-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ให้ 46-0-0 กับข้าวโพดหวาน
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ให้ 46-0-0 กับข้าวโพดหวาน
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ให้ 46-0-0 กับข้าวโพดหวาน

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
monkeybluffy
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 21/09/2009
ตอบ: 19
ที่อยู่: กทม

ตอบตอบ: 06/09/2010 4:12 pm    ชื่อกระทู้: ให้ 46-0-0 กับข้าวโพดหวาน ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับคุณลุงคิมและพี่ๆเพือนสมาชิกครับ

ผมปลูกข้าวโพดหวานไว้ 3 ไร่ ตอนนี้สูงระดับเข่า จะให้ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 ครั้งแรก ควรให้ทางดินแบบฝังกลบดิน หรือผสมยูเรียกับน้ำฉีดพ่นทางดิน+ใบกับข้าวโพด แบบไหนจะดีกว่ากันครับ

ถ้าให้ทางดินแบบฝังกลบดินคิดว่าต้องจ้างแรงงานทำ แต่ถ้าผสมน้ำฉีดพ่นก็ทำเองได้ครับ


ขอบคุณครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ MSN
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 06/09/2010 5:18 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

น้ำ 100 ล. + น้ำส้มสายชู 100 ซีซี.+ ยูเรีย จี.เกรด 400 กรัม

ฉีดพ่นที่ใบพอเปียกใบเท่านั้นก็เหลือเฟือแล้ว ให้ลงถึงพื้นด้วยก็ได้ ถ้าไม่กลัวสิ้นเปลือง

คิดดู น้ำ 200 ล. ฉีดพอสัมผัสใบ ยิ่งฉีดตามลมให้ลมช่วยส่งด้วยยิ่งดีใหญ่ ปริมาณนี้จะได้เนื้อที่กี่ไร่

ถามว่า 400 กรัม มากหรือน้อยไปไหม อันนี้ต้องไปถามต้นข้าวโพดเอาเอง

ยูเรีย จี.เกรด ไม่มี เอายูเรียในกระสอบที่เคยหว่านลงดินแทนก็ได้


ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
monkeybluffy
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 21/09/2009
ตอบ: 19
ที่อยู่: กทม

ตอบตอบ: 06/09/2010 5:42 pm    ชื่อกระทู้: วิธีให้ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 กับข้าวโพดหวานช่วงแรก(ระดับหัวเข่า) ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

พอดียังไม่เคยให้ปุ๋ยยูเรียข้าวโพดหวานเลยครับ (ถ้าทำตามข้างบ้านก็ 46-0-0 ฝังกลบ) แต่ผมไม่อยากทำตามเค้าคิดว่าสิ้นเปลืองต้องจ้างแรงงานมาฝังกลบอีก คิดว่าฉีดพ่นเองดีกว่า

ถ้าฉีดพ่น น้ำ 100 ล. + น้ำส้มสายชู 100 ซีซี.+ ยูเรีย จี.เกรด 400 กรัม (หรือยูเรีย 46-0-0) ฉีดพ่นทุก 7 วัน จนกว่าต้นข้าวโพดจะสูงระดับเอว แล้วเปลี่ยนมาให้ระเบิด 8-24-24 ทางดิน + ฮอร์โมนไข่ สลับ กับแคลเซี่ยมโบรอน จนกว่าไหมจะแก่ไปเอง แบบนี้ถูกหลักหรือเปล่าครับ คุณลุง

ขอบพระคุณครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ MSN
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 06/09/2010 5:58 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เทคนิคการปลูกข้าวโพดหวาน
ให้ได้ผลผลิตสูงและคุณภาพฝักสดดี
นายไพศาล หิรัญมาศสุวรรณ นักปรับปรุงพันธุ์พืช

......................................

::: พันธุ์ข้าวโพดหวาน
พันธุ์ข้าวโพดหวานที่ใช้ปลูกควรเป็นข้าวโพดหวานลูกผสม ในตลาดมีหลายพันธุ์ผลิตจากหลายบริษัทให้เลือก แต่พันธุ์ที่แนะนำคือพันธุ์ข้าวโพดหวานลูกผสม ไฮ-บริกซ์ 10 และ ไฮ-บริกซ์ 3 ทั้งสองพันธุ์เป็นพันธุ์ข้าวโพดหวานลูกผสมที่ผลิตโดย บริษัท แปซิฟิคเมล็ดพันธุ์ จำกัด ซึ่งสามารถให้ผลผลิตสูง มีขนาดฝักใหญ่เป็นที่ต้องการของตลาด คุณภาพฝักสดดีมาก รสชาติดี กลิ่นหอม นอกจากนี้ยังสามารถปลูกได้ในทุกสภาพแวดล้อมในประเทศไทย เพราะเป็นพันธุ์ที่ปรับปรุงขึ้นโดยใช้เชื้อพันธุกรรมที่มีในประเทศ ทำให้สามารถปรับตัวได้อย่างกว้างขวาง

::: การเตรียมดิน
การเตรียมดินถือเป็นหัวใจของการปลูกข้าวโพดหวานให้ได้ผลผลิตสูง เพราะถ้าดินมีสภาพดีเหมาะกับการงอกของเมล็ดจะทำให้มีจำนวนต้นต่อไร่สูง ผลผลิตต่อไร่ก็จะสูงตามไปด้วยการเตรียมดินที่ดีควรมีการไถดะและทิ้งตากดินไว้ 3-5 วัน จากนั้นจึงไถแปรเพื่อย่อยดินให้ แตกละเอียดไม่เป็นก้อนใหญ่เหมาะกับการงอกของเมล็ด ควรมีการหว่านปุ๋ยคอกเช่นปุ๋ยขี้ไก่เป็นต้น อัตราประมาณ 1 ตันต่อไร่ก่อนการไถแปร เพื่อเป็นการปรับปรุงโครงสร้างของดินให้ดีขึ้นสามารถอุ้มน้ำได้นานขึ้น และยังเป็นการเพิ่มธาตุอาหารให้กับข้าวโพดหวาน

