-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ไร่อ้อยนภัสสร - ชะมด + หมา ....
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ไร่อ้อยนภัสสร - ชะมด + หมา ....
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ไร่อ้อยนภัสสร - ชะมด + หมา ....
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 12, 13, 14, 15, 16, 17  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 08/01/2011 8:03 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หมา.....ตอนเล็กๆ น่ารัก ตอนโตแล้ว น่าเกลียด
แมว.....ตอนเล็กๆ น่าเกลียด ตอนโตแล้ว น่ารัก

เลี้ยงทั้งหมาทั้งแมวนั่นแหละดี....

"บางแก้ว" มี 2 สายพันธุ์....พันธุ์ดุ กับ พันธุ์รับแขก
พันธุ์ดุ.....มันจะรักแต่คนที่ให้ข้าวมันกินเท่านั้น คนในบ้าน ถ้าไม่ใช่คนที่ให้ข้าวมันกิน มันก็ดุ
พันธุ์รับแขก....นอกจากไม่ดุแล้ว ยังชวนขโมยเข้าบ้านด้วย

ไม่เอาพันธุ์ "หนังกลับ" เหรอ.....


ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
napassorn
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 25/09/2010
ตอบ: 203
ที่อยู่: จ.นครราชสีมา

ตอบตอบ: 08/01/2011 2:38 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สุนัขที่น่ารัก...น่าจะเหมาะกับ
สาว ๆ อย่าง น้องแป้ง หรือไม่ก็ นกขุนทอง

มากกว่ามั๊ง Soup




http://mylife.truelife.com/pg/photos/view/88794/%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%A77
_________________
<<ไร่อ้อยนภัสสร>>
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
napassorn
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 25/09/2010
ตอบ: 203
ที่อยู่: จ.นครราชสีมา

ตอบตอบ: 08/01/2011 2:49 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

แนวคิดสร้างสรรค์จากของเหลือใช้ในท้องถิ่น เปลี่ยน "กากอ้อยเป็นปุ๋ยหมัก"

คุณสุริวงศ์ แห้วเพ็ชร เกษตรกรหนุ่มไฟแรง แถมควบตำแหน่งกำนันแห่ง ต.ทัพหลวง อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี ได้มีแนวคิดสร้างสรรค์
ในการนำสิ่งเหลือใช้ในท้องถิ่นอย่าง "กากอ้อย" เพราะ อยู่ใกล้โรงงานน้ำตาล มาทำเป็น "ปุ๋ยหมัก" คุณภาพชั้นดี เพื่อเพิ่มมูลค่าและเพิ่ม
ประโยชน์ให้แก่อาชีพทางการเกษตร รวมถึงคืนความสมดุลให้แก่ผืนแผ่นดินที่หล่อเลี้ยงชีวิตได้เป็นอย่างดี

คุณสุริวงศ์เล่าว่า หลังจากเรียนจบด้านวิศวกรรมศาสตร์แล้ว ได้ใช้ความรู้ที่เล่าเรียนมาทำงานอยู่ในโรงงานที่กรุงเทพฯ พักใหญ่ โดยคิด
อยู่เสมอว่า วันหนึ่งจะต้องกลับมาทำงานที่บ้านเกิด ใน ต.ทัพหลวง อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี จนกระทั่งเมื่อโรงงานน้ำตาลตั้งขึ้นที่
ต.ทัพหลวง ก็ตัดสินใจกลับมาทำงานที่นี่ทันที (ปัจจุบันดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาบริษัท อุตสาหกรรมน้ำตาลกาญจนบุรี จำกัด)
เพราะอยู่ที่ไหนก็ไม่สุขใจเหมือนอยู่บ้านเกิด แถมยังมีพื้นที่ได้ทำการเกษตรดั่งใจฝันอีกด้วย

พื้นที่ทำการเกษตรที่มีอยู่ จำนวน 20 ไร่ ส่วนใหญ่จะนิยมเพาะปลูกอ้อยเกือบหมด และใช้ปุ๋ยเคมีเป็นหลัก ซึ่งนับวันก็ยิ่งส่งผลกระทบ
ต่อผลผลิตและสภาพดินมากขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งทำก็ยิ่งรู้สึกไม่คุ้มค่า คุณสุริวงค์.จึงเริ่มหันมาสนใจเกี่ยวกับปุ๋ยอินทรีย์ แต่ก็ยังไม่มีความรู้
และข้อมูลด้านนี้มากนัก ดังนั้น ในช่วงที่ว่างจากการทำงานที่โรงงาน จึงใช้เวลาศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับการทำปุ๋ยอินทรีย์อย่าง
ต่อเนื่อง

ประกอบกับได้สังเกตเห็นว่า ที่โรงงานน้ำตาลที่ทำอยู่นั้นมีกากตะกอนอ้อย หรือที่โรงงานเรียกว่า "ฟินเตอร์เค้ก" ซึ่งเป็นวัตถุดิบเหลือ
ใช้ที่มีอยู่จำนวนมาก น่าจะนำมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้ โดยในปี 2545 จึงได้ทดลองนำมาใส่ในไร่อ้อยที่ทำอยู่ ปรากฏว่า
ดินดีขึ้น จึงได้นำมาคิดนี้มาต่อยอดและเข้าไปปรึกษากับเจ้าหน้าที่สถานีพัฒนาที่ดินอุทัยธานี เพื่อนำมาเป็นวัสดุหลักในการผลิตเป็น
ปุ๋ยหมัก เมื่อได้ปุ๋ยหมักแล้วนำมาใช้กับแปลงอ้อย ก็ได้ผลเกินความคาดหมาย ทำให้เริ่มเกิดความมั่นใจในการใช้ปุ๋ยหมักเพื่อปรับปรุง
ดินให้มีคุณภาพดีและเพิ่มผลผลิต และเมื่อใช้ได้ผลดีแล้ว จึงได้แนะนำให้เกษตรกรได้ทดลองใช้และก็ได้รับการยอมรับเป็นอย่างดี

ในที่สุดจึงได้จัดตั้งกลุ่มขึ้นภายในหมู่บ้านเมื่อปี 2547 มีสมาชิกเริ่มแรกประมาณ 50 คน ทำปุ๋ยหมักเพื่อใช้กันเองในกลุ่ม ต่อมา
ทางจังหวัดอุทัยธานีได้ให้ความสนใจ จึงให้งบประมาณสนันสนุนในรูปของวัตถุดิบและเครื่องจักร ในการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรเพื่อ
ผลิตปุ๋ยหมักให้กับสมาชิกและเกษตรกรทั่วไปได้ใช้ จนถึงปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 230 คน โดยได้จดทะเบียนกลุ่มกับสหกรณ์
จังหวัดชื่อว่า "กลุ่มเกษตรกรทำสวนทัพหลวง" โดยยอดจำหน่ายล่าสุดในปี 2550 ประมาณ 900,000 บาท คุณสุริวงศ์ยังบอกอีกว่า
สำหรับกระบวนการผลิตปุ๋ยหมักนั้นมีส่วนผสมที่สำคัญ ได้แก่ กากตะกอนอ้อยหรือเศษใบอ้อย จำนวน 1,000 กก. มูลสัตว์ จำนวน
200 กก. สารเร่งซูเปอร์ พด.1
ของกรมพัฒนาที่ดิน 1 ซอง ซึ่งขอรับได้ที่สถานีพัฒนาที่ดินทั่วประเทศ

ส่วนวิธีการกองปุ๋ยหมัก ขั้นตอนแรก นำเศษวัสดุที่จะใช้ทำปุ๋ยหมัก (กากตะกอนอ้อยหรือเศษใบอ้อย) มากองเป็นชั้นแรก ขนาดกว้าง
2-3 เมตร สูงประมาณ 30-40 ซม. ย่ำให้แน่นและรดน้ำให้ชุ่ม ขั้นตอนที่สอง นำมูลสัตว์ประมาณ 50 กก. มาโรยบนชั้นของวัตถุ
ดิบให้ทั่วแล้วรดน้ำให้ชุ่ม ขั้นตอนที่สาม นำสารเร่งซูเปอร์ พด.1 ละลายน้ำ รดให้ทั่วกอง ขั้นตอนสุดท้าย นำเศษวัสดุที่ใช้ทำปุ๋ยหมัก
มากองทับแล้วนำมูลสัตว์โรยทับให้ทั่วทั้งผิวหน้า เป็นอันเสร็จเรียบร้อย


การดูแลกองปุ๋ยหมัก ควรรดน้ำสม่ำเสมอไม่ให้กองปุ๋ยแห้งและแฉะจนเกินไป กลับกองปุ๋ยหมักประมาณ 7-10 วันต่อครั้ง เพื่อเป็น
การระบายอากาศและลดความร้อนภายในกองปุ๋ย ทำให้การย่อยสลายเป็นไปด้วยดี
ส่วนปุ๋ยหมักที่เสร็จและนำไปใช้ปรับปรุงดินได้
สีของเศษวัสดุจะมีสีน้ำตาลเข้มจนถึงสีดำ ลักษณะของวัสดุจะอ่อนนุ่มและเปื่อยยุ่ย ไม่มีกลิ่นเหม็นหรือกลิ่นฉุน ความร้อนภายในกอง
ปุ๋ยจะใกล้เคียงกับอุณหภูมิภายนอก

สำหรับกำลังการผลิตอยู่ที่ครั้งละ 100 ตัน โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 2 เดือน ซึ่งที่ผ่านมาปุ๋ยหมักจากกากอ้อยช่วยสร้างรายได้ให้
กับชุมชนและสมาชิกไม่น้อยกว่าปีละ 1.5 ล้านบาท ส่วนปีนี้คาดว่ามีรายได้อยู่ประมาณ 1.2 ล้านบาท (ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับราคาปุ๋ยเคมี
เป็นหลัก หากปุ๋ยเคมีแพง ปริมาณการซื้อปุ๋ยหมักก็จะมากขึ้น)


จากความสำเร็จในการถ่ายทอดความรู้สู่เกษตรกรในฐานะหมอดินอาสา ทำให้ คุณสุริวงศ์ แห้วเพ็ชร คว้ารางวัลหมอดินอาสาดีเด่น
สาขาการผลิตและการใช้ปุ๋ยหมัก ประจำปี 2551 ซึ่งคุณสุริวงศ์ได้ฝากข้อคิดทิ้งท้ายไว้ว่า "อยากให้เกษตรกรยึดหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ดำเนินชีวิต การทำเกษตรต้องคิดว่าจะลดต้นทุนอย่างไร ไม่จำเป็นต้องใช้กากตะกอน
อ้อยใบอ้อยที่เราตัดก็นำมาทำปุ๋ยก็ได้ วัสดุที่เหลือใช้ทางการเกษตรสามารถนำมาทำปุ๋ยได้ การใช้เคมี
ร่วมกับอินทรีย์จะช่วยลดต้นทุนการผลิต"


หากต้องการความรู้เพิ่มเติม หรือทดลองนำปุ๋ยหมักไปใช้ ก็สามารถติดต่อ คุณสุริวงศ์ แห้วเพ็ชร ได้ที่ บ้านเลขที่ 9 ม.12
ต.ทัพหลวง อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี โทร.08-1953-0188 หรือ 0-5659-6525.



http://www.thaipost.net/tabloid/240110/16850
_________________
<<ไร่อ้อยนภัสสร>>
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
napassorn
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 25/09/2010
ตอบ: 203
ที่อยู่: จ.นครราชสีมา

ตอบตอบ: 08/01/2011 3:08 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลดปัญหาการขาดธาตุอาหารใน "นาดินทราย" ด้วยปุ๋ยหมัก

วันที่ส่ง SMS : 08 ตุลาคม 2552
รอบเวลาที่ส่ง : 15:30 น.
ข้อความ :

ข้าว (1) ลดปัญหาการขาดธาตุอาหารในนาดินทรายด้วยปุ๋ยหมัก กากอ้อย 300 กก.
ข้าว (2) กากมัน 300 กก. ขี้เป็ด 400 กก. อัตราการใช้ ปุ๋ย 1 ตัน/ ไร่



ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยส่วนใหญ่จะเป็นนาดินทรายชึ่งมีระดับอินทรีย์วัตถุต่ำโดยจะพบข้าวที่ขาดไนโตรเจนจะมีใบแก่
หรือบางครั้งใบทั้งหมดเป็นสีเขียวอ่อน ปลายใบเหลือง ถ้าขาดรุนแรงใบแก่จะตายเหลือเพียงใบอ่อน ใบแคบ สั้นและตั้งตรง มีสี
เขียวปนเหลือง การขาดไนโตรเจนมักเกิดในระยะข้าวแตกกอและระยะกำเนิดช่อดอก ซึ่งเป็นระยะที่ข้าวมีความต้องการไนโตร
เจนสูง การขาดไนโตรเจนส่งผลให้การแตกกอลดลง ต้นข้าวแคระแกรน แตกกอน้อย มีเมล็ดดีต่อรวงลดลงทำให้ผลผลิตข้าว
ลดลง อาการขาดไนโตรเจน เป็นสาเหตุทำให้เกษตรกรต้องชื้อปุ๋ยเคมีมาใส่ในพื้นที่มากขึ้น ทำให้ดินเสี่ยมสภาพลงเรื่อยๆ คุณพ่อ
วินัย สมศักดิ์ หมอดินตำบลแวงน้อย จ.ขอนแก่น เกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด มีช่องทางที่จะทำให้เกษตรลดต้นทุนในการชื้อปุ๋ย
เคมีมาใส่ในพื้นที่ โดยการเพิ่มปุ๋ยในดินและปรับสภาพนาดินทรายให้เป็นนาดินร่วนปนทรายที่เหมาะกับการปลูกข้าว และช่วย
เพิ่มผลผลิตข้าวให้ได้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น

วัสดุที่ต้องเตรียมในการเพิ่มปุ๋ยในดิน
1. กากอ้อย (ชานอ้อย) 300 กก.
2. กากมัน 300 กก.
3. มูลเป็ด 400 กก.

ขั้นตอนการปฏิบัติ
นำกากอ้อย (ชานอ้อย) กากมัน และมูลเป็ดที่เตรียมไว้มาคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วกองหมักทิ้งไว้ประมาณ 3 วัน ก่อนที่นำไปใช้

อัตราส่วนในการนำไปใช้
ปุ๋ยหมัก 1 ตัน ต่อพื้นที่นาดินทราย 1 ไร่ จะช่วยเพิ่มปุ๋ยในดินและปรับสภาพนาดินทรายให้เป็นนาดินร่วนปนทรายที่เหมาะกับ
การปลูกข้าว และช่วยเพิ่มผลผลิตข้าวให้ได้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น


ที่มา : ศูนย์ทางด่วนข้อมูลการเกษตร *๑๖๗๗
สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน

http://www.rakbankerd.com/kaset/openweb.php?id=771&s=tblrice
_________________
<<ไร่อ้อยนภัสสร>>
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 08/01/2011 6:29 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ปุ๋ยอินทรีย์มี 3 ประเภท คือ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด


ปุ๋ยคอก
เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้มาจากสิ่งขับถ่ายของสัตว์เลี้ยง เช่น โค กระบือ สุกร เป็ด ไก่ และห่าน ฯลฯ โดยอาจจะใช้ในรูปปุ๋ยคอกแบบสด แบบแห้ง
หรือ นำไปหมักให้เกิดการย่อยสลายก่อนแล้วค่อยนำไปใช้ก็ได้ ซึ่งต้องคำนึงถึงชนิดของดินและพืชที่ปลูกด้วย โดยเฉพาะ การใช้แบบสดอาจ
ทำให้เกิดความร้อน และมีการดึงธาตุอาหารบางตัวไปใช้ในการย่อยสลายมูลสัตว์ ซึ่งอาจจะทำให้พืชเหี่ยวตายได้


การใช้ปุ๋ยคอกนั้น นอกจากจะมีประโยชน์ในการช่วยเพิ่มธาตุอาหารพืชในดินแล้ว ยังช่วยทำให้ดินโปร่งและร่วนซุย ทำให้การเตรียมดินง่าย
การตั้งตัวของต้นกล้าเร็วทำให้มีโอกาสรอดได้มากด้ว


ปุ๋ยหมัก

เป็นปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่ง ซึ่งได้จากการนำชิ้นส่วนของพืช วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร หรือวัสดุเหลือใช้จากโรงงานอุตสาหกรรม เช่น
หญ้าแห้ง ใบไม้ ฟางข้าว ซังข้าวโพด กากอ้อยจากโรงงานน้ำตาล และแกลบจากโรงสีข้าว ขี้เลื่อยจากโรงงานแปรรูปไม้ เป็นต้น มาหมักใน
รูปของการกองซ้อนกันบนพื้นดิน หรืออยู่ในหลุม เพื่อให้ผ่านกระบวนการย่อยสลายให้เน่าเปื่อยเสียก่อน โดยอาศัยกิจกรรมของจุลินทรีย์
จนกระทั่งได้สารอินทรียวัตถุที่มีความคงทน ไม่มีกลิ่น มีสีน้ำตาลปนดำ

