-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-"มะนาวนอกฤดู" ในถุงพีอี
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - เด็กใหม่เรื่องกล้วยไม้
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

เด็กใหม่เรื่องกล้วยไม้

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
jupajup
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 04/10/2010
ตอบ: 2

ตอบตอบ: 04/10/2010 3:06 pm    ชื่อกระทู้: เด็กใหม่เรื่องกล้วยไม้ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีทุกท่านทีเข้ามาอ่านะคะ......คือว่า

ตอนนี้มีความคิดว่าอยากจะเลี้ยงกล้วยไม้ (หวาย) เป็นอาชีพค่ะ แต่ติดปัญหาว่าเรื่องการตลาด ใครมีความรู้เรื่องนี้บ้างคะว่า เวลาเค้าซื้อขายกันยังงัย แล้วเราต้องไปหาตลาดจากตรงไหนคะ...

ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านและแสดงความคิดเห็นมากๆ ค่ะ Very Happy
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
somchai
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 21/07/2009
ตอบ: 1290

ตอบตอบ: 04/10/2010 3:24 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)








เรื่องตลาดนี่ละครับ สำคัญมากๆ ผมชอบเดินดู ตลาดปากคลอง บ่อยๆ
ดอกไม้นานาชนิด ทั้ง ผู้ซื้อ-ผู้ขาย มักมาพบปะกันที่นี่ หรือ ทำแบบ
ส่งออกก็ต้องไปดูแหล่งที่เขาผลิต ที่เขารวมกลุ่มกันอยู่ ประมาณนี้ละครับ


สมชาย กลิ่นมะพร้าว
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 04/10/2010 4:54 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ผู้วิจัย นางสาวศิริวรรณ ประเศรษฐานนท์

สังกัด กลุ่มวิจัยพืชน้ำมันและพืชตระกูลถั่ว ส่วนวิจัยพืชไร่นา
สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร

โทร (02) 561-3448

โทรสาร (02) 579-0910
E-mail siriwan@oae.go.th

ประวัติและผลงาน
ประเทศไทยเป็นแหล่งเพาะปลูกกล้วยไม้เมืองร้อนที่สำคัญประเทศหนึ่ง โดยเฉพาะกล้วยไม้สกุลหวายเนื่องจากมีสภาพภูมิอากาศคือ อุณหภูมิ 25-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-80% แหล่งเพาะปลูกกล้วยไม้ที่สำคัญคือ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี นครปฐม สมุทรสาคร ราชบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี เป็นต้น พันธุ์กล้วยไม้ที่นิยมปลูกมากคือ สกุลหวาย อะแรนด้า ม็อคคาร่า ออนซิเดียม แวนด้า ในระยะที่ผ่านมาการขยายพื้นที่เพาะปลูกยังทำได้ค่อนข้างจำกัด เนื่องจากว่าราคาที่ดินมีราคาสูงขึ้นและเกษตรกรที่เข้ามาปลูกกล้วยไม้จะต้องมีความรู้ความชำนาญในการเพาะปลูก ประกอบกับปัจจัยการผลิตมีราคาสูงขึ้น เช่น ปุ๋ยและยา ทำให้เกษตรกรไม่มีเงินลงทุนในการดูแลบำรุงรักษา จึงทำให้กล้วยไม้มีคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน ส่งผลให้มีการส่งออกได้เพียงร้อยละ 40 ของผลผลิตทั้งหมด อย่างไรก็ตามกล้วยไม้ยังเป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจพืชหนึ่ง สามารถส่งออกได้ทั้งกล้วยไม้ตัดดอกและกล้วยไม้กระถางทำรายได้ปีละ 1,500 ล้านบาท ตลาดส่งออกที่สำคัญ คือ ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา เป็นต้น นอกจากนี้แนวโน้มของตลาดใหม่ เช่น ตะวันออกกลาง จีน ก็มีแนวโน้มที่ต้องการเพิ่มขึ้น แต่เนื่องจากว่ายังขาดการปรับปรุงคุณภาพผลผลิต ส่งเสริมพัฒนาพันธุ์ใหม่และการโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้กล้วยไม้ไทยเป็นที่รู้จักในตลาดต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังขาดการควบคุมคุณภาพของกล้วยไม้ไทยไปต่างประเทศที่ดีพอจากปัญหาเพลี้ยไฟติดไปกับดอกกล้วยไม้ จึงทำให้สหภาพยุโรปมีการเผาทำลายกล้วยไม้ที่ส่งออกไปเป็นจำนวนมาก การขยายตลาดส่งออกที่ผ่านมาจึงทำได้ไม่มากนัก...

