-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-* นานาสาระเรื่องเกษตร.
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * นานาสาระเรื่องเกษตร.
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* นานาสาระเรื่องเกษตร.
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 54, 55, 56 ... 72, 73, 74  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 28/01/2012 7:22 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หน้าที่ 55


ลำดับเรื่อง....

1,485. ปีนภูดูปลูก 'ฟักทองญี่ปุ่น' เป็นอาหารสารพัดวิตามิน

1,486. แตงโม-ส้มโอลูกละ 2-3 พัน ชาวสวนเวียดนามเศรษฐีพอเพียง
1,487. "ส้มจีน" ถล่มตลาดไทย อนาคต “ส้มไทย” จะเดินต่อไปอย่างไร
1,488. อินทผลัม ในประเทศไทย
1,489. ว่าด้วยโสมเกาหลี
1,490. บล็อคบังคับทรงผลแตงโม

1,491. ปุ๋ยอินทรีย์กับสวนผลไม้ (เงาะ-ทุเรียน-ลำไย-ลิ้นจี่)
1,492. โสม พืชมหัศจรรย์
1,493. โสมไทย
1,494. ปราชญ์ชาวบ้าน หมายถึง.....
1,495. กระบวนการทำงานของการผลิตทุเรียนกวน

1,496. ฟักยักษ์ไต้หวันในประเทศไทย
1,497. ใบยาสูบอัดเป็นแท่ง กำจัดแมลงศัตรูพืช
1,498. เบื่อ..ข้าวที่กินอยู่ทุกวันหรือเปล่า ?
1,499. มะเขืออะไรเอ่ย ? กินแต่ใบ ไม่กินผล
1,500. เคื่องช่วยทำผลไม้แช่อิ่ม

1,501. เลี้ยงปลาสลิดระบบใหม่
1,502. ปลูกผักยกแคร่ สร้าง คลีนฟาร์ม ผักปลอดสารพิษ
1,503. วิจัยมะพร้าวให้เป็นกะทิ
1,504. หมูหลับ สูตรเลี้ยงแบบ ประหยัด
1,505. ศักยภาพทางพันธุกรรม ขุมทรัพย์ที่รอการพัฒนา

1,506. เติมสีสันให้เส้นไหมด้วย “แบคทีเรีย”
1,507. สกัดสารจากเห็ดนางรม ทำผลิตภัณฑ์ลดริ้วรอย
1,508. แปรรูป “ลองกอง” เป็นสารพัดของกิน
1,509. เปิดตัว "เครื่องตรวจไวรัสกุ้ง" วัดค่าด้วยแสงแม่นยำกว่าตาเห็น


----------------------------------------------------------------------------------------------






1,485. ปีนภูดูปลูก 'ฟักทองญี่ปุ่น' เป็นอาหารสารพัดวิตามิน





ในยุคที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญ กับการเลือกซื้ออย่างชาญฉลาด ละเอียดรอบคอบ และคำนึงถึงคุณภาพ ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าหาก
มีผู้ผลิตสินค้า ช่วยคัดสรรมาให้เป็นอย่างดี ในระดับที่พร้อมการันตีคุณภาพจนมั่นใจและอุ่นใจเสมอ

ล่าสุด ซิซซ์เล่อร์ ได้คัดสรรเอาผลผลิตพันธุ์ดีของฟักทองญี่ปุ่น (Japanese Pumpkin) พืชผักสวนครัวที่มีคุณค่าทางอาหาร
สูงมาให้บริการในร้าน

และเป็นที่มาของการชักชวนคนดังตระเวนเยี่ยมชม แหล่งเพาะปลูกภายในศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหมอกจ๋าม บ้านห้วยศาลา
ต.ท่าตอน อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่

ซึ่งนำทีมโดย นงชนก สถานานนท์ ผู้ช่วยรองประธานบริหาร กลุ่มการตลาด บริษัท เอส แอล อาร์ ที จำกัด ผู้บริหารร้านซิซซ์เล่อร์
และ อนุพนธ์ นิธิยานันท์ ฐิติพงษ์ ล้อประเสริฐ รพีพร วงศ์ทองคำ ศิรนุช โรจนเสถียร นาขวัญ รายนานนท์ ฯลฯ

นงชนก กล่าวว่า ซิซซ์เล่อร์ ยังคงเป็นร้านอาหารสไตล์ตะวันตก ที่ยึดถือแนวทางอาหารที่ดีต่อสุขภาพอย่างต่อเนื่อง และนี่คือเหตุผล
ที่ต้องพยายามคัดสรรแต่วัตถุดิบชั้นดี

ที่มีประโยชน์และให้คุณค่าทางอาหารสูงแก่ผู้บริโภค ปลอดภัยและมีรสชาติดี คู่ควรกับการนำมาเสิร์ฟบริการให้ลูกค้าทุกๆ คนบนโต๊ะ
อาหารเสมอ

ซึ่งนับจากนี้ ลูกค้าก็จะได้อิ่มอร่อยกับผลฟักทองญี่ปุ่นอวบแน่น ที่เดินทางไกลจากผืนดินโครงการหลวง อันอุดมสมบูรณ์ของ
จ.เชียงใหม่

“วันนี้ เรากล้าพูดได้อย่างมั่นใจในเรื่องวัตถุดิบ การผลิตอาหารที่ไม่เป็นรองใคร นั่นเพราะเราทุ่มเทอย่างเต็มที่ เพื่อให้ลูกค้าได้รับสิ่ง
ที่ดีที่สุดในการบริโภค อาหารทุกชิ้น ทุกคำที่ตักเข้าปากจะส่งผลถึงสุขภาพและคุณภาพชีวิตทุกคน

ซึ่งต่างก็เป็นสมาชิกของสังคมส่วนรวม ยิ่งทุกคนมีสุขภาพที่แข็งแรง สังคมก็ยิ่งแข็งแกร่ง นั่นคือความรับผิดชอบที่ซิซซ์เล่อร์คำนึงถึง
เสมอมา และจะยังคงยึดมั่นตลอดไป”

ด้าน วิโรจน์ ชูดำ หัวหน้าศูนย์โครงการหลวงบ้านเงาะ เล่าถึงกระบวนการอันเข้มงวด ก่อนที่ฟักทองญี่ปุ่นคุณภาพจะถูกส่งไปถึงผู้บริโภค
ว่า โครงการหลวงมีการผลิตฟักทองใน 3 พื้นที่ใหญ่ๆ ได้แก่ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหมอกจ๋าม วัดจันทร์ และมัดเงาะ

ซึ่งในปีนี้ ผลิตฟักทองญี่ปุ่นให้โครงการหลวงได้ถึง 250-300 ตันต่อปี ฟักทองญี่ปุ่นนี้ สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี แต่ช่วงที่มีคุณ
ภาพดีที่สุดคือระหว่างเดือนตุลาคม ถึงเมษายน

เนื่องจากฟักทองญี่ปุ่นเป็นพืชล้มลุกจึงปลูกได้ครั้งเดียว เมื่อเก็บผลผลิตแล้วก็ต้องปลูกใหม่ กระบวนการปลูกจะได้รับการควบคุมอย่าง
ละเอียดตั้งแต่การตรวจพื้นที่ โดยต้องผ่านการรับรองการตรวจโดยผู้เชี่ยวชาญก่อน

จึงจะนำกล้าที่เพาะแล้วมาปลูกลงไปในดินได้ ทุก 15-20 วันจะมีการใส่ปุ๋ย โดยจะเก็บผลผลิตได้ในระยะเวลา 100-110 วัน ฟักทอง
ญี่ปุ่นจึงจะมีคุณภาพดี

"ไม่เพียงมีรสชาติหวานมันอร่อย นำมาปรุงอาหารทั้งคาวและหวานได้หลากหลายประเภท แต่ฟักทองญี่ปุ่นยังมีสารอาหารที่มีประโยชน์
ต่อร่างกายมากมาย เช่น วิตามินบี วิตามินเอ วิตามินซี และธาตุฟอสฟอรัส

ที่สำคัญคือมีสารเบตาแคโรทีน ที่มีส่วนลดโอกาสการเกิดมะเร็งได้ดี นอกจากนี้ ยังช่วยบำรุงตับ ไต ตา และสร้างเซลล์ที่ตายไปขึ้นมา
ใหม่ ป้องกันการเกิดนิ่ว และใช้เป็นยาถ่ายพยาธิตัวตืดได้

และฟักทองยังมีส่วนช่วยเสริมสร้างคอลลาเจนใต้ผิวหนัง ทำให้ผิวพรรณมีน้ำมีนวล เหมาะสำหรับสตรีหลังคลอด ที่ขาดธาตุฟอสฟอรัส
และช่วยลดการเกิดท้องลายอีกด้วย" หัวหน้าศูนย์โครงการหลวงบ้านเงาะ กล่าว


ขอบคุณ คม ชัด ลึกออนไลน์
ศุกรวารสิริสวัสดิ์ค่ะ


http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=vinitsiri&month=12-2011&date=30&group=8&gblog=284


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 04/05/2012 5:37 pm, แก้ไขทั้งหมด 10 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 28/01/2012 7:24 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,486. แตงโม-ส้มโอลูกละ 2-3 พัน ชาวสวนเวียดนามเศรษฐีพอเพียง





ส้มโอที่พิเศษสุด ล่อตาล่อใจแก่ผู้พบเห็นในขณะที่เทศกาลสำคัญกำลังใกล้เข้ามา นอกจากจะมีรูปทรงเป็นน้ำเต้า (ทอง) แล้ว ยังโตเป็น
ผลแก่ออกมาพร้อม "อักษร" บนเปลือกด้วย คงไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่จะทำออกมาให้ได้เช่นนี้ ซึ่งทำให้ราคาค่างวดของมันแพงลิบลิ่ว แต่ก็
เป็นโอกาสทองของเกษตรกรที่มีความรู้และมีหัวคิดประดิษฐ์สร้าง. --Dân Trí.


ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- ช่วงปลายปีเป็นเวลาที่ชาวสวนในเขตที่ราบปากแม่น้ำโขงกลุ่มหนึ่ง ที่มีหัวประดิษฐ์คิดสร้าง และมีความรู้
เกี่ยวกับการเกษตรสมัยใหม่ ทำเงินทำทองกัน โดยผลิตสินค้าให้สอดคล้องกับความต้องการแห่งฤดูกาลออกสู่ตลาด ดูรายละเอียดต่อ
ไปนี้แล้วลองคิดเป็นตัวเลขออกมาได้เลยว่า เกษตรกรสมองใสเหล่านี้ทำเงินได้ปีละกี่มากน้อยในช่วงเวลาเพียงไม่กี่เดือน

ทุกปีในช่วงปีใหม่ชาวสวนคนหนึ่งขายแตงโมเนื้อเหลือง รูปร่างทรงประหลาดของเขาลูกละ 15-35 ดอลลาร์ (495-1,155 บาท) โดย
ดัดให้ผลของมันโตขึ้นมาเป็นรูปทรงน้ำเต้า ภาชนะที่ใช้บรรจุสุรามาแต่โบราณกาลสำหรับไหว้เจ้า ไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์

ภายนอกเป็นทรงน้ำเต้า และเนื้อภายในเป็นสีเหลืองอร่าม สอดคล้องกับบรรยากาศแห่งเทศกาลตรุษ หรือเทศกาลขึ้นปีใหม่ ประเพณีของ
ชาวเวียดนามและในอีกหลายประเทศแถบนี้ แต่นี่ก็เป็นเพียงผลผลิตพื้นๆ ธรรมดา

สวนใกล้ๆ กันอีกแห่งหนึ่งปลูกส้มโอตลอดปี แต่เทศกาลปีใหม่นี้กำลังจะมีส้มโอรูปทรงน้ำเต้าออกมาหลายร้อยลูก และผลส้มโอจำนวน
หนึ่งจะมีอักษรโบราณปรากฏอยู่บนเปลือกของมันด้วย เพื่ออวยชัยให้พร เป็นมงคลแห่งเทศกาล

แต่ก็ใช่ว่าทุกครอบครัวจะสามารถซื้อได้ เพราะเกษตรกรรายนี้จำหน่ายส้มโอพิเศษเป็นคู่ๆ ในราคาคู่ละเกือบ 200 ดอลลาร์ คิดง่ายเป็น
ลูกละเกือบ 3,000 บาท

ส้มโอเป็นผลไม้ยอดนิยมแห่งเทศกาล ไม่ใช่เพราะรสชาติหวานกลมกล่อมอย่างเดียว ส้มโอยังเก็บเอาไว้ได้นานแรมเดือน ตลอด
เทศกาลอีกด้วย

ที่ราบปากแม่น้ำโขงเป็นสวนผลไม้ใหญ่ของเวียดนาม แต่ไม่ใช่เกษตรทุกรายที่จะคิด และสามารถทำ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่สอดคล้อง
กับเทศกาลเช่นนี้ และแน่นอนว่าเทคนิคกับวิธีการฟูมฟักผลไม้ราคาแพงเหล่านี้ย่อมจะถูกเก็บเป็นความลับของครอบครัว

ชาวสวนที่มีความเชี่ยวชาญบางคน ยังใช้ความสามารถปลูกแตงโมให้ผลของมันออกมาเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมซึ่งจำหน่ายได้ราคาดี แต่ก็
ไม่มีอะไรน่าสนใจมากมายเป็นพิเศษ

แต่ในช่วงปลายเดือน ม.ค.ปีหน้าสวนของนายหวี่งหง็อกหาย (Huỳnh Ngọc Hải) ชาวอำเภอเจิ่วแทง (Châu Thành)
จ.เหิ่วซยาง (Hậu Giang) จะผลิตแตงโมเหลืองพันธุ์ไร้เมล็ดรูปทรงน้ำเต้าออกมาได้ประมาณ 400 ลูก ขายได้ราคาลูก 300-500 บาท

แต่ นายเจิ่นแทงเลียม (Trần Thanh Liem) เกษตรกรใน อ.บี่งถวี (Bình Thủy) นครเกิ่นเทอ (Cần Thơ)
มีพิเศษยิ่งกว่านั้นอีก ลุงเลียมปลูกแต่งโมเหลืองพันธุ์ไร้เมล็ดเปลือกเหลือง ให้ออกมามีรูปทรงเป็นทองคำแท่งเหลืองอร่ามไปทั้งผล

ที่สวนแห่งนี้สามารถทำให้เปลือกของแตงโมทรงแท่งทองมีตัวอักษรโบราณออกมาด้วย เพื่ออวยชัยให้พรแก่ผู้รับ และจำหน่ายผลงาน
อันสุดประณีตนี้คู่ละ 160-200 ดอลลาร์ หรือประมาณ 5,200-6,600 บาทไทย และราวกลางเดือนหน้าคาดว่าจะสุกออกมาราว 1,000 ลูก

นอกจากจะผลิตผลไม้ตามฤดูกาลแล้วประจำปีแล้ว เกษตรกรเหล่านี้ยังรู้จักผลิตผลไม้พิเศษเพื่อสนองความต้องการในเทศกาลอันสำคัญ
ต่างๆ ตลอดทั้งปีเช่นกัน

หากคิดคำนวณราคาผลผลิตของสวนแต่ละแห่งออกมาให้เห็นตัวเลขกลมๆ ก็จะพบว่าถ้าหากเกษตรกรรู้จักตลาด และทำผลิตผลให้ออกมา
สอดคล้องกับความต้องการของตลาดได้ ในแต่ละช่วงเวลาอันเหมาะสม ก็สามารถร่ำรวยได้ในพริบตาเช่นกัน ซเวินจี๊กล่าว



หนึ่งสมองกับสองมือ
by Dân Trí




ลุงหวี่งหง็อกหาย (Huỳnh Ngọc Hải) เกษตรกรชาวอำเภอเจิ่วแทง (Châu Thành) จ.เหิ่วซยาง
(Hậu Giang) โชว์ผลงานประดิษฐ์ชิ้นเยี่ยม แตงโมรูปทรงน้ำเต้า (ทอง) เป็นพันธุ์เนื้อในมีสีเหลืองและไร้เมล็ด ราคาไม่ถึงกับแพง
มาก เพราะไม่มี "อักษร" อวยพรอยู่บนเปลือก แต่ถึงกระนั้นก็ทำเงินได้มากมายในช่วงเทศกาลสำคัญ





แตงโมเหลือทรงน้ำเต้าธรรมดาๆ ของลุงหวี่งหง็อกหาย (Huỳnh Ngọc Hải) ขายราคาคู่ละ 200-1,000 บาท แต่ก็ขายดิบขายดี
ทุกปี เดือน ม.ค.ปีนี้คาดว่าจะปลิดได้ราว 200 คู่ รวยเสียให้เข็ด. --Dân Trí.





แตงโมงเปลือกเหลืองทรงทองคำแท่ง และมี "อักษรโบราณ" อวยชัยให้พรอยู่บนเปลือกของมัน เป็นความสามารถพิเศษของลุง
เจิ่นแทงเลียม (Trần Thanh Liem) เกษตรกรใน อ.บี่งถวี (Bình Thủy) นครเกิ่นเทอ (Cần Thơ) คาดว่า
ม.ค.ปีหน้าจะมีออกมาราว 200 คู่ ขายราคาคู่ละ 200-220 ดอลลาร์ กลายเป็นเศรษฐีที่พอเพียงและติดดิน. --Dân
Trí.


ขอบคุณ
ผู้จัดการออนไลน์
Dân Trí

สวัสดิ์สิริชีววารค่ะ



http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=vinitsiri&month=15-12-2011&group=8&gblog=273


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 29/01/2012 8:00 am, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 28/01/2012 7:48 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,487. แกะรอย "ส้มจีน" ทะลักถล่มตลาดไทย อนาคต “ส้มไทย” จะเดินต่อไปอย่างไร









โดย : กฤษณา ไพฑูรย์

หากใครไปเดินหาซื้อผลไม้วันนี้ คงไม่มีใคร ไม่เคยเห็นเจ้า "ส้ม" ลูกเล็ก ๆ ที่วางขายยึดครองแผงกันอยู่เกลื่อนกลาดตามริมฟุตบาธ
และในตลาดสดทั่วประเทศไทย

จนหลายคนถึงกับตั้งคำถามว่า แล้ว "ส้มเขียวหวาน" พันธุ์สายน้ำผึ้ง บางมด ฯ พันธุ์ดั้งเดิมที่เกษตรกรไทยปลูกถูกกลืนหายไปไหน?
เพราะเหลือวางขายแซมอยู่ข้าง ๆ แผงเพียงไม่กี่ลูก

โดยเฉพาะช่วงต้นฤดูกาล ที่ส้มเขียวหวานภายในประเทศไทยเริ่มออกผลผลิตในเดือนพฤศจิกายน แต่ดูเหมือนปริมาณของส้มลูก
เล็ก ๆ เหล่านี้กลับมีปริมาณทวีขึ้นจนกลบส้มไทยหายไปจากตลาดกว่า 50%

จากการสำรวจ "ตลาดไท" แหล่งค้าผัก-ผลไม้ใหญ่สุดของประเทศไทยถึงเส้นทางและที่มาของส้มเหล่านี้ เจ้าของแผงค้าส้มรายใหญ่
ของตลาดไท หลายรายให้คำตอบกับ "มติชนออนไลน์" ตรงกันว่า

ความจริงส้มลูกเล็ก ๆ เหล่านี้ได้เริ่มนำเข้าจากประเทศจีนมาขายในเมืองไทย ตั้งแต่นโยบายการเปิดเสรีด้านภาษี ในช่วงแรก ๆ มีปริมาณ
ไม่มาก มีหลากหลายสายพันธุ์ที่นำเข้ามาขาย เช่น "ส้มซาถัง" "ส้มหนานฟง" "ส้มแมนดาริน" เป็นต้น

เพิ่งจะมาปีนี้ที่มีการนำส้มดังกล่าว เข้ามาถล่มขายในตลาดเมืองไทยอย่างทะลักทลาย โดยเฉพาะช่วงเดือนพฤศจิกายน ธันวาคม 2554
เฉพาะบริเวณตลาดไทคาดว่ามีส้มจีนเข้ามาเฉลี่ยถึง 20 ตู้ต่อวัน หรือประมาณเฉียด 500,000 กิโลกรัมต่อวัน

หากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปริมาณส้มลูกเล็กเฉลี่ยเข้ามาน่าจะประมาณ 100,000 กิโลกรัมต่อวัน จะเห็นได้ว่าปริมาณของส้มจีน
ที่ผ่านตลาดไทเพียงปีเดียวเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว

นี่เป็นตัวเลขที่ยังไม่นับรวมปริมาณส้มจีน ที่ผ่านส่งไปขายยังตลาดอื่น ๆ ทั่วประเทศ ซึ่งไม่อาจจะคาดการณ์ได้ว่าจะมากมายมหาศาลเพียงใด

แม้ราคาของส้มจีนลูกเล็กจะราคาสูงกว่า ส้มเขียวหวานของไทย โดยส้มจีนราคาขายส่งที่ตลาดไทประมาณ 140 - 220 บาทต่อลังพลาสติก
(1 ลังพลาสติกมีน้ำหนัก 8 กก.) ราคาขายปลีกในตลาดประมาณ 30-40 บาทต่อกิโลกรัม

ส้มเขียวหวานสายน้ำผึ้งของไทยราคาขายส่งประมาณ 700-1,000 บาทต่อลังพลาสติก ราคาขายปลีกประมาณ 18 -30 บาทต่อ
กิโลกรัม

แต่ด้วยรสชาติที่ถูกปากคนไทย และด้วยนิสัยคนไทยที่มักเห่อของนอกทำให้ส้มจีนดังกล่าวได้รับความนิยม และติดตลาดได้ไม่ยาก
ดังนั้น เกือบทุกแผงค้าส้มในตลาดไทที่เคยขายแต่ส้มเขียวหวานของไทย จำเป็นต้องสั่งส้มจากจีนเข้ามาวางขายควบคู่ด้วย ตามความ
ต้องการของตลาด และทุกวันส้มจีนจะขายหมดก่อนส้มเขียวหวานของไทย

หากย้อนรอยเส้นทางมาของส้มกลับพบว่า ผู้ค้าส่วนใหญ่ในตลาดไทไม่ได้สั่งซื้อโดยตรงจากประเทศจีน แต่ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา
เส้นทางเดินของผัก และผลไม้จากประเทศจีน จะมีพ่อค้าชาวจีนเข้ามาเดินเร่เสนอขายสินค้าให้ถึงหน้าแผงทุกวัน โดยมีล่ามมาช่วย
แปล แต่ปัจจุบันเริ่มพัฒนาพูดภาษาไทยกันได้คล่องปรือ

พัฒนาการของพ่อค้าชาวจีนที่เข้ามายังตลาดไทนับว่า เติบโตไปอย่างรวดเร็วมาก ส่งผลให้พื้นที่แผงขายส่งผัก และผลไม้ในตลาดไท
กว่า 50% ทุกวันนี้มีแต่ผัก และผลไม้นำเข้าจากประเทศจีนวางขายกันเกลื่อนตลาด ทั้งหอม กระเทียม พริก ส้ม สาลี แอปเบิ้ล ฯลฯ

โดยเฉพาะช่วงปีที่ผ่านจำนวนพ่อค้าจากเมืองจีนเหล่านี้ เพิ่มปริมาณขึ้นมาเรื่อย ๆ นับเป็น 100 ราย แต่ในจำนวนนี้จะมีรายใหญ่ประมาณ
20 ราย โดยมีการเช่าพื้นที่ตั้งบริษัท และห้องเย็นอยู่รอบนอกตลาดไท

ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของปริมาณพ่อค้าชาวจีน ทำให้มีการเสนอขายตัดราคากันเอง ทำให้มีพ่อค้าบางรายสู้ไม่ไหวก็ล้มหายตายจากกันไป
และมีพ่อค้าหน้าใหม่ ๆ เกิดทดแทนขึ้นมาตลอด ซึ่งเป็นผลดีกับคนไทย เพราะได้กินของถูก

หากเป็นเช่นนี้ต่อไป คำถามที่ตามมา คือ แล้วเกษตรกรผู้ปลูกส้มของไทยจะอยู่กันอย่างไรต่อไป ในเมื่อต้นส้มของไทยเองกำลังถูกโรค
ระบาดรุมเร้าอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคกรีนนิ่ง (Greening) ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย และมีการลุกลามทำให้ต้นส้มตายอย่างรวดเร็ว

จนทำให้ผลผลิตหายออกไปจากตลาดอย่างต่อเนื่องมาหลายปี ขณะที่ส้มจากเมืองจีนดั๊มราคาลงมาหายใจลดต้นคอทุกวัน


ขอบคุณ
มติชนออนไลน์
คุณกฤษณา ไพฑูรย์

โสรวารสวัสดิ์วิบูลย์ค่ะ



http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=vinitsiri&month=12-2011&date=24&group=8&gblog=277


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 28/01/2012 9:15 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 28/01/2012 9:00 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,488. อินทผลัม ในประเทศไทย


ออนซอน ความสวยงามของอินทผลัม เหลืองและแดง...ที่บ้านหลานชาย จังหวัดมหาสารคาม

โดย...ว่าที่ร.ต.ดร.สมโชค เฉตระการ
ครูเชี่ยวชาญ (สังกัดวิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด)
อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ร้อยเอ็ด
อาจารย์พิเศษ โรงเรียนธีรภาดาเทคโนโลยี.


เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เดินทางไปเยี่ยมพี่สาวและพี่เขย ที่จังหวัดมหาสารคาม อยู่ที่บ้านงิ่งจก และอ๋อ หลานชายและหลานสไภ้
พบต้นอินทผลัมหลายต้น กำลังมีลูกหลายก้านรอบต้น มีทั้งอินทผลัมลูกสีเหลืองและลูกสีแดง เคยเห็นแต่ในรูป เป็นผลไม้
จากต่างประเทศ แต่มาเห็นที่บ้านหลานชายที่จังหวัดมหาสารคาม เลยนำภาพสวยสวยมาฝากครับ


อินทผลัม หรือ อินทผาลัม เป็นพืชตระกูลปาล์ม จากการศึกษา มีมากมายหลายสายพันธุ์ เป็นไม้แถบตะวันออกกลางตอนเหนือ
ของประเทศแอฟริกา ลำต้นสูงประมาณ 30 เมตร ขนาดลำต้นโดยประมาณ 30-50 เซนติเมตร ช่อดอกออกที่โคนใบ ใบจะ
ติดอยู่บนต้นประมาณ 40-60 ก้าน ใบมีทางยาวประมาณ 3-4 เมตร ใบเป็นแบบขนนกพุ่งออกโดยรอบต้น ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
หรือการแยกหน่อ การเจริญเติบโตเป็นไปอย่างช้า ๆ ในเมืองไทยส่วนใหญ่ ปลูกเป็นไม้ประดับ ใช้ในการจัดสวน

ผลของอินทผลัม เป็นรูปรี ยาวประมาณ 2- 4 เซนติเมตร ผลสุกจะมีสีเหลืองจนถึงสีส้ม ผลรับประทานได้ เนื่องจากผลเล็กและ
รสฝาด ส่วนที่วางจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าโดยทั่วไป เป็นอินทผลัมแปรรูปหรือแช่อิ่ม มีรสชาติหวาน ราคาแพงกิโลกรัมละ 500-
600 บาท ห้างสรรพสินค้า สั่งซื้อมาจากต่างประเทศ ที่มีคุณภาพส่วนใหญ่สั่งมาจากประเทศอิสราเอล

ศึกษา อินทผลัม เพิ่มเติมจากเนตที่เกี่ยวข้องครับ













http://www.oknation.net/blog/somchoke101/2011/07/21/entry-1
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 29/01/2012 9:13 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,489. ว่าด้วยโสมเกาหลี





ที่เค้าว่าโสมเกาหลีดีที่สุดก็เพราะ ประเทศเกาหลีไม่เคยจมอยู่ใต้ทะเล ดินก็เลย
เหมาะกับการปลูกโสมมากที่สุด (แร่ธาตุในโสมก็เยอะที่สุดด้วยคือ 38 ชนิด)
และโสมที่สมบูรณ์ที่สุดก็คือโสมอายุ 6 ปี (เพราะถ้าปลูกไปนานกว่านี้มันจะตาย)
โสมต้นเล็กๆส่วนใหญ่ที่เราเห็นกันเอามาประกอบอาหารมักจะเป็นโสม 2 ปี คน
เกาหลีที่จะปลูกโสมได้ต้องมีการเตรียมดินที่ดีและได้มาตรฐานจึงจะไปขอเมล็ด
พันธุ์โสม

จากรัฐบาลได้ และกว่าจะปลูกได้โตเต็มวัยก็ต้องใช้เวลา 6 ปี แถมหลังจากปลูก
เสร็จ ดินก็จะพังปลูกอะไรไม่ได้เลย ต้องใช้เวลาบำรุงดินนาน 3 - 4 ปี... เพราะ
อย่างนี้โสมถึงแพง (มั้ง) คิดดูว่าเฉลี่ยๆแล้วโสมสมบูรณ์ต้นนึงต้องใช้เวลาราวๆ 10
ปี แน่ะ !!!!!!

ดังนั้นตลอดทั้ง 6 ปีของคนปลูกโสม รัฐบาลจะช่วยเลี้ยงดูส่งเสียบุตรหลานให้ฟรี
(เพราะถือว่าคนปลูกโสมเป็นหน้าตาประเทศ) แถม โสมเกรด A หรือสินค้า เกรด A
ในเกาหลี เค้าจะไม่ส่งออกขายนอกประเทศนะเจ๊อะ... เค้าจะส่งแต่เกรด B ลงไป
เท่านั้น เพราะมีนโยบายอีกว่า คนเกาหลีต้องได้ใช้ของที่ดีที่สุด ดังนั้นถ้าอยากได้
โสม หรืออะไรที่เป็นเกรด A ของเกาหลี (ถ้าไม่ใช่แอบขนไปขาย) ก็ต้องมาซื้อที่
เกาหลีเท่านั้น...ฉลาดจริงๆ !

(ดูประเทศเรา ส่งของเกรด A ออกนอกประเทศหมดโดยเฉพาะข้าว....)




http://www.google.co.th


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 7:12 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 29/01/2012 9:26 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,490. บล็อคบังคับทรงผลแตงโม







http://www.google.co.th


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 7:17 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 29/01/2012 4:23 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,491. ปุ๋ยอินทรีย์กับสวนผลไม้ที่อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา

(เงาะ ทุเรียน ลิ้นจี่ ลำไย......)

ปัจจุบันราคาปุ๋ยวิทยาศาสตร์หรือปุ๋ยเคมีมีราคาแพงมาก สูตรที่ใช้กันมาก คือ 15-15-15 ตราเรือใบ ไวกิ้ง กระสอบละ 1,500 บาท
สูตร 8-24-24 กระสอบละ 1,800 บาท หากเกษตรกรนำไปใส่พืช ผลผลิตที่ได้มักจะไม่คุ้มกับการลงทุน โดยเฉพาะผลไม้ เกษตรกร
ที่มีอาชีพทำสวนผลไม้ที่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ได้หันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทน เช่น ปุ๋ยคอก ได้แก่ ขี้วัว กระสอบละ 20 บาท ขี้ไก่
กระสอบละ 30 บาท หากซื้อเป็นรถ 10 ล้อ ราคา 1,3000 บาท นำไปใส่ผลไม้ได้ผลดี (ดังภาพผลไม้ที่สวนวงศ์สมิตกุล อ.ปากช่อง
จ.นครราชสีมา ที่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนปุ๋ยวิทยาศาสตร์)




ภาพต้นเงาะ ที่ อ.ปากช่อง




ภาพต้นทุเรียน ที่ อ.ปากช่อง




ภาพต้นลิ้นจี่ที่ อ.ปากช่อง




ภาพต้นลำใยที่ อ.ปากช่อง

ปุ๋ยอินทรีย์อีกชนิดหนึ่งที่จะแนะนำ คือ ปุ๋ยหมักชีวภาพจากก้อนเห็ดเก่า หลังจากที่เก็บดอกเห็ดหมดแล้ว นำก้อนเชื้อเห็ดเก่ามาใส่
เครื่องตีให้แตกผสมปุ๋ยคอก อัตราส่วน 1 ต่อ 4 คือขี้วัว 1 ส่วน ก้อนเห็ดเก่า 4 ส่วน ผสมให้เข้ากัน แล้วนำน้ำหมัก EM มาผสม
พอหมาด ๆ ใส่ถุงปุ๋ยมัดให้แน่น หมักไว้ 30 วัน หรือรอจนกว่าปุ๋ยจะเย็นนำไปใส่ผลไม้ได้ผลดีมาก โดยไม่ต้องใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์เลย

ปุ๋ยอินทรีย์ (Organic Fertilizer) คือ ปุ๋ยที่ได้จากอินทรีย์สารซึ่งผลิตขึ้นโดยกรรมวิธีต่างๆ และจะเป็นประโยชน์ต่อพืชก็ต้อง
ผ่านขบวนการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทางชีวภาพเสียก่อน มีวัตถุหลายประเภทที่สามารถนำมาทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ได้


ข้อดี – ข้อจำกัดของปุ๋ยอินทรีย์ มีดังนี้

(1) ข้อดีของปุ๋ยอินทรีย์
1. ช่วยปรับปรุงดินให้ดีขึ้น โดยเฉพาะคุณสมบัติทางกายภาพของดิน เช่น ความโปร่ง ความร่วนซุย ความสามารถในการอุ้มน้ำ และ
การปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดิน

2. อยู่ในดินได้นานและค่อย ๆ ปลดปล่อยธาตุอาหารพืชอย่างช้า ๆ จึงมีโอกาสสูญเสีย น้อยกว่าปุ๋ยเคมี

3. เมื่อใส่ร่วมกับปุ๋ยเคมี จะส่งเสริมปุ๋ยเคมีให้เป็นประโยชน์แก่พืชอย่างมีประสิทธิภาพ มีธาตุอาหารรอง / เสริม อยู่เกือบ
ครบถ้วนตามความต้องการของพืช

4. ส่งเสริมให้จุลชีพในดินโดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกที่มีประโยชน์ต่อการบำรุงดิน
ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น



(2) ข้อจำกัดของปุ๋ยอินทรีย์
1. มีปริมาณธาตุอาหารพืชต่ำ
2. ใช้เวลานานกว่าปุ๋ยเคมี ที่จะปลดปล่อยธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ให้แก่พืช
3. ราคาแพงกว่าปุ๋ยเคมี เมื่อคิดเทียบในแง่ราคาต่อหน่วยน้ำหนักของธาตุอาหารพืช
4. หายาก พิจารณาในด้านเมื่อต้องการใช้เป็นปริมาณมาก
5. ถ้าใส่สารอินทรีย์มากเกินไป เมื่อเกิดการชะล้างจะทำให้เกิดการสะสมของไนเตรท ในน้ำใต้ดินซึ่งเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคได้
6. การใช้สารอินทรีย์ที่สลายตัวยาก เช่น ขี้เลื่อย เมื่อใช้วัสดุคลุมดิน ถ้าใช้ขี้เลื่อยสดใส่ทับถมกันแน่น จะทำให้เกิดการหมักในสภาพ
ไร้ออกซิเจน ทำให้อุณหภูมิสูงมาก จนเกิดสารสีดำหรือน้ำตาล ในสภาพนี้ขี้เลื่อยจะอิ่มตัวไปด้วยสารพิษซึ่งเป็นกรดอินทรีย์ชนิดระเหย
ง่าย มีกลิ่นฉุนมาก และเกิดไอที่มีฤทธิ์กัดกร่อน ทำให้เป็นอันตรายแก่พืชหลายชนิดได้ อย่างไรก็ตาม ขี้เลื่อย เปลือกไม้สามารถนำมา
ใช้ได้โดยใช้ในดินที่ไม่เป็นกรดจัดเกินไป และมีปุ๋ยไนโตรเจนเพียงพอ ควรเป็นขี้เลื่อยเก่าที่ย่อยแล้ว หรือปล่อยให้ตากแดดตากฝน
ระยะหนึ่ง การใช้ปูนขาวควบคู่ไปด้วยในปริมาณที่พอเหมาะ จะช่วยลดความเป็นพิษลงได้

7. มูลสัตว์ที่ไม่ผ่านการหมักหรือการฆ่าเชื้อด้วยความร้อนก่อนจะมีโรค แมลงศัตรูพืช และวัชพืชติดมาด้วย ทำให้เกิดปัญหาการแพร่
ระบาดภายหลังได้

8. ปุ๋ยอินทรีย์สลายตัวอยาก เช่น ขี้เลื่อย ซึ่งมีอัตราส่วนของคาร์บอนต่อไนโตรเจนสูง เมื่อใส่ในดินปลูกพืชจุลินทรีย์จะแย่งไนโตรเจน
ในดินไปใช้ในขบวนการย่อย มีผลทำให้พืชขาดไนโตรเจนชั่วคราว ถ้าไม่มีการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนพืชจะขาดจนกว่าจุลินทรีย์เหล่านี้จะมีกิจ
กรรมลดลง จึงจะได้ไนโตรเจนกลับคืนสู่ดิน

9. ปุ๋ยอินทรีย์จากมูลสัตว์และวัสดุเหลือทิ้งจากโรงงาน ส่งกลิ่นเหม็นไม่เป็นที่จูงใจผู้ใช้และสกปรก

10. การใช้ปุ๋ยอินทรีย์จากของเหลือทิ้งจากท่อระบายน้ำโสโครก ตามอาคารบ้านเรือน ก่อให้เกิดการปนเปื้อนของโลหะหนักหลาย
ชนิดที่เป็นพิษ เช่น ตะกั่ว ปรอท

11. การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ยังสลายตัวไม่เต็มที่หรือยังอยู่ระหว่างการย่อยสลายจะทำให้เกิดความร้อน จากการย่อยสลาย เป็นอันตราย
ต่อรากพืช เช่น การใช้มูลสด ๆ ใส่ใกล้โคนปลูกพืช และการใช้มูลที่มีทั้งอุจจาระและปัสสาวะสัตว์ปน โดยไม่มีการเจือจาง จะทำให้
ต้นพืชเหี่ยวเฉาได้เนื่องจากความเค็มของกรดในน้ำปัสสาวะ

12. ต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการขนย้ายและการใส่มากกว่า



ประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในชั้นเรียน
1. นักเรียนลองสังเกตดูที่โรงเรียนหรือที่บ้านนักเรียนมีเศษวัสดุอะไรบ้างที่นำมาทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพได้บ้าง
2. นักเรียนลองเปรียบเทียบว่า หากซื้อปุ๋ยวิทยาศาสตร์ 1 กระสอบจะซื้อปุ๋ยคอกได้กี่กระสอบ
3. นักเรียนลองเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของปุ๋ยอินทรีย์กับปุ๋ยเคมี




แหล่งอ้างอิง
ที่มาhttp://www.doae.go.th/spp/biofertilizer/or3.htm
ภาพประกอบ ถ่ายเอง

ประกาศโดย : สุภพงษ์ วงศ์สมิตกุล
วันที่ประกาศ : 2552-08-12




http://www.google.co.th


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 7:13 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 30/01/2012 7:46 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,492. โสมพืชมหัศจรรย์





โสม เป็นพืชชนิดหนึ่งที่มีหลากหลายสายพันธุ์ซึ่งแต่ละสายพันธุ์ก็มีสรรพคุณที่แตกต่างกันออกไป แต่โสมที่ได้รับความนิมมากที่สุด
และดีที่สุดคือ โสมที่มีถิ่นกำเนิดจากประเทศเกาหลี และจีน สารสำคัญที่ตรวจพบในรากโสมที่มีฤทธิ์ในทางรักษาโรคคือ Ginsenosides
ที่มีคุณสมบัติในการปรับสมดุลของร่างกาย (หยิน-หยาง) ได้เป็นอย่างดี โสมจะดีมากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับปริมาณ Ginsenosides
ที่มีอยู่ในรากโสมนั่นเอง




โสม ยังมีประโยชน์ในการช่วยให้เนื้อเยื่อดูดซึมออกซิเจนได้มากขึ้น จึงทำให้กระบวนการเผาผลาญอาหารในร่างกายเกิดได้มากขึ้น
ในโสมมีสารต้านอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุของการทำลายเซลล์ให้แก่ก่อนวัยและยังมีประสิทธิภาพในการเป็นภูมิคุ้มกันโรคต่างๆได้อีกด้วย

นอกจากนี้โสมยังเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการบำรุงกำลัง ช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยและลดความเครียดได้ หากเป็นคนทำงานหนัก
หรือเครียดกับเรื่องต่างๆ รอบตัว ให้กินโสม โสมจะช่วยทำให้น้ำตาลในเลือดลดลงและคลาย เครียด และโสมยังเป็นยาบำรุงให้เกิดผลดีต่อ
สมรรถภาพทางเพศอีกด้วย




การกินโสมให้ได้ผลดีต้องรู้วิธีใช้อย่างถูกต้องโดยหลังจากกินโสมแล้วประมาณ 3 ชั่วโมงไม่ควรกินอาหารอย่างอื่นตามและอย่าใช้โสม
ร่วมกับสารต่างๆ ที่มีภาวะเป็นกรดเช่น น้ำส้ม น้ำมะนาว อาหารที่มีรสเปรี้ยว เพราะสรรพคุณของโสมจะถูกทำลายโดยความเป็นกรดได้


http://www.google.co.th


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 7:14 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 30/01/2012 9:09 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,493. โสมไทย






มีชื่อพื้นบ้านว่า โสมจีน โสมคน ว่านผักปัง มีชื่อภาษาอังกฤษว่า แฟมฟลาวเวอร์ (Fame - Flower) ซีลอนสปิแนซ (Ceylon
Spinach) สวีทฮาร์ท(Sweetheart) ซูรินัม เพอร์สเลน (Surinam Purslane) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าทาลินั่ม พานิคูลาทัม
(Talinum paniculatum Gaetn) จัดอยู่ในวงศ์พอร์ทูลาซีอี้ (Portulacaceae) โสม มีหลายชนิดด้วยกัน
ชื่อที่เรียกแตกต่างกันออกไป ตามท้องถิ่นที่ปลูก และตามลักษณะของโสม

1. โสมที่มีชื่อเรียกว่า โสมคน โสมเกาหลี หรือที่จีนเรียกว่า หยิ่นเซียม เซียนเช่า (จีน)ได้จากต้น Panax C.A.Meyer มีปลูกที่
ประเทศจีน เกาหลี รัสเซีย ญี่ปุ่น

2. โสมที่มีชื่อเรียกว่า โสมอเมริกันได้จากต้น Panax quinquefolium L. มีปลูกที่อเมริกา และแคนาดา

3. โสมที่มีชื่อเรียกว่า โสมญี่ปุ่น มีถิ่นปลูกที่ประเทศญี่ปุ่น

4. โสมที่มีชื่อเรียกว่า โสมไทย (Talinum patens Willd) เป็นต้นไม้คล้ายโสมเกาหลี แต่เป็นผักเบี้ย และมีรากขนาดเล็กกว่าโสมเกาหลี


"โสมไทย" มีคุณค่าทางโภชนาการคือ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต เส้นใย โปรตีน แคลเซี่ยม ฟอสฟอรัสเหล็ก วิตามิน เอ / บี1 /
บี2 / มี เอสเซนเซียลออยล์ (essential oils) มีสารที่เรียกว่า ฟลาโวนอยด์ (flavonoids) มีโครมีน (chromene) มีน้ำมัน
หอมระเหยเล็กน้อย และมีสารสำคัญ เช่น ทูจีน (thujene) บอร์นีออล (borneol) เมอร์ซีน (myrcene) ไลโมนีน
(limonene) ไพนีน (pinene) แคมฟีน (camphene) การบูร (camphor) ซินีออล (cineol) รูบรามีน (rubramine) และ
พินโนสโตรบิน (pinostrobin) เป็นต้น
แหล่งที่พบ พบทั่วไปทุกภาค ตามป่าโปร่ง ไร่สวนทั่วไป

ประเภทไม้ ไม้ล้มลุก





ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น : ไม้ล้มลุกอายุเพียงปีเดียว ลักษณะของลำต้นจะเตี้ยแจ้ติดดิน แตกกิ่งก้านที่โคนต้นออกมาบริเวณที่โคนต้นมีเนื้อแข็งคล้ายไม้
ลำต้นสีเขียวอวบน้ำ สูง 30-50 ซม.

ใบ : ใบเดี่ยว ลักษณะเป็นรูปมนรี หรือรูปไข่กลับ ปลายมนหรือแหลมสั้น หรือปลายโตแหลมโคนสอบแหลม เนื้อใบหนา ขอบใบเรียบ
ท้องใบและหลังใบเรียบ ใบสีเขียวอมเหลืองเป็นมันก้านใบชูตั้ง ใบกว้าง 2.5-3.5 ซม. ยาว 5-7.5 นิ้ว

ดอก : ดอกเป็นช่ออยู่ที่ส่วนยอดหรือปลายกิ่ง ดอกมีขนาดเล็กสีชมพู ดอกบานเต็มที่ประมาณ 6 มม. มีอยู่ 5 กลีบ สีม่วงแดง กลีบ
เลี้ยงมี 2 กลีบร่วงง่าย เกสรกลางดอกมี 10 อัน คล้ายดาว เกสรสีเหลืองยื่ยาวออกจากกลีบดอกคล้ายชบา ก้านดอกยาว

ผล : ขนาดเล็กกลม โตประมาณ 3 มม. ผลสีแดงมีเมล็ดอยู่ภายในสีดำ

หัว : ลักษณะคล้ายโสมคน

การขยายพันธุ์ : เมล็ด

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม : ดินที่มีความชุ่มชื้นสูง ดินร่วนซุย

ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์ ตลอดทั้งปี


สรรพคุณของโสมไทยและวิธีใช้
ส่วนที่ใช้ประโยชน์คือ ยอดอ่อน ใบ และหัว

หัว : นำมาดองกับเหล้าแล้วนำน้ำที่ได้มาดื่มใช้บำรุงร่างกาย และบำรุงกำลัง( หัวใต้ดินของโสมไทย ลงดินประมาณ 4-5 ปี จะมีหัวเช่นนี้
นำมาดองกับเหล้าขาว ท่านว่า ไวอากร้า เราดีๆนี่เอง )





ใบและยอดอ่อน ใช้รับประทานเป็นผักใบเขียวแกงส้ม แกงจืด ผัดน้ำมันหอย มีสรรพคุณบำรุงร่างกาย







แหล่งข้อมูลที่นำมาประกอบภาพ
บทความวิทยุรายการสาระความรู้ทางการเกษตร เรื่อง พืชผักผลไม้ไทยมีคุณค่าเป็นทั้งอาหารและยา ตอน "โสมไทย"
ดวงจันทร์ เกรียงสุวรรณ นักวิชาการเกษตร 6 คณะทรัพยากรธรรมชาติ
งานศูนย์บริการวิชาการและฝึกอบรม
ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะทรัพยากรธรรมชาติ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
http://natres.psu.ac.th/radio/radio_article/radio46-47/46-470044.htm

http://www.google.co.th






http://www.bloggang.com/data/leenal99/picture/1264397776.jpg


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 7:14 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 31/01/2012 7:41 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,494. ปราชญ์ชาวบ้าน หมายถึง.....


