-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-เศรษฐกิจไทย: เกษตรกรรมหรืออุตสาหกรรม
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - สารเคมีฆ่าแมลง
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

สารเคมีฆ่าแมลง

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
hearse
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 08/01/2010
ตอบ: 110

ตอบตอบ: 17/08/2010 2:30 pm    ชื่อกระทู้: สารเคมีฆ่าแมลง ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


รูปแบบของยาฆ่าแมลงหลายรูปแบบ
ที่พบในประเทศไทยที่นิยมมี

1. Aerosol เป็นการบรรจุของเหลวใส่ลงในกระป๋องอัดความดัน ซึ่งจะมีปริมาณสารออกฤทธิ์ (สารเคมีที่กล่าวข้างต้น)เพียงเล็กน้อยเท่านั้น และจะถูกปล่อยออกมาในรูปของสเปรย์หรือหมอกควัน รูปแบบนี้สะดวกในการใช้เพราะสามารถใช้ได้ทันทีและต่อการเก็บ แต่ควรระมัดระวังถ้ากระป๋องมีรอยรั่วหรือถูกเผาจะระเบิดเป็นเศษโลหะชิ้นเล็กๆได้

2. Bait เป็นการผสมของสารออกฤทธิ์กับสิ่งที่แมลงกิน ซึ่งเมื่อแมลงกินเข้าไปก็จะเกิดผลต่อร่างกายทันที ดังนั้นควรจัดเก็บให้ปลอดภัยจากเด็ก สัตว์เลี้ยง หรือสัตว์ที่ไม่ใช้เป้าหมายที่จะกำจัด

3. Chalk เป็นการผสมสารออกฤทธิ์กับผงแป้ง ซึ่งจะเกิดผลต่อแมลงด้วยการสัมผัสกับสารออกฤทธิ์

4. ยาจุดกันยุง เป็นการผสมสารออกฤทธิ์กับขี้เลื่อย เมื่อจุดยากันยุงจะเกิดความร้อน แล้งส่งผลให้สารออกทธิ์กลายเป็นไอระเหยออกมาทำหน้าที่กำจัดแมลง

5. แผ่นกำจัดยุงไฟฟ้า ใช้ความร้อนในการทำให้สารออกฤทธิ์ระเหยเป็นไอออกมาทำหน้าที่กำจัดแมลงเช่นเดียวกับยาจุดกันยุง ต่างกันตรงที่ใช้ไฟฟ้าเป็นการทำให้เกิดความร้อน



ยาฆ่าแมลงที่ใช้ในบ้านเรือนสามารถจัดกลุ่มได้เป็น
1. Organophosphates Insecticides

ยาฆ่าแมลงประเภทนี้จะมีฟอสฟอรัสซึ่งเป็นพิษโดยการสัมผัสแล้วซึมผ่านเข้าทางผิวหนังตัวยาจะยับยั้งเอนไซม์ cholinesterase ซึ่งส่งผลต่อระบบประสาทเนื่องจากมันสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายและส่งผลอย่างรวดเร็วต่อระบบประสาททำให้มันทำหน้าที่ฆ่าแมลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่สารประเภทนี้ไม่ถูกสะสมในไขมันและจะสลายตัวได้ในสภาพที่เป็นด่างทำให้ไม่สะสมในเนื้อเยื่อของคน และสารเคมีประเภทนี้จะสลายตัวภายใน 72 ชั่วโมง

ในสิ่งแวดล้อมปกติ ยาฆ่าแมลงในกลุ่มนี้ที่พบตามท้องตลาดคือ chlopyrifos, dichlovos หรือ DDVP ซึ่งพบในสเปรย์กำจัดยุงและแมลงสาบ, สเปรย์กำจัดแมลงสาบ และสเปรย์กำจัดปลวก มด มอด แมลงสาบ

