-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-วิธีปลูก เมลอน-แคนตาลูป
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - วิธีปลูก เมลอน-แคนตาลูป
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

วิธีปลูก เมลอน-แคนตาลูป

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
vemon
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 22/11/2010
ตอบ: 1

ตอบตอบ: 22/11/2010 8:05 pm    ชื่อกระทู้: วิธีปลูก เมลอน-แคนตาลูป ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลุงคิมครับ.....

ผมอยกจะได้วิธีการปลูกแตงเมลอน.หน่อยครับ

Cool Cool Cool Cool Cool Laughing Laughing Laughing Laughing Laughing Arrow Arrow Idea Idea Idea Question Question Exclamation Exclamation
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
nokkhuntong
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 26/02/2010
ตอบ: 256

ตอบตอบ: 22/11/2010 8:25 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีค่ะคุณ vemon

ขออนุญาตนะค่ะ
ที่กระทู้ "แคนตาลู้ป..พี่ติ๋ม" วันพฤหัสนี้ เราจะไปดูการปลูกแคนตาลู้ปที่ไร่พี่ติ๋ม จ.
ประจวบ เช้า-เย็นกลับได้ ไปดูของจริงกันไหมค่ะ ? ...อย่าช้านะ.....

กระทู้ "AM 594....รายการสีสันชีวิตไทย" หน้า 3 ลุงคุยกับพี่ติ๋ม (แคนตาลู้ป)
โหลดมาฟังรึยังค่ะ

...แตงเมลอน - แคนตาลู้ป - แตงโม - ฯลฯ เป็นประเภทไม้เถาเหมือนกัน
วิธีการปลูกไม่ต่างกันมากค่ะ Razz



นกขุนทอง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 22/11/2010 8:37 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

แล้วก็กระทู้ไหน ? ชื่อกระทู้ว่าอย่างไร ? จำไม่ได้แล้ว ที่ว่าด้วย "เมลอน-แคนตาลูป" เต็มพรืดเลย.....ใครก็ได้ช่วยค้นหาที

กับคลิกไปอ่านข้อมูลเพิ่มเติม หรือทำการบ้านที่ "เมนูหลัก - พืชสวนครัว - แคนตาลูป/เมลอน" ..... ด้วยก็ได้


ลุงคิม (ขี้เกียจเขียนใหม่) ครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
catcaty
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 13/08/2010
ตอบ: 525

ตอบตอบ: 22/11/2010 9:04 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

วิธีการปลูกเมล่อน


วิธีการปลูกเมล่อน แตงเทศ มีชื่อเรียกอย่างอื่นอีกว่า เมลอน หรือ แคนตาลูป เป็น
พืชอีกชนิดหนึ่งที่กำลังเป็นที่นิยมบริโภคกันมากในปัจจุบัน เนื่องจากมีรสชาติดี เนื้อ
นุ่ม หวานฉ่ำและมีกลิ่นหอม

สีของเนื้อผลยังมีหลากหลาย ทั้งขาว ครีม เหลือง เขียว ส้มและแสด จึงชวนให้รับ
ประทานมายิ่งขึ้น จัดเป็นทั้งผลไม้และผัก ขึ้นกับลักษณะของการนำไปใช้บริโภค ซึ่ง
มีทั้งใช้บริโภคสดในรูปผลไม้ หรือใช้เป็นส่วนประกอบในสลัดผัก

นอกจากนี้ยังใช้ประกอบของหวานและเครื่องดื่มหลายชนิด อาทิเช่น ฟรุ๊ตสลัด
ไอศกรีม น้ำแข้งใส และน้ำผลไม้ปั่น เป็นต้น แตงเทศ จึงมีราคาดีที่สุดในบรรดาพืช
วงศ์แตงเดียวกัน

การขายแตงเทศนิยมขายกันตามน้ำหนักของผล ซึ่งมีตั้งแต่ราคากิโลกรัมละ 20
บาท ไปจนถึง กิโลกรัมละ 80-100 บาท ขึ้นอยู่กับชนิดและพันธุ์ของแตงเทศซึ่งมี
อยู่มากมายหลายชนิด นอกจากนี้ยังเป็นพืชที่ใช้ระยะเวลาปลูกและเก็บเกี่ยวสั้นเมื่อ
เปรียบเทียบกับผลไม้ชนิดอื่นบางพันธุ์มีอายุการเก็บเกี่ยวไม่เกิน 65 วัน หลังหยอด
เมล็ดเท่านั้น จึงจัดเป็นพืชที่ทำรายได้ให้แก่เกษตรกรได้อย่างดีในเวลาอันรวดเร็ว
ข้อเสียของแตงเทศคือมักอ่อนแอ ไม่ค่อยทนทานต่อโรคและแมลงและสภาพ
อากาศที่ร้อนจัด หนาวจัด หรือมีฝนตกชุกเกินไป การปลูกแตงเทศให้ได้ผลดี
ประการแรก จึงควรเลือกชนิดและพันธุ์ของแตงเทศที่มีอยู่มากมายให้เหมาะสมกับ
สภาพแวดล้อมของพื้นที่และฤดูกาลที่จะปลูก ชนิดและพันธุ์ แตงเทศเป็นพืชที่มีถิ่น
กำเนิดในต่างประเทศ ในแถบทวีปแอฟริกา นำเข้ามาปลูกในประเทศไทยนานแล้ว
เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์แตง และมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cucumis melo L. ซึ่งมีอยู่
หลายวาไรตี้ (variety) หรือ ชนิด (group) แต่ที่ปลูกที่เป็นพืชเพื่อการบริโภคมี
อยู่ 3 วาไรตี้ ได้แก่

1. วาไรตี้ แคนตาลูปเพนซิส (Cantaloupensis) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า C. melo
L. var. cantaloupensis มีชื่อเรียกทั่วไปว่า ร็อคเมลลอน (Rock melon)
เพราะผลมีผิวแข้ง ขรุขระ แต่ไม่ถึงกับเป็นร่างแห

2. วาไรตี้ เรติคูลาตัส (Reticulatus) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า C. Melo L. var.
reticulatus มีชื่อเรียกทั่วไปว่า เน็ดท์เมลอน (netted melon) มัสค์เมลอน
(muskmelon) หรือ เปอร์เซียนเมลอน (persian melon) เป็นชนิดที่ผิวนอกของ
ผลลักษณะขรุขละเป็นร่างแหคลุมทั้งผล และผลมีกลิ่นหอม เนื้อผลเป็นสีเขียว หรือ
สีส้ม

3. วาไรตี้ อินอะดอรอส (Inodorous) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า C. melo L. var.
inodorous ผิวของผลเรียบ และมักไม่มีกลิ่นหอม ปัจจุบันได้มีการปรับปรุงพันธุ์
แตงเทศโดยการผสมภายในกลุ่มและการผสมข้ามระหว่างกลุ่มจนได้พันธุ์แตงเทศที่
มีลักษณะผสมกันระหว่างกลุ่มต่างๆ และเป็นพันธุ์ลูกผสม (F1 hybrid) มากมาย

สำหรับพันธุ์ที่มีปลูกในประเทศไทยโดยการปรับปรุงพันธุ์ของบริษัทเมล็ดพันธุ์ภาย
ในประเทศและวางจำหน่ายในท้องตลาด เป็นที่รู้จักกันดีและเป็นพันธุ์ที่สามารถปรับ
ตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมของประเทศไทยได้ แตงเทศเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในแถบ
ร้อนของทวีปแอฟริกา จึงไม่ชอบอากาศหนาวเย็นจัด แต่ชอบอากาศอบอุ่น แต่ไม่
ร้อนจัด อุณหภูมิที่เหมาะสำหรับการปลูกแตงอยู่ที่ 25-30 องศาเซลเซียสในเวลา
กลางวัน และ 18-20 องศาเซลเซียส ในเวลากลางคืน ดังนั้นฤดูกาลที่เหมาะสม
สำหรับการปลูกแตงเทศในประเทศไทยจึงเป็นปลายฤดูฝนหรือฤดูฝนหนาว ในเขตที่
อากาศไม่หนาวจัด เช่นภาคกลาง ภาคตะวันตกและภาคตะวันออก รวมทั้งภาคเหนือ
และภาคตะวันออกเฉลียงเหนือที่อากาศไม่หนาวจัดจนเกินไป

หากแตงเทศกระทบกับอากาศหนาวเย็นจะทำให้ชะงักการเจริญเติบโตได้ตั้งแต่ระยะ
ต้นกล้า การออกดอกติดผลจะล่าช้า และถ้าอากาศยิ่งหนาวจัด ต่ำกว่า 15 องศา
เซลเซียส ต้นแตงเทศจะหยุดการเจริญเติบโต ในทำนองกลับกันต้นแตงเทศก็ไม่
ชอบอากาศที่ร้อนจัดเกินไป ถ้าอุณหภูมิเกินกว่า 30 องศาเซลเซียส แตงเทศมักจะ
สร้างแต่ดอกตัวผู้ ไม่มีดอกตัวเมีย หรือถ้ามีดอกตัวเมียแต่จะร่วงง่ายไม่ติดผล
ปัญหาจากสภาพแวดล้อมของอากาศที่สำคัญสำหรับการปลูกแตงเทศอีกประการ
หนึ่งคือฝน

ถ้าแตงเทศถูกน้ำฝนบ่อย มักจะเกิดโรคราน้ำค้างระบาดตามมา เนื่องจากแตงเทศ
เป็นพืชที่มีใบกว้างใหญ่และมีขน เมื่อสัมผัสกับน้ำฝนจะเกิดหยดน้ำค้างบนใบอยู่
เสมอ ไม่แห้งง่าย จึงเป็นสภาพที่อำนวยให้เกิดการเข้าทำลายของเชื้อราน้ำค้างบนใบ
ได้ร่วมกับสภาพอากาศที่เย็นและชื้นหลังฝนตก โรคนี้จะระบาดมากในฤดูฝน เป็นโรค
สำคัญที่ทำความเสียหายมากสำหรับพืชในวงศ์แตง โดยเฉพาะกับแตงเทศจะอ่อนแอ
ต่อโรคนี้มาก

ดังนั้นในการปลูกแตงเทศในสภาพแวดล้อมที่ไม่ค่อยเหมาะสมนั้น จะต้องมีการดูแล
รักษา ให้น้ำ ปุ๋ย และการป้องกันกำจัดโรคแมลงอย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษ จึงจะได้
ผลดี ดินที่เหมาะสำหรับการปลูกแตงเทศ ควรเป็นดินร่วนปนทราย ที่มีการระบายน้ำ
ได้ดี ควรหลีกเลี่ยงการปลูกแตงเทศในพื้นที่ที่เป็นดินเหนียวจัด ที่มีการระบายที่ไม่ดี
ทำให้มีโอกาสเกิดโรคเน่าในระบบรากได้ง่าย และยังเป็นที่สะสมของโรคทางดิน
ติดต่อไปยังฤดูต่อไป รวมทั้งยากต่อการลดความชื้นในดินก่อนเก็บเกี่ยว อย่างไรก็
ตามถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในการปลูกแตงเทศในดินชนิดนี้ควรยกแปลงให้สูง 30-
40 ซม. มีร่องน้ำกว้างเพื่อการระบายน้ำที่ดี และไม่ควรปลูกซ้ำที่เดิมในฤดูติดกัน
ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของดินควรอยู่ที่ 6.0-6.5 ถ้ามีค่าต่ำกว่านี้แสดงว่าดิน
มีสภาพเป็นกรด ต้องทำการปรับค่าความเป็นกรด-ด่าง ของดินให้สูงขึ้นด้วยปูนขาว
มิฉะนั้นจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเน่าของระบบรากในดิน

ซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญที่ไม่แนะนำให้ปลูกแตงเทศซ้ำในพื้นที่เดิมในฤดูติดกัน ควรปลูก
พืชในวงศ์อื่นคั่น 1-2 ฤดู ก่อนที่จะกลับมาปลูกในที่เดิมอีกครั้ง ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยง
การระบาดของโรคทางดินที่อาจสะสมอยู่จากการปลูกในฤดูที่ผ่านมา การเพาะย้าย
กล้า ปกติการปลูกพืชในวงศ์แตงมีเมล็ดพันธุ์ขนาดใหญ่ จึงสะดวกที่จะหยอดเมล็ด
ลงในหลุมในแปลงปลูกได้โดยตรง จำนวนหลุมละ 2-4 เมล็ด แล้วจึงถอนแยกให้
เหลือต้นที่แข้งแรงเพียง 1 ต้นเท่านั้น

แต่ในปัจจุบันนี้วิธีการดังกล่าวไม่เป็นที่นิยมแล้วเพราะเป็นวิธีที่สิ้นเปลืองเมล็ด ที่
ปัจจุบันเป็นเมล็ดพันธุ์ลูกผสมซึ่งมีราคาแพง ดังนั้นการเพาะเมล็ดในกะบะเพาะหรือ
ถุงเพาะเมล็ดก่อนแล้วจึงย้ายปลูกจึงเป็นวิธีที่แนะนำให้ปฏิบัติมากที่สุด เมล็ดพันธุ์ที่
ซื้อจากบริษัทเมล็ดพันธุ์ มักมีความงอก ความบริสุทธิ์สูง และปลอดจากเชื้อโรคที่ติด
มากับเมล็ด สามารถนำมาเพาะได้ทันที แต่ในกรณีที่ไม่แน่ใจในเปอร์เซ็นต์ความงอก
ของเมล็ดและต้องการกระตุ้นให้เมล็ดงอกได้ดีและเร้วขึ้น

ให้แช่เมล็ดในน้ำหรือน้ำอุ่น สูงพอท่วมหลังเมล็ด ประมาณ 6 ซม. หุ้มด้วยผ้าเปียก
น้ำหมาดต่ออีก 1 คืน สังเกตว่าเมล็ดมีรากขาวเริ่มออกมาแล้วจึงค่อยนำไปเพาะต่อ
ในวัสดุเพาะ แล้วจึงรดด้วยสารละลายป้องกันกำจัดเชื้อราเจือจาง ในการเพาะกล้า
แตงเมศ เริ่มจาก

