-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-บำรุง "ดอก+ผลเล็ก" มะม่วง....
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - บำรุง "ดอก+ผลเล็ก" มะม่วง....
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

บำรุง "ดอก+ผลเล็ก" มะม่วง....

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
nonny
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 07/07/2010
ตอบ: 9

ตอบตอบ: 29/10/2010 12:55 am    ชื่อกระทู้: บำรุง "ดอก+ผลเล็ก" มะม่วง.... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลุงคิม

ช่วงนี้มะม่วงผมออกดอกเยอะมาก ขอ "สูตรบำรุงดอก" ต้องใช้สูตรไหนบ้างครับ

จะมีทั้ง "ดอก+หัวแมลงวัน" แล้วก็มี เลยไม่ทราบว่าใช้สูตรไหนดีครับ


ขอบคุณครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Yuth-Jasmine
สาวดี่
สาวดี่


เข้าร่วมเมื่อ: 05/07/2010
ตอบ: 384

ตอบตอบ: 29/10/2010 6:24 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ก่อนลุงมาขยายความลงอ่านอันนี้ดูก่อนก็ได้ครับ หากสงสัยลองไปดูที่หัวข้อไม้ผล
เรื่องมะม่วงดูน่ะครับตามลิ้งค์ด้านล่าง ติดขัดก็ลองปรีกษาลุงดูครับ

http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=76&page=3

8.บำรุงดอก
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล.+ 15-45-15(400 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ เอ็นเอเอ.100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียกใบ 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรช่วงค่ำ ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้ 8-24-24 (1/2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
- ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้น
- ให้น้ำพอหน้าดินชื้น
หมายเหตุ :
- ให้ “เอ็นเอเอ. หรือ เอ็นเอเอ.+ จิ๊บเบอเรลลิน” ช่วงดอกตูมแทงออกมายาว 2-3 ซม.1 ครั้ง จะช่วยบำรุงเกสรทั้งตัวผู้และตัวเมียให้สมบูรณ์พร้อมรับการผสมแต่ต้องใช้ด้วยระมัดระวังเพราะถ้าให้ผิดอัตราจะเกิดความเสียหายต่อดอกและไม่ได้ผล....ช่วงอากาศร้อนใช้ในอัตราลดลง25 เปอร์เซ็นต์ของอัตราใช้ปกติ และช่วงอากาศหนาวให้เพิ่มอัตราใช้ 25 เปอร์เซ็นต์ของอัตราใช้ปกติ
- ช่วงดอกเริ่มแทงออกมาใหม่ๆให้แคลเซียม โบรอน. 1 รอบ จะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ผสมติดดี
- ฉีดพ่นสารอาหารเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุดตามความเหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆของดอก ฉีดพ่นที่ช่อดอกโดยตรงพอเปียกหรือฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้
- บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้เน้น “ฮอร์โมนน้ำดำ และ แคลเซียม โบรอน” โดยให้เมื่อดอกออกมาแล้วหรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก ให้แบบเดี่ยวๆหรือผสมรวมไปกับธาตุอาหารอื่นๆก็ได้
- ช่วงดอกตูมควรฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้บ่อยขึ้น เพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงจนถึงช่วงดอกบาน
- ระยะดอกบานถ้าตรงกับช่วงฝนชุกเกสรจะเปียกชื้นทำให้ผสมไม่ติด แก้ไขโดยกะระยะเวลาบำรุงให้ดอกออกมาแล้วไม่ตรงกับช่วงฝนชุกเท่านั้น แต่ถ้าดอกออกมาตรงกับช่วงแล้งอากาศร้อนมากเกสรจะฝ่อทำให้ผสมไม่ติดเช่นกัน แก้ไขโดยการสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศและที่พื้นดิน ทั้งในแปลงปลูกและรอบๆแปลงปลูก....มาตรการบำรุงต้นและดอกให้สมบูรณ์อย่างแท้จริงอยู่เสมอจะช่วยลดความสูญเสียได้เป็นอย่างมาก
- ในช่อดอกมีทั้งดอกและใบ แก้ไขด้วยการฉีดพ่น “0-42-56 + ธาตุรอง/ธาตุเสริม” พอเปียกใบ 1-2 รอบ ช่วงเช้าแดจัด ห่างกันรอบละ 5-7 วัน หลังจากที่เห็นชัดแล้วว่ามีทั้งใบละดอก