การทำปุ็ยหมัก
เราสามารถทำปุ๋ยหมักเองได้ โดยนำวัสดุต่างๆ มากองสุมให้สูงขึ้นจากพื้นดิน 30-40 ซม. แล้วโรยปุ๋ยคอกผสมปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ
15-15-15 ประมาณ 1-1.5 กิโลกรัม ต่อเศษพืชหนัก 1,000 กิโลกรัม เสร็จแล้วก็กองเศษพืชซ้อนทับลงไปอีกแล้วโรยปุ๋ยคอก
ผสมปุ๋ยเคมี ทำเช่นนี้เรื่อยไปเป็นชั้นๆ จนสูงประมาณ 1.5 เมตรควรมีการรดน้ำแต่ละชั้นเพื่อให้มีความชุ่มชื้น และเป็นการทำให้มี
การเน่าเปื่อยได้เร็วขึ้น กองปุ๋ยหมักนี้ทิ้งไว้ 3-4 สัปดาห์ ก็ทำการกลับกองปุ๋ยครั้งหนึ่ง

ปุ๋ยพืชสด
เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากการปลูกพืชบำรุงดิน ซึ่งได้แก่พืชตระกูลถั่วต่าง ๆ แล้วทำการไถกลบ เมื่อพืชเจริญเติบโตมากที่สุด ซึ่ง
เป็นช่วงที่กำลังออกดอก พืชตระกูลถั่วที่ควรใช้เป็นปุ๋ยพืชสดควรมีอายุสั้น มีระบบรากลึก ทนแล้ง ทนโรคและแมลงได้ดี เป็น
พืชที่ปลูกง่าย และมีเมล็ดมาก ตัวอย่างพืชเหล่านี้ก็ได้แก่ ถั่วพุ่ม ถั่วเขียว ถั่วลาย ปอเทือง ถั่วขอ ถั่วแปบ และโสน เป็นต้น



ปุ๋ยชีวภาพ

ปุ๋ยชีวภาพ คือ ปุ๋ยที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่ยังมีชีวิตอยู่ และมีคุณสมบัติพิเศษสามารถสังเคราะห์สารประกอบธาตุอาหารพืช
ได้เอง หรือสามารถเปลี่ยนธาตุอาหารพืชที่อยู่ในรูปที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อพืช ให้มาอยู่ในรูปที่พืชสามารถดูดไปใช้ประโยชน์ได้
กรมวิชาการเกษตร นับเป็นหน่วยงานแรกของประเทศไทยที่ได้ศึกษาวิจัยปุ๋ยชีวภาพมามากกว่า 30 ปี และผลิตปุ๋ยชีวภาพจำหน่าย
ให้แก่เกษตรกรด้วย

ปุ๋ยชีวภาพแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
กลุ่มจุลินทรีย์ที่สามารถสังเคราะห์สารประกอบอาหารพืชไนโตรเจนได้เอง ได้แก่ ไรโซเบียมที่อยู่ในปมรากพืชตระกูลถั่ว แฟรง
เคียที่อยู่ในปมของรากสนทะเล สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินที่อยู่ในโพรงใบของแหนแดง และยังมีจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในดิน
อย่างอิสระอีกมาก ที่สามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศให้แก่พืชได้เช่นกัน


กลุ่มจุลินทรีย์ที่ช่วยทำให้ธาตุอาหารพืชในดิน ละลายออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชมากขึ้น เช่น ไมคอร์ไรซา.
ที่ช่วยให้ฟอสฟอรัส.ที่ถูกตรึงอยู่ในดิน ละลายออกมาอยู่ในรูปที่พืชดูดไปใช้ประโยชน์ได้


ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ
ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ คือ ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผ่านกระบวนการผลิต ที่ใช้อุณหภูมิสูงถึงระดับที่สามารถฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ ทั้งที่เป็นโรคพืช
โรคสัตว์ และโรคมนุษย์ รวมทั้งจุลินทรีย์ทั่วๆ ไปด้วย จากนั้นนำจุลินทรีย์ที่มีสมบัติเป็นปุ๋ยชีวภาพ ที่เลี้ยงไว้ในสภาพปลด
ปล่อยเชื้อมาผสมกับปุ๋ยอินทรีย์ดังกล่าว และทำการหมักต่อไปจนกระทั่งจุลินทรีย์ที่ใส่ลงไปในปุ๋ยหมักมีปริมาณคงที่ จุลินทรีย์
เหล่านี้นอกจากจะช่วยตรึงไนโตรเจนให้แก่พืชแล้ว ยังช่วยผลิตสารฮอร์โมนพืชเพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตของรากพืช และ
จุลินทรีย์บางชนิดยังสามารถควบคุมโรคพืชในดิน และกระตุ้นให้พืชสร้างภูมิคุ้มกันโรคได้อีกด้วย


http://oss101.ldd.go.th/web_soils_for_youth/s_fertilizer2.htm


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/02/2011 5:22 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 08/01/2011 6:35 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ธาตุอาหารพืชที่ได้จากอ้อย....


...................... ฯ ล ฯ ............................


๔. ใช้เป็นวัตถุคลุมดินหรือบำรุงดิน ใบอ้อยแห้งเมื่อใช้คลุมดินจะช่วยรักษาความชื้นและป้องกันวัชพืชด้วย ในขณะเดียวกันก็จะกลายเป็น
อาหารของจุลินทรีย์ต่างๆ ซึ่งบางพวกสามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้ ทำให้ไนโตรเจนในดินเพิ่มขึ้นอันเป็นผลดีแก่อ้อย นอกจากนี้
รากและเหง้าที่อยู่ในดินเมื่อเน่าเปื่อยผุพังก็จะเป็นปุ๋ยแก่ดินนั้นต่อไป

ก. ชานอ้อย หมายถึงส่วนของลำต้นอ้อยที่หีบเอาน้ำอ้อยหรือน้ำตาลออกแล้ว มีส่วนประกอบอย่างหยาบๆ คิดเป็นค่าร้อยละโดยน้ำหนัก
ของชานอ้อยเปียก (ความชื้นร้อยละ ๔๘) คือ ชานอ้อยหรือไฟเบอร์ (fiber) ๔๘.๕% น้ำ ๔๘.๐% น้ำตาล ๓.๐% และสารประ
กอบอื่นๆ นอกจากที่กล่าวแล้ว ๐.๕% ชานอ้อยใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง

..................... ฯ ล ฯ .............................


ข. กากตะกอนหรือขี้ตะกอน หมายถึงสิ่งเจือปนที่เป็นของแข็งที่ไม่ละลายน้ำอยู่ในน้ำอ้อย สิ่งเจือปนเหล่านี้จะถูกขจัดออกไปจากน้ำอ้อย
ในขบวนการทำใส (clarification) กากตะกอนโดยทั่วไปมีลักษณะป่นเป็นชิ้นเล็กๆ สีเทาเข้ม ส่วนประกอบของกากตะกอนไม่ค่อย
แน่นอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณภาพและความสะอาดของอ้อย ตลอดจนกรรมวิธีการผลิตของโรงงานนั้นด้วย กากตะกอนส่วนใหญ่มีน้ำประมาณ
ร้อยละ ๗๐ โดยน้ำหนัก ในส่วนที่เป็นของแข็งเป็นพวกสารอินทรีย์ที่ได้จากอ้อยและดินรวมทั้งมีไขปนอยู่ด้วย นอกจากนี้ก็มีน้ำตาลละลาย
อยู่บ้าง การใช้ประโยชน์ของกากตะกอนมีดังนี้

๑. ใช้เป็นปุ๋ยบำรุงดินได้ดี จากการวิเคราะห์กากตะกอนเพื่อใช้เป็นปุ๋ย ปรากฏว่ามี ไนโตรเจน ร้อยละ ๑.๙๘ กรดฟอสฟอริก
ร้อยละ ๒.๕๖ และโพแทชร้อยละ ๐.๒๘
โดยน้ำหนักแห้ง นอกจากนี้ก็มีธาตุอาหารอื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของ
พืชอยู่ด้วย ข้อควรระวังในการใช้กากตะกอนทำปุ๋ยก็คือ ต้องไม่ใส่มากเกินไป เพราะจะทำให้เกิดความร้อนเนื่องจากการสลายตัวยังไม่สม
บูรณ์ นอกจากนี้ต้องระวังเชื้อราที่ติดมาด้วย เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวอาจใช้วิธีหมักโดยกองไว้ในร่มให้ความชื้นพอเหมาะ คลุมด้วยพลาสติก
ผ้าใบหรือกระสอบเก่าเพื่อให้สลายตัวโดยสมบูรณ์ กากตะกอนที่สลายตัวดีแล้วจะเย็น การหมักอาจใช้เวลาประมาณ ๓-๔ เดือน


ค. กากน้ำตาล คือ ของเหลวมีลักษณะเป็นน้ำเชื่อมสีน้ำตาลเข้ม ของเหลวนี้จะถูกแยกออกจากเกล็ดน้ำตาลโดยวิธีปั่น (centrifuge) ส่วน
ประกอบของกากน้ำตาลแตกต่างกันไปตามโรงงาน อย่างไรก็ดีส่วนประกอบโดยประมาณคิดเป็นร้อยละตามน้ำหนักของกากน้ำตาลมี
ดังนี้ คือ

(๑) น้ำ ๑๗-๒๕
(๒) น้ำตาลซูโครส ๓๐-๔๐ น้ำตาลกลูโคส ๔-๙ น้ำตาลฟรักโทส ๕-๑๒

นอกจากนั้นก็มีสารประกอบ คาร์โบไฮเดรตอื่นๆ สารประกอบไนโตรเจน กรดต่างๆ วิตามิน ไข และแร่ธาตุต่างๆ
อีกเป็นจำนวนมาก ดังนั้น กากน้ำตาลจึงใช้ประโยชน์ได้กว้างขวางกว่าผลพลอยได้ชนิดอื่นๆ ทั้งหมด ประโยชน์ที่ได้จากกากน้ำตาลมีมาก
มาย เช่น ใช้ทำปุ๋ย ใช้เลี้ยงสัตว์ ใช้ผลิตอัลกอฮอล์ ใช้ในอุตสาหกรรมยีสต์ ใช้ทำผงชูรส และใช้ทำกรดน้ำส้ม เป็นต้น แม้ว่าจะใช้ประโยชน์
ได้กว้างขวาง แต่ก็ปรากฏว่ากากน้ำตาล ส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์ ๒ ประการ คือ

(๑) ใช้เป็นอาหารสัตว์ และ
(๒) ใช้ผลิตอัลกอฮอล์

............................. ฯ ล ฯ .......................




http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=8599


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/02/2011 5:27 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Sita
สาวดี่
สาวดี่


เข้าร่วมเมื่อ: 22/10/2010
ตอบ: 452

ตอบตอบ: 08/01/2011 8:55 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

napassorn บันทึก:
สุนัขที่น่ารัก...น่าจะเหมาะกับ
สาว ๆ อย่าง น้องแป้ง หรือไม่ก็ นกขุนทอง

มากกว่ามั๊ง Soup



ขออนุญาตดีใจนิดนึงนะคะ..ดีใจที่คุณเจ้าของกระทู้พูดถึงแป้งด้วย
แต่ว่าสุนัข ถ้าต้องเสียเงินซื้อ แป้งว่ามันเหมาะที่จะเลี้ยงไว้เชยชมมากกว่า
ถ้าจะเลี้ยงไว้เฝ้าบ้าน ขอสุนัขข้างบ้าน แถวบ้าน หมู่บ้านใกล้ๆเลี้ยงดีกว่า
(บ้านนอกไปรึเปล่าคะ)


แป้งเองจ้า..
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 09/01/2011 2:49 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ฟางข้าว เป็นอินทรีย์วัตถุที่มีประโยชน์สูงควรเก็บไว้ในนาข้าว โดยเฉพาะนาเขตชลประทาน ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่ทำนา 2-3 ครั้งต่อปี
เท่าที่ผ่านมาฟางข้าวมักจะถูกนำออกจากนาหรือเผาทิ้ง โดยไม่มีการเพิ่มอินทรียวัตถุกลับคืนให้กับดินนา ทำให้ดินเสื่อมคุณภาพขาดความ
สมบูรณ์ ถึงแม้ว่าจะมีการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดินโดยการใส่ปุ๋ยเคมีทดแทนก็ตาม ผลกระทบต่อดินนา คือ ปุ๋ยเคมีจะไปช่วยเร่ง
ให้จุลินทรีย์ย่อยสลายอินทรียวัตถุให้หมดไปโดยเร็ว สภาพดังกล่าวอาจทำให้ดินนาเสื่อมสภาพทางฟิสิกส์ ทำให้ดินแข็งตัวมากขึ้นและ
มีแนวโน้มว่าดินจะมีสภาพเป็นกรดมากขึ้นด้วย ดังนั้นฟางข้าวจึงเป็นอินทรียวัตถุที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการปรับปรุงบำรุงดิน เกษตรกร
ไม่ควรนำออกจากแปลงนาหรือไม่ควรเผาทิ้ง


สถานการณ์และสภาวะปัจจุบัน
การทำนาของเกษตรกรในเขตชลประทานภาคกลางที่มีปัจจัยการผลิตขั้นพื้นฐานค่อนข้างสมบูรณ์ เกษตรกรทำนาต่อเนื่อง 2-3 ครั้ง
ต่อปี โดยวิธีการหว่านน้ำตมทำให้มีรอบการผลิตค่อนข้างรวดเร็ว ประมาณ 12-21 วัน เพื่อให้ทันต่อฤดูกาลผลิต ทำให้เกษตรกรเกือบ
ทุกรายเผาฟางก่อนฤดูทำนา ด้วยวิธีการเตรียมดิบแบบหยาบ ๆ และรีบเร่ง โดยไถกลบเศษฟางที่เหลือจากการเผากับตอซังลงไปใน
ดินที่มีการระบายอากาศไม่ดีขาดออกซิเจน เกิดก๊าซมีเทน (CH4) บางชนิด ปลดปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งมีผลเสียต่อสภาวะแวด
ล้อมของโลก ทำให้จุลินทรีย์ดินบางชนิดที่มีบทบาทการย่อยสลายฟางข้าวและตอซังมีอัตราการเจริญเติบโตต่ำ การย่อยสลายเป็น
ไปอย่างช้า ๆ ทำให้ข้าวที่ปลูกใหม่แสดงอาการขาดไนโตรเจนชั่วคราว ที่เกษตรกรนิยมเรียกว่า โรคเมาหัวซัง วิธีแก่ไขมีหลายวิธีที่ดี
และรวดเร็ว คือ ทำให้ฟางข้าวหรือตอซังย่อยสลายให้รวดเร็วที่สุดโดยการเพิ่มหัวเชื้อจุลินทรีย์เข้าช่วยให้เกิดกระบวนการย่อยสลาย
จากจุลินทรีย์หลายกลุ่มที่มีปฏิกิริยาต่อเนื่องสนับสนุนกันเป็นลูกโซ่ ระหว่างกระบวนการย่อยสลายจุลินทรีย์จะใช้ธาตุอาหารพืชที่มีอยู่
ในดินขณะเดียวกันก็จะทำให้เกิดกระบวนการทำให้ธาตุอาหารเปลี่ยนรูปที่เป็นประโยชน์ เมื่อจุลินทรีย์เหล่านั้นตายไปก็จะปลด
ปล่อยธาตุอาหารให้พืชใช้ได้ และยังก่อให้เกิดสารประกอบอินทรีย์ชนิดต่าง ๆ ที่มีผลดีต่อพืช เช่น ฮอร์โมน สารกระตุ้นการเจริญ
เติบโตของพืช และรากพืช ดังนั้น หลังเก็บเกี่ยวแล้วเกษตรกรไม่ควรเผาฟางข้าว เพราะจะทำให้สูญเสียคาร์บอนที่เป็นอาหารของ
จุลินทรีย์ดิน ที่จะนำไปก่อให้เกิดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อพืช




ประโยชน์ของฟางข้าวเมื่อไม่เผาทิ้ง
1. ฟางข้าวช่วยทำให้ดินมีปริมาณของอินทรีย์วัตถุในดินมากขึ้น

2. ฟางข้าวช่วยทำให้พื้นที่นาที่ถูกคลุมด้วยฟางข้าวมีสภาพจุลนิเวศ (Microclimate) เหนือผิวดินเหมาะสมต่อสิ่งมีชีวิต เช่น
จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ และไส้เดือน เป็นต้น

3. ฟางข้าวช่วยคลุมวัชพืช โดยการบังแสงแดด ไม่ให้วัชพืชเติบโตได้

4. ฟางข้าวช่วยบังแสงแดด ทำให้ดินมีความชื้นอยู่ได้นานเป็นประโยชน์แก่พืชที่ปลูก ทำให้ผลผลิตสูงกว่าดินที่ไม่มีฟาง
ข้าวปกคลุม

5. ฟางข้าวเมื่อเน่าสลายจะให้ธาตุอาหารแก่พืชเมื่อฟางข้าวย่อยสลายแล้วจะได้ธาตุไนโตรเจน (N) ธาตุฟอสฟอรัส (P) ธาตุ
โพแทสเซียม (K) แคลเซียม (Ca) และแมกนีเซียม (Mg) ที่สำคัญมีธาตุซิลิก้า (Sio) ด้วย

