-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-เครื่องอบพลังแสงอาทิตย์....1 ไร่รวย
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - “ชันโรง” แมลงตัวเล็ก ภารกิจใหญ่...
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

“ชันโรง” แมลงตัวเล็ก ภารกิจใหญ่...

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11559

ตอบตอบ: 13/01/2011 7:54 pm    ชื่อกระทู้: “ชันโรง” แมลงตัวเล็ก ภารกิจใหญ่... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

“ชันโรง” แมลงตัวเล็ก กับภารกิจที่ยิ่งใหญ่


เมื่อกล่าวถึง “ชันโรง” หลายท่านรู้จัก แต่ก็อาจจะมีอีกหลายท่านที่ไม่รู้จัก บางท่านไม่รู้จักชันโรง แต่รู้จัก ขี้สูด ติ้ง ขี้ตังนี อุง ซึ่งล้วนเป็นอีกชื่อของชันโรงทั้งสิ้น เพื่อให้ทุกท่านได้รู้จักกับชันโรง ทราบและเข้าใจถึงภารกิจอันยิ่งใหญ่ของแมลงเล็กๆ เหล่านี้ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะการเป็นตัวการในการผสมเกสรให้เหล่าพันธุ์ไม้ต่างๆ จึงขออนุญาตที่จะทำความเข้าใจเกี่ยวกับการขยายพันธุ์ของพืชทั้งหลายเสียก่อน

พืชสามารถขยายพันธุ์ได้ทั้งแบบไม่อาศัยเพศ โดยการใช้ส่วนต่างๆ (ราก ลำต้น ใบ) และการขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศ คือ การผสมเกสร (pollination) ซึ่งหมายถึงกระบวนการเคลื่อนย้ายของละอองเกสรตัวผู้ไปยังเกสรตัวเมียแล้วสร้างหลอดสืบพันธุ์ลงไปผสมกับไข่ภายในรังไข่ เกิดการปฏิสนธิเจริญพัฒนาเป็นเมล็ด สิ่งที่ทำให้เกิดกระบวนการเคลื่อนย้ายนี้ เรียกว่าสื่อผสมเกสร (pollinator) โดยทั่วไปพืชที่มีดอกจะมีการผสมเกสร 2 แบบ คือการผสมตัวเอง (self-pollination หรือ selfing) ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นภายในดอกเดียวกัน หรือคนละดอกภายในต้นเดียวกัน และการผสมข้าม(cross-pollination) มี 2 แบบ คือ การผสมข้ามต้นระหว่างพืชชนิดเดียวกัน หรือการผสมข้ามต้นระหว่างพืชต่างชนิดกัน




พืชบางชนิดเมื่อเกิดการผสมตัวเองจะก่อให้เกิดความอ่อนแอ ผลผลิตลดลงหรือไม่ได้ผลผลิตเลย แต่การผสมข้ามของพืชทำให้เกิดการรวมตัวกันของหน่วยพันธุกรรม (gene recombination) เป็นพันธุ์ลูกผสมใหม่ๆ ที่มีความสมบูรณ์แข็งแรง ให้ผลผลิตสูง มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม และทำให้เกิดความหลากหลายของพันธุ์พืช ปกติพืชผสมเกสรได้ โดยอาศัยสื่อผสมเกสรหลายชนิด เช่น ลม น้ำ มนุษย์ สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก หนู ค้างคาว) และแมลง โดยส่วนใหญ่แมลงที่เป็นสื่อผสมเกสรจะอยู่ในอันดับ Coleoptera Hymenoptera Lepidoptera Diptera และ Thysanoptera หนึ่งในนั้น คือ ชันโรง

