-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถามลุงคิม เรื่องลำไยครับ....
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถามลุงคิม เรื่องลำไยครับ....
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถามลุงคิม เรื่องลำไยครับ....

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 10/05/2011 10:46 pm    ชื่อกระทู้: ถามลุงคิม เรื่องลำไยครับ.... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

จาก: menglovekai
ถึง: kimzagass

ตอบ: 10/05/2011 9:22 pm
ชื่อกระทู้: อยากสอบถามลุงคิมหน่อยครับ


สวัสดีครับลุงคิม
ผมเพิ่งมาเปิดเจอเวปของลุงคิมวันนี้แหล่ะ ทำให้ผมปิ๊งไอเดียหลากหลายมากๆ แต่ก็ยังงง ยังไงช่วยลุงคิมสั่งสอนผมหน่อยครับ

คือว่า ผมอายุ 30 ปีแล้วครับ เดิมเป็นวิศวกรรมกรเครื่องกล ทำงานที่กทมมาได้ 10 ปีแล้วครับ ทีนี้มาได้แฟนเป็นคนฝาง + เบื่อกรุงเทพ ก็เลยลาออกมาช่วยงานสวนของแฟนเป็นสวนลำไย

ผมอยู่สวนมาได้ ปีนึงแล้วครับ ความรู้เรื่องลำไยก็พอมีบ้าง ได้ทราบวงรอบของลำไย รู้จักยาฆ่าแมลง ปุ๋ยบ้าง พอผิวเผิน

การทำสวนยังเป็นแบบ ใช้ปุ๋ยใช้ยาอย่างโหด เชื่อบริษัทปุ๋ยยา คำพูดชาวบ้าน (เนื่องจากว่า เจ้าของเก่าเค้าเจ๊ง จากการปลูกส้มมาแล้วครับ) ไม่รู้ว่าเก่งจริงหรือเปล่า เพราะในที่สุดก็ หมดครับ ตอนนี้ก็เริ่มมีชีวภาพเข้ามาบ้างแล้ว เนื่องจากว่าถูกน่ะครับ
(ผมยังไม่ได้ มีส่วนได้เสียกับสวนนะครับ เพียงมาเรียนรู้และอาจจะได้สืบต่อไป แต่ผมอยากทำให้มัน มั่นคง ยั่งยืนกว่าที่เป็นอยู่น่ะครับ)

[img]http://image.free.in.th/show.php?id=6731c469f77b576ff17adb322de0bedd[/img]

เริ่มด้วยคำถามเลยนะครับ
1. รูปที่แนบเป็นลำไยอายุประมาณ 25 ปี ปลูกพร้อมกัน ได้รับปุ๋ย ยา แบบเดียวกัน สังเกตุได้ว่า ต้นทางซ้ายยังสบายดี แต่ต้นทางขวา มีการเจริญทางกิ่งก้าน สั้นมากครับ กิ่งกระโดง ไม่ยืด จะเกาะกระจุกรวมกัน และบริเวณที่มีปัญหาจะเกาะกลุ่มกัน คือ แคระแกร็น ราวๆ 50 ต้นได้ ไม่มีน้ำขัง ---> แบบนี้เรียกว่า "โรคหงอย" หรือเปล่าครับ

2. ถ้าเกิดผมทำออกนอกฤดู แล้วฝนตกในช่วงที่ดอกบาน จะเสียหายใหมครับ เช่นดอกเน่า เพราะว่าปีนี้ ฝนมาเร็วมาก ทำให้ดอกลำไยที่สวน ร่วงหล่นเป็นจำนวนมาก และหน้าร้อนสั้นมากครับ ทำให้ดอกตัวเมียไม่มีเลย (ไม่ได้ราดสารนะครับ)

3. การแต่งกิ่งจากรูปที่แนบมา ต้นทางซ้าย ลุงคิมว่ามันแน่นไปมั๊ยครับ ผมแต่งจนมันโปร่งแล้วนะครับ (แต่งเดือน พ.ย.) ถ้ามองจากด้านใน จะเห็นเลยว่าโปร่ง

4. เคยเอาดินไปวิเคราะห์ ผลก็ออกมาปกติดีครับ

5. ใช้น้ำบาดาลเป็นหลักครับ เึคยวัดค่า EC ออกมา สะอาดกว่าน้ำประปาอีกครับ(ผมเคยปลูกผักไฮโดรมาบ้างก็เลยมีเครื่องวัดน่ะครับ)


เห็นว่า วันที่ 12 พ.ค. จะมีการอบรม คงไปแจมไม่ทัน
ไม่ทราบว่าคอร์สหน้ามีวันที่เท่าไหร่ครับ จะได้เตรียมคำถามไปยิงใส่ลุงเยอะๆ

ขอบคุณครับ


http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Private_Messages&file=index&folder=inbox&mode=read&p=1508&sid=675d6247d13d4dc916bc751671297462
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 11/05/2011 10:02 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

โรคแมลงศัตรูลำไย

โรคพุ่มไม้กวาด (Witches broom) (A)
สาเหตุเกิดจากเชื้อ Mycroplasma
ลักษณะอาการเหมือนพุ่มไม้กวาดลำไยที่เป็นโรครุนแรงจะโทรม เมื่อออกดอกติดผลน้อยพันธุ์ลำไยที่อ่อนแอต่อโรคนี้เคยพบในพันธุ์เบี้ยวเขียวก้านอ่อน

อาการปรากฎที่ส่วนยอดและส่วนที่เป็นตา โดยเริ่มแรกใบยอดแตกใบออกเป็นฝอย มีลักษณะเหมือนพุ่มไม้กวาด ใบมีขนาดเล็กเรียวยาว ใบแข็งกระด้างไม่คลี่ออก กลายเป็ยกระจุกสั้นๆขึ้นตามส่วนยอด หากยอดที่เป็นโรคเมื่อถึงคราวออกช่อดอก ถ้าไม่รุนแรงก็จะออกช่อชนิดหนึ่งติดใบบนดอกและช่อสั้นๆ ซึ่งอาจติดผลได้ 4-5 ผลถ้าเป็นโรครุนแรงต้นจะออกดอกติดผลน้อย พันธุ์ลำไยที่อ่อนแอต่อนโรคนี้คือพันธุ์เบี้ยวเขียวก้านอ่อน

สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด
สาเหตุเกิดจากเชื้อมายโคพลาสมา (Mycroplasma) แพร่ระบาดได้ทางกรรมพันธุ์คือ สามารถแพร่ระบาดไปโดยการตอนกิ่งลำไยจากต้นที่เป็นโรค โรคนี้มีแมลงพวกเพลี้ยจั๊กจั่นสีน้ำตาลเป็นพาหะนำเชื้อโรคไปสู่ต้นอื่นๆ ได้

การป้องกันและกำจัด
1. คัดเลือกกิ่งพันธุ์จากต้นที่ไม่เป็นโรคไปปลูก

2. ป้องกันแมลงจำพวกปากดูดพวกเพลี้ยจั๊กจั่นสีน้ำตาล โดยใช้สารเคมีเช่น ฟอสซ์ อัตรา 50 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ มิพซิน อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือลอร์สแมน อัตรา 80 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร

3. สำหรับต้นที่เป็นโรคถ้าเป็นไม่มาก ควรตัดกิ่งที่เป็นโรคนำมาเผาทำลายซึ่งชาวสวนจะต้องพร้อมใจกันและกำจัดทุกๆ สวน เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคแพร่ระบาด



โรคหงอย
ลักษณะอาการ
การเจริญเติบโตทางกิ่งน้อย ใบเล็ก และคดงอมองไกลๆ คล้ายใบลิ้นจี่ลำต้นซีดลง เมื่อตัดกิ่งของลำไยที่เป็นโรคนี้มาตรวจจะพบว่าไส้กลางเป็นสีน้ำตาล ชาวบ้านมักเรียกว่า โรคไส้ดำ โรคนี้เป็นกับต้นลำไยที่ออกดอกติดผลดี บางสวนเป็นทั้งต้นเล็กและต้นใหญ่

