-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-แม่ปุ๋ย N - P - K
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - แม่ปุ๋ย N - P - K
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

แม่ปุ๋ย N - P - K

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 19/02/2011 9:09 pm    ชื่อกระทู้: แม่ปุ๋ย N - P - K ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

แม่ปุ๋ย N - P - K ..... มีดังนี้



1. ปุ๋ยไนโตรเจน
1) แอนไฮดรัสแอมโมเนีย (anhydrous ammonia) ได้จากการสังเคราะห์ก๊าซไฮโดรเจนและไนโตรเจน ภายใต้ความกดดันสูงและเย็นจัด ได้ก๊าซแอมโมเนียในรูปของของเหลว คือ NH3 ซึ่งมี N เท่ากับ 82 %

2) ยูเรีย (Urea) หรือคาร์บาไมด์ (carbamide) สูตรทางเคมี คือ CO(NH2)2มีไนโตรเจน 45 % (46%) เป็นเกร็ดขาวละลายน้ำได้ดี ดูดความชื้นได้ง่าย (ปุ๋ยชนิดนี้มีข้อเสีย คือ มีสารไบยูเร็ต (biuret) ผสมมา ซึ่งเป็นสารพิษทำให้ใบพืชไหม้ได้) ใส่ลงดินทำให้ดินเป็นด่าง

3) แอมโมเนียมซัลเฟต (ammonium sulfate) (NH4)2SO4 มีไนโตรเจน 21 % และมีกำมะถัน 24 % เป็นผลึกสีขาวคล้ายน้ำตาลทราย ละลายน้ำได้ดี ไม่ชื้นง่ายเนื่องจากดูดความชื้นจากอากาศได้น้อย ใส่ลงดิน จะทำให้ดินเป็นกรด

4) แอมโมเนียมคลอไรด์ (ammonium chloride) สูตรทางเคมี NH4Cl มีไนโตรเจน 26 % ผลึกสีขาว ละลายน้ำง่าย และดูดความชื้นได้ดี ใส่ลงดินมีปฏิกริยาเป็นกรด ปุ๋ยชนิดนี้เป็นผลพลอยได้จากโรงงานผลิตโซดาแอช (ปุ๋ยสีขาว) และโรงงานผลิตผงชูรส (ปุ๋ยสีน้ำตาล)

5) แอมโมเนียมไนเตรท (ammonium nitrate) มีสูตรทางเคมีว่า NH4NO3 มีไนโตรเจนร้อยละ 34 ละลายน้ำได้ดีมาก ดูดความชื้นง่ายมาก ดินเป็นกรดเมื่อใส่ปุ๋ยชนิดนี้ (ถ้าผสมปุ๋ยชนิดนี้กับกรดกำมะถัน จะทำให้เกิดระเบิดได้)

6) โซเดียมไนเตรท (Sodium nitrate) NaNO3 มีไนโตรเจนร้อยละ 16 เป็นผลึกสีขาวมัน ไวไฟ ละลายน้ำได้ดี มีปฏิกริยาเป็นด่างเมื่อใส่ลงดิน

7) แคลเซียมไซยานาไมด์ (Calcium cyanamide) CaCN2 มีไนโตรเจนร้อยละ 21 เป็นผงหรือผลึกสีดำ ดูดความชื้นน้อย ละลายน้ำให้ปฏิกริยาเป็นด่าง

Cool แคลเซียมไนเตรท (Calcium nitrate : Ca(NO3)2) มีไนโตรเจนร้อยละ 15 และมีแคลเซียมร้อยละ 20 เป็นผลึกสีขาว ละลายน้ำได้ดี ดูดความชื้นง่าย ใส่ลงดินให้ปฏิกริยาเป็นด่าง


2. ปุ๋ยฟอสฟอรัส
1) ordinary superphosphate : Ca(H2PO4)2.H2O มี P2O5, Ca และ S ร้อยละ 20, 20 และ 12 มีสมบัติเป็นกรด (pH = 3) ละลายน้ำได้ร้อยละ 85 และมีธาตุอื่นได้แก่ Fe, Mn, Ca, S และ Cu

