-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-เครื่องโรยเมล็ดข้าว ..
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - เครื่องโรยเมล็ดข้าว ..
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

เครื่องโรยเมล็ดข้าว ..
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 02/11/2012 8:28 am    ชื่อกระทู้: Eyes on the prize ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม ...ยัยเฉิ่ม และ สมช.สีสันชีวิตไทยทุกท่าน


งานนี้ หิน จริง ๆ ครับลุง (ช่างสรรหามานำเสนอ สมช.จริง ๆ )เพราะ แม่เจ้าประคุณ ลิซเบท บาโร่น่า อีดร้า เขียนเป็นภาษาวิชาการ แล้วผมก็ไม่ใช่นักวิชาการ แล้วก็ไม่ได้เป็นชาวนามืออาชีพ เพิ่งจะปลูกข้าวเป็นครั้งแรกในชีวิต เมื่อเดือน มิย.55 ที่ผ่านมานี้ ยังไม่ค่อยรู้จักภาษาข้าวว่าอันนี้ควรเรียกว่าอะไร มันจึงทำให้แปลยาก คงเปิด Dict.กันมือเป็นลิงละงานนี้ .....ยังไงก็ตาม ผมขออนุญาตแปลเป็นภาษาชาวบ้านพอแค่รู้เรื่องนะครับ ถ้าไม่อย่างนั้น คนแปลก็จะหลับ คนอ่านก็จะหลับ สุดท้าย ลุงคิมนั่นแหละจะหลับก่อนใคร.....ขนาดว่าผมท้องเสียอยู่นะ พออ่านบทความ...ขี้หด ตดหาย ไปเลย ....

พูดถึงท้องเสีย บางครั้งกินยาหลายอย่าง(ยาธาตุน้ำแดง น้ำขาว อีโมเดี้ยม โลโมทิล น๊อกซี่ ยาฆ่าเชื้อสารพัด)มันก็ไม่หาย สุดท้ายมาหายเพราะ ยาที่เพื่อนกะเหรี่ยงบนดอยให้มา 1 ก้อนโตประมาณ 2 หัวแม่มือเป็นยาที่ไม่มี อย. เพราะมันคือ ฝิ่นครับ เอามาฝนกับน้ำบนฝาหม้อดินเผา กินไป 3 ถ้วยตะลัย หายเป็นปลิดทิ้ง ....คนเหนือคนชาวเขาชาวดอยเค้าจะกินฝิ่นที่ฝนกับน้ำ กินเป็นยาแก้ท้องเสีย แก้ปวดเมื่อย ...กินแค่พอหายแล้วก็หยุด แปลกนะครับ กินฝิ่นจะไม่ติด นอกจากสูบถึงจะติด...จะเอารูปมาลงให้ดูก็กลัว ตร.ครับ ก้อนสีดำเหมือนยางมะตอยนั่นแหละ

รายการสีสันชีวิตไทย เป็นรายการที่มีสีสัน ถ้าขาดสีสัน รายการนี้จะไม่สดใส เรามาดูสีสันจากธรรมชาติ กับสีสันที่ทำเลียนแบบธรรมชาติกันหน่อยนะครับ


สีจากธรรมชาติ


สีที่ทำเลียนแบบธรรมชาติ

1. Eyes on the prize
Written by Ma. Lizbeth Barona-Edra
1 ดวงตาที่ฝันถึงรางวัล (ฟังแค่ชื่อเรื่องก็มึนตึ๊บแล้ว)
เขียนโดย Ma Lizbeth Barona-Edra



ชาวนาผู้ปลูกข้าวทั่วโลกกำลังหันมาปรับปรุงวิธีการที่จะนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ และในบางระดับขั้น(some degree)ของการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ ได้ช่วยฉุด(helped keep)ให้ชาวนาที่ยากจนจากหลายแห่งในโลก ให้ดีขึ้นจากการที่เคยถูกผลักดันให้จมดิ่งลงไปสู่วิถีทางแห่งความทุกข์และยากจน(ด้วยการเป็นหนี้สินล้นพ้นตัว)

ตัวอย่างอันหนึ่ง(ของการใช้เทคโนโลยี)คือ(พันธุ์ข้าว) IR8 ที่สื่อได้ขนานนามว่า "ข้าวมหัศจรรย์" ที่พัฒนาขึ้นโดยสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (International Rice Research Institute - IRRI) ในช่วงกลางทศวรรษ 1960 (ดูประวัติสายพันธุ์) – ดูที่ไหนล่ะเจ๊..ลุงคิมช่วยกรุณาค้นมาให้ สมช.ดูด้วยนะครับ เมืองไทยมีใครเอาพันธุ์มาปลูกหรือเปล่าครับลุง ....

ซึ่งแต่เดิมผลผลิตข้าวเฉลี่ยก่อนที่จะมีข้าวสายพันธุ์ IR8 ออกมา เกษตรกรที่ทำนาจะผลิตข้าวได้เพียง 2 ตันต่อเฮกตาร์ ...โอ้โฮเฮะ แล้ว 1 เฮกตาร์ นี่มันเท่ากับกี่ไร่หว่า มาตราอังกฤษซะด้วย.. ฟุตฟิตฟอไฟ เทียบกับมาตราไทยผสมอังกฤษ.... ปู่ของปู่บอกไว้ว่า ...12 นิ้ว(1 ฟุต)เป็น 1 คืบ.. 2 คืบเป็น 1 ศอก)... 4 ศอกเป็น 1 วา.... 1 วา = 2 เมตร....1 ตร.วา = 4 ตร.ม....1 ไร่ = 400 ตร.วา = 1600 ตร.เมตร... โปรดสังเกตว่า ไ ม่ว่าจะเป็นมาตราเมตริก หรือ มาตราอังกฤษ มาตราของไทยโบราณจะเข้าเสียบแบบนิ่ม ๆ ได้ทุกมาตราเลยแหละ จาก 1 คืบ = 12 นิ้ว พอมาเป็น 1 วา = 2 เมตร (จากมาตราอังกฤษกลายเป็นมาตราเมตริกได้เลยแล้วค่าที่ได้ก็ใกล้เคียงตามความเป็นจริงซะด้วย เนียนจริง ๆ )ทีนี้ก็จับแพะชนแกะ ตามสูตรการเทียบมารตราเค้าบอกว่า 1 เอเคอร์ = 2.5 ไร่ และ......
1 เฮกตาร์ = 1.5 เอเคอร์
1 เอเคอร์ = 2.5 ไร่ ทีนี้ก็ได้การละ
ดังนั้น 1.5 เอเคอร์หรือ 1 เฮกตาร์ ก็ = 3.75 ไร่ แม่นบ่ ผิดถูกบอกด้วยเน้อ นาน ๆ จะใช้ซักที ลืม

เอาเป็นว่า ก่อนที่ IRRI จะพัฒนาพันธุ์ข้าว IR8 ออกมา ชาวนาจะผลิตข้าวในเนื้อที่ 1 เฮกตาร์ หรือ 3.75 ไร่ ได้ข้าวเพียง 2 ตัน หรือเฉลี่ยไร่ละ 533.33 กก.เท่านั้น (ชาวนาที่ไหนไม่บอก..คงจะที่ ฟิลิปปินส์ เพราะ IRRI ตั้งอยู่ที่ ฟิลิปปินส์ - แทนที่จะเป็นเมืองไทย)

หลังจากที่ IRRI ผลิตข้าวสายพันธุ์ IR8 ออกมาแล้ว อัตราผลตอบแทนในการผลิตจะได้เพิ่มขึ้นถึง 9.5 - 10.5 ตันต่อเฮกตาร์ (หรือ 2,533.33 ถึง 2,800 กก.ต่อไร่...ไร่ละ 2 ตันครึ่งถึง2.8 ตัน... เอามาปลูกเมืองไทยได้มั๊ยครับลุง) ในการนี้จึงได้เปลี่ยนวิถีทางโคจรของมนุษยชาติที่ยากจน โดยเฉพาะในเอเชียให้กลับฟื้นคืนดีขึ้น จุดเปลี่ยนของการค้นพบข้าวสายพันธุ์นี้สมควรจะได้บันทึกในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติในความพยายามที่จะหาทางในการที่จะ(ผลิตพืชพันธุ์ธัญญาหารเพื่อ)เลี้ยงตัวเองอันเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิวัติเขียว.....

