-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ช่วงเวลาใส่ปุ๋ย มันสำปะหลัง ? ....
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ปุ๋ยน้ำชีวภาพ ต่อผักไฮโดรโปนิค...
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ปุ๋ยน้ำชีวภาพ ต่อผักไฮโดรโปนิค...

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 01/03/2011 5:09 pm    ชื่อกระทู้: ปุ๋ยน้ำชีวภาพ ต่อผักไฮโดรโปนิค... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


ปุ๋ยน้ำชีวภาพ ต่อผักไฮโดรโปนิค...

บทที่ 1

บทนำ

1.1 ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
เนื่องจากสมาชิกในกลุ่มทุกคนเคยเรียนเรื่อง การปลูกพืชไร้ดิน ในตอนที่เรียนอยู่ในชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ พอขึ้นมาอยู่ชั้น
ประถมศึกษาปีที่ ๖ ข้าพเจ้าได้ทำโครงงานปุ๋ยวิเศษ (น้ำปุ๋ยชีวภาพ) ได้ข้อมูลว่า น้ำปุ๋ยจากเศษอาหารรดต้นไม้ได้เจริญเติบ
โตดีเท่ากับการใช้ปุ๋ยเคมี สมาชิกในกลุ่มเล็งเห็นว่า การปลูกพืชไร้ดินจำเป็นต้องใส่สารอาหาร A และ B แต่
เราก็มีน้ำปุ๋ยที่ทำเอง คือ น้ำปุ๋ยชีวภาพ เลยมีความคิดว่าน่าจะนำน้ำปุ๋ยชีวภาพมาทดแทนสารอาหาร A และ B

จึงได้คิดโครงงานชิ้นนี้ขึ้น
1.2 วัตถุประสงค์
1. เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อสารอาหาร A และ B
2. เพื่อศึกษาขั้นตอนเทคนิคการปลูกพืชไร้ดิน
3. เพื่อนำความรู้ที่ได้รับไปเผยแพร่
4. เพื่อศึกษาการปลูกพืชหลายๆ แบบ
5. ใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นให้คุ้มค่า
6. เพื่อเป็นการนำกลับมาใช้ใหม่และลดมลพิษทางอากาศ


1.3 สมมุติฐาน
พืชไร้ดินที่ปลูกด้วยน้ำปุ๋ยชีวภาพ สามารถเจริญเติบโตเท่ากับพืชไร้ดินที่ปลูกด้วยสารอาหาร A และ B ดังนั้น น้ำปุ๋ยชีวภาพ
ให้แทนสารอาหาร A และสารอาหาร B ได้


1.4 ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
- ตัวแปรต้น น้ำปุ๋ยชีวภาพ
- ตัวแปรตาม ความเจริญเติบโตของต้นพืช
- ตัวแปรควบคุม

1. ชนิดของพืช
2. สถานที่ปลูก
3. ภาชนะและอุปกรณ์ในการปลูก


1.5 ขอบเขตการศึกษา
1. เรือนเกษตรของโรงเรียน
2. ระยะเวลาการทำโครงงาน พฤศจิกายน 2543 – มกราคม 2544




บทที่ 2
เอกสาร

ระบบไฮโดรโพนิคส์ (Hydroponics) ได้เข้ามามีบทบาทเพื่อแก้ปัญหาของการปลูกพืชในดิน ซึ่งมีการใช้สารเคมีเพื่อ
กำจัดศัตรูพืชและวัชพืช อีกทั้งเชื้อโรคและพยาธิจากดินทำให้เกิดสารตกค้างในผลผลิต ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค และ
ตัวเกษตรกรผู้ปลูกเอง รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นด้วย การปลูกพืชด้วยดินยังต้องใช้น้ำที่เปลืองถ้าปราศจากแหล่งน้ำแล้ว
ยากที่จะปลูกได้ อีกทั้งต้องปรับสภาพดิน ตากดินการเพาะปลูกเป็นการสิ้นเปลืองเวลาและแรงงาน และต้องใช้ปุ๋ยสูตร
ต่างๆอยู่เรื่อยๆตามอายุของพืช และต้องใช้ประสบการณ์มาก

ระบบไฮโดรโพนิคส์ เข้ามาแก้ปัญหาข้างต้นประหยัดน้ำเพราะใช้น้ำน้อย (รวมทั้งสารอาหารพืชด้วยโดยใช้สารอาหาร A และ
B อย่างละประมาณ 4 CC./น้ำ 1 ลิตร) และหมุนเวียนกลับไปมาอยู่ตลอดและเป็นการเติมออกซิเจนในตัว

ระบบไฮโดรโพนิคส์ รางปลูกยกสูงขึ้นจากดินจึงไม่มีเชื้อโรคพยาธิและแมลงบางชนิดมารบกวน

ระบบไฮโดรโพนิคส์ ปลูกได้ต่อเนื่องใช้สอยประโยชน์จากพื้นที่ได้เต็มที่ ไม่กลัวฝนแล้งและน้ำท่วม ใช้สารอาหารสูตรเดียว
ตลอดอายุพืช ใช้ประสบการณ์ในการปลูกน้อยก็เข้าใจความต้องการของพืชได้ และใช้แรงงานน้อย

ระบบไฮโดรโพนิคส์ ต้นทุนการติดตั้งค่อนข้างสูง ถ้าลดการใช้พลังงานไฟฟ้ากับการปั้มน้ำโดยการใช้พลังงานจากธรรมชาติ
เช่น ลม หรือแสงแดด ได้ นับว่าคุ้มกับการลงทุนทีเดียว


ปัจจัยที่ระบบไฮโดรโพนิคส์ต้องใช้
1. น้ำ อาจใช้น้ำประปาแทนก็ได้โดยการพักน้ำไว้ก่อนปรับค่า pH. ที่ประมาณ pH. 6-6.5 ถ้าไม่มีการปรับค่า พอพืชโตไป
ระยะหนึ่งรากพืชจะตาย แนะนำให้เปลี่ยนน้ำทุกอาทิตย์

2. สารอาหาร เป็นการผสมธาตุต่างๆที่พืชต้องการ (สารอาหารสำเร็จรูปมี สาร A และ B) โดยใช้อัตราการผสมสารอาหาร
A และ B ลงน้ำที่จะใช้ปลูกให้วัดค่า CF.ให้ได้ค่าตามที่ชนิดของพืชที่จะปลูก ถ้าเป็นผักจะประมาณค่า CF. 8-12 หรือ
ประมาณ 4 CC./น้ำ 1 ลิตร