ชันโรง (Stingless bee : Trigona sp. หรือ Melipona sp.) คือ ผึ้งชนิดหนึ่งที่มีอยู่ในท้องถิ่นของไทยมานานแล้ว โดยมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น เช่น ขี้ตังนี (ภาคเหนือ) ขึ้สูด (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) อุง (ภาคใต้) และติ้ง (นครปฐม สุพรรณบุรี และกาญจนบุรี) ชันโรงจัดอยู่ในอันดับ Hymenoptera วงศ์ Apidaeและวงศ์ย่อย Meliponinae มีแหล่งกำเนิดอยู่ในประเทศแอฟริกา แล้วกระจายตัวไปยังประเทศอื่นๆ ในเขตร้อน มีจำนวนมากกว่า 400 ชนิด พบในประเทศไทย 24 ชนิด

ลักษณะทางสัณฐานวิทยาของชันโรง โดยรวมเหมือนกับผึ้งทั่วๆ ไป คือ มีลักษณะของท้องปล้องแรกที่ติดกับส่วนอก ปล้องสุดท้ายคอดกิ่วส่วน tibia ของขาคู่หลังใช้เก็บเกสรดอกไม้ปีกเป็นแบบเยื่อใส (membrane) แต่มีลงลักษณะที่ทำให้ชันโรงแตกต่างจากผึ้งชนิดอื่นๆ คือ มีเส้นปีกน้อยลง มี Penicillum และไม่มีเหล็กใน ดังนั้น ชันโรงจึงพัฒนากลไกต่างๆ ขึ้นมาป้องกันตัว เช่น การกัด การปล่อยของเหลวที่ทำให้เกิดอาการไหม้ออกมาจากปาก การปล่อยกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ การไต่ตามตาหรือหูทำให้เกิดการระคายเคือง และการสร้างรังใต้ดินหรือในโพรงไม้เพื่อหลบเลี่ยงศัตรู

วงจรชีวิตของชันโรงมี 4 ระยะ คือ ระยะไข่ ตัวอ่อน ดักแด้ และตัวเต็มวัย นางพญาจะวางไข่ในหลอดรวง โดยมีชันโรงวรรณะงานคอยเลี้ยงตัวอ่อนจนพัฒนาเป็นดักแด้ และเป็นตัวเต็มวัยในที่สุด ไข่จะพัฒนาไปเป็นชันโรงวรรณะใดนั้นขึ้นอยู่กับว่าได้รับการผสมจากน้ำเชื้อหรือไม่ ถ้าไม่ก็จะพัฒนาไปเป็นชันโรงเพศผู้ แต่ถ้าได้รับการผสมก็จะพัฒนาไปเป็นชันโรงเพศเมีย คือ วรรณะงาน และนางพญา ขึ้นอยู่กับขนาดรวงรังและปริมาณอาหารที่ได้รับในช่วงตัวอ่อน (รวงของตัวอ่อนนางพญาจะมีขนาดใหญ่และได้รับอาหารมากกว่า)




ชันโรงจะแยกรังเมื่อรังเก่ามีประชากรแออัด โดยสร้างนางพญาตัวใหม่ขึ้นมา ชันโรงวรรณะงานจะหาแหล่งสร้างรังใหม่นำวัสดุในการสร้างรังและอาหารไปจากรังเก่า เมื่อสร้างรังเสร็จแล้วนางพญาตัวใหม่จะย้ายออกจากรังเก่า โดยมีชันโรงเพศผู้ไปรอที่บริเวณทางเข้าของรังใหม่เพื่อผสมพันธุ์กับนางพญา ซึ่งจะมีเพียงตัวเดียวเท่านั้นที่ได้ผสมพันธุ์

การผสมพันธุ์ จะเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวเท่านั้นในช่วงชีวิตของนางพญา และไม่ได้เกิดขึ้นบนท้องฟ้าเหมือนกับผึ้งทั่วไป (Apis sp.) จากนั้นนางพญาจะเริ่มวางไข่เพื่อเพิ่มจำนวนประชากรภายในรัง และในช่วงเดือนแรกๆ รังเก่ากับรังใหม่จะยังมีการติดต่อกันอยู่ แตกต่างจากผึ้งทั่วไปที่นางพญาตัวใหม่ จะฆ่านางพญาตัวเก่าเพื่อยึดครองรังแทน ชันโรงจะสร้างรังใต้ดินในรังปลวก รังมดที่ร้างแล้ว ในโพรงไม้ และตามกิ่งไม้ โดยแบ่งเป็น 5 ส่วน คือ brood comb, involucrum, store pots, batumen และทางเข้า ซึ่งเป็นท่อเชื่อมต่อกับโพรงรัง ด้านบนของทางเข้าเป็นปล่องยื่นขึ้นมาเหนือดินป้องกันน้ำท่วมรัง

