-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-โรคใบลวกอ้อย (Leaf scald)
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - โรคใบลวกอ้อย (Leaf scald)
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

โรคใบลวกอ้อย (Leaf scald)

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
hearse
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 08/01/2010
ตอบ: 110

ตอบตอบ: 13/09/2010 9:40 pm    ชื่อกระทู้: โรคใบลวกอ้อย (Leaf scald) ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

โรคใบลวกอ้อย (Leaf scald)

โดย รังษี เจริญสถาพร สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร เขตจตุจักร จ.กรงเทพฯ โทร.02-5790146

โรคใบลวกอ้อย มีสาเหตุจากแบคทีเรีย Xanthomonas albilineans ซึ่งในประเทศไทยมีรายงานโดยธนาครและคณะ (2526) และในปี 2552 ช่วงเดือน กันยายน – ตุลาคม สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร ได้ออกสำรวจเก็บตัวอย่างโรคอ้อยเพื่อติดตามการระบาดโรคอ้อยที่สำคัญในสภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ (Climate change)

ได้พบอาการโรคใบลวกในแปลงปลูกอ้อย จ.นครสวรรค์ อุตรดิตถ์ และสุโขทัย ของอ้อยพันธุ์ LK95-124 LK92-11 และขอนแก่น 3 ซึ่งในปัจจุบัน อ้อยพันธุ์ LK92-11 ปลูกมากที่สุดประเทศไทย และอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 กำลังเป็นที่ต้องการของเกษตรกรอย่างสูง จึงอาจเป็นเหตุให้เกิดการระบาดของโรคใบลวก เป็นไปอย่างกว้างขวางจนกระทั่งการผลิตอ้อยเข้าโรงงานน้ำตาลได้รับความเสียหาย จะทำให้อุตสาหกรรมน้ำตาล และอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมผลิตเอทานอลเป็นพลังงานทดแทน มีผลิตผลลดลง ทำให้เกษตรกรและประเทศขาดรายได้ หรือต้องนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงมากขึ้น ทำให้เสียเงินตราออกนอกประเทศ ขาดดุลการชำระเงินของประเทศ ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัด ว่าเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศลดลงสถาบันวิจัยพืชไร่ได้ตระหนักกับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นดังกล่าว จึงได้จัดทำเอกสารฉบับนี้ขึ้นมาเพื่อให้เป็นแนวทางในการป้องกันกำจัดโรคใบลวกก่อนที่จะเกิดการระบาดโรคอย่างกว้างขวางในแหล่งปลูกอ้อยต่างๆ ของประเทศไทย

ลักษณะอาการโรค
อาการโรคที่พบโดยทั่วไป ในแปลงปลูกอ้อย คือ อาการที่ใบมีลักษณะ เป็นแถบหรือเส้นขีดตามแนวความยาวของใบ มีสีขาวถึงสีเหลือง แล้วค่อยๆ ขยายขนาดแผลออกด้านข้าง สีอาจจะเปลี่ยนเป็นสีแดงถึงน้ำตาล ตามอายุของใบจนกระทั่ง แผลขยายตัวเต็มพื้นที่ใบและมีสีน้ำตาลแห้ง คล้ายใบลวก อาการที่ลำต้น ลักษณะภายนอกจะแตกตาข้างให้เห็นเด่นชัด และหน่ออ่อนจะแห้งตายในที่สุดเมื่อตัดขวางลำต้น จะเห็นเป็นจุดสีน้ำตาลกระจายทั่วไป และตัดตามความยาวของลำต้น จะเห็นเส้นหรือขีดสีน้ำตาลในเนื้ออ้อย อาการรุนแรงมาก เนื้ออ้อยจะเน่าจากยอดลงมา อ้อยพันธุ์ที่อ่อนแอมากๆ ต้นอ้อยที่โตเต็มที่จะเหี่ยวและใบแห้งทันทีในช่วงที่มีฝกตกชุกมากๆ แล้วต่อด้วยช่วงที่มีความแห้งแล้งยาวนาน

การวินิจฉัยโรค
ดูจากลักษณะอาการโรคดังกล่าวข้างบน พร้อมกับการแยกและจำแนกเชื้อสาเหตุโรค ซึ่งปฏิบัติโดยการตรวจสอบทางเซรุ่มวิทยา (ELISA) หรือโดยวิธีชีวโมเลกุล polymerase chain reaction (PCR)จะสามารถตรวจสอบแบคทีเรียเชื้อสาเหตุโรคได้รวดเร็วและแม่นยำ ส่วนการตรวจสอบ โดยการเพาะเลี้ยงบนอาหารเทียมสามารถปฏิบัติได้ค่อนข้างช้า และมีความผิดพลาดสูงเนื่องจาก แบคทีเรียสาเหตุโรคมีการเจริญเติบโตช้า และขนาดเล็กมากจึงไม่สามารถเจริญแข่งขันกับจุลินทรีย์ชนิดอื่นๆ บนอาหารเทียมได้ทัน และถูกคลุมพื้นที่ทำให้แยกและจำแนกชนิดได้ยาก แต่อาหารเทียมสูตร Wilbrink’s medium ซึ่งเพิ่มเติมสารปฏิชีวะและสารป้องกันกำจัดเชื้อรา สามารถแยกและจำแนกแบคทีเรียชนิดนี้ได้ดีพอสมควร