สาเหตุของโรค
ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด



โรคจุดสาหร่ายสนิม
ลักษณะอาการ
ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดที่ใบ เกิดจุดค่อนข้างกลม มีขนาด 0.5 - 1 ซม. แรกๆ เป็นขุยสีเขียวต่อมาในระยะเกิดสปอร์จะเป็นสีแดงสีสนิมเหล็ก ผิวมีลักษณะเป็นขุยคล้ายกำมะหยี่ เป็นที่ใบไม่รุนแรงมากนัก แต่ความรุนแรงจะปรากฎที่กิ่งโดยเฉพาะถ้าเป็นมากก็จะทำให้ต้นทรุดโทรม กิ่งที่ถูกแสงจะถูกทำลายโดยเกิดเป็นขุยเช่นเดียวกับใบ จะเป็นจุดหรือเกิดต่อเนื่องเป็นขุยสนิมเหล็ก ต่อมาขุยก็จะแห้งหายไป จุดที่ถูกทำลายเปลือกจะแตกและแห้งทำให้ใบเหลืองร่วง แสดงอาการทรุดโทรม ทั้งนี้เป็นเพราะรากเทียมของสาหร่ายเข้าไปชอนไชในเนื้อเยื่อดูดกินน้ำเลี้ยงและเซลล์เน่าตาย ทำให้ส่วนนั้นแห้งตายไป

การแพร่ระบาด
ทำลายพืชได้หลายชนิด ระบาดในที่ๆ มีความชื้นสูงโดยเฉพาะในฤดูฝน แพร่ระบาดโดยสปอร์จะปลิว ไปตามลมนอกจากนี้ น้ำก็เป็นพาหะนำสปอร์ไปสู่ต้นอื่นได้เช่นเดียวกัน

การป้องกันและกำจัด
โดยการพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อราพวกสารประกอบของทองแดง เช่น ค๊อปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร



โรคราสีชมพู
ลักษณะอาการ
อาการที่เกิดที่กิ่งโดยเฉพาะตรงง่ามของกิ่งหรือลำต้น กิ่งที่เป็นโรคใบจะปรากฎสีเหลืองซีดและเมื่อโรครุนแรงอาจทำให้ใบร่วงเหลือแต่กิ่ง บริเวณกิ่งที่ถูกทำลายจะมีคราบของเชื้อราสีขาวอมชมพูแผ่ขยายปกคลุมคล้ายทาด้วยสีชมพู เมื่อกิ่งแห้งจะเห็นคราบนี้ชัดขึ้นเป็นสีชมพูหรือสีปูนแห้ง เมื่อผ่าตรวจดูเปลือกจะผุ เนื้อไม้ยุ่ยและกิ่งแห้งตายไปในที่สุด ทั้งนี้เพราะเกิดคล้ายรากเทียมที่ใต้ผิวแผ่นเชื้อรา ที่แนบติดกับผิวของกิ่งเข้าดูดกินน้ำเลี้ยงและทำลายเนื้อเยื่อบริเวณนั้น

สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด
เกิดจากเชื้อรา Corticium salmonicolor ระบาดในฤดูฝนสปอร์ของเชื้อราระบาดไปกับลมและน้ำฝน โดยเฉพาะกิ่งล่างมักจะถูกเชื้อรานี้เข้าทำลายเกิดเป็นโรคอยู่ทั่วไป ทรงพุ่มที่หนาทึบ ย่อมจะช่วยส่งเสริมให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคนี้ได้มากและเร็วขึ้น

การป้องกันและกำจัด
ควรตัดแต่งกิ่งเป็นโรคออกไปเผา เพื่อลดปริมาณเชื้อโรคและให้มีการถ่ายเทอากาศดีขึ้น แล้วพ่นด้วยสารเคมีตรงส่วนที่เป็นโรคด้วยคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือเอดิเฟนฟอส 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร



มวนลำไย
มวนลำไย หรือที่ชาวบ้านทางภาคเหนือเรียก “แมงแกง” มีชื่อทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะทำความ เสียหายให้กับลำไยโดยดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดอ่อน ใบอ่อน ช่อดอก และผลอ่อนทำให้ยอดอ่อนและใบอ่อนแห้งเหี่ยว ดอกเสียหาย ไม่ติดผลหรือทำให้ร่วงหล่นตั้งแต่ยังเล็ก มีการระบาดอยู่ ประจำในแหล่งปลูกลำไยจังหวัดเชียงใหม่ และลำพูนโดยเฉพาะบริเวณที่ราบลุ่มติดกับแม่น้ำปิง

รูปร่างและชีวประวัติ
ตัวเต็มวัยมีสีน้ำตาลปนเหลือง รูปร่างลักษณะคล้ายโล่ มีขนาดยาวประมาณ 25- 31 ซม. และส่วนกว้างประมาณ 15-17 ซม. ตัวเต็มวัยตัวเมียวางไข่เป็นกลุ่มตามใบหรือเรียงตามก้านดอก ไข่กลุ่มหนึ่งจะมีจำนวนโดยเฉลี่ย 14 ฟอง ไข่จะฟักออกมาเป็นตัวอ่อนประมาณ 7-14 วัน ตัวอ่อนจะมีสีแดงมีการลอกคราบ 5 ครั้ง ระยะตัวอ่อนกินเวลาประมาณ 61-74 จึงจะเจริญออกมาเป็นตัวเต็มวัย

ศัตรูธรรมชาติ
ศัตรูธรรมชาติของมวนลำไยเท่าที่มีการสำรวจพบได้แก่ แตนเบียนไข่ Ooencyrtus sp. และ Anastatus sp. ซึ่งจะคอยเป็นตัวทำลายไข่ ของมวนลำไยในธรรมชาติ

การป้องกันกำจัด
1. ตัดแต่งกิ่งลำไยไม่ให้ต้นหนาจนเกินไป จนเป็นที่หลบซ่อน และพักอาศัยของตัวเต็มวัย

2. จับตัวเต็มวัย ตัวอ่อน และไข่ไปทำลาย

3. ถ้าพบระบาดมากใช้ยาฆ่าแมลงพวก โมโนโครโตฟอส ฉีดพ่นในอัตรา 20 ซีซี.ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือยาฆ่าแมลงคาร์บาริล อัตรา 45 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร โดยฉีดพ่นในช่วงระหว่างเดือนมกราคมถึงเมษายน ช่วงเวลาที่ลำไยกำลังเกิดช่อดอกและติดผล ซึ่งช่วงดังกล่าว จะพบทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย สำหรับยาฆ่าแมลงพวกคาร์บาริลจะใช้ได้ผลดีในระยะที่แมลง เป็นตัวอ่อนในวัย 1-2 เท่านั้น ถ้าพ่นในวัยอื่นจะไม่ได้ผล



โรคราดำ
การทำลายของแมลงพวกปากดูด เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย แล้วถ่าย น้ำหวานมาปกคลุมส่วนต่างๆ ของลำไย เชื้อราที่มีอยู่ในอากาศโดยเฉพาะเชื้อรา Capnodium ramosum, Meliola euphoriae. จะปลิวมาขึ้นบนส่วนที่มีน้ำหวาน

ลักษณะอาการ
สีดำของเชื้อราขึ้นปกคลุมใบ กิ่ง ช่อดอก และผิวของผล ทำให้เห็นเป็นคราบสีดำคล้ายเขม่า บนใบที่ถูกเคลือบด้วยแผ่นคราบดำของเชื้อรานี้ เมื่อแห้งจะหลุดออกเป็นแผ่นได้ง่าย เชื้อราไม่ได้ทำลายพืช โดยตรงแต่ไปลดการปรุงอาหารของใบ อาการที่ปรากฎที่ช่อดอกถ้าเป็นรุนแรงทำให้ดอกร่วงไม่สามารถผสมเกสรได้ จึงเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ดอกร่วงเพราะถูกเชื้อราดำเข้ามาเคลือบ

สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด
ลักษณะอาการเช่นนี้ เกิดจากผลของการทำลายของแมลงพวกปากดูด ที่ดูดกินส่วนอ่อนของลำไย แล้วถ่ายน้ำหวานมาปกคลุมส่วนต่างๆ ของลำไย เชื้อราที่มีอยู่ในอากาศโดยเฉพาะเชื้อรา จะปลิวมาขึ้นบนส่วนที่มีน้ำหวานที่แมลงขับถ่ายออกมา แล้วเจริญเป็นคราบสีดำ แมลงปากดูดเท่าที่พบ เช่น เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอยเพลี้ยจั๊กจั่น และเพลี้ยอ่อน เป็นต้น

การป้องกันและกำจัด
ป้องกันและกำจัดแมลงพวกปากดูดดังกล่าว โดยพ่นสารเคมีเช่น คาร์บาริล 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร อาจพ่น ควบคู่กับสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น คอปเปอร์ออกซิคลอไรด์ หรือ ไซฟลูธริน 40-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร



หนอนม้วนใบ
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Archips micaceana Walker.หนอนจะกัดกินใบอ่อนและช่อดอก ตัวหนอนจะห่อม้วนใบเข้าหากันหรือชักใยดึงเอาหลายๆ ใบ มารวมกันหรือดึงเอาช่อดอกเข้ามารวมกันแล้วอาศัยอยู่ภายใน ถ้าระบาดมากทำให้ยอดอ่อนและช่อดอกเสียหาย

รูปร่างและชีวประวัติ
ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อขนาดเล็กสีน้ำตาลแดง หลังจากผสมพันธุ์ผีเสื้อจะวางไข่เป็นกลุ่มๆ คล้ายเกล็ดปลา มีสีเหลืองอ่อน กลุ่มหนึ่งจะมีไข่ประมาณ 70-200 ฟอง ระยะไข่ 5-9 วัน หนอนมีสีเหลืองปนเขียว หัวสีน้ำตาลแดง มีตุ่มตามลำตัวแต่ละตุ่มจะมีขนเล็กสีขาว 1-2 เส้น เมื่อโตเต็มที่ยาวประมาณ 1.3-1.5 ซม. ระยะหนอน 14-48 วัน แล้วเข้าดักแด้ในใบที่ม้วนนั้นเป็นดักแด้อยู่นาน 5-7 วัน ก็จะออกเป็นตัวเต็มวัย

การป้องกันกำจัด
1. หมั่นตรวจตามยอดอ่อนและช่อดอก ถ้าพบให้เก็บทำลาย
2. ถ้าระบาดรุนแรงมากควรฉีดพ่นด้วยยาโมโนโครโตฟอส ในอัตรา 20 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือพ่นด้วยไพรีทรอยด์ อัตรา 10 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร



หนอนคืบกินใบ (แมลงบุ้งลำไย)
ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oxyodes scrobicularta Fabr.
หนอนผีเสื้อชนิดนี้ระบาดอยู่ทั่วไปตามแหล่งปลูกลำไยและลิ้นจี่ พบมากในบางแห่งโดยเฉพาะระยะที่ลำไยแตกยอดอ่อน ระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึงตุลาคม ทำลายโดยกัดกินใบอ่อนให้เสียหาย ทำให้ยอดชะงักการเจริญเติบโต

ตัวแก่เป็นผีเสื้อกลางคืน อาศัยผลลำไยและลิ้นจี่เป็นอาหาร ตัวสีน้ำตาลอ่อน มีคู่ที่สองสีน้ำตาลลายดำ ขอบปีกด้านบนเป็นแถบสีดำ ขนาดของผีเสื้อกางปีกกว้างประมาณ 5 ซม. ลำตัวมีขนสีเหลืองปกคลุม ตัวผู้และตัวเมียมีขนาดไล่เรี่ยกัน ตัวเมียจะวางไข่ไว้เดี่ยวๆ ไข่มีขนาดเล็กกลมสีขาวไม่มีสิ่งปกคลุม และมักจะไข่ไว้บนยอดอ่อนใบอ่อน หนอนเมื่อฟักไข่ออกมาใหม่ๆ ตัวจะมีสีเขียวอ่อน เมื่อโตขึ้นจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองปนน้ำตาล มีแถบสีน้ำตาลตลอดลำตัว ขนาดตัวหนอนที่โตเต็มที่ยาวประมาณ 3-4 ซม. ระยะตัวหนอน 9-14 วัน ตัวหนอนจะเข้าทำลายใบอ่อนและยอดอ่อน มีนิสัยชอบทิ้งตัวเมื่อได้รับความกระทบกระเทือนใกล้เข้าดักแด้ตัว จะเปลี่ยนเป็นสีม่วงใช้ใบห่อหุ้มแล้วเจริญเป็นดักแด้

การป้องกันกำจัด
1. เขย่ากิ่งให้หนอนร่วงหล่นแล้วเก็บรวบรวมไปทำลายหรือนำไปเป็นอาหารสัตว์เลี้ยง เช่น เป็ด ไก่

2. เก็บรวบรวมดักแด้ไปทำลาย เช่น ฝัง หรือเผาไฟ

3. เมื่อลำไยแตกยอดอ่อน ถ้าพบมีการระบาดควรจะพ่นยาฆ่าแมลงคาร์บาริลใน อัตรา 30-45 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร แต่ถ้าหนอนระบาดมากทำความเสียหายให้อย่าง รุนแรงควรพ่นด้วยยาฆ่าแมลงโมโนโครโตฟอสในอัตรา 15 ซีซี.ต่อน้ำ 20 ลิตร



แมลงค่อมทอง
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hypomeces squamosus Fab.การทำลายโดยกัดกินใบอ่อนและดอก ทำให้ใบเสียหายและชงักการเจริญเติบโต ดอกไม่เจริญ มักพบมากในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงมีนาคม และจะลดน้อยลงไปเองตามธรรมชาติในเดือนเมษายนและพบน้อยมากระหว่างฤดูฝน

รูปร่างและชีวประวัติ
เป็นแมลงจำพวกด้วงปีกแข็ง ตัวสีเหลืองถึงเขียวอ่อน มีปากกัดกินเป็นงวงยื่นเห็นได้ชัด ชอบอาศัยอยู่ใต้ใบเวลาถูกตัวหรือได้รับความกระเทือนจะทิ้งตัวลง ตัวแก่จะวางไข่ไว้ในดินเมื่อฟักและเจริญเป็นตัวหนอนจะอาศัยกินราก พืชอยู่ในดินและเป็นดักแด้อยู่ในดินจนกระทั่งเจริญเป็นตัวแก่ จะออกมากัดกินพืชและทำการผสมพันธุ์ต่อไป ระยะเป็นไข่กินเวลา 10-11 วัน ระยะหนอนอยู่ในดินนาน 5-6 เดือน ระยะเป็นดักแด้ 14-15 วัน

การป้องกันกำจัด
1. เขย่าต้นให้แมลงหล่นลงไปแล้วนำไปทำลาย
2. ใช้ยาฆ่าแมลงพวกคาร์บาริล ในอัตรา 30-40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คาร์บาเมท (แลนเนท) ในอัตรา 10-15 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
3. ถ้ามีการระบาดมากใช้ยาโมโนโครโตฟอส ในอัตรา 15-20 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร



ผีเสื้อมวนหวาน
ทางภาคเหนือเรียกว่า “กำเบ้อแดง” มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Othreis fullonica พบระบาดในระยะที่ผลลำไยเริ่มแก่และใกล้เก็บเกี่ยว ทำลายผลโดยการใช้ส่วนของปาก (proboscis) เจาะแทงเข้าไปในผลไม้ที่ใกล้สุกหรือผลไม้สุก ทำให้ผลแก่และร่วงในที่สุด สำหรับลำไยเมื่อถูกผีเสื้อมวนหวานดูดกินแล้วจะร่วงภายใน 3 - 4 วัน ผลที่ร่วงเมื่อบีบดูจะมีน้ำหวานไหลเยิ้มออกมาตามรูที่ถูกเจาะ และเมื่อแกะผลดูจะพบว่าเนื้อในของลำไยจะเน่าเสียเนื่องจากเชื้อโรคหรือเชื้อยีสต์เข้าทำลาย แมลงชนิดนี้ออกหากินในเวลากลางคืน ระยะเวลาที่พบผีเสื้อมากที่สุดคือ 20.00 - 24.00 น.