เมื่อกล่าวถึงปราชญ์ชาวบ้าน คนส่วนใหญ่มักจะคิดถึงองค์ความรู้หรือ ภูมิปัญญา ที่มาจากชาวบ้านเป็นความรู้ที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษ
เกิดจากกระบวน การเรียนรู้ ปรับตัวผ่านประสบการณ์ที่สั่งสม พัฒนาและสืบทอดกันต่อ ๆ มาเพื่อใช้ แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในการดำรงชีวิต
ได้อย่างมีความสุข หลักการ แนวคิดและวิถีชีวิต ของปราชญ์ เป็นสิ่งที่คนในยุคสมัยปัจจุบันนี้ ควรได้เรียนรู้ และนำไปเป็นแบบอย่าง ใน
การดำรงชีวิต การนำภูมิปัญญาจากปราชญ์ชาวบ้านมาประยุกต์ใช้ในการทำงาน ซึ่งสามารถนำไปใช้ปฏิบัติใช้ในระดับบุคคลและชุมชน
ท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี


ความหมายและความเป็นมาของปราชญ์ชาวบ้าน
บรรพบุรุษของชาวไทยเป็นชนชาติที่มีศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณี ที่เก่าแก่สืบทอดกันมานานนับร้อยนับพันปี โดยบรรพบุรุษของ
ชาวไทยได้นำเอาความรู้ ความสามารถด้านต่าง ๆ ถ่ายทอดให้คนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง โดยมีการปรับเปลี่ยน ไปตามยุคสมัย
เพื่อนำความรู้นั้น ๆ มาใช้ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงในการดำรงชีวิต อยู่ในสังคมชุมชนท้องถิ่นให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น โดยความรู้ความ
สามารถเหล่านี้ จะเรียกว่า “ภูมิปัญญาท้องถิ่น”

ในปัจจุบันได้มีปราชญ์ชาวบ้านในสังคมและชุมชนท้องถิ่น ได้เสนอหลักการ แนวคิด และวิธีการทำงาน เพื่อแก้ไขปัญหาให้กับสังคม
และชุมชนท้องถิ่น ผ่าน กระบวนการการปฏิบัติตลอดชีวิต ลองผิดลองถูก เรียนรู้ท่ามกลาง การเผชิญ ปัญหาในสังคม สั่งสมมวล
ประสบการณ์ รวบรวมองค์ความรู้จนกลายเป็น ภูมิปัญญา สามารถนำไปปฏิบัติใช้ในสังคมและชุมชนท้องถิ่นได้เป็นอย่างดีสอดคล้อง
กับ วิถีชีวิต ของปราชญ์ชาวบ้านซึ่งเป็นวิถีชีวิตที่เรียบง่าย ไม่ฟุ้งเฟ้อ ใช้ชีวิตแบบสมถะ มีความซื่อสัตย์ เป็นคนมีคุณธรรม ยึดหลัก
ธรรมะไม่มีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ และ มีจิตใจดี เป็นกัลยาณมิตร อยู่ร่วมกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน


ปราชญ์ชาวบ้าน หมายถึง บุคคลในสังคมชุมชนท้องถิ่นซึ่งเป็นเจ้าของ ภูมิปัญญาและนำ ภูมิปัญญามาใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิต
จนประสบผลสำเร็จ จากการสั่งสม ประสบการณ์และสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้เชื่อมโยงคุณค่า ภูมิปัญญาของ อดีต กับปัจจุบัน
ได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับการดำรงชีพในปัจจุบัน


ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือภูมิปัญญาชาวบ้านหมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ ชาวบ้านคิดขึ้นได้เองและนำมาใช้ในการแก้ปัญหา เป็นเทคนิควิธี
เป็นองค์ความร ู้ของชาวบ้าน ทั้งทางกว้างและทางลึกที่ชาวบ้านคิดเอง ทำเองและสามารถแก้ปัญหา เองได้ โดยอาศัยองค์ความรู้จาก
ภูมิปัญญาของปราชญ์ชาวบ้านและศักยภาพที่มีอยู่ แก้ปัญหาการดำเนินชีวิตในสังคมชุมชนท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัยเป็น
องค ์ ความรู้ และเทคนิคที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ ซึ่งได้สืบทอดและ เชื่อมโยง มาอย่างต่อเนื่องจากอดีตถึงปัจจุบัน


ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งเป็นองค์ความรู้จากปราชญ์ชาวบ้าน และ เป็นองค์ความรู้ ที่ประกอบ ไปด้วยหลักคุณธรรม
ซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวบ้าน และสร้างความสัมพันธ์ ที่ดีระหว่าง คนกับคน คนกับธรรมชาติ และคนกับสิ่งเหนือ ธรรมชาติ
องค์ความรู้ของชาวบ้าน ซึ่งได้มาจากการสั่งสมมวลประสบการณ์ และ ความเฉลียวฉลาดของชาวบ้าน รวมทั้งความรู้ที่สั่งสมมาแต่
บรรพบุรุษ สืบทอดจาก คนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีก รุ่นหนึ่ง ระหว่างการสืบทอดมีการปรับ ประยุกต์และเปลี่ยนแปลง จนอาจเกิดเป็น องค์
ความรู้ใหม่ตามสภาพการณ์ของสังคมวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน


ลักษณะองค์ความรู้ของปราชญ์ชาวบ้าน
ลักษณะองค์ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นของปราชญ์ชาวบ้าน พอสรุป ได้ดังนี้
๑. เป็นเรื่องของการใช้ความรู้ ทักษะ ความเชื่อและพฤติกรรม
๒. แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่าง คนกับคน คนกับธรรมชาติ คนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ
๓. เป็นองค์รวมหรือกิจกรรมทุกอย่างในวิถีชีวิต
๔. เป็นเรื่องของการแก้ไขปัญหา การจัดการ การปรับตัว การเรียนรู้เพื่อความอยู่รอดของบุคคล ชุมชนและสังคม
๕. เป็นแกนหลักหรือกระบวนทัศน์ในการมองชีวิตเป็นพื้นความรู้ ใน เรื่องต่าง ๆ ๖. มีลักษณะเฉพาะหรือมีเอกลักษณ์ในตัวเอง
๗. มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อการปรับสมดุลในพัฒนาการทางสังคม ตลอดเวลา
๘. มีวัฒนธรรมเป็นฐาน ไม่ใช่วิทยาศาสตร์
๙. มีบูรณาการสูง
๑๐. มีความเชื่อมโยงไปสู่นามธรรมที่ลึกซึ้งสูงส่ง
๑๑. เน้นความสำคัญของจริยธรรมมากกว่าวัตถุธรรม

จากลักษณะองค์ความรู้ดังกล่าวเป็นวิธีการปฏิบัติของชาวบ้าน ซึ่งได้ มาจาก ประสบการณ์ แนวทางแก้ปัญหาในแต่ละเรื่อง แต่ละ
ประสบการณ์ แต่ละสภาพแวดล้อม ซึ่งจะมีเงื่อนไขปัจจัยเฉพาะที่แตกต่างกันออกไป นำมาใช้แก้ไขปัญหา โดยอาศัย ศักยภาพที่มีอยู่
โดยชาวบ้านคิดเอง เป็นความรู้ที่สร้างสรรค์และมีส่วนเสริมสร้างการผลิต หรือเป็นความรู้ของชาวบ้านที่ผ่านการปฏิบัติมาแล้วอย่างโชก
โชน เป็นส่วนหนึ่ง ของมรดกทางวัฒนธรรม เป็นความรู้ที่ปฏิบัติได้มีพลังและความสำคัญอย่างยิ่งในสังคม ชุมชนท้องถิ่น ช่วยให้ชาว
บ้านมีชีวิตอยู่รอดช่วยสร้างสรรค์การผลิตและช่วยในด้านการ ทำงาน เป็นโครงสร้างความรู้ที่มีหลักการ มีเหตุ มีผลในตัวเอง


ประเภทของภูมิปัญญาท้องถิ่น
จากองค์ความรู้ที่เรียกว่า“ภูมิปัญญาท้องถิ่น” ปราชญ์ชาวบ้าน เป็นทุกสิ่งที่มนุษย์คิดทำเองได้เป็นสติปัญญา ความคิด ความรู้ที่สั่งสมมา
ยาวนาน เชื่อมโยงบูรณาการหลาย ๆ สาขาวิชา นำมาประยุกต์ใช้แก้ปัญหาเกี่ยวกับ การดำเนินชีวิตในท้องถิ่น โดยผ่านการสร้างสรรค์
สะสม คัดเลือกและถ่ายทอดจากอดีต สู่ปัจจุบันและ อนาคต จากลักษณะดังกล่าวสามารถแบ่งประเภทของภูมิปัญญาออกเป็น ๙
สาขา ดังนี้

๑. สาขาเกษตรกรรม เป็นความสามารถของปราชญ์ชาวบ้าน ในการผสม ผสานองค์ความรู้ ทักษะและเทคนิคด้านการเกษตรกับ
เทคโนโลยี โดยการพัฒนาบน พื้นฐาน คุณค่าดั้งเดิม ซึ่งคนสามารถพึ่งตนเองในสภาวการณ์ต่าง ๆ ได้ เช่น การทำ การเกษตรแบบ
ผสมผสาน การแก้ปัญหาการเกษตรด้านตลาด การแก้ปัญหาด้าน การผลิต และการรู้จักปรับใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับ การเกษตร
เป็นต้น

๒. สาขาอุตสาหกรรมและหัตถกรรม เป็นความสามารถของปราชญ์ชาวบ้าน ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ในการแปรรูป
ผลิตเพื่อการบริโภคอย่างปลอดภัย ประหยัด และเป็นธรรม อันเป็นกระบวนการให้ชุมชนท้องถิ่น สามารถ พึ่งตนเอง ทางเศรษฐกิจได้
ตลอดทั้งการผลิตและการจำหน่ายผลผลิตทางหัตถกรรม เช่น การรวมกลุ่มของกลุ่มโรงงานยางพารา กลุ่มโรงสี กลุ่มหัตถกรรม เป็นต้น

๓. สาขาการแพทย์แผนไทย เป็นความสามารถของปราชญ์ชาวบ้านในการ จัดการป้องกันและรักษาสุขภาพของคนในชุมชน โดยเน้น
ให้ชุมชนสามารถพึ่งพา ตนเองทางด้านสุขภาพและอนามัยได้ เช่น ยาสมุนไพรอันมีอยู่หลากหลาย การนวด แผนโบราณ การดูแลและ
รักษา สุขภาพ แบบพื้นบ้าน เป็นต้น

๔. สาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นความสามารถ ของปราชญ์ชาวบ้านในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ
ฃสิ่งแวดล้อม ทั้งการอนุรักษ์ การพัฒนาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อย่างสมดุล และยั่งยืน
เช่น การบวชป่า การทำแนวปะการังเทียม การอนุรักษ์ป่าชายเลน การจัดการป่าต้นน้ำและป่าชุมชน เป็นต้น

๕. สาขากองทุนและธุรกิจชุมชน เป็นความสามารถของปราชญ์ชาวบ้าน ในด้านการสะสมและบริหารกองทุนและสวัสดิการชุมชน
ทั้งเป็นเงินตราและ โภคทรัพย์เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงให้แก่ชีวิตความเป็นอยู่ ของสมาชิกในกลุ่ม เช่น การจัดการกองทุนของชุมชน
ในรูปของสหกรณ์ ออมทรัพย์ รวมถึงความสามารถ ในการจัดการจัดสวัสดิการในการประกันคุณภาพชีวิต ของคน ให้เกิดความมั่นคง
ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการ รักษาพยาบาล ชุมชน และการจัดระบบสวัสดิการชุมชน

๖. สาขาศิลปกรรม เป็นความสามารถของปราชญ์ชาวบ้านในการสร้าง สรรค์ผลงานทางด้านศิลปะ สาขาต่าง ๆ เช่น จิตรกรรม
ประติมากรรม นาฏศิลป์ ดนตรี ทัศนศิลป์ คีตศิลป์ การละเล่น พื้นบ้าน และนันทนาการ เป็นต้น

๗. สาขาภาษา และวรรณกรรม เป็นความสามารถของปราชญ์ชาวบ้าน ในการอนุรักษ์และสร้างสรรค์ผลงานด้านภาษา คือ ภาษาถิ่น
ภาษาไทยในภูม ิในการอนุรักษ์และสร้างสรรค์ผลงานด้านภาษา คือ ภาษาถิ่น ภาษาไทยในภูมิภาค ต่าง ๆ รวมถึงด้านวรรณกรรม
ท้องถิ่นและการจัดทำสารานุกรมภาษาถิ่น การปริวรรตหนังสือ โบราณ การฟื้นฟูการเรียนการสอนภาษาของท้องถิ่น

๘. สาขาปรัชญา ศาสนา และประเพณี เป็นความสามารถของ ปราชญ์ ชาว บ้านในการ ประยุกต์และปรับใช้หลักธรรมคำสอนทาง
ศาสนา ปรัชญาความเชื่อและ ประเพณีที่มีคุณค่าให้เหมาะสมต่อบริบททางเศรษฐกิจ สังคม เช่น การถ่ายทอด วรรณกรรม
คำสอน การบวชป่า การประยุกต์ประเพณีบุญประทายข้าว เป็นต้น

๙. สาขาโภชนาการ เป็นความสามารถของปราชญ์ชาวบ้าน ในการเลือก สรร ประดิษฐ์และปรุงแต่งอาหารและยาได้เหมาะสมกับ
ความต้องการของร่างกาย ใน สภาวการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนผลิตเป็นสินค้าและบริการส่งออกที่ ได้รับความนิยม แพร่หลายมาก รวมถึง
การขยายคุณค่าเพิ่มของทรัพยากรด้วย


ภูมิปัญญาเหล่านี้เป็นความรู้ความสามารถที่บรรพบุรุษได้สร้างสรรค์ และถ่ายทอดมาให้เรา มีวิธีการหลายอย่างที่ทำให้ความรู้ เหล่านี้เกิด
ประโยชน์แก่สังคม ปัจจุบัน คือ

การอนุรักษ์ คือ การบำรุงรักษาสิ่งที่ดีงามไว้เช่น ประเพณีต่าง ๆ หัตถกรรม และคุณค่าหรือการปฏิบัติตนเพื่อความสัมพันธ์อันดีกับคน
และสิ่งแวดล้อม

การฟื้นฟู คือ การรื้อฟื้นสิ่งที่ดีงามที่หายไป เลิกไป หรือกำลังจะเลิก ให้กลับมาเป็นประโยชน์ เช่น การรื้อฟื้นดนตรีไทย การรื้อฟื้น
การละเล่นสมัย โบราณ

การประยุกต์ คือ การปรับหรือการผสมผสานความรู้เก่ากับความรู้ใหม่เข้า ด้วยกัน ให้เหมาะสมกับสมัยใหม่ เช่น การใช้ยาสมุนไพรในโรง
พยาบาล ประสานกับ การรักษาสมัยใหม่ การทำพิธีบวชต้นไม้ เพื่อให้เกิดสำนึกการอนุรักษ์ธรรมชาติ รักษาป่ามากยิ่งขึ้น การประยุกต์
ประเพณีการทำบุญข้าวเปลือกที่วัด มาเป็นการสร้าง ธนาคารข้าว เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ขาดแคลน

การสร้างใหม่ คือ การค้นคิดใหม่ที่สัมพันธ์กับความรู้ดั้งเดิม เช่น การประดิษฐ์ เครื่องมือการเกษตร การคิดโครงการพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหา
ของชุมชน โดยอาศัยคุณค่า ความเอื้ออาทรที่ชาวบ้านเคยมีต่อกันมาหารูปแบบใหม่ เช่น การสร้างธนาคารข้าว ธนาคารโคกระบือ การรวม
กลุ่มแม่บ้าน เยาวชน เพื่อทำกิจกรรมกันอย่างมีระบบมาก ยิ่งขึ้น




ข้อมูลอ้างอิงจาก : www.surinpao.org (องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์)
http://www.sirikitdam.egat.com/chivavitee/local-scholars.php


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 31/01/2012 9:07 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 31/01/2012 7:58 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,495. กระบวนการทำงานของการผลิตทุเรียนกวน


บทความนี้คณะผู้จัดทำได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง การทำงานของกระ
บวนการผลิตทุเรียนกวน โดยมีเนื้อหาสาระสำคัญ
คือ การทำงานของกระบวนการผลิตทุเรียนกวนโดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านและ การทำงานของกระบวนการผลิตทุเรียนกวนโดยใช้
เทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยได้แยกหัวข้อสำคัญของสองเรื่องหลักให้มี วัสดุอุปกรณ์ ขั้นตอนการทำ และสรุปขั้นตอนการทำของแต่
ละหัวข้อหลัก และสุดท้ายก็มีข้อเปรียบเทียบขอแตกต่างของทั้งสองหัวข้อ ซึ่งข้าพเจ้าคณะผู้จัดทำหวังว่าคงเป็นประโยชน์สำ
หรับผู้อ่านผู้สนใจเป็นอย่างยิ่ง

หากบทความนี้มีข้อผิดพลาดประการใด ข้าพเจ้าคณะผู้จัดทำพร้อมที่จะรับฟังคำ แนะนำ ติชม จากผู้อ่านเป็นอย่างยิ่ง

คณะผู้จัดทำ



1. การทำงานของกระบวนการผลิตทุเรียนกวน โดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน

• วัสดุอุปกรณ์ในการทำทุเรียนกวน
1. กะทะกวน
2. เตาแก๊ส หรือถ่าน
3. ช้อนสำหรับขูดเนื้อทุเรียน
4. ไม้พายสำหรับกวน
5. ตาชั่ง

• ขั้นตอนการทำทุเรียนกวน
1. แกะเนื้อทุเรียนสุกออกจากเปลือกและเมล็ด
2. ขูดแยกเมล็ดทุเรียนออกจากเนื้อทุเรียน
3. ชั่งน้ำหนักเนื้อทุเรียน
4. ใส่ในกระทะเหล็กหรือสเตนเลสใช้ไฟปานกลางกวนด้วยไม้พายจนเนื้อทุเรียนสุก
5. ใส่น้ำตาลทรายกวนต่อไปจนเริ่มเหนียว
6. พอจับตัวเป็นก้อน ลดไฟให้อ่อน กวนต่อจนเหนียวเริ่มมัน จึงจะถือว่าใช้ได้

หมายเหตุ เนื้อทุเรียน 10 ก.ก. ใส่น้ำตาลทราย 2 ก.ก.


• สรุปการกวนทุเรียน ,ระยะเวลาการทำงาน, ค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ทุเรียนเป็นผลไม้ที่นิยมนำมากวน เพราะรสชาติหวาน มัน กลิ่นหอม เนื้อละเอียดเหนียว สีเหลืองสวย ไม่ดำคล้ำ ซึ่งใช้เวลาในการ
กวนโดยวิธีแบบตามภูมิปัญญาชาวบ้านหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการใช้แรงงานคนนั้นใช้เวลากวนประมาณ 4 - 5 ชั่วโมง ทุเรียนก็จะมี
สีเหลือง เหนียว มันหอม หวานและดูน่ารับประทาน และมีการใช้จ่ายในการทำทุเรียนกวนดังต่อไปนี้

1. เนื้อทุเรียนสุก 10 ก.ก. เป็นเงิน 180 บาท
2. น้ำตาลทราย 2 ก.ก. เป็นเงิน 28 บาท

* บางครั้งอาจต้องบวกค่าจ้างกวนอีก ในที่นี้ไม่มีการบวก


• ที่มา บทความทุเรียนกวนจาก
1. อ.จรรยา คนซื่อ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โรงเรียนสวนศรีวิทยา จ.ชุมพร
2. http://dnfe5.nfe.go.th/ilp/occupation/45306/453.1.html
3. http://dnfe5.nfe.go.th/ilp/occupation/45306/453.2.html
4. http://dnfe5.nfe.go.th/ilp/occupation/45306/453.3.html


2. วิเคราะห์กระบวนการทำทุเรียนกวน
• ความสูญเปล่าของขั้นตอนการผลิตทุเรียนกวน
ในการกวนทุเรียนตามภูมิปัญญาชาวบ้านให้เกิดรสชาติหวาน มัน กลิ่นหอม เนื้อละเอียดเหนียว มีสีเหลืองสวย และไม่มีสีดำคล้ำ
ซึ่งนั้นต้องใช้เวลากวนกับแรงงานคนเป็นเวลานานและต่อเนื่องประมาณ 4 - 5 ชั่วโมง ทุเรียนก็จึงจะมีสีเหลือง เหนียว มันหอม
หวานและดูน่ารับประทาน และแต่ละครั้งขณะที่ได้กวนทุเรียนมีความสูญเปล่าดังต่อไปนี้

1. เสียเวลาในการทำงานอื่นๆ เนื่องจากใช้เวลานาน
2. ในการกวนทุเรียนแต่ละครั้งต้องใช้แรงงานคนที่ต้องค่อยดู
ไม่ให้เนื้อทุเรียนไหม้ไฟมีสีดำคล้ำ
3. ในขณะที่กวนต้องกวนเป็นเวลานานผู้กวนจึงเกิดอาการเมื่อยล้าได้
4. ในยามหน้าทุเรียนล้นตลาดจะไม่สามารถกวนทุเรียนได้หมดและต่อเนื่อง


• การวางแผนการทำงานโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่
ในเมื่อการกวนทุเรียนในแต่ละครั้งมีความสูญเปล่า มากมายดังเหตุผลข้างต้นแล้ว ดังนันจึงต้องนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้
เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่การกวนทุเรียนให้มากขึ้น ดังนั้นเพื่อให้ผู้ใช้จะได้เกิดความสะดวกสะบายและไม่เกิดการสูญเปล่าจึงมีวิธีการ
นำเอาเครื่องกวนทุเรียนซึ่งถือว่าเป็นการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับภูมิปัญญาชาวบ้านได้อย่างดีและยังมีประโยชน์แก่ผู้ที่นำมา
ใช้อีกด้วย

3. การปรับปรุงพัฒนาจากแผนงานโดยใช้เทคโนโลยี่สมัยใหม่ เข้ามาประยุกต์ใช้กับการผลิตทุเรียนกวน


• วัสดุอุปกรณ์ในการทำทุเรียนกวน
1. เครื่องกวน
2. เตาแก๊ส หรือถ่าน
3. ช้อนสำหรับขูดเนื้อทุเรียน
4. ตาชั่ง

• ขั้นตอนการทำทุเรียนกวน
1. แกะเนื้อทุเรียนสุกออกจากเปลือกและเมล็ด
2. ขูดแยกเมล็ดทุเรียนออกจากเนื้อทุเรียน
3. ชั่งน้ำหนักเนื้อทุเรียน
4. ใส่ในเครื่องกวนใช้ไฟปานกลางจนเนื้อทุเรียนสุก
5. ใส่น้ำตาลทรายกวนต่อไปจนเริ่มเหนียว
6. พอจับตัวเป็นก้อน ลดไฟให้อ่อน กวนต่อจนเหนียวเริ่มมัน จึงจะถือว่าใช้ได้

หมายเหตุ เนื้อทุเรียน 10 ก.ก. ใส่น้ำตาลทราย 2 ก.ก.


