-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-* นานาสาระเรื่องเกษตร.
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * นานาสาระเรื่องเกษตร.
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* นานาสาระเรื่องเกษตร.
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 44, 45, 46 ... 72, 73, 74  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 21/11/2011 12:43 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลำดับเรื่อง...



1,237. ต้นไม้ดูดซับสารระเหยอินทรีย์ดีกว่าที่คิดไว้
1,238. พัฒนาพันธุ์ข้าว ต้านทานโรค ทนน้ำท่วมฉับพลัน
1,239. การทำปุ๋ยหมัก (Composting)
1,240. ผลิตภัณฑ์กันยุง จากการสกัดสมุนไพร

1,241. กาแฟ จากแก้วสู่ไบโอดีเซล
1,242. กรรมวิธีการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพขององค์การนาซ่า
1,243. หญ้ายักษ์ วัสดุใหม่เพื่อเอทานอล
1,244. สศก. วิกฤตน้ำท่วม หนุ่มสาวคืนถิ่น สร้างงานเกษตรร่วมแสน
1,245. อินโดนีเซีย ตั้งเป้า ผลิตกาแฟรายใหญ่ ในปี 2559

1,246. เงื่อนไขใหม่นำเข้า 'มะพร้าว' จากอินโดฯ - มาเลย์...
1,247. เกษตรฯ แนะผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและอาหาร ปรับตัวสู้คู่แข่ง
1,248. สารกระเทียม ฆ่าแอฟลาทอกซิน ในพริกแห้ง-ถั่วลิสง
1,249. กษ.พลิกวิกฤติน้ำท่วม เร่งผลิตเมล็ดข้าวพันธุ์
1,250. 9 มาตรการแก้ราคายางตก

1,251. ผลไม้ปี ตามฤดูกาล
1,252. เกษตรฯ ตั้งค่าธรรมเนียม การประกอบธุรกิจปุ๋ยใหม่
1,253. เศรษฐศาสตร์ นำสู่ศึกจารกรรม (ส้มฟลอริดา สหรัฐ)
1,254. การปลูกลิ้นจี่ในประเทศต่าง ๆ
1,255. เที่ยวฟาร์มเกษตรอินทรีย์ ไร่ปลูกรัก ราชบุรี

1,256. “สภาเกษตรแห่งชาติ” เดี้ยง ! กฤษฎีกาตีความ ยังเกิดไม่ได้
1,257. ชาวบ้านวังน้ำเขียวเผยเหตุขายที่ ส.ป.ก. เพราะหนี้ทับ
1,258. นักวิชาการ เปิดประเด็น “บัตรเครดิตชาวนา” ทำลายเกษตรอินทรีย์
1,259. “แม่โจ้โพลล์” เผยปัญหาโครงการหลวง สะท้อนภาพเกษตรกรรมไทย
1,260. ส.คลังสมองฯ ฉายภาพอนาคตเกษตรไทยน่าห่วง

1,261. โมเดล จัดการน้ำฯ กระเสียว คว้ารางวัล ยูเอ็น

---------------------------------------------------------------------------------------------------







1,237. ต้นไม้ดูดซับสารระเหยอินทรีย์ดีกว่าที่คิดไว้



ภาพ : คาดไม่ถึง ต้นไม้ดูดซับสารระเหยอินทรีย์ดีกว่าที่คิดไว้ถึง 4 เท่า



เป็นที่ทราบกันดีว่า ‘ต้นไม้’ ช่วยลดมลพิษในอากาศโดยการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เร็ว ๆ นี้นักวิจัยรายงานว่า ไม่เพียงแต่ต้นไม้จะช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศเท่านั้น ไม้บางชนิดเมื่ออยู่ในภาวะเครียดจะช่วยกำจัดสารเคมีที่เป็นมลพิษในอากาศได้อย่างรวดเร็ว

Thomas Karl จากสถาบันวิจัยชั้นบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐใน Colorado กล่าวว่า พืชช่วยทำความสะอาดอากาศได้มากกว่าที่เราคิด นอกจากนั้นยังช่วยกำจัดสารพิษชนิดสำคัญในอากาศอีกด้วย

ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นก๊าซที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และมีคุณสมบัติในการกักเก็บความร้อน นานมาแล้วเราทราบกันดีว่าพืชช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ อย่างไรก็ตามจากการศึกษาล่าสุดทำให้พบว่า พืชบางชนิดมีส่วนช่วยลดสารระเหยอินทรีย์ที่มีชื่อว่า oxygenated volatile organic compoundsหรือเรียกย่อ ๆ ว่า oVOCs จากการวิจัยพบว่าไม้ผลัดใบสามารถดูดซับ oVOCs ได้เร็วกว่าที่คาดไว้ถึง 4 เท่า

สารระเหยชนิดนี้มีผลระยะยาวต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ก่อตัวขึ้นในชั้นบรรยากาศจากสารไฮโดรคาร์บอนและสารเคมีที่เกิดขึ้นทั้งจากธรรมชาติและมนุษย์ เช่น อาจเกิดมาจากพืช ยานพาหนะและวัสดุก่อสร้าง เป็นต้น
สมาพันธ์โรคปอดอมเริกาเผยว่า oVOCs มีคุณสมบัติในการรวมตัวกับไนโตรเจนออกไซด์แล้วเปลี่ยนเป็นโอโซน อีกทั้งยังเป็นตัวการก่อให้เกิดโรคปอดอักเสบ ปอดบวมและก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้

ทีมวิจัยอธิบายว่า ไม้ผลัดใบสามารถดูดซับก๊าซพิษเหล่านี้ได้ดีอยู่แล้วในสภาพธรรมชาติที่เป็นป่าทึบ โดยการดูดซับ oVOCs จะเกิดขึ้นถึง 97% บริเวณสูงสุดของเรือนยอดที่เรียกว่า canopy

และในสภาวะเครียด เช่น ต้นไม้เป็นแผล หรืออยู่ในสภาวะที่เป็นพิษ เช่นบริเวณที่มีโอโซนมาก พวกมันจะเพิ่มอัตราการดูดซับก๊าซพิษเหล่านี้ แสดงให้เห็นว่าการดูดซับ oVOCs เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเมแทบอลิซึมหรือกระบวนการเผาผลาญอาหารอันซับซ้อนเสมือนเป็นบริการกำจัดมลพิษที่ธรรมชาติมอบให้นั่นเอง

รายงานการศึกษานี้ตีพิมพ์ในวารสาร Science และมีการอภิปรายที่เมือง Nagoya ประเทศญี่ปุ่น เพื่อหาทางออกให้กับปัญหาด้านการลดลงของความหลากหลายทางชีวภาพในปี 2020



ที่มา: http://www.abc.net.au/science/articles/2010/10/22/3045862.htm

อ้างอิง: http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/ecology/chapter2/chapter2_airpolution8.htm




http://www.vcharkarn.com/vnews/153367


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 24/11/2011 7:01 am, แก้ไขทั้งหมด 5 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 21/11/2011 12:48 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,238. พัฒนาพันธุ์ข้าว ต้านทานโรค ทนน้ำท่วมฉับพลัน





ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เผยว่า กระทรวงวิทย์ได้มอบหมายให้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เร่งหาวิธีแก้ไขปัญหาและความเสียหายของภาคเกษตรกรรม โดยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ซึ่งประสบผลสำเร็จในการใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้ทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยโรคและแมลงศัตรูพืชต่างๆ สำหรับพันธุ์ข้าว ได้แก่

สายพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ทนน้ำท่วมฉับพลัน,
สายพันธุ์ กข 6 ต้านทานโรคไหม้,
สายพันธุ์ข้าวแก้วเกษตรต้านทานโรคไหม้
ข้าวหอมชลสิทธิ์ทนน้ำท่วมฉับพลัน

ร่วมกับสหกรณ์การเกษตรผักไห่ จำกัด ภายใต้โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีในระดับชุมชน ซึ่งเขตพื้นที่ ต.ผักไห่ ประสบปัญหาน้ำท่วมขังทุกปี

ดังนั้น จึงขอแนะนำพันธุ์ข้าวหอมชลสิทธิ์ทนน้ำท่วมฉับพลันเป็นพันธุ์ที่เหมาะสมและ ให้เมล็ดพันธุ์คุณภาพดี ขยายพันธุ์และส่งไปยังตลาดต่างๆเพิ่มรายได้ ให้กับชุมชน.



http://www.vcharkarn.com/vnews/153359
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 21/11/2011 1:14 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,239. การทำปุ๋ยหมัก (Composting)





การทำปุ๋ยหมักเป็นการย่อยวัตถุอินทรีย์ให้เป็นฮิวมัส (humus) ด้วยจุลิทรีย์ จุลินทรีย์หลักๆ ได้แก่ เชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย วัตถุอินทรีย์ได้แก่ เศษอาหาร เศษหญ้า กระดาษ เป็นต้น กระบวนการการหมักปุ๋ยสามารถทำได้ 2 แบบ คือ 1. แบบใช้อากาศ และ 2. แบบไม่ใช้อากศ



การทำปุ๋ยหมักแบบใช้อากาศ(aerobic compost) จะอาศัยจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนช่วยในการย่อยวัตถุอินทรีย์ โดยจะต้องมีสภาวะที่เหมาะสมต่อการทำงานดังนี้
1. อากาศมีออกซิเจน
2. วัตถุอินทรีย์จะต้องมีอัตราส่วนของไนโตรเจน 1 ส่วนต่อคาร์บอน 30-70 ส่วน
3. จะต้องมีน้ำอยู่ประมาณ 40-60 เปอร์เซ็นต์
4. มีออกซิเจนให้จุนลินทรีย์ใช้เพียงพอ

ถ้าขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งใน 4 สิ่งนี้การทำปุ๋ยหมักแบบใช้อากาศไม่เกิดขึ้น ผลผลิตที่ได้จากการทำปุ๋ยหมักแบบใช้อากาศ คือ ไอน้ำคาร์บอนไดออกไซต์ และวัตถุอินทรีย์ที่ย่อยสลายแล้วที่เรียกว่า ฮิวมัส (humus)


การทำปุ๋ยหมักแบบไม่ใช้อากาศ (anaerobic compost) จะอาศัยจุลทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนย่อยวัตถุ จุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนสามารถอยู่ได้โดยไม่มีออกซิเจน และสามารถย่อยวัตถุอินทรีย์ที่มีอัตราส่วนไนโตรเจนสูงกว่า และอัตราส่วนคาร์บอนต่ำกว่าการทำปุ๋ยหมักแบบใช้การใช้อากาศและการย่อยสามารถเกิดขึ้นได้ที่ความชื้นสูงกว่า ผลผลิตของการย่อยสลายวัตถุอินทรีย์คือ แกสมีเทน (methane gas) และวัตถุอินทรีย์ที่ย่อยสลานแล้ว ถ้าต้องการนำแกสีมเทนมาใช้เป็นเชื้อเพลิงการทำปุ๋ยหมักต้องเป็นระบบปิดที่มีความดีน


การใช้ปุ๋ยหมัก (ฮิวมัส) กับดินจะช่วยปรับปรุงโครงสร้างดินและเนื้อดิน ช่วยเพื่มโพรงอากาศ ช่วยระบายน้ำและอากาศดีขึ้น และเพิ่มการอุ้มน้ำของดิน ลดการอัดตัวของดิน ช่วยให้ต้นไม้ต้านทานความแล้งดีขึ้น และเป็นอาหารให้จุลินทรีย์ที่ช่วยรักษาสภาพดินให้สมบรูณ์และสมดุล และธาตุไนโตรเจน โพแทสเซียม และฟอสฟอรัสยังผลิตขึ้นตามธรรมชาติด้วยการเลี้ยงจุลินทรีย์เหล่านี้


การทำปุ๋ยหมักแบบใช้อากาศ (Aerrobic Compost)
การทำปุ๋ยหมักเป็นการเลียนแบบระบบย่อยสลายที่เกิดขึ้นช้า ๆ ตามธรรมชาติในผืนป่าซึ่งมีอินทรีย์สารแตกต่างกันหลายร้อยชนิดรวมทั้งจุลินทรีย์ รา หนอน และแมลง แต่เราสามารถเร่งการย่อยสลายนี้ให้เร็วขึ้นได้ด้วยการควบคุมสภาวะแวดล้อมให้เหมาะสมที่สุด ปัจจัยหลักที่มีผลต่อการทำปุ๋ยหมักคือ อุณหภูมิ ความชื้น อากาศ และวัตถุอินทรีย์ วัตถุอินทรีย์เกือบทั้งหมดใช้ทำปุ๋ยหมักได้ ส่วนผสมของวัตถุอินทรีย์ที่ดีสำหรับการทำปุ๋ยหมักจะต้องประกอบด้วยอัตราส่วนผสมที่ถูกต้อระหว่างวัตถุอินทรีย์ที่มีคาร์บอนมาก (carbon-rich materrials) หรือเรียกว่า วัตถุสีน้ำตามได้แก่ (browns) และวัตถุอินทรีย์ที่มีไนโตรเจนมาก (notrogan-rich materials) ที่เรียกว่า วัตถุสีเขียว (greens) วัตถุสีน้ำตาลได้แก่ ใบไม้แห้ง ฟางข้าว เศษไม้ เป็นต้น ส่วนวัตถุสีเขียวได้แก่ เศษหญ้า เศษพืชผักจากครัว เป็นต้น อัตราส่วนผสมที่ดีจะทำให้การทำปุ๋ยหมักดสร็จเร็วและไม่มีกลิ่นเหม็น ถ้ามีส่วนของคาร์บอนมากเกินไปจะทให้ย่อยสลายช้ามาก และถ้ามีไนโตรเจนมากปะทำให้เกิดกลิ่นเหม็น คาร์บอนจะเป็นตัวให้พลังงานแก่จุลินทรีย์ ส่วนไนโตรเจนจะช่วยสังเคราะห์โปรตีน การผสมวัตถุอินทรีย์ที่แตกต่างกันหรือใช้อัตราส่วนผสมที่แตกต่างกันจะทำให้อัตราย่อยสลายแตกต่างกันไปด้วย


ปัจจัยต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำปุ๋ยหมัก

การทำปุ๋ยหมักให้ได้คุณภาพที่ดีขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้
1. อุณหภูมิ : อุณหภูมิในกองปุ๋ยหมักมีผลโดยตรงกับกิจกรรมย่อยสลายทางชีวภาพของจุลทรีย์ ยิ่งอัตราการเผาผลาญอาหาร (metabolic rate) ของจุลินทรีย์มากขึ้น (เจริญเติบโตมากขึ้น) อุณหภูมิภายในระบบหมักปุ๋ยก็จะสูงขึ้นในทางกลับกันถ้าอัตราการเผาผลาญอาหารลดลง อุณหภูมิของระบบก็ลดลง จุลินทรีย์ที่ย่อยสลายวัตถุอินทรีย์และก่อให้เกิดความร้อนในกองปุ๋ยหมักมี 2 ประเภท คือ

1. แบคมีเรียชนิดเมโซฟิลิก (mesophilic bacteria) ซึ่งจะมีชีวิตเจริญเติบโตและแพร่พันธุ์ได้ที่อุณหภูมิระหว่าง และ

2. แบคทีเรียชนิดเทอร์โมฟิลิก(thermophilic bacteria) ซึ่งเจริญเติบโตดีที่อุณหภูมิระหว่าง

การรักษาอุณหภูมิของระบบไว้เกินกว่า เป็นเวลา 3-4 วัน จะช่วยทำลายเมล็ดวัชพืช ตัวอ่อนแมลงวัน และโรคพืชได้ ถ้าอุณหภูมิของระบบสูงถึง การย่อยสลายจะเร็วขึ้นเป็นสองเท่าของที่อุณหภูมิ ถ้าอุณหภูมิเกิน ประชากรของจุลินทรีย์จะทำลายบางส่วน ทำให้อุณหภูมิของระบบลดลง อุณหภูมิของระบบจะเพิ่มขึ้นอีกครั้งเมื่อประชากรของจุลินทรีย์เพอ่มขึ้น ปริมาณความชื้น ออกซิเจนที่มีอยู่ และกิจกรรมของจุลินทรีย์มีอิทธิพลของจุลินทรีย์ที่เกิดขึ้น เมื่อมีการปฏิบัติที่ถูกต้อง อุณหภูมิของกองปุ๋ยหมักจะเพิ่มขึ้นและควรปล่อยทิ้งไว้เฉยๆ จนกระทั่งอุณหภูมิถึงจุดสูงสุดและเริ่มลดลง จึงควรกลับกองปุ๋ยหมักเพื่อให้ออกซิเจนสามารถเข้าถึงทั่วกองปุ๋ยหมัก อุณหภูมิของกองปุ๋ยหมักจะกลับสูงขึ้นอีกครั้ง ทำเช่นนี้จนกว่าอุณหภูมิไม่เปลี่ยนแปลงแสดงว่าการทำปุ๋ยหมักเสร็จสิ้นสมบรูณ์ ขนาดของกองปุ๋ยหมักก็มีผลต่อุณหภูมิสูงสุดท่ะทำได้ โดยทั่วไปสำหรับกองปุ๋ยหมักที่เปิดโล่งควรมีขนาดของกองปุ๋ยหมักไม่น้อยกว่า 3 ฟุต x 3 ฟุต x 3 ฟุต


2. การเติมอากาศ (aeration) : ออกซิเจนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับจุลินทรีย์เพื่อใช้ในการย่อยสลายวัตถุอินทรีย์ การย่อยสลายของอินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนจะเป็นกระบวนการย่อยสลายที่ช้าแลพทำให้เกิดกลิ่นเหม็น ดังนั้นจึงควรกลับกองปุ๋ยหมักเป็นระยะเพื่อให้จุลินทรีย์ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ ซึ่งจะช่วยเร่งกระบวนการหมักปุ๋ยให้เร็วขึ้น กองปุ๋ยหมักที่ไม่ได้กลับ จะใช้เวลาย่อยสลสายนานกว่า 3-4 เท่า การกลับกองปุ๋ยหมักจะทำให้อุณหภูมิสูงมากกว่า ซึ่งจะช่วยทำลายเมล็ดวัชพืชและโรคพืชได้ กองปุ๋ยหมักเมื่อเริ่มต้นควรมีช่องว่างอากาศประมาณ 30-35 เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้สภาวะหารหมักที่ดีที่สุดเกิดขึ้น และควรรักษาระดับออกซิเจนให้เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ ทั่งทั้งกองปุ๋ยหมัก โดยทั่วไปรับออกซิเจนในกองปุ๋ยหมักจะอยู่ในช่วง 6-16 เปอร์เซ็นต์และ 20 เปอร์เซ็นต์ รอบผิวกองปุ๋ยหมัก ถ้าระดับออกซิเจนต่ำกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ การย่อยสลายจะเปลี่ยนไปเป็นแบบไม่ใช้ออกซิเจน ซึ่งจะก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นตามมา ดังนั้นออกซิเจนยิ่งมาก การย่อสลายยิ่งเกิดมาก

3. ความชื้น (moisture) : ความชื้นที่เพียงพอมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ กองปุ๋ยหมักควรมีความชื้นที่เหมาะสมที 45 เปอร์เซ็นต์ ถ้ากองปุ๋ยหมักแห้งเกินไปการย่อยสลายจะไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากจุลินทรีย์ไม่สามารถขยายพันธุ์ได้ ถ้ากองปุ๋ยหมักมีน้ำมากเกินไปการย่อยสลายการใช้อากาศอยู่ระหว่าง 40-70 เปอร์เซ็นต์ การทดสอบความชื้นที่เหมาะสมในกองปุ๋ย สามารถทำได้โดยใช้มือกำวัตถุอินทรีย์ในกองปุ๋ยแล้วบีบ จะมีหยดน้ำเพีย 1-2 หยดเท่านั้น หรือมีความรู้สึกชื้นเหมือนฟองน้ำที่บีบน้ำออกแล้ว

4. ขนาดวัตถุอินทรีย์ (particle size) : ขนาดวัตถุอินทรีย์ยิ่งเล็กจะทำให้กระบวนการย่อยสลายยิ่งเร็วขึ้น เนื่องจากพื้นที่ให้จุลินทรีย์เข้าย่อยสลายมากขึ้น บางครั้งวัตถุดิบมีความหนาแน่นมากหรือมีความชื้นมากเช่นเศษหญ้าที่ตัดจากสนาม ทำให้อากาศไม่สามารถผ่านเข้าไปในกองปุ๋ยหมักได้ จึงควรผสมด้วยวัตถุที่เบาแต่มีปริมาณมากเช่น ฟางข้าว ใบไม้แห้ง กระดาษ เพื่อให้อากาศไหลหมุนเวียนได้ถูกต้อง หรือจะผสมวัตถุที่มีขนาดต่างกันและมีเนื้อต่างกันก็ได้ ขนาดของวัตถุอินทรีย์ที่เหมาะสมไม่ควรเกิน 2 นิ้ว แต่บางครั้งขนาดวัตถุอินทรีย์ที่ใหญ่กว่านี้ก็จำเป็นต้องใช้บ้างเพื่อช่วยให้การระบายอากาศดีขึ้น

5. การกลับกอง (turning) : ในระหว่างกระบวนการหมักปุ๋ย จุลินทรีย์จะใช้ออกซิเจนในการเผาผลาญวัตถุอินทรีย์ ขณะที่ออกวิเจนถูกใช้หมดกระบวนการหมักปุ๋ยจะช้างลงและอุณหภูมิในกองปุ๋ยหมักลดลง จึงควรกลับกองปุ๋ยหมักเพื่อให้อากาศหมุนเวียนในกองปุ๋ยหมัก เป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กลับจุลิทรีย์ และเป็นการกลับวัสดุที่อยู่ด้านนอกเข้าข้างใน ซึ่งช่วยในการย่อยสลายเร็วขึ้น ระยะเวลาในการกลับกอง สังเกตได้จากเมื่ออุณหภูมิในกองปุ๋ยหมักขึ้นสูงสุดและเริ่มลดลงแสดงว่าได้เวลาในการกลับกองเพื่อให้อากาศถ่ายเท

6. อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน (carbon to nitrogen ratio) : จุลินทรีย์ใช้คาร์บอนสำหรับพลังงานและไปนโตรเจนสำหรับการสังเคราะห์โปรตีน จุลินทรีย์ต้องการใช้คาร์บอน 30 ส่วนต่อไนโตรเจน 1 ส่วน (C : N = 30 : 1 โดยน้ำหมักแห้ง) ในการย่อยสลายวัตถุอินทรีย์ อัตราส่วนนี้จะช่วยในการควบคุมความเร็วในการย่อยจุลินทรีย์ ถ้ากองปุ๋ยหมักมีส่วนผสมที่มีคาร์บอนต่อไนโตรเจนสูงมาก (มีคาร์บอนมาก) การย่อยสลายจะช้า ถ้ากองปุ๋ยหมักมีส่วนผสมที่มีคาร์บอนต่อไนโตรเจนต่ำมาก (ไนโตรเจนสูง) จะเกิดการสูญเสียไนโตรเจนในรูปแบบของแอมโมเนียสู่บรรยากาศและจะเกิดกลิ่นเหม็น วัตถุอินทรีย์ส่วนมากไม่ได้มีอัตราส่วน C : N = 30 : 1 จึงต้องทำการผสมวัตถุอินทรีย์เพื่อให้ได้อัตราส่วนที่ถูกต้องคือใกล้เคียงเช่น การผสมมูลวัวที่มี C : N = 20 : 1 จำนวน 2 ถุง เข้ากับลำต้นข้าวโพดที่มี C : N = 60 : 1 จำนวน 1 ถุง จะได้กองปุ๋ยหมักที่มี C : N = (20 : 1 + 10 : 1 + 60 : 1) / 3 = 33 : 1 ตารางข้างล่างแสดงค่า C:N ของวัตถุอินทรีย์ต่างๆ ปุ๋ยที่หมักเสร็จแล้วจะต้องมีค่า C : N ไม่เกิน 20 : 1 เพื่อป้องกันการดึงไนโตรเจนจากดินเมื่อนำปุ๋ยหมักไปใช้งาน


ตารางแสดงค่าอัตราส่วน C:N ของวัตถุอินทรีย์ทั่วไป



วัตถุอินทรีย์ ......................... อัตราส่วน C:N

เศษผัก ............................... 12-20:1
เศษอาหาร ........................... 18:1
พืชตะกูลถั่ว .......................... 13:1
มูลวัว ................................. 20:1

กากแอปเปิ้ล ......................... 21:1
ใบไม้ ................................ 40-80:1
ฟางข้าวโพด ......................... 60:1

ฟางข้าวสาลี ......................... 74:1
กระดาษ ............................ 80:1
ขี้เลื่อย .............................. 150-200:1

เศษหญ้า ............................ 100-150:1
กาแฟบด ........................... 12-25:1
เปลือกไม้ ........................... 20:1

ขยะผลไม้ .......................... 100-130:1
มูลสัตว์ปีกสด ....................... 10:1
มูลม้า ............................... 25:1

หนังสือพิมพ์ ........................ 50-200:1
ใบสน ............................... 60-110:1
มูลที่เน่าเปื่อย ....................... 20:1



วิธีทำปุ๋ยหมัก (Composting Method)
การทำปุ๋ยหมักสามารถทำได้หลายวิธีดังต่อไปนี้
1. การทำปุ๋ยหมักแบบร้อน(hot composting) เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการผลิตฮิวมัสที่มีคุณภาพโดยใช้เวลาน้อยกว่าวิธีอื่นๆ นอกจากนี้ยังช่วยทำหลายเมล็ดวัชพืช ตัวอ่อนแมลงวันและโรคพืช การทำปุ๋ยหมักแบบใช้ถัง (bin) หรือแบบกองบนลาน (windrow) จะต้องอาศัยการจัดการในระดับสูง ส่วนแบบ in-vessel จะใช้การจัดการน้อยกว่า

2. การทำปุ๋ยหมักแบบเย็น (cold composting) เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับการเพิ่มอินทรีย์วัตถุที่โคนต้นไม้ แปลงสวนเล็กๆ และพื้นที่ที่มีการกัดกร่อน เวลาในการทำปุ๋ยหมักถูกควบคุมด้วยสภาวะสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจจะใช้เวลา 2 ปีหรือมากกว่า

3. การทำปุ๋ยหมักแบบผืนแผ่น (sheet composting) เป็นการนำอินทรีย์วัตถุมาโปรยกระจายตามผิวหน้าดินที่ราบเรียบและปล่อยให้ย่อยสลายเองตามธรรมชาติ เมื่อเวลาผ่านไปสิ่งที่ได้ย่อยสลายจะซึมผ่านลงในดิน วิธีนี้เหมาะสมสำหรับผืนดินที่ใช้เป็นแหล่งอาหารสัตว์ ภูมิประเทศข้างทางหรือใช้ควบคุมการกัดกร่อน วิธีนี้ไม่สามารถกำจัดเมล็ดวัชพืช ตัวอ่อนแมลงวัน และโรคพืช ดังนั้นจึงไม่ควรใช้ซากพืชและมูลสัตว์ ระยะเวลาการย่อยสลายถูกควบคุมด้วยสภาวะสิ่งแวดล้อมซึ่งอาจจะใช้เวลานาน

4. การทำปุ๋ยหมักแบสนามเพาะ (trench composting) เป็นวิธีที่ค่อนข้างง่ายเพียงแต่ขุดหลุมลึก 6-8 นิ้ว แล้วใส่วัตถุอินทรีย์ลงไปให้หนา 3-4 นิ้ว แล้วกลบด้วยดิน รอประมาณ 2-3 อาทิตย์ ก็สามารถปลูกต้นไม้ตรงหลุมได้เลยวิธีนี้ไม่สามารถทำลายเม็ลดวัชพืช ตัวอ่อนแมลงวัน และโรคพืชได้ กระบวนการย่อยสลายค่อนข้างช้า


ขั้นตอนการทำปุ๋ยหมัก
การทำปุ๋ยหมักแบบใช้ถัง (bin) และแบบกองบนลาน(windrow) จะวางวัตถุดิบเป็นชั้นๆ โดนใช้หลักการสมดุลระหว่างวัตถุที่มีคาร์บอนสูง(ชื้น) และคาร์บอนต่ำ(แห้ง)และมีขั้นตอนการทำดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 ใส่วัตถุหยาบลงที่ก้นถังหรือบนพื้นดินให้หนา 4-6 นิ้ว
ขั้นตอนที่ 2 เติมวัตถุที่มีคาร์บอนต่ำลงให้หนา 3-4 นิ้ว
ขั้นตอนที่ 3 เติมวัตถุที่มีคาร์บอนสูงให้หนา 4-6 นิ้ว
ขั้นตอนที่ 4 เติมดินทำสวนหรือฮิวมัสหนา 1 นิ้ว
ขั้นตอนที่ 5 ผสมให้เข้ากัน
ขั้นตอนที่ 6 ทำซ้ำขั้นตอนที่ 2-5 จนเต็มถังหรือสูงไม่เกิน 4 ฟุต แล้วปกคลุมด้วยวัตถุแห้ง


การเติมวัตถุดิบระหว่างการหมักปุ๋ย
การเติมวัตถุดิบใหม่ระหว่างการหมักปุ๋ยจะทำในช่วงเวลาที่มีการกลับกองปุ๋ยหมักและคลุกเคล้าผสมโดยทั่วไปการเติมวัตถุดิบที่มีความชื้นเข้าไป จะช่วยเร่งกระบวนการย่อยสลาย แต่ถ้าเติมวัตถุดิบที่แห้งไปกระบวนการย่อยสลายจะช้าลง

การทำถังหมักปุ๋ยสวนหลังบ้าน
การทำถังหมักปุ๋ยสำหรับสวนหลังบ้านสามารถทำได้หลายวิธีโดยแบ่งตามขนาดที่ต้องการใช้ปุ๋ยหมัก วิธีแรกเหมาะสำหรับสวนขนาดเล็กโดยนำถังขนาด 200 ลิตร มาเจาะรูด้านข้างถังขนาด 0.5 นิ้ว 6-9 แถวดังรูปที่ 1 แล้ววางถังบนอิฐบล็อกเพื่อให้อากาศหมุนเวียนก้นถัง เติมวัตถุอินทรีย์ลงไปประมาณ 3 ส่วน 4 ของถังแล้วเติมปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง (ประมาณ 30%N)1/4 ถ้วยลงไปพร้อมเติมน้ำให้มีความชื้นพอเหมาะแต่ไม่ถึงกับเปียกโชก ทุกๆ 2-3 วัน ให้กลิ้งถังกับพื้นรอบสวนเพื่อให้มีการผสมและระบายอากาศภายในถัง เมื่อกลิ้งถังเสร็จแล้วสามารถเปิดฝาถังเพื่อให้อากาศซึมผ่านเข้าถัง การทำวิธีนี้จะใช้เวลาในการย่อยสลาย 2-4 เดือน






วิธีที่สองใช้ถังกลมแบบหมุนได้ ตามรูปที่ 2 การหมักทำโดยการเติมวัตถุสีเขียว และสีน้ำตาลเข้าถังประมาณ ¾ ส่วนของถัง ผสมให้เข้ากันและทำให้ชื้นพอเหมาะ หมุนถังหนึ่งครั้งทุกวันเพื่อให้อากศหมุนเวียนและคลุกเคล้าส่วนผสมให้ทั่ว วิธีนี้สามารถหมักปุ๋ยได้เสร็จภายใน 3 สัปดาห์ ไม่ควีเติมวัสดุจนเต็มถังเพราะจะไม่สามารถคลุกเคล้าส่วนผสมให้เข้ากันได้และการระบายอากาศไม่ดี การหมักแบบนี้ทำได้ทีละครั้ง (batch size)






สำหรับสวนที่มีขนาดใหญ่ การสร้างถังหมักปุ๋ยอย่างง่ายสามารถทำได้โดยการใช้ลวดตาข่ายเล็ก ๆ มาล้อมเป็นวงกลมมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3-5 ฟุต และสูงอย่างน้อย 4 ฟุต พร้อมกับมีที่เกี่ยวติกกันดังรูปที่ 3 ควรจะมีเสาปักตรงกลางถังก่อนใส่วตถุอินทรีย์เพื่อรักษารูปร่างของกองปุ๋ยหมักและช่วยอำนวยความสะดวกในการเติมน้ำ การกลับกองปุ๋ยหมักสามารถทำได้ง่ายดายโดยการแกะลวดตาข่ายออกแล้วย้ายไปตั้งที่ใหม่ข้างๆ จากนั้นตักกองปุ๋ยหมักใส่กลับเข้าไป






อีกวิธีที่มีประสิทธิภาพในการทำปุ๋ยหมักอย่างเร็วและมีโครงสร้างที่ทนทานคือการสร้างถังสี่เหลี่ยมแบบ 3 ช่อง (three-chambered bin) ดังรูปที่ 4 ซึ่งสามารถทำปุ๋ยหมักได้มากและมีการหมุนเวียนอากาศที่ดี โดยแต่ละช่องจะทำการย่อยสลายวัสดุในช่วงเวลาที่ต่างกัน การทำปุ๋ยหมักเริ่มจากการใส่วัตถุดิบลงไปในช่องแรกและปล่อยให้ย่อยสลาย (อุณหภูมิสูงขึ้น)เป็นเวลา 3-5 วัน จากนั้นตักไปใส่ในช่องที่สองและปล่อยทิ้งไว้ 4-7 วัน (ในส่วนช่องแรกก็เริ่มใส่วัตถุดิบลงไปใหม่) แล้วตักใส่ในช่องที่สามต่อไปซึ่งการหมักปุ๋ยใกล้จะเสร็จสมบรูณ์ การทำวิธีนี้สามารถทำได้อย่างต่อเนื่อง






การหาทำเลสำหรับการตั้งปุ๋ยหมัก ไม่ควรจะตั้งใกล้บ่อน้ำหรือที่ลาดชันไปสู่แหล่งน้ำบนดินเช่น ธารน้ำหรือสระน้ำควรตั้งในที่ไม่มีลมและโดนแสงแดดบางส่วนเพื่อช่วยให้ความร้อนแก่กองปุ๋ยหมัก การตั้งถังหมักปุ๋ยใกล้ต้นไม้อาจทำให้รากต้นไม้ชอนไชเข้าถังได้ ทำให้ลำบากในการตักได้ ปริมาตรของปุ๋ยหมักที่เสร็จแล้วจะลดลงเหลือ 30-40 เปอร์เซ็นต์ปริมาตรเริ่มต้น



ปัญหาที่เกิดระหว่างการทำปุ๋ยหมัก
ปัญหาที่สามารถกเกิดขึ้นได้ระหว่างกระบวนการหมักปุ๋ยได้แก่ การเกิดกลิ่นเหม็น แมลงวันและสัตว์รบกวน กองปุ๋ยไม่ร้อน ปัญหาเหล่านี้เกิดจากหลายสาเหตุและมีวิธีแก้ไขดังนี้

กลิ่นเหม็นเกิดจากการหมักแบบใช้อากาศเปลี่ยนเป้นการหมักแบบไม่ใช้อากาศเนื่องจากขาดออกซิเจนในกองปุ๋ยซึ่งมีสาเหตุจากกองปุ๋ยมีความชื้นมากเกนไปและอัดตัวกันแน่น ทำให้อากาศไม่สามารถผ่านเข้าไปได้ การแก้ไขทำได้โดยการกลับกองปุ๋ยเพื่อเติมอากาศและเติมวัตถุสีน้ำตาลประเภทฟางข้าว กิ่งไม้แห้ง เพื่อลดความแน่นของกองปุ๋ยและให้อากาศผ่านเข้าไปในกองปุ๋ยได้

แมลงวันและสัตว์ เช่น หนู รบกวน มีสาเหตุมาจากการใส่เศษอาหารลงในกองปุ๋ย ซึ่งเศษอาหารเหล่านี้ล่อแมลงวันและหนูให้เข้ามา วิธีแก้ปัญหาคือให้ฝังเศษอาหารลงในกองปุ๋ยและกลบด้วยดินหรือใบไม้แห้ง หรือทำระบบปิดป้องกันแมลงวันและหนู


กองปุ๋ยไม่ร้อน มีสาเหตุได้แก่
1. มีไนโตรเจนไม่เพียงพอ
2. มีออกซิเจนไม่เพียงพอ
3. ความชื้นไม่เพียงพอ และ
4. การหมักเสร็จสมบรูณ์แล้ว

สาเหตุแรกแก้ไขได้โดยการเติมวัตถุสีเขียวซึ่งมีไนโตรเจนสูง เช่น เศษหญ้าสด เศษอาหาร สาเหตุที่สองแก้ไขโดยกลับกองปุ๋ยเพื่อเติมอากาศ ส่วนสาเหตุที่สามให้กลับกองและเติมนในกองปุ๋ยชื้น


มาตรฐานปุ๋ยหมักหรืออินทรีย์ในประเทศไทย
ปุ๋ยหมักที่ได้จากการหมักอินทรีย์วัตถุมีปริมาณธาตุอาหารหลักไม่สมบรูณ์ครบถ้วนที่จะเป็นปุ๋ยให้กับต้นไม้ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ประโยชน์ของปุ๋ยหมักในด้านอื่นมีมากมายเช่น ปุ๋ยหมักที่อยู่ในรูปของฮิวมัสช่วยปรับปรุงสภาพของดินให้ดีขึ้น ช่วยอุ้มน้ำได้มากช่วยป้องกันความแห้งแล้ง ป้องกันการสึกกร่อนของหน้าดิน ช่วยกัดเก็บธาตุต่างๆ ในดิน เช่น โพแทสเซียม โซเดียม แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก และทองแดง ช่วยทำให้สารพิษในดินเป็นกลาง ช่วยให้ต้นไม้ดูดซึมวิตามินและออกซิเจนดีขึ้น

ปุ๋ยที่หมักเสร็จแล้วจะต้องมีค่าของธาตุต่างๆ เป็นไปได้ตามมาตรฐานของปุ๋ยหมัก ถ้าปุ๋ยหมักไม่ได้มาตรฐานนี้อาจจะเป็นพิษต่อต้นไม้และสิ่งแวดล้อมได้ สำหรับมาตรฐานของปุ๋ยหมักในประเทศเป็นไปตามประกาศของกรมวิชาการเกษตร เรื่อง มาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ พ.ศ. 2548 ดังนี้




http://www.vcharkarn.com/varticle/38803
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 21/11/2011 1:30 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,240. ผลิตภัณฑ์กันยุง จากการสกัดสมุนไพร

ผลิตภัณฑ์กันยุงนาโนอิมัลชั่นที่บรรจุสารมีฤทธิ์ไล่ยุงจากการสกัดสมุนไพร


สัมภาษณ์ ดร.อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย
นักวิจัย ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โดย..วิรุฬหกกลับ



ผลิตภัณฑ์กันยุงนาโนอิมัลชั่นบรรจุสารมีฤทธิ์ไล่ยุงจากการสกัดสมุนไพร เป็นงานวิจัยที่น่าสนใจอีกชิ้นหนึ่งที่เกิดจากการวิจัยของศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี งานวิจัยชิ้นนี้เป็นผลงานวิจัยของ ดร.อุรชา รักษ์ตานนท์ชัยและคณะจากนาโนเทคฯ ร่วมกับ ดร.อภินันท์ สุทธิธารธวัช จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัย และคณะผู้วิจัยจากกรมแพทย์แผนไทย กระทรวงสาธารณะสุข

ปัญหาที่เกิดจากยุงซึ่งถือว่าเป็นสัตว์พาหะนำโรคที่มีอยู่เป็นจำนวนไม่น้อยในประเทศเขตร้อนอย่างในประเทศไทย ในแต่ละปีทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากจากโรคที่อาศัยยุงเป็นพาหนะไม่ว่าจะเป็นโรค ไข้เลือดออก โรคเท้าช้าง โรคมาเลเรีย เป็นต้น ทำให้เกิดการพัฒนางานวิจัยชิ้นนี้ขึ้นมาโดยใช้สมุนไพรไทยที่มีอยู่อย่างแพร่หลายเพื่อทำเป็นผลิตภัณฑ์ไล่ยุง

“เป็นความร่วมมือกันระหว่างศูนย์เทคโนโลยีนาโนแห่งชาติ สวทช. กับแพทย์แผนไทย ซึ่งมีความร่วมมือกันอยู่แล้ว ก็คุยกันว่าเขามีสมุนไพรหลายชนิดที่ น่าจะเอามาทำให้เกิดประโยชน์แล้วเอามาต่อยอด” ดร.อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย เปิดเผยให้เราฟังถึงที่มาของงานวิจัยชิ้นนี้



ดร.อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย


ตะไคร้เป็นสมุนไพรไทยที่มีคุณสมบัติในการไล่ยุงได้ดีอยู่แล้วดังนั้นงานวิจัยชิ้นนี้จึงเริ่มจากการนำตะไคร้มาศึกษาจากการแนะนำจากกรมแพทย์แผนไทย โดยนำมาผนวกเข้ากับเทคโนโลยีนาโนอิมัลชั่น(nanoemulsion)ที่ได้มีการใช้งานอยู่แล้วในการศึกษาค้นคว้าของศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ

“เริ่มทดสอบการวิจัยโดยการใช้ตะไคร้ก่อนเพราะมันมีฤทธิ์ไล่ยุงอยู่แล้ว แต่โดยปรกติของสารสมุนไพรไทยจะมีปัญหาเรื่องกลิ่นที่แรง และความไม่คงตัวของฤทธิ์ที่จะสามารถรักษาเอาไว้ได้นานก็เลยมาดึงเอาเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วในห้อง LAB ปัจจุบัน คือการทำเทคโนโลยีนาโนอิมัลชั่นมาใช้ประโยชน์ในแง่ที่ทำให้ให้มันสามารถคงฤทธิ์ในการไล่ยุงให้อยู่ได้นานขึ้น”

เทคโนโลยีนาโนอิมัลชั่นคือการทำให้หยดน้ำมันที่แตกตัวอยู่ในน้ำมีขนาดเล็กระดับนาโนเมตรซึ่งในงานวิจัยชิ้นนี้ต้นแบบผลิตภัณฑ์กันยุงนาโนอิมัลชั่น มีขนาดอนุภาคนาโนอิมัลชั่นอยู่ในช่วง 140-160 นาโนเมตร นอกจากจะมีฤทธิ์ป้องกันยุงได้นานราว 4.7ชั่วโมงซึ่งนานกว่าผลิตภัณฑ์กันยุงชนิดอิมัลชั่นทั่วไปแล้ว ผลิตภัณฑ์กันยุงแบบนาโนอิมัลชั่นก็สามารถคงตัวได้ดีกว่าและไม่มีการเปลี่ยนแปลงขนาดและประจุไฟฟ้าของอนุภาคมากเท่ากับแบบอิมัลชั่นซึ่งสื่อให้เห็นถึงความเสถียรมากกว่าในผลิตภัณฑ์ระดับนาโน



ตะไคร้
ภาพจาก http://www.skr.ac.th



จุดเด่นของผลิตภัณฑ์กันยุงนาโนอิลมัลชั่นที่แตกต่างจากยากันยุงในท้องตลาดทั่วไปคือการพยายามที่จะไม่ใส่สารสังเคราะห์ลงไป เพื่อป้องกันการเกิดผลกระทบจากการใช้งาน ซึ่งยากันยุงทั่วไปมักจะมีการผสมสารสังเคราะห์ที่เรียกว่า DEET ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดผลข้างเคียงกับสตรีมีครรถ์และเด็กทารกเพราะสามารถก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังได้

