-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-เทคโนโลยี กู้ชีพส้มสายน้ำผึ้ง
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - เทคโนโลยี กู้ชีพส้มสายน้ำผึ้ง
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

เทคโนโลยี กู้ชีพส้มสายน้ำผึ้ง

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 04/11/2010 4:30 pm    ชื่อกระทู้: เทคโนโลยี กู้ชีพส้มสายน้ำผึ้ง ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


มช. ลงพื้นที่ถ่ายทอดเทคโนโลยีช่วยเกษตรกรเชียงใหม่กู้ชีพส้มสายน้ำผึ้ง



นักวิจัย มช. หวั่นสวนส้มสายน้ำผึ้งเชียงใหม่เสื่อม ซ้ำรอยบางมด-รังสิต เร่งลงพื้นที่ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กลุ่มเกษตรกรรายย่อย หวังช่วยให้อยู่รอดได้ทั้งคนทั้งส้ม เน้นผลิตส้มคุณภาพระดับโกลเดนและพรีเมียม รสชาติเยี่ยม ปลอดสารเคมี ไม่มีแวกซ์ผิว โดนใจผู้บริโภคกลุ่มใหญ่ ใช้เทคนิคการจัดการสวนช่วยลดต้นทุน พร้อมระบบตรวจสอบย้อนกลับ เพิ่มศักยภาพการแข่งขัน

ทีมนักวิจัยของคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) พาคณะสื่อมวลชนรวมทั้งผู้จัดการวิทยาศาสตร์ เข้าเยี่ยมชมเทคโนโลยีการเพาะปลูกส้มสายน้ำผึ้งคุณภาพดีและปลอดสารเคมีตกค้าง ของเกษตรกรที่รวมกลุ่มกันในนาม วิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตส้มคุณภาพ แม่อาย ต.แม่นาวาง อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ ที่ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้จากนักวิจัยภายใต้โครงการ เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของเกษตรกรผู้ปลูกส้ม เชียงใหม่ โดยมีกระทรวงพาณิชย์ให้การสนับสนุน

นายนิรุตน์ กองปิงคำ ประธานกลุ่มวิสาหกิจฯ เล่าว่า ระยะหลังมานี้ราคาส้มตกต่ำลงมาก ต้นส้มโทรม มีปัญหาเรื่องโรคและแมลง ดินเสื่อมคุณภาพ ปุ๋ยและสารเคมีกำจัดศัตรูก็ราคาแพง ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น เกษตรกรรายย่อยต้องขายส้มในราคาต่ำกว่าทุนมาก อีกทั้งยังขาดตลาดจำหน่ายที่แน่นอน ซึ่งปัจจุบันต้นทุนการผลิตส้มประมาณ 10-11 บาทต่อกิโลกรัม แต่เกษตรกรต้องขายให้ผู้ที่มารับซื้อไปในราคากิโลกรัมละประมาณ 7 บาท

เกษตรกรจึงรวมกลุ่มกัน และจัดตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุนชนผู้ผลิตส้มคุณภาพ โดยได้รับความช่วยเหลือจากโครงการของ มช. ในเรื่องการวางแผนกระบวนการผลิตและการจัดการ จากที่ดำเนินงานมาได้ประมาณ 8 เดือน พบว่าช่วยลดต้นทุนลงได้มาก ผลผลิตมีคุณภาพตรงตามความต้องการของผู้บริโภค และมีศักยภาพแข่งขันกับส้มนำเข้าจากต่างประเทศได้ ปัจจุบันมีเกษตรกรรายย่อยใน อ.แม่อาย เข้าร่วมเป็นสมาชิกในกลุ่มทั้งหมด 36 ราย รวมพื้นที่ปลูกส้มได้ประมาณ 235 ไร่

นายนิรุตน์ แจงต่อว่า โครงการได้มีการศึกษาความต้องการของตลาดและผู้บริโภคเพื่อนำมาใช้วางแผนการผลิตในกลุ่ม โดยพบว่าการแวกซ์ผิวส้มไม่มีผลต่อการเลือกซื้อของผู้บริโภคส่วนใหญ่ อีกทั้งการแวกซ์ไม่ได้ช่วยให้ส้มมีคุณภาพดีขึ้น ซ้ำยังก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นฉุนได้ การผลิตส้มของกลุ่มจึงไม่มีการแวกซ์ผลส้มแต่อย่างใด แต่จะเน้นปรับปรุงคุณภาพของส้มโดยการดูแลและจัดการสวนส้มอย่างเหมาะสม และจะไม่มีสารเคมีตกค้างเมื่อผลผลิตออกสู่ตลาด พร้อมทั้งมีระบบการตรวจสอบย้อนกลับด้วยระบบคิวอาร์โค้ด (QR code) ผ่านโทรศัพท์มือถือ

