-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-รับสมัคร แปลงทดสอบ ฮิวมิค แอซิด...
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - รับสมัคร แปลงทดสอบ ฮิวมิค แอซิด...
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

รับสมัคร แปลงทดสอบ ฮิวมิค แอซิด...

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
mongkol
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 29/06/2010
ตอบ: 134

ตอบตอบ: 18/02/2011 4:25 pm    ชื่อกระทู้: รับสมัคร แปลงทดสอบ ฮิวมิค แอซิด... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อยากขอรบกวนสมาชิกที่สนใจจะทดสอบ "สารฮิวมิค" จากสเปน
ทางบริษัทตัวแทนสินค้ามีตัวอย่างมาให้ทดสอบฟรีก่อนออกจำหน่าย

ผมรับงานมาทำ ตั้งใจว่าจะทำการทดสอบในพืชหลักคือ นาข้าว อ้อย
มันสำปะหลัง มะม่วง ลำไย รวมจำนวนแปลง100 แปลง
ขนาดแปลงละ 2-3 ไร่ ถ้าเป็นไม้ผลอยู่ในราว 25 ต้นต่อราย

ตัวอย่างผลิตภัณท์จะเข้ามาในราวเมษา เริ่มทดลองได้คงราวต้นพฤษภา
ฮิวมิคตัวนี้เจ้าของเขาแจ้งมาว่าใช้ฉีดพ่นทางใบ

สมาชิกท่านไดสนใจติดต่อที่ผม mr_mhong@hotmail.com

งานนี้เขารับประกันความเสียหายที่เกิดจากสินค้าด้วย
การได้รับสิทธิทดสอบฟรี ผมจะใช้จากลำดับการติดต่อเข้ามา
และความสะดวกของทีมงานที่จะเข้าไปติดต่อ


ขอบคุณครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
mongkol
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 29/06/2010
ตอบ: 134

ตอบตอบ: 18/02/2011 4:28 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เพิ่มเติมเบอร์ติดต่อ 089-144-1112
ในกรณีที่อยากได้ข้อมูลเพิ่มเติม
ฝากเบอร์ให้โทรกลับได้เลยครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 18/02/2011 9:11 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ฮิวมิคแอซิด กับ โพแทสเซียมฮิวเมท เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร


ผู้สนใจเรื่องความอุดมสมบูรณ์ของดินมักคุ้นเคยคำว่า ฮิวมัส ( Humus) และทราบว่าหมายถึง อินทรียวัตถุในดินที่ได้มีการสลายแล้ว สีเข้ม และละเอียดมาก ซากพืชและซากสัตว์ ตลอดจนชิ้นส่วนของสิ่งมีชีวิตทั้งสองนี้ในดินที่ยังไม่สลายตัว หรือสลายแล้วบางส่วนมิใช่ฮิวมัส

ต่อมามีผู้นำสาร ซึ่งเรียกว่า กรดฮิวมิก หรือฮิวมิก แอซิด ( Humic Acid) มาจำหน่าย และอธิบายว่า สารนี้ช่วยให้พืชเจริญเติบโตดีขึ้น เกษตรกรจึงมีความคุ้นเคยกับกรดฮิวมิก อย่างไรก็ตาม ส่วนมากยังขาดความเข้าใจว่า กรดฮิวมิกคืออะไร มีความเกี่ยวข้องกับฮิวมัสหรือไม่ ที่เป็นผลิตภัณฑ์เคมีเกษตรนั้นผลิตมาจากอะไร และสารนี้มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชอย่างไร จึงขออธิบายเรื่องราวต่าง ๆ เหล่านี้พอเข้าใจ

ฮิวมัสและกรดฮิวมิกจากดิน
แต่เดิมการบำรุงดินให้อุดมสมบูรณ์นั้น ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เมื่อใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมัก หรือใส่ซากพืช สารเหล่านี้จะสลายตัวไปเรื่อย ๆ ในที่สุดก็ได้สารที่มีลักษณะละเอียดและมีสีเข้มคลุกเคล้าอยู่กับดิน เรียกสารนี้ว่าอินทรียวัตถุในดินหรือฮิวมัส (คำนี้มาจากภาษาละติน แปลว่า ดิน)

เป็นที่ทราบกันแน่ชัดว่า ฮิวมัสมีบทบาทสำคัญในการบำรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน ช่วยให้สมบัติทางเคมีและฟิสิกส์ของดินดีขึ้น หากดินมีฮิวมัสมากพอ

จากความสนใจต่อบทบาทของฮิวมัสในการบำรุงดินนี้เอง ทำให้นักวิทยาศาสตร์ต้องการทราบต่อไปว่า
1. ฮิวมัสประกอบด้วยสารอะไรบ้าง กี่ชนิด และแต่ละชนิดมีมากน้อยเพียงใด
2. สารที่ประกอบเป็นฮิวมัสเหล่านั้นมีบทบาทต่อสมบัติของดินอย่างเดียว หรือมีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของพืชโดยตรงด้วย
3. ถ้าสารประกอบในฮิวมัสมีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของพืชโดยตรงแล้ว สารนั้นมีบทบาทอย่างไรในกระบวนการทางสรีรวิทยาของพืช

