-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-สารสาบเสือป้องกันกำจัดวัชพืช (งานวิจัย)
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - สารสาบเสือป้องกันกำจัดวัชพืช (งานวิจัย)
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

สารสาบเสือป้องกันกำจัดวัชพืช (งานวิจัย)

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
hearse
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 08/01/2010
ตอบ: 110

ตอบตอบ: 13/09/2010 10:16 pm    ชื่อกระทู้: สารสาบเสือป้องกันกำจัดวัชพืช (งานวิจัย) ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การใช้สาบเสือในการป้องกันกำจัดวัชพืช(งานวิจัย)

โดย กรมวิชาการเกษตร

การทดสอบประสิทธิภาพสาบเสือที่สกัดด้วยน้ำต่อพืชปลูกเพื่อหาอัตราที่เหมาะสม ในการใช้สารสกัดจากสาบเสือมาควบคุมวัชพืชแต่ปลอดภัยต่อพืชปลูก โดยวิธีการพ่นสารสกัดจากแมงลักป่าที่สกัดด้วยน้ำ 3 อัตรา คือ อัตราสารสกัด 1 กิโลกรัม สาบเสือสดต่อน้ำ 3 ลิตร, อัตราสารสกัด 1 กิโลกรัมสาบเสือสดต่อน้ำ 4 ลิตร, และอัตราสารสกัด 1 กิโลกรัมสาบเสือสดต่อน้ำ 5 ลิตร พ่นให้แก่พืชปลูกอายุสั้นที่นิยมบริโภคสดและวัชพืชที่เป็นปัญหาในสภาพไร่ โดยพ่นสารสกัดจากสาบเสือ 2
วิธี คือ

1.พ่นแบบก่อนพืชและวัชพืชงอก(pre-emergence) และ
2. พ่นหลังพืชและวัชพืชงอก(postemergence)

แล้ววัดความสูงของพืชและวัชพืช 1-6 สัปดาห์หลังพ่นสารสกัดฯ แบบก่อนพืชและวัชพืชงอก และวัดความสูงของพืชและวัชพืช 1-2 สัปดาห์หลังพ่นสารสกัดฯแบบหลังพืชและวัชพืชงอก

ผลปรากฏว่า 1 สัปดาห์หลังพ่นสารสกัดแบบก่อนพืชและวัชพืชงอกที่อัตรา 1:5 พืชและวัชพืชมีการเจริญเติบโตดีกว่าเมื่อไม่ได้รับสารสกัดฯ แต่ ที่สารสกัดฯอัตรา 1:3 พืชและวัชพืชมีความสูงลดลงเล็กน้อยแต่การเจริญเติบโตของวัชพืชลดลงมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น ที่ 6 สัปดาห์หลังพ่นสารสกัดฯวัชพืช ผักขมไม่มีหนาม ผักเบี้ยหิน ผักเบี้ยใหญ่ หญ้าข้าวนกมีความสูงและน้ำหนักแห้งลดลง

การเจริญเติบโตของพืชและวัชพืชหลังจากได้รับสารสกัดฯอัตรา 1:5-1:3พ่นแบบหลังพืชและวัชพืชงอกพบว่า 1-2 สัปดาห์หลังพ่นสารสกัดจากสาบเสือ วัชพืชถูกยับยั้งการเจริญเติบโตมากกว่าพืชปลูก ชี้ให้เห็นว่าสารสกัดจากสาบเสือเมื่อใช้พ่นให้แก่พืชทั้งแบบก่อนและหลังพืชและวัชพืชงอก มีผลยับยั้งการเจริญเติบโตของพืชและวัชพืช และวัชพืชจะถูกยับยั้งการเจริญเติบโตมากกว่าพืชปลูก แสดงว่าสารสกัดจากสาบเสือมีศักยภาพที่จะนำมาใช้ในการควบคุมวัชพืชได้

ปัจจุบันการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชยังมีความจำเป็นในการทำการเกษตร การใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชไม่ถูกต้องทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม และจากการที่ทราบว่า พืชสามารถสร้างสารและปล่อยสารนั้นออกมาเป็นพิษต่อการเจริญเติบโตของพืช จึงมีการค้นคว้าวิจัยเพื่อจะใช้สารจากพืชนั้นมาใช้ประโยชน์ในการควบคุมวัชพืช Dudai et al.(1999) รายงานว่า นํ้ามันหอมระเหยจาก ตะไคร้ (Cymbopogon citratus ) และ ออริกาโน (Origanum syriacum) เมื่อให้
ทางดินโดยคลุกลงในดินแล้วปลูกพืชจะยับยั้งการงอกของข้าวสาลีและวัชพืช พวกผักขม(Amaranthus sp.) ซึ่งจะได้พัฒนาใช้สารจากพืชเหล่านี้ใช้เป็น bioherbicides ต่อไป

ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศไทยจากการวิจัยพบว่าข้าวเป็นพืชที่มีสารออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของพืช Chou C.H. (1976) รายงานว่าฟางข้าวที่แช่น้ำจะปล่อยสารออกมาเป็นพิษต่อการเจริญเติบโตต้นข้าวที่ปลูกในฤดูถัดไป

นอกจากนี้ยังพบว่าวัชพืชหลายชนิดที่เป็นปัญหาในการปลูกพืชทั้งในสภาพไร่และสภาพนาเป็นวัชพืชมีสารยับยั้งการเจริญเติบโตของพืช และสารสกัดฯ จากวัชพืชแต่ละชนิดมีความเป็นพิษต่อพืชชนิดเดียวกันแตกต่างกัน โดยทั่วไปวัชพืชเป็นพืชที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดีและหาง่าย จึงได้นำวัชพืชที่ทราบแล้วว่ามีสารที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของพืชได้มาพัฒนาใช้ประโยชน์ในการควบคุมวัชพืช

สาบเสือ เป็นวัชพืชที่เป็นปัญหาในสภาพไร่-สวน ชอุ่ม และ ศิริพร (2542) ได้ทำการวิจัยในห้องปฏิบัติการพบว่าสารสกัดจากสาบเสือมีประสิทธิภาพยับยั้งการเจริญเติบโตของพืชแตกต่างกัน ผักกาดหอมถูกยับยั้งการเจริญเติบโตมากกว่า ผักกวางตุ้ง แตงกวา และข้าว ส่วนวัชพืช หญ้าตีนกาถูกยับยั้งการเจริญเติบโตมากกว่าหญ้าข้าวนก และไมยราบเลื้อยเมื่อได้รับสารสกัดฯ จากสาบเสืออัตราเดียวกัน ดังนั้นจึงนำสาบเสือมาศึกษาเพื่อใช้ประโยชน์ในการควบคุมวัชพืชโดยหาวิธีใช้ในรูปแบบต่างๆเพื่อให้เกษตรกรสามารถนำไปใช้ได้ในภาคสนาม

จึงนำสารสกัดจากสาบเสือมาทดลองใช้แบบเดียวกับสารเคมีกำจัดวัชพืช คือ ใช้แบบพ่นให้แก่พืชทั้งแบบก่อนพืชและวัชพืชงอก (pre-emergence) และหลังพืชและวัชพืชงอก (post-emergence) และเนื่องจากสารธรรมชาติที่มีในพืชจะสลายตัวง่ายและเพื่อเป็นประโยชน์และปลอดภัยต่อผู้บริโภคพืชผัก จึงเลือกวัชพืชสาบเสือซึ่งเป็นวัชพืชที่สารฯ ซึ่งมีประสิทธิภาพยับยั้งการเจริญเติบโตของพืชอย่างรุนแรงและเลือกพืชที่นิยมบริโภคสดและเป็นพืชที่มีอายุสั้นมาเป็นพืชทดสอบ

อุปกรณ์และวิธีการ
- สาบเสือ
- เมล็ดพืชไร่ ได้แก่ ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดข้าวเหนียว ข้าวโพดฝักอ่อน
- เมล็ด พืชผัก ได้แก่ แตงกวา พริก ผักกาดขาว ผักคะน้า ผักกวางตุ้ง ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตาและกระเจี๊ยบ
- วัชพืช ได้แก่ ผักเบี้ยหิน ผักเบี้ยใหญ่ ผักขมหนาม ผักขมไม่มีหนาม หญ้าปากควายและหญ้าข้าวนก
- กระถางปลูกพืช และ กะบะปลูกพืช
- ดินละเอียด
- ถังพลาสติกพร้อมฝาปิด
- ถังพ่นสารกำจัดวัชพืช
- เครื่องวัด เครื่องชั่ง ถุงกระดาษใส่พืช ฯลฯ เป็นต้น