อันตรายของ dichlorvos มีค่า LD50 (หนู) 28-500 มิลลิกรัม/กิโลกรัม แสดงว่ามีพิษร้ายแรง การหายใจเข้าไปทำให้คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ เจ็บหน้าอก ตัวซีดเป็นสีเขียวเนื่องจากขาดออกซิเจน กล่องเสียงอักเสบ ชัก หัวใจเต้นผิดปกติ การสัมผัสทางผิวหนังก่อให้เกิดความระคายเคือง ถ้ากลืนหรือกินเข้าไปทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน มีน้ำลายขับออกมามาก ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ตัวซีดเป็นสีเขียวเนื่องจากขาดออกซิเจน กล้ามเนื้ออ่อนล้าทำงานไม่ประสานกัน มีเหงื่อขับออกมามาก ท้องร่วง การสัมผัสถูกตาทำให้รูม่านตาหดตัว ปวดตา เกิดการระคายเคือง dichlorvos สามารถทำให้เกิดมะเร็งในคนได้ ห้ามทิ้งลงสู่แหล่งน้ำ น้ำเสีย หรือดิน

อันตรายของ chlorpyrifos มีค่า LD50 (หนู) 82-270 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เป็นพิษมาก เป็นอันตรายเมื่อกินหรือหายใจเข้าไป อาจระคายเคืองผิวหนัง ถ้าได้รับสารเป็นระยะเวลานานอาจมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง ทำลายตับหรือไต ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อตา น้ำตาไหล ตาบวม แดง และมองภาพไม่ชัดเจน chlorpyrifos มีผลยับยั้งการทำงานของ cholinesterase enzyme ซึ่งพบในเนื่อเยื่อประสาท เซลเมดเลือดแดง และพลาสมา ถ้าได้รับสารมากเกินไปจะเกิดอาการภายใน 24 ชั่วโมงทำให้ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง ม่านตาหดตัว เห็นภาพไม่ชัดเจน มีน้ำมูกหรือน้ำลาย เหงื่อออกมาก ปวดท้องเกร็ง ขั้นร้ายแรงทำให้หมดสติ ชัก หายใจลำบาก อาจตายได้เนื่องจากระบบหายใจและหัวใจล้มเหลว เป็นพิษมากต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตในน้ำ

2. Carbamate Insecticides
ยาฆ่าแมลงประเภทนี้จะมีไนโตรเจน และซัลเฟอร์ เข้าสู่ร่างกายได้ทางการสัมผัส การกิน และ การซึมผ่านผิวหนัง ทำหน้าที่ยับยั้งเอนไซม์ cholinesterase และกระตุ้นให้ระบบประสาทของแมลงทำงานมากเกินไป สารเคมีประเภทนี้ไม่สะสมสิ่งแวดล้อมและหมดฤทธิ์ในสภาพที่เป็นด่างอย่างรวดเร็ว สารเคมีที่ใช้ในตลาดคือ propoxur พบในสเปรย์กำจัดยุงและแมลงสาบ, สเปรย์กำจัดปลวก มด มอด แมลงสาบ และ bendiocarb เป็นผงกำจัดแมลงสาบ

ยาฆ่าแมลงที่มี bendiocarb ผสมอยู่มักอยู่ในรูปของฝุ่นผงหรือแป้งที่เปียกน้ำได้ อันตรายของ bendiocarb มีค่า LD50 (หนู) 46-156 มิลลิกรัม/กิโลกรัม แสดงว่ามีพิษมาก bendiocarb มีความเป็นพิษสูงถ้ากินเข้าไปหรือดูดซึมผ่านผิวหนัง อาการอ่อนเพลีย เห็นภาพไม่ชัดเจน ปวดศีรษะ วิงเวียน ปวดท้องเกร็ง เจ็บหน้าอก ม่านตาแข็ง เหงื่อออก กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน ชีพจรลดลง ถ้าสัมผัสทางตา ทำให้ระคายเคืองตา เจ็บตา เห็นภาพไม่ชัดเจน น้ำตาไหล กล้ามเนื้อตาชักกระตุก รูม่านตาไม่ตอบสนองต่อแสง ในกรณีรุนแรงอาจตายได้เนื่องจากหัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ กล้ามเนื้อระบบหายใจไม่ทำงาน