::: การปลูก ควรปลูกเป็นแถวเป็นแนวซึ่งสามารถปลูกได้สองวิธี คือ
การปลูกแบบแถวเดี่ยว ระยะระหว่างแถว 75 เซนติเมตร ระยะระหว่างต้น 25-30 เซนติเมตร ปลูกหลุมละ 1 ต้น จำนวนต้นต่อไร่ประมาณ 7,000-8,500 ต้น จะใช้เมล็ดประมาณ 1.0-1.5 กิโลกรัมต่อไร่

การปลูกแบบแถวคู่ มีการยกร่องสูง ระยะระหว่างร่อง 120 เซนติเมตร ปลูกเป็นสองแถวข้างร่อง ระยะห่างกัน 30 เซนติเมตร ระยะระหว่างต้น 25-30 เซนติเมตร1 ต้นต่อหลุม จะมีจำนวนต้นประมาณ 7,000-8,500 ต้นต่อไร่และใช้เมล็ดประมาณ 1.0-1.5 กิโลกรัมต่อไร่ การให้น้ำจะปล่อยน้ำตามร่องซึ่งเป็นวิธีที่สะดวกดี

::: การใส่ปุ๋ย
ปุ๋ยเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการปลูกข้าวโพดหวาน เพราะปัจจุบันพื้นที่การเกษตรของประเทศไทยเป็นพื้นที่ที่มีการปลูกพืชติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ทำให้ความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลง จึงควรใส่ธาตุอาหารพืช (ปุ๋ย) เพิ่มเติมลงในดิน การใส่ปุ๋ยในข้าวโพดหวานมีขั้นตอนดังนี้

การใส่ปุ๋ยรองพื้น สูตรปุ๋ยที่แนะนำคือ 15-15-15 หรือ 25-7-7 หรือ 16-16-8
อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่พร้อมปลูกหรือใส่ขณะเตรียมดิน

หมายเหตุ
ถ้าปลูกด้วยมือ ควรหยอดปุ๋ยที่ก้นหลุมแล้วกลบดินบาง ๆ ก่อนหยอดเมล็ด
ไม่ควรให้ปุ๋ยสัมผัสกับเมล็ดโดยตรงเพราะอาจทำให้เมล็ดเน่าได้

การใส่ปุ๋ยแต่งหน้าครั้งที่ 1
สูตรปุ๋ยที่แนะนำคือ 46-0-0 (ยูเรีย) อัตรา 25-30 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่เมื่อข้าวโพดมีอายุ 20-25 วันหลังปลูก โรยข้างต้นในขณะดินมีความชื้นหรือให้น้ำตาม หรือพูนโคนกลบปุ๋ยก็จะเป็นการกำจัดวัชพืชไปในตัว

การใส่ปุ๋ยแต่งหน้าครั้งที่ 2
เมื่อข้าวโพดมีอายุ 40-45 วันหลังปลูก ถ้าแสดงอาการเหลืองหรือไม่สมบูรณ์ ให้ใส่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ โรยข้างต้นในขณะดินมีความชื้นหรือให้น้ำตาม

::: การกำจัดวัชพืช
ถ้าแปลงปลูกข้าวโพดหวานมีวัชพืชขึ้นมากจะทำให้ข้าวโพดไม่สมบูรณ์ ผลผลิตจะลดลงจึงควรมีการกำจัดวัชพืชในแปลงปลูก วิธีการกำจัดวัชพืชสามารถทำได้ดังนี้

การฉีดยาคุมวัชพืช ใช้อลาคลอร์ ฉีดพ่นลงดินหลังจากปลูกก่อนที่วัชพืชจะงอกขณะฉีดพ่นดินควรมีความชื้นเพื่อทำให้ยามีประสิทธิภาพดีขึ้น

ใช้วิธีการเขตกรรม ถ้าหากจำเป็นต้องใช้สารเคมีควรได้รับคำแนะนำจากนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง หรือเจ้าหน้าที่โรงงานผู้ส่งเสริมการปลูก

::: การให้น้ำ
ระยะที่ข้าวโพดหวานขาดน้ำไม่ได้คือระยะ 7 วันแรกหลังปลูก เป็นระยะที่ข้าวโพดกำลังงอก ถ้าข้าวโพดหวานขาดน้ำช่วงนี้จะทำให้การงอกไม่ดี จำนวนต้นต่อพื้นที่ก็จะน้อยลงจะทำให้ผลผลิตลดลงไปด้วย ระยะที่ขาดน้ำไม่ได้อีกช่วงหนึ่งคือระยะออกดอก การขาดน้ำในช่วงนี้จะมีผลทำให้การผสมเกสรไม่สมบูรณ์ การติดเมล็ดจะไม่ดี ติดเมล็ดไม่เต็มถึงปลายหรือติดเมล็ดเป็นบางส่วน ซึ่งฝักที่ได้จะขายได้ราคาต่ำ โดยปกติถ้าเป็นพื้นที่ที่สามารถให้น้ำได้ควรให้น้ำทุก 3-5 วัน ขึ้นกับสภาพต้นข้าวโพดและสภาพอากาศ แต่ช่วงที่ควรให้น้ำถี่ขึ้นคือช่วงที่ข้าวโพดกำลังงอกและช่วงออกดอก

::: การเก็บเกี่ยว
โดยปกติข้าวโพดหวานจะเก็บเกี่ยวเมื่อมีอายุประมาณ 70-75 วันหลังปลูก แต่ระยะที่เหมาะสมสำหรับการเก็บเกี่ยวที่สุด คือ ระยะ 18-20 วันหลังข้าวโพดออกไหม 50% (ข้าวโพด 100 ต้นมีไหม 50 ต้น) ข้าวโพดหวานพันธุ์ ไฮ-บริกซ์ 10 จะเก็บเกี่ยวที่อายุประมาณ 68-70 วัน และพันธุ์ไฮ-บริกซ์ 3 จะเก็บเกี่ยวที่อายุประมาณ 65-68 วันหลังปลูก แต่ถ้าปลูกในช่วงอากาศหนาวเย็นอายุการเก็บเกี่ยวอาจจะยืดออกไปอีก หลังจากเก็บเกี่ยวแล้วควรรีบส่งโรงงานหรือจำหน่ายโดยเร็ว เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำ หากขาดน้ำจะมีผลต่อเมล็ดและน้ำหนักของฝัก

