-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ไร่อ้อย .....(คำถาม-ถามลุง)
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ไร่อ้อย .....(คำถาม-ถามลุง)
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ไร่อ้อย .....(คำถาม-ถามลุง)
ไปที่หน้า 1, 2  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
joBcoMmatammi
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 18/11/2010
ตอบ: 32

ตอบตอบ: 18/11/2010 10:27 am    ชื่อกระทู้: ไร่อ้อย .....(คำถาม-ถามลุง) ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดี ลุงคิม คุณยุทธ ...... และทุกคนครับ

ผมอยู่จังหวัดเดียวกับแฟนพี่ยุทธครับ (น่าจะ) ผมอ่านแต่ไร่อ้อย ผมเลยยังไม่รู้จักหมดทุกคนครับ

เนื่องจากลุงคิมบอกให้คิดนอกกรอบ ผมเลยมีคำถามจะถามครับ

ผมมีไร่ ซึ่งเตรียมจะทำการปลูกอ้อย ณ ตอนที่เขียนกระทู้นี้ รถคงจัดการปรับพื้นที่เรียบร้อยแล้ว ปลูกอ้อยจำนวนต้นให้ถี่มากขึ้น ผมจึงคิดที่จะทดลองกับอ้อย โดยใส่ความถี่เป็น 2 เท่า เข้าไป 1 ร่อง เพื่อทดสอบ

(เช่น ปกติ 1ไร่ ปลูก 16,000 ลำ ผมเพิ่มเป้น 3,200 ลำ แต่ผมทดสอบแค่ร่องเดียว)หมายถึงจำนวนลำที่เราจะเลี้ยงและให้ปุ๋ยนะครับ สมมุตินะครับ


แล้วใช้วิธีการให้อาหารตามคุณยุทธ
- ผมจะถามการให้อาหารอ้อย ครับ

1. ผมต้องให้อาหารเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าใช่ไหม ถึงจะเพียงพอต่อความต้องการของอ้อย

2. ผสมความเข้มข้นของปุ๋ย (ให้ทางดินนะครับ ทางใบคงไม่ได้เนาะ) เป็น 2 เท่า หรือผมให้ปุ๋ยสูตรเดิม แต่ความถี่ต้องเป็น 2 เท่า

3. การปลูกอ้อยสูตรลุงคิมทำไมผมอ่านไม่เจอ การรองพื้นก่อนปลูก (เราควรใส่ธาตุอาหารหลักก่อนปลูกไหม เพื่อป้องกันการขาดธาตุอาหาร เพราะปลูกเป็น 2 เท่า

4.ความต้องการอาหารของอ้อย ธาตุหลัก ธาตุรอง เสริม เท่าไรบ้างครับ (ลองหาในgoogle แล้วไม่เจอครับ)

ถ้าผมถามผิดพลาด (หรือภาษาชาวบ้านถามโง่ๆ) ประการใด ขออภัยด้วยนะครับเพราะผมไม่มีความรู้ด้านการเกษตรเลยซักนิด ไม่เคยปลูกอะไรแล้วขึ้นเลยซักอย่าง(เรียกว่าปลูกตระไคร้ ตระไคร้ยังเสียชีวิต)

จึงต้องมาขอคำปรึกษา แนะนำ จาก พี่ ป้า น้า อา ผู้มีประสบการณ์ (เดี๋ยวผมเอารูปที่มาให้ดูครับ)


ขอบคุณครับ
ถามตอบ 19./11/53


1.สวัสดีพี่หมึกครับ

2.สวัสดีพี่ A_chumphaeครับ
Ans..
16,000 ลำ 32,000 หมายถึง จำนวนลำที่จะให้อาหาร ผมก็ไม่รู้ว่า 1 ไร่ จะเลี้ยงกี่ลำ สมมุติเอาครับ เพื่อผมจะทดสอบและเปรียบเทียบผลของการให้อาหาร ต้นทุนกำไร ความยุ่งยากในการดูแล ระหว่างอ้อยที่ปลูกแบบเดิมร่องคู่ (2 แถว) กับปลูก แบบร่องคู่ยกกำลังสอง (4 แถว) เพื่อมาหาวิธีลดต้นทุน ลดความยุ่งยาก โดยพันธ์อ้อยที่ใช้ทดสอบ คือ k-800 เพราะใหญ่ยาว (จริงหรือเปล่าก็ไม่รู้เพราะมีแค่ 2 พันธุ์ ในพื้นที่ k กับ ลำปาง) เอาเป็นว่าใหญ่กว่าลำปางครับ และทดลองแค่ ร่องเดียวครับโดยใช้คนปลูก (ใช้ตัวเองปลูกครับ) และมีการบันทึกข้อมูลไว้ทุกขั้นตอนครับ ขอคำแนะนำ ตักเตือน ชี้แนะด้วยนะครับ ........ ขอบคุณครับ

3.สวัสดี คุณแป้ง สตรี เกษตรกรรม ตัวดำ ใจดีครับ
4.Ans..
ครับผมจบคอมมาครับ เลยมาเป็นลูกจ้างข้าราชการกับนักการเมือง แล้วรู้สึกเบื่อกับกิจกรรม ที่จะต้องนอบน้อมต่อนักการเมืองเชิงพ่อค้า ซึ่งไม่ได้รับการเลือกตั้งมา แต่ได้รับเลือกเพราะระบบให้สินบนมา คือ ให้สินบนต่อประชาชน (แต่ก็ต้องทำอาชีพอื่นทำไม่เป็น) กล่าวแค่นี้นะเดี๋ยวโดนเชิญไปฮ่องกง เลยไม่เข้าใจตัวเองว่า ทำไมไม่เลือกที่จะเรียนเกษตร อย่างน้อยก็ยังมาบอกกับพี่แม่พี่น้องที่ทำการเกษตร มีผลผลิตที่ดี ทำอย่างถูกวิธี ฯลฯ (บ่นๆ ๆๆๆ) 555+

5.รับทราบครับ ลุง


6.เดินตามผู้ใหญ่หมาไม่กัด ถึงกัดก็มีคนพาไปหาหมอ รับทราบครับลุง

22 พย.53
ขอบคุณลุงคิมมากครับ ตอนนี้ผมมีปัญหาใหญ่เลยครับ
เครื่องปั่นขนาดยักษ์ไม่มี(หอยที่เก็บไว้เน่าแน่เลย) ต้องปลูกแบบเดิมไปก่อน(แบบปกติที่เขาปลูกกัน คือใช้รถปลูกรองด้วยปุ๋ยอินทรีย์ แบบ แถวคู่) เว้นร่องทดลองไว้4ร่อง เด๋ยวไปถามน้าก่อน เขามีโรงผลิตปุ๋ยอินทรีย์ไม่รู้มีเครื่องปั่นหรือเปล่า(อัพเดทเครื่องปั่นไม่มี เลยต้องใช้สูตรมูลวัวแทน)


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย joBcoMmatammi เมื่อ 26/11/2010 9:41 am, แก้ไขทั้งหมด 19 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
catcaty
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 13/08/2010
ตอบ: 525

ตอบตอบ: 18/11/2010 6:14 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ยินดีต้อนรับน้องใหม่สู่ชมรมคนเหงื่อหยดครับ ผมหมึกครับทำลำไย อยู่จันทบุรี

ช่วงนี้นายยุทธไม่อยู่ แต่คนอื่นๆคงอยู่กันครบ แต่ละคนประสบการณ์เพรียบ เดี๋ยวก็คงทยอยเข้ามา


หมึกครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
A_Chumphae
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 10/10/2010
ตอบ: 153

ตอบตอบ: 18/11/2010 6:41 pm    ชื่อกระทู้: Re: ไร่อ้อย (คำถามมาถามลุง) ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

joBcoMmatammi บันทึก:
สวัสดี ลุงคิม คุณยุทธ และทุกคนครับ ผมอยู่จังหวัดเดียวกับแฟนพี่ยุทธครับ(น่าจะ) ผมอ่านแต่ไร่อ้อยผมเลยยังไม่รู้จักหมดทุกคนครับ

เนื่องจากลุงคิมบอกให้คิดนอกกรอบ ผมเลยมีคำถามจะถามครับ

ผมมีไร่ซึ่งเตรียมจะทำการปลูกอ้อย ณ ตอนที่เขียนกระทู้นี้รถคงจัดการปรับพื้นที่เรียบร้อยแล้ว ปลูกอ้อยจำนวนต้นให้ถี่มากขึ้น ผมจึงคิดที่จะทดลองกับอ้อย โดยใส่ความถี่เป็น 2 เท่า เข้าไป 1 ร่อง เพื่อทดสอบ(เช่น ปกติ1ไร่ ปลูก 16000 ลำ ผมเพิ่มเป้น 3200 ลำ แต่ผมทดสอบแค่ร่องเดียว) แล้วใช้วิธีการให้อาหารตามคุณยุทธ




ขั้นแรก สวัสดีครับ และ ยินดีที่ได้เพื่อน สมาชิกเพิ่ม

ผมขอถามนะครับ เพิ่มจำนวนลำนี่ ปลูกร่องเดี่ยวหรือคู่ครับ แล้วใช้คนหรือเครื่อง ปลูกครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Sita
สาวดี่
สาวดี่


เข้าร่วมเมื่อ: 22/10/2010
ตอบ: 452

ตอบตอบ: 18/11/2010 7:17 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

..สวัสดีค่ะ..

ขอแค่ทักทายก็แล้วกันนะคะ แป้งก็น้องใหม่เหมือนกัน อายุยังไม่ถึงเดือนเลย ไม่มีประสบการณ์ทำอะไรเลย ไม่รู้เหมือนกันว่าแป้งได้อยู่ในชมรมคนเหงื่อโซกกับเค้าหรือยัง

แต่สงสัยจะจุ้นมากไปหน่อยตอนนี้เลยได้มาตั้งสามดาว ....เอาเป็นว่า ขอป่วนเป็นครั้งคราวคงไม่รำคาญกันนะคะ




แป้ง (น้องใหม่ไม่ร้าย ใจบริสุทธิ์)
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Soup
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 01/09/2010
ตอบ: 181
ที่อยู่: อ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทบุรี

ตอบตอบ: 18/11/2010 8:48 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ด้วยความสงสัย
ชื่อของเจ้าของกระทู้อ่านว่า "จบคอมมาทำไม" ใช่หรือเปล่าครับ

สงสัย สงสัย ...
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
catcaty
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 13/08/2010
ตอบ: 525

ตอบตอบ: 18/11/2010 9:42 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Sita บันทึก:
..สวัสดีค่ะ..ขอแค่ทักทายก็แล้วกันนะคะ แป้งก็น้องใหม่เหมือนกัน
อายุยังไม่ถึงเดือนเลย ไม่มีประสบการณ์ทำอะไรเลย ไม่รู้เหมือนกัน
ว่าแป้งได้อยู่ในชมรมคนเหงื่อโซกกับเค้าหรือยัง แต่สงสัยจะจุ้นมากไปหน่อย
ตอนนี้เลยได้มาตั้งสามดาว ..เอาเป็นว่า ขอป่วนเป็นครั้งคราวคงไม่รำคาญกันนะคะ




แป้ง(น้องใหม่ไม่ร้าย ใจบริสุทธิ์)

ตอนนี้มันพูด(เขียน)ดี๊ดี..คุณเจ้าของกระทู้ลองไล่อ่านกระทู้อื่นๆดูสิแล้วจะรู้ว่าเนี่ย..มันตัวแสบเลยแหละอย่าได้หลงคารมมันเชียวขนาดลุงยังปราบมันไม่อยู่ 555 (เป็นไง..ไอ้แป้งร้อนมั้ย?)


หมึกเจ้าเก่า Twisted Evil
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 19/11/2010 3:12 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การคิดนอกกรอบ นอกจากไม่ใช่เรื่องแปลกแล้วยังเป็นเรื่องที่ดีอีกด้วย เมื่อรู้ว่าจำนวนต้น/พื้นที่มากกว่าปกติ เกรงว่าอ้อยจะแย่งอาหารกันจนไม่พอเพียงต่อการเจริญเติบโตแล้ว ก็ควรพิจารณาให้ "สารอาหารมากขึ้น" ตาม โดยเพิ่มปริมาณ "น้ำ + สารอาหาร" และวงรอบในการให้แบบถี่ขึ้น

สังเกตุ เทคนิคการปลูกแบบเดิมๆ ระยะระหว่างกอ ห่างบ้าง-ชิดบ้าง ไม่มีการให้น้ำใดๆ ทั้งสิ้นแม้ช่วงแล้งจัด หรือฝนทิ้งช่วง กระทั่งยืนต้นตาย ลักษณะการเจริญเติบโตของอ้อยทุกกอก็ไม่แตกต่างกันนัก

ครั้นเมื่อปรับเปลี่ยนเทคนิคการปลูกมาเป็นปลูกแบบระยะชิด (ชิดพิเศษ) แล้วมีการให้ "น้ำ + สารอาหาร" สม่ำเสมอ โดยหลักการแล้วย่อมดีกว่าเสมอ





น่าลองนะ เอางี้ซี่.....

1.... เตรียมดิน : ไถดะ ไถแปร พร้อมแล้วหว่าน "ยิบซั่ม 25-50 กก. + หินภูเขาไฟ 2-3 กก./ไร่ ให้กระจายเต็มแปลง จากนั้นไถพรวนเพื่อคลุก "ยิบซั่ม + หินภูเขาไฟ" ให้เข้ากันดีกับเนื้อดินดี แล้วจึง "ทำร่อง" เตรียมปลูก

2.... ทำร่องเตรียมปลูกแล้วพ่นด้วยทับด้วย "น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง 5 ล./ไร่" ผสมน้ำมากๆ เป็นการให้น้ำไปในตัว ทิ้งไว้ 7-10 วัน เพื่อให้เวลาแก่จุลินทรีย์ในน้ำหมักฯ ได้ทำงาน นอกจากนี้ในน้ำหมักฯ ยังมีแหล่งสารอาหารจุลินทรีย์สำหรับจุลินทรีย์ประจำถิ่น (อยู่ในดิน) ซึ่งจะมาเป็นตัวช่วยอีกทางหนึ่งด้วย


3.... ปัก (ดำ) ท่อนพันธุ์ ระยะแรก (ปักใหม่ๆ) ควรให้น้ำเปล่าทุก 3-5 วัน รักษาหน้าดินให้ชื้นอยู่เสมอ .....หลังจากแตกใบได้ 2-3 คู่แล้ว (ระบบรากเดินดีแล้ว) ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง 2 ล. + 25-7-7 (2 กก.)/ไร่ เดือนละ 1 ครั้ง......(25-7-7 จ่ายแพงกว่าแต่จะได้ใบขนาดใหญ่ หนา เขียวเข้ม ดีกว่า 21-0-0)


4.... ระยะเริ่มย่างปล้อง (สูงถึงปลายยอด ประมาณ 1.5 ม.)
- ทางดิน..... ให้ "น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง 2 ล. + 8-24-24 (5 กก.)/ไร่/เดือน" ผสมน้ำมากๆ เป็นการให้น้ำไปในตัว.....ระยะนี้ต้นอ้อยยังไม่หนาแน่นจนเกินไปนัก คนสามารถเดินแหวกไประหว่างแถวปลูกได้ แนะนำให้น้ำที่ร่องระหว่างแถวปลูกให้เต็มร่องจะเป็นการดีที่สุด

- ทางใบ..... ให้ "ฮ.ม.น้ำดำ ไบโออิ 1-2 ล./ไร่/เดือน" โดยผสมน้ำมากๆ เป็นการให้ไปในตัว...... การฉีดพ่นด้วย "สปริงเกอร์ โอเวอร์เฮด" จะได้ผลดีกว่าการเดินแหวกแถวปลูกเข้าไปฉีดพ่น

5.... ระยะต้นโตแล้ว..... ให้ "ฮ.ม.น้ำดำ ไบโออิ 1-2 ล. + 2-24-24 (2-4 กก.)/ไร่/เดือน" ทางใบ ผ่านใบลงสู่พื้นล่างด้วยสปริงเกอร์โอเวอร์เฮด ผสมน้ำมากๆ เป็นการให้น้ำไปในตัว กระทั่งตัด


หมายเหตุ :
- ลักษณะทางธรรมชาติสรีระวิทยาของอ้อย มีระบบรากยาวเท่ากับความสูงของ
ต้น ดังนั้นการมีอินทรีย์วัตถุในเนื้อดินมากๆ ย่อมส่งผลให้ระบบรากเจริญยาว และแผ่กระจายได้ กว้าง-ไกล-ลึก ยิ่งขึ้น

- อ้อยเป็นพืขอวบน้ำ จึงต้องการน้ำมาก ควรให้ดินมีความชื้นสูงอยู่เสมอ....คิดง่ายๆ ถ้าอ้อยไม่ได้น้ำ แล้วเขาจะเอาน้ำที่ไหนไปสร้างความอวบ

- เศษซากพืช (ใบอ้อยไถกลบ + อื่นๆ) + ยิบซัม จะเป็นตัวช่วยอุ้มน้ำเก็บไว้ใต้ดินให้อยู่ได้นานนับเดือน.....ช่วงหน้าฝนอาจงดการให้น้ำได้ แต่ช่วงหน้าแล้งควรให้อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง หรือ 2 เดือน/3 ครั้ง นอกจากช่วยให้อ้อยไม่ชงักการเจริญเติบโต ใบเขียวเข้ม แล้ว ยังช่วยให้ต้นสมบูรณ์ คุณภาพดีอีกด้วย

- ระยะต้นโตแล้ว น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบืดเถิดเทิง ควรเน้นส่วนผสม "มูลค้างคาวหมัก" เพิ่มขึ้นเท่าตัว เพื่อสร้างความหวาน


ลุงคิมครับผม

ปล.
- งานนี้ ความยากอยู่ที่ "ระบบให้น้ำ" หรือ "เทคนิคการให้น้ำ" เท่านั้น แนวคิดหนึ่ง คือ ลงทุนเพื่อลดต้นทุน

- อ้อยปลูกครั้งเดียว บำรุงเต็มที่ (ตามใจอ้อย ไม่ใช่ตามใจคน) อายุยืนนานถึง ตอ 10, หรืออาจจะกว่า นั่นคือ ลงทุนรุ่นแรกก็ได้ทุนคืนแล้ว รุ่นต่อๆไป คือ กำไรเนื้อๆ

- เทคนิคบำรุงดินด้วย "อินทรีย์วัตถุ + สารปรับปรุงบำรุงดิน + จุลินทรีย์" เป็นการ "สะสมความสมบูรณ์" ของดิน ให้ดีขึ้น ดีขึ้น และดีขึ้น จากรุ่นแรก ถึงรุ่นต่อๆ ไป

- สูตรน้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง, สูตร ฮ.ม.น้ำดำ ไบโออิ. ขี้ค้างคาวหมักชีวภาพ, มีอยู่ในเว้บนี้แล้ว
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 19/11/2010 3:58 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)




http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=mysugarcane&group=7
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 19/11/2010 4:05 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้อย; การให้น้ำ; ชุดดินกำแพงแสน; การเจริญเติบโต; ผลผลิต; องค์ประกอบผลผลิต; คุณภาพ


บทคัดย่อ :
ดำเนินงานที่ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ใช้อ้อยพันธุ์อู่ทอง 5 กรรมวิธีของการทดลองประกอบด้วย

ปัจจัยแรก เป็นปริมาณน้ำที่ให้ (เป็นความสูงของน้ำ) 3 ระดับ คือ 10, 15 และ 20 มิลลิเมตร

ปัจจัยที่สอง เป็นความถี่ของการให้น้ำ 3 ระยะ คือ ให้น้ำทุก ๆ 7, 14 และ 21 วัน

ผลการทดลองพบว่า การให้น้ำในทุกปริมาณให้ผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตไม่แตกต่างกันทางสถิติ แต่พบว่า ความถี่ของการให้น้ำมีผลต่อผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิต

การให้น้ำทุก 7 และ 14 วัน ให้จำนวนลำเก็บเกี่ยวและความยาวลำไม่แตกต่างกัน แต่สูงกว่า และแตกต่างทางสถิติกับการให้น้ำทุก 21 วัน

การให้น้ำทุก 7 และ 14 วัน ให้ผลผลิตไม่แตกต่างกัน แต่ให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงกว่าการให้น้ำทุก 21 วัน เท่ากับร้อยละ 50 และ 48 ตามลำดับ

อย่างไรก็ดี การให้น้ำทุก 21 วัน ให้ค่าความหวาน (CCS) สูงกว่าการให้น้ำที่ 7 และ 14 วัน เท่ากับ ร้อยละ 14 และ 10 ตามลำดับ

โดยสรุปพบว่า การให้น้ำในปริมาณ 10 มม.ต่อครั้ง ทุก 14 วัน เป็นวิธีการที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการเพิ่มผลผลิตอ้อยในเขตชลประทานในดินชุดกำแพงแสน



http://kucon.lib.ku.ac.th/cgi-bin/kucon.exe?rec_id=010109&database=kucon&search_type=link&table=mona&back_path=/agre/mona&lang=thai&format_name=TFMON
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 19/11/2010 4:09 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การให้น้ำเพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อย


น้ำ เป็นปัจจัยการผลิตหลักที่มีผลต่อการเพิ่มผลผลิตอ้อย หากอ้อยได้รับน้ำอย่างเพียงพอตลอดช่วงการเจริญเติบโต ผลผลิตอ้อยจะได้ไม่ต่ำกว่า 15 ตันต่อไร่ อ้อยต้องการน้ำเพื่อใช้ในการเจริญเติบโตและสร้างน้ำตาล อ้อยที่ขาดน้ำจะเจริญเติบโตช้า ผลผลิตต่ำ และให้ความหวานต่ำ

พื้นที่เพาะปลูกอ้อยส่วนใหญ่อยู่ในเขตอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก มีเพียงส่วนน้อยที่อยู่ในเขตชลประทาน อ้อยต้องการน้ำเพื่อการเจริญเติบโตตลอดปี ประมาณ 1,500 มิลลิเมตร การเพิ่มผลผลิตอ้อยให้สูงขึ้นจึงจำเป็นต้องให้น้ำชลประทานหรือน้ำบาดาลช่วย การให้น้ำแก่อ้อยจะทำให้ความสามารถในการไว้ตอดีขึ้น เป็นการลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มรายได้ให้แก่ชาวไร่อีกทางหนึ่ง

ความต้องการน้ำและการตอบสนองต่อการให้น้ำของอ้อย
การผลิตอ้อยให้ได้ผลผลิตสูงนั้น อ้อยจะต้องได้รับน้ำ (น้ำฝน/ชลประทาน) อย่างเพียงพอ ตลอดระยะเวลาการเจริญเติบโต ความต้องการน้ำของอ้อยจะขึ้นกับสภาพภูมิอากาศ และช่วงระยะการเจริญเติบโต ได้แบ่งระยะความต้องการน้ำของอ้อยไว้ 4 ระยะ คือ

1. ระยะตั้งตัว (0-30 วัน) เป็นระยะที่อ้อยเริ่มงอกจนมีใบจริง และเป็นตัวอ่อน ระยะนี้อ้อยต้องการน้ำในปริมาณไม่มาก เพราะรากอ้อยยังสั้นและการคายน้ำยังมีน้อย ดินจะต้องมีความชื้นพอเหมาะกับการงอก ถ้าความชื้นในดินมากเกินไปตาอ้อยจะเน่า ถ้าความชื้นในดินน้อยเกินไป ตาอ้อยจะไม่งอก หรือถ้างอกแล้วก็อาจจะเหี่ยวเฉาและตายไป ในสภาพดินที่เมื่อแห้งแล้วผิวหน้าฉาบเป็นแผ่นแข็ง ก็อาจทำให้หน่ออ้อยไม่สามารถแทงโผล่ขึ้นมาได้ ดังนั้น ในระยะนี้การให้น้ำอ้อยควรให้ในปริมาณน้อยและบ่อยครั้ง เพื่อทำให้สภาพความชื้นดินเหมาะสม

