-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-สปริงเกอร์โอเวอร์เฮด ไร่ทานตะวัน...
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ข้าวกล้องงอก ..... กาบา ......
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ข้าวกล้องงอก ..... กาบา ......

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 27/05/2011 10:06 pm    ชื่อกระทู้: ข้าวกล้องงอก ..... กาบา ...... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ข้าวกล้องงอก คืออะไร ?






ข้าวกล้องงอก (germinated brown rice หรือ “GABA-rice”) ถือเป็นนวัตกรรมหนึ่งที่กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจาก ข้าวกล้องงอก (germinated brown rice) เป็นการนำข้าวกล้องมาผ่านกระบวนการงอก ซึ่งโดยปกติแล้ว ในตัวข้าวกล้องเองประกอบด้วยสารอาหารจำนวนมาก เช่น ใยอาหาร กรดไฟติก (Phytic acid) วิตามินซี วิตามินอี และ GABA (gamma aminobutyric acid) ซึ่งช่วยป้องกันโรคต่างๆ เช่น โรคมะเร็ง เบาหวาน และช่วยในการควบคุมน้ำหนักตัว เป็นต้น เมื่อนำข้าวกล้องมาแช่น้ำเพื่อทำให้งอก จะทำให้ข้าวกล้องมีสารอาหาร โดยเฉพาะ GABA เพิ่มขึ้น ซึ่งนอกจากจะได้ประโยชน์จากการที่มีปริมาณสารอาหารที่สูงขึ้นแล้ว ยังทำให้ข้าวกล้องงอกที่หุงสุกมีเนื้อสัมผัสที่อ่อนนุ่ม รับประทานได้ง่ายกว่าข้าวกล้องธรรมดาอีกด้วย จึงง่ายแก่การหุงรับประทานได้โดยไม่ต้องผสมกับข้าวขาวตามความนิยมของผู้บริโภค

จากการศึกษาทางกายภาพและทางชีวเคมีพบว่า "เมล็ดข้าว" ประกอบด้วย เปลือกหุ้มเมล็ด หรือแกลบ (Hull หรือ Husk) ซึ่งจะหุ้มข้าวกล้อง ในเมล็ดข้าวกล้องประกอบด้วย จมูกข้าวหรือคัพภะ (Germ หรือ Embryo) รำข้าว (เยื่อหุ้มเมล็ด) และเมล็ดข้าวขาวหรือเมล็ดข้าวสาร (Endosperm) สารอาหารในเมล็ดข้าวประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรตเป็นส่วนประกอบหลัก โดยมีโปรตีน วิตามินบี วิตามินอี และแร่ธาตุที่แยกไปอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของเมล็ดข้าว นอกจากนี้ ยังพบสารอาหารประเภท ไขมันซึ่งพบได้ในรำข้าวเป็นส่วนใหญ่


ภาพข้าวกล้องงอก gaba rice ..................... ส่วนประกอบที่สำคัญของเมล็ดข้าว


ข้าวเมื่ออยู่ในสภาวะที่มีการเจริญเติบโตจะมีการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมี การเปลี่ยนแปลง จะเริ่มขึ้น เมื่อน้ำได้แทรกเข้าไปในเมล็ดข้าว โดยจะกระตุ้นให้เอนไซม์ภายในเมล็ดข้าวเกิดการทำงาน เมื่อเมล็ดข้าวเริ่มงอก (malting) สารอาหารที่ถูกเก็บไว้ในเมล็ดข้าวก็จะถูกย่อยสลายไปตามกระบวนการทางชีวเคมีจนเกิดเป็นสารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุลเล็กลง (oligosaccharide) และน้ำตาลรีดิวซ์ (reducing sugar) นอกจากนี้ โปรตีนภายในเมล็ดข้าวก็จะถูกย่อยให้เกิดเป็นกรด อะมิโนและเปปไทด์ รวมทั้งยังพบการการสะสมสารเคมีสำคัญต่าง ๆ เช่น แกมมาออริซานอล (gamma-orazynol) โทโคฟีรอล (tocopherol) โทโค ไตรอีนอล (tocotrienol) และโดยเฉพาะ สารแกมมาอะมิโนบิวทิริกแอซิด (gamma-aminobutyric acid) หรือที่รู้จักกันว่า "สารกาบา" (GABA)

ที่มา : ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี (Ubon Ratchathani Rice Research Center)



http://iblog.siamhrm.com/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%81-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD/







http://darling132.files.wordpress.com/2011/01/161461_73545.jpg


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 29/05/2011 6:19 am, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 27/05/2011 10:20 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)





ก่อนอื่นเรามารู้จักกับ การผลิตน้ำข้าวกล้องงอก กันเถอะ


ข้าวกล้อง หรือผลิตภัณฑ์จากข้าวกล้องแทนข้าวขาว(ข้าวสาร) เนื่องจากข้าวกล้องผ่านกรรมวิธีการสีเพียงครั้งเดียว เพื่อเอาเปลือก(แกลบ)ออกไป ทำให้ข้าวที่เหลือยังมีจมูกข้าว และเยื่อหุ้มเมล็ดข้าว(รำ)อยู่ครบถ้วน ซึ่งจมูกข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ดข้าวนี้ล้วนอุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และเส้นใยอาหาร จึงเป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่าข้าวประเภทอื่นๆ

ข้าวกล้องที่ไม่ได้ผ่านการถนอมคุณค่าอย่างถูกหลักวิชาการ หลังจากกะเทาะเปลือกแล้ว จะเสื่อมสภาพลงทุกๆวินาที ไม่ว่าจะบรรจุในภาชนะพิเศษสูญญากาศ หรือไม่ก็ตาม สาเหตุจากเอนไซน์ไลเปส ในข้าวกล้องจะไปย่อยกรดไขมัน มีผลให้กรดไขมันที่มีในข้าวกล้องเสื่อมสภาพลง จนมีกลิ่นเหม็นหืนในที่สุด นอกจากนี้ปฏิกิริยายังก่อให้เกิดปัญหาอนุมูลอิสระ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ร่างกายด้วย




ส่วนข้าวกล้องงอก ถือเป็นนวัตกรรมหนึ่งที่กำลังได้รับความสนใจ เนื่องจากเป็นข้าวกล้องที่ต้องผ่านกระบวนการงอกตามปกติ ในข้าวกล้องจะมีสารอาหาร จำนวนมาก เช่น ใยอาหาร กรดไฟติก วิตามินซี วิตามินอี และสารกาบา ซึ่งช่วยป้องกันโรคต่างๆเช่น โรคมะเร็ง เบาหวาน ช่วยคุมน้ำหนักตัว เป็นต้น

เมื่อนำข้าวกล้องมาแช่น้ำทำให้งอก จะทำให้ข้าวกล้องมีสารอาหารเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะสารกาบา นอกจากจะได้ประโยชน์จากการที่มีปริมาณสารอาหารสูงขึ้นอยู่แล้ว ยังทำให้ข้าวกล้องงอกที่หุงสุกมีเนื้อสัมผัสที่อ่อนนุ่ม รับประทานได้ง่ายกว่าข้าวกล้องธรรมดา จึงง่ายแก่การหุงรับประทานได้โดยไม่ต้องผสมกับข้าวขาว

จากการศึกษาทางกายภาพและทางชีวเคมีพบว่า เมล็ดข้าว ประกอบด้วยเปลือกหุ้มเมล็ด หรือแกลบ ซึ่งจะหุ้มข้าวกล้อง ในเมล็ดข้าวกล้องประกอบด้วย จมูกข้าว หรือ คัพภะ รำข้าว(เยื่อหุ้มเมล็ด) และเมล็ดข้าวขาวหรือเมล็ดข้าวสาร สารอาหารในเมล็ดข้าวประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต เป็นส่วนประกอบหลัก โดยมีโปรตีน วิตามินบี วิตามินอี และแร่ธาตุ ที่แยกไปอยู่ในส่วนต่างๆของเมล็ดข้าว นอกจากนี้ยังพบสารอาหารประเภทไขมัน ที่พบได้ในรำข้าวเป็นส่วนใหญ่

ข้าวเมื่ออยู่ในสภาวะที่มีการเจริญเติบโตจะมีการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมี การเปลี่นแปลงจะเริ่มขึ้น เมื่อน้ำได้แทรกเข้าไปในเมล็ดข้าว โดยจะกระตุ้นให้เอนไซน์ภายในเมล็ดข้าวเกิดการทำงาน เมื่อเมล็ดข้าวเริ่มงอก สารอาหารที่ถูกเก็บไว้ในเมล็ดข้าวก็จะถูกย่อยสลายไปตามกระบวนการทางชีวเคมี จนเกิดเป็นสารประเภทคาร์โบไฮเดรต ที่มีโมเลกุลเล็กลง และน้ำตาลรีดิวซ์ นอกจากนี้โปรตีนภายในเมล็ดข้าวก็จะถูกย่อยให้เกิดเป็น กรดอะมิโนและเปปไทด์ รวมทั้งยังพบการสะสมสารเคมีสำคัญๆ เช่น แกมมาออริซานอล โทโคฟีรอล โทโคไตรอีนอล และโดยเฉพาะสารแกมมาอะมิโนบิวทิริกแอซิด หรือ ที่รู้จักกันว่า สารกาบา หรือ GABA

สารกาบาเป็นกรดอะมิโน จากกระบวนการ decarbory lation ของกรดกลูตาบิก กรดนี้มีความสำคัญในการทำหน้าที่ สารสื่อประสาท ในระบบประสาทส่วนกลางและสารกาบา ยังเป็นสารสื่อประสาท ประเภทสารยับยั้ง โดยจะทำหน้าที่รักษาสมดุลในสมองที่ได้รับการกระตุ้น ช่วยทำให้สมองผ่อนคลาย และนอนหลับสบาย อีกทั้งยังทำหน้าที่ช่วยกระตุ้นต่อมไร้ท่อ ซึ่งทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่ช่วยในการเจริญเติบโต ทำให้เกิดการสร้างเนื้อเยื่อ ทำให้กล้ามเนื้อกระชับและเกิดสาร lipotropic ป้องกันการสะสมไขมัน