::: ปัญหาและการแก้ไข ที่พบเห็นบ่อย ๆ มีดังนี้
ความงอก ปกติเมล็ดพันธุ์ไฮ-บริกซ์ 10 และ ไฮ-บริกซ์ 3 ได้ผ่านการทดสอบความงอกมาแล้วจึงจำหน่ายสู่เกษตรกร แต่บางครั้งเมล็ดพันธุ์อาจจะค้างอยู่ในร้านค้าเป็นเวลานานหรือเกษตรกรอาจจะซื้อเมล็ดพันธุ์มาเก็บไว้ที่บ้าน และสถานที่เก็บอาจจะไม่เหมาะสม สิ่งเหล่านี้มีผลทำให้เมล็ดพันธุ์มีความงอกลดลง วิธีการแก้ไขที่ดีที่สุด คือ ก่อนปลูกทุกครั้งให้ทดสอบความงอกของเมล็ดที่จะปลูกก่อน โดยการสุ่มเมล็ดจากถุงประมาณ 100 เมล็ด แล้วปลูกลงในกระบะทรายหรือดินแล้วรดน้ำเพื่อทดสอบความงอก นับต้นที่โผล่พ้นดินในวันที่ 7 ถ้ามีจำนวนต้นเกิน 85 ต้น ถือว่ามีอัตราความงอกที่ใช้ได้ก็สามารถนำเมล็ดพันธุ์ถุงนั้นไปปลูกได้

โรคราน้ำค้าง ปัจจุบันพันธุ์ข้าวโพดหวานเกือบทุกพันธุ์ที่ขายในประเทศไทยเป็นพันธุ์ที่ไม่ต้านทานโรคราน้ำค้าง ตั้งแต่พันธุ์ไฮ-บริกซ์ 10 และ ไฮ-บริกซ์ 3 จนถึงพันธ์ล่าสุดไฮ-บริกซ์ 9 ซึ่งทุกพันธุ์ได้ผ่านการคลุกยาป้องกันโรคราน้ำค้าง (เมตาแลกซิล) ในอัตรายาที่เหมาะสม เมื่อปลูกแล้วจะไม่พบว่าเป็นโรค แต่การปลูกที่ผิดวิธีก็อาจเป็นสาเหตุให้เป็นโรคราน้ำค้างได้ การปลูกที่ผิดวิธีที่พบเห็นบ่อยๆ มีดังนี้

แช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำก่อนปลูก เกษตรกรเชื่อว่าการแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำก่อนปลูกจะทำให้การงอกดีและมีความสม่ำเสมอ แต่การแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำก่อนปลูกจะทำให้ยาที่คลุกติดมากับเมล็ดพันธุ์ซึ่งเป็นยาป้องกันโรคราน้ำค้างละลายหลุดออกไป ทำให้ยาที่เคลือบเมล็ดมีน้อยลงหรือไม่มีเลย เมื่อนำเมล็ดพันธุ์ที่แช่น้ำไปปลูก ต้นอ่อนที่งอกออกมาจึงเป็นโรค ราน้ำค้าง วิธีแก้ไข คือ ไม่แช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำก่อนปลูกหรือคลุกสารเคมีอื่นเพิ่มเพราะมีผลต่อความต้านทานโรคราน้ำค้างและความงอกของเมล็ดพันธุ์

ปล่อยน้ำท่วมขังแปลงหลังปลูก เกษตรกรบางรายเมื่อปลูกเสร็จจะปล่อยน้ำท่วมแปลงปลูกหรือปล่อยน้ำท่วมร่องปลูก ซึ่งน้ำจะท่วมขังอยู่เป็นเวลานานกว่าจะซึมลงดินหมด เมล็ดจะแช่อยู่ในน้ำเป็นเวลานาน ยาป้องกันโรคราน้ำค้างที่เคลือบเมล็ดอยู่จะละลายหายไปกับน้ำ ทำให้ต้นอ่อนที่งอกขึ้นมาไม่ได้รับยาป้องกันโรคราน้ำค้าง จึงแสดงอาการเป็นโรคให้เห็น วิธีแก้ไข คือ ให้น้ำในแปลงก่อนการปลูกและรอให้ดินมีความชื้นเหมาะกับการงอกของเมล็ดจึงทำการปลูก ยาที่เคลือบเมล็ดจะไม่ละลายหลุดไปกับน้ำ ต้นอ่อนที่งอกออกมาจึงได้รับยาอย่างเต็มที่และไม่เป็นโรคราน้ำค้าง

การระบาดของหนู พื้นที่ที่ปลูกข้าวโพดหวานติดต่อกันหลายรุ่นมักจะพบว่ามีหนูระบาดและมักจะเข้าทำลายข้าวโพดหวานในระยะงอกและระยะก่อนเก็บเกี่ยว เมื่อมีหนูระบาดจะทำให้ผลผลิตลดลง ฝักที่เก็บได้มีร่องรอยการทำลายของหนูทำให้ขายไม่ได้ แก้ไขโดยการวางยาเบื่อหนู ซึ่งทำได้โดยใช้ข้าวโพดหวานฝักสดฝานเอาแต่เนื้อผสมกับยาเบื่อหนูที่เป็นผงสีดำ (Zinc phosphide) คลุกเคล้าให้ทั่วแล้วหว่านให้ทั่วในแปลงหลังจากปลูกเสร็จ (อาจจะหว่านในช่วงหลังปลูก คือ ข้าวโพดกำลังงอก ) และในช่วงก่อนการเก็บเกี่ยว ( ช่วงข้าวโพดกำลังเป็นน้ำนม ประมาณ 65-70 วันหลังปลูก )หว่านติดต่อกันสัก 3 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 2-3 วัน จะทำให้การระบาดของหนู ลดลง