2. ระยะเจริญเติบโตทางลำต้น (31-170 วัน) ระยะนี้รากอ้อยเริ่มแพร่กระจายออกไปทั้งในแนวดิ่งและแนวระดับ เป็นระยะที่อ้อยกำลังแตกกอและสร้างปล้องเป็นช่วงที่อ้อยต้องการน้ำมาก ถ้าอ้อยได้รับน้ำในปริมาณที่เพียงพอในระยะนี้ จะทำให้อ้อยมีจำนวนลำต่อกอมาก ปล้องยาว ทำให้อ้อยมีลำยาว และผลผลิตสูง การให้น้ำจึงต้องให้บ่อยครั้ง

3. ระยะสร้างน้ำตาลหรือช่วงสร้างผลผลิต (171-295 วัน) ช่วงนี้พื้นที่ใบอ้อยที่ใช้ประโยชน์ได้จะน้อยลง อ้อยจะคายน้ำน้อยลง และตอบสนองต่อแสงแดดน้อยลง จึงไม่จำเป็นต้องให้น้ำบ่อย ให้เฉพาะช่วงที่อ้อยเริ่มแสดงอาการขาดน้ำ

4. ระยะสุกแก่ (296-330 วัน) เป็น ช่วงที่อ้อยต้องการน้ำน้อย และในช่วงก่อนเก็บเกี่ยว 6-8 สัปดาห์ ควรหยุดให้น้ำ เพื่อลดปริมาณน้ำในลำต้นอ้อยและบังคับให้น้ำตาลทั้งหมดในลำอ้อยเปลี่ยนเป็น น้ำตาลซูโครส
ความต้องการน้ำของอ้อยในแต่ละช่วงระยะการเจริญเติบโต ตามตาราง


ข้อพิจารณาในการให้น้ำแก่อ้อย
การพิจารณาว่าเมื่อใดควรจะถึงเวลาให้น้ำแก่อ้อย และจะให้น้ำครั้งละปริมาณเท่าใด มีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง คือ

@ระยะการเจริญเติบโต ความต้องการน้ำของอ้อย ปริมาณน้ำที่ให้แก่อ้อยจะมากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับระยะการเจริญเติบโต อัตราความต้องการใช้น้ำ ความลึกที่รากหยั่งลงไปถึง อ้อยจะเจริญเติบโตได้ดีก็ต่อเมื่อความชื้นในดินเหมาะสม ถ้ามีความชื้นในดินสูงหรือต่ำมากเกินไป อ้อยจะเจริญเติบโตผิดปกติ เมื่อดินมีน้ำมากจะทำให้ขาดออกซิเจน โดยทั่วไปถ้าในดินมีอากาศอยู่ต่ำกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ รากอ้อยจะชะงักการดูดธาตุอาหาร น้ำและออกซิเจน เป็นเหตุให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ถ้าขาดน้ำใบจะห่อในเวลากลางวัน

@คุณสมบัติทางกายภาพของดิน เช่น ความสามารถของดินในการซับน้ำ ดินต่างชนิดกันย่อมมีคุณสมบัติดูดซับน้ำได้ไม่เหมือนกันสำหรับดินที่สามารถ ซับน้ำไว้ได้มากไม่จำเป็นต้องให้น้ำบ่อยครั้งเหมือนดินที่มีเนื้อหยาบและซับ น้ำได้น้อย ดินเหนียวจะมีความชื้นอยู่มากกว่าดินทราย ดังนั้น หลักการให้น้ำแก่อ้อยที่ถูกต้อง คือ ให้น้ำตามที่อ้อยต้องการ ส่วนปริมาณน้ำที่จะให้แต่ละครั้งมากน้อยเท่าไร และใช้เวลานานเท่าใด ย่อมขึ้นอยู่กับคุณสมบัติทางกายภาพของดินซึ่งไม่เหมือนกัน

@สภาพลมฟ้าอากาศ อุณหภูมิ ของอากาศ การพิจารณาการให้น้ำแก่อ้อยจะต้องพิจารณาถึง อุณหภูมิและสภาพลมฟ้าอากาศด้วย ในช่วงที่มีอุณหภูมิสูงอ้อยจะคายน้ำมาก ความต้องการน้ำจะมากตามไปด้วย จำเป็นต้องให้น้ำบ่อยขึ้น ในช่วงที่มีฝนตกควรงดให้น้ำ และหาทางระบายน้ำแทน เพื่อให้ดินมีความชื้นและอากาศในดินเหมาะสม ในช่วงฝนทิ้งช่วงควรให้น้ำช่วยจะทำให้การเจริญเติบโตของอ้อยดีขึ้น


ระบบการให้น้ำอ้อย
การเลือกระบบการให้น้ำอ้อยที่เหมาะสม ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ชนิดของดิน ความลาดเอียงของพื้นที่ ต้นทุน และความพร้อมในการนำน้ำมาใช้ รวมทั้งความพร้อมในด้านแรงงาน และอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร ในการให้น้ำ ระบบการให้น้ำอ้อยในปัจจุบันที่ใช้กันอยู่ทั้งในและต่างประเทศมีดังนี้

1. การให้น้ำแบบร่อง (Furrow irrigation)
เป็นระบบการให้น้ำที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในและต่าง ประเทศ เพราะเป็นระบบที่ใช้ต้นทุนต่ำ สะดวกและง่ายในการปฏิบัติ แต่ก็มีข้อจำกัดอยู่ที่แปลงปลูกอ้อยจะต้องค่อนข้างราบเรียบ โดยมีความลาดชัน ไม่เกิน 3 เปอร์เซ็นต์ ประสิทธิภาพของการให้น้ำแบบร่องจะผันแปรอยู่ระหว่าง 30-90 เปอร์เซ็นต์ และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพ การให้น้ำได้โดยการจัดการที่ถูกต้องและเหมาะสม

โดยปกติการให้น้ำระบบนี้จะมีร่องน้ำที่หัวแปลงหรืออาจใช้ ท่อหรือสายยางที่มีช่องเปิดให้น้ำไหลเข้าร่องอ้อยแต่ละร่อง เมื่อน้ำไหลไปจนสุดร่องแล้ว อาจยังคงปล่อยน้ำต่อไปอีกเพื่อให้น้ำซึมลงในดินมากขึ้นน้ำที่ท้ายแปลงอาจ ระบายออกหรือเก็บรวบรวมไว้ในบ่อพักเพื่อนำกลับมาใช้อีก ในแปลงอ้อยที่มีความลาดชันน้อยมาก (ใกล้ 0 เปอร์เซ็นต์) สามารถจัดการให้น้ำโดยไม่มีน้ำเหลือทิ้งท้ายแปลงได้ โดยปรับสภาพพื้นที่ให้มีความลาดชันน้อยที่สุด หรือเป็นศูนย์และทำคันกั้นน้ำตลอดท้ายแปลง น้ำที่ให้ไปสุดท้ายแปลงจะถูกดักไว้โดยคันกั้นน้ำ ทำให้น้ำมีเวลาซึมลงในดินมากขึ้น วิธีนี้จะเหมาะกับดินที่มีการซึมน้ำช้า และน้ำที่จะให้มีจำกัด

แม้ว่าการให้น้ำระบบร่องจะใช้ได้กับพื้นที่มีความลาดเอียงไม่เกิน 3 เปอร์เซ็นต์ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะใช้กับพื้นที่ที่มีความลาดเอียงไม่เกิน 1 เปอร์เซ็นต์ สำหรับความยาวร่องที่ใช้มีตั้งแต่ 25 เมตร ถึง 1,000 เมตร รูปร่าง ของร่องและอัตราการไหลของน้ำ ขึ้นกับชนิดของดินและความลาดชันของพื้นที่ สำหรับดินที่มีความสามารถ ในการซึมน้ำได้ดี ควรใช้ร่องปลูกรูปตัว ‘V' และมีสันร่องกลาง เพื่อให้น้ำไหลได้เร็วและลดการสูญเสียน้ำ จากการซึมลึกในแนวดิ่ง ในทางกลับกันสำหรับดินที่มีการซึมน้ำเลว ควรใช้ร่องที่มีก้นร่องกว้างและสันร่องแคบ เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวสัมผัสของดินกับน้ำ ทำให้น้ำซึมลงดินได้ทั่วถึง

2. การให้น้ำแบบพ่นฝอย (Sprinkler irrigation)
การให้น้ำแบบนี้ใช้ได้กับทุกสภาพพื้นที่และทุกชนิดดิน ประสิทธิภาพในการใช้น้ำอาจเกิน 75 เปอร์เซ็นต์ ได้ ถ้ามีการจัดการที่ถูกต้องและเหมาะสม การให้น้ำแบบนี้มีหลายรูปแบบ เช่น

- สปริงเกอร์หัวใหญ่ ต้องใช้ปั๊มน้ำแรงดันสูงและมีทางวิ่งถาวรในแปลงอ้อย

- สปริงเกอร์แบบหัวเล็กเคลื่อนย้ายได้ ใช้สำหรับอ้อยปลูกหรืออ้อยตออายุน้อย และปริมาณน้ำที่ให้มีจำกัด มีข้อเสียคือ ต้องใช้แรงงานมากในการเคลื่อนย้าย และไม่สามารถใช้กับอ้อยสูงได้

- สปริงเกอร์แบบหัวเล็กบนแขนระนาบ (Lateral move irrigators) ข้อดีคือสามารถให้น้ำในพื้นที่ขนาดใหญ่อย่างมีประสิทธิภาพและใช้แรงงานน้อย แต่มีข้อเสียคือใช้ต้นทุนสูงสำหรับอุปกรณ์และเครื่องมือ

- สปริงเกอร์แบบหัวเล็กขนแขนที่เคลื่อนเป็นวงกลมรอบจุดศูนย์กลาง (Centre-pivot irrigators)

3. การให้น้ำแบบน้ำหยด (Drip irrigation)
เป็นวิธีการให้น้ำที่มีประสิทธิภาพในการให้น้ำสูงสุด โดยสามารถให้น้ำเฉพาะรอบ ๆ รากพืช และสามารถให้ปุ๋ยและสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชไปพร้อมกับน้ำได้เลย ปัจจุบันมีใช้กันอยู่ 2 แบบ คือ

- ระบบน้ำหยดบนผิวดิน (Surface system) ระบบนี้จะวางสายให้น้ำบนผิวดินในแนวกึ่งกลางร่อง หรือข้าร่อง อาจวางทุกร่องหรือร่องเว้นร่อง

- ระบบน้ำหยดใต้ผิวดิน (Subsurface system) ระบบนี้จะต้องวางสายให้น้ำก่อนปลูก โดยปกติจะฝังลึกประมาณ 25-30 ซม. และสายให้น้ำจะอยู่ใต้ท่อนพันธุ์อ้อยประมาณ 10 ซม.




4. การควบคุมวัชพืชในไร่อ้อย
วัชพืช เป็นศัตรูอ้อยที่สำคัญที่ทำความเสียหายแก่ผลผลิตอ้อยมากที่สุดหลังจากปลูก อ้อยแล้ว ถ้าไม่มีการป้องกันกำจัดวัชพืช จะทำให้ผลผลิตอ้อยลดลงถึง 80% หรือมากกว่านั้น ความเสียหายขึ้นอยู่กับปริมาณวัชพืชที่ขึ้นเบียดบังอ้อย ว่ามีมากน้อยเพียงไร และความสามารถในการแข่งขันกับวัชพืชของอ้อยแต่ละพันธุ์ วัชพืชจะแก่งแย่งธาตุอาหารในดิน ความชื้น และแสงแดดที่อ้อยควรจะได้รับ ทำให้อ้อยมีการแตกกอและความยาวของลำอ้อยลดลง อีกทั้งยังเป็นที่อยู่อาศัยของศัตรูอ้อยชนิดอื่น ได้แก่ โรคที่เกิดจากทั้งไวรัส และไฟโตพลาสมา แมลงพาหะนำโรค แมลงศัตรูอ้อย และหนู นอกจากนี้ วัชพืชบางชนิดมีรากหรือส่วนของต้นใต้ดินที่ขับสารบางอย่าง ซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโตของอ้อย เช่นใบหญ้าคา และวัชพืชใบกว้างในวงศ์ Compositae รากจะขับสารพิษชนิดหนึ่ง ซึ่งไปทำให้รากของอ้อยชะงักการเจริญเติบโต พบว่า วัชพืช Aeginetiaindica เป็น Root parasite ที่แย่งอาหารและน้ำจากอ้อย ทำให้เปอร์เซ็นต์น้ำตาลซูโครสในอ้อยลดลงจาก 13.08 เปอร์เซ็นต์ เหลือ 5.09 เปอร์เซ็นต์

วัชพืชในไร่อ้อย
วัชพืช ที่มีปัญหาในไร่อ้อย แบ่งออกเป็น 3 พวกใหญ่ ๆ คือ พวกใบเลี้ยงเดี่ยว (Monocots) หรือเรียกว่าใบแคบ พวกใบกว้าง (Dicots) และพวกกก (Sedge)


ประเภทใบเลี้ยงเดี่ยว ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์
หญ้าปากควาย Dactyloctenium aegyptium
หญ้าตีนติด Brachiaria reptans
หญ้าตีนกา Eleusine indica
หญ้ารังนก Chloris barbata
หญ้าแพรก Cynodon dactylon
หญ้าดอกขาว Leptochloa chinensis
หญ้านกสีชมพู Echinochloa colonum
หญ้าชันกาด Panicum repen
หญ้าขจรจบดอกเล็ก Pennisetum pedicellatum
หญ้าหางหมา Setaria geniculata
หญ้าขน Brachiaria mutica
หญ้าเจ้าชู้ Hrysopogon aciculatus


ประเภทใบเลี้ยงคู่
ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์
ผักบุ้งยาง Euphorbia geniculata
ผักโขมหนาม Amaranthus spinosus
ผักเบี้ยหิน Trianthema portulacastrum
สะอึก Ipomoea gracillis
งวงช้าง Heliotropium indicum
พันงูขาว Acheranthes aspera
หญ้าละออง Vernonia cinerea
สาบแร้งสาบกา Ageratum conyzoides
น้ำนมราชสีห์ Euphorbia hirta
เทียนนา Jussiaea linifolia
ลูกใต้ใบ Phyllanthus niruri
สาบเสือ Eupatorium odoratum
บานไม่รู้โรยป่า Comphrena celosioides
ผักเสี้ยน Cleome viscosa
ไม้กวาด Sida acuta
กะทกรก Passiflora foetida
ผักโขมหิน Boerhavia diffusa
โทงเทง Physalis minima
ตีนตุ๊กแก Tridax procumdens


ประเภทกก
ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์
แห้วหมู Cyperus rotundus
กกทราย Cyperus iria
กกดอกแดง Cyperus compactus


ไร่อ้อยที่มีประชากรวัชพืชน้อย หลังปลูกอ้อยควรปลอดจากวัชพืช 45 วัน แต่ไร่อ้อยที่มีประชากรวัชพืชมาก หลังปลูกอ้อยควรปลอดจากวัชพืช 90 วัน ในการป้องกันกำจัดวัชพืช จะต้องรู้จักชนิดของวัชพืชว่า เป็นวัชพืชชนิดใด เพื่อที่จะได้ป้องกันกำจัดถูกวิธี (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้สารกำจัดวัชพืช)


การป้องกันกำจัดวัชพืชในไร่อ้อย
วิธีการทางเขตกรรม
เริ่มตั้งแต่การเตรียมดิน โดยการไถกลบวัชพืช อาจต้องทำหลายครั้ง ถ้ามีวัชพืชขึ้นมาก และก่อนการปลูกอ้อย ก็จะมีการไถพรวนอีกครั้ง แล้วจึงยกร่องปลูกอ้อย (ปลูกในร่อง) หรือถ้าใช้เครื่องปลูก ก็ไม่ต้องยกร่อง คือ หลังจากไถพรวน 1 ครั้ง แล้วปลูกอ้อยตามเมื่ออ้อยงอกแล้ว ถ้ามีวัชพืชขึ้น ก็ใช้แรงงานคนถากหญ้าระหว่างแถวและกออ้อย จนกระทั่งใบอ้อยปกคลุมพื้นดินได้ทั้งหมด หรืออาจใช้แรงงานสัตว์ รถไถเดินตาม รถแทรกเตอร์ (ใช้หน้ายางเล็กและยกตัวรถสูงพ้นพุ่มใบ) เข้าไถพรวน หรืออาจใช้จอบหมุน (Rotary plow) ที่เว้นใบมีดที่ตรงกับแถวอ้อย เพื่อสับวัชพืชคลุกเคล้าลงในดิน เพื่อเป็นการกำจัดวัชพืชระหว่างแถว การควบคุมวัชพืชในไร่อ้อย โดยวิธีเขตกรรม นิยมปฏิบัติกันในแหล่งปลูกอ้อยในดินร่วน ดินทราย ที่ปลูกอาศัยน้ำฝน เช่น แหล่งปลูกอ้อยในภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากดินเป็นดินทราย ทำให้สารกำจัดวัชพืชถูกชะล้างได้ง่าย ทำให้การพ้นสารกำจัดวัชพืชควบคุมวัชพืชไม่ได้ผลดี หรือคุมวัชพืชได้ไม่นาน ซึ่งสาเหตุหนึ่งเกิดมากจากหน้าดินไม่มีความชื้นหลังจากปลูกอ้อย

ข้อดีของวิธีการนี้ก็คือ อ้อยได้รับผลกระทบกระเทือนน้อยหรือไม่เป็นพิษต่ออ้อย เมื่อเทียบกับการใช้สารเคม

ข้อเสีย คือ วิธีการนี้กำจัดเมล็ดวัชพืชที่งอกขึ้นมาใหม่ไม่ได้ อีกทั้งแรงงานหายาก มีราคาแพง ในการใช้รถไถกลบวัชพืช ทำไม่สะดวก เมื่ออ้อยมีลำต้นสูง และมีการแตกกอมาก ทำให้หน่อถูกเหยียบย่ำได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงกลับรถแทรกเตอร์


การคลุมดิน
โดยพยายามละเว้นการเผาใบอ้อย ใช้ใบอ้อยหรือฟางข้าวคลุมดินระหว่างแถวอ้อย เพื่อคลุมดินบังไม่ให้วัชพืชงอกออกมาได้ เพราะขาดแสงที่จำเป็นต่อกระบวนการงอกของเมล็ดพืช และเมื่อเศษซากอ้อยถูกย่อยสลายจะปลดปล่อย phytotoxins มีผลทำให้ประชากรของวัชพืชลดลง

ข้อดี
ช่วยรักษาความชื้น และช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน

ข้อเสีย
ใช้แรงงานมาก วัสดุคลุมดินมีจำกัด ไม่เพียงพอ การคลุมดินไม่ทั่วถึง ทำให้การป้องกันวัชพืชไม่ได้ผลดี


การปลูกพืชแซม
จากการที่ระยะปลูกระหว่างแถวอ้อยค่อนข้างห่าง (เฉลี่ย 1.30 เมตร) การปลูกพืชแซมระหว่างแถวอ้อยด้วยถั่วเขียว จะช่วยลดปัญหาวัชพืชได้ โดยปลูกในช่วงอ้อยอายุไม่เกิน 4 เดือน ประกอบกับถั่วเขียวมีอายุสั้น 65-70 วัน ต้นถั่วเขียวจะช่วยคลุมดินไม่ให้มีวัชพืชงอก

ข้อดี
ช่วย เพิ่มรายได้ในกรณีที่เป็นชาวไร่รายย่อย มีพื้นที่ปลูกอ้อยไม่เกิน 20 ไร่ การปลูกถั่วเขียว ถั่งเหลือง ช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร ทำให้มีรายได้มากกว่าการปลูกอ้อยอย่างเดียว

ข้อเสีย
ต้องใช้แรงงานคนมากขึ้น ชาวไร่อ้อยต้องทำเอง จึงจะช่วยทำให้เกษตรกรมีรายได้ต่อหน่วยพื้นที่เพิ่มขึ้นอีก ทั้งยังเป็นการบำรุงดินอีกวิธีหนึ่ง



การปลูกพืชหมุนเวียน
หลังจากเก็บเกี่ยวอ้อยตอปีสุดท้าย แล้วรื้อตออ้อยปลูกใหม่ ควรปลูกพืชบำรุงดิน หรือปลูกพืชอายุสั้นประเภทใบเลี้ยงคู่ที่มีอายุเก็บเกี่ยวไม่เกิน 3 เดือน ก่อนการปลูกอ้อย เพื่อเป็นการควบคุมไม่ให้วัชพืชใบแคบและแห้วหมูขึ้นแพร่ระบาดในไร่อ้อย เพราะว่าพืชใบเลี้ยงคู่เจริญเติบโตและคลุมพื้นที่ได้เร็ว วัชพืชใบแคบและแห้วหมูถูกบังแสง ทำให้ประชากรของวัชพืชใบแคบและแห้วหมูในไร่อ้อยลดลง ส่วนการกำจัดวัชพืชประเภทใบกว้างทำได้ง่าย โดยการใช้สารกำจัดวัชพืช เช่น 2 , 4-D หรือโดยการไถกลบ นอกจากจะช่วยลดปริมาณวัชพืชใบแคบและแห้วหมูแล้ว ยังเป็นการบำรุงดิน ทำให้ดินโปร่งร่วนซุยขึ้น ช่วยเพิ่มผลผลิตอ้อยอีกด้วย



การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดวัชพืช
เป็นวิธีการที่เกษตรกรในปัจจุบันนิยมใช้กำจัดวัชพืชกันมาก อันมีสาเหตุเนื่องมาจากการขาดแคลนแรงงาน สามารถแบ่งประเภทของสารกำจัดวัชพืช ตามระยะเวลาของสารกำจัดวัชพืชได้เป็น 3 ประเภท คือ

พ่นสารกำจัดวัชพืชก่อนการปลูกอ้อย คือ การใช้สารกำจัดวัชพืชพ่นฆ่าต้นวัชพืชที่ขึ้นในไร่อ้อยก่อนการปลูกอ้อย เช่น ในกรณีที่มีการเตรียมดินไถพรวนยกร่อง ทิ้งไว้เพื่อรอฝน รอพันธุ์อ้อย หรือรอแรงงานปลูกอ้อยนานเกินไป จนทำให้วัชพืชงอกสารกำจัดวัชพืชที่นิยมใช้จะเป็นพวกไม่เลือกทำลาย เช่น พาราควอต (paraquat) , ไกลโฟเสท (glyphosate)