จากการศึกษาและวิจัยพบว่า การบริโภคข้าวกล้องงอก ที่มีสารกาบามากกว่าข้าวกล้องปกติ 15 เท่า จะสามารถป้องกันการทำลายสมอง เนื่องจากสารเบต้าอไมลอยด์เปปไทด์ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรค สูญเสียความทรงจำ( อัลไซเมอร์ ) ดังนั้นจึงได้มีการนำสารกาบา มาใช้ในวงการแพทย์เพื่อการรักษาโรคเกี่ยวกับระบบประสาทต่างๆ หลายโรคเช่นโรควิตกกังวล โรคนอนไม่หลับ โรคลงชัก เป็นต้น รวมทั้งผลการวิจัยด้านสุขภาพระบุว่า ข้าวกล้องงอกที่ประกอบด้วย สารกาบา มีผลช่วยลดความดันโลหิต ลดLDL ลดอาการอัลไซเมอร์ ลดน้ำหนัก ทำให้ผิวพรรณดี และใช้บำบัดโรคเกี่ยวกับระบบประสาทส่วนกลาง

หากประชาชนสนใจที่จะซื้อให้ไปซื้อได้ที่ศูนย์ศิลปาชีพทุกสาขา โดยเฉพาะที่ศูนย์ศิลปาชีพ จ.อุบลราชธานี จะมีจำหน่ายเป็นจำนวนมาก สำหรับกระแสข่าวนี้ที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในเวลาอันรวดเร็ว เพราะคนไทยบริโภคข้าวมาตลอดชีวิต แต่คนไทยส่วนใหญ่ยังไม่รู้ว่าการบริโภคที่ถูกต้องจะต้องทำอย่างไรให้คุณค่าทางโภชนาการ และสารอาหารยังอยู่ครบถ้วน โดยเฉพาะในข้าวกล้อง ซึ่งยังมีจมูกข้าว และเยื่อหุ้มเมล็ดข้าวที่เป็นสีน้ำตาลและสีแดง จะให้ประโยชน์ต่อร่างกายอย่างครบถ้วน ทั้งวิตามิน เกลือแร่ และแคลเซียม


วิธีทำน้ำข้าวกล้องงอกอย่างง่ายๆ มีขั้นตอนดังนี้
เริ่มจากเมล็ดข้าวกล้องใหม่ 100 กรัม หรือ 1 ขีด จะต้องซาวน้ำล้างเอากรวดทรายออกก่อนหนึ่งครั้ง แล้วนำไปแช่น้ำประมาณ 1 ลิตร ทิ้งไว้ประมาณ 5-6 ชม. ก็จะเกิดเป็นตุ่มงอกสีขาวขึ้นมาที่ เมล็ดข้าวพอมองเห็น จากนั้นให้เอาขึ้นนำมาผึ่งให้แห้ง แล้วนำไปต้มใช้ไฟปานกลางให้เดือด แต่อย่าให้เดือดมาก เพราะถ้าร้อนมากเกินไป สารกาบ้าจะถูกทำลายมาก หากเดือดพอดีให้เคี่ยวไปสัก 15-20 นาที สารกาบ้าจะยังอยู่ในข้าวถึง 70 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นปริมาณเพียงพอต่อร่างกาย

เสร็จแล้วใช้ผ้าขาวบาง หรือกระชอน กรองน้ำออกมาดื่ม เพิ่มรสชาติโดยโรยเกลือป่นให้ออกเค็มเล็กน้อย ก็จะเพิ่มความอร่อย นอกจากความหอมหวานที่มีอยู่ในน้ำข้าวกล้องงอกแล้ว ทั้งหมดนี้เป็นสูตรที่ศูนย์วิจัยพันธุ์ข้าวปทุมธานี ทำเพื่อทูลเกล้าฯ ถวายในหลวง ทุก 3 วัน

ส่วนการหุงข้าวกล้องให้ได้รสชาติอร่อย นุ่มลิ้น มีวิธีการดังนี้
จะต้องนำข้าวกล้องไปแช่น้ำสัก 1 ชั่วโมง ให้เมล็ดข้าวบานออกเล็กน้อยก็หุงได้ทันที จะทำให้เมล็ดข้าวนุ่ม น่ารับประทานมาก การหุงข้าว จะทำให้สารกาบ้าถูกทำลายไปประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ แต่กาบ้าที่เหลือก็เพียงพอต่อร่างกายที่จะต้องบริโภคทุกวันอยู่แล้ว แต่ถ้าเราทำให้ข้าวกล้องงอกขึ้นมา จะเพิ่มคุณค่าสารอาหารขึ้นอีก 10 เท่าเลยทีเดียว


พุดน้ำบุศย์
Administrator

http://www.baanpud.net/forum/viewtopic.php?f=16&t=329
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 27/05/2011 10:23 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)




http://srwpoemblog.blogspot.com/2010/07/blog-post_22.html



เสริม :
- ธรรมชาติของเมล็ดข้าวจะทะยอยแก่ เริ่มจากเมล็ดที่ปลายรวงก่อน แล้วต่อมาที่เมล็ดโคนรวง ตามลำดับ

- จังหวะที่รวงเริ่มโค้งลง (ก้ม) เมล็ดที่ปลายรวงได้พัฒนาตัวเองจากน้ำนมเป็นแป้งแล้ว แต่เมล็ดที่โคนรวงยังคงเป็นน้ำนมอยู่ .... จังหวะที่รวงเริ่มก้มนี้ ใบจะเริ่มเหลืองเนื่องจากหมดอายุขัย นั่นคือ หยุดสังเคราะห์อาหาร ซึ่งจะส่งผลให้เมล็ดที่โคนรวงไม่ได้รับสารอาหาร และสุดท้าย เมล็ดที่โคนรวงจึงเป็นข้าวลีบ คือ มีแต่แกลบ ไม่มีแป้ง

- แนวทางแก้ปัญหา ...... 1) บำรุงด้วย Mg เพื่อให้ใบคงเขียวต่อไป กระทั่งถึงวันเกี่ยว ..... 2) บำรุงด้วย Zn เพื่อสร้างแป้ง และ..... 3) บำรุงด้วย Ca เพื่อให้ต้นมีความสมบูรณ์สูง ส่งผลให้ผลผลิต (เมล็ดข้าว) มีคุณภาพดี .... หากบำรุงด้วยสารอาหาร "3 ตัวหลัก" นี้ครบถ้วน สม่ำเสมอ ก็จะได้เมล็ดข้าว ใส ไม่เป็นท้องปลาซิว, แกร่ง ไม่หักง่าย, เต็ม ได้น้ำหนักดี - ฯลฯ นอกจากนี้ยังบำรุงต้นข้าวไม่ให้สูง จนต้นล้มอีกด้วย ทั้งนี้ ต้นข้าวสูงมักให้รวงสั้น แต่ต้นข้าวเตี้ยมักให้รวงยาว



แนวทางบำรุง :
แบบอินทรีย์ 100% :
หลักการและเหตุผล.....
1. การปลูกข้าวเพื่อนำมาแปรรูปเป็น "ข้าวกล้องงอก หรือ กาบา" ให้ได้สารโภชนาการสูง ควรต้องใช้ "ข้าวพันธุ์พื้นเมือง" แต่เนื่องจาก ข้าวพันธุ์พื้นเมืองไม่ตอบสนองต่อ "สารสังเคราะห์ หรือ ปุ๋ย/ฮอร์โมนสังเคราะห์ หรือ ปุ๋ยเคมี" จึงจำเป็นต้องใช้ "สารอินทรีย์" เท่านั้น

2. ข้าวพันธุ์พื้นเมืองก็คือพืช และพืชทุกชนิดย่อมต้องการสารอาหารที่ประกอบด้วย ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ฮอร์โมน วิตามิน และอื่นๆ เพื่อพัฒนาการและการเจริญเติบโตเช่นเดียวกันกับพืชอื่นๆ เมื่อจะไม่ใช้สารอาหารที่เป็นสารสังเคราะห์ ก็ต้องใช้สารอาหารที่เป็นสารอินทรีย์แทน ซึ่งทั้งชนิดและปริมาณสารอาหารในสารอินทรีย์จะต้องตรงตามความต้องการของต้นข้าวด้วย


ด้วยข้อจำกัดด้านสารอาหารดังกล่าว สามารถแก้ไขได้โดยปฏิบัติ ดังนี้
- ใช้น้ำหมักชีวาพที่ทำมาจากอินทรีย์วัตถุที่ให้สารอาหารครบ หรือมากชนิดที่สุด เช่น ปลาทะเล เลือด ไขกระดูก นม มูลสัตว์ น้ำมะพร้าว สาหร่ายทะเล, ไคโตซาน, และจุลินทรีย์ ที่ผ่านกระบวนการหมักด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม

- เตรียมดินและปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรีย์วัตถุ ปุ๋ยพืชสด จุลินทรีย์ สารธรรมช่าติปรับปรุงบำรุงดิน ได้แก่ ปุ๋ยคอก ฟาง ต้นถั่ว ยิบซั่ม กากน้ำตาล

- หมักดินด้วยน้ำหมักชีวภาพที่คัดสรรค์วัสดุส่วนผสมที่ให้ธาตุอาหารมากชนิดเป็นกรณีพิเศษ เช่น ปลาทะเลให้ Mg-Mn-Zn-Cu-Na-AMINO มากกว่าปลาน้ำจืด, ไขกระดูก/นมให้ Ca-Mg, เลือดให้ N-Fe, ขี้ค้างคาวให้ P-K, ยิบซั่มให้ Ca-S, กากน้ำตาลเป็นแหล่งพลังงานสำหรับจุลินทรีย์ประจำถิ่น, น้ำมะพร้าวให้ไซโตไคนิน และเอสโตรเจน เป็นต้น

- บำรุงต้นข้าว...ทางดิน : ด้วยน้ำหมักชีวภาพ....ทางใบ : ด้วยฮอร์โมนธรรมชาติ เช่น น้ำมะพร้าวสด, น้ำตาลจากงวงตาลหรืองวงมะพร้าว, น้ำคั้นพืชสด, นมสัตว์สด, สาหร่ายทะเล, ไคโตซาน, ฯลฯ

- การป้องกันกำจัดศัตรูพืช พิจารณาเลือกใช้สารสกัดสมุนไพร และระบบ ไอพีเอ็ม.ตามความใหมาะสม