2) concentrated superphosphate หรือ triple superphosphate (Ca(H2PO4)2.H2O) มี P2O5, Ca และ S ร้อยละ 45, 12-16 และ 1-2 มีสีขาว เทา หรือน้ำตาล ละลายน้ำได้ดี

3) phosphoric acid (H3PO4) เป็นกรด มี P2O5 ประมาณร้อยละ 30-60 ใช้ร่วมกับการให้น้ำ

4) superphosphoric acid (ประกอบด้วย orthophosphoric acid : H3PO3 pyrophosphoric acid : H4P2O7 และ triphosphorc acid : H5P3O10) มี P2O5 ประมาณร้อยละ 70-76 ใช้ในการทำปุ๋ยน้ำ

5) basic slag : (CaO)5. P2O5.SiO2 เป็น by product จากโรงงานถลุงเหล็ก มี P2O5 ร้อยละ 3-20

6) ammonium phosphate เป็นปุ๋ยที่ให้ทั้งไนโตรเจนและฟอสฟอรัส ปุ๋ยชนิดนี้ละลายน้ำดี มีผลตกค้างเป็นกรด มีปุ๋ยชนิดนี้ 3 ชนิด คือ

ก) mono-ammonium phosphate : NH4H2PO4 นิยมเรียกทั่วๆไปว่า แมพ (MAP) มีไนโตรเจนร้อยละ 18 มีฟอสเฟตร้อยละ 46 P2O5 มีปฏิกริยาเป็นกรด (pH = 4.6) เป็นแม่ปุ๋ยที่นิยมใช้ในการทำปุ๋ยผสมสูตรอื่นๆ หรือมีสูตร 18-46-0

ข) diammonium phosphate : (NH4)2HPO4 เรียกทั่วไปว่า แดพ (DAP) ไนโตรเจนร้อยละ 18 มีฟอสเฟตร้อยละ 46 P2O5 มีปฏิกริยาเป็นด่าง (pH = 7.3) มีสูตร 18-46-0

ค) ammophos : (monoammoniumphosphate + ammonium sulfate) ไนโตรเจนร้อยละ 16 มีฟอสเฟตร้อยละ 20 P2O5 มีสูตร 16-20-0




3. ปุ๋ยโพแตสเซียม
1) โพแตสเซียมคลอไรด์ (potassium chloride) หรือมิวริเอตออฟโพแตส (Muriate of potash) สูตรทางเคมี คือ KCl มี K ประมาณ 60 % K2O มีลักษณะคล้ายเกลือแกง (NaCl)

2) โพแตสเซียมซัลเฟต (potassium sulfate) สูตรทางเคมี คือ K2SO4 มีโพแตสเซียมประมาณ 50 % K2O มีสีขาวขุ่น ละลายน้ำได้น้อย และราคาแพง

3) potassium magnesium sulphate (K2SO4.2MgSO4 ) มีโพแตสเซียมประมาณ 22 % K2O Mg 11% มีชื่อเป็นการค้าว่า K-Mag หรือ Sul-Po-Mag

4) potassium nitrate (KNO3) มีไนโตรเจนร้อยละ 13 และโพแตสเซียมประมาณ 46 % K2O

5) โมโนโพแตสเซียมฟอสเฟต (mnopotassium phosphate : KH2PO4) มีฟอตเฟต 52 % P2O5 และโพแตสเซียม 32 % K2O





โดย: รศ. ดร.อรพิน เกิดชูชื่น [27 ม.ค. 2554 15:58]


http://www.chemtrack.org/Board-Detail.asp?TID=0&ID=3653


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 22/02/2011 7:36 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
mongkol
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 29/06/2010
ตอบ: 134

ตอบตอบ: 21/02/2011 5:07 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ่านข้อมูลดูแล้ว

ทำไมปุ๋ยเคมีทำให้ดินเป็นด่างได้ ?
.....แล้ว

ดินเป็นกรดจากการใส่ปุ๋ยเคมีมาได้อย่างไร ?

ใครมีคำตอบ หรือความเห็นใด
ช่วยๆกันออกความคิด ความเห็น ความรู้

ได้เป็นประโยชน์กับทุกคน
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 21/02/2011 5:41 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การใส่ปุ๋ยเคมีมากๆ ทำให้ดินเป็นกรดได้ จริงหรือไม่ ?