ในปัจจุบัน คนส่วนใหญ่นิยมรักสวยรักงามมากขึ้น ทำให้กล้วยไม้ของไทยเป็นที่นิยมทั้งตลาดภายในและตลาดต่างประเทศ เนื่องจากว่ามีอายุการประดับโชว์ความสวยงามได้นานกว่าดอกไม้อื่นๆ และมีสีดอกสดใสและสีหลากหลายทำให้การขยายของตลาดภายในและตลาดส่งออกมีแนวโน้มสูงขึ้น ดังนั้นการศึกษาการผลิตและการตลาดกล้วยไม้ จึงมีความจำเป็นเพื่อให้ทราบข้อมูลทั้งการผลิตและการตลาด และปัญหาต่างๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหากล้วยไม้ต่อไปในอนาคต...




http://www.oae.go.th/ewtadmin/ewt/oae_web/images/article/news71/f1.jpg



การนำเข้า - ส่งออก
การนำเข้าในปี 2548 ประเทศไทยนำเข้าดอกกล้วยไม้ ประมาณ 0.16 ล้านตัน มูลค่า 5.71 ล้านบาท มีปริมาณเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2547 จำนวน 0.08 ล้านตัน มูลค่า 3.39 ล้านบาทตามลำดับ และนำเข้าต้นกล้วยไม้จำนวน 0.957 ล้านตัน มูลค่า 13.59 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2547 ซึ่งนำเข้า 0.21 ล้านตัน มูลค่า 2.73 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 68.43 และ 390.47 ตามลำดับ โดยส่วนใหญ่นำเข้าดอกและต้นกล้วยไม้จากประเทศจีน

การส่งออกในปี 2548 ประเทศไทยส่งออกดอกกล้วยไม้ ประมาณ 21.2 ล้านตัน มูลค่า 2,538 ล้านบาท มีปริมาณเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2547 18.63 ล้านตัน มูลค่า 2,136 ล้านบาทตามลำดับ และส่งออกต้นกล้วยไม้จำนวน 30 ล้านตัน มูลค่า 446.67 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2547 ซึ่งส่งออก 26.3 ล้านตัน มูลค่า 344.6 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละที่เพิ่มขึ้น 18.82 และ 29.6 ตามลำดับ โดยส่วนใหญ่ประเทศไทยส่งออกดอกและต้นกล้วยไม้ไปยังประเทศญี่ปุ่น อเมริกา ฮ่องกง อิตาลี มากตามลำดับ

ประเทศคู่ค้า - คู่แข่ง
ประเทศคู่ค้าในการส่งจำหน่ายกล้วยไม้ของไทยแบ่งออกเป็น ตลาดเอเชีย ได้แก่ญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ โดยตลาดญี่ปุ่นเป็นลูกค้าที่สำคัญที่สุด มีความต้องการดอกกล้วยไม้สีอ่อน ทรงกลม ช่อยาว ซึ่งกล้วยไม้ที่ส่งไปญี่ปุ่นประมาณร้อยละ 80 ส่งผ่านทางตลาดประมูล (Auction market) และร้อยละ 20 ส่งให้ผู้สั่งซื้อโดยตรง, ตลาดยุโรป ได้แก่ อิตาลี เนเธอร์แลนด์ อเมริกา ออสเตรเลีย โดยตลาดอิตาลีเป็นลูกค้าที่สำคัญ ในสหภาพยุโรปจะมีความต้องการกล้วยไม้สีขาว และสีเข้ม ช่อยาว เช่น มาดาม ปอมปาดัวร์ บอมโจแดงมีลักษณะสีม่วงเข้ม โดยประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์เป็นประเทศคู่แข่งที่สำคัญของกล้วยไม้ไทยในตลาดอเมริกา ญี่ปุ่น และตลาดออสเตรเลีย ซึ่งส่งออกกล้วยไม้ตัดดอกคุณภาพดี ช่อยาว ดอกใหญ่