6. ฟางข้าวนำไปเป็นอาหารโค กระบือ ได้

7. ฟางข้าวสามารถนำไปทำวัสดุเพาะเห็ดฟางได้

8. ฟางข้าวเป็นวัสดุที่อยู่ในนาไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายและเวลาไปขนมาใส่ในนา ก่อนที่จะหมักฟางข้าว ต้องเกลี่ยฟางให้กระ
จายทั่วทั้งแปลง



วิธีการทำปุ๋ยหมักฟางและตอซังข้าว
ฟางข้าวจำนวน 1 ตัน เมื่อหมักแล้วจะได้ธาตุอาหารทั้งธาตุหลักและธาตุรอง ดังนี้

ไนโตรเจน (N) 6 กิโลกรัม
ฟอสฟอรัส (P2O5) 1.4 กิโลกรัม
โพแทสเซียม (K2O) 17 กิโลกรัม

แคลเซียม (Ca) 1.2 กิโลกรัม
แมกซีเซียม (Mg) 1.3 กิโลกรัม ....... และที่สำคัญคือได้ธาตุ
ซิลิก้า (SiO2) จำนวน 50 กิโลกรัม


ปกติในนาเกษตรกรในภาคกลางและภาคตะวันออกตกมีเนื้อดินเป็นดินเหนียวส่วนใหญ่มีฟางข้าวเหลือ 800-1,000 กิโลกรัม/ไร่
รวมทั้งตอซังอีก 1,200 – 1,500 กิโลกรัม/ไร่ คือ เฉลี่ยทั้งตอซังและฟางข้าวประมาณ 2 ตัน/ไร่ ส่วนในดินที่มีเนื้อดินเป็น
ดินร่วนทรายจะมีฟางข้าวเหนียวต่ำกว่าคือ 500–800 กิโลกรัม/ไร่


ขั้นตอนการทำปุ๋ยหมัก
1. หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้วให้เกษตรกรเกลี่ยฟางข้าวให้กระจายคลุมทั่วทั้งแปลงนาด้วยแรงคน หรือเครื่องเกลี่ยฟางข้าวติดท้าย
แทรกเตอร์มีค่าใช้จ่าย 50 บาท/ไร่ หรือใช้ภูมิปัญญาเกษตรกร อำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยใช้ลำไม้ไผ่ชนิด
ที่มีกิ่งมีหนามจำนวน 2 ลำ ผูกติดท้ายแทรกเตอร์ลาก 2 – 3 รอบสามารถเกลี่ยฟางข้าวกระจายทั่วทั้งแปลงนา เมื่อคิดต้นทุนเพียง
15 บาท/ไร่ (ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง)

2. ทดน้ำเข้าแปลงนา ใช้อีคลุบติดท้ายแทรกเตอร์ย่ำให้ฟางข้าวและตอซังจมน้ำระดับ 3–5 ซม.

3. ใช้น้ำหมักชีวภาพสูตรไหนก็ได้ที่คิดว่าต้นทุนถูกที่สุดและจุลินทรีย์ยังมีชีวิตอัตรา 5–10 ลิตร/ไร่
(ฟางข้าว 500–800 กก. ใช้น้ำหมักชีวภาพ 5 ลิตร/ไร่ และฟางข้าว 800–1,000 กก. ใช้น้ำ
หมักชีวภาพ 10 ลิตร/ไร่) ใส่แกลลอนเจาะรูให้น้ำหมักชีวภาพไหลได้ นำไปติดท้ายแทรกเตอร์ โดยใช้
อีคลุบย่ำตอซังและฟางข้าว ทำให้น้ำหมักระจายไปทั่วแปลงนาเป็นการเพิ่มจุลินทรีย์ย่อยสลาย


4. ใช้เวลาหมักประมาณ 10 วัน ตอซังและฟางข้าวเริ่มอ่อนตัวและเริ่มย่อยสลาย สามารถไถพรวนดินได้ไม่ติดเครื่องมือไถพรวน



http://dankhunthot.khorat.doae.go.th/e_rice/rice_1.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/02/2011 5:31 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 09/01/2011 2:58 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ปุ๋ยน้ำชีวภาพ ระเบิดเถิดเทิง ..... (สูตรหน้าเว้บ)

ปลาทะเล....... กากน้ำตาล.......จุลินทรีย์.........ไขกระดูก.
เลือด........... มูลค้างคาว..........นม...............ฮิวมิก.
น้ำมะพร้าว........อะมิโน..........ธาตุรอง...........ธาตุเสริม.
ฮอร์โมน...........บี-1..........สาหร่ายทะเล.......ไคโตซาน.
เอ็นไซม์.........โบมาเลน.........ท็อกซิก............ ฯลฯ

หมักนาน 2-3 ปี ........................+ ธาตุหลัก ก่อนใช้งาน


- ชนิดของส่ารอาหารที่ได้ ได้จากวัสดุส่วนผสมที่นำมาทำ
- ประสิทธิภาพของสารอาหารที่ได้ ได้จากอายุและกระบวนการหมัก
- เปอร์เซ็นต์สารอาหารส่วนที่เพิ่ม ได้จากปุ๋ยเคมีส่วนที่ใส่เพิ่ม


ลุงคิม (ทำเอง = ประหยัด/ชัวร์) ครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
napassorn
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 25/09/2010
ตอบ: 203
ที่อยู่: จ.นครราชสีมา

ตอบตอบ: 09/01/2011 5:01 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

kimzagass บันทึก:
ปุ๋ยน้ำชีวภาพ ระเบิดเถิดเทิง ..... (สูตรหน้าเว้บ)

ปลาทะเล....... กากน้ำตาล.......จุลินทรีย์.........ไขกระดูก.
เลือด........... มูลค้างคาว..........นม...............ฮิวมิก.
น้ำมะพร้าว........อะมิโน..........ธาตุรอง...........ธาตุเสริม.
ฮอร์โมน...........บี-1..........สาหร่ายทะเล.......ไคโตซาน.
เอ็นไซม์.........โบมาเลน.........ท็อกซิก............ ฯลฯ

หมักนาน 2-3 ปี ........................+ ธาตุหลัก ก่อนใช้งาน


- ชนิดของส่ารอาหารที่ได้ ได้จากวัสดุส่วนผสมที่นำมาทำ
- ประสิทธิภาพของสารอาหารที่ได้ ได้จากอายุและกระบวนการหมัก
- เปอร์เซ็นต์สารอาหารส่วนที่เพิ่ม ได้จากปุ๋ยเคมีส่วนที่ใส่เพิ่ม


ลุงคิม (ทำเอง = ประหยัด/ชัวร์) ครับผม


สูตรนี้แหละ

คือแนวทางเกษตรแนวใหม่
สำหรับเกษตรรุ่นใหม่ คิดใหม่ ทำใหม่

ไม่ยึดติดแบบเก่า ๆ พัฒนา ปรับปรุง แก้ไข
จึงนำไปสู่เกษตรแบบยั่งยืนครับลุง
_________________
<<ไร่อ้อยนภัสสร>>
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 09/01/2011 6:18 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ทำแบบภูมิปัญญาพื้นบ้าน - เครื่องมือมาตรฐานโรงงาน - มีหลักวิชาการรองรับ....

ข้อมูลเพื่อเสริมความมั่นใจ :
- สิ่งต้องการจากการทำน้ำหมักชีวภาพ คือ ปุ๋ยหรือสารอาหารพืช
- ปุ๋ยหรือสารอาหารพืชที่ได้ มาจากวัสดุส่วนผสมที่นำมาทำ

- ส่วนผสมจากพืช มีสารอาหารน้อยกว่า ส่วนผสมจากสัตว์
- ส่วนผสมจากสัตว์บก มีสารอาหารน้อยกว่า ส่วนผสมจากสัตว์น้ำ
- ส่วนผสมจากสัตว์น้ำจืด มีสารอาหารน้อยกว่า ส่วนผสมจากสัตว์ทะเล


สรุป :
1....ปลาทะเลถือว่ามี ชนิดและปริมาณ สารอาหารมากกว่าปลาน้ำจืด (เหตุผล .... ในปลาทะเลมี โซเดียม. แม็กเนเซียม. สังกะสี.
อมิโน. ในขณะที่ปลาน้ำจืดไม่มีสารอาหารประเภทนี้..... ถึงจุดนี้แล้ว ถามว่า ในหอยเชอรี่ จะมีอะไร ?....)

2....ในพืชประเภทคนกิน แม้จะมีชนิดและปริมาณสารอาหาร (ตำราโภชนาศาสตร์) แต่ก็ถือว่าน้อยมากๆ สังเกตุที่คนต้องกิน
อาหารวันละ 3 มื้อ จึงจะบำรุงร่างกายได้.....ฉนั้น การแนะนำให้เอา ผัก/หญ้า อะไรก็ได้ ทั้งที่คนกิน สัตว์กิน มาทำน้ำหมักชีวภาพ
แล้วจะได้ชนิดและปริมาณสารอาหารอะไร ? ซักเท่าไหร ?

3....น้ำหมักชีวภาพ แม้จะมีชนิดและปริมาณสารอาหารมากแต่ก็ยังถือว่าน้อยอยู่ดี ซึ่งมีเพียง 1-2-3 % หรือระดับ พีพีเอ็ม.เท่านั้น
จึงไม่อาจเรียกน้ำหมักชีวภาพว่า "ปุ๋ย" (ตามกฏหมาย) ได้ ครั้นเมื่อใส่ "เติม/เพิ่ม/บวก" ปุ๋ยเคมี (กฏหมายรองรับ) ลงไปให้ได้
ปริมาณ (เปอร์เซ็นต์) ตามความต้องการหรือตามกฏหมายกำหนด แล้ว นอกจากสามารถเรียกว่า "ปุ๋ยน้ำชีวภาพ" ได้อย่าง
เต็มปากเต็มคำแล้ว ยังได้ "สูตร/ปริมาณ" ปุ๋ยตรงตามความต้องการที่แท้ของพืชอีกด้วย....และนี่คือ "อินทรีย์ นำ - เคมี
เสริม - ตามความเหมาะสม" อย่างแท้จริง

4....การนำเศษผักจากกองขยะในตลาดสดมาทำน้ำหมักชีวภาพ (ข้อสังเกตุ....แหล่งใดในโลกจะมีเชื้อโรคมากเท่ากองขยะ
ในตลาดสด...) จึงเท่ากับการเอาเชื้อโรคมาหมัก ซึ่งในกระบวนการทำน้ำหมักชีวภาพนี้ เชื้อโรคซึ่งก็คือจุลินทรีย์ชนิดหนึ่ง
สามารถแฝงตัวอยู่ได้โดยไม่ตาย แล้วรอเวลาและโอกาสแพร่ขยายพันธุ์ต่อไปในอนาคตได้

5....น้ำหมักชีวภาพที่มีกลิ่นเหม็นเน่า ได้กลิ่นแล้วเวียนหัว ดมซ้ำไม่ได้ นั่นคือแบคทีเรียเชื้อโรคทั้งสิ้น

6....ส่วนผสมที่หมักนานข้ามปี, 2 ปี, 3 ปี. ยังคงสภาพเป็นชิ้นๆเหมือนครั้งแรก เมื่อส่วนผสมที่ใช้ไม่มีการย่อยสลาย แล้วจะ
เป็นสารอาหารพืชชนิดน้ำได้อย่างไร



กุศลาธรรมา ...... ใครหนอ สอนให้เกษตรกรเอา ผัก-หญ้า-หอยเชอรี-ฟักทอง-กล้วย มาทำน้ำหมักชีวภาพ.....ทำ
แล้วไม่เหม็นเน่า ยังพอรับได้ แต่ที่เหม็นไปแปดบ้านนั่นน่ะ ปุ๋ยหรือเชื้อโรค


อกุศลาธรรมา ..... ส่วนผสมแต่ละตัวในสูตร "ระเบิดเถิดเทิง" ใช่ปุ๋ยหรือไม่ จัดหาส่วนผสม ได้/ไม่ได้ แก้ไขหรือ
ใช้อะไรแทนได้หรือไม่....ชื่นชมคนเรียน ที่ขวนขวายใคร่รู้ แต่คนสอน (นักวิชาการ/ปราชญ์/ดีเด่น) เอาอะไรไปสอนเขา




ลุงคิม (ไม่เคยสอนแบบเน่าๆ) ครับผม


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/02/2011 5:35 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
napassorn
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 25/09/2010
ตอบ: 203
ที่อยู่: จ.นครราชสีมา

ตอบตอบ: 10/01/2011 8:17 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มาฟังเพลงเกษตรอินทรีย์
ผ่อนคลาย มีสาระ ไม่เครียด




ที่มา : http://www.youtube.com/watch?v=YUmxS_8DrTQ
_________________
<<ไร่อ้อยนภัสสร>>
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 10/01/2011 8:51 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

kimzagass บันทึก:
ฟางข้าว เป็นอินทรีย์วัตถุที่มีประโยชน์สูง




5. ฟางข้าวเมื่อเน่าสลายจะให้ธาตุอาหารแก่พืชเมื่อฟางข้าวย่อยสลายแล้วจะได้ธาตุไนโตรเจน (N) ธาตุฟอสฟอรัส
(P) ธาตุโพแทสเซียม (K) แคลเซียม (Ca) และแมกนีเซียม (Mg) ที่สำคัญมีธาตุซิลิก้า (Sio) ด้วย

วิธีการทำปุ๋ยหมักฟางและตอซังข้าว
ฟางข้าวจำนวน 1 ตัน เมื่อหมักแล้วจะได้ธาตุอาหารทั้งธาตุหลักและธาตุรอง ดังนี้

ไนโตรเจน (N) 6 กิโลกรัม
ฟอสฟอรัส (P2O5) 1.4 กิโลกรัม
โพแทสเซียม (K2O) 17 กิโลกรัม

แคลเซียม (Ca) 1.2 กิโลกรัม
แมกซีเซียม (Mg) 1.3 กิโลกรัม ....... และที่สำคัญคือได้ธาตุ
ซิลิก้า (SiO2) จำนวน 50 กิโลกรัม



http://dankhunthot.khorat.doae.go.th/e_rice/rice_1.html





ซิลิก้า. คือ ธาตุอาหารที่มีอยู่ในหินภูเขาไฟ ที่เขาโฆษณาขายกันบ้าเลือดนั่นแหละ ในเมื่อ ฟางข้าว 1 ตัน ให้ธาตุซิลิก้ามากถึง
50 กก. แบบนี้ ทำไมถึงไม่มีใครออกมาส่งเสริมกันบ้าง เนาะ....


เมื่อครั้งเข้ามาในวงการเกษตรนี้ใหม่ๆ มีคนมาชวนให้เอาหินภูเขาไฟ นำเข้าจากฟิลิปปินส์ ราคาต้นทุนเสียภาษีที่ท่าเรือ
คลองเตยเรียบร้อยแล้วตก กก.ละ 1 บาท แล้วเอามาขายส่ง กก.ละ 8 บาท หรือขายปลีก กก.ละ 12 บาท....ลุงคิม
ไม่เอาด้วย (ว่ะ)

อ้อยก็เป็นพืชตระกูลหญ้า เพราะฉนั้นกาบใบอ้อยที่คลุมแปลงนั่นก็น่าจะมีซิลิก้า.ด้วยนะ

อ้อยเป็นพืชเมืองร้อนเพียงชนิดเดียวที่มีความต้องการซิลิก้า.สูง เพราะฉนั้นจึงไม่ควรให้อ้อยขาดซิลิก้า


ลุงคิม (โง่หรือฉลาด) ครับผม


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/02/2011 6:46 pm, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
napassorn
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 25/09/2010
ตอบ: 203
ที่อยู่: จ.นครราชสีมา

ตอบตอบ: 12/01/2011 10:47 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

รู้มั้ยเผาอ้อย ส่งผลเสีย มากกว่าที่คิด...