วันหนึ่งมีคนถามผมว่าการเติมปุ๋ยเคมีมากๆ มักจะทำให้ดินเป็นกรดได้อย่างไร ผมก็บอกว่าแล้วใครบอกละ ก็พวกเพื่อนที่ทำสวนด้วยเขาบอกมา -------ท่านอื่นๆคิดว่าอย่างไรครับ



สวัสดีครับคุณ Lordhades ยินดีที่รู้จักครับ
1. คุณkugan คำตอบน่าสนใจมากครับ แล้วคุณ lordhades อืมผมคิดตาม เข้าท่าครับ......ข้อนี้ผมขอเลือกของคุณ kugan แล้วกันครับ



จริงค่ะ แต่ไม่ใช่ปุ๋ยเคมีทุกชนิด
ปุ๋ยเคมี มีมากมายหลายชนิด มีองค์ประกอบทางเคมีแตกต่างกัน บางชนิดทำให้ดินเป็นกรด เป็นเบส หรืออาจไม่มีผลต่อ pHก็ได้
ปุ๋ยเคมีที่ทำให้ดินเป็นกรด คือพวก ปุ๋ยไนโตรเจนที่อยู่ในรูปแอมโมเนียม เช่น แอมโมเนียมคลอไรด์ โมโนแอมโมเนียมฟอสเฟต และแอมโมเนียมซัลเฟตต่าง ๆ



รู้แต่ว่าจะปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยอะไรหากใส่มากๆต้นไม้ก็ตายได้ แค่ใส่ใก้ลๆต้นมากๆบางทีใบยังเหลืองเลยค่ะ



จริงครับ เช่น (NH4)2 SO4 พืชก็ดึงแค่ แอมโมเนียมไปใช้ เพื่อเพิ่มไนโตรเจน ก็จะเหลือซัลเฟตไว้ ก็เป็นกรดได้ครับ ....... เผลอๆไปเจอ H2 ก็กลายเป็นซัลฟิวริกได้


จริง เพราะขบวนในการผลิตปุ๋ยเคมี จะต้องมีการใช้กรดเป็นพื้นฐานในการผลิต
ดังนั้นการใช้ปุ๋ยเคมีมากๆ หรือใช้ไม่ถูกวิธี จะทำให้ดินเป็นกรด



http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=0bc03b8acdf293f4
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 21/02/2011 5:49 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สาเหตุของการใช้ปุ๋ยเคมีทำให้ดินเสีย เพราะอะไร


การทำการเกษตรสมัยใหม่โดยใส่เฉพาะปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์กันอย่างกว้างขวางและต่อเนื่องเป็นเวลานานรวมถึงการใช้เคมีปราบศัตรูพืช ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าเชื้อรา ยากำจัดวัชพืช โดยมิได้มีการรักษาสภาพดิน หรือคำนึงถึงจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อพืชในดิน จนในที่สุดดินที่เคยอุดมสมบูรณ์ก็เสื่อมสภาพลง จนมีผลจนเกิดปัญหาที่เรียกว่า ดินเสีย

เมื่อเกิดปัญหาดินเสียโครงสร้างของดินจะเปลี่ยนแปลงทั้งทางกายภาพ ทางเคมี และทางชีววิทยา กล่าวคือ ดินจะแน่น หน้าดินแข็ง ทำให้ระบายน้ำและอากาศได้ไม่ดี ดินเป็นกรดจัดและมีค่า (pH) ต่ำ ซึ่งเป็นบ่อเกิดของโรคพืชในดินต่างๆ นอกจากนี้ อินทรียวัตถุ และฮิวมัสที่มีประโยชน์ในดินก็ลดน้อยลงหรือแทบจะหมดไปปัญหาเหล่านี้สามารถสังเกตุได้จากเวลาเราซื้อต้นไม้จากผู้ขาย เราจะพบว่าทั้งลำต้น ใบ ดอก มีความแข็งแรง ใหญ่และสมบูรณ์ แต่พอนำกลับมาเลี้ยงได้ประมาณ 1-2 เดือน เราจะเริ่มสังเกตุว่า ใบเริ่มเล็กลง ดอกก็เริ่มเล็กลง ทั้งๆที่เราใส่ปุ๋ยเคมีสูตรต่างๆ ตามที่ผู้ขายแนะนำทั้ง เร่งดอก เร่งใบแต่ก็ยังไม่เป็นผล ต้นไม้กลับไม่ตอบสนองต่อปุ๋ยเคมีที่เราใส่เพิ่มให้ เนื่องจากดินได้เสื่อมสภาพแล้ว