• สรุปการกวนทุเรียน, ระยะเวลาการทำงาน, ค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ทุเรียนเป็นผลไม้ที่นิยมนำมากวน เพราะรสชาติหวาน มัน กลิ่นหอม เนื้อละเอียดเหนียว สีเหลืองสวย ไม่ดำคล้ำ ซึ่งใช้เวลาในการ
กวนโดยวิธีตามแผนการปรับปรุงพัฒนาโดยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาประยุกต์ใช้นั้นใช้เวลากวนประมาณ 3 ชั่วโมง ทุเรียน
ก็จะมีสีเหลือง เหนียว มันหอม หวานและดูน่ารับประทาน และมีการใช้จ่ายในการทำทุเรียนกวนดังต่อไปนี้

1. เนื้อทุเรียนสุก 10 ก.ก. เป็นเงิน 180 บาท
2. น้ำตาลทราย 2 ก.ก. เป็นเงิน 28 บาท

* ในที่นี้หากมีการบวกค่าจ้างกวนก็จะช่วยลดรายจ่ายตรงนี้ไปได้

• ที่มา บทความทุเรียนกวนจาก
1. http://dnfe5.nfe.go.th/ilp/occupation/45306/453.2.html
2. http://rayong.doae.go.th/data/durean.htm
3. http://blog.hunsa.com/asunajan/blog/14488
4. http://kanchanapisek.or.th/kp8/chu/chu501b.html
5. http://www.sisaket.go.th/saranaroo/turian.html
6. http://3w.doae.go.th/webboard/view.asp?room=6&ID=2071

4. เปรียบเทียบผลแตกต่างของกระบวนการผลิตระหว่างการผลิตโดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านกับการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่

ในการกวนทุเรียนตามภูมิปัญญาชาวบ้านและตามที่มีการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อทุเรียนเกิดรสชาติหวาน มัน กลิ่นหอม เนื้อละเอียด
เหนียว มีสีเหลืองสวย และไม่มีสีดำคล้ำ นั้นมีข้อเปรียบเทียบข้อแตกต่างของกระบวนการผลิตดังต่อไปนี้

ข้อเปรียบเทียบ
ภูมิปัญญาชาวบ้าน /เทคโนโนโลยีสมัยใหม่
ใช้เวลาในการกวนนาน /ใช้เวลาในการกวนน้อยกว่า
ต้องใช้คนในการกวนมาก /ใช้คนในการกวนน้อยกว่า
ต้องนั่งกวนไปเรื่อยๆ /ไม่ต้องนั่งกวน
ต้องคอยระวังไม่ให้ไหม้ดำ /ไม่ต้องคอยระวังไม่ให้ไหม้ดำ
ไม่สามารถนำเวลาไปทำอย่างอื่นได้ /สามารถนำเวลาไปทำอย่างอื่นได้
ต้องกวนครั้งละน้อยๆ /สามารถกวนครั้งละมากๆได้
ไม่สามารถกวนต่อเนื่องได้ /สามารถกวนต่อเนื่องได้


ากบทความข้างต้นนี้ ชี้ให้เห็นว่าเมื่อนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ในการกวนทุเรียนแล้วนั้นสามารถช่วยให้ผู้กวนสะดวกสะบาย
และยังช่วยเพิ่มประสิทธิ์ภาพในการกวนให้เร็วขึ้น ช่วยลดปริมาณคนที่จะกวน และยังสามารถกวนทุเรียนต่อเนื่องได้ ได้เร็วกว่า ถึง 1 –
2 ชั่วโมง ซึ่งใช้เวลากวนเพียง 3 ชั่วโมงเท่านั้น ทุเรียนกวนที่ได้ก็จึงจะมีสีเหลือง เหนียว มันหอม หวานและดูน่ารับประทาน


http://www.gangbaipai.is.in.th/?md=content&ma=show&id=6
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 31/01/2012 9:23 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,496. ฟักยักษ์ไต้หวันในประเทศไทย






"ฟัก" ที่เกษตรกรไทยนิยมปลูกตามรั้วบ้านในฤดูฝน หรือหลังเสร็จสิ้นจากการทำนา โดยจะขุดหลุมแล้วหยอดเมล็ด ดูแลรดน้ำ และ
ให้ปุ๋ย-ฉีดยา ป้องกันกำจัดศัตรูพืชบ้าง ปลูกเป็นพืชผักสวนครัว หลังจากนั้นปล่อยให้ฟักแก่ มีลักษณะผิวสีขาวนวลเคลือบผล สามารถ
เก็บรักษาไว้ได้นานหลายเดือนเพื่อบริโภคหรือจำหน่ายเป็นฟักแก่ ขนาดน้ำหนักของผลฟักที่ปลูกในบ้านเราจะมีน้ำหนักผลเฉลี่ยประ
มาณ 3-7 กิโลกรัม ต่อผล (ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์) ราคาจำหน่ายมากกว่า 3 บาท ต่อกิโลกรัม ถือว่าได้ราคาที่ดีแล้ว เนื่องจากลงทุนไม่มาก

เนื่องจากฟักเป็นพืชที่มีการปลูกและดูแลง่าย เป็นไม้กลางแจ้ง ชอบแสงแดดจัด สามารถเจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด แต่จะให้
ผลผลิตได้สูง และต้นมีความสมบูรณ์นั้น ควรมีการจัดการเตรียมดินก่อนปลูกเสมอ ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร จังหวัดพิจิตร
จึงได้ทดลองนำเมล็ดพันธุ์ฟักจากไต้หวันซึ่งจัดเป็นฟักเขียวชนิดหนึ่งมาทดลองปลูกในฤดูหนาวช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม พ.ศ.
2553 และฤดูฝนช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน พ.ศ. 2554 ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ

ผลผลิตดกมาก แต่ต้องแต่งผลทิ้งบ้าง เนื่องจากเมื่อผลฟักแก่จะให้น้ำหนักเฉลี่ย 15-20 กิโลกรัม ต่อผล ขนาดผลยาวกว่า 60
เซนติเมตร และกว้าง 15-20 เซนติเมตร ระยะตั้งแต่เริ่มเพาะเมล็ดจนถึงเก็บเกี่ยว 85-90 วัน บางผลมีขนาดใหญ่มีน้ำหนักผลมาก
กว่า 20 กิโลกรัม ทางชมรมจึงได้เรียกชื่อพันธุ์ "ฟักยักษ์ไต้หวัน" นอกจากจะให้ผลผลิตที่มีขนาดใหญ่มาก แต่สิ่งที่สำคัญคือเรื่อง
รสชาติ และการนำไปบริโภค เมื่อนำฟักมาปรุงเป็นน้ำซุป แกงจืด รสชาติของเนื้อฟักมีความอร่อยเฉพาะตัว ซึ่งเมื่อให้หลายๆ คนลอง
ชิม ต่างให้ความเห็นตรงกันว่าอร่อยกว่าฟักที่ปลูกในบ้านเรา

คนจีน และคนไต้หวัน จะนิยมใช้ฟักในการทำซุปในลักษณะเดียวกับหัวไชเท้า คนจีนถือว่าฟักเขียวเป็นยาเย็นใช้ดับกระหายในฤดู
ร้อน ประโยชน์ทางสมุนไพร ฟักใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ใช้รักษาโรคเบาหวาน ลดไขมันในเส้นเลือด และมีส่วนในการช่วยลดน้ำ
หนัก และบริโภคต้มซุปมากในช่วงฤดูหนาวของจีน คนจีนมีการนำเอาฟักเขียวทั้งเปลือกมาต้มน้ำดื่มเป็นยาแทนน้ำ สำหรับไต้หวัน
มีการนำฟักมาบริโภคหลายรูปแบบ อาทิ ดองไว้กินกับข้าวต้ม ทำซุปต้มจืด และที่พัฒนาล่าสุด คือ นำมาผลิตน้ำฟักกระป๋องพร้อม
ดื่ม กำลังได้รับความนิยมมากในปัจจุบันนี้

ขณะนี้ไต้หวันได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ฟักให้มีขนาดผลใหญ่มากเพื่อรองรับการแปรรูปเป็นน้ำฟักพร้อมดื่ม และทั้งประเทศจีนและ
ไต้หวันเองจะมีการใช้ฟักเป็นจำนวนมากในการทำไส้ขนมไหว้พระจันทร์ที่ใช้ในเทศกาลประจำปีหรือตัวอย่างในบ้านเราก็จะมี
การใช้ฟักเป็นจำนวนมากเพื่อนำมาทำฟักเชื่อมที่ใช้ในเทศกาลตรุษจีน ทางชมรมได้มีการนำเมล็ดฟักยักษ์จากไต้หวันมาทดลอง
ปลูกในประเทศไทยได้ขนาดของผลใหญ่ใกล้เคียงกับที่ปลูกในไต้หวัน คือมีน้ำหนักผลเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 15-20 กิโลกรัม ต่อผล

สรรพคุณทางยาของฟักเขียว ผลฟักเขียวทั้งลูกมีที่ใช้ในทางยาทั่วโลก เปลือกผลกินขับปัสสาวะ เถ้าเปลือกใช้ใส่แผล เมล็ดขับ
พยาธิ ลดอักเสบ ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ ใช้เป็นยาระบาย และเพิ่มกำลังวังชา กินถอนพิษที่เกิดจากเนื้อสัตว์และแอลกอฮอลล์
แก้ร้อนใน แก้พิษแมงกะพรุน เนื้อฟักแห้งนำมาบดกินแก้บวมน้ำ แก้ร้อนใน แก้กระหาย ตำรายาอายุรเวทของประเทศอินเดีย
ใช้เมล็ดฟักเขียวแก้ไอ แก้ไข้ กระหายน้ำ และขับพยาธิ น้ำมันจากเมล็ดใช้ขับพยาธิด้วย ผลมีฤทธิ์เพิ่มพลังเพศ ขับปัสสาวะ เป็นยา
ระบาย และเพิ่มกำลังวังชา ใช้รักษาโรคชัก โรคปอดและหอบหืด น้ำคั้นผลฟักใช้รักษาโรคชัก และโรคเส้นประสาทในงานวิจัย
พบสารเทอร์พีนต้านมะเร็งจากผลฟัก ระบบรากทนต่อโรคจึงไว้ใช้เป็นต้นตอสำหรับการปลูกพืชตระกูลแตงอื่นๆ

ในประเทศเกาหลีใช้ฟักเขียวในการรักษาโรคเบาหวาน และขับปัสสาวะ งานวิจัยฟักเขียวในปัจจุบัน ต้านและป้องกันมะเร็ง ป้องกัน
โรคหลอดเลือด ที่ประเทศจีนใช้ฟักเขียวในการรักษาผู้ป่วยความดันเลือดสูงและรักษาอาการอักเสบ

คุณค่าอาหารฟักเขียว 100 กรัม ให้พลังงาน 5 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย เส้นใย 1.5 กรัม คาร์โบไฮเดรต 1 กรัม น้ำตาล 1 กรัม
โปรตีน 0.5 กรัม โซเดียม 1 มิลลิกรัม แคลเซียม 5 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 77 มิลลิกรัม

ฟักยักษ์เป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิดและสามารถปลูกได้ในทุกพื้นที่ของประเทศไทย การเตรียมดินควรขุดดินตากไว้
อย่างน้อย 7-14 วัน ขนาดหลุมปลูก 1x1 เมตร ระยะปลูกระหว่างต้น 1-3 เมตร ระหว่างแถว 5-10 เมตร ใส่อินทรียวัตถุ หรือ
ปุ๋ยหมัก 10-20 กิโลกรัม ต่อหลุม ปุ๋ยสูตร 16-16-16 อัตรา 1 กำมือ ปูนขาว 0.5 กิโลกรัม ต่อหลุม เพื่อปรับสภาพดิน และ
ป้องกันเชื้อโรคทางดิน สับดิน อินทรียวัตถุ ปุ๋ย และปูนขาวให้เข้ากัน และบ่มเมล็ด และเพาะกล้าก่อนปลูกจะช่วยประหยัดค่าเมล็ด
พันธุ์ ทั้งยังได้ต้นกล้าที่มีความแข็งแรง

ขณะนี้ไต้หวันได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ฟักให้มีขนาดผลใหญ่มากเพื่อรองรับการแปรรูปเป็นน้ำฟักพร้อมดื่ม และทั้งประเทศจีนและไต้หวัน




http://www.moac-info.net/Krabi/index.php?option=com_wrapper&view=wrapper&Itemid=140
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 31/01/2012 9:32 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,497. ใบยาสูบอัดเป็นแท่ง กำจัดแมลงศัตรูพืช


ปลอดภัยต่อเกษตรกรผู้ใช้ ไม่มีสารตกค้างในผลผลิต
ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม มีผลผลิตทางด้านการเกษตรจำนวนมากที่ผลิตขึ้นและสามารถทำรายได้ให้กับประเทศปีหนึ่งๆ
เป็นจำนวนเงินมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นผลผลิตด้านพืชไร่ ผัก ผลไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ ซึ่งในปัจจุบันนับว่ามีความสำคัญต่อมนุษย์ทั้งใน
ด้านอาหารและเศรษฐกิจ

แต่ในขณะเดียวกัน กระบวนการผลิตต้องประสบปัญหาในเรื่องศัตรูพืชเข้าทำลาย ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรเกิดความเสียหาย
เกษตรกรจึงต้องหาวิธีการควบคุมและป้องกันมาใช้เพื่อทำให้ประชากรของแมลงศัตรูพืชทางการเกษตรนั้นให้ลดน้อยลง

ในปัจจุบันการควบคุมแมลงศัตรูพืช จะอาศัยหลักการและวิธีการหลากหลาย ทั้งในส่วนของการใช้สารเคมี การใช้เครื่องมือ หรือ
การใช้สารสกัดจากธรรมชาติ ฯลฯ การรมควันถือเป็นวิธีการกำจัดแมลงวิธีหนึ่งที่ทำให้สารออกฤทธิ์อยู่ในรูปแบบของก๊าซ สามารถ
สร้างความเสียหายแก่แมลงศัตรูพืช ซึ่งเป็นวิธีที่มีความแน่นอนสูงและถูกนำไปใช้กันอย่างแพร่หลาย ในปัจจุบันสารที่ใช้ในการรม
ควันจะทำออกมาในรูปของเหลวหรือของแข็งก่อนนำไปใช้งาน

ดร. อุดมศักดิ์ เลิศสุชาตวนิช อาจารย์คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า มนุษย์เรารู้จักการใช้ประโยชน์จากพืชต่างๆ
ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชมาเป็นระยะเวลานาน แต่สิ่งเหล่านี้กลับถูกมองข้าม ขาดการเผยแพร่ และศึกษาอย่างจริงจัง ประกอบกับ
ในปัจจุบันสารเคมีทางการเกษตรหาซื้อได้ง่าย สะดวกต่อการใช้และเห็นผลได้รวดเร็ว แต่เมื่อใช้อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน
สารเคมีจะส่งผลกระทบต่อมนุษย์ สัตว์ พืช และสิ่งแวดล้อม ทำให้ปัจจุบันมีการให้ความสำคัญในการศึกษาพืชที่มีประสิทธิภาพใน
การควบคุมแมลงศัตรูพืชกันอย่างกว้างขวาง เพื่อเป็นทางเลือกในการนำไปควบคุมแมลงศัตรูพืชและนำมาทดแทนสารเคมีที่เป็นอันตราย

"ใบยาสูบ (ยาเส้น ยาตั้ง)" เป็นพืชชนิดหนึ่งที่ทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดย อาจารย์พิเชษฐ์ สืบสายพรหม ดร.อุดมศักดิ์
เลิศสุชาตวนิช และ รศ.ดร. นิพนธ์ ทวีชัย (ผู้สนับสนุนทุนในการวิจัย) อาจารย์คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ศึกษา
ทดลอง วิจัยหาขีดความสามารถและประสิทธิภาพของใบยาสูบเพื่อนำมาใช้ในการควบคุมแมลงศัตรูพืช



ทางเลือกใหม่สำหรับเกษตรกร ใบยาสูบ พืชสมุนไพรที่รู้จักกันมานาน
ดร. อุดมศักดิ์ กล่าวต่อว่า ยาสูบเป็นพืชที่ได้รับการจัดลำดับทางพฤกษศาสตร์ โดยจัดให้เป็นพืชในวงศ์โซลานซีอี เช่นเดียวกับมะเขือ
เทศ พริก มันฝรั่งและผักต่างๆ และอยู่ในสกุลนิโคเทียน่า ยาสูบเป็นไม้ล้มลุก ลำต้นตรง ไม่แตกกิ่งก้าน เป็นใบเดี่ยวเรียงตัวสลับเวียน
รอบต้น รูปวงรีหรือรูปหอก ขอบใบเรียบ เนื้อบางนุ่ม ผิวมีขน ดอกช่อแบบพานิเคิล กลีบเลี้ยงสีขาว กลีบดอกสีชมพูอ่อน รูปกรวยมี 5
แฉก ลักษณะการปลูกจะเป็นการค้าทั้งหมด

ใบของยาสูบจะมีสารประกอบไนโตรเจนหรือที่เรียกว่า "อัลคาลอยด์" ซึ่งมีสารนิโคตินเป็นส่วนใหญ่ สารนิโคตินจะพบมากในส่วน
ของใบและก้าน สารนิโคตินในใบยาสูบจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช โดยเฉพาะแมลงในกลุ่มปากเจาะดูด เช่น
เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ เพลี้ยไก่ฟ้า เพลี้ยแป้ง นอกจากนั้น สารนิโคตินยังเป็นสารที่สลายตัวได้ง่ายจึงไม่มีสารพิษตกค้างในผลผลิต
ดินและสภาพแวดล้อม ปลอดภัยต่อเกษตรกรผู้ใช้

"การนำใบยาสูบมาอัดเป็นแท่งเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มความสะดวกในการนำสารนิโคตินไปใช้งานในรูปแบบของการรมควัน อัน
เนื่องมาจากรูปแบบที่ง่ายต่อการผลิต ใช้ต้นทุนการผลิตต่ำและมีราคาถูก จึงมุ่งเน้นและศึกษาถึงวิธีการผลิตใบยาสูบอัดแท่ง รวมถึง
อัตราส่วนที่เหมาะสมในการผสมสำหรับการรมควัน" ดร. อุดมศักดิ์ กล่าว

ใบยาสูบที่จะนำมาเพื่อใช้ในการควบคุมแมลงศัตรูพืชด้วยวิธีการรมควันนั้น จะทำออกมาในรูปแบบใบยาสูบอัดแท่งแบบแท่งธูป
กำยาน ซึ่งกระบวนการและขั้นตอนในการผลิตนั้นง่าย สะดวก ไม่ซับซ้อน เกษตรกรทั่วๆ ไปก็สามารถทำใช้ได้ เพราะด้วยวิธีการทำ
ที่ไม่ยุ่งยาก ต้นทุนในการผลิตที่ต่ำ บวกกับอุปกรณ์และวัสดุที่ใช้ก็สามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาดทั่วไป



อุปกรณ์และขั้นตอนในการผลิต
อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำใบยาสูบอัดแท่งจะประกอบไปด้วยใบยาสูบสายพันธุ์พื้นเมือง ขุยมะพร้าว ผงจันทน์เหนียวและบล็อคพิมพ์
ขึ้นรูปที่ทำจากแผ่นซูเปอร์ลีน

เริ่มต้นของกระบวนการผลิตใบยาสูบอัดแท่ง ขั้นตอนแรกให้นำเศษใบยาสูบมาร่อนกับตะแกรงเพื่อคัดขนาดที่เล็กออกมาและนำไป
บดเพื่อให้มีความละเอียดมากขึ้น จากนั้นให้นำขุยมะพร้าวแห้งที่บดมาร่อนกับตะแกรงและนำส่วนที่ร่อนแล้วซึ่งมีความละเอียด
มาใช้เป็นส่วนผสม (ขุยมะพร้าวที่นำมาใช้อาจมีความชื้น ควรนำไปตากแดดให้แห้งประมาณ 1-2 วัน) นำใบยาสูบที่ร่อนผสมกับขุย
มะพร้าวบดในอัตราส่วน 60 : 40 หรือ 80 : 20 เปอร์เซ็นต์ จากนั้นนำผงจันทน์เหนียว (เปลือกต้นยางบง) ผสมเพิ่มเข้าไป 10-
15 เปอร์เซ็นต์ ในแต่ละอัตราส่วน ซึ่งผงจันทน์เหนียวนั้นจะช่วยให้ใบยาสูบกับขุยมะพร้าวสามารถยึดเกาะกันได้




http://www.moac-info.net/Krabi/index.php?option=com_wrapper&view=wrapper&Itemid=140
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 31/01/2012 9:40 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,498. เบื่อ..ข้าวที่กินอยู่ทุกวันหรือเปล่า?

ลองหาข้าวอร่อยๆ ดีต่อสุขภาพ กินกันดีกว่า !


ข้าว อาหารประจำชาติไทย ที่ต้องมีเป็นหลักสำคัญลำดับแรกในครัวไทย ส่วนกับข้าว...เดี๋ยวค่อยว่ากัน

ประเทศไทย มีพื้นที่ปลูกข้าวมากเป็นอันดับ 5 ของโลก และส่งออกข้าวอยู่ใน อันดับหนึ่ง ถึง อันดับสามของโลกตลอดมา
ถ้าจะซื้อข้าวสารในซูเปอร์มาเก็ตในต่างประเทศ หากมีข้อความเขียนกำกับข้างถุงว่า Product of Thailand ก็มั่นใจได้เลย
ว่าจะได้กินข้าวอร่อย

แต่คนไทยส่วนใหญ่ในประเทศไทยเอง ที่กินข้าวในร้านข้าวแกง หรือร้านอาหารระดับกลางๆ ทั่วไป กลับต้องกินข้าวขัดสี
สีขาวๆ แป้งล้วนๆ ยิ่งกิน ยิ่งอ้วน อีกทั้งไม่ใช่ข้าวคุณภาพ อย่างที่ควรจะได้กิน ในฐานะผู้ปลูกข้าวเลี้ยงชาวโลก

ข้าวคุณภาพ ในที่นี้หมายถึงข้าวที่มีรสชาติดี หอมนุ่ม และประกอบไปด้วยสารอาหารนานาชนิด





ใครที่สนใจเรื่องข้าว ไม่ว่าจะซื้อหามากินเอง หรือจะทำธุรกิจซื้อข้าวขายข้าว คุณภาพดีๆ ไม่ควรพลาดงานนี้ เพราะจะมีข้อ
มูลให้มากมาย นั่นคืองาน “เกษตรมหัศจรรย์ วันเส้นทางเศรษฐี – เทคโนโลยีชาวบ้าน 2012” โดยมีแนวคิดหลักของงาน คือ
“ข้าวของพ่อ วิถีพอเพียง” ระหว่างวันที่ 22-26 กุมภาพันธ์ 2555 ณ ห้างสรรพ
สินค้า เดอะมอลล์ บางแค กรุงเทพมหานคร
ที่จะมีข้าวสายพันธุ์ต่างๆ นำมาแสดงในงานเกือบ 100 สายพันธุ์

สำหรับวันนี้ “มติชนออนไลน์” มีเรื่องข้าวดีๆ ข้าวอร่อยๆ มาฝากกันก่อนที่จะถึงวันงาน







เริ่มจาก ข้าวไรซ์เบอรี่ :
ข้อมูลจาก ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม ข้าวชนิดนี้ ได้จากการผสมข้ามพันธุ์
ระหว่างข้าวเจ้าหอมนิลกับข้าวขาวดอกมะลิ 105 ลักษณะเป็นข้าวเจ้าสีม่วงเข้ม รูปร่างเมล็ดเรียวยาว สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี
ให้ผลผลิตต่อไร่สูง ต้านทานต่อโรคไหม้ได้เป็นอย่างดี เมื่อหุงแล้ว มีความนุ่มมาก

คุณสมบัติเด่นทางด้านโภชนาการของข้าวไรซ์เบอรี่ คือมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ได้แก่ เบต้าแคโรทีน,แกมมาโอไรซานอล,
วิตามิน อี, แทนนิน, สังกะสี, โฟเลตสูง, มีดัชนีน้ำตาลต่ำ-ปานกลาง นอกจากนี้รำข้าวและน้ำมันรำข้าว ยังมีคุณสมบัติต้าน
อนุมูลอิสระที่ดีเหมาะสำหรับใช้ทำผลิตภัณฑ์อาหารเชิงบำบัดอีกด้วย





ถัดมาเป็น ข้าวสินเหล็ก :
ข้าวสินเหล็กได้จากผสมข้ามพันธุ์ระหว่างข้าวเจ้าหอมนิล กับ ข้าวขาวดอกมะลิ 105 เป็นข้าวสีขาวที่มีกลิ่นหอม รูปร่างเมล็ดเรียวยาว
ไม่ไวต่อช่วงแสง ปลูกได้ตลอดทั้งปี มีความต้านทานต่อโรคไหม้ข้าวสินเหล็กในฐานะเป็นข้าวหอมนุ่มที่มี ดัชนีน้ำตาล ต่ำ-ปานกลาง

ข้าวสินเหล็ก เมื่อนำมาทดลองบริโภคในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน พบว่าการบริโภคข้าวกล้องสินเหล็ก ช่วยแก้ปัญหาเบาหวานได้
ทำให้สภาวะดื้อต่อ insulin ลดลงและการทำงานของตับอ่อนดีขึ้น รวมทั้งทำให้ค่าเฉลี่ยของ triglyceride ลดลง นอกจากนี้ข้าว
สินเหล็กยังมีธาตุเหล็กในเมล็ดสูง ข้าวพันธุ์นี้ได้ผ่านการประเมินคุณสมบัติความเป็นประโยชน์ของธาตุเหล็ก ทั้งในระดับห้องปฏิบัติ
การและในมนุษย์ โดยพบว่าการส่งเสริมการบริโภคข้าวสินเหล็กในเด็กนักเรียนที่มีภาวะพร่องธาตุเหล็ก ทำให้ระดับ hemoglobin
มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น




ข้าวปิ่นเกษตร :
ข้าวปิ่นเกษตรเป็นลูกผสมระหว่างข้าวขาวดอกมะลิ 105 กับข้าวทนแล้ง เป็นข้าวขาว มีกลิ่นหอม นุ่มเหนียว ข้าวกล้องมีความ
นุ่มนวล มีเมล็ดยาวกว่า 8 มม.