วิธีการ
การดำเนินงานแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน

ขั้นตอนที่ 1
สกัดสารฯจากสาบเสือเพื่อนำไปพ่นให้แก่พืชและวัชพืชทดสอบ โดย เก็บสาบเสือที่เจริญเติบโตเต็มที่มาสกัดสารฯ โดยเตรียมสารสกัด 3 อัตราคือ สารสกัดอัตรา 1กก.สาบเสือสด/น้ำ 5 ลิตร (1:5), สารสกัดอัตรา 1กก.สาบเสือสด/น้ำ 4 ลิตร(1:4), และ สารสกัดอัตรา 1 กก.สาบเสือสด/นํ้า 3 ลิตร(1:3), สกัดสาบเสือดังกล่าวด้วยน้ำโดยแตล่ ะอัตราของสาบเสือแช่น้ำไว้อย่างน้อย 1 สัปดาห์แล้วกรองแยกสารสกัดออกจากกากเพื่อนำสารสกัดที่ได้มาทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของพืชและวัชพืชต่อไป

ขั้นตอนที่ 2
ทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดจากสาบเสือที่มีต่อการเจริญเติบโตของพืชและวัชพืชในเรือนทดลองโดยวิธีพ่นสารสกัดฯ จากสาบเสือแก่พืชทดสอบซึ่งเป็นพืชปลูกที่นิยมบริโภคสดหรือเป็นพืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น และวัชพืชที่เป็นปัญหาในสภาพไร่ โดยพ่นสารสกัดฯจากสาบเสือแก่พืชปลูกและวัชพืชเช่นเดียวกับวิธีการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชควบคุมวัชพืช ในแปลงปลูกพืชทั่วไปซึ่งมี 2 วิธีคือ
1. พ่นสารกำจัดวัชพืชแบบก่อนพืชปลูกและวัชพืชงอก (Pre-emergence)
2. พ่นสารกำจัดวัชพืชแบบหลังพืชปลูกและวัชพืชงอก (Post-emergence)

1. การพ่นสารสกัดฯจากสาบเสือแบบก่อนพืชและวัชพืชงอก ทำโดยปลูกพืชไร่ชนิด
ต่างๆได้แก่ ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดข้าวเหนียว ข้าวโพดฝักอ่อน พืชผักได้แก่ แตงกวา พริกผักกาดขาว ผักคะน้า ผักกวางตุ้ง ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา กระเจี๊ยบ และ วัชพืช ได้แก่ ผักเบี้ยหินผักเบี้ยใหญ่ ผักขมหนาม ผักขมไม่มีหนาม หญ้าปากควาย และหญ้าข้าวนก ปลูกพืชเหล่านี้ชนิดละ 16 กะบะหลังจากปลูกพืชแล้วให้น้ำตามปกติ 1 วันแล้วพ่นสารสกัดจากสาบเสือ 3 อัตรา คือ สารสกัดอัตรา 1กก.สาบเสือสด/น้ำ 5 ลิตร, สารสกัดอัตรา 1กก.สาบเสือสด/น้ำ 4 ลิตร,และ สารสกัดอัตรา 1กก.สาบเสือสด/น้ำ 3 ลิตร ดังนั้นการพ่นสารสกัดสาบเสือแก่พืชแต่ละชนิดมีกรรมวิธีดังนี้

กรรมวิธีที่ 1 ปลูกพืชหรือวัชพืชแต่ละชนิดโดยไม่พ่นสารสกัดจากสาบเสือ
กรรมวิธีที่ 2 ปลูกพืชหรือวัชพืชแล้วพ่นด้วยสารสกัดอัตรา 1กก.สาบเสือสด/น้ำ 5 ลิตร
กรรมวิธีที่ 3 ปลูกพืชหรือวัชพืชแล้วพ่นด้วยสารสกัดอัตรา 1กก.สาบเสือสด/น้ำ 4ลิตร
กรรมวิธีที่ 4 ปลูกพืชหรือวัชพืชแล้วพ่นด้วยสารสกัดอัตรา 1กก.สาบเสือสด/น้ำ 3 ลิตร