ปุ๋ยเคมีทำให้ดินเสีย เพราะคนใช้ใช้ไม่เป็น ตามหลักวิชาการไม่เคยมีใครเขาบอกให้ใส่ปุ๋ยเคมีอย่างเดียวตั้งแต่แรกแล้ว ไม่รู้จะบ่นกันทำไมว่ามันทำให้ดินเสียเบื่อจริงๆ ลัทธิปุ๋ยอินทรีย์ ดินที่ดี มันต้องดี ทั้ง ฟิสิกซ์ เคมี ชีวะ ถ้ามันเรียนสายศิลป์มาเก่งแต่ภาษามันก็เป็นดินดีไม่ได้ ปุ๋ยเคมีโดยทั่วไป มันให้แต่ธาตุอาหารหลัก พอให้ไปนานๆมันก็ขาดธาตุเล็กธาตุน้อย แถมปุ๋ยบางชนิดมันทำให้ดินเป็นกรด เรียกว่าเป็น acid forming fertilizer เช่นพวกที่มีแอมโมเนียม มันก็ทำให้ดินเป็นกรด ปุ๋ยที่มันมีไอ้พวกไออนบวกเดียว ลบเดียว Na+ Cl- มันก็ทำให้ดินยึดติดกันเกิดเป็นดินดาน รากชอนไชได้ยาก แล้วเกลือที่มันสะสมก็เป็นพิษต่อพืช พอใจรึยัง แต่สิ่งเหล่านี้มันปรับปรุงได้ ถ้ารู้จักใส่สารอินทรีย์ ใส่ปูน ใส่โดโลไมท์ ยิบซ่ำ ในปริมาณพอเหมาะอย่างสม่ำเสมอ ไม่จำเป็นต้องเลิกใช้ปุ๋ยเคมีเลย

ที่มันใช้กันไม่เป็นเพราะพืชพันธ์หนัก มันตอบสนองต่อปุ๋ยดี ยิ่งใส่มันก็ยิ่งงาม ครอปต่อไปมันก็เลยใส่กันใหญ่ พอนานๆเข้าเริ่มมีผลเสียอย่างที่ว่า แต่ใครมันจะไปรู้ว่าเกิดจากอะไร ระบบเกษตรมันเป็นระบบเปิด มันไม่ได้อยู่ในหลอดแก้วที่ควบคุมได้ทุกอย่าง คนใช้มันก็คิดว่า ปีนี้อาจจะน้ำแล้ง แมลงระบาท ไม่ได้ไปแก้ที่ดิน พอ crop หน้าก็อัดปุ๋ยให้มากขึ้นอีก เพราะเคยเห็นมาว่าพืชมันตอบสนองต่อปุ๋ยดี พอใส่มากๆเข้ามันก็เริ่มส่งผลเสียแก้ไม่ตก

กว่าจะรู้ตัวก็ไปหวังพึ่งเกษตรอินทรีย์ พอใส่ปุ๋ยอินทรีย์ หรือใส่ปูนเข้าไปปรับปรุงดิน ทีนี้พืชมันก็งามสิ เพราะมันมีปุ๋ยเก่าที่เคยสะสมไว้ตอนที่มันใส่กันเกินบวกกับสารอินทรีย์ ที่มันเข้าไปปรับปรุงดิน ไอ้คนปลูกมันก็เลยคิดว่า เกษตรอินทรีย์มันดี จริิงๆแล้วมันกินบุญเก่าอยู่ บางคนโชคดีกระแสมันแรง อบตเขาก็จัดให้มีการอบรมได้ค่าวิทยากรมามากกว่าผลผลิตที่ขายได้ยิ่งชอบใจเชียร์กันใหญ่ แต่ไม่เคยคิดเลยว่าผลผลิตที่เก็บเกี่ยวออกไปมันพาธาตุอาหารไปเท่าไรแล้ว เมื่อธาตุอาหารมันหมด พืชก็ไม่งาม จะอินทรีย์ก็อินทรีย์ไปเถอะแต่ต้องมาคิดด้วยว่าไอ้ที่ใส่มันเพียงพอไหม

