-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ช่วงเวลาใส่ปุ๋ย มันสำปะหลัง ? ....
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - เรียนถามเรื่องกลูโคสน้ำครับ
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

เรียนถามเรื่องกลูโคสน้ำครับ

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
aothana
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 01/03/2011
ตอบ: 1

ตอบตอบ: 01/03/2011 5:54 am    ชื่อกระทู้: เรียนถามเรื่องกลูโคสน้ำครับ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

พอดีผมไปเดินแถวโลตัสมา ผมไฟเห็นน้ำเชื่อม ของมิตรผล
ข้างถุงเขาเขียนว่า น้ำเชื่อมกลูโคส. ฟรุคโตส. ซูโครส. มีความเข้มข้นถึง 77%
แบบนี้สามารถใช้เป็นกลูโคสน้ำได้หรือไม่ครับ

http://www.mitrphol.com/th/03_products/01_products.php?ProductId=19[/img]
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 01/03/2011 7:57 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

กลูโคสไซรัปคืออะไร ?

น้ำเชื่อมธรรมดา ที่ผ่านกระบวนการทำให้น้ำตาลโมเลกุลคู่แตกตัวได้น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว


http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=771b04e4affe2bb2
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
mongkol
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 29/06/2010
ตอบ: 134

ตอบตอบ: 01/03/2011 8:04 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เข้าไปดูแล้ว ถ้าถามว่าแทนได้ไหม
ต้องรู้ก่อนว่าจะใช้เพื่ออะไร แล้วเทียบต้นทุนด้วยครับ

ถ้าดูจากสินค้าน่าจะเป็นส่วนผสมของน้ำตาล
กลูโคส. ฟรุกโตส. ซูโคส. สองตัวแรก พืชใช้ประโยชน์ได้ไว
เหมือนกับแรงเสริมให้เขา

ตัวท้ายนี่สิ ซูโคส คือ น้ำตาลโมเลกุลขนาดใหญ่
ใช้ได้แต่ช้ากว่าสองตัวแรก บางที่อาจทำให้ "ราดำ" ขึ้นง่าย โรคจะตามมา

ถ้าใช้เป็นอาหารจุลินทรีย์ในการหมักใช้ได้แต่แพง

เอ้าสรุปเลย ใช้ได้แต่ไม่คุ้ม แพงไป
เอามาใส่น้ำแข็งไสดีกว่า
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 01/03/2011 8:05 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ไซรัปผลไม้ (Fruit Syrup)


ไซรัปผลไม้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำน้ำผลไม้ที่ผลิตจากผลไม้มาทำให้เข้มข้น มีลักษณะเป็นน้ำตาลเหลว ข้นหนืด มีกลิ่นรสผลไม้ สามารถเก็บรักษาไว้ได้นานเนื่องจากมีความเข้มข้นของน้ำตาลสูงไซรัปผลไม้อาจมีลักษณะขุ่นหรือใสก็ได้ แต่ต้องมีส่วนของน้ำผลไม้ไม่น้อยกว่า 25 เปอร์เซนต์ และมีปริมาณสารที่ละลายน้ำได้อย่างน้อย 65 เปอร์เซนต์ แต่มีความเป็นกรดต่ำ ถ้ามีน้ำตาลน้อยกว่า 68 เปอร์เซนต์ ต้องใช้สารเคมีช่วยในการเก็บรักษา หากต้องการดื่มเป็นเครื่องดื่มต้องทำให้เจือจางก่อนดื่ม ซึ่งควรมีสารที่ละลายน้ำ 10-20 เปอร์เซ็นต์ และมีความเป็นกรด 0.5- 0.6 เปอร์เซ็นต์

น้ำเชื่อมธรรมดา ที่ทำได้โดยนำน้ำตาล มาละลายกับน้ำ และสามารถนำไปปรุงรสชาติ ของเครื่องดื่ม และอาหารได้ น้ำเชื่อมผลไม้ ( Cordial ) หมายถึง น้ำเชื่อมที่มีการปรุงแต่งด้วยรสสี และกลิ่นของผลไม้ ที่ได้จากการสังเคราะห์ เช่น น้ำเชื่อมที่มีรสมะนาว หรือส้ม เป็นต้น

น้ำเชื่อมผลไม้ที่นำมาใช้เป็นส่วนผสมในสูตรของค็อกเทลนั้น อาจจะสามารถแยกออกได้อีกตามรสชาติและที่มา ก็คือ

เกรนาดีน (Grenadine) เป็นน้ำเชื่อมที่มีกลิ่นหอมของทับทิม เป็นส่วนประกอบที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ใช้บ่อยมากในสูตรของค็อลเทล ออจีท (Orgeat) เป็นน้ำเชื่อมที่มีรสชาติของแอลกอฮอล์ ซึ่งบางตำราอาจผสมด้วยเครื่อง-เทศ หรือสมุนไพร บางชนิดเข้าไป

กลิ่นมะพร้าว (Coconut) เป็นน้ำเชื่อมที่มีรสชาติของมะพร้าว ซึ่งอาจจะได้จากการเคี่ยวกะทิ แล้วผสมด้วยน้ำตาล และนำไปผสมค็อกเทลอย่าง “Pina Colada” หรือ ผสมเครื่องดื่มชนิดต่างๆ ที่มีกะทิ หรือไอศกรีมเป็นส่วนผสม

คาสซีส (Cassis) เป็นน้ำเชื่อมที่มีกลิ่นหอมและรสชาติของลูกแบล็ค เคอร์เร้นท์ ( Blackcurrent )