“ยากันยุงที่ขายอยู่ในท้องตลาดทั่วไปก็จะใช้วิธีการนำน้ำมันมาผสมกับน้ำโดยใช้แอลกอฮอลในการละลายซึ่งแอลกอฮอลอย่าง เช่น พวกเมทานอล ถ้ามีการใช้งานนานๆ โดยเฉพาะเมื่อมีการสัมผัสกับผิวโดยตรงมากๆก็ไม่ดี และผลิตภัณฑ์พวกนี้ก็มีข้อควรระวังในการใช้คือห้ามใช้กับสตรีมีครรถ์และเด็กทารกด้วย เราก็เลยคุยกันก็มีความคิดว่าเราจะใช้เทคโลโนยีนาโนอิมัลชั่นนี้แหละมาผสมกับน้ำโดยที่ไม่ต้องผสมแอลกอฮอลลงไป ”

นอกจากจะมีตะไคร้เป็นส่วนผสมสำคัญในผลิตภัณฑ์กันยุงนาโนอิมัลชั่นแล้วทางทีมวิจัยยังได้นำองค์ความรู้ภูมิปัญญาชาวบ้านเกี่ยวกับสนุมไพรเข้ามาช่วยเสริมเพื่อต้องการให้ผลิตภัณฑ์สามารถรักษากลิ่นได้นานขึ้น จึงได้นำแมงลักและหญ้าแฝกซึ่งเป็นสมุนไพรไทยผสมเข้าไปด้วยในงานวิจัยดังกล่าว



แมงลัก
ภาพจาก www.tistr.or.th


“ถ้าใช้ตะไคร้อย่างเดียวนี้ก็จะมีปัญหาว่ากลิ่นมันไม่ทนอยู่ได้ไม่นานเลยคิดว่าน่าจะมีการผสมสมุนไพรเข้าไปหลายๆตัวก็ได้ไอเดียมาจากทีมของแพทย์แผนไทยว่าสมุนไพรตัวไหนเหมาะบ้าง เราก็นำมาทดลอง จนสุดท้ายมาลงตัวที่หญ้าแฝกกับแมงลัก ก็ต้องหาอัตราส่วนที่เหมาะสมของสมุนไพรด้วย เมื่อได้แล้วก็มาขึ้นรูปเป็นนาโนอิมัลชั่น(nanoemulsion)

ตอนที่เราทำจะมีการเทียบระหว่างอัตราส่วนสมุนไพร กับอิมัลชั่นธรรมดา ที่ไม่ได้ลดขนาดก็ทำในรูปแบบของนาโนอิมัลชั่น ก็ได้ความคงตัวที่ดีกว่าคือเก็บได้ในระยะเวลานาน ที่เราทำก็คือเก็บในสภาวะอุณหภูมิห้องและอุณหภูมิ 45 องศาเซสเซียส และด้วยขนาดที่เล็กกว่าเราศึกษาในแง่ของการปลดปล่อยด้วย ก็พบว่าปลดปล่อยได้นานกว่า”

ดร.อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์กันยุงนาโนอิลมัลชั่น ได้ทำการทดลองกับอาสาสมัครจำนวน 30 ท่าน โดยให้ทาผลิตภัณฑ์กันยุงนาโนอิลมัลชั่น เพื่อศึกษาดูถึงประสิทธิภาพว่าสามารถอยู่ได้นานแค่ไหน ผลที่ออกมานั้นน่าพอใจและปัจจุบันกำลังมีบริษัทเอกชนเอามาติดต่อเพื่อนำไปใช้ในทางพาณิชย์

“หลังจากนั้นเราก็เอาสูตรที่ได้ออกมาแล้วส่งไปวิเคราะห์การทดสอบไล่ยุงโดยใช้วิธี third –party ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณะสุข ในทำการทดสอบกับอาสาสมัคร มีจำนวนที่แน่นนอน ประมาณ 30 ท่าน ก็พบว่าการทดสอบให้ผลดีมีฤทธิ์ได้ยุงได้ดี แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นมันก็ขึ้นอยู่กับสูตรเหมือนกันนะคะ ซึ่งที่มีฤทธิ์ป้องกันยุงที่ดีที่สุดที่เราทดสอบได้อยู่ที่ประมาณ 4.7 ชั่วโมง ซึ่งก็ถือว่าจัดอยู่ในขั้นดีเพราะเราไม่มีการเติมสาร ที่เป็นพิษใดๆลงไปทั้งสิ้น

ตอนนี้มีภาคเอกชนเข้ามาคุย แต่คุยกับภาคถ่ายทอดเทคโนโลยี คุยกันในแง่ของการนำสูตรและเทคโนโลยีไป ใช้ในการผลิตจริง หรือว่าต้องการให้ปรับให้อยู่ในรูปแบบของโลชั่นที่เนื้อข้นขึ้น หรือเหลวลงอันนี้ก็ขึ้นอยู่กับการตกลงกันว่าสุดท้ายแล้วจะออกมาในรูปแบบไหน”



หญ้าแฝก
ภาพจาก www.tkc.go.th


สารสังเคราะห์ DEET ช่วยในเรื่องของการทำให้กลิ่นหรือฤทธิ์ในการไล่ยุงของยากันยุงในท้องตลาดสามารถอยู่ได้เป็นเวลานาน ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วจะมีการระบุอยู่บริเวณข้างบรรจุภัณฑ์ว่า จะสามารถไล่ยุงได้ราวๆ 6 ชั่วโมง แต่ในกรณี ของ ผลิตภัณฑ์กันยุงนาโนอิลมัลชั่น ที่ไม่ได้มีการผสมสารดังกล่าวเข้าไป มีฤทธิ์อยู่ราว 4.7 ชั่วโมงซึ่งนับว่าเป็นการพัฒนาที่ดี ทั้งยังไม่ต้องกังวลว่าจะเกิดผลข้างเคียงจากการใช้งานนี้เป็นจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ชิ้นนี้ แม้ผลิตภัณฑ์กันยุงนาโนอิลมัลชั่น จะมีการผสมสารลดแรงตึงผิวลงไปด้วยก็เป็นปริมาณน้อยและสารดังกล่าวก็เป็นมาตรฐานเดียวกันกับที่ใช้ในเครื่องสำอางทั่วๆไป ดังนั้น จะไร้กังวลเกี่ยวกับการเกิดผลข้างเคียง

“ผลกระทบจะมีน้อย เพราะสารอื่นๆที่เราเอามาใช้เช่น สารการตรึงผิวก็เป็นสารในเกรดที่ใช้ทั่วๆไปในเครื่องสำอางค์ดังนั้นจึงไม่น่าจะมีผลกระทบต่อผู้ใช้ คือมั่นใจได้ในระดับหนึ่งอยู่แล้ว ว่าจะมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้ แต่โดยส่วนตัวแล้วยังมองว่า มันยังมีกลิ่นสมุนไพรไทยที่ยังแรงอยู่แต่บางคนก็ชอบนะบางคนก็บอกว่ากลิ่นแรงไปหน่อย แต่อันนี้ขึ้นอยู่กับวามรู้สึกของคนที่มีไม่เหมือนกัน ”



ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ กันยุงนาโนอิมัลชั่น


สำหรับปัญหาที่พบในงานวิจัย ดร.อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย เปิดเผยว่า เรื่องฤดูกาลของพืชพันธุ์สมุนไพรก็มีส่วนทำให้งานวิจัยติดขัดอยู่บ้างรวมไปถึงปัญหาที่อาจะเกิดขึ้นได้ในงานวิจัยทั่วๆไป แต่ไม่ใช่เป็นปัญหาหนักหนาอะไร


“เรื่องฤดูกาลของพืชพันธ์ก็มีส่วนเป็นปัญหาอยู่บ้าง อย่างที่ทำวิจัยอยู่มีช่วงหนึ่งแมงลักไม่มีขาดตลาด แมงลักนี้ก็เป็นแมงลักที่เขาทานกันอยู่แล้ว มันก็ขึ้นอยู่กับพันธ์ ขึ้นอยู่กับฤดูกาลด้วย แต่ถ้าเป็นการวิจัยจริงๆแล้ว ในช่วงแรกเราสกัดเองด้วยซ้ำแต่ มันมีปัญหาเยอะเราก็เลยไปจ้างบริษัทเครื่องหอมไทยจีน ซึ่งเขาสกัดเป็นอาชีพอยู่แล้วให้เขารับผิดชอบไปเลยเพื่อเราจะสามารถควบคุมเกี่ยวกับวัสดุหรือส่วนผสมต่างๆได้”


น้ำปลาผงเป็นผลงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งของ ดร.อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย งานวิจัยเกี่ยวกับน้ำปลาผงซึ่งเป็นงานวิจัยที่มีแปรรูปน้ำปลาให้เป็นผงน้ำปลาที่พร้อมละลายกลับคืนเพื่อนำไปใช้งานต่อไปซึ่งก่อให้เกิดความสะดวกในการใช้งานและพกพา ทั้งยังช่วยในการลบด้นทุนในเรื่องของค่าขนส่ง วิธีการทำแห้งและเป็นผงใช้กระบวนการอบแห้งแบบพ่นฝอย หรือ วิธีสเปยร์ดราย ซึ่งเป็นกรรมวิธีที่ใช้เป็นปรกติในอุตสาหกรรมอาหาร โดยมีเป้าประสงค์เพื่อให้ออกมาเป็นผงและไม่เป็นก้อนเกาะติดกันมีสีและกลิ่นไม่ผิดเพี้ยนไปจากเดิมเมื่อผู้ใช้ละลายกลับคืนเป็นน้ำปลา


“งานวิจัยน้ำปลาผงเป็นโจทย์ที่บริษัทข้างนอกเขาติดต่อมาเพื่อให้เราช่วยแปรรูปให้เป็นผง ก็จะใช้วิธีสเปยร์ดราย พอเราสเปยร์เสร็จ ก็จะนำมาหาอัตราส่วนเพื่อให้กลิ่นไม่เปลี่ยนไปแล้วก็สี ซึ่งเราได้เก็บตัวอย่างเพื่อดูความคงตัวของสีและกลิ่นไว้ประมาณ 6 เดือน -1 ปี ว่าสีและกลิ่นต้องเหมือนเดิม

แล้วก็มาหาอัตราส่วนละลายกลับว่าเท่าไหร่ เช่นผง 1 กรัมต้องใส่น้ำไปเท่าไหร่เพื่อให้ละลายกลับแล้วได้คุณภาพคงเดิม เพื่อให้เปลี่ยนกลับไปสู่น้ำปลาในรูปแบบเดิมได้เวลาคนใช้จะได้ สะดวก มันน่าจะดีนะเพราะพกพาไปไหนมาไหนได้สะดวก”


เมื่อจะนำมาใช้งานก็จะนำน้ำปลาผงไปละลายกับน้ำในอัตราส่วน 3 ต่อ 7 ก็จะได้น้ำปลาที่มีทั้งรสทั้งกลิ่นที่ใกล้เคียงกับน้ำปลาแบบที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในครัวเรือนทั้งนี้เชื่อว่าน้ำปลาผงจะสามารถช่วยลดต้นทุนลงได้อย่างมากซึ่งโดยทั่วไปการขนส่งน้ำปลาจะมีต้นทุนที่สูงถึง 60 เปอร์เซ็นต์และนี้อาจจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การส่งออกน้ำปลาของไทยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น


ปัจจุบัน ดร.อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย ยังได้ร่วมกับทีมวิจัยของ ศูนย์นาโนเทคฯ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ทำการวิจัยเกี่ยวกับการเก็บกักอนุภาคของสารให้กลิ่นซึ่งเป็นในกลุ่มของยาที่ใช้ในร่างกายในรูปแบบของยาหรือพวกเครื่องสำอางค์ ส่วนงานวิจัยผลิตภัณฑ์กันยุงนาโนอิลมัลชั่นที่บรรจุสารมีฤทธิ์ไล่ยุงจากการสกัดสมุนไพร ได้ยื่นขอจดสิทธิบัตรภายใต้ชื่องานประดิษฐ์ “นาโนอิลมัลชั่นสำหรับไล่ยุงที่มีสารสมุนไรชนิดน้ำมันตะไคร้หอม น้ำมันแมงลัก และน้ำมันหญ้าแฝก” เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2551 เลขที่คำขอ 0801003857 นับเป็นผลงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งที่น่าสนใจและอีกไม่นานเราอาจจะได้ใช้ผลิตภัณฑ์กันยุงที่ไม่ต้องกังวลต่อผลข้างเคียงอย่าง ผลิตภัณฑ์กันยุงนาโนอิลมัลชั่นก็เป็นได้



http://www.vcharkarn.com/varticle/38654
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 21/11/2011 1:43 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,241. กาแฟ จากแก้ว สู่ไบโอดีเซล


เมื่อเครื่องดื่มยอดนิยมอย่างกาแฟจะช่วยให้คุณสดชื่น กระปรี้กระเปร่า แล้ว ของเหลืออย่างกากกาแฟที่ได้มาระหว่างกระบวนการผลิตนั้นยังสามารถนำมาใช้ผลิตเป็นเชื้อเพลิงได้อีกด้วย

ภายในเมล็ดกาแฟนั้น ประมาณ 10-20% ของน้ำหนักแห้งจะเป็นส่วนที่เป็นน้ำมัน ไม่ต่างไปจากพืชน้ำมัน เช่น เมล็ด rapeseed ปาล์มน้ำมัน และถั่วเหลือง ที่มีปริมาณสัดส่วนน้ำมันภายในเมล็ดใกล้เคียงกัน แต่การสกัดเชื้อเพลิงจากกากกาแฟนั้นไม่ได้เป็นการแย่งอาหารอย่างเช่นการนำเอาพืชน้ำมันที่เป็นอาหารอื่นๆมาใช้

จากข้อมูลจากกระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ แจ้งว่า แต่ละปี คนทั่วโลกบริโภคกาแฟกันเป็นปริมาณกว่า 16,000 ล้านปอนด์ Mano Misra Susanta Mohapatra, และ Narasimharao Kondamudi จาก University of Nevada ผู้วิจัยเชื่อว่า หากกากกาแฟที่ถูกทิ้งขว้างเหล่านั้นได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ เราก็จะสามารถนำมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงไบโอดีเซลได้มากถึง 340 ล้านแกลลอนเลยทีเดียว


เมื่อนักวิจัยสกัดน้ำมันออกจากกากกาแฟแล้ว น้ำมันกลิ่นกาแฟที่ได้มานั้นสามารถที่จะนำไปผลิตเป็นเชื้อเพลิงได้ทั้งหมดหรือจะนำไปใช้ผสมกับน้ำมันก็ได้ นักวิจัยยังได้สังเกตว่า กาแฟนั้นยังมีปริมาณแอนติออกซิแดนซ์ เช่น กรดคลอโรเจนิค (chlorogenic acid) อยู่สูง กรดคลอโรเจนิคนั้นทำหน้าที่เป็นสารกันเสียตามธรรมชาติให้กับเชื้อเพลิงไบโอดีเซลจากกาแฟได้เป็นอย่างดี


เชื้อเพลิงไบโอดีเซลจากกาแฟ


นักวิจัยคาดว่า การตั้งโรงงานนำร่องเพื่อผลิตเชื้อเพลิงไบโอดีเซลจากกาแฟนั้นจะได้เริ่มต้นภายใน 6-8 เดือนของปีที่กำลังจะมาถึงนี้ รวมถึงคาดว่า ของเหลือ (by - product) จากร้านกาแฟชื่อดังอย่างสตาร์บัคในประเทศสหรัฐฯนั้นจะทำรายได้จากการขายกากกาแฟเพื่อผลิตเชื้อเพลิงไบโอดีเซลนี้ได้มากถึง 8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี



รายการการวิจัยเรื่องนี้ เผยแพร่ในวารสาร Journal of Agricultural and Food Chemistry

อ้างอิง
American Chemical Society. “Waste coffee grounds offer new source of biodiesel fuel”. Eurekalert. 10 December 2008. 17 December 2008. <http>.

David Biello. “Could coffee be the alternative fuel of the future?”. Scientific American. 10 December 2008. 16 December 2008. <http>.



http://www.vcharkarn.com/vnews/151923


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 24/11/2011 7:03 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 21/11/2011 1:47 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,242. กรรมวิธีการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพขององค์การนาซ่า


เมื่อวันก่อน องค์การนาซ่าที่ทำงานเกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านอวกาศและเทคโนโลยีอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ ได้ทำการเปิดเผยถึงการคิดค้นกรรมวิธีในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพขึ้นมา ซึ่งถือเป็นพลังงานธรรมชาติอย่างหนึ่ง

นาซ่าได้คิดค้นวิธีการในการเลี้ยงสาหร่ายให้เจริญเติบโตในน้ำเสียเพื่อจุดประสงค์ในการนำเอาสิ่งเหล่านี้มาเป็นวัตถุดิบในการผลิตพลังงานอย่างเชื้อเพลิงชีวภาพขึ้นมา

เชื้อเพลิงที่ได้จะถูกนำไปใช้ในโครงการการสำรวจอวกาศต่างๆ เพื่อช่วยลดการใช้พลังงานสังเคราะห์และลดการทำงานภาวะแวดล้อมของโลก ที่สำคัญการใช้พลังงานธรรมชาติอย่างเชื้อเพลิงชีวภาพหรือ Biofuel จะช่วยลดค่าใช้จ่ายลงไปมาก และยังช่วยรักษาสภาพแวดล้อมอีกด้วย

ระบบ OMEGA เป็นชื่อของระบบที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้สาหร่ายสามารถเจริญเติบโตและนำมาใช้งานได้ สาหร่ายจะเติบโตอยู่ในถุงพลาสติกที่มีความยืดหยุ่นและถูกปล่อยให้ลอยอยู่แถวชายฝั่งของแม่น้ำหรือคลองที่มีการปล่อยน้ำเสียจากสาธารณูปโภคต่างๆในเมือง

โดยปกติสาหร่ายพวกนี้จะมีคุณสมบัติในการช่วยทำความสะอาดน้ำเสียเหล่านี้ด้วยการปล่อยสารอาหารบางอย่างในตัวออกไปยังน้ำเสีย และทำให้น้ำที่ผ่านการดักทำความสะอาดของสาหร่ายเหล่านี้ จะผ่านไปถึงชั้นกรองสิ่งสกปรกอีกหนึ่งชั้นในถุงพลาสติก มีความสะอาดขึ้นก่อนที่จะถูกปล่อยลงสู่ทะเล ชั้นกรองที่ถูกติดตั้งในถุงพลาสติกมีหน้าที่กรองน้ำก่อนลงสู่ทะเล และช่วยกันไม่ให้น้ำเค็มจากทะเลไหลเข้ามาได้

สิ่งที่วิจัยสนใจ คือ สาหร่ายที่ทำหน้าที่เป็นผู้ทำความสะอาดน้ำเสียก่อนลงสู่ทะเล โดยจะมีการเก็บสาหร่ายทุกๆ 10 วันด้วยเรือบรรทุก จากนั้นก็จะทำความสะอาดถุงพลาสติกเพื่อกำจัดสาหร่ายที่อยู่ในถุงและติดค้างในส่วนของชั้นกรองที่อยู่ในถุงพลาสติก สาหร่ายที่ได้จะถูกนำไปเข้าโรงกลั่นเพื่อผ่านกระบวนการผลิตเชื้อเพลิง ซึ่งคล้ายคลึงกับการผลิตเอทานอลด้วยข้าวโพด

กระบวนการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพลักษณะนี้ค่อนข้างขึ้นอยู่กับพลังงานที่เกิดขึ้นของคลื่นทะเล เนื่องจากคลื่นในทะเลถือเป็นตัวแปรในการผสมสาหร่ายทะเล แสงแดดที่สัมผัส และปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ได้รับ

อย่างไรก็ดีบริเวณชายฝั่งทะเลถือเป็นแหล่งที่สามารถเพาะบ่มให้สาหร่ายเตริญเติบโตได้ดีและปริมาณที่สูงพอเหมาะกับการนำมาทำเชื้อเพลิงชีวภาพ หรือ Biofuel เพื่อทดแทนการใช้พลังงานเชื้อเพลิง ปิโตรเลียมอื่นๆ


ที่มา http://www.foxnews.com
โดย ธนัช






http://www.vcharkarn.com/vnews/152793


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 7:58 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 21/11/2011 2:13 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,243. หญ้ายักษ์ วัสดุใหม่เพื่อเอทานอล


หญ้ายักษ์ที่ชื่อว่า Miscanthus x giganteus ดูจะเป็นวัสดุใหม่ที่ยั่งยืน และ ประหยัดต้นทุนกว่าหญ้า Switchgrass เนื่องจากขนาดและความสูงของต้นหญ้าที่ช่วยให้ประหยัดพื้นที่เพาะปลูก

หญ้ายักษ์ Miscanthus นั้น เป็นต้นหญ้าที่มีความสูงของลำต้นประมาณ 3.5 เมตร ซึ่งมักจะสับสนกับหญ้าอีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่า elephant grass หรือ Pennisetum purpureum

เมื่อเทียบพื้นที่ในการผลิตแล้ว หญ้ายักษ์ Miscanthus นั้นใช้พื้นที่เพียง 9.3% ของพื้นที่ที่ใช้ในการผลิตข้าวโพดหรือหญ้า Switchgrass ในปริมาณวัตถุดิบที่ได้ปริมาณเท่ากัน นักวิจัยจากUniversity of Illinois รายงานผลการวิจัยในวารสาร Global Change Biology


เช่นเดียวกับหญ้า Switchgrass เจ้าหญ้ายักษ์ Miscanthus นั้นต้องการความเอาใจใส่ดูแล ปุ๋ย ยา น้อยกว่าข้าวโพด มันสามารถผลิตชีวมวล (biomass) จากกระบวนการสังเคราะห์ได้ดีและมีประสิทธิภาพมากกว่าหญ้า Switchgrass อีกด้วย นอกจากนี้ใบของมันนั้นยังเจริญเติบโตงอกงามได้เร็วและไม่ร่วงโรยไปโดยง่าย และยังสามารถเก็บเกี่ยวได้โดยใช้เครื่องตัดอ้อย