ธาตุอาหารพืชที่จำเป็นแบ่งเป็น 3 กลุ่ม
- อาหารหลัก ... คาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม
- อาหารรอง ... แคลเซียม กำมะถัน แมกนีเซียม
- อาหารเสริม ... เหล็ก แมงกานีส
ทองแดง สังกะสี โบรอน โมลิบดินั่ม คลอรีน

3. ออกซิเจน
ปริมาณออกซิเจนในน้ำมีมากพอในอุณหภูมิต่ำและได้โดยการไหลตกของน้ำขากลับลงถัง หรือในรางปลูกเอง และอาจใช้ปั้ม
ช่วยในกรณีน้ำในถังอุณหภูมิสูงเกินไป อุณหภูมิน้ำในถังไม่ควรเกิน 35 องศา C. (ควรรักษาให้อุณหภูมิต่ำไว้ก่อน) ถังน้ำ
ควรมีที่กันฝนกันแดดได้ดี

4. แสงแดด
จำเป็นต่อพืชมาก ควรให้พืชได้รับแสงแดดอย่างเพียงพอตามชนิดของพืชนั้นๆ ถ้าแสงแดดไม่เพียงพอ พืชจะยืดเสียทรงและ
อ่อนแอเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่


5. สภาพแวดล้อม
อากาศ : มีการถ่ายเทอากาศที่ดี ถ้าอุณหภูมิอากาศสูงความชื้นต่ำ พืชจะคายน้ำมากเกินไปพืชจะเหี่ยวเฉา ช่วงที่มีอากาศร้อน
ควรจะพรางแสง หรือให้น้ำทางใบ โดยใช้สเปรย์น้ำฉีดก็จะช่วยไม่ให้ใบเฉาได้

ฝน : ในระยะต้นอ่อนฝนจะชะวัสดุปลูกทำความเสียหายกับรากพืชได้ควรมีที่กันฝนในระยะนี้

ฝุ่น : จะจับใบทำให้การสังเคราะห์แสงและคายน้ำได้ไม่ดีและใบไม่สวย การใช้สเปรย์น้ำฉีดจะได้ประโยชน์ทั้งสองทาง
คือ ลดการคายน้ำและล้างใบพืช


6. รางปลูกและวัสดุปลูก
ควรเลือกรางปลูกให้เหมาะกับชนิดของพืช โดยคำนวณคร่าวๆเกี่ยวกับรูปทรง และขนาดปริมาณของรากพืชแต่ละชนิด
ส่วนวัสดุปลูกควรสะอาดดูดซับน้ำได้ดี พรุน อากาศไหลผ่านได้ดี


7. พลังงาน
ที่จะฉุดน้ำจากถังน้ำเข้าไปจ่ายผ่านรางปลูก ทั่วไปใช้ไฟฟ้า และปั้มน้ำ



วิธีการปลูกพืชระบบไฮโดรโพนิคส์
1. ใส่วัสดุปลูก (เพอร์ไลท์ + เวอร์มิคไลท์) ลงถ้วยปลูกให้เต็มถ้วย ใส่เมล็ดพันธุ์พืชลงในถ้วยปลูก โดยฝังลึกจากปาก
ถ้วยประมาณ 1 เซนติเมตร แล้วรดน้ำให้เปียก แล้วนำไปวางในกระบะหรือถาดที่เตรียมไว้ โดยให้ได้รับแสงแดดอ่อนๆ
อย่างเพียงพอ (ถ้าไม่ได้รับแสง ต้นกล้าจะยืดสูงไม่แข็งแรง จะเกิดความเสียหายได้) รดน้ำเช้าเย็นทุกวัน โดยเฉพาะใน
ถาดเพาะควรมีน้ำขังประมาณ 1 เซนติเมตร เพื่อป้องกันการขาดน้ำ ในกรณีลืมรดน้ำ ประมาณ 2-3 วันเมล็ดจะงอก

2. เมื่อเมล็ดงอกประมาณ 2-3 วัน เริ่มให้สารอาหาร โดยให้สารอาหารค่าประมาณ CF. 4-6 (สารอาหาร A และ B อย่าง
ละประมาณ 2 CC./น้ำ 1 ลิตร) เพื่อเร่งรากโดยอาจจะให้น้ำไหลเวียนเพื่อจะได้ออกซิเจน (ในช่วงนี้อาจย้ายลงรางปลูก
ได้เลย)เลี้ยงจนต้นอ่อนโตมีรากพอสมควรหรือประมาณ 2 สัปดาห์ จึงย้ายลงปลูกที่รางปลูก

3. เมื่ออยู่ในรางปลูก ให้สารอาหารค่าประมาณ CF. 8-12 (สารอาหาร A และ B อย่างละประมาณ 4 CC./น้ำ 1 ลิตร)
รวมระยะปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวประมาณ 45-50 วัน

ถ้ามีเครื่องมือวัดค่า pH. และ CF. ควรตรวจเช็คความเป็นกรด ด่างบ้างเพื่อปรับค่า โดยใช้กรดฟอสฟอริกปรับ และค่าสาร
อาหารน้อย ให้เติมสารอาหาร ถ้ามากให้เติมน้ำ ถ้าไม่มีควรใช้วิธีเปลี่ยนน้ำใหม่สัปดาห์ละ 1 ครั้ง

แต่ถึงจะมีเครื่องมือวัด CF. ก็ควรที่จะเปลี่ยนน้ำใหม่ทุกๆ 3 สัปดาห์ เพราะว่าการวัดค่าจะได้ค่าสารละลายรวมเท่านั้น แต่
ไม่ได้บอกค่าสัดส่วนของธาตุอาหารแต่ละชนิดที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละวัน และธาตุบางธาตุพืชนำไปใช้ได้น้อยจึงเหลือ
สะสมอยู่ในถังสารอาหาร เช่น โซเดียม คลอรีน มีผลทำให้ธาตุสารอาหารตัวอื่นๆ เปลี่ยนแปลงและตกตะกอน โดยเฉพาะ
ช่วงที่มีอากาศร้อน




http://www.school.net.th/library/create-web/10000/generality/10000-2891.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 02/03/2011 6:55 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 01/03/2011 8:36 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Hydroponic Fertilizer


ปุ๋ยไฮโครโปนิค ทำมาจากอะไร ? ทำได้อย่างไร ? แล้วพิษภัยเป็นอย่างไร ?