ข้อเสียและผลกระทบจากการเผาอ้อย

1. สูญเสียน้ำหนักและคุณภาพความหวาน อ้อยไฟไหม้ที่ตัดทิ้งไว้ในไร่เป็นระยะเวลาถึง 72 ชั่วโมง จะยิ่งสูญเสียคุณภาพความหวาน
เพิ่มมากขึ้น

2. ถูกตัดราคา ตามประกาศของคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายให้ตัดราคาอ้อยไฟไหม้ ตันละ 20 บาท

3. มีสิ่งสกปรกปนเปื้อนมาก อ้อยที่เผาจะมีน้ำตาลเยิ้มออกมาที่ลำอ้อย เมื่อตัดอ้อยแล้ววางสัมผัสกับพื้นดินก็จะมีเศษหิน ดินทราย ปน
เข้ามา และเมื่อใช้รถคีบก็จะทำให้สิ่งสกปรกปนเปื้อนเข้ามามากขึ้น

4. ทำให้สูญเสียอินทรีย์วัตถุบำรุงดิน การเผาอ้อยทำให้ความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลง 5-10 % ต่อปี และทำให้โครงสร้างของ
ดินไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของอ้อย เช่น ดินแน่นทึบ หน้าดินแห้ง เกิดการแตกระแหง โดยเฉพาะดินเหนียว

5. เสียค่าใช้จ่ายดูแลและรักษาอ้อยเพิ่มขึ้น เพราะไม่มีเศษซากอ้อยคลุมดินทำให้มีต้นทุนการซื้อสารเคมีกำจัดวัชพืชมากขึ้น

6. ทำให้ตออ้อยถูกทำลาย การเผาจะทำให้ตออ้อยถูกทำลาย อ้อยงอกช้ากว่าปกติหรือไม่งอกเลย การเจริญเติบโตช้า ไว้ตอไม่ได้
และไม่ทนทานต่อสภาพความแห้งแล้ง

7. ทำลายแมลงที่มีประโยชน์ ทำให้แมลงที่ช่วยควบคุมและกำจัดแมลงศัตรูถูกทำลาย ทำให้เกิดการระบาดของแมลงศัตรูอ้อย
เช่น หนอนกอ เป็นต้น

8. เป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน รวมถึงสุขภาพของคนตัดอ้อย และทำลายสิ่งแวดล้อม

9. ตลาดน้ำตาลอาจจะถูกจำกัด การเผาอ้อย นอกจากจะทำให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมดังกล่าวแล้ว ประเทศที่พัฒนาแล้ว
อาจนำมาเป็นข้ออ้างงดซื้อน้ำตาลจากประเทศไทยได้



ที่มา : http://www.pantown.com/board.php?id=22514&area=3&name=board2&topic=43&action=view
_________________
<<ไร่อ้อยนภัสสร>>
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 13/01/2011 9:50 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เทคโนโลยีการผลิต อ้อย

การเลือกพื้นที่ปลูกอ้อย
พื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกอ้อย ควรเป็นที่ดอน หรือที่ลุ่ม ไม่มี น้ำท่วมขัง สูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1,500 เมตร ห่างไกลจาก
แหล่งมลพิษ การคมนาคมสะดวก อยู่ห่างจากโรงงานน้ำตาลไม่เกิน 60 กิโลเมตร

การเตรียมดิน
การปลูกอ้อย 1 ครั้ง สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ถึง 3-4 ปี หรือมากกว่า ดังนั้น การเตรียมดินปลูกจะมีผลต่อ ผลผลิตของอ้อย ตลอด
ระยะเวลาที่ไว้ตอ โดยทั่วไปหลังจากตัดอ้อยตอปีสุดท้ายแล้ว เกษตรกรมักจะเผาเศษซากอ้อยและตออ้อยเก่าทิ้ง เพื่อสะดวกต่อ การ
เตรียมดิน เพราะเศษซากอ้อยจะทำให้ล้อรถแทรกเตอร์ลื่น หมุนฟรี และมักจะม้วนติดพันกับผานไถ ทำให้ทำงานได้ไม่สะดวก จาก
การทดลองใช้จอบหมุนสับเศษซากใบอ้อยแทนการเผา พบว่า สามารถ ช่วยอนุรักษ์อินทรียวัตถุในดินได้เป็นอย่างดี

ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี ได้พัฒนาผานจักรสับเศษซากอ้อย คลุกเคล้าลงดินใช้ได้ผลดี และประหยัดกว่าการใช้จอบหมุน

หลังจากไถกลบเศษซากอ้อยลงดินแล้ว ควรมีการปรับหน้าดิน ให้เรียบและมีความลาดเอียงเล็กน้อย (ไม่เกิน 0.3 เปอร์เซนต์)
เพื่อสะดวกในการให้น้ำและระบายน้ำออกจากแปลงกรณีฝนตกหนัก และป้องกันน้ำขังอ้อยเป็นหย่อมๆ เมื่อปรับพื้นที่แล้ว ถ้าเป็น
แปลง ที่มีชั้นดินดาน ควรมีการใช้ไถระเบิดดินดาน ไถลึกประมาณ 75 เซนติเมตร โดยไถเป็นตาหมากรุก หลังจากนั้น จึงใช้ไถ
จาน (3 ผาน หรือ 4 ผาน ตามกำลังของแทรกเตอร์) และพรวนตามปกติ แล้วจึงยกร่องปลูกหรือ ถ้าจะปลูกโดยใช้เครื่องปลูกก็
ไม่ต้องยกร่อง

ข้อควรระวังในการเตรียมดิน
1. ควรไถเตรียมดิน ขณะดินมีความชื้นพอเหมาะไม่แห้ง หรือเปียกเกินไป
2. ควรเตรียมดินโดยใช้ไถจานสลับกับไถ
หัวหมู เพื่อไม่ให้ความลึก ของรอยไถอยู่ในระดับเดิมตลอด และการใช้ไถจานตลอด จะทำให้เกิด ชั้นดินดานได้ง่าย
3. ไม่ควรไถพรวนดินจนดินละเอียดเป็นฝุ่น เพราะดินละเอียด เมื่อถูกฝนหรือ มีการให้น้ำจะถูกชะล้างลงไปอุดอยู่ตามช่องว่าง
ระหว่างเม็ดดิน ทำให้การระบายน้ำและอากาศไม่ดี

การเตรียมท่อนพันธุ์
* ควรมาจากแปลงพันธุ์ที่มีความสม่ำเสมอ ตรงตามพันธุ์ ปราศจาก โรคและแมลง มีอายุที่เหมาะสม คือประมาณ 8-10 เดือน

* เกษตรกรควรทำแปลงพันธุ์อ้อยไว้ใช้เอง เพื่อลดค่าใช้จ่าย ในการซื้อพันธุ์อ้อย และเป็นการวางแผนการปลูกอ้อยที่ถูกต้อง

* มีการป้องกันกำจัดโรคและแมลงที่ถูกต้อง เช่น มีการชุบน้ำร้อน 50 องศาเซลเซียส 2 ชั่วโมง หรือ 52 องศาเซลเซียส
ครึ่งชั่วโมง เพื่อป้องกัน โรคใบด่าง โรคตอแคระแกร็น โรคกลิ่นสับปะรด ลดการเป็นโรคใบขาว และโรคกอตะไคร้ อย่างไรก็ตาม
ท่อนพันธุ์ที่จะชุบน้ำร้อนควรมีอายุประมาณ 8-10 เดือน เพราะว่า ถ้าใช้ท่อนพันธุ์อายุน้อยกว่า 8 เดือน เปอร์เซ็นต์ ความงอก
ของอ้อยจะลดลง

* การใช้ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 10-20 กก.N/ไร่ ก่อนการตัดอ้อย ไปทำพันธุ์ 1 เดือน ช่วยทำให้อ้อยมีความงอก และความ
แข็งแรงของ หน่ออ้อยดีขึ้น

* อ้อยจากแปลงพันธุ์ 1 ไร่ (อายุ 8-10 เดือน) สามารถ ปลูกขยายได้ 10 ไร่

ฤดูปลูก
การปลูกอ้อยในปัจจุบัน สามารถแบ่งตามฤดูปลูกได้เป็น 2 ประเภท
1. การปลูกอ้อยต้นฝน ซึ่งยังแบ่งเป็น 2 เขต คือ
- ในเขตชลประทาน (20 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ปลูกอ้อย ทั้งประเทศ) ส่วนใหญ่จะปลูกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน
- ในเขตอาศัยน้ำฝน ส่วนใหญ่จะปลูกในช่วงเดือน เมษายนถึงมิถุนายน

2. การปลูกอ้อยปลายฝน (การปลูกอ้อยข้ามแล้ง) สามารถทำได้ เฉพาะในบางพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ
ภาคตะวันออก ที่มีปริมาณและการกระจายของฝนดี และดินเป็นดินทรายหรือดินร่วนปนทราย การปลูกอ้อยประเภทนี้จะปลูก
ประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงธันวาคม

วิธีปลูก
การปลูกอ้อยต้นฝนในเขตชลประทาน
พื้นที่ปลูกอ้อยประเภทนี้มีประมาณ 1 ล้านไร่ ซึ่งเกือบทั้งหมดอยู่ใน เขตภาคกลาง และภาคตะวันออก เป็นพื้นที่ที่มีศักย
ภาพในการให้ผลผลิต อ้อยสูง ถ้ามีการจัดการที่ดี และตั้งเป้าหมายไว้ว่า ผลผลิตอ้อยในเขตนี ้ไม่ควรต่ำกว่า 15 ตันต่อไร่
การปลูกอ้อยในเขตนี้ มีการปรับเปลี่ยนวิธีปลูก เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้เครื่องจักรกลเกษตร เช่น เครื่องปลูก เครื่องใส่ปุ๋ย
เครื่องกำจัดวัชพืช และรถเก็บเกี่ยว เป็นต้น

- ถ้าใช้คนปลูกจะยกร่องกว้าง 1.4-1.5 เมตร (เดิมใช้ 1.3 เมตร) วางพันธุ์อ้อยเป็นลำโดยใช้ลำเดี่ยวเกยกันครึ่งลำ หรือ
2 ลำคู่ ตามลักษณะการแตกกอของพันธุ์อ้อยที่ใช้ ตัวอย่าง เช่น ถ้าใช้อ้อยพันธุ์ K 84-200 ซึ่งมีการแตกกอน้อย ควรปลูก
2 ลำคู่ หลังจากวางพันธุ์อ้อย ควรใช้จอบสับลำอ้อยเป็น 2-3 ส่วน แล้วกลบด้วยดินหนาประมาณ 5 เซนติเมตร

- ถ้าใช้เครื่องปลูก หลังจากเตรียมดินแล้ว ไม่ต้องยกร่อง จะใช้ เครื่องปลูกติดท้ายแทรกเตอร์ โดยจะมีตัวเปิดร่อง และช่อง
สำหรับใส่ พันธุ์อ้อยเป็นลำ และมีตัวตัดลำอ้อยเป็นท่อนลงในร่อง และมีตัวกลบดิน ตามหลัง และสามารถดัดแปลงให้สามารถ
ใส่ปุ๋ยรองพื้น พร้อมปลูกได้เลย ปัจจุบันมีการใช้เครื่องปลูกทั้งแบบเดี่ยวและแถวคู่ โดยจะปลูกแถวเดี่ยว ระยะแถว 1.4-1.5
เมตร ในกรณีนี้ใช้พันธุ์อ้อยที่แตกกอมาก และจะ ปลูกแถวคู่ระยะแถว 1.4-1.5 เมตร ระยะระหว่างคู่แถว 30-40 เซนติ
เมตร ในกรณีใช้พันธุ์อ้อยที่แตกกอน้อย ปัจจุบันในประเทศ ออสเตรเลียมีการใช้เครื่องปลูกอ้อยเป็นท่อน (billet planter)
โดยใช้รถตัดอ้อยตัดพันธุ์อ้อยเป็นท่อน แล้วนำมาใส่เครื่องปลูกที่สามารถ เปิดร่องและโรยท่อนพันธุ์อ้อยแล้วกลบ เหมือน
ปลูกพืชที่ใช้เมล็ดอย่างอื่น เช่น ข้าวโพด หรือถั่วต่าง ๆ

การปลูกอ้อยต้นฝนในเขตอาศัยน้ำฝน
พื้นที่ปลูกอ้อยส่วนใหญ่จะอยู่ในประเภทนี้ และเป็นพื้นที่ที่มีความ แปรปรวนในเรื่องผลผลิตสูง และผลผลิตเฉลี่ยของอ้อยต่ำ
กว่า 10 ตันต่อไร่ มีสาเหตุหลัก 2 ประการ คือ ปริมาณและการกระจายตัวของฝนไม่ดี และดินส่วนใหญ่มีความอุดมสมบูรณ์
ต่ำ การใส่ปุ๋ยก็จะมีความเสี่ยงสูงและ หาจังหวะการใส่ปุ๋ยให้มีประสิทธิภาพสูงยาก (ถ้าดินไม่มีความชื้น พืชก็ดูดปุ๋ยที่ใส่ไป
ใช้ไม่ได้)

แนวทางที่จะพัฒนาผลผลิตอ้อยในเขตนี้ก็คือ ต้องพยายามหาแหล่งน้ำ (น้ำใต้ดิน,ขุดสระเก็บกักน้ำ) เพื่อให้น้ำอ้อยได้ใน
ช่วงวิกฤตและที่สำคัญ คือ ถ้ามีน้ำสามารถปลูกอ้อยได้เร็วโดยไม่ต้องรอฝน (ปลูกได้ก่อนสิ้นเดือน พฤษภาคม) ก็จะสามารถ
เพิ่มผลผลิตและคุณภาพของอ้อยในเขตนี้ได้ เพราะอ้อยที่ปลูกล่า (หลังเดือนพฤษภาคม) ทั้งผลผลิต และคุณภาพจะต่ำ
เพราะอายุอ้อยยังน้อยช่วงตัดเข้าโรงงาน วิธีการปลูกอ้อยในเขตนี้จะคล้ายกับ ในเขตชลประทาน จะแตกต่างก็เพียงระยะ
ห่างระหว่างร่องในบางพื้นที่จะใช ้แคบกว่า คือ ประมาณ 0.9-1.2 เมตร เพราะอ้อยในเขตนี้จะแตกกอ น้อยกว่าการลดระยะ
แถวลง ทำให้สามารถเพิ่มจำนวนลำเก็บเกี่ยว อ้อยต่อพื้นที่ได้ และปัจจุบันเกษตรกรในหลายพื้นที่ (เช่น อำเภอบ่อพลอย จังหวัด
กาญจนบุรี อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์) เปลี่ยนมาปลูกอ้อย แถวคู่ โดยใช้ระยะระหว่างคู่แถว 1.4-1.5 เมตร และ
ระยะในคู่แถว 30-40 เซนติเมตร และได้ผลผลิตใกล้เคียงกับการปลูกแถวแคบ แต่การจัดการในไร่อ้อยจะสะดวกกว่า เพราะ
ใช้เครื่องจักรเข้าทำงานได้

การปลูกอ้อยปลายฝน (ปลูกข้ามแล้ง)
เป็นการปลูกอ้อยโดยอาศัยความชื้นในดินช่วงปลายฤดูฝน เพื่อให้อ้อยงอกและเจริญเติบโตอย่างช้า ๆ ไปจนกว่าอ้อยจะ
ได้รับน้ำฝนต้นฤดู เป็นวิธีการปลูกอ้อยที่ใช้ได้ผลในเขตปลูกอ้อย อาศัยน้ำฝนบางพื้นที่ที่ดินเป็นดินทราย หรือร่วนปนทราย
และที่สำคัญ จะต้องมีปริมาณน้ำฝนไม่ต่ำกว่า 1,200 มิลลิเมตรต่อปี และมีการ กระจายตัวดี โดยเฉพาะในช่วงต้นฤดู
(กุมภาพันธ์ ถึงเมษายน) จะต้องมีปริมาณฝนที่พอเพียงกับการเจริญเติบโตของอ้อยในช่วงแรก การเตรียมดินปลูกจะต้อง
ไถเตรียมดินหลายครั้ง จนหน้าดินร่วนซุย (เพื่อตัด capillary pore) เป็นการรักษาความชื้นในดินชั้นล่าง หลังจาก เตรียมดิน
ควรรีบยกร่องและปลูกให้เร็วที่สุด เพื่อให้ทันกับความชื้น และควรยกร่องปลูกวันต่อวัน

พันธุ์อ้อยที่ใช้ปลูกข้ามแล้ง จะเป็นพันธุ์ที่ค่อนข้างแก่ คือ อายุประมาณ 8-10 เดือน เกษตรกรนิยมปลูกอ้อยแบบทั้งลำ
โดยจะชักร่องให้ลึก ระยะแถว 1.0-1.3 เมตร และวางลำอ้อยในร่องแล้วใช้จอบสับลำอ้อยเป็น 2-3 ส่วน กลบดินหนาประมาณ
10-15 เซนติเมตร และใช้เท้าเหยียบดิน ที่กลบให้แน่นพอประมาณ เพื่อให้ท่อนพันธุ์อ้อยสัมผัสกับดินชื้นมากที่สุด ปัจจุบัน
มีการใช้เครื่องปลูกในพื้นที่นี้มากขึ้น โดยจะตั้งเครื่องปลูกให้ลึก กว่าปกติ

ข้อดีของการปลูกอ้อยด้วยวิธีนี้ คือ
- อ้อยที่ปลูกโดยวิธีนี้จะมีอายุไม่น้อยกว่า 12 เดือน ในช่วงตัดอ้อยเข้าโรงงาน ทำให้ทั้งผลผลิตและคุณภาพ (ความหวาน)
ดีกว่าอ้อยที่ปลูกต้นฝน
- ปัญหาเรื่องวัชพืชรบกวนอ้อยในช่วงแรกจะน้อย เพราะหน้าดิน จะแห้งอยู่ตลอดเวลา ในช่วงแรกของการเจริญเติบโต

ข้อเสียของการปลูกอ้อยวิธีนี้ คือ
- ถ้ามีฝนตกหลังปลูกหรือช่วงอ้อยยังเล็ก จะทำให้หน้าดินแน่น อ้อยเจริญเติบโตไม่ดี จำเป็นต้องมีการคราดหน้าดิน เพื่อไม่
ให้หน้าดิน แน่นรัดหน่ออ้อย
- ในบางปีฝนต้นฤดูน้อย หรือมาล่า อาจทำให้อ้อยเสียหายได้