หนอนเจาะฝักข้าวโพด บางฤดูจะพบว่ามีการระบาดของหนอนเจาะฝักเกิดขึ้นซึ่งจะทำให้ฝักที่เก็บเกี่ยวได้มีตำหนิขายไม่ได้ราคา ผลผลิตต่อไร่ลดลง สามารถป้องกันการระบาดได้โดยการหมั่นตรวจแปลงอยู่เสมอโดยเฉพาะในระยะเริ่มผสมเกสร ถ้าพบว่าเริ่มมีหนอนเจาะฝักให้ใช้ยา ฟลูเฟนนอกซูรอน หรือ ฟิโบรนิล (ชื่อสามัญ) ในอัตรา 20 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นที่ฝัก 1-2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน

มวนเขียว หลังจากข้าวโพดผสมเกสรแล้ว บางครั้งจะมีมวนเขียวระบาดโดยเฉพาะช่วงฝนทิ้งช่วงหรือในหน้าแล้ง มวนเขียวจะใช้ปากเจาะฝักข้าวโพดและดูดกินน้ำเลี้ยงจากเมล็ดที่ยังอ่อนอยู่ชึ่งจะไม่เห็นร่องรอยการทำลายจากภายนอก เมื่อเก็บเกี่ยวจะพบว่าเมล็ดมีรอยช้ำหรือรอยดำด่างทำให้ขายไม่ได้ราคา ป้องกันได้โดยการหมั่นเดินตรวจแปลงในระยะหลังจากผสมเกสรแล้วถ้าพบมวนเขียวให้ฉีดพ่นด้วยยา คาร์โบซัลแฟน (ชื่อสามัญ) อัตรา 40 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นที่ฝักข้าวโพด

เพลี้ยไฟ ถ้าข้าวโพดหวานออกดอกในช่วงฝนทิ้งช่วงหรือในหน้าแล้ง มักจะพบว่ามีเพลี้ยไฟ(แมลงตัวเล็กๆ สีดำ) เกาะกินน้ำเลี้ยงที่ไหมของฝักข้าวโพดทำให้ไหมฝ่อ การผสมเกสรไม่สมบูรณ์ การติดเมล็ดจะไม่ดีตามไปด้วย ป้องกันได้โดยหมั่นตรวจแปลงในระยะออกดอก ถ้าพบว่ามีเพลี้ยไฟเกาะที่ไหม ให้ใช้ยาเอ็นโดซันแฟน (ชื่อสามัญ) หรือ วีฟอส (ชื่อการค้า) อัตรา 40 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นที่ฝัก

ข้าวโพดไม่หวาน ถ้าพบว่าข้าวโพดหวานฝักสดมีรสชาติไม่หวานแสดงว่าดินในแปลงที่ปลูกข้าวโพดขาดธาตุโปแตสเซี่ยม (K) ธาตุโปแตสเซี่ยมจะช่วยให้การสะสมน้ำตาลในเมล็ดดีขึ้น แก้ไขได้โดยการใส่ปุ๋ยรองพื้นที่มีธาตุโปแตสเซี่ยมร่วมด้วย เช่น ปุ๋ยสูตร 25-7-7 หรือ 16-16-8 หรือ 13-13-21 ขึ้นกับสภาพดิน ถ้าดินขาดโปแตสเซี่ยมมากก็ควรใส่ปุ๋ยสูตรที่มีค่า K สูง

เปลือกหุ้มฝักเหลือง การเก็บเกี่ยวที่อายุเกิน 20 วันหลังออกไหม 50% จะมีผลทำให้เปลือกหุ้มฝักมีสีเขียวอ่อนลงดูเหมือนฝักจะแก่ บางครั้งถึงแม้ว่าจะเก็บเกี่ยวที่อายุเหมาะสม เปลือกหุ้มฝักก็ยังมีสีออกเหลือง การแก้ไขทำได้โดยการเพิ่มปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) อัตรา 15-20 กิโลกรัมต่อไร่ โรยข้างต้นข้าวโพดในขณะดินมีความชื้นในระยะที่ข้าวโพดออกดอก จะทำให้เปลือกหุ้มฝักมีสีเขียวอยู่ได้นานขึ้น

โรคราสนิม ถ้ามีโรคราสนิมระบาดรุนแรงจะทำให้ฝักข้าวโพดไม่สมบูรณ์ การติดเมล็ดจะไม่เต็มถึงปลายขายไม่ได้ราคา ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคราสนิมอยู่เป็นประจำควรฉีดพ่นด้วยยาไดฟีโนโคนาโซล (ชื่อสามัญ)หรือ สกอร์ (ชื่อการค้า) อัตรา 20 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร เมื่อเริ่มเป็นโรค

::: ข้อควรระมัดระวัง
การใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดโรคและแมลง เกษตรกรควรขอคำแนะนำจากโรงงานผู้ส่งเสริม หรือนักวิชาการโดยตรง เพื่อหลีกเลี่ยงสารตกค้างที่อาจปนเปื้อนไปกับผลิตภัณฑ์


http://www.pacthai.co.th/knowleage_base/sweetcorn.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 06/09/2010 6:21 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มาปลูกข้าวโพดหวาน กันมั้ย...

เงินลงทุน :
ประมาณ 35,000 บาท (ไม่รวมค่าที่ดิน) (เครื่องสูบน้ำราคาประมาณ 20,000 บาท มอเตอร์ราคาประมาณ 3,000 บาท ค่าอุปกรณ์ รดน้ำแบบสปิงเกิ้ลราคาประมาณ 12,000 บาท)

รายได้ :
8,000 บาท/ไร่

วัสดุอุปกรณ์ :
ที่ดิน เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง จอบ เครื่องสูบน้ำ มอเตอร์ สายยาง อุปกรณ์ใช้น้ำแบบสปิงเกิ้ล

แหล่งจำหน่ายวัสดุอุปกรณ์ :
ร้านค้าขายเกี่ยวกับอุปกรณ์การเกษตรทั่วไป

วิธีดำเนินการ :
1. เตรียมดิน
ควรไถด้วยผาลเบอร์ 3 ตากดินให้แห้ง 3-5 วัน แล้วไถพรวนด้วย ผาลเบอร์ 7 เพื่อช่วยให้ดินร่วนซุย