โปรเฟสเซอร์ Stephen P. Long ผู้นำการศึกษายังเผยว่า เจ้าหญ้ายักษ์นี้มีความสมบุกสมบันดีมาก เจริญเติบโตได้ดีแม้จะปลูกในดินจืดที่ขาดแร่ธาตุหรือดินที่มีคุณภาพต่ำ แม้แต่ในที่ที่ดินมีคุณภาพแย่ที่สุดในรัฐอิลลินอยส์ทางตอนใต้ ซึ่งชี้ให้เห็นว่า เราสามารถเพาะปลูกหญ้ายักษ์ Miscanthus ได้ในทุกพื้นที่สภาพดินไม่ว่าดินจะแย่หรือพื้นที่ถูกทิ้งรกร้างว่างจากการเพาะปลูกมานานแค่ไหน และยังสามารถเพาะปลูกได้ในพื้นที่ที่มีอากาศเย็น อาศัยเหง้า (rhizome) เป็นตัวขยายพันธุ์ และเพาะปลูกได้โดยอาศัยเครื่องปลูกมันฝรั่งซึ่งเป็นเครื่องจักรที่มีใช้อย่างแพร่หลาย





sniphaporn ( นางสาวนิภาภรณ์ สีถาการ )
( http://www.vcharkarn.com/my/21090 )


http://www.vcharkarn.com/vnews/150909
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 21/11/2011 9:47 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,244. สศก. ชี้วิกฤตน้ำท่วม ดันหนุ่มสาวโรงงาน คืนถิ่นสร้างงานภาคเกษตรร่วมแสน





สนง.เศรษฐกิจการเกษตร ประเมินเหตุน้ำท่วมทำหนุ่มสาวโรงงานตกงานหลังน้ำท่วมหลั่งไหลกลับบ้านเกิดร่วม 2 แสน เป็นโอกาสฟื้นวิกฤตแรงงานภาคเกษตร เตรียมสร้างอาชีพรองรับกว่า 1 แสนอัตรา


นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์อุทกภัยนับตั้งแต่ปลาย ก.ค.54 สร้างความเสียหายอย่างหนักถึงปัจจุบัน ต่อทุกภาคส่วนทั้งภาคอุตสาหกรรม บริการ รวมทั้งภาคการเกษตร ประมาณการว่าจะมีแรงงานตกงานถึง 2 แสนราย แต่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เตรียมหาแนวทางสร้างอาชีพในภาคการเกษตรไว้รองรับกว่า 1 แสนตำแหน่ง

นายอภิชาต ยังกล่าวว่าที่ผ่านมาภาคเกษตรไทยมีความต้องการแรงงานอีกจำนวนมาก จนถึงขั้นวิกฤต เพราะแรงงานส่วนใหญ่ในปัจจุบันเป็นผู้สูงอายุ การศึกษาน้อย รายได้ต่ำ อีกทั้งแนวโน้มการเข้ามารับช่วงต่อของคนรุ่นใหม่ลดลง จากรายงานล่าสุดของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่าปี 2553 สัดส่วนแรงงานภาคเกษตรกรรมต่อกำลังแรงงานรวมอยู่ที่ 38.2% ลดลงจาก 68% ในปี 2520 ขณะเดียวกันแรงงานในภาคเกษตรยังมีอายุเฉลี่ยสูงกว่าแรงงานในสาขาอื่นๆ

โดยปี 2553 มีอายุเฉลี่ย 49.3 ปี ขณะที่อายุแรงงานรวมเฉลี่ย 48.6 ปี และ 75 % ของแรงงานภาคเกษตรมีการศึกษาเฉลี่ยระดับประถมศึกษา ขณะที่เกษตรกรรุ่นใหม่ที่จะเข้ามาทดแทนลดลงอย่างรวดเร็ว โดยการทดแทนแรงงานเกษตรอายุ 15–19 ปี ต่อแรงงานอายุ 60 ปีขึ้นไปในปี 2553 อยู่ที่ 32.1% จากที่เคยมีการทดแทนแรงงาน 65.66% ในปี 2544 และยังมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องในอนาคต

“สาเหตุหลักของปัญหาแรงงานภาคเกษตร มาจากลักษณะงานที่หนัก มีความเสี่ยงมาก ได้รับผลตอบแทนต่ำ รายได้ไม่แน่นอน อย่างไรก็ตามคาดว่าหลังวิกฤตการณ์ภัยน้ำท่วมครั้งร้ายแรงนี้จะมีแรงงานภาคอุตสาหกรรมไหลกลับสู่ภูมิลำเนาสร้างงานในภาคการเกษตรเพิ่มขึ้นแน่นอน” นายอภิชาต กล่าวในที่สุด.

ที่มาภาพ : www.matichon.co.th




http://www.isranews.org


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 7:59 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 22/11/2011 12:18 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,245. อินโดนีเซีย ตั้งเป้า ผลิตกาแฟรายใหญ่ ในปี 2559


นายพราโนโต โซนาร์โท รองนายกสมาคมผู้ส่งออกและอุตสาหกรรมกาแฟอินโดนีเซีย กล่าวว่า

อินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตกาแฟรายใหญ่อันดับสามของโลก รองจากบราซิลและเวียดนาม ตั้งเป้าแซงหน้าเวียดนามขึ้นเป็นประเทศผู้ผลิตรายใหญ่อันดับสองภายในปี 2559 ด้วยการเพิ่มยอดผลผลิตต่อปีจากปัจจุบันเป็น 1.4 ล้านตัน โดยทางสมาคมจะประสานงานอย่างใกล้ชิดกับเกษตรกรท้องถิ่นเพื่อเพิ่มยอดผลผลิตให้กับสวนกาแฟที่มีอยู่เดิม

ทั้งนี้ ปัจจุบันอินโดนีเซียมีพื้นที่เพาะปลูกกาแฟทั้งประเทศ 1.3 ล้านเฮคตาร์ และเกษตรกรราว 2 ล้านราย มียอดผลผลิตกาแฟที่ 690,000 ตันต่อปี แบ่งเป็นกาแฟโรบัสต้า 78% และที่เหลืออีก 22% เป็นกาแฟอาราบิก้า และมียอดส่งออก 68% จากยอดผลผลิตทั้งหมด ไปยังประเทศญี่ปุ่น สหรัฐ และ เยอรมนี ส่วนที่เหลือเป็นการบริโภคภายในประเทศ




http://www.thannews.th.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 7:59 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 22/11/2011 12:30 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,246. เงื่อนไขใหม่นำเข้า 'มะพร้าว' จากอินโดฯ - มาเลย์...






มะพร้าว เป็นสินค้าเกษตรชนิดหนึ่งที่อุตสาหกรรมแปรรูปและผู้บริโภคภายในประเทศมีความต้องการสูง ซึ่งมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่ปริมาณผลผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการ จึงจำเป็นต้องพึ่งพาการนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะจากอินโดนีเซียและมาเลเซีย อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กรมวิชาการเกษตรได้กำหนดเงื่อนไขการนำเข้าผลมะพร้าวแก่ปอกเปลือก (mature dehusked coconut) และเนื้อมะพร้าวแห้ง (copra) จากอินโดนีเซียและมาเลเซียใหม่ เพื่อป้องกันและควบคุมแมลงศัตรูพืชกักกันที่อาจติดมากับสินค้า ทั้งยังป้องกันการนำเข้ามะพร้าวจากต่างประเทศมาปลูกในไทยด้วย ซึ่งคาดว่าหลังน้ำลดและเข้าสู่ภาวะปกติ จะมีการนำเข้าสินค้ามะพร้าวจากอินโดนีเซียและมาเลเซียปริมาณมาก

นายจิรากร โกศัยเสวี อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า เบื้องต้นผู้ประกอบการต้องมีใบอนุญาตนำเข้าซึ่งออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร และผู้ที่มีสิทธิยื่นคำขอใบอนุญาตนำเข้ามะพร้าวต้องประกอบธุรกิจโรงงานแปรรูปมะพร้าว สำหรับเงื่อนไขการนำเข้าผลมะพร้าวแก่ต้องปอกเปลือกหรือกาบมะพร้าวออกให้เหลือเฉพาะผนังชั้นกลาง ต้องไม่มีก้าน ใบ หน่อหรือยอดอ่อนติดมากับมะพร้าว และต้องกำจัดความงอกโดยรมด้วยสารเมทธิลโบรไมด์ (Methyl bromide) ตามอัตราที่กำหนด ได้แก่ อัตรา 56 กรัม/ลูกบาศก์เมตร ที่อุณหภูมิ 10 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 24 ชั่วโมง หรืออัตรา 48 กรัม/ลูกบาศก์เมตร ที่อุณหภูมิ 11-15 องศาเซลเซียส นาน 24 ชั่วโมง หรืออัตรา 40 กรัม/ลูกบาศก์เมตร ที่อุณหภูมิ 16-20 องศาเซลเซียส และสามารถใช้อัตรา 32 กรัม/ลูกบาศก์เมตร ที่อุณหภูมิ 21 องศาเซลเซียสหรือสูงกว่า เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ซึ่งสินค้าต้องมีต้นฉบับใบรับรองการรมเมทธิลโบรไมด์แนบมาด้วยทุกครั้งที่มีการนำเข้า

“เนื้อมะพร้าวแห้งที่จะนำเข้าต้องทำการบรรจุเฉพาะในโรงคัดบรรจุสินค้า ซึ่งได้จดทะเบียนไว้กับหน่วยงานที่รับผิดชอบของประเทศต้นทาง โดยโรงคัดบรรจุต้องได้รับการรับรองมาตรฐาน GMP มีการจัดทำเอกสารมาตรฐานกระบวนการดำเนินงาน แสดงรายละเอียดขั้นตอนเกี่ยวกับการคัดขนาด การจัดการและการบรรจุเนื้อมะพร้าวแห้งด้วย ซึ่งผู้ส่งออกต้องบรรจุมะพร้าวในบรรจุภัณฑ์ที่ใหม่ สะอาด และปิดสนิท ขณะเดียวกันสินค้าต้องไม่มีการปะปนของดิน ทรายและชิ้นส่วนของพืช เช่น ใบ ก้าน เศษซากพืช หรือสิ่งที่อาจนำพาศัตรูพืชกักกันเข้ามาได้ ที่สำคัญสินค้านำเข้าทุกชิปเมนต์ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชกำกับมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้งด้วย” นายจิรากร กล่าว

อธิบดีกรมวิชาการเกษตรกล่าวด้วยว่า เมื่อขนส่งมะพร้าวมาถึงด่านนำเข้าของไทย เจ้าหน้าที่จะสุ่มตรวจสอบเพื่อยืนยันว่ามีศัตรูพืชติดมากับสินค้าหรือไม่ สำหรับมะพร้าวแก่ปอกเปลือกถ้านำเข้าน้อยกว่า 1,000 ผล จะต้องสุ่มตรวจ จำนวน 450 ผล หรือสุ่มตรวจทั้งหมด หากนำเข้ามากกว่า 1,000 ผล จะมีการสุ่มตรวจ จำนวน 600 ผล ถ้าตรวจพบแมลงศัตรูพืชมีชีวิตจะส่งตัวอย่างศัตรูพืชไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อจำแนกชนิด และต้องกักมะพร้าวไว้จนกว่าจะทราบผลจากห้องปฏิบัติการ กรณีที่ตรวจพบแมลงศัตรูพืชกักกันจะตีกลับหรืออาจทำลายสินค้าทั้งหมดทันที หรือให้ผู้นำเข้าดำเนินการกำจัดศัตรูพืชที่ติดมากับมะพร้าวด้วยวิธีการที่เหมาะสม โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ซึ่งกรมวิชาการเกษตรจะเร่งแจ้งประเทศผู้ส่งออกทราบถึงการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด พร้อมให้เร่งปรับปรุงแก้ไข

หากตรวจพบศัตรูพืชกักกันบ่อยครั้งและปริมาณมาก แจ้งเตือนแล้วแต่ไม่มีการปรับปรุงแก้ไขปัญหา กรมวิชาการเกษตรอาจระงับการนำเข้า โดยเฉพาะมะพร้าวแก่ปอกเปลือกถ้าตรวจพบว่ามีการงอกของหน่อหรือยอดอ่อน มะพร้าวทั้งหมดจะถูกตีกลับหรือทำลายโดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ซึ่งการกำหนดเงื่อนไขการนำเข้ามะพร้าวนี้ คาดว่าจะสามารถช่วยป้องกันแมลงศัตรูพืชกักกันไม่ให้เข้ามาแพร่ระบาดในประเทศได้.



http://www.norsorpor.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 8:00 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 22/11/2011 12:42 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,247. เกษตรฯ แนะผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและอาหาร ปรับตัวด้านราคาสู้คู่แข่ง


​ นายนิวัติ สุธีมีชัยกุล รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงเกษตรฯ ได้มอบหมายให้สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศประจำสหภาพยุโรปติดตามแนวโน้มสภาวะการนำเข้าสินค้าเกษตรและอาหารของสหภาพยุโรปหรืออียู ในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า เพื่อใช้จัดทำยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรและอาหารไทยต่อภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวอยู่ในขณะนี้ ซึ่งข้อมูลที่สำคัญส่วนหนึ่งที่นำมาใช้ในการประเมินและวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจของสินค้าเกษตรและอาหารในสหภาพยุโรป จากสำนักข่าว Agra Europe ที่เป็นสำนักข่าวชั้นนำของสหภาพยุโรป และเป็นแหล่งข่าวที่ได้รับการยอมรับจากคณะกรรมาธิการยุโรปและนักธุรกิจทั้งในและนอกสหภาพยุโรป

โดยพบว่า ประชากรในสหภาพยุโรปยังคงมีกำลังซื้อ แต่ขณะเดียวกันก็มีการประหยัดมากขึ้นในการใช้จ่าย ซึ่งอาจจะส่งผลทำให้ราคาซื้อ-ขายอาจไม่ดีนัก ดังนั้น ผู้ส่งออกไทยอาจต้องปรับราคาต่อสู้กับคู่แข่งรายอื่น ๆ จากทั่วโลก เนื่องจากผู้นำเข้าในสหภาพยุโรปก็มีแนวโน้มที่จะกดราคาสินค้านำเข้า ประกอบกับค่าเงินบาทไทยที่แข็งตัว ซึ่งจะส่งผลให้กำไรที่ได้อาจลดลงแม้ต้นทุนจะสูงก็ตาม

ทั้งนี้ ปัจจุบันสถานการณ์ด้านการตลาดของอียูยังอยู่ในสถานะที่ค่อนข้างบอบบาง แม้ Agra Europe จะได้คาดการณ์ว่าสถานการณ์โดยรวมจะดีขึ้นตามลำดับ แต่หากมาพิจารณาในกลุ่มประเทศคู่ค้าหลักของไทย เช่น ตลาดสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นตลาดใหญ่สุดในสหภาพยุโรปที่นำเข้าสินค้าเกษตรและอาหารของไทย พบว่า ซูเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำเช่น “เทสโก้” มีการลดราคาสินค้าเพื่อเพิ่มขีดความแข่งขันของตัวเอง เนื่องจากพบว่าในช่วงภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวผู้บริโภคให้ความสำคัญกับราคาสินค้าบริโภคเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมและเริ่มมองหาซื้อของที่ถูกลง จึงเป็นปัจจัยที่สำคัญทำให้ผู้นำเข้าในสหภาพยุโรปต่างพิจารณาการสั่งซื้อและนำเข้าแต่สินค้าที่มีราคาถูก ประกอบกับเงินยูโรต้องต่อสู้กับค่าเงินบาทที่แข็งตัวและค่าเงินเหรียญสหรัฐในเวทีการค้าสากล

แต่อย่างไรก็ตาม ในส่วนของปริมาณการส่งออกนั้น กระทรวงเกษตรฯ คาดว่ายอดการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารของไทยไม่น่าจะส่งผลกระทบมากนัก เนื่องจากยังคงมีความต้องการสูงและมีแนวโน้มที่ดี รวมถึงสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ เครื่องไฟฟ้า ชิ้นส่วน spare parts และเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม รวมถึงการท่องเที่ยวซึ่งคาดว่าน่าจะมียอดการส่งออกที่ดีและไม่ได้รับผลกระทบมากนัก



http://www.norsorpor.com/ข่าว/n2662202/เกษตรฯ%20แนะผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารของไทยปรับตัวด้านราคาสู้คู่แข่ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 22/11/2011 12:44 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,248. สารกระเทียม ฆ่าแอฟลาทอกซิน ในพริกแห้ง-ถั่วลิสง



นายจิรากร โกศัยเสวี อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า พริกแห้ง พริกป่น มักจะมีเชื้อราและสารอัลฟลาท็อกซินปนเปื้อน ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้ผลผลิตที่ได้ไม่มีคุณภาพและไม่สามารถส่งออกได้ กรมวิชาการเกษตร จึงได้หาวิธีที่จะป้องกันการปนเปื้อนสารแอฟลาทอกซินโดยไม่ใช้สารเคมี โดยทำการศึกษาสมุนไพรมากกว่า 10 ชนิด พบว่ากระเทียมสามารถทำลายเชื้อราได้ 100% และยังสามารถทำลายสารพิษได้อีกด้วย ทำให้พริกแห้งและพริกป่นที่ได้มีคุณภาพดีและปลอดการปนเปื้อนสารแอฟลาทอกซิน

โดยวิธีปฏิบัติเก็บพริกสดมาทำความสะอาด จุ่มลงในสารสกัดกระเทียมที่ได้จากกระเทียมสดคั้นน้ำ แล้วนำไปผึ่งให้แห้ง จากนั้นนำไปอบให้เป็นพริกแห้ง จะได้พริกแห้งที่ไม่มีเชื้อราและแอฟลาทอกซิน สามารถเก็บได้นานถึง 10 เดือน ซึ่งวิธีนี้สามารถทำได้ทั้งพริกเม็ดใหญ่ พริกขี้หนู และพริกป่น นอกจากนี้พริกที่มีสารพิษอยู่แล้วเมื่อนำมาคลุกกับสารสกัดกระเทียมดังกล่าว ก็จะช่วยลดปริมาณสารพิษเหล่านั้นลงได้ ซึ่งวิธีการดังกล่าวนี้พบว่าใช้ได้ผลดีกับพริก ถั่วลิสง หรือแม้แต่ข้าวโพด ก็สามารถใช้วิธีเดียวกันนี้ได้



http://www.naewna.com/news.asp?ID=289197
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 22/11/2011 12:47 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,249. กษ.พลิกวิกฤติน้ำท่วม เร่งผลิตเมล็ดข้าวพันธุ์



นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดเผยว่า สถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในประเทศไทยได้ส่งผลกระทบต่อสมาชิกสหกรณ์เป็นอย่างมาก ซึ่งกรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้เร่งทำการสำรวจรวบรวมข้อมูลสมาชิกสหกรณ์ที่ได้รับผลกระทบ เพื่อให้การช่วยเหลือตามมาตรการที่มีอยู่ โดยเฉพาะมาตรการพักชำระหนี้ให้สมาชิกสหกรณ์ที่ประสบภัย เป็นเวลา 3 ปี ที่จะเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 120 วันหลังน้ำลด และที่สำคัญคือกรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้มีมาตรการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ให้สมาชิกสหกรณ์เฉพาะหน้า โดยจัดตั้งโรงครัวในพื้นที่ประสบภัยให้สมาชิกสหกรณ์ได้มีอาหารรับประทานในช่วงที่ยังไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากสหกรณ์ในพื้นที่ใกล้เคียง ไม่ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาน้ำท่วมมาประกอบอาหารให้สมาชิกที่ประสบอุทกภัยรับประทาน เป็นการพึ่งพากันตามหลักการสหกรณ์

นอกจากนี้ ยังได้มีการช่วยแก้ไขปัญหาให้สหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมที่อยู่ในพื้นที่น้ำท่วมที่ไม่สามารถส่งน้ำนมดิบไปยังโรงงานรับซื้อได้ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาน้ำนมดิบที่ล้นตลาดอยู่กว่า 200 ตันต่อวันลงได้ โดยการประสานไปยังสหกรณ์นอกเขตน้ำท่วม เช่น สหกรณ์โคนมวังน้ำเย็น จำกัด และสหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จำกัด (ในพระบรมราชูปถัมภ์) ให้ช่วยเข้ามารับซื้อน้ำนมดิบดังกล่าวไปแปรรูปนม ซึ่งกรมส่งเสริมสหกรณ์ จะให้ยืมเงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ แบบปลอดดอกเบี้ย สำหรับการรับซื้อน้ำนมดิบของสหกรณ์ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยจนกว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

อีกมาตรการหนึ่งที่ได้เตรียมไว้ คือ เรื่องเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี เนื่องจากเมื่อน้ำลดแล้วจะหาเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีค่อนข้างยากและอาจจะมีราคาสูง จึงได้ขอความร่วมมือจากสหกรณ์ผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีเตรียมผลิตเมล็ดพันธุ์ ในเบื้องต้น จำนวน 2,600 ตัน เพื่อจำหน่ายให้สหกรณ์ที่ประสบภัยได้มีเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีปลูกหลังน้ำลด โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์ จะสนับสนุนค่าเมล็ดพันธุ์ให้กิโลกรัมละ 3 บาท เป็นการแบ่งเบาภาระต้นทุนค่าเมล็ดพันธุ์ให้ถูกลงแต่ยังคงได้เมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีไว้ใช้



http://www.naewna.com/news.asp?ID=289189
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 22/11/2011 12:56 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,250. 9 มาตรการแก้ราคายางตก


นัดถก ประเทศผู้ผลิต-ตั้งเป้า ดันราคาเกิน 120 บาท


กระทรวงเกษตรฯโร่แก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ คลอด 9 มาตรการรักษาระดับราคายางไม่ต่ำกว่า 120 บาท/กก. พร้อมนัดถกกลุ่มประเทศผู้ผลิตยางรายใหญ่ของโลกสัปดาห์หน้า หลังได้ข้อยุติตั้งคณะกรรมการประสานงานร่วม 17 จังหวัดภาคใต้ และถก ธ.ก.ส.ปัดฝุ่นใช้เงินกองทุน 8,000 ล้านบาท


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถานการณ์ราคายางพารายังคงผันผวนอย่างหนัก หลังปรับตัวลงต่ำกว่า 100 บาท/ กิโลกรัม ตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายน เป็นต้นมา โดยราคาต่ำสุดในวันที่ 11 พฤศจิกายน ราคาน้ำยางสด (ตลาดท้องถิ่น) หล่นมาอยู่ที่ 55 บาท/กก.จากระดับราคาที่เคยสูงกว่า 100 บาท ยางแผ่นรมควัน ชั้น 3 ราคาประมูล ณ ตลาดกลางยางพารา หาดใหญ่ 82.88 บาท/กก. จากระดับราคาเคลื่อนไหวอยู่ที่ 120 บาท/กก. ราคาส่งออก (FOB) 100.15 บาท/กก.