พ่นสารกำจัดวัชพืชก่อนวัชพืชงอก หรือ ยาคุมหญ้า เป็นสารเคมีที่พ่นลงดินเพื่อควบคุมไม่ให้เมล็ดวัชพืชงอก โดยพ่นหลังจากปลูกอ้อยและให้น้ำอ้อยเว้นไว้ 1 วัน จึงพ่นสารกำจัดวัชพืชเพื่อทำลายเมล็ดวัชพืชหรือฆ่าต้นอ่อนที่งอกจากเมล็ดทันที หรืออาจพ่นสารกำจัดวัชพืชหลังให้น้ำครั้งที่ 2 ซึ่งถ้าเป็นการปลูกอ้อยในช่วงต้นฤดูแล้ง การให้น้ำครั้งที่ 1 และ 2 จะห่างกัน 2 สัปดาห์ ในการพ่นสารกำจัดวัชพืชหลังให้น้ำครั้งที่ 2 ต้องระวังอย่าพ่นสารกำจัดวัชพืชสัมผัสถูกอ้อยซึ่งงอกและคลี่ใบแล้ว เพราะว่า สารกำจัดวัชพืชหลายชนิด เช่น พาราควอต (paraquat) , อามีทรีน (ametryn) , เฮ็กซาซิโนน (hexazinone) , อิมาซาพิค (imazapic) และไดยูรอน (diuron) มีพิษต่ออ้อย ทำให้อ้อยตายหรือชะงักการเจริญเติบโตในการพ่นสารกำจัดวัชพืช จะต้องพ่นลงผิวดินอย่างสม่ำเสมอ ดินจะต้องมีความชื้นพอสมควรจึงจะทำให้การควบคุมวัชพืชได้ผล ยกเว้น สารกำจัดวัชพืชชนิดใหม่ที่พ่นในขณะที่ดินมีความชื้นต่ำได้ เช่น อิมาซาพิค (imazapic) , เฮ็กซาซิโนน (hexazinone) หลังจากพ่นแล้ว จะต้องไม่เดินเข้าไปในไร่อ้อยอีกเลย การเหยียบย่ำผิวดินจะทำให้ความสามารถในการควบคุมวัชพืชหมดไปสารเคมีที่แนะนำให้ใช้ ได้แก่

1. อาทราซีน (atrazine) เป็นสารกำจัดวัชพืชประเภทใช้ก่อนอ้อยงอก (Preemergence herbicide) ใช้ในอัตรา 400-600 กรัม สารออกฤทธิ์ต่อไร่ พ่นหลังจากปลูกอ้อย และก่อนวัชพืชงอก และพ่นซ้ำอีกครั้งหลังจากใส่ปุ๋ยกลบร่อง (อ้อยอายุประมาณ 2 เดือน) ในอัตราเดิม แต่ในฤดูหนึ่ง ต้องใช้รวมกันไม่ควรเกิน 1,500 กรัม สารออกฤทธิ์ต่อไร่ ถ้าใช้เกินกว่านี้จะมีปัญหาสารตกค้างของอาทราซีนในน้ำใต้ดิน ที่สำคัญการใช้อาทราซีนควบคุมวัชพืชก่อนวัชพืชงอกจะได้ผลดี ดินจะต้องมีความชื้น ในการปลูกอ้อยในเขตอาศัยน้ำฝนหลังปลูกเสร็จผิวดินแห้ง ต้องรอให้ฝนตกอีกครั้งจึงจะพ่นอาทราซีนได้ ถ้าช่วงนี้มีวัชพืชงอกควรผสมพาราควอต อัตรา 500 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 200 ลิตร แต่ต้องระวังอย่าให้ถูกอ้อยที่งอกและคลี่ใบแล้ว เป็นสารกำจัดวัชพืชที่มีราคาถูกมาก (150-170 บาทต่อกิโลกรัม) คุมวัชพืชได้ดี เป็นพิษต่ออ้อยน้อยมาก

2. เมทริบูซีน (metribuzin) เป็นทั้งสารกำจัดวัชพืชประเภทใช้ก่อนวัชพืชและอ้อยงอก (Pre-emergence herbicide) และสารประเภทหลังงอก (Post-emergence herbicide) เป็นสารกำจัดวัชพืชที่มีความเป็นพิษต่ออ้อยน้อยมาก อัตราที่แนะนำใช้ 80-160 กรัม สารออกฤทธิ์ต่อไร่ โดยพ่นหลังจากปลูกอ้อยและให้น้ำแล้ว 1 วัน ควบคุมวัชพืชใบแคบ ใบกว้าง และพวกกกบางชนิด หรือผสมกับ 2,4-D อัตรา 160-200 กรัม สารออกฤทธิ์ต่อไร่ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดวัชพืชใบกว้าง และวัชพืชพวกกก (เช่น แห้วหมู) ในการควบคุมวัชพืชที่งอกแล้ว จะสามารถควบคุมวัชพืชที่มีความสูงไม่เกิน 10 เซนติเมตร โดยผสมสารจับใบ <if> 0.2-0.3 เปอร์เซ็นต์ โดยปริมาตร จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมวัชพืช

3. ไดยูรอน (diuron) เป็น สารกำจัดวัชพืชประเภทใช้ก่อนอ้อยและวัชพืชงอก (Pre-emergence herbicide) โดยการพ่นหลังปลูกอ้อย หรือตัดแต่งอ้อย อัตราที่ใช้ 240-480 กรัม สารออกฤทธิ์ต่อไร่ เป็นสารกำจัดวัชพืชที่มีพิษต่ออ้อยมากกว่าอาทราซีน การใช้ไดยูรอน เพิ่มขึ้นจากอัตรา 320 กรัม สารออกฤทธิ์ต่อไร่ เป็น 640 กรัม สารออกฤทธิ์ต่อไร่ มีผลทำให้น้ำหนักผลผลิตอ้อยลดลง 20 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น เกษตรกรจึงนิยมใช้อาทราซีน มากกว่าไดยูรอน

4. อะลาคลอร์ (alachlor) เป็น สารกำจัดวัชพืชประเภทใช้ก่อนวัชพืชงอก (Pre-emergence herbicide) อัตราที่ใช้ 320-560 กรัม สารออกฤทธิ์ต่อไร่ เป็นสารกำจัดวัชพืชที่เหมาะสมกับระบบการปลูกพืชตระกูลถั่วแซมอ้อย เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว เพราะว่าอะลาคลอร์มีพิษต่อพืชใบกว้างน้อย จึงทำให้วัชพืชใบกว้างค่อนข้างทนทานต่ออะลาคลอร์ ชาวไร่อ้อยที่ปลูกอ้อยเดี่ยว ๆ จึงไม่นิยมใช้อะลาคลอร์

5. เฮ็กซาซิโนน (hexazinone) เป็น สารกำจัดวัชพืชประเภทใช้ก่อนอ้อยและวัชพืชงอก (Pre-emergence herbicide) ควบคุมวัชพืชประเภทใบแคบได้ดีมาก และควบคุมวัชพืชใบกว้างได้ดีพอสมควร ถ้าใช้ในอัตราสูง สามารถควบคุมแห้วหมูได้ แต่เป็นสารกำจัดวัชพืช ที่มีความเป็นพิษต่ออ้อยสูง ู้ใช้ต้องสามารถคำนวณอัตราการใช้สารกำจัดวัชพืชต่อพื้นที่ที่จะพ่นได้อย่าง แม่นยำ เพราะว่า ถ้าใช้ในอัตราที่ต่ำเกินไป ก็ควบคุมวัชพืชไม่ได้ผล แต่ถ้าใช้ในอัตราที่สูงเกินไป จะเป็นพิษต่ออ้อย อัตราการใช้อยู่ระหว่าง 122-162 กรัม สารออกฤทธิ์ต่อไร่ เพื่อลดความเป็นพิษของการใช้เฮ็กซาซิโนน และยังมีความสามารถในการควบคุมวัชพืชได้ ควรใช้เฮ็กซาซิโนนผสมกับไดยูรอน อัตรา 53+187 กรัม สารออกฤทธิ์ต่อไร่ หรือผสมในอัตรา 32+256 กรัม สารออกฤทธิ์ต่อไร่ เฮ็กซาซิโนนสามารถควบคุมวัชพืชได้นานกว่าอาทราซีน คือ หลังจากพ่นเฮ็กซาซิโนน ไม่สามารถปลูกพืชอื่นได้ ยกเว้น อ้อย และสับปะรด อ้อยบางพันธุ์อ่อนแอต่อเฮ็กซาซิโนน เช่น Phil 66-07 (มาร์กอส), Q 83 , มก 50 การใช้เฮ็กซาซิโนนหลังอ้อยและวัชพืชงอก (Post-emergence) เหมาะสมที่จะใช้ในอ้อยตอ โดยผสมไดยูรอน 288+384 กรัม สารออกฤทธิ์ต่อไร่

6.อิมาซาพิค (imazapic) เป็นสารกำจัดวัชพืชประเภทใช้ก่อนอ้อยงอก (Pre-emergence) ที่สามารถควบคุมวัชพืชก่อนอ้อยและวัชพืชงอก ใช้ได้ทั้งในสภาพที่ผิวดินมีความชั้นต่ำหรือสูง เวลาที่เหมาะสมในการใช้อิมาซาพิคควบคุมวัชพืช คือ พ่นหลังปลูกทันที ถึงแม้ผิวดินจะมีความชื้นต่ำ ดังนั้น จึงเหมาะกับการใช้ควบคุมวัชพืชหลังปลูกในเขตอาศัยน้ำฝน สามารถดูดซึมเข้าวัชพืชได้ทั้งทางใบ และทางรากในการใช้สารกำจัดวัชพืชชนิดนี้ ควรใช้ผสมกับ pendimethalin โดยใช้ imazapic ผสมกับ pendimethalinอัตรา 12-16 ผสม 120-160 กรัม สารออกฤทธิ์ต่อไร่ จะทำให้ควบคุมวัชพืชได้กว้างและสามารถใช้กำจัดแห้วหมูที่งอกแล้ว (Post-emergence application) ได้ดี โดยใช้ในอัตราเดียวกับการพ่นหลังปลูกอ้อย (Pre-emergence application) ในการใช้สารกำจัดวัชพืชชนิดนี้ ต้องระวังอย่าพ่นให้สัมผัสกับอ้อย หรือห้ามพ่นซ้ำที่เดิมหลายครั้ง จะทำให้อ้อยได้รับพิษ ที่สำคัญต้องไม่ใช้เกินอัตราที่แนะนำ

นอกจากนี้ ยังมีสารกำจัดวัชพืชก่อนวัชพืชงอกที่ใช้ในไร่อ้อยมีอยู่อีกหลายชนิด เช่นโคลมาโซน (clomazone) ใช้อัตรา 120-240 กรัม สารออกฤทธิ์ต่อไร่ ออกซีฟลูออร์เฟน (oxyfluorfen) ใช้อัตรา 40-80 กรัม สารออกฤทธิ์ต่อไร่ หรือใช้ไดยูรอน (diuron) อัตรา 400 กรัม สารออกฤทธิ์ต่อไร่ ผสมกับอาซูแลม (asulam) อัตรา 320 กรัม สารออกฤทธิ์ต่อไร่ สามารถใช้ได้ทั้งก่อนหรือหลังวัชพืชงอก (สูงไม่เกิน 10 ซม.)

การใช้สารกำจัดวัชพืชหลังปลูกอ้อย (ทั้งที่มีวัชพืชงอกแล้ว หรือยังไม่งอก) ชนิดเดียวซ้ำในที่เดิมหลาย ๆ ปี จะเกิดปัญหาสารกำจัดวัชพืชตกค้างอยู่ในดิน และที่สำคัญก็คือ เกิดการปนเปื้อนสารเคมีในน้ำใต้ดิน และแหล่งน้ำต่าง ๆ ดังนั้น จึงควรที่มีการเปลี่ยนชนิดของสารกำจัดวัชพืช เพราะว่า หลังจากการใช้สารกำจัดวัชพืชพ่นลงไปในดิน สารกำจัดวัชพืชซึมลงไปในดินชั้นบนประมาณ 5 เซนติเมตร ดินในระดับนี้ จะเป็นที่อยู่อาศัยของจุลินทรีย์ชนิดต่าง ๆ จุลินทรีย์ในดินเหล่านี้จะแตกตัวสร้างจุลินทรีย์ตัวใหม่ทันทีเมื่อได้รับสาร กำจัดวัชพืช โดยการแบ่งตัวอย่างรวดเร็วทีละสองเท่า ในขณะเดียวกัน จุลินทรีย์จะเปลี่ยนรูปร่างของสารกำจัดวัชพืชเดิม เพราะว่า จุลินทรีย์ได้ใช้บางส่วนของส่วนประกอบของสารกำจัดวัชพืช ทำให้สูตรเดิมของสารเคมีเปลี่ยนเป็นสารตัวใหม่ แล้วในที่สุดสารเคมีก็ถูกย่อยสลายจนเกือบหมดอาจเหลือเพียงก๊าซคาร์บอน ไดออกไซด์เท่านั้น จุลินทรีย์ที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่นี้สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้รวด เร็วและสามารถปรับปรุงกระบวนการย่อยสลายสารกำจัดวัชพืชได้ดีขึ้น กว่าเดิม ทำให้เหลือสารกำจัดวัชพืชตกค้างในดินน้อยมาก ถ้ามีการเปลี่ยนชนิดของสารกำจัดวัชพืชบ่อย ๆ ในขณะที่ในดินที่ใช้สารกำจัดวัชพืชชนิดเดียวซ้ำในที่เดิมนาน ๆ จะพบว่า มีจุลินทรีย์ในดินมีปริมาณลดน้อยลง จุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในดินไม่สามารถแบ่งตัวเองกำเนิดเป็นจุลินทรีย์พันธุ์ ใหม่ได้ เพราะว่า ไม่มีการใช้สารกำจัดวัชพืชชนิดใหม่

สารเคมีกำจัดวัชพืชชนิดที่ใช้หลังอ้อยและวัชพืชงอก หรือยาฆ่าหญ้า มีทั้งสารกำจัดวัชพืชทั้งประเภทสัมผัสตาย และประเภทดูดซึม ได้แก่

1. พาราควอต (paraquat) เป็น สารกำจัดวัชพืชประเภทสัมผัสตาย เคลื่อนย้ายในวัชพืชได้เล็กน้อย เป็นสารกำจัดวัชพืชประเภทไม่เลือกทำลาย (non selective herbicides) เป็นพิษกับอ้อยน้อยมากกว่าอามีทรีน กำจัดวัชพืชใบแคบ ใบกว้าง และพวกกก ได้ผลรวดเร็ว อัตราการใช้ที่เหมาะสม คือ 1 กรัม สารออกฤทธิ์ต่อไร่ ต่อน้ำ 1 ลิตร หรือ 730 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 200 ลิตร ควรพ่นสารตอนเช้าที่มีแสงแดด และดินชื้น จะช่วยทำให้การกำจัดวัชพืชมีประสิทธิภาพ และให้ผลเร็ว จะเห็นว่าวัชพืชแสดงอาการหลังพ่น 6-8 ชั่วโมง ทำให้เกษตรกรนิยมใช้พาราควอตกันมาก เพราะว่า ให้ผลในการกำจัดวัชพืชดี วัชพืชแสดงอาการเหี่ยวเร็ว ราคาถูก (120–140 บาทต่อลิตร) แต่มีข้อเสีย คือ ไม่สามารถกำจัดวัชพืชอายุข้ามปี (perennial weed) และวัชพืชประเภทมีเหง้าหรือหัวใต้ดิน วัชพืชเหล่านี้เพียงแต่ใบไหม้ สามารถแตกใบใหม่ได้ในภายหลัง พาราควอตเป็นสารเคมีที่มีความเป็นพิษสูง คือ มีค่า LD50 120 mg/kg เกษตรกรต้องระมัดระวังมิให้สารเคมีสัมผัสผิวหนัง จมูก ปาก และตา

2. ทู โฟ ดี (2,4-D) มีความเป็นพิษต่ออ้อยน้อยมาก เพราะว่า เป็นสารประเภทเลือกทำลาย (selective herbicide) ใช้ได้ทั้งก่อนและหลังจากวัชพืชงอก โดยมักใช้ผสมร่วมกับสารกำจัดวัชพืชชนิดอื่น เช่น อามีทรีน+ทู โฟ ดี อัตรา 360+270 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ พ่นหลังจากปลูกอ้อยแล้ว 3-4 สัปดาห์ หรือหลังจากวัชพืชงอกแล้ว แต่ถ้าหลังจากวัชพืชออกดอกและเมล็ด จะกำจัดยาก ต้องใช้สารกำจัดวัชพืชในอัตราสูงขึ้น หรือใช้เมทริบูซีน+ทู โฟ ดี ในอัตรา300+300 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ โดยพ่นหลังจากปลูกอ้อยแล้ว 1 เดือน ก็สามารถควบคุมวัชพืชได้ดี และนอกจากนี้ ทู โฟ ดี ยังสามารถกำจัดวัชพืชใบกว้าง และแห้วหมูได้ผลดีอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทู โฟ ดี ในรูป ester กำจัดแห้วหมูได้ผลดีกว่า อีกทั้งเป็นสารกำจัดวัชพืชที่มีราคาถูกกว่าสารกำจัดวัชพืชอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ในการใช้ ทู โฟ ดี จะต้องระวังไม่ให้สาร ทู โฟ ดี ปลิวไปถูกพืชใบเลี้ยงคู่ที่ปลูกข้างเคียงอ้อย เช่น ฝ้าย ถั่วเหลือง เพราะว่า พืชใบเลี้ยงคู่ส่วนใหญ่อ่อนแอต่อ ทู โฟ ดี จะต้องใช้ทู โฟ ดี ในอัตราที่เหมาะสม ที่จะไม่ไปทำลายท่ออาหาร (Phloem) การใช้ ทู โฟ ดี ที่ความเข้มข้นสูงจะทำลายท่ออาหาร ทำให้สารเคมีไม่สามารถเคลื่อนย้ายไปสู่ส่วนของวัชพืชที่อยู่ใต้ดิน

3. อามีทรีน (ametryn) เป็น สารกำจัดวัชพืชประเภทดูดซึม (systemic) สามารถเคลื่อนย้ายไปตามท่อน้ำ (xylem) สู่ส่วนต่าง ๆ ของวัชพืชได้ ใช้กำจัดวัชพืชได้ทั้งก่อนและหลังจากอ้อยและวัชพืชงอก ในการพ่นหลังปลูกอ้อยเพื่อคุมวัชพืช ควรใช้อัตรา 360-480 กรัม สารออกฤทธิ์ต่อไร่ เวลาที่เหมาะสมในการใช้อามีทรีนควบคุมวัชพืชหลังปลูก คือ พ่นหลังจากปลูกอ้อยและให้น้ำครั้งที่ 2 (หลังปลูกอ้อย 2-3 สัปดาห์) ส่วนการใช้หลังจากอ้อยและวัชพืชงอกแล้ว ใช้อัตราความเข้มข้น 4-5 กรัม สารออกฤทธิ์ต่อน้ำ 1 ลิตร สามารถกำจัดวัชพืชใบแคบและใบกว้างได้เกือบทุกชนิด แต่ต้องระวัง อย่าให้สารกำจัดวัชพืชสัมผัสอ้อย มีรายงาน พบว่า อามีทรีนเมื่อใช้หลังอ้อยงอกในอัตรา 288 กรัม สารออกฤทธิ์ต่อไร่ ทำให้อ้อยมีใบเหลืองซีด ปลายใบและขอบใบไหม้ การเจริญเติบโตของอ้อยชะงัก และผลผลิตลดลง แต่อย่างไรก็ตาม อ้อยที่ได้รับพิษจากอามีทรีนสามารถฟื้นตัวได้ใน 3–4 สัปดาห์ การใช้อามีทรีนร่วมกับ ทู โฟ ดี (2 กรัม สารออกฤทธิ์ต่อน้ำ 1 ลิตร) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดแห้งหมู

4. อาซูแลม (asulam) เป็นสารกำจัดวัชพืชที่เข้าสู่ต้นพืชได้ทั้งทางรากและทางใบ เคลื่อนย้ายได้ในต้นพืช ใช้กำจัดวัชพืชที่งอกแล้ว กำจัดวัชพืชใบแคบได้ดี อัตราที่ใช้ 400 กรัม สารออกฤทธิ์ต่อไร่ เป็นสารกำจัดวัชพืชที่มีครึ่งชีวิต (half life) สั้นมาก คือ 6-14 วัน ไม่เหมาะสำหรับการพ่นคุมวัชพืช (Pre-emergence application) ดังนั้น จึงนิยมใช้อาซูแลมผสมกับสารกำจัดวัชพืชชนิดอื่น เช่น ไดยูรอน , ดาราพอน , ทู โฟ ดี (ester) เพื่อสามารถใช้ได้ทั้งคุมและฆ่าวัชพืชได้



ข้อควรคำนึงและปฏิบัติตามในการใช้สารกำจัดวัชพืช

1. ใช้กำจัดวัชพืชในอัตราที่เหมาะสมกับสารกำจัดวัชพืชแต่ละชนิด แต่ละพืช อย่างเคร่งครัด มีถ้วยหรือช้อนตวงที่ทราบปริมาณ เพื่อใช้ในการตวงสารในปริมาณที่ถูกต้อง จึงจะทำให้การใช้สารกำจัดวัชพืชมีประสิทธิภาพสูงสุด ลดการสูญเปล่า

2. ในการพ่นสารคุมวัชพืชหลังปลูกอ้อย จะต้องพ่นในขณะที่ดินยังมีความชื้น การควบคุมวัชพืชในดินเหนียวหรือดินที่มีอินทรียวัตถุสูง ควรใช้อัตราสูงกว่าดินทราย ในการพ่นสารกำจัดวัชพืชที่งอกแล้ว ควรผสมสารจับใบ

3. น้ำที่ใช้ผสมสารกำจัดวัชพืชควรเป็นน้ำสะอาด การใช้น้ำที่มีตะกอนดินมากจะทำให้ประสิทธิภาพของสารกำจัดวัชพืชลดลง เพราะว่า สารกำจัดวัชพืชถูกอนุภาคดินดูดยึดไว้

4. ควรพ่นสารกำจัดวัชพืชในช่วงเช้า ลมสงบ เพื่อลดความเสี่ยงที่สารกำจัดวัชพืชจะปลิวไปสัมผัสอ้อย

5. การพ่นสารกำจัดวัชพืชก่อนอ้อยและวัชพืชงอก ควรเดินอย่างสม่ำเสมอ เพื่อจะทำให้การคำนวณอัตราการใช้สารไม่ผิดพลาด ส่วนการใช้สารกำจัดวัชพืชหลังอ้อยและวัชพืชงอกควรพ่นครั้งเดียว ไม่ควรพ่นซ้ำ เพราะเกรงว่าวัชพืชจะไม่ตาย ถ้าพ่นมากเกินไปจะมีผลต่อการเจริญเติบโตของอ้อย ที่สำคัญ ต้องพ่นให้ถูกวัชพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในส่วนที่เป็นสีเขียว และจะต้องพยายามอย่าให้สารกำจัดวัชพืชสัมผัสอ้อย

6. ในการพ่นสารกำจัดวัชพืช ควรคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้พ่น มีอุปกรณ์ปิดจมูก ปิดปาก และควรสวมแว่นป้องกันการสัมผัสสารเคมี อีกทั้งจะต้องคำนึงในเรื่องสิ่งแวดล้อม โดยจะต้องไม่เทน้ำล้างถังพ่นสารเคมีลงในแหล่งน้ำ

7. ในการใช้สารกำจัดวัชพืชเฮ็กซาซิโนน และอิมาซาพิค ควรพ่นบนสันร่องด้วย เพราะสารกำจัดวัชพืชทั้ง 2 ชนิด สามารถควบคุมวัชพืชในสภาพที่ผิวดินแห้งได้




ที่มา :ฐานความรู้ด้านพืชพลังงานทดแทน กรมวิชาการเกษตร

http://www.thaienv.com/th/index.php?option=com_content&task=view&id=840&Itemid=37
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 19/11/2010 4:37 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ้อย