2. การปลูก
ควรปลูกแบบแถวเดี่ยวโดยยกดินเป็นร่องลูกฟูกระยะปลูกที่เหมาะสม คือระยะห่างระหว่างแถว 75 เซนติเมตร หลังจากนั้นขุดหลุมปลูกแล้วใส่ปุ๋ยรองก้นหลุมสูตร 15–15–15 หรือ 13 – 13 – 21 อัตรา 25 กิโลกรัม/ไร่ คลุกเคล้าในหลุมให้ทั่วดี แล้วหยอดเมล็ดลงในหลุมปลูก 3-4 เมล็ด ลึกประมาณ 3 เซนติเมตร จากนั้นกลบด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวแล้ว จากนั้นรดน้ำให้ชุ่ม

3. การดูแลรักษา
เมื่อข้าวโพดอายุได้ 11–15 วัน หลักจากปลูกให้ถอนแยกออกเหลือต้นสมบูรณ์ดีไว้เพียง 1 ต้นต่อหลุม แล้วพรวนดินเพื่อกำจัดวัชพืช จากนั้นใส่ปุ๋ยยูเรียหรือแอมโมเนียซัลเฟตอัตรา 25–50 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อข้าวโพดอายุได้ 25–30 วัน ใส่ปุ๋ยสูตร 46–0–0 อัตรา 25–30 กิโลกรัมต่อไร่ และพออายุ 40–45 วัน ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 25-30 กิโลกรัมต่อไร่

4. การให้น้ำ
ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอและเพียงพอ ควรให้ดินชุ่มชื้นอยู่ตลอดเวลา แต่อย่าให้น้ำมากจนถึงกับท่วมขังแฉะจะทำให้ข้าวโพดเหลืองแคระแกร็น และ ถ้าปล่อยให้ดินแห้งก็จะทำให้ข้าวโพดชะงักการเจริญเติบโต โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงออกดอกและติดฝัก ไม่ควรให้ขาดน้ำ เพราะจะทำให้ฝักมีเมล็ดติดไม่ดี ที่เรียกว่าข้าวโพดฟันหลอ

5. การป้องกันกำจัดโรคและแมลง
โรคสำหรับข้าวโพดพันธุ์ข้าวเหนียวหวาน ไม่ค่อยพบอาการของโรคมากนัก อาจจะพบบ้าง เช่น โรคน้ำค้าง ใบจุด และใบแห้ง แต่ไม่มีปัญหาเพาะเมล็ดพันธุ์ได้คลุกสารป้องกันโรคชนิดนี้อยู่แล้ว
6. การเก็บเกี่ยว เมื่อข้าวโพดอายุได้ 67-70 วัน สามารถนับวันเก็บเกี่ยวได้โดยนับวันหลังจากฝักออกใหม่แล้ว 18 – 20 วัน ยกเว้นเมื่อปลูกในฤดูหนาว ยืดเวลาเก็บไปอีก 10 – 15 วัน

ตลาด/แหล่งจำหน่าย :
ขายส่งพ่อค้าคนกลางในพื้นที่ ตลาดขายส่งผัก ผลไม้ ขายปลีกแม่ค้าขายข้าวโพดต้ม

สถานที่ให้คำปรึกษา :
1. กองส่งเสริมพืชสวน กรมส่งเสริมการเกษตร โทร 0-2561-4879
2. สำนักงานเกษตรจังหวัดและอำเภอ

ข้อแนะนำ :
การเก็บข้าวโพดควรเก็บตอนเช้าตรู่ เพื่อให้ข้าวโพดสดคุณภาพดี การตัดหรือ
หักให้มีส่วนของต้นติดฝักด้วย เพื่อรักษาคุณภาพให้ได้ยาวนาน

http://www.thaismefranchise.com/?p=3713


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 07/09/2010 9:36 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 06/09/2010 6:24 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ข้าวโพดหวาน (Sweet Corn)

ข้าวโพดหวาน (Sweet Corn) เป็นพืชล้มลุก อยู่ใน ตระกูล Gramineae เป็นพืชที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว อายุตั้งแต่หยอดเมล็ด ถึงเก็บเกี่ยวประมาณ 65-85 วัน ชอบแสงแดดเต็มที่ ตอลดวัน อุณหภูมิที่เหมาะสมที่ทำให้ผลผลิตสูงสุดกลางวันอยู่ระหว่าง 24-30 องศาเซลเซียส กลางคืนอยู่ระหว่าง 15-18 องศาเซลเซียส ความชื้นในดินสูงสม่ำเสมอ สามารถปลูกได้ดีในดินทุกสภาพ มีการระบายน้ำได้ดี น้ำไม่ขัง แฉะ ความเป็นกรด-ด่าง ของดินอยู่ระหว่าง 5.8-6.5

การเตรียมดิน
เนื่องจากข้าวโพดหวานจะอ่อนแอ ในช่วงระยะแรก หลังงอกประมาณ 2 อาทิตย์ ดังนั้น การเตรียมดินจึงควรทำอย่างประณีตให้ ร่วน ละเอียด โดยให้ร่วนลึกถึง 15-20 เซนติเมตร ตากดินไว้ 7-10 วัน แล้วใส่ปุ๋ยคอกปุ๋ยหมัก คลุกเคล้าให้ทั่วแปลง ปรับย่อยดินให้ ละเอียด

การปลูกข้าวโพดหวาน
ใช้ระยะห่างระหว่างต้น 30-40 เซนติเมตร ระหว่างแถว 80-100 เซนติเมตร แล้วทำการหยอดเมล็ดลงในหลุมละ 1-2 เมล็ด กลบหลุมเล็กน้อย รดน้ำให้ชุ่ม หลังหยอดเมล็ดประมาณ 5-7 วัน เมล็ดจะเริ่มงอก

การดูแลรักษาข้าวโพดหวาน
การใส่ปุ๋ย หลังจากหยอดเมล็ด 10-14 วัน ใส่ปุ๋ยยูเรีย หรือแอมโมเนี่ยมซัลเฟต อัตรา 1/2 ช้อนชา ต่อหลุม แล้วกลบโคนต้น พร้อมกับถอนแยกต้น ให้เหลือหลุมละ 1 ต้น เมื่อข้าวโพดหวานเริ่มออกไหม หรือเริ่มออกดอกให้ใส่ปุ๋ย 15-15-15 หรือปุ๋ย 13-13-21 อัตรา 1 ช้อน ต่อหลุมแล้วกลบโคนต้น หรือจะ้ใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักอย่างสม่ำเสมอ โดยใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ น้อยลงก็ได้