แบบ อินทรีย์ + เคมี :
หลัการและเหตุผล....
1. ข้าวสายพันธุ์กลุ่ม กข. (กรมการข้าว), ข้าวหอมจังหวัด (ปทุม-สุพรรณ-พิษณุโลก, ฯลฯ) ทั้งข้าวเหนียวและข้าวจ้าว ทุกสายพันธุ์ต่างก็เป็นข้าวพันธุ์ลูกผสมที่ผสมขึ้นมาใหม่ทั้งสิ้น ข้าวสายพันธุ์ลูกผสมเหล่านี้มีความต้องการสารอาหารในปริมาณที่มากกว่าข้าวสายพันธุ์พื้นเมือง ซึ่งปริมาณสารอาหารในน้ำหมักชีวภาพและปุ๋ยพืชสด แม้จะผลิตจากวัสดุส่วนผสมที่คัดสรรค์พิเศษดีเพียงใดก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการในการพัฒนาและเจริญเติบโตของต้นข้าวพันธุ์ลูกผสมได้

2. ใช้หลักการบำรุงแบบ "อินทรีย์นำ-เคมีเสริม-ตามความเหมาะสมของของข้าวแต่ละสายพันธุ และแต่ละสภาพแวดล้อม"

การปฏิบัติ :
- เตรียมดินและปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรีย์วัตถุและปุ๋ยพืชสด ได้แก่ ปุ๋ยคอก ฟาง ต้นถั่ว ยิบซั่ม

- หมักดินด้วยน้ำหมักชีวภาพที่ทำจากวัสดุส่วนผสมคัดสรรค์พิเศษ ดังกล่าว แล้วเติมเพิ่มด้วยสารอาหารที่เป็นสารสังเคราะห์ (เคมี) ได้แก่ 16-8-8 หรือ 30-10-10 + TE, + Mg + Zn + AMINO + B-1 + NAA

- เตรียมเมล็ดพันธุ์ โดยแช่เมล็ดพันธุ์ใน ไคโตซาน + TE

- บำรุงตามระยะพัฒนาการของต้นข้าว เช่น ระยะกล้า, ระบะแตกกอ, ระยะตั้งท้อง/ออกรวง, ระยะน้ำนม, และระยะก่อนเกี่ยว โดย ...... ทางใบ : ปุ๋ยเคมี + ฮอร์โมนวิทยาศาสตร์.....ทางดิน : น้ำหมักชีวภาพ + ปุ๋ยเคมี ..... ป้องกันกำจัดศัตรูพืช : สารสกัดสมุนไพร + สารเคมี ตามความเหมาะสม


หมายเหตุ :
- นาดำ (มือดำ, เครื่องดำ, เครื่องหยอด) ให้ผลผลิตดีกว่านาหว่านทุกประเภท
- การให้ธาตุอาหาร (ปุ๋ย/ฮอร์โมน/วิตามิน) ถูกสูตร ถูกอัตรา ถูกประมาณ ถูกช่วงพัฒนาการ แบบล่วงหน้า นอกจากส่งผลให้ต้นข้าวสมบูรณ์แข็งแรง ให้ผลผลิตดีแล้ว ยังเกิดเป็นภูมิต้านทานในต้นต่อสู้กับโรคแมลงศัตรูพืชได้อีกด้วย
- จากแฟ้มงานวิจัยระบุว่า นาข้าวต้องการปุ๋ยเคมีที่แท้จริงเพียง 1 ใน 4 ของปริมาณปุ๋ยที่บริษัทจำหน่ายโฆษณาแนะนำให้ใช้เท่านั้น
- มาตรการ "ลดปุ๋ยเคมี เพิ่มปุ๋ยอินทรีย์และสารปรับปรุงบำรุงดิน กับ ลดธาตุหลัก เพิ่มธาตุรอง ธาตุเสริม ฮอร์โมน และอื่นๆ" คือ แนวทางที่ถูกต้องที่สุด....คำว่า "ถูกต้อง" นี้ วัดที่พืชหรือต้นข้าว มิใช่วัดที่คน


ข้อห้ามสำหรับการปลูกข้าว....
- ห้ามยึดติด ทำแบบเดิมๆ เคยทำอย่างไรก็ยังคงทำอย่างนั้น
- ห้ามทำตามความเคยชิน
- ห้ามทำตามประเพณี
- ห้ามทำตามข้างบ้านที่ล้มเหลว
- ห้ามเชื่อ คนขายปุ๋ย ขายยา
- ห้ามทำโดยไม่มีการวางแผนล่วงหน้า โดยเฉพาะ ต้นทุน-การตลาด
- ห้ามเชื่ออะไร ทันทีทันใด โดยไม่มีเหตุผล หลักวิชาการ และประสบการณ์
- ฯลฯ


ลุงคิมครับผม.....



แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 29/05/2011 12:10 pm, แก้ไขทั้งหมด 10 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 28/05/2011 6:58 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

'ข้าวกล้องงอก' มี GABA สูง






ข้าว เป็นอาหารหลักของคนไทย และเป็นสินค้าส่งออกอันดับต้น ๆ ของประเทศ ที่สามารถนำเม็ดเงินเข้าประเทศได้ปีละไม่น้อยเลยทีเดียว นักวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ศึกษาสายพันธุ์ข้าวและพัฒนากรรมวิธีการผลิตข้าวกล้องงอกที่มี GABA สูง เพื่อเพิ่มมูลค่า เพิ่มประโยชน์ของข้าวกล้อง โดยพบว่า ข้าวกล้องมีสารอาหารมากกว่าข้าวทั่ว ๆ ไป สามารถป้องกันโรค และควบคุมน้ำหนักได้

พัชรี ตั้งตระกูล นักวิจัยจากสถาบัน ค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า คณะวิจัยได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้ศึกษาเรื่องการใช้ประโยชน์จากคัพภะข้าวและข้าวกล้องงอกเป็นอาหารสุขภาพเพื่อเพิ่มมูลค่า

เพื่อศึกษาปัจจัยการผลิต สายพันธุ์ข้าวและสภาวะการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมพัฒนากรรมวิธีการผลิตข้าวกล้องงอกที่มี GABA สูง (GABA enriched-rice) จากข้าวสายพันธุ์ต่าง ๆ และนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ

จากผลงานวิจัยพบว่า ในคัพภะข้าวเจ้า มี GABA สูงสุดในข้าวขาวดอกมะลิ 105 (37.2 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม) ส่วนข้าวเหนียวพบ GABA สูงสุดในพันธุ์ R258 (72.8 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม) ข้าวกล้องงอกจากพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 จะให้ปริมาณ GABA สูงกว่าข้าวพันธุ์อื่น

ซึ่งจากการศึกษาประโยชน์ของข้าวกล้องเพื่อการบริโภคที่ได้ประโยชน์สูงสุดทำให้ทราบว่า “ข้าวกล้อง” ซึ่งประกอบด้วยจมูกข้าว มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายจำนวนมาก อาทิ ใยอาหาร กรดไฟติก (Phytic acid) กรดเฟรูลิก (Ferulic acid) วิตามินบีและอี และ GABA (กรดแกมมา แอมิโนบิวทิริก) ซึ่งช่วยป้องกันโรคต่าง ๆ ได้ เช่น โรคมะเร็ง เบาหวาน และช่วยในการควบคุมน้ำหนักตัว

การบริโภคข้าวกล้องให้ได้ประโยชน์สูงสุดจะต้องนำข้าวกล้องมาแช่น้ำทำให้งอกเสียก่อน ซึ่งข้าวกล้องงอกนี้จะมีสารอาหารเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะ GABA ที่เพิ่มขึ้น ซึ่ง GABA เป็นกรดอะมิโน ชนิดหนึ่งที่ผลิตจากกระบวนการ decarboxylation ของกรดกลูตามิก กรดชนิดนี้มีบทบาทสำคัญในการเป็น neurotransmitter ในระบบประสาทส่วนกลาง มีการใช้กรดในการรักษาโรคเกี่ยวกับระบบประสาทหลายโรค เช่น โรควิตกกังวล นอนไม่หลับ โรคลมชัก และยังมีคุณสมบัติในการลดความดันโลหิตด้วย

คนไทยและผู้บริโภคข้าวเป็นอาหารหลักมักนิยมรับประทานข้าวหุงสุกจากข้าวทั้งเมล็ด และ ผู้ที่รับประทานข้าวกล้องเป็นประจำก็ยังมีน้อย เนื่องจากข้าวกล้องมีเนื้อสัมผัสที่แข็ง แต่หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหันมาบริโภคข้าวกล้องแทนข้าวขาวได้ก็จะทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์มากขึ้น ซึ่งการนำข้าวกล้องมาแช่น้ำให้งอก นอกจากจะได้ประโยชน์จากปริมาณ GABA ที่สูงขึ้นแล้ว ยังทำให้ข้าวกล้องมีเนื้อสัมผัสที่อ่อนนุ่มรับประทานได้ง่าย สำหรับข้าวกล้องที่สามารถนำมาแช่น้ำให้เกิดการงอกได้นั้น จะต้องเป็นข้าวกล้องที่ผ่านการกะเทาะเปลือกมาไม่นานเกิน 2 สัปดาห์

ซึ่งจากการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คณะวิจัยสามารถผลิตข้าวกล้องงอกที่ผ่านกรรมวิธีเพิ่ม GABA ให้สูงขึ้น พร้อมนำมาหุงต้มเพื่อรับประทานได้ทันที และนอกจากนั้นยังสามารถนำมาพัฒนา เป็นแป้งข้าวกล้องงอกและผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพ ได้หลายชนิด เช่น อาหารว่าง ขนมขบเคี้ยว ซุป เครื่องดื่ม ฯลฯ

ปริมาณ GABA ที่วิเคราะห์ได้ในข้าว กล้องของข้าวเจ้าพบสูงสุดในข้าวกล้องพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เมื่อนำเมล็ดข้าวกล้องขาวดอกมะลิ 105 ที่สมบูรณ์ ผ่านการคัดเลือกและทำความสะอาด นำมาแช่น้ำให้เกิดการงอกโดยควบคุมอุณหภูมิ เป็นเวลานาน 36-72 ชั่วโมง โดยมีการเปลี่ยนน้ำเป็นระยะ เพื่อป้องกันการเกิดการหมัก และการปนเปื้อนจากเชื้อจุลินทรีย์ จากนั้นใช้น้ำร้อน เพื่อหยุดปฏิกิริยาการงอก นำมาทำให้แห้งที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส เพื่อลดความชื้นของข้าวลงเหลือประมาณ 12-13% จะได้ข้าวกล้องงอกที่มีปริมาณ GABA สูงขึ้นเป็น 15.2-19.5 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม ซึ่งสูงกว่าข้าวกล้องปกติ