Kei Kajisa, IRRI นักวิทยาศาสตร์อาวุโสและ นักสังคมและเศรษฐกิจ(socioeconomist – ถ้าเรียกชื่อไม่ถูกขออภัยด้วย) จากสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (IRRI) กล่าวว่า "การติดตามผลของการปฏิวัติเขียวในช่วงปีแรก ๆ เราไม่ได้ให้ความสนใจที่จะแสวงหาผลกำไรมากจนเกินไปนัก " และ "ผลผลิตที่ได้เพิ่มขึ้น ก็เกิดจาก(ที่ชาวนาฟัง)คำแนะนำโดยตรง ก็สอดคล้องพอดีกับความต้องการของชาวนา โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะทำกำไรให้สูงสุดด้วย....ณ วันนี้มีปัจจัยแตกต่างที่มีผลต่อการปฏิบัติกับนาข้าวคือผลตอบแทนสูงไม่ใช่เหตุจำเป็นที่ต้องทำให้มีกำไรสูงไปด้วย บางครั้งไม่จำเป็นว่าเกษตรกรจะทำกำไรหรือไม่ แต่ขึ้นอยู่กับการยึดติดกับการจัดการหรือทางเลือกที่พวกเขาจะทำของพวกเขาเอง. "

ถึงเวลาที่จะต้องเดินหน้า (marches on) ได้แล้ว มันจะต้องมีความชัดเจนว่าจะไม่มีปัญหาการขาดแคลนตำราที่จะเรียนรู้และดังนั้นจึงเป็นโอกาสที่ (ชาวนา) จะไขว่คว้าและแสวงหาประโยชน์จากการเรียนรู้ใส่ตัวเอง....

Achim Dobermann รองผู้อำนวยการ IRRI คิดว่าถ้าได้มีเทคโนโลยีเข้าช่วยด้วย เกษตรกร จะได้รับผลกำไรเพิ่มขึ้นอย่าง (เป็นกอบเป็นกำ)มั่นคงแข็งแกร่งขึ้น ซึ่งมันก็จะแพร่ขยายกระจายออกไปอย่างรวดเร็ว... "แต่เราต้องเข้าใจถึงการตัดสินใจของเกษตรกร ในการที่จะเพิ่มผลกำไรและลดความเสี่ยงให้น้อยที่สุดได้อย่างไร"

ดร. Dobermann กล่าวต่อว่า "การตัดสินใจนี้จะเกิดขึ้นตามลำดับขั้นตอนการดำเนินการทั้งหมดในการจัดการกับการปลูกพืชตามฤดูกาล การตัดสินใจนี้อาจนำไปสู่ผลกำไรที่เพิ่มขึ้นหรือไปสู่การสูญเสียก็ได้ ความสำเร็จของเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว ยังอาจขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของเกษตรกรอื่น ๆ ที่คิดจะทำตามด้วย. "

เกมที่ต้องวัดใจ ณ วันนี้ (Today’s weighing game)

ดร. Kajisa และทีมงานของเขาได้ศึกษาชุมชนเกษตรกรรมในฟิลิปปินส์, จีนและอินเดียเช่นเดียวกับที่ได้รับข้อมูลเชิงลึกและแนวโน้มจากสี่ทศวรรษของข้อมูลทางด้านสังคมและเศรษฐกิจระดับรากหญ้า

"ตอนนี้เกษตรกรบางคนเลือกที่ฝึกภาคปฏิบัติ (ในนา) เพื่อเพิ่มผลกำไรของพวกเขาให้สูงที่สุด แต่การปฏิบัติเหล่านี้ไม่จำเป็นจะต้องทำให้ผลผลิตของพวกเขาเพิ่มขึ้น " ดร. Kajisa กล่าวว่า "เมื่อ IRRI ก่อตั้งขึ้นในปี 1960 ในตอนนั้นมีทรัพยากรทุกอย่างเพียงพอ (เช่น น้ำ และแรงงาน) แต่ทางด้านเทคโนโลยีกลับมีไม่เพียงพอ... แต่ในทุกวันนี้เราจะเห็นการพลิกผันไปในทางตรงกันข้ามคือ IRRI มีเทคโนโลยีจำนวนมากมายหลายหลากเท่าที่สามารถจะจัดหามาได้ แต่ทว่า น้ำและแรงงานกำลังจะกลายเป็นสัญญาณเตือนภัยที่นับวันจะหาได้ยากยิ่ง นอกจากนี้ ยังมีเรื่องเร่งด่วนฉับพลันในการที่จะต้องพัฒนาพันธุ์ข้าวที่ทันสมัยที่สามารถรับมือกับ (สิ่งที่จะเกิดขึ้น)

ดร. Kajisa ชี้ให้เห็นว่าเมื่อน้ำกลายเป็นสิ่งที่หายากในชุมชนเกษตรกรรม จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสมาชิกของชุมชนทุกคนที่จะต้องร่วมมือหันหน้าเข้าหากัน (โดยทำงานด้วยกัน) เพื่อที่จะรักษาแหล่งน้ำของพวกเขาและพัฒนาโครงการหมุนเวียนการใช้น้ำขึ้นในระหว่างพวกเขาเอง. "นอกจากนี้จะต้องให้มีศักยภาพที่จะต้องใช้มาตรการกำหนดราคาสำหรับปริมาณในการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพภายในชุมชน "เขากล่าว "ด้วยที่กล่าวนี้เกษตรกรจะจ่ายน้อยเมื่อใช้น้ำน้อยและจ่ายมากขึ้นสำหรับการใช้ในปริมาณที่มากขึ้น ซึ่งก็จะได้รับชดเชยจากผลผลิตพืชที่ได้รับสูงขึ้น

"ปัญหาเฉพาะหน้าเกี่ยวกับสภาวะการขาดแคลนแรงงาน จากการศึกษา ดร. Kajisa พบวิธีการพัฒนาแบบใหม่ในการปฏิบัติของเกษตรกรจากคนงานที่ให้มาทำงานโดยไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอน (คนงานชั่วคราว - Casualization) ซึ่งขณะนี้โดยทั่วไปมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นแรงงานแบบมีข้อผูกพันหรือแบบถาวรและการเพิ่มขึ้นของการจ้างนอกระบบหรือการจัดการแรงงานที่ไม่เจาะจงตัวบุคคล ซึ่งเรื่องนี้กลายเป็นเรื่องธรรมดาในหลายส่วนของภาคใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

คนงานที่ให้มาทำงานโดยไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอน(Casualization) เป็นตัวปัญหาเพราะฤดูกาลของข้าวจะต้องให้ความสนใจอย่างเข้มงวด" ดร. Kajisa กล่าวว่า. "แนวทางการปฏิบัติของเกษตรกรบางคนจะมีวิธีดำเนินการที่จากการมีเครื่องมืออุปกรณ์ที่ดีกว่าเมื่อเกษตรกรกล้าเปิดเผยตัวเอง หรือไม่ก็พวกเขาต้องมีแรงงานที่เชื่อถือได้แบบถาวรที่จะทำงานด้วยความกระตือรือล้นอย่างซื่อสัตย์. "

