-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-* นานาสาระเรื่องเกษตร.
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * นานาสาระเรื่องเกษตร.
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* นานาสาระเรื่องเกษตร.
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 41, 42, 43 ... 72, 73, 74  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 06/11/2011 6:40 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลำดับเรื่อง.....


1,062. พื้นที่นาถูกน้ำท่วม ดันข้าวราคาแพงกว่าราคาจำนำ
1,063. สศก.ประเมิน น้ำท่วมทำข้าวหายจากระบบ 540,000 ตัน
1,064. กรมชลผวา ความจุน้ำในเขื่อนทั่วประเทศล้น
1,065. โครงการปุ๋ยลดต้นทุน ของรัฐบาลประชาธิปัตย์ล้มเหลว

1,066. ส.ป.ก.แถลง พบรีสอร์ต รุกวังน้ำเขียวรวม 120 แห่ง
1,067. สศก. เผยแรงงานภาคการเกษตรไทย เริ่มวิกฤติ
1,068. ผวาเกษตรกร ใช้ฟอร์มาลีนเลี้ยงปลากันปลาตาย ก่อนขาย
1,069. กรมการข้าวเผย พ่อค้าหลอกขายเมล็ดพันธุ์ข้าวชาวบ้าน
1,070. สศก. แฉ 7.2 ล้าน ครอบครัวเกษตรกรไทย โคตรจน

1,071. สาหร่ายกับสาระน่ารู้
1,072. การใช้เชื้อจุลินทรีย์ในการควบคุมศัตรูพืช
1,073. อนุภาคนาโน ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืช
1,074. ที่ 8 ไร่ ทำเกษตรเหลือเก็บ 2 แสนต่อปี
1,075. หนีน้ำกลับบ้านเกิด ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก

1,076. ระบบเกษตรในประเทศไทย : การเกษตรทางเลือก
1,077. ปุ๋ยน้ำชีวภาพ ไบโอเทค-3
1,078. ผลไม้ตัดแต่งและการปรับปรุงคุณภาพ
1,079. เปอร์เซ็นต์ของอินทรียวัตถุที่มีอยู่ในดิน
1,080. การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี ยางพรารา

1,081. วิธีการคำนวณปุ๋ยอินทรีย์สำหรับปรับปรุงดิน
1,082. เกษตรอินทรีย์ไทย คิดให้ไกลกว่า "ปลูกข้าว" (บิสซิเนส โมเดล)
1,083. เพาะเลี้ยง 'ไส้เดือนดิน' ผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพ
1,084. ผลิตพลาสติก "ชีวฐาน"
1,085. เสริมความรู้เรื่องดิน ช่วยเกษตรกรลดรายจ่าย เพิ่มรายได้

1,086. 3 สูตรปุ๋ย เพื่อเกษตรกรชาวสวนยาง

-----------------------------------------------------------------------------------------------








1,062. พื้นที่นาถูกน้ำท่วม ดันข้าวราคาแพงกว่าราคาจำนำ





ปลัดพาณิชย์ชื้ชาวนานำข้าวเข้าโครงการรับจำนำเพียง 25,600 ตัน เนื่องจากน้ำท่วมพื้นที่เกษตรเสียหายแล้ว 9 ล้านไร่ คาดว่าราคาข้าวในเร็วๆนี้จะปรับตัวสูงใกล้เคียงราคารับจำนำ

นายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้น ทำให้มีข้าวเปลือกเข้าโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ฤดูกาล 2554/55 เพียงเล็กน้อย ตั้งแต่วันที่ 7-11 ต.ค. มีจำนวน 25,600 ตัน ใน 51 จังหวัด ซึ่งเป็นพื้นที่ภาคกลาง 21 จังหวัด แบ่งเป็นข้าวเปลือกเจ้า 25,300 ตัน และข้าวเปลือกปทุมธานี 250 ตัน ส่วนหนึ่งยอมรับว่าเกิดปัญหาน้ำท่วมทำให้นาข้าวเสียหายจำนวนมาก

ทั้ง นี้ ล่าสุดได้ รับรายงานว่ามีพื้นที่ทางการเกษตรเสียหายแล้วเกือบ 9 ล้านไร่ ในจำนวนนี้เป็นพื้นที่ปลูกข้าวในภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่างกว่า 6 ล้านไร่ คิดเป็นปริมาณข้าวเปลือก 3-4 ล้านตัน หากน้ำท่วมนานกว่านี้คาดผลผลิตข้าวเปลือกจะเสียหาย 6-7 ล้านตัน หรือ 4-5 ล้านตันข้าวสาร

ดังนั้นคาดว่าราคาข้าวไทยในเร็วๆนี้จะปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ในระดับใกล้เคียง กับราคารับจำนำของรัฐบาลที่ตันละ 15,000 บาทหรืออาจจะสูงกว่าเล็กน้อย ในส่วนที่นาข้าวเสียหายทั้งหมด รัฐบาลจะมีมาตรการชดเชยตามที่กำหนดไว้ ซึ่งจะหาข้อสรุปอีกครั้ง รอให้น้ำท่วมคลี่คลายก่อน ดังนั้นรัฐบาลจะเร่งทยอยจัดทำข้าวถุงธงฟ้าออกมาจำหน่ายให้กับประชาชนในราคา ต่ำกว่าท้องตลาด 20% ซึ่งนอกจากนาข้าวเสียหายแล้ว ในส่วนสินค้าเกษตรรายการอื่น เช่น ข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ คาดว่าราคาสูงขึ้นเช่นกัน เพราะพื้นที่เพาะปลูกบางส่วนเสียหาย คาดว่าผลผลิตจะไม่เพียงพอสำหรับบริโภคในประเทศ ซึ่งในแต่ละปีไทยผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้ประมาณ 4 ล้านตัน แบ่งเป็นบริโภคในประเทศ 3.7-3.8 ล้านตัน ที่เหลือส่งออก เช่นเดียวกับมันสำปะหลัง ที่คาดว่าจากปัญหาน้ำท่วม ราคาจะสูงขึ้นได้อีกจากปัจจุบันที่ ก.ก. 3 บาทกว่า

รายงาน ข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า ที่ประชุมคณะอนุกรรมการข้าวแห่งชาติด้านการผลิต ที่มีนายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน ได้สรุปสถานการณ์รับจำนำข้าวเปลือกนาปี ที่เปิดโครงการเมื่อวันที่ 7 ต.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งมีปริมาณข้าวเปลือกข้าวโครงการเล็กน้อย เนื่องจากผลผลิตข้าวเปลือกส่วนใหญ่ยังไม่ออกมาและบางส่วนได้รับความเสียหาย จากน้ำท่วม โดยข้อมูลดังกล่าวจะนำมากำหนดหลักเกณฑ์ช่วยเหลือเกษตรกรและเสนอต่อคณะ กรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) อนุมัติต่อไป




http://economicthai.com/index.php/argricultural-news


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 09/11/2011 2:22 pm, แก้ไขทั้งหมด 8 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 06/11/2011 6:44 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,063. สศก.ประเมิน น้ำท่วมทำข้าวหายจากระบบ 540,000 ตัน





คิดเป็นมูลค่า 3,400 ล้านบาท หวั่นรับจำนำข้าวราคาสูงจูงใจชาวนาแห่ปลูกข้าวที่เก็บเกี่ยวได้เร็วแต่คุณภาพต่ำ เพื่อรีบเอาเงินในโครงการรับจำนำ จนทำให้คุณภาพข้าวไทยลดลง

นางนารีณัฐ รุณภัย รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า จากการประเมินความเสียหายจากเหตุการณ์น้ำท่วมล่าสุดของสศก.ในช่วงต้นเดือนก.ย.ที่ผ่านมาพบว่า มีพื้นที่ทางการเกษตรถูกน้ำท่วมทั้งสิ้นประมาณ 4,000,000 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ปลูกข้าวประมาณ 3,600,000 ไร่ ซึ่ง สศก.คาดว่าเบื้องต้นจะมีผลผลิตข้าวเสียหายประมาณ 540,000 ข้าวเปลือก มูลค่าข้าวเสียหายประมาณ 3,400 ล้านบาท ส่งผลให้ผลผลิตข้าวนาปีฤดูกาล 2554/55 นี้ ลดลงเหลือประมาณ 24,460,000 ตันข้าวเปลือก จากเดิมที่คาดว่าจะมีผลผลิต 25,000,000 ตันข้าวเปลือก

"แม้ว่าน้ำท่วมจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิตทางการเกษตรในปัจจุบัน แต่หลังน้ำลดเชื่อว่าจะส่งผลดีต่อการปลูกข้าวนาปรังรอบถัดไป เนื่องจากมีปริมาณน้ำในเขื่อนและอ่างเก็บน้ำหลายแห่งมากกว่า 90% ของความจุ และคาดว่าปริมาณน้ำที่มากในปีนี้ จะส่งผลดีต่อการปลูกข้าวบนพื้นที่ดอนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้สามารถปลูกข้าวได้มากขึ้น ชดเชยส่วนที่เสียหายจากน้ำท่วมได้ เพราะภาคตันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ปลูกข้าวมากประมาณ 50 ล้านไร่ หรือคิดเป็น 50% ของพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ"

นางนารีณัฐ กล่าวว่า สำหรับโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 สศก.เป็นห่วงว่าเกษตรกรจะส่งผลให้เกษตรกรหันมาปลูกข้าวสายพันธุ์ที่เก็บเกี่ยวได้เร็ว แต่มีคุณภาพต่ำกันมากขึ้น เช่น พันธุ์ข้าวพวงเงินพวงทอง ที่มีระยะเก็บเกี่ยวไม่ถึง 90 วัน เพื่อนำข้าวมาร่วมโครงการให้เร็วที่สุด ซึ่งจะส่งผลให้มาตรฐานข้าวไทยลดลง จนโครงการรับจำนำในอดีตต้องประกาศงดรับจำนำข้าวบางสายพันธุ์ที่ไร้คุณภาพมากแล้ว ขณะที่โครงการรับจำนำปีนี้ยังไม่มีการกำหนดห้ามข้าวคุณภาพต่ำเลย

ส่วนที่รัฐบาลกำหนดปริมาณรับจำนำทั้งสิ้น 25,000,000 ตันข้าวเปลือกนั้น สศก.ประเมินว่าจะมีเกษตรกรน้ำข้าวมาเข้าร่วมโครงการจริงเพียงไม่กี่ล้านตัน เนื่องจากจุดรับจำนำข้าว ซึ่งก็คือโรงสี ไม่ได้มีครบทุกจังหวัด ชาวนาในประเทศซึ่งส่วนใหญ่เป็นรายย่อย มีปริมาณข้าวในมือน้อย ก็จะไม่มีแรงจูงใจในการขนข้าวไปยังจุดรับจำนำ เพราะไม่คุ้มกับต้นทุนการขนส่ง



http://economicthai.com/index.php/argricultural-news
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 06/11/2011 6:50 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,064. กรมชลผวา ความจุน้ำในเขื่อนทั่วประเทศล้น





เขื่อนขนาดใหญ่ 15แห่ง ที่มีน้ำมากกว่า 80% ของความจุเขื่อน โดยเฉพาะเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ และเขื่อนป่าสักชลสิทธ์ ที่มีน้ำไหลเข้ามากจนอาการน่าเป็นห่วง ขณะที่เขื่อนเจ้าพระยาน้ำบ่าทะลักเกินศักยภาพเขื่อนรองรับแล้ว

นายวีระ วงศ์แสงนาค รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า กรมชลฯ กำลังจับตาปริมาณน้ำในเขื่อนต่างๆ อย่างใกล้ชิด โดยติดตามการประบายน้ำแบบวันต่อวัน เพื่อให้ผ่านวิกฤติน้ำหลากไปให้ได้ เพราะขณะนี้เขื่อนหลายแห่งมีระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น

เขื่อนภูมิพลวานนี้ (12 ก.ย.54) มีน้ำไหลเข้าเขื่อน 117 ล้านลบ.ม. เพิ่มขึ้นจากวันที่ 11 ก.ย.54 ที่มีน้ำไหลเข้าอ่าง 102 ล้านลบ.ม.

เขื่อนสิริกิติ์ปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนลดลงเหลือ 72 ล้านลบ.ม. จากเดิม 91 ล้านลบ.ม.แต่ยังมีปริมาณน้ำในเขื่อนมากถึง 95% ของความจุเขื่อน

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีปริมาณน้ำในเขื่อนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเพียงวันเดียวน้ำเพิ่มขึ้นถึง 8% โดยน้ำไหลเข้าอ่างวานนี้ 94 ล้านลบ.ม. จากเดิมที่มีน้ำไหลเข้า 70 ล้านลบ.ม. หากยังมีปริมาณน้ำสะสมเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเช่นนี้ไปทุกวัน อีกประมาณ 7-10 วัน น้ำก็จะเต็มเขื่อน


ทั้งนี้ กรมชลฯ ได้ประสานไปยังการไฟฟ้าฝ่ายผลิตให้ช่วยลดการระบายน้ำจากเขื่อนภูมิพลลงจาก 30 ล้านลบ.ม.ต่อวัน ให้เหลือ 24 ล้านลบ.ม.ต่อวัน เพื่อไม่ให้มวลน้ำเหนือก้อนใหม่ไหลเข้ามาถล่ม จ.นครสวรรค์ อีกระลอก เนื่องจากมีฝนตกหนักใน จ.กำแพงเพชร จึงมีน้ำไหลผ่านแม่น้ำปิงเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว คือ จาก 600 ลบ.ม.ต่อวินาที เพิ่มเป็น 1,200 ลบ.ม.ต่อวินาทีภายในวันเดียว

ส่วนที่ อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี วันนี้ถูกน้ำท่วมไปเรียบร้อยแล้วตามที่คาดการณ์ ซึ่งแนวโน้มของปริมาณน้ำในพื้นที่ดังกล่าวจะยังคงเพิ่มสูงขึ้นอีก เนื่องจากน้ำป่าไหลลงเข้าคลองชัยนาท-ป่าสักเพิ่มขึ้น แม้กรมชลฯได้ พยายามช่วยเหลือไม่ให้น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาไหลเข้ามาสมทบ ด้วยการลดบานประตูระบายน้ำมโนรมย์ลงแล้วก็ต

"ส่วนที่เขื่อนเจ้าพระยา ซึ่งเป็นเขื่อนทดน้ำ เมื่อวันที่ 12 ก.ย. มีปริมาณน้ำไหลผ่านถึง 3,012 ลบ.ม.ต่อวินาที เกินกว่าปริมาณรับน้ำของเขื่อนที่ออกแบบไว้เดิม 2,863 ลบ.ม.ต่อวินาที ซึ่งเป็นระดับที่ออกแบบไว้ว่าจะไม่ทำให้พื้นที่ท้ายเขื่อนถูกน้ำท่วม เพราะในช่วงนี้น้ำเหนือไหลลงมามาก และยังมีน้ำจากแม่น้ำสะแกกรังไหลมาสมทบอีก เมื่อเป็นเช่นนี้ระดับน้ำริม 2 ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาก็จะสูงขึ้นไปอีกวันละ 10-15 ซม. ซึ่งทั้งหมดนี้ เป็นเขื่อนสำคัญในการควบคุมน้ำก่อนที่จะไหลเข้ามากรุงเทพมหานครทั้งสิ้น ตอนนี้จึงต้องจับตาตัวแปรที่สำคัญคือ สภาพฝนว่าจะเป็นอย่างไร โดยเฉพาะในพื้นที่เหนือเขื่อนทีมีปริมาณน้ำมากอยู่แล้ว ซึ่งผมกับทีมงานก็ภาวนาว่าอย่าให้มีฝนตกลงมามากกว่านี้อีกเลย เพราะน้ำในระบบมันเต็มพิกัดแล้วจริงๆ"

ด้านศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำกรมชลประทาน ออกรายงสานสถานการณ์น้ำเมื่อวานนี้ (12 ก.ย.54)ว่า มีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 15 แห่ง ทั่วประเทศที่มีปริมาณน้ำมากกว่า 80% ของความจุเขื่อนแล้ว เพิ่มขึ้นจากวันที่ 10 ก.ย.54 ที่มีเพียง 13 แห่ง ขณะที่ในภาพรวมมีปริมาณน้ำจากในเขื่อนขนาดใหญ่ทั่วประเทศรวมกันถึง 56,718 ล้านลบ.ม.หรือ 81% ความจุของเขื่อนขนาดใหญ่ทั้งประเทศรวมกัน 70,157 ล้านลบ.ม.



http://economicthai.com/index.php/argricultural-news?start=6
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 06/11/2011 6:56 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,065. โครงการปุ๋ยลดต้นทุน ของรัฐบาลประชาธิปัตย์ล้มเหลว





เกษตรกรเข้าร่วมไม่ถึง 10,000 ราย จากที่คาดการณ์ 4.7 ล้านราย ขณะที่เงินชดเชยจ่ายได้แค่ 3 ล้านบาท จากที่ตั้งไว้ 3,450 ล้านบาท เหตุการวิเคราะห์ดินล่าช้า ผู้บริหารกระทรวงเกษตรปล่อยโครงการลอยแพ ไม่เหลียวแล เพราะมาจากคนละพรรค

ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่า ขณะนี้โครงการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิตเกษตรกรหรือโครงการปุ๋ยลดต้นทุน ของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ที่จะจ่ายเงินชดเชยราคาปุ๋ยให้แก่เกษตรกร ในอัตรา กก.ละ 1.50 บาทหรือตันละ 1,500 บาท ขณะนี้กำลังประสบปัญหาอย่างหนัก เนื่องจากตั้งแต่เริ่มต้นโครงการตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.54 จนถึงปัจจุบัน มีเกษตรกรไม่ถึง 10,000 ราย จากที่คาดการณ์ไว้ 4.7 ล้านราย ได้รับเงินชดเชยราคาปุ๋ยไปแล้วทั้งโครงการรวมเพียง 3 ล้านบาทเท่านั้น หรือไม่ถึง 1% จากวงเงินชดเชยราคาปุ๋ยในโครงการรวมมากถึง 3,450 ล้านบาท

ทั้งนี้ สาเหตุที่โครงการดังกล่าวจ่ายเงินให้แก่เกษตรกรได้น้อยมาก เนื่องจากในโครงการปุ๋ยลดต้นทุน มีเงื่อนไขว่าเกษตรกรที่จะได้รับเงินชดเชยค่าปุ๋ย จะ...


ต้องได้รับการตรวจวิเคราะห์สภาพดินโดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เสียก่อน แต่ปรากฎว่า ผลการตรวจวิเคราะห์ดินออกมาอย่างล่าช้า จนไม่ทันการเพาะปลูกของเกษตรกร ทำให้ท้ายที่สุดเกษตรกรต้องไปซื้อปุ๋ยจากร้านค้ามาใช้เอง เพราะเมื่อมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จะนำตัวอย่างดินมาวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือทีทางมหาวิทยาลัยเตรียมไว้ เพื่อให้ผลการตรวจวิเคราะห์ออกมาเป็นระบบเดียวกัน แต่กรมพัฒนาที่ดิน กลับต้องการเป็นผู้นำตัวอย่างดินมาวิเคราะห์เอง โดยให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์รับรองผลการวิเคราะห์ให้เท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อดึงงบการตรวจวิเคราะห์ดินในโครงการจำนวน 63 ล้านบาทมาไว้ที่กรมฯ ทั้งที่เงินจำนวนดังกล่าวถือว่าน้อยมากหากเทียบกับวงเงินทั้งหมดของโครงการและจำนวนเกษตรกรที่จะได้รับประโยชน์



ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ปัญหาการตรวจวิเคราะห์ดินล่าช้าจนไม่ทันกับการเพาะปลูกของเกษตรกร ไม่ได้รับการดูแลหรือแก้ไขปัญหาให้โครงการปุ๋ยลดต้นทุนดำเนินการต่อไปได้ เนื่องจากหลังมีการประกาศยุบสภา โครงการดังกล่าวซึ่งเป็นของรัฐบาลประชาธิปัตย์ ก็ไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่พรรคชาติไทยและพรรคภูมิใจไทย เป็นผู้กำกับดูแลอยู่ ขณะที่การประเมินผลการดำเนินโครงการก็ยังไม่สามารถทำได้ เพราะมีการจ่ายเงินชดเชยค่าปุ๋ยไปเพียง 3 ล้านบาท ขณะที่การว่าจ้างให้สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ) ใช้เงิน 11 ล้านบาทมาประเมินผลโครงการจึงไม่คุ้มค่า ซึ่งปัญหาทั้งหมดนี้ กระทรวงเกษตรฯ เตรียมนำเข้าไปรายงานต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไร

นายพรศักดิ์ เจริญประเสริฐ รมช.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จะเสนอ ครม.พิจารณายกเลิกปุ๋ยลดต้นทุน เนื่องจากรัฐบาลสนับสนุนโครงการรับจำนำสินค้าเกษตร โดยใช้ประกอบกับโครงการบัตรเครดิตเกษตรกร ที่สามารถนำไปซื้อปัจจัยการผลิตได้อยู่แล้ว ดังนั้นโครงการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยลดต้นทุนจึงไม่มีความจำเป็นต้องดำเนินการต่อ

นายนิพนธ์ วงษ์ตระหง่าน อดีตประธานคณะกรรมการโครงการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยลดต้นทุน กล่าวว่า โครงการส่งเสริมปุ๋ยลดต้นทุนถือว่ามีประโยชน์กับเกษตรกร หากสามารถดำเนินการได้จะทำให้ต้นทุนลดลงได้ประมาณ 15 % สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ อีกทั้งยังสามารถดำเนินการได้กับโครงการรับจำนำของรัฐบาลชุดปัจจุบัน เนื่องจากการโครงการนี้เกี่ยวข้องกับการผลิต ในขณะที่การรับจำนำเป็นเรื่องของการตลาด

"ก่อนหน้าที่จะเปลี่ยนรัฐบาลชุดปัจจุบันเข้ามาทำงาน ผมเจอกับนายธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯซึ่งก็รับปากว่าจะทำโครงการนี้ต่อ หากเป็นอย่างนี้จริงเกษตรกรก็จะลดต้นทุนการผลิตได้มากขึ้น"



http://economicthai.com/index.php/argricultural-news?start=6
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 06/11/2011 7:03 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1, 066. ส.ป.ก.แถลง พบรีสอร์ตรุกวังน้ำเขียวรวม 120 แห่ง





ล่าสุดตรวจแค่สัปดาห์เดียวพบอีก 85 แห่ง รวมกับที่ตรวจพบก่อนหน้านี้ 35 แห่ง รวมแล้ว 120 แห่ง คาดสิ้นเดือน ก.ย.นี้ ตรวจเสร็จ หารือร่วมกับกรมป่าไม้ตั้งคณะทำงาน 2 ชุด แก้ปัญหาที่ทับซ้อนระหว่าง 2 หน่วยงาน

นายสถิตย์พงษ์ สุดชูเกียรติ รองเลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม(ส.ป.ก.) เปิดเผยว่า ความคืบหน้าการสำรวจรูปแบบการถือครองที่ดิน ส.ป.ก. ที่ได้จัดสรรให้แก่เกษตรกรใน อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา จำนวน 7,913 แปลง ขนาดพื้นที่ 139,300 ไร่ ล่าสุดจนถึงวันที่ 22 ส.ค.54 ตรวจสอบที่ดินแล้วทั้งสิ้น 2,546 แปลง และพบรีสอร์ต และกิจการอื่นๆ ที่ไม่ใช่การเกษตร เพิ่มเติมจากสัปดาห์ที่ผ่านมาอีก 85 แห่ง รวมกับของเดิมที่ตรวจพบแล้ว 35 แห่ง รวมเป็น 120 แห่ง ทั้งนี้ คาดว่าการตรวจสอบที่ ส.ป.ก. ใน อ.วังน้ำเขียวทั้งหมด จะเสร็จสิ้นภายในวันที่ 30 ก.ย.54 พร้อมแยก ประเภทว่ามีการนำที่ ส.ป.ก.ไปใช้ทำกิจการรีสอร์ต ร้านอาหาร และร้านค้า จำนวนเท่าใด เพื่อรายงาน ให้นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ ตัดสินใจนโยบายการดำเนินการต่อไป