พีช (Peach ) เป็นน้ำเชื่อมที่มีกลิ่นหอมและรสชาติของผลลูกพีชสุก นำไปผสมในค็อกเทลบางชนิด ที่ต้องการเน้นกลิ่นหอมเป็นหลัก

การผลิตไซรัปผลไม้
ผลไม้ที่นำมาผลิตควรจะเป็นผลไม้ที่สามารถสกัดเอาน้ำผลไม้มาได้อย่างง่าย ซึ่งในการสกัดที่ใช้การสับชิ้นส่วนของเนื้อผลไม้ให้ละเอียด แล้วบีบเอาน้ำออกมาแล้วนั้น เราอาจจะใช้เอนไซม์ช่วยในการสกัด เพื่อเพิ่มปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ ( Total soluble solid ) ก็คือ จะช่วยเพิ่มปริมาณน้ำผลไม้ที่สกัดได้นั่นเอง

การผลิตไซรัปผลไม้ประกอบด้วยขั้นตอนหลักๆ อยู่ 2 ขั้นตอน คือ
-การสกัดน้ำผลไม้
- การทำให้เข้มข้น

การเตรียมวัตถุดิบ
นำผลไม้ในระยะที่ผลไม้สุกเต็มที่ มาทำการนำเมล็ดออกจากนั้นนำมาทำการตีปั่นโดยใช้เครื่องปั่นอาหาร ใช้อัตราส่วนเนื้อผลไม้ : น้ำ 1 : 2 หรืออาจจะมากกว่าขึ้นอยู่กับชนิดของผลไม้ที่ใช้

การสกัดน้ำผลไม้
วิธีที่จะให้ได้ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำมากที่สุดหรือที่จะสามารถสกัดน้ำผลไม้ออกมาได้มากที่สุด อาจมีหลายวิธีด้วยกัน ( Al-Hooti และ คณะ , 2002)

นำไปต้มใน Water bath ที่อุณหภูมิ 80- 100 °C เป็นเวลา 1-3 ชั่วโมง จากนั้นนำไปแยกด้วยเครื่องหมุนเหวี่ยงที่ 10,816 g เป็นเวลา 25 นาที ทำการสกัดโดยใช้อุณหภูมิสูงภายใต้ความดันโดยใช้เครื่อง Autoclave ที่ความดัน 15 psi เป็นเวลา 5-15 นาที จากนั้นนำไปแยกด้วยเครื่องหมุนเหวี่ยงที่ 10,816 g เป็นเวลา 25 นาที แยกส่วนน้ำผลไม้ออกมา สกัดโดยใช้เอนไซม์ เอนไซม์ที่ใช้ ก็เช่น เอนไซม์เพคติเนส เอนไซม์เซลลูเลส

การทำให้เข้มข้น
น้ำผลไม้ที่สกัดได้ทำให้เข้มข้นโดยการระเหยน้ำออกภายใต้ระบบสุญญากาศ ที่อุณหภูมิ 60 & deg ; C โดยใช้ Rotary evaporator ให้มีค่าของแข็งที่ละลายน้ำได้ประมาณ 80 & deg ; Brix

การใช้ประโยชน์ของไซรัปในอุตสาหกรรมอาหาร
ไซรัปสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในผลิตภัณฑ์อาหารได้หลากหลายชนิดโดยใช้เป็น สารให้ความหวาน สารให้กลิ่น รส ใช้ตกแต่งหน้าผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อดึงดูดใจผู้บริโภค เช่น ในผลิตภัณฑ์ขนมหวาน ไอศกรีม ผลิตภัณฑ์ขนมอบ ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม เป็นต้น และยังสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องดื่มได้ โดยการนำมาเจือจางก่อนดื่ม โดยมีตัวอย่างดังนี้

ผลิตภัณฑ์ขนมหวาน ใช้เป็นสารให้ความหวานและกลิ่นรสในผลิตภัณฑ์ขนมหวาน เช่น ลูกอม เยลลี่ มาร์ช เมลโล เป็นต้น

อศกรีม ใช้เป็นสารให้ความหวานและกลิ่นรสในผลิตภัณฑ์ไอศกรีม ผลิตตกแต่งหน้าไอศกรีม เป็นต้น

ผลิตภัณฑ์ขนมอบ เค้ก พายชนิดต่างๆ หรือใช้รับประทานกับแพนเค้ก วาฟเฟิล เช่นเดียวกับแยมและมาร์มาเลต เป็นอาหารเช้า

ผลิตภัณฑ์นม เป็นสารให้ความหวานในนมสด และครีมชนิดต่างๆ

ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม โดยการเจือจางด้วยน้ำ เพื่อใช้เป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ หรือเป็นส่วนประกอบของค็อกเทล

ผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น นำไปผลิตแอลกอฮอล์และน้ำส้มสายชูคุณภาพสูง ใช้เป็นสารให้สีในอาหารและยา

ลักษณะคุณภาพของไซรัปผลไม้
ตามมาตรฐานของไซรัปผลไม้ (fruit cordial concentrates, fruit concentrates and fruit syrup concentrates) ของสถาบันมาตรฐานของศรีลังกา ( Sri Lanka Standards Institution ; SLS 730 , 1985 ) ได้กำหนดมาตรฐานของไซรัปผลไม้ไว้ว่า