ในท้ายที่สุดเกษตรกรส่วนใหญ่จะหาวิธีที่จะรับมือกับการขาดแคลนน้ำและการขาดแคลนแรงงานเพื่อเพิ่มผลกำไรของเขาให้มากที่สุด แต่ผลตอบแทนอาจจะพบความเจ็บปวด แทนที่จะประสบผลสำเร็จ (ถ้าขาดน้ำและขาดแรงงานเมื่อได้ปลูกพืชไปแล้ว) ขณะที่ดร Kajisa สังเกตในประเทศจีน ที่ประสบความสำเร็จจากชุมชนที่มีการจัดการกับแหล่งน้ำ แต่ต้นทุนค่าแรงงานสูงเนื่องจากความขาดแคลน ดังนั้นเพื่อประหยัดเงิน เกษตรกรตัดสินใจที่จะใช้วิธีหว่านข้าว (Broadcast) จากเมล็ดโดยตรง แทนการเพาะกล้าแล้วเอาไปดำ (ปลูก) เพราะการตัดสินใจครั้งนี้อัตราผลตอบแทนอาจลดลง แต่ในท้ายที่สุดประหยัดค่าแรงงาน แต่ยังคงทำให้เกษตรกรพอจะมีกำไร

ในประเทศฟิลิปปินส์เกษตรกรมีแนวโน้มที่จะใช้วิธีหว่านข้าวโดยตรง "พวกเขาตัดสินใจที่จะทำเช่นนี้ ไม่ได้หมายความว่ามันคือการปฏิบัติที่พิสูจน์แล้วว่าผลให้ผลตอบแทนสูง แต่เป็นเพราะมันจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการใช้แรงงาน" เป็นคำกล่าวของ Piedad Piedad Moya จากIRRI

นักสังคมเศรษฐกิจกล่าวว่า "การหว่านกล้าจะเป็นการบังคับให้พวกเขาต้องจ้างหาคนงานเพิ่มขึ้นเพื่อใช้ในงานดังกล่าว เทียบกับการหว่านโดยตรงที่พวกเขาสามารถหว่านเมล็ดด้วยตัวเองใน 1 วัน. "นางสาว Moya สมาชิกคนหนึ่งของทีม ดร. Kajisa ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องในการสำรวจชุมชนครัวเรือนของ IRRI ที่ทำมาหลายสิบปีโดยได้รับการออกแบบเพื่อรวบรวมข้อมูลจากเกษตรกรระดับรากหญ้าจากเกษตรกรทั่วเอเชีย



เฉพาะเกษตรกร -ไม่เกี่ยวกับนักวิทยาศาสตร์

ผลการวิจัยของทีม ดร. Kajisa ดึงดูดความสนใจกับสิ่งที่ผลักดันให้ชุมชนเกษตรกรหันมาร่วมมือกันในการจัดการทรัพยากรที่หายากเช่น น้ำหรือวิธีการรับมือกับต้นทุนค่าแรงงานที่เพิ่มสูงขึ้น

การตัดสินใจเหล่านี้มีความป็นรูปธรรมอย่างมากโดยความเป็นจริงที่ทุกคนไม่ใช่คนแปลกหน้าที่จะพบกับกำไร(คือชาวนาทุกคนต้องการที่จะได้ผลกำไรจากการขายข้าว) สิ่งนี้เป็นตรรกะ หรือมีเหตุผล เพราะ(ผลกำไรทำให้)เกษตรกรจะกลับบ้านด้วยการเปลี่ยนรายได้ ให้กลายเป็นอาหารอย่างเพียงพอ, เป็นการศึกษาและการรักษาความปลอดภัยทางการแพทย์สำหรับครอบครัวของพวกเขา การค้นพบนี้ได้รับการวิจัยและการขยายผลจากการทำงาน

บางสิ่งที่ต้องคิดเกี่ยวกับ......

"ตามกฎหัวแม่มือ (Rule-of-Thump) (เรียนมาตั้งแต่เด็ก คืนกลับไปให้อาจารย์หมดแล้ว มือไหนไม่บอก มันมีทั้งกฎมือซ้าย และกฏมือขวา)

Rule of Thumb ความจริงแล้วไม่ได้เป็นกฎ แต่หมายถึงการกะประมาณค่าแบบให้เข้าใจง่ายๆนั่นเอง

อาจหมายถึง สูตรสำเร็จแบบง่ายๆก็ได้ ดังตัวอย่างในการคิด 1 เฮกเตอร์ เทียบเป็นไร่ได้ 3.75 ไร่ หรือ ไม้บรรทัด 1 ฟุต ก็คิดง่าย ๆ ว่า ประมาณ 30 ซม. ซึ่งเป็นการคำนวณโดยประมาณแบบคร่าวๆ

ตามกฎหัวแม่มือ ได้ความจริงเสมอที่ว่า ....”เกษตรกรส่วนใหญ่จะให้ความสนใจในเทคโนโลยีใหม่เฉพาะในกรณีที่มันดูเป็นเรื่องง่ายที่จะเข้าใจและนำไปใช้และถ้ามันจะเพิ่มกำไรของพวกเขาอย่างน้อย US $ 50 ต่อเฮกตาร์" ดร. Dobermann พูดว่า . "ผมได้ตั้งข้อสังเกตว่าหลายเทคโนโลยีอาจฟังดูดีในทฤษฎีหรือทำได้ดีในการออกแบบทดลองการวิจัยอย่างระมัดระวัง แต่พวกเขาไม่จำเป็นต้องตอบสนองความต้องการของเกษตรกรในแปลงนาเสมอไป."

นักวิจัยของสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ IRRI ไม่เพียงแต่ทำการปรับปรุงพันธุ์ข้าวสายพันธุ์ใหม่ ๆ ที่มีผลผลิตสูง ด้วยความเครียดอย่างอดทน เพื่อให้ได้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพที่ดี เท่านั้น แต่พวกเขายังมีการพัฒนาและการประเมินผลการปลูกพืชด้วยเทคโนโลยี ที่รักษาสิ่งแวดล้อมแบบอย่างยั่งยืนและลด
ค่าใช้จ่ายด้วย

"เกษตรกรมักจะกระตือรือร้นที่จะมองหาวิธีการที่ดีกว่าที่จะทำให้พืชของพวกเขาเจริญเติบโต ตราบเท่าที่พวกเขามีการเข้าถึงข้อมูลใหม่ ๆ " ดร. Dobermann อธิบาย. "หนึ่งในบทบาทของ IRRI คือการนำเสนอข้อมูลนี้ให้กับพวกเขาอย่างรวดเร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ เราจำเป็นต้องใช้ช่องทางข้อมูลที่มีความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อให้แน่ใจว่าสิ่งที่เราทำคือการขับเคลื่อนด้วยความต้องการของเกษตรกร ไม่ได้ตอบสนองความต้องการของนักวิทยาศาสตร์. "

หัวหน้าการวิจัย IRRI ของสถาบันคิดว่าต้องมุ่งเน้นมากขึ้นในการหาทางแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการเพาะปลูกแบบบูรณาการอย่างแท้จริงและการจัดการระบบการปลูกพืชตามจริง – ตามสภาพพื้นนาของทั่ว
โลก

........ที่อ่านมาทั้งหมด คุณคิดว่า ... Eyes on the prize ดวงตาที่ฝันถึงรางวัล อยู่ตรงไหนครับ....

ข้อมูลเพิ่มเติม :http://www.irri.org/index.php?option=com_k2&view=item&id=12345:eyes-on-the-prize&lang=en

ตอนที่ 1 หรือภภาค 1 ก็จบแค่นี้นะครับ ถ้าอ่านแล้วไม่รู้เรื่องก็ขออภัย อย่าว่ากันเลยครับ เสียดายที่ ดิคชันนารี่ ของ WEBSTER กับ Advance Learner English Dictionary ของผมมันจมน้ำเสียหายเมื่อคราวน้ำท่วม ในนั้นมีคำศัพท์และคำแปลดี ๆ มากมาย ผมกัดฟันซื้อ เล่มละประมาณ 500 บาทซื้อตอนที่เมื่อทองราคาบาทละ 450.-บาท ซื้อตอนนี้กี่ตังค์ไม่กล้าถาม เพราะทองราคาบาทละเกือบสามหมื่น



,
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 03/11/2012 12:30 am    ชื่อกระทู้: Tachnologies meet farmer ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม ...ยัยเฉิ่ม และ สมช.สีสันชีวิตไทยทุกท่าน