9.บำรุงผลเล็ก
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล.+ 21-7-14 (400 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ ฮอร์โมนไข่ 25 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นทางใบพอเปียกใบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7 (1/2-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
- นำอินทรีย์วัตถุกลับเข้าคลุมโคนต้นพร้อมกับเสริมยิบซั่มธรรมชาติ อัตรา 1 ใน 10 ส่วนของครั้งที่ใส่เมื่อช่วงเตรียมดิน
- ให้น้ำแบบค่อยๆ เพิ่มปริมาณน้ำทีละน้อยๆ ของการให้น้ำ 3-4 รอบเพื่อให้ต้นรู้ตัว
หมายเหตุ :
- เริ่มบำรุงเมื่อผลเท่าเมล็ดถั่วเขียว หรือหลังกลีบดอกร่วง
- ช่วงผลเล็กเริ่มโชว์รูปทรงผลแล้วให้ “น้ำ 100 ล.+ จิ๊บเบอเรลลิน 10 กรัม” ฉีดพ่น 1 รอบพอเปียกใบ จะช่วยบำรุงผลไม่ให้เกิดอาการผลแตกผลร่วงตลอดอายุผลได้ดี

10.บำรุงผลกลาง
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล.+ 21-7-14 (400 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม (100 ซีซี.)+ ไคโตซาน 100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 7-10 วัน ฉีดพ่นทางใบพอเปียกใบ
ทางราก :
- ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 21-7-14 (1/2-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ
- เริ่มบำรุงเมื่อเปลือกหุ้มเมล็ดเริ่มแข็ง (เข้าไคล) การที่จะรู้ว่าเมล็ดเริ่มเข้าไคลให้ใช้วิธีสุ่มเก็บลงมาผ่าดูลักษณะภายในผล
- วัตถุประสงค์เพื่อขยายขนาดผลและลดขนาดเมล็ด (หยุดเมล็ด-สร้างเนื้อ) ทำให้ผลมีเนื้อมากแต่เมล็ดเล็กหรือลีบ
- ถ้าต้นติดผลดกมากควรให้ ฮอร์โมนน้ำดำ. แคลเซียม โบรอน. 1-2 รอบ โดยแบ่งให้ตลอดระยะผลกลางจะช่วยให้ต้นไม่โทรมเนื่องจากรับภาระเลี้ยงผลมาก

11.บำรุงผลแก่
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล. + 0-0-50 (400 กรัม) หรือ 0-21-74 (400 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้ 13-13-21 หรือ 8-24-24 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1/2-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
- ให้น้ำเพื่อละลายปุ๋ยแล้วงดน้ำเด็ดขาด
หมายเหตุ :
- เริ่มให้ก่อนเก็บเกี่ยว 7-10 วัน 1-2 รอบห่างกันรอบละ 5-7 วัน
- การให้ 13-13-21 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลรุ่นเดียวกันทั้งต้น แต่หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วต้นมักโทรมจึงต้องเร่งบำรุงฟื้นฟูความสมบูรณ์ของต้น (เรียกใบอ่อน) กลับคืนมาโดยเร็วแล้วจึงเข้าสู่วงรอบการบำรุงใหม่
- การให้ 8-24-24 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลหลายรุ่นในต้นเดียวกันหรือประเภททะวายทยอยออกแบบไม่มีรุ่นซึ่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลแก่จัดไปแล้วต้นไม่โทรม ใน 8-24-24 เป็นปุ๋ยประเภทสะสมอาหารเพื่อการออกดอกซึ่งจะส่งผลให้กิ่งที่ยังไม่ออกดอกเกิดอาการอั้นแล้วออกดอกติดผลเป็นผลรุ่นใหม่ได้
- ระยะผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวถ้ามีการให้ “กลูโคสหรือนมสัตว์สด” สำหรับมะม่วงกินสุกเมื่อผลสุกเนื้อในจะนิ่มหรือเละ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
nonny
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 07/07/2010
ตอบ: 9

ตอบตอบ: 02/11/2010 9:47 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขอบคุณครับ พี่ ยู้ดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 02/11/2010 10:07 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ธรรมชาติสรีระวิทยาพืชของมะม่วงแล้ว อาจไม่ต้อง "ยึดหลักวิชาการ" เป๊ะๆ หรอกนะ เพราะมะม่วงน่ะมีเมล็ดขนาดเล็ก (ลีบ) อยู่แล้ว ไม่เหมือนลำไย ลิ้นจี่ เงาะ ทุเรียนบางสายพันธุ์