ข้าวชนิดนี้ เมื่อทำเป็นข้าวกล้องจะได้ความเป็นประโยชน์ของธาตุเหล็กดี กล่าวคือเมื่อนำมาหุงสุกรวมกับข้าวพันธุ์อื่น จะช่วยให้
ความเป็นประโยชน์ของธาตุเหล็กสูงขึ้นซึ่ง ให้ผลสอดคล้องกันทั้งการทดสอบในระดับเซลล์และในมนุษย์ด้วยคุณสมบัตินี้ข้าว
ปิ่นเกษตรจึงได้รับรางวัล ชนะเลิศอันดับ 3 จากการประกวดข้าวโลก (2nd World Rice Competition) เมื่อปี 2547


สนใจข้าวทั้งสามชนิดนี้ และข้าวอื่นๆ อีกเกือบร้อยสายพันธุ์ ไปชมได้ที่งานเกษตรมหัศจรรย์ฯ ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น หรือติดต่อ
ซื้อได้ที่ คุณมัลลิการ์ แซ่หลิม กองบรรณาธิการเทคโนโลยีชาวบ้าน บริษัทมติชน จำกัด (มหาชน) โทร.025800021 ต่อ
2341 หรือ 081-2973004



http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1327916001&grpid=01&catid=&subcatid=
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 31/01/2012 9:54 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,499. มะเขืออะไรเอ่ย ? กินแต่ใบ ไม่กินผล

ผัดไฟแดง ผัดน้ำมันหอย อร่อยอย่าบอกใคร !!!





มะเขือ... ใครๆ ก็รู้จักมะเขือ... ไม่ว่าจะเป็นมะเขือยาว มะเขือพวง มะเขือเปราะ มะเขือม่วง หรือมะเขือเทศ มะเขือที่พูดมาทั้งหมด
นี้เป็นมะเขือที่เรากิน ผลของมัน


แต่ถ้าพูดถึง มะเขือกินใบ ล่ะ อาจจะไม่คุ้นกัน ใช่แล้ว … มะเขือต้นนี้ เรากินใบ แต่ไม่กินผล เรียกว่า ตัดใบมากินเหมือนกินใบคะน้า
ใบกวางตุ้ง อย่างนั้นเลย

มะเขือกินใบ เป็นพืชสวนครัว ที่ปลูกได้ทั่วไป ทุกฤดูกาล แต่อาจจะยังไม่แพร่หลายนัก


มะเขือกินใบมีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า ซาลานุม ( Sa-lanum) เป็นพืชกลุ่มเดียวกับพริก มันฝรั่ง และมะเขือเทศ ซึ่งอยู่ในวงศ์
solanaceae พบทางภาคใต้ของประเทศไทย จัดเป็นพืชล้มลุก อายุข้ามปี ลำต้นเดี่ยว แตกกิ่งก้านสาขาเป็นพุ่มใบเป็นใบเดี่ยว
ออกเรียงสลับรอบกิ่งก้าน มีขนาดใหญ่ ใบมันและไม่มีขน ส่วนดอกเหมือนกับมะเขือทั่วไป

วิธีการปลูก
นำเมล็ดที่ได้ไปเพาะ โดยผลแก่ 1 ผล จะมีเมล็ดมากกว่า 100 เมล็ด กรณีปลูกในกระถางให้เริ่มปลูกจากกระถางเล็กก่อน จากนั้น
เปลี่ยนกระถางให้ใหญ่ขึ้นตามขนาดต้น

ดินปลูก
ควรผสมปุ๋ยมักจากเศษพืชหรือฟางข้าวเป็นหลัก ใส่ดินในกระถาง ไม่ควรพูนเต็มกระถาง มะเขือกินใบชอบที่ร่มรำไร หากปลูก
ในกระถาง ควรมีหลังคาตาข่างพรางแสงหรือซาแรน จะปลูกตามโคนต้นไม้ในบ้านหรือสวนก็ได้
มะเขือกินใบ อายุประมาณ 2 เดือน จะเริ่มออกดอก ควรเด็ดยอดเมื่ออายุได้เดือนครึ่ง เพื่อให้แตกยอดใหม่หรือเด็ดดอกทิ้งก่อน
เพราะวัตถุประสงค์ต้องการกินใบหรือยอด หรือหากต้องการขยายพันธุ์สามารถทิ้งให้เกิดดอกและผลได้

การปรุงอาหาร
เด็ดจากใบล่างขึ้นบน นำมาปรุงแทนผักได้ แต่ต้องทำให้สุกก่อน รสชาติอร่อย ก้านอ่อนนุ่ม กินได้ตั้งแต่ใบอ่อนถึงใบแก่ ยก
เว้นแก่จนมีใบเหลือง

นายการุณย์ มะโนใจ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา เล่าให้ฟังถึงพืชสวนครัวต้นนี้ว่า เริ่มต้น
ได้เมล็ดพันธุ์มาจากจังหวัดสุพรรณบุรี นำมาปลูกที่จังหวัดพะเยา จนได้เมล็ดพันธุ์จำนวนหนึ่ง และได้แจกจ่ายให้กับผู้อ่านนิตย
สารเทคโนโลยีชาวบ้านไป 300-400 ราย ที่เขียนจดหมายมาขอทางไปรษณีย์ และขณะนี้ ก็รวบรวมได้อีกจำนวนหนึ่งแล้ว
กำลังประสานงานกับทีมงานเพื่อนำไปจำหน่ายที่งาน “เกษตรมหัศจรรย์ วันเส้นทางเศรษฐี เทคโนโลยีชาวบ้าน 2012” ที่จะจัดขึ้น
ระหว่างวันที่ 22-26 กุมภาพันธ์ 2555 ที่ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ บางแค กรุงเทพมหานคร





นายการุณย์ บอกอีกว่า เคยนำใบจากมะเขือต้นนี้ ไปผัดไฟแดง ผัดน้ำมันหอย ผัดหมูกรอบ กินได้เหมือนผักทั่วไป แต่บางคน
ทดลองกินดิบเป็นผักสด รสชาติจะออกขมๆ ดังนั้น จึงแนะนำว่า กินสุกดีกว่า




http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1327465373&grpid=01&catid=&subcatid=
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 31/01/2012 10:13 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,500. เคื่องช่วยทำผลไม้แช่อิ่ม

อาชีวะพิษณุโลก ไอเดียเจ๋ง คิดเคื่องช่วยทำผลไม้แช่อิ่ม ทำเสร็จพร้อมขายใน 10 นาที

มะม่วง เป็นผลไม้ที่ปลูกง่ายและมีการปลูกกันอย่างแพร่หลายทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ โดยเฉพาะจังหวัดพิษณุโลกมีเกษตรกร
ผู้ปลูกมะม่วงเป็นจำนวนมาก และเมื่อถึงฤดูกาลจะมีผลผลิตมะม่วงออกมาเป็นจำนวนมาก ทำให้ราคาต่ำมาก เกษตรกรจึงมีวิธีการใน
การถนอมอาหารไว้หลายวิธี โดยเกษตรกรส่วนใหญ่นิยมนำมะม่วงมาดอง แต่ผลไม้ที่ดองนั้นมีราคาต่ำไม่คุ้มกับเวลาและแรงงานที่
เสียไป

แต่ในการที่เกษตรกรนำมะม่วงที่ดองแล้วมาแช่อิ่มแบบที่เป็นภูมิปัญญาเดิมที่เกษตรกรทำกันทั่วไป ต้องใช้ระยะเวลาในการ
ทำเป็นเวลานาน มีขั้นตอนยุ่งยาก ต้องทำซ้ำหลายรอบ จึงจะได้ผลผลิตที่ดีพอ และในการแช่อิ่มแต่ละครั้งจะได้ผลผลิตน้อย ซึ่ง
ผลผลิตที่ได้ออกมาจำหน่ายจึงไม่คุ้มกับระยะเวลา พลังงานเชื้อเพลิง และแรงงานที่เสียไปอีกเช่นกัน

ด้วยหลักการเหตุผลตามข้างต้น จึงเป็นที่มาของการคิดค้น "เครื่องช่วยทำผลไม้แช่อิ่ม" ของนักศึกษาจากวิทยาลัยอาชีวศึกษา
พิษณุโลก ประกอบด้วย คุณธีรศักดิ์ บุตรทอง คุณประกายดาว แก้งทองโต และ คุณภัทราภรณ์ ทองแป้น โดยมี อาจารย์ชวรวย
ภู่พุกก์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา โทร. (086) 931-9071

"เราคิดค้นเครื่องช่วยทำผลไม้แช่อิ่มขึ้นมาเพื่อช่วยเกษตรกรในพื้นที่ เพราะว่ามีปัญหาว่า เมื่อเก็บผลผลิตมะม่วงออกจำหน่าย
แล้ว จะมีมะม่วงที่ตกเกรดเหลืออยู่ ซึ่งเป็นส่วนที่จำหน่ายไม่ได้ แม้จะได้รับความช่วยเหลือจากจังหวัดพิษณุโลกและหน่วยงาน
ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการเข้ามาอบรมการแปรรูปเป็นมะม่วงดอง แต่ก็ประสบปัญหาว่าเกิดการเน่าเสีย ไม่สามารถจำหน่ายได้ จากสิ่ง
ที่เกิดขึ้น จึงกลายมาเป็นแนวคิดในการทำอย่างไร จึงจะช่วยเหลือเกษตรกรเหล่านั้นให้ได้" อาจารย์ชวรวย กล่าว

จากสิ่งที่เกิดขึ้นจึงมีการวิจัยหาวิธีการ โดยใช้หลักการถนอมอาหารเข้ามาช่วย จนได้เครื่องช่วยทำผลไม้แช่อิ่มดังกล่าวขึ้นมา

จุดเด่นของเครื่องช่วยทำผลไม้แช่อิ่มที่นักศึกษาของวิทยาลัยอาชีวะพิษณุโลกคิดค้นขึ้นมานี้ สามารถช่วยลดระยะเวลา ประหยัด
พลังงาน และแรงงานที่เสียไปในการทำผลไม้แช่อิ่ม

"โดยที่เครื่องช่วยทำผลไม้แช่อิ่มนี้ จะต้องสามารถแช่อิ่มผลไม้ให้เสร็จภายในครั้งเดียว และใช้ระยะเวลาในการทำผลไม้แช่อิ่ม
ให้สั้นลงกว่าเดิม จนทำให้ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับในเชิงพาณิชย์" คุณธีรศักดิ์ หนึ่งในนักศึกษาผู้คิดค้นบอก

จากที่ทางคณะผู้คิดค้นได้นำเครื่องช่วยทำผลไม้แช่อิ่มส่งไปให้กลุ่มเกษตรกรผู้แปรรูปผลไม้ในเขตตำบลหินลาด อำเภอวัดโบสถ์
จังหวัดพิษณุโลกทดลองใช้ ปรากฏว่า ได้ผลเป็นที่น่าพึงพอใจเป็นอย่างดี เกษตรกรสามารถประหยัดเวลาและมีรายได้เพิ่มมากขึ้น

โดยในวันนี้ เกษตรกรที่แปรรูปมะม่วงจำหน่ายสามารถมีรายได้จากการจำหน่ายมะม่วงแช่อิ่มถึงกิโลกรัมละ 100 บาท จากเดิม
หากขายเป็นมะม่วงดิบจะจำหน่ายได้ที่กิโลกรัมละ 3-5 บาท

"เครื่องช่วยทำผลไม้แช่อิ่มนี้ จะช่วยลดระยะเวลาในการทำจากเดิม 45 วัน เหลือเพียง 10 นาที เท่านั้น โดยใช้หลักการออสโมซีส
ด้วยการใช้แรงลมอากาศที่อัดเข้าไปเป็นตัวอัดน้ำเชื่อมเข้าสู่เนื้อผลไม้อย่างรวดเร็ว เมื่อครบตามเวลาก็จะได้ผลไม้แช่อิ่มที่สามารถ
นำไปจำหน่ายได้ และที่สำคัญในขั้นตอนของการทำผลไม้แช่อิ่มจะปราศจากการใช้สารเคมีใดๆ ทั้งสิ้น จึงเป็นอาหารที่ปลอดภัยต่อ
ผู้บริโภค"

และในเวลานี้ได้มีการพัฒนาเครื่องช่วยทำผลไม้แช่อิ่มในระบบอัตโนมัติเป็นผลสำเร็จแล้ว

"เครื่องที่พัฒนาออกมาใหม่นี้ การทำงานง่ายขึ้น เพียงเสียบปลั๊ก กดปุ่มทำงานเท่านั้น ทุกอย่างก็จะเสร็จเรียบร้อยภายในเวลา 10 นาที"
คุณธีรศักดิ์ บอกและกล่าวอีกว่า สำหรับเครื่องช่วยทำผลไม้แช่อิ่มนี้ สามารถใช้ได้กับผลไม้ทุกชนิดด้วย โดยผลไม้แช่อิ่มที่ทำด้วย
เครื่องดังกล่าว จะมีรสชาติและความกรอบมากขึ้น ช่วยทำให้ผลไม้แช่อิ่มที่ผลิตได้มีรสชาติดี เป็นที่นิยมของผู้บริโภค

ทั้งหมดนี้คือ อีกผลงานที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อเกษตรกร จากวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก



เปรียบเทียบขั้นตอนการทำมะม่วงแช่อิ่ม แบบภูมิปัญญาชาวบ้าน

หั่นมะม่วงเป็นชิ้นตามยาว หนาประมาณ 1 เซนติเมตร แช่ในน้ำปูนใส 2 ชั่วโมง ผสมน้ำเปล่า 600 กรัม น้ำตาลทราย 400 กรัม
นำขึ้นตั้งไฟให้เดือด ตั้งทิ้งไว้สักพักให้เย็น

ล้างมะม่วงที่แช่น้ำปูนใสให้สะอาด ใส่ในโหลแช่อิ่ม เทน้ำเชื่อมใส่ให้ท่วม จากนั้นน้ำเปล่าใส่ถุงมัดปากให้แน่น วางทับด้านบนเพื่อไม่ให้
มะม่วงลอยขึ้นเหนือผิวน้ำเชื่อม แช่ทิ้งไว้ 1 คืน

วันที่ 2 ให้กรองน้ำเชื่อมออกจากโหลแช่อิ่ม เติมน้ำตาลทรายลงไป 100 กรัม นำขึ้นตั้งไฟให้เดือด แล้วยกลงทิ้งไว้ให้เย็นเทใส่โหล
แช่อิ่มเช่นเดิม

วันที่ 3 และ 4 ทำเช่นเดียวกับวันที่ 2 โดยเติมน้ำตาลทรายวันละ 100 กรัมื แยกน้ำเชื่อมออกจากมะม่วง เป็นขั้นตอนสุดท้าย จึงได้
มะม่วงแช่อิ่ม





http://www.moac-info.net/Krabi/index.php?option=com_wrapper&view=wrapper&Itemid=140
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 31/01/2012 10:16 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,501. เลี้ยงปลาสลิดระบบใหม่

นายก อบต. หนองปลาไหล เพชรบุรี เลี้ยงปลาสลิดระบบใหม่ เป็นตัวอย่างให้ชุมชน





การพัฒนาอาชีพของคนในชุมชนให้เกิดความก้าวหน้าอย่างยั่งยืน เป็นเป้าหมายสำคัญของ คุณประสพชัย อารีวงศ์ นายกองค์การ
บริหารส่วนตำบล (อบต.) หนองปลาไหล อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ที่มีความอดทนและพยายามพัฒนาคุณภาพชีวิตคนในชุมชน
ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

คุณประสพชัย นายก อบต. ผู้มีความุ่งมั่นในการพัฒนาชุมชน เล่าว่า ตำบลหนองปลาไหล เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะ
สำหรับทำการเกษตรและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คนในตำบลส่วนใหญ่จะมีอาชีพทำการเกษตร (ทำนา ทำไร่ ทำสวน) เลี้ยงสัตว์และ
ประมง ซึ่งเป็นอาชีพที่ทำสืบทอดกันมาตั้งแต่รุ่นปู่ รุ่นย่า

"การประกอบอาชีพของคนในชุมชนส่วนใหญ่ที่มีอยู่นั้น ไม่ว่าจะเป็นอาชีพอะไรก็ตาม ยังขาดขั้นตอนและกระบวนการผลิตที่ถูกต้อง
หากยังไม่เริ่มที่จะแก้ไข้หรือพัฒนา คนในชุมชนก็จะมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ยากลำบาก ในฐานะที่ผมเป็น นายก อบต. ผู้ที่ต้องดู
แลสารทุกข์สุกดิบและความเป็นอยู่ของคนในชุมชนจึงมีแนวทางในการพัฒนาอาชีพให้มีความยั่งยืน"



เปลี่ยนแปลงระบบ สร้างต้นแบบสู่ชุมชน
การพัฒนาอาชีพตามแนวคิดของคุณประสพชัย จะคำนึงถึงอาชีพที่มีอยู่ในชุมชน ตลอดจนความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นในอาชีพนั้นๆ

"ผมสร้างต้นแบบอาชีพให้กับชุมชน โดยมองถึงสิ่งที่จะสามารถเกิดขึ้นได้ อย่างอาชีพประมงถือเป็นอาชีพหนึ่งในชุมชนที่ยังไม่มี
การพัฒนาในเรื่องของการเลี้ยงให้ได้ผลผลิตตามที่ควรจะเป็น ผมจึงตัดสินใจและเริ่มพัฒนาอาชีพการเพาะเลี้ยงปลาสลิดเพื่อสร้าง
แนวทางให้กับคนในชุมชนได้นำไปปฏิบัติ"

บนพื้นที่ 40 ไร่ ที่มีอยู่ถูกจัดทำเป็นแหล่งเรียนรู้ การเพาะเลี้ยงปลาสลิดระบบใหม่ ซึ่งคุณประสพชัยได้ไปศึกษาวิธีการผลิตมาจาก
จังหวัดราชบุรี

"ใช้เวลา 1 ปีเต็ม ในการศึกษาวิธีการเพาะเลี้ยงปลาสลิด ตั้งแต่การเตรียมบ่อจนถึงวิธีการจับออกจำหน่าย ทำให้ผมมีความชำนาญใน
การเพาะเลี้ยงและวิธีการขยายพันธุ์เพิ่มมากขึ้น สามารถนำมาถ่ายทอดให้กับคนในชุมชน ตลอดจนให้คำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับการ
เพาะเลี้ยงปลาสลิดระบบใหม่ได้"

"เดิมทีการเลี้ยงปลาสลิดของคนในชุมชนจะเป็นการเลี้ยงเลียนแบบธรรมชาติ หรือเลี้ยงแบบตามมีตามเกิด ซึ่งเป็นการเลี้ยงที่คนใน
ชุมชนนิยม เพราะว่าใช้เวลาในการเลี้ยงน้อย ประมาณ 10 เดือน ก็ได้ผลผลิต ซึ่งถือว่าเป็นช่วงเวลาที่สั้น ซึ่งปลาที่เลี้ยงจะเจริญเติบโต
ได้ไม่เต็มที่ ส่งผลทำให้ปลามีขนาดเล็กไม่ได้มาตรฐาน ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด ขายไปก็ได้ราคาน้อย ทำให้มีรายได้จากการเลี้ยง
น้อยตามไปด้วย" คุณประสพชัย กล่าว



สร้างต้นแบบการผลิต เลี้ยงแบบผสมผสาน
คุณประสพชัย สร้างต้นแบบการเพาะเลี้ยงปลาสลิดให้กับชุมชนโดยการเลี้ยงแบบผสมผสานอาศัยธรรมชาติในการช่วยเลี้ยง

"ผมใช้แปลงนารูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีชานบ่อกว้างอย่างน้อย 1 เมตร ในการเพาะเลี้ยง ภายในแปลงนาจะปลูกหญ้าเพื่อเตรียมไว้
สำหรับให้ปลาวางไข่ หลังจากที่พ่อแม่พันธุ์ปลาพร้อมที่จะว่างไข่แล้ว ผมจะเริ่มทำการตัดหญ้าและปล่อยน้ำเข้ารอไว้ ตกเย็นผมจะ
ปล่อยพ่อแม่พันธุ์ปลาลงไปในบ่อทันที ซึ่งปลาจะใช้เวลาวางไข่เพียง 1 คืน หลังจากที่วางไข่และฟักออกมาเป็นตัวแล้ว ผมจะทำการ
ถ่ายน้ำที่ปลายบ่อทิ้ง เพื่อป้องกันน้ำเน่า ซึ่งเป็นวิธีการที่ทำให้ลูกปลาสามารถอยู่รอดได้"

"พอออกเป็นตัวได้ 10 วัน ผมจะเริ่มให้อาหารกุ้ง เบอร์ 0 ผสมกับน้ำมันพืช เป็นเวลา 2 เดือน โดยจะให้วันเว้นสาม พอครบกำหนด
2 เดือนแล้ว เราก็ต้องคอยมาสังเกตอีกว่า จำนวนลูกปลาในบ่อมีปริมาณมากไปหรือเปล่า หากมีปริมาณมากไป เราจะจัดการโดยการนำ
ลูกปลาช่อนหรือปลากรายใส่ลงไป ในช่วงเดือนที่ 5 หรือ 6 ของการเพาะเลี้ยง เพื่อช่วยลดปริมาณลูกปลาลง แต่ก็ต้องดูด้วยว่าควรใส่
ปริมาณเท่าไร" คุณประสพชัย กล่าว



ขุนด้วยอาหาร ตัวโต เนื้อหนา
หลังจากเดือนที่ 5 หรือ 6 ของการเพาะเลี้ยง คุณประสพชัยจะเริ่มขุนโดยการให้อาหารหมู 12% และอาหารปลาสลิด 18% เป็นเวลา
9 เดือน วันละ 1 มื้อ โดยวิธีการให้อาหารนั้นจะใช้เรือนำอาหารไปเทไว้ตามหลักไม้ในจุดต่างๆ ภายในบ่อ ซึ่งการให้อาหารลักษณะนี้สามารถ
ทำให้เราทราบว่าหลักไหนควรจะใส่อาหารเท่าไร ซึ่งเป็นเทคนิคที่ทำให้ปลามีขนาดใหญ่ได้ตามเกณฑ์ เป็นที่ต้องการของตลาด