การเลี้ยงชันโรง (meliponiculture) เพื่อเก็บน้ำผึ้งและไขผึ้งมีมานานแล้ว ในแถบอเมริกากลางและอเมริกาใต้ จะเลี้ยงกันเป็นประเพณีและถือได้ว่าเป็นต้นกำเนิดของการเลี้ยงชันโรง วิธีการเลี้ยงแบบดั้งเดิมคนพื้นเมืองจะตัดต้นไม้ที่มีรังชันโรงอยู่ภายในมาเลี้ยงบริเวณบ้าน

การเก็บน้ำผึ้งจากชันโรงในโพรงไม้ทำให้รวงรังตัวอ่อนเสียหาย จึงมีการพัฒนาหีบรังสำหรับเลี้ยงชันโรงเพื่อให้สะดวกในการเก็บน้ำผึ้ง ไม่ทำให้รวงรังตัวอ่อนเสียหาย มีขนาดเหมาะสมกับรังของชันโรง และมีขนาดเล็กสะดวกในการเคลื่อนย้าย เช่น หีบรังแบบ Utrecht University-Tobago Hive (UTOB) น้ำผึ้งของชันโรงจะมีคุณสมบัติเป็นสารปฏิชีวนะนำไปใช้เป็นยาได้ ราคาจึงแพงกว่าน้ำผึ้งจากผึ้งพันธุ์ถึง 3 เท่า

การเลี้ยงชันโรงในประเทศไทยนั้น ยังไม่แพร่หลายเหมือนการเลี้ยงผึ้ง แต่ก็มีการเลี้ยงเพื่อใช้เป็นแมลงผสมเกสรอยู่บ้าง โดยเฉพาะในเขตร้อน เช่น ทุเรียนและเงาะ ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย ทั้งนี้ เพราะชันโรงเป็นแมลงผสมเกสรที่ไม่มีความเฉพาะเจาะจงกับชนิดของดอกไม้ สามารถผสมเกสรพืชได้หลากหลายชนิดมากกว่าผึ้งพันธุ์ ง่ายต่อการจัดการเพราะไม่มีเหล็กในจึงไม่มีอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์เลี้ยง ระยะทางในการบินไปหาอาหารไม่ไกลจากรังมากนัก






การใช้ประโยชน์จากการปล่อยชันโรงผสมเกสรจึงแม่นยำกว่าผึ้ง อัตราส่วนการเก็บเกสรดอกไม้และน้ำหวานของชันโรงคือ 4 ต่อ 1 ในขณะที่ผึ้งมีสัดส่วน 1 ต่อ 1 ชันโรงมีกล้ามเนื้อโคนปีกแข็งแรง จึงร่อนลงเก็บเกสรดอกไม ้และดูดน้ำหวานได้อย่างนิ่มนวล ทำให้กลีบดอกไม้ช้ำน้อยกว่าอายุรังยาวนานกว่าผึ้งพันธุ์ ถ้ามีการจัดการให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม รังมีขนาดเล็กสะดวกในการขนย้าย

นอกจากนี้ ชันโรงยังมีบทบาทสำคัญในการผสมเกสรพืชป่า ทำให้เกิดความหลากหลายทางพันธุกรรม ทำให้ป่ามีความอุดมสมบูรณ์และคงอยู่ได้ตลอดไป แล้วจะคุ้มกันหรือไม่ที่เราจะทำลายรังชันโรงเก็บน้ำหวานเล็กน้อย แลก “ชันโรง” ผู้พิทักษ์ร่างจิ๋วที่แบกรับภารกิจที่ยิ่งใหญ่ไว้แทนพวกเราทุกคน



http://it.doa.go.th/pibai/pibai/n11/v_11-dec/korkui.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11559

ตอบตอบ: 13/01/2011 8:45 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ชันโรง.....