เพราะฉนั้นมะม่วง เมื่อติดเป็นผลชัดเจนแล้วให้บำรุงด้วยสูตร "ขยายขนาดผล" ได้เลย ก็ "ยูเรก้า หรือ อเมริกาโน่" นั่นแหละ ส่วนที่ขาดไม่ได้ซึ่งจะต้องให้เสริมเป็นครั้งคราวตามสภาวะอากาศ และสภาพต้นก็คือ "ไบโออิ กับ แคลเซียม โบรอน" ไงล่ะ


อย่าประมาท อย่าชล่าใจ....
ปุ๋ย/ฮอร์โมน ประเภทที่ให้ทางใบ มีปริมาณเพียงพอต่อการบำรุงต้น เพื่อให้ต้นไปสร้างผลได้เพียง 1 ใน 4 ของปริมาณความต้องการทั้งหมดเท่านั้น.....ที่เหลือ 3 ใน 4 ต้องไปจากทางดิน

ถ้าต้นได้รับสารอาหารทางใบเพียงพอแต่ได้รับทางรากไม่เพียงพอ แม้คุณภาพผลผลิตรุ่นนี้จะดี ถึงดีมาก แต่ต้นจะโทรมอย่างมหาศาล ถึงขนาดยืนต้นตาย หรือเว้นการให้ผลผลิตในรุ่นปีการผลต่อไปได้

นั่นคือ ให้ปุ๋ยทางดินสูตร 25-7-7 + ยิบซั่ม + กระดูกป่น + ปุ๋ยคอก + น้ำหมักชีภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง ทุกเดือน



ธรรมชาติ COPY ไม่ได้ แต่ APPLY ได้
ลุงคิมครับผม

ปล.
ไปไร่กล้อมแกล้มจะสอนทำ "ยูเรก้า - อเมริกาโน่ - ไบโออิ - แคลเซียม โบรอน" แบบชุดเล็ก (FAST FOOD) ครั้งละ 10 ล. แบบทำทีใข้ที ประมาณนั้น
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 02/11/2010 10:48 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

วัตถุประสงค์ของการใช้ปุ๋ยทางใบ

การใช้ปุ๋ยทางใบมีวัตถุประสงค์หลักในการใช้อยู่ 4 ประการ คือ

1. เพื่อแก้ไขอาการขาดธาตุอาหาร :
ในดินด่างพืชมักขาดธาตุเหล็ก (Fe) ทองแดง (Cu) สังกะสี (Zn) แมงกานีส (Mn) และโบรอน (Bo)การให้ปุ๋ยฟอสเฟตอัตราสูงก็คงเป็นเหตุให้พืชขาดสังกะสีได้เช่นกัน การใส่ปุ๋ยจุลธาตุเหล่านั้นทางดินในรูปเกลืออินทรีย์ ก็มักจะตกตะกอน และไม่เป็นประโยชน์ต่อพืชเต็มที่แต่ถ้าใช้ปุ๋ยจุลธาตุคีเลในดินก็ย่อมเสสียค่าใช้จ่ายสูง วิธีการแก้ไข คือ ใช้สารละลายของเกลือจุลธาตุดังกล่าวฉีดพ่นทางใบ ซึ่งเป็นวิธีที่ให้ผลเร็วและชัดเจนกว่าการให้ทางดิน แต่อย่างไรก็ตามดินยังเป็นทรัพยากรหลักในการผลิตพืชและถือว่าดินเป็นแหล่งธาตุอาหารที่สำคัญสำหรับพืช การบำรุงดินตามหลักการทีกล่าวข้างต้นจึงเหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้การใช้ปุ่ยทางใบจึงอาจยอมรับเข้ามาเสริมความสมบูรณ์ของการผลิต โดยเฉพาะช่วยแก้ไขการขาดธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริม ดังนี้


2. เพื่อเพิ่มคุณภาพและผลผลิต :
ปุ๋ยทางใบที่มีสัดส่วนของไนโตรเจนดังนั้นเป็นที่นิยมใช้กันมาก คือ ราวร้อยละ 50 ของปุ๋ยทางใบทั้งหมด เมื่อนำมาใช้ร่วมในการผลิตผักและช่วยให้ผักดูอวบและเขียวสด เนื่องจากไนโตรเจน ส่งเสริมการเติบโตของต้นและใบยังช่วยเพิ่มปริมาณของคลอโรฟิลล์ในใบ