ปลาสลิดที่ส่งออกไปจำหน่ายทุกตัวจะมีขนาดที่ใหญ่และได้มาตรฐาน หนักประมาณ 7-10 ตัว ต่อกิโลกรัม สามารถนำมาทำ
อาหารได้หลากหลายรูปแบบ โดยเฉพาะการนำไปทอดรสชาติจะหวานมัน เนื้อแน่นมาก

สำหรับตลาดรับซื้อ ผมจะขายให้กับห้องเย็นจังหวัดสุพรรณบุรีที่เป็นลูกค้าประจำและเป็นลูกค้ารายใหญ่ เพราะในการจับแต่ละครั้งต้องใช้
ทั้งเวลาและแรงงานจำนวนมาก หากต้องมาจับในปริมาณที่น้อย จะเป็นการเสียเวลาและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย

รายละเอียดทั้งหมด อาจยังไม่สมบูรณ์พอ หากใครต้องการข้อมูลการเลี้ยงหรือต้องการขอคำแนะนำ ติดต่อไปได้ที่ คุณประสพชัย อารีวงศ์
นายก อบต. หนองปลาไหล โทรศัพท์ (032) 796-633, (081) 013-0330


http://www.moac-info.net/Krabi/index.php?option=com_wrapper&view=wrapper&Itemid=140
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 31/01/2012 10:42 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,502. ปลูกผักยกแคร่ สร้าง คลีนฟาร์ม ผักปลอดสารพิษ




เปิดแนวคิดเกษตรแผนใหม่ ปลูกผักยกแคร่ สร้าง คลีนฟาร์ม ผักปลอดสารพิษ


การทำเกษตรที่ดี จะต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ และกลวิธีในการดำเนินงานอยู่เสมอ เพื่อก้าวให้ทันเทคโนโลยีใหม่ๆ
ที่ไหลเลื่อนเข้ามาอยู่ตลอดเวลา เกษตรกรที่ประสบความสำเร็จจะไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ ต้องพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เพื่อ
ให้ก้าวไปสู่สิ่งดีๆ อันจะนำไปสู่ความสำเร็จตลอดเวลา เกษตรแผนใหม่แนวความคิดใหม่ๆ ของพี่น้องเกษตรกรทั่วประเทศ จึงมี
ความสำคัญต่อการปรับปรุงกลยุทธ์ในการทำเกษตรของตนเองเป็นอย่างมาก

อาจารย์วีระศักดิ์ วงษ์สมบัติ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ หลังจากเกษียณอายุราชการก็ผัน
ตัวเองเข้าสู่ภาคเกษตร จับงานการปลูกผักตามความใฝ่ฝันที่ต้องการจะทำแปลงผักที่ดี มีคุณภาพ ปลอดภัยจากสารเคมีอย่างแท้จริง
เพื่อเป็นโมเดลสำหรับพี่น้องเกษตรกรที่สนใจได้นำไปประยุกต์ทำกัน ผู้บริโภคจะได้บริโภคผักที่ดีมีคุณภาพ ปลอดภัยจากสารเคมี
มากขึ้น โดยการสร้าง "คลีนฟาร์ม" เป็นแปลงปลูกผักที่ได้มาตรฐาน GAP ผลิตผักปลอดภัยจากสารเคมีสู่ผู้บริโภค ประการสำคัญ
คือ กลวิธีการปลูกผักที่ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน นั่นก็คือ ปลูกผักบนกระบะปลูก หรือที่เรียกง่ายๆ ว่า "แคร่" ทำโรงเรือนมุง
หลังคา คล้ายผักกางมุ้ง แต่ไม่ใช่ผักกางมุ้ง เพราะวางระบบต่างๆ ให้ผักที่ปลูกในโรงเรือนเจริญเติบโตได้ดีและมีคุณภาพ

อาจารย์วีระศักดิ์ กล่าวว่า สร้าง "คลีนฟาร์ม" ปลูกผักบนแคร่มา 4 ปีแล้ว เริ่มทำมาก่อนที่จะเกษียณอายุราชการ รักการทำเกษตร
ตั้งแต่เด็กๆ มาแล้ว พอโตขึ้นได้ทำงานก็ยังสนใจงานการเกษตรตลอดเวลา มีโอกาสได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับงานเกษตรที่ใด ก็ให้ความ
สนใจเก็บความรู้สั่งสมไว้เรื่อยมา

สมัยที่เป็นเลขาฯ กรมอาชีวศึกษา ได้ดูแลวิทยาลัยเกษตรทั่วประเทศ ก็ให้ความสำคัญกับงานเกษตรมาตลอด พอเกษียณอายุ
ราชการก็อยากจะเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ จึงมาทำแปลงปลูกผัก ใช้ชื่อว่า "คลีนฟาร์ม" อยู่ที่อำเภอหนองแซง จังหวัดสระบุรี แห่งนี้

"ผมเคยไปทำงานทางภาคใต้ เห็นคนใต้ชอบทานผัก แต่เป็นการทานยอดผัก ส่วนใหญ่จะเป็นผักพื้นบ้านเสียมากกว่า ประเภทผักใบ
พวกผักกาด ผักคะน้า ผักสลัดนั้นไม่มีเลย"

อาจารย์วีระศักดิ์ กล่าวและว่า เคยถามเกษตรกรว่า ทำไม ไม่ปลูกผักใบรับประทานกัน ก็ได้รับคำตอบว่า

"ปลูกไม่ได้ ภาคใต้ฝนตกชุก ผักเสียหายหมด"

อาจารย์วีระศักดิ์ บอกว่า ตรงนี้เป็นการจุดประกายในความคิด และเป็นประเด็นปัญหาเรื่อยมาว่า "ทำไม ถึงปลูกผักหน้าฝนไม่ได้" พอ
มีเวลาว่างก็ศึกษาหาความรู้ หาคำตอบที่ค้างคาใจ ขณะเดียวกันก็เตรียมตัวที่จะเป็นเกษตรกรหลังเกษียณอายุราชการ

ครั้นเมื่อเกษียณอายุราชการมีเวลาว่างมาก จึงเริ่มทำเกษตรอย่างจริงๆ จังๆ ลงมือทำ "คลีนฟาร์ม" วัตถุประสงค์ต้องการผลิตผักดี
มีคุณภาพปลอดภัยจากสารเคมีอย่างแท้จริง ขณะเดียวกันก็ดูว่ามีเกษตรกรปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษจริงๆ มากน้อยแค่ไหน
ปรากฏว่ามีเกษตรกรปลูกผักปลอดสารจริงๆ น้อยมาก มีฟาร์มที่ได้มาตรฐาน GAP ผลิตผักปลอดภัย ไม่มีสารพิษตกค้างเพียงไม่
กี่ราย ตลาดผักปลอดภัยจากสารพิษยังมีอีกมาก จากการสำรวจพบว่ามีผู้ต้องการบริโภคผักปลอดภัยสารพิษมากมาย แต่ปริมาณ
ผักปลอดสารพิษนั้นมีน้อย ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด จึงคิดเข้าสู่ธุรกิจผักปลอดภัยจากสารพิษ

อาจารย์วีระศักดิ์ กล่าวต่อไปอีกว่า เมื่อตกลงใจเข้าสู่ธุรกิจการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ จึงเลือกเอาทำเลในเขตพื้นที่อำเภอหนอง
แซง จังหวัดสระบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีอยู่ก่อนแล้ว ประมาณ 80 ไร่ ทำเป็นฟาร์มปลูกผักขึ้นมา วัตถุประสงค์ต้องการทำฟาร์มปลูกผักให้
ได้มาตรฐานสากล เป็นที่ยอมรับตามมาตรฐาน GAP ที่ทางการกำหนดไว้ และเพื่อเป็นตัวอย่างแก่เกษตรกรที่คิดจะปลูกผักปลอดภัย
จากสารพิษส่งเสริมให้มีการปลูกผักที่ได้คุณภาพ เพื่อผู้บริโภคจะได้หันมาบริโภคผักเพื่อสุขภาพมากขึ้น

การปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษของ "คลีนฟาร์ม" เริ่มจากการคิดดัดแปลงธรรมชาติ โดยการเอาพลาสติคมาทำหลังคาโรงเรือน
ตัวโรงเรือนมุงด้วยมุ้งล้อมรอบ เป็นคอนเซ็ปต์ที่ต้องการปลูกผักในหน้าฝนให้ได้

อาจารย์วีระศักดิ์ กล่าวต่อไปอีกว่า พอคิดมาถึงตรงนี้ ก็คิดต่อเสริมให้ครบวงจรคือเมื่อทำหลังคาแล้ว ทำมุ้งแล้ว ก็ต้องดูอุณหภูมิใน
โรงเรือนด้วย พบว่า อุณหภูมิในโรงเรือนค่อนข้างร้อนอบอ้าวในตอนกลางวัน จึงหาทางออกแบบในโรงเรือนโดยการทำสเปรย์หมอก
บนหลังคา และบางโรงเรือนทำแบบหลังคา 2 ชั้น ในช่วงระหว่างแคร่ปลูกผัก ลดแสงแดดความร้อนที่จะลงมากระทบกับใบผัก ขณะ
เดียวกันก็ทำระบบน้ำโรงเรือนควบคู่ไปกับการจัดการเรื่องดิน

"การจัดการเรื่องดินนั้นสำคัญมาก ผมมองว่าในดินนั้นมีเชื้อโรค มีศัตรูของพืชมาก หลายๆ แห่ง ปลูกผักไม่กี่เที่ยวก็ต้องเลิกหรือเปลี่ยน
ที่ปลูก เหตุเพราะสภาพดินเริ่มเสื่อม ถ้าขืนปลูกซ้ำที่เดิมนานๆ ก็จะต้องใช้เคมีเข้าช่วย ซึ่งเราไม่ต้องการเคมีเลย จึงคิดนำดินขึ้นมา
ปลูกบนกระบะปลูก หรือที่เรียกกันว่า "แคร่" ซึ่งจะสามารถบริหารจัดการดินได้ดีกว่า ปลูกพืชบนผืนดินตามธรรมชาติ"

การทำเกษตรที่ดี จะต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ และกลวิธีในการดำเนินงานอยู่เสมอ เพื่อก้าวให้ทันเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ไหล
เลื่อนเข้ามาอยู่ตลอดเวลา เกษตรกรที่ประสบความสำเร็จจะไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ ต้องพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เพื่อให้ก้าวไปสู่สิ่งดีๆ
อันจะนำไปสู่ความสำเร็จตลอดเวลา เกษตรแผนใหม่แนวความคิดใหม่ๆ ของพี่น้องเกษตรกรทั่วประเทศ จึงมีความสำคัญต่อการปรับปรุง
กลยุทธ์ในการทำเกษตรของตนเองเป็นอย่างมาก



http://www.moac-info.net/Krabi/index.php?option=com_wrapper&view=wrapper&Itemid=140
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 31/01/2012 10:54 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,503. วิจัยมะพร้าวให้เป็นกะทิ


วิจัยมะพร้าวให้เป็นกะทิ เพิ่มมูลค่าผลผลิต งานเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นกะทิแท้ 100 เปอร์เซ็นต์

เมื่อมาอยู่ในร่มเงาของนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน และได้ออกไปทำข่าวตามต่างจังหวัด ได้พบเห็นสิ่งแปลกใหม่ ที่ไม่คิดว่าจะเป็น
ไปได้ โดยสิ่งเหล่านั้น เป็นผลงานการคิดสร้างสรรค์ และวิจัยของนักวิชาการเกษตร โดยเฉพาะสถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร

ปี 2532 มีโอกาสไปอีสาน เนื่องจากรถวิ่งเร็ว เห็นคล้ายๆ ชาวบ้านตากผ้าเช็ดตัวหรือผ้าอ้อม แต่ที่ไหนได้ เข้าไปใกล้ๆ กลายเป็นแผ่น
ยางพารา ที่เกษตรกรปลูกไว้ขาย คิดดูชาวบ้านเขาปลูกยางพาราขายเป็นการค้าแถบริมโขงกว่า 20 ปีมาแล้ว พอไปถึงสถานีวิจัยพืช
สวนนครพนม ได้ลิ้มรสทุเรียนชะนี เขาไม่ได้ปลูกเพียงต้นสองต้น แต่ปลูกเป็นแปลงใหญ่ งานนั้น ผอ.ปรีชา เชยชุ่ม เป็นผู้นำเสนอ
ทราบว่า ท่านย้ายไปหลายที่หลายแห่งในอีสาน คาดว่า ท่านน่าจะเกษียณแล้ว

เพราะตื่นเต้นกับงานวิจัย หลังๆ จึงแวะเวียนไปตามศูนย์วิจัยและสถานีวิจัยของกรมวิชาการเกษตร ที่กระจายอยู่ตามจังหวัดต่างๆ
นอกจากงานวิจัยเด่นๆ แล้ว ตามศูนย์และสถานีวิจัยเขายังมีบ้านพักที่เงียบสงบ ภูมิทัศน์สวยงาม สนนราคาที่พักนั้นก็ถูกมาก คืนหนึ่ง
ตกหัวละ 30 บาท ระยะหลังๆ ขึ้นมาเป็น 50 บาท ทุกวันนี้ บางแห่งเขาปรับเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร แต่คนยังรู้จักกันน้อย

ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร เป็นหน่วยงานวิจัยของกรมวิชาการเกษตร ที่สมบูรณ์แบบมาก ทีมงานเทคโนโลยีชาวบ้านแวะเวียนไปอยู่
เป็นประจำ นอกจากไปทำข่าวแล้ว ยังพาสมาชิกไปเสวนาเกษตรสัญจร ดูงานสมุนไพร งานมะพร้าว ถึงคราวนิตยสารเทคโนโล
ยีชาวบ้านจัดงาน "เกษตรมหัศจรรย์ฯ" ทีมงานยังขอความอนุเคราะห์ นำพันธุ์มะพร้าวมาโชว์ รวมทั้งพนักงานของศูนย์วิจัยฯ ก็
มาสาธิตการสกัดน้ำมันมะพร้าว

ผู้อำนวยการศูนย์คนปัจจุบันคือ คุณดำรงค์ พงศ์มานะวุฒิ ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร ตั้งอยู่อำเภอสวี งานวิจัยเด่นๆ ที่ทำมานานคือ เรื่อง
มะพร้าว

นอกจากที่สวีแล้ว งานวิจัยมะพร้าว ยังมีอยู่ที่คันธุลี อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่คันธุลี มีงานวิจัยมะพร้าวกะทิ หัวหน้าโครง
การ คือ คุณสมชาย วัฒนโยธิน จากสถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร ผู้วิจัยภาคสนามที่ผ่านมาคือ คุณสมเดช วรลักษณ์ภักดี
ปัจจุบันมี คุณปริญดา หรูนหีม รับผิดชอบโดยตรง


ผลงานวิจัยเด่น
นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน ปักษ์ที่ 483 วันที่ 15 กรกฎาคม 2553 เคยตีพิมพ์งานวิจัยมะพร้าวกะทิลูกผสมไปแล้วค่อนข้างละเอียด
แต่ขอนำเรื่องมาเล่าย้อนหลังอีกสักนิด

แต่เดิม นักวิชาการเกษตร มีงานวิจัยให้ได้มะพร้าวพันธุ์ดี ซึ่งก็ได้มาหลายสายพันธุ์ อาทิ ชุมพรลูกผสม 60, สวี 1, สวี 2 เป็นต้น ต่อมา
จึงมีงานวิจัยมะพร้าวให้ได้มะพร้าวกะทิ ซึ่งใช้เวลากว่า 10 ปี จึงประสบผลสำเร็จ ถือว่าเป็นงานวิจัยมะพร้าวกะทิชิ้นแรกของโลก เมื่อปี 2551
จึงได้รับรางวัลยอดเยี่ยมของกรมวิชาการเกษตร รวมทั้งงานวิจัยยอดเยี่ยมในวาระที่กรมวิชาการเกษตร ก่อตั้งครบ 36 ปี

แนวทางการวิจัย เขาได้นำเกสรมะพร้าวกะทิมาผสมกับมะพร้าวหลายๆ สายพันธุ์ แต่ที่พบว่ามีลักษณะดีเด่น คือคู่ผสมระหว่างมะพร้าวมลายู
สีเหลืองต้นเตี้ยxกะทิ และมะพร้าวน้ำหอมxกะทิ

เป็นลูกผสม 2 สายพันธุ์ แต่ละสายพันธุ์มีลักษณะดังนี้
1. มะพร้าวพันธุ์ลูกผสมกะทิ ระหว่างมลายูสีเหลืองต้นเตี้ยxกะทิ (YDK) เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงสุด จำนวน 3,378 ผล/ไร่/3 ปีแรก
คิดเป็นรายได้ 28,008 บาท/ไร่/3 ปีแรก มีศักยภาพในการเพิ่มผลผลิต/ไร่ ให้สูงขึ้นเป็น 34,002 บาท/ไร่/3 ปีแรก โดยเลือกแหล่ง
ที่ปลูกให้ปลอดจากมะพร้าวธรรมดา และให้มีรายได้สูงขึ้นเป็น 55,737 บาท/ไร่/3 ปีแรก โดยใช้เทคโนโลยีในการทำหมันและ
ช่วยผสมพันธุ์มะพร้าวด้วยละอองเกสรมะพร้าวกะทิพันธุ์แท้ พันธุ์มะพร้าวดังกล่าวจึงสามารถเสนอเป็นพันธุ์แนะนำของกรมวิชาการเกษตร
ในปี 2550

2. มะพร้าวพันธุ์ลูกผสมกะทิ ระหว่างพันธุ์น้ำหอมxกะทิ (NHK) ให้มะพร้าวลูกผสมกะทิที่ให้ผลผลิตเป็นมะพร้าวกะทิที่มีกลิ่นหอมทั้ง
น้ำและเนื้อ จำนวน 55 เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนต้นที่ปลูก ต้นมะพร้าวลูกผสมกะทิจำนวนดังกล่าวสามารถใช้พัฒนาพันธุ์มะพร้าวกะทิ
น้ำหอมต้นเตี้ย โดยใช้เทคนิคการผสมพันธุ์ คัดเลือกพันธุ์ และการเพาะเลี้ยงคัพภะมะพร้าว ในเบื้องต้นพันธุ์คู่ผสมระหว่างน้ำหอมxกะทิ
สามารถเสนอเป็นพันธุ์แนะนำของกรมวิชาการเกษตรได้อีก 1 พันธุ์

ลูกผสมทั้ง 2 สายพันธุ์ เมื่อนำไปปลูก จะให้ผลที่เป็นกะทิราว 25 เปอร์เซ็นต์ แต่หากมีการควบคุมเกสรจะได้มากกว่านี้

ตัวอย่าง...ในปีหนึ่งมะพร้าวติดผล จำนวน 100 ผล/ต้น/ปี ในจำนวนนี้ 25 ผล จะเป็นกะทิ ปกติมะพร้าวธรรมดา ขายกันเป็นมะพร้าว
แกง ผลละ 8 บาท จะมีรายได้ 800 บาท/ต้น/ปี หากปลูกแล้วได้มะพร้าวกะทิ 25 ผล หากขายผลละ 50 บาท จะได้เงินจากการขาย
มะพร้าวกะทิ 1,250 บาท บวกกับที่ไม่เป็นกะทิ 600 บาท เป็นเงิน 1,850 บาท ดังนั้น ผู้ปลูกมะพร้าวจะมีรายได้ต่อต้นเพิ่มขึ้น


เมื่อมาอยู่ในร่มเงาของนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน และได้ออกไปทำข่าวตามต่างจังหวัด ได้พบเห็นสิ่งแปลกใหม่ ที่ไม่คิดว่าจะเป็นไป
ได้ โดยสิ่งเหล่านั้น เป็นผลงานการคิดสร้างสรรค์ และวิจัยของนักวิชาการเกษตร โดยเฉพาะสถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร

ปี 2532 มีโอกาสไปอีสาน เนื่องจากรถวิ่งเร็ว เห็นคล้ายๆ ชาวบ้านตากผ้าเช็ดตัวหรือผ้าอ้อม แต่ที่ไหนได้ เข้าไปใกล้ๆ กลายเป็นแผ่น
ยางพารา ที่เกษตรกรปลูกไว้ขาย คิดดูชาวบ้านเขาปลูกยางพาราขายเป็นการค้าแถบริมโขงกว่า 20 ปีมาแล้ว พอไปถึงสถานีวิจัยพืช
สวนนครพนม ได้ลิ้มรสทุเรียนชะนี เขาไม่ได้ปลูกเพียงต้นสองต้น แต่ปลูกเป็นแปลงใหญ่ งานนั้น ผอ.ปรีชา เชยชุ่ม เป็นผู้นำเสนอ ทราบ
ว่า ท่านย้ายไปหลายที่หลายแห่งในอีสาน คาดว่า ท่านน่าจะเกษียณแล้ว

เพราะตื่นเต้นกับงานวิจัย หลังๆ จึงแวะเวียนไปตามศูนย์วิจัยและสถานีวิจัยของกรมวิชาการเกษตร ที่กระจายอยู่ตามจังหวัดต่างๆ นอก
จากงานวิจัยเด่นๆ แล้ว ตามศูนย์และสถานีวิจัยเขายังมีบ้านพักที่เงียบสงบ ภูมิทัศน์สวยงาม สนนราคาที่พักนั้นก็ถูกมาก คืนหนึ่งตกหัว
ละ 30 บาท ระยะหลังๆ ขึ้นมาเป็น 50 บาท ทุกวันนี้ บางแห่งเขาปรับเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร แต่คนยังรู้จักกันน้อย



http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=posting&sid=eb7286fcc98f1bf0597ecfd82c9d67d3
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 31/01/2012 11:25 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,504. หมูหลับ สูตรเลี้ยงแบบ ประหยัด





เราต้องเลี้ยงหมูให้นอนหลับ ถ้าหมูนอนไม่หลับ หมูก็จะไม่โต"

ชายสูงอายุร่างสันทัด ผู้เป็นประธานศูนย์เรียนรู้พอเพียงชุมชนบ้านมิตรอรัญ คุณลุงประหยัด มงคลเทพ บอกกล่าวถึงสิ่งสำคัญที่
นำพาไปสู่ความสำเร็จในการเลี้ยงหมูแบบเกษตรธรรมชาติ หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า การเลี้ยงหมูหลุม ที่สามารถสร้างรายได้
จากการจำหน่ายหมูและปุ๋ยคอกที่เป็นผลพลอยได้จากการเลี้ยงมากกว่า 50,000 บาท ต่อปี

และยังเป็นจุดการเรียนรู้ที่ศูนย์แห่งนี้ได้ถ่ายทอดให้กับเกษตรกรผู้สนใจ ได้เรียนรู้และนำไปปฏิบัติ เพื่อสร้างทั้งอาชีพและราย
ได้ให้มากขึ้น สามารถยังชีพได้อย่างยั่งยืนตลอดไป

เดินตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ศูนย์เรียนรู้พอเพียงชุมชนบ้านมิตรอรัญ ตั้งอยู่ บ้านเลขที่ 70 หมู่ที่ 4 ตำบลปงตำ อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ ได้เริ่ม
ดำเนินการ เมื่อปี พ.ศ. 2552 โดยได้มีการพัฒนาจากจุดสาธิตศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร ภายใต้การสนับ
สนุนของ คุณโชคดี อมรวัฒน์ นายอำเภอไชยปราการ และส่วนงานที่เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน

วัตถุประสงค์สำคัญในการก่อตั้ง เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้การเกษตรของชุมชนโดยให้เกษตรกรผู้สนใจเข้ามาเรียนรู้และเพิ่มทักษะ
อาชีพการเกษตรร่วมกันในลักษณะนำทำ นำพา ภายใต้การทำการเกษตรตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

โดยทั้งนี้จะเปิดโอกาสให้เกษตรกร ประชาชน ยุวเกษตรกร เยาวชน ผู้สนใจได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติจริงในการทำการเกษตร เพื่อ
ยกระดับการสร้างผลผลิตและรายได้ตามความต้องการของศักยภาพพื้นที่อย่างยั่งยืน

ในส่วนการดำเนินงาน ได้ทำในรูปแบบของคณะกรรมการ ประกอบด้วย คุณประหยัด มงคลเทพ ประธาน คุณบุญยืน
สวนพลู กรรมการ คุณปรานอม เพ็ชรชัย กรรมการ คุณธัญพิสิษฐ์ ศรีทูล กรรมการ คุณจันทร์ติ๊บ กันทะยานัง กรรมการ และ
คุณบุญนำ แสงนำชัย เลขานุการ

นอกเหนือจากกิจกรรมการเลี้ยงหมูแบบเกษตรธรรมชาติแล้ว ศูนย์เรียนรู้พอเพียงชุมชนบ้านมิตรอรัญยังมีกิจกรรมการเรียนรู้
ที่น่าสนใจอีกมากมาย ทั้งด้านพืช ประมง การอนุรักษ์ดินและน้ำ อาทิ การผลิตลำไยให้ได้คุณภาพมาตรฐาน การผลิตพืชผัก สมุน
ไพรให้ได้คุณภาพมาตรฐาน การทำการเกษตรแบบธรรมชาติตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

นอกจากนี้ ยังมีการเลี้ยงไก่พื้นเมือง การเลี้ยงปลา กบ แบบเกษตรธรรมชาติ ปลูกหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ ปลูกหญ้า
แฝกเพื่อขยายพันธุ์กล้าหญ้าแฝก การปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ เป็นต้น

ซึ่งในพื้นที่ 4 ไร่ ของคุณลุงประหยัดได้มีการใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่าภายใต้กิจกรรมต่างๆ ที่สามารถสร้างรายได้รวมกันมากกว่า
200,000 บาท ต่อปี ประกอบด้วย บ่อซีเมนต์สำหรับเลี้ยงกบ เลี้ยงรุ่นละ 350 ตัว โรงเรือนสำหรับเลี้ยงหมูหลุม เลี้ยงรุ่นละ 26
ตัว เล้าไก่พันธุ์พื้นเมือง เล้าเป็ด สำหรับเลี้ยงไว้บริโภคภายในครัวเรือนและขาย

พร้อมกันนี้ยังแบ่งใช้เป็นพื้นที่ผลิตปุ๋ยหมัก โดยการใช้เชื้อจุลินทรีย์ สารเร่ง พด.1 ในการช่วยย่อยสลายโดยวิธีการพลิกกลับกอง
ปุ๋ยหมัก โรงผลิตน้ำหมักอินทรีย์ชีวภาพ โดยการใช้เชื้อจุลินทรีย์สารเร่ง พด. 2 และผลิตน้ำหมักสมุนไพรสำหรับควบคุมโรคและ
ไล่แมลงศัตรูพืช โดยการใช้เชื้อจุลินทรีย์สารเร่ง พด.7 รวมถึงโรงเพาะเลี้ยงไส้เดือนเพื่อนำเอาน้ำหมักจากมูลของไส้เดือน
ไปรดราดพืชผัก และเตาผลิตน้ำส้มควันไม้ เพื่อนำมาฉีดพ่นไล่แมลงและควบคุมเชื้อโรคให้กับพืชผัก ผลไม้ที่ปลูก และคอกสัตว์เลี้ยง

พร้อมกันนี้ยังมีสระน้ำในไร่นาขนาดเล็ก ขนาดปริมาตร 1,260 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 2 บ่อ เพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้ภายในพื้นที่
ทำการเกษตรของศูนย์เรียนรู้ฯ และเลี้ยงปลากินพืช เช่น ปลานิล และปลาดุก จำนวน 4,000 ตัว พื้นที่ปลูกหญ้าแฝกเพื่อการ
อนุรักษ์ดินและน้ำรอบขอบสระน้ำ และพื้นที่ปลูกขยายพันธุ์หญ้าแฝก พื้นที่ปลูกไม้ผลแบบผสมผสาน เช่น ลำไย มะม่วง มะนาว
กล้วย พื้นที่ปลูกพืชผักสวนครัวและพืชสมุนไพรต่างๆ และพื้นที่ปลูกพืชปุ๋ยสด เช่น พืชตระกูลถั่วต่างๆ ประกอบด้วยถั่วพร้า ถั่วดำพุ่ม



ขายได้ทั้งตัวและปุ๋ย ปีละแสน
ก่อนที่คุณลุงประหยัดจะปรับเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงหมูมาสู่การเลี้ยงแบบหมูหลุม รูปแบบการเลี้ยงแต่เดิมจะเป็นเหมือนกับการ
เลี้ยงหมูทั่วไป ที่เน้นการเลี้ยงบนพื้นซีเมนต์

"แต่เลี้ยงแล้วก็มีปัญหาเรื่องกลิ่นไปรบกวนชาวบ้าน เดือดร้อนกันไปทั่ว จนมีการร้องเรียนไปที่เทศบาลตำบลปงตำ ซึ่งทางเทศบาล
ก็ได้เข้ามาช่วยดำเนินการแก้ไขปัญหาให้ ด้วยการเข้ามาสนับสนุนด้านการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเลี้ยง โดยพาไปศึกษาดูงาน
การเลี้ยงหมูหลุมของ อาจารย์พงษ์พันธ์ นันทขว้าง ที่จังหวัดลำพูน"

จากข้อมูลที่ได้รับมาเกี่ยวกับการเลี้ยงหมูหลุม ซึ่งมีทั้งวิธีการและรูปแบบที่ก่อให้เกิดประโยชน์ และลดปัญหาสิ่งแวดล้อม จึงทำให้
คุณลุงประหยัดตัดสินใจปรับเปลี่ยนระบบการเลี้ยงมาสู่การเลี้ยงหมูหลุม และได้ประสบความสำเร็จมาจนถึงทุกวันนี้

"เลี้ยงหมูหลุมนอกจากหมดปัญหาเรื่องกลิ่นแล้ว เรายังได้ปุ๋ยหมักอินทรีย์ด้วย ซึ่งนอกจากจะ เราต้องเลี้ยงหมูให้นอนหลับ ถ้าหมู
นอนไม่หลับ หมูก็จะไม่โต"
ชายสูงอายุร่างสันทัด ผู้เป็นประธานศูนย์เรียนรู้พอเพียงชุมชนบ้านมิตรอรัญ

คุณลุงประหยัด มงคลเทพ บอกกล่าวถึงสิ่งสำคัญที่นำพาไปสู่ความสำเร็จในการเลี้ยงหมูแบบเกษตรธรรมชาติ หรือที่เรียกกันโดย
ทั่วไปว่า การเลี้ยงหมูหลุม ที่สามารถสร้างรายได้จากการจำหน่ายหมูและปุ๋ยคอกที่เป็นผลพลอยได้จากการเลี้ยงมากกว่า 50,000 บาท
ต่อปี

และยังเป็นจุดการเรียนรู้ที่ศูนย์แห่งนี้ได้ถ่ายทอดให้กับเกษตรกรผู้สนใจ ได้เรียนรู้และนำไปปฏิบัติ เพื่อสร้างทั้งอาชีพและรายได้ให้
มากขึ้น สามารถยังชีพได้อย่างยั่งยืนตลอดไป

เดินตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ศูนย์เรียนรู้พอเพียงชุมชนบ้านมิตรอรัญ ตั้งอยู่ บ้านเลขที่ 70 หมู่ที่ 4 ตำบลปงตำ อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ ได้เริ่มดำ
เนินการ เมื่อปี พ.ศ. 2552 โดยได้มีการพัฒนาจากจุดสาธิตศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร ภายใต้การสนับสนุน
ของ คุณโชคดี อมรวัฒน์ นายอำเภอไชยปราการ และส่วนงานที่เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน

วัตถุประสงค์สำคัญในการก่อตั้ง เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้การเกษตรของชุมชนโดยให้เกษตรกรผู้สนใจเข้ามาเรียนรู้และเพิ่มทักษะ
อาชีพการเกษตรร่วมกันในลักษณะนำทำ นำพา ภายใต้การทำการเกษตรตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

โดยทั้งนี้จะเปิดโอกาสให้เกษตรกร ประชาชน ยุวเกษตรกร เยาวชน ผู้สนใจได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติจริงในการทำการเกษตร เพื่อยก
ระดับการสร้างผลผลิตและรายได้ตามความต้องการของศักยภาพพื้นที่อย่างยั่งยืน

ในส่วนการดำเนินงาน ได้ทำในรูปแบบของคณะกรรมการ ประกอบด้วย คุณประหยัด มงคลเทพ ประธาน คุณบุญยืน สวนพลู
กรรมการ คุณปรานอม เพ็ชรชัย กรรมการ คุณธัญพิสิษฐ์ ศรีทูล กรรมการ คุณจันทร์ติ๊บ กันทะยานัง กรรมการ และ คุณบุญนำ
แสงนำชัย เลขานุการ

นอกเหนือจากกิจกรรมการเลี้ยงหมูแบบเกษตรธรรมชาติแล้ว ศูนย์เรียนรู้พอเพียงชุมชนบ้านมิตรอรัญยังมีกิจกรรมการเรียนรู้ที่น่า
สนใจอีกมากมาย ทั้งด้านพืช ประมง การอนุรักษ์ดินและน้ำ อาทิ การผลิตลำไยให้ได้คุณภาพมาตรฐาน การผลิตพืชผัก สมุนไพร
ให้ได้คุณภาพมาตรฐาน การทำการเกษตรแบบธรรมชาติตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง



http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=posting&sid=eb7286fcc98f1bf0597ecfd82c9d67d3


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 31/01/2012 6:28 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 31/01/2012 6:17 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,505. ศักยภาพทางพันธุกรรม ขุมทรัพย์ที่รอการพัฒนา






พืชพลังงานที่มีศักยภาพใช้ในการผลิตเอทานอล ประกอบด้วย อ้อย/กากน้ำตาล และมันสำปะหลัง สำหรับไบโอดีเซล คือ
ปาล์มน้ำมัน

การเพิ่มปริมาณผลผลิตพืชพลังงานโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตหรือการเพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่เป็นสิ่งจำเป็น ดังเห็นได้
จากกรณีบราซิลและออสเตรเลียมีผลผลิตอ้อยต่อพื้นที่สูงกว่าไทย ทำให้ต้นทุนการผลิตเอทานอลจากอ้อยของทั้งสองประเทศ
ต่ำกว่าไทย และต้นทุนของบราซิลถือว่าต่ำที่สุดในโลก

อ้อย มันสำปะหลัง และปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่มีศักยภาพทางพันธุกรรมที่จะให้ผลผลิตสูงสุดถึง 45 ตัน/ไร่ 13 ตัน/ไร่ และ
15 ตัน/ไร่ ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับผลผลิตเฉลี่ยทั้งประเทศของอ้อย มันสำปะหลัง และปาล์มน้ำมันของไทยปัจจุบัน
มีค่า 11.8 ตัน/ไร่ 3.5 ตัน/ไร่ และ 2.8 ตัน/ไร่ ตามลำดับ

อย่างไรก็ดี เมื่อดูศักยภาพทางพันธุกรรมของพันธุ์อ้อย หรือมันสำปะหลังของไทยที่เป็นพันธุ์แนะนำ เมื่อปลูกภายใต้สภาวะแวด
ล้อมที่เหมาะสม พบว่า ให้ผลผลิตต่อพื้นที่สูงกว่าผลผลิตเฉลี่ยของประเทศ ตัวอย่างเช่น มันสำปะหลังพันธุ์ KU 50 ระยอง 9 และ
ระยอง 7 สามารถให้ผลผลิตได้สูงถึง 6 ตันต่อไร่ ตามลำดับ เช่นเดียวกับผลการทดสอบอ้อยในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ
(Multilocation test) ที่พบว่า มีอ้อยหลายสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตมากกว่า 20 ตันต่อไร่ จากศักยภาพพันธุกรรมของพันธุ์
แนะนำของไทย แสดงให้เห็นว่า การเลือกใช้พันธุ์ที่เหมาะสม รวมถึงการใช้การจัดการเข้าช่วย เช่น การให้น้ำ และปุ๋ย สามารถ
เพิ่มผลผลิตเฉลี่ยต่อพื้นที่ของพืชพลังงานของไทย และในระยะยาวสามารถที่จะใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการปรับปรุงพันธุ์พืช
เพื่อให้ผลผลิตต่อพื้นที่ เข้าสู่ค่าสูงสุดทางทฤษฎีของพืชแต่ละชนิดได้

จากข้อมูลพื้นที่เพาะปลูกและศักยภาพของพันธุกรรมพืชพลังงานไทยแสดงให้เห็นว่า มีความเป็นไปได้มากที่ประเทศไทยจะ
เพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่และมีปริมาณมากพอที่จะบรรลุเป้าหมายด้านพลังงานของประเทศโดยไม่จำเป็นต้องเพิ่มพื้นที่ปลูกใน
กรณีของอ้อยและมันสำปะหลัง แต่ยังมีความจำเป็นต้องเพิ่มพื้นที่ปลูกของปาล์มน้ำมันอยู่บ้าง

ทั่วโลกตื่นตัวลงทุนวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพด้านพืชพลังงาน
เทคโนโลยีชีวภาพได้รับการยอมรับจากนานาประเทศว่าเป็นเทคโนโลยีที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาประเทศ จากประสบการณ์
ของการปรับปรุงพันธุ์พืชอาหารโลกเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของมนุษย์ พบว่าในระยะเวลา 50 ปี (ปี พ.ศ.2493-2543)
การปรับปรุงพันธุ์เพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่ของพืชอาหารของโลกได้มากถึง 3 เท่าตัว

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีชีวภาพช่วยย่นระยะเวลาในการปรับปรุงพันธุ์แบบดั้งเดิม จากมากกว่า 10 ปีเหลือเพียงครึ่งหนึ่ง
โดยไม่ต้องรอให้ลักษณะที่ต้องการแสดงออกมาก่อน (เช่น ให้ต้นโต ติดเมล็ด) เพื่อเลือกต้นที่ต้องการ เนื่องจากสามารถ
ตรวจว่ามียีนที่ควบคุมลักษณะดังกล่าวอยู่ในต้นอ่อนหรือไม่ ถ้าไม่ทราบตำแหน่งของยีนที่ต้องการอาจใช้ตำแหน่งยีนเครื่อง
หมายที่อยู่ใกล้กับยีนที่ต้องการมากที่สุด วิธีนี้เรียกว่า “Marker Assisted Selection” หรือ MAS

สำหรับกรณีพืชในกลุ่มประชากรเดียวกันหรือกลุ่มสปีชีส์ใกล้เคียงกันที่มีความหลากหลายต่ำ ไม่สามารถหาพันธุกรรมที่ต้องการ
ในกลุ่มเดียวกันหรือใกล้เคียงกันได้ จำเป็นต้องหาพันธุกรรมที่ต้องการจากสิ่งมีชีวิตกลุ่มอื่น และเนื่องจากเป็นกลุ่มที่ต่างกันจึง
ไม่สามารถผสมพันธุ์และคัดเลือกได้ตามปกติ จึงใช้ “เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรม” ซึ่งมีข้อได้เปรียบ คือ นำเฉพาะยีนที่ต้องการ
ใส่เข้าไป ทำให้การปรับปรุงพันธุ์ค่อนข้างง่าย เร็ว และจำเพาะ แต่ข้อจำกัด คือต้องทำการค้นหายีน ทราบโครงสร้างและหน้าที่
ของยีน โดยทั้งนี้ การใช้เทคโนโลยีจีโนมและหลังจีโนมศึกษาหน้าที่และกลไกการทำงานของเซลล์ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างเซลล์
และสิ่งแวดล้อม และการทำงานทั้งระบบ สามารถค้นหายีนและไขความลับสิ่งมีชีวิต ตัวอย่างการศึกษาเปรียบเทียบการแสดง
ออกของยีนในสภาวะต่างๆ เช่น สภาวะปกติกับสภาวะที่ได้รับความเครียด ทำให้ทราบว่ามียีนอะไรบ้างที่ตอบสนองต่อสภาวะ
ที่เปลี่ยนไป ซึ่งนอกจากทำให้เข้าใจกลไกการตอบสนองของพืชต่อสภาวะที่ไม่เหมาะสมแล้ว ยังนำไปสู่การค้นหายีนในพืช
ที่ศึกษา เพื่อนำไปใช้ในการตัดต่อพันธุกรรมและใช้ประโยชน์ในพืชอื่นๆ ต่อไป

ทิศทางการวิจัยและพัฒนาพันธุวิศวกรรมเพื่อการผลิตพลังงานชีวภาพของโลก แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก เน้นพัฒนาพืชดัด
แปลงพันธุกรรมให้มีผลผลิตต่อพื้นที่เพิ่มขึ้นโดยพัฒนาพืชให้มีลักษณะต้านทานโรค/แมลงศัตรูพืช เช่น พัฒนาปาล์มต้านทาน
แมลง อ้อยต้านทานหนอนกอ และพัฒนามันสำปะหลังต้านทานไวรัส การพัฒนาพืชที่ทนทานต่อภาวะที่ไม่เหมาะสม เช่น อ้อยทน
แล้ง การพัฒนาพืชให้มีประสิทธิภาพในการสังเคราะห์แสงสูง เพื่อให้มีการเติบโตเร็วและให้ผลผลิตสูง มีลักษณะที่เอื้อต่อการเก็บ
เกี่ยว เช่น ให้ผลผลิตพร้อมกัน หรือสุกแก่พร้อมกัน รวมทั้ง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในพืชให้เหมาะสมเป็นพลังงานทาง
เลือก เช่น เปลี่ยนแปลงโครงสร้างสารในพืชเพื่อให้หมักเป็นเอทานอลง่ายขึ้น ตัวอย่าง อ้อยมีปริมาณน้ำตาลสูง Duckweed
ย่อยเซลลูโลสให้เป็นน้ำตาลในต้นพืชเอง เป็นต้น และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสารในพืชให้เป็นไบโอดีเซล

กลุ่มที่สอง เน้นพัฒนาการผลิตจุลินทรีย์ดัดแปลงพันธุกรรม การผลิตเอนไซม์เพื่อเปลี่ยนวัตถุดิบจากน้ำตาลและเซลลูโลสให้อยู่
ในรูปน้ำตาลหมักง่าย เป็นวิธีการที่ทั่วโลกให้ความสนใจ อย่างไรก็ดี กระบวนการพัฒนาพันธุวิศวกรรมพืช ให้ความสำคัญอย่าง
มากต่อการประเมินความปลอดภัยทางชีวภาพด้านสิ่งแวดล้อมและอาหารก่อนที่จะมีการวางตลาดหรือส่งเสริมให้เกิดการใช้

ภาครัฐ และภาคเอกชนทั่วโลกให้ความสำคัญกับการลงทุนวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพด้านเชื้อเพลิงชีวภาพ สหรัฐอเมริกา เช่น กระ
ทรวงพลังงาน และกระทรวงเกษตรฯ สนับสนุนทุนวิจัยจีโนมมันสำปะหลัง สถาบัน J. Craig Venture ลงทุนวิจัยจีโนมละหุ่ง
ซึ่งอยู่ในกลุ่มเดียวกับมันสำปะหลัง บราซิล ลงทุนเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อพัฒนาสายพันธุ์อ้อยมายาวนานกว่า 20 ปี มีสายพันธุ์อ้อย
140 สายพันธุ์ ออสเตรเลีย ใช้ MAS พัฒนาพันธุ์อ้อยที่สะสมน้ำตาลได้เร็ว อ้อยจีเอ็มโอมีปริมาณซูโครสสูง เป็นต้น มาเลเซีย
บริษัท Asiatic Centre for Genome Technology Sdn Bhd (ACGT) ของมาเลเซียร่วมมือกับบริษัทสหรัฐอเมริกา
Synthetic Genomics (SGI) ประกาศความสำเร็จของการทำ first draft จีโนมปาล์มน้ำมัน เมื่อเดือนพฤษภาคม 2551

โดยทั้งนี้ ทิศทางการลงทุนดังกล่าวมีแนวโน้มของการทำวิจัยในลักษณะเป็นเครือข่ายระหว่างสถาบัน เช่น The Global Cassava
Partnership (GCP-21) เป็นความร่วมมือระหว่าง 21 ประเทศ จากทวีปอเมริกา ยุโรป แอฟริกา และเอเชีย ภายใต้โครงการ the
Global Cassava Development Strategy IFAD/FAO ต้องการยกระดับผลผลิตมันสำปะหลังของโลกด้วยการใช้เทคโนโลยี
ชีวภาพเป็นเครื่องมือสำคัญ


http://rescom.trf.or.th/display/keydefaultp.aspx?id_colum=164
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 31/01/2012 6:35 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,506. เติมสีสันให้เส้นไหมด้วย “แบคทีเรีย”


อาจารย์ มรภ.พิบูลสงคราม เพิ่มทางเลือกใหม่ในการย้อมเส้นไหม ใช้แบคทีเรียพบได้ในดินย้อมสีสวยให้ผ้าไหม ประหยัดพื้นที่
เพราะใช้พื้นที่เพาะเลี้ยงในแล็บไม่กี่ตารางเมตร ต่างจากการใช้พืชและสัตว์เป็นแหล่งย้อมสีที่ต้องใช้พื้นที่มากและต้องรอ
ฤดูกาลเหมาะสม

สืบเนื่องจากการนำเสนอผลงานวิจัยภายในงาน “การนำเสนอผลงานวิจัยแห่งชาติ 2554” (Thailand Research Expo 2011)
ที่จัดขึ้นโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ระหว่าง 26-30 ส.ค.54 ที่ผ่านมา ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการ
ออนไลน์ ได้เห็นผ้าไหมสีสวยซึ่งไม่ได้ย้อมขึ้นจากพืชหรือสัตว์ แต่เป็นผ้าไหมที่ย้อมสีจาก “แบคทีเรีย” ทำให้เราสนใจเข้าไป
พูดคุยกับเจ้าของผลงานดังกล่าว

นางนฤมล เถื่อนกูล อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาจุลชีววิทยา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
จ.พิษณุโลก เจ้าของผลงานผ้าไหมย้อมสีจากแบคทีเรีย บอกเราว่าได้ใช้สีจากแบคทีเรียในกลุ่มของแอคติโนมัยซีต (Acti-
nomycetes) ซึ่งเป็นกลุ่มแบคทีเรียที่มีลักษณะคล้ายเชื้อรา (bacteria like-fungi) เพื่อย้อมเส้นใยไหมโดยมีเป้าหมาย
เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชน ซึ่งปัจจุบันกลุ่มแม่บ้านในชุมชนได้ใช้ต้นครามและครั่งซึ่งเป็นแมลงชนิดหนึ่งเพื่อเป็น
แหล่งสีย้อมผ้าไหม

“เราไม่ต้องใช้พื้นที่มากในการเพาะเลี้ยงเชื้อแบคทีเรีย หมายถึงเราพื้นที่ในห้องแล็บแค่ไม่กี่ตารางเมตร ก็สามารถเพาะเชื้อ
แบคทีเรียขึ้นมาได้ แต่ถ้าเปรียบเทียบกับพืชกับสัตว์แล้ว สำหรับพืชเราต้องปลูกพืชทดแทน ต้องตัดไม้ทำลายป่า สำหรับสัตว์เรา
ต้องเพาะเลี้ยงซึ่งใช้ระยะเวลานาน ส่วนแบคทีเรียเราเพาะเลี้ยงจากห้องแล็บและไม่ต้องรอฤดูกาลเหมือนพืชและสัตว์ เราใช้พื้นที่
น้อย ทำได้ตลอดและต่อเนื่อง” นางนฤมลกล่าว