.... หากินน้ำหวานจากดอกไม้ตอนกลางคืน จึงเหมาะสำหรับไม้ประเภทผสมเกสรตอนกลางคืน เช่น ทุเรียน แก้วมังกร ฯลฯ

.... ไม่ทิ้งรังเหมือนผึ้งแม้ว่าลูกๆจะโตแล้วก็ตาม ซึ่งต่างจากผึ้งที่เมื่อลูกๆโตแล้วจะทิ้งรังเดิมไปหาแหล่งสร้างรังใหม่

.... หากินไกลรังระยะ 100-200 ม. ซึ่งต่างจากผึ้งที่หากินไกลรังถึง 5-7 กม. (สารคดีดิสคัพเวอรี่) เมื่อไปหากินตามสวนอื่นจึงไปเจอเข้ากับยาฆ่าแมลง

.... พบชันโรงทำรังอยู่ในโพรงไม้ ถ้าโพรงนั้นอยู่กับกิ่งที่ไม่ใหญ่จนเกินไป ให้ตัดทั้งกิ่งซึ่งมีรังชันโรงอยู่ เอามาผูกติดกับต้นไม้ในสวนเรา ชันโรงก็จะยังอยู่ในโพรงอย่างนั้นแล้วออกหากินตามปกติ ทั้งๆที่เปลี่ยนสถานที่อยู่ใหม่แล้วก็ตาม


ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11559

ตอบตอบ: 14/01/2011 6:05 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ชันโรง.....




































http://www.google.co.th/imglanding?q=%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87&imgurl=http://www.rakbankerd.com/kaset/Animal/948_1.jpg&imgrefurl=http://www.rakbankerd.com/agriculture/page%3Fid%3D948%26s%3Dtblanimal&usg=__IxaGXGWApCSX3vRdo6Ie7jEBYSU=&h=375&w=500&sz=122&hl=th&zoom=1&um=1&itbs=1&tbnid=RfFYyy7_zVD_lM:&tbnh=98&tbnw=130&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B8%258A%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2599%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%2587%26um%3D1%26hl%3Dth%26sa%3DX%26tbs%3Disch:1&um=1&sa=X&tbs=isch:1&start=0#tbnid=xZY0U-Nk7yf8hM&start=616
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11559

ตอบตอบ: 14/01/2011 5:06 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เลี้ยง “ชันโรง” แมลงช่วยผสมเกสร ขยายพันธุ์ถูกวิธี-สร้างรายได้เพิ่ม




คมชัดลึก : หากกล่าวถึง “ชันโรง” น้อยคนนักจะรู้จักว่าคืออะไร เพราะมีชื่อเรียก
แตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น อย่างภาคเหนือรู้จักกันในชื่อ ขี้ตังนี ขี้ตึง ขี้ย้าดำ
ภาคใต้รู้จักในชื่อ แมลงอุง ภาคอีสาน แมลงขี้สูด ภาคตะวันออก ตัวชำมะโรง

แต่ไม่ว่าจะเรียกกันในชื่อใด ล้วนหมายถึง แมลงผสมเกสรตัวเล็กๆ จัดอยู่ในจำพวก
ผึ้ง ซึ่งมีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศ เพราะนอกจากให้น้ำผึ้งที่มีคุณค่าทางยาแล้ว ยัง
เป็นเครื่องมือที่ธรรมชาติช่วยในการผสมเกสรให้ทั้งพืชที่เกษตรกรปลูก และพืชในป่า