สำหรับการดำเนินงานร่วมกับกรมป่าไม้ เพื่อแก้ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนของ ส.ป.ก.กับพื้นที่ป่า โดยเฉพาะบริเวณเขตแนวป่านั้น นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ เลขาธิการ ส.ป.ก. และนายสุวิทย์ รัตนมณี อธิบดีกรมป่าไม้ ได้หารือกันเมื่อวันที่ 17 ส.ค. ที่ผ่านมา และได้เห็นชอบจัดตั้งคณะทำงานร่วมกัน 2 ชุด คือ คณะทำงานด้านแนวเขต เพื่อแก้ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนระหว่าง 2 หน่วยงาน โดยจะยึดแผนที่มาตราส่วน 1 : 4,000 เป็นเกณฑ์ เพราะที่ผ่านทั้ง 2 หน่วยงานต่างออกกฎหมายคนละครั้ง ไม่มีการประสานงานจึงทำให้เกิดพื้นที่ทับซ้อนระหว่างหน่วยงานขึ้น จนเป็นข้อขัดแย้ง และไม่สามารถตกลงได้ว่าหน่วยงานใดเป็นเจ้าของพื้นที่ และมีหน้าที่เข้าไปจัดการกับผู้บุกรุก

นายสถิตย์พงษ์ กล่าวว่า ส่วนคณะทำงานด้านกฎหมาย จะทำหน้าที่ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้สอดคล้องกับการแบ่งแนวเขต เช่น หากมีพื้นที่ที่ ส.ป.ก. จะต้องคืนให้กับกรมป่าไม้ ก็ต้องมีการแก้ไขแผนที่แนบท้ายให้ถูกต้อง ส่วนกรมป่าไม้ก็จะออกเป็นกฎกระทรวงเพื่อรับพื้นที่มาดูแลต่อไป ซึ่งทั้งหมดนี้ ส.ป.ก. และกรมป่าไม้ จะใช้เป็นแนวทางการดำเนินการกับที่ดินของ ส.ป.ก. และพื้นที่ป่าในความดูแล ของกรมป่าไม้ทั่วประเทศด้วย โดยคณะทำงานทั้ง 2 ชุด จะมีการประชุมร่วมกันในวันที่ 25 ส.ค.นี้ และจะมีตัวแทนจากผู้ตรวจการแผ่นดิน และตัวแทนจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เข้าร่วมประชุมด้วย

"การที่ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาครั้งนี้ ถือเป็นนิมิตหมายที่ดี ในการแก้ปัญหาการจัดการที่ดินของรัฐที่สะสมมาอย่างยาวนาน ซึ่งที่ผ่านมาผมบอกได้เลยว่ามันเละเทะมามากแล้ว หากทุกหน่วยงานตกลงดำเนินการร่วมกันได้ ผมคิดว่านี่คือ การยกเครื่องการจัดการที่ดินครั้งใหญ่เลยที่เดียว"




http://economicthai.com/index.php/argricultural-news?start=12
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 06/11/2011 7:29 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,067. สศก. เผยแรงงานภาคการเกษตรไทยเริ่มวิกฤติ





เกษตรกรส่วนใหญ่มีแต่คนแก่ เรียนหนังสือน้อย ซ้ำยังมีรายได้ต่ำ ขณะที่แนวโน้มเข้ามารับช่วงต่อของคนรุ่นใหม่ยังลดลง หวั่นส่งผลกระทบขาดแคลนเกษตรกรในอนาคต หวังรัฐบาลใหม่แก้ปัญหาด่วน

นาย อภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า ทิศทางของแรงงานภาคเกษตรไทยในขณะนี้อาจถือได้ว่าเริ่มเข้าสู่ภาวะวิกฤติของแรงงานในภาคเกษตรไทยแล้ว เนื่องจากปัจจุบันแรงงานภาคเกษตรกรรมไทย ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ได้รับการศึกษาน้อยและมีรายได้ต่ำ อีกทั้งแนวโน้มเข้ามารับช่วงต่อของคนรุ่นใหม่ก็ลดลงด้วย ซึ่งหากดูจากรายงานล่าสุดของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ (สศช.) พบว่าปี 2553 สัดส่วนแรงงานภาคเกษตรกรรมต่อกำลังแรงงานรวมอยู่ที่ 38.2% ลดลงจาก 68% ในปี 2520 ขณะที่สัดส่วนมูลค่าภาคเกษตรของไทยอยู่ที่ 9% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) เท่านั้น


นอกจากนี้ แรงงานในภาคเกษตรยังมีอายุเฉลี่ยสูงกว่าแรงงานในสาขาอื่นๆ โดยในปี2553 แรงงานภาคเกษตรไทยมีอายุเฉลี่ย 49.3 ปี ขณะที่อายุแรงงานรวมเฉลี่ยที่ 48.6 ปี และ 75% ของแรงงานภาคเกษตรมีระดับการศึกษาฉลี่ยเพียงระดับประถมศึกษาและต่ำกว่า ขณะที่จำนวนเกษตรกรรุ่นใหม่ ที่จะเข้ามาทดแทน ก็มีจำนวนลดลงอย่างรวดเร็วเช่นกัน โดยการทดแทนแรงงานเกษตรอายุ 15-19 ปีต่อแรงงานอายุ 60 ปีขึ้นไป ในปี 53 อยู่ที่ 32.1% เท่านั้น จากที่เคยมีการทดแทนแรงงานมากถึง 65.66 ในปี 2544 และยังมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องในอนาคต

นาย อภิชาต กล่าว่วา สาเหตุหลักของปัญหาแรงงานภาคการเกษตรไทย มาจากลักษณะงานที่เป็นงานหนักและมีความเสี่ยงค่อนข้างมาก อีกทั้งยังได้รับผลตอบแทนต่ำ รายได้มีความไม่แน่นอนสูง โดยในปี 52 ครัวเรือนลูกจ้างภาคเกษตรมีรายได้เฉลี่ยพียงครัวเรือนละ 11,087 ต่อเดือนเท่านั้น ขณะที่รายได้ของครัวเรือนไทยเฉลี่ยอยู่ที่ครัวเรือนละ 20,903 ต่อเดือน แต่การแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้ได้อย่างรวดเร็วคงทำในทันทีไม่ได้ เพราะเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่สะสมมานาน ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงเกษตรมีนโยบายหลายด้าน เพื่อพยายามดึงดูดให้เกษตรกรอยู่กับไร่นา เช่น การแจกทุนการศึกษาแก่บุตรหลานของเกษตรกรในเขต ส.ป.ก. หรือการขยายพื้นที่เพาะปลูกยางพาราในภาคอีสาน

"อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่านโยบายที่ดำเนินการอยู่ยังค่อนข้างกระจัดกระจาย จึงยังไม่สามารถมองเห็นผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจนได้ การขาดแคลนแรงงานในภาคเกษตรอาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ดังนั้น รัฐบาลใหม่ที่จะเข้ามาบริหารประเทศในเร็วๆนี้ จำเป็นต้องเป็นเจ้าภาพในการเดินหน้าแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังด้วย

นอกเหนือจากนโยบายด้านราคาข้าว และนโยบายค่าแรง โดยจะต้องสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น เพื่อเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา เช่น กระทรวงศึกษาธิการ ให้มีการจัดทำหลักสูตร ที่เน้นภาคปฏิบัติสำหรับเกษตรกร หรือกระทรวงแรงงานให้มมีส่วนวางแผนข้อมูลแรงงานให้ชัดเจน"



http://economicthai.com/index.php/argricultural-news?start=18
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 06/11/2011 8:06 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,068. ผวาเกษตรกร ใช้ฟอร์มาลีนเลี้ยงปลากันปลาตาย ก่อนขาย






เกษตรกรฮิตใช้ฟอร์มาลีนเลี้ยงปลา เผยเซลล์ขายอาหารปลาเป็นผู้แนะนำให้ใช้ ช่วยไม่ให้ปลายตายและขายได้ราคาดี โดยลงทุนต่ำกระชังละ 500 บาท ด้านกรมประมง อ้อมแอ้มรับ ไม่มีกฎหมายห้าม โยนอย.จัดการ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในกระชังหลายราย นิยมใช้สารฟอร์มาลีน ซึ่งเป็นสารชนิดเดียวกันที่ใช้ในการรักษาสภาพศพ เป็นสารฆ่าเชื้อในการเลี้ยงปลา โดยเฉพาะการเลี้ยงปลาทับทิม โดยเกษตรกรจะใส่สารดังกล่าวในกระชังปลาที่ใกล้ตาย เพื่อฆ่าเชื้อและชะลอไม่ให้ปลาตาย ซึ่งจะสามารถขายได้ในราคาดีกว่าปลาที่ตายแล้ว

ทั้งนี้เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในกระชังรายหนึ่งใน จ.ปราจีนบุรี เปิดเผยว่า พนักงานขายบริษัทจำหน่ายอาหารปลาเป็นผู้แนะนำให้เกษตรกรใช้สารดังกล่าว โดยมีค่าใช้จ่ายในการใส่สารฟอร์มาลีนกระชังละ 500 บาทเท่านั้น

นางสมหญิง เปี่ยมสมบูรณ์ อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า ปัจจุบันสารฟอร์มาลีน ไม่ได้เป็นสารต้องห้ามตามกฎหมาย ในการเลี้ยงสัตว์ ซึ่งการจะห้ามหรือสั่งระงับไม่ให้เกษตรกรใช้ในการเลี้ยงปลา ต้องให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เป็นผู้ตัดสินใจ แต่โดยทั่วไปแล้วสารฟอร์มาลีน เป็นสารเคมีที่ระเหยง่ายเมื่อโดนความร้อน ฉะนั้นเมื่อผู้บริโภคนำมาปรุงอาหาร โดยใช้ความร้อนสูงสารดังกล่าวก็จะระเหยไปหมดเอง แต่หากเกษตรผู้เลี้ยงปลาใช้สารฟอร์มาลีนในปริมาณมาก อาจยังมีกลิ่นตกค้างหลงเหลืออยู่ในเนื้อปลา

"อย่างไรก็ตาม เกษตรกรและผู้ส่งออกต้องมีความระมัดระวังการใช้สารเคมีใดๆในการเลี้ยงสัตว์อย่างเข้มงวดนอกจากนี้สำหรับผู้ที่ผลิตเพื่อการส่งออกจะต้องติดตามอย่างใกล้ชิดด้วยว่าประเทศผู้นำเข้า บังคับหรือห้ามการใช้สารเคมีชนิดใดบ้าง เนื่องจากแต่ละประเทศมีบัญชีสารเคมีต้องห้ามที่แตกต่างกัน โดยเกษตรกรและผู้ส่งออกสามารถขอรายละเอียดบัญชีสารเคมีต้องห้ามของประเทศต่างๆได้ที่กรมประมง"



http://economicthai.com/index.php/argricultural-news?start=24
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 06/11/2011 8:10 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,069. กรมการข้าวเผย พ่อค้าหลอกขายเมล็ดพันธุ์ข้าวชาวบ้าน





หลอกกันด้วยการทำถุงเลียนแบบ เหตุชาวบ้านเริ่มรู้ทันแล้ว หลังพฤติกรรมขี้ฉ้อระบาดหนักในภาคอีสานมากว่า 1 เดือน ชี้มีแต่พวกรายเล็กยังอาละวาดไม่เลิก

นายเฉลียว เมืองศรี นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ ข้าราชการที่ได้รับมอบหมายในการให้ข้อมูลเรื่องพันธุ์ข้าวเลียนแบบแก่ประชาชน เปิดเผยว่า

ขณะนี้ปัญหาพ่อค้าเมล็ดพันธุ์ข้าว แอบอ้างว่าเป็นตัวแทนจำหน่ายเมล็ดพันธุ์พืชของกรมการข้าว และจัดทำกระสอบบรรจุเมล็ดพันธุ์เลียนแบบกระสอบเมล็ดพันธุ์ข้าวของกรมการข้าว เพื่อหลอกขายเมล็ดพันธุ์ข้าวให้กับเกษตรกร ซึ่งระบาดหนักในภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยเฉพาะในจ.นครราชสีมา ยโสธร และชัยนาท

ในช่วง 1 เดือนก่อนหน้านี้ ลดลงไปอย่างมาก โดยยังเหลือเพียงผู้ผลิตพันธุ์ข้าวรายเล็กที่มีกำลังการผลิตประมาณ 10-20 ตัน บางรายเท่านั้น ที่ยังมีพฤติกรรมลักษณะดังกล่าว ซึ่งสาเหตุที่พฤติกรรมเหล่านี้ลดลงอย่างมาก เพราะชาวนาเริ่มรู้ทันกลโกงเหล่านี้มากขึ้นแล้ว ประกอบกับขณะนี้เลยช่วงการตระเตรียมพันธุ์ข้าวมาแล้ว

"อย่างไรก็ตาม เพื่อความไม่ประมาท กรมการข้าวได้ประสานไปยังหน่วยงานในพื้นที่ของกรมทั้งหมดให้เร่งประชาสัมพันธ์ กลโกงขอพ่อค้าหัวใสเหล่านี้อย่าต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้ชาวนาซึ่งเริ่มเพาะปลูกข้าวกันในช่วงนี้ ตกเป็นเหยื่อและได้รับความเสียหายจาก พันธุ์ข้าวที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นนี้เชื่อว่าจะยังคงจัดการได้ไม่เด็ดขาดอย่างแน่นอน เพราะสาเหตุเกิดจาก ปริมาณความต้องการพันธุ์ข้าวมากถึงปีละ 1,000,000 ตัน ขณะที่หน่วยงานราชการสามารถผลิตรองรับได้เพียงปีละ 100,000 ตัน หรือ 10% ของปริมาณความต้องการเท่านั้น เพราะประสบปัญหาทั้งเพลี้ยระบาดและสภาพอากาศแปรปรวน"


นายประเสริฐ โกศัลวิตร อธิบดีกรมการข้าว กล่าวว่า ผู้ผลิตพันธุ์ข้าวรายใหญ่มักไม่มีปัญหาลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้น เพราะต้องดำเนินธุรกิจยาวนาน จึงเป็นห่งภาพพจน์ด้านความน่าเชื่อถือจะ มีเพียงผู้ผลิตรายเล็กเท่านั้นที่มักใช้วิธีการทำกระสอบบรรจุเมล็ดพันธุ์เลียนแบบ ซึ่งโทษของความผิด ในกฎหมายที่เกี่ยวข้อง คือ พระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ.2518 มีน้อยมากจนพ่อค้าไม่เกรงกลัว แต่กรมการข้าวไม่ได้เพิกเฉยต่อเรื่องดังกล่าว โดยได้เรียกพ่อค้าในพื้นที่ให้เข้ามาชี้แจงเมื่อมีการกระทำดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม อยากฝากไปยังเกษตกรทั่วประเทศว่า การเลือกซื้อพันธุ์ข้าว จะต้องเลือกซื้อจากผู้ผลิตที่มีความน่าเชื่อถือเท่านั้น




http://economicthai.com/index.php/argricultural-news?start=30


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 06/11/2011 8:32 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 06/11/2011 8:15 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,070. สศก. แฉ 7.2 ล้าน ครอบครัวเกษตรกรไทย โคตรจน


อีสานครองแชมป์รายได้ต่อเดือนคนละไม่ถึง 1,000 บาท ตามติดด้วยภาคเหนือ ขณะที่มีอีก 1.56 ล้านครัวเรือน เสี่ยงยากจนในอนาคต ปัจจัยที่มีผลต่อความเหลื่อมล้ำรายได้มากสุดคือ ขนาดการถือครองที่ดินและอยู่นอกเขตชลประทาน


นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า สศก.ได้ศึกษาภาวะความยากจนของครัวเรือนภาคเกษตร ในปีเพาะปลูก 51/52 พบว่า มีครัวเรือนภาคเกษตร 29 % หรือคิดเป็นเกษตรกร 7,211,000 คน มีรายได้ต่ำกว่าระดับเส้นความยากจน คนละ 18,948 บาทต่อปี โดยเกษตรกรจำนวนดังกล่าวมีรายได้เฉลี่ยคนละ11,000 บาทต่อปีหรือคนละ 916 บาทต่อเดือนเท่านั้น ซึ่งหากแบ่งเป็นรายภาคพบว่า ครัวเรือน

เกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นกลุ่มที่ยากจนมากสุด มีรายได้เฉลี่ยคนละ 38,259 ต่อปี

รองลงมาคือภาคเหนือ รายได้เฉลี่ยคนละ 55,856 บาทต่อปี

ภาคใต้ รายได้เฉลี่ยคนละ 58,532 บาทต่อปี

ภาคกลางรายได้เฉลี่ยมากที่สุดคือคนละ 82,690 บาทต่อปี


"ในจำนวนคนจนทั้งหมดมีเกษตรกรอยู่ในระดับจนมากถึง 21% ส่วนครัวเรือนที่เกือบจนมี 9% หรือ 1,560,000 คนถือ ว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะยากจนในอนาคต ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อความเหลื่อมล้ำรายได้มากสุดคือ ประเภทของฟาร์ม ขนาดการถือครองที่ดินและการอยู่ในเขตและนอกเขตชลประทาน ส่วนการช่วยเหลือกลุ่มครัวเรือนเกษตรยากจน เพื่อยกระดับการดำรงชีพคือต้องขยายโอกาสทางการศึกษา การจัดหาที่ดินทำกินให้ กับเกษตรกรที่ยากจน เสริมสร้างกิจกรรมการผลิตนอกการเกษตรของครัวเรือนควบคู่ไปกับกิจกรรมฟาร์ม เพื่อเป็นแหล่งรายได้เสริมและเสริมสร้างระบบการจัดการแหล่งน้ำเพื่อให้เกิด การจัดการร่วมกันระหว่างชุมชนกับรัฐในการดูแลรักษา"




http://economicthai.com/index.php/argricultural-news?start=42
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 06/11/2011 11:57 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,071.


รวบรวมโดย ไปรมา ยงมานิตชัย


สาหร่ายเป็นจุลินทรีย์ชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสภาพแวดล้อมของโลกและความเป็นอยู่ของมนุษย์ เป็นส่วนหนึ่งของต้นทางห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศน์ เป็นตัวการในการรักษาสมดุลทางธรรมชาติ สามารถสร้างสารพิเศษบางชนิดที่มีประโยชน์และโทษต่อมนุษย์ ฉะนั้นจึงมีการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของสาหร่าย เพื่อที่จะรวบรวมและจัดจำแนกให้เป็นระบบสามารถนำมาใช้ประโยชน์ต่อไปในอนาคต


การศึกษาค้นคว้าหาแหล่งอาหารโปรตีนแหล่งอื่นนอกเหนือจากโปรตีนจากเนื้อสัตว์และพืช ซึ่งนับวันการผลิตจะไม่เพียงพอกับการเพิ่มของประชากรโลก สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร โดยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย-เยอรมัน ได้เห็นความสำคัญของสาหร่ายเป็นแหล่งอาหารโปรตีนและสารเคมีที่มีมูลค่าสูง เพราะประเทศไทยเป็นประเทศในเขตร้อนซึ่งเหมาะต่อการเพาะเลี้ยงสาหร่ายได้ตลอดทั้งปีโดยอาศัยพลังงานจากแสงแดด จึงได้จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการสาหร่ายขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 เพื่อศึกษาค้นคว้า ทดลองและวิจัย การเพาะเลี้ยงสาหร่ายโดยทำการสำรวจรวบรวมสายพันธุ์สาหร่ายน้ำจืดจากแหล่งน้ำต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย แยกเชื้อสาหร่ายบริสุทธิ์และเก็บรักษาสายพันธุ์สาหร่ายในสภาพที่เป็นวุ้น ซึ่งในระยะแรกศึกษาเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของสาหร่ายในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ ในระยะต่อมาทดลองทำอาหารบางชนิดโดยการผสมสาหร่ายเพื่อทดสอบความนิยมของผู้บริโภค รวมทั้งการทดสอบความเป็นพิษของสาหร่ายด้วย
สาหร่ายคืออะไร


ถ้าถามว่าสาหร่ายคืออะไร คงจะตอบได้ไม่ง่ายนัก เนื่องจากสาหร่ายมีความแตกต่างกันในเรื่องของที่อยู่อาศัย ขนาดสรีระ ชีวเคมี การสืบพันธุ์ และการจัดระเบียบขึ้นมา อย่างไรก็ตามได้มีผู้ให้คำจำกัดความที่ครอบคลุมความหมายของคำว่าสาหร่ายได้ดีพอสมควร โดยคำว่า "สาหร่าย" หมายถึง พืชชั้นต่ำที่มีคลอโรฟิลล์ สามารถสังเคราะห์แสงได้ ไม่มีส่วนที่เป็นราก ลำต้น ใบ ที่แท้จริง มีขนาดตั้งแต่เล็กมากประกอบด้วยเซลล์เดียว ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าต้องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ จนถึงขนาดใหญ่ยาวเป็นเมตรประกอบด้วยเซลล์จำนวนมาก อาจมีลักษณะเป็นเส้นสายหรือมีลักษณะคล้ายพืชชั้นสูง โดยมีส่วนที่คล้ายราก ลำต้น และใบรวมเรียกว่า Thallus



เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสาหร่าย
สายพันธุ์สาหร่ายที่จะนำมาเพาะเลี้ยงในทางการค้า ควรเป็นสายพันธุ์ที่มีการเจริญเติบโตได้รวดเร็ว มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ไม่มีสารพิษ ทนทานต่ออุณหภูมิสูง ถ้าเป็นเซลล์ขนาดใหญ่ก็จะง่ายต่อการเก็บเกี่ยว


เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสาหร่ายมี 3 ขั้นตอนที่สำคัญ คือ
1. การเพาะเลี้ยง (Algal cultivation) ตั้งแต่การเพาะเลี้ยงหัวเชื้อสาหร่ายในห้องควบคุม การเพาะเลี้ยงในอ่างขนาดใหญ่ การกวน การให้อากาศ และการใส่สารอาหาร

2. การเก็บเกี่ยว (Harvesting) โดยจะใช้เครื่องมือและวิธีการต่าง ๆ ตามแต่ชนิดของสาหร่าย เช่น เครื่องเหวี่ยง การตกตะกอน การกรอง

3. การทำแห้ง (Drying) โดยวิธีต่าง ๆ เช่น การตากแดด (Sun-drying) ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar-drying) การอบแห้งแบบลูกกลิ้ง (Drum-drying) การอบแห้งแบบพ่นฝอย (Spray-drying) การอบแห้งแบบระเหิด (Freeze-drying)



การใช้ประโยชน์จากสาหร่าย
ใช้เป็นอาหารมนุษย์

มนุษย์รู้จักนำสาหร่ายมาใช้เป็นอาหารนานนับพันปีแล้ว เช่น ชาวจีน ญี่ปุ่น ใช้สาหร่ายสีน้ำตาล (Laminaria) และสาหร่ายสีแดง (Porphyra) หรือที่เรียกว่า จีฉ่าย มาทำอาหารพวกแกงจืด ญี่ปุ่นผสม Chlorella sp. ลงในชา ซุป น้ำผลไม้ บะหมี่ และไอศครีม สำหรับห้องปฏิบัติการสาหร่ายตามธรรมชาติ คัดแยกสายพันธุ์บริสุทธิ์ วิเคราะห์ปริมาณโปรตีน 40-50% ศึกษาปัจจัยที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของสาหร่ายในห้องควบคุมเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการเลี้ยงในอ่างขนาดใหญ่เพื่อเข้าสู่อุตสาหกรรม ซึ่งผลงานวิจัยมีมากมาย เช่น การเพาะเลี้ยงสาหร่าย Spirulina Sp. ในอาหารเลี้ยงเชื้อที่มีโซเดียมไบคาร์บอเนตระดับต่าง ๆ กัน การคัดเลือกหาสภาวะที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงสาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว Spirulina Sp. เพื่อใช้เป็นอาหารมนุษย์ การเพาะเลี้ยงสาหร่ายพันธุ์พื้นบ้านเพื่อหาปริมาณโปรตีนเปรียบเทียบกับพันธุ์ Scenedesmus acutus (Selection of Local Algal Strains Related to Protein Content Compared with Scenedesmus acutus) เปรียบเทียบการเจริญเติบโตของสาหร่ายจากการเพาะเลี้ยงด้วยอาหารเลี้ยงเชื้อ 2 ชนิด (Growth Comparison of Green Algec Cultivated in Two Different Media.)