แบคทีเรีย X.albilineans มีลักษณะต่างๆ บนอาหารเทียมดังนี้ เจริญเติบโตช้า จะปรากฏโคโลนีแบคทีเรียให้เห็นได้หลังจากปฏิบัติการแยกเชื้อบนอาหาร 4-5 วัน ที่อุณหภูมิห้อง โคโลนีขนาดเล็ก สีเหลือง ไม่มีเมือก เหมือน Xanthomonas สาเหตุโรคพืชทั่วๆ ไป ลักษณะโคโลนี กลม ผิวเรียบนูนเล็กน้อย สะท้อนแสงและโปร่งใส โคโลนีมีสีเหลืองอ่อนจนถึงสีเหลืองแก่ตามอายุของแบคทีเรีย

การแพร่ระบาดของโรค
โรคใบลวก แพร่ระบาดไปกับท่อนพันธุ์เป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ยังแพร่ระบาดไปกับอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ตัดและเก็บเกี่ยวผลผลิตอ้อย และมีรายงานว่าสามารถแพร่ระบาดไปในทางอากาศได้พืชอาศัยชนิดอื่นๆนอกจากอ้อยเป็นพืชอาศัยหลักแล้ว ยังพบว่า ข้าวโพดและหญ้าชนิดต่างๆ เป็นพืชอาศัยให้แบคทีเรียอยู่ข้ามฤดูได้ เช่น Brachiaria piligera, Imperata cylindrica , Panicum maximum ,Pespalum sp. , Ponnisetum sp. และRottboelliacochinchinensis , โดยหญ้าชนิดต่างๆ ดังกล่าว สามารถแสดงอาการโรค ให้เห็นได้ เช่น อาการ ใบขีดสีขาว และ สีเหลือง เท่านั้น (Martin andRobinson, 1961)

ลักษณะภูมิอากาศที่เหมาะสมต่อการเกิดโรค
ลักษณะภูมิอากาศที่มีการเปลี่ยนแปลง จากสภาพความแห้งแล้งเป็นชื้นมีปริมาณน้ำฝนมากๆโดยเฉพาะในช่วงที่อ้อยผ่านสภาพแห้งแล้งในฤดูร้อน แล้วได้รับความชื้นหรือปริมาณน้ำฝนมากๆ ในฤดูฝนหรือมรสุมพร้อมกับมีอุณหภูมิต่ำลง จะทำให้ความรุนแรงของโรคเพิ่มขึ้น (Ricaud and Ryan,1989)

ความสำคัญทางเศรษฐกิจ
การปลูกอ้อยพันธุ์พันธุ์อ่อนแอต่อโรคใบลวก เมื่อเกิดการระบาดของโรคจะทำให้ผลผลิตเสียหายเป็นอย่างมาก หรือทำลายอ้อยในพื้นที่เพาะปลูกอ้อยพันธุ์อ่อนแอทั้งหมดได้

การป้องกันกำจัดโรค
1. ใช้พันธุ์ต้านทานโรค (Ricaud and Ryan, 1989) สำหรับประเทศไทยยังไม่มีรายงานอ้อยพันธุ์ทนทาน หรือต้านทานโรคใบลวก ดังนั้น การปรับปรุงพันธุ์ และคัดพันธุ์อ้อย ควรมีข้อมูลปฏิกิริยาพันธุ์ต่อโรคนี้ ไว้สำหรับใช้คัดพันธุ์ต้านทานต่อโรคใบลวกในอนาคต

2. การผลิตท่อนพันธุ์อ้อยปลอดโรค อาจใช้การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ หรือการแช่น้ำร้อน แบบDual hot water treatment (ครั้งที่1 ที่ 52Cº นาน 30 นาทีทิ้งไว้ 1 คืน แล้วนำไปแช่น้ำร้อน ครั้งที่ 2 ที่ 50Cº นาน 2 ชม.) หรือแบบ Cold-hot water treatment (แช่ท่อนพันธุ์ในน้ำ ที่ 18-25C & ordm; เป็นเวลา 2 วัน แล้วนำมาแช่น้ำร้อนที่ 50 C & ordm; นาน 3 ชม. (Steindl, 1972)

3. กำจัดอ้อยต่อเก่าที่ติดเชื้อออกจากแปลงปลูกให้หมด
4. ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ชะล้างอุปกรณ์เครื่องตัดอ้อยต่างๆ ให้สะอาด
5. ควบคุมวัชพืชที่เป็นพืชอาศัย (alternate host)
6. ใช้มาตรการ การกักกันพืชที่จะนำเข้าท่อนพันธุ์อ้อยใหม่ๆ เข้ามาในประเทศ


ที่มา http://as.doa.go.th/fieldcrops/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©