หนอนกินดอกลำไย
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Eublemma versicolora ตัวหนอนจะกัดกินดอกลำไยโดย ใช้ขี้หนอนและใยทำเป็นทางสีน้ำตาลไปตามกิ่งหรือช่อดอก ตัวหนอนกินไปถึงทางไหนจะมีทางไปถึงนั่น ซึ่งใช้เป็นที่สังเกตได้ง่าย หนอนจะทำลายดอกจนหมด

รูปร่างและชีวประวัติ
ลักษณะตัวหนอนมีสีน้ำตาลอ่อนหัวสีดำ ขนาดยาว 1.5-2.0 ซม. ตัวอ้วนใหญ่ ระยะตัวอ่อน 14-16 วัน ระยะเข้าดักแด้ 6-8 วัน ขนาดตัวและกางปีกแล้วประมาณ 2-3 ซม. ปีกสีน้ำตาลปนเทา ทั้งปีกคู่หน้าและคู่หลังมีทางสีน้ำตาลเข้มพาดยาวๆ จนถึงกลางปีก107

การป้องกันกำจัด
1. จับทำลายตัวหนอนที่พบตามช่อดอกเสีย
2. ถ้ามีระบาดมากควรใช้ยาฆ่าแมลงโมโนโครโตฟอส ในอัตรา 15-20 ซีซี.ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในระยะที่ดอกยังไม่บาน



หนอนเจาะกิ่งและลำต้น
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zeuzera coffcae Nieten.เกิดจากผีเสื้อที่วางไข่ตามเปลือกของกิ่งแล้วฟักออกมาเป็นตัวหนอนเข้าเจาะกินกิ่งหรือลำต้น จะทำให้กิ่งหรือลำต้นแห้งตาย

รูปร่างและชีวประวัติ
ตัวเต็มวัยของผีเสื้อขนาดเมื่อกางปีกประมาณ 4 ซม. ปีกคู่แรกและคู่หลังมีสีขาวและมีจุดดำทั้งปีกคู่แรก และจุดดำรอบขอบปีกคู่หลัง ผีเสื้อจะวางไข่มีสีเหลืองแดง และจะฟักเป็นตัวหนอนใน 9-10 วัน ตัวหนอนมีสีน้ำตาลอ่อนมีจุดดำทั้งตัว พอโตขึ้นจะเปลี่ยนเป็นสีชมพู มีความยาวประมาณ 2-8 ซม. จากนั้นจะเข้าดักแด้อยู่ในรอยเจาะ

การป้องกันกำจัด
1. ตัดส่วนที่ถูกทำลายที่มีตัวหนอนแล้วเผาไฟเสียและจับตัวแก่ที่มาเล่นไฟกลางคืนไปทำลาย
2. ใช้ยาดีดีเวพ (Dedevap) ในอัตรา 1 ส่วนต่อน้ำ 5 ส่วน ฉีดเข้าไปตามรูที่มีหนอนแล้วใช้ดินเหนียวอุดไว้



หนอนเจาะกิ่งและลำต้น
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zeuzera coffcae Nieten. เกิดจากผีเสื้อที่วางไข่ตามเปลือกของกิ่งแล้วฟักออกมาเป็นตัวหนอนเข้าเจาะกินกิ่งหรือลำต้น จะทำให้กิ่งหรือลำต้นแห้งตาย

รูปร่างและชีวประวัติ
ตัวเต็มวัยของผีเสื้อขนาดเมื่อกางปีกประมาณ 4 ซม. ปีกคู่แรกและคู่หลังมีสีขาวและมีจุดดำทั้งปีกคู่แรก และจุดดำรอบขอบปีกคู่หลัง ผีเสื้อจะวางไข่มีสีเหลืองแดง และจะฟักเป็นตัวหนอนใน 9 - 10 วัน ตัวหนอนมีสีน้ำตาลอ่อนมีจุดดำทั้งตัว พอโตขึ้นจะเปลี่ยนเป็นสีชมพู มีความยาวประมาณ 2 - 8 ซม. จากนั้นจะเข้าดักแด้อยู่ในรอยเจาะ

การป้องกันกำจัด
1. ตัดส่วนที่ถูกทำลายที่มีตัวหนอนแล้วเผาไฟเสียและจับตัวแก่ที่มาเล่นไฟกลางคืนไปทำลาย
2. ใช้ยาดีดีเวพ (Dedevap) ในอัตรา 1 ส่วนต่อน้ำ 5 ส่วน ฉีดเข้าไปตามรูที่มีหนอนแล้วใช้ดินเหนียวอุดไว้



เพลี้ยหอย และเพลี้ยแป้ง
แมลงจำพวกนี้ทำความเสียหายให้กับต้นลำไยโดยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบ ยอดอ่อน ช่อดอก และผล ถ้าระบาดรุนแรงจะทำให้บริเวณที่ถูกทำลายเหี่ยวแห้งไปในที่สุด นอกจากนี้ทั้งเพลี้ยหอยและเพลี้ยแป้งยังขับของเหลวชนิดหนึ่งออกมา ของเหลวนี้จะเป็นอาหารของมด และเป็นแหล่งอาหารของราดำ เมื่อราดำเกิดขึ้นที่ผลจะทำให้ผลดูสกปรก ราคาผลผลิตจะต่ำ

การป้องกันกำจัด
1. ตัดส่วนของพืชที่มีเพลี้ยหอยและเพลี้ยแป้งอาศัยอยู่ไปเผาไฟเสีย
2. เมื่อพบเพลี้ยหอยและเพลี้ยแป้งเริ่มระบาด ควรพ่นด้วยมาลาไธออน อัตรา 30 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารไพรีทรอยด์ อัตราส่วนตามฉลาก พ่นให้ทั่ว 2 - 3 ครั้งห่างกัน 10 วัน



สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่
13 ถนนอารักษ์ ซอย 5 ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200
โทร. 053 221228, 053 211448, โทรสาร 053 211868

http://www.ndoae.doae.go.th/article2010/longan/longan_insectpest.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 11/05/2011 7:42 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 11/05/2011 10:36 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ปฏิทิน ลด-ละ-เลิก สารเคมี


------------------------------------------------------------
วันที่............น้ำ....................สมุนไพร..................สารเคมี
------------------------------------------------------------
1 ............100 ล. .............. 200 ซีซี. .............. 100 ซีซี.
2 ............ - ........................ - ........................ -
3 ............ - ........................ - ........................ -
4 ........... 100 ล. .............. 200 ซีซี. ................. -
5 ........... - ......................... - ........................ -
6 ........... - ......................... - ........................ -
7 ........... 100 ล. .............. 200 ซีซี. ............... 50 ซีซี.
8 ........... - ......................... - ........................ -
9 ........... - ......................... - ........................ -
10 ......... 100 ล. ............... 200 ซีซี. ................ -
11 ........... - ........................ - ........................ -
12 ........... - ........................ - ........................ -
13 ......... 100 ล. ............... 200 ซีซี. ............... 25 ซีซี.
14 ........... - ........................ - ....................... -
15 ........... - ........................ - ....................... -
16 ......... 100 ล. ................ 200 ซีซี. ................ -
17 ........... - ........................ - ....................... -
18 ........... - ........................ - ....................... -
19 ......... 100 ล. ................ 200 ซีซี. .............. 10 ซีซี.
20 ........... - ........................ - ........................ -
21 ........... - ........................ - ........................ -
22 ......... 100 ล. ................ 200 ซีซี. ................ -
23 ........... - ........................ - ........................ -
24 ........... - ........................ - ........................ -
25 ......... 100 ล. .................. - ...................... 5 ซีซี.
26 ........... - ........................ - ......................... -
27 ........... - ........................ - ......................... -
28 ......... 100 ล. ............... 200 ซีซี. .................. -
29 ........... - ......................... - ......................... -
30 ........... - ........................ - .......................... -
31 ......... 100 ล. ............... 200 ซีซี. ............... 2.5 ซีซี.
------------------------------------------------------------

การปฏิบัติ :
สมุนไพร :

1. ตัวเลขวันที่ หมายถึงวันที่ในปฏิทิน.... ตัวเลข น้ำ 100 ล. สารสมุนไพร 200 ซีซี. หมายถึง อัตราใช้ที่นิยมใช้ตามปกติทั่วไป.... ตัวเลขสารเคมี 100 ซีซี. เป็นตัวเลขสมมุติ โดยตัวเลขที่แท้จริง คือ อัตราใช้ที่ระบุของสารเคมีแต่ละยี่ห้อ
2. เลือกพืชสมุนไพรที่มีสารออกฤทธิ์ตรงกับชนิดของศัตรูพืช
3. สกัดสมุนไพรให้ได้สารออกฤทธิ์ตามหลักวิชาการ
4. เลือกใช้ "สูตรรวมมิตร" หรือ "สูตรเฉพาะ" ตามความเหมาะสม
5. ฉีดพ่นบ่อยๆ ด้วยมาตรการ "กันก่อนแก้" ด้วยสารสมุนไพรเดี่ยวๆ
6. ฉีดพ่น "สารสมุนไพร + สารเคมี" เมื่อเกิดการระบาด
7. สารออกฤทธิ์ในสมุนไพรไม่เป็นอันตรายต่อแมลงธรรมชาติ
8. สารสมุนไพรได้มาจากพืช เมื่อเข้าสู่ปากใบพืชจึงไม่เป็นพิษต่อพืช
9. ฯลฯ