อ่านตอนที่ 1 ผ่านไปแล้ว เครียดมั๊ยครับ ..ตอนที่ 2 นี่ยิ่งหนักกว่า...บอกก่อนนะว่า ชื่อหน่วยงานและคำย่อ แยะ เต็มไปหมด แปลไม่ถูกอีกต่างหาก



ดูรูปคลายเครียดกันก่อนครับ



รุ่งอรุณที่ นครปฐม 05.58 วันที่ 1 พย.55 ...ลมหนาวมาแล้วครับ ปีนี้หนาวมากหนาวน้อยยังบอกไม่ได้ แต่ที่แน่ ๆ เตรียมตัวพบกับภัยแล้ง(Drought Risk)ที่จะมาเยือน ...นาปรัง ในบางพื้นที่ อย่าหวัง ขืนทำก็พัง ล้มทั้งยืน

2. Tachnologies meet farmer
Written by Trina Leah Mendoza and Grant Singleton

2 เทคโนโลยีพบเกษตรกร
เขียนโดย ทรีน่า ลีอาห์ เมนโดซา และ แกรนท์ ซิงเลตัน

ในเอเชีย ข้าวประมาณ 90% ที่ปลูกในพื้นที่จำนวนหลายร้อยล้านของที่นาในชนบท ที่ข้าวเจริญเติบโตไม่ดี (ได้ผล)ต่อเฮคเตอร์น้อยกว่าจำนวนที่ดิน(ทั้งหมด)
ผลผลิตข้าวที่เหมาะสมสำหรับคนยากจนได้รับการท้าทายในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา ในช่วง 2008 เกิดวิกฤตกาลราคาข้าวที่จัดหาได้มีการเปลี่ยนแปลงและราคาข้าวที่สูงขึ้นเกิดจากความวุ่นวายทางสังคมในบาง
ประเทศที่กำลังพัฒนา สถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (IRRI) ประมาณการว่าจะต้องมีการผลิตข้าวเพิ่มขึ้นในแต่ละปี ให้ได้ประมาณ 8 – 10 ล้านตันเพื่อที่จะทำให้ราคาข้าวมีเสถียรภาพ

ความท้าทายในขณะนี้คือจะปลูกข้าวให้ได้ผลผลิตมากขึ้นด้วยจำนวนที่ดินที่น้อยลง ใช้น้ำน้อยลงและใช้แรงงาน(คน)น้อยลง ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ วิธีการในระดับภูมิภาคเพื่อความมั่นคงด้านอาหารในปี 1997 หน่วยงานเพื่อการพัฒนาและความร่วมมือของสวิสเซอร์แลนด์- (Swiss Agency for Development and Cooperation) (SDC) เริ่มระดมทุนเพื่อวิจัยระบบชลประทานเกี่ยวกับข้าว(Irrigated Rice Research Consortium - IRRC) ซึ่งได้จัดหาสถานที่สำหรับความร่วมมือในการวิจัยและการขยายผลการการปลูกข้าวในเขตชลประทานที่ลุ่มติดตามผลตามกระบวนการผลิต .

ในขั้นต้น IRRC มุ่งเน้นไปที่การจัดการกับศัตรูพืชในแบบผสมผสาน (integrated pest management ) (IPM) และการจัดการกับการใช้ธาตุอาหาร(ธาตุรอง ธาตุเสริม – nutrient) อย่างไรก็ตามตั้งแต่ปี 2002, การวิจัยของ IRRC ได้ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีประหยัดน้ำ และระบบแรงงาน ที่บูรณาการอย่างยั่งยืน(รวมทั้งการหว่านจากเมล็ดโดยตรง การกำจัดวัชพืชและการกำจัดหนู), การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว โครงการด้านสุขภาพพืช และเมื่อเร็ว ๆ นี้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศใน 11 ประเทศ:คือ บังคลาเทศ, กัมพูชา, จีน อินเดียอินโดนีเซีย, ลาว, พม่า, ศรีลังกา, ไทย, เวียดนามและฟิลิปปินส์

IRRC ได้พัฒนาความร่วมมือโดยการระบุความต้องการของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวและการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น ในการแก้ไขปัญหาของชาวนาและเพื่ออำนวยความสะดวกในการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมเข้ามาใช้ การจัดหาช่วงของเทคโนโลยีสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ ในเอเชียที่สมควรจะปรับปรุงวิถีชีวิตของพวกเขาและเพิ่มการผลิตข้าวเพื่อรักษาความมั่นคงด้านอาหาร

นับร้อยนับพันของจำนวนเกษตรกรในเอเชียขณะนี้การนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ เพราะผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมที่น่าประทับใจ บทความนี้จะตรวจสอบบางส่วนของสิ่งที่จะประสบความสำเร็จตามที่กล่าวมานี้

ข้าว(จะได้ผลผลิต)มาก น้ำ(จะต้อง)น้อย
ข้าวที่ปลูกในที่ลุ่ม ในเขตชลประทานมักจะอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ถูกน้ำท่วมและขังน้ำไว้เพื่อควบคุมวัชพืชและศัตรูพืช อย่างไรก็ตามนักวิจัยพบว่าข้าวควรจะต้องให้มีน้ำขังอยู่อย่างต่อเนื่องในขณะที่ออกดอกเท่านั้น จากนั้นจะใช้วิธีการเปียกสลับแห้ง (alternate wetting and drying - AWD) การปฏิบัติแบบประหยัดน้ำ จะต้องปล่อยให้พื้นนาแห้งเป็นเวลา 1 - 10 วันก่อนที่จะปล่อยน้ำเข้าท่วมอีกครั้ง วิธีการนี้เกษตรกรสามารถจะประหยัดน้ำได้ถึง 15-30% แต่จะยังคงเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในจำนวนเท่าเดิม น้ำที่ประหยัดได้นี้สามารถนำมาใช้ในแปลงนาอื่น ๆ ได้ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มผลผลิตโดยรวม ถ้าการใช้วิธีการเปียกสลับแห้ง alternate wetting and drying - AWD ได้ถูกนำมาใช้ทั่วทั้งเอเชียปริมาณน้ำที่จะประหยัดได้ในปีหนึ่ง จะเท่ากับปริมาณการใช้น้ำของนครปารีสได้ถึง 200 ครั้งใน 1 ปี

กลุ่มที่ทำงานในเรื่องการประหยัดน้ำ ของ IRRC ซึ่งนำโดย IRRI ซึ่งมี Ruben Lampayan นักวิทยาศาสตร์ในเรื่องน้ำ (ทางวิชาการเรียก อุทก ..อะไรนึกไม่ออก) ได้เริ่มศึกษา AWD พร้อมกับผู้ร่วมงานและเกษตรกรชาวฟิลิปปินส์ในระบบชลประทานหลายระบบของประเทศในปี 2002... ในปี 2009 รัฐบาลฟิลิปปินส์ได้อนุมัติให้การรับรองวิธีการ AWD เพื่อนำไปใช้ทั่วประเทศ เมื่อ กรกฏาคม 2011, เกษตรกรชาวฟิลิปปินส์ มากกว่า 80,000 รายได้นำระบบ AWD มาใช้.....
ในประเทศบังคลาเทศในปี 2004, AWD ได้ถูกส่งเสริมโดยหน่วยงานราชการและ หน่วยงานที่ไม่ใช่ของรัฐบาล (ดูเพิ่มเติมจาก หน่วยงานการจัดการสินทรัพย์สภาพคล่องของเกษตรกรบังคลาเทศ) กระทรวงเกษตร ได้ให้การรับรอง AWD ในปี 2009 และให้ขึ้นตรงกับกรมการส่งเสริมการเกษตรของรัฐบาล (Department of Agriculture and Extension - DAE) เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีออกไปทั่วประเทศ พร้อมกับหน่วยงานอื่น ๆ DAE ได้ให้การสนับสนุนวิธีการ AWD ในกว่า 50 เขตในปี 2010 ...การศึกษาจากรายงานภาคสนาม ได้ลดค่าใช้จ่ายในการใช้ปั๊มและน้ำมันเชื้อเพลิง (ในการสูบน้ำ) ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น US $ 67-97 ต่อเฮกตาร์ เฉพาะในปี 2009 เพียงปีเดียว ผู้ที่เข้าร่วมงานกับภาครัฐ ได้รายงานว่า มีเกษตรกร 120,000 รายที่ใช้วิธีการ AWD (ปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้ง)