แนวทางที่จะพัฒนาผลผลิตอ้อยในเขตนี้ก็คือ ต้องพยายามหาแหล่งน้ำ (น้ำใต้ดิน,ขุดสระเก็บกักน้ำ) เพื่อให้น้ำอ้อยได้ในช่วงวิกฤตและที่สำคัญ

it.doa.go.th/vichakan/news.php?newsid=13 - แคช - ใกล้เคียง



ปัญหาของพืช ข้อจำกัดและโอกาส
* ต้นทุนการผลิตสูง
* ควรปรับปรุงมาตรฐานเทคโนโลยีการผลิตให้ถูกต้องเหมาะสม สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้
* การขาดแคลนอ้อยพันธุ์ดีที่มีผลผลิต และค่าความหวานสูง และต้านทานโรคแมลง และขาดการกระจายพันธุ์สู่เกษตรกร
* ขาดการจัดการดินอย่างถูกต้อง
* มีการระบาดของศัตรูอ้อย
* แนวโน้มราคาน้ำมันดิบมีค่าสูงขึ้น การใช้พืชพลังงานทดแทนเช่น อ้อย ทดแทนน้ำมันเป็นแนวทางหนึ่งในการสร้างมูลค่าจากอ้อย เพิ่มรายได้และลดการนำเข้าพลังงาน
* บูรณาการกระบวนการผลิตเอทานอลกับโรงงานน้ำตาล เพื่อเกิด ความยืดหยุ่นในการผลิตน้ำตาล เมื่อใดผลผลิตอ้อยมาก น้ำตาลล้นตลาด สามารถนำอ้อยไปผลิตเอทานอล หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ


พันธุ์
การเลือกพันธุ์
* ผลผลิตสูง และมีคุณภาพความหวานมากกว่า 10 ซีซีเอส
* ต้านทานต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง แส้ดำ กอตะไคร้ ทนทานต่อหนอนกอลายจุดใหญ่ หรือหนอนกอลายจุดเล็ก ศัตรูที่สำคัญในแต่ละแหล่งปลูก
* เจริญเติบโตดีเหมาะกับสภาพดินฟ้าอากาศ
* ไว้ตอได้ไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง และผลผลิตไม่ต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของอ้อยปลูก

พันธุ์อ้อย
ในการปรับปรุงพันธุ์อ้อยมีหน่วยงานที่ดำเนินการหลายหน่วยงาน ได้แก่ กรมวิชาการเกษตร สำนักงานอ้อยและน้ำตาลทราย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บริษัทมิตรผล การดำเนินงานจะเริ่มตั้งแต่การผสมพันธุ์ คัดเลือกพันธุ์และทดสอบพันธุ์ โดยการคัดเลือกในสภาพแวดล้อมในแหล่งปลูกอ้อยของประเทศไทย พันธุ์อ้อยที่ผ่านการปรับปรุงพันธุ์จะมีลักษณะ ผลผลิต องค์ประกอบผลผลิต และลักษณะทางการเกษตรที่ดีเด่น แตกต่างกันขึ้นกับสภาพแวดล้อมที่ทดสอบ และคัดเลือกพันธุ์ ชาวไร่จึงจำเป็นต้องเลือกพันธุ์โดยอาศัยคำแนะนำจากเอกสารแนะนำพันธุ์ เพื่อให้ได้พันธุ์อ้อยที่เหมาะสมกับท้องถิ่นของตน

1. พันธ์รับรอง/แนะนำของกรมวิชาการเกษตร
อ้อยโรงงาน
- พันธุ์อู่ทอง 6 ลำต้นมีขนาดใหญ่ ปล้องรูปทรงกระบอก กาบใบสีม่วง ไม่มีขน ทรงกอตั้งสูง ออกดอกยาก อายุเก็บเกี่ยว 11-12 เดือน ผลผลิต 18.04 ตัน/ไร่ ซีซีเอส 13.59 ความสูง 299 ซม. ดินร่วนปนทราย เขตกึ่งชลประทาน

- พันธุ์มุกดาหาร ใบแคงตั้ง ปลายใบโค้ง กาบใบสีเขียวปนม่วง ปล้องรูปทรกระบอก ทรงกอตั้งตรง ล้มง่าย อายุเก็บเกี่ยว 12-14 เดือน ผลผลิต 13.4 ตัน/ไร่ ความสูง 274 ซม. ดินร่วนปนทรายหรือดินร่วนเหนียวปนทรายในจังหวัดมุกดาหารและกาฬสินธุ์

- อู่ทอง 5 รูปร่างปล้อง ลำต้นเมื่อถูกแสงให้สีม่วงอมเขียว ทรงกอตั้งตรง ออกดอกปลายเดือนตุลาคม อายุเก็บเกี่ยว 10-11 เดือน ผลผลิตอ้อยตอ1 เฉลี่ย 10.95 ตัน/ไร่ อ้อยตอ 2 เฉลี่ย 8.87 ตัน/ไร่ ซีซีเอส อ้อยตอ1 เฉลี่ย 1.71 และอ้อยตอ2 เฉลี่ย 1.40 ความสูง 264 ซม.ดินร่วนปนทรายเขตใช้น้ำฝนภาคกลาง และภาคตะวันออก

- ขอนแก่น 1 ใบแผ่ตั้งสีเขียวเข้ม ลำอ้อยสีเหลืองอมเขียว รูปร่างปล้องคอด กลางป่อง ข้อโปน ทรงกอแคบ ตั้งตรงไม่ล้มง่าย ออกดอกกลางเดือนธันวาคม อายุเก็บเกี่ยว 11-12 เดือน ผลผลิต 13-16 ตัน/ไร่ ความสูง 257 ซม.แหล่งปลูกภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

- อู่ทอง 4 ลำสีเขียวอมเหลืองหรือม่วง ขนาดลำปานกลาง มีขน กลางกาบใบ ทรงกอแผ่เล็กน้อย กว้าง หักล้มปานกลาง ออกดอกปลายเดือนพฤศจิกายน-กลางเดือนธันวาคม อายุเก็บเกี่ยว 11-12 เดือน ซีซีเอส 15.69 ผลผลิต 13-14 ตัน/ไร่ ความสูง 248 ซม. แหล่งปลูกภาคตะวันตกเฉพาะในดินร่วนปน ดินเหนียว

- อู่ทอง 3 ใบใหญ่ตั้ง ปลายแหลม กาบใบมีสีม่วงปนเขียว ลอกกาบใบค่อนข้างยาว ทรงกอตั้งตรง แคบ ไม่หักล้ม ออกดอกปลายเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนธันวาคม อายุเก็บเกี่ยว 10-12 เดือน ซีซีเอส 15.90 ผลผลิต 13-14 ต้น/ไร่ความสูง 231 ซม.ดินร่วนปนทรายสภาพไร่ในภาคตะวันตกและภาคเหนือตอนล่าง

- อู่ทอง 2 ใบใหญ่ตั้ง ปลายแหลม กาบใบมีขนเล็กน้อย สะสมน้ำตาลเร็ว ออกดอกปลายเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนธันวาคม ผลผลิต 14.0 ต้น/ไร่ ซีซีเอสมากกว่า 10 ความสูง 228 ซม.แหล่งปลูกเขตชลประทานภาคกลางและภาคตะวันตก

- อู่ทอง 1 ปล้องคอดกลาง ใบมีขนาดใหญ่ ทรงใบตั้งโค้งกลางใบ กาบใบสีม่วง มีขนกาบใบเล็กน้อย ทรงกอตั้งตรง กว้าง ไม่หักล้ม ออกดอกปานกลาง อายุเก็บเกี่ยว 11-13 เดือน ผลผลิต 25.20 ต้น/ไร่ ซีซีเอส 11-12 ความสูง 250-350 ซม.แหล่งปลูก ภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี กาญจนบุร นครปฐม

- ชัยนาท 1 ใบมีขนาดใหญ่ ปล้องยาว โคนโต สีน้ำตาลอมเขียว ทรงกอแคบ ล้มง่าย ออกดอกประมาณเดือนตุลาคม ผลผลิต 15-18 ต้น/ไร่ แหล่งปลูกภาคตะวันออก

อ้อยเคี้ยว
- สุพรรณบุรี 72 ใบขนาดกลางปลายโค้ ลำต้นสีเขียวอมเหลือง ปล้องทรงกระบอก มีร่องเหนือตา ข้อคอดเล็กน้อย อายุเก็บเกี่ยว 9 เดือน ผลผลิตเนื้ออ้อย 6.3 ตันต่อไร่ ความสูง 270 ซม. แหล่งปลูกพื้นที่ดินร่วนเหนียว ดินร่วนปนทรายที่สามารถให้น้ำได้

- สุพรรณบุรี 50 ใบมีขนาดใหญ่ปลายใบโค้ง ลำต้นสีเขียวอมเหลือง ปล้องมีรูปร่างทรงกระบอกค่อนข้างยาว ออกดอกช่วงเดือนธันวาคม อายุเก็ยเกี่ยว 8 เดือน ผลผลิตน้ำอ้อยสูง 4,913 ลิตรต่อไร่ แหล่งปลูกในเขตภาคกลางและภาคตะวันตก


2. พันธุ์ที่ได้จากงานวิจัยของกระทรวงอุตสาหกรรม
- พันธุ์ K 76-4 เป็นพันธุ์ที่ได้รับจากการผสมระหว่างพันธุ์ Co 798 กับพันธุ์ Co 775 ให้ผลผลิตอ้อยสด 14 ตันต่อไร่ ความหวาน 12 CCS การแตกกอปานกลาง มี 5-6 ลำต่อกอ ลำต้นตรงสีเหลืองอมเขียว เจริญเติบโตได้เร็ว ทนทานต่อโรคใบขาวและหนอนเจาะลำต้น

- พันธุ์ K 84-69 เป็นพันธุ์ที่ได้จากการผสมระหว่างพันธุ์ F 143 กับพันธุ์ ROC 1 ให้ผลผลิตอ้อยสด 12-15 ตันต่อไร่ ความหวาน 12-13 CCS การแตกกอปานกลาง มี 5-6 ลำต่อกอ ลำต้นตรง สีเขียวมะกอก เจริญเติบโตเร็ว ลอกกาบค่อนข้างง่าย

ข้อควรระวัง อ่อนแอต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง และโรคแส้ดำ ปลูกในสภาพดินร่วนเหนียวดีกว่าร่วนทราย

- พันธุ์ K 87-200 เป็นพันธุ์ที่ได้จากการผสมระหว่างพันธุ์ ROC 1 กับพันธุ์ CP 63-588 ให้ผลิตอ้อยสด 12-14 ตันต่อไร่ ความหวาน 13 CCS การแตกกอน้อย ไว้ตอค่อนข้างดี ออกดอกเล็กน้อย ลำต้นตรงสีเขียวมะกอก ทรงกอแคบ ลำต้นตั้งตรง ต้านทานต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง และโรคแส้ดำ ลอกกาบใบง่าย

ข้อควรระวัง อ่อนแอต่อโรคกอตะไคร้และโรคใบขาว

- พันธุ์ K 88-92 เป็นพันธุ์ที่ได้จากการผสมระหว่างพันธุ์อู่ทอง 1 กับพันธุ์ PL 310 ผลผลิตอ้อยสด 15 ตันต่อไร่ ความหวาน 12 CCS การแตกกอปานกลาง ลำต้นขนาดปานกลางถึงใหญ่ การไว้ตอดี ออกดอกเล็กน้อย ลำต้นตรงสีเขียวมะกอก ต้านทานต่อโรคแส้ดำ ต้านทานปานกลางต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง เจริญเติบโตเร็ว

ข้อควรระวัง อ่อนแอต่อโรครากเน่าและโรคใบขาว

- พันธุ์ K 90-77 เป็นพันธุ์ที่ได้จากการผสมระหว่างพันธุ์ K 83-74 กับพันธุ์อู่ทอง 1 ผลผลิตอ้อยสด 12-20 ตันต่อไร่ ความหวาน 12-15 CCS การแตกกอปานกลาง ไว้ตอได้ดี ไม่ออกดอก ลำต้นสีเขียวเข้ม เมื่อถูกแสงจะเป็นสีม่วง ทรงกอค่อนข้างกว้าง เจริญเติบโตเร็ว ทนแล้งได้ดี ต้านทานปานกลางต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง โรคตะไคร้ โรคยอดเน่า และโรคแส้ดำ ต้านทานปานกลางต่อหนอนเจาะยอดและหนอนเจาะลำต้น

ข้อควรระวัง ลอกกาบใบได้ค่อนข้างยาก

- พันธุ์ K 92-80 เป็นพันธุ์ที่ได้จากการผสมระหว่างพันธุ์ K 84-200 กับพันธุ์ K 76-4 ผลผลิตอ้อยสด 16-19 ตันต่อไร่ ความหวาน 11-13 CCS การแตกกอปานกลาง ขนาดลำปานกลาง การไว้ตอดีมาก ไม่ออกดอก ลำสีเหลืองอมเขียว ทรงกอค่อนข้างกว้าง เจริญเติบโตเร็ว ทนแล้งปานกลาง ต้านทานปานกลางต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง โรคกอตะไคร้ โรคราสนิม โรคแส้ดำ และหนอนเจาะลำต้น

ข้อควรระวัง งอกช้า อ่อนแอต่อโรคใบจุดเหลือง โรคยอดบิดและโรคใบจุดวงแหวน หักล้มง่าย กาบใบร่วงหลุดยาก

- พันธุ์ K 92-213 เป็นพันธุ์ที่ได้จากการผสมระหว่างพันธุ์ K 84-200 กับพันธุ์ K 84-74 ผลผลิตอ้อยสด 15-18 ตันต่อไร่ ความหวาน 11-13 CCS การแตกกอปานกลาง ขนาดลำปานกลาง การไว้ตอดี ออกดอกเล็กน้อย ลำสีเขียวอมเหลือง งอกเร็ว ทนแล้งปานกลาง ต้านทานปานกลางต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง โรคกอตะไคร้และโรคแส้ดำ

ข้อควรระวัง อ่อนแอต่อโรคใบจุดเหลือง โรคยอดบิดและโรคใบจุดวงแหวน การหักล้มปานกลาง กาบใบร่วงหลุดยาก ควรปลูกในเขตชลประทาน

- พันธุ์ K 93-219 เป็นพันธุ์ที่ได้จากการผสมระหว่างพันธุ์อู่ทอง 1 กับพันธุ์อีเหี่ยว ผลผลิตอ้อยสด 16-21 ตันต่อไร่ ความหวาน 12-14 CCS การแตกกอปานกลาง ขนาดลำปานกลาง การไว้ตอดี ไม่ออกดอก ลำต้นสีเขียว งอกเร็ว เจริญเติบโตเร็ว ทนแล้งปานกลาง ต้านทานปานกลางต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง โรคกอตะไคร้ โรคใบจุดเหลือง โรคราสนิม และโรคแส้ดำ ต้านทานต่อหนอนเจาะลำต้น เก็บเกี่ยวอายุ 12 เดือน

ข้อควรระวัง อ่อนแอต่อโรคใบจุดเหลือง การหักล้มปานกลาง กาบใบร่วงหลุดยาก

- พันธุ์ K 93-347 เป็นพันธุ์ที่ได้จากการผสมระหว่างพันธุ์อู่ทอง 1 กับพันธุ์ K 84-200 ผลผลิตอ้อยสด 16-20 ตันต่อไร่ ความหวาน 11-13 CCS การแตกกอปานกลาง ขนาดลำปานกลาง การไว้ตอดี ไม่ออกดอก ลำสีเขียวอมเหลือง งอกเร็ว เจริญเติบโตเร็ว ทนแล้ง ต้านทานปานกลางต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง โรคกอตะไคร้ และโรคแส้ดำ อายุเก็บเกี่ยว 12 เดือน

ข้อควรระวัง อ่อนแอต่อโรคใบจุดเหลือง การหักล้มปานกลาง กาบใบร่วงหลุดยาก

- พันธุ์ K 95-84 เป็นพันธุ์ที่ได้จากการผสมระหว่างพันธุ์ K 90-79 กับพันธุ์ K 84-200 ผลผลิตอ้อยสด 16-20 ตันต่อไร่ ความหวาน 12-14 CCS การแตกกอปานกลาง ลำขนาดใหญ่ (4.1-4.3 ซม.) การไว้ตอดี ไม่ออกดอก ลำสีเขียวมะกอกอมเหลือง เจริญเติมโตเร็ว ทนแล้งปานกลาง ลอกกาบใบง่าย ต้านทานปานกลางต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง โรคกอตะไคร้ โรคราสนิม และโรคแส้ดำ ต้านทานปานกลางต่อหนอนเจาะลำต้น

ข้อควรระวัง อ่อนแอต่อโรคใบขาวและโรคยอดบิด


3. พันธุ์ที่ได้จากการวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- พันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 เป็นพันธุ์ที่ได้จากการผสมเปิดของอ้อยพันธุ์ Kwt # 7 ผลผลิตอ้อยสด 13-16 ตันต่อไร่ ความหวาน 12-14 CCS การแตกกอปานกลาง มี 5-6 ลำต่อกอ ไว้ตอได้ดี ออกดอกเล็กน้อยถึงปานกลาง ลำต้นสีเขียวเข้ม หากถูกแสงแดดจะเป็นสีม่วงขนาดลำค่อนข้างเล็ก เจริญเติบโตเร็ว ทนแล้งได้ดี เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนหรือร่วนทรายที่ระบายน้ำได้ดี

ข้อควรระวัง อ่อนแอต่อโรคเหี่ยวเน่าแดงและสารกำจัดวัชพืชบางชนิด

- พันธุ์กำแพงแสน 89-200 เป็นพันธุ์ที่ได้จากการผสมระหว่างพันธุ์ IAC 52-326 กับพันธุ์ Co 331 ผลผลิตอ้อยสด 15-16 ตันต่อไร่ ความหวาน 11-13 CCS การแตกกอดี มี 6-8 ลำต่อกอ ขนาดลำปานกลาง ไว้ตอได้ค่อนข้างดี ออกดอกเล็กน้อยถึงปานกลาง ลำต้นตรง สีเขียวอมเหลือง เจริญเติบโตเร็ว ทนแล้ง เก็บเกี่ยวอายุ 10-12 เดือน เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนและร่วนทราย

ข้อควรระวัง อ่อนแอต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง

- พันธุ์กำแพงแสน 92-0447 เป็นพันธุ์ที่ได้จากการผสมระหว่างพันธุ์ F 146 กับพันธุ์ B 34164 ผลผลิตอ้อยสด 14-16 ตันต่อไร่ ความหวาน 10-12 CCS การแตกกอปานกลาง ขนาดลำปานกลาง การไว้ตอดี ออกดอกเล็กน้อย ลำต้นโตเร็ว สีเหลืองอมเขียว เจริญเติบโตเร็ว ค่อนข้างทนแล้ง อายุเก็บเกี่ยว 11-12 เดือน

ข้อควรระวัง อ่อนแอต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง

- พันธุ์กำแพงแสน 91-1336 เป็นพันธุ์ที่ได้จากการผสมเปิด ของอ้อยพันธุ์ F 146 ผลผลิตอ้อยสด 15-17 ตันต่อไร่ ความหวาน 11-13 CCS การแตกกอดี ขนาดลำปานกลาง การไว้ตอดี ออกดอกปานกลาง ลำต้นซิกแซ็ก สีเขียวอมเหลือง เจริญเติบโตเร็ว ค่อนข้างทนแล้ง อายุเก็บเกี่ยว 11-12 เดือน
ข้อควรระวัง อ่อนแอต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง



เทคโนโลยีการผลิต
การเลือกพื้นที่ปลูกอ้อย
พื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกอ้อย ควรเป็นที่ดอน หรือที่ลุ่ม ไม่มี น้ำท่วมขัง สูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1,500 เมตร ห่างไกลจาก แหล่งมลพิษ การคมนาคมสะดวก อยู่ห่างจากโรงงานน้ำตาลไม่เกิน 60 กิโลเมตร

การเตรียมดิน
การปลูกอ้อย 1 ครั้ง สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ถึง 3-4 ปี หรือมากกว่า ดังนั้น การเตรียมดินปลูกจะมีผลต่อ ผลผลิตของอ้อย ตลอดระยะเวลาที่ไว้ตอ โดยทั่วไปหลังจากตัดอ้อยตอปีสุดท้ายแล้ว เกษตรกรมักจะเผาเศษซากอ้อยและตออ้อยเก่าทิ้ง เพื่อสะดวกต่อ การเตรียมดิน เพราะเศษซากอ้อยจะทำให้ล้อรถแทรกเตอร์ลื่น หมุนฟรี และมักจะม้วนติดพันกับผานไถ ทำให้ทำงานได้ไม่สะดวก จาก การทดลองใช้จอบหมุนสับเศษซากใบอ้อยแทนการเผา พบว่า สามารถ ช่วยอนุรักษ์อินทรียวัตถุในดินได้เป็นอย่างดี

ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี ได้พัฒนาผานจักรสับเศษซากอ้อย คลุกเคล้าลงดินใช้ได้ผลดี และประหยัดกว่าการใช้จอบหมุน หลังจากไถกลบเศษซากอ้อยลงดินแล้ว ควรมีการปรับหน้าดิน ให้เรียบและมีความลาดเอียงเล็กน้อย (ไม่เกิน 0.3 เปอร์เซนต์) เพื่อสะดวกในการให้น้ำและระบายน้ำออกจากแปลงกรณีฝนตกหนัก และป้องกันน้ำขังอ้อยเป็นหย่อมๆ เมื่อปรับพื้นที่แล้ว ถ้าเป็นแปลง ที่มีชั้นดินดาน ควรมีการใช้ไถระเบิดดินดาน ไถลึกประมาณ 75 เซนติเมตร โดยไถเป็นตาหมากรุก หลังจากนั้น จึงใช้ไถจาน (3 ผาน หรือ 4 ผาน ตามกำลังของแทรกเตอร์) และพรวนตามปกติ แล้วจึงยกร่องปลูกหรือ ถ้าจะปลูกโดยใช้เครื่องปลูกก็ไม่ต้องยกร่อง

ข้อควรระวังในการเตรียมดิน
1. ควรไถเตรียมดิน ขณะดินมีความชื้นพอเหมาะไม่แห้ง หรือเปียกเกินไป

2. ควรเตรียมดินโดยใช้ไถจานสลับกับไถหัวหมู เพื่อไม่ให้ความลึก ของรอยไถอยู่ในระดับเดิมตลอด และการใช้ไถจานตลอด จะทำให้เกิด ชั้นดินดานได้ง่าย

3. ไม่ควรไถพรวนดินจนดินละเอียดเป็นฝุ่น เพราะดินละเอียด เมื่อถูกฝนหรือ มีการให้น้ำจะถูกชะล้างลงไปอุดอยู่ตามช่องว่างระหว่างเม็ดดิน ทำให้การระบายน้ำและอากาศไม่ดี



การเตรียมท่อนพันธุ์
* ควรมาจากแปลงพันธุ์ที่มีความสม่ำเสมอ ตรงตามพันธุ์ ปราศจาก โรคและแมลง มีอายุที่เหมาะสม คือประมาณ 8-10 เดือน

* เกษตรกรควรทำแปลงพันธุ์อ้อยไว้ใช้เอง เพื่อลดค่าใช้จ่าย ในการซื้อพันธุ์อ้อย และเป็นการวางแผนการปลูกอ้อยที่ถูกต้อง