สารเคมี :
1. เลือกสารเคมีที่มีสรรพคุณตรงกับชนิดของศัตรูพืช
2. ใช้สารเคมีเพียง "ยี่ห้อ" เดียว ต่อการใช้แต่ละครั้ง
3. ใช้สารเคมีตัวเดิมซ้ำ 2-3 รอบ เพื่อความแน่ใจว่าเลือกใช้ถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง
4. สารเคมีเป็นอันตรายต่อแมลงธรรมชาติ
5. สารเคมีไม่ใช่สารอาหารแต่เป็นสารพิษ เมื่อเข้าสู่ปากใบพืชจึงทำให้ต้นพืชได้รับสารพิษ
6. ผสมสารเคมีทุกครั้งควรปรับค่า pH น้ำให้เป็นกรดอ่อนๆ โดยใส่สารสกัดสมุนไพรก่อนแล้ววัดค่า pH เมื่อได้ค่า pH ตามต้องการแล้วจึงใส่สารเคมีตาม แต่หากใส่สารสมุนไพรแล้ววัดค่า pH ยังไม่ได้ตามต้องการก็ให้ปรับค่า pH ด้วยน้ำส้มสายชู วัดค่า pH อีกครั้ง กระทั่งได้ค่า pH ตามต้องการแล้วจึงใส่สารเคมี
7. ฯลฯ

เหตุผลของปฏิทิน ลด-ละ-เลิก สารเคมี :
1. สารสมุนไพรกับสารเคมีสามารถ "ผสม" หรือ "รวม/ร่วม" กันได้
2. ใช้สารสมุนไพรบ่อยๆ ทุก 3 วัน เพื่อให้ได้ผลทั้ง "ป้องกันและกำจัด"
3. กำหนดการใช้สารเคมีทุก 7 วัน (ตามระบุในฉลาก) จึงเลือกใช้ 7 วัน/ครั้ง ตามฉลาก
4. ศัตรูพืชดื้อต่อสารเคมี แต่จะไม่ดื้อต่อสารสมุนไพร
5. การลดสารเคมีลงครั้งละครึ่งหนึ่งของการให้ครั้งที่แล้ว ได้ผลเพราะศัตรูพืชเริ่มอ่อนแอลง จนกระทั่ง แม้สัมผัสกับสารเคมีเพียงเล็กน้อยก็ตายได้


หลักการและเหตุผล :
- การใช้สมุนไพร "ป้องกัน/กำจัด" ศัตรูพืชมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ (อียิปต์)
- ปัจจุบัน เยอรมันมุ่งค้นคว้าวิจัยเรื่องสารออกฤธิ์ในสมุนไพรป้องกัน/กำจัดศัตรูพืชอย่างมาก โดยนำเข้าสะเดาจากอินเดีย ปีละ 50,000 ตัน นำเข้าหางไหลจากอินโดเนเซีย ปีละ 30,000 ตัน นำเข้าหนอนตายหยากจากไทย ปีละ 30,000 ตัน....ผลงานวิจัยได้ตีพิมพ์เป็นเอกสารตำราภาษต่างๆ ทั่วโลก 17 ภาษา ยกเว้นภาษาไทย
- สารออกฤทธิ์ในสมุนไพร ได้รับการค้นคว้าวิจัยโดยนักวิชาการระดับดอกเตอร์ เช่นเดียวกับสารเคมี จึงไม่มีเหตุใดที่จะบอกว่า "เป็นไปไม่ได้ หรือ ไม่น่าเชื่อถือ"
- ชีวิตของศัตรูพืชบอบบางมาก เมื่อสัมผัสกับสารออกฤทธิ์ระดับ พีพีเอ็ม.ก็ตายได้
- วงรอบชีวิตของ หนอน-แมลง ประกอบด้วย "แม่ผีเสื้อ-ไข่-หนอน-ดักแด้" หากช่วงใดช่วงหนึ่งของวงจรชีวิตถูกตัดหรือขาดลง หนอนและแมลงก็หมดไปเอง
- นอกจากสารออกฤทธิ์ในสมุนไพรเป็นพิษโดยตรงต่อศัตรูพืชแล้ว ยังทำให้สภาพแวดล้อมสำหรับศัตรูพืชเปลี่ยนแปลงจนศัตรูพืชนั้นอยู่ไม่ได้เอง
- ไม่มีพืชใดในโลกนี้ที่ไม่มีศัตรูพืชประจำตัว ดังนั้นมาตรการเพื่อต่อสู้กับศัตรูพืชที่ดีที่สุด คือ "ป้องกันก่อนกำจัด หรือ กันก่อนแก้" เท่านั้น
- สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญพัฒนาของศัตรูพืช ย่อมไม่เหมาะสมต่อการเจริญพัฒนาของแมลงธรรมชาติ ขณะเดียวกัน สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญพัฒนาของแมลงธรรมชาติ ย่อมไม่เหมาะสมต่อการเจริญพัฒนาของแมลงศัตรูพืช
- สภาพแวดล้อม คือ ความหลากหลาย วิธีต่อสู้กับศัตรูพืชที่ดีที่สุด คือ วิธีป้องกัน/กำจัดแบบผสมผสาน (I.P.M.) เท่านั้น


รอบรู้เรื่องแมลง
- แมลงปากกัด หมายถึง แมลงที่ทำลายส่วนต่างๆของพืชโดยการกัดแล้วกินส่วนนั้นของพืชโดยตรง

- แมลงปากดูด หมายถึง แมลงที่ทำลายส่วนต่างๆของพืชโดยการใช้กาดกัดก่อนแล้วจึงดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชนั้น

- แมลงกลางวัน หมายถึง แมลงที่ออกหากินช่วงตอนกลางวัน เข้าหาพืชเป้าหมายโดยใช้สายตาในการเดินทาง นอกจากเข้าทำลายพืชโดยตรงแล้ว ยังอาศัยวางไข่อีกด้วย

- แมลงกลางคืน หมายถึง แมลงที่ออกหากินตอนกลางคืน ช่วงหัวค่ำ 19.00-21.00 น. และช่วงก่อนสว่าง 05.00-06.00 น. เดินทางเข้าหาพืชเป้าหมายโดยการใช้ประสาทสัมผัสกลิ่น ส่วนใหญ่ไม่ได้เข้าทำลายพืชโดยตรงแต่จะอาศัยวางไข่เท่านั้น มีเพียงส่วนน้อยที่เข้าทำลายพืชโดยการกัดกินโดยตรง- แมลงขยายพันธุ์โดยการออกไข่ จากนั้นไข่จะฟักออกเป็นตัวหนอน และหนอนคือตัวทำลายพืชโดยตรง จากนั้นหนอนจะเจริญเติบโตกลายเป็นแมลงต่อไป

- แมลงไม่ชอบวางไข่บนส่วนของพืชที่ชื้น เปียกแฉะ เพราะรู้ว่าความเปียกชื้นหรือแฉะนั้น นอกจากจะทำให้ไข่ฝ่อฟักไม่ออกแล้วยังเกาะส่วนของพืชไม่ติดอีกด้วย

- แมลงไม่ชอบวางไข่ในบริเวณที่แสงแดดส่องถึงเพราะรู้ว่า ถ้าวางไข่ไว้ในที่โล่งแจ้ง แสงแดดส่องถึงจะทำให้ไข่ฝ่อไม่อาจฟักออกเป็นตัวหนอนได้ จึงเลือกวางไข่บริเวณใต้ใบพืช ซอกเปลือก เศษซากพืชคลุมโคนต้น หรือไต้พื้นดินโคนต้น

- แมลงกลางวันเดินทางด้วยการมองเห็น แก้วตาของแมลงมีเลนส์ 200,000 ช่อง ลูกนัยน์ตาของแมลงจึงไม่กลิ้งไปมาได้เหมือนนัยตาคนหรือสัตว์อื่นๆ ถ้าส่วนของพืชเป้าหมายของแมลงกลางวันเปียกน้ำหรือมีสารคล้ายน้ำมันสะท้อนแสงได้เคลือบทับอยู่จะทำให้ภาพการมองเห็นของแมลงผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง แมลงก็จะไม่เข้าหาพืชเป้าหมายนั้น

- แมลงกลางคืนเดินทางด้วยประสาทสัมผัสกลิ่นหรือดมกลิ่น ทั้งนี้ประสาทสัมผัสกลิ่นของแมลงสูงกว่าคน 600,000 เท่า (สารคดีดิสคัพเวอรี่) ถ้ากลิ่นพืชเป้าหมายผิดเพี้ยนหรือเปลี่ยนไปจากความเป็นจริงเนื่องจากมีกลิ่นพืชอื่นเคลือบอยู่ แมลงจะเข้าใจผิดไม่เข้าหาพืชเป้าหมายนั้น

