-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-น้ำสกัดมูลสุกร.....
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - น้ำสกัดมูลสุกร.....
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

น้ำสกัดมูลสุกร.....

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 10/12/2010 9:21 pm    ชื่อกระทู้: น้ำสกัดมูลสุกร..... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)




เนื้อสุกร เป็นอาหารที่คนส่วนใหญ่นิยมรับประทาน อาจจะเป็นเพราะรสชาติที่อร่อยถูกปาก อีกทั้งในเนื้อสุกรและอวัยวะอื่นๆ นั้นยังมีสารอาหารต่างๆ อีกมากมายที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย จึงมีผลทำให้การเลี้ยงสุกรในประเทศไทยได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก การเลี้ยงสุกรภายในประเทศส่วนใหญ่จะเป็นฟาร์มใหญ่ๆ แต่ก็ยังมีเกษตรกรรายย่อยที่ทำการเลี้ยงสุกรรายละ 1-20 ตัว ตามหมู่บ้านอยู่เป็นจำนวนมาก ถึงแม้การเลี้ยงสุกรจะสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร แต่ก็ได้สร้างปัญหาในเรื่องของมลภาวะไว้มากทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลิ่นของมลสุกรนั้น ทำให้เกิดมลภาวะทางอากาศต่อผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น และผู้ที่สัญจรผ่านไปมา แม้ว่าจะมีการบำบัดมูลสัตว์โดยหมักให้เกิดก๊าซชีวภาพบ้างแล้ว แต่กากตะกอนและน้ำเสียที่ออกมาจากฟาร์มยังเป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขอยู่

อ.สุกัญญา จัตตุพรพงษ์ หัวหน้าศูนย์ค้นคว้าและพัฒนาวิชาการอาหารสัตว์ สถาบันสุวรรณวาจกกสิกิจเพื่อการค้นคว้าและพัฒนาปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์ และคณะ ได้เสนอวิธีในการแก้ปัญหาของกลิ่นที่เกิดจากมูลสุกรที่ดีวิธีหนึ่ง นั้นก็คือ การใช้ประโยชน์จากของเสียเหล่านี้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ โดยการใส่ทางดินและการฉีดพ่นทางใบ ซึ่งในของเสียเหล่านี้มีธาตุอาหารต่างๆ อยู่มากมาย จึงช่วยทำให้ดินเป็นกลาง ช่วยเพิ่มธาตุอาหารให้กับดิน ทำให้ดินร่วนซุย พืชสามารถดูดและใช้ธาตุอาหารได้เต็มที่ ต้นพืชแข้งแรง พืชมีการสังเคราะห์ด้วยแสงได้มาก ส่งผลให้พืชให้ผลผลิตเต็มที่ มีคุณภาพดี อายุการเก็บเกี่ยวยาวนานขึ้น ช่วยป้องกันการทำลายของแมลงศัตรูพืช และยังช่วยให้จุลินทรีย์ในดินมีการเจริญเติบโตได้ดีขึ้น ถึงแม้การใช้ปุ๋ยมูลสัตว์จะเห็นผลช้าแต่ก็ไม่เป็นผลเสียต่อดิน และยังทำให้สภาพของดินมีความอุดมสมบูรณ์ในระยะยาวอีกด้วย

การเตรียมน้ำสกัดมูลสุกรเพื่อใช้เป็นปุ๋ยกับพืชนั้น เพียงแค่นำมูลสุกรแห้งบรรจุลงในถุงไนลอนหรือมุ้งเขียว แล้วแช่ในน้ำ ในอัตราส่วนมูลสุกร 1 กิโลกรัมต่อน้ำ 10 ลิตร ปิดฝาถังให้สนิท และหมักไว้เป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากนั้นยกถุงที่บรรจุมูลสุกรออกจากถัง นำน้ำสกัดส่วนใสที่ได้มาเจือจางกับน้ำในอัตราส่วน น้ำสกัดมูลสุกร 1 ลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อใช้รดดินและฉีดพ่นทางใบ ส่วนกากมูลสุกรที่เหลือก็สามารถนำไปทำปุ๋ยโดยการหว่านลงทางดินได้อีกด้วย

ปุ๋ยอินทรีย์จากมูลสุกรนั้นสามารถนำไปใช้ประโยชน์กับพืชได้หลายชนิด เช่น ข้าว อ้อย ผักสวนครัว ไม้ยืนต้น ไม้ดอก เป็นต้น และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับพืชเพื่อให้พืชได้รับสารอาหารในหลายๆ รูปแบบด้วยกัน เช่น การนำเมล็ดข้าวมาแช่ในน้ำสกัดมูลสุกร ซึ่งจะช่วยให้ข้าวมีธาตุอาหารสะสมมากขึ้น การนำกากตะกอนจากบ่อหมักก๊าซชีวภาพมาหว่านลงในดิน เพื่อเป็นการเตรียมดินก่อนงเมล็ดผัก การนำน้ำจากบ่อพักน้ำในฟาร์มสุกร ปล่อยไปตามร่องในไร่อ้อย ช่วยให้อ้อยมีความหวานเพิ่มขึ้น การใช้น้ำสกัดมูลสุกรแบบเข้มข้นรดดินให้กับไม้ผล เพื่อเป็นการเร่งการเจริญเติบโตทางลำตันและใบ รวมถึงการใช้น้ำสกัดมูลสุกรฉีดพ่นทางใบให้กับกล้วยไม้ที่ยังไม่ออกดอกหรือต้นที่ตัดดอกไปแล้ว จะทำให้ต้นสมบูรณ์และสามารถออกดอกใหม่ได้เร็วขึ้น และเมื่อพบว่าไม้ดอกเริ่มโทรมหรือมีใบเหลือง ก็สามารถใช้น้ำสกัดมูลสุกรรดดินให้พืช หรือผสมกับน้ำที่ให้ทางระบบสปริงเกอร์หรือระบบน้ำหยดก็ได้ การนำปุ๋ยมูลสุกรมาผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์ในรูปแบบต่างๆ นี้ ทำให้เราตระหนักได้ว่า สิ่งที่เราคิดว่าเป็นของเสีย ไร้ประโยชน์กลับให้คุณค่าและประโยชน์อย่างมากมายมหาศาลทีเดียว ถ้ามีวิธีการหรือกระบวนการผลิตที่ถูกวิธี สิ่งที่ดูว่าไร้ค่า ก็กลับมามีคุณค่าอีครั้งหนึ่ง


http://www.ku.ac.th/e-magazine/sep50/agri/pig.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©