การให้น้ำ
ควรให้น้ำอย่างเพียงพอ และสม่ำเสมอ อย่าให้ขาดน้ำ

การถอนแยก
ควรกระทำหลังหยอดเมล็ด 10-14 วัน ให้ถอนแยกให้เหลือหลุมละ 1 ต้น

การพรวนดินกำจัดวัชพืช
ควรกระทำในช่วงแรก อย่าให้วัชพืชรบกวน เพราะจะทำให้ข้าวโพดแคระแกรน ชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตต่ำ

การเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวโพดหวาน
ให้สังเกตดูไหมเริ่มเป็นสีน้ำตาลถึงดำก็สามารถเก็บเกี่ยวได้ โดยใช้มือค่อยๆ หักที่ฝักข้าวโพด ให้เลือกเก็บฝักที่แก่ก่อน การเก็บ ข้าวโพดหวาน ไม่ควรทิ้งไว้ข้ามคืน เพราะจะทำให้ความหวานลดลง


URL บอกต่อ ของเรื่อง "ข้าวโพดหวาน (Sweet Corn)"

http://www.vegetweb.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 04/08/2016 3:36 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 06/09/2010 6:34 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

โรคข้าวโพดจากการขาดความสมดุลย์ของธาตุอาหาร

ชุติมันต์ พานิชศักดิ์พัฒนา

ขณะนี้เป็นฤดูปลูกข้าวโพด เกษตรกรในหลายท้องที่ได้ทำการเตรียมดินเพื่อปลูกข้าวโพด ในแหล่งปลูกข้าวโพดที่มีดินอุดมสมบูรณ์ การระบายน้ำดี อินทรียวัตถุสูงกว่า 1.5% ความเป็นกรด-ด่างอยู่ระหว่าง 5.5-8.0 มีฟอสฟอรัสไม่ต่ำกว่า 40 พีพีเอ็ม (หนึ่งในล้านส่วน) และโพแทสเซียมไม่ต่ำกว่า 100 พีพีเอ็ม เป็นสภาพดินที่เหมาะสม การปลูกข้าวโพดโดยทั่วไปจะใส่ปุ๋ย 1-2 ครั้ง ตามความอุดมสมบูรณ์ของดิน ในเอกสารของสถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร ได้แนะนำว่า

ดินสีแดง ใส่ปุ๋ยสูตร 16-20-0 อัตรา 25 กก./ไร่ ก่อนปลูกหรือพร้อมปลูก เมื่อข้าวโพดอายุ 1 เดือน ใส่ปุ๋ยยูเรียอัตรา 13 กก./ไร่ หรือปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต อัตรา 30 กก./ไร่

ดินสีดำและดินนา ใส่ปุ๋ยยูเรีย อัตรา 22 กก./ไร่ หรือปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต อัตรา 50 กก./ไร่ เมื่อข้าวโพดอายุประมาณ 1 เดือน

ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์บำรุงดินทุก ๆ 3-4 ปี

ปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากว่า เมื่อทำการเพาะปลูกพืชเป็นเวลานานติดต่อกันหลายปี โดยขาดการเพิ่มอินทรียวัตถุลงไป ทำให้อินทรียวัตถุในดินลดต่ำลง และการใส่ปุ๋ยแต่ละครั้ง เกษตรกรจะใส่ในปริมาณมาก เพราะต้องการเร่งให้พืชโตรวดเร็วทันใจ ปุ๋ยที่ใส่ปริมาณสูง ๆ มักจะมีไนโตรเจนเป็นหลัก ดังนั้น จึงมักพบปัญหาที่นำมาสอบถามที่คลินิกพืชบ่อย ๆ ว่าทำไมข้าวโพดจึงไม่งาม มีโรครบกวน สาเหตุมาจากการใส่ไนโตรเจน ซึ่งเป็นธาตุอาหารหลักในปริมาณสูง ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของยูเรียหรือแอมโมเนียมซัลเฟต ทำให้ข้าวโพดอวบน้ำและโตอย่างรวดเร็ว สภาพความเป็นกรด-ด่างบริเวณรอบ ๆรากข้าวโพดเปลี่ยนแปลงไม่มาก และทำให้ธาตุอาหารรองที่พืชควรจะได้รับถูกตรึงไว้ในดิน จึงเกิดการขาดความสมดุลย์ของธาตุอาหารหลัก (N-P-K) กับธาตุอาหารรอง เช่น ธาตุแคลเซียม เป็นต้น จากประสบการณ์ในการตอบปัญหาที่ส่งมายังคลินิกพืชเกี่ยวกับโรคของข้าวโพดหวาน จังหวัดเชียงราย ซึ่งผลิตฝักสดเพื่อส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศ และโรคในแปลงผลิตข้าวโพดสายพันธุ์แท้ (Inbred line) ของศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ พบว่า ข้าวโพดมีการบำรุงด้วยปุ๋ยธาตุอาหารหลักเป็นอย่างดีเมื่ออายุประมาณ 4 สัปดาห์ ลำต้นอวบใหญ่ ข้อสั้น ต้นเตี้ย แต่ยอดอ่อนห่อตัวบิดริ้วเป็นเกลียว ปลายใบห่อ ติดกัน คลี่ออกยาก บางต้นยอดโค้งงอ เนื้อใบขรุขระ

เมื่อข้าวโพดออกดอก ซึ่งเป็นระยะที่พืชต้องการธาตุอาหารจำนวนมากในการสร้างดอกตัวผู้และตัวเมีย พบว่าบริเวณเนื้อเยื่อเจริญตามข้อและยอดฉ่ำน้ำ ต่อมาจะฉีกขาด กลวง และแห้งตายเกิดอาการเน่าบริเวณยอด กาบใบแห้ง ช่อดอกตัวผู้เน่าและไม่สมบูรณ์ บางต้นช่อดอกตัวผู้แทงออกมาลำบาก