- แมลงกลางวันชอบเข้าหาวัสดุที่มีสีเหลือง และสีฟ้า ส่วนแมลงกลางคืนชอบเข้าหาแสงสีม่วงและแสงสีขาว แต่ไม่ชอบเข้าหาแสงสีเหลืองหรือแสงสีส้ม

- แมลงบินตลอดเวลา ประสาทความรู้สึกเร็วมาก เมื่อรู้ว่าจะมีอันตรายเป็นต้องบินหนีทันที จากลักษณะทางธรรมชาติแบบนี้ทำให้ไม่สามารถกำจัดแมลงด้วยวิธีการ “ฉีดพ่น” ใดๆได้ทั้งสิ้น ในความเป็นจริงนั้น แมลงใดๆ ที่ปีกเปียกจะไม่สามารถขึ้นบินได้ นั่นหมายความว่า แม้แต่น้ำเปล่าก็สามารถกำจัดแมลงได้ แต่มีข้อแม้ว่าต้องฉีดพ่นให้ปีกเปียกให้ได้

- แมลงมีช่วงหรือฤดูกาลแพร่ระบาด นั่นคือ สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวกับสภาพอากาศ (อุณหภูมิ/ความชื้น) มีผลอย่างมากต่อวงจรชีวิตแมลง (เกิด – กิน – แก่ –เจ็บ – ตาย – ขยายพันธุ์) การรู้ล่วงหน้าถึงฤดูกาลแพร่ระบาดแล้วใช้มาตรการ “ป้องกัน” หรือ “ขับไล่” จึงเป็นแนวทางที่ดีที่สุดเพื่อเอาชนะแมลง

- แมลงบางอย่างมีปีกแต่ไม่สามารถใช้บินเป็นระยะทางไกลๆได้ แมลงประเภทนี้จะพึ่งพาสายลมช่วยพัดไป หรือมีสัตว์อย่างอื่นเป็นพาหะเพื่อการเดินทาง

- แมลงหายใจทางรูขุมขน หรือ ต่อมบนผิวหนัง แมลงตัวเล็กๆหรือเล็กมากๆ เมื่อถูกสารประเภทน้ำมันเคลือบบนลำตัว จะทำให้หายใจไม่ออกแล้วตายได้ ส่วนแมลงขนาดใหญ่ เมื่อได้สัมผัสกับกลิ่นที่เป็นสารออกฤทธิ์สำหรับแมลงก็ทำให้แมลงตายได้เหมือนกัน

- เทคนิคเอาชนะแมลงที่ดีที่สุด คือ “ไล่” ด้วยกลยุทธ “กันก่อนแก้” เท่านั้น


รอบรู้เรื่องหนอน
- หนอนเกิดจากไข่ของแม่ผีเสื้อกลางคืน (มาหัวค่ำหรือก่อนสว่าง) ถ้าขับไล่แม่ผีเสื้อไม่ให้เข้าวางไข่ได้หรือทำให้ไข่ของแม่ผีเสื้อฝ่อจนฟักไม่ออก ก็ถือเป็นการกำจัดหนอนได้อีกทางหนึ่ง

- หนอนไม่ชอบแสงแดดหรือแสงสว่าง จึงออกหากินตอนกลางคืน ส่วนตอนกลางวันจะหลบซ่อนอยู่ตามซอกหลืบหรือใต้ใบพืช หรือเข้าไปอยู่ภายในส่วนของพืชโดยการเจาะเข้าไป

- อายุหนอนเริ่มตั้งแต่ออกจากไข่ถึงเข้าดักแด้ 10-15 วัน แบ่งออกเป็น 5 วัย จากวัยหนึ่งไปสู่วัยหนึ่งต้องลอกคราบ 1 ครั้งเสมอ ถ้าไม่ได้ลอกคราบหรือลอกคราบไม่ออก หนอนตัวนั้นจะตายในคราบ

- หนอนที่ขนาดลำตัวโตเท่าก้านไม้ขีด ลำตัวด้านข้างมีลายตามยาวจากหัวถึงหาง และที่ลำตัวด้านบนมีขนขึ้น เป็นหนอนที่มีความทนทานต่อสารเคมีอย่างมาก เรียกว่า “ดื้อยา” ซึ่งจะไม่มีสารเคมีใดที่ใช้ตามอัตราปกติทำร้ายมันจนตายได้

- หนอนทุกชนิดแม้จะดื้อยา (สารเคมี) แต่จะไม่มีความสามารถดื้อต่อเชื้อโรค (ยาเชื้อ) เช่น บีที. – บีเอส. – เอ็นพีวี. – ไส้เดือนฝอย. โบวาเลีย. ได้เลย

- สาร “ท็อกซิก” ที่เกิดจากจุลินทรีย์กลุ่มบาซิลลัส.ประเภทไม่ต้องการอากาศ ก้นถังหมักน้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง หมักนานข้ามปีถึงหลายๆปี เป็นพิษต่อหนอน สามารถทำให้หนอนหยุดกินอาหาร (ทำลายพืช) และลอกคราบไม่ออก ไม่เข้าดักแด้ ทำให้หนอนตายได้

- สารออกฤทธิ์ในพืชสมุนไพรหลายชนิด มีพิษต่อหนอนโดยทำให้หนอนไม่กินอาหาร ไม่ลอกคราบ ไม่เข้าดักแด้ จึงทำให้หนอนตายได้

- ต้นไม้ผลที่ทรงพุ่มโปร่ง แสงแดดส่องผ่านจากยอดลงถึงพื้นดินโคนต้นได้ แสงแดดร้อนทำให้หนอนอยู่ไม่ได้ จนกระทั่งตายไปเอง

- หนอนเลือกกินพืชแต่ละชนิดถือเป็นสัญชาติญาณของสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติ การเคลือบส่วนของพืชที่หนอนชอบกินด้วยรสของพืชอื่นที่หนอนไม่กิน จะทำให้หนอนไม่ได้กินอาหาร ไม่นานหนอนก็ตายได้เช่นกัน

- หนอนเป็นสัตว์เหมือนกับกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆในโลกย่อมต้องการสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเพื่อการดำรงชีวิต มาตรการทำให้สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมเปลี่ยนแปลง จนเป็นสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม หนอนก็อยู่ไม่ได้หรือตายไปในที่สุด

- หนอนที่เจาะส่วนของพืชแล้วเข้าไปแฝงตัวอยู่ในซึ่งเป็นแหล่งอาหาร เช่น หนอนเจาะยอด หนอนเจาะดอก หนอนเจาะผล หนอนเจาะต้น ฯลฯ แม้สรีระของหนอนจะไม่แข็งแรงนัก แต่ก็ยากที่จะทำอันตรายต่อตัวหนอนนั้นได้โดยง่าย เปรียบเสมือนมีแหล่งกำบังอย่างแข็งแรง มาตรการกำจัดจึงไม่อาจนำมาใช้ได้ จำเป็นต้องใช้มาตรการอื่นแทน เช่น ป้องกันแม่ผีเสื้อเข้าวางไข่ กำจัดไข่แม่ผีเสือให้ไม่สามารถฟักออกเป็นตัวหนอนได้ หรือห่อผล เท่านั้น

- หนอนกออ้อย เกิดและแพร่ระบาดได้ดีเมื่อมีการใช้ปุ๋ยเคมีมากๆ ...(นักวิชาการนิคารากัว)

- หนอนและแมลง รู้และชอบที่จะเข้าทำลายพืชที่อ่อนแอมากกว่าพืชที่สมบูรณ์แข็งแรง และเชื้อโรค
สามารถแพร่ระบาดในพืชที่ไม่สมบูรณ์หรืออ่อนแอได้ดีและเร็วกว่าในพืชที่สมบูรณ์แข็งแรง...(สารคดีดิสคัพเวอรี่)



รอบรู้เรื่องโรค

- เชื้อโรคพืชในดินสามารถเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติเมื่อสภาพแวดล้อม (ดิน-น้ำ) มีความเป็นกรดจัดหรือด่างจัด และเชื้อโรคในดินจะดำรงชีวิตอยู่ไม่ได้เลยหรือตายไปเองเมื่อสภาพแวดล้อม (ดิน-น้ำ) เป็นกลาง