ดังนั้นจึงไม่แปลกใจที่การทำสวนผลไม้ในหลายพื้นที่ของไทย อย่าง จ.จันทบุรี
จังหวัดที่มีการทำสวนผลไม้มากเป็นลำดับต้นๆ ของประเทศ จะใช้ “ชันโรง” เป็น
เครื่องมือในการช่วยผสมเกสรให้พืชผลเติบโต ออกดอกออกผล ส่งผลให้ธุรกิจการ
เลี้ยงชันโรงเป็นอาชีพเสริม สร้างรายได้ให้กับชาวสวนผลไม้หลายต่อหลายแห่งไป
โดยปริยาย

ทว่าในการเลี้ยงชันโรง ชาวสวนส่วนใหญ่มักพบปัญหาในขั้นตอนการแยกรัง เหตุนี้
ผศ.ดร.อัญชลี สวาสดิ์ธรรม คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
ราชมงคลธัญบุรี ปทุมธานี จึงได้ศึกษาวิจัยด้านการเพาะเลี้ยงชันโรง เพื่อชี้ให้
เกษตรกรเห็นถึงขั้นตอนการแยกรังชันโรงที่ถูกต้อง เพราะที่ผ่านมาเกษตรกรมักใส่
ชันโรงจำนวนหนึ่ง ที่เรียกว่า เซลล์ตัวอ่อน หรือที่ชาวบ้านเรียกกัน ไข่อ่อน เข้ามาใน
รังใหม่เท่านั้น ทำให้การแยกรังส่วนใหญ่ประสบความล้มเหลว เพราะชันโรงในรังจะ
อาศัยอยู่ไม่นานและรังนั้นจะล่มไป ดังนั้นในการแยกรังชาวสวนต้องคำนึงด้วยว่า
ชันโรงเป็นแมลงสังคม ในการแยกรังจึงต้องสร้างสังคมให้มีองค์ประกอบครบถ้วน

"ในชันโรง 1 รัง ต้องมี ตัวนางพญา, เซลล์ตัวอ่อน, ตัวเต็มวัย และตัวเต็มวัยของผึ้ง
งาน นอกจากนั้นใกล้ๆ รังจะต้องมีแหล่งอาหาร มีความชื้นที่เหมาะสม ไม่มีมด ศัตรู
สำคัญของชันโรงด้วย หากการแยกรังได้ทำไปโดยถูกวิธีเช่นนี้แล้ว จะทำให้ตัว
ชันโรงมีการเจริญเติบโตอย่างเหมาะสม มีช่วงชีวิตอยู่ได้นานถึง 30-40 วัน
จำหน่ายได้รังละ 500 บาทเลยทีเดียว ซึ่งจากการลงพื้นที่ทำการวิจัยพบว่า ในบาง
ครั้งชาวสวนมักเข้าใจผิดอยู่บ่อยๆ ว่า การแยกรังของตนประสบความสำเร็จ ด้วยวิธี
จับชันโรงเข้ามาใส่ในรังใหม่ โดยไม่ได้จัดสังคมใหม่ให้เขา ทั้งนี้ เพราะตัวเต็มวัย
ของชันโรงมีอายุยืน เกษตรกรจึงเห็นว่า ในรังยังมีตัวเต็มวัยอยู่ในรังได้ 2-3 เดือน
หรือเกิดกรณีที่ชันโรงจากรังอื่นที่อยู่กันอย่างหนาแน่นจนเกินไปอพยพเข้ามา
มากกว่า"

นอกจากนั้น ผศ.ดร.อัญชลี ยังฝากข้อคิดดีๆ ในการเริ่มเลี้ยงชันโรงไว้ว่า ในราย
ของชาวสวนบางคนที่กำลังจะริเริ่มเลี้ยงชันโรง หรือต้องการแยกรังชันโรงให้ได้
หลายรัง จะไปจับชันโรงมาจากในป่าเลย และมักจะจับมาแต่ตัวอ่อน ซึ่งเป็นความ
เชื่อที่ผิด ผลที่เกิดขึ้นก็เหมือนกันกับข้างต้น ทำให้องค์ประกอบของรังไม่ครบ ไม่มี
ตัวนางพญา ในที่สุดตัวอ่อนที่จับมาก็จะไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ทางที่ดีชาวสวน
ควรแยกรังจากชันโรงรังที่มีอยู่ หรือขอซื้อชันโรงจากชาวสวนผู้เพาะเลี้ยงไว้ก่อนดี
กว่า ทั้งนี้ เพื่อเป็นการรักษาพันธุ์ชันโรงในระบบนิเวศไว้อีกทางหนึ่งด้วย