หาคำตอบได้ที่นี้

ปุ๋ยไฮโดรโปนิค ที่จริงแล้วเป็นปุ๋ยเคมี 100 % มี่ส่วนประกอบของธาตูอาหารพืชต่างๆ ครบถ้วน ทั้งธาตุอาหารหลัก N P K และ
ธาตุอาหารรอง Ca Mg S ธาตุอาหารน้อย Fe Mn Cu Mo B Zn ซึ่งสัดส่วนต่างๆ ในปุ๋ยจะถูกคำณวนอย่างถูกต้องตรงกับ
ความต้องการของพืชแต่ละชนิด จึงมีหลายสูตร หลายสำนัก แต่ละสำนักปลูกพืชชนิดเดียวกัน แต่สูตรปุ๋ยและส่วนผสมอาจจะแตก
ต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแม่ปุ๋ยที่ใช้ผสมมีความแตกต่างกัน นับเป็นเรื่องแปลกอยู่เหมือนกัน ที่สามารถพลิกแพลงการผสมได้
แต่วัตถุประสงค์เหมือนกัน คล้ายกัน คือ ผลผลิตพืชที่ได้ เหมือนกันหรือเท่ากัน


ค้นหาเหตุผลที่ว่าเป็นพิษต่อการบริโภคพืชผักที่ปลูกแบบไฮโดรโปนิค หรือไม่นั้นก็มีอยู่หลายแง่หลายประเด็นที่น่าพิจารณา

ผักที่ปลูกด้วยวิธีใดก็ได้จะต้องมีส่วนประกอบของน้ำประมาณ 80% น้ำที่ได้จากผักที่ต่างวิธีปลูกมาแยกธาตุแล้วก็พบว่า องค์
ประกอบของน้ำคงเป็น H2O เหมือนกัน

โครงสร้างโมเลกุลของแป้งในผักอินทรีย์และผักไฮโดรโปนิค เมือแยกออกมาแล้วก็มีธาตุ C H O เท่ากันไม่แตกต่างกัน

อินทรีย์สาร จุลินทรีย์สาร จุลินทรีย์ต่างๆ พืชไม่ได้กินในลักษณะเป็นสารอินทรีย์หรือจุลินทรีย์แต่จะต้องย่อยสลายเป็นรูป
เคมีที่พืชกินได้เสียก่อน ยกตัวอย่าง มูลไก่ ถือว่าเป็นสารอินทรีย์ จะต้องถูกขบวนจุลินทรีย์ย่อยให้เป็นสารประกอบ ไนเตรท
(NO3) ก่อนพืชจึงกินได้ฯ

จุลินทรีย์ เช่น จุลินทรีย์ไรโซเบี้ยม พืชไม่ได้กินไรโซเบี้ยมแต่ที่ไรโซเบี้ยมอยู่ในส่วนของต้นพืชเพื่อจะช่วยเปลี่ยน ไนโตรเจน
จากอากาศให้เป็นรูปไนเตรท (NO3) พืชจึงกินได้

ไฮโดรโปนิค ให้พืชกินไนเตรท (NO3) จากเคมีที่สังเคราะห์แล้ว ส่วนมากที่ใช้กันอยู่เป็นเคมีที่สกัดเอาสิ่งเจือปนออกหมดแล้ว
ความเป็นพิษจึงไม่มี การให้ไนเตรทมากไปในผักที่ปลูกด้วยระบบไฮโดรโปนิค ผักจะตายหรือไม่โต การให้เป็นความพอดีไม่เกิน
จึงไม่ถึงกับเป็นพิษได้

เราไม่สามารถใช้อินทรีย์สาร เช่น มูลไก่ปลูกผักแบบไฮโดรโปนิคได้เพราะส่วนประกอบของมูลไก่มีหลายอย่าง
ที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ปริมาณธาตุอาหารหลักไม่แน่นอนแล้วแต่แหล่งที่มา จุลินทรีย์ ความเป็นกรดเป็นด่างไม่แน่นอน
สารแอนตี้ไบโอติค ถ้านำมาปลูกผักไฮโดรโปนิคคงจะเน่าหมดใช้ไม่ได้เลย ?????




เรื่องราวของ Hydroponics…….ที่คุณอาจยังไม่รู้



http://www.hinlotom.com/wizContent.asp?wizConID=61&txtmMenu_ID=41


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 02/03/2011 8:54 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 01/03/2011 8:41 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สูตรปุ๋ยชีวภาพ สำหรับผักไฮโดรโปนิกส์


รศ.ดนัย วรรณวนิช นักวิจัยจาก คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี พบสูตรปุ๋ยชีวภาพ
สำหรับการผลิตผัก ระบบไฮโดรโปนิกส์ หลีกเลี่ยงสารไนเตรทเข้าสู่ร่างกาย

ผู้วิจัยเปิดเผยว่า ในการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน หรือไฮโดรโปนิกส์ เป็นการปลูกพืชโดยได้รับสารละลายธาตุอาหารผ่านทางราก
ของพืช ดังนั้นหัวใจสำคัญสำหรับการเจริญเติบโตก็คือ สารละลายอาหารนั่นเอง

โดยปกติสูตรสารละลายธาตุอาหารทุกสูตรได้มาจากสารอนินทรีย์ หรือปุ๋ยเคมีชนิดต่างๆ โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจน ซึ่งเป็นปุ๋ยที่
พืชดูดไปใช้มากที่สุดเพื่อนำไปใช้ในการเจริญเติบโต และพืชที่ได้รับปุ๋ยไนโตรเจนในรูปของไนเตรทอย่างเพียงพอจะมีการเจริญ
เติบโตที่สมบูรณ์ แต่อย่างไรก็ตาม หากพืชได้รับปุ๋ยไนโตรเจนในรูปของไนเตรทมากเกินไปจนใช้ไม่หมด จะเกิดการสะสมอยู่
ในส่วนต่างๆ ของพืช หากนำพืชนั้นไปบริโภค จะทำให้สารไนเตรทเข้าสู่ร่างกาย และเกิดอันตรายแก่ผู้บริโภคได้