และขณะนี้คณะวิจัยกำลังดำเนินการขยายผลงานวิจัยสู่ระดับต้นแบบการผลิตข้าวกล้องงอกโดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร และกลุ่มธุรกิจข้าวส่งออก เพื่อร่วมพัฒนาสายการผลิตต้นแบบสำหรับผลิตผลิตภัณฑ์ GABA-Rice โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับข้าวไทย ยกระดับอุตสาหกรรมข้าวของประเทศไทย และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันกับต่างประเทศ โดยโรงงานและเครื่องจักรต้นแบบจะอยู่ที่สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และได้วางแผนการผลิตข้าวงอกและผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องเพื่อการค้าต่อไป



ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
โดย : หนูมะลิ (ทีมงาน TeeNee.Com)

http://variety.teenee.com/foodforbrain/12880.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 28/05/2011 7:09 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)














วิธีทำน้ำข้าวกล้องงอกด้วยตนเอง

1. คัดเลือกข้าวกล้อง โดยข้าวกล้องที่สามารถนำมาแช่น้ำให้เกิดการงอกได้ดีนั้นจะต้องเป็นข้าวกล้อง ใหม่ที่ผ่านการขัดสีเปลือกมาไม่เกิน 2 สัปดาห์ (ถ้าเป็นข้าวเก่า ส่วนปลายข้าวจะไม่สามารถงอกออกมาได้) มาซาวน้ำ ล้างเอากรวดทรายออกก่อนหนึ่งครั้ง

2.นำข้าวกล้องไปแช่น้ำประมาณ 1 ลิจร ทิ้งไว้ประมาณ 48-72 ชั่วโมง เปลี่ยนน้ำบ่อยครั้ง จะเกิดเป็นตุ่มงอกสีขาวขึ้นมาที่เมล็ดข้าว

3. จากนั้นนำข้าวขึ้นมาผึ่งให้แห้ง แล้วนำไปต้มให้เดือดโดยใช้ไฟปานกลาง แต่อย่าให้เดือดมากเพราะถ้าร้อนมากไปสารบางกาบาจะถูกทำลาย เมื่อเดือดพอดีแล้วให้เคี่ยวต่อไปสัก 15-20 นาที สารกาบาจะยังเหลืออยู้ถึง 70% ซึ่งเป็นปริมาณที่เพียงพอต่อร่างกาย

4. ใช้ผ้าขาวบางหรือตะแกรงกรองน้ำข้าวมารับประทานได้ทันที หรือจะเติมเกลือ น้ำตาลเล็กน้อยเพื่อให้ได้รสชาติที่ถูกปาก ไม่ควรเก็บน้ำข้าวกล้องงอกไว้หลายวัน เนื่องจากจะเกิดการบูดเสีย แนะนำให้ทำรับประทานวันต่อวัน


การบริโภคข้าวกล้องงอกที่มีสาร GABA มากกว่าข้าวกล้องปกติ 15 เท่า จะสามารถป้องกันการทำลายสมอง เนื่องจาก สารเบต้าอไมลอยด์เปปไทด์ (Beta-amyloid peptide) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคสูญเสียความทรงจำ (อัลไซเมอร์) ดังนั้น จึงได้มีการนำสาร GABA มาใช้ในวงการแพทย์เพื่อรักษาโรคเกี่ยวกับระบบประสาทต่างๆ หลายโรค เช่น โรควิตกกังวล โรคนอนไม่หลับ โรคลมชัก เป็นต้น



เอกสารอ้างอิง
ข้าวกล้องสดและข้าวกล้องงอก [ออนไลน์] [อ้างถึงวันที่ 2 เมษายน 2552] เข้าถึงได้จาก
http://ubn.ricethailand.go.th/documen/kitsana/brown/brown.thml

ดูแลสุขภาพด้วยน้ำข้าวกล้องงอก [ออนไลน์] [อ้างถึงวันที่ 2 เมษายน 2552] เข้าถึงได้จาก

http://www.iake.click2creation.com

ข้าวกล้องงอกมีประโยชน์ [ออนไลน์] [อ้างถึงวันที่ 2 เมษายน 2552] เข้าถึงได้จาก
http://brrd.ricethailandgo.th/www/index.php


บทความที่เกี่ยวข้อง
1 ข้าว
2 พันธ์ข้าวลูกผสม ผ่าทางตันวิกฤตข้าวไทย

*หมายเหตุ งานเขียนชิ้นนี้ ได้รับการคุ้มครองสิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสิทธิทางปัญญา โดยลิขสิทธิเป็นของผู้เขียน ที่ให้เกียรตินำเผยแพร่ผ่าน วิชาการ.คอม เรามีความยินดีและอนุญาตให้ทำซ้ำหรือเผยแพร่ต่อเพื่อประโยชน์ทางการศึกษาเท่านั้น กรุณาให้เกียรติผู้เขียน โดยอ้างชื่อผู้เขียนและแหล่งข้อมูลทุกครั้งที่ทำการเผยแพร่ต่อ ห้ามนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อในสื่อที่เอื้อประโยชน์ทางธุรกิจก่อนได้รับอนุญาต ขอขอบคุณที่ร่วมกันช่วยสร้างให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งปัญญา
สงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต ครีเอทีฟคอมมอนส์ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย.

ท่านสามารถนำเนื้อหาในส่วนบทความไปใช้ แสดง เผยแพร่ โดยต้องอ้างอิงที่มา ห้ามใช้เพื่อการค้าและห้ามดัดแปลง


http://www.vcharkarn.com/varticle/39050
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 28/05/2011 7:55 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

'ข้าวกล้องงอกผง' ของมูลนิธิศิลปาชีพ





สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้ง โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริบ้านยางน้อย
ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านยางน้อย หมู่ที่ 1,2 ถนนแจ้งสนิท กิโลเมตรที่ 32 ต.ก่อเอ้ อ.เขื่องใน จ.อุบล ราชธานี สำหรับโครงการ
ฟาร์มตัวอย่างฯ ก่อ ตั้งขึ้นในวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 โดยพระราชดำริใน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินี
นาถ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาอาชีพ ยกระดับรายได้ ป้องกันการอพยพแรงงานเข้าสู่เมืองหลวง อนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี
อันดีงาม พัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรบ้านยางน้อยและหมู่บ้านใกล้เคียง จำนวน 21 หมู่บ้าน

ทำให้ราษฎรในพื้นที่ได้ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ แหล่งสร้างงาน และสร้างรายได้ อันเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน
จากความยากจน โดยมีเนื้อที่ทั้งสิ้นประมาณ 424 ไร่ มีการแบ่งเนื้อที่ออกเป็นศูนย์ศิลปาชีพ 214 ไร่ และฟาร์มตัวอย่างใน
พระองค์ 210 ไร่ ขณะที่ฟาร์มตัวอย่างในพระองค์มีการจัดทำโครงการด้านเกษตรและปศุสัตว์หลากชนิด อาทิ การปลูกพืช
ปลอดสารพิษ แปลงสมุนไพร สวนตัวอย่างเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวพันธุ์บริสุทธิ์ การทดสอบปลูกพืชไร่ การพัฒนาการผลิต
เส้นไหม การ เพาะเห็ดเศรษฐกิจ การผลิตพืชหมุน เวียนในแปลงไม้ผล การปรับสภาพนิเวศป่าเสื่อมโทรมเพื่อประโยชน์
เชิงพาณิชย์ การปลูก ไม้ดอกไม้ประดับเพื่อการค้า การปศุสัตว์ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งการเรียนการสอน เกษตรแบบมี
ส่วนร่วม และเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่เปิดให้นักท่องเที่ยวทั่วไปได้เข้าชมกระบวนการผลิตและการจัดการด้านต่าง ๆ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดรูปแบบของพื้นที่การเกษตรแบบผสมผสานตามแนวทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ผลสำเร็จของบ้านยางน้อยที่เล็งเห็นได้จากโครงการนี้คือ การพัฒนามาเป็นแหล่งจ้างงานที่สำคัญที่ทำให้ราษฎรมีการทิ้งถิ่น
ฐานน้อยลง และช่วยเสริมรายได้ให้ชาวบ้านยางน้อย และบริเวณใกล้เคียงตามแนวพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระ
บรมราชินีนาถ ทั้งยังเป็นแหล่งผลิตอาหารคุณภาพและปลอดสารพิษที่ไม่เพียงมีขึ้นเพื่อการบริโภคของชาวไทย แต่ยังส่ง
ออกไปสู่ต่างประเทศอีกด้วย

สำหรับผลผลิตของบ้านยางน้อย ในปัจจุบันก็มีด้วยกันมากมาย ทั้งผ้ามัดหมี่ ผ้ากาบบัว เครื่องทองเหลือง ชุบเงินชุบทอง
เครื่องปั้นดินเผา ดอกไม้ประดิษฐ์จากโครงการศิลปาชีพ และผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงจากโครงการฟาร์มตัวอย่าง เช่น เนื้อ
สุกรและเป็ดเทศสายพันธุ์ดีจากจีน โดยเฉพาะ สุดยอดข้าว กล้องปรุง เพื่อเสริมภูมิต้านทาน