สำหรับสาหร่ายเกลียวทอง เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในปัจจุบันในรูปของอาหารเสริมสุขภาพ เนื่องจากมีคุณสมบัติเด่นคือ มีปริมาณโปรตีนสูงถึง 60% และเป็นโปรตีนที่ประกอบด้วยกรดอะมิโนที่จำเป็นกระจัดกระจายอยู่ในเซลล์อย่างได้สัดส่วน มีวิตามิน เกลือแร่ และสารให้สีธรรมชาติจำนวนมาก นอกจากนี้สาหร่ายเกลียวทองยังมีเซลล์ขนาดใหญ่ สามารถเก็บเกี่ยวได้ง่าย ผนังเซลล์บาง จึงถูกย่อยและดูดซึมได้เร็วกว่าสาหร่ายสีเขียวซึ่งมีผนังเซลล์หนา


ใช้เป็นอาหารสัตว์

สาหร่ายสามารถนำไปเลี้ยงสัตว์กระเพาะเดี่ยว เช่น หมู และสัตว์ปีกได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้สาหร่ายยังเป็นอาหารที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อการเลี้ยงสัตว์น้ำวัยอ่อนที่กินพืชเป็นอาหาร เช่น ปลา กุ้งและแพลงตอนสัตว์ เช่น ไรแดง ไรน้ำเค็ม ในประเทศญี่ปุ่นใช้สาหร่ายเกลียวทองเลี้ยงปลาไหล ปลาเทร้า กุ้ง ปลาคาร์พสี เป็นต้น ทำให้เศรษฐกิจของอุตสาหกรรมการเลี้ยงปลาสวยงามได้พัฒนาก้าวไกลออกไปมาก ผลงานวิจัย เช่น การเลี้ยงสาหร่าย Spirulina Sp. จากน้ำทิ้งแหล่งชุมชนเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ การศึกษาปริมาณความเข้มข้นที่เหมาะสมของสาหร่าย Chlorella Sp. (K3) สำหรับนำไปเลี้ยงพวกไดอะตอม แพลงตอนสัตว์ (Lapadella benjamini) ที่ระดับความหนาแน่นแตกต่างกัน การนำ Chlorella Sp. ที่ได้จากการเลี้ยงในน้ำทิ้งโรงงานผลิตน้ำนมถั่วเหลืองมาเลี้ยงไรแดง ความเป็นไปได้ในการเลี้ยงหอยมุกน้ำจืด Chamberlai hainesiana ด้วยสาหร่ายชนิดต่าง ๆ ในห้องปฏิบัติการ เป็นต้น


ใช้ในการกำจัดน้ำเสีย
การใช้สาหร่ายในการกำจัดน้ำเสียร่วมกับแบคทีเรีย โดยแบคทีเรียจะทำการย่อยสารประกอบอินทรีย์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน ให้เป็นสารประกอบอนินทรีย์ เช่น แอมโมเนียม ไนเตรต คาร์บอนไดออกไซด์ และเกลือแร่ต่าง ๆ ในสภาพการเกิดที่มีอากาศ (aerobic) หรือไม่มีอากาศ (anaerobic) จากนั้นสาหร่ายจะใช้สารประกอบเหล่านี้ในกระบวนการเมตาบอลิสมต่าง ๆ สำหรับสาหร่ายที่ได้จากระบบกำจัดน้ำเสียนี้ อาจนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ ปุ๋ยพืชสด หรือใช้ในการทำแก๊สชีวภาพได้ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องได้แก่ การศึกษาการเจริญเติบโตของสาหร่าย Spirulina platensis ที่เพาะเลี้ยงในมูลหมูผสมมูลไก่ที่มีการหมุนเวียนของสารอาหารแตกต่างกัน การผลิตสาหร่ายเกลียวทอง จากน้ำทิ้งโรงงานแป้งมันสำปะหลัง การเลี้ยงสาหร่ายเกลียวทองจากน้ำทิ้งโรงงานน้ำอัดลม เป็นต้น


ใช้เป็นปุ๋ยชีวภาพ
สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว (Blue green algae) รู้จักกันแพร่หลายในแง่ของการใช้เป็นปุ๋ยชีวภาพ จากการวิจัยของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย พบว่าสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินในนาข้าวบางชนิดสามารถตรึงไนโตรเจนในอากาศให้เป็นสารประกอบไนโตรเจน เช่น แอมโมเนียม ทำให้ข้าวเจริญเติบโต ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ Anabaena sp. และ Nostoc sp. พันธุ์ที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย พบในประเทศและให้ผลผลิตดี มีชื่อว่า Anabaena siamensis


ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง
สาหร่ายประกอบด้วยสารเคมีบางชนิดที่ช่วยในการรักษาผิวหนัง ชนเผ่า Kanembu ที่อยู่รอบทะเลสาบชาด ได้ใช้สาหร่ายเกลียวทองรักษาโรคผิวหนังบางชนิด การศึกษาในประเทศญี่ปุ่นพบว่า เครื่องสำอางที่ผสมสาหร่ายและสารสกัดจากสาหร่ายเกลียวทองช่วยให้ผิวพรรณดีขึ้นและลดริ้วรอย ส่วนในประเทศไทยก็ได้มีบริษัทหลายแห่งที่ใช้สาหร่ายเกลียวทองเป็นเครื่องสำอางในรูปครีมบำรุงผิว


ใช้ในอุตสาหกรรมยา
นักวิทยาศาสตร์และนายแพทย์หลายท่านได้ทดลองใช้สาหร่ายเกลียวทองในการป้องกันและรักษาโรคต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคกระเพาะ อีกทั้งยังช่วยลดความเครียดและความไม่สมดุลในร่างกาย ในประเทศฝรั่งเศส ได้ทดลองใช้ยาที่ผสมสาหร่ายเกลียวทองทาแผล ทำให้แผลแห้งเร็วขึ้น ธาตุแมกนีเซียมในคลอโรฟิลล์ยังมีบทบาทอย่างสำคัญในการรักษาบาดแผล มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อป้องกันการเกิดของแบคทีเรียและช่วยสร้างเซลล์ขึ้นมาใหม่ด้วย คลอโรฟิลล์ในสาหร่ายมีโครงสร้างเหมือนสารสีแดงในเลือด (hemo-globin) นักวิทยาศาสตร์จึงแนะนำให้ใช้คลอโรฟิลล์รักษาโรคโลหิตจาง นอกจากนี้สาหร่ายบางชนิดสารปฏิชีวนะซึ่งเป็นประโยชน์ต่อวงการแพทย์ ได้แก่ cyanophycin หรือ marinamycin ซึ่งสารเหล่านี้มีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคต่าง ๆ ได้ สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว scytonema No.11 เป็นสาหร่ายที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย แยกได้จากดินนาจังหวัดพิษณุโลก พบว่า สามารถผลิตสารปฏิชีวนะ Cyanobacterin ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นทั้ง algicide และ bacteriocide ที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของสาหร่ายและแบคทีเรียบางชนิดได้


ใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ
สาหร่ายสีแดงพวก Gelidium, Gracilaria สามารถนำไปสกัดทำเป็นวุ้น เพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาหาร และเป็นอาหารเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์

สาหร่ายสีน้ำตาลพวก Laminaria, Ascophyllum, Macrocystis นำไปสกัดเป็น แอลจินหรือแอลจิเนต ซึ่งนำไปใช้ในการทำนม ขนมปัง ไอศครีม ขนมหวาน ลูกกวาด สบู่ แชมพูสระผม เป็นต้น


ปัจจุบันห้องปฏิบัติการสาหร่ายนอกจากจะพัฒนากรรมวิธีการเพาะเลี้ยงสาหร่ายเป็นแหล่งอาหารโปรตีนแล้ว ยังได้นำสายพันธุ์สาหร่ายที่มีศักยภาพที่สามารถผลิตในทางการค้า เช่น Chlorella, Scenedesmusbs Spirulina, Dunaliella, Haematococcus มาศึกษาหาสภาวะที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงเพื่อผลิตสารอาหารหรือสารเคมีที่มีมูลค่าสูง รวมทั้งวิธีการสกัด การนำไปใช้ประโยชน์และการแปรรูปในด้านต่าง ๆ นอกจากนี้ห้องปฏิบัติการสาหร่ายยังให้บริการสายพันธุ์สาหร่าย ให้คำปรึกษา แนะนำด้านการเพาะเลี้ยงและการใช้ประโยชน์จากสาหร่ายแก่นิสิต นักศึกษาและประชาชนที่สนใจทั่วไปด้วย



http://www.ku.ac.th/e-magazine/july46/agri/seaweed.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 07/11/2011 1:03 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,072.




ดร.เยาวพา สุวัตถิ วิจัยอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ


โรคพืชเป็นปัญหาสำคัญสำหรับการเพาะปลูกพืช และจัดเป็นศัตรูพืชชนิดหนึ่งที่สามารถทำความเสียหายให้แก่ เกษตรกรผู้ปลูก ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นตั้งแต่เริ่มเพาะปลูกจนกระทั่งหลังการเก็บเกี่ยว การควบคุมโรคพืชมีหลายวิธี แต่วิธีที่ง่ายและได้ผลเร็วก็คือการใช้สารเคมี แต่ก็จะเกิดปัญหาตามมา คือ การดื้อต่อสารเคมีของเชื้อโรค การปนเปื้อนและตกค้างของสารเคมีในผลิตผลการเกษตรและในสิ่งแวดล้อม และยังมีผลต่อสุขภาพของเกษตรกรผู้ใช้และผู้บริโภคด้วย

ในปัจจุบันได้มีการค้นคว้าหาวิธีการควบคุมโรคพืชใหม่ๆ เพื่อลดปัญหาอันตรายจากการใช้สารเคมีทางการเกษตรที่เพิ่มขึ้น โดยให้เกษตรกรหันมาใช้การควบคุมโรคพืชโดยชีววิธี (biocontrol) ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่ยอมรับว่าใช้ได้ผลดี ได้มีการศึกษาถึงกลไกการควบคุมโรคและระบบการควบคุมโรคโดยวิธีต่างๆ โดยเฉพาะการใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์(antagonist) ที่เป็นเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา เชื้อแบคทีเรียมักเป็นปฏิปักษ์ต่อเชื้อโรคพืชโดยการแก่งแย่งอาหาร การยับยั้ง ทำลาย และการเป็นปรสิต งานวิจัยด้านการควบคุมโรคโดยวิธีชีวภาพ ส่วนใหญ่มักจะเน้นการศึกษาการควบคุมโรคที่ทำลายส่วนของพืชที่อยู่ใต้ดินมากกว่าเชื้อโรคที่เข้าทำลายส่วนของพืชที่อยู่เหนือดิน

ปัจจุบันวิธีนี้เป็นที่ยอมรับว่าเป็นวิธีที่มีโอกาสสูงในการนำไปเป็นกลยุทธ์ในการป้องกันกำจัดโรค เพราะใช้ได้ผลดีจนถึงขั้นทำในระดับการค้า

ในธรรมชาติจะมีเชื้อแบคทีเรียที่มีคุณสมบัติในการนำมาใช้ควบคุมโรคพืช เรียกว่า เชื้อปฏิปักษ์ (antagonist) โดยเชื้อนี้จะมีกลไกควบคุมเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคได้ 4 ลักษณะ คือ

1. การแข่งขัน (competition) เชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ มีความสามารถแข่งขันกับเชื้อโรคพืชในด้านต่างๆ เช่น การใช้ธาตุอาหาร, อากาศ และการครอบครองพื้นที่ได้ดีกว่า ทำให้เชื้อโรคพืชไม่สามารถเจริญเติบโต หรืออาศัยอยู่ในบริเวณที่มี เชื้อปฏิปักษ์ พืชจะเจริญเติบโตแข็งแรง มีผลผลิต สูงขึ้น การแข่งขันที่พบมากคือ การนำเอาธาตุอาหารหรือสารต่าง ๆ ที่มีอยู่ในดินหรือในสภาพแวดล้อมนั้นมาใช้ประโยชน์ในการเติบโต ทำให้เชื้อโรคขาดสาร ไม่สามารถเจริญเติบโตเข้าทำลายพืช เช่น เชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ Pseudomonas fluorescens จะผลิตสาร siderophore ช่วยในการจับยึดธาตุเหล็กใน ธรรมชาติมาใช้ได้ดีกว่าเชื้อรา Gaeumannomyces graminis var. tritici สาเหตุโรค Take-all ของ ข้าวสาลี ทำให้เชื้อรานี้ไม่สามารถทำลายรากของข้าวสาลี ช่วยให้ข้าวสาลีเจริญเป็นปกติ ให้ผลผลิตดีขึ้น

2. การทำลายชีวิต (antibiosis) เชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ที่ได้รับความสนใจคัดเลือกมาใช้ในการควบคุมโรคพืชโดยชีววิธีนั้น จะเน้นคุณสมบัติการทำลายชีวิตของเชื้อโรคเป็นส่วนใหญ่ โดยเชื้อปฏิปักษ์นี้มีความสามารถผลิตสารที่มีคุณสมบัติยับยั้งหรือทำลายเชื้อโรคได้ เช่น สารพิษ (toxin) หรือสารปฏิชีวนะ (antibiotic) พบว่ากลไกชนิดนี้เป็นการควบคุมโรคพืชโดยชีววิธีที่สำเร็จเป็นครั้งแรกโดยเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ Agrobacterium radiobacter สายพันธุ์ K84 จะผลิตสาร bacteriocin ที่มีชื่อว่า agrocin 84 ไปยับยั้งหรือทำลายเชื้อ Agrobacterium tumefaciens biotype 1 และ 2 สาเหตุโรค crown gall ของพืชได้

3. การเป็นปรสิต (parasitism) เชื้อแบคทีเรียที่มีคุณสมบัติเป็นปรสิต (parasite) เข้าไปเจริญอาศัยทำลายสิ่งมีชีวิตอื่นนั้นพบได้ไม่มากนัก การใช้ควบคุมโรคพืช ยังไม่ประสบความสำเร็จเหมือนปฏิกิริยาแบบการทำลายชีวิต เช่น Erwinia urediniolytica เข้าทำลาย pedicel ของสปอร์เชื้อราสนิมหรือเชื้อแบคทีเรีย Pasteuria penetrans ที่เป็นปรสิตของไส้เดือนฝอย Meloidogyne incognita สาเหตุโรครากปม

4. การชักนำให้เกิดความต้านทานโรค (induced disease resistance) เป็นกลไกที่น่าศึกษา ทั้งนี้เนื่องจากเชื้อจุลินทรีย์ เช่น เชื้อราหรือแบคทีเรีย โดยเฉพาะพวกที่เคยเป็นเชื้อโรค เมื่อนำมาทำให้เสียความสามารถในการทำให้เกิดโรคแล้ว สามารถจะชักนำหรือกระตุ้นให้พืชสร้างความต้านทานต่อการทำลายของเชื้อโรคได้ เช่น การเกิดกลายพันธุ์ในยีนเดียวของเชื้อรา Colletotrichum magna สาเหตุของโรคแอนแทรคโนสในพืชพวกแตง จะไม่ทำให้เกิดโรคแต่จะเจริญอยู่ในพืช ช่วยให้พืชทนต่อการเข้าทำลายของเชื้อโรคดั้งเดิมได้ หรือในกรณีของเชื้อแบคทีเรีย P. solanacearum สายพันธุ์ไม่รุนแรงที่มีชีวิตอยู่สามารถชักนำให้พืชสร้างสาร tomatine ปลดปล่อยออกมาที่บริเวณรากทำให้มะเขือเทศต้านทานต่อการเข้าทำลายของเชื้อ P. solanacearum สายพันธุ์ดั้งเดิมได้



วิธีการใช้เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์
การนำเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ไปใช้ในการ ควบคุมโรคพืช นิยมนำไปใช้กับโรคพืชที่เกิดบริเวณผิวราก (rhizoplane) หรือบริเวณผิวพืชที่อยู่เหนือดิน (phylloplane) ซึ่งการใช้เชื้อปฏิปักษ์ควบคุมโรคจะมีกรรมวิธีการใช้แตกต่างกัน

1. บริเวณผิวราก จะมีกรรมวิธีการใช้เชื้อปฏิปักษ์เพื่อควบคุมโรคได้หลายแบบแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความสะดวกในการปฏิบัติของผู้ใช้และแต่ละวิธีอาจให้ประสิทธิภาพการควบคุมโรคได้ไม่เท่ากัน ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น คุณสมบัติของพืชเอง และลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่มีหลายรูปแบบ

1.1 การคลุกเมล็ด นิยมใช้กับพืชที่ใช้เมล็ดในการเพาะปลูก โดยเมล็ดจะต้องมีขนาดไม่ใหญ่มากนัก ช่วยให้คลุกง่ายและไม่สิ้นเปลืองผลเชื้อ มักนิยมคลุกเมล็ดก่อนปลูก

1.2 การราดดิน เป็นวิธีที่นิยมปฏิบัติกันมาก แต่จะไม่ค่อยสะดวก หากจะนำไปใช้ในสภาพไร่ของเกษตรที่น้ำไม่เพียงพอ และถ้าปลูกพืชเป็นปริมาณมากก็จะยิ่งไม่สะดวกในการปฏิบัติ

1.3 การคลุกดิน เป็นวิธีการนำเอาผงเชื้อหรือสารละลายเชื้อปฏิปักษ์ใส่ไปในดินและคลุกเคล้าผสมกันให้ทั่วก่อนปลูกพืช ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่ค่อนข้างสะดวก

1.4 การจุ่มราก เป็นวิธีที่นิยมใช้กันกับพืชที่ ต้องเพาะเมล็ดแล้วย้ายกล้าไปปลูก เช่น มะเขือเทศ พริก หรือพืชที่มีเมล็ดพันธุ์ราคาแพง โดยจะต้องทำให้ดินบริเวณรากหลุดออกให้หมดก่อนนำไปจุ่มในสารละลายเชื้อที่เข้มข้น 108 cfu/ml แล้วจึงนำไปปลูกในแปลงต่อไป วิธีนี้จะทำให้เชื้อปฏิปักษ์ควบคุมโรคได้ดี เพราะรากจะสัมผัสกับเชื้อได้หมดทุกส่วน ไม่ก่อให้เกิดช่องว่างให้เชื้อโรคเข้าทำลาย


2. บริเวณผิวพืชอยู่เหนือดิน มีวิธีใช้ที่นิยม 2 วิธีคือ
2.1 การทา เป็นวิธีที่นิยมใช้กับพืชยืนต้นที่ถูกทำลาย มีแผลปรากฏให้เห็นชัดเจนบนส่วนของต้นหรือกิ่ง บริเวณที่สามารถนำเอาเชื้อปฏิปักษ์ที่เตรียมให้มีความเข้มข้นและเหนียวไปทา เพื่อให้ยึดติดกับ ผิวพืชได้คงทน

2.2 การพ่น เป็นวิธีที่นิยมใช้กับพืชที่ปลูกเป็นปริมาณมาก หรือมีลำต้นสูง ซึ่งใช้หลักการปฏิบัติเช่นเดียวกับการพ่นสารเคมีกำจัดโรคพืช

เชื้อปฏิปักษ์ที่นิยมนำมาใช้ในปัจจุบันมีทั้งแบคทีเรียและเชื้อรา ซึ่งสายพันธุ์ที่ใช้กันและผลิตขาย ในระดับอุตสาหกรรม ได้แก่
1. Bacillus thuringiensis (BT) เป็นแบคทีเรียชนิดแกรมบวก สร้าง spore และผลึกโปรตีนหลายรูปแบบ เนื่องจากผลึกโปรตีนที่สร้างขึ้นนี้มีฤทธิ์ในการทำลายแมลงศัตรูชนิดต่าง ๆ เมื่อตัวอ่อนของแมลงกินผลึกโปรตีนนี้เข้าไป สภาพความเป็นด่างในกระเพาะอาหารส่วนกลางจะย่อยสลายผลึกโปรตีนได้ protoxin และน้ำย่อย protease จะช่วยกระตุ้นให้ protoxin เข้าทำลายเซลล์ผนังกระเพาะอาหารของแมลงให้บวมและแตกออก เชื้อ BT ในกระเพาะอาหารจะไหลเข้าสู่ช่องว่างภายในลำตัวของแมลง มีผลกระทบต่อระบบไหลเวียนโลหิต ทำให้แมลงมีอาการโลหิตเป็นพิษ ชักกระตุก เป็นอัมพาต และตายในที่สุด

ปัจจุบันเชื้อ Bacillus ได้เข้ามามีบทบาทในการควบคุมแมลงศัตรูสำคัญทั้งทางด้านการเกษตรและการแพทย์ เช่น การนำมาพัฒนาเป็นสารกำจัดหนอนแมลงศัตรูพืชเศรษฐกิจ เช่น หนอนใยผัก หนอนเจาะสมอฝ้าย และควบคุมปริมาณของลูกน้ำยุงชนิดต่าง ๆ



2. Trichoderma spp.
เป็นเชื้อราชั้นสูงที่เจริญได้ดีในดิน เศษซากพืช ซากสิ่งมีชีวิตรวมทั้งจุลินทรีย์และอินทรีย์วัตถุตามธรรมชาติ เชื้อบางสายพันธุ์สามารถเป็น parasite โดยการพันรัดเส้นใยเชื้อโรคแล้วสร้างเอนไซม์ เช่น chitinase, cellulase, b-1, 3-glucanase ซึ่งมีคุณสมบัติในการย่อยสลายผนังเส้นใยของเชื้อโรคพืช จากนั้นจึงแทงเส้นใยเข้าไปเจริญอยู่ภายในเส้นใยเชื้อโรคพืช ทำให้เชื้อโรคพืชสูญเสียความมีชีวิต ซึ่งมีผลทำให้ปริมาณของเชื้อโรคพืชลดลง นอกจากนี้เชื้อรา Trichoderma spp. ส่วนใหญ่จะเจริญโดยสร้างเส้นใยและ spore ได้ค่อนข้างรวดเร็ว จึงมีความสามารถสูงในการแข่งขันกับเชื้อโรคพืชด้านการใช้อาหารและแร่ธาตุต่างๆ จากแหล่งอาหารในธรรมชาติ ตลอดจนการใช้สารที่จำเป็นต่อการเจริญของเส้นใยได้เป็นอย่างดี ขณะที่บางสายพันธุ์สามารถสร้างสารปฏิชีวนะออกมาเพื่อยับยั้งหรือทำลายเส้นใยของเชื้อโรคจนเกิดการ lysis ได้ ด้วยคุณสมบัตินี้ จึงได้มีการนำเชื้อรา Trichoderma มาใช้เพื่อควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืชหลายชนิด เช่น Sclerotium spp, Pythium spp. และ Fusarium spp. ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเมล็ดเน่า, รากเน่า ฯลฯ โดยปัจจุบันได้มีการผลิตเชื้อ Trichoderma harzianum เป็นผลิตภัณฑ์ใช้อย่างแพร่หลายทั้งในพืชผัก ไม้ประดับ พืชไร่ พืชส่วนต่าง ๆ


