
เข้มข้น 109 cfu/ml ฉีดพ่นบนใบข้าวก่อนการปลูกเชื้อราสาเหตุโรคไหม้ 1 วัน โดยมีกรรมวิธีฉีดพ่นด้วยน้ำกลั่นเป็นกรรมวิธี
เปรียบเทียบ พบว่าแบคทีเรียปฎิปักษ์ หมายเลข B-125 B-059 และ B-097 สามารถลดการเกิดโรคไหม้ของข้าวได้ 88 83
และ 73 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ นำแบคทีเรียปฎิปักษ์ดังกล่าวไปทดสอบประสิทธิภาพการควบคุมโรคไหม้ของข้าวใน
สภาพแปลงนา ณ ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี ในฤดูนาปีและนาปรังปี 2544 และฤดูนาปี 2545 โดยวางแผนการทดลอง แบบ RCB มี
5 กรรมวิธี และ 4 ซ้ำ คือ กรรมวิธีฉีดพ่นด้วยแบคทีเรียปฎิปักษ์หมายเลข B-125 B-059 และ B-097 โดยมีกรรมวิธีฉีดพ่นด้วย
น้ำ และกรรมวิธีฉีดพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคไหม้ tricyclazole เป็นกรรมวิธีเปรียบเทียบ ปลูกข้าวพันธุ์ กข 23 ด้วยวิธีปัก
ดำในแปลงขนาด 4X5 เมตร ให้ต้นข้าวเกิดโรคไหม้ตามธรรมชาติ ฉีดพ่นต้นข้าวด้วยแบคทีเรียปฎิปักษ์แต่ละไอโซเลท ความ
เข้มข้น 109 cfu/ml ในระยะแตกกอ เมื่อพบใบข้าวเป็นโรค 1-3 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ใบ จากนั้นฉีดพ่นด้วยแบคทีเรียปฎิปักษ์
อีก 3 ครั้ง ทุก 7 วัน ยกเว้นสารป้องกันกำจัดโรคไหม้ ทำการฉีดพ่น 2 ครั้ง ในระยะข้าวแตกกอ และระยะออกดอก ผลการทดลอง
พบว่าไม่มีความแตกต่างของการเกิดโรคใบไหม้ (leaf blast) และโรคเน่าคอรวง (neck blast) แต่มีความแตกต่างของการเกิด
โรคเน่าข้อต่อใบ ( collar rot ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในฤดูนาปรังปี 2544 โดยพบว่าแบคทีเรียปฎิปักษ์ B-059 มีประสิทธิ
ภาพในการควบคุมโรคเน่าข้อต่อใบต่ำกว่าการใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืช tricyclazole แต่มีประสิทธิภาพควบคุมโรคเน่า
ข้อต่อใบได้สูงกว่า กรรมวิธีเปรียบเทียบ คือ กรรมวิธีเปรียบเทียบเกิดโรคเน่าข้อต่อไป 20.44 เปอร์เซ็นต์ในขณะที่กรรมวิธีที่ใช้แบค
ทีเรียปฎิปักษ์ B-059 และกรรมวิธีที่ใช้ tricyclazole เกิดโรคเน่าข้อต่อใบ 10.12 และ 0.75 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ


(1) กลุ่มงานวิจัยโรคข้าวและธัญพืชเมืองหนาว กองโรคพืชและจุลวิทยา
(2) ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี



http://www.ricethailand.go.th/brrd/s38.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 05/05/2012 6:16 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,582. การลดความรุนแรงของโรคไหม้ของข้าวโดยการปลูกแบบรวมเมล็ดพันธุ์

Varietal Mixture as a Mean for Minimization of Rice Blast Severity

อัจฉราพร ณ ลำปาง เนินพลับ(1)