หนึ่งในผลิตภัณฑ์ของโครงการฟาร์มตัวอย่างที่พระองค์ทรงส่งเสริมการผลิต คือ ข้าวกล้องเพาะงอก เป็นข้าวกล้องที่ผ่าน
กรรม วิธี GERMINATION เพื่อเพิ่มคุณค่าทาง โภชนาการด้วยกระบวนการทางชีวเคมีตามธรรมชาติ โดยการนำข้าว
กล้องที่ได้จากการทดลองปลูก ซึ่งมีการควบคุมดูแลการเพาะปลูกอย่างใกล้ชิดจากนักวิชาการกรมวิชาการเกษตรประกอบ
ด้วย ข้าวขาวดอกมะลิ 105, ข้าวเหนียว กข.6, ข้าวหอมแดง และ ข้าวหอมกุหลาบ จากนั้นนำข้าวกล้องที่ได้ จากการเพาะ
ปลูกมาผ่าน กระบวนการเพาะเมล็ดข้าวจนงอกก่อนนำมา หุงต้ม เพื่อปรับปรุงโครงสร้างของโปรตีน และ คุณค่าทางโภชนา
การให้มี คุณภาพยิ่งขึ้นตามธรรมชาติ ภายในสภาวะที่มีการควบคุมความชื้น แสง อุณหภูมิ เวลาและออกซิเจนที่พอเหมาะ
จนได้ข้าวที่มีวิตามิน สูงอีกทั้งยังมีสาร GABA (กาบา) สูง ซึ่งเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระให้เซลล์ในร่างกาย ทำงานเป็นปกติ
มิให้เซลล์แก่เร็วผิดปกติ กลายเป็นสารมะเร็ง นอกจากนั้นยังเพิ่มสารแกมมาโอรายซานอล 3 เท่าของข้าวกล้องธรรมดา
และที่สำคัญยังเพิ่มแร่ธาตุที่จำเป็นพอเหมาะที่ร่างกายต้องการซึ่งเป็นอาหารที่มีคุณภาพยอดเยี่ยม สำหรับบำรุงสุขภาพ
เสริมภูมิคุ้มกัน ป้องกันโรคภัยตามธรรมชาติ อีกทั้งยังมีรสชาติอร่อยกลมกล่อม นุ่มนวล หุงต้มง่ายปลอดภัยจากสารเคมีและ
แบคทีเรีย เนื่องจากเป็นเมล็ดข้าวพันธุ์พิเศษที่ปลูกในหุบเขาสูง 900-1,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ท่ามกลางพื้นที่ปราศ
จากมลพิษในสิ่งแวดล้อมที่สะอาด และการเพาะเมล็ดจนงอกก่อนนำ มาบริโภคนั้น เมื่อสิ้นสุดกระบวนการจะเกิดการเปลี่ยน
แปลงเป็ปไตน์ ในข้าวที่มีแทนนินสูง...ข้าวที่มีแทนนินสูงแสดงถึงการมีแร่ธาตุสูง

ขณะนี้มีผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ข้าว กล้องงอกจำนวนมากได้แอบอ้างเบื้องสูง โดยนำชื่อมูลนิธิศิลปาชีพฯ มาแสวงหากำไรทาง
การค้า และระบุในฉลากสินค้าว่าเป็นข้าวกล้องงอกจากฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริ

ฉะนั้น ผู้บริโภคจึงควรระมัดระวัง ก่อนซื้อควรพิจารณาให้ละเอียดถี่ถ้วน เพราะผลิตภัณฑ์จากโครงการฟาร์มตัวอย่างของ
มูลนิธิศิลปาชีพ นอกจากจะมีข้าวกล้องเพาะงอกแล้ว ปัจจุบันมี ข้าวกล้องงอกผงพร้อมชงดื่มมี 3 สูตร คือ รสธรรมชาติ รส
กลมกล่อม และรสหวานละมุน…เท่านั้น.



http://kaewpanya.rmutl.ac.th/2552/index.php?option=com_content&view=article&id=1650:2009-11-26-07-37-17&catid=10:2009-07-21-03-16-58
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 29/05/2011 6:32 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

"ข้าวน้ำนม" คือ อะไร ?

น้ำนมข้าว คือ ข้าวอ่อนที่ได้จากข้าวระยะตั้งท้อง ชาวนาจะเกี่ยวข้าวบางส่วนในระยะนี้มาคั้นเอาน้ำ ซึ่งจะได้น้ำที่มีสีเขียวอ่อน กลิ่นหอม หวานมันโดยธรรมชาติ มาปรับแต่งรส เรียก "ข้าวสาคู" นำไปถายพระ

มีประโยชน์ได้แก่
1. เกลือแร่เพิ่มความสดชื่น
2. วิตามิน E ช่วยชะลอความแก่ ช่วยบำรุงผิวพรรณ
3. สารแอนโทโซยานินซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ


http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=05f922e584cf35b1








"นมข้าว" ฟื้นภูมิปัญญาให้ชาวบ้าน สร้างงานให้ชุมชน

สมัยก่อนคิดว่าทุกคนคงรู้จักคำว่า "มทุปายาท" ข้าวที่กวนด้วยน้ำนมวัว ซึ่งนางสุชาดานำไปถวายพระพุทธเจ้า ด้วยเข้าใจว่าเป็นเทวดา ส่วนในเมืองไทยครั้งโบราณก็ปรากฏว่ามีการนำข้าวมากวนจนเหนียวราดด้วยกระทิ กรรมวิธีการทำคล้าย ๆ กับการทำขนมเปียกปูน แต่ปัจจุบันได้สูญหายไป เพราะหาคนทำยาก รสชาดไม่อร่อย ประกอบกับวัฒนธรรมตะวันตกที่เข้าไปถึงหัวไร่หัวนา ค่านิยมในการบริโภคของคนจึงเปลี่ยนไปอย่างยากต่อการควบคุม ทำให้ลืมของดีเหล่านี้ไป

เป็นที่ดีใจว่า ขณะนี้คนกลุ่มหนึ่ง โดยกลุ่มนักศึกษา ผู้นำท้องถิ่น โปรแกรมพิเศษพัฒนาชุมชน สถาบันราชภัฎปทุมธานี ได้มองเห็นคุณค่าของ "นมข้าว" อันเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านมาแต่อดีต จึงได้ร่วมกันฟื้นอีกครั้งหนึ่ง โดยร่วมกันสร้างสรรค์ตามรูปแบบที่เรียกว่า "วิสาหกิจชุมชน"ซึ่งเป็นภาคการผลิตจากรากฐานของชุมชนที่เห็นคุณภาพชีวิต และสวัสดิการสังคมมากกว่าเรื่องธุรกิจ โดยกำหนดมาจากปัจจัยในท้องถิ่นคือภูมิปัญญา แรงงาน ความรู้และวัตถุดิบ เพื่อนำไปสู่ความเข้มแข็งขององค์กรชุมชน นักศึกษากลุ่มนี้ จะเป็นผู้นำท้องถิ่นในระดับต่าง ๆ กัน เช่น อบต. เทศบาล ตลอดจนผู้นำชุมชน ซึ่งรู้สภาพปัญหาและความต้องการของท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี

นายกิตติศักดิ์ ขุนทองไทย นักส่งเสริมธุรกิจชุมชน ปทุมธานี กล่าวว่า ไม่ใช่อยู่ ๆ ก็ผลิตน้ำนมข้าวกระยาคูกันเลย พวกเรากลุ่มนักศึกษาได้ร่วมกันวิเคราะห์ปัจจัยหลาย ๆ ตัวไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบ ภูมิความรู้ที่มีอยู่ในท้องถิ่น ตลอดจนถึงการตลาด ในที่สุดก็มาลงตัวที่การผลิต "น้ำนมข้าวกระยาคู" ซึ่งได้ลองผิดลองถูกกันอยู่หลายครั้ง จึงจะสำเร็จตามแบบฉบับโบราณ ในการผลิตนั้นจะนำข้าวที่มีอายุเพียง 3 เดือนมาบดคั้นเอาน้ำ ในสมัยก่อนเขาบดทั้งใบทั้งต้น ทำให้น้ำออกมาเป็นสีเขียว รสชาดไม่ดี เราจึงเอาเฉพาะรวงข้าวเท่านั้น พอได้น้ำนมข้าวมาแล้วเราก็จะไม่แต่งรสแต่สีอะไรทั้งสิ้น เพราะเราต้องการขายสุขภาพ ขายธรรมชาติแท้ ๆ การคัดเลือกข้าวเป็นเรื่องที่เราใส่ใจเป็นพิเศษ สิ่งแรกคือต้องเป็นข้าวที่มีอายุเพียง 3 เดือน เพราะเป็นช่วงที่ข้าวสะสมอาหารได้เต็มที่ ไม่เป็นแป้ง ประการถัดมาต้องเป็นข้าวที่ปลูกโดยไม่ใช้ปุ๋ยเคมี หรือใช้สารเคมีใด ๆ เพราะจะทำให้สารตกค้าง "น้ำนมข้าวที่ได้มาเก็บรักษาไว้ได้ไม่นาน เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค" ข้าวจากชาวนาที่นำเข้าโครงการจึงต้องเป็นผู้ที่ทำนาแบบธรรมชาติแท้ ๆ ด้วยเหตุนี้น้ำนมข้าวกระยาคูของเราจึงเป็นอาหารที่มีคุณค่าเทียบเท่าน้ำนมมารดา และยังมีสารอาหารที่ทำให้ผมดกกำได้อีกด้วย จะด้อยกว่าก็ตรงที่ น้ำนมมารดามีภูมิคุ้มกันโดยธรรมชาติมากกว่า ส่วนชาวนาที่เรารับซื้อข้าวอยู่ ซึ่งขณะที่มีอยู่ประมาณ 10 ราย ทั้งในจังหวัดปทุมธานี และอยุธยา ก็จะได้ประโยชน์หลายอย่าง เพราะเรารับซื้อโดยไม่ต้องรอราคาประกัน อีกอย่างหนึ่งข้าวในระยะ 3 เดือนเป็นช่วงที่เนื้อหอมจึงมักมีหนู แมลงชอบกิน การตัดข้าวในช่วงนี้จึงเป็นการประกันการสูญเสียข้าวไปได้เป็นอย่างดี

คุณกิตติศักดิ์ ขุนทองไทย ยังเล่าต่ออีกว่า ในขบวนการผลิตนั้นในระยะแรก ๆ เครื่องไม้เครื่องมือต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น เครื่องบด ที่ต้ม ที่ปิดผาขวดก็ปรับปรุงดัดแปลงกันขึ้นมาเอง ขณะนี้สามารถผลิตได้ถึงวันละ 2,000 ขวด เราจะมีการปรับปรุงระบบการผลิตให้ได้มาตราฐาน ซึ่งคาดว่ากลางเดือน พฤศจิกายนนี้ จะได้รับการรับรองมาตราฐานอาหารและยา (อ.ย.)