สำหรับเกษตรกรคนใดที่ต้องการคำแนะนำในการเลี้ยงชันโรงเพิ่มเติม ผศ.ดร.
อัญชลี ยินดีให้คำแนะนำ สามารถติดต่อสอบถามมาได้ที่ คณะวิชาเทคโนโลยีการ
เกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี วิทยาเขตปทุมธานี หมายเลข
โทรศัพท์ 0-2531-2988 ต่อ 124 ในวันและเวลาราชการ


http://www.komchadluek.net/detail/20101026/77361/%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%87%E2%80%9C%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E2%80%9D%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%9C%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%82%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C%E0%B8%96%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5-%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%A1.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11559

ตอบตอบ: 14/01/2011 5:20 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เลี้ยงผึ้งจิ๋ว ต้นทุนต่ำ สร้างรายได้

“ผึ้งจิ๋ว” เป็นผึ้งพื้นเมืองของไทย ไม่มีเหล็กใน สามารถเพาะเลี้ยงในเชิงเศรษฐกิจ
ได้ ซึ่ง “น้ำผึ้ง” ของผึ้งจิ๋วกำลังได้รับความนิยมในต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาด
ญี่ปุ่น เนื่องจากน้ำผึ้งมีคุณภาพดี มีคุณค่าทางอาหารและมีสรรพคุณทางยาสูง และ
วันนี้ทีม “ช่องทางทำกิน” ก็มีข้อมูลมาให้พิจารณา…





วิสิทธิ์ ธนูอาจ เกษตรกรสวนผลไม้ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนภูมิปัญญาท้องถิ่นคน
จันทบุรี ต.วังแซม อ.มะขาม จ.จันทบุรี วัย 47 ปี เป็นผู้หนึ่งที่เพาะเลี้ยงผึ้งจิ๋ว โดย
เขาเล่าว่า ก่อนหน้านี้ทำการเกษตรอย่างหลงทางไปมาก เพราะมุ่งแต่พึ่งยาฆ่าแมลง
จนมีหนี้ท่วมตัว ต้องเลิกอาชีพเกษตรกรหันไปรับจ้างเป็นพนักงานขับรถ

แต่แล้วก็เคราะห์ซ้ำ เมื่อเกิดตาบอดไปข้างหนึ่งเพราะ ตัดหญ้าแล้วเศษไม้ กระเด็น
เข้าตา จนต้องเลิกอาชีพขับรถ ไปเป็นลูกจ้างรายวัน ซึ่งรายได้ก็ไม่เพียงพอเลี้ยง
ครอบครัวที่มีลูก 2 คน

จนวันหนึ่งวันฟ้าใสก็บังเกิด เมื่อได้เข้าร่วมโครงการต้นกล้าอาชีพ รุ่นที่ 1 ได้พบกับ
รศ.ดร.สำนึก บุญเกิด อาจารย์ประจำสาขาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราม
คำแหง ซึ่งได้สอนวิชาเลี้ยง “ผึ้งจิ๋ว” ผลิต “น้ำผึ้งอินทรีย์” ที่เรียกว่า “ชันโรง” ให้

ทำให้รู้ถึงวิธีการเลี้ยงที่ถูกต้องทุกกระบวนการ และสามารถนำมาต่อยอดให้ความรู้
กับภรรยาและลูก ๆ จนยึดเป็นอุตสาหกรรมครัวเรือน จนทำให้สามารถขายพ่อพันธุ์
แม่พันธุ์ รวมถึงส่วนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นน้ำชันโรง ซึ่งเป็นผลิตผลส่วนต้นที่นำไป
พัฒนาเป็นน้ำผึ้งชันโรง 100% เพื่อวางขาย ส่งขายให้อาจารย์มหาวิทยาลัย และ
ทั่ว ๆ ไป รวมถึงการออกร้านเคลื่อนที่ในงานเทศกาล ต่าง ๆ โดยขายได้ในราคา
500 บาทต่อ 1 ขวดกลม