การเตรียมวัสดุเพาะกล้า ปัจจุบันวัสดุเพาะกล้าที่ให้ผลดีที่สุดได้แก่ พีทมอส ซึ่งเป็น
วัสดุที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ จึงมีราคาแพงกว่าวัสดุเพาะกล้าภายในประเทศทั่ว
ไป มีลักษณะเบา อุ้มน้ำ ได้ดี แต่มีช่องว่างให้มีอากาศที่จำเป็นสำหรับการงอกของ
เมล็ดและการเจริญเติบโตของต้นกล้าหลังงอก ในพีทมอสนี้ยังมีธาตุอาหารในรูป
ของอินทรีย์วัตถุที่ย่อยสลายตัวแล้วให้กับต้นกล้าได้ใช้ในการเจริญเติบโตในระยะ
หนึ่ง นอกจากนี้พีทมอสยังมีคุณสมบัติที่ดีและมีประโยชน์มากสำหรับการเพาะกล้า
อีกประการหนึ่งคือ ปลอดจากเชื้อโรคทางดินต่างๆ จึงเป็นวัสดุปลูกที่ให้ผลดีที่สุดใน
ปัจจุบัน อย่างไรก็ตามถ้าต้องการประหยัด อาจใช้วัสดุปลูกภายในประเทศที่มี
คุณสมบัติที่ใกล้เคียงกับพีทมอส เช่น ขุยมะพร้าวที่ร่อนเอาเส้นใยออกไปแล้ว ผสม
กับปุ๋ยคอกและทรายหยาบที่ร่อนเอาเม็ดกรวดออกไปแล้ว ในอัตรา 1 : 1 : 1 โดย
ปริมาตร หรือในสถานที่ที่หาดินร่วนได้ง่าย อาจเพิ่มดินร่วนที่ผ่านการตากแดดฆ่าเชื้อ
และนำมาย่อยจนละเอียดดีแล้วอีก 1 ส่วน เพื่อช่วยเพิ่มธาตุอาหารให้กับต้นกล้าอีก
ทางหนึ่ง เมื่อคลุกเคล้าวัสดุปลูกที่ต้องการใช้ให้เข้ากันดีแล้ว ทำการกรอกวัสดุปลูก
ลงในกระบะเพาะกล้า หรือถุงพลาสติกเพาะกล้า ทำการหยอดเมล็ดลงในกระบะหรือ
ถุงเพาะหลุมละ 1 ต้น ให้ลึกประมาณ 2 ซม. กลบเมล็ดด้วยวัสดุเพาะชนิดเดียวกัน
รดน้ำให้ชุ่ม ก่อนนำไปวางไว้ในที่ร่ม รำไร ไม่ให้โดนแสงแดดจัดโดยตรง ในระหว่าง
การอนุบาลต้นกล้าแตงเทศ จะต้องรักษาความชื้นในวัสดุปลูกให้สม่ำเสมอ คงที่ ถ้า
วางไว้นอกโรงเรือน ในที่กลางแจ้งควรใช้ฟางข้าวคลุมเหนือผิววัสดุปลูกเพื่อช่วยเก็บ
ความชื้น ไม่ให้ระเหยออกไปจากวัสดุปลูกอย่างรวดเร็วจนทำให้วัสดุปลูกนั้นแห้งเร็ว
เกินไป รอจนกระทั่งเมล็ดเริ่มงอกและมีใบจริงสีเขียวจึงค่อยๆ ทะยอยเปิดฟาง
ข้าวออกให้ต้นกล้าได้รับแสงแดดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทีละน้อย ตามอายุการเจริญเติบโต
มิฉะนั้นต้นกล้าจะมีปล้องที่ยึดยาวหาแสงทำให้ลำต้นผอมบาง ไม่แข้งแรง และอย่า
ลืมว่าควรเพิ่มปริมาณน้ำที่ให้แตฃก่ต้นกล้าให้มากขึ้นเมื่อต้นกล้าโตขึ้นตามลำดับ
ขนาดของกระบะเพาะกล้าในปัจจุบันมีหลายขนาด สามารถเพาะกล้าให้เมล็ดงอกได้
ดีพอกัน แต่การเลืกกระบะที่มีขนาดใหญ่กว่าจะได้เปรียบตรงที่มีปริมาณวัสดเพาะต่อ
ต้นกล้าและได้ระยะห่างระหว่างต้นกล้าด้วยกันมากกว่าของกระบะที่มีขนาดเล็กกว่า
ทำให้ได้ต้นกล้าภายหลังการงอกที่ได้จากกระบะเพาะที่มีขนาดเล็กกว่า ขนาดของ
ต้นกล้าที่แข้งแรงพอที่จะย้ายปลูกได้ คือที่ใบจริงประมาณ 2-3 ใบ

การเตรียมแปลงปลูกและย้ายกล้า แตงเทศเป็นพืชที่มีราคาแพง โดยเฉพาะพันธุ์ที่มี
รสชาติดี เป็นที่ต้องการของตลาด จึงคุ้มค่ากับการปลูกทั้งในแปลงเปิดที่ลงทุนต่ำ
และในโรงเรือนที่ลงทุนสูง

การปลูกภายนอกโรงเรือน ก่อนอื่นควรมีการเก็บตัวอย่างดินจากแปลงที่จะปลูกไป
ตรวจเพื่อให้ทราบคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี (โครงสร้างดิน ความเป็น
กรด-ด่าง ความเค็ม และปริมาณธาตุอาหารที่มีอยู่ในดิน) การเตรียมพื้นที่ควรเริ่มต้น
ด้วยการไถดะในระดับความลึกไม่น้อยกว่า 60 ซม. ซึ่งเป็นความลึกที่อย่างน้อย
ต้องมีให้รากแตงชอนไซหาอาหารได้สะดวก จากนั้นจึงทำการไถแป เพื่อย่อยดินให้
ละเอียด แต่ถ้าในกรณีที่เนื้อดินเป็นดินเหนียวจัดไม่ควรย่อยดินให้ละเอียดมากเกิน
ไปแล้ว จึงใส่ปูนขาวตามคำแนะนำของผลการวิเคราะห์ดิน(ถ้ามี) ต่อมาให้ทำการใส่
ปุ๋ยอินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ยคอก หรือ ปุ๋ยหมัก ในอัตรา 1,500-2,000 กก.ต่อไร่ ทำการ
พรวนดินอีกครั้งเพื่อคลุกเคล้าให้ปุ๋ยคอกผสมกับดินให้ทั่ว ยกแปลงสูง 30 ซม.
หรือ 40 ซม. สำหรับฤดูฝน กว้างประมาณ 1-1.20 ม. มีความยาวตราความยาว
ของพื้นที่สำหรับการปลูกแบบแถวคู่ เว้นร่องน้ำกว้าง 0.80 ม. ก่อนปลูกใส่ปุ๋ยรอง
พื้นด้วยปุ๋ยเคมี 15-15-15 จำนวน 50 กก./ไร่ โดยโรยเฉพาะบนแปลง และพรวน
ดินเพื่อพลิกปุ๋ยลงสู่ดินล่าง หากต้องการป้องกันวัชพืช ควรคลุมแปลงด้วยพลาสติก
คลุมแปลงกลบชายพลาสติกด้วยดินข้างแปลงให้เรียบร้อย เจาะรูบนพลาสติกเป็ฯ 2
แถว ตามความยาวแปลง ระหว่างแถวห่างกัน 80 ซม. และระหว่างหลุมในแถวห่าง
กัน 0.5 ซม. ในพื้นที่ 1 ไร่ หรือ 1,600 ตร.ม. จะสามารถปลูกได้ 3,200 ต้น
สำหรับในพื้นที่ที่หาฟางข้าวได้ง่ายอาจใช้ฟางข้าวคลุมแปลงแทนการใช้พลาสติก
เพื่อการประหยัด ยกเว้นในฤดูฝนควรหลีกเลี่ยงการใช้ฟางคลุมดิน เพราะเสี่ยงต่อ
การเกิดโรคเน่าที่โคนต้นและระบบรากจากเชื้อราที่ติดมากับฟาง

การปลูกในโรงเรือน ในการปลูกแตงเทศในโรงเรือนช่วยให้สามารถปลูกแตงเทศได้
ในฤดูฝนโดยที่ไม่ต้องกลัวการระบาดของโรคทางใบ แต่ก็ต้องใช้การลงทุนที่สูงกว่า
จึงควรใช้เป็นวิธีการปลูกแตงเทศพันธุ์ที่มีราคาแพง เพื่อผลตอบแทนคุ้มค่ากับการลง
ทุน วิธีการปลูกในโรงเรือนนั้นสามารถปลูกลงในดินหรือปลูกในวัสดุปลูกที่อยู่ใน
ภาชนะหรือกระถาง แต่การปลูกลงในกระถางจะมีข้อดีกว่าตรงที่ สามารถใช้ระยะ
ปลูกที่ชิดกว่าการปลูกลงดินและเป็นวิธีนี้ยังช่วยให้สามารถปลูกแตงเทศต่อเนื่องใน
ฤดูติดกัน เพราะไม่ต้องกังวลเรื่องของการระบาดของโรคทางดินเนื่องจากปลูกใน
กระถางที่ใช้วัสดุปลูกที่มีความสะอาดหรือผ่านการฆ่าเชื้อให้ปลอดภัยมาแล้ว ใน
กรณีที่ปลูกมนกระถางขนาด 12 นิ้ว ให้วางกระถางแบบแถวคู่ ภายในแถวคู่ที่ระยะ
ห่างระหว่างกระถางในแถว 50 ซม. ระยะห่างภายในแถวคู่ 80 ซม. และระยะ
ระหว่างแถวคู่เท่ากับ 1.5 ม. ในโรงเรือนที่มีพื้นที่ 360 ตร.ม. จะปลูกได้ 1,000
ต้น วัสดุปลูกที่ใช้สามารถใช้ได้หลายชนิด ถ้าใช้วัสดุจากต่างประเทศ ได้แก่ พีทมอ
ส หรือ ภูมิส สามารถใช้วัสดุ ชนิดใดชนิดหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว หรือ ถ้าใช้วัสดุ
ภายในประเทศ เช่น ขุยมะพร้าว ถ่านแกลบ ทราย ให้นำผสมกันเสียก่อน ในอัตรา
เช่น ขุยมะพร้าว : ถ่านแกลบ : ทราย : ในอัตรา 1 : 1 : 1 เป็นต้น ไม่ควรใช้ขุย
มะพร้าว แกลบดิบ ทราย หรือถ่านแกลบ เพียงอย่างใด อย่างหนึ่งแต่เพียงอย่าง
เดียว เพราะวัสดุภายในประเทศเหล่านี้โดยตัวเองเพียงอย่างเดียว ยังไม่เหมาะ
สำหรับการปลูกพืช เมื่อเตรียมแปลงและหลุมปลูก หรือ กระถางบรรจุวัสดุปลูกเรียบ
ร้อยแล้ว ให้ทำการย้ายต้นกล้าแตงเทศที่เตรียมไว้ลงปลูก หลังปลูก รดน้ำให้ชุ่มเพื่อ
ให้ความชื้นแก่ต้นกล้าและให้ดินกระชับรากต้นกล้า

ในกรณีของการปลูกในโรงเรือนต้องวางระบบน้ำหยดและติดตั้งหัวน้ำหยดที่แต่ละ
กระถางปลูก การปฏิบัติดูแลรักษา แตงเทศเป็นพืชที่ต้องการการปฏิบัติเป็นพิเศษ
แตกต่างจากพืชอื่นๆ ในหลายขั้นตอน นับตั้งแต่การให้น้ำและใส่ปุ๋ย การขึ้นค้าง การ
ตัดแต่งกิ่ง

การผสมเกสรและการไว้ผล และการดูแลรักษาระหว่างการพัฒนาของผล ที่ถูกต้อง
เหมาะสมจึงจะให้ผลผลิตที่ดี ในต้นแตงเทศหนึ่งต้นจะปล่อยให้ติดลูกเพียงหนึ่งผล
เพื่อต้องการผลผลิตที่มีคุณภาพที่ดีที่สุด หรืออย่างมากไม่เกิน 2 ผล ดังนั้น หากมี
การดูแลรักษาที่ไม่ถูกวิธี อาจทำให้ไม่ได้เก็บเกี่ยวผลผลิตจากต้นแตงเทศนั้นเลย
ทำให้ผลผลิตต่อไร่ลดลง

การขึ้นค้าง แตงเทศเป็นพืชที่มีลำต้นเป็นเถาเลื้อย ในการใช้ระยะปลูกชิดแบบ
ปัจจุบันจึงต้องบังคับให้เถาแตงเลื้อยขึ้นด้านบนโดยการจัดค้างให้เถาแตงได้เกาะ
โดยหลังจากปลูกได้ประมาณ 14 วัน ต้องมีการปักค้างให้กับต้นแตงเทศ ไม้ค้างควร
มีความสูงจากผิวดินหลังการปักลงดินแล้วไม่น้อยกว่า 1.80 ซม. ในกรณีปลูก 2
แถว อาจผูกไม้ค้าง 2 ฝั่ง เข้าหาเป็นกระโจมเพื่อเพิ่มความแข้งแรงให้มากขึ้นก็ได้
และระหว่างไม้ค้างที่ปักในแนวตั้งให้ยึดด้วยไม้ค้างตามแนวนอนทั้งบนและล่างอีก
ตลอดความยาวของแปลง ไม้ค้างที่ใช้อาจเป็นไม้ไผ่รวก ไม้กระถิน หรือ อื่นๆ ที่หา
ได้ง่ายในท้องถิ่นและมีราคาถูก ต้นแตงเทศทุกต้นต้องมีที่ยึดเกาะให้ลำต้นเลื้อย
หากไม่สามารถลงทุนซี้อไม้ค้างให้กับต้นแตงทุกต้นได้ สามารถลดต้นทุนโดยการ
ปักไม้ค้าง้ป็นช่วงห่างกัน 2-2.5 ม. และหาเชือกไนลอนหรือเชือกอื่นที่มีความแข้ง
แรงพอที่จะรับน้ำหนักต้นแตงเทศได้ผูกโยงที่บริเวณปลายของไม้ค้างแต่ละอันให้ตึง
และบนเส้นเชือกตำแหน่งที่ตรงกับต้นแตงเทศให้ผูกเชือกห้อยลงมายาวจรดดิน ใน
การเริ่มต้นให้ต้นแตงเกาะกับหลักหรือเชือกจะต้องช่วยบังคับโดยการผูกต้นแตงกับ
หลักหรือเชือก ทุกๆ ข้อเว้นข้อ ก่อนในระยะแรก ถ้าเป็นเชือกให้เวียนเชือกรอบต้น
แตงด้วย เพื่อเชือกสัมผัสและรับน้ำหนักและพยุงต้นแตงเทศไว้ได้ การเลี้ยงลำต้น
และกิ่งแขนง หลังจากปลูกแตงเทศได้ระยะหนึ่ง ต้นแตงเทศจะเริ่มมีการแตกกิ่ง
แขนงออกมา ให้ปลิดกิ่งแขนงที่เกิดขึ้นต่ำกว่าข้อที่ 8 และสูงกว่าข้อที่ 12 ออกเสีย
โดยปลิดแขนงออกตั้งแต่ยังมีขนาดเล็กและปล่อยกิ่งแขนงที่เกิดขึ้นระหว่าง ข้อที่
8-12 ไว้ให้เป็นที่เกิดของดอกตัวเมียที่จะติดเป็นผลต่อไป

ทำการแต่งกิ่งแขนงโดยตัดปลายยอดทิ้งให้เหลือใบเพียง 2 ใบ เท่านั้น คือใบที่
ใกล้กับข้อแรกที่จะเกิดดอกตัวเมียหรือดอกสมบูรณ์เพศ และใบที่ข้อถัดขึ้นไป
ปล่อยให้มีดอกตัวเมียหรือดอกสมบูรณ์เกิดขึ้นเพียงแขนงละ 1 ดอก เท่านั้น และ
เมื่อต้นแตงเทศเจริญเติบโตจนถึง 25 ข้อ ให้ตัดปลายยอดของต้นออกเสีย เพื่อ
หยุดการเจริญเติบโตทางด้านลำต้น นอกจากนี้ให้เด็ดใบล่างสุดออกอีก 3-5 ใบ ที่
ไม่ค่อยได้รับแสงแดดออกไ เพื่อทำให้ต้นโปร่งเพิ่มการถ่ายเทของอากาศ ไม่ให้
เกิด การสะสมของความชื้นที่ชักนำให้เกิดโรคราต่างๆ