ภาคเอกชนได้ส่งเสริมวิธีการ AWD โดยการผลิตท่อที่ใช้ในการวัดระดับน้ำในนา แม้ว่าจะมีเกษตรกรหลายพันรายในประเทศที่เข้ารับการฝึกวิธีการ AWD, การศึกษาดังกล่าวเป็นที่ยอมรับในปี 2010 โดยมีรายงานว่ามีเกษตรกรจำนวนนับล้านคนที่จะกำลังจะนำวิธีการ AWD ไปใช้

เกษตรกรเวียตนามประมาณ 40,000 รายกำลังฝึกใช้วิธีการ AWD, และมีเกษตรกรจำนวนมากที่คาดว่าจะเข้าถึงการวิจัยระบบชลประทานที่จะใช้กับข้าว(IRRC) ซึ่ง An Giang เจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตรและการพัฒนาชนบท มีความคิดริเริ่มว่า เป็นสิ่งหนึ่งที่จะต้องทำ จากในจำนวนห้าโปรแกรมที่จะลด(การใช้ทรัพยากร) (ให้ดูในเรื่องของการ GAP พืช) ...

ขอนอกรายการหน่อยครับลุง......มีใครรู้เรื่องและรู้จักการ GAP พืชมั๊ยครับ ...GAP ย่อมาจากคำว่า Good Agricultural Practice หมายถึง การปฏิบัติตามกระบวนการผลิตที่ถูกต้อง เหมาะสม ...GAP พืชของไทยขึ้นกับกรมส่งเสริมการเกษตรครับ ถ้าจะอธิบาย ยาวมาก บอกสั้น ๆ คือ มีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการคือ
1. ผลผลิตมีความปลอดภัย ปราศจากการปนเปื้อนของสารพิษ และเชื้อที่ก่อโรคต่อมนุษย์ และศัตรูพืช
2. ผลผลิตมีคุณภาพ เป็นที่พึงพอใจของผู้บริโภค
3. กระบวนการผลิตไม่เป็นอันตรายต่อครอบครัวเกษตรกร ผู้ปฏิบัติงานในระบบการผลิต และสิ่งแวดล้อม

ขอบอกว่า มือไม่ถึง ใจไม่ถึง อย่าได้สมัครลงทะเบียนเข้าโครงการนะครับ หลักการดูว่าง่าย แต่ปฏิบัติจริง ๆ ยากส์ มาก ๆ ดูรูปกันหน่อย




คู่มือนี้เค้าให้เฉพาะคนที่เป็นสมาชิกเอาไว้ศึกษา (บังคับให้ต้องอ่าน เพราะจะต้องทำตามคู่มือทุกขั้นตอน)vครับ




อันนี้เป็นแบบฟอร์มบันทึกข้อมูลการผลิต สาระสำคัญคือ ทุกคนที่เป็นสมาชิก จะมีหมายเลขประจำฟาร์ม




อันนี้เค้ามีรูปแสดงให้ดู ถึงวิธีการสำรวจและวิเคราะห์ระบบนิเวศน์ในแปลงนาครับ ตามตัวอย่างเค้าเขียนไว้ว่า..
วันสำรวจ 1 กค......
เวลา 09.00 น.
อายุกล้า 20 วัน
ความสูงเฉลี่ย 5.95 ซม.
จำนวนใบเฉลี่ย 6 ใบ
สภาพดินฟ้าอากาศ ท้องฟ้ามืดครึ้ม ลมพัดจากทิศใต้ ไปเหนือ
ประมาณการต้นกล้า 1,250 ต้น/ตร.ม.

สถานการณ์ทั่วไป.-
-น้ำขังหัวแปลง
-ความชื้นสูง
-วัชพืชมาก 124 ต้น/ตร.ฟุต
-ใส่ปุ๋ย 16-8-8 (ละลายพร้อมน้ำยาสมุนไพร)

หนอนและแมลง.-
-บี้หนอน
-แมลงปอ 10 ตัว
-แมลงเต่าทอง 5 ตัว ....

เป็นไงครับ ไหวม๊ย ใจถึงที่จะทำหรือเปล่า นี่แค่ผิว ๆ เท่านั้นนะครับ ถ้าเจาะลึกจะมีรายละเอียดยิ่งกว่านี้

เฉพาะหนังสือคู่มือตามรูป มี 56 หน้า แต่ละหน้าต้องอ่านซ้ำแล้วซ้ำอีก .....การ GAP พืชไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ เลยนะครับ


เข้าเรื่องต่อครับ

ในปี 2010 สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว, อินโดนีเซีย พม่าและประเทศไทย เริ่มประสบความสำเร็จในด้านรูปธรรมในการปฏิบัติตามวิธีการเปียกสลับแห้ง (alternate wetting and drying AWD )

ความแม่นสูตร แม่นหลักการ ส่วนตัวของเกษตรกร

เกษตรกรส่วนใหญ่ขาดความรู้เกี่ยวกับการใช้ปุ๋ยให้มีประสิทธิภาพสูงสุด แบ่งได้เป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกใช้มากเกินไป กลุ่มที่สองใช้น้อยเกินไป หรือใช้ปุ๋ยที่ผิดเวลา ผิดวิธี.. การใช้ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไปจะเป็นทางนำไปสู่การเพิ่มโรคและแมลงศัตรูพืช ซึ่งจะสร้างความเสียหายต่อสภาพแวดล้อมและทำให้ผลกำไรต่ำลง

นานกว่าทศวรรษที่ Roland Buresh นักวิทยาศาสตร์ทางดิน ของ IRRI เป็นผู้นำกลุ่ม ของ IRRC ในการเพิ่มผลผลิตและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ได้ทำงานร่วมกับผู้ร่วมงานในเอเชียเพื่อจัดหาสถานที่ ที่เฉพาะเจาะจงเพื่อปฏิบัติการ(ทดลอง)ใช้สารอาหารธาตุรองธาตุเสริม (site- specific nutrient management - SSNM) สำหรับข้าว

ตั้งแต่ปี 2003 ระยะเวลาการใส่ปุ๋ยที่ถูกต้องและในอัตราการใช้ที่เหมาะสม ช่วยเพิ่มผลผลิตให้เกษตรกรอย่างมาก เมื่อเทียบกับวิธีปฏิบัติแบบดั้งเดิม การเพิ่มผลผลิตจากการใช้สารอาหารธาตุรองธาตุเสริม(SSNM) ได้ถูกปรับปรุงผลให้ดีขึ้น โดยมีผลตอบแทนสุทธิเพิ่มประมาณ $ 100 ถึง $ 300 ต่อเฮกตาร์ ต่อปี โดยเฉพาะในประเทศจีน, อินเดีย, อินโดนีเซีย, เวียดนามและฟิลิปปินส์ (ไม่ยักกะมีไทยว่ะ) จากการศึกษาประเมินถึงผลกระทบต่อการใช้ธาตุรองธาตุเสริม(SSNM) แถบบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดงในเวียดนาม ได้๔กเปิดเผยว่า ผลผลิตเพิ่มขึ้น 2% และ 3% จากค่าปัจจุบันสุทธิสำหรับเกษตรกรรายย่อยใน Ha Tay และจังหวัด Ha Nam ตามลำดับ เกษตรกรที่ใช้สารอาหารธาตุรองธาตุเสริม(SSNM) รายงานว่า การใช้สารกำจัดศัตรูพืชจะลดลงไปด้วย

การสนับสนุนให้เกษตรกรใช้สารอาหารธาตุรองธาตุเสริม - SSNM ได้รับการท้าทายเพราะมันเป็นความรู้ที่ค่อนข้างลึกซึ้งและมีปัจจัยหลายอย่างที่จะต้องพิจารณา เช่นผลผลิตพืชและการใช้อินทรีย์วัตถุเข้าช่วย ซึ่งสิ่งนี้ได้ชะลอตัวลงจากการยอมรับของเกษตรกรที่ปฏิบัติตามวิธีที่ดีขึ้นนี้