นายวิทย์ ประทักษ์ใจ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) เปิดเผยหลังกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เรียกประชุมเรื่องราคายางพาราตกต่ำ

ล่าสุดเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2554 ได้ร่วมประชุมกับตัวแทนเกษตรกรภาคใต้ 17 จังหวัด ซึ่งเดิมจะออกมาต่อต้าน แต่หลังจากหารือกันแล้วจึงได้ข้อยุติให้จัดตั้งคณะกรรมประสานงานแก้ไขปัญหาภาคเกษตรกร แต่งตั้งตัวแทนเกษตรกรเป็นกรรมการจังหวัดละ 1 คน เวียนมาประสานกับเจ้าหน้าที่วันละคน กรรมการชุดนี้มีหน้าที่สรุปความต้องการของทั้ง 2 ฝ่าย คือ เกษตรกรกับรัฐจะต้องทำอะไรร่วมกัน เบื้องต้นขอให้เกษตรกรลดการกรีดยางลง 20-30 % เพื่อชะลอซัพพลายที่จะออกสู่ตลาด

และในวันที่ 15 พฤศจิกายน ยังได้ประชุมกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เพื่อหารือปรับปรุงการจัดตั้งกองทุนสวนยางซึ่งเดิมมีเงินอยู่แล้วกว่า 8,000 ล้านบาท อาจจะต้องปัดฝุ่นนำกลับมาใช้ประโยชน์

ทั้งนี้ นโยบายรัฐบาลต้องการรักษาระดับราคาให้เกษตรกรขายยางแผ่นดิบชั้น 3 ในราคา ณ ตลาดกลางยางพาราสงขลาไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 95 บาท เพื่อทำให้ราคายางส่งออก FOB ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ไม่ต่ำกว่า 105 บาท หรือ 3.5 เหรียญสหรัฐต่อกิโลกรัม เป็นแผนงานระยะสั้นช่วง 2 ไตรมาสสุดท้ายปีนี้และไตรมาสแรกปี 2555 ส่วนระยะยาวจะรักษาระดับราคายางไว้ 4 เหรียญสหรัฐต่อกิโลกรัม หรือ 120 บาท

จากนั้นในวันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายนนี้ จะจัดประชุมร่วมกลุ่มประเทศผู้ผลิตยางรายใหญ่ของโลก หรือ ITRC อาทิ อินโดนีเซีย มาเลเซีย เพื่อหามาตรการกำหนดโควตาหรือเป้าหมายรักษาระดับราคายางไม่ให้ต่ำกว่า 4 เหรียญสหรัฐ

ส่วนผลการประชุมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้กำหนดมาตรการ 9 ประการ ประกอบด้วย 1) รัฐบาลไทยจะเชิญผู้แทน ITRC เพื่อพิจารณาปัญหาราคายาง เช่น การจำกัดโควตาการส่งออก 2 )ให้รักษาระดับราคายางแผ่นรมควันชั้น3 ไว้ที่ 3.5 เหรียญสหรัฐ หรือ 105 บาทต่อกิโลกรัม

3) ขอให้ ธ.ก.ส.ให้สินเชื่อกับสถาบันเกษตรกรเพื่อแปรรูปยางและเก็บสต๊อกไว้ 4) นายพรศักดิ์ เจริญประเสริฐ รมช. เกษตรฯ และผู้บริหารองค์การสวนยาง สกย. สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร และเอกชน จะไปเจรจาทำสัญญาซื้อขายยางกับจีนช่วงสัปดาห์หน้า

5) เสนอรัฐบาลจัดทำ Packing Credit กับเอกชนผู้ส่งออกยาง 6) ขอความร่วมมือเกษตรกรชาวสวนยางลดหรือชะลอเวลาการกรีดยางจากกรีด 2 วันเว้น 1 วัน เป็นกรีดวันเว้นวัน เพื่อลดปริมาณในท้องตลาด ทำให้ราคาสูงขึ้น

7) ขอร้องให้เกษตรกรหยุดกรีดยางต้นเล็กที่ยังไม่ได้ขนาดกรีด Cool ปี 2555 เพิ่มเป้าหมายการโค่นยางเพื่อปลูกแทนจากปีละ 255,000 ไร่ เป็น 400,000 ไร่ 9) เสนอรัฐบาลทำโครงการ 8,000 ล้านบาท เพื่อให้เครดิตกับสถาบันเกษตรกรในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพารา



http://www.norsorpor.com/ข่าว/n2655850/คลอด9มาตรการแก้ราคายางตก%20%20นัดถกประเทศผู้ผลิต-ตั้งเป้าดันราคาเกิน120บาท
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 23/11/2011 10:15 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,251. ผลไม้ปี ตามฤดูกาล




มกราคม
ส้มเขียวหวาน (เพรชบูรณ์) กระจับ พุทรา ลูกตาลอ่อน มะตูม มะขามป้อม
ชมพู่มะเหมี่ยว ละมุด ฝรั่ง อ้อย องุ่น แตงโม กล้วยหอม สัปปะรด ส้มเกลี้ยง บีทรูท


--------------------------------------------------------------------------------

กุมภาพันธ์
มะปรางดิบ ตะลิงปลิง ชมพู่ มะตูม ลูกตาลอ่อน องุ่น อ้อย สัปปะรด แตงโม
กล้วยหอม มะขามป้อม มะขามเทศ มะดัน


--------------------------------------------------------------------------------

มีนาคม
มะม่วงดิบ มะปราง มะม่วงมัน กล้วยน้ำว้า ขนุน กล้วยหอม แตงโม


--------------------------------------------------------------------------------

เมษายน
มะม่วงดิบ มะม่วงสุก มะม่วงดิบ ลิ้นจี่ กล้วยหอม แตงโม ลูกว้า ทุเรียน ชมพุ่
ขนุน มะไฟ


--------------------------------------------------------------------------------

พฤษภาคม
ทุเรียน ลิ้จี่ ระกำ ขนุน ลูกหว้า เงาะ มะกอดิบ มะม่วงสุก


--------------------------------------------------------------------------------

มิถุนายน
กระท้อน มังคุด ทุเรียน มะกอสุก สัปปะรด ระกำ ขนุน เงาะ


--------------------------------------------------------------------------------

กรกฎาคม
ส้มเขียวหวาน น้อยหน่า ส้มโอ ลางสาด มะขามอ่อน แตงไทย ฝรั่ง ลำไย ระกำ
มะยม อ้อย สัปปะรด กล้วยน้ำว้า กล้วยหักมุก กล้วยไข่


--------------------------------------------------------------------------------

สิงหาคม
มะขามอ่อน ส้มโอ ลำไย ฝรั่ง สัปปะรด กล้วยหอม กล้วยไข่ มะเฟือง มะยม
ส้มเกลี้ยง


--------------------------------------------------------------------------------

กันยายน
มะดัน ส้มโอ ลางสาด มะกอกน้ำ มะยม องุ่น มะขามอ่อน กล้วยหอม กล้วยน้ำว้า
กล้วยไข่ ฝรั่ง ส้มซ่า มะเฟือง สัปปะรด


--------------------------------------------------------------------------------

ตุลาคม
ลางสาด ส้มเขียวหวาน ส้มเกลี้ยง ฝรั่ง แห้ว ขนุน สาเก องุ่น มะขามป้อม กล้วยไข่
กล้วยน้ำว้า มะเฟือง กล้วยหอม


--------------------------------------------------------------------------------

พฤศจิกายน
ส้มเขียวหวาน(บางมด) ส้มเกลี้ยง มะละกอ ละมุด กล้วยหอม กล้วยน้ำว้า
กล้วยไข่ แตงโม อ้อย องุ่น มะขามป้อม ขนุนอ่อน กระเจี๊ยบ มะกอสุก ส้มซ่า
แห้ว ฝรั่ง


--------------------------------------------------------------------------------

ธันวาคม
ส้มเขียวหวาน องุ่น อ้อย มันแกว พุทรา กล้วยน้ำว้า ละมุด มะละกอ สัปปะรด
แตงโม กระเจี๊ยบ มะขามสุก


--------------------------------------------------------------------------------


http://misterfruitthailand.com/detail_page.php?sub_id=119


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 23/11/2011 10:34 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 23/11/2011 10:25 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,252. เกษตรฯ ตั้งค่าธรรมเนียม การประกอบธุรกิจปุ๋ยใหม่


นายจิรากร โกศัยเสวี อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า เพื่อควบคุมผู้ประกอบธุรกิจปัจจัยการผลิตทางการเกษตรให้ผลิต นำเข้า จำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ดีและมีคุณภาพ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้กำหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการเกี่ยวปุ๋ยใหม่ ครอบคลุมการผลิต ขาย นำเข้า ส่งออก นำผ่านและการขึ้นทะเบียน ทั้งปุ๋ยเคมี ปุ๋ยชีวภาพและปุ๋ยอินทรีย์ภายใต้พระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ.2518 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2550

โดยกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตผลิตปุ๋ยเคมีเพื่อการค้าจากฉบับเดิมฉบับละ 3,000 บาท เพิ่มเป็น 6,000 บาท ใบอนุญาตผลิตปุ๋ยชีวภาพเพื่อการค้าฉบับละ 3,000 บาท ใบอนุญาตผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อการค้าฉบับละ 1,500 บาท

โดยกรมวิชาการเกษตรได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่สารวัตรเกษตรพร้อมเครือข่ายสารวัตรเกษตรทั่วประเทศ ติดตามเฝ้าระวังและตรวจสอบร้านจำหน่ายปุ๋ยเคมีและวัตถุอันตรายทางการเกษตรอย่างใกล้ชิดและเข้มงวดมากยิ่งขึ้น เพื่อคุ้มครองเกษตรกรให้ได้ใช้ปัจจัยการผลิตที่ดี มีคุณภาพและได้มาตรฐาน ซึ่งจะช่วยยกระดับประสิทธิภาพการผลิตและทำให้ได้รับผลตอบแทนคุ้มค่าการลงทุนด้วย



http://naewna.com/news.asp?ID=289363
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 23/11/2011 3:55 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,253. เศรษฐศาสตร์ นำสู่ศึกจารกรรม (ส้มฟลอริดา สหรัฐ)

วีรกร ตรีเศศ




ใครที่เคยเห็นภาพถ่ายทางอากาศ ที่รัฐบาลอเมริกัน เอามาแสดงเพื่อให้เห็นว่า อิรักมีอาวุธร้ายแรง คงไม่เชื่อว่าเทคนิคเดียวกัน สามารถเอามาใช้เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจในเรื่องน้ำส้มได้ เพราะมันดูห่างไกลกันเหลือเกิน

แต่ความจริง ก็คือ รัฐฟลอริดา คู่แข่งรายสำคัญในการผลิต และค้าน้ำส้มของบราซิลในโลก ก็กำลังจะใช้ภาพถ่ายดาวเทียม มาเป็นอาวุธสำคัญ

ดาวเทียมถ่ายภาพของสหรัฐนั้นเป็นที่รู้จักกันดีว่า ในยามอากาศดี สามารถถ่ายภาพกล่องไม้ขีดไฟ ที่วางบนหลังคารถ หรือตัวเลขบนป้ายทะเบียนรถยนต์ได้ชัด จากความสูง 400 กิโลเมตร มีการนำภาพถ่ายดาวเทียมมาใช้ประโยชน์กันมากมาย ไม่ว่าจะเป็นพยากรณ์อากาศ ทำแผนที่ ค้นหาทรัพยากรแหล่งน้ำ และแร่ธาตุบางอยาง (แต่ยังไม่เคยใช้ค้นหาทองคำ ในถ้ำได้สำเร็จ แต่ยังไม่เคยมีใครถ่ายภาพทางอากาศของต้นส้ม มาใช้ประเมินผลผลิตส้มของคู่แข่งมาก่อน

รัฐฟลอริดา ทางใต้องสหรัฐ และรัฐซานเปาโลของบราซิล เป็นแหล่งผลิตส้มใหญ่ที่สุดในโลก สองแหล่งนี้รวมกันแล้ว ผลิตร้อยละ 90 ของผลผลิตน้ำส้มในโลก

น้ำส้มเป็นตัวนำเงินตราต่างประเทศให้บราซิลมากที่สุด โดยส่งออกน้ำส้มไปยังกว่า 40 ประเทศด้วยมูลค่า 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี

สหรัฐอเมริกา เป็นประเทศหนึ่งที่ซื้อน้ำส้มจากคู่แข่ง โดยซื้อถึงประมาณร้อยละ 15 ของผลผลิของบราซิลต่อปี เนื่องจากน้ำส้มที่ผลิตในประเทศไม่เพียงพอต่อความต้องการ

ล่าสุด ความสัมพันธ์ของผู้ปลูกส้มทั้งสองประเทศตึงเครียดขึ้นเป็นลำดับ เนื่องจากความหวาดกลัวการค้าเสรีน้ำส้ม ของคนปลูกอเมริกัน และความขุ่นใจของคนปลูกบราซิล เพราะนอกจากชาวสวนส้มอเมริกัน จะเอาส้มบางพันธ์ของบราซิลไปปลูกแล้ว ยังแถมเปลี่ยนชื่อเสียใหม่ ราวกับเป็นพันธ์ของตนเอง

แค่นั้นไม่พอ ยังผลักดันรัฐบาลของตนให้ตั้งกำแพงภาษีเสียสูงลิบ กีดกันน้ำส้มจากบราซิลอีกด้วย

ต้นทุนของน้ำส้มผลิตในบราซิลนั้นต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของต้นทุนในสหรัฐ เพราะทั้งที่ดิน และแรงงานมีราคาต่ำกว่ามาก ชาวสวนส้มสหรัฐรู้ดีว่า หากเป็ดเสรีโดยการทำลายกำแพงภาษีลงแล้ว ธุรกิจสวนส้มของฟลอริดา ซึ่งเป็นกิจกกรมเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุด ของฟลอริดาต้องม้วนเสื่ออย่างแน่นอน น้ำส้มจากบราซิล จะไหลเข้าสหรัฐอย่างท่วมท้น และบราซิลอาจกลายเป็นผู้ผูกขาดการผลิตน้ำส้มของโลกไปได้

ชาวสวนส้มสหรัฐกล่าวหาผู้ปลูกบราซิลว่า ใช้กลวิธีควบคุมราคาน้ำส้มของโลกด้วยการประเมินผลผลิตต่ำกว่าจริง เพื่อให้ได้ราคาสูงในช่วงเวลาเก็บเกี่ยวของตนเอง ซึ่งเริ่มต้นในเดือนมิถุนายน และหลังจากนั้นราคาน้ำส้มในตลาดโลก ก็จะลดลงเรื่อยๆ เมื่อฤดูกาลเก็บเกี่ยวส้มของฟลอริดาเริ่มขึ้น และผลผลิตออกสู่ตลาดสูงสุดในเดือนธันวาคม

ขออธิบายเรื่องการกำหนดราคาตรงนี้สักเล็กน้อย เนื่องจากตลาดน้ำส้มมีผู้ผลิตรายใหญ่อยู่เพียงสองราย จึงเป็นเรื่องปกติในตลาด OLIGOPOLY แบบนี้ ที่ทั้งสองจะร่วมมือกัน กำหนดราคาเพื่อประโยชน์ร่วมกัน แต่ก็ไม่อาจตั้งราคาให้สูงตามใจชอบได้ เพราะหากตั้งไว้สูงเกินไป ผู้บริโภค ก็จะซื้อน้อยจนเกิดเป็นผลเสีย

ดังนั้น คำถามสำคัญก็คือ จะตั้งราคาสูงเพียงใด ในแต่ละฤดูกาลจึงจะเหมาะสม ซึ่งจะตอบคำถามนี้ได้ ก็จะต้องประเมิน หรือพยากรณ์ดีมานด์ หรือความต้องการบริโภคน้ำส้ม และซัพพลาย หรือปริมาณผลผลิตน้ำส้ม ที่จะเสนอขายในฤดูกาลนั้นให้ได้

ความก้าวหน้าทางความรู้ด้านเศรษฐมิติ (เอาเศรษฐศาสตร์ มาผสมผสานกับสถิติ และคณิตศาสตร์) ด้วยการใช้สถิติการบริโภคในอดีต ทำให้รู้ดีมานด์ได้ไม่ยาก และผิดพลาดไม่มากนัก แต่ด้านซัพพลาย หรือปริมาณผลผลิต ของน้ำส้มที่จะต้องประเมินเพื่อให้สามารถกำหนดราคาได้

ตรงนี้แหละครับ ที่การประเมินผลผลิตของฤดูกาลสูง หรือต่ำ มีความสำคัญ ถ้าประเมินไว้ต่ำ ราคาก็จะสูงในตอนแรก และจะปรับตัวลงหรือขึ้นตามความเป็นจริง เมื่อฤดูเก็บเกี่ยวของบราซิลมาถึงก่อน บราซิลจึงได้ประโยชน์ หากจะประเมินผลผลิตไว้ต่ำๆ เมื่อผลผลิตของสหรัฐออกสู่ตลาด ก็จะทำให้ราคาลดลง ซึ่งบราซิลก็ไม่ต้องเดือดร้อน เพราะจะได้รับประโยชน์จากราคาสูงในตอนต้นฤดูกาลไปแล้ว

การจารกรรม ด้วยการใช้ภาพถ่ายดาวเทียมของพื้นที่ต้นส้มที่ปลูก ขนาดของต้นส้มของบราซิล เพื่อประเมินผลผลิตส้ม และแปรเปลี่ยนเป็นผลผลิตน้ำส้ม จึงมีความสำคัญสำหรับชาวสวนส้มฟลอริดากว่า 10,000 ราย

การรู้ข้อมูลผลผลิตของฝ่ายตรงข้าม จะช่วยให้สามารถร่วมกับบราซิล ในการประเมินผลผลิต เพื่อกำหนดราคาได้อย่างเป็นประโยชน์แก่ฝ่ายตน หรืออย่างน้อย ก็ไม่เสียเปรียบมากขึ้น

นอกจากนี้ ยังทำให้สามารถพยากรณ์ราคา และรายได้ในอนาคตได้ สามารถช่วยให้ชาวสวนส้มฟลอริดา ปรับตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น



ชาวสวนส้มฟลอริดา กำลังซื้อบริการภาพถ่ายดาวเทียมสวนส้มซานเปาโล จากเอกชนที่รับช่วงซื้อดาวเทียมดวงเก่า ที่ทางการสหรัฐเลิกใช้แล้ว ที่มีชื่อว่า QUICKBIRD ในราคา 1-1.5 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยจะเริ่มทดลองกับภาพสวนส้มฟลอริดาก่อน เพื่อหาความแม่นยำ คาดว่าจะได้ภาพเหล่านี้ได้มาไม่ง่ายนัก ในตนเดือนเมษายนที่จะถึงนี้ เพราะต้องรอวันที่อากาศปลอดโปร่ง

เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้ว คราวนี้แหละ "การรู้เขารู้เรา" ของชาวสวนฟลอริดา ก็จะเกิดขึ้น ปัจจุบันสหรัฐอเมริกา ในฐานะเป็นประเทศเปิด สถิติของผลผลิตส้มเป็นข้อมูลสาธารณะ ส่วนบราซิลนั้น ถึงจะมีการตีพิมพ์ข้อมูลเดียวกันอยู่เหมือนกัน แต่ก็เชื่อกันว่าขาดความแม่นยำ บราซิลนั้นรู้ดีว่า ความไม่แม่นยำนั้นมีเท่าใด เมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลจริง เมื่อเอาข้อมูลนี้มาบวกกับข้อมูลของสหรัฐ บราซิลก็จะรู้ข้อมูลอย่างแม่นยำพอควร ดังนั้น สหรัฐจึงเสียเปรียบ เพราะอยู่ในฐานะที่ด้อยกว่าในเรื่องข้อมูล

การจารกรรมข้อมูลด้วยภาพถ่ายดาวเทียม จึงเข้ามาเสริมจุดอ่อนนี้ได้อย่างเหมาะเจาะ

นโยบายเปิดเสรีการค้าของสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน สร้างความหวาดหวั่นให้แก่ชาวสวนส้มฟลอริดา เพราะกำแพงภาษีที่ปิดกั้นการไหลท่วมของน้ำส้มจากบราซิลในปัจจุบัน จะพังทลายลง ดังนั้น จึงต้องออกแรงกันทั้งด้านล็อบบี้ฝ่ายการเมือง และด้านจารกรรมข้อมูลด้วยภาพถ่ายดาวเทียม