บทคัดย่อ

นำข้าวหอมพื้นเมืองจาก Genetic stock ที่เก็บจากแหล่งต่าง ๆ กันในประเทศไทย และผ่านการทดสอบโรคไหม้เบื้องต้นมา
แล้วว่ามีความต้านทานต่อโรคไหม้ 3 ระดับ จำนวน 3 สายพันธุ์ด้วยกัน คือ #3 (GSNO06941 ต้านทานต่อโรคไหม้ R)
#22 (GSNO18428 ค่อนข้างต้านทาน MR) และ #25 (GSNO19361 อ่อนแอ) มาทำการทดสอบในบ่อซีเมนต์ใน
ฤดูนาปี 2544 และ 2545 โดยวิธีปักดำ ระยะห่างระหว่างต้นและแถวเป็น 15 x 15 ซม. จำนวน 12 กอ ต่อ 1 บ่อ วางแผน
การทดลองแบบ RCB มี 7 กรรมวิธี 4 ซ้ำ กรรมวิธีมีดังนี้ คือ #3 (1) #22 (1) #25 (1) #3 และ 22(1:1) #3 และ 25
(1:1) #3 และ 22 และ 25 (1:1:1) ผลที่ได้รับในฤดูนาปี 2544 จากการตรวจเช็คการเป็นโรคไหม้ในระยะแตกกอและเมล็ด
สะสมแป้ง พบว่า ในระยะแตกกอ ข้าวทั้ง 3 สายพันธุ์ที่ปลูกเดี่ยว ๆ มีอาการของโรคไหม้บนใบ (LB) เมื่อประเมินด้วยสายตาเป็น 3
35 และ 36% ของพื้นที่ใบ ตามลำดับ และเมื่อปลูก #3 ร่วมกับ #22 หรือ #25 ก็พบว่าทำให้เปอร์เซ็นต์ของโรคบนใบลดลง 25
และ 31% ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับที่ปลูก #22 หรือ #25 พันธุ์ใดพันธุ์หนึ่งเพียงพันธุ์เดียว แต่การปลูกทั้ง 3 พันธุ์รวมกัน
ไม่ทำให้การเกิดโรคน้อยกว่าที่ปลูก #22 และ #25 รวมกันเพียง 2 พันธุ์ ในระยะสะสมแป้งพบว่าไม่มีอาการของโรคไหม้บนใบ
เลย ส่วนอาการของโรคไหม้ที่พบตรงข้อต่อใบ (CR) และคอรวง (NB) จากการคำนวณเป็นเปอร์เซ็นต์ของจำนวนต้นที่มีทั้งหมด
ก็เป็นไปในแนวทางเดียวกันกับระยะแตกกอ คือเมื่อมี #3 อยู่ด้วย ทำให้เปอร์เซ็นต์โรคทีข้อต่อใบลดลง 11 - 47% และที่คอรวง
3 - 8% สำหรับผลผลิตนั้นได้รับความเสียหายบางส่วนเนื่องจาก ถูกนกทำลาย จึงไม่ได้นำมาเปรียบเทียบ ส่วนผลที่ได้รับในฤดูนา
ปี 2545 นั้น ถึงแม้จะพบอาการของโรคไหม้ในทุกระยะการเจริญเติบโตน้อยกว่าที่พบในปี 2544 คืออาการสูงสุดบนใบน้อยกว่า
2% ส่วนที่ข้อต่อใบและคอรวงพบอาการสูงสุด 6 และ 4% ตามลำดับ แต่ผลที่ได้รับก็ยังคงเป็นไปในแนวทางเดียวกันทั้งระยะแตก
กอและสะสมแป้ง คือ เมื่อมี #3 อยู่ด้วย ก็จะทำให้อาการของโรคที่ใบ ข้อต่อใบ และคอรวงลดลงมากกว่าที่มี #22 หรือ #25
เพียงอย่างเดียว หรือที่มี #22 รวมกับ #25 สำหรับผลผลิตนั้น ไม่ได้รับผลกระทบที่ชัดเจนจากโรคไหม้ เนื่องจากพบอาการของ
โรคน้อยและพบในระยะหลังของการเจริญเติบโตซึ่งเป็นช่วงใกล้เก็บเกี่ยว ผลการทดลองนี้บ่งให้เห็นถึงศักยภาพของวิธีการปลูก
แบบรวมเมล็ดพันธุ์ในการลดความรุนแรงของโรคไหม้ ซึ่งจะเป็นแนวทางสำหรับการทดสอบและปฏิบัติในแปลงใหญ่ต่อไป