ทะเบียนผู้ผลิต และผู้ประกอบการด้านกล้วยไม้
จากการศึกษารวบรวมรวบรวมข้อมูล ได้บันทึกข้อมูลรายชื่อเกษตรกรที่มีการปลูกและส่งออกกล้วยไม้โดยใช้พื้นที่ศึกษาในภาคกลางที่มีการปลูกกล้วยไม้โดยมีพื้นที่เป้าหมายใน 10 จังหวัด ดังนี้ กรุงเทพมหานคร 298 ราย ชลบุรี 35 ราย นครปฐม 364 ราย นนทบุรี 89 ราย ปทุมธานี 4 ราย ราชบุรี 51 ราย สมุทรสาคร 435 ราย สมุทรปราการ 1 ราย สมุทรสงคราม 1 ราย พระนครศรีอยุธยา 36 ราย และบริษัทผู้ประกอบการ 38 บริษัท รวมทั้งสิ้น 1352 ราย

ปัญหา และอุปสรรคในการประกอบธุรกิจกล้วยไม้
ผู้ส่งออกลดปริมาณการสั่งซื้อ ตั้งปี 2541 ผู้ปลูกกล้วยไม้ในพื้นที่ภาคกลางได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ การสั่งซื้อจากบริษัทผู้ส่งออกลดประมาณร้อยละ 50 ราคาต่อช่อลดลงประมาณร้อยละ 30 ทำให้มีผู้ปลูกกล้วยไม้หลายรายได้เลิกกิจการ เนื่องจากเผชิญกับภาวะขาดทุน โดยเฉพาะในเรื่องค่ายาและค่าปุ๋ยขาดการความรู้ในการดูแลรักษาและจัดการสวน ปรับปรุงพันธุ์ที่ถูกต้อง ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพต่ำ เทคโนโลยีการผลิตและการรักษาคุณภาพของสินค้า ในขณะที่ความต้องการของผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยต้องการความแปลกใหม่และหลากหลาย ปัจจุบันการปรับปรุงพันธุ์กล้วยไม้ในประเทศไทยยังทำกันน้อยมาก และเมื่อได้พันธุ์ใหม่ยังต้องใช้เวลาอีก 1-2 ปี จึงจะสามารถสรุปได้ว่าพันธุ์นั้นมีอนาคตเป็นที่ต้องการของตลาดหรือไม่ ทำให้เสียตลาดบางส่วนให้กับสิงค์โปร์ เผชิญปัญหาการแข่งขันที่รุนแรง ในปัจจุบันมีแนวโน้มว่าประเทศคู่แข่งจะผลิตดอกกล้วยไม้ที่มีคุณภาพมากขึ้น โดยเฉพาะสิงค์โปร์และมาเลเซีย ทำให้ประเทศไทยต้องหามาตรการและแนวโน้มในการพัฒนากล้วยไม้ส่งออกอย่างเร่งด่วน โดยศึกษาวิจัย และการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟในกล้วยไม้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นที่ยอมรับของทั้งเกษตรกรและผู้ส่งออก วิจัยและทดสอบเทคโนโลยีการปลูกและการดูแลรักษาอย่างจริงจัง สนับสนุนการรวมกลุ่มเกษตกรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการถ่ายทอดความรู้และรวมกลุ่มผู้ซื้อปัจจัยการผลิต ส่งเสริมการเกษตรกรให้ปรับปรุงพันธุ์ รวมทั้งการขยายการส่งออกไปยังประเทศอื่นๆ นอกจากตลาดคู่ค้าเดิมด้วย

นอกจากนี้ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องในธุรกิจกล้วยไม้ของไทยยังเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลือธุรกิจกล้วยไม้โดยขอลดภาษีนำเข้าผงวุ้นเพื่อกิจการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยไม้ ปัจจุบันผู้ผู้เพาะปลูกต้องเสียภาษีร้อยละ 5-6 ให้เหลือร้อยละ 0 เพื่อให้ผู้ผลิตไทยแข่งขันในตลาดโลกได้มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ หรือให้การส่งเสริมการลงทุนแก่กิจการขนส่งสินค้าประเภทสินค้าเกษตรเป็นพิเศษ เพราะกล้วยไม้จะเป็นสินค้าที่บรรดาสายการบินไม่ต้องการรับภาระขนส่งให้เนื่องจากระวังการรักษาลำบากและกินพื้นที่บรรทุกในเครื่องบินค่อนข้างมาก แตกต่างจากสินค้าประเภทอิเลกทรอนิกส์ที่ไม่เปลืองพื้นที่ขนส่งและดูแลรักษาง่ายกว่า รวมทั้งมูลค่าต่อหน่วยยังสูงกว่าด้วย