คุณอริสา จันทร์หอม ฝ่ายการตลาดของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปทุมธานี เล่าเพิ่มเติมว่า เราทดลองการตลาดแรก ๆ ก็ด้วยการนำไปออกร่านในงานต่าง ๆ ซึ่งได้รับการต้อนรับด้วยดี ลูกค้าส่วนใหญ่พูดว่า พอเห็นชื่อก็สะดุดตา ชื่อมันบ่งบอกถึงภูมิปัญญา ของดั้งเดิม ทุกวันนี้คนเริ่มหันมาสนใจสุขภาพกันมากและมีความเชื่อเป็นทุนอยู่แล้วว่า ของเดิม ของโบราณ ของที่ผลิตจาก ธรรมชาติจะเป็นของดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คำว่า "น้ำนมข้าว" คนที่พอมีอายุหน่อยจะรู้สรรพคุณอยู่แล้ว แต่ยังขาดสินค้าให้จับต้องได้ ดังนั้นพอเรานำ "น้ำนมข้าวกระยาคู" ออกตลาด คนเห็นก็บอกว่า "ใช่เลย" ขณะนี้ได้รับโอกาสจากปั๊มบางจากทั้งในกรุงเทพและปริมณฑลให้เรานำไป วางจำหน่ายได้ ซึ่งจะทำให้ตลาดกว้างขวางขึ้น

ก่อนจะลากลับ ในเที่ยงวันนั้นทดลองดื่ม "น้ำนมข้ากระยาคู" ไปหนึ่งขวดไม่อยากโม้ก็ต้องโม้ "สดชื่น และอิ่มท้องดีจริง ๆ" หน่วยงานหรือใครก็ตามที่สนใจนำน้ำนมข้าวกระยาคูไปจำหน่ายหรือต้องการศึกษาเรียนรู้ ติดต่อไปที่ นักศึกษากลุ่มผู้นำท้องถิ่น 0-2529-3914 หรือ คุณอริสา จันทร์หอม การตลาดของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ปทุมธานี 0-1430-7319



ที่มา: http://www.chumchonthai.or.th
http://region3.prd.go.th/problempoor/job13.htm


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 29/05/2011 8:04 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 29/05/2011 7:02 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)




ข้าวกำลังตั้งท้อง เม็ดออกเป็นสีเขียวปนเหลือง เต็มไปทั่วท้องนา มองดูไกลออกไปสุดลูกหูลูกตา สวยงามมาก

http://gotoknow.org/file/wanpen/DSCF0341.jpg



พอข้าวตั้งท้อง พวกเราก็จะได้กินขนมที่ทำมาจาก "น้ำนมข้าว" ทุกบ้านจะทำใส่บาตร แล้วก็นำมาแจกญาติๆที่กรุงเทพกินกันอร่อยมากๆ



http://pha.narak.com/topic.php?No=41646


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 29/05/2011 8:05 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 29/05/2011 5:37 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

“กาบ้าไรซ์” แปลงข้าวเป็นยาป้องกัน “อัลไซเมอร์”








“ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” สะท้อนความผูกพันของข้าวกับสังคมไทยได้เป็นอย่างดี ข้าวอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุนานาชนิด โดยเฉพาะข้าวกล้องซึ่งนอกจากจะเป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตที่อยู่คู่มื้ออาหารแบบไทยๆ แล้ว ในจมูกข้าวที่กำลังงอกยังเนืองแน่นไปด้วย “สารกาบ้า” กรดอะมิโนที่ช่วยชะลอการเสื่อมสภาพของเซลล์ประสาท ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้ดี จนเป็นที่นิยมในกลุ่มคนรักสุขภาพในไต้หวันและญี่ปุ่นมานานกว่า 40 ปี

นายชาญวิทย์ รัตนาศรี ผู้จัดการโครงการข้าวกล้องงอก “กาบ้า -ไรซ์” (GABA-Rice) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) เล่าว่า เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่ขึ้นชื่อในด้านการผลิตข้าวมาอย่างยาวนาน และเห็นเป็นช่องทางที่สร้างมูลค่าเพิ่มจากข้าวได้มาก ซึ่งคุณสมบัติของสารกาบ้า นอกจากจะเป็นสารสื่อประสาทที่ช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์แล้ว มันยังช่วยรักษาโรควิตกกังวล นอนไม่หลับ และโรคลมชักได้ด้วย

ธุรกิจนวัตกรรมข้าวกล้องหอมมะลิงอกเป็นรูปเป็นร่างขึ้นผ่านโครงการแปลงเทคโนโลยีเป็นทุนแก่บริษัทผู้ค้าข้าวของไทย 3 รายคือ บ.ปทุมไรซ์มิลล์ แอนด์ แกรนารี จำกัด (มหาชน) บ.เจียเม้ง จำกัด และ บ.ธวัชชัย อินเตอร์ไรซ์ จำกัด ด้วยการขยายผลงานวิจัยในห้องปฏิบัติการของ อ.พัชรี ตั้งตระกูล โดยมีโรงงานนำร่องอยู่ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน หลังจากธุรกิจข้าวกล้องงอกประสบความสำเร็จมาแล้วกับข้าวเมล็ดอ้วนสั้นในประเทศญี่ปุ่น

สำหรับงานวิจัยของ อ.พัชรี นักวิจัยจากสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ทำการวิจัยเรื่องข้าวกล้องงอกร่วมกับนักวิจัยจากศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์การเกษตรนานาชาติแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japan International Research Center for Agriculture Sciences) โดยได้รับการสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เพื่อทำการศึกษาใน 4 เรื่องคือ การสรรหาพันธุ์ข้าวไทยที่ให้สารกาบ้าสูง การหาเงื่อนไขการผลิตที่เหมาะสม การวิจัยอายุการเก็บรักษา และการวิจัยคุณประโยชน์ของข้าวกล้องอกในระดับเซลล์

”การวิจัยเบื้องต้นของ อ.พัชรี สำเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่ง คือหาพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมและสภาพการผลิตข้าวกล้องงอกที่มีประสิทธิภาพได้แล้ว ซึ่งข้าวหอมมะลิ 105 จะให้ข้าวกล้องงอกที่มีสารกาบ้ามากที่สุด ส่วนสภาวะที่จะทำให้ข้าวกล้องงอกได้ดีคือ ต้องนำข้าวกล้องหอมมะลิไปแช่น้ำราว 48 -72 ชั่วโมงในหม้อแช่ โดยมีการควบคุมอุณหภูมิ การไหลเวียนน้ำ ความดัน และความเป็นกรดด่างของน้ำ เพื่อให้ความชื้นจากน้ำไปกระตุ้นให้เมล็ดข้าวงอกและเปลี่ยนกรดกลูตามิกไปเป็นสารกาบ้าอันเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด ต่อมาเมื่อได้ข้าวกล้องงอกในขั้นตอนนี้แล้ว ก็ต้องทำให้ข้าวกล้องงอกหยุดการงอกต่อไป โดยอบแห้งให้มีความชื้นต่ำกว่า 14% ในหม้ออบแห้ง จากนั้นจึงบรรจุลงในถุงสุญญากาศพร้อมขายเป็นลำดับสุดท้าย” นายชาญวิทย์ กล่าว

ขั้นตอนวิจัยที่เหลือของ อ.พัชรี จึงเป็นการวิจัยหาอายุการเก็บรักษาและการศึกษาถึงประโยชน์ของสารกาบ้าในระดับเซลล์ แม้ว่าวิธีการผลิตดังกล่าวจะมีต้นทุนการผลิตสูงกว่าข้าวกล้องหอมมะลิธรรมดาราว 3 เท่าจาก 17,200 บาทไปเป็น 69,000 บาท/ตัน แต่มันก็ช่วยเพิ่มมูลค่าเมื่อส่งขายได้มากถึง 10 เท่าทีเดียว คือจากราคาขายข้าวกล้องหอมมะลิธรรมดา 30,000 บาท/ตัน ไปเป็น 300,000 บาท/ตัน โดยภายในเดือน ก.ค.นี้ ทั้ง 3 บริษัทข้างต้นยังจะได้ร่วมกันเปิดตัวบริษัทค้าข้าวกล้องงอกขึ้นเพื่อทำหน้าที่ขายข้าวดังกล่าวด้วย

ด้านนายสมเกียรติ มรรคยาธร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บ.ปทุมไรซ์มิลล์ฯ เผยว่า หลังจากได้ทำงานร่วมกันแล้วก็ทำให้ขณะนี้ที่โรงงานต้นแบบมีการพัฒนาเครื่องจักรการผลิตแล้วจำนวน 2 ชุด ทั้งในส่วนที่เป็นหม้อแช่ข้าวและหม้ออบแห้งข้าว มีกำลังการผลิตรวม 500 กก./วัน โดยจากการเก็บข้อมูลตลอด 6 เดือนที่ผ่านมายังไม่พบว่าข้าวกล้องงอกมีปัญหาเหม็นหืนเกิดขึ้นแต่อย่างใด ในทางกลับกันข้าวกล้องงอกที่ได้กลับมีเนื้อสัมผัสที่อ่อนนุ่มกว่าข้าวกล้องทั่วไป จึงง่ายแก่การหุงรับประทานได้โดยไม่ต้องผสมกับข้าวขาวตามความนิยมของผู้บริโภค

ขณะที่วิธีการหุง คุณค่าทางอาหาร ความหอม ความนุ่ม และรสอร่อยของข้าวกล้องหอมมะลิยังมีอยู่เหมือนเดิม ผู้บริโภคจึงวางใจได้ที่จะรับประทานข้าวกล้องงอกแทนข้าวกล้องธรรมดา โดยผลการวิจัยความพึงพอใจกับกลุ่มบริโภคเป้าหมายในตลาดของกลุ่มผู้รักสุขภาพประมาณ 50 คน พบว่าได้ผลตอบรับดีมาก สอดรับกับแนวโน้มของตลาดข้าวกล้องภายในประเทศที่กำลังขยายตัวขึ้น โดยในปีนี้ตลาดข้าวกล้องไทยเพิ่มขึ้นจากปี 49 ถึง 50%

”ส่วนตลาดต่างประเทศของข้าวกล้องงอกต้องถือว่าอยู่ในตลาดบนทั่วโลก โดยเฉพาะสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา หากโครงการข้าวกล้องงอกได้ผลน่าพอใจก็เชื่อว่าภายในปีหน้าก็จะร่วมกันสกัดสารกาบ้าบริสุทธิ์ซึ่งมีราคา กก.ละนับหมื่นบาทเพื่อส่งขายให้กับอุตสาหกรรมอาหารเสริมสุขภาพต่อไปด้วย” นายสมเกียรติ เล่าโดยทิ้งท้ายถึงอุตสาหกรรมอาหารเสริมสุขภาพและของขบเคี้ยวที่เคลือบสารกาบ้า ซึ่งในญี่ปุ่นได้มีการนำสารกาบ้าไปผสมกับขนมเคลือบช็อกโกแลตออกวางตลาดบ้างแล้ว


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
http://www.raksamong.com/?p=12
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 29/05/2011 5:44 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

นางสุชาดาถวายข้าวปายาส (ภาค 2)