3. Chaetomium spp.
เป็นเชื้อราพวก saprophytes ที่จัดอยู่ในกลุ่ม Ascomycetes สามารถเจริญได้ดีในเศษซากพืชและสัตว์ที่เน่าเปื่อยผุพัง และอินทรีย์วัตถุต่างๆ มีการขยายพันธุ์โดยใช้เพศและทนต่อสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ดี โดยพบว่ามี C.globosum และ C.cupreum สายพันธุ์ที่เฉพาะเจาะจง สามารถควบคุมเชื้อราสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคพืช ได้แก่ Fusarium spp., Rhizoctonia spp., Pythium spp. โดยได้มีการทดลองการควบคุมโรคทั้งในพืชผักและไม้ผล พบว่าสามารถควบคุมโรคได้เท่าเทียมกับ การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา และช่วยให้การเจริญเติบโตของพืชและผลผลิตดีกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมและ ยังมีคุณสมบัติป้องกันโรคในลักษณะ broad spectrum mycofungicide ได้ด้วย

เชื้อปฏิปักษ์ที่ได้ทำการคัดเลือก ทดสอบว่ามี ความสามารถควบคุมโรคได้ดีในห้องปฏิบัติการ และในสภาพไร่แล้ว จำเป็นต้องมีการศึกษาพัฒนาเป็นชีวผลิตภัณฑ์ เพื่อนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพในเชิงการค้าต่อไป ซึ่งจะต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ดังนี้

1. มีมาตรฐานที่เชื่อถือได้ เชื้อปฏิปักษ์ที่พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์จะต้องมีปริมาณของเชื้อที่ใช้ใกล้เคียงได้มาตรฐานทุกครั้งที่ผลิต ไม่มีเชื้ออื่นปะปน และมีคุณภาพในการควบคุมโรคคงที่สม่ำเสมอ

2. มีอายุการเก็บรักษานาน ชีวผลิตภัณฑ์ที่ดีจะต้องสามารถเก็บรักษาในบรรยากาศที่ร้อนของประเทศไทย ทั้งในขณะที่จำหน่ายอยู่ในร้านค้า หรือที่เกษตรกรเก็บไว้ใช้

3. มีความปลอดภัยต่อสภาพแวดล้อม ชีวผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นจะต้องไม่เป็นโทษต่อสิ่งมีชีวิตต่างๆ และไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

4. มีการใช้ร่วมกัน เช่น การนำชีวผลิตภัณฑ์ไปใช้ร่วมกับวิธีการอื่นๆ ได้ และทำให้มีประสิทธิภาพการควบคุมโรคได้ดียิ่งขึ้น ก็จะเป็นการลดต้นทุนและเพิ่มความสะดวกในการนำไปใช้

ปัจจุบันได้มีการพัฒนาจุลินทรีย์เหล่านี้ให้อยู่ในรูปของผงและเม็ดที่สะดวกต่อการนำไปใช้และการเก็บรักษา ตลอดจนได้มีการศึกษาและพัฒนาถึงความคงตัวของจุลินทรีย์เพื่อให้เก็บไว้ได้นานที่สุด แต่ยังคงมีประสิทธิภาพควบคุมโรคได้สูง แต่การนำผลิตภัณฑ์ชีวภาพเหล่านี้มาใช้ จะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยด้วย เพราะจุลินทรีย์เหล่านี้ยังมีชีวิตอาจมีผลกระทบต่อผู้ใช้ ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ดังนั้นจึงควรมีการกำหนดมาตรการที่เหมาะสม เพื่อควบคุมความปลอดภัยต่อสิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม ตลอดถึงควบคุมการผลิตและการใช้เทคโนโลยีอย่างถูกต้องต่อไป




เอกสารอ้างอิง
1. จิรเดช แจ่มสว่าง. การควบคุมโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มา:
ตอนที่ 2 หลักการและบทบาท. วารสารเคหการเกษตร. 2538; 19(10); 159-165.

2. นิพนธ์ ทวีชัย. งานวิจัยในปัจจุบันด้านการใช้แบคทีเรียบางชนิดควบคุมโรคพืชโดยวิธีชีวภาพ. สัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องการใช้เชื้อจุลินทรีย์ในการควบคุมศัตรูพืช. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยและกรมวิชาการเกษตร. 2538; 118-129.

3. Soytong, K. Antagonism of Chaetomium cupreum to Pyricularia oryzae. J. Plant Protection in the Tropics. 1992; 9:17-23.



http://www.gpo.or.th/rdi/html/microbe.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 07/11/2011 1:13 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,073. อนุภาคนาโน ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืช
เวฬุรีย์ ทองคำ


การศึกษาเกี่ยวกับอนุภาคนาโนที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโต และพัฒนาการของพืช รวมทั้งปริมาณอนุภาคนาโนที่สามารถเข้าสู่พืชได้นั้น เป็นหัวข้อสำคัญในการสำรวจผลกระทบของอนุภาคนาโนต่อสิ่งแวดล้อม จากรายงานผลการวิจัยพบว่าอนุภาคนาโนบางชนิดส่งผลดีต่อการเจริญเติบโตของพืช ในงานวิจัยที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ได้ทำการศึกษาผลของท่อนาโนคาร์บอนต่อการเจริญเติบโตของพืช และพืชที่ใช้ในการทดลองนี้ก็คือ มะเขือเทศ

สองนักวิจัยคือ Mariya Khodakovskaya และ Mlexandru Biris ได้ทำการศึกษาผลของ ท่อนาโนคาร์บอนต่อการเจริญเติบโตของเมล็ดมะเขือเทศ พบว่าท่อนาโนคาร์บอนสามารถกระตุ้นการงอก และการเจริญเติบโตของมะเขือเทศได้อย่างชัดเจน งานทดลองนี้นับว่ามีความสำคัญมากทางด้านเกษตรกรรม และทางด้านนาโนเทคโนโลยีไปพร้อมกัน การที่ท่อนาโนคาร์บอนสามารถกระตุ้นการเจริญเติบโตของต้นไม้ได้อย่างมีนัยสำคัญนั้น จะเป็นประโยชน์ในการเพิ่มมวลชีวภาพของพืช และการพัฒนาเกี่ยวกับปุ๋ยอัจริยะที่มีประสิทธิภาพสูง ที่จะนำมาใช้กับพืชที่ใช้ในการผลิตไบโอดีเซล นอกจากนี้ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าพืชที่ได้รับอนุภาคนาโน สามารถเจริญเติบโตได้ในหลายสภาพแวดล้อม




ภาพแสดงการเจริญเติบโตของต้นมะเขือเทศบนอาหาร โดยต้นทางซ้ายมือ ไม่มีการเติมท่อนาโนคาร์บอน สำหรับต้นตรงกลาง และต้นทางด้านขวามือมีการเติมท่อนาโนคาร์บอน



ทีมวิจัยจาก University of Arkansas ทำการศึกษาพบว่าท่อนาโนคาร์บอนสามารถจะผ่านเยื่อหุ้มเมล็ดของมะเขือเทศได้ และช่วยทำให้น้ำผ่านเข้าสู่เมล็ดของมะเขือเทศได้ดียิ่งขึ้น การกระตุ้นการผ่านของน้ำเข้าสู่เมล็ดนั้นส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่ออัตราการงอก และ ทำให้เกิดการผลิตมวลชีวภาพจำนวนมาก เมล็ดที่สัมผัสกับท่อนาโนคาร์บอนมีอัตราการงอก และการเจริญเติบโตที่มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด สำหรับข้อมูลในระดับโมเลกุลนั้นนักวิทยาศาสตร์ยังคงต้องติดตามศึกษาต่อไป

ในการทดลองนักวิจัยได้นำเมล็ดของมะเขือเทศมาเพาะในอาหารที่ ไม่มี และมีท่อนาโนคาร์บอนผนังหลายชั้น ( ท่อนาโนคาร์บอนที่ใช้มีความบริสุทธิ์มากกว่า 98 เปอร์เซ็นต์ และมีความเข้มข้นระหว่าง 10 ถึง 40 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรของอาหาร) ผลการทดลองพบว่า อัตราการงอกในอาหารที่ไม่มีการเติมท่อนาโนคาร์บอนโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 32 เปอร์เซ็นต์ ในวันที่ 12 วัน และ เพิ่มเป็น 71 เปอร์เซ็นต์ ในวันที่ 20 ส่วนอัตราการงอกของเมล็ดที่เลี้ยงด้วยอาหารที่เติมท่อนาโนคาร์บอนนั้นสูงถึง 74-82 เปอร์เซ็นต์ในวันที่ 12 และเพิ่มขึ้นเป็น 90 เปอร์เซ็นต์ ในวันที่ 20


ภาพเมล็ดมะเขือเทศที่ทำการเพาะเป็นเวลา 3 วันบนอาหารมาตราฐาน โดยเมล็ดทางด้านซ้ายไม่มีการเติมท่อนาโนคาร์บอน และทางด้านขวามีการเติมท่อนาโนคาร์บอนในอาหาร


ในการทดลองทีมนักวิจัยได้วางแผนทำการศึกษาทางด้านพันธุศาสตร์ ด้านโปรตีน และกระบวนการทำงานของเซลล์ เพื่อความเข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้น เนื่องจากการที่ท่อนาโนคาร์บอนมีผลกระทบโดยตรงต่อการเจริญเติบโตของพืช ดังนั้นการศึกษาเพิ่มเติมถึงความเป็นพิษของท่อ นาโนคาร์บอนเมื่อพืชได้รับในปริมาณมากจึงเป็นเรื่องที่จำเป็น

อย่างไรก็ตามขณะนี้ทีมวิจัยก็ยังไม่ทราบถึงกลไกที่แน่ชัดของท่อนาโนคาร์บอนมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช รวมถึงความเป็นไปได้ที่ท่อนาโนคาร์บอนจะเดินทางไปยังส่วนต่างๆ ของพืช เช่นราก หรือผลของพืช ทีมนักวิจัยเชื่อว่าผลการทดลองที่เกิดนั้นขึ้นนั้นจะแตกต่างกัน ตามชนิดของพืช และสภาพแวดล้อม คำถามที่นักวิจัยยังคงต้องหาคำตอบเพิ่มเติมคือการศึกษาความเป็นไปได้ที่อนุภาคนาโนที่อยู่ในดิน จะถูกส่งไปยังผลไม้ และเข้าสู่ร่างกายคนได้หรือไม่

การกระตุ้นการงอก และการเจริญเติบโตของพืชนั้นส่งผลต่อการเพิ่มปริมาณของมวลชีวภาพ และส่งผลทางด้านเศรษฐกิจ ตัวอย่างเช่น การกระตุ้นให้เมล็ดพืชสามารถงอกได้ภายใต้สภาวะที่ไม่เหมาะสมเมื่อขาดน้ำ จะทำให้โอกาสการเจริญเติบโตของพืชเพิ่มมากขึ้น และนี่อาจเป็นความหวังใหม่ในการทำเกษตรกรรมในทะเลทราย และสำหรับภาคอุตสาหกรรมที่ต้องการเพิ่มปริมาณมวลชีวภาพเช่นการผลิตไบโอดีเซล การผลิตวัตถุดิบสำหรับโพลิเมอร์ชีวภาพ เส้นใย และอุตสาหกรรมยาการทดลองนี้ส่งผลดีเป็นอย่างยิ่ง

ถ้าหากนักวิจัยประสบความสำเร็จในการทดสอบว่าท่อนาโนคาร์บอนสามารถกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชได้ โดยไม่กระทบต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม ท่อนาโนคาร์บอนก็จะกลายเป็นหนึ่งในวัสดุที่มีผลกระทบอย่างใหญ่หลวงสำหรับภาคการเกษตร การเพาะปลูก และด้านพลังงาน




แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- http://www.nanowerk.com

http://www.thai-nano.com/nano_articledetail.php?article_id=51
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 07/11/2011 6:48 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,074. ที่ 8 ไร่ ทำเกษตรเหลือเก็บ 2 แสนต่อปี





สำนักงาน กปร. ได้จัดกิจกรรมนำคณะสื่อมวลชน ศิลปิน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเดินทางไปชมผลสำเร็จจากการดำเนินงานในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส เมื่อช่วงเดือน กันยายน 2554 ที่ผ่านมา ภายใต้โครงการเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา ประโยชน์สุขสู่ปวงประชา

การนี้คณะได้ร่วมงานเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา ประโยชน์สุขสู่ปวงประชา ซึ่งสำนักงาน กปร. ได้ร่วมกับ สำนักราชเลขาธิการ มูลนิธิชัยพัฒนา สำนักงบประมาณ และศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส จัดขึ้น โดยมีนายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดนิทรรศการ

การจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา ประโยชน์สุขสู่ปวงประชา เป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในมหามงคลสมัยการเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา ซึ่งประชาชนคนไทยจะได้ร่วมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงอุทิศพระองค์บำเพ็ญพระราชกรณียกิจ เพื่อประโยชน์สุขของพสกนิกรชาวไทยทุกคน ยังความร่มเย็นเป็นสุขแก่พสกนิกรชาวไทยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ตลอดจนให้ชาวต่างชาติได้ชื่นชมพระอัจฉริยภาพของพระมหากษัตริย์ไทย และเพื่อให้ราษฎรในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนได้รับทราบถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ได้พระราชทานเพื่อพสกนิกร อีกทั้งจะได้เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้และเผยแพร่ผลสำเร็จที่พิสูจน์แล้วว่าสามารถน้อมนำไปปฏิบัติให้ชีวิตบังเกิดความมั่นคงและยั่งยืน

การนี้คณะยังได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมชมงานในโครงการขยายผลของศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.นราธิวาส ที่บ้านของนายประเวศ ประพันธ์วงศ์ อายุ 52 ปี มีภรรยาชื่อ นางจิรปรียา ประพันธ์วงศ์ อายุ 49 ปี เกษตรกร ต.กะลุวอเหนือ อ.เมือง จ.นราธิวาส ทั้งสองคนมีภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่จังหวัดนครปฐม มีลูกชาย 1 คน กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี

อาชีพดั้งเดิมของเกษตรกรรายนี้คือปลูกผักและรับจ้างในงานก่อสร้างทั่วไป ต่อมาในปี 2534 ได้เข้าไปฝึกอบรมการเพาะเห็ดที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ จากนั้นนำสิ่งที่เรียนรู้มาดำเนินการในพื้นที่ของตนเองโดยการเพาะเห็ดนางฟ้า เห็ดนางรม สร้างโรงเรือนบ่มเชื้อและโรงเปิดดอกของตนเอง จำนวน 20 โรง โดยซื้อเชื้อเห็ดผ่านทางกลุ่มงานวิชาการเกษตร ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ หลังจากประกอบกิจการไม่นานก็สามารถเก็บเห็ดขายมีรายได้ และเริ่มดีขึ้นเรื่อย ๆ ใช้แรงงานในครัวเรือน โดยพ่อนำเห็ดไปขาย แม่และลูกชายทำหน้าที่ฝ่ายผลิตเห็ด

นอกจากนี้ในพื้นที่ทำกิน จำนวน 8 ไร่ ได้แบ่งออกเป็นพื้นที่ปลูกยางพารา 6 ไร่ บ้านอยู่อาศัย พร้อมปลูกไผ่ และไม้ผลชนิดต่าง ๆ เป็นพืชแซม และโรงเรือนเพาะเห็ด จำนวน 2 ไร่ พื้นที่บริเวณข้างบ้านและโรงเพาะเห็ด ปลูกมะเขือ มะละกอ เลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์ ซึ่งเป็นการใช้พื้นที่ทุกตารางนิ้วของตนเองให้เป็นประโยชน์อย่างเต็มที่

ปัจจุบันเหลือโรงเรือน 12 โรง แบ่งเป็นโรงบ่มเชื้อเห็ดจำนวน 2 โรง โรงเปิดดอกเห็ด จำนวน 9 โรง และโรงผลิตก้อนเชื้อและนึ่งเชื้อ 1 โรง เพาะเห็ดนางฟ้า เห็ดฮังการีหรือเห็ดนางรมฮังการี ส่วนเชื้อเห็ด ลูกชายจะเป็นคนผลิตเองไม่ต้องสั่งซื้อเช่นช่วงเริ่มดำเนินการ และสามารถจำหน่ายเชื้อเห็ดได้ด้วย มีรายได้โดยรวมจากการจำหน่ายผลผลิตภายในครอบครัว ประมาณ 1,000 บาทต่อวัน

นอกจากทำเห็ดแล้วยังมีการเลี้ยงปลา ส่วนเห็ดที่ขายดีที่สุด คือเห็ดนางฟ้า ขายได้ต่อวันต่ำสุด ประมาณ 50 กิโลกรัม และมากที่สุดประมาณ 100 กิโลกรัม ขายราคากิโลกรัมละ 60 บาท มีคนมารับซื้อตลอด แต่หากไม่มีคนมารับซื้อที่บ้านก็จะให้สามีนำไปขายมีลูกชายเป็นผู้ช่วย ปัจจุบันเหลือเก็บประมาณ 200,000 บาทต่อปี.



http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&contentId=172640&categoryID=344
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 07/11/2011 6:51 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,075. หนีน้ำกลับบ้านเกิด ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก





วันนี้มีแรงงานจำนวนมากทยอยกลับบ้านเกิดเพื่อหนีภัยจากอุทกภัยในพื้นที่ภาคกลางและเป็นที่คาดกันว่าน่าจะอีกหลายเดือนหรือเป็นปีกว่าที่โครงสร้างการจ้างแรงงานจะกลับมาอยู่ในภาวะปกติ ฉะนั้นช่วงว่างเว้นไม่ควรปล่อยเวลาให้สูญเปล่า ใช้ผืนแผ่นดินบ้านเกิดให้เป็นประโยชน์สูงสุดด้วยการปลูกทุกอย่างที่กิน และกินทุกอย่างที่ปลูก

หากมีที่ดินก็ควรพัฒนาพื้นที่ทำเกษตรทฤษฎีใหม่ ดังเช่น เปรียวจันทร์ ต๊ะต้นยาง เกษตรกรวัย 43 ปี ชาวบ้านสันทราย ตำบลเชียงเคี่ยน อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย เจ้าของตำแหน่งเกษตรกรต้นแบบ รางวัลประกวดผลงานตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ครั้ง 2 ประเภทเกษตรทฤษฎีใหม่ รางวัลพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โครงการนี้จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) มูลนิธิชัยพัฒนา สำนักงบประมาณ กระทรวงมหาดไทย กองทัพไทย และสถาบันวิจัยและพัฒนาประเทศตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

เปรียวจันทร์ ต๊ะต้นยาง เริ่มทำเกษตรทฤษฎีใหม่ มาตั้งแต่ปี 2542 บนพื้นที่ 23 ไร่ โดยแบ่งเป็นที่พักอาศัยและโรงเรือน 3 ไร่ นาข้าว 1 ไร่ สระน้ำ 3 ไร่ ปลูกไม้ผล 6 ไร่ ปลูกพืชผัก 7 ไร่ และป่าไม้ใช้สอยอีก 3 ไร่ ด้วยน้ำพักน้ำแรงของสมาชิกทั้ง 5 คน ในครอบครัว

เกษตรกรรางวัลประกวดผลงานตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ครั้ง 2 ประเภทเกษตรทฤษฎีใหม่ เล่าให้ฟังว่า เดิมเคยทำการเกษตรเชิงเดี่ยวแต่ไม่ประสบผลสำเร็จ ด้วยต้นทุนสูง ซ้ำสุขภาพแย่ลงเป็นผลมาจากการใช้สารเคมีจำนวนมาก จึงปรับเปลี่ยนมาทำการเกษตรทฤษฎีใหม่ ที่เรียกว่า “เกษตรผสมผสาน” โดยเริ่มจากการเลิกใช้สารเคมี หันมาใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และทรัพยากรธรรมชาติที่มี ผนวกกับเทคนิคทางการเกษตรในแบบต่าง ๆ มาผสมผสานกันอย่างลงตัวตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ พระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

“การทำเกษตรพืชเชิงเดี่ยว ต้องพึ่งหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นดิน ฟ้า อากาศ น้ำ แต่เมื่อศึกษาเกษตรทฤษฎีใหม่ก็รู้สึกว่ามันไม่ใช่เรื่องยาก เริ่มจากปลูกพืชที่กินได้ กินที่ปลูก ใช้ปุ๋ยธรรมชาติจากวัตถุดิบมูลสัตว์และทรัพยากรธรรมชาติที่มีในชุมชน แบ่งสันปันส่วนพื้นที่ให้ได้ประโยชน์ได้มากที่สุด เลี้ยงวัว และหมูหลุม เพื่อเป็นอาหารและใช้มูลทำปุ๋ย” เปรียวจันทร์ กล่าว

บนพื้นที่ 23 ไร่ ที่เป็นมรดกจากบิดา ใช้แรงงานจากสมาชิกครอบครัว 5 คน ทำให้ลดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เพิ่มรายได้จากการขายผักพึ่งตนเองให้ได้มากที่สุด และได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ด้วย วันนี้ชีวิตมีความเป็นอยู่ดีขึ้น ผลผลิตที่ได้เหลือกินจากครอบครัวนำไปขาย จากที่เมื่อก่อนต้องเหนื่อยพูดว่า ผักปลอดสารพิษ ไม่หวาน ไม่อร่อย ไม่เอาสตางค์ แต่ตอนนี้ไม่ต้องพูดแล้ว เพราะคุณภาพเป็นที่ต้องการของตลาด นี่จึงเป็นความสุขอย่างยิ่ง ครอบครัวอยู่อย่างอบอุ่น ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ไม่ต้องพึ่งทรัพยากรจากที่อื่นให้เพิ่มต้นทุน มีความพออยู่พอกิน ไม่ต้องซื้ออาหาร ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่เป็นหนี้สิน ชีวิตมีความพอเพียง พอประมาณ

“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระปรีชาสามารถ พระอัจฉริยภาพสูงสุด ขอให้ทุกคนเชื่อมั่นในการปฏิบัติตามแนวทางของพระองค์ท่าน แล้วทุกคนจะได้รับผลแห่งความสำเร็จอย่างแท้จริง และความสุขที่ยั่งยืน จะพึ่งพาตนเองได้ ที่สำคัญต้องรู้จักพอประมาณ ควบคู่กับการมีคุณธรรม แล้วจะอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข” เปรียวจันทร์ กล่าว

ช่วงนี้หลายจังหวัดประสบกับอุทกภัย นิคมอุตสาหกรรมจำนวนมากล้ม มีการเลิกจ้างแรงงาน ผู้คนหนุ่มสาวจำนวนมากตกงานเดินทางกลับต่างจังหวัด เป็นไปได้ในช่วงว่างเว้นเช่นนี้หันมาพลิกแผ่นดินบ้านเกิด ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก เหลือกินส่งไปขาย ไม่เกิน 2 เดือนชีวิตจะดีขึ้น โดยดูตัวอย่างจากเปรียวจันทร์ ต๊ะต้นยาง เกษตรกรแม่แบบเกษตรทฤษฎีใหม่ของภาคเหนือ ที่สำคัญเนื่องจากภาคอุตสาหกรรมที่เจอวิกฤติน้ำท่วมจะต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 6-9 เดือนเป็นอย่างต่ำในการฟื้นกิจการและจ้างแรงงานอีกครั้งเหมือนอย่างที่ผ่านมา.