ต่อไปการจารกรรมแบบนี้ กับพืชชนิดอื่น ก็อาจเกิดขึ้นได้โดยหลายเจ้าภาพ และอาจครอบคลุมไปถึงธุรกิจอื่นๆ ด้วยก็เป็นได้ เช่น ตรวจสอจำนวนโรงแรม หรือ รีสอร์ตริมทะเล จำนวนสระว่ายน้ำ สภาพสนามกอล์ฟ ความคึกคักของธุรกิจ ฯลฯ

ถ้าจะยกตัวอย่างบ้าๆ เล่นก็อาจลามไปถึงประมาณความต้องการ การบริการตัดผมของประเทศหนึ่ง โดยพิจารณาดูข้อมูลความหนา และบางของผมบนศรีษะของชายที่อยู่กลางแจ้ง



http://www.nidambe11.net/ekonomiz/varakorn2003/week2003feb16p1.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 23/11/2011 4:07 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,254. การปลูกลิ้นจี่ในประเทศต่าง ๆ



ถิ่นกำเนิดและการแพร่กระจาย

ลิ้นจี่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนตอนใต้โดยมีการปลูกลิ้นจี่มานานกว่า4,000 ปีมาแล้ว ปัจจุบันปลูกกันมากที่มณฑลกวางตุ้งและฟูเกี้ยนของประเทศจีน ได้มีการแพร่กระจายพันธุ์ลิ้นจี่ไปยังแหล่งต่างๆ ได้แก่พม่า ไทย อินเดีย ในปลายศตวรรษที่ 17 และไปยังอินเดียตะวันตกในศตวรรษที่18 ต่อจากนั้นได้มีการนำไปปลูกที่ออสเตรเลีย อัฟริกาใต้และรัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐ-อเมริกาในปลายศตวรรษที่ 19 สำหรับประเทศที่ปลูกลิ้นจี่มากได้แก่ จีน อินเดีย ไทย ออสเตรเลีย มาดากัสกาและอัฟริกาใต้



การปลูกลิ้นจี่ในประเทศต่างๆ ชินวัฒน์ (2542) และ Menzel and Simpson (1991a) กล่าวไว้ดังนี้


--------ลิ้นจี่ในสาธารณรัฐประชาชนจีน
มีการเพาะปลูกลิ้นจี่กระจายอยู่ใน 7 มณฑลทางใต้ โดยมีมณฑลกวางตุ้งและฟูเกี้ยน เป็นแหล่งปลูกหลัก ตามด้วยมณฑลกวางสี เสฉวน และยูนาน มณฑลกวางตุ้งผลิตลิ้นจี่ได้ประมาณ 65% ของลิ้นจี่ที่ผลิตได้ทั้งหมด สาธารณรัฐประชาชนจีนมีลิ้นจี่มากกว่า 100 พันธุ์ เนื่องจากมีประวัติการปลูกและการขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดมายาวนาน พันธุ์ที่สำคัญในมณฑลกวางตุ้งและฟูเกี้ยน คือพันธุ์ ซัม ยี ฮอง (Sum Yee Hong) ไทโซ (Tai So) เชน สิ หรือ บริวสเตอร์ (Chen Zi หรือ Brewster) ส่วย ถัง (Souey Tung) ฮัก ยิบ (Haak Yip) เฟย จื่อ เสี้ยว (Fay Zee Siu) ไกว เม่ (Kwai May) ไว ชี (Wai Chee) และ หน่อ มี ชี (No Mai Chee) ลิ้นจี่พันธุ์ ไว ชี ปลูกในมณฑลกวางตุ้งมากกว่า 50% และให้ผลผลิตสม่ำเสมอ เพราะออกดอกช้าจึงไม่เกิดความเสียหายเนื่องจากอุณหภูมิต่ำในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ในมณฑลฟูเกี้ยนมีพันธุ์ฮัก ยิบ และ ส่วย ถัง เป็นพันธุ์ที่ปลูกมาแต่ดั้งเดิม และมีพันธุ์อื่นๆที่ปลูกเป็นการค้า เช่น พันธุ์บาลุพ (Bah Lup) จิน เฝง (Jin Feng) ชอง ยัน ฮอง(Chong Yun Hong) ฮวง ไล่ (Heong Lai) ทิม น๋าน (Tim Naan) กวา ลุก(Kwa Lok) ซวง ซู ไว (Seong Sue Wai)และซูท ไว ซี (Soot Wai Zee) โดยทั่วไปแล้วพันธุ์ หน่อ มี ชี และ ไกว เม่ เป็นที่ยอมรับอย่างสูงในด้านคุณภาพและมีเมล็ดลีบ ส่วนพันธุ์ เฟย จื่อ เสี้ยว เป็นที่นิยมเช่นกัน เพราะมีผลขนาดใหญ่ น้ำหนัก 24-32 กรัมต่อผล ลิ้นจี่ที่ส่งออกได้แก่พันธุ์ ซัม ยี ฮอง เฟย จื่อ เสี้ยว ฮัก ยิบ ไกว เม่ ไว ชี และหน่อ มี ชี


--------ลิ้นจี่ในไต้หวัน
มีผู้นำกิ่งตอนของลิ้นจี่จากสาธารณรัฐประชาชนจีนเข้าไปปลูกในทางตอนเหนือของไต้หวันในช่วง ค.ศ. 1760 และ 1860 โดยมีพันธุ์หลักคือ ฮัก ยิบ และ ชอง ยัน ฮอง และเริ่มมีการปลูกลิ้นจี่เป็นการค้าในปี ค.ศ.1920 ในพื้นที่ภาคใต้ของไต้หวันซึ่งเป็นบริเวณที่ห่างไกล จากลมแรงที่พัดมาจากมหาสมุทรแปซิฟิก ได้มีการปลูกลิ้นจี่กระจายไปทั่วเกาะไต้หวัน ยกเว้น บริเวณทางตอนเหนือที่มีอากาศหนาว และชื้นในช่วงฤดูหนาวและช่วงฤดูใบไม้ผลิ ดังนั้นพื้นที่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะจึงเป็นพื้นที่หลักที่ปลูกลิ้นจี่ โดยมี พันธุ์ ฮัก ยิบ เป็นที่นิยมปลูกมากกว่า 80 % ของลิ้นจี่ทั้งหมด ส่วนลิ้นจี่พันธุ์อื่นๆที่ปลูกได้แก่ พันธุ์ ซัม ยี ฮอง หน่อ มี ชี ชอง ยัน ฮอง และ ซา เคง (Sah Keng)


--------ลิ้นจี่ในประเทศอินเดีย
ในปลายศตวรรษที่ 17 มีผู้นำลิ้นจี่จากสาธารณรัฐประชาชนจีนเข้าไปปลูกในประเทศอินเดียและอีก 200 ปีต่อมา มีการปลูกกันอย่างแพร่หลายในหลายพื้นที่ ปัจจุบันอินเดียสามารถผลิตลิ้นจี่ได้มากกว่าสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีพื้นที่หลักคือทางตอนเหนือของรัฐพิหาร ให้ผลผลิตมากกว่า 70 % ของผลผลิตทั้งหมด รองลงมาคือ รัฐเบงกอลตะวันตก 15 % และ อุตรประเทศ 6% พันธุ์ที่ปลูกส่วนใหญ่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์ในท้องถิ่น และมาจากต้นกล้าที่ผ่านการคัดเลือกมาจากสาธารณรัฐประชาชนจีน จึงทำให้มีจำนวนพันธุ์มากแต่ไม่มีการปลูกพันธุ์ใดพันธุ์หนึ่งอย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีข้อจำกัดในการปลูกคือ ลมที่แห้งและร้อน ดังนั้นพันธุ์ที่ได้รับการปรับปรุงในท้องถิ่นหลายพันธุ์จึงเป็นที่นิยมปลูกอย่างแพร่หลาย เนื่องจากสามารถให้ผลผลิตภายใต้สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ในรัฐพิหารมีพันธุ์ลิ้นจี่ที่สำคัญได้แก่ พันธุ์เดซชิ (Deshi) คาสบา (Kasba) เพอบิ (Purbi) และเบนดานา (Bendana) ส่วนพันธุ์ที่นิยมปลูกในรัฐปันจาบ (Panjab) ได้แก่ พันธุ์ซาเรนเพอร์ (Saranpur) ชีฮราดัม (Cehradum) คัลคัทเตีย (Calcuttia) ฌาอิ (Shahi) เลท ซีดเลส (Late Seedless) และ โรส เซ็นเทด (Rose Scented)


--------ลิ้นจี่ในประเทศอัฟริกาใต้ ฮูด (H.L. Hood)
เป็นผู้นำลิ้นจี่จากประเทศมอริเซียสเข้าไปปลูกในประเทศอัฟริกาใต้ ซึ่งก็คือ พันธุ์ ไท โซ ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ในช่วงต้น ค.ศ.1870 มีสวนลิ้นจี่การค้า เริ่มแพร่หลายทางด้านตะวันตกของประเทศและมีการปลูกลิ้นจี่เพียงพันธุ์เดียวคือ พันธุ์ เอช แอล เอช มอริเซียส (H.L.H. Mauritius) ดังนั้นต้นลิ้นจี่ที่ปลูกในแถบนี้จึงมีการขยายพันธุ์จากสายต้น (clone) ดังกล่าวมีผลทำให้ผลผลิตลิ้นจี่ในประเทศอัฟริกาใต้ออกสู่ตลาดในช่วงเวลาที่สั้น เพราะมีการปลูกลิ้นจี่เพียงพันธุ์เดียว โดยมีผลผลิตในช่วงเดือนพฤศจิกายนไปจนถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ที่เพาะปลูก ลิ้นจี่พันธุ์อื่นที่มีการปลูกคือ พันธุ์เบงกอล (Bengal) ในขณะที่มีการนำพันธุ์ลิ้นจี่จากสาธารณรัฐประชาชนจีนและอินเดียเข้ามาปลูกในประเทศอัฟริกาใต้ เช่นกันแต่ให้ผลผลิตไม่ดี จึงไม่มีการปลูกเป็นการค้า


--------ลิ้นจี่ในประเทศมาดากัสกา
ในปี ค.ศ. 1770 มีการนำลิ้นจี่เข้าไปยังประเทศมาดากัสกา และในปี ค.ศ 1987 มีผลผลิตลิ้นจี่ประมาณ 35,00 ตัน โดยมีศูนย์กลางการผลิตอยู่แถบชายฝั่งที่มีฝนตก มีลิ้นจี่พันธุ์ มอริเซียส (Mauritius) เป็นพันธุ์ที่มีความสำคัญมากที่สุด


--------ลิ้นจี่ในประเทศมอริเซียส
มีการปลูกลิ้นจี่ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1764 และมีการคัดเลือกต้นที่ดีจากต้นที่ปลูกอยู่ทั่วไป บนเกาะ ในช่วงค.ศ.1870 ได้มีการนำต้นที่คัดเลือกได้นี้ไปปลูกและขยายพันธุ์ต่อไปยังประเทศมาดากัสกาและอัฟริกาใต้


--------ลิ้นจี่ในประเทศรียูเนียน
ลิ้นจี่จากประเทศมอริเซียสเข้ามาปลูกในประเทศรียูเนียน เมื่อ 200 ปีที่ผ่านมา มีผลผลิตลิ้นจี่ในประเทศนี้ประมาณ 5,000 ตันต่อปี โดยที่ 10% ของผลผลิตทั้งหมดจะส่งออกไปยังประเทศฝรั่งเศสและมีลิ้นจี่พันธุ์ ไท โซ เป็นพันธุ์หลัก


--------ลิ้นจี่ในประเทศออสเตรเลีย
ชาวจีนอพยพที่เข้ามาทำงานในเหมืองทองคำ ทางตอนเหนือของรัฐควีนสแลนด์เป็นผู้นำลิ้นจี่เข้าไปในประเทศออสเตรเลียเมื่อประมาณ 100 ปีที่ผ่านมาโดยความบังเอิญหลังจากที่ รับประทานลิ้นจี่แล้วโยนเมล็ดทิ้ง หลังจากนั้นได้มีการคัดเลือกพันธุ์ต่อมาในสวนพฤกษศาสตร์ในเมืองซิดนีย์ ในปี ค.ศ. 1854 และในช่วงปี ค.ศ. 1930 มีการนำกิ่งตอนลิ้นจี่พันธุ์ ไว ชี เข้ามาปลูก ทำให้มีการขยายพันธุ์ลิ้นจี่เพิ่มขึ้นในหลายรัฐ ในรัฐนิวเซาท์เวลส์ มีการปลูกลิ้นจี่พันธุ์ ไท โซ และ เบงกอล เพราะมีต้นลิ้นจี่ทั้งสองพันธุ์นี้มาก ในช่วงที่มีการขยายพันธุ์ปลูก ประมาณปี ค.ศ. 1970 ซึ่งทั้งสองพันธุ์นี้ไม่เป็นที่นิยมแล้วในปัจจุบัน แต่มีการปลูกพันธุ์อื่นแทนเช่น ไกว เม่ พิ้งค์ (Kwai May Pink) สา ลา เธียว (Sa La Thiel) และ ไว ชี (Wai Chee)



--------ลิ้นจี่ในรัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา
ลิ้นจี่พันธุ์ ไท โซ เป็นพันธุ์แรกที่นำเข้ามาปลูกในรัฐฮาวายในปี ค.ศ. 1873 และมีการนำเข้าพันธุ์ลิ้นจี่ โดยกระทรวงเกษตรและภาคเอกชนในต้นศตวรรษที่ 20 มาปลูกในพื้นที่ที่มีความสูงของพื้นที่แตกต่างกัน ตั้งแต่ความสูงจากระดับน้ำทะเล 500 เมตร จนถึง 1,000 เมตร ปี ค.ศ. 1980 เริ่มมีการปลูกลิ้นจี่เป็นการค้าเนื่องจากมีพันธุ์ลิ้นจี่ที่ดีกว่าเดิมและมีการปรับปรุงเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว โดยมีการปลูกลิ้นจี่พันธุ์ไทโซ แต่เนื่องจากพันธุ์นี้มีการติดผลไม่สม่ำเสมอทุกปี ทำให้มีการนำลิ้นจี่พันธุ์อื่นๆ เช่นพันธุ์ บริวสเตอร์ ฮัก ยิบ และ สวีท คลิฟฟ์ (Sweet Cliff) มาทดลองปลูกรวมถึงพันธุ์ไคลมานา (Kaimana) ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ได้จากพันธุ์ ฮัก ยิบ


--------ลิ้นจี่ในรัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา
ทางตอนใต้ของรัฐฟลอริดา เป็นศูนย์กลางการผลิตไม้ผลเขตร้อนของประเทศสหรัฐอเมริกา เนื่องจากมีการนำไม้ผลต่างๆ เข้ามาศึกษาวิจัย การปลูกลิ้นจี่เป็นการค้าใน รัฐฟลอริดา เริ่มมีมากในปี ค.ศ 1957 แต่ลดลงในปี ค.ศ . 1966 เนื่องจากเกิดความเสียหายจากอากาศที่เย็นและการอพยพขยายถิ่นฐาน จนกระทั่งปี ค.ศ. 1975 มีการผลิตลิ้นจี่เพิ่มมากขึ้นในพื้นที่ทางตอนใต้ที่มีน้ำค้างแข็งปกคลุมน้อย โดยมีการปลูกพันธุ์บริวสเตอร์ เป็นพันธุ์หลักที่นำมาปลูกโดยพระชื่อบริวสเตอร์ มีรสชาติที่ดีและแก่ในช่วงเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคมในขณะที่ลิ้นจี่พันธุ์ ไท โซ เป็นที่นิยมในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาแต่มีการติดผลไม่สม่ำเสมอทุกปีส่วนพันธุ์บริวสเตอร์ มีการติดผลสม่ำเสมอทุกปีมากกว่าพันธุ์ ไท โซ แต่มักเกิดความ เสียหายเนื่องจากลม ในฟลอริดาลิ้นจี่พันธุ์ ไท โซ จะแก่ก่อนพันธุ์ บริวสเตอร์ ประมาณ 2 สัปดาห์ ลิ้นจี่พันธุ์อื่นๆที่มีการปลูกได้แก่พันธุ์ สวีทคลิฟฟ์ เบงกอล และ ฮัก ยิบ โดยที่พันธุ์ สวีทคลิฟฟ์ มีผลขนาดเล็กและต้นอ่อนแอ มักขาดธาตุอาหาร โดยเฉพาะธาตุเหล็กในขณะที่พันธุ์ เบงกอล ให้ผลผลิตไม่สม่ำเสมอ นอกจากนี้ยังมีการนำกิ่งตอนพันธุ์ ไกว เม่ พิ้งค์ เข้ามาปลูกเมื่อไม่นานมานี้อีกด้วย


--------ลิ้นจี่ในประเทศเวียดนาม
มีการปลูกลิ้นจี่มากในประเทศเวียดนามตอนเหนือ โดยพื้นที่หลักของการผลิตอยู่โดยรอบกรุงฮานอยในระยะทาง 50-150 กิโลเมตร โดยเฉพาะจังหวัด ไฮ่ ฮัง (Hai Hung) ฮา เบค (Ha Bac) ควัง นิน (Quang Ninh) และ วิน ฟู่ (Vinh Phu) อย่างไรก็ตามการปลูกลิ้นจี่ยังอยู่ในพื้นที่ที่จำกัด ระหว่างเส้นละติจูดที่ 20-22 องศาเหนือ และมีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ100 เมตรและ พื้นที่ปลูกลิ้นจี่ในแต่ละสวนมีขนาดเล็ก ได้มีการคัดเลือกพันธุ์ลิ้นจี่หลายพันธุ์ภายใต้สภาพ ภูมิอากาศของสาธารณรัฐประชาชนจีนและประเทศเวียดนาม แต่พันธุ์ลิ้นจี่ในเวียดนาม ยังสับสนมาก ลิ้นจี่พันธุ์หนึ่งอาจเรียกชื่อต่างกันหลายชื่อขึ้นอยู่กับแต่ละท้องถิ่น แม้บางพันธุ์จะมี ชื่อเหมือนกันกับที่ปลูกในสาธารณรัฐประชาชนจีนและออสเตรเลียแต่ลักษณะต่างๆกลับ ไม่เหมือนกับที่บันทึกรายละเอียดในสาธารณรัฐประชาชนจีนและออสเตรเลีย



http://coursewares.mju.ac.th:81/e-learning50/ps416/chap_02_p01.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 23/11/2011 9:20 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,255. เที่ยวฟาร์มเกษตรอินทรีย์ ไร่ปลูกรัก ราชบุรี



















นับตั้งแต่ประเทศไทยได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐเรื่องการทำเกษตรอินทรีย์ และได้รับการรับรองมาตรฐานระดับสากลในปี 2537 โดยมี สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ มกท. เป็นกำลังหลักในเรื่องมาตรฐานต่างๆ ซึ่งเชื่อมโยงข้อมูลกับ IFOAM (ifoam.org) เพื่อให้ความรู้กับเกษตรกรที่ต้องการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ ทุกวันนี้จึงมีฟาร์ม หรือสวนเกษตรในหลายพื้นที่ของประเทศที่ได้นำกลยุทธ์การท่องเที่ยว และการเกษตรมารวมกันให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว ทั้งเพื่อเป็นแหล่งศึกษาข้อมูล และให้นักท่องเที่ยวได้ร่วมสัมผัสกับวิถีทางธรรมชาติ เรียนรู้ชีวิตการทำเกษตรกรรมแบบไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม แน่นอนว่า ณ สถานที่เหล่านี้คือห้องเรียนที่เปิดโลกทัศน์ให้กับคนที่รักธรรมชาติ และสุขภาพมาแล้วจำนวนไม่น้อย

ไร่ปลูกรัก มีรูปแบบการดำเนินงานเช่นที่กล่าวมา โดยเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจได้ร่วมศึกษาดูงาน และเที่ยวชมการทำเกษตรอินทรีย์ของที่นี่ ไร่ปลูกรัก ประสบความสำเร็จเรื่องการทำเกษตรอินทรีย์เป็นอย่างดี โดยผ่านการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ตามมาตรฐานของยุโรป (IFOAM Accredited) ซึ่งแน่นอนว่า สินค้าเกษตรอินทรีย์ของที่นี่ได้ถูกส่งออกไปจำหน่ายยังประเทศในแถบยุโรปเป็น ที่เรียบร้อย นอกเหนือจากที่จำหน่ายในประเทศ

ปนิธานอันแน่วแน่ของผู้ก่อตั้ง
ใน ปี 2543 บนที่ดินกว่า 60 ไร่ของคุณคเณศ (กานต์ ฤทธิ์ขจร) และคุณเอ (อโณทัย ก้องวัฒนา) คู่สามีภรรยาเจ้าของไร่ปลูกรัก ด้วยความตั้งใจจริงในการทำฟาร์มเกษตรอินทรีย์ จึงริเริ่มทำการแปรสภาพพื้นที่เพื่อเพาะปลูกผักและผลไม้มาตั้งแต่นั้น จนกลายมาเป็นพื้นที่เพาะปลูกเกษตรอินทรีย์ ปลูกพืชผักแบบไร้สารพิษ ไร้ยาฆ่าแมลงและไร้สารเคมีใดๆ ทั้งสิ้น โดยคำนึงถึงเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อม

คุณเอ บอกว่า “ที่คิดเปิดฟาร์มให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็เพราะว่าเมื่อมีฟาร์มเป็นของตัวเอง ปลูกเอง ขายเอง เลยต้องการให้ผู้บริโภคได้เข้าใจว่าการเพาะปลูกเกษตรอินทรีย์ แบบไม่ใช้สารเคมีใดๆ เลย เป็นอย่างไร เพราะในประเทศไทยยังเป็นอะไรที่ใหม่ อาจจะมีคนรู้จักไม่มากนัก ก็เลยหากได้มาเห็นกับตาจริงๆ จะได้รู้ว่าเป็นอย่างไร ตั้งแต่เปิดฟาร์มมา มีคนมาเที่ยวเยอะ คิดว่าเป็นสิ่งที่ดี ให้เด็กๆ และทุกคนได้มาสัมผัสกับธรรมชาติที่แท้จริง เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ดี”