แต่ผลของการสะท้อนกลับนี้ไม่ได้ชะลอตัวลง ดร. Buresh และกลุ่มของเขาได้มองหาวิธีการที่จะทำให้วิทยาศาสตร์ง่ายขึ้นสำหรับเกษตรกร กราฟเทียบสีใบข้าว ( leaf color chart - LCC) ได้รับการพัฒนาให้เป็นเครื่องมือสำหรับเกษตรกรเพื่อประเมินความต้องการธาตุอาหารไนโตรเจนของพืชของพวกเขา ในบังคลาเทศเกษตรกรประมาณ 600,000 รายใช้ กราฟเทียบสีใบข้าว ( leaf color chart – LCC) ซึ่งได้เพิ่มประสิทธิภาพของการใช้ปุ๋ยยูเรีย ทำให้เกษตรกรเก็บเกี่ยวข้าวได้มากขึ้นด้วยค่าใช้จ่ายสำหรับการซื้อปุ๋ยน้อยลง

นอกจากนี้ เกษตรกรได้เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ปุ๋ยโพแทสเซียมและฟอสฟอรัส และได้รับความรู้ใหม่เกี่ยวกับธาตุอาหารย่อยอื่น ๆ (micronutrients). ทำให้พวกเขาสามารถประหยัดต้นทุนได้ $ 25 ต่อเฮกตาร์ โดยที่ได้รับผลผลิตจากการเก็บเกี่ยวโดยมีผลตอบแทนที่สูงขึ้น ในปี 2008 หลักการใช้สารอาหารธาตุรองธาตุเสริม -SSNM ด้ถูกบรรจุลงในฐานข้อมูลของคอมพิวเตอร์ ที่ใช้เครื่องมือช่วยในการตัดสินใจ ที่เรียกว่าการจัดการกับธาตุอาหาร-ธาตุรอง ธาตุเสริมของข้าว ชาวนาหรือแรงงานที่เข้ามาช่วย มีความต้องการเพียงเพื่อที่จะตอบคำถามกับ 15 ข้อภายใน 5-10 นาทีถึงแนวทางปุ๋ยให้กับนาข้าว..(เมืองไทยไม่มีใครพูดถึง ธาตุรอง ธาตุเสริมนอกจากลุงคิม )

ในปี 2010, Website และโทรศัพท์มือถือรุ่นที่ถูกพัฒนาขึ้นในประเทศฟิลิปปินส์ เป็นเว็บเกี่ยวกับวิธีการใช้ธาตุอาหารธาตุรอง ธาตุเสริม ซึ่งเวลานี้ได้ใช้ที่ Guangdong, จีน และอินโดนีเซีย ขณะที่โปรแกรมประยุกต์สำหรับบังคลาเทศ, เวียดนาม, อินเดียตอนใต้และแอฟริกาตะวันตกทางใต้ (ไทยไม่มีพูดถึงอีกว่ะเฮ้ย)ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายด้านแรงงานและต้นทุนค่าน้ำในที่ราบ Gangetic ในอินโด ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของภาคเหนือและภาคตะวันออกของอินเดียและเกือบทั้งหมดของประเทศบังคลาเทศ ซึ่งเป็นพื้นที่ ที่เกษตรกรต้องเผชิญกับต้นทุนที่สูงขึ้น แต่ผลผลิตกลับลดลง เพราะสภาพของดินที่เลวลง ตามด้วยการขาดแคลนแรงงาน เพราะคนส่วนใหญ่ย้ายเข้าไปอยู่ในเมืองเพื่อหางานทำ อาชีพเกษตรกรขึ้นอยู่กับฝนและลมมรสุมและพวกเขาจะไม่สามารถเพาะปลูกได้ ถ้าฝนตกมาล่าช้าเกินไป

โดยการนำของนักวิทยาศาสตร์วัชพืชของ IRRI .. เดวิดจอห์นสัน หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมคุณภาพแรงงานและระบบนิเวศวิทยาชุมชนของ IRRC ได้สนันสนุนการหว่านข้าวเป็นการสลับทางเลือกแทนการเพาะเมล็ด(ตกกล้า) ในการเพาะเมล็ดด้วยการทำให้งอก(pregerminated)ก่อนหว่านลงในนาที่ไม่มีน้ำขังแต่อิ่มตัว ทำด้วยการใช้ เครื่องหยอดเมล็ดข้าว (Drum Seeder) แต่การเพาะโดยตรงช่วยให้การเตรียมดินได้เร็วขึ้นและเกษตรกรสามารถประหยัดต้นทุนค่าแรงงานได้ 20% และ 30% สำหรับต้นทุนค่าน้ำ ...การดำนาจะต้องใช้คน 50 ต่อวันเพื่อที่จะปลูกข้าวใน 1 เฮกตาร์ แต่ถ้าใช้ เครื่องหยอดเมล็ดข้าว (Drum Seeder) จะใช้เพียง 2 คนต่อวัน (ดูรูปที่เกษตรกรได้ไถกลับร่องและการประสบความสำเร็จการใช้เครื่องหยอดเมล็ดข้าว (Drum Seeder)

การหว่านเมล็ดโดยตรง ข้าวจะโตเร็วกว่า(การดำ) 10-15 วัน ทำให้เกษตรกรมีเวลาที่จะปลูกพืชอื่น ๆ ได้เร็วขึ้น ด้วยความร่วมมือกับ Ramakrishna Mission ของอินเดียในปี 2010, การหว่านเมล็ดโดยตรง (เปียกหรือแห้ง) ในจำนวนชาวนา 90 รายช่วยให้สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ภายในต้นฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว ซึ่งเปิดโอกาสใหม่ให้สำหรับการปฏิบัติในช่วงฤดูหนาวด้วยการปลูกพืชผ่านช่วงเวลาก่อนหน้านี้ การปลูกพืชพันธุ์ในฤดูใหม่ การเก็บเกี่ยวข้าวก่อนหน้าฤดูหนาวนี้หมายถึงการที่ได้ปลูกมันฝรั่งก่อนหน้านี้ด้วย และได้เก็บเกี่ยวมันฝรั่งที่หมีหัวขนาดใหญ่ เป็นการลดและความเสี่ยงจากเชื้อราและภัยแล้ง
ข้อมูลเพิ่มเติม .-

http://www.irri.org/index.php?option=com_k2&view=item&id=11323&lang=en

ผมคงมีปัญญาแปลได้แค่นี้แหละ ยังไม่ได้ขัดเกลา คงต้องใช้เวลาเรียบเรียงเสียงประสานใหม่อีกครั้ง ยังไง ๆ ลุงคิมกรุณา Comment ด้วยนะครับ และในตอนที่ 2 นี่ คำย่อแยะจริง ๆ ผิดถูกอย่างไรขออภัย เพราะไม่รู้ชื่อเรียกทางวิชาการจริง ๆ วานผู้รู้ช่วยแนะนำด้วย ....ที่สำคัญสรุปได้ว่า ที่ลุงคิมพูดกรอกหูทุกวันทั้งเช้าและเย็นถึงคำว่า ….

เคมีบ้าเลือด อินทรีย์ตกขอบ ธาตุรอง/ธาตุเสริม ทำนาต้องให้มีน้ำน้อย ๆ (เจ๊าแจ๊ะ) แบบเปียกสลับแห้ง การใช้ปุ๋ยยูเรียเป็นบ่อเกิดของโรคและแมลง ....ฯลฯ ทุกอย่างเป็นคำแนะนำของนักวิชาการของ IRRI ซึ่งเป็นจริงตามที่ลุงคิมพูด ทุกประการ



ต้นข้าวกำลังงอก ได้ซัก 7 หรือ 10 วันมั๊ง มันดูสวยมีเสน่ห์จริง ๆ ....เป็นข้าวพันธุ์อะไรเอ่ย ...ยัยเฉิ่มลองทายหน่อยเด้ ....หอมนิล....หรือ Rice Burry
ทายถูกจะให้แมงวัน

(พูดถึง Rice Burry เมืองสิงห์ กก.ละ 1,800 กำแพงแสน กก.ละ 1,200 ...ฉะๆๆ ฉะเชิงเทรา โลละ จ๋ามจิบ ส่วนที่สุพรรณบุรี โลละ 40.-....ยังไม่ได้ถามที่คุณบังอร บางปลาม้า .....พันธุ์ที่เมืองสิงห์น่ะ มันอะไรจะปานนั้น ....