ด้วยเหตุนี้เอง ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาการใช้สารอินทรีย์ชนิดต่างๆ ในการปลูกพืชแบบ ไม่ใช้ดิน ผู้วิจัยได้ใช้น้ำหมักปุ๋ยคอก น้ำหมักมูล
ค้างคาว น้ำสกัดชีวภาพจากนมสด น้ำหมักซูเปอร์โบกาฉิ น้ำหมักดินระเบิด น้ำสกัดชีวภาพจากพืช น้ำสกัดชีวภาพจากมูลสัตว์
มาทดลองผสมกับปุ๋ยเคมีในอัตราส่วน 1:3 แล้วพบว่า การใช้น้ำหมักดินระเบิด และน้ำสกัดชีวภาพจากนมสด สามารถทำให้พืช
ผักมีการเจริญเติบโตทัดเทียมกับการใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว จะเห็นได้ว่า นอกจากจะเป็นการลดอันตรายอันเกิดจากสาร
เคมีแล้ว ยังประหยัดค่าใช้จ่ายอีกด้วย



ผู้ใดสนใจ อยากทราบรายละเอียด สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 089-2365470


http://www.ryt9.com/s/bmnd/687015





การใช้น้ำสกัดชีวภาพปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์


การปลูกพืชด้วยระบบไฮโดรโปรนิกส์ (Hydroponics) เป็นการใช้หลักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ เลียนแบบการปลูกพืช
บนดิน พืชสามารถรับสารอาหารได้โดยตรงโดยไม่ต้องดูดซับสารอาหารจากในดิน จุดเด่นของการปลูกพืชด้วยระบบนี้ คือ
ผลผลิตดีมีความสม่ำเสมอและมีคุณภาพดี แต่จุดด้อยของระบบนี้ คือ ต้องลงทุนสูงและต้องมีความรู้ในด้านการจัดการ
และเทคโนโลยีที่สูงกว่าการปลูกพืชในดิน

ปัญหาที่สำคัญอีกข้อหนึ่ง คือ ถ้าให้สารเคมีที่เข้มข้นแก่พืชจะทำให้พืชสะสมไนโตรเจนในส่วนต่างๆมากเกินไป เมื่อ
นำมาบริโภคจะทำให้เปลี่ยนรูปเป็นสารไนเตรทเข้าสู่ร่างกายเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคได้

รศ.ดร.ดนัย วรรณวณิช ได้ศึกษาเกี่ยวกับการปลูกพืชในระบบนี้และได้ริเริ่มทดลองใช้น้ำสกัดชีวภาพผสมในสาร
ละลาย โดยน้ำสกัดชีวภาพที่ใช้จะต้องหมักจากวัตถุดิบที่หาได้ในหลายๆท้องถิ่น เพื่อให้มีธาตุอาหารสมดุล ผลการ
ทดลองที่ผ่านมา พบว่า แปลงที่ใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ 100% ให้ผลผลิตต่ำสุดในทุกพืช นั่นคือ ปริมาณธาตุอาหารใน
ปุ๋ยหมักชีวภาพไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช ต่อมาอาจารย์ดนัย ได้เริ่มใช้ปุ๋ยน้ำหมักที่หมักจากสารอินทรีย์
หลายๆชนิดมาผสมกัน พบว่า ให้ผลผลิตดี พืชไม่ขาดสารอาหาร นำไปผสมลงในสารละลายเคมีได้อย่างไม่มีปัญหา


ข้อควรระวัง คือ ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพที่นำมาใช้ในแปลงพืชไฮโดรโปรนิกส์ต้องหมักให้สลายเป็นน้ำอย่างสมบูรณ์ กรอง
เอาเศษกากอินทรีย์ด้วยผ้าขาวบางทิ้งให้หมดจึงจะนำมาใช้ได้


ในอนาคตหากมีวิธีการสกัดปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพที่ดีกว่าในปัจจุบัน และมีการกำหนดมาตรฐานต่างๆให้เหมาะสมกับพืช
แต่ละชนิดได้ การปลูกพืชในระบบไฮโดรโปรนิกส์ก็จะป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับเกษตรกรไทย



http://siweb.dss.go.th/techno_file/description.asp?num=3709


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 02/03/2011 8:47 pm, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 01/03/2011 8:57 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สูตรอาหารสำหรับใช้เลี้ยงพืชผัก

สูตร 1 สต๊อค A ประกอบด้วย
แคลเซียม ไนเตรด ..........................80.9 กรัม / น้ำ 100 ลิตร

สต๊อค B ประกอบด้วย
โปแตสเซียม ซัลเฟต ....................... 55.4 กรัม
โปแตสเซียม ฟอสเฟต ..................... 17.7 กรัม
แมกนีเซียม ฟอสเฟต ...................... 9.9 กรัม
แมกนีเซียม ซัลเฟต ........................ 46.2 กรัม
เหล็ก (ซีเลตติ้ง) ........................... 3.27 กรัม
แมงกานีส ซัลเฟต .......................... 0.02 กรัม
กรดบอริค .................................... 0.173 กรัม
ซิงค์ ซัลเฟต ................................ 0.044 กรัม
แอมโมเนีย โมดิบเดท ...................... 0.005 กรัม



สูตร 2 สต๊อค A ประกอบด้วย
แคลเซียม ไนเตรด ......................... 2.5 ก.ก./น้ำ 25 ลิตร

สต๊อค B ประกอบด้วย
โปแตสเซียม ไนเตรด ....................... 1.5 ก.ก.
โมโน โปแตสเซียม ฟอสเฟต ............... 0.5 ก.ก.
แมกนีเซียม ซัลเฟต ......................... 1.3 ก.ก.
สารละลาย Nzhydroppnic ............... 0.1 ก.ก.