กิจกรรมต่างๆ ในไร่ปลูกรัก
เมื่อนักท่องเที่ยวมาถึงที่ไร่ปลูกรัก จะมีการต้อนรับด้วยเครื่องดื่มออแกนนิกส์ มีการพูดคุยให้รู้จักเกี่ยวกับการทำฟาร์มเกษตรอินทรีย์ จากนั้นจึงพาออกทัวร์ชมฟาร์ม ไปดูการแปลงผักออร์แกนนิกส์ คือ ผักที่ปลูกโดยไม่ใช้ยาฆ่าแมลง ยากำจัดวัชพืช ปุ๋ยเคมี หรือผลิตภัณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ใดๆ แต่ใช้เป็นปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักชีวภาพ ที่ผลิตขึ้นเองทั้งหมด เป็นผักที่ปลอดสารพิษ ซึ่งมีผักหลายชนิดที่จะปลูกสลับหมุนเวียนกันไปในพื้นที่ มีทั้งแปลงผักสลัด อาทิ คอสเขียวและคอสแดง โอ๊คลีฟเขียว โอ๊คลีฟแดง สลัดแก้ว ผักกาดหอม ผักร็อคเก็ต แปลงผักจีน อาทิ ผักคะน้า ผักฮ่องเต้ ผักกวางตุ้ง ผักบุ้งจีน แปลงผักลูกและผลไม้ อาทิ แตงกวา ข้าวโพดหวาน กระเจี๊ยบ ฟักทอง กล้วยน้ำว้า มะเขือเทศเชอรี่และมีเล้าเลี้ยงเป็ด ซึ่งเลี้ยงไว้เพื่อเอาไข่มาประกอบอาหาร มีบ่อปลา ซึ่งเป็นปลาที่กินพืช และอาหารที่ใช้เลี้ยงปลา ก็เป็นอาหาหรอินทรีย์ที่ไม่มีสารเคมีใดๆ เลยที่ทางฟาร์มทำเอง และสำหรับ

นักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบการทำอาหาร ก็ยังมีการสอนทำอาหารจากผักอินทรีย์ต่างๆ ที่มีในฟาร์ม มีหลายเมนูที่สอน อาทิ การทำน้ำสลัด ทำซุปข้าวโพด ทำน้ำมะเขือเทศ รวมไปถึงยังมีอาหารออแกนนิกส์ที่ทางฟาร์มทำเองให้บริการแก่นักท่องเที่ยวนอก จากนี้ ยังมีกิจกรรมการปลูกผัก ที่ทางฟาร์มจะให้ทุกคนได้ปลูกผักในกระถางเล็กๆ ได้นำกลับไปฟูมฟักปลูกกินเองที่บ้าน และมีกิจกรรมการเก็บผัก ที่ทางฟาร์มจะให้นักท่องเที่ยวทุกคนได้ลงมือเก็บผักสดๆ ด้วยตัวเองจากแปลงผัก เพื่อนำติดไม้ติดมือกลับไปกินที่บ้าน และจะได้ระลึกถึงชีวิตของชาวฟาร์มเกษตรว่า กว่าจะได้ผักแต่ต้นมานั้นมันยากลำบากแค่ไหน ซึ่งหากใครอยากจะสัมผัสและเรียนรู้ถึงวิถีชีวิตชาวไร่ ชาวฟาร์ม ทาง ไร่ปลูกรัก เขาก็ยินดีเปิดฟาร์มต้อนรับนักท่องเที่ยวทุกคน



สถานที่นัดหมาย
ที่ตั้ง : อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรีการเดินทาง : รถยนต์ส่วนตัว การเดินทางจากกรุงเทพฯ ให้วิ่งถนนเพชรเกษมตรงมาราชบุรี จะพบสหกรณ์โคนมหนองโพ ที่ ก.ม. 73 ให้วิ่งตรงมาอีกประมาณ 5 ก.ม. จะพบไร่ปลูกรักที่ ก.ม.78 ไร่จะอยู่ทางซ้ายมือแนะนำเพิ่มเติม

สำหรับนักท่องเที่ยวที่สนใจมาเที่ยวที่ ไร่ปลูกรัก ต้องติดต่อมาก่อนล่วงหน้า
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณวาสนา โทร. 0-2641-5366-70 เวลา 9:00-17:00 น. ทุกวันยกเว้นวันพุธ


http://www.greenlattes.com/eco-experience-tourism/51-green-travel-ideas-organic-agriculture/71-organic-farm-raiplookrak-ratchaburi
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 23/11/2011 9:39 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,256. “สภาเกษตรแห่งชาติ” เดี้ยง ! กฤษฎีกาตีความ ยังเกิดไม่ได้






“สภาเกษตรกรแห่งชาติ” ชะงัก กฤษภีกาตีความว่าสภาเกษตรจังหวัดที่เลือกตั้งไปแล้ว “อายุสมาชิกประเภทตัวแทนเกษตรกรไม่ถึงหนึ่งปี-ขาดองค์ประกอบผู้ทรงคุณวุฒิ” ถือว่ายังไม่เกิด รอ รมว.กษ.ใช้อำนาจตามบทเฉพาะกาล

จากบันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเรื่อง “องค์ประกอบและการได้มาของสภาเกษตรกรจังหวัดและสภาเกษตรกรแห่งชาติชุดแรกตามพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)สภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ.2553” ระบุว่าตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์(กษ.)ทำหนังสือถึงสำนักงานฯ 11 ส.ค.54 ว่าประธานสภาเกษตรกรจังหวัดขอนแก่นและคณะ ขอให้หารือข้อกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของสภาเกษตรกรจังหวัดและสภาเกษตรกรแห่งชาติตาม พ.ร.บ. และการกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการได้มาซึ่งสมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์(รมว.กษ.)ตามบทเฉพาะกาลมาตรา 52 แห่ง พ.ร.บ.

ทั้งนี้สำนักงานปลัด กษ.เห็นว่า มาตรา 7 (3) กำหนดคุณสมบัติสมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติที่มาจากตัวแทนองค์กรเกษตรกร ตามมาตรา 5 (2) ต้องเป็นเกษตรกรซึ่งเป็นสมาชิกองค์กรไม่น้อยกว่า 1 ปี และมาตรา 3 นิยาม “องค์กรเกษตรกร” ว่ากลุ่มเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนไว้ตาม พ.ร.บ. แต่ปรากฏว่าการขึ้นทะเบียนองค์กรเกษตรกรตาม พ.ร.บ.ยังไม่ครบหนึ่งปี จึงไม่อาจมีสมาชิกประเภทตัวแทนองค์กร สภาเกษตรกรแห่งชาติจึงยังไม่มีขึ้น รวมทั้งไม่อาจมีสภาเกษตรกรจังหวัดได้ เนื่องจากการเลือกสมาชิกระดับจังหวัดประเภทผู้ทรงคุณวุฒิต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการเงื่อนไขที่สภาเกษตรกรแห่งชาติกำหนด

แต่ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดขอนแก่นและคณะ เห็นว่าปัจจุบันได้มีประธานสภาเกษตรกรจังหวัดแล้ว 77 คน องค์ประชุมของสภาเกษตรกรแห่งชาติจึงมี 77 คนจาก 100 คนซึ่งเป็นเสียงส่วนใหญ่สภาเกษตรกรจึงเกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายแล้ว จึงควรจะตีความให้สามารถปฏิบัติงานได้ ประกอบกับบทเฉพาะกาลมาตรา 52 ที่บัญญัติว่าในวาระเริ่มแรกให้ รมว.กษ.มีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์ฯ การได้มาซึ่งสมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติตามมาตรา 5(2) และ (3) ชุดแรกได้โดยตรง

ดังนั้นวันที่ 26 ก.ย.54 สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามีถึงสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ลงชื่อนายอัชพร จารุจินดา เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ใจความว่าตามที่ กษ.หารือมา ประเด็นที่ 1.สภาเกษตรกรจังหวัดและสภาเกษตรกรแห่งชาติในขณะนี้สามารถดำเนินงานตามบทบาทอำนาจหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ไปพลางก่อนได้หรือไม่เพียงใด คณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นว่า พ.ร.บ.กำหนดให้สภาเกษตรกรจังหวัดประกอบด้วย 1.สมาชิกที่ได้รับการเลือกตั้ง 16 คน (จังหวัดใดมีมากกว่า 16 อำเภอ ให้เพิ่มจำนวนสมาชิกเท่ากับจำนวนอำเภอ) และ 2.สมาชิกผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน เลือกจากผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตรกรรม

กรณีสภาเกษตรกรจังหวัดชุดแรกนั้น บทเฉพาะกาลกำหนดวิธีการเลือกสมาชิกเฉพาะสมาชิกตามมาตรา 31(1) หรือประเภทผู้แทนเกษตรกร โดยให้ปลัด กษ.และเกษตรและสหกรณ์จังหวัด จัดเลือกตั้ง ประกาศรายชื่อผู้ได้รับการเลือกตั้ง และให้ รมว.กษ.แต่งตั้ง และประกาศในราชกิจจานุเบกษา และภายใน 45 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้เรียกประชุมสมาชิกเพื่อเลือกประธานและรองประธานสภาเกษตรกรจังหวัด ซึ่งขณะนี้ได้มีการเลือกประธานสภาเกษตรกรจังหวัดแล้ว

แต่ยังไม่มีสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดประเภทผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา 31(2) เนื่องจากยังไม่มีหลักเกณฑ์วิธีการเงื่อนไขการเลือกเพื่อให้ได้มาซึ่งสมาชิกประเภทนี้ สภาเกษตรกรจังหวัดจึงมีองค์ประกอบสมาชิกไม่ครบ จึงไม่สามารถดำเนินงานตามอำนาจ หน้าที่ได้จนกว่าจะมีการเลือกสมาชิกผู้ทรงคุณวุฒิ

สำหรับกรณีสภาเกษตรกรแห่งชาติ มาตรา 56 กำหนดให้ประกอบด้วย 1.ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดเป็นสมาชิกโดยตำแหน่ง 2.สมาชิกซึ่งเลือกจากตัวแทนองค์กรเกษตรกรด้านพืช สัตว์ ประมง และอื่นๆ 16 คน โดยต้องเป็นสมาชิกองค์กรเกษตรกรที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ โดยให้ รมว.กษ.กำหนดหลักเกณฑ์และจัดให้มีการขึ้นทะเบียนภายใน 60 วันนับแต่ พ.ร.บ.ใช้บังคับ และ 3.สมาชิกผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งสมาชิกประเภทแรกเลือกจากผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตรกรรม 7 คน

ปรากฏว่าขณะนี้ได้เลือกตั้งสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดและประธานสภาเกษตรกรจังหวัดแล้ว สภาเกษตรกรแห่งชาติจึงมีสมาชิกตามมาตรา 5(1) หรือประเภทเลือกตั้งแล้ว แต่โดยที่ รมว.กษ.ยังมิได้กำหนดหลักเกณฑ์ฯได้มาซึ่งสมาชิกตามมาตรา 5 (2) และ (3) จึงยังไม่มีสมาชิกประเภทผู้ทรงคุณวุฒิ สภาเกษตรกรแห่งชาติจึงมีองค์ประกอบไม่ครบ ทำให้ไม่สามารถดำเนินการใด ๆ ตามอำนาจหน้าที่ใน พ.ร.บ. ได้

ประเด็นที่ 2.รมว.กษ.ผู้รักษาการตาม พ.ร.บ.สามารถกำหนดหลักเกณฑ์ฯ การได้มาซึ่งสมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติตามมาตรา 5(2) ประเภทตัวแทนองค์กรเกษตร และ 5(3) ประเภทผู้ทรงคุณวุฒิ โดยไม่ต้องรอเงื่อนเวลาตามมาตรา 7(3) ได้หรือไม่เพียงใด

คณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นว่า การจัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติชุดแรกนั้น สมาชิกประเภทตัวแทนองค์กรและผู้ทรงคุณวุฒิยังไม่อาจเลือกได้ เพราะยังไม่มีสภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการแต่งตั้ง มาตรา 5212 จึงให้ รมว.กษ. มีอำนาจแทนเพื่อให้การจัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติชุดแรกมีองค์ประกอบครบถ้วน ดังนั้น รมว.กษ.จึงสามารถกำหนดหลักเกณฑ์ฯ การได้มาซึ่งสมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติตามมาตรา 5 (2) และ (3) ชุดแรก โดยไม่ต้องรอเงื่อนเวลา .

-------------------------------------------------------------

(ล้อมกรอบ)
คุณสมบัติสมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติ
ต้องมีสัญชาติไทย อายุไม่ตํ่ากว่า 25 ปีบริบูรณ์ เป็นเกษตรกรซึ่งเป็นสมาชิกขององค์กรเกษตรกรมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี ทั้งนี้เฉพาะกรณีสมาชิกตามมาตรา 5(2)และ(4) ต้องไม่เป็นบุคคลล้มละลาย ไม่เป็นข้าราชการการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น หรือกรรมการ ที่ปรึกษา หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง ไม่เป็นข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้าง ซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมภาค ราชการส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ไม่เป็นพระภิกษุสามเณร นักพรต หรือนักบวช ไม่เป็นบุคคลซึ่งทางราชการหรือรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐหรือหน่วยงานเอกชนไล่ออก ปลดออก ให้ออก หรือเลิกจ้างเพราะเหตุทุจริตต่อหน้าที่ ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ไม่เคยจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุด เว้นแต่ได้พ้นโทษดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีหรือเป็นโทษสำหรับความผิดที่กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ.

ที่มาภาพ : http://www.chaoprayanews.com/2009/05/11/นักวิชาการ-ngo-แนะ-เกษตรกร-ใ/



http://www.isranews.org/กระแสชุมชน/เกษตร-นวัตกรรม/item/3826-“สภาเกษตรแห่งชาติ”-เดี้ยง-กฤษฎีกาตีความยังเกิดไม่ได้.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 23/11/2011 10:08 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 23/11/2011 9:46 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,257. ชาวบ้านวังน้ำเขียวเผยเหตุขายที่ ส.ป.ก. เพราะหนี้ทับ

-สกว. ดันโมเดล จัดสรรที่ทำกิน





ส.ป.ก.ยอมรับที่ผ่านมาเอาแต่แจก ไม่ตามผล ทำให้ที่ดินหลุดมือเกษตรกรสู่นายทุน ชาวบ้านเผยไม่มีใครอยากขายที่ แต่ไม่มีทุนทำกิน-หนี้สินทับ สกว.จับมือ ส.ป.ก.-สอศ.ทำโครงการพัฒนาเกษตรรุ่นใหม่ หวังผลเป็นโมเดลจัดสรรที่ทำกิน

จากสถานการณ์ปัญหาการบุกรุกที่ดิน ส.ป.ก.ในเขต อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา ศูนย์ข่าวเพื่อชุมชน สำนักข่าวอิศรา ได้ร่วมลงพื้นที่กับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ใน “โครงการสร้างและพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่” และสอบถามคนในพื้นที่ถึงกรณีดังกล่าว

นายวินัย เมฆดำ นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) อ.วังน้ำเขียว กล่าวว่าการแจกที่ดินของ ส.ป.ก.ในอดีตเป็นการให้แล้วให้เลย ไม่มีการติดตามและประเมินผลว่าเกษตรกรมีการทำกินในที่ดินจริงหรือไม่ เพียงแต่ขึ้นทะเบียนคนจนที่ไม่มีรายได้ประจำ ไม่มีที่ดินของตนเองก็ได้รับการแจก เมื่อเวลาผ่านไป จึงทำให้หลายพื้นที่กลายเป็นที่รกร้างว่างเปล่า ต่อมาเมื่อนายทุนมากว้านซื้อที่ดินจากเกษตรกร เพื่อนำไปทำรีสอร์ทตอบสนองการท่องเที่ยว จึงมีการเปลี่ยนมือ ทั้งที่ความเป็นจริงที่ดิน ส.ป.ก. จะซื้อขายไม่ได้ จึงเกิดเหตุการณ์ตามที่เป็นข่าวในปัจจุบัน

ด้านนางต้อย เจียมโพธิ์ เกษตรกร ที่ได้รับจัดสรรที่ดิน ส.ป.ก. 2.2 ไร่ ตามโครงการสร้างและพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ รุ่นที่ 1 จาก ส.ป.ก.ในนิคมเศรษฐกิจพอเพียง อ.วังน้ำเขียว กล่าวว่า ตนเองเพิ่งได้รับการจัดสรรที่ดินทำกินในปีที่ผ่านมา แต่ทราบถึงสาเหตุที่ทำให้มีการขายที่ดิน ส.ป.ก.ในอดีตว่า เนื่องจากเมื่อเกษตรกรได้รับการจัดสรรที่ดิน แต่ไม่มีเงินทุน ต้องกู้ทั้งค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าเมล็ดพันธุ์ แต่เมื่อผลผลิตราคาตกต่ำ ก็ไม่มีเงินชำระหนี้ ต้องกู้เพิ่มอยู่เรื่อยๆ ทำให้ดอกเบี้ยทบต้น เช่น จากเงินกู้เพียงแค่ 10,000 บาท ก็กลายเป็น 15,000 จากดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อเดือนทำให้ เป็นวัฏจักรเงินกู้ สิ่งที่จะหนีพ้นจุดนี้ไปได้ คือ ต้องขายที่ดิน

“ปัจจุบันมีรายได้จากการขายผักวันละ 500-1,000 บาท ถือว่าพออยู่พอกิน ถ้าเกษตรกรสามารถทำการเพาะปลูก ผลผลิตมีราคาดีจนสามารถเลี้ยงตัวได้แบบนี้ เชื่อว่าคนส่วนใหญ่คงไม่มีใครอยากขายที่ แต่เมื่อเป็นหนี้สินและหาทางออกไม่ได้ก็จำเป็นต้องขาย”

นางต้อย ยังกล่าวว่า จากสถานการณ์และข่าวที่ปรากฏในปัจจุบัน ทำให้คนเดินทางมาท่องเที่ยวน้อยลง ส่งผลให้ยอดสั่งซื้อผักตามโรงแรมและรีสอร์ทต่างๆลดลงไปบ้าง แต่อย่างไรก็ตามผักที่เธอปลูกเป็นผักปลอดสารพิษ อยู่ในความต้องการของตลาดอยู่แล้ว ดังนั้นโดยรวมจึงไม่ได้ลดลงมากนัก

นายสุวิทย์ ภูมิประเสริฐโชค เจ้าหน้าที่บริหารโครงการสร้างและพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ สกว. กล่าวว่า ประชากรมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ที่ดินในภาคการเกษตรลดลง การจัดสรรที่ดินในอดีตทำได้ถึงคนละ 10–15 ไร่ แต่ปัจจุบันอยู่ที่คนละ 2-5 ไร่ ซึ่งการเกษตรแนวใหม่ควรเป็นการผลิตที่เน้นการมีประสิทธิภาพ และผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นตามปัจจัยการผลิตที่มี

นายสุวิทย์ กล่าวต่อว่า โครงการสร้างและพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ เป็นความร่วมมือ 3 หน่วยงาน คือ สกว.ให้ความรู้และข้อมูลวิจัย คณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ที่จัดการศึกษาของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี และ ส.ป.ก. สนับสนุนที่ดินทำกิน โดยพื้นที่ อ.วังน้ำเขียวถูกจัดสรรให้เป็นพื้นที่รองรับเกษตรกรรุ่นใหม่ด้วย โดยมีที่ดิน 307 แปลง แปลงละ 2.5 ไร่ จัดสรรที่ดินให้เกษตรแล้ว 293 ราย

ทั้งนี้เกษตรกรที่ได้รับการจัดสรรที่ดินทำกินจะต้องผ่านหลักสูตรการอบรม ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ปัญหาความยากจน โดยวิธีการฝึกปฏิบัติ เช่น มีการวางแผนการผลิต การแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง

นอกจากนี้ยังมีทุนตั้งต้นให้เกษตรกรรายละ 10,000 บาท และเบี้ยเลี้ยงอีกวันละ 100 บาท ระยะเวลา 3 เดือน ระหว่างรอผลผลิต และยังการติดตามประเมินผลจากเจ้าหน้าที่โครงการด้วย ขณะนี้อยู่ระหว่างนำร่อง และหากเป็นไปได้อาจใช้เงื่อนไขนี้ในการจัดสรรที่ดิน ส.ป.ก.ต่อไป .




http://www.isranews.org/กระแสชุมชน/เกษตร-นวัตกรรม/item/3448-ชาวบ้านวังน้ำเขียวเผยเหตุขายที่-ส-ป-ก-เพราะหนี้ทับ-สกว-ดันโมเดลจัดสรรที่ทำกิน.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 23/11/2011 10:07 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 23/11/2011 9:49 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,258. นักวิชาการ เปิดประเด็น “บัตรเครดิตชาวนา” ทำลายเกษตรอินทรีย์





เวทีเกษตรอินทรีย์อาเซี่ยน เตรียมเปิดตัวระบบรับรองมาตรฐานสินค้าออกานิคสู่สากล สร้างความเชื่อมั่น-เพิ่มอำนาจต่อรองเกษตรอินทรีย์ในภูมิภาค นักวิชาการวิพากษ์ “บัตรเครดิตชาวนา” ส่งเสริมใช้ปุ๋ยเคมี ทำลายระบบเกษตรที่เป็นมิตรกับผู้ผลิต-ผู้บริโภค-สิ่งแวดล้อม