คณะนักวิจัยได้ถ่ายทอดความรู้ให้เกษตรกรในการดูแลสวนส้ม เช่น วิธีการให้ปุ๋ยและสารเคมีกำจัดศัตรูอย่างเป็นระบบโดยมีช่วงเวลา ชนิดของสารเคมี และปริมาณการให้ที่แน่นอน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด และลดการสิ้นเปลือง ซึ่งแต่เดิมเกษตรกรยังขาดความรู้ในส่วนนี้ ส่วนใหญ่จึงมักให้ปุ๋ยเกินความจำเป็นและไม่สมดุลกัน ผลผลิตไม่ได้คุณภาพ และเกิดสารเคมีตกค้างในดิน ดินเสื่อมคุณภาพ ส่วนยากำจัดศัตรูพืชหากใช้ไม่เหมาะสมก็จะทำให้ผลผลิตมีสารเคมีตกค้าง เป็นอันตรายต่อทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค ฉะนั้นเกษตรกรต้องใช้ให้ถูกวิธีและถูกฤดูกาล เพราะโรคและแมลงที่รบกวนต้นส้มจะแตกต่างกันไปในแต่ละระยะ รวมทั้งการตัดแต่งกิ่งให้เหมาะสมและการกำจัดต้นที่เป็นแหล่งสะสมโรค

ก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิต เกษตรกรจะต้องสุ่มตรวจก่อนว่ามีสารเคมีตกค้างบนผลส้มในแปลงปลูกหรือไม่ ซึ่งทำได้ไม่ยาก โดยใช้ไม้พันสำลีชุบน้ำยาสกัดสารตัวอย่าง แล้วป้ายที่ผิวส้ม จากนั้นนำมาใส่ในหลอดแก้วแล้วใส่น้ำยาทดสอบอีก 3 ชนิด นำไปแช่ในน้ำร้อนสักครู่แล้วเติมสารทดสอบชนิดสุดท้ายลงไปเพื่อสังเกตสี หากใสไม่มีสี แสดงว่าไม่มีสารตกค้างแล้ว แต่หากปรากฏสีม่วงแดง แสดงว่ายังมียาฆ่าแมลงตกค้างอยู่ จะต้องเว้นระยะเก็บเกี่ยวออกไปอีก 2-3 วัน เพื่อให้สารตกค้างหมดไป

เมื่อเก็บผลผลิตแล้วยังต้องผ่านการล้างด้วยน้ำยาล้างผลส้มเพื่อทำความสะอาดและกำจัดยาฆ่าแมลงบางส่วนที่ยังอาจหลงเหลืออยู่ให้หมดไปก่อนบรรจุกล่องและจำหน่ายต่อไป ซึ่งน้ำยาล้างผลส้มดังกล่าวดังกล่าวคิดค้นโดย ดร.ธนะชัย พันธ์เกษมสุข นักวิจัยของโครงการฯ ซึ่งผลิตจากสารธรรมชาติ สามารถใช้ล้างและกำจัดสารเคมีตกค้างในผักผลไม้ได้ทุกชนิด และไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค

ทั้งนี้ กลุ่มวิสาหกิจฯ ตั้งเป้าการผลิตส้มในฤดูเอาไว้ 700 ตันต่อปี และส้มนอกฤดู 350 ตันต่อปี และจะเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตชุดแรกของกลุ่ม ซึ่งเป็นส้มในฤดู ในช่วงเดือน ธ.ค.-ก.พ. โดยแบ่งผลผลิตเป็น 3 เกรด ตามขนาดและคุณภาพ ได้แก่ โกลเดน, พรีเมียม และเฟรซชี แต่จะควบคุมคุณภาพความหวานของส้มทุกเกรดให้ไม่น้อยกว่า 12 บริกซ์ โดยขณะนี้เริ่มมีเอกชนหลายแห่งเริ่มเข้ามาติดต่อซื้อบ้างแล้ว

นอกจากนี้ เกษตรกรยังได้รับการส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากส้ม เช่น แยมส้ม ถ่านผลส้ม สเปรย์กันยุง เพื่อเพิ่มมูลค่าและขยายรูปแบบการใช้ประโยชน์จากส้ม ส่วนคณาจารย์นักวิจัยก็ยังมีโครงการรณรงค์การบริโภคส้ม เพื่อให้ประชาชนหันมาบริโภคส้มกันมากขึ้น นอกจากจะได้ประโยชน์กับร่างกายแล้วยังได้ช่วยอุดหนุนเกษตรกรไทย รวมถึงแนะนำการทำอาหารจากส้มทั้งคาวหวานอีกหลายรูปแบบ นอกเหนือจากการบริโภคผลสดและน้ำส้มคั้น