อันตรายของ propoxur มีค่า LD50 (หนู) 83-104 มิลลิกรัม/กิโลกรัม แสดงว่ามีพิษมาก ถ้าหายใจเข้าไปจะทำให้คลื่นไส้ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เหงื่อออกมาก การสัมผัสทางผิวหนังไม่เกิดการระคายเคืองแต่สามารถดูดซึมผ่านผิวหนังได้ การกลืนกินเข้าไปทำให้เหงื่อออกมาก น้ำลายขับออกมามาก น้ำตาไหล หายใจติดขัด ปวดท้องเกร็ง อาเจียน ท้องร่วง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย การสัมผัสถูกตาทั้งที่เป็นไอและของเหลวทำให้เกิดการระคายเคือง propoxur เป็นพิษต่อปลาและสัตว์ที่กินปลา

3. Botanicals and Pyrethroid Insecticides
สารเคมีในกลุ่มนี้นิยมใช้กำจัดแมลง เช่นยาจุดกันยุงมีสารออกฤทธิ์คือ d-allethrin ซึ่งอาจใช้ในชื่ออื่น (pynamin forte หรือ esbiothrin)
Botanicals เรียกว่า pyrethrins เป็นสารประกอบของสารเคมีหลายชนิดที่ได้จากพืช เป็นพิษโดยการสัมผัสหรือการกิน ส่วนใหญ่ไม่คงอยู่ในสภาพแวดล้อม
Synthetic pyrethroids คล้ายกับ pyrethrins ตามธรรมชาติแต่ได้รับการปรับปรุงเพิ่มความคงอยู่ได้ในสิ่งแวดล้อม ส่วนใหญ่เป็นพิษด้วยการสัมผัส เนื่องจากเป็นพิษสูงควรใช้ในปริมาณน้อยๆ นอกจากนี้ยังมีผลต่อสิ่งแวดล้อมทางน้ำ
อันตรายของ deltamethrin มีค่า LD50 (หนู) 129-139 มิลลิกรัม/กิโลกรัม แสดงว่ามีพิษมาก ถ้าหายใจเข้าไปก่อให้เกิดความระคายเคือง ถ้าความเข้มข้นสูงจะไปทำลายเยื่อบุเมือก ทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้กล่องเสียงและหลอดลมอักเสบ เกิดอาการหายใจถี่รัว ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน การสัมผัสทางผิวหนังก่อให้เกิดการระคายเคืองอย่างแรง สามารถซึมผ่านผิวหนังเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย การกลืนหรือกินเข้าไป ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ การสัมผัสถูกตาก่อให้เกิดการระคายเคือง ทำให้ตาแดง เจ็บตา น้ำตาไหล deltamethrin ไม่เป็นสารก่อมะเร็ง แต่สามารถทำลายปอด ทรวงอก ระบบหายใจ ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ ทางเดินอาหาร และเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ ไม่กระทบต่อระบบนิเวศน์หากมีการใช้และจัดเก็บผลิตภัณฑ์อย่างเหมาะสม

อันตรายของ cypermethrin มีค่า LD50 (หนู) 247 มิลลิกรัม/กิโลกรัม แสดงว่ามีพิษมาก ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจส่วนบนและล่าง ต่อตา และต่อผิวหนัง อาการชาที่ผิวหนัง คัน ร้อนไหม้ ขาดความสามารถในการควบคุมกระเพาะปัสสาวะ ร่างกายทำงานไม่ประสานกัน หมดสติ และอาจถึงตายได้ ถ้ากลืนหรือกินเข้าไปทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องร่วง ถ้าได้รับสารเป็นเวลานานจะเกิดการเปลี่ยนแปลงการทำงานของตับ cypermethrin เป็นพิษอย่างมากต่อปลาและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในน้ำ

อันตรายของ cyphenothrin มีค่า LD50 (หนู) 400 มิลลิกรัม/กิโลกรัม แสดงว่ามีพิษมาก ระคายเคืองต่อตาและผิวหนัง ความระคายเคืองต่อการสัมผัส เกิดความรู้สึกผิดปกติบริเวณที่สัมผัส รู้สึกแสบคัน ซ่า และชา เกิดอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ วิงเวียน อาเจียนท้องร่วง น้ำลายฟูมปาก หมดสติ ในกรณีที่รุนแรงจะมีน้ำในปอด และกล้ามเนื้อบิดตัว เกิดอาการชัก cyphenothrin เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ

อันตรายของ alphacypermethrin มีค่า LD50 (หนู) 400 มิลลิกรัม/กิโลกรัม แสดงว่ามีพิษมาก ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อตา ผิวหนัง ถ้าหายใจเข้าไป ทำให้ปวดศีรษะ ถ้ากลืนหรือกินเข้าไปทำให้คลื่นไส้ อาเจียน ตัวสั่น มีน้ำลายมาก เป็นพิษมากต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ จะไม่สะสมในดินหรือน้ำและไม่ก่อให้เกิดปัญหาในระยะยาว

อันตรายของ fenvalerate มีค่า LD50 (หนู) 451 มิลลิกรัม/กิโลกรัม แสดงว่ามีพิษมาก ถ้าหายใจเข้าไปก่อให้เกิดการระคายเคือง เกิดอาการเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ ถ้าสัมผัสจะแดง ไหม้ รู้สึกชา ซ่า และคัน ถ้าสัมผัสตาจะเกิดอาการตาแดง ปวดตา ถ้ากลืนหรือกินเข้าไปทำให้ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน
อันตรายของ d-allethrin มีค่า LD50 (หนู) 425-860 มิลลิกรัม/กิโลกรัม แสดงว่ามีพิษมากถึงปานกลาง ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อตาและต่อผิวหนัง การหายใจเอาไอของสารเข้าไปทำให้ปวดศีรษะ วิงเวียน คลื่นไส้ การกลืนกินเข้าไปทำให้ปวดศีรษะ คลื่นไส้ วิงเวียน อาเจียน ท้องร่วง มีน้ำลายมาก เป็นลม ในกรณีรุนแรงอาจเกิดน้ำเข้าปอด กล้ามเนื้อบิดตัว อาจมีผลต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ เป็นพิษอย่างมากต่อปลาและสัตว์ไม่ม่กระดูกสันหลังในน้ำ

อันตรายของ cyfluthrin มีค่า LD50 (หนู) 500-800 มิลลิกรัม/กิโลกรัม แสดงว่ามีพิษปานกลาง ก่อให้เกิดการระคายเคืองตาทำให้ตาแดง น้ำตาไหล ที่ผิวหนังทำให้คันเป็นแผล ผื่นแดง รู้สึกซ่าบริเวณที่สัมผัสสาร ถ้าหายใจเข้าไปจะระคายเคืองต่อระบบหายใจและระบบประสาทส่วนกลาง มีอาการสับสน คลื่นเหียน เวียนศีรษะ การกลืนหรือกินเข้าไปจะระคายเคืองต่อทางเดินอาหาร ถ้าได้รับสารต่อเนื่องเป็นเวลานานมีอาการคลื่นเหียน ปวดศีรษะ ทานอาหารไม่ได้ อ่อนเพลีย แพ้แอลกอฮอล์ เป็นพิษต่อปลาและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในน้ำ

อันตรายของ bifenthrin มีค่า LD50 (หนู) 632 มิลลิกรัม/กิโลกรัม แสดงว่ามีพิษปานกลาง ก่อให้เกิดการระคายเคืองตาเล็กน้อย ไม่มีผลต่อผิวหนังแต่มีพิษเล็กน้อยถ้าซึมผ่านผิวหนังเข้าสู่ร่างกาย เป็นพิษต่ออวัยวะภายในถ้ากลืนกินเข้าไป ความรุนแรงขึ้นกับปริมาณของสารที่ถูกดูดซึม ถ้าหายใจเข้าไปในปริมาณมากก่อให้เกิดการระคายเคืองทางเดินหายใจส่วนบน แต่ไม่เป็นพิษกับอวัยวะภายใน bifenthrin เป็นสารก่อมะเร็ง และเป็นพิษอย่างมากต่อดินและต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ

อันตรายของ allethrin ค่า LD50 (หนูตัวผู้) มีค่า 1,100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม LD50 (หนูตัวเมีย) มีค่า 685 มิลลิกรัม/กิโลกรัม แสดงว่ามีพิษปานกลาง ก่อให้เกิดการระคายเคืองทางตาและผิวหนัง ที่ผิวหนังอาจเกิดอาการแพ้ซึ่งเมื่อถูกสารในปริมาณน้อยก็อาจทำให้คันและเป็นผื่นแดงได้ เป็นอันตรายเมื่อกลืนกิน และเป็นอันตรายเมื่อสูดดมอาจก่อให้เกิดการแพ้ อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองที่แผ่นเยื่อเมือกและบริเวณทางเดินหายใจส่วนบน ถ้าสูดดมเข้าไปมากจะทำให้คลื่นไส้ ตัวสั่น หงุดหงิดง่าย เป็นลม หมดสติ ในระยะยาวอาจทำลายตับและไต allethrin เป็นพิษอย่างมากต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ อาจก่อให้เกิดผลเสียระยะยาวต่อสิ่งแวดล้อมทางน้ำ allethrin พบว่าใช้เป็นสเปรย์กำจัดยุงในชื่อ Prallethrin ด้วย

อันตรายของ imiprothrin มีค่า LD50 (หนู) 900-1,800 มิลลิกรัม/กิโลกรัม แสดงว่ามีพิษปานกลาง ถ้ากลืนกินเข้าไปทำให้คลื่นไส้ ปวดท้องเกร็ง อาเจียน มีผลต่อระบบประสาท เกิดอาการหน้ามืด วิงเวียน ปวดศีรษะ กล้ามเนื้ออ่อนล้าทำงานไม่ประสานกัน และหมดสติ สามารถซึมผ่านผิวหนังทำให้ไหม้หรือปวดแสบปวดร้อนบริเวณใบหน้า ตา หรือปาก ถ้าได้รับอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ผิวหนังจะแดงและอักเสบได้ ถ้าหายใจเข้าไปในปริมาณมากจะเกิดการระคายเคืองต่อระบบหายใจ เกิดอาการเช่นเดียวกับเมื่อกลืนเข้าไป ระคายเคืองต่อดวงตาชั่วคราว ทำให้น้ำตาไหล เห็นภาพไม่ชัดเจน

อันตรายของ permethrin มีค่า LD50 (หนู) 2,000-4,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังและดวงตา อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองที่แผ่นเยื่อเมือกและบริเวณทางเดินหายใจส่วนบน เป็นอันตรายเมื่อกลืนกิน permethrin เป็นสารก่อมะเร็ง ถ้าได้รับ permethrin แบบเรื้อรังอาจก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ คนได้รับ permethrin จะเกิดความผิดปกติในเซลเม็ดเลือดขาว

อันตรายของ tetramethrin มีค่า LD50 (หนู) 4,640 มิลลิกรัม/กิโลกรัม แสดงว่ามีพิษปานกลาง อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังและดวงตา อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองที่แผ่นเยื่อเมือกและบริเวณทางเดินหายใจส่วนบน เป็นอันตรายเมื่อกลืนกิน คนที่ได้รับ tetramethrin ในระยะยาวจะมีความผิดปกติของ DNA

4. Insecticidal Bait Toxicants
สารเคมีกลุ่มนี้ใช้เป็นสารออกฤทธิ์ที่ผสมกับสิ่งที่กินแมลงสามารถกินได้ ดังนั้นจึงควรเก็บให้เป็นที่ ป้องกันไม่ให้เด็ก, สัตว์เลี้ยง หรือ สัตว์อื่นๆกินเข้าไปได้

อันตรายของ hydramethynon มีค่า LD50 (หนู) มากกว่า 5,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม แสดงว่ามีพิษน้อย ก่อให้เกิดการระคายเคืองผิวหนังและตา อาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ hydramethynon ที่พบในท้องตลาดใช้กำจัดมดเท่านั้น เนื่องจากมีความเป็นพิษน้อย