เมื่อเร็วๆนี้ ที่โรงแรมรามาการ์เด้นท์ สำนักงานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) จัดสัมมนาระหว่างประเทศ เรื่องการเสริมสร้างความยั่งยืนด้านเกษตรอินทรีย์ในภูมิภาคอาเซี่ยน โดยมีตัวแทน 9 ประเทศเข้าร่วม ได้แก่ ไทย ลาว เวียดนาม พม่า สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินเดีย

รศ.ดร.ชยาพร วัฒนศิริ ประธานกรรมการบริหารสำนักงานเกษตรอินทรีย์ (เอซีที) เปิดเผยกับศูนย์ข่าวเพื่อชุมชน สำนักข่าวอิศราว่า การประชุมกันครั้งนี้เป็นการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซี่ยน เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานด้านมาตรฐานและการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ภายในภูมิภาคเอเชีย ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล หรือ Asia Regional Organic System หรือ AROS ซึ่งจะช่วยขยายตลาดทั้งในและนอกภูมิภาคเอเชีย

“ที่ผ่านมากลุ่มประเทศที่มีอำนาจซื้อ เช่น อียู(สหภาพยุโรป) มีบทบาททางการตลาดมากเกินไป เช่น กำหนดมาตรฐานสูงเกินไป กลุ่มผู้ผลิตที่แท้จริงต้องร่วมมือกันสร้างความเข้มแข็ง สร้างเครือข่ายกันพัฒนาระบบรับรองมาตรฐานที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ และเป็นจริง เพื่อสร้างอำนาจการต่อรองทางการค้า”

ประธานเอทีซี กล่าวต่อว่า กระบวนการดังกล่าวต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจพื้นฐานที่ตรงกันก่อน เพราะ AROS จะเป็นการตรวจรับรองมาตรฐานทุกขั้นตอน ตั้งแต่พื้นที่การเพาะปลูก สภาพแวดล้อม ขั้นตอนต่างๆ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคได้ ภายหลังจากการประชุมหาแนวทางจนได้มาตรฐานทุกขั้นตอนแล้ว จะเปิดตัวในงานออกานิกแฟร์ ที่ประเทศเยอรมันซึ่งถือเป็นการประกาศตัวในเวทีระดับโลก

“การรับรองสินค้าเกษตรอินทรีย์ในเมืองไทยมี 2 ส่วนคือกรมวิชาการเกษตรหรือ “ออกานิกไทยแลนด์” รับรองเฉพาะภายในประเทศ และมาตรฐานเกษตรอินทรีย์(มกท.)รับรองโดย IFOAM (International Federation of Organic Agriculture Movements) และ มกอช. สามารถส่งออกต่างประเทศ รับรองให้กับบริษัทขนาดใหญ่และการรวมกลุ่มของเกษตรกรรายย่อยที่ประสบความสำเร็จ เช่น การส่งข้าวไปยุโรป”

รศ.ดร.ชยาพร ยังกล่าวว่า มกท. ยังรับรองมาตรฐานสินค้าออกานิกให้กับประเทศสมาชิกด้วย ได้แก่ ลาว พม่า เวียดนาม เขมร อินโดนีเซีย มาเลเซีย และเนปาล แต่ยังเป็นมาตรฐานระดับประเทศอยู่ ซึ่งหากมีมาตรฐาน AROS จะช่วยให้สินค้ามีความน่าเชื่อถือมากขึ้น ซึ่งผู้ได้รับประโยชน์หลักคือกลุ่มเกษตรที่ได้รับมาตฐานจาก มกท. อยู่แล้วเพราะ AROS เป็นมาตรฐานในการเทียบเคียงกับระดับสากล และฝากรัฐบาลให้สนับสนุนเกษตกรให้หลากหลายกว่านี้

ประธานกรรมการบริหารสำนักงานเกษตรอินทรีย์ ยังกล่าวถึงนโยบายประชานิยมบัตรเครดิตชาวนาของว่าที่รัฐบาลใหม่ว่า เป็นการสนับสนุนให้เกษตรกรใช้สารเคมีอย่างแพร่หลาย และทำลายระบบเกษตรอินทรีย์ปลอดสารที่เป็นมิตรกับเกษตรกร ผู้บริโภค สิ่งแวดล้อม

“บัตรเครดิตชาวนาเป็นการสนับสนุนให้ใช้เคมีอย่างแพร่หลาย ไม่ก่อประโยชน์อย่างแท้จริง เพราะการให้ความรู้เกษตกรยังไม่มี เช่น การสารเคมีที่ถูกวิธี ใส่แค่ไหน เท่าไหร่ ไม่ให้ตกค้างในดินและผลผลิต ไม่เคารพสิทธิผู้บริโภคด้วย กลุ่มที่มีศักยภาพหรือกำลังตั้งหลักอยู่ก็อาจจะเปลี่ยนใจไปใช้สารเคมีแบบเดิมเพราะได้รับการสนับสนุน การพัฒนาอย่างแท้จริงเกษตรกรควรจะพึ่งพาตัวเองได้ และมีความรู้ความเข้าใจ มากกว่าการรอคอยความช่วยเหลือ” ประธานเอทีซี กล่าว .



http://www.isranews.org/กระแสชุมชน/เกษตร-นวัตกรรม/item/2989-นักวิชาการ-เปิดประเด็น-“บัตรเครดิตชาวนา”-ทำลายเกษตรอินทรีย์.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 23/11/2011 9:57 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,259. “แม่โจ้โพลล์” เผยปัญหาเกษตรกรโครงการหลวง สะท้อนภาพเกษตรกรรมไทย





มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สำรวจเกษตรกร พบมี
- ปัญหาต้นทุนร้อยละ 48
- ราคาผลผลิตร้อยละ 38
- ขายผ่านพ่อค้าคนกลางร้อยละ 76 แต่
- ร้อยละ 37 อยากขายเอง
- ร้อยละ 41 อยากเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร


ว่าที่ร้อยตรี ดร.สุรชัย กังวล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรทางการเกษตร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เปิดเผยว่า แม่โจ้โพลล์สำรวจความคิดเห็นของกลุ่มเกษตรกรโครงการหลวงในพื้นที่ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ ในหัวข้อ “สหกรณ์การเกษตรกับการพลิกฟื้นความหวังเกษตรกรด้วยพืชความหวังใหม่” เพื่อทราบถึงแนวทาง และความต้องการพัฒนาการเกษตรของเกษตรกร โดยสอบถามเกษตรกรบนพื้นที่สูง 165 ราย ระหว่าง วันที่ 21 เม.ย.- 6 พ.ค.54

โดยเกษตรกรบนพื้นที่สูงส่วนใหญ่ ร้อยละ 81.70 ตัดสินใจทำการเกษตรในปริมาณเท่าเดิมกับปีที่ผ่านมา เพราะพื้นที่เพาะปลูกและแรงงานมีจำนวนจำกัด ต้องการดูแลผลผลิตให้มีคุณภาพ

ขณะที่ร้อยละ 15.10 ตัดสินใจเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกทางการเกษตร เพราะต้นทุนการเพาะปลูกต่ำและผลผลิตมีราคาค่อนข้างดี และต้องการปลูกทดแทนต้นที่มีอายุมาก


ทั้งนี้มีเพียงร้อยละ 3.20 ที่ตัดสินใจลดพื้นที่การเพาะปลูกลง เพราะเกษตรกรต้องใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืชในปริมาณมาก ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพ รวมถึงสภาพพื้นที่และสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวยในการเพาะปลูก
- ร้อยละ 48.40 ประสบปัญหาต้นทุนการผลิตสูง
- ร้อยละ 38.10 ประสบปัญหาการขายผลผลิตได้ราคาต่ำ
- ร้อยละ 22.20 ประสบปัญหาเรื่องคุณภาพของผลผลิต
- ร้อยละ 20.60 ประสบปัญหาเรื่องขาดแคลนเงินทุนในการผลิตและพัฒนาคุณภาพ
- ร้อยละ 17.50 ประสบปัญหาจากโรคพืชและแมลงศตรูพืชเข้าทำลาย
- ร้อยละ 12.70 ต้องประสบปัญหาพื้นที่ทำการเกษตรมีน้อยเนื่องจากเป็นพื้นที่สูง
- ร้อยละ 10.30 เจอปัญหาการขาดความรู้ในการเพาะปลูก




ด้านการขายผลผลิตทางการเกษตร พบว่าส่วนใหญ่
- ร้อยละ 76.20 ขายให้กับพ่อค้าคนกลางเพราะสะดวกและไม่จำเป็นต้องหาตลาดเอง
- ร้อยละ 11.10 ขายให้กับโครงการหลวงเนื่องจากเป็นแหล่งรับซื้อผลผลิตของชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง
- ร้อยละ 11.10 นำผลผลิตไปขายด้วยตนเอง
- ร้อยละ 1.60 เท่านั้นที่ขายผลผลิตให้กับสหกรณ์



ส่วนแนวทางในการเพิ่มมูลค่าของผลผลิตของตนเองนั้น
- ร้อยละ 41.30 เห็นควรมีการจัดการพื้นที่เพาะปลูกให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร
- ร้อยละ 37.30 เห็นควรให้นำผลผลิตไปขายนอกพื้นที่ด้วยตนเอง
- ร้อยละ 13.50 ควรมีการแปรรูปผลผลิต




ว่าที่ร้อยตรีดร.สุรชัย กล่าวต่ออีกว่า ในส่วนของความช่วยเหลือเกษตรกร
- ร้อยละ 65.10 ระบุว่าได้รับการอบรมให้ความรู้
- ร้อยละ 53.20 ระบุกล่าวได้รับการสนับสนุนด้านการตลาด
- ร้อยละ 46.80 ได้รับการสนับสนุนด้านพันธุ์พืชที่เพาะปลูก
- ร้อยละ 41.30 บอกว่าได้รับการสนับสนุนด้านการเงินและปัจจัยการผลิต
- ร้อยละ 1.60 บอกว่าได้รับส่วนลดราคาปุ๋ยและยาฆ่าแมลง




ทั้งนี้ด้านความช่วยเหลือในส่วนของสหกรณ์การเกษตรโครงการหลวงนั้น
- ร้อยละ 40.40 ต้องการให้จัดตั้งกองทุนกู้ยืมเพื่อจัดซื้อปัจจัยการผลิตสำหรับสมาชิก
- ร้อยละ 28.80 ต้องการให้เป็นตัวกลางในการรับซื้อผลผลิตทางการเกษตรที่แน่นอนสำหรับสมาชิก
- ร้อยละ 9.60 ต้องการให้เป็นหน่วยงานที่ช่วยสรรหาพันธุ์พืช ที่เหมาะสมที่จะปลูกในพื้นที่และควรให้มีเจ้าหน้าที่โครงการหลวงเข้ามาอบรม และให้ความรู้เกี่ยวกับการทำการเกษตร
- ร้อยละ 7.70 บอกว่าควรจัดตั้งกองทุนเมล็ดพันธุ์พืชสำหรับสมาชิกและควรจัดตั้งกองทุนสวัสดิการในการดูแลสุขภาพสมาชิก .




ที่มาภาพ : http://e-service.agri.cmu.ac.th/research/view_research_detail.asp?TRes_id=01-065-A-47



http://www.isranews.org/กระแสชุมชน/เกษตร-นวัตกรรม/item/2468-“แม่โจ้โพลล์”-เผยปัญหาเกษตรกรโครงการหลวง-สะท้อนภาพเกษตรกรรมไทย.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 24/11/2011 7:16 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 23/11/2011 10:03 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,260. ส.คลังสมองฯ ฉายภาพอนาคตเกษตรไทยน่าห่วง





ส.คลังสมองของชาติสะท้อน 3 ภาพอนาคตเกษตรไทย อีก 10 ปีข้างหน้าน่าห่วง หากไ่ม่รีบติดเครื่อง การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ-การเมืองภายใน เป็นตัวแปร

เมื่อเร็วๆนี้ ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันคลังสมองของชาติและภาคีเครือข่าย จัดสัมมนาวิชาการ “ภาพอนาคตการเกษตรไทย 2563” โดย ศ.ดร.ปิยะวัติ บุญ-หลง ผู้อำนวยการสถาบันคลังสมองของชาติ กล่าวว่า การคาดการณ์ภาพอนาคตเป็นกระบวนการที่ดึงเอาปัจจัยซึ่งไม่แน่นอน ใช้สัญญาณที่เกิดขึ้นในสภาพการณ์ปัจจุบัน โดยมีจุดร่วม 2 ปัจจัยคือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเมืองภายในประเทศ โดยมาวิเคราะห์ให้เห็นความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นกับภาคเกษตรไทยในอีก 10 ข้างหน้าผ่านกระบวนการมองภาพอนาคต (forsign) ที่อาศัยทุกภาคส่วนของสังคมวิเคราะห์เชื่อมโยงปัจจัยอย่างเป็นระบบ เพื่อใช้เตรียมรับมือและวางแผนการปรับตัวที่เหมาะสมและเป็นไปได้ สรุปเป็น 3 ภาพ ได้แก่ ไม้ล้ม ไม้เลี้ยง และไม้ป่า



น.ส.นงนภัทร รุ่งอรุณขจรเดช ที่ปรึกษาชมรมเกษตรกรคลื่นใหม่ จ.นครปฐม ตัวแทนนำเสนอภาพไม้ล้มว่า ภาพดังกล่าวคาดการณ์ภาคเกษตรไทยใน 10 ข้างหน้าจะล้มเหลว เนื่องจาก

- การเมืองที่ยุ่งเหยิง ส่งผลให้นโยบายด้านการเกษตรเน้นไปที่การสงเคราะห์มากกว่าสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกร,

- เกษตรกรรายย่อยซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้สูงวัยยังคงทำเกษตรแบบดั้งเดิม โดยไม่ปราศจากเทคโนโลยีที่เหมาะสม ขณะที่เกษตรกรรายใหญ่แข็งแกร่งและผูกขาด,

- ความพยายามในการปฏิรูประบบวิจัยด้านการเกษตรของรัฐจะยังคงล้มเหลว, สภาเกษตรกรแห่งชาติที่ตั้งขึ้นจะถูกแทรกแซงโดยการเมืองกลายเป็นสภานักการเมืองแทน,

- แรงงานจะน้อยลง บ้านเมืองจะเข้าสู่ยุคข้าวยากหมกแพงอันเป็นผลจากสภาพภูมิอากาศและหาวิธีการแก้ไขไม่ได้

“เสมือนภาพของต้นไม้ที่มีรากแต่ไม่ดูดซับน้ำดิน ใบไม่สังเคราะห์แสงทางความรู้ให้ลำต้นเติบใหญ่ยืนต้นตายท่ามกลางป่าที่อุดมสมบูรณ์ด้วยไม้หลายพันธุ์ที่ต่างแย่งกันเสียดแทงลำต้นเพื่อเติบโตและแผ่กิ่งก้านทางความคิดปกคลุมไม้ที่อ่อนแอต่างกว่า” น.ส.นงนภัทร กล่าว



นายกมลศักดิ์ เลิศไพบูลย์ อดีตผู้อำนวยการสำนักพัฒนาเกษตรกร กรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวถึงภาพไม้เลี้ยงว่า เป็นภาพที่สะท้อนว่าใน 10 ปีข้างหน้า เกษตรกร เอกชนและรัฐบาลจะร่วมมือกันในการพัฒนาภาคเกษตร โดยนโยบายประชานิยมของรัฐบาลจะสนับสนุนภาคเกษตรได้ตรงเป้ามากขึ้น สร้างแรงจูงใจให้คนรุ่นใหม่หันหลังกลับเข้าภาคเกษตร ในลักษณะ “ผู้ประกอบการเกษตร” ที่มีความรู้ด้านเทคโนโลยีและการตลาดมากขึ้น, มีการเพิ่มมูลค่าผลผลิตโดยรัฐเป็นผู้สนับสนุน เกิดตลาดที่เชื่อมต่อกับระบบสื่อสารที่ทันสมัย ส่วนผลกระทบที่เกิดจากสภาพอากาศจะได้รับการช่วยเหลือจากนโยบายรัฐ โดยทั้งหมดจะเคลื่อนผ่านสภาเกษตรกรฯ ที่ผูกโยงด้านข้อมูลสู่เกษตรกร

“มันคือภาพของต้นไม้ที่เติบโตมีกิ่งก้านออกยอดงดงามด้วยการดูแลเอาใจใส่ หมั่นรดน้ำ พรวนดิน และให้อาหารรวมทั้งคอยปกป้องจากดินฟ้าอากาศและโรคภัยที่แปรปรวน แต่ไม้เลี้ยงนั้นจะเติบโตอย่างยั่งยืนได้ด้วยรากแก้วที่แข็งแรง และท่อน้ำเลี้ยงจากส่วนอื่นที่คอยพยุง” นายกมลศักดิ์ กล่าว



นายสมปอง อินทร์ทอง ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กล่าวถึงภาพไม้ป่า คาดการณ์ว่าโลกร้อนจะกลายเป็นโอกาสให้ไทยได้ผลิตและส่งออกมากขึ้น เพราะประเทศผู้ค้าอื่นได้รับผลกระทบเสียหายรุนแรงกว่า จะเกิดการผสานเทคโนโลยีและภูมิปัญญาที่ก้าวไกลมากขึ้น เกษตรกรจะเข้มแข็งและรวมตัวกันในนามเครือข่ายเกษตรมีอำนาจต่อรองทางการตลาดและเพิ่มประสิทธิภาพพร้อมลดต้นทุนการผลิตได้เอง โดยไม่ต้องอาศัยรัฐ เสมือนภาพของต้นไม้ใหญ่ที่ผลิดอกผลตามนิเวศเกื้อกูลกันเองระหว่างสิ่งมีชีวิตด้วยกัน

“ภาพนี้คือภาพที่ต้องการให้เกิดขึ้นจริงในอนาคตมากที่สุด เพราะนั่นคือการบ่งบอกว่าเกษตรกรจะพึ่งตนเองได้ทั้งระบบ โดยภาครัฐแทบไม่ต้องมีบทบาทอะไรเลย แต่ตรงนี้ไม่ได้หมายความว่าเกษตรกรจะยืนได้เพียงลำพัง เพราะอย่างไรก็ต้องอาศัยรัฐในเชิงความต้องการทางโครงสร้างที่เอื้อต่อการผลิต” นายสมปอง กล่าว.


http://www.isranews.org/กระแสชุมชน/เกษตร-นวัตกรรม/item/540-2011-05-13-10-23-17.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 23/11/2011 10:07 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,261. โมเดล จัดการน้ำฯ กระเสียว กรมชลฯ คว้ารางวัล ยูเอ็น





โครงการส่งน้ำฯ กระเสียว สุพรรณฯ คว้ารางวัลจากองค์การสหประชาชาติ กษ.เผยเป็นนวัตกรรมรัฐ-ชาวบ้านร่วมบริหารจัดการน้ำ ลดความขัดแย้งทรัพยากร-เพิ่มผลผลิตการเกษตร เตรียมขยายผลจากต้นแบบสู่พื้นที่อื่น

เมื่อเร็วๆนี้ นายธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เปิดเผยว่าตามที่ กษ.โดยกรมชลประทานได้ส่งโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษากระเสียว จ.สุพรรณบุรี เข้าแข่งขันรางวัลคุณภาพการให้บริการประชาชนขององค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ประจำปี 2554 ประเภทการสร้างนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจเชิงนโยบาย ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกไปนั้น ปรากฏว่าโครงการดังกล่าว ได้รับรางวัลรองชนะเลิศสาขา Fostering Participation in Policy Making Decisions through Innovative Mechanisms.

ทั้งนี้รางวัลดังกล่าว ยูเอ็น จะมอบให้แก่หน่วยงานจากทุกภูมิภาคทั่วโลกที่มีประสิทธิภาพและมีผลงานเป็นเลิศในการบริการประชาชน และเป็นแบบอย่างที่ดีให้หน่วยงานนำไปปรับใช้ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติและภูมิภาค

นายธีระ กล่าวต่อไปว่าโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษากระเสียว เป็นโครงการตัวอย่างที่มีความสมบูรณ์แบบในเรื่องการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดสรรน้ำร่วมกันอย่างชัดเจน เป็นระบบ สามารถปฏิบัติได้จริง โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการจัดการชลประทาน (เจเอ็มซี) ซึ่งมีตัวแทนของเกษตรกรกลุ่มผู้ใช้น้ำ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง และตัวแทนจากโครงการชลประทานในพื้นที่นั้นๆ ร่วมเป็นกรรมการ ทำหน้าที่กำหนดและวางแผนจัดการน้ำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและเป็นธรรม

นอกจากนั้น ยังมีการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำ ทั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำชลประทานพื้นฐาน 278 กลุ่ม และกลุ่มบริหารการใช้น้ำชลประทาน 9 กลุ่ม พร้อมกับอาสาสมัครชลประทาน 29 คน กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบในการบริหารจัดการน้ำของผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจนและสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม จนทำให้ประชาชนได้รับการบริการที่สะดวกและรวดเร็วขึ้น ลดความขัดแย้งระหว่างเกษตรกรกับภาครัฐลงได้ ทั้งยังมีการใช้น้ำอย่างประหยัดมากขึ้น เพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ทำให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง

“เป็นความภูมิใจในความสำเร็จที่เกิดจากความร่วมมือของทุกฝ่ายทั้งภาครัฐและกลุ่มองค์กรผู้ใช้น้ำภาคประชาชน สามารถคว้ารางวัลระดับโลกสร้างชื่อเสียงให้ประเทศ โดยโครงการนี้จะเป็นโมเดลเพื่อขยายสู่พื้นที่อื่นๆต่อไป” รมว.กษ. กล่าว .



http://www.isranews.org/กระแสชุมชน/เกษตร-นวัตกรรม/item/536-2011-05-06-15-02-14.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 44, 45, 46 ... 72, 73, 74  ถัดไป
หน้า 45 จากทั้งหมด 74

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©