การให้น้ำด้วยระบบสปริงเกิลร์ทำให้บริเวณฉ่ำน้ำของข้าวโพดอ่อนแอต่อเชื้อจุลินทรีย์ จึงเกิดอาการลำต้นเน่าตามมา ถ้าไม่ศึกษาอย่างละเอียดพอก็จะเข้าใจว่าโรคนี้เกิดจากเชื้อจุลินทรีย์ แต่เมื่อทำการพิสูจน์โรคแล้วพบว่าอาการไม่เหมือนในสภาพไร่ เพราะสาเหตุที่แท้จริงของความผิดปกตินี้ไม่ได้เกิดจากเชื้อจุลินทรีย์ เพราะเชื้อเหล่านี้เพียงแต่ได้โอกาสที่พืชอ่อนแอแล้วเข้ามาซ้ำเติมภายหลัง ไม่ใช่สาเหตุหลักที่แท้จริงของการเกิดโรค

จากการนำตัวอย่างพืชมาวิเคราะห์ธาตุอาหารพบว่า มีปริมาณแคลเซียม 0.25 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนักแห้งซึ่งต่ำกว่ามาตรฐานที่ควรจะมีคือ 0.5-0.9 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ตุอาหารรอง ได้แก่ สังกะสี และโบรอนอยู่ในเกณฑ์ปกติ ดังนั้นจึงเป็นการสรุปได้ว่าอาการผิดปกติของข้าวโพดดังที่แสดงในภาพมีสาเหตุจากการขาดความสมดุลย์ของธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรอง เมื่อตรวจสอบจากเอกสารถึงลักษณะอาการผิดปกติพบว่าเป็นลักษณะอาการขาดธาตุแคลเซียม แต่ในแปลงข้าวโพดที่มีการเขตกรรมดี ใส่ปุ๋ยพอเหมาะ ไม่มากเกินไปจะไม่พบอาการผิดปกตินี้ ข้าวโพดเป็นพืชไร่มีอายุสั้น ดังนั้นควรป้องกันก่อนปัญหาจะเกิดขึ้น เพราะถ้าพืชแสดงอาการผิดปกติแล้วจึงทำการฉีดพ่นแก้ไขคงไม่คุ้มค่าแก่การลงทุน

ข้อเสนอแนะ
1. การปลูกพืชเดี่ยวซ้ำที่เดิมเป็นเวลานานควรมีการเติมอินทรียวัตถุลงในดินให้สูงกว่า 1.5 เปอร์เซ็นต์

2. ควรมีการวิเคราะห์ดิน ใส่ปูนขาวเพื่อปรับความเป็นกรด-ด่างให้เหมาะสม (pH) ระหว่าง 5.5-8.0 ถ้าดินเป็นกรด ทำให้ธาตุแคลเซียมถูกตรึง พืชนำไปใช้ได้น้อย (pH 4.8 ในดินที่มีอินทรียวัตถุสูง และ pH 5.5 ในดิน ที่มีอินทรียวัตถุต่ำ)

3. หลีกเลี่ยงการใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนปริมาณสูง ๆ บริเวณรอบโคนต้นข้าวโพด เพราะทำให้เกิดสภาพเสียสมดุลย์ ทำให้ธาตุอาหารซึ่งบางชนิดอาจถูกตรึงและพืชนำไปใช้ไม่ได้ โดยเฉพาะธาตุอาหารรอง พืชจึงแสดงลักษณะอาการผิดปกติออกมา ดังนั้น การใส่ปุ๋ยจึงควรทยอยใส่หรือใช้ปุ๋ยที่สลายตัวช้าจะปลอดภัยกว่า การใส่ปุ๋ยทุกครั้งต้องคำนึงถึงความสมดุลย์ของธาตุอาหารหลัก (Macroelement) และธาตุอาหารรอง (Microelement) ด้วยทุกครั้ง เพราะพืชต้องใช้ทุกธาตุอาหารอย่างสมดุลย์ในการสร้างดอก ฝัก และเมล็ด

4. ในดินที่มีโปแตสเซียมและแมกนิเซียมสูง อาจทำให้การดูดซึมแคลเซียมของข้าวโพดลดลง



คำขอบคุณ
ขอขอบคุณกองเกษตรเคมี กรมวิชาการเกษตร ที่ได้อนุเคราะห์ในการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างข้าวโพด ทำให้แก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องและทันเวลา

บรรณานุกรม
นิรนาม. 2541. เอกสารแนะนำการปลูกข้าวโพด. สถาบันวิจัยพืชไร่. กรมวิชาการเกษตร. (แผ่นพับ).


http://as.doa.go.th/fieldcrops/corn/pest/014.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 06/09/2010 6:49 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ประสบการณ์ตรง :

1. เตรียมแปลง :
- ไถดินตากแดด 15 แดดจัดเพื่อฆ่าเชื้อโรค แล้วไถพรวน
- ทำสันแปลงสูง 30-50 ซม.
- เตรียมระบบให้น้ำ (ปล่อยน้ำไปตามร่องระหว่างแถวปลูก หรือ ลากสายยาง หรือสปริงเกอร์)

2. เตรียมดิน :
- ยิบซั่ม. กระดูกป่น. ขี้ไก่แกลบ. เศษซากพืชตระกูลถั่ว.
- คุมหน้าแปลงด้วยฟาง หรือหญ้าแห้งหนาๆ
- น้ำหมักชีวภาพระบิดเถิดเทิง 30-10-10 อัตรา 1-2 ล./ไร่
- บ่มดิน 20-30 วัน เพื่อให้เวลาแก่จุลินทรัย์ในน้ำหมักฯ ทำงานก่อน
- ให้น้ำพอหน้าดินชุ่ม ทุก 3 วัน