ไซรัปผลไม้หากจะนำมาทำเป็นเครื่องดื่มต้องทำให้เจือจางก่อนดื่ม โดยเตรียมจากน้ำผลไม้ที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการหมัก และทำให้เข้มข้นโดยการระเหยน้ำออก ต้องไม่มีเนื้อผลไม้ปะปนอยู่ในผลิตภัณฑ์

ผลไม้ที่เป็นส่วนประกอบ
ผลไม้ที่เป็นส่วนประกอบต้องเป็นเนื้อผลไม้หรือน้ำผลไม้ที่ไม่มีเมล็ดและเปลือกของผลไม้ ผลไม้ที่จะนำมาทำการผลิตต้องมีคุณภาพ สะอาดและมีความเหมาะสม ผลไม้ที่ใช้ต้องไม่ผ่านกระบวนการหมัก ปราศจากแมลงที่เป็นพาหนะและก่อให้เกิดโรค และผลไม้ที่เป็นส่วนประกอบต้องไม่น้อยกว่า 45 เปอร์เซนต์ของน้ำหนักของผลิตภัณฑ์

น้ำตาลที่เป็นส่วนประกอบ
น้ำตาลทรายบริสุทธิ์ (ซูโครส)
กลูโคส
ฟรุคโตส
กลูโคสไซรัป

น้ำตาลอินเวิร์ท
น้ำที่เป็นส่วนประกอบ ต้องเป็นน้ำตามมาตรฐานน้ำที่ใช้บริโภค สามารถใช้ประกอบได้ตามที่กล่าวมาแล้ว หนึ่งชนิดหรือมากกว่านั้นตามความเหมาะสม

กรดที่ใช้เป็นส่วนประกอบ
กรดแอสครอบิก
กรดซิตริก
กรดทาร์ทาริก
กรดมาลิก
กรดแลกติก
กรดฟูมาริก


สารป้องกันการเสื่อมเสีย ที่ใช้คือ กรดเบน โซอิก ดังตารางที่ 1

ซัลเฟอร์ไดออกไซด์
กรดเบนโซอิก

ตารางที่ 1 ข้อกำหนดคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ไซรัปผลไม้

รายการ ปริมาณที่กำหนด
- ปริมาณน้ำตาลทั้งหมด (เช่น ซูโครส) ต่ำสุด ร้อยละ 5.0 ของน้ำหนัก
- ปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไม่เกิน 70 มิลลิกรัม /กิโลกรัม
- ปริมาณกรดเบนโซอิก ไม่เกิน 120 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
- ปริมาณกรด (เช่น กรดซิตริก) ไม่เกินร้อยละ 1.0 ของน้ำหนัก

คุณลักษณะทั่วไป
ผลิตภัณฑ์ต้องเป็นเนื้อเดียวกัน มีความข้นหนืดและมีสีสม่ำเสมอ ไม่มีเมล็ด เศษเปลือก เนื้อ และสารที่เติมไปในผลิตภัณฑ์

กลิ่นและกลิ่นรส
ผลิตภัณฑ์ต้องมีกลิ่นรสและกลิ่นที่ดี ไม่มีกลิ่น แปลกปลอม ต้องไม่มีกลิ่นไหม้หรือกลิ่นน้ำตาลไหม้ กลิ่นรสตามธรรมชาติของผลไม้ต้องคงอยู่ไม่สูญเสียไปในระหว่างกระบวนการผลิต

คุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่ได้ทำการเจือจาง
ไซรัปผลไม้ต้องมีปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ไม่น้อยกว่า 65 เปอร์เซนต์ ของน้ำหนักผลิตภัณฑ์

สารปนเปื้อน
สารปนเปื้อนที่ยอมรับได้ ต้องมีปริมาณสูงสุดไม่เกินที่กำหนด ในตารางที่ 2



ตารางที่ 2 สารปนเปื้อน
ปริมาณสูงสุดที่ยอมให้มีได้ (มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม)

อาร์เซนิก (AS )...... ทองแดง (Cu) ....... ตะกั่ว (Pb) ....... ดีบุก (Sn)
1.0 ...................... 20.0 ................ 2.0 ............. 250







ที่มา : หนังสือเกษตรแปรรูป Food & Drink Thai Business ปีที่ 1 (3) ฉบับที่ 1 (37) ประจำวันที่ 15 กันยายน 2548 – 14 ตุลาคม 2548 หน้าที่ 107-110

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
ฝ่ายเทคโนโลยีอาหาร
35 เทคโนธานี คลองห้า ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 10120
โทร.: (662) 577-9000, 577-9155-56
โทรสาร : (662) 577-9128, 577-9009


http://www.tistr-foodprocess.net/Fruit/article_fruit/article_fruit4.htm


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/03/2011 5:01 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 01/03/2011 9:07 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

กลูโคส

ชื่อตาม IUPAC 6- (hydroxymethyl) oxane
-2,3,4,5-tetrol OR (2R,3R,4S,5R,6R) -6 - (hydroxymethyl) tetrahydro -2H-pyran-2,3,4,5-tetraol
ชื่ออื่น Dextrose
ตัวระบุ
ตัวย่อ Glc
เลขทะเบียน CAS [50-99-7 (D-glucose)
921-60-8 (L-glucose)]

คุณสมบัติ
สูตรเคมี C6H12O6
มวลต่อหนึ่งโมล 180.156 g mol−1
ความหนาแน่น 1.54 g cm−3
จุดหลอมเหลว α-D-glucose: 146 °C
β-D-glucose: 150 °C

หากมิได้ระบุเป็นอย่างอื่น ข้อมูลที่ให้ไว้นี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa

แหล่งอ้างอิงของกล่องข้อมูล
กลูโคส (อังกฤษ: Glucose ; ย่อ : Glc)
เป็นน้ำตาลประเภทโมโนแซคคาไรด์ (monosaccharide) มีความสำคัญที่สุดในกลุ่มคาร์โบไฮเดรตด้วยกัน เซลล์ของสิ่งมีชีวิติทุกชนิดใช้กลูโคสเป็นแหล่งพลังงาน และสารเผาผลาญขั้นกลาง (metabolic intermediate) กลูโคสเป็นหนึ่งในผลผลิตหลักของการสังเคราะห์แสง (photosynthesis) และเป็นแหล่งพลังงานสำหรับการหายใจของเซลล์ (cellular respiration) โครงสร้างโมเลกุลตามธรรมชาติของมัน (D-glucose) จะอยู่ในรูปที่เรียกว่า เดกซ์โตรส (dextrose) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมอาหาร


1 การผลิต
1.1 จากธรรมชาติ
1.2 ผลิตเพื่อการค้า



การผลิต
จากธรรมชาติในพืชและสิ่งมีชีวิตจำพวกโพรแคริโอต จากการสังเคราะห์แสง
ในสัตว์และเชื้อรา จากการแยกสลายไกลโคเจน โดยกระบวนการที่รู้จักกันในชื่อ การสลายไกลโคเจน (Glycogenolysis) ในพืชจะเป็นการแยกสลาย ซับสเตรต คือ แป้ง

ในสัตว์ กลูโคสจะถูกสังเคราะห์ในตับและไต จากสารขั้นกลาง (intermediates) ที่ไม่ใช่คาร์โบไฮเดรต (non-carbohydrate) เช่น ไพรูเวต (pyruvate) และ กลีเซอรอล (glycerol) โดยกระบวนการที่เรียกว่า กลูโคนีโอเจนีสิส (gluconeogenesis)

ผลิตเพื่อการค้ากลูโคสสามารถผลิตเป็นการค้าไดโดยการ ไฮโดรไลซิสแป้ง ที่มี เอ็นไซม์ ช่วยเร่งปฏิกิริยา พืชผักมากมายสามารถใช้เป็นแหล่งของแป้งได้เช่น ข้าว ข้าวโพด ข้าวสาลี มันเทศ มันสำปะหลัง (cassava) ต้นไม้เท้ายายม่อม (arrowroot) และ สาคู การใช้แป้งจากพืชจะแตกต่างกันไปตามส่วนต่างๆของโลก ในสหรัฐอเมริกาแป้งส่วนใหญ่จะเป็นแป้งข้าวโพด (จากต้นข้าวโพด) ในประเทศแถบเอเชียอย่างประเทศไทย จะใช้ข้าวทำแป้งเช่น แป้งข้าวจ้าวและแป้งข้าวเหนียว



กระบวนการที่ใช้เอนไซม์ช่วยจะมี 2 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนแรก.... ใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง อุณหภูมิประมาณ 100 °C เอนไซม์เหล่านี้จะ ไฮโดรไลซ์แป้งให้กลายเป็นคาร์โบไฮเดรตที่เล็กลง โดยจะมีโมเลกุลของกลูโคส 5-10 หน่วย ความผิดเพี้ยนของกระบวนการจะอยู่ที่การต้มส่วนผสมของแป้งที่อุณหภูมิ 130 °C หรือร้อนกว่านี้ หนึ่งครั้งหรือมากกว่า การใช้ความร้อนระดับนี้เพื่อช่วยการละลายของแป้งในน้ำแต่มันก็จะทำลายฤทธิ์เอนไซม์ ซึ่งจะต้องเติมเอนไซม์เข้าไปใหม่ในการต้มแต่ละครั้ง

ขั้นตอนที่สอง......เรียกว่า แซคคาริฟิเคชัน (saccharification) ขั้นตอนนี้จะไฮโดรไลซ์แป้งบางส่วนและไฮโดรไลซ์กลูโคสอย่างสมบูรณ์โดยใช้เอนไซม์ กลูโคอะไมเลส (glucoamylase) จาก เชื้อราแอสเปอร์จิลลัสไนเกอร์ (Aspergillus niger) สภาวะของปฏิกิริยาจะต้องควบคุมให้อยู่ที่ pH 4.0-4.5, 60 °C, และความเข้มข้นของคาร์โบไฮเดรตจะต้องอยู่ที่ 30-35% โดยน้ำหนัก ภายใต้สภาวะการณ์เหล่านี้แป้งจะถูกเปลี่ยนเป็นกลูโคสประมาณ 96% หลังจากใช้เวลา 1-4 วัน ถ้าจะให้ผลผลิตสูงกว่านี้สามารถทำได้โดยการทำให้สารละลายจางลง แต่จะต้องใช้หม้อต้มที่ใหญ่กว่าและต้องการน้ำมากกว่าซึ่งสรุปแล้วไม่ประหยัดกว่า สารละลายกลูโคสที่ได้จะถูกทำให้บริสุทธ์โดย การกรอง และเคี้ยวให้งวดใน เครื่องระเหยเอนกประสงค์ (multiple-effect evaporator) ดี-กลูโคสที่เป็นของแข็งจะทำได้โดย การตกผลึก (crystallization)



http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%AA
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 01/03/2011 9:24 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เกร็ดความรู้เรื่องกลูโคส....


น้ำตาลกลูโคสมีผลต่อความสดของดอกไม้ ยังไง ?????