การปลูกซ่อม
การปลูกอ้อยเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงนั้น อ้อยปลูกจะต้องมีหลุมขาดหาย น้อยที่สุด และหลุมที่ขาดหายต่อเนื่องกันเกิน 1 หลุม
อ้อยหลุมข้างเคียงจะ ไม่สามารถชดเชยผลผลิตได้ ดังนั้น ถ้ามีหลุมขาดหายต่อเนื่องกันมาก ควรมีการปลูกซ่อม และจะต้อง
ปลูกซ่อมภายใน 20 วันหลังปลูก เพื่อให้อ้อยที่ปลูกซ่อมเจริญเติบโตทันอ้อยปลูกปกติ

สำหรับในอ้อยตอ ไม่แนะนำให้ปลูกซ่อม เพราะอ้อยที่ปลูกซ่อม ในอ้อยตอจะมีเปอร์เซ็นต์รอดน้อย และถึงจะรอดก็ไม่
สมบูรณ์ เนื่องจากถูก กออ้อยข้างเคียงบังแสง ดังนั้น ในอ้อยตอที่มีหลุมตายหรือขาดหายมาก เกินกว่าที่หลุมข้างเคียงจะ
แตกกอชดเชยได้ ก็ควรจะรื้อตอและปลูกใหม่

การใช้ปุ๋ยเคมีและการจัดการดินอย่างมีประสิทธิภาพ
การใช้ปุ๋ยเคมีอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถลดต้นทุนการผลิตอ้อย มีหลักปฏิบัติ ดังนี้
1. การใส่ปุ๋ยให้ถูกต้องตรงต่อความต้องการทั้งชนิดและปริมาณ
2. ลดการสูญเสียปุ๋ย
3. ใช้ปุ๋ยราคาต่ำทดแทนปุ๋ยราคาแพง หรือผสมปุ๋ยใช้เอง
4. การปรับปรุงดินให้มีคุณสมบัติเหมาะสม

การใส่ปุ๋ยให้ถูกต้องตรงต่อความต้องการทั้งชนิดและปริมาณ
การใส่ปุ๋ยเคมีให้ได้ถูกต้องตรงกับชนิดดินและความต้องการของอ้อย เป็นการลดต้นทุนการผลิตได้อย่างดี การใส่ธาตุอาหารลง
ไปในดินโดยที่ดินนั้น ๆ มีธาตุอาหารเพียงพออยู่แล้ว จะเป็นการลงทุนที่เปล่าประโยชน์ นอกจากนี้ ปุ๋ยส่วนเกินความ
ต้องการของอ้อยจะถูกชะล้างลงสู่ บ่อ คู คลอง และแหล่งน้ำใต้ดิน ก่อให้เกิดมลภาวะอย่างรุนแรงทั้งสิ้น สำหรับการปลูก
อ้อย ในประเทศไทย พบว่า มีเกษตรกรชาวไร่อ้อยน้อยรายที่มีความรู้ความเข้าใจ เรื่องการใช้ปุ๋ยเคมี ดังนั้น ถ้าเรามีการใช้
ปุ๋ยเคมีทั้งชนิดและอัตราที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยในไร่อ้อย เป็นการลดต้นทุนค่าปุ๋ย และลด มลภาวะที่
จะเกิดจากการปนเปื้อนของปุ๋ยในอากาศ และน้ำ รวมทั้งลด ค่าใช้จ่ายการนำเข้าปุ๋ยจากต่างประเทศอีกด้วย การจะใช้ปุ๋ยให้
ถูกต้องได้จะต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงลักษณะทางเคมีของดิน เพราะลักษณะทางเคมีของดินมีความสำคัญต่อการเจริญ
เติบโต และการ ให้ผลผลิตของอ้อยมากเนื่องจากเป็นลักษณะที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของดิน และปริมาณธาตุอาหาร
ในดิน ที่จะเป็นประโยชน์แก่อ้อย รวมถึงความเป็นพิษ ของธาตุบางอย่างด้วย ลักษณะทางเคมีของดินที่สำคัญต่อการ
เจริญเติบโตของอ้อย ได้แก่ ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน ความเค็ม ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวก ความอิ่มตัวของด่าง
ปริมาณอินทรีย์วัตถุในดิน และปริมาณของธาตุอาหารต่าง ๆ ในดิน คุณสมบัติทางเคมีของดินเหล่านี้ไม่สามารถบ่งบอกได้
ด้วย การสัมผัสหรือดูด้วยตาเปล่า เหมือนคุณสมบัติทางกายภาพ

วิธีประเมินว่า ดินที่ปลูกอ้อยอยู่จะมีคุณสมบัติทางเคมีดีหรือเลวเพียงใด คือ
- การสังเกตอาการขาดธาตุอาหารของอ้อย วิธีนี้ต้องอาศัยความชำนาญ และประสบการณ์ มาวินิจฉัยอาการผิดปรกติ
ที่ปรากฎที่ใบและต้นอ้อยว่า เป็นอาการขาดธาตุใด จึงสรุปได้ว่า ดินมีธาตุนั้นไม่เพียงพอต่อความต้องการ ของอ้อย

- การทดลองใส่ปุ๋ยให้กับอ้อย อาจทำในกระถาง หรือในไร่นา โดย เปรียบเทียบกับดินที่ไม่มีการใส่ปุ๋ย ถ้าอ้อยที่ใส่ปุ๋ย
ชนิดต่างๆ มีการเจริญเติบโตแตกต่างไปจากดินที่ไม่ได้ใส่ปุ๋ย แสดงว่าดินชนิดนั้นยังมีธาตุอาหารไม่เพียงพอต่อการเจริญ
เติบโตของอ้อย

- การวิเคราะห์ดิน โดยนำตัวอย่างดินมาตรวจสอบหาค่าต่าง ๆ วิธีนี้เป็นการประเมินที่ถูกต้องแม่นยำกว่าสองวิธีแรก แต่
ชาวไร่ไม่สามารถปฏิบัติได้ด้วยตนเอง ต้องส่งตัวอย่างดินไปยังหน่วย บริการต่างๆ ซึ่งจะใช้วิธีการทางเคมี วิเคราะห์อง
ค์ประกอบของดิน ในส่วนที่เป็นธาตุอาหาร เพื่อประเมินว่า ดินนั้นขาดธาตุใดบ้าง และควร บำรุงดินอย่างไรจึงจะเหมาะสม

- การวิเคราะห์พืช วิธีนี้เป็นวิธีที่ถูกต้องแม่นยำที่สุด แต่ปฏิบัติได้ ยุ่งยากกว่า มีวิธีการเช่นเดียวกับการวิเคราะห์ดิน คือ
นำตัวอย่างพืช มาใช้วิธีการทางเคมีแยกองค์ประกอบของเนื้อเยื่อพืช เพื่อให้ทราบว่า มีธาตุอาหารใดสูงต่ำมากน้อย
เพียงใด แล้วนำมาเทียบกับค่าวิกฤต แล้วจึง ประเมินเป็นปริมาณธาตุอาหารที่จะต้องใส่ให้แก่อ้อย

วิธีที่เหมาะสมสำหรับชาวไร่อ้อย น่าจะเป็นวิธีวิเคราะห์ดิน ซึ่งมี หน่วยงานรับบริการวิเคราะห์ทั้งทางราชการและเอกชน
อีกทั้งมีเครื่องมือ ที่ทันสมัยขึ้น ทำให้วิเคราะห์ได้รวดเร็วกว่าสมัยก่อนมาก การวิเคราะห์ดิน จะมีวิธีดำเนินการ 4 ขั้น
ตอน คือ

1. การเก็บตัวอย่างดิน การเก็บตัวอย่างดินให้ได้ตัวอย่าง ซึ่งเป็น ตัวแทนของพื้นที่ เป็นขั้นตอนแรกที่มีความสำคัญที่สุด
เกษตรกรผู้เก็บ ตัวอย่างดินต้องเข้าใจวิธีการและขั้นตอนการปฏิบัติโดยใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ตัวอย่างดินที่ดี
ค่าวิเคราะห์ที่ไม่ผิดพลาด

2. การวิเคราะห์ดินในห้องปฏิบัติการ ได้จากการนำตัวอย่างดิน ที่เก็บมาส่งไปวิเคราะห์ เป็นหน้าที่ของนักวิทยา
ศาสตร์ที่จะวิเคราะห์ดินด้วยวิธีมาตรฐาน เพื่อให้ได้ค่าวิเคราะห์ถึงคุณสมบัติทางเคมีของดิน เพื่อความถูกต้องของ
ข้อมูล

3. การแปลความหมายของผลการวิเคราะห์ดิน เป็นการนำข้อมูลที่ได ้จากการวิเคราะห์มาเทียบเคียงปริมาณ
การใช้ธาตุอาหารต่าง ๆ ของอ้อย แล้วแปลข้อมูลนั้นว่า ดินที่วิเคราะห์มีความอุดมสมบูรณ์ ต่ำ ปานกลาง หรือสูง

4. การให้คำแนะนำการปฏิบัติหรือใส่ปุ๋ยเพื่อปรับปรุงดิน จากผลการ แปลความหมายข้างต้น นักวิชาการเกษตร
จะให้คำแนะนำแก่ชาวไร่อ้อย เจ้าของตัวอย่างดินว่า หากประสงค์จะปลูกอ้อยให้ได้ผลดี ควรใช้ปูน เพื่อสะเทินกรด
ในดินอัตรากี่กิโลกรัมต่อไร่ ควรใช้ปุ๋ยสูตรใด อัตราใด และใส่อย่างไร จึงจะให้ผลดีต่อพืชที่ปลูก

การใช้ปุ๋ยในกรณีที่ไม่มีการวิเคราะห์ดิน
- การใช้ปุ๋ยเคมีกัยที่ปลูกในดินเหนียวกับดินร่วน
ดินลักษณะนี้มักจะมีธาตุฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมอยู่บ้าง จึงเน้นหนักทางด้านธาตุไนโตรเจน ซึ่งสามารถแนะนำ
เป็นปุ๋ยเคมีสูตร 14-14-14 , 15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตรา 40-50 กิโลกรัมต่อไร่ โดยใส่ครั้งแรก
หลังปลูก 1 เดือน หรือหลังแต่งตอทันที ใส่ครั้งที่ 2 หลังปลูกหรือแต่งตอ 2-3 เดือน

ถ้าไม่สะดวกที่จะใช้ปุ๋ยสูตรที่กล่าวมานี้ อาจใช้ปุ๋ยสูตรอื่นที่หา ได้ตามท้องตลาด เช่น 16-8-8, 20-10-10,
16-6-6, 18-6-6, 18-8-8, หรือ 25-7-7 อัตรา 70-90 กิโลกรัมต่อไร่ โดยแบ่งครึ่ง ใส่หลังปลูกหรือหลัง
แต่งตอทันที ส่วนอีกครึ่งหนึ่งใส่หลังปลูกหรือหลังแต่งตอ 2-3 เดือน

ถ้าพื้นที่ปลูกมีน้ำชลประทาน ควรเพิ่มปุ๋ยยูเรีย อัตรา 15-20 กิโลกรัมต่อไร่ หรือปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต อัตรา 25-30
กิโลกรัมต่อไร่ ในการใส่ครั้งที่ 2

-การใช้ปุ๋ยเคมีกับอ้อยในดินทราย
ดินทรายมักจะขาดธาตุโพแทสเซียม เนื่องจากถูกชะล้างจาก อนุภาคดินได้ง่ายจึงแนะนำให้ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-12-12,
13-13-13 หรือ 14-14-21 อัตรา 40-60 กิโลกรัมต่อไร่ โดยใส่พร้อมปลูกหรือ หลังแต่งตอ 20 กิโลกรัม ส่วน
ที่เหลือใส่ครั้งที่ 2 ร่วมกับปุ๋ยสูตร 21-0-0 อัตรา 30-40 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ 46-0-0 อัตรา 15-20 กิโลกรัม ต่อไร่
โดยใส่หลังปลูกหรือหลังแต่งตอ 60 วัน

อาจใช้ปุ๋ยสูตรอื่นที่มีขายตามท้องตลาดได้ เช่น 16-8-14, 15-5-20 หรือ 16-11-14 โดยใส่ในอัตราเดียวกัน คือ
40-60 กิโลกรัมต่อไร่

สำหรับอ้อยที่มีน้ำชลประทานให้เพิ่มปุ๋ยยูเรีย อัตรา 15-20 กิโลกรัมต่อไร่ หรือปุ๋ยแอมโมเนียซัลเฟต อัตรา 25-30
กิโลกรัมต่อไร่ ในการใส่ครั้งที่ 2 เช่นเดียวกับในสภาพดินเหนียวและดินร่วน

- การใช้ปุ๋ยแบบเจาะจงเฉพาะพื้นที่
ปััจจุบันได้มีความพยายามให้มีการใช้ปุ๋ยเคมีให้เฉพาะเจาะจงต่อ ความต้องการของอ้อย และคุณสมบัติของดินมาก
ยิ่งขึ้น ได้พัฒนาระบบ คำแนะนำการใช้ปุ๋ยเคมีในการผลิตอ้อย โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ โปรแกรมดังกล่าว
จะสามารถบอกได้ว่าในพื้นที่ปลูกอ้อยของจังหวัดต่าง ๆ หรือจุดที่ทำไร่อ้อยอยู่นั้นอยู่บนกลุ่มชุดดินอะไร มีคุณสมบัติ
อย่างไร หรือมีความอุดมสมบูรณ์มากแค่ไหน ประกอบด้วยธาตุอาหารอ้อยอะไรบ้าง และควรจะใส่ปุ๋ยเคมีชนิดไหนบ้าง
ในอัตราเท่าไร เช่น จังหวัดเพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ พื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นดินทราย อยู่ในกลุ่มชุดดินที่ 35 และ
35/36 คล้ายคลึงกับดินที่ปลูกอ้อยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือชุดดินมาบบอน ชุดดินปราณบุรี และชุดดิน
โคราช หน่วยแผนที่ดินใน กลุ่มนี้มีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย ส่วนดินล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนดินทราย มีสีน้ำตาล
สีเหลือง หรือแดง ส่วนมากเกิดจากดินพวกตะกอนลำน้ำ หรือการสลายตัวผุพังของเนื้อหินหยาบ พบบริเวณพื้นที่
ดอนที่เป็น ลูกคลื่นลอนลาดถึงลอนชัน เป็นดินลึกมีการระบายน้ำดี คุณสมบัต ิทางกายภาพทำให้ดินดังกล่าว
เหมาะสำหรับการปลูกอ้อย อย่างไรก็ตาม ดินกลุ่มนี้มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติค่อนข้างต่ำถึงปานกลาง
ดังนั้น การเพิ่มเติมธาตุอาหารให้แก่อ้อยยังมีความจำเป็น การมีเนื้อดินบน ค่อนข้างเป็นทราย ทำให้ดินอุ้มน้ำได้น้อย
อ้อยอาจขาดแคลนน้ำ ได้ในช่วงฝนทิ้งช่วง

การลดการสูญเสียปุ๋ย
ปุ๋ยเคมีที่ใส่ให้แก่อ้อย โดยเฉพาะไนโตรเจนมีการสูญเสียได้หลายทาง เนื่องจากกระบวนการต่าง ๆ ที่ใส่ลง
ไปในดิน ฟอสฟอรัสเองก็ถูกตรึง ให้อยู่ในสภาพที่ไม่เป็นประโยชน์ อ้อยดูดไปใช้ได้ไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ ของปุ๋ย
ฟอสฟอรัสที่ใส่ให้แก่อ้อย การสูญเสียของธาตุอาหารที่ใส่ลงไปในดิน โดยที่อ้อยไม่ได้นำไปใช้ ถือได้ว่าเป็นการ
สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายโดยไม่ก่อ ประโยชน์ ถ้าสามารถลดการสูญเสียลงได้ จะเป็นการลดต้นทุนการผลิต ทำให้ใช้
ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

เมื่อเราใส่ปุ๋ยไนโตรเจนลงในดิน ปุ๋ยจะได้รับความชื้นแล้วละลาย พร้อมทั้งแตกตัวเป็นไอออน (NH4+, NO3-)
ที่พืชสามารถดูดไป ใช้ได้พร้อมทั้งเกิดการสูญเสียตลอดเวลาโดยกระบวนการต่าง ๆ เช่น

1. กระบวนการชะล้าง (run off) ถ้าให้น้ำมากๆ หรือ ฝนตกชุกจะพัดพาปุ๋ยไหลบ่าออกไปจากแปลง

2. กระบวนการชะปุ๋ยลงลึกเลยรากอ้อย (leaching) เกิดในสภาพที่ฝนตกชุกหรือให้น้ำมาก ๆ และดินมีอัตรา
การซึมน้ำสูง น้ำจะพาปุ๋ยลงลึกจนเลยรากอ้อยไป