- การใส่สารเคมีกำจัดเชื้อโรคลงไปในดิน เมื่อใส่ลงไปเชื้อโรคในดินก็ตายได้ในทันที ครั้นสารเคมีนั้นหมดฤทธิ์ เชื้อโรคชุดใหม่ก็จะเกิดขึ้นมาแทน "เกิดใหม่ใส่อีก-เกิดอีกก็ใส่ใหม่" เป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ เรียกว่า ใส่ทีก็ตายที ตายแล้วก็เกิดใหม่ขึ้นมาแทน สาเหตุที่เชื้อชุดใหม่เกิดขึ้นมาแทนได้ทุกครั้งก็เพราะ "ดินยังเป็นกรดจัดหรือด่างจัด" อยู่นั่นเอง ในเมื่อสารเคมีที่ใส่ลงไปในดินส่วนใหญ่หรือเกือบทุกตัวมีสถานะเป็นกรดจัด มีเพียงบางตัวหรือส่วนน้อยเท่าที่นั้นที่เป็นด่างจัด เมื่อใส่สารที่เป็นกรดจัดลงไป จากดินที่เป็นกรดอยู่ก่อนแล้วจึงเท่ากับเพิ่มความเป็นกรดให้กับดินหนักขึ้นไปอีก หรือดินที่เคยเป็นด่างอยู่แล้ว เมื่อใส่สารที่เป็นด่างเพิ่มลงไป จึงกลายเป็นเพิ่มความเป็นด่างของดินให้หนักยิ่งขึ้น......ปุ๋ยเคมีประเภทให้ทางราก ทุกตัวทุกสูตรมีสถานะเป็นกรด การใส่ปุ๋ยเคมีลงไปมากๆ บ่อยๆ ย่อมเกิดการสะสมอยู่ในเนื้อดินเนื่องจากพืชนำไปใช้ไม่หมด เมื่อดินเป็นกรดจัดจึงเกิดเชื้อโรคในดินเป็นธรรมดา

- เชื้อโรคในดินเข้าสู่ลำต้นแล้ว ส่งผลให้เกิดอาการยางไหล เถาแตก ใบเหี่ยว ยอดกุด ต้นโทรม แคระแกร็น ดอกผลไม่สมบูรณ์

- เชื้อโรคที่เข้าทำลายส่วนต่างๆของพืชที่อยู่เหนือดินนั้น เป็นเชื้อโรคที่เกิดจากดินทั้งสิ้น จากเชื้อในดินเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะเจริญพัฒนาแตกตัวเป็นสปอร์ล่องลอยไปตามอากาศ เมื่อเกาะยึดส่วนของพืชได้ก็จะซึมแทรกเข้าสู่เนื้อพืชนั้น......เชื้อบางตัวอาศัยอยู่กับหยดน้ำฝน (เรียกว่า ราน้ำฝนหรือแอ็นแทร็คโนส) หรือหยดน้ำค้าง (เรียกว่า ราน้ำค้าง) ซึ่งทั้งน้ำค้างและน้ำฝนต่างก็มีสถานะเป็นกรดอ่อนๆ เมื่อหยดน้ำฝนหรือหยาดน้ำค้างแห้ง เชื้อโรคเหล่านั้นก็จะซึมแทรกเข้าสู่ภายในสรีระของพืชต่อไป

- เชื้อโรคพืชมี 4 กลุ่มใหญ่ๆ ประกอบด้วย "รา - แบคทีเรีย - ไวรัส - พลาสม่า" เป็นหลัก

- ลักษณะหรืออาการพืชที่ถูก "เชื้อรา" ทำลาย บริเวณกลางแผลจะแห้ง ไม่มีกลิ่น ขอบแผลฉ่ำเล็กน้อย แผลจะลุกลามขยายจากเดิมจนมีขนาดใหญ่ขึ้น พร้อมกับเกิดแผลใหม่ทั้งบริเวณใกล้เคียงและห่างออกไป.....เชื้อตัวนี้มักเกิดเองจากดินที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสม

- ลักษณะหรืออาการพืชที่ถูก "เชื้อแบคทีเรีย" เข้าทำลาย บริเวณกลางแผลจะเปียกฉ่ำเละและมีกลิ่นเหม็น แผลจะลุกลามขยายจากแผลเดิมจนมีขนาดใหญ่ขึ้น พร้อมกับเกิดแผลใหม่ทั้งบริเวณใกล้เคียงและห่างออกไป......เชื้อตัวนี้มักเกิดเองจากดินที่สถภาพแวดล้อมเหมาะสม

- ลักษณะหรืออาการพืชที่ถูก "เชื้อไวรัส" เข้าทำลาย บริเวณถูกทำลายจะลายด่าง ขาวซีด เป็นทางยาวตามความยาวของส่วนของพืช หรือไม่มีรูปทรงที่แน่นอน ขึ้นอยู่กับลักษณะของพืชส่วนที่เชื้อเข้าทำลาย.....เชื้อตัวนี้ส่วนหนึ่งเกิดจากพันธุ์กรรม กับบางส่วนมีแมลงเป็นพาหะ

- เชื้อโรคพืชมักเข้าทำลายแล้วขยายเผ่าพันธุ์ตามส่วนของพืชที่เป็นร่มเงา มีความชื้นสูง และเชื้อมักไม่ชอบแสงแดดหรือบริเวณที่มีอุณหภูมิสูง......เชื้อตัวนี้มักไม่เกิดจากดิน

- เชื้อโรคพืชหลายตัวที่ยังไม่มีแม้สารเคมีชนิดใดกำจัดได้ เช่น โรคตายพรายกล้วย. โรคใบแก้วส้ม. โรคยางไหล. โรคใบด่างมะละกอ. โรคใบขาวอ้อย. โรคใบขาวข้าว. โรคกระเจี๊ยบใบด่าง. โรคเถาแตก. ฯลฯ เชื้อโรคเหล่านี้มิได้เกิดเฉพาะในพืชที่กล่าวถึงเท่านั้น หากยังสามารถเกิดกับพืชอื่นๆ ได้อีกด้วย

- โรคไม่มีเชื้อ หมายถึง พืชมีลักษณะอาการเหมือนเป็นโรคที่เกิดจาก รา-แบคทีเรีย-ไวรัส แต่ในความเป็นจริงนั้นเกิดจากการ "ขาดสารอาหาร" ซึ่งการแก้ไขย่อมแตกต่างจากโรคที่มีเชื้ออย่างแน่นอน

- ทั้งโรคมีเชื้อและไม่มีเชื้อจะไม่สามารถทำลายพืชได้ หรือทำลายได้แต่เพียงเล็กน้อย ไม่ถึงระดับ "สูญเสียทางเศรษฐกิจ" หากพืชมีสมบูรณ์แข็งแรงแล้วเกิดเป็นภูมิต้านทานสู้กับเชื้อโรคเหล่านั้นได้


รอบรู้เรื่องโลก
1. ใช้สารเคมีโดยไม่รู้ประสิทธิภาพ หรือสรรพคุณที่แท้จริงของสารเคมีตัวนั้น
2. ใช้สารเคมีโดยไม่เข้าใจ "ชื่อสามัญ" สนใจแต่ชื่อ "การค้า"
3. ใช้สารเคมีครั้งละหลายๆตัวผสมกัน โดยไม่รู้ว่านอกจากทำให้สิ้นเปลืองแล้วยังทำให้ประสิทธิภาพเสื่อมอีกด้วย
4. ไม่มีความรู้ทางวิชาการที่บริสุทธิ์ในการบริหารจัดการศัตรูพืช หรือมีความรู้แค่โฆษณา
5. หลงช่วยเชียร์ให้สารเคมี โดยว่า "ยาแพงเพราะเป็นยาดี"
5. ใจร้อน ทุกอย่างต้องแรงอย่าง "ยาน็อค" จึงจะถือว่าได้ผล
7. ในฉลากข้างขวดกำหนดให้ใช้ 7 วัน/ครั้ง แต่ใช้จริง "ใช้ทุกวัน"
8. ปิดตัวเอง
9. มิจฉาทิฐิ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 11/05/2011 7:40 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลำไย.....

http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=98





การตัดแต่งกิ่งลำไย....

http://www.youtube.com/watch?v=NRykbypCNEM
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 11/05/2011 9:14 pm    ชื่อกระทู้: Re: ถามลุงคิม เรื่องลำไยครับ.... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

[quote="kimzagass"]จาก: menglovekai
ถึง: kimzagass

ตอบ: 10/05/2011 9:22 pm
ชื่อกระทู้: อยากสอบถามลุงคิมหน่อยครับ


สวัสดีครับลุงคิม
ผมเพิ่งมาเปิดเจอเวปของลุงคิมวันนี้แหล่ะ ทำให้ผมปิ๊งไอเดียหลากหลายมากๆ แต่ก็ยังงง ยังไงช่วยลุงคิมสั่งสอนผมหน่อยครับ
ตอบ :
ไม่กล้าสอนหนังสือสังฆราช (ว่ะ)




คือว่า ผมอายุ 30 ปีแล้วครับ เดิมเป็นวิศวกรรมกรเครื่องกล ทำงานที่ กทม.มาได้ 10 ปีแล้วครับ ทีนี้มาได้แฟนเป็นคนฝาง + เบื่อกรุงเทพ ก็เลยลาออกมาช่วยงานสวนของแฟนเป็นสวนลำไย
ตอบ :
น้อยกว่าลุงคิมหลายรอบ....