เพราะว่าพืชนั้นต้องสังเคราะห์แสงจึงจะได้มาซึ่งน้ำตาลกลูโคส และนำกลูโคสนั้นมาสร้างต่อเป็น ATP และในเมื่อดอกไม้ไม่สามรถสังเคราะห์แสงได้ถึงสังเคราะห์ได้ก็น้อยจึงทำให้ดอกไม้ได้รับกลูโคสเข้ามาภายในเซลล์ดังตอนก่อนที่ยังไม่ถูกตัดออกจากต้น จึงทำให้ดอกไม้นั้นมีความสดมากกว่าดอกไม้ที่ไม่ได้รับกลูโคส


การสลายกลูโคส คือ การเปลี่ยนแปลงกลูโคสเป็นพลังงาน ATP มีกระบวนการต่างๆ ดังนี้
1. ไกลโคลิซิส
2. การสร้างอะซิติลโคเอนไซม์ เอ
3. วัฏจักรเครบส์หรือวัฏจักรกรดซิตริก
4. การถ่ายทอดอิเล็กตรอน เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการทั้งหมดจะได้ 36/38ATP/กลูโคส 1 โมเลกุล


พืชจะเปลี่ยนแป้งให้เป็นน้ำตาลกลูโคสก่อนลำเลียงไปส่วนต่างๆของพืช เพราะเหตุใด

พืชจะเปลี่ยนแป้งให้เป็นน้ำตาลกลูโคสก่อนลำเลียงไปส่วนต่างๆของพืช เพราะเหตุใด

เพราะน้ำตาลละลายน้ำได้ดีกว่าแป้ง เมื่อเป็นของเหลวจะเคลื่อนย้ายผ่านท่อต่าง ๆ ในต้นพืชได้สะดวกขึ้น



น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว
คือ น้ำตาลที่มีโมเลกุลของคาร์โบไฮเดรตที่เล็กสุด เมื่อรับประทานเข้าไปกระเพาะ และลำไส้เล็กสามารถดูดซึมได้ทันทีโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการย่อย มีรสหวาน สามารถละลายน้ำได้ ได้แก่

- กลูโคส คือ น้ำตาลที่เป็นผลสุดท้ายของการย่อยคาร์โบไฮเดรตก่อนถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ในภาวะปกติร่างกายจะมีกลูโคสอยู่ประมาณ 60-120 มิลลิกรัมต่อเลือด 100 มิลลิลิตร พบในผัก และผลไม้ทั่วไป

- ฟรักโทส พบในผัก ผลไม้ที่มีรสหวานทั่วๆ ไป และในน้ำผึ้ง

- กาแลกโทส คือ น้ำตาลที่ได้จากการสลายตัวของแลกโทสในน้ำนม (เป็นส่วนผสมระหว่างกลูโคสกับแล็กโทส) พบในน้ำนม


น้ำตาลโมเลกุลคู่
เป็นคาร์โบไฮเดรตที่เกิดจากการรวมตัวกันของน้ำตาลเชิงเดี่ยวสองโมเลกุล มีรสหวาน ละลายน้ำได้ เมื่อรับประทานเข้าไป น้ำตาลประเภทนี้ ไม่สามารถถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ทันที จะต้องผ่านกระบวนการย่อยให้เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวก่อน จึงจะสามารถนำไปใช้งานได้ คือ

- ซูโครส ได้จากน้ำตาลทราย น้ำตาลอ้อย น้ำตาลโตนด น้ำตาลมะพร้าว และน้ำตาลจากหัวผักกาดหวาน และในผลไม้สุกเกือบทุกประเภท น้ำตาลซูโครส ประกอบด้วยกลูโคสและฟรุกโทสอย่างละ 1 โมเลกุล เมื่อผ่านการย่อย จะได้กลูโคส และฟรักโทส

- มอลโทส เป็นน้ำตาลที่มีอยู่ในเมล็ดพืชที่กำลังงอก เช่น น้ำตาลมอลต์ที่ได้จากข้าวมอลต์ หรือข้าวบาร์เลย์ที่กำลังงอก เกิดจากการรวมตัวกันของกลูโคสกับกลูโคส เมื่อผ่านการย่อยสลายของร่างกายจะได้น้ำตาลกลูโคส 2 โมเลกุล

- แล็กโทส เกิดจากการรวมตัวกันของกลูโคสกับกาแลกโทส อย่างละ 1 โมเลกุล พบในน้ำนม มีรสหวานน้อย เมื่อผ่านการย่อยเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวจะได้กลูโคส และกาแลกโทสอย่างละ 1 โมเลกุลน้ำตาล แหล่งพลังงานที่สำคัญ




สารพัดน้ำตาลจากธรรมชาติ
น้ำตาลโตนด
เกิดจากการนำน้ำหวานที่ไหลซึมออกมาจากช่อดอก (ปลายงวง) ของต้นตาลมาเคี่ยวจนงวด ก่อนจะกวนและตีเพื่อให้น้ำตาลขึ้นตัว จากนั้นจึงหยอดลงเบ้าหรือพิมพ์ ซึ่งเรามักจะเห็นกันในรูปของครึ่งวงกลมคล้ายถ้วย ชาวบ้านจะเรียกน้ำตาลรูปแบบนี้ว่า น้ำตาลปึก แต่หากใส่ในภาชนะต่างๆก็จะเรียกตามภาชนะที่ใส่ เช่น น้ำตาลปี๊บ น้ำตาลหม้อ เป็นต้น