ทุกกรรมวิธีมี 4 ซ้ำ และบันทึกผลการทดลองโดย
1. ตรวจสอบความงอกและความเป็นพิษของพืชและวัชพืชด้วยสายตาหลังพ่นสารสกัดฯทุกๆ 3 วัน
2. วัดความสูงทุกๆ สัปดาห์เป็นเวลา 6 สัปดาห์ และ
3. เก็บน้ำหนักแห้งของพืชและวัชพืชที่ 6 สัปดาห์หลังพ่นสารสกัดฯจากสาบเสือ
4. วิเคราะห์และสรุปผลการทดลอง
2. การพ่นสารสกัดฯจากสาบเสือแบบหลังพืชและวัชพืชงอก ทำโดยปลูกพืชและ
วัชพืชชนิดต่างๆชนิดละ 16 กระถางเมื่อพืชและวัชพืชงอกแล้วมีใบจริง 3-5 ใบหรือประมาณ 15-20 วัน จึงพ่นสารสกัดจากสาบเสือตามอัตราที่กำหนดซึ่งในการพ่นสารสกัดฯจากสาบเสือแก่พืชปลูกและวัชพืชแต่ละชนิดมีกรรมวิธีเหมือนการพ่นสารสกัดฯจากสาบเสือในวิธีที่ 1 และบันทึกผลการทดลองโดย

1. ตรวจสอบความเป็นพิษของพืชและวัชพืชด้วยสายตาหลังพ่นสารสกัดฯจากสาบเสือ
2. วัดความสูงทุกๆ สัปดาห์เป็นเวลา 2 สัปดาห์หลังพ่นสาร และ
3. เก็บน้ำหนักแห้งที่ 2 สัปดาห์หลังพ่นสารสกัดจากสาบเสือ
4.วิเคราะห์และสรุปผลการทดลอง

ขั้นตอนที่ 3
ทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดจากสาบเสือในแปลงปลูกข้าวโพดฝักอ่อน ณ. ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท โดยพ่นสารสกัดสาบเสือสาบเสือทั้ง 3 อัตรามีกรรมวิธี 4 กรรมวิธีเหมือนการทดลองในเรือนทดลองและวิธีพ่นสารสกัดฯจากสาบเสือทั้งแบบก่อนข้าวโพดฝักอ่อนและวัชพืชงอก(pre-emergence) และพ่นสารสกัดฯจากสาบเสือทั้งแบบหลังข้าวโพดฝักอ่อนและวัชพืช(postemergence) งอก และบันทึกผลการทดลองโดย ดูความเป็นพิษด้วยสายตา วัดความสูงและเก็บวัชพืชชั่งน้ำหนักสดและแห้ง ที่ 15 และ 30 วันหลังพ่นสารและที่ระยะเก็บเกี่ยว และวิเคราะห์ผลการทดลอง