อนึ่งสูตรอาหาร นอกจากนี้มีหลากหลายสูตร เช่น สูตรของ Knop สูตรประเทศอังกฤษ อเมริกา ออสเตรเลีย
ผู้สนใจสามารถศึกษาเพิ่มเติมจากเอกสารทางวิชาการด้านการปลูกผักแบบไม่ใช้ดิน


http://www.siamhits.com/article/questions/3505/__rate



แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 02/03/2011 6:59 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 01/03/2011 9:06 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การให้อาหารพืชทางใบ (FoliarFeeding)


เนื่องจากการให้อาหารพืชทางใบและกิ่งยังไม่เป็นที่ยอมรับกันในปัจจุบัน บทความนี้เป็นการสรุปรายงานผลงานการค้นคว้ารวมทั้ง
ทฤษฎีและเหตุผลต่างๆที่สามารถนำมาอธิบายสนับสนุนการพัฒนาการทางกายภาพและผลผลิตที่เพิ่มขึ้นของพืชภายหลังที่มีการ
ให้อาหารทางใบได้อย่างยากที่จะปฏิเสธ ในยุคโลกาภิวัฒน์นี้ท่านผู้อ่านคือหนึ่งในคณะกรรมการตัดสินการยอมรับหรือไม่ยอม
รับที่เที่ยงธรรมที่สุดในโลกของสังคมมนุษย์ยุคศตวรรษที่21 เพราะความสามารถสื่อถึงกันได้อย่างไร้พรมแดนและรวดเร็วเช่นนี้
จึงทำให้เราสามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเองและเชื่อว่าท่านคงไม่ด่วนเชื่อโดยไม่ทดลองปฏิบัติก่อนเป็นแน่ การยอมรับในที่นี้
อาจไม่มีลายลักษณ์อักษรเช่นในศตวรรษที่ผ่านมาแต่จะเป็นลายลักษณ์เชิงปฏิบัติในสังคม และเวลาคือกรรมการคนสุดท้ายที่
จะเป็นผู้ชี้ขาด

ในสภาวะที่ระบบการดูดซึมทางรากของพืชถูกทำลายและการเจริญเติบโตของพืชลดลง กระบวนการทางกายภาพหรือพัฒนา
การของพืชเช่นการใช้อากาศหรือการหายใจก็จะเปลี่ยนแปลงไปด้วย ทำให้เกิดผลกระทบต่อการดูดซึมเกลือแร่ของพืชด้วย
เช่นกัน เชื้อก่อโรคในพืชเช่น เชื้อ ฟิวซาเรี่ยม ไพเที่ยม (Fusarium pythium) ไฟท้อฟโทร่า (Phytophthora)ไม่เพียง
แต่จะทำลายพืชได้อย่างรวดเร็วเท่านั้นแต่การทำลายรากพืชในระดับต่ำๆสามารถจำกัดการทำงานของรากจนถึงจุดที่การดูด
ซึมเกลือแร่ได้รับผลกระทบ โดยที่พืชอาจไม่แสดงอาการของการติดเชื้อที่รุนแรงแต่อย่างใด การรับน้ำและเกลือแร่ที่ถูก
จำกัดเป็นผลให้ปริมาณและคุณภาพของผลผลิตลดลง สภาวะอื่นๆที่ทำให้เกิดความเครียดแก่พืชเช่น สภาวะแอนแอโรบิค
(anaerobic)สภาวะที่มีการย่อยสลายอินทรีย์สารด้วยจุลินทรีย์ที่ดำรงชีพโดยไม่ใช้อ๊อกซิเจนหรืออากาศเกิดขึ้น ณ บริเวณ
รากบริเวณดังกล่าวจึงขาดอากาศก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่จำกัดการรับอาหารของพืชโดยเฉพาะจุลธาตุเหล็กจะได้รับผลกระทบ
อย่างรุนแรงที่สุด สภาวะอื่นๆที่ก่อให้เกิดความเครียดได้แก่

อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงอย่างมาก

ความชื้นที่มากหรือน้อยเกินไป

การขาดแสง

ระดับการแผ่รังสีสูง

ความหนาแน่นของพืช

เกิดแมลงหรือโรคพืช

ทั้งหมดดังกล่าวเป็นเหตุให้ประสิทธิภาพของระบบการทำงานของรากในการรับแร่ธาตุลดลง สภาวะเหล่านี้จะปรากฏอยู่เป็น
ประจำและมักจะเกิดขึ้นกับระบบการเจริญเติบโตของพืชหลายแบบเป็นครั้งคราวโดยที่เกษตรกรไม่อาจทราบไต้

ตามสภาวะดังกล่าวมาทั้งหมดนี้การให้อาหารทางใบจึงให้ประโยชน์ได้สูงสุด และเพราะว่าความเครียดที่เกิดกับพืชขึ้นกับ
องค์ประกอบทั้งหมดดังกล่าว---หลายสาเหตุเกิดจากสภาวะแวดล้อม ซึ่งเกษตรกรไม่สามารถควบคุมได้ทั่วถึง การให้อาหาร
ทางใบจึงเป็นวิธีประกันปริมาณผลผลิตและคุณภาพให้คงที่อยู่ได้ ทั้งๆที่การดูดซึมและการลำเลียงอาหารจากรากนั้นมีอยู่
อย่างจำกัด


กระบวนการรับอาหารพืชทางใบ (The Process of Foliar Fertilization)
ใบไม้ทุกชนิดส่วนใหญ่จะมีสโตมาตา (stomata) คือ รูเปิดเล็กๆไต้ใบหรือทั้งสองด้านซึ่งมีไว้สำหรับแลกเปลี่ยนแก๊สคาร์
บอนไดอ๊อกไซด์ (carbondioxide) และอ๊อกซิเจน (oxygen) ในอากาศเพื่อการหายใจและการสังเคราะห์แสง
(photosynthesis) รวมทั้งการระเหยไอน้ำผ่านทางรูเปิดเล็กๆ (stomata) นี้ด้วย ดังนั้นใบไม้จึงมีผิวชั้นนอกสำหรับ
ทำหน้าที่เป็นทั้งอวัยวะดูดซึมและขับน้ำที่มีสารละลายต่างๆอยู่ได้ด้วย

เพราะว่าการดูดซึมทางใบมีจำกัดเนื่องจากผิวชั้นนอกทำหน้าที่เป็นทำนบกั้นเป็นส่วนใหญ่จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะให้อาหารทั้ง
หมดแก่พืชผ่านทางใบเพียงอย่างเดียว เพราะเหตุผลนี้การให้ปุ๋ยทางใบแก่พืชที่ได้ผลมากที่สุดคือการให้จุลธาตุซึ่งจัดได้
ว่ามีประสิทธิภาพและรวดเร็ว อย่างไรก็ดีอาจเป็นการให้ธาตุอาหารหลักในปริมาณที่ไม่มากตามความต้องการที่เร่งด่วนได้
อย่างน่าพอใจ นอกจากนั้นยังเป็นการให้ธาตุอาหารในโตรเจนผ่านทางใบด้วยสารยูเรียที่ปลอดไบยูเรต (biuret-free urea)
ได้ด้วย