ส่วนการคัดเลือกแบคทีเรียมาเพาะเลี้ยงเพื่อใช้ย้อมสีผ้าไหมนั้น นางนฤมลกล่าวว่าคัดเลือกแบคทีเรียจากดิน ซึ่งดินทุกส่วนในประเทศ
ไทยจะมีเชื้อแบคทีเรียกลุ่มนี้อาศัยอยู่ แต่เธอเจาะจงว่าต้องการเชื้อจากดินในรังต่อหมาร่า, ดันรังปลวก และดินรังมด เนื่องจากยังไม่
มีใครศึกษาวิจัยแบคทีเรียในดินกลุ่มนี้มากนัก โดยอาจเป็นการศึกษาเพื่องานวิจัยในด้านอื่น แต่ยังไม่มีใครทำวิจัยเพื่อย้อมสี

เมื่อถามถึงแนวคิดในการใช้แบคทีเรียย้อมสีผ้าไหม นางนฤมล กล่าวว่าก่อนหน้านี้สนใจทำงานวิจัยเรื่องการใช้เชื้อราผสมในอาหาร
คนหรือสัตว์ แต่ต้องหยุดงานวิจัยดังกล่าวลงเพราะไม่สามารถพัฒนาต่อได้ จากนั้นสนใจการศึกษาเกี่ยวกับการทำยาปฏิชีวนะ แต่พบ
ว่าแบคทีเรียกลุ่มนี้สามารถสร้างสีสันบนอาหารเลี้ยงเชื้อได้หลายเฉดสี จึงเกิดแนวคิดว่าน่าจะนำสีที่ได้ไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้
และคิดว่าจะนำสีมาย้อมเส้นไหม เส้นฝ้ายหรือขนสัตว์ต่างๆ ให้เป็นผลงานที่จับต้องได้ และประสบความสำเร็จในการย้อมสีเส้นฝ้าย

“วิธีการเพาะเลี้ยงแบคทีเรียนั้นเราจะนำดินจากแหล่งธรรมชาติซึ่งในที่นี้เราสนใจดินรังแมลง มาทำการเพาะเลี้ยงเชื้อ โดยจะได้เชื้อ
หลากหลายทั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา แต่เราจะเลือกเฉพาะกลุ่มแบคทีเรียที่มีเม็ดสี คัดแยกออกมาเก็บไว้อย่างดี โดยแบคทีเรียกลุ่ม
แอคติโนมัยซีตนั้นมีอยู่หลายสายพันธุ์และแต่ละสายพันธุ์จะให้เฉดสีแตกต่างกัน เมื่อได้เชื้อบริสุทธิ์แล้วจะนำไปเพาะเลี้ยงในธัญพืช
ซึ่งมีต้นทุนถูกกว่าอาหารเลี้ยงเชื้อทั่วไป และต้องเป็นธัชพืชที่ไม่มีสี เพื่อไม่ให้ปนกับเม็ดสีจากแบคทีเรีย และแบคทีเรียจะปล่อยสีออก
มาเคลือบเม็ดธัญพืช จากนั้นนำธัชพืชไปอบให้เชื้อตายแล้ว แล้วบดเอาเม็ดสีออกมา เมื่อได้เม็ดสีที่ปะปนกับเม็ดธัชพืชที่บดละเอียด
แล้วจะใช้เอทานอลความเข้มข้น 70% สกัดเอาสารละลายสีที่นำไปแช่ย้อมสีผ้าไหมได้” นางนฤมลอธิบาย

ส่วนความกังวลว่าแบคทีเรียจะเป็นอันตรายต่อผู้สวมใส่ผ้าไหมนั้นอาจารย์จาก มรถ.พิบูลสงครามชี้แจงว่าเชื้อแบคทีเรียตายตั้งแต่ขั้นตอน
การอบและในขั้นตอนการสกัดสีด้วยเอทานอล 70% แล้ว และทีมวิจัยย้อมผ้าไหมด้วยสารละลายสีที่แบคทีเรียปล่อยออกมาเท่านั้น
นอกจากนี้กรรมวิธีในการย้อมยังใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติทั้งหมดเพื่อความปลอดภัยของผู้ย้อม

นางนฤมลบอกว่าประโยชน์จากงานวิจัยนี้คือเราได้แหล่งสีย้อมใหม่จากธรรมชาติ โดยทีมวิจัยได้เริ่มวิจัยการใช้ประโยชน์จาก
แบคทีเรียกลุ่มแอคติโนมัยซีตมาตั้งแต่เดือน ต.ค.2551 และได้ปรับปรุงงานวิจัยเรื่อยมา ตอนนี้สามารถสร้างเฉดสีได้ทั้งหมด 6
เฉดสี คือ สีม่วง สีเหลือง สีเขียว สีชมพู สีเทาและสีส้ม ซึ่งต้องมีการวิจัยหาเชื้อจากแหล่งธรรมชาติเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มเฉดสีให้มากขึ้น

“ในการพัฒนาโครงงานวิจัยสีย้อมเส้นใยจากแอคติโนมัยซีตนั้น ต้องปรับปรุงการผลิตสีให้เพิ่มขึ้น ตอนนี้มีปัญหาที่ยังไม่สามารถ
ผลิตสีในปริมาณมากๆ ได้ และยังมีปัญหาในเรื่องภาชนะที่ใช้เก็บสี ซึ่งตอนนี้เราใช้ถุงพลาสติก นอกจากนี้ยังต้องอาศัยนักวิจัยรุ่นใหม่
อย่างเช่นนักศึกษามาช่วยอย่างต่อเนื่อง ตอนนี้เราไม่มีนักศึกษาปริญญาโทมาทำวิจัย และนักศึกษาที่มาทำวิจัยก็อยู่กับเราไม่นาน
แค่ปีถึงสองปี และมีแต่นักศึกษาปริญญาตรีปี 3-4 เท่านั้นที่มาทำวิจัยกับเรา” นางนฤมลกล่าว


http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9540000109059
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 31/01/2012 6:42 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,507. สกัดสารจากเห็ดนางรม ทำผลิตภัณฑ์ลดริ้วรอย


วว.โชว์ผลิตภัณฑ์ลดริ้วรอยสกัดจากเห็ดนางรม กระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ซึมเข้าผิวหนังง่าย ทั้งยังต้านอนุมูลอิสระได้ เผยจากการ
ทดสอบสามารถลดริ้วรอยได้ 70% พร้อมให้บริษัทเอกชนนำไปต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ต่อไป

นางเกษมศรี หอมชื่น ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(วท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ฝ่ายเภสัชและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ วว. ได้ประสบผลสำเร็จวิจัยและพัฒนา “ผลิตภัณฑ์ลดริ้วรอยจากสารสกัด
ธรรมชาติเห็ดนางรมทองและนางรมดอย” (เพียว สมูท : Pure-Smooth) ปลอดสารเคมี 100 % จำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่
ผลิตภัณฑ์เซรั่มบำรุงผิวลดริ้วรอย (Pure - Smooth Anti-wrinkle Serum) และ ผลิตภัณฑ์แผ่นผ้ามาร์คหน้า (Pure -
smooth Anti-wrinkle Facial Mask)

นางภัทรา อะหมะดี พีรซะหีด นักวิชาการ ฝ่ายเภสัชและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ วว. กล่าวว่า ผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 นั้นได้สารสกัดมาจาก
เห็ดนางรมทองและเห็ดนางรมดอย ซึ่งเห็ดนางรมทองมีศักยภาพในการกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนต่อผิวหนัง สามารถช่วยต่อต้าน
อนุมูลอิสระได้ ส่วนเห็ดนางรมดอยมีคุณสมบัติเฉพาะทำให้เกิดการซึมผ่านเข้าผิวหนังได้ดี เมื่อนำมาผสมผสานกันจึงทำให้เกิด
ประสิทธิภาพสูงสุด สามารถช่วยลดริ้วรอยและทำให้ผิวหน้าเรียบเนียน

นางภัทรา เล่าต่อว่า ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เป็นความสำเร็จจากการดำเนินโครงการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เวชสำอางต้านริ้วรอยจาก
สมุนไพร ที่เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2550-2554 ในชุดโครงการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เวชสำอางจากสมุนไพร ซึ่งมีการควบ
คุมคุณภาพ ตั้งแต่วัตถุดิบจนพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ ผ่านการทดสอบความปลอดภัย ไม่ก่อการระคายเคืองต่อดวงตา ผิวหนัง ทั้งยังไม่
ก่อความเป็นพิษเฉียบพลันต่อผิวหนังอีกด้วย

“ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้นำไปทดสอบกับผู้ใช้จริง ปรากฏว่าเมื่อใช้ไป 1 เดือน สามารถลดริ้วรอยได้ถึง 70% ถือว่ามีประสิทธิ
ภาพสูงมาก และเหมาะกับผู้ที่มีอายุ 20 ปี ขึ้นไป เนื่องจากการสร้างคอลลาเจนจะลดลง ทำให้ผิวมีความยืดหยุ่นน้อยลงจนเกิดริ้ว
รอยตามมา” นางภัทราให้ข้อมูล

จากงานวิจัยชิ้นนี้ทำให้ทราบได้ว่า นอกจากจะนำเห็ดมาบริโภคเพื่อคุณค่าทางโภชนาการแล้ว ยังสามารถนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์
เวชสำอางเพื่อช่วยลดการใช้เคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศได้อีกด้วย

โครงการดังกล่าวได้รับความร่วมมือกับมูลนิธิโครงการศูนย์วิจัยและพัฒนาเห็ดเขตหนาวดอยปุย จ.เชียงใหม่ ในการนำเห็ดมาทำการ
วิจัย และพร้อมเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกรในมูลนิธิโครงการหลวงและกลุ่มเกษตรกรทั่วไป ให้เพาะ
เห็ดนางรมทองและเห็ดนางรมดอยในระดับเชิงพาณิชย์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และกระจายรายได้ให้เกษตรกรต่อไปในอนาคต

อย่างไรก็ดี ผลิตภัณฑ์ลดริ้วรอยจากเห็ดนางรมนี้ ได้ยื่นจดสิทธิบัตรเรียบร้อยแล้ว โดยทาง วว.ได้นำมาเปิดตัวระหว่างการแถลง
ข่าวผลสำเร็จวิจัยและพัฒนา “ผลิตภัณฑ์ลดริ้วรอยจากสารสกัดธรรมชาติเห็ดนางรมทองและนางรมดอย” เมื่อวันที่ 10 พ.ค.54 ณ
ห้องประชุมชั้น 5 อาคารถ่ายทอดเทคโนโลยี วว. เทคโนธานี คลองห้า จ.ปทุมธานี

ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจหรือบริษัทเอกชน สามารถติดต่อนำผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้ โดยสอบถามรายละเอียดผลิต
ภัณฑ์หรือขอรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี ได้ที่ โทร.0-2577-9300 หรือ 0-2577-9000 เว็บไซต์ www.tistr.or.th
อีเมล์ tistr@tistr.or.th

นอกจากนี้ ประชาชนทั่วไปสามารถมาชมผลิตภัณฑ์ลดริ้วรอยจากเห็ดนางรมได้ที่งาน "เปิดโลกทัศน์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
48 ปี วว." ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 19-21 พ.ค 54 ตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น. ที่ วว. เทคโนธานี ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.
ปทุมธานี.


http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9540000057565
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 31/01/2012 6:51 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,508. แปรรูป “ลองกอง” เป็นสารพัดของกิน


ก.วิทย์เผยความสำเร็จแปรรูป “ลองกอง” ครบวงจรช่วยเหลือชาวใต้ได้เป็นสารพัดของกิน ทั้งน้ำผลไม้ลองกอง เยลลี่ลองกอง
รสเยี่ยม ลองกองลอยแก้ว แยมลองกอง ลองกองอบแห้ง พร้อมจับมือธนาคารอิสลามถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่พี่น้อง 5 จังหวัด
ชายแดน พร้อมความช่วยเหลือด้านทุนและการตลาด

ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวถึงความสำเร็จของโครงการวิจัยและพัฒนาผลิต
ภัณฑ์แปรรูปจากลองกอง ซึ่งดำเนินการโดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) จนได้เครื่องล้างและ
ปลิดขั้วลองกอง เครื่องคั้นน้ำลองกอง และผลิตภัณฑ์แปรรูปลองกองเป็นเครื่องดื่มน้ำลองกอง เยลลี่ลองกอง แยมลองกอง
ลองกองลอยแก้วและลองกองแช่อิ่มอบแห้ง

ผลงานดังกล่าวเป็นการสนองพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อครั้งเสด็จเยี่ยมประชาชนในจังหวัด
ชายแดนภาคใต้และทรงพบปัญหาลองกองล้นตลาด จึงทรงมีพระราชดำริให้วิจัยและพัฒนาการแปรรูปลองกองเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิต
ทางการเกษตร และทางกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้สนองแนวพระราชดำริดังกล่าวโดยมอบหมายให้ วว.ดำเนินโครงการ

หลังจากนี้ทางกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ จะนำเทคโนโลยีไปถ่ายทอดแก่เกษตรกรและผู้ประกอบการใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้
และร่วมมือกับธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยซึ่งจะดูแลเรื่องเงินทุนและการตลาดให้ เนื่องจากมีเครือข่ายลูกค้าและทราบดีว่า
เกษตรกรหรือผู้ประกอบการรายใดที่มีศักยภาพพร้อมที่รับการถ่ายทอด

ด้านนายธีรศักดิ์ สุวรรณยศ กรรมการผู้จัดการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย กล่าวภายหลังจากลงนามความร่วมมือกับ
กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีแปรรูปลองกองให้แก่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า ปัญหาของ 5 จังหวัดชาย
แดนใต้คือมีผลผลิตแต่ไม่มีคนกล้สเข้าไปเก็บหรือรับซื้อ ซึ่งไม่เพียงแค่ปัญหาเรื่องลองกอง แต่ยังมีปัญหากับมังคุดและเงาะอีกด้วย

ในส่วนของลองกองนั้นธนาคารให้ความช่วยเหลือเกษตรกรในรุปของการประกันราคา โดยเมื่อไรที่ลองกองราคาต่ำกว่ากิโล
กรัมละ 14 บาทจะเข้าไปรับซื้อ แต่วิธีช่วยเหลือที่ยั่งยืนที่สุดคือการหาผลผลิตที่เป็นยอมรับป้อนแก่ตลาด ถ้าทำได้เกษตรกรก็จะ
กลับเข้าไปในสวน ดูแลตกแต่งให้ได้ผลผลิตมากขึ้น อันเป็นหนทางในการช่วยเหลือเกษตรกรที่ดีกว่ารับซื้ออย่างเดียว

ด้าน นางเกษมศรี หอมชื่น ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กล่าวว่า ในช่วงแรกจะทำ
น้ำลองกองเป็นหลัก ซึ่งนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย ทั้งน้ำลองกอง แยมลองกอง เยลลี่ลองกอง แต่คงไม่หยุดแค่นี้
ซึ่งต่อไปจะทำให้เหลือของเสียน้อยที่สุด โดยจะวิเคราห์หาว่าเปลือกแลเมล็ดลองกองนั้นมีฤทธิ์ในทางยาหรืออาหารอะไรบ้าง

พร้อมกันนี้ ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ ได้พูดคุยกับ นายสัมพันธ์ ศรีสุริยวงษ์ นักวิชาการฝ่ายเทคโนโลยี
อาหาร วว. ผู้พัฒนาเครื่องจักสำหรับล้างและปลิดขั้วลองกองและเครื่องคั้นน้ำลองกอง โดยเขากล่าวว่าในกระบวนการแปรรูป
ลองกองเข้าสู่ระดับอุตสาหกรรมยังต้องมีเครื่องปอกเปลือกลองกอง ซึ่งเป็นเรื่องยาก เนื่องจากโดยปกติเมื่อปอกลองกองด้วยมือ
ก็ยากอยู่แล้ว อีกทั้งลูกลองกองไม่กลม และยังมีโจทย์ว่าต้องปอกให้เร็วและไม่ให้ยางปนเปื้อน ทั้งนี้คาดว่าจะทำได้แล้วเสร็จประ
มาณปลายปี 2554



http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9530000141638
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 31/01/2012 6:58 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,509. เปิดตัว "เครื่องตรวจไวรัสกุ้ง" วัดค่าด้วยแสงแม่นยำกว่าตาเห็น


เนคเทคร่วมมือไบโอเทคพัฒนาเครื่องตรวจไวรัสกุ้ง ใช้เทคนิควัดด้วยแสงให้ผลแม่นยำมากกว่ามองด้วยตา เหมาะแก่ใช้งานภาค
สนาม และช่วยกำจัดปัญหาตั้งแต่คัดเลือกพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ก่อนปล่อยลงบ่อเลี้ยงกุ้ง ลดความสูญเสียแก่เกษตรกร นักวิจัยเผย
พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่เอกชน

ไวรัสทอร่า (Taura Syndrome Virus: TSV) และไวรัสตัวแดงดวงขาว (White Spot Syndrome Virus: WSSV)
เป็นปัญหาสำคัญต่ออุตสาหกรรมเลี้ยงกุ้งขาวและกุ้งก้ามกราม และโรคจากไวรัสดังกล่าวก่อให้เกิดการสูญเสียต่ออุตสาหกรรมเลี้ยง
กุ้งมากที่สุด โดยสาเหตุการระบาดของไวรัสนั้นเกิดได้ทั้งจากการนำเข้าพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ที่ติดเชื้อ หรือใช้ลูกกุ้งที่ติดเชื้อ และการมี
พาหะอยู่ในบ่อเลี้ยงกุ้ง

เพื่อลดการสูญเสียที่จะเกิดในบ่อกุ้งจึงจำเป็นต้องตรวจสอบการติดเชื้อไวรัสทั้ง 2 ชนิด ตั้งแต่ในขั้นตอนคัดเลือกพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์
กุ้งก่อนปล่อยลงบ่อ หรือตรวจสอบในระยะเป็นลูกกุ้ง 15 วัน โดยเทคนิคแลมพ์ (LAMP: Loop-mediated isothermal am-
plification) เป็นเทคนิคหนึ่งที่ใช้เพิ่มปริมาณดีเอ็นเอเพื่อตรวจหาพันธุกรรมของไวรัส แล้วระบุได้ว่ากุ้งติดเชื้อไวรัสหรือไม่จากการ
วัดความขุ่นของสารละลายหลังนำชิ้นส่วนของกุ้งไปตรวจสอบ

ความขุ่นจากปฏิกิริยาของเทคนิคแลมพ์ที่เกิดขึ้นนี้จะเป็นตัวชี้วัดปริมาณการติดเชื้อไวรัส ยิ่งขุ่นมากการติดเชื้อยิ่งมาก หากแต่การ
ประเมินความขุ่นด้วยตานั้นอาจคลาดเคลื่อนได้ โดยเฉพาะเมื่ออยู่กลางแจ้งหรือในพื้นที่เลี้ยงกุ้งที่มีแสงแดดจ้านั้นอาจทำให้ผู้ประเมิน
มองไม่เห็นความขุ่นที่เกิดขึ้นเพียงเล็กน้อยได้ จึงเกิดเป็นความร่วมมือระหว่างศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
(ไบโอเทค) และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา ในการพัฒนาเครื่องตรวจ
วัดความขุ่น

ดร.อดิสร เตือนตรานนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายหน่วยปฏิบัติการวิจัยนาโนอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องกลจุลภาค เนคเทค และหัวหน้าทีมวิจัย
เครื่องตรวจวัดความขุ่นอธิบายกับทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ว่า เครื่องตรวจวัดดังกล่าวมีหลอดแอลอีดีสีแดงซึ่งความ
ขุ่นดูดซับได้ดีที่สุดส่องตัวอย่างและมีตัวรับสัญญาณสำหรับประเมินความขุ่นมาก-น้อย และภายในเครื่องยังมีตัวควบคุมอุณหภูมิไว้ที่
63 องศาเซลเซียสเพื่อให้น้ำยาของชุดตรวจทำงานได้ดี ซึ่งการทดสอบด้วยเทคนิคแลมพ์นี้ต้องใช้เครื่องควบคุมอุณหภูมิอยู่แล้วแต่
เครื่องดังกล่าวไม่สามารถวัดความขุ่นได้

เมื่อเทียบกับเครื่องพีซีอาร์ (PCR) สำหรับใช้ตรวจหาสารพันธุกรรมที่มีราคา 600,000-700,000 บาทแล้ว เครื่องตรวจวัด
ความขุ่นที่พัฒนาโดยเนคเทคนี้มีถูกกว่าหลายเท่าโดยมีราคาประมาณ 100,000 บาท ซึ่ง ดร.อดิสร ระบุว่าเหมาะสำหรับเกษตรกร
ที่มีการรวมกลุ่มกันเพื่อใช้เครื่องตรวจนี้ และเครื่องตรวจวัดนี้ยังพร้อมถ่ายทอดแก่ภาคเอกชนเพื่อผลิตจำหน่ายต่อ โดยคาดว่าราคา
เครื่องน่าจะถูกลงตามปริมาณที่ผลิตมากขึ้น

ด้าน ดร.วรรณสิกา เกียรติปฐมชัย นักวิจัยจากไบโอเทคและหัวหน้าทีมวิจัยที่รับผิดชอบในส่วนของน้ำยาสำหรับทำปฏิกิริยาในเทคนิค
แลมพ์ บอกแก่ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ว่า เทคนิคดังกล่าวเป้นเทคนิคที่พัฒนาขึ้นดยชาวญี่ปุ่นซึ่งใช้เวลาในการ
ทดสอบเร็วกว่าการทดสอบแบบพีซีอาร์ที่ใช้เวลาถึงครึ่งวัน โดยขั้นตอนของการเพิ่มดีเอ็นเอของไวรัสโรคกุ้งในปฏิกิริยาแลมพ์นั้นใช้เวลา
ในการทำปฏิกิริยาเพียง 30 นาที จากนั้นนำผลที่ได้ไปตรวจวัดหาการติดเชื้อ

เดิมใช้วิธีตรวจด้วยแผ่นวุ้น (gel elcetrophoresis) ซึ่งใช้เวลาตรวจ 1 ชั่วโมงและต้องตรวจภายในห้องปฏิบัติการเท่านั้น ต่อมาพัฒนา
เป็นการตรวจวัดความขุ่นด้วยแผ่นสตริป (strip) ซึ่งใช้เวลา 30 นาที แต่วิธีนี้เมื่อคำนวณค่าใช้เป็นจำนวนปฏิกิริยาแล้วมีราคาสูงกว่าการ
ตรวจด้วยเครื่องที่พัฒนาโดยเนคเทค เนื่องจากต้องใช้สารเคมีบางชนิดที่มีราคาแพง

อย่างไรก็ตาม ดร.วรรณสิกาแนะนำว่าหากเกษตรกรมีการรวมกันเพื่อซื้อชุดตรวจแล้ว การใช้เครื่องตรวจที่พัฒนาโดยเนคเทคนั้นคุ้มค่า
กว่า และหากเป็นเกษตรกรรายย่อยที่ต้องการตรวจหาการติดเชื้อไวรัสในบ่อกุ้งแล้วการใช้แผ่นสตริปตรวจจะเหมาะสมกว่า แต่ทั้งสองวิธีนี้
ให้ผลการทดสอบที่แม่นยำใกล้เคียงกัน



http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9530000134069
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 54, 55, 56 ... 72, 73, 74  ถัดไป
หน้า 55 จากทั้งหมด 74

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©