http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&contentId=173601&categoryID=344
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 08/11/2011 11:20 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,076. ระบบเกษตรในประเทศไทย : การเกษตรทางเลือก


จากสภาพปัญหาการเกษตรที่เกิดขึ้น ทำให้แนวคิดที่มุ่งแสวงหาทางออกให้แก่สังคมในด้านการเกษตร ได้มีทางเลือกใหม่เกิดขึ้น ซึ่งปฎิเสธแนวคิดการทำการเกษตรแผนใหม่ แม้ว่าเกษตรกรรมแบบเคมีจะยังคงเป็นกระแสหลักของระบบการเกษตรของประเทศไทย แต่แนวโน้มของการทำการเกษตรกรรมเช่นนี้กำลังเสื่อมโทรมลง โดยปัจจุบันเกษตรกรรมทางเลือกได้กลายเป็นกระแสที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น เนื่องมาจากความล้มเหลวของระบบเกษตรกรรมแผนใหม่ และได้ก่อให้เกิดผลกระทบมากมายหลายประการ ขณะเดียวกันเกษตรกรรมทางเลือกก็เป็นที่สนใจของหน่วยงานของรัฐ และเอกชนหลายองค์กร

เกษตรทางเลือกเป็นการทำการเกษตรอีกแบบหนึ่ง ที่ไม่ใช่เกษตรเคมีดังที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เป็นการทำการเกษตรที่เน้นการใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก แบะวัสดุคลุมดิน การผสมผสานการปลูกพืชและสัตว์ ลดการไถพรวนและงดเว้นหรือลดการใช้สารเคมีสังเคราะห์ และสารเคมีกำจัดศัตรูพืชให้น้อยลงจนถึงขั้นไม่ใช้เลย

เกษตรทางเลือกมีเป้าหมายในการผลิตอาหารและปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตมากกว่าผลิตเพื่อการส่งออก เกษตรกรจึงไม่ต้องวิ่งไปตามกระแสของตลาด อาหารที่ผลิตได้ก็เป็นอาหารที่มีคุณภาพปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง เกษตรทางเลือกมีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยไม่เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม และเปิดโอกาสให้สมาชิกในครอบครัวสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุข และสามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างกลมกลืน ซึ่งปัจจุบันเกษตรทางเลือกมีอยู่หลายกลุ่ม ส่วนใหญ่จะมีหลักการและวิธีการที่ใกล้เคียงกัน แจจะมีแตกต่างกันบ้างตรมแนวคิด และวิธีปฏิบัติไปตามสภาพทางสังคมและวัฒนธรรม ได้แก่



1. เกษตรธรรมชาติ (Natural Farming)

เกษตรธรรมชาติเป็นระบบเกษตรที่คำนึงถึงระบบนิเวศและสภาพแวดล้อมมีหลายแนวคิดที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เช่น แนวคิดของมาซาโนบุ ฟูกูโอกะ แนวคิดเกษตรธรรมชาติคิวเซของโมกิจิ โอกาดะ และ แนวคิดเกษตรธรรมชาติเกาหลีของ ฮาน คิว โช ส่วนใหญ่แนวคิดของเกษตรธรรมชาติจะมีหลักการที่คล้ายคลึงกัน คือ การไม่ไถพรวนดิน ไม่ใส่ปุ๋ยเคมี ไม่กำจัดวัชพืช ใช้การคลุมดิน ใช้พลังจากสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ในธรรมชาติ และให้ความสำคัญกับดินเป็นอันดับแรกด้วยการปรับปรุงดินให้มีพลังในการเพาะปลูก เหมือนกับดินในป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ โดยการนำทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสภาพแวดล้อม โดยไม่เป็นอันตรายต่อเกษตรกรและผู้บริโภค สามารถให้ผลผลิตที่มีทั้งปริมาณและคุณภาพ ถือได้ว่าเป็นระบบเกษตรที่มีความยั่งยืนมั่นคง

แนวทางของเกษตรธรรมชาติ เป็นแนวทางที่จะทำให้เดินเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นดินที่มีชีวิตสามารถเพาะปลูกให้ได้ผลผลิตสูง และมีคุณภาพดีไม่ว่าจะเป็นพืชไร่ นาข้าว พืชผัก ไม้ผล ไม้ดอก ไม้ประดับ และเป็นแนวทางการผลิตที่ปลอดภัยจากสารพิษทางการเกษตรทั้งต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค ไม่มีผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม

เป้าหมายของเกษตรธรรมชาติ
1. ปรับปรุงดินให้อุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ และจัดระบบนิเวศให้เกื้อกูลกัน
2. ผลิตอาหารที่มีรสชาติตามธรรมชาติ และไม่มีสารพิษ
3. ผู้ผลิตและผู้บริโภคปลอดภัยจากสารพิษจากกระบวนการผลิต
4. เกษตรธรรมชาติ เป็นระบบการเกษตาแบบยั่งยืน รักษาสมดุลธรรมชาติ


จุดเด่นของเกษตรธรรมชาติ
1. การฟื้นฟูความสมดุลของระบบนิเวศ
2. การลดการพึ่งพาปัจจัยจากภายนอก



2. เกษตรอินทรีย์ (Organic Farming)
เป็นระบบการผลิตทางการเกษตรทางเลือกที่หลีกเลี่ยงการใช้สารสังเคราะห์ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและฮอร์โมนต่างๆ ที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชและสัตว์ ตลอดจนไม่ใช้พืชหรือสัตว์ที่เกิดจากการตัดต่อทางพันธุกรรมที่อาจเกิดแลพิษในสภาพแวดล้อม เน้นการใช้อินทรียวัตถุเช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด และปุ๋ยชีวภาพในการปรับปรุงบำรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ การปลูกพืชหมุนเวียน รวมทั้งใช้หลักการควบคุมศัตรูพืชโดยชีวภาพ และเน้นการรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน

สหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (International Federation of Organic Agriculture Movements) หรือ IFOM ได้ให้ความหมายของเกษตรอินทรีย์ไว้ว่า “เป็นระบบเกษตรที่ผลิตอาหารและเส้นใยด้วยความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ โดยเน้นที่หลักการปรับปรุงบำรุงดิน การเคารพต่อศักยภาพทางธรรมชาติของพืช สัตว์ และนิเวศการเกษตร เกษตรอินทรีย์จึงลดการใช้ปัจจัยจากภายนอก และหลีกเลี่ยงการใช้สารสังเคราะห์ เช่น ปุ๋ย สารกำจัดศัตรูพืช และเวชภัณฑ์สำหรับสัตว์ แต่ในขณะเดียวกันก็พยายามประยุกต์ใช้ธรรมชาติในการเพิ่มผลผลิต และพัฒนาความต้านทานต่อโรคของพืชและสัตว์เลี้ยง หลักการเกษตรอินทรีย์นี้เป็นหลักการสากลที่สอดคล้องกับเงื่อนไขทางด้านสภาพภูมิอากาศ เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมท้องถิ่นด้วย”


หลักการทำเกษตรอินทรีย์
1. ให้ความสำคัญกับการป้องกันการสูญเสียธาตุอาหารที่เกิดจากระบบการผลิต ลดการพึ่งพาแหล่งธาตุอาหารจากนอกฟาร์มที่มากเกินไป

2. การคลุมดิน ถือเป็นหัวใจของเกษตรอินทรีย์ เกษตรกรต้องหาอินทรียวัตถุต่างๆ มาคลุมหน้าดินอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นฟาง ใบไม้ ซึ่งอินทรียวัตถุเหล่านี้จะกลายเป็นอาหารของสิ่งมีชีวิตและจุลินทรีย์ในดิน ทำให้ดินฟื้นกลับมามีชีวิตอีกครั้งหนึ่ง นอกจากนี้การไม่ใช้สารเคมีต่างๆ เช่น สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ยังเป็นการช่วยทำให้ดินสามารถฟื้นความสมบูรณ์ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้พืชที่ปลูกมีความแข็งแรงต้านทานโรคและแมลง รวมทั้งให้ผลผลิตสูง

3. สร้างความหลากหลายที่สัมพันธ์กันอย่างสมดุลในระบบนิเวศ โดยการปลูกพืชร่วมกันหลายชนิดในเวลาเดียวกัน หรือเหลื่อมเวลากน การปลูกพืชหมุนเวียน รวมทั้งการเลี้ยงสัตว์ ซึ่งนับเป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และยังเป็นการลดความเสี่ยงจากปัญหาโรคและแมลงศัตรูพืชระบาดอีกด้วย นอกจากนี้การไม่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชจะมีส่วนช่วยให้ศัตรูธรรมชาติสามารถควบคุมศัตรูพืช ซึ่งเป็นการสร้างสมดุลนิเวศการเกษตรอีกวิธีหนึ่ง

มีหลายอง๕กรเข้ามาเกี่ยวข้องในการกำหนดแนวทาง ที่เป็นแนวทางการผลิตที่สอดคล้องกับการตลาดของแต่ละองค์กรในแต่ละประเทศ โดยในกรณีประเทศไทยมีมาตรฐานเกษตรอินทรีย์หลายมาตรฐานทั้งในระดับประเทศและในระดับนานาชาติ โดยปัจจุบัน แนวทางเกษตรอินทรีย์ได้รับการตอบรับทั่วโลกมีรูปแบบและแนวทางที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศและภูมิภาค




3. เกษตรยั่งยืน (Sustainable Agriculture)

ระบบเกษตรกรรมยั่งยืนเป็นเกษตรทางเลือกอีกแนวทางหนึ่ง โดยเป็นแนวทางการพัฒนาอาชีพด้านการเกษตรที่สัมพันธ์กับการดำเนินชีวิตของเกษตรกรและสิ่งแวดล้อมที่สอดรับกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ระบบเกษตรกรรมยั่งยืนเกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของชุมชนหลายระดับ ตั้งแต่ระดับครัวเรือน ระดับชุมชน จนถึงระดับประเทศ ซึ่งความเคลื่อนไหวด้านเกษตรกรรมยั่งยืนของเกษตรกรและองค์กรที่ก่อตัวขี้นในสังคมไทยเริ่มตั้งแต่ปลายปีพ.ศ. 2520 เป็นต้นมา เกษตรกรรมยั่งยืนจะมีแนวคิดและวิธีการปฏิบัติสวนทางกับการเกษตรแผนใหม่ ที่ใช้ปัจจัยการผลิตจากภายนอกจำนวนมากและก่อให้เกิดสภาพเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมในเวลาต่อมา แต่เกษตรกรรมยั่งยืนจะมีรูปแบบการทำการเกษตรที่สอดคล้องกับระบบนิเวศ มีความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจ เป็นธรรมทางสังคม และมีมนุษยธรรม และระบบเกษตรกรรมยั่งยืนจะเป็นระบบการเกษตรที่รักษาอัตราการผลิตพืชและสัตว์ให้อยู่ในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายในระยะยาวติดต่อกันภายใต้สภาพแวดล้อมที่เลวร้ายหรือไม่เหมาะสม นอกจากนี้ในการทำเกษตรกรรมยั่งยืน เกษตรกรจะปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคให้สอดคล้องกับการทำเกษตรกรรมยั่งยืน ดังนั้นการทำเกษตรกรรมยั่งยืนจึงไม่ได้หมายความเพียงการปรับเปลี่ยนเทคนิควิธีการทำการเกษตร หากยังหมายรวมถึงการสอนให้มีการปรับเปลี่ยนคุณค่าและกฎเกณฑ์การใช้ชีวิตไปในเวลาเดียวกัน

ในระบบเกษตรยั่งยืนเป็นการทำการเกษตรแบบผสมผสานที่มีทั้งการปลูกพืช และการเลี้ยงสัตว์หลายชนิดที่ผสมกันและมีความเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างลงตัว ในการปลูกพืชจะมีการใช้พื้นที่ปลูกให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยการปลูกพืชต่างระดับกันเพื่อให้พืชแต่ละระดับได้ใช้แสงโดยทั่วกัน และเกื้อกูลกันระหว่างพืชแต่ละชนิด และในการเลือกพืชแต่ละชนิดหรือรูปแบบการปลูกพืชจะพิจารณาจากสภาพพื้นที่แต่ละแห่งด้วย สำหรับการเลี้ยงสัตว์ก็จะใช้หลักการจัดการที่เกื้อกูลกันระหว่างสัตว์เลี้ยงด้วยกันเอง หรือระหว่างสัตว์เลี้ยงกับพืชที่ปลูก เช่น การเลี้ยงปลาในนาข้าว ปลายจะกินสาหร่ายในนาข้าว และถ่ายมูลออกมาเป็นปุ๋ยให้แก่นาข้าว การเลี้ยงไก่บนบ่อปลา ไก่จะถ่ายมูลลงในบ่อปลาและมูลนั้นก็จะเป็นอาหารให้กับปลาในบ่อต่อไป

เนื่องจากระบบเกษตรยั่งยืนเป็นระบบเกษตรที่มีความหมายค่อนข้างใกล้เคียงกับระบบเกษตรผสมผสานแต่จะเน้นปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อความยั่งยืน ดังนั้นระบบการเกษตรแบบใดก็ตามที่มีรูปแบบที่ทำให้เกิดความมั่นคงต่อเกษตรกร และมีผลในระยะยาวจึงจะถูกรวมเข้ามาอยู่ในระบบเกษตรยั่งยืน อาทิเช่น เกษตรธรรมชาติ วนเกษตร และเกษตรผสมผสาน



4. เกษตรผสมผสาน (Integrated Farming)

เกษตรผสมผสานจัดเป็นเกษตรทางเลือกที่เป็นรูปแบบการทำเกษตรที่มีกิจกรรมตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป ในช่วงเวลาและพื้นที่เดียวกัน เช่น การปลูกพืชและมีการเลี้ยงสัตว์หลายชนิดในพื้นที่เดียวกัน มีการเกื้อกูลกันอย่างต่อเนื่องระหว่างกิจกรรม เช่น ระหว่างพืชกับพืช พืชกับปลา สัตว์กับปลา พืชกับสัตว์ สัตว์กับสัตว์ ลักษณะการเกื้อกูลกันของระบบเกษตรผสมผสาน จึงทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง และลดการพึ่งพาปัจจัยภายนอกในที่สุด ซึ่งเป็นวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ที่ดินเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่อย่างเหมาะสมเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ในด้านเทคนิคและการจัดการพื้นที่เกษตรนั้น เกษตรผสมผสานให้ความสำคัญในเรื่องของการสร้างความหลากหลายของพืช สัตว์ และทรัพยากรชีวภาพ การใช้ประโยชน์เกื้อกูลกันระหว่างกิจกรรม การใช้วัสดุหรือพืชคลุมดิน การปลูกพืชหลายระดับ มีแหล่งน้ำในพื้นที่ ซึ่งจะไม่เน้นหนักในข้อปฏิบัติ เช่น มีการไถพรวน หรือใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกันก็ได้

เกษตรผสมผสานเริ่มเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในประเทศไทยเมื่อประมาณปี 2527-2528 ซึ่งเกิดจากการที่เกษตรกรชาวนาของไทยประสบปัญหาราคาข้าวตกต่ำอย่างรุนแรง ส่งผลให้ชาวนาที่ต้องพึ่งพารายได้จากการปลูกข้าวเพียงอย่างเดียวเกิดความเดือดร้อนอย่างหนัก ทำให้ต้องหันไปปลูกพืชเศรษฐกิจอื่นๆ ก็ใช่ว่าจะสามารถแก้ปัญหาได้อย่างถาวร เพราะราคาผลผลิตขึ้นอยู่กับการส่งออกและราคาตลาดโลก เกษตรกรที่เลิกทำนาแล้วหันไปปลูกพืชชนิดอื่น เช่น ข้าวโพด มันสำปะหลัง อ้อย ฯลฯ ในที่สุดก็ประสบปัญหาเช่นเดิม ดังนั้นจึงได้เกิดกระแสแนวคิดที่จะเปลี่ยนแปลงการทำเกษตรแบบเดียวมาเป็นการทำการเกษตรแบบผสมผสาน เพื่อป้องกันปัญหาความเสียงจากราคาผลผลิตตกต่ำได้

“การทำเกษตรผสมผสาน” มีความแตกต่างจากการทำเกษตรหลายๆ อย่างที่เรียกว่า “ไร่นาสวนผสม” (Mixed Farming) ตรงที่เกษตรผสมผสานมีการจัดการกิจกรรมการผลิตผสมผสานเกื้อกูลกันเพื่อลดต้นทุนการผลิต และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างสูงสุด มิใช่มีกิจกรรมการผลิตหลายๆ อย่างเพื่อลดความเสี่ยงจากราคาผลผลิตที่ไม่แน่นอนเป็นหลักอย่างการทำไร่นาสวนผสม แต่บางครั้งการทำไร่นาสวนผสมอาจมีกลไกการเกื้อกูลกันจากกิจกรรมการผลิตได้บ้าง แต่ก็เป็นเพียงเล็กน้อย มิใช่เกิดจากความรู้ความเข้าใจและการจัดการของเกษตรกร อย่างไรก็ตาม การทำไร่นาสวนผสมอาจเป็นบันไดขั้นต้นของการทำเกษตรผสมผสานได้อีกทางหนึ่ง



5. เกษตรทฤษฎีใหม่ (New Theory Agriculture)

เกษตรทฤษฎีใหม่มีแนวคิดและทฤษฎีในการพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเกิดจากพระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถในการที่ได้ทรงคิด ดัดแปลงปรับปรุง และแก้ไขให้การพัฒนาโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นงานที่ดำเนินการไปได้โดยง่ายไม่ยุ่งยากซับซ้อนและสอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่และระบบนิเวศโดยส่วนรวมของธรรมชาติ ซึ่งเป็นแนวทางที่ได้ทรงคิด และคำนวณตามหลักวิชา ถึงวิธีการบริหารทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตลอดจนสภาพทางสังคมของชุมชนนั้นๆ โครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริมีอยู่มากมายหลายประเภท แตกต่างกันไปตามลักษณะและวัตถุประสงค์ของโครงการนั้นๆ ซึ่งส่วนมากเป็นการแก้ไขปัญหาและพัฒนาด้านการทำมาหากินของประชาชนเป็นสำคัญ หลักสำคัญของทุกเรื่องก็คือ ความเรียบง่าย ทั้งนี้ทรงใช้คำว่า “Simplify” หรือ “Simplicity” ทั้งในแนวคิดและด้านเทคนิควิชาการจะต้องสมเหตุสมผล ทำให้รวดเร็วและสามารถแก้ไขปัญหาให้ก่อประโยชน์ได้จริง ตลอดจนต้องมุ่งไปสู่วิถีแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งมีหลักการดังนี้

1) เป็นรูปแบบการทำเกษตรเหมาะสำหรับพื้นที่ขนาดเล็กประมาณ 10-20 ไร่
2) ให้เกษตรกรสามารถทำการเกษตรเพื่อเลี้ยงตนเองได้แบบค่อยเป็นค่อยไป ตามกำลัง

3) ทำกิจกรรมการเกษตรหลายอย่าง เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างเต็มที่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน และสร้างสมดุลให้แก่ระบบนิเวศ

4) แบ่งพื้นที่การเกษตรออกเป็นส่วนๆ ได้แก่
4.1 ให้มีแหล่งน้ำในไร่นา เพื่อใช้ในการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ประมง 30% ของพื้นที่
4.2 ให้มีพื้นที่ทำนาปลูกข้าวในฤดูฝนไว้บริโภค ให้พอเพียงตลอดปี 30% ของพื้นที่
4.3 ให้มีพื้นที่เพื่อการเพราะปลูกพืชไร่ พืชผัก ไม้ผล พืชสมุนไพร 30% ของพื้นที่
4.4 ให้มีพื้นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ และโรงเรือนอื่นๆ 10% ของพื้นที่


ความสัมพันธ์ของพื้นที่ทั้ง 4 ในพื้นที่ 5 ไร่ 10 ไร่ หรือ 14 ไร่ การทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดคือ การหมุนเวียนการใช้ประโยชน์ของทรัพยากร ได้แก่ ที่ดิน แรงงาน ทุน ปัจจัยการผลิต หรือเศษเหลือใช้จากพื้นที่หนึ่งไปยังอีกพื้นที่หนึ่ง สะท้อนให้เห็นถึงวิธีของการเกษตรแบบผสมผสาน โดยมีพื้นฐานอยู่ที่เกษตรทฤษฎีใหม่ เพื่อเศรษฐกิจพอเพียงอย่างแท้จริง และเป็นการเพิ่มเติมถึงความสัมพันธ์ของพื้นที่ทั้ง 4 ส่วน ที่พระองค์ท่านได้มีสายพระเนตรอันยาวไกล เห็นถึงประโยชน์จากการหมุนเวียนของวัสดุเหลือใช้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ตลอดจนการรักษาสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้น



6. วนเกษตร (Agro Forestry)
วนเกษตร คือ เกษตรทางเลือกรูปแบบหนึ่งโดยเป็นการทำเกษตรที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างผสมผสานระหว่างกิจกรรมการเกษตร การป่าไม้ รวมถึงการเลี้ยงสัตว์ ในพื้นที่เดียวกันหรือสลับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป โดยเป็นกิจกรรมทีความสอดคล้อง และเกื้อกูลกับระบบนิเวศน์ ป่าไม้ในท้องถิ่น เพื่อให้ได้ผลผลิตอย่างสม่ำเสมอตลอดไป คำนึงถึงหลักความสมดุลตามธรรมชาติของระบบนิเวศเป็นสำคัญ เพื่อตอบสนองความต้องการ ในขณะที่ยังคงรักษาวิถีชีวิตของสังคมชาวชนบทที่เกี่ยวข้องในพื้นที่นั้นๆ ให้มากที่สุด

วนเกษตร มาจากคำว่า วน ที่หมายถึง ป่าที่มีความหลากหลายของทรัพยากรที่มีชีวิต และไม่มีชีวิต และคำว่า เกษตร หมายถึง การใช้ที่ดินในการผลิตพืช หรือสัตว์ เช่นการเพาะปลูกพืช การทำป่าไม้ ประมล ปศุสัตว์ ต่างๆ ดังนั้น วนเกษตร จึงหมายถึง การใช้ที่ดินในการผลิตพืช และสัตว์ให้มากชนิด หรือมีความซับซ้อนและหลากหลายทางชีวภาพใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด หรือกล่าวได้อีกนัยหนึ่งว่า การทำเกษตรร่วมกันกับการอนุรักษ์ป่าไม้ โดยมีรากฐานหรือปัจจัยการผลิตที่มาจากท้องถิ่นเอง ทั้งนี้การทำวนเกษตรจะมีลักษณะแตกต่างหรือผันแปรไปตามสภาพท้นที่ รวมถึงทัศนคติ ความเชื้อ วัฒนธรรม ประเพณี และความรู้ ความสามารถในการจัดการของแต่ละท้องถิ่นเอง

ระบบวนเกษตรสามารถแยกออกเป็น 4 รูปแบบองค์ประกอบของกิจกรรมหลักได้แก่
1. ระบบป่าไม้ร่วมกับการปลูกพืชเกษตร เป็นการปลูกพืชเกษตรแทรกในพื้นที่สวนป่า ซึ่งสามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น ปลูกต้นไม้แนวขอบรอบนอกของแปลงปลูกพืชเกษตร ลูกต้นไม้สลับแถวเว้นแถว ปลูกสลับเป็นแถบๆ หรือปลูกผสมกันอย่างไม่เป็นระเบียบระหว่างไม้ป่ากับพืชเกษตร