ผมอยู่สวนมาได้ ปีนึงแล้วครับ ความรู้เรื่องลำไยก็พอมีบ้าง ได้ทราบวงรอบของลำไย รู้จักยาฆ่าแมลง ปุ๋ยบ้าง พอผิวเผิน

การทำสวนยังเป็นแบบ ใช้ปุ๋ยใช้ยาอย่างโหด เชื่อบริษัทปุ๋ยยา คำพูดชาวบ้าน (เนื่องจากว่า เจ้าของเก่าเค้าเจ๊ง จากการปลูกส้มมาแล้วครับ) ไม่รู้ว่าเก่งจริงหรือเปล่า เพราะในที่สุดก็ หมดครับ ตอนนี้ก็เริ่มมีชีวภาพเข้ามาบ้างแล้ว เนื่องจากว่าถูกน่ะครับ
(ผมยังไม่ได้ มีส่วนได้เสียกับสวนนะครับ เพียงมาเรียนรู้และอาจจะได้สืบต่อไป แต่ผมอยากทำให้มัน มั่นคง ยั่งยืนกว่าที่เป็นอยู่น่ะครับ)



[img]http://image.free.in.th/show.php?id=6731c469f77b576ff17adb322de0bedd[/img]
ตอบ :
รูปไม่มา มาแต่ CODE นะ....เสียดาย




เริ่มด้วยคำถามเลยนะครับ
1. รูปที่แนบเป็นลำไยอายุประมาณ 25 ปี ปลูกพร้อมกัน ได้รับปุ๋ย ยา แบบเดียวกัน สังเกตุได้ว่า ต้นทางซ้ายยังสบายดี แต่ต้นทางขวา มีการเจริญทางกิ่งก้าน สั้นมากครับ กิ่งกระโดง ไม่ยืด จะเกาะกระจุกรวมกัน และบริเวณที่มีปัญหาจะเกาะกลุ่มกัน คือ แคระแกร็น ราวๆ 50 ต้นได้ ไม่มีน้ำขัง ---> แบบนี้เรียกว่า "โรคหงอย" หรือเปล่าครับ
ตอบ :
ลองๆบำรุงต้นด้วย "แม็กเนเซียม. - สังกะสี อะมิโน คีเลต" ซิ บางทีอะไรๆที่กำลังเป็นปัญหา อาจจะดีขึ้นนะ





2. ถ้าเกิดผมทำออกนอกฤดู แล้วฝนตกในช่วงที่ดอกบาน จะเสียหายใหมครับ เช่นดอกเน่า เพราะว่าปีนี้ ฝนมาเร็วมาก ทำให้ดอกลำไยที่สวน ร่วงหล่นเป็นจำนวนมาก และหน้าร้อนสั้นมากครับ ทำให้ดอกตัวเมียไม่มีเลย (ไม่ได้ราดสารนะครับ)
ตอบ :
ไม่ว่าไม้ผลอะไร ดอกออกมาแล้วเจอฝน อยู่ไม่ได้หรอก อย่างน้อยเกสรเปียก ผสมไม่ติดก็ร่วง ในน้ำฝนมี N. มาก ดอกจะร่วงแล้วแตกยอดแทน เขาถึงบอกไงว่า อย่าเปิดตาดอกช่วงมีฝน




3. การแต่งกิ่งจากรูปที่แนบมา ต้นทางซ้าย ลุงคิมว่ามันแน่นไปมั๊ยครับ ผมแต่งจนมันโปร่งแล้วนะครับ (แต่งเดือน พ.ย.) ถ้ามองจากด้านใน จะเห็นเลยว่าโปร่ง
ตอบ :
ถึงไม่มีรูปให้ดูก็พอเดาออก ลำไยข้างนอกทึบข้างในโปร่ง ถือว่า O.K. บำรุงให้ครบสูตร โดยเฉพาะ Zn - B อย่าให้ขาด (ดร.สุมิตรา ภูวโรดม สจล.) หมดฝนแล้วปรับ ซี/เอ็น เรโช ถ้าได้แล้งจัดๆซัก 15-20 วัน ก็น่าจะเปิดตาดอกได้




4. เคยเอาดินไปวิเคราะห์ ผลก็ออกมาปกติดีครับ
ตอบ :
ถ้าดินไม่มีปัญหา ก็แสดงว่าปัญหาอยู่ที่สารอาหาร




5. ใช้น้ำบาดาลเป็นหลักครับ เึคยวัดค่า EC ออกมา สะอาดกว่าน้ำประปาอีกครับ(ผมเคยปลูกผักไฮโดรมาบ้างก็เลยมีเครื่องวัดน่ะครับ)


เห็นว่า วันที่ 12 พ.ค. จะมีการอบรม คงไปแจมไม่ทัน
ไม่ทราบว่าคอร์สหน้ามีวันที่เท่าไหร่ครับ จะได้เตรียมคำถามไปยิงใส่ลุงเยอะๆ

ขอบคุณครับ


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 12/05/2011 7:32 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 12/05/2011 5:41 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)




ลำไยสีชมพู ที่ไร่กล้อมแกล้อม อายุต้นขึ้นปีที่ 5 ขนาดทรงพุ่ม สูง 4-5 ม. กว้าง 3-4 ม. ตัดแต่งกิ่งลดความสูงมาแล้ว 2 ครั้ง เพราะโตเร็วมากๆ

เคยให้ผลผลิตมาแล้ว 1 ครั้ง เมื่ออายุต้นได้ 2 ปี มาปีที่แล้ว ตอนอายุต้น 3 ปีไม่ยอมออกดอกให้ผลผลิต.....ราว 3 เดือนที่แล้ว ใบมีอาการสีเขียวอมเทา ไม่เขียวสดเหมือนเคย บ่งชัดว่า "ขาดธาตุอาหาร" แต่ไม่รู้ว่าขาดตัวไหน ถ้าอยากรู้ก็ต้องเอาใบกับดินไปวิเคราะห์ แล้วจะเอาไปวิเคราะห์ที่ไหน วิเคราะห์แล้วเมื่อไหร่จึงจะรู้ผล รู้ผลแล้วต้องทำยังไงต่อไปล่ะ......มืดแปดด้านจริงๆ

ตัดสินใจให้ "สังกะสี อะมิโน คีเลต" อัตรา 20 ซีซี./น้ำ 20 ล. 2 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน พอดี จากนั้นราว 10 วัน ใบกลายเป็นสีเขียวเข้มมันวาวขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด เขียวเข้มทุกใบทั้งต้น พยายามหาใบที่มีร่องรอยแบบเดิมก็ไม่พบแม้แต่ใบเดียว.....แปลกแต่จริง

สำรวจใบคู่สุดท้ายที่ปลายยอดเห็นว่าแก่จัด เลยให้สูตร "สะสมตาดอก" ทางใบ ทุก 7 วัน รวมได้ 3-4 รอบ ท่าทางอั้นตาดอกเริ่มมีให้เห็น ตัดสินใจเปิดตาดอกด้วย "13-0-46" เดี่ยวๆ สลับกับ "ไทเป" ห่างกัน 1 อาทิตย์ ให้ไปได้อย่างละรอบปรากฏ "ฝน" ลงมาซะนี่ ฝนหนักอยู่ 3 วันๆละครั้ง

แฮ่ะ แฮ่ะ....ตอนนี้ทำท่าเหมือนจะแตกใบอ่อน

กำลังวางแผนใช้สูตร "กดใบออนสู้ฝน" ว่าจะเอา 0-42-56 หรือ 0-52-34 หรือ 0-21-74 อย่างไหนจะชัวร์กว่ากัน
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©