น้ำตาลมะพร้าว
น้ำหวานที่ได้จากจั่นมะพร้าว จะมีลักษณะคล้ายกับน้ำหวานจากตาลโตนด จะต่างตรงที่กลิ่นของน้ำตาลมะพร้าวจะไม่หอมเท่า และมีรสชาติที่หวานแหลมกว่า ทั้งนี้ วิธีการทำน้ำตาลมะพร้าวจะเหมือนกับน้ำตาลโตนด จึงเรียกว่าน้ำตาลปึก น้ำตาลปี๊บเหมือนกัน และสามารถนำมาประกอบอาหารได้เหมือนกัน


น้ำตาลอ้อย
การทำน้ำตาลอ้อยเริ่มจากเอาลำอ้อยมาหีบเอาน้ำอ้อย แล้วนำมาเคี่ยวในกระทะใบบัวรอจนกว่าน้ำอ้อยจะเหนียวได้ที่ และมีสีน้ำตาลเข้มจัด จึงหยอดลงพิมพ์ที่เตรียมไว้ ซึ่งมีหลายรูปแบบ ทั้งแผ่นกลม ทรงกระบอกคล้ายอ้อยควั่น นอกจากใช้ทำขนมแล้ว ยังมีอาหารอีกหลายอย่างที่ต้องใช้รสหวานและกลิ่นหอม จากน้ำตาลอ้อยเท่านั้น เช่น ปลาตะเพียนต้มเค็ม น้ำปลาหวานสะเดา ต้มฟักหวาน เป็นต้น ทั้งนี้ กลิ่นหอมของน้ำตาลอ้อยที่หอมเหมือนน้ำตาลไหม้ จะช่วยดับกลิ่นเครื่องเทศในอาหารให้หอมอร่อยยิ่งขึ้น


น้ำตาลทรายแดง
จัดเป็นน้ำตาลเพื่อสุขภาพอีกชนิดหนึ่ง ที่ได้จากการนำน้ำอ้อยมาเคี่ยว โดยหมั่นตักเอาสิ่งสกปรกออกจนน้ำเชื่อมใส ใส่ปูนขาวลงไปเล็กน้อย เพื่อให้น้ำตาลตกเป็นเม็ด จากนั้นเคี่ยวต่อไปเรื่อยๆจนแห้ง ออกมาเป็นเม็ดทรายบ้าง จับตัวเป็นก้อนเล็กบ้างใหญ่บ้าง สีออกน้ำตาลแดง จึงเรียกว่าน้ำตาลทรายแดงนั่นเอง


น้ำตาลทรายดิบ หรือน้ำตาลสีรำ
ทำมาจากอ้อย เพียงแต่ไม่ผ่านกระบวนการฟอกขาวให้ได้น้ำตาลที่มีผลึกขาวใสเหมือนน้ำตาลขัดขาว เหตุที่เรียกน้ำตาลทรายสีรำ เพราะผลึกของน้ำตาลจะมีสีเหลืองออกเข้มคล้ายสีของรำข้าว น้ำตาลชนิดนี้ ดีต่อสุขภาพในแง่ที่ทำให้เราสามารถหลีกเลี่ยงสารฟอกขาวที่อยู่ในน้ำตาลทรายขาวได้ ให้ความหวานพอๆกับ
น้ำตาลทรายขัดขาว


น้ำผึ้ง
ความหวานนี้ได้จากของเหลวในเกสรดอกไม้ที่มีแมลงตัวเล็กๆอย่างผึ้งงานเป็นผู้นำมารวบรวมไว้ด้วยกัน น้ำผึ้งอาจมีสีต่างกันบ้าง เช่น สีเหลืองอ่อน เหลืองเข้มออกเขียว สีน้ำตาลอ่อน สีน้ำตาลไหม้ ขึ้นอยู่กับชนิดของเกสรดอกไม้ในบริเวณที่ผึ้งอาศัยอยู่ ว่ากันว่าน้ำผึ้งที่ดีของไทยต้องเป็นน้ำผึ้งเดือนห้า จึงจะถือว่ามีความบริสุทธิ์ และเข้มข้นมาก เพราะช่วงที่ผึ้งเก็บเกี่ยวน้ำหวานไว้จนเต็มที่นั้นตรงกับช่วงหน้าแล้ง น้ำหวานจากเกสรดอกไม้จะไม่ค่อยมีน้ำเจือปนอยู่มาก


น้ำตาลจากผลไม้
ได้แก่ น้ำตาลกลูโคส ฟรักโทส และซูโครส มีอยู่ในผลไม้ที่มีรสหวานต่างๆ ซึ่งเมื่อเทียบกับน้ำตาลชนิดอื่นในปริมาณที่เท่ากันแล้วจะพบว่า น้ำตาลฟรักโทสซึ่งมีอยู่มากในผัก ผลไม้ และในน้ำผึ้ง จะมีความหวานมากที่สุด รองลงมาคือน้ำตาลกลูโคส ตามมาด้วยน้ำตาลมอนโทส และสุดท้ายที่มีความหวานน้อยที่สุดคือ น้ำตาลแล็กโทส

องค์การอนามัยโลกได้กำหนดปริมาณน้ำตาลที่ควรกินไว้ว่า ไม่ควรเกินร้อยละ 10 ของปริมาณพลังงานที่เราได้รับใน 1 วัน สำหรับคนไทย มีการกำหนดปริมาณการกินน้ำตาลไว้ว่า ไม่ควรเกิน 4-8 ช้อนชา สำหรับผู้ต้องการพลังงาน 1,600-2,400 กิโลแคลอรี โดยส่วนที่เหลือได้เผื่อไว้สำหรับน้ำตาลที่ได้รับจากอาหารอื่นที่ไม่ทราบปริมาณ



http://www.vcharkarn.com/vcafe/46035


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/03/2011 5:08 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 01/03/2011 10:29 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