ผมมีที่นา 7 ไร่นี่ปลูกแล้วจะได้ซักแค่ไหน ปลูกแล้วจะแจกตั้งแต่แม่สาย ยัน สุไหงโกลก ปลูกมันให้ทั่วประเทศไปเลย จะลองคุยกับ ตุ๊หล่าง กับ อาจารย์แหลม อรหันต์ชาวนาแห่งกุดชุมก่อน ยังมีท่านอาจารย์ ศรีศีล ที่พรหมบุรีอีกท่านนึง ถ้าจะทำแบบที่ว่านี่จะเอาด้วยมั๊ย น่าลอง น่าลุ้น น่าลุย)




.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
cherm
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 17/11/2011
ตอบ: 237

ตอบตอบ: 05/11/2012 2:13 pm    ชื่อกระทู้: เกลาให้หน่อยซิค่ะ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีค่ะ ลุงคิม
สวัสดี ค่ะ ทิดแดง


ทิดแดง ช่วยสรุปให้หน่อยให้หน่อยได้ไหมค่ะ สมองอันน้อยนิดของยัยเฉิ่ม อ่านแล้วปวดหัวตึบ
วิชาการก็ไม่มี ประสบการณ์ก็น้อย นึกว่า สงเคราะห์ลูกนกลูกกาเถอะคร้าาาาาาาาา



ขอบคูณ ค่ะ
ยัยเฉิ่ม จะเป็นชาวนา




.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
cherm
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 17/11/2011
ตอบ: 237

ตอบตอบ: 05/11/2012 2:28 pm    ชื่อกระทู้: เห็นด้วยอย่างแรง ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีค่ะ ลุงคิม
สวัสดีค่ะ ทิดแดง



ยัยเฉิ่ม เห็นด้วยอย่างแรง ให้ทิดแจกตั้งแต่เชียงราย ยันสุไงโกลก แล้วอย่าลืมแวะทิ้งที่ราชบุรี สัก 1,000 โล นะ จะเอาไปสีขาย 5555

ที่ฉะเชิงเทรา กิโล 30 บาท พาลให้คิดว่าของแท้ป่าวหว่า อะไรมันจะต่างกันราวฟ้ากับก้นเหว หรือคนเรามีความคิดที่ต่างกัน ทำให้ราคาต่างกันเช่นนั้น

ลุงคิมคิดเห็น อย่างไรค่ะ กับราคาที่แตกต่างกันขนาดนี้

ยัยเฉิ่ม ไม่กล้าทาย กลัวถูก แต่คิดว่าไม่น่าจะใช่ข้าวที่ยัยเฉิ่มทำแน่นอน เพราะสีลำต้นข้าวจะไม่สีนี้ ลำต้นจะสี่ขาว ใบจะสีเขียว ถ้าถูกครึ่ง หนึ่ง จะได้แมงวันไหมค่ะ


ยัยเฉิ่ม จะเป็นชาวนา



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 05/11/2012 4:50 pm    ชื่อกระทู้: ขืนให้สรุปด้วย มีหวังสลบ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม สวัสดีจ้า ยัยเฉิ่ม และ สมช.ทุกท่าน


แปลเสร็จแล้ว ขนาดอ่านเอง ก็ยังมึน ๆ อยู่ ขืนให้สรุปด้วย ก็มีหวังสลบแน่ ๆ น้องเอ๊ย ...ขอดูลาดเลาก่อนละกัน

ข้าวที่ให้ทายนั้น ถ้าถูกครึ่งเดียว ก็ได้แมงวันครึ่งตัว แต่แมงวันนี่ มาจากประเทศที่เค้าชนวัวกระทิงด้วยนะ รับรอง เจ๋ง แจ่ม แจ๋ว ลองทายดูซีน้อง ร่วมสนุกกัน อาจจะเป็นข้าว ธรรมดา ๆ นี่ก็ได้ ที่มันมีสีแปลก อาจเนื่องมาจาก ขาดธาตุรอง ธาตุเสริม ก็เป็นได้ ข้าวมันก็เลยไม่สมบูรณ์...ว่ามั๊ย

ทีนี้ พูดถึงข้าว ไรซ์เบอรี่ ของนครนายก อยากรู้ว่าของแท้หรือเทียม ต้องไปที่วัดหลวงพ่อโสธร เพราะเจ้าของเค้าสีเป็นข้าวกล้องแล้วเอาไปขายที่หน้าวัดหลวงพ่อโสธร โลละ 70 .....นั่งรถไฟไทย จากบ้านโป่ง ราชรี ไปลงเทพฯ ต่อรถจากเทพฯ ไปลงแปดริ้ว ....นั่งสบาย ๆ เพียง งีบ หนึ่งก็ถึงแล้ว

ข้าวกล้องของนครนายกน่ะ จมูกข้าวยังอยู่ครบสองรูเลยนะ ขายกก.ละ 70 ถ้าไม่เอาไปหุงกิน จะเอามาเพาะก็จะงอกเป็นต้น เอาไปปลูกได้ด้วย จะซื้อเป็นข้าวกล้อง หรือเป็นข้าวเปลือกก็เปรียบเทียบกันดู

ข้าวเปลือก 1000 กก. สีเป็นข้าวกล้องได้ประมาณ 600 กก. ราคา 42,000
ข้าวเปลือกล้วน ๆ 1000 กก. ๆ ละ 30 ก็เท่ากับ 30,000 ....อันไหนจะได้น้ำได้เนื้อกว่ากัน ก็ลองพิจารณาดู ผมตกคำนวณว่ะ

ส่วนข้าวกล้องสิงห์บุรี ราคาขายถ้าจำไม่ผิด กก.ละ 70 แต่ดูเหมือนว่า จมูกข้าวจะไม่มีนะ เพราะเค้าคัดแยกจมูกข้าวออกไปขายต่างหาก ข้าวที่ได้จึงใช้หุงกินอย่างเดียว

....แล้วระหว่างข้าวกล้องที่มีจมูกข้าว กับข้าวกล้องที่ไม่มีจมูกข้าว ข้าวอย่างไหนจะดีกว่า และกินอร่อยกว่ากันละหมู เอ๊ย หนู

การที่เราเสียเงินเพื่อซื้อข้าวกล้องราคาแพงกินก็เพราะเราต้องการคุณค่าทางอาหารเต็มร้อย ไม่ใช่ข้าวกล้องหกเขยในเรื่องสังข์ทอง ที่หูแหว่ง จมูกวิ่น ....สังคมสมาชิกลุงคิม เป็นสังคมที่มีการแบ่งปัน เป็นสังคมที่มีน้ำใจ ไม่ใช่เป็นสังคมที่เอาเปรียบเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ถ้าเราคิดว่าของ ๆ เราดีจริง ขายไปเลย 80 - 90 - 100 - 120 แต่คุณภาพหรือคุณค่าทางอาหารที่มห้ต่อผู้บริโภคต้องเต็มร้อย .....จะบอกให้ว่า ข้าวกล้องหอมนิล ของกลุ่มเกษตรกรบ้าน กุดชุม ยโสธร แต่ก่อนนี้ กก.ละ 110.- ตอนนี้ขาย 120.- ยังขายได้ เพราะขายคุณภาพ ติดป้ายที่หน้าถุงเลยว่า ข้าวคุณธรรม แล้วมีคนซื้อมั๊ย ตอบว่า มี ไม่พอขายด้วยซ้ำ