3. กระบวนการระเหิด (volatilization) ไนโตรเจน ในรูปของไอออน NH4+ จะเปลี่ยนรูปเป็นก๊าซแอมโมเนีย
ระเหยขึ้นสู่อากาศ

4. กระบวนการระเหย (denitrification) มักเกิดใน สภาพน้ำขัง หรือดินอิ่มตัวด้วยน้ำแล้วขาดออกซิเจน
ไนโตรเจน จะ เปลี่ยนรูปเป็นก๊าซลอยไปในอากาศ

5. กระบวนการสูญเสียชั่วคราว (immobilization) เกิดขึ้นมาก ในดินที่มีเศษซาก พืชที่ยังไม่ย่อยสลายมาก ๆ
เมื่อซากพืชเหล่านี้อยู่ในดิน จุลินทรีย์จะย่อยสลายแล้วเพิ่มปริมาณตัวเองอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ เพิ่มปริมาณจะ
ดูดดึงเอาไนโตรเจนจากดินและปุ๋ยไปใช้ด้วย จึงทำให้อ้อย ขาดไนโตรเจนต่อเมื่อซากพืชถูกย่อยสลายหมด
จุลินทรีย์ขาดอาหารจึงตายลง พร้อมทั้งปลดปล่อยไนโตรเจนออกมาใหม่ จะสังเกตได้ว่า ถ้าปลูกอ้อย ลงไป
ในดินที่ไถกลบซากพืชใหม่ ๆ อ้อยจะเหลือง หรือแม้กระทั่ง อ้อยตอที่มีใบและเศษซากอ้อยที่ยังไม่สลายตัว
ทำให้อ้อยตอไม่เขียว เหมือนอ้อยปลูกเพราะขาดไนโตรเจน จึงแนะนำให้เพิ่มอัตรา ไนโตรเจนในอ้อยตอ

นอกจากกระบวนการทั้ง 5 แล้วไนโตรเจนจากปุ๋ยยังอาจถูกดูดยึดไว้ใน ดินจนอ้อยไม่สามารถดูดมาใช้ได้
จากงานวิจัยของหลาย ๆ ประเทศ พบว่า อ้อยดูดใช้ธาตุอาหารได้ไม่ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ของปุ๋ยที่ใส่
ลงไป เพื่อเป็นการประหยัดจึงควรลดการสูญเสียปุ๋ย โดยการปฏิบัติดังนี้

1. อย่าใส่ปุ๋ยลงผิวดิน ควรใส่ฝังลงในดินหรือมีการกลบปุ๋ย
2. หลังใส่ปุ๋ยแล้ว อย่าให้น้ำขัง ควรมีการระบายน้ำ
3. ใส่ปุ๋ยในขณะดินมีความชื้น หรือให้น้ำตามทันทีเพื่อให้ปุ๋ยละลาย อ้อยดูดไปใช้ได้ง่าย จะลดการสูญเสียได้มาก
4. อย่าปลูกอ้อยทันทีหลังจากไถกลบใบและเศษซากอ้อย ทิ้งให้ใบย่อยสลายก่อนจึงปลูกอ้อยแล้วใส่ปุ๋ย
5. อย่าให้น้ำมากเกินความจำเป็น

การใช้ปุ๋ยราคาต่ำทดแทนปุ๋ยราคาแพงหรือผสมปุ๋ยใช้เอง
ชาวไร่อ้อยไม่จำเป็นต้อง
ใช้ปุ๋ยเคมีราคาแพง ๆ เสมอไป อาจใช้ปุ๋ยอื่น ๆ ที่มีปริมาณธาตุอาหารใกล้เคียงกันแต่ราคาถูกกว่ามาใช้แทน
กันได้ เช่น การใช้ปุ๋ยน้ำจากโรงงานผงชูรส ซึ่งมีไนโตรเจนประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ ถ้าใช้ในอัตราแนะนำ
600 ลิตรต่อไร่ ก็จะได้ไนโตรเจนถึง 18 กิโลกรัม เท่ากับไนโตรเจนจากปุ๋ย 15-15-15 ถึง 120 กิโล
กรัม แต่ราคาจะถูกกว่ามาก การผสมปุ๋ยใช้เอง สามารถประหยัดได้ถึงตันละ 1,000-2,000 บาท
และยังมีข้อดีอื่น ๆ อีก เช่น

- ตัดปัญหาเรื่องปุ๋ยปลอม หรือปุ๋ยไม่ได้มาตรฐาน
- มีปุ๋ยใช้ทันเวลา
- มีอำนาจในการต่อรองราคา
- เกิดความรู้ความชำนาญ สามารถปรับสูตรได้
- ได้ใช้ปุ๋ยในราคายุติธรรม
- กรณีเกิดการสูญเสีย จะสูญเสียน้อยกว่า เพราะลงทุนถูกกว่า
- มีทางเลือกเพิ่มขึ้น

การปรับปรุงดินให้มีลักษณะเหมาะสม
การรปรับปรุงดินให้เหมาะสมจะทำให้การใช้ปุ๋ยเคมีมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ลดการใช้ปุ๋ยลงไปได้มาก
ขณะที่ปัจจุบันดินที่ใช้ในการทำไร่อ้อย เสื่อมสภาพลงมาก เนื่องมาจากการไถพรวนบ่อยครั้งโดยไม่ถูกวิธี
และไม่ถูกจังหวะ การเผาอ้อย การใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ น้ำหนัก มากเหยียบย่ำในแปลง ซึ่งมีวิธีการ
ปฏิบัติที่จะปรับปรุงดินได้ดังนี้้

* การแก้ไขเฉพาะหน้าในกรณีเกิดปัญหาดินดาน
1. ถ้าเกิดดินดานให้ใช้ไถสิ่ว หรือไถเปิดดินดานติดรถแทรกเตอร์ตีน ตะขาบที่มีกำลังสูงลากไถสิ่วคู่
ระยะ 1 เมตร ไถลึกประมาณ 75 ซม. การไถควรทำขณะที่ดินแห้งจัด
2. อย่าเตรียมดินโดยการไถพรวนจนละเอียดเป็นฝุ่น
3. เตรียมดินโดยใช้ไถจานกับไถหัวหมูสลับกันบ้าง
4. อย่าเผาใบอ้อย เพราะเป็นการทำให้อินทรียวัตถุ หมดไปอย่างรวดเร็ว
5. ควรเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน โดยการใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด หรือเศษของเหลือจากโรงงาน
น้ำตาล เช่น ชานอ้อย หรือกากตะกอนหม้อกรอง

* การปรับปรุงดินโดยการปลูกพืชตระกูลถั่วแล้วไถกลบ
การปลูกพืชตระกูลถั่วแล้วไถกลบก่อนปลูกอ้อย นิยมปฏิบัต ิกันมานานแล้วในประเทศ ออสเตรเลีย
ไต้หวัน และแอฟริกา ซึ่งมี วิธีการปฏิบัติดังนี้

1. เมื่อผลผลิตอ้อยตอ 3 ถึง ตอ 4 ลดลง ทำการไถรื้อตอ
2. หว่านเมล็ดโสนอัฟริกัน โสนอินเดีย ปอเทือง ถั่วพร้า ถั่วพุ่ม หรือถั่วแปยี
3. หลังจากนั้นประมาณ 2 เดือน หรือเมื่อถั่วออกดอก ใช้จอบหมุนตีกลบ ทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือน
4. ทำการเตรียมดินปลูกอ้อยตามปกติ

* การปลูกถั่วเหลืองสลับกับการปลูกอ้อย
การปลูกพืชตระกูลถั่วก่อนปลูกอ้อยทำให้คุณสมบัติทางเคมี และกายภาพของดินดีขึ้น ช่วยลดความหนาแน่นของดิน
เพิ่มปริมาณ อินทรียวัตถุและไนโตรเจน ทำให้ช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้ รวมทั้งยังช่วย ลดการระบาดของโรคและแมลง
พืชที่เหมาะสมที่จะปลูกสลับกับอ้อย คือ ถั่วเหลือง เนื่องจากถั่วเหลืองสามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศ และปลดปล่อย
ให้แก่ดินถึง 49.6 กิโลกรัมต่อไร่ ทำให้ลดการใช้ปุ๋ยเคมี ไนโตรเจนลงได้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ ผลผลิตของ
ถั่วเหลืองแล้ว อ้อยที่ปลูกตามหลังถั่วเหลืองมีผลผลิตเพิ่มขึ้น

การให้น้ำเพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อย
น้ำเป็นปัจจัยการผลิตหลักที่มีผลต่อการเพิ่มผลผลิตอ้อย หากอ้อยได้รับน้ำอย่างเพียงพอตลอดช่วงการเจริญเติบโต
ผลผลิตอ้อยจะได้ไม่ต่ำกว่า 15 ตันต่อไร่ อ้อยต้องการน้ำเพื่อใช้ ในการเจริญเติบโตและสร้างน้ำตาล อ้อยที่ขาดน้ำ
จะเจริญเติบโตช้า ผลผลิตต่ำ และให้ความหวานต่ำ

พื้นที่เพาะปลูกอ้อยส่วนใหญ่อยู่ในเขตอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก มีเพียงส่วนน้อยที่อยู่ในเขตชลประทาน อ้อยต้องการน้ำเพื่อ
การเจริญเติบโตตลอดปี ประมาณ 1,500 มิลลิเมตร การเพิ่มผลผลิตอ้อยให้สูงขึ้นจึงจำเป็นต้องให้น้ำชลประทานหรือ
น้ำบาดาลช่วย การให้น้ำแก่อ้อยจะทำให้ความสามารถในการไว้ตอดีขึ้น เป็นการ
ลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มรายได้
ให้แก่ชาวไร่อีกทางหนึ่งความต้องการน้ำและการตอบสนองต่อการให้น้ำของอ้อย

การผลิตอ้อยให้ได้ผลผลิตสูงนั้น อ้อยจะต้องได้รับน้ำ (น้ำฝน/ชลประทาน) อย่างเพียงพอ ตลอดระยะเวลาการเจริญ
เติบโต ความต้องการน้ำของอ้อยจะขึ้นกับสภาพภูมิอากาศ และช่วงระยะ การเจริญเติบโต ได้แบ่งระยะความต้องการ
น้ำของอ้อยไว้ 4 ระยะ คือ

1. ระยะตั้งตัว (0-30 วัน) เป็นระยะที่อ้อยเริ่มงอกจนมีใบจริง และเป็นตัวอ่อน ระยะนี้อ้อยต้องการน้ำในปริมาณ
ไม่มาก เพราะรากอ้อยยังสั้นและการคายน้ำยังมีน้อย ดินจะต้องมีความชื้น พอเหมาะกับการงอก ถ้าความชื้นใน
ดินมากเกินไปตาอ้อยจะเน่า ถ้าความชื้นในดินน้อยเกินไป ตาอ้อยจะไม่งอก หรือถ้างอกแล้ว ก็อาจจะเหี่ยวเฉาและ
ตายไป ในสภาพดินที่เมื่อแห้งแล้ว ผิวหน้าฉาบเป็นแผ่นแข็ง ก็อาจทำให้หน่ออ้อยไม่สามารถแทงโผล่ขึ้นมาได้ ดังนั้น
ในระยะนี้การให้น้ำอ้อยควรให้ในปริมาณน้อยและบ่อยครั้ง เพื่อทำให้สภาพความชื้นดินเหมาะสม

2. ระยะเจริญเติบโตทางลำต้น (31-170 วัน) ระยะนี้รากอ้อยเริ่มแพร่กระจายออกไปทั้งในแนวดิ่งและแนวระดับ
เป็นระยะที่อ้อยกำลังแตกกอและสร้างปล้องเป็นช่วงที่อ้อยต้องการน้ำมาก ถ้าอ้อยได้รับน้ำในปริมาณที่เพียงพอ
ในระยะนี้ จะทำให้อ้อยมีจำนวน ลำต่อกอมาก ปล้องยาว ทำให้อ้อยมีลำยาว และผลผลิตสูง การให้น้ำ จึงต้องให้
บ่อยครั้ง

3. ระยะสร้างน้ำตาลหรือช่วงสร้างผลผลิต (171-295 วัน) ช่วงนี้พื้นที่ใบอ้อยที่ใช้ประโยชน์ได้จะน้อยลง อ้อยจะ
คายน้ำน้อยลง และตอบสนองต่อแสงแดดน้อยลง จึงไม่จำเป็นต้องให้น้ำบ่อย ให้เฉพาะช่วงที่อ้อยเริ่มแสดงอาการ
ขาดน้ำ

4. ระยะสุกแก่ (296-330 วัน) เป็นช่วงที่อ้อยต้องการน้ำน้อย และในช่วงก่อนเก็บเกี่ยว 6-8 สัปดาห์ ควรหยุดให้น้ำ
เพื่อลดปริมาณน้ำ ในลำต้นอ้อยและบังคับให้น้ำตาลทั้งหมดในลำอ้อยเปลี่ยนเป็นน้ำตาลซูโครส


ความต้องการน้ำของอ้อยในแต่ละช่วงระยะการเจริญเติบโต
ข้อพิจารณาในการให้น้ำแก่อ้อย
การพิจารณาว่าเมื่อใดควรจะถึงเวลาให้น้ำแก่อ้อย และจะให้น้ำครั้งละ ปริมาณเท่าใด มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องคือ

- ระยะการเจริญเติบโต ความต้องการน้ำของอ้อย ปริมาณน้ำที่ให้แก่อ้อยจะมากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับระยะ
การเจริญเติบโต อัตราความต้องการใช้น้ำ ความลึกที่รากหยั่งลงไปถึง อ้อยจะเจริญเติบโตได้ดีก็ต่อเมื่อความชื้นใน
ดินเหมาะสม ถ้ามีความชื้นในดินสูงหรือต่ำมากเกินไป อ้อยจะเจริญเติบโตผิดปกติ เมื่อดินมีน้ำมากจะทำให้ขาด
ออกซิเจน โดยทั่วไปถ้าในดินมีอากาศอยู่ต่ำกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ รากอ้อยจะชะงักการดูดธาตุอาหาร น้ำและออกซิเจน
เป็นเหตุให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ถ้าขาดน้ำใบจะห่อในเวลากลางวัน

- คุณสมบัติทางกายภาพของดิน เช่น ความสามารถของ ดินในการซับน้ำ ดินต่างชนิดกันย่อมมีคุณสมบัติดูดซับน้ำได้
ไม่เหมือนกันสำหรับดินที่สามารถซับน้ำไว้ได้มากไม่จำเป็นต้องให้น้ำบ่อยครั้งเหมือนดินที่มีเนื้อหยาบและซับน้ำได้น้อย
ดินเหนียวจะมีความชื้นอยู่มากกว่าดินทราย ดังนั้น หลักการให้น้ำแก่ อ้อยที่ถูกต้อง คือ ให้น้ำตามที่อ้อยต้องการ ส่วน
ปริมาณน้ำที่จะให้ แต่ละครั้งมากน้อยเท่าไร และใช้เวลานานเท่าใด ย่อมขึ้นอยู่กับ คุณสมบัติทางกายภาพของดินซึ่ง
ไม่เหมือนกัน

- สภาพลมฟ้าอากาศ อุณหภูมิของอากาศ การพิจารณา การให้น้ำแก่อ้อยจะต้องพิจารณาถึง อุณหภูมิและสภาพลม
ฟ้าอากาศด้วย ในช่วงที่มีอุณหภูมิสูงอ้อยจะคายน้ำมาก ความต้องการน้ำจะมากตามไปด้วย จำเป็นต้องให้น้ำบ่อยขึ้น
ในช่วงที่มีฝนตกควรงดให้น้ำ และหาทาง ระบายน้ำแทน เพื่อให้ดินมีความชื้นและอากาศในดินเหมาะสม ในช่วงฝน
ทิ้งช่วงควรให้น้ำช่วยจะทำให้การเจริญเติบโตของอ้อยดีขึ้น
ระบบการให้น้ำอ้อย

การเลือกระบบการให้น้ำอ้อยที่เหมาะสม ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ชนิดของดิน ความลาดเอียงของพื้นที่ ต้นทุน
และความพร้อมในการนำน้ำมาใช้ รวมทั้งความพร้อมในด้านแรงงาน และอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร ในการให้น้ำ
ระบบการให้น้ำอ้อย ในปัจจุบันที่ใช้กันอยู่ทั้งในและต่างประเทศมีดังนี้