* มีการป้องกันกำจัดโรคและแมลงที่ถูกต้อง เช่น มีการชุบน้ำร้อน 50 องศาเซลเซียส 2 ชั่วโมง หรือ 52 องศาเซลเซียส ครึ่งชั่วโมง เพื่อป้องกัน โรคใบด่าง โรคตอแคระแกร็น โรคกลิ่นสับปะรด ลดการเป็นโรคใบขาวและโรคกอตะไคร้ อย่างไรก็ตาม ท่อนพันธุ์ที่จะชุบน้ำร้อนควรมีอายุประมาณ 8-10 เดือน เพราะว่า ถ้าใช้ท่อนพันธุ์อายุน้อยกว่า 8 เดือน เปอร์เซ็นต์ ความงอกของอ้อยจะลดลง

* การใช้ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 10-20 กก. N/ไร่ ก่อนการตัดอ้อย ไปทำพันธุ์ 1 เดือน ช่วยทำให้อ้อยมีความงอก และความแข็งแรงของ หน่ออ้อยดีขึ้น

* อ้อยจากแปลงพันธุ์ 1 ไร่ (อายุ 8-10 เดือน) สามารถ ปลูกขยายได้ 10 ไร่


ฤดูปลูก
การปลูกอ้อยในปัจจุบัน สามารถแบ่งตามฤดูปลูกได้เป็น 2 ประเภท
1. การปลูกอ้อยต้นฝน ซึ่งยังแบ่งเป็น 2 เขต คือ
- ในเขตชลประทาน (20 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ปลูกอ้อย ทั้งประเทศ) ส่วนใหญ่จะปลูกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน
- ในเขตอาศัยน้ำฝน ส่วนใหญ่จะปลูกในช่วงเดือน เมษายนถึงมิถุนายน

2. การปลูกอ้อยปลายฝน (การปลูกอ้อยข้ามแล้ง) สามารถทำได้ เฉพาะในบางพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ที่มีปริมาณและการกระจายของฝนดี และดินเป็นดินทรายหรือดินร่วนปนทราย การปลูกอ้อยประเภทนี้จะปลูกประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงธันวาคม


วิธีปลูก
การปลูกอ้อยต้นฝนในเขตชลประทาน
พื้นที่ปลูกอ้อยประเภทนี้มีประมาณ 1 ล้านไร่ ซึ่งเกือบทั้งหมดอยู่ใน เขตภาคกลาง และภาคตะวันออก เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการให้ผลผลิต อ้อยสูง ถ้ามีการจัดการที่ดี และตั้งเป้าหมายไว้ว่า ผลผลิตอ้อยในเขตนี ้ไม่ควรต่ำกว่า 15 ตันต่อไร่ การปลูกอ้อยในเขตนี้ มีการปรับเปลี่ยนวิธีปลูก เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้เครื่องจักรกลเกษตร เช่น เครื่องปลูก เครื่องใส่ปุ๋ย เครื่องกำจัดวัชพืช และรถเก็บเกี่ยว เป็นต้น

- ถ้าใช้คนปลูกจะยกร่องกว้าง 1.4-1.5 เมตร (เดิมใช้ 1.3 เมตร) วางพันธุ์อ้อยเป็นลำโดยใช้ลำเดี่ยวเกยกันครึ่งลำ หรือ 2 ลำคู่ ตามลักษณะการแตกกอของพันธุ์อ้อยที่ใช้ ตัวอย่าง เช่น ถ้าใช้อ้อยพันธุ์ K 84-200 ซึ่งมีการแตกกอน้อย ควรปลูก 2 ลำคู่ หลังจากวางพันธุ์อ้อย ควรใช้จอบสับลำอ้อยเป็น 2-3 ส่วน แล้วกลบด้วยดินหนาประมาณ 5 เซนติเมตร

- ถ้าใช้เครื่องปลูก หลังจากเตรียมดินแล้ว ไม่ต้องยกร่อง จะใช้ เครื่องปลูกติดท้ายแทรกเตอร์ โดยจะมีตัวเปิดร่อง และช่องสำหรับใส่ พันธุ์อ้อยเป็นลำ และมีตัวตัดลำอ้อยเป็นท่อนลงในร่อง และมีตัวกลบดิน ตามหลัง และสามารถดัดแปลงให้สามารถใส่ปุ๋ยรองพื้น พร้อมปลูกได้เลย ปัจจุบันมีการใช้เครื่องปลูกทั้งแบบเดี่ยวและแถวคู่ โดยจะปลูกแถวเดี่ยว ระยะแถว 1.4-1.5 เมตร ในกรณีนี้ใช้พันธุ์อ้อยที่แตกกอมาก และจะ ปลูกแถวคู่ระยะแถว 1.4-1.5 เมตร ระยะระหว่างคู่แถว 30-40 เซนติเมตร ในกรณีใช้พันธุ์อ้อยที่แตกกอน้อย ปัจจุบันในประเทศ ออสเตรเลียมีการใช้เครื่องปลูกอ้อยเป็นท่อน (billet planter) โดยใช้รถตัดอ้อยตัดพันธุ์อ้อยเป็นท่อน แล้วนำมาใส่เครื่องปลูกที่สามารถ เปิดร่องและโรยท่อนพันธุ์อ้อยแล้วกลบ เหมือนปลูกพืชที่ใช้เมล็ดอย่างอื่น เช่น ข้าวโพด หรือถั่วต่าง ๆ


การปลูกอ้อยต้นฝนในเขตอาศัยน้ำฝน
พื้นที่ปลูกอ้อยส่วนใหญ่จะอยู่ในประเภทนี้ และเป็นพื้นที่ที่มีความ แปรปรวนในเรื่องผลผลิตสูง และผลผลิตเฉลี่ยของอ้อยต่ำกว่า 10 ตันต่อไร่ มีสาเหตุหลัก 2 ประการ คือ ปริมาณและการกระจายตัวของฝนไม่ดี และดินส่วนใหญ่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ การใส่ปุ๋ยก็จะมีความเสี่ยงสูงและ หาจังหวะการใส่ปุ๋ยให้มีประสิทธิภาพสูงยาก (ถ้าดินไม่มีความชื้น พืชก็ดูดปุ๋ยที่ใส่ไปใช้ไม่ได้)

แนวทางที่จะพัฒนาผลผลิตอ้อยในเขตนี้ก็คือ ต้องพยายามหาแหล่งน้ำ (น้ำใต้ดิน,ขุดสระเก็บกักน้ำ) เพื่อให้น้ำอ้อยได้ในช่วงวิกฤตและที่สำคัญ คือ ถ้ามีน้ำสามารถปลูกอ้อยได้เร็วโดยไม่ต้องรอฝน (ปลูกได้ก่อนสิ้นเดือน พฤษภาคม) ก็จะสามารถเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของอ้อยในเขตนี้ได้ เพราะอ้อยที่ปลูกล่า (หลังเดือนพฤษภาคม) ทั้งผลผลิต และคุณภาพจะต่ำ เพราะอายุอ้อยยังน้อยช่วงตัดเข้าโรงงาน วิธีการปลูกอ้อยในเขตนี้จะคล้ายกับ ในเขตชลประทาน จะแตกต่างก็เพียงระยะห่างระหว่างร่องในบางพื้นที่จะใช ้แคบกว่า คือ ประมาณ 0.9-1.2 เมตร เพราะอ้อยในเขตนี้จะแตกกอ น้อยกว่าการลดระยะแถวลง ทำให้สามารถเพิ่มจำนวนลำเก็บเกี่ยว อ้อยต่อพื้นที่ได้ และปัจจุบันเกษตรกรในหลายพื้นที่ (เช่น อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์) เปลี่ยนมาปลูกอ้อย แถวคู่ โดยใช้ระยะระหว่างคู่แถว 1.4-1.5 เมตร และระยะในคู่แถว 30-40 เซนติเมตร และได้ผลผลิตใกล้เคียงกับการปลูกแถวแคบ แต่การจัดการในไร่อ้อยจะสะดวกกว่า เพราะใช้เครื่องจักรเข้าทำงานได้


การปลูกอ้อยปลายฝน (ปลูกข้ามแล้ง)
เป็นการปลูกอ้อยโดยอาศัยความชื้นในดินช่วงปลายฤดูฝน เพื่อให้อ้อยงอกและเจริญเติบโตอย่างช้า ๆ ไปจนกว่าอ้อยจะ ได้รับน้ำฝนต้นฤดู เป็นวิธีการปลูกอ้อยที่ใช้ได้ผลในเขตปลูกอ้อย อาศัยน้ำฝนบางพื้นที่ที่ดินเป็นดินทราย หรือร่วนปนทราย และที่สำคัญ จะต้องมีปริมาณน้ำฝนไม่ต่ำกว่า 1,200 มิลลิเมตรต่อปี และมีการ กระจายตัวดี โดยเฉพาะในช่วงต้นฤดู (กุมภาพันธ์ ถึงเมษายน) จะต้องมีปริมาณฝนที่พอเพียงกับการเจริญเติบโตของอ้อยในช่วงแรก การเตรียมดินปลูกจะต้องไถเตรียมดินหลายครั้ง จนหน้าดินร่วนซุย (เพื่อตัด capillary pore) เป็นการรักษาความชื้นในดินชั้นล่าง หลังจาก เตรียมดิน ควรรีบยกร่องและปลูกให้เร็วที่สุด เพื่อให้ทันกับความชื้น และควรยกร่องปลูกวันต่อวัน

พันธุ์อ้อยที่ใช้ปลูกข้ามแล้ง จะเป็นพันธุ์ที่ค่อนข้างแก่ คือ อายุประมาณ 8-10 เดือน เกษตรกรนิยมปลูกอ้อยแบบทั้งลำ โดยจะชักร่องให้ลึก ระยะแถว 1.0-1.3 เมตร และวางลำอ้อยในร่องแล้วใช้จอบสับลำอ้อยเป็น 2-3 ส่วน กลบดินหนาประมาณ 10-15 เซนติเมตร และใช้เท้าเหยียบดิน ที่กลบให้แน่นพอประมาณ เพื่อให้ท่อนพันธุ์อ้อยสัมผัสกับดินชื้นมากที่สุด ปัจจุบันมีการใช้เครื่องปลูกในพื้นที่นี้มากขึ้น โดยจะตั้งเครื่องปลูกให้ลึก กว่าปกติ

ข้อดีของการปลูกอ้อยด้วยวิธีนี้ คือ
- อ้อยที่ปลูกโดยวิธีนี้จะมีอายุไม่น้อยกว่า 12 เดือน ในช่วงตัดอ้อยเข้าโรงงาน ทำให้ทั้งผลผลิตและคุณภาพ (ความหวาน) ดีกว่าอ้อยที่ปลูกต้นฝน
- ปัญหาเรื่องวัชพืชรบกวนอ้อยในช่วงแรกจะน้อย เพราะหน้าดิน จะแห้งอยู่ตลอดเวลา ในช่วงแรกของการเจริญเติบโต

ข้อเสียของการปลูกอ้อยวิธีนี้ คือ
- ถ้ามีฝนตกหลังปลูกหรือช่วงอ้อยยังเล็ก จะทำให้หน้าดินแน่น อ้อยเจริญเติบโตไม่ดี จำเป็นต้องมีการคราดหน้าดิน เพื่อไม่ให้หน้าดิน แน่นรัดหน่ออ้อย
- ในบางปีฝนต้นฤดูน้อย หรือมาล่า อาจทำให้อ้อยเสียหายได้


การปลูกซ่อม
การปลูกอ้อยเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงนั้น อ้อยปลูกจะต้องมีหลุมขาดหาย น้อยที่สุด และหลุมที่ขาดหายต่อเนื่องกันเกิน 1 หลุม อ้อยหลุมข้างเคียงจะ ไม่สามารถชดเชยผลผลิตได้ ดังนั้น ถ้ามีหลุมขาดหายต่อเนื่องกันมาก ควรมีการปลูกซ่อม และจะต้องปลูกซ่อมภายใน 20 วันหลังปลูก เพื่อให้อ้อยที่ปลูกซ่อมเจริญเติบโตทันอ้อยปลูกปกติ

สำหรับในอ้อยตอ ไม่แนะนำให้ปลูกซ่อม เพราะอ้อยที่ปลูกซ่อม ในอ้อยตอจะมีเปอร์เซ็นต์รอดน้อย และถึงจะรอดก็ไม่สมบูรณ์ เนื่องจากถูก กออ้อยข้างเคียงบังแสง ดังนั้น ในอ้อยตอที่มีหลุมตายหรือขาดหายมาก เกินกว่าที่หลุมข้างเคียงจะแตกกอชดเชยได้ ก็ควรจะรื้อตอและปลูกใหม่


การใช้ปุ๋ยเคมีและการจัดการดินอย่างมีประสิทธิภาพ
การใช้ปุ๋ยเคมีอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถลดต้นทุนการผลิตอ้อย มีหลักปฏิบัติ ดังนี้
1. การใส่ปุ๋ยให้ถูกต้องตรงต่อความต้องการทั้งชนิดและปริมาณ
2. ลดการสูญเสียปุ๋ย
3. ใช้ปุ๋ยราคาต่ำทดแทนปุ๋ยราคาแพง หรือผสมปุ๋ยใช้เอง
4. การปรับปรุงดินให้มีคุณสมบัติเหมาะสม


การใส่ปุ๋ยให้ถูกต้องตรงต่อความต้องการทั้งชนิดและปริมาณ
การใส่ปุ๋ยเคมีให้ได้ถูกต้องตรงกับชนิดดินและความต้องการของอ้อย เป็นการลดต้นทุนการผลิตได้อย่างดี การใส่ธาตุอาหารลงไปในดินโดยที่ดินนั้น ๆ มีธาตุอาหารเพียงพออยู่แล้ว จะเป็นการลงทุนที่เปล่าประโยชน์ นอกจากนี้ ปุ๋ยส่วนเกินความต้องการของอ้อยจะถูกชะล้างลงสู่ บ่อ คู คลอง และแหล่งน้ำใต้ดิน ก่อให้เกิดมลภาวะอย่างรุนแรงทั้งสิ้น สำหรับการปลูกอ้อย ในประเทศไทย พบว่า มีเกษตรกรชาวไร่อ้อยน้อยรายที่มีความรู้ความเข้าใจ เรื่องการใช้ปุ๋ยเคมี ดังนั้น ถ้าเรามีการใช้ปุ๋ยเคมีทั้งชนิดและอัตราที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยในไร่อ้อย เป็นการลดต้นทุนค่าปุ๋ย และลด มลภาวะที่จะเกิดจากการปนเปื้อนของปุ๋ยในอากาศ และน้ำ รวมทั้งลด ค่าใช้จ่ายการนำเข้าปุ๋ยจากต่างประเทศอีกด้วย การจะใช้ปุ๋ยให้ถูกต้องได้จะต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงลักษณะทางเคมีของดิน เพราะลักษณะทางเคมีของดินมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต และการ ให้ผลผลิตของอ้อยมากเนื่องจากเป็นลักษณะที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของดิน และปริมาณธาตุอาหารในดิน ที่จะเป็นประโยชน์แก่อ้อย รวมถึงความเป็นพิษ ของธาตุบางอย่างด้วย ลักษณะทางเคมีของดินที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของอ้อย ได้แก่ ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน ความเค็ม ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวก ความอิ่มตัวของด่าง ปริมาณอินทรีย์วัตถุในดิน และปริมาณของธาตุอาหารต่าง ๆ ในดิน คุณสมบัติทางเคมีของดินเหล่านี้ไม่สามารถบ่งบอกได้ด้วย การสัมผัสหรือดูด้วยตาเปล่า เหมือนคุณสมบัติทางกายภาพ


วิธีประเมินว่า ดินที่ปลูกอ้อยอยู่จะมีคุณสมบัติทางเคมีดีหรือเลวเพียงใด คือ
- การสังเกตอาการขาดธาตุอาหารของอ้อย วิธีนี้ต้องอาศัยความชำนาญ และประสบการณ์ มาวินิจฉัยอาการผิดปรกติที่ปรากฎที่ใบและต้นอ้อยว่า เป็นอาการขาดธาตุใด จึงสรุปได้ว่า ดินมีธาตุนั้นไม่เพียงพอต่อความต้องการ ของอ้อย

- การทดลองใส่ปุ๋ยให้กับอ้อย อาจทำในกระถาง หรือในไร่นา โดยเปรียบเทียบกับดินที่ไม่มีการใส่ปุ๋ย ถ้าอ้อยที่ใส่ปุ๋ยชนิดต่างๆ มีการเจริญเติบโตแตกต่างไปจากดินที่ไม่ได้ใส่ปุ๋ย แสดงว่าดินชนิดนั้นยังมีธาตุอาหารไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของอ้อย

- การวิเคราะห์ดิน โดยนำตัวอย่างดินมาตรวจสอบหาค่าต่าง ๆ วิธีนี้เป็นการประเมินที่ถูกต้องแม่นยำกว่าสองวิธีแรก แต่ชาวไร่ไม่สามารถปฏิบัติได้ด้วยตนเอง ต้องส่งตัวอย่างดินไปยังหน่วย บริการต่างๆ ซึ่งจะใช้วิธีการทางเคมี วิเคราะห์องค์ประกอบของดิน ในส่วนที่เป็นธาตุอาหาร เพื่อประเมินว่า ดินนั้นขาดธาตุใดบ้าง และควร บำรุงดินอย่างไรจึงจะเหมาะสม

- การวิเคราะห์พืช วิธีนี้เป็นวิธีที่ถูกต้องแม่นยำที่สุด แต่ปฏิบัติได้ ยุ่งยากกว่า มีวิธีการเช่นเดียวกับการวิเคราะห์ดิน คือ นำตัวอย่างพืช มาใช้วิธีการทางเคมีแยกองค์ประกอบของเนื้อเยื่อพืช เพื่อให้ทราบว่า มีธาตุอาหารใดสูงต่ำมากน้อยเพียงใด แล้วนำมาเทียบกับค่าวิกฤต แล้วจึง ประเมินเป็นปริมาณธาตุอาหารที่จะต้องใส่ให้แก่อ้อย
วิธีที่เหมาะสมสำหรับชาวไร่อ้อย น่าจะเป็นวิธีวิเคราะห์ดิน ซึ่งมี หน่วยงานรับบริการวิเคราะห์ทั้งทางราชการและเอกชน อีกทั้งมีเครื่องมือ ที่ทันสมัยขึ้น ทำให้วิเคราะห์ได้รวดเร็วกว่าสมัยก่อนมาก การวิเคราะห์ดิน จะมีวิธีดำเนินการ 4 ขั้นตอน คือ

1. การเก็บตัวอย่างดิน การเก็บตัวอย่างดินให้ได้ตัวอย่าง ซึ่งเป็น ตัวแทนของพื้นที่ เป็นขั้นตอนแรกที่มีความสำคัญที่สุด เกษตรกรผู้เก็บ ตัวอย่างดินต้องเข้าใจวิธีการและขั้นตอนการปฏิบัติโดยใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ตัวอย่างดินที่ดี ค่าวิเคราะห์ที่ไม่ผิดพลาด

2. การวิเคราะห์ดินในห้องปฏิบัติการ ได้จากการนำตัวอย่างดิน ที่เก็บมาส่งไปวิเคราะห์ เป็นหน้าที่ของนักวิทยาศาสตร์ที่จะวิเคราะห์ดิน ด้วยวิธีมาตรฐาน เพื่อให้ได้ค่าวิเคราะห์ถึงคุณสมบัติทางเคมีของดิน เพื่อความถูกต้องของข้อมูล

3. การแปลความหมายของผลการวิเคราะห์ดิน เป็นการนำข้อมูลที่ได ้จากการวิเคราะห์มาเทียบเคียงปริมาณการใช้ธาตุอาหารต่าง ๆ ของอ้อย แล้วแปลข้อมูลนั้นว่า ดินที่วิเคราะห์มีความอุดมสมบูรณ์ ต่ำ ปานกลาง หรือสูง

4. การให้คำแนะนำการปฏิบัติหรือใส่ปุ๋ยเพื่อปรับปรุงดิน จากผลการ แปลความหมายข้างต้น นักวิชาการเกษตร จะให้คำแนะนำแก่ชาวไร่อ้อย เจ้าของตัวอย่างดินว่า หากประสงค์จะปลูกอ้อยให้ได้ผลดี ควรใช้ปูน เพื่อสะเทินกรดในดินอัตรากี่กิโลกรัมต่อไร่ ควรใช้ปุ๋ยสูตรใด อัตราใด และใส่อย่างไร จึงจะให้ผลดีต่อพืชที่ปลูก


การใช้ปุ๋ยในกรณีที่ไม่มีการวิเคราะห์ดิน
- การใช้ปุ๋ยเคมีกัยที่ปลูกในดินเหนียวกับดินร่วน
ดินลักษณะนี้มักจะมีธาตุฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมอยู่บ้าง จึงเน้นหนักทางด้านธาตุไนโตรเจน ซึ่งสามารถแนะนำเป็นปุ๋ยเคมีสูตร 14-14-14 , 15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตรา 40-50 กิโลกรัมต่อไร่ โดยใส่ครั้งแรกหลังปลูก 1 เดือน หรือหลังแต่งตอทันที ใส่ครั้งที่ 2 หลังปลูกหรือแต่งตอ 2-3 เดือน

ถ้าไม่สะดวกที่จะใช้ปุ๋ยสูตรที่กล่าวมานี้ อาจใช้ปุ๋ยสูตรอื่นที่หา ได้ตามท้องตลาด เช่น 16-8-8, 20-10-10, 16-6-6, 18-6-6, 18-8-8, หรือ 25-7-7 อัตรา 70-90 กิโลกรัมต่อไร่ โดยแบ่งครึ่ง ใส่หลังปลูกหรือหลังแต่งตอทันที ส่วนอีกครึ่งหนึ่งใส่หลังปลูกหรือหลังแต่งตอ 2-3 เดือน

ถ้าพื้นที่ปลูกมีน้ำชลประทาน ควรเพิ่มปุ๋ยยูเรีย อัตรา 15-20 กิโลกรัมต่อไร่ หรือปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต อัตรา 25-30 กิโลกรัมต่อไร่ ในการใส่ครั้งที่ 2

-การใช้ปุ๋ยเคมีกับอ้อยในดินทราย
ดินทรายมักจะขาดธาตุโพแทสเซียม เนื่องจากถูกชะล้างจาก อนุภาคดินได้ง่ายจึงแนะนำให้ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-12-12, 13-13-13 หรือ 14-14-21 อัตรา 40-60 กิโลกรัมต่อไร่ โดยใส่พร้อมปลูก หรือหลังแต่งตอ 20 กิโลกรัม ส่วนที่เหลือใส่ครั้งที่ 2 ร่วมกับปุ๋ยสูตร 21-0-0 อัตรา 30-40 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ 46-0-0 อัตรา 15-20 กิโลกรัม ต่อไร่ โดยใส่หลังปลูกหรือหลังแต่งตอ 60 วัน อาจใช้ปุ๋ยสูตรอื่นที่มีขายตามท้องตลาดได้ เช่น 16-8-14, 15-5-20 หรือ 16-11-14 โดยใส่ในอัตราเดียวกัน คือ 40-60 กิโลกรัมต่อไร่

สำหรับอ้อยที่มีน้ำชลประทานให้เพิ่มปุ๋ยยูเรีย อัตรา 15-20 กิโลกรัมต่อไร่ หรือปุ๋ยแอมโมเนียซัลเฟต อัตรา 25-30 กิโลกรัมต่อไร่ ในการใส่ครั้งที่ 2 เช่นเดียวกับในสภาพดินเหนียวและดินร่วน