การผสมเกสรและการไว้ผล แตงเทศเป็นพืชที่มีดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่กันคนละ
ดอกแต่เกิด อยู่บนต้นเดียวกัน หรือบางพันธุ์มีดอกเพศผู้และดอกสมบูรณ์เพศอยู่บน
ต้นเดียวกันก็มี โดยดอกเพศผู้จะเกิดก่อนและเกิดเป็นช่อที่มุมระหว่างก้านใบกับลำ
ต้น หรือ ลำต้นกับกิ่งแขนง ส่วนเพศเมียหรือดอกสมบูรณ์เพศจะเกิดทีหลังและเกิด
เป็นดอกเดี่ยว ที่ข้อแรกหรือข้อที่สองของกิ่งแขนง โดยปกติแตงเทศเป็นพืชผสม
ข้าม จำเป็นที่ต้องที่การผสมเกสรจากภายนอกโดยแมลงหรือมนุษย์จึงจะติดเป็นผล
ได้ ดังนั้นในการปลูกแตงเทศจึงจำเป็นต้องมีการช่วยผสมเกสรให้กับดอกตัวเมีย
หรือ ดอกสมบูรณ์เพศ การผสมเกสรต้องกระทำเมื่อดอกบาน ในตอนเช้า ตั้งแต่
เวลา 06.00-10.00 น. ในขณะที่อากาศยังมีอุณหภูมิไม่ขึ้นสูง หลังจากนั้นดอกตัว
เมีย จะหุบไม่รับการผสมอีกต่อไป วิธีการผสมเกสรทำโดย นำเด็ดดอกตัวผู้ที่บานใน
วัน นั้นจากต้นใดก็ได้ นำมาปลิดกลีบดอกออกให้หมดเหลือแต่ละอองเกสรตัวผู้ที่
สังเกตเห็นว่ามีละอองเกสรตัวผู้เกาะติดอยู่เต็มไปหมด แล้วนำมาคว่ำและเตาะลงที่
ยอด ของดอกตัวเมียหรือดอกสมบูรณ์เพศ ที่บานในวันนั้นให้ทั่วโดยรอบดอก ทะยอ
ยผสมเกสรให้ดอกตัวเมียหรือดอกสมบูรณ์เพศที่เกิดอยู่บนกิ่งแขนงที่เกิดบนข้อที่
8-12 ซึ่งจะบานไม่พร้อมกันจึงต้องใช้เวลาหลายวัน จึงจะผสมครบทั้ง 5 ดอก เมื่อ
เริ่มติดเป็นผลอ่อนขนาดเท่าไข่ไก่ จึงทำการเลือกผลที่สมบูรณ์ที่สุดไว้เพียงผล
เดียว โดยดูจากผลที่รูปร่างสมบูรณ์ไม่บิดเบี้ยว และมีขั้วผลที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ที่
เหลือให้ปลิดทิ้ง หลังติดผล 2 สัปดาห์ให้เริ่มใช้เชือกผูกที่ขั้วผลโยงไว้กับค้างเพื่อ
ช่วยพยุงและรับน้ำหนักผลที่จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ต่อไปจากนั้นให้รีบห่อผลด้วย
กระดาษหนัวสือพิมพ์ให้มิดชิดเพื่อป้องกันการเข้าทำลายของแมลงวันทอง การให้
น้ำ ต้นแตงเทศเป็นพืชที่มีใบใหญ่คายน้ำมากจึงต้องการน้ำมากในแต่ละวัน นับจาก
หลังจากย้ายปลูกแล้ว ความต้องการน้ำของต้นแตงเทศจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่ง
แตงเทศเริ่มออกดอกและติดผลจะเป็นช่วงที่แตงเทศมีปริมาณความต้องการน้ำสูงที่
สุด การให้น้ำแก่แตงเทศจึงต้องเพิ่มปริมาณการให้น้ำแก่ต้นเพิ่มมากขึ้นทุกสัปดาห์
จนถึงระยะออกดอกและติดผลจึงให้น้ำในปริมาณที่คงที่ได้ ปริมาณน้ำที่ต้องให้แก่
ต้นแตงเทศนั้นขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ ถ้าปลูกแตงเทศในช่วงที่อากาศร้อนจัด ในฤดู
ร้อนจัดและอากาศแห้งแล้ง ความต้องการน้ำของต้นแตงเทศในช่วงเริ่มต้นหลังย้าย
กล้าอาจอยู่ในช่วง 0.5-1 ลิตร/ต้น/วัน และในช่วงที่กำลังออกดอกและติดผลอาจ
สูงถึงวันละ 2-3 ลิตร/ต้น/วัน อย่างไรก็ตาม ความต้องการน้ำของแตงเทศสามารถ
เปลี่ยนแปลงไปใบฤดูกาลเดียวกัน ยังแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ สำหรับวิธีการให้
น้ำแก่แตงเทศ สามารถทำได้หลายวิธี เช่นการปล่อยน้ำเข้าข้างร่องปลูกและปล่อย
ให้น้ำซึมเข้าสู่แปลงจากด้านข้าง ซึ่งเป็นวิธีดั้งเดิมที่สิ้นเปลืองน้ำและแรงงาน

ปัจจุบันนิยมใช้ระบบการให้น้ำแบบหยดซึ่งเป็นการให้น้ำแก่ต้นแตงที่ในบริเวณราก
ของต้นแตงแต่ละต้นโดยตรง ซึ่งเป็นวิธีที่ประหยัดน้ำกว่า และยังสามารถผสมปุ๋ย
และสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชบางชนิดลงไปในระบบน้ำหยดได้ด้วย แต่ต้องใช้
การลงทุนสูงในครั้งแรกแต่สามารถเก็บไว้ใช้ในฤดูกาลปลูกต่อๆไป

การให้ปุ๋ย .
การ ใส่ปุ๋ยให้แก่แตงเทศที่ถูกวิธีและประหยัดนั้น ก่อนการให้ปุ๋ยแก่ต้นแตงเทศควรมี
การ ตรวจวิเคราะห์ดิน เพื่อหาความอุดมสมบูรณ์ของดินเสียก่อนว่ามีอินทรีย์วัตถุ
ธาตุ ฟอสฟอรัส ธาตุโปแตสเซียม ธาตุแคลเซียม และแมกนีเซียม ที่เป็นประโยชน์
ต่อพืช อยู่ในปริมาณเท่าใดก่อน จึงค่อยกำหนดปริมาณปุ๋ยที่จะใส่ให้แก่ดินที่ปลูกนั้น
อีก ครั้ง เนื่องจากความอุมสมบูรณ์ของดินในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน คำแนะ
นำใน การให้ปุ๋ยแก่ต้นแตงเทศต่อไปนี้ จึงเป็นคำแนะนำทั่วไปสำหรับแปลงปลูกพืชที่
ไม่มี ผลการตรวจวิเคราะห์ดิน

การให้ปุ๋ยเคมีทางดิน ในระหว่างการเตรียมดินก่อนปลูก ได้มีการใส่ปุ๋ยรองพื้นให้แก่
ต้นแตงเทศครั้งหนึ่งแล้ว แต่หลังการย้ายปลูกต้องมีการใส่ปุ๋ยเคมีเพิ่มเติมอีกเป็น
ระยะๆ ในช่วงก่อนออกดอก ช่วงกำลังออกดอกและติดผลอ่อน และช่วงก่อนผลแก่
ดังนี้ หลังย้ายปลูก 7 วัน ให้ใส่ปุ๋ย 15-15-15 ที่โคนต้นแตงเทศในปริมาณ 15
กรัม/ต้น หรือ 50 กก./ไร่ เมื่ออายุประมาณ 25 วัน และ 50 วัน หลังย้ายปลูก
โรย ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 50 กก./ไร่ และเมื่ออายุ 65 วัน หลังย้ายปลูกใช้ปุ๋ย
15- 15-15 อัตรา 50 กก./ไร่ ร่วมกับปุ๋ย 0-0-60 อัตรา 25 กก./ไร่ หว่านลงที่
ร่อง ระหว่างแปลงปลูก ก่อนการให้น้ำผ่านทางร่องแปลง

การให้ปุ๋ยเคมีทางน้ำ หากมีการใช้ระบบน้ำหยดกับการปลูกแตงเทศแล้ว ควรที่จะใช้
วิธีการให้ปุ๋ยทางน้ำแก่ต้นแตงเทศ เพราะเป็นวิธีที่ให้ประสิทธิภาพในการใช้ปุ๋ยดีที่
สุด ทำได้โดยการติดตั้งปั๊มปุ๋ยเข้าที่ส่วนต้นทางของระบบน้ำหยดก่อนเข้าสู่แปลง
ปลูก และผสมปุ๋ยลงในถังผสมขนาดใหญ่ 80-200 ลิตร เป็นต้น เมื่อจุ่มสายดูด
จาก ปั๊มปุ๋ยลงในถังผสมปุ๋ยและปล่อยให้ปั๊มทำงานเพื่อดูดปุ๋ยเข้มข้นขึ้นไปผสมกับ
น้ำที่ กำลังผ่านเข้าไปในแปลงปลูกสู่ต้นพืช กลายเป็นน้ำปุ๋ยเจือจางหยดให้กับต้น
แตงเทศ แต่ละต้น ในความเข้มข้นดังนี้ ธาตุไนโตรเจน (N) 150-200 มก./ลิตร
ธาตุฟอสฟอรัส (P) 30-50 มก./ลิตร และธาตุโปแตสเซียม (K) 150-200
มก./ ลิตร ในช่วงหลังของการพัฒนาของผล ควรเพิ่มความเข้มข้นธาตุอาหารโป
แตสเซียม ให้มากขึ้นอีกเล็กน้อยและลดความเข้มข้นของไนโตรเจนที่ให้ไปพร้อม
กับน้ำลง เพื่อเพิ่มความหวานให้แก่แตงเทศก่อนการเก็บเกี่ยว

ปัจจุบันปุ๋ยน้ำสำเร็จรูปที่อยู่ในรูปผงที่ละลายน้ำได้มีการนำมาจำหน่ายแล้ว มีมาก
มายหลายสูตรแตกต่างกันไปตามบริษัทผู้ผลิต ในช่วงแรกของการเจริญเติบโตทาง
ใบและลำต้นก่อนการออกดอกติดผล ควรใช้สูตรปุ๋ยที่ให้ธาตุไนโตรเจนสูง เช่น 20-
20-20, 21-11-21, 10-10-20 หรือสูตรใกล้เคียง เป็นต้น แต่ภายหลังเมื่อเริ่ม
ออกดอกติดผลแล้ว ควรเปลี่ยนมาใช้สูตรปุ๋ยที่มีธาตุโปแตสเซียมสูงขึ้น เช่น 14-7-
28, 12-5-40 หรือสูตรใกล้เคียง เป็นต้น ความเข้มข้นในถังปุ๋ยที่จะทำการผสม
เพื่อดูดไปผสมกับน้ำแล้วได้ความเข้มข้น สุดท้ายเท่ากับที่ต้องการให้กับต้นแตงเทศ
นั้น จะขึ้นกับอัตราการดูดปุ๋ยของปั๊มปุ๋ย และอัตราการไหลของน้ำเข้าสู่แปลงปลูกซึ่ง
จะแตกต่างกันไป ตามชนิดและขนาดของปั๊มปุ๋ยที่ใช้ และอัตราการไหลของน้ำเข้าสู่
แปลง คำนวณจากจำนวนหัวน้ำหยดและอัตราการหยดต่อหัว

ในการนี้บริษัทผู้ขายปุ๋ยสามารถให้คำแนะนำในการผสมได้

การเพิ่มความหวานในผลก่อนเก็บเกี่ยว ก่อนการเก็บเกี่ยว 1 สัปดาห์ให้ค่อยๆ ลด
ปริมาณการให้น้ำแก่ต้นแตงเทศลงทีละน้อย จนถึง 2 วันก่อนเก็บเกี่ยว ให้ลดน้ำลง
จนกระทั่งต้นแตงปรากฎเกิดอาการเหี่ยวในช่วงกลางวัน การทำเช่นนี้จะช่วยเพิ่ม
เปอร์เซ็นต์น้ำตาลในผลแตงเทศและลดปัญหาการแตกของผลแตงเทศก่อนการเก็บ
เกี่ยว แตงเทศที่จัดว่ามีความหวานอยู่ในเกณฑ์ที่ดี เป็นที่ต้องการของตลาด ควรมีค่า
ความหวานอยู่ที่ประมาณ 14 องศาบริกซ์ ขึ้นไป หรืออย่างน้อยต้องไม่ต่ำกว่า 12
องศาบริกซ์ ยิ่งมีค่ามากยิ่งหวานมาก และเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น

การเก็บเกี่ยว เมื่อผลแตงสุกแก่ จะมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะภายนอก คือ ในพันธุ์
ที่ผิวมีร่างแหจะพบว่าร่างแหเกิดขึ้นเต็มที่คลอบคลุมทั้งผล ผิวเริ่มเปลี่ยนสีและอ่อน
นุ่นลง และในบางพันธุ์เริ่มมีกลิ่นหอมเกิดขึ้น เกิดรอยแยกที่ขั้วจนในที่สุดผลจะหลุด
ออกจากขั้ว ในการเก็บเกี่ยวผลแตงเทศเพื่อการจำหน่ายจึงต้องเก็บเกี่ยว ในระยะที่
พอดี หากเก็บเร็วเกินไปจะได้ผลแตงที่อ่อนเกินไป รสชาติยังไม่หวานและมีน้ำหนัก
น้อย หากเก็บเกี่ยวล่าช้าไป ผิวและเนื้อภายในจะอ่อนนุ่มเกินไปไม่เหมาะสำหรับการ
เก็บรักษาและการจำหน่าย อายุเก็บเกี่ยวของแตงเทศที่เหมาะสมนั้นขึ้นกับพันธุ์ ซึ่งมี
ทั้งพันธุ์เบา ที่มีอายุการเก็บเกี่ยว 60-65 วัน หลังหยอดเมล็ด หรือ 30-35 วัน หลัง
ดอกบาน, พันธุ์ปานกลางมีอายุเก็บเกี่ยว 70-75 วัน หลังหยอดเมล็ด หรือ 40-45
วัน หลังดอกบาน พันธุ์หนักที่มีอายุเก็บเกี่ยวเกินกว่า 80-85 วันหลังเพาะเมล็ดหรือ
50-55 วัน หลังดอกบาน

นอกจากการนับจำนวนวันแล้ว การเก็บเกี่ยวแตงเทศยังสามารถดูจากลักษณะภาย
นอกได้ด้วย แตงเทศที่เริ่มสุกแก่เก็บเกี่ยวได้จะเริ่มมีกลิ่นหอมในพันธุ์ที่มีกลิ่มหอม
และมีรอยแยกที่ขั้วผลเกิดขึ้นแสดงว่าผลแตงกำลังจะหลุดร่วงจากต้นโดยทั่วไปมัก
จะเก็บเกี่ยวเมื่อเกิดรอยแยกประมาณ 50% หรือครึ่งหนึ่งของรอบขั้วผล ซึ่งเป็น
ระยะที่ผิวของผลแตงยังไม่อ่อนนุ่มจนเกินไป สามารถเก็บรักษาหรือขนส่งไป
จำหน่ายในตลาดได้โดยไม่กระทบกระเทือน และอยู่ตลาดได้อีกระยะหนึ่ง