ฝากเรียนท่านที่ขายปุ๋ยอินทร์ด้วย ถ้าจะบอกว่าปุ๋ยเคมีไม่ดี น่าจะไปเล่นงานเรื่องความยั่งยืน คือว่าปู๋ยมันเป็นแร่ ขุดขึ้นมาซักวันก็หมด ดีกว่าที่จะไปโจมตีจุดเสียของปุ๋ยเคมี เพราะมันไม่ได้ให้ความรู้กับใคร มันหากินได้ไม่ยั่งยืน


เพราะสารเคมี ที่มีอยู่ในปุ๋ย ดูจดังเช่นอาหารสำเร็จรูปที่ปรุงแต่งด้วยเคมีต่างๆ เลียนแบบของจริง อร่อยแป๊ปเดียว ราคาสูง สะดวก แต่คุณค่าน้อยกว่า ความสดน้อยกว่า อาหารที่ทำสุกใหม่ๆๆ

ปุ๋ยเคมี NPK Uria -- เปรียบเหมือนใส่สารเร่ง ..... เร่งสปีดเต็มที่ทุกอย่างได้ผลทันตาเห็น แต่สิ่งที่เหลือหล่ะ
แผ่นดินแตก แห้ง ดินเกาะเป็นก้อนแข็ง อนุภาคของน้ำไม่สามารถชอนไชได้ทั่วถึง

เคยเห็นไหม ต้นไม้ปลูกไปเรื่อยๆ ... สักพักผอมแกรนสูงชลูดไม่ค่อยแตกกิ่งก้านด้านข้าง ผอมมากๆๆ เพราะอะไร ....... เพราะรากอ่อนๆๆ ชอนไชไม่ลงลึก ติดอยู่เพียงแค่ระดับหนึ่งเท่านั้นเอง

คิดดูแล้วกัน คล้ายเส้นเลือดที่กระจายตัว จะให้แพร่ไปอย่างกว้างขวาง ก็ชนเอาตอแข็งๆๆ กำแพงเคมีที่สกัดกั้นดาวรุ่งดวงใหม่เหล่านี้ ... จึงมีแต่จบชีวิตก็แล้วกัน โอกาสแผ่ไปด้านข้างแทบจะไม่มีเลย และเป้นไปได้ที่ต่อไปผลผลิตย่อมลดลง และกลายเป็นแคระแกรน บางครั้งพอใหญ่ขึ้นมาก็ล้มทั้งยืนก็มีให้เห็นบ่อยๆๆ เพราะรากฐานไม่มั่นคงแล้ว ชีวิตที่เหลือจะเป็นอย่างไร....

ปุ๋ยอินทรีย์ ค่อยๆ หมัก ค่อยๆ รินธาตุอาหารไปเรื่อยๆ ทั้งยังเติมพวกหนอน ไส้เดือนพากันมาพรวนดินให้ต้นไม้เรา ......... ผลผลิตยังไงก็ได้อยู่แล้ว และมั่นคง แุถมเผ่าพันธุ์สามารถแพร่กระจายไป .... แม้ช้าหน่อย แต่ปลอดภัย และยั่งยืน ........ ประหยัดเงิน และมั่นคงในอนาคตด้วย ..... ให้เป้นการค่อยๆ ขยับขยายไร่นา

อย่ามัวคิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว จะต้องอนุรักษ์ดูแลเฝ้าถนอม เห็นความสำคัญด้วยนะ

การใช้ปุ๋ยเคมีนานๆทำให้ดินเสียเพราะ เป็นเพียงแค่การเพิ่มแร่ธาตุในดิน แต่ไม่สามารถเพิ่มอินทรีย์วัตถุในดินได้