เรื่องข้าว "ปายาส" มีกล่าวไว้ในพุทธประวัติ ถ้าจะเล่ารวมไว้ด้วยก็อาจเป็นประโยชน์ เพราะข้าวปายาสของไทยกับของอินเดียวจะเข้าใจต่างกัน ข้าวปายาสที่นางสุชาดาทำไปถวายพระพุทธเจ้านั้นจะทำอย่างไร ไม่มีใครทราบ พราหมณ์ ป.ส. ศาสตรีได้อธิบายถึงข้าวปายาสไว้ว่า

"ข้าวปายาส" ยืดออกจากศัพท์ว่า ปยส.ซึ่งแปลว่า น้ำนม บรรดาข้าวที่หุงด้วยน้ำนมเรียกว่าปายาสได้ทั้งนั้น เครื่องประกอบข้าวปายาสในคัมภีร์เก่า ๆ ไม่ปรากฎว่าใช้อะไรบ้าง แต่ที่ทำกันอยู่จนทุกวันนี้มียืนพื้นแต่ข้าวอย่าง ๑ นมสดอย่าง ๑ น้ำตาลอย่าง ๑ นอกนั้นก็มีเครื่องปรุงให้มีสีและกลิ่นหอม เช่น กระวาน และหญ้าฝรั่ง เป็นต้น

ตามเรื่องในพุทธประวัติว่าข้าวที่นางสุชาดาหุงนั้นเป็นข้าวใหม่ และนางไม่ได้ตั้งใจจะเอาไปถวายพระพุทธเจ้า เพราะตามลัทธิของนางต้องสมโภชข้าวใหม่ คือ เมื่อเก็บเกี่ยวเสร็จแล้วต้องทำข้าวปายาสไปบรวงสรวงที่ต้นโพธิ์ ตามธรรมเนียมก็ต้องเอาข้าวปายาสใส่ในใบโพธิ์ นำไปบูชาเทวดาจำพวกมรุต ซึ่งสิงสถิตอยู่ที่ต้นโพธิ์ ทีนี้วันนั้นนางสุชาดาไปพบพระพุทธเจ้าก็นึกว่า วันนี้ไปพบเทวดาเข้าแล้ว เพราะพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่โคนโพธิ์ นางสุชาดาจึงยกถาดข้าวปายาสเข้าไปถวาย (รออ่านต่อภาค 3 นะคะ)





http://www.oknation.net/blog/twelvesis/2010/08/08/entry-3
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
coachfactory121
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 03/03/2012
ตอบ: 1

ตอบตอบ: 03/03/2012 1:45 pm    ชื่อกระทู้: RE ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

OK that is a good blog go back to Coach factory outlet online?
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 06/03/2012 2:54 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ข้าวฮางงอก 'ร่องมาลี' ของดีอุบล



แม้ จ.อุบลราชธานีจะเป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิชั้นดี แต่ปัญหาปลูกได้แค่ปีละครั้ง เนื่องจากระบบชลประทานยังไม่ครอบคลุมทั่วถึง จึงทำให้เกษตรกรหันมาแปรรูปผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากข้าวหอมมะลิเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยเห็นได้จากกลุ่มแปรรูปข้าวฮางงอกหอมมะลิ "ร่องมาลี" หมู่ 8 ต.สระสมิง อ.วารินชำราบ ที่ปัจจุบันสามารถนำข้าวหอมมะลิมาแปรรูปเพิ่มมูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ มากกว่า 6 ชนิด

สมกิจ วรรณประภา ประธานกลุ่มแปรรูปข้าวฮางงอกหอมมะลิ "ร่องมาลี" บ้านสระสมิง หมู่ 8 ต.สระสมิง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี เปิดเผยถึงเหตุผลการรวมกลุ่มแปรรูปข้าวฮางงอกหอมมะลิ โดยระบุว่าชาวบ้านในหมู่บ้านส่วนใหญ่มีอาชีพทำนาปี เมื่อหมดหน้านาก็ปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อใช้บริโภคในครอบครัวเท่านั้น รายได้จากการทำนาก็เป็นที่จำกัดในการใช้สอย เนื่องจากค่าใช้จ่าย วัสดุอุปกรณ์ในการทำนา มีมูลค่าสูงขึ้น ผลผลิตที่ได้กลับมีราคาไม่ค่อยเป็นที่น่าพอใจ ทำให้บางปีรายได้ไม่พอค่าใช้จ่าย

ส่วนวิธีการทำนั้น เริ่มจากนำข้าวเปลือกหอมมะลิที่ผ่านกระบวนการล้างจนสะอาดไปเพาะลอกในสภาวะที่กำหนด จนกระทั่งร้อยละ 80 ของเมล็ดข้าวที่มีตุ่มงอกจากจมูกข้าวประมาณ 1 มิลลิเมตรและหยุดปฏิกิริยาการงอกด้วยวิธีทางกายภาพที่ปลอดภัยและรักษาปริมาณสาระสำคัญคือ กาบาและแกมมาออไรซานอลไว้ได้สูงสุด จากนั้นทำให้แห้งและสีด้วยเครื่องสีเฉพาะที่รักษาส่วนของจมูกข้าวเอาไว้ได้เกือบทั้งหมด ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ข้าวกล้องงอกหอมมะลิที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการและมีสารสำคัญสูงกว่าข้าวกล้องงอกชนิดเดียวกันที่ผลิตโดยใช้ข้าวกล้องเพาะงอก

"กลุ่มของเราตอนนี้มีสมาชิกอยู่ประมาณ 50 ราย ผลิตภัณฑ์ไม่ได้มีเฉพาะข้าวกล้องงอกอย่างเดียว แต่จะมีอีกหลายอย่างเช่น ไอศกรีมข้าวหอม ป๊อปไรท์ ข้าวหมากหอมมะลิ ข้าวตัง ฯลฯ ส่วนข้าวกล้องงอกบรรจุถุงถ้าเป็นข้าวหอมมะลิ 105 ราคา 80 บาทต่อ 1 กิโลกรัม หอมนิลครึ่งกิโล 60 บาท ดีกว่าขายเป็นข้าวเปลือกเยอะเลย ที่สำคัญสมาชิกจะได้มีเวลาพบปะพูดคุยกันเพื่อต่อยอดไปสู่กิจกรรมอื่นๆ ด้วย" สมกิจกล่าวถึงข้อดีของการจัดตั้งกลุ่ม ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ของจังหวัดตามโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพและได้มาตรฐานจีเอพี (GAP) โดยมีสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) หน่วยงานหลักในการขับเคลื่อน

เธอเผยต่อว่า การจัดทำโครงการนี้ก็เพื่อเพิ่มอาชีพให้แก่กลุ่มเกษตรกรในช่วงที่ไม่ได้ทำนาและยังเป็นการรณรงค์ให้ชุมชนเข้มแข็งใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นคือข้าวหอมมะลิเพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์และเสริมรายได้ในครอบครัว เป็นการส่งเสริมให้คนในท้องถิ่นรู้จักใช้เวลาว่างในการหารายได้เสริมและลดค่าใช้จ่ายในครอบครัวได้ โดยการร่วมมือกับทางราชการ องค์กรเอกชนและองค์กรอื่นๆ เพื่อส่งเสริมและปรับปรุงกิจการของกลุ่มเกษตรกร

ขณะที่ สัมพรต จันทร์หอม ผู้ช่วยเกษตรจังหวัดอุบลราชธานี ในฐานะหัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์สารสนเทศของจังหวัดกล่าวเสริมว่าสำหรับ จ.อุบลราชธานี จะนิยมปลูกข้าวหอมมะลิอยู่ 2 สายพันธุ์คือ ดอกมะลิ 105 และ กข.15 ซึ่งเป็นข้าวหอมมะลิพันธุ์ดั้งเดิม ผลเสียคืออัตราการเพิ่มของผลผลิตจะไม่เกิน 450 กิโลกรัมต่อไร่และปลูกได้ปีละครั้ง เพราะระบบชลประทานยังไม่ทั่วถึง

สัมพรตระบุต่อว่า เมื่อเพิ่มผลผลิตต่อไร่ทำได้แค่นี้ จึงหาวิธีเพิ่มมูลค่าด้วยการส่งเสริมให้ชาวบ้านรู้จักวิธีการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ จนเป็นที่มาของโครงการแปรสภาพ/แปรรูปข้าวหอมมะลิคุณภาพ โดยเริ่มจากแปรสภาพข้าวเปลือกเป็นข้าวสาร โดยโรงสีของสหกรณ์จังหวัด จากนั้นก็มาแปรรูปเป็นข้าวกล้องงอกและผลิตภัณฑ์ต่างๆ

สำหรับข้าวกล้องงอก "GABA-rice" ถือเป็นนวัตกรรมหนึ่งที่กำลังได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจาก กาบา ถือเป็นกรดอะมิโนที่ผลิตจากกระบวนการ decarboxylation ของกรดกลูตามิก ซึ่งกรดนี้มีบทบาทสำคัญในการทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาทประเภทสารยับยั้ง โดยจะทำหน้าที่รักษาความสมดุลในสมองที่ได้รับการกระตุ้น ซึ่งจะช่วยทำให้สมองเกิดการผ่อนคลายและนอนหลับสบาย ทั้งยังช่วยกระตุ้นสารผลิตฮอร์โมนที่ช่วยในการเจริญเติบโตและช่วยยับยั้งและป้องกันโรคต่างๆ อีกด้วย สนใจผลิตภัณฑ์กลุ่มโทร.08-8373-9026 ได้ทุกวัน


(ข้าวฮางงอก 'ร่องมาลี' ของดีอุบล ทางเสริมรายได้ชาวบ้านสระสมิง โดย...สุรัตน์ อัตตะ)

http://www.komchadluek.net/detail/20120203/121974/ข้าวฮางงอกร่องมาลีของดีอุบล.html


http://guideubon.com/news/view.php?t=77&s_id=1161&d_id=1161
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 06/03/2012 3:01 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เครื่องสีข้าวฮาง ฮางงอก เครื่องสีข้าวกล้อง กล้องงอก ขนาดเล็ก





ฝากหน่อยครับว่า ถ้าสนใจเครื่องสีข้าวฮาง เครื่องสีข้าวกล้อง ลองไปดูที่นี่ได้เลยครับ ราคาถูก คุณภาพดี

เครื่องสีข้าวฮาง ฮางงอก เครื่องสีข้าวกล้อง กล้องงอก ขนาดเล็ก ราคาถูก
เครื่องสีข้าวฮาง ข้าวฮางงอก เครื่องสีข้าวกล้อง ข้าวกล้องงอก ขนาดเล็ก ราคาถูก มากๆ

ราคา 30,000 บาทราคาถูกสุดๆ ถูกที่สุด ลดเหลือเพียง 27,000 บาท

รายละเอียดเพิ่มเติม http://rongsilek.blogspot.com/

ราคาพิเษศสุดๆ(ไม่รวมค่าจัดส่ง)
เครื่องสีข้าวกล้อง ข้าวฮางนี้ มีขนาดเล็ก กระทัดรัด
ใช้ระบบ 3 ลูกหิน จมูกข้าวไม่หักทำเป็นข้าวฮางได้
กำลังการผลิต 20 กก./ชม.