การเก็บรักษา แตงเทศเป็นผลไม้สามารถเก็บเกี่ยวในระยะที่ผลพัฒนาเต็มที่แต่ยังไม่
ถึงระยะสุกงอมและนำมาบ่นให้สุกก่อนการบริโภคได้เช่นเดียวกับมะม่วง กล้วยและ
มะละกอ ดังนั้นถ้าหากเก็บเกี่ยวแตงเทศที่แก่แล้วนำมาวางเก็บไว้ในสภาพอุณหภูมิ
ห้อง (ประมาณ 27-30 องศาเซลเซียส) ผลแตงเทศจะเกิดการสุกงอม เนื้อผลอ่อน
และเน่าเสียในที่สุด ในเวลาอันสั้น หากต้องการเก็บรักษาแตงเทศให้คงสภาพเดิมไว้
ให้นานที่สุด

เพื่อรอการจำหน่ายหรือขนส่งไปจำหน่ายในสถานที่ห่างไกล ควรจะต้องเก็บแตงเทศ
ในสภาพที่มีอากาศเย็น ประมาณ 2-5 องศาเซลเซียส และความชื้นสัมพัทธ์สูง
ถึง 95% จะสามารถยืดอายุการเก็บรักษาแตงเทศออกไปได้นานถึง 15 วัน ใน
ระหว่างการขนส่งและวางจำหน่ายหากสวมผลแตงเทศไว้ในถุงตาข่ายโฟมจะช่วย
ป้องกันการกระแทกระหว่างกัน กันให้เกิดรอยซ้ำได้

โรคและแมลง
โรคราน้ำค้าง เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อราชนิด Pseudoperonospora ชนิด หนึ่งซึ่ง
ระบาดในสภาพอุณหภูมิต่ำและมีความชื้นสูง อาการของโรคเกิดขึ้นบนใบเป็นแผลสี
น้ำตาลอ่อน มีเส้นใยของเชื้อราสีขาวหม่นเกิดขึ้นที่ใต้ใบบริเวณที่ตรงกับแผล เมื่อ
อาการรุนแรง ทำให้ใบแห้ง และเถาตายได้ ในขณะที่กำลังออกดอกติดผล เป็นโรค
ที่เป็นปัญหาสำคัญสำหรับการปลูกแตงเทศในฤดูฝนของประเทศไทยที่มีสภาพแวด
ล้อมที่อำนวยต่อการระบาดของเชื้อโรค

การป้องกันก่อนการเกิดโรคในฤดูฝน ควรมรการฉีดสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา จำ
พวกมาเน็บ หรือ ไซเน็บ เป็นระยะๆ ทุกสัปดาห์ ถ้าหากพบว่าเชื้อราเข้าทำลายแล้ว
ควรควบคุมอาการของโรคด้วยสารเคมีกำจัดเชื้อราที่มีฤทธิ์ดูดซึม เช่น ริโดมิล
สำหรับต้นที่มีอาการรุนแรงแล้ว ควรถอนต้นทิ้งแล้วนำมาเผาไฟเสีย เพื่อป้องกันการ
เชื้อโรคแพร่กระจายออกไปมากยิ่งขึ้น

โรคเหี่ยวจากเชื้อฟูซาเลียม (Fusarium wilt) เกิดจากเชื้อราชนิด Fusarium ที่
อยู่ในดิน ทำให้ต้นแตงเทศเกิดอาการใบเหลืองและเหี่ยวอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเชื้อ
โรคเข้าทำลายในท่อน้ำท่ออาหาร การรักษาทำได้ค่อนข้างลำบากเพราะเชื้อโรคอยู่
ในดิน เมื่อพบว่ามีต้นเป็นโรคนี้ ควรถอนต้นที่เป็นโรคทิ้ง การปรับค่าความเป็นกรด -
ด่าง ของดินให้มีค่าสูงขึ้น จะช่วยชลออาการของโรคนี้ได้ ถ้าพบว่าเกิดโรคนี้อย่าง
รุนแรงในพื้นที่ปลูกใด้

ควรงดการปลูกพืชในวงศ์แตงนี้ซ้ำในที่เดิมในฤดูติดกัน

โรคใบด่างจากเชื้อไวรัส ต้นแตงเกิดอาการใบด่างเหลือง หยักเป็นคลื่น ใบเล็กลง
ยอดตั้งขึ้น ทำให้แตงชะงักการเจริญเติบโต ไม่ออกดอกและติดผล ถ้าพบว่าเริ่มมีต้น
แตงเทศเป็นโรคนี้ ควรรีบถอนต้นนั้นทิ้ง และนำไปเผาทำลาย ในการป้องกันการเกิด
โรคนั้นต้องหลีกเลี่ยงการปลูกพืชชนิดอื่นในวงศ์แตงในบริเวณใกล้เคียง และ
พยายามกำจัดแมลงศัตรูพืชที่เป็นพาหนะของโรคนี้ คือ แมลงหวี่ขาว เพลี้ยไฟ และ
เพลี้ยอ่อน โดยการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดแมลง เป็นระยะๆ แต่ต้องงดการฉีดก่อนการ
เก็บเกี่ยว

โรคราแป้งขาว (Powdery mildew) เกิดจากเชื้อชนิดหนึ่ง ระบาดในสภาพ
อุณหภูมิและความชื้นสูง อาการเกิดบนใบ และผล ทำให้ใบกรอบเป็นสีน้ำตาล อาจ
เกิดร่วมกับโรคราน้ำค้าง ป้องกันกำจัดได้ด้วยการฉีดพ่นกำมะถันผง หรือ สารป้องกัน
กำจัดเชื้อราเบนโนมิล (Benomy)


แมลงศัตรูที่สำคัญ
เพลี้ยไฟ (Thrips) เป็นแมลงที่มีขนาดเล็กมากเท่าปลายเข็ม ตัวอ่อนมีสีแดง ตัวแก่
เป็นสีดำ ดูดน้ำเลี้ยงที่ปลายยอดอ่อนของต้น ทำให้ยอดชะงักการเจริญเติบโต หด
สั้น บิดเบี้ยว ระบาดมาในสภาพอากาศร้อนและแห้งของฤดูร้อน โดยมีลมเป็นพาหนะ
พาเพลี้ยไฟเคลื่อนย้ายมาจากที่อื่น ป้องกันกำจัดได้ด้วยการปลูกพืชที่กันชนที่ต้าน
ทานเพลี้ยไฟ เช่น มะระ ล้อมรอบแปลง และ ฉีดพ่นด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดแมลง
แลนแนท

ด้วงเต่าแตง (Leaf beatle) เป็นแมลงปีกแข้ง ลำตัวยาวประมาณ 1 ซม. ปีกมีสี
เหลืองปนส้ม กัดกินใบแตงให้แหว่งเป็นวงๆ ถ้าระบาดและทำความเสียหายให้กับใบ
จำนวนมาก ให้ฉีดพ่นด้วยสารเคมีกำจัดแมลง เซฟวิน 85 หรือ ตั้งแต่ก่อนย้ายปลูก
ให้หยอดสารเคมีกำจัดแมลงชนิดดูดซึม คือ คาร์โบฟูราน หรือฟูราดาน ที่ก้นหลุม
ก่อนย้ายปลูก ซึ่งจะมีฤทธิ์ป้องกันแมลงต่างๆ ได้ประมาณ 45 วัน แต่ไม่ควรใช้สาร
ชนิดนี้อีกในระหว่างการเจริญเติบโตและติดผล เพราะจะตกค้างในผลผลิต เป็น
อันตรายต่อผู้บริโภค

หนอนชอนใบ (Leaf minor) เป็นแมลงตัวเล็กที่ชอนไชอยู่ใต้ผิวใบ กัดกินเนื้อใบ
เป็นทางยาวคดเคี้ยวไปทั่วทั้งผืนใบ โดยทั่วไปไม่พบว่ามีการระบาดมากในพืชตระกูล
แตงเท่าใดนัก แต่ในกรณีที่มีการระบาดมาก และเกิดขึ้นในระยะแรกของการเจริญ
เติบโตจะทำให้พื้นที่ใบเสียหายส่งผลให้กระทบกระเทือนต่อการเจริญเติบโตและให้
ผลผลิตต่อไปของต้นแตงเทศ วิธีการกำจัดต้องใช้สารเคมีชนิดดูดซึมเท่านั้นจึงจะได้
ผล เช่น อะบาเมคติน เป็นต้น แต่ไม่ควรฉีดในระยะก่อนเก็บเกี่ยว

แมลงวันผลไม้ (Melon fruit fly) เป็นแมลงที่ทำความเสียหายแก่ผลไม้มากที่สุด
ชนิดหนึ่ง ตัวเมียจะวางไข่ในผลไม้ใกล้สุก ทำให้เกิดตัวหนอนชอนไชอยู่ในผล ทำ
ให้เกิดแผล เน่าเสียราคา วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันคือการห่อผลก่อนที่ผลไม้จะสุก
แก่


http://www.fsseeds.net/index.php?mo=3&art=365988
http://www.fsseeds.net/index.php?mo=12&catid=57180





บังคับเมล่อนได้ต้นละผล..สูตรเกษตรกรญี่ปุ่น

แม้พื้นที่การเกษตรทั้งระบบในประเทศญี่ปุ่น จะมีเพียงร้อยละ 12.9 จากพื้นที่ทั้ง
หมด 3.78 แสน ตร.กม.เท่านั้น แต่เกษตรกรชาวญี่ปุ่นได้เน้นผลผลิตทางเกษตรให้
มีคุณภาพเป็นหลัก ขณะเดียวกันอีกหลายประเทศที่มีพื้นที่การเกษตอย่างมหาศาล
กลับเน้นในเรื่องของปริมาณมากกว่า อย่าง นายอิชิซูกะ ชิเกโนบุ เกษตรกรชาว
เมืองฮามามัตซึ จ.ชิซึโอกะ ประเทศญี่ปุ่น ที่มีไร่ "เมล่อน" เพียง 2 โรงเรือน ปลูก
ได้ 680 ต้น ได้บังคับให้เมล่อนออกผลผลิตเพียงต้นละ 1 ผลเท่านั้น ทั้งนี้เพราะ
ต้องการให้ผลเมล่อนมีคุณภาพตามที่ตลาดต้องการ

ไร่เมล่อนของนายอิชิซูกะอยู่ในพื้นที่รวมกับเกษตรกรรายอื่นอีก 4 ราย มีพื้นที่ทั้ง
หมดประมาณ 4 ไร่ มีโรงเรือนที่หุ้มด้วยพลาสติกหนาสำหรับปลูกเมล่อน 8 โรง
เรือน โดยแบ่งรายละ 2 โรงเรือน แต่ละโรงเรือนสามารถปลูกเมล่อนได้โรงเรือนละ
340 ต้น ภายใน 1 ปีสามารถหมุนเวียนปลูกเมล่อนได้ปีละ 4 ครั้ง เท่ากับ 1 ปี เก็บ
ผลผลิตเมล่อนได้ 2,720 ผลเท่านั้น

นายอิชิซูกะ บอกว่า การปลูกเมล่อนในระบบโรงเรือนหรือระบบปิด นอกจากจะ
ป้องกันแมลงศัตรูพืชได้แล้ว ยังสามารถป้องกันแสงแดดได้อีกด้วย เพราะเมล่อน
เป็นพืชที่ไม่ต้องการแดดจัด นอกจากนี้โรงเรือนยังสามารถควบคุมอุณหภูมิได้ด้วย
เพราะแต่ละโรงเรือนจะมีเครื่องควบคุมอุณหภูมิทำความร้อนและเย็นได้

สำหรับการปลูกเมล่อนตามแบบฉบับของชาวญี่ปุ่นนั้น หลังจากทำร่องเสร็จแล้ว ก็จะ
เพาะเมล็ดพันธุ์ก่อน เมื่อเมล็ดงอกออกมาได้พอประมาณจึงคัดเอาเฉพาะต้นที่
สมบูรณ์มา 2 ต้น โดยต้นหนึ่งเป็นต้นหลัก แล้วนำกิ่งจากอีกต้นมาทาบกิ่ง

หลังจากที่ ต้นเมล่อนเจริญเติบโตและออกดอก ก็จะนำเกสรดอกตัวผู้มาผสมกับ
เกสรดอกตัวเมีย จำนวน 2 ดอก ส่วนที่เหลืออีกประมาณ 5-9 ดอกต่อ 1 ต้นนั้น
จะตัดทิ้งทั้งหมด จากนั้นให้รอจนเมล่อนออกผล 2 ผล แล้วเลือกเอาผลที่สมบูรณ์ไว้
เพียงผลเดียว ส่วนอีกผลก็ตัดทิ้งไป ทั้งนี้เพื่อให้ต้นเมล่อนออกผลที่มีคุณภาพดีที่
สุด


กระทั่งผลเม ล่อนแก่และสุก ก็จะมีพ่อค้ามารับซื้อหรือมาประมูลถึงไร่ ในราคาขั้นต่ำ
ตามที่รัฐบาล กำหนด เฉลี่ยแล้วหากซื้อจากไร่ผลละ 2,000-2,500 เยน (คิดเงิน
ไทยผลละ 760-800 บาท) โดยแต่ละผลจะมีน้ำหนักผลละ 1.5-1.8 กก.
คำนวณจากที่นายอิชิซูกะ ปลูกเมล่อน 2 โรงเรือน 680 ต้น หมุนเวียนปลูกปีละ 4
ครั้ง เท่ากับปลูกเมล่อนได้ปีละ 2,720 ต้น แต่มีรายได้ตกปีละประมาณ 2 ล้าน
บาท

"คนญี่ปุ่นจะบริโภคอาหารหรือผลไม้ จะเน้นที่คุณภาพ ต้องมีความอร่อย สะอาด
ปลอดสารพิษ ฉะนั้นไร่เมล่อนของผมจะต้องเน้นคุณภาพ หากเน้นที่ปริมาณแต่ไม่มี
คุณภาพคนญี่ปุ่นก็จะไม่ซื้อกิน ต้องพึ่งเทคโนโลยีมาช่วย จะปลูกเท่าไรก็ไม่ขาดทุน
เพราะรัฐบาลเป็นผู้กำหนดราคาให้ ที่สำคัญประเทศญี่ปุ่นยังขาดแคลนผลผลิตทาง
เกษตรอีกมาก มีเท่าไรก็ขายได้ เพราะปัจจุบันรัฐบาลต้องนำเข้าผลผลิตทางการ
เกษตรจากต่างประเทศจำนวนมาก ตรงนี้ไม่ต้องกลัว" นายอิชิซูกะ กล่าว

ด้านนายธงชาติ รักษากุล อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวหลังจากที่พาคณะไปดู
ไร่เมล่อนของนายอิชิซูกะว่า ต้องยอมรับว่า วงการเกษตรของญี่ปุ่น พัฒนาไปใน
ลักษณะเกษตรอุตสาหกรรม มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ เพราะชาวญี่ปุ่นนั้นเน้นใน
เรื่องผลผลิตที่มีคุณภาพอย่างแท้จริง ฉะนั้นเกษตรกรชาวญี่ปุ่นจะเน้นในเรื่อง
คุณภาพเป็นหลัก ในขณะที่อีกหลายประเทศมักเน้นในเรื่องของปริมาณ จึงทำให้เกิด
ปัญหาในการส่งออกมาตลอด ถึงเวลาแล้วที่เกษตรกรไทยต้องเน้นในเรื่องของผล
ผลิตออกมาให้มีคุณภาพ โดยทางกรมส่งเสริมการเกษตรต้องรณรงค์และแนะนำ
เกษตรกรในเรื่องนี้ต่อไป