อินทรีย์วัตถุเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้อนุภาคของดินมีการเกาะตัวเป็นเม็ดดิน หรือที่เรียกว่า soil aggregate ช่วยเพิ่มความสามารถในการระบายน้ำและอากาศในดิน ส่งผลให้ดิน จัดเป็นดินที่ดี

แต่ถ้าใส่ปุ๋ยเคมี โดยไม่มีการเพิ่มอินทรีย์วัตถุควบคู่ไปด้วย ในวันข้างหน้าเมื่ออินทรีย์วัตถุในดินซึ่งเปรียบเสมือนกาวคอยยึดอนุภาคดินให้เป็นเม็ดดินหมดไป จะทำให้ดินเสื่อมสภาพ อนุภาคดินไม่ยึดเกาะกันเป็นเม็ดดิน ซึ่งสังเกตได้จากดินทราย และดินเหนียว ดินทราย และดินเหนียวเป็นดินที่มีอินทรีย์วัตถุในดินน้อย ทำให้ดินหนียวมีอนุภาคดินที่เกาะตัวกันแน่น ไม่ระบายอากาศ และไม่ระบายน้ำส่วนดินทราย ระบายอากาศได้ดี แต่ไม่อุ้มน้ำ ดินทั้ง 2 ชนิดจัดเป็นดินที่เสีย แต่ถ้าสังเกตุจากดินร่วน ซึ่งเป็นดินที่มีอินทรีย์วัตถุมาก จะมีอนุภาคดินเหนียวเกาะตัวกันกับอนุภาคดินทราย ทำให้มีคุณสมบัติอุ้มน้ำดี และมีช่อง่างระหว่างเม็ดดินช่วยในการระบายอากาศ ทำให้เป็นดินอุดมสมบูรณ์

นอกจากนี้สารตกค้างจากปุ๋ยเคมีจะส่งผลให้ค่า pH ของดินเปลี่ยน

ใช้ปุ๋ยเคมี แล้วดินเสียเพราะ
มีขบวนการตั้งต้นมาจากก๊าซแอมโมเนีย (NH3) ซึ่งได้มาจากการสังเคราะห์น้ำมัน และเมื่อนำมารวมกับ กรด โดยผ่านขบวนการทางเคมีจะได้ธาตุ N P K ออกมาเป็นแม่ปุ๋ยสูตรต่างๆ แล้วแต่ว่าจะใช้ กรด ชนิดใดในการทำปฏิกิริยา

ดังนั้นหากใช้ปุ๋ยเคมีไม่ถูกวิธีจะทำให้ดินเป็นกรด
ดูเพิ่มได้ที่ http://www.buffalobow.com/beliefchem.html


ตอบง่ายๆให้คุณเข้าใจเลย สาเหตุที่ดินเสียเพราะสารเติมเต็มที่เร็กว่า"ฟิลเลอร์"ได้มาจากอิฐ หิน ดิน เศษวัสดุก่อสร้าง แล้วบดให้ละเอียดแล้วจึงทำการอัดเม็ดแล้วเคลือบด้วยปุ๋ยเคมีไงครับ คุณปัญ


http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=6a344b4ca4e8900d&clk=wttpcts


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 22/02/2011 7:47 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 21/02/2011 7:02 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หน่วยที่ 5

ปุ๋ยและการใช้ปุ๋ย


ความหมายของปุ๋ย
พระราชบัญญัติปุ๋ย พ . ศ.2518 ได้ให้คำจำกัดความไว้ คือ เป็นสารอินทรีย์หรืออนินทรีย์ไม่ว่าจะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรือทำขึ้นก็ตาม สำหรับใช้เป็นธาตุอาหารแก่พืชได้ ไม่ว่าโดยวิธีใด หรือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในดินเพื่อบำรุงความเติบโตแก่พืช

การจำแนกประเภทของปุ๋ย
โดยทั่วไปปุ๋ยแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ ปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์

1. ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยพวกนี้ ได้แก่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด น้ำหมักชีวภาพ และวัสดุเหลือใช้จากโรงงานอุตสาหกรรมบางชนิดซึ่งเป็นพวกอินทรียสาร