ปุ๋ยทางใบชนิดเกล็ดที่มีสัดส่วนของฟอสฟอรัสสูงได้รับความนิยมรองลงมา คือ ใช้ประมาณร้อยละ 28 ปุ๋ยประเภทนี้ช่วยเพิ่มคุณภาพของไม้ดอกไม้ประดับ หากใช้เสริมในไม้ผลก่อนการออกดอกจะช่วยให้ดอกสมบูรณ์

ปุ๋ยทางใบที่มีสัดส่วนของโพแทสเซียมสูง ใช้กันเพียงร้อยละ 11 ของปุ๋ยทางใบทั้งหมดเพื่อเสริมธาตุนี้ในช่วงการพัฒนาของผลในไม้ผลหลายชนิดและช่วยให้รสชาติของผลไม้ดีขึ้น

3. เพื่อช่วยให้พืชฟื้นตัวจากปัญหาความขาดแคลนในบั้นปลาย :
สำหรับพืชล้มลุกโดยทั่วไป เมื่อย่างเข้าสู่ผลิดอกออกผล อินทรีย์สารต่าง ๆ ที่เคยสะสมไว้ในใบจะเริ่มเคลื่อนย้ายไปสร้างผล เป็นเหตุให้รากพืชได้รับอาหารน้อย ในช่วงนี้การเจริญเติบโตของระบบรากจึงหยุดลง แต่รากก็ยังต้องทำหน้าที่ต่อไปด้วย ประสิทธิภาพที่ต่ำ ปริมาณของธาตุอาหารที่ดูดได้จากดินก็น้อยลงไปด้วย สำหรับในพืชตระกูลถั่วนั้นช่วงนี้ปมรากอาจขาดอาหารจึงเริ่มเน่าและหลุดจากราก ขณะที่รากดูดธาตุไนโตรเจนได้น้อยลง และไม่มีกิจกรรมการตรึงไนโตรเจนอีก พืชจึงไม่มีไนโตรเจนเพียงพอแก่การบำรุงลำต้น ใบ ดอก และผล ในช่วงนี้ไนโตรเจนจากใบจะเคลื่อนย้ายไปสร้งผลเป็นเหตุให้ใบเหลืองและในที่สุดก็แห้งตาย พืชตระกูลถั่วมักประสบปัญหานี้ได้มากกว่าพืชตระกูลหญ้าเพราะใช้ไนโตรเจนมากกว่า ดังนั้นการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนทางใบแก่พืชเหล่านี้ในช่วงที่ออกดอก จะช่วยชะลอการร่วงของใบและมีแนวโน้มจะเพิ่มผลผลิตได้ด้วย

4. เพื่อวัตถุประสงค์อื่น : เช่นบังคับให้มะม่วงออกดอกและติดผลนอกฤดูโดยการใช้สารพาโคลบิวทราโซล รดที่พื้นดินใต้พุ่มต่อจากนั้นประมาณ 75 – 90 วัน ก็กระตุ้นให้แตกตาดอกโดยฉีดพ่นด้วยสารละลายโพแทสเซียมไนเตรท 2.5 % หรือไทโอยูเรีย 0.5 % ซึ่งจะช่วยให้มะม่วงแทงช่อดอก 2 สัปดาห์

ข้อควรระวังในการใช้ปุ๋ยทางใบ
ละลายหรือผสมปุ๋ยกับน้ำในอัตราส่วนที่แนะนำ อย่าผสมให้เข้มข้นเกินไป จะทำให้ใบพืชไหม้

ปุ๋ยทางใบจะช่วยแก้ปัญหาการขาดธาตุอาหารได้ดี ถ้าฉีดพ่นปุ๋ยที่ให้ธาตุนั้นเร็วที่สุด ถ้ามีอาการรุนแรงมากแล้วการใช้ปุ๋ยทางใบจะไม่เกิดผล
ควรถือว่าการใช้ปุ๋ยทางใบเป็นเพียงการเสริม แต่การบำรุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีทางดินเป็นงานหลัก หากบำรุงดีแล้วไม่จำเป็นต้องให้ปุ๋ยทางใบ


http://www.doae.go.th/spp/biofertilizer/flo1.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 02/11/2010 10:53 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การใช้ปุ๋ยทางดิน

แนะนำให้ใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์โดยมีวิธีการใส่ ดังนี้