- การใช้ปุ๋ยแบบเจาะจงเฉพาะพื้นที่
ปััจจุบันได้มีความพยายามให้มีการใช้ปุ๋ยเคมีให้เฉพาะเจาะจงต่อ ความต้องการของอ้อย และคุณสมบัติของดินมากยิ่งขึ้น ได้พัฒนาระบบ คำแนะนำการใช้ปุ๋ยเคมีในการผลิตอ้อย โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ โปรแกรมดังกล่าวจะสามารถบอกได้ว่าในพื้นที่ปลูกอ้อยของจังหวัดต่าง ๆ หรือจุดที่ทำไร่อ้อยอยู่นั้นอยู่บนกลุ่มชุดดินอะไร มีคุณสมบัติอย่างไร หรือมีความอุดมสมบูรณ์มากแค่ไหน ประกอบด้วยธาตุอาหารอ้อยอะไรบ้าง และควรจะใส่ปุ๋ยเคมีชนิดไหนบ้างในอัตราเท่าไร เช่น จังหวัดเพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ พื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นดินทราย อยู่ในกลุ่มชุดดินที่ 35 และ 35/36 คล้ายคลึงกับดินที่ปลูกอ้อยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือชุดดินมาบบอน ชุดดินปราณบุรี และชุดดินโคราช หน่วยแผนที่ดินใน กลุ่มนี้มีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย ส่วนดินล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนดินทราย มีสีน้ำตาล สีเหลือง หรือแดง ส่วนมากเกิดจากดินพวกตะกอนลำน้ำ หรือการสลายตัวผุพังของเนื้อหินหยาบ พบบริเวณพื้นที่ดอนที่เป็น ลูกคลื่นลอนลาดถึงลอนชัน เป็นดินลึกมีการระบายน้ำดี คุณสมบัต ิทางกายภาพทำให้ดินดังกล่าวเหมาะสำหรับการปลูกอ้อย อย่างไรก็ตาม ดินกลุ่มนี้มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติค่อนข้างต่ำถึงปานกลาง ดังนั้น การเพิ่มเติมธาตุอาหารให้แก่อ้อยยังมีความจำเป็น การมีเนื้อดินบน ค่อนข้างเป็นทราย ทำให้ดินอุ้มน้ำได้น้อย อ้อยอาจขาดแคลนน้ำ ได้ในช่วงฝนทิ้งช่วง


การลดการสูญเสียปุ๋ย
ปุ๋ยเคมีที่ใส่ให้แก่อ้อย โดยเฉพาะไนโตรเจนมีการสูญเสียได้หลายทาง เนื่องจากกระบวนการต่าง ๆ ที่ใส่ลงไปในดิน ฟอสฟอรัสเองก็ถูกตรึง ให้อยู่ในสภาพที่ไม่เป็นประโยชน์ อ้อยดูดไปใช้ได้ไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ ของปุ๋ยฟอสฟอรัสที่ใส่ให้แก่อ้อย การสูญเสียของธาตุอาหารที่ใส่ลงไปในดิน โดยที่อ้อยไม่ได้นำไปใช้ ถือได้ว่าเป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายโดยไม่ก่อ ประโยชน์ ถ้าสามารถลดการสูญเสียลงได้ จะเป็นการลดต้นทุนการผลิต ทำให้ใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

เมื่อเราใส่ปุ๋ยไนโตรเจนลงในดิน ปุ๋ยจะได้รับความชื้นแล้วละลาย พร้อมทั้งแตกตัวเป็นไอออน (NH4+, NO3-) ที่พืชสามารถดูดไป ใช้ได้พร้อมทั้งเกิดการสูญเสียตลอดเวลาโดยกระบวนการต่าง ๆ เช่น

1. กระบวนการชะล้าง (run off) ถ้าให้น้ำมากๆ หรือ ฝนตกชุกจะพัดพาปุ๋ยไหลบ่าออกไปจากแปลง

2. กระบวนการชะปุ๋ยลงลึกเลยรากอ้อย (leaching) เกิดในสภาพที่ฝนตกชุกหรือให้น้ำมาก ๆ และดินมีอัตราการซึมน้ำสูง น้ำจะพาปุ๋ยลงลึกจนเลยรากอ้อยไป

3. กระบวนการระเหิด (volatilization) ไนโตรเจน ในรูปของไอออน NH4+ จะเปลี่ยนรูปเป็นก๊าซแอมโมเนีย ระเหยขึ้นสู่อากาศ

4. กระบวนการระเหย (denitrification) มักเกิดใน สภาพน้ำขัง หรือดินอิ่มตัวด้วยน้ำแล้วขาดออกซิเจน ไนโตรเจน จะ เปลี่ยนรูปเป็นก๊าซลอยไปในอากาศ

5. กระบวนการสูญเสียชั่วคราว (immobilization) เกิดขึ้นมาก ในดินที่มีเศษซาก พืชที่ยังไม่ย่อยสลายมาก ๆ เมื่อซากพืชเหล่านี้อยู่ในดิน จุลินทรีย์จะย่อยสลายแล้วเพิ่มปริมาณตัวเองอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ เพิ่มปริมาณจะดูดดึงเอาไนโตรเจนจากดินและปุ๋ยไปใช้ด้วย จึงทำให้อ้อย ขาดไนโตรเจนต่อเมื่อซากพืชถูกย่อยสลายหมด จุลินทรีย์ขาดอาหารจึงตายลง พร้อมทั้งปลดปล่อยไนโตรเจนออกมาใหม่ จะสังเกตได้ว่า ถ้าปลูกอ้อย ลงไปในดินที่ไถกลบซากพืชใหม่ ๆ อ้อยจะเหลือง หรือแม้กระทั่ง อ้อยตอที่มีใบและเศษซากอ้อยที่ยังไม่สลายตัว ทำให้อ้อยตอไม่เขียว เหมือนอ้อยปลูกเพราะขาดไนโตรเจน จึงแนะนำให้เพิ่มอัตรา ไนโตรเจนในอ้อยตอ


นอกจากกระบวนการทั้ง 5 แล้วไนโตรเจนจากปุ๋ยยังอาจถูกดูดยึดไว้ใน ดินจนอ้อยไม่สามารถดูดมาใช้ได้ จากงานวิจัยของหลาย ๆ ประเทศ พบว่า อ้อยดูดใช้ธาตุอาหารได้ไม่ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ของปุ๋ยที่ใส่ลงไป เพื่อเป็นการประหยัดจึงควรลดการสูญเสียปุ๋ย โดยการปฏิบัติดังนี้

1. อย่าใส่ปุ๋ยลงผิวดิน ควรใส่ฝังลงในดินหรือมีการกลบปุ๋ย
2. หลังใส่ปุ๋ยแล้ว อย่าให้น้ำขัง ควรมีการระบายน้ำ
3. ใส่ปุ๋ยในขณะดินมีความชื้น หรือให้น้ำตามทันทีเพื่อให้ปุ๋ยละลาย อ้อยดูดไปใช้ได้ง่าย จะลดการสูญเสียได้มาก
4. อย่าปลูกอ้อยทันทีหลังจากไถกลบใบและเศษซากอ้อย ทิ้งให้ใบย่อยสลายก่อนจึงปลูกอ้อยแล้วใส่ปุ๋ย
5. อย่าให้น้ำมากเกินความจำเป็น


การใช้ปุ๋ยราคาต่ำทดแทนปุ๋ยราคาแพงหรือผสมปุ๋ยใช้เอง
ชาวไร่อ้อยไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยเคมีราคาแพง ๆ เสมอไป อาจใช้ปุ๋ยอื่น ๆ ที่มีปริมาณธาตุอาหารใกล้เคียงกันแต่ราคาถูกกว่ามาใช้แทนกันได้ เช่น การใช้ปุ๋ยน้ำจากโรงงานผงชูรส ซึ่งมีไนโตรเจนประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ ถ้าใช้ในอัตราแนะนำ 600 ลิตรต่อไร่ ก็จะได้ไนโตรเจนถึง 18 กิโลกรัม เท่ากับไนโตรเจนจากปุ๋ย 15-15-15 ถึง 120 กิโลกรัม แต่ราคาจะถูกกว่ามาก การผสมปุ๋ยใช้เอง สามารถประหยัดได้ถึงตันละ 1,000-2,000 บาท และยังมีข้อดีอื่น ๆ อีก เช่น

- ตัดปัญหาเรื่องปุ๋ยปลอม หรือปุ๋ยไม่ได้มาตรฐาน
- มีปุ๋ยใช้ทันเวลา
- มีอำนาจในการต่อรองราคา
- เกิดความรู้ความชำนาญ สามารถปรับสูตรได้
- ได้ใช้ปุ๋ยในราคายุติธรรม
- กรณีเกิดการสูญเสีย จะสูญเสียน้อยกว่า เพราะลงทุนถูกกว่า
- มีทางเลือกเพิ่มขึ้น


การปรับปรุงดินให้มีลักษณะเหมาะสม
การรปรับปรุงดินให้เหมาะสมจะทำให้การใช้ปุ๋ยเคมีมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ลดการใช้ปุ๋ยลงไปได้มาก ขณะที่ปัจจุบันดินที่ใช้ในการทำไร่อ้อย เสื่อมสภาพลงมาก เนื่องมาจากการไถพรวนบ่อยครั้งโดยไม่ถูกวิธี และไม่ถูกจังหวะ การเผาอ้อย การใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ น้ำหนัก มากเหยียบย่ำในแปลง ซึ่งมีวิธีการปฏิบัติที่จะปรับปรุงดินได้ดังนี้้

* การแก้ไขเฉพาะหน้าในกรณีเกิดปัญหาดินดาน
1. ถ้าเกิดดินดานให้ใช้ไถสิ่ว หรือไถเปิดดินดานติดรถแทรกเตอร์ตีน ตะขาบที่มีกำลังสูงลากไถสิ่วคู่ระยะ 1 เมตร ไถลึกประมาณ 75 ซม. การไถควรทำขณะที่ดินแห้งจัด

2. อย่าเตรียมดินโดยการไถพรวนจนละเอียดเป็นฝุ่น

3. เตรียมดินโดยใช้ไถจานกับไถหัวหมูสลับกันบ้าง

4. อย่าเผาใบอ้อย เพราะเป็นการทำให้อินทรียวัตถุ หมดไปอย่างรวดเร็ว

5. ควรเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน โดยการใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด หรือเศษของเหลือจากโรงงานน้ำตาล เช่น ชานอ้อย หรือกากตะกอนหม้อกรอง


* การปรับปรุงดินโดยการปลูกพืชตระกูลถั่วแล้วไถกลบ
การปลูกพืชตระกูลถั่วแล้วไถกลบก่อนปลูกอ้อย นิยมปฏิบัต ิกันมานานแล้วในประเทศ ออสเตรเลีย ไต้หวัน และแอฟริกา ซึ่งมี วิธีการปฏิบัติดังนี้

1. เมื่อผลผลิตอ้อยตอ 3 ถึง ตอ 4 ลดลง ทำการไถรื้อตอ

2. หว่านเมล็ดโสนอัฟริกัน โสนอินเดีย ปอเทือง ถั่วพร้า ถั่วพุ่ม หรือถั่วแปยี

3. หลังจากนั้นประมาณ 2 เดือน หรือเมื่อถั่วออกดอก ใช้จอบหมุนตีกลบ ทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือน

4. ทำการเตรียมดินปลูกอ้อยตามปกติ


* การปลูกถั่วเหลืองสลับกับการปลูกอ้อย
การปลูกพืชตระกูลถั่วก่อนปลูกอ้อยทำให้คุณสมบัติทางเคมี และกายภาพของดินดีขึ้น ช่วยลดความหนาแน่นของดิน เพิ่มปริมาณ อินทรียวัตถุและไนโตรเจน ทำให้ช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้ รวมทั้งยังช่วย ลดการระบาดของโรคและแมลง พืชที่เหมาะสมที่จะปลูกสลับกับอ้อย คือ ถั่วเหลือง เนื่องจากถั่วเหลืองสามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศ และปลดปล่อยให้แก่ดินถึง 49.6 กิโลกรัมต่อไร่ ทำให้ลดการใช้ปุ๋ยเคมี ไนโตรเจนลงได้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ ผลผลิตของถั่วเหลืองแล้ว อ้อยที่ปลูกตามหลังถั่วเหลืองมีผลผลิตเพิ่มขึ้น


การให้น้ำเพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อย
น้ำเป็นปัจจัยการผลิตหลักที่มีผลต่อการเพิ่มผลผลิตอ้อย หากอ้อยได้รับน้ำอย่างเพียงพอตลอดช่วงการเจริญเติบโต ผลผลิตอ้อยจะได้ไม่ต่ำกว่า 15 ตันต่อไร่ อ้อยต้องการน้ำเพื่อใช้ ในการเจริญเติบโตและสร้างน้ำตาล อ้อยที่ขาดน้ำจะเจริญเติบโตช้า ผลผลิตต่ำ และให้ความหวานต่ำ

พื้นที่เพาะปลูกอ้อยส่วนใหญ่อยู่ในเขตอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก มีเพียงส่วนน้อยที่อยู่ในเขตชลประทาน อ้อยต้องการน้ำเพื่อการเจริญเติบโตตลอดปี ประมาณ 1,500 มิลลิเมตร การเพิ่มผลผลิตอ้อยให้สูงขึ้นจึงจำเป็นต้องให้น้ำชลประทานหรือน้ำบาดาลช่วย การให้น้ำแก่อ้อยจะทำให้ความสามารถในการไว้ตอดีขึ้น เป็นการลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มรายได้ให้แก่ชาวไร่อีกทางหนึ่ง

ความต้องการน้ำและการตอบสนองต่อการให้น้ำของอ้อย
การผลิตอ้อยให้ได้ผลผลิตสูงนั้น อ้อยจะต้องได้รับน้ำ (น้ำฝน/ชลประทาน) อย่างเพียงพอ ตลอดระยะเวลาการเจริญเติบโต ความต้องการน้ำของอ้อยจะขึ้นกับสภาพภูมิอากาศ และช่วงระยะ การเจริญเติบโต ได้แบ่งระยะความต้องการน้ำของอ้อยไว้ 4 ระยะ คือ

1. ระยะตั้งตัว (0-30 วัน) เป็นระยะที่อ้อยเริ่มงอกจนมีใบจริง และเป็นตัวอ่อน ระยะนี้อ้อยต้องการน้ำในปริมาณไม่มาก เพราะรากอ้อยยังสั้นและการคายน้ำยังมีน้อย ดินจะต้องมีความชื้น พอเหมาะกับการงอก ถ้าความชื้นในดินมากเกินไปตาอ้อยจะเน่า ถ้าความชื้นในดินน้อยเกินไป ตาอ้อยจะไม่งอก หรือถ้างอกแล้ว ก็อาจจะเหี่ยวเฉาและตายไป ในสภาพดินที่เมื่อแห้งแล้ว ผิวหน้าฉาบเป็นแผ่นแข็ง ก็อาจทำให้หน่ออ้อยไม่สามารถแทงโผล่ขึ้นมาได้ ดังนั้น ในระยะนี้การให้น้ำอ้อยควรให้ในปริมาณน้อยและบ่อยครั้ง เพื่อทำให้สภาพความชื้นดินเหมาะสม

2. ระยะเจริญเติบโตทางลำต้น (31-170 วัน) ระยะนี้รากอ้อยเริ่มแพร่กระจายออกไปทั้งในแนวดิ่งและแนวระดับ เป็นระยะที่อ้อยกำลังแตกกอและสร้างปล้องเป็นช่วงที่อ้อยต้องการน้ำมาก ถ้าอ้อยได้รับน้ำในปริมาณที่เพียงพอในระยะนี้ จะทำให้อ้อยมีจำนวน ลำต่อกอมาก ปล้องยาว ทำให้อ้อยมีลำยาว และผลผลิตสูง การให้น้ำ จึงต้องให้บ่อยครั้ง

3. ระยะสร้างน้ำตาลหรือช่วงสร้างผลผลิต (171-295 วัน) ช่วงนี้พื้นที่ใบอ้อยที่ใช้ประโยชน์ได้จะน้อยลง อ้อยจะคายน้ำน้อยลง และตอบสนองต่อแสงแดดน้อยลง จึงไม่จำเป็นต้องให้น้ำบ่อย ให้เฉพาะช่วงที่อ้อยเริ่มแสดงอาการขาดน้ำ

4. ระยะสุกแก่ (296-330 วัน) เป็นช่วงที่อ้อยต้องการน้ำน้อย และในช่วงก่อนเก็บเกี่ยว 6-8 สัปดาห์ ควรหยุดให้น้ำ เพื่อลดปริมาณน้ำ ในลำต้นอ้อยและบังคับให้น้ำตาลทั้งหมดในลำอ้อยเปลี่ยนเป็นน้ำตาลซูโครส ความต้องการน้ำของอ้อยในแต่ละช่วงระยะการเจริญเติบโต


ข้อพิจารณาในการให้น้ำแก่อ้อย
การพิจารณาว่าเมื่อใดควรจะถึงเวลาให้น้ำแก่อ้อย และจะให้น้ำครั้งละ ปริมาณเท่าใด มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องคือ

- ระยะการเจริญเติบโต ความต้องการน้ำของอ้อย ปริมาณน้ำที่ให้แก่อ้อยจะมากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับระยะการเจริญเติบโต อัตราความต้องการใช้น้ำ ความลึกที่รากหยั่งลงไปถึง อ้อยจะเจริญเติบโตได้ดีก็ต่อเมื่อความชื้นในดินเหมาะสม ถ้ามีความชื้นในดินสูงหรือต่ำมากเกินไป อ้อยจะเจริญเติบโตผิดปกติ เมื่อดินมีน้ำมากจะทำให้ขาดออกซิเจน โดยทั่วไปถ้าในดินมีอากาศอยู่ต่ำกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ รากอ้อยจะชะงักการดูดธาตุอาหาร น้ำและออกซิเจน เป็นเหตุให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ถ้าขาดน้ำใบจะห่อในเวลากลางวัน

- คุณสมบัติทางกายภาพของดิน เช่น ความสามารถของ ดินในการซับน้ำ ดินต่างชนิดกันย่อมมีคุณสมบัติดูดซับน้ำได้ ไม่เหมือนกันสำหรับดินที่สามารถซับน้ำไว้ได้มากไม่จำเป็นต้องให้น้ำบ่อยครั้งเหมือนดินที่มีเนื้อหยาบและซับน้ำได้น้อย ดินเหนียวจะมีความชื้นอยู่มากกว่าดินทราย ดังนั้น หลักการให้น้ำแก่ อ้อยที่ถูกต้อง คือ ให้น้ำตามที่อ้อยต้องการ ส่วนปริมาณน้ำที่จะให้ แต่ละครั้งมากน้อยเท่าไร และใช้เวลานานเท่าใด ย่อมขึ้นอยู่กับ คุณสมบัติทางกายภาพของดินซึ่งไม่เหมือนกัน

- สภาพลมฟ้าอากาศ อุณหภูมิของอากาศ การพิจารณา การให้น้ำแก่อ้อยจะต้องพิจารณาถึง อุณหภูมิและสภาพลมฟ้าอากาศด้วย ในช่วงที่มีอุณหภูมิสูงอ้อยจะคายน้ำมาก ความต้องการน้ำจะมากตามไปด้วย จำเป็นต้องให้น้ำบ่อยขึ้น ในช่วงที่มีฝนตกควรงดให้น้ำ และหาทาง ระบายน้ำแทน เพื่อให้ดินมีความชื้นและอากาศในดินเหมาะสม ในช่วงฝนทิ้งช่วงควรให้น้ำช่วยจะทำให้การเจริญเติบโตของอ้อยดีขึ้น
ระบบการให้น้ำอ้อย

การเลือกระบบการให้น้ำอ้อยที่เหมาะสม ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ชนิดของดิน ความลาดเอียงของพื้นที่ ต้นทุน และความพร้อมในการนำน้ำมาใช้ รวมทั้งความพร้อมในด้านแรงงาน และอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร ในการให้น้ำ ระบบการให้น้ำอ้อย ในปัจจุบันที่ใช้กันอยู่ทั้งในและต่างประเทศมีดังนี้

1. การให้น้ำแบบร่อง (Furrow irrigation)
เป็นระบบการให้น้ำที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในและต่างประเทศ เพราะเป็นระบบที่ใช้ต้นทุนต่ำ สะดวกและง่ายในการปฏิบัติ แต่ก็ม ีข้อจำกัดอยู่ที่แปลงปลูกอ้อยจะต้องค่อนข้างราบเรียบ โดยมีความลาดชัน ไม่เกิน 3 เปอร์เซ็นต์ ประสิทธิภาพของการให้น้ำแบบร่องจะผันแปร อยู่ระหว่าง 30-90 เปอร์เซ็นต์ และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพ การให้น้ำได้โดยการจัดการที่ถูกต้องและเหมาะสม โดยปกติการให้น้ำ ระบบนี้จะมีร่องน้ำที่หัวแปลงหรืออาจใช้ท่อหรือสายยางที่มีช่องเปิดให้น้ำไหล เข้าร่องอ้อยแต่ละร่อง เมื่อน้ำไหลไปจนสุดร่องแล้ว อาจยังคงปล่อยน้ำ ต่อไปอีกเพื่อให้น้ำซึมลงในดินมากขึ้นน้ำ ที่ท้ายแปลงอาจระบายออก หรือเก็บรวบรวมไว้ในบ่อพักเพื่อนำกลับมาใช้อีก ในแปลงอ้อยที่มี ความลาดชันน้อยมาก (ใกล้ 0 เปอร์เซ็นต์) สามารถจัดการให้น้ำโดย ไม่มีน้ำเหลือทิ้งท้ายแปลงได้ โดยปรับสภาพพื้นที่ให้มีความลาดชันน้อยที่สุด หรือเป็นศูนย์และทำคันกั้นน้ำตลอดท้ายแปลง น้ำที่ให้ไปสุดท้ายแปลง จะถูกดักไว้โดยคันกั้นน้ำ ทำให้น้ำมีเวลาซึมลงในดินมากขึ้น วิธีนี้จะ เหมาะกับดินที่มีการซึมน้ำช้า และน้ำที่จะให้มีจำกัด

แม้ว่าการให้น้ำระบบร่องจะใช้ได้กับพื้นที่มีความลาดเอียงไม่เกิน 3 เปอร์เซ็นต์ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะใช้กับพื้นที่ที่มีความลาดเอียงไม่เกิน 1 เปอร์เซ็นต์ สำหรับความยาวร่องที่ใช้มีตั้งแต่ 25 เมตร ถึง 1,000 เมตร รูปร่าง ของร่องและอัตราการไหลของน้ำ ขึ้นกับชนิดของดินและความลาดชัน ของพื้นที่ สำหรับดินที่มีความสามารถ ในการซึมน้ำได้ดี ควรใช้ร่องปลูกรูปตัว ‘V' และมีสันร่องกลาง เพื่อให้น้ำไหลได้เร็วและลดการสูญเสียน้ำ จาก การซึมลึกในแนวดิ่ง ในทางกลับกันสำหรับดินที่มีการซึมน้ำเลว ควรใช้ ร่องที่มีก้นร่องกว้างและสันร่องแคบ เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวสัมผัสของดินกับน้ำ ทำให้น้ำซึมลงดินได้ทั่วถึง

2. การให้น้ำแบบพ่นฝอย (Sprinkler irrigation การให้น้ำแบบนี้ใช้ได้กับทุกสภาพพื้นที่และทุกชนิดดิน ประสิทธิภาพ ในการใช้น้ำอาจเกิน 75 เปอร์เซ็นต์ได้ ถ้ามีการจัดการที่ถูกต้องและ เหมาะสม การให้น้ำแบบนี้มีหลายรูปแบบ เช่น

- สปริงเกอร์หัวใหญ่ ต้องใช้ปั๊มน้ำแรงดันสูงและมีทางวิ่งถาวร ในแปลงอ้อย

- สปริงเกอร์แบบหัวเล็กเคลื่อนย้ายได้ ใช้สำหรับอ้อยปลูกหรือ อ้อยตออายุน้อย และปริมาณน้ำที่ให้มีจำกัด มีข้อเสียคือ ต้องใช้ แรงงานมากในการเคลื่อนย้าย และไม่สามารถใช้กับอ้อยสูงได้

- สปริงเกอร์แบบหัวเล็กบนแขนระนาบ (Lateral move irrigators) ข้อดีคือสามารถให้น้ำในพื้นที่ขนาดใหญ่อย่างมีประสิทธิภาพ และใช้แรงงานน้อย แต่มีข้อเสียคือใช้ต้นทุนสูงสำหรับอุปกรณ์และเครื่องมือ

- สปริงเกอร์แบบหัวเล็กขนแขนที่เคลื่อนเป็นวงกลมรอบจุดศูนย์กลาง (Centre-pivot irrigators)


3. การให้น้ำแบบน้ำหยด (Drip irrigation)
เป็นวิธีการให้น้ำที่มีประสิทธิภาพในการให้น้ำสูงสุด โดยสามารถให้น้ำเฉพาะรอบ ๆ รากพืช และสามารถให้ปุ๋ยและสารเคมี ป้องกันกำจัดศัตรูพืชไปพร้อมกับน้ำได้เลย ปัจจุบันมีใช้กันอยู่ 2 แบบ คือ

- ระบบน้ำหยดบนผิวดิน (Surface system) ระบบนี้จะวางสายให้น้ำบนผิวดินในแนวกึ่งกลางร่อง หรือข้าร่อง อาจวางทุกร่องหรือร่องเว้นร่อง

- ระบบน้ำหยดใต้ผิวดิน (Subsurface system) ระบบนี้จะต้องวางสายให้น้ำก่อนปลูก โดยปกติจะฝังลึกประมาณ 25-30 ซม. และสายให้น้ำจะอยู่ใต้ท่อนพันธุ์อ้อยประมาณ 10 ซม.



http://it.doa.go.th/vichakan/news.php?newsid=13


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 19/11/2010 7:18 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
A_Chumphae
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 10/10/2010
ตอบ: 153

ตอบตอบ: 19/11/2010 5:07 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

โห ..... ลุงคิมยัดข้อมูลทีเดียวแน่นเปรี้ยเลยหรอครับ......อ่านซะตาลายเลย
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 19/11/2010 6:53 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ค่อยๆ อ่านไป อ่านช้าๆ อ่านซ้ำ อ่านหลายๆ รอบ....นอกจากเว้บนี้แล้ว ตามไปอ่านเว้บอื่นอีก....