2. ระบบป่าไม้ร่วมกับการทำปศุสัตว์ เป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินร่วมกันระหว่างพื้นที่ ป่าไม้ และการเลี้ยงสัตว์ โดยปลูกหญ้าหรือพืชอาหารสัตว์ในวนป่า แล้วปล่อยสัตว์เข้าไปเลี้ยงในสวนป่าโดยตรง

3. ระบบเกษตรป่าไม้และปศุสัตว์ เป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินร่วมกันระหว่างกิจกรรมหลักทั้งสาม คือการป่าไม้ การเกษตร และการปศุสัตว์ ควบคู่ไปพร้อมๆ กัน เป็นการรวมสองระบบข้างต้นเข้าด้วยกัน

4. ระบบป่าไม้ร่วมกับการทำประมง เป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินร่วมกันระหว่างพื้นที่ ป่าไม้ และการประมง เช่น การทำฟาร์มกุ้ง และทำฟาร์มหอยตามป่าชายเลน หรือการเลี้ยงปลาน้ำจืดตามร่องน้ำระหว่างแถวหรือคันคูของต้นไม้




ที่มา : เกษตรธรรมชาติประยุกต์ โดย รศ.ดร.อานัฐ ตันโช
ศูนย์ข้อมูลเกษตรธรรมแม่โจ้ ภาควิชาทรัพยากรดินและสิ่งแวดล้อม คณะผลิตกรรมเกษตร มหาวิทยาแม่โจ้

www.maejonaturalfarming.org

http://www.uploadtoday.com/download.php/?a04ccd3f490dd036c62e988728d73be6

http://www.oknation.net/blog/print.php?id=125372
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 08/11/2011 11:36 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,077. ปุ๋ยน้ำชีวภาพ ไบโอเทค-3



ปุ๋ยน้ำชีวภาพ ไบโอเทค-3 เป็นผลิตภัณฑ์น้ำหมักชีวภาพชนิดหนึ่งที่ผลิตจากกระบวนการหมักวัตถุดิบพืชผักผลไม้ พืชสมุนไพร หลากหลายชนิด ฯลฯ ร่วมกับปุ๋ยเคมีบางชนิด และใช้กากน้ำตาลเป็นสารอาหาร ทำการหมักโดยใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ปุ๋ยน้ำชีวภาพ ไบโอเทค-1 ซึ่งผลิตโดยโครงการผลิตปุ๋ยน้ำชีวภาพ ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น และหรือหัวเชื้อจุลินทรีย์ปุ๋ยน้ำชีวภาพ มข.1 ซึ่งผลิตโดยโครงการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ปุ๋ยน้ำชีวภาพชุมชนเกษตรเทพารักษ์ ของภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะเทคโนโลยี ร่วมกับภาควิชาทรัพยากรที่ดินและสิ่งแวดล้อม คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยที่หัวเชื้อจุลินทรีย์ปุ๋ยน้ำชีวภาพ มข.1 เป็นหัวเชื้อจุลินทรีย์กลุ่มหมักสังเคราะห์ จำนวน 18 ชนิดสายพันธุ์ ประกอบด้วยแบคทีเรีย 9 ชนิด รา 6 ชนิด และยีสต์ 3 ชนิด ซึ่งคิดค้นโดย ศ.ดร.ชัยทัศน์ ไพรินทร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น


แหล่งที่มา: สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. 2554. "ปุ๋ยน้ำชีวภาพ ไบโอเทค-3". องค์ความรู้และนวัตกรรมด้านเกษตรอินทรีย์ ปี พ.ศ. 2552-2553. http://www.nia.or.th/organic/books/14_1.pdf. (สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2554).



http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/4492-liquid-biofertilizer-biotech-3
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 08/11/2011 11:44 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,078. ผลไม้ตัดแต่งและการปรับปรุงคุณภาพ

โดย ใช้สารละลายแคลเซียมคลอไรด์

รัชฎา ตั้งวงศไชย และนัฎชรี ศรีบูรณศร
ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น



เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าอาหารสดตามธรรมชาติเป็นอาหารที่มีคุณภาพและคุณค่าทางอาหารที่ดีที่สุด แต่อาหารสดเกิดการเสื่อมเสียและเน่าเสียได้ง่าย จึงต้องมีการนำกระบวนการแปรรูปอาหารมาใช้เพื่อยืดอายุการเก็บ เช่น กระบวนการใช้ความร้อน กระบวนการแช่แข็ง ซึ่งจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลง ด้านสี กลิ่น รส และ คุณค่าของอาหาร ปัจจุบันนอกจากผู้บริโภคจะหันมาให้ความสำคัญต่อคุณภาพและคุณค่าทางโภชนาการแล้ว ยังต้องการความสะดวกในการบริโภค หรือมีความต้องการอาหารพร้อมบริโภค (read-to-eat-food ) มากขึ้น ประกอบกับกระแสของสารต้านออกซิเดชั่นธรรมชาติ (natural antioxidant) ในการป้องกันอนุมูลอิสระซึ่งเป็นสาเหตุของการเร่งการเสื่อมสภาพของเซลล์เนื้อเยื่อและการเกิดริ้วรอย ตลอดจนการเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งดังนั้นแนวโน้มความต้องการของผู้บริโภค ในปัจจุบันจึงหันมานิยมบริโภคผักและผลไม้สดมากขึ้น ผักและผลไม้ตัดแต่ง ( fresh cut fruit and vegetable products) จึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี เนื่องจากมีลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ด้านสี กลิ่น รส เนื้อสัมผัส และคุณค่าทางโภชนาการที่ใกล้เคียงผักและผลไม้สดมากที่สุด


ผักและผลไม้ตัดแต่ง หมายถึง การนำผักหรือผลไม้สด ที่ผ่านการคัดเลือกคุณภาพมีความแก่-อ่อน ที่เหมาะสมในการบริโภค มาล้างทำความสะอาด ปอกเปลือกเจาะแกนตัดแต่งตำหนิ ล้างทำความสะอาด หั่นให้เป็นชิ้นและบรรจุ ซึ่งผักและผลไม้ตัดแต่งนั้นถือเป็นการแปรรูปขั้นต่ำ (minimal process) ดังนั้นผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้ตัดแต่ง จึงเป็นผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้สดบรรจุพร้อมบริโภค อย่างไรก็ตามผักและผลไม้ตัดแต่งยังเป็นเนื้อเยื่อที่มีชีวิต ซึ่งยังคงกิจกรรมการมีชีวิตหรือมีปฏิกิริยาต่างๆ ภายในเซลล์เหมือนกับผักและผลไม้สด เช่น มีการหายใจอยู่ตลอดเวลา จึงยังคงมีกระบวนการสุกตามธรรมชาติ (Greve & Labavitch, 1991) ซึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ของเนื้อเยื่อในทางเสื่อมคุณภาพ เช่น การนิ่มขึ้นของเนื้อผลไม้ สีของผักหรือเนื้อผลไม้ที่ซีดลง และมีการเปลี่ยนแปลงของรสชาติ เป็นต้น อย่างไรก็ตามขั้นตอนในกระบวนการตัดแต่ง เช่น การปอกเปลือก การเจาะแกนตัดแต่งและการหั่นเป็นชิ้น มีผลทำให้เนื้อเยื่อพืชเกิดความเสียหาย ซึ่งจะไปเร่งปฏิกิริยาต่างๆ ของเซลล์ส่งผลให้เนื้อผลไม้ตัดแต่งเน่าเสียเร็วขึ้น นอกจากนี้อัตราการหายใจที่สูงขึ้นของเนื้อเยื้อที่ได้รับความเสียหายจะไปเร่งการสูญเสียน้ำของเนื้อเยื่อที่ได้รับความเสียหายจะไปเร่งการสูญเสียน้ำของเนื้อเยื่อซึ่งส่งผลให้เกิดการสูญเสียความกรอบอันเป็นปัจจัยคุณภาพที่สำคัญอันหนึ่งของผลไม้


โดยปกติผักและผลไม้ตัดแต่งเกิดการเน่าเสียได้ง่ายกว่าผักและผลไม้ที่มีเปลือก เนื่องจากเปลือกเป็นโครงสร้างของพืชที่จะช่วยป้องกันการปนเปื้อนของจุลินทรีย์และความเสียหายของเนื้อเยื่อที่เกิดจากแรงกระแทกบริเวณส่วนที่เป็นรอยตัดที่เกิดจากการปอกเปลือกการตัดแต่งและการหั่นให้เป็นชิ้น จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ดังนั้นในการแปรรูปผักและผลไม้ตัดแต่งจึงต้องมีการจัดการแนวทางในการผลิตที่ดี (Good Manufacturing Practice) อย่างเคร่งครัด และมีการควบคุมอุณหภูมิในการผลิตเพื่อลดการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ นอกจากนั้นขั้นตอนเหล่านี้ควรจะเป็นกรรมวิธีที่ทำให้เนื้อเยื่อผลไม้เกิดการเสียหายน้อยที่สุด ดังนั้นอุปกรณ์และเทคนิคในการตัดแต่งจึงจำเป็นที่ต้องใช้ใบมีด ที่มีความคมมากเพื่อลดความเสียหายเนื่องจากการฉีกขาดของเนื้อเยื่อ และรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้มีลักษณะผิวหน้าของชิ้นผลไม้ตัดแต่งให้คงลักษณะปรากฏที่ดึงดูดผู้บริโภคให้สนใจในตัวผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นคุณลักษณะลำดับต้นๆ ที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ใช้ตัดสินในการยอมรับหรือซื้อผลิตภัณฑ์ นอกเหนือไปจากรสชาติ เนื้อ สัมผัสความสดกรอบของผลิตภัณฑ์ผลไม้ตัดแต่ง


เนื้อเยื่อของพืชที่เกิดการเสียหายหรือฉีกขาดจะเกิดปฏิกิริยาชีวเคมีต่างๆ มีผลทำให้ผักและผลไม้เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะและคุณภาพไป โดยทั่วไปผลไม้ตัดแต่งจะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดกว่าผักตัดแต่ง ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการทีผลไม้มีการตัดแต่งและรอยตัดมากกว่าผักและเนื้อเยื่อของผลไม้มักจะมีสีที่อ่อนกว่าจึงสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงได้ชัดมากกว่า การเปลี่ยนแปลงของผลไม้ตัดแต่งที่สำคัญได้แก่ การเกิดสีน้ำตาลที่ผิวและการสูญเสียความกรอบไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการไม่ยอมรับผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภคในที่สุด (Soliva-Fortuny & Martin– Bellose, 2003)


ได้มีการใช้กรรมวิธีการต่างๆ มากมายที่สามารถช่วยชะลอการเปลี่ยนแปลงคุณภาพที่ดีของผลไม้ตัดแต่ง เช่น การใช้สารมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อในน้ำล้าง การควบคุมอุณหภูมิให้ต่ำในระหว่างกระบวนการผลิต การแช่ในสารละลายกรดสารละลายแคลเซียม การใช้สารธรรมชาติเพื่อยับยั้งจุลินทรีย์การบรรจุในภาชนะที่มีการปรับสภาพบรรยากาศ เป็นต้น ลักษณะของเนื้อผลไม้ภายหลังการตัดแต่งจะเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ โดยมีปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่ ชนิดและสายพันธุ์ของผลไม้ อุณหภูมิในระหว่างการผลิตและการเก็บรักษาการผลิตและการเก็บรักษาปริมาณ O 2 และ CO 2 ในการเก็บรักษา และสารยับยั้งต่างๆ ที่ใช้ชะลอการเสื่อมสภาพ ( Brencht, 1995) ในการชะลอการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของผักและผลไม้ตัดแต่งจะใช้กรรมวิธีมากกว่าหนึ่งวิธีการร่วมกัน เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้สภาวะที่รุนแรงหรือมีความเข้มข้นสูงของปัจจัยที่ใช้ชะลอการเปลี่ยนแปลง หรือที่เรียกว่า “Hurdle Technology” ในที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะกรรมวิธีการแช่ในสารละลายแคลเซียมเพื่อชะลอการเปลี่ยนแปลงของผลไม้ตัดแต่งเท่านั้น


การเปลี่ยนแปลงความกรอบหรือเนื้อสัมผัสของผลไม้ตัดแต่งเกิดจากสาเหตุหลัก 2 ประการด้วยกัน คือ

1) การสูญเสียน้ำโดยกระบวนการหายใจและการคายน้ำเป็นผลให้ความดันแต่งภายในเซลล์ (Cell turgor pressure) ลดลง ซึ่งสามารถชะลอได้โดยการควบคุมอุณหภูมิของผลไม้ตัดแต่งให้ต่ำเพื่อลดการหายใจและการคายน้ำ

2) การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสารประกอบเพคตินที่ผนังเซลล์ในระหว่างกระบวนการสุกเป็นเหตุให้ผนังเซลล์อ่อนแอและไม่จับตัวกันแน่นเหมือนเดิม (Seymour and Gross, 1996 ; Martin Rodringuez et al., 2002) ซึ่งการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเพคตินมีสาเหตุหลักมาจากการสลายของสารประกอบเพคตินโดยเอนไซม์



การแช่ในสารละลายแคลเซียมคลอไรด์
สารละลายแคลเซียมคลอไรด์สามารถช่วยปรับปรุงความกรอบของเนื้อผลไม้หลังการตัดแต่งได้ โดยช่วยให้เนื้อเยื่อของผลไม้มีความแข็งแรงและทนต่อการย่อยของเอนไซม์ที่หล ั่ งออกมาจากเนื้อเยื่อที่เสียหายจากการตัดแต่ง การแช่สารละลายแคลเซียมเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยปรับปรุงความกรอบของเนื้อผลไม้หลังการตัดแต่ง โดย Ca 2+ สามารถทำปฏิกิริยากับสารประกอบเพคตินบริเวณ middle lamella และผนังเซลล์เกิดปฏิกิริยาเชื่อมข้าม (crosslink) ระหว่างหมู่คาร์บอนซิล (carboxyl group) บนสาย polygalacturonides และประจุคู่ของ Ca 2+ โดย Ca 2+ ทำหน้าที่ดึงหมู่คาร์บอกซิลบนสาย polygalacturonides สายหนึ่งให้จับกับหมู่คาร์บอกซิลของสาย polygalacturonides อีกสายหนึ่งเกิดเป็นโครงสร้างที่เรียกว่า egg-box model (รูปที่ 1) เกิดเป็นสารประกอบแคลเซียมเพคเตท ซึ่งไม่ละลายน้ำ (Luna-Gutzan et al ., 1999; Grant et al., 1973) โดยถ้าใช้สารละลายแคลเซียมคลอไรด์ความเข้มข้นมาก ความกรอบก็เพิ่มมากและเวลาที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 1-2 นาที อาจมีการเพิ่มอุณหภูมิของสารละลายแคลเซียมคลอไรด์ให้สูงขึ้น เนื่องจากอุณหภูมิสูงจะช่วยให้แคลเซียมสามารถแพร่ผ่านเข้าสู่ภายในเนื้อเยื่อของผลไม้ได้มากขึ้น โดยอุณหภูมิที่ใช้ไม่ควรสูงเกิน 60 0 C (Luna Gutzman et al., 1999) เนื่องจากอุณหภูมิที่สูงเกินไปอาจทำให้เนื้อเยื่อผลไม้เกิดความเสียเนื่องจากความร้อนทำให้สูญเสียความกรอบและลักษณะปรากฏที่สวยงามไปความเข้มข้นของสารละลายแคลเซียมคลอไรด์ที่เหมาะสมในการปรับปรุงเนื้อสัมผัสแตกต่างกันไปตามชนิดของผลไม้ โดยทั่วไปแล้วความเข้มข้นที่เหมาะสมอยู่ระหว่างร้อยละ 0.1-1% หากใช้ความเข้มข้นของสารละลายแคลเซียมคลอไรด์สูง เกินไปอาจทำให้เกิดรสขมในเนื้อผลไม้ได้ ( Solive Fortuny & Marltin Bellose , 2003 อ้างอิงจาก Bett el al., 2001 )

นอกจากนี้อุณหภูมิของสารละลายแคลเซียมคลอไรด์ที่ใช้แช่ยังมีผลช่วยปริมาณสัตว์รบกวนและจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนมากับเปลือกของผลไม้สดด้วย



รูปที่ 1 โครงสร้าง Egg-box model เมื่อปริมาณแคลเซียมอิออนต่ำ (A) และสูง (B) (Grant et al., 1973)


การนำผลไม้ตัดแต่งไปแช่สารละลายแคลเซียมคลอไรด์ นอกจากช่วยปรับปรุงความกรอบของผล ไม้ตัดแต่ง แล้ว สารละลายแคลเซียมคลอไรด์ยังช่วยลดปฏิกิริยาการเกิดสีน้ำตาล ซึ่งการเกิดสีน้ำตาลที่ผิวหน้าของชิ้นผล ไม้ตัดแต่งมีสาเหตุสำคัญ มาจากเอ็นไซม์โพลีฟีนอลออกซิเดส (polyphenol oxidase ; PPO) Luna-Gutzman et al., (1999) รายงานว่า การแช่ในสารละลายแคลเซียมคลอไรด์ที่ความเข้มข้น 1 % และ 5 % สามารถลดการเกิดสีน้ำตาลที่ผิวหน้าชิ้นแตงเมลอน (fresh cut melon) ได้ ทั้งนี้เนื่องจากสารละลายแคลเซียมคลอไรด์มีผลทำให้เอนไซม์เกิดการเสียสภาพ (denature) จนไม่สามารถเข้าจับกับซับสเตรท ( substrate ) ทำให้ไม่เกิดสีน้ำตาลที่ผิวหน้าของผลิตภัณฑ์ ซึ่งเวลาในการแช่ที่เหมาะสมอยู่ในช่วง 1-5 นาที นอกจากนี้การแช่สารละลายแคลเซียมเป็นการช่วยชะลอเมตาบอลิซึม (metabolism) ของเซลล์ผลไม้ได้ เนื่องจากการแช่สารละลายแคลเซียมคลอไรด์จะทำให้ชิ้นผลไม้ตัดแต่ง มีอัตราการหายใจต่ำลง





http://www.tistr-foodprocess.net/download/article/fresh_cut_th.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 08/11/2011 12:40 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,079. เปอร์เซ็นต์ของอินทรียวัตถุที่มีอยู่ในดิน



ปริมาณอินทรียวัตถุ (%) หมายถึง เปอร์เซ็นต์ของอินทรียวัตถุที่มีอยู่ในดินที่นำมา
วิเคราะห์ การที่จะตัดสินว่าดินนั้นมีปริมาณอินทรียวัตถุในดินมากน้อยเพียงใด เรา
สามารถอาศัยหลักเกณฑ์ ดังตาราง



ตารางที่ แสดงเปอร์เซ็นต์ของอินทรียวัตถุและการจำแนกระดับอินทรียวัตถุในดิน

----------------------------------------------------------
% อินทรียวัตถุ ................ การจำแนกระดับอินทรียวัตถุในดิน
----------------------------------------------------------
> 0.5 ........................................... ต่ำมาก
0.5 - 1.0 ...................................... ต่ำ
1.0 - 1.5 ...................................... ค่อนข้างต่ำ
1.5 - 2.5 ...................................... ปานกลาง
2.5 - 3.5 ...................................... ค่อนข้างสูง
3.5 - 4.5 ...................................... สูง
> 4.5 ........................................... สูงมาก

----------------------------------------------------------
แหล่งที่มา : อภิรดี อิ่มเอิบ 2534



อินทรียวัตถุมีความสำคัญต่อองค์ประกอบของดินเป็นอย่างมาก เนื่องจากอินทรีย
วัตถุจัดว่าเป็นแหล่งสำรองของธาตุอาหารในดินและมีส่วนสำคัญในการเสริมสร้าง
คุณสมบัติของดินทางเคมีและกายภาพของดินให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของ
พืช นอกจากนี้อินทรียวัตถุยังเป็นแหล่งสำรองของธาตุอาหารไนโตรเจนในดิน ดังนั้น
ในการตรวจวิเคราะห์ดิน เราสามารถคาดหมายปริมาณธาตุไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์
จากดินได้ ดังนี้ในดินวิเคราะห์ปริมาณอินทรียวัตถุได้ 2%

ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด (%) = ปริมาณของอินทรียวัตถุ X 0.05
= 2.0 X 0.05
= 0.1 %



...ปริมาณไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์ = 0.1 X 2.0 และ 0.1 X 4.0 หาร 100
= 0.002 – 0.004 % N


ปริมาณดิน 100 กิโลกรัม มีเนื้อธาตุอาหารไนโตรเจน = 0.002 < - - > 0.004 Kg N



ปริมาณดิน 321,000 กิโลกรัม มีเนี้อธาตุอาหารไนโตรเจน =

= 0.002 X 320,000 < -- > 0.004 X 320,000 หาร 100
= 6.42 < -- > 13.0 กิโลกรัม


หมายเหตุ : ดินที่เก็บมาวิเคราะห์เฉลี่ย 1 ไร่ จะมีน้ำหนักประมาณ 321,000
กิโลกรัม

http://brpe.doae.go.th






ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน

หมายถึง อินทรียสารทุกชนิดที่มีอยู่ในดิน มีต้นกำเนิดจากซากพืฃ ซากสัตว์ และสิ่งมีชีวิต
อื่น ๆที่สลายตัวทับถมอยู่ในดิน รวมทั้งอินทรียสารที่รากพืชปลดปล่อยออกมาทางราก
และที่จุลินทรีย์ดินสังเคราะห์ขึ้นมา แบ่งออกเป็นพวกใหญ่ คือ สารประกอบอินทรีย์ไนโตรเจน
สารประกอบอินทรีย์กำมะถัน สารประกอบอินทรีย์ฟอสฟอรัส คาร์โบไฮเดรต กรดอินทรีย์
เอนไซม์ และฮิวมัส

อินทรียวัตถุในดินมีความสำคัญอย่างยิ่งในแง่ของการควบคุมหรืออิทธิพลต่อสมบัติของดิน
ทั้งสมบัติทางกายภาพ ทางเคมี และทางชีวภาพของดิน เช่น ทำให้ดินร่วนขึ้นไถพรวนได้ง่าย
การถ่ายเทอากาศดีขึ้น และมีความสามารถในการอุ้มน้ำได้มากขึ้นอินทรียวัตถุสามารถดูดซับ
ประจุบวกได้ถึง 30-90 % ของประจุบวกที่ถูกดูดซับไว้ทั้งหมด ทำให้ดินสามารถเก็บรักษาธาตุุ
อาหารที่เป็นประจุบวกไว้ให้เป็นประโยชน์ต่อพืชได้มาก นอกจากนี้อินทรียวัตถุยังเป็นอาหาร
ของจุลินทรีย์ในดินโดยเฉพาะจุลินทรีย์พวก heyerotrophic ดินที่มีอินทรียวัตถุสูงจึงทำให้
ปริมาณจุลินทรีย์สูงด้วย ซึ่งเป็นผลให้กิจกรรมต่าง ๆของจุลินทรีย์ เช่นการแปรสภาพของธาตุ
อาหารพืชในดินเกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี

อินทรียวัตถุในดินสามารถสลายตัวได้เมื่ออยู่ในสภาพที่เหมาะสม เช่น อุณหภูมิ ความชื้น
ความเป็นกรดด่างความลึกและการถ่ายเทอากาศในดินโดยปกติการสลายตัวของอินทรียวัตถุ
ในดินเขตร้อนจะเป็นไปได้ดีกว่าดินเขตหนาว ดังนั้นดินในเขตร้อนจึงมักมีปริมาณอินทรียวัตถุ
ต่ำกว่าในดินเขตหนาว เราสามารถประเมินความเป็นประโยชน์ของอินทรียวัตถุได้ดังนี้