คำถามทั้งสามข้อนี้เกิดขึ้นเนื่องจากนักวิทยาศาสตร์มีสมมุติฐานว่า ฮิวมัสคงมิใช่เป็นเพียงแหล่งธาตุอาหาร ช่วยให้ธาตุอาหารในดินเป็นประโยชน์มากขึ้น ปรับปรุงดินทางเคมีและฟิสิกส์เท่านั้น สารบางอย่างในฮิวมัสน่าจะมีบทบาทต่อกระบวนการทางสรีรวิทยาของพืชเป็นแน่ งานวิจัยในระยะหลังจึงมุ่งไปสู่ประเด็นนี้อย่างจริงจัง

อินทรียสารในดินแบ่งอย่างง่าย ๆ ได้เป็น 2 ส่วน คือ
1. เป็นชิ้นของพืชหรือสัตว์ที่ยังไม่สลาย หรือสลายแล้วบางส่วน เช่น เศษใบพืช หรือเปลือกไม้ แยกออกได้โดยนำดินมาร่อนผ่านตะแกรงขนาด 2 มิลลิเมตร

2. เป็นอินทรียสารที่สลายตัวดีแล้ว มีสีเข้ม ลักษณะละเอียด คลุกเคล้าอยู่กับอนินทรียสารของดินส่วนนี้ คือ ฮิวมัส หรือสารฮิวมิก ( Humic Substance)

ถ้าต้องการแยกฮิวมัสหรือสารฮิวมิกอกจากดิน ก็ทำได้โดยใส่ด่าง เช่น สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ลงไปในดิน สารฮิวมิกส่วนหนึ่งไม่ละลายในด่าง เรียกว่า ฮิวมิน ( Humin) อีกส่วนหนึ่งละลายในด่าง เมื่อปล่อยให้ของแข็งตกตะกอนแล้วรินของเหลวออกมา ของเหลวที่ได้จะมีสีน้ำตาลเข้มเกือบจะเป็นสีดำ

ถ้านำของเหลวนี้ไปปรับ pH ด้วยกรดให้ได้ 1-2 สารสีดำซึ่งเคยละลายอยู่นั้น ส่วนหนึ่งจะตกตะกอน แต่อีกส่วนหนึ่งไม่ตกตะกอน
1. ส่วนที่ตกตะกอน คือ กรดฮิวมิก ( Humic Acid)
2. ส่วนที่ไม่ตกตะกอน คือ กรดฟูลวิก ( Fulvic Acid) ซึ่งละลายอยู่ต่อไป

ดังนั้น จึงให้คำนิยามของกรดฮิวมิกได้ว่า หมายถึงสารฮิวมิกที่ละลายในด่างแล้วตกตะกอนเมื่อทำให้สารละลายนั้นมี pH 1-2

สำหรับฮิวมัสหรือสารฮิวมิก ประกอบด้วย ฮิวมิน กรดฮิวมิก และกรดฟูลวิก ในดินด่าง เช่น ดินลพบุรีมีลักษณะเด่น คือ เป็นดินเหนียวสีเข้ม ทั้งนี้เนื่องจากด่างในดินได้ละลายกรดฮิวมิก และกรดฟูลวิกออกมาเคลือบอนุภาคดิน จึงทำให้สีของดินเข้มขึ้น

หากนำสมบัติของกรดฮิวมิก กรดฟูลวิก และฮิวมิน อันเป็นองค์ประกอบของฮิวมัสมาเปรียบเทียบจะเห็นได้ว่า กรดฮิวมิกกับกรดฟูลวิกมีความแตกต่างกันมากพอสมควร ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับบทบาทของกรดฮิวมิกต่อพืช และทำให้สารนี้ได้รับความสนใจมาก




โดย: เจ้าบ้าน [14 ก.ค. 53 17:03] ( IP A:119.160.215.131 X: )


http://www.pantown.com/board.php?id=57675&area=&name=board5&topic=2&action=view
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 19/02/2011 8:55 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

บทบาทของสารปรับปรุงบำรุงดิน**


ศ.ดร.ทัศนีย์ อัตตะนันทน์*

* ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

**เอกสารประกอบการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง สารปรับปรุงบำรุงดินทางการเกษตร ณ ห้องประชุม กรมวิชาการเกษตร ชั้น 3 เกษตรกลาง บางเขน

.... ฯลฯ ........