ผลและวิจารณ์ผลการทดลองจากการตรวจสอบความงอกของพืชและวัชพืชที่ 7 และ 14 วันหลังพ่นสารสกัดจากสาบเสือทั้ง 3 คือ อัตรา 1: 3, 1: 4 และ 1: 5 (สาบเสือสด : น้ำ) แบบก่อนพืชและวัชพืชงอก พบว่าพืชและวัชพืชงอกได้ดีแสดงว่าสารจากสาบเสือไม่มีผลต่อการงอกของพืช และวัชพืช แต่จากการวัดความสูง
พบว่าพืชและวัชพืชชนิดต่างๆได้รับผลกระทบจากสารสกัดฯสาบเสือแตกต่างกัน ความสูงของพืชไร่พืชผักและวัชพืชหลังจากได้รับสารสกัดฯจากสาบเสือแสดงดังรูปที่ 1, 2 และ 3 พบว่าว่าจากการวัดความสูงของพืชและวัชพืชทุกสัปดาห์เป็นเวลา 6 สัปดาห์นั้น สัปดาห์ที่ 1 หลังพ่นสารสกัดฯความสูงของพืชและวัชพืชที่ได้รับสารสกัดสาบเสืออัตรา 1: 5 มีการเจริญเติบโตดีกว่าพืชและวัชพืชที่ไม่ได้รับสารสกัดสาบเสือ แต่เมื่อพืชและวัชพืชที่ได้รับสารสกัดสาบเสืออัตรา สูงขึ้นคือ 1: 3 ความสูงของพืชและวัชพืชลดลง ความสูงของพืชเมื่อได้รับสารสกัดฯ อัตรา 1: 5-1: 3 เปรียบเทียบกับความสูงของพืชและวัชพืชที่ไม่ได้รับสารสกัดฯปรากฎว่า ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดข้าวเหนียว และข้าวโพดฝักอ่อนมีความสูง 98-106, 90-108 และ 106-112 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา และกระเจี๊ยบ มีความสูง 90-100, 94139 และ 95-104 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ (รูปที่ 1) ส่วน แตงกวา พริก ผักกาดขาว ผักคะน้า และ ผักกวางตุ้ง มีความสูง 96-112, 0 ( พริกยังไม่งอก), 71-89, 100-125 และ 185-200 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ(รูปที่ 2) ชี้ให้เห็นที่สารสกัดสาบเสืออัตรา 1: 3 นั้น ทำให้ข้าวโพดข้าวเหนียวและถั่วฝักยาวมีความสูงลดลง 10% ถั่วลันเตา และกระเจี๊ยบ ความสูงลดลง 5-6% ตามลำดับ แตงกวา พริก ผักกาดขาว ผักคะน้า และผักกวางตุ้งนั้น แตงกวา และผักกาดขาวความสูงลดลง 4 และ 29-11 เปอร์เซ็นต์ (รูปที่ 2) และจากน้ำหนักแห้งของพืชที่เก็บเมื่อ 6 สัปดาห์หลังพ่นสารสกัดสาบเสือปรากฏว่าที่สารสกัดอัตราสูง 1:3 พืชชนิดต่างๆน้ำหนักแห้งไม่ลดลงและบางชนิดเล็กน้อย เช่น ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดข้าวเหนียว ข้าวโพดฝักอ่อน ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตากระเจี๊ยบ แตงกวา พริก ผักกาดขาว ผักคะน้า และ ผักกวางตุ้ง มีน้ำหนักแห้ง 97, 88, 99, 112, 88,95, 76, 83, 102, 159 และ 99 เปอร์เซ็นต์ ของพืชเหล่านี้ที่ไม่ได้รับสารสกัดจากสาบเสือ ส่วนวัชพืช ผักเบี้ยหิน ผักเบี้ยใหญ่ ผักขมหนาม ผักขมไม่มีหนาม หญ้าปากควายและหญ้าข้าวนกเมื่อได้รับสารสกัดจากสาบเสือ อัตรา 1: 5-1: 3 ที่ 1สัปดาห์หลังได้รับสารสกัดฯมีความสูง 100-105, 89-107, 116-137, 104-131, 94-124 และ 82-104 เปอร์เซ็นต์ของหญ้าเหล่านี้ที่ไม่ได้รับสารสกัดจากสาบเสือ แสดงว่า ผักเบี้ยใหญ่ หญ้าปากควายและ หญ้าข้าวนก ถูกยับยั้งการเจริญเติบโต 11, 6 และ 18 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ และเมื่อวัชพืชได้รับสารสกัดฯนานขึ้นวัชพืชบางชนิดถูกยับยั้งการเจริญเติบโตมากขึ้น ที่ 6 สัปดาห์ หลังจากได้รับสารสกัดฯสาบเสืออัตรา 1:3 หญ้าข้าวนก ผักเบี้ยหิน ผักขมไม่มีหนามและผักเบี้ยใหญ่มีความสูงลดลง 26, 41, 10 และ 16 เปอร์เซ็นต์ และจากการชั่งน้ำหนักแห้งของวัชพืชที่ 6 สัปดาห์หลังจากได้รับสารสกัดสาบเสือ หญ้าข้าวนก ผักเบี้ยหิน ผักขมไม่มีหนามและผักเบี้ยใหญ่มีความสูงลดลง 26, 41, 10 และ 16 เปอร์เซ็นต์ และน้ำหนักแห้งลดลง 19, 56, 61 และ 29 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ (รูปที่ 5) ชี้ให้เห็นว่าวัชพืชแต่ละชนิดได้รับความเป็นพิษจากสารสกัดสาบเสือแตกต่างกันจากการพ่นสารสกัดสาบเสืออัตรา 