-------------------------------------------------------------
ระดับความอุดมสมบูรณ์......ปริมาณอินทรียวัตถุ(%).......ข้อแนะนำการใช้ปุ๋ย
-------------------------------------------------------------
ต่ำ ............................... น้อยกว่า 1.5 .............จำเป็นต้องใส่ปุ๋ย
ปานกลาง ..........................1.5-3.5 ...............อาจจะต้องใส่ปุ๋ยบ้าง
สูง ................................มากกว่า 3.5 ...............ไม่ควรใส่ปุ๋ย

-------------------------------------------------------------

http://www3.rid.go.th


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 8:07 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 08/11/2011 1:11 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,080. การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี ยางพารา


ดินปลูกยางพาราส่วนใหญ่ในเขตปลูกยางใหม่มีปริมาณอินทรียวัตถุในดินอยู่ใน
ระดับต่ำ และมีแนวโน้มลดลงอีกเนื่องจากภูมิอากาศเป็นเขตร้อนทำให้อัตราการย่อย
สลายอินทรียวัตถุในดินเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และไม่ได้เพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน
เพียงพอดังนั้นในเขตปลูกยางใหม่


จึงแนะนำให้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์
ในปีที่ 1 ใส่อัตรา 1 กก./ต้น/ปี
ในปีที่ 2-6 ใส่อัตรา 2 กก./ต้น/ปี

การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ควรให้คลุกเคล้ากับดินก่อนใส่ปุ๋ยเคมีประมาณ 15-20 วันเพื่อปรับ
สภาพดิน ในเขตปลูกยางเดิมหากดินที่มีอินทรียวัตถุต่ำ จำเป็นต้องปรับปรุงบำรุงดิน
โดยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี ในอัตราที่แนะนำเช่นเดียวกัน และสำหรับดินที่
มีอินทรียวัตถุสูง และมีปริมาณธาตุอาหารในดินเพียงพอ การใส่ปุ๋ยอินทรีย์จะ
สามารถลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้






สวนยางพาราหลังเปิดกรีดในเขตปลูกยางเดิมที่ปลูกพืชคลุมดินในระยะยางอ่อนไม่
จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยอินทรีย์เนื่องจากเศษซากพืชคลุมดิน เศษกิ่งไม้และใบยางที่ร่วง
หล่นทับถม บนดินเป็นเวลานานหลายปีเมื่อย่อมสลายจะเป็นการเพิ่มอินทรียวัตถุตาม
ธรรมชาติ แต่สวนยางในเขตปลูกยางใหม่และไม่ได้ปลูกพืชคลุมดินตระกูลถั่ว
ระหว่างแถวยาง แนะนำให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 3 กก./ต้น/ปี ร่วมกับปุ๋ยเคมีตาม
อัตราแนะนำหรือใส่ได้มากกว่านี้ การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ จำนวนมากจะสามารถลดการใช้
ปุ๋ยเคมีได้ แต่ต้องคำนึงถึงผลตอบแทน







การใส่ปุ๋ยยางพาราหลังเปิดกรีด

เมื่อต้นยางเปิดกรีดได้แล้วยังมีความจำเป็นต้องใส่ปุ๋ยต่อไปทุกปีเพื่อให้ผลผลิตสูง
สม่ำเสมอ สำหรับยางพาราหลังเปิดกรีด

แนะนำให้ใช้ ปุ๋ยสูตร 30-5-18 อัตรา 1 กก./ต้น/ปี แบ่งใส่ 2 ครั้ง ในช่วงต้นฤดู
ฝนและปลายฤดูฝน ใส่ปุ๋ยบริเวณกึ่งกลางระหว่างแถวยางแล้วคราดกลบ ดินที่ขาด
ธาตุแมกนีเซียมแนะนำใส่ปุ๋ยที่ให้ธาตุแมกนีเซียมหรือปุ๋ยคีเซอรไรท์เพิ่มในอัตรา
80 กรัม/ต้น/ปี สำหรับสวนยางที่ปลูกพืชคลุมดินระหว่างแถวยางและใส่ปุ๋ยบำรุงต้น
ยางและพืชคลุมดินสม่ำเสมอไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยบำรุงต้นยางในช่วง 2 ปี แรกที่เปิดกรีด


ข้อควรปฏิบัติในการใส่ปุ๋ยเคมี
1. ปราบวัชพืชก่อนการใส่ปุ๋ยทุกครั้ง
2. ใส่ปุ๋ยให้ถูกต้องตามชนิดของเนื้อดิน
3. ใส่ปุ๋ยในช่วงเวลาที่ดินมีความชื้นเหมาะสม และไม่มีฝนตกหนัก
4. ปลูกพืชคลุมดินตระกูลถั่วระหว่างแถวยางเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน หากไม่
ปลูกพืชแซมยาง




http://www.rubberthai.com/information/fertilizer/6.htm


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/11/2011 2:20 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 08/11/2011 1:34 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,081. วิธีการคำนวณปุ๋ยอินทรีย์สำหรับปรับปรุงดิน

ในการปรับปรุงคุณภาพดินของสถานีทดลอง พบว่าผลวิเคราะห์ดินของสถานีทดลองมีค่า pH ค่อนข้างเป็นกรดเล็กน้อย แต่มีอินทรียวัตถุต่ำมากและมีแคลเซียมต่ำกว่าค่ามาตรฐานที่พืชต้องการถึง 10 เท่า ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเตรียมปุ๋ยหรือเศษอินทรียวัตถุเพิ่มลงในดิน การเพิ่มแคลเซียมสามารถใช้เศษเปลือกไข่บด หรือหินปูนบดที่ไม่เผาไฟประมาณ 200 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ถ้าหาไม่ได้ก็ใช้โดโลไมท์แทนก็ได้ในอัตราเดียวกัน


วิธีการคำนวณปุ๋ยอินทรีย์สำหรับดินขนาด 1 ไร่
สมมติให้รากพืชสามารถหาอาหารได้ในความลึกเพียง 10 ซม. เท่านั้น (ในความเป็นจริงค่าจะมากกว่านี้) ดังนั้นคำนวณค่าต่างๆคือ

(1) พื้นที่ 1 ตร.ม. เท่ากับมีดิน 0.1 ลูกบาศก์เมตร

(2) พื้นที่ 1 ไร่เทียบเป็นตารางเมตรได้ 1,600 ตร.ม. จึงเท่ากับมีปริมาณดิน 160 ลบ.ม.

(3) ค่าความหนาแน่นของดิน พบว่าดินทั่วไปมีค่าเท่ากับ 1.3 – 1.5 กรัม/ลบ.ซม. คิดที่สูงสุดเพราะเป็นดินเหนียวหนาแน่นมาก คือ 1,500 กรัม ต่อ ลิตร หรือ 1.5 ตัน/ลบ.ม.

(4) ปริมาณดิน 1 ลบ.ม. มีน้ำหนัก 1.5 ตัน นั่นคือ ดิน 1 ไร่ที่คิดหน้าดินลึกเพียง 10 ซม.จะมีน้ำหนักเท่ากับ 160 x 1.5 = 240 ตัน หรือ 24,00 กิโลกรัม


ผลการวิเคราะห์ดินของสถานีทดลองพบว่ามีอินทรียวัตถุ 0.97 หรือประมาณ 1% ในขณะที่ค่ามาตรฐานอยู่ที่ 3% และโดยทั่วไปปุ๋ยอินทรีย์จะมีอินทรียวัตถุ 50%


ทำการเทียบแบบ Pearson’s Square* จะได้ว่า
นั่นหมายความว่าใช้ดิน 47 ส่วนผสมกับปุ๋ยอินทรีย์ที่มีอินทรียวัตถุ 50% จำนวน 2 ส่วนจะได้อินทรียวัตถุในดิน 3% เมื่อเทียบบัญญัติไตรยางศ์จะได้


ดิน 47 กิโลกรัม ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ 2 กิโลกรัม
ดิน 24,00 กิโลกรัม จะใช้ปุ๋ยอินทรีย์ 2 x 24,000 = 1,021.28 กก.



นั่นคือต้องใช้ปุ๋ยอินทรีย์ครั้งละ 1.02 ตัน/ไร่ ในแต่ละครั้ง แต่อินทรียวัตถุจะสลายตัวหมดได้ไม่เกิน 2 เดือน ดังนั้นทั้งปีจึงต้องใช้ปุ๋ยอินทรีย์บำรุงดินขั้นต่ำ 6 ตัน/ไร่ จึงจะสามารถรักษาระดับอินทรียวัตถุในดินได้ตามความต้องการของพืช


* การคำนวณโดยใช้สี่เหลี่ยมของเพียร์สัน (Pearson's square method)
เป็นวิธีคำนวณโดยอาศัยรูปสี่เหลี่ยม เหมาะสำหรับใช้เมื่อมีวัตถุดิบเพียงสองชนิดหรือสองกลุ่ม และปริมาณที่ต้องการคำนวณจะต้องมีหน่วยในรูปร้อยละเท่านั้น ในกรณีของการคำนวณเพื่อปรับปรุงดินปริมาณอินทรีย์วัตถุที่ต้องการจะต้องมีค่าอยู่ระหว่างจำนวนอินทรีย์วัตถุที่มีอยู่ในวัตถุดิบของทั้งสองกลุ่ม



ขั้นตอนในการคำนวณ มีดังนี้
1. เขียนปริมาณอินทรีย์วัตถุที่ต้องการเป็นร้อยละไว้ตรงกึ่งกลางของรูปสี่เหลี่ยม ในที่นี้คือ 3

2. เขียนปริมาณอินทรีย์วัตถุซึ่งอยู่ในวัตถุดิบแต่ละชนิดที่ต้องการใช้ทั้งสองชนิดเป็นร้อยละ ไว้ตรงมุมซ้ายทั้งบน และล่างของรูปสี่เหลี่ยม ในที่นี้คือ ดิน = 1 และ ปุ๋ย = 50

3. หาผลต่างระหว่างตัวเลขที่มุมซ้ายกับตัวเลขกึ่งกลางของรูปสี่เหลี่ยมคำนวณแล้วใส่ผลต่างไว้ทางมุมขวาตามแนวเส้นทะแยงมุมของ ตัวเลขที่ใช้หาผลต่าง

ดิน 1-3 = 2
ปุ๋ย 50 –3 = 47


4. ตัวเลขที่ได้ทางมุมขวาเป็นปริมาณหรือสัดส่วนของวัตถุดิบที่เมื่อผสมวัตถุดิบทั้งสองชนิดตามสัดส่วนที่ได้นี้จะได้ดินที่มีจำนวนอินทรีย์วัตถุตรงกับความต้องการที่กำหนดไว้



อ้างอิง : อ.ธาตรี จีราพันธุ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์

http://hcsupply.blogspot.com/2009/09/blog-post.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 08/11/2011 1:56 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,082. เกษตรอินทรีย์ไทย คิดให้ไกลกว่า "ปลูกข้าว" (บิสซิเนส โมเดล)

มูลค่าสินค้าเกษตรอินทรีย์ในตลาดโลก แต่ละปีมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย ปีละ 20 เปอร์เซ็นต์ และหากเข้าไปดูในห้างสรรพสินค้าต่างๆ สินค้าเกษตรอินทรีย์ก็จะมีราคาที่สูงกว่าสินค้าทั่วไปถึงสามเท่าตัวหรือ มากกว่านั้น นั่นจึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศเกษตรกรรมมองเห็น โอกาสนี้ และพยายามที่จะปรับตัวเข้าไปสู่ กระแสของสินค้าเกษตรอินทรีย์ สินค้าเพื่อสุขภาพ

แต่คำถามก็คือเราจะก้าวไปอย่างไร ถ้าเราได้เปรียบในกระแสนี้ เราจะเดินไปอย่างไร จะปลูกข้าวเกษตรอินทรีย์ไปตลอด โดยมีเวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และลาวเป็นคู่แข่งอย่างนั้นหรือ

ในการประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมระดับนานาชาติ เป็นการประชุมที่จัดโดยสำนักนวัตกรรมแห่งชาติ ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีที่ผ่านมา ช่วยให้ผู้ประกอบการไทยมองเห็นเกษตรอินทรีย์ของไทยในเวทีโลกได้ชัดเจนขึ้น

ปัจจัยที่ผู้ประกอบการควรรู้ก็คือสินค้าเกษตรอินทรีย์ แม้ว่าจะมีราคาดีในตลาดยุโรปอเมริกาและญี่ปุ่น แต่การจะได้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์เป็นเรื่องที่ยากขึ้นทุกวัน เพราะมาตรฐานต่างๆ จะมีการปรับกฎเกณฑ์ทุกปีเพื่อให้ทันสมัย และมีกฎเกณฑ์เพื่อกีดกันทางการค้ามากขึ้นทุกปี

ในอีกปัจจัยหนึ่งที่ควบคู่กันก็คือในขณะที่สินค้าเกษตรอินทรีย์เป็นเทรนด์ แต่พื้นที่เพาะปลูกอาจจะน้อยลง เพราะพื้นที่ส่วนหนึ่งต้องถูกแบ่งปันเพื่อปลูกพืชพลังงาน

ในอีกทางหนึ่งก็มีแนวโน้มเช่นกันว่า ในขณะที่มาตรการต่างๆ มีการปรับให้ทันสมัย แต่ในอนาคตน่าจะผ่อนปรนลงด้วยเช่นกัน

คุณาวุฒิ บุญญานพคุณ ผู้จัดการโครงการด้านเกษตรอินทรีย์ สำนักนวัตกรรมแห่งชาติ สรุปภาพจากการประชุมครั้งที่ผ่านมาทั้งในด้านของไทยที่ต้องรับมือกับกฎระเบียบ และเตรียมตัวสำหรับการเข้าสู่ตลาดเกษตรอินทรีย์ในอนาคต



แปรรูปเกษตรอินทรีย์คิดได้แล้ว
ตามที่ได้เกริ่นไว้ หากไทยยังยึดอยู่ที่การปรับความสมดุลในดินทำการเกษตรอินทรีย์เพื่อมูลค่าเพิ่ม ทำคอนแทร็กต์ฟาร์มมิ่ง (Contract farming) ปลูกข้าวเกษตรอินทรีย์ สร้างมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ทั้งในไทยและส่งออก เช่น มาตรฐาน IFOAM จากสภาพันธุ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ ก็ดูจะช้าไปหน่อย เพราะคู่แข่งที่สำคัญก็คือประเทศที่เป็นเกษตรกรรมแบบดั้งเดิมไม่ใช้สารเคมี เช่น ลาว เวียดนามมาแรง ฉะนั้นแล้วสิ่งที่ไทยควรจะมองข้ามชอตไปเลย ก็คือสินค้าแปรรูปจากเกษตรอินทรีย์ เช่น สแน็ก อาหารเสริม ขนม มีการพัฒนาไปค่อนข้างมากแล้ว แต่ก็ยังไม่พอเพียง

"เป้าที่สำคัญ คือเราไม่ควรที่จะขายแค่ของสด พืชเป้าหมายของคณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ ก็คือข้าว สมุนไพร ผัก และผลไม้ไทย หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวโพดอ่อน ซึ่งมีศักยภายที่จะมาแปรรูปได้ เราส่งของสดในบางส่วน แต่ผลผลิตในส่วนที่ขนาดยังไม่ได้มาตรฐาน เราก็นำมาแปรรูปทำอาหารเสริม หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ"

ส่วนผู้ที่จะแปรรูปหรือต่อยอดเกษตรอินทรีย์ในบ้านเรามีผลการศึกษาและรวบรวมฐานข้อมูลของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ร่วมกับสมาคมการค้าเกษตรอินทรีย์ไทย พบว่าปัจจุบันงานวิจัยและนวัตกรรมที่ผ่านมามีจำนวนเพียง 270 ชิ้น โดยเฉลี่ยมีงานวิจัยประมาณ 20-30 งานวิจัยต่อปีเท่านั้น ซึ่งการประชุมในครั้งนี้จะเกิดโอกาสใหม่ๆ ที่ผู้ประกอบการไทยสามารถที่จะนำมาต่อยอดได้อย่างถูกจุด



ตรวจสอบย้อนกลับในเกษตรอินทรีย์
นอกจากนี้ ในเวทีของการประชุมดังกล่าว ยังมีการพูดถึงมาตรฐานของการตรวจสอบย้อนกลับ ที่จะนำมาใช้ร่วมในสินค้าเกษตรอินทรีย์ด้วย

สินค้าเกษตรทั่วไป อาจจะเป็นแค่การระบุว่ามาจากประเทศอะไร ฟาร์มอะไร แต่การปรับมาเป็นการตรวจสอบแบบย้อนกลับสำหรับเกษตรอินทรีย์ จะต้องมาปรับในรายละเอียดต่างๆ อีกมาก เช่น มาตรฐานสบู่อินทรีย์ต้องมีส่วนประกอบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จะมีอะไรบ้างที่เป็นส่วนประกอบ ในกลุ่มเครื่องสำอางมีส่วนผสมที่ต้องมาดูมาปรับให้มีมาตรฐาน ตัวระบบมาตรฐานไทยเราก็ต้องเตรียมพัฒนาขึ้นมา ถ้าเราจะขายเนื้อหมูเกษตรอินทรีย์ เราไม่เคยมีมาตรฐานมาก่อน เราก็ต้องพัฒนาควบคู่กันขึ้นมาด้วย การแปรรูปสัตว์น้ำ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ต้องทำแผนระบบการพัฒนามาตรฐานการผลิต การแปรรูปที่สามารถรองรับกับมาตรฐานของยุโรปได้อีกด้วย




เกษตรอินทรีย์ไทยจะถูกกีดกันอะไรบ้าง
สิ่งที่เป็นประเด็นในการประชุมครั้งนี้ก็คือการใช้สารในการต้านแมลง IFOAM ได้การพูดถึงสารที่ไม่อนุญาตให้ใช้ในการฆ่าแมลง เช่น สะเดา ซึ่งบ้านเราใช้ฆ่าแมลงตามธรรมชาติ แต่เนื่องจากว่าสะเดาเองไม่มีในยุโรป ทางยุโรปจึงมีการออกกฎระเบียบ ห้ามไม่ให้เราใช้สารจากสะเดาในการฆ่าแมลง รวมทั้งสมุนไพรไทยตัวอื่นๆ ด้วย

"ยาสูบป้องกันแมลง ต้นหนอนตายยาก พืชสมุนไพรไทยทั้งหลาย ห้ามเราใช้ทั้งหมด ซึ่งในปีนี้ ทางสำนักนวัตกรรมเองก็ได้เตรียมยื่นเรื่องรวบรวมงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ สะเดาและสมุนไพรไทยเพื่อเข้าไปเจรจาต่อรองในเวทีอีกด้วย"

ในส่วนของเมล็ดพันธุ์ที่มีการพูดกันมากคือสารเคมีที่นำมาใช้กันเชื้อรา เริ่มจากการใช้ในขั้นตอนการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ออกจำหน่าย ซึ่งที่ผ่านมาทาง IFOAM ได้ผ่อนผัน หรือปิดตาข้างหนึ่งมาตลอด แต่ในเวทีก็มีการพูดถึงกันอีกครั้ง โดยมีการระบุว่าภายในปี 2010 จะมีการตรวจสอบเรื่องเมล็ดพันธุ์อย่างเข้มข้น

อย่างไรก็ดี ปัญหาเรื่องเมล็ดพันธุ์ เป็นความพยายามที่ยากยิ่ง เพราะเมล็ดพันธุ์ส่วนใหญ่อยู่ในมือของบริษัทขนาดใหญ่ ทำให้การพูดคุยในประเด็นนี้เป็นโอกาสของคนที่คิดพัฒนาเมล็ดพันธุ์ปลอดสารในอนาคตอีกช่องทางหนึ่ง

รวมทั้งความคืบหน้าในการที่จะเชื่อมโยง มาตรฐานของยุโรป คือ IFOAM และการจัดตั้งตัวแทนของ IFOAM ในแต่ละประเทศ เพื่อที่จะออกมาตรฐานรับรองเกษตรอินทรีย์ในประเทศนั้นๆ ได้เลย



สำหรับเมืองไทยและผู้ประกอบการไทย หากคิดจะทำ บิสซิเนส โมเดล ในตอนนี้จะต้องมองให้ไกลและมองให้คุ้มทุนอย่างที่สุด โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่จะก้าวจากการปรับสินค้าเกษตรที่ใช้สารเคมีในปัจจุบันไปสู่การเป็นฟาร์มเกษตรอินทรีย์ก็อาจจะช้าเกินไป และยังเป็นการลงทุนที่สูงด้วย ดังนั้นการมองโอกาสในธุรกิจนี้จึงต้องมองในระยะยาว วางแผนตั้งแต่การผลิต แปรรูป และการวิจัยพัฒนาเพื่อเชื่อมต่อและใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า





http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=posting&sid=f81f9bc6974401580f89fa65ea9bc559
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 08/11/2011 9:19 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,083. เพาะเลี้ยง 'ไส้เดือนดิน' ผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพ





"ไส้เดือนดิน” จัดอยู่ในกลุ่มผู้ย่อยสลายซากอินทรีย์ในระบบนิเวศ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ตามที่อยู่อาศัยและนิสัยในการกินอาหารคือ ไส้เดือนดินที่อาศัยอยู่ตามผิวดินหรือใต้ซากอินทรีย์ และไส้เดือนดินที่อาศัยอยู่ใต้ดินโดยการขุดรูอยู่ โดยไส้เดือนดินที่อยู่ตามผิวดินหรือใต้ซากอินทรีย์จะมีประสิทธิภาพในการย่อยสารอินทรีย์ในดินได้ดีกว่า และมีการขยายพันธุ์ที่รวดเร็วกว่าด้วย โดยทั่วไปในธรรมชาติไส้เดือนดินมีอายุที่ยาวนาน ตั้งแต่ 4-10 ปีขึ้นอยู่กับชนิดของไส้เดือนดิน แต่เมื่อนำมาเพาะเลี้ยงมักพบว่าไส้เดือนดินมีอายุสั้นลง โดยทั่วไปจะมีอายุเฉลี่ยไม่เกิน 2 ปี

สภาพแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเจริญเติบโตของไส้เดือนดินประกอบด้วย

1.ความชื้น ไส้เดือนดินแต่ละชนิดจะเจริญเติบโตได้ดีในความชื้นที่แตกต่างกัน เช่น ความชื้นที่เหมาะสมต่อไส้เดือนดินที่อาศัยอยู่ใต้ดินคือ 40-70% ส่วนไส้เดือนดินที่อาศัยใต้กองมูลสัตว์หรือซากอินทรีย์จะเจริญเติบโตได้ดี ที่ความชื้น 70-80% เป็นต้น

2.อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของไส้เดือนดิน อยู่ในช่วง 15-28 องศาเซลเซียส โดยไส้เดือนดินในเขตร้อนจะทนต่ออุณหภูมิสูงได้ดีกว่าไส้เดือนดินในเขตอบอุ่น

3.ความเป็นกรด-ด่างของดินมีผลต่อไส้เดือนดิน โดยทั่วไปความเป็นกรด-ด่างที่เหมาะสมต่อไส้เดือนดินอยู่ในช่วง 6.0-8.0 อย่างไรก็ตามพบว่าไส้เดือนดินบางชนิดสามารถอาศัยอยู่ในสภาพที่เป็นกรดจัดได้ (3.7-4.7)

4.ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ไส้เดือนดินจะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในดินที่มีความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอน ไดออกไซด์ระหว่าง 0.01-11.5% ถ้ามีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อยู่สูงกว่าที่กำหนดจะเป็นอันตรายต่อไส้เดือนดิน