3. เตรียมเมล็ดพันธุ์ :
- ทดสอบเปอร์เซ็นต์งอก/ไม่งอก
- ตรวจสอบอายุเมล็ดพันธุ์
- แช่เมล็ดพันธุ์ใน น้ำ 10 ล.+ ไคโตซาน 5 ซีซี.+ โบรอน 1 ช้อนชา" นาน 6 ชม. นำขึ้นผึ่งลมในร่ม 12 ชม. แล้วนำไปหยอดลงหลุม
- หยอดเมล็ดหลุมละ 2-3 เมล็ด

4. เตรียมบำรุง :
4.1 ระยะต้นเล็ก :

- ให้น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 อัตรา 100 ซีซี./น้ำ 100 ล. 1 รอบ เริ่มบำรุงหลังเมล็ดงอกยืนต้นได้
- ให้ "น้ำ 20 ล.+ เอ็นเอเอ. 20 ซีซี.- ยูเรีย จี. 100 กรัม" และให้ "ฮอร์โมนน้ำดำ 1 รอบ" เริ่มบำรุงเมื่อต้นสูงประมาณหัวเข่า
- ให้น้ำพอหน้าดินชุ่ม ทุก 3 วัน

4.2 ระยะก่อนออกดอก : เริ่มบำรุงก่อนออกดอกยอด 7-10 วัน
- ให้ "ฮอร์โมนไข่ 100 ซีซี./น้ำ 100 ล./5-7 วัน 3-4 รอบ
- ให้ "ฮอร์โมนน้ำดำ 100 ซีซี./น้ำ 100 ล. 1 รอบ
- ให้ "แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี./น้ำ 100 ล. 1 รอบ
- ให้นำพอหน้าดินชุ่ม ทุก 3 วัน

4.3 ระยะเป็นฝัก : เริ่มบำรุงเมื่อไหมฝักสุดท้ายของต้นได้รับการผสมเกสรแล้ว
- ทางใบ...ให้ "ยูเรก้า + ไบโออิ + ฮอร์โมนไข่" ทุก 7 วัน, ให้ แคลเซียม โบรอน 2-3 รอบ โดยแบ่งให้จนถึงเก็บเกี่ยว
- ทางดิน... ให้ "น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 หรือ 13-13-21 หรือ 8-24-24 (สูตรใดสูตรหนึ่ง) ทุก 15 วัน
- ให้น้ำพอหน้าดินชุ่ม ทุก 3 วัน


หมายเหตุ :
- แช่เมล็ดพันธุ์ใน ไคโตซาน เพื่อกำจัดเชื้อโรคที่ปนเปื้อนมากับเมล็ดพันธุ์
- แช่เมล็ดพันธุ์ใน โบรอน จะทำให้ได้ดอกยอดจำนวนมากขึ้น สมบูรณ์ แข็งแรง และอายุนานขึ้น
- ระยะต้นเล็กให้ ยูเรีย จี. ช่วยให้ลำต้นใหญ่แบนสมบูรณ์แข็งแรงดี
- ระยะต้นเล็กให้ เอ็นเอเอ. 1-2 รอบ นอกจากช่วยบำรุงและสร้างรากที่ข้อเหนือดินเจริญเติบโตดีแล้ว ถ้าต้นมีความสมบูรณ์สูงๆ ต้นจะแตกตาข้างกลายเป็นกิ่ง ที่กิ่งข้างนี้สามารถออกดอกแล้วพัฒนาเป็นฝักได้เช่นกัน
- ดอกยอด คือ เกสรตัวผู้.....ไหมที่ปลายฝัก คือ เกสรตัวเมีย
- ระยะปลูกห่าง ลมพัดผ่านดี ลมจะช่วยพัดละอองเกสร ให้การผสมเกสรดีกว่าระยะปลูกชิดๆ แล้วลมพัดผ่านไม่ได้
- ระยะก่อนออกดอก ให้ "ฮอร์โมนไข่" 3-4 รอบ ทำให้ได้จำนวนฝัก 2-3 ฝัก/ต้น
- ไหมของฝักแรกมักได้รับการผสมจากดอกยอดทำให้เป็นฝักดีได้ แต่ฝักที่ 2-3 ไม่ได้รับการผสมจากดอกยอดจึงไม่เป็นฝัก หรือเป็นฝักฟันหลอ แก้ไขโดยการช่วยผสมด้วยมือ เรียกว่า ผสมฝักไหนได้ฝักนั้น
- ข้าวโพดฝักใดที่การผสมเกสรไม่ดี ฝักนั้นจะเป็นข้าวโพดฟันหลอ
- ฝักของข้าวโพด คือ ผลของต้นข้าวโพด (เหมือนผลของต้นไม้ผล) การบำรุงด้วยสูตร UN ช่วยให้ได้ธาตุอาหารครบ ทั้งขยายขนาดผล และบำรุงต้นให้สมบูรณ์ตลอดอายุขัย โดยเฉพาะแคลเซียม โบรอน.จะทำให้เปลือกหุ้มเมล็ดบางอ่อนนุ่ม เวลาเคี้ยวไม่ติดฟัน และรสชาดอร่อยมากขึ้นด้วย
- ผสมสารสมุนไพรทุกครั้งที่มีการฉีดพ่นสารอาหารทางใบ เพื่อ "กันก่อนแก้"
- เก็บเกี่ยวช่วงเช้าก่อนแสงแดดแล้วเก็บในความเย็น จะช่วยรักษารสหวานให้อยู่ได้นานขึ้น
- ข้าวโพดหวานนึ่งทั้งเปลือก จะได้รสชาดหวานหอมอร่อยกว่าการต้ม

ลองดูนะ
ลุงคิมครับผม
ปล.
ดีไหม ? ...... ถ้าจะยึดทั้ง "วิชาการ" และ ประสบการณ์" ผสมผสานกัน แล้วพัฒนาให้เป็นสูตรของตัวเอง.....


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/07/2020 5:05 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
monkeybluffy
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 21/09/2009
ตอบ: 19
ที่อยู่: กทม

ตอบตอบ: 08/09/2010 2:01 pm    ชื่อกระทู้: วิธีให้ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 กับข้าวโพดหวานช่วงแรก(ระดับหัวเข่า) ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขอบพระคุณคุณลุงคิมอย่างสูงครับ ได้ความรู้มากมายจริงๆ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ MSN
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©