1. การให้น้ำแบบร่อง (Furrow irrigation)
เป็นระบบการให้น้ำที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในและต่างประเทศ เพราะเป็นระบบที่ใช้ต้นทุนต่ำ สะดวกและง่ายใน
การปฏิบัติ แต่ก็ม ีข้อจำกัดอยู่ที่แปลงปลูกอ้อยจะต้องค่อนข้างราบเรียบ โดยมีความลาดชัน ไม่เกิน 3 เปอร์เซ็นต์
ประสิทธิภาพของการให้น้ำแบบร่องจะผันแปร อยู่ระหว่าง 30-90 เปอร์เซ็นต์ และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพ การ
ให้น้ำได้โดยการจัดการที่ถูกต้องและเหมาะสม โดยปกติการให้น้ำ ระบบนี้จะมีร่องน้ำที่หัวแปลงหรืออาจใช้ท่อหรือ
สายยางที่มีช่องเปิดให้น้ำไหล เข้าร่องอ้อยแต่ละร่อง เมื่อน้ำไหลไปจนสุดร่องแล้ว อาจยังคงปล่อยน้ำ ต่อไปอีก
เพื่อให้น้ำซึมลงในดินมากขึ้นน้ำ ที่ท้ายแปลงอาจระบายออก หรือเก็บรวบรวมไว้ในบ่อพักเพื่อนำกลับมาใช้อีก ใน
แปลงอ้อยที่มี ความลาดชันน้อยมาก (ใกล้ 0 เปอร์เซ็นต์) สามารถจัดการให้น้ำโดย ไม่มีน้ำเหลือทิ้งท้ายแปลง
ได้ โดยปรับสภาพพื้นที่ให้มีความลาดชันน้อยที่สุด หรือเป็นศูนย์และทำคันกั้นน้ำตลอดท้ายแปลง น้ำที่ให้ไปสุด
ท้ายแปลง จะถูกดักไว้โดยคันกั้นน้ำ ทำให้น้ำมีเวลาซึมลงในดินมากขึ้น วิธีนี้จะ เหมาะกับดินที่มีการซึมน้ำช้า
และน้ำที่จะให้มีจำกัด

แม้ว่าการให้น้ำระบบร่องจะใช้ได้กับพื้นที่มีความลาดเอียงไม่เกิน 3 เปอร์เซ็นต์ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะใช้กับพื้นที่
ที่มีความลาดเอียงไม่เกิน 1 เปอร์เซ็นต์ สำหรับความยาวร่องที่ใช้มีตั้งแต่ 25 เมตร ถึง 1,000 เมตร รูปร่าง ของ
ร่องและอัตราการไหลของน้ำ ขึ้นกับชนิดของดินและความลาดชัน ของพื้นที่ สำหรับดินที่มีความสามารถ ในการซึม
น้ำได้ดี ควรใช้ร่องปลูกรูปตัว ‘V' และมีสันร่องกลาง เพื่อให้น้ำไหลได้เร็วและลดการสูญเสียน้ำ จาก การซึม
ลึกในแนวดิ่ง ในทางกลับกันสำหรับดินที่มีการซึมน้ำเลว ควรใช้ ร่องที่มีก้นร่องกว้างและสันร่องแคบ เพื่อเพิ่มพื้น
ที่ผิวสัมผัสของดินกับน้ำ ทำให้น้ำซึมลงดินได้ทั่วถึง


2. การให้น้ำแบบพ่นฝอย (Sprinkler irrigation การให้น้ำแบบนี้ใช้ได้กับทุกสภาพพื้นที่และทุกชนิดดิน
ประสิทธิภาพ ในการใช้น้ำอาจเกิน 75 เปอร์เซ็นต์ได้ ถ้ามีการจัดการที่ถูกต้องและ เหมาะสม การให้น้ำแบบนี้มี
หลายรูปแบบ เช่น
- สปริงเกอร์หัวใหญ่ ต้องใช้ปั๊มน้ำแรงดันสูงและมีทางวิ่งถาวร ในแปลงอ้อย

- สปริงเกอร์แบบหัวเล็กเคลื่อนย้ายได้ ใช้สำหรับอ้อยปลูกหรือ อ้อยตออายุน้อย และปริมาณน้ำที่ให้มีจำกัด
มีข้อเสียคือ ต้องใช้ แรงงานมากในการเคลื่อนย้าย และไม่สามารถใช้กับอ้อยสูงได้

- สปริงเกอร์แบบหัวเล็กบนแขนระนาบ (Lateral move irrigators) ข้อดีคือสามารถให้น้ำในพื้นที่ขนาด
ใหญ่อย่างมีประสิทธิภาพ และใช้แรงงานน้อย แต่มีข้อเสียคือใช้ต้นทุนสูงสำหรับอุปกรณ์และเครื่องมือ

- สปริงเกอร์แบบหัวเล็กขนแขนที่เคลื่อนเป็นวงกลมรอบจุดศูนย์กลาง (Centre-pivot irrigators)


3. การให้น้ำแบบน้ำหยด (Drip irrigation)
เป็นวิธีการให้น้ำที่มีประสิทธิภาพในการให้น้ำสูงสุด โดยสามารถให้น้ำเฉพาะรอบ ๆ รากพืช และสามารถให้ปุ๋ย
และสารเคมี ป้องกันกำจัดศัตรูพืชไปพร้อมกับน้ำได้เลย ปัจจุบันมีใช้กันอยู่ 2 แบบ คือ
- ระบบน้ำหยดบนผิวดิน (Surface system) ระบบนี้จะวางสายให้น้ำบนผิวดินในแนวกึ่งกลางร่อง หรือข้าร่อง
อาจวางทุกร่องหรือร่องเว้นร่อง

- ระบบน้ำหยดใต้ผิวดิน (Subsurface system) ระบบนี้จะต้องวางสายให้น้ำก่อนปลูก โดยปกติจะฝังลึก
ประมาณ 25-30 ซม. และสายให้น้ำจะอยู่ใต้ท่อนพันธุ์อ้อยประมาณ 10 ซม.


http://it.doa.go.th/vichakan/news.php?newsid=13


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/02/2011 6:00 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 13/01/2011 10:59 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เมื่อหลายปีมาแล้ว แปลงอ้อยที่กำแพงเพชร บทพิสูจน์ความจริงทางธรรมชาติของพืชไร่อย่างอ้อย.....

ดินดี ประสบความสำเร็จแล้วกว่าครึ่ง.....
ดินดี คือ ดินที่มีอินทรีย์วัตถุหรือสารปรับปรุงบำรุงดิน....
ดินดีมีอินทรีย์วัตถุ สามารถอุ้มน้ำไว้ใต้ผิวดินได้นานกว่าปกติหลายเท่า....
คุณสมบัติของดินดีนี้ ยังเป็นแหล่งจุลินทรีย์....
จุลินทรีย์ คือ ผู้ผลิตสารอาหารให้แก่พืช....
จุลินทรีย์ คือ ผู้อารักขาพืชทั้งทางตจรงและทางอ้อม...


แปลงอ้อยแปลงหนึ่ง ผู้เป็นเจ้าของปลูกอ้อยมานาน ด้วยเทคนิคแบบเดิมๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า รุ่นแล้วรุ่นเล่า ทั้งปริมาณและคุณภาพ
ของผลผลิตไม่ต่างไปจากเดิม ทั้งของตนเองและของแปลงข้างๆ แต่หากพิจารณาในมุมมองแบบเศรษฐศาสตร์การลงทุนจน
ครบทุกปัจจัยแล้วจะพบว่า ทั้งปริมาณและคุณภาพผลผลิตที่ได้รับนั้น "ลดลง" อย่างเห็นได้ชัด

จะด้วย "หลักนิยม หรือ วัฒนธรรม หรือ ความเคยชิน หรือ ยึดติด" ในรูปแบบของการปลูกอ้อย ที่เคยทำสืบเนื่องต่อกันมา
ตั้งแต่ครั้งยุคแรกๆ ถึงวันนี้ก็ยังทำแบบเดิมๆ อยู่

หรือเป็นเพราะ "เทคนิคการส่งเสริม หรือ การให้ข้อมูลข่าวสาร หรือ การสร้างแรงจูงใจ หรือ ฯลฯ" จากภาคราชการหรือผู้
ส่งเสริมทั่วไป ไม่ตรงเป้าอย่างแท้จริง


ทำแปลงสาธิต :
ณ แปลงอ้อยแปลงนั้น ขนาดเนื้อที่ 1 ไร่ ให้ใส่ "ยิบซั่ม" เพียงอย่างเดียวลงไป 50 กก. โดยหว่านปูพรมให้ครอบคลุม
ผิวดินทุกตารางนิ้ว แล้วไถดะด้วยผาน
เดี่ยว 2-3 รอบ พร้อมกับเศษซากใบอ้อยที่เหลืออยู่หน้าดินนั้น ไถให้ได้ความลึกมากกว่า 50 ซม. เท่าที่กำลังเครื่อง
ยนต์ของรถไถพึงทำได้ การไถดะหลายๆ รอบก็เพื่อคลุกเคล้าให้ "ยิบซั่ม กับ เศษใบอ้อย" คลุกเคล้าเข้าเป็นเนื้อเดียว
กันกับดินให้มากที่สุด

ไถดะแล้วจึงไถแปรเพื่อพรวนดิต จากนั้นก็ทำร่องปลูกตามปกติเหมือนที่เคยทำ

(ลักษณะทางสรีระวิทยาของอ้อย....ระบบรากอ้อย จะยาวเท่ากับความสูงของต้น ทั้งทางดิ่ง
และทางระดับ ขึ้นอยู่กับสภาพโครงสร้างดิน โดยดินดีระบบรากก็จะ ยาว-ใหญ่-มาก
แต่หากดินไม่ดีระบบรากก็ไม่ดีหรือเป็นตรงกันข้าม.....)


ฤดูกาลปลูก - การเลือกพันธุ์ - การจัดการท่อนพันธุ์ - การปลูก - การบำรุง ทุกขั้นตอนทำตามปกติแบบที่เคยทำ

การเจริญเติบโต ทุกช่วงจังหวะของอ้อย ดำเนินไปตามปกติ

ข้อแตกต่างที่ปรากฏให้เห็นชัด คือ ช่วงเดือน ม.ค.-ก.พ.-มี.ค. ซึ่งเป็นช่วงแล้งจัดของสภาพ
ภูมิอากาศ อ้อยในแปลงข้างเคียงกับแปลงทั่วๆไป ที่เตรียมดินโดยการไถดะ-ไถแปร ตาม
ปกติ ไม่มีการปรุงแต่งเนื้อดินใดๆทั้งสิ้น ต้นอ้อยมีอาการใบเหี่ยวเหลืองซีด แห้งร่วง ซึ่ง
ก็ถือเป็นเรื่องปกติอีกนั่นแหละ แต่ในแปลงที่เตรียมดินโดยการใส่ "ยิบซั่ม" พร้อมกับไถ
กลบเศษใบอ้อยลงไปนั้น ลักษณะใบและลำต้นกลับยังคงเขียวสด ราวกับไม่ได้สัมผัส
หรือกระทบกับความแห้งแล้งเลย ลักษณะความแตกต่างของอ้อยทั้ง 2 แปลงนี้ สามารถ
สัมผัสได้ด้วยสายตา มือจับ หรือแม้แต่ใส่ปากเคี้ยวได้.....กระทั่งเก็บเกี่ยว อ้อยในแปลง
ปรุงแต่ดินได้ผลผลิต 18 ตัน/ไร่ ส่วนแปลงที่ไม่ได้ปรุงแต่งดินก่อนได้ผลผลิตเพียง
8 ตัน ทั้งๆที่เป็นอ้อยตอแรกเหมือนกัน และอยู่ภายใต้สภาพความแห้งแล้งเดียวกัน


ลุงคิมครับผม


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/02/2011 6:05 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 13/01/2011 5:08 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อู่ทอง 9 อ้อยพันธุ์ดีที่โรงงานน้ำตาลต้องการ

อ้อย เป็นพืชอุตสาหกรรมที่สำคัญชนิดหนึ่งของประเทศไทย แต่ที่ผ่านมาผลผลิตอ้อยของเกษตรกรยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำเฉลี่ย
11–12 ตัน/ ไร่
เนื่องจากมีการใช้พันธุ์อ้อยแต่ละพันธุ์ค่อนข้างนาน รวมทั้งยังประสบกับปัญหาโรคและแมลงศัตรูพืช นอกจากนี้ยังเกิดจาก
ปัญหาการขาดแคลน


พันธุ์อ้อยที่เหมาะสมในแต่ละท้องถิ่น
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุพรรณบุรี กรมวิชาการเกษตร ได้วิจัยและพัฒนาพันธุ์อ้อยเพื่อให้ได้อ้อยพันธุ์ใหม่แก้
ปัญหาดังกล่าวให้เกษตรกร โดยได้เริ่มปรับปรุงและพัฒนาสายพันธุ์ตามหลักวิชาการตั้งแต่ปี 2542 นำพันธุ์อ้อยมาผสม
ข้ามโดยมีพันธุ์ 94-2-128 เป็นพันธุ์แม่และพันธุ์ 94-2-270 เป็นพันธุ์พ่อ จนประสบความสำเร็จได้อ้อยพันธุ์ใหม่
ที่ให้ผลผลิตสูง ผ่านการรับรองพันธุ์จากคณะกรรมการวิจัยปรับปรุงพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตรให้เป็นพันธุ์รับรอง
ในปี 2552 ใช้ชื่อว่า “อ้อยพันธุ์อู่ทอง 9”




อ้อยพันธุ์อู่ทอง 9 มีลักษณะเด่น คือ ให้ผลผลิตสูง เฉลี่ย 17.50 ตัน / ไร่ ซึ่งสูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 3 ซึ่งเป็นพันธุ์
เปรียบเทียบที่ให้ผลผลิตเฉลี่ย 14.25 ตัน / ไร่ รวมทั้งอ้อยพันธ์อู่ทอง 9 ยังให้ผลผลิตน้ำตาลสูงถึง 2.45 ตันซีซี
เอส/ไร่ ที่สำคัญสามารถต้านทานโรคเหี่ยวเน่าแดงได้ดีกว่าพันธุ์อู่ทอง 3 จากการนำอ้อยพันธุ์อู่ทอง 9 ไปปลูก
ทดสอบในไร่ของเกษตรกรจังหวัดสุพรรณบุรี กาญจนบุรี เพชรบุรีและกำแพงเพชร ซึ่งเป็นแหล่งปลูกอ้อยที่สำคัญ
ของประเทศไทย พบว่าเกษตรกรมีความพึงพอใจในคุณสมบัติของอ้อยพันธุ์อู่ทอง 9 เนื่องจากให้ผลผลิตต่อไร่
และผลผลิตน้ำตาลสูง ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่โรงงานน้ำตาลมีความต้องการ

ปัจจุบันศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุพรรณบุรี ได้ขยายพันธุ์อ้อยอู่ทอง 9ให้เกษตรกรได้นำไปปลูกแล้ว
จำนวนมากพร้อมกับได้สร้างเครือข่ายเกษตรกรผู้ผลิตท่อนพันธุ์อ้อยอู่ทอง 9 ในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี กาญจนบุรี
และกำแพงเพชร เพื่อช่วยผลิตท่อนพันธุ์อ้อยอู่ทอง 9 ให้ทันและเพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกร

เกษตรกรที่สนใจท่อนพันธุ์อ้อยพันธุ์อู่ทอง 9 สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนา
การเกษตรสุพรรณบุรี โทรศัพท์ 0-3555-1433


http://it.doa.go.th/pibai/pibai/borkor.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/02/2011 6:07 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 13/01/2011 7:13 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ความชื้นในดินกับการปลูกอ้อย

อ้อยพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย นอกจากเป็นพืชที่นำไปผลิตน้ำตาลแล้วยังสามารถนำมาผลตเอทานอลได้
อย่างมีประสิทธิภาพ

ในปีเพาะปลูก 50 / 51 ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกอ้อยประมาณ 6.5 ล้านไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 11.82 ตันต่อไร่ โดยที่ภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ปลูกอ้อยมากที่สุดในประเทศ ประมาณ 2.8 ล้านไร่ หรือคิดเป็น 43 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่
ปลูกทั้งหมด ขณะที่ผลผลิตเฉลี่ยของอ้อยที่ผลิตได้ ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีเพียง 10.29 ตันต่อไร่ ซึ่ง
ถือว่าต่ำกว่าผลผลิตเฉลี่ยทั้งประเทศ เหตุผลสำคัญที่ทำให้ผลผลิตต่ำได้แก่สภาพพื้นที่ปลูกอ้อยในภาคตะวันออกเฉียง
เหนือซึ่งส่วนใหญ่เป็นดินร่วนทรายหรือดินทราย และที่สำคัญพื้นที่ปลูกอ้อยประมาณ 98.5% เป็นการปลูกอ้อย
แบบอาศัยน้ำฝน

ปัญหาการกระทบแล้งนอกจากจะทำให้ผลผลิตต่ำแล้วยังส่งผลถึงความอยู่รอดของอ้อยตออีกด้วย การตัดอ้อยปลูกใน
สภาพดินที่มีความชื้นต่ำ(เดือนธันวาคม-เมษายน) โดยเฉพาะเมื่อมีการขาดน้ำยาวนานขึ้นทำให้การงอกของอ้อยตอลดลง
แต่ด้วยข้อจำกัดของโรงงานน้ำตาลที่สามารถรับอ้อยเข้าหีบได้ในช่วงเดือนนี้ทุกปี จึงเป็นข้อจำกัดที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้

แนวทางเลือกสำหรับแก้ปัญหาหนึ่ง คือต้องทราบการเปลี่ยนแปลงของปริมาณน้ำในดินของแต่ละพื้นที่ปลูก เพื่อนำมา
วางแผนหาช่วงเวลาตัดอ้อยที่เหมาะสม รวมทั้งเรื่องของการให้น้ำเสริมในระยะสำคัญที่อ้อยขาดน้ำไม่ได้