(1) ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก



http://www.ricethailand.go.th/brrd/s36.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 05/05/2012 6:20 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,583. การใช้วัสดุอินทรีย์ บรรเทาพิษของเกลือต่อข้าวที่ปลูกในดินเค็ม


Use of Organic Material alleviate Salt injury for Rice Planted in Northeast Saline Soil

เสรี ดาหาญ (1) พิบูลวัฒน์ ยังสุข (2) คำเบ้า ขันโอราฬ (2)


บทคัดย่อ

การศึกษาการใช้วัสดุคลุมดิน (ฟางข้าว แกลบ) ทั้งที่ใส่เดี่ยว ใส่รวมกันและใส่ร่วมกับปุ๋ยพืชสด (โสนอัฟริกัน ถั่วลิสง) และปุ๋ยเคมี
อัตรา 8-4-2 และ 4-4-2 กก.N-P2O5-K2O /ไร่ โดยใส่ติดต่อกันทุกปี เพื่อบรรเทาพิษของเกลือต่อการปลูกข้าวในดินเค็ม
ทำการทดลองที่ศูนย์วิจัยข้าวสกลนคร ระหว่างฤดูนาปี 2540-2543 ในดินเค็มชุดร้อยเอ็ด ก่อนการทดลองค่าการนำไฟฟ้าของดิน
(EC) อยู่ระหว่าง 0.21- 1.00 dS/m วางแผนการทดลองแบบ Factorial (2x3) + 2 in RCB มี 4 ซ้ำ ประกอบด้วย
ปัจจัยที่ 1 วัสดุคลุมดิน ได้แก่ แกลบ และฟางข้าว แต่ละชนิดใส่ อัตรา 2,000 กก./ไร่ ปัจจัยที่ 2 ปุ๋ย ได้แก่ 1) ปุ๋ยเคมีอัตรา
8-4-2 กก.N-P2O5-K2O /ไร่ 2) โสนอัฟริกัน + ปุ๋ยเคมีอัตรา 4-4-2 กก.N-P2O5-K2O /ไร่ 3) ถั่วลิสง + ปุ๋ยเคมีอัตรา
4-4-2 กก.N-P2O5-K2O /ไร่ โดยมีการใส่ปุ๋ยเคมี อัตรา 8-4-2 กก.N-P2O5-K2O /ไร่ และไม่ใส่ปุ๋ยเป็นกรรมวิธี
เปรียบเทียบ ใช้กล้าข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 อายุ 35 วันปักดำระยะ 20 x 20 เซนติเมตร ผลการทดลอง 4 ปี พบว่าเมื่อใช้
แกลบเป็นวัสดุคลุมดิน อัตรา 2000 กก./ไร่ ร่วมกับการปลูกโสนอัฟริกันแล้วไถกลบ ร่วมกับปุ๋ยเคมีอัตรา 4-4-2 กก.N-P2O5
-K2O/ไร่ ให้ผลผลิตข้าว 480 กก./ไร่ สูงกว่าการใช้ฟางข้าวอัตรา 2,000 กก./ไร่ ร่วมกับการปลูกโสนอัฟริกันแล้วไถกลบ
ร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 4-4-2 กก.N-P2O5-K2O /ไร่ ซึ่งให้ผลผลิตข้าว 450 กก./ไร่ การใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 8-4-2 กก.
N-P2O5-K2O /ไร่ ได้ผลผลิตข้าว 379 กก./ไร่ สูงกว่าแปลงที่ไม่ใส่ปุ๋ย (306 กก./ไร่) อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ และการ
ใส่ฟางข้าวร่วมกับปุ๋ยเคมีอัตรา 8-4-2 กก.N-P2O5-K2O /ไร่ ให้ผลผลิตข้าว 457 กก./ไร่ สูงกว่าการใส่แกลบร่วมกับปุ๋ยเคมี
อัตรา 8-4-2 กก.N-P2O5-K2O /ไร่ (419 กก./ไร่) อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ ทำนองเดียวกันการใส่ฟางข้าวร่วมกับการ
ปลูกถั่วลิสงและใส่ปุ๋ยเคมี 4-4-2 กก.N-P2O5-K2O /ไร่ ให้ผลผลิตข้าว 418 กก./ไร่ สูงกว่าการใส่แกลบร่วมกับการปลูกถั่ว
ลิสงและใส่ปุ๋ยเคมีอัตราดังกล่าว ซึ่งให้ผลผลิต 399 กก./ไร่ ส่วนการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของดิน พบว่าปริมาณอินทรียวัตถุ (% OM)
ความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ของดินและน้ำ ในดินมีแนวโน้มสูงขึ้น ค่าการนำไฟฟ้า (EC) ของดินและปริมาณโซเดียม (Na) มีแนว
โน้มลดลง การใช้วัสดุอินทรีย์ แกลบ ฟางข้าว แล้วหว่านโสนอัฟริกัน คลุมดินหลังการเก็บเกี่ยวข้าว นอกจากเพิ่มอินทรียวัตถุให้
กับดินแล้วยังช่วยป้องกันไม่ให้ผิวหน้าดินแห้ง การไหลซึมของน้ำใต้ดินขึ้นในแนวดิ่งจะนำเกลือที่มีอยู่ใต้ผิวดินขึ้นมาสะสมอยู่บน
ผิวหน้าของดินลดลง