อ่านแล้วจินตนาการมองหาความเป็นไปได้ หรือเป็นไปไม่ได้...

ธรรมชาติ COPY ไม่ได้ แต่ APPLY ได้.....



ถือหลัก จะปลูกอ้อย....

รู้เรื่องอ้อย......ให้กระจ่าง......แต่อย่างเดียว
แต่ให้เชี่ยว......ชาญเถิด.......จะเกิดผล


ไม่ว่าอ้อยโรงงาน หรืออ้อยเคี้ยว น้ำสำคัญกว่าปุ๋ย เปอร์เซ้นต์ปุ๋ยแค่ปุ๋ยน้ำชีวภาพ
ก็พอแล้ว ไม่ต้องถึงระดับเปอร์เซ็นต์ปุ๋ยเคมีหรอก


ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 19/11/2010 7:26 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ความต้องการธาตุอาหารของอ้อย

ปริมาณความต้องการธาตุอาหารในระยะต่างๆ ของการเจริญเติบโตของอ้อย


ระยะที่ 1
หน่ออ้อยที่เจริญมาจากท่อนพันธุ์ อัตราการเจริญช้ามากเพราะต้องอาศัยระบบรากที่แทงออกมาจากท่อนพันธุ์ การหาน้ำและธาตุอาหารในช่วงแรกจึงเกิดขึ้นในอัตราต่ำ (ส่วนใหญ่อาศัยน้ำและอาหารจากท่อนพันธุ์)

ระยะที่ 2
หน่ออ้อยอายุ 2-3 เดือน หลังจากปลูกมีระบบรากแท้ที่สมบูรณ์ สามารถหาน้ำและอาหารจากดินมาใช้ได้ หน่อเริ่มพัฒนาระบบรากแล้ว จึงควรได้รับธาตุอาหารพวก ไนโตรเจนและฟอสฟอรัสอย่างเพียงพอ

ระยะที่ 3
หลังจากอ้อยอายุ 4 เดือน อ้อยมีอัตราการเจริญเติบโตเร็วมาก เริ่มย่างปล้อง เพิ่มจำนวนปล้อง สร้างใบใหม่ ถ้าต้องการให้มีลำยาวต้องเร่งธาตุอาหารพวกไนโตนเจนเป็นหลัก เสริมด้วยฟอสฟอรัส และโปแตสเซี่ยม ("ยูเรก้า" มี 21-7-14 + ยูเรีย.+ ฯลฯ สูตรนี้ใช้ได้เลย....ลุงคิม)

ระยะที่ 4
อ้อยโตเต็มที่อายุประมาณ 10 เดือน อ้อยจะหยุดการเจริญเติบโตทางลำต้น และเริ่มสะสมน้ำตาลในปล้อง ดินควรมีไนโตนเจนน้อย และควรมีโปแตสเซี่ยมและน้ำพอประมาณ (ให้ "ขี้ค้างคาวหมักชีวภาพพร้อมน้ำ" รอบสุดท้าย แล้วงดน้ำรอวันตัด แค่นี้ CCS ก็ทะลุแล้ว....ลุงคิมครับผม)


การประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน
มีอยู่ 5 วิธี
- ดูจากอาการผิดปกติของพืช
- วิเคราะห์ดิน
- วิเคราะห์พืช
- การใส่ธาตุอาหารควบทุกตัว ยกเว้นธาตุที่จะศึกษา
- การตอบสนองต่อพืชโดยการใส่ปุ๋ยแบบคร่าว ๆ
- ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ

ขาดธาตุอาหาร
- ขาดธาตุหลัก
- ขาดธาตุรอง
- ขาดจุลธาตุ
- ธาตุไม่สมดุล
- สาเหตุที่ทำให้ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ

วัตถุต้นกำเนิดดินมีธาตุอาหารน้อย
- มีการสูญเสียธาตุอาหารมากแต่ได้คืนน้อย
- ธาตุอาหารในดินอยู่ในรูปที่พืชใช้ไม่ได้
- การสูญเสียธาตุอาหารจากดิน

ธาตุอาหารในดิน
- พืชดูดไปใช้
- ถูกชะล้าง-กร่อน
- เป็นแก๊ส

..........ฯลฯ..........

http://www.easternsugar.co.th/index.php/knowledge/78-2009-12-22-05-44-49.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 19/11/2010 7:49 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 19/11/2010 7:28 pm    ชื่อกระทู้: Re: ไร่อ้อย (คำถามมาถามลุง) ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

joBcoMmatammi บันทึก:
สวัสดี ลุงคิม คุณยุทธ ...... และทุกคนครับ

ผมอยู่จังหวัดเดียวกับแฟนพี่ยุทธครับ (น่าจะ) ผมอ่านแต่ไร่อ้อย ผมเลยยังไม่รู้จักหมดทุกคนครับ

เนื่องจากลุงคิมบอกให้คิดนอกกรอบ ผมเลยมีคำถามจะถามครับ

ผมมีไร่ ซึ่งเตรียมจะทำการปลูกอ้อย ณ ตอนที่เขียนกระทู้นี้ รถคงจัดการปรับพื้นที่เรียบร้อยแล้ว ปลูกอ้อยจำนวนต้นให้ถี่มากขึ้น ผมจึงคิดที่จะทดลองกับอ้อย โดยใส่ความถี่เป็น 2 เท่า เข้าไป 1 ร่อง เพื่อทดสอบ

(เช่น ปกติ 1ไร่ ปลูก 16,000 ลำ ผมเพิ่มเป้น 3,200 ลำ แต่ผมทดสอบแค่ร่องเดียว)หมายถึงจำนวนลำที่เราจะเลี้ยงและให้ปุ๋ยนะครับ สมมุตินะครับ

แล้วใช้วิธีการให้อาหารตามคุณยุทธ






ผมจะถามการให้อาหารอ้อย ครับ

1. ผมต้องให้อาหารเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าใช่ไหม ถึงจะเพียงพอต่อความต้องการของอ้อย
ตอบ :
เพิ่มน่ะต้องเพิ่มแน่ แต่ไม่ใช่เพิ่ม "ปริมาณ" ต่อการให้แต่ละครั้ง เช่น เคยให้ครั้งละ 5 กก./ไร่/เดือน แล้วเพิ่มเป็นครั้งละ 10 กก./ไร่/เดือน แบบนี้อ้อยจะปรับตัวไม่ทัน....วิธีเพิ่มที่ถูกต้อง คือ ให้ครั้งละ 5 กก./ไร่/15 วัน เมื่อรวมเวลาแล้วก็จะได้ 10 กก./ไร่/เดือน เหมือนเดิม.....ลำพังอ้อย ไม่จำเป็นต้องเน้นปุ๋ยมากนัก แต่ขอให้เน้น "น้ำ" เป็นหลัก จะดีกว่า




2. ผสมความเข้มข้นของปุ๋ย (ให้ทางดินนะครับ ทางใบคงไม่ได้เนาะ) เป็น 2 เท่า หรือผมให้ปุ๋ยสูตรเดิม แต่ความถี่ต้องเป็น 2 เท่า
ตอบ :
ระหว่างการให้ทางดิน กับ ให้ทางใบ คงต้องทำความเข้าใจกันใหม่ คุณจะให้เฉพาะทางใบไม่ให้ตกลงดิน หรือให้เฉพาะทางดินโดยไม่ให้โดนใบเลย ให้ทางใดทางหนึ่งเพียงทางเดียวนะ คุณทำได้หรือ ? ง่ายนักหรือ ? .....เสียหายตรงไหน หรือจะดีกว่าไหม ถ้าให้ "น้ำ + ปุ๋ย + ฮอร์โมน + ยา" อะไรก็ได้ตามใจนายอำเภอ ผ่านใบลงพื้นที่โคนต้นเลย ม้วนตัวจบ เหมือนยิงนกนัดเดียวได้กระสุน 2 ตัว

ในเมื่อต้นพืชกินอาหารได้ 2 ทาง (ปากใบ กับ ปลายราก) การให้เขาได้กินทั้ง 2 ทางย่อมดีกว่าทางเดียว เรียกว่า 2 เด้ง ประมาณนั้น.....มันจะยุ่งยากอะไรนักหนากับให้ปุ๋ยทางใบแก่อ้อย คิดๆดู ถ้าจะให้แต่ทางราก วิธีให้ก็คือ คุณต้องเดินลุยเข้าไปในดงอ้อย แล้วมันเข้าไปง่ายนักหรือกับต้นอ้อยที่สูงท่วมหัว แต่ละต้นแต่ละกอขึ้นเบียดกันแน่นตึ๊บ ถ้าจะเปลี่ยนวิธีการให้ โดยการใช้สปริงเกอร์แบบโอเวอร์เฮด (ยิงน้ำข้ามหัว) ให้น้ำโดนใบโชกๆ โชกมากๆ โชกลงดินเป็นการให้น้ำไปในตัว ได้ไหม ? ดีกว่าไหม ? ง่ายกว่าไหม ?




3. การปลูกอ้อยสูตรลุงคิมทำไมผมอ่านไม่เจอ การรองพื้นก่อนปลูก (เราควรใส่ธาตุอาหารหลักก่อนปลูกไหม เพื่อป้องกันการขาดธาตุอาหาร เพราะปลูกเป็น 2 เท่า
ตอบ :
ก็เรื่องนี้ยังไม่ได้เขียนโดยตรงแล้วจะเจอได้ไง ไม่ใช่แค่อ้อยอย่างเดียวนะ อีกหลายๆ พืชที่ยังไม่ได้เขียน แต่ก็พร้อมเขียนถ้ามีคนถามมา ถ้าใครติดตามความดูเคลื่อนไหวเว้บนี้อย่างละเอียด จะเห็นว่าเว้บนี้ไมเคยหยุดเลยแม้แต่วันเดียว ทุกวันลุงคิมท่องไปในโลกเน็ต อ่าน อ่าน และอ่าน บางวันอ่านตั้งแต่ 6 โมงเช้า ถึง 6 ทุ่ม เจอะเจอเรื่องไหนน่าสนใจก็จะ COPY มาวางไว้ที่เมนูหลัก COPY เอง อ่านเอง ใครไม่อ่านก็ช่าง เพราะยิ่งอ่านยิ่งทำให้เรายิ่งกว้าง นั่นแหละชีวิตเน็ตประจำวันของลุงคิม..... แต่ถ้าเมื่อใดมีคนตั้งกระทู้ถามมา ลุงคิมก็ชะแว้บเข้ามาตอบ ก็ตอบทุกครั้ง ทุกคำถามนั่นแหละ

คำพูดที่ว่า "ใส่ปุ๋ยรองพื้น-ใส่ปุ๋ยแต่งหน้า-ใส่ปุ๋ยกระทุ้ง-ใส่ปุ๋ยเสริม-ฯลฯ" น่ะ เป็นคำพูดของคนโฆษณาขายปุ๋ย ป่านนี้ยังดูไม่ออกอีกหรือ ว่าแต่ว่า ต้นไม้ต้นพืชต้องการกินปุ๋ยมาก มากๆ มากๆ อย่างที่ (ไอ้) คนขายปุ๋ย (มัน) โฆษณาเชียวหรือ ต้นไม้กินแต่ปุ๋ยเคมีโดยไม่กินปุ๋ยอินหรีย์เลยหรือ ?

คิดๆดู คิดดูให้ดี.....
เตรียมดินปลูกอ้อย ใส่ "ยิบซั่ม + กระดูกป่น + ขี้ไก่ + น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบืดเถิดเทิง" หมักทิ้งไว้ 15-20 วัน จึงลงมือปลูก

ระยะอ้อยแตกใบได้ 2-3 คู่ ให้ "น้ำ + น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7 (2-3 กก.)/ไร่/เดือน ให้น้ำโชกๆ ผ่านใบลงพื้น เป็นการให้น้ำไปในตัว .....ใช้ 25-7-7 สูตรนี้จ่ายแพงกว่าแต่ดีกว่าดีกว่า 21-0-0 เพราะจะได้อ้อยใบใหญ่ หนา เขียวเข้มกว่า

ระยะอ้อยขึ้นลำแล้ว ให้ "น้ำ + ฮอร์โมนน้ำดำ 1-2 ล. + 8-24-24 (2-3 กก.)/ไร่/เดือน" ให้น้ำโชกๆ ผ่านใบลงพื้น เป็นการให้น้ำไปในตัว

ทั้งหมดทั้งสิ้นนี้มี "ปุ๋ยเคมี" ไหม แล้วทำไมต้องรองพื้น-แต่งหน้า ให้มันสิ้นเปลืองด้วยล่ะ




4.ความต้องการอาหารของอ้อย ธาตุหลัก ธาตุรอง เสริม เท่าไรบ้างครับ (ลองหาในgoogle แล้วไม่เจอครับ)
ตอบ :
ในโลกนี้ (ทั่วโลก) มีปุ๋ยที่พืชต้องการใช้จริงๆเพียง 14 ตัว เท่านั้น เหมือนกันหมดทั้งพืชเมืองร้อน เมืองหนาว กึ่งร้อนกึ่งหนาว ..... จะเอาตัวเลขเป๊ะๆ เลยน่ะเหรอ งานนี้ต้องเข้า LAB เท่านั้น อ้อยเขาอ้อยเรา ดินเขาดินเรา น้ำเขาน้ำเรา อากาศบ้านเขาอากาศบ้านเรา มันเหมือนกัน เท่ากันที่ไหน แม้แต่ของเราแปลงเดียวกันแท้ๆ ปีที่แล้วกับปีนี้ยังไม่เหมือนกันเลย


ลุงคิม (คิดง่ายๆ ทำง่ายๆ ทำตามธรรมชาติของอ้อย) ครับผม






ถ้าผมถามผิดพลาด (หรือภาษาชาวบ้านถามโง่ๆ) ประการใด ขออภัยด้วยนะครับเพราะผมไม่มีความรู้ด้านการเกษตรเลยซักนิด ไม่เคยปลูกอะไรแล้วขึ้นเลยซักอย่าง(เรียกว่าปลูกตระไคร้ ตระไคร้ยังเสียชีวิต)

จึงต้องมาขอคำปรึกษา แนะนำ จาก พี่ ป้า น้า อา ผู้มีประสบการณ์ (เดี๋ยวผมเอารูปที่มาให้ดูครับ)

ขอบคุณครับ


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 22/11/2010 6:40 pm, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 19/11/2010 8:22 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ปริมาณธาตุอาหารที่อ้อยนำออกจากไร่ (อ้อย, ยอด ใบแห้ง) กก./ไร่

หมายเหตุ ผลผลิตและปริมาณธาตุอาหารที่ถูกนำออกไปขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความเป็นประโยชน์ของปุ๋ยที่ใส่ อิทธิพลของระดับธาตุอาหารในพืช อายุ พันธุ์อ้อย สภาพแวดล้อม รวมทั้งปฏิกริยาระหว่างธาตุอาหาร

ที่มา : Australin Sugarcane Nutrition Manual : By DV CALCINO

http://oldweb.ocsb.go.th/udon/All%20text/1.Article/01-Article%20P8.8b.htm

คลิกไปดูตามลิงค์เอาเองนะ เพราะลุงคิม COPY ไม่เป็น (ว่ะ)....เห็นว่าน่ารู้ดี อย่างน้อยก็ให้รู้ว่า อ้อยแต่ละรุ่นใช้ปุ๋ยซักเท่าไหร่ แต่อย่าคิดว่า อ้อยแต่ละรุ่นได้เอาออกไปแล้วจนเกลี้ยงไม่เหลือเลยซักแหมะเดียวนะ ในความเป็นจริงนั้น พืชเอาปุ๋ยไปจากดินเพียง 1 ใน 10 ส่วนเท่านั้น การที่จะทำให้ปุ๋ยส่วนที่เหลืออยู่ในดิน กับทำให้เกิดใหม่ในดินนั้น ต้องอาศัย กระบวนการจุลินทรีย์ กับอินทรีย์วัตถุนี่แหละ

จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น พอจะสรุปได้ว่าอ้อยจะเจริญเติบโตให้ผลผลิตสูงนั้นจะต้องได้ธาตุอาหารอย่างเพียงพอและอยู่ในสภาพสมดุล
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
joBcoMmatammi
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 18/11/2010
ตอบ: 32

ตอบตอบ: 22/11/2010 3:04 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

kimzagass บันทึก:

ที่มา : Australin Sugarcane Nutrition Manual : By DV CALCINO
http://oldweb.ocsb.go.th/udon/All%20text/1.Article/01-Article%20P8.8b.htm

โดนใจใช่เลยลุง ทำให้คำนวนการให้ปุ๋ยได้อย่างใกล้เคียงมากขึ้น
ปลูกอ้อย 1 ไร่(20ตัน)

<<<<<<<ที่อ้อยนำไปใช้
ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม
16-22 16-18 133-153 kg.
ปริมาณธาตุอาหารที่อ้อยได้นำออกไป (20ตัน)
ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม ซัลเฟอร์
24.64 5.92 44.16 8.80 9.12 7.5 kg.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย joBcoMmatammi เมื่อ 24/11/2010 10:03 am, แก้ไขทั้งหมด 5 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 22/11/2010 3:54 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ก่อนอื่น ขอบคุณมากที่ตามมาเอาคำตอบ ไม่ใช่ถามทิ้งถามขว้าง เหมือนบางคน...

แล้วก็ "ขอโทษ" อย่างมากๆ เตรียมคำตอบไว้แล้วแต่ยังไม่ได้ลงให้ ไม่รู้เหมือน
กันว่า เถลไถลไปไหน ลืมสนิท้ลย ว่างั้นเถอะนะ....ย้อนกลับขึ้นไปดูคำตอบอีก
ครั้งก็แล้วกันนะ....


ลุงคิม (หัวดีแต่ขี้ลืม) ครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
joBcoMmatammi
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 18/11/2010
ตอบ: 32

ตอบตอบ: 23/11/2010 9:26 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

kimzagass บันทึก:

อ้างถึง
เตรียมดินปลูกอ้อย ใส่ "ยิบซั่ม + กระดูกป่น + ขี้ไก่ + น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบืดเถิดเทิง" หมักทิ้งไว้ 15-20 วัน จึงลงมือปลูก

ระยะอ้อยแตกใบได้ 2-3 คู่ ให้ "น้ำ + น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7 (2-3 กก.)/ไร่/เดือน ให้น้ำโชกๆ ผ่านใบลงพื้น เป็นการให้น้ำไปในตัว .....ใช้ 25-7-7 สูตรนี้จ่ายแพงกว่าแต่ดีกว่าดีกว่า 21-0-0 เพราะจะได้อ้อยใบใหญ่ หนา เขียวเข้มกว่า

ระยะอ้อยขึ้นลำแล้ว ให้ "น้ำ + ฮอร์โมนน้ำดำ 1-2 ล. + 8-24-24 (2-3 กก.)/ไร่/เดือน" ให้น้ำโชกๆ ผ่านใบลงพื้น เป็นการให้น้ำไปในตัว

ทั้งหมดทั้งสิ้นนี้มี "ปุ๋ยเคมี" ไหม แล้วทำไมต้องรองพื้น-แต่งหน้า ให้มันสิ้นเปลืองด้วยล่ะ


ก่อนอื่นต้องขอโทษลุงคิมก่อนครับ

เนื่องจากผมไม่ค่อยมีความรู้เรื่องเกษตรทำให้ผมเข้าใจผิดไปว่า ใส่น้ำหมักสูตรระเบิดเถิดเทิง ไปพร้อมปลูก แล้วปล่อยทิ้งไว้ ซึ่งในกระบวนการใช้รถปลูก มันยากมาก ผมตีความหมายกระบวนการปลูกผิดไป
....... ตอนนี้เข้าใจแล้ว ครับผม ว่าใส่ก่อนปลูกครับ กรรมๆ 555+ผมไม่ได้ตีความว่าลุงด่านะครับ ผมเพียงจะบอกว่าที่ลุงอธิบายมาทีแรกผมเข้าใจผิด พอลุงตอบคำถามผมถึงได้ถึงบางอ้อ ว่าอ๋อเป็นอย่างนี้เอง


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย joBcoMmatammi เมื่อ 24/11/2010 10:07 am, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 23/11/2010 9:47 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ในธรรมชาติไม่มีตัวเลข และไม่มีสูตรสำเร็จ.....
ธรรมชาติ COPY ไม่ได้แต่ APPLY ได้.....

ปลูกอ้อยตามใจอ้อย ไม่ใช่ตามใจคน....
อ่าน LINE ธรรมชาติออก ทุกอย่างจะง่ายราวพลิกฝ่ามือ.....

ที่มันยากอยู่ทุกวันนี้ เพราะ "ยึดติด" ......
เชื่อทุกคนแต่ไม่เชื่อตัวเอง.....