ค. ฮิวมิกแอซิดที่ผลิตในเชิงการค้า ได้มีการนำเอาลิกไนท์หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากลิกไนท์ มาใช้เป็นวัสดุปรับปรุงดิน สารประกอบนี้มีลักษณะเป็นก้อนสีน้ำตาลเหมือนถ่านหิน มีปริมาณฮิวมิกแอซิดอยู่สูง คาดว่าอยู่ระหว่าง 30-60% ในการผลิตเป็นการค้าเพื่อนำมาใช้ในการเกษตร สารประกอบนี้อยู่ในลักษณะของสารละลายเข้มข้มและนำมาเจือจางก่อนที่จะใส่ลงไปในดิน หรือพ่นไปที่ต้นพืช แหล่งของลิกไนท์ดังกล่าวพบมากใน สหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัฐ North Dakota, Texas, New Mexico, Idaho และอื่นๆ แหล่งที่พบใน North Dakota เรียกว่า Leonardite สะสมอยู่ใต้ผิวดิน ลิกไนท์นี้ไม่เหมาะสมที่จะนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงเพราะติดไฟยาก จึงได้นำมาเป็นวัสดุปรับปรุงดิน เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการผลิตและการขนส่งทำให้สารประกอบเหล่านี้มีราคาแพง ฮิวมัสที่ได้จากลิกไนท์นี้ จะช่วยทำให้สมบัติทางชีวะเคมีของดินดีขึ้น คล้ายคลึงกับฮิวมัสในดิน แต่มีข้อพิจารณาดังนี้ คือ สารประกอบที่ได้จากถ่านหินนี้จะอยู่ในขั้นที่สลายตัวไปมากแล้ว การสูญเสียคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และสารประกอบอื่นๆ เกิดขึ้นมากและสารประกอบฮิวมัสก็อยู่ในสภาพที่ถูกออกซิไดส์ไปมาก ดังนั้นก็จะแตกต่างจากฮิวมัสในดิน คือมีสารประกอบอินทรีย์ เหล่านี้น้อย และมีคาร์บอนสูงกว่าเมื่อเทียบกับฮิวมัสในดิน และการที่มีคาร์บอนสูงและอยู่ในโครงสร้างที่แน่นฮิวมิกแอซิดก็จะ Immobilized ได้ง่ายถึงแม้จะใส่ในรูปที่ละลายน้ำได้ก็ตาม ดังนั้นการที่จะกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชในลักษณะของฮอร์โมนก็คงทำได้ยาก (Stevenson, 1986) อย่างไรก็ตามจากการตรวจเอกสารพบว่าการใช้ฮิวมิกแอซิดเพื่อเพิ่มผลผลิตพืช มีทั้งได้ผลและไม่ได้ผล ดังนั้นจึงให้ข้อคิดเห็นว่า ก่อนใช้คงจะต้องแน่ใจก่อนว่าสารประกอบนั้นเป็นฮิวมิกแอซิด มีความเข้มข้นตามที่ระบุไว้ ต้องใช้ให้ถูกต้องใช้ในปริมาณที่เพียงพอ และพิจารณาถึงราคาด้วยว่าควรให้ผลตอบแทนคุ้มค่า

2.2 สารประกอบอินทรีย์และอนินทรีย์สังเคราะห์ ที่ผลิตกันเป็นการค้า เป็นสารสังเคราะห์ประเภท polymer ต่างๆ ที่มีโมเลกุลใหญ่ เป็นสารที่ละลายน้ำได้ และสามารถเชื่อมโยงอนุภาคของดินให้เกาะกันเป็นเม็ดดิน และมีความคงทนต่อการสลายตัวได้มากน้อยแตกต่างกันแล้วแต่ชนิดของสาร polymer นั้นๆ สารประกอบพวก polyacryl amide รู้จักกันดีในชื่อการค้าว่า “separan” เรียกสั้นๆ ว่า PAM ส่วน polyvinyl acetate มีชื่อทางการค้าว่า “curasol AE” เป็นต้น ได้มีรายงานว่ามีการทดลองใช้ polyvinyl acetate และ polyvinyl alcohol ในการปรับปรุงสภาพทางกายภาพของดินโซดิก โดยปลูกมะเขือเทศ ผลปรากฏว่าดินที่มีการใส่สารปรับปรุงดินมีการเกาะตัวของเม็ดดินดีขึ้น การซึมซาบน้ำก็ดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับดินที่ไม่ได้ใส่สารประกอบเหล่านี้ซึ่งจะมีลักษณะแน่นทึบ การซึมซาบน้ำของดินช้ากว่า (Carr และ Greeland, 1975) เมื่อให้ polymer เหล่านี้ทำปฏิกิริยากับสารประกอบที่มีโมเลกุลใหญ่ เช่น polyethyleneglycoldiglycidyl ether จะทำให้สมบัติของ polymer เปลี่ยนคือ ไม่ละลายน้ำแต่จะพองตัวได้ จึงนำมาใช้เป็นสารอุ้มน้ำเพื่อรักษาความชื้นในดินไร่ให้ต้นพืช


....... ฯลฯ .........

http://www.thaigreenagro.com/aticle.aspx?id=4259
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
toodtoo
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 13/10/2012
ตอบ: 95

ตอบตอบ: 31/08/2013 10:25 am    ชื่อกระทู้: โพแตสเซียมฮิวเมท กับ ฮิวมิกแอซิก ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม....และสมาชิกทุกท่าน


ในเว็ปลุงนี่ มีเรื่องราวหลากหลายที่จะค้นหา ผู้มีปัญญาย่อม ค้น หาได้โดยไม่ยากนัก

ขอบคุณครับลุง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©