5. Inorganic Insecticides
สารประเภทนี้ไม่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ มักเป็นผลึกคล้ายเกลือ มีความคงตัวและละลายน้ำได้ เช่น boric acid พบในสเปรย์กำจัดแมลงสาบ

อันตรายของ boric acid มีค่า LD50 (หนู) 2,660 มิลลิกรัม/กิโลกรัม แสดงว่ามีพิษปานกลาง การหายใจเข้าไปก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อเมือกของทางเดินหายใจ อาจทำให้มีการดูดซึมของสารผ่านทางเยื่อเมือก ทำให้เกิดอารคลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง เซื่องซึม เป็นผื่นแดงบนผิวหนัง ปวดศีรษะ อุณหภูมิในร่างกายลดลง ความดันต่ำ ไตได้รับอันตราย เกิดภาวะที่ผิวหนังเป็นสีน้ำเงินเนื่องจากขาดออกซิเจน หมดสติ และตาย การสัมผัสทางผิวหนังกิ่ให้เกิดการระคายเคือง สารดูดซึมอย่างรวดเร็วทำลายผิวหนังหรือเป็นแผลไหม้ มีอาการเช่นเดียวกับการหายใจและกลืนกินเข้าไป ในผู้ใหญ่ถ้ากินสารนี้เข้าไปมากกว่า 30 กรัมอาจทำให้ตายได้ การสัมผัสถูกตาก่อให้เกิดการระคายเคือง ตาแดง ปวดตา การได้รับสารติดต่อกันเป็นเวลานานทำให้น้ำหนักลด อาเจียน ท้องร่วง เป็นผื่นแดงบนผิวหนัง ชักกระตุกอย่างรุนแรง และโรคโลหิตจาง boric acid อาจทำลายตับ ไต ทางเดินอาหาร เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ และ boric acid เป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ

นอกจากนี้ยังมีสารเคมีบางชนิดที่ไม่ได้ใช้ฆ่าแมลงโดยตรง แต่ใช้ร่วมกับสารในกลุ่ม Botanicals and Pyrethroid Insecticides เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพของสารออกฤทธิ์ พบในยากำจัดยุงประเภทใช้ไฟฟ้า และสารเคมีที่พบในกลุ่มนี้คือ piperonyl butoxide

อันตรายของ piperonyl butoxide มีค่า LD50 (หนู) มากกว่า 5,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม แสดงว่ามีพิษน้อย เป็นอันตรายเมื่อกลืนกิน หายใจ หรือซึมผ่านผิวหนัง อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อทางเดินอาหารตอนล่าง เช่นคลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง ถ้ากินเข้าไปมากจะมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง คลื่นไส้ กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน ตัวสั่น หมดสติ อาการจะมากขึ้นถ้าได้รับติดต่อกันนานๆ piperonyl butoxide เป็นอันตรายอย่างมากต่อปลา มีการทดลองว่า piperonyl butoxide เป็นสารก่อมะเร็ง และอาจมีผลต่อความผิดปกติของการสืบพันธุ์


ที่มา : อาจารย์โชติมา วิไลวัลย์
จาก http://www.chemtrack.org


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย hearse เมื่อ 17/08/2010 10:27 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 17/08/2010 2:46 pm    ชื่อกระทู้: Re: สารเคมีฆ่าแมลง ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

hearse บันทึก:

รูปแบบของยาฆ่าแมลงหลายรูปแบบ
ที่พบในประเทศไทย.......
...............................

ที่มา : อาจารย์โชติมา วิไลวัลย์



KASETLOONGKIM.COM. ยุคใหม่ :

อ้างอิงที่มา อาจารย์ฯ เป็นผู้เขียนน่ะดีแล้ว แต่ถ้าข้อมูลนี้อยู่ในเน็ตแล้วเราอ้างอิงชื่อเว้บเน็ตนั้นด้วยเป็นดีที่สุด

อย่าลืม.....ให้เกียรติเขา แล้วเขาจะให้เกียรติเรา

เหมือนที่ลุงคิมปฏิบัตินั่นแหละ

หามาอีกนะ
ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©