วิธีให้อาหารพืชทางใบ (Foliar Nutrient Application)
หลักเกณฑ์สำคัญมากอย่างหนึ่งในการพ่นให้ธาตุอาหารพืชทางใบคืออัตราที่ธาตุอาหารนั้นจะถูกดูดซึมด้วยใบและการลำเลียง
ธาตุอาหารภายในของพืชนั้น การรับธาตุอาหารก็ยังมีผลกระทบด้วยองค์ประกอบที่เป็นปฏิกริยาภายในหลายองค์ประกอบด้วย
กันซึ่งบางส่วนก็เป็นที่ทราบกันดีในปัจจุบัน จึงเป็นการยากที่จะแน่ใจได้ว่าองค์ประกอบเหล่านี้จะเหมาะสมต่อการให้อาหาร
ทางใบในแต่ละครั้ง โดยที่บางองค์ประกอบอาจมีความสำคัญมากกว่าก็ได้ การใช้สารเกาะและเปียกใบปลอดอิออนคุณภาพ
ดีๆคือหัวใจของการให้อาหารทางใบ การใช้สารเกาะผิวใบเป็นสิ่งจำเป็นเพราะทำให้แน่ใจได้ว่าฝอยละอองเล็กๆจะเกาะติดใบ
ที่เปียกยากนั้นได้เท่าๆกับเป็นการช่วยให้มีการดูดซึมสารอาหารเข้าสู่เนื้ยเยื่อของพืชนั้นได้ด้วยเช่นกัน

สารละลายที่ใช้เป็นปุ๋ยทางใบควรจะได้รับการพ่นให้เป็นฝอยละอองตั้งแต่ต้นจนสิ้นสุดในแต่ละครั้งเพื่อว่าทั้งผิวใบได้เปียกทั่วกัน
เวลาที่เหมาะสำหรับการพ่นในแต่ละวันก็มีความสำคัญ ควรพ่นในตอนเช้าตรู่เมื่อเริ่มสว่างและอากาศเย็น หรือดีที่สุดคือในตอน
เย็นซึ่งสภาวะแวดล้อมดีพอทำให้ใบมีโอกาศแห้งแทนที่จะต้องเปียกอยู่นานก็เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาด้วย ไม่ควรให้อาหารพืช
ทางใบในระหว่างที่อากาศร้อน หรือแสงแดดจ้า และในขณะที่พืชกำลังสลบซบเซาเพราะขาดน้ำจะเป็นช่วงที่สโตมาตา(stomata)
ของพืชมักจะปิดทำให้การพ่นให้อาหารในช่วงนี้ไม่บังเกิดผลใดๆ

การให้อาหารทางใบสามารถจะดำเนินไปได้ตามกำหนดเวลาที่สม่ำเสมอเช่นอาทิตย์ละครั้งหรืออาจลดช่วงเวลาให้ถี่ขึ้นตามความ
ต้องการที่มากขึ้น ของพืช เช่น ช่วงเริ่มออกผลหรือเมื่อมีการเพิ่มน้ำหนักแก่ผล บ่อยครั้งมากที่การให้อาหารทางใบจะได้ผลดีที่
สุดในช่วงเวลาที่พืชอยู่ในภาวะกำลังเจริญเติบโต ในช่วงเวลาดังกล่าวนี้ใบไม้จะมีประสิทธิภาพสูงเป็นพิเศษในการดูดซึม
ธาตุอาหาร

ถ้าช่วงเวลาที่พืชดูดซึมธาตุอาหารผ่านรากได้ยากเกิดตรงกับช่วงเวลาที่มีความต้องการธาตุอาหารอย่างมากเป็นพิเศษ ผลที่
ได้รับก็คือจะมีการสูญเสียศักย์ภาพในการให้ผลผลิต ทั้งนี้เพราะเกษตรกรไม่อาจที่จะมองเห็นสัญญาณการขาดธาตุอาหาร
ที่เกิดขึ้นได้ ภายใต้สภาวะดังกล่าวการให้ธาตุอาหารทางใบจะให้ผลเป็นที่น่าประทับใจ อย่างยิ่ง


บทบาทของปุ๋ยทางใบในพืชที่ปลูกโดยวิธีไฮโดรโปนิค
(The Role of Foliar Fertilization in Hydroponic Crop)

ในขณะที่พืชในระบบไฮโดรโปนิค (Hydroponic) อาจเป็นที่เข้าใจกันว่าได้รับอาหารครบหมู่ตามสูตรเป็นอย่างดีแล้วก็ตาม
แต่พืชเหล่านี้ก็ยังได้รับประโยชน์จากการให้อาหารทางใบได้ด้วยเช่นกัน จากการศึกษาหลายครั้งพบว่าพืชที่ปลูกโดยวิธี
ไฮโดรโปนิค เช่น พืชตระกูลพริก (Capsicum) ซึ่งได้รับธาตุอาหารประเภทจุลธาตุทางใบสามารถให้ผลผลิตมากกว่าพวก
ที่ไม่ได้รับ และยังเพิ่มปริมาณของสารประกอบแคปไซซีน (Capsaicin) ในเนื้อพริกได้อีกด้วย พวกมันฝรั่งที่ปลูกโดยวิธีเดียว
กันนี้ก็แสดงผลคล้ายคลึงกัน ต้นมันฝรั่งที่ได้รับสารอาหารทางใบที่มีจุลธาตุ ไม่เพียงแต่จะให้หัวที่ใหญ่กว่าเดิมแต่ยังให้ใยพืช
สูงกว่าอีกด้วย ไร่มันฝรั่งมีชื่อแห่งหนึ่งก็ยังแสดงผลให้เห็นว่าทั้งปริมาณและคุณภาพนั้นเพิ่มขึ้นจากเดิมเมื่อให้อาหารทางใบ
ที่มีจุลธาตุเพียงอาทิตย์ละครั้ง ผลเหล่านี้เป็นที่คาดหวังได้ในหลายๆโครงการที่ใช้ระบบไฮโดรโปนิคด้วยการให้ธาตุอาหาร
ที่จำเป็นของพืชที่คล้ายๆกัน และดังนั้นกระบวนการให้อาหารพืชทางใบจึงเป็นเทคนิคหนึ่งในการเพาะปลูก ซึ่งควรจะ
ได้รับการพิจารณามากกว่าจะเป็นเรื่อง ‘เร่งซ่อม‘ เพียงเพื่อรักษาอาการขาดแร่ธาตุเท่านั้น



http://www.weloveshopping.com/template/a20/show_article.php?shopid=26601&qid=38402