แหล่งข้อมูล: คม ชัด ลึก

http://www.melonthai.com/?news+view+00000027
www.melonthai.com/?news+view+00000027 -


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 22/11/2010 9:15 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หมึก..... เอารูปแปลงปลูกมาด้วยซี่ ทั้งแปลงในที่โล่ง แล้วก็แปลงในโรงเรือนด้วย
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
catcaty
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 13/08/2010
ตอบ: 525

ตอบตอบ: 22/11/2010 9:19 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การปลูกแคนตาลูป

แคนตาลูป เป็นพืชที่ชอบ อากาศอบอุ่นถึงร้อน อุณหภูมิที่เหมาะสม สำหรับการเจริญเติบโต อยู่ระหว่าง 25-30 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิที่เหมาะสำหรับ การงอกของราก แคนตาลูป อยู่ระหว่าง 25-30 องศาเซลเซียส ความแตกต่างของ อุณหภูมิระหว่าง
กลางวันกับกลางคืน มีอิทธิพลต่อ ความหวาน และคุณภาพของ แคนตาลูป ถ้าความแตกต่าง ยิ่งมากจะทำ ให้ความหวาน
และคุณภาพยิ่งสูง แต่สภาพที่หนาวเย็น จะทำให้ผลแคนตาลูปไม่โต การเจริญเติบโตจะชะงัก แคนตาลูปเป็นพืชที่ ชอบแสงแดด
ตลอดวัน ฉะนั้นในการเลือกพื้นที่ ปลูกควรเป็นพื้น ที่โล่งแจ้ง และไม่เคยปลูกพืช ตระกูลแตงมาก่อน ควรเป็นดินร่วน ปนทราย
ระบายน้ำ ได้ดี มีความเป็น กรด-ด่าง อยู่ระหว่าง 6.0-6.8

การเตรียมเมล็ดพันธุ์และการหยอดเมล็ดแคนตาลูป
พื้นที่ปลูก 1 ไร่ เตรียมเมล็ดพันธุ์อัตรา 0-100 กรัม นำเมล็ดเมล็ดพันธุ์บรรจุลงในถุงพลาสติก หรือถุงซิบที่เจาะรูพรุน หรือถุงเน็ต
ลงแช่ในน้ำสะอาดนาน 4-6 ชม. จากนั้นนำเมล็ดออกมาสลัดน้ำทิ้งใช้ผัาขนหนูที่เปียกพอหมาดๆ ห่อ และนำไปบ่มในอุณหภูมิ
28-32 องศาเซลเซียส โดยใช้หลอดไฟขนาด 40-60 W. บ่มนาน 24 ชม. เมล็ดแคนตาลูปจะเริ่มงอกรากยาวประมาณ 0.5 ชม.
ก็สามารถนำไปหยอด ลงในถุงดินหรือถาดเพาะกล้าต่อไป

การเตรียมถุงดินสำหรับเพาะเมล็ด
ใช้ดินร่วน 2-3 บุ้งกี๋ ปุ๋ยคอกที่สลายตัวแล้ว 1 บุ้งกี๋ ปุ๋ย 0-46-0 กำมือ ผสมให้เข้ากัน กรอกลงในถุงพลาสติกขนาด 4 & times;
4 นิ้ว หรือ 4 & times; 6 นิ้ว โดยเจาะรูที่ก้นถุงทั้ง 2 ข้าง เพื่อระบายน้ำ และนำถุงดินไปวางเรียงในแปลงเพาะ ขนาดกว้าง
1.0-1.5 เมตร โดยวางเรียงประมาณ 12-15 ถุงต่อแถว จากนั้นรดน้ำถุงดินให้ชุ่ม นำเมล็ดที่งอกราก แล้วหยอดลงไปถุงละ 1
เมล็ด หลังหยอด 2-3 วัน เมล็ดจะเริ่มชูใบเลี้ยงขึ้นมา ช่วยแกะเอาเปลือกของเมล็ดออกด้วย รดน้ำต้นกล้าทุกเช้าเย็น อายุต้น
กล้าที่เหมาะสม 10-12 วัน มีใบจริง 2-4 ใบ ก็สามารถย้ายลงปลูกในแปลงได้

การเตรียมแปลงปลูกแคตาลูป
ไถดินตากไว้ 1-2 อาทิตย์ จากนั้นไถพรวนให้ละเอียดทำการยกร่องแปลง โดยใช้ปุ๋ยคอก (ขี้ไก่ 800-1,000 กก./ไร่) ปุ๋ย
15-15-15 อัตรา 50 กก./ไร่ ฟูราดาน 2-3 กก./ไร่ ถ้าสภาพดินที่มี pH ต่ำ ควรใช้ปูนขาวอัตรา 100-200 กก./ไร่ การ
เตรียมแปลงถ้าเป็นแบบขึ้นค้างให้ห่างกัน 1.2-1.5 เมตร ความกว้างของร่องน้ำ 60-70 ซม. หลังแปลงกว้าง 80-90 ซม.
ใช้พลาสติกคลุม(พลาสติก 2 สี สีบรอนซ์และสีดำ) แล้วทำการเจาะหลุมปลูกห่างกัน 40-45 ซม.

ถ้าเป็นแปลงแบบเลื้อย ใช้ขนาดแปลงกว้าง 3-4 เมตร เตรียมแปลงคู่ (แบบเดียวกับแตงโม) ร่องน้ำกว้าง 60-70 ซม.

การย้ายปลูก
หลังเตรียมแปลงเสร็จก่อนย้ายปลูก 1-2 วัน ให้ฉีดพ่นยาต้นกล้า หรืองดการให้น้ำต้นกล้า เพื่อให้ต้นกล้าชะงักการเจริญเติบบโต
(Harddening) ใช้ระยะปลูก 40-45 ซม. รดน้ำหลุมให้ชุ่ม แล้วนำต้นกล้าปลูกลงไปหลุมละ 1 ต้นหลังปลูกเสร็จรดน้ำตามอีก
1 รอบ

การดูแลรักษาแคนตาลูป
การให้ปุ๋ย
ครั้งที่ 1 หลังปลูก 7-10 วัน ให้ยูเรีย อัตรา 1 ช้อนแกงต่อนำ 10 ลิตร รดที่โคนต้น ระวังอย่าให้ถูกใบ

ครั้งที่ 2 หลังย้ายปลูก 20-30 วัน ให้ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 25 กก./ไร่ โดยวิธีฝังระหว่างต้นหรือโรยที่ร่องน้ำ

ครั้งที่ 3 หลังย้ายปลูก 40 วัน ให้ปุ๋ย 13-13-21 หรือ 14-14-21 อัตรา 25 กก./ไร่ โดยวิธีฝังระหว่างต้น หรือโรยตามร่องน้ำ

ครั้งที่ 4 เพิ่มปุ๋ยโปแตส เพื่อเพิ่มความหวานและสีสรร อาจใช้ปุ๋ยยูเรียผสมในอัตรา 1:1 โดยหว่านตามร่องน้ำก่อนการเก็บ 1-2 สัปดาห์

การให้น้ำ
ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้แคนตาลูปเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ อย่าให้ขาดน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการติดผล ซึ่งจะทำให้ผล
แคนตาลูปอาจไม่โต การให้น้ำไม่สม่ำเสมอนอกจากระทำให้การเจริญเติบโตชะงักแล้ว อาจทำให้ผลปริแตกได้

การไว้ผลและการตัดแต่งกิ่ง กิ่งแขนงที่เกิดตั้งแต่ข้อที่ 1 จนถึงข้อที่ 8 ให้ตัดแต่งออกให้หมด และเริ่มไว้ผลข้อที่ 9-10,
11-12 ให้เลือกผลที่ดีที่สุดไว้ 1 ผล แล้วทำการห้อยผลไว้กับราวไม้เพื่อป้องกันมิให้ผลวางกับพื้น ซึ่งจะทำให้ผลเน่าเสียหาย
ได้ ส่วนกิ่งแขนงตั้งแต่ข้อที่ 13 ขึ้นไป ให้ตัดแต่งออกให้หมดและทำการเด็ดยอดข้อที่ 30-35

การเก็บเกี่ยว
ให้เลือกเก็บเกี่ยวผลคนตาลูปที่สุกไม่น้อยกว่า 80% ขึ้นไป และใช้หลักในการพิจารณาเก็บแคนตาลูป ดังนี้

นับอายุ หลังจากดอกบานแล้วประมาณ 30-35 วัน
สังเกตรอยแตกปริของขั้วผล
สังเกตจากสีผิว ถ้าเป็นพันธุ์ผิวเรียบ ผิวจะเป็นมันเรียบสีนวลตามสายพันธุ์ แต่ถ้าเป็นพันธุ์ที่มีตาข่าย จะสังเกตเห็นตาข่าย นูนเด่นชัดเจน
สังเกตจากกลิ่น ถ้าเป็นแคนตาลูปพันธุ์ที่มีกลิ่นหอม ถ้าสุกกลิ่นจะเริ่มหอมขณะเดินไปแปลงจะได้กลิ่น

โรค-แมลงและการป้องกันกำจัด
โรคราน้ำค้าง เกิดในสภาพอากาศที่อุณภูมิต่ำ ความชื้นสัมพันธ์สูง ป้องกันกำจัดด้วยสารเคมีพวกดาโคนิล, ริดโดมิล, เอพรอน 85

โรคเหี่ยว ป้องกันโดยไม่ปลูกซ้ำ พื้นที่เดิม

โรคราแป้ง เกิดในสภาพอากาศที่มีอุณหภูมิต่ำ ความชื้นสัมพันธ์ต่ำ ป้องกันกำจัดโดยใช้ยาอาฟูกาน

โรคไหม้ เกิดในสภาพอากาศอุณหภูมิต่ำ ความชื้นสัมพันธ์สูง เกิดทั้งที่ใบและลำต้น ป้องกันโดยฉัดพ่นสารประเภทดูดซึม เช่น
คาร์เบนดาซิม, เบนเลท, ท๊อบซินเอ็ม

เพลี้ยไฟ ดูดกินน้ำเลี้ยงเป็นพาหะของไวรัส ป้องกันโดยใช้ยาดูดซึมพวก คาร์โบฟูราน รองก้นหลุม ฉีดยาพ่นยาพวกคาร์โบ
ซันแฟน ,เมทโธมิล

แมลงเต่าแตง ระบาดโดยกัดกินใบ ป้องกันกำจัดด้วยสารเคมี พวกคาร์บาริล หรือสารดูดซึม ในกลุ่มของไดโครโตฟอส

หนอนกัดกินใบและผลอ่อน ป้องกันโดยใช้ยากลุ่มเมทโธมิล หรือกลุ่มโมโนโคร โตฟอส

http://www.vegetweb.com





พันธุ์แคนตาลู๊ปลูกผสมสายพันธุ์ต่าง ๆ
- ซันเลดี้ 227 (SUNLADY) เป็นพันธุ์ติดผลดก ปลูกง่าย ผลเป็นรูปทรงกลมรี น้ำหนัก 1-1.5 กก./ผล สุกผิวสีครีมออกขาว
ผิวเรียบ มีสีส้ม กลิ่นหอม รสหวาน กรอบ ฉ่ำน้ำ ฤดูปลูกที่เหมาะสม คือ ฤดูร้อน-ฝน

- เจดดิว 233 (JAD DEW) เป็นพันธุ์เบาติดผลดก ปลูกง่าย ทนทานต่อโรคไวรัส ผลมีลักษณะกลมหนัก 1.3 กก. ผิวเรียบ หรือ
บางครั้งมีตาข่ายเล็กน้อย เนื้อสีเขียว กลิ่นหอม รสหวานอร่อย ฤดูปลูก ปลายฝนต้นหนาว

- สกายร็อคเก็ต 221 (SKY ROCKET) เป็นพันธุ์ที่ทนต่อโรคราน้ำค้าง และราแป้งได้ดี ติดผลดกอายุปานกลาง ผลกลมมีตาข่าย
ผิวสีเขียวเข้มถึงเทา ใกล้สุกผิวจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองปนเขียว เนื้อสีเขียวกลิ่นหอม รสหวาน อร่อย น้ำหนักผล 1-1.5 กก.

- ฮันนีเวิลด์ 235 (HONEY WORLD) เป็นพันธุ์กลุ่มฮันนีดิว ผลกลมรี ผิวขาวนวล มีตาข่ายเล็กน้อย เนื้อสีเขียวอ่อน ความหวานสูง
น้ำหนักผล 1.7-2 กก. ฤดูที่เหมาะสม คือ ปลายฝน – ต้นหนาว

- เอ็มเมรัลด์ สวีท 1225 (EMERALD SWEET) เป็นพันธุ์ที่มีผลเป็นตาข่ายทรงกลมสวย มีเปอร์เซ็นต์น้ำตาล 15-19 บริกซ์
ปลูกง่าย ทนทานโรค น้ำหนักผล 1.5-2 กก. ผิวสีเทาเขียว เนื้อสีเขียว รสชาติอร่อยอายุการเก็บเกี่ยวหลังดอกบาน 40-50 วัน

- นิวชาร์ม 1238 (NEW CHARM) เป็นพันธุ์ที่ปลูกง่ายติดผลง่าย ผลทรงยาวรี น้ำหนักผล 1.5-2.2 กก. ผิวเรียบ หรือมีลาย
ตาข่ายเล็กน้อย สีส้มกรอบหรือฉ่ำน้ำความหวาน 13-16 บริกซ์ อายุการเก็บเกี่ยวหลังดอกบาน 40 วัน

- ศรีทอง 1382 (GOLDEN LADY) เป็นพันธุ์ใหม่ที่บริษัทได้พัฒนาขึ้นมาผิวสีเหลืองทองสวย เนื้อสีขาวนวล ความหวานสูง
14-18 บริกซ์ สามารถปลูกได้ทุกฤดู อายุ 65-70 วัน


ฝ่ายส่งเสริมการเกษตร สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ. เชียงใหม่ 50290 โทร. 0 53873938- 9
http://www.it.mju.ac.th





แคนตาลูป ผลไม้โปรดของใครหลายๆคน
เงินลงทุน :
ประมาณ 26,000 บาท (รวมค่าแรงและค่าวัสดุ)

รายได้ :
45,000 บาท : 4,500 กิโลกรัม : ไร่ (ราคาเฉลี่ย 10 – 15 บาท : 1 กิโลกรัม)

วัสดุ/อุปกรณ์ :
จอบ เสียม เครื่องสูบน้ำ สายยาง เครื่องฉีดพ่นสารเคมี กรรไกรตัดแต่งกิ่ง

แหล่งจำหน่ายวัสดุอุปกรณ์ :
ร้านจำหน่ายวัสดุอุปกรณ์การเกษตรทุกแห่ง

วิธีการปลูก :
1. เตรียมดิน โดยไถดินให้ลึก 30-40 ซม. ตากดินไว้เช่นนั้นประมาณ 7–10 วัน แล้วไถพรวนให้ร่วน หว่านปูนขาวในอัตรา
100-200 กิโลกรัม : ไร่ พร้อมใส่ปุ๋ยหมัก หรือ ปุ๋ยคอก อัตรา 2,000 กิโลกรัม : ไร่ และปุ๋ยสูตร 15–15–15 อัตรา 500
กิโลกรัม : ไร่

2. ทำแปลงปลูกขนาดกว้าง 1 ม. ด้านที่ปลูกพืช คลุมด้วยพลาสติก อีกด้านหนึ่งคลุมด้วยตาข่ายพลาสติก เพื่อให้พืชสามารถ
เกาะเลื้อยไปในทิศทางเดียวกัน ถ้าเป็นแปลง แบบขึ้นค้างจะใช้ระยะความห่างระหว่างต้น 50 ซม. ระยะความห่างระหว่าง
แถว 1.2–1.5 ม. ส่วนการปลูกแบบเลื้อยจะใช้ระยะความห่างระหว่างต้น
70–100 ซม. ระยะความห่างระหว่างแถว 3–4 ม.