(4) ธาตุอาหารสำหรับพืช


รายละเอียด : ธาตุอาหารสำหรับพืช ...... โดย คิม ซา กัส

ประกอบด้วย ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ฮอร์โมน และอื่นๆ ..... ได้แก่
N. ........... P. ........... K.
Ca. ......... Mg. ......... S.
Fe. ......... Cu. ......... ZN.
Mn. ........ Mo. ......... Br.
Si. ......... Na. ......... Cl.
กับอีก 10 (+) ตัว (ไม่ได้ท่อง)

ในเรื่องของ ซี/เอ็น เรโช ที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการของพืชระยะก่อนการออกดอกในรต้นไม้ผล แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มสร้างใบ. และกลุ่มสร้างดอก...... โดยกลุ่มสร้างใบมีเพียง N. เพียง ตัวเดียวเท่านั้น ที่เหลือเป็นกลุ่มสร้างดอกทั้งสิ้น

สารอาหารที่มีผลโดยตรงต่อดอก :
……. P. และ K. ทำหน้าที่เป็นตัวนำในการทำให้ต้นออกดอก
……. Ca. ทำหน้าที่สร้างความสมบูรณ์แก่ดอกที่ออกมาแล้ว
……. Br. และ Zn. ทำหน้าที่สร้างพื้นฐานที่สมบูรณ์ในการส่งเสริมให้ต้นออกดอก
……. Ga-3 ทำหน้าที่ยืดก้านดอกให้ยาวขึ้น
……. NAA. ASTROGEN. และ VITAMIN E. ทำหน้าที่ปรับปรุงเกสรให้ผสมติดเป็นผล

..... สภาพต้นมี C มากกว่า N เมื่อเปิดตาดอก จะออกดอก
..... สภาพต้นมี C น้อยกว่า N เมื่อเปิดตาดอก จะออกใบ
..... สภาพต้นมี C เท่ากับ N เมื่อเกิดตาดอก จะออกใบ หรือ ใบ+ดอก

....... N. มีอยู่ในน้ำที่ให้ น้ำใต้ดิน. น้ำฝน. น้ำค้าง. ปุ๋ยอินทรีย์ (มูลสัตว์กินพืช). น้ำหมักชีวภาพจากพืช. เลือดสัตว์.
....... C. มีอยู่ในปุ๋ยเคมี (ทุกตัว ยกเว้น N.) ปุ๋ยอินทรีย์มูลสัตว์ปีก. น้ำหมักชีวภาพจากซากสัตว์. นม (C/N RATIO = 39/1). สารรสหวาน. ควันไฟ.
....... N สร้างเนื้อในไม้ผล ทำให้ผลโตปกติตามธรรมชาติ
....... CHITOSAN แบ่งเซลล์เนื้อผลทำให้ผลมีขนาดใหญ่ขึ้น
....... Ca. สร้างผลให้คุณภาพดี

เทคนิคบำรุงพืชให้เกิดอาการอั้นตาดอก ภาษาชาวบ้านเรียกว่า “สร้างดอกดอก หรือ สะสมตาดอก” ในขณะที่ภาษาทางวิชาการเรียกว่า “สร้างแป้งและน้ำตาล หรือ สะสมแป้งและน้ำตาล” แม้จะเรียกต่างกันแต่หลักในการปฏิบัติเหมือนกัน


วัตถุประสงค์ :
บำรุงให้ต้นมีอาหารกลุ่ม C มากกว่า N ภายใต้สภาพต้นมีความสมบูรณ์สูงสุดก่อนลงมือเปิดตาดอก

หลักในการปฏิบัติ :
1....บำรุงฟื้นฟูสภาพต้น เรียกความสมาบูรณ์กลับคืนมา และสร้างความพร้อมต้นทันที ณ วันรุ่งขึ้น หลังจากเก็บเกี่ยวผลสุดท้ายของรุ่นปีการผลิตที่ผ่านมา ให้ต้นได้รับสารอาหารทั้ง 2 กลุ่ม มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ จนถึงช่วงปรับ C/N RATIO
2….ตัดแต่งกิ่งเรียกใบอ่อนชุดใหม่ 1-2-3 ชุด (ตามชนิดไม้ผล). ตัดแต่งราก (ในไม้ผลบางชนิด). เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ (ถ้าจำเป็น).
3..... ป้องกัน/กำจัด โรคและแมลงศัตรูพืช ทั้งส่วนบนต้นและส่วนใต้ดิน
4..... บริหารปัจจัยพื้นฐาน ได้แก่ ดิน – น้ำ – แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล – สารอาหาร – สายพันธุ์ – โรค อย่างเหมาะตามระยะพัฒนาการของต้นไม้ผลตามความเหมาะสมและอย่างต่อเนื่อง




การปฏิบัติ
(บำรุงเพื่อให้ต้นได้สะสมสารอาหารทั้ง 2 กลุ่ม) :