ธุรกิจกล้วยไม้ต้องเร่งแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่างๆ รวมทั้งเร่งพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อให้สามารถแข่งขันได้และอยู่รอดท่ามกลางภาวะการแข่งขันที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น ทั้งจากคู่แข่งรายเดิมอย่างมาเลเซียและสิงค์โปร์ รวมทั้งคู่แข่งรายใหม่ที่กำลังมาแรง คือ จีน ทั้งนี้เพื่อให้ไทยยังครองอันดับหนึ่งในการส่งออกกล้วยไม้ในตลาดโลก และตลาดกล้วยไม้ของไทยสามารถขยายตัวครอบครองทั้งตลาดเก่าและตลาดใหม่ได้เพิ่มมากขึ้น









http://orchid.kapi.ku.ac.th/index.php?option=com_content&task=view&id=35&Itemid=51



แผนส่งออก กล้วยไม้ไทย

ท่ามกลางภาวะราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำแต่สำหรับกล้วยไม้ พืชเศรษฐกิจตัวหนึ่งของไทยกลับไม่มีปัญหา เนื่องจากตลาดยังมีความต้องการสูงทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดต่างประเทศนั้น

กล้วยไม้ไทยได้รับการยอมรับจากประเทศคู่ค้าอยู่ในระดับต้นๆ ส่งผลให้ ปัจจุบันประเทศไทยกลายเป็นแหล่งกำเนิดของกล้วยไม้หลากหลายชนิดที่มีมูลค่า การส่งออกนับพันล้านบาทในแต่ละปีด้วยเหตุนี้เองทำให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญได้ดำเนินงานโครงการผลักดันการส่งออกกล้วยไม้ใน ปี2551 และคาดว่าในอีก 4 ปีข้างหน้าหรือปี 2555 ประเทศไทยจะสามารถส่งออก กล้วยไม้ได้มูลค่า 1 หมื่นล้านบาท ขณะเดียวกันจะยกระดับให้ประเทศไทยเป็น ศูนย์กลางการผลิตกล้วยไม้เขตร้อนของโลกและให้กล้วยไม้ไทยเป็นจุดดึงดูดการ ท่องเที่ยว

“ในปี 2551 คาดว่าพื้นที่ปลูกกล้วยไม้ตัดดอกจะขยายตัวเพิ่ม ขึ้นเป็น 21,757 ไร่ส่วนการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นทั้งการส่งออกดอก กล้วยไม้และต้นกล้วยไม้ เนื่องจากมีหลายปัจจัยที่เอื้อ เช่น จีนซึ่งเป็น ตลาดกล้วยไม้ที่สำคัญแห่งหนึ่งของไทย หรือประเทศที่เป็นตลาดใหม่ อย่าง อินเดีย และประเทศในยุโรปตะวันตกก็เริ่มมีความต้องการกล้วยไม้มากขึ้นตาม ลำดับ” สมชายชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตรพูดถึงสถานการณ์ตลาด กล้วยไม้ไทยในต่างแดน โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของ การผลิตกล้วยไม้ให้มีคุณภาพเพื่อการส่งออก จึงได้มอบหมายให้กรมวิชาการ เกษตร โดยสถาบันวิจัยพืชสวนจัดทำระบบการจัดการคุณภาพ GAP สำหรับกล้วยไม้ เพื่อรับรองแปลงเกษตรกรที่ปฏิบัติตามแผนการควบคุมการผลิตกล้วยไม้ ให้ผลิต กล้วยไม้ที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานเป็นที่น่าพอใจของคู่ค้าและผู้บริโภค ขณะ เดียวกันสามารถผลิตกล้วยไม้ที่ตรงตามพันธุ์ มีคุณภาพและได้มาตรฐานตามที่ กำหนดและปลอดศัตรูพืช โดยผู้ที่ผ่านขั้นตอนการพิจารณาระบบ GAP แล้ว กรม วิชาการเกษตรจะมอบเครื่องหมายสัญลักษณ์ Q ให้

ปัจจุบันประเทศไทยเป็นแหล่งกำเนิดของกล้วยไม้หลากหลายชนิดที่มีค่าสามารถทำ รายได้จากการส่งออกไม่ต่ำกว่าปีละ 3,000 ล้านบาท และสามารถส่งออกเป็น อันดับ 2 ของโลก ในอนาคตคาดว่าอีกประมาณ 3-4 ปี จะสามารถทำรายได้ ถึง 1 หมื่นล้านบาท โดยส่งออกในรูปแบบของไม้ตัดดอกไม้ต้น ไม้ขวด ตลอดจน ผลิตภัณฑ์จากดอกกล้วยไม้ อธิบดีกรมวิชาการเกษตรเผย