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 02/03/2011 7:48 pm, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 01/03/2011 9:20 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การปลูกผักไร้ดินแบบไฮโดรโพนิคส์

การปลูกพืชในระบบไฮโดรโพนิคส์เข้ามาสู่ประเทศไทยเมื่อประมาณ 10 ปีมาแล้ว โดยชาวไต้หวัน นำเข้ามาแนะนำให้ผู้ประกอบการ
คนไทยทำเป็นการค้าที่เรียกว่า "ผักลอยฟ้า"

ไฮโดรโพนิคส์ เข้ามามีบทบาทเพื่อแก้ปัญหาของการปลูกพืชในดิน ซึ่งมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและวัชพืช รวมทั้งเชื้อโรคพืช
ที่อาศัยอยู่ในดิน ทำให้เกิดสารพิษตกค้างในผลผลิตเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคและตัวเกษตรกรผู้ปลูก นอกจากนี้การปลูกพืชในดินยัง
ต้องใช้น้ำมาก ถ้าปราศจากแหล่งน้ำก็ก่อให้เกิดปัญหาในการเพาะปลูกอีกการปลูกพืชในดินต้องมีการเตรียมดิน ปรับสภาพดิน และ
ต้องใช้ปุ๋ยเคมีสูตรต่าง ๆ ตามอายุพืช "ไฮโดรโพนิคส์" จึงเป็นระบบการปลูกพืชที่เข้ามาแก้ปัญหาดังกล่าว

แต่ทั้งนี้ไฮโดรโพนิคส์ก็เหมาะสมสำหรับพืชบางชนิดเท่านั้น ไฮโดรโพนิคส์ เป็นการปลูกพืชไร้ดิน ในรูปแบบของการปลูกพืชให้ราก
พืชแช่อยู่ในน้ำ หรือสารละลายธาตุอาหารพืช ซึ่งคุณสุภาพร รัตนะรัต บอกว่า การปลูกพืชในสารละลายธาตุอาหารพืชมีหลายวิธี
แต่ละวิธีมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน วิธีที่ง่ายและสะดวก เป็นที่นิยมกันมี 2 วิธี คือ


วิธีการปลูกพืชไร้ดิน
- การปลูกพืชในสารละลายแบบไม่ไหลเวียน เป็นการปลูกแบบให้รากแช่อยู่ในสารละลายธาตุอาหารที่มีเครื่องพ่นอากาศ เป่าอากาศ
ลงในสารละลายนั้น การปลูกในระบบนี้เป็นวิธีที่ทำได้ง่ายมาก เหมาะสำหรับปลูกในครัวเรือน เป็นงานอดิเรก หรือเป็นงานทดลอง
ภาชนะที่ปลูกอาจจะเป็นภาชนะเดี่ยวหรือเป็นกระบะรวม การปลูกในภาชนะเดี่ยวมีข้อดี คือ ไม่ต้องเสี่ยงกับความเสียหายทั้งหมด ใน
กรณีที่มีโรคติดมากับรากพืชที่ปลูก ความเสียหายจะเกิดเฉพาะต้นที่เป็นโรคเท่านั้นและการเคลื่อนย้ายภาชนะปลูกสามารถทำได้ง่าย
แต่มีข้อเสียคือ อาจต้องสิ้นเปลืองแรงงานมากกว่า

- การปลูกในสารละลายแบบไหลเวียน (Nutrient Flow Tecnnique หรือ NFT) เป็นวิธีให้รากแช่อยู่ในสารละลายที่ไหล
เวียนภายในภาชนะปลูกรวม โดยใช้ปั๊มทำการผลักดันให้สารละลายเกิดการไหลเวียน มี 2 แบบ คือ แบบสารละลายไหลผ่านราก
พืชเป็นแผ่นฟิล์มบาง ๆ ตามความลาดชันของรางปลูก (Nutrient Flow Tecnnique) และระบบสารละลายไหลผ่าน
รากพืชอย่างต่อเนื่อง (Natrient Flow Tecnnique) การปลูกในระบบนี้ สารละลายธาตุอาหารที่ไหลผ่านรากพืชจะไหลลง
สู่ถังภาชนะบรรจุ แล้วถูกสูบด้วยปั้มน้ำขึ้นมาให้พืชได้ใช้ใหม่ โดยวิธีนี้จะสามารถใช้ประโยชน์จากสารละลายธาตุอาหารได้อย่าง
มีประสิทธิภาพ การนำสารละลายธาตุอาหารกลับมาใช้ใหม่ จึงเป็นวิธีที่ประหยัด และไม่เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม จากสารละลาย
เหลือใช้ แต่ข้อเสียของระบบนี้คือ ถ้าเกิดโรคที่ติดมากับรากพืช จะทำให้แพร่กระจายได้มากและรวดเร็ว จากการที่รากแช่
อยู่ในสารละลายเดียวกัน ซึ่งยากที่จะกำจัด หรือรักษาให้หายได้ การแพร่ระบาดของโรคอย่างรุนแรงทำความเสียหายแก่พืช
ที่ปลูกไว้ทั้งหมด


การปลูกพืชในระบบไฮโดรโพนิคส์
โดยเฉพาะพืชผักจะต้องปลูกในโรงเรือนมุ้งตาข่าย ภาชนะปลูกส่วนใหญ่จะเป็นกระบะ สำหรับใส่น้ำสารละลายธาตุอาหารพืช
มีแผ่นโฟมปิดบนกระบะแผ่นโฟมจะเจาะเป็นช่อง ๆ สำหรับวางต้นกล้าให้รากลงไปแช่ในสารละลาย ปัจจุบันมีการพัฒนาภาชนะ
ปลูกให้ทันสมัยขึ้น ประหยัดเนื้อที่และประหยัดน้ำมากขึ้น โดยการทำเป็นรางน้ำแทนกระบะนอกจากนี้ยังต้องมีเครื่องปั๊มอากาศ
สำหรับปั๊มอากาศเข้าไปในภาชนะปลูกพืชให้ออกซิเจนแก่รากพืช เพื่อพืชใช้ในการดูดซึมอาหาร