ธรรมชาติน่ะ "ง่ายง่าย" คนต่างหากที่ทำให้มันยากเอง....
ที่ว่า ทำเรื่องง่ายให้มันยาก แต่เรื่องยากกลับทำง่ายๆ ไงล่ะ....

จงอย่าเชื่ออะไรทันทีทันใดโดยไม่มีข้อกังขา แล้วก็จงอย่าไม่เชื่ออะไรชนิดหัวชนฝา สุดท้ายก็เจ็บตัวเอง....
พืชไม่ใช่คันเร่งรถยนต์ ไม่ใช่โวลลุ่มวิทยุโทรทัศน์ ไม่ใช่ฮิตาชิเปิดปุ๊บติดปั๊บ.....


ทำไปเถอะ ทำอย่างๆไรก็ได้ ใส่เมื่อไหร่ไม่สำคัญ ขอแต่เพียงให้ได้ใส่เป็นพอ....

เรื่องของ "ชีวภาพ" ใส่รุ่นนี้ อ้อยยังเอาไปกินไม่ได้แต่มันก็ยังอยู่ในดิน เมื่ออ้อย
รุ่นนี้ยังเอากินไม่ได้ อ้อยรุ่นหน้าก็จะเอาไปกินได้เอง.....




การเอาความจริงมาพูด มาบอกกัน ทำไมคนจึงตีความว่าด่า...
ลุงคิม (งงเหมือนกัน) ครับผม

ปล.
NO BODY PERFACT....
NOTHING NOPRROBLEM.....


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/03/2011 9:10 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
joBcoMmatammi
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 18/11/2010
ตอบ: 32

ตอบตอบ: 23/11/2010 1:57 pm    ชื่อกระทู้: Re: ไร่อ้อย ........ (คำถาม-ถามลุง) ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อัพเดท 23 พ.ย.53 (ขอความคิดเห็นครับ)

ขี้แดดนาเกลือ (เนื่องจาก ccs จากสูตรมูลค้างคาวหายากในพื้นที่ไม่มีครับ มีก็ในถ้ำหมี น่าจะได้ไม่เกิน 2 กิโลกรัม อันที่จริงผมไม่กล้าไปเอากลัวสัตว์ประเภทงูครับ)

การศึกษาคุณสมบัติและการใช้ประโยชน์จาก "ขี้แดดนาเกลือ” พบว่า แท้จริงแล้วขี้แดดนาเกลือเกิดจากสาหร่าย. ตะไคร่น้ำ. และจุลินทรีย์. ต่างๆ ซึ่งเจริญเติบโตบนผิวหน้าของดิน ซึ่งอุดมไปด้วยธาตุอาหารที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นไม้มากมาย ได้แก่ โปแตสเซียม (P2O5) และฟอสฟอรัส (K2O) ในปริมาณร้อยละ 0.13 และ 2.0 ของน้ำหนักขี้แดดนาเกลือ
นอกจาก ธาตุอาหาร 2 อย่างที่กล่าวมาแล้ว ยังมีอีกหลายอย่างครับ

ถ้าเป็นอย่างนี้เวลาเตรียมดิน ผมเอาเกลือหว่านหรือละลายราด เราก็จะได้ธาตุอาหารเพิ่มพร้อมกับป้องกันโรคอ้อยบางชนิดด้วย แล้วมันจะมีผลอะไรกับค่า ph ในดินไหม อย่างปรับค่า ph ในน้ำให้เป็นกรดอ่อนๆ เราเติมน้ำส้มสายชู (เรื่องค่า pH ผมก็ยังงงๆอยู่) ปรับให้เป็นด่างก็ต้องเค็ม (เกลือ) อ้อยเจริญเติบโต ในช่วง กรดอ่อน-ด่างอ่อนครับ




ถามลุงครับ หรือผู้ที่ได้ทดลองทำแล้วครับ....

1. มีผลอะไรกับน้ำชีวภาพสูตรต่างๆ ของลุงคิมไหม (เพราะกระบวนการของลุงคิมส่วนใหญ่จะเป็นกรดอ่อนๆ)

2. ในระยะยาว ดินจะเป็นเช่นไร

3.อัตราการใส่เท่าไรดีครับ หว่านคงไม่ดีแน่ครับ น่าจะละลายน้ำจะดีกว่า (เดี๋ยวใส่ไปเกินด่างอ่อนละซวยเลยครับ)

ขอบคุณทุกคนที่ได้ให้ความรู้ มารับความรู้ แวะมาชมกระทู้อ้อยนะครับ ขอบคุณครับ




เครดิต : ปัฐพีวิทยาเบื้องต้น กระทรวงศึกษาธิการ (เรื่องค่า ph กับพืชต่างๆ), สื่ออิเล็คทรอนิกส์ ทีเค.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย joBcoMmatammi เมื่อ 24/11/2010 10:09 am, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 23/11/2010 8:57 pm    ชื่อกระทู้: Re: ไร่อ้อย ........ (คำถาม-ถามลุง) ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

joBcoMmatammi บันทึก:
อัพเดท 23 พ.ย.53 (ขอความคิดเห็นครับ)

ขี้แดดนาเกลือ (เนื่องจาก ccs จากสูตรมูลค้างคาวหายากในพื้นที่ไม่มีครับ มีก็ในถ้ำหมี น่าจะได้ไม่เกิน 2 กิโลกรัม อันที่จริงผมไม่กล้าไปเอากลัวสัตว์ประเภทงูครับ)
ตอบ :
ทำไมจะต้อง "ขี้แดดนาเกลือ-ขี้ค้างคาว" เท่านั้น เมื่อไม่มี 2 ตัวนี้ อย่างอื่นแทนได้ก็มีนี่นา....วิเคราะห์ซิ ในขี้แดดนาเกลือมีอะไร คุณจะเอาขี้แดดนาเกลือไปใส่ให้แก่อ้อย ลุงคิมว่ามันคงไม่ใช่นะ เท่าที่มีข้อมูล ขี้แดดนาเกลือเหมาะสำหรับพืชตระกูลปาล์ม เช่น ปาล์มน้ำมัน. มะพร้าว. หมาก. ซะมากกว่า ไม้อื่นๆ ก็พอได้ เท่าที่เคยเห็นก็มี ส้มโอ. มะม่วง. แต่อย่ามากนัก ที่เอาไปใส่นาข้าวก็เคยเห็น คือ "พัง" ครับ ..... ส่วนขี้ค้างคาวกับอ้อยคงพอได้ สำหรับเร่งการแตกกอ กับเร่งหวานก่อนตัด เมื่อไม่มีขี้ค้างคาว ใช้ขี้นกกระทา. ไก่ไข่. ไก่เนื้อ (ประเภทสัตว์ปีกเหมือนกัน) แทนได้..... ว่าแต่คุณจะเอาไปใช้กับอ้อยใช่ไหม เพราะคำถามมันไม่เคลียร์ (มั่วนิดๆ) ถ้าจะเอาไปใช้กับอ้อยคงต้องลงทุนหนักหน่อยนะ




การศึกษาคุณสมบัติและการใช้ประโยชน์จาก "ขี้แดดนาเกลือ” พบว่า แท้จริงแล้วขี้แดดนาเกลือเกิดจากสาหร่าย. ตะไคร่น้ำ. และจุลินทรีย์. ต่างๆ ซึ่งเจริญเติบโตบนผิวหน้าของดิน ซึ่งอุดมไปด้วยธาตุอาหารที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นไม้มากมาย ได้แก่ โปแตสเซียม (P2O5) และฟอสฟอรัส (K2O) ในปริมาณร้อยละ 0.13 และ 2.0 ของน้ำหนักขี้แดดนาเกลือ นอกจาก ธาตุอาหาร 2 อย่างที่กล่าวมาแล้ว ยังมีอีกหลายอย่างครับ
ตอบ :
สารอาหารพืชในขี้แดดนาเกลือตามที่คุณรู้มา ถูกต้อง....แต่อยากถามว่า "เกลือ" (Na) หายไปไหน เพราะในน้ำทะเลต้องมีเกลือใช่ไหม ลุงคิมไม่แน่ใจว่า ระหว่าง Na. กับ Ma. Zn. Ca. Si. อย่างไหนมีประโยชน์โดยตรงต่ออ้อยมากกว่ากัน.....สุดท้าย ให้แง่คิด ระหว่าง "ปลาทะเล" กับ "ขี้แดดนาเกลือ-ขี้ค้างคาว" อย่างไหนจะดีต่ออ้อยมากกว่ากัน




ถ้าเป็นอย่างนี้เวลาเตรียมดิน ผมเอาเกลือหว่านหรือละลายราด เราก็จะได้ธาตุอาหารเพิ่มพร้อมกับป้องกันโรคอ้อยบางชนิดด้วย แล้วมันจะมีผลอะไรกับค่า ph ในดินไหม อย่างปรับค่า ph ในน้ำให้เป็นกรดอ่อนๆ เราเติมน้ำส้มสายชู (เรื่องค่า pH ผมก็ยังงงๆอยู่) ปรับให้เป็นด่างก็ต้องเค็ม (เกลือ) อ้อยเจริญเติบโต ในช่วง กรดอ่อน-ด่างอ่อนครับ
ตอบ :
1.... หว่านเกลือลงไปในดินเพื่อป้องกันโรคอ้อยน่ะ ถามว่า โรคอะไร ? อันนี้ลุงคิมไม่มีข้อมูล
2.... เกลือมีสถานะเป็นด่าง เมื่อดินสะสมเกลือกมากๆ ถึงระดับหนึ่ง ค่า pH ดินก็ต้องเป็นด่าง เป็นของธรรมดา
3.... น้ำส้มสายชูเป็นกรด ถูกต้อง ใช้ปรับค่า pH น้ำ คงไม่มีใครเอาไปปรับค่า pH ดินหรอกนะ ต้องการให้น้ำที่ค่า pH เป็นกรดแค่ไหน เติมน้ำส้มสายชูลงไปแล้ววัดค่า pH ได้ค่า pH ตามต้องการแล้วก็หยุดเติม ก็แค่นั้นเอง....พืชชอบค่า pH เป็นกรดอ่อน (5.5-6.5....เหมาจ่ายเอา 6.0)






ถามลุงครับ หรือผู้ที่ได้ทดลองทำแล้วครับ....

1. มีผลอะไรกับน้ำชีวภาพสูตรต่างๆ ของลุงคิมไหม (เพราะกระบวนการของลุงคิมส่วนใหญ่จะเป็นกรดอ่อนๆ)
ตอบ :
- ไม่เข้าใจคำถาม.....
- น้ำหมักที่ลุงคิมทำ....หมัก 3 เดือนแรก ค่า pH 3.5....หมักข้ามปี ค่า pH 4.5-5.0 ...... ก่อนใช้งานจริง ปรับค่า pH มาอยู่ที่ 6.0 ก็เท่านั้นเอง



2. ในระยะยาว ดินจะเป็นเช่นไร
ตอบ :
- พอดี คือ ดี.....ขาด-เกิน คือ เสีย


3.อัตราการใส่เท่าไรดีครับ หว่านคงไม่ดีแน่ครับ น่าจะละลายน้ำจะดีกว่า (เดี๋ยวใส่ไปเกินด่างอ่อนละซวยเลยครับ)
ตอบ :
- ใส่กรดก็เป็นกรด ใส่ด่างก็เป็นด่าง น่ะซี...
- ใส่อะไร จะทำอะไร ตั้งคำถามใหม่นะ

ลุงคิม (งง) ครับผม



ขอบคุณทุกคนที่ได้ให้ความรู้ มารับความรู้ แวะมาชมกระทู้อ้อยนะครับ ขอบคุณครับ



เครดิต : ปัฐพีวิทยาเบื้องต้น กระทรวงศึกษาธิการ (เรื่องค่า ph กับพืชต่างๆ), สื่ออิเล็คทรอนิกส์ ทีเค.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
joBcoMmatammi
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 18/11/2010
ตอบ: 32

ตอบตอบ: 24/11/2010 10:15 am    ชื่อกระทู้: Re: ไร่อ้อย ........ (คำถาม-ถามลุง) ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ป้องกันโรคอ้อยบางชนิดฟังมาอีกทีครับ แต่ก็ยังไม่เชื่อ เพราะยังไม่มีบทพิสูจน์ ..... สรุป ยังไม่ใส่ดีกว่าครับ เดี๋ยวเป็นแบบนาข้าว

เริ่มสั่งของแล้วครับ รายการที่สั่งครับ

1..... ยิบซั่ม, ภูไมด์ซัลเฟต (เตรียมดิน)
2..... 21-0-0, มะพร้าว, สัปปะรด, กากน้ำตาล, นมวัว, จุรินทรีย์, มูลไก่, กระดูกหมู.

ตื่นเต้นจังลุง ผมกำลังจะทำปุ๋ยน้ำชีวภาพครั้งแรกในชีวิต ลืมบอกไป ผมใช้สูตรมูลวัวชีวภาพ พอดีที่บ้านแม่ผมเลี้ยงวัวนม กับเลี้ยงหมู

อย่างไรผมก็ไม่ขอต่ำกว่า 6 ตัน/ไร่ เดี๋ยวแพ้พี่ยู้ดๆๆๆ

ผมอยากทราบว่า อยู่จังหวัดชัยนาท สามารถหาซื้อผลิตภัณฑ์ ต่างๆ ของลุงคิมได้ที่ไหนบ้าง (เนื่องจากการทำเองใช้ทุนสูงเพราะวัตถุดิบมีไม่ครบ ในบางสูตรครับผม )
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 24/11/2010 7:23 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อย่ากังวลกับ "ชีวภาพ" จนเกินไปนัก แต่ก็ไม่ใช่ไม่ให้ใช้ หมายความว่าชีวภาพอะไรก็ได้สำหรับอ้อย อะไรต่อมิอะไรที่กล่าวมาน่ะ เอามาเถอะ ใส่ลงไปเถอะ ใช้ใด้ทั้งนั้นแหละ พยายามาหาของฟรีหรือของที่มีอยู่ในบ้านแล้วเข้าไว้ อย่าดิ้นรนเสียเงินเสียทอง เสียค่าน้ำมันรถ เสียเวลา เสียแรงงาน ให้มันสิ้นเปลืองเลย

เห็นว่าที่บ้านมี "วัวนม" เลยอยากถามว่า "นม" ที่รีดออกมาน่ะ ไม่ใช่ชีวภาพหรอกรึ

ลำพัง "ชีวภาพ (อะไรก็ได้) + ปุ๋ย (Mg-Zn-8-24-24)" นิดน่อย บางครั้งบางคราวก็พอแล้วสำหรับอ้อย

แต่สิ่งที่อ้อยต้องการมากที่สุด คือ "น้ำ" เพราะฉนั้น จงหาวิธีให้น้ำ (ชื้น - ชุ่ม - โชก - แฉะ - แช่) ให้ได้



อ้อยได้น้ำ คงไม่ใช่ 6 ตัน แต่จะเป็น 16 ตันเอาแน่ะ
ลุงคิมครับผม

ปล.
ตอบแบบนี้ ใช่ "ด่า" หรือเปล่า.....(ก. ละหน่าย...)
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
joBcoMmatammi
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 18/11/2010
ตอบ: 32

ตอบตอบ: 25/11/2010 9:58 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


ผมอยากทราบว่า อยู่จังหวัดชัยนาท สามารถหาซื้อผลิตภัณฑ์ ต่างๆ ของลุงคิมได้ที่ไหนบ้าง (เนื่องจากการทำเองใช้ทุนสูง เพราะวัตถุดิบมีไม่ครบ ในบางสูตรครับผม )


เหตุผล : ...

1. ผมอยากจะรู้ว่าความแตกต่างของประสิทธิภาพ ระหว่างน้ำหมักชีวภาพที่ผมทำเอง กับที่ลุงทำจำหน่าย ครับ

2. มีพี่คนนึงมาดูผมเข้าเว็บลุง พี่เขาเลยให้ผมถาม ครับ ไร่อ้อยพี่เขาทำน้ำหยดครับ(พี่เขาอยากลองทำครับ ทั้งๆ ผมก็บอกแล้วนะว่าพืชกินอาหารได้ 2 ทาง แต่เขาก็บอกว่าลดการสูญเสีย ลองดูครับ) พี่เขาไปซื้อผลิตภัณฑ์ของลุงที่อำเภอสรรพยา จ.ชัยนาท (ของลุงจริงหรือเปล่าก็ไม่รู้ครับกลัวเป็นของ coppy) พี่เขาบอกว่าไกลครับ และได้ข่าวว่าที่ อ.การุ้ง จ.อุทัยธานี มีจำหน่าย พี่เขารีบไปหาซื้อแต่ไม่มีครับ พี่เขาเลยให้ผมถามว่า มีที่ไหนอีกบ้างครับ (พี่เขาติดตามผลงานของลุงมานานแล้วครับ เรียกว่า พี่เขารู้หมดว่าลุงเริ่มทำปีไหน เป็นข้าราชการเกษียน ฯลฯ ครับ และเท่าที่ผมรู้ พี่เขาเริ่มปลูกพืชแบบชีวภาพก่อนผมเข้ามาทำงานเสียอีก ตอนนี้ผมทำงานได้ 7 ปีแล้วครับ) อย่างไรลุงช่วยตอบคำถามข้อนี้ให้พี่เขาหน่อยนะครับ (ผมโม้ไว้เยอะครับ555+)



รายงานการเตรียมการปลูกอ้อย(ไร่อ้อยคอยรถ)
1.เอารถแม็คโครมาขุดตอออกพร้อมรื้อคันสระ (ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว)

2.รอไถดะจากผู้รับจ้าง (น้าเราเอง) แต่เข้าไถไม่ได้ (คนซื้อไม้ไม่มาขนไม้ไปซักที) (รอดำเนินการ)

3.หาซื้อยิบซั่ม ภูไมด์ซัลเฟต ทีแรกนึกว่าคงหายาก ไปเจอที่โรงปุ๋ยหมักชีวภาพ(ของน้า) เป็นตันเลย (ดำเนินการแล้ว)

4.ทำน้ำหมักชีวภาพกำลังหาวิธี บดกระดูกอยู่ (เครื่องบดไม่มี) ว่าจะสับ หรือตำดี(กำลังดำเนินการ)

5.ทำเครื่องคนแบบไร่กล้อมแกล้ม (พอดีมีมอเตอร์เก่าอยู่ 2ตัว) (กำลังดำเนินการ)

6.พันธ์อ้อย สรุป กลัวฝนแล้งครับ ได้พันธ์ลำปาง 11 ครับ หรือ LK 92-11 (ของน้าอีกเหมือนกัน) (กำลังดำเนินการ)


อ้อยพันธุ์ LK 92-11 เป็นอ้อยลูกผสมที่เกิดจากอ้อยพันธุ์ เค 84-200 (แม่) ผสมกับอ้อยพันธุ์ อีเxxx่ยวแดง (พ่อ) ด้วยวิธีการ Conventional ที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายภาคกลาง จังหวัดกาญจนบุรี (ศอนก.) โดยศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายภาคเหนือ จังหวัดกำแพงเพชร (ศอนน.)

ได้นำเมล็ดพันธุ์อ้อยที่ผ่านการผสมพันธุ์จาก ศอนก. เมื่อปลาย ปี พ.ศ. 2535 จำนวน 16 คู่ผสม มาทำการเพาะกล้า ย้ายลงถุงชำ และย้ายลงปลูกในแปลงทดลองที่สถานีทดลองและขยายพันธุ์อ้อยลำปางได้ 20,740 ต้นพันธุ์

สามารถทำการคัดเลือกในขั้นที่ 1 ได้จำนวน 168 ต้นพันธุ์ โดยที่พันธุ์ LK 92-11 ถูกคัดเลือกได้ในลำดับที่ 11

จากนั้นนำไปปลูกและคัดเลือกในขั้นที่ 2 สามารถคัดเลือกอ้อยที่มีลักษณะทางการเกษตรที่ดีได้ จำนวน 34 ต้นพันธุ์ (20.24 เปอร์เซ็นต์)

นำไปปลูกและคัดเลือกในขั้นที่ 3 เปรียบเทียบพันธุ์เบื้องต้นจนได้อ้อยที่ผ่านการคัดเลือกในขั้นนี้ จำนวน 14 ต้นพันธุ์ (41.18 เปอร์เซ็นต์)

จากนั้นนำไปปลูกและคัดเลือกพันธุ์ในขั้นที่ 4 เปรียบเทียบพันธุ์มาตรฐาน ที่แปลงทดลองของ ศอนน. พบว่า มีอ้อยลูกผสมที่มีลักษณะดีกว่าพันธุ์เปรียบเทียบและคัดเลือกได้ จำนวน 8 ต้นพันธุ์ (57.14 เปอร์เซ็นต์) ได้แก่พันธุ์ LK 92-11 LK 92-14 LK 92-17 LK 92-69 LK 92-71 LK 92-72 LK 92-92 และ LK 92-99

หลังจากนั้นได้นำอ้อยที่ผ่านการคัดเลือกทั้ง 8 พันธุ์ ไปปลูกเปรียบเทียบพันธุ์ในไร่เกษตรกรเขตภาคเหนือ จำนวน 7 แปลง ซึ่งมีความแตกต่างกันของดินที่ใช้ปลูกอ้อยกันมากในภาคเหนือ 7 กลุ่ม ได้แก่

กลุ่มดินที่ 7 21 28 33 35 52 และ 54 โดยใช้อ้อยพันธุ์ เค 84-200 และอู่ทอง 1 เป็นพันธุ์เปรียบเทียบ มีแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 4 ซ้ำ ระยะเวลาการทดลอง 3 ปี

จากผลการทดลองพบว่า มีอ้อยพันธุ์ LK 92-11 เพียงพันธุ์เดียวที่มีลักษณะคุณสมบัติที่ดีกว่าพันธุ์เปรียบเทียบเป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตอ้อยเฉลี่ย 15.44 ตันต่อไร่ ซึ่งสูงกว่าพันธุ์เปรียบเทียบทั้งสองประมาณร้อยละ 19-34 มีคุณภาพความหวานเฉลี่ยที่ 13.49 (ซีซีเอส.) ซึ่งหวานกว่าพันธุ์เปรียบเทียบทั้งสองประมาณร้อยละ 2-14 และให้ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 2.12 ตัน (ซีซีเอส.) ต่อไร่ ซึ่งสูงกว่าพันธุ์เปรียบเทียบทั้งสองประมาณ ร้อยละ 24-55

เป็นพันธุ์ที่มีความต้านทานโรคเxxx่ยวเน่าแดง โรคแส้ดำ โรคกอตะไคร้ และโรคกลิ่นสับปะรด มีความต้านทานต่อหนอนเจาะยอดอ้อย หนอนเจาะลำต้นอ้อย แมลงหวี่ขาว แต่ค่อนข้างต้านทานต่อไรขาว

อ้อยพันธุ์นี้ควรนำไปปลูกในสภาพแวดล้อมที่ดี ไม่ควรปลูกในพื้นที่ดอนสูง หรือที่ลุ่มที่มีน้ำขังในช่วง ฤดูฝน ดินที่ปลูกควรเป็นดินที่ไม่เหนียวจัด หรือ ทรายจัด มีปริมาณน้ำฝนที่ตกทั้งปีไม่น้อยกว่า 1,000 มิลลิเมตร

ปลูกแล้วสามารถทำการเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่อ้อยมีอายุ 11.5 เดือน ถึง 13.5 เดือน แต่ช่วงอายุที่เหมาะสมคือ 13 เดือน



<<<ข้อมูลจากรักบ้านเกิดดอทคอม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า 1, 2  ถัดไป
หน้า 1 จากทั้งหมด 2

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©