ที่ผ่านมาสถาบันวิจัยพืชสวนได้ประชาสัมพันธ์เชิญชวนผู้ประกอบการและ เกษตรกรที่มีโรงเรือนกล้วยไม้ให้เข้ามาขอจดทะเบียนGAP ล่าสุดมีเกษตรกรให้ ความสนใจยื่นขอจดทะเบียนดังกล่าวแล้วกว่า 100 ราย และขณะนี้อยู่ระหว่างการ พิจารณาสอดรับกับมุมมอง สุชาติวิจิตรานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันพืชสวน ยอมรับว่า สถาบันวิจัยพืชสวนในฐานะเป็นหน่วยงานหลักในการประสานนโยบายกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งขณะนี้ได้เร่งดำเนินการศึกษาและวิจัยแก้ไขปัญหา ที่เป็นอุปสรรคต่างๆ โดยเฉพาะในเรื่องของระบบการขนส่ง เพื่อให้สะดวกสบายและ รวดเร็วมากขึ้น อีกทั้งเพื่อผลักดันให้มีการส่งออกเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

นอกจากนี้ยังได้พัฒนากล้วยไม้พื้นถิ่นที่มีศักยภาพทางการค้ากล้วยไม้ต้นที่ สำคัญ ได้แก่ กล้วยไม้สกุลรองเท้านารี สกุลซิมบิเดีย สกุลสปาโทกลอททิส และ สกุลฮาบินาเรีย จนสามารถเปิดตลาดกล้วยไม้เพิ่มอย่างต่อเนื่อง และสามารถ สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

ส่วนผู้ประกอบธุรกิจส่งออก กล้วยไม้พันธพัฒน์คุ้มวิเชียร ใน ฐานะผู้จัดการสวนกล้วยไม้แอร์ออคิด& แลบ มองว่าปัญหาการส่งออกกล้วยไม้ ไทยขณะนี้ส่วนหนึ่งมาจากสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ไม่ดี ทำให้การส่งออกกล้วยไม้มี ปัญหาตามไปด้วย โดยเฉพาะความผันผวนของราคาน้ำมันที่เป็นตัวแปรหลักในการส่ง ออก นอกจากนี้ยังเรียกร้องให้รัฐบาลประกันราคากล้วยไม้และเร่งทำโรดโชว์ใน ต่างประเทศบ่อยๆ ซึ่งจะช่วยในการขยายตลาดเพิ่มขึ้น จะได้ไม่จำกัดอยู่แค่ ตลาดอเมริกา จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่นและยุโรปไม่กี่ประเทศ

“ปัจจัยอีกตัวที่ธุรกิจส่งออกกล้วยไม้บ้านเรามีปัญหา เพราะการรวม ตัวของผู้ปลูกกล้วยไม้ไทยยังไม่เข้มแข็งพอ ดำเนินกิจการในลักษณะต่างคนต่าง ทำ ทำให้อำนาจการต่อรองมีน้อย ขณะเดียวกันภาครัฐก็ยังไม่ค่อยให้ความสำคัญ สักเท่าไรเมื่อเทียบกับพืชเศรษฐกิจตัวอื่น” ผู้จัดการสวนกล้วยไม้แอร์ ออคิด & แลบ กล่าวย้ำกล้วยไม้นับเป็นพืชเศรษฐกิจอีกตัวของประเทศที่ ควรได้รับการส่งเสริมภาครัฐอย่างจริงจัง เพราะเป็นพืชตัวเดียวในขณะนี้ก็ว่า ได้ที่ไม่มีปัญหาในเรื่องราคา แต่กลับไม่มีตลาดรองรับอย่างเพียงพอ

แนะวิธีดูแลกล้วยไม้ปลอดโรค
ชมพูนุทจรรยาเพศ นักสัตววิทยา8 สำนักวิจัยพัฒนา อารักขาพืช กรมวิชาการเกษตรแนะนำเกษตรกรควรให้ความสนใจและดูแลสวนกล้วยไม้ ให้ปลอดจากเชื้อรา แบคทีเรีย และหอยทาก โดยระบุว่าเนื่องจากสวนกล้วยไม้ส่วน ใหญ่มีความชื้นสูง มักพบหอยทากบกเข้าทำลายตาและหน่อดอกหรือใบ ถึงแม้ว่าความ เสียหายจะไม่มากนัก แต่ถ้าไม่มีการจัดการใดๆ ประชากรหอยจะเพิ่มสูงขึ้น จนก่อให้เกิดความเสียหายมากขึ้น นอกจากนี้หอยยังปล่อยเมือกไว้เป็นแนวตามทาง เดินอาจจะเป็นสาเหตุให้เกิดเชื้อราซ้ำได้ และประการสำคัญคือการที่หอยปะปนไป กับกล้วยไม้ที่ส่งไปต่างประเทศ เป็นสาเหตุให้ถูกเผาทำลาย นอกเหนือจากการ ต้องสูญเสียเงินจำนวนมหาศาลแล้ว ยังทำให้ไทยเสื่อมเสียชื่อเสียง