3. วิธีการเตรียมต้นกล้าแคนตาลูป ที่เพาะไว้
3.1 นำดินร่วนผสมกับปุ๋ยคอกที่สลายตัวแล้วโรยด้วยปุ๋ยสูตร 0–46–0 แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน
3.2 กรอกดินผสมลงในถุงปลูก (สีดำ)
3.3 นำเมล็ดหยอดตรงกลางถุง ๆ ละ 1-2 เมล็ด ประมาณ 3–4 วัน เมล็ดจะเริ่มชูใบเลี้ยงขึ้นมา ควรแกะเปลือกเมล็ดออก
แล้วรดน้ำเช้า–เย็น
3.4 เมื่อต้นกล้าอายุ 10–12 วัน และมีใบแท้ 2–3 ใบ ต้องย้ายต้นกล้าไปปลูกในแปลง ตามข้อ 2

4. วิธีการย้ายที่ปลูก
4.1 ก่อนย้ายไปปลูก 1–2 วัน ต้องงดให้น้ำต้นกล้า เพื่อให้ต้นกล้าชะงักการเจริญเติบโตชั่วคราว
4.2 ควรรดน้ำในหลุมปลูกให้ชุ่มก่อน เลือกนำต้นกล้าที่แข็งแรงลงปลูกหลุมละ 1 ต้น หลังจากปลูกเสร็จควรรดน้ำให้ดิน
ปลูกชุ่มชื่นอีกครั้ง
4.3 ต้องให้น้ำต้นกล้าอย่างสม่ำเสมอเช้า–เย็น โดยเฉพาะหลังการติดผล หากขาด น้ำจะทำให้ผลไม่โตและอาจทำให้
ผลกรอบปริแตก
4.4 การให้ปุ๋ยหลังย้ายปลูก 7-10 วัน ใส่ปุ๋ยยูเรียอัตรา 1 ช้อนแกง : น้ำ 10 ลิตร แล้วรดน้ำที่โคนต้น 20-30 วัน ใส่ปุ๋ย
สูตร 15-15-15 อัตรา 25 กิโลกรัม : ไร่ โดยใส่ปุ๋ย ระหว่างต้น 40 วัน ใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 หรือ 14-14-21
อัตรา 25 กิโลกรัม : ไร่ และก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิต 1-2 สัปดาห์ ให้หว่านปุ๋ยโปแตสเซียมผสมปุ๋ยยูเรีย อัตรา 1 : 1
เพื่อเพิ่มความหวานและสีสันของผลน่ารับประทานยิ่งขึ้น

5. วิธีการป้องกันกำจัดศัตรูพืชและแมลง
- โรคเหี่ยว ควรหลีกเลี่ยงการปลูกซ้ำพื้นที่เดิมที่เคยปลูกพืชตระกูลแตงชนิดอื่น
- โรคราน้ำค้าง ป้องกันด้วยสารดาโคนิล ริโดมิล หรือเอพรอน 35
- โรคไหม้ กำจัดด้วยสารพวกคาร์เบนดาซิมและเบนเลท
- แมลงเต่าทองและหนอน กำจัดด้วยสารพวกโมโนโครโตฟอส
- เพลี้ยไฟ กำจัดด้วยสารพวกคาร์โปซัสแฟนและเมทโธมิล

วิธีตัดแต่งเพื่อการเก็บเกี่ยว :
ควรตัดแต่งกิ่งแขนง ตั้งแต่ข้อที่ 1–8 ออกให้หมด โดยเริ่มไว้ดอกหรือผลแคนตาลูป ตั้งแต่ข้อที่ 9–10 และ 10–11
ข้อละ 1 ผล ส่วนแขนงที่เกิดตั้งแต่แขนงที่ 13 ขึ้นไปตัด แต่งออกให้หมด เพื่อให้ผลที่เก็บไว้มีการเจริญเติบโตได้ดี เมื่อ
ผลมีขนาดเท่าไข่ไก่หรือไข่เป็ดให้เลือกผลที่ดีที่สุดไว้เพียงผลเดียว และห่อผลให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันแมลงเลือกเก็บเกี่ยว
แคนตาลูปสุกไม่น้อยกว่า 80% โดยพิจารณา ดังนี้

1. นับอายุหลังจากดอกเริ่มโรยไม่ต่ำกว่า 30–35 วัน
2. สังเกตรอยแตกปริของขั้วผลสีผิว ถ้าเป็นพันธุ์ที่มีตาข่ายจะสังเกตเห็นตาข่ายนูนขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน
3. มีกลิ่น พันธุ์ที่มีกลิ่นหอม เมื่อสุกจะได้กลิ่นแตงสุก


ตลาด/แหล่งจำหน่าย :
ตลาดสด/ผลไม้ ตลาดสี่มุมเมือง ตลาดไท ขายส่งพ่อค้าคนกลางที่มารับในสวน

ข้อแนะนำ :
ชนิดพันธุ์ที่ควรปลูก ได้แก่
1. พันธุ์หวานสีทอง (นัมเบอร์วัน) ผิวสีเหลืองสวยงาม น้ำหนักผล 2–2.5 กิโลกรัม อายุเก็บเกี่ยว 70–75 วัน หลังการย้าย
ลงแปลงปลูก

2. พันธุ์โลว์แลนด์ (LOWLAND) แข็งแรง ทนต่อโรคราน้ำค้าง ปลูกได้ตลอดปี อายุเก็บเกี่ยว 70–75 วัน หลังการย้าย
ลงแปลงปลูก

3. พันธุ์อะโรม่า (AROMA) แข็งแรง ทนต่อสภาพอากาศร้อนและโรคราน้ำค้างได้ดีกลิ่นหอม รสหวาน ผลผลิตสูง น้ำหนักผล
ประมาณ 1 กิโลกรัม อายุเก็บเกี่ยว 65–70 วัน หลังการย้ายลงแปลงปลูก

4. พันธุ์ซันเลดี้ (ปลูกไม่ได้ในฤดูหนาว)


http://www.thaismefranchise.com/?p=3614
www.thaismefranchise.com/?p=3614 -




เด็กวิทยาลัยเกษตรฯสระแก้ว เจ๋ง ปลูก 'แคนตาลูปชีวภาพ' ไม่พอขาย

วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสระแก้วเป็นหนึ่งใน 76 สถาบันการศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการที่เข้าร่วม “โครงการ
สร้างและพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่” ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) กับ สำนัก
งานคณะ กรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) โดยวิทยาลัยฯดังกล่าวได้เปิดหลักสูตร การเรียนการสอนครอบคลุมการผลิตพืช
และสัตว์ มีทั้งหลักสูตรครบวงจร (ระยะยาว) หลักสูตรเฉพาะทาง (ระยะกลาง) และหลักสูตรสนองปัญหา (ระยะสั้น) มีหนึ่ง
หลักสูตรที่โดดเด่น น่าสนใจ คือ การปลูกแคนตาลูปแบบครบวงจรโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งได้มีการสนับสนุน
ให้นักศึกษาปลูกแล้วได้ผลดี ผลิตได้ไม่ทันความต้องการของตลาด ทำให้นักศึกษา
มีรายได้ระหว่างเรียนด้วย

นายปิยะกฤต แก้ววิมล นักศึกษาแผนกวิชาพืชศาสตร์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสระแก้ว เล่าว่า วิทยาลัยฯ
ได้ส่งเสริมให้ นักศึกษาปลูกแคนตาลูปแบบครบวงจรโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ มีนักศึกษาเข้าร่วมโครงการ รวม 84 คน
แบ่งเป็น 12 กลุ่ม ๆ ละ 7 คน สลับผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันปลูกในพื้นที่ 4 ไร่ สำหรับแคนตาลูปที่ปลูกมี 2 พันธุ์ คือ
พันธุ์ซันเลดี้ และพันธุ์วีนัส ซึ่งเบื้องต้นต้องเตรียมแปลงปลูกโดยไถให้ลึก 30-40 เซนติเมตร ตากดินทิ้งไว้ 7-10 วัน
เพื่อฆ่าเชื้อโรค แล้วไถแปรให้ละเอียด ทำการใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักในแปลงปลูกคลุกเคล้าให้เข้ากัน ยกแปลงให้สูง
ประมาณ 30 เซนติเมตร พร้อมวางระบบน้ำหยดและคลุมพลาสติกลงบนแปลงปลูกด้วย

การปลูกกำหนดระยะห่างระหว่างแถว 1.2-1.5 เมตร ระหว่างต้น 40-50 เซนติเมตร พื้นที่ 1 ไร่ สามารถปลูก
ได้ถึง 2,500-3,000 ต้น โดยใช้ต้นกล้าอายุ 7-10 วัน เมื่ออายุ 20-25 วัน ต้นแคนตาลูปจะเริ่มเลื้อยขึ้นค้าง สมาชิก
ต้องหมั่นดูแลเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอ มีการฉีดพ่นปุ๋ยน้ำ สารชีวภาพและสารไล่แมลงวันเว้นวันเพื่อป้องกันเพลี้ยไฟ
และไรแดง เมื่ออายุ 35-38 วัน แคนตาลูปจะติดผลโดยต้องไว้ผลจำนวน 1 ผล/ต้น ที่แขนง 9-12 และต้องเด็ดยอด
แตงเเคนตาลูปทิ้งเมื่อ 40-45 วัน เพื่อลดการแย่งอาหาร เมื่ออายุ 60-75 วัน ก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตจำหน่ายได้
หนึ่งปีสามารถผลิตได้ 4 รุ่น

ก่อนเก็บผลผลิตส่งจำหน่าย 10-12 วัน ต้องใส่ปุ๋ยน้ำเพื่อเร่งความหวานให้กับแคนตาลูปผ่านระบบน้ำหยดทุก 2-3 วัน
ปกติจะได้ผลผลิตประมาณ 2,500-3,000 กิโลกรัม/ไร่ มีต้นทุนเฉลี่ย 26,800 บาท/ไร่ หรือประมาณ 9 บาท/กิโลกรัม
ราคาจำหน่ายอยู่ที่ 20-25 บาท จะมีรายได้เฉลี่ย 37,500-45,000 บาท/ไร่ ขณะที่ปลูกโดยใช้สารเคมีจะมีต้นทุนถึง
35,300 บาท/ไร่ ตลาดรับซื้อในราคากิโลกรัมละ 15 บาท

นายปิยะกฤต ยังบอกอีกว่า ถึงแม้การปลูกแคนตาลูปแบบใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีจะให้ผลผลิตสูง แต่ถ้ามองถึงเรื่องคุณภาพ
แล้วสู้การปลูกแบบเทคโนโลยีชีวภาพไม่ได้ เพราะผลผลิตจากแปลงที่ใช้สารชีวภาพจะไม่มีสารพิษตกค้างปนเปื้อน มีความ
ปลอดภัย ทั้งยังมีกลิ่นหอมรสชาติหวานกรอบ หวานชื่นใจ ไม่หวานจนแสบคอ เป็นที่ถูกใจผู้บริโภคและตลาดต้องการสูง ซึ่ง
ขณะนี้วิทยาลัยฯยังผลิตได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด

“อนาคตสมาชิกได้มีแผนการผลิตเพื่อป้อนตลาดทั้งปี พร้อมทำการแปรรูปเป็นไอศกรีมแคนตาลูปเพื่อเพิ่มมูลค่าด้วย
สำหรับการเข้าร่วมโครงการนี้ นอกจากจะช่วยให้มีรายได้ระหว่างเรียนและช่วยลดภาระของผู้ปกครองแล้ว ยังได้รับองค์ความ
รู้สามารถนำไปประกอบอาชีพได้หลังจบการศึกษา” นายปิยะกฤต เล่าด้วยสีหน้าภูมิใจ

อย่างไรก็ตาม หากสนใจเกี่ยวกับ “การปลูกแคนตาลูปโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ” สามารถสอบถามได้ที่ แผนกวิชาพืชศาสตร์
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสระแก้ว ต.ผ่านศึก อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว โทรศัพท์ 0-3724-3484, 0-3724-3486


http://www.dailynews.co.th



ประสบการณ์ตรง :
สมาชิก "คุณติ๋ม" ประจวบคีรีขันธ์ (086) 276-3989 บนเนื้อที่ 1 ใน 3 ไร่ ปลูกแบบหมุนเวียนเพื่อ "พักดิน-ปรับปรุงดิน" ด้วย
ปรัชญาการเกษตร "ทำน้อยได้มาก - ทำมากได้น้อย".......