มอเตอร์ 1/3 แรงม้า
กว้าง 40 เซนติเมตร
ยาว 110 เซนติเมตร
สูง 110 เซนติเมตร
หนัก 40 กก.
กระบะบรรจุข้าวได้ครั้งละ 5-10 กก.

วีดีโอ รูปแบบโดยรวมของเครื่องสีข้าวฮาง สีข้าวกล้อง

สนใจรายละเอียด http://rongsilek.blogspot.com/
ติดต่อ ร้านชยพลธรรม(คุณใหม่) จัดส่งทั่วประเทศทางไปรษณีย์
โทร : 081-4432050 และ 080-2193049 (Mail : vblitfu1@gmail.com)



http://ubonratchathanicity.olxthailand.com/iid-284227394
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 06/03/2012 3:11 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ข้าวฮาง อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหาร


ข้าวฮาง...อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหารเมื่อครั้งไปเยือนจังหวัดอุบลราชธานี เมืองคนดี เมืองนักปราชญ์ เมืองที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ซึ่งตั้งอยู่ ณ ริมฝั่งแม่น้ำมูล เพื่อนคนหนึ่งเล่าถึง “ข้าวฮาง” ให้ฟัง จึงตั้งใจฟังด้วยไม่เคยได้ยินมาก่อน ครั้นกลับมาที่กรุงเทพฯ จึงสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับข้าวฮางทางอินเทอร์เน็ตแต่ก็ไม่มี ด้วยขณะนั้นยังไม่มีการผลิตเพื่อเป็นการค้า ชาวบ้านผลิตเพียงเพื่อรับประทานในครัวเรือนเท่านั้น แต่ปัจจุบันนี้ไม่ต้องห่วง เพราะข้าวฮางมีจำหน่ายโดยทั่วไป แม้กระทั่งศูนย์การค้าใหญ่ก็มีจำหน่ายเช่นกัน

ข้าวฮาง... อำพน ศิริคำ สำนักเกษตรจังหวัดขอนแก่น (http://khonkaen. doae.go.th/ Data/Agristory/ข้าวฮาง.doc) กล่าวว่า หากไปสอบถามคนเฒ่าคนแก่ในชนบท ก็จะได้รับคำตอบว่าเป็นการนำเอาข้าวในนาที่รวงยังไม่แก่ถึงระยะเก็บเกี่ยวมารับประทาน ซึ่งมีที่มาคือ คนในชนบทสมัยก่อนมีลูกมาก ทำนาอาศัยธรรมชาติเป็นหลัก ปีใดฝนดีก็ได้ข้าวมาก สามารถเก็บไว้รับประทานจนถึงฤดูเก็บเกี่ยว แต่ถ้าหากปีใดฝนแล้งได้รับผลผลิตน้อย ข้าวที่เก็บในยุ้งฉางหมดก่อนที่จะมีข้าวใหม่ออกมา แต่ก็หาวิธีที่จะนำเอาข้าวมารับประทานให้ได้ ก็ได้นำเอาข้าวที่อยู่ในระยะติดเมล็ดแล้วแต่ยังไม่ถึงช่วงเวลาเก็บเกี่ยว หรือยังไม่ถึงระยะพลับพลึง นำมาแช่น้ำ และนึ่งก่อนที่จะนำมาสีเป็นข้าวสาร และนำข้าวสารมาแช่น้ำและนึ่งรับประทานต่อไป ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งในการแก้ไขปัญหาขาดแคลนข้าวได้…เห็นได้อย่างชัดเจนว่า เป็นการแก้ปัญหาอย่างชาญฉลาดของชาวชนบทที่ไม่มีปัจจัยให้เอื้อแก่การแก้ปัญหามากนัก...

โสมฉาย จุ่นหัวโทน สำนักงานเกษตรอำเภอแวงใหญ่ จ.ขอนแก่น (http:// gotoknow.org/ blog/ agext23/169414) กล่าวว่า การสีข้าวฮางเป็นการเอาเปลือกหรือเอาแกลบออกโดยที่จมูกข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ดไม่แตกหักไปไหน เส้นใยและโปรตีนที่มีคุณค่าจึงอยู่ในเมล็ดครบเนื่องจากการนึ่งข้าวให้สุก เมล็ดข้าวจะเหนียวไม่มีเมล็ดแตกร้าว เมื่อนำไปสีจึงทำให้ข้าวฮางมีสีเหลือง สำหรับประเภทของข้าวฮาง 3 ชนิด คือ 1.ข้าวฮางระยะน้ำนม 2.ข้าวฮางที่นำข้าวเปลือกไปแช่น้ำ 24 ชั่วโมงแล้วนำไปนึ่ง และ 3. ข้าวฮางที่นำข้าวเปลือกไปแช่น้ำ 24 ชั่วโมงแล้วนำมาบ่ม 48 ชั่วโมง จากนั้นนำไปนึ่งเรียกว่า ข้าวฮางงอก

ข้าวฮาง เป็นข้าวที่เอาเปลือกหรือแกลบออกโดยที่จมูกข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ดไม่แตกหักไปไหนเพราะจมูกข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ดนี้ คือส่วนที่สะสมโปรตีนที่มีคุณค่าทางอาหาร

ข้าวกล้อง คือ ข้าวเปลือกที่ผ่านการ ขัดสีเพียงครั้งเดียวเพื่อเอาเปลือก (แกลบ) ออก โดยที่ยังมีจมูกข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ด ข้าว (รำ) อยู่ ข้าวที่ได้จึงมีสีน้ำตาลขุ่น จมูกข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ดข้าวนี้เป็นส่วนที่อุดมด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และเส้นใยอาหาร จึงเป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่าข้าวขัดขาว เมื่อหุงจะมีกลิ่นหอมมาก แต่เนื้อสัมผัสนุ่มนวลสู้ข้าวขาวไม่ได้

ข้าวซ้อมมือ เป็นชื่อเรียกข้าวที่เอาเปลือกออกโดยการตำ ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้ในสมัยโบราณ ชาวบ้านโดยทั่วไปจะ ใช้วิธีตำข้าวกินกันเองจึงเรียกข้าวที่ตำว่า “ข้าวซ้อมมือ” เริ่มจากการนำข้าวเปลือกมาสีเอาเปลือกออก จากนั้น นำมาตำเพื่อขจัดเยื่อหุ้มเมล็ดข้าวออกไปบางส่วน แล้วใช้กระด้งฝัดแยกเปลือกและรำออก ข้าวซ้อมมือหุงง่าย และเมื่อสุกจะนุ่มกว่าข้าวกล้อง (จาก www. neutron. rmutphysics.com/)

มีคนบอกว่าข้าวกล้องกับข้าวซ้อมมือเป็นข้าวอย่างเดียวกัน เพียงแต่ข้าวกล้อง ผ่านกระบวนการจากโรงสี ส่วนข้าวซ้อมมือผ่านกระบวนการจากครก... เท่านั้นเอง
ข้าวฮางมีโปรตีนประมาณร้อยละ 6-12 และยังมีวิตามินและเกลือแร่ ได้แก่ วิตามินบี 1 บี 2 ไนอะซิน (ช่วยรักษาระบบผิวหนังและระบบประสาทไว) ฟอสฟอรัส แคลเซียม ธาตุเหล็ก ส่วนข้าวสารนั้นโปรตีนหลุดหายไปแล้วกว่าร้อยละ 30
เปรียบเทียบให้เห็นง่าย ๆ ถ้ากินข้าวฮางสุก 1 กรัม จะได้โปรตีน 7.60 ส่วนข้าวสวยธรรมดามีโปรตีน 6.40 คิดแล้วข้าวฮางมีโปรตีนมากกว่าร้อยละ 19 เป็นต้น (ข้อมูลจาก www.baanmaha.com)

ฉะนั้น ข้าวฮางจึงอุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหารเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในปัจจุบัน ไม่ใช่ผลิตข้าวฮางธรรมดา แต่เป็นข้าวฮางสมุนไพร...อินทรีย์ อีกต่างหาก...ข้าวฮางนี้สามารถผลิตได้ทั้งข้าวเจ้าและข้าวเหนียว ฉะนั้น เวลาจะซื้อควรดูก่อนว่าจะรับประทานข้าวอะไร

มีหลายกลุ่มเกษตรกรที่ผลิตข้าวฮางจำหน่าย เช่น …ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ต.ใหม่นาเพียง อ.แวงใหญ่ จ.ขอน แก่น ที่ผลิตข้าวฮางสมุนไพรหอมมะลิอินทรีย์ออกจำหน่าย ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้บริโภคเป็นอย่างมากและก็มีแนวโน้มว่าจะได้รับความสนใจมากขึ้น กลุ่มส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนบ้านโคกสะอาด ต.นิคมพัฒนา อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู ที่ผลิตข้าวฮาง พร้อมด้วยแปรรูปสิ่งที่เหลือจากการผลิตข้าวฮางเพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าและเป็นการนำสิ่งที่เหลือมาทำให้เกิดประโยชน์อีก, กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านกุดเชียง ต.บ้านดง อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น ที่ผลิตข้าวฮางสมุนไพร…และมีกลุ่มอื่น ๆ อีกที่ไม่ได้กล่าวถึงในที่นี้ ผู้สนใจสามารถติดต่อได้ตามที่อยู่ข้างบน...รับประทานข้าวปกติยังมีประโยชน์ต่อร่างกาย หากรับประทานข้าวฮางก็ยิ่งมี ประโยชน์มากขึ้น ยิ่งรับประทานข้าวฮางงอกยิ่งมีประโยชน์ไปกันใหญ่.



ข่าวจาก นสพ.เดลินิวส์



http://ptt.brrd.in.th/web/index.php?option=com_content&view=article&id=87:2010-04-02-04-05-58&catid=2:2009-10-02-04-04-16&Itemid=42
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©