ปุ๋ยคอก ปุ๋ยคอกที่สำคัญ ได้แก่ ขี้หมู ขี้เป็ด ขี้ไก่ ฯลฯ

ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพวกนี้ ได้แก่ ปุ๋ยที่เราได้จากการหมักเศษพืช เช่น หญ้าแห้ง ใบไม้ ฟางข้าว ฯลฯ ให้เน่าเปื่อยเสียก่อนจึงนำไปใส่ในดินเป็นปุ๋ย

ปุ๋ยพืชสด เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากการปลูกพืชบำรุงดิน ซึ่งได้แก่ พืชตระกูลถั่ว
น้ำหมักชีวภาพ


2. ปุ๋ยเคมี หรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ปุ๋ยพวกนี้เป็นปุ๋ยที่ได้มาจากการผลิตหรือสังเคราะห์ทางอุตสาหกรรมจากแร่ธาตุต่าง ๆ ที่ได้ตามธรรมชาติ หรือเป็นผลพลอยได้ของโรงงานอุตสาหกรรมบางชนิด ปุ๋ยเคมีมีอยู่ 2 ประเภท คือ

ปุ๋ยเดี่ยวหรือแม่ปุ๋ย ได้แก่ ปุ๋ยพวกแอมโมเนียมซัลเฟต โพแทสเซียมคลอไรด์ ฯลฯ ซึ่งเป็นสารประกอบทางเคมี มีธาตุอาหาร ปุ๋ยคือ N หรือ P หรือ K เป็นองค์ประกอบอยู่ด้วยหนึ่งหรือสองธาตุแล้วแต่ชนิดของสารประกอบที่เป็นแม่ปุ๋ยนั้น ๆ

ปุ๋ยผสม ได้แก่ ปุ๋ยที่มีการนำเอาแม่ปุ๋ยหลาย ๆ ชนิดมาผสมรวมกัน เพื่อให้ปุ๋ยที่ผสมได้มีปริมาณและสัดส่วนของธาตุอาหาร N P และ K ตามที่ต้องการ

สมบัติบางประการของปุ๋ยเคมี
ปุ๋ยเคมีแต่ละชนิดมีสมบัติแตกต่างกันไป การพิจารณาว่าปุ๋ยชนิดใดมีสมบัติเหมาะกับวัตถุประสงค์และเหตุการณ์เป็นเรื่องที่สำคัญในการใช้ปุ๋ยให้มีประสิทธิภาพ และจะช่วยให้รู้จักเกี่ยวกับการเก็บรักษาปุ๋ยเหล่านี้ไว้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

เรโชปุ๋ย (fertilizer ratio) หมายถึง สัดส่วนอย่างต่ำซึ่งเป็นเลขลงตัวน้อยๆ ระหว่างปริมาณของไนโตรเจนทั้งหมด ฟอสฟอริกแอซิดที่เป็นประโยชน์ และโพแตสเซียมที่ละลายน้ำได้ ซึ่งมีอยู่ในปุ๋ย

ปุ๋ยธาตุอาหารไม่ครบ (incomplete fertilizer) ได้แก่ ปุ๋ยที่มีธาตุปุ๋ยไม่ครบทั้งสามธาตุ

ปุ๋ยธาตุอาหารครบ (complete fertilizer) ได้แก่ ปุ๋ยที่มีธาตุปุ๋ยครบทั้งสามธาตุ

ปุ๋ยเป็นกรด (acid forming fertilizer) ได้แก่ ปุ๋ยที่ใส่ลงไปในดินติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจะให้ผลตกค้างของความเป็นกรดเกิดขึ้นกับดินนั้น

ปุ๋ยเป็นด่าง (basic forming fertilizer) ได้แก่ ปุ๋ยที่ใส่ลงไปในดินติดต่อกันระยะเวลาหนึ่งแล้วมีผลทำให้ดินมีปฏิกิริยาเป็นด่างมากขึ้น

สารเติมน้ำหนัก (filler) ได้แก่ สารที่ใส่ลงไปในปุ๋ยผสมเพื่อปรับน้ำหนักของปุ๋ยผสมให้ครบร้อยหน่วยน้ำหนัก และทำให้ปุ๋ยผสมนั้นมีสูตรตามต้องการ


เปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี

ข้อได้เปรียบของปุ๋ยอินทรีย์
1. ช่วยปรับปรุงดินให้ดีขึ้น โดยเฉพาะคุณสมบัติทางฟิสิกส์ของดิน เช่น ความโปร่ง ความร่วนซุย ความสามารถในการอุ้มน้ำและธาตุอาหารพืชของดินดีขึ้น ข้อดีข้อนี้ปุ๋ยอินทรีย์ทำได้แต่ผู้เดียว ปุ๋ยเคมีไม่สามารถทำได้

2. อยู่ในดินได้นาน และค่อย ๆ ปลดปล่อยธาตุอาหารพืชอย่างช้า ๆ

3. เมื่อใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี จะส่งเสริมปุ๋ยเคมีให้เป็นประโยชน์แก่พืชอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น


ข้อเสียเปรียบของปุ๋ยอินทรีย์
1. มีปริมาณธาตุอาหารพืชต่ำ
2. ใช้เวลานานกว่าปุ๋ยเคมีในการปลดปล่อยธาตุอาหารที่จะเป็นประโยชน์ให้แก่พืช
3. ราคาแพงกว่าปุ๋ยเคมีเมื่อคิดเทียบในแง่ราคาต่อหน่วยน้ำหนักของธาตุอาหารพืช

ข้อได้เปรียบของปุ๋ยเคมี
1. มีปริมาณธาตุอาหารต่อหน่วยน้ำหนักของปุ๋ยสูง ใช้ปริมาณเพียงเล็กน้อยก็พอ
2. ราคาถูกเมื่อคิดเป็นราคาต่อหน่วยน้ำหนักของธาตุอาหาร ประกอบกับการขนส่งและเก็บรักษาสะดวกมาก
3. ให้ผลทางด้านธาตุอาหารเร็วกว่าปุ๋ยอินทรีย์


ข้อเสียเปรียบของปุ๋ยเคมี
1. ปุ๋ยเคมีไม่มีคุณสมบัติปรับปรุงสภาพทางฟิสิกส์ของดิน กล่าวคือ ไม่ทำให้ดินโปร่งร่วนซุยเหมือนปุ๋ยอินทรีย์

2. ปุ๋ยไนโตรเจนในรูปแอมโมเนียม ถ้าใช้เป็นปริมาณมาก และติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ จะทำให้ดินเป็นกรดเพิ่มขึ้น จำเป็นต้องใช้ปูนช่วยแก้ความเป็นกรดของดิน

3. การใช้ปุ๋ยเคมีต้องระมัดระวัง เพราะปุ๋ยเคมีทุกชนิดมีความเค็ม ถ้าใส่มากหรือใส่ติดโคนต้นพืชจะเป็นอันตรายต่อต้นพืชและการงอกของเมล็ด

4. ผู้ใช้ต้องมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องปุ๋ยเคมีพอสมควร มิฉะนั้นอาจมีผลเสียหายต่อพืชและต่อภาวะเศรษฐกิจของผู้ใช้ ( ทำให้ขาดทุนได้)



หลักเกณฑ์ในการใส่ปุ๋ย
หลักเกณฑ์ในการใส่ปุ๋ยที่ควรจะยึดถือเป็นแนวทางดังนี้คือ
1. ชนิดของปุ๋ยที่ใช้ถูกต้อง
2. ใช้ปุ๋ยในปริมาณที่เหมาะสม
3. ใส่ปุ๋ยให้พืชขณะที่พืชต้องการ ถือเป็นหลักเกณฑ์กว้างๆ ได้คือ
3.1 การแบ่งใส่ปุ๋ยมักจะให้ผลดีกว่าการใส่ปุ๋ยจำนวนเดียวกันนั้นเพียงครั้งเดียว
3.2 การใส่ครั้งแรกคือใส่ตอนปลูก ควรใส่แต่น้อย
3.3 การใส่ครั้งที่สองควรใส่ระยะที่พืชกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว
4. ใส่ปุ๋ยให้พืชตรงจุดที่พืชสามารถดึงดูดไปใช้ประโยชน์ได้ง่ายและเร็วที่สุด




http://203.158.100.140/science-news/index.php?option=com_content&task=view&id=705&Itemid=4&limit=1&limitstart=4
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©