ลุงคิมครับผม




แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 17/09/2010 10:40 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 10/12/2010 10:10 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)




บังอร เพ็งคล้าย ปลูก "เมล่อน" จนลืมตาอ้าปากได้ จากการสนับสนุนของรัฐและเอกชน

มีเกษตรกรไม่ใช่น้อยที่ลืมตาอ้าปากได้ จากการสนับสนุนในโครงการช่วยเหลือเกษตรกรที่ยากจนในพื้นที่ ระหว่างภาครัฐกับภาค
เอกชนร่วมมือกัน โดยทางภาคเอกชนเข้าไปสนับสนุนในเรื่องของการปลูกพืชในโครงการที่ถูกต้อง พร้อมรับซื้อผลผลิตในราคาประ
กันจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ โดยมีภาครัฐให้การสนับสนุนในเรื่องของเงินลงทุนขั้นแรก เมื่อเกษตรกรมีรายได้จากการขายผล
ผลิตเข้ามาแล้ว ก็หักชดใช้คืนให้กับภาครัฐในภายหลัง เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่จะประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี

คุณบังอร เพ็งคล้าย เกษตรกรหญิงคนเก่งแห่งบ้านหมู่ที่ 10 ตำบลพลับพลาไชย อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ก็เป็นหนึ่งในเกษตร
กรที่ประสบความสำเร็จจากการที่ได้เข้าร่วมโครงการสนับสนุนเกษตรกรที่ยากจนให้มาปลูกพืชผลตามที่บริษัทเอกชนเข้ามาแนะนำ

คุณบังอรปลูก "เมล่อน" จากการสนับสนุนของ บริษัท เจียไต๋ จำกัด เริ่มปลูกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 จนมาถึงปัจจุบันรวมระยะเวลา 7 ปี
เจ้าตัวบอกว่า

"ก่อนที่จะหันมาปลูกเมล่อนนั้น ทางบ้านปลูกอ้อย ข้าวโพด บางปีก็รับจ้างตัดอ้อย ใช้ชีวิตเป็นเกษตรกรชาวไร่อ้อยมานาน จนกระทั่ง
เจ้าหน้าที่ของบริษัท เจียไต๋ เข้ามาแนะนำให้ปลูกเมล่อนก็เกิดความสนใจ อยากปรับเปลี่ยนการทำเกษตรดูบ้าง จึงตกลงเข้าร่วมโครง
การของบริษัท ไปเข้ารับการอบรมการปลูกเมล่อนที่ฟาร์มของบริษัท เจียไต๋ เมืองกาญจน์ จากนั้นก็กลับมาลงมือปลูกเมล่อนเองที่บ้าน"

คุณบังอร เล่าต่อไปว่า ปลูกเมล่อนครั้งแรก ทางบริษัทกำหนดให้ปลูกในเนื้อที่ 1 ไร่ โดยมีภาครัฐให้การสนับสนุนเงินทุนสร้างโรงเรือน
ขนาดใหญ่ กว้าง 7 เมตร ยาว 36 เมตร สูง 5 เมตร หลังคาเป็นพลาสติคใสรูปโดม รอบด้านเป็นมุ้งไนล่อนตาถี่สีขาว

ภายในโรงเรือนยกร่องทำเป็น 4 ร่อง ปลูกเมล่อนได้ 552 ต้น ระยะห่างต่อต้น ถ้าปลูกหน้าหนาวระยะห่าง 45-50 เซนติเมตร ปลูก
หน้าร้อนระยะห่าง 40 เซนติเมตร หน้าร่องกว้าง 80 เซนติเมตร เว้นทางเดินระหว่างกลาง

คุณบังอร บอกว่า ก่อนตีร่องจะต้องปรับดินภายในโรงเรือนให้ทั่วก่อน โดยการหว่านปุ๋ยหมัก ปุ๋ยขี้วัว ปูนขาว หว่านให้ทั่วแล้วใช้รถไถ
พรวนคลุกดินก่อน จึงยกร่อง เมื่อยกร่องแล้วรดน้ำพอชุ่ม จากนั้นจึงใช้พลาสติคคลุมบนร่อง แล้วเจาะพลาสติคให้เป็นวงกลมเพื่อเอาต้น
กล้าลงปลูก ระยะห่างต่อต้นดังที่กล่าวแล้ว

"ต้นกล้า ทางบริษัทจะเอามาให้ปลูก ที่ไร่ปลูกเมล่อนพันธุ์เขียวมรกต กับพันธุ์นีออน เมื่อก่อนปลูกใหม่ๆ ปลูกพันธุ์ปริ๊นส์เซส"

เมื่อลงต้นกล้าแล้วก็รดน้ำตาม ค่อยๆ ทยอยปักค้างไปเรื่อยๆ ใช้ไม้ค้างสูงประมาณ 4 ศอก การให้น้ำใช้ระบบสปริงเกลอร์น้ำหยด ต่อ
สายเปิด-ปิด ให้น้ำวันละ 4 ครั้ง ครั้งละประมาณ 20 นาที

สำหรับการให้ปุ๋ยก็ผสมน้ำให้ไปตามสายยางระบบน้ำหยด เมื่อลงกล้าพอรากยึดต้นตั้งตัวดีแล้วให้ปุ๋ยสูตร 20-20-20 ช่วงที่สองต้น
ติดดอกให้ปุ๋ยสูตร 17-10-27 ช่วงที่สามเมื่อติดผลแล้ว 25 วัน ให้ปุ๋ยสูตร 13-0-46 ช่วงที่สี่สุดท้ายก่อนตัดผล 1 สัปดาห์ ให้ปุ๋ย
สูตร 0-0-50


คุณบังอร กล่าวต่อไปว่า เมล่อนพอลงปลูก ระบบรากเดินได้ดีไม่ต้องห่วงเลย ต้นจะโตเร็วมาก เผลอแป๊บเดียวยอดขึ้นสูงระดับปลาย
ค้างแล้ว ข้อแขนงจะแตกออกไปเรื่อยๆ เกษตรกรต้องตัดข้อแขนงจากล่างสุดขึ้นไป 8 ข้อทิ้ง เก็บข้อที่ 9-13 ไว้ ประมาณ 20 วัน
ต้นจะติดดอก ให้ผสมเกสรโดยเขี่ยเกสรจากดอกตัวผู้ลักษณะกลม เอาเกสรไปใส่ในเกสรดอกตัวเมีย พอผสมเสร็จราว 2 วัน ดอก
จะหุบ เริ่มติดเป็นผล นับจากวันลงปลูกไป 45 วัน สามารถเก็บผลผลิตขายได้

การให้ปุ๋ย ก็ไล่จากระยะเวลาที่ต้องใส่ปุ๋ย สำหรับน้ำนั้นต้องให้สม่ำเสมอทางระบบน้ำหยด ส่วนเรื่องของโรคและศัตรูเมล่อนนั้น คุณบังอร
บอกว่า เมล่อนถ้าปลูกกลางแจ้งในที่โล่งจะมีศัตรูมาเล่นงานมาก ค่อนข้างที่จะอ่อนแอ โรคที่เจอมักเป็นโรคโคนเน่า ราแป้ง ไวรัส
ถ้าเจอต้องขุดต้นทิ้งเอาออกจากโรงเรือนที่ปลูกโดยเร็ว มิเช่นนั้นจะระบาดลุกลามไปทั่วทั้งโรงเรือนเสียหายหมด

การป้องกันก็ต้องฉีดยาไว้ก่อน ใช้ยาป้องกันเชื้อรา ยาฆ่าหนอน ฉีดคลุมทุก 3 วัน ส่วนฮอร์โมนบำรุงใส่ไปกับระบบน้ำหยดได้เลย

"จะทำเมล่อนให้ได้ดีขี้เกียจไม่ได้เลย จะผัดวันประกันพรุ่งไม่ได้ เพราะขืนผัดวันการฉีดยาป้องกัน หากเกิดเป็นโรคขึ้นมาจะลุกลามติด
ต่ออย่างรวดเร็ว ป้องกันไม่ทันแล้วจะเสียใจ และเสียเงินที่ลงทุนไป"

เมล่อน 1 ต้น ให้ผลผลิต 1 ลูกเท่านั้น ก่อนเก็บ 15 วัน หยุดการฉีดยาโดยสิ้นเชิง ป้องกันสารตกค้างในผล เก็บส่งขายราคาประกัน
บริษัทรับซื้อเมล่อน เกรด A กิโลกรัมละ 30 บาท เกรด B กิโลกรัมละ 18 บาท เกรด C กิโลกรัมละ 10 บาท ส่วนใหญ่ถ้าทำตาม
ตารางที่บริษัทกำหนด เกษตรกรจะทำเมล่อนได้เกรด A กันทั้งนั้น

คุณบังอร กล่าวต่อไปว่า ปัจจุบันปลูกเมล่อนอยู่ 8 โรงเรือน ตามที่บริษัทกำหนด ละแวกบ้านมีสมาชิกมาเข้ากลุ่ม 6-7 ราย ทุกราย
ที่เข้าร่วมโครงการนี้ประสบความสำเร็จทั้งหมด มีรายได้แต่ละรุ่นเป็นกอบเป็นกำเลยทีเดียว

หลังจากเก็บผลผลิตแล้วก็ให้รื้อค้างทิ้ง เอาผ้าพลาสติคที่คลุมร่องออก ปรับดินใหม่ใส่ปุ๋ยคอก หว่านปูนขาวทั่วโรงเรือนแก้ความเป็น
กรดด่างของดิน ใส่ปุ๋ยบำรุงดินแล้วยกร่องใหม่ จากนั้นก็ปูผ้าพลาสติค คราวนี้ไม่ต้องเจาะพลาสติคแล้ว เอาต้นกล้าลงปลูกตามรูเจาะ
เก่าได้เลย

เมล่อนสามารถปลูกได้ปีหนึ่ง 3 รุ่น ปลูกในที่เดิมได้สบายๆ แต่ขอให้ใส่ปุ๋ยและฉีดยาตามตารางที่บริษัทกำหนดไว้อย่างเคร่งครัด
คุณบังอรกล่าวว่า เมื่อแรกเริ่มบริษัทมาชักชวนชาวบ้านไม่มีใครสนใจเข้าร่วมโครงการ มีบ้านตนเพียงบ้านเดียว เมื่อเข้าร่วม
โครงการ ทางบริษัทก็ส่งเจ้าหน้าที่ นักวิชาการ มาให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด ปลูกใหม่ๆ แทบไม่รู้เรื่องอะไรเลย เขาบอกให้
ทำอะไรก็ทำ พยายามเป็นนักเรียนที่ดี ดูแลแปลงอย่างใกล้ชิด พอผลผลิตออกมาเก็บขายได้เงิน เพื่อนบ้านก็เริ่มสนใจ

พอปลูกไปรุ่นที่ 2-3 คราวนี้มีสมาชิกใหม่เพิ่มเข้ามาขอร่วมโครงการ ทางบริษัทก็ยินดีที่มีสมาชิกใหม่เข้ามา ปลูกไปรุ่นที่
4-5 ก็สามารถทำได้เองแล้ว แต่ก็ต้องอยู่ในความควบคุมดูแลจากบริษัท นักวิชาการของบริษัทก็ยังคงเข้ามาตรวจตรา
ดูแลแปลงอย่างสม่ำเสมอ การให้ปุ๋ยให้ยาจะต้องทำตรงตามกำหนด ผลผลิตทุกรุ่นที่ได้ออกมาเป็นเกรด A ทั้งสิ้น จนปัจจุบัน
นี้สามารถลืมตาอ้าปากได้จากการขายผลผลิตเมล่อน จากการเข้าร่วมโครงการสนับสนุนเกษตรกรที่ยากจนของรัฐบาลกับเอกชน

"เมื่อก่อนใครๆ ก็บอกว่า กลางไร่อ้อยอย่างนี้ ปลูกอะไรก็ไม่ได้ผล นอกจากปลูกอ้อยเท่านั้น ความเชื่อนี้ยังติดอยู่กับความ
คิดของเกษตรกรชาวไร่อ้อย จริงๆ แล้วอยากจะบอกว่า เราสามารถปลูกพืชอะไรก็ได้ที่อยากปลูก เมื่อปลูกแล้วก็ทำให้ดี ให้
ได้คุณภาพ อย่างเช่น เมล่อน แรกๆ เอามาปลูกกลางไร่อ้อย ใครๆ ก็หัวเราะ ต่างก็ว่าไปไม่รอดแน่ เพราะไร่อ้อยนั้นร้อน ประกอบ
กับแมลงศัตรูพืชมีมาก มาถึงวันนี้เสียงหัวเราะเยาะหมดไป มีแต่หัวเราะจากการขายเมล่อนได้กำไรเป็นเงินเข้ามา"

เกษตรกรหรือผู้ที่สนใจจะปลูกเมล่อน อยากจะไปเที่ยวชมแปลงของคุณบังอร หนทางไปค่อนข้างไกลและเข้ายากสักหน่อย
เอาเป็นว่าใครจะไปดูงาน โทร.ไปถามทางกันได้ที่ (089) 520-0624 คุณบังอร เกษตรกรหญิงคนเก่งยินดีต้อนรับทุกท่าน



ขอบคุณข้อมูลจาก เทคโนโลยีชาวบ้าน

http://www.rd1677.com/branch.php?id=28558


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 29/03/2011 9:26 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 29/03/2011 5:18 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

จาก: Sap14
ถึง: kimzagass

ตอบ: 29/03/2011 4:32 pm


ชื่อกระทู้ : แคนตาลูป เมลอน
รายการ VIP ช่อง 9 วันที่ 28 มีนาคม 2554



ดูวีไอพี(VIP)ย้อนหลัง วันที่ 28 มีนาคม 2554 ช่วงที่ 1/5
http://www.youtube.com/watch?v=HT1ZoU6zlhQ
เริ่มเรื่องนาทีที่ 12:23


ดูวีไอพี(VIP)ย้อนหลัง วันที่ 28 มีนาคม 2554 ช่วงที่ 2/5
http://www.youtube.com/watch?v=Fwivu22iK8M


ดูวีไอพี(VIP)ย้อนหลัง วันที่ 28 มีนาคม 2554 ช่วงที่ 3/5
http://www.youtube.com/watch?v=VsFqsLu8ePo


ดูวีไอพี(VIP)ย้อนหลัง วันที่ 28 มีนาคม 2554 ช่วงที่ 4/5
http://www.youtube.com/watch?v=zYgMRADsqrI



copy มาจาก "ฝากข้อความส่วนตัว" ที่เว้บหน้าแรก...
ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 29/03/2011 6:20 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สุวิทย์ ไตรโชค เกษตรกรผู้ปลูกเมล่อนเงินล้าน






สุวิทย์ ไตรโชค เกษตรกรผู้ปลูกเมล่อนเงินล้าน
Tags: การเกษตร

ปี 2529
นายสุวิทย์ ไตรโชค เริ่มทดลองปลูกเป็นครั้งแรกที่อำเภอบางไทร โดยมีนางจินตนา ไตรโชค เป็นผู้ดูแลแปลงปลูก จำนวน 100 ต้น
เป็นพันธุ์ sun lady ผิวสีขาวเหลือง เนื้อสีส้ม

ปี 2530
นายสุวิทย์ ไตรโชค ขยายการปลูกเป็นการค้าและเพิ่มจำนวนพันธุ์มากขึ้น คือ แคนตาลูปพันธุ์ Hi Lineจากสหรัฐอเมริกา และ
พันธุ์ Honey World จากไต้หวัน

ปี 2534
เริ่มตั้งกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกแคนตาลูป เนื่องจากนายสุวิทย์ ไตรโชค ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกให้กับเกษตร ในหลายจังหวัด
ทำการตลาดขายส่งในซูเปอร์มาร์เกตหลายแห่ง

ปี 2537
กลุ่มเกษตรกรมีสมาชิกมากขึ้น จึงตั้ง Brand“Thai Fresh” ขึ้น และเริ่มผลิตพันธุ์ Musk melon ซึ่งเป็นพันธุ์ญี่ปุ่น

ปี 2538- 2551

จัดการระบบการผลิตและระบบการตลาดอย่างสอดคล้องกัน มีการวางแผนการผลิต การตลาดล่วงหน้า บริหารกลุ่มเกษตรกรอย่างเป็น
ระบบ ผลิตส่งผู้ส่งออก Modern Tradeสายการบินโรงแรมร้านอาหารและร้านค้าปลีกภายใต้Brand“Thai Fresh”และ “Navita”



http://invention53.blogspot.com/2011/03/blog-post_29.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 29/03/2011 8:32 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 29/03/2011 6:46 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เมล่อนญี่ปุ่น " คิโ มจิ "





เมล่อน " คิโมจิ " เป็นเมล่อนสายพันธุ์ญี่ปุ่นแท้ ซึ่งได้รับการปรับปรุงสายพันธุ์โดยความร่วมมือระหว่าง เฟรนชิพ ซีด และบริษัทผู้ผลิต
เมล็ดพันธุ์เมล่อน " คิโมจิ " จากประเทศญี่ปุ่น โดยปรับปรุงสายพันธุ์ให้เหมาะสมกับอากาศประเทศไทย โดยคำนึงถึงในรายละเอียด
ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น รูปลักษณ์ภายนอกที่เด่นสะดุดตาในเรื่องลายเน็ทบนลูกเมล่อน รวมถึงรสชาติที่หอมหวานของตัวเมล่อนเอง การต้าน
ทานโรค ขนาดของไส้ที่เล็ก และสามารถปลูกในแบบในโรงเรือนและนอกโรงเรือนได้อย่างไม่มีปัญหาแล้ว โดยมีขนาดน้ำหนักตั้งแต่