แหล่งข่าว : http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9510000144701

http://www.chiangmaisweettangerine.com/report.asp?NID=1000000055
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 04/11/2010 4:45 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


สวนส้มของเกษตรกรในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตส้มคุณภาพ แม่อาย จ.เชียงใหม่
ที่ผลิตส้มคุณภาพดี ปลอดสารเคมีตกค้าง รับประกันความหวาน และสามารถตรวจ
สอบย้อนกลับได้ ซึ่งจะเริ่มเก็บผลผลิตแรกในนามกลุ่มเดือน ธ.ค. นี้




นายนิรุตน์ กองปิงคำ (กลาง) ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตส้มคุณภาพ แม่อาย



ดร.ธนะชัย พันธ์เกษมสุข อธิบายวิธีการตรวจสอบสารพิษตกค้างบนผลส้ม




สีม่วงแดง (ซ้าย) แสดงว่ามียังมียาฆ่าแมลงตกค้างอยู่บนผลส้ม




วัดความความของส้มด้วย refractometer พร้อมรับประกันคุณภาพความหวานไม่
ต่ำกว่า 12 บริกซ์




ไส้อั่วปุ๋ย ไอเดีย ดร.ธนะชัย พันธ์เกษมสุข ใช้ไส้เทียมบรรจุปุ๋ยแบบธรรมดาแล้ว
เจาะรูเล็กๆ ให้ปุ๋ยค่อยๆซึมผ่านออกมา แทนการใช้ปุ๋ยชนิดละลายช้าที่มีราคา
แพงกว่ามาก



คัดคุณภาพส้มแบ่งขายตามเกรด แต่ทุกเกรดต้องหวานไม่ต่ำกว่า 12 บริกซ์ และไม่
แวกซ์ผิวส้มเช่นเดียวกัน พร้อมติดรหัส "QR Code" สำหรับตรวจสอบย้อนกลับได้





ตรวจสอบย้อนกลับง่ายๆ ผ่านโทรศัพท์มือถือ




แยมส้ม อีกหนึ่งผลิตภัณฑ์แปรรูปจากส้มสายน้ำผึ้งเชียงใหม่


http://www.chiangmaisweettangerine.com/report.asp?NID=1000000055
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 04/11/2010 4:57 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เหตุใดส้มโชกุลสามารถปลูกได้ในจังหวัดยะลา พื้นที่ใดบ้างที่ปลูกในประเทศไทยที่เหมาะสมจะปลูกโชกุล


ส้มโชกุล เป็นพันธุ์ส้มเปลือกล่อนที่กำลังได้รับความนิยม รู้จักกันในชื่อส้มสายน้ำผึ้งหรือส้มเพชร ยะลา ทรงต้นและขนาดต้นใกล้เคียงกับส้มเขียวหวานแต่ทรงพุ่มค่อนข้างจะหนาแน่นกว่า กิ่งและใบตั้งขึ้น ใบมีขนาดเล็กกว่าส้มเขียวหวานแต่สีใบเขียวเข้มกว่า ผลมีสะดือ ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษ เนื้อแน่นชานนิ่ม มีเปอร์เซ็นของน้ำต่อผลสูง รสชาติหวานจัดอมเปรี้ยวเล็กน้อยผลแตกง่ายกว่าส้มเขียวหวาน เหมาะสำหรับปลูกทางภาคใต้ ถ้าจะปลูกภาคอื่นๆ ต้องมีการจัดการดินและน้ำที่เหมาะสม ไม่ควรปลูกในดินเหนียวเพราะผลจะแตกง่าย

ส้มโชกุล เป็นผลไม้ที่ปลูกในจังหวัดยะลา โดยเฉพาะที่อำเภอเบตง เป็นส้มพันธุ์ดี มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "ส้มเพชรยะลา" เป็นส้มที่มีเนื้อสวย รสชาดดี หอมหวาน ส้มโชกุล จะมีมาก และให้ผลดีในระหว่างเดือนกรกฏาคม และสิงหาคม นอกนั้นก็มีบ้างประปราย เมื่อส้มอยู่ในท้องตลาด จะถูกคัดเป็นเกรด เกรด A B C ตามลำดับ ส้มเกรด A ราคาประมาณ ๔๕ - ๖๐ บาท นับว่าทำรายได้ดีให้กับเจ้าของสวน ชาวสวนส้มโชกุล เล่าว่า การใส่ปุ๋ย และการให้น้ำกับต้นส้ม เป็นสิ่งจำเป็นมาก และต้องเอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิด มิฉะนั้นแล้ว จะไม่ให้ผลดีเท่าที่ควร นอกจากจะขายผลส้มแล้วยังขายต้นส้มเพื่อขยายพันธุ์อีกด้วย


http://www.kasetonline.net/newsite/index.php?id=46
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©