ช่วงนี้ก็ใกล้จะตัดอ้อยกันแล้ว ผู้เขียนจึงขอนำเอาผลการทดลองในส่วนแรก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่องวิจัยและ
พัฒนาภูมิสารสนเทศสำหรับการผลิตอ้อยตอมาให้ศึกษากันก่อน ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นประโยชน์มาก สำหรับใช้ในการ
ประกอบการตัดสินใจตัดอ้อย เพื่อความอยู่รอดของอ้อยตอ

แนวคิดของการทดลองนี้คือ ความชื้นในดินมีผลต่อการงอกของอ้อยตอ โดยปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของความ
ชื้นดินได้แก่ ชุดดินที่ปลูกอ้อย และปริมาณน้ำฝน หากจะเก็บข้อมูลความชื้นดินแบบต่อเนื่องในทุกพื้นที่ปลูกอ้อย
ทั้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือแล้วคงทำได้ยาก แต่ยังโชคดีที่ปัจจุบันมีแบบจำลองการเจริญเติบโตของพืช ที่นอกจาก
จะทำนายผลผลิตได้แล้วยังรายงานความชื้นในดินได้อีกด้วย จึงได้ใช้แบบจำลองการเจริญเติบโตของอ้อย (canegro
model) ที่อยู่ในโปรแกรม DSSAT 4.0 จำลองการปลูกอ้อย แล้วนำผลการเปลี่ยนแปลงความชื้นดินมารายงาน

วิธีการคือ ใช้โปรแกรม Arcview-GIS สกัดเอาพื้นที่ปลูกอ้อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือออกมา แล้วใช้พื้นที่
ปลูกอ้อยไปตัดเอาชุดดินที่ใช้สำหรับปลูกอ้อย สุดท้ายนำชุดดินไปซ้อนทับกับเขตน้ำฝนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ผลลัพธ์ที่ได้คือข้อมูลตัวป้อน (input data) สำหรับแบบจำลองการเจริญเติบโตของอ้อย เพื่อลดความเสี่ยงในการ
ต้องพบกับปีที่มีปริมาณน้ำฝนมากหรือน้อยกว่าปกติ

การจำลองครั้งนี้ได้จำลองการปลูกในเวลา 5 ปี โดยใช้อากาศปี 2534-2536 ปลูกอ้อยในเดือนตุลาคม และเก็บ
เกี่ยวในเดือนกุมภาพันธ์ นำค่าความชื้นดินของแต่ละเดือนมาหาค่าเฉลี่ย แล้วนำไปคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของความเป็น
ประโยชน์ของน้ำในแต่ละชุดดิน

ผลการทดลองครั้งนี้ ขอนำเสนอการเปลี่ยนแปลงของความชื้นดิน ในชั้นความลึก 0-30 เซ็นติเมตร ซึ่งเป็นชั้นที่มี
ความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของอ้อย ที่มีการเปลี่ยนแปลงความชื้นค่อนข้างเร็ว และเป็นชั้นที่มีความหนาแน่น
ของรากมาก

สภาพทั่วไปของการผลิตอ้อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พื้นที่ปลูกอ้อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากการใช้ฐานข้อมูลการผลิตปี 2544 พบว่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
มีพื้นที่ปลูกอ้อยประมาณ 5 ล้านไร่ เพื่อนำมาซ้อนกสับชนิดดินแล้วพบว่ามีดินที่ใช้ปลูกอ้อยมากกว่า 130 ชุดดิน
ชุดดินที่สำคัญ ได้แก่ ดินชุดโคราช มีพื้นที่ประมาณ 1.4 ล้านไร่ ชุดโพนพิสัยประมาณ 4.6 แสนไร่ ชุดจอมพระ
3.6 แสนไร่ ชุดบ้านไผ่ 3.1 แสนไร่ ชุดร้อยเอ็ด 2.5 แสนไร่ และชุดชุมพวง 2 แสนไร่ โดยปลูกอยู่ในเขตน้ำฝน
ตั้งแต่ 800-2,600 มิลลิเมตรต่อปี ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมีพื้นที่ปลูกในเขตน้ำฝน 100-1,200 มิลลิเมตรต่อปี ซึ่ง
ส่วนใหญ่แล้วมีพื้นที่ปลูกในเขตน้ำฝน 100-1,200 มิลลิเมตรต่อปี

การเปลี่ยนแปลงความชื้นดิน
การเปลี่ยนแปลงของความชื้นดิน เห็นได้ชัดว่าชนิดดินมีผลอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลงความชื้นดิน โดยทางตอน
บนของภาคส่วนใหญ่จะเป็นดินทรายร่วน หรือดินทราย ความชื้นของดินจะมีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างรวดเร็วกว่า
พื้นที่ปลูกอื่นๆ เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนจะมีความชื้นสูงเกินความต้องการ แต่เมื่อใดฝนเริ่มหยุดตกความชื้นก็จะลดลงอย่าง
รวดเร็วเช่นกัน ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่าพื้นที่วิกฤติในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงความชื้นดินจะอยู่ตรงบริเวณทางตอน
บนของภาค (เขตรอยต่อระหว่างจังหวัดขอนแก่น อุดรธานี และกาฬสินธุ์)

ความน่าเชื่อถือของแบบจำลองพืช
สุดท้าย เมื่อได้นำเสนอการเปลี่ยนแปลงของความชื้นดินแล้ว เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือของข้อมูล ได้ทำการทดสอบ
ความแม่นยำของแบบจำลองพืช โดยการเก็บความชื้นดินในแปลงอ้อยที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่นตั้งแต่ ปลูกจนเก็บ
เกี่ยว (จุด) เพื่อเปรียบเทียบกับความชื้นดินที่ได้จากแบบจำลอง (เส้น) ซึ่งพบว่าแบบจำลองให้ผลค่อนข้างแม่นยำ
โดยมีค่า RMSE = 0.028 ซม.3/ซม.3 และค่า Dstat = 0.933

เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว จุดที่น่าเป็นห่วงมากคงหนีไม่พ้นพื้นที่ปลูกอ้อยทางตอนบนของภาคซึ่งเป็นจุดที่ปลูกอ้อยกันอย่าง
หนาแน่น โดยเฉพาะเมื่อเริ่มเข้าเดือนธันวาคม อย่างไรก็ตาม หากอ้อยสามารถประคองตัวอยู่รอดไปได้จนถึงสิ้น
เดือนมกราคม จะเห็นได้ว่าเริ่มมีความชื้นกลับมา ซึ่งเป็นปกติที่จะมีฝนตกมาในช่วงนี้ อาจจะเป็นการชุบชีวิตให้ชาว
ไร่อ้อยให้กลับคืนมาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งมีผลต่อการงอกอ้อยตอได้เป็นอย่างดี โดยที่ต้องไม่ลืมว่าหากอ้อยตองอกดี
มีผลทำให้ผลผลิตอ้อยตอดีตามไปด้วย ส่งผลถึงผลผลิตเฉลี่ยของทั้งภาค ที่เกิดจากการนำเอาผลผลิตของอ้อยตอ
มาคิดรวมด้วย



http://it.doa.go.th/pibai/pibai/n11/v_11-sep/jakfam.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/02/2011 6:13 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 13/01/2011 9:06 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ต่อยอด......

.... ใส่แกลบดิบ 1 ตัน/ไร่ ไถกลบลงดินลึก 80 ซม.- 1 ม. แกลบดิบเป็นอินทรีย์วัตถจากเศษซากพืชที่ย่อยสลายได้ช้าที่สุด
(ข้อมูล....จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ซึ่งอาจจะอยู่ได้นานถึง 10 (+) ปี

.... ระยะเวลา 10 ปี ปลูกอ้อยได้ 10 รุ่น ทำครั้งเดียวอยู่ได้นาน แบบนี้คุ้มยิ่งกว่าคุ้ม เมื่อดินดี น้ำ (ใต้ดิน บนดิน) ดี
ผลผลิตอ้อยย่อมดีด้วย นี่คือ "ลงทุนเพื่อลดต้นทุน" ชัดเจนที่สุด

.... แกลบดิบราคาตันละประมาณ 1,600 บาท ใช้ 10 ปี เท่ากับปีละ 160 บาท หรือเดือนละ 160 หาร 12 = 13.33
บาท เท่านั้น

.... แกลบดิบช่วยอุ้มน้ำไว้ใต้ดินลึกได้ดีมากๆ เพราะแกลบมีช่องว่างสำหรับรับน้ำได้ เมื่อฝนตกลงมาน้ำฝนจะซึมลงดิน
แล้วเข้าไปอยู่กับแกลบได้นานนับเดือน

.... จากแกลบดิบเดี่ยวๆ ปรุงให้เป็น "แกลบดิบ + ยิบซั่ม + กระดูก + มูลสัตว์ + น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง" (เน้น
ส่วนผสม) ก็จะทำให้แกลบธรรมดา (หมาไม่กิน) กลายเป็น "แกลบซุปเปอร์" ไปทันที

.... ฯลฯ


ลุงคิมครับผม


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/02/2011 6:13 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
napassorn
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 25/09/2010
ตอบ: 203
ที่อยู่: จ.นครราชสีมา

ตอบตอบ: 15/01/2011 11:39 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

แกลบดิบราคาตันละประมาณ 1,600 บาท ใช้ 10 ปี เท่ากับปีละ 160 บาท หรือเดือนละ 160 หาร 12 = 13.33 บาท เท่านั้น

.... แกลบดิบช่วยอุ้มน้ำไว้ใต้ดินลึกได้ดีมากๆ เพราะแกลบมีช่องว่างสำหรับรับน้ำได้ เมื่อฝนตกลงมาน้ำฝนจะซึมลงดิน แล้วเข้าไป
อยู่กับแกลบได้นานนับเดือน

.... จากแกลบดิบเดี่ยวๆ ปรุงให้เป็น "แกลบดิบ + ยิบซั่ม + กระดูก + มูลสัตว์ + น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง" (เน้นส่วนผสม)
ก็จะทำให้แกลบธรรมดา (หมาไม่กิน) กลายเป็น "แกลบซุปเปอร์" ไปทันที

.... ฯลฯ

น่าจะเข้าท่าดี ... ขอลองทำดูก่อน
ได้ผลก็จะเล่าสู่กันต่อไป .. ดีเหมือนกัน
_________________
<<ไร่อ้อยนภัสสร>>
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
napassorn
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 25/09/2010
ตอบ: 203
ที่อยู่: จ.นครราชสีมา

ตอบตอบ: 15/01/2011 11:45 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

kimzagass บันทึก:
ต่อยอด......

.... ใส่แกลบดิบ 1 ตัน/ไร่ ไถกลบลงดินลึก 80 ซม.- 1 ม. แกลบดิบเป็นอินทรีย์วัตถจากเศษซากพืชที่ย่อยสลายได้ช้าที่สุด
(ข้อมูล....จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ซึ่งอาจจะอยู่ได้นานถึง 10 (+) ปี

.... ระยะเวลา 10 ปี ปลูกอ้อยได้ 10 รุ่น ทำครั้งเดียวอยู่ได้นาน แบบนี้คุ้มยิ่งกว่าคุ้ม เมื่อดินดี น้ำ (ใต้ดิน บนดิน) ดี
ผลผลิตอ้อยย่อมดีด้วย นี่คือ "ลงทุนเพื่อลดต้นทุน" ชัดเจนที่สุด

.... แกลบดิบราคาตันละประมาณ 1,600 บาท ใช้ 10 ปี เท่ากับปีละ 160 บาท หรือเดือนละ 160 หาร 12 = 13.33
บาท เท่านั้น

.... แกลบดิบช่วยอุ้มน้ำไว้ใต้ดินลึกได้ดีมากๆ เพราะแกลบมีช่องว่างสำหรับรับน้ำได้ เมื่อฝนตกลงมาน้ำฝนจะซึมลงดิน
แล้วเข้าไปอยู่กับแกลบได้นานนับเดือน

.... จากแกลบดิบเดี่ยวๆ ปรุงให้เป็น "แกลบดิบ + ยิบซั่ม + กระดูก + มูลสัตว์ + น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง" (เน้น
ส่วนผสม) ก็จะทำให้แกลบธรรมดา (หมาไม่กิน) กลายเป็น "แกลบซุปเปอร์" ไปทันที

.... ฯลฯ


ลุงคิมครับผม


น่าจะเข้าท่าดี ... ขอลองทำดูก่อน
ได้ผลก็จะเล่าสู่กันต่อไป .. ดีเหมือนกัน
_________________
<<ไร่อ้อยนภัสสร>>
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
napassorn
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 25/09/2010
ตอบ: 203
ที่อยู่: จ.นครราชสีมา

ตอบตอบ: 20/01/2011 6:10 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ฤดูกาลปลูกอ้อย

ในประเทศไทยมีฤดูกาลปลูกอ้อยแตกต่างกันไปตามสภาพภูมิประเทศและลักษณะการตกของฝน และมีการเรียกชื่อแตกต่าง
กันดังนี้

1. อ้อยข้ามแล้งหรือปลายฝน ปลูกระหว่างเดือนกันยายน-ธันวาคม โดยอาศัยความชื้นที่เก็บไว้ในดินตลอดช่วงฤดูฝน เพื่อให้
อ้อยงอกและเจริญเติบโตอย่างช้า ๆ ในช่วงที่ไม่มีฝนตกจนกระทั่งต้นปี ถัดไปจะมีฝนตกบ้าง ดินที่เหมาะสม คือ ดินร่วนปน
ทราย หรือดินทราย

2. อ้อยชลประทาน อ้อยน้ำราด หรืออ้อยน้ำเสริม ปลูกระหว่างเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ วิธีการปลูกอ้อยน้ำราดเป็น
การปลูกอ้อยโดยอาศัยความชื้นจากการให้น้ำเสริม เพื่อช่วยให้อ้อยสามารถงอกและเจริญเติบโตได้จนเข้าสู่ฤดูฝนปกติ
สภาพดินที่เหมาะสม คือ ดินเหนียว หรือดินร่วนเหนียว มักอยู่ในเขตชลประทาน หรือมีแหล่งน้ำพอสมควร

3. อ้อยต้นฝนเร็ว ปลูกระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน เป็นการปลูกอ้อยโดยอาศัยความชื้นจากฝนช่วงแรกที่ตก เพื่อให้อ้อย
งอกและเจริญเติบโตได้จนเข้าสู่ฤดูฝนปกติ ดินที่เหมาะสม คือ ดินเหนียว หรือดินร่วนเหนียว โดยต้องมีการเตรียมดินและ
ชักร่องรอฝน ซึ่งปริมาณน้ำฝนที่เพียงพอต่อการงอกของอ้อยสังเกตได้จากร่องอ้อยจะมีน้ำขัง

4. อ้อยต้นฝน ปลูกระหว่างเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน โดยอาศัยน้ำฝนในการงอกและเจริญเติบโต ดินที่เหมาะสม คือ
ดินเหนียว หรือดินร่วนเหนียว



ที่มา : http://oan.cdmediaguide.co.th/mitrphol/onweb/thai-allSUGAR-03.htm
_________________
<<ไร่อ้อยนภัสสร>>
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
napassorn
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 25/09/2010
ตอบ: 203
ที่อยู่: จ.นครราชสีมา

ตอบตอบ: 20/01/2011 6:16 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ระยะปลูกและวิธีปลูก

ทำการยกร่อง ใช้ระยะระหว่างร่อง 0.8-1.5 เมตร โดยระยะร่องที่เหมาะสมจะขึ้นอยู่กับวิธีการปฏิบัติหรือการดูแลรักษาของเกษตรกร
หากใช้แรงงานคนหรือแรงงานสัตว์ในการดูแลรักษา ควรมีระยะ 0.8 - 1.0 เมตร และระยะ 1.3 - 1.5 เมตร สำหรับการใช้เครื่อง
จักรกลขนาดกลางถึงใหญ่

ในการปลูกอ้อยต้นฝน เมื่อวางท่อนพันธุ์แล้วควรทำการกลบดินให้สม่ำเสมอหนา 3-5 เซนติเมตร ส่วนอ้อยปลายฝน ควรกลบดิน
ให้แน่นและหนา 10-15 เซนติเมตร

การปลูกอ้อยโดยใช้เครื่องปลูก เครื่องจะเปิดร่องใส่ปุ๋ย วางท่อนพันธุ์ และกลบ
_________________
<<ไร่อ้อยนภัสสร>>
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
napassorn
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 25/09/2010
ตอบ: 203
ที่อยู่: จ.นครราชสีมา

ตอบตอบ: 20/01/2011 8:50 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

รถผมหล่อ...หมั๊ยครับ...


_________________
<<ไร่อ้อยนภัสสร>>
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 20/01/2011 8:58 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

รถน่ะหล่อแน่ๆ แต่สงสัยคนขับ จะวิ่งตามผู้ร้ายไหวรึน่ะ....


ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 12, 13, 14, 15, 16, 17  ถัดไป
หน้า 13 จากทั้งหมด 17

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©