1. ใส่รองกันหลุมก่อนปลูก เป็นการใส่ปุ๋ยรองก้นหลุมปลูกก่อนตักดินกลบแล้วปลูก

2. ใส่รอบรัศมีมีทรงพุ่มหลังปลูก มีวิธีการใส่แตกต่างกันตามระบบรากพืช
ระบบรากตื้น เช่น ส้ม ลางสาด ลองกอง หว่านปุ๋ย บนผิวดินโดยไม่ต้องกลบ รอบ ๆ ต้น ไม่ชิด โคนต้น เกินไป แล้วให้น้ำ
ระบบรากลึก เช่น มะม่วง กระท้อน ชมพู่ ลำไย ขนุน เป็นต้น ขุดร่องใส่ปุ๋ยรอบ ๆ โคนต้น รัศมีพุ่มใบ ความลึกของร่องประมาณ 5-6 นิ้ว หว่านปุ๋ยในร่องพร้อมกลบดิน

การใช้ปุ๋ยทางใบ ใช้วิธีฉีดพ่นไปที่ใบของพืชโดยมีข้อควรพิจารณาการใช้ปุ๋ยทางใบในไม้ผลดังนี้

1. การใช้ปุ๋ยทางใบ เป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการให้ปุ๋ย (ธาตุอาหารพืช) แก่พืช นอกเหนือไปจากการให้ปุ๋ยทางดิน ถ้ามีการให้ปุ๋ยทางดินอย่างถูกต้อง ไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยทางใบ แต่ต้องมีธาตุอาหารเสริมเพียงพอ

2. การใช้ปุ๋ยทางใบ ช่วยเพิ่มคุณภาพของไม้ผลบางชนิด เช่น ทุเรียน องุ่น

3. ในดินที่มีปัญหารุนแรง เช่น รากเสีย ถูกน้ำท่วมขังนาน ๆ ถูกพิษสารเคมี หรือน้ำเสีย หรือรากพืชเป็นโรคเสียหายมาก ควรพิจารณาให้ปุ๋ยทางใบ

4. ในกรณีที่พืชขาดธาตุอาหารรุนแรง (แสดงอาการขาดธาตุอาหารให้เห็น) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของธาตุอาหารเสริม (Trace elements) ควรพิจารณาให้ธาตุอาหารที่ขาดทางใบ

5. พืชบางชนิดสามารถดูดอาหารทางใบได้ดี ควรพิจารณาให้ปุ๋ยทางใบ และควรพิจารณาใช้ปุ๋ยทางใบร่วมกับการฉีดสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชเพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย

6. การใช้ปุ๋ยทางใบให้มีประสิทธิภาพต้องคำนึงถึง
-ช่วงเวลาในการฉีดพ่น ช่วงเช้าก่อน 11.00 น. เหมาะสมที่สุดและควรเป็นใบเพสลาด
-สารที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยทางใบ ใช่ น้ำตาลกลูโคส เด็กโตส


ข้อควรระวังในการใช้ปุ๋ยทางใบ
ละลายหรือผสมปุ๋ยกับน้ำในอัตราส่วนที่แนะนำ อย่าผสมให้เข้มข้นเกินไป จะทำให้ใบพืชไหม้

ปุ๋ยทางใบจะช่วยแก้ปัญหาการขาดธาตุอาหารได้ดี ถ้าฉีดพ่นปุ๋ยที่ให้ธาตุนั้นเร็วที่สุด ถ้ามีอาการรุนแรงมากแล้วการใช้ปุ๋ยทางใบจะไม่เกิดผล ควรถือว่าการใช้ปุ๋ยทางใบเป็นเพียงการเสริม แต่การบำรุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีทางดินเป็นงานหลัก หากบำรุงดีแล้วไม่จำเป็นต้องให้ปุ๋ยทางใบ


http://www.pantown.com/board.php?id=21604&area=4&name=board7&topic=23&action=view


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/11/2010 5:49 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 02/11/2010 10:56 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ข้อดีและข้อจำกัดในการใช้ปุ๋ยทางใบ

ข้อดี
1. การปรับปรุงดินที่มีปัญหา ให้มีคุณสมบัติเหมะสมกับการใช้ปุ๋ยทางดิน ต้องใช้เวลาพอสมควร ในช่วงเวลาที่มีปัญหาดังกล่าว อาจแก้ปัญหาการขาดธาตุอาหารบางธาตุ โดยการพ่นทางใบโดยตรง ซึ่งไม่ต้องมีอุปสรรคเกี่ยวข้องกับการตรึง หรือลดความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารในดิน

2. ในหลายกรณีการให้ปุ๋ยทางใบมีประสิทธิภาพสูงกว่าใส่ในดิน โดยเฉพาะธาตุอาหารเสริม

3. ในบางระยะของการเจริญเติบโตของพืช ถ้าพืชแสดงอาการขาดธาตุอาหารในระยะวิกฤต เช่น ก่อนออกดอก ในจังหวะเช่นนี้ ไม่มีวิธีใดให้ผลดีและรวดเร็วกว่าการให้ทางใบ หากใส่ปุ๋ยทางดินอาจไม่ทันกับความต้องการ และกระทบกระเทือนต่อผลผลิตอย่างรุนแรง การให้ปุ๋ยพวกธาตุอาหารเสริมทางใบอาจไม่ต้องทำบ่อย การให้ในความเข้มข้นที่เหมาะสมเพียงครั้งหรือสองครั้ง ก็เพียงพอไปจนตลอดชีพจักรของพืช

4. การให้ปุ๋ยทางใบ ได้ผลดีกับพืชที่มีใบใหญ่และใบมาก เพราะจะรับละอองปุ๋ยไว้ได้มาก วิธีนี้จึงให้ผลดีกับพืช ใบเลี้ยงคู่ เช่น ไม้ผล ผักต่าง ๆ มากกว่าพืชใบเลี้ยงเดียว เช่น ข้าว อ้อย ในกรณีที่รากพืชไม่ค่อยเจริญเติบโตเท่าที่ควร เนื่องจากดินไม่ค่อยสมบูรณ์ มีการตรึงธาตุอาหารรุนแรง ธาตุอาหารสูญเสีย โดยการพังทลาย และการชะล้างอุณหภูมิอากาศต่ำ ความชื้นในดินมีจำกัดรากมีบาดแผล
หรือเริ่มเป็นโรคหรือระบบรากค่อนข้างจำกัดควรแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้โดยการให้ปุ๋ยทางใบ

5. การให้ปุ๋ยทางใบ เพื่อเสริมการใส่ในดิน จะให้ผลเด่นชัด เมื่อให้ตอนที่พืชมีอัตราการเจริญเติบโตค่อนข้างช้าและระหว่าง
การออกดอกขณะที่พืชออกดอกจะมีใบเต็มที่แล้ว แต่ความสามารถในการดูดธาตุอาหารของรากลดลง


ข้อจำกัด
1. ควรถือว่าการให้ปุ๋ยทางใบเป็นวิธีเสริมการใส่ปุ๋ยทางดินตามปกติ

2. การพ่นปุ๋ยน้ำให้มีละอองเล็กและรวดเร็วต้องใช้เครื่องมือพิเศษ และต้องการความชำนาญพอสมควร

3. พืชหลายชนิด ไม่ค่อยตอบสนองต่อการพ่นปุ๋ยทางใบ องค์ประกอบทางเคมีและสัณฐาน ลักษณะของพืช มีผลกระทบต่อการเกาะติดที่ใบ และการใช้ประโยชน์จากปุ๋ย

4. หากใช้อัตราสูงเกินไป อาจเกิดอาการใบไหม้ได้อย่างรุนแรงกว่าการใส่ในดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ปุ๋ยธาตุอาหารเสริมจะต้องระมัดระวังในเรื่องอัตราที่ใช้อย่างมาก

5. ต้องไม่ใช้ปุ๋ยพ่นทางใบในขณะที่พืชเหี่ยวเฉาหรือขาดน้ำ หรืออากาศร้อนจัด ลมแรงหรือเมื่อคาดว่าฝนจะตก

6. การพ่นปุ๋ย อย่าให้ถึงกับเปียกโชก เพราะสิ้นเปลีองค่าปุ๋ยซึ่งมีราคาแพง ประสิทธิภาพของปุ๋ยพ่นทางใบเมื่อตกลงดินจะ
มีประสิทธิภาพเท่ากับปุ๋ยที่ใส่ทางดินที่มีราคาถูกกว่ามาก

7. โดยปกติปุ๋ยที่ใช้อยู่ในรูปของอนินทรียสาร จึงกัดกร่อนอุปกรณ์การพ่นปุ๋ยมากกว่าสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชทั่ว ๆ ไป


ธาตุอาหารพืชในปุ๋ยเคมีสูตรต่าง ๆ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 เรียกว่า ธาตุอาหารหลัก ประกอบด้วย ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม

กลุ่มที่ 2 เรียกว่า ธาตุอาหารรอง ประกอบด้วย แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน

กลุ่มที่ 3 เรียกว่า ธาตุอาการเสริม ประกอบด้วย เหล็ก แมงกานีส สังกะสี ทองแดง โบรอน โมลิบดินัม คลอรีน


การใช้ปุ๋ยพ่นทางใบ มีข้อจำกัดหลายประการ แต่ประการที่สำคัญที่สุดคือ ความเข้มข้นของปริมาณธาตุอาหารที่มากเกินพอ จนทำให้พืชทนไม่ได้ และเกิดความเสียหายได้ อัตราแนะนำที่ต่ำเกินไป พ่นทางใบจะไม่ได้ผลเต็มประสิทธิภาพ เสียเวลาเสียค่าใช้จ่ายไม่คุ้มค่าและเกิดความเข้าใจผิดเสียโอกาสแต่อัตราที่สูงเกินไปก็จะเกิดผลเสียหายแก่พืชอัตราการใช้ปุ๋ยพ่นทางใบแต่ละสูตรขึ้นอยู่กับ

1. ธาตุอาหารหลักที่สูตรปุ๋ยนั้น ๆ ถ้าใช้เกินความทนได้ของพืชแล้ว จะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงลำดับมากไปหาน้อย คือ
ฟอสฟอรัส ไนโตรเจน และโพแทสเซียม

2. ชนิดของพืชที่แนะนำให้ใช้ แบ่งพืชออกเป็น 3 กลุ่ม ตามความสามารถที่ทนได้ต่อความเข้มข้นของธาตุอาหารหลัก

2.1 พืชกลุ่มที่ 1 พวกแตงต่าง ๆ ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา มะเขือต่าง ๆ ผักกาดหอม ไม้ดอกไม้ประดับ และไม้ผลพืช ในกลุ่มนี้มีความทนต่อความเข้มข้นของธาตุอาหารหลักได้ต่ำสุด

2.2 พืชกลุ่มที่ 2 พวกพืชตระกูลกระหล่ำ มีความทนได้ปานกลาง

2.3 พืชกลุ่มที่ 3 พืชหัว หอม กระเทียม แครอท มันฝรั่ง มันต่าง ๆ สับปะรด มีความทนได้สูง


3. การกำหนดอัตรา เพื่อเขียนลงในเอกสารกำกับปุ๋ยเคมี เพื่อจัดหาให้แก่เกษตรกร กำกับปุ๋ยสูตรที่ขอขึ้นทะเบียน และจำหน่ายอยู่ในปัจจุบัน ได้กำหนดอัตราการใช้เพียงครึ่งหนึ่งของความทนได้ ทั้งนี้ด้วยเหตุผลที่ว่า การใช้ปุ๋ยพ่นทางใบ ของเกษตรกรนั้น ส่วใหญ่ใช้ประมาณคร่าว ๆ และมักใช้เกินอัตราแนะนำ ดังนั้นการลดอัตราการใช้จากความทนได้ลงมาครึ่งหนึ่งก็เพื่อความปลอดภัยของพืชนั่นเอง


เวลาที่เหมาะแก่การพ่นทางใบ
ควรพ่นในช่วงที่มีอุณหภูมิต่ำ แดดไม่จัด และความชื้นสัมพัทธ์สูง เพื่อให้คงสภาพเป็นสารละลายนานที่สุด เนื่องจากพืชจะได้รับประโยชน์จากปุ๋ยที่ให้ทางใบก็ต่อเมื่อปุ๋ยนั้นอยู่ในรูปของสารละลาย การดูดซึมปุ๋ยทางใบจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เฉพาะเมื่อปุ๋ยยังอยู่บนผิวใบในรูปของสารละลาย


http://www.navy22.com/smf/index.php?topic=16558.0
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 03/11/2010 6:07 am    ชื่อกระทู้: Re: บำรุง "ดอก+ผลเล็ก" มะม่วง.... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

nonny บันทึก:
ลุงคิม

ช่วงนี้มะม่วงผมออกดอกเยอะมาก ขอ "สูตรบำรุงดอก" ต้องใช้สูตรไหนบ้างครับ

จะมีทั้ง "ดอก + หัวแมลงวัน" แล้วก็มี เลยไม่ทราบว่าใช้สูตรไหนดีครับ


ขอบคุณครับ



เข้ามาอ่านโจทย์ซ้ำอีกครั้ง ก็ให้นึกเป็นห่วง เกรงจะรักเขามากเกินไปจนต้นไม้อ้วก
อยากจะบอกว่า อย่ากังวัล "ดอก + ผลเล็ก" มากนัก เอาแค่ตั้งแต่ดอกเริ่มแทงออกมา ให้บำรุงด้วย "สูตรบำรุงดอก" ซัก 1-2 รอบก็พอ จากนั้นหาโอกาสเสริมด้วย "เอ็นเอเอ." ซัก 1 ครั้ง กับ "แคลเซียม โบรอน" อีก 1 ครั้ง