สำหรับธาตุอาหารที่พืชต้องการในการเจริญเติบโต มี 16 ชนิด ได้แก่ คาร์บอน ออกซิเจน ไฮโดรเจน ไนโตรเจน แคลเซียม
แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส โปตัสเซียม กำมะถัน เหล็ก ทองแดง แมงกานีส โมลิบดินัม สังกะสี คลอรีน และโบรอน นอกจากนี้
อาจจะมีธาตุอาหารอื่นๆ บ้าง เช่น อะลูเนียม แกลเลียม ซิลิกอน ไอโดดีน ซีลีเนียม และโซเดียม แต่จากการวิเคราะห์พบว่า ธาตุ
อาหารที่พืชต้องการมากคือ คาร์บอน และออกซิเจน ทั้ง 2 ชนิดรวมกันประมาณ 90% ของธาตุอาหารพืชทั้งหมด ที่เหลือ
เป็นไฮโดรเจน ไนโตรเจน และอื่น ๆ คุณสุภาพร รัตนะรัต กล่าวถึงข้อดี และข้อจำกัดของการปลูกพืชในระบบไฮโดรโพนิคส์
โดยเฉพาะพืชผักไว้ดังนี้

ข้อดี คือ
* ให้ผลผลิตที่สะอาด ถูกอนามัย ปลอดภัยจากสารพิษ เนื่องจากปลูกในโรงเรือนที่มีมุ้งตาข่ายปิดมิดชิดจึงไม่จำเป็นต้องใช้สาร
เคมีในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช

* พืชเจริญเติบโตและเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เร็วกว่าการปลูกในดิน เนื่องจากพืชได้รับธาตุอาหารต่างๆ ครบถ้วนในสัดส่วนที่พอ
เหมาะและตลอดเวลาที่พืชต้องการ ทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและรสชาติดี

* พืชที่ปลูกอยู่รอดมากขึ้น และให้ผลผลิตสูง เพราะสามารถควบคุมปัจจัยต่างๆ ที่ให้แก่พืชได้ดีกว่าปลูกในดิน ลดความเสี่ยง
จากสภาพดินฟ้าอากาศไม่แน่นอน เช่น น้ำท่วม ฝนแล้ง

* ใช้พื้นที่น้อย เพราะปลูกพืชได้หนาแน่นกว่าปลูกในดิน และปลูกต่อได้ทันทีหลังจากเก็บเกี่ยวพืชชุดแรกแล้ว จึงสามารถ
ปลูกได้หลายครั้งต่อปี

* ประหยัดค่าใช้จ่ายในการกำจัดวัชพืช

* ทดแทนการปลูกพืชในดินที่มีปัญหา เช่น ดินเค็ม ดินกรด ดินด่าง ดินที่ไม่เหมาะสมสำหรับปลูกพืช เช่น ดินลูกรัง ดินที่มี
น้ำท่วมขังบ่อยครั้ง

* เหมาะสำหรับปลูกในสถานที่ที่มีพื้นผิวดินสำหรับปลูกพืชน้อย เช่น ระเบียงบ้าน หรือ คอนโดมีเนียม

* ปลูกได้ตลอดปี ไม่ต้องรอฤดูกาล สามารถเลือกปลูกพืชในช่วงที่มีราคาแพง ทำให้ผลผลิตได้ราคาดีขึ้น

* ใช้แรงงานในการดูแลน้อย


ข้อจำกัด คือ
ลงทุนสูงในระยะแรก และต้องมีปัจจัยในการปลูกพืชในระบบนี้ คือ ไฟฟ้า น้ำ และธาตุอาหารที่พืชต้องการในรูปของสารเคมี
อย่างไรก็ตาม การปลูกพืชในระบบไฮโดรโพนิคส์ ในปัจจุบันเป็นที่นิยมกันมากสำหรับปลูกผักอนามัย และวิธีการปลูก
วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ก็มีการพัฒนาให้สะดวกและทันสมัยมากขึ้น ตลาดของผักอนามัยในปัจจุบัน เริ่มมีผู้หันมานิยมบริโภค
มากขึ้น การวางจำหน่ายผักที่ปลูกในระบบไฮโดรโพนิคส์ ปัจจุบันจะบรรจุถุงทั้งต้น โดยไม่ตัดรากและบางรายภาชนะปลูกที่
ใช้พยุงต้นซึ่งเป็นกระถางพลาสติกโปร่ง ขนาดเล็กๆ ยังมีติดที่โคนต้นเป็นการยืนยันว่าเป็นผักที่ปลูกในระบบไฮโดรโพนิคส์จริง ๆ
ปราศจากสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงแน่นอน

* ไม่มีโรคและแมลงศัตรูพืช
* ไม่ต้องใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช* ประหยัดน้ำและสารละลายธาตุอาหารพืช
* พืชโตเร็ว เก็บเกี่ยวได้เร็ว และให้ผลผลิตสูง
* สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมในการเพาะปลูกได้ ทั้งนี้มีตัวเลขยืนยัน ดังนี้


สามารถลดการใช้น้ำได้ 98%
สามารถลดปริมาณปุ๋ยเคมี ได้ 95%
สามารถลดปริมาณสารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชได้ 99%
สามารถเพิ่มผลผลิตในแต่ละรอบการเพาะปลูกได้ 45%
ได้ผลผลิตที่สะอาด



http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=2224.0;all;language=thai-utf8;language=english


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 02/03/2011 7:09 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 01/03/2011 9:44 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


http://fafreshfarm.blogspot.com/p/blog-page_15.html
















http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=2224.0;all
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 01/03/2011 9:50 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)












http://noonoeizuzaa.multiply.com/journal
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 02/03/2011 8:56 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ความคิดเห็นที่ 1

อืม...ขอออกความคิดเห็นหน่อยนะครับ

เรื่องไนเตรทตกค้างนี่ส่วนใหญ่จะเป็นเฉพาะเขตหนาวนี่ครับ
เรื่องเขตร้อนไม่ค่อยจะเป็นปัญหาเท่าไรนักนะครับ

เรื่องปุ๋ยอินทรีย์ในไฮโดรโพนิกส์ ถ้าทำได้แล้วให้ผลผลิตไม่แตกต่างและคุ้มต้นทุนในการผลิตก็ดีเลย

ทำขายได้เลยครับ

จากคุณ : seto16


http://topicstock.pantip.com/jatujak/topicstock/2008/01/J6285333/J6285333.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©