(1) กองปฐพีวิทยา
(2) ศูนย์วิจัยข้าวสกลนคร



http://www.ricethailand.go.th/brrd/s33.htm


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 05/05/2012 6:28 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 05/05/2012 6:25 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,584. ความหลากหลายของธาตุเหล็กในข้าวพันธุ์พื้นเมือง

Diversity of Iron content in Traditional Rice Varicties

ปัทมา ศิริธัญญา(1) ยุทธนา เขาสุเมรุ(1) อรพิน วัฒเนสก์(2) ธีรยุทธ์ ตู้จินดา(3)


บทคัดย่อ

ปัจจุบันการขาดสารอาหารยังเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณะสุข ที่มีผลกระทบโดยตรงต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน
โดยเฉพาะ ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กซึ่งมีผลกระทบเกิดขึ้นได้กับทุกเพศและทุกวัย เช่นในเด็กทารกและเด็กวัยเรียนจะมี
ผลทำให้การพัฒนาทางด้านสมองลดลง และเกิดผลเสียทางด้านการเรียนรู้ ในชายหญิงวัยทำงานทำให้ประสิทธิภาพการทำงานด้อย
ลง ซึ่งผลกระทบนี้มีผลต่อการสูญเสียทั้งด้านสุขภาพและเศรษฐกิจต่อประชากรไทย สภาวะทั่วไปการขาดธาตุเหล็กมีสาเหตุจาก
การได้รับธาตุเหล็กจากอาหารประจำวันไม่เพียงพอต่อการบริโภค คนไทยและชาวเอเชียจะบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก ดังนั้นเมื่อข้าว
ที่มีปริมาณสารอาหารธาตุเหล็กสูงก็จะทำให้มีภาวะโภชนาการธาตุเหล็กดีขึ้น อันเป็นประโยชน์ต่อคุณภาพชีวิต