“จะเห็นได้ว่าหอยทากเป็นศัตรูของกล้วยไม้อีกประเภทหนึ่งที่ เกษตรกรจะต้องกำจัดให้สิ้นซาก หากเกษตรกรไม่ให้ความสนใจดูแลก็จะส่งผลกระทบ ต่อการส่งออกกล้วยไม้ของไทย และจะเป็นผลเสียต่อชื่อเสียงของไทยในอนาคต ด้วย ซึ่งเท่าที่ผ่านมาประเทศคู่ค้ามักพบหอยทากติดไปกับกล้วยไม้ ซึ่งจะทำ ให้เกิดความเสียหาย และถูกขึ้นบัญชีดำ ทำให้การส่งออกกล้วยไม้ไทยได้รับผล กระทบตามมาอีกด้วย” เจ้าหน้าที่คนเดิมกล่าวทิ้งท้าย

สุรัตน์ อัตตะ
ข่าวไม้ดอกไม้ประดับ GAP, กล้วยไม้, กล้วยไม้พันธพัฒน์คุ้มวิเชียร, กล้วยไม้สกุลซิมบิเดีย, กล้วยไม้สกุลรองเท้านารี, กล้วยไม้สกุลสปาโทกลอททิส, กล้วยไม้สกุลฮาบินาเรีย, พืชเศรษฐกิจ, วิธีดูแลกล้วยไม้

http://news.enterfarm.com/%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81-%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
jupajup
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 04/10/2010
ตอบ: 2

ตอบตอบ: 05/10/2010 10:32 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาให้ความรู้นะคะ

แต่ถ้าเกิดว่าเราปลูกที่สุพรรณ คิดว่าตลาดที่ใกล้ที่เราน่าไปส่งน่าจะเป็นที่ไหนดีค่ะ (รบกวนอีกทีนะคะ)

ขอบคุณค่ะ Very Happy
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 05/10/2010 11:08 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ก็ขายที่ตลาดซี่คุณ.......หรือจะวางขายข้างทางก็ได้นี่นา.....


ถามจริง เข้าใจนิยามเหล่านี้ หรือไม่ ? แค่ไหน ? อย่างไร ?....
1. การตลาดนำการผลิต
2. ปลูกกินตามใจคนในบ้าน ปลูกขายตามใจคนซื้อ
3. จะขายให้ใครต้องรู้จักคนนั้น คนๆนั้นคือ คนซื้อหรือคนกลาง อยู่ในตลาด
4. ตลาดไม่มาหาเรา เราต้องไปหาตลาด
5. เกรด เอ. จัมโบ้. โกอินเตอร์. ขึ้นห้าง. ออกนอกฤดู. คนนิยม. เท่าไหร่ก็ไม่พอขาย
6. เจ้าของยังไม่กิน พอขายไม่ออกเพราะไม่มีคนซื้อ ก็มาโวยวาย ประท้วง ปิดถนน
7. ฯลฯ





เอาละ ลุงคิมจะช่วย....
ลุงคิมรับซื้อ "ช่อละ 100,000" ในวันที่คุณไม่มีผลผลิต.... O.K. ?


ออกจากบ้าน สร้างโลกทัศน์ ไปให้เห็นว่า ใคร-ทำอะไร-ที่ไหน-เมื่อไร-อย่าง
ไร และทำไม.....

ที่นี่ ที่นั่น ที่โน่น ที่ไหนๆ ให้คำตอบได้แค่แนวทางกว้างๆ การที่จะ FOGUS ลงไปเลย ไปตลาดอัตตะปือ. คนรับซื้อขื่อเซี่ยงเมี่ยง แสนกล. รับซื้อราคา 10,000 เป๊ะๆ เลยแบบนี้คงไม่ได้นะ



สร้างศักยภาพ-ความสามารถส่วนตัว ให้กับตัวเองนะ
ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©