เลี้ยงผึ้งจิ๋ว
วิสิทธิ์บอกอีกว่า นอกจากนี้เขายังได้รับการเชิญ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ให้ไป
เป็นวิทยากรผู้ อบรมการเลี้ยงผึ้งจิ๋วแก่ต้นกล้าอาชีพรุ่นน้อง รวมถึงหน่วยราชการ
ต่าง ๆ จนปัจจุบันนี้ เขามีรายได้แบบก้าวกระโดดขึ้นมาเฉลี่ยเดือนละไม่ต่ำกว่า
15,000-20,000 บาท ซึ่งต้องขอขอบคุณบุคคลและโครงการที่ได้ให้โอกาส

สำหรับขั้นตอนการเพาะเลี้ยงผึ้งจิ๋วหรือชันโรง หลัก ๆ มี 2 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนการ
ย้ายรัง และ ขั้นตอนการแยกรัง ซึ่งการย้ายรังหมายถึงการผ่ารังผึ้งจิ๋วที่ทำรังใน
ธรรมชาติ แล้วย้ายประชากรผึ้งจิ๋วทั้งหมดลงในรังเลี้ยง ซึ่งรังดังกล่าวนี้ต้องมีสภาพ
มั่นคงแข็งแรง ปลอดภัย ไม่แออัด มีสุขอนามัยที่ดี และสามารถขนย้ายรังได้
สะดวก สามารถจัดการดูแลช่วยเหลือผึ้งจิ๋วได้ ส่วนการแยกรังผึ้งจิ๋วหมายถึงการแบ่ง
ประชากรผึ้งจิ๋วในรังเลี้ยงจาก 1 รัง เป็น 2 รัง หรือ 3 รัง ขึ้นอยู่กับสภาพความ
สมบูรณ์ของผึ้งจิ๋วที่จะแยก

การเคลื่อนย้ายรังธรรมชาติ นำมาตั้งไว้ใกล้บริเวณที่จะผ่ารัง ก่อนผ่าต้องประเมิน
ประชากรผึ้งจิ๋ว และการย้ายรังธรรมชาติ จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งต้องรักษาระดับแนว
ดิ่งของรัง เนื่องจากไข่จะถูกวางไว้บนอาหารเหลวภายในเซลล์ บางเซลล์ไข่ฟักเป็น
ตัวอ่อนแล้วกินอาหารภายในเซลล์ยังไม่หมด อาจจะถูกอาหารหมกตายขณะขนย้าย
เพราะเซลล์จะเอียงไป-มา ตรงจุดนี้ต้องระวังเป็นพิเศษ

ในส่วนของรังเลี้ยงผึ้งจิ๋ว ขนาดต้องมีความจุประมาณ 7 ลิตร ทำด้วยไม้กระดาน
หรือเศษไม้แปร หรือไม้นิ้วก็ได้ ต่อกันให้สนิท แต่ไม่ต้องใช้เทคนิคบังใบ ความกว้าง
ประมาณ 20 ซม. ยาว 30 ซม. สูง 12 ซม. ด้านบนหรือฝารังเป็นแผ่นกระจกหรือ
พลาสติกใส เปิด-ปิดได้ ด้านหน้ารังเจาะรูเหนือพื้นขึ้นมาเล็กน้อยกันน้ำไหลเข้ารัง
หน้ารังมีพื้นชานชาลาเล็กน้อยสำหรับให้อาหาร ให้ผึ้งจิ๋วพัก และเพื่อความสะดวกใน
การบินเข้า-ออก