ประเทศไทยเป็นแหล่งทรัพยากรเรื่องพันธุ์ข้าวที่สำคัญโดยเฉพาะข้าวพื้นเมืองซึ่งมีความหลากหลายทางพันธุกรรม ในด้านต่าง ๆ เช่น
ความต้านทานโรคแมลง ทนทานต่อสภาพแวดล้อม และคุณค่าทางอาหาร ซึ่งสามารถนำมาเป็นฐานพันธุกรรมที่เป็นประโยชน์
อย่างยิ่งในการพัฒนาข้าวพันธุ์ใหม่ ให้มีคุณภาพ และคุณค่าทางอาหารที่ดีและผลผลิตดี

ดำเนินการวิเคราะห์ธาตุเหล็กของเมล็ดพันธุ์ข้าวทั้งหมดโดยการเตรียมตัวอย่างด้วยวิธี dry digestion และอ่านค่าธาตุเหล็กด้วย
เครื่อง atomic absorption ผลการวิเคราะห์ธาตุเหล็กของเมล็ดข้าวกล้องพันธุ์ข้าวพื้นเมือง อยู่ระหว่าง 4.30 ถึง 26.67 mg/kg.
โดยพันธุ์ข้าวหอมมะลิทุ่งรวงทองและพันธุ์ข้าวน้ำสะกุย มีธาตุเหล็กสูง 26.67 และ 25.5 mg/kg. ตามลำดับ ส่วนพันธุ์ข้าวพื้นเมืองจ
ากนครศรีธรรมราช GS no. 19505 และข้าวพื้นเมืองจากพิมาย GS no. 21782 มีธาตุเหล็กสูง 22.61 และ 22.53 mg/kg.
ตามลำดับ และเปรียบเทียบสายพันธุ์ข้าว 15 พันธุ์เมื่อปลูก 6 ช่วงระยะวันปลูก ในสภาพพื้นที่เดียวกัน พบว่าอิทธิพลของวันปลูก
มีผลแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญทั้งค่าโปรตีนและธาตุเหล็ก แต่ไม่พบความแตกต่างทางสถิติในระหว่างพันธุ์ข้าว 15 สายพันธุ์
และพันธุ์ IR68144 และพันธุ์ข้าว Xua Be Nuo มีค่าธาตุเหล็กสูง 25.35 และ 23.03 mg/kg. ส่วนพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ105
และพันธุ์ปทุมธานี1 มีค่าธาตุเหล็กระดับปานกลาง จากการศึกษาเบื้องต้นนี้พบว่า ข้าวพื้นเมืองไทยจะมีความหลากหลายทางพันธุ
กรรมที่ให้ธาตุเหล็กและโปรตีนอยู่ในระดับต่ำ กลาง และสูง ดังนั้นจึงควรมีการวิเคราะห์คุณค่าทางอาหารในเมล็ด อาทิเช่น
โปรตีน ธาตุเหล็ก และ ธาตุสังกะสี ของข้าวพื้นเมืองในประเทศไทย ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการนำมาเป็นฐานพันธุกรรมในการ
พัฒนาข้าวพันธุ์ใหม่ ให้มีคุณภาพ และคุณค่าทางอาหารที่ดีและผลผลิตดี

1/ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพมหานคร 10530 โทร/โทรสาร :
(02) 988-3655 ต่อ 149 Email: Pongtep@mut.ac.th

2/ *ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร
10520 โทร : (02) 737-3000 Email: chakarpong@hotmail.com

3/ ศูนย์วิจัยข้าวปราจีนบุรี อ.บ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรี 25151 Email : porntipthavong@hotmail.com

4/ สำนักวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ (อาคารทรัพยากรพันธุกรรมพืชสิริน
ธร) บริเวณภายในศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี ตำบล
รังสิต อำเภอธัญบุรี คลองหก จ.ปทุมธานี 12110



http://www.ricethailand.go.th/brrd/s30.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 57, 58, 59 ... 72, 73, 74  ถัดไป
หน้า 58 จากทั้งหมด 74

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©