การบำรุงดอกไม่จำเป็นต้องรอจนมีดอกให้เห็นแล้วเท่านั้น แม้ว่าดอกจะยังไม่ออกมาแต่ทำท่าจะออกมิออกแหล่ก็เริ่มบำรุงได้ อย่างน้อยต้นได้รับสารอาหารไปแล้ว เขาคงจัดการให้กับตัวเองได้ เพราะถึงอย่างไร คงไม่มีไม้ต้นไหนออกดอกพร้อมกันทุกช่อ 100 % ใน วัน ว. เวลา น. เดียวกันหรอก


ที่สำคัญ การบริการจัดการ "ดิน-น้ำ-ปุ๋ย" ทางรากทางดินที่จะต้องเหมาะสมอย่างแท้จริงมากกว่า ส่วน "อุณหภูมิ" ในอากาศ นั้นอันนี้คงควบคุมไม่ได้แน่ มันเป็นเรื่องของโชคนะ

กรณีปุ๋ยทางดิน ถ้าได้ใส่ 8-24-24 ไว้ก่อนบ้างแล้วเมื่อช่างสะสมตาดอก + เปิดตาดอก ก็น่าจะเพียงพอ หรือจะใส่ เพิ่ม/ซ้ำ ก็พอไหว แล้วก็ต้องไม่ลืมว่า ปุ๋ยทางรากจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุดก็ต่อเมื่อ "โครงสร้างดิน" กับ "ปริมาณน้ำ" O.K. ด้วยนะ

เอาไว้ให้ติดเป็นผลเรียบร้อยทุกช่อแล้วค่อยบำรุงด้วยสูตร "บำรุงผล" ก็ได้ ซึ่งบางผลอาจจะโตสักหน่อยก็ไม่สาย เพราะช่วงบำรุงผลนั้น เอากันจริงๆ ขอเพียง 2-3 รอบก็พอ ซึ่งอายุผลจนถึงเก็บเกี่ยวตั้ง 120 วัน น่าจะเหลือเฟือนะ สำหรับการบำรุง


อยากให้ถามเรื่องนี้มากๆ พวกเราหลายคนพร้อมที่จะเล่าประสบการณ์ตรงให้ฟัง


ลุงคิม (เซียนตกขี้เมฆ) ครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
nonny
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 07/07/2010
ตอบ: 9

ตอบตอบ: 04/11/2010 7:00 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขอบคุณลุงคิมครับ ได้ผลยังไงจะมารายงานครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 04/11/2010 7:57 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อากาศหนาว ระดับคนภาคกลางต้องใส่เสิ้อกันหนาว ขอให้ถึง "Mg. Zn. และ Ca.Br. สักหน่อย ไม่งั้นผลร่วงหมดแน่....

การให้ "ปุ๋ย/ฮอร์โมน" ทางใบมากๆ แม้จะช่วยบำรุงผลได้ใหญ่และคุณภาพดี แต่จะส่งผลเสียต่อต้นภายหลัง นั่นคือ ต้นจะโทรมอย่างมาก สาเหตุนี้เรียกว่า "ช้อค" เพราะฉนั้น ช่วงบำรุงผล แนะนำให้เน้นทางรากเป็นหลัก ส่วนทางใบเป็นเพียงเสริมก็พอ

อายุผลมะม่วงประมาณ 4 เดือน น่าจะให้ปุ๋ย/ฮอร์โมนทางใบซัก 4-5 รอบก็พอ หรือ 20-30 วัน/ครั้ง ...... เทคนิคการให้ทางใบที่ดีที่สุด คือ "ให้น้อย บ่อยครั้ง" เช่น อัตราใช้ปกติ 20 ซีซี./น้ำ 20 ล. ให้ลดลงเหลือ 10 ซีซี./น้ำ 20 ล./15 วัน แค่นี้ก็เหลือเฟือแล้ว
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©