1.5 ก.ก. - 2 ก.ก. (ขึ้นอยู่กับฤดูกาลที่ปลูก)

หากพี่น้องเกษตรกรท่านสนใจและมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเมล่อนญี่ปุ่นสายพันธุ์ " คิโมจิ " สามารถติดต่อกับทางเราได้ที่หมายเลขโทร
ศัพท์ 02-9295355 หรือ 081-4476622 (คุณพงษ์ศักดิ์) หรือสามารถติดต่อทาง E-MAIL ที่ fsseeds_pongsak@yahoo.com

และสามารถคลิ๊กไปที่ TAB ติดต่อเรา (ด้านบนของเว็ปไซด์นี้) ทางเรายินดีที่จะตอบข้อสงสัยและปัญหาต่างๆให้กับพี่น้องเกษตร
กรทุกท่านที่สนใจใน เมล่อนสายพันธุ์ญี่ปุ่น" คิโมจิ "





http://www.fsseeds.net/index.php?mo=12&catid=57180


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 29/03/2011 8:33 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 29/03/2011 7:24 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ใช้ที่ 130 ไร่ปลูกเมล่อนในแปลงเปิด ใช้แบรนด์ “ฟาร์มเฟรช” เน้นตลาดบน


คมชัดลึก : ใน ยุคที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจฟองสบู่แตกหรือต้มยำกุ้งเมื่อปี 2539-2541 แม้แรงงานในภาคอุตสาหกรรมจะถูกเลิกจ้างมหาศาล
แต่ขณะเดียวกันในช่วงดังกล่าวมีการสร้างอาชีพใหม่ๆ ที่เป็นของตัวเองมีจำนวนไม่น้อยเช่นกัน อย่าง ภานุวัฒน์ อรุณโรจน์ศิริ เกษตรกรวัย
38 ปี เจ้าของ “วาสนาฟาร์ม” ที่ ต.หนองปลิง อ.หนองแค จ.สระบุรี เมื่อเขาถูกเลิกจ้างจึงกลับบ้าน สู่ภาคเกษตรทำสวนเมล่อน-แคนตาลูป
ป้อนห้างสรรพสินค้าชั้นนำ ภายใต้เครื่องหมายการค้า “ฟาร์มเฟรช” (FARM FRESH) อาทิตย์ละ 8-10 ตัน มีเงินหมุนจากการ
ซื้อ-ขายเดือนละกว่า 6 แสนบาท

ภานุวัฒน์ บอกว่า ตอนเรียนหนังสือไม่ได้คิดว่าเข้าสู่วงการเกษตร เพราะจบด้านวิศวกร พอเรียนจบได้ทำงานในโรงงานมีเงินเดือน
หลักหมื่น แต่ทำงานได้ไม่กี่ปี เจอพิษเศรษฐกิจตกต่ำเมื่อปี 2540 ขนาดระดับวิศวกรต้องถูกเลิกจ้าง จึงกลับมาบ้านที่ อ.หนองแค
เห็นว่ามีที่มรดกอยู่ 130 ไร่ เลยคิดว่าน่าจะมาทำการเกษตร จึงใช้เงินที่มีอยู่ และร่วมกับญาติๆกว่า 3 แสนบาท เริ่มจากปลูกพืชผัก
ไปก่อนส่งตลาดไท ระหว่างนั้นได้อ่านตำราด้านการเกษตร ฟังรายการทางวิทยุโทรทัศน์จึงสนใจเมล่อนเพราะราคาดี ครั้งแรกลอง
ปลูกก่อน 2 ไร่ พบปัญหาหลายอย่างโดยเฉพาะในเรื่องคุณภาพ และโรคศัตรูพืช

“ผมจบวิศวะมาจึงใช้หลักของวิศวะมาประยุกต์กับการเกษตร คือต้องมีการคำนวณตามหลักวิชาการ อาทิ ต้องใช้เหล็กขนาดไหน จึง
จะเหมาะกับงาน หากจะสร้างตึก ต้องดูว่าพื้นที่เป็นอย่างไร ควรใช้เสาเข็มขนาดไหน ทำการเกษตรก็เหมือน ต้องเริ่มที่ดินก่อนว่ามีสาร
อาหารอะไร เมล่อน หรือแคนตาลูป ชอบธาตุอาหารประเภทไหน สภาพภูมิอากาศอย่างไร ผมจึงไปศึกษาดูงานทั้งของเจี่ยไต ซึ่งใช้
เทคโนโลยีสูง สร้างโรงเรือนปิด ไปดูที่สระแก้ว และที่อื่นๆ แล้วมาคิดว่าหากปลูกแบบโรงเรือนปิด ต้องใช้เงินมาก จึงเน้นในการ
ปรับดิน และพัฒนาสายพันธุ์ที่เหมาะสม” ภานุวัฒน์ กล่าว

กว่า 3 ปีที่ภานุวัฒน์ อยู่การปรับสภาพดิน และทดลองปลูกเมล่อน-แคนตาลูป กว่า 30 สายพันธุ์จึงพบว่า พันธุ์ที่จะปลูกพื้นที่หนอง
ปลิงมี 9 สายพันธุ์คือ เมล่อนมี พันธุ์ออเรนจ์เน็ต เนื้อส้ม, กรีนเน็ต เนื้อเขียว, พันธุ์จากไต้หวัน ไซตามะเมล่อน พันธุ์จากญี่ปุ่น และ
เมล่อนเลมอน เป็นเมล่อนที่พัฒนาพันธุ์ร่วมกันของจีน ญี่ปุ่น และไต้หวัน มีความโดดเด่นคือเนื้อและรสชาติแปลกใหม่ หวานอมเปรี้ยว
ส่วนแคนตาลูปมีพันธุ์ท็อปซัน ผิวทองเนื้อส้ม, ท็อปสตาร์ เนื้อสีเขียว นอกจากนี้มีแคนตาลูปสีทอง พันธุ์ท็อปโกลด์ เนื้อสีขาว,
โกลเด้นซัน เนื้อสีส้ม และซันไช่แอปเปิ้ลเมล่อน ซึ่งเป็นพันธุ์จากไต้หวันผลขนาดเล็ก

ปัจจุบันผลผลิตทั้งหมดตกอาทิตย์ละ 8-10 ตัน เน้นตลาดบนส่งขายบนห้างสรรพสินค้าชั้นนำ อาทิ ห้างคาร์ฟูร์ ซูเปอร์มาร์เก็ต และ
อีกส่วนหนึ่งขายที่ฟาร์มภายใต้แบรนด์ “ฟาร์มเฟรช” ขายในราคาของเมล่อนตก กก.ละ 79-120 บาท ยกเว้นพันธุ์ไซตามะเมล่อน
ขาย กก.ละ 270 บาท ส่วนแคนตาลูปราคา กก.ละ 52-69 บาท แคนตาลูปสีทองราคา กก.ละ 69-79 บาท ยกเว้นซันไช่แอปเปิ้ล
เมล่อน ราคา กก.ละ 200 บาท ในแต่ละเดือนจะมีเงินสะพัดเข้าสวนตกเดือนละ 6 แสนบาท ขณะที่ค่าใช้จ่ายก็อีกหลายแสนบาทเช่นกัน


“กว่าจะถึงวันนี้ได้ ผมต้องใช้ความอดทน คิดจะถอยหลายครั้งแล้ว ตอนนี้เริ่มเข้ารูปเข้ารอยแล้ว ขนาดนักวิชการมาเห็นยังข้องใจว่า
ผมปลูกเมล่อนในแปลงเปิดได้อย่างไรเป็นร้อยๆ ไร่ แต่ผมก็ไม่ประมาทนะ โดยเฉพาะเมืองปลูกพืชอย่างเดียวครบ 8 ปี ต้อง
บำรุงสภาพดิน ด้วยการใช้ขี้เถ้าแกลบ โดโลไมท์ ร็อกฟอสเฟต หากพบการระบาดของโรค-แมลงก็จะเลือกสารเคมีที่เหมาะสมและ
พ่นให้ตรงกับช่วง เวลาการระบาดมากที่สุด” เขา กล่าว

ก็เป็นเกษตรกรที่ประสบผลสำเร็จอีกคนหนึ่ง ซึ่งโครงการ “ท่องโลกเกษตร” กับโต๊ะข่าวเกษตร “คม ชัด ลึก” ระหว่างวันที่ 6-7
กุมภาพันธ์ จะแวะดูงานที่วาสนาฟาร์มด้วย

“ดลมนัส กาเจ”



http://soclaimon.wordpress.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 06/08/2016 7:39 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 29/03/2011 9:04 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ชมชิม "เมล่อน" หลากสายพันธุ์จาก "สวนวาสนา"







คมชัดลึก :แคนตาลูปและเมล่อน นับเป็นผลไม้เพียงไม่กี่ชนิดที่ตลาดมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง และมีราคาดี ผลผลิตที่มีคุณภาพ
และมาตรฐานไม่เพียงแต่จะถูกป้อนเข้าตลาดระดับบนอย่างห้างสรรพสินค้าชั้นนำเท่านั้น แต่ยังมีการผลิตเพื่อส่งออกอีกด้วย

"ท่องโลกเกษตร" จะพาไปชมสวนวาสนา อ.หนองแค จ.สระบุรี นับเป็นแหล่งผลิตแคนตาลูปและเมล่อนรายใหญ่อันดับต้นๆ
ของบ้านเรา ด้วยพื้นที่การผลิต 130 ไร่ กับปริมาณผลผลิตที่ส่งป้อนห้างสรรพสินค้าสัปดาห์ละ 3-5 ตัน มานานกว่า 6 ปี ภายใต้
ชื่อ “ฟาร์มเฟรช” (FARM FRESH) โดย ภานุวัฒน์ อรุณโรจน์ศิริ ผู้ดูแลสวนวาสนาและเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ที่นำความรู้เชิง
วิทยาศาสตร์มาใช้ในการวางแผนการผลิต คัดเลือกสายพันธุ์ และปรับปรุงคุณภาพเมล่อนและแคนตาลูปของสวน เปิดเผยเทคนิค
การปลูกว่าระยะปลูกที่เหมาะสมคือ ระยะระหว่างต้น 40 ซม. ระยะระหว่างแถว 50-60 ซม. จะได้จำนวนต้นต่อไร่ประมาณ 3,000 ต้น

การไว้ผลจะเลือกไว้ผลในข้อที่ 9-11 และเลือกไว้ผลที่สมบูรณ์ที่สุดเพียงผลเดียว โดยให้ความสูงของต้นอยู่ที่ 20-25 ใบ และ
จะทำการตัดแต่งใบวันเว้นวันจนต้นอายุได้ 50 วัน

ส่วนการให้ปุ๋ยจะให้ไปพร้อมระบบน้ำ โดยใช้ปุ๋ยสูตรสำเร็จ ที่ใช้เป็นหลักจะมีเพียง 2 สูตร คือ สูตร 13-13-13 จะใช้ตั้งแต่เริ่ม
ปลูกจนถึงเลือกไว้ผล เมื่อต้นอายุประมาณ 45 วัน จากนั้นก็จะเปลี่ยนมาใช้สูตร 12-6-18 ไปจนกระทั่งเก็บเกี่ยว ปริมาณ
การให้ปุ๋ยเฉลี่ย 1 กรัมต่อต้น นอกจากการให้ปุ๋ยทางระบบน้ำแล้วยังมีการให้ธาตุอาหารเสริม เช่น แคลเซียม-โบรอน แมกนีเซียม
สังกะสี เป็นต้น


"โรคเหี่ยวจากไวรัสนับเป็นโรคที่สร้างความเสียหายให้กับแหล่งปลูกแคนตาลูปในหลายพื้นที่ แต่ไม่เป็นปัญหาสำหรับสวนวาสนา
แม้จะมีการปลูกซ้ำที่มานานกว่า 8 ปี เนื่องจากมีระบบการจัดการและการเตรียมดินที่ดี มีการใช้ขี้เถ้าแกลบ โดโลไมท์ ร็อกฟอสเฟต
ในการปรับปรุงดิน และเมื่อพบการระบาดของโรค-แมลง ก็จะเลือกสารเคมีที่เหมาะสมและพ่นให้ตรงกับช่วงเวลาการระบาดมากที่สุด
ซึ่งจะมีการป้องกันด้วยการขึงซาแลนสีดำรอบสวนเป็นแนวรอบพื้นที่ปลูก"

เจ้าของสวนคนเดิมระบุอีกว่า สำหรับสายพันธุ์ที่นำมาปลูกนั้นก็ถือเป็นปัจจัยที่ทำให้การปลูกประสบความสำเร็จ ซึ่งสวนวาสนาได้มี
การทดสอบสายพันธุ์เมล่อนและแคนตาลูปมากกว่า 30 สายพันธุ์ ทั้งสายพันธุ์ของไทย ไต้หวัน และญี่ปุ่น จนได้สายพันธุ์ที่เหมาะ
สมและตรงกับความต้องการของตลาดในปัจจุบัน 8 สายพันธุ์ คือ กลุ่ม เมล่อน ได้แก่ ออเรนจ์เน็ต (เนื้อส้ม) กรีนเน็ต (เนื้อเขียว)
ไซตามะเมล่อน กลุ่ม แคนตาลูป ได้แก่ ท็อปซัน (เนื้อส้ม) ท็อปสตาร์ (เนื้อเขียว) แคนตาลูปสีทอง ได้แก่ ท็อปโกลด์ (เนื้อขาว)
โกลเด้นท์ ซัน (เนื้อส้ม) และซันไช่ แอปเปิ้ลเมล่อน ซึ่งเป็นพันธุ์จากไต้หวัน โดยพันธุ์ที่มีความโดดเด่นที่สุดคือ “ไซตามะเมล่อน”
ที่มีรูปทรงผลสวย ลายสวย รสชาติอร่อย ในญี่ปุ่นมีการซื้อขายผลสดกันในราคาสูงถึงผลละ 3,000-4,000 บาท ในขณะที่ราคา
จำหน่ายในห้างสยามพารากอนนั้น เพียง 270 บาท/กก. เท่านั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่ลูกค้าจะตอบรับเป็นอย่างดี

นอกจากนี้ ยังมีพันธุ์ใหม่ล่าสุดที่เตรียมเปิดตัวในช่วงปลายปี คือ เมล่อนเลมอน ที่เกิดจาการพัฒนาพันธุ์ร่วมกันของจีน ญี่ปุ่น และ
ไต้หวัน เป็นพันธุ์ที่มีความโดดเด่นมากในส่วนของเนื้อและรสชาติแปลกใหม่ หวานอมเปรี้ยว เป็นผลไม้สำหรับผู้ที่รักสุขภาพ และ
เป็นพันธุ์ที่น่าสนใจสำหรับการผลิตเพื่อส่งออกต่างประเทศ ซึ่งไม่นิยมผลไม้รสหวาน


ทีมข่าวเกษตร



http://www.komchadluek.net
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©