ก่อนผ่ารัง ยกรังจากตำแหน่งเดิม ให้รักษาระดับ เอารังเลี้ยงที่เตรียมไว้ตั้งแทนที่รัง
เดิม เตรียมขวดเหล้าเพื่อนำไปดักที่รูเข้า-ออก ให้ผึ้งบินเข้าไปอยู่ในขวดด้วยการ
เคาะรัง พอกระเทือนผึ้งจิ๋วที่บินได้จะบินเข้าไปอยู่ในขวด ปิดปากขวดนำไปเก็บไว้ใน
ที่เย็น ๆ ไม่ร้อน จากนั้นลงมือผ่ารัง ซึ่งต้องระวังอย่าให้กลุ่มไข่ ตัวอ่อน และดักแด้
เสียหายมากนัก เมื่อรังถูกเปิดออก นำของเหลวไปป้ายที่หน้ารัง เพื่อดึงดูดให้ผึ้งที่
บินหลงเหลืออยู่กลับเข้ารังเดิม


จากนั้นค่อย ๆ ย้ายกลุ่มไข่ ตัวอ่อน ดักแด้ ใส่ในรังเลี้ยง สำหรับถ้วยอาหาร เช่น
เกสรและน้ำผึ้ง ที่ไม่แตก ก็ให้นำไปใส่ในรังเลี้ยงด้วย แต่อย่านำน้ำผึ้งจากถ้วยที่
แตกใส่ในรัง เพราะจะทำให้ผึ้งงานติดน้ำผึ้งตาย แล้วต้องพยายามหานางพญาแม่รัง
เมื่อพบให้ใช้ช้อนตักเอาเข้าไปไว้ในรัง แต่อย่าใช้มือจับนางพญา

ถ้าสถานที่ผ่ารังกับที่ตั้งรังเดิมอยู่คนละที่ แต่ห่างไม่เกิน 300 เมตร ต้องย้ายรังธรรม
ชาติไ ปตั้งเลี้ยงไว้ที่อื่นห่างจากที่ตั้งรังเดิมเกิน 600 เมตร ประมาณ 2 สัปดาห์จึง
ย้ายกลับมาตั้งในบริเวณที่จะผ่ารัง ให้คุ้นเคยสถานที่ 2-3 วันก่อนจะผ่ารัง ปิดฝารัง
และหน้ารังทิ้งไว้ 2-3 วัน จึงนำรังเลี้ยงไปตั้งไว้ในที่ที่ให้ผึ้งหากินได้ตามปกติ

สำหรับต้นทุนในการเพาะเลี้ยงผึ้งจิ๋ว วิสิทธิ์บอกว่า แทบไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไร
เลย เพียงแค่มีเศษไม้เก่า ๆ มาทำเป็นรัง และหาพ่อพันธุ์แม่พันธุ์มาไว้ในรังเลี้ยง ซึ่ง
ตามต่างจังหวัดผึ้งจิ๋วจะมีอยู่ทั่วไปตามแหล่งที่มีดอกไม้ โพรงไม้ ขอนไม้ กระบอก
ไม้ไผ่ โพรงตามบ้านเรือน หรืออาจจะอยู่ตามท่อพีวีซี กล่องกระดาษ ฯลฯ

การเลี้ยง “ผึ้งจิ๋ว” อาจจะไม่ง่ายสำหรับคนที่ไม่คุ้นเคย อย่างไรก็ตาม ถ้าใครที่มี
ปัญหาเรื่องอาชีพแล้วสนใจ อาชีพเลี้ยงผึ้งจิ๋ว นี้ ทางโครงการต้นกล้าอาชีพเขามี
การอบรมให้ โดยติดต่อได้จนถึง 17 ส.ค. 2552 และอบรมเดือน ก.ย. สอบถาม
รายละเอียดเพิ่มได้ที่คอลเซ็นเตอร์ โทร.1111 หรือที่คุณวิสิทธิ์ โทร. 08-9097-
0137.


ที่มา : dailynews.co.th
http://www.refer2rich.com/index.php?m=content&a=show&id=65
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©