จากลักษณะการกินอาหาร (ซากอินทรีย์) และการอยู่อาศัยของไส้เดือนดิน ทำให้มีประโยชน์ต่อดินในแง่ของการย่อยสลายซากอินทรีย์ในดิน ทำให้ดินมีธาตุอาหารและสารต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช รวมทั้งการเคลื่อนที่ไปหาอาหารของไส้เดือนดินเป็นการไชชอนดิน ทำให้ดินมีความร่วนซุย มีการระบายของน้ำและการแพร่กระจายของอากาศในดินได้ดี จึงเป็นประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิตในดินไม่ว่าจะเป็นพืช จุลินทรีย์ และสัตว์ขนาดเล็กอื่น ๆ

วัตถุประสงค์ของการนำไส้เดือนดินมาเพาะเลี้ยงในประเทศไทย มีจุดมุ่งหมายอยู่ 2 ประการคือ ประการแรกเป็นอาหารสัตว์ ประการที่สอง คือนำมาใช้ย่อยสลายวัสดุเหลือทิ้งจากภาคการเกษตรและอาหารเพื่อผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์ เช่น เศษผัก ผลไม้หรือมูลสัตว์ เป็นต้น





วิธีการเพาะเลี้ยงไส้เดือนดินสำหรับผลิตปุ๋ยอินทรีย์มีด้วยกันหลายชนิด โดยสามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมดังนี้

1. การเลี้ยงไส้เดือนดินในภาชนะต่าง ๆ เช่น กระถางปลูกต้นไม้ ลังไม้ หรือบ่อซีเมนต์เป็นต้น เป็นการเลี้ยงขนาดเล็ก และทำได้ทุกครัวเรือน ใช้พื้นที่น้อย การดูแลง่าย แต่ปริมาณปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้ก็น้อยตามขนาดของภาชนะที่เลี้ยง

2. การเลี้ยงไส้เดือนดินในภาชนะเป็นชั้น ๆ เช่น ชั้นไม้ หรือชั้นตู้พลาสติก เป็นต้น เป็นการเลี้ยงที่ใช้พื้นที่จำกัดได้ดี แต่มีข้อจำกัดคือต้องใช้แรงงานในการจัดการค่อนข้างมากและสิ้นเปลืองเวลา

3. การเลี้ยงไส้เดือนดินแบบแปลงกลางแจ้ง เป็นการเลี้ยงไส้เดือนดินที่ใช้เทคนิคง่าย ๆ ด้วยการตั้งกองอาหารเป็นแปลงสำหรับเลี้ยงไส้เดือนดิน คลุมอาหารของไส้เดือนดินด้วยฟางและตาข่าย สำหรับป้องกันสัตว์มาคุ้ยเขี่ย แต่มีข้อจำกัดตรงที่ไส้เดือนดินสามารถเลื้อยหนีออกได้ง่ายเมื่อสภาวะไม่เหมาะสม เช่น อาหารหมดหรือน้ำท่วม เป็นต้น

4. การเลี้ยงไส้เดือนดินในโรงเรือน เป็นการเลี้ยงที่นิยมสำหรับฟาร์มเกษตรกรส่วนใหญ่ เพราะสามารถจัดการสภาพแวดล้อมต่าง ๆในการเลี้ยงไส้เดือนดินได้ง่าย เช่น การก่อบล็อกสำหรับทำซองหรือคอกเลี้ยงไส้เดือนดิน โรงเรือนจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ขึ้นอยู่กับต้นทุนของผู้เลี้ยงไส้เดือนดินเป็นหลัก

5. การผลิตไส้เดือนดินแบบอัตโนมัติ เป็นการเลี้ยงไส้เดือนดินอย่างเป็นระบบ ทำให้จัดการได้ง่าย แต่มีข้อจำกัดตรงที่ต้นทุนสูงมาก ดังนั้นต้องมีการศึกษาพันธุ์ที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงที่สุด

ปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากไส้เดือนดินมีอยู่ 2 ชนิดคือ ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดแห้งและปุ๋ยอินทรีย์ชนิดน้ำ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของวัตถุดิบหรืออาหารที่ใช้ โดยทั่วไปถ้าเป็นจากเศษพืชหรือผักจะได้ปุ๋ยอินทรีย์ทั้งชนิดน้ำและแห้ง แต่มีปริมาณน้อย ส่วนมูลสัตว์จะได้ปริมาณปุ๋ยอินทรีย์ที่มากกว่า แต่ไม่ได้ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดน้ำ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สถานีวิจัยลำตะคอง วว. เลขที่ 333 หมู่ 12 ถนนมิตรภาพ ต.หนองสาหร่าย อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา 30130 โทร. 0-4439-0107, 0-4439-0150 , 08-1999-4770 โทรสาร 0-4439-0150 อีเมล lamtakhong@tistr.or.th, momtree_k@tistr.or.th



ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=345&contentID=8113


http://www.phtnet.org/news52/view-news.asp?nID=381
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 08/11/2011 9:35 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,084. ผลิตพลาสติก "ชีวฐาน"


นักวิจัย ม.เกษตรฯ เจ๋ง! ผลิตพลาสติก "ชีวฐาน" ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร-บรรจุภัณฑ์


นักวิจัย คณะอุตสาหกรรมเกษตร มก. ผลิตพลาสติกชีวฐาน จากโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน ของพืชและสิ่งมีชีวิต เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและบรรจุภัณฑ์



พลาสติกทั่วไปที่ผลิตสังเคราะห์จากมอโนเมอร์ที่มีแหล่งกำเนิดจากอุตสาหกรรมปิโตรเลียม เป็นวัสดุหนึ่งที่ใช้มากในหลายอุตสาหกรรมโดยเฉพาะการผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกทั้งชนิดแข็ง กึ่งแข็ง และชนิดอ่อนตัวเนื่องจากมีข้อดีหลายประการ อาทิ ความแข็งแรง น้ำหนักเบา และราคาถูก แต่เป็นที่ทราบกันดีว่าพลาสติกชนิดนี้ไม่สามารถย่อยสลายได้เองในธรรมชาติ ส่งผลให้ปริมาณขยะพลาสติกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ถึงแม้ว่าจะทำการกำจัดโดยการรีไซเคิล หรือการฝังกลบ การเผา ซึ่งล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งสิ้น

หน่วยปฏิบัติการวิจัยเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน นวัตกรรมวัสดุชีวฐานเพื่ออุตสาหกรรมเกษตร (Special Research Unit: Bio-based Materials Innovation for Agro-Industry, BMI) คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นหน่วยงานที่ศึกษาและวิจัยเพื่อพัฒนาวัสดุชีวฐาน เพิ่มมูลค่าของวัตถุดิบเกษตร และพัฒนาเทคโนโลยีด้านวัสดุชีวฐาน เพื่อแก้ไขปัญหาการตกค้างของขยะพลาสติกตลอดจนผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและการเกิดภาวะโลกร้อน รวมทั้งความปลอดภัยของผู้บริโภคซึ่งวัสดุชีวฐานหรือพลาสติกชีวฐาน (bio-based plastic) เป็นพลาสติกที่มาจากสิ่งมีชีวิต เช่น พืช และสัตว์ สามารถย่อยสลายได้โดยจุลชีพในธรรมชาติ และปัจจุบันมีบทบาทมากทั้งในการนำไปใช้ทดแทนวัสดุสังเคราะห์จากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี

ดร.รังรอง ยกส้าน ดร. อำพร เสน่ห์ และ ผศ.ดร. น้ำฝน ลำดับวงศ์ จาก ภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุ และวัสดุ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คือกลุ่มผู้บุกเบิกงานวิจัยเพื่อพัฒนาพลาสติกชีวฐานจากวัตถุดิบเกษตรของประเทศโดยเฉพาะพืชเศรษฐกิจไทย เช่น ข้าว ข้าวโพด อ้อย มันสำปะหลัง และ ถั่วต่าง ๆ ซึ่งกลุ่มนักวิจัยกลุ่มนี้ได้ทำการศึกษาวิจัยโดยเน้นการผลิตเทอร์โมพลาสติกสตาร์ช การทำคอมพอสิทของเทอร์โมพลาสติก สตาร์ช การทำคอมพาวด์และเบลนด์ของเทอร์โมพลาสติกสตารช์ กับพอลิเมอร์หรือพลาสติกชนิดอื่น ทั้งที่มาจากอุตสาหกรรมปิโตรเลียม เช่น PE PP พอลิบิวทิลีนอะดิเพท-โค-เทเรฟทาเลท (poly(butylene adipate-co- terephthalate), PBAT) และพอลิบิวทิลีนซัคซิเนท (poly(butylenes succinate), PBS) เป็นต้น และทั้งที่มาจากธรรมชาติ อาทิ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน จากพืชและสัตว์ เช่น PLA และยังรวมถึงเทคโนโลยีการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์แบบต่อเนื่องของพลาสติก ชีวฐานและพลาสติกชีวภาพต้นแบบ และประสบความสำเร็จสามารถผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวฐานและพลาสติกชีวภาพ ดังนี้ ได้แก่

1. เม็ดพลาสติกชีวภาพจากเทอร์โมพลาสติกสตารช์
2. ตัวอย่างบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพชนิดแข็ง (rigid packaging) เช่น จานรองแก้ว ถาด ถ้วย
3. ตัวอย่างบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพชนิดอ่อน (flexible packaging)


ผลงานวิจัยหรือตัวอย่างผลิตภัณฑ์ทั้ง 3 ชนิดนี้ จะนำไปแสดงในส่วนของ Ku Outlet งานวิจัยเด่นของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บริเวณหน้าอาคารจักรพันธ์เพ็ญศิริ ในงานเกษตรแฟร์ ประจำปี 2554 ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 28 มกราคม – 5 กุมภาพันธ์ 2554






จาก http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1296020776&grpid=&catid=09&subcatid=0904

http://climatechange.jgsee.org/v2/detail.php?ID=240&typeid=1
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 09/11/2011 12:50 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,085. เสริมความรู้เรื่องดิน ช่วยเกษตรกรลดรายจ่าย เพิ่มรายได้



ต้นทุนการผลิตของเกษตรกรในทุกวันนี้ มีการปรับตัวสูงขึ้นตามปัจจัยการผลิตต่างๆ มากมาย ในขณะที่ราคาจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร กลับมีความผันผวนขึ้นลงตามกลไกตลาด ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบต้นทุนกับรายได้จะไม่ค่อยสอดคล้องหรือเป็นไปในทิศทางเดียวกันมากนัก จึงเป็นปัญหาหลักที่ทำให้เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่สามารถลืมตาอ้าปาก หรือมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามที่ควรจะเป็นในฐานะที่เป็นผู้ผลิตสินค้าเกษตรที่เลี้ยงประชากรในประเทศและต่างประเทศอีกทั้งยังสร้างรายได้เข้าประเทศปีละมากมายมหาศาล


นายธวัชชัย สำโรงวัฒนา อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน กล่าวว่า กรมพัฒนาที่ดินมีหน้าที่ช่วยให้เกษตรกรมีที่ดินเพาะปลูกที่มีศักยภาพในการนำไปใช้ประโยชน์ทำการเกษตรโดยมุ่งเน้นไปที่การลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ เนื่องจากดินเป็นปัจจัยประเทศ รวมทั้งที่สถานีพัฒนาที่ดินทุกจังหวัด หรือดูข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ของกรมพัฒนาที่ดิน www.ldd.go.th เกษตรกรสามารถไปขอดูค่าวิเคราะห์ดินเพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับพื้นที่ของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะข้อมูลจะบอกถึงธาตุอาหารในดิน พืชที่เหมาะสมกับดิน ค่าการใช้ปุ๋ยเคมีที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรมีการจัดการดินและวางแผนปลูกพืชที่เหมาะสม ช่วยลดต้นทุนค่าปุ๋ยเคมีที่ไม่จำเป็นลงได้ แต่ถ้าเกษตรรายใดที่ต้องการค่าวิเคราะห์รายแปลงพื้นที่ของตัวเองเพื่อความแน่นอน ก็ให้นำตัวอย่างดินจากแปลงของท่านไปตรวจวิเคราะห์ได้โดยตรงที่กรมพัฒนาที่ดินหรือสถานีพัฒนาที่ดินทุกแห่ง


ด้านการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีชีวภาพของกรมพัฒนาที่ดิน ได้แก่สารเร่งซุปเปอร์ พด.สูตรต่างๆ ที่กรม คิดค้นขึ้นมาเพื่อบริการ แจกจ่ายแก่เกษตรกร ช่วยในการย่อยสลายเศษวัสดุทางธรรมชาติได้เร็วกลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อพืชและดินในพื้นที่ทำการเกษตรซึ่งวิธีการนี้จะเป็นการทำปุ๋ยด้วยวิธีทางธรรมชาติที่ไม่ต้องลงทุนมากนักด้านการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับวิธีการผลิตและใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพคุณภาพสูง เพื่อปรับปรุงโครงสร้างของดินให้ดีขึ้น ช่วยสร้างธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์กับพืช ส่งเสริมให้การเจริญเติบโตของพืชดีด้านสุดท้าย คือ การส่งเสริมให้เกษตรกรใช้เมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสด เช่นพืชตระกูลถั่วต่างๆ ปอเทือง ปลูกเพื่อการปรับปรุงบำรุงดิน ปรับโครงสร้างของดิน ซึ่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จแล้ว ช่วงพักดินจากการปลูกข้าว หรือพืชไร่ ให้ใช้การไถกลบตอซังทดแทนการเผา และให้ปลูกพืชปุ๋ยสดไว้เป็นเวลา 48 วัน จากนั้นให้ไถกลบเท่านั้น ท่านก็จะได้ปุ๋ยธรรมชาติที่คืนสู่ผืนดิน ช่วยในการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินเมื่อดินดีก็ช่วยให้พืชมีความต้านทานต่อโรคและแมลงมากขึ้นเมื่อทำการเพาะปลูกครั้งต่อไปก็จะช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีทางการเกษตรได้มากทีเดียว


"ถ้าเกษตรกรนำแนวทางใดแนวทางหนึ่งหรือทั้งหมดที่กรม ได้แนะนำไปใช้ก็เชื่อมั่นว่าจะสามารถช่วยเพิ่มผลผลิต ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ตลอดจนก่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ที่ดินได้อย่างยั่งยืนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงได้ สิ่งสำคัญที่อยากจะแนะนำเกษตรกรคืออยากให้ใช้ที่ดินตามศักยภาพและความเหมาะสมกับพืชที่จะปลูก โดยคำนึงถึงความเหมาะสมกับดินดีกว่า เพราะจะทำให้ท่านมีรายได้ยังชีพได้ยั่งยืน" อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน กล่าว


สำหรับผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สถานีพัฒนาที่ดินทุกจังหวัดทั่วประเทศ หรือ สายด่วน กรมพัฒนาที่ดิน1760 หรือหมอดินอาสาประจำหมู่บ้าน หมอดินอาสาประจำตำบลใกล้บ้านพืชตระกูลถั่วต่างๆ ปอเทือง ปลูกเพื่อการปรับปรุงบำรุงดิน ปรับโครงสร้างของดิน ซึ่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จแล้ว ช่วงพักดินจากการปลูกข้าว หรือพืชไร่ ให้ใช้การไถกลบตอซังทดแทนการเผา และให้ปลูกพืชปุ๋ยสดไว้เป็นเวลา 48 วัน จากนั้นให้ไถกลบเท่านั้น ท่านก็จะได้ปุ๋ยธรรมชาติที่คืนสู่ผืนดิน ช่วยในการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินเมื่อดินดีก็ช่วยให้พืชมีความต้านทานต่อโรคและแมลงมากขึ้นเมื่อทำการเพาะปลูกครั้งต่อไปก็จะช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีทางการเกษตรได้มากทีเดียว


"ถ้าเกษตรกรนำแนวทางใดแนวทางหนึ่งหรือทั้งหมดที่กรม ได้แนะนำไปใช้ก็เชื่อมั่นว่าจะสามารถช่วยเพิ่มผลผลิต ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ตลอดจนก่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ที่ดินได้อย่างยั่งยืนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงได้ สิ่งสำคัญที่อยากจะแนะนำเกษตรกรคืออยากให้ใช้ที่ดินตามศักยภาพและความเหมาะสมกับพืชที่จะปลูก โดยคำนึงถึงความเหมาะสมกับดินดีกว่า เพราะจะทำให้ท่านมีรายได้ยังชีพได้ยั่งยืน" อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน กล่าว


สำหรับผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สถานีพัฒนาที่ดินทุกจังหวัดทั่วประเทศ หรือ สายด่วน กรมพัฒนาที่ดิน1760 หรือหมอดินอาสาประจำหมู่บ้าน หมอดินอาสาประจำตำบลใกล้บ้าน






ที่มา: หนังสือพิมพ์สยามรัฐ,

http://www.pandintong.com/2010/View_content.php?ContentID=7629
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 09/11/2011 12:54 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,086. 3 สูตรปุ๋ย เพื่อเกษตรกรชาวสวนยาง


"3 สูตรปุ๋ย"เพื่อเกษตรกรชาวสวนยาง "เหนือ-อีสาน"ใช้ตามค่าวิเคราะห์ดิน


แม้จะเป็นพืชเศรษฐกิจหลักที่ไม่อยู่ในโครงการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรของรัฐบาล แต่ยางพาราก็จำเป็นที่จะต้องใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินของแต่ละชุดดินในตำบลนั้นหรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า "ปุ๋ยสั่งตัด" ทั้งนี้ เพื่อการเจริญเติบโตของต้นยางและการให้ผลผลิตน้ำยาง ไม่ว่าจะเป็นยางที่ปลูกใหม่ในพื้นที่ใหม่หรือยางที่ปลูกใหม่ในพื้นที่เดิม


นุชนารถ กังพิศดาร นักวิชาการเกษตรเชี่ยวชาญ สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตรให้มุมมองการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินในสวนยางพาราพื้นที่ปลูกใหม่ในภาคอีสานและเหนือ พร้อมแนะนำว่าการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินนั้นมีความจำเป็นอย่างมาก เพราะจะได้ทราบว่า ดินที่ปลูกยางมีธาตุอาหารเท่าไร ต้องใส่ในปริมาณเท่าไรและต้องใส่อย่างไร วิธีการโดยเก็บตัวอย่างดินปลูกยาง เพื่อวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารในดิน แปลผลวิเคราะห์ดินและนำมาประเมินความต้องการธาตุอาหารที่ใส่ให้แก่ต้นยางพารา


ไม่เพียงเท่านั้น การใช้ปุ๋ยวิธีนี้ยังบอกปริมาณแม่ปุ๋ยที่นำมาผสมและอัตราปุ๋ยที่ใช้ โดยเกษตรกรสามารถผสมปุ๋ยใช้ได้เองตามที่ต้องการ ซึ่งการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินเป็นการใส่ปุ๋ยเฉพาะพื้นที่ ตรงกับความต้องการปริมาณธาตุอาหารของต้นยางแล้วยังช่วยลดต้นทุน และแก้ปัญหาปุ๋ยด้อยคุณภาพ ซึ่งจะทำให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนสูงสุดอีกด้วย


"เกษตรกรรายย่อยสามารถใช้ปุ๋ยสูตรทั่วไปที่ขายตามท้องตลาดได้ ถ้าเป็นรายใหญ่ๆ ขอแนะนำให้ใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินจะคุ้มค่ากว่า โดยซื้อปุ๋ยมาผสมเองก็ได้จะได้ลดต้นทุนลง ส่วนปุ๋ยอินทรีย์ใส่ตามความเหมาะสม ถ้าเป็นภาคอีสานควรจะใส่เยอะหน่อย เพราะส่วนใหญ่เป็นดินทรายมีอินทรียวัตถุน้อย ปุ๋ยอินทรีย์ยิ่งใส่มากก็ยิ่งดี แต่ขึ้นอยู่กับต้นทุนด้วย"


นักวิชาการเกษตรคนเดิมยอมรับว่า ยางพาราต้องการธาตุอาหารในปริมาณที่แตกต่างกันตามอายุ ชนิดของดินและพันธุ์ยาง หากเกษตรกรปลูกยางในดินที่มีสภาพเหมาะสมจะส่งผลให้เปิดกรีดได้เร็วและให้ผลตอบแทนสูง ดิน จึงเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญต่อการเพิ่มผลผลิต ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับการใส่ปุ๋ยนอกเหนือจากการเลือกใช้พันธุ์ยาง และการจัดการสวนยาง ดังนั้น การใส่ปุ๋ยเพื่อให้ต้นยางเจริญเติบโตและเพิ่มผลผลิต จึงต้องคำนึงถึงความอุดมสมบูรณ์ของดิน ซึ่งเกี่ยวกับความสมดุลของธาตุอาหารในดิน


"ในการกรีดยางแต่ละครั้งจะมีการสูญเสียธาตุอาหารไปกับน้ำยาง หากไม่มีการใส่ปุ๋ยเพื่อชดเชยธาตุอาหาร จะทำให้ขาดความสมดุลของธาตุอาหารในดิน ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของต้นยางและการให้ผลผลิต ดังนั้น การใส่ปุ๋ยจึงต้องใส่ให้เหมาะสมกับความอุดมสมบูรณ์ของดิน และความต้องการของยางพารา หรือที่เรียกว่า ใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน" นักวิชาการคนเดิมกล่าวและว่า


สำหรับสูตรยางเล็กก่อนเปิดกรีด เช่นสูตร 20-10-17 เหมาะสำหรับดินร่วนปนทราย ส่วนสูตร 20-10-12 เหมาะสำหรับดินร่วนปนเหนียว ส่วนยางพาราที่เปิดกรีกแล้วจะต้องใช้สูตร 29-5-18 ซึ่งเป็นสูตรใหม่ตามที่กรมวิชาการเกษตรกำหนดและจะเผยแพร่สู่สาธารชนต่อไป ส่วนวิธีการใส่ปุ๋ยแนะนำให้ใส่บริเวณทรงพุ่มใบของต้นยาง เนื่องจากเป็นบริเวณปลายรากให้กลบดินทับด้วย เพื่อไม่ให้ปุ๋ยกระจายไปที่อื่นทำให้ต้นยางสามารถดูดซับธาตุอาหารอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย


"ยางที่เปิดกรีดแล้วควรใส่ปุ๋ยเคมี 1 กิโลกรัมต่อต้น ปีละ 2 ครั้งร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ 3 กิโลกรัมต่อต้น ถ้าเป็นยางต้นเล็กใส่บริเวณทรงพุ่มของใบยาง ส่วนยางเปิดกรีดก็ใส่กลางแถวยาง เพราะมันจะตรงปลายรากยางพอดี"


นางนุชนารถย้ำด้วยว่า การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินไม่ใช่เรื่องยุ่งยากสำหรับเกษตรกร ซึ่งขณะนี้สถาบันวิจัยยางได้จัดทำคู่มือ พร้อมชุดตรวจสอบดินอย่างง่ายที่เกษตรกรสามารถตรวจสอบดินได้เอง โดยเกษตรกรสามารถขอรับคำแนะนำการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน และคู่มือการใช้ปุ๋ยในยางพาราปี 2554 ได้ที่สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร โทร.0-2579-1576 หรือขอรับที่ศูนย์วิจัยยาง ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิต และสำนักตลาดกลางยางพารา กรมวิชาการเกษตรตามจังหวัดต่างๆ ในวันและเวลาราชการ


"สุรัตน์ อัตตะ"




ที่มา: http://www.komchadluek.net,

http://www.pandintong.com/2010/View_content.php?ContentID=7590
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 41, 42, 43 ... 72, 73, 74  ถัดไป
หน้า 42 จากทั้งหมด 74

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©