1: 5, 1: 4 และ 1: 3 แบบหลังพืชและวัชพืชงอกแล้วซึ่งมีใบ 3-5 ใบหรือประมาณ 12-17 วันแล้ววัดความสูงที่ 1และ 2 สัปดาห์พร้อมชั่งน้ำหนักแห้งหลังพ่นสารสกัดจากสาบเสือแสดงดังรูปที่ 6, 7 และ 8 พบว่า ที่ 1 สัปดาห์หลังพ่นสารสกัดสาบเสือทั้ง 3 อัตรา ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดข้าวเหนียว ข้าวโพดฝักอ่อน ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา และกระเจี๊ยบ มีความสูง 90-102, 95 -99, 95-104, 105-110, 91-103 และ 91-99 เปอร์เซ็นต์ของพืชเหล่านี้ที่ไม่ได้รับสารสกัดสาบเสือ และมีน้ำหนักแห้ง 94-97, 72-102, 98-104, 77-113, 82-92 และ 95-132 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ (รูปที่ 6) ส่วน แตงกวา พริก ผักกาดขาว ผักคะน้า และ ผักกวางตุ้งมีความสูง 94-104, 94-103, 87-101, 92-98 และ 84-88 เปอร์เซ็นต์และมีน้ำหนักแห้ง 55-76, 56-132, 102-156, 128-167 และ 99-112 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ (รูปที่ 7) หรือพืชปลูกมีความสูงลดลง 0-16 เปอร์เซ็นต์ของพืชเหล่านี้ที่ไม่ไดรับสารสกัดสาบเสือ ส่วนวัชพืช หญ้าข้าวนก ผักเบี้ยหิน ผักเบี้ยใหญ่ ปากควายผักขมไม่มีหนาม และผักขมมีหนาม มีความสูง 100-138, 54-75, 54-84, 71-83, 63-77 และ 79-100 เปอร์เซ็นต์หรือมีความสูงลดลง 0-6, 25-46, 16-46, 17-29, 23-37 และ 0-21 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับและมีน้ำหนักแห้ง 82-87, 43-109, 71-134, 133-182, 31-74 และ 172-216 เปอร์เซ็นต์ของวัชพืชที่ไม่ได้รับสารสกัดจากสาบเสือ ที่ 2 สัปดาห์หลังพ่นสารสกัดสาบเสือทั้ง 3 อัตรา ข้าวโพดข้าวเหนียว ข้าวโพดฝักอ่อน ถั่วลันเตา และ พริก มีความสูงมากกว่าพืชเหล่านี้ที่ไม่ได้รับสารสกัดจากสาบเสือ ส่วนถั่วฝักยาว ข้าวโพดหวาน กระเจี๊ยบ แตงกวา คะน้า ผักกาดขาว และผักกวางตุ้ง มีความสูงลดลง 14-19, 0-8,0-11, 0-6, 4-7, 6-27 และ 2-8 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับและน้ำหนักแห้งลดลง 15-20, 2-7, 0-4, 3-11,7-17, 12-51 และ 4-21เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ ส่วนวัชพืชหญ้าข้าวนกมีความสูงมากกว่าเมื่อไม่ได้รับสารแต่น้ำหนักแห้งลดลง 25 เปอร์เซ็นต์ และผักเบี้ยหิน ผักเบี้ยใหญ่ หญ้าปากควาย ผักขมไม่มีหนาม และผักขมมีหนาม มีความสูงลดลง 24-52, 9-31, 6-21, 15-32 และ 9-20 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับและน้ำหนักแห้งลดลง 20-55, 9-37, 30-54, 25-51 และ 6-23 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ จากผลการทดลองใช้สารสกัดสาบเสือที่สกัดด้วยน้ำอัตรา 1:5, 1:4 และ 1:3 พ่นให้แก่พืชและวัชพืชแบบก่อนและหลังพืชและวัชพืชงอกในเรือนทดลองนี้ชี้ให้เห็นว่าสารสกัดจากสาบเสือที่ใช้แบบพ่นให้แก่พืชและวัชพืชมีผลต่อความสูงและน้ำหนักแห้งของวัชพืชมากกว่าพืชปลูก และการใช้สารสกัดสาบเสือพ่นแบบหลังวัชพืชงอกมีผลต่อการเจริญเติบโตของวัชพืชมากกว่าการใช้สารสกัด

สาบเสือพ่นแบบก่อนวัชพืชงอกการใช้สารสกัดสาบเสือที่สกัดด้วยนํ้าอัตรา 1: 5, 1: 4 และ 1: 3 พ่น ให้แก่พืชและวัชพืชแบบก่อนและหลังพืชและวัชพืชงอกในแปลงปลูกข้าวโพดฝักอ่อนที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาทพบว่าการใช้สารสกัดสาบเสือพ่นแบบก่อนข้าวโพดฝักอ่อนและวัชพืชงอกวัชพืชลดลง 2-18% และ 12-18% ที่ 30และ 45 วันหลังพ่นสารสกัดสาบเสือ และเมื่อใช้แบบหลังข้าวโพดฝักอ่อนและวัชพืชงอกวัชพืชลดลง 3-35% หลังพ่นสารสกัดสาบเสือ หลังจากนั้นแปลงทดลองถูกน้ำท่วม


ที่มา http://it.doa.go.th/refs/files/400_2550.pdf
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©