ผมซึ้งลุงคิมตรงไหน ยัยเฉิ่มรู้มั๊ย ซึ้งคำพูดของลุงคิมที่ว่า โหดไม่ลงว่ะ คำพูดนี้มาจากที่ตรงไหน มาจากเมื่อวันที่ลุงเอามะม่วงมาขายที่ร้านหน้ามหิดล จำได้ว่า กก.ละ 50 บาท เท่ากับราคาแม่ค้าที่ตลาดศาลายา ลุงบอกว่าขาย 30 หรือ 40 บาทก็พอมั๊ง แต่คนขายไม่ยอม โดยอ้างว่า ของที่กินอร่อยกว่าแต่ขายในราคาเท่ากัน ของอันไหนมันดีกว่ากันล่ะ ลุงคิมเลยบอกว่า "กูเดินหนีเลย โหดไม่ลงว่ะ " นี่คือสังคมของการแบ่งปันละครับ ความจริง ขาย กก.ละ 60 หรือ 70 ก็มีคนซื้อเพราะลูกมันใหญ่กว่า มันกินอร่อยกว่า คุณว่า จริงมั๊ย

ปลูกข้าวหอมนิลดีกว่าครับ ข้าวหอมนิลกินอร่อยกว่าข้าวไรซ์เบอรี่ คุณค่าทางอาหารไม่ต่างกัน ที่สำคัญ ข้าวไรซ์เบอรี่ สายพันธุ์ยังไม่นิ่ง ปลูก สามหรือสี่รอบก็จะเริ่มกลายพันธุ์แล้ว ความจริง ข้าวสินเหล็ก ก็เป็นข้าวลูกผสมอย่างเดียวกับไรซ์เบอรี่ เพียงแต่กลับพ่อกลับแม่กันเท่านั้น คือ

ข้าวไรซ์เบอรี่ เป็นลูกผสมข้ามพันธุ์ระหว่างข้าวเจ้าหอมนิลกับข้าวขาวดอกมะลิ 105 (หอมนิลเป็นแม่ ขาวดอกมะลิ 105 เป็นพ่อ)...แม่ดำ พ่อขาว ลูกออกมาดำ

ส่วนข้าวสินเหล็ก เป็นลูกผสมข้ามพันธุ์ระหว่างข้าวขาวดอกมะลิ 105 กับข้าวเจ้า หอมนิล (ขาวดอกมะลิ 105 เป็นแม่ หอมนิลเป็นพ่อ) แม่ขาว พ่อดำ ลูกออกมาไม่ขาว ไม่ดำ ถ้าเป็นคนเต้าเรียก ผิวสองสี -ดำแดง




รูปข้าวไรซ์เบอรี่ (หอมนิลเป็นแม่ ขาวดอกมะลิ 105 เป็นพ่อ)





รูปข้าวสินเหล็ก (ขาวดอกมะลิ 105 เป็นแม่ หอมนิลเป็นพ่อ)



เนื่องจากกระทู้นี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับเครื่องหยอดเมล็ดข้าว เรื่องข้าวไรซ์เบอรี่, ข้าวสินเหล็ก, และข้าวหอมนิล น่าจะเสวนากันซักรอบโดยเฉพาะดีมั๊ยน้อง ลุงคิมล่ะครับ อนุญาตให้เปิดประเด็นมั๊ยครับ เอาแค่สามสายพันธุ์ ส่วน ขาวดอกมะลิ 105 นักวิชาการยังไม่กล้าแตะต้อง แล้วผมแค่ หิ่งห้อย ข้าน้อยมิบังอาจ


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 06/11/2012 11:01 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.


http://www.youtube.com/watch?v=nwzD0YoyVX4&NR=1&feature=endscreen

VIDIO เครื่องหยดเมล็ดข้าว




.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 23/04/2013 9:12 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 06/11/2012 11:42 am    ชื่อกระทู้: Re: ขืนให้สรุปด้วย มีหวังสลบ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

DangSalaya บันทึก:


เนื่องจากกระทู้นี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับ "เครื่องหยอดเมล็ดข้าว" เรื่องข้าวไรซ์เบอรี่,
ข้าวสินเหล็ก, และข้าวหอมนิล น่าจะเสวนากันซักรอบโดยเฉพาะดีมั๊ยน้อง

ลุงคิมล่ะครับ อนุญาตให้เปิดประเด็นมั๊ย ครับ เอาแค่สามสายพันธุ์ ส่วน ขาวดอก
มะลิ 105 นักวิชาการยังไม่กล้าแตะต้อง แล้วผมแค่ หิ่งห้อย ข้าน้อยมิบังอาจ





เห็นด้วย เปิดเป็นประเด็นใหม่ เพราะเป็นคนละเรื่องกัน แต่สำคัญทั้งคู่ และก็ต้องไป
ด้วยกันด้วย......จะให้ทำไงบอกมา ก๊อปไปวางตั้งเป็นกระทู้ใหม่ ดีไหม หรือมีวิธี
อื่นดีกว่านี้ละ....

ที่ไม่ขัดก็เพราะ เว้บนี้มีคนเข้ามา "ร่วมด้วยช่วยกัน สร้างสังคมแห่งการแบ่งปัน"
น้อยอยู่แล้ว ขืนขัดใจ ไม่ต้องมากหรอก เอาแค่แว้บบบบเดียวเท่านั้นแหละ สมช.
สูญพันธุ์แน่ ว่ามั้ย


ดูซี่ คนเข้ามาอ่านตั้งหลายคน (มากหรือน้อยไม่รู้ ไม่ได้เข้าไปดูเปรียบเทียบกับ
เว้บอื่น เพราะ "เข้าไม่เป็น") แต่เว้บนี้มีแค่ 1-2-3 คน เจ้าเก่า-เจ้าประจำ-เจ้า
เดิม อยู่แค่นี้




สถานการณ์เป็นตัวกำหนด.......
วันนี้ ขึ้นปีที่ 3 ต่อปีที่ 4 ประสบการณ์ในโลกเน็ต รู้แจ้งแล้วว่า เล่นเน็ตได้แค่เพื่อ
หาความรู้ให้กับตัวเองเท่านั้น อั้ยที่ก๊อปมาวางไว้ วางไว้ และวางไว้นั้น สำหรับ
อ่านเอง เป็นความรู้ใหม่สำหรับตัวเอง ก็แสดงว่า อะไรอะไร ใครใครเขารู้กันหมด
แล้ว อั้ยเราต่างหากเพิ่งจะรู้.....ประมาณนี้แหละ แดง.

เพราะฉนั้น สิ้นปีนี้ เว้บนี้ "ปิด" น่าจะถูกต้องแล้ว ว่ามั้ยแดง...




.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 19/03/2013 11:58 pm    ชื่อกระทู้: ลืมไปเลยครับ...... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม

ผมมีเรื่องติดค้างลุงเอาไว้นานแล้ว .....ท้องเสียซะลืมไปเลย ขออภัยครับ
จากหัวข้อ ในกระทู้...

Technologies meet farmers
Written by Trina Leah Mendoza and Grant Singleton
……………..
TO แดง.....
งานเข้า 2 แปลหน่อยนะ.....


...ความจริงเรื่องนี้แปลไปแล้ว ผม งง เอง เพียงแต่ยังไม่ได้สรุปให้ ยัยเฉิ่ม อ่านง่าย ๆ เท่านั้น เง็ง....


.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย DangSalaya เมื่อ 22/04/2013 10:35 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1874

ตอบตอบ: 22/04/2013 10:32 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม...

....


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
pimmy
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 27/03/2013
ตอบ: 7

ตอบตอบ: 23/04/2013 8:59 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.

ป้าพิมพ์ก็อ่านค้าาาาาา อยากได้พันธุ์มาปลูกจัง ทิดแดงดนเก่ง คนดีมีเมล็ดพันธุ์ไหมค่ะ หรือรู้แหล่งพันธุ์ช่วยบอกกันบ้างเด้อ

ป้าพิมพ์เด้อจ้า


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2
หน้า 2 จากทั้งหมด 2

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©