ระยะเรียกใบอ่อน
ทางใบ :
- ให้ “ปุ๋ยน้ำดำ (มีธาตุรอง/ธาตุเสริม/ฮอร์โมนแล้ว) + 25-5-5 + สารสกัดสมุนไพร” ทุก 7- 10 วัน ต่อการเรียกใบอ่อน 1 ชุด
- ให้สารสกัดสมุนไพรบ่อยๆ แบบ “กันก่อนแก้” เพื่อป้องกันใบอ่อนถูกทำลาย
ทางราก :
- ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยคอก ยิบซั่ม กระดูกป่น เศษพืชแห้งคลุมโคนต้น)
- ให้ “น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง (มีธาตุรอง/ธาตุเสริม/ฮอร์โมนแล้ว) + 30-10-10” ทุก 30 วัน
– ให้น้ำหน้าดินชุ่ม ทุก 3-5 วัน

ระยะสะสมแป้งและน้ำตาล
ทางใบ :
– ให้ “0-42-56 + ธาตุรอง/ธาตุเสริม + แคลเซียม โบรอน + สารสกัดสมุนไพร” เสริม ด้วย “นมสด + กลูโคส” 1-2 รอบ โดยแบ่งให้ช่วงสะสมแป้งและน้ำตาล
– ให้สารสกัดสมุนไพร ทุก 3-5 วัน
– เทคนิคสุมควันไฟให้พุ่งเข้าหาทรงพุ่ม ช่วงหัวค่ำ (19.00-21.00) 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 15-20 วัน จะช่วยให้สภาพต้นเกิดอาการอั้รนตาดอกดีและชัดเจนยิ่งขึ้น
ทางราก :
– ให้ “น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง (มีธาตุรอง/ธาตุเสริม/ฮอร์โมนแล้ว) + 8-24-24
– ให้น้ำหน้าดินชุม ทุก 3-5 วัน
– เศษพืชแห้งคลุมหน้าดินโคนต้น

ระยะปรับ C/N RATIO
(บำรุงเพื่อให้ต้นมีสารอาหารกลุ่ม C มากกว่ากลุ่ม N หรือ ปรับเพิ่ม C ลด N) :
ทางใบ :
- ให้ “0-42-56 + ธาตุรอง/ธาตุเสริม + แคลเซียม โบรอน + สารสกัดสมุนไพร” ทุก 7-10 วัน สลับด้วย “นม + กลูโคส” 1 รอบ.....ฉีดพ่นพอสัมผัสใบ ระวังอย่าให้โชกจนน้ำตกลงพื้นโคนต้น
ทางราก :
- เปิดหน้าดินโคนต้น นำเศษพืชแห้งออกให้หมด
– งดน้ำเด็ดขาด ระวังน้ำใต้ดินโคนต้น ถ้าระดับน้ำใต้ดินตื้น ต้องพูนโคนต้นให้สูงพร้อมกับทำร่อง รอบทรงพุ่ม กรณีสวนยกร่องน้ำหล่อต้องสูบน้ำออก


หมายเหตุ :
1.... ปุ๋ยทั้งทางรากและทางใบที่ใช้มี “สารอาหารกลุ่ม C” (ธาตุรอง/ธาตุเสริม/ฮอร์โมน) เป็น ส่วนผสมทุกสูตร
2.... การบำรุงทุกระยะพัฒนาการ ให้ “สารอาหารกลุ่ม C” (ธาตุรอง/ธาตุเสริม และ ฮอร์โมน) ตั้งแต่เริ่มต้น (เรียกใบอ่อน) จนถึง เก็บเกี่ยวผลผลิต
3..... ด้วยเทคนิคบำรุงด้วย “สารอาหารกลุ่ม C” (ธาตุรอง/ธาตุเสริม) อย่างสม่ำเสมอนี้ เป็นเหตุผลให้ต้นได้สะสมไว้ภายในต้นอย่างมากมาย เป็นผลทำให้ต้นไม่สามารถใช้ N. ในการสร้างใบอ่อนจนเกิดผลเสียหายแก่ผล (ผลร่วง) ช่วงที่มีผลอยู่บนต้นได้
4..... เทคนิคการให้ “สารอาหารกลุ่ม C” (ธาตุรอง/ธาตุเสริม) เพื่อกด “สารอาหารกลุ่มสร้างใบ” (N) เมื่อช่วงวิกฤต (ฝน) มาถึงแล้วมักไม่ทันการจึงเป็นเหตุให้ N มากกว่า C
5…. ทุกเอกสารตำราต่างอ้างเหมือนกันว่า “ธาตุรอง/ธาตุเสริม” ไม่สำคัญ ไม่ต้องให้ก็ได้ เพราะต้นไม้ที่สมบูรณ์สามารถสร้างขึ้นได้เองตามธรรมชาติ นั่นหมายถึง ต้นไม้ผลที่เจริญเติบโต หรือพัฒนาการในช่วงที่สภาวะอากาศปกติกับทั้งเกรด.หรือคุณภาพผลผลิตที่ได้ก็อยู่ในระดับปกติ ตามธรรมชาติทางสายพันธุ์เท่านั้น แต่หากมีการให้ “ธาตุรอง/ธาตุเสริม/ฮอร์โมน และอื่นๆ” เสริมหรือให้อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องตลอดอายุปีการผลิต แม้ในสภาวะสภาพอากาศปกติ นอกจากจะช่วยให้ต้นมีความแข็งแรง ต่อสู้กับสภาวะวิกฤตของสภาพอากาศได้แล้ว ยังส่งให้ผลผลิต ได้เกรด.และคุณภาพที่ตลาดต้องการอีกด้วย

ติดต่อ : [ 6 มี.ค. 53 9:03 ]




http://www.pantown.com/market.php?id=